Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50697 articles
Browse latest View live

กวีประชาไท: สัตว์นรก

0
0



สัตว์นรกปรกป่าเมื่อปรากฏ
ธรรมนูญทุกบทก็อดสู
ออกกฎหมาย ที่หมายกดจนเฟื่องฟู
จะขานกู่ ก็รันทด ด้วยกฎโจร

ประชามติอย่างหนาตราประยุทธ์
ลงเรือแป๊ะฉุดฉุยลุยผาดโผน
แหกตาประชาชนจนปูดโปน
จึงต้องโดดประชาทัณฑ์บรรลัย

ไปโลดโหวตโนนำกันถ้วนหน้า
เพื่อท้องฟ้าสีทองส่องสดใส
กำจัดเผด็จการให้สิ้นซากไป
ประชาธิปไตยได้มาอย่างแน่นอน

0000

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สศช.เตรียมคลอดแผนพัฒนาฉบับ 12 ย้ำสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

0
0

ประยุทธ์กล่าวปาฐกถาเปิดโชว์วิสัยทัศน์การพัฒนา คาดแผนฉบับ 12 ประกาศใช้ต.ค.นี้ ขณะที่ประธาน สศช.ย้ำ แผน 5 ปีนี้จะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของ คสช. วรัญชัย โชคชนะ โผล่ถามถ้ารัฐบาลจากการเลือกตั้งมีนโยบายไม่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติจะทำอย่างไร

วันที่ 22 ก.ค.2559 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีการจัดการการประชุมประจำปี 2559 เรื่อง การร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีการนำเสนอวีดิทัศน์เรื่องการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ซึ่งนำเสนอแนวทางการวางกรอบการพัฒนาประเทศล่วงหน้า 20 ปีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน เปรียบประชาชนเสมือนกับผู้โดยสารรถไฟ โดยมีตั๋ว 664 เป็นหลักการในการวางยุทธศาสตร์ โดยเลข 6 ตัวแรกหมายถึง 6 ยุทธศาสตร์ของร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560 - 2579 ซึ่งเป็นกรอบการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้แก่ การสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ, การสร้างความสามารถในการแข่งขัน, การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน, การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม, การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

ตัวเลขที่เหลือ คือ การกำหนดแนวทาง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จำนวน 10 ด้าน สู่การปฏิบัติในช่วง 5 ปีข้างหน้าโดยกำหนดให้สอดคล้องกับ “กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี”  กับ 6 ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ชาติ (พัฒนาและส่งเสริมทุนมนุษย์, สร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม, สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการแข่งขันอย่างยั่งยืน, การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, ความมั่นคง, เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในภาครัฐและธรรมาภิบาล) บวกอีก 4 ยุทธศาสตร์ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนในอีก 5 ปีข้างหน้า (การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์, วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม, การพัฒนาภาคเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ, การต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค)

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแสดงปาฐกถาพิเศษว่า แผนยุทธศาสตร์ชาติ 664 เป็นแผนต่อเนื่องระยะยาว ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ เป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนที่จะมาช่วยกันวางแผนพัฒนาประเทศชาติให้ดีกว่าเดิม ลดความเสี่ยงในอนาคตจากทั้งภายในและภายนอก โดยการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานและโครงการอื่นๆ โดยตลอด เช่นโครงการประชารัฐ

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ผ่านมาทางครม.และคสช. ได้พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 คาดว่าจะปรับปรุงจนสามารถประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคมนี้ โดยการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปีข้างหน้าได้กำหนดทิศทางเอาไว้เรียบร้อยแล้วและจะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เพราะรัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มประสิทธิภาพในการแข็งขันให้มากขึ้น พัฒนาคุณภาพมนุษย์ สร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ

นายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า ในปัจจุบันการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจมีอยู่สูง ประเทศอื่นๆ มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ประเทศไทยจึงเร่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งเพื่อการแข่งขัน โดยหน้าที่ของผู้ใหญ่ในปัจจุบันที่จะต้องสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศ ก็เพื่อสร้างประเทศในระยะยาว เพื่อคนรุ่นหลัง การกำหนดจุดหมายในระยะยาวให้ชัดเจนก็เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาอย่างมีจุดหมาย การพัฒนาต่างๆ จะเชื่อมโยงกัน

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การสร้างความมั่นคงนั้นสำคัญ ไม่ใช่แค่มั่นคงในเรื่องการเพิ่มกองกำลังหรืออำนาจทหาร หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความมั่นคงในรูปแบบดังกล่าวประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา นอกจากนี้ยังมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดจากการพัฒนาสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าต่างๆ รวมไปถึงกันพัฒนาคุณภาพศักยภาพมนุษย์ ส่วนความเสมอภาคเท่าเทียมนั้นไม่มีในโลกของประชาธิปไตยเพราะมีต้นทุนทางเศรษฐกิจ มีเรื่องการลงทุน การเปิดเสรีต่างๆ ปัญหาก็คือการทุจริตต่างๆ ที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมมากขึ้นไปอีกจึงต้องแก้ไขปัญหาทุจริต

เรื่องการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จะต้องวางแผนมองไปข้างหน้าถึงแผนต่อๆ ไป ต้องต่อยอดไปเรื่อยๆ ปัจจัยที่จะทำให้แผนยุทธศาสตร์สำเร็จจะอยู่ที่ประชาชน ที่จะเป็นผู้เลือกรัฐบาลต่อๆ ไป

นายกรัฐมนตรีเสนอว่า การลงทุนหรือการพัฒนาต่างๆ ควรจะใช้หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่เร็วไม่ช้าไป พอดีๆ ให้พอประมาณตน และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ หลักจริยธรรมต่างๆ ควรปลูกฝังให้แก่เยาวชน เป็นการสร้างจิตสำนึก เมื่อบุคคลากรมีหลักธรรมาภิบาล ปัญหาการทุกจริตก็จะลดลงไป ประเทศไทยก็จะมีจุดยืนในเวทีโลก การเมืองที่ผ่านมาทำให้คุณภาพของการศึกษาไทยตกลงไป เนื่องมาจากความผันผวนทางการเมือง ต่อจากนี้ปัญหาความไม่แน่นอนต่างๆ จะถูกแก้ด้วยหลักยุทธศาสตร์ชาติ เช่นเดียวกันกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือกฎหมาย

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่า การพัฒนาจะต้องมองไปถึงเวทีโลก ประเทศไทยไม่ได้โดดเดี่ยวในเวทีโลก ที่ผ่านมามีการร่วมทางการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับต่างประเทศมาโดยตลอด แนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น

ต่อมามีการประชุมระดมความเห็น เรื่องการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12  พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานสศช. กล่าวว่า แผนนี้จะเป็นแผนที่กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า  เป็นระยะแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงถือว่าเป็นช่วงการพัฒนาที่สำคัญของการปฏิรูปและพัฒนาประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการร่างแผนพัฒนาที่จะเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศระยะยาว คือการพัฒนาคุณภาพบุคลากร เช่นการพัฒนาการศึกษาที่จะขัดเกลาจริยธรรม สร้างนิสัยและเพิ่มศักยภาพ โดยให้เน้นการสร้างนิสัยความเป็นไทยที่เท่าทันโลก

วรัญชัย โชคชนะ นักกิจกรรมทางการเมืองตั้งคำถามว่า แผนฉบับที่ 12 จะสามารถเพิ่มการพัฒนาการเมืองเข้าไปในแผนพัฒนาด้วยได้หรือไม่ เพราะการพัฒนาการเมืองจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการพัฒนาในแง่อื่นๆ ต่อไป คำถามที่สองคือ ถ้านโยบายของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งขัดกับแผนยุทธศาสตร์ชาติจะทำอย่างไร

ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการ สศช.ตอบว่า  การพัฒนาการเมืองจะอยู่ในกรอบของการพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมให้สมดุล เรื่องของการเมืองจะอยู่ในการดูแลของสภาพัฒนาการเมือง การเมืองเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของความมั่นคง นอกเหนือจากนั้นจะเป็นเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนคำถามที่สองนั้นขอปฏิเสธที่จะตอบแต่ขอถามกลับว่าถ้านักการเมืองอย่างวรัญชัยไม่เอาแผนยุทธศาสตร์จะทำอย่างไร ประเด็นต่างๆ ต้องร่วมกันคิด  

 

ผู้ที่สนใจร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.nesdb.go.th/ewtadmin/ewt/nesdb_th/download/content/Yearend2016/Yearend2016-01.pdf

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ญาติวีรชน 35 แถลงคว่ำร่าง รธน.มีชัย หวั่นสืบทอดอำนาจ ซ้ำรอยพฤษภาทมิฬ

0
0

คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ประกาศคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ เหตุเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 เกรงซ้ำรอยเหตุการณ์พฤษภา 35 พร้อมถามหาความรับผิดชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อยุติในเรื่องผู้สูญหาย

คลิปญาติวีรชนพฤษภา'35 ประกาศคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ 2559 หวั่นสืบทอดอำนาจย้อนรอยพฤษภาคม 2535

23 ก.ค. 2559 เวลา 15.20 น. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 นำโดย อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 แสดงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ ผ่านแถลงการณ์ “มติคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ และการประกาศทวงถามวีรชนพฤษภา 35”

สมศักดิ์ ธีรดำรงฤทธิ์ รองประธาน คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 อ่านแถลงการณ์ความว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชามติของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำลังจะนำพาสังคมไทยถอยหลังเข้าคลอง ย้อนรอยเหตุการณ์พฤษภาคมปี 2535 ที่มีผู้บาดเจ็บล้มตายและสูญหายจำนวนมาก สังคมกำลังเกิดความขัดแย้งและแตกแยกจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย รัฐบาลใช้อำนาจรัฐเข้าควบคุมสื่อสารมวลชน ลิดรอนสิทธิเสรีภาพและปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน ผู้นำประเทศผิดคำพูดที่ให้สัญญาประชาคมเมื่อตอนยึดอำนาจวันที่ 22 พ.ค.2557 และมีเจตนาสืบทอดอำนาจผ่านร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังสร้างความบิดเบือนให้เกิดความสับสนแก่ประชาชน สิ่งเหล่านี้เป็นสถานการณ์เดียวกับช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาคมปี 2535

แถลงการณ์ระบุว่า คสช.ไม่ใช่สัญลักษณ์ความถูกต้องที่จะผูกขาดความรักชาติแต่ฝ่ายเดียว หากหลงทางกับแนวคิดแบบนี้ประชาชนก็ย่อมมีสิทธิทวงอำนาจคืน คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ได้มีการประชุมกันทั่วประเทศแล้ว มีมติด้วยกัน 2 ข้อ

ข้อ 1 ประกาศคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ เรายืนยันไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจที่เปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอก เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 อันเป็นต้นเหตุของการบาดเจ็บล้มตายและสูญหายมาจนถึงวันนี้ และข้อ 2 ถามหาความรับผิดชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรัฐบาล-กองทัพ เพื่อหาข้อยุติในเรื่องผู้สูญหายในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคมปี 2535 ที่ยังคงไม่ได้ข้อยุติถึงปัจจุบัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมดังกล่าวใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที โดยก่อนกลับได้มีตำรวจจาก สน.สำราญราษฎร์ เข้ามาตรวจความเรียบร้อย โดยไม่ได้มีการดำเนินคดีหรือจับกุมแต่อย่างใด
 

อดุลย์เผยไม่อยากให้เกิดความสูญเสียซ้ำรอย จึงไม่รับร่าง รธน.

ด้านอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ให้สัมภาษณ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขัดต่อหลักการคนเดือนพฤษภา 35 โดยสิ้นเชิง เช่น เรื่องการสืบทอดอำนาจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นจากพฤษภาคม ปี 2535 ซึ่งเป็นความขัดแย้งเก่าที่ยังไม่ได้สะสางให้เสร็จ ก็ยังจะสร้างเหตุเพื่อความขัดแย้งใหม่ขึ้นมาอีก

อดุลย์ยังหวังว่าญาติและผู้ร่วมอุดมการณ์ในพฤษภาคม ปี 2535 ไม่ว่าจะเป็นมวลชน นักการเมือง หรือกลุ่มการเมือง หวังว่าคงจะมาออกมาร่วมสืบสาน-ทวงคืนเจตนารมณ์วีรชนคนพฤษภา 35 ให้ครบถ้วน และมาช่วยสนับสนุนการทวงถามเรื่องญาติวีรชน 35 ที่หายไปให้จบ เพื่อเป็นแบบอย่างให้สังคมได้พึงตระหนักว่า ครั้งหนึ่งก็เคยมีเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งญาติก็ไม่ต้องการให้การตามหาคนหาย-เกิดความสูญเสียแบบนี้ขึ้นมาอีก นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องมาเรียกร้องว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้

นอกจากนี้อดุลย์ยังฝากไปยัง คสช. ว่า “ประชาชนก็คาดหวังว่า คสช.จะทำการปฏิรูป การสร้างความสามัคคีให้เรียบร้อย ปรากฏว่าสองปีกว่า ความนิยมของท่านกลับลดลง ท่านก็ต้องกลับไปทบทวนตรงนั้นว่ามันถูกต้องแล้วหรือ และที่สำคัญเรื่องการปฏิรูปที่ทุกฝ่ายเรียกร้อง ถ้าท่านยังโอ้เอ้ ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง เพราะมันก็สองปีแล้ว ท่านคงตอบคำถามประชาชนไม่ได้แน่”
 

เมธาเรียกร้องรัฐบาล ตรวจสอบบุคคลสูญหายจากพฤษภาคม

ส่วนเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ให้ความเห็นต่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่ากำลังจะนำพาประเทศย้อนรอยไปในเหตุการณ์เมื่อปี 2534-2535 ซึ่งเรามีความห่วงใยบ้านเมือง ร่างรัฐธรรมนูญนี้จึงต้องถูกคว่ำ และหมดเวลาที่เราจะยืดออกไปแล้ว การสูญเสียจากพฤษภาคมจะต้องเป็นบทเรียนของสังคมไทย ศพวีรชนผู้สูญหายก็ยังไม่เคยได้รับคำตอบจากรัฐบาลใด และสังคมไทยจะต้องหาข้อยุติให้ได้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นอีก

นอกจากนี้เมธายังกล่าวถึง พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ว่าได้เคยประกาศไว้เมื่อครั้งคณะกรรมการญาติฯ เข้าพบเพื่อติดตามและขอคำแนะนำกรณีผู้สูญหายในเหตุการณ์พฤษภาคม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ว่ารู้สึกเห็นใจต่อญาติวีรชนผู้สูญหายจากเหตุการณ์พฤษภา 35 ที่ต้องการกระดูกของผู้เสียชีวิตกลับมาทำพิธีทางศาสนา เมธาจึงเรียกร้องให้รัฐบาลตรวจสอบบุคคลที่สูญหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ทั้งนี้คณะกรรมการฯ จะทวงถามหาคำตอบรัฐบาลทหารอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าว

“เมื่อกองทัพได้มาทำหน้าที่รัฐบาลด้วยตัวเองแล้ว จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่รัฐบาลในฐานะผู้มีอำนาจรับผิดชอบจะหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าวให้แก่ญาติวีรชนพฤษภา 35 โดยหวังว่าการสูญเสียของพวกเขาจะเป็นเครื่องเตือนใจสังคมทุกภาคส่วน ได้ตระหนักว่าความรุนแรงไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้  นอกจากจะเกิดความเจ็บปวดจากความสูญเสียของทุกฝ่าย  และขอเรียกร้องให้สังคมไทยเคารพคุณค่าทางประวัติศาสตร์  รู้จักมีความเมตตาและให้อภัยซึ่งกันและกัน เพราะจะเป็นหนทางสู่สันติสุขอย่างแท้จริง” เมธากล่าว
 

ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา มีการประชุมของคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ร่วมกับญาติวีรชนผู้สูญเสียทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ บาดเจ็บ พิการ และสูญหาย เพื่อลงมติใน 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ และประเด็นแนวทางการทวงถามญาติวีรชนผู้สูญหาย ณ ห้องประชุม 14 ตุลา ถ.ราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ โดยมีที่ปรึกษาคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ได้แก่ พิภพ ธงชัย เลขาธิการมูลนิธิเด็ก อภิปรายในประเด็นญาติวีรชนฯ ผู้สูญหาย, ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อภิปรายในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ 2559 และปรีดา เตียวสุวรรณ กรรมการมูลนิธิพฤษภาประชาธรรม 35 อภิปรายในประเด็นการจัดสร้างอนุสรณ์สถาน “พฤษภาประชาธรรม” 

ปริญญาระบุในการอภิปรายว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชามติ 2559 นี้มีความใกล้เคียงกับรัฐธรรมนูญฉบับ 2534 ที่มีแนวคิดว่าต้องมีคนมาคอยชี้นำ ซึ่งปริญญามองว่าการที่ประชาชนสามารถปกครองตนเองได้น่าจะเป็นการดีกว่า นอกจากนี้ปริญญายังกล่าวในตอนท้ายว่าการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิของญาติวีรชน 35 ที่จะเลือกกาในช่องใด

ด้านพิภพก็ให้กล่าวเปรียบเทียบเหตุการณ์กวางจูในเกาหลีใต้เมื่อ 18 พ.ค. 2523 ที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์พฤษภาคม ปี 2535 รัฐบาลของเขาให้ความสำคัญต่อพื้นที่ทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน เห็นได้จากการที่ประธานาธิบดีมาร่วมเป็นประธานในงานรำลึกนี้ทุกปี ซึ่งในเมืองไทยกลับไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น

ส่วนปรีดาระบุถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างอนุสรณ์สถาน “พฤษภาประชาธรรม” จะมีอนุสาวรีย์รำลึกแด่วีรชนผู้สูญเสีย และพื้นที่สีเขียวให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นการออกแบบ ซึ่ง กทม. ประกาศว่ายินดีรับเป็นเจ้าภาพในการสร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้อีกด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ยิ่งลักษณ์' โพสต์เฟซบุ๊กชวนร่วมลงประชามติ

0
0

 

24 ก.ค. 2559 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (Yingluck Shinawatra)โดยมีเนื้อหาว่า การลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่ออนาคตประเทศของเรา ถือเป็นครั้งสำคัญของการลงประชามติครั้งนี้ใช้คะแนนรับหรือไม่รับร่างมีคะแนนมากกว่ากัน โดยไม่ได้คิดจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงมีจำนวนเท่าไร ดังนั้นการออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เพื่อ 1.เป็นการดำรงรักษาประชาธิปไตย 2.เป็นการเลือกอนาคต ว่าเราเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ที่จะใช้ในการบริหารบ้านเมืองของเราต่อไป 3. ประชาชนได้รับประโยชน์จากร่างรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก ที่ประชาชนทุกคนควรจะได้ร่วมกันใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อกำหนด และร่วมกันตัดสินอนาคตประเทศของเรานะคะ

“ดิฉันจึงอยากจะขอเชิญชวนให้ไปใช้สิทธิกันมาก ๆ เพื่อแสดงออกทางความคิด และร่วมกันกำหนดอนาคตของประเทศด้วยวิถีทางที่เป็นประชาธิปไตย ” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รองแม่ทัพภาคสัญญา ‘อิสลามบูรพา’ เปิดสอนได้ต่อไป หลังศาลแพ่งสั่งยึดที่ดิน เจ้าของพร้อมอุทธรณ์สู้คดี

