Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

ปม 'กม.ลูก พรรคการเมือง' 2 พรรคใหญ่รุมอัด ติงขัดเจตนารมณ์รธน. ชี้พรรคทางเลือกเกิดยาก

$
0
0

'คณิน เพื่อไทย' ชี้ บทกำหนดโทษรุนแรงสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต ขัดต่อเจตนารมณ์ของรธน. ทำให้สมาชิกพรรคการเมืองกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง ตั้งคำถามกรธ.เจตนาสร้างพรรคการเมืองหรือทำลาย  'องอาจ' หวัง กรธ. ฟังข้อทวงติ่งเพื่อแก้ไขให้ได้รับการยอมรับ ชี้พรรคทางเลือกเกิดยาก 

12 ธ.ค. 2559 ภายหลังจากที่ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้เผยแพร่ร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (พ.ร.บ.พรรคการเมือง) ซึ่งประกอบด้วย 10 หมวด 129 มาตรา โดย อุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการธิการร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่า เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง มุ่งให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ประชาชนควรเป็นเจ้าของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังคงเป็นเพียงร่างกฎหมายที่ต้องรอการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และยังสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดย กรธ. เตรียมจัดเวทีชี้แจงเนื้อหาร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากนักการเมือง และพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในวันที่ 14 ธ.ค. 2559

จากนั้นได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่องจากฝ่านการเมืองต่างๆ ล่าสุดวันนี้ ตัวแทน 2 พรรคใหญ่ คือ คณิน บุญสุวรรณ ประธานคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทย และองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

เพื่อไทยติงขัดเจตนารมณ์รธน.

โดย คณิน กล่าวถึงร่างฯ ดังกล่าวที่เผยแพร่ เพื่อประกอบการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวว่า หลักการและสาระสำคัญส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 ที่บัญญัติให้การร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการบัญญัติในกฎหมายลูกที่กำหนดให้ต้องขออนุญาตต่อนายทะเบียน คือ เลขาธิการกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง

“ทั้งยังมีกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งบทกำหนดโทษรุนแรงสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต นอกจากจะขัดต่อเจตนารมณ์ของร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการลดฐานะของสมาชิกพรรคการเมือง ให้เป็นเสมือนพลเมืองชั้นสองอีกด้วย เพราะทันทีที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากจะต้องเสียค่าบำรุงพรรคทุกปีแล้ว หากเป็นผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นทุนประเดิมคนละ 2,000 – 500,000 บาท และยังต้องเสียสิทธิทางการเมืองหลายอย่างด้วย เช่น หากจะสมัครหรือเกี่ยวข้องกับการเลือกส.ว.จะไม่สามารถยุ่งเกี่ยวกับตำแหน่งทางการเมืองได้ และไม่สามารถสมัครเป็นองค์กรอิสระหรือศาลรัฐธรรมนูญได้ ที่ไม่มีข้อห้ามอยู่เรื่องเดียวคือการเลือกตั้ง ส.ส. และสมัคร ส.ส.” คณิน กล่าว
 
นายคณิน กล่าวว่า ร่างกฎหมายลูกนี้ บังคับให้ผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องจ่ายค่าธรรมเนียมบำรุงพรรคและหากผู้ใดไม่ชำระค่าบำรุงพรรคเป็นเวลาสองปีติดต่อกันต้องสิ้นสภาพสมาชิก ข้อนี้ถือว่าขัดต่อหลักเสรีภาพของประชาชน และเท่ากับเป็นการกีดกันคนยากจนและคนที่มีรายได้น้อย ไม่ให้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ส่วนคนมีฐานะดี แต่หากรู้ว่าเป็นสมาชิกพรรคแล้วต้องลำบากเช่นนี้ คงไม่มีใครอยากเป็นสมาชิกพรรคการเมือง จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้วกรธ.จะสร้างพรรคการเมืองหรือทำลายพรรคการเมือง
 
“การที่มาตรา 32 กำหนดให้พรรคที่ตั้งใหม่ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คน ภายใน 1 ปี มีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา แต่ละสาขาต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 500 คน และต้องเพิ่มสมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนภายใน 4 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนนั้น ขัดแย้งกับสิ่งที่กรธ. กล่าวมาตลอดว่า ไม่อยากเห็นนายทุนครอบงำพรรค และอยากให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นตรงกันข้ามมากกว่า” คณิน กล่าว

'องอาจ ปชป.' ชี้พรรคทางเลือกเกิดยาก 

ขณะที่กรณีที่มีการพิพากษ์วิจารณ์ท้วงติงเนื้อหาบางส่วนของร่างฯ ดังกล่าวเป็นการท้วงติงเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองและทำเพื่อตัวเอง องอาจ กล่าวว่า การวิพากษ์วิจารณ์ท้วงติงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ไม่ใช่ทำเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์แต่อย่างใด หลายเรื่องที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกพรรคคนอื่นๆท้วงติงนั้น ถ้ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณาให้ถ่องแท้ก็จะเห็นว่าเป็นการท้วงติงด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่ได้ติเรือทั้งโกลนแต่อย่างใด
 
องอาจ กล่าวด้วยว่าเราก็อยากเห็นกฎหมายพรรคการเมืองมีส่วนทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ถูกครอบงำ หรือ ชี้นำ โดยบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และ นายทุนพรรค รวมทั้งการเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญก็ควรคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติด้วย จึงอยากฝากให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญคำนึงแนวทางในการร่างกฎหมายพรรคการเมือง 4 ประการ คือ 1.คำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ 2. ระมัดระวังการสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาแทนปัญหาเก่า 3. ระมัดระวังเรื่องการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ 4. ส่งเสริมการสร้างพรรคมวลชนเชิงอุดมการณ์ โดย เชื่อมั่นถ้ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญคำนึง ถึงแนวทาง 4 ประการนี้ด้วย จะช่วยทำให้ร่างกฎหมายพรรคการเมืองมีความสมบูรณ์มากขึ้น 
.
องอาจ กล่าวต่อไปถึงการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีข้อจำกัดมากขึ้น และมีเงื่อนไขทางการเงินเพิ่มมากขึ้นว่าอาจมีส่วนทำให้คนที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ที่อยากตั้งพรรคทางเลือก เช่น พรรคกรีน พรรคสิ่งแวดล้อม พรรคคุ้มครองผู้บริโภค มีโอกาสตั้งพรรคยากขึ้น เพราะต้องใช้คนเริ่มต้นตั้งพรรค 500 คน ต้องหาสมาชิกให้ได้ 500 คนภายใน 1ปี และต้องเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คนภายใน 4 ปี ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์คงไม่มีปัญหาอะไรถ้ากฎหมายออกมาจริงเราน่าจะปฏิบัติได้แต่พรรคทางเลือกคงเกิดยากจึงอยากฝากให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งด้วย จึงหวังว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆเพื่อปรับแก้ไขกฎหมายพรรคการเมืองให้ได้รับการยอมรับเมื่อบังคับใช้ต่อไป

 

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทยและเพจ Democrat Party, Thailand

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

110 ภาคีองค์กรประชาสังคมต่างชาติร่อน จม.เปิดผนึกถึงประยุทธ์ ห่วงคำพิพากษากรณีอานดี้ ฮอลล์

$
0
0

110 ภาคีกลุ่มประชาสังคมระหว่างประเทศ ห่วงคำพิพากษากรณีอานดี้ ฮอลล์ ขวางการตรวจสอบ ทำแรงงานถูกกดขี่ เรียกร้องไทยถอนความผิดอาญาในกฎหมายหมิ่นประมาท แก้ พ.ร.บ.คอมฯ ให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเสรีภาพการแสดงออก


แฟ้มภาพ 20 ก.ย. 2559

12 ธ.ค. 2559 เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันสิทธิมนุษยชนสากล 110 ภาคีกลุ่มประชาสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแรงงาน ด้านการพัฒนา และด้านสิ่งแวดล้อม, กลุ่มประชาสังคมระดับประเทศ และกลุ่มผู้ประกอบการ อาทิ สมาชิกรัฐสภายุโรป, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, ฮิวแมนไรท์วอทช์, ฟินน์วอทช์, กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, สมาพันธ์ผู้สื่อข่าวระหว่างประเทศ (IFJ) เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องการพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ในความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

จดหมายเปิดผนึกดังกล่าว แสดงความกังวลต่อกรณีศาลไทยพิพากษาให้ อานดี้ ฮอลล์ นักสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ มีความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ สืบเนื่องจากงานวิจัยที่อานดี้จัดทำข้อมูลดิบให้กับองค์กรฟินน์วอทช์ ซึ่งต่อมามีการวิเคราะห์ข้อมูลและตีพิมพ์เป็นรายงานของฟินน์วอทช์ ชื่อว่า “Cheap Has High Price” (ของถูกราคาแพง) เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของฟินน์วอทช์

"เราจึงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งถึงความเป็นไปได้ว่าคำพิพากษานั้นจะมีผลกระทบทางลบกับงานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน และจะขัดขวางไม่ให้การศึกษาวิจัยและติดตามตรวจสอบเรื่องห่วงโซ่อุปทานดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งหมายถึงการที่แรงงานข้ามชาติและแรงงานที่เปราะบางอื่นๆ ต้องประสบกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการตกเป็นแรงงานขัดหนี้ แรงงานบังคับ และแรงงานกดขี่ หากขาดสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างเช่น เสรีภาพในการสมาคม และการร่วมเจรจาต่อรองแล้ว แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจะยังคงไร้ช่องทางในการปกป้องสิทธิของตนเองจากการกดขี่และการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น คำพิพากษาคดีนี้อาจนำพวกเขาไปสู่ความเสี่ยงต่อสิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น"

"เราได้ปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดภายหลังที่มีคำพิพากษาออกมาและสรุปได้ว่า แบรนด์ระดับสากลที่มีความมุ่งมั่นในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมกำลังประสบกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอันเกิดจากคำพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ ทั้งนี้ บริษัทระดับสากลจำนวนมากขึ้นมีความเห็นว่ารายงานสถานการณ์ประเภทนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกใช้วัตถุดิบและการผลิตสินค้า บริษัทหลายแห่งได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อลูกค้าของตนว่าจะใช้วัตถุดิบและผลิตสินค้าอย่างมีจริยธรรม ประเทศใดก็ตามที่ขัดขวางหรือกีดกันการศึกษาวิจัยเรื่องห่วงโซ่อุปทานอาจทำให้ธุรกิจและการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้นต้องตกอยู่ในความเสี่ยง" จดหมายเปิดผนึกระบุ

พร้อมกันนี้ มีข้อเรียกร้องต่อประเทศไทย 4 ข้อ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อสร้างความมั่นใจว่านักสิทธิมนุษยชนและแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจะได้รับการคุ้มครอง ดังนี้
1. ยกเลิกบทบัญญัติความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
2. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก
3. ดำเนินการตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders) อย่างแข็งขันและมีประสิทธิภาพ
4. ให้สัตยาบันและดำเนินการตามอนุสัญญาด้านแรงงานหลักๆ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาฉบับที่ 87 (เสรีภาพในการสมาคม) และฉบับที่ 98 (การร่วมเจรจาต่อรอง)

 

Unofficial translation
10 ธันวาคม 2559

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล
1 ถนนพิษณุโลก ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรสาร: +66 (0) 2282 5131
Email: prforeign@gmail.com

เรื่อง การพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ในความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เรียน  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล เราผู้ร่วมลงนามในหนังสือฉบับนี้ ขอส่งหนังสือถึงท่านเกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาคดีนายอานดี้ ฮอลล์ ในความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อันเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยโดยอานดี้ได้ทำการสัมภาษณ์แรงงานข้ามชาติ แล้วส่งข้อมูลดิบให้กับองค์กรฟินวอชท์ ซึ่งต่อมาได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลและตีพิมพ์เป็นรายงานของฟินวอชท์ ชื่อว่า “Cheap Has High Price” (ของถูกราคาแพง) ซึ่งเป็นรายงานที่ฟินวอชท์เป็นผู้เขียนและลงเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ในเดือนมกราคม 2556 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์

ในการนี้ เราส่งหนังสือถึงท่านในฐานะภาคีกลุ่มประชาสังคมระหว่างประเทศ (องค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแรงงาน ด้านการพัฒนา และด้านสิ่งแวดล้อม) กลุ่มประชาสังคมระดับประเทศ และกลุ่มผู้ประกอบการ เพื่อแสวงหาความมั่นใจว่า สิทธิของแรงงานข้ามชาติและนักสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยจะได้รับการเคารพและคุ้มครองตามมาตรฐานและกฎหมายสากล เนื่องด้วยเราตระหนักดีในคำพิพากษาคดีนี้ของศาลอาญากรุงเทพใต้ เราจึงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งถึงความเป็นไปได้ว่าคำพิพากษานั้นจะมีผลกระทบทางลบกับงานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน และจะขัดขวางไม่ให้การศึกษาวิจัยและติดตามตรวจสอบเรื่องห่วงโซ่อุปทานดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งหมายถึงการที่แรงงานข้ามชาติและแรงงานที่เปราะบางอื่นๆ ต้องประสบกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการตกเป็นแรงงานขัดหนี้ แรงงานบังคับ และแรงงานกดขี่ หากขาดสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างเช่น เสรีภาพในการสมาคม และการร่วมเจรจาต่อรองแล้ว แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจะยังคงไร้ช่องทางในการปกป้องสิทธิของตนเองจากการกดขี่และการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น คำพิพากษาคดีนี้อาจนำพวกเขาไปสู่ความเสี่ยงต่อสิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น

เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ยกย่องความพยายามของประเทศไทยในการจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์โดยยกระดับให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในเทียร์ 2 เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ในรายงานประจำปีเรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ ได้บันทึกไว้ว่าการพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ นั้น “ขัดขวางบรรยากาศที่เอื้อต่อการป้องกันการค้ามนุษย์ การค้นพบและการรายงานการค้ามนุษย์ การระบุตัวเหยื่อ รวมทั้งการจับกุมผู้ค้ามนุษย์เพิ่มเติม” ทั้งนี้ เป็นที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า การที่ศาลยุติธรรมของไทยพิพากษาให้นายอานดี้มีความผิดทางอาญาจากการทำงานวิจัยอย่างมืออาชีพ ตีแผ่การละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานซึ่งกระทำโดยผู้ประกอบการของไทย คำพิพากษานี้จะส่งผลอันไม่พึงปรารถนาต่อการศึกษาวิจัยที่เป็นอิสระเรื่องห่วงโซ่อุปทานอย่างไม่ต้องสงสัย การศึกษาวิจัยนั้นก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งแรงงานข้ามชาติและครอบครัวของพวกเขา รวมไปถึงผลดีกับสิ่งแวดล้อม รัฐบาลและประชาชนไทย และบริษัทระดับสากลที่ใช้วัตถุดิบจากประเทศไทยด้วย
เราได้ปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดภายหลังที่มีคำพิพากษาออกมาและสรุปได้ว่า แบรนด์ระดับสากลที่มีความมุ่งมั่นในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมกำลังประสบกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอันเกิดจากคำพิพากษาลงโทษนายอานดี้ ฮอลล์ ทั้งนี้ บริษัทระดับสากลจำนวนมากขึ้นมีความเห็นว่ารายงานสถานการณ์ประเภทนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกใช้วัตถุดิบและการผลิตสินค้า บริษัทหลายแห่งได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อลูกค้าของตนว่าจะใช้วัตถุดิบและผลิตสินค้าอย่างมีจริยธรรม ประเทศใดก็ตามที่ขัดขวางหรือกีดกันการศึกษาวิจัยเรื่องห่วงโซ่อุปทานอาจทำให้ธุรกิจและการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้นต้องตกอยู่ในความเสี่ยง

เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องกล่าวว่า ในระหว่างการสืบพยานคดีของอานดี้ บริษัทและสมาคมอาหารทะเลชั้นนำของประเทศไทยบางแห่ง รวมทั้งบริษัทค้าปลีกชั้นนำของยุโรป ให้ปากคำว่าได้รับประโยชน์จากงานวิจัยของอานดี้ แต่เป็นที่น่าเสียดาย คำพิพากษาของศาลได้ส่งสัญญาณไปยังแบรนด์และบริษัทค้าปลีกระดับสากลว่าสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยอาจจะไม่เอื้อต่อการจัดหาวัตถุดิบที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมได้ และเป็นไปได้ว่าจะมีการพิพากษาลงโทษนักสิทธิมนุษยชนที่รายงานการดำเนินงานที่น่าสงสัยว่าผิดกฎหมายของบริษัทที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

สำหรับการดำเนินงานขั้นต่อไป เพื่อให้ประชาสังคม รัฐบาล และภาคเอกชน มั่นใจได้ว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในการปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติอย่างแท้จริง ประเทศไทยควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาและแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย การใช้พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันร่วมกับการลงโทษนักสิทธิมนุษยชนให้มีความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท เป็นการบ่อนทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอข้อมูลของนักวิจัยอิสระ ผู้รายงานข่าว และนักสิทธิมนุษยชน ถือเป็นการละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ นอกจากนี้ เราขอเรียกร้องให้ประเทศไทยดำเนินการตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders) อย่างแข็งขันและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่านักสิทธิมนุษยชนอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสามารถทำงานศึกษาวิจัย งานด้านการศึกษา และงานรณรงค์ได้ และสุดท้าย เราขอสนับสนุนให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาด้านแรงงานหลักๆ ของขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาฉบับที่ 87 (เสรีภาพในการสมาคม) และฉบับที่ 98 (การร่วมเจรจาต่อรอง) ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งให้แรงงานข้ามชาติในการปกป้องตนเองจากการกดขี่ของนายจ้าง

การทำงานของนายอานดี้ ฮอลล์ และนักสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ เรื่องห่วงโซ่อุปทาน มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และครอบครัวของพวกเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังต่างประเทศที่ต้องการความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตนซื้อจากประเทศไทยนั้นมีการผลิตในลักษณะที่เคารพสิทธิมนุษยชน งานศึกษานี้ควรจะได้รับการยกย่องจากรัฐบาลไทย มิใช่การลงโทษทางอาญา

เราขอให้ประเทศไทยเริ่มดำเนินการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องต่างๆ ตั้งแต่บัดนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจว่านักสิทธิมนุษยชนและแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจะได้รับการคุ้มครอง ดังนี้
1. ยกเลิกบทบัญญัติความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
2. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก
3. ดำเนินการตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders) อย่างแข็งขันและมีประสิทธิภาพ
4. ให้สัตยาบันและดำเนินการตามอนุสัญญาด้านแรงงานหลักๆ ของขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาฉบับที่ 87 (เสรีภาพในการสมาคม) และฉบับที่ 98 (การร่วมเจรจาต่อรอง)

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ
1   American Federation of Labor-Congress of Industrial Organizations
Cathy Feingold, Director of International Affairs

2   Amnesty International
3   Anti-Slavery International
Aidan McQuade, Director

Attac Finland
Omar El-Begawy, President

Australia Asia Worker Links
Pier Moro, Secretary
6   Australian Council of Trade Unions
Ged Kearney, President

7   Axfood
Åsa Domeij, Head of Environmental & Social Affairs

8   Axfoundation
Carolina Sachs, Secretary General

9   Building and Woodworkers International
Ambet Yuson, General Secretary
10   Burma Campaign UK
Mark Farmaner, Director
11   Business & Human Rights Resource Centre
Bobbie Sta. Maria, Senior Researcher & Representative for Southeast Asia

12   California Institute for Rural Studies
Gail Wadsworth, Executive Director

13   Center for Alliance of Labor and Human Rights – CENTRAL
Tola Moeun, Executive Director
14   Child Labor Coalition
Reid Maki, Coordinator
15   Civil Rights Defenders
Robert Hård, Executive Director
16   Coalition of Immokalee Workers
17   Comite de Apoyo a los Trabajadores Agricolas (CATA)
Jessica Culley
General Coordinator

18   Concordia
Matthew Swift, Co-Founder & CEO
19   Consumers’ Union of Finland
Juha Beurling, Secretary General

20   Coop Sweden
Louise König, Sustainability Manager
21   Dalit Solidarity Network Finland
Minna Havunen, Chair

22   Electronics Watch
Björn Claeson, Director
23   Environmental Justice Foundation
Steve Trent, Executive Director
24   Ethical Trading Initiative
Peter McAllister, Executive Director
25   Dame Glenis Willmott
MEP, Leader of the European Parliamentary Labour Party

26   Jude Kirton-Darling
MEP, European Parliament
27   Heidi Hautala
MEP, European Parliament
28   Sirpa Pietikäinen
MEP, European Parliament
29   Liisa Jaakonsaari
MEP, European Parliament
30   Merja Kyllönen
MEP, European Parliament
31   Miapetra Kumpula-Natri
MEP, European Parliament
32   Nils Torvalds
MEP, European Parliament
33   Pirkko Ruohonen-Lerner
MEP, European Parliament
34   EuroPoultry
Mikael Kristensen, Owner
35   Fair Action
Ulrika Urey, Director
36   Fair World Project
Kerstin Lindgren, Campaign Director
37   Fairfood International
Sander de Jong, Managing Director
38   Farmworker Association of Florida
Antonio Tovar
39   Finn Church Aid
Jouni Hemberg, Executive Director
40   Finnish Food Workers’ Union SEL
Veli-Matti Kuntonen, Union Chairperson
41   Finnish League for Human Rights
Kaari Mattila, Secretary General
42   Finnish Metalworkers´ Union
Riku Aalto, President
43   Finnwatch
Sonja Vartiala, Executive Director

44   FishWise
Tobias Aguirre, Executive Director

45   Food Chain Workers Alliance
Joann Lo, Co-Director
46   Fortify Rights
Amy Smith, Executive Director
47   Freedom Fund
Audrey Guichon, Senior Program Officer
48   Frontline Defenders
Andrew Anderson, Executive Director
49   Giant Eagle
Richard Castle, Director of Seafood
50   Global Witness
Ben Leather, Campaigner

51   Green America
Todd Larsen, Executive Co-Director for Consumer & Corporate Engagement
52   Greenpeace Southeast Asia
Yeb Sano, Executive Director

53   Hazards Magazine
Rory O'Neill, Editor

54   Human Rights at Sea
David Hammond, CEO

55   Human Rights Now
Kazuko Ito, Secretary General
56   Human Rights Watch
Brad Adams, Asia Director
57   Humanity United Action
Ame Sagiv, Investments Manager
58   Hy-Vee Food Stores Inc.
Greg Frampton, V.P. Meat and Seafood Operations

59   Industrial Union TEAM
Heli Puura, President
60   IndustriALL Global Union
Valter Sanches, General Secretary
61   International Federation of Journalists
Anthony Bellanger, General Secretary
62   International Labor Rights Forum
Judy Gearhart, Executive Director
63   International Solidarity Foundation
Miia Nuikka, Executive Director
64   International Trade Union Confederation
Sharan Burrow, General Secretary
65   International Transport Workers’ Federation
Stephen Cotton, General Secretary
66   International Union of Food, Agricultural, Hotel, Restaurant, Catering, Tobacco and Allied Workers' Associations (IUF)
Ron Oswald, General Secretary
67   Irish Congress of Trade Unions
Patricia King, General Secreatry
68   Kepa
Timo Lappalainen, Executive Director
69   KISA - Action for Equality, Support, Antiracism
Doros Polykarpou, Executive Director
70   Labor Safe Screen and Sustainability Incubator
Katrina Nakamura, Founder
71   Lawyers' Rights Watch Canada
Gail Davidson, Executive Director

72   Laundry Workers Center
73   Martin&Servera
AnnaLena Norrman, Chief Sustainability & Quality Officer

74   Migrant Workers Rights Network
Sein Htay, President
75   Multicultural Center Prague
Marek Canek, Executive Director
76   National Consumers League
Sally Greenberg, Executive Director
77   National Guestworkers Alliance
Jacob Horwitz, Lead Organizer
78   Norvida
Calle Ramvall, Quality and Environmental Director

79   NYU Stern Center for Business and Human Rights
Sarah Labowitz and Michael Posner, Co-directors
80   Olof Palme International Center
Jens Orback, Secretary General
81   Pioneer Valley Workers Center
Gabriella della Croce, Development Coordinator & Community Organizer
82   Platform for International Cooperation on Undocumented Migrants
Michele LeVoy, Director
83   Pro Ethical Trade Finland
Anna Ylä-Anttila, Acting Executive Director
84   Restaurant Opportunities Centers United (ROC)
Fekkak Mamdouh, Co-Director
85   S Group
Lea Rankinen, Senior Vice President Sustainability and Corporate Responsibility
86   Service Union United PAM
Ann Selin, President
87   Slave Free Seas
Craig Tuck, Founder and Director
88   Social Accountability International (SAI)
Jane Hwang, President & CEO
89   Stop The Traffik Australia
Carolyn and Fuzz Kitto, Co-Directors
90   Svensk Cater
Lars Carlsson, CEO
91 
Swedwatch
Alice Blondel, Director
92   Teamsters Joint Council 7
Doug Bloch, Political Director

