Quantcast
Channel: ประชาไท
Viewing all 51092 articles
Browse latest View live

เทศบาลตำบลหัวเวียง จ.อยุธยา ใช้งบ กปท.จัดระบบบริการ ส่งยา-เวชภัณฑ์ดูแลผู้ป่วยในพื้นที่น้ำท่วม

$
0
0

เลขาธิการ สปสช. ลงพื้นที่ไปยัง ต.หัวเวียง จ.พระนครศรีอยุธยา เยี่ยมชมโครงการจัดระบบบริการสุขภาพ ส่งยา-เวชภัณฑ์ ผ่านงบ กปท. โดย เทศบาลตำบลหัวเวียง พร้อมทั้งการสนับสนุนจากไปรษณีย์ไทยในการส่งน้ำยาล้างไต เพื่อให้ผู้ป่วยที่ประสบภัยน้ำท่วมได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง  

ทีมสื่อ สปสช. แจ้งข่าวว่าเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2565 นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. นพ.ณรงค์ ถวิลวิสาร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอยุธยา นพ.ชลอ ศานติวรางคณา ผอ.สปสช.เขต 4 สระบุรี  นายพีระ อุดมกิจสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด (ปณท. ดบ.) และ นายบรรจบ พัวรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ไปยัง ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเยี่ยมชม ‘โครงการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีโรคระบาดและภัยพิบัติพื้นที่’ ที่ดำเนินการโดยเทศบาลตำบลหัวเวียง ผ่านงบกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.) เพื่อจัดระบบบริการสุขภาพ รวมถึงส่งยาและเวชภัณฑ์ ให้กับผู้ป่วยในพื้นที่อุทกภัย นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมการจัดส่งน้ำยาล้างไตให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังใน ต.หัวเวียง จากความร่วมมือกับไปรษณีย์ไทย โดยมี นายธเนศ สนธิ นายกเทศมนตรีตำบลหัวเวียง นายเกียรติศักดิ์ ชั้วทอง สาธารณสุขอำเภอเสนา และทีมโรงพยาบาลเสนา พร้อมคณะ รพ.สต.หัวเวียง ให้การต้อนรับ 

นายธเนศ สนธิ นายกเทศมนตรีตำบลหัวเวียง กล่าวว่า เทศบาลตำบลหัวเวียงมีพื้นที่อยู่ในความดูแลจำนวน 22.24 ตร.กม. ประกอบด้วย 2 ตำบล คือ ต.หัวเวียง และ ต.บ้านกระทุ่ม มีประชากรทั้งหมด 5,889 คน มีผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 24 ราย และผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 2 ราย นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมอยู่ทุกปี เนื่องจากพื้นที่มีความลุ่มต่ำ เมื่อมีการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาเพียง 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ใน ต.หัวเวียง น้ำจะเริ่มท่วมบ้านเรือนแล้ว ซึ่งขณะนี้มีการระบายอยู่ที่ 1,359 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำตอนนี้จึงเทียบเท่าได้กับเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2554 

นายกเทศมนตรีตำบลหัวเวียง กล่าวต่อไปว่า ทางเทศบาลจึงได้มีการเตรียมแผนรับมือในทุกปี และหนึ่งในนั้นคือด้านสาธารณสุข ซึ่งได้ใช้ กปท. เพื่อเสริมในการจัดบริการ โดยในปีนี้ได้รับการจัดสรรจากงบ กปท. จำนวน 5 แสนบาท ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1. ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลหัวเวียง 2. รพ.สต.หัวเวียง และ 3. รพ.สต.บ้านกระทุ่ม รวมถึง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั้ง 23 หมู่บ้าน ในการเข้าไปดูแล และให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนที่ประสบภัย  

“นอกจากการจัดบริการ ส่งเวชภัณฑ์ น้ำยาล้างไต และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยแล้ว เวลาเราลงพื้นที่ยังมีการ เข้าไปพูดคุยสร้างขวัญกำลังใจ รวมถึงจัดส่งสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เพื่อลดความเครียดให้กับพี่น้องประชาชน” นายธเนศ กล่าว 

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า โดยหลักของ กปท. แล้วเป็นงบประมาณส่วนหนึ่งของ สปสช. ที่สมทบร่วมกับงบประมาณของท้องถิ่นในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างอุทกภัย เพราะบางพื้นที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้งบประมาณสำหรับเดินทาง หรือนำผู้ป่วยมารักษา ตลอดจนยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ดังนั้นในพื้นที่ ต.หัวเวียง นี้จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างให้กับท้องถิ่นอื่นๆ ในการใช้งบ กปท. เพื่อดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน  

นพ.จเด็จ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ในภาวะการณ์วิกฤตน้ำท่วม ส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยที่ต้องล้างไตที่บ้าน และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ต้องเรียนว่าประชาชนในบางพื้นที่น้ำยาล้างไตที่ได้รับไปก่อนน้ำท่วมอาจได้รับความเสียหายจากระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไม่ได้ล้างไตเพียง 2-3 วัน จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ ทาง สปสช. จึงได้ร่วมกับไปรษณีย์ไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในจัดส่งน้ำยาล้างไตให้กับผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง 

“รวมถึงช่วงภาวะน้ำท่วมหากพี่น้องประชาชนจะต้องไปรับบริการรักษาพยาบาล และพบว่าโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการใกล้บ้านน้ำท่วม ขอให้ไม่ต้องกังวล ท่านสามารถไปรับบริการที่ไหนก็ได้ โดยค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ทาง สปสช. จะเป็นผู้ดูแลให้ จึงอยากขอประชาสัมพันธ์หน่วยบริการต่างๆ ด้วยว่า ภาวะน้ำท่วมถือเป็นภาวะฉุกเฉิน สามารถเบิกเงินเพิ่มเติมจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เลย” เลขาธิการ สปสช. ระบุ  

ด้าน นายพีระ อุดมกิจสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด (ปณท. ดบ.) กล่าวว่า การจัดส่งน้ำยาล้างไตในช่วงน้ำท่วม ทางไปรษณีย์ไทยได้มีการประสานกับ สปสช. องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และโรงพยาบาลที่ทำการดูแลผู้ป่วย เพื่อทำการประเมินตั้งแต่ต้นว่าหากพื้นที่ไหนมีความสุ่มเสี่ยงจะเร่งการจัดส่งน้ำยาล้างไตไปให้ผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด ส่วนในกรณีที่พื้นที่อยู่ในภาวะน้ำท่วมแล้วเช่นที่ ต.หัวเวียง ที่มาดูในวันนี้ จะมีการใช้ฟิล์มยืดห่อกล่องน้ำยาล้างไตเพื่อป้องกันความเสียหายจากการโดนน้ำซึมเข้า จากนั้นจะจัดหาเรือเพื่อส่งไปให้ผู้ป่วยถึงที่อยู่อาศัยของประชาชน  

นายพีระ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการจัดส่งน้ำยาล้างไตให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งในบริการด้านhealthcare solution ของ ไปรษณีย์ไทย ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในสิทธิบัตรทองทั่วประเทศ ซึ่งได้ร่วมกับ สปสช. และ อภ. มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รับบริการแล้วกว่า 3 หมื่นรายต่อเดือน และทางไปรษณีย์ไทยได้ดำเนินการจัดส่งน้ำยาล้างไตและอุปกรณ์แล้วประมาณ 3 ล้านถุงต่อเดือน หรือกว่า 36 ล้านถุงต่อปี 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สธ.แจงค่าเสี่ยงภัยโควิด ต.ค.64 – มิ.ย.65 รอสำนักงบฯ จัดสรร

$
0
0

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจงค่าเสี่ยงภัยโควิด-19 ส่วนงบเงินกู้ที่ ครม.อนุมัติ 11,516 ล้านบาท ของช่วง ต.ค. 2564 - มิ.ย. 2565 อยู่ระหว่างรอกระบวนการจัดสรรของสำนักงบประมาณ ซึ่งหากได้รับจัดสรรแล้วให้ดำเนินการภายใน ธ.ค. 2565 นี้


แพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เว็บไซต์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาลรายงานเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2565 ว่านายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีบุคลากรสาธารณสุขสอบถามถึงค่าเสี่ยงภัยการดำเนินงานช่วงโควิด 19 ว่า ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในส่วนของหน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุข วงเงินรวม 12,387.2933 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินจาก 2 แหล่ง คือ1.งบเงินกู้ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2565 จำนวน 11,516.2933 ล้านบาท อยู่ระหว่างกระบวนการจัดสรรของสำนักงบประมาณ (และกรมบัญชีกลางออกรหัสงบประมาณฯ) เป็นรายการค่าตอบแทนเสี่ยงภัยที่จ่ายจริง ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564 - มิ.ย. 2565 ซึ่งให้ดำเนินการเบิกจ่าย หลังจากที่ได้รับจัดสรรแล้วภายในเดือน ธ.ค. 2565 และ 2.งบกลางฉุกเฉิน วงเงิน 871 ล้านบาท เพิ่งได้รับการจัดสรรเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2565 ซึ่งดำเนินการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีงบประมาณแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการจัดสรรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้เมื่อได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณแล้ว กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งรัดกระบวนการจัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยเร็วต่อไป

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ศิธา'ชี้ ทสท.-สอท.รวมพรรคได้ แต่ต้องเคลียร์อุดมการณ์ชัด - 'เพื่อไทย'รับกรณี 'ธรรมนัส'ย้ายซบยังไม่ชัดเจน

$
0
0

'ศิธา'เผย 'ไทยสร้างไทย-สร้างอนาคตไทย'รวมพรรคได้ แต่ต้องเคลียร์อุดมการณ์ให้ชัดต้องไม่เป็นนั่งร้านให้เผด็จการ - 'สุทิน'รับไม่มีอะไรชัดเจนเลย กรณีข่าว 'ธรรมนัส'ซบ 'เพื่อไทย'


น.ต.ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย | ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย

สำนักข่าวไทยรายงานเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2565 ว่า น.ต.ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้งว่า หากการคำนวณ ส.ส. ใช้สูตรหาร 100 โอกาสที่พรรคใหม่และพรรคเล็กจะได้ ส.ส. ถึง 25 คน ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ชื่อที่เสนอเป็นแคนดิเดตนายกฯ มีผลตามกฎหมายได้ยากมาก ทำให้แต่ละพรรคต้องรวมกันถึงจะมีโอกาสมากขึ้น แต่การรวมกันต้องพูดคุยกันอีกเยอะ ยังไม่คืบหน้าเท่ากับที่สื่อมวลชนคาดการณ์ เพราะหากเป็นปลาคนละน้ำก็รวมกันลำบาก

ถ้าถามว่า พรรคไทยสร้างไทยกับพรรคสร้างอนาคตไทยจะรวมกันได้หรือไม่ น.ต.ศิธา กล่าวว่านายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานพรรคสร้างอนาคตไทย กับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ก็เคยทำงานร่วมกันมา โดยสมัยพรรคไทยรักไทย คุณหญิงสุดารัตน์ ดูแลด้านสาธารณสุข สังคม และยาเสพติด นายสมคิด ดูแลด้านเศรษฐกิจ และ ร.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ดูแลด้านกฎหมาย แต่นายสมคิดเองก็เคยเข้าร่วมรัฐบาลกับ พล.อ.ประยุทธ์ มาก่อน จึงต้องดูว่าที่แยกตัวออกมาจากรัฐบาล เป็นเพราะเรื่องผลประโยชน์หรืออุดมการณ์ไม่ตรงกัน หากเป็นเพราะอุดมการณ์ที่ไม่ตรงกับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ก็อาจจะรวมกันได้ เพราะพรรคไทยสร้างไทยมีจุดยืนไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจเผด็จการอยู่แล้ว หากจุดยืนตรงกันก็สามารถคุยกันได้ และการพูดคุยจะไม่ทำอย่างลับๆ ล่อๆ แน่นอน

ขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจว่า ตอนที่คุณหญิงสุดารัตน์ เป็นประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ก็มีนักการเมืองหลายคนที่เคยย้ายจากพรรคเพื่อไทยไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ เพราะถูกเอาคดีความหรือการฟ้องร้องมาเป็นชนักติดหลัง แต่ตอนนี้ก็เริ่มกลับมาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยแล้ว ดังนั้นหากจะรวมกันก็ต้องชัดเจนทั้งสองฝ่าย

'สุทิน'รับไม่มีอะไรชัดเจนเลย กรณีข่าว 'ธรรมนัส'ซบ 'เพื่อไทย'

15 ต.ค. 2565 สำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.รายงานว่านายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงกระแสข่าว ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา อดีตหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย จะย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย ว่าเรื่องดังกล่าวนั้นยังไม่มีความชัดเจน ว่า ร.อ.ธรรมนัส จะย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทยจริงหรือไม่ เป็นเพียงแค่การคาดการณ์เท่านั้น อีกทั้ง ร.อ.ธรรมนัส เองก็ยังไม่มีการแสดงความจำนงอย่างเป็นทางการเลย ทุกอย่างยังไม่ชัดเจนจริงๆ

ทั้งนี้เมื่อถามถึงความคิดเห็นหาก ร.อ.ธรรมนัส ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทยจริง นายสุทิน กล่าวว่า จะต้องดูว่าตัว ร.อ.ธรรมนัส จะสามารถปฏิบัติตามกฎมาตรฐานของพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่ ซึ่งกรรมการบริหารพรรคจะต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา มติชนออนไลน์รายงานว่านายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงความชัดเจนของกระแสข่าวที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย จะกลับมาอยู่พรรค พท. ว่า ร.อ.ธรรมนัสเองก็ยังไม่ได้บอกเลยว่าจะไปอยู่พรรคไหน เราในฐานะที่เป็นพรรคการเมือง จึงยังไม่อยากแสดงความคิดเห็น เพราะผลการประชุมพรรค ศท.มีเพียงการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ส่วน ร.อ.ธรรมนัส จะอยู่ต่อหรือไปไหน ก็ยังไม่ได้ชี้แจง ฉะนั้น ถ้าเราไปพูดอะไรเร็วเกินไป อาจจะเป็นไปอย่างที่เราคิดหรือไม่

เมื่อถามว่า พรรค พท.ได้พูดคุยกับ ร.อ.ธรรมนัสในเรื่องนี้จริงใช่หรือไม่ นายประเสริฐกล่าวว่า ยังไม่ได้มีอะไรที่คุยกันแบบทางการ เพราะทุกพรรคมีการพูดคุยกันหมด เวลาไปเจอกันตามที่ต่างๆ ก็ถามกันหมด

เมื่อถามว่า สมาชิกพรรค พท.คนอื่นรับได้กับการกลับมาของ ร.อ.ธรรมนัส หรือไม่ นายประเสริฐกล่าวว่า ยังไม่ได้คุยประเด็นนี้ในรายละเอียด เพราะในสถานการณ์น้ำท่วม ส.ส.ทุกคนต้องลงพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือประชาชน

เมื่อถามถึงการขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญ พรรคร่วมฝ่ายค้าน จะหารือกันเมื่อใด นายประเสริฐกล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านจะหารือร่วมกันในวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม ทั้งนี้ การเปิดประชุมสมัยวิสามัญ จะต้องมีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงชื่อ 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ หรือไม่น้อยกว่า 243 คน โดยพรรคร่วมฝ่ายค้านมีเสียงไม่ถึง จึงมอบหมายให้นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ไปเชิญชวน ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ให้ร่วมลงชื่อ รัฐสภาที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติควรจะให้ความสำคัญเหตุการณ์ที่ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งปัญหาเร่งด่วน เพื่อระดมความคิด และแสดงความเห็นจากทุกพรรคการเมือง และ ส.ว. เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอีก

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ก้าวไกล'เปิดนโยบาย 'การเมืองก้าวหน้า'นิรโทษกรรมคดีการเมือง-แก้ ม.112-ลงนามศาลอาญาระหว่างประเทศ

$
0
0

พรรคก้าวไกลเปิดชุดนโยบายแรก ประเดิมนโยบายการเมืองชุดใหญ่ สังคายนาทหาร-ศาล-รัฐธรรมนูญ ชูจุดยืนคนเท่ากัน ผลักดันหลายนโยบายก้าวหน้า นิรโทษกรรมคดีการเมือง แก้ 112 และลงนามศาลอาญาระหว่างประเทศ -พระเลือกตั้งได้ - ลาคลอด 180 วัน - คำนำหน้านามตามสมัครใจ หวังสร้างการเมืองก้าวหน้า ประชาธิปไตยเต็มใบ

15 ต.ค. 2565 ทีมสื่อพรรคก้าวไกลรายงานว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิดงานแถลงนโยบายชุดแรกของพรรค ได้แก่ “การเมืองไทยก้าวหน้า” โดยระบุว่าชุดนโยบายของก้าวไกล เป็นบ้านนโยบายที่ชื่อว่า “ไทยก้าวหน้า” มีเป้าหมายคือการสร้างประเทศไทยที่ก้าวหน้าใน 9 ประเด็น คือ การเมืองไทยก้าวหน้า ราชการไทยก้าวหน้า ทุกจังหวัดไทยก้าวหน้า เศรษฐกิจไทยก้าวหน้า เกษตรไทยก้าวหน้า สวัสดิการไทยก้าวหน้า การศึกษาไทยก้าวหน้า สุขภาพไทยก้าวหน้า และสิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า โดยทั้งหมดอยู่บนฐานคิดเดียวกัน คือประเทศไทยเป็นของประชาชน

“เหตุที่ต้องเปิดนโยบายการเมืองเป็นอันดับแรก เพราะหากการเมืองไม่ดี ยากที่เศรษฐกิจ สังคม ปัญหาอื่นๆจะถูกแก้ไขได้ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรอำนาจ และทรัพยากร ใครจะได้บริหารประเทศ ใครจะเอาภาษี เอางบประมาณไปใช้ทำอะไร จะนำพาประเทศไปในทางไหน หากการเมืองไม่ดี เราจะไม่มีวันได้เห็นประเทศที่ก้าวหน้ากว่านี้” พิธากล่าว

สำหรับนโยบายการเมืองไทยก้าวหน้าที่พรรคก้าวไกลแถลงในวันนี้ ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก คือ ทหารของประชาชน ศาลของประชาชน คนเท่ากัน และรัฐธรรมนูญใหม่ปลดล็อกประเทศไทย

ทหารของประชาชน เอาทหารออกจากการเมือง แจกใบแดงนายพล ลดจำนวนนายพล เพิ่มสวัสดิการทหารชั้นผู้น้อย

พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงถึงนโยบายปฏิรูปกองทัพ โดยเริ่มจากการ “แจกใบแดงนายพล” ห้ามนายพลเกษียณอายุเป็นรัฐมนตรีจนกว่าจะเกษียณครบ 7 ปี เพื่อตัดวงจรการใช้อำนาจเส้นสายระบบอุปถัมภ์ของกองทัพมาสู่อำนาจทางการเมือง นอกจากนี้พรรคก้าวไกลยังมีนโยบาย ยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจล้นเกิน ก้าวก่ายกิจการราชการพลเรือน และในขณะเดียวกันก็ยกเลิกกฎอัยการศึกในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งนำไปสู่การซ้อมทรมานในค่ายทหาร สร้างบาดแผล ความไม่ไว้วางใจให้กับคนในพื้นที่ ขัดขวางการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้

พิจารณ์ยังระบุว่าจะมีการปรับโครงสร้างกองทัพให้กระชับ คล่องตัว ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร ลดจำนวนนายพล เพิ่มสวัสดิการทหารชั้นผู้น้อย ยกเลิกระบบทหารรับใช้ ทหารต้องมีศักดิ์ศรีและปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ นอกจากนี้พรรคก้าวไกลยังจะจัดการให้กองทัพคืนธุรกิจของกองทัพ ทั้งสนามกอล์ฟ โรงแรม ม้า มวย ให้กับรัฐบาล รวมถึงคืนที่ดินของกองทัพที่มีอยู่มากมายทั่วประเทศ ให้มาเป็นที่ทำกินของประชาชน แลัวให้ท้องถิ่นนำมาใช้ประโยชน์ เช่นทำสนามกีฬาหรือลานเอนกประสงค์

ศาลของประชาชน ปฏิรูปศาล นิรโทษกรรมคดีการเมือง แก้ 112 ลงนามศาลอาญาระหว่างประเทศ

รังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล แถลงนโยบายการเมืองไทยก้าวหน้า ในหมวดศาลและกระบวนการยุติธรรม เริ่มจากการปฏิรูปศาลให้ยึดโยงรับใข้ประชาชน ให้ผู้พิพากษาต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน และแก้ไขกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้แก่กฎหมายอาญามาตรา 112, มาตรา 116, พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งพรรคก้าวไกลได้เสนอแก้ไขไปแล้ว และขณะนี้ร่างแก้ไขชุดกฎหมายเหล่านี้ ได้ถูกบรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาแล้ว ยกเว้นร่างแก้ไขกฎหมาย 112 ที่สภาไม่ยอมบรรจุเข้าวาระ โดยอ้างว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่พรรคก้าวไกลยืนยันจะเดินหน้าผลักดันต่อไปหากได้เป็นรัฐบาล และย้ำว่าการแก้ 112 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่ได้กระทบต่อพระราชสถานะองพระมหากษัตริย์ ในฐานะประมุขของประเทศ

รังสิมันต์ยังเปิดนโยบายการนำรัฐบาลไทยให้สัตยาบันรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เพื่อชำระสะสางคดีอาชญากรรมที่รัฐกระทำต่อประชาชน เช่นเหตุการณ์สังหารหมู่คนเสื้อแดงในปี 2553 รวมถึงโศกนาฏกรรมตากใบ และป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมเช่นนี้อีกในอนาคต ยุติวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวลที่เกาะกินประเทศไทย

และข้อเสนอใหญ่ที่สุดของพรรคก้าวไกล คือการนิรโทษกรรมคดีการเมือง โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เพื่อคืนความเป็นธรรมและอนาคตให้กับประชาชนที่ต้องคดีการเมืองเพียงเพราะแสดงความเห็นต่าง และวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์

คนเท่ากัน คำนำหน้านามตามสมัครใจ ลาคลอด 180 วัน พระเลือกตั้งได้ จ้างงานผู้พิการ

ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พรรคก้าวไกล เขตสายไหม แถลงชุดนโยบายการเมืองไทยก้าวหน้า ในหมวด “คนเท่ากัน” ซึ่งว่าด้วยการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เริ่มจากการจ้างงานคนพิการ 20,000 ตำแหน่ง เพื่อให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี รวมถึงการเสนอนโยบาย “อัตลักษณ์ทางเพศก้าวหน้า” คือการรับรองความหลายหลายทางเพศอย่างเท่าเทียมกัน บุคคลเลือกคำนำหน้าได้ตามความสมัครใจ และมีการเพิ่มตำรวจหญิงทุกสถานี เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีล่วงละเมิดทางเพศ เอื้ออำนวยให้ผู้เสียหายสะดวกใจที่จะเข้าแจ้งความ ไม่กระทบกระเทือนจิตใจซ้ำจากกระบวนการสอบสวน นำไปสู่การอำนวยความยุติธรรมในคดีทางเพศอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อีกนโยบายที่ส่งเสริมสิทธิผู้หญิง คือการเพิ่มวันลาคลอดเป็น 180 วัน และพ่อแม่สามารถแบ่งกันใช้ได้ เพื่อให้หน้าที่เลี้ยงลูกในวัยแรกเกิดเป็นของทั้งพ่อและแม่ ไม่เป็นภาระของแม่แต่เพียงฝ่ายเดียว นโยบายนี้จะยังเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัว ให้เด็กได้เติบโตมาอย่างอบอุ่น ได้รับการดูแลโอบอุ้มจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิดในวัยเริ่มต้นของชีวิต

นอกจากนี้ พรรคก้าวไกลยังจะเสนอให้พระสามารถเลือกตั้งได้เช่นเดียวกับนักบวชศาสนาอื่น เนื่องจากพระก็ยังต้องไปเกณฑ์ทหาร ยังต้องอยู่ใต้กฎหมาย แต่กลับต้องถูกยกเว้นไม่ได้รับสิทธิ์ในการเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ปลดล็อกประเทศไทย

พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารและรณรงค์นโยบายของพรรคก้าวไกล ปิดท้ายการแถลงนโยบายการเมืองไทยก้าวหน้า ด้วยการสถาปนารัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชน ที่มีเนื้อหาสำคัญคือการปิดช่องรัฐประหาร ปิดช่องการให้คณะรัฐประหารนิรโทษกรรมตัวเอง ปลดอาวุธระบอบประยุทธ์ที่ถูกฝังไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 คือ ส.ว. แต่งตั้ง องค์กรอิสระ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

รัฐธรรมนูญใหม่ยังจะต้องปลดล็อกท้องถิ่นใน 3 เรื่อง คือปลดล็อกอำนาจ ให้ท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดการบริการสาธารณะทั้งหมดในพื้นที่ ปลดล็อกงบประมาณ ให้ท้องถิ่นมีเงินเพียงพอในการแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ และที่สำคัญที่สุด คือการปลดล็อกทุกจังหวัด ให้ผู้บริหารสูงสุดของทุกจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง

พริษฐ์ยืนยันว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะต้องเป็นไปโดยตัวแทนของประชาชน โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยตรงจากประชาชน ซึ่งหากพรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล จะจัดการประชามติเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันทีภายใน 100 วันแรก และจัดทำรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ เพื่อให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าเป็นครั้งสุดท้ายที่จัดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 แต่การเลือกตั้งครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปลดล็อกประเทศไทยจากมรดกคณะรัฐประหารอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ชุดนโยบายการเมืองไทยก้าวหน้า เป็นชุดนโยบายแรกที่พรรคก้าวไกลเปิดต่อสาธารณะ แต่ในเดือนพฤศจิกายน พรรคจะเปิดชุดนโยบายต่อไป ได้แก่ “ทุกจังหวัดไทยก้าวหน้า” ว่าด้วยการปลดปล่อยศักยภาพของท้องถิ่น ให้เจริญทัดเทียมกันทั่วประเทศ และ “สวัสดิการไทยก้าวหน้า” เปิดชุดนโยบายสวัสดิการถ้วนหน้า ครบวงจร ไม่ต้องพิสูจน์ความจน ที่เรามั่นใจว่าจะโอบอุ้มประชาชนทั้งประเทศให้ก้าวไปสู่อนาคตที่ดีกว่าอย่างเท่าเทียมกันได้ ลดความเหลื่อมล้ำที่เกาะกินสังคมไทยมา

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ปภ.สรุปสถานการณ์น้ำท่วม 29 จังหวัด 159 อำเภอ 'เพื่อไทย'ชี้ 'ประยุทธ์'สอบตกแก้น้ำท่วม

$
0
0

ปภ.สรุปสถานการณ์น้ำท่วม 29 จังหวัด 159 อำเภอ ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัย คลี่คลายสถานการณ์ภัย - 'เพื่อไทย'ชี้ 'ประยุทธ์'สอบตกแก้น้ำท่วม ลั่นงบ 400,000 ล้านใครได้ประโยชน์


ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย

15 ต.ค. 2565 สำนักข่าวไทยรายงานว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานผลกระทบจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย และความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางรวมถึงการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 15 ต.ค. 2565 เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 59 จังหวัด 314 อำเภอ 1,574 ตำบล 9,669 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 425,287 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 29 จังหวัด 159 อำเภอ 1,004 ตำบล 6,448 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 363,048 ครัวเรือน แยกเป็น

ภาคเหนือ 4 จังหวัด 14 อำเภอ 78 ตำบล 493 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,632 ครัวเรือน ดังนี้

1.ลำปาง น้ำท่วมในตำบลแม่วะ อำเภอเถิน รวม 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 60 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2.ตาก น้ำท่วมในอำเภอสามเงา รวม 3 ตำบล 22 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 461 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3.พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอวชิรบารมี อำเภอทับคล้อ อำเภอบึงนาราง อำเภอบางมูลนาก อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอโพทะเล และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง รวม 56 ตำบล 330 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,416 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

4.นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอตาคลี รวม 18 ตำบล 140 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,695 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด 59 อำเภอ 308 ตำบล 2,319 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 64,313 ครัวเรือน ดังนี้

5.ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอชนบท อำเภอน้ำพอง อำเภอโคกโพธิ์ชัย อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอแวงใหญ่ รวม 13 ตำบล 48 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

6.มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 46 ตำบล 527 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,407 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

7.กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอร่องคำ อำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และอำเภอยางตลาด รวม 24 ตำบล 187 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,047 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

8.ร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพนทราย และอำเภอจังหาร รวม 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,369 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

9.ยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอค้อวัง อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอเมืองยโสธร อำเภอป่าติ้ว และอำเภอมหาชนะชัย รวม 27 ตำบล 156 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

10.นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสูงเนิน และอำเภอชุมพวง รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,195 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

11.บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอคูเมือง อำเภอนางรอง อำเภอกระสัง อำเภอแคนดง และอำเภอลำปลายมาศ รวม 54 ตำบล 343 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,697 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

12.สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี และอำเภอสำโรงทาบ รวม 22 ตำบล 91 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,096 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

13.ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอราษีไศล อำเภอกันทรารมย์ อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอยางชุมน้อย และอำภอศิลาลาด รวม 33 ตำบล 240 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,284 ครัวเรือน อพยพประชาชน 830 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

14.อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง อำเภอสำโรง อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเขื่องใน อำเภอตระการพืชผล และอำเภอตาลสุม รวม 38 ตำบล 247 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,828 ครัวเรือน อพยพประชาชน 246 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 116 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

15.หนองบัวลำภู น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสัง อำเภอเมืองหนองบัวลำภู อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนาวัง รวม 34 ตำบล 423 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 264 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคกลาง 12 จังหวัด 77 อำเภอ 566 ตำบล 3,292 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 276,583 ครัวเรือน

16.อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทัน อำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอลานสัก และอำเภอหนองฉาง รวม 67 ตำบล 507 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,402 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

17.ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอหนองมะโมง อำเภอหันคา อำเภอเนินมะขาม และอำเภอสรรคบุรี รวม 35 ตำบล 211 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,860 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

18.สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง และอำเภอบางระจัน รวม 20 ตำบล 94 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,230 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

19.อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอโพธิ์ทอง รวม 38 ตำบล 172 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,430 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

20.พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 14 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะหัน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอมหาราช อำเภออุทัย อำเภอวังน้อย อำเภอภาชี และอำเภอบ้านแพรก รวม 150 ตำบล 963 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 66,348 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

21.ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,584 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

22.นนทบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย และอำเภอบางบัวทอง รวม 42 ตำบล 268 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 110,562 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

23.ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล อำเภอบ้านหมี่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอโคกสำโรง รวม 28 ตำบล 98 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,157 ครัวเรือน อพยพประชาชน 252 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 2 จุด ระดับน้ำทรงตัว

24.สุพรรณบุรี น้ำในแม่น้ำท่าจีนล้นตลิ่งเข้าท่วม 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสองพี่น้อง อำเภอบางปลาม้า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอสามชุก และอำเภอดอนเจดีย์ รวม 52 ตำบล 325 หมูบ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,199 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

25.นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน อำเภอสามพราน อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอกำแพงแสน อำเภอดอนตูม อำเภอพุทธมณฑล รวม 37 ตำบล 224 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,976 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

26.นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ รวม 33 ตำบล 212 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,652 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

27.สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังม่วง อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอหนองโดน อำเภอแก่งคอย อำเภอบ้านหม้อ อำเภอเสาไห้ และอำเภอดอนพุด รวม 43 ตำบล 156 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,183 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ภาคตะวันออก 2 จังหวัด 9 อำเภอ 52 ตำบล 344 หมู่บ้าน

28.ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ อำเภอบ้านสร้าง และอำเภอศรีมโหสถ รวม 41 ตำบล 276 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,965 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

29.ฉะเชิงเทรา เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว รวม 11 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,555 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”

'เพื่อไทย'ชี้ 'ประยุทธ์'สอบตกแก้น้ำท่วมลั่นงบ 400,000 ล้านใครได้ประโยชน์

ทีมสื่อพรรคเพื่อไทยแจ้งข่าวว่านายสมคิด เชื้อคง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า กรณีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติด อยากถามว่าทำไมเพิ่งมาคิดได้ ทั้งๆที่อยู่ในอำนาจมานาน 8 ปี ทำไมไม่ทำ ตลอดเวลาที่ผ่านมาพรรคฝ่ายค้านได้อภิปรายปัญหายาเสพติดมาโดยตลอด ทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็เคยชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่พลเอกประยุทธ์ไม่เคยสนใจ และไม่ให้ความ สำคัญ ปัญหายาเสพติดเป็นความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ เพราะไม่มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหาตั้งแต่ต้น

ปัญหาสังคมในประเทศไทยเกิดมาจากปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด เงินกู้นอกระบบ ที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น ทั้งขู่ฆ่า ทั้งทำร้ายร่างกาย ทำลายสิ่งของ ปัญหาทั้งหมดนี้มาจากความยากจน ที่ทำให้ชาวบ้านไม่มีทางเลือก ถ้าจะแก้ต้องแก้ทั้งระบบ เรื่องยาเสพติดประชาชนรู้ ตำรวจรู้ ฝ่ายความมั่นคงรู้ ว่าใครเสพยา ใครค้า แต่ทำอะไรไม่ได้เพราะมีเจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่เลวและเห็นแก่เงินมีส่วนรู้เห็นในขบวนการยาเสพติดในประเทศไทย ดังนั้นหากจะแก้ รัฐต้องกวาดบ้านตัวก่อนและตั้งใจที่จะกวาดล้างอย่างจริงจัง

นายสมคิด กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ขอฝากไปยังพลเอกประยุทธ์ว่า ถึงเวลานี้ ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือพี่น้องประชาชน ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด อยากเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์เร่งจ่ายเงินเยียวยาให้ประชาชนอย่างเร่งด่วน อย่าชักช้าเหมือนปี 2562 ในปีนั้นชาวบ้านรอนานกว่า 6-8 เดือน กว่าจะได้รับเงินเยียวยา ที่เป็นเช่นนี้ รัฐบาลออกขั้นตอนมากมายทำ ให้ประชาชนที่ประสบเหตุต้องรอนานกว่าจะได้เงินจาก 1 วัน เป็น 1 เดือนเป็นหลายเดือน จังหวัดอุบลราชธานี ประสบเหตุน้ำท่วมหนักมากกว่าทุกปี พี่น้อง ประชาชนต้องหนีน้ำขึ้นหลังคานับหมื่นครัวเรือน นาข้าวหลายแสนไร่ ต้องจมน้ำ ปศสัตว์ตายเพราะน้ำท่วม กว่าจะได้เงินเยียวยาต้องรอข้ามปี ดังนั้นรัฐบาลต้อง มีเจ้าภาพที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ อย่าหวังพึ่งระบบราชการ ดำเนินการ เพราะจะไม่ทันความเดือดร้อนของประชาชน

“8 ปีที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์สอบตกทุกเรื่อง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารจัดการน้ำ ทั้งน้ำแล้งน้ำล้น ล้มเหลวหมด เพราะยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่ไม่รับกับสถานการณ์ที่แท้จริง งบประมาณกว่า 400,000 ล้านที่ใช้ไปในการแก้ปัญหาน้ำไม่เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่เกิดประโยชน์ กับผู้รับเหมางานที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์ทำอะไรไม่ได้ เลย เห็นแต่ผู้รับเหมารวยขึ้น ดังนั้นในปีนี้หวังว่าเงินภาษีของประชาชน รัฐบาลจะใช้เงินอย่างรู้ค่า เกิดประโยชน์กับประชาชนไม่ ใช่เกิดประโยชน์กับ พวกพ้องของรัฐบาล”นายสมคิด กล่าว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'เพื่อชาติ'เปิดตัว 'ปวิศรัฐฐ์'รีแบรนด์-ล้างไพ่ มุ่งสลัดคราบพรรคพี่น้อง

$
0
0

'เพื่อชาติ'เปิดตัว 'ปวิศรัฐฐ์'หัวหน้าพรรคใหม่ ลั่น 'เพื่อชาติ(นี้)ไม่ต้องรอชาติหน้า'รีแบรนด์-ล้างไพ่ มุ่งสลัดคราบพรรคพี่น้อง-ล้างไพ่คนเก่า แต่อยู่ฝั่งประชาธิปไตยเหมือนเดิม แง้มแคนดิเดตนายกฯ เล็งทาบคนนอก