0
0

รองแม่ทัพภาค 4 ให้สัญญาโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยาเปิดสอนได้ต่อไปไม่ว่าคดีจะสิ้นสุดอย่างไรก็ตามหลังศาลแพ่งมีคำสั่งยึดที่ดินฐานเกี่ยวข้องก่อการร้าย เจ้าของพร้อมยื่นอุทธรณ์สู้คดี กอ.รมน.ออกคำชี้แจงรายละเอียดหวั่นถูกนำไปบิดเบือน

เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2559 ที่โรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยา ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช แม่ทัพภาคที่ 4/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (ผอ.รมน.ภาค 4 สน.) พร้อมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายคนในจังหวัดนราธิวาสเข้าเยี่ยมพะปะผู้บริหารและนักเรียนโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยา หลังจากศาลแพ่งกรุงเทพมหานครมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมาให้ยึดทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินของโรงเรียนอิสลามบูรพาตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากมีการในการสนับสนุนการก่อการร้ายโดยมีนักเรียนและคณะครูให้การต้อนรับประมาณ 100 คน

โดย พล.ต.ชินวัฒน์ กล่าวระหว่างพบปะว่ามาเพื่อให้คำมั่นสัญญาว่าโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยาต้องเดินหน้าต่อไปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม

“เราร่วมกันสานต่อเจตนารมณ์อันดีงามของหะยีมุสตอฟาผู้ก่อตั้งโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยา เพื่อมุ่งหวังให้ลูกหลานมุสลิมได้เรียนรู้ในวิถีของมุสลิมได้อย่างถูกต้อง เพราะอิสลามคือแบบแผนของวิถีชีวิต ดังนั้นมุสลิมมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้หลักคำสอนศาสนา” พล.ต.ชินวัตน์ กล่าว

พล.ต.ชินวัตน์ ระบุโดยสรุปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นที่ปอเนาะญีฮาด (โรงเรียนญีฮาดวิทยา ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานีที่ถูกศาลแพ่งสั่งยึดในข้อหาเดียวกันก่อนหน้านี้) กับโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยาเป็นสิ่งที่สังคมกำลังแยกสิ่งที่ดีงามกับความชั่วร้ายออกจากกันโดยบรรทัดฐานที่ถูกสร้างขึ้นมาในสังคมขอเรียนว่าเจตนารมณ์ของหะยีมุสตอฟาคือความดีงาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นระยะหลังๆ ตามที่ศาลไต่สวนตามของเท็จจริงนั้นคือความชั่วร้ายที่ต้องขจัดให้หมดไป

“ผมขอยืนยันอีกครั้งว่า วันนี้เรามาแสวงหาทางออกร่วมกัน ร่วมกันปกป้องและสืบสานเจตนารมณ์อันดีงามหะยีมุสตอฟา และร่วมกันป้องกันขจัดความชั่วร้ายที่จะแอบแฝงเข้ามาในสถาบันของเราให้ออกไป เราเข้าใจและเราเคารพในวิถีของทุกท่าน เราพร้อมที่จะปกป้อง” พล.ต.ชินวัตน์ กล่าว

ทั้งนี้ พล.ต.ชินวัตน์ ยืนยันว่า กรณีนี้แม้ว่าคดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างไรนั้นก็เป็นอำนาจของฝ่ายตุลาการ แต่ฝ่ายบริหารก็สามารถที่จะดำเนินการอย่างไรก็ได้กับที่ดินแปลงนี้ โดยให้ทางจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการต่อไป

ขณะที่ นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวว่า หากศาลแพ่งพิพากษาสั่งยึดที่ดินโรงเรียนจริง ที่ดินก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังซึ่งกรมธนารักษ์สามารถดำเนินการได้ 3 แนวทาง คือ 1.ขายทอดตลาด 2.ให้หน่วยงานรัฐนำไปใช้ประโยชน์ และ 3.ให้เอกชนใช้ประโยชน์ โดยต้องดำเนินเรื่องขอให้ประโยชน์และต้องจ่ายค่าเช่าให้กรมธนารักษ์ซึ่งกรณีนี้อาจจะให้มูลนิธิอัดดีรอซะห์อัลอิสมียะห์ซึ่งเป็นผู้ดูแลโรงเรียนได้ดูแลต่อไป เพราะเป็นองค์กรที่ทางราชการรับรองแล้ว

“สำหรับที่ดินโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยาทางพล.ต.ชินวัตน์ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลได้ยืนยันแล้วว่าที่ดินแปลงนี้ต้องเป็นที่ดินสำหรับใช้ในการศึกษาและศาสนาตามเจตนารงของหะยีมุสตอฟาต่อไป” นายกิตติ กล่าว

ส่วนนางสุไบดะห์ ดอเลาะ ผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยาได้กล่าวขอบคุณที่ทุกหน่วยงานที่มาเยี่ยมและให้กำลัง ถือว่าเป็นแรงผลักดันที่ในการต่อสู่ไป พร้อมยืนยันว่าตนจะยื่นอุทธรณ์เพื่อสู่คดีต่อไป

นางสุไบดะห์ เปิดเผยว่า ตนจะนำกรณีคำพิพากษาของศาลอาญาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่พิพากษาว่าผู้บริหารของโรงเรียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายมาเป็นประเด็นหนึ่งในการต่อสู้คดี

จากนั้นในเวลา 13.30 น. พล.ต.ชินวัตน์พร้อมคณะทั้งหมดได้เดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องเดียวกันนี้กับคณะกรรรมการอิสลามประจำจังหวัดและผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาสประมาณ 200 คน

กอ.รมน.ออกคำชี้แจงรายละเอียดหวั่นถูกนำไปบิดเบือน

นอกจากนี้ พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน.ยังได้ออกคำชี้แจงในกรณีเดียวกันนี้ด้วย โดยระบุว่า เพื่อเป็นการป้องกันการเคลื่อนไหวชี้นำและบิดเบือนไปจากแก่นแท้ของความจริง กอ.รมน.ภาค 4 สน.ขอชี้แจงสร้างความเข้าใจเพื่อแสวงหาทางออกจากปัญหาร่วมกันต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้

1.การยึดที่ดินของโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยา แม้เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน แต่เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้สนับสนุนเกี่ยวกับการก่อการร้าย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเข้าไปติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุรุนแรงบริเวณบ้านพักภายในโรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยา เมื่อ 2 กรกฎาคม 2550 สามารถควบคุมตัวได้ 7 คน พร้อมตรวจยึดอาวุธ เครื่องกระสุน และอุปกรณ์ในการประกอบระเบิดหลายรายการ และต่อมาศาลจังหวัดนราธิวาสได้มีคำสั่งพิพากษาจำเลยที่ถูกจับกุมทั้งหมด ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิพากษาของศาลอุทธรณ์ อย่างไรก็ตามคำพิพากษายึดที่ดินดังกล่าว เจ้าของกรรมสิทธิ์ยังสามารถใช้สิทธิ์ในการยื่นขออุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ซึ่งเป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานและขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม

2.กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำศาสนา และพี่น้องประชาชนที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการช่วยกันตรวจสอบ และ สอดส่องดูแลเพื่อป้องกันมิให้กลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีต่อสังคมและประเทศชาติใช้สถานศึกษากระทำในลักษณะดังกล่าวอีก เพราะจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อโรงเรียน ชุมชน และนักเรียน อันเกิดจากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่เข้ามาแอบแฝง และแสวงประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว เพื่อสนับสนุนเกี่ยวกับการก่อการร้าย ทำให้เจตนารมณ์เดิมอันเป็นสิ่งดีงามของเจ้าของที่ดินถูกบิดเบือน เป็นเหตุให้โรงเรียนต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและได้รับผลกระทบ

3.กอ.รมน.ภาค 4 สน.และองค์กรทางศาสนาได้ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ทำประโยชน์เพื่อการศึกษาและศาสนาและได้มีความมุ่งมั่นพยายามพัฒนาการเรียนการสอน จนนำไปสู่การยกระดับให้เป็นโรงเรียนสอนศาสนาควบคู่กับสายสามัญที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ดังนั้น แม้ว่ากระบวนการยุติธรรมจะต้องดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย แต่รัฐจะยังคงดำรงไว้ซึ่งเจตนารมณ์เดิมของผู้ก่อตั้ง โดยมุ่งมั่นให้โรงเรียนอิสลามบูรพาวิทยายังสามารถดำเนินการและพัฒนาการเรียนการสอนได้ต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ปกครองและนักเรียนทั้งในปัจจุบันและอนาคต และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นให้เป็นที่ยอมรับและเป็นไปตามเจตนารมณ์อันดีงามของผู้ก่อตั้งโรงเรียนและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลแพ่งสั่งยึดที่ดินโรงเรียนอิสลามบูรพาฐานถูกใช้สนับสนุนการก่อการร้าย ทนายเตรียมอุทธรณ์

ศาลพิพากษายกฟ้อง อดีต 3 ผู้บริหาร รร.อิสลามบูรพา

เอกอัครราชทูตมาเลเซียเยือนอิสลามบูรพา เตรียมหนุนพัฒนาโรงเรียน

อิสลามบูรพาฉลองเปิดโรงเรียนรอบสอง

ศิษย์อิสลามบูรพาปลื้ม ถูกปิด4ปีเปิดใหม่เทอมนี้

‘ซูไบดะห์ ดอเลาะ’อิสลามบูรพา เตรียมรับรางวัลสตรีดีเด่นด้านสันติภาพ

เลื่อนสืบพยานปากสุดท้ายคดีปิดโรงเรียนอิสลามบูรพา

ศาลเลื่อนฟังคำสั่งยกเลิกมูลนิธิ เจ้าของโรงเรียนอิสลามบูรพา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมอวรงค์เผยลางสังหรณ์วันประชามติ คงได้เห็นประชาชนสั่งสอนพวกบิดเบือนประชาธิปไตย

0
0

24 ก.ค. 2559  นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Warong Dechgitvigrom' ในลักษณะสาธารณะ ถึงความเห็นต่อการลงประชามติ โดยระบุว่า 

"ผมมีลางสังหรณ์ว่า วันออกเสียงประชามติ คงได้เห็นประชาชน ออกมาสั่งสอนพวกที่ชอบเอาประชาธิปไตยมาหากินเพื่อประโยชน์ตนเอง โดยเฉพาะพวกบิดเบือนประชาธิปไตย ที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งแล้วทำอะไรก็ได้ วันที่มีอำนาจกลับไม่สนใจประชาชน

ผมฟังเสียงสะท้อน ทุกคนไม่ต้องการประชาธิปไตยจอมปลอม เผาบ้านเผาเมือง ซื้อ ส.ว. กกต.ติดคุก ลืมถุงขนมที่ศาล จังหวัดไหนไม่เลือกไม่ได้งบ จาบจ้วง ใช้ความรุนแรง ออกกฏหมายล้างผิด โกงแบบไม่แคร์ สร้างกระแสถ้าแบ่งกันไม่เป็นไร ผิดไม่ยอมรับผิด ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม แล้วมาอ้างว่านี่คือประชาธิปไตย

คนจำนวนมากสะท้อนว่า เบื่อความวุ่นวาย รำคาญพวกป่วนเมือง อยากได้ประชาธิปไตยเพื่อชาวบ้านไม่ใช่เพื่อนายทุน ลองติดตามดูน่ะว่า ลางสังหรณ์นั้นจะเป็นจริงหรือไม่"  นพ.วรงค์ ระบุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปชป.เรียกร้องทุกฝ่ายเคารพจุดยืนผู้เห็นต่างลงประชามติ รธน.

0
0
พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องทุกฝ่ายให้เกียรติและเคารพจุดยืนของทั้งผู้เห็นชอบ-ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ

 
24 ก.ค. 2559 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ออกมาแสดงจุดยืนเห็นชอบและไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญพร้อมเหตุผลประกอบมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะแสดงออกถึงจุดยืนของตนและหมู่คณะ เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่ปรากฏว่าในโลกสื่อโซเชียลได้มีปฏิกิริยาแสดงออกต่อผู้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญด้วยถ้อยคำรุนแรง ก้าวร้าว บิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อหวังทำลายความน่าเชื่อถือของผู้ที่แสดงออกว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะแม้เราจะมีความเห็นต่างหรือแย้งกับผู้ที่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ควรใช้ถ้อยคำที่ รุนแรง ก้าวร้าว บิดเบือนข้อเท็จจริงโจมตีกันโดยไม่มีเหตุผล แต่ควรให้เกียรติและเคารพในความเห็น จุดยืนที่แตกต่าง
 
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ออกมาแสดงจุดยืนเห็นชอบและไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญพร้อมเหตุผลประกอบมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะแสดงออกถึงจุดยืนของตนและหมู่คณะ เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่ปรากฏว่าในโลกสื่อโซเชียลได้มีปฏิกิริยาแสดงออกต่อผู้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญด้วยถ้อยคำรุนแรง ก้าวร้าว บิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อหวังทำลายความน่าเชื่อถือของผู้ที่แสดงออกว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะแม้เราจะมีความเห็นต่างหรือแย้งกับผู้ที่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ควรใช้ถ้อยคำที่ รุนแรง ก้าวร้าว บิดเบือนข้อเท็จจริงโจมตีกันโดยไม่มีเหตุผล แต่ควรให้เกียรติและเคารพในความเห็น จุดยืนที่แตกต่าง
 
“เพื่อให้การทำประชามติเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น ควรคำนึงถึงพื้นฐานที่สำคัญ คือ ไม่ควรสร้างบรรยากาศการทำประชามติ เป็นเรื่องการเอาชนะคะคานกันโดยไร้เหตุผล ไม่ว่าผลการทำประชามติจะออกมาว่าเห็นชอบหรือ ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญก็ตามไม่ควรเป็นเรื่องแพ้ ชนะ ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ควรทำให้ผลการทำประชามติเป็นชัยชนะร่วมกันของทุกฝ่าย ซึ่งการทำให้เกิดชัยชนะร่วมกันของทุกฝ่ายได้ ต้องช่วยกันทำให้ผลการทำประชามติเกิดความชอบธรรมจึงควรละเว้นการกระทำใดๆที่จะก่อให้เกิดความไม่ชอบธรรม และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทั้งผู้ที่เห็นชอบ และไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญให้ความเคารพจุดยืนที่แตกต่างของกันและกัน พร้อมที่จะรับฟังความเห็นต่างด้วยเหตุผล” นางองอาจ กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตระกูล 'บูรณุปกรณ์' แจงไม่เกี่ยว จม.บิดเบือนร่าง รธน. ที่เชียงใหม่

0
0
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่แจงตระกูล "บูรณุปกรณ์" ไม่เกี่ยวแจกจ่ายจดหมายบิดเบือนร่าง รธน. ที่เชียงใหม่ ด้าน นายก อบจ.เชียงใหม่ ระบุไม่หนีไปต่างประเทศ แค่ไปเยี่ยมลูกสาว

 
24 ก.ค. 2559 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าจากกรณีเจ้าหน้าที่ค้นบริษัท เชียงใหม่ทัศนาภรณ์ จำกัด ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกันกับบ้านของนายวิศรุต คุณะนิติสาร อายุ 35 ปี ถูกดำเนินคดีแจกจ่ายจดหมายบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญตามตู้ไปรษณีย์ในเขตพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งในบริษัทพบของกลางจำนานมากที่เกี่ยวข้องกับการบิดเบือนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นซองจดหมาย เครื่องปริ๊นเตอร์ คอมพิวเตอร์ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบิดเบือนเนื้อร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น 
 
นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตนพอจะทราบเรื่องดังกล่าวอยู่บ้างจากข่าวที่ออกมา แต่ทั้งหมดทั้งมวลต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายบ้านเมืองและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงผู้กระผิด ทำผิดอะไรไว้ก็รับโทษกันไปตามกฏหมาย 
 
ส่วนเรื่องการเกี่ยวข้องกับตระกูลบูรณุปกรณ์นั้น ส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างแน่นอน เพราะต่างฝ่ายต่างทำงาน ขณะที่ทางด้านของนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ไปต่างประเทศจริง เพื่อเยี่ยมลูกสาวในต่างประเทศ ซึ่งได้แจ้งลาล่วงหน้าแล้ว ไม่ได้หลบหนีตามเสียงลือเสียงเล่าอ้าง พร้อมยืนยันความบริสุทธ์เมื่อเดินทางกลับจากต่างประเทศ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ล้อมจับฝูงลิง ที่พิจิตร หลังก่อเหตุ ฉีกบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิประชามติ

0
0

24 ก.ค. 2559 ข่าวสดออนไลน์ และมติชนออนไลน์รายงานตรงกันว่า เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ บริเวณศาลาการเปรียญวัดหาดมูลกระบือ หมู่ที่ 1 ตำบลย่านยาว อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นหน่วยออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ หน่วยที่ 1 ต.ย่านยาว อ.เมืองพิจิตร ซึ่งกกต. นำบัญชีรายชื่อผุ้มีสิทธิ์ออกเสียงลง ประชามติ  ถูกฉีกขาดกระจัดกระจายไปทั่ว

ต่อมา พ.ต.ท.บรรจบ อุทาโย สารวัตรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลย่านยาว พร้อมด้วย ชัชวาล  สุขสวัสดิ์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลย่านยาว และเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน สภ.ย่านยาว ได้เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุหลังได้รับแจ้งว่าบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงลงประชามติ และใบประกาศรายละเอียดการลงประชามติ ถูกฉีกทำลาย

ซึ่งจากการตรวจสอบในที่เกิดเหตุพบว่ามีกระดาษบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงลงประชามติถูกฉีกไปจำนวน 5 แผ่น จากทั้งหมด 15 แผ่น และกระดาษประกาศรายละเอียดการออกเสียงประชามติที่ติดอยู่ในหน่วยตรวจสอบรายชื่อถูกฉีกไปอีกจำนวน 7 แผ่นจากทั้งหมด 10 แผ่น รวมเสียหายทั้งหมด 12 แผ่นเจ้าหน้าที่จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งสอบถามชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ทราบว่าในที่เกิดเหตุในช่วงสายๆที่ผ่านมา พบว่ามีฝูงลิงแสมที่อาศัยอยู่บริเวณวัดหาดมูลกระเบือ เกือบ 100 ตัว ยกฝูงขึ้นไปฉีกกระดาษออกเสียงลง ประชามติเล่นจนผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 มาพบและทำการไล่ฝูงลิงออกไปแต่ฝูงลิงยังถือกระดาษ ที่ฉีกแล้วติดมือไปด้วยอีกหลายแผ่น

จึงทำการล้อมจับแต่ลิงฝูงดังกล่าวได้ทิ้งกระดาษบัญชีรายชื่อไว้และปีนไต่หลบหนีไป อย่างไรก็ตามด้าน ชัชชวาล สุขสวัสดิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ต.ย่านยาว จะได้ทำการหาอุปกรณ์มาป้องกันไม่ให้ฝูงลิงมาทำลายบัญชีรายชื่อต่อไป

ชัชวาล กล่าวว่า หลังจากที่ กกต.พิจิตรนำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติมาติดไว้ในศาลาการเปรียญวัด วัดหาดมูลกระบือ หมู่ที่ 1 ตำบลย่านยาว อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่ง เป็นหน่วยออกเสียงประชามติหน่วยที่ 1 เพื่อ ให้ประชาชน ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงมาตรวจสอบรายชื่อปรากฏว่าได้มีลิงที่อาศัยอยู่ในวัดจำนวนเกือบ100 ตัว ยกฝูงเข้าไปบนศาลาวัด และเข้าไปฉีกบัญชีรายชื่อจนปี้ป่น

ทางด้าน พล.ต.ต.จรวย ผลประเสริฐ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ขณะนี้ตนเองได้รายงานให้กับผู้บังคับบัญชาให้ทราบแล้ว อีกทั้ง  ยังได้แจ้งให้ กกต. จังหวัด และ ฝ่ายปกครองให้ทราบ แล้วซึ่ง เป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ได้ มีใครมาป่วนแต่อย่างใด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้าน 11 เครือข่ายประกาศชัด Vote NO ไม่รับร่าง รธน.