93   Tehy – The Union of Health and Social Care Professionals in Finland
Rauno Vesivalo, President

94   Tenaganita
Glorene A Das, Executive Director
95   The Finnish NGDO Platform to the EU Kehys
Rilli Lappalainen, Secretary General
96   The Swedish Foundation for Human Rights
Jenny Jansson Pearce, Secretary General
97   The Trade Union for the Public and Welfare Sectors JHL
Päivi Niemi-Laine, President
98   Trade Union Pro
Jorma Malinen, President
99   Trade Union Solidarity Centre of Finland SASK
Janne Ronkainen, Executive Director
100   Trades Union Congress
Frances O’Grady, General Secretary
101   Transient Workers Count Too
John Gee, Chair, Research Sub-Committee
102   Tuko Logistics
Pirjo Heiskanen, Quality Assurance Manager

103   UNI Global Union
Philip Jennings, General Secretary
104   Unil
Julie Haugli Aarnæs, Manager Sustainable Sourcing


105   Union to Union
Kristina Henschen, General Secretary
106   Uniting Church in Australia, Synod of Victoria and Tasmania
Mark Zirnsak, Justice & International Mission

107   Verité
Shawn MacDonald, CEO
108   Walk Free
Joanna Ewart-James, Director
109   Wegmans Food Markets
Carl P. Salamone, V.P. Seafood Sustainability
110   Worker Justice Center of New York
Lewis Papenfuse, Executive Director

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ-กรณ์-ศิลป์ชัย-นิพนธ์ ถก 'ศาสนากับรัฐธรรมนูญ'

$
0
0
'กรณ์ มีดี - สุรพศ ทวีศักดิ์- ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ - นิพนธ์ โซะเฮ' ร่วมเสวนาประเด็นศาสนาประจำชาติ ศาสนาในฐานะเครื่องมือของรัฐ ความคิดก่อนสมัยใหม่ต่อศาสนา ปัญหา ม. 31 - ม. 67 ในรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติ พร้อมทั้งกรณี 'ธรรมกาย - สันติอโศก' 

เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์ และ คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) จัดเวทีเสวนา หัวข้อ "ศาสนากับรัฐธรรมนูญ" ที่ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย กรณ์ มีดี เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมทางสายกลาง สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ นักวิชาการด้านศาสนวิทยาและรัฐศาสตร์ และ ดร.นิพนธ์ โซะเฮง คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

ที่มาของการเคลื่อนปมศาสนาประจำชาติ

กรณ์ มีดี เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมทางสายกลาง กล่าวว่า ช่วงนี้ตนเดินสายบรรยายเกี่ยวกันพุทธศาสนาและแนวทางที่จะแก้ไขพุทธศาสนา ที่มาขับเคลื่อนเรื่องศาสนาประจำชาติ เนื่องจากเห็นภัยของพระพุทธศาสนา ที่เป็นทั้งภัยภายนอกและภัยภายใน เกิดขึ้นทั้งตัวบุคคลและมีการบิดเบือนคำสอนบ้างอะไรบ้าง จึงคิดว่าการร่างรัฐธรรมนูญ 2 ครั้งที่ผ่านมามีการรณรงค์บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแต่ไม่เคยได้รับ ครั้งนี้จึงดำเนินการอีกกัน  

เดิมแล้วพวกเราคิดว่าประเทศไทยมีการบัญญัติไว้แล้วว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แม้จะเป็นพุทธตามบัตรประชาชนก็ตาม หรือแม้แต่ศิลปะวัฒนธรรมก็มาจากพุทธศาสนา เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ให้การนับถือศาสนาพุทธ และเมื่อมีภัยเข้ามา ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุด เราจะต้องปกป้อง และคิดว่าที่ดีที่สุดก็คือการระบุไว้เป็นกฎหมาย และกฎหมายที่ดีที่สุดก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ เราเห็นเช่นนี้จึงควรมีการบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

“เราไม่ได้บัญญัติเพื่อไปบังคับให้ใครมานับถือ ไม่ได้บัญญัติเพื่อให้ใครมาบวช แต่ว่าบัญญัติไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครทำลาย เราแน่นอนว่าเราไม่มีจิตคิดทำลายอยู่แล้วเพราะเดิมเราคิดว่ามันเป็นศาสนาประจำชาติอยู่แล้ว เราอยู่มานาน ในเมื่อเราคิดว่าเป็นศาสนาประจำชาติ เราก็ไม่เคยรังแกใคร คนพุทธไม่เคยรังแกใคร ไม่เคยไปไล่ศาสนาอื่นที่มาอยู่ในประเทศไทยในแผ่นดินไทย ในเมื่อเราไม่เคยที่จะกระทำการเช่นนี้ โดยที่ผ่านมาเป็นอย่างนี้มาโดยตลอด” กรณ์ กล่าว

รธน.59 แม้ไม่บัญญัติไว้ แต่ก็ดีกว่าทุกฉบับที่ผ่านมา

กรณ์ กล่าว ในการปกป้องพระพุทธศาสนานั้นจะไม่ปกป้องในตัวบุคคลแต่ปกป้องที่คำสอนปกป้องที่องค์กร สุดท้าย รัฐธรรมนูญ 59 นี้ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ แต่จะว่าไปแล้วถึงแม้ว่าไม่ได้บัญญัติเป็นศาสนาประจำชาติ แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกี่ยวกับเรื่องพุทธศาสนามีการระบุเอาไว้ดีกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ที่ผ่านมา และมีมาตรการในการป้องกันไม่ให้ถูกบิดเบือน

อย่างไรก็ตาม กรณ์ กล่าวถึงข้อกังวลของเขาต่อรัฐธรรมนูญ 59 ว่า กรณีที่บัญญัติในท่อนท้าย ว่ารัฐพึงสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าไปอยู่ในมาตรการและกลไกต่อการปกป้องพุทธศาสนา ซึ่งอันนี้ก็เป็นประเด็นที่อันตราย เนื่องจากถ้าคนที่เข้ามามีส่วนร่วม แต่กลับมีทัศนะที่อันตรายต่อพระสงค์ก็จะมีปัญหา เราจึงมีองค์กรเพื่อเคลื่อนไหวให้เห็นภัยของพุทธศาสนาว่าต้นเหตุเป็นมาอย่างไรนี้

ศาสนาเป็นเรื่องส่วนตัว รัฐไม่ควรเข้ามายุ่ง และศาสนาในฐานะเครื่องมือของรัฐ

สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา กล่าวว่าศาสนาเป็นเรื่องของหัวใจ เป็นเรื่องของความรู้สึก ในเมื่อศาสนาเป็นเรื่องความรู้สึกที่ลึกซึ้งจึงเป็นเรื่องส่วนตัวอย่างถึงที่สุด ดังนั้นรัฐจึงไม่ควรเข้ามายุ่ง อย่างไรกามศาสนาก็มีความซับซ้อนมากกว่านี้ เพราะศาสนาเป็นเรื่องที่เข้าไปอยู่ประเพณีและวัฒนธรรม เป็นสถาบันทางสังคมและเกี่ยวข้องกับรัฐ แรกเริ่มศาสนาไม่เสนอให้แก้ระบบสังคม แต่มีลักษณะเห็นใจ สอนให้นายทาสเห็นใจทาส ผู้ปกครองเห็นใจผู้ถูกปกครอง แต่มาสู่ยุคกลาง ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐแล้ว เรามักจะมองว่าศาสนาที่เข้ามาสู่ความรุนแรงนั้นมักมองว่าเป็นคริสต์ แต่งานวิจัยของตนนั้นไม่ใช่ พุทธก็เข้ามามีส่วนทำให้ความชอบธรรมของชนชั้นนำด้วย เช่นไตรภูมิพระร่วงด้วย ดังนั้นศาสนาจึงเข้ามาเป็นเครื่องมือของรัฐ เข้ามาครอบงำ

การต้องมีศาสนาประจำชาติเป็นกรอบคิดก่อนสมัยใหม่

สุรพศ ตั้งคำถามว่า ทำไมเราต้องมีศาสนาประจำชาติ ปัญหาคือเราใช้กรอบคิดอะไรมาตั้งคำถาม กับศาสนา ใช้กรอบคิดก่อนสมัยใหม่หรือไม่ มันใช่หน้าที่ของรัฐสมัยใหม่ไหมที่จะใช้กรอบคิดแบบรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ไหม รัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ใช้รัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถใช้หลักการศาสนาได้ แต่ต้องใช้หลักเสรีประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยที่รัฐสมัยใหม่จะมองว่าศาสนาเป็นสิทธิเสรีภาพ เป็นเรื่องของปัจเจก ดังนั้นต้องแยกองค์กรศาสนาเป็นของเอกชน ใครอยากไป และวัดสำนักต่างๆ ก็มีสาระของตัวเองที่จะศึกษาตีความ โดยที่ไม่มีองค์กรสงฆ์ที่เป็นศูนย์กลางมาตัดสินถูกผิด ถ้ามองด้วยหลักรัฐโลกวิสัย การที่มีองค์กรศาสนาไปตัดสินถูกผิดคำสอน มันเป็นการละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา

แนะ รธน.ควรบัญญัติรัฐไทยเป็นรัฐโลกวิสัย

สุรพศ กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ของสยาม ไม่เหมือนยุโรป ที่แยกศาสนาออกจากรัฐ มีศีลธรรมแบบโลกวิสัย ที่อยู่บนพื้นฐานการปกป้องมนุษย์ที่เป็นปัจเจก มีเสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์ แต่ในทางศาสนาในหลายอย่างมันขัดแย้ง เช่น การรักเพศเดียวกันในทางศาสนาจะมองว่าผิด ธรรมแบบทางโลกมันแปลงมาเป็นหลักสิทธิมนุษยชนสากล ศาสนาถ้ามาอยู่ในรัฐธรรมนูญ เราก็ไม่สามารถให้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเหนือกว่าศาสนาอื่น สิ่งที่ควรบัญญัติเลยคือว่ารัฐไทยเป็นรัฐโลกวิสัย ไม่ต้องสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งทั้งสิ้น ศาสนาเป็นเรื่องของเอกชนที่จะแข่งขันกันอย่างเสรี

อย่าทำให้พุทธเป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตย

สุรพศ กล่าวอีกว่าถ้าเราตั้งคำถามก่อนรัฐสมัยใหม่ก็จะต้องให้รัฐเข้ามาปกป้องศาสนา แต่รัฐสมัยใหม่ทำแบบนั้นไม่ได้ และมิติทางจิตวิญญาณ จะหายไป เพราะศาสนากลายเป็นเรื่องของอำนาจและการบังคับ เช่น บังคับในแบบเรียน บังคับให้มีการสอบ ศาสนาเลยกลายเป้นเรื่องของอำนาจ การบังคับแบบนี้ไม่ได้ผล ถ้าศาสนาจะเป็นเรื่องที่ดีและมีคุณค่าต่อชีวิตคน ศาสนาต้องให้คนเข้าหาเอง ดังนั้นการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มันจะขัดกับหลักการประชาธิปไตย แต่จะทำให้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือและอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตย

ฉ.ที่ผ่านมาแม้ไม่ระบุก็ยังเป็นปัญหา แต่ รธน.ใหม่แย่ยิ่งกว่า

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ นักวิชาการด้านศาสนวิทยาและรัฐศาสตร์ กล่าวว่าเวลาเราพูดถึงศาสนากับรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เพิ่งเป็นประเด็นรัฐธรรมนูญนี้ แต่รัฐธรรมนูญนี้ส่งผลขั้นที่ชุมชนศาสนาหลายชุมชน เช่น ชุมชนในภาคใต้ แสดงมติออกมาว่าไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่สามารถยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญมันมีปัญหามานานแล้ว กรณีวัดสันติอโศก เป็นวัดที่ถูกมหาเถรสมาคม ขับออก ด้วยข้อหาผิดจากความเป็นพุทธที่ถูกต้อง และด้วยการที่มหาเถรสมาคมมีอำนาจตาม รัฐธรรมนูญ แม้ไม่ได้ระบุว่ามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่สามารถตัดสินได้ ได้รับการยอมรับตามรัฐธรรมนูญมันเท่ากับว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญตัดสินทางธรรมได้ เท่ากับเป็นการตัดสินเรื่องจากก่อนเกิดจนตายได้ เป็นการตัดสินนรก สวรรค์ได้ เป็นเรื่องที่สามารถตัดสินเรื่องวิญญาณ เรื่องโลกนี้โลกหน้า เท่ากับองค์การทางการเมืองสามารถตัดสินว่าใครไปนรกสวรรค์ได้ ส่งผลให้พระสงฆ์ทั้งหมดในสันติอโศกก็ยังถือว่าเป็นพระเถือน และถูกห้ามใส่จีวรสีเดียวกับพระสงฆ์ทั่วไป และห้ามตั้งชื่อเป็นวัด อย่างไรก็ตามถ้าเอาตัวต่อตัว ว่าไปแล้วท่านถือศีลมากกว่าพระสงค์ทั่วไปด้วย ว่าไปแล้วในบางเรื่องเคร่งยิ่งกว่าทั่วไปอีก ในองค์กรของท่านพระสงฆ์ห้ามจับเงิน ไม่ให้ครอบครองเงิน เคร่งขนาดนี้ แต่ถูกถือเป็นพระเถื่อน เป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญเดิมด้วย แต่รัฐธรรมนูญใหม่แย่กว่าเก่า

ปัญหา ม. 31 - ม. 67

ศิลป์ชัย ยกตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับศาสนาในรัฐธรรมนูญ 59 มาตรา 31 กับ มาตรา 67 พร้อมกับ มาตรา 27 ที่ระบุว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกัน ซึ่งอันนี้ก็อบอเมริกา เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เอกสารสำคัญของอเมริกา มี 2 ตัว คือ คำประกาศเสรีภาพ ที่เน้นว่าคนอเมริกัน ต้องมีสิทธิเสรีภาพ ในเรื่อง และเอกสารรัฐธรรมนูญจองอเมริกาคือเน้นเรื่องความเสมอภาค ในการนับถือศาสนา เช่นกัน และจะต้องไม่มีใครถูกทำให้ด้อยจากเรื่องศาสนา ด้วยเหตุนี้ในอเมริกาก็ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา หรือแม้แต่จะตั้งนิกายใหม่ ก็ได้ทั้งนั้น

ศิลป์ชัย กล่าวถึง รัฐธรรมนูญ มาตรา 31 โดยเฉพาะท่านที่ว่า “ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ” นั้น ศิลป์ชัย มองว่าข้อนี้เป็นการตั้งแง่ เพราะอ่านดูก็พอรูว่าคนร่างหมายถึงใคร เพราะมันจะดูเหมือนมีศาสนาที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ เวลาเขียนรัฐธรรมนูญที่เขียนกว้าง มันมีปัญหาอย่างไร มันต้องตีความ อะไรที่เป็นปัญหาเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ

ศิลป์ชัย กล่าวว่า รัฐต้องมีมาตรการ 3 อย่าง รัฐต้องไม่เอาศาสนามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอำนาจ รัฐต้องให้เสรีภาพและความเสมอภาค ในอดีตให้เสรี แต่ไม่ให้ความเสมอภาค เช่น กรณีพระสันติอโศก มีเสรีภาพในการนับถือ แต่กับอีกอันหนึ่งจะมีสถานะสูงกว่า มีกฎหมายรับรอง มีรัฐสนับสนุนงบประมาณ

ศิลป์ชัย กล่าวถึงมาตรา 67 ในรัฐธรรมนูญ 59 ที่ระบุว่าถึงเถรวาทนั้น ถือว่าเป็นครั้งแรก และคำถามแรกคือ เถรวาทไหน เชื่อว่า พุทธศาสนิกชนในนิกายเดียวกัน ถามไม่เกิน 5 คำถาม ก็จะเห็นต่างกัน ธรรมชาติของศาสนาเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้คนเห็นและเชื่อเหมือนกัน 100% ขณะที่ข้อความในมาตราดังกว่าที่ระบุว่า "ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้บ่อนทำลาย.." มันตีความให้เข้าได้หมด นี่เป็นปัญหา สมติว่า ในครอบครัวบ้านไหน ไปเช่าบ้านใหม่ เจ้าของบ้านเก่ามีพระพุทธรูปอยู่ แล้วอยากเอาออก อันนี้ถือว่าบ่อนทำลายหรือไม่ มันเอื้อต่อการตีความ

มุสลิมส่วนใหญ่เชื่อว่าไม่ควรแยกศาสนาจากการเมือง แต่รัฐสมัยใหม่พยายามแยก

นิพนธ์ โซะเฮง คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง กล่าวว่าคำถามแรกสำหรับชาวมุสลิมคือ ศาสนาแยกออกจากการเมืองได้หรือไม่ ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่แยกศาสนาออกจากการเมืองหรือชีวิตสาธารณะ แต่รัฐสมัยใหม่พยายามแยกศาสนาออกจากการเมือง เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีความพยายามแยกศาสนาออกจากการเมืองแต่ไม่ได้แยกขาดจากการโดยสิ้นเชิง บางมุมในการบริหารกิจการของรัฐก็มีการนำเอาเรื่องศาสนามาเกี่ยวพันด้วย ยกตัวอย่างในมาเลเซีย นายกฯ 5 คน คิดนโยบายที่นำศาสนาเข้าไปเกี่ยวพันเนื่องจากคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจึงต้องสร้างความชอบธรรมในการปกครองด้วย แต่ก็ไม่ได้เอาศาสนาเข้ามาเต็มๆ เพราะจะเป็นรัฐศาสนาและเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่ วันนี้มันมีลักษณะเหลื่อมกัน บางเรื่องศาสนาอยู่สูงกว่ากฎหมาย แต่บางเรื่องกฎหมายศาสนาอยู่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ คอนเซ็ปท์ของสังคมสมัยใหม่มีพลังมาก ปัจจุบันอุดมการณ์ชาติสำคัญกว่าอุดมการณ์ศาสนา อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญมาเลเซียเพียงระบุว่า อิสลามเป็นศาสนาที่เป็นทางการ ศาสนาอื่นก็ยังคงมีที่ทางตราบเท่าที่มันไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐ ในมาเลเซียก็เป็นอย่างนั้น อันนี้เป็นการยกตัวอย่างรัฐที่พยายามจะปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่

คาด รธน.นี้น่าจะสร้างปัญหาต่อไปในอนาคต

นิพนธ์ กล่าวว่า คนในภาคใต้กลัวรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในเรื่องการตีความว่าอะไรคือ การเป็นปฏิปักษ์ การเผยแพร่ศาสนาของเขาจะถูกตีความว่าเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ ไปทำให้ศาสนาประจำชาติคือศาสนาพุทธอ่อนแอหรือไม่ 

มาตรา 67 นั้นคนมุสลิมภาคกลางรับได้ แต่ทำคนภาคใต้รับไม่ได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ในฐานะอยู่ภาคกลางเห็นว่า มันมีความขัดแย้งในตัวของมันหลายเรื่องโดยเฉพาะในมาตรา 27 ที่ระบุว่าต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ แต่ไปกำหนดอีกข้อที่เลือกปฏิบัติชัดเจน จริงๆ หลายประเทศก็เป็นแบบนี้

นิพนธ์ อ้างถึง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เคยอธิบายไว้ก่อนแล้วว่า รัฐธรรมนูญมาจากวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งอาจแตกต่างกันแล้วเราก็ถกเถียงกัน จนสุดท้ายก็ยอมรับ วัฒนธรรมของเราคือ เรายอม เรายอมมาตลอด แต่อเมริกันหรือโลกตะวันตกคือ วัฒนธรรมของเขาคือการไม่ยอม ไม่ใช่การต่อสู้หัวชนฝา แต่เป็นวัฒนธรรมแบบอาสา และทุกคนเคารพการอาสาของคุณ  โดยสรุปการยอมรับความต่างเป็นเรื่องสำคัญ การอดทนอดกลั้นต่อกันเป็นเรื่องสำคัญ และรัฐธรรมนูญฉบับนี้น่าจะสร้างปัญหาต่อไปในอนาคต

ธรรมกาย - สันติอโศก

สุรพศ กล่าวถึงกรณีธรรมกายว่า มีความซับซ้อน ถ้านึกถึงกิตติวุฒโฑ สังคมคาดหวังว่ามหาเถรสมาคมจะลงโทษกิตติวุฒโฑ แต่มหาเถรสมาคมกลับแถลงว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสนับสนุนความรุนแรงและเกี่ยวข้องกับลูกเสือชาวบ้านนวพล แต่พระที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในตอนนั้นถูกไล่ออกจากวัด แต่กิตติวุฒโฑไม่ถูกลงโทษอะไร

อย่างไรก็ตาม ประเด็นธรรมกายมีประเด็นเกี่ยวกับการทุจริต คำถามคือ มันแยกกับการเมืองได้อย่างไร ฝ่ายตรงข้ามมาเรียกร้องการตรวจสอบแล้วเกี่ยวพันกับการตั้งสังฆราชด้วย แล้วธรรมกายก็ไม่ได้เติบโตจากมิติของศรัทธาประชาชนเพียวๆ แต่เกี่ยวข้องกับมหาเถรสมาคม ใช้กลไกรัฐเกณฑ์ข้าราชการมา เกี่ยวพันกับนักการเมืองกับทุนมหาศาล การที่องค์กรศาสนาไปเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมากโดย สตง.ไม่ได้ตรวจสอบ ไม่ใช่แค่ธรรมกายแต่ทุกวันในประเทศไทย ตอนนี้ธรรมกายถูกมองจากผู้มีอำนาจรัฐมองว่าเป็นอันตรายต่อรัฐ  สภาวะแบบนี้สังคมไม่ได้คำตอบว่าธรรมกายเป็นเรื่องอะไรกันแน่ ผิดกฎหมายเพียวๆ หรือเป็นเรื่องการเมือง

กรณีสันติอโศก สุรพศ กล่าวว่า เป็นกลุ่มศาสนาที่แยกออกจากรัฐ ก้าวหน้ากว่ากลุ่มอื่นๆ แต่ความตลกของสันติอโศกก็คือ ศาลฎีกาตัดสินไม่ให้สันติอโศกใช้คำนำหน้าว่าพระสงฆ์ แต่ใช้คำว่าสมณะ เป็นการละเมิดเสรีภาพการนับถือศาสนาชัดเจน แต่ตอนนี้หัวหน้าสันติอโศกออกทีวีเรียกร้องใช้ม.44 จัดการธรรมชโย การทำรัฐประหารเป็นสิ่งสวยงาม แปลว่าไม่ได้แยกออกจากรัฐบนฐานความเชื่อเรื่องเสรีภาพ แต่เป็นเพราะความขัดแย้งกันภายในเฉยๆ

สุรพศ กล่าวอีกว่า ไม่ว่ากลุ่มนิกายไหนในประเทศไทยก็มีปัญหาว่ามักจะตีความการเมืองรองรับอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม ศาสนาในบ้านเรายังคิดในกรอบเก่า ก่อนสมัยใหม่ เรายังไม่ตั้งคำถามในกรอบสมัยใหม่ ในทุกสังคมสมัยใหม่จะมีสิ่งที่เรียกว่า "อดีตที่ไม่ยอมจากไป" ไม่ได้หมายความว่าศาสนาของเก่านั้นไม่มีคุณค่าต่อสังคม แต่เราไปคิดว่าศาสนาต้องมีคุณค่าต่อรัฐและสังคมเหมือนในยุคโบราณ ไม่ใช่ มันต้องสอดคล้องกับสังคมสมัยใหม่ จะให้รัฐเอาผิดกับพระที่สอนผิดจากคำสอนพระไตรปิฎกจำคุก10-15 ปี รัฐสมัยใหม่ทำแบบนี้ไม่ได้ ยุคราชาธิปไตยเขายังไม่ทำแบบนี้ แปลกมากที่จะเอากฎหมายไปจัดการกับความเชื่อหรือกลุ่มบุคคล

สุรพศ กล่าวว่า ปัญหาของเราคือ เราไม่เคลียร์ว่าเราจะอยู่ยังไง ศาสนาจะอยู่กับสังคมสมัยใหม่อย่างไร ศาสนาเหมือนแจกันลายครามที่สวยงาม แต่ต้องจัดวางตำแหน่งแห่งที่ที่เหมาะสมจึงจะสวยงาม ศาสนาตอนนี้พยายามมายุ่งกับเรื่องต่างๆ มากเกินไป แต่กลับไม่พยายามเรียนรู้ว่จะอยู่อย่างไรในโลกสมัยใหม่

ข้อกังวลต่อ กลไกในการป้องกันการบ่อนทำลายพุทธใน รธน.