Voice onlineรายงานเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2565 ที่ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พรรคเพื่อชาติจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวพรรคโฉมใหม่ ภายใต้ชื่อ 'เพื่อชาติ (นี้) ไม่ต้องรอชาติหน้า'นำโดย ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ ขึ้นกล่าวบนเวที ชูนโยบายสำคัญของพรรค โดยเฉพาะนโยบายด้านการศึกษา ที่ต้องการจะสร้างการศึกษาให้เยาวชนผู้มีรายได้น้อย หรือยังเข้าไม่ถึงการศึกษา 

ขณะเดียวกันวันนี้ ได้มีการเปิดตัวกรรมการบริหารพรรคที่เปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ทั้งหมด เพื่อย้ำจุดยืนชัดเจนในการรีแบรนด์พรรคเพื่อชาติครั้งนี้ ประกอบด้วย

ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช หัวหน้าพรรค
เทวกฤต พรหมา รองหัวหน้าพรรค
พล.ต.สุวิทย์ วังยาว รองหัวหน้าพรรค
พล.ต.ต.ชยุต มารยาตร์ รองหัวหน้าพรรค
เนติภูมิ ริยาพันธ์ รองหัวหน้าพรรค
ร.อ.จารุพล เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรค 
ชยพล ทุนอินทร์ รองเลขาธิการพรรค
จันจิรา จันทร์ประสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค
อนิรุท สุจริต นายทะเบียนพรรค
นพ.วิชัย ทวีปวรเดช โฆษกพรรค
ปวีย์ภัทร วัฒนศิริเศรษฐ รองโฆษกพรรค
นรินทร์ สายซอ รองโฆษกพรรค
พลอยนภัส โจววณิชย์ รองโฆษกพรรค
กิ่งดาว สุจริต ผู้อำนวยการพรรค
เกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์ กรรมการบริหารพรรค
วรัชยา โกแสนตอ กรรมการบริหารพรรค
เกศปรียา แก้วแสนเมือง กรรมการบริหารพรรค
เขมภณ ฉัตรวิทยา กรรมการบริหารพรรค

จากนั้น ปวิศรัฐฐ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดยย้ำว่า เหตุที่เปลี่ยนโลโก้ ไปจนถึงสีประจำพรรค เพราะต้องการสร้างความจดจำใหม่ ภาพจำใหม่ให้ประชาชน พรรคเพื่อชาติจะไม่ใช่พรรคแบบเดิม และจะล้างไพ่ใหม่ทั้งหมด ที่เลือกใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์

เพราะสื่อถึงความเป็นธรรมชาติ พรรคเกิดจากธรรมชาติ ไม่มีใครครอบงำ และจะสลัดคราบพรรคพี่พรรคน้อง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ไม่ห่วงว่าประชาชนจะไม่สนับสนุน เพราะพรรคยังยึดมั่นในอุดมการณ์ของประชาธิปไตยและความเสมอภาค การเลือกตั้งครั้งนี้ จะพยายามส่งผู้สมัครฯ ให้ครบทุกเขตทุกจังหวัด ไม่เจาะแค่ภาคเหนือ แต่กระจายไปทุกภาค 

เมื่อถามว่า หวังพื้นที่ จ.เชียงราย ที่ต้องต่อสู้กับพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ปวิศรัฐฐ์ ระบุว่า ไม่ห่วงเรื่องการทวงเก้าอี้ หรือการต่อสู้กับพรรคที่คุมพื้นที่ใน จ.เชียงราย เพราะไม่ได้มองว่าจะไปต่อสู้กับใคร หรือนักการเมืองตระกูลไหน แต่คนที่จะตัดสินใจคือประชาชน

ปวิศรัฐฐ์ ยังระบุว่า แม้ตัวเองจะเป็นคนรุ่นใหม่อายุเพียง 31 ปี แต่มีวุฒิภาวะความเป็นผู้นำพอที่จะนำพาพรรคเพื่อชาติในสนามการเมือง และขออย่าตัดสินคนแค่อายุ ไม่ห่วงว่าจะควบคุมพรรคเพื่อชาติไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้เคยบริหารงานสโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด มาก่อน ได้เห็น ได้เรียนรู้ โดยเฉพาะการแข่งขันทางการเมือง เพราะฟุตบอลก็มีความเกี่ยวพันกับการเมือง ซึ่งตนผ่านจุดนั้นมาแล้ว ได้พิสูจน์ความสามารถ เชื่อว่าประชาชนทุกคนในพรรคจะไว้วางใจในตนเอง

ปวิศรัฐฐ์ ยืนยันว่า ตนตัดสินใจรับตำแหน่งนี้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ว่า ยงยุทธ ติยะไพรัช ผู้เป็นพ่อ ตัดสินใจให้ เพราะที่ผ่านมาตนถูกเลี้ยงดูด้วยความอิสระ โดยเฉพาะทางความคิด ครั้งนี้ก็เช่นกัน จะนำเอาประสบการณ์ และสิ่งที่พ่อได้เคยทำ มาปรับใช้ พร้อมยืนยันว่า ตนจะลงสมัครเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อชาติ

สำหรับแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อชาตินั้น ปวิศรัฐฐ์ เผยว่า ต้องเป็นบุคคลภายนอกพรรค ยังระบุไม่ได้ว่าเป็นใคร อยู่ระหว่างทาบทาม และเมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็จะประกาศให้ทราบ ส่วนที่ไม่ใช่ตัวเองเป็นแคนดิเดตฯ เพราะ คุณสมบัติยังไม่ครบ เนื่องจากอายุยังไม่ถึง

ปวิศรัฐฐ์ ยังกล่าวอีกว่า ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งนี้ ยังไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านอื่นๆ ต้องรอจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม เชื่อว่าจะได้พบและพูดคุยกัน

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ปัญหา 'หาบเร่แผงลอย'ก้างชิ้นใหญ่ผู้ว่าฯ กทม. ที่ต้องเริ่มแก้ในระดับเขต

$
0
0
  • วันนี้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย กำลังเผชิญวิกฤตรายได้ และพื้นที่ค้าขาย หลังจากมีการใช้มาตรการจัดระเบียบแผงลอย ทำให้มีการยกเลิกจุดผ่อนผันจากเมื่อปี 2548 มีจุดผ่อนผันขายของริมทาง จำนวน 683 จุด ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 86 จุด 
  • หลังผ่านมา 100 วันหลัง 'ชัชชาติ' เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ทางสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จึงได้จัดเสวนา 'หาบเร่แผงลอย : ก้างชิ้นใหญ่ เรื่องท้าทายผู้ว่าฯ' ชวนผู้ค้าฯ สำนักเทศกิจ และนักวิชาการมาร่วมหาทางออกร่วมกัน 
  • พิญช์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการจากจุฬาฯ เสนอแนะว่า การแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอย ต้องเริ่มที่ระดับเขตที่ต้องเข้มแข็ง และต้องมีนโยบายที่เอื้อให้ผู้ค้าฯ ในแต่ละพื้นที่ และ กทม.ได้คุยและร่วมแก้ปัญหา
  • นักวิชาการจากจามจุรี เสนอต่อว่าทาง กทม.จะต้องมีโมเดลแผนเศรษฐกิจ อย่างการกู้ธนาคาร หรืออื่นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และรายได้ของผู้ค้าฯ ให้สูงขึ้นด้วย

การบริหารจัดการหาบเร่แผงลอย ถือเป็นหนึ่งในสี่นโยบายเร่งด่วนของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังผ่านมาครบ 100 วัน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ร่วมด้วยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดเวทีเสวนาวิชาการ หัวข้อ ‘หาบเร่แผงลอย : ก้างชิ้นใหญ่ เรื่องท้าทายผู้ว่าฯ’ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 29 ก.ย. 2565 ซึ่งมีการเชิญผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลายฝ่ายร่วมพูดคุยว่าการแก้ไขหาบเร่แผงลอยของผู้ว่าฯ กทม. ไปถึงไหนแล้ว

ผู้เข้าร่วมอภิปรายประกอบด้วย ปรีชา ไทยสงเคราะห์ ประธานสหพันธ์ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย กรุงเทพมหานคร เขมิสา โคกทับทิม ตัวแทนหาบเร่แผงลอยและสมาชิกสหพันธ์ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยกรุงเทพมหานคร แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์ SME ไทย วิรัตน์ สายแวว หัวหน้ากลุ่มงานกิจการพิเศษ ส่วนตรวจและบังคับการ 1 สำนักเทศกิจฯ ปฏิญญา แสงนิล หัวหน้ากลุ่มงานบังคับคดี 2 กองนิติการและบังคับคดี สำนักเทศกิจฯ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.บวร ทรัพย์สิงห์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ

ชมเสวนา "หาบเร่แผงลอย : ก้างชิ้นใหญ่ เรื่องท้าทายของผู้ว่าฯ"

บวร ทรัพย์สิงห์ ผู้ดำเนินรายการ ระบุว่า ประเด็นเรื่องการแก้ปัญหากำลังเป็นประเด็นท้าทายของผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ อ้างอิงข้อมูลจากตัวแทนเทศกิจ เมื่อ 2548 กทม.มีจุดผ่อนผันทั้งหมด 683 จุด และมีผู้ค้าหาบเร่แผงลอยราว 2 แสนคน โดยในจำนวนนี้มี 2 หมื่นราย เคยเป็นผู้ค้าบนจุดผ่อนผันของ กทม. แต่ในปัจจุบันมีการยกเลิกจุดผ่อนผัน 500 กว่าจุด หรือเพียง 171 จุด มีการประกาศเป็นจุดผ่อนผันแล้ว 55 จุด และกำลังประกาศตามมาอีก 31 จุด 

บวร กล่าวต่อว่า ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ถือเป็นกลุ่มคนที่มีคุณค่าใน กทม.อย่างยิ่ง เนื่องจากเนื่องจากช่วยในการลดค่าครองชีพ ค่าอาหาร สร้างความมั่นคงทางอาหาร ช่วยผู้ผลิตฐานรากและเกษตรกร ตลอดจนเศรษฐกิจนอกระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง เป็นหูเป็นตาให้กับคนเมือง ช่วยลดการว่างงานทั้งสภาวะปกติ หรือในช่วงโควิด-19 

“แต่ในวันนี้กำลังเผชิญเรื่องการพื้นที่การค้าไม่เพียงพอ และข้อพิพาทกับหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะเทศกิจ ซึ่งเสวนาครั้งนี้มีเจตนาพาทุกฝ่ายร่วมหาทางออก และจุดสมดุลระหว่างกัน” บวร กล่าว 

นักวิชาการมอง 8 ปีหลัง รปห. ทำลายระบบเขต 

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการจากรั้วจามจุรี มองว่า ปัญหาข้อพิพาทระหว่างเทศกิจและผู้ค้า และปัญหาพื้นที่จุดผ่อนผันเพื่อขายของริมทาง เป็นผลกระทบจากการทำรัฐประหารเมื่อ 2557 โดย คสช. ซึ่งมีส่วนเสริมในการทำลายโครงสร้าง กทม.ที่สำคัญ คือ ในระดับเขต โดยเฉพาะการยุบสภาเขต (เมื่อปี 2561) 

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิชญ์ มองว่า การแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอยไม่ได้เริ่มจากสำนักเทศกิจ ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือส่วนกลาง แต่ต้องเริ่มจากระดับเขต ที่ต้องมีการหารือกันระหว่างสำนักงานเขต และประชาชน จนนำมาสู่การยืดหยุ่น และการกำหนดจุดผ่อนผันขายของริมทางในแต่ละเขต ซึ่งนโยบายส่วนกลางต้องเอื้อให้การเจรจาเกิดขึ้น

เมื่อระดับเขตมีความเข้มแข็งแล้ว พิชญ์ เสนอแนะประเด็นที่ไม่ค่อยมีการพูดถึงคือ การสร้างความเป็นพลเมืองหรือเจ้าเข้าเจ้าของในแต่ละเขต ซึ่งเขาเห็นว่าผู้ค้าที่อาศัยในเขตต้องได้รับสิทธิในการขายในเขตนั้นก่อน ในกรณีที่ผู้ค้าไม่สามารถหาที่อยู่ในเขตนั้น ต้องยอมรับสิทธิลำดับสอง หรือ second priority รองลงมาจากผู้ที่อยู่อาศัย 

สร้างโมเดลเศรษฐกิจให้กับผู้ค้าหาบเร่ฯ

นักวิชาการจากจุฬาฯ เสนอต่อว่า กทม.ต้องมีโมเดลทางเศรษฐกิจพื้นที่หาบเร่แผงลอย และต้องมีการทำข้อมูลพื้นฐานควบคู่ เช่น การทำข้อมูลประวัติผู้ขาย และอื่นๆ ไม่ใช่เพราะเรื่องความปลอดภัย หรือป้องกันอาชญากรรม แต่เป็นข้อมูลที่ประชาชนเช็กได้ว่าผู้ที่เข้ามาค้าขายในเขตที่อยู่อาศัยเป็นใคร รายได้อยู่ที่เท่าไร และหากเกิดปัญหาใครที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

สำหรับโมเดลการพัฒนาเมืองต่อไป นักวิชาการรั้วจามจุรี มองว่า หน่วยพัฒนาเศรษฐกิจของ กทม. ต้องมองหาบเร่แผงลอยในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนาเมือง และในเวลาเดียวกัน ต้องมีโมเดลด้านเศรษฐกิจให้พ่อค้าแม่ค้าริมทางด้วย 

พิชญ์ มองว่า ถนนต้องเป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อประโยชน์และโอกาสให้ผู้ค้าหาบเร่ขายของที่ต้องการตั้งหลักยังไม่ได้ ให้ได้เริ่มขายของได้ เมื่อผู้ค้ารายเดิมสามารถสร้างกำไรและมีรายได้ที่สูงขึ้น ก็ต้องขยับขยายไปขายของที่อื่นๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ กทม.ต้องมีโมเดลทางเศรษฐกิจเข้ามาหนุนเสริม ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้านเงินกู้ หรืออื่นๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ค้าหาบเร่สามารถต่อยอดค้าขายพื้นที่อื่นได้ พิชญ์ มองด้วยว่า เขาไม่เห็นด้วยที่คนๆ เดียวจะขายของที่เดิมเป็น 30-50 ปี แต่ต้องช่วยให้เขาขยับ มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ไม่ใช่เถียงแค่ว่าตรงไหนควรมีสิทธิขายหรือไม่มีสิทธิขาย 

พิชญ์ มองว่า เรื่องการกำหนดนโยบายพัฒนาเมือง ไม่ใช่หน้าที่ของเทศกิจ เพราะเขาเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย แต่หน่วยพัฒนาเศรษฐกิจของ กทม. อาจต้องเป็นผู้คิดนโยบาย ธนาคารต่างๆ ต้องมองเป็นโอกาส ซึ่งทั้งหมดนี้ คือการผูกตัวเองเข้ากับแผนการพัฒนาเมือง ไม่ใช่พูดทุกเรื่องเป็นข้อยกเว้น ปัญหาใหญ่คือเราไม่มีแผนเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการหาบเร่ฯ
   
"ผมคิดว่ามันต้องหารือกันส่วนนี้ไม่งั้นมันจะวนอยู่กับที่ มันจะวนเป็นการปะทะกัน และก็ข้อยกเว้นอันเป็นนิรันดร์ ต่อ (อายุ) ข้อยกเว้นอย่างเดียว เพราะว่าคุณยังไม่มองเป็นโมเดล คุณมองเป็นข้อยกเว้น พอคุณมองเป็นข้อยกเว้น มันจะเป็นยกเว้นกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ tension (ความตึงเครียด) มันก็จะมา คอรัปชันมันก็จะมา" พิชญ์ กล่าว 

เหรียญสองด้านของปรากฏการณ์ ‘ชัชชาติ’

พิชญ์ แสดงข้อกังวลต่อ “ปรากฏการณ์ชัชชาติ” ช่วงที่ผ่านมาว่า อาจทำให้ประชาชนไม่กล้าวิจารณ์การทำงานของชัชชาติ เพราะมัวแต่เกรงอกเกรงใจ และอาจทำให้การทำงานของ กทม.ไม่ไปถึงไหน 

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.