0
0

เก็บประเด็นเหตุผลชาวบ้าน 11 เครือข่าย ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ชี้ผิดตั้งแต่ที่มา ริดรอนสิทธิเสรีภาพ ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำลายความเข้มแข็งภาคประชาชน มองคนไม่เท่ากัน ยันชัดทำ 1 สิทธิ 1 เสียง ไร้ความหมาย

24 ก.ค. 2559 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้มีการจัดเวที “เสียชาวบ้านกับร่างรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติ” ซึ่งเวทีนี้เป็นส่วนหนึ่งในงาน ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กำหนดอนาคตประชาชน ซึ่ง 43 องค์กรร่วมจัดขึ้น และสำหรับเวทีเสียงชาวบ้านครั้งนี้มีเครือข่ายชาวบ้านร่วมเวทีทั้งหมด 11 เครือข่ายประกอบด้วย 1.เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ-บำนาญแห่งชาติ 2.เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 3.สมัชชาคนจน 4. เครือข่ายสลัม 4 ภาค 5.เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ 6.เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ และกลุ่มกระเหรี่ยงภาคเหนือ 7.สมัชชาอู่ข้าวอู่น้ำภาคกลาง 8.กลุ่มคนงานย่านรังสิต 9.สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) 10.กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจาก ม.44 และคำสั่ง คสช. และ 11.เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ (Permatamas)

จะรับร่างได้อย่างไร เมื่อรัฐธรรมนูญยังมองคนไม่เท่ากัน

สมชาย กระจ่างแสง ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ-บำนาญแห่งชาติ เริ่มต้นการแสดงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญโดยระบุว่า หลังจากปี 2545 ประเทศไทยได้เริ่มมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นระบบที่ให้ประชาชนได้เข้ารับการรักษาพยาบาลอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ซึ่งคำว่า เสมอภาค และเท่าเทียมกัน มีนัยคัญคือ เมื่อใดก็ตามที่เข้ารักการรักษาผู้ใช้บริการไม่ต้องแสดงให้เห็นถึงความยากจน ทุกคนเป็นคนไทยที่มีเลขประจำตัวประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน

“ในมาตรา 51 ในรัชฐธรรมนูญปี 2550 ในนั้นเขียนว่า บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตราฐาน สังเกตุคำว่า เสมอกัน นะครับไม่มีอย่างอื่น ฉะนั้นกฎหมายลูกจึงได้มีการจัดตั้งระบบประกันสุขภาพได้และจัดบริการให้กับคนทุกคน แต่ร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในมาตราที่ 47 เขียนว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ และช่วงหนึ่งเขียนอีกว่า บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สิ่งที่หายไปก็คือสิทธิด้านการรักษาของประชาชนออกไป แล้วให้เหลือเฉพาะผู้ยากไร้” สมชาย กล่าว

สมชายวิเคราะห์ว่า เรื่องระบบประกันสุขภาพที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญนั้น ประชาชนทุกคนอาจจะไม่ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกันอีกต่อไป และมีลักษณะของการให้บริการในลักษณะของการให้ความช่วยเหลือ โดยไม่ได้มองว่าสิทธิเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนพึ่งมีพึ่งได้

“ข้อสังเกตุของเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เรารู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างรัฐธรรมนูญนี้ มันเป็นการเอาสิทธิของประชาชนออกไป และเมื่อเอาสิทธิออกไปแล้ว สิ่งที่เขาทำ ซึ่งทำก่อนที่จะมีการลงประชามติด้วยซ้ำไปคือ การทำระบบรับลงทะเบียนคนจน ฉะนั้นมันมีเจตนารมย์ที่สอดรับกันระหว่างสองเรื่องนี้ นอกจากลดทอนสิทธิแล้ว การลงทะเบียนการหาว่าใครคือคนจน อันนี้มันการริดรอนสิทธิความเป็นมนุษย์ของคน ฉะนั้นพวกเราไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ริดรอนสิทธิ และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” สมชาย กล่าว

การกระจายการถือครองที่ดินอาจจะไม่มีอยู่จริง

“แต่ว่าการกระจายการถือครองที่ดินในรัฐธรรมนูญฉบับที่จะลงประชามติ เขียนไว้ในมาตราที่ 72 ในแนวนโยบายแห่งรัฐ เขียนไว้กว้างๆ ว่ารัฐพึ่งกระจายการถือครองที่ดิน เขียนไว้แค่นี้ คือทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ ประเทศไทยปฎิรูปที่ดินมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ก็ทำไม่สำเร็จจนกระทั่งปัจจุบัน ฉะนั้นการมาเขียนไว้ง่ายๆ ว่ารัฐพึ่งกระจายการถือครองที่ดิน มันก็เป็นเรื่องสิ้นหวัง” อุบล อยู่หว้า กล่าว

อุบล อยู่หว้า ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรทางเลือก ได้ระบุถึงประเด็นการกระจายการถือครองที่ดินในร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นเรื่องที่สิ้นหวัง ด้วยเหตุว่าไม่ได้มีการที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงว่ารัฐจะต้องดำเนินการปฎิรูปการถือครองที่ดิน มีแต่เพียงแนวนโยบายแห่งรัฐ ที่อาจจะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้

คนจนคือผู้ได้รับผลกระทบมาตลอดหลังจากการเข้ามาของ คสช.

ไพฑูรย์ สร้อยสอด สมัชชาคนจน ได้แถลงถึงจุดยืนของสมัชชาคนจนว่า หลังจากการเข้ามาของ คสช. คนจนกลายเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งเรื่องการทวงคืนผืนป่า ซึ่งแม้จะการกำหนดว่าจะไม่ให้ส่งผลดระทบต่อผู้ยากไร้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นคนจนเป็นกลุ่มแรกที่ถูกไล่ออกจากพื้นที่ เขากล่าวต่อว่า แม้แต่กรณีการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร ซึ่งโครงการถูกหยุดพักไป คสช. ก็ได้มีการดำเนินโครงการต่อ โดยไม่มีการรับฟังความคิดของชาวบ้าน

"สิ่งเหล่านี้ที่เขาทำคือ การทำร้ายคนจน เขาพยายามจะกดหัวเราไม่ให้เราได้แสดงออก ฉะนั้นพวกเรารับไม่ได้กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้" ไพฑูรย์ กล่าว

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ลดทอน และทำลายหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย

สุรพล สงฆ์รักษ์ ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ได้แถลงจุดยืนว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ลดทอน และทำลายหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเห็นได้ชัดตั้งแต่การดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วว่า ไม่ได้มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างแท้จริง

เขากล่าวต่อไปว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้พื้นที่ทางการเมืองถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ ลดทอนอำนาจ ศักดิ์ศรความเป็นมนุษย์ของประชาชน ไม่เหลือพื้นที่การมีส่วนร่วมในการบวนการใช้อำนาจทางการเมือง ประชาชนจะไม่สามารถกำกับสถาบันทางการเมือง หรือกลไกต่างๆ ทางการเมืองได้เลย และร่างจะก่อให้เกิดสภาวะระบบข้าราชการเป็นใหญ่ ทำให้ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลจากฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะตัวแทนสประชาชนที่มาจากการเลือกตั้ง จะถูกกำกับถูกควบคุมโดยกลไกจากองค์กรต่างๆ ที่มาจากการแต่งตั้ง และองค์กรเหล่านี้มีอำนาจมีบทบาทมากกว่าตัวแทนของประชาชนที่ผ่านการเลือกตั้งเข้าไป

“ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้ 1 สิทธิ 1 เสียง ของประชาชนเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย และร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้เปิดโอกาสประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ หรือมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้นแต่อย่างใด เมื่อไร้สิทธิเสรีภาพ ก็ไร้อำนาจการต่อรองทางการเมือง และจะถามหาสิ่งที่เป็นเรื่องของความเสมอภาคในทางเศรษฐกิจ ที่จะทำให้ประชาชนพอจะลืมตาอ้าปาก ได้พัฒนาชีวิความเป็นอยู่ ถ้าระบบสูงสุดผิดพลาดคลาดเคลื่อนและบิดเบือนไปจากสภาพความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ประชาชนทั้งหลายจะกลายเป็นเหยือสังเวยอำนาจไปโดยปริยาย รัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของบ้านเมืองจะนำพาประเทศชาติไปสู่หายนะ” สุรพล กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายประชาชนประกาศ “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ”

0
0

24 ก.ค. 2559 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงาน "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กับอนาคตประชาชน" ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาคนจน-สลัมสี่ภาค-กลุ่มรัฐสวัสดิการ-เหมืองแร่-เกษตรทางเลือก-เครือข่ายพลเมืองเน็ต-เอฟทีเอวอทช์-เครือข่ายกระเหรี่ยง-ประชาชนเจ้าของแร่-การศึกษาทางเลือก ประกาศ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอมุมมองปัญหาอันหลากหลายของแต่ละกลุ่ม พุ่งตรงปมปัญหาในร่างมีชัย รายละเอียด มีดังนี้


ชุลีพร ด้วงฉิม ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการและกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า “พวกเราพาสังคมเดินมาถึงจุดที่ได้รับสิทธิถ้วนหน้า หลุดพ้นจากการสงเคราะห์มาแล้วกว่า 15 ปี ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่มีการเลือกว่าคนรวยหรือจน ฉะนั้น ณ วันนี้ การที่รัฐจะมาออกนโยบายขึ้นทะเบียนคนจนเป็นการตีตราแบ่งแยกชนชั้นประชาชน ทั้งที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เราต้องเท่าเทียมกัน รัฐมีหน้าที่ต้องจัดสวัสดิการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน”

“ปัจจุบันรัฐมีสวัสดิการแล้วสามเรื่อง การร่างรัฐธรรมนูญควรรับรองสิทธิถ้วนหน้าจากรัฐ แต่มาตรา 47และ 48 เห็นว่ามีการแบ่งแยก ทุกมาตรามีคำว่า ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเราไม่รู้ว่าจะออกมาอย่างไร”

“เจตนารมณ์ของร่างรัฐธรรมนูญนี้ ลดทอนสิทธิขั้นพื้นฐานและลดทอนผู้ยากไร้ เป็นการสงเคราะห์ เป็นการตีตราคนจน การลงทะเบียนคนจนจะทำให้สวัสดิการทั่วหน้าไม่มีอีกต่อไป เครือข่ายฯ จึงขอประกาศว่าเราไม่เห็นชอบร่างร่างรัฐธรรมนูญที่เลือกปฏิบัติและลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”

ไพฑูรย์ สร้อยสด ตัวแทนสมัชชาคนจน กล่าวว่า “ตั้งแต่ 22 พ.ค.2557 ที่มีการยึดอำนาจ สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วย แต่หลังจากวันนั้นเกือบสองปีเราแทบไม่มีเวทีพูดคุยกับประชาชน วันนี้เราของแถลง ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เห็นหัวคนจน”

เขากล่าวว่า จากการที่ คสช. ยึดอำนาจ 26 เดือนมาแล้ว ผลการบริหารงานก่อให้เกิดความเดื้อดร้อนและละเมิดสิทธิคนจนำนวนนมาก เช่น โครงการทวงคืนผืนป่า โครงการสร้างเขื่อน การไล่รื้อคนจนเมือง การไม่อุดหนุนราคาผลผลิตการเกษตร การปล่อยให้แรงงานถูกเลิกจ้างโดยไม่มีมาตรการช่วยเหลือ มีการเรียกตัวผู้นำชาวบ้านไปปรับทรัศนคติ มีความพยายามจะยกเลิกสวัสดิการของประชาชน เช่น การให้ร่วมจ่ายในหลักประกันสุขภาพ การปลดคณะกรรมการประสังคม การพยายามลดค่าตอบแทนผู้สูงอายุ การพยายามขึ้นทะเบียนคนจน และยังแต่งตั้ง สนช. สปท. ออกกฎหมายที่ทำร้ายและลิดรอนสิทธิคนจน เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้ง กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญสามานย์ฉบับนี้ พยายามเปิดช่องให้มีนายกฯ จากคนนอก ตระเตรียมเป็นกระบวนการให้มีบทเฉพาะกาล ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง และมีอำนาจเลือกนายกฯ

“พวกเราไม่สามารถไว้ใจและรับรองร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้ ดังนั้น 7 ส.ค.นี้เราจะไปโหวตโน”

จำนงค์ หนูพันธ์ ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า เมื่อเกิดรัฐประหารสลัมสี่ภาคไม่ยอมรับมาตลอด เมื่อมาเจอเรื่องร่างรัฐธรรมนูญก็มีปัญหาหลายเรื่อง สิทธิชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานเราก็ไม่มี เราจึงต้องออกมาแสดงจุดยืนว่า ร่างรรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน คลุมเครือทุกอย่าง และเรื่องของพรรคการเมืองก็ปิดกั้นทุกอย่าง แล้วยังมาวางยุทธศาสตร์ยาวให้ประเทศชาติอีก เราจึงขอแสดงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และขอแถลงว่า คนสลัมรู้ทันร่างรัฐธรรมนูญมีชัย ลดอำนาจประชาชน ลดความสำคัญของการเลือกตั้ง ขอแถลงท่าทีว่า 1. เห็นว่ากระบวนการก่อนลงประชามติ รัฐไม่มีความจริงใจให้ประชาชนได้รู้ข้อมูลเนื้อหาอย่างรอบด้าน เนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยกลับไม่ถูกกล่าวถึง 2.เราเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งทำให้คนทุกคนมีส่วนกำหนดตัวนายกฯ และนโยบายที่ประชาชนต้องการ

5.แววรินทร์ บัวเงิน ตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
เธอกล่าวว่า ทรัพยากรเป็นของประชาชนทุกคน ในยุคเผด็จการคสช. เราเฝ้าติดตามดูสถานการณ์บ้านเมือง ทั้งปัญหาสัมปทาน สำรวจการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ต่างๆ และการละเมิดสิทธิของประชาชน รัฐบาลคสช. ขอเสนอประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.ออกกฎหมายปิดกั้นการชุมนุม เหยียบย่ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือกับนักลงทุนปกป้องผลประโยชน์ของกันและกัน มาร่วมขุ่มขู่ บังคับ และฟ้องคดีประชาชน 2. สนช.ตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาแก้ไขกฎหมายแร่ฉบับใหม่ โดยให้กันเขตเหมืองแร่ออกจากพื้นที่หวงห้าม เพราะที่ผ่านมากฎหมายไม่อนุญาตให้บริษัทมีสิทธิในที่ดินของตนเอง ทำให้ต้องขออนุญาตสัมปทาน ยุ่งยากเดินเรื่องหลายขั้นตอน เกิดความล่าช้า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในไทยเข้าสู่ทางตีบตันพอสมควรในการสัมปทานพื้นที่ใหม่ ที่ผ่านมาตลอดร้อยปีก็ต่อสู้กันเรื่องนี้ จนสบโอกาสในรัฐบาลคสช. ที่เห็นโอกาสว่า mining zone ก็ไม่ต่างจากเขตเศรษฐกิจพิเสษและมีการปรับปรุงพ.ร.บ.แร่ทั้งฉบับ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นคือ หลักการของไมนิ่งโซนกดทับกฎหมายหลักหลายฉบับ ทำให้พื้นที่ทุกประเทศที่ไม่เหมาะกับกิจกรรมเหมืองแร่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรม 3.ไม่ว่าระบอบประชาธิปไตยจะดีพอหรือไม่ก็ตาม แต่เราต้องการให้การออกกฎหมายต่างๆ มีความยึดโยงกับประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งผ่านการได้ตัวแทนที่ยึดโยงกับเสียงประชาชนเท่านั้น ซึ่งส.ว.แต่งตั้งไม่ได้สะท้อนหรือยึด

“เราจะผลักดันให้ยกเลิกเพิกถอน พรบ.ชุมนุม ไม่ขอรับร่างกฎหมายแร่ ที่กำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้”

“เราไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะลงประชามติ โดยการไปใช้สิทธิออกเสียงโหวตโน, ไม่เห็นด้วยกับคำถามพ่างร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยการออกเสียง “ไม่เห็นด้วย” กับคำถามพ่วง”

พฤ โอ่โดเชา ตัวแทนเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือและกลุ่มกระเหรี่ยงภาคเหนือ กล่าวถึงปัญหาของประชาชนชาวกระเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในป่ามายาวนานจนเกิดกฎหมายป่าไม้ที่ต้องการจะขายไม้ในช่วงแรกและให้สัมปทานนายทุน จากนั้นก็เข้าสู่ยุคอนุรักษ์ประกาศกฎหมายอีกมากมายที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เดือดร้อน จนกระทั่งนโยบายทวงคืนผืนป่า หลายหมู่บ้านติดคุกติดตะรางกันทั้งหมู่บ้าน ต่อมามีรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เอื้อให้กับสิทธิชุมชน รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ยังพอใช้ได้

“เขาบอกวันที่ 7 สิงหา ฮะ!! อะไร เข้าพรรษาเหรอ วันเตะฟุตบอลเทศบาลเหรอ จนลงมากรุงเทพฯ มาเอาร่างรัฐธรรมนูญ ก็อ่านไม่รู้เรื่อง ก็คุยกับนักวิชาการ เรื่องของพวกผมอยู่ในมาตรา 70 หมวดแนวนโยบาย คำว่าแนวคือทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ อยากให้ไปอยู่หมวดหน้าที่ของรัฐ และขอให้แก้ไขเนื้อหาในมาตรา 70  เป็นรัฐต้องส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชนพื้นเมือง ชาติพันธุ์ต่างๆ และขอตัดทิ้ง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ถามว่าใครเป็นคนตัดสิน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือสุขภาวะอนามัย เขาทำเป็นยื่นให้นิดหน่อยแต่เอาชีวิตผมไปหมดเลย และเรื่องที่สาม เรื่องสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ทั้งนี้ เป็นไปตามที่รัฐจะให้หรือไม่ เราควรมีสิทธิ สิทธิเป็นของผมอยู่แล้วไม่ใช่รัฐจะให้หรือไม่ให้”

“ตอนนี้คนดอยไม่รู้ คนดอยชอบคิดว่า เอาไปซะ ให้เขาไปๆ ซะ แต่หารู้ไม่เขาจะได้อยู่ต่อยาว” พฤกล่าว

