Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live

บ้านป่าเมืองดอน: พลเมืองโต้กลับปล่อยมิวสิควิดีโออวยพรปีใหม่

$
0
0

"พลเมืองโต้กลับ" ปล่อยมิวสิควิดีโอเพลงปีใหม่ "บ้านป่าเมืองดอน" พร้อมให้พรว่า จะอยู่เป็นหรืออยู่ไม่เป็นก็ขอให้อยู่ดีมีสุขผ่านยุคมืดไปด้วยกัน

ที่มา: YouTube/Resistant Citizen

31 ธ.ค. 2559 ในวันสิ้นปีก่อนเข้าสู่ปี พ.ศ. 2560 กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ได้เผยแพร่มิวสิควิดีโอเพลง "บ้านป่าเมืองดอน" โดยดัดแปลงทำนองจากเพลง "บ้านเกิดเมืองนอน" ของคณะสุนทราภรณ์

โดยเนื้อเพลงตอนหนึ่งระบุว่า "บ้านเมืองเรารุ่งเรืองเพราะอยู่แบบเก่า พวกเราล้วนดมกาวสุขใจ เพราะฉะนั้นชวนกันฮาเฮ ซิงเกิลเกทเวย์กดหัวคนไทย ล่ามโซ่เส้นใหญ่ให้เป็นทาสเขา" ฯลฯ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดเผยแคมเปญลับพรรครัฐบาลอินเดียสร้าง "โทรล" ก่อกวนฝ่ายตรงข้าม

$
0
0

ในหนังสือที่มีชื่อว่า "I Am a Troll" อดีตทีมงานพรรคภารติยะชนตะ หรือบีเจพี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอินเดีย เปิดโปงเรื่องที่พรรคเคยจ้างวานให้คนป่วนความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ตมาก่อน ทั้งการคอยวิจารณ์นักข่าว นักแสดง หรือนักการเมืองที่อยู่ฝั่งตรงข้าม

ที่มาของภาพประกอบ: Flickr/Yuri Samoilov (CC BY 2.0)

31 ธ.ค. 2559 สัธวี โกสลา อายุ 37 ปี ให้สัมภาษณ์ลงในหนังสือเล่มใหม่ ที่เปิดเผยว่าพรรคภารติยะชนตะ หรือพรรคบีเจพี มีการประสานงานวางแผนกันจากภายในเพื่อใช้โซเชียลมีเดียในการเล่นงานคนที่เป็นศัตรูของพรรค เรื่องนี้มีมาตั้งแต่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีปี 2557 ที่นเรนทระ ทาโมทรทาส โมธี ตัวแทนจากพรรคบีเจพีชนะการเลือกตั้ง และบางครั้งปฏิบัติการป่วนโซเชียลของพวกเขาก็อาจจะลามเป็นการยั่วโมโหหรือป่วนความคิดเห็นที่เรียกว่า "โทรล" ในทางศาสนาหรือทางเพศโดยเฉพาะกับเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงซึ่งไม่ทราบว่าเป็นความจงใจของพรรคบีเจพีเองหรือไม่

คนที่เคยถูกพวกเขาปฏิบัติการโทรลคือคู่แข่งทางการเมืองอ่ย่างรองหัวหน้าพรรคคองเกรส ราหุล คานธี หรือดาราบอลลิวูด อามีร์ ข่าน โกสลา เปิดเผยอีกว่ามีหน่วยโซเชียลมีเดียของพรรคที่คอยกำกับดูแลพวกเธอและอาสาสมัครคนอื่นๆ อีกหลายร้อยคนที่ปฏิบัติการในเรื่องเหล่านี้

อาร์วิน คุปตะ อดีตหัวหน้าหน่วยโซเชียลมีเดียของพรรคบีเจพีปฏิเสธว่าสิ่งที่โกสลาพูดไม่เป็นความจริงและกล่าวว่าโกสลาเป็นพวกที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามคือพรรคคองเกรส กุปตาบอกอีกว่าบีเจพีเขียนถึงแนวทางโซเชียลมีเดียของพวกเขาชัดเจนในเว็บไซต์และ "ไม่เคยส่งเสริมการโทรล"

หนังสือที่เปิดโปงในเรื่องนี้มีชื่อว่า "I Am a Troll" (ฉันเป็นโทรล) เขียนโดยนักข่าวอินเดีย "สวาตี จตุรเวที ผู้ทำการสืบสวนสอบสวนความเกี่ยวข้องกันของพรรคบีเจพีกับการใช้โซเชียลมีเดียในทางร้ายๆ มีผู้หญิงที่มีชื่อเสียงหลายคนในอินเดียโดยเฉพาะนัข่าวมีความกังวลมากขึ้นต่อเรื่องที่พวกเธอต้องเผชิญการข่มเหงรังแกทางโลกออนไลน์โดยมักจะมาจากกลุ่มไม่เปิดเผยตัวตนที่มักจะใช้ถ้อยคำล่วงละเมิดทางเพศพวกเธอและเป็นพวกที่ชาตินิยมจัดมาก จตูร์เวดีเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เคยตกเป็นเป้าหมายมาก่อน

โกสลาบอกว่าเธอเคยเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครให้กับทีมปฏิบัติการโซเชียลมีเดียเพราะในช่วงเวลาเมื่อราว 3 ปีที่แล้วเธอยังเป็นผู้สนับสนุนโมดีอยย่างเต็มกำลัง เธอบอกว่ารับคำสั่งต่างๆ จากพรรคทาง WhatsApp และต้องเข้าพบกับสมาชิกระดับสูงของหน่วยดิจิตอลของพรรค โกสลาบอกว่าเะอเคยใช้โซเชียลมีเดียวิจารณ์ราฮูล คานธีและแม่ของเขามาก่อน เธอบอกว่าสาเหตุที่เธอออกมาเพราะเธอเริ่มรู้สึกไม่สบายใจจากที่ถูกสั่งให้ทวิตวิจารณ์นักข่าวชื่อดังของอินเดียซึ่งบางครั้งก็มีลักษณะ "ปรามาสใส่ร้าย" นอกจากนี้ยังมีการให้ใช้คำแสดงความเกลียดชังและเหยียดหยามกีดกันชนกลุ่มน้อยรวมถึงคนอื่นๆ เช่นพวกเสรีนิยม ผู้ถูกมองว่าเป็นฝ่ายต่อต้านโมดีด้วย

โกสลาพูดถึงเรื่องนี้ต่อไปว่าคนที่ตกเป็นเป้าหมายโจมตีทางโซเชียลจะเต็มไปด้วยข้อความวิพากษ์วิจารณ์และบางครั้งก็มีการข่มขู่คุกคามในระดับอาชญากรรม เช่น การขู่ว่าจะข่มขืนนักข่าวหญิงบาการ์ ดุตต์ ทำให้เธอทนทำตามคำสั่งพรรคบีเจพีต่อไปไม่ไหวแล้ว

"ทุกวันก็จะมีคนใหม่ๆ ตกเป็นเป้าหมายและพวกเขาก็จะรุมทึ้งราวฝูงผึ้งด้วยการใช้คำที่ส่อไปในทางเพศ คำปรามาส ขู่ว่าจะข่มขืนหรือฆ่า ... มันทำให้ฉันรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออกในฐานะผู้หญิง" โกสลากล่าว

โกสลาออกจากทีมหลังจากที่ถูกขอให้ช่วยกระจายการลงชื่อเรียกร้องให้เว็บไซต์ช็อปปิ้ง SnapDeal ตัดสัมพันธ์กับอามีร์ ข่าน ดาราบอลลิวูด ชาวมุสลิมที่เคยกล่าวไว้ว่าประเทศอินเดียเริ่มมีความไม่อดกลั้นต่อความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พรรคชาตินิยมฮินดูอย่างบีเจพีไม่พอใจ ในเวลาต่อมาทาง SnapDeal ก็ออกแถลงการณ์ว่าจะไม่ต่อสัญญากับข่าน โกสลาบอกว่าเรื่องนี้ทำให้เธอรุ้สึกว่าประเทศของเธอกำลังเปลี่ยนไป

เดอะการ์เดียนระบุวาโมดีเป็นนักการเมืองที่ใช้โซเชียลมีเดียโดยมีผู้ติดตาม 25 ล้านบัญชี รวมถึงเคยจัดกิจกรรมพบปะกับผู้สนับสนุนเขาทางโซเชียลมีเดียโดยชวนมาที่บ้านโดยในกลุ่มผู้สนับสนุนเขานั้นมีผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ใช้คำในเชิงข่มเหงผู้หญิงในโลกออนไลน์อยู่ด้วย

เค ไจยชังกา ผู้อำนวยการบริหารของศูนย์เพื่อให้คำปรึกษาเหยื่อไซเบอร์บอกว่าเป็นเพราะสังคมอินเดียยังมีลักษณะชายเป็นใหญ่และอนุรักษ์นิยมจึงไม่ค่อยยอมรับผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะ เมื่อมีอินเทอร์เน็ตผู้หญืงรู้สึกว่ามันเป็นพื้นที่สาธารณะที่พวกเธอเข้าร่วมได้ง่ายขึ้น แต่แนวคิดแบบชายเป็นใหญ่ในอินเดียก็ทำให้พวกโทรลไม่ชอบเวลาผู้หญืงแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ได้กระจ่างแจ้ง

ไจยชังกายังวิเคราะห์อีกว่า ผู้หญิงจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่ออนไลน์มักจะเป็นกลุ่มชนชั้นนำ เช่น บรรณาธิการนิตยสาร หรือนักแสดงขณะที่พวกโทรลมักจะเป็นคนที่มาจากชนบทหรือชานเมือง อินเทอร์เน็ตจึงเป็นช่องทางเดียวที่พวกนี้จะรู้สึกว่าสามารถเข้าถึงผู้หญิงชนชั้นสูงได้และพวกนี้อาจจะรู้สึกสนุกที่ได้ตั้งเป้าหมายเป็นผู้หญิงที่มีชื่อเสียง

มาเนกา คานธี รัฐมนตรีด้านพัฒนาเด็กและสตรียอมรับว่ามีปัญหาการกระทำไม่ดีต่อผู้หญิงทางอินเทอร์เน็ตอยู่จริง จึงมีการตั้งแฮชแท็กเพื่อเป็นช่องทางร้องเรียนของประชาชนได้

 

เรียบเรียงจาก

India's ruling party ordered online abuse of opponents, claims book, The Guardian, 27-12-2016 https://www.theguardian.com/world/2016/dec/27/india-bjp-party-ordering-online-abuse-opponents-actors-modi-claims-book

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

7 วันอันตรายวันที่ 3 เสียชีวิตแล้ว 199 ราย

$
0
0

ศปถ. สรุป 7 วันอันตรายวันที่ 3 ยอดเสียชีวิตพุ่ง 199 ราย บาดเจ็บ 2,099 ราย อุบัติเหตุสูงสุด 'เชียงใหม่' 33 ครั้งบาดเจ็บ 38 ราย เสียชีวิตสูงสุด 'อุดรธานี-สุราษฎร์ธานี' 5 ราย ด้าน คสช.ยึดรถเมาแล้วขับ 3 วัน 1,011 คัน

 
1 ม.ค. 2560 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนประจำปี 2560 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 31 ธ.ค.59 เกิดอุบัติเหตุ 757 ครั้งผู้เสียชีวิต 86 รายผู้บาดเจ็บ 800 คนรวม3วันตั้งแต่ 29 ธ.ค.- 31 ธ.ค. 59 เกิดอุบัติเหตุ 1,961 ครั้งผู้เสียชีวิตรวม 199 รายผู้บาดเจ็บรวม 2,099 คนศปถ.ได้กำชับจังหวัดดำเนินมาตรการดูแลความปลอดภัยในการเดินทางอย่างเข้มข้น และต่อเนื่องเข้มงวดการเรียกตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ตามจุดตรวจ เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจบนเส้นทางสายหลัก และสายรองจัดชุดสายตรวจดูแลความปลอดภัยโดยรอบสถานบันเทิง และสถานที่จัดงานรื่นเริง และเน้นย้ำให้ด่านชุมชนปฏิบัติการเข้มข้นเพื่อป้องปรามผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมดื่มแล้วขับพร้อมเตือนประชาชนดื่มไม่ขับไม่ขับรถเร็ว ใช้อุปกรณ์นิรภัยทุกครั้งที่เดินทาง และปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2560 เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขและความปลอดภัย 
 
โดยดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนประจำปี 2560 กล่าวว่าศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนประจำปี 2560 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่สามของการรณรงค์“ขับรถมีน้ำใจรักษาวินัยจราจร”เกิดอุบัติเหตุ757ครั้งผู้เสียชีวิต 86 รายผู้บาดเจ็บ 800 คน 
 
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่เมาสุราร้อยละ 43.86 ขับรถเร็ว เกินกำหนดร้อยละ 33.29 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่รถจักรยานยนต์ร้อยละ 80.84 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรงร้อยละ 63.01 บนถนน ในอบต.หรือหมู่บ้านร้อยละ 42.14 ถนนกรมทางหลวงร้อยละ 32.23 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น.ร้อยละ 31.97 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานร้อยละ 55.14 ทั้งนี้ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,030 จุดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 64,169 คนเรียกตรวจยานพาหนะ 650,360 คันมีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 110,917 รายมีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ 30,646 รายไม่สวมหมวกนิรภัย 29,894 ราย 
 
สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่เชียงใหม่ 33 ครั้งจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดได้แก่อุดรธานีและสุราษฎร์ธานี 5 รายจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุดได้แก่เชียงใหม่38คน 
 
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่าสรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 3 วันตั้งแต่ 29 - 31 ธ.ค. 59 เกิดอุบัติเหตุรวม 1,961 ครั้งผู้เสียชีวิตรวม 199 รายผู้บาดเจ็บรวม 2,099 คนโดยจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 19 จังหวัดจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่เชียงใหม่ 84 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุดได้แก่อุดรธานี 12 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุดได้แก่อุดรธานี 91 คน 
 
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการคมนาคมพบว่าในช่วงระหว่างวันที่ 29 - 30 ธันวาคม 2559 มีปริมาณรถบนท้องถนนเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติจำนวน 584,226 คัน คิดเป็นร้อยละ 85.86 จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น
 
คสช.ยึดรถเมาแล้วขับ 3 วัน 1,011 คัน
 
สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานว่าพ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า มาตรการดื่มไม่ขับ จับยึดรถ เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหุต ในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีผู้กระทำผิดในลักษณะที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยประมาทด้วยการดื่มแล้วขับขี่ พบว่า รถจักรยานยนต์ พบการกระทำความผิด 7,298 ครั้ง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องยึดรถจักรยานยนต์ไว้ 414 คัน และส่งผู้กระทำผิดดำเนินคดี 6,142 คน สำหรับรถโดยสารสาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคล พบการกระทำความผิด 3,769 ครั้ง เจ้าหน้าที่ได้ยึดใบขับขี่ไว้ 278 คน ยึดรถยนต์ 145 คัน ส่งผู้กระทำความผิดดำเนินคดี 2,813 คน โดยตลอด 3 วันที่ผ่านมา ( 29 - 31 ธ.ค.59 ) เจ้าหน้าที่ได้ยึดรถที่ฝ่าฝืนมาตรการ ดื่มไม่ขับ ไว้แล้วจำนวน 1,011 คัน (แยกเป็น รถจักรยานยนต์ 810 คัน และรถยนต์ 201 คัน) และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ในส่วนรถจักรยานยนต์ 11,764 คน รถโดยสารสาธารณะ/รถยนต์ส่วนบุคคล 5,850 คน
 
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ เปิดเผยด้วยว่า ตลอดคืนที่ผ่านมา การจัดกิจกรรมส่งท้ายปี 2559 เพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2560 ทั้งการสวดมนต์ข้ามปี งานเคาท์ดาวน์ ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองกันอย่างมีความสุข ภาพรวมเป็นไปด้วยความงดงามเรียบร้อย ซึ่ง คสช. ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกส่วนที่ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในการจัดงานได้อย่างดียิ่ง
 
ทั้งนี้ การเดินทางท่องเที่ยวและใช้เส้นทางสัญจรนั้น ยังคงมีความหนาแน่น ทั้งถนนสายหลักและสายรอง ซึ่งผู้ใช้เส้นทางส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎจราจร บางส่วนมีการให้กำลังใจและชื่นชมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งการดูแลอำนวยความสะดวกประชาชนของ คสช. โดย กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) ตำรวจ ฝ่ายปกครอง จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลความปลอดภัยสาธารณะอย่างเต็มที่
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผย ป.ป.ช.ตั้งองค์คณะไต่สวน 'สุเทพ' ปั่นราคาน้ำมันปาล์ม

$
0
0
'สำนักข่าวอิศรา' เผย ป.ป.ช. มีมติตั้งองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีกล่าวหา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง เนื่องจากส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ราชการเกี่ยวกับการปล่อยให้สต๊อกน้ำมันปาล์มขาดแคลน เพื่อปั่นให้ราคาน้ำมันปาล์มในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้นอย่างผิดปกติ เพื่อประโยชน์แก่พวกพ้องของตน

 
เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา สำนักข่าวอิศรารายงานว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติตั้งองค์คณะไต่สวน (กรรมการ ป.ป.ช. 9 ราย) ไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีกล่าวหา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง เนื่องจากส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ราชการเกี่ยวกับการปล่อยให้สต๊อกน้ำมันปาล์มขาดแคลน เพื่อปั่นให้ราคาน้ำมันปาล์มในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้นอย่างผิดปกติ เพื่อประโยชน์แก่พวกพ้องของตน
 
โดยกรณีนี้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงตั้งแต่ปี 2555 และตั้งองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริงไปแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงปี 2559 ได้เริ่มรวบรวมพยานหลักฐาน และเดือน ก.ย. 2559 มีการตั้งองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริงอีกครั้ง เนื่องจากกรรมการ ป.ป.ช. ชุดเดิม 5 ราย ได้เกษียณราชการ และมีกรรมการ ป.ป.ช. ชุดใหม่เข้ามาเป็นแทน ปัจจุบันมีการแจ้งหนังสือถึงนายสุเทพ และดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานจากที่ผู้ถูกกล่าวหา (นายสุเทพ) อ้าง หรือพยานหลักฐานอื่น ๆ เพิ่มเติม
 
นอกจากนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังรับเรื่องร้องเรียนกล่าวหานายสุเทพ กรณีขอให้ถอดถอนพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากอาจมีพฤติการณ์จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย โดยจงใจปกปิดและแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินในวันเข้ารับตำแหน่ง และออกจากตำแหน่ง รมว.คมนาคม อันเป็นเท็จ โดยปกปิดทรัพย์สินที่ดินบนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัจจุบันยังไม่มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯในเรื่องนี้แต่อย่างใด
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในช่วงปลายปี 2556 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ และเป็นแกนนำของม็อบ กปปส. หรือคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ออกจากการปฏิบัติหน้าที่ กระทั่งกลางปี 2557 เกิดการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.ทบ. ระบุทหารไม่คว่ำเลือกตั้งหากพรรคเพื่อไทยชนะ

$
0
0
พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ยืนยันทหารไม่คว่ำเลือกตั้ง หากพรรคเพื่อไทยชนะ มั่นใจคุมสถานการณ์ได้ ชี้คดี 'ยิ่งลักษณ์' ยึดตามกฏหมาย ขู่หากมีป่วน รัฐบาล-คสช. จะยืดเวลาออกไปอีกเรื่อย ๆ

 
1 ม.ค. 2559 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าพล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงบทบาทกองทัพในการดูแลสถานการณ์ 2560 จะมีการเลือกตั้ง ว่า ตนมั่นใจกองทัพสามารถควบคุมสถานการณ์ต่อจากนี้ไปจนถึงวันเลือกตั้งได้ ตั้งแต่หลัง ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ซึ่งขณะนี้ทุกอย่างเป็นไปตามโรดแมป และไม่มีเงื่อนไขระหว่างทาง อีกทั้งประชาชนต้องการเลือกตั้ง โดยสิ่งสำคัญที่สุดหน่วยงานความมั่นคง โดยเฉพาะเหล่าทัพมีความเป็นเอกภาพในการทำงาน มีการประสานงานร่วมกันทั้งทหารและตำรวจ ภายใต้การนำพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งตนเชื่อว่าความเป็นเอกภาพนี้จะทำให้สภาพโดยรวมไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะสามารถคลี่คลายได้ 
 
พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวต่อว่า หากถามว่าจากนี้ไปจนถึงการเลือกตั้งจะเกิดอะไรหรือไม่นั้น ก็ยอมรับว่าอาจมีคนไม่อยากให้มีการเลือกตั้งซึ่งเป็นกลุ่มเห็นต่างที่ต้องการเปิดประเด็นในแต่ละห้วงเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประชาชนจะยอมรับประเด็นนั้นหรือไม่ ส่วนเงื่อนไขใหญ่ๆ ไม่มี เมื่อไม่มีเงื่อนไขใหญ่ๆ สถานการณ์ในลักษณะนี้เรามั่นใจว่าสามารถไปสู่การเลือกตั้งได้ 
 
เมื่อถามว่าปีหน้าจะมีการตัดสินคดีโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเป็นเงื่อนไขทำให้เกิดเหตุการณ์ หรือไม่ พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่มีการตัดสินออกมา และที่สำคัญคิดว่าต้องยอมรับกฎหมาย หากคำตัดสินออกมา ซึ่งอาจจะมีบ้างกับแนวร่วมที่มีความใกล้ชิด น.ส.ลักษณ์มาแสดงพลัง แต่ไม่น่ามีปัญหาอะไร โดยส่วนรวมตนคิดว่าไม่ใช่เฉพาะนักการเมืองอย่างเดียวที่นำไปสู่การเลือกตั้ง แต่ทุกๆคนก็ต้องการถึงจุดนั้นเช่นกัน 
 
“คิดว่าไม่มีประโยชน์ที่จะออกมาป่วน หากป่วน รัฐบาลและคสช.ก็ยืดเวลาออกไปอีกเรื่อยๆ ผมคิดว่าไม่มีอุบัติเหตุทางการเมืองที่มาจากเงื่อนไขต่างๆ เพราะทุกอย่างกำลังเป็นไปตามกฎหมายทั้งสิ้น ซึ่งคดีของคุณยิ่งลักษณ์ไม่น่าใช่สาเหตุ ดังนั้นผมจึงเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งเกิดขึ้นแน่ในปี 2560 หากจะมีขยับขยายเวลาก็เป็นแค่ห้วงสั้นๆ ในวันนี้ถ้ามองในภาพรวมบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลและคสช.อย่างเดียว เพราะประชาชนพอใจสภาพสถานการณ์ในปัจจุบัน สำหรับปัญหาแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นนั้น ถ้าเป็นเรื่องอนาคต ผมไม่ทราบ คงตอบไม่ได้ และอะไรที่ยังไม่เกิดแล้วไปคาดเดาว่าจะเกิด คงไม่ได้ อย่างไรก็ตามผมพูดตามข้อมูลที่มีอยู่ จึงขอให้สบายใจว่าเราจะเดินไปสู่การเลือกตั้งแน่นอน ขณะที่พรรคการเมืองต่างๆก็เตรียมตัวภายใต้กรอบต่างๆที่สามารถทำได้”เลขาธิการคสช. กล่าว 
 
เมื่อถามว่า มีการพูดถึงการกลับมาของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ หากได้รับนิรโทษกรรม พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า เรื่องนี้ขอไม่ตอบ เพราะยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร บางเรื่องเราคาดการณ์ได้เพราะมีโรดแมป แต่บางเรื่องเราคาดการณ์ไม่ได้ เช่น จะมีพายุใหญ่ หรือภัยแล้ง เป็นเรื่องที่ไม่ควรตอบไปก่อน 
 
เมื่อถามต่อว่าปี 2560 หากปลดล็อคพรรคนักการเมืองทหารจะต้องตามประกบนักการเมือง หรือไม่ เลขาธิการคสช. กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะกลไกตามระบบมีอยู่แล้ว พร้อมทั้งเชื่อว่าเมื่อปลดล็อคนักการเมืองแล้ว พรรคการเมืองก็เดินตามกรอบของตนเอง และทุกฝ่ายก็มองอยู่ การหาเสียงก็ว่ากันไปตามกฎหมายที่รองรับส่วนที่ห่วงว่ามีการหาเสียงแบบโจมตีทหารนั้น ตนเชื่อว่านักการเมืองทุกคนมีวุฒิภาวะพอว่าอะไรควรหรืออะไรไม่ควร อาจถือได้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการปรับรูปแบบนักการเมืองที่ดีจะเข้ามาสู่ถนนการเมือง เนื่องจากเรามีบทเรียน มีข้อคิด อีกทั้งบ้านเมืองเราผ่านความเจ็บปวดมามากพอสมควร เราคงไม่อยากเกิดขึ้นอีก บางอย่างอาจได้อย่างใจ หรือไม่ได้อย่างใจต้องค่อยๆแก้ต่อไป โดยยึดถือกฎหมายบ้านเมืองเป็นหลัก 
 
“บทบาทของทหาร และการเมืองก็ต้องเว้นระยะห่างเอาไว้บ้าง ซึ่งต่างฝ่ายต่างเดินในกรอบ ผมรับผิดชอบด้านความมั่นคง ขณะที่นักการเมืองรับผิดชอบในหน้าที่ตนเอง ซึ่งเรื่องการรัฐประหาร จากข้อมูลที่มีอยู่จะไม่มีการรัฐประหาร ซึ่งอยากถามว่าจะมีเหตุผลอะไร เพราะเราผ่านการเรียนรู้มาแล้ว อีกทั้งรัฐบาลก็วางหลักเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ป้องกันเหตุการณ์เดิมๆ การเมืองก็ว่ากันไป แม้ว่าผลเลือกตั้งในปี 2560 จะได้พรรคเดิมเข้ามาเป็นรัฐบาล ในเมื่อเลือกตั้งแล้วก็คือเลือกตั้ง ทุกฝ่ายต้องยอมรับกติกา ทหารจะไม่คว่ำเลือกตั้ง อย่าลืมว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าการเมืองไม่ดีบ้านเมืองคงไม่เจริญมาถึงทุกวันนี้ แต่ในภาพรวมอาจมีเล็กๆน้อยๆ ของบุคคล แต่ไม่ใช่ระบบการเมือง และต่อไปการตรวจสอบจะมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะความเข้มงวดของกฎหมาย ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างอยู่กับร่องกับรอย” พล.อ.เฉลิมชัย กล่าว
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกิดเหตุโจมตีสถานบันเทิงในนครอิสตันบูลของตุรกี

$
0
0

1 ม.ค. 2560 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่าประชาชนอย่างน้อย 35 คนเสียชีวิต และ 40 คนได้รับบาดเจ็บ ในเหตุโจมตีในนครอิสตันบูลของตุรกีวันนี้ ซึ่งมีรายงานว่า มือปืนแต่งกายด้วยชุดซานตาครอส บุกเข้าไปในสถานบันเทิงที่ส่วนมากบุคคลร่ำรวยมาเที่ยวในเวลากลางคืน ระหว่างที่กำลังมีการฉลองเทศกาลปีใหม่ นับเป็นเหตุรุนแรงล่าสุดที่เกิดขึ้นในตุรกี หลังเกิดรุนแรงนองเลือดหลายครั้งในปี 2559
 
สำนักข่าวโดกันรายงานว่า มือปืน 2 คน ในชุดซาตาครอส บุกเข้าภายใน และกราดยิงเข้าใส่ประชาชนที่อยู่ในเรนา ไนท์คลับ หนึ่งในสถานบันเทิงกลางคืนที่มักมีการจัดงานรื่นเริงของคนร่ำรวย เหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 35 คน หนึ่งในจำนวนนี้เป็นตำรวจ ขณะที่อีก 40 คนต้องเข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลต่างๆ ผู้อยู่ในเหตุการณ์บางคนกล่าวว่า ผู้ก่อเหตุพูดภาษาอาราบิก สำนักข่าวโดกันยังรายงานอีกว่า ระหว่างเกิดเหตุมีประชาชนฉลองการเริ่มต้นปี 2560 ที่ในไนท์คลับแห่งนี้อย่างน้อย 700 คน ด้านทำเนียบขาวของสหรัฐ ได้ประณามเหตุรุนแรงครั้งนี้ว่าเป็น เหตุการณ์ที่โหดร้ายและน่ากลัว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: ปักหมุดกันลืม 10 ข่าวที่แผ่วและหายไปปี 2559

$
0
0

TCIJ รวบรวมข่าวที่ 'ไม่เป็นข่าว' ในรอบปี 2559 ที่ผ่านมา ปักหมุดไว้กันลืม ซึ่งดูเหมือนว่าบางประเด็นจบไปแบบเงียบ ๆ ทั้งที่คาดว่าจะเป็นประเด็นใหญ่ตอนแรกเริ่ม บางประเด็นก็เริ่มแบบเงียบๆ แล้วเลือนหายไปจากความทรงจำผู้เสพสื่อแบบเงียบ ๆ เหมือนกัน บางประเด็นก็ยังไม่จบ และอาจจะส่งผลกระทบในอนาคตอย่างใหญ่หลวง

<--break- />1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องจาก ‘ตำบลละ 5 ล้าน’

‘มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล’ หรือ ‘โครงการตำบลละ 5 ล้านบาท’ ปิดโครงการไปเมื่อต้นปี 2559 ( ที่มาภาพ: ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารงานปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)

ปิดโครงการไปอย่างเงียบ ๆ เมื่อเดือน มี.ค. 2559 สำหรับอภิมหาเมกะโปรเจ็คกระตุ้นรากหญ้าอย่าง ‘มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล’ หรือ ‘โครงการตำบลละ 5 ล้านบาท’ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2558 ที่ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังได้เสนอ 2 มาตรการ คือ (1) มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน โดยการให้สินเชื่อกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หรือ 'โครงการฯ กองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้าน' วงเงิน 60,000 ล้านบาท และ (2) มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล หรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตำบลละ 5 ล้านบาท จำนวน 7,255 ตำบล วงเงินรวม 36,275 ล้านบาท หวังกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ ทั้งนี้เดิมทีมีกำหนดการใช้จ่ายเงินตามโครงการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2558 แต่จากนั้นก็ได้มีการเลื่อนปิดโครงการมาเป็นปลายเดือน มี.ค. 2559

ทั้งนี้ข้อมูลจาก ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารงานปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าเมื่อแยกลักษณะของโครงการตามแต่ละประเภท (คำนวณจากโครงการที่ผ่านการอนุมัติระดับจังหวัดและบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ 120,791 โครงการ) พบว่าเป็นโครงการเกี่ยวกับการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 84.03% (101,500 โครงการ) เป็นโครงการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 5.48% (6,621 โครงการ) และเป็นโครงการด้านเศรษฐกิจสังคม 10.49% (12,670 โครงการ)

ภาพการถมคูคลองวางท่อภายใต้โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางประชารัฐประจำปีงบประมาณ 2560 (โครงการหมู่บ้านแห่งละ 250,000 บาท) ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ (ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2559)

มีอีก! ยังมีอีก! ต่อเนื่องมาจากโครงการตำบลละ 5 ล้าน ก็ยังมีโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐประจำปีงบประมาณ 2560 อีกหมู่บ้านละ 200,000 บาท สิ้นสุดโครงการไปเมื่อปลายเดือน ส.ค. 2559 จากนั้นมติที่ประชุม ครม. เมื่อเดือน ต.ค. 2559 เห็นชอบโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางประชารัฐประจำปีงบประมาณ 2560 โดยอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินการรวมวงเงิน 18,760 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปแก่หมู่บ้านแห่งละ 250,000 บาท จำนวน 74,655 หมู่บ้าน วงเงินรวม 18,663.75 ล้านบาท และค่าดำเนินโครงการจำนวน 96.25 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 3 เดือน สิ้นสุดเดือน ม.ค. 2560

เม็ดเงินกระจายไปมหาศาลแบบนี้ ก็ลองสำรวจตรวจตราดูว่าแถวบ้านคุณได้รับประโยชน์อะไรเกี่ยวกับโครงการเหล่านี้บ้างหรือไม่? (คลิ๊กดูโครงการตำบลละ 5 ล้าน ที่ตำบลของคุณได้ที่นี่)

2. 'ลุงเด่น คำแหล้' หายไป...วันที่เท่าไรแล้ว ?

ลุงเด่น คำแหล้ บนภาพกราฟฟิกศิลปะแนวป๊อบอาร์ต ที่มาภาพ: CitizenThaiPBS

16 เม.ย.2559 'เด่น คำแหล้' แกนนำนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินทำกินและเป็นประธานโฉนดชุมชนโคกยาว ไปเก็บหาของป่า และนับจากวันนั้นเป็นต้นมา ไม่มีผู้ใดได้พบเห็นเขาอีกเลย

ลุงเด่น คำแหล้ ผู้มีประวัติการต่อสู้เรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมมายาวนานทั้งชีวิต (อ่าน เพิ่มเติม: 'เด่น คำแหล้ : ประวัติชีวิตและเส้นทางการต่อสู้ของ “สหายดาว อีปุ่ม”') และชาวบ้านเครือข่ายปฎิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) ถือเป็นกลุ่มชาวบ้านที่ขับเคลื่อนเรื่องการปฏิรูปที่ดินอย่างแข็งขัน ได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับผู้เดือดร้อนทั่วประเทศในนามเครือข่ายปฎิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) โดยได้ผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการที่ดินโดยชุมชน ในรูปแบบ “โฉนดชุมชน” และการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ กระทั่งรัฐบาลสมัยนั้นได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 ในเดือน มิ.ย. 2553 ต่อมาในปี 2554 เครือข่ายประชาชนได้รวมตัวกัน ในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ได้ชุมนุมติดตามปัญหาที่ลานพระบรมรูปทรงม้า กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนฯ และเป็นที่มาของการเข้าพื้นที่โคกยาว ในเวลาต่อมา

ในเดือน ก.ค. 2554 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สนธิกำลังเข้าควบคุมตัวชาวบ้านโคกยาว จำนวนทั้งสิ้น 10 คน และแจ้งข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม โดยแยกฟ้องเป็น 4 คดี ซึ่งลุงเด่น คำแหล้ ตกเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ได้ชุมนุมที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง เพื่อติดตามปัญหา กระทั่งมีข้อตกลงผ่อนผันการทำประโยชน์ที่ดินที่อยู่ระหว่างแก้ไขปัญหาร่วมกัน ช่วงเวลาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ในคดีนายเด่น คำแหล้ และพวกรวม 5 คน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 4 (เด่น และสุภาพ) พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 6 เดือน และศาลไม่อนุญาตฎีกา จำเลยทั้งสองต้องถูกคุมขังจำนวนทั้งสิ้น 12 วัน ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาล ซึ่งศาลอนุญาตในเวลาต่อมา และสามารถประกันตัวผู้ต้องหาได้ในที่สุด

ต่อมาปี 2557 รัฐบาลได้ดำเนินแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในประเทศให้ได้ร้อยละ 40 โดยมีมาตรการสำคัญ คือ 'ทวงคืนผืนป่า' ในเดือน ส.ค. 2557 เจ้าหน้าที่ได้นำป้ายประกาศ จ.ชัยภูมิ มาปิดที่ชุมชนโคกยาวและบ้านเรือนทุกหลังคาเรือนให้ออกจากพื้นที่ภายใน 15 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด ต่อมาชาวบ้านผู้เดือดร้อนได้เคลื่อนไหวเรียกร้อง กระทั่งมีการชะลอการดำเนินการดังกล่าว ต่อมาในเดือน ม.ค. 2558 มีหนังสือสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) สั่งให้เด่นและสุภาพ คำแหล้ พร้อมด้วยบริวาร ออกจากป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 25(1) (2) (3) แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งลุงเด่น คำแหล้ ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ต่อมามีหนังสือถึงลุงเด่น คำแหล้ เรื่องไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์คำสั่งบังคับดังกล่าว เหล่านี้ได้สร้างบรรยากาศที่สุ่มเสี่ยงไร้หลักประกันของชาวชุมชนโคกยาว จากความพยายามในการผลักดันชาวบ้านออกจากพื้นที่ทำกินเดิม ด้วยสารพัดวิธี ในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา จากนั้นลุงเด่น คำแหล้ ก็หายตัวไป

และนี่คือ นาฬิกานับวันเวลาที่ลุงเด่น คำแหล้ หายตัวไป …

3. พ.ร.บ.นิวเคลียร์ … ทันตแพทย์ออกมาค้านก่อนเพื่อน!

เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระแรกเมื่อเดือน ก.พ. 2559 จากนั้น เดือน พ.ค.2559 สนช. มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. ... ตามที่คณะกรรมาธิการยวิสามัญพิจารณาแล้วเสร็จ ด้วยคะแนนเสียง 144 เสียง ต่อ 1 เสียง และงดออกเสียง 5 เสียง ได้มีการเพิ่มเติมรายชื่อร่างกฎหมาย จาก 'พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. ...' เป็น 'พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ...' และปรับถ้อยคำให้มีความเหมาะสม (ให้ดูซอฟต์ลง ?) โดยร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว สาระสำคัญคือเพื่อควบคุมการประกอบกิจการที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์และรังสี ให้เกิดความปลอดภัยและความมั่นคง และการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ เพื่อคุ้มครองประชาชนและสิ่งแวดล้อม และให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ในทางสากลเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อกำกับและดูแลการดำเนินการต่างที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์และรังสี

ว่ากันว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นหมุดหมายสำคัญที่อาจจะเป็นกฎหมายรองรับการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทยในอนาคต เพราะตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศปี พ.ศ. 2558 - 2579 (Power Development Plan หรือ PDP 2015) นั้นระบุว่าไทยจะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกภายในปี 2578 ทั้งนี้ พ.ร.บ. พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 เป็นกฎหมายใหม่ซึ่งจะประกาศใช้แทน พ.ร.บ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 ก.พ. 2560 (เดิมที พ.ร.บ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 ยุครัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีเพียง 24 มาตรา แต่ พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ฉบับใหม่นี้มีทั้งสิ้น 152 มาตรา) โดยในระหว่างนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอยู่ระหว่างการออกกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เมื่อถามว่ามีกลุ่มไหนออกมาต้านกฎหมายฉบับนี้บ้าง? คำตอบคือมีแล้ว นั่นก็คือกลุ่มเครือข่ายทันตแพทย์ภาครัฐและเอกชนทันตะอาสาที่ออกมาประท้วงเมื่อเดือน ต.ค. 2559 โดยกลุ่มเครือข่ายทันตแพทย์ฯ ระบุว่ากฎหมายฉบับนี้ส่งผลกระทบต่อการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตแพทย์ โดยเฉพาะกับคลินิกทันตกรรมทั่วประเทศที่มีกว่า 6,000 แห่ง เพราะหลังจากบังคับใช้จะไม่สามารถถ่ายเอกซเรย์ฟันให้คนไข้ได้ เพราะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี

4. เขตเศรษฐกิจพิเศษ ไปถึงไหนแล้ว ?