ปัญหาของปรากฏการณ์ชัชชาติในมุมมองของนักวิชาการรั้วจุฬาฯ คือ การเชื่อในแอปพลิเคชัน ‘Traffy Fondue’ หรือเทคโนโลยี ว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง Traffy Fondue คือการรายงานปัญหา แต่การแก้ปัญหาเมืองไม่ได้แก้ด้วยเทคโนโลยี แต่ต้องการด้วยการเข้าอกเข้าใจ และพูดคุยกัน

“สำหรับผมมันแก้ได้บางเรื่อง แต่แก้เรื่องซึ่งเป็นปัญหาที่มันจะต้องพูดคุยกันไม่ได้ มันแก้ได้ง่ายๆ เช่น คุณไม่เก็บขยะหน้าบ้านผม คุณถ่ายรูป Traffy Fondue ไป แต่ปัญหานี้คุณไปเอา Traffy Fondue มาถ่ายรูป แล้วมันจะแก้ปัญหานี้ได้ยังไงในสัมมนานี้ มันแก้ไม่ได้ มันมีระดับของปัญหา” พิชญ์ กล่าว 

เวลาเป็นสิ่งสำคัญ

ท้ายสุด พิชญ์ กล่าวว่า ต้นทุนเรื่อง ‘เวลา’ เป็นเรื่องที่สำคัญ ปัญหาของประชาชนเป็นเรื่องเร่งด่วน บางรายขายของไม่ได้มา 5 ปี ขาดรายได้ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหนัก ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ระบบราชการไม่เข้าใจ เวลาของราชการกับประชาชนไม่เท่ากัน นักวิชาการจากจุฬาฯ เสนอว่า ระบบราชการควรมีการวางกำหนดกราบเวลาว่า ราชการจะใช้เวลาแก้ปัญหานี้ให้เสร็จภายในกี่วัน และหน่วยงานหรือใครมีส่วนเกี่ยวข้อง 

นอกจากการอภิปรายจาก ‘พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์’ แล้ว มีตัวแทนจากสมาพันธ์หาบเร่แผงลอยกรุงเทพมหานคร ร่วมสะท้อนปัญหาช่วงที่ผ่านมา และเรียกร้องให้ทาง กทม.อะลุ่มอล่วยให้พ่อค้าแม่ค้าสามารถขายตามจุดผ่อนผันเดิมได้ เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินต่อไปได้

ขณะที่สำนักเทศกิจมาร่วมชี้แจงถึงเหตุผลที่มีการยกเลิกจุดผ่อนผัน และฉายภาพให้เห็นว่าหลังชัชชาติเป็นผู้ว่าฯ กทม.มาแล้วกว่า 3 เดือน มีการดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง
 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'คณะหลอมรวมประชาชน'ประกาศเลื่อนชุมนุม 16 ต.ค. รอศาล รธน.ตีความ 2 กม.ลูกก่อน

$
0
0

'คณะหลอมรวมประชาชน'ประกาศเลื่อนชุมนุม 16 ต.ค. ระบุประชาชนยังโศกเศร้าเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู-ภัยน้ำท่วม เผยรอศาล รธน.วินิจฉัย 2 กม.ลูกขัด รธน.หรือไม่ก่อน คาดนัดใหม่ปลาย ต.ค.-ต้น พ.ย.นี้

15 ต.ค. 2565 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่านายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายนิติธร ล้ำเหลือ แกนนำคณะหลอมรวมประชาชน ได้เฟซบุ๊กไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน โดยนายจตุพร กล่าวว่า การนัดเคลื่อนไหววันที่ 16 ตุลาคมนี้ ต้องเขยิบออกไป เนื่องจากขณะนัดกันนั้นยังไม่มีเหตุการณ์สังหารหมู่เด็กเล็กที่ จ.หนองบัวลำภู และเกิดน้ำท่วมจำนวนมาก ซึ่งกระทบความรู้สึกประชาชนจึงต้องเลื่อนเวลาออกไปสักระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ประชาชนสามารถติดตามรายการพูดคุยในโซเชียลมีเดียได้ตามปกติ โดยเสาร์-อาทิตย์ขยับไปพูดคุยเวลา 10.00 น. ส่วนวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00 น. เหมือนเดิม

“เรายังไม่รีบทวนความรู้สึกของประชาชนรวมถึงเรารอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า จะนัดกันอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เราจึงเลื่อนเวลาจากนัดวันที่ 16 ตุลาคมนี้  ออกไป เพื่อต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและได้นับหนึ่งประเทศไทยอย่างแท้จริง” นายจตุพร กล่าว

นายจตุพร กล่าวว่านอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎรจะเปิดประชุมสมัยสุดท้ายในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ และยังมีเรื่องใหญ่ ซึ่งพรรคการเมือง นักเคลื่อนไหว และ ประชาชนต้องติดตาม คือ ศาลรัฐธรรมนูญ จะนัดวินิจฉัยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง กับพรรคการเมือง ว่า ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัด รัฐธรรมนูญเป็นเพราะเหตุใด เพราะการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ใช้บัตร 2 ใบ แต่ทำได้ครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งทำไม่ได้ โดยไม่ยอมให้แก้มาตรา 93-94 ดังนั้น จะต้องไปแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 93-94 กรณี ส.ส.พึงมีด้วยหรือไม่ ซึ่งมีอุปสรรคกับการใช้เสียง ส.ว.อย่างน้อย 83 คนด้วย รวมทั้งอาจต้องทำกฎหมายลูกใหม่หรือไม่ โดยขั้นตอนเหล่านี้ ต้องใช้เวลาทั้งสิ้น และโอกาสเสร็จทันในสมัยประชุมสภานัดสุดท้ายแทบเป็นไปไม่ได้ทางการเมือง

“ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องเหล่านี้นักการเมืองมักไม่พูดความจริงกัน เพราะกิเสสจากความอยากเลือกตั้งบังตา กำลังหลงไหลระบบบัตร 2 ใบ ได้เลือก ส.ส.เขต 400 คน แต่โอกาสเกิดการเลือกตั้งยากมาก นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศกำหนดการเลือกตั้ง จึงเป็นเพียงการสมมุติว่า ถ้าสภาอยู่ครบวาระ อีกอย่างยังได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่า ถ้ามีการยุบสภา กกต.ไม่กล้าออก พ.ร.ก.เลือกตั้ง-พรรคการเมือง เพราะขัดรัฐธรรมนูญ จึงกลัวความผิด ต้องติดคุก” นายจตุพร กล่าว

นายจตุพร กล่าวว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำตามเสียงเรียกร้องแล้วยุบสภา หรือนิ่งอยู่เงียบจนครบวาระสภา แต่เมื่อไม่มีกฎหมายลูกออกมา ก็เป็นรัฐบาลรักษาการยาวไม่มีกำหนด เนื่องจากข้อความท้ายวรรคสี่ของรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 158 ไม่ให้นับรวมเวลารักษาการเป็นเวลาของตำแหน่งนายกฯ ดังนั้น โอกาส พล.อ.ประยุทธ์ จะชิงยุบสภาย่อมง่าย แล้วได้เป็นนายกฯ ยาวที่สุดด้วย

“ขอให้ประชาชนอดทนอีกนิดเดียว อาจช่วงปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนพฤศจิากยน คำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญต้องออกมา เพราะไม่ต้องการเป็นจำเลยสังคม ซึ่งเท่ากับโยนเผือกร้อนให้สภา ถ้าจะให้วินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญก็คงไม่กั๊กไว้นานแบบนี้ คงให้ผ่านไปแล้ว ดังนั้น จึงเป็นความจงใจ จะอยู่เป็นรัฐบาลรักษาการ ที่นัดกันในวันที่ 16 ตุลาคม ขอเลื่อนออกไปก่อน เพื่อรอคำวินิจของศาลรัฐธรรมนูญ และปัญหาน้ำท่วมได้ผ่อนคลาย เราขออยู่ในโลกความเป็นจริง เรารอได้ จะไม่รีบทวนความรู้สึกของ ประชาชน เนื่องจากเวลา และสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยต่อการนัดเคลื่อนไหว” นายจตุพร กล่าว

ส่วนนายนิติธร กล่าวว่า การต่อสู้ครั้งนี้ ต้องสู้ด้วยจิตวิญญาณ และด้วยเนื้อแท้กันจริงๆ จนมีความรู้สึกว่า อุดมการณ์ที่มุ่งมั่นเป็นสิ่งกินได้ ทำได้ การต่อสู้ที่ผ่านมาเมื่อปี 2557 เรียกร้องปฏิรูปประเทศก็ถูกตัดตอนไปด้วยรัฐประหาร (รปห.) แต่ผู้นำบริหารขณะนี้ไม่ดำเนินการในสิ่งนี้ จึงนำไปสู่อาเพศของสังคมตามมา ทั้งการก่อหนี้สินให้ประชาชนมากมาย เกิดความอดอยาก ยากจน เกิดความชะงักงันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยปรากฎการณ์หลายอย่างจึงทำให้ประชาชนต้องอดทน ใช้สติ ความรู้ เพราะการต่อสู้รอบนี้ไม่ได้เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปประเทศ แต่ต้องการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะนวัตรกรรมการเมือง การปกครองในการเข้าสู่อำนาจของประเทศอย่างเป็นจริง มีกติกาเป็นธรรม ดังนั้น จึงเลื่อนนัดเคลื่อนไหว 16 ตุลาคมนี้ ออกไปก่อน เนื่องจากจำเป็นให้ความเคารพต่อความรู้สึกประชาชนที่กำลังสูญเสียจากเหตุฆาตกรรมหมู่และภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่

“เราจึงให้ความเคารพต่อความจริงของประชาชน เราควรเคารพต่อความรู้สึกของประชาชนที่สูญเสีย และทำในสิ่งที่เราทำได้ก่อน ขอบอกประชาชนใจเย็นและในช่วงนี้เราจะไปช่วยเหลือประชาชนตามกำลังงบประมาณของเราและแรงของเรา โดยเรากำลังคิดอ่านกันว่า จะหาข้าวของเครื่องใช้เพื่อไปดูแลพี่น้องได้รับผลกระทบจากอุทกภัย” นายนิติธร กล่าว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ปชช.วัย 25 ปี ถูกจับที่ศูนย์สิริกิติ์ ตั้งข้อหา ม.112 เหตุไม่ยอมนั่งลง-ตะโกนวิจารณ์ ขณะขบวนเสด็จ ร.10 เคลื่อนผ่าน

$
0
0

ศูนย์ทนายความฯ รายงาน มีประชาชน อายุ 25 ปี ถูกจับที่ศูนย์สิริกิติ์ เหตุไม่ยอมนั่งลง และตะโกนวิจารณ์ ระหว่างขบวนเสด็จรัชกาลที่ 10-พระราชินี เคลื่อนผ่าน หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิดศูนย์ประชุมฯ

 

15 ต.ค. 2565 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์แพลตฟอร์มทวิตเตอร์วันนี้ (15 ต.ค.) มีประชาชน ภายหลังทราบชื่อว่า 'อติรุจ' อายุราว 25 ปี ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมที่หน้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ศูนย์สิริกิติ์) เมื่อเวลา 18.15 น. และถูกตั้งข้อหา ม.112 และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน เนื่องจากเจ้าตัวไม่ยอมนั่งลงและมีการตะโกนคำว่า ‘ไปไหนก็เป็นภาระ’ ระหว่างขบวนเสด็จรัชกาลที่ 10 เคลื่อนผ่าน

โดยเหตุการณ์จับกุมเกิดขึ้นช่วงเวลาเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จกลับ หลังทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเวลา 17.33 น. 

ภาพขณะที่ในหลวง รัชกาลที่ 10 เสด็จทรงงานเปิดอาคาร ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อ 15 ต.ค. 2565 (ที่มา: เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร)

ผู้สื่อข่าวสอบถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ‘บีม’ ณัฐกรณ์ นักกิจกรรมการเมือง ซึ่ง ‘บีม’ เป็นผู้เห็นเหตุการณ์การจับกุม เล่าว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่หน้าศูนย์ฯ สิริกิติ์ เวลาประมาณ 18.15 น. เขาเห็นประชาชนถูกจับโดยการล็อกคอ แขน และขา รวมถึงมีการปิดปากเข้าไปในอาคารศูนย์ฯ สิริกิติ์ โดยเขาระบุด้วยว่า ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่พาตัวผู้ถูกจับไปที่ใด เนื่องจากตอนที่เขาพยายามเดินตาม มีเจ้าหน้าที่พยายามขัดขวางเขาไม่ให้ติดตาม

ตอนนั้น บีม ระบุว่า เขาไม่ทราบว่าทำไมประชาชนรายดังกล่าวถึงถูกจับกุม 

คลิปที่ 'บีม'ถ่ายขณะเกิดเหตุการณ์คุมตัวประชาชน

บีม ระบุว่า กระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 19.30 น. มีเจ้าหน้าที่มาแจ้งนักกิจกรรมที่ตามเรื่องดังกล่าวว่า ผู้ถูกจับกุมถูกพาตัวไปที่ สน.ลุมพินี แล้ว ทางนักกิจกรรมจึงเดินทางไปที่ สน.ลุมพินี ตั้งแต่เวลาประมาณ 20.00 น. อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าไปสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ สน.ลุมพินี กลับปฏิเสธว่าไม่มีใครถูกส่งตัวมาที่นี่ 

ล่าสุด เฟซบุ๊กของ 'ตะวัน' อัปเดตความคืบหน้าอีกครั้งว่า เมื่อเวลาประมาณ 23.04 น. มีข้อมูลแจ้งว่า ผู้ถูกจับกุมอยู่ที่ห้องสอบสวนของ สน.ลุมพินี ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีนักกิจกรรมไปสอบถามทาง สน.แล้ว แต่ทางเจ้าหน้าที่แสร้งทำเป็นไม่ทราบ และแจ้งว่าไม่มีใครถูกส่งตัวมา

ศูนย์ทนายความฯโพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์เมื่อ 16 ต.ค. 2565 เวลา 0.39 น. อัปเดตความคืบหน้าการจับกุม โดยเปิดเผยบันทึกการจับกุมของ สน.ลุมพินี ซึ่งกล่าวหา ‘อติรุจ’ ว่า ก่อนและระหว่างขบวนเสด็จขากลับของ ร.10-พระราชินี พบว่าเขาไม่ยอมนั่งลง เพื่อรอรับเสด็จเหมือนประชาชนรายอื่นๆ  และเมื่อขบวนเสด็จเคลื่อนผ่าน อติรุจที่ยืนอยู่ไม่ยอมนั่ง มีการตะโกนว่า “ไปไหนก็เป็นภาระ” ขณะที่ประชาชนคนอื่นตะโกนเปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ"

 

 

หมายเหตุ : 8.14 น วันที่ 16 ต.ค.65 ประชาไทดำเนินการปรับแก้พาดหัวและโปรยข่าว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ประชาธิปัตย์'ชี้พรรคการเมืองชูแก้ ม.112 ต้องกล้าหาญยอมรับผลด้วย

$
0
0

โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ชี้พรรคการเมืองชูแก้ ม.112 ต้องกล้าหาญยอมรับผลด้วย ระบุเป็นแนวคิดไม่ต่างจากการนิรโทษกรรมให้คนผิดเหมือนในอดีต ย้ำตัวกฎหมายไม่มีปัญหา เหตุเป็นความผิดเฉพาะตัว

16 ต.ค. 2565 เพจพรรคประชาธิปัตย์รายงานว่านายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงกรณีที่มีพรรคการเมืองบางพรรคประกาศนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ว่า ส่วนของพรรค ปชป. ชัดเจนว่า พรรคไม่มีนโยบายที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 112 เรายึดมั่นในระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เนื้อหาสาระสำคัญของมาตราดังกล่าวนั้น ไม่ได้ไปสร้างความเสียหายความไม่เป็นธรรมให้กับใคร ต้องมองที่การกระทำของบุคคลมากกว่าตัวบทกฎหมาย หากมีการกระทำที่เป็นความผิดก็ว่าไปตามกฎหมาย และเป็นการกระทำความผิดส่วนตัว ไม่ใช่กฎหมายมีปัญหา ความคิดและการกระทำของคนต่างหากที่มีปัญหา เมื่อมีการก้าวล่วง จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ผิดถูกก็ต้องว่ากันตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

นายราเมศกล่าวต่อว่า ชัดเจนว่า มาตรา 112 ไม่ได้ขัดหรือแย้งต่อหลักนิติธรรมหรือรัฐธรรมนูญ แต่อาจจะขัดใจผู้ที่คิดไม่ดีต่อบ้านเมือง พรรคการเมืองใดยื่นแก้ไขก็ขอให้กลับไปอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ดี เพราะได้เคยวินิจฉัยอธิบายความสำคัญของมาตรา 112 ไว้แล้ว และมาตรานี้ไม่ได้เป็นปัญหาตามที่มีผู้บิดเบือน การเสนอแก้มาตรา 112 ต่อสภาฯ การที่อ้างว่า เพื่อให้นักโทษทางความคิดได้รับการนิรโทษกรรมปล่อยตัว ไม่ให้เกิดนักโทษทางความคิดเพิ่มขึ้นอีก และเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมของประเทศไทย เป็นการบิดเบือนทั้งสิ้น เหตุใดจึงไม่กล่าวถึงการกระทำของคนทำผิด

“ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ต่างจากแนวความคิดเรื่องการนิรโทษกรรมให้คนทำผิดเช่นที่ผ่านมา ซึ่งความคิดและการกระทำที่ดีนั้นก็ไม่ควรจะต้องกลัวกฎหมายเช่นกัน แต่หากการคิดไม่ดีนำไปสู่การกระทำที่ผิดกฎหมายก็ต้องกล้าหาญออกมายอมรับผลด้วย อย่าขี้ขลาดตาขาว หลักการความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เรื่องนี้ไม่สลับซับซ้อน พรรคการเมืองนักการเมืองมืออาชีพจะรู้หลักการพื้นฐานเรื่องนี้ดี พรรคไหนจะประกาศนโยบายก็เป็นเรื่องของพรรคการเมืองนั้นๆ และต้องรับผิดชอบ ที่สำคัญนโยบายต่างๆ ต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญเช่นกัน” นายราเมศกล่าว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สำนักงานพรรค USDP-ที่ทำการทหารกะเหรี่ยง BGF พันธมิตร รบ.ทหารพม่า ถูกวางระเบิด

$
0
0

16 ต.ค. 2565 เพจ BBC Thaiรายงานความคืบหน้าเหตุวางระเบิดไม่ทราบชนิด 2 จุด บริเวณใกล้กับสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 1 ด่านพรมแดนทางบกถาวรแม่สอด-เมียวดี เขตเมืองเมียวดี หมู่ที่ 2 รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ทำให้รถยนต์เกิดไฟลุกไหม้ได้รับความเสียหาย 1 คัน และอีกจุดหนึ่งบริเวณตลาดบุเรงนอง ลึกจากชายแดนประมาณ 1 กิโลเมตร ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก

ล่าสุด ทหารพม่าและตำรวจเมียวดีของพม่าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่งพบว่า มีสำนักงานพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ที่กองพม่าสนับสนุน และที่สำนักงานประชาสัมพันธ์ของทหารกะเหรี่ยง BGF หรือกองกำลังพิทักษ์ชายแดน ได้รับความเสียหายจากการวางระเบิด

จากเหตุการณ์นี้ ทหารพม่าได้เสริมกำลังไปยังบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 1 และสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 ตรงข้ามบ้านวังตะเคียนใต้ หมู่ที่ 7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก และจัดกำลังติดตามสืบสวนสอบสวนหามือวางระเบิดแล้ว

ในเดือน ต.ค. 2565 มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นมาหนึ่งครั้ง โดยเมื่อวันที่ 12 ต.ค. เกิดเหตุวางระเบิดร้านขายของชำบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 มีผู้เสียชีวิต เป็นชาย 1 คน อายุ 18 ปี ซึ่งร้านนี้มีความสัมพันธ์กับทหารพม่าในพื้นที่มาก จนถูกมองว่าเป็นสายข่าวให้ทางการ อย่างไรก็ดี ทางฝั่งไทย มีการเข้มงวดตามแนวชายแดนไทย-พม่า หลังจากเกิดเหตุระเบิดครั้งนี้ ขณะที่ตลาดริมเมย ใต้สะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 1 ยังคงเปิดร้านค้าจำหน่ายสินค้าตามปกติ

*ที่มาภาพปก: Tachileik News Agency

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เสวนา WHAT IS YOUR NUMBER : เธอรหัสไร? [คลิป]

$
0
0

กิจกรรมเปิดนิทรรศการ "นญ. 5770102414"ผลงานแสดงของ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง และศุภชัย เกศการุณกุล และงานเสวนา What is your Number? พูดคุยกับเยาวชนที่ถูกฟ้องในคดีการแสดงออกทางการเมืองและความมั่นคง ในวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565 ที่ Manycuts Artspace ซอยอารี 3