ต่อกรณี มาตรา 67 ตาม รัฐธรรมนญ 59 มีการระบุถึง “..ต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด” นั้น นิพนธ์ ตั้งประเด็นว่าสมติ การเผยแพร่ศาสนา เช่น ไปภาคอีสาน เป็นารฟื้นฟูความศรัทธาให้เข้มแข็ง ไปพบใครที่สามารถคุยได้ที่อาจไม่ใช่ศาสนาเดียวกัน หากพูดกันแล้วเขาเลื่อมใสและเปลี่ยนศาสนาขึ้นมา แบบนี้ถือเป็นภัยคุกคามไหม ทั้งที่เป็นสิทธิของเขา

ศิลป์ชัย เสริมว่า เวลามีการนำเสนภาพว่ามีการเปลี่ยนศาสนา จะถูกตีความว่าเป้นภัยคุกคาม

ด้าน กรณ์ กล่าวว่า เรื่องมาตรการนั้น ไม่ใช่จู่ๆ แล้วไปจับหรือมีการเผยแพร่แล้วจับเลย เพราะมันยังไม่มีมาตรการ

ขณะที่ สุรพศ กล่าวว่า ข้อความในรัฐธรรมนูญนี้ถูกบัญญัติด้วยอะไร เสรีประชาธิปไตย ก็ไม่ใช่ หรือศาสนา ก็ไม่ใช่ คิดว่าไม่มีที่พระพุทธเจ้าพูดให้รัฐมาปกป้อง และไม่เน้นให้ชาวพุทธ์มาปกป้อง แต่ให้ชาวพุทธเข้มแข็งเอง สังฆะไม่ได้ขึ้นต่อรัฐ และเป็นอิสระจากวรรณะ 4 และตัวรัฐธรรมนูญ ขัดแย้งตลอด เพราะเอากลุ่มต่างๆ มาร่างๆ แล้วก็ยัดๆ เข้าไป เช่น มาตราหนึ่งรับรองเสรีภาพไว้ แต่อีกมาตราก็เขียนกลไปเสริมการล่าแม่มดเข้าไป เป็นต้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กม.ใหม่สมาชิกพรรคจ่ายปีละ 200-กรธ.ขออย่าบ่น-เบียร์ 3 ขวด 100 ยังซื้อกินได้

$
0
0

หลัง 2 พรรคใหญ่เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ วิจารณ์ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง หวั่นสร้างอุปสรรคตั้งพรรค พรรคทางเลือกตั้งยาก แถมข้อบังคับให้สมาชิกพรรคต้องจ่ายบำรุงพรรคปีละ 200 บาท จะกีดกันคนมีรายได้น้อย ด้านปกรณ์ นิลประพันธ์ กรธ. ชี้แจงว่าเบียร์ 3 ขวดร้อยกว่ายังซื้อกินได้ จะทำการเมืองแล้วยังบ่น สละเงินร้อยกว่าบาทไม่ได้ ชีวิตอยู่ยาก

13 ธ.ค. 2559 ภายหลังจากที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้เผยแพร่ร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (พ.ร.ป.พรรคการเมือง) ซึ่งประกอบด้วย 10 หมวด 129 มาตรานั้น (อ่านร่างกฎหมาย) โดยอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการธิการร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่า เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง มุ่งให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ประชาชนควรเป็นเจ้าของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง ทั้งนี้ร่าง พ.ร.ป. ดังกล่าวยังคงเป็นเพียงร่างกฎหมายที่ต้องรอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นชอบและยังสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดย กรธ. เตรียมจัดเวทีชี้แจงเนื้อหาร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากนักการเมือง และพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตามทั้งพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ก็วิจารณ์ร่างกฎหมายพรรคการเมืองดังกล่าวนั้น  (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

(ซ้าย) ปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ (ขวา) หน้า 6 ของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ... (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ในรายงานของผู้จัดการออนไลน์ปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยจะไม่มาแสดงความคิดเห็นในวันที่ 14 ธ.ค. ว่า ใครไม่ร่วมเราไม่สนใจ เราทำใจเเล้ว ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่แค่คอยต่อว่า แต่ต้องใช้เหตุผล ตีกันเหมือนเดิมไม่ได้ ต้องจูงมือไปด้วยกัน หมดยุคทะเลาะเบาะแว้งแล้ว ไม่เห็นด้วยเรื่องไหน น่าจะเข้ามาบอกเหตุผลการคัดค้านว่าจะเกิดผลร้ายต่อประชาธิปไตยอย่างไร

ส่วนกรณีพรรคการเมือง วิจารณ์เรื่องการกำหนดจัดตั้งสาขาพรรค การจ่ายเงินบำรุงพรรค ใน พ.ร.ป.พรรคการเมืองนั้น เขาก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน คนมีอุดมการณ์เดียวกัน ต้องส่งเสริมให้มีส่วนร่วม รวมกลุ่มกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้มิใช่หรือ

"เงิน 100 บาท จะว่ามากก็มาก จะว่าน้อยก็น้อย เชื่อว่า พรรคเก่าๆ ไม่มีปัญหา เขากันเงินที่มีอยู่เดิมมาเป็นทุนประเดิมได้ ขนาดเบียร์ 3 ขวดร้อยกว่าบาท ยังซื้อกินได้ จะทำการเมืองแล้วยังบ่น สละเงินร้อยกว่าบาทไม่ได้ ผมว่าชีวิตอยู่ยากแล้ว เรากำลังร่วมทำให้บ้านเมืองดีขึ้น ไม่ต้องการให้ใครกว้านซื้อชื่อคนมารับเงินกองทุนจาก กต. เหมือนอดีต หัวใจหลักของกฎหมายพรรคการเมือง คือ โปร่งใส มีส่วนร่วม และตรวจสอบได้ ไม่ให้ใครทำไม่ดีเหมือนอดีต ถ้าพรรคการเมืองยังยึดติดเเบบเดิมคงไม่เหมาะสมกับยุคนี้ แบบนั้นเป็นสมัยโบราณ"

ส่วนที่นักการเมืองบ่นเรื่องกำหนดยาเเรง เช่น กรรมการบริหารพรรคอาจต้องพ้นตำแหน่ง และถูกเเบน กรณีสมาชิกพรรค หรือผู้มีตำแหน่งในพรรคเกี่ยวข้องกับการโกงเลือกตั้งนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า หลักการกำหนดโทษ คือ ใครผิด คนนั้นรับโทษไป ไม่มีขายเหมายุบพรรคเหมือนก่อน ถ้าทำผิดเเบบที่เราห้าม เเล้วรู้ว่าผิดโดยฝืนทำ รู้เห็นเป็นใจ ยังควรให้ยุ่งการเมืองอีกหรือ หลักง่ายๆ คือ อย่าทำผิด ถ้าไม่ทำผิดไม่เห็นต้องกลัว เรากำหนดให้ส่งศาลเป็นผู้วินิจฉัยด้วยเพื่อความยุติธรรม โทษประหารมาจากการซื้อขายตำแหน่ง ถ้าศาลเห็นว่ารุนเเรงปล่อยเอาไว้ไม่ได้ก็โดน ในประมวลกฎหมายอาญาก็มีกำหนดโทษลักษณะนี้ และเอาไว้ใช้กับข้าราชการ

ที่ผ่านมา ไม่เห็นมีใครบ่น แล้วนักการเมืองมาบ่นทำไม นักการเมืองเรียกร้องให้ข้าราชปฏิรูปโปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงไม่เห็นต้องเหนียมอาย จะเรียกร้องคนอื่นต้องทำเป็นตัวอย่างก่อน ปกรณ์ระบุ

โดยก่อนหน้านี้ คณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 และประธานคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทย เห็นว่า ข้อบังคับให้ผู้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องจ่ายค่าบำรุงพรรค เป็นการกีดกันคนมีรายได้น้อยไม่ให้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และยังวิจารณ์ข้อกำหนดที่ให้พรรคการเมืองตั้งใหม่ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คนภายใน 1 ปี มีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา และต้องเพิ่มสมาชิกเป็น 20,000 หมื่นคนใน 4 ปี เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับที่ กรธ.บอกว่าไม่อยากเห็นนายทุนครอบงำพรรค

ทั้งนี้ในมาตรา 16 (14) ใน พ.ร.ป.พรรคการเมือง ระบุให้ข้อบังคับของพรรค ต้องกำหนดให้มีอัตราค่าบำรุงพรรคการเมืองโดยให้สมาชิกชำระปีละไม่น้อยกว่าสองร้อยบาท

ส่วน องอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้การจัดตั้งพรรคการเมืองมีข้อจำกัดมากขึ้น และมีเงื่อนไขทางการเงินเพิ่มมากขึ้น จึงอาจมีส่วนทำให้คนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่อยากตั้งพรรคทางเลือก เช่น พรรคกรีน พรรคสิ่งแวดล้อม พรรคคุ้มครองผู้บริโภค มีโอกาสตั้งพรรคยากขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: รัฐ ศาสนจักร และธรรมกาย

$
0
0

 


ทุกสังคมต่างมีวิธีจัดการกับ “อดีตที่ไม่ยอมจากไป” ต่างกันไป ศาสนาคือหนึ่งในอดีตที่ไม่ยอมจากไป พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าศาสนาไม่มีคุณค่าและต้องการให้ศาสนาหมดไปจากสังคม แต่คุณค่าของศาสนาต่อชีวิตและสังคมสมัยใหม่ก็ไม่ใช่คุณค่าแบบเดียวกับที่ศาสนาเคยมีต่อชีวิตและสังคมในอดีต บทบาทของศาสนาต่อชีวิตและสังคมสมัยใหม่จึงต่างจากบทบาทของศาสนาในอดีต

ฉะนั้น การเป็นอดีตที่ไม่ยอมจากไปของศาสนา จึงไม่ใช่เพราะยังมีศาสนา แต่เพราะยังมีแนวคิดและโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนจักรที่เป็นกรอบกำหนดให้รัฐสมัยใหม่ทำหน้าที่ทางศาสนาแบบรัฐก่อนสมัยใหม่ และกำหนดให้บทบาทของศาสนาต่อชีวิตและสังคมปัจจุบันเป็นบทบาทแบบเดียวกับยุคก่อนสมัยใหม่

ในการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสมัยใหม่ (modernity) สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นสมัยใหม่ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ การจัดวาง “อดีต” ให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่และมีบทบาทที่เหมาะสม เช่น ศาสนจักรและความเชื่อทางศาสนาที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลทางความคิดความเชื่อ ทั้งในแง่เป็นอำนาจที่ชอบธรรมและอำนาจครอบงำมายาวนาน ก็ถูกแยกออกจากการมีสถานะอำนาจภายในโครงสร้างการปกครองของรัฐ ศาสนจักรกลายเป็นเอกชน ไม่ใช่องค์กรของรัฐอีกต่อไป

เมื่อแยกศาสนากับรัฐให้เป็นอิสระจากกัน ก็ถือว่าเรื่องศาสนาเป็นเรื่องส่วนตัว หรือศาสนาเป็นพื้นที่ส่วนตัวของปัจเจกบุคคล บทบาทของศาสนาจึงเกี่ยวข้องกับ “ความดีเฉพาะ” หรือความดีส่วนตัวที่เกี่ยวกับเรื่องยกระดับคุณค่าทางจิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล หรือความเชื่อเชิงประเพณีวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งๆ ส่วนบทบาทของรัฐเกี่ยวข้องกับ “ความดีสาธารณะ” หรือผลประโยชน์สาธารณะของทุกคน และของสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีหลากหลายความเชื่อ ฉะนั้นรัฐสมัยใหม่จึงไม่ได้มีหน้าที่ทางศาสนาแบบรัฐยุคเก่าอีกต่อไป รัฐสมัยใหม่มีหน้าที่เพียงรักษาเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาเท่านั้น

แต่สยามเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสมัยใหม่ด้วย “ความกลัว” ที่ต่างจากยุโรป เรากลัวลัทธิล่าอาณานิคม ขณะเดียวกันก็กลัวศาสนาคริสต์ที่มากับลัทธิล่าอาณานิคม พร้อมกับมีการเมืองภายในที่ใช้ศาสนาสร้างความกลัวว่า มีพระบางกลุ่มกำลังประพฤติปฏิบัติย่อหย่อนผิดเพี้ยนจากพระธรรมวินัยที่ถูกต้องในพระไตรปิฎก ดังนั้นแทนที่เราจะแยกศาสนาจากรัฐ เรากลับสร้าง “ศาสนจักรของรัฐ” ขึ้นมา การเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ของไทยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาจึงเป็นการเดินสวนทางกับความเป็นสมัยใหม่

เพราะขณะที่ยุโรปเขาทำให้ศาสนจักรอยู่ภายใต้หลักการของสภาวะสมัยใหม่ คือหลักการแยกศาสนาจากรัฐและหลักเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนา แต่สยามยุคอาณานิคมกลับสถาปนาศาสนจักรของรัฐขึ้นมา ทำให้เราไม่สามารถจะมีเสรีภาพทางศาสนาในกรอบคิดเสรีนิยมได้จวบจนปัจจุบัน (เช่นเดียวกับที่สังคมเราไม่สามารถจะมีเสรีภาพทางการเมืองในกรอบเสรีประชาธิปไตยได้นั่นเอง)

การสถาปนาศาสนจักรของรัฐ ส่วนหนึ่งก็เพื่อที่จะใช้ศาสนจักรเป็นกลไกสนับสนุนความชอบธรรมในอำนาจปกครองและอุดมการณ์รัฐ ส่วนหนึ่งก็เพื่อที่จะใช้ศาสนจักรนั้นควบคุมการสอนถูก สอนผิด ปฏิบัติถูก ปฏิบัติผิดของพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร เราจึงได้เห็นมาตลอดว่า หากมีกลุ่มพระสงฆ์ ชาวพุทธกระด้างกระเดื่องต่อมหาเถรสมาคมและอำนาจรัฐก็จะถูกจัดการอย่างเฉียบขาด

แต่ถ้ากระด้างกระเดื่องต่อมหาเถรสมาคมบนจุดยืนที่ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อย่างพระพุทธะอิสระหรือย้อนไปถึงกิตติวุฑโฒภิกขุ และกลุ่มอื่นๆ ก็ย่อมไม่ถูกจัดการใดๆ

ปรากฏการณ์ธรรมกายบอกอะไรหลายอย่าง หนึ่งคือธรรมกายถูกมองด้วยสายตาของ “ความกลัว” ว่าเป็น “ลัทธิ” ที่สร้างคำสอนและพิธีกรรมผิดเพี้ยนจากพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นความกลัวแบบรัฐยุคเก่าและยุคปรับตัวเข้าสู่สมัยใหม่ที่แยกนิกายและสร้างศาสนจักรขึ้นมาเพื่อจัดการกับความกลัวดังกล่าว ในยุคปัจจุบันมหาเถรสมาคมจึงถูกตั้งคำถามตลอดมาว่า ทำไมไม่จัดการขั้นเด็ดขาดกับธรรมกาย ซึ่งคำถามดังกล่าวกำลังจะบอกว่าศาสนจักรไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับความกลัว

แต่การมองธรรมกายเป็นสัญญะของความกลัวในเรื่องสอนผิด ปฏิบัติผิดพระไตรปิฎก ก็ไม่อาจทำอะไรธรรมกายได้ เพราะในความเป็นจริงไม่สามารถบอกได้ว่าวัดไหน สำนักไหนที่สอนถูก ปฏิบัติถูกพระไตรปิฎกอย่างแท้จริง ในระยะหลังธรรมกายจึงถูกฝ่ายตรงข้ามกล่าวหาในเรื่องเป็น “ภัยความมั่นคง” พร้อมๆกับการดำเนินการเอาผิดในเรื่อง “ทุจริต” จนนำมาสู่การวางแผนจะนำกองกำลังมหาศาลเข้าจับกุมพระธัมมชโยในขณะนี้

ว่าตามจริงข้อกล่าวหาเรื่องทุจริต ก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องสอนผิด สอนถูก ไม่เกี่ยวกับการเมืองสงฆ์ การเมืองทางโลก เป็นเพียงข้อกล่าวหาเรื่องทำผิดกฎหมายธรรมดาๆ ที่เมื่อใครถูกกล่าวหา ถูกแจ้งความก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ แต่กรณีของพระธัมมชโยกลับไม่ปกติ หรือไม่สามารถจะดำเนินการอย่างปกติได้ เพราะเป็นเรื่องที่ถูกนำไปเกี่ยวโยงการความเป็นการเมืองอย่างซับซ้อน

หากจะพูดอย่างถึงที่สุด เราไม่อาจพิจารณาปัญหาธรรมกายอย่างเป็นอิสระจาก “ความเป็นการเมือง” ได้จริง เพราะการเติบโตของธรรมกายเอง ก็มีความเป็นการเมืองในตัวเองอย่างซับซ้อน การขยายสาขา ขยายสำนักปฏิบัติธรรมในพื้นที่ซึ่งต้องซื้อที่ดินราคาแพงๆ การขยายบทบาทของธรรมกายที่ก้าวขึ้นมามีบทบาททางศาสนาระดับชาติในการจัดโครงการปฏิบัติธรรม การจัดอุปสมบท บิณฑบาตล้านรูปเป็นต้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจศาสนจักรและอำนาจรัฐบาล แต่เมื่อขั้วอำนาจรัฐบาลเปลี่ยนไป สถานะและบทบาทของธรรมกายก็เปลี่ยนดังที่เห็น

จากสภาวะความซับซ้อนของปัญหาธรรมกายที่มีความเป็นการเมืองเชื่อมโยงกับอำนาจรัฐ ศาสนจักร และอคติหรือความกลัวในเรื่องการตีความคำสอนเป็นต้นที่มีมาตลอด จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะทำให้พระธัมมชโยตัดสินใจมอบตัวสู้คดี เพราะกระบวนการยุติธรรมภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นยู่ เราก็เห็นอยู่แล้วว่าฝ่ายหนึ่งผิด อีกฝ่ายหนึ่งไม่ผิดตลอดมา ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐจะเข้าจับกุมตัวพระธัมมชโย เพราะธรรมกายมีมวลชน และเป็นมวลชนผู้ปฏิบัติธรรมที่อาจแปรสภาพเป็นมวลชนที่มีความเป็นการเมืองได้ตลอดเวลา

นี่คือภาพสะท้อนของสภาวะที่รัฐกับศาสนาไม่ได้แยกเป็นอิสระจากกัน สภาวะเช่นนี้จึงเป็นรากฐานของปัญหายุ่งเหยิงระหว่างการเมืองสงฆ์-การเมืองทางโลกอย่างสลับซับซ้อนตลอดมา

0000

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรรคฝ่ายค้านกานาชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ชูนโยบายแก้ปัญหาว่างงาน

$
0
0

จากปัญหาเรื่องค่าครองชีพและการว่างงานรวมถึงเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตของรัฐบาลก่อนหน้านี้ทำให้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในกานา ประเทศแถบแอฟริกามีผู้เทคะแนนให้พรรค NPP ที่เคยเป็นฝ่ายค้านมาสองสมัย จากการหาเสียงด้วยนโยบายเน้นการสร้างงานและแก้ไขปัญหาค่าไฟแพง-ไฟฟ้าดับบ่อย

13 ธ.ค. 2559 สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิสรายงานว่าผู้นำฝ่ายค้านของประเทศกานา นานา อะคูโฟ-แอดโด ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี หลังจากที่เคยพ่ายมาแล้วก่อนหน้านี้สองสมัย โดยที่อะคูโฟ-แอดโด เป็นตัวแทนจากพรรคชาตินิยมใหม่ (New Patriotic หรือ NPP) ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 53.85 คู่แข่งของเขาจากพรรคเอ็นดีซี (NDC) ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 44.4

จอห์น ดรามานี มาฮามา จากพรรค NDC ที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันกล่าวยอมรับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งล่าสุด ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศผลว่า อะคูโฟ-แอดโด ผู้ที่เคยแพ้ในการเลือกตั้งปี 2551 และ 2555 ได้รับชัยชนะในที่สุดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา

พรรค NPP เป็นพรรคสายขวา-กลาง ที่นิยามตัวเองว่าเป็นพรรคที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม ในการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้พรรค NPP เน้นเรื่องการสร้างงานและการสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้นจากการที่กานาประสบปัญหาคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-25 ปี อยู่ในภาวะว่างงาน ตามรายงานล่าสุดของธนาคารโลก

โมเดสตา บอนซู นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ให้สัมภาษณ์ต่ออินเตอร์เพรสเซอร์วิสว่าเขาโหวตให้อะคูโฟ-แอดโด เพราะชอบนโยบายหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่เชื่อว่าจะสร้างงานให้พวกเขาได้เมื่อเรียนจบ ออสบอร์น อะดู คนทำงานไอทีอายุ 26 ปี กล่าวถึงปัญหาค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคต่างๆ ที่สูงมากจนบางครั้งเขาต้องเอาเงินเก็บค่าเล่าเรียนตัวเองไปช่วยเหลือแม่

นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์มองว่าพรรค NDC พยายามหาเสียงด้วยเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นประเด็นที่คนไม่ให้ความสนใจ จากการสำรวจพบว่าชาวกานากำลังให้ความสนใจกับปัญหาการว่างงาน ปัญหาค่าครองชีพสูง และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน อินเตอร์เพรสเซอร์วิสระบุว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมากานาเกิดวิกฤตพลังงานจนทำให้ค่าไฟฟ้าพุ่งสูง มีธุรกิจปิดกิจการ เกิดปัญหาว่างงานตามมา ซึ่งสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมและพาณิชยการแห่งกานา (ICU) เตือนว่าอาจจะมีคนสูญเสียตำแหน่งงานอีกมากกว่า 3,000 ตำแหน่งถ้าหากยังไม่มีการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าติดๆ ดับๆ ซึ่งจากการสำรวจในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กเผยให้เห็นว่าพวกเขาอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล

สิ่งที่ทำให้พรรค NPP ได้รับความนิยมนอกจากเรื่องจะลดภาษีจากค่าไฟฟ้าและปรับโครงสร้างให้มีกำลังไฟสำรองเพื่อแก้ปัญหาไฟฟ้าติดๆ ดับๆ แล้วยังกล่าวอ้างว่าจะสร้างโรงงานในทุกอำเภอและจะจัดการระบบชลประทานให้ดีขึ้นสำหรับเกษตรกร อีกทั้งยังมีประเด็นเรื่องที่รัฐบาลในสมัยของมาฮามามีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน ที่นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกานา อดู โอวูซู ซาร์โคดี มองว่าถ้ารัฐบาลใหม่แก้ไขปัญหาการรั่วไหลในระบบภาษีของกานาก็จะนำเงินมาพัฒนาเศรษฐกิจได้

อินเตอร์เพรสเซอร์วิสระบุว่านับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมาชาวกานาก็เลือกสับเปลี่ยนไปมาระหว่างสองพรรคการเมืองในทุกๆ 8 ปี แต่สิ่งที่น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการเสียชีวิตของจอห์น แอตตา มิลล์ นักการเมืองพรรค NDC ที่ป่วยเสียชีวิตก่อนจะหมดสมัยแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาในปี 2555 ทำให้หลังจากนั้น กานาก็อยู่ใต้การนำของมาฮามาผู้ชนะการเลือกตั้งอีกหนึ่งสมัยก่อนจะพ่ายให้กับพรรค NPP ในครั้งล่าสุด


เรียบเรียงจาก

New Anti-Corruption Leader Takes the Helm in Ghana, Inter Press Service, 11-12-2016
http://www.ipsnews.net/2016/12/new-anti-corruption-leader-takes-the-helm-in-ghana/


ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

https://en.wikipedia.org/wiki/Nana_Akufo-Addo
https://en.wikipedia.org/wiki/Ghanaian_general_election,_2016

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพจ ลงทุนศาสตร์ ชี้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ฉ.ใหม่ 'หุ้นรายตัวจะกลายเป็นเรื่องที่ห้ามพูดไปเลย'

$
0
0

เพจ ลงทุนศาสตร์ ได้โพสต์วิจารณ์มาตรา 240 กับ 241 พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ฉ.ใหม่ ที่ห้ามเผยแพร่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ไม่สมบูรณ์หรือส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ ระบุแปลง่ายๆ คือ หุ้นรายตัวจะกลายเป็นเรื่องที่ห้ามพูดไปเลย กระทบ กราฟหุ้นรายตัว หนังสือพิมพ์หุ้นและคอร์สสอนหุ้น