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล จากเอฟทีเอวอทช์กล่าวว่า ในมาตรา 178 กมธ.ได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาจากมาตรา 190 เดิม (เรื่องการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ) ซึ่งมองว่ากระทบหลักสำคัญ กัดกร่อนหลักธรรมาภิบาล ตัดส่วนที่กำหนดให้ ครม.ชี้แจงให้ข้อมูลตั้งแต่จัดทำกรอบเจรจา, ทำลายการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ตัดที่ ครม.ต้องเสนอกรอบให้ความเห็นชอบ, กมธ.ยังกำหนดว่าถ้ารัฐสภาพิจารณาไม่เสร็จใน 60 วันให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ, สาม ลดอำนาจการต่อรองของฝ่ายบริหารเอง ตัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการเจรจา ทำให้ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจต่อรอง, สี่ จำกัดประชาธิปไตยในเชิงเนื้อหา ตัดเนื้อหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งที่จะช่วยทำให้การทำข้อตกลงมีความรอบคอบ ดังนั้น ตนเองจึงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้และพร้อมเข้าร่วมเวทีถกแถลงถกเถียงเรื่องนี้อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

อุบล อยู่หว้า ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวว่า จะโหวตไม่เห็นชอบ เพราะสิทธิเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติในทันที ไม่ใช่สิ่งที่รัฐจะหยิบยื่นให้ เอาสิทธิจำนวนมากไปเขียนในแนวนโยบายแห่งรัฐ “สิทธิมีได้ตามวิธีการและกฎหมายบัญญัติ” เครือข่ายขอเรียกร้องให้ประชาชนที่ทำกินกับการเพาะปลูกต้องได้รับสิทธิที่จะมีที่ดินทำกิน ประเด็นนี้เราทำไม่สำเร็จ เช่น กรณี สปก. ที่ห้ามซื้อขายแต่ก็ยังทำกันทั้งแผ่นดิน ทำให้เห็นว่าต้องมีหลักประกันในระดับรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่สอง สิทธิการถือครองปัจจัยการผลิต เราล่อแหลมว่าจะมีกฎหมายละเมิดต่อวัฒนธรรมชุมชน สิทธิเกษตรกรและสิทธิชุมชนต้องไปด้วยกัน

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ตัวแทนเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นที่ทำงานร่วมกับตัวรัฐธรรมนูญนี้ สิ่งที่เรากลัว คลางแคลงใจในตัวร่างรัฐธรรมนูญ จริงๆ ทำงานมาก่อนแล้ว มีสิ่งเหล่านั้นอยู่แล้ว มีอะไรมาข้องเกี่ยวอยู่บ้าง ถ้าดูร่างมาตราสุดท้าย 279 บอกว่า ประกาศ คำสั่งใดๆ ที่ประกาศใช้มาของ คสช.เองหรือ หัวหน้า คสช. ให้ใช้ต่อไปและมีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถ้าจะแก้ไขต้องออก พ.ร.บ. เข้าใจว่า ขณะนี้คำสั่งและประกาศต่างๆ น่าจะมีเกือบสามร้อยฉบับแล้ว

ยกตัวอย่างตั้งแต่รัฐประหารมีคำสั่งหลายอันที่ควบคุมอินเทอร์เน็ต สุดท้ายเกิด คณะกรรมการติดตามสื่อสังคมออนไลน์ ทำงานร่วมกับไอซีที ตั้งคณะทำงานอีกชุด เข้าไปถอดรหัส สิ่งที่เราส่งส่วนตัว เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เขาสามารถดูได้ คณะกรรมการต่างๆ เหล่านี้ก็จะมีอายุต่อไปอีก ตราบใดที่ประกาศนี้ยังชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่มีการออก พ.ร.บ.ออกมาแก้ไข
มาตรา 60  เรื่องคลื่นความถี่ เดิมในรัฐธรรมนูญ 2550  อยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพ มาตรา 47 มีความเชื่อมโยงว่าประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เราจำเป็นต้องมีคลื่นความถี่ของตัวเอง ดังนั้น จึงมีการบริหารคลื่นความถี่ไว้ในหมวดนี้ แต่ร่างนี้ ปรับเปลี่ยนหมวด จากสิทธิเสรีภาพ ไปหมวดหน้าที่ของรัฐ และเปลี่ยนสาระสำคัญคือ สิ่งที่หายไป มีการตัดคำว่า ตัวองค์กรบริหารคลื่นความถี่ ต้องจัดให้มีการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ เดิมในมาตรา 47 กำหนดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ ก็หายไปเหมือนกัน สุดท้ายที่หายคือ ในการจัดกิจการสื่อสารมวลชนต่างๆ ตัวองค์กรจะต้องปกป้องไม่ให้มีการขัดขวางเสรีภาพหรือปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน แต่มาตรา 60 ใช้คำว่า การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของประชาชน ต่อไป กสทช.ก็มีอำนาจที่จะตัดสินว่า ข้อมูลแบบไหนถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

กนกพร สบายใจ ตัวแทนเครือข่ายการศึกษาทางเลือก กล่าวว่า เรื่องการศึกษาทางเลือกได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 แต่ร่างนี้ตัดทิ้งไป โดยที่เราไม่เข้าใจทั้งที่มันเป็นหลักสิทธิมนุษยชนสากล ในกฎหมายใหญ่ควรเขียนเรื่องหลักการที่จะให้ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกการศึกษาและหลักการที่จะได้รับการสนับสนุนสวัสดิการที่ถ้วนหน้าที่รัฐจัดให้ ยังมีปัญหารวมศูนย์จัดการศึกษาไว้ทุกด้านทุกระบบไว้ที่รัฐ สิ่งที่ควรทำคือ ควรร่างให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก, สิทธิมนุษยชน, เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เป็นกลไกหลักของสากล ที่ระบุเรื่องการศึกษาไว้ชัดเจน ทั้งนี้ มีข้อเสนอ คือ หนึ่ง การจัดการศึกษาเป็นสิทธิและหน้าที่ของปวงชนชาวไทยได้ สอง รัฐส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับจัดการศึกษาได้ สาม เด็กและผู้เยาว์ควรได้รับสิทธิในการไม่เลือกปฏิบัติ สี่ รัฐธรรมนูญควรบัญญัติสาระหลักตามกติกาสากลที่ไทยเป็นภาคี โดยเฉพาะการส่งเสริมสิทธิต่างๆ เขียนหลักการไว้อย่างชัดแจ้ง และไม่เปิดช่องให้กฎหมายลูกบัญญัติบิดพริ้วไปจากหลักสากล

สุรพล สงฆ์รักษ์ ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) กล่าวว่า หลังรัฐประหารมีการปิดกั้นคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนในวงกว้าง คำสั่งเรื่อง สปก. จริงๆ แล้วพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของเกษตรกร รวมแล้วไม่น้อยกว่าพันครอบครัว ออกโดยมาตรา 44 สื่ออาจเห็นว่าเป็นเรื่องไล่นายทุน แต่ในพื้นที่สุราษฎร์นั้นไม่ใช่ การขับไล่คนจนออกจากพื้นที่ที่เคยอยู่และทำกิน จะทำให้คนเหล่านี้เป็นแรงงานเร่ร่อนรับจ้าง จึงขอประกาศจุดยืน 1. ร่างนี้ลดทอนทำลายหลักฐานพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย 2.ร่างนี้ทำให้พื้นที่ทางการเมืองถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ ลดทอนจนประชาชนไม่เหลือพื้นที่มีส่วนร่วมในทางการเมือง 3.ระบอบราชการจะเป็นใหญ่ ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลจากฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเพราะถูกควบคุมจากองค์กรอิสระที่มาจากการแต่งตั้ง 4.การเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะจะถูกปิดกั้น 5. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นๆ จะถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำ  6. ไม่มีการรับรองสิทธิเกษตรกรและไม่คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม พร้อมขอเรียกร้องเร่งด่วนให้ยุติการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 36/2559 ต้องการให้กองทัพหรือทหารหยุดแทรกแซงการทำงานของระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย สกต.ขอประกาศต่อสาธารณะว่าไม่สามารถรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้

สุภาพร มะลิลอย ตัวแทนเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรา 44 และประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. กล่าวว่า มีหลายคำสั่งกระทบต่อประชาชน เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยฯ ข้อ12 ห้ามมั่วสุม 5 คนขึ้นไปและใช้ศาลทหารพิจารณาคดี (ประกาศ คสช. ที่ 37/2557) เป็นคำสั่งที่ไม่จำเป็น และยังบังคับใช้อย่างกว้างขวาง ละเมิดสิทธิประชาชนโดยง่าย 

อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญกำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ หัวหน้าและ คสช. และการออกประกาศคำสั่ง บทเฉพาะกาล มาตรา 265 มีผลให้ คสช.ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี ครม.หลังการเลือกตั้ง และมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว หมายความว่า คสช.ยังมีอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ และมาตรา 279 ให้ประกาศ คำสั่ง ที่ใช้บังคับอยู่ หรือจะประกาศ ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การจะยกเลิกต้องออกพ.ร.บ. ดังนั้น บทเฉพาะกาลสองมาตรานี้ รับรองความชอบธรรมของประกาศคำสั่งของ คสช. และยินยอมให้มีอำนาจออกคำสั่งต่อไปทั้งที่จะกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นการสร้างวัฒนธรรมที่ไม่ถูกต้องในการยกเว้นการรับผิดของผู้ใช้อำนาจ เครือข่ายจึงเห็นว่า แค่สองมาตรานี้ก็ไม่สามารถรับร่างนี้ได้แล้ว

ตูแวนียา ตูแวแมแง เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ (Permatamas)กล่าวว่า จุดยืนของเครือข่ายคือ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ สันติภาพ ของประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ การยึดอำนาจนำมาสู่การละเมิดสิทธิจำนวนมากโดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง พบว่าร่างนี้ขัดหลักประชาธิปไตย ไม่เคารพเสียงทางการเมืองของประชาชน ไม่เคารพสิทธิชุมชน และรองรับคำสั่ง คสช. เช่น การยกเว้นการใช้กฎหมายผังเมือง การลดขั้นตอนทำอีไอเอ

นอกจากนี้ ร่างนี้ยังส่งเสริมการเผยแพร่พุทธศาสนาเถรวาท ไม่รองรับศาสนาอื่นและพุทธนิกายอื่นๆ อาจนำสู่การละเมิดสิทธิของคนนับถือศาสนาอื่น รวมถึงมีการลดทอนอำนาจทางการเมืองท้องถิ่น ให้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ปิดกั้นเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง ตรงนี้อาจทำให้การก่อเหตุในพื้นที่รุนแรงขึ้น ทั้งยังสร้างเงื่อนไขบังคับใช้กฎหมายในนามความมั่นคง แทบไม่หลงเหลือกระบวนการเสรีภาพ อาจรุนแรงหนักกว่าเดิม และขอเรียกร้องให้ คสช.ยุติบทบาทและเปิดให้ประชาชนเลือกตั้ง สสร. และนำรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้เพื่อเปิดให้เกิดการเลือกตั้ง

ขดดารี บินเส็น ตัวแทนภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแดนใต้กล่าวว่า ร่างนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่กำลังทำให้คนทั้งประเทศได้รับการศึกษาน้อยลง และทำให้คนสามจังหวัดแตกแยกครั้งใหญ่ในอนาคต เนื่องจากมาตรา 54 ที่ระบุว่ารัฐต้องจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล นอกจากนี้ ยังมีท่อนหนึ่งบอกว่าทุกคนต้องมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ “ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ” นี่เป็นครั้งแรกที่มีการเขียนเช่นนี้ ฉบับอื่นบอกว่า รัฐต้องส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนต่างศาสนา แปลว่าอะไร ถ้าพี่น้องผมจะรวมตัวกันละหมาดที่มัสยิด ถ้ามีคนพูดว่าเป็นภัยต่อรัฐ จะทำอย่างไร มาตรา 67 รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาและศาสนาอื่น แต่ในเรื่องการศึกษาศาสนา ไม่ระบุถึงศาสนาอื่น นอกจากเรื่องเนื้อหาแล้ว เขามองว่า ที่มาของรัฐธรรมนูญไม่ชอบธรรม การฉีกรัฐธรรมนูญที่ดีแล้วเอารัฐธรรมนูญร้ายมาให้ เป็นเรื่องรับไม่ได้ พร้อมชี้ว่ารัฐธรรมนูญต้องไม่เขียนเพื่อประโยชน์ทับซ้อนของตัวเอง เช่น กรณีเขียนให้ ส.ว.มาจาก คสช. และอยู่ในตำแหน่งหลายปี สุดท้าย ย้ำว่า การออกเสียงประชามติต้องเป็นไปอย่างมีเสรีภาพและเป็นธรรม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เงิบ! ศรีสะเกษ จนท.เก็บธง 'กาโน' หวั่นป่วนประชามติ ที่แท้ธงยี่ห้อกาแฟ

0
0

24 ก.ค.2559 เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ข่าวศรีสะเกษ รายงานว่า ธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับรายงานด่วนจาก สุรชาติ แก้วศิลา นอภ.อุทุมพรพิสัย ว่าศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) อ.อุทุมพรพิสัย เพื่อสนับสนุนการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 โดยได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่า พบการเขียนข้อความลงในกระดาษผูกติดกับไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายธง จำนวนมาก เขียนข้อความว่า “กาโน” ปักเรียงรายเป็นแถวแนวยาว เต็มสองข้างทาง ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา (สพป.) ศรีสะเกษ เขต 2 ถึงสี่แยกบ้านสองห้อง หมู่ 8 ต.กำแพง ระยะทางรวม 200 เมตร

จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองลงพื้นที่ตรวจสอบ พบธงกระดาษสีขาวลักษณะคล้ายกระดาษสมุด ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม เขียนด้วยตัวอักษรสีแดง ข้อความว่า “กาโน” ผูกติดกับไม้ไผ่ สูงประมาณ 1 เมตร ปักเรียงรายเต็มสองข้างทาง ตามที่ได้รับแจ้ง ซึ่งอาจเป็นการก่อกวน สร้างความวุ่นวาย เพื่อให้การออกเสียงประชามติ ไม่เป็นไปโดยเรียบร้อย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ร่าง รธน.59 เพราะคำว่า “กาโน” อาจเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ คล้ายๆ กับ “โหวตโน” โดยสื่อความหมายคือ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำการตรวจยึดธงกาโน จำนวน 47 อัน ไว้เพื่อตรวจสอบ

ซึ่ง ธวัช ได้รีบรุดเดินทางไปที่ ศรส.อ.อุทุมพรพิสัย ทันทีที่ได้รับรายงาน พร้อมกับเรียกประชุมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบหาแหล่งที่มาของธงดังกล่าว ต่อมาเหตุการณ์กลับกลายเป็นโอละพ่อ เมื่อสืบทราบว่าต้นตอของธงดังกล่าวและวัตถุประสงค์ในการปักไม่เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติเลยสักนิด แต่เป็นชื่อยี่ห้อกาแฟปรุงสำเร็จผสมเห็ดหลินจือ ที่ผู้แทนจำหน่ายมาเช่าประชุม ที่ร้านอาหารในละแวกนั้น นำมาปักไว้ เพื่อนำทางแก่ผู้เข้าร่วมประชุม อีกทั้งยังไม่มีเจตนา ที่จะสร้างความปั่นป่วนในสังคม

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับ กาโน หรือ GANO นั้น เป็นยี่ห้อผลิตภัณฑ์สกัดจากเห็ดหลินจือ นอกจากจะมีกาแฟสำเร็จรูปแล้ว ยังมียาสีฟัน แคปซูลหลินจือ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเห็ดหลินจือ เป็นต้น

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของกาโนในเพจ GANO กาโน ผลิตภัณฑ์สกัดจากเห็ดหลินจือ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ทางตันหลังประชามติ

0
0

 


บางคนคิดว่าประชามติ 7 สิงหาคมนี้คือทางออก เพราะถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติก็จะเข้าสู่การเลือกตั้งและเดินหน้าต่อ แต่หลายคนก็มองว่านั่นคือทางตัน เพราะภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้กำหนดให้มี สว.ที่มาจากความเห็นชอบของ คสช.จำนวน 250 คน เป็นผู้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และ สว.ก็มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ฉะนั้นกลไกนี้จึงมีอำนาจกำหนดตัวนายกฯ อย่างน้อย 2 สมัย

ยิ่งกว่านั้น เมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ คสช.ก็ยังอยู่ มาตรา 44 ก็ยังอยู่จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ และยังมีกลไกอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญที่บังคับให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งต้องเดินตามแนวทางที่ คสช.กำหนดไว้ อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นไปได้ยากอย่างยิ่งหรืออาจเป็นไปไม่ได้เลย ฉะนั้นถ้าคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญผ่านคือทางออก ก็คงเป็นทางออกสำหรับ คสช.และกลุ่มคนที่สนับสนุน ขณะที่อีกฝ่ายอาจมองว่าเป็นทางตัน หรือเป็นทางที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นประชาธิปไตยยากลำบากมากขึ้น

แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ คสช.ก็ยังอยู่ต่อและเล่นเกมร่างรัฐธรรมนูญหรือทำอย่างอื่นเพื่อยื้อเวลาต่อไป การประกาศว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน คสช.จะไม่รับผิดชอบใดๆและไม่ลาออก ทำให้เกิดการตีความกันว่า ถ้าเสียงข้างมากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้มีความหมายว่าประชาชนไม่เอา คสช.เสมอไป แต่อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนอยากให้ คสช.อยู่ยาว

ปัญหาของการตีความที่ลักลั่นลื่นไหลได้เช่นนั้น เกิดจากกระบวนการลงประชามติไม่เป็นไปตามกติกาที่เสรีและเป็นธรรมอย่างสากล เพราะไม่เปิดกว้างให้ทุกฝ่ายมีอิสระรณรงค์รับ ไม่รับด้วยการแสดงเหตุผลต่างๆได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเป็นการลงประชามติที่ประชาชนไม่มีทางเลือก เช่น รับ ไม่รับ คสช.ก็ยังอยู่ต่อ หรือถ้าร่างฯนี้ไม่ผ่านก็ไม่บอกประชาชนว่าจะนำรัฐธรรมนูญฉบับไหนกลับมาใช้แทน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปได้

สภาวะที่ประชาชนถูก “มัดมือชก” ดังกล่าว อยู่ภายใต้สภาวะที่ คสช.ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆกับร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่เหตุผลหลักของ คสช.คือการยึดอำนาจรัฐเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์หรือเป็นประชาธิปไตยที่ดีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งผลงานที่จะบ่งบอกถึงรูปธรรมของการปฏิรูปก็คือร่างรัฐธรรมนูญ แต่จากร่างฯทั้งสองฉบับที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ทำให้ประชาชนเห็นหน้าตาของประชาธิปไตยที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

กระนั้น การที่ประเทศต้องเสียทั้งเวลา โอกาส และงบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับการปฏิรูปผ่านการร่างรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ กลับเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถหาอำนาจรัฐและกลไกอำนาจใดๆในกระบวนการปฏิรูปภายใต้รัฐบาล คสช.แสดงความรับผิดชอบได้เลย

