Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

รายงานพิเศษ: คลื่นความถี่ สมบัติสาธารณะที่ยังไม่เป็นจริง

$
0
0

กว่า 24 ปีของการปฏิรูปสื่อ รัฐยังไม่ยอมปล่อยคลื่นคืนสาธารณะ กสทช. ที่เป็นทหาร-ตำรวจเกินครึ่งทำงานไม่คืบ แถมตัดสินให้หน่วยงานรัฐครองคลื่นต่อ โดยไม่สนงานศึกษาของอนุกรรมการ ซ้ำ คสช. ออกคำสั่งไม่ต้องคืนคลื่นอีก 5 ปี เผยกองทัพบกยังเก็บคลื่นในมือกว่า 100 สถานี


หลายคนอาจคุ้นชื่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช. เลาๆ ว่าเป็นคนจัดประมูลคลื่นโทรคมนาคมต่างๆ รวมถึงจัดประมูลทีวีดิจิทัลหลายสิบช่องเมื่อไม่กี่ปีมานี้ อันที่จริงภารกิจอันใกล้กว่านั้นของ กสทช. (ซึ่งเป็นภารกิจตั้งแต่เริ่มต้นศักราช ‘การปฏิรูปสื่อ’ เมื่อปี 2540) คือการนำคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงหรือคลื่นวิทยุมาจัดสรรใหม่ โดยแบบแม่บทกำหนดให้มีการคืนคลื่นภายใน 5 ปี (ซึ่งจะครบกำหนดในปี 2560 นี้)

รายงานชิ้นนี้จะชวนสำรวจความคืบหน้าของการเรียกคืนคลื่นวิทยุเหล่านี้ 

ทำไมต้องเอาคลื่นคืน
ก่อนยุคที่ใครๆ ก็เป็นสื่อได้เพียงขยับปลายนิ้ว พิมพ์สเตตัส หรือไลฟ์บนเฟซบุ๊ก การเป็นสื่อหรือเป็นเจ้าของสื่อเป็นเรื่องยากจะเข้าถึง วิทยุและทีวีเป็นของรัฐ ส่วนหนึ่งเอกชนได้สิทธิใช้ผ่านสัญญาสัมปทาน ซึ่งแน่นอนว่าง่ายต่อการควบคุมเนื้อหา
จนเมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภา 2535 ที่คนหาข่าวการชุมนุมในสื่อเหล่านี้ไม่ได้ บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ เคยให้ภาพช่วงนั้นไว้ว่า "วิทยุและโทรทัศน์ถูกใช้เป็นปัจจัยในการต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนักหน่วง นอกจากโฆษณาชวนเชื่อที่ตกแต่งให้คนคนนี้กลายเป็นเทวดาผู้ถูกสวรรค์ส่งมาโปรดผู้บาปหนาแล้ว สื่อมวลชนรัฐเหล่านี้ถูกกะเกณฑ์ให้ละเลย บิดเบือน และใส่ร้ายพลังประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ”

สอดคล้องกับที่ รัตนะ บัวสนธ์ เขียนไว้ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์

"การปิดกั้นเสรีภาพในการเสนอข่าวสารอย่างเที่ยงตรงของสื่อมวลชนจากเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น กล่าวได้ว่า การที่ฝ่ายรัฐบาลใช้อำนาจแทรกแซง เสนอข่าวสารผ่านโทรทัศน์ วิทยุ ตลอดจนหนังสือพิมพ์บางฉบับเป็นไปในทำนองปิดกั้นเสรีภาพของผู้สื่อข่าว บิดเบือน โฆษณาชวนเชื่อ ให้ข่าวด้านลบในการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นการเสนอข่าวด้านเดียวนั้น ยิ่งทำให้เกิดความสงสัยต่อกลุ่มคนที่ได้รับฟังข่าวสาร และอยู่ในบริเวณโดยรอบกรุงเทพมหานคร หลั่งไหล เดินทางไปยังถนนราชดำเนิน เพื่อรับรู้ข้อมูลที่แท้จริง เนื่องมาจากการได้รับข่าวลือ ข่าวลวงต่างๆ นานา จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรสาร โทรศัพท์ เป็นต้น"

ด้วยเหตุการณ์เหล่านี้เอง พร้อมๆ กับกระแสเรียกร้องปฏิรูปกองทัพ ก็เกิดกระแสเรียกร้องปฏิรูปสื่อขึ้นด้วย อันเป็นที่มาของไอทีวี และที่สุดนำมาซึ่งมาตรา 40 ในรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสาธารณะ พร้อมให้มีการตั้งองค์กรอิสระเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการ ทีวี วิทยุ โทรคมนาคม โดยให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนและทำให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม

ต่อมา องค์กรที่ว่าถูกเปลี่ยนหน้าตาไปหลังรัฐประหาร 2549 โดยจากเดิมที่มีสององค์กรคือ กสช. (คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ) และ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้รวมทั้งสององค์กรเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นองค์กรที่ชื่อว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. โดยชุดแรกเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2554

นอกจากการที่ กสทช. จะมีทหารและตำรวจเข้าไปนั่งเป็นกรรมการถึง 6 นายจากทั้งหมด 11 คนแล้ว การที่มีคนจากภาคประชาชนอย่างสุภิญญา กลางณรงค์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้รับเลือกเป็นกรรมการด้วย ก็เป็นที่จับตาไม่น้อย ขณะนั้น มีทั้งเสียงแสดงความยินดีที่คนทำงานจะได้เข้าไปทำฝันให้เป็นจริง และเสียงที่ตั้งคำถามว่าจะเป็นได้แค่ไม้ประดับหรือไม่

กสทช. ชุดนี้ออกแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ เมื่อปี 2555 กำหนดให้เรียกคืนคลื่นความถี่ที่อยู่ในครอบครองจากหน่วยงานรัฐทั้งหมด โดยคลื่นที่หน่วยงานรัฐให้เอกชนเช่าก็ให้คืนเมื่อสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ส่วนคลื่นที่อยู่นอกเหนือสัญญาสัมปทาน กำหนดระยะเวลา 5 ปี สำหรับกิจการกระจายเสียง 10 ปีสำหรับกิจการโทรทัศน์ และ 15 ปีสำหรับกิจการโทรคมนาคม โดย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มาตรา 82 และมาตรา 83 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีคลื่นความถี่อยู่ในครอบครอง ต้องแจ้งความจำเป็นในการถือครองคลื่นฯ เพื่อประกอบการพิจารณาเรียกคืนคลื่นฯ มาจัดสรรใหม่ หากหน่วยงานรัฐใดยังมีความจำเป็นสามารถถือครองคลื่นฯ ต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีหลังแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ของ กสทช. ประกาศใช้ 

ข้อมูลจากสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ระบุว่า คลื่นวิทยุระบบเอฟเอ็มและเอเอ็มนั้น ถือครองโดยกองทัพ (กองทัพบก, กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ และกองบัญชาการกองทัพไทย) มากที่สุดถึง 198 สถานี, ตามด้วยกรมประชาสัมพันธ์ถือครองคลื่นวิทยุรวม 145 สถานี, บมจ.อสมท 62 สถานี, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถือครอง 44  สถานี, สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ 16 สถานี, สำนักงาน กสทช. 8 สถานี และกรมอุตุนิยมวิทยา 6 สถานี


เกือบ 5 ปีของการเรียกคืนคลื่น 5 ปีที่ไม่มีอะไรคืบหน้า
ว่ากันเฉพาะส่วนของวิทยุ ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนเมษายนปีหน้า (2560) นี้ ความคืบหน้าเดียวที่มีคือยังไม่มีความคืบหน้า
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้เห็นชอบรับรองการถือครองคลื่นที่อยู่ในมือของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ จำนวน 27 หน่วยงาน 537 คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ไว้ให้ถือครองหรือใช้งานได้จนถึงระยะเวลาสูงสุดที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ คือ 3 เมษายน 2560

สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในกรรมการ กสท. ที่ทำงานประเด็นนี้มาอย่างยาวนาน เป็นเสียงข้างน้อยในวันนั้น ที่เห็นว่า ควรมีการพิจารณาความจำเป็นเป็นรายสถานีไป และควรมีการกำหนดให้คืนคลื่นได้เร็วกว่านี้ ไม่ใช่ปล่อยจนถึงระยะเวลาช้าสุดเท่าที่จะช้าได้ รวมถึงมีการกำหนดแผนจัดสรรต่อไปหลังได้คืนแล้ว

สุภิญญา ชี้ว่า ในรายงานที่อนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานและพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (อนุความจำเป็นฯ) ชงเข้ามา ลงรายละเอียดไว้ค่อนข้างดี แต่กรรมการก็ไม่ได้พิจารณาข้อมูลที่อนุความจำเป็นฯ พิเคราะห์มา และฟันธงเลยว่าชอบด้วยกฎหมาย คล้ายเป็นการยกประโยชน์ให้จำเลย

ทั้งนี้ รายงานของอนุความจำเป็นฯ เป็นข้อมูลลับ เผยแพร่ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในบันทึกความเห็นต่าง ของ สุภิญญา กลางณรงค์ ในการประชุม กสท. เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2559 ตอนหนึ่งระบุถึงรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ไว้ว่า จากรายงานฯ มีกลุ่มหน่วยงานที่ประกอบกิจการกระจายเสียงสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน 18 หน่วยงาน โดยใช้ 113 คลื่นความถี่ และกลุ่มหน่วยงานที่ประกอบกิจการกระจายเสียงไม่สอดคล้องกับภารกิจบางส่วน 10 หน่วยงาน โดยใช้ 425 คลื่นความถี่
 

กองทัพบกเก็บคลื่นไว้ในมือ 127 สถานี อ้างเก็บไว้ทำงาน
กองทัพบกมีสถานีวิทยุกระจายเสียงในความรับผิดชอบทั้งสิ้น 127 สถานี แบ่งเป็น เอฟเอ็ม 49 สถานี เอเอ็ม 78 สถานี แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของกองทัพบก พ.ศ.2556–2560 จัดทำโดย สำนักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมกองทัพบก ระบุความจำเป็นในการมีกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของกองทัพบก โดยระบุถึงภาระของกองทัพตามกฎหมายและหน้าที่หลักของกองทัพ นอกจากนี้ ยังระบุถึงยุทธศาสตร์การพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กองทัพบกด้วย

"กองทัพบกในฐานะกลไกหลักของรัฐในการรักษาความมั่นคงของชาติ ยังคงยึดมั่นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ ทำนุบำรุงพระศาสนา ปกป้อง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มขีดความสามารถ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของกองทัพในทุกด้านให้มีความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับภัยคุกคามทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้คลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตั้งแต่อดีตในการประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติการจิตวิทยา และการปฏิบัติการข่าวสาร สนับสนุนภารกิจของกองทัพบกมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง ในฐานะเป็นเครื่องมือหลักทางทหารที่สำคัญในการสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐและประชาชน ซึ่งในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา กองทัพบกได้ให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของชาติในภาวะวิกฤตมาโดยตลอดอย่างเป็นรูปธรรม"
 


กสทช. มี...เหมือนไม่มี
แล้วจริงๆ ควรจะเป็นอย่างไร กรรมการ กสท. เสียงข้างน้อย มองว่า อย่างน้อยที่สุดในช่วง 1-2 ปีแรก ควรจะตรวจสอบความจำเป็นของคลื่นวิทยุบางส่วนจาก 500 กว่าราย ที่จริงๆ อาจจะชอบธรรมที่เขาได้รับการรับรอง ยกตัวอย่างวิทยุด้านการศึกษาทั้งหลายที่ทำโดยมหาวิทยาลัย มีการใช้ในเรื่องการศึกษาจริงๆ ประกอบกิจการด้วยตนเอง ไม่ได้เอาไปเช่าช่วงหรือแสวงหากำไรทางธุรกิจ หรือวิทยุบางส่วนของหน่วยงานรัฐที่ใช้ในเรื่องข่าวสารสาระจริงๆ ก็ควรจะถูกกรองไปก่อนและทยอยรับรองความชอบธรรมของเขา และบางส่วนที่ใกล้ตัว อย่าง 1 ปณ. ของสำนักงาน กสทช. ควรจะทำตั้งแต่ปีแรก เพราะไม่มีเหตุผลที่สำนักงาน กสทช. จะถือครองไว้ โดยบอร์ด กสท. อาจเอาคลื่น 1 ปณ. มาเป็นตัวอย่าง ถ้าอยากจะทำวิทยุดิจิทัล อาจจะเอามาทดลองได้ หรือถ้าจะลองจัดสรรคลื่นโดยการทดลองประมูลก็อาจจะทดลองได้หรือจัดสรรเป็นสาธารณะก็ได้

“ตอนนี้คลื่นนี้มูลค่ามันสูงขึ้นมาเพราะในกระแสสากลมันเอาคลื่นไปทำบรอดแบนด์ได้แล้ว ก็คือคลื่น 700 ที่เขาว่ากัน เมื่อก่อนมันเป็นคลื่นที่ทำโทรทัศน์ทั่วโลก เพราะเป็นคลื่นย่านต่ำ ตอนนี้ ในยุโรป อเมริกา ก็เริ่มเอาคลื่นโทรทัศน์กลับมาทำ 4G 5G ทำให้มูลค่าคลื่นสูงขึ้นมาก เท่ากับคลื่นอนาล็อกธรรมดาๆ ที่รอวันเอาท์มันดันมูลค่าสูง”

"ถ้าลากมาถึง 5 ปี คุณจะไม่มีเวลาจัดสรรใหม่ ต้องโยนให้กับ กสทช. ชุดหน้า เท่ากับเราล้มเหลวที่จะจัดสรรคลื่นวิทยุ เราเข้ามาแค่รักษาสถานะเดิมของวิทยุ พูดง่ายๆ ว่าเราเลือกที่จะไม่ทำอะไรกับวิทยุใช่ไหม นอกจากให้ใบอนุญาตที่ถูกกฎหมายกับรายใหม่ แต่รายเดิมแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย เท่ากับเราลาก 6 ปี (อายุงาน กสทช.) เพื่อให้ชุดใหม่มาทำเรื่องคืนคลื่น" สุภิญญากล่าวและว่าจนขณะนี้ ก็ยังไม่มีแผนว่าได้มาแล้วจะทำอะไรต่อไป

"การปฏิรูปสื่อก็ไม่ได้หมายความถึงการคืนคลื่นของภาครัฐอีกต่อไป แต่หมายถึงการไปกำกับควบคุมจรรยาบรรณ เสรีภาพของสื่อธุรกิจหรือสื่อทั่วไปมากกว่า วาทกรรมมันก็เปลี่ยน ทำให้แรงผลักดันเรื่องการคืนคลื่นแผ่วลง เพราะคลื่นมันก็คือขุมทรัพย์ คือทรัพยากรที่สร้างมูลค่าได้ ใครได้มาก็ไม่อยากคืนอยู่แล้ว"


คสช. ออกคำสั่งเอื้อให้เก็บ ‘สมบัติสาธารณะ’ ไว้ในมือทหาร ไม่ปล่อยให้ประชาชน
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ กสทช.จะได้ชื่อว่า ‘ล้มเหลว’ ในการจัดสรรคลื่นความถี่ พระเอก (!?) ขี่ม้าขาว ในนาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้ามาแก้วิกฤตนี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ออกคำสั่ง คสช. ที่ 76/2559 ชะลอการเรียกคืนคลื่นความถี่วิทยุตามแผนแม่บทของ กสทช. ที่เดิมกำหนดต้องส่งคืนทั้งหมดภายใน เม.ย. 2560 ให้เลื่อนไปอีก 5 ปี

สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้อำนวยการสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความผิดหวังหลังคำสั่งนี้ออกมา เธอมองว่า การทำเช่นนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ทหารซึ่งมีคลื่นอยู่ในมือจำนวนมากและยังไม่เคยมีการเปิดเผยผลการพิจารณาความจำเป็นของการใช้คลื่นเลย

ขณะที่เธอพูดถึงบทบาทของ กสทช.ด้วยว่า ที่ผ่านมา สิ่งที่ทำได้ก็เพียงแค่ออกใบอนุญาตดิจิตอลทีวีเท่านั้นเอง ส่วนวิทยุนั้น พันเอก นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธาน กสท.เคยให้สัมภาษณ์วิทยุจุฬาว่า ถือว่ามีการกระจายการถือครองแล้วในส่วนของวิทยุชุมชน แต่เธอมองว่า นั่นยังเป็นเพียงใบอนุญาตชั่วคราว และแม้แต่คลื่นหลักต่างก็อยากให้มีการจัดสรร
"จริงอยู่ว่าวิทยุอาจจะไม่ได้ทันสมัยหรือเป็นที่นิยมอีก แต่ในห้าปีอาจเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อาจเกิดดิจิทัลเอฟเอ็ม เอเอ็มขึ้น แต่ทหารไม่ยอมคายคลื่นใช่ไหม"

สุวรรณชี้ว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นคือจะไม่มีการจัดประเภทวิทยุไปอีก 5 ปี ว่าวิทยุไหนเป็นวิทยุสาธารณะ ธุรกิจ หรือชุมชน แบบที่ทีวีทำ คนที่จัดประเภทตัวเองว่าเป็นวิทยุสาธารณะมา 5 ปีแล้วอย่างวิทยุจุฬาฯ จะอยู่ไม่รอด ถ้าไม่มีการช่วยเหลือทางการเงิน (Subsidy) ส่วนวิทยุชุมชนจะไม่มีทางขึ้นมาบนคลื่นหลักได้เลย วิทยุธุรกิจขนาดเล็กก็ตายหมด แทนที่จะได้รวมกลุ่มกันประมูลคลื่นหลัก นี่ก็เป็นการบิดเบือนตลาดอีกอันหนึ่ง

เธอกล่าวต่อว่า รอไปอีก 5 ปี วิทยุดิจิตอลอาจจะไม่มีประโยชน์แล้วก็ได้ ตอนนี้ทุกอย่างข้ามแพลตฟอร์มไป เราฟังวิทยุได้ทางออนไลน์หรือฟังในรถ ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อวิทยุมาฟัง มีทีวีอีก 30 กว่าช่อง มีสมาร์ททีวีที่ดูทีวีผ่านเน็ตได้ แล้วจะขยายเวลาอีก 5 ปี ถามว่าจะรอเทคโนโลยีตายใช่ไหม


พวกเขากลับมาเพื่อหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินกลับหลัง
กลับไปย้อนมองตั้งแต่เริ่มมีการกำหนดการเรียกคืนคลื่นไว้ สุเทพ วิไลเลิศ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ บอกว่า แม้จะดูเหมือนสำเร็จในแง่กฎหมาย แต่ในเชิงการปฏิบัติแล้ว ยังไม่เคยมีองค์กรที่ทำหน้าที่นี้ได้เลย
"เรามี พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2543 ที่กำหนดให้มีการคืนคลื่น ห้ามรัฐเอาคลื่นให้เอกชนทำสัญญาสัมปทานต่อและให้ประกอบกิจการเอง ทั้งยังให้ กสช.กำหนดเวลาเรียกคืนคลื่นความถี่ จัดสรรใหม่ แบ่งเป็นสามประเภทคือ สาธารณะ ธุรกิจ และชุมชน และแบ่งเป็นระดับภูมิภาคและท้องถิ่น หน่วยงานรัฐจะใช้ต้องแสดงความต้องการว่าจะใช้ แต่ทั้งหมดต้องแบ่งให้ภาคประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ตอนนั้น ภาพวิทยุชัดกว่าเพราะใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่า จึงเกิดวิทยุชุมชนขึ้นมา"

แต่จนแล้วจนรอด สัดส่วนร้อยละ 20 นี้ก็ไม่เคยถึงมือประชาชน

"แต่มาถึงวันนี้แม้เราจะมีอินเทอร์เน็ต มีช่องทางสื่อสารอื่นๆ แต่ที่ประชาชนได้ใช้คืออินเทอร์เน็ตหรือออนไลน์ ที่ต้องซื้อบริการ ขณะที่คลื่นวิทยุ 20 เปอร์เซ็นต์คือการจัดสรรทรัพยากร คือสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในการสื่อสารโดยตรง ดังนั้น การเรียกคืนคลื่นยังจำเป็นและเป็นประโยชน์”

สุเทพมองว่าอาการเตะถ่วงนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ว่ามี กสทช. แล้ว แต่ กสทช.ก็ยังไม่เรียกคืน ให้ถือได้ 5 ปีเต็ม และ คสช. ก็ต่อเวลาให้อีก 5 ปี

เปรียบเทียบกับสื่อทีวี เขามองว่า กรรมสิทธิ์ในสื่อทีวียังดูเหมือนจะเปลี่ยนบ้าง โดยไปอยู่ในมือของเอกชน แม้รัฐจะเอาค่าประมูลไป แต่ว่ากันถึงที่สุด รัฐก็ผันตัวไปเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายส่งสัญญาณทีวีดิจิตอล (MUX) เวลาเกิดรัฐประหาร อยากจะปิดทีวีก็ไปที่ MUX แทน เท่ากับรัฐจะคุมเนื้อหาได้ ในทางเทคนิคเหมือนเกตเวย์อย่างหนึ่ง อีกด้านหนึ่งก็เอามาตรา 37 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการฯ เอาการกำกับดูแลด้านเนื้อหามาเป็นเครื่องมือ แล้วก็ไม่มีกลไกอะไรชัดเจนเลยที่จะบอกว่าอะไรผิด ผิดแค่ไหน แล้วก็โยนมาเป็นเรื่องกำกับดูแลว่าไม่สามารถกำกับดูแลกันเองได้

"ระยะหลัง ฝ่ายวิชาชีพ วิชาการ มักพูดว่าการปฏิรูปสื่อคือการกำกับดูแลเนื้อหา มันเหมือนกับตั้งเป้าหมายพุ่งไปทางนั้น ทั้งที่ตัวกรรมสิทธิ์หรือการครอบครอง การเป็นเจ้าของสื่อมันยังไปไม่ถึงไหนเลย มันเป็นการเบี่ยงเบนออกไป สุดท้าย มันพลิกไปจากจุดเดิม"

จากความไม่สำเร็จเหล่านี้ สุเทพชวนกลับมาทบทวนว่า ในการรัฐประหารแต่ละครั้ง ก่อให้เกิดการช่วงชิงทรัพยากรโดยหน่วยงานรัฐที่ไม่ใช่แค่เรื่องคลื่นความถี่ แต่รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่กระทบสังคมด้วย ถ้ามีการเลือกตั้ง  คงต้องคิดกันว่า ทำอย่างไรจะไม่เกิดรัฐประหารอีก นอกจากนี้ ยังชวนคิดว่าเรื่องการกระจายการถือครองคลื่นหรือโครงสร้างที่เป็นธรรมในยุคนี้จะต้องมองไกลถึงคลื่นโทรคมนาคมด้วยหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนได้มีสิทธิที่จะใช้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย อย่างน้อยร้อยละ 20 ต้องหาหลักไมล์ใหม่ที่มีความชัดเจนร่วมกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.แถลงคุมตัว 9 แฮกเกอร์ ด้านเพจต้านยังโพสต์เตรียมเปิดซีรีย์ 'บ้านลุงตู่' วันที่ 2 คืนนี้