ที่มา เพจ ลงทุนศาสตร์

13 ธ.ค. 2559 จากการณีเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559  

วันนี้ (13 ธ.ค.59)ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า ก่อนหน้านี้ ศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. ระบุว่า ที่ผ่านมาการกระทำความผิดในตลาดทุนมีความซับซ้อน กฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมการกระทำความผิดรูปแบบใหม่ๆ รวมทั้งบทบัญญัติในกฎหมายบางกรณียังไม่ชัดเจน ประกอบกับกระบวนการฟ้องคดีอาญานั้นมีหลายขั้นตอน ใช้เวลานานในการดำเนินคดี ทั้งนี้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ปรับปรุงลักษณะการกระทำความผิด และเพิ่มมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยมีประเด็นที่สำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ การป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (market misconduct) และมาตรการลงโทษทางแพ่ง (civil penalty)

สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับ market misconduct ได้ปรับปรุงลักษณะความผิดเป็น 4 กลุ่มความผิด ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลงทุนและตลาดทุน , ความผิดเกี่ยวกับการเอาเปรียบผู้ลงทุนรายอื่น โดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลตนรู้มา , ความผิดเกี่ยวกับการสร้างราคาหลักทรัพย์ เป็นต้น ขณะที่การเพิ่มมาตรการลงโทษทางแพ่ง ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการบังคับใช้กฎหมายได้รวดเร็วขึ้น

ดังนั้น เมื่อ ก.ล.ต.เห็นควรใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง จะเสนอคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบังคับใช้กฎหมาย และด้านตลาดเงินตลาดทุน ได้แก่ อัยการสูงสุด (เป็นประธาน) ปลัดกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และเลขาธิการ ก.ล.ต. เป็นต้น  อย่างไรก็ดี หากผู้กระทำผิดยินยอมและชำระเงินครบถ้วนตามบันทึกการยินยอม คดีจะสิ้นสุดลงทั้งในส่วนมาตรการลงโทษทางแพ่งและทางอาญา แต่หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมชำระเงิน ก.ล.ต.จะดำเนินการฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาลแพ่งต่อไป 

ด้าน เพจ ลงทุนศาสตร์ ได้โพสต์วิจารณ์มาตรา 240 กับ 241 โดย ระบุว่า แซ่บมาก คือห้ามเผยแพร่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ไม่สมบูรณ์หรือส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ แปลง่ายๆ คือ หุ้นรายตัวจะกลายเป็นเรื่องที่ห้ามพูดไปเลย เชิงพื้นฐานนี่พูดได้เฉพาะที่ครบถ้วน น่าจะหมายถึงประกาศผ่าน set sec opp day agm 56-1 59-2 เท่านั้น อะไรนอกจากนั้นน่าจะพูดถึงไม่ได้เลย

ส่วนทางเทคนิคคอลนี่แล้วใหญ่ กราฟหุ้นรายตัวนี่อาจพูดถึงไม่ได้เลย เพราะมันมีผลต่อการตัดสินใจแน่ๆ แถมข้อมูลที่ได้มันต้องไม่ครบถ้วนอยู่แล้ว เพราะการคาดการณ์ในอนาคตมันจะไปครบถ้วนได้ไง ตีเทรนด์แนวรับแนวต้านนี่ก็ถือว่าน่าจะเกี่ยวหมด กราฟตลาดพูดได้หรือเปล่ายังไม่รู้เลย เพราะก็ส่งผลต่อการตัดสินใจเหมือนกัน หนังสือพิมพ์หุ้นนี่น่าจะหนักสุด เพราะเขียนข่าวจากผู้บริหารไม่ผ่าน set ไม่ได้แล้ว ต่อไปข่าวที่อ่านก็จะมาจากการเอา ข่าวจาก set หรือ opp day ไม่มีความสดชื่นใดใด
 
"ความพีคสุดคือคอร์สสอนหุ้นนี่นับไหม เพราะคำว่าบอกกล่าวมันดูครอบคลุมมาก ถ้าครอบคลุมก็เซย์กู๊ดบาย เลิกสอนหุ้นกันทั้งประเทศไทย เพจเราไม่พูดหุ้นรายตัวอยู่แล้วเนอะ ต่อไปแค่เปลี่ยนจากไม่พูดเป็นห้ามพูดคงไม่ต่างกันเท่าไหร ถือว่าต่างคนต่างดอย" เพจ ลงทุนศาสตร์ โพสต์


 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่ม LGBTQ ไต้หวันจัดคอนเสิร์ตหนุน กม.แต่งงานคนรักเพศเดียวกัน

$
0
0

ในขณะที่รัฐบาลไต้หวันกำลังพิจารณาให้มีกฎหมายรับรองการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันอย่างเท่าเทียมกับคนต่างเพศ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศก็จัดคอนเสิร์ตรณรงค์หน้าที่ทำการประธานาธิบดี มีคนมาเข้าร่วมนับแสนคน มีดาราทั้งในและต่างประเทศอย่างเดนิส โฮ ดาราคนรักเพศเดียวกันผู้เคยส่งเสริมการเรียกร้องประชาธิปไตยฮ่องกง

13 ธ.ค. 2559 สื่อไชน่าโพสต์รายงานว่ามีประชาชนชาวไต้หวันราว 250,000 คนเข้าร่วมคอนเสิร์ตส่งเสริมการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันในกรุงไทเปหน้าที่ทำการประธานาธิบดีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (10 ธ.ค.) โดยมีดาราทั้งในและนอกประเทศเข้าร่วม ขณะที่ตำรวจประเมินว่ามีจำนวนคนเข้าร่วมราว 75,000 คน

โดยที่งานคอนเสิร์ตในครั้งนี้จัดตรงกับวันสิทธิมนุษยชนพอดีหลังจากที่มีคนบางกลุ่มเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลยับยั้งการทำให้การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันถูกกฎหมาย

นักร้องที่ขึ้นร้องเพลงเปิดเป็นชนพื้นเมืองชาวอามีส์ (Amis) ในไต้หวันชื่อ Suming Rupi เขาหวังว่าสิทธิในการแต่งงานจะขยายไปสู่ประชาชนทุกคนในไต้หวัน นอกจากนี้ยังมี เดนิส โฮ นักร้องเพลงป็อปภาษากวางตุ้งชื่อดังในฮ่องกงผู้ที่เปิดเผยตัวว่าเป็นคนรักเพศเดียวกันและเป็นผู้สนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง เธอบอกว่ารู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในช่วงเวลาประวัติศาสตร์เช่นนี้

ศิลปินเพลงที่เข้าร่วมยังมี ซานดี ชาน นักร้องเพลงป็อปจากฟิลิปปินส์ ไต้อ้านหลิง นักร้องเพลงป็อปภาษาจีนกลางชาวไต้หวัน และมีดาราไต้หวันคนอื่นๆ ส่งวิดีโอข้อความเผยแพร่ในคอนเสิร์ต โดย อาเม่ย ดาราหนึ่งในผู้เรียกร้องสิทธิคนรักเพศเดียวกันยังเป็นผู้ออกแบบธงที่แจกจ่ายในคอนเสิร์ตด้วย

งานนี้กลุ่มผู้จัดคือสมาคมสายด่วนให้คำปรึกษากลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศไต้หวันและกลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิในครอบครัวของผู้มีความหลากหลายทางเพศไต้หวัน

ทางด้านไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวันกล่าวผ่านโฆษกของเธอในอีกงานหนึ่งว่า "คนรักเพศเดียวกันมีสิทธิที่จะแต่งงาน" และในสภามีการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการแต่งงานได้อย่างเท่าเทียมกันและรัฐบาลก็หวังว่าสังคมจะยอมเปิดกว้างในการหารือกันในเรื่องนี้มากขึ้น

โหยวเหม่ยหนิว ส.ส. พรรคดีพีพีในไต้หวันเปิดเผยต่อหน้าฝูงชนว่าเธอจะทำตามสัญญาคอยดูแลเรื่องที่จะมีคณะกรรมการพิจารณากฎหมายการแต่งงานอย่างเท่าเทียมกันภายในวันที่ 26 ธ.ค. ขณะที่รองเลขาธิการพรรคกล่าวว่าพวกเขาจะทำให้ร่างนี้ผ่านให้ได้

ก่อนหน้านี้มี ส.ส.รายหนึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งให้เพิ่มบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันไปด้วย แต่ผู้เรียกร้องสิทธิของคนรักเพศเดียวกันก็ยังมองว่าเป็นการกีดกันอีกแบบหนึ่งแตกต่างจากกฎหมายที่ให้มีการแต่งงานของทุกเพศได้อย่างเท่าเทียม

อย่างไรก็ตามกลุ่มองค์กรที่อ้างตัวว่าเป็นกลุ่มปกป้องคุณค่าของครอบครัวออกมากล่าวต่อต้านและมีการประท้วงอ้างว่าการแก้ไขกฎหมายแพ่งแบบเพิ่มการแต่งงานคนรักเพศเดียวกันที่เป็นข้อเสนอก่อนหน้านี้ถือเป็นการ "ทำลายคุณค่าของครอบครัว"

 

เรียบเรียงจาก

Mass rally demands marriage equality, China Post,  11-12-2016
http://www.chinapost.com.tw/taiwan/national/national-news/2016/12/11/486419/Mass-rally.htm

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทรัมป์ 101: ที่มาและที่ไปของสหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดีทรัมป์

$
0
0

<--break- />

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2016 โลกต้องตื่นตะลึง เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน พลิกชนะฮิลลารี คลินตัน แห่งพรรคเดโมแครต อย่างเหนือความคาดหมาย เตรียมก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2017

เหตุใดโดนัลด์ ทรัมป์ อภิมหาเศรษฐีระดับห้าพันล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ไร้ประสบการณ์ทางการเมืองและกิจการสาธารณะโดยสิ้นเชิง จึงข้ามผ่านคู่แข่งอีก 16 คน ก้าวขึ้นเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกัน และยึดทำเนียบขาวได้สำเร็จในที่สุด ทั้งที่ตลอดการหาเสียงเลือกตั้ง ทรัมป์ฉีกทุกกฎแห่ง ‘ความถูกต้องทางการเมือง’ ด้วยข่าวฉาวโฉ่ บุคลิกขำขื่น วาจาข่มขู่ นโยบายเหนือจริง และโกหกคำโต

สหรัฐอเมริกาเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และโลกใหม่ในยุคประธานาธิบดีทรัมป์จะมีหน้าตาเช่นไร

ปกป้อง จันวิทย์ผู้เขียนหนังสือ CHANGE ถนนสู่ทำเนียบขาว เมื่อปี 2008 หนึ่งในคณะบรรณาธิการ the101.world สื่อใหม่ของทีมงาน ‘วันโอวัน’ (the101percent.com) ที่เตรียมเปิดตัวในปี 2017 ชวน ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตรองอธิการบดีและคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาสำรวจเบื้องลึกเบื้องหลังของ ‘ปรากฏการณ์ทรัมป์’ แบบตัวต่อตัว ผ่านแว่นตาของนักประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐอเมริกา

……………………………………………..

อะไรคือปัจจัยชี้ขาดที่ทำให้ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะศึกเลือกตั้งประธานาธิบดี 2016

ข้อมูลต่างๆ ชี้ว่ากลุ่มผู้สนับสนุนของทรัมป์คือกลุ่มคนผิวขาวสูงอายุ ทั้งชายและหญิง ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า rust belt คือเขตเมืองอุตสาหกรรมเก่าในภาคตะวันตกกลาง (มิดเวสต์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแถบทะเลสาบใหญ่ (Great Lakes) พื้นที่แถบนั้นมีสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่มาหลายสิบปีแล้ว อุตสาหกรรมถดถอย การค้าไม่เติบโต ประชากรย้ายออก ความเป็นเมืองเสื่อมลง และนอกจากคนกลุ่มนี้แล้ว ทรัมป์ยังมีกลุ่มคนจนผิวขาวเป็นผู้สนับสนุนสำคัญอีกด้วย  

ปกติคนเหล่านี้ไม่ค่อยออกมาลงคะแนนอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน แต่คราวนี้กลับออกมาลงคะแนนกันอย่างถล่มทลาย คล้ายกับที่คนผิวดำแห่กันไปลงคะแนนให้บารัค โอบามาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีกสองครั้งที่ผ่านมา

คำถามก็คือเหตุใดคนผิวขาวกลุ่มนี้จึงออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันมากมายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

แต่ถ้าเจาะลึกลงไป ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นตัวแสบ และเป็นอีกฐานเสียงหลักที่ทำให้ทรัมป์ชนะเลือกตั้ง นั่นคือ กลุ่มคนที่เคยสนับสนุนพรรคเดโมแครต แต่ครั้งนี้เปลี่ยนมาสนับสนุนทรัมป์ พวกนี้อาศัยอยู่ตามชานเมืองและจำนวนมากอยู่ในรัฐภาคใต้ ซึ่งไม่ชอบความคิดแบบเสรีนิยมของคนภาคเหนือเลย ไม่ชอบมาตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามกลางเมืองแล้วด้วย คนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนจน แต่มีฐานะดี และเป็นเจ้าของธุรกิจด้วย ธุรกิจของคนกลุ่มนี้ไปไม่รอดในยุคเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ เมื่อสหรัฐอเมริกาแข่งกับจีน ญี่ปุ่น อาเซียนไม่ได้

สำหรับหลายคน นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่เลิกโหวตให้พรรคเดโมแครต แล้วเขาไม่ได้คิดว่าโหวตให้พรรครีพับลิกันนะ แต่เขาโหวตให้ทรัมป์

ทำไมคนอย่างทรัมป์ถึงกลายเป็นความหวังได้

คนกลุ่มนี้รอคอยการเปลี่ยนแปลงมาหลายสมัยแล้ว ตั้งแต่ยุค บิล คลินตัน แปดปี ต่อด้วยจอร์จ ดับเบิลยู. บุช แปดปี ตามด้วยโอบามา อีกแปดปี เขารู้สึกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ชีวิตยังไม่ดีขึ้น พอได้ฟังทรัมป์สัญญาว่าจะเอางานกลับมา เอาอุตสาหกรรมกลับมา ก็รู้สึกว่ามีความหวัง

เขาเชื่อกันหรือว่าทำได้จริง

คุณก็รู้ว่ามันกลวง คำสัญญาพวกนี้ทำไม่ได้หรอก อ้าว แล้วไปเลือกทรัมป์ทำไม เขาก็ตอบว่า ถ้าสี่ปีข้างหน้า ทำอะไรไม่ได้ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เขาก็ไปเลือกคนใหม่ แต่ตอนนี้เขารู้สึกว่ามันถึงทางตันแล้ว ต้องการการเปลี่ยนแปลงจากสภาพปัจจุบันทันที

พรรคเดโมแครตมัวแต่ทำเรื่องใหญ่ เรื่องหลักการ เช่น สิทธิมนุษยชน สนใจนโยบายระดับโลก ผลักดันแนวทางเสรีนิยมต่างๆ แต่คนชั้นกลางลงมาถึงล่างจะตายกันหมด แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ธุรกิจก็เจ๊ง คนตกงาน  ธุรกิจของคุณต้องใหญ่จริงแบบ Apple คุณถึงจะสู้ได้ ย้ายฐานการผลิตไปจีนได้ แต่พวกที่อยู่ตรงกลางก็ติดแหงก สู้กับโลกาภิวัตน์ไม่ได้ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยสร้างงาน เอาเงินมาลง ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศ

แต่รีพับลิกันยิ่งโปรทุนมากกว่า โปรโลกาภิวัตน์มากกว่า โปรเสรีนิยมใหม่มากกว่าเดโมแครตด้วยซ้ำ เราจะเข้าใจการหันไปเลือกรีพับลิกันได้อย่างไร

คนอเมริกันก็เหมือนกับคนประเทศอื่นๆ ที่มีการเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบไปแล้ว ดังนั้นประชาชนพอจะรู้ว่านักการเมืองเมื่อเป็นรัฐบาลแล้วก็ทำได้ระดับหนึ่ง พอจะรู้ว่าทั้งสองพรรคใหญ่ต่างก็มีนายทุนใหญ่ นายธนาคาร พ่อค้าอุตสาหกรรมใหญ่ หนุนหลังอยู่ มันเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้

ตรงนี้ผมคิดว่าบุคลิกและท่วงทำนองในการแสดงออกของตัวประธานาธิบดีจะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการเลือกตั้ง คือหากเขาทำให้ประชาชนผู้เลือกตั้งเชื่อและคิดฝันตามที่เขานำเสนอได้ ก็จะช่วงชิงการนำได้สำเร็จ ตรงนี้ทรัมป์ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิลลารี คลินตันเทียบไม่ได้เลย ถึงแม้ว่าประวัติการทำงานโดยเฉพาะทางการเมืองของคลินตันจะชนะขาดก็ตาม

ใครคือมันสมองเบื้องหลังความสำเร็จของทรัมป์

คนที่ช่วยทำให้ภาพลักษณ์และการสื่อสารของทรัมป์ไปยังผู้เลือกตั้ง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มุ่งเจาะให้เป็นฐานกำลังในการเลือกตั้ง ประสบความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อคือ สตีฟ แบนนอน (Steve Bannon) ซึ่งเป็นประธานทีมรณรงค์หาเสียงของทรัมป์

แบนนอนเป็นผู้อำนวยการของสำนักข่าวไบรต์บาร์ต (Breitbart News) ซึ่งเป็นสำนักข่าวออนไลน์ที่เป็นขวาสุดกู่ วิธีการนำเสนอข่าวของพวกนี้คือการเต้าข่าวและใส่สีลงในเนื้อหาข่าว ทำให้อ่านสนุกเร้าใจและจูงใจอย่างเงียบๆ เนียนๆ (ภาษาเก่าคือ “ล้างสมอง”)  สำนักข่าวใหญ่อย่างนิวยอร์กไทมส์ รวมถึงกลุ่มประชาสังคมคนผิวดำ ผู้หญิง และยิว มักคัดค้านและประท้วงการเสนอข่าวของไบรต์บาร์ตว่าเป็นการเหยียดผิว (racism) ดูถูกทางเพศ (sexism) และเหยียดศาสนา (anti-semitism)

แบนนอนกล่าวว่าไบรต์บาร์ตเป็นกระบอกเสียงให้กับฝ่าย “เอียงขวาทางเลือก” (Alt-Right) ฟังดูดี แต่จริงๆ แล้ว พวกนี้เป็นขวาใหม่ที่หนักกว่าเก่า อุดมการณ์คือต่อต้านลัทธิอนุรักษนิยมกระแสหลักที่ไม่สนับสนุนความคิด “คนขาวเหนือกว่า” (White supremacy) แบนนอนเป็นคนวางยุทธวิธีในการโจมตีจุดอ่อนและสร้างความรู้สึกให้คนเชื่อว่าคลินตันมีความผิดจริงในเรื่องต่างๆ ซึ่งทำให้คะแนนเสียงของคลินตันตกไปหลายจุด

แบนนอนมีประวัติที่น่าสนใจ เขาเริ่มทำงานกับบริษัทการเงินโกลด์แมนแซกส์หลังจากเรียนจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์และโรงเรียนธุรกิจของฮาร์วาร์ด แล้วไปประจำในลอสแอนเจลิส ทำงานฝ่ายธุรการ มีหน้าที่ติดต่อระหว่างนักสร้างหนังกับสถานีโทรทัศน์ พอมีเงินก็ตั้งบริษัทวาณิชธนกิจของตัวเอง เป็นนายหน้าติดต่อให้กับนักสร้างหนัง จนได้เจอกับแอนดรูว์ ไบรต์บาร์ต (Andrew Breitbart) ผู้ก่อตั้งสำนักข่าวไบรต์บาร์ต เขามีความคิดอนุรักษนิยม แต่ทำงานในฮอลลีวูด ซึ่งมีประวัติเป็นฐานกำลังของฝ่ายเสรีนิยมมาตลอด

แบนนอนใช้ยุทธศาสตร์การสื่อสารอย่างไร จนส่งทรัมป์เข้าทำเนียบขาวได้สำเร็จ

สิ่งที่แบนนอนได้เรียนรู้จากไบรต์บาร์ตคือปฏิบัติการทางการเมืองเชิงวัฒนธรรม เรียนรู้กระบวนการทางวัฒนธรรมในการสร้างข่าวการเมือง วิธีการเล่าข่าวให้เดินไปตามแนวทางที่ต้องการ นั่นคือการโฟกัสไปที่ความสนใจของคนในบางเรื่องและบางแนว ที่สำคัญคือแบนนอนเริ่มรับความคิดจากไบรต์บาร์ตว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเอาวัฒนธรรมและรัฐบาลคืนมาจากพวกเสรีนิยม แนวความคิดทางการเมืองอันนี้เกิดก่อนการก่อตั้งกลุ่มทีปาร์ตี้ (Tea Party) ของฝ่ายรีพับลิกันเอียงขวาทั้งหลายด้วยซ้ำ และต่อมาก็กลายมาเป็นความคิดการเมืองและจุดหมายของฝ่ายขวาของพรรครีพับลิกันในที่สุด

กล่าวได้ว่า แบนนอนเป็นคนดึงเอาความคิดและสัญชาตญาณของทรัมป์ออกมา แล้วใส่หีบห่อใหม่ ส่งเข้าไปในช่องทางสื่อสารโซเชียลมีเดียทั้งหลาย ทำให้คนฟังรู้สึกว่าเป็นความคิดและข้อเสนอที่เป็นเอกภาพ  คำพูดทั้งหลายของทรัมป์วิ่งตรงเข้าไปยังใจกลางของกลุ่มอนุรักษนิยมเอียงขวา ผู้ต่อต้านเสรีนิยมและรัฐบาลกลางได้อย่างไม่น่าเชื่อ

แน่นอนว่าแบนนอนไม่ใช่นักปลุกระดมสายโลกสวย เขาจัดตั้งและนำกลุ่มผู้หญิงออกมาให้สัมภาษณ์โจมตีบิล คลินตันในกรณีชู้สาว และให้องค์การต่อต้านคอร์รัปชั่นชื่อ Government Accountability Institute (GAI) ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Clinton Cash เปิดโปงว่าใครบริจาคเงินให้มูลนิธิคลินตันบ้าง อันเป็นที่มาของการโจมตีถล่มฮิลลารี คลินตันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

นักวิเคราะห์การเมืองชี้ว่า การหาเสียงของทรัมป์ในช่วงท้ายนั้น คนส่วนมากเชื่อว่าเสียศูนย์จนตกเป็นฝ่ายรับ รวมถึงคะแนนโพลก็ตกเพราะถูกเปิดโปงเรื่องคำพูดดูถูกและลวนลามผู้หญิงในอดีต แต่ถ้าไปดูจุดยืน ประเด็นหาเสียง และการโจมตีตอบโต้คลินตันของทรัมป์จะพบว่า เขายืนหยัดเดินตามแนวทางและประเด็นคอร์รัปชั่นของฮิลลารีและบิล คลินตัน ตามเนื้อหาของหนังสือ Clinton Cash นั่นคือทรัมป์อาศัยสตีฟ แบนนอนเป็นหลังพิงในการยืนตอบโต้กับฝ่ายคลินตันนั่นเอง

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ทรัมป์ตอบแทนผลงานการปลุกระดมและปฏิบัติการจิตวิทยาแบบไอโอ (Information Operation – IO) ของแบนนอนด้วยการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าสำนักยุทธศาสตร์ (Chief Strategist) และที่ปรึกษาอาวุโส (Senior Counselor) ของประธานาธิบดี

ทั้งหมดนี้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงอะไรในการเมืองอเมริกัน

การแต่งตั้งแบนนอนถูกวิจารณ์ คัดค้าน กระทั่งประณามจากสื่อมวลชนสายเสรีนิยม รวมถึงกลุ่มประชาสังคมต่างๆ ทั้งผู้หญิง คนผิวดำ และคนส่วนน้อยต่างศาสนา พวกเขารู้สึกว่าเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนบรรดากลุ่มฝ่ายขวาและเอียงขวาสุดขั้วที่กำลังชูคำขวัญ “ชาตินิยมผิวขาว” (White Nationalism) นี่เป็นสิ่งที่คนอเมริกันในประวัติศาสตร์อเมริกากว่าสองศตวรรษไม่อาจคาดคิดว่าจะเป็นจริงขึ้นมาได้