ขณะที่รัฐบาล คสช.และกลไกอำนาจอื่นๆในกระบวนการปฏิรูปไม่ต้องรัฐผิดชอบต่อการสูญเสียดังกล่าว กลับมีการเอาจริงเอาจังกับข้อกล่าวหาเรื่องการกระทำความเสียหายต่อรัฐของกลุ่มบุคคลอื่นๆ เพื่อแสดง “ผลงาน” ทั้งๆที่ผลงานที่ต้องแสดงให้ประจักษ์คือ ร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นกลับไม่ปรากฏ

กลายเป็นว่า เรื่องที่ควรแสดงผลงานกลับไม่ปรากฏผลงาน แต่เรื่องที่ควรปล่อยให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งเข้ามาจัดการ เช่นนโยบายสาธารณะต่างๆที่ใช้งบประมาณมหาศาล คสช.กลับเร่งรัดดำเนินการภายใต้ระบบที่ไม่มีการถ่วงดุลตรวจสอบในสภาและภาคประชาชนไม่มีเสรีภาพในการตรวจสอบ

นี่คือปัญหาของระบบใช้อำนาจเด็ดขาด (despotism) ซึ่งอำนาจสูงสุดมาจากผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดเอง ถ้ามองอย่างเปรียบเทียบจะเห็นว่า ความยุติธรรมภายใต้ระบบใช้อำนาจเด็ดขาดในสังคมประเพณีโบราณขึ้นอยู่กับ “ลิขิตสวรรค์” หรือ “อำนาจของพระเจ้า” และการอ้างคุณธรรมผู้ปกครองตามความเชื่อทางศาสนา แต่ถึงที่สุดแล้วระบบเช่นนี้ก็เป็นระบบที่เกิดขึ้นจากการพิชิตอำนาจ (ทำลายล้างอำนาจเก่าและกลุ่มอื่นที่เป็น “เสี้ยนหนาม”) ตั้งอยู่บนความหวาดระแวง ความกลัว และมักลงเอยด้วยการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

ส่วนเผด็จการสมัยใหม่อย่างมุสโสลินี ฮิตเลอร์ และเผด็จการทหารในประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายก็บริหารอำนาจบนความหวาดระแวง ความกลัว และลงเอยด้วยการใช้อำนาจตามอำเภอใจเช่นกัน เพียงแต่พวกเขามีเครื่องมือในการใช้อำนาจที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เช่น กฎหมาย กลไกระบบราชการสมัยใหม่ สื่อ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า 

แต่ในขณะเดียวกัน การใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารอำนาจของเผด็จการสมัยใหม่ ก็ไม่ใช่หลักประกันความยั่งยืนของอำนาจของพวกเขาได้ เพราะประชาชนในโลกสมัยใหม่ก็มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในระดับเดียวกันหรือมากกว่าในการตั้งคำถาม เปิดโปงด้านตรงกันข้ามกับสิ่งที่อำนาจเผด็จการสมัยใหม่โฆษณาชวนเชื่อ

ฉะนั้น ความขัดแย้งทางความคิด อุดมการณ์ กระทั่งความรุนแรงในการโค่นอำนาจเผด็จการเพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยจึงยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ อย่างน้อยๆประวัติศาสตร์สังคมโลกและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในสังคมไทยที่ผ่านๆมา ก็บอกเราเช่นนี้

คำถามสำคัญคือ เราจะฝ่าทางตันหลังประชามติเพื่อไปสู่การวางกติกาประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันโดยไม่เกิดความรุนแรงได้อย่างไร ผมเองยังมองไม่เห็นคำตอบในเรื่องนี้ กว่าสองปีที่ผ่านมา คสช.ก็ไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายมี “ความเห็นร่วมกัน” ได้ และไม่สามารถวางกติกาใดๆที่เสรีและเป็นธรรมอันจะเป็นทางไปสู่การมีความเห็นร่วมของคนในสังคม

เมื่อสังคมเราสามารถจะมีความเป็นร่วมกันในเรื่องการเขียนรัฐธรรมนูญกำหนด “รูปแบบประชาธิปไตย” ให้ชัดเจน และใช้รูปแบบนี้เป็นฐานในการปฏิรูปสถาบันต่างๆ เช่นสถาบันศาสนา กองทัพ ศาล และอื่นๆให้ถูกกำกับควบคุมตรวจสอบภายใต้กติกาที่อธิบายได้ว่าตอบสนองต่ออำนาจ สิทธิ เสรีภาพของประชาชนบนพื้นฐานของความเท่าเทียมด้านต่างๆมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อนั้นเราจึงจะพบทางออกร่วมกัน

จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ เราเลิกหวังว่าจะมี “อำนาจพิเศษ” มาแก้ปัญหาการเมืองในระบบประชาธิปไตยได้ และเชื่อมั่นว่าระบบประชาธิปไตยจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆของตัวมันเองได้ โดยเฉพาะชนชั้นกลาง สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชนอาวุโสทั้งหลายที่เคยถูกเชิดชูเป็น “เสาหลัก” ทางความคิดและจริยธรรมของสังคม ควรเปลี่ยนทัศนคติที่ชอบชี้นิ้วว่าปัญหาประชาธิปไตยมาจากชาวบ้านต่างจังหวัดโง่ ไร้การศึกษา ไม่รู้ประชาธิปไตย เป็นผู้ลงคะแนนที่ด้อยคุณภาพ โดยไม่ยอมรับความจริงที่เป็นปัญหาสำคัญกว่าคือ การที่บรรดาชนชั้นกลางในเมือง สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชนอาวุโสทั้งหลายยอมรับอำนาจรัฐประหาร เข้าไปผลักดันวาระทางการเมืองของพวกตนผ่านอำนาจรัฐประหาร กระทั่งเอาอะไรต่ออะไรที่กลุ่มอำนาจและผลประโยชน์ของพวกตนต้องการไปบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่สนใจว่าสิ่งเหล่านั้นสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญชอบธรรมหรือไม่

หากฝ่ายที่สร้างปัญหากับประชาธิปไตยมากกว่า เกิดการเรียนรู้ที่จะยอมรับความจริงและนำบทเรียนจากประวัติศาสตร์มาไตร่ตรองอย่างจริงจัง เราอาจพบทางออกอย่างสันติจากทางตันหลังประชามติ

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โหวตโนชนะแล้วอย่างไรต่อ? 'ปิยบุตร' ชี้ประเด็นนี้อาจยังไม่ถึงเวลาที่ต้องมาพูด

0
0

ปิยบุตร ระบุเหตุที่ต้องออกไปโหวตโน 1. เนื้อหาของร่างรธน.เอง 2. เป็นการไม่ยอมรับรัฐประหารและคสช. พร้อมข้อเสนอหลังโหวตโนเราอาจหารธน.ก่อนรัฐประหารมาจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ แล้วรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไปหาทางตั้ง สสร.  พร้อมทั้ง คสช.ต้องออกไปจากกระบวนการร่างฯ

24 ก.ค.2559  ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในกลุ่มนิติราษฎร์ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ กล่าวถึง  ข้อเสนอหลังโหวตโน ต่อ คสช.และประชาชน  ที่ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก มธ.) ท่าพระจันทร์ ในเวทีเรื่องประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จัดโดย 43 องค์กรภาคประชาชน  สรุปได้ดังนี้

ทำไมเราถึงต้องออกไปโหวตโน เหตุผลหลักคือ 1. เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญเอง 2. เป็นการไม่ยอมรับรัฐประหารและคสช. โดย ข้อแรก ตัวร่างรัฐธรรมนูญ ปัญหาให้ต้องโหวตไม่รับ โดยสรุปคือ 1) การยกร่างไม่ได้มาจากประชาชน แต่มาจากรัฐประหาร 2) เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นประชาธิปไตย หากผ่านเราจะได้สภาพสังคมการเมืองถอยหลังไปอย่างน้อย 40 ปี สมัยรัฐบาลพลเอเปรม ติณสูลานนท์ 3) ร่างนี้จะทำให้ระบอบรัฐประหาร การใช้อำนาจของคสช. ถูกทำให้กลายเป็นสถาบันอยู่ภายใต้รธน. จากสิ่งที่ผิดกลายเป็นถูกรับรองอยู่ในร่างนี้ 4) หากร่างนี้ผ่านจะแก้ไขไม่ได้เลยในทางปฏิบัติ

และ 5) ถ้าร่างนี้ผ่านไป แรกๆ อาจเหมือนไม่มีปัญหา แต่สักระยะจะนำมาซึ่งความขัดแย้งและน่าอาจจะรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะร่างนี้ปิดกั้น กดขี่ คนจำนวนมากด้วยกติกาของระบอบรัฐประหาร ถ้าร่างนี้ผ่านไปได้ และคนกลุ่มใหญ่ส่งเสียงเรียกร้องไม่เอาร่างนี้ อยากแก้ตามกระบวนการก็ทำไม่ได้ ก็เหลือวิธีเดียวคือ วิธีนอกรัฐธรรมนูญ

ข้อที่สอง การโหวตโนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารและ คสช. อย่างไร เราจะเห็นคนจำนวนมากที่แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่ก็มีกลุ่มอีกมากที่ไม่ได้แสดงออก อาจเพราะถูกกดไว้อยู่ด้วยอำนาจปืนและปืนในกฎหมาย เราปฏิเสธว่ามีคนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและการใช้อำนาจคสช. ภายใต้ข้อจำกัดของระบอบปัจจุบัน ภายใต้กติกาที่เขาขีดเส้น มันจะเหลือหนทางอะไรให้เราแสดงออกได้อีกว่าเราไม่เอารัฐประหารและอำนาจของ คสช. เพราะเราไม่สามารถชุมนุมหรือแสดงออกได้ หากท่านอยู่เฉยๆ ไม่แสดงออก คสช.จะเคลมว่า ทุกคนโอเค มันจึงเหลือช่องเดียวที่จะแสดงออกได้ ไม่ถูกจับ มีผลนับเป็นตัวเลข

ประเด็นว่า โหวตโนชนะแล้วจะทำอย่างไรต่อ ประเด็นนี้อาจยังไม่ถึงเวลาที่ต้องมาพูด เพราะประชามติจะเกิดหรือเปล่ายังไม่รู้ชัด ต่อให้เกิดเราก็ยังไม่รู้ว่าโหวตโนจะชนะหรือไม่ แต่เนื่องจากคณะรณรงค์ต่างๆ เห็นว่านี่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพูด ผมจึงต้องขอออกตัวก่อนว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับนิติราษฎร์ เพราะทางกลุ่มยังไม่ได้คุยกันเรื่องนี้

ขอแยกตรงนี้เป็นสองประเด็น ประเด็นแรก พิจารณาสภาพเหตุปัจจัยทางการเมืองอย่างไม่หลอกตัวเอง ถ้าโหวตโนชนะ ผมคิดว่า คสช.ก็ยังอยู่ในอำนาจต่อไป หาคนมาล้ม คสช.ฉับพลันทันทีคงทำไม่ได้ เพราะดูแล้วเหตุผลของรัฐประหารยังไม่เสร็จ เขาต้องอยู่ต่อแน่นอน พลังฝ่ายต่อต้านรัฐประหารยังไม่มากเพียงพอ มีคนจำนวนมากที่อาจไม่ชอบ คสช.แล้ว แต่ยอมทน เพราะกลัวว่าเลือกตั้งแล้วจะได้พรรคที่เขาไม่ชอบ ประเมินดุลกำลังแล้วเรายังไม่สามารถหาฐานความชอบธรรมที่ชัดแจ้งจนคสช.อยู่ไม่ได้ การล้มเผด็จการที่ผนึกทุกอย่างอย่างเหนียวแน่นเช่น คสช. เราไม่สามารถใช้กำลังของฝ่ายเราอย่างเดียว มันต้องเอาคนอื่นมาเติมด้วย อย่างไรก็ตาม หากโหวตโนชนะ คสช.จะอยู่ต่อในสภาวการณ์ที่ไม่เหมือนเดิม อย่างน้อยจะทำลายความชอบธรรมของ คสช.ไม่มากก็น้อย

ประเด็นที่สอง ข้อเสนออย่างกว้างที่สุดหากโหวตโนชนะ คือ คสช.ต้องยุติและออกไปจากกระบวนการทำรัฐธรรมนูญใหม่ ท่านอาจจะถามต่อ คสช.เกี่ยวอะไร เพราะ กรธ.เป็นคนร่าง จริงๆ แล้ว คสช.เกี่ยวอย่างยิ่ง ดูตัวบทก็ได้ ร่างนี้เกิดจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่วางกลไกการร่างรัฐธรรมนูญไว้ และรัฐธรรมนูญชั่วคราวเกิดมาหลังการฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 โดยคสช.

ดูตัวรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 35 บอกไว้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะเกิดต้องมีเนื้อหา 10 ข้อดังต่อไปนี้ ผู้ร่างไม่มีทางร่างอย่างเป็นอิสระ ดังนั้น ร่างมีชัย ฤชุพันธุ์ ก็คือการร่างตามกรอบของมาตรา 35 ตัวกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ คสช.ก็เลือกตอนสุดท้าย นอกจากนี้ คสช.ยังมีบทบาทหลังทำร่างเสร็จต้องส่งเวียนไปแม่น้ำห้าสาย แม้ไม่ได้ร่างแต่เกี่ยวทุกกระบวนการ 

แล้วจะยุติบทบาท คสช.ได้อย่างไร

ปิยบุตร กล่าวว่า ร่างที่กำลังทำนั้นถูกชักใยจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ถ้ามันยังอยู่ ร่างยังไงก็ถูกล็อค จึงต้องหาทางยกเลิก รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ให้ได้ ถามว่าใครจะเป็นคนร่าง โรดแม็พพล.อ.ประยุทธ์ยืนยันว่ายังไงก็ต้องเลือกตั้งจะตามเดิมไม่ว่าเยสหรือโนชนะ ดังนั้น เราอาจหารัฐธรรมนูญก่อนรัฐประหารมาจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ แล้วรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไปหาทางตั้ง สสร. และวิธีการร่างรัฐธรรมนูญต่อไป อย่างไรก็แล้วแต่ คสช.ต้องออกไปจากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ

“ข้อเสนอนี้อาจดูเป็นอุดมคติ ให้ตายคสช.ท่านก็ไม่ออก ผมเข้าใจภารกิจของ คสช. ในการยึดอำนาจ และภารกิจท่านก็ยังไม่เสร็จ แต่ข้อเสนอให้ท่านออกจากากรทำรัฐธรรมนูญมันมีประโยชน์ต่อทั้งประเทศชาติ และ คสช.เองด้วย หากเราลองศึกษาประสบการณ์ประเทศต่างๆ ที่เปลี่ยนผ่านจากเผด็จการเป็นประชาธิปไตยสำเร็จ มี 2 แบบ แบบหนึ่งเผด็จการรู้แล้วว่าถอยดีกว่า จึงเปิดโต๊ะเจรจากับฝ่ายประชาธิปไตยแล้วลงแบบสวยๆ ตัวอย่างนี้เกิดในหลายประเทศในละตินอเมริกา หรือเกาหลีใต้ หรือสเปน อีกแบบคือเผด็จการที่ประเมินตัวเองสูง คิดว่าใครก็ล้มไม่ได้ วันหนึ่งประชาชนก็ลุกขึ้นมาไล่เผด็จการออกไป การไล่แบบนี้เผด็จการจบไม่สวยสักราย ถ้าวันที่ 7 ส.ค.โหวตโนชนะ มันมีทางออกของ คสช.แบบสวยๆ เลย คือ ออกไปด้วยตัวคุณเอง แล้วเปิดโอกาสให้ประชาชนทำรัฐธรรมนูญของเขาเองจริงๆ มันจะไม่เกิดความรุนแรง ไม่ต้องล้างโต๊ะกัน แต่ถ้าคสช.อยู่ต่อไปเรื่อยๆ วันหน้าต้องมาถึงแน่นอน ทุกคนอาจไม่รู้ว่าวันไหน แต่มันต้องมาถึงแน่ มันเป็นไปตามประวัติศาสตร์ของโลก เรากำลังหมุนเวลาย้อนกลับขณะที่โลกเดินหน้า ถ้าวันนั้นมาถึงมันจะมีลักษณะรุนแรง” ปิยบุตร กล่าว

“การโหวตโนคือการปฏิเสธ Dead hand มือที่(เขียนรัฐธรรมนูญ)ตายแล้ว พวกเขาตายไปแล้วยังปิดช่องทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยคนรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการกำหนดชะตากรรมตัวเองอีก” ปิยบุตร กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย #115 ความเป็นชาติกับความเป็นชาย

0
0

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พบกับปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ และแขกรับเชิญ ชานันท์ ยอดหงษ์ ว่ากันด้วยเรื่องความเป็นชาติตีความผ่านความเป็นชาย ทั้งนี้รัฐสยามเริ่มเข้าสู่ความเป็นชาติสมัยใหม่ เมื่อเริ่มทำแผนที่ ปักปันเขตแดน มีการตั้งกองทัพสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่การตั้งกรมยุทธนาธิการ จนกระทั่งออก พ.ร.บ. ลักษณะเกณฑ์ทหาร พ.ศ. 2448 แทนที่การเกณฑ์ไพร่แบบรัฐจารีต เปลี่ยนเป็นกองทัพสมัยใหม่ที่มีการเกณฑ์ชายฉกรรจ์เป็นทหาร ทั้งนี้รัฐสมัยใหม่ที่มีความสนใจในเรื่องเพศของพลเมืองในรัฐ เพื่อการจัดสรรทรัพยากร ตลอดจนเมื่อนำ 'ชาติ' กับ 'ความเป็นชาย' มาผูกกันแล้วจะส่งผลต่อวิธีคิดและการปกครองพลเมืองของรัฐอย่างไร ติดตามได้ในรายการ

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

https://www.facebook.com/maihetpraphetthai หรือ

https://www.youtube.com/playlist?list=PLyjd9jzMpO2Xby4FyxWMwY8auIFY01eVQ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐไม่พันลึก-บทเรียนการต้านรัฐประหารตุรกีถึงไทย

0
0

 

รัฐประหารที่ล้มเหลวของกองทัพตุรกีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานำสู่การตั้งคำถามทั้งในประเด็นทางวิชาการและข้อเสนอทางการเมือง เช่น การยกขึ้นมาว่าความล้มเหลวของรัฐประหารเป็นเรื่องเฉพาะของประเทศตุรกีและไม่มีวันเกิดขึ้นที่ไทยได้ด้วยบทบาทของชนชั้นสูงที่มีอำนาจนอกรัฐธรรมนูญในการสนับสนุนรัฐประหาร หรือ รัฐประหารที่เกิดขึ้นเป็น “รัฐประหารเก๊”ของรัฐบาลอำนาจนิยมจากการเลือกตั้งที่วางแผนเพิ่มความชอบธรรมให้แก่ตนเองในการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม หรือการสร้างข้อสรุปที่ว่าความสลับซับซ้อนของชนชั้นนำและสถาบันการเมืองของสองพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถนำสองพื้นที่นี้มาเปรียบเทียบกันได้เลย หรืออีกทางหนึ่งคือ หากรัฐประหารนี้คือของเก๊ การต่อสู้ของประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็พลอยเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ไม่สามารถใช้เป็นตัวแบบอ้างถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย? ดังนั้นคำถามสำคัญที่ต้องขบคิดคือ เราสามารถเรียนรู้การล้มรัฐประหารของประชาชนตุรกีในฐานะตัวแบบของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้หรือไม่หากมันเป็นเพียงแค่ฉากของชนชั้นนำในการแสวงหาความชอบธรรม