หนึ่งในวาระสำคัญทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารเมือปี 2557 ก็คือความพยายามผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ของประเทศขึ้นมา โดยรัฐบาลถึงกับได้เร่งรัดให้ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เร่งพิจารณาการให้สิทธิประโยชน์พิเศษขั้นสูงสุด แบบไม่จำกัดกิจการให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 6 แห่ง ในพื้นที่ 5 จังหวัด (เฟส 1) โดยให้พิจารณาสิทธิพิเศษให้ใกล้เคียงกับที่ให้กับนักลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบัน ปี 2559 อยู่ในระยะที่ 2 (เฟส 2) ของการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

เขตเศรษฐกิจพิเศษ เฟส 1 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ 1.จ.ตาก พื้นที่ 886,875 ไร่ ใน 3 อำเภอ คือ อ.แม่สอด พบพระ แม่ระมาด    2.จ.สระแก้ว พื้นที่ 207,500 ไร่ ใน 2 อำเภอ คือ อ.อรัญประเทศ วัฒนานคร 3.จ.มุกดาหาร พื้นที่ 361,542 ไร่ ใน 3 อำเภอ คือ อ.เมืองมุกดาหาร หว้านใหญ่ ดอนตาล 4.จ.สงขลา พื้นที่ 345,187 ไร่ ใน 1 อำเภอ คือ อ.สะเดา 5.จ.ตราด พื้นที่ 31,375 ไร่ ใน 1 อำเภอ คือ    อ.คลองใหญ่

ข้อมูลที่รวบรวมโดย ประชาชาติธุรกิจ เมื่อเดือน ธ.ค. 2559 ระบุว่า หลังจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้ออกประกาศ เพื่อกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ เฟส 1 นี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2558 จนกระทั่งถึงเดือน ต.ค. 2559 พบว่ามีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนเข้ามายังคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทั้งหมด 34 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 7,034 ล้านบาท แบ่งเป็นหมวดเคมีภัณฑ์-พลาสติกกระดาษ 18 โครงการ เงินลงทุน 3,908 ล้านบาท เช่น กิจการบรรจุภัณฑ์พลาสติก กิจการผลิตเส้นใยพลาสติก, หมวดเกษตรกรรม/ผลิตผลจากการเกษตร 6 โครงการ เงินลงทุน 1,375 ล้านบาท เช่น กิจการคัดคุณภาพข้าว กิจการผลิตอาหารสัตว์, หมวดเหมืองแร่/เซรามิก/โลหะขั้นมูลฐาน 4 โครงการ เงินลงทุน 1,331 ล้านบาท ได้แก่ กิจการวัสดุก่อสร้าง และหมวดอุตสาหกรรมเบา 4 โครงการ เงินลงทุน 283 ล้านบาท เช่น กิจการผลิตเส้นด้ายพลาสติก และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ 1 โครงการ เงินลงทุน 20 ล้านบาท โดยข้อมูลจาก BOI ระบุว่าการให้สิทธิประโยชน์ตามเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ผ่านมา SEZ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เมื่อพิจารณาจากยอดสถิติขอรับการส่งเสริมการลงทุน ใน 10 เดือนแรกของปี 2559 ซึ่งมีเงินลงทุนเข้ามาถึง 7,034 ล้านบาท ตามความพร้อมของแต่ละจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนใน จ.สระแก้ว และ จ.แม่สอด

เขตเศรษฐกิจพิเศษเฟส 2 รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย 1.จ.หนองคาย พื้นที่ 296,042 ไร่ ใน 2 อำเภอ คือ อ.เมืองหนองคาย สระใคร 2.จ.นราธิวาส พื้นที่ 246,747 ไร่ ใน 5 อำเภอ คือ อ.เมืองนราธิวาส ตากใบ ยี่งอ แว้ง สุไหงโกลก 3.จ.เชียงราย พื้นที่ 477,030 ไร่ ใน 3 อำเภอ คือเชียงของ เชียงแสน แม่สาย 4. จ.นครพนม พื้นที่ 465,493 ไร่ ใน 2 อำเภอ คือ อ.เมืองนครพนม อ. ท่าอุเทน 5.จ.กาญจนบุรี พื้นที่ 162,993 ไร่ ใน 1 อำเภอ คือ อ.เมืองกาญจนบุรี

สำหรับการเดินหน้าเศรษฐกิจพิเศษเฟส 2 นี้ ล่าสุดในเดือน ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามความในมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ออกคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช.ที่ 74/2559 แก้ไขคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช.ที่ 17/2558 เรื่องการจัดหาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยให้เพิกถอนที่สาธารณะในท้องที่ ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ 7941 ภายในแนวเขตตามแผนที่หมายเลข 9 นอกจากนี้ คำสั่ง คสช.ฉบับนี้ยังถอนการสงวนหวงห้ามที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ อ.เมืองกาญจนบุรี วังขนาย บ้านทวน และวังกะ จ.กาญจนบุรี โดยถอนเฉพาะที่ดินในท้องที่ ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เพื่อจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมในท้องที่ จ.กาญจนบุรี และนครพนม ที่มีความพร้อมดำเนินการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งนี้ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนมถือเป็นเฟส 2 หลังจากคณะอนุกรรมการด้านการจัดหาที่ดินและบริหารจัดการ ที่มี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เป็นประธาน ได้คัด เลือกแปลงที่ดินบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์จำนวน 2,400 ไร่ เป็นพื้นที่ให้เอกชนเช่าพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรม ด้านกรมโยธาธิการและผังเมืองได้วางผังพื้นที่เฉพาะเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนมแล้วเสร็จ โดยพื้นที่สีเขียวหรือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมจะได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ สามารถพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรีตั้งอยู่ ต.บ้านเก่า บริเวณด่านถาวรบ้านพุน้ำร้อน กองทัพบกยินยอมมอบพื้นที่ ซึ่งเคยดูแลในด้านความมั่นคงเนื้อที่กว่า 8,000 ไร่ ให้ จ.กาญจนบุรี นำมาพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการลงนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 มิ.ย.ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 4 โซน คือ 1.พื้นที่ศุลกากร จำนวน 1,000 ไร่ 2.พื้นที่จัดสร้างศูนย์ราชการ จำนวน 3,000 ไร่ 3.พื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 3,000 ไร่ และโซนที่ 4.พื้นที่ชุมชนประกอบธุรกิจ จำนวน 1,400 ไร่ สำหรับพื้นที่ก่อสร้างศูนย์ราชการ คาดว่าต้องใช้งบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท

สำหรับการต่อต้าน ก็เป็นข่าวเล็ก ๆ มาต่อเนื่องตลอดทั้งปี ดังเช่นที่พื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเฟส 1 กลุ่มคนแม่สอดรักษ์ถิ่น ออกมาระบุว่าปัจจุบันที่ดินใน อ.แม่สอด มีราคาพุ่งสูงถึงไร่ละ 12-25 ล้านบาท จากเดิมเพียงไร่ละ 1 ล้านบาท แต่ชาวบ้านกลับได้เงินชดเชยจากการเวนคืนเพียงไร่ละ 7,000-12,000 บาทเท่านั้น ส่วนที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเฟส 2 ชาวบ้านในพื้นที่ก็ได้ออกมาคัดค้านด้วยเช่นกัน เพราะในพื้นที่เป็นพื้นที่ป่าชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์และกว้างใหญ่ที่สุดในลุ่มน้ำอิง อายุกว่า 200 ปี ที่ชาวบ้านไม่อยากให้มีอุตสาหกรรมคืบคลานเข้ามา

5. ‘เหมืองแร่พ่วงโรงไฟฟ้า’ ที่ จ.ชัยภูมิ

หลายพื้นที่ต้านเหมืองแร่ หลายพื้นที่ต้านโรงไฟฟ้า แต่จะมีกี่พื้นที่ที่ต้องต้านทั้งเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าไปพร้อมกัน  TCIJ ของยกกรณีที่ จ.ชัยภูมิ มาเล่าสู่กันฟัง …

ความเป็นมาของโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียน (หรือเหมืองแร่โปแตซชัยภูมิ) นั้นเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน ภายหลังจากการลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์เมื่อปี 2519 ประเทศไทยโดยกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอให้โครงการนี้เป็นโครงการอุตสาหกรรมอาเซียนของประเทศไทย เมื่อปี 2532 โครงการมีจุดประสงค์ที่จะดำเนินการทำเหมืองและโรงแต่งแร่โปแตชที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เพื่อผลิตปุ๋ยให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง ต่อมาได้มีการจัดตั้ง บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด ขึ้นมา โดยในปี 2547 บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในนาม บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) พร้อมกับได้ผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ ต่อมาได้ดำเนินการยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่โปแตช พื้นที่รวมประมาณ 9,707 ไร่ ในเขตท้องที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ซึ่งโครงการนี้ถูกชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้านตลอดมา

ทั้งนี้ในการดำเนินการของโครงการเหมืองแร่โปแตซแห่งนี้ ก็ต้องใช้กำลังไฟฟ้าปริมาณมหาศาลเพื่อป้อนให้โครงการด้วยเช่นกัน จึงมีความพยายามที่จะผลักดันการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมโดยใช้ถ่านหินบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ด้วย ซึ่งก็เป็นอีกกรณีที่กลุ่มชาวบ้านออกมาต่อต้าน จากคำบอกเล่าของ อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ได้บันทึกการลงพื้นที่่ ผ่าน เฟซบุ๊กส่วนตัวของเธอ เมื่อเดือน พ.ย. 2559 ระบุไว้อย่างน่าสนใจว่า

"วันนี้เดินทางไป อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เพื่อตรวจสอบกรณีนักปกป้องสิทธิชุมชน กรณีต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งชาวบ้านกลัวผลกระทบจากกากถ่านหิน โครงการนี้ไม่ใช่โครงการของรัฐบาล แต่เป็นของบริษัททุนนอกพื้นที่ที่เข้ามาลงทุน ก่อนพบเจ้าหน้าที่รัฐ มีโอกาสเข้าไปในพื้นที่ที่จะสร้างโรงไฟฟ้า ชาวบ้านหลายคนร้องไห้ กลัวสารพัด กลัวน้ำเสีย กลัวผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว แถมกลัวเจ้าหน้าที่รัฐอีก แม่คนหนึ่งบอกว่า ชาวบ้านไม่มีเงินเดือนเหมือนข้าราชการ มีแต่เงินปี คือมีรายจ่ายทั้งปี แต่รายได้มาจากการขายข้าวปีละครั้ง หนี้สินมากมาย พอมีโครงการอุตสาหกรรมเข้ามาในพื้นที่ ชาวบ้านกลัวผลกระทบไปหมด พอถามเจ้าหน้าที่เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่บอก ยังตอบไม่ได้เพราะยังไม่ได้ทำ EIA พอชาวบ้านคัดค้าน ช่วยกันระดมทุน ทอดผ้าป่า เจ้าหน้าที่เรียกไปคุยไม่ให้จัดเพราะกลัวชาวบ้านนำเงินไปปลุกระดม ชาวบ้านทำเสื้อเขียนคำว่า ‘ต่อต้าน’ ก็ถูกเจ้าหน้าที่บังคับให้ถอดเสื้อ ไม่เช่นนั้นจะเอาตัวไปปรับทัศนคติ ชาวบ้านที่เป็นชายเลยกลับด้านใส่ แต่หญิงชาวบ้านถอดไม่ได้ กลัวถูกกล่าวหาว่าอนาจาร จึงต้องกลับบ้านไป

ตอนบ่าย อนุกรรมการสิทธิพลเมืองฯ ที่รับผิดชอบกรณีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นัดประชุมอนุกรรมการฯ ที่ศาลากลาง จ.ชัยภูมิ โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง พอไปถึงปรากฏมีชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบนั่งรออยู่ในห้องประชุม โดยชาวบ้านขอร่วมสังเกตการณ์รับฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ด้วย ในฐานะประธานอนุฯ เห็นว่าเรื่องนี้ไม่มีอะไรเป็นความลับ และชาวบ้านในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย ย่อมต้องมีสิทธิในการรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวเอง แต่ทราบต่อมาว่าเจ้าหน้าที่ขอย้ายห้องประชุม เนื่องจากไม่ต้องการให้ชาวบ้านเข้าร่วมประชุมด้วย โดยเจ้าหน้าที่ไปรออีกห้องหนึ่ง และไม่ยอมลงมาพบในห้องที่ให้ กสม. ใช้ ส่วนตัวในฐานะประธานที่ประชุมได้แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า หากมีคำชี้แจง หรือข้อมูลที่เป็นความลับ เจ้าหน้าที่สามารถแจ้งประธานฯเพื่อขอให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องออกนอกห้องประชุมได้อยู่แล้ว จึงไม่เห็นควรมีข้อขัดข้อง และการให้ชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังก็เป็นการแสดงความโปร่งใส อีกทั้งการจัดประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยขอใช้สถานที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่ง กสม. ในฐานะประธานอนุฯมีหน้าที่ควบคุมการประชุม และมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ใครเข้าร่วมประชุม หรือสังเกตการณ์ได้ ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ไม่สะดวกเข้าชี้แจงก็คงต้องของดการประชุม แต่จะขอเชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปชี้แจงภายหลัง ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯ ซึ่งผู้ร้องก็มีสิทธิได้รับอนุญาตให้เข้ารับฟังการประชุม เช่นกัน ... สุดท้ายจึงสามารถดำเนินการประชุมได้

ประสบการณ์การเดินทางครั้งนี้ พบว่ามีชาวบ้านได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่รัฐบางคน เช่น เจ้าหน้าที่อ้างว่าจะใช้มาตรา 44 ดำเนินคดีกับชาวบ้านที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งที่มาตรา 44 เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คสช. ไม่ใช่อำนาจของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติในพื้นที่ ทำให้เห็นว่าการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ของคนในชาติ จึงน่าจะเริ่มจากการสร้างความไว้วางใจต่อกัน การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงโดยไม่ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว จนกลายเป็นเกลียดชังเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเป็นความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ต้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งถามในที่ประชุมว่า จะคัดค้านโรงไฟฟ้าทำไมต้องทอดผ้าป่าหาทุนด้วย “ผมเคยต่อต้านเหมือง ไม่เห็นต้องใช้เงินเลย” ฟังแล้วก็สะท้านใจ เพราะประสบการณ์ตัวเอง เรื่องการเข้าถึงความยุติธรรม ในประเทศไทย ไม่ได้จะได้มาฟรี ๆ อย่างที่เขียนในรัฐธรรมนูญนะคะ แค่ชาวบ้านอยากมาร้องที่ กสม. ชาวบ้านก็ต้องเสียค่ารถ ค่าอาหาร กระดาษสักแผ่นก็ทำเองไม่ได้นะคะ ทุกอย่างต้องใช้เงินทั้งนั้น แล้วคนยากคนจนจะเอาเงินทองมาจากไหน

ฟังเรื่องราวของชาวบ้านบำเหน็จณรงค์ก็ได้แต่สงสัยว่า ในเมื่อโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน บำเหน็จณรงค์ ไม่ใช่โครงการของรัฐ แล้วทำไมเจ้าหน้าที่รัฐจึงดูเหมือนปกป้องโครงการจนถึงกับต้องออกมาทะเลาะกับประชาชนมากมายจนเกิดความร้าวฉานขนาดนี้"

ล่าสุด เพจเหมืองแร่ ชัยภูมิ ระบุว่าคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (คชก.) ได้ประชุมเมื่อต้นเดือน พ.ย. 2559 เพื่อประกอบการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม โดยใช้ถ่านหินบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโครงการเหมืองแร่โปแตช อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ของบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ จัดทำรายงานฯ โดยบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นการมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ EIA ดังกล่าวเป็นรอบที่ 2 หลังจากที่ คชก. เคยมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ EIA ดังกล่าวมาแล้วรอบหนึ่งเมื่อคราวประชุมเมื่อเดือน พ.ค. 2559 ที่ผ่านมา

การมีมติไม่ให้ความเห็นชอบรอบที่ 2 นี้ คชก. ได้ระบุชัดลงไปว่า “ถือว่าเป็นการจบกระบวนการพิจารณา EIA” ทั้งนี้ หากบริษัทฯ ‘ไม่เห็นด้วย’ กับความเห็นของ คชก. ก็มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลปกครองภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง แต่กรณีที่บริษัทฯ ‘เห็นด้วย’ กับคำสั่งของ คชก. และต้องการเสนอ EIA ใหม่ ก็ไม่ตัดสิทธิที่จะเสนอ EIA ที่ได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับให้ คชก. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งกรณีนี้จะกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ โดย EIA ที่จะเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาใหม่นั้นบริษัทฯ ต้องทำการแก้ไขเพิ่มเติมตามแนวทางหรือรายละเอียดที่ คชก. กำหนดเอาไว้ทั้งหมดถึง 126 ประเด็นเลยทีเดียว ทั้งนี้มีหลายประเด็นที่ความเห็นของ คชก. สอด คล้องกับประเด็นที่ชาวบ้านยกขึ้นมาต่อต้านคัดค้าน เช่น ประเด็นเรื่องการแย่งน้ำอุปโภคบริโภคจากชุมชนที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมถึง 35 ประเด็น เป็นต้น ทั้งนี้ผลของคำสั่ง คชก. ที่มีมติไม่ให้ความเห็นชอบ EIA รอบที่ 2 ของโรงไฟฟ้าถ่านหินในเหมืองโปแตชและเกลือหินของบริษัทฯ ทำให้บริษัทฯ ต้องนับหนึ่งใหม่ โดยเริ่มกระบวนการจัดทำและยื่นให้พิจารณา EIA ใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น นั่นก็คือจะต้องดำเนินการตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม และแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพใน EIA ด้วย ซึ่งเวทีต่าง ๆ ที่เคยจัดหลอกลวงชาวบ้านและส่วนราชการ ดังเช่นเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา เพื่อหวังได้รายชื่อชาวบ้านสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินนำไปแนบยัดไส้ไว้ใน EIA ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบทั้งสองรอบที่ผ่านมา จะนำมาใช้อ้างใน EIA ใหม่ไม่ได้อีกต่อไป

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ หลายคนอาจคิดว่าการสะดุดของโรงไฟฟ้าจะส่งผลสืบเนื่องต่อถึงการดำเนินการของเหมืองโปแตซ แต่ทางฝั่งบริษัทฯ เองดูเหมือนได้เดินตามแผนระยะยาวที่วางไว้แล้ว โดยจากรายงานของ ประชาชาติธุรกิจ เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา ระบุว่าผู้บริหารบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ระบุว่าบริษัทฯ ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Signing Crermony Cooperative Agreement) กับทางบริษัท เบลารุสคาลิ (BELARUSKALI ประเทศเบลารุส) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกแร่ โปแตชนานกว่า 100 ปี โดยมีมูลค่าการส่งออกแร่เป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยปริมาณ 12 ล้านตันต่อปี และส่งมาไทยปริมาณ 2-3 แสนตัน/ปี ทั้งนี้ยังได้เซ็นสัญญาร่วมกับบริษัท EROCSPLAN ประเทศเยอรมนี โดย 2 รายนี้จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่เหมืองใต้ดิน ฝึกอบรมและทำการตลาด ด้วยมูลค่าการพัฒนาร่วมกัน 23,000 ล้านบาท ภายใต้ข้อตกลงมีระยะเวลา 8 ปี โดยใน 3 ปีแรก ทั้ง BELARUSKALI และ EROCSPLAN จะส่งพนักงานมาประจำที่ไทยก่อน 6 เดือน เพื่อพัฒนาระบบการขุดเจาะเหมือง จากนั้นจะเริ่มส่งวิศวกรระดับสูงชุดแรก บินไปดูงานเรียนรู้ด้านเทคนิคที่เบลารุส 3-6 เดือนจากนั้นจะส่งพนักงาน 200 คน ไปฝึกอบรมศึกษางานทั้งหมดเกี่ยวกับระบบการทำเหมืองใต้ดิน อีก 1-2 ปี ซึ่งจะพอดีกับระยะเวลาที่กำหนดเปิดขุดเหมืองในปี 2561 ทั้งนี้ ไทยยังไม่เคยมีการทำเหมืองใต้ดินมาก่อน จึงต้องส่งผู้เชี่ยวชาญไปเรียนรู้ทั้ง 2 ประเทศ