แนวคิดดังกล่าวมีมานานนับตั้งแต่ภาคใต้และอดีตนายทาสผิวขาวแพ้สงครามกลางเมือง จนนำมาสู่การเกิดกลุ่มคนผิวขาวเอียงขวาสุดขั้วขึ้นมาเพื่อทำลายและกวาดล้างคนผิวดำและคนผิวขาวเสรีนิยมที่สนับสนุนคนผิวดำ แต่กลุ่มเหล่านั้นก็มีขนาดเล็กมากและไม่มีกระแสรองรับเลย แต่ครั้งนี้ต้องถือว่าเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองอเมริกันอย่างสิ้นเชิง

นี่คือคำตอบต่อคำถามที่ผมตั้งไว้ตอนต้นว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้คนผิวขาวสูงอายุและเชื่อในแนวทางอนุรักษนิยมออกมาลงคะแนนเสียงให้ทรัมป์อย่างถล่มทลาย

ฟังอาจารย์เล่ามาถึงตรงนี้ ดูเหมือนว่า ‘วาทกรรม’ มันทำงานได้ดีทีเดียว

ใช่  วิธีก็คือต้องสร้างประเด็นรูปธรรมเฉพาะหน้าขึ้นมา กรณีของทรัมป์ เป้าหมายฐานเสียงที่ต้องการคือคนชั้นกลางระดับล่างที่ไม่จบมหาวิทยาลัย เป็นคนผิวขาวที่ตกงานมาอย่างยาวนาน ถึงแม้สถิติจะบอกว่าในสมัยโอบามานั้น ตัวเลขคนตกงานลดลง ทรัมป์ก็ต้องขายวาทกรรมว่า คนผิวขาวไม่ได้ดีขึ้น พวกที่ได้งานทำจริงๆ แล้วคือคนอพยพมาจากนอกประเทศ เช่นพวกเม็กซิกันและผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง กลายเป็นว่าพวกผู้อพยพมาแย่งงาน โดยรวมสภาพความเป็นอยู่ของคนผิวขาวยากจนในแถบ rust belt และภาคใต้ก็ยังไม่มีอนาคตเหมือนเดิม  

นอกจากนั้น ก็ต้องมีการทำลายชื่อเสียงหรือฆ่ากันทางการเมือง ที่เรียกว่า character assassination ประกอบด้วย เช่น กล่าวหาว่าโอบามาไม่ได้เกิดที่อเมริกา เป็นคนมุสลิม หรือเล่นงานฮิลลารี คลินตัน ว่าเป็นคนโกง เชื่อถือไม่ได้ กรณีของโอบามา พวกฝ่ายขวาและกลุ่มทีปาร์ตี้ไม่ประสบผลความสำเร็จเลยก็ว่าได้ เพราะโอบามามีบุคลิก ภูมิปัญญา และความสามารถ ภรรยาก็ฉลาด ที่สำคัญ ไม่มีเรื่องด่างพร้อยในครอบครัวให้มานินทาได้เลย ตรงข้ามกับคลินตันที่เป็นหญิงแกร่งทำงานหนักและต่อสู้ทางการเมืองมาตลอด แต่ก็ถูกรอยฟกช้ำและหม่นหมองของสามีและทีมงานทำให้มัวหมองไปด้วย ด้วยกระแสการปลุกระดมและสร้างภาพใหม่ที่เลวร้ายของฝ่ายทรัมป์

เราต้องเข้าใจด้วยว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มคนชั้นกลางระดับกลางและล่างของอเมริกาต้องทนทุกข์ทรมานมาก ภาพแบบในหนังที่พวกนี้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขเรื่อยๆ มีรายได้พอให้ไปเที่ยวพักผ่อนต่างประเทศ มันหายไปหมดแล้ว นี่ขนาดพี่ชายและพี่สาวของภรรยาผมยังตกงานเลย  คนกลุ่มนี้คงมีจำนวนมากประมาณหนึ่ง แต่เดิมเรามองไม่เห็นว่ามากแค่ไหน แต่พอทรัมป์ชนะปุ๊บ มันเห็นชัดเลยว่ามีจำนวนมหาศาล เมื่อก่อนยังไม่มีใครไปปลุกระดม ไปสร้างขบวนการเคลื่อนไหวให้คนกลุ่มนี้เข้าร่วม แต่คราวนี้ทรัมป์เน้นหาเสียงกับคนกลุ่มนี้ หยิบประเด็นเรื่องการต่อต้านโลกาภิวัตน์และการต่อต้านผู้อพยพขึ้นมาชูธง เน้นว่าสหรัฐอเมริกาต้องมาก่อน ต้องกลับมายิ่งใหญ่ แล้วนอกจากการปราศรัยหาเสียง ก็พยายามเจาะเข้าถึงตัว ทั้งเคาะประตูบ้าน ทั้งส่งอีเมล ส่งเอสเอ็มเอส ใช้โซเชียลมีเดีย

เรียกได้ว่าเป็นการรณรงค์หาเสียงทางการเมืองที่ใช้เครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่มากที่สุดและใช้เล่ห์เหลี่ยมทุกอย่าง ไม่ได้ด้วยมนต์คาถาก็ใช้กำลังข่มขู่  นักข่าวหญิงของสำนักข่าวตะวันออกกลางคนหนึ่งเล่าว่าเธอไปทำข่าวในเวทีหาเสียงของทรัมป์ มีผู้ชายผิวขาวหน้าตาขึงขังมาถามเลยว่ามาจากไหน เธอต้องยอมโกหกด้วยการตอบว่ามาจากอินเดีย เพราะหน้าตาและสีผิวพอจะใกล้เคียง เธอสารภาพว่ากลัวมากหากบอกความจริงไปว่ามาจากตะวันออกกลาง

แปดปีก่อนคนกลุ่มนี้จำนวนมากยังสนับสนุน change แบบโอบามาอยู่เลย แต่รอบนี้หันมาเชียร์ change แบบทรัมป์ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันเลย เราจะเข้าใจการพลิกกลับ 360 องศานี้ได้ด้วยเหตุผลอะไรอีก

นอกจากกลยุทธ์และวิธีการโฆษณาชวนเชื่ออย่างไม่แคร์ต่อหลักการใดๆ แล้ว สำหรับฝ่ายผู้รับสาร เมื่อคนรู้สึกสิ้นหวัง ไร้อนาคต ถ้ามีใครแสดงตัวออกมาเป็นฮีโร่ ก็ส่งผลโน้มน้าวผู้คนได้ ทรัมป์มีภาพลักษณ์ไม่ใช่นักการเมืองแบบเก่า ด่านักการเมืองอาชีพในพรรคและนอกพรรค ด่าพวกวอลสตรีท เป็น ‘คนนอก’ ของพรรค แต่ลงแข่งในการเลือกตั้งขั้นต้นของรีพับลิกันได้อย่างสูสี จนสุดท้ายก็เอาชนะเป็นตัวแทนพรรคได้สำเร็จ ชาวบ้านก็มองว่ามันเก่ง ลุยสู้กับแกนนำทั้งพรรคได้ ผ่านการการันตีแล้วว่าทำได้ เก่งจริง ทรัมป์เลยกลายเป็นฮีโร่ขวัญใจมวลชน (popular hero) เป็นคำตอบในความสิ้นหวัง

ในช่วงทศวรรษ 1980 เคยมีคำว่า ‘เรแกนเดโมแครต’ คือกลุ่มคนเดโมแครตที่หันไปสนับสนุนประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ของรีพับลิกัน จนเรแกนชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย  ‘เรแกนเดโมแครต’ กับ ‘ทรัมป์เดโมแครต’ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

มีทั้งเหมือนและต่าง ผมคิดว่ามิติที่แตกต่างมีมากกว่า  ในยุคที่เรแกนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกาประสบปัญหา ทั้งด้านเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซามาตั้งแต่สงครามเวียดนามยุติ และด้านความมั่นคง กล่าวคือ การต่อสู้กับสหภาพโซเวียตยังคงหนักหน่วง สหรัฐอเมริกาหมดบทบาทในด้านความมั่นคงระหว่างประเทศลงไป เช่น การปฏิวัติอิหร่าน สถานทูตสหรัฐอเมริกาถูกยึด และปฏิบัติการของอเมริกาเพื่อไปช่วยเจ้าหน้าที่ในสถานทูตก็ล้มเหลว นิคารากัวก็เกิดการปฏิวัติโดยฝ่ายซ้าย ลาตินอเมริกาที่เคยอยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกาก็หลุดมือ ฝ่ายซ้ายขึ้นมามีอำนาจ ประธานาธิบดียุคก่อนหน้าคือ จิมมี คาร์เตอร์ ก็อ่อนแอในการจัดการกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ คนเลยรู้สึกว่าสหรัฐอเมริกาถดถอยลงในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

เมื่อเรแกนขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 1981 เขาผลักดันชุดนโยบายเศรษฐกิจแบบเรแกน (Reaganomics) อย่างได้ผล เรแกนต่อสู้กับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในยุคหลังสงครามเวียดนาม โดยใช้นโยบายที่เรียกว่า supply-side economics เน้นการลดภาษีแก่ภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวผ่านการผลิตและการลงทุนของภาคเอกชนที่มากขึ้น รวมถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และบั่นทอนความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน

เรแกนมีวิสัยทัศน์ในการสร้างระเบียบการเมืองและระเบียบเศรษฐกิจใหม่ อันนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในคุณสมบัติเฉพาะตัวของประธานาธิบดีแต่ละคน ซึ่งต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถแสดงออกถึงจุดหมายที่ตัวเองต้องการไปถึงต่อสาธารณชนได้ เรแกนนำสหรัฐอเมริกาต่อสู้กับสงครามเย็น เขาตีตราพวกประเทศคอมมิวนิสต์ว่าเป็นอาณาจักรชั่วร้าย (evil empire) จากนั้นเรแกนใช้ฐานเศรษฐกิจในประเทศในการสร้างดุลกับรัฐสภา ไปสู่การดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สามารถเป็นฝ่ายรุกสหภาพโซเวียตได้ โดยนำงบประมาณทางการทหารไปสร้างอาวุธนิวเคลียร์เพื่อตอบโต้การใช้นิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต (Strategic Defense Initiative - SDI) จากนั้นก็ขยายงานด้านส่งเสริมประชาธิปไตยไปทั่วโลก ตั้งมูลนิธิประชาธิปไตยแบบอนุรักษนิยม และใช้นโยบายสิทธิมนุษยชนของคาร์เตอร์ไปกำกับทิศทางความสัมพันธ์ต่างประเทศ โดยอาศัยเป็นเหตุผลทั้งด้านความมั่นคงและจริยธรรม เรแกนแทรกแซงประเทศในลาตินอเมริกา ต่อต้านและโค่นล้มฝ่ายสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อย่างไม่ไว้หน้าทั้งลับหลังและเปิดเผย

ในระยะยาว เรแกนในฐานะของผู้นำสูงสุดได้ผลักดันให้สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นไปเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลกในช่วงปี 1989-1992 ขนาดที่เรียกได้ว่าเป็นผู้นำหนึ่งเดียวของโลกหลายขั้วในตอนนั้น (Unipolar Moment) และสามารถนำทิศทางการเคลื่อนไหวของนานาประเทศได้

คำถามคือทรัมป์จะสานต่อนโยบายของโอบามาเพื่อเป็นผู้นำของโลกหลายขั้วในปัจจุบันได้อย่างไร สิ่งที่ได้ยินจากการหาเสียงคือทรัมป์จะนำอเมริกากลับมาบ้าน มาสร้างความยิ่งใหญ่ภายในบ้าน นี่อาจจะเป็นอวสานของสหรัฐอเมริกาในระบบการเมืองโลกเลยทีเดียว

อะไรคือความสำเร็จของเรแกนที่ทรัมป์ควรเรียนรู้

เรแกนเป็นผู้นำ และเป็นนักแสดงด้วย อย่างทรัมป์ก็เหมือนกัน มีความเป็นนักแสดงสูงมาก เวลาตอบคำถามนักข่าว หรือขึ้นเวทีดีเบต เหมือนเขาขึ้นเวทีแสดง มีบทมาให้ และตีบทแตก ตอนหาเสียงนั่นมันต้องแสดงตามบท ต้องเอาใจฐานเสียง บางทีถามแล้วแกไม่ได้ตอบ ก็เพราะแกไม่รู้ แกก็บิดประเด็นเป็นเรื่องอื่น เล่นเรื่องส่วนตัวมากกว่านโยบาย เพราะรู้ว่าเรื่องนโยบายสู้ไม่ได้ เขารู้จุดแข็งของเขาว่าต้องเล่นบทแบบไหน

สมัยเรแกน บางทีผมก็นึกว่าเขาไม่ใช่ผู้นำ แต่เขากำลังเล่นบทผู้นำ แกเล่นเป็น ต้องเล่นบทพระเอก ต้องขึงขัง แต่เมื่อเวลาผ่านไป นักประวัติศาสตร์ประเมินว่าเรแกนก็มีสมรรถภาพและวิสัยทัศน์ของเขาเองเหมือนกัน ไม่ได้เป็นแค่ดาราหนังฮอลลีวูดที่เล่นบทผู้นำเท่านั้น แต่ปกครองประเทศได้ด้วย แม้จะมีอุดมการณ์อนุรักษนิยมก็ตาม นี่คือสิ่งที่ทรัมป์ในฐานะประธานาธิบดีต้องแสดงให้สาธารณชนเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าเขามีวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ทางการเมืองชุดหนึ่งที่สามารถขับเคลื่อนสหรัฐอเมริกาได้

ความสำเร็จส่วนหนึ่งของทรัมป์คือความเป็นนักแสดง?

มันเริ่มต้นด้วยความเป็นนักแสดง แต่ก็ต้องมีสติปัญญาด้วย ไม่ใช่โง่ๆ ไม่อย่างนั้นเขาจะจัดการธุรกิจหลายพันล้านเหรียญสหรัฐได้อย่างไร ทำมานานหลายสิบปี

แต่หลังจากชนะเลือกตั้ง ทรัมป์ต้องมาเจอกับโลกแห่งความจริงแล้ว ก็ต้องดูว่าเขาจะจัดการปัญหาอย่างไร เช่น พอเอาลูกเขยเข้าไปอยู่ในทีมเปลี่ยนผ่านอำนาจ คนก็เริ่มวิจารณ์ถึงความเหมาะสม รวมถึงเรื่องที่ไม่ยอมให้ blind trust บริหารธุรกิจ แต่จะยกให้ลูกบริหารแทน ซึ่งคนก็ตั้งคำถามเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ถ้าคุณเอาความลับของประเทศไปบอกลูกที่เป็นนักธุรกิจละ หรือการพบปะกับนักธุรกิจชาวอินเดียที่ลงทุนก่อสร้างทรัมป์ทาวเวอร์ในอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ก็ด้วย ผู้คนวิจารณ์กันให้แซดว่าเขาจะเป็นนักธุรกิจหรือเป็นประธานาธิบดีกันแน่ แต่จะเป็นทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกันนั้นไม่ได้แน่ นี่จะเป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกามีมหาเศรษฐีที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่ทั่วโลกมาเป็นประธานาธิบดี

กลับมาที่เรื่องนโยบาย โลกแห่งความจริงจะบอกว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อย่างนโยบายที่เคยหาเสียงว่าจะเนรเทศผู้อพยพกลับประเทศ มันทำไม่ได้หรอก ผิดกฎหมายและกติการะหว่างประเทศ ทรัมป์ก็เริ่มเปลี่ยนน้ำเสียงแล้วว่าจะส่งกลับเฉพาะพวกแก๊งสเตอร์ พวกอันธพาลค้ายา ประมาณสองล้านคน ซึ่งคนที่รู้เรื่องก็บอกว่าถ้าแบบนี้ มันส่งกลับประเทศกันทุกวันอยู่แล้ว ทรัมป์ก็เข้ามาทำเหมือนที่หน่วยงานเดิมทำอยู่ก่อนแล้ว อาจจะแค่เร่งกระบวนการให้เร็วขึ้นเท่านั้นเอง ไม่ได้มีอะไรใหม่

การที่ทรัมป์ได้รับเลือกตั้ง ทั้งที่ตอนหาเสียงก็พูดจาดูถูกเรื่องเพศ ผิว เชื้อชาติ หลายครั้ง แปลว่าอุดมการณ์หรือหลักการแบบอเมริกันถดถอยลงไหม

นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำระดับนี้ไม่สนใจเรื่องหลักการ อุดมการณ์ทางการเมือง เสรีภาพ และความเท่าเทียม จะมาคุยกันเรื่องหลักการที่เป็นนามธรรมทำไม ว่ากันเรื่องของจริงเลยดีกว่า อยากได้งานได้เงินใช่ไหม เอาไป ไม่ต้องมาคุยกันเรื่องความยุติธรรม คือเป็นนักการเมืองแบบปฏิบัติประชานิยม ไม่ให้คุณค่าเรื่องทฤษฎีนามธรรมเลย

คนไทยฟังแล้วอาจจะไม่แปลกใจ เพราะนักการเมืองแบบนี้ บ้านเรามีอยู่ตลอดเวลา หาไม่ยาก คนที่หายากคือผู้นำทางการเมืองที่ศรัทธาในหลักการและทฤษฎีทางการเมือง ซึ่งแบบหลังนี้ อเมริกามีอยู่ตลอดเวลา จนครั้งนี้นี่แหละ ถึงได้นักการเมืองแบบไทยที่ให้น้ำหนักเรื่องปฏิบัติมากกว่าหลักการ

มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งน่าสนใจ ชื่อ The End of American World Order ของ Amitav Acharya เขาบอกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้สูญหายไปไหน แต่สิ่งที่จะหายไปคือระบบโลกแบบที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้สร้าง นั่นคือแนวทางแบบเสรีนิยมที่ครอบงำโลก (liberal tradition) ซึ่งยึดอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน ระเบียบโลกยี่ห้อสหรัฐอเมริกาไม่ขลังดังแต่ก่อนอีกแล้ว

แล้วอะไรมาแทน

มันก็ไม่ถึงกับถูกแทนที่ เพียงแต่ว่าลดระดับลง หนังสือเล่มนี้บอกว่าแนวทางแบบเสรีนิยมไม่ได้มีความเป็นสากลอย่างแต่ก่อนแล้ว มันมีกลุ่มประเทศอื่น เช่น อาเซียน ที่แสดงให้เห็นว่ามีโมเดลอื่น ซึ่งอาจเสรีนิยมในบางเรื่อง ไม่เสรีนิยมในบางเรื่อง ถ้าทำตามแนวทางเสรีนิยมแบบที่สหรัฐอเมริกาต้องการ มันจะปะทะกันตลอดเวลา ทำไม่ได้

การที่ทรัมป์ขึ้นมามีอำนาจ ยิ่งยืนยันทฤษฎีของ Amitav ว่าขนาดผู้นำของสหรัฐอเมริกาเองยังไม่แคร์หลักการเสรีนิยมประชาธิปไตยตามแนวทางดั้งเดิมของตัวเอง เอาแค่คนมีงานทำ คนมีกิน ไม่ถูกจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เอาเปรียบ ก็พอแล้ว

ในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน เคยมีประธานาธิบดีแบบทรัมป์ไหม อาจารย์นึกถึงใครที่ใกล้เคียง

 แอนดรูว์ แจ็กสัน (Andrew Jackson)

ในแง่ไหน

แจ็กสันเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาด้วยพลังจากฐานมวลชนทั่วประเทศ เป็น populist president ดำรงตำแหน่งช่วงปี 1829-1837  เมื่อปี 1824 แจ็กสันลงเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรก แล้วชนะคะแนนเสียงทั้ง popular vote (คะแนนเสียงของประชาชนทั้งประเทศ) และ electoral vote (คะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้ง) แต่เขายังไม่ได้รับเสียงข้างมากในกลุ่มผู้สมัครทั้งสี่คน ทำให้สภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นผู้ลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี แต่สภาผู้แทนราษฎรกลับเลือกจอห์น ควินซี อดัมส์ แทนที่จะเป็นแจ็กสัน

อดัมส์เป็นตระกูลเก่าแก่ เป็นกลุ่มชนชั้นนำในพรรค มีสายสัมพันธ์ในพรรคและรัฐสภาอย่างดี ส่วนแจ็กสันเป็นฮีโร่ของมวลชนก็จริง แต่ว่าเป็น ‘คนนอก’ เหมือนทรัมป์ ภูมิหลังก็มีความคล้ายกัน เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หลังจากกลับมาจากรบชนะอังกฤษที่นิวออร์ลีนส์ก็มาค้าที่ดินซึ่งเป็นของคนอินเดียน ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกรัฐเทนเนสซี จากนั้นก็ลงเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ไม่ได้รับเลือกในครั้งแรกตามที่เล่าไป  

พอครั้งที่สอง แจ็กสันก็ปลุกระดมมวลชนทั้งประเทศ จนชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย โดยมีพรรคเดโมเครต ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อระดมมวลชนในแต่ละรัฐมาสนับสนุนแจ็กสันเป็นพลังเบื้องหลัง ในยุคที่แจ็กสันเป็นประธานาธิบดี เขาพยายามขยายประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกาจากยุค Founding Fathers ที่อำนาจอยู่ในมือชนชั้นนำทางการเมืองให้ลงไปสู่ประชาชนรากหญ้า โดยมีพรรคการเมืองเป็นฐาน นั่นคือพยายามสร้างประชาธิปไตยแบบมวลชน หรือ popular democracy นั่นเอง

เดิมทีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอยู่ในมือของแกนนำพรรค เป็นกระบวนการที่ชนชั้นนำเจรจาต่อรองกันและกำหนดเส้นทางไว้แล้ว ประชาชนมีความหมายน้อย แต่แจ็กสันเป็นคนที่เปิดมิติเรื่องพลังสนับสนุนของมวลชน ทำให้การเมืองเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเริ่มลงมาแตะฐานล่างคือประชาชนเป็นครั้งแรก

ผมเทียบตรงนี้ให้เห็นว่า กรณีของทรัมป์ก็เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนผิวขาว โดยเฉพาะคนชั้นกลางระดับกลางและล่างออกมาแสดงบทบาทมากที่สุดในการเลือกตั้ง เป็นเหมือนการแสดงประชามติของคนกลุ่มนี้

ประชามติที่ว่านั้น ญัตติของคนผิวขาวคืออะไร       

นอกจากเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาปากท้อง ผู้อพยพแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเข้ามาแย่งงานทำ ปัญหาที่แข่งขันทางเศรษฐกิจกับจีนไม่ได้ อุดมการณ์ที่คนผิวขาวเอียงขวาเหล่านี้ต้องการคือลัทธิชาตินิยมผิวขาว เป็นแนวคิดทางการเมืองที่คับแคบและมองเห็นแต่พวกของตนเพียงฝ่ายเดียว คนกลุ่มนี้ไม่ได้ให้คุณค่าในเรื่องความเท่าเทียมกันของคนอีกต่อไป ถือเป็นอวสานของอุดมการณ์การปฏิวัติอเมริกาที่ยิ่งใหญ่ในอดีต

ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะรัฐทางใต้ ยิ่งหนักข้อ มีเรื่องเหยียดผิว มีกระแสเชิดชูความเหนือกว่าของคนผิวขาว เช่น ที่ยูท่าห์มีการยกธง Confederation เหมือนสมัยที่ต้องการแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามกลางเมือง เหล่านี้คืออุดมการณ์ในยุคทาสที่เต็มไปด้วยการดูถูกกีดกันคนผิวดำ จริงๆ แล้ว กระแสเชิดชูคนผิวขาวเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามกลางเมืองแล้ว มีกลุ่ม Ku Klux Klan ออกมาถล่มทำลายคนผิวดำ โดยอ้างความชอบธรรมว่าคนขาวมีความเหนือกว่า

คนกลุ่มนี้มองทรัมป์ว่าเป็นตัวแทนของโลกเก่าของเขาที่มันหายไปแล้ว (the world that we have lost) ซึ่งน่าสนใจเพราะทรัมป์มันนายทุนนิวยอร์กนะ มันเป็นแยงกี้ ไม่ใช่คนของเขา อุดมการณ์ไม่ได้เป็นแบบนายทาสผู้ดีรุ่นเก่าสมัยโน้นเลย แต่เขาไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ สนแค่ว่า มึงไม่เป็นพวกเสรีนิยม ไม่เป็นเดโมแครตก็พอ มีอารมณ์เหยียดพวกผู้อพยพหน่อย เหยียดพวกผู้หญิงนิด มันก็พอเข้ากันได้ ถือเป็นพวกเดียวกันแล้ว

คนกลุ่มนี้เป็นฐานเสียงของทรัมป์ แต่ก็จะสร้างปัญหาให้เขาในอนาคตด้วย ทรัมป์จะจัดการอย่างไร