ผู้เขียนขอสรุปประเด็นสำคัญสามประเด็นคือ 1.ข้อถกเถียงความเฉพาะ (Particularism) และความเป็นสากล (Universalism) ของการประยุกต์ปรากฏการณ์ในพื้นที่หนึ่งเพื่ออธิบายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกพื้นที่ 2.ปัญหาคำอธิบายแบบ “รัฐพันลึก” กับการสร้างความเฉพาะที่ลดทอนบทบาทสำคัญของการต่อสู้ของประชาชนในระดับชีวิตประจำวันและอธิบายความขัดแย้งทุกอย่างผ่านเครือข่ายและสถาบันการเมืองของชนชั้นนำ 3. ข้อถกเถียงของคำอธิบายว่ารัฐบาลอำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้งจะผลักดันให้ประชาธิปไตยอ่อนแอ


1.ข้อถกเถียงความเฉพาะ (Particularism) และความเป็นสากล (Universalism) เรามักคุ้นเคยกับคำอธิบายของสื่อมวลชน หรือทฤษฎีทางวิชาการถึงปัญหาของประเทศหนึ่งที่อาจเชื่อมตรงสู่อีกประเทศหนึ่งผ่านจุดเชื่อมต่อเล็กๆแต่สร้างผลกระทบต่อทั้งสังคมในวงกว้าง ดังนั้นเรื่อง Universalism จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่มาพร้อมกับกระแสปฏิวัติ IT หรือการสิ้นสุดของสงครามเย็น แนวคิดประชาธิปไตยกระแสหลักที่เสนอโดย Weyland หรือ Huntington ก็ให้ความสำคัญต่อการแพร่กระจายของ “สำนึกประชาธิปไตย”ในแต่ละยุคที่เข้าสู่พื้นที่ที่มีความเฉพาะแตกต่างกัน S.M.Lipset ชี้ถึงบทบาทของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่หลอมรวมวิถีชีวิตความคาดหวังอันนำสู่การวางเงื่อนไขของการเรียกร้องให้เกิดการปกครองแบบประชาธิปไตย และไม่ใช่เพียงฝ่ายเสรีนิยมเท่านั้น ฝ่ายซ้ายเองล้วนมีแนวคิดการผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่หนึ่งสู่อีกพื้นที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ทฤษฎีระบบโลกของ Lenin ข้อเสนอกระบวนการสะสมทุนในระบบทุนนิยมโลกของ Rosa Luxemburg หรือนักวิชาการฝ่ายซ้ายร่วมสมัยอย่าง David Harvey ก็ชี้ให้เห็นถึง “การบีบอัดของเวลาและสถานที่”  ก็ชี้ให้เห็นว่าความเปราะบางที่ผู้คนเผชิญอยู่นั้นเป็นลักษณะร่วมกันทั้งโลกมิอาจแยกขาดออกจากกันได้

หากพิจารณาเงื่อนไขข้างต้น “ความเฉพาะ” ดูไม่มีความหมายเลยหรือ ? ทั้งๆที่ตามความเป็นจริงแล้วการที่ลักษณะสากลจะทำงานได้ดีในแต่ละพื้นที่จำเป็นต้องวางอยู่บนเงื่อนไขความเฉพาะของแต่ละพื้นที่อย่างมาก เช่น ทำไมไม่มีพรรคสังคมนิยม(ตามทฤษฎี)ในญี่ปุ่นแต่กลับเติบโตในเยอรมนีตะวันตก (ซึ่งใกล้กับประเทศคอมมิวนิสต์อย่างเยอรมนีตะวันออกแบบแบ่งกันด้วยกำแพง) หรือเหตุใดประเทศประชาธิปไตยที่เก่าแก่อย่างสหรัฐอเมริกาถึงไม่มีพรรคสังคมนิยมที่เทียบได้กับยุโรปตะวันตก และเมื่อหันมาเทียบกับ กรณีศึกษา ตุรกี-ไทย ด้วยคำถามสำคัญที่ว่าเหตุใด รัฐประหารที่ตุรกีจึงล้มเหลว และประสบความสำเร็จในไทย การอธิบายเรื่องนี้จึงไม่สามารถอธิบาย ด้วยลักษณะเฉพาะ และสากล เพียงลำพังได้ผู้เขียนขออธิบายลักษณะ สากล เฉพาะควบคู่กันดังนี้


1.1 ความเป็นสากลของฝ่ายขวาทั่วโลก ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายขวา นับแต่ศตวรรษที่ 21 การเสื่อมถอยของฝ่ายซ้ายนำสู่การครอบงำอย่างเป็นระบบของฝ่ายขวาผ่านลัทธิเสรีนิยมใหม่ ฝ่ายขวาทั่วโลกเชื่อมร้อยกับการสะสมทุนที่เชื่อมร้อยการผลิตทั่วโลก พวกเขาอาศัยประโยชน์จากทุนนิยมการเงิน การเปิดการค้าเสรี และสร้างพันธมิตรกับกลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็รื้อฟื้นลัทธิชาตินิยมมาสอดรับกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ ในไทยกลุ่มนี้คือเครือข่ายความสัมพันธ์รัฐราชการ-นักธุรกิจ-กองทัพ ตั้งแต่ยก พลเอกเปรม และสืบสายผ่านการปรับตัวของรูปแบบการสะสมทุนแต่เครือข่ายอำนาจของพวกเขาผูกขาดและกระจุกตัวมากขึ้น คนในประเทศมีอำนาจต่อรองน้อยลง ลักษณะเช่นนี้ปรากฏในตุรกีเช่นกัน ในไทยลัทธิจารีตนิยมแบบไทยๆถูกขุดขึ้นมาเพื่อวางระเบียบผู้คนในช่วงปลายสงครามเย็น ในตุรกีลัทธิ Kemal ก็็ถูกใช้ในลักษณะแบบแผนของรัฐราชการและการรักษาระเบียบแบบชาตินิยม แม้จะมีข้อถกเถียงว่าลัทธิ Kemal มีความเป็นฆราวาสวิสัย (Secularism) สนับสนุนการพัฒนาแบบชาติตะวันตก แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันเป็นเครื่องมือของกองทัพในการแอบอ้างผูกขาดความรักและการพัฒนาชาติตน เป็นช่องทางการเลื่อนสถานะของชนชั้นกลาง ที่นิยมชมชอบ “การเมืองแบบใดก็ได้” ที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศเจริญและทันสมัย ความเป็นสากลของฝ่ายขวานี้เป็นลักษณะร่วมสำคัญที่วางเงื่อนไขอำนาจนิยมในการปกครองไม่ว่าที่มารัฐบาลจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม โดยรวมแล้วความฝันอันสูงสุดของฝ่ายอนุรักษ์นิยมคือการทำให้ประชาธิปไตยคงอยู่แต่ไร้ความหมายและการเลือกตั้งเป็นแค่แฟนตาซีอันไม่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงใดๆได้

1.2 ความเฉพาะของขบวนการฝ่ายซ้าย แม้ว่าขบวนการฝ่ายขวาจะมีความเป็นสากลในเงื่อนไขของการพยายามสถาปนาอำนาจนำผ่านการกำหนดจารีตชีวิตเศรษฐกิจการเมือง ฝ่ายขวามักทำให้การต่อสู้ของฝ่ายซ้ายกระจัดกระจายและเป็นเรื่องเฉพาะ ฝ่ายซ้ายมักอ่อนแอกระจัดกระจายดังเห็นได้จาก ขบวนการภาคประชาชนไทยที่เป็นตัวอย่างของการต่อสู้ที่เน้นเฉพาะประเด็นตัวเองขาดการเชื่อมโยง และพยายามทำให้ตัวเองปลอดการเมืองซึ่งทำให้ขาดอำนาจการต่อรองที่แท้จริง พวกเขาจำนวนหนึ่งมักยินดีกับรัฐบาลใดก็ได้ที่สามารถผลักดันประเด็นเฉพาะของตัวเองให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิทางเพศ สิทธิสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ลักษณะข้างต้นก็ปรากฏในตุรกีเช่นกัน ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายในการขยายแนวร่วมทำให้พรรคการเมืองแนวศาสนานิยมก้าวเข้ามา ที่เริ่มจากการต่อต้านสังคมที่เต็มไปด้วยความไม่เป็นธรรมแต่สื่อสานด้วยทางเลือกที่เข้าถึงประชาชนมากกว่า การก้าวเข้าสู่ตำแหน่งของ Erdogan จึงมีความคล้ายกับทักษิณ ชินวัตร ในแง่ของการเป็นชนชั้นนำกลุ่มใหม่ที่เชื่อมตรงกับความต้องการของประชาชนได้มากกว่าชนชั้นนำกลุ่มเดิม พวกเขามีนโยบายหลายอย่างที่คล้ายกันในการขุดแนวคิดชาติ-ศาสนานิยมขึ้นมาเพื่อการปกครอง อันนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สะท้อนความล้มเหลวในขบวนการฝ่ายซ้ายที่ปล่อยให้ชนชั้นนำอีกกลุ่มฉกฉวยโอกาสนี้ ความแตกต่างที่สำคัญคือการที่พรรคการเมืองของ Erdoganเลือกการสร้างความชอบธรรมจากประชาชน (ไม่ว่าจะจริงใจมากน้อยเพียงใด) แต่ ทักษิณไม่เคยเบื่อหน่ายที่จะพยายามหาช่องทางประนีประนอมกับชนชั้นนำไม่ว่าผู้สนับสนุนของพวกเขาจะต้องเสียชีวิต ถูกจับกุมคุมขังหรือต้องลี้ภัยการเมืองมากเพียงใด


2.ปัญหาคำอธิบายแบบ “รัฐพันลึก” กับการสร้างความเฉพาะที่ลดทอนบทบาทสำคัญของการต่อสู้ของประชาชนในระดับชีวิตประจำวันแนวคิดรัฐพันลึก (Deep State) นำเสนอโดย เออเชนี เมริโอ และมีการอ้างถึงโดยนักวิชาการที่เป็นที่รู้จัก อย่าง ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ นิธิ เอียวศรีวงศ์  โดยผู้เขียนขอยกประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการถกเถียงครั้งนี้ ตามข้อเสนอที่เข้าใจตรงกัน รัฐพันลึก ต่างจากรัฐทั่วไปที่องค์กรหรือสถาบันทางการเมืองจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อชีวิตพลเมือง แต่ “รัฐพันลึก”ต่างจากรัฐปกติที่มีองค์กร กลุ่มคน สถาบันทางการเมืองที่ตัดสินและดำเนินการใดๆโดยไม่ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อประชาชน หรือความชอบธรรมตามรูปแบบปกติที่ “รัฐปกติ” ดังนั้นเมื่อพิจารณากรณีไทย และตุรกี จึงเสมือนว่า ทั้งคู่ต่างมี Deep State ของตัวเองที่ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เช่นเครือข่ายชนชั้นนำของไทยที่ยึดโยงชนชั้นกลาง ศาสนา กษัตริย์ ค่านิยมไทย เช่นเดียวกับการทำงานของกลไกอำนาจรัฐของตุรกีที่ดูมีความเฉพาะซ่อนเร้นและเสมือนว่ายากที่คนนอกจะเข้าใจการยึดโยงของสถาบันทางการเมืองต่างๆ  ซึ่ง ใจ อึ๊งภากรณ์ชี้ว่า “การสรุปเช่นนี้จึงเป็นการละเลย สภาพ รัฐปกติ ของระบบทุนนิยม ที่ทำหน้าที่ในการปกครองและกดขี่ประชาชนเพื่อผลประโยชน์ของผู้ปกครองเป็นปกติ” ความแตกต่างในแต่ละรัฐไม่ได้เกิดจากกลไกที่ซับซ้อนของเครือข่ายชนชั้นนำที่ฟอร์มความสัมพันธ์เป็นเครือข่ายและสถาบัน แต่เกิดจากความเข้มแข็งต่อสู้ของขบวนการฝ่ายซ้าย ดังนั้น “รัฐ” โดยพื้นฐานจึงไม่ได้มีหน้าที่ในการปกครองดูแลประชาชนเป็นพื้นฐาน ความแตกต่างของแต่ละพื้นที่จึงเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย แต่ทำให้ภาพของการต่อสู้ของประชาชนในระดับชีวิตประจำวันน้อยลง

กรณีไทย เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ถูกอธิบายโดยนักวิชาการแนวประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ในการพยายามหาจุดร่วมของกลุ่มก้อนทางสังคมในกรณีต่างๆที่ทำให้เผด็จการถนอม-ประภาสถูกโค่นล้ม แน่นอนว่ามีกลุ่มฝ่ายขวาที่ได้ประโยชน์จาก 14 ตุลา 2516 ไม่ว่าจะเป็นนายทหารฝ่ายตรงข้าม สหรัฐอเมริกา กลุ่มทุน หรือสถาบันกษัตริย์เอง พวกเขาเหล่านี้จึงมีส่วนสำคัญในการเขียนประวัติศาสตร์ให้ถูกเข้าใจว่า 14ตุลา คือการขับเคลื่อนของพลังนักศึกษา-พลังบริสุทธิ์ไม่ยึดติดกับอุดมการณ์ทางการเมืองใดๆนอกจาก การปรารถนารัฐธรรมนูญ (ซึ่งตอนจบได้นายกฯพระราชทาน) 14 ตุลาเป็นตัวอย่างของการที่ฝ่ายขวาสามารถฉกฉวยความหมายจากการต่อสู้ได้ แต่ มิใช่หมายความว่าไม่มีความขัดแย้งมาก่อนหน้านั้น และเป็นไปไม่ได้เลยที่การต่อสู้ต่อต่อเผด็จการที่ปกครองมาอย่างยาวนานนับทศวรรษ จะเกิดขึ้นในวันเดียว ความพยายามในการฉกฉวยประโยชน์ของชนชั้นนำเป็นตัวอย่างสำคัญที่เบลอภาพความไม่พอใจของประชาชนต่อวิธีการปกครองที่เป็นเผด็จการของ ถนอม-ประภาส

ลักษณะนี้ปรากฏขึ้นในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ปี 2551-2553 การพยายามสร้างภาพพจน์คนเสื้อแดงที่ “ถูกจ้าง” หรือจัดตั้งโดยหัวคะแนนพรรคเพื่อไทย (ไม่ใช่หมายความว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มี) ก็เป็นความพยายามในการลดทอนความหมายของการต่อสู้ในชีวิตประจำวันของผู้ถูกกดขี่เช่นกันโดยโยนทุกอย่างให้กลายเป็น “เรื่องลึกลับ”ของชนชั้นนำ สำหรับม็อบ กปปส. อาจมีคำถามต่อความจริงใจของสุเทพฯต่อข้อเสนอการเมืองใหม่ แต่นั่นก็ไม่ทำให้ความเป็นผู้ชูลัทธิชาตินิยม อนุรักษ์นิยมของผู้ติดตามของเขาในม็อบ กปปส.น้อยลงเช่นกัน ผู้นำทางการเมืองคือผู้ที่แสดงตอบสนองต่อความต้องการของคนในสังคม  เมื่อย้อนไปในตุรกี เป็นไปได้หรือไม่ว่าเป็น “รัฐประหาร”จัดฉาก คำตอบคือเป็นไปได้ และก็เป็นไปไม่ได้ แต่ภายใต้การต่อสู้ทางการเมืองการจัดฉากเป็นสิ่งที่ปรากฏทั่วไป แต่ “การเป็นรัฐประหารเก๊” ก็ไม่ได้บั่นทอน ความหมายของการต่อสู้ของผู้ปฏิเสธรัฐประหารให้น้อยลง เช่นกัน แน่นอนมันมีคำถามทางจริยธรรม ของผู้นำทางการเมืองไม่ว่าจะเป็น แกนนำ นปช.  สุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ Erdogan ต่อผู้สนับสนุนพวกเขา ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการอุทิศหรือฆ่าชีวิตใดๆเพื่ออุดมการณ์นามธรรมซ้ายหรือขวา แต่ก็เป็นคนละเรื่องกับว่าหากผู้นำทางการเมืองวางแผนทางการเมืองใดๆ จะทำให้ข้อเสนอหรือจุดยืนทางการเมืองของผู้สนับสนุนด้อยค่าและไม่สำคัญ


3.ปัญหารัฐบาลอำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลโดยมากมีแนวโน้มที่ปกครองด้วยลักษณะอำนาจนิยม ความแตกต่างเกิดขึ้นจากช่องทางการต่อรองของชนชั้นล่าง การเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือรัฐประหารไม่ได้เป็นการรับรองคุณภาพของรัฐบาล แต่หากตราบใดที่ที่มาของอำนาจยังคงเป็นการเลือกตั้ง ก็ยังเป็นการยืนยันสิทธิการต่อรองของประชาชนต่อวิธีการกดขี่ของรัฐได้ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่ empty dream-ที่ไม่ต้องสนใจว่าปกครองแบบใดก็ได้ อย่างน้อยที่สุดการปกครองแบบประชาธิปไตย ก็เปิดโอกาสในการก่อตัวรวมตัวของฝั่งตรงข้ามมากกว่า การปฏิสัมพันธ์เจรจาบนฐานผลประโยชน์ของชนชั้น รัฐบาลเลือกตั้งของทั้งไทย และตุรกี มีความผิดพลาดและไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัด ในไทย นโยบายอำนาจนิยมของ ทักษิณนำสู่การฆ่าตัดตอนยาเสพติด รวมถึงความรุนแรงที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สมัยยิ่งลักษณ์ พรบ.นิรโทษกรรม ก็มีกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก ในตุรกี การสวมรอย ของ Erdogan ต่อความขัดแย้งด้วยการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือก็นำสู่การกดขี่ชาว เคิร์ดอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อใดที่ทั้งสองประเทศนี้ยกเลิกระบบการเลือกตั้ง อำนาจเผด็จการที่มีที่มาจากการรัฐประหารจะไม่มีวันมองเห็นปัญหาในปัจจุบัน พวกเขาสามารถแค่เยียวยาปลุกเร้าปัญหาในอดีต เช่นเดียวกับ รัฐบาลจากการทำรัฐประหารของไทยพยายามทำและกดปัญหาปัจจุบันให้ซ่อนเร้นไว้ โดยสรุปแล้วไม่มีใครปรารถนารัฐบาลอำนาจนิยมจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกับ รัฐบาลจากการการทำรัฐประหาร แต่การแก้ปัญหาต้องดำเนินการผ่าน “ตัวประชาธิปไตย”เอง มิใช่การยืมเครื่องมืออื่นที่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยมาแก้ปัญหาเช่น การทำรัฐประหาร หรือการนำศาสนา-จารีต-รัฐราชการ มากดทับเพราะมันจะไม่มีวันแก้ปัญหาระยะยาวได้

0000
 

 

เอกสารอ่านเพิ่มเติม (อ้างอิงแบบย่อ)

Weyland, Kurt.  2010.  “The Diffusion of Political Regime Contention in European Democratization,1830-­‐1940,” Comparative Political Studies, 43, 8/9:1148-­‐1176

Lipset, Seymour  Martin.1983. Political Man: The Social Bases of  Politics. William Heinemann Ltd. Ch.    2, pp. 27-63.