ส่วนข้อตกลงช่วง 5 ปีหลังจากนี้ จะเป็นความร่วมมือด้านการดำเนินงาน และบริษัทอาเซียนโปแตชฯ จะเป็นตัวแทนผู้นำเข้าแร่ โปแตช และส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในเอเชีย อาทิ กัมพูชา ลาว เมียนมา ศรีลังกา เป็นต้น โดย BELARUSKALI และ EROCSPLAN เป็นผู้หาตลาดให้ ขณะเดียวกันโอกาสและศักยภาพของไทยที่จะเป็นแหล่งผลิตแร่ โปแตชรายใหญ่ และผลิตปุ๋ยได้ปริมาณมากที่สุดในอาเซียน เพราะเป็นที่ทราบกันว่าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย พบปริมาณแร่ โปแตชปะปนและแทรกอยู่ในชั้นดินจำนวนมาก นอกจากนี้บริษัทกำลังเจรจาพาร์ตเนอร์ไทยรายใหม่ คือ บริษัท สหกลอีควิปเมนท์ (เอ็นจีเนียริ่ง) จำกัด (SQ) เพื่อเตรียมให้มารับช่วงต่อบริษัท BELARUSKALI และ EROCSPLAN หลังจากหมดสัญญา 8 ปีไปแล้ว ทั้งนี้ SQ เป็นบริษัทรับเหมาขุดเจาะเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดของไทย ให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และโรงไฟฟ้าหงสา สปป.ลาว

สำหรับความคืบหน้าโครงการขุดเจาะเหมืองแร่โปแตชที่ จ.ชัยภูมิ นับตั้งแต่ได้ประทานบัตร เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2558 ครอบคลุมพื้นที่ 9,700 ไร่ มีอายุประทานบัตร 25 ปี (2559-2561) มูลค่าลงทุน 40,000 ล้านบาท และเริ่มขุดด้วยวิธีห้องสลับเสาค้ำยัน แต่งแร่ด้วยวิธีการตกผลึกร้อน สามารถผลิตปุ๋ย โปแตชเซียมคลอไรด์ ได้ปี 2562 ประมาณ 1.1 ล้านตันต่อปี มูลค่า 10,000 ล้านบาทต่อปี เมื่อครบ 25 ปีจะผลิตปุ๋ยได้ 17.33 ล้านตัน ส่วนในประเด็นการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อใช้ในเหมืองแร่นั้น บริษัทฯ ได้เตรียมแผนสำรองว่าจะมีการซื้อไฟฟ้าจากรัฐบาล และใช้ไฟฟ้าจากบอยเลอร์ (หม้อต้มน้ำร้อน) แทนหากไม่ได้อีกทั้ง ได้ทำข้อมูลพื้นฐานเพื่อเก็บข้อมูลเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาในพื้นที่ชุมชน ประวัติการป่วยไว้ล่วงหน้าก่อนที่รัฐบาลจะกำหนดมาตรฐานออกมาใช้

"เราเดินมาถึงสเต็ปที่ 3 แล้ว คือปรับปรุงพื้นที่พัฒนาอุโมงค์ และเซ็นสัญญากับเบราลุส/เยอรมนี เหมืองเราเป็นรูปร่างเพราะทำตามกฎระเบียบทุกอย่าง ยอมรับว่าเรื่องการทำข้อมูลพื้นฐาน กฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องทำ อาจมีบางที่เหมืองละเลยไปบ้าง แต่ต้องทำให้เป็นบรรทัดฐานไว้ใช้เปรียบเทียบ หากอนาคตเหมืองหรือชุมชนเปลี่ยนแปลง เพราะแน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ก็เป็นโรคอยู่แล้ว ดังนั้นต้องเก็บข้อมูลให้รอบด้านทั้งหมด เรากล้าพูดว่า โปแตชจะเป็นแร่เศรษฐกิจของประเทศ และเชื่อว่าชุมชนมีความรู้ รับฟังประโยชน์มากกว่าคัดค้าน" ผู้บริหารบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับประชาชาติธุรกิจ

6. การ ‘ทวงคืนผืนป่า’ ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

อีกหนึ่งนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 ก็คือ ‘แผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้การที่บุกรุกที่ดินของรัฐและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน’ หรือ 'นโยบายทวงคืนผืนป่า' ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในประเทศให้ได้ร้อยละ 40 ภายในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งข้อมูลจากการแถลงผลงานของรัฐบาล ณ เดือน ก.ย. 2559 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายการทวงคืนผืนป่าและการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน โดยได้จับกุมผู้กระทำคดีรุกป่าไม้ได้ 4,367 คน จับกุมผู้กระทำผิดคดีเกี่ยวกับการทำไม้ได้ 14,209 คน มีไม้ของกลางรวม 1,096,660 ท่อน พร้อมจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนจำนวน 5,628 คน รวมพื้นที่ 7,637 แปลง ส่วนข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่าสามารถทวงคืนพื้นที่ป่าได้ทั้งสิ้น 1.4 แสนไร่ ส่วนในปี 2560 ตั้งเป้าหมายเอาไว้ 1.07 แสนไร่

น่าสนใจสำหรับตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบทั้งผู้ถูกจับกุมและผลักดันออกจากพื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นชาวบ้านมากกว่านายทุน ซึ่งนอกเหนือจะมีเหตุการณ์จับกุมชาวบ้านแล้ว ก็ยังมีข่าวชาวบ้านออกมาประท้วงนโยบายนี้อยู่เนือง ๆ อย่างเหตุการณ์ล่าสุดแค่ในรอบเดือน ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา มีหลายกรณีอาทิเช่น 10 ธ.ค. 2559 ตามรายงานของ ข่าวสด ระบุว่าทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อส. ตำรวจ กก.3 บก.ปทส. และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ สนธิกำลังกว่า 150 นาย เข้าปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าในพื้นที่เป้าหมายตามคำสั่งยุทธการที่ 2 (พิทักษ์ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์) ซึ่งเป็นพื้นที่ติดเชิงเขาภูสิงห์ หลังมีชาวบ้านบุกรุกเข้าไปปลูกต้นยางพารา บนที่ดินกว่า 611 ไร่ บริเวณ ต.นาสิงห์ อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ, 14 ธ.ค. 2559 ตามรายงานข่าวของ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ระบุว่าตัวแทนชาวบ้าน 5 หมู่บ้าน ต.คลองขุด และ ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล และบางพื้นที่ของเขตเทศบาลเมืองสตูล กว่า 200 คน เดินทางมารวมตัวกันที่ศูนย์ดำรงธรรม อำเภอเมืองสตูล เพื่อล่ารายชื่อในการร้องขอให้ทางศูนย์ดำรงธรรมช่วยเหลือ หลังประสบปัญหาคำสั่งตามหนังสือ 'ทวงคืนผืนป่า' ที่ชาวบ้านระบุว่าได้อยู่มาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่า พร้อมกับยื่นข้อเรียกร้องขอให้ยกเลิกและถอดป้ายขอคืนพื้นที่ออกจากที่ทำกินของชาวบ้านในเขตพื้นที่ ต.คลองขุด ต.พิมาน อ.เมือง สตูล และขอให้ชาวบ้านที่ทำกินอยู่ในปัจจุบันสามารถทำกินต่อไปได้, และ 15 ธ.ค. 2559 ตามรายงานของ สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ ระบุว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง กว่า 100 นาย สนธิกำลังทวงคืนผืนป่าที่ชาวบ้านลักลอบแผ้วถางปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ป่าต้นน้ำของอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า ต.บ้านนา ต.ลำสินธุ์ และ ต.ชุมพล ของอำเภอศรีนครินทร์ จำนวน 11 จุด เนื้อที่ 71 ไร่ เป็นต้น

น่าจับตานโยบายนี้ต่อไปเป็นอย่างยิ่ง เพราะจากแผนที่วางไว้ถึง 10 ปี กับการเพิ่มพื้นที่ป่าถึงร้อยละ 40 นั้นถือว่าเป็นนโยบายที่ใหญ่มาก ๆ และน่าจะกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมากด้วย (อ่านเพิ่มเติม ตัวอย่างข่าวผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าได้ที่ [1][2] [3] [4])

7. กวาดล้างการค้ามนุษย์.. แจ๊กพ็อต ‘ร้านคาราโอเกะ’

หมายเหตุ : ภาพประกอบไม่ใช่สถานที่ที่ถูกจับกุม (ที่มาภาพประกอบ: Sigmund (CC BY-NC 2.0)

อุตสาหกรรมร้านคาราโอเกะในเมืองไทยเฟื่องฟูมาหลายปี แต่ในช่วง 2-3 ปี หลังการรัฐประหารปี 2557 มีคำถามว่าทำไมเจ้าหน้าที่ถึง กวดขันและใช้กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นในอุตสาหกรรมนี้ คำตอบคือ เรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการที่ไทยถูกขึ้น Tier 3 ตามรายงาน TIP ของสหรัฐฯ ซึ่งการที่จะหลุดจากบัญชีนี้ได้นั้น ไทยต้องเร่งจับกุมคดีค้ามนุษย์ในประเทศเพื่อแสดงให้เห็นถึง ‘ความ ก้าวหน้าในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์’ นั่นเอง

โดยตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2557 สำนักงานเพื่อการติดตามและการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ แห่งกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. State Department's Office to Monitor and Combat Trafficking in Persons) ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report-TIP) หรือรายงาน TIP ประจำปี 2557 ซึ่งไทยเป็นหนึ่งใน 4 ประเทศใน 2557 ที่ถูกลดระดับความพยายามตอบสนองต่อการค้ามนุษย์ลงไปอยู่กลุ่มที่ 3 หรือ Tier 3 ซึ่งเป็นลำดับขั้นต่ำสุดของรายงานนี้ ต่อมาในเดือน ก.ค. 2558 สหรัฐอเมริกายังคงให้ไทยอยู่ในกลุ่ม Tier 3 โดยรายงาน TIP ประจำปี 2558 ระบุว่าแม้ประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานการปราบปรามการค้ามนุษย์ แต่ทว่าในช่วงเวลาของการทำรายงาน ไทยมิได้ดำเนินการที่จำเป็นอย่างเพียงพอที่จะบรรลุผลความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ยากลำบากนี้

ความพยายามในการให้ไทยหลุดพ้นจากบัญชี Tier 3 เพราะสถิติการจับกุมในคดีค้ามนุษย์นี้นอกเหนือจากอุตสาหกรรมประมงแล้ว การจับคดีค้ามนุษย์ตามร้านคาราโอเกะต่าง ๆ ก็มีตัวเลขที่สูงมาก ตัวอย่างสถิติการปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ในพื้นที่รับผิดชอบของ ตำรวจภูธรภาค 5 ประจำปี 2559 ในห้วงตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค-23 ก.ย. 2559 รวม 9 เดือน สามารดำเนินการจับกุม ตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ได้จำนวน 26 คดี ผู้ต้องหา 30 คน และมีผู้เสียหายจำนวน 47 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจับกุมร้านคาราโอเกะ ทั้งนี้การกวดขันจับกุมร้านคาราโอเกะทั่วประเทศไทยก็ยังคงมีเข้มข้นมาอย่างต่อเนื่องในรอบปี 2559 นี้ (อ่านตัวอย่างข่าวการจับกุมล่าสุดในเดือน ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา [1] [2] [3])

อนึ่ง ท้ายสุดแล้วไทยสามารถหลุดพ้นบัญชี Tier 3 มาอยู่ที่ Tier 2 Watch list ในเดือน มิ.ย. 2559 ที่ผ่านมา โดยสถิติการจับกุมที่รัฐบาลเปิดเผยถึงการเร่งปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยตัวเลขการบังคับใช้กฎหมายในปี 2558 มีจำนวนคดีการค้ามนุษย์ 317 คดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปี 2557 ที่มีจำนวน 280 คดี และมีจำนวนผู้ต้องหา 547 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 แยกเป็นคดีด้านแรงงาน 69 คดี และคดีค้าประเวณี 245 คดี สำหรับตัวเลขล่าสุดในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2559 มีจำนวนคดี 54 คดี ผู้ต้องหา 74 คน และมีผู้ที่ถูกศาลตัดสินลงโทษเพิ่มเป็น 241 คน

8. ปิดโครงการ 'มีเดียมอนิเตอร์' หลังดำเนินการมากว่า 10 ปี

ได้รับทั้ง 'ดอกไม้' และ 'ก้อนหิน' สำหรับโครงการ 'มีเดียมอนิเตอร์' ที่มีคำขวัญว่า "เฝ้าระวังสื่อ เพราะสื่อเฝ้าระวังสังคม" โดยโครงการนี้ได้ ผลิตงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสื่อไทยกว่า 88 ชิ้น เลยทีเดียว (ดาวน์โหลดผลการศึกษาทั้งหมดได้ที่นี่)

โครงการมีเดียมอนิเตอร์ได้อธิบายการทำงานของโครงการฯ เองว่าในช่วงแรกของโครงการฯ (2548-2551) ได้ทำหน้าที่ 'เฝ้าระวังสื่อ ' เน้น การทำให้โครงการและกลไกมีเดียมอนิเตอร์เป็นที่รู้จัก ด้วยการนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์สื่อหลากหลายเนื้อหาและ รูปแบบ อย่าง คำนึงถึงสถานการณ์ของสังคมด้วย ต่อมาได้ปรับชื่อเป็น 'โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม' ที่ แม้งานหลักยังคงเป็นการศึกษาเฝ้าระวังสื่อ โดยมีการกำหนดประเด็นที่จะศึกษาอย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความสนใจใน เรื่อง สื่อของสังคม รวมทั้งสถานการณ์สำคัญของประเทศ แต่ด้วยผลงานการศึกษาวิเคราะห์สื่อของโครงการ เป็นที่รู้จักและยอมรับ มีการเปิด พื้นที่งานด้านเผยแพร่วิธีวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว มีการจัดตั้งและจดทะเบียนมูลนิธิ สื่อ มวลชนศึกษา ซึ่งหนึ่งในวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ คือกระตุ้นผู้รับสื่อและสังคมให้ตื่นตัว สนใจในการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาที่สื่อมวลชน นำ เสนอ พัฒนาศักยภาพแห่งความรู้ความเข้าใจสื่อ (Media Literacy) ด้วยผลการศึกษาและการจัดกิจกรรมกับภาคียุทธศาสตร์กลุ่มต่าง ๆ

เป็นที่น่าเสียดายว่าโครงการนี้ต้องปิดตัวลงไปเมื่อต้นปี 2559 หลังจากดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 โดยเหตุที่ต้องปิดตัวลงนั้น จากรายงาน ของกรุงเทพธุรกิจ ระบุว่าผู้อำนวยการมีเดียมอนิเตอร์ยอมรับว่านอกจากข้อจำกัดเรื่องงบประมาณภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แล้วก็เป็นเรื่องบุคลากร ที่ระยะหลังคุณภาพบุคลากรที่ต้องการมีน้อยลง จึงกลายเป็นความยากลำบากมากขึ้น ในการทำงาน

ถือว่าเราได้สูญเสียอีกหนึ่งองค์กรที่ทำหน้าที่จับจ้องมองสื่ออย่างแข็งขันไป

9. ‘อปท.’ในยุค คสช. ถูกกระทำมากกว่า ‘นักการเมือง’ เสียอีก

นอกเหนือจากกระแสควบรวมองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ขนาดเล็กแล้ว ตลอดทั้งปี 2559 ที่ผ่านมา ยังมีการประกาศใช้ ม.44 กับผู้บริหาร-ผู้มีตำแหน่ง และข้าราชการ อปท. ให้ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในตำแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราว, ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่เป็นการชั่วคราว โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน และถูกให้ย้ายไปช่วยราชการ หลายกรณี (ตัวอย่างเช่น [1] [2] [3]) ซึ่งเป็นสถานการณ์ต่อเนื่องจากการรัฐประหาร 2557 ที่ดูเหมือนว่า อปท. และนักการเมืองท้องถิ่น น่าจะเป็นสถาบันและกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ในช่วงปลายปี 2559 ที่ผ่านมา มีการให้ข้อมูล อปท. ในแง่ลบ โดยเฉพาะปัญหาการทุจริต จากคนของรัฐบาลเอง โดยจากรายงานของ คมชัดลึก ระบุว่าปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมาให้ข่าวต่อสาธารณะว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน.ได้รับเรื่องเงินขาดบัญชีและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต ซึ่งตรวจพบโดยหน่วยงานเอง หรือโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 151 เรื่อง จำแนกเป็น ราชการส่วนกลาง 25 เรื่อง ราชการส่วนภูมิภาค 30 เรื่อง ราชการส่วนท้องถิ่น 61 เรื่อง และรัฐวิสาหกิจ 35 เรื่อง เป็นเรื่องที่สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติแล้ว 20 เรื่อง ประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม 12 เรื่อง กระทรวงมหาดไทย 4 เรื่อง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 เรื่อง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1 เรื่อง และกระทรวงสาธารณสุข 1 เรื่อง ทั้งนี้ มีเรื่องเงินขาดบัญชีและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงานของ สปน. มี 2,838 เรื่อง รวมเป็นเงินที่เสียหาย 11,383 ล้านบาท จำแนกเป็น ราชการส่วนกลาง 234 เรื่อง ราชการส่วนภูมิภาค 640 เรื่อง ราชการส่วนท้องถิ่น 1,496 เรื่อง และรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน 468 เรื่อง หน่วยงานที่มีการทุจริตมาก 3 อันดับแรก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,496 เรื่อง (มีการระบุว่ามียอดเสียหายรวมถึง 11,383 ล้านบ้าน) กระทรวงมหาดไทย 219 เรื่อง และกระทรวงศึกษาธิการ 218 เรื่อง ซึ่งเมื่อจำแนกตามประเภทการทุจริต อันดับ 1.การยักยอกเงินหรือทรัพย์สินราชการ 1,507 เรื่อง 2.การปฏิบัติผิดระเบียบ 656 เรื่อง 3.การจัดซื้อจัดจ้าง 605 เรื่อง 4.การเบิกค่าเช่าบ้านเท็จ 39 เรื่อง 5.การทุจริตน้ำมันเชื้อเพลิง 20 เรื่อง 6.การเบิกค่ารักษาพยาบาลเท็จ 11 เรื่อง

กรณีนี้ จากรายงานของ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ระบุว่า คนใน อปท.หลายส่วนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านสังคมออนไลน์จำนวนมาก เช่น ผู้ใช้นามปากกาว่า “กิจ กรุงเก่า” หรือ นายสุรกิจ สุวรรณแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสัดส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยนายสุรกิจเขียนว่า 'เรื่องจริงที่สังคมไม่ได้รับรู้' เขาเริ่มต้นว่า “ผมไม่ได้มีเจตนาร้ายกับใครในแผ่นดินนี้ ผมเป็นผู้บริหารท้องถิ่นก็พยายามสร้างภาพพจน์ของคนท้องถิ่นให้ดีมาโดยตลอด สร้างความร่วมมือกับคนท้องที่และกับหน่วยงานราชการทุกระดับมาด้วยดี วันนี้ผมจะพูดในนามตัวแทนผู้บริหารท้องถิ่นฯ ผมเชื่อในหลักการอย่างหนึ่งว่า “ถ้าชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศชาติเข้มแข็งแน่นอน” หลักการนี้เราคุยกันมานานมากและเร่งรีบทำกับหลายฝ่าย ตั้งแต่กรมท้องถิ่น, พอช.สธ., สปสช., สสส., สกว., สช., เกษตร, พัฒนาชุมชน, กระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ คุณเชื่อมั้ยเรามีเป้าหมายลึกๆ ว่า ชุมชนท้องถิ่น 50% ควรจะเข้มแข็ง เพื่อถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ แต่เราก็ทำไม่ได้ตามนั้น “ นายสุรกิจยังโพสต์ภาพรายงานผลการดำเนินการตลอด 8 ปี ของ ป.ป.ช.(2550-2558) โดยระบุถึงมูลค่าความเสียหายจากการทุจริต ปี 2550-2558 ที่ ป.ป.ช.ชี้มูล ความผิดทางอาญา และร่ำรวยผิดปกติ ประเมินมูลค่าความเสียหายได้ทั้งสิ้น 525,117.28 ล้านบาท แยกเป็น ส่วนราชการ 403,764.83 ล้านบาท คิดเป็น 76.89% รัฐวิสาหกิจ 121,183.63 ล้านบาท คิดเป็น 23.07% และส่วนท้องถิ่น 138.82 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.04%      