ในงานยังมีกิจกรรมเสวนา "WHAT IS YOUR NUMBER : เธอรหัสไร?"คุยกับเยาวชนผู้ต้องหาคดีการเมืองและความมั่นคง ได้แก่ นิว จตุพร แซ่อึง, นิว ปฏิมา ฝากทอง, ป่าน  กตัญญู หมื่นคำเรือง และ ลูกหิน ดำเนินรายการโดย เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว มูลนิธิสิทธิอิสรา(กองทุนราษฎรประสงค์) 

สำหรับนิทรรศการ นญ. 5770102414 เป็นการบอกเล่าเรื่องราว การต่อสู้ และการตีความ ประสบการณ์จากการถูกจองจำของภรณ์ทิพย์ มั่นคง จัดแสดงที่ Doc Club & Pub ซอยศาลาแดง 1 วันที่ 17 กันยายน ถึง 17 ตุลาคม 2565 และที่ Manycuts Artspace ซอยอารี 3 จะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน ถึง 30 ตุลาคม 2565

นิทรรศการ นญ. 5770102414 เป็นการทำงานร่วมกันของภรณ์ทิพย์ มั่นคง และศุภชัย เกศการุณกุล โดยเป็นการนำเสนอเรื่องราว มุมมอง ประสบการณ์ผ่านสายตาศิลปิน 2 คน ในขณะที่ภรณ์ทิพย์บอกเล่าเรื่องราวผ่านประสบการณ์การเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกตัดสินจำคุก และสูญเสียอิสรภาพไปเป็นเวลากว่า 2 ปี ผลงานที่จัดเเสดงมีจดหมายของภรณ์ทิพย์ที่ถูกเขียนในช่วงเวลาที่อยู่ในเรือนจำ และนิทานที่ภรณ์ทิพย์แต่งขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'เพื่อไทย'แนะแก้ รธน. มาตรา 272 นำความเป็นธรรมกลับสู่ประเทศ

$
0
0

'เพื่อไทย'แนะแก้ รธน. มาตรา 272 ให้เฉพาะ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้นมีอำนาจโหวตนายก นำความเป็นธรรมกลับสู่ประเทศ - 'ชลน่าน'เชื่อ กม.ลูกผ่านด่านศาล รธน. ชี้หากถึงทางตันต้องหาทางออกให้ประเทศ แต่ขอเป็นกติกาที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย


อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย

16 ต.ค. 2565 ทีมสื่อพรรคเพื่อไทยแจ้งข่าวว่านายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี เสียงวิพากษ์วิจารณ์ทอล์กโชว์เดี่ยว 13 ของโน้ส อุดม แต้พานิช ว่า ตนไม่แน่ใจว่าระหว่างรู้สึกโกรธกับอาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้น้ำหนักกับอารมณ์ไหนมากกว่ากัน แต่ถ้าตั้งสติ ไม่โกรธ ไม่โมโห จะเข้าใจว่าการแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิเสรีภาพที่ถูกร้องรับไว้ในรัฐธรรมนูญ การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลเป็นการติชมตามวิสัยที่ประชาชนพึงกระทำได้ คนดีชอบแก้ไข อะไรที่เป็นปัญหา พล.อ.ประยุทธ์ ก็นำไปปรับปรุงแก้ไข แม้ 8 ปีที่ผ่านมาจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ 

แต่ถ้าน้อมรับการ วิพากษ์วิจารณ์ แล้วนำไปปรับปรุงเชื่อว่าเวลาที่เหลืออยู่ 5 เดือน คงพอได้เห็นอะไรบ้าง แทนที่จะให้นักร้องในเครือข่ายไปฟ้องร้องดำเนินคดีคนวิพากษ์วิจารณ์ ต้องหันกลับแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เริ่มตั้งแต่แก้รัฐธรรมนูญที่เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้ง กำหนดกติการการเข้าสู่อำนาจของนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งครั้งหน้าด้วยกติกาที่เป็นประชาธิปไตย เป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง และกับทุกแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี บทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นประชาธิปไตยควรได้รับการแก้ไข โดยควรแก้ไขมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ ให้เฉพาะส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น มีอำนาจโหวตนายกรัฐมนตรี หากไม่เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 จะเกิดสภาพความขัดแย้งไม่จบสิ้น ไม่เอื้อต่อการเกิดกติกาที่สุจริตและเที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง อุปมาเหมือนกับการแข่งขันวิ่ง 750 เมตร ในขณะที่ทุกคนออกสตาร์ทจากจุด 0 เมตร แต่มีคนเอาเปรียบนักกีฬาคนอื่นๆ ด้วยการออกสตาร์ทที่จุด 250 เมตร ไม่มีน้ำใจนักกีฬา หากไม่แก้ไขกติกานี้ก็ยากที่ความขัดแย้งจะหมดไป เวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ต้องเร่งส่งสัญญาณแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อให้เกิดกติการการแข่งขันที่เป็นธรรมในการเลือกตั้งครั้งหน้า

“ความกลัวทำให้เสื่อม ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ เก่งได้สักครึ่งของที่สารพัดโฆษกแข่งกันออกมาอวย ก็ไม่มีอะไรต้องกลัว ชายชาติทหาร ต้องกล้าสู้ด้วยกติกาที่เป็นธรรม ไม่เอาเปรียบคนอื่น ต้องแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 272 คืนความเป็นธรรมให้กับประเทศ” นายอนุสรณ์ กล่าว

'ชลน่าน'เชื่อ กม.ลูกผ่านด่านศาล รธน. ชี้หากถึงทางตันต้องหาทางออกให้ประเทศ

มติชนออนไลน์รายงานว่า นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์กรณี นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ (พธม.) ออกมาระบุว่า หากกฎหมายลูกไม่ผ่านในชั้นศาลรัฐธรรมนูญอาจต้องออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) หรือให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกระเบียบเพื่อจัดการเลือกตั้งนั้น พรรค พท.รับได้หรือไม่ ว่า ตนเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่ากฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับไม่มีบทบัญญัติใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามคำชี้แจงของ กกต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นพ.ชลน่านกล่าวด้วยว่า แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้กฎหมายลูกตก ต้องแบ่งออกเป็นสองช่วง หากสภาฯอยู่จนครบวาระ ระยะเวลาที่เหลือประมาณ 6 เดือน หากเร่งนำกฎหมายลูกเข้าสู่รัฐสภาแล้วปรับแก้ให้สอดคล้องกับที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็น่าจะทันการเลือกตั้งแต่หากเป็นกรณีมีการยุบสภาฯ ช่วงนี้แล้วทำกฎหมายลูกไม่ทัน การออกเป็นระเบียบ กกต.ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะ กกต.ไม่มีกฎหมายรองรับการออกระเบียบเช่นนี้ กฎหมายว่าด้วย กกต.ให้ กกต.ออกระเบียบในหน้าที่และอำนาจของ กกต. แต่การเลือกตั้งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดต้องออกเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งเท่านั้น และหากจะไปออกเป็น พ.ร.ก.จากฝ่ายบริหาร เรื่องนี้ก็มีข้อจำกัด เนื่องจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีศักดิ์ต่างจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทั่วไป แต่ พ.ร.ก.ใช้แทน พ.ร.บ. กรณีมีเหตุเร่งด่วนเท่านั้น อีกทั้งการออก พ.ร.บ.ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ เมื่อยุบสภาฯ แล้วจึงไม่สามารถออกเป็น พ.ร.ก.ได้

“ผมเห็นมีนักวิชาการบางคนเสนอว่าถ้าถึงทางตันจริงอาจไปใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 5 ที่ระบุเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ ซึ่งผมมองว่าการหาทางออกให้ประเทศวิธีนั้นก็เป็นทางเลือกหนึ่ง เพียงแต่ขอให้กติกาที่ออกมาต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย” นพ.ชลน่านกล่าว

เลขาฯ เพื่อไทย ประกาศพรรคพร้อมรับทุกกติกา

เว็บไซต์ไทยโพสต์รายงานว่านายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณี นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ออกมาระบุ หากกฎหมายลูกไม่ผ่านในชั้นศาลรัฐธรรมนูญอาจต้องออกเป็นพ.ร.ก. หรือให้กกต.ออกระเบียบ เพื่อจัดการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยรับได้หรือไม่ ว่า ตอนนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัยออกมา ยังไม่อยากคาดการณ์ล่วงหน้า แต่ปกติไม่ว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาแบบไหน ก็จะมีคำชี้แนะตามมา รัฐสภาต้องรับฟังแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้กฎหมายออกมา

“ แต่ที่สุดแล้วไม่ว่ากติกาจะออกรูปแบบไหน ทั้งกฎหมายลูกผ่าน กฎหมายลูกต้องปรับปรุง หรือต้องออกระเบียบ พรรคเพื่อไทยพร้อมในทุกกติกาขอเพียงให้ได้เลือกตั้งและมั่นใจว่า จะได้รับความไว้วางใจเป็นพรรคอันดับหนึ่งเหมือนทุกครั้งที่เป็นมา” นายประเสริฐ ระบุ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ก้าวไกล'ยันนโยบายใช้คำนำหน้าเพศตามความสมัครใจ เกิดขึ้นได้หากเคารพและเข้าใจสิทธิของผู้อื่น

$
0
0

'ก้าวไกล'ยันนโยบายใช้คำนำหน้าเพศตามความสมัครใจ เกิดขึ้นได้หากเคารพและเข้าใจสิทธิของผู้อื่น - ผุดไอเดียยุบรวม "คูคต-ลำสามแก้ว"เป็น "เทศบาลนคร"


ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล

16 ต.ค. 2565 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล แจ้งข่าวว่าธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวถึงนโยบายความเท่าเทียมที่จะผลักดันให้ใช้คำนำหน้าเพศตามความสมัครใจ นโยบายดังกล่าวเป็นการยืนยันว่าพรรคให้ความสำคัญในประเด็นความหลากหลายทางเพศ จากการผลักดัน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาอยู่ในสภาฯขณะนี้และก้าวต่อไปของพรรคก้าวไกลคือ การรับรองทุกเพศสภาพ และ คำนำหน้าตามสมัครใจ เปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างสองเพศ เพื่อให้อนาคตของกฎหมาย สิทธิและการคุ้มครองครอบคลุมต่อคนทุกเพศเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศต่อไป

แน่นอนว่าสังคมอาจมีคำถามว่าหากการใช้คำนำหน้าเพศตามความสมัครใจถูกใจจริงในสังคมจะส่งผลให้เกิดความสับสนยุ่งอยากหรือไม่ โดยธัญวัจน์ยืนยันว่า การรับรองเพศทุกเพศสภาพ จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลประชากรศาสตร์จากเดิมที่มีเพียงแค่ชายหญิง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากข้อมูล 2 เพศ มองไม่เห็นความหลากหลาย หากมีข้อมูลประชากรศาสตร์ทุกเพศก็สามารถออกแบบนโยบายด้านสุขภาพ หรือการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ

นโยบายคำนำหน้าตามสมัครใจ เป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในการแสดงออกทางเพศ ความสมัครใจคือเจตจำนงที่จะดำรงชีวิตในอัตลักษณ์ใด ส่วนปัญหาเรื่องเอกสาร เรื่องการเดินทาง ระเบียบการแต่งกาย ที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพจะถูกแก้ไขให้หมายรวมถึงอัตลักษณ์ทางเพศ และเพศสภาพด้วย ปัญหาของบุคคลข้ามเพศ และเพศอื่น ให้สามารถแสดงออกในความเป็นอัตลักษณ์ทางเพศของตนผ่านคำนำหน้าได้ในเอกสารราชการต่าง ๆ รวมถึงการคุ้มครอง และสำหรับคนทุกเพศก็สามารถเลือกที่จะไม่แสดงคำนำหน้าในบัตรประชาชนได้ด้วย เช่นเดียวกับ กรุ๊ปเลือด อาชีพ ศาสนา ในบัตรประชาชนที่จะเลือกแสดงหรือไม่ก็ได้ ทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้หากเราเข้าใจและเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น ธัญวัจน์ระบุ

ซัดรัฐบาลจัดการน้ำล้มเหลว เตือนภัยสับสน

วิศรุต สวัสดิ์วร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. อุบลราชธานี เขต 1 พรรคก้าวไกล สะท้อนปัญหาการจัดการน้ำในลุ่มน้ำภาคอีสานของรัฐบาลว่า จังหวัดอุบลน้ำท่วมมาตั้งแต่วันที่ 9 ก.ย. จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1 เดือนกว่าแล้วที่คนอุบลต้องทนอยู่กับน้ำท่วม ระดับน้ำเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยชาวบ้านฟังการแจ้งเตือนภัยจากรัฐบาล แต่ระบบการเตือนภัยผิดพลาดสับสน จากเดิมที่บอกว่าน้ำท่วมไม่เกินปี 2545 ต่อมาประกาศเพิ่มเป็นไม่เกินปี 2562 แต่จนถึงปัจจุบันน้ำท่วมสูงกว่าปี 2562 แล้ว การพยากรณ์ที่ผิดพลาดทำให้ชาวบ้านต้องยกของขึ้นที่สูงทุกวัน ตามที่รัฐบาลพยากรณ์ใหม่ทุก 2 วัน

อีกทั้งการจัดการศูนย์อพยพในช่วงต้นของการเกิดน้ำท่วมว่า ไม่มีการเตรียมตัว แม้แต่ศูนย์อพยพที่ไม่ได้มาตรฐานคนยังแย่งกัน คนแย่งเต็นท์กัน กว่าจะตั้งหลักได้ น้ำท่วมถึงศูนย์อพยพจุดที่ 2 แล้ว ทั้ง ๆ ที่ระดับน้ำของจังหวัดอุบลเป็นมวลน้ำที่มาจากที่อื่น ควรจะคำนวณระดับน้ำได้ แต่รัฐบาลกลับไม่มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า “จ.อุบลน้ำท่วมแทบทุกปี ควรมีแผนเตรียมอพยพและศูนย์อพยพล่วงหน้าไว้ให้พร้อม โดยพิจารณาจากสถานที่ราชการบางส่วน สนามกีฬา เพื่อใช้เป็นศูนย์อพยพที่ได้มาตรฐาน”

วิศรุตกล่าวเพิ่มเติมว่า อีกหนึ่งเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับประชาชนคือ ชาวบ้านที่อยู่ในน้ำมาแล้วกว่า 1 เดือน เงินหมดกระเป๋าแล้ว มูลค่าความเสียหายหอการค้าประมาณการไว้กว่า 10,000 ล้านบาท การคมนาคมและการทำมาหากินของประชาชนถูกตัดขาด อาชญากรรมในพื้นที่เริ่มเพิ่มขึ้น ในส่วนนี้พรรคก้าวไกลเสนอให้รัฐบาลใช้งบกลางโอนเงินช่วยเหลือให้ประชาชนในระหว่างน้ำท่วมเป็น “เบี้ย” น้ำท่วม ทันทีคนละ 3,000 บาท

“วงเงินล่าสุดที่รัฐบาลอนุมัติลงมาครัวเรือนละ 3,000 บาท ยังไม่เพียงพอแต่ดีกว่าไม่ได้ เรื่องเร่งด่วนในตอนนี้คือต้องทำให้เงินมาถึงมือประชาชนโดยเร็วที่สุด” วิศรุตกล่าว

สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เสนอการแก้ปัญหาทั้งระบบ ว่าภาครัฐต้องมีเครื่องมือที่เป็นแบบจำลองคำนวณปริมาณน้ำและพื้นที่รับน้ำเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ในการรับมือกับมวลน้ำ ต้องระบุล่วงหน้าให้ได้ว่าพื้นที่ใดควร “สู้” “อยู่” หรือ “หนี” อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันโมเดลเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันเป็นปกติในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ประเทศไทยยังเพิ่งเริ่มนำมาใช้ในพื้นที่คันกั้นน้ำรอบกรุงเทพฯ เท่านั้น พร้อมตั้งคำถามดัง ๆ ถึงรัฐบาลว่าเรามีหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการน้ำอย่าง สทนช. แล้ว แต่ถ้ายังอยู่ภายใต้การบริหารงานของ รปภ. ที่มาขับเครื่องบิน ทำเป็นชี้โน่นนี่นั่นแล้วก็ไป ทิ้งปัญหาไว้เหมือนเดิม การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมยังวนเวียนไปกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเยียวยาช่วยเหลือแบบลูบหน้าปะจมูกเหมือนเดิม ปีหน้าฝนมาใหม่ก็ท่วมเหมือนเดิม ประชาชนเดือดร้อนกันต่อไปเหมือนเดิม เหมือนเดิมมากว่า 8 ปีแล้วนะแต่ปีนี้หนักหน่อยเพราะฝนมาก หากรักประชาชนจริงก็ช่วยพิจารณาตัวเองได้แล้ว

ผุดไอเดียยุบรวม "คูคต-ลำสามแก้ว"เป็น "เทศบาลนคร"

เชตวัน เตือประโคน ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล จ.ปทุมธานี เปิดเผยถึงการไปพบปะประชาชนในพื้นที่ พร้อมเสนอไอเดียแก้ปัญหา "น้ำท่วมซ้ำซาก"หน้าหมู่บ้านรินทร์ทอง ด้วยการ ยุบรวมเทศบาลเมืองคูคต กับเทศบาลเมืองลำสามแก้ว ซึ่งอยู่ใน ต.คูคต เป็น "เทศบาลนคร"เพียงเทศบาลเดียว ชี้เมื่อกระจายอำนาจเต็มสูบ ผู้บริหารท้องถิ่นไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้อีกต่อไป

เชตวัน เปิดเผยว่า มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดต่อมาขอร่วมเดินในพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหาและนำเสนอรายงาน สุดท้ายลงตัวกันที่หมู่บ้านรินทร์ทอง ต.คูคต อ.ลำลูกกา เพื่อไปดูปัญหาและคุยกับพี่น้องประชาชนเรื่องน้ำท่วม เพราะถนนหน้าหมู่บ้านรินทร์ทอง ฝนตกหนักทีไรน้ำท่วมทุกที โดยผู้ประกอบการสะท้อนว่า อยู่มา 30 กว่าปีแล้ว ไม่เคยมีการแก้ไข พร้อมทั้งย้อนถามตนว่าถ้าได้เป็น ส.ส.แล้วจะแก้ได้หรือไม่ จึงได้อธิบายเรื่องของอำนาจหน้าที่ อย่างในกรณีนี้ ถ้าเป็น ส.ส.ใช้อำนาจนิติบัญญัติ สิ่งที่ตั้งใจจะทำก็คือ การผลักดันให้เกิดการยุบรวมเทศบาล จากที่ปัจจุบันนี้ ต.คูคต แบ่งเป็น 2 เทศบาลคือ เทศบาลเมืองคูคต กับเทศบาลเมืองลำสามแก้ว ตนมีแนวคิดยุบรวมให้เป็นเทศบาลนครเพียงเทศบาลเดียว เพราะประชากรรวมประมาณ 110,000 คน สภาพความเป็นเมืองที่ผู้คนหนาแน่น และลักษณะพื้นที่ซึ่งคล้ายๆ กัน การแยกบริหารอย่างที่เป็นอยู่นั้น ยิ่งเป็นปัญหา