ตอนนี้ทรัมป์ก็ต้องรีบออกมาบอกแล้วว่าให้หยุด เขาคงไม่ปล่อยให้พวกนี้เล่นงานตัวเองจนเสียหายมาก ทรัมป์เป็นนักธุรกิจ ซึ่งก็คือนักรบแบบหนึ่ง  ถ้าทหารของเขาจะย้อนกลับมาสร้างอันตรายให้ตัวเขาเองและทำลายผลประโยชน์ของเขาและพวก ก็ต้องเก็บเสียก่อน คงไม่เมตตาปรานีกับผู้สนับสนุนเท่าไหร่ ต้องหาวิธีการจัดการออกไป            

ผมเดาว่าคนอย่างสตีฟ แบนนอน จะเป็นชนวนให้มีการต่อต้านและประณามทรัมป์ต่อไป ลองดูว่าเขาจะเก็บแบนนอนไว้ได้นานเท่าไร หรือแบนนอนจะวางแผนกลยุทธ์อะไรให้ทรัมป์อีก คราวนี้ยากกว่าเดิม เพราะคู่ต่อสู้ไม่ใช่แค่ฮิลลารี คลินตันคนเดียว หากแต่เป็นคนอเมริกันทั้งประเทศ รวมถึงประชาชนและผู้นำรัฐอีกหลายร้อยประเทศทั่วโลก

กระแสขาวขวาในสังคมการเมืองอเมริกันแรงขึ้นมาได้อย่างไร

ช่วงหลังๆ มีความขัดแย้งเรื่องสีผิวบ่อยครั้ง เกิดความขัดแย้งระหว่างตำรวจผิวขาวกับคนดำในหลายพื้นที่ มีคนดำถูกตำรวจยิงตายหลายกรณี จนก่อให้เกิดความเคลื่อนไหว กระทั่งมีคนตั้งขบวนการ Black Lives Matter แต่อีกด้านหนึ่ง ก็เกิดกระแสตีกลับ ตอนทรัมป์หาเสียง ก็มีผู้สนับสนุนผิวขาวยืนถือป้ายใหญ่ว่า All Lives Matter ต้องแคร์คนผิวขาวด้วย มันเกิดขบวนการตอบโต้กับคนผิวดำ รวมถึงตอบโต้กับผู้หญิง เกย์ เลสเบี้ยนด้วย

การเมืองระดับล่างในสังคมการเมืองอเมริกันตอนนี้มันยิ่งกว่าแตกแยก มันเป็นกลียุคและแตกร้าวอย่างไม่อาจประนีประนอมได้  ในยุคสงครามกลางเมือง ประธานาธิบดีอับราฮัม ลิงคอล์น เคยกล่าวว่า “A house divided against itself cannot stand.” (บ้านที่แตกแยกไม่สามารถดำรงอยู่ได้) ตอนที่ลิงคอล์นพูดนั้น เขายังเชื่อในหลักการของระบบสาธารณรัฐ (รีพับลิก) และรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ว่าคนที่ทำให้บ้านแตกแยกคือบรรดาผู้นำและแกนนำของพรรคการเมืองต่างหาก

แต่ตอนนี้สถานการณ์หนักหนายิ่งกว่าความแตกแยกในยุคของลิงคอล์น เพราะทรัมป์กำลังจะเปิดยุคใหม่ที่ผมเรียกว่า American Chaotic ด้วยการปลุกระดมให้มวลชนฝ่ายขวาสุดและกลุ่มอนุรักษนิยมปฏิกิริยาออกมาโจมตีระบบสาธารณรัฐและรัฐธรรมนูญอเมริกันอย่างที่ไม่เคยทำกันมาก่อน

ที่น่าแปลกคือการเติบใหญ่ของฝ่ายขวาและชาตินิยมผิวขาวนี้คล้ายคลึงกับขบวนการอนุรักษนิยมปฏิกิริยาของไทยตั้งแต่ขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จนถึงคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองที่ไม่ต้องการระบบประชาธิปไตยเสรีนิยมและปลุกระดมลัทธิคลั่งชาติพอกัน เพียงแต่จุดเน้นต่างกันเท่านั้น

อะไรเป็นจุดพลิกผันที่สร้างปรากฏการณ์ขาวขวาขึ้นมา มีสัญญาณเตือนไหมว่าคนแบบทรัมป์กำลังจะมา

คงไม่มีใครคิดว่าปรากฏการณ์โดนัลด์ ทรัมป์จะเกิดขึ้นได้ในระบบการเมืองของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับระบบการปกครองและรัฐบาลในประเทศตะวันตกอื่นๆ ด้วยกันแล้ว พลังและอุดมการณ์ของประชาธิปไตยเสรีนิยมนั้นเข้มแข็งและมั่นคงยิ่งนักในสหรัฐอเมริกา ทั้งยังพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติว่าได้สร้างความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนและประเทศอเมริกามานับศตวรรษ กระทั่งเอาชนะบรรดาประเทศยุโรปที่เป็นเมืองแม่และเคยดูถูกสหรัฐฯ มาก่อนได้

แล้วสหรัฐอเมริกาเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? 

หลังจากโอบามาได้เป็นประธานาธิบดี เกิดกลุ่มการเมืองฝ่ายขวาที่เรียกว่า “ทีปาร์ตี้” เป็นการตอบโต้การที่ระบบพรรคและระบบประธานาธิบดีถูก radicalize โดยโอบามาและเสียงข้างมากที่มีคนผิวดำและผู้หญิงเป็นฐานสำคัญ  ฝ่ายต้านก็ไปอาศัยพรรครีพับลิกัน ปลุกระดมมวลชนฝ่ายอนุรักษนิยมและเอียงขวาขึ้นมา ที่น่าสังเกตคือ ทีปาร์ตี้ไม่ได้มีฐานะเป็นพรรคการเมือง แต่เป็นกลุ่มเอียงขวาและแอนตี้เสรีนิยม เป็นพวกนักการเมืองระดับท้องถิ่นหรือระดับรัฐที่รวมตัวขึ้นมาจุดประกายต่อต้านนโยบายที่มีลักษณะก้าวหน้าและเสรี เช่น สิทธิสตรีและบุคคลเพศที่สาม ไปถึงนโยบายสาธารณสุขถ้วนหน้า  จุดนี้น่าสนใจเพราะทรัมป์ก็เข้ามาอาศัยพรรครีพับลิกันเป็นหนทางไปสู่การแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน  

ที่ผ่านมา การที่ผู้นำระดับประเทศสามารถกุมอำนาจในระดับพรรคลงมาจนถึงระดับฐานล่างหรือฐานมวลชน อย่างในกรณีของโอบามาคือคนผิวดำทุกระดับและคนผิวขาวพวกลิเบอรัลได้ ก็ด้วยการอาศัยความสามารถในการพูด โอบามามีความสามารถในการพูดเรื่องอุดมการณ์ นโยบายต่างประเทศ และปัญหาเชิงโครงสร้างใหญ่ได้ จริงๆ แล้ว นี่คือภาพของการเมืองยุคเจฟเฟอร์สันหรือยุคแรกเริ่มของการเมืองอเมริกานั่นเอง  ผู้นำและแกนนำของกลุ่มและพรรคต่างๆ ต้องสามารถแสดงจุดยืนและท่าทีต่อปัญหาทางอุดมการณ์ได้ พูดอุดมคติได้ พูดนโยบายต่างประเทศได้ พูดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายใต้นโยบายต่างๆ เหล่านั้นได้ว่าจะเป็นอย่างไร การเมืองประชาธิปไตยแบบอเมริกาดังกล่าวนี้จึงสะท้อนถึงการเมืองที่คำนึงถึงคนในอนาคตที่จะต้องรับผลพวงของนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน

โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) กับพรรคพวก เริ่มขบวนการทางการเมืองด้วยการวิพากษ์และต่อต้านนโยบายของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) แฮมิลตันอยู่ฝ่ายสนับสนุนอำนาจรัฐบาลกลาง ที่เรียกว่าเฟเดอรัลลิสต์ ( Federalist) ส่วนเจฟเฟอร์สันเป็นฝ่ายที่เรียกว่ารีพับลิกัน (ไม่ใช่พรรครีพับลิกันในปัจจุบัน) ซึ่งสนับสนุนอำนาจของรัฐบาลระดับรัฐ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการดูแลจัดการตัวเอง ทั้งคู่เป็นรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาลของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรก

ตอนนั้นจอร์จ วอชิงตัน และแกนนำหลัก คิดว่าสหรัฐอเมริกาไม่ควรมีกลุ่มการเมืองมาแข่งขันชิงตำแหน่งทางการเมืองเลยด้วยซ้ำ ถ้ามีฝ่ายค้านเกิดขึ้นในรัฐบาลหรือในการเมืองระดับชาติ สหรัฐอเมริกาจะพังและอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นประเทศเล็กที่เพิ่งเกิดใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีกองกำลัง ไม่มีอะไรเลย

ดังนั้น แกนนำรัฐบาลข้างบนบางทีจึงขัดแย้งกันตรงๆ ไม่ได้ พูดจากข้างบนไม่ได้ ก็พูดผ่านลงมา จนถึงแกนนำระดับล่าง เมื่อนำเอาชุดความคิดไปเผยแพร่ต่อในกลุ่มมวลชน มีการท้าทายและตอบโต้ทางความคิดระหว่างกลุ่มที่คิดต่างกัน เกิดประชามติข้างล่างขึ้นมา สุดท้ายมันก็นำไปสู่การแข่งขันทางการเมือง เกิดการต่อสู้แย่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ถ้าเลือกคนนี้จะมีนโยบายแบบนี้ จะทำแบบนี้ ไม่ทำแบบนี้ จะใช้เงินอย่างไร จะเก็บภาษีอย่างไร สุดท้ายก็เกิดเป็นพรรคการเมืองขึ้น กลายเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ นโยบาย และฐานเสียงรองรับตลอด การแข่งขันทางการเมืองด้วยระบบพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกา

เจฟเฟอร์สันเป็นผู้เริ่มให้มีการประชุมในกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีจุดยืนเดียวกัน (Caucus) จากนั้นก็ไปสู่การแสวงหาเสียงสนับสนุนจากคณะผู้เลือกตั้ง ต่อมาก็เกิดการเลือกตั้งขั้นต้นโดยประชาชนทั่วไป (Primary) ส่วนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งก็ไปจับกลุ่มย่อยกันในรัฐสภา

ทำไมพรรคการเมืองของประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ถึงทำตามแบบสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เพราะอเมริกาได้เปรียบ มันผ่านตรงนี้ไปได้โดยไม่ได้ฆ่ากันเสียก่อน อเมริกาไม่มีชนชั้นทางสังคม (social class) ที่จะต้องเข้าไปจัดการเหมือนในฝรั่งเศสหรือรัสเซียที่ต้องล้มราชวงศ์ ล้มขุนนางเสียก่อน สำหรับสหรัฐอเมริกา ตีกันอย่างไร สุดท้ายก็มาตัดสินที่การเลือกตั้ง เป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ (peaceful transition) โดยมีพรรคการเมืองเป็นเครื่องมือ มีความขัดแย้งแตกต่างกันก็มาต่อสู้ระหว่างพรรค ให้มันเป็นกิจการ เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ต้องไปสู้กันลับหลัง ดีที่อเมริกาสร้างระบบนี้ให้มั่นคงได้ตั้งแต่ในยุคแรกที่เริ่มเปลี่ยนจากอาณานิคมเป็นประชาธิปไตย มิเช่นนั้น หากมาสร้างทีหลัง ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

อาจารย์เล่าเรื่องเจฟเฟอร์สันเพื่อที่จะบอกอะไรเกี่ยวกับการเมืองในปัจจุบัน

ในยุคแรก ความสัมพันธ์เชิงอำนาจจะเริ่มต้นจากผู้นำพรรคระดับชาติ (national leader) ไปยังกลุ่มแกนนำพรรคระดับชาติ (national cadre) ตามด้วยผู้นำหรือแกนนำพรรคระดับท้องถิ่น (local leader / cadre) ต่อด้วยผู้ปฏิบัติการระดับท้องถิ่น (local activist) แล้วจึงลงไปถึงฐานมวลชน

แต่ในยุคปัจจุบัน ผลการเลือกตั้งบอกเราเลยว่า รอบนี้มันเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับมวลชนโดยตรง จากฐานล่างยิงตรงขึ้นมาข้างบนเลย ไม่ต้องผ่านแกนนำพรรคในระดับชาติและระดับท้องถิ่น พรรครีพับลิกันทำอะไรทรัมป์ไม่ได้เลย เสียงมวลชนส่งทรัมป์ขึ้นสู่ตำแหน่งตัวแทนพรรคและประธานาธิบดี แกนนำพรรครีพับลิกันหมดปัญญากีดกันคนนอกพรรคอย่างทรัมป์

อาจารย์พูดถึงแอนดรูว์ แจ็กสัน ในฐานะประธานาธิบดีฐานมวลชนเช่นเดียวกับทรัมป์ ยุคนั้นกับยุคนี้ต่างกันอย่างไร มีอะไรเป็นบทเรียนให้เราได้บ้าง

ในยุคแจ็กสัน กลไกของพรรคกับฐานมวลชนไม่ได้ลึกซึ้งแบบปัจจุบัน ก็คงพอเทียบกันได้ระดับหนึ่งเท่านั้น อย่างแรกคือ บุคลิกของผู้นำมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของประธานาธิบดีในการเมืองอเมริกัน บุคลิกมีส่วนในการก่อร่างสร้างนโยบาย รวมถึงความสำเร็จของนโยบายมาก

แจ็กสันเป็นคนเริ่มสิ่งที่เรียกว่า Kitchen Cabinet คือการแต่งตั้งผู้สนับสนุนหรือพรรคพวกเข้ามามีตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ในคณะรัฐมนตรี ในทำเนียบรัฐบาล รวมถึงในศาลด้วย เหมือนมีโรงครัวที่เข้ามารุมกินกัน บางคนก็วิจารณ์ว่าเป็นการคอร์รัปชั่นหรือเป็นระบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

แต่ในการทำงานจริง แจ็กสันเป็นคนดำเนินการเองทั้งหมด เป็นคนตัดสินใจเชิงนโยบายและลงมือทำ แจ็กสันต่อต้านธนาคารชาติ พอรัฐสภาผ่านกฎหมาย เขาก็ใช้สิทธิ์ประธานาธิบดีวีโต้กฎหมายสองครั้ง จนกระทั่งครั้งสุดท้าย แจ็กสันบอกว่า  ถ้ารัฐสภายืนยันที่จะผ่าน ก็ไปบริหารจัดการกันเอาเอง กูไม่ทำ แล้วมันจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะฝ่ายบริหารเป็นคนดูแลเรื่องการเงินการคลัง นี่เป็นวาทะประวัติศาสตร์เลย แจ็กสันสร้างแนวทางใหม่คือ ถ้าฝ่ายบริหารไม่เห็นด้วยกับฝ่ายนิติบัญญัติก็แช่แข็งไว้

อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องภาษี แจ็กสันอยากเก็บภาษีสินค้านำเข้าให้มากขึ้น เพื่อช่วยอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทีนี้พวกภาคใต้นำเข้าสินค้ามาก โดยเฉพาะกลุ่มนายทาสที่ชอบใช้ของดีนำเข้าจากยุโรป ก็ต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าราคาแพงขึ้น พวกนี้โมโห ไม่ยอมรับ แจ็กสันก็ไม่ยอมเหมือนกัน บอกว่ารัฐบาลต้องการได้เงินมากขึ้น รองประธานาธิบดีจอห์น แคล์ฮูน (John C. Calhoun) ซึ่งเป็นวุฒิสมาชิกรัฐเซาธ์แคโรไลนา ก็นำขบวนประท้วงว่าถ้ากฎหมายผ่านเมื่อไหร่ เขาจะนำคนภาคใต้ทำให้กฎหมายนี้หมดสภาพบังคับใช้ (Nullification) พอแจ็กสันรู้ข่าว ก็ประกาศเลยว่า ถ้าภาคใต้ลุกฮือขึ้นเมื่อไหร่ เขาจะเป็นคนแรกที่จะนำทัพไปปราบเอง แจ็กสันเคยเป็นแม่ทัพเก่าในสงครามกับอังกฤษปี 1812  ทำให้ภาคใต้ต้องจำยอมสยบหัวลงไป ซึ่งกลายเป็นแผลเก่าในความรู้สึกของคนใต้ที่มีต่อรัฐบาลกลางและคนภาคเหนือ คนอเมริกันก็สดุดีและชื่นชมแจ็กสันที่เป็นคนเด็ดขาดและทำจริง น่าคิดว่าทรัมป์อาจจะดำเนินวิธีการปกครองคล้ายกับแจ็กสันด้วยก็ได้

ฟังดูมีหลายอย่างคล้ายกัน เช่น การถูกวิจารณ์เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การให้รางวัลผู้สนับสนุน หรือนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ แล้วเรื่องสิทธิมนุษยชนละครับ เพราะสมัยแจ็กสันก็ไม่เบาเหมือนกัน

แจ็กสันมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนมาก เขาพยายามขับไล่ชาวอินเดียนพื้นเมืองออกจากถิ่นฐานเดิม โดยบังคับให้ออกเดินทางไกลไปอยู่ในนิคมสำหรับคนอินเดียน (ปัจจุบันคือรัฐโอคลาโฮมา) การเคลื่อนย้ายครั้งหนึ่งถึงกับได้ชื่อว่า “เส้นทางแห่งน้ำตา” (Trail of Tears) เมื่อกองทหารบังคับให้อินเดียนเผ่าเชโรกีประมาณ 15,000 คนต้องอพยพออกไปจากรัฐจอร์เจียในช่วงหน้าหนาวโดยไม่มีการเตรียมความพร้อมใดๆ ทำให้ผู้คนราวสี่พันคนต้องตายไปในการเดินทางครั้งนั้น 

เราอธิบายเชิงโครงสร้างได้หรือไม่ว่าทำไมประธานาธิบดีที่มาจากฐานมวลชนกลับละเมิดสิทธิมนุษยชนรุนแรงขนาดนั้น

เขาเน้นผลประโยชน์ของคนผิวขาวเป็นหลัก ทำให้คนกลุ่มน้อยในอเมริกาต้องประสบกับความทุกข์ทรมาน นับจากยุคของแจ็กสันเป็นต้นมา เป็นช่วงที่อเมริกาขยายประเทศขยายดินแดน ในช่วงปี 1850 มีคำศัพท์ว่า Nativism คำว่า “เนทีฟ” นี่ไม่ได้หมายถึงคนอินเดียนนะ แต่คือพวกคนผิวขาว เรียกว่า WASP คือ White, Anglo-Saxon และ Protestant  คนกลุ่มนี้ต่อต้านผู้อพยพที่มาจากประเทศยุโรป ซึ่งส่วนมากเป็นคาทอลิก เขากลัวว่าพวกคาทอลิกจะนำเอาอิทธิพลของสันตะปาปาเข้ามาในอเมริกา  กลุ่มการเมืองแบบเอียงขวา ซึ่งดูถูกกีดกันคนอื่นในทางเชื้อชาติและศาสนา มักเกิดขึ้นในภาวการณ์ที่ระบบพรรคการเมืองสองพรรคอ่อนแอจนเกิดความแตกแยกภายในพรรค

ทุกวันนี้คนก็พูดกันว่า สิ่งที่ทรัมป์กับพรรคพวกกำลังทำคือการปลุกกระแส Nativism และ White supremacy คือคนขาวเป็นใหญ่ อันเป็นอุดมการณ์เก่าแต่สมัยก่อนสงครามกลางเมืองให้กลับมาอีกครั้ง 

ในยุคสมัยของแจ็กสัน คนสมัยนั้นจัดการประธานาธิบดีมวลชนแบบแจ็กสันอย่างไร

ถึงที่สุดแล้ว คนที่รับแจ็กสันไม่ได้ก็ไปร่วมกลุ่มกัน เริ่มถล่มด้วยการตั้งฉายาให้แจ็กสันว่า “คิงแอนดรูว์” (King Andrew) กล่าวหาว่าแจ็กสันทำตัวเหมือนกษัตริย์อังกฤษ ยึดกุมอำนาจสูงสุด แต่งตั้งพรรคพวก เกิดปัญหาคอร์รัปชั่นต่างๆ เหมือนอังกฤษในสมัยพระเจ้าจอร์จที่คนอเมริกันเคยต่อสู้มา

แจ็กสันเริ่มจากสังกัดพรรคเดโมเครติก-รีพับลิกัน ซึ่งก็คือพรรครีพับลิกันที่เจฟเฟอร์สันตั้งขึ้นมา พอมาถึงยุคแจ็กสัน คำว่า “เดโมแครต” ก็โดดเด่นขึ้น เพราะอิงกับฐานของมวลชน คนที่รับแจ็กสันไม่ได้ ก็ออกมาตั้งพรรคใหม่ จะไปอยู่กับพรรคเฟเดอรัลลิสต์ก็ไม่ได้ เพราะอ่อนปวกเปียกไร้อนาคต แกนนำหายกับตายไปหมดแล้ว ในที่สุดก็รวมกันตั้งพรรควิก (Whig) ขึ้นมา ที่ใช้ชื่อนี้เพราะเป็นชื่อพรรคฝ่ายต่อต้านกษัตริย์ในอังกฤษ คราวนี้นำมาใช้ต่อต้านคิงแอนดรูว์  ลิงคอล์นเข้าสู่การเมืองยุคแรกก็พรรคนี้ ถือเป็นพรรคก้าวหน้า เป็นพรรคของคนรุ่นใหม่ไฟแรงโดยเฉพาะอุดมการณ์ต่อต้านระบบทาสผิวดำ เข้าไปแข่งกับแจ็กสันในสนามเลือกตั้ง

ส่วนพรรคเดโมเครติก-รีพับลิกัน หลังจากยุคแจ็กสัน ก็กลายเป็นพรรคเดโมแครต ส่วนพรรครีพับลิกันในปัจจุบันเพิ่งมาเกิดในยุคลิงคอล์น หลังจากพรรควิกแพ้เลือกตั้งไปไม่รอด โดนกระแสเรื่องทาส ทำให้แกนนำและสมาชิกพรรคแตกกันเองระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้ ในที่สุดพรรควิกก็สลายตัว ส่วนเดโมแครตที่ไม่ชอบพรรคตัวเองก็ออกมาตั้งพรรครีพับลิกัน โดยการต่อสู้ทางการเมืองเคลื่อนมาที่ปัญหาเรื่องทาสและการขยายประเทศไปทางตะวันตก

รอบนี้มีโอกาสเกิดพรรคใหม่แบบสมัยก่อนมากน้อยแค่ไหน เช่น พวกรีพับลิกันที่ไม่เอาทรัมป์แยกตัวออกมา

ยากมาก พรรคเล็กพรรคน้อยหรือพรรคที่สามจากอดีตจนถึงปัจจุบันได้คะแนนเสียงสนับสนุนน้อยมาก การระดมมวลชนเพื่อให้มาสนับสนุนในการเลือกตั้งเป็นงานใหญ่ แม้รัฐธรรมนูญอเมริกาไม่มีข้อห้ามในเรื่องพรรคการเมือง แต่กฎหมายเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับรัฐหมดเลย ดังนั้น พรรคเล็กแข่งได้ยากมาก ต้องเป็นพรรคที่มีขนาดใหญ่มากจึงบริหารจัดการองคาพยพต่างๆ ได้ บางรัฐมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนสมาชิกพรรคว่าต้องมี 5% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง พรรคใหม่ก็ต้องไปหาสมาชิกพรรค รัฐอื่นก็มีข้อจำกัดแบบอื่นๆ อีก เสรีภาพในการสร้างพรรคมีอยู่แล้ว กีดกันไม่ได้ แต่เวลาจะปฏิบัติการจริงในสนามเลือกตั้งมีข้อจำกัดยิบย่อยเต็มไปหมด คุณต้องการการจัดองค์กรขนาดใหญ่มากในการจัดการเรื่องเหล่านี้ ยังไม่พูดถึงเรื่องเงินทุนในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซึ่งขาดไม่ได้เลย

ฉะนั้น ทางออกคือไม่จำเป็นต้องตั้งพรรคใหม่ แต่สร้างกลุ่มพลังทางการเมือง แล้วไปเป็นกลุ่มต่อรองภายในพรรคเดิม สู้กับฝ่ายนำเก่าในพรรค พยายามยึดพรรคเก่าให้ได้ เหมือนที่โดนัลด์ ทรัมป์ทำสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์รอบนี้