$
0
0

ตำรวจแถลงจับ แฮกเกอร์ได้ 9 คน พร้อมของกลาง คอมพิวเตอร์ อาวุธปืน แถมด้วย กัญชาอัดแท่ง ประวิตร ขู่จับเพิ่ม ด้านเพจ 'พลเมืองต่อต้าน Single Gateway' ยังโพสต์ได้อยู่ แถมประกาศซีรีย์ 'เปิดบ้านลุงตู่' วันที่ 2 คืนนี้ 


ภาพจาก Banrasdr Photo

26 ธ.ค. 2559 สื่อหลายสำนัก เช่น ผู้จัดการออนไลน์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, เนชั่น และคมชั่ดลึกออนไลน์รายงานตรงกันว่า วันนี้  เมื่อเวลา 10.30 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รอง ผบ.ตร. ,พล.ต.ต.ศุภเชษฐ์ โชคชัย ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) ,พล.ต.ต.ศิริพงศ์ ติมุลา ผบก.สนับสนุนทางเทคโนโลยี ,พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ,พล.ต.ต.ทรงพล วัธนะชัย และ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ร่วมกันแถลงจับกุมผู้ต้องสงสัยกลุ่มแฮกเกอร์พร้อมของกลาง โดยระบุว่ากองทัพจะสามารถควบคุมตัวได้จำนวน 9 คน และส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสอบสวนดำเนินคดี ซึ่ง พล.ต.อ.จักรทิพย์ นำตัว นายณัฐดนัย คงดี อายุ 19 ปี หนึ่งใน 9 คนที่ถูกจับกุมมาสอบสวนด้วยตัวเอง พร้อมยึดของของกลางได้ที่บ้ายพักประกอบด้วยซีพียูคอมพิวเตอร์ อาวุธปืนสั้น 2 กระบอก อาวุธปืนยาว 1 กระบอก กัญชาอัดแท่ง เบื้องต้นแจ้งข้อหาตามความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 5 7 และ 14 ฐานเป็นอังยี่ซ่องโจรตรมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 มียาเสพติดให้โทษในครอบครอง

พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า พฤติการณ์ของผู้ต้องหานั้น จะใช้ความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ทำการเข้าถึงระบบข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ ก่อนจะทำการบันทึกภาพไว้ แล้วส่งต่อให้กับผู้ดูแลเพจเฟสบุ๊ค ชื่อ พลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกทเวย์ เพื่อนำไปเผยแพร่ข้อมูลผ่านเพจดังกล่าว และจากการสืบสวนสอบสวนยังพบ ว่า นายณัฐดนัย นั้น เป็นสมาชิกของกลุ่มแฮ็กเกอร์ 3 กลุ่มหลักด้วยกัน และยังเป็นสมาชิกคนเพจพลเมืองต่อต้านซิงค์เกิ้ลเกทเวย์อีกด้วย
       
พล.ต.อ.จักรทิพย์ เปิดเผยว่า หลังจากพบมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีทำการเจาะข้อมูลเว็บไซต์หน่วยงานราชการ ก็ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ใช้เวลา 3 วันก็สามารถจับกุมนายณัฐดนัยได้ และจากการตรวจสอบบ้านพักพบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้แฮ็กข้อมูล กัญชาอัดแท่งและอุปกรณ์เสพอีกจำนวนหนึ่ง ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างขยายผลถึงผู้ร่วมขบวนการหลายอื่นต่อไป โดยเฉพาะผู้ที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มขบวนการดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็นกลุ่มขบวนการใหญ่ มีทั้งอยู่ในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งหากพบพยานหลักฐานเชื่อมโยงถึงบุคคลใด ก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นเด็ดขาด ส่วนรายละเอียดการสอบสวนนั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ ฝากเตือนผู้ที่คิดจะทำผิดเจาะข้อมูลเว็บไซต์ราชการด้วยว่า ให้หยุดความคิดดังกล่าวทันที เพราะทางเจ้าหน้าที่ปราบปรามการกนะทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถสืบสวนสอบสวนไปยังผู้กระทำผิด และจับกุมมาดำเนินคดีตามกฎหมาย เช่นเดียวกันกับผู้ต้องรายนี้ เชื่อมีผู้อยู่เบื้องหลัง มีทั้งภายในและนอกประเทศ ส่วนจะเป็นใคร รวมทั้งเชื่อมโยงกลุ่มการเมืองหรือไม่ตนไม่ขอเปิดเผย 

ประวิตร เผยจับแฮกเกอร์ได้ 9 คน ป่วนเว็บรัฐ ขู่จับเพิ่ม

ขณะที่ มติชนออนไลน์และโพสต์ทูเดย์รายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมตัวแฮกเกอร์ว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวไว้ทั้งหมด 9 คน และทางเจ้าหน้าที่จะเร่งดำเนินการ และจะควบคุมตัวได้เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งนี้รายละเอียดทั้งหมดเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้เเถลงและดำเนินการต่อไป โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการแถลงในวันนี้ (26 ธ.ค.59) อย่างไรก็ตามขอให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ปล่อยปละละเลย เพราะสามารถควบคุมตัวได้พร้อมเครื่องมือกระทำความผิด
 

เพจต้าน Single Gateway ยังโพสต์อยู่

โพสต์ล่าสุดของเพจ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway เมื่อเวลา 11.09 น.
 
ด้านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway' ยังโพสต์ข้อความอยู่ตลอด โดยล่าสุดเมื่อเวลา 11.09 น. ที่ผ่านมา โพสต์ชี้แจงกรณีที่สื่อบางสำนักป้ายสีเพจตนว่าเข้าไปล้มระบบดาวเทียม  โดย พลเมืองต่อต้าน Single Gateway ระบุวาา เรื่องนี้ เกิดขึ้นเพราะเมื่อหลายเดือนก่อน โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ได้รับหนังสือเตือนจากหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ว่าอาจตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีได้ นั้นแหละคือต้นเรื่อง แล้วเคยมีการโจมตีเกิดขึ้นไหม คำตอบคือ "ไม่เคยเลย"
 
พลเมืองต่อต้าน Single Gateway ระบุด้วยว่า อยากจะขอให้เพื่อนๆได้ช่วยกันชี้แจงต่อไปด้วย เพื่อปกป้อง ชุมนุมแห่งนี้ จากความเข้าใจของประชาชนทั่วไปที่ได้รับข่าวสารด้านเดียวด้วย
 
เพจดังกล่าวยังโพสต์ด้วยว่า 20.00 น. วันนี้ พบกับ ซีรีย์ เปิดบ้านลุงตู่ day2 (ในคืนวันจันทร์ ตอนที่ 2) 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กอล์ฟ-ภรณ์ทิพย์ มั่นคง อดีตนักโทษทางความคิด เปิดตัวกลุ่มกิจกรรม FAIRLY TELL

$
0
0

25 ธ.ค.2559 เวลาประมาณ 17.00 น.ภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือ กอล์ฟ อดีตนักโทษคดี 112 ร่วมกับกลุ่มเพื่อนจัดกิจกรรม “Christmas Fairly Tell คริสมาสต์นี้ไม่มีแฟรี่เทล”  ที่ร้าน มาแชร์ดู ย่านวังหลัง เพื่อเป็นการฉลองเทศกาลคริสมาสต์และเปิดตัวกลุ่มกิจกรรม FAIRLY TELLซึ่งมีสโลแกนว่า “เพราะเราไม่อยากให้ใครหล่นหายไป…..แค่สู้กับศัตรูก็หนักหนามากพอแล้ว”

รายงานข่าวแจ้งว่า งานนี้เป็นกิจกรรมแรกของภรณ์ทิพย์หลังจากถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางเป็นเวลา 2 ปีและได้รับอิสรภาพเมื่อ 27 ส.ค.2559 ในงานมีการจัด ‘ตลาดนัดแบ่งปัน’ เป็นแลกเปลี่ยนของขวัญที่ไม่จำกัดมูลค่าราคาและไม่จำกัดชิ้นหรือการให้ ผู้เป็นเจ้าของมีสิทธิ์จะให้หรือไม่ให้ก็ได้  และสามารถเลือกผู้รับได้ ผู้รับสมารถใช้สิทธิ์ในการรับของได้มากกว่าหนึ่งอย่าง บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน มีผู้เข้าร่วมงานอาทิ ไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์อ่าน  แบงค์ บุญชุม สมาชิกกลุ่ม Group Of Comrades ได้เข้าร่วมแบ่งปัน ก่อนจะร่วมกันเขียนจดหมายถึงเพื่อนนักโทษในเรือนจำ

หลังจากนั้นได้มีการร่วมรับฟังนิทานเรื่อง คริสมาสต์นี้ไม่มีเทพนิยาย แต่งโดย ภรณ์ทิพย์ มีเนื้อหาสื่อไปถึง ชีวิตของผู้หญิงที่ถูกกระทำโดยสังคม และเด็กๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นในเรือนจำ ในสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แออัดและเต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บอันส่งผลต่อความเชื่อความศรัทธาในชีวิต ก่อนจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้สึกของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น ลูกเกดชลธิชา แจ้งเร็ว ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ผู้ถูกคุกคามจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น เป็นการแลกเปลี่ยนที่เต็มไปด้วยคราบน้ำตาของผู้ที่ต้องผ่านเหตุการณ์ที่กดดันในชีวิต

ภรณ์ทิพย์กล่าวถึงที่มาและกิจกรรมของกลุ่มว่า เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นมาเพราะไม่อยากให้ใครหล่นหายไประหว่างทาง คนที่กิจกรรมทางการเมือง ทางสังคม มีเรื่องต้องแบกรับ มีความคาดหวังต้องเผชิญ การต่อสู้กับศัตรูก็หนักหนามากพอแล้ว ไม่อยากให้ใครต้องหายไปเพราะถูกโดดเดี่ยว เลยรวมกับเพื่อน คือ แจ่ม (ฉัตรสุดา หาญบาง) และ น้องสาว (กมลชนก มั่นคง) ตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อดูแลกันในด้านจิตใจ

“ตัวเราเองผ่านมาได้ก็เชื่อว่าคนอื่นๆ จะผ่านได้เหมือนกัน ผสมกับที่มีร้านนี้พอดีเลยอยากจะใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรม พูดคุยกัน ดูแลเยียวยากันโดยอาศัยกิจกรรมหลากรูปแบบ” ภรณ์ทิพย์กล่าว

ภรณ์ทิพย์กล่าวอีกว่า ส่วนงานของ FAIRLY TELL คือการส่งต่อเรื่องราว ประสบการณ์ต่างๆไปสู่คนรุ่นใหม่ๆ ไม่ใช่แค่ในสื่อสารออนไลน์แต่เป็นการถ่ายทอดให้คนเห็นภาพจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น และสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกับน้องๆ ที่ยังไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัย หรือที่เพิ่งเริ่มจะเปิดโลกใหม่

“เราเชื่อว่าประสบการณ์ของคนในขบวนการเคลื่อนไหว หรือแม้แต่คนเล็กๆ ที่ไม่ได้รับความยุติธรรมในชีวิต ก็เป็นสิ่งที่น่าบันทึกและเรียนรู้มากพอๆ กับประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของภาพใหญ่ เราก็ทำเท่าที่ทำได้”ภรณ์ทิยพ์กล่าว และว่า กิจกรรมที่จะทำในอนาคตของกลุ่ม FAIRY TELL คือการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เยียวยาจิตใจและเสริมสร้างจินตนาการ รวมทั้งเป็นพื้นที่รองรับอดีตนักโทษซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะนักโทษการเมืองที่ต้องการคำปรึกษา กำลังใจ หรือยังไม่สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้

ฉัตรสุดา หาญบาง หรือแจ่ม อีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มกล่าวเพิ่มเติมถึงกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาโดยภาพรวมว่า ก่อนหน้านี้มีประสบการณ์ทำกิจกรรมการเมืองในเชิงโครงสร้างและรู้สึกเหนื่อยล้า แต่พอได้เข้ามาจับงานด้านความหลากหลายทางเพศ LGBT  ก็รู้ว่าจริงๆ คนทำงานสามารถดูแลความรู้สึกกันได้ ไม่จำเป็นต้องฟาดฟันกันตลอดเวลา เลยตกลงใจจะร่วมทำกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ นักกิจกรรม และอดีตผู้ต้องขังหญิง เพื่อเปิดพื้นที่ทำกิจกรรมเชิงในเชิงสิทธิมนุษยชน และเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศกับเยาวชนและบุคคลทั่วไปด้วย

ไอดา อรุณวงศ์ ให้ความเห็นในการจัดกิจกรรมวันนี้ว่า “สนุกมากๆ และเห็นด้วยกับทุกอย่างที่ทำให้เกิดกลุ่มแบบนี้ขึ้นมา เพราะคนที่ทำงานในขบวนนี้เหนื่อยล้า และต้องการการดูแลซึ่งกันและกันจริงๆ เป็นกำลังใจและพร้อมสนับสนุนเสมอ”

ทั้งนี้ ร้านมาแชร์ดู เป็นร้านของที่ระลึกของนักกิจกรรม โดยนักกิจกรรมหลายๆ กลุ่มได้นำสินค้าระดมทุนมาวางจำหน่าย นอกจากนั้นยังเป็นพื้นที่เปิดทำกิจกรรมกับชุมชนด้วย สามารถติดตามได้ที่เพจ www.facebook.com/Ma-Share-Do-วังหลัง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ก.แรงงานพร้อมพัฒนาแรงงานกว่า 3 ล้านคนในปี 60 คุมเข้มอันตรายจากการทำงานก่อสร้าง

$
0
0

ร่วมมือกับ กรมโยธาธิการและผังเมือง พร้อมด้วยเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการรับเหมาก่อสร้าง สร้างการรับรู้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานกับปั้นจั่น    

    

 
26 ธ.ค. 2559 รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงานแจ้งว่า  ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงานในสถานประกอบกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 กล่าวว่า การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ถือเป็นการการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ทันกับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาตร์กระทรวงแรงงาน 20 ปี รวมถึงเตรียมความพร้อมแรงงานก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยแรงงานต้องมีความรู้ความสามารถที่หลากหลายด้านมากขึ้น กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงให้การสนับสนุนและกำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องมีการพัฒนาทักษะฝีมือให้กับพนักงาน ด้วยการจัดฝึกอบรม การส่งเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หรือผ่านการรับรองความรู้ความสามารถในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพนักงานทั้งหมด โดยจะได้รับการยกเว้นการภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและสิทธิประโยชน์ต่างๆ แต่หากไม่ดำเนินการต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยการให้เงินกู้ยืมและเงินช่วยเหลือ หรืออุดหนุนให้แก่สถานประกอบกิจการเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานให้ลูกจ้าง
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน
 
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุนมนุษย์ถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญในการแข่งขันของประเทศ ประเทศจะอยู่ได้หรือไม่นั้นอยู่ที่ทุนมนุษย์ของประเทศด้วย โดยปี 2560 กระทรวงแรงงานตั้งเป้าหมายพัฒนาฝีมือแรงงาน 3,499,220 คน พร้อมมีวงเงินให้กู้ยืมแก่สถานประกอบกิจการ 30 ล้าน บาท  รวมทั้งเงินช่วยเหลือ หรืออุดหนุนให้สถานประกอบกิจการในการพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 ล้านบาทในปีหน้า เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 ซึ่งสามารถยื่นเอกสารของรับรองหลักสูตรผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e - Service) ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
 
วันเดียวกัน  รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงานแจ้งด้วยว่า เมื่อเวลา 09.05 น. พล.อ.เจริญ นพสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ปั้นจั่นปลอดภัย ร่วมใจรักษ์ชีวิตแรงงาน” ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระทรวงแรงงาน ว่า ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีการเร่งรัดและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภค ด้านที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการก่อสร้างของผู้ประกอบการ ผู้รับเหมา ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของการก่อสร้างนั้น จะมีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และใช้กำลังแรงงานจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแรงงานไทยและแรงงานเพื่อนบ้าน และได้นำเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อทำให้ดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม พบว่า กิจการก่อสร้างเป็นกิจการที่มีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานสูงเป็นอันดับแรก โดยมีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน 9,262 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.68 จากจำนวนลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุที่รุนแรง มีลูกจ้างเสียชีวิต หรือมีผลกระทบต่อสาธารณะ โดยเฉพาะที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างที่เกิดจากการใช้ปั้นจั่นบ่อยครั้ง จนก่อให้เกิดความเสียหายสูญเสียต่อทรัพย์สินรวมถึงการเสียชีวิตของลูกจ้าง เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงแรงงาน โดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงร่วมมือกับ กระทรวงมหาดไทย โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำกับดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ในกิจการก่อสร้างที่มีการใช้ปั้นจั่น เพื่อตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความปลอดภัยในการทำงาน และให้มีการบริหารจัดการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานอย่างจริงจัง อย่างต่อเนื่องและได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในอนาคตอีกด้วย
 
โดยผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ประกอบด้วยผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง บุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับงานด้านความปลอดภัยในกิจการก่อสร้าง ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายหรือให้เช่าปั้นจั่นและวิศวกรผู้ควบคุมการดำเนินการ บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรขององค์กรเครือข่ายของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 400 คน
 
 
 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เฟซบุ๊กเผยครึ่งปี 59 รัฐไทยขอข้อมูลผู้ใช้ 3 รายแต่ไม่ให้-บล็อค 10 เนื้อหาหมิ่น

$
0
0

26 ธ.ค. 2559 เฟซบุ๊กเปิดรายงานความโปร่งใส ในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 (ม.ค.-มิ.ย.2559) โดย คริส ซันเดอบี รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของเฟซบุ๊ก สรุปว่า รัฐบาลทั่วโลกส่งคำขอข้อมูลผู้ใช้จากเฟซบุ๊ก  59,229 ครั้ง เพิ่มขึ้น 27% จากครึ่งหลังของปีก่อน โดยราว 56% เป็นคำขอจากสหรัฐอเมริกา

ขณะที่คำขอให้ปิดกั้นนั้น มีเพียง 9,663 รายการ หรือลดลงถึง 83% จากครึ่งหลังของปี 2558 โดยสาเหตุที่ตัวเลขของปีก่อนสูงก็เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสขอให้ลบภาพไม่เหมาะสมหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2558  

นอกจากนี้ ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการเปิดข้อมูลว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ขอให้เฟซบุ๊กเก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้ก่อน เพื่อรอจนกว่าจะมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเป็นทางการเท่าใด โดยกรณีนี้มีคำขอจากรัฐบาลทั่วโลก 38,675 ครั้ง เป็นข้อมูลผู้ใช้ 67,129 บัญชี

สำหรับประเทศไทย มีการขอข้อมูลผู้ใช้มายังเฟซบุ๊ก 1 ครั้ง โดยเป็นข้อมูลผู้ใช้ 3 บัญชี อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กไม่ได้ทำตามคำขอดังกล่าว โดยระบุว่า จะทำตามคำขอซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีอาญา และจะมีการตรวจสอบถึงความเหมาะสมของกฎหมายทุกครั้ง ทั้งนี้ จะปฏิเสธหรือขอให้มีการเฉพาะเจาะจงมากขึ้นในกรณีที่มีการร้องขอที่กว้างหรือคลุมเครือมากเกินไป

ในส่วนเนื้อหานั้น เฟซบุ๊กได้ปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้ง 10 รายการ ตามที่รัฐบาลไทยโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ขอมา

ส่วนคำขอให้เก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้ก่อนนั้น ปีนี้รัฐบาลไทยไม่มีการส่งคำขอ

 

เรียบเรียงจาก

http://newsroom.fb.com/news/2016/12/global-government-requests-report-6/
https://govtrequests.facebook.com/country/Thailand/2016-H1/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: อยู่เป็น

$
0
0

 

อยู่อย่างไรถึงเรียกได้ว่าอยู่เป็น?
อยู่ท่ามกลางทุกข์ลำเค็ญไม่ปริบ่น
อยู่ในความเงียบงันและอดทน
อยู่อย่างไม่มีตัวตนบนถิ่นตัว

อยู่เหมือนซากหมาเน่าตายในสายน้ำ
อยู่อย่างไร้ซึ่งคำถามถึงความชั่ว
อยู่กับรอยบาดแผลลึกและหวาดกลัว
อยู่กับใจเต้นระรัวด้วยคับแค้น

อยู่กับใบหน้าเรียบเฉยนิ่งสนิท
อยู่ภายใต้ซากชีวิตที่ไร้แก่น
อยู่กับคำพูดโป้ปดเพื่อทดแทน
อยู่ไปเถิดหากว่าแม้นยังหายใจ

อยู่อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า "อยู่เป็น"
อยู่แม้เขาขู่ฆ่าเข่นยังอยู่ไหว
อยู่อย่างคนที่ไม่เหลือคุณค่าใด
อยู่ก็เพื่อจะตายไป..อย่างไร้เงา

อยู่บนความอัปยศสลดใจ
อยู่เพื่อตายจากกันไป..ไร้ทรงจำ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสท.เพิกถอนใบอนุญาต 'ทีวีธรรมกาย'

$
0
0

26 ธ.ค. 2559มติชนออนไลน์ รายงานว่า พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม มีมติเพิกถอนใบอนุญาต สถานีวิทยุโทรทัศน์ ดีเอ็มซี ทีวี สาเหตุจากสถานีโทรทัศน์ช่องนี้ มีความเกี่ยวพัน กับนายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกวัดพระธรรมกาย มีความเกี่ยวพันกับวัดพระธรรมกาย มูลนิธิวัดพระธรรมกาย มูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และสถานีโทรทัศน์ดีเอ็มซีที ทีวี ซึ่งวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาลธัญบุรี ได้ออกหมายจับ นายองอาจในข้อหาความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ในข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

อีกทั้งที่ผ่านมา ดีเอ็มซี ทีวี ที่ผ่านมาถือเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของวัดพระธรรมกายไปสู่ศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ประชาชน หรือสาธารณะ ซึ่งที่ผ่านมามีพฤติกรรมในลักษณะของการออกอากาศเชิญชวนประชาชนให้มารวมตัวกัน รวมถึงเป็นการยั่วยุ และเชิญให้ประชาชนร่วมขัดขวางการดำเนินการทางกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ

ดังนั้น 2 สาเหตุดังกล่าว บอร์ด กสท. จึงเห็นควรว่า ดีเอ็มซีที ขัดประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 97/2557 ตามข้อ 3 (5) เรื่องการให้ความร่วมมือการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ และขัดต่อมาตรา 37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 เข้าข่ายการออกอากาศด้านเนื้อหา ที่ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง จึงนำไปสู่การเพิกถอนใบอนุญาต และทำให้ผู้บริหารช่องนี้จะหมดสิทธิในการขอใบอนุญาตอื่นๆจาก กสทช. เช่นกัน

พ.อ.นที กล่าวว่า พร้อมกันนี้ บอร์ด กสท. มีมติพักใช้ใบอนุญาต สถานีวิทยุกระจายเสียง คนคลองสาม คลื่นความถี่ ย่าน 102.25 เมกะเฮิรตซ์ และสถานีวิทยุกระจายเสียง กล้าตะวัน คลื่นความถี่ย่าน 96.25 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากการออกอากาศวิทยุทั้ง 2 คลื่นความถี่ มีความเกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย

รายงานข่าวจากคณะกรรมการกิจการกระสายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) แจ้งว่า ที่ประชุมมีมติให้ยึดใบอนุญาต DMC TV โดยให้มีผลนับตั้งแต่ผู้บริหาร DMC TV ได้รับหนังสือจากสำนักงาน กสทช. อย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากสำนักงาน กสทช. ได้ส่งหนังสือระงับการออกรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมต่อสถานีวิทยุโทรทัศน์ดีเอ็มซี (DMC TV) โดยมีตัวแทนของสถานีรับหนังสือดังกล่าว โดยสั่งระงับการออกอากาศนับตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา วันที่ 8 ธันวาคมเป็นต้นไป จนครบ 30 วัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพจดังล้อ ตร.จับแฮกเกอร์ ด้านผู้เขียนหนังสือตกใจ บอกสื่อการสอนไปเป็นของกลางได้ไง

$
0
0

เพจดังล้อภาพแถลงการจับกุมแฮกเกอร์เจาะเว็บรัฐ ด้านผู้เขียนหนังสือ 'Network Security' โพสต์แปลกใจและตกใจมาก ทำไมถึงเอาหนังสือที่เป็นสื่อการสอนไปอยู่ในส่วนหนึ่งของหลักฐานการกระทำผิด ระบุเนื้อหามันเก่าตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว

26 ธ.ค. 2559 จากกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจ นโดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รอง ผบ.ตร. ,พล.ต.ต.ศุภเชษฐ์ โชคชัย ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) ,พล.ต.ต.ศิริพงศ์ ติมุลา ผบก.สนับสนุนทางเทคโนโลยี ,พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ,พล.ต.ต.ทรงพล วัธนะชัย และ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ร่วมกันแถลงจับกุมผู้ต้องสงสัยกลุ่มแฮกเกอร์พร้อมของกลางอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์จำนวนมาก อาวุธปืนและเครื่องกระสุนอีกหลายรายการ โดยกลุ่มแฮกเกอร์ดังกล่าวได้ทำการโจมตีข้อมูลเว็บไซต์ของรัฐบาล ก่อนที่ในเวลาต่อมาทางกองทัพจะสามารถควบคุมตัวได้จำนวน 9 คน และส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสอบสวนดำเนินคดี ซึ่ง พล.ต.อ.จักรทิพย์ นำตัว ณัฐดนัย คงดี อายุ 19 ปี หนึ่งใน 9 คนที่ถูกจับกุมมาสอบสวนด้วยตัวเอง เนื่องจากเป็นคนที่มีพฤติการณ์ชัดเจนที่สุด (อ่านรายละเอียด)

โดยในจำนวนของกลางที่ถูกนำมาแถลงคือ หนังสือ Network Security ฉบับก้าวสู่นักทดสอบและป้องกันการเจาะระบบ และซีดีต่างๆ ซึ่งถูกเพจดังนำไปวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งล้อเลียน เช่น เพจ Drama-addictหมอแล็บแพนด้า และเพจไข่แมวเป็นต้น

ล่าสุดเมื่อเวลา 17.45 น. เพจ Hacking & Security Bookซึ่งระบุเป็นผู้เขียนหนังสือฉบับดังกล่าว โพสต์ข้อความด้วยว่า เรียนผู้อ่านและไม่ได้อ่านหนังสือของตน ก่อนอื่นออกตัวก่อนว่า ตนพิมพ์โดยใช้ iPad เพราะอยู่ต่างประเทศ(มาเที่ยวไม่ได้หนีกบดาน ตึ่งโป๊ะ) เลยอาจจะมีพิมพ์ตกหล่นบ้าง นั่นคือเหตุผลทำไมไม่ค่อยโพสต์เท่าไหร่ เรื่องหนังสือที่ตนเขียน ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสารพัดเพจ ไม่ว่าจะเป็น drama addict, ไข่แมว และอื่นๆ ที่เอาหน้าปกหนังสือไปแชร์ซะถล่มทลายขนาดนั้น ขอออกตัวแบบสุดเหยียดก่อนเลยว่า ตนเน้นย้ำในเรื่องเนื้อหาของหนังสือนั้นต้องทำในแล็บเท่านั้น ไม่แนะนำให้มีการนำไปทดสอบกับระบบจริงแต่อย่างใด หากจะทำในระบบจริง ต้องได้รับการว่าจ้างพร้อมกับมีเอกสารลายลักษณ์อักษรจากนายจ้างก่อนเท่านั้นไม่งั้นไม่สามารถทำได้ ยกเว้นจะเป็น Bug bounty Program ที่เปิดให้ใครก็สามารถทดสอบเจาะระบบได้เท่านั้นครับ หากใครพบตนในงานสัมมนา หรือการไปพูดในงานสัมมนาใดๆ เวลาผมเองนั้นเอา demo ในการแฮ็คมาแสดงไม่เคยนำเอาการทดสอบเหล่านั้นไปกระทำทดสอบกับระบบจริงๆ แต่อย่างใด เป็นการสร้าง lab ของตัวเองเท่านั้น อีกทั้งผู้ที่อ่านหนังสือผมไม่ใช่แค่เด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเท่านั้น ยังมีทหาร ตำรวจ และอื่นๆ อีกมากมายที่อ่านครับ หนังสือตนไม่ได้มีการชักจูงเพื่อไปโจมตีเว็บไซด์หน่วยงานใดๆ แต่อย่างใด 

 
"เรื่องการนำเอาหนังสือขึ้นไปบนโต๊ะแสดงหลักฐานด้วยนั้นผมแปลกใจและตกใจมาก ทำไมถึงเอาหนังสือที่เป็นสื่อการสอนไปอยู่ในส่วนหนึ่งของหลักฐานการกระทำผิด เพราะโดยส่วนตัวผมมองว่าหนังสือไม่ใช่หลักฐานแต่อย่างใด หรืออาจเป็นไปได้ว่าหนังสือเล่มนั้นมีการจดเป้าหมายพร้อมกับรายละเอียดการแฮกเว็บไซด์นั้นๆ หรือไม่ อันนี้ผมสุดจะเดาใจตำรวจและหน่วย digital forensic ที่เข้าร่วมการจับกุมจริงๆ ครับ" เพจ Hacking & Security Book โพสต์
 
เพจ Hacking & Security Book โพสต์ต่อด้วยว่า เรื่องต่อมาคือการวิพากษ์วิจารณ์ ตัวผมเองพยายามให้ผู้อื่น review, หนังสือและ course ของผมอยู่ตลอด ว่าเข้าใจหรือไม่ อยากให้ปรับตรงไหน แต่คนส่วนใหญ่ในเพจต่างๆ กลับ comment ด้วยข้อความดูถูกเหยียบหยามต่างๆ นาๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แม้แต่เคยเห็นเนื้อในของหนังสือเสียด้วยซ้ำ ตนขอความกรุณาวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่รบกวนบอกด้วยว่าควรปรับตรงไหน ตนจะได้ปรับปรุงตัวในการสอนและการเขียนผ่านสื่อต่างๆ ให้ดีมากขึ้นครับ อันนี้รบกวนจริงๆ อย่าเอาแต่ติเลย ขอสิ่งที่มันควรจะทำด้วย แล้วก็การหาหนังสือตนว่ายาก คือเอาจริงๆ เนื้อหามันเก่าแล้ว ตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว OS ปัจจุบันปรับเปลี่ยนไปเยอะแล้ว แต่หลายๆ อย่างก็ยังคล้าย/เดิม แต่ที่บอกว่าหายากเพราะมันไม่ได้ตีพิมพิ์เพิ่มนานแล้ว ดังนั้นไอ้ที่อยู่ในแผงมันก็น่าจะไม่เยอะแล้ว
 
 
"หากใครอยากทำงานกับผม สามารถมาร่วมงานกันได้ที่บริษัท I-SECURE จำกัด มีตำแหน่งมากมายที่เปิดรับอยู่ครับ หากใครสนใจ Course penetration testing คุณภาพแบบเจอตัวเป็นๆ สามารถเรียนของ Mayaseven ได้ครับ แต่หากใครอยากเรียนแบบ Online จ่ายครั้งเดียว ดูกี่ครั้งก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ สามารถเรียนของเพจนี้ได้ครับ ดูรายละเอียดที่ pin post นะครับ หากใครสนใจเรื่อง security แบบ Hard core แนะนำจอยกลุ่ม 2600 Thailand ได้เลยครับ หากใครสนใจเรื่อง web application และใดๆเกี่ยวกับ application security แนะนำกลุ่ม OWASP Thailand ครับ" เพจ Hacking & Security Book โพสต์ขายของทิ้งท้าย 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งทุนวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัย

$
0
0



นักวิชาการส่งสารถึงสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชี้ปัญหาผูกขาดทุนวิจัยเฉพาะนักวิจัยอาวุโส และผู้จบปริญญาเอก ถือเป็นการกีดกันนักวิจัยด้วยวุฒิการศึกษา สร้างระบบการพึ่งพิงขาดอิสระ จำกัดวงแคบๆ ขัดกับเป้าหมายการทำวิจัยของประเทศ และของมหาวิทยาลัยที่ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์และนักวิจัยสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในการทำวิจัยได้อย่างเสมอภาค พร้อมเสนอปรับเกณฑ์ทุนวิจัยให้รองรับผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาเอก หรือเพิ่มทุนเพื่อให้โอกาสอาจารย์และนักวิจัยที่มีวุฒิการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาเอกได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนวิจัย

 

0000

จดหมายเปิดผนึกถึง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

เรื่อง

การปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งทุนวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัย

 

เรียน ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 

ด้วยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้รับการจัดตั้งผ่านพระราชบัญญัติสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ.2535 ที่มีจุดมุ่งหมายหนึ่งในการส่งเสริมการวิจัยประสานงานและสนับสนุนการวิจัย เผยแพร่ผลงานวิจัย และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนประเมินผลของการดำเนินการดังกล่าว

ผู้เขียนมีความเห็นว่า เพื่อบรรลุเป้าหมายทุนวิจัยเชิงวิชาการของ สกว.[1]  คือ "เน้นการสร้างนักวิจัยที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูง รับผิดชอบโดยฝ่ายวิชาการ มีเป้าหมายในการสร้างนักวิจัยอาชีพที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวิจัย" ซึ่งแน่นอนว่า ในมหาวิทยาลัยปัจจุบัน คณาจารย์และนักวิจัยมีทั้งที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวมทั้งอาจารย์อาวุโสซึ่งมีประสบการณ์วิจัยมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจารย์ที่เพิ่งจบการศึกษา โดยเฉพาะในระดับปริญญาโท (และปริญญาเอก) ส่วนมากยังไม่มีผลงานทางวิชาการและประสบการณ์การทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับอาจารย์อาวุโส การสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัยอย่างต่อเนื่องโดยมีแหล่งทุนที่หลากหลายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการยกระดับอุดมศึกษาไทยให้เข้าใกล้มาตรฐานในระดับนานาชาติมากขึ้น

หากพิจารณารูปแบบการให้ทุนของ สกว. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัยที่สำคัญที่สุดของประเทศแล้ว การให้ทุนของ สกว. แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ทุนวิจัยพื้นฐานจากความคิดริเริ่มของนักวิจัยและชุดโครงการวิจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Basic Research) ในที่นี้จะให้ความสำคัญกับทุนวิจัยพื้นฐานเป็นหลัก และทุนวิจัยพื้นฐานแบ่งเป็น 7 ประเภทย่อย นั่นคือ ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.), ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น, ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.), ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.), ทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา (สกว. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา), ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ (สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) และทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่

ทุนวิจัยพื้นฐานแบ่งเป็น 7 ประเภทย่อย นั่นคือ ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.), ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น, ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.), ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.), ทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา (สกว. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา), ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ (สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) และทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่

จาก 7 ประเภท จะเห็นได้ว่า 5 ประเภทแรกเป็นทุนที่ให้ความสำคัญกับนักวิจัยและอาจารย์ระดับอาวุโสที่ต้องมีประสบการณ์ทั้งสิ้น ขณะที่ทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ 2 ทุนหลังนั้น ก็พบว่า การประกาศให้ทุนได้กีดกันอาจารย์และนักวิจัยจำนวนมากด้วยวุฒิการศึกษานั่นคือ ทุนดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้เฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือเทียบเท่าเท่านั้น

ในปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากที่มีประสบการณ์งานเขียนทางวิชาการ การทำวิจัยต่างๆ แม้จะไม่ได้จบระดับปริญญาเอก โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เป็นกลุ่มคนที่มีผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบ แต่ด้วยเกณฑ์ดังกล่าวทำให้อาจารย์และนักวิจัยจำนวนมากไม่สามารถขอทุนได้ตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่ต้องพึ่งพิงการรับทุนวิจัยในฐานะเป็นทีมวิจัยร่วมกับอาจารย์ระดับอาวุโส แน่นอนว่า ปฏิเสธมิได้ว่าด้านหนึ่งแล้วในเบื้องต้นมันได้ช่วยเอื้อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยเหล่านั้นภายใต้คำแนะนำของนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ แต่ขณะเดียวกัน มันกลับทำให้นักวิจัยเหล่านั้นขาดอิสระ และจำต้องพึ่งพิงไปจนกว่าจะมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก วิธีการเช่นนี้ยังอาจนำไปสู่ปัญหาที่นักวิจัยรุ่นใหม่จำกัดตัวอยู่ในวงแคบๆ เฉพาะที่ใกล้ชิดหรือสัมพันธ์กับนักวิจัยอาวุโสที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ ยังขัดกับเป้าหมายของการส่งเสริมการทำวิจัยของประเทศ และของมหาวิทยาลัยที่ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์และนักวิจัยสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในการทำวิจัยได้อย่างเสมอภาค ผลก็คือ การทำงานภายใต้สภาวะอันจำกัดเช่นนี้ไม่สามารถช่วยให้สังคมไทยไปสู่ข้อเสนอที่หลากหลายและสามารถนำไปแก้ไขวิกฤตของสังคมที่กำลังเผชิญอยู่ได้

การตัดสินพิจารณาทุน จึงไม่ควรตัดโอกาสการนำเสนอโครงร่างงานวิจัย (proposal) ด้วยการคัดเลือกเฉพาะผู้จบปริญญาเอกเท่านั้น มิพักจะกล่าวว่าทุนดังกล่าวติดป้ายว่าเป็น ทุนพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและอาจารย์รุ่นใหม่ โปรดอย่าลืมว่า อาจารย์และนักวิจัยระดับมหาวิทยาลัยทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่นั้น จำนวนมากยังไม่มีคุณวุฒิในระดับปริญญาเอก เช่น ม.เชียงใหม่ ร้อยละ 25.96[2], ม.ธรรมศาสตร์ ร้อยละ 35.81[3], ม.เกษตรศาสตร์ ร้อยละ 38.21[4], ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร้อยละ 69.32[5], ม.ราชภัฏนครราชสีมา ร้อยละ 69.79[6]ฯลฯ  ดังนั้นเกณฑ์เช่นนี้ยิ่งถ่างโอกาสการเข้าถึงทุนให้กับผู้มีศักยภาพแต่ไร้คุณวุฒิ ทั้งที่งานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกควรถูกตัดสินผ่านประเด็นคำถามวิจัย กรอบการวิจัย และสมมติฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพและความเป็นไปได้ อันจะนำไปสู่ผลงานที่หลากหลาย การขยายโอกาสเช่นนี้น่าจะเป็นคุณให้กับวงการวิจัยในระดับประเทศมากกว่า และการได้รับทุนวิจัยยังเป็นการพัฒนาศักยภาพให้พวกเขาอยู่ในเส้นทางพัฒนาตนไปสู่การศึกษาระดับปริญญาเอกที่ผู้ให้ทุนปรารถนาในทางอ้อมอีกด้วย

ผู้เขียนมีข้อเสนอต่อวงการวิชาการไทยโดยรวมและต่อหน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะ สกว. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและมีหน้าที่โดยตรงในการพัฒนางานวิจัยของประเทศ คือ สกว. น่าจะมีการปรับเกณฑ์ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักวิจัยรุ่นใหม่ให้รองรับผู้มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาเอก หรือจะเลือกให้คงกรอบการพิจารณาดังกล่าวไว้ให้กับอาจารย์ผู้มีวุฒิปริญญาเอกเช่นเดิม แต่ไปเพิ่มทุนเพื่อให้โอกาสอาจารย์และนักวิจัยที่มีวุฒิการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาเอกได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนนี้เช่นกัน นี่อาจจะเป็นทางออกหนึ่งที่ไม่ทำให้ทุนวิจัยถูกผูกขาดอยู่ในกลุ่มนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัยที่จบในระดับปริญญาเอกเพียงเท่านั้น

 

จึงเรียนมาเพื่อนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง

 

ด้วยความนับถือ

 

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

26 ธันวาคม 2559

 

เชิงอรรถ

[1]สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. เข้าถึงจาก. "ทุนวิจัยเชิงวิชาการ". http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=15&Itemid=139 เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2559

[2]คำนวณจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. "บุคลากร". เข้าถึงจาก http://www.cmu.ac.th/servicesinfo.php?mainmenu=21 (10 มิถุนายน 2559) เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2559

[3]มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. "ข้อมูลและสถิติ". เข้าถึงจาก https://www.tu.ac.th/index.php/th/326-th-th/teach/survey/219-data#อาจารย์และบุคลากร เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2559

[4]คำนวณจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  "ตารางที่ 2 รายงานจำนวนบุคลากรสายวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2558 จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการและระดับการศึกษา". เข้าถึงจาก http://www.person.ku.ac.th/new_personweb/stat/2558/UOC_STAFF_2_2558.PDF (23 กุมภาพันธ์ 2559) เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2559

[5]คำนวณจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. "สรุปข้อมูลบุคลากร (สายวิชาการ) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่". เข้าถึงจาก http://www.dhrm.cmru.ac.th/web58/datas/file/tabenprawat/1480667341.pdf (พฤศจิกายน 2559) เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2559

[6]คำนวณจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. "รายงานจำนวนอาจารย์จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการและระดับการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559". เข้าถึงจาก http://www.old.nrru.ac.th/UserFiles2011/File/report/2-2559.pdf  (2559) เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2559

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชายแดนแห่งชาติ:สำนวนจากรัฐกัมพูชา บนกรณีความขัดแย้งปราสาทเขาพระวิหาร

$
0
0

<--break- />

 


บทความของ Kimly Ngoun ว่าด้วย การบรรยายเรื่องชายแดนแห่งชาติ: สำนวนจากรัฐกัมพูชา และ วาทกรรมที่เป็นที่นิยมในเหตุการณ์ความขัดแย้งปราสาทเขาพระวิหาร บทบาทของปราสาทเขาพระวิหารโดดเด่นขึ้นภายใต้ห้วงเวลาแห่งความขัดแย้ง กรณีพิพาทระหว่างไทยกับเขมร นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างไพศาลต่อประเทศกัมพูชา ทั้งรัฐและประชาชนต่างได้รับผลกระทบจากข้อพิพาทนี้ทั้งสิ้น  ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งได้ก่อให้เกิด กระแสชาตินิยมขึ้นในทั้งกัมพูชาและไทย รัฐต่างพยายามสร้างบทบาทของตนขึ้นภายใต้สถานะของผู้ที่กำลังปกป้อง“เขตแดน” ทั้งที่ในช่วงก่อนหน้าจะเกิดเหตุกรณีพิพาทนี้ รัฐบาลกัมพูชาแทบไม่ได้ให้ความสำคัญบริเวณโดยรอบ และกับปราสาทเขาพระวิหารเลย แต่ภายหลังจากการได้รับชัยชนะบนเวทีศาลโลก บริเวณโดยรอบปราสาทเขาพระวิหารกลับถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ดูราวกับว่า “...ปราสาทเขาพระวิหารหลังได้รับคำตัดสินให้ตกเป็นของกัมพูชา จะกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความภาคภูมิใจของเขมร…”[1]

อย่างไรก็ตาม การที่ถูกมองว่าปราสาทเขาพระวิหารนั้น เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ และความภาคภูมิใจ ก็เป็นเพียงมุมมองหนึ่งที่กลุ่มชนชั้นนำเขมรได้สร้างขึ้น หลังจากที่ไม่เคยยิ่งใหญ่อีกเลยนานนับ 500 ปี[2]กองจมอยู่บนการถูกกดขี่ระหว่างสองชาติเพื่อนบ้าน หรืออีกมุมหนึ่งก็เป็นเสมือนโอกาส รัฐบาลเองก็ตระหนักถึงความไม่มั่นคง เพราะถูกจับตามองและตำหนิว่าเป็นผู้ขายชาติให้กับเวียดนาม ฉะนั้นกรณีพิพาทจึงเสมือนเป็นโอกาสที่ให้รัฐบาลได้หยิบฉวยไปใช้ในฐานะ “ผู้ปกป้องเขตแดน” และนำมาซึ่งการเดินหน้าสู่การใช้นโยบายสร้าง “ชาติ” ของรัฐ ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อว่ารัฐบาลกัมพูชา ได้พยายามสร้างความเป็นหนึ่งเดียวแก่ “คนในชาติ” โดยใช้กรณีเขาพระวิหาร แต่หากมองในบริบทท้องถิ่นแล้ว กรณีพิพาทเขาพระวิหารได้นำเอาความเปลี่ยนแปลงอย่าง มหาศาลมาสู่คนชายขอบในจังหวัดพระวิหาร ทั้งผู้อยู่อาศัยใหม่และเก่า ชาวบ้านเดิม และผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ ตำรวจ ทหาร และชนพื้นเมืองชาวกูยในที่ราบสูง ซึ่งมองว่า “ชาติ” พัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วภายหลังเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา จากพื้นที่ป่ารกชัฏอดีตที่มั่นสุดท้ายเขมรแดงสู่ที่โล่งมากผู้คน คับคั่งคาสิโนทัวร์ท่องเที่ยว และต่างนิยามตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชาวกัมพูชาเพื่อรับผลประโยชน์ที่พึงได้จากรัฐ ยังผลมาซึ่งปัญหาการแย่งพื้นที่ดำรงชีวิตของคนที่อยู่เก่าและผู้มาใหม่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงนโยบายการสร้างชาติของรัฐ ที่ไม่สามารถอธิบายให้ง่ายต่อความเข้าใจได้ว่า ทำไปเพื่อ “ปกป้อง หรือไม่ปกป้องชายแดน” หรือ “เป็นศัตรูหรือเป็นมิตรกับไทย” แต่กระทำไปบนความเข้าใจที่ง่ายต่อชนชั้นนำและคนกลุ่มอื่นๆในพื้นที่โดยรอบเท่านั้น ซึ่งคนเหล่านี้ใช้ข้อพิพาทชายแดนในการเล่าเรื่องของชาติ และสะท้อนออกมาในรูปแบบที่ซับซ้อน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเด็นสำคัญของบทความนี้ นอกจากแสดงให้เห็นว่า รัฐพยายามนำเอากรณีพิพาทเขาพระวิหาร มาสร้างความเป็นชาติ สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้แก่คนกัมพูชาแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าปราสาทเขาพระวิหารนั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางกระแสแห่งความหลากหลายที่กำลังเปลี่ยนแปลงและดำรงอยู่รายรอบ อันสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างรัฐและประชาชน ที่ต่างให้ความหมายแก่ปราสาทเขาพระวิหารที่แตกต่างกันออกไป แต่เชื่อมโยงกันได้ภายใต้ความเป็นชาติกัมพูชา โดยผู้เขียนขอหยิบยกมาอธิบายเพียงประเด็นที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดคือ ประเด็นที่ว่าด้วย “การตระหนักถึงสำนึกความเป็นชาติที่เกิดขึ้นบนความหลากหลายภายใต้กรณีเขาพระวิหาร”