Wintrobe, Ronald. 2007.  “Dictatorship: Analytical Approaches.” In Carles Boix and Susan Stokes,eds.    The Oxford Handbook of Comparative Politics. New York: Oxford University Press: 363-­‐394

“ประเทศไทยไม่มีรัฐพันลึก”-ใจ อึ๊งภากรณ์ https://turnleftthai.wordpress.com/2016/07/10

นิธิ เอียวศรีวงศ์: รัฐพันลึกกับร่างรัฐธรรมนูญ  http://prachatai.com/journal/2016/04/65105

 

หมายเหตุ:จากบทความเดิมชื่อ ข้อคิดการเมืองเปรียบเทียบมิติร่วมเวลา-ข้ามพื้นที่  ถ้ารัฐ “ไม่พันลึก” - การเมืองไทยและตุรกีกับการเปรียบเทียบเทียบข้ามพื้นที่

 

เกี่ยวกับผู้เขียน  ผศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี เป็นอาจารย์ผู้สอนอยู่ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

43 องค์กรนักวิชาการ-นักศึกษา-ประชาชน ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง

0
0

24 ก.ค. 2559 ตามที่มีการจัดเวที "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กับอนาคตประชาชน" โดย เครือข่ายองค์กรนิสิตนักศึกษาและประชาชนรวม 43 องค์กร ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์นั้น

ในช่วงท้ายเวทีมีการอ่านแถลงการณ์ของเครือข่าย 43 องค์กร โดยมีข้อสรุปเกี่ยวกับการลงประชามติโดยเห็นร่วมกันที่จะ “โหวตโน” ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ด้วยเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ 1. กระบวนการขาดความชอบธรรม 2. เนื้อหาทำประเทศถอยหลัง 3. ไม่ควรฝากอนาคตไว้กับ คสช. 4. หากรัฐธรรมนูญรับแล้วแก้แทบไม่ได้ พร้อมเรียกร้องให้ คสช. หยุดกดดัน คุกคาม ดำเนินคดีผู้ที่คิดต่าง เพื่อให้การลงประชามติเป็นไปอย่างเปิดเผยและยุติธรรม

โดยแถลงการณ์ซึ่งอ่านโดยอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีรายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายนักวิชาการนิสิตนักศึกษาและประชาชน 43 องค์กร

เรื่อง รัฐธรรมนูญของประชาชน

วันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่จะถึงนี้ จะเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในการกำหนดอนาคตของสังคมไทย เพราะเป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับคสช. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และเครือข่ายองค์กรนิสิตนักศึกษาและประชาชนรวม 43 องค์กร มีข้อสรุปเกี่ยวกับการลงประชามติที่ขอประกาศต่อสาธารณะ ดังนี้

1. พวกเราทั้ง 43 องค์กร เห็นร่วมกันที่จะ “โหวตโน” ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ด้วยเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ

1.1) กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขาดความชอบธรรมตั้งแต่ต้น เนื่องจาก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) มิได้มาจากประชาชนและเป็นการร่างที่ปราศจากการรับฟังเสียงและความเห็นของประชาชน โดยกรธ.ให้ความสำคัญกับความต้องการของคสช. ผู้ฉีกร่างรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเป็นสำคัญ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจำเป็นต้องมีที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนตั้งแต่เริ่มต้น

1.2) เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญจะนำพาประเทศให้ถอยหลัง ทั้งในด้านหลักการประชาธิปไตยและด้านสิทธิและสวัสดิการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็น การให้คสช.มีอำนาจแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่มีจำนวนมากถึง 250 คน และคำถามพ่วงที่จะให้สว. มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ องค์กรอิสระที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนจะมีอำนาจกว้างขวางสามารถถอดถอนและควบคุมรัฐบาลได้ ทั้งหมดนี้จะทำให้เสียงของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งสส. เพื่อไปตั้งรัฐบาล ไม่เป็นผล การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นตามร่างรัฐธรรมนูญนี้จึงเป็นเพียงเครื่องมือรองรับความชอบธรรมในการสืบทอดอำนาจของคสช. เท่านั้น

ในด้านสิทธิและสวัสดิการของประชาชน ปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างน้อยสามประการคือ การศึกษา การรักษาพยาบาล และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แทนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะคงไว้และสืบทอดสิทธินี้ แต่กลับย้อนหลังไปใช้วิธีการสงเคราะห์ ทำให้ผู้ที่จะเข้าถึงสวัสดิการข้างต้นต้องแสดงตัวเป็นคนอนาถาผู้ยากไร้ เท่ากับเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนคนไทย อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญยังจะทำให้เกิดการแบ่งแยกและเหลื่อมล้ำทางด้านศาสนา

1.3) บทเรียนการบริหารประเทศที่ผ่านมาของคสช. ทำให้ประชาชนรู้ชัดว่า ไม่อาจฝากอนาคตไว้กับ คสช. ได้อีกต่อไป เพราะ คสช.บริหารประเทศด้วยการลิดรอนสิทธิและไม่รับฟังเสียงของประชาชน เช่น ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและการควบคุมอาคารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และออกพรบ.เหมืองแร่ที่เอื้อกับนายทุน นโยบายคืนผืนป่าที่มุ่งยึดที่ดินของคนจนมากกว่านายทุน การไม่อุดหนุนราคาพืชผลเกษตรกร ปล่อยให้เกษตรกรเดือดร้อน การหักล้างหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เรื่องการทำสัญญาระหว่างประเทศ การผลักดันโรงงงานไฟฟ้าเทพา การคุกคามประชาชนด้วยการเรียกไปปรับทัศนคติ รวมถึงการคุกคามแม้กระทั่งประชาชนที่รณรงค์อย่างสันติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

1.4) รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกออกแบบให้แก้ไขแทบจะเป็นไปไม่ได้ เช่น ต้องผ่านถึงสามขั้นตอน ต้องได้รับความเห็นชอบจากพรรคการเมืองทุกพรรคในสภา จึงทำให้ คำกล่าวที่ว่า รับร่างรัฐธรรมนูญไปก่อนแล้วไปแก้ที่หลัง ในคราวลงประชามติปี 2550 ใช้ไม่ได้กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้

2. เราขอเรียกร้องให้ คสช. หยุดกดดัน คุกคาม ดำเนินคดีที่คิดต่าง เพื่อให้การลงประชามติเป็นไปอย่างเปิดเผยและยุติธรรม และหยุดการใช้กลไกของราชการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเพียงด้านเดียว ตรงกันข้ามต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั้งที่ได้แสดงความเห็นและและได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน

วันที่ 24 กรกฎาคม 2559

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

องค์กรร่วมจัดงาน 

1. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง 
2. สมาคมรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
3. สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 
4. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม 
5. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 
6. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม 
7. เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ-บำนาญแห่งชาติ 
8. มูลนิธิบูรณะนิเวศ 
9. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 
10. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) 
11. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย 
12. สมัชชาคนจน 
13. กลุ่มละครมะขามป้อม 
14. เครือข่ายพลเมืองเน็ต 
15. สมัชชาอู่ข้าวอู่น้ำภาคกลาง 
16. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ 
17. ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 
18. กลุ่ม Mini Drama 
19. กลุ่มการเมืองครั้งแรก 
20. กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
21. Focus on the Global South 
22. เครือข่ายสลัม 4 ภาค 
23. มูลนิธิโลกสีเขียว 
24. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา 
25. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย 
26. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (พื้นที่คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุงจ.เลย) 
27. กลุ่มรักษ์บ้านแหง(พื้นที่คัดค้านสัมปทานทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง) 
28. ชมรมอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ (พื้นที่การขอสัมปทานสำรวจแร่เหล็กและทองคำ) 
29. เครือข่ายการศึกษาทางเลือก 
30. กลุ่มเสรีนนทรี 
31. กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ 
32. กลุ่มศิลปากรเสรีเพื่อประชาธิปไตย 
33. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD) 
34. กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา 
35. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) 
36. กลุ่มแก็งค์ข้าวกล่อง ม.รามคำแหง 
37. กลุ่มเพื่อนประชาชน 
38. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน 
39. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) 
40. กลุ่มกระเหรี่ยงภาคเหนือ 
41. เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก 
42. โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) 
43. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: ย้อนดู ‘โพลล์’ ยุคเผด็จการ 2549-2550 Politics of Poll กับความน่าเชื่อถือ

0
0

‘โพลล์’ อาจจะทำหน้าที่ได้ดีเมื่อบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการ  แสดงความคิดเห็น ลองย้อนดู 22 โพลล์ช่วงยึดอำนาจ 2549 และประชามติ รธน. 2550 จนถึงเลือกตั้ง 2550 เพื่อเป็นบทเรียนเปรียบเทียบในการ‘อ่านโพลล์’ ก่อนประชามติ 7 สิงหาคมนี้

<--break- />

‘โพลล์’ (Poll) คือ การสำรวจความคิดเห็น หรือท่าทีของสาธารณชน (Public opinion) เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยทำการสุ่มสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหรือบางส่วน หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘โพลล์ความคิดเห็น’ (Opinion poll) ทั้งนี้โพลล์จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพได้ ก็ต่อเมื่อบรรยากาศด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเปิดกว้างอย่างเต็มที่

TCIJ พาย้อนสำรวจดูโพลล์ 22 ชิ้น ช่วงเหตุการณ์ในอดีต คือ (1) หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549  (2) ช่วงการแต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี  (3) ช่วงก่อนการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญปี 2550  และ (4) ช่วงก่อนการเลือกตั้งในปี 2550  ที่บรรยากาศด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนรวมทั้งบริบททางการเมืองใกล้เคียงกับยุคปัจจุบัน ซึ่งพบว่า ผลการสำรวจของโพลล์ในช่วงนั้น เมื่อเทียบกับความต้องการของประชาชนที่แท้จริง จากผลการลงประชามติปี 2550 และผลการเลือกตั้งปี 2550 มีความคลาดเคลื่อนผิดจากข้อเท็จจริงอยู่พอสมควร

เช่น หลังการยึดอำนาจในปี 2549 ในช่วงการเฟ้นหานายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้น มีผลโพลล์ระบุว่าก่อนการแต่งตั้ง พล.อ.   สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ มีคะแนนนิยมเพียง 20.3% แต่หลังจากการแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี คะแนนนิยมเพิ่มถึง 64.1% และมีผลโพลล์เปรียบเทียบภาพลักษณ์ระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่าภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ดีขึ้นในทุกตัวชี้วัด เช่น 65.1% ระบุความเป็นที่ไว้วางใจได้ 63.2% ระบุด้านคุณธรรม เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต และ 60.2% ให้ความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ในช่วงก่อนการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 พบว่า หลายโพลล์ชี้ไปในทิศทางว่าคนส่วนใหญ่จะรับรัฐธรรมนูญนี้เป็นสัดส่วนที่ห่างจากคนไม่รับร่างฯอยู่หลายช่วงตัว เช่น รามคำแหงโพลล์: การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550: ควรเห็นชอบหรือไม่ (เผยแพร่ 12 ก.ค. 2550) เห็นชอบร้อยละ 53.5 ไม่เห็นชอบร้อยละ 7.5, เอแบคโพลล์: ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 (เผยแพร่ 16 ก.ค. 2550) เห็นชอบร้อยละ 57.1 ไม่เห็นชอบร้อยละ 22.9, ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: รัฐธรรมนูญกับสถานการณ์บ้านเมือง (เผยแพร่ 19 ก.ค. 2550) เห็นชอบร้อยละ 79.3 ไม่เห็นชอบร้อยละ 20.7, สวนดุสิตโพลล์: ความคิดเห็นของประชาชนกับ "การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550" (เผยแพร่ 26 ก.ค. 2550) เห็นชอบร้อยละ 55.72 ไม่เห็นชอบร้อยละ 14.92 กรุงเทพโพลล์: ประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 50 ในสายตาประชาชน (เผยแพร่ 6 ส.ค. 2550) เห็นชอบร้อยละ 34.8 ไม่เห็นชอบร้อยละ 10.0 และ รามคำแหงโพลล์: การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ: ควรเห็นชอบหรือไม่” (เผยแพร่ 15 ส.ค. 2550) เห็นชอบร้อยละ 47.6 ไม่เห็นชอบร้อยละ 12.6 ซึ่งผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (วันที่ 19 ส.ค. 2550) จากผู้มาใช้สิทธิ์ 25,978,954 คน ประชาชนที่เห็นชอบกับสูสีกับประชาชนที่ไม่เห็นชอบ โดยเห็นชอบ 57.81% และไม่เห็นชอบ 42.19%

ในช่วงการเลือกตั้งปลายปี 2550 มีผลโพลล์ที่ทำนายว่าพรรคประชาธิปัตย์จะชนะการเลือกตั้ง หรือระบุว่านายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ถึง 6 ครั้ง (พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนนิยมอันดับแรก ร้อยละ 52.0%, ร้อยละ 43.5 และ ร้อยละ 34.2 และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับคะแนนนิยมอันดับแรก ร้อยละ  41.54, ร้อยละ 52.2 และ ร้อยละ  46.4) ส่วนผลโพลล์ที่ทำนายว่าพรรคพลังประชาชนจะชนะการเลือกตั้งหรือระบุว่านายสมัคร สุนทรเวช จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง (พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนนิยมอันดับแรกร้อยละ 38.58 คาดว่าจะได้ปาร์ตี้ลิสต์ 39 ที่นั่ง แต่ไม่มีโพลล์ที่ระบุว่านายสมัคร สุนทรเวช จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี) แต่ผลการเลือกตั้งพบว่า พรรคพลังประชาชนได้ 233 ที่นั่ง แบบแบ่งเขตร้อยละ 36.63 แบบสัดส่วนร้อยละ 41.08 ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้ 165 ที่นั่ง แบบแบ่งเขตร้อยละ 30.30 แบบสัดส่วนร้อยละ 40.44

อ่านรายละเอียดผลโพลล์ทั้ง 22 ชิ้นได้ดังนี้

 

หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549

1. สวนดุสิตโพลล์ : ความคิดเห็นของประชาชน กรณี : ปฏิวัติ ในวันที่ 20 ก.ย. 2559 หลังการรัฐประหาร 1 วัน 'สวนดุสิตโพลล์' มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้สอบถามความคิดเห็นของ ประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,019 คน แบ่งเป็นคนกรุงเทพฯ 875 คน (ร้อยละ 43.34) คนต่างจังหวัด 1,144 คน (ร้อยละ 56.66) และได้เผยแพร่ผลสำรวจนี้ในวันที่ 21 ก.ย. 2559 ผลโพลล์ชิ้นนี้ระบุว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ ร้อยละ 83.98 โดยประชาชนใน กทม. เห็นด้วยร้อยละ 81.60 ส่วนประชาชนในต่างจังหวัดเห็นด้วยถึงร้อยละ 86.36 เลยทีเดียว

2. เอแบคโพลล์ : ความคิดเห็นและความต้องการของสาธารณชน ต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศจำนวน 4,250 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 20-22 ก.ย. 2549 และได้เปิดเผยผลโพลล์นี้เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2549 โดยระบุว่าประชาชนมีความรู้สึกหลังจากคณะปฏิรูปการปกครองฯ ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนได้สำเร็จว่าการเมืองจะสงบนิ่งถึงร้อยละ 82.7 และประชาชนเห็นว่าควรลงโทษตามกฎหมายจนถึงที่สุดหากพิสูจน์พบว่ารัฐบาลชุดก่อนมีความผิดจริง ร้อยละ 74.5

3. สวนดุสิตโพลล์ : "ความสบายใจ" และ "หนักใจ" ของประชาชนหลังจาก "ปฏิรูปการปกครอง" ผ่านมา 10 กว่าวัน' สวนดุสิตโพลล์' มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,684 คน (คนกรุงเทพฯ 1,013 คน ร้อยละ 27.50 คนต่างจังหวัด 2,671 ร้อยละ 72.50) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 27 - 29 ก.ย. 2549 และเปิดเผยผลโพลล์ในวันที่ 2 ต.ค. 2549 ได้ผลที่น่าสนใจ สิ่งที่ประชาชนสบายใจขึ้นหลังจากเหตุการณ์ปฏิรูปการปกครอง คือ อันดับที่ 1 บ้านเมืองสงบเรียบร้อย การชุมนุมประท้วงยุติลง ร้อยละ 48.82 อันดับที่ 2 คาดว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่ที่ดีขึ้น/ล้มเลิกระบอบทักษิณ ร้อยละ 15.91

 

ช่วงการแต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

4. เอแบคโพลล์ : สำรวจการสนับสนุนของสาธารณชนต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ทำการสำรวจความเห็นประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1,509 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1-2 ต.ค. 2549 และเผยแพร่วันที่ 2 ต.ค. 2549 โดยความเห็นสนับสนุนต่อพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ช่วงระหว่างวันที่ 28 ก.ย. มีเพียงร้อยละ 20.3 ในวันที่ 30 ก.ย. มีเพียงร้อยละ 36.6 แต่ในวันที่ 2 ต.ค. มีสูงถึงร้อยละ 64.1 นอกจากนี้ผลโพลล์ยังระบุว่าประชาชนเห็นด้วยต่อการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นที่ความผาสุกของประชาชน มากกว่าการเน้นตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียวของพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ถึงร้อยละ 71.0

5. เอแบคโพลล์ : ความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครต่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ สำรวจความคิดเห็นคนกรุงเทพ 1,122 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 9 – 10 ต.ค. 2549 ผลโพลล์ระบุว่าเมื่อสอบถามถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญทางการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.6 คิดว่ารัฐบาลจะมีความโปร่งใสมากขึ้น เมื่อสอบถามภายหลังทราบรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันถึงภาพลักษณ์ความเป็นคนดีและภาพลักษณ์ความเป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของภาพลักษณ์ความเป็นคนดีอยู่ที่ 7.59 ซึ่งใกล้เคียงกับภาพลักษณ์ความเก่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.50 นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.1 เห็นสมควรให้โอกาสคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำงานไปก่อน ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่ควรให้โอกาส

6. กรุงเทพโพลล์ : ประชาชนคิดอย่างไรกับ ครม. ชุดใหม่ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 1,102 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9-10 ต.ค. 2549 และเผยแพร่วันที่ 11 ต.ค. 2549 ผลโพลล์ระบุว่าประชาชนพึงพอใจต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในภาพรวมถึงร้อยละ 64.8