"หลายคนอาจจะถามว่า แล้วเกี่ยวอะไรกับน้ำท่วมหมู่บ้านรินทร์ทอง? คำตอบคือ เพราะถนนหน้าหมู่บ้านรินทร์ทองนั้น เป็นรอยต่อระหว่างทั้ง 2 เทศบาล ฟุตบาตฝั่งหนึ่งคือเทศบาลเมืองคูคต ขณะที่ฟุตบาตอีกฝั่งหนึ่งคือเทศบาลเมืองลำสามแก้ว แล้วเมื่อเทศบาลฝั่งหนึ่งพัฒนาพื้นที่ ยกถนนให้สูงกว่า น้ำก็ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำกว่า มันก็เลยทำให้อีกฝั่งท่วมเป็นประจำ ดังนั้น ถ้ายุบรวมกันเป็นเทศบาลนคร เทศบาลเดียว จะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ เพราะผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ที่มาพร้อมกับนโยบายกระจายอำนาจเต็มสูบอย่างที่ผมพูดเสมอๆ คือ มีภารกิจหน้าที่ชัดเจน มีงบประมาณ มีบุคคลากร จะปฏิเสธความรับผิดชอบเรื่องนี้ไม่ได้อีกแล้ว"เชตวัน กล่าว

เชตวัน ระบุด้วยว่า ตนมีแนวคิดแบบนี้ มีเจตจำนงที่มุ่งมั่นที่จะผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น เพราะมั่นใจว่าเป็นจินตนาการใหม่ๆ ที่จะมาแก้ปัญหาได้มากกว่าการปะ ผุ ขุด ลอก สูบน้ำเป็นครั้งๆ คราวๆ นี่คือการทำสิ่งที่หลายคนบอกว่า "ความผิดปกติ"ชาชินแล้ว และมันก็เป็นอย่างนี้ ให้กลายเป็น "ความปกติ"เป็นไปได้ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า "การเมืองแห่งความเป็นไปได้"ที่เราพยายามพูดมาตลอด และก็ไม่ได้ห่วงหรอกว่า เมื่อพูดเรื่องนี้ไปแล้ว จะมีพรรคการเมืองไหน หรือผู้สมัครคนใดมาลอกเอานโยบายนี้ไปใช้ ไปพูดต่อ เพราะที่สุดแล้ว เราต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง ยิ่งมีหลายๆ คนเอาไปพูด เอาไปผลักดันให้เกิดขึ้น แล้วประโยชน์ตกกับประชาชน อย่างนี้จะหวงแนวคิด หวงนโยบายนี้ไว้ทำไม

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ห่วงหนี้สาธารณะพุ่งจากสังคมชราภาพและนโยบายประชานิยม

$
0
0

นักวิชาการห่วงหนี้สาธารณะพุ่งจากสังคมชราภาพและนโยบายประชานิยม พรรคการเมืองต้องระบุแหล่งรายได้สนับสนุนนโยบายใช้จ่าย ฐานะการคลังอ่อนแอกดบาทอ่อน ลดบทบาทภาครัฐทางเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม

16 ต.ค. 2565 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และอดีตกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ แจ้งข่าวต่อสื่อมวลชนแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์สังคมชราภาพและการแข่งขันการใช้นโยบายประชานิยมของรัฐบาลและพรรคการเมืองต่างๆในช่วงใกล้เลือกตั้ง ว่าปัญหาโครงสร้างประชากรสังคมชราภาพของไทยนั้นเป็นปัญหาทั้งในเชิงโครงสร้างในทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งปัญหาทางการเมืองและความมั่นคงในระยะยาวอีกด้วย การเสนอสวัสดิการถ้วนหน้าผู้สูงวัยเป็นเพียงเสี้ยวเดียวของการแก้ปัญหาโครงสร้างประชากรของไทยที่จะนำไปสู่ปัญหาวิกฤติฐานะทางการคลังและหนี้สาธารณะได้ในอนาคต นอกจากนี้ ในช่วงใกล้เลือกตั้ง รัฐบาลได้เร่งออกนโยบายประชานิยมที่ขาดการไตร่ตรองอย่างรอบคอบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการคลังโดยให้น้ำหนักกับการตอบสนองต่อฐานสนับสนุนทางการเมืองเพื่อการเอาชนะในการแข่งขันทางการเมือง และมีการขยายบทบาทภาครัฐทางเศรษฐกิจด้วยผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าความสมเหตุสมผลของกรอบการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี พรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลที่ต้องแข่งขันกันในการเลือกตั้งต่างแนวทางและพฤติกรรมไม่ต่างกันมากนัก ปัญหานโยบายประชานิยมที่ขาดความรับผิดชอบทางการคลังจะนำมาสู่ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะภายใน 3-4 ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน ขณะนี้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีทะลุระดับ 60% ไปแล้ว สังคมไทยจึงไม่อาจคาดหวังว่าจะมีนโยบายแนวปฏิรูปที่ออกมาแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาวได้มากนัก 

หากรัฐบาลและพรรคการเมืองไม่สามารถหารายได้จากการปฏิรูปภาษีและรายได้ภาครัฐอื่นๆมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆในระบบงบประมาณตามที่ประกาศเอาไว้ จะทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีทะลุ 70% ได้ในอนาคตอันใกล้ และต้องปรับเพดานหนี้กันอีก หนี้สาธารณะในระดับดังกล่าวจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าในระยะยาว เกิดข้อจำกัดของภาครัฐในการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ สวัสดิการสังคม การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์และลงทุนทางด้านการศึกษา วิจัยนวัตกรรมในอนาคต งบประมาณปี 2566 ต้องใช้งบดูแลผู้สูงอายุประมาณ 7.5 แสนล้านบาท หรือ 4.5-5%ของจีดีพี เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวเทียบกับปี 2556 คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2576 สังคมไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับเต็มที่จะใช้งบทะลุ 1 ล้านล้านบาท รัฐบาลอาจจะเจอวิกฤติฐานะการคลังได้ แต่ไม่ควรใช้วิธีตัดลดสวัสดิการในอนาคต ควรลดภาระการคลังด้วย การ สร้างระบบออมเพื่อชราภาพให้เข้มแข็ง ปฏิรูประบบแรงงานให้มีระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และ เพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บรายได้ ล่าสุด ผู้สูงอายุในสังคมมีอยู่ประมาณ 12.5-12.6 ล้านคน หรือ คิดเป็น 19-20% ของประชากรทั้งหมด ไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ กล่าวคือ มีจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2565 และคาดว่า จะเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) กล่าวคือ มีจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 28% ของประชากรทั้งประเทศ ในปี 2576 นโยบายสาธารณะของไทยควรพิจารณาเปิดเสรีตลาดแรงงานเพิ่มเติมหรือไม่ หรือ รับผู้อพยพที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการแปลงสัญชาติอย่างรอบคอบรัดกุมหรือไม่ ต้องไปศึกษาวิจัยให้รอบคอบและต้องตัดสินใจเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาไว้ล่วงหน้า ในหลายจังหวัดของไทย เช่น สิงห์บุรี ลำปาง ลำพูน แพร่ ใกล้เข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged Society) คือ มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% และ มีประชากรสูงอายุมากกว่า 30% ประชากรในวัยทำงานลดลงอย่างมาก ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงวัยจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดไม่สามารถขับเคลื่อนได้ เกิดปัญหาสังคมเพิ่มขึ้น ลำพูนอาจดีกว่าจังหวัดอื่นที่กล่าวมาเพราะมีนิคมอุตสาหกรรม มีการอัตราการมีงานทำสูง 

จังหวัดสิงห์บุรี ลำปาง ลำพูน แพร่ เป็นจังหวัดที่มีผู้สูงอายุ (เกิน 60 ปี) ประมาณ 25% ของประชากรขึ้นไป จังหวัดเหล่านี้ควรได้รับเงินงบประมาณจากส่วนกลางเพิ่มเติมเพื่อดูแลผู้สูงวัยโดยเร่งด่วน เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจัดเก็บรายได้ไม่เพียงพอ รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวเสนอแนะต่อรัฐบาลและพรรคการเมืองต่างๆ ว่า ควรไปศึกษาดูงบประมาณเพื่อนำมาจัดสวัสดิการนั้นสามารถนำมาจากการเก็บภาษีทรัพย์สินเพิ่มเติมได้หรือไม่ การลดการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และการตัดลดงบประมาณบางอย่างที่ไม่จำเป็นลง โครงสร้างระบบการจัดเก็บภาษี (Taxation) ของประเทศรัฐสวัสดิการ จะมีการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า มีสัดส่วนรายรับรวมทางภาษีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP) เฉลี่ยอยู่ที่ 35 – 48% ส่วนโครงสร้างระบบภาษีของไทยขึ้นอยู่กับภาษีทางอ้อมและภาษีเงินได้เป็นหลัก สัดส่วนรายได้จากภาษีเทียบจีดีพีคิดเป็น 14.6% เท่านั้น (ต่ำค่าเฉลี่ยของโลกที่ 14.9%) ระบบภาษีเมื่อเทียบประเทศสแกนดิเนเวียแล้วถือว่ามีอัตราก้าวหน้าน้อยมาก รัฐบาลต้องตั้งเป้าขยายฐานภาษีใหม่เพื่อนำมาพัฒนาประเทศและสร้างระบบรัฐสวัสดิการให้เกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2576 โดยควรตั้งเป้าเก็บภาษีทรัพย์สิน (ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ภาษีมรดก ภาษีลาภลอย ภาษีกำไรจากตลาดการเงิน ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่กล่าวมา เชื่อว่า ประเทศไทยจะประสบปัญหาฐานะทางการคลังจนเกิดภาวะแรงกดดันทางนโยบายที่ต้องปรับลดสวัสดิการบางอย่างลงซึ่งพรรคการเมืองส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ทำ เมื่อปัญหาพัฒนามาถึงจุดดังกล่าว ประเทศไทยจะสูญเสียความน่าเชื่อถือในตลาดการเงินโลกและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติและอาจประสบปัญหาหนี้สาธารณะเฉกเช่นเดียวกับ ประเทศกรีซ และ ประเทศอาร์เจนตินา ได้ หากเกิดภาวะดังกล่าว ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอย่างมาก ตราสารหนี้ของไทยและพันธบัตรรัฐบาลจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือและต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงมาก อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นเลย เพียงแค่รัฐบาลหลังเลือกตั้งจะใส่ใจต่อวินัยการเงินการคลัง เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและฐานะการเงินการคลังของประเทศโดยภาพรวมยังเข้มแข็งกว่าประเทศที่เคยเกิดวิกฤติหนี้สินรุนแรง พลวัตต่างๆทั้งภายในและภายนอกอาจเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐานและฐานะการเงินการคลังให้อ่อนแอลงได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น รัฐบาล และ พรรคการเมืองต่างๆที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง ต้องตั้งอยู่บนความไม่ประมาทและระมัดระวังในการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปยุทธศาสตร์ที่ดี 
 
รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่าการระบุแหล่งรายได้อย่างชัดเจนเพื่อสนับสนุนโครงการหรืองบประมาณการใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของวินัยทางการเงินการคลัง ขณะเดียวกัน รัฐบาลและพรรคการเมืองต่างๆที่จะเป็นรัฐบาลในอนาคตควรทบทวน ลดขนาดหรือยกเลิกกองทุนต่างๆที่ได้รับการสนับสนุนจากภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) หลายประเทศได้ยกเลิกระบบ Earmarked Tax เพราะการเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนกิจกรรมบางอย่างเป็นการเฉพาะนั้นเป็นข้อยกเว้นหลักการพื้นฐานสำคัญทางงบประมาณ ได้แก่ หลักเอกภาพทางงบประมาณและหลักรายได้ต้องมีลักษณะทั่วไป การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะมักถูกโต้แย้งถึงความโปร่งใสและขัดแย้งกับวินัยการคลังอยู่เสมอ และ การจัดสรรเงินให้แก่หน่วยงานเหล่านี้มิได้ผ่านกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละปี วงจรงบประมาณแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก การจัดเตรียมงบประมาณ ขั้นที่สอง การออกพระราชบัญญัติ ขั้นที่สาม การเบิกจ่ายและบริหารงบประมาณ ขั้นที่สี่ ขั้นตอนการตรวจสอบ บทบาทของรัฐสภาในกระบวนการงบประมาณมีหน้าที่ในการอนุมัติวงเงินงบประมาณ (Budget Approval) และ การติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน (Budget Audit) รัฐสภาไทยไม่ได้มีบทบาทในขั้นจัดเตรียมงบประมาณเหมือนบางประเทศ การจัดเตรียมมักเป็นหน้าที่ของฝ่ายข้าราชการประจำและรัฐบาล ทั้งที่การจัดเตรียมงบประมาณควรมีบทบาทผู้แทนประชาชนเพิ่มขึ้น บทบาทนี้ควรครอบคลุมความเหมาะสมของการกำหนดวงเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งอาจจะมีการทำงบประมาณสมดุล (Balanced Budget) งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) นโยบายและการบริหารหนี้สาธารณะ (Public Debt Policy and Management) ปัญหาความด้อยประสิทธิภาพของการบริหารจัดการงบประมาณเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ความด้อยความสามารถของระบบราชการ (Incompetency of Bureaucratic Agency) ความผิดผลาดของการลงทุนภาครัฐเกิดจากอคติที่ต้องการให้ภาครัฐทำโครงการ โดยการคำนวณอัตราผลตอบแทน (Internal Rate of Returns, IRR) ที่สูงเกินจริง อคติของการจัดทำงบประมาณของพรรคการเมืองแบบประชานิยมเพราะพรรคการเมืองต่างมีความประสงค์จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งซึ่งใช้เกณฑ์การตัดสินแบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority Voting) และมักจะจัดสรรงบประมาณเอาใจคนกลุ่มใหญ่ โดยสำนักเศรษฐศาสตร์การเมือง เรียกแบบจำลองนี้ว่า Median Voter Model นอกจากนี้ อาจมีการล็อบบี้จากกลุ่มทุนหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆเพื่อแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent)

เมื่อรัฐหรือรัฐบาลเข้าไปแทรกแซงความล้มเหลวของระบบตลาดเพื่อกำหนดเพดานดอกเบี้ย กำหนดวงเงินสินเชื่อในกิจการบางอย่าง ลดผลกระทบจากพลังงานแพงด้วยการอุดหนุนราคา ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หรือ จัดการปัญหามลพิษจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การดูแลให้เกิดรายได้ที่เป็นธรรมหรือลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ กลไกของรัฐเองก็มีข้อจำกัดและอาจเกิดความล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน ความล้มเหลวหรือปัญหาประสิทธิภาพของภาครัฐอาจเกิดจาก ข้อจำกัดด้านข้อมูล ข้อจำกัดของระบบราชการ ข้อจำกัดของกระบวนการทางการเมือง ปัญหาการไม่มีแรงกดดันด้านการแข่งขัน (ทำให้เกิดปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ปรับปรุงคุณภาพ เป็นต้น) นอกจากนี้ยังเกิดกรณีที่นโยบายหรือมาตรการที่ดีไม่สามารถผลักดันให้เกิดเป็นจริงได้ เพราะนักการเมืองต้องคำนึงถึงคะแนนนิยมเฉพาะหน้าหรือในยุคปัจจุบันแม้นผู้นำการเมืองที่มาจากอำนาจรัฐประหารก็ยังต้องหาเสียงและอาศัยการสนับสนุนจากมวลชน มาตรการหรือนโยบายจึงมุ่งแก้ปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้าเพื่อหาคะแนนนิยมมากกว่าแก้ปัญหาระยะยาว การผลักดันนโยบายหลายกรณีได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งกับกลุ่มผลประโยชน์ที่สนับสนุนพรรคการเมือง นโยบายหรือมาตรการบางอย่างที่เข้าไปจัดการกับโครงสร้างตลาดผูกขาดกระทบต่อฐานทางการเมืองจึงไม่เกิดขึ้น แม้นจะเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของระบบตลาดและเกิดผลดีระยะยาวต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมได้ก็ตาม 

กรณีของไทยงบประมาณรายจ่ายในหลายทศวรรษที่ผ่านมาของรัฐบาลไทยก็ไม่ค่อยมีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจมากนัก เพราะงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลไทยประกอบด้วยรายจ่ายที่สำคัญที่ไม่สามารถปรับลดตามภาวะเศรษฐกิจได้ จากรายงานวิจัยของ ดร. เมธี ครองแก้ว พบว่า งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลไทย นอกจากไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้แล้ว ยังส่งผลทำให้การกระจายรายได้ในสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า หลังปี พ.ศ. 2544 หลังจากมีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคและต่อมาพัฒนาเป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งการมีนโยบายสวัสดิการสังคมอื่นๆเพิ่มเติมและนโยบายเรียนฟรี เบี้ยยังชีพ สวัสดิการเพิ่มเติมจากระบบประกันสังคม ทำให้งบประมาณรายจ่ายเป็นกลไกในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในระยะต่อมา ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัวและเป็นช่วงใกล้เลือกตั้ง การดำเนินนโยบายทางการคลังต้องรักษาสมดุลระหว่าง การคลังแบบอัตโนมัติ (Non-discretionary Fiscal Policy) กับ การคลังแบบตั้งใจ (Discretionary Fiscal Policy) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการฟื้นตัวระยะแรกของเศรษฐกิจไทยและสถานการณ์เลือกตั้ง 