แต่ถ้าไม่มีเงินทุน ชื่อเสียงระดับชาติ บริวาร และเครือข่ายของตัวเองที่มีประสิทธิภาพอย่างทรัมป์แล้ว ก็เป็นเรื่องยากมากที่จะมีนักการเมืองอเมริกันหน้าใหม่คนไหนจะสามารถฝ่ากำแพงพรรคการเมืองสองพรรคเข้าไปได้ ความจริงโอบามาก็เป็นกรณีตัวอย่างที่นักการเมืองผิวดำอาศัยทำงานการเมืองภายในพรรคเดโมแครตจนกระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเหมือนกัน ทั้งสองกรณีจึงเป็นตัวอย่างของการขึ้นมาสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีโดยไม่อาศัยผู้นำและโครงสร้างแบบเดิมของพรรค หากแต่ผลักดันและปลุกระดมฐานเสียงของตนเองขึ้นมาจนกระทั่งได้รับชัยชนะ โดยไม่ต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เหนื่อยกายและใจ

จากทรัมป์มาถึงฮิลลารี คลินตัน ทำไมตัวเต็งอย่างเธอถึงล้มเหลว คลินตันพลาดตรงไหน

ฮิลลารี คลินตัน เป็นนักสู้ ทำงานหนักมาตลอดตั้งแต่เข้าสู่เวทีการเมืองระดับรัฐและประเทศ สร้างอนาคตทางการเมืองมาด้วยมือของตัวเอง คู่กับบิล คลินตัน เธอเป็นแกนนำพรรคเดโมแครตที่โดดเด่นมากคนหนึ่งในยุคนี้ จากสตรีหมายเลขหนึ่ง เป็นวุฒิสมาชิกของรัฐนิวยอร์ก และเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลโอบามาชุดแรก  

ผมคิดว่าทีมงานหาเสียง ไม่ว่าที่ปรึกษา นักยุทธศาสตร์การเมือง ของคลินตันไม่เก่ง พลาดหลายเรื่องอย่างไม่น่าพลาด เช่น การรับมือกับปัญหาเรื่องการใช้อีเมลส่วนตัวติดต่องานราชการแทนที่จะเป็นอีเมลของรัฐ หรือการบริหารแคมเปญหาเสียง พื้นที่ไหนควรให้น้ำหนัก ต้องปลุกระดมคนกลุ่มไหน สารหลักคืออะไร

ความล้มเหลวของคลินตันช็อกคนทั้งโลกก็เพราะมันไม่มีวี่แววและสุ้มเสียงอะไรมาก่อนเลยที่จะบอกว่ามีคนอีกกลุ่มหนึ่งจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับทัศนะและโพลล์สำนักต่างๆ ที่รายงานข่าวในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง กระทั่งผลคะแนนเสียงปรากฏ ผู้คนถึงเริ่มถามกันใหม่ว่าใครคือผู้เลือกทรัมป์และทำไมคนเหล่านั้นถึงคัดค้านต่อต้านคลินตัน

แม้แรกๆ จะมีเสียงวิจารณ์ทำนองว่า บรรดาผู้เลือกทรัมป์คือคนที่ไม่มีความรู้ทางการเมือง หรือไม่ก็เป็นพวกหลงผิด คำตอบแบบนี้มันอาจสะใจคนที่ไม่ชอบทรัมป์และสนับสนุนคลินตัน แต่จากการติดตามการรายงานข่าวของสื่อมวลชนในอเมริกาหลังการเลือกตั้ง ผมคิดว่ามีบทเรียนที่ดีสำหรับสื่อมวลชนไทย นั่นคือ การที่สื่อกระแสหลัก เช่น หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่างนิวยอร์กไทมส์ สำนักข่าวโทรทัศน์อย่างซีเอ็นเอ็นและบีบีซีของอังกฤษ ต่างพากันออกไปค้นหาคำตอบว่าใครคือคนเลือกทรัมป์ และรับฟังความคิดเห็นของคนเหล่านั้นเพื่อนำมาถ่ายทอดสู่สาธารณชนอีกที สื่อมวลชนเลิกทำตัวเป็นผู้พิพากษาหรือพระเจ้าที่คอยตัดสินว่าใครผิดใครถูกและใครดีหรือเลวอย่างง่ายๆ  ให้ข้อมูลที่เป็นฐานของความคิดและความรู้ แทนที่จะให้อคติและบทสวดที่ไม่ช่วยกระตุ้นสติปัญญา

ทำไมเรื่องอีเมลถึงกลายเป็นเรื่องใหญ่โตในสหรัฐอเมริกาขนาดนั้น

มันแสดงต่อสาธารณชนว่า คุณโกหก ไม่ซื่อตรง ชาวบ้านรับไม่ได้ในข้อนี้ และเป็นการละเมิดกฎกติกา ฝ่ายความมั่นคงกำหนดให้ต้องใช้อีเมลของรัฐในการติดต่อราชการเท่านั้น เมื่อใช้อีเมลส่วนตัว มันตรวจสอบไม่ได้ว่าพูดกับใครเรื่องอะไร มันเกิดปัญหาความไม่ชัดเจนระหว่างความเป็นสาธารณะกับความเป็นส่วนตัว

อีกเรื่องหนึ่งคือการที่มูลนิธิคลินตันรับเงินจากผู้นำต่างประเทศขณะที่คลินตันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งผิดกฎหมาย ทั้งสองเรื่องคลินตันก็ยอมรับความบกพร่อง แต่แก้ว่ามันไม่ถึงกับเป็นการทำลายกฎหมายความมั่นคง

สังเกตว่าข้อกล่าวหาใหญ่ๆ ที่ฝ่ายทรัมป์ใช้ในการโจมตีคลินตันนั้นมีสองเรื่องคือ อีเมลกับคอร์รัปชั่นในมูลนิธิคลินตัน ทั้งสองเรื่องนี้ ฝ่ายคลินตันแก้ไม่ตก ที่แก้ไม่ตกเพราะสตีฟ แบนนอนใช้สำนักข่าวไบรต์บาร์ตเป็นเครื่องมือ ผ่านกลวิธีสร้างจุดขายให้ผู้รับข่าวซึมซับและปลดปล่อยอารมณ์ร่วมไปกับข่าว ผลคือภาพลักษณ์และความเชื่อถือในตัวของคลินตันตกต่ำและเลวร้ายสุดๆ ในสายตาของผู้เลือกทรัมป์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนขาวระดับล่างหรือระดับบนในเขตเศรษฐกิจตกต่ำ

สุดท้ายผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งก็ต้องตอบตัวเองว่าเราไว้ใจคลินตันได้ไหม เรื่องอีเมลและการรับเงินนี้ยังสั่นสะเทือนพวกชนชั้นกลาง คนมีการศึกษา และพวกเสรีนิยมด้วย ซึ่งทำให้คะแนนเสียงที่น่าจะมาลงคะแนนให้คลินตันหายไปมาก ผลเลือกตั้งฟ้องว่าคนไม่ไว้ใจเธอนัก ความน่าเชื่อถือและความซื่อตรงในตัวเธอลดต่ำลงมาก

แต่ทรัมป์ก็เต็มไปด้วยปัญหาฉาวโฉ่ ฉ้อโกง พูดโกหกเหมือนกัน ทำไมกลับเป็นเรื่องเป็นราวน้อยกว่า

ทรัมป์เป็นนักธุรกิจ คนอาจจะยอมรับง่ายกว่าว่านักธุรกิจกับการโกงหรือการเลี่ยงกฎหมายนั้นใกล้ชิดกัน อย่างข้อมูลการเสียภาษี ทรัมป์ก็ไม่ยอมเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่คนก็ไม่รู้สึกเดือดร้อนเท่าที่ควร ประเด็นถูกบิดมาเป็นเรื่องบุคลิกภาพ เช่น การเหยียดเพศ เหยียดผิว มากกว่า 

บางคนอาจจะบอกว่าการที่คลินตันโดนโจมตีหนักเป็นเรื่องอคติทางเพศ ถ้าเป็นผู้ชาย น้ำหนักคงไม่รุนแรงขนาดนั้น จะบอกว่ามันไม่มีเลยก็คงจะไม่ได้ กระทั่งปัญหาเรื่องชู้สาวของสามี (บิล คลินตัน) ก็ถูกทรัมป์และสำนักข่าวเอาไปใช้ป้ายสีเธอ ลองนึกดูว่าหากมีผู้ชายหลายคนออกมาให้ข่าวว่ามีเรื่องฉาวโฉ่กับฮิลลารีเหมือนที่มีสตรีออกมากล่าวหาทรัมป์ คิดว่าสังคมจะรับได้ไหม  แน่นอน คนต้องออกมาบีบให้เธอออกจากการแข่งขันเท่านั้น ดังนั้นเรื่องเพศสภาพของผู้สมัครเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งอย่างแน่นอน

เอาเข้าจริง คลินตันก็ไม่ได้คะแนนเสียงจากผู้หญิงมากอย่างที่คาดหวังไว้ คนนึกว่าผู้หญิงจะแห่กันมาเลือกประธานาธิบดีหญิงคนแรกเหมือนที่คนดำแห่ออกมาเลือกโอบามา ทำไมคลินตันถึงดึงดูดใจผู้หญิงไม่ได้มาก ในขณะที่ทรัมป์ล่วงละเมิดผู้หญิงตลอด กลับได้คะแนนเสียงจากผู้หญิง เราอธิบายการเมืองเรื่องเพศในสหรัฐอเมริกาอย่างไร

อย่างที่กล่าวแล้ว มันมีอคติต่อความเป็นผู้หญิงอยู่ไม่น้อย แต่คนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ได้ตัดสินใจเลือกจากฐานเพศเป็นหลัก การตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกคลินตันไม่ใช่เพราะเธอเป็นผู้หญิง เพียงแต่ว่าน้ำหนักของคำโจมตีต่อเธอนั้น ถูกอคติทางเพศตัดสินไปแล้ว

มัวรีน ดาวด์ (Maureen Dowd) คอลัมนิสต์นิวยอร์กไทมส์ เขียนบทความก่อนหน้าการเลือกตั้งเพียงไม่กี่วันว่า เคยเจอบิลและฮิลลารี คลินตัน ร่วมงานปาร์ตี้กับทรัมป์ ทั้งหมดเป็นเพื่อนกัน ทุกคนต่างยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เห็นมีปัญหากัน จากนั้นดาวด์ก็ให้ข้อมูลเบื้องลึกที่นักข่าวและคอลัมนิสต์ชื่อดังอย่างเธอได้มาจากแหล่งข่าวชั้นสูง เธอเล่าได้หมดว่าคนเหล่านั้นได้เงินและการสนับสนุนจากใครอย่างไร เธอกำลังจะบอกคนอ่านว่า คลินตันกับทรัมป์ก็เป็นพวกชนชั้นนำดั้งเดิมเหมือนกันนั่นแหล่ะ โยงใยสัมพันธ์กันด้วยเส้นสายทางการเมือง ฉะนั้น แทบไม่มีประโยชน์ที่จะถกเถียงว่าใครพูดดีคิดดีกว่าใคร มันไม่มีน้ำหนัก พวกเสรีนิยมอ่านแล้วก็ช้ำใจหรือยิ่งสะใจ ถึงแม้จะไม่เลือกทรัมป์แน่ แต่ก็เลือกคลินตันไม่ลง เพราะในที่สุดแล้วคนทั้งสองก็ไม่ต่างกัน ผมอ่านคอลัมน์ของดาวด์แล้วก็สังหรณ์ใจว่าฮิลลารีอาจเจออุปสรรคที่คาดไม่ถึงก็ได้ เพราะวาทกรรมแบบนี้แพร่กระจายไปทั่วในสื่อเสรีนิยมทั้งหลาย

คนไม่ได้เห็นภาพของคลินตันเป็นผู้หญิง แต่เห็นภาพของชนชั้นนำดั้งเดิมมากกว่าอย่างนั้นหรือ ถ้าเช่นนั้น ภาพความเป็นผู้หญิงในสายตาอเมริกันชนเป็นอย่างไร ต้องยึดถือคุณค่าแบบไหนถึงได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิง

ตั้งแต่ยุคหลังปฏิวัติเพื่ออิสรภาพ สังคมอเมริกันก็มีคติเรื่องความเป็นผู้หญิงแท้ (the cult of true womanhood) คือผู้หญิงต้องอยู่ในบ้าน ดูแลครอบครัว ดูแลกิจการภายในครัวเรือน เรื่องสาธารณะข้างนอกบ้านเป็นเรื่องของผู้ชาย เพราะการเมืองนอกบ้านเป็นเรื่องสกปรก ขัดกับหน้าที่ทางสังคมของผู้หญิงที่ต้องสร้างความสะอาดให้กับครอบครัว สามี และลูก นั่นคือ ผู้หญิงต้องแบกรับบทผู้รักษาศีลธรรม เป็นดังแสงเทียนส่องสว่างให้ครอบครัว สังคมจึงจะบริสุทธิ์ได้

สังคมการเมืองอเมริกันที่แลดูก้าวหน้าและเท่าเทียมสูง กลับเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ มีอคติทางเพศ?

ใช่ ความคิดและการปฏิบัติมีการกีดกั้นและหยามเหยียดทางเชื้อชาติและเพศสูงและเหนียวแน่นมาก ในขบวนการต่อสู้เพื่อเลิกทาสจึงมีคนผิวดำและผู้หญิงผิวขาวร่วมอยู่ในขบวนการด้วย รวมตัวกันอย่างแข็งขันตั้งแต่ในศตวรรษที่ 19  แกนนำหลายคนเป็นผู้หญิง เรียกร้องให้ปลดปล่อยคนดำที่เป็นทาสและผู้หญิงผิวขาวไปด้วยพร้อมกัน แต่ก็ไม่เคยสำเร็จ

หลังเลิกทาส มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 (ปี 1870) ที่ห้ามมิให้รัฐบาลกลางและมลรัฐปฏิเสธสิทธิในการลงคะแนนเสียงของพลเมือง ด้วยเหตุผลด้านเชื้อชาติและสีผิว ซึ่งรัฐสภาตั้งใจแก้ปัญหาสิทธิพลเมืองให้แก่คนผิวดำที่เพิ่งได้รับเสรีภาพ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้กลับไม่ได้ขยายสิทธิเลือกตั้งให้แก่ผู้หญิงด้วย ทั้งที่หากผู้ชายผิวขาวในตอนนั้นต้องการให้สิทธินี้แก่สตรีก็สามารถทำไปพร้อมกันได้ แสดงว่าในสำนึกของนักการเมืองชายไม่มีความคิดเรื่องนี้แม้แต่นิดเดียว ขบวนการเคลื่อนไหวของผู้หญิงเพื่อสิทธิการเมืองและความเท่าเทียมจึงต้องต่อสู้เรียกร้องกันต่อไปเอง จนได้สิทธิเลือกตั้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 (ปี 1920)

คลินตันแพ้เลือกตั้ง ได้คะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) แพ้ทรัมป์ แต่ได้คะแนนเสียงของประชาชนทั้งประเทศ (popular vote) มากกว่าทรัมป์เกินสองล้านเสียง ผู้คนก็กลับมาตั้งคำถามเรื่องระบบเลือกตั้งกันอีกครั้งว่าระบบใดเหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตยมากกว่ากัน ทำไมอเมริกาถึงไม่ใช้ระบบเลือกตั้งทางตรงที่วัดคะแนนเสียงจากประชาชนทั้งประเทศ กลับใช้ระบบทางอ้อมที่ซับซ้อนอย่างคณะผู้เลือกตั้ง

ในยุคต้น เขาไม่เชื่อว่าประชาชนมีเหตุผล 100% คติชนชั้นนำก็คล้ายๆ กันคือ เสียงข้างมากเป็นพวกชาวบ้านชาวเมืองที่คุณวุฒิต่ำหรือไม่มีเหตุผลอย่างสมบูรณ์ เป็นความเชื่อเหมือนกันทั่วโลก ส่วนพวกนักการเมืองและนายทุนก็ไม่ใช่ว่าจะมีคุณธรรมไปเสียทั้งหมด การถูกหลอกลวงจากคำปราศรัยหาเสียงจึงเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ พวกชนชั้นนำจึงไม่เชื่อในระบบการเลือกตั้งทางตรง เพราะไม่ไว้ใจประชาชน ไม่คิดว่าเป็นคะแนนเสียงที่แท้จริง เลยต้องมีคนที่คิดว่ามีวุฒิภาวะสูงกว่าที่เรียกว่าคณะผู้เลือกตั้งมากำกับอีกชั้นหนึ่ง 

นั่นเป็นสมัยก่อนที่คณะผู้เลือกตั้งใช้สิทธิ์ได้เต็มที่ว่าตนจะเลือกใคร แต่ปัจจุบัน กลไกคณะผู้เลือกตั้งเป็นแค่พิธีกรรม ผลการแข่งขันตัดสินกันในวันเลือกตั้งโดยประชาชนผ่านคูหาเลือกตั้งว่าแต่ละรัฐจะเลือกใคร หลายรัฐออกกฎหมายห้ามคณะผู้เลือกตั้งใช้สิทธิ์ในทางตรงกันข้ามกับเจตจำนงของประชาชนภายในรัฐ ถ้าเช่นนั้น ทำไมระบบคณะผู้เลือกตั้งยังต้องดำรงอยู่อีก  หรือมันมีคุณค่าเรื่องความเป็นตัวแทนของรัฐที่มีคุณค่าความหมายมากกว่าการไม่ไว้ใจประชาชน เพราะถ้าใช้ระบบที่ประชาชนทั้งประเทศลงคะแนนเสียงโดยตรง ผู้สมัครก็จะหันไปให้ความสนใจเฉพาะรัฐใหญ่อย่างแคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา เท็กซัส นิวยอร์ก ทำให้รัฐขนาดกลางและเล็กหมดความหมายทางการเมืองไป

หลักการของระบบคณะผู้เลือกตั้งก็คล้ายกับหลักการเรื่องวุฒิสภา ซึ่งแต่ละรัฐ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ต่างก็มีจำนวนวุฒิสมาชิก 2 คนเท่ากัน สะท้อนดุลอำนาจการเมืองที่เท่ากันของแต่ละรัฐ ทำให้รัฐขนาดกลางและเล็กมีความหมายทางการเมือง ส่วนสภาผู้แทนราษฎรก็แบ่งเก้าอี้กันไปตามฐานจำนวนประชากร ซึ่งรัฐใหญ่ได้เปรียบ

ในปัจจุบัน ประชาชนรับรู้ เข้าใจ และตัดสินใจทางการเมืองได้ดีขึ้น เพราะมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก มีพื้นที่สาธารณะ รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ จะโดนใครหลอกก็คงยาก ผมคิดว่าในแง่นี้ การเลือกตั้งทางอ้อมไม่มีความจำเป็น ควรใช้ระบบเลือกตั้งโดยตรงจากฐานประชาชน ใช้ popular vote ตัดสินเลย การเปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหม่จะทำให้ความสัมพันธ์ของฐานมวลชนต่อตรงไปที่ประธานาธิบดีมากขึ้น ข้ามผ่านตัวกลางทางการเมืองในระบบรัฐและท้องถิ่นไปเลย

ส่วนข้อกังวลเรื่องอำนาจทางการเมืองของรัฐนั้น คิดว่ามีวุฒิสภาคอยทำหน้าที่สะท้อนผลประโยชน์ตรงนั้นอยู่แล้ว นอกจากนั้น ระบบ popular vote ยังมีข้อดีตรงที่ไม่มีคะแนนเสียงตกน้ำ ทุกคะแนนเสียงมีความหมายทางการเมือง  ถ้าใช้ระบบคณะผู้เลือกตั้งแบบปัจจุบัน ในแต่ละรัฐจะตัดสินผลกันโดยฝ่ายชนะได้คะแนนเสียงคณะผู้เลือกตั้งของรัฐนั้นไปทั้งหมด ส่วนคะแนนของฝ่ายแพ้ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย 

แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากเรื่องความชอบธรรมของคณะผู้เลือกตั้ง แต่ผมไม่คิดว่ารัฐสภาจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกหรือเปลี่ยนหลักการไปจากเดิม เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องนำเสนอโดยเสียงสองในสามของรัฐสภาหรือเสียงสองในสามของมลรัฐทั้งหมดในที่ประชุมระดับชาติ และต้องผ่านการรับรองให้สัตยาบันด้วยเสียงสามในสี่ของมลรัฐทั้งหมด จึงจะประกาศใช้ได้อย่างถูกต้อง ผมคิดว่าเรื่องนี้คงไม่ผ่านสัตยาบันในหลายมลรัฐ เพราะมีรัฐที่เสียผลประโยชน์

ในด้านหนึ่ง การแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญจะมีความสำคัญ และส่งผลกระทบต่อระบบการเมืองที่ดำรงอยู่ แต่อีกด้านหนึ่ง ระบบการเมืองประชาธิปไตยในอเมริกานั้นมีการใช้จารีตประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ กำกับการเล่นการเมืองของเขาอยู่มาก คือแทนที่จะออกเป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติอย่างตายตัว ถ้าทำไม่ได้หรือทำไม่ถูกตามตัวบททั้งหมดก็อาจนำไปสู่ข้อขัดแย้งและการเอาชนะคะคานกันในที่สุด ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรค รัฐสภา และรัฐบาล การเมืองอเมริกันจึงเปิดช่องทางและกลไกที่ไม่เป็นทางการ ไม่เป็นตัวบทกฎหมาย แต่ให้ผู้นำและแกนนำของทั้งสองพรรคและรัฐบาลได้ใช้ความสามารถและศิลปะของความเป็นนักการเมืองไปคลี่คลายและแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยกัน คืออาศัยการเสวนา (dialogue) ไปแก้ปัญหา ไม่ใช่ด้วยการออกกฎหมายเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น ระบบ Filibuster  ที่ให้วุฒิสมาชิกแต่ละคนสามารถอภิปรายคัดค้านร่างกฎหมายที่ตนไม่เห็นด้วยได้นานเท่าที่เขาจะสามารถพูดได้ พูดทั้งวันทั้งคืนก็ได้ เพื่อชะลอการลงคะแนนเสียง และดึงดูดหรือบีบให้เกิดการเจรจาต่อรองทางการเมืองเพื่อหาข้อยุติในปัญหาความขัดแย้ง กล่าวคือไม่ได้ใช้ระบบเสียงข้างมากลากไปอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงสิทธิและความคิดเห็นของเสียงข้างน้อยด้วย

โอบามาทำงานมาเกือบแปดปีเต็ม อาจารย์ให้คะแนนโอบามาอย่างไร อะไรคือ มรดก (legacy) ของโอบามาต่อสหรัฐอเมริกา

ในภาพรวม ผมให้คะแนนบีบวก (B+) แต่ถ้าแบ่งเป็นในประเทศให้เอ (A) ส่วนการระหว่างประเทศและการทหารให้บี (B)

นโยบายในประเทศ เช่น การศึกษา สาธารณสุขและการรักษาพยาบาล สิทธิคนส่วนน้อยและเพศที่สาม การรักษาสภาพแวดล้อม และการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด เหล่านี้เขาทำได้ดีและมีวิสัยทัศน์ยาวไกล

แต่ที่เป็นปัญหาและเป็นงานยากคือด้านการทหารและความมั่นคง ที่หนักหน่วงคือการรับมรดกสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในอัฟกานิสถานและอิรัก ค่ายนักโทษก่อการร้ายในกวนตานาโม เรื่องเหล่านี้โอบามาสามารถใช้ความเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศเข้าชี้นำและตัดสินใจเพื่อคลี่คลายไปสู่การถอนทหารกลับและคืนสภาพสันติแก่ดินแดนเหล่านั้นได้เพียงใด คำตอบคือ แทบจะทำไม่ได้เลย สงครามในอิรักและอัฟกานิสถานก็ยังต้องประคองต่อไปเพราะสถานการณ์ไม่อำนวย เป็นความโชคร้ายที่เขารับตำแหน่งต่อจากการทำสงครามของบุช ครั้นจะไม่ทำก็ไม่ได้เพราะเป็นความต่อเนื่องของยุทธการและการทหาร

โอบามาเป็นประธานาธิบดีคนที่สองที่ใช้อำนาจไล่นายพลออกจากตำแหน่งระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในการรบ คนแรกคือประธานาธิบดีเฮนรี ทรูแมน ที่ปลดนายพลดักลาส แมกอาเธอร์ ออกจากตำแหน่งระหว่างสงครามเกาหลีฐานละเมิดคำสั่งและดำเนินการรบโดยไม่ได้รับอนุญาต คราวนี้โอบามาสั่งปลดนายพลสแตนลีย์ แมกคริสตัล ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพนาโตและอเมริกันในอัฟกานิสถาน หลังจากเขาและทีมงานให้สัมภาษณ์ในนิตยสารโรลลิงสโตน วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลและโอบามาในการต่อต้านการก่อการร้ายว่าไม่เข้าท่า ก่อนหน้านี้โอบามาได้มีคำสั่งปลดนายพลเดวิด แมกเคียแนน ผู้บัญชาการกองทัพในอัฟกานิสถาน ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีกลาโหม (โรเบิร์ต เกตส์) แล้วแต่งตั้งให้แมกคริสตัลขึ้นมาแทน กระทั่งถูกปลดออกอีก