การตระหนักถึงชาติเกิดขึ้นในหลากหลายมุมมอง ดังที่บทความนี้ได้หยิบยกผ่านสำนวนของผู้ถูกสัมภาษณ์ ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ชาวบ้าน ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง ต่างก็มีมุมมองต่อชาติที่แตกต่างกันออกไป ดังกรณีที่ผู้เขียนจะยกตัวอย่างนี้เพื่อประกอบคำอธิบายว่าชาติในที่นี้คืออะไร “คุณทำอย่างไรเมื่อลูกคุณป่วย?” เธอตอบว่า “ฉันพาเขาไปหาหมอ” เมื่อถามว่าทำไมเธอไม่ใช้ยาแผนโบราณหรือพิธีกรรมรักษา เธอตอบว่า “ฉันเคยเห็นบางคนในหมู่บ้านตายจากการบำบัดดังกล่าว”[3]คำสัมภาษณ์หญิงสาวชาวกูย ที่อาศัยอยู่ในป่าได้สะท้อนให้เห็นสำนึกต่อความเป็นชาติกัมพูชา สังเกตได้ว่าเธอเลือกที่จะเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ(กัมพูชา) มากกว่าการอยู่กับความเชื่อแบบรากเหง้าเดิม นี่ก็เป็นหนึ่งในการตระหนักถึงชาติเช่นกัน เพราะเธอเลือกที่จะนิยามตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชาวกัมพูชา เพื่อรับผลประโยชน์ที่พึงได้จากรัฐ ถึงแม้จะขัดแย้งกันกับผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ก็ตาม กระทั่งคนในพื้นที่จังหวัดพระวิหารเอง ก็มีการตระหนักถึงความเป็นชาติเช่นกัน อย่างคำสัมภาษณ์ที่แดกดันรัฐบาลที่ว่า “ผมต้องขอขอบคุณประเทศไทยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มิฉะนั้น จังหวัดของผมจะต้องถูกปล่อยแยก”[4]ถึงเป็นการตำหนิรัฐบาล แต่ก็เท่ากับยอมรับว่าตนยังเป็นส่วนหนึ่งของชาติกัมพูชา ภายหลังจากตัดถนนใหม่ และรัฐเข้ามาบริหารอย่างจริงจังจะพบว่าหลายคนในจังหวัด ดูจะเพิ่มความคล่องตัว การค้า ขนส่ง วิถีชีวิต และท้องถิ่นมีศักยภาพมากขึ้น[5]นับเป็นผลดี แต่กระนั้นก็ตามการแข่งขันก็ทวีสูงขึ้นด้วย ซึ่งหากมองจากสองกลุ่มนี้จะพบว่าต่างก็มีมุมมองต่อความเป็นชาติที่เหมือนกัน แต่การเข้าถึงความเป็นชาตินั้นต่างกัน ชาติในที่นี้คือกัมพูชา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดยังไงก็คนกัมพูชา ไม่อาจเป็นอื่นไปได้ เพราะสุดท้ายแล้วรัฐจะดำเนินนโยบายไปเช่นไร ผู้ที่รับผลของนโยบายนั้นก็คือประชาชนของกัมพูชาเอง ในเมื่อพวกเขาเหล่านี้ต่างยอมรับผล และดำเนินตามกฎกรอบระเบียบของนโยบายรัฐ ย่อมเท่ากับว่าพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชาตินั้นด้วย

ฉะนั้นการก่อตัวของสำนึกความเป็นชาติ จึงก่อกำเนิดขึ้นจากตัวของบุคคลเหล่านั้นเอง การขัดผลประโยชน์ หรือการแสวงหาประโยชน์จากสิ่งนั้น ก็ล้วนแต่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า “...เราใช้ชีวิตอยู่ในทุกวันนี้ เป็นโลกที่มีการลากเส้นแบ่งเขตบนแผนที่อย่างเป็นทางการ เพื่อแสดงถึงเขตแดนภายใต้การปกครองของรัฐชาติต่างๆ เรา, คนส่วนใหญ่ในโลกใบนี้, ต่างถือสัญชาติหนึ่งใดไว้อันแสดงถึงการสังกัดเป็นพลเมืองของรัฐชาติหนึ่งใด...”[6]จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้ ในเมื่อเขาพระวิหารเมื่อตกเป็นของกัมพูชาโดยสมบูรณ์[7]รัฐบาลกัมพูชาจึงมีสิทธิในการจัดการเข้าไปพัฒนา ซึ่งการพัฒนาที่ว่า บทความนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงนัยยะแฝงทางการเมือง ผ่านการใช้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นตัวแทนของ ความภาคภูมิใจและชัยชนะของกัมพูชา เพื่อใช้เป็นสัญญะของการสร้างความรู้สึกชาตินิยมร่วม โดยยกเอาเขาพระวิหารเป็นเสมือนตัวแทนของความภาคภูมิใจและชัยชนะของกัมพูชาสิ่งที่น่าสังเกตคือการหยิบยกเอาเขาพระวิหาร มาเป็นตัวแทนของความภูมิใจแห่งชาติกัมพูชา สามารถสร้างความตระหนักร่วมของความเป็น“ชาติ”ได้อย่างแนบเนียนและนิ่มนวล อาจด้วยเหตุที่ว่าเขมรตระหนักถึงบทเรียนราคาแพง จากความคิดแบบชาตินิยมทางชาติพันธุ์ ที่พัฒนาไปสู่ความคิดแบบคลั่งชาติ [Chauvinism] หรือความคิดแบบคลั่งเผ่าพันธุ์ [Ethnocentrism] ที่ถึงขั้นทำลายล้างกลุ่มชนที่มองว่าเป็นศัตรู[8]ดังกรณีของเขมรแดง

การกระทำของคนชายขอบ ราวกับดำรงอยู่ภายใต้ผลของนโยบายที่รัฐได้ส่งมอบให้ และจัดการดำเนินตาม อีกทั้งรัฐบาลเองยังสามารถดำรงอยู่บนการรับรู้ของประชาชนที่ว่า รัฐบาลโฆษณาตนว่าเป็นผู้ที่สามารถรักษาเขตแดนของประเทศเอาไว้ได้ หวังสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน เพราะฮุนเซนกลัวการลุกขึ้นมาของประชาชนมากกว่าโรคร้ายที่คุกคามอยู่[9]ทั้งยังหวังอุดช่องโหว่ทางการเมืองของตน[10]ซึ่งกำลังถูกคุกคามจากฝ่ายค้าน CNPP[11]ถึงแม้ว่าก่อนหน้าการได้รับชัยชนะในศาลโลกของเขมร ไทยก็ยังมีทีท่าที่จะพยายามยันฝ่ายเขมรไว้อย่างแข็งขัน โดยไม่ยอมเสียแม้แต่ตารางเดียว ทำให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียดมากขึ้น และไม่ช่วยให้การเจรจาตกลงระหว่างไทยและกัมพูชา มีความราบรื่นสมกับที่จะสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันสืบไป[12]คนชายขอบเหล่านั้นกลับไม่ได้หวาดกลัวการปะทะกันของทหารเลย[13]พวกเขาไม่ได้ห่วงความตึงเครียดตามแนวชายแดน บรรดาแม่ค้าในตลาดของเมืองกล่าวว่า “ในช่วงต่อสู้บริเวณชายแดน ตลาดของเราเปิดเป็นปกติและชีวิตในเมืองเป็นไปอย่างปกติ”[14]ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาเหล่านี้ต่างรับรู้ว่าตนอยู่เหนือความขัดแย้ง อันเป็นความขัดแย้งในเรื่องที่คนชายขอบเหล่านั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญมากไปกว่าการดำรงอยู่ของตน การดำรงอยู่ในฐานะคนในชาติกัมพูชา ชาตินิยมที่เกิดขึ้นนี้ดูซับซ้อนและยากที่จะอธิบาย การเกิดขึ้นเสมือนตั้งอยู่บนพื้นฐานของการดำรงอยู่ในฐานะของคนในชาติ แต่ไม่ใช่เชื้อชาติ เขาพระวิหารเป็นตัวแทนความภูมิใจของคนชั้นนำและรัฐบาล แต่ในทางกลับกันคือสิ่งที่เปิดโอกาสให้ชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น และการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ หากมองเช่นนี้จะทำให้เห็นว่า เส้นเขตแดนแทบไม่ได้มีความหมายอะไรต่อตัวของพวกเขา กรณีพิพาทก็เช่นกัน การต่อสู้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการป้องกันอาณาเขตของชาติ และเขาพระวิหารก็เป็นเสมือนตัวแปรสำคัญ การหยิบเอาเขาพระวิหารมาเป็นตัวอธิบายถึงความเป็นชาติในแบบฉบับของรัฐบาล ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินเข้าใจ แต่การประกาศชัยชนะของรัฐบาลที่มีต่อเขาพระวิหารทำให้เกิดข้อสงสัยที่ว่า แล้วคนชายขอบเหล่านั้น อยู่บนส่วนไหนของความขัดแย้ง กัมพูชาเป็นมิตรหรือเป็นศัตรูกับไทย เพราะในเมื่ออธิปไตยเหนือเขาพระวิหารคือชัยชนะของกัมพูชาที่ชิงกลับไปจากไทย ชาตินิยมที่เกิดขึ้นมันจึงไม่ได้เกิดบนพื้นฐานที่ว่ารัฐเป็นผู้จัดการก่อให้เกิดเช่นไร แต่มันเกิดขึ้นบนสำนึกรู้ของคนในชาติเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องบังคับ การที่รัฐพร่ำโฆษณาถึงชัยชนะและเกียรติที่ได้จากกรณีเขาพระวิหาร มันจึงไม่ใช่ตัวแทนของความภาคภูมิใจของชาติกัมพูชา แต่เป็นเพียงหมุดหมายให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่บังเกิดขึ้นภายใต้ขอบขัณฑ์เขาพระวิหารนี้ ดังนั้นข้อมูลทั้งมวลที่ปรากฏในบทความนี้ จึงเน้นหนักและเพียงพอที่จะทำให้เห็นถึง ความตระหนักถึงความเป็นชาติ ที่กำเนิดเกิดจากตัวบุคคลไม่ใช่เกิดโดยรัฐ และเกิดขึ้นบนความหลากหลายไม่ใช่เกิดบนชาติเชื้อเดียว และทั้งหมดนี้คือคำอธิบายประเด็นที่ว่าด้วย “การตระหนักถึงสำนึกความเป็นชาติที่เกิดขึ้นบนความหลากหลายภายใต้กรณีเขาพระวิหาร”

ในส่วนท้ายนี้ผู้เขียนมีข้อเสนอเล็กน้อย เพราะเห็นถึงคุณค่าแก่การศึกษาในภายภาคหน้า บทความนี้ถือเป็นหนึ่งในบทความ ที่สะท้อนให้เห็นการศึกษาบทบาทของคนผู้อยู่ข้างล่างของสังคม คนชายขอบของประเทศ อันถือเป็นแนวทางการศึกษาใหม่ ผู้เขียนเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ จากมุมมองของฐานแห่งพีระมิดชนชั้น ย่อมทำให้เราพบเส้นทางการศึกษาใหม่ เส้นทางที่จะนำพาไปสู่ความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์จากอีกมุมมองหนึ่ง งานเขียนเรื่องเรย์ อิเลโต้ โดยทวีศักดิ์ เผือกสม ก็เป็นอีกหนึ่งในชิ้นงานที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหมุดหมายแก่นักเรียนประวัติศาสตร์ เพื่อบอกแก่ผู้ชนว่าประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ก็หลุดออกมาจากกรอบของบูรพคดีศึกษาได้เช่นกัน[15]ซึ่งการศึกษาประวัติศาสตร์จากผู้ที่อยู่ข้างล่าง จะทำให้เราเข้าใกล้ความเป็นตัวตนมากขึ้น บทความเกี่ยวกับกัมพูชาชิ้นนี้ ถือได้ว่าเป็นเสมือนหนึ่งในแนวทางอันดีที่สะท้อนให้เห็น เส้นทางแห่งการแสวงหาและเขียนประวัติศาสตร์จากมุมมองของคนผู้อยู่ข้างล่าง ถึงแม้ว่าหลักฐานจะเป็นของชนชั้นนำก็ตาม แต่เราเลือกที่จะแสวงหาร่องรอย และแซะร่องแทรกตัวออกมาจากกรอบของประวัติศาสตร์ชาติแบบชนชั้นนำ ด้วยงานของพวกเขา และนำพาประวัติศาสตร์ไปสู่มุมมองใหม่และคำอธิบายเพื่อตัวเรา ดังคำที่ว่าประวัติศาสตร์ คือศาสตร์ที่ศึกษาการกระทำในอดีตของมนุษย์[16]ไม่ใช่แค่อดีตของวีรบุรุษ หรือการกระทำของรัฐแต่เพียงเท่านั้น

 

 

เชิงอรรถ

[1]Kimly Ngoun . “Narrating the national border: Cambodian state rhetoric vs popular discourse on the Preah Vihear conflict” Journal of Southeast Asian Studies (2016) : 210.

[2]เรื่องเดียวกัน หน้า 217.

[3]เรื่องเดียวกัน หน้า 231.

[4]เรื่องเดียวกัน หน้า 223.

[5]เรื่องเดียวกัน หน้า 221.

[6]บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์, ความเป็นชาติ : รัฐชาติและชาตินิยมในยุคโลกาภิวัตน์, [ออนไลน์], แหล่งที่มา, http://hadesworld-boonsong.blogspot.com/2013/10/blog-post_6048.html.

[7]นกบินเดี่ยว , เรื่องเล่าเขาพระวิหาร, [ออนไลน์], แหล่งที่มา,

https://nokbindeaw.wordpress.com/2008/07/06/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3/.

[8]บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์, ความเป็นชาติ : รัฐชาติและชาตินิยมในยุคโลกาภิวัตน์, [ออนไลน์], แหล่งที่มา, http://hadesworld-boonsong.blogspot.com/2013/10/blog-post_6048.html.

[9]นันทเดช เมฆสวัสดิ์ , ทหารเขมร – ไทย ใครยิงใครก่อน, มาจากสาเหตุอะไร, ทำไมรบกันนาน และอนาคตจะเป็นอย่างไร เกี่ยวกับการเมืองไทยหรือไม่ ฯลฯ, [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559.

[10]สำนักข่าวชายขอบ, เลือกตั้งกัมพูชา”ฮุน เซน”ถูกท้าทาย”สมรังสี”หวังเสียงคนรุ่นใหม่, [ออนไลน์] , สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559

“ถ้าเราดูภาพรวมของประเทศ ประชาชนแค่อยากมีชีวิตที่ดี อยากได้เสรีภาพ ความยุติธรรม แต่ปัจจุบันเราเห็นว่าการปกป้องเหล่านั้น โดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำกินทำได้ยากขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ชาวกัมพูชาต้องช่วยกันผลักดันระบอบประชาธิปไตยให้ดีดว่าเดิม ต้องช่วยกันป้องกันแผ่นดินของเราเอง เพราะผู้นำวันนี้ ติดบุญคุณเวียดนามเยอะ ใช้หนี้กันไม่รู้จักหมด เราต้องคัดค้านกันทุกเรื่องที่ผู้นำเอาที่ดินไปให้สัมปทานแก่ต่างชาติ และปราบปรามการทุจริตทุกรูปแบบ เพื่อเอาเงินส่วนนั้นมาขึ้นเงินเดือนข้าราชการและให้สวัสดิการประชาชน” นายวน ชัย กล่าว.

[11] Kimly Ngoun . “Narrating the national border: Cambodian state rhetoric vs popular discourse on the Preah Vihear conflict” Journal of Southeast Asian Studies (2016) : 219.

[12]นิธิ เอียวศรีวงศ์ , นิธิ เอียวศรีวงศ์: อนาคตไทย-กัมพูชาจากคำพิพากษา,[ออนไลน์], แหล่งที่มา, http://prachatai.com/journal/2013/11/49864.

[13]Kimly Ngoun . “Narrating the national border: Cambodian state rhetoric vs popular discourse on the Preah Vihear conflict” Journal of Southeast Asian Studies (2016) : 225.

[14]เรื่องเดียวกัน.

[15]ทวีศักดิ์ เผือกสม, เรย์นัลโด อิเลโต้: ว่าด้วยคนชั้นล่าง ประวัติศาสตร์ชาติ และความรู้แบบอาณานิคม (ฉบับปรับปรุงสำหรับการจัดพิมพ์ , 2558).

[16]นิธิ เอียวศรีวงศ์, ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก(กรุงเทพ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ,2525) หน้า 8.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เยี่ยมบ้านลุงตู่' วันที่ 2 เพจต้าน Single Gateway อ้างทบ.จัดซื้อเครื่องถอดรหัส ถามซื้อมาทำไม

$
0
0

เพจ พลเมืองต่อต้าน Single Gatewayฯ เปิดซีรีย์ 'เยี่ยมบ้านบิ๊กตู่' วันที่ 2 อ้างทบ.จัดซื้อเครื่องถอดรหัสข้อมูล 4 เครื่อง ตั้งคำถามซื้อมาทำไม ไม่มีกฎหมายรองรับ ขณะที่ช่วงเย็นที่ผ่านมา 'ประยุทธ์' เผยจับกลุ่มแฮกไปหลายราย ย้ำดำเนินการตามกฎหมาย

26 ธ.ค. 2559  ภายหลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไปแล้ว ยังคงมีกระแสต่อต้านกฎหมายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือเพจ 'พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway' ที่มีปฏิบัติการต่อต้านผ่านโลกอินเตอร์เน็ต เช่นนัดชุมนุมออนไลน์หรือเข้าไปกด F5 ทางเว็บไซต์ราชการต่างๆ พร้อมทั้งผุดซีรีย์  'เยี่ยมบ้านบิ๊กตู่' ด้วยการเปิดเผยข้อมูลการใช้งบประมาณบางหน่วยงานในกองทัพบก ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการไปเยี่ยมบ้าน “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีกำหนดการวันที่ 23, 26 และ 27 ธ.ค.นี้ ซึ่งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพจดังกล่าว ได้โพสต์ภาพที่ได้จากการบันทึกหน้าเว็บเพจ 3 ภาพ พร้อมอ้างว่า สามารถแฮกระบบของกองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2)ได้เป็นที่เรียบร้อย อีกทั้งยังอ้างด้วยว่างบประมาณหลักของทหารหน่วยนี้คือการขุดลอกแหล่งน้ำปี 2559 ซึ่งมีการตั้งงบไว้ราว 184 ล้านบาท จากทั้งหมด 224 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82% พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงค่าปฏิบัติงานล่วงเวลาที่สูงถึงกว่า 4 ล้านบาท (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

ขณะที่วันนีิ้ (26 ธ.ค.59) เวลา 20.00 น. เพจ พลเมืองต่อต้าน Single Gatewayฯ ได้โพสต์ภาพที่ได้จากการบันทึกหน้าเว็บเพจจำนวน 5 ภาพ โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลการจัดซื้อของกองทัพบก พร้อมระบุว่า พวกไปเจอว่า เครื่องมือถอดรหัส SSL อยู่ด้วย โดยได้จัดหามาตั้งแต่ปี งบประมาณ 59(ตค.58 กย.59) จึงเกิดข้อสงสัยมากมายว่า จึงจำเป็นต้องฝากคำถามไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ ว่า

การนำเอาเครื่องถอดรหัสข้อมูล รุ่น SSLX-GEO จำนวน 2 เครื่องและ รุ่น SSLX-T200 จำนวน 2 เครื่อง มาประจำการในปีประมาณ 2559 นั้น 1. กองทัพบกดำเนินเรื่องดังกล่าว จริงใช่หรือไม่ อย่างไร? 2. กองทัพบก เอาเครื่องมือดังกล่าวมาทำอะไร เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ?

3. กองทัพบก เอาเครื่องมือดังกล่าวมาสอดแนมประชาชนหรือไม่ อย่างไร และได้ปฏิบัติการกับใครไปแล้วบ้าง กี่ราย? 4. ในการปฏิบัติการดังกล่าว กองทัพบกใช้อำนาจตามกฎหมายใด(ระบุมาตราให้ชัดเจน) มากระทำการตามข้อ 3 และใครเป็นผู้ลงนามอนุมัติการใช้งานดังกล่าว ? 5. ในขณะที่ กฎหมายว่าด้วยความั่นคงไซเบอร์ ยังไม่สภาพบังคับใช้ในขณะนี้ เนื่องจากยังไม่ได้ผ่านสนช.(อยุ่ระหว่างรอการพิจารณาอยู่) เท่ากับว่า ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย แต่ทางกองทัพบกได้ปฏิบัติการไปล่วงหน้า โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ใช่หรือไม่ อย่างไร ? 6. ในการสั่งซื้ออุปกรณ์ที่กองทัพบกไม่มีอำนาจตามกฎหมายในขณะสั่งซื้อ สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร ? และ 7. ลุงตู่เพิ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า จะไม่ต้องการไปสอดแนมประชาชน แล้วจะอธิบายการกระทำแบบนี้อย่างไร?
 