ด้านนายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง อดีต สปช. และอดีตนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยคนที่ 29 ระบุว่า ที่ผ่านมาการทุจริตมีในทุกระดับทุกวงการทั้งราชการ เอกชน เริ่มจากระดับครอบครัว กลุ่มชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ การนำเสนอข้อเท็จจริงที่ไม่สิ้นกระแสความ ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ประชาชนรู้ ทำให้สังคมเข้าใจผิดในสาระสำคัญของข่าว เป็นเรื่องไม่ยุติธรรมสำหรับ อปท. ทั้งนี้ การระบุว่า อปท.มีรื่องร้องเรียนทุจริตมากที่สุด 1,496 เรื่อง เป็นการให้ข้อมูลข่าวไม่หมด คือ หากคิดเป็นสัดส่วนเงินความเสียหายของ อปท.เท่าไรในจำนวน 11,383 ล้านบาท และเป็นเจตนาทุจริตตรงๆ เท่าไร หรือการผิดระเบียบเท่าไรอย่างไร จึงเป็นการให้ข้อมูลคลุมเครือ สังคมเข้าใจผิด แต่ต้องยอมรับว่าจำนวน อปท.มีมากกว่าส่วนราชการภูมิภาค ส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระรวมกันถึง 20 เท่า เพราะ อปท.มี 7,853 แห่ง หน่วยราชการอื่นรวมกันมีแค่ 370 แห่ง ดังนั้นหากคิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์เรื่องร้องเรียน อปท. 7,853 แห่ง ถูกร้อง 1,496 เรื่อง คิดเป็น 19.05% แต่ส่วนราชการอื่นๆ รวม 370 แห่ง ถูกร้อง 1,342 เรื่อง คิดเป็น 362.70% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า และน่าตกใจมากกว่า อปท. นอกจากนี้ ยังไม่นับรวมหน่วยราชการส่วนกลางภูมิภาคบางหน่วยที่ สตง. และ ป.ป.ช.ไม่ได้ตรวจสอบ เชื่อว่าหากพิจารณาจากข้อมูลเดิมของ ป.ป.ช. ที่คำนวณสัดส่วนความเสียหายการทุจริตของ อปท.ไม่เกิน 4% ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด ดังนั้นการให้ข่าวแบบนี้ เป็นการทำให้สังคมสับสน เชื่อว่า อปท.คือหน่วยงานทำความเสื่อมเสียให้กับประเทศมากที่สุด

ในปี 2560 นี้ ประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ อปท. ยังคงเป็นที่น่าจับตา โดยเฉพาะความชัดเจนของการควบรวม อปท. ที่น่าจะส่งผลต่อนักการเมืองท้องถิ่นมากที่สุด

10. การร้องเรียนของ ‘ศรีสุวรรณ จรรยา’

ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน

‘ถี่ บ่อย และสม่ำเสมอ’ อาจจะเป็นคำจำกัดความของชายคนนี้ ในอดีตเขาเองถูกมวลชนการเมืองสีเสื้อหนึ่งมองว่าเป็นตัวขัดขวางประชาธิปไตย เนื่องจากบทบาทการตรวจสอบรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของเขา หลังการรัฐประหาร 2557 เขายังคงตรวจสอบอำนาจรัฐอย่างแข็งขัน แต่กระนั้นเขาก็ไม่ได้รับการเชิดชูมากมายเท่าไรนัก (ซึ่งอาจเพราะข้อครหาว่าหลังการรัฐประหาร 2557 เขาลงสมัครตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในองค์กรอิสระต่าง ๆ แต่ไม่ได้รับเลือก)

ในรอบปี 2559 ประเด็นที่ศรีสุวรรณ ตรวจสอบและร้องเรียนหน่วยงานต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งประเด็นที่ล้อไล่ตามกระแสข่าวดัง ๆ เช่น การยื่นหนังสือให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน สอบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ปมทริปฮาวาย ขัดค่านิยม 12 ประการ, การร้อง ป.ป.ช.สอบ ปมบริษัทลูกชาย พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา รับเหมาก่อสร้างกับกองทัพภาค 3, การร้อง ป.ป.ช. ส่งศาล รธน.วินิจฉัยให้ผลการลงประชามติเป็นโมฆะ, การร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบกรณี หมอเปรมศักดิ์กักขังนักข่าว, การร้องเรียนต่อผู้ตรวจการผิ่นดินสอบจริยธรรม ‘พล.อ.ประยุทธ์-วิษณุ เครืองาม’ ปมตั้งพี่น้อง-เครือข่ายเป็น สปท. ฯลฯ รวมทั้งประเด็นสำคัญที่ไม่ค่อยเป็นกระแสในสังคมเท่าใดนัก เช่น การฟ้อง 5 เสือพลังงานให้ล้มสัญญาโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศและเพิกถอนแผน PDP 2015 และคัดค้านการใช้ ม.44 ในการเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นต้น ล่าสุดส่งท้ายปีเก่าเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. ที่ผ่านมาศรีสุวรรณ ก็เพิ่งไปยื่นหนังสือให้ ป.ป.ช. ยึดคฤหาสน์ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ที่จังหวัดพิษณุโลก โดยระบุว่าเข้าข่ายปกปิดบัญชีทรัพย์สินและร่ำรวยผิดปกติ (คลิ๊กอ่านข่าวนี้เพิ่มเติม [1] และอ่านข่าวอื่น ๆ เกี่ยวกับการร้องเรียนของศรีสุวรรณ จรรยา ได้ที่ [2])

ในปี 2560 การเคลื่อนไหวของศรีสุวรรณ ยังคงเป็นที่น่าจับตา และเราคงได้แต่ภาวนาให้เขาอย่าได้รับตำแหน่งทางการเมือง หรือองค์กรอิสระ ที่อาจจะทำให้เขาหมดความเป็นอิสระในการตรวจสอบรัฐ อย่างที่เขาเคยทำได้ดีมาตลอดในรอบหลายปีนี้

 

เรื่องเกี่ยวข้อง:

จับตา: เขตเศรษฐกิจพิเศษ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยสวดมนต์ข้ามปี 'ไทย-ทั่วโลก' กว่า 22.4 ล้านคน

$
0
0

1 ม.ค. 2559 มติชนออนไลน์รายงานว่านายพนม ศรศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า พศ.ได้สรุปยอดโครงการสวดมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2560 ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค มีวัดที่เข้าร่วมโครงการ 39,478 วัด มีผู้เข้าร่วมโครงการ พระภิกษุ/สามเณร 342,078 รูป พุทธศาสนิกชน 22,134,180 คน รวม 22,476,258 รูป/คน นอกจากนี้ ยังมีวัดไทยในต่างประเทศที่เข้าร่วมโครงการอีก 540 วัด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ 32,400 รูป/คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประยุทธ์' สั่งทุกหน่วยงานเร่งสร้าง 'คนไทย 4.0'

$
0
0
เผย 'ประยุทธ์' สั่งการทุกหน่วยงานเร่งสร้าง 'คนไทย 4.0' รองรับโลกในศตวรรษที่ 21 ปรับวิธีคิดเปลี่ยนพฤติกรรม 'มีความรับผิดชอบต่อสังคม-มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย-รู้จักใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่' ตั้งเป้า 6 เดือนการรับรู้ดีขึ้น ผลักดันใช้เทคโนโลยีสร้างอาชีพสร้างรายได้ขับเคลื่อนประเทศ

 
 
 
1 ม.ค. 2560 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่าพลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในปี 2560 นี้ รัฐบาลจะมุ่งส่งเสริมการพัฒนาคนเพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หรือการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ปัญญา และเทคโนโลยี ยกระดับให้ประเทศไทยมีรายได้สูง โดยการสร้าง “คนไทย 4.0” ให้สอดรับกับโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 คือ คนไทย 4.0 ที่ต้องมีความรู้และทักษะอาชีพที่สูงขึ้น มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย และมีความสามารถรู้จักใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้นทุกหน่วยงานต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เรื่องคนไทย 4.0 และไทยแลนด์ 4.0 ให้เป็นวาระสำคัญในทุกระดับ ตั้งแต่นักเรียนนักศึกษา เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และประชาชนทั่วไป ตั้งเป้า 6 เดือนการรับรู้ดีขึ้น เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะต่อไป
 
พลโท สรรเสริญ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี คนไทย 4.0 คือ ประชาชนรู้จักใช้เทคโนโลยีมาสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างเครือข่าย สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ นำไปสู่การผลิต แล้วทำงานน้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะต้องยกระดับคนส่วนใหญ่ที่ยังเป็นคนไทย 1.0 และ 2.0 คือ กลุ่มเกษตรกรรายย่อย กลุ่ม SMEs โอท็อป แรงงานระดับต่ำ คนด้อยโอกาส คนพิการ คนจนในเมือง ให้เข้าถึงทรัพยากร ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และมีโอกาสที่เป็นธรรม ซึ่งเมื่อสามารถใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ และติดต่อกับคนทั่วโลกได้ ก็จะก้าวสู่การเป็นคนไทย 4.0 ด้วยกัน คือ การเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบเดิม ๆ เป็น สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เปลี่ยนจาก SMEs โอท็อป เป็นสมาร์ทเอ็นเตอร์ไพรส์หรือสตาร์ทอัพ เปลี่ยนภาคบริการทั่วไปให้เป็นบริการมูลค่าสูง และเปลี่ยนแรงงานระดับต่ำเป็นแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้น
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปีใหม่ 2560 'ยิ่งลักษณ์' ทวง 'คสช.' คืนประชาธิปไตย 'อภิสิทธิ์' ชี้นักการเมืองจะเรียกศรัทธาคืน

$
0
0
'ยิ่งลักษณ์' วอนทุกฝ่ายช่วยประคองบ้านเมืองปี 2560 ทวงสัญญา คสช.คืนประชาธิปไตยทำตามโรดแม็ปเลือกตั้ง เผยประเทศเสียโอกาสไปมากช่วง 2 ปี ระบุรัฐไม่จริงใจสร้างปรองดอง ห่วงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ฉุดประเทศไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ด้าน 'อภิสิทธิ์' ปลุกนักการเมืองเป็นผู้นำปฏิรูป ชี้ปี 2560 เรียกคืนศรัทธาจากประชาชน มุ่งเสนอนโยบายแก้ปากท้องเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง 

 
1 ม.ค. 2560 ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงทิศทางการเมืองในปี 2560 ว่า เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญใหม่ การเลือกตั้งที่จะเดินตามโรดแม็ป การเมืองปี 60 เป็นปีที่ต้องช่วยกันประคับประคองสถานการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น สิ่งที่อยากเห็นมากที่สุดในการเมืองปีนี้คือ ทุกฝ่ายเดินเข้าหาโรดแม็ปที่วางไว้ เพราะเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อกลับเข้าสู่การเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนและคนไทย จะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ
 
เมื่อถามว่า ยังมั่นใจว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 60 หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อยากร้องขอให้ คสช.ดำเนินการตามโรดแม็ปที่วางไว้ ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ขอให้ช่วยกันประคับประคอง เพราะเลื่อนเลือกตั้งหรือเลื่อนโรดแม็ปมานานแล้ว เราผ่านมา 2 ปี โดยไม่ได้คืนประชาธิปไตยให้ประชาชนเสียโอกาสต่างๆ ไป ไม่อยากให้เสียอะไรไปมากกว่านี้ อะไรที่ไม่จำเป็นอยากให้ช่วยกันประคับประคองแก้ไขกันไป แต่หากจำเป็นจริงๆ ควรมีเหตุผลเหมาะสมที่จะชี้แจงมากกว่าขอเลื่อนเฉยๆ มิเช่นนั้นโรดแม็ปจะเลื่อนไปเรื่อย ๆ
 
เมื่อถามว่า หวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านไปได้ด้วยดีหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ แต่ได้ผ่านการทำประชามติไปแล้ว อย่างไรก็ตามการออกกฎหมายต่างๆ อยากให้รัฐบาล และสนช.ฟังเสียงประชาชน เพื่อช่วยกันปรับไปเรื่อยๆ อะไรปรับได้อยากให้ปรับ อยากให้พยายามเพื่อให้บ้านเมืองสงบ อยากเห็นการปรองดองเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ที่ผ่านมาการปรองดองที่แท้จริงยังไม่ได้เห็นจากรัฐบาลชุดนี้ ขอฝากคำว่า ปรองดองที่แท้จริงไว้ เพื่อให้คนไทยกลับมามองหน้ากันได้และมีความสุข
 
เมื่อถามว่า มองว่า 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลยังไม่จริงใจในการแก้ปัญหาเรื่องความปรองดอง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลบอกว่า พยายามสร้างความปรองดองนั้น วันนี้ยังไม่เห็น ตนขอเป็นกระบอกเสียงของประชาชนอยากให้ช่วยกัน ทั้งนี้คงไม่กล้าฝากคำแนะนำไปถึงรัฐบาล เพราะรัฐบาลก็มีความสามารถ มีทีมบริหารอยู่ เชื่อว่ารัฐบาลคงรู้ว่าแนวทางอย่างไรที่สำคัญ ส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นห่วง เพราะการวางแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เป็นเรื่องยาก วันนี้ภาวะเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไป เรื่องในประเทศก็เปลี่ยนแปลง การที่จะวางแผน 20 ปี จึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นต้องมีช่องว่างให้มีทางออกสำหรับรัฐบาลในอนาคตได้ปรับตัวให้ทัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการแก้ปัญหาประเทศ มิเช่นนั้นจะกลายเป็นว่า มาติดกับข้อกฎหมายจนไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้
 
'อภิสิทธิ์' ปลุกนักการเมืองเป็นผู้นำปฏิรูป ชี้ปี 2560 เรียกคืนศรัทธาจากประชาชน
 
ด้าน สำนักข่าวไทยรายงานว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมืองในปี 2560 ว่า เป็นปีที่เดินเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรดแมปมีความแตกต่างจากปี 2559 ซึ่งเป็นปีที่มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญ และเริ่มมองเห็นว่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ จะกลับเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ในปี 2560  จะเห็นการเดินเข้าสู่เลือกตั้งเป็นรูปธรรมมากขึ้น
 
“แม้การเลือกตั้งจะไม่เกิดในปี 60 แต่สังคมจะให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งมากขึ้น  ความสนใจก็จะเข้าสู่ปัญหาของประชาชน ว่าจะได้รับการแก้ไขหลังการเลือกตั้งอย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้มีความขัดแย้งแบบเดิมหลังการเลือกตั้ง ดังนั้น ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง ที่เป็นปัญหาใหญ่ในสังคมชนบท และคนที่มีรายได้น้อย จะมีการถกเถียงแสดงออกมากขึ้น ว่าจะแก้อย่างไร เมื่อใกล้สู่การเลือกตั้งจะมีการประเมินว่า มีการปฏิรูปมากน้อยแค่ไหน อะไรที่ต้องทำต่อ และอะไรที่เปลี่ยนแปลงบ้าง” นายอภิสทธิ์ กล่าว
 
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าโจทย์สำคัญคือ ต้องหาคำตอบให้กับอนาคตของประเทศ ว่าจะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไร เพราะนับวันความต้องการของประชาชนจะมีความหลากหลาย และมีช่องว่างมากขึ้น เช่น ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไม่มีความหมายสำหรับคนส่วนใหญ่ เนื่องจากมีปัญหาภัยแล้ง พืชผลตกต่ำ  เรื่องเงินเฟ้อถึง 1 %  ไม่มีความหมายเท่ากับของแพงหรือไม่ เช่นเดียวกับนโยบาย 4.0 ไม่ใช่คำตอบสำหรับคนทุกกลุ่ม
 
นายอภิสิทธิ์ หวังว่า ปี 2560 จะมีความตื่นตัวเรื่องทางเลือกนโยบายมากขึ้น ก่อนนำไปสู่การเลือกตั้ง แทนที่จะถกเถียงเรื่องกฎหมายหรือกติกา ซึ่งพรรคจะเดินหน้าเท่าที่ทำได้ ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย แต่ผมได้พบปะกลุ่มคนต่าง ๆ หลากหลายเพื่อรวบรวมวิธีการนำเสนอนโยบายให้ตรงจุด โดยเรื่องใหญ่ที่ประเทศต้องเผชิญต้องทำให้สอดคล้องกัน เช่น การศึกษา จะพูดเรื่องคุณภาพอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูเรื่องความเปลี่ยนแปลงด้วย ทำให้ระบบการศึกษากระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคม
 
“เป็นไปไม่ได้ที่จะจำกัดการทำงานของพรรคการเมืองในปีหน้าเพราะเมื่อกฎหมายพรรคการเมืองบังคับใช้ ก็ต้องมีการประชุม เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย  พรรคการเมืองจะมีเสรีภาพในการทำงาน และจะเป็นคำตอบว่า ประชาชนจะมีความเห็นอย่างไรกับพรรคการเมือง พรรคจะมุ่งนโยบายให้เป็นความหวังของประชาชนให้ได้มากที่สุด เพราะถ้าไม่สามารถทำให้ประชาชนรู้สึกว่าพึ่งได้ ไม่ใช่เข้ามาเพื่อแสวงหาประโยชน์ของตัวเอง  ปี 2560 จึงเป็นปีที่ท้าทายว่า จะทำให้ประชาชนมั่นใจได้หรือไม่ว่า พรรคการเมืองเป็นคำตอบไม่ใช่ผู้สร้างปัญหา” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
 
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับพรปีใหม่  ขอให้ปี 2560 มีการวางรากฐานให้เศรษฐกิจไท ยเป็นเศรษฐกิจสำหรับคนไทยทุกคน ให้การเมืองไทยเป็นการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และคนในระบบประชาธิปไตยใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบ ให้สังคมไทยใช้พลังความสามัคคีเป็นพื้นฐานให้ประเทศมีอนาคตที่ดีต่อไป  คสช.ที่ต้องการวางรากฐานประเทศจะอยู่บนความคิดว่า นักการเมืองชั่วหมด ต้องกำจัดเสรีภาพคงไม่ได้ เพราะต้องนำสังคมไทยกลับสู่การเลือกตั้ง จึงหวังว่าจะปรับเปลี่ยนท่าที เพื่อเตรียมสังคมให้มีความพร้อมสำหรับอนาคตต่อไป ถ้าไม่ทำก็เสี่ยงว่า สิ่งที่ทำไว้จะไม่ได้ผลอะไร เพราะทุกอย่างจะกลับคืนสู่สภาพเดิม
 
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับกติกาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่คิดว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะการเมืองจะเปลี่ยนอย่างไร อยู่ที่พฤติกรรมมากกว่ากติกา เนื่องจากบทบัญญัติต่าง ๆ มีความพยายามจะทำให้ดีขึ้น แต่ไม่ได้เป็นหลักประกัน เพราะปัญหาประเทศไทยที่ผ่านมาคือ การบังคับใช้กฎหมายและวัฒนธรรมทางการเมือง ถ้านักการเมืองยังมุ่งประโยชน์ของตน มองหาช่องว่างทางกฎหมาย หรือใช้กฎหมายในทางบิดเบี้ยว กติกาก็ไม่ช่วยอะไร
 
“พลังสังคมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเมือง และการบังคับใช้กฎหมายให้ถูกต้อง ถ้าระบบการเมืองไม่สามารถสร้างความศรัทธาได้ สุดท้ายจะย้อนกลับสู่ปัญหาเดิม เมื่อถึงการเลือกตั้ง สังคมจะมีโอกาสเลือกพรรคการเมือง ถ้าสนับสนุนคนเก่า ให้ทำแบบเก่า ก็ได้ผลแบบเก่า แต่ในฐานะนักการเมือง ก็เรียกร้องนักการเมืองด้วยกันว่า ต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงปฏิรูป” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'พลเมืองต่อต้าน Single Gateway' ระบุไม่ให้ค่า 'เสธคีย์บอร์ด' ชี้กองทัพอยู่เบื้องหลัง

$
0
0

'เพจพลเมืองต่อต้าน Single Gateway' ระบุไม่ให้ค่า 'เพจเสธคีย์บอร์ด' ชี้เมื่อกล้าเปิดตัวว่ามีนักรบไซเบอร์ของศูนย์สงครามไซเบอร์และนายพลในกองทัพอยู่เบื้องหลังเพจ ก็สมควรทำอะไรให้มันสมเกียรติและศักดิ์ศรีของเครื่องแบบทหาร 

 
1 ม.ค. 2560 เพจพลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegatewayได้กล่าวถึง เพจเสธคีย์บอร์ดซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
 
ใจจริง ไม่อยากเขียนถึง เพจสวะแบบนี้ เท่าไหร่....
 