รศ.ดร.อนุสรณ์ ได้อธิบายประเด็นดังกล่าวในรายละเอียดว่า นโยบายการคลังแบบตั้งใจ (Discretionary Fiscal Policy) ได้แก่ การปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายและ/หรือภาษีของรัฐบาลที่มีผลใช้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยรัฐบาลตั้งใจที่จะให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลคาดหวังหรือตั้งใจไว้ การปรับวงเงินงบประมาณรายจ่ายหรือภาษีดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายกล่าวคือต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบโดยมติของคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายการคลังแบบตั้งใจมักมีปัญหาในเรื่องความล่าช้าของเวลา (Time Lags) กล่าวคือก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจใช้นโยบายการคลัง รัฐบาลต้องมีข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลก่อนตัดสินใจใช้ ดังนั้นปัญหาประการแรกที่รัฐบาลมักเจอได้แก่การจัดเก็บสถิติข้อมูลและวิเคราะห์ได้ล่าช้า ประการที่สองการใช้นโยบายมีขั้นตอนที่ต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายซึ่งต้องใช้เวลา และประการสุดท้ายได้แก่การใช้นโยบายหรือนำไปปฏิบัติก็มักจะมีความล่าช้าในกระบวนการ อาทิ การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายในการสร้างถนน ก่อนจะลงมือสร้างก็ต้องมีการศึกษาความเหมาะสม การเลือกผู้รับจ้างหรือผู้ดำเนินการ และอื่นๆ เป็นต้น

ส่วนนโยบายการคลังแบบไม่ตั้งใจ (Non-Discretionary Fiscal Policy) ได้แก่การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของรัฐบาลและ/หรือภาษีซึ่งเป็นไปเองตามโครงสร้างของระบบการใช้จ่ายหรือการเก็บภาษีที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก หรือที่เรียกว่า การคลังอัตโนมัติหรือการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ (Autonomous Fiscal Policy or Built-in Stabilizers) เครื่องมือของการคลังอัตโนมัติได้แก่ รายจ่ายเงินโอน (Transfer Payments) บางประเภทที่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือกฎหมายกำหนดหรือบังคับไว้ เช่น เงินประกันการว่างงานตามกฎหมายประกันการว่างงาน ซึ่งรัฐบาลจะมีรายจ่ายดังกล่าวจะมากขึ้นก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำหรือมีคนว่างงานมาก และรายจ่ายจะน้อยลงในภาวะที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตและมีปัญหาการว่างงานต่ำ 

สนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรควรมีบทบาทเพิ่มขึ้นในกระบวนการงบประมาณ โดยเฉพาะด้านการจัดเตรียม รัฐธรรมนูญปี 60 นั้นได้ลดบทบาทผู้แทนประชาชนในการจัดการงบประมาณด้วยทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารการคลัง อันรวมถึง การบริหารงบประมาณโดยเฉพาะงบกลาง งบลับ งบจัดซื้ออาวุธ เงินนอกงบประมาณ งบสวัสดิการสังคม การบริหารภาษีและรายได้อื่นๆ การบริหารหนี้สาธารณะ จะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสในการก้าวสู่ “รัฐสวัสดิการ” ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า 

หนทางสู่รัฐสวัสดิการในอีก 10-15 ข้างหน้าสามารถทยอยทำได้เลยด้วยการจัดสวัสดิการเพิ่มเติม เช่น บำนาญถ้วนหน้าสำหรับผู้สูงวัย 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน ขณะนี้ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบได้เฉพาะเบี้ยยังชีพ หากจ่ายบำนาญถ้วนหน้าใช้เงินงบประมาณ 450,000 ล้านบาทซึ่งฐานะงบประมาณไทยพอจัดสรรได้ สวัสดิการสำหรับเด็กเล็กถ้วนหน้า 1,500 บาท เริ่มต้นแบบนี้และค่อยๆต่อยอดพัฒนาเพิ่มสวัสดิการพื้นฐานอื่นๆในระยะต่อไป การดูแลสุขภาพ การตั้งครรภ์ ความพิการและการเสียชีวิต สวัสดิการสำหรับเด็กเล็ก / ผลประโยชน์สำหรับผู้พิการสวัสดิการการศึกษา สวัสดิการสำหรับครอบครัว สวัสดิการการว่างงาน / หลักประกันรายได้ขั้นต่ำ สวัสดิการสำหรับผลประโยชน์ด้านที่อยู่อาศัย บำนาญ เบี้ยยังชีพ การประกันสำหรับผู้สูงวัย สวัสดิการทดแทนเงินได้จากสภาวะพิการจากการทำงาน สวัสดิการเพื่อสันติธรรมและความสมานฉันท์ในสังคม ผลประโยชน์ทางสวัสดิการสำหรับประชาชนยังไม่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม มีประชาชนจำนวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐาน แม้นสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน สิทธิมนุษยชน การได้รับความเป็นธรรมจากระบบกฎหมายและระบบความยุติธรรม ก็ยังมีปัญหาสำหรับคนไทยบางกลุ่ม 

อย่างไรก็ตามการทยอยก้าวสู่รัฐสวัสดิการของไทยต้องมีการปฏิรูประบบสวัสดิการเพื่อความยั่งยืนทางการเงินของระบบด้วย และ ลด ละ เลิกนโยบายแจกเงินเป็นครั้งคราวเฉพาะหน้า ยกเลิกและทบทวนนโยบายประชานิยมแบบไม่ยึดถือวินัยการคลังโดยนำเอาการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบแบบรัฐสวัสดิการเข้ามาแทนที่รวมทั้งระบบร่วมสมทบเข้ามาแทนที่ งบประมาณที่จัดสรรไปสู่รายจ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมของไทยยังอยู่ในระดับต่ำมาก ในปี พ.ศ. 2546 สวีเดนมีรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมต่อจีดีพี มากกว่าประเทศไทยในปีเดียวกันถึง 15-16 เท่า ส่วนไทยนั้นมี รายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมต่อจีพีดีเฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% เท่านั้น ประเทศสแกนดินีเวียจะมีรายจ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมต่อจีดีพีสูงที่สุด เฉลี่ยอยู่ที่ 29-30% ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีรายจ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมต่อจีดีพีไม่สูงมากอยู่ที่ 15-16% 

รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อว่าส่วนเงินงบประมาณเพื่อนำมาจัดสวัสดิการนั้นสามารถนำมาจากการเก็บภาษีทรัพย์สินเพิ่มเติม การลดการจัดซื้ออาวุธยุทโธปการณ์และการตัดลดงบประมาณบางอย่างที่ไม่จำเป็นลง โครงสร้างระบบการจัดเก็บภาษี (Taxation) ของประเทศรัฐสวัสดิการ จะมีการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า มีสัดส่วนรายรับรวมทางภาษีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP) เฉลี่ยอยู่ที่ 35 – 48% ส่วนโครงสร้างระบบภาษีของไทยขึ้นอยู่กับภาษีทางอ้อมและภาษีเงินได้เป็นหลัก สัดส่วนรายได้จากภาษีเทียบจีดีพีคิดเป็น 14.6% เท่านั้น (ต่ำค่าเฉลี่ยของโลกที่ 14.9%) ระบบภาษีเมื่อเทียบประเทศสแกนดิเนเวียแล้วถือว่ามีอัตราก้าวหน้าน้อยมาก รัฐบาลต้องตั้งเป้าขยายฐานภาษีใหม่เพื่อนำมาพัฒนาประเทศและสร้างระบบรัฐสวัสดิการให้เกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2576 โดยควรตั้งเป้าเก็บภาษีทรัพย์สิน (ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ภาษีมรดก ภาษีลาภลอย ภาษีคริปโต ภาษีธุรกรรมออนไลน์ ภาษีกำไรจากตลาดการเงิน ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่กล่าวมา เชื่อว่า ประเทศไทยจะประสบปัญหาฐานะทางการคลังอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะแรงกดดันทางนโยบายที่ต้องปรับลดสวัสดิการบางอย่างลง 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ตัวตึงภาษาลูครับอาจารย์ | หมายเหตุประเพทไทย EP.440

$
0
0

หลัง ‘ภาษากะเทย’ ปะทะ ‘ภาษาชายแท้’ กำลังฮิตในโลกออนไลน์ หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ สืบหาที่มา ‘ภาษาลู’ ที่เริ่มใช้ในหมู่กระเทยช่วงทศวรรษ 1990s เป็นภาษาของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย (subculture) ที่แต่เดิมใช้แบบเข้ารหัส เพื่อหลีกเร้นการรับรู้ของสังคมภายนอก ก่อนที่ภาษาลูจะกลายเป็นภาษาเปิด และแพร่หลายข้ามกลุ่มสังคมในยุคหลัง เมื่อเสรีภาพทางเพศคลี่คลาย และสิทธิความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับ

นอกจากนี้ยังชวนอ่านผลงานของ ปุณยาพร รูปเขียน หัวข้อ “ลาภูลาษูซูแล: ภาษาลูกับการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มกะเทย” (2562) ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individual Study)  ส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'สีจิ้นผิง'เปิดประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ คาดอยู่ต่อสมัย 3 ระบุต้องยอมรับคำวิจารณ์จากประชาชน

$
0
0

'สีจิ้นผิง'กล่าวเปิดประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะทำให้เขาอยู่ต่อสมัย 3 อย่างเป็นทางการ ระบุกับตัวแทนระดับสูงของพรรคว่า "เราต้องยอมรับคำวิจารณ์และการตรวจสอบจากประชาชน"อย่างไรก็ตาม ในกรุงปักกิ่งกลับมีการตรึงกำลังรักษาความปลอดอภัยอย่างเข้มงวด หลังพบผู้ประท้วงแขวนป้ายประท้วงชวนต้าน 'ทรราชสีจิ้นผิง'และนโยบายโควิดเป็นศูนย์บนสะพานแห่งในกรุงปักกิ่ง และถูกจับกุมไปอย่างรวดเร็ว 

16 ต.ค. 2565 การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 20 เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในเช้าวันอาทิตย์ (16 ต.ค.) โดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิงระบุกับตัวแทนระดับสูงของพรรคกว่า 2 พันคนว่า จีนกำลังจะเข้าสู่ "ยุคใหม่"ในการประชุมครั้งประวัติศาสตร์นี้ หลายฝ่ายคาดว่าจะอนุมัติให้สีจิ้นผิงสืบทอดอำนาจต่อเป็นสมัยที่ 3 ส่งผลให้เขาเป็นผู้นำที่มีอำนาจที่สุด นับตั้งแต่ยุคการปกครองของเหมาเจ๋อตุง 

สุนทรพจน์ของสีจิ้นผิงกินเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาเป็นการแถลงผลงาน และแนวทางวิสัยทัศน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงต่ออนาคตของจีน 

สีจิ้นผิงระบุว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้น และต่อสู้กับการแบ่งแยกดินแดนและการแทรกแซงจากต่างชาติอย่างหนัก ในประเด็นเกี่ยวกับฮ่องกง สีจิ้นผิงระบุว่าการผ่านกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่ทำให้การเห็นต่างเป็นความผิดทางกฎหมายนั้น ช่วยให้ความสงบเรียบร้อยกลับมาอีกครั้ง และส่งผลให้ภูมิภาคดังกล่าว "เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น" 

ในประเด็นไต้หวัน สีจิ้นผิงระบุว่าจะต้องกลับมา "รวมประเทศอีกครั้ง"โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผน "ฟื้นฟูชาติ"และมองว่านโยบายนี้วางอยู่บน "ความมุ่งมั่นแน่วแน่ และความสามารถอันเข้มแข็ง​ในการปกป้องอำนาจอธิปไตยแห่งชาติและบูรณภาพแห่งดินแดน"ภายใต้รัฐบาลของเขา 

"กงล้อประวัติศาสตร์กำลังหมุนไปสู่การรวมประเทศอีกครั้ง และการฟื้นฟูชาติจีนที่ยิ่งใหญ่กลับมาอีกครั้ง การรวมประเทศอีกครั้งอย่างสมบูรณ์จะต้องเกิดขึ้น และจะต้องสำเร็จอย่างแน่นอน"สีจิ้นผิงกล่าว พร้อมเสียงปรบมืออย่างกึกก้องจากผู้ร่วมประชุม 

เขากล่าวอีกว่า รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีน "จะดำเนินการรวมประเทศกลับมาอีกครั้งอย่างสันติ ด้วยความจริงใจและความพยายามอย่างถึงที่สุด แต่เราไม่มีวันสัญญาว่าจะไม่ใช้กำลัง และขอสงวนทางเลือกในการใช้มาตรการทุกอย่างที่จำเป็น" 

ด้านสื่อไต้หวัน Taiwannews.com.tw ตั้งข้อสังเกตในรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ระบุว่า "ทั้งที่ไม่เคยปกครองไต้หวัน แต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับยืนกรานข้ออ้างที่ไร้หลักฐานสนับสนุนว่าเป็นเจ้าของเกาะไต้หวันและผู้อยู่อาศัยในเกาะดังกล่าวกว่า 23 ล้านคน" 

ในช่วงเดียวกัน เมื่อ 12 ต.ค. ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพิ่งเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงกแห่งชาติ ซึ่งจะมีการจัดทำทุกๆ 4 ปี โดยระบุว่าจีนและรัสเซียเป็น "ความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด"ในปัจจุบัน 

ผู้ประท้วงแขวนป้าย ชวนต้านทรราช

ก่อนการประชุมพบว่าในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันพฤหัสบดี (13 ต.ค.) ผู้ประท้วงคนหนึ่งได้แขวนป้ายผ้า 2 ป้ายบนสะพานซื่อตง ในเขตไห่เตี้ยน ป้ายหนึ่งปรากฎข้อความ "โค่นล้มทรราชสีจิ้นผิง"อีกป้ายหนึ่งพบข้อความเขียนว่า "เอาอาหาร ไม่ใช่เครื่องตรวจพีซีอาร์ เอาเสรีภาพ ไม่ใช่ล็อกดาวน์ เอาปฏิรูป ไม่ใช่ปฏิวัติวัฒนธรรม เอาการเลือกตั้ง ไม่ใช่ผู้นำ เอาศักดิ์ศรี ไม่ใช่คำลวง เอาพลเมือง ไม่ใช่ทาส"

ผู้ประท้วงคนดังกล่าวได้เผายางและตะโกนสโลแกนผ่านโทรโข่งด้วย อย่างไรก็ตาม รายงานหลายแห่งระบุว่าบุคคลดังกล่าวถูกจับแล้ว จากภาพเหตุการณ์พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการล้อมผู้ประท้วงคนดังกล่าว ซึ่งใส่หมวกแข็งสีเหลือง และเสื้อผ้าสีส้มไว้ บุคคลได้กล่าวได้รับการชื่นชมจากหลายคนโดยได้รับฉายาว่า "new Tank Man"อ้างอิงถึงชายคนหนึ่งที่ยืนขวางรถถังในการประท้วงเทียนอันเหมินใน พ.ศ. 2532

ขณะที่สื่อของรัฐบาลจีนไม่ได้มีการนำเสนอข้อมูลนี้ แต่ภาพและวิดิโอได้มีการโพสต์อย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ แต่ก็มีการเซ็นเซอร์ด้วยการลบโพสต์ ปิดบัญชีผู้ใช้ และป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลบน WeChat แอปพลิเคชั่นสื่อสารที่ได้รับความนิยมในประเทศจีน หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ทางการจีนได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าระวังตามสะพานต่างๆ และประกาศรับจ้างอาสาสมัครเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุลักษณะเดียวกันอีก

แม้ยังไม่สามารถยืนยันอัตลักษณ์ของผู้ประท้วงได้ แต่สำนักข่าวหลายแห่งคาดว่าบุคคลดังกล่าวชื่อว่าเผิงลี่ฟา ในโลกออนไลน์ใช้ชื่อว่าเผิงไจ้โจว ประกอบอาชีพนักวิจัยด้านฟิสิกส์มาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งในมณฑลเฮยหลงเจียง บุคคลที่ว่านี้โพสต์บทความใน Research Gate และแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์สอดคล้องกับเนื้อหาของการประท้วง ล่าสุด change.org พบการรณรงค์ล่ารายชื่อเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว 

ในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงระบุว่า "เราต้องยอมรับคำวิจารณ์และการตรวจสอบจากประชาชน"อย่างไรก็ตาม สื่อต่างประเทศตั้งข้อสังเกตุว่าในความเป็นจริง กรุงปักกิ่งและมณฑลอื่นๆ ทั่วประเทศกลับอยู่ภายใต้การล็อกดาวน์ และมาตรการความปลอดภัยอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระด้างกระเดื่องที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการประชุม

 

แปลและเรียบเรียงจาก
Xi vows 'major struggle against separatism' and Taiwan Independence (Taiwan News, 16/10/2022)
China protest: Mystery Beijing demonstrator sparks online hunt and tributes (BBC, 14/10/2022)
Xi Jinping opens Chinese Communist party congress with warning for Taiwan (The Guardian, 16/10/2022)
Beijing banner protester lauded as China's new Tank Man, or 'Bridge Man' (RFA, 14/10/2022)
Identity of the Man Who Pulled Off Protest on Beijing Overpass Amid Unprecedented Security Before the CCP Congress (China Change, 13/10/2022)
 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

อียูเปรยจะพิจารณาคว่ำบาตรอิหร่าน กรณีจัดหา 'โดรน'ให้รัสเซียใช้ในสงครามยูเครน

$
0
0

คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปประกาศว่าจะมีการอภิปรายหารือกันในเรื่องการคว่ำบาตรอิหร่าน เนื่องมาจากข้อกล่าวหาของชาติตะวันตกและยูเครนที่ว่า อิหร่านเป็นผู้คอยจัดหาโดรนที่ใช้โจมตียูเครนให้กับรัสเซีย

16 ต.ค. 2565 ในขณะที่เรื่องโดรนโจมตียูเครนกำลังเป็นที่พูดถึงในหน้าสื่อต่างประเทศ สมาชิกคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปที่ไม่ระบุนาม 2 ราย ก็เปิดเผยต่อสื่อว่าจะมีการอภิปรายในที่ประชุมคณะมนตรียุโรปที่ลักเซมเบิร์กภายในวันจันทร์ (17 ต.ค.) ที่จะถึงนี้

ชาติตะวันตกกล่าวหาว่ารัสเซียได้เริ่มใช้โดรนโจมตีที่ผลิตในอิหร่านชื่อว่า "ชาเฮด-136"เพื่อทำการโจมตีประเทศยูเครน มีการกล่าวหาว่ารัฐบาลรัสเซียได้รับโดรนโจมตีเหล่านี้หลายร้อยลำมาจากอิหร่าน ถึงแม้ว่าทางการสหรัฐฯ จะเคยเตือนก่อนหน้านี้แล้วว่าไม่ให้อิหร่านส่งออกอาวุธ