"นี่เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญ รวมถึงอาจเป็นตัวอย่างที่เป็นเหตุผลสำคัญในการปิดหู ปิดตาประชาชน เนื่องจากรัฐบาลได้มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งในส่วนการงบประมาณและในส่วนทางใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมาย หลายหน่วยงานภาครัฐ มีการกระทำทั้งสิ้น หากไม่มี พวกเรา ที่นำเรื่องราวเหล่านี้ มาตีแผ่ แล้วประชาชนจะสามารถทราบได้อย่างไร? ว่าเรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้น" เพจ พลเมืองต่อต้าน Single Gatewayฯ โพสต์ พร้อมระบุว่าว่า พรุ่งนี้(27 ธ.ค.59) เวลา 20.00 น. ขอแทรกรายการ "ทุกระบบเจาะได้(2)" แทนรายการ เปิดบ้านลุงตู่ วันที่ 3 ก่อน
 

ประยุทธ์เผยจับกลุ่มแฮกไปหลายราย ย้ำดำเนินการตามกฎหมาย

ขณะที่เมือช่วงเย็นที่ผ่านมา สำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาคิ หรือ คสช. กล่าวถึง กรณีกลุ่มต่อต้าน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ประกาศเตรียมแฮคข้อมูลของนายกรัฐมนตรี ว่า เรื่องนี้มีกฎหมายดูแลอยู่แล้ว ที่ผ่านมาได้มีการจับกุมผู้ที่ทำผิดไปหลายราย
 
“การกระทำที่เกิดขึ้น สมควรกระทำหรือไม่ เพราะมีการละเมิดส่วนราชการ และกรณีเช่นนี้ถือว่าผิดกฎหมายในทุกประเทศ และต้องถูกดำเนินคดี อยากให้ติดตามความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะมีข้อมูลมากพอสมควร” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่าการออก พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ได้มีการกำหนดรายละเอียดไว้ชัดเจนแล้ว ซึ่งมีคณะกรรมการพิจารณา 9 คน และไม่ได้มาจากเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น แต่มาจากทุกฝ่ายในการกลั่นกรองการกระทำความผิด ดังนั้น ขอให้ไว้วางใจและมีความเข้าใจตรงกัน มองที่ประโยชน์ของกฎหมาย 
 
วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจ นำโดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รอง ผบ.ตร. ,พล.ต.ต.ศุภเชษฐ์ โชคชัย ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) ,พล.ต.ต.ศิริพงศ์ ติมุลา ผบก.สนับสนุนทางเทคโนโลยี ,พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ,พล.ต.ต.ทรงพล วัธนะชัย และ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ร่วมกันแถลงจับกุมผู้ต้องสงสัยกลุ่มแฮกเกอร์พร้อมของกลางอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์จำนวนมาก อาวุธปืนและเครื่องกระสุนอีกหลายรายการ โดยกลุ่มแฮกเกอร์ดังกล่าวได้ทำการโจมตีข้อมูลเว็บไซต์ของรัฐบาล ก่อนที่ในเวลาต่อมาทางกองทัพจะสามารถควบคุมตัวได้จำนวน 9 คน และส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสอบสวนดำเนินคดี ซึ่ง พล.ต.อ.จักรทิพย์ นำตัว ณัฐดนัย คงดี อายุ 19 ปี หนึ่งใน 9 คนที่ถูกจับกุมมาสอบสวนด้วยตัวเอง เนื่องจากเป็นคนที่มีพฤติการณ์ชัดเจนที่สุด (อ่านรายละเอียด)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส่องสถานการณ์ ‘พุทธไทย’ 59-60 ใกล้ชิดรัฐ-เพิ่มอำนาจมหาเถรฯ-สิทธิมนุษยชนยังไม่มีที่ยืน

$
0
0

สำรวจทิศทางพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน หวั่นรัฐธรรมนูญ 2559 จุดชนวนขัดแย้งศาสนา หนุนพุทธเถรวาท เป็นการเลือกปฏิบัติ ติดตามการดันกฎหมายอุปถัมภ์คุ้มครองพุทธศาสนา ทำรัฐ-พุทธจักรใกล้ชิดยิ่งขึ้น ยื่นอำนาจให้มหาเถรฯ ผูกขาดการตีความและลงโทษหรือไม่ แต่ไม่สร้างระบบตรวจสอบถ่วงดุล ขณะที่หลักการสิทธิมนุษยชนยังไม่มีที่ยืนในพุทธแบบไทยๆ

ภาพจากมติชนออนไลน์  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1452391112

ถ้าส่องดูวงการพุทธศาสนาไทยในรอบปีที่ผ่านมา ไม่นับกรณีความพยายามจับกุมพระเทพญาณมหามุนีหรือพระธัมมชโย แห่งวัดพระธรรมกาย ของกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ยังไม่คืบหน้าไปไหน ประเด็นใหญ่ๆ คงอยู่ที่ความขัดแย้งในการแต่งตั้งประมุขสงฆ์หรือสมเด็จพระสังฆราช ที่มีพระพุทธอิสระแห่งวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน คัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง วรปุญโญ เป็นสมเด็จพระสังฆราช นอกจากกรณีรถหรูแล้ว อีกหนึ่งเหตุผลคงอยู่ที่สมเด็จช่วงฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระธัมมชโย

นี้เป็นภาพตัวอย่างชัดเจนถึงผลพวงจากความแนบแน่นมาเนิ่นนานระหว่างอำนาจรัฐและสถาบันสงฆ์ ฝ่ายหนึ่งให้อำนาจ อีกฝ่ายตอบสนองโดยการผลิตซ้ำและตอกย้ำอุดมการณ์รัฐ อิงอาศัยกันมาจนยากที่จะแยกออกจากกัน ทำให้การแต่งตั้งประมุขฝ่ายสงฆ์เป็นเรื่องการเมืองเสมอมา มองสถานการณ์ปีหน้า เชื่อแน่ว่าการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จะยังหาจุดลงเอยไม่ได้ง่ายๆ

แต่เมื่อยกความขัดแย้งทางการเมืองในวงการสงฆ์เอาไว้ก่อน ประเด็นสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ที่เกี่ยวพันกับพุทธศาสนาแบบไทยๆ ดูจะน่าห่วงกว่า

รัฐธรรมนูญชนวนความขัดแย้งทางศาสนา?

รัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านประชามติไปเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 67 ระบุว่า

‘รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

‘ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย’

เป็นเนื้อหาที่พยายามประนีประนอมกับแรงกดดันที่ต้องการให้บัญญัติให้ ‘พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ’ ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่กลายเป็นว่าเนื้อหาลักษณะนี้กำลังนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและอาจก่อเป็นความขัดแย้งระหว่างศาสนาในอนาคต

เมื่อเนื้อหาระบุเสมือนว่า รัฐจะต้องให้การสนับสนุนพุทธแบบเถรวาทเป็นหลัก ยิ่งไปกว่านั้นยังระบุว่าต้องมีมาตรการและกลในการป้องกันการบ่อนทำลายพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใดๆ และยังให้ส่งเสริมพุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในมาตรการและกลไกดังกล่าว

คำถามก็คือที่ทางของพุทธศาสนานิกายอื่นๆ หรือแม้แต่นิกายเถรวาทเองที่อาจจะไม่ต้องตรงรสนิยมของฝ่ายกุมอำนาจจะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง มิพักต้องกล่าวถึงศาสนาอื่นๆ ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย แล้วคำว่า ‘บ่อนทำลาย’ มีนิยามกว้าง-แคบแค่ไหน การก่อสร้างมัสยิดหรือโรงงานอาหารฮาลาลจะถูกตีความเป็นการบ่อนทำลายพุทธศาสนาหรือไม่ หรือการก่อสร้างพุทธมณฑลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้จะเรียกว่าเป็นการอุปถัมภ์คุ้มครองพุทธศาสนาหรือไม่

การที่ระบุว่า ‘พึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย’ จะยิ่งเท่ากับเติมเชื้อความขัดแย้งหรือไม่ เมื่อกระแสเกลียดกลัวอิสลามในสังคมไทยก็กำลังแพร่กระจายกว้างออกไปเรื่อยๆ

คาดว่ากฎหมายนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาแนบแน่นยิ่งขึ้น เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนาพุทธที่อาจจะมีความเชื่อไม่ต้องตรงกับพุทธศาสนาแบบที่รัฐกำหนด คำถามคือเมื่อศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อ รัฐมีอำนาจอย่างไรที่จะชี้ว่าคำสอนใดถูกและคำสอนใดผิด ซึ่งแน่นอนว่าจะกระทบกับเสรีภาพในการเชื่อของผู้คนอย่างเลี่ยงไม่ได้

มาตราข้างต้นถูกวิจารณ์อย่างมากว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็จับสัญญาณและกระแสอันร้อนแรงนี้ได้ 22 สิงหาคม คสช. จึงออกคำสั่งที่ 49/2559 เรื่อง ‘มาตรการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย’ เพื่อลดกระแส เนื้อหาโดยรวมคือการสื่อสารกับสังคมว่า รัฐไทยยังคงให้การอุปถัมภ์ทุกศาสนาโดยไม่เลือกปฏิบัติ

ทั้งกำหนดให้หน่วยงานรัฐและองค์กรทางศาสนาต่างๆ ที่ทางราชการรับรอง ‘ร่วมกันกําหนดมาตรการและกลไกในการส่งเสริมความเข้าใจอันดี และความสมานฉันท์ของศาสนิกชนของทุกศาสนา การนําหลักธรรม คําสอนทางศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจําวันในด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปประเทศ...และกําหนดมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น...แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีภายในสามเดือน’

แต่ดูเหมือนจะเป็นการผัดผ่อนปัญหาด้วยการออกคำสั่งและประชุม มากกว่าจะแก้ที่ต้นเหตุ

กม.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา เพิ่มอำนาจมหาเถรฯ ไร้การตรวจสอบ?

ไม่ใช่เพียงรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาส่อไปในทางเลือกปฏิบัติ กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่มีความพยายามผลักดันกันมาตั้งแต่ช่วงหลังรัฐประหาร ปี 2549 คือ ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ.... ซึ่งสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหรือ พศ. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เคยกล่าวยืนยันว่า กฎหมายดังกล่าวจะเสร็จทันภายในรัฐบาลนี้

ดูตามปฏิทินการเมืองที่ คสช. วางไว้ว่าจะมีการเลือกตั้งในปลายปี 2560 หรือต้นปี 2561 ถ้าความตั้งใจของสุวพันธุ์เป็นจริง กฎหมายอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาก็มีโอกาสจะประกาศใช้ในปีหน้า

คาดว่ากฎหมายนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาแนบแน่นยิ่งขึ้น เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนาพุทธที่อาจจะมีความเชื่อไม่ต้องตรงกับพุทธศาสนาแบบที่รัฐกำหนด คำถามคือเมื่อศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อ รัฐมีอำนาจอย่างไรที่จะชี้ว่าคำสอนใดถูกและคำสอนใดผิด ซึ่งแน่นอนว่าจะกระทบกับเสรีภาพในการเชื่อของผู้คนอย่างเลี่ยงไม่ได้

ในด้านหนึ่งจะทำให้ธุรกิจพุทธพาณิชย์มีสภาพเป็นอย่างไร มิเท่ากับว่าบรรดาผู้เล่นในธุรกิจนี้ นับรวมไปถึงพระเกจิต่างๆ ต้องวิ่งเข้าหาศูนย์กลางอำนาจ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตนสอนไม่นอกรอยนอกแถวหรอกหรือ? มหาเถรสมาคมเป็นผู้กำหนดความถูก-ผิดของธรรมวินัย ซึ่งปัจจุบันก็เป็นอยู่แล้ว แต่ได้รับอำนาจเพิ่มเติมจากกฎหมายนี้ มิเท่ากับยิ่งผูกขาดการตีความคำสอนหนักขึ้นหรอกหรือ? มหาเถรสมาคมและพระจำนวนหนึ่งจะมิยิ่งกลายสภาพเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือตำรวจพระที่คอยสอดส่องและพิพากษาหรอกหรือ? เดิมทีคำสั่งของมหาเถรสมาคมและตำรวจพระมีอำนาจบังคับให้พระรูปอื่นต้องปฏิบัติตามไม่ต่างกับคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ต้องถูกตรวจสอบจากศาลปกครอง กฎหมายนี้จะมิเท่ากับขยับขยายพื้นที่ของมหาเถรสมาคมและตำรวจพระให้กว้างขึ้นหรอกหรือ? จะการันตีได้อย่างไรว่าคำสอนที่ไม่สอดคล้องกับมหาเถรสมาคมจะไม่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกลงโทษ เมื่อไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของมหาเถรสมาคม

พระพรหมคุณาภรณ์และความคาดหวังที่ไม่อาจเป็นจริง

การแต่งตั้งพระพรหมคุณาภรณ์หรือ ป.อ.ประยุตโต เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ มีราชทินามว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นอีกข่าวหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงในช่วงปลายปี เนื่องจากพระพรหมคุณาภรณ์เป็นพระที่ได้รับการยอมรับในหมู่ชาวพุทธอย่างกว้างขวาง เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพจากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) ถือเป็นพระปัญญาชนรูปหนึ่งที่ประยุกต์คำสอนพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์ต่างๆ และบริบทโลกปัจจุบัน โดยงานเขียนทางพุทธศาสนาชิ้นสำคัญที่ถูกยกย่องว่าเป็นเพชรยอดมงกุฎคือ พุทธธรรม

การเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะทำให้พระพรหมคุณาภรณ์ได้เข้าไปนั่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยสมณศักดิ์ เกิดการคาดหวังว่าพระพรหมคุณาภรณ์จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในมหาเถรสมาคม ดึงความน่าเชื่อถือกลับมาสู่สถาบันสงฆ์อีกครั้ง โดยเฉพาะกรณีธรรมกาย เนื่องจากพระพรหมคุณาภรณ์เป็นพระรูปหนึ่งที่ผลิตงานออกมาตอบโต้คำสอนของวัดพระธรรมกายที่สอนว่านิพพานเป็นอัตตา โดยบอกว่าคำสอนนี้เป็นการทำพระธรรมวินัยให้วิปริต

อย่างไรก็ตาม การลงมติของมหาเถรสมาคมแต่ละครั้งวางอยู่บนฐานว่าต้องได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระพรหมคุณาภรณ์อาจไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้ตามที่คาดหวัง อีกทั้งรากฐานความคิดของพระพรหมคุณาภรณ์เองก็แอบอิงกับพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น จนอาจทำให้ไม่สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนไปก็เป็นได้

พุทธแบบไทยยังไม่มีที่ทางให้หลักการสิทธิมนุษยชน

ขณะที่พุทธจักรมีแนวโน้มว่าจะมีอำนาจเพิ่มขึ้นจากกฎหมายและอำนาจที่รัฐหยิบยื่นให้ สิทธิเสรีภาพในการนับถือ แสดงออก และปฏิบัติตามหลักศาสนาที่เชื่อ ยังคงถูกริบคืนไป พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาที่แม้แต่ความเท่าเทียมระหว่างเพศก็เอื้อมเข้าไปไม่ถึง โดยในมาตรา 17 กล่าวว่า การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจะกระทํามิได้ ยกเว้น ‘เป็นการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา’

เหตุการณ์ล่าสุดที่ถูกพูดถึงคือกรณีที่ภิกษุณีธัมมนันทาและคณะจากวัดทรงธรรมกัลยาณี ถูกเจ้าหน้าที่ห้ามไม่ให้เข้าสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพราะเห็นว่าแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ กล่าวคือไม่ใช่นักบวชในพุทธศาสนาแบบไทย

มหาเถรสมาคมยังคงกีดกันมิให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี ด้วยการอ้างประกาศของกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เรื่องห้ามพระเณรไม่ให้บวชหญิงเป็นบรรพชิต พ.ศ.2471 โดยห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรทุกนิกายบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณี เป็นสิกขมานา เป็นสามเณรี ด้วยเหตุผลที่ว่านางภิกษุณีสาบสูญขาดเชื้อสายมานานแล้ว

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ทางสำนักงานเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร วัดสามพระยาเขตพระนคร ได้ทำหนังสือเรื่อง ‘พระภิกษุสามเณรมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ’ แจ้งไปยังเจ้าคณะเขตทุกเขตในกรุงเทพมหานคร ระบุว่ามีพระภิกษุและสามเณรบางกลุ่มมีพฤติกรรม ‘เบี่ยงเบนทางเพศ’ และแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมแก่สมณสารูป ทั้งยังโพสต์ภาพลงในโซเชียล มีเดียต่างๆ ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความเสื่อมเสีย และได้กำชับให้เจ้าอาวาสต้องดูแลพระภิกษุ-สามเณรในสังกัด หากพระภิกษุ-สามเณรที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศไม่เชื่อฟัง ก็ให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎของมหาเถรสมาคม

ปัจจุบันมีคนหลากหลายทางเพศที่บวชเป็นภิกษุประมาณ 3.4 หมื่นรูป ซึ่งย่อมมีปะปนทั้งที่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดและที่ประพฤตินอกลู่ทางธรรมวินัย ไม่ผิดแผกกับภิกษุเพศชาย แต่คนหลากหลายทางเพศเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ถูกเหมารวมว่าไม่ควรบวช แต่ผู้ชายกลับไม่ถูกเหมารวม

แนวโน้มที่เห็นได้ชัดคือการที่รัฐและพุทธจักรแนบแน่นกันยิ่งขึ้น พุทธศาสนาแบบไทยๆ กับการปะทะกับหลักการสิทธิมนุษยชน จึงยังเป็นเรื่องท้าทายและต้องติดตามต่อในปีหน้า

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอป Grindr สร้างทางเลือกเกย์คนพิการเข้าถึงชีวิตทางเพศ

$
0
0

‘เพศ’ กับ ‘คนพิการ’ มักถูกแยกออกจากกัน หลายคนไม่เคยมีประสบการณ์ทางเพศ แอปพลิเคชันนัดเดทสำหรับเกย์อย่าง Grindr จึงเปรียบเสมือนตำราเรียน-ไกด์ทัวร์เรื่องเพศ ช่วยเปิดโลกใหม่และสร้างพื้นที่ร่วมกันของคนพิการ-ไม่พิการ

27 ธ.ค.2559 จอร์จ เฮปเพิล นักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวในประเด็นหลากหลายทางเพศ ซึ่งพิการด้วยโรคซีรีบรัล เพาซี่ เขียนเล่าประสบการณ์ทางเพศของตัวเอง ผ่านเว็บไซต์เดอะการ์เดียน โดยกล่าวว่า ที่ผ่านมา เซ็กส์และความพิการมักเป็นสิ่งที่ถูกมองแยกออกจากกัน และเมื่อมีความรักเกิดขึ้น คนส่วนมากก็มักมองว่า มันจะต้องเป็นรักระยะยาวของ ชาย-หญิงพิการ แต่สำหรับเขาซึ่งเป็นเกย์ ต้องการเพียงแค่วิถีชีวิตแบบคนวัยยี่สิบกลางๆ ทั่วไปในลอนดอน

เฮปเพิลแตกต่างจากเพื่อนเกย์คนอื่นๆ ตรงที่เขามีอาการของโรคซีรีบรัล เพาซี่ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายของเขาหงิกเกร็ง พูดไม่ชัดและใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ เขาต้องใช้วีลแชร์ และมีมักอาการกระตุกโดยไม่รู้ตัว เขาจำเป็นจะต้องมีผู้ช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งมีปัญหาในการสื่อสาร แต่กระนั้นเขาก็มีชีวิตทางเพศที่ดี และสนุกกับการท้าทายความคิดที่มีต่อผู้ชายพิการ

ผู้ช่วยเหลือของเขาสามารถบอกความต้องการได้ในทันทีเมื่อเขาเคลื่อนไหว เพราะพวกเขาอยู่ด้วยกันมาเป็นเวลานาน อีกทั้งเคยชิน เมื่อเฮปเพิลใช้แอปพลิเคชัน Grindr ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันหาคู่เดทที่เป็นเกย์ ในการหาคู่นัดเดท

เมื่อมีการนัดเดทหรือพบปะ ผู้ช่วยของเขาจะหลบออกไปก่อนเสมอ เขาพยายามที่จะบอกผู้ชายแต่ละคนที่พบเกี่ยวกับความพิการให้น้อยที่สุด คนส่วนใหญ่มักงงกับอาการที่ได้พบ บ่อยครั้งขณะใช้ชีวิตในหอพักนักศึกษา เขามักกดชักโครกติดต่อกันหลายครั้ง เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ แต่เพื่อนร่วมหอก็ต่างคิดว่า การทำเช่นนี้เป็นการส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ และยามก็แทบจะมาถึงหน้าห้องในทันที

ผู้ชายในวัยเดียวกับเขาส่วนมากตกใจเมื่อเห็นเขาเคลื่อนไหว บางคนเดินมาแล้วก็หันหลังหนี บางครั้งเมื่อใช้แอปพลิเคชัน ก็โดนบล็อคจากผู้ชายคนอื่น แม้ว่าจะได้สภาพความพิการของตนเองหลายต่อหลายครั้งแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า เพื่อนหลายคนที่ไม่ได้พิการก็เคยถูกบล็อคเช่นเดียวกัน และไม่ว่าคนพิการหรือไม่พิการต่างก็ต้องใช้เวลาเพื่อเคยชินกับสิ่งเหล่านี้ อีกทั้งย้ำเตือนตัวเองว่านี่เป็นเพียงแค่เรื่องเซ็กส์

แม้เขาต้องการจะเดทกับชายในวัยเดียวกัน แต่แอปพลิเคชันก็มักส่งชายวัย 40 มาให้เขา น่าแปลกที่คนเหล่านี้ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับปัญหาการเคลื่อนไหวของเฮปเพิลมากนัก เขาพบปะกับคนเหล่านี้ราวสัปดาห์ละ 3 ครั้งหรือมากกว่านั้น และเกือบทุกครั้งล้วนเป็นเวลาที่ดี เหตุผลในการหาคู่ของเขา คือการไม่สามารถสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองได้และต้องพึ่งพาคนอื่น

คลินิก 56 ดีน สตรีท เป็นศูนย์บริการสุขภาพทางเพศ และเอชไอวี แม้ศูนย์นี้จะมีองค์ความรู้และใส่ใจเรื่องสุขภาพทางเพศของคนทั่วไป แต่กับผู้ป่วยที่พิการพวกเขากลับไม่มีประสบการณ์มากนัก นอกจากนี้เขากล่าวว่า นักประสาทวิทยาที่ดูแลเขา ทำให้เกิดความฝังใจเมื่อเธอไม่เชื่อว่าคนไข้สามารถมีชีวิตทางเพศได้ จึงทำให้เมื่อเกิดคำถามเรื่องเพศ ก็ไม่มีใครให้คุยด้วย

เขาเริ่มใช้แอปพลิเคชัน Grindr เมื่อ 18 เดือนที่แล้ว ก่อนหน้านี้เขาไม่เคยนัดพบกับผู้ชาย และกังวลเกี่ยวกับเรื่องเพศเป็นเวลาหลายปี และพร่ำบอกกับตัวเองว่า คงไม่สามารถมีเซ็กส์ได้ แต่ Grindr ก็ทำให้เขาพบกับชายกว่า 60 คน และสัมผัสประสบการณ์อันเป็นดั่งรางวัลและการปลดปล่อย อีกทั้งยังสนุกและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เขาทิ้งท้ายว่า เขาไม่เคยลืมความพิการ และนับถือความเปิดกว้างของชายเหล่านั้น เพราะสิ่งที่พวกเขาทำนั้นห่างไกลมากจากสิ่งที่ผู้คนทั่วไปปฏิบัติ จนไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่า ความเท่าเทียมบนหน้าจอ เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าบนท้องถนน

 

แปลและเรียบเรียงจาก 

https://www.theguardian.com/commentisfree/2016/dec/01/disabled-gay-twentysomething-grindr-cerebral-palsy

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'พลเมืองเน็ต' เปิดวิกิลีกส์เผยเมลติดตั้ง 'โปรแกรมฝังตัวเพื่อเข้าควบคุมเครื่องปลายทาง' ในไทย

$
0
0

อาทิตย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เปิดวิกิลีกส์(อีกครั้ง)เผยเมลมีการส่งสินค้า ติดตั้ง และทดสอบระบบส่งโปรแกรมฝังตัวเพื่อเข้าควบคุมเครื่องปลายทางในไทย เมื่อ พ.ค.58 พร้อมถามใครเป็นคนควบคุมระบบนี้ ใช้อำนาจตามกฎหมายใด ห่วงการสร้างพยานหลักฐาน

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต (แฟ้มภาพ)