แต่ก็ต้องเขียน เพราะ เพจนี้ ชัดเจนว่า เป็น เพจ ที่มีกองทัพอยู่เบื้องหลัง เปิดตัวและแนะนำโดย วาสนา นาน่วม โฆษกพิเศษ กองทัพบก(ใครไม่รู้ให้ไปเปิดอ่านเพจ ของเจ๊เล็ก ดูเอง)
 
ดังนั้น เมื่อกล้าเปิดตัวว่า มีนักรบไซเบอร์ของศูนย์สงครามไซเบอร์และนายพลในกองทัพ อยู่เบื้องหลัง 
 
เพจนี้ก็สมควรทำอะไร ให้มัน สมเกียรติและศักดิ์ศรี ของเครื่องแบบทหาร บ้าง
 
การใช้เพจ (กึ่งทางการ) ของกองทัพ ออกมาข่มขู่ จะใช้วิธีการนอกกฎหมาย เยี่ยงนักเลงโต ทำแบบนี้ มันน่าอายมาก......
 
ใจจริง อยากพูดตรงๆ มือละชั้นวะ ไม่อยากจะยุ่งด้วย....
 
แต่ต้องประจานให้สังคมได้รู้ เพราะมันเสียศักดิ์ศรีกับคำว่า "นักรบไซเบอร์"มากเลย 
 
แล้วการไปยืมมือ แรงงานพม่า ยืมบัตร พม่า มาเปิดเฟส แล้วเขียนอะไรที่มัน ทุเรศ แบบนี้ กระจอกวะ....
 
หมายเหตุ : เพื่อนๆไม่ต้องไปเสียเวลา เสียสมาธิกับ เพจสวะแบบนี้ พวกเราเดินหน้า ไปขุดบ้านลุงตู่ ต่อกันดีกว่า......
 
 
อนึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมาเฟซบุ๊ก Wassana Nanuamซึ่งเป็นเฟซบุ๊คของ วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหารชื่อดัง โดยโพสต์ข้อความระบุว่า
 
“มาแล้ววววว นักรบไซเบอร์….. เปิด Facebook ใช้ชื่อว่า “เสธคีย์บอร์ด”ชี้แจง ตอบโต้ ให้ข้อมูลเรื่อง พรบ.คอมพิวเตอร์ และตอบโต้ กลุ่มต้าน SingleGateway แบบถึงพริกถึงขิง….ด้วยม็อตโต้ที่ว่า “อย่ารู้ว่า เสธ.เป็นใคร แค่รู้ว่า ใครเป็นภัยทางไซเบอร์ เจอ เสธ.”..คาดเป็น นายทหารระดับบิ๊ก….และทีมงานนักรบไซเบอร์” 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท

$
0
0
"ทหารจะไม่คว่ำเลือกตั้ง อย่าลืมว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าการเมืองไม่ดีบ้านเมืองคงไม่เจริญมาถึงทุกวันนี้ แต่ในภาพรวมอาจมีเล็กๆน้อยๆ ของบุคคล แต่ไม่ใช่ระบบการเมือง และต่อไปการตรวจสอบจะมีบทบาทมากขึ้น"
 
ผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการ คสช. กล่าวถึงทบาทกองทัพในการดูแลสถานการณ์ 2560, 1 ม.ค.2560

หมายเหตุประเพทไทย #138 เฟซบุ๊ก ข่าวปลอม บ็อท สแปม มีผลทางการเมืองหรือไม่

$
0
0

หมายเหตุประเพทไทยต้อนรับปี 2560 ชานันท์ ยอดหงษ์ และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ พูดถึงการใช้งานโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่ด้านหนึ่งกลับทำให้โลกทัศน์ของเราหดแคบลงกว่าเดิม ซึ่งนั่นเป็นเพราะการตั้งค่าอัลกอริทึมของระบบที่ทำให้ผู้ใช้งานมองเห็นแต่เนื้อหาที่ตัวเองรู้สึกชื่นชอบ จนทำให้ผู้ใช้งานคล้อยตามว่าสิ่งที่ตนคิดเห็นล้วนสอดคล้องไปกับผู้คนในสังคม นอกจากนี้ยังมีการแชร์มีม (Meme) กันไปเรื่อยๆ โดยไม่เฉลียวใจว่ามีมที่ส่งต่อๆ กันไปนั้นมีข้อเท็จจริงหรือไม่ แต่เราก็แชร์เพราะเราถูกใจ และเราก็ไม่เช็คข้อเท็จจริงใดๆ เพราะใครต่อใครก็แชร์

นอกจากนี้ยังมีผู้เห็นประโยชน์จากการใช้อัลกอริทึม นำไปสร้างเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลที่หวือหวา บ่อยครั้งที่ไม่ใช่ข้อมูลจริง แต่ได้รับความนิยมเพราะแสดงทัศนะสอดคล้องต้องกันกับกลุ่มทางสังคมนั้นๆ จนทำให้ผู้สร้างเว็บไซต์ข้อมูลปลอมเหล่านี้สามารถทำกำไรจากการทำเว็บ เพราะมีรายได้จากแบนเนอร์โฆษณาของเว็บที่มีคนเปิดเข้ามาจำนวนมาก และทั้งหมดนี้ยังนำไปสู่การประเมินและการรับรู้ทางการเมืองที่ผิดพลาด

ขณะที่แนวโน้มของวิธีรับมือ เยอรมนีซึ่งจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีนี้จึงมีข้อเสนอถึงมาตรการป้องกันบ็อทและข่าวปลอมในอินเทอร์เน็ต ขณะที่เฟซบุ๊กเลือกใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อคัดกรองข่าวแทนการใช้บรรณาธิการที่เป็นมนุษย์ แต่ปัญญาประดิษฐ์ยังมีขีดความสามารถจำกัด ดังนั้นการแพร่กระจายข้อมูลปลอมจึงยังคงเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นต่อไป

ที่มาของภาพประกอบ:  Pixelkult/Pixabay (CC0 Public Domain)

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

https://www.facebook.com/maihetpraphetthai หรือ

https://www.youtube.com/playlist?list=PLyjd9jzMpO2Xby4FyxWMwY8auIFY01eVQ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ป้ายฮอลลีวูดถูกเปลี่ยนเป็นฮอลลีวีด-หลังแคลิฟอร์เนียประชามติผ่าน กม.กัญชา

$
0
0

ป้ายฮอลลีวูด (HOLLYWOOD) ถูกมือดีแอบเปลี่ยนเป็นฮอลลีวีด (HOLLYWeeD) ในคืนต้อนรับปีใหม่ สอดคล้องกับที่รัฐแคลิฟอเนียลงประชามติผ่านกฎหมายอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ด้านสันทนาการ ด้านตำรวจตั้งทีมสืบสวนว่าเป็นฝีมือใคร

ที่มาของภาพ: Twitter/tommychong

2 ม.ค. 2559 - ชาวเมืองลอส แองเจลิส ตื่นขึ้นมาในเช้าวันปีใหม่ แล้วต้องพบกับฝีมือของพวกมือดีที่เปลี่ยนป้ายฮอลลีวูด (HOLLYWOOD) เป็นฮอลลีวีด (HOLLYWeeD) โดย KABC-TVระบุว่าตำรวจได้ตั้งทีมขึ้นมาสืบว่าเป็นฝีมือของใคร

ต่อมาโฆษกตำรวจของลอส แองเจลิส ระบุว่ามือดีเหล่านี้ใช้เพียงผ้าใบขนาดใหญ่หมุนอักษรตัวโอ 2 ตัวในป้ายให้กลายเป็นตัวอีแบบตัวพิมพ์เล็ก โดยใช้เวลาในช่วงกลางคืน โดยผู้ก่อเหตุซึ่งสวมชุดดำ ถูกจับภาพได้จากกล้องวงจรปิดและจะถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุก โดยเป็นคดีลหุโทษ

เหตุที่มือดีเปลี่ยนป้ายดังกล่าว ดูเหมือนจะเป็นการปักหมุดถึงความสำเร็จในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะถึงแม้ว่าผลคะแนนในรัฐแคลิฟอร์เนีย ฮิลลารี คลินตันจะชนะ แต่ทั่วประเทศก็แพ้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งที่เลือกโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างไรก็ตาม ในการลงประชามติกฎหมายซึ่งจัดขึ้นพร้อมกัน ก็สามารถผ่านญัตติที่ 64 ซึ่งจะอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านสันทนาการ โดยการซื้อขายและเก็บภาษีกัญชาจะเริ่มขึ้นในปี 2018

ทั้งนี้ในปี 1923 (พ.ศ. 2466) มีการติดตั้งป้ายขึ้นเป็นครั้งแรกว่าฮอลลีวูดแลนด์ (Hollywoodland) เพื่อโฆษณาโครงการที่พักอาศัยบนเนินเขาเหนือลอส แองเจลิส ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นฮอลลีวูด (Hollywood) ในปี 1949 (พ.ศ. 2492) ตามข้อเสนอของหอการค้าฮอลลีวูด

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงข้อความที่ป้ายฮอลลีวูดเป็นฮอลลีวีด ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในเดือนมกราคมปี 1976 (พ.ศ. 2519) เคยมีคนแก้เป็น "ฮอลลีวีด" หลังจากที่รัฐแคลิฟอเนียแก้ไขกฎหมายเพื่อลดโทษให้กับคดีที่เกี่ยวกับกัญชา

ป้ายฮอลลีวูดยังถูกเปลี่ยนเพื่อสะท้อนประเด็นต่างๆ บ่อยครั้ง เช่น เปลี่ยนเป็น "OLLYWOOD" ในเดือนกรกฎาคมปี 1987 (พ.ศ. 2530) ในช่วงที่เริ่มไต่สวนข้อกล่าวหา Iran-Contra ที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐอเมริกาแอบขายอาวุธให้อิหร่านเพื่อแลกกับการปล่อยตัวประกัน และเพื่อนำเงินที่ได้ไปช่วยกบฏคอนทราในนิคารากัวเป็นการลับ หรือมีการเปลี่ยนป้ายเป็น "HOLYWOOD" เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 มาเยือนเมื่อกันยายนปี 1987 (พ.ศ. 2530) หรือเปลี่ยนเป็น "OIL WAR" เมื่อปี 1991 (พ.ศ. 2534) ช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 ฯลฯ

 

แปลและเรียบเรียงจาก

'Hollyweed': California's Hollywood sign changed in post-election prank, The Guardian, 1 January 2017

Hollywood Sign, Wikipedia (เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2017)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ไม่ประสงค์ออกนามแฮกเว็บศูนย์ข้อมูลเทศบาลขอนแก่นเรียกร้องปล่อย 'ไผ่ ดาวดิน'

$
0
0

เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเทศบาลนครขอนแก่น ถูกแฮกเกอร์ Anonymous แฮ็กหน้าหลักของเว็บและขึ้นข้อความว่า "ปล่อยจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา | AntiSec"

หน้าหลักของเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเทศบาลนครขอนแก่น ถูกแฮ็กและขึ้นภาพและข้อความเรียกร้องให้ปล่อยตัวจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

 

2 ม.ค. 2560 ช่วงเช้ามืดวันนี้ (2 ม.ค.) เว็บไซต์ของ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเทศบาลนครขอนแก่น (http://center.kkmuni.go.th/index.php) ถูกแฮกเกอร์ไม่ทราบฝ่าย แฮ็กหน้าหลักของเว็บ ขึ้นภาพของจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน และขึ้นข้อความว่า "> Free Jatuphat Boonpattaraksa | AntiSec <" หรือ "ปล่อยจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา | AntiSec" ทั้งนี้ในหน้าจอของเว็บที่ถูกแฮกไม่มีการะบุว่าชื่อกลุ่มของแฮกเกอร์ แต่มีข้อความขึ้นที่ด้านบนของจอว่า "Defaced by Anonymous"

สำหรับ จตุภัทร์ หรือ ไผ่ ดาวดิน ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม หลังจากแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์บีบีซีภาคภาษาไทย โดยผู้แจ้งความคือ พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี  รองหัวหน้ากองยุทธการ มณฑลทหารบกที่ 23 ขอนแก่น

ต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม ศาลจังหวัดขอนแก่นอนุญาตให้ประกันตัว หลังบิดาของจตุภัทร์ยื่นหลักทรัพย์ 4 แสนบาท โดยให้เหตุผลประกอบการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวว่า ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีการเมืองอยู่ 4 คดี ที่ผ่านมาไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนี อีกทั้งในวันที่ 8 ธ.ค. ผู้ต้องหามีสอบเป็นวิชาสุดท้าย หากไม่ได้เข้าสอบวิชาดังกล่าวจะส่งผลให้เขาเรียนไม่จบตามหลักสูตร ศาลจึงพิจารณาให้ประกันตัว

ต่อมาวันที่ 16 ธันวาคม พนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น เป็นผู้ร้องขอต่อศาลให้ถอนประกัน โดยให้เหตุผลว่าหลังได้รับการประกันตัว ผู้ต้องหาโพสต์เยาะเย้ยเจ้าพนักงานว่า "เศรษฐกิจมันแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน" นอกจากนี้ยังยกเหตุผลว่าผู้ต้องหามีประวัติทำผิดคดีความมั่นคง คดีปัจจุบันเป็นคดีร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา และผู้ต้องหาแสดงความเห็นในสื่อออนไลน์เรื่อยมาและอาจยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หากรอถึง 23 มกราคม 2560 อาจก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น

ในวันที่ 22 ธันวาคม ศาลจังหวัดขอนแก่นพิจารณาเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดี และยังโพสต์เย้ยหยันอำนาจรัฐ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มีอายุ 25 ปี ย่อมรู้ดีว่าการกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวข้างต้นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาล ทั้งยังเห็นว่า วิบูลย์ บุญภัทรรักษา นายประกันซึ่งเป็นบิดา ไม่ได้ทำการห้ามปราม ทำผิดเงื่อนไขการประกันตัว จึงสั่งให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว

ต่อมาในวันที่ 27 ธันวาคม ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งพิจารณาคำร้องอุทธรณ์กรณีศาลขอนแก่นสั่งเพิกถอนประกัน โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลจังหวัดขอนแก่นพิจารณาโดยชอบแล้ว

ในวันที่ 28 ธันวาคม ทีมทนายความของจตุภัทร์ ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนการพิจารณาคำร้องขอฝากขังที่ผิดระเบียบและขอให้ศาลเบิกตัวผู้ต้องหามาสอบถาม เนื่องจากพบว่ามีการสั่งฝากขังเป็นผัดที่ 3 อีก 12 วันเป็นที่เรียบร้อย โดยในเอกสารระบุว่าผู้ต้องหาไม่ค้านการฝากขัง คำร้องฝากขังดังกล่าวลงชื่อเจ้าพนักงานสอบสวนได้ยื่นต่อศาลในวันที่ 26 ธันวาคม 2559 และศาลมีคำสั่งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม

ต่อมาศาลได้ให้เจ้าหน้าที่นำเอกสารกระบวนพิจารณาคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบมาให้ทนายความได้อ่านโดยในเอกสารได้ระบุคำพิเคราะห์ว่า การยื่นคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพียงแต่ศาลไม่ได้สอบถามผู้ต้องหาเสียก่อนว่าจะคัดค้านคำร้องฝากขังนั้นหรือไม่เท่านั้น หาทำให้การสั่งอนุญาตให้ฝากขังดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดกฎหมายไม่ ให้ยกคำร้อง โดยให้เบิกตัวผู้ต้องหามาสอบถามในลักษณะการประชุมผ่านจอภาพ เวลา 16.30 น.

หลังศาลสอบถามผู้ต้องหา ซึ่งผู้ต้องหาคัดค้านการฝากขัง อย่างไรก็ตาม ศาลพิเคราะห์ว่าคำคัดค้านของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น เมื่อผู้ร้องมีเหตุจำเป็นที่ต้องสอบปากคำพยานเพิ่มเติมอีก 4 ปาก และรอผลการตรวจสอบประวัติการต้องโทษจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคงและมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่มีการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะควบคุมผู้ต้องหาต่อไป ในชั้นนี้จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาเป็นเวลา 12 วัน นับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2559 ถึง 8 มกราคม 2560

โดยวิบูลย์ซึ่งเป็นทนายและบิดา ระบุว่าจะทำหนังสือร้องเรียนต่อสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่ากระบวนพิจารณาฝากขังอันมิชอบด้วยกฎหมาย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์: ศาสนาในพื้นที่สาธารณะใหม่

$
0
0




ผมได้รับโอกาสที่ดีมากในการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านพระมหาบุญช่วย สิรินุธโธ และคุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร ในโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบนฐานศาสนธรรม” สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.​) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น การเข้าร่วมนี้ทำให้เกิดความคิดหลากหลายและมองเห็นสังคมในอีกมิติหนึ่ง จึงขอนำบางประเด็นมาเล่าสู่กันฟังครับ

ท่านพระมหาบุญช่วย สิรินุธโธ ผู้ประสานงานโครงการวิจัยได้เลือกชุนชนที่เป็นพื้นที่การวิจัยที่มีความหลากหลาย อันประกอบด้วยชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการนั้นเกิดขึ้นจากพี่น้องในชุมชนเห็นปัญหาของตนเองและปรารถนาจะแก้ไขด้วยการใช้ฐานศาสนธรรมให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของตนเอง

คุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร ได้กล่าวเน้นว่าโครงการนี้มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ที่จะทำให้เราเริ่มมองเห็นและมองหาแนวทางการปรับตัวของ “เทวศาสตร์ในพื้นที่สาธารณะใหม่” ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาสนาคริสต์ในโลกตะวันตกได้พยายามปรับตัวมานับเนื่องทศวรรษ

ท่านพระมหาบุญช่วย ได้กล่าวสรุปในตอนท้ายของการประชุมทำนองว่าหากโครงการทั้งหมดสามารถที่จะปรับศาสนธรรมมาใช้แก้ปัญหาของชุมชนได้ ก็จะเป็นฐานคิดต่อไปว่าหากสังคมไทยจะเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยศาสนธรรมจะทำอย่างไรกันได้บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งของสังคมไทยในปัจจุบัน

กรอบคิดในการแสวงหา “ความรู้” เพื่อสังคมของท่านทั้งสองควรจะเป็นหลักการที่สังคมไทยควรจะต้องหยิบมาใคร่ครวญกันนะครับ เพราะในวันนี้ เราเกือบจะมองไม่เห็นหลักการของศาสนาหรือศาสนธรรมปรากฏอยู่ในชีวิตของผู้คนเลย

หากเรานิยาม “ศาสนา” ในเชิงวัฒนธรรมเพื่อทําความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้น กล่าวได้ว่า “ศาสนา” คือ ระบบของสัญญลักษณ์ซึ่งมีพลังในการอธิบายกระบวนการของชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่อดีต เรื่อยมาถึงปัจจุบัน และมองไปสู่อนาคต พลังของการอธิบายเกิดขึ้นได้เพราะการอธิบายครอบคลุมมิติต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านของอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และยึดโยงแนบแน่นกับความหมายที่ดีงาม (ระบบศีลธรรม) ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทั้งหมด

พลังของศาสนาที่สามารถอธิบายทุกสรรพสิ่งได้อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกันไปนี้จึงเป็นรากฐานแรงจูงใจของมนุษย์ในการจรรโลงสรรพสิ่งตามเป้าหมายของกระบวนชีวิตในศาสนานั้นๆ

พลังในการอธิบายกระบวนการของชีวิตทั้งหมดในอดีตกาลมีสูงมากเพราะสังคมมนุษย์ไม่ได้มีความแตกต่างมากนักในสถานะทางเศรษฐกิจและระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด “มนุษย์จึงเป็นมนุษย์”ที่ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในกรอบการอธิบายของศาสนา อดีต (ชาติ) ปัจจุบัน (กาล) และอนาคต (ชาติ) อยุ่ในชุดเดียวกัน อาจจะมีความแตกต่างอยู่ในเรื่องชนชั้นแต่ไม่ได้มีทางมองโลก มองชีวิตที่ฉีกขาดจากกัน