ทั้งหมดนี้เป็นการสู้กันระหว่างพลเรือนที่เป็นผู้นำสูงสุดกับกองทัพว่าในที่สุดแล้วใครเหนือกว่าใคร หลังจากการปลดฟ้าผ่าแล้วก็ไม่เห็นมีคลื่นใต้น้ำอะไรออกมา ไม่มีสื่ออนุรักษนิยมเอียงขวาออกมากวนน้ำให้ขุ่น การทำรัฐประหารในอเมริกาจึงยากกว่าการให้อูฐลอดรูเข็ม  

 สิ่งที่ผมมองว่าเป็นมรดกของประธานาธิบดีโอบามา ได้แก่ ภาวะของการเป็นผู้นำรัฐที่สามารถแสดงออกในอุดมการณ์ทางการเมืองและภูมิปัญญาที่รองรับความเป็นจริงของสหรัฐอเมริกาและของโลก เขาเอาชนะด้านที่คนมองว่าเป็นจุดด้อยของเขาคือเชื้อชาติและสีผิว ไม่แสดงให้รู้สึกถึงความต่ำต้อยทางสีผิวและชาติกำเนิดเลย สามารถตอบโต้กับฝ่ายคนแอฟริกันอเมริกันที่วิจารณ์นโยบายรัฐบาลได้อย่างตรงไปตรงมา โอบามาทำให้ระบบการเมืองและวัฒนธรรมอเมริกันดูเลิศประเสริฐศรีกว่าหลายๆ ประเทศ คำพูดที่ออกจากปากเขาไม่เคยสะท้อนความตื้นเขินและความหลงผิดดังเช่นผู้นำหลายประเทศในโลก หากแต่ตอกย้ำถึงความรู้และสติปัญญาที่ทำให้เขายืนเด่นอย่างองอาจและงดงามสง่าผ่าเผย 

ในยุคประธานาธิบดีทรัมป์ โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ไม่เคยมีว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนไหนในอดีตที่มีภาพลักษณ์และบทบาทโลดโผนฉีกแบบแผนและขนบธรรมเนียมจารีตของผู้นำสูงสุดของประเทศเท่าโดนัลด์ ทรัมป์  หลายเรื่องเป็นการสร้างและปลุกกระแสมวลชนคนติดทรัมป์ด้วยตัวเขาเอง เช่นการทวีตทุกวันทุกคืนด้วยความเห็นอันร้อนแรงและแสบสันต์ไปยังสมาชิกยี่สิบกว่าล้านคนของเขา ไม่เคยมีและคงจะมีอีกยาก 

ด้วยบุคลิกภาพและความคิดเห็นแบบไม่เดินตามกรอบและกระแส ทรัมป์กำลังทำให้ผู้คนทั้งในแวดวงการเมืองในประเทศและนอกประเทศคาดเดาเป็นการใหญ่ว่าสหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดีทรัมป์จะเกิดอะไรขึ้น  มันต้องเปลี่ยนแปลงไปแน่ๆ หลายคนเริ่มวิตกและกังวลต่ออนาคตของอเมริกา ไม่มีใครคิดว่ารัฐบาลทรัมป์จะดำเนินไปเหมือนกับรัฐบาลอเมริกันที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงและลงมือทำสิ่งใหม่แต่ก็เดินไปตามกรอบและธรรมเนียมปฏิบัติแบบที่เคยทำกันมา แต่คราวนี้คงไม่ใช่

เหตุที่สร้างความหวั่นไหวไปทั่วก็เพราะทรัมป์มีความคิดและความเชื่อแบบไม่เสรีนิยมและเอียงขวา บวกกับท่าทีและทัศนะแบบเหยียดหยามคนด้วยเชื้อชาติ ศาสนา และเพศ  ปฏิเสธไม่ได้ว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในอดีตหลายคนก็เคยมีทัศนะทำนองนี้ แต่คนเหล่านั้นไม่พูดและไม่แสดงให้สาธารณชนเห็นว่าจุดยืนต่อปัญหาเหล่านั้นอยู่ตรงไหน และแน่ๆ คือไม่สนับสนุนว่าเป็นสิ่งถูกต้องอย่างเด็ดขาด

จากข้อมูลล่าสุด คนสุดท้ายที่มีชื่อโผล่ออกมาว่าจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ อันเป็นตำแหน่งสำคัญอันดับสองรองจากตัวประธานาธิบดีในคณะรัฐมนตรีคือ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน (Rex Tillerson) ซีอีโอของบริษัท Exxon Mobil แหล่งข่าวให้เหตุผลว่าทรัมป์สนใจทิลเลอร์สันเพราะมีประสบการณ์อันยาวนานในการเจรจาธุรกิจค้าน้ำมันไปทั่วโลก โดยเฉพาะดินแดนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและอันตรายเช่นตะวันออกกลางและรัสเซีย อีกทั้งมีสัมพันธภาพอันยาวนานกับประธานาธิบดีปูติน

ถ้าข้อมูลนี้เป็นจริง เราจะเห็นภาพผู้นำรัฐบาลทรัมป์ที่ชัดเจนขึ้น นั่นคือเขาจะสร้างดุลยภาพกับมหาอำนาจต่างประเทศ (เช่นรัสเซียกับจีน) ด้วยการตั้งนักธุรกิจใหญ่ที่เคยทำมาหากินกับจีน เช่น เทอร์รี แบรนด์สตัด (Terry Brandstad) ผู้ว่าการรัฐไอโอวา และรัสเซีย เช่น ทิลเลอร์สัน มาดำเนินนโยบาย คิดว่าคงจะออกมาทำนอง “ทำสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ด้วยการเอาการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางธุรกิจของผู้นำทั้งสามประเทศมาวางบนโต๊ะเจรจา ดูแล้วก็สวยหรูและไม่ยากในการปฏิบัติด้วย

โลกของทรัมป์จะเป็น “โลกสวย” แต่เป็นความสวยของใคร นี่เป็นคำถามที่ทุกคนเฝ้ารอดูคำตอบ

แล้วสหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ถ้าจะเดาว่าสหรัฐอเมริกาในสมัยทรัมป์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผมลองคาดการณ์ดูแล้วคิดว่า ทรัมป์จะทำให้ปัญหาขัดแย้งกับมหาอำนาจ เช่น รัสเซียและจีน เป็นเรื่องเล็ก ไม่มีอันตรายอะไรอีกแล้ว จากนั้นก็จะมาจับเรื่องในประเทศเพราะเขาคิดว่าเขารู้เรื่องดีกว่าทุกคนในสหรัฐอเมริกา ประเมินจากการตอบรับของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งหลายก็ไม่มีสัญญาณของการปฏิเสธหรือคัดค้านอย่างเด่นชัดนัก ด้วยการที่เขาเป็นนักธุรกิจระดับโลกมาก่อน คิดว่าคงหาทางดำเนินนโยบายการค้าไปได้ไม่เลวนัก แต่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยและคนว่างงานได้หมดไหม คิดว่าคงไม่อาจทำได้ง่ายๆ อย่างที่ได้หาเสียงไว้

แม้โรงงานแคร์เรียร์ที่สัญญาว่าจะเก็บงานหนึ่งพันตำแหน่งเอาไว้ในอเมริกา ไม่ไปเม็กซิโก แต่ข่าวที่ออกมาก็คืองานเหล่านั้นเป็นงานสำหรับพวกที่มีความรู้ทางเทคนิคระดับดี เพราะโรงงานก็กำลังปรับเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ ดังนั้น ตำแหน่งงานที่จะเปิดก็ไม่ใช่สำหรับกรรมกร แต่เป็นช่างมีฝีมือต่างหาก 

การแก้และคลี่คลายปัญหาเศรษฐกิจในอนาคตจึงเกี่ยวพันกับระบบการค้าอุตสาหกรรมโลกและการเมืองโลก ตรงนี้คือจุดสำคัญของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา เพราะการกำหนดนโยบายทางยุทธศาสตร์ของเขาจะเป็นนโยบายโลกไปด้วย ดังเช่นที่สหรัฐอเมริกาเปลี่ยนวิธีการคมนาคมและการขนส่งในทุกประเทศในโลกจากรถไฟมาเป็นรถยนต์และถนนคอนกรีต จนมาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน สงครามเย็นที่ทำให้คนค่อนโลกหวาดกลัวและฆ่าคนที่เห็นต่างจากตนว่าเป็นคอมมิวนิสต์ก็สร้างโลกที่สามอีกแบบขึ้นมา แต่การที่กองหนุนในประเทศของทรัมป์กลับหันไปหาอุดมการณ์คนขาวเป็นใหญ่และเหยียดหยามคนต่างสีผิวต่างศาสนา ก็มีความเป็นไปได้ที่นโยบายในประเทศของเขาจะขัดแย้งกับความเป็นจริงในโลกภายนอก

ถ้าทรัมป์ไม่ปรับโลกทัศน์และวิธีคิด รัฐบาลของทรัมป์จะ ‘ใหญ่’ เกินกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา เขาจะสร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่หลากหลายอย่างแหลมคม และอาจกลายสภาพเป็นความขัดแย้งขั้นแตกหักระหว่างกันได้ แต่รัฐบาลของเขาจะ ‘เล็ก’ เกินไปสำหรับโลกยุคโลกาภิวัตน์ ถ้าเขาดำเนินนโยบายต่างประเทศตามแบบคนที่เขาเลือกขึ้นมาทำงานดังที่เห็นกันอยู่

โยฮัน กัลตุง นักสังคมวิทยาชื่อดังของโลก ทำนายว่าทรัมป์จะทำให้สหรัฐอเมริกาพังทลายลง ด้วยความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์ภายในประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไม่ตอบโจทย์ของความจริงเรื่องมหาอำนาจหลายขั้ว สหรัฐอเมริกาจะตกจากการเป็นมหาอำนาจโลก อเมริกาจะไถลเข้าสู่การเกิดระบบฟาสซิสม์และนำไปสู่การประท้วงต่อต้านของมหาชนที่เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและในชีวิต กัลตุงถึงขนาดทำนายภาวะจุดจบของสหรัฐอเมริกาว่าจะคล้ายกับการสิ้นสลายของสหภาพโซเวียตด้วยฝีมือของทรัมป์ เขาให้เวลาไว้ไม่เกินปี 2020  น่าตื่นเต้นมากสำหรับคนรุ่นเราที่อาจได้มีโอกาสเห็นอวสานของมหาอำนาจโลกถึงสองแห่ง

อย่างไรก็ตาม กัลตุงมีคำทำนายเชิงบวกให้ด้วยในตอนจบว่า หลังจากสหรัฐอเมริกาหลุดจากการเป็นมหาอำนาจโลกแล้ว จะเกิดความยากลำบากในประเทศ จนนำไปสู่การเรียกร้องของกลุ่มคนต่างๆ ที่ต้องการเป็นชุมชน (community) หรือเป็นสหพันธรัฐ (confederation) แต่ไม่ต้องการอยู่ในสหรัฐ (union) อีกต่อไป ในช่วงนั้นจะเป็นโอกาสให้อเมริกาเกิดพลังสร้างสรรค์ใหม่ หากทรัมป์สามารถปรับแก้ความคิดและนโยบายแบบประชารัฐนิยมของเขาลงไปได้ และช่วงชิงโอกาสนั้นทำการดัดแปลงและสร้างพลังใหม่ให้แก่สหรัฐอเมริกา ก็อาจจะนำไปสู่การสร้างสหรัฐอเมริกาที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาอีกครั้งได้

ข้อสุดท้ายนี้น่าคิดมาก ที่ผ่านมาคนไม่ค่อยตั้งคำถามเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของสหรัฐอเมริกาว่าจะเปลี่ยนได้ไหม อาจเพราะสหรัฐอเมริกาเคยเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างภาคเหนือกับใต้มาก่อนแล้ว และจบลงด้วยความสูญเสียมหาศาล แต่ทำให้เกิดรัฐบาลกลางและสหรัฐที่เป็นเอกภาพแน่นเหนียวสถาพรยิ่งนักมานับแต่นั้น จนไม่มีใครคิดว่าจะมีมูลเหตุปัจจัยอะไรที่จะมาทำให้มีใครอยาก “แยกดินแดน” ออกจากสหรัฐอีกได้  คำทำนายของกัลตุงว่าไปแล้วก็มองว่าหากรัฐบาลทรัมป์ดำเนินนโยบายทั้งในและต่างประเทศจนก่อให้เกิดความเสียหายมาก อาจนำไปสู่การเปิดช่องทางให้คนหลายกลุ่มที่เกลียดชังกันได้หาทางออกสำหรับอนาคตของพวกตนใหม่ นั่นคือการแยกดินแดน แยกชุมชนหรือแยกรัฐ ไปดำรงตนปกครองอย่างเป็นอิสระกันเองเสียดีกว่า

อย่าคิดว่าเรื่องทำนองนี้เป็นความเพ้อฝัน เป็นอุดมคติอันเลื่อนลอย ในอดีตนั้นชาวยุโรปที่เดินทางมาตั้งรกรากในดินแดนโลกใหม่แห่งนี้ มาด้วยความฝันที่อยากจะสร้าง “ยูโทเปีย” หรือสังคมในอุดมคติ สังคมที่ไม่มีการกดขี่ขูดรีด เอาเปรียบทางเพศ และความคิดทางศาสนา ที่มานั้นมีหลายแบบทั้งที่เพ้อฝันและที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่นชุมชนของโอเอ็น ซึ่งเป็นนักอุตสาหกรรมอังกฤษ รวมๆ แล้วในต้นศตวรรษที่ 19 มีชุมชนที่เป็นยูโทเปียนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐนิวยอร์กและนิวอิงแลนด์ หากมีช่องทาง โอกาส และระบบการเมืองรองรับ เราอาจจะได้เห็นการก่อตัวของชุมชนพระศรีอาริย์หรือยูโทเปียนับร้อยๆ แห่งในสหรัฐอเมริกาหลังยุคโลกาภิวัตน์ก็เป็นได้  เพียงแต่ว่าทำอย่างไรถึงจะมีฐานะเป็นรัฐ และมีอำนาจในการดำเนินนโยบายของตนเองได้ด้วย

การเปลี่ยนแปลงนี้จะกลายเป็นความย้อนแย้งของปรากฏการณ์ทรัมป์

จากสหรัฐอเมริกาหันมามองไทย อะไรความท้าทายของประเทศไทยในยุคประธานาธิบดีทรัมป์

ประเทศไทยคงไม่มีอะไรท้าทาย เพราะหากสหรัฐอเมริกาหันหลังกลับเข้าหาตัวเองดังกล่าวแล้ว บทบาทหรือบทเรียนที่ไทยจะได้คงไม่มากและจะทำได้ยากทั้งนั้น เพราะต้องต้องกลับไปอาศัยประวัติศาสตร์ของชุมชนที่เป็นด้านบวก ของอเมริกานั้นหาไม่ยาก ส่วนของไทยหายาก  เรื่องที่จะเกี่ยวพันกันมากหน่อยก็คือเรื่องการค้าและการจัดความสัมพันธ์กับจีน เราเห็นแล้วว่าไทยเริ่มเปลี่ยนหุ้นส่วนเรื่องการค้า การก่อสร้างทางรถไฟอะไรต่อมิอะไรด้วยการหันไปอิงจีน รักษาฐานเก่ากับญี่ปุ่น แล้วเปิดตลาดกับอาเซียนมากขึ้น

แต่การสร้างอาเซียนให้มีศักยภาพในการเมืองโลกอย่างแท้จริง หนีไม่พ้นที่จะต้องทำให้การเมืองในแต่ละประเทศของอาเซียนเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง คือต้องมีระบบการเมืองการปกครองที่แน่นอน มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพ ถ้าอเมริกาไม่สนใจเรื่องประชาธิปไตยในอาเซียน ก็เข้าทางของจีน คิดว่ากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ คงไม่อาจรับนโยบายแบบนี้ของทรัมป์ได้ รัฐบาลของทรัมป์อาจต้องไล่และปลดข้ารัฐการโดยเฉพาะพวกอาวุโสไม่น้อยในกระทรวงต่างๆ เพื่อจะผลักดันนโยบายสุดขั้วของเขาได้จริงๆ ซึ่งอาจคล้ายกับรัฐบาลไทยในขณะนี้และในอนาคต  

กล่าวโดยสรุป อนาคตของสองประเทศและสองรัฐบาลในอนาคตอาจคล้ายกันคือ ต่างก็มีความท้าทายจากความขัดแย้งแตกแยกที่เป็นปฏิปักษ์กันระหว่างกลุ่มคนหลากหลายในประเทศที่จะทวีความเข้มข้นมากขึ้น แทนที่จะลดลง

ทรัมป์กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความคล้ายหรือมีความต่างกันอย่างไร  

ความคล้ายน่าอยู่ที่การตัดสินใจเด็ดขาด ดำเนินการทันทีโดยไม่ต้องรอวางแผนงานอะไรให้ยุ่งยาก พูดมากและพูดอย่างไม่ต้องเกรงใจคนฟัง พูดได้ตามใจคือไทยและอเมริกันแท้ เดินสายหาเสียงและการสนับสนุนจากมวลชนพื้นฐาน ชาวบ้านฟังแล้วชอบและสะใจ วิธีการสำคัญในการปกครองและบริหารคือการส่งมอบของให้ลูกค้า (delivery) ทรัมป์ประกาศว่าคณะรัฐมนตรีของเขาต้องทำงาน และการทำงานคือการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามที่สัญญา ไม่อย่างนั้นเขาก็จะไล่ออก 

แต่คุณสมบัติข้อสุดท้ายคือความแตกต่างระหว่างพลเอกประยุทธ์กับทรัมป์ ในขณะที่ทรัมป์คัดเลือกคนมาร่วมทีมงานในรัฐบาลจากคนที่เขารู้จักสนิทสนมไม่มากก็น้อย แต่กระนั้นเขาก็ยังเลือกเอาคนที่รู้งานและสามารถทำงานนั้นๆ ได้ ไม่ใช่เอาจากพรรคพวกเพื่อนสนิทเท่านั้น ที่ต่างกันอีกอย่างคือทรัมป์ทำงานในองค์กรธุรกิจเอกชนที่การเข้า-ออกจากงานและเลื่อนขั้นนั้นดำเนินไปตามวาระ ตามกฎ และตามกำไรขาดทุน ทั้งหมดเป็นปัจจัยภายนอกที่ทำให้ผู้ร่วมงานของเขาล้วนมีวาระแน่นอนในการอยู่และไป ไม่มีใครอยู่เพราะเป็นการสืบทอดทายาทและอภิสิทธิ์

ถ้าพลเอกประยุทธ์กับทรัมป์ได้คุยกัน ทั้งคู่จะเป็นเพื่อนรักกันได้ไหม

คิดว่าทรัมป์น่าจะโอ้โลมนายกรัฐมนตรีไทยอย่างสูงด้วยคำพูดหวานหูและยกยอปอปั้นได้ดีกว่าโอบามาและคลินตัน แต่ไม่คิดว่าทรัมป์จะรักผู้นำไทยขนาดนั้น จนกว่าจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้อำนาจได้อย่างประธานาธิบดีปูตินแห่งรัสเซีย

ส่วนผู้นำไทยนั้นคงไม่พิศวาสทรัมป์มากเท่าไร เพราะคนที่เป็นข้าราชการระดับสูงในประเทศทั้งชีวิตและอยู่ในสถาบันที่ไม่ต้องฟังเสียงคนอื่นมาตลอดชีวิต คงยากที่จะยอมรับและชื่นชมความสามารถของพ่อค้านักธุรกิจ ผู้หากินกับการเจรจาด้วยลมปาก ไม่เห็นจะแสดงบารมีอำนาจตรงไหนออกมาได้เลย

……………………………………………..

หมายเหตุ: สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 และเรียบเรียงและแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2559

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชวนส่งเสียงค้าน พ.ร.บ.คอมฯ ให้ถึง สนช. เข้าสภา 15 ธ.ค.นี้ ย้ำ ไม่ค้านผ่านแน่ๆ

$
0
0

13 ธ.ค. 2559 เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายพลเมืองเน็ต รณรงค์ผ่าน change.orgเชิญชวนให้ประชาชนร่วมแสดงความกังวลต่อร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 3 ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ เพื่อเรียกร้องให้มีการพิจารณาใหม่ โดยชี้ว่า ร่างพ.ร.บ.โดยรวมทั้งฉบับ "แย่ลงกว่าเดิม"

โดยเชิญชวนให้ส่งอีเมล ทวีตเมนชั่น เขียนข้อความ/อัปโหลดภาพและแท็กเฟซบุ๊ก ส่งไลน์ ถึงสมาชิก สนช.ทุกคนที่รู้จัก ก่อนเช้าวันพฤหัสที่จะถึงนี้ เพื่อแสดงความกังวลต่อประเด็นที่แต่ละคนสนใจ และหยุดร่าง พ.ร.บ.คอมฉบับนี้ ให้สภาพิจารณาใหม่ โดยจะคิดข้อความเองหรือใช้รูปและข้อความตามที่ iLaw แนะนำก็ได้ ตามลิงก์ https://www.ilaw.or.th/node/4364 และส่งไปตามช่องทางต่างๆ (ดูรายละเอียดด้านล่าง)

ล่าสุด ข้อมูล ณ วันนี้ เวลา 13.40 น. มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแล้ว 46,744 ราย

รณรงค์: ขอเสียงประชาชนหยุด! ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่

ตามระเบียบวาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2559 มีการกำหนด "เรื่องด่วน" ไว้สี่อย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว มีความเป็นไปได้มาก ที่ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ" ฉบับใหม่ จะผ่านวาระ 3 ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ทั้งที่ กลุ่มพลเมืองผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการจำนวนไม่น้อยต่างก็ประสานเสียงกันว่า กฎหมายฉบับนี้ยังเต็มไปด้วยปัญหา เช่น นิยามความผิดที่ห้ามนำข้อมูลเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขว้าง จนประชาชนไม่สามารถรู้ได้ว่าขอบเขตอยู่ตรงไหน นอกจากนี้ ยังเพิ่มอำนาจการบล็อคเว็บแม้เนื้อหาจะไม่ผิดกฎหมายให้กับ "คณะกรรมการกลั่นกรอง" ซึ่งมีได้มากกว่าหนึ่งคณะ เป็นต้น (อ่านรายละเอียดได้ที่นี้)

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ออกแคมเปญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ส่งเสียงค้ดค้านไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ชะลอหรือยับยั้งการพิจารณากฎหมายฉบับนี้

โดยพวกเราสามารถรวมพลังกันเพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ได้ดังนี้

1) โพสต์-แชร์ รูปภาพรณรงค์ (อยู่ด้านล่างสุด) ในประเด็นที่เราไม่เห็นด้วยไปยังหน้าเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ของประธาน รองประธาน และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามช่องทางนี้

1.1) เฟซบุ๊ก

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (@SenateThailand)
สนช. พบประชาชน (@NLAMeetPeople)
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา (@Thaiparliamentchannel)
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย  (@สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย)
สุรางคณา วายุภาพ (@surangkana.wayuparb)

1.2) ทวิตเตอร์

วิทยุโทรทัศน์รัฐสภา @TPchannel
สุรางคณา วายุภาพ @SurangkanaWayup


2) ส่งอีเมลพร้อมรูปภาพรณรงค์ไปที่ยัง ประธาน รองประธาน และสมาชิก สนช. ซึ่งเป็นกรรมาธิการร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่

พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง
พีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง
พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ภัทรศักดิ์ วรรณแสง รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง
กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สอง
จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพจ
สุรางคณา วายุภาพ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
พลตำรวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้ กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
ธานี อ่อนละเอียด กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
ฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล กรรมาธิการวิสามัญ
ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล กรรมาธิการวิสามัญ
ประมุท สูตะบุตร กรรมาธิการวิสามัญ

คัดลอกอีเมลทั้งหมดได้ตามนี้

chatchawal_su@police.go.th, sen031@senate.go.th, phattarasak.v@coj.go.th, jintanant.sub@mahidol.ac.th, sen057@senate.go.th, sen103@senate.go.th, sen007@senate.go.th, surangkana@etda.or.th, sen215@senate.go.th, sen085@senate.go.th, sen127@senate.go.th, sen058@senate.go.th, chatchai@metroply.com, sen115@senate.go.th, chusak.l@psu.ac.th, sen171@senate.go.th, sen080@senate.go.th, sen089@senate.go.th,
jatingja2479@hotmail.com