27 ธ.ค. 2559 หลังจากเพจ 'พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway' ได้ปฏิบัติการต่อต้านทางออนไลน์ ต่อกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เช่น นัดชุมนุมออนไลน์หรือเข้าไปกด F5 การเปิดเผยข้อมูลจากเว็บไซต์ราชการต่างๆ พร้อมทั้งผุดซีรีย์  'เยี่ยมบ้านบิ๊กตู่' วันที่ 2 เมื่อวันที่ผ่านมา (26 ธ.ค.59) ด้วยการเผยแพร่ภาพบันทึกหน้าเว็บเพจ พร้อมอ้างว่าเป็นข้อมูลการจัดซื้อ รุ่น SSLX-GEO จำนวน 2 เครื่องและ รุ่น SSLX-T200 จำนวน 2 เครื่อง โดยได้จัดหามาตั้งแต่ปี งบประมาณ 59 (ต.ค.58 ก.ย.59) ต่อมา พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ. ออกมายืนยันว่ากองทัพไม่มีจัดหาเครื่องถอดรหัสดังกล่าว ด้านเพจพลเมืองต่อต้าน Single Gateway งัดหลักฐานตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์โต้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ที่ติดตามมอนิเตอร์นโยบายรัฐต่อโลกออนไลน์ ได้เขียนบทความ "Hacking Team RCS กับการดู “ข้อมูลเข้ารหัส” โดยไม่ต้องถอดรหัส" เผยแพร่ผ่านล็อก bact.cc  

เปิดลีคมีการตั้งระบบส่งโปรแกรมฝังตัวฯ ในไทย ปี 58

อาทิตย์ ระบุว่า แม้จะยังไม่แน่ชัดว่าอุปกรณ์ชื่อ “SSLX-GEO” และ “SSLX-T200” ที่ทางกลุ่ม “พลเมืองต่อต้าน Single Gateway” พบในระบบที่อ้างว่าเป็นของกองทัพบกนั้นคืออะไร และทางกองทัพบกก็ได้ปฏิเสธข้อมูลดังกล่าวแล้ว แต่เมื่อปีที่แล้ว มีเอกสารอีกชุดใน Wikileaks เป็นอีเมลและเอกสารส่งสินค้าของบริษัท Hacking Team ที่ระบุว่ามีการส่งสินค้า ติดตั้ง และทดสอบระบบส่งโปรแกรมฝังตัวเพื่อเข้าควบคุมเครื่องปลายทางที่ชื่อ Remote Control System (RCS) Galileo ในประเทศไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558

ภาพหน้าจอจากเอกสาร RCS Certificates Case Study (หน้า 1-5) ของ Hacking Team

RCS ฝังตัวและอ่านข้อมูลที่เครื่องปลายทาง

อาทิตย์  อธิบายว่า RCS ไม่ใช่อุปกรณ์หรือระบบถอดรหัสการสื่อสาร แต่ทำงานโดยไปฝังตัวที่เครื่องปลายทางเพื่อเข้าควบคุมเครื่อง จากนั้นก็สามารถอ่านข้อมูลที่เครื่องเป้าหมาย ก่อนข้อมูลจะถูกเข้ารหัสและส่งออกไป และหลังข้อมูลถูกส่งเข้ามาและได้รับการถอดรหัส (แอปสื่อสารเป็นผู้ถอดรหัสเอง แล้ว RCS ค่อยไปอ่าน)

พูดอีกอย่าง แม้ RCS จะไม่ได้ถอดรหัส แต่มันทำให้การเข้ารหัสหมดความหมาย เมื่อ RCS เข้าควบคุมเครื่องได้แล้ว ก็แน่นอนว่าจะสามารถดูข้อมูลอื่นๆ ในเครื่องได้ด้วย ไม่เฉพาะข้อมูลการสื่อสาร Citizen Lab พบหลักฐานว่าระบบนี้ถูกใช้ในหลายประเทศ เช่น อาเซอร์ไบจาน อียิปต์ เอธิโอเปีย ฮังการี อิตาลี คาซัคสถาน เกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก โอมาน ปานามา ซาอุดิอาระเบีย ซูดานอาหรับเอมิเรสต์ ตุรกี และประเทศไทย

อาทิตย์  อธิบายอีกว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายนั้น จำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1) ข้อมูลที่อยู่นิ่งๆ ในเครื่อง หรือ ข้อมูล ณ จุดพัก (data at rest) และ 2) ข้อมูลที่วิ่งไปมาระหว่างเครื่อง 2 เครื่อง หรือ ข้อมูลระหว่างเดินทาง (data in transit)

เข้า-ถอดรหัสการสื่อสารด้วย SSL

อาทิตย์ ระบุว่า การเข้ารหัสการสื่อสารด้วย SSL (Secure Sockets Layer) หรือ TLS (Transport Layer Security) นั้นเป็นการเข้ารหัสข้อมูลประเภทที่ 2 (ข้อมูลระหว่างเดินทาง) เพื่อให้ข้อมูลที่ส่งจากปลายทางหนึ่งไปยังอีกปลายทางหนึ่งมีความปลอดภัย ไม่สามารถถูกดูได้โดยเครื่องที่ต้องผ่านระหว่างทาง (ระบบอินเทอร์เน็ตทำงานคล้ายระบบไปรษณีย์ในแง่ที่ว่ากว่าข้อมูลจะถึงจุดหมาย ต้องฝากส่งกันหลายต่อหลายทอด)

การถอดรหัสข้อมูลที่ส่งด้วย SSL/TLS นั้นเป็นเรื่องยากหากไม่มีกุญแจที่ใช้ส่งข้อมูลแต่ละครั้ง (และระบบทำงานปกติไม่มีรูรั่ว) เมื่อการดักและถอดรหัสข้อมูลประเภทที่ 2 (ข้อมูลระหว่างเดินทาง) ทำได้ยาก อีกวิธีที่จะดูข้อมูลได้ก็คือ พุ่งเป้าไปยังข้อมูลประเภทที่ 1 (ข้อมูล ณ จุดพำนัก) แทน หาก “จุดพำนัก” ดังกล่าวสามารถระบุที่ตั้งได้ชัดเจน เป็นเครื่องในความครอบครองของบุคคลหรือหน่วยงานที่ติดต่อได้ การ “ขอ” ข้อมูลตรงๆ จากบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ (ไม่ว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม)

แต่ในกรณีที่ไม่ทราบว่าจุดพำนักข้อมูลชัดๆ ทราบแต่เพียงว่าเป็นของผู้ใช้บัญชีอีเมลหรือโซเชียลมีเดียอะไร หรืออยู่ในระบบเครือข่ายไหน ระบบ RCS จะสามารถช่วยได้ โดยการล่อให้เป้าหมายติดกับ (เช่น เปิดไฟล์แนบหรือคลิกลิงก์ที่มากับอีเมลหรือเว็บไซต์ล่อลวง) ติดตั้งโปรแกรมไปฝังตัวในเครื่อง ทำให้สามารถดูข้อมูลและสั่งการควบคุมเครื่องได้

ในแง่นี้ แม้ระบบ Remote Control System จะไม่ใช่ระบบที่ถอดรหัสข้อมูลการสื่อสาร แต่ก็เป็นระบบที่ทำให้การเข้ารหัสข้อมูลการสื่อสารระหว่างเครื่องไม่มีความหมายอีกต่อไป และในกรณีข้อมูลการสื่อสารที่เป็นการสื่อสาร 2 ฝั่งนั้น แม้ปลายทางอีกฝั่งจะไม่ติดเชื้อ RCS แต่เนื่องจากข้อมูลการสื่อสาร (เช่นการแชต) นั้นมีการแลกเปลี่ยนรู้เท่ากันทั้ง 2 ฝั่ง ก็แปลว่าตัว RCS ก็จะรู้ข้อมูลการสื่อสารของอีกฝั่งได้ด้วย (เฉพาะที่มีการแลกเปลี่ยนกับเครื่องที่ติดเชื้อ) มากไปกว่านั้น เนื่องจาก RCS สามารถควบคุมเครื่องเป้าหมายได้ มันจึงสามารถจับภาพหน้าจอ เปิดปิดกล้อง ไมค์ และเซ็นเซอร์อื่นๆ รวมไปถึงการติดตั้งโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมลงในเครื่องได้ด้วย ไม่ใช่เพียงการดูข้อมูลอย่างเดียวเท่านั้น

RCS ทำอย่างเจาะจงเป้าหมาย อาศัยรูรั่วของแอป-ระบบ

อาทิตย์ อธิบายว่า สิ่งที่พอจะสบายใจได้บ้าง (หรืออาจจะไม่ก็ได้นะ) ก็คือ 1) RCS นั้นจะต้องทำอย่างเจาะจงเป้าหมาย (ส่วนเป้าหมายจะมีได้กี่เป้าหมายนั้น ก็แล้วแต่ทรัพยากร) 2) RCS ฝังตัวที่เครื่องเป้าหมายโดยอาศัยรูรั่วของแอปและระบบปฏิบัติการ (exploits) ถ้าเราหมั่นอัปเดตระบบปฏิบัติการและแอปเสียหน่อย (ใครใช้ระบบรุ่นเก่าๆ ที่โดนผู้ผลิตลอยแพแล้วก็เสียใจด้วย) ไม่ติดตั้งแอปน่าสงสัย และใช้เน็ตอย่างระมัดระวัง ไม่คลิกลิงก์มั่ว ไม่เปิดไฟล์แนบแปลกๆ (RCS Agent สามารถติดมากับไฟล์เช่น PDF, PowerPoint, Word) ก็พอจะปลอดภัยระดับหนึ่ง

ใครเป็นผู้ควบคุมระบบ ใช้กม.ใด

อาทิตย์ ตั้งคำถามท้ายบทความด้วยว่า 1) ใครเป็นคนควบคุมระบบนี้? ใช้อำนาจตามกฎหมายใด? 2) กลไกอะไรจะตรวจสอบการใช้อำนาจจากระบบนี้ เป็นกลไกที่ทำงานได้จริงไหม? 3) ความสามารถของ RCS นี่มีมากกว่าดักข้อมูล มันควบคุมเครื่องเป้าหมายได้ เปิดปิดกล้องได้ จะดาวน์โหลดข้อมูลอะไรมาใส่เครื่องเป้าหมายก็ได้ ถ้ามีการขอหมายหรือคำสั่งศาล คำสั่งจะอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง? และ 4) ในซอร์สโค้ดที่หลุดออกมา มีการตั้งชื่อไฟล์ปลอมๆ ที่บ่งถึงรูปโป๊เด็ก เช่น “childporn.avi” และ “pedoporno.mpg” ซึ่งแม้อาจจะเป็นเรื่องตลกในกลุ่มโปรแกรมเมอร์ของ Hacking Team แต่ก็ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ในการ “สร้างพยานหลักฐาน” เรื่องนี้น่าห่วงมากๆ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ชี้แฮกเกอร์ทำผิดกม. อย่าไปยกย่อง ต้องดำเนินคดี ประวิตรยันจับไม่ผิดคน

$
0
0

ประยุทธ์ขอคนไทยอย่ายกย่องแฮกเกอร์ ชี้ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย จะต้องนำตัวมาดำเนินคดี 'ผบ.ทบ.' ขู่เอาผิดกลุ่มแต่งข่าว ทบ.จัดซื้อเครื่องถอดรหัส ขณะที่ประวิตรยืนยันจับแฮกเกอร์ไม่ผิดคน

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

27 ธ.ค. 2559 รายงานจากเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลระบุว่า วันนี้ เมื่อเวลา 14:10 น. ณ ห้องโถงตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุม ครม. ร่วมกับ คสช. โดย พล.อ.ปะยุทธ์ กล่าวถึงกรณีการเจาะข้อมูลทางรัฐบาลโดยกลุ่มแฮกเกอร์ ว่า กำลังดำเนินการเร่งจับตัวผู้กระทำความผิดรวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี ซึ่งการก่อเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย จะต้องนำตัวมาดำเนินคดี ทั้งนี้ พี่น้องประชาชนไม่ควรยกย่องถึงความสามารถของผู้ที่กระทำความผิด ควรที่จะคำนึงว่าการนำข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นมาเผยแพร่เป็นความผิดหรือไม่ สังคมควรทำความเข้าใจเพื่อหยุดกระบวนการเหล่านี้ให้ได้

ผบ.ทบ.ขู่เอาผิดกลุ่มแต่งข่าว ทบ.จัดซื้อเครื่องถอดรหัส

สำหรับกรณี  'พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway' ได้ปฏิบัติการต่อต้านทางออนไลน์ ต่อกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เช่น นัดชุมนุมออนไลน์หรือเข้าไปกด F5 การเปิดเผยข้อมูลจากเว็บไซต์ราชการต่างๆ พร้อมทั้งผุดซีรีย์  'เยี่ยมบ้านบิ๊กตู่' วันที่ 2 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.59 ด้วยการเผยแพร่ภาพบันทึกหน้าเว็บเพจ พร้อมอ้างว่าเป็นข้อมูลการจัดซื้อ รุ่น SSLX-GEO จำนวน 2 เครื่องและ รุ่น SSLX-T200 จำนวน 2 เครื่อง โดยได้จัดหามาตั้งแต่ปี งบประมาณ 59(ต.ค.58 ก.ย.59) นั้น
 
สำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ในปี 2559 ที่มีการตั้งศูนย์ไซเบอร์ กองทัพบกและจัดซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีบางส่วน ก็ไม่ได้มีการจัดซื้อเครื่องถอดรหัส SSL แต่อย่างใด อุปกรณ์ที่จัดซื้อมาก็เพื่อสร้างระบบป้องกันตัวเอง ส่วนเครื่องถอดรหัส SSL เป็นระบบของการเจาะข้อมูลคอมพิวเตอร์ กองทัพบกไม่มีหน้าที่จะต้องไปจัดหามา เช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2560 ก็ไม่มีการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวเช่นเดียวกัน
 
“ข้อมูลที่เผยแพร่ออกมา จะเห็นได้ว่าเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในภารกิจของทหารช่าง แต่มีการต่อท้ายการจัดซื้อเครื่องมือถอดรหัส SSL ซึ่งขอยันยันว่าไม่มี ขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณ ทั้งนี้กองทัพกำลังตรวจสอบว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการใส่ร้าย หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือไม่ เพื่อพิจารณาดำเนินคดีกับผู้ตกแต่งข้อมูล ทำให้องค์กรเสียหาย” พล.อ.เฉลิมชัย กล่าว
 
เมื่อถามว่า เหมือนกองทัพกำลังต่อสู้กับนักรบที่ไม่มีตัวตน พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ต้องพิสูจน์ให้เห็นตัวตน แต่กองทัพต้องชี้แจงข้อเท็จจริงต่อประชาชน
 

ประวิตรยืนยันจับแฮกเกอร์ไม่ผิดคน

วันเดียวกัน สำนักข่าวไทยยังรายงานด้วยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงแฮกเกอร์กลุ่มต่อต้าน Single gateway เผยแพร่ข้อมูลเอกสาร ระบุว่า กองทัพบกได้จัดซื้อเครื่องถอดรหัส SSL โดยยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง กองทัพไม่มีเครื่องดังกล่าว เอกสารที่เผยแพร่ออกมาไม่มีความน่าเชื่อถือ และเพจที่นำข้อมูลมาเผยแพร่ถือว่ามีความผิด หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าบุคคลใดมีความเกี่ยวข้อง จะต้องจับกุม
 
“ผมให้เจ้าหน้าที่ทำงานตามปกติ  เพื่อไม่ให้รู้สึกกดดัน ส่วนที่เพจของกลุ่มพลเมืองต้าน Single gateway อ้างว่าการจับกุม ณัฐดนัย คงดี ที่เข้าไปแฮกเข้ามูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเป็น 1 ในเครือข่ายของเพจ เป็นการจับผิดคน เพจดังกล่าวจะพูดอย่างไรก็ได้ แต่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่จับถูกคนแล้วเพราะมีหลักฐานชัดเจน อีกทั้งยังมีอาวุธปืนในครอบครองด้วย” พล.อ.ประวิตร กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งถอนประกัน “ไผ่ จตุภัทร์” ชี้คำพิจารณาศาลขอนแก่นพิจารณาโดยชอบแล้ว

$
0
0

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งพิจารณาคำร้องอุทธรณ์กรณีศาลขอนแก่นสั่งเพิกถอนประกัน ไผ่ ดาวดิน ชี้ศาลขอนแก่นพิจารณาโดยชอบแล้ว ด้านนักวิชาการเข้าเยี่ยม แสดงความนับถือ เพจ NDM โพสต์บทความ เพื่อนเรายังยิ้มอยู่

27 ธ.ค. 2559 เวลา 11.55 น. ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จังหวัดขอนแก่น ได้มีคำสั่งผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ มายังจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ว่าผู้ต้องหามีพฤติกรรมไม่เกรงกลัวต่ออำนาจรัฐและกฎหมาย ประกอบกับหากให้มีการปล่อยตัว ผู้ต้องหาอาจไปทำให้พยานหลักฐานยุ่งเหยิงจึงพิจารณาว่าการออกคำสั่งถอนประกันโดยศาลจังหวัดขอนแก่นนั้นเป็นคำตัดสินโดยชอบแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ไผ่ ดาวดิน ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2559 ตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai จากการเข้าแจ้งความโดย พันโทพิทักษ์พล ชูศรี รักษาการหัวหน้ากองกิจการพลเรือนมณฑลทหารบกที่ 23 นายทหารซึ่งได้ติดตามการทำกิจกรรม และการเคลื่อนไหวนักกิจกรรมและ ภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมาตั้งแต่หลังรัฐประหารปี 2557 โดยศาลจังหวัดได้ออกหมายจับลงวันที่ 2 ธ.ค. 2559 และเขาถูกควบคุมตัวในขณะกำลังร่วมขบวนเดินธรรมยาตรากับพระไพศาล วิสาโล ที่จังหวัดชัยภูมิ

ต่อมา ไผ่ ดาวดิน ได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2559 โดยศาลพิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราว หลังจากทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากผู้ต้องหามีคดีการเมืองอยู่ 4 คดี แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนี อีกทั้งในวันที่ 8 ธ.ค. ผู้ต้องหามีสอบเป็นวิชาสุดท้าย หากไม่ได้เข้าสอบวิชาดังกล่าวจะส่งผลให้เขาเรียนไม่จบตามหลักสูตร พร้อมยื่นหลักทรัพย์เงินสดจำนวน 4 แสนบาทเป็นหลักประกัน ศาลจึงพิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขว่า ให้นายประกัน ผู้ต้องหาให้มาศาลตามนัด ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ และพยานหลักฐานในคดี หรือก่อความเสียหายใดๆ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาวันที่ 19 ธ.ค. 2559 ไผ่ ดาวดินได้เปิดเผยว่า ได้รับหมายศาลอีกครั้ง เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้ยื่นใบคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาปล่อยตัวชั่วคราว โดยในคำร้องได้ระบุว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่นเป็นผู้ร้องขอให้ถอนประกัน โดยให้เหตุผลว่า หลังจากที่ผู้ต้องหาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.59 แล้ว ผู้ต้องหายังมีการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ เยาะเย้ยเจ้าพนักงาน กรณีที่ตนได้รับประกันตัวเป็นจำนวน 400,000 บาท ว่า “เศรษฐกิจมันแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน”  

เหตุผลนอกจากข้างต้นแล้วก็ยังมีเนื่องจากผู้ต้องหาเคยมีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีความมั่นคงมาหลายคดี และคดีนี้เป็นคดีร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 พร้อมยังได้อ้างเหตุฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนว่า ผู้ต้องหายังมีการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์เรื่อยมา และอาจจะเป็นการยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หากรอถึงวันที่ 23 ม.ค.60 อาจก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น

ในเอกสารคำร้องขอให้ศาลถอนประกันของพนักงานสอบสวน ไม่ได้พิมพ์ชื่อผู้ร้องไว้ มีเพียงแต่ลายเซ็น โดยระบุว่ามียศเป็นร้อยตำรวจโทหญิง แต่มีชื่อของ พ.ต.ท.จิรัฐเกียรติ์ ศรวิเศษ สารวัตรสอบสวนเป็นผู้เรียง/พิมพ์ ซึ่งจตุภัทร์ตั้งข้อสังเกตว่าไม่เคยมีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงในชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำการสอบสวนตนในคดีนี้ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาวันที่ 22 ธ.ค. 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้นัดพิจารณาคำร้องของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น ที่ขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์ ในคดีแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC thai โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า จตุภัทร์ ได้ทำผิดเงื่อนไขการประกันตัว จึงสั่งให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ทั้งยังเห็นว่านายประกัน ซึ่งเป็นบิดา ไม่ได้ทำการห้ามปราบการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด

โดยศาล พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลได้มีคำสั่งกำชับให้นายประกัน, ผู้ต้องหาให้มาศาลตามนัด ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ พยานหลักฐานในคดี หรือก่อความเสียหายใดๆ หลังปล่อยตัวชั่วคราว หากผิดนัด ผิดเงื่อนไข ศาลอาจถอนประกันและอาจไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอีก และภายหลังปล่อยตัวชั่วคราว ได้ความจากทางไต่สวนว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ในสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊กของผู้ต้องหา กับทั้งผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มจะกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีก ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มีอายุ 25 ปี ย่อมรู้ดีว่า การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวข้างต้นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาล จึงฟังได้ความตามคำร้องว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายภายหลังการปล่อยตัวชั่วคราว ประกอบกับนายประกันผู้ต้องหาไม่ได้กำชับหรือดูแลให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลที่มีคำสั่ง จนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว จึงให้เพิกถอนสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา หมายขังผู้ต้องหา ตรวจคืนหลักประกันให้นายประกัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาวันที่ 23 ธ.ค. 2559 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์ถึงศาลอุทธรณ์ภาค 4 กรณีที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา ถอนประกัน นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ผู้ต้องหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ข่าว BBC ไทย (ดู คำร้องขอถอนประกัน และคำสั่งถอนประกัน

คำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นดังกล่าว ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาและมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น  โดยให้ยกเลิกคำสั่งถอนประกันฉบับลงวันที่ 22 ธ.ค. 59, ยกเลิกหมายขังผู้ต้องหา และมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาไปในระหว่างพิจารณาคดีตามคำสั่งและสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในวันที่ 4 ธ.ค. 59 ทั้งนี้ คำร้องอุทธรณ์ระบุเหตุผลในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง สรุปความได้ดังนี้

1.จากเงื่อนไขในการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.59 ที่กำหนดให้นายประกันและผู้ต้องหามาศาลตามนัด ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ พยานหลักฐานในคดี หรือก่อความเสียหายใด ๆ นั้น ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำการใด ๆ ผิดไปจากเงื่อนไขที่ศาลจังหวัดขอนแก่นกำหนดเลยทั้งสิ้น ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ในชั้นไต่สวน พนักงานสอบสวน พยานผู้ร้องก็มิได้เบิกความใดๆ ต่อศาลเพื่อให้เห็นว่า ผู้ต้องหากระทำผิดเงื่อนไขดังกล่าวอย่างไร

2.กรณีที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำวินิจฉัยว่า  ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้บนเฟสบุ๊คของผู้ต้องหานั้น เป็นการยกเหตุนอกไปจากคำร้องขอถอนประกัน และกรณีที่ศาลจังหวัดขอนแก่นวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลนั้น ศาลไม่เคยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้แต่อย่างใด อีกทั้ง ในชั้นไต่สวน ผู้ต้องหาก็ได้ชี้แจงต่อศาลชัดเจนแล้วว่า  เหตุที่ไม่ได้ลบข้อความดังกล่าว เนื่องจากมีความประสงค์ที่จะเก็บไว้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่า ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งผู้ร้องก็มิได้คัดค้านแต่อย่างใด นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ร้องอ้างว่า คดีนี้เป็นคดีร้ายแรง  และผู้ต้องหามีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีความมั่นคงหลายคดีนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่อาจนำมาเป็นเหตุที่ขอให้ศาลถอนประกันผู้ต้องหาได้ เนื่องจากศาลจังหวัดขอนแก่นก็ได้พิจารณาแล้วและอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาไปแล้ว อีกทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนคดีนี้  และเป็นข้อหาที่ผู้ต้องหาเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อช่วยเหลือประชาชนและต่อต้านคณะรัฐประหาร  ซึ่งทุกคดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด  รวมทั้งศาลก็ได้ให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาแล้วในทุกคดี