แต่สังคมไทยปัจจุบัน (รวมทั้งสังคมโลกด้วย) กลับมีความแปลกแยกแตกต่างกันมากมายและเกิดขึ้นในทุกมิติของชีวิต ผมคิดว่าวันนี้สังคมไทยเหมือน “ สังคมขนมชั้น” แบบโมเสคแยกย่อย (ชิ้นเล็กๆที่ประกอบกันเป็นชิ้นใหญ่แต่ไม่เป็นโมเสครูปเดียวกัน ) สังคมลักษณะนี้จะเห็นได้ว่าแม้ว่าแต่ละชั้นจะอยู่รวมกันแต่ก็ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแท้จริง พร้อมกันนั้นในแต่ละกลุ่มชนชั้นก็มีรอยแยกระหว่างกันอีกด้วย

ตัวอย่างของกฎทั่วไปที่อธิบายภาวะของการดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง ซึ่งซ้อนทับบนการอธิบายกระบวนการของชีวิตทั้งหมด (ที่ครอบคลุม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของมนุษย์) เช่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น) กฎทั่วไปนี้เคยอธิบายการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งเช่นนี้กลับไมมีเสน่ห์ต่อคนอีกหลายกลุ่มในสังคม เช่น “อนัตตา” คือ ความไม่มีตัวตนนั้น ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีพลังกับกลุ่มคนชนชั้นกลางกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยที่มีสํานึกเชิงปัจเจกชนนิยมที่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตนเอง จนทําให้เกิดการตีความบิดเบี้ยวและสร้างกฎทั่วไปใหมที่เน้นถึง ภาวะที่เป็นอัตตาที่มีอยู่/และดํารงอยู่ของสภาวะนิพพาน (ซึ่งเดิมเป็นอนัตตา) หรือการเกิดลัทธิพิธีใหม่ๆมากมายในสังคม

“สังคมขนมชั้น” แยกย่อยแบบโมเสคกลายเป็นพื้นที่สาธารณะใหม่ขนาดใหญ่ที่คนอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ไม่มีใครเข้าใจและเห็นใจกันอีกแล้ว ขณะเดียวกันในแต่ละชิ้นของโมเสคสังคมก็สร้างความหมายของชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ศาสนาที่ครั้งหนึ่งเคยประสานหรือสร้างความรู้สึกร่วมกันในความหมายของชีวิตก็ลดความหมายลงไปจนเกือบหมดสิ้น

ความรู้ที่นักวิจัยในโครงการวิจัยชุดนี้กำลังแสวงหาอยู่จึงไม่ใช่แค่การตอบเพียงแค่ปัญหาในชุมชนแต่ละพื้นที่เท่านั้น แต่หากกำลังเสาะแสวงหาทางออกให้แก่สังคมโดยรวมอีกโสดหนึ่งด้วย เพราะท่านทั้งหลายกำลังดึงเอาแก่นแกนของศาสนธรรมให้กลับเข้ามาอยู่อย่าง “เป็นธรรมดา” ของชีวิตประจำวันของคนทั่วไปในชุมชน เพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาหลายอย่างในชุมชนตนเอง

หากศาสนธรรมแยกออกจากชีวิตธรรมดาของผู้คน และเป็นเพียง“สมบัติ”ของคนกลุ่มน้อยที่ใฝ่ฝันบรรลุบรมธรรมของศาสนา เราก็คงต้องเผชิญปัญหาสังคมหนักหน่วงมากขึ้นๆไปเรื่อยๆ ดังนั้น พวกเราเองก็คงจำเป็นที่จะต้องคิดถึงการสร้าง “ศาสนาธรรมที่เป็นธรรมดา” เพื่อที่จะทำให้เป็นพลังในการประสานหรือสร้างความรู้สึกร่วมในสังคมให้แจ่มชัดเพื่อชีวิตของเราและลูกหลานในอนาคต

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: กรุงเทพธุรกิจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ส.ค.ท.๒๕๖๐

$
0
0


 


ประเทศของฉัน          ผู้คนทุกข์ถูกลงทัณฑ์กันเกลื่อนกล่น

ที่คุมขังช่างมากมายหลายแห่งหน          หวังยังทนให้ไหวใจต้องหวัง

เธอต้องทนให้ได้อย่าพ่ายแพ้          เหน็บหนาวแค่ไหนไม่คลุ้มคลั่ง

เสรีภาพนอกกำแพงแข่งผุพัง          ความเกลียดชังยังร้อนเร่าภูเขาไฟ

ผิวน้ำดูดังนิ่งไม่ติงไหล          แต่ภายใต้สายน้ำงำลามไหม้

สะสมปมเงื่อนเงาแผดเผาใจ          ผู้คนไม่สามัคคีจ้องตีกัน


โลกของเธอ          คอยชะเง้อวันเดือนปีที่ปิดกั้น

รอคอยการสิ้นแรงแสงตะวัน          สู่ความฝันพาไปไร้กำแพง

เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่          อันพรใดก็ไม่มีที่ส่องแสง

คนนอกคุกแต่ยุคสมัยไร้เรี่ยวแรง          ใจเข้มแข็งแห่งคนคุกปลุกใจเอย.


 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ประวัติศาสตร์คริสต์มาส

$
0
0

 

วันคริสต์มาส หรือวันที่ 25 ธันวาคม นั้น ได้รับการเฉลิมฉลองในฐานะวันสำคัญ และเป็นที่เข้าใจกันว่า การเฉลิมฉลองนี้ สืบเนื่องจากวันสมภพของพระเยซู ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกของชาวคริสต์ เป็นวันศักดิ์สิทธิ์และเป็นวันหยุดการทำงาน ในปัจจุบัน แม้แต่ในประเทศที่ประชากรส่วนมากไม่ได้เป็นคริสต์ ก็รับรู้และมีส่วนร่วมในความสำคัญของคริสต์มาสด้วย โดยเฉพาะประเพณีหลายเรื่องที่สืบมาจากคริสต์มาส เช่น เรื่องการอวยพร การให้ของขวัญ การประดับตกแต่งต้นคริสต์มาส ทำให้ประเพณีคริสต์มาสกลายเป็นเรื่องของการฉลองทั่วโลก

ความจริงแล้ว มีความเข้าใจความหมายอันคลาดเคลื่อนอยู่บ้าน เช่น คำว่า “คริสต์มาส” คำในภาษาอังกฤษเก่าคือ Crīstesmæsse หมายถึงการ “มิสซา”หรือ”มหาสนิท”ของชาวคริสต์ แต่คำในภาษาลาติน คือ “festum Natale” มีความหมายเป็นคริสต์สมภพมากกว่า แต่ที่มากกว่านั้น คือ วันที่ 25 ธันวาคม ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับคริสต์สมภพที่เป็นจริงเลย

ในสมัยจักรวรรดิโรมัน เทศกาลปลายเดือนธันวาคม เรียกว่า “แซตเทอร์นาเลีย” คืองานเฉลิมฉลองบูชาพระเสาร์ ซึ่งเป็นเทพแห่งการเกษตร เทศกาลเริ่มจากช่วงวันที่ 17-23 ธันวาคม ต่อมาตั้งแต่ราวสมัยต้นคริสต์กาล วันที่ 25 ธันวาคม กลายเป็นวันศักดิ์สิทธิ๋เพื่อฉลองวันประสูติของเทพมิธรา ซึ่งเป็นยุวเทพที่เกิดจากหิน เทพมิธราองค์นี้ไม่ได้มาจากตำนานกรีก แต่เป็นอิทธิพลของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ที่รับเข้ามาในอาณาจักรโรมันก่อนหน้าศาสนาคริสต์

หลังจากนั้น เมื่อศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่และกลายเป็นศาสนาหลักของจักรวรรดิโรมัน ชาวคริสต์ในระยะแรกก็ยังไม่มีการฉลองคริสต์มาส มีเพียงเทศกาลฉลองอีสเตอร์ คือถือว่าการกลับคืนชีพของพระเยซูเท่านั้นที่มีความสำคัญ จนกระทั่ง คริสต์ศตวรรษที่ 4 ฝ่ายคริสตจักรจึงเห็นว่า เมื่อกำเนิดของพระบุตร คือ พระเยซู มีความสำคัญ จึงควรจะต้องมีการฉลองคริสต์สมภพให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ปัญหามีอยู่ว่า ในพระคัมภีร์ไม่ได้ระบุไว้เลยว่า พระเยซูสมภพในวันที่เท่าไร เพราะไม่เคยมีการให้ความสำคัญแก่วันเกิดของพระเยซู ตามหลักฐานพระเยซูน่าจะประสูติในฤดูที่ไม่ใช่ฤดูหนาวเสียด้วยซ้ำ เพราะมีการกล่าวถึงต้อนแกะในทุ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นในฤดูหนาวไม่ได้ แม้กระทั่งปีเกิดของพระเยซูก็ไม่ได้เป็นที่ระบุชัดเจน การหาปีเกิดพระเยซู ทำโดยบาทหลวงดิโอนีซีอุส อีชิกูอัส ใน ค.ศ.533 และเป็นที่ใช้กันต่อมา ในตามหลักฐานที่วิเคราะห์ปัจจุบัน มีความเป็นไปได้ว่า ศักราชมีความคลาดเคลื่อน พระเยซูไม่น่าจะสมภพในจุดเริ่มของ ค.ศ.1 ตามที่เข้าใจกันในสมัยกลาง

ในกรณีของวันคริสต์สมภพ พระสันตะปาปาจูเลียสที่ 1 (อยู่ในตำแหน่ง ค.ศ.337-352) เป็นผู้เลือกให้ฉลองคริสต์สมภพในวันที่ 25 ธันวาคม ตามวันฉลองใหญ่ของอาณาจักรโรมัน และยังมีการกำหนดวันอีพิฟานี(Epiphany) หรือวันพระคริสต์แสดงองค์ ซึ่งกำหนดเป็นวันที่ 7 มกราคม หลังจากนั้น ประเพณีฉลองคริสต์มาสจึงเผยแพร่ไปทั่วโลกตะวันตก

แต่การฉลองคริสต์มาส เผชิญการท้าทายครั้งสำคัญจากพวกพิวริตัน (Puritans-สำนักบริสุทธิ์) ซึ่งเป็นสำนักโปรเตสแตนต์อังกฤษที่ศรัทธาในความจริงแท้ของพระคัมภีร์ และปฏิเสธสถาบันคาทอลิกทั้งหมด ดังนั้น เมื่อโอลิเวอร์ ครอมเวลส์ยึดอำนาจใน ค.ศ.1645 จึงยกเลิกเทศกาลคริสต์มาสในอังกฤษ ด้วยเหตุผลว่า คริสต์มาสไม่เคยมีในพระคัมภีร์ และในสมัยพระเยซูทรงพระชนม์ ก็ไม่มีการฉลองคริสต์มาส แต่หลังจากที่มีการรื้อฟื้นระบอบกษัตริย์กลับมาในอังกฤษเมื่อ ค.ศ.1660 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ก็รื้อฟื้นเทศกาลคริสต์มาสกลับคืนมา

ดังนั้น เมื่อพวกพิวริตันไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกาเหนือตั้งแต่ ค.ศ.1620 จึงไม่มีการฉลองคริสต์มาสในอเมริกาเลย และในบางเมือง เช่น บอสตัน ถือว่าการฉลองคริสต์มาสเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ต้องถูกปรับ และยิ่งต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาเป็นเอกราชจากอังกฤษเมื่อ ค.ศ.1776 ประเพณีจากอังกฤษก็ไม่เป็นที่นิยม ประเทศใหม่นี้ก็ไม่มีการฉลองเทศกาลคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ เทศกาลที่มีความสำคัญ คือ งานฉลองอิสรภาพ 4 กรกฎาคม และวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) ซึ่งกำหนดเป็น 26 พฤศจิกายน

จนกระทั่ง ค.ศ.1819 วอชิงตัน เออร์วิน นักเขียนอเมริกาคนสำคัญ ได้เขียนชุดรวมเรื่องสั้นเรื่อง The Sketchbook of Geoffrey Crayon, Gent. และกลายเป็นหนังสือขายดีอย่างมาก ในหนังสือชุดนี้ เออร์วินได้เล่าถึง “ตำนานโบราณ” ซึ่งรวมถึงเรื่องการฉลองคริสต์มาสในอังกฤษ ความจริงเออร์วินไม่เคยไปอังกฤษ และไม่เคยเห็นการฉลองคริสต์มาสจริง แต่ได้สร้างจินตภาพคริสต์มาสขึ้นมาใหม่ ให้เป็นวันแห่งครอบครัวและการรวมญาติ เป็นวันเฉลิมฉลองความสุข ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตามแนวคิดนี้ คริสต์มาสไม่มีอะไรเกี่ยวกับศาสนาและคริสต์สมภพเลย แต่ผลกระทบจากเรื่องนี้คือ ทำให้เทศกาลคริสต์มาสเป็นที่สนใจมากขึ้นในสหรัฐฯ

นวนิยายของชาร์ล ดิกเกนส์เรื่อง “ภูติคืนคริสต์มาส (A Christmas Carol)” ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ.1843 และกลายเป็นที่นิยมสูงสุด และทำให้เรื่องวันคริสต์มาสกลายเป็นที่นิยมอย่างสูงในอังกฤษและอเมริกา ในที่สุด รัฐบาลกลางอเมริกาได้ประกาศให้คริสต์มาสเป็นวันหยุดทางการใน ค.ศ.1870

ประเพณีการนำต้นคริสต์มาสมาประดับ ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวกับคริสต์สมภพ แต่น่าจะเป็นประเพณีดั้งเดิมก่อนคริสต์ศาสนา ที่ชาวโรมันนำต้นไม้มาบูชา ส่วนซานตาคลอสเป็นเรื่องของนักบุญนิโคลัสแห่งมีรา ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.270-325 และมีสาวกผู้ศรัทธา ที่จัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลในเดือนธันวาคม โดยการให้ของขวัญกัน ในที่สุด นักบุญนิโคลัสถูกตัดแปลงโดยชาวเยอรมันรวมกับเทพเจ้าโอดิน กลายเป็นชายมีหนวดเครา ขี่ม้าบินมาในวันที่ 6 ธันวาคม จึงสวมชุดหนาเพื่อป้องกันความหนาว คาทอลิกรับเอานักบุญนี้เข้าสู่ประเพณีของตน และย้ายวันเดินทางมาของนักบุญนิโคลัสเป็นวันคริสต์มาส จากนั้น วอชิงตัน เออร์วิน  เป็นผู้ขนานนามนักบุญนิโคลัสเป็น “นักบุญกางเขน” หรือ “ซานตาครอส” (ใช้คำตามภาษาดัชท์) ต่อมา ใน ค.ศ.1822 คลีเมนต์ มัวร์ เขียนบทกวีบรรยายให้นักบุญนิโคลัสมาโดยเลื่อนที่มีกวางเรนเดียร์ 8 ตัว และนำของขวัญมาใส่ในถุงเท้ายาวที่แขวนไว้กับปล่องไฟ ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มของจินตภาพซานตาครอสที่ใช้กันต่อมา

เรื่องภาพของการฉลองคริสต์มาส ต้นคริสต์มาส การให้ของขวัญ และซานตาคลอส ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกนี้ ได้ถูกต่อต้านคัดค้านจากฝ่ายเคร่งศาสนา เพราะเห็นว่าประเพณีเหล่านี้ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับคริสต์สมภพเลย กลุ่มนี้จึงต้องการรื้อฟื้นความหมายเดิมของคริสต์มาส คือ การทำเฉพาะเข้าโบสถ์และพิธีทางศาสนาเท่านั้น

แต่ความพยายามนี้ คงไม่ประสบผล เพราะงานฉลองคริสต์มาสทั่วโลกได้กลายเป็นธุรกิจการค้าขนาดมหาศาลในแต่ละปี และนี่จึงเป็นโฉมหน้าอันแท้จริงของตลาดคริสต์มาส

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 597 วันที่ 31 ธันวาคม 2559

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประมวลการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 60 หลายสำนักชี้โต 3.2 จนถึง 4%

$
0
0

รบ.วางอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย  2.5% บวกลบ 1.5% ‘สภาผู้ส่งออก’ คาดส่งออก 60 โต 1-2 % ตัวเลขประเมินจีดีพีหลายสำนักคาดโต 3.2 จนถึง 4% 'สภานายจ้าง' ห่วงเด็กจบใหม่สายสังคมฯ โอกาสตกงานสูง พร้อมเปิด 12 ข้อเสนอแนะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของ อนุสรณ์ ธรรมใจ

เศรษฐกิจปี 59 ที่ผ่านมา เผชิญทั้งปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อกำลังการบริโภคในภาคเกษตร รวมทั้งอัตราการว่างงาน ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระหว่างเดือน ม.ค.-ต.ค. ที่ผ่านมา มีผู้ว่างงาน จำนวน 3.86 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1% เพิ่มขึ้นจากปี 58 ที่มีอัตราการว่างงาน 0.9% นโยบายปราบทัวร์ศูนย์เหรียญทำให้นักท่องเที่ยวจีนหายไปจำนวนมาก และเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา ฐานเศรษฐกิจ รายงานด้วยว่า ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากรพบว่าช่วง 10 เดือนของปี 59 จีนเป็นประเทศที่ไทยขาดดุลการค้ามากที่สุดถึง 5.62 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 8.21 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม 30 ธ.ค. 59 จาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า รายงานนโยบายการเงินฉบับเดือน ธ.ค. 2559 ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพี ในปี 59 และ 60 มีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ 3.2% และ 3.2% ตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 59 และปี  60 อยู่ที่ 0.2% และ 1.5% ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อยู่ที่ 0.7% และ 0.8% ตามลำดับ จากการคาดการณ์ของ กนง. แล้ว  ยังมีอีกหลายสำนักออกมาคาดการณ์การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.2% จนถึง 4% ด้วยหลายหลายปัจจัย เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มฟื้นตัว ดังนี้

ครม.วางอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 2.5% บวกลบ 1.5%

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนออนุมัติเป้าหมายนโยบายการเงินประจำปี 60 พร้อมข้อตกลงระหว่าง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และ รมว.การคลัง ในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินระยะปานกลางที่ รมว.การคลัง และ กนง.เห็นชอบร่วมกัน โดยกำหนดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.5% บวกลบ 1.5%

เวิลด์แบงก์ประเมินปี 60 จีดีพี ขยาย 3.2% ทีมเศรษฐกิจ รบ.คาด 3.5-4%

กอบศักดิ์กล่าวอีกว่า สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ยังได้ชี้แจงในที่ประชุม ครม.ถึงกรณีที่ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประเมินอัตราการขยายตัวของจีดีพี ในปี 59 ว่าจะขยายตัวได้ 3.1% และในปี 60 จะขยายตัว 3.2% ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับที่ทางทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ประมาณการไว้ว่าจีดีพีไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ช่วง 3-3.5% ซึ่งจะต้องรอดูในไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะผลจากมาตรการช็อปช่วยชาติและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ส่วนในปี 60 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวได้สูงขึ้น 3.5-4% ต่อปี

ศูนย์วิจัยกสิกร คาดโต 3.3%

วันเดียวกัน (21 ธ.ค.59) ศูนย์วิจัยกสิกร ระบุว่า ปี 60 คาดหวังการลงทุนภาคเอกชนเริ่มขับเคลื่อน หนุนการเติบโตอย่างสมดุลมากขึ้น การท่องเที่ยว การลงทุนภาครัฐ และการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ต้องอาศัยแรงผลักดันเสริมจากการส่งออก (ไม่ติดลบ) และการลงทุนภาคเอกชน การจัดทำงบประมาณกลางปี 60 นับเป็นปัจจัยบวกใหม่ เบื้องต้น KResearch ยังคงคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 60 ไว้ที่ 3.3% และรอประเมินรายละเอียดและความคืบหน้าของงบกลางปี รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกครั้ง