สมาชิกคณะมนตรียุโรปเปิดเผยว่าหลังจากที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องการใช้โดรนในสงครามยูเครนแล้ว จึงมีการตัดสินใจว่าจะต้องให้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในประเด็นของการประชุมคณะมนตรีที่จะมีขึ้น อย่างไรก็ตามพวกเขาบอกว่าการคว่ำบาตรอิหร่านเนื่องจากสาเหตุนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที แต่จะมีการหารือในประเด็นนี้จนได้มติเห็นชอบร่วมกันในหมู่คณะมนตรีก่อน ถึงจะมีการวางแนวทางในการลงโทษอิหร่านในอนาคต

ในวันที่ 15 ต.ค. ที่ผ่านมาทางการอิหร่านออกมาปฏิเสธอีกครั้งในเรื่องที่พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดหาโดรนให้รัสเซีย รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอิหร่าน ฮอสเซน อามีร์-อับดุลลาเฮียน แถลงว่า "ขอเน้นย้ำว่า สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ไม่ได้ทำ และจะไม่ทำการจัดหาอาวุธใดๆ ที่จะนำไปใช้ในสงครามยูเครน"

อามีร์-อับดุลลาเฮียน แถลงอีกว่า "พวกเราเชื่อว่าการติดอาวุธให้ทั้งสองฝ่ายของวิกฤตความขัดแย้งนี้จะทำให้สงครามยาวนานขึ้น ... พวกเราไม่เคยมองว่าและจะไม่มีทางมองว่าสงครามเป็นหนทางที่ถูกต้องไม่ว่าจะในกรณียูเครน, อัฟกานิสถาน, ซีเรีย หรือ เยเมน"

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศสเคยบอกว่า การที่อิหร่านขายโดรนให้กับรัสเซีนนั้นนับเป็นการละเมิดข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่อนุมัติเกี่ยวกับสนธิสัญญานิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจ และบอกว่าทางฝรั่งเศสได้ประสานงานกับอียูว่าจะมีการโต้ตอบในเรื่องนี้อย่างไร

กรณีโดรนจากอิหร่านที่เกิดขึ้นในช่วงไม่นานนี้ถูกระบุว่าเป็นโดรนโจมตีจำพวก "โดรนพลีชีพ" (suicide drone/kamikaze drone) ที่นับเป็นระบบการโจมตีทางอากาศยานที่เรียกว่า "อาวุธแบบดักรออยู่กับที่" (loitering munition) เพราะลักษณะการทำงานของโดรนชนิดนี้คือการดักรออยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อระบุเป้าหมายก่อนที่จะโจมตี

โดรนจำพวกนี้มีขนาดเล็ก พกพาง่าย ปล่อยออกไปได้ง่าย ข้อได้เปรียบของมันคือการที่มันตรวจจับได้ยาก และสามารถโจมตีจากระยะไกลได้ สาเหตุที่โดรนจำพวกนี้ถูกเรียกว่า "โดรนพลีชีพ"ก็เพราะว่า มันเป็นโดรนโจมตีแบบที่ใช้แล้วทิ้งหรือปล่อยให้ถูกทำลาย มันถูกออกแบบมาเพื่อให้โจมตีแนวหลังของศัตรู ผิดกับโดรนโจมตีที่ใช้ทางการทหารแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่กว่า เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า และจะบินกลับฐานที่มั่นหลังจากที่ทิ้งขีปนาวุธใส่ข้าศึก

กองทัพยูเครนและหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯ เคยพูดถึงเรื่องที่รัสเซียใช้โดรนที่ผลิตในอิหร่านในการโจมตียูเครนมาตั้งแต่เดือน ก.ค. แล้ว มีกรณีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายกรณีที่ถูกระบุว่าเป็นการโจมตีด้วย"โดรนจากอิหร่าน"กรณีหลังๆ ที่เกิดขึ้นคือกรณีการโจมตีเมืองขนาดเล็กของยูเครนที่ชื่อ มาคารีฟ ทางตะวันตกของกรุงเคียฟ โดรนจากกองทัพรัสเซียทำการโจมตีสิ่งก่อสร้างหลายแห่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเมืองดังกล่าว โดยที่เจ้าหน้าที่ทางการยูเครนระบุว่าเป็นโดรนที่ผลิตในอิหร่าน

ในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ เคยแถลงว่ารัสเซียได้ซื้อโดรนจากอิหร่านแล้วมีการฝึกฝนกองทัพรัสเซียในการใช้งานโดรนเหล่านี้ ในขณะที่ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี เคยบอกว่ารัสเซียได้สั่งซื่อโดรน "ชาเฮด-136"จากอิหร่าน 2,400 ลำ

กองทัพยูเครนเปิดเผยว่าพวกเขาสามารถยิงโดรนเหล่านี้ตกจากอากาศได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาในคาร์คีฟ หลังจากนั้นก็มีรายงานว่ามีเหตุการณ์โจมตีด้วยโดรนพลีชีพเกิดมากขึ้นในยูเครน กองทัพยูเครนแถลงเมื่อวันที่ 12 ต.ค. ที่ผ่านมาว่า พวกเขาสามารถทำลายโดรนชาเฮด-136 ได้ 17 ลำในวันเดียวกัน ทั้งนี้ทางการยูเครนยังได้นำเสนอรูปถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ารัสเซียได้ปรับเปลี่ยนชื่อยี่ห้อโดรน "ชาเฮด"ให้กลายเป็นชื่อ "เจอราน" (Geran)

 

เรียบเรียงจาก
EU ministers to discuss potential Iran sanctions for lethal drone supply to Russia, The Times of Israel, 16-10-2022
France says Iranian drone sales to Russia would violate U.N. Security council resolution, National Post, 13-10-2022
Russia’s ‘kamikaze drones’ are the latest threat for Ukraine. Here’s what we know about them, CNN, 13-10-2022

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ก้าวไกลปทุมฯ'เสนอยุบรวม 'คูคต-ลำสามแก้ว' เป็น 'เทศบาลนคร'หวังแก้น้ำท่วมซ้ำซาก

$
0
0

ว่าที่ผู้สมัคร พรรคก้าวไกล จ.ปทุมธานี เสนอยุบรวม 'คูคต-ลำสามแก้ว' เป็น 'เทศบาลนคร'หวังแก้น้ำท่วมซ้ำซาก ชี้สภาพความเป็นเมืองที่ผู้คนหนาแน่น และลักษณะพื้นที่ซึ่งคล้ายๆ กัน การแยกบริหารอย่างที่เป็นอยู่นั้น ยิ่งเป็นปัญหา

16 ต.ค.2565 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายนงานต่อสื่อมวลชนว่า เชตวัน เตือประโคน ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล จ.ปทุมธานี เปิดเผยถึงการไปพบปะประชาชนในพื้นที่ พร้อมเสนอไอเดียแก้ปัญหา "น้ำท่วมซ้ำซาก"หน้าหมู่บ้านรินทร์ทอง ด้วยการ ยุบรวมเทศบาลเมืองคูคต กับเทศบาลเมืองลำสามแก้ว ซึ่งอยู่ใน ต.คูคต เป็น "เทศบาลนคร"เพียงเทศบาลเดียว ชี้เมื่อกระจายอำนาจเต็มสูบ ผู้บริหารท้องถิ่นไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้อีกต่อไป

เชตวัน เปิดเผยว่า มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดต่อมาขอร่วมเดินในพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหาและนำเสนอรายงาน สุดท้ายลงตัวกันที่หมู่บ้านรินทร์ทอง ต.คูคต อ.ลำลูกกา เพื่อไปดูปัญหาและคุยกับพี่น้องประชาชนเรื่องน้ำท่วม เพราะถนนหน้าหมู่บ้านรินทร์ทอง ฝนตกหนักทีไรน้ำท่วมทุกที โดยผู้ประกอบการสะท้อนว่า อยู่มา 30 กว่าปีแล้ว ไม่เคยมีการแก้ไข พร้อมทั้งย้อนถามตนว่าถ้าได้เป็น ส.ส.แล้วจะแก้ได้หรือไม่ จึงได้อธิบายเรื่องของอำนาจหน้าที่ อย่างในกรณีนี้ ถ้าเป็น ส.ส.ใช้อำนาจนิติบัญญัติ สิ่งที่ตั้งใจจะทำก็คือ การผลักดันให้เกิดการยุบรวมเทศบาล จากที่ปัจจุบันนี้ ต.คูคต แบ่งเป็น 2 เทศบาลคือ เทศบาลเมืองคูคต กับเทศบาลเมืองลำสามแก้ว ตนมีแนวคิดยุบรวมให้เป็นเทศบาลนครเพียงเทศบาลเดียว เพราะประชากรรวมประมาณ 110,000 คน สภาพความเป็นเมืองที่ผู้คนหนาแน่น และลักษณะพื้นที่ซึ่งคล้ายๆ กัน การแยกบริหารอย่างที่เป็นอยู่นั้น ยิ่งเป็นปัญหา

"หลายคนอาจจะถามว่า แล้วเกี่ยวอะไรกับน้ำท่วมหมู่บ้านรินทร์ทอง คำตอบคือ เพราะถนนหน้าหมู่บ้านรินทร์ทองนั้น เป็นรอยต่อระหว่างทั้ง 2 เทศบาล ฟุตบาตฝั่งหนึ่งคือเทศบาลเมืองคูคต ขณะที่ฟุตบาตอีกฝั่งหนึ่งคือเทศบาลเมืองลำสามแก้ว แล้วเมื่อเทศบาลฝั่งหนึ่งพัฒนาพื้นที่ ยกถนนให้สูงกว่า น้ำก็ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำกว่า มันก็เลยทำให้อีกฝั่งท่วมเป็นประจำ ดังนั้น ถ้ายุบรวมกันเป็นเทศบาลนคร เทศบาลเดียว จะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ เพราะผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ที่มาพร้อมกับนโยบายกระจายอำนาจเต็มสูบอย่างที่ผมพูดเสมอๆ คือ มีภารกิจหน้าที่ชัดเจน มีงบประมาณ มีบุคคลากร จะปฏิเสธความรับผิดชอบเรื่องนี้ไม่ได้อีกแล้ว"เชตวัน กล่าว

เชตวัน ระบุด้วยว่า ตนมีแนวคิดแบบนี้ มีเจตจำนงที่มุ่งมั่นที่จะผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น เพราะมั่นใจว่าเป็นจินตนาการใหม่ๆ ที่จะมาแก้ปัญหาได้มากกว่าการปะ ผุ ขุด ลอก สูบน้ำเป็นครั้งๆ คราวๆ  นี่คือการทำสิ่งที่หลายคนบอกว่า "ความผิดปกติ"ชาชินแล้ว และมันก็เป็นอย่างนี้ ให้กลายเป็น "ความปกติ"เป็นไปได้ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า "การเมืองแห่งความเป็นไปได้"ที่เราพยายามพูดมาตลอด และก็ไม่ได้ห่วงหรอกว่า เมื่อพูดเรื่องนี้ไปแล้ว จะมีพรรคการเมืองไหน หรือผู้สมัครคนใดมาลอกเอานโยบายนี้ไปใช้ ไปพูดต่อ เพราะที่สุดแล้ว เราต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง ยิ่งมีหลายๆ คนเอาไปพูด เอาไปผลักดันให้เกิดขึ้น แล้วประโยชน์ตกกับประชาชน อย่างนี้จะหวงแนวคิด หวงนโยบายนี้ไว้ทำไม

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ศาลทหารพม่าสั่งจำคุก 3 ปี นักข่าวญี่ปุ่นละเมิด กม.เข้าเมือง หลังเจ้าตัวถูกจับระหว่างถ่ายสารคดีประท้วงต้าน รปห.

$
0
0

เมื่อ 13 ต.ค. 65 ศาลทหารพม่าสั่งจำคุก โทรุ คุโบตะ นักข่าวญี่ปุ่นวัย 26 ปี เป็นเวลา 3 ปี จากข้อหาละเมิด กม.เข้าเมือง หลังเจ้าตัวถูกจับกุมระหว่างถ่ายสารคดีประท้วงต้านรัฐประหารในนครย่างกุ้ง เมื่อ ก.ค.ที่ผ่านมา 

 

17 ต.ค. 2565 สื่ออิรวดีรายงานเมื่อ 13 ต.ค. 2565 อ้างรายงานจากเอเอฟพี เผยว่า นายโทรุ คุโบตะ นักข่าวสัญชาติญี่ปุ่นวัย 26 ปี ถูกศาลพม่าสั่งลงโทษจำคุกอีก 3 ปี ข้อหาละเมิดกฎหมายคนเข้าเมือง โดยเจ้าตัวถูกจับระหว่างถ่ายทำการประท้วงต่อต้านรัฐประหารในเมียนมา ทั้งนี้ ก่อนศาลมีคำพิพากษา คุโบตะถูกจำคุกในเรือนจำมาแล้ว เป็นเวลานานกว่า 7 สัปดาห์ 

โทรุ คุโบตะ (ซ้าย) นักข่าวชาวญี่ปุ่น (ที่มา: ทวิตเตอร์ โทรุ คุโบตะ)

เอเอฟพี ระบุว่า รายงานดังกล่าวได้รับการยืนยันจากสถานทูตญี่ปุ่น ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากทนายความของคุโบตะอีกที 

สำหรับการจับกุมคุโบตะนั้นเกิดขึ้นเมื่อ ก.ค.ที่ผ่านมา โดยเขาถูกจับใกล้กับการประท้วงของกลุ่มต่อต้านกองทัพพม่าในนครย่างกุ้ง พร้อมกับชาวพม่าอีก 2 ราย

ทั้งนี้ เมื่อ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา คุโบตะถูกศาลพม่าตัดสินจำคุกเป็นเวลา 7 ปี จากข้อหาละเมิดกฎหมายอาญาเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งรัฐ สันติภาพ และความสงบสุข และอีก 3 ปี จากข้อหาสนับสนุนผู้ต่อต้านกองทัพพม่า 

อย่างไรก็ตาม กองทัพพม่าเผยว่า โทษจำคุกทุกข้อหาของคุโบตะจะเริ่มนับโทษพร้อมกัน หมายความว่า คุโบตะ จะถูกจำคุกมากสุด 7 ปี

อิรวดี อ้างอิงข้อมูลจากทนายความของนักข่าวญี่ปุ่น เผยว่า คุโบตะ ยังคงมีสุขภาพที่ดีระหว่างฟังการพิจารณาคดีของศาลพม่า เมื่อ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้เมื่อ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา ทางสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ แห่งประเทศไทย หรือ FCCTโพสต์แถลงการณ์บนเฟซบุ๊ก ประณามกองทัพพม่า หลังศาลทหารสั่งจำคุกโดยมิชอบ ‘โทรุ คุโบตะ’ ผู้กำกับสารคดีชาวญี่ปุ่น และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักข่าวญี่ปุ่นรายดังกล่าวโดยทันที พร้อมกับนักข่าวพม่าที่ถูกจำคุกในเรือนจำ อย่างน้อย 40 ราย

แถลงการณ์ระบุว่า เมื่อ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา คุโบตะถูกศาลทหารพม่าสั่งจำคุกในเรือนจำ เป็นเวลา 7 ปี จากการละเมิดกฎหมายทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 3 ปีสำหรับละเมิดกฎหมายยุยงปลุกปั่น โดยไม่คำนึงข้อเท็จจริงที่ว่าผลงานสารคดีของคุโบตะ ยังไม่ได้รับการฉาย ดังนั้นจึงไม่สามารถยุยงปลุกปั่นใครได้ และที่แย่ยิ่งกว่านั้นเขาควรถูกปรับและส่งตัวกลับประเทศ เนื่องจากละเมิดกฎหมายเข้าเมือง

เช่นเดียวกับประเทศยูเครน และเกาหลีเหนือ พม่าจำเป็นต้องมีการรายงานข่าวที่ดีจากนักข่าวที่มีความรับผิดชอบ คุโบตะสมควรได้รับคำชื่นชมจากความพยายามของเขาที่ต้องการทำให้โลกสนใจสถานการณ์อันเลวร้ายในรัฐที่ล้มเหลว ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

แถลงการณ์ทิ้งท้ายว่า ความตั้งใจของคุโบตะคือการทำให้โลกตระหนักถึงสถานการณ์ที่แท้จริงในเมียนมามากขึ้น และนี่ไม่ใช่การก่ออาชญากรรม เขาควรได้รับการปล่อยตัวทันทีพร้อมกับนักข่าวพม่าอย่างน้อย 40 ราย ที่ตอนนี้กำลังถูกคุมขังจากทั้งหมด 116 คน ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า พวกเขาถูกคุมตัวเพียงเพราะว่าเขาทำงานของพวกเขาเท่านั้น ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึง เอจ่อ ช่างภาพชาวพม่า ซึ่งมีรายงานเมื่อ 30 ก.ค.ที่ผ่านมาว่าเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

ทั้งนี้ นับตั้งแต่กองทัพพม่าทำรัฐประหารเมื่อ 1 ก.พ. 2564 หน่วยงานความมั่นคงมีการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมจำนวนมากในการดำเนินคดีฝั่งตรงข้าม และกดปราบการประท้วงต่อต้าน

สำหรับข้อมูลประวัติของคุโบตะ จากกลุ่ม "ฟิล์มฟรีเวย์" (FilmFreeWay) ก่อนหน้านี้เขาเคยทำสารคดีเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ "โรฮีนจา" และ "ประเด็นผู้ลี้ภัยและกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมา"

ขณะที่เสรีภาพสื่อของพม่าหลังมีการทำรัฐประหาร ก็อยู่ในสภาพย่ำแย่ มีการจับกุมนักข่าว และช่างภาพหลายราย รวมถึงเพิกถอนใบอนุญาตกระจายเสียงและโทรทัศน์หลายสำนักข่าว

รายงานจากสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า หรือ AAPPเผยว่า นับตั้งแต่กองทัพพม่าทำรัฐประหารเมื่อ 1 ก.พ. 2564 จนถึงเมื่อ 14 ต.ค. 2565 มีผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารเสียชีวิตด้วยน้ำมือของฝ่ายความมั่นคงพม่าแล้ว อย่างน้อย 2,356 ราย และมีผู้ประท้วงถูกจับกุม อย่างน้อย 15,853 ราย ในจำนวนนี้ยังถูกคุมขังราว 12,655 ราย 

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai
Viewing all 51092 articles
Browse latest View live


<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>