3.ข้อวินิจฉัยของศาลจังหวัดขอนแก่นว่า  ผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรรมในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง เป็นข้อวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน เพราะตามคำร้องขอถอนประกัน ผู้ร้องระบุว่าข้อความที่ผู้ต้องหาพิมพ์ในสื่อสังคมออนไลน์นั้นเป็นข้อความในเชิงเยาะเย้ยเจ้าพนักงาน เป็นคนละเรื่องกับการวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหามีพฤติการณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย อีกทั้ง พยานหลักฐานในชั้นไต่สวน ไม่มีประเด็นใดที่จะวินิจฉัยไปในทางนั้นได้เลย

4.นับแต่ที่ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 59 นั้น  ผู้ต้องหามิได้กระทำการใด ๆ ผิดจากข้อกำหนดและเงื่อนไขของศาลแต่อย่างใด  ข้ออ้างของผู้ร้องขอถอนประกันนั้นเลื่อนลอยไม่มีเหตุไม่มีผลและไม่น่าเชื่อถือแต่อย่างใดทั้งสิ้น พยานหลักฐานที่ยื่นต่อศาลก็เป็นเพียงเป็นการแสดงออกของวัยรุ่นในชีวิตประจำวัน ทั้งการแสดงความยินดีและเห็นอกเห็นใจเพื่อนฝูง และการสนุกสนานกันในหมู่เด็กมหาวิทยาลัย  ซึ่งทั้งหมดนี้พยานของผู้ร้องเองก็เบิกความชัดเจนว่า ไม่มีข้อความหรือลักษณะใด ๆ ที่เป็นการเยาะเย้ยถากถางเจ้าหน้าที่หรือเย้ยหยันอำนาจรัฐแต่อย่างใด อีกทั้งคดีนี้ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าผู้ต้องหากระทำการอันเป็นความผิดจริงหรือไม่ มีเพียงคำกล่าวโทษของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมีความขัดแย้งกับผู้ต้องหาอยู่ตลอดมา

5.การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นวินิจฉัยว่า  ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายภายหลังจากการปล่อยตัวชั่วคราว เป็นการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาในคดีนี้ที่ผ่านมาไม่เคยก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด  และไม่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสียหายเลย เห็นได้จากในชั้นไต่สวน พยานผู้ร้องไม่ได้เบิกความและยืนยันให้ศาลเห็นว่ามีความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป และมีแนวโน้มจะเกิดความเสียหายใด ๆ 

ล่าสุดแล้ววันนี้ (27 ธ.ค. 2559) ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาว่าการออกคำสั่งถอนประกันโดยศาลจังหวัดขอนแก่นนั้นเป็นคำตัดสินโดยชอบแล้ว

00000

นักวิชาการเข้าเยี่ยม ยันไม่ได้มาให้กำลังเพราะ ไผ่ เข้มแข็งอยู่แล้ว แต่มาเพื่อแสดงความนับถือ

ขณะที่วานนี้ (26 ธ.ค. 2559) เวลา 11.00 น. ที่ทัณฑสถานบำบัด จังหวัดขอนแก่น กลุ่มนักวิชาการ ประกอบด้วย สุรพศ ทวีศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ผศ.ดร.คำแหง วิสุทธางกูร ทหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ปัญญาเสนาเวียง และ ผศ.ดร.สิบปีย์ ชยานุศาสนีย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้เดินทางเข้าเยี่ยม จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน หลังถูกเพิกถอนการประกันตัวในคดีแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai

สุรพศ ระบุหลังจากเข้าเยี่ยมว่า วันนี้ไม่ได้มาให้กำลังใจ เพราะเชื่อว่าไผ่ ดาวดิน มีกำลังใจและเข้มแข็งอยู่แล้ว แต่มาเพื่อแสดงความนับถือในความกล้าหาญ และความยึดมั่นในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย และมาเพื่อขอบคุณที่สู้เพื่อทุกคน

สุรพศ กล่าวด้วยว่า ทั้งตัวเองและกลุ่มนักวิชาการที่มาในวันนี้เห็นว่าไผ่ควรได้รับสิทธิประกันตัว เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่ผู้มีอำนาจรัฐจะคุมขังเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ ในขณะรัฐยืนยันกับประชาชนว่ากำลังเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตย

"ในความเห็นส่วนตัวผมและเพื่อนอาจารย์ทุกคนเห็นว่า ไผ่ควรได้รับสิทธิประกันตัว สังคมเราปฏิเสธประชาธิปไตยไม่ได้ เมื่อผู้มีอำนาจรัฐยืนยันว่าจะเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ประชาธิปไตย จึงไม่มีเหตุผลที่จะขังคุกเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและไม่เคยแสดงออกทางการเมืองหรือเคลื่อนไหวใดๆที่ขัดหลักเสรีภาพและหลักสันติวิธี ถ้ามองจากเป้าหมายว่าสังคมเราต้องเป็นประชาธิปไตยในอนาคตเราทุกฝ่ายควรภูมิใจที่มีเยาวชนที่สู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างสันติแบบไผ่ ดาวดิน" สุรพศ กล่าว

ทั้งนี้ไผ่ยังได้ฝากข้อความออกมาเพื่อสื่อสารกับคนข้างนอกด้วยว่า ถ้าสังคมเราปล่อยให้คนมีอำนาจใช้อำนาจ ทำอะไรเพื่อให้ถูกใจตัวเอง ความถูกต้องก็จะหายไปเรื่อยๆ

ประชาธิปไตยใหม่เขียนถึงไผ่ ระบุไม่ขอความเมตตาจากรัฐ แค่ขอให้ทำตามหลักการประชาธิปไตย

ขณะเดียวกันเฟซบุ๊กแฟนเพจ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ได้เผยแพร่บทความขนาดสั้น เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. โดยระบุว่า

“เพื่อนเรายังยิ้มอยู่ ยิ้มเหมือนในรูปที่เราเห็นกันอยู่ด้านล่างนี่แหละ แม้รูปจะหล่อกว่าตัวจริงไปนิด แต่รอยยิ้มแบบนี้แหละ ที่เราเห็นเขาล่าสุด ผ่านกระจกกั้นในห้องเยี่ยมญาติ

เข้าสู่วันที่ 5 หลังจากเขาถูกศาลสั่งเพิกถอนสัญญาปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยเหตุผลที่ว่า ไผ่ โพสต์เฟซบุ๊กเยาะเย้ย หรือเย้ยหยั่นอำนาจรัฐ และไม่ยอมลบโพสต์สเตตัสในเฟซบุ๊กที่แชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai ออกจากเฟซบุ๊ก

ไม่แน่ใจนักว่า โพสต์ เฟซบุ๊ก หลังจากที่เขาได้รับการประกันตัวทั้งหมดที่กลายเป็นประเด็นจะสั่นคลอนความมั่นคงของรัฐเผด็จการได้อย่างไร หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ผิดกฎหมายข้อไหน หรือเป็นได้หรือไม่ว่า โพสต์เหล่านั้นมันกวนใจผู้มีอำนาจมากเกินไป

พวกเขาคงอยากเห็นเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ยึดมั่นในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพคนหนึ่งสยบยอม และหยุดพูดในที่สุด นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ที่ครองอำนาจต้องการเห็น แต่เปล่าเลย อะไรที่เขาเชื่อว่ามันไม่ผิด เขาก็พร้อมยืนยันว่าสิ่งเหล่านั้นยังทำได้

ลึกๆ แล้วเชื่อว่าในใจคนอีกหลายคนก็มองเห็นว่าสิ่งที่เขาทำไม่เป็นการกระทำอะไรที่รุนแรงอะไรขนาดนั้น ไผ่ก็แค่พูดสิ่งเหล่านั้นแทนพวกเรา เท่านั้นเอง

เขาถามเราหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือคำถามที่ว่าคือ ข้างนอกเป็นอย่างไรบ้าง เราพูดกับเขาตามตรงว่า ค่อนข้างเงียบ แต่ล่าสุดเมื่อวันเสาร์มีคนนัดแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่ายังยืนเคียงข้างเขา โดยการไปยืนกินข้าวหลามที่หน้าหอศิลป์ เขายิ้ม และหัวเราะออกมาเบาๆ เพราะข้าวหลามมันอยู่ในกระบอกไม้ไผ่

ส่วนเรื่องข้างในเป็นอย่างไรบ้าง เขาบอกว่าปรับตัวได้ ก็คงจะจริงอย่างที่พูด เขาเป็นคนกินง่าย นอนง่าย เข้ากับคนง่าย คุยกับคนเก่ง ไม่แปลกหรอกหากจะมีเพื่อนผู้ต้องขังรักในความเป็นเพื่อนของเขา เหมือนกันกับที่พวกเราหลายคนรู้สึก

แม้การอยู่ข้างในจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขา แต่คำถามคือนั่นใช่ที่ที่คนหนุ่มอย่างเขาควรอยู่อย่างนั้นหรือ

เราไม่ได้เรียกร้องขอความเมตตาจากผู้มีอำนาจ หากจะมีการให้ประกันตัวเขาอีกครั้ง นั่นยอมเกิดจากการทำตามความถูกต้อง ผู้ต้องหาที่คดียังไม่มีสิ้นสุด เรายังถือว่าเขาคือผู้บริสุทธิ์ สิทธิในการประตัวเป็นเรื่องของความถูกต้องตามหลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่ความเมตตาจากผู้ครองอำนาจแต่อย่างใด

ขณะที่รัฐประกาศทุกเมื่อเชื่อวันว่ากำลังเปลี่ยนผ่านประเทศสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การคุมขังคนและเพิกถอนการประกันตัว ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการชวนเชื่อ

ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่เขาคุมขังเพื่อนเราไว้ข้างใน นอกเหนือไปจาก ความซะใจ

เพื่อนเอ้ย... ข้างในข้างนอกเจ็บปวดไม่ต่างกัน

ปณิธาน เมฆาวงษ์ 
26 ธ.ค. 2559

เรือนจำพิเศษประเทศไทย”

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีบุกบ้านพล.อ.เปรม เป็น 9 ม.ค.60

$
0
0

เลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดี นปช.บุกบ้าน “พล.อ.เปรม” ไป 9 ม.ค.2560 หลัง “วีระกานต์” ขอเลื่อนเหตุป่วยอยู่โรงพยาบาล


ที่มาภาพ: Banrasdr Photo


นพรุจ วรชิตวุฒิกุล

27 ธ.ค.2559 เว็บไซต์สำนักข่าวไทยศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีอัยการยื่นฟ้องนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล, นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน นายวันชัย นาพุทธา, นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำและแนวร่วมกลุ่ม นปช. รวม 7 คน ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และข้อหาอื่น กรณีวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 พวกจำเลยนำผู้ชุมนุมจากสนามหลวงไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพื่อเรียกร้องกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนายวีระกานต์, นายณัฐวุฒิ, นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง คนละ 4 ปี 4 เดือน ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปและเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่น ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่เจ้าพนักงาน ส่วนนายนพรุจ จำคุก 2 ปี 8 เดือน ฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ และให้ยกฟ้องนายวีระศักดิ์ และนายวันชัย จำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์

วันนี้นายณัฐวุฒิ, นพ.เหวง, นายวิภูแถลง และนายนพรุจ มาฟังคำพิพากษา ยกเว้นนายวีระกานต์ ที่ส่งทนายความมายื่นคำร้องและใบรับรองแพทย์ต่อศาลขอเลื่อนอ่านคำพิพากษา เนื่องจากนายวีระกานต์ มีอาการวิงเวียนศีรษะ และบ้านหมุน พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระราม 9 ศาลอาญาพิจารณาแล้วอนุญาตเลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นวันที่ 9 มกราคม 2560 เวลา 10.00 น.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำอธิบายนักกฎหมายกรณีถอนประกันไผ่ ดาวดิน “ไม่ถูกต้องชอบธรรม ไม่เป็นไปตามกรอบกฎหมาย”

$
0
0

จัดหนักกระบวนการยุติธรรม สัมภาษณ์ สาวตรี สุขศรี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ถึงหลักกฎหมายกับเหตุผลเรื่อง “การเยาะเย้ยเจ้าพนักงาน” และ “การเย้ยหยันอำนาจรัฐ” ว่ามีหลักการตีความอย่างไร ใช้เป็นเหตุได้หรือไม่ หน้ากากแอคชั่นผิดอย่างไร ไม่ลบโพสต์ที่เป็นเหตุแห่งคดีผิดตรงไหน ฯลฯ

หากต้องการอ่านบทสัมภาษณ์ทันที ไปที่ 6.

1.

จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน นักกิจกรรมแห่งภาคอีสานที่เคลื่อนไหวกับกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) เป็นที่รู้จักของสาธารณชนมายาวนานพอควร มีคดีติดตัวอยู่แล้ว 5 คดี คดีล่าสุดนั้นหนักหน่วงถึงขั้นเป็นข้อหาตามมาตรา 112 ด้วยพฤติการณ์แชร์รายงานพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 ของเว็บบีบีซีไทย โดยคัดลอกข้อความบางส่วนในชิ้นงานมาโพสต์ด้วย (อ่านที่นี่) จนปัจจุบันยังไม่มีข่าวการดำเนินคดีกับสำนักข่าวหรือผู้แชร์รายงานนี้รายอื่นๆ

พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่นร้องศาลขอฝากขังจตุภัทร์ผัดแรก 12 วันเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.จำเลยยื่นประกัน วางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 400,000 บาทพร้อมระบุเหตุผลเรื่องการไม่หลบหนีและต้องเข้าสอบในภาคเรียนสุดท้ายปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัย ศาลขอนแก่นอนุญาตให้ประกัน รายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ศาลขอนแก่นอนุญาตให้ประกันตัวโดยไม่มีเงื่อนไขใด

“ศาลพิจารณาคำร้องฯ แล้วจึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ และนัดหมายให้มารายงานตัวต่อศาลอีกครั้งในวันที่ 23 ม.ค.60”

2.

ผ่านมา 12 วัน วันที่ 16 ธ.ค. พนักงานสอบสวนยื่นศาลขอให้เพิกถอนการประกันตัวจตุภัทร์เนื่องจากมีการโพสต์เยาะเย้ยพนักงานสอบสวน คำร้องตำรวจระบุว่า

1.หลังจากผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว ผู้ต้องหามีความเคลื่อนไหวโดยแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์โดยพิมพ์ข้อความในเชิงเยาะเย้ยเจ้าพนักงาน กรณีตนได้รับประกันตัวเป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท และพิมพ์ข้อความว่า "เศรษฐกิจแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน"

2.ผู้ต้องหานี้เคยมีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีความมั่นคงมาหลายคดี

3.เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีร้ายแรง เนื่องจากเป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

4.กรณีมีเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากผู้ต้องหาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นศาลที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2559 ศาลอนุญาตแล้ว ผู้ต้องหายังมีการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์เรื่อยมา และอาจจะเป็นการยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หากรอถึงวันที่ 23 ม.ค.2560 อาจก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวข้างต้นจึงขอให้ศาลมีหมายเรียกนายประกันและผู้ต้องหามาสอบถามและขอให้เพิกถอนประกันตัวผู้ต้องหานี้ด้วย

3.

ศาลนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 22  ธ.ค. พนักงานสอบสวนหยิบยกอีกหลายเรื่องนอกเหนือจากข้อความเรื่องเงินประกันดังกล่าว ซึ่งอันที่จริง ข้อความเต็มของจตุภัทร์ที่โพสต์นั้นเขียนว่า “ตอนแรกก็อยากจะขอโทษเพื่อนประชามติทั้ง 3 คน เพราะคดีล่าสุดก็โดนไป 400,000 แต่ผมไม่ได้ผิดไง ผมไม่สามารถกระทำการขอโทษได้จริงๆ #เศรษฐกิจมันเเย่แม่งเอาเเต่เงินประกัน” โดยเนื้อหาและวันเวลาที่โพสต์ชัดเจนว่าเป็นคดีปิยรัฐ จงเทพและเพื่อนกรณีฉีกบัตรประชามติ ส่วนเรื่องที่นอกเหนือจากที่ระบุในคำร้องของตำรวจนั้น ทนายความจำเลยให้ข้อมูลว่า

“ประเด็นที่พนักงานสอบสวนยกมาให้ศาลพิจารณาประกอบด้วยการโพสต์สเตัสในเฟซบุ๊ก 3 สเตตัสคือ การถ่ายรูปกับเพื่อนที่มีลักษณะเยาะเย้ยหลังจากที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว โดยเป็นรูปซึ่งมีการทำลักษณะท่าทางคล้ายกับตัวละครที่ชื่อว่า "หน้ากากแอคขั่น" ในการ์ตูนเรื่องชินจัง ประเด็นต่อมาเกี่ยวข้องกับการโพสต์เรื่องที่ ผู้ต้องหา เดินทางไปแจ้งความกับสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น เนื่องจากวันที่ถูกควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดโทรศัพท์มือถือไป แต่ไม่ได้เขียนบันทึกไว้ในรายการของกลางที่ถูกยึด และได้ถ่ายรูปทำท่าทางในลักษณะเดิม และประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับการโพสต์เฟซบุ๊กของผู้ต้องหา ซึ่งกำลังรับประทานข้าวราดผัดกระเพราและระบุว่า ติดคุก กินข้าวฟรี ราคา 112 บาท” (อ่านที่นี่)

4.

ศาลขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวตามคำร้องของตำรวจ ทำให้จตุภัทร์ถูกนำตัวไปคุมขังไว้ที่เรือนจำจังหวัดขอนแก่นตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.จนกระทั่งปัจจุบัน

“พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลได้มีคำสั่งกำชับให้นายประกัน, ผู้ต้องหาให้มาศาลตามนัด ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ พยานหลักฐานในคดี หรือก่อความเสียหายใดๆ หลังปล่อยตัวชั่วคราว หากผิดนัด ผิดเงื่อนไข ศาลอาจถอนประกันและอาจไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอีก และภายหลังปล่อยตัวชั่วคราว ได้ความจากทางไต่สวนว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ในสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊กของผู้ต้องหา กับทั้งผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มจะกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีก ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มีอายุ 25 ปี ย่อมรู้ดีว่า การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวข้างต้นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาล จึงฟังได้ความตามคำร้องว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายภายหลังการปล่อยตัวชั่วคราว ประกอบกับนายประกันผู้ต้องหาไม่ได้กำชับหรือดูแลให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลที่มีคำสั่ง จนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว จึงให้เพิกถอนสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา หมายขังผู้ต้องหา ตรวจคืนหลักประกันให้นายประกัน” (อ่านที่นี่)

5.

ต่อมาทนายความจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 จังหวัดขอนแก่น และวันที่ 27 ธ.ค. ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งว่าคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นชอบแล้ว

“พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับตามทางไต่สวนของศาลชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ในสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊กของผู้ต้องหา กับทั้งผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีก หากปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาอาจไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวในระหว่างสอบสวน คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง”

6.

สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอาญาให้สัมภาษณ์ถึงคำถามที่ถูกพูดถึงมากในโซเชียลมีเดีย หลักในการประกันตัวเป็นเช่นไร และคิดเห็นอย่างไรต่อเรื่องนี้

ตามหลักกฎหมาย การถอนประกันจำเลยมีหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
เรื่องนี้เบื้องต้นควรทราบก่อนว่า ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) ในคดีอาญานั้น ก็คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหมวด 3 “ปล่อยตัวชั่วคราว” มาตรา 106-119 ทวิ อย่างไรก็ตาม ในบทบัญญัติต่างๆ ดังกล่าวนี้ ไม่มีมาตราใดเลยที่กำหนดหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขในการที่ศาลจะสั่งเพิกถอนประกันเอาไว้ (มีแต่มาตรา 116 ที่กำหนดเรื่องที่นายประกันมาขอถอนสัญญาประกัน หรือถอนหลักประกันเอง) ที่ผ่านมา ที่เราเห็นว่ามีกรณีที่ศาลสั่งเพิกถอนการประกันตัวนั้น เกิดขึ้นจากแนวทางปฏิบัติของศาล และเป็นผลพวงมาจากที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอนุญาตให้ศาลสามารถ “กำหนดเงื่อนไข” การให้ประกันตัวได้ (มาตรา 108 วรรคท้าย)
 

มาตรา 108 วรรคท้าย 
         ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ หรือในกรณีที่ผู้นั้นยินยอมจะสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวก็ได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ แม้ผู้นั้นยินยอม จะสั่งให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได้ต่อเมื่อผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อบุคคลอื่นอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุสมควรประการอื่น 

 

และเพื่อให้แนวทางปฏิบัติของศาลชัดเจน ประธานศาลฎีกาได้ออกระเบียบมาตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการให้ประกันตัว คือ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลากาลศาลยุติธรรมว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2548 โดย ข้อ 8 ของระเบียบนี้มีสาระสำคัญว่า ในการอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นศาลสามารถกำหนดเงื่อนไขได้ และหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนนั้น ก็ให้ศาลพิจารณาเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ มันมีอยู่เท่านี้จริงๆ ดังนั้น จากที่ถามว่าการถอนประกันจำเลยมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง จึงต้องตอบกันตรงๆ ว่าหลักเกณฑ์ชัดๆ ไม่มี ทุกวันนี้ ศาลจะถอนได้หรือไม่ได้จึงขึ้นอยู่กับว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยฝ่าฝืน หรือละเมิด “เงื่อนไข” ที่ศาลกำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น
 

ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลากาลศาลยุติธรรมว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2548
ข้อ ๘ ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวก็ได้ เช่น ให้รายงานตัวต่อเจ้าพนักงานหรือบุคคลตามที่ศาลเห็นสมควร วางข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่อยู่อาศัยหรือการเดินทางออกไปนอกสถานที่อยู่อาศัย วางข้อจำกัดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือการงานบางอย่าง หรือวางข้อจำกัดเกี่ยวกับการเข้าไปในสถานที่บางแห่งที่อาจก่อให้เกิดการกระทำความผิดอีก เป็นต้น และหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นศาลพิจารณาเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้

 

คำถามจึงอาจมีต่อไปว่า แล้วมันมีหลักเกณฑ์หรือขอบเขตไหมว่า ศาลสามารถกำหนดเงื่อนไขในเรื่องอะไรได้บ้างเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยปฏิบัติในระหว่างประกันตัว ถ้าเป็นคำถามนี้ หากเราดูในมาตรา 108 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ ป.วิอาญา ประกอบกับ ข้อ 8 ของระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการฯ อาจพอสรุปเงื่อนไขที่ศาลจะกำหนดได้ออกมา 3 ประเภท คือ

1) เงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ได้ประกันตัว
2) เงื่อนไขเพื่อป้องกันการหลบหนี และ
3) เงื่อนไขเพื่อป้องกันอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราว

ยกตัวอย่างเช่น กำหนดให้ต้องการรายงานตัว กำหนดสถานที่อยู่อาศัยและการเดินทางออกนอกที่อยู่อาศัย เกี่ยวกับอาชีพการงานบางอย่าง หรือการเข้าไปในสถานที่บางแห่ง เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายศาลจะกำหนดอะไรบ้างก็คงต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับคดีที่ฟ้อง ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยเองและอื่นๆ แต่หลายๆ กรณี สำหรับผู้พิพากษาที่ดีที่ไม่ใช้ดุลพินิจในเรื่องนี้เกินเลยไปก็มักจะกำหนดเงื่อนไขโดยยึดโยงอยู่กับ “เหตุผลในการไม่ให้ประกันตัว” ตามมาตรา 108/1 ป.วิอาญา ด้วย ซึ่งก็คือเพื่อป้องกันไม่ให้หลบหนี, ไม่ให้ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไม่ให้ไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นๆ ขึ้นอีกอันจะเป็นการกระทบต่อกระบวนการสอบสวนหรือดำเนินคดี

เหตุผลในการถอนประกันที่ว่า “เป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ” ถูกประชาชนทั่วไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก มีหลักการนี้ในกฎหมายหรือไม่ หากมีมันคืออะไร มีเกณฑ์การตีความอย่างไร ทำไมจึงต้องห้ามการเย้ยหยัน?
จากที่อธิบายถึงลักษณะ ขอบเขต และประเภทของเงื่อนไขที่ศาลกำหนดได้ในการให้ประกันตัวไปแล้ว ก็ค่อนข้างชัดเจนว่า “การเย้ยหยันอำนาจรัฐ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ไม่ได้เข้าข่ายหรือถูกกำหนดว่าเป็นความผิดตามกฎหมายใดๆ ย่อมไม่อยู่ในเหตุผลที่ศาลจะเพิกถอนการประกันตัวได้ และอย่าว่าแต่เพิกถอนไม่ได้ แม้แต่จะใช้เหตุผลนี้เพื่อกำหนดเป็น “เงื่อนไขการให้ประกันตัว” ศาลยังทำไม่ได้(หรือไม่ควรทำได้) เนื่องจากมันไม่ได้เกี่ยวกับการป้องกันการหลบหนี การยุ่งเหยิงกับพยาน หรือการก่อเหตุอันอันตรายประการอื่นๆ ฯลฯ

คิดอย่างไรกับพฤติการณ์ของจตุภัทร์ที่ตำรวจขอนแก่นเบิกความในการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการประกันตัวว่า เป็นการเย้ยหยันเยาะเย้ย เช่น การโพสต์ภาพทำท่าหน้ากากแอคชั่นร่วมกับเพื่อน และพฤติการณ์ดังกล่าวทนายอ้างว่าไม่ได้อยู่ในคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวด้วยจุดนี้เป็นประเด็นในทางกฎหมายหรือไม่?
ถ้าดูจากคำร้องของตำรวจขอนแก่น ข้อ 1 ที่ว่าเป็นการเย้ยหยันหรือเยาะเย้ยรัฐนั้น (คำร้องเพิกถอนประกันของตำรวจ ข้อ 1.หลังจากผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว ผู้ต้องหามีความเคลื่อนไหวโดยแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์โดยพิมพ์ข้อความในเชิงเยาะเย้ยเจ้าพนักงาน กรณีตนได้รับประกันตัวเป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท และพิมพ์ข้อความว่า "เศรษฐกิจแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน") ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุใดๆ ในทางกฎหมาย หรืออ้างเพื่อให้ศาลเพิกถอนประกันได้เลย การอ้างเรื่องนี้ของตำรวจจึงค่อนข้างเป็นเรื่องนอกกรอบของกฎหมาย และนอกจากนี้ หากเราพิจารณากันให้ดีๆ ศาลในคดีนี้เองก็ไม่ได้ตั้ง “เงื่อนไข” ว่าห้ามผู้ต้องหาเย้ยหยันหรือเสียดสีอำนาจรัฐด้วย (ซึ่งก็ไม่ควรตั้งได้อยู่แล้ว เพราะมันไม่เกี่ยวกับการให้หรือไม่ให้ประกันตัวเลย) จนจะทำให้ผู้ต้องหาถูกเพิกถอนประกันเพราะฝ่าฝืนเงื่อนไขของศาลได้

นอกจากนี้ ในข้ออ้างของตำรวจข้อ 2, 3 ที่อ้างเรื่องประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และคดีนี้เป็นคดีร้ายแรง (คำร้องเพิกถอนประกันของตำรวจ ข้อ 2 ผู้ต้องหานี้เคยมีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีความมั่นคงมาหลายคดีข้อ 3.เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีร้ายแรง เนื่องจากเป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112)  เรื่องนี้ก็ไม่สามารถนำมาขอให้เพิกถอนประกันได้เช่นกัน เพราะเหตุที่จะถอนประกันได้ ต้องเป็นเรื่องของการ “ฝ่าฝืน หรือละเมิดเงื่อนไข” ที่ศาลกำหนดไว้ หรือเต็มที่ก็เป็นการกระทบต่อหลักการให้ประกันตัวได้ตาม ป.วิอาญา 108

ในส่วนของข้อ 4 ที่ว่าการแสดงความคิดเห็นของผู้ต้องหาเป็นการ “ยุ่งเหยิงกับพยาน” หรือ “จะเกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น” (คำร้องเพิกถอนประกันของตำรวจ ข้อ 4. เนื่องจากผู้ต้องหาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นศาลที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2559 ศาลอนุญาตแล้ว ผู้ต้องหายังมีการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์เรื่อยมา และอาจจะเป็นการยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หากรอถึงวันที่ 23 ม.ค.2560 อาจก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น) การอ้างเช่นนั้นเป็นการใช้ข้ออ้างที่เลื่อนลอย ไม่มีพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องมาประกอบ และไม่สมเหตุสมผลเลยสักนิด เพราะการที่ผู้ต้องหายังคงเล่นอินเทอร์เน็ตหรือโพสต์ความคิดเห็นต่างๆ ของตนในเฟสบุ๊กของตนจะเป็นการ “ยุ่งเหยิงกับพยาน” ได้ยังไง

โดยสรุปถ้าถามความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่า การขอเพิกถอนของตำรวจ รวมทั้งการอนุญาตตามคำขอโดยศาลด้วยเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม และทั้งไม่เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย การกระทำเช่นนี้ย่อมกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าเหตุ ทั้งเสรีภาพในชีวิตร่างกายและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และหากชัดเจนด้วยว่า การกระทำต่างๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐนี้มีเจตนาเพื่อกลั่นแกล้งผู้ต้องหาก็อาจจะเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในทางมิชอบเป็นความผิดตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาด้วย  

สำหรับคำถามที่ว่า พฤติการณ์ต่างๆ ตามที่ทนายความอ้างว่าไม่ได้อยู่ในคำร้องนั้นเป็นประเด็นทางกฎหมายหรือไม่ โดยส่วนตัวเห็นว่าไม่เป็นประเด็นทางกฎหมาย เนื่องจากหากเรายืนยันแล้วว่า “การเย้ยหยันอำนาจรัฐ” ไม่สามารถเป็นเหตุผลทางกฎหมาย ในการที่ศาลจะสั่งเพิกถอนประกันของผู้ต้องหาได้อยู่แล้ว พฤติการณ์ต่างๆ (แสดงท่าทาง ฯลฯ) ซึ่งสื่อได้แค่ว่าผู้ต้องหาอาจจะเย้ยหยันอำนาจรัฐจริงๆ (?) ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ในสำนวนคำร้องขอของตำรวจหรือไม่จึงไม่ใช่สาระสำคัญ

ในคำร้องเพิกถอนการประกันตัวของตำรวจระบุถึงการโพสต์ข้อความว่า “เศรษฐกิจแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน” กรณีนี้จำเลยระบุว่าโพสต์ถึงคดีของนักกิจกรรมอีกคนหนึ่ง แต่กระนั้นแม้ไม่พิจารณาว่าโพสต์ถึงคดีใด ข้อความเช่นนี้เป็นเหตุแห่งการเพิกถอนประกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?
โดยส่วนตัวเห็นว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นเหตุแห่งการถอนประกันตัวได้ค เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้วว่า

1) ศาลไม่ได้กำหนดห้ามกล่าวอะไรแบบนี้ หรือกระทั่งการเย้ยหยันอำนาจรัฐ การวิพากษ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ฯลฯ ไว้ในเงื่อนไขการให้ประกันตัว ดังนั้น ประเด็นนี้ย่อมชัดเจนว่าผู้ต้องหาไม่ได้ “ฝ่าฝืน หรือผิดเงื่อนไขการให้ประกันตัว” และทั้งถ้อยคำเพียงเท่านี้ ไม่ได้สร้างความเสียหายหรืออันตรายใดๆ ที่ชัดเจนจนสามารถเพิกถอนประกันได้

2) การกล่าววิพากษ์วิจารณ์ระบบเศรษฐกิจก็ดี วิพากษ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับการเรียกเงินประกัน หรือหลักประกันใดๆ ในคดีอาญาก็ดี ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายใดๆ และทั้งไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ที่ระบุเจาะจงตัวได้ ที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” ใครได้ด้วย ตรงกันข้ามการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจรัฐ ถือเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ยิ่งปัญหาเรื่องนี้ด้วย หากใครติดตามอยู่บ้างจะพบว่าการที่รัฐ “เอาแต่เรียกประกัน” และเรียกประกันสูงๆ ด้วยจากผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือการใช้ดุลพินิจของศาลในการเรียกประกันก็ขาดความชัดเจน ไม่แน่นอน และเอาแต่พิจารณาจากความหนักเบาแห่งข้อหา โดยให้ความสนใจเงื่อนไขอื่นๆ น้อยกว่า นับเป็นปัญหาในกระบวนการยุติธรรมไทยมาโดยตลอด ทำให้เกิดปัญหาการอำนวยความยุติธรรมที่เหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวย จนหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องค้นคว้าทำวิจัย เพื่อหาทางแก้ปัญหาอยู่เนืองๆ ดังนั้น การที่ประชาชนสักคนหนึ่งไม่เฉพาะแต่ผู้ต้องหาในคดีนี้จะรู้สึกไม่ดีหรือเห็นการเอาแต่เรียกประกันเป็นปัญหาของประเทศไทยจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดบาปอะไร จนกลายเป็นเหตุผลในการเพิกถอนประกันตัวได้

กรณีนี้จตุภัทร์จะถูกขังอยู่ 1 ผัดและจะต้องพิจารณากันใหม่ในผัดต่อไปใช่หรือไม่?
ใช่ ตามสิทธิแล้วก็ขอประกันตัวรอบใหม่ได้

ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ระบุว่าจำเลยไม่ได้ลบโพสต์ที่เป็นเหตุแห่งคดี แต่เรื่องนี้ไม่อยู่ในเงื่อนไขการประกันตัวเช่นกัน ขณะที่หลายคนก็ตั้งข้อสงสัยต่อเหตุผลนี้ว่า หากจำเลยทำการลบโพสต์จะถือเป็นการทำลายหรือยุ่งเหยิงพยานหลักฐานหรือไม่ มองเรื่องนี้อย่างไร?
มันไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขเช่นกัน หากศาลเห็นว่าควรลบก็สามารถกำหนดในเงื่อนไขได้ แต่ก็ไม่ได้ทำ มันเป็นไปได้ด้วยว่า ศาลเองก็ยังไม่ขัดเจน หรือตัดสินว่าบทความดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดหรือไม่ จึงไม่ไดด้สั่งเช่นนั้น

สำหรับประเด็นยุ่งเหยิงกับพยานนั้น ยิ่งไม่สมเหตุสมผลเลย เพราะหากศาลเห็นว่า บทความเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนั้น เมื่อผู้ต้องหาไม่ได้ลบทิ้งหรือแตะต้องมัน ก็ยิ่งชัดเจนว่า ผู้ต้องหาไม่ได้เข้าไปยุ่งเหยิงกับพยาน ดังนั้น การอ้างเรื่องนี้จึงดูกลับหัวกลับหางมากๆ

นอกเหนือจากประเด็นที่ได้ถามไป อยากขอความเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพรวมในเรื่องการเพิกถอนประกันครั้งนี้?
ในฐานะนักกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกฎหมายอาญารวมทั้งวิธีพิจารณาความอาญาด้วย เห็นว่าเหตุการณ์นี้ไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการยุติธรรมไทยเลย มันทำให้ประชาชนที่เขาติดตามข่าวสารนี้อยู่ยิ่งหมดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมลงไปอีก กลายเป็นว่าโดยตัวกฎหมายเองก็พอมีหลักเกณฑ์ หลักการ หรือขอบเขตการใช้อำนาจอยู่ตามสมควร แต่ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ได้นำพาหรือใส่ใจต่อหลักการเหล่านั้นเลย อยากใช้เหตุอะไรก็ใช้ อยากอ้างเหตุอะไรก็อ้าง หลายๆ อย่างอาจทำให้ประชาชนเข้าใจไปได้ด้วยว่าเป็นเรื่องกลั่นแกล้งหรือกระทำตามอำเภอใจ ไม่มีหลักการและเหตุผลรอบรับ ทั้งเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว ไม่กล้าแสดงความเห็น ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ “อำนาจรัฐ” ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ “นามธรรม” มากๆ กลับกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเจ้าของประเทศแตะต้องไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่เป็นผลดีต่อใครเลย ไม่ว่าจะเป็นต่อตำรวจ ต่อผู้พิพากษา ต่อศาล หรือกระทั่งต่อกระบวนการยุติธรรม หรือต่อประเทศเอง ...ถ้านานาอารยประเทศเขารู้ว่าผู้ต้องหาในประเทศไทยอาจถูกเพิกถอนประกันตัวได้ เพราะเยาะเย้ยอำนาจรัฐ คงหัวเราะกันแบบขื่นๆ

ขอถามเลยไปถึงเหตุแห่งคดีว่า การแชร์รายงานของบีบีซี โดยก็อบปี้เนื้อหาในรายงานไปโพสต์ประกอบการแชร์ด้วย ถือเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือไม่?
เรื่องนี้จะตอบได้คงต้องพิจารณาไปที่ “เนื้อหา” ของ รายงานของบีบีซีก่อน ซึ่งโดยส่วนตัวยังเห็นว่า “ถกเถียง” กันได้อยู่ว่าเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 หรือไม่ ถ้าตีความว่าเข้าข่าย การแชร์ข้อมูลนั้นมารวมทั้งการก็อปปี้เนื้อหามาโพสต์เองด้วยก็เป็นความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์อยู่ เนื่องจากมีลักษณะของการ “เผยแพร่” ต่อ หรือ “นำเข้าสู่ระบบคอมฯ” ซึ่งเนื้อหาที่เป็นความผิดต่อความมั่นคง มาตรา 14 (3) พ.ร.บ. คอมฯ (ทั้งฉบับปัจจุบัน และฉบับที่กำลังจะใช้) แต่ถ้าตีความว่าเนื้อหาของต้นฉบับ คือ BBC ไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 ตั้งแต่ต้น การแชร์ย่อมไม่มีความผิดอะไรได้อยู่แล้ว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ไฟเขียวกม.ป้องกัน-ปราบปรามการทรมาน การกระทำให้บุคคลสูญหาย เข้า สนช.

$
0
0

27 ธ.ค. 2559 รายงานข่าวจากเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า วันนี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ต่อไป

โดย เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ได้สรุปสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ว่า 1. แก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย 2. แก้ไขเพิ่มเติมชื่อร่างพระราชบัญญัติ จากเดิม ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. …. เป็น “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ….”
 
3. แก้ไขเพิ่มเติมวันใช้บังคับ เป็น “ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” 4. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “การทรมาน” “การกระทำให้บุคคลสูญหาย” “เจ้าหน้าที่ของรัฐ”  และ “คณะกรรมการ” และเพิ่มบทนิยามคำว่า “ผู้ได้รับความเสียหาย” 5. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกำหนดความผิดฐานกระทำทรมาน ความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย บทบัญญัติความรับผิดของผู้บังคับบัญชา โดยแยกส่วนของอัตราโทษไปบัญญัติไว้ในหมวด 5 บทกำหนดโทษ
 
6. เพิ่มบทบัญญัติโดยขยายหลักการในเรื่องผู้เสียหายกรณีบุคคล ผู้ถูกกระทำให้สูญหาย เพื่อให้สามี ภริยา ผู้บุพการี และผู้สืบสันดานของผู้ได้รับความเสียหายสามารถเข้ามาต่อสู้คดี 7. ตัดบทบัญญัติเรื่องการกำหนดอายุความยี่สิบปี และเรื่องห้ามนำคำให้การที่ได้จากการทรมานและการบังคับบุคคลสูญหายมาใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีออก
 
8. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การแต่งตั้งและการพ้นจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยให้เป็นผู้กำหนดนโยบายและแผนงานในการป้องกันและปราบปรามการทรมาน การกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมทั้งกำหนดมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้ได้รับความเสียหาย ตลอดจนมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการปกปิดการควบคุมตัวบุคคล
 
10. เพิ่มบทบัญญัติเพื่อกำหนดให้คดีความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และหากเจ้าหน้าที่ของรัฐในกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นผู้มีอำนาจสืบสวนสอบสวน และให้นำบทบัญญัติในหมวด 3 การสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และ 11. แก้ไขเพิ่มเติมให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

งัด ม.44 แก้ไขปัญหาช่วงเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง - ตั้ง 19 กก.เตรียมการปฏิรูป

$
0
0

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

27 ธ.ค. 2559 เมื่อเวลา 14.10 น. ณ บริเวณห้องโถงตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า วันนี้รัฐบาลได้เป็นห่วงความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่าเรื่องของการเมืองที่คาดเดาได้ยาก สำหรับผู้ที่มีความคิดต่างจากรัฐบาล ควรมีความคิดที่จะทำเพื่อประเทศชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และควรเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยรัฐบาลพร้อมที่จะดำเนินการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของคนในประเทศเป็นหลัก

สำหรับการดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนในช่วงปีใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติพร้อมหน่วยงานต่าง ๆ ได้เตรียมความพร้อมวางมาตรการดูแลพี่น้องประชาชนไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้สั่งการย้ำให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาให้บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่สงบมากที่สุด และไม่ให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น อีกทั้งขอความร่วมมือไปยังภาคเอกชน และประชาชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง รวมถึงแจ้งเตือนการก่อความรุนแรง พร้อมงดดื่มสุราในขณะขับขี่ยานพาหนะ ซึ่งอย่าฝากความหวังให้เจ้าหน้าที่ดูแลเพียงอย่างเดียว ประชาชนต้องระมัดระวังอุบัติเหตุด้วย เพราะไม่มีใครดูแลตัวเราได้ดีกว่าตัวเราเอง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า วันหยุดในช่วงปีใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2559 - 3 ม.ค. 2560 ไม่ใช่เริ่มตั้งแต่ วันที่ 30 ธ.ค.

พร้อมกล่าวอวยพรเนื่องในโอกาสปีใหม่ว่า ขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคน ได้รับพรจากอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย พร้อมเดชะพระบารมีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ได้ทรงปกป้องคุ้มครองให้ประชาชนคนไทยทั้งหมด รวมไปถึงชาวต่างประเทศที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ให้มีความสุขความเจริญทั้งในเรื่องหน้าที่การงานและในเรื่องส่วนตัวตลอดไป

งัด ม.44 แก้ไขปัญหาช่วงเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสายสีม่วง

สำหรับการใช้ มาตรา 44 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเพียงการทำงานเสริมกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และเพื่อเร่งการทำงานที่ติดขัดกับกฎหมาย ทั้งในเรื่องการแก้ไขกฎหมาย อย. เพื่อให้สามารถผลิตยาสมุนไพรพื้นบ้าน โดยการนำไปสู่การวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะทำให้พี่น้องชาวไทยมียารักษาโรคในราคาถูกได้ รวมถึงใช้มาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาช่วงเชื่อมต่อของรถไฟสายสีม่วงให้แล้วเสร็จในปลายปี 2560  ซึ่งรัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวกับผลประโยชน์แต่อย่างใด

คดีธรรมกาย บังคับใช้กฎหมายโดยเลี่ยงความรุนแรง

ส่วนคดีวัดพระธรรมกาย พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงว่า กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลกำลังเร่งควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบ ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินการดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมและ DSI ได้ดำเนินการตามขั้นตอนไปเรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น ขณะนี้เป็นการรอการดำเนินการในการบังคับใช้กฎหมายโดยหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงจากการปะทะกัน
 
สำหรับการตั้งคณะกรรมการปฎิรูป พล.อ.ประยุทธ์  กล่าวย้ำว่า เป็นคณะกรรมการที่รวบรวมนโยบายและผลงานการดำเนินงานที่ที่ผ่านมาให้เกิดความชัดเจน เพื่อการปฏิรูป โดยนำแม่น้ำ 5 สาย ร่วมกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี เร่งดำเนินการให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด และที่สำคัญจะเป็นแนวทางให้กับรัฐบาลในชุดต่อไป

สรรเสริญ แจงนายกฯ ไม่อยากให้มองว่าเอื้อประโยชน์กับเอกชน

ขณะที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 จำนวน 3 ฉบับ คือ1.คำสั่งการดำเนินการเดินรถระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-เตาปูนระยะทาง 1 กิโลเมตร โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เป็นผู้ว่าจ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินการ ในลักษณะของการจ้างโดยรัฐเป็นผู้ลงทุน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงไม่อยากให้มองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์กับเอกชน แต่อยากให้บริษัทที่ลงทุนเดิมมาเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในการเสียค่าใช้จ่ายเดินทางราคาถูก
 
“นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วง ไม่อยากให้มองว่า เป็นการเอื้อประโยชน์กับเอกชน แต่อยากให้บริษัทที่ลงทุนเดิมมาเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ในการเสียค่าใช้จ่ายเดินทางราคาถูก” พล.ท.สรรเสริญ กล่าว

ม.44 ตั้งคณะเตรียมปฎิรูป 19 คน

“2.คำสั่งมาตรา44 เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฎิรูปประเทศจำนวน 19 คน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีทุกคนและรัฐมนตรีอีกจำนวน 2 คน รวมถึงประธานและรองประธานสนช. ประธานและรองประธานสปท. เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ เลขาธิการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีหน้าที่คัดกรองจัดระเบียบเรื่องการปฎิรูปที่แต่ละหน่วยงานเสนอมาว่าเรื่องใดเป็นเรื่องเร่งด่วน ควรทำก่อนหรือหลัง และจะตั้งคณะอนุกรรมการติดตามงานด้วย” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

ขับเคลื่อนการขออนุมัติสินค้าที่ต้องได้รับการอนุญาตจาก อย.

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า ส่วนคำสั่งที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการขออนุมัติสินค้าที่ต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานองค์การอาหารและยา(อย.) ที่จะกำหนดการจัดเก็บเงินพิเศษเพิ่มเติมในการให้บริการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการความรวดเร็วในการขออนุมัติ โดยค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นจะนำไปจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลกระบวนการตรวจสอบ เพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของอย.มีไม่เพียงพอ ทำให้การขออนุมัติเกิดความล่าช้า
 
ที่มา เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลสำนักข่าวไทย 1และ 2
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images