7. เอแบคโพลล์ : อารมณ์ความรู้สึกเบื้องต้นของสาธารณชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ เปรียบเทียบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และชลบุรี จำนวน 1,864 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 24-28 ต.ค. 2549 และเปิดเผยผลสำรวจในวันที่ 30 ต.ค. 2549 ผลโพลล์ระบุว่าภาพลักษณ์เบื้องต้นระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้นในทุกตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ 65.1 ระบุความเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 63.2 ระบุด้านคุณธรรม เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 60.2 ให้ความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังระบุว่า พล.อ.สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันยังมีภาพลักษณ์ด้านอื่นๆ ที่ดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น เช่น การไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความเอาจริงเอาจังแก้ปัญหา การทุ่มเททำงานหนัก ความรู้ความสามารถ แม้แต่การเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศที่ได้เสียงสนับสนุนจากประชาชนสูงเกินกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ด้านที่ได้รับฐานสนับสนุนจากประชาชนต่ำกว่าทุกด้านคือ ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา และภาพลักษณ์ของคนแวดล้อมใกล้ชิดที่ต้องระมัดระวัง เมื่อสอบถามถึงภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีชุดของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ เปรียบเทียบกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ พบว่า ประชาชนเกินกว่าร้อยละ 50 ที่ระบุว่า คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของ พล.อ.สุรยุทธ์ มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในเรื่องของการไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้องมีคนห้อมล้อมมากมาย ไม่ต้องมีรถนำขบวนมากมาย และเป็นคนดีมีคุณธรรม อย่างไรก็ตาม ที่ยังไม่ถึงร้อยละ 50 คือเรื่องการไม่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนและพวกพ้องและความรวดเร็วเข้าถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

 

ช่วงก่อนการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญปี 2550

8. รามคำแหงโพลล์ : "ประชาพิจารณ์ ประชามติ กับความเข้าใจของประชาชนในภูมิภาค" ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงสำรวจความเข้าใจของประชาชนจำนวน 2,280 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 23-27 มิ.ย. 2550 และเผยแพร่เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2550 ผลโพลล์ระบุว่าร้อยละ 51.3 เข้าใจความหมายของ 'ประชาพิจารณ์' อย่างถูกต้อง ร้อยละ 48.7 เข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจ โดยคนภาคใต้และภาคตะวันออกเข้าใจมากกว่าคนภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ผู้ชายเข้าใจมากกว่าผู้หญิง แต่คำว่า 'ประชามติ' มีผู้เข้าใจความหมายถูกต้องเพียงร้อยละ 38.2 เข้าใจผิดถึงร้อยละ 61.8 โดยร้อยละ 73.7 ของคนภาคกลาง ร้อยละ 69.8 ของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 66.2ของคนภาคเหนือ ร้อยละ 52.5 ของคนภาคใต้ และร้อยละ 40.0 ของคนภาคตะวันออกเข้าใจผิด ผู้หญิงเข้าใจผิดมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ ร้อยละ 65.8 ยังไม่เข้าใจว่าประชาพิจารณ์และประชามติเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองอย่างไร โดยร้อยละ 74.6 ของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 73.7 ของคนภาคกลาง ร้อยละ 67.7 ของคนภาคเหนือ ร้อยละ 55.7 ของคนภาคใต้ และร้อยละ 55.0 ของคนภาคตะวันออกไม่เข้าใจ ผู้หญิงไม่เข้าใจมากกว่าผู้ชาย

9. สวนดุสิตโพลล์ : "ประชาชน" กับ "การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ" สวนดุสิตโพลล์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 27 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 4,739 ตัวอย่าง (กทม. 1,214 คน  ร้อยละ 25.62 ต่างจังหวัด 3,525 คน ร้อยละ 74.38) ระหว่างวันที่ 1 – 8 ก.ค. 2550 และเปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2550 โดยผลโพลล์ระบุว่าประชาชนค่อยข้างสนใจการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ร้อยละ 33.13 และมองว่าจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชนที่สนใจการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ มีการระดมความคิดเห็นหลากหลาย/มีผู้รู้ผู้ทรงคุณวุฒิรวมร่างร้อยละ 34.16 มองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างจริงจัง/ใส่ใจประชาชน ร้อยละ 28.63

10. รามคำแหงโพลล์ : การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550: ควรเห็นชอบหรือไม่ ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,375 ตัวอย่าง เปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2550 โดยผลโพลล์ระบุว่าประชาชนร้อยละ 53.5 คิดว่าควรเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ร้อยละ 39.0 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 7.5 เห็นว่าไม่ควร

11. เอแบคโพลล์ : ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 ศูนย์วิจัยเอแบค สำรวจความเห็นประชาชน 3,146 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 5-14 ก.ค. 2550 เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2550 โดยผลโพลล์ระบุว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.1 เห็นด้วยกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในภาพรวม ในขณะที่ร้อยละ 22.9 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 20.0 ไม่มีความเห็น โดยกลุ่มพลังเงียบเกินครึ่งและแม้แต่กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลเกินกว่า  1 ใน 4 ก็ยังเห็นด้วยกับภาพรวมของสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับนี้

12. ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ : รัฐธรรมนูญกับสถานการณ์บ้านเมือง ศูนย์วิจัยธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี  จำนวน 1,525 ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร เปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2550 ผลโพลล์ระบุว่าในการไปใช้สิทธิ์ลงประชามติในการรับร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 19 ส.ค. 2550 นั้นวัยรุ่นร้อยละ 88.0  จะไปใช้สิทธิ์  ในจำนวนนี้ร้อยละ 79.3 จะใช้สิทธิ์เห็นชอบ และร้อยละ 20.7 ไม่เห็นชอบ

13. สวนดุสิตโพลล์ : ความคิดเห็นของประชาชนกับ "การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550" สวนดุสิตโพลล์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศที่มีสิทธิลงประชามติ จำนวน 4,536  คน (กรุงเทพฯ 1,015 คน ร้อยละ 22.38 ต่างจังหวัด 3,521 คน ร้อยละ 77.62) ระหว่างวันที่ 16-22 ก.ค. 2550 เปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2550 สรุปผลได้ดังนี้ ประชาชนจะรับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ถึงร้อยละ 55.72 ส่วนที่ไม่รับร่างมีเพียงร้อยละ 14.92

14. กรุงเทพโพลล์ : ประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 50 ในสายตาประชาชน ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สำรวจความเห็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี จำนวน 1,095 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่วันที่ 25-30 ก.ค. 2550 เปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2550 ผลโพลล์ระบุว่าความเห็นของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม สำหรับการออกเสียงลงประชามติว่าจะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มีร้อยละ 34.8 ไม่เห็นชอบร้อยละ 10.0

15. รามคำแหงโพลล์ : การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ: ควรเห็นชอบหรือไม่” (สำรวจครั้งที่ 3) ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคทั่วประเทศ จำนวน 2,316 ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 10-13 ส.ค. 2550 เปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2550 ระบุว่าคะแนนเสียงเห็นชอบลดลงจากร้อยละ 55.9 เป็นร้อยละ 47.6 กลุ่มที่ไม่แน่ใจว่าจะเห็นชอบหรือไม่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.8 เมื่อต้นเดือน ส.ค. 2550 เป็นร้อยละ 39.7 และกลุ่มที่ตัดสินใจไม่เห็นชอบเพิ่มจากร้อยละ 7.5 เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2550 เป็นร้อยละ 9.4 และ 12.6 ตามลำดับ คนภาคใต้มีแนวโน้มจะเห็นชอบเกินร้อยละ 60.0 แต่คนภาคอื่นมีแนวโน้มจะเห็นชอบประมาณร้อยละ 38.8-44.5 ยังไม่แน่ใจประมาณร้อยละ 34.6-45.9 ส่วนกลุ่มที่ตัดสินใจว่าจะไม่เห็นชอบมากที่สุดคือคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 19.1 รองลงมาคือคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 15.3 คนภาคเหนือร้อยละ 12.2 คนภาคกลางและตะวันออกร้อยละ 10.8 โดยผู้มีสิทธิ์ในภาคเหนือร้อยละ 73.6 ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 70.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 58.2 ภาคกลางและภาคตะวันออกร้อยละ 56.0 และภาคใต้ร้อยละ 39.6 จะไปลงประชามติ

 

ช่วงก่อนการเลือกตั้งในปี 2550

16. สวนดุสิตโพลล์ : ผู้สมัคร ส.ส.” แบบไหน? “พรรคการเมือง” แบบใด? ที่ “คนไทย” อยากเลือก สวนดุสิตโพลล์ สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งกระจายตามจังหวัดที่เป็นตัวแทนของภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,884 คน (กรุงเทพฯ 879 คน ร้อยละ 46.66 ต่างจังหวัด 1,005 คน ร้อยละ 53.34) ระหว่างวันที่ 17-21 ตุ.ค. 2550 เปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2550 ผลโพลล์ระบุว่านักการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษอันดับ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 41.54 อันดับ 2 นายบรรหาร ศิลปะอาชา ร้อยละ 21.36 อันดับ 3 นายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 17.95

17. สวนดุสิตโพลล์ : ความนิยมต่อพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สวนดุสิตโพลล์สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 4,410 คน (กทม. 1,217 คน ร้อยละ 27.60 ต่างจังหวัด 3,193 คน ร้อยละ 72.40)   ระหว่างวันที่ 1-10 พ.ย. 2550 เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2550 โดยผลโพลล์ระบุว่าความนิยมต่อพรรคการเมืองสำคัญ อันดับ 1 พรรคพลังประชาชนได้รับความนิยมใน กทม. ร้อยละ 30.77 ในต่างจังหวัดร้อยละ 38.74 ในภาพรวมร้อยละ 38.58 อันดับ 2 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมใน กทม. ร้อยละ 46.15 ในต่างจังหวัดร้อยละ 28.29 ในภาพรวมร้อยละ 32.29

18. รามคำแหงโพลล์ : ความเชื่อเรื่องตัวเลขกับความรู้ด้านการเลือกตั้ง ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ จำนวน 1,464 คน เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2550 เปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2550 ผลโพลล์ระบุว่าพรรคการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบในปัจจุบัน อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 52.0 อันดับ 2  พรรคพลังประชาชนร้อยละ 13.5

19. ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ : คนกรุงเทพฯ กว่าครึ่งยกให้อภิสิทธิ์เป็นนายก และเกินครึ่งคิดว่านายกอาจจะไม่ใช่หัวหน้าพรรคก็ได้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สำรวจความคิดเห็นประชาชนในกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 1,575 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 4-5 พ.ย. 2550 เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2550 ผลโพลล์ระบุว่าผู้ที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี อันดับ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 52.2 อันดับ 2 นายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 14.7

20. กรุงเทพโพลล์ : คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ เก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 16 จังหวัดจากทั้ง 8 กลุ่มจังหวัดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วน ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี  ชลบุรี เชียงใหม่ พะเยา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี พัทลุง และสงขลา ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,507 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวันที่ 16-19 พ.ย. 2550 เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2550 ผลโพลล์ระบุว่า พรรคการเมืองที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะเลือกในระบบสัดส่วน อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 43.5 อันดับ 2 พรรคพลังประชาชน ร้อยละ 24.8 หัวหน้าพรรคการเมืองที่คิดว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด อันดับ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 46.4 อันดับ 2 นายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 22.9

21. เอแบคโพลล์ : สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนและบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 ศูนย์วิจัยเอแบคโพลล์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างประชาชนจำนวน 7,589 ตัวอย่าง และแกนนำชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 2,109 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 9,698 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 20 พ.ย. - 5 ธ.ค. 2550 เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2550 ผลโพลล์ระบุว่าพรรคพลังประชาชนคาดว่าจะได้ 39 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 33 ที่นั่ง และพรรคอื่น ๆ ได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาและพรรคประชาราช เป็นต้นจะได้ 8 ที่นั่ง โดยมีค่าบวกลบความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 5 ที่นั่ง

22. กรุงเทพโพลล์ : คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม (สำรวจครั้งที่ 2) ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์เก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 16 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี เชียงใหม่ แพร่ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด นครราชสีมา จันทบุรี ราชบุรี นครปฐม นครศรีธรรมราช และสตูล ตัวอย่างจำนวน 1,472 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวันที่ 4-10 ธ.ค. 2550 เปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2550 ผลโพลล์ระบุว่าพรรคการเมืองที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะเลือกในระบบสัดส่วน อันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 34.2 อันดับ 2 พรรคพลังประชาชน ร้อยละ 31.9 หัวหน้าพรรคการเมืองที่คิดว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด อันดับ 1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 34.8 อันดับ 2 นายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 28.0

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คูเวตประกาศค่าจ้างขั้นต่ำให้คนทำงานบ้านเป็นประเทศแรกในแถบอ่าวเปอร์เซีย

0
0

คูเวตออกกฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ 60 ดินาร์ (ประมาณ 6,900 บาท) ต่อเดือน ให้คนทำงานบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากต่างประเทศหลังมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ แต่ค่าจ้างขั้นต่ำนี้ยังน้อยกว่ารายของคนคูเวตพื้นถิ่นถึง 17 เท่า

25 ก.ค. 2559 เว็บไซต์ Middle East Eyeระบุว่าตามรายงานของสื่อท้องถิ่นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (21 ก.ค.) คูเวตได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยชีค มูฮัมหมัด คาเลด อัล-ซาบาห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำภายในประเทศที่ 60 ดินาร์ (ประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 6,900 บาท) ต่อเดือน

ซึ่งกฎหมายนี้เป็นความพยายามต่อเนื่องของคูเวตที่จะยกระดับชีวิตแรงงานจากต่างชาติโดยเฉพาะคนทำงานบ้าน โดยเมื่อปีที่แล้วคูเวตกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้างของตน ให้คนทำงานมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้ทำงานไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง นายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนสม่ำเสมอ และให้เงินเดือนพิเศษ 1 เดือนหลังจากหมดสัญญาจ้าง

ข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่าคูเวตเป็นประเทศร่ำรวยอันดับที่ 33 ของโลก ประชากรคูเวตพื้นถิ่นมีรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ 40,930 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนรายได้เฉลี่ยของแรงงานต่างชาติโดยเฉพาะคนทำงานบ้านตามค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศใช้ใหม่นี้จะอยู่ที่ประมาณ 2,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าคนพื้นถิ่นถึง 17 เท่า

ประมาณการกันว่ามีคนทำงานบ้านจากต่างชาติในคูเวตอยู่ 6 แสนคน จากทั้งหมด 2.4 ล้าน คนที่กระจายอยู่ในประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนทำงานบ้านเหล่านี้มักจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานท้องถิ่น บ่อยครั้งที่กลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลการละเมืดสิทธิแรงงานต่างชาติในภูมิภาคนี้ ทั้งการไม่จ่ายค่าจ้าง การบังคับให้ทำงานโดยไม่มีวันหยุด รวมทั้งการทำร้ายร่างกายและการล่วงละเมิดทางเพศจากนายจ้าง

แต่ทั้งนี้หลายประเทศในภูมิภาคนี้ก็มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข อย่างบาห์เรนก็ได้ปรับปรุงกฎหมายแรงงานเพื่อคุ้มครองคนทำงานบ้าน ซาอุดิอาระเบียก็ได้กำหนดชั่วโมงการทำงานคนทำงานบ้านไม่ให้เกิน 15 ชั่วโมงต่อวัน แต่ทั้งนี้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนออกมาระบุว่ากฎระเบียบต่าง ๆ ของประเทศในภูมิภาคนี้มักจะไม่ได้ถูกบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดองค์กรฮิวแมน ไรต์ วอตซ์ (Human Rights Watch) พึ่งออกรายงานว่า "กฎหมายระบบอุปถัมภ์แรงงาน" (kafala) ของประเทศโอมาน เอื้อต่อการกดขี่และขูดรีดแรงงานข้ามชาติในประเทศเป็นอย่างมาก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองทัพเยอรมันนำร่องฝึกทักษะผู้ลี้ภัยซีเรีย ใช้ฟื้นฟูประเทศ

0
0

สงครามซีเรียสร้างความเสียหายภายในประเทศและทำให้ประชาชนอพยพลี้ภัยจำนวนมาก โดยกว่า 1 ล้านคนอพยพเข้าสู่เยอรมนี กระทรวงกลาโหมเยอรมนีประกาศว่าพวกเขาริเริ่มโครงการนำร่อง ช่วยฝึกทักษะผู้ลี้ภัยโดยจำนวนเริ่มต้นราว 100 คน เพื่อให้มีทักษะฝีมือกลับไปฟื้นฟูประเทศชาติใหม่ได้ หรือในระหว่างนั้นก็สามารถปฏิบัติงานฝ่ายพลเรือนให้กองทัพเยอรมนีได้

25 ก.ค. 2559 อัวซูลา ฟอน เดอ ไลเอน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของเยอรมนีเปิดเผยว่า กองทัพเยอรมนีเปิดโครงการฝึกงานให้กับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียซึ่งเป็นโครงการนำร่องโดยการนำชาวซีเรียราว 100 คน ฝึกทักษะต่างๆ เพื่อให้สามารถช่วยสร้างประเทศซีเรียขึ้นมาใหม่ได้ในอนาคตและสามารถช่วยเหลืองานฝ่ายพลเรือนของกองทัพเยอรมนีได้

ฟอน เดอ ไลเอน กล่าวว่าโครงการนี้มีแนวคิดเพื่อช่วยให้ชาวซีเรียกลับไปสร้างประเทศตัวเองขึ้นมาใหม่ได้ หลังจากสงครามจบลงและมีรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นปกครองประเทศแล้ว

นอกจากนี้ในระยะยาวกองทัพเยอรมนีหรือ 'บุนเดซเวร์' ยังต้องการมีส่วนร่วมในการฝึกฝนกองทัพของซีเรียในอนาคตด้วย ฟอน เดอ ไลเอน กล่าวว่าในตอนนี้โครงการของเยอรมนีจะเน้นฝึกทักษะ เช่น เทคโนโลยี การแพทย์ และระบบการขนส่ง ที่นำไปใช้ได้ในหลายส่วน ไลเอนบอกอีกว่าผู้ลี้ภัยชาวซีเรียมีศักยภาพในการปฏิบัติงานฝ่ายพลเรือนให้กับกองทัพเยอรมนีแต่ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ

รัสเซียทูเดย์รายงานว่าในการร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อสู้รบกับไอซิส ทางการเยอรมนีมีการอนุมัติการวางกำลังในต่างชาติครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการวางกำลังทหาร 1,200 นาย ในภารกิจที่นำโดยสหรัฐฯ ใช้งบประมาณปฏิบัติการไปแล้ว 134 ล้านยูโร (ราว 5,000 ล้านบาท) รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านการลาดตระเวนทางอากาศในปฏิบัติการดังกล่าว ในขณะเดียวกันเยอรมนีก็ต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่เข้าสู่ประเทศจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนด้วย

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาไลเอนประกาศว่าทางกองทัพพร้อมที่จะฝึกฝนทักษะ 100 ประเภทให้กับผู้ลี้ภัยซึ่งจะเป็นประโยชน์กับพวกเขาในกรณีที่พวกเขาจะไม่ยืดเวลาอยู่ในเยอรมนีต่อไป ไลเอนบอกว่าการจะสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ไม่ได้ใช้เพียง "หินก้อนใหม่" เท่านั้น แต่ทักษะวิชาที่พวกเขาได้รับจะช่วยให้มีการสร้างอนาคตของประเทศแบบก้าวกระโดดได้


เรียบเรียงจาก

German military trains 100 refugees in civilian jobs to help rebuild Syria, Rossia Today, 24-07-2016
https://www.rt.com/news/352938-german-military-refugee-training/

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50697 articles
Browse latest View live