หอการค้า คาด ขยายตัวได้ 3.5-4%

20 ธ.ค.ที่ผ่านมา วิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 59 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.3-3.5% ซึ่งภาพรวมถือว่ามีอัตราการฟื้นตัวอย่างช้าๆ และ ไม่ได้ขยายตัวสูงอย่างที่คาดหวังไว้ โดยตั้งแต่ไตรมาส 1/59 เศรษฐกิจขยายตัวที่ 3.2% ไตรมาส 2/59 ขยายตัว 3.5% และ ไตรมาส 3/59 ขยายตัว 3.3% ขณะที่ปี 60 ขยายตัวได้ 3.5-4% ส่วนการส่งออกปี 59 คาดว่าจะขยายตัวติดลบติดลบ 1-0% และ ปี 60 คาดว่าขยายตัว 0-2%  โดยปัจจัยที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ รวมถึงการลงทุน และ การใช้จ่ายจากภาครัฐ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในปีหน้า ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนให้หันกลับมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะผลจากแนวนโยบายรัฐบาบทรัมป์ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ความเสี่ยงทางการเมืองในภูมิภาคยุโรป รวมถึงการเติบโตที่ชะลอลงของเศรษฐกิจจีน

ธปท.ชี้โตกว่า 3.2%

24 ธ.ค.59 วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การขยายตัวของจีดีพี ไทยในระยะอีก 1-2 ปีข้างหน้า ตามที่รัฐบาลมีความมุ่งหวังจะเห็นเติบโตได้เต็มศักยภาพที่ระดับ 4-5% นั้น มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเติบโตในระดับดังกล่าว หากมีการปฏิรูปการลงทุนเนื่องจากปัจจุบันยังมีบางภาคส่วนที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ เช่น การลงทุนภาคเอกชน โดยในช่วงที่ผ่านมาพบว่าชะลอตัวลงกว่าอดีต หากมีการลงทุนมากขึ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น S Curve ก็จะช่วยตอบโจทย์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวได้ ขณะที่ภาคเกษตรของไทยยังมีโอกาสที่จะยกระดับศักยภาพได้ และจะช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย ทั้งนี้ ในปี 60 มองว่าจีดีพีไทยมีโอกาสที่จะขยายตัวได้มากกว่าที่ กนง. คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.2% โดยมีปัจจัยบวกสำคัญที่จะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยในปีหน้าเติบโตได้มากขึ้นนั้น ประกอบด้วย หากเศรษฐกิจของสหรัฐฟื้นตัวได้ดีขึ้นจากนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ ก็จะส่งผลดีมาถึงการค้าการลงทุนที่ทำให้ไทยได้รับอานิสงส์ในส่วนนี้ด้วย รวมถึงโครงการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งหากในปีหน้าสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่เกิดผล และทำได้เร็วกว่าคาดก็จะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยโตกว่าที่คาดไว้

TDRI มองโต 3.2% เริ่มเห็นสัญญาณการบริโภคในปท.ฟื้นตัว

9 ธ.คง 59 กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยในงานสัมมนาร่วมระหว่างธนาคารโลก และทีดีอาร์ไอถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 60 ว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.2% เพิ่มขึ้นจากปี 59 ที่จะขยายตัวได้ 3% โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกในปี 60 ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 0-1% หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มมีทิศทางฟื้นตัวในทางที่ดีขึ้น จากปีนี้ที่มองว่าปีนี้การส่งออกจะติดลบเล็กน้อยหรือทรงตัวที่ 0%

ทั้งนี้ ในปี 60 การบริโภคในประเทศเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว หลังจากที่ปีนี้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และสถานการณ์ความโศกเศร้าจากเหตุการณ์ในประเทศ ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐจากการเพิ่มงบประมาณกลางปี 1.9 แสนล้านบาท คาดว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 60 ได้ ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐจากการเพิ่มงบประมาณกลางปี 1.9 แสนล้านบาท คาดว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 60 ได้ ขณะที่การลงทุนของภาครัฐจะมีส่วนช่วยได้บ้าง เนื่องจากเงินลงทุนภาครัฐมีส่วนช่วยเศรษฐกิจเพียง 5-6%

ซีไอเอ็มบีคาดโต 3.2%

22 ธ.ค.59 อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ประเมินเศรษฐกิจปีนี้น่าจะมีอัตราการขยายตัวของจีดีพี ที่ 3.3% ส่วนปี 60 เศรษฐกิจน่าจะเผชิญทั้งโอกาสและความท้าทาย เปรียบเหมือนสายรุ้งที่มีทั้งด้านสดใสและด้านอึมครึม จากสีม่วงไปจนถึงสีแดง โดยคาดว่าจีดีพีปีหน้าจะโตได้ที่ 3.2% โดยสาเหตุที่มองปีหน้าโตได้น้อยกว่าปีนี้มาจากความเสี่ยงตลาดโลกเป็นหลัก แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศจะฟื้นตัวได้บ้างจากการบริโภค แต่ก็ไม่อาจชดเชยแรงกดดันจากภายนอกได้ ซึ่งการทำมาตรการกระตุ้นระยะสั้นของโภครัฐน่าจะช่วยได้เพียงประคองเศรษฐกิจให้ไปต่อได้ไม่สามารถกระตุ้นให้โตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนภาครัฐคิดเป็นเพียง 6% ของจีดีพี

อนุสรณ์ คาดเศรษฐกิจโลกปีหน้าโต 3.3-3.6%

25 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้คาดการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ปี 60 ว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 60 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 59 โดยอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ 3.3-3.6% ในปีหน้า  ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราการเติบโตสูงเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงตัวเลขเฉลี่ยจีดีพีโลกให้ปรับตัวดีขึ้น คาดว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ระดับ 1.8-2% และ ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 4.6-5% ระบบการค้าโลกจะเผชิญแรงกดดันของลัทธิกีดกันทางการค้าและความเป็นชาตินิยมทางเศรษฐกิจมากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์การเปิดเสรีจะหันมาให้น้ำหนักกับการทำข้อตกลงทางการค้าและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีมากขึ้นกว่าระบบพหุภาคี ความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในยุโรปจะถูกสั่นคลอนโดยพรรคการเมืองขวาจัดหรือซ้ายจัดที่กำลังก้าวเข้ามามีอำนาจของรัฐบาลในยุโรปหลายประเทศ

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ยังประเมินด้วยว่า อัตราการขยายตัวของการส่งออกของไทยอยู่ที่ 2-3% การนำเข้าอยู่ที่ 4-5% ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลมากจากรายได้การท่องเที่ยว เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิต่อเนื่อง  อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะสาขาที่เทคโนโลยีจะเข้ามาทดแทนการทำงาน ขณะที่ยังคงมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านช่วงเทคนิคและแรงงานระดับล่างต่อไป

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นต่อเนื่องยังไม่สามารถเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจากขาดนวัตกรรม ระบบการศึกษา ระบบวิจัย คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ยังคงอ่อนแอ จึงมีเพดานจำกัดในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะปานกลางและระยะยาว นอกจากนี้ยังไม่ได้เป็นประเทศที่มีระบบนิติรัฐและนิติธรรมเข้มแข็งนัก ขาดยุทธศาสตร์ในการบูรณาการทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ประเทศที่ชัดเจน แม้นมียุทธศาสตร์ก็ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดขึ้นจริง ขณะที่ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ปัญหาความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ ลดเหลื่อมล้ำยังไม่ดีนักและมีแนวโน้มแย่ลงได้อีกหากยังแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยมาตรการประชานิยมระยะสั้นเพราะจะสร้างวัฒนธรรมอุปถัมภ์เป็นอุปสรรคต่อความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

สภาผู้ส่งออก คาดส่งออก 60 โต 1 – 2 %

เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.ที่ผ่านมา นพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ระบุว่าได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของการส่งออกปี 60 ไว้ที่ 1 – 2% โดยคาดว่าการส่งออกของไทยจะ ได้รับปัจจัยบวกจาก 1. การฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลักที่สำคัญในตลาดโลกต่อเนื่องจากปลายปี 59 และ 2. การปรับตัวของผู้ส่งออกไทยต่อสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การค้าระหว่าง ประเทศของโลกในปีหน้ายังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง และอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออกของไทย ประกอบด้วย 1. สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการค้าระหว่างประเทศที่ยังคงเปราะบางและยังทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่อง ซึ่งแม้จะมีปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัว แต่ภาคธุรกิจยังมีความกังวลเกี่ยวกับกำลังซื้อที่แท้จริงของผู้บริโภค ว่าจะดีขึ้นในทิศทางเดียวกันหรือไม่ 2. การออกมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรม ภายในประเทศซึ่งอาจนำโดยสหรัฐอเมริกา และนำไปสู่การตอบโต้ในลักษณะเดียวกันโดยประเทศคู่ค้าอื่นๆ ซึ่งจะทำให้การค้า ระหว่างประเทศ ในภาพรวมหดตัวลงในระยะยาว แต่จะทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง ของปี 2560 เป็นต้นไป 3. สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าตามมาในวงกว้าง และ 4. ภัยธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยครั้งมากขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะชะงักงันในซัพพลายเชนของการค้าระหว่างประเทศ

'สภานายจ้าง' ห่วงเด็กจบใหม่สายสังคมฯ โอกาสตกงานมากสูง

20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยเปิดเผยว่าแนวโน้มการจ้างงานในปี 2560 ว่า ภาพรวมการจ้างงานของไทยจะปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2559 เนื่องจากอัตราว่างงานของไทยยังคงอยู่ระดับต่ำ แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือ นักศึกษาจบใหม่ที่จะมีเข้ามาในระบบเพิ่มขึ้นเดือนมีนาคมกว่า 2 แสนคน ส่วนหนึ่งอาจประสบภาวะตกงาน โดยเฉพาะผู้ที่จบปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ ดังนั้นหากภาครัฐกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อขับเคลื่อนประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกำหนดแผนพัฒนาแรงงานเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการแรงงานสายอาชีพ เช่น ช่างกล ช่างฝีมือ เป็นต้น พร้อมกับแนะนำว่าสังคมไทยควรให้คุณค่าของการศึกษาภาคอาชีวะมากขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองและเยาวชนกล้าตัดสินใจเข้าเรียนสายอาชีพ

"เราขาดช่าง พอเด็กเข้าไปเรียนแล้วก็ไม่มีระบบที่จะไปรองรับวิทยฐานะของเขาเหมือนในต่างประเทศ เช่น เยอรมนี หรือประเทศยุโรปอื่น ทั้งที่จริงๆ แล้ว การจบช่างกับจบปริญญาตรีไม่ได้ด้อยไปกว่ากัน เราจะต้องไม่เอาเปรียบเขา เขาต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่าคนจบปริญญาตรี" ธนิต กล่าว พร้อมแนะนำสำหรับนักศึกษา ที่กำลังจะจบใหม่ในปีการศึกษาหน้า ว่า ให้หาความรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะภาษาที่สองและทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ส่วนข้อกังวลเรื่องการใช้เครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงาน มองว่า ภาคอุตสาหกรรมไทย อาจต้องใช้เวลาอีกระยะ จะไม่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด เราคงไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบเหมือนที่หลายๆ คนฝันไว้ ถึงอย่างไรก็ต้องมีการใช้แรงงาน แต่แน่นอนว่าแรงงานก็จะลดลงในอนาคต เพราะคนมีอายุมากขึ้นและมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แต่การใช้แรงงานจะไม่ได้น้อยลงอย่างฮวบฮาบ" ธนิต ระบุ

12 ข้อเสนอแนะในทางนโยบายต่อรัฐบาล โดย อนุสรณ์

25 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  ได้มีข้อเสนอแนะในทางนโยบายต่อรัฐบาล ไว้ 12 ข้อ ดังนี้

ข้อแรก แรงกดดันจากลัทธิกีดกันทางการค้าเพิ่มสูงขึ้น ระบบการค้าพหุภาคีและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอ่อนแอลงในบางภูมิภาค พลวัตนี้เป็นความเสี่ยงต่อภาคการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย ขณะเดียวกันทำให้เกิดโอกาสของการเปิดเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีในระดับทวิภาคีเพิ่มขึ้น รัฐควรเร่งกำหนดทบทวนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่ วางยุทธศาสตร์การค้าการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อให้ “ไทย” พัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน

ข้อสอง ต้องเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยมาตรการประชานิยมระยะสั้น มาเป็น ระบบสวัสดิการโดยรัฐที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนทางการเงินการคลัง

ข้อสาม เร่าดำเนินการปฏิรูปการศึกษาและระบบวิจัย ตาม ยุทธศาสตร์แผนการศึกษาชาติ 15 ปี และ แผนยุทธศาสตร์ฉบับ 8 ของสภาวิจัยแห่งชาติ

ข้อสี่ เพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณพร้อมกับเร่งให้เกิดความคืบหน้าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งคมนาคม และ ระบบบริหารจัดการน้ำ

ข้อห้า ใช้มาตรการภาษี มาตรการการเงิน มาตรการลงทุนทางด้านวิจัย มาตรการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ภาคส่งออกไทยกลับมาขยายตัวเป็นบวกและสามารถแข่งขันได้

ข้อหก พัฒนาระบบนิติรัฐให้เข้มแข็งโดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับการค้า การลงทุนและการแข่งขันที่เป็นธรรม มีความคงเส้นคงวาของการดำเนินนโยบาย สร้างระบบธรรมาภิบาล ขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การติดสินบน ลดขั้นตอนในการทำงานและลดอำนาจดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ลดต้นทุนของภาคธุรกิจอันเกิดจากความประสิทธิภาพและความล่าช้าของระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ

ข้อเจ็ด ปรับขนาดของระบบราชการและรัฐวิสาหกิจให้ลดลง (Smaller Government) และ เพิ่มประสิทธิภาพสูงขึ้น จ่ายค่าตอบแทนให้สูงขึ้นในระดับเดียวกับเอกชน ทำให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) ในกิจการที่เอกชนทำได้ดีกว่าและบรรลุภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

ข้อแปด ส่งเสริมให้มีการปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมผ่านกลไกประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง และ เพิ่มอำนาจให้กับคนที่มีอำนาจน้อยเพื่อให้เกิดดุลยภาพทางอำนาจของกลุ่มต่างๆในสังคม สิ่งนี้จะนำมาสู่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมต่างๆ

ข้อเก้า นโยบายต่อภาคเกษตรกรรม มีมาตรการเพิ่มผลิตภาพ มาตรการลดต้นทุน มาตรการทางการตลาด ควรมีการกำหนดการเพดานการถือครองที่ดินและจัดตั้ง ธนาคารที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ข้อสิบ ควรมีการทบทวนเพื่อให้มีการปรับเพิ่มค่าแรงขึ้นต่ำอย่างเหมาะสม ปรับเปลี่ยน “กองทุนประกันสังคม” ให้เป็นองค์กรมหาชน จัดตั้งธนาคารเพื่อผู้ใช้แรงงานโดยให้กองทุนประกันสังคมถือหุ้น

ข้อสิบเอ็ด เร่งรัดการก่อหนี้เพื่อนำมาลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ศึกษาและพิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยน หน่วยงานจัดเก็บภาษี จากหน่วยงานราชการ มาเป็น องค์กรมหาชน ภายใต้การกำกับของรัฐบาล 

ข้อสิบสอง ดำเนินการเพื่อให้ “ประเทศไทย” กลับคืนสู่ประชาธิปไตยและมีการเลือกตั้งตามโรดแมป หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามกรอบเวลาต้องมีคำอธิบายที่มีเหตุผลเพื่อไม่กระทบต่อความเชื่อมั่น หากทำไม่ได้จะกระทบภาคการลงทุนอย่างมากโดยเฉพาะการลงทุนจากต่างประเทศ

 

เรียบเรียงจาก :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 20 ธ.ค. 2559, หอการค้าไทยคาดเศรษฐกิจปีหน้าขยายตัว3.5-4% http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/732691

ไทยโพสต์, 21 ธ.ค. 2559, เคาะกรอบเงินเฟ้อ2.5% เมินเวิลด์แบงก์กดจีดีพี หอการค้ามั่นใจศก.โต http://www.thaipost.net/?q=เคาะกรอบเงินเฟ้อ25-เมินเวิลด์แบงก์กดจีดีพี-หอการค้ามั่นใจศกโต

ศูนย์วิจัยกสิกร, 21 ธ.ค.2559 http://m.kasikornbank.com/TH/WhatHot/Documents/KR-21Dec16.pdf

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์,  30 ธ.ค. 2559, กนง.ชี้สัญญาณเงินเฟ้อต่ำ ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อ-คงเศรษฐกิจไทยปี59 โต 3.2%  http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1483100415

ประชาไท, 8 ธ.ค. 2559, ว่างงานเพิ่มจากปีก่อน 'จัดหางาน' พบ 10 เดือนที่ผ่านมายอด 3.86 แสนคน แต่อยู่ในสภาวะปกติ http://prachatai.com/journal/2016/12/69167

ไทยโพสต์, 24 ธ.ค. 2559, ธปท.ชี้ปี60จีดีพีโตกว่า3.2% แนะรัฐยกระดับเกษตร ลั่นพร้อมดูแลเงินบาท http://www.thaipost.net/?q=ธปทชี้ปี60จีดีพีโตกว่า32-แนะรัฐยกระดับเกษตร-ลั่นพร้อมดูแลเงินบาท

ไทยรัฐออนไลน์, 9 ธ.ค. 2559, TDRI มองศก.ไทยปี60 โต 3.2% จากส่งออก-บริโภคภายใน ห่วงปัจจัยเสี่ยง ตปท. http://www.thairath.co.th/content/806712

สำนักข่าวไทย, 28 ธ.ค.2559, สภาผู้ส่งออก คาดส่งออกปี 2560 โตร้อยละ 1 – 2 http://www.tnamcot.com/content/623496

ไทยพีบีเอส, 20 ธ.ค.2559, เด็กจบใหม่สายสังคมศาสตร์น่าห่วง ปี 60 เสี่ยงตกงานสูง https://news.thaipbs.or.th/content/258875

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ธิดาเผยอาการป่วยจตุพรอาจ 'ติดเชื้อในกระแสเลือด'

$
0
0

ธิดา ถาวรเศรษฐ ระบุได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับอาการป่วยของ จตุพร ที่เข้ารักษาตัวที่ รพ.ราชทัณฑ์ เพิ่มเติมว่าเป็นโรคกรวยไตอักเสบติดเชื้อ มีอาการไข้หนาวสั่นซึ่งอาจเป็นอาการขั้นต้นของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ จ่อเยี่ยม 4 ม.ค.นี้

2 ม.ค. 2560 ความคืบหน้า อาการป่วยของ จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. จำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ซึ่งถูกถอนประกันตัวและถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังจากเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีอาการป่วย หนาวสั่น ไข้สูง และนำตัวเข้ารักษาตัวที่โรงพยายาลราชทัณฑ์ ต่อมา กฤช กระแสทิพย์ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เผยว่า จตุพรมีอาการปวดบริเวณกลางท้อง มีอาการหนาวสั่น และไข้สูง แพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์วินิจฉัยแล้วพบว่า จตุพร ป่วยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนต้น หลังจากนี้แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อและดูแลรักษาตามขั้นตอนของแพทย์ต่อไป 

ล่าสุดวานนี้ (1 ม.ค.59) เฟซบุ๊ก 'อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ' เปิดเผยอาการป่วยล่าสุดของจตุพร ว่า ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับอาการป่วยของ จตุพรเพิ่มเติมว่าเป็นโรคกรวยไตอักเสบติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจาก จตุพร มีอาการไข้หนาวสั่นซึ่งอาจเป็นอาการขั้นต้นของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ จึงต้องได้รับการรักษาด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือดควบคู่ไปกับการให้น้ำเกลือและติดตามอาการอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ต่อไป

ส่วนการเข้าเยี่ยมคุณจตุพรนั้นได้รับแจ้งจากภรรยาของคุณจตุพรว่าน่าจะเข้าเยี่ยมได้ในวันที่ 4 ม.ค.60 ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เวลา 11.00 แต่คุณจตุพรน่าจะยังคงต้องให้น้ำเกลือในระหว่างการเยี่ยม

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live


Latest Images