Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

'สหภาพ-ธนาคารกรุงเทพ' เจรจาข้อเรียกร้องปี 2559 ครั้งที่ 1

$
0
0
22 ก.ค. 2559  สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ ได้แจ้งต่อสมาชิกสหภาพแรงงานและพนักงานธนาคารกรุงเทพ ว่าวันนี้ (22 ก.ค.) ทางสหภาพแรงงานและธนาคารกรุงเทพได้ทำการเจรจานัดแรก โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในกรอบการเจรจาข้อเรียกร้อง ซึ่งทางผู้แทนเจรจาของธนาคารได้รับข้อเรียกร้องประจำปี 2559 ของสหภาพแรงงานไปพิจารณาและปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องของธนาคารทุกฝ่ายก่อน โดยขอใช้เวลาสักระยะหนึ่ง และทั้งสองฝ่ายจะนัดเจรจาข้อเรียกร้องโดยยึดหลักแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในทุกวันพฤหัสบดีของสักดาห์ นัดครั้งต่อไปในวันที่ 18 ส.ค. 2559 จนกว่าจะได้ข้อยุติและทำข้อตกลงร่วมกันต่อไป
 
อย่างไรก็ตามทางสหภาพแรงงานระบุว่า สหภาพแรงงานเข้าใจถึงภาวการณ์เศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันนี้ที่มีความผันผวนไม่แน่นอน การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันสูงและเป็นไปอย่างเข้มข้น ซึ่งผลกำไรในการประกอบการของธนาคารอาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่ด้วยความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ เสียสละทุ่มเทของพนักงานลูกจ้างทุกคน ส่งผลให้ธนาคารกรุงเทพมีกำไรสุทธิในไตรมาสแรกปี 2559 เพิ่มขึ้น 636 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 ทั้งนี้คาดการณ์ว่าผลกำไรทั้งปี 2559 ของธนาคารจะต้องไม่น้อยกว่าปี 2558 อย่างแน่นอน
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พุทธะอิสระ ชี้ร่างรธน.ผ่านก็ช่าง ไม่ผ่านก็ได้ ขอคสช.ปฏิรูปให้เสร็จก่อนเลือกตั้งก็พอ

$
0
0

22 ก.ค. 2559 พุทธะอิสระ อดีตแกนนำ กปปส. โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)'  กล่าวถึงกรณีเครือข่ายพลเมืองผู้ห่วงใย เรียกร้องให้คสช.ตอบคำถาม ถึงการให้พื้นที่ของประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายได้แสดงออก ต่อร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอความชัดเจนหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะมีกระบวนการอย่างไรต่อไป

"ที่จริงฉันก็เห็นด้วยกับข้อกังวลที่กลุ่มเครือข่ายพลเมืองผู้ห่วงใยกังวล ถือเป็นความกังวลที่คนไทยรักชาติทุกคนต่างมีอยู่ด้วยกันทุกคน แต่ข้อห่วงใยกังวลที่พวกเรามีหาใช่กังวลว่าเมื่อไหร่จะมีประชาธิปไตย เมื่อไหร่จะเลือกตั้ง พวกเรากังวลว่า การปฏิรูปบ้านเมืองยังไม่เรียบร้อย หากปล่อยให้มีการเลือกตั้งในเร็ววันบ้านเมืองคงต้องวุ่นวายอีก พวกเรากังวลว่าจะเสียของอีก" พุทธะอิสระ ระบุ

พุทธะอิสระ ระบุด้วยว่า ทุกคนต่างกังวลและคิดตรงกันว่า อยากให้คสช.อยู่ต่อ เพื่อทำการสะสางปัญหาและปฏิรูปบ้านเมืองให้สำเร็จในทุกมิติ จนกว่าทุกอย่างจะเรียบร้อย จึงเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข พร้อมระบุว่า 2 ปีกว่าที่ผ่านมา รัฐบาลคสช.ได้ทำให้พวกเราอุ่นใจ ปลอดภัย และไว้วางใจ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในยุคสมัยของพวกนักการเมืองมีอำนาจ
 
"รัฐธรรมนูญจะผ่านก็ช่าง ไม่ผ่านก็ได้ แต่ขอให้รัฐบาลคสช.อยู่ต่อเพื่อทำการปฏิรูปในทุกมิติอันเป็นภารกิจหลักที่ต้องวางรากฐานอนาคตของประเทศให้แก่คนในชาติจนสำเร็จแล้วจึงคืนอำนาจสู่ประชาชน แต่ถ้าหากจะต้องมีการเลือกตั้งจริงๆ ก็ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เพื่อสานต่อภารกิจที่คั่งค้างให้แล้วเสร็จ" พุทธะอิสระ ระบุ

 

ขอใช้สิทธิของคนไทยบ้าง
21 กรกฎาคม 2559

เห็นข่าวเครือข่ายพลเมืองผู้ห่วงใย 16 องค์กร ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ มีทั้งนักวิชาการ นักธุรกิจ นักการเมือง อาชีพอิสระ ร่วมลงชื่อจำนวน 117 รายชื่อ เพื่อเรียกร้องให้คสช.ตอบคำถาม

โดยพวกเขาอ้างว่ายังมีผู้สนับสนุนพวกเขาอีกมากที่มาสนับสนุนข้อเรียกร้องของพวกเขา เพื่อให้คสช.ตอบคำถามทั้ง 5 ข้อคือ

1. ให้เคารพในทุกสิทธิ์อันชอบธรรมของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่เห็นด้วยหรือไม่ต่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยต้องมีพื้นที่แสดงออกให้ทั้ง 2 ฝ่าย

2. ต้องมีการเสนอทางเลือกที่ชัดเจนให้กับประชาชนว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะมีกระบวนการอย่างไร จะร่างฯ ใหม่หรือไม่

3. กรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติควรมีกระบวนการอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากฉันทามติของประชาชน

4. หากหลักการตามข้อเรียกร้องที่ 1-3 เกิดขึ้นจริง ทุกฝ่ายควรยอมรับในผลของการทำประชามติ และร่วมกันส่งเสริมให้สังคมมีเสถียรภาพ และ

5. รัฐธรรมนูญที่ได้ ไม่ควรจะถดถอยในด้านสิทธิมนุษยชน และประชาชน ส่งเสริมการถ่วงดุลระหว่าง 3 อำนาจ บัญญัติเรื่องการปฏิรูป และร่างรัฐธรรมนูญไม่ควรจะแก้ไขให้ยากเกินไปเพื่อให้สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป รวมถึงต้องป้องกันความขัดแย้งที่นำมาสู่ความรุนแรงด้วย

ที่จริงฉันก็เห็นด้วยกับข้อกังวลที่กลุ่มเครือข่ายพลเมืองผู้ห่วงใยกังวล ถือเป็นความกังวลที่คนไทยรักชาติทุกคนต่างมีอยู่ด้วยกันทุกคน

แต่ข้อห่วงใยกังวลที่พวกเรามีหาใช่กังวลว่าเมื่อไหร่จะมีประชาธิปไตย เมื่อไหร่จะเลือกตั้ง

พวกเรากังวลว่า การปฏิรูปบ้านเมืองยังไม่เรียบร้อย หากปล่อยให้มีการเลือกตั้งในเร็ววันบ้านเมืองคงต้องวุ่นวายอีก

พวกเรากังวลว่าจะเสียของอีก

พวกเรากังวลว่า วังวนแห่งการกินรวบประเทศไทยจะย้อนกลับมาอีกรอบหนึ่ง

พวกเรากังวลว่า หากไม่มีรัฐบาลคสช.แล้ว การแก้ปัญหาของบ้านเมืองจะไม่เดินหน้า

มองผิวเผินที่กลุ่มเครือข่ายพลเมืองผู้ห่วงใย คือการหวังดีต่อบ้านเมือง

แต่หากจะมองอีกมุมหนึ่งก็คือบีบให้คสช.รีบๆ คืนอำนาจ พวกเขาจะได้รีบๆ เลือกตั้ง

ช่างน่าเห็นใจคสช.ยิ่งนัก สู้อุตส่าห์ทุ่มเททำงานรับใช้ประชาชน แก้ปัญหาบ้านเมืองด้วยความจริงใจ สุจริตใจ แต่ต้องมาเจอคนไม่เห็นคุณค่า จ้องที่จะบ่อนทำลายการทำงานของคสช. ทั้งที่งานนั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองและคนทั้งประเทศ

ก็ถือว่าเป็นสิทธิของทุกคนที่จะแสดงความคิดเห็นได้

และในฐานะของพญาราชสีห์แห่งเวทีแจ้งวัฒนะ ผู้มีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง รวมทั้งพี่น้องประชาชนผู้มีหัวใจรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ทุกคนก็มีสิทธิจะคิด มีสิทธิจะห่วงใยกังวลต่อสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานี้เหมือนกัน

ทุกคนต่างกังวลและคิดตรงกันว่า อยากให้คสช.อยู่ต่อ
เพื่อทำการสะสางปัญหาและปฏิรูปบ้านเมืองให้สำเร็จในทุกมิติ จนกว่าทุกอย่างจะเรียบร้อย จึงเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

ที่พวกเราต้องการให้คสช.อยู่ต่อจนกว่าจะปฏิรูปสำเร็จ เพราะพวกเราไม่เชื่อใจนักการเมือง

เหมือนที่พวกเราไม่เชื่อว่านักการเมืองจะไม่โกงไม่กินงบประมาณที่พวกตนมีอำนาจอนุมัติ

พวกเราไม่เชื่อว่านักการเมือง จะสามารถทวงคืนผืนป่าที่ถูกบุกรุกได้สำเร็จ

พวกเราไม่เชื่อว่าพวกนักการเมือง กล้าออกกฎหมายเก็บภาษีมรดกได้
พวกเราไม่เชื่อว่านักการเมือง จะแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายได้

พวกเราไม่เชื่อว่านักการเมือง จะแก้ปัญหาการบินพลเรือนที่เรื้อรังมานานจนต่างประเทศเขาตั้งข้อรังเกียจได้

พวกเราไม่เคยเชื่อว่านักการเมือง จะสามารถจัดโซนนิ่งเกษตรกรได้

พวกเราไม่เชื่อว่าพวกนักการเมือง จะทำให้บ้านเมืองนี้สงบสุขได้

พวกเราไม่เชื่อว่าพวกนักการเมืองและพรรคการเมือง จะทำให้สถาบันปลอดภัยได้

พวกเราไม่เชื่อว่าพวกนักการเมือง จะสามารถปราบปรามการโกงกินทุจริตคอรัปชั่นได้

พวกเราไม่เชื่อว่าพวกนักการเมืองและพรรคการเมือง จะปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จ

พวกเราไม่เชื่อว่าพวกนักการเมือง จะสามารถปราบธุรกิจสีเทาที่แพร่ขยายไปทุกหย่อมหญ้า

พวกเราไม่เคยเชื่อว่าพวกนักการเมือง จะสามารถปฏิรูปบ้านเมืองในทุกมิติได้

พวกเราไม่เชื่อว่ากลุ่มทุนการเมือง จะไม่มากินรวบประเทศไทย

พวกเราไม่เคยเชื่อเลยว่า พรรคการเมืองและนักการเมืองจะกำจัดลัทธิกินรวบอาณาจักรและศาสนจักรได้

และพวกเราก็ไม่เคยเชื่อว่าพวกนักการเมือง จะบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่มีข้อยกเว้น

แต่ 2 ปีกว่าที่ผ่านมา รัฐบาลคสช.พิสูจน์ให้พวกเราได้เห็นถึงความจริงใจ ความตั้งใจ ความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่หมักหมมมานานด้วยน้ำมือของพวกนักการเมืองและข้าราชการกระทำไว้

2 ปีกว่าที่ผ่านมา รัฐบาลคสช.ได้ทำให้พวกเราอุ่นใจ ปลอดภัย และไว้วางใจ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในยุคสมัยของพวกนักการเมืองมีอำนาจ

2 ปีกว่าที่ผ่านมาพวกเราเชื่อว่ารัฐบาลคสช.เขาตั้งใจที่จะทำเพื่อบ้านเมืองและอนาคตของลูกไทยหลานไทยอย่างแท้จริง

เช่นนั้นรัฐธรรมนูญจะผ่านก็ช่าง ไม่ผ่านก็ได้

แต่ขอให้รัฐบาลคสช.อยู่ต่อเพื่อทำการปฏิรูปในทุกมิติอันเป็นภารกิจหลักที่ต้องวางรากฐานอนาคตของประเทศให้แก่คนในชาติจนสำเร็จแล้วจึงคืนอำนาจสู่ประชาชน

แต่ถ้าหากจะต้องมีการเลือกตั้งจริงๆ ก็ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เพื่อสานต่อภารกิจที่คั่งค้างให้แล้วเสร็จ

อำนาจของประชาชนอยู่ในมือของนักการเมืองมา 83 ปีแล้ว แต่ก็มิได้ทำให้ประชาชนอุ่นใจ ปลอดภัย มั่นคงได้เท่ากับรัฐบาลคสช.ที่อยู่มาแค่ 2 ปีกว่าเลย

พวกเราจึงใคร่ขอร้องพวกกระหายประชาธิปไตยอยากเลือกตั้งทั้งหลายว่า

ขอเวลาให้รัฐบาลคสช.เขาได้ทำหน้าที่ของลูกไทยหลานไทย ผู้มีหัวใจกตัญญูต่อแผ่นดินเกิดไปก่อนจนกว่าจะปฏิรูปสำเร็จเถิด

หรือไม่ก็ให้คุณประยุทธ์กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้งเพื่อทำการปฏิรูปให้แล้วเสร็จ

ไม่เช่นนั้นการเสียสละชีวิตเลือดเนื้อของพี่น้องที่เจ็บที่ตายอยู่บนถนนจะสูญเปล่า

พวกเราเบื่อและเหนื่อยกับการต้องออกไปสู้บนถนนอีกแล้ว
พุทธะอิสระจึงขอเรียกร้องให้คนไทยทุกหมู่เหล่าออกไปใช้สิทธิลงคะแนน

รับหรือไม่รับร่างตามแต่จะเห็นสมควรโดยไม่ให้ใครมาชี้นำ

พุทธะอิสระ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอง ผบ.ทบ. แฮปปี้ ชี้ ปชช.เริ่มตื่นตัวเตรียมไปลงประชามติ

$
0
0

22 ก.ค.2559 พล.อ.วลิต โรจนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีเกิดเหตุการณ์มีผู้ฉีกบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องติดตามดูแลตามหน้าที่และตามนโยบายที่ได้รับมอบหมาย ตนไม่ได้มีความเป็นห่วงแต่อย่างใด

ส่วนการที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการให้ทุกจังหวัดเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นร่างรัฐธรรมนูญทุกพื้นที่ พล.อ.วลิต กล่าวว่า ขอให้ไปสอบถามจาก พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาฯ คสช.โดยตรงว่า คสช.จะให้การสนับสนุนอย่างไร

“อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเป็นเรื่องดีที่ประชาชนเริ่มมีความตื่นตัวในการเตรียมออกไปใช้สิทธิลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้นในช่วงใกล้วันลงประชามติ 7 สิงหาคมนี้ เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตนเอง” พล.อ.วลิต กล่าว
 

ปธ.กกต. ชี้ ฉีก-เผาบัญชีชื่อผู้มีสิทธิไม่ทำให้ประชามติล่ม

ศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไทย  ถึงกรณีฉีก และเผาทำลายบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียง ว่า กกต.ได้รับรายงานมีการ ฉีก เผาทำลายบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงใน 8 จังหวัด คือ ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์   กำแพงเพชร กาญจนบุรี  สตูล สุพรรณบุรี  และ กทม. ซึ่งในแต่ละจังหวัดได้มีการแจ้งความดำเนินคดีไว้แล้ว ถือว่าเล็กน้อย ถ้าเทียบกับหน่วยเลือกตั้งที่มีเกือบแสนหน่วย

ศุภชัย กล่าวว่า ใน กทม. จับกุมตัวผู้ต้องสงสัยไว้แล้ว ส่วนพื้นที่ จ.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากวัยรุ่นคึกคะนอง หรือการเมืองท้องถิ่น เนื่องจากในท้องถิ่นดังกล่าวมีความขัดแย้งมายาวนาน การเผาบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิหรือทำลาย ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็เคยเกิดขึ้น และมากกว่าครั้งนี้ บางทีหัวคะแนนไปดึงเอาบัญชีจากที่ติดประกาศไว้ เพื่อนำดำเนินการบางอย่าง

ศุภชัย กล่าวว่า ได้กำชับให้เร่งกวดขัน และกำชับเครือข่ายพลเมืองอาสาของเรา ให้ช่วยกันสอดส่องดูแล ถ้าพบเหตุให้รีบแจ้ง รวมถึง สามารถใช้แอพพลิเคชั่นตาสับปะรดแจ้งเข้ามาได้ การกระทำดังกล่าวถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย ถ้าตีความว่าก่อความวุ่นวาย จะเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ มาตรา 61(1) มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ถ้ามีจำนวน 5 คนขึ้นไป ความผิดจะเพิ่มมากขึ้น คือจำคุกไม่เกิน 10 ปี   ปรับไม่เกิน 20,000 ถึง 200,000 บาท เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี นอกจากนี้ ยังอาจเข้าข่ายความผิดมาตรา 57 ฐานขัดขวางการลงประชามติ

“การกระทำดังกล่าวอาจเป็นคึกคะนอง รู้เท่าไม่ถึงการณ์  ลัทธิเอาอย่าง มันไม่มีประโยชน์ การฉีกบัญชีดังกล่าว เราสามารถไปก็ติดใหม่ได้  เรามีสำรองไว้ แต่ท่านทำผิดติดคุก   อย่าไปทำเลย และคิดว่าไม่บานปลายจนทำให้ทำการทำประชามติต้องล้มเลิกไป” ศุภชัย กล่าว

เมื่อถามถึง กรณีมีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเกินในบ้าน วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี  นายศุภชัย กล่าวว่า ถ้ามีรายชื่อเกิน สามารถไปแจ้งให้เพิกถอนออกจากบัญชีได้เห็น  และขณะนี้มีที่บ้านนายวีรพงษ์คนเดียวเท่านั้น

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกาสั่งจำคุก 27 ปีครึ่ง ‘เอนก สิงขุนทด’ จำเลยตาบอดหลังได้ใช้ชีวิตนอกคุกปีกว่า

$
0
0


ญาติของเอนกเดินทางมาจากต่างจังหวัด พากันร่ำไห้หลังทราบผลคำพิพากษาศาลฎีกา

22 ก.ค.2559 ที่ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำที่ อ.2930/2553 หมายเลขแดงที่ อ.1876/2555   ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีพิเศษ 1 สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้อง นายเอนก สิงขุนทด จำเลยวัย 33 ปี โดยพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจำคุก 5 ปี เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษเหลือ 25 ปี แต่เมื่อรวมโทษจำคุกในทุกกรรมแล้ว รวมโทษจำคุก 27 ปี 6 เดือน และปรับ 50 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลฎีกาให้เหตุผลในการแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า แม้เหตุดังกล่าวจะก่อความเสียหายไม่มากและไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ก็นับเป็นความผิดร้ายแรงที่มีโทษสูงสุดถึงจำคุกตลอดชีวิตและกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ศาลเห็นควรให้ลงโทษสถานหนักเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่นๆ จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

ภายหลังฟังคำพิพากษาและออกมาภายนอกห้องพิจารณา เอนกก้มลงกราบเท้าป้าวัย 73 ปี และอาวัย 68 ปีที่มาจากต่างจังหวัดเพื่อมาร่วมรับฟังผลคดี ขณะที่ญาติทั้งหมดพากันร้องไห้
เขากล่าวว่า ไม่คาดคิดมาก่อนว่าผลคำพิพากษาจะลงโทษสูงถึงเพียงนี้ และยังแอบหวังว่าศาลฏีกาจะพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ส่วนสิ่งที่เขากังวลมากที่สุดคือ สภาพของตาข้างขวาที่ปัจจุบันมองเห็นราว 30% แต่ยังไม่สามารถอ่านหนังสือได้นั้นจะแย่ลงจนบอดสนิท เนื่องจากสภาพสุขอนามัยในเรือนจำอาจไม่ดีนักและการพบหมออาจไม่สะดวกเท่ากับตอนอยู่ภายนอก

อ่านสัมภาษณ์พิเศษ เอนก สิงขุนทด หลังออกจากเรือนจำก่อนหน้านี้

เหตุการณ์ในคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ 22 มิ.ย.2553 โดยเอนกได้รับบาดเจ็บสาหัส สูญเสียดวงตาข้างซ้ายขณะที่ข้างขวาเกือบบอดสนิท หลังจากเข็นรถเงาะซึ่งมีระเบิดซุกซ่อนอยู่ไปวางไว้ข้างกำแพงพรรคภูมิใจไทยแล้วรถเกิดระเบิดขณะที่เขายังอยู่ที่รถ (อ่านข่าวที่นี่) เอนกรับสารภาพว่าเขาถูกจ้างวานให้เข็นรถเงาะดังกล่าวจริง หลังรักษาตัวจนพ้นขีดอันตรายเขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อ 24 เม.ย.2555 ตัดสินจำคุก 35 ปีปรับ 50 บาท (อ่านที่นี่) ต่อมาวันที่ 9 เม.ย.2556 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 5 ปี (อ่านที่นี่) เอนกถูกควบคุมตัวจนครบ 5 ปีและเพิ่งได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 เขากลับไปอยู่บ้านญาติที่โคราชซึ่งมีอาชีพรับจ้างในภาคการเกษตร โดยที่ตัวเขาไม่สามารถประกอบอาชีพใดๆ ได้เนื่องจากตาบอด จึงรับหน้าที่ดูแลปู่และย่าซึ่งอายุมากช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จนต่อมาราวเดือนมิถุนายนได้รับจดหมายจากศาลให้มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาจึงเดินทางจากนครราชสีมามายังศาลอาญาในวันนี้

เขาถูกฟ้องว่าร่วมกับพวกทำระเบิดเพื่อให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินและสถานที่ประชุม ซึ่งมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221 222 ประกอบมาตรา 218 371 และ 83  พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 2 กระทงๆ ละ 10 ปี ฐานมีระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และปรับ 100 บาท ฐานพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ และให้จำคุกตลอดชีวิตฐานทำระเบิดให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินฯ และสถานที่ประชุม ซึ่งเป็นโทษหนักสุดตามมาตรา 222 และ 218 จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ เห็นควรลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ให้จำคุกรวมทั้งสิ้น 35 ปี และปรับ 50 บาท

ขณะที่เว็บไซต์ไทยรัฐรายงานว่า สำหรับจำเลยร่วมในคดีนี้อีก 5 คน คือ นายเดชพล พุทธจง, นายกำพล คำคง, นายกอบชัย หรือ อ้าย บุญปลอด, นางวริศรียา หรือ อ้อ บุญสม และนายสุริยา หรือ อ้วน ภูมิวงษ์ กลุ่มที่ว่าจ้างนายเอนก นั้นแยกพิจารณาสำนวนเป็นคดีหมายเลขดำ อ.1007/2556 ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธสู้คดี คดีอยู่ระหว่างฎีกา โดยศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1-3 คนละ 6 ปี 8 เดือน และปรับ 66.666 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 จำคุก 3 ปี 4 เดือน และให้ยกฟ้อง นางวริศรียา หรือ อ้อ จำเลยที่ 4 จากนั้นศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ก.ย.2558 แก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลยที่ 1-3 คนละ 4 ปี ปรับ 66.66 ส่วนนางวริศรียา จำเลยที่ 4 ที่ถูกยกฟ้องนั้นให้จำคุก 4 ปีและปรับ 66.66 จำเลยที่ 5 ให้จำคุก 2 ปี 8 เดือน แต่ปัจจุบัน จำเลยที่ 5 ถูกออกหมายจับ และสั่งปรับนายประกัน 500,000 บาท เพราะไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษา เชื่อว่ามีพฤติการณ์หลบหนี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับชีพจร (ไม่) ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ?

$
0
0
 
นิยาม“ค่าจ้างขั้นต่ำ” ที่สวนทางของฝ่ายรัฐกับฝ่ายแรงงาน
 
อัตราค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 มีความเหมายว่า
 
“ค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดโดยศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม” โดยคณะกรรมการค่าจ้างมีแนวคิดว่า
 
“อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ”เป็นอัตราที่เพียงพอสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ (แรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือ) 1 คน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก้สภาพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น
 
แรงงานไร้ฝีมือ หรือ แรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือหมายถึง แรงงานที่มีวุฒิการศึกษาไม่เกินชั้น ม.6ทั้งที่เพิ่งจบการศึกษา หรือจบมาหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยทำงานหรือเคยทำงานมาแล้วรวมระยะเวลาทำงานเก่ากับงานใหม่ที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่เกิน 1 ปี
 
ในช่วงเมษายน ถึงวันกรรมกรสากลปี 2559 มีข้อเสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ 4 แนวคือ
 
(1) ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ (ไม่เสนอตัวเลข?) พร้อมทั้งควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค (คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี2559)
 
(2) ปรับขึ้นเป็นวันละ360 บาทเท่ากันทั้งประเทศและยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ครอบคลุมแรงงานทุกส่วน กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำ หมายถึง ค่าจ้างแรกเข้าทำงานที่มีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คนตามหลักการองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) (คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์)
 
(3) ปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 421 บาทต่อวันเท่ากันทั้งประเทศเพราะค่าจ้างที่เป็นธรรม ต้องเพียงพอต่อค่าครองชีพและเลี้ยงดูสมาชิกครอบครัวได้รวม 3  คน ยื่นต่อประธานอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดปทุมธานี(กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง)
 
●ขณะที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เสนอว่าควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ย 5-7 เปอร์เซ็นต์ หรือ 15-21 บาท/วัน
 
กล่าวได้ว่า  ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน-เท่ากันทั้งประเทศเกิดขึ้นจากนโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย ที่เสนอต่อประชาชน เพื่อแข่งขันกับพรรคอื่นท่ามกลางสถานการณ์เลือกตั้ง และมีเสียงคัดค้านของสถาบันวิชาการ (บางแห่ง) และกลุ่มนักธุรกิจ/นายจ้างโดยถ้วนหน้า เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่ส่งผลให้ได้คะแนนเสียงจำนวนมากกระทั่งจัดตั้งรัฐบาลได้
 
ค่าจ้างขั้นต่ำ 300/วัน เท่ากันทั่วไทย ถูกแช่แข็งมาอย่างน้อย 4 ปี (1 มกราคม 2556-31 ธันวาคม 2559) ถือเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่บังคับใช้ยาวนานยึดเยื้อที่สุดภายใต้ระบอบรัฐบาลรัฐประหารที่เผชิญหน้ากับมิติทางสังคม+มาตรฐานสิทธิมนุษยชนกับมาตรฐานการค้าและการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์และการบังคับใช้ในอุตสาหกรรมประมง แปรรูปสัตว์น้ำและภาคเกษตรกรรมที่ถูกตรวจสอบจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศประชาคมยุโรป (EU) อย่างเข้มข้น ภายใต้การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ ชลอตัวติดลบทั้งภาวะส่งออกและนำเข้า ทั้งภาคการบริโภค และการลงทุนของเอกชน ทำให้มีฝ่ายรัฐ กลุ่มทุนและคณะกรรมการค่าจ้างมีความชอบธรรมในการเลื่อนเวลาพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไปเรื่อยๆ
 
ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ว่าจะปรับขึ้นเท่าไร เมื่อไร และจะปรับขึ้นบางจังหวัดหรือทั้งประเทศหรือไม?ไม่ใช่นโยบายสำคัญในโครงสร้างรัฐบาลอำนาจนิยมปัจจุบัน เพราะมีความชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรีเคยแสดงความคิดเมื่อปีก่อนว่า “ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทที่ได้รับก็สูงอยู่แล้ว ถ้าขึ้นค่าจ้างอีก แรงงานต่างด้าวจะเข้ามาทำงานมากขึ้น”เป็นการส่งสัญญาณแก่คณะกรรมการไตรภาคีและกระทรวงแรงงานว่า อย่าพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ และมีแนวโน้มว่า จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในบางจังหวัดบริเวณกทม.และปริมณฑล โดยอ้างถึงมติคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดส่วนใหญ่ไม่เสนอขึ้นค่าจ้าง และผลการสำรวจค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง ได้ทำการสำรวจ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการกำหนดอัตราค่าจ้างรายจังหวัดร่วมกับองค์ประกอบอื่น เช่น ผลการสำรวจปี 2558 พบว่าแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือมีค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 312.25 บาท ถ้ารวมค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน รายได้อื่น ทำให้มีรายได้รวมเฉลี่ยวันละ 361.93 บาท (บทสรุปสำหรับผู้บริหาร รายงานผลสำรวจค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือในภาคอุตสาหกรรม พ.ศ.2558,น.7)
 
ถ้าพิจารณาบทเรียนประวัติการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่ผ่านๆมาสรุปได้ว่า
 
(1) ค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด?ไม่ใช่เหตุผลเรื่องภาวะเศรษฐกิจของประเทศและภาวะค่าครองชีพของคนงานเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดุลอำนาจ และความเป็นปึกแผ่นเข้มแข็งในการต่อรองของขบวนการแรงงานด้วย เท่าที่สำรวจอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ผ่านมาพบว่าในช่วงของระบอบรัฐประหาร 6 ตุลาคมเป็นต้นมาค่าจ้างขั้นต่ำถูกแช่แข็งถึง 32 เดือน (16 มกราคม 2518-30 กันยายน 2520) ต่อมาภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่หรือต้มยำกุ้ง ค่าจ้างขั้นต่ำก็ถูกแช่แข็งอีกถึง 3 ปี หรือ 36 เดือน 1 มกราคม 2541-31ธันวาคม 2543)
 
(2) ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจำนวนมาก และเท่ากันทั้งประเทศ ภายใต้บรรยากาศบริหารเศรษฐกิจการลงทุนและการปกครองโดยรัฐประหาร คสช.
 
(3) ภายใต้ทัศนอคติของนายกรัฐมนตรี และความสัมพันธ์กับกลุ่มทุนใหญ่ในเครือข่ายกรรมกรโครงการประชารัฐทั้งหลาย ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่คณะกรรมการไตรภาคีจะกล้าปรับค่าจ้างขั้นต่ำมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อวันและเท่ากันทั้งประเทศ (ก่อนปี2556ค่าจ้างขั้นต่ำไม่เคยปรับเกิน 10 % ยกเว้นกทม.และปริมณฑลที่ได้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำกว่า 30 % เป็น 300 บาทเมื่อ 1 เมษายน 2555 ตามนโยบายรัฐบาล)
 
(4) ยุค คสช.เป็นครั้งแรกที่มีนายทหารเกษียณเข้ามารับตำแหน่งรมว.แรงงานอย่างต่อเนื่องแล้ว 2 คน ซึ่งนายทหารเหล่านี้ย่อมมีทัศนคติเชิงลบต่อการเคลื่อนไหวเรียกร้องของเหล่าองค์กรแรงงาน เพราะต้องการความสงบสงัดราบรื่นของสถานการณ์แรงงานที่เอื้อต่อบรรยากาศของการลงทุน และความเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมั่นคงยั่งยืนมากกว่าการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานและครอบครัวอย่างมั่นคง
 
บทเรียนในสังคมประชาธิปไตยทั่วไปภาวะที่ค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับขึ้นได้สูงหรือไม่? ย่อมเป็นไปได้ภายใต้สถานการณ์การเมืองปกติที่มีพรรคการเมืองต้องแสดงนโยบายหาเสียงระยะฤดูการเลือกตั้ง-ขัดแย้ง-ยุบสภาและเลือกตั้งใหม่อีก
 
ในสถานการณ์ไม่ปกติอย่างยิ่งในปัจจุบันและคงยืดเยื้อจนถึงสิ้นปีหน้า ขบวนแรงงานลูกจ้างคงไม่อาจผนึกประสานพลังการต่อรองขับเคลื่อนให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้มากขึ้น เร็วขึ้น และเท่ากันทั่วประเทศได้แน่นอน?
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจนับถอยหลัง 15 วันก่อนลงประชามติ

$
0
0
กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจนับถอยหลัง 15 วันก่อนลงประชามติ ระบุร้อยละ 44.7 ระบุว่า “เห็นชอบ” เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งที่ผ่านมาร้อยละ 3.1 ขณะที่ร้อยละ 9.8 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ” (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6) ส่วนร้อยละ 12.2 ระบุว่า “งดออกเสียง” (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6) และมีถึงร้อยละ 33.3 ระบุว่า “ไม่แน่ใจ”

 
23 ก.ค. 2559 อีก 15 วันจะถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ นับถอยหลัง 15 วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,581 คน พบว่า 
 
เมื่อถามประชาชนว่าหากมีการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 28.3 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนที่เหลือร้อยละ 14.4 ไม่แน่ใจ
 
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าการที่แกนนำจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.6 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 17.6 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนร้อยละ 15.8 ไม่แน่ใจ
 
สำหรับความตั้งใจจะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59 ที่จะถึงนี้นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.8 ตั้งใจว่าจะไป เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ร้อยละ 2.1 ขณะที่ร้อยละ 7.1 ตั้งใจว่าจะไม่ไป  (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5) และร้อยละ 7.1 ยังไม่แน่ใจ (ลดลงร้อยละ 3.6)
 
สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.7 ระบุว่า “เห็นชอบ” เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งที่ผ่านมาร้อยละ 3.1 ขณะที่ร้อยละ 9.8 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ” (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6) ส่วนร้อยละ 12.2 ระบุว่า “งดออกเสียง” (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6) และมีถึงร้อยละ 33.3 ระบุว่า “ไม่แน่ใจ”
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อันวาร์และสหายร่วมชะตากรรม 1

$
0
0

ณ เรือนจำปัตตานี มีผู้คนไปใช้บริการเยอะมาก ทุกคนล้วนเป็นห่วงญาติพี่น้องบุคคลซึ่งเป็นที่รักของตัวเอง หลังจากวันหยุดยาวสุดแสนจะทรมาน นับวันเกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 15-20 กรกฎาคม 2016 ใครจะเป็นตายร้ายดีบาดเจ็บยังไงไม่อาจล่วงรู้ข้อเท็จจริงได้ ญาติพี่น้องปลอดภัยหรือถูกย้ายไปหรือไม่ บางคนรู้บางคนไม่รู้ และเป็นวันที่ทุกคนรอคอยรับรู้ด้วยตัวเอง เรื่องนี้คนในเรือนจำย่อมเล่าเรื่องได้ดีกว่าคนนอกเรือนจำแน่นอน .. 

7 วัน หลังเกิดเหตุจลาจลปัตตานี ตรงกับวันพฤหัส ที่ 21 กรกฎาคม ถือเป็นวันแรกที่เรือนจำได้เปิดทำการเยี่ยมเยียน ในขณะที่ฉันและครอบครัวอันวาร์ ตั้งหน้าตั้งตารอที่จะได้พบกับอันวาร์เพื่อนที่น่ารักของทุกคน พี่ชายของอันวาร์ได้แว้นล่วงหน้าไปก่อนเพื่อเข้าคิวและนำบัตรประชาชนไปแจ้งขอเข้าเยี่ยมก่อน ฉันกับแม่อันวาร์นั่งรถเมล์ตามหลังไป พี่ชายโทรมาบอกได้คิว 140 กว่าๆ เท่ากับได้เยี่ยมในรอบที่ 8 แต่ละรอบเยี่ยมได้ 15-19 คน  เรายังพอมีเวลาที่ไม่ต้องเร่งรีบมากนัก ระหว่างรอเจออันวาร์เรามีเวลาทักทายญาติมิตรสหายร่วมชะตากรรม บางคนรอขึ้นรถที่เรือนจำบริการไปเยี่ยมญาติที่ถูกย้ายไปอยู่เรือนจำ 6 แห่ง

ทราบข้อมูลเบื้องต้นมีเรือนจำนาทวี 63 คน เรือนจำจังหวัดสงขลา 45 คน เรือนจำกลางสงขลา 158 คน เรือนจำทัณฑสถานบำบัดสงขลา 100 คน เรือนจำตรัง 45 คน และเรือนจำนครศรีธรรมราช 36 คน โดยที่ญาติสามารถมาเช็ครายชื่อที่เรือนจำปัตตานีได้  โดยเจ้าหน้าที่ผู้คุมเรือนจำได้อำนวยความสะดวกส่งคนขึ้นรถ และแนะนำความสะดวกต่างๆ  ในช่วงเวลาประมาณ 10.00 น. รถบริการได้เคลื่อนที่เดินทางเพราะต้องใช้เวลาเดินทางไปกลับ มีบริการเพียงเที่ยวนี้เที่ยวเดียวเท่านั้น ใครไม่ทันหรือไม่รู้อาจจะต้องติดตามกันไปเอง ..  

ระหว่างที่ฉันรอเข้าเยี่ยม มีญาติที่เข้าไปเยี่ยมก่อนได้ออกมาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นข้างใน บางคนร้องไห้ออกมา บางคนยิ้มดีใจ จนกระทั่งมีญาติพี่น้องคนหนึ่งเดินมาหาฉันและทักทายอย่างคุ้นเคย แต่หน้าตาไม่สู้ดีนัก แกจับมือและเล่าเรื่อง “ญาติก๊ะปลอดภัยดี แต่ 1 ใน 3 คนที่ตายนั่น มีโดนยิงคนหนึ่งน่ะ ไม่ได้ถูกแทงตายอย่างที่เป็นข่าว ญาติเล่าให้ฟังคนที่ตายอยู่ใกล้กับญาติมาก เห็นเหตุการณ์ ช่วงปราบจลาจลปิดไฟทั้งเรือนจำ มีประกาศให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าเรือนนอน หมอบลง คนที่อยู่เรือนนอนอยู่แล้วจะไม่ถูกจับกุม แต่มีหลายคนวิ่งเข้ามัสยิดเพราะคิดว่าปลอดภัยที่สุดแล้ว  "ประกาศพลางปราบพลางใครจะวิ่งขึ้นเรือนนอนทัน" ญาติบอก "ประกาศมาพร้อมสาดกระสุนใครจะกล้าไปไหนไกลล่ะ"  แต่ที่ไม่เข้าใจทำไมหน่วยปราบจลาจลต้องเล็งยิงมาทางเรือนนอน 4 ซึ่งเป็นที่พักของคดีความมั่นคงทั้งหมดอยู่รวมกันที่นั่น กระสุนจริงน่ะ ไม่ใช่กระสุนยางอย่างที่เป็นข่าว แล้วสาดรัวมานับร้อย เพื่ออะไร ??? แล้วคนที่ตายนั่นอยู่กับพวกเรา ชื่อนายสุอนันท์ ป้องเศร้า หรือชื่อมุสลิมว่า อาดือนัน บินซูรียา เขาถูกยิงขณะที่ทุกคนหมอบลงแต่สุอนันท์ยังอยู่ในท่านั่งไม่ทันหมอบ เสี้ยวนาทีกระสุนเจาะร่างตรงกลางหัวใจทันที ” ..

“สุอนันท์วิ่งมาหลบใต้อาคารเรือนนอน 4 เพราะไม่อยากมีส่วนเอี่ยวกับการก่อจลาจล” .. มาทราบภายหลังสุอนันท์ ป้องเศร้า โดนคดียาเสพติดติด อยู่เรือนนอนคดียาเสพติดที่อยู่ตรงข้ามเรือนนอน 4 แต่วันเกิดเหตุสุอนันท์ไปอยู่กับกลุ่มคดีความมั่นคงเพราะรู้สึกปลอดภัยกว่า แต่วันที่ถูกยิงเสียชีวิต ได้ล้มลงบนตักญาติตัวเอง ..

ฉันนิ่งอึ้งตกใจ จากการคลายกังวลดีใจที่อันวาร์สามีที่รักปลอดภัย แต่กลับทำให้ฉันรู้สึกกังวลอย่างบอกไม่ถูก นี่มันเกิดอะไรขึ้น เกี่ยวอะไรกับคดีความมั่นคง ช่วงปราบปรามเกี่ยวกับอะไรกับข่าวโคมลอยเรื่องอันวาร์หรือไม่ มันคืออะไร ???!!!??? “เด๊ะ!! สุอนันท์เป็นญาติก๊ะ ก๊ะรู้จักพ่อแม่เขา พ่อแม่เขาเอะใจตั้งแต่ไปรับศพที่โรงพยาบาลแล้ว รอยแผลไม่ได้ถูกแทงอย่างที่เข้าใจ แต่เป็นรอยช้ำเหมือนถูกยิง พ่อเขาเป็นนายทหาร น้องชายเขาเป็นตำรวจ เขาดูเป็นน่ะ” ...  

ฉันอยู่ไม่สุข แต่ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครดี ได้แต่รอเวลาเจออันวาร์  “เกือบ 10 โมงครึ่ง ที่ฉันได้เจออันวาร์ .. อันวาร์ยังสบายดีอยู่ ปลอดภัยดีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสตามประสา แม่พูดยาวไม่ได้ รู้สึกสะอึกตื้นตันดีใจปนเศร้า แม่เลยได้แค่ทักทายถามไถ่ทุกข์สุขและอวยพรให้อัลลอฮ์คุ้มครองลูกชายคนดี พี่ชายอันวาร์ก็เช่นกัน พูดได้ไม่มากเล่าเรื่องกระแสข่าวอันวาร์จากข้างนอกให้ฟัง และแซวตัวเองไปว่า พี่ชายผู้ก่อการร้ายมาเยี่ยมน้องครับ ตลกร้ายที่ดูขำแต่เจ็บลึก ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกนำมาหยอกล้อระหว่างเราเสมอ จากนั้นก็เป็นเวลาของภรรยาที่ได้คุยกันตามลำพัง ..  เรื่องราวพร่ำพรูเล่ากันไปมาปะติดปะต่อเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์  หลายสิ่งก็เป็นเหมือนที่เป็นข่าว แต่มีสิ่งที่หลายคนอยากรู้ จะลองเรียบเรียงคำถามที่สงสัยดูน่ะ 

จลาจลเกิดได้อย่างไรทั้งรอบแรกและรอบที่สอง ?  คำตอบเหมือนที่เป็นข่าวคือจากการก่อเหตุเริ่มจาก 2 คนนั่นจริง และอื่นๆ ไม่แน่ใจ 

รอบที่สองทำไมถึงลุกลามหนักยิ่งขึ้น ??  ครั้งแรกเจ้าหน้าที่ฟังข้อเรียกร้องผู้ต้องขังไม่หมด มีคำสั่งไม่ให้พูดต่อ บอกจะเอาแค่ 3 ข้อ ไม่ต้องพูดแล้ว อันวาร์ก็เลยเดินกลับเข้าไปละหมาดอีซาอ์(20.00 น.) กับอิหม่าม 2 คน คนอื่นละหมาดแล้ว ผู้ก่อจลาจลไม่พอใจ เผาสถานศึกษาทันที (ถ้าจำความไม่ผิด)  

ทำไมอันวาร์ถึงเป็นตัวแทนเจรจา ?  ผู้คุมขอช่วยเพราะถูกอ้างว่าพูดคุยรู้เรื่องที่สุดแล้ว  กระดาษข้อเรียกร้องมาได้อย่างไร ? มีคนส่งต่อๆ มาให้ อันวาร์เป็นเพียงตัวแทนอ่าน ไม่รู้ใครเป็นคนเขียน (แต่ข้างนอกมีเจ้าหน้าที่ต่างหากที่ช่วยจดประเด็น และถามว่าใครเป็นตัวแทนอ่านสารนั่น ผู้คุมช่วยตอบ อันวาร์ หะยีเต๊ะ น่าจะเป็นที่มาที่ทำให้โลกออนไลน์และสังคมอคติทำงานกันว่อนเน็ต) ..

ช่วงเจ้าหน้าที่เข้าปราบจลาจลรอบที่ 2 มีการปิดไฟ ระหว่างที่เข้าปราบมีชุดปราบฯ ถามหาคนชื่ออันวาร์ แต่อันวาร์เลือกที่จะไม่แสดงตัวเพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย สิ่งที่เป็นข้อกังขา ทำไมต้องเรียกหาชื่ออันวาร์ จะช่วยปกป้องให้ปลอดภัยหรือมีคำสั่งให้ปราบปรามเพราะชุดปราบฯ เชื่อข่าวโคมลอยนั่น(คิดต่างๆ นานาตามประสา)

..??? ..!!??!!.. ???

ระหว่างที่กำลังเยี่ยมพูดคุยกับอันวาร์อยู่ ฉันเห็นผู้ต้องขังที่ชื่อนายอุสมาน สาและ ที่ถูกแต่งตั้งเป็นตัวแทนผู้นำศาสนาในเรือนจำปัตตานีหรือเรียกว่าอิหม่าม ได้เดินผ่านม่านกระจกห้องขัง เดินตัวโก่ง อันวาร์หันมาบอกว่า อิหม่ามอุสมาน ปวดท้อง อ้วก ตาเหลือง ไม่สบายตั้งแต่หลังเกิดเหตุจลาจลและหนักขึ้นเรื่อยๆ จนทางเรือนจำนำตัวไปส่งโรงพยาบาล ทราบมาว่า ก่อนหน้านี้นายอุสมานก็มีอาการเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง .. 

.. .. 

ได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ผู้คุมขัง ที่ติดอยู่ในเรือนจำ 5 คนสุดท้าย เขายืนยันฟันธงชัดเจนว่า คดีความมั่นคงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับก่อเหตุจลาจล แถมเป็นผู้ช่วยให้เจ้าหน้าที่ฯ รอดพ้นจากเงื้อมมือก่อจลาจลนั่น ช่วยพูดคุยต่อรองคุ้มกันให้เจ้าหน้าออกจากเรือนจำอย่างปลอดภัย แต่ไม่เข้าใจข่าวที่แพร่สะพัดออกไปทำไมไปลงเรื่องความมั่นคงไปได้ .. 

ข้อสงสัย :- 

มีผู้ไม่หวังดีหรือเชื่อข่าวโคมลอยนั่น จะเล่นงานคดีความมั่นคงใช่มั้ย ?? 

ทำไมต้องสาดกระสุนจริงมาที่เรือนนอน 4 ซึ่งเป็นที่พักคดีความมั่นคง ??

ทำไมต้องมีสไนเปอร์ถึง 2 คน อยู่บนที่สูงนั่น จะรอเก็บใคร (นักข่าวให้ข้อมูลช่วงเกาะติดข่าววันเกิดเหตุ) ??

ทำไมข่าวโคมลอยพยายามยัดเยียดให้เป็นคดีความมั่นคง ??

หรือหากการก่อจลาจลเป็นเรื่องคดีความมั่นคง จะทำให้คนปฏิบัติหน้าที่มีความชอบธรรมในการปราบปรามหรือเปล่า ??

คนที่ถูกสั่งย้ายไปที่เรือนจำต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง ถูกทำร้ายหรือไม่ ถูกเล่นงานหนักรึเปล่า ??

เพราะโดยปกติจะทำการย้ายแต่ละคนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่นี่ถูกย้ายด้วยเหตุจลาจลอย่างเร่งด่วน ตามรายชื่อที่ติดไว้ที่บอร์ดเรือนจำปัตตานีมีจำนวนถึง  447 คน มากกว่าที่มีในข่าว ชะตากรรมของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง ระหว่างถูกขนย้ายจนถึงปลายทางจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง จะถูกซ้อมต้อนเหมือนเหตุการณ์ตากใบหรือเปล่า จะมีใครบาดเจ็บสาหัส หรือเป็นอะไรมากมั้ย ???  ไม่มีใครตอบได้ คงต้องรอติดตามจากญาติ ผู้ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเจอและฟังเรื่องราวด้วยตัวเองในโอกาสต่อไป ..   

..  .. ?? !! ?? .. คำถามพร่ำพรูกลับมาอีกครั้ง ?? !! ?? ..

เป็นห่วงสหายคดีความมั่นคง เป็นห่วงอันวาร์ที่สุดฮีโร่ของฉัน ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์อย่าได้เปิดโอกาสให้ผู้อธรรมเล่นงานคนดี ขอให้พลังศรัทธาดุอาอ์เป็นแรงต้านภัยร้ายทั้งปวง ขออัลลอฮ์คุ้มครองให้ทุกคนปลอดภัย ..  ..
สารจากอันวาร์  ..

อัซซาลามูอากุมฯ อันวาร์ฝากสลามถึงเพื่อนพี่น้องทุกคน วันนี้วันศุกร์ครบ 1 สัปดาห์เกิดเหตุจลาจลเรือนจำปัตตานี ฝากเพื่อนๆ พี่น้องทุกมัสยิดร่วมกันละหมาดฮาญัติและทำอัรวะฮ์ให้กับนายสุอนันท์ ป้องเศร้า หรือชื่อมุสลิมนายอาดือนัน บินซูรียา 1 ใน 3 มุสลิมคนเดียวที่ตายในเรือนจำปัตตานี และช่วยกันขอดุอาอ์พรให้พี่น้องในเรือนจำปัตตานีและพี่น้องที่ถูกย้ายไปให้ปลอดภัยด้วย ขอบคุณทุกคนที่มีเราในดุอาอ์เสมอ

รอมือละห์ แซเยะ 
ภรรยาอันวาร์ผู้บันทึกเรื่องราวหลังเหตุจลาจลเรือนจำปัตตานี
22 กรกฎาคม 2016  

0000

 

หมายเหตุุ: ก๊ะ หมายถึง พี่สาว ,เด๊ะ หมายถึง น้องสาวหรือน้องชาย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'โคทม' ยืนยันไม่รับร่าง รธน. ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

$
0
0
โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ยืนยันทางเลือกไม่รับร่าง รธน. ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว มั่นใจสังคมเดินหน้าต่อได้แน่ แนะควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ชี้คำถามพ่วงส่อเจตนากำกับใช้อำนาจต่อเนื่อง ด้าน กกต. 'สมชัย' เสียดาย กรธ.ไม่เข้าร่วมเวทีแจงร่าง รธน.

 
23 ก.ค. 2559 นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อย่ากลัว หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ  อย่าไปเชื่อคำขู่ที่ว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน เราจะได้ร่างหรือรัฐธรรมนูญที่โหดขึ้นอีก  และว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 จะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ถ้า คสช.ฟังเสียงประชาชน โดยมี 2 ทางเลือก คือ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ระยะเวลา 4 ปี ให้มีการเลือกตั้ง 1 สมัย อาจมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ใช้เวลาร่าง 2 ปี เพื่อมีเวลาคิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมร่างกติกาบ้านเมือง  เพราะเมื่อประชาชนรู้สึกเป็นฉันทามติเห็นพ้อง ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของ หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ ให้นำรัฐธรรมนูญถาวรฉบับที่ผ่านมาๆ ฉบับใด ฉบับหนึ่งมาแก้ไข ตามที่กลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใยได้ออกแถลงการณ์
 
“ผมคิดว่าทางเลือกไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่ทางเลือกที่น่าสะพรึงกลัว สังคมจะต้องเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน  ผมเห็นว่าบรรยากาศการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากนัก แต่ก็ยังโชคดีที่ขณะนี้เริ่มมีการเปิดพื้นที่มากขึ้น” นายโคทม กล่าว
 
นายโคทม กล่าวว่า บรรยากาศการร่างรัฐธรรมนูญขณะนี้ แตกต่างกับปี 2540 และ 2550 ที่เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้กำกับดูแลต่อเนื่อง คนมีอำนาจก็วางมือ และสามารถกำกับโดยใช้บารมี ไม่บังคับก็ได้ ขณะที่ การกำกับของร่างนี้ ที่นอกจากกำกับโดยกลวิธีของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ให้อำนาจหน้าที่ ส.ว.ในการกำกับกระบวนการปฏิรูปต่างๆ แล้ว ยังมีคำถามพ่วงที่อาจแสดงเจตนาว่าต้องการกำกับ ต้องการใช้อำนาจต่อเนื่องไป ทั้งนิติบัญญัติและบริหาร เพียงแต่ไม่ได้ใช้ 100% รวมถึงต้องการดูแลกระบวนการปฏิรูป ตามแนวทางที่ท่านเองคิดว่าดีที่สุดสำหรับประเทศไทย แต่ประชาชนอาจคิดต่างจากนี้ก็ได้
 
'สมชัย' เสียดาย กรธ.ไม่เข้าร่วมเวทีแจงร่าง รธน.
 
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้งกล่าวว่าได้รับการประสาน จากที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ประมาณ 17.00 น. วานนี้ (22  ก.ค.) ว่า กรธ.ไม่ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญทุกรายการ ไม่ว่าส่วนตัวหรือในฐานะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงได้ประสานไปยังไทยพีบีเอสให้ดำเนินการจัดให้มีรายการสาระประชามติได้เหมือนเดิมโดยขอให้เชิญ 2 ฝ่ายมาร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
 
“การที่ไม่มี กรธ.มาร่วม เป็นเรื่องน่าเสียดายเพราะการชี้แจงเนื้อหาจากฝ่ายเห็นด้วยอาจไม่ดีเท่า กรธ.แจงด้วยตัวเอง ส่วนผู้ร่วมรายการจะประกอบด้วยใครบ้าง ไทยพีบีเอสสามารถพิจารณาได้ด้วยตัวเอง   ไม่จำเป็นต้องนำข้อเสนอจากการกลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่ กรธ.และผมเห็นว่าไม่เหมาะสมอีกเนื่องจากถือว่าเมื่อ กรธ.ไม่มา ก็ไม่จำเป็นต้องให้ข้อสังเกตใด ๆ เกี่ยวกับผู้มาร่วมรายการให้เป็นวิจารณญานของไทยพีบีเอสแทน” นายสมชัย กล่าว
 
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้ กกต.จัดดีเบตทุกจังหวัดนั้นนายสมชัย กล่าวว่า คงจะนำเข้าหารือในที่ประชุม กกต.ในวันอังคารนี้   แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะจัดได้ เพราะคงจะไม่ได้รับความร่วมมือใด ๆ จาก กรธ. เพราะขนาดเวทีปิดออกทางสื่อ กรธ.ยังไม่สามารถส่งคนมาร่วม  ดังนั้น การจัดเวทีเปิด 77 จังหวัดยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการได้แน่นอน
 
 
ที่มาเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย [1][2]
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภรรยาและลูก 'แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล' ออกจากไทยแล้ว

$
0
0
แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ประเทศไทย เผยภรรยาและลูกชาย ได้เดินทางออกจากไทยแล้ว หลังถูกตำรวจบุกค้นบ้าน-สอบสวนกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   

 
23 ก.ค. 2559 เว็บไซต์ VOICE TVรายงานว่านายแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ประเทศไทย เปิดเผยว่าภรรยาและบุตรชายวัย 3 ขวบของเขา ได้เดินทางออกจากประเทศไทยไปยังสกอตแลนด์โดยปลอดภัยแล้ว หลังจากถูกตำรวจบุกค้นบ้านและสอบสวนเป็นเวลากว่า 6 ชั่วโมง จากข้อกล่าวหาที่เขามีส่วนเกี่ยวข้องในการแชร์ภาพจากสำนักข่าวเยอรมัน ที่อาจมีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับเด็ก ม.ต้น ทำลายบัญชีรายชื่อประชามติที่ระยองส่งสถานพินิจ

$
0
0
23 ก.ค. 2559 มติชนออนไลน์รายงานว่าได้รับแจ้งว่าบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ที่บริเวณศาลาอเนกประสงค์ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านสตรี ชากคา หมู่ 7 ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง ใช้เป็นสถานที่หน่วยออกเสียงประชามติหน่วยที่ 17 จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงจำนวน 380 ราย ถูกฉีกขาดหายไปบางส่วน ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านกร่ำ ได้นำตัวเด็กนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.2 โรงเรียนแห่งหนึ่งจำนวน  4 คน ไปสอบปากคำที่ สภ.บ้านกร่ำ เหุตเกิดเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา โดยมีนายวิทยา ชพานนท์ นายอำเภอแกลง เดินทางมาสอบปากคำเด็กนักเรียนด้วยตนเองเพื่อสอบถามว่ามีใครว่าจ้างหรือมีผู้อยู่เบื้องหลังการฉีกกระดาษบัญชีรายชื่อหรือไม่อย่างไร
 
ทั้งนี้ เด็กทั้ง 4 คน ให้การว่า ไม่มีใครว่าจ้างหรือมีใครอยู่เบื้องหลังแต่อย่างใด ซึ่งเด็กนักเรียนยอมรับว่าทั้ง 4 คน ชวนกันมาเล่นที่ศาลาอเนกประสงค์ในช่วงวันหยุดหลายวันที่ผ่านมาจริงและยอมรับว่าฉีกกระดาษบนกระดานที่หน่วยเลือกตั้งจริงรวม 3 ใบ โดยคิดว่าเป็นกระดาษเก่าแล้วจึงฉีกทิ้ง ไม่ทราบว่าเป็นบัญชีรายชื่อ โดยเด็กนักเรียนคนหนึ่งให้การว่าไม่ได้เป็นคนฉีก แต่ยอมรับเป็นคนยืมไฟแช็คเพื่อนที่มาด้วยกันจุดไฟเผากระดาษบริเวณริมคลองด้านหลังหน่วยเลือกตั้ง ส่วนคนที่ขยำกระดาษที่ฉีกแล้วนำไปทิ้งริมคลอง และเจ้าของไฟแช็ค ไม่ยอมรับ ซึ่งเช้าวันที่ 23 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านกร่ำ ได้นำตัวเด็กนักเรียน 2 คน ที่ให้การรับสารภาพไปส่งฟ้องศาลเด็กและเยาวชนและครอบครัว จ.ระยอง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการลงพื้นที่ไปตรวจสอบบริเวณหน่วยเลือกตั้งที่ 17 ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ 7 ต.ชากพง ชาวบ้านต่างปิดปากเงียบไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียด แต่ชาวบ้านตำหนิกรณีติดหนังสือราชการเรื่องสำคัญควรจะติดให้สูงหน่อยเด็กไม่รู้เรื่องว่าเป็นกระดาษอะไร ขยำทิ้งเอาไฟแช็คจุด ซึ่งเด็กก็ยอมรับความจริง พร้อมอ้างว่าทั้งตำรวจและนายอำเภอห้ามพูดเรื่องนี้ เกรงจะขยายความใหญ่โต
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กกต. สมชัย' แจงยังนับคะแนนหน้าหน่วย แนะ 'สุรพงษ์-ภูมิธรรม' เอาไก่กลับไปด้วย

$
0
0

23 ก.ค.2559 จากกรณีที่สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่ากกต.จะไม่มีการนับคะแนนหน้าหน่วยออกเสียงประชามตินั้น 

สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ได้โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว 'Srisutthiyakorn Somchai' ในลักษณะสาธารณะชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า มีไก่มาเพ่นพ่าน 2 ตัว การนับคะแนนประชามติ ของ กกต. ยังคงเป็นเช่นเดียวกับการนับคะแนนเลือกตั้ง คือการนับหน้าหน่วย ต่อหน้าประชาชน ไม่ได้มีมหัศจรรย์พันลึกใดๆ ตามที่ทั้งสองท่านจินตนาการ

 “ท่านแรก เป็นถึงอดีต รมต.ต่างประเทศ บอกว่า กกต.จะเลิกนับคะแนนหน้าหน่วย มาจากไหน ท่านที่สอง เป็นเลขาธิการพรรคใหญ่ ลงลึกขนาดว่า จะไม่มีรายงานผลคะแนนหน้าหน่วย รู้ขนาดว่ามี fax 6 เครื่อง โทรศัพท์ 20 สาย เพื่อรายงาน 100,000 หน่วย ถ้าข่าวกรองไม่ห่วย ก็ถือว่า มีจินตนาการสุดขอบฟ้า”นายสมชัย ระบุ 

สมชัย โพสต์อีกว่า ที่ต้องออกมาขี้แจง ไม่ใช่ต้องการตอบโต้ทุกเม็ด แต่ต้องการไม่ให้ใครมาทำลายความน่าเชื่อถือ บนพื้นฐานข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครับ ก่อนที่จะโพสต์ทิ้งท้ายสั้น ๆ ว่า “เอาไก่กลับไปด้วยครับ”

  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประสิทธิชัย หนูนวล: สิ่งที่เราต้องยอมรับคือ บทเฉพาะกาลมีเพื่อการสืบทอดอำนาจแน่นอน

$
0
0

คุยกับประสิทธิชัย หนูนวล แกนนำกลุ่มอดอาหารคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ หลังประกาศชัดคัดค้านไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วยเหตุ 2 ปีที่ผ่านมาไม่มีอะไรปฏิรูปจริงจัง แต่ยังเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อสอบทอดอำนาจต่อไปอีก

หากพูดถึง ประสิทธิชัย หนูนวล หลายคนน่าจะรู้จักเขาดีในฐานะคนทำงานภาคประชาสังคม โดยเฉพาะประเด็นการต่อต้านคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ ซึ่งล่าสุดได้มีการเคลื่อนไหวไปในช่วงปีที่ผ่านมา โดยยึดถือหลักการแนวทางสันติวิธี คือการอดอาหารเพื่อประท้วงรัฐบาลให้ยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้คนลุกขึ้นมาแสดงจุดยืนคัดค้านไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินครั้งนั้น เป็นเพราะกระบวนการ และกลไกที่ไม่ได้เปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงความความคิดเห็น และไม่ได้พื้นที่ที่จะรับฟังความต้องการของพวกขาอย่างแท้จริง คงไม่ผิดมากไปนักหากเราจะเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า โครงสร้างทางอำนาจที่บิดเบี้ยว และไม่เป็นธรรมกับประชาชนผู้ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของประเทศอย่างเท่าเทียมกัน

และแน่นอนว่า ประสิทธิชัย มองเห็นโครงสร้างทางอำนาจที่บิดเบี้ยวเหล่านั้นดี เขาจึงเป็นหนึ่งในกลุ่มคนทำงานภาคประชาสังคมที่ออกประกาศชัดเจนว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติครั้ง เป็นร่างที่ไม่อาจรับได้ เรื่องที่ว่าจะเกี่ยวข้องกับงานภาคประชาชนของเขาอย่างไร และเขามองเห็นอะไรในร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งหมดนี้คือคำตอบ

ทั้งตัวร่างรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะ มันมีความไม่ปกติอยู่ โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาล เห็นได้ชัดว่า คสช. มีเป้าหมายอะไรบางอย่างใช่หรือไม่ที่เขียนบทเฉพาะกาลแบบนี้ไว้

 

คำถามก็คือ แผนยุทธศาสตร์ที่บังคับให้ร่างให้เสร็จหลังรัฐธรรมนูญผ่านคืออะไร ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า แผนยุทธศาสตร์คือ การเขียนแผนของกลุ่มประชารัฐ คสชมีหน้าที่จัดการโครงสร้างทางอำนาจให้เรียบร้อย และจะต้องจัดการให้ได้ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี

 

สิ่งที่เราต้องยอมรับก่อนคือ ในบทเฉพาะกาลเขียนเพื่อการสืบทอดอำนาจแน่นอน สืบทอดอำนาจแล้วจะดีหรือเปล่า ก็ต้องมาดูตามสถานการณ์ คสช. ประกาศปฏิรูปประเทศตั้งแต่รัฐประหาร จนปัจจุบันไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย แต่สิ่งที่ลงแรงหนักก็คือว่า ให้กลุ่มทุนที่เรียกว่า ประชารัฐ เดินหน้าเต็มที่ คสช. มีหน้าที่แก้กฎหมายเพื่อให้ทุนใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ครม.ชุดใหม่ก็ไม่มีทางที่จะแตกต่างไปจากนี้

 

ที่เขาโฆษณาว่า มันมีการการปราบโกง ผมว่ามีเหตุผลเดียวคือ การทำให้พรรคการเมือง และนักการเมืองเล็กลง แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มที่ไม่ใช่นักการเมือง แต่เข้ามากุมอำนาจรัฐอาจจะมีการคอรัปชั่นสูงขึ้น และกลายเป็นกลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นไปได้บอกว่านักการเมืองจะไม่จับมือกับกลุ่มทุน เพราะเขาจะหันไปจับมือกับอำนาจใหม่แทน และไม่ต้องเดาเลยว่าจะจับหรือไม่เพราะตอนนี้เขาจับมือกันอยู่ และจับอย่างต่อเนื่อง

 

ภาพจากเฟซบุ๊กส่วนตัว ประสิทธิชัย หนูนวล

00000

คุณเป็นอีกคนหนึ่งในกลุ่มคนทำงานภาคประชาชน ที่ออกมาประกาศอย่างตรงไปตรงมาว่าจะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เหตุผลที่ไม่อาจรับได้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ของคุณคืออะไร

ทั้งตัวร่างรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะ มันมีความไม่ปกติอยู่ โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาล เห็นได้ชัดว่า คสช. มีเป้าหมายอะไรบางอย่างใช่หรือไม่ที่เขียนบทเฉพาะกาลแบบนี้ไว้ ขยายความก็คือ จะพบว่าที่มาของนายกรัฐมนตรี หรือ ครม. จะถูกจัดการมาเป็นพิเศษ เช่นเรื่องขอที่มาของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องถูกเสนอชื่อโดยพรรคการเมือง ซึ่งจะเป็น ส.ส. หรือไม่ก็ได้ พอไปดูการเสนอชื่อ ไม่ได้หมายความว่าพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงมากสุดจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะมีการเปิดช่องให้ใช้กลไกพิเศษในการเลือกตัวนายกรัฐมนตรีได้

พอมาพิจารณาคำถามพ่วง ก็แสดงเจตนาชัดเจนเรื่องการได้มาของนายกรัฐมนตรี ก็จะให้ ส.ว. 250 คน มาเลือกด้วย ซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของ คสช. เพราะฉะนั้นโดยระบบทั้งหมด มันส่อให้เห็นว่า เขาอยากจะได้นายกรัฐมนตรีที่เป็นพวกเดียวกัน หรือสามารถกำกับควบคุมได้ สมมติว่าไม่มีนัยที่พูดถึง ทำไมเขาไม่เขียนร่างรัฐธรรมนูญให้มันเป็นไปตามปกติ คือไม่ต้องมีบทเฉพาะกาลแบบนี้

คำถามก็คือว่า บทเฉพาะกาลมีวัตถุประสงค์หลักคืออะไร ความเห็นส่วนตัวของผม บทเฉพาะกาลมีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำยุทธศาสตร์ชาติ หรือการปฏิรูปประเทศ ถ้าเราไปอ่านบทเฉพาะกาลจะพบว่าให้น้ำหนักกับเรื่องนี้มาก เช่นบอกว่าจะต้องเขียนแผนยุทธศาสตร์ให้เสร็จภายใน 1 ปี จะต้องมีกฎหมายที่รองรับแผนเรื่องยุทธศาสตร์ แล้วยังให้อำนาจของ ส.ว. ในการที่จะกำกับ เร่งรัด ติดตามเรื่องการทำยุทธศาสตร์ของประเทศด้วย ทั้งยังให้ ครม. ต้องรายงานความคืบหน้าต่อวุฒิสภา 3 เดือนครั้ง นี่คือเป้าหมายใหญ่ของ คสช. และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายใหญ่ต้องได้นายกรัฐมนตรีที่ตัวเองคุมได้

ส่วนเรื่องของการจัดการทรัพยากร สิทธิชุมชน ก็จะกลายเป็นหน้าที่ของรัฐ ในความเชื่อส่วนตัวผมมองว่า แผนยุทธศาสตร์นี้จะนำไปสู่การผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่นอน เพราะฉะนั้นจึงให้สิทธิในการจัดการทรัพยากรชุมชนเป็นหน้าที่ของรัฐ แล้วพอร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ก็จะต้องเขียนกฎหมายขึ้นมา เพื่อมาประกอบรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งบังคับว่าต้องเขียนให้เสร็จภายใน 8 เดือน หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ถ้าเขียนไม่เสร็จ หน่วยงานที่รับผิดชอบก็จะต้องถูกลงโทษ ครม. สามารถสั่งปลดหัวหน้าหน่วยงานได้ เขาต้องการที่จะทำให้แผนยุทธศาสตร์นี้เดินได้

ประเด็นถัดมาที่เป็นคำถามหลักก็คือว่า ในคำถามพ่วงเนี่ยที่ต้องการให้ ส.ว. มาเป็นส่วนสำคัญในการเลือกนายกรัฐมนตรี เหตุผลคือ เพื่อให้แผนปฏิรูปประเทศหรือยุทธศาสตร์ชาติดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นเวลาเราดูทั้งคำถามพ่วง บทเฉพาะกาล และหมวดปฏิรูปประเทศ รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

ทีนี้สิ่งที่มันลึกซึ้งก็คือ คำว่ายุทธศาสตร์ชาติกับการปฏิรูปประเทศมันคืออะไร รัฐบาลนี้พยายามอย่างมากที่จะผลักดันเรื่องนี้ให้ได้ สิ่งเหล่านี้ก็ต้องนำมาพิจารณา ปฏิบัติการตามนโยบายของ คสช. ในยุคปัจจุบัน ซึ่งให้อำนาจกับประชารัฐ คือบริษัทกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เข้ามาคุมสภาพประเทศ เพราะว่าเค้าทำ 12 เรื่อง แก้กฎหมาย การศึกษา การเกษตร ฯลฯ และเมื่อดูคำสั่งมาตรา 44 ที่ออกมาหลายๆคำสั่ง ก็ปรากฏว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุน กระบวนการทำนโยบายที่เกิดขึ้นแล้วในยุค คสช. มีผลบังคับใช้แม้ว่ารัฐธรรมนูญถูกประกาศใช้ เพราะฉะนั้นมันก็เลยกลายเป็นกระบวนการต่อเนื่อง คำถามก็คือ แผนยุทธศาสตร์ที่บังคับให้ร่างให้เสร็จหลังรัฐธรรมนูญผ่านคืออะไร ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า แผนยุทธศาสตร์คือ การเขียนแผนของกลุ่มประชารัฐ คสชมีหน้าที่จัดการโครงสร้างทางอำนาจให้เรียบร้อย และจะต้องจัดการให้ได้ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี

เช่นเดียวกับ ส.ว. ที่มีอายุ 5 ปี ส.ว. ก็จะมีบทบาท มีอำนาจมาก ในบทเฉพาะกาลที่เขียนขึ้น อันนี้เป็นเหตุผลหลักที่ไม่สามารถยอมรับร่างรัฐธรรมนูญได้ เพราะมันจะนำไปสู่การกุมอำนาจเบ็ดเสร็จของประเทศในช่วง 3ถึง 5 ปี

ประเด็นสำคัญเวลาผมมีความเห็นแบบนี้ ก็จะมีคนบอกว่า เพ้อเจ้อ วิเคราะห์เกินไปหรือเปล่า ถ้าพิจารณาจากปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องยอมรับก่อนคือ ในบทเฉพาะกาลเขียนเพื่อการสืบทอดอำนาจแน่นอน สืบทอดอำนาจแล้วจะดีหรือเปล่า ก็ต้องมาดูตามสถานการณ์ คสช. ประกาศปฏิรูปประเทศตั้งแต่รัฐประหาร จนปัจจุบันไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย แต่สิ่งที่ลงแรงหนักก็คือว่า ให้กลุ่มทุนที่เรียกว่า ประชารัฐ เดินหน้าเต็มที่ คสช. มีหน้าที่แก้กฎหมายเพื่อให้ทุนใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ครม.ชุดใหม่ก็ไม่มีทางที่จะแตกต่างไปจากนี้

ถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผ่าน ขึ้นมาจริงๆ มันจะส่งผลกระทบอย่างไรกับภาคประชาสังคม อย่าง เช่นการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ หรือในพื้นที่อื่นๆ ที่กำลังประสบปัญหาจากโครงกรพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ และทุน

จริงๆ ด้วยความเชื่อส่วนตัวเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน มันก็จะมีเรื่องของการออกกลไก ที่เรียกว่าการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าจะต้องตรากฎหมาย เขียนขึ้นมาใหม่ แล้วจะต้องทำให้เสร็จภายใน 8 เดือน หมายถึงว่าให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้เสร็จภายใน 2 เดือน

 

ก่อนหน้านี้มีตัวกฎหมายที่พูดถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอยู่แล้ว แต่ว่าจะมีการรื้อและทำใหม่อย่างนั้นเหรอ

บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล เขียนว่าจะต้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องทำกฎหมายขึ้นมา อาจจะเอาตัวร่างกฎหมายเดิมมาแก้ไข หรือทำขึ้นมาใหม่ อันนี้ก็ไม่มีใครทราบ แต่ในเรื่องนี้ได้เขียนกำกับไว้ว่า ถ้าหัวหน้าหน่วยงานที่ ครม. ได้รับมอบหมาย ทำไม่เสร็จภายในระยะเวลา 8 เดือนที่กำหนด ครม.ต้ องสั่งให้หัวหน้าหน่วยงานนี้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมันเป็นการบีบบังคับให้ เร่งร่างกฎหมายออกมา

ทีนี้ประเด็นนี้ที่จะกระทบก็คือ เดิมเรื่องการจัดการทรัพยากรในรัฐธรรมนูญ 2550 ก็เขียนเป็นเรื่องสิทธิชุมชน หมายถึงว่า ชุมชุนมีสิทธิ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนเป็นให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐ กฎหมายซึ่งเป็นหลักประกันของประชาชนก็จะถูกลิดรอนมากขึ้นตามหลักรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เราจะเป็นเพียงผู้มีสิทธิรู้ มีสิทธิรับทราบข้อมูล แต่ไม่ได้มีสิทธิกำหนดอนาคตตัวเอง

 

ในขณะเดียวกันฝั่ง กรธ. เองก็ออกมาชูว่าร่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างรัฐธรรมนูญปราบโกง หรือมีการพูดถึงว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่าน จะไม่เกิดสภาวะที่นักการเมืองไปจับมือกับกลุ่มทุนแล้วก็มากระทำกับชาวบ้าน และพร้อมๆ กันมีกลุ่มการเมืองบ้างกลุ่มออกมาบอกว่า คนที่จะออกไปโหวตโนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ คนสนับสนุนให้มีการโกงเกิดขึ้น

ถ้าการเขียนรัฐธรรมนูญแล้วปราบโกงได้เนี่ย คิดว่าทั้งโลกคงเขียนรัฐธรรมนูญแล้วปราบการคอรัปชั่นกันได้หมดแล้ว ฉะนั้นโดยตรรกะพื้นๆ การเขียนรัฐธรรมนูญไม่ได้นำไม่สู่การปราบโกง สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อคือ กลับมาดูตัวเนื้อหาว่านำไปสู่การปราบโกงจริงหรือเปล่า ผมมองว่ามันมีการเขียนรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะการใช้อำนาจค่อนข้างเบ็ดเสร็จ คือองค์อิสระมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการวินิจฉัยต่อ ครม. โดยใช้ มาตรฐานธรรมทางจริยธรรม ทีนี้ถามว่ามาตรฐานทางจริยธรรมใครเป็นคนเขียน

แต่ว่ามาตรการที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด อาจจะทำให้คนกุมอำนาจคนใหม่สามารถกระทำการใดก็ตามที่นำไปสู่การโกงได้ เหตุผลเพราะว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว 250 คนของ ส.ว. กลายเป็นตัวพลิกผันที่สำคัญ แล้ว ส.ว. มาจากการแต่งตั้งของ คสช. เพราะฉะนั้นในรัฐบาลใหม่ที่เกิดขึ้นก็อาจนำไปสู่การโกงได้มากขึ้น เพราะว่ามีเสียงที่ตัวเองถืออยู่ 250 เสียง ซึ่งถือว่าเยอะมาก เพราะการเลือกครั้งนี้อาจไม่มีพรรคได้ได้เสียงแบบสุดโต่ง อาจจะอยู่ปริ่มๆ กัน เพราะว่ามันมีวิธีการเลือกแบบใหม่ เพราะฉะนั้น พรรค สว. 250 คนอาจเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภาก็ได้      

ที่เขาโฆษณาว่า มันมีการการปราบโกง ผมว่ามีเหตุผลเดียวคือ การทำให้พรรคการเมือง และนักการเมืองเล็กลง แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มที่ไม่ใช่นักการเมือง แต่เข้ามากุมอำนาจรัฐอาจจะมีการคอรัปชั่นสูงขึ้น และกลายเป็นกลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นไปได้บอกว่านักการเมืองจะไม่จับมือกับกลุ่มทุน เพราะเขาจะหันไปจับมือกับอำนาจใหม่แทน และไม่ต้องเดาเลยว่าจะจับหรือไม่เพราะตอนนี้เขาจับมือกันอยู่ และจับอย่างต่อเนื่อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมต้านโลกร้อนค้านตัดไม้สักมาสร้างรัฐสภาแห่งใหม่

$
0
0
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน คัดค้านการดื้อตัดไม้สักของ ออป. มาสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ เสนอให้ยุบ ออป. หรือเปลี่ยนสถานะเป็นองค์กรปลูกป่าเพื่อชาติ

 
23 ก.ค. 2559 สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการณ์ เรื่อง คัดค้านการดื้อตัดไม้สักของ ออป. มาสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ และเสนอให้ยุบ ออป. หรือเปลี่ยนสถานะเป็นองค์กรปลูกป่าเพื่อชาติ โดยระบุว่าตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้สั่งผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ยุติแนวคิดในการตัดไม้สักจำนวน 5,000 ต้นจากสวนป่าแม่หอพระ เหนือเขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่ เพื่อนำมาสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ไปแล้วนั้น แต่ทว่า อ.อ.ป.กลับยังมีแนวคิดที่จะตัดไม้สักจากพื้นที่ป่าเศรษฐกิจอื่น ๆ หลายพื้นที่ หลายจังหวัดในภาคเหนือมาสนองความต้องการของผู้รับเหมาก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่อีกนั้น
          
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนขอคัดค้านแนวคิดและการดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากวิกฤตการณ์ป่าไม้ของประเทศในขณะนี้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะป่าอนุรักษ์ลดลงเหลือประมาณ 20% เท่านั้น ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ภัยแล้งบ่อยครั้งขึ้นในประเทศไทย ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงวิปริต ดังนั้นสมควรที่ประเทศไทยจะต้องเร่งรัดในการปลูกป่า รักษาป่า ให้มีความอุดมสมบูรณ์เฉกเช่นเมื่อกว่า 50 ปีที่ผ่านมาให้ได้ จึงจะเหมาะสม
          
อีกทั้ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยไปให้คำมั่นสัญญาในเวทีการประชุมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ UNFCCC ที่ปารีส ฝรั่งเศส เมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่าจะลดก๊าซ CO2 ให้ได้ในทศวรรษหน้านี้ รวมทั้งการที่รัฐบาลและ คสช.ได้มีนโยบายและคำสั่งเกี่ยวกับ “การทวงคืนผืนป่า” มาอย่างต่อเนื่อง จึงควรที่จะเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการร่วมกันดูแล ปกป้องผืนป่า ทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าปลูก หรือป่าเศรษฐกิจทั่วประเทศ ไม่ให้ถูกทำลายไปด้วยเหตุใด ๆ
          
ดังนั้นการที่ อ.อ.ป. ยังคงยืนยันที่จะตัดไม้สักในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจของหน่วยงานตนต่อไปนั้น ถือได้ว่าไม่สนองต่อนโยบายหรือคำสั่งของ คสช. โดยชัดแจ้ง ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ควรที่จะดำเนินการเอาผิดหรือลงโทษต่อผู้บริหารองค์กรดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป อีกทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นยุคของ “การปฏิรูป” รัฐบาลหรือ คสช. ควรที่จะแก้ไขกฎหมายหรืออกคำสั่ง คสช. เพื่อเปลี่ยนโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของ อ.อ.ป. เสียใหม่ ให้เป็น “องค์กรเพื่อการปลูกป่า รักษาป่าเพื่อชาติ” เพื่อทำหน้าที่และเชื่อมประสานภาคประชาชน บริษัท ห้างร้าน เอกชนที่มีใจอนุรักษ์ทั่วประเทศ ได้ร่วมกันปลูกป่า ดูแลผืนป่า ที่กรมป่าไม้ หรือกรมอุทยานฯได้ยึดกลับคืนมาหลายแสนล้านไร่ในขณะนี้ เพื่อจะสังคมไทยจะได้มั่นใจว่าการทวงคืนผืนป่ากลับมาเป็นของรัฐแล้วจะมีการปลูก ดูแล สร้างป่าได้ดังนโยบายของรัฐบาลต่อไปได้ แต่ทว่า หาก อ.อ.ป.ยังคงดื้อที่จะตัดไม้สักมาสนองความต้องการของเอกชนให้จงได้นั้น สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและภาคประชาชน และผู้มีหัวใจอนุรักษ์ทั่วประเทศจะนำความนี้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อระงับหรือยุติการกระทำหรือแผนงานดังกล่าวโดยทันที
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความเห็น ชาว 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต่อร่างรธน. และ ประชามติ

$
0
0
ชาว 3 จว. แสดงความกังวลต่อการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นห่วงการสืบทอดอำนาจของ คสช. และเห็นว่า สภาวะเช่นนี้จะไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการสันติภาพ นอกจากนี้ยังเป็นห่วงว่า จะถูกลิดรอนสิทธิทางศาสนา 

 
ประชาไทสัมภาษณ์ ตูแวดานียา ตูแวแมแง นักกิจกรรมภาคประชาสังคม, เยาวชนนักกิจกรรมกลุ่ม Seed of Peace, อับดุลฮาฟิซ หิเล กรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา และ กามาล อับดุลวาฮับ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี และ มะรอนิง สาแระ นักอนุรักษ์
 
 

ร่างรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการสันติภาพ

 

ตูแวดานียา ตูแวแมแง ภาคประชาสังคม ผู้อำนวยการ สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา
 
ตูแวดานียา ตูแวแมแง อำนวยการ สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา เชื่อว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านจะส่งผลกระทบต่อการสร้างสันติภาพในพื่นที่ 
 
เขากล่าวว่า เมื่อพิจารณาดูทิศทางการสร้างสันติภาพในประเทศอื่นๆ ที่มีความขัดแย้ง จะเห็นว่า รัฐธรรมนูญล้วนมีบทบาท อย่างในประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี 1987 ก็จะมีการระบุในรัฐธรรมนูญว่า การกระบวการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ แล้วก็มีความคืบหน้าให้เห็นเป็นรูปธรรม รัฐธรรมนูญที่ดีทำให้กระบวนการสันติภาพขับเคลื่อน มีตัวชี้วัดได้ และที่สำคัญคือ ฝ่าย Party B (ฝ่ายเห็นต่างจากรัฐ/ฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดน) มีความไว้เนื้อเชื่อใจรัฐมากขึ้น และมีแรงจูงใจที่จะเจรจาสันติภาพ แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้การพูดถึงกระบวนการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่อย่างใด 
 
นอกจากนี้ตูแวดานียายังกังวลถึงการไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีที่มาจากคณะรัฐประหาร และคนที่มีอำนาจตรวจสอบ ถอดถอน ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ และส.ว. ที่ไม่ได้มีที่มาจากประชาชน ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนเลย เป็นการที่ชนชั้นนำไทยนั้นใช้อำนาจกันเอง และตรวจสอบกันเอง แล้วเขาจะรับรู้และสนใจปัญหาของคนในพื้นที่หรือ” 
 
“เมื่อปัญหาใหญ่ๆ อย่าง เรื่องสันติภาพ ยังไม่มีพื้นที่ในร่างรัฐธรรมนูญ แล้วปัญหาเล็กกว่านั้นล่ะ เช่น ทรัพยากร ก็ไม่ต้องพูดถึงหรอก” 
 
ตูแวดานียากล่าวว่า เขาวิเคราะห์ว่า การปิดกั้นการแสดงความเห็นทางการเมือง และการร่างกฎหมายทีแปลกแยกจากประชาชน จะทำให้สถานการณ์ในสามจังหวัดแย่ลง และเขาคาดการณ์ว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น “สิ่งที่ คสช. กำลังทำอยู่คือ เข้าทางฝ่ายขบวนการปลดปล่อยปาตานี นั่นคือ เติมบรรยากาศของความรู้สึกแปลกแยกกับรัฐ กับการปกครอง ที่ประชาชนรู้สึว่าไม่ได้มีส่วนร่วมกับมัน ระบบการเมืองส่วนกลางที่ไม่ตอบโจทย์ “ทำให้คนที่มีความเห็นกลางๆ ยิ่งเห็นความโหดร้ายของชนชั้นปกครองไทยที่ไม่เห็นหัวประชาชน”
 
เช่นเดียวกับตูแวดานียา แบงค์ นักกิจกรรมกลุ่ม Seeds of Peace เยาวชนซึ่งถูกเชิญไปส.น.สายบุรี เพราะปล่อยลูกโป่งเพื่อรณรงค์ให้การรณรงค์เรื่องประชามติไม่ผิดกฎหมาย กล่าวว่า เขาเชื่อว่า หลังประชามติ ประเทศไทยก็คงจะอยู่ในบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยต่อไป ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของกลุ่มประชาสังคม เพราะจะทำอะไร จะจัดงานอะไร ก็จะถูกจับตาดูและถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด 
 

ชาวบ้านไม่ตื่นตัว ขาดข้อมูลและสับสนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ, ต้องจับตาการก่อเหตุช่วงใกล้ประชามติ

 

แบงค์ กลุ่ม Seed of Peace
 
แบงค์ ยังกล่าวกับประชาไทว่า ตอนนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในสามจังหวัดยังไม่รู้เลยว่า รัฐธรรมนูญนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร “ตอนนี้ประชาชนบางส่วนใหญ่สับสน และไม่เข้าใจ เพราะคสช. ห้ามรณรงค์ เขาไม่รู้จะไปหาข้อมูลเรื่องนี้จากไหน เพราะพอเราจะจัดกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ก็ถูกห้าม และควบคุม” 
 
ตูแวดานียากล่าวว่า ชาวบ้านในสามจังหวัดกำลังถูก คสช. จับตาอย่างใกล้ชิด ว่าจะไปลงประชามติหรือไม่ “แม้ไม่มีประชามติ ที่นี่ก็เต็มไปด้วยตาสัปปะรด ที่คอยเฝ้าคนเห็นต่างจากรัฐ พอมาเรื่องประชามติ คสช.ให้ความสำคัญกับการออกไปใช้สิทธิและการออกเสียงมาก ถ้ามีคนรณรงค์เรื่องโนโหวต หรือ โหวตโน ก็จะถูกรัฐมองว่า เป็นกลุ่มที่ถูกจัดตั้งโดยขบวนการไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้นคนในพื้นที่นี้ เพื่อเอาตัวรอด ที่จะอยู่ที่นี่อยากปลอดภัย ไม่โดนตรวจ โดนค้น เขาก็คงไปใช้สิทธิตามที่ คสช. ต้องการ เพื่อไม่ต้องถูกมองเป็นแนวร่วม แต่คงไม่ใช่เพราะเขาตื่นตัวเรื่องสิทธิพลเมือง เป็นการไปเพื่อรักษาความปลอดภัย และสวัสดิภาพของตัวเอง” 
 
ตูแวดานียายังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ชาวปาตานีอาจใช้โอกาสนี้ แสดงออกว่าไม่เอาคสช. โดยการเขียนข้อความบนลงบัตร เขายกตัวอย่างว่า การเลือกตั้งครั้งที่แล้วมีการเขียนบทบัตรว่า Patani Merdeka (เอกราชปาตานี) จำนวนมาก 
 
“การแสดงออกว่าไม่เอารัฐ ไม่เอา คสช. ด้วยอาวุธ ก็น่าจะเข้มข้นมากในช่วงใกล้การลงประชามติเช่นกัน เพราะว่า มันมีความหมายในแง่จุดยืนของขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราช แสดงออกว่า ไม่ยอมรับเผด็จการที่ซ่อนอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ ฝ่ายทหารก็คงจะเตรียมรับมืออย่างแข็งขันเช่นกัน” ตูแวดานียากล่าว 
 

หวั่นศาสนาอิสลามไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าเดิม และวิถีชีวิตแบบมุสลิมจะถูกลิดรอน

 

อับดุลฮาฟิซ หิเล รองประธานสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา 
 
อับดุลฮาฟิซ หิเล รองประธานสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา กล่าวว่า เขามีข้อกังวลต่อ มาตรา 67 และ 31 ซึ่งพูดถึงบทบาทของรัฐต่อศาสนา 
 
"มาตรา 67 รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย"
 
อับดุลฮาฟิซกล่าวว่า มาตรา 67 ที่เขียนไว้ ให้รัฐสนับสนุนและอุปถัมภ์เฉพาะศาสนาพุทธเถรวาท ไม่ระบุถึงศาสนาอื่นๆ แต่สามจังหวัดนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทย นั่นคือ มีประชากรถึงร้อยละ 85 นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลให้ค่าตอบแทน ผู้นำศาสนาอิสลามอยู่จำนวนหนึ่งเขาให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันนี้ บุคลากรทางศาสนา เช่น โต๊ะอิหม่าม คณะกรรมการบริหารมัสยิด โต๊ะครุ ผู้สอนประจำมัสยิด หรือ ตาดีกา จะได้รับค่าตอบแทนต่อเดือนอยู่ที่ 500-5000 บาท ซึ่งไม่ใช่จำนวนเยอะ แต่เป็นการแบ่งเบาภาระของชุมชนได้พอสมควร  
 
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมาตรา 67 ซึ่งไม่ได้พูดถึงหน้าที่ของรัฐในการอุปถัมภ์ศาสนาอื่นๆ อับดุลฮาฟิซจึงเกรงว่าผู้นำศาสนาอิสลามอาจไม่ได้รับการสนับสนุนเช่นเดิม “ผมก็มองว่า อย่างประเทศอินโดนีเซีย ก็มีกระทรวงศาสนา และมีกรมต่างๆ สำหรับศาสนาที่คนอินโดนีเซียนับถือ เช่น แม้จะมีชาวพุทธในอินโดนีเซียแค่ร้อยละ 0.3 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณแค่หกแสนคน จากประชากรทั้งหมด 250 ล้านคน รัฐบาลอินโดนีเซียก็ยังจัดให้มีกรมพุทธศาสนา ซึ่งมีงบประมาณในการดูแลสนับสนุนศาสนาพุทธ”
 
นอกจากนี้ เขายังมีข้อกังวลต่อมาตรา 31 
 
"มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน"
 
อาบูฮาฟิซกล่าวว่า มาตรานี้มีการใช้ถ้อยคำที่กว้างขวาง ที่เสี่ยงต่อการนำไปตีความที่อาจกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิม “อ่านแล้วก็สุ่มเสี่ยง ที่จะเป็นช่องให้มีคนเอาประเพณีของชาวมลายูมุสลิมไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า เข้าข่ายขัดกับศีลธรรมอันดี หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย และนำไปสู่การห้ามปฏิบัติ” เขายกตัวอย่างการแต่งกายโดยปิดหน้าของผู้หญิงมุสลิม ซึ่งถูกห้ามในประเทศฝรั่งเศส ด้วยยกเหตุเพื่อให้ประชาชนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข หรือพิธีกุรบานซึ่งคือการเชือดวัว ในวันฮารีรายอ ที่อาจถูกมองว่าขัดศีลธรรมอันดี หรือแม้กระทั่งเสียงอาซาน หรือ เสียงเรียกละหมาดซึ่งถูกปล่อยผ่านเครื่องขยายเสียงของมัสยิด ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นการรบกวนทางเสียงและขัดต่อความสงบเรียบร้อย 
 

หวั่น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะไม่ได้รับการสนับสนุน เด็กขาดโอกาสเรียน ม.ปลาย 

 
กามาล อับดุลวาฮับ ผู้บริหารโรงเรียน มูลนิธิอาซิซสถาน จ.ปัตตานี กล่าวว่า มีความเป็นห่วงต่อมาตรา 54 ซึ่งระบุว่าสิทธิในการเรียนฟรีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) หากจะเรียนต่อ ม.ปลายหรืออาชีวะ ต้องออกเงินเองหรือกู้ยืมหรือขอความช่วยเหลือจากกองทุนของรัฐ ทำให้เขาเป็นห่วงว่าจะทำให้เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมากต้องหลุดออกไปจากระบบการศึกษา และสภาพการศึกษาในพื้นที่จะย้อนกลับไปเหมือนก่อนใช้รัฐธรรมนูญ 2540 
 
“แม้ล่าสุด ทางรัฐบาลได้ใช้ ม. 44 ออกประกาศเรียนฟรี 15 ปีถึง ม.ปลาย/ปวช ซึ่งแสดงว่ารัฐบาลได้รับฟังปัญหาที่เราสะท้อนไป แต่สิทธิเรียนฟรี ม.ปลาย/ปวช ได้หมดไปแล้วในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ คสช.สิ้นสุดลง รัฐบาลใหม่ที่มาหลัง คสช.จะดำเนินนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ต่อไปได้อย่างไร ในเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนไว้ในมาตร 54 ว่าการเรียนฟรีเป็นหน้าที่ของรัฐ และยังเขียนไว้ในมาตรา 162 ด้วยว่า การแถลงนโยบายของรัฐต่อรัฐสภาต้องสอดคล้องกับ “หน้าที่ของรัฐ” เป็นข้อกังวลที่เราพยายามสะท้อนแก่ผู้เกี่ยวข้องเสมอเมื่อมีโอกาส”  
 
กามาลย์กล่าวว่า นับตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ให้สิทธิเรียนฟรีถึง ม. ปลาย ได้เพิ่มโอกาสแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เข้าถึงการศึกษาในระบบมากกว่าเมื่อก่อนมาก จากที่เดิมเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ ส่วนใหญ่ก็จะเรียนต่อสายศาสนาอย่างเดียว มีเพียงส่วนน้อยที่เรียนต่อ ม.ปลายในโรงเรียนของรัฐ ตอนนี้มากกว่าครึ่งจะเรียนต่อ ม.ปลายและสายอาชีพ โดยร้อยละ 80 ของนักเรียน ม.ปลายในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียนอยู่ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ที่เปิดทั้งสายศาสนาและสามัญ   
 

บรรยากาศทางการเมืองที่ปิด ไม่เป็นผลดีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 

 
มะรอนิง สาแระ กลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี
 
มะรอนิง สาแระ กลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี กล่าวว่า เขาไม่คิดว่าเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นสาระสำคัญอะไร เพราะอย่างไรแล้ว คสช. ก็สามารถใช้อำนาจได้ทุกรูปแบบ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นแค่ขั้นตอนหนึ่งตามกำหนดการที่ต้องทำเท่านั้น แต่ไม่ได้มีความหมายใดๆ
 
"ถึงแม้จะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ยังมี คสช. คุมอยู่ อย่างนั้นก็หมายความว่าต่อให้รัฐธรรมนูญจะทำให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์ก็ไม่มีความหมาย เพราะเวลาจะทำอะไรเขาก็ไม่ใช้รัฐธรรมนูญก็ได้ เขาใช้มาตรา 44" 
 
"ถึงจะมีการเลือกตั้งจริงๆ แต่ว่า คสช. ก็ยังจะคุมรัฐบาลต่ออีกห้าปี ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่รู้จะมีรัฐธรรมนูญไปทำไม หรือมีไว้แค่เพียงปลอบใจว่าเรามีรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยแล้วแค่นั้น"
 
มะรอนิงยังกล่าวอีกว่าการทำงานที่ผ่านมาของ คสช. ส่งผลกับเรื่องวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตของชาวประมง เนื่องจากเรื่องประมงนั้นไม่ใช่สิ่งที่อยู่โดดเดี่ยว แต่ต้องอยู่คู่กันกับประเด็นสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การสร้างโครงการขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน หรือโรงไฟฟ้า บางครั้งก็มีการข้ามขั้นตอนของ EIA ไป ทำให้สุดท้ายแล้วก็ทิ้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไว้แก่ชาวบ้าน
 
"ผมยกตัวอย่างกรณีโรงไปฟ้าถ่านหินเทพา อ่าวปัตตานีก็ติดอ่าวไทย เทพาก็ติดอ่าวไทย ทุกที่เป็นผืนทะเลเดียวกัน ฉะนั้นในเมื่อถ่านหินมันทำให้ทรัพยากรมันเสีย สิ่งแวดล้อมมันเสีย มันจึงส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของคนรอบอ่าว ชาวประมงจะหาปลาก็ไม่เหลือปลาให้หา มีหลายครอบครัวที่ต้องตกไปอยู่สภาพแบบนั้น"
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นำร่อง 1 ส.ค.นี้ ย้ายวินรถตู้รอบอนุสาวรีย์ชัย สั่ง 4,205 คัน โยกไปอยู่หมอชิต-สายใต้-เอกมัย

$
0
0

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา ดรุณ แสงฉาย รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมจัดระเบียบรถตู้ร่วมกับทหาร ตำรวจ กรมการขนส่งทางบกและหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องว่า เป็นการจัดระเบียบในระยะที่ 3 คือนำรถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2 ซึ่งให้บริการในเส้นทางกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในรัศมีไม่เกิน 300 ก.ม. ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) จำนวน 4,205 คัน ย้ายออกจากที่จอดรถบริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัย สมรภูมิ โดยต้องไปจอดภายในสถานีที่บขส.จัดให้ 3 จุดเท่านั้น คือสถานีขนส่งจตุจักร สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ และสถานีขนส่งเอกมัย

ดรุณ กล่าวอีกว่า กรมการขนส่ง ตำรวจและทหารจะเริ่มทดลองจัดระเบียบนำร่องก่อนในวันที่ 1-15 ส.ค. เพื่อดูว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เช่น การจราจร เพื่อนำข้อมูลมาแก้ปัญหา จากนั้นจะประกาศดีเดย์ในวันที่ 25 ต.ค. โดยรถตู้หมวด 2 ทุกคันต้องไปจอดใน 3 สถานีเท่านั้น และห้ามจอดบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ อีก ซึ่งเจ้าหน้าที่จะออกตรวจจับปรับอย่างเข้มข้น

ดรุณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยอมรับว่าในช่วงแรกของการจัดระเบียบจะมีประชาชนที่เคยใช้บริการรถตู้โดยสารบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ อาจไม่ได้รับความสะดวกบ้าง กระทรวงคมมาคมจึงเตรียมหารือร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพื่อบริการรถบัสรับผู้โดยสาร จากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปยังสถานีขนส่งทั้ง 3 แห่ง โดยคาดว่าการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะภายในกรุงเทพฯ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของบริการรถร่วม เพราะจะทำให้ บขส.สามารถควบคุมค่าโดยสาร ความปลอดภัย แก้ปัญหาผู้มีอิทธิพลและการจราจรแออัดได้ อีกทั้งยังเตรียมกำหนดใช้มาตรการดังกล่าวกับรถโดยสารสาธารณะในต่างจังหวัดอีกด้วย ซึ่งจะเร่งรัดให้หน่วยงานต้นสังกัดของรถโดยสารสาธารณะในต่างจังหวัดจัดทำแผนส่งมายัง บขส.ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หากสามารถดำเนินการจัดระเบียบได้จะกำหนดให้เริ่มใช้เป็นทางการในวันที่ 25 ต.ค.นี้เช่นเดียวกัน 

 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์ทยรัฐออนไลน์และโพสต์ทูเดย์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองปราบจับผู้ต้องสงสัยส่งจม.ประชามติเชียงใหม่-ทหารจับพ่อแม่เข้าค่าย

$
0
0

23 ก.ค.2559 เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ที่กองบังคับการปราบปราม เจ้าหน้าที่นำตัวนายวิศรุต คุณนิติสาร อายุ 38 ปี อาชีพพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาทำบันทึกการจับกุม กรณีตกเป็นผู้ต้องหาส่งจดหมายประชามติจำนวนมากไปยังประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่

นายกัณต์พัศฐ์ สิงห์ทอง ทนายความจากสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) ให้รายละเอียดในเรื่องนี้ว่า นายวิศรุตนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ที่เชียงใหม่แต่ลงมาเยี่ยมญาติที่กรุงเทพฯ และถูกจับกุมจากคอนโดของน้องที่ย่านลาดพร้าว เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวมาทำบันทึกการจับกุมที่กองปราบฯ ก่อนจะส่งตัวขึ้นเครื่องบินไปยังจังหวัดเชียงใหม่เมื่อ 16.30 น.ที่ผ่านมาเพื่อไปดำเนินคดีที่จังหวัดเชียงใหม่

การจับกุมในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากศาลจังหวัดเชียงใหม่ ออกหมายจับที่ 473/2559 ลงวันที่ 22 ก.ค.2559 ในข้อกล่าวหาว่า กระทำความผิดฐาน “เผยแพร่จัดทำข้อความในสื่อสิ่งพิมพ์หรือช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง โดยมุ่งหวังให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง” ตามมาตรา 61 วรรค 2 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำหมาย้นของศาลอาญาที่ 210/2559 ลงวันที่ 23   ก.ค.เข้าตรวจค้นห้องพักของน้องเมื่อพบนายวิศรุตจึงทำการจับกุม เบื้องต้นผู้ถูกจับกุมให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา

กัณต์พัศฐ์ กล่าวด้วยว่า ครอบครัวของนายวิศรุตแจ้งว่า ขณะที่มีการจับกุมในวิศรุตที่กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวควบคุมตัวพ่อและแม่ของนายวิศรุตเข้าไปพูดคุยในค่ายกาวิละ และยังไม่มีรายงานการปล่อยตัวแต่อย่างใด

นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความจาก สกสส. กล่าวว่า การดำเนินการในครั้งนี้เป็นกรณีที่มีการส่งจดหมายเรื่องประชามติที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้เกี่ยวกับจดหมายซองตราครุฑที่จังหวัดลำปาง พร้อมทั้งวิจารณ์การควบคุมตัวพ่อและแม่ของนายวิศรุตเข้าค่ายทหารโดยอ้างมาตรา 44 เป็นการใช้อำนาจซ้ำซ้อนและไม่ใช่หน้าที่ของทหาร

วิญญัติแสดงความเห็นว่า การดำเนินคดีครั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยว่าใครเป็นผู้กล่าวหานายวิศรุต เป็นกกต.หรือเป็นผู้ใด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะการกล่าวโทษหรือการกล่าวหาว่านายวิศรุตกระทำผิดตามมาตรา 61 วรรคสองนั้น จำเป็นต้องระบุข้อเท็จจริงให้ชัดเจนว่าข้อความในจดหมายที่อ้างว่านายวิศรุตเป็นผู้ส่งไปรษณีย์นั้นผิดอย่างไร ข้อความไหนที่ผิด เพราะเท่าที่ตรวจสอบเนื้อหาในจดหมายพบว่าเป็นการตั้งประเด็นต่อร่างรัฐธรรมนูญแบบที่นักการเมือง นักวิชาการ กลุ่มภาคประชาสังคมอื่นๆ ก็มีการตั้งประเด็นวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน โดยแบ่งเป็นเรื่อง สวัสดิการเรียนฟรี, เบี้ยคนผู้สูงอายุ, การรักษาพยาบาล  

“ผมอ่านเอกสารแล้วเป็นการตั้งประเด็นปกติ นักการเมืองก็พูดเรื่องพวกนี้กันหลายคน เอาจริงๆ จุลสารของ กกต.เองที่เผยแพร่ ยกตัวอย่างมาตรา 47 บอกว่า การได้รับสิทธิเรียนฟรี 12 อาจจัดมีการเรียนฟรีถึง 15 ปี เอกสารระบุคำว่า “อาจจัด” แบบนี้ถือว่าบิดเบือนตัวร่างรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่ ที่สำคัญ จดหมายมีเนื้อหาเพียงตั้งประเด็นให้คนคิดก่อนไปลงคะแนน ไม่ได้บอกให้ไปเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น เท่าที่อ่านยังไม่เห็นการใช้ข้อความที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงของร่างรัฐธรรมนูญเลย” วิญญัติกล่าว

เขากล่าวต่อว่า การวิเคราะห์และการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นการส่งจดหมายหรือแชร์ข้อความออนไลน์ถือเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและอยู่ในกรอบกฎหมาย ตามมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งเป็นมาตราหลัก หากจะนำวรรคสองของมาตรา 61 มายกเว้นย่อมต้องระบุให้ชัดเจน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พบ 81% ของคนทำงานพาร์ทไทม์ในฝรั่งเศสเป็นผู้หญิง

$
0
0

พบ 81% ของคนทำงานพาร์ทไทม์ในฝรั่งเศสเป็นผู้หญิง ถือเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของผู้หญิงในฝรั่งเศสที่มีงานทำ และอัตราการว่างงานของผู้หญิงยังสูงกว่าผู้ชายด้วย

ผู้หญิงในฝรั่งเศสนอกจากที่ต้องดูแลลูกและครอบครัวแล้ว พวกเธอยังต้องหางานพาร์ทไทม์ทำควบคู่กันไป (ที่มาภาพประกอบ: flickr.com/polycola/CC BY 2.0)

23 ก.ค. 2559 สัดส่วนการจ้างงานแบบพาร์ทไทม์ในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากในปี ค.ศ. 1975 ที่มีเพียงร้อยละ 8 เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 และเพิ่มเป็นร้อยละ 19 ในปี ค.ศ. 2013 ส่วนค่าเฉลี่ยการจ้างงานแบบพาร์ทไทม์ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) อยู่ที่ร้อยละ 19.4 ในปี ค.ศ. 2014

เว็บไซต์ RFIอ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงแรงงานฝรั่งเศส ระบุว่าร้อยละ 81 ของคนทำงานชาวฝรั่งเศสที่ทำงานพาร์ทไทม์เป็นผู้หญิง และเมื่อพิจารณาสัดส่วนของผู้หญิงที่ทำงานทั้งหมดพบว่าร้อยละ 31 ทำงานพาร์ทไทม์อย่างเดียวและทั้งทำงานประจำพร้อมพาร์ทไทม์ควบคู่ไปด้วยกัน ส่วนค่าเฉลี่ยของ EU อยู่ที่ร้อยละ 32.2 ข้อมูลจาก รายงานของสหภาพยุโรประบุว่าผู้หญิงทำงานพาร์ทไทม์ในฝรั่งเศสเฉลี่ยสัปดาห์ละ 23.4 ชั่วโมง (ค่าเฉลี่ยของ EU อยู่ที่ 20.2 ชั่วโมง) ส่วนอัตราการจ้างงานจำแนกชายหญิงพบว่าในปี ค.ศ. 2012 ผู้ชายฝรั่งเศสมีอัตราการจ้างงานสูงกว่าที่ร้อยละ 68 ส่วนผู้หญิงมีเพียงร้อยละ 60 นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีอัตราการว่างงานสูงกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายมีอัตราการว่างงานร้อยละ 9.8 แต่ผู้หญิงมีอัตราการว่างงานถึงร้อยละ 10.1

ทั้งนี้สาเหตุที่ผู้หญิงฝรั่งเศสทำงานพาร์ทไทม์ในสัดส่วนที่สูงเนื่องจากต้องดูแลเด็กและครอบครัวไปด้วย ทำให้โอกาสในการทำงานแบบสัญญาจ้างเต็มเวลาลดลง นอกจากนี้พบว่าคนทำงานพาร์ทไทม์เกือบ 1 ใน 3 ยังทำงานประจำไปด้วยโดยเฉพาะคนทำงานวัยหนุ่มสาวและคนทำงานวัยใกล้เกษียณ

อนึ่งปัจจุบันอัตราการว่างงานในฝรั่งเศสอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 แต่เฉพาะคนทำงานวัยหนุ่มสาวอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 24 ทั้งนี้หลายเดือนที่ผ่านมา ชาวฝรั่งเศสได้ออกมาต่อต้านร่างกฎหมายปฏิรูปแรงงานอย่างรุนแรง เพราะร่างกฎหมายนี้ได้เพิ่มอำนาจให้ภาคธุรกิจสามารถปรับลดชั่วโมงทำงานพร้อมกับลดค่าจ้างได้ รวมทั้งการเพิ่มชั่วโมงการทำงาน และลดอุปสรรคให้นายจ้างปลดพนักงานได้ง่ายขึ้น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหาร-ตร. บุกค้น 6 จุดเครือข่ายการเมืองเชียงใหม่ หาหลักฐานโยง จม.ไม่รับร่างรธน.

$
0
0

23 ก.ค.2559 ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า พล.ต.ต.มนตรี สัมบุณณานนท์ ผบก.ภ.เชียงใหม่ ร่วมกับ พล.ต.โกศล ปทุมชาติ ผบ.มทบ.33 ได้สนธิกำลังตำรวจและทหาร เข้าตรวจค้นเป้าหมาย จำนวน 6 จุด ในพื้นที่ อ.เมือง เชียงใหม่ เพื่อหาหลักฐานเอกสารใบปลิวต่อต้านไม่รับร่าง รธน.และจดหมายบิดเบือนร่าง รธน. 

โดย เมื่อเวลา 15.24 น. ผู้จัดการออนไลน์รายงาน ความคืบหน้าเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจนำกำลังเข้าทำการตรวจค้นเป้าหมายที่เป็นบ้านพัก และธุรกิจเครือข่ายนักการเมืองชื่อดังใน จ.เชียงใหม่ หลังมีข้อมูลหลักฐานที่เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงต่อกระบวนการเผยแพร่จดหมายที่มีเนื้อหาบิดเบือนเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ โดยช่วงเช้าวันนี้ (23 ก.ค.59) ได้เข้าทำการตรวจค้นที่ร้านทัศนาภรณ์ ย่านถนนเชียงใหม่-สันกำแพง ในตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประกอบธุรกิจไม้แกะสลักของครอบครัว “บูรณุปกรณ์” รวมทั้งบ้านพักที่อยู่ตรงข้ามกัน และอื่นๆ ในย่านเดียวกัน และเป็นเครือข่ายที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันกับเครือข่ายนักการเมืองในตระกูล “บูรณุปกรณ์” 

เบื้องต้น พบ และตรวจยึดหลักฐานที่เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องต่อกระบวนการจดหมายบิดเบือนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญได้เป็นจำนวนมาก

ผู้จัดการออนไลน์ รายงานด้วยวา ล่าสุด ช่วงสายวันเดียวกันนี้ เจ้าหน้าที่ได้นำกำลังเข้าตรวจค้นที่สำนักงานเทศบาลตำบลช้างเผือก ในตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมี  คเชน เจียกขจร ที่มีศักดิ์เป็นหลานเขยของ บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี อยู่ ทั้งนี้ ตามคำให้การของ  สามารถ ขวัญชัย อายุ 63 ปี ซึ่งถูกจับกุมจากการแจกใบปลิวต่อต้านการออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

โดยได้เข้าตรวจค้นห้องทำงานของนายกเทศมนตรี และห้องทำงานสำนักปลัดเทศบาล นอกจากนี้ ยังได้เข้าทำการตรวจค้นบ้านพักส่วนตัวของ คเชน ด้วย เบื้องต้นรายงานระบุว่า สามารถตรวจยึดหลักฐานที่เชื่อว่าน่าจะมีความเชื่อมโยงต่อจดหมายบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญได้จำนวนหนึ่ง
       
รายงานข่าวระบุว่า การที่เจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจเข้าทำการตรวจค้นเป้าหมายต่างๆ ในวันนี้ สืบเนื่องมาจากการแกะรอยตามหลักฐานกล้องวงจรปิดที่บันทึกภาพผู้ต้องสงสัยที่ก่อเหตุเผยแพร่จดหมายบิดเบือนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญไว้ได้ รวมทั้งการจับกุมตัว สามารถ หลังก่อเหตุแจกใบปลิวต่อต้านการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 7 ส.ค.59 นี้ ซึ่งถูกจับกุมตัวได้เมื่อคืนที่ผ่านมา (22 ก.ค.) และได้ให้ข้อมูลต่างๆ แก่เจ้าหน้าที่จนนำไปสู่การตรวจค้นในครั้งนี้ 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปชป.ปัดจับมือพท.ล้มร่าง รธน. แซะ พท.ตั้งธงไม่รับตั้งแต่ยังไม่เห็นเนื้อหา

$
0
0

ขอประชาชนพิจารณาเนื้อหาสาระร่างรัฐธรรมนูญอย่างรอบคอบ วอน คสช. กรธ.และ กกต. แก้ไขให้การทำประประชามติอย่างถูกต้องตามหลักสากล โดยเปิดกว้างให้ข้อมูลครบถ้วนทุกด้าน คุณหญิงกัลยายัน จุดยืน ปชป.ต่างจากเพื่อไทย

ราเมศ รัตนะเชวง ที่มาภาพ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Democrat Party, Thailand

23 ก.ค.2559 ราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกและคณะทำงานฝ่ายกำหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงช่วงโค้งสุดก่อนลงประชามติ ว่า ส่วนกรณีที่มีการเหมารวมว่า พรรคประชาธิปัตย์จับมือกับพรรคเพื่อไทย  หลังสมาชิกพรรคบางส่วนร่วมลงชื่อสนับสนุนกลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย ว่า ขออย่าบิดเบือน หรือ ยัดเยียดว่า พรรคประชาธิปัตย์จับมือกับพรรคเพื่อไทย เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพราะได้พิจารณาจากเนื้อหาสาระของตัวร่างโดยละเอียดถี่ถ้วน  ต่างจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ตั้งธงประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตั้งแต่ยังไม่เห็นเนื้อหาสาระ

ราเมศ ยังเรียกร้องให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม โดยพิจารณาเนื้อหาสาระร่างรัฐธรรมนูญอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตาม  ที่น่าตกใจ คือ กรณีที่ ประวิช รัตนเพียร กกต.ออกมายอมรับว่า ประชาชนจะไม่ได้รับสรุปสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญทุกครัวเรือน เพราะตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ไม่ได้ระบุให้ต้องแจกจ่ายทุกครัวเรือน  จึงขอถามว่าเป็นการทำหน้าที่ของ กกต.ที่สมบูรณ์แล้วหรือไม่

“ดังนั้น ในเวลาที่เหลือ ขอเรียกร้องให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)และ กกต. แก้ไขให้การทำประประชามติอย่างถูกต้องตามหลักสากล โดยเปิดกว้างให้ข้อมูลครบถ้วนทุกด้าน” ราเมศ กล่าว 

ขณะที่ วัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ กกต. ชี้แจงเนื้อหาที่จัดพิมพ์ในจุลสารการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่แจกจ่ายให้กับประชาชน  หลังพบว่าเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนฟรีและสิทธิรับบริการด้านสาธารณสุข มีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความจริง และไม่ตรงกับเนื้อในที่เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการจูงใจให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่

“ยืนยันว่า วิรัตน์ ร่มเย็น วิลาศ จันทร์พิทักษ์ และผม จะไปใช้สิทธิลงประชามติในวันที่ 7สิงหาคม แต่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึง คำถามพ่วงประชามติ” วัชระ กล่าว

วัชระ ย้ำว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้จับมือกับพรรคเพื่อไทย เพื่อล้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตามที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกต จากกรณีที่สมาชิกพรรคบางส่วนร่วมลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์ของกลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใยประชามติ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยทิศทางประเทศ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ และเปิดเวทีแสดงความคิดเห็น  ที่สำคัญ พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยคิดจับมมือกับพรรคที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีก่อตั้ง ตั้งแต่ยุคไทยรักไทยจนถึงเพื่อไทย

คุณหญิงกัลยายัน จุดยืน ปชป.ต่างจากเพื่อไทย

วานนี้ (22 ก.ค.59) คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีร่วมลงชื่อใน 117 คนดัง ที่สนับสนุนแถลงการณ์ของกลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย เรียกร้องให้รัฐบาล คสช.เปิดเผยแนวทางที่ชัดเจน หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับ  มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ไม่ผ่านการทำประชามติว่า เป็นแนวทางที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องมาตลอด โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ถามเรื่องนี้ต่อผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง มาตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านการทำประชามติ รัฐบาลหรือ คสช.จะใช้รัฐธรรมนูญฉบับไหนเป็นหลัก หรือจะร่างใหม่ หรือมีทิศทางนำพาประเทศไปอย่างไร

ซึ่งเป็นเรื่องปกติในการทำประชามติ ที่ประชาชนเจ้าของอำนาจมีสิทธิ์ที่จะรับรู้รับทราบ ทิศทางเดินของประเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจ ยืนยันว่ารายละเอียดและจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ต่างจากพรรคเพื่อไทย เราต่อสู้ในหลักการประชาธิปไตยที่ถูกต้อง คือ พิจารณารายละเอียดของสาระในร่างรัฐธรรมนูญ แยกแยะข้อดี ข้อด้อย ไม่ได้ตั้งธงว่าไม่รับตั้งแต่ต้น ทั้งที่ยังไม่เห็นรายละเอียดของเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ

ส่วนทิศทางของพรรคต่อร่างรัฐธรรมนูญนี้ ต้องรอให้หัวหน้าพรรคกลับจากต่างประเทศหลังวันที่ 24 ก.ค. นี้

 

ที่มา : สำนักข่าวไทยและเฟซบุ๊กแฟนเพจ Democrat Party, Thailand

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โจชัว หว่อง ถูกศาลตัดสินมีความผิดฐาน 'ชุมนุมผิดกฎหมาย'

$
0
0

ศาลตัดสินให้ โจชัว หว่อง ผู้นำนักศึกษาในฮ่องกงที่ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อ 2557 และเพื่อนอีก 2 คนคือ อเล็ก โช และนาธาน ลอ มีความผิดจากการมีส่วนร่วมการประท้วง ซึ่งถูกกล่าวหาว่าผิดกฎหมาย

จากกรณีที่ในปี 2557 มีการประท้วงบนท้องถนนในฮ่องกงที่เรียกว่า "การยึดครองย่านใจกลาง" หรือ "การปฏิวัติร่ม" โดยที่ประชาชนในฮ่องกงปักหลักชุมนุมเป็นเวลา 79 วัน เพื่อต่อต้านอำนาจของจีนแผ่นดินใหญ่ในการคัดเลือกตัวแทนลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกงคนต่อไป ซึ่งชาวฮ่องกงส่วนหนึ่งมองว่าจีนแผ่นดินใหญ่พยายามแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในฮ่องกง การประท้วงในครั้งนี้จบลงด้วยการที่ตำรวจใช้แก็สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยสลายการชุมนุม โดยที่ผู้ชุมนุมยังไม่ได้รับการตอบสนองข้อเรียกร้อง

ในการประท้วงดังกล่าวเจ้าหน้าที่สร้างรั้วกั้นจัตุรัสสาธารณะในฮ่องกงซึ่งเป็นแหล่งสำคัญที่มักจะใช้เป็นที่ชุมนุมประท้วง พนักงานอัยการกล่าวหาว่าการที่โจชัว หว่อง และผู้นำนักศึกษาคนอื่นๆ พากันปีนรั้วเข้าไปในจัตุรัสเป็นเรื่องผิดกฎหมายและการประท้วงมีการเตรียมการไว้ตั้งแต่แรก ศาลตัดสินให้การปีนรั้วของหว่องถือเป็นความผิดฐาน "ก่อกวนความสงบเรียบร้อย" อย่างไรก็ตามทนายความโต้แย้งว่าทางการไม่ควรจะตั้งรั้วกั้นลานสาธารณะตั้งแต่แรกแล้ว

หว่องต้องเข้าออกศาลหลายครั้งตั้งแต่ช่วงปีที่แล้วจากการที่เขาถูกตั้งข้อหาหลายข้อหาที่เกี่ยวกับการประท้วง ในการตัดสินคดีล่าสุดนี้อาจจะทำให้หว่องถูกจำคุกเป็นเวลา 5 ปี

อย่างไรก็ตามหว่องกล่าวว่า "ไม่ว่าจะมีการลงโทษเช่นไร ...พวกเราจะต่อสู้กับการกดขี่ของรัฐบาลต่อไป"

เพื่อนของเขานาธาน ลอ กล่าวว่า "พวกเราเชื่อว่าพวกเราทำในสิ่งที่ถูกต้องและไม่เสียดายที่ทำลงไป"

จำเลยทั้งสามคนได้รับการประกันตัวและต้องเข้ารับฟังการพิพากษาของศาลต่อไปในวันที่ 15 ส.ค.นี้

หลังจากที่ฮ่องกงถูกส่งมอบจากอาณานิคมของอังกฤษคืนสู่จีนในปี 2540 โดยมีสัญญาว่าจะต้องให้เสรีภาพกับฮ่องกงเป็นเวลา 50 ปี แต่ในช่วงไม่นานมานี้จีนเริ่มพยายามแทรกแซงสื่อ การศึกษา และการเมืองในฮ่องกงมากขึ้นเรื่อยๆ

 

เรียบเรียงจาก

Hong Kong 'Umbrella Revolution' leader Joshua Wong convicted for democracy protests, ABC, 21-07-2016

http://www.abc.net.au/news/2016-07-21/hong-kong-student-leader-wong-convicted-for-democracy-protests/7649012

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images

<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>
<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596344.js" async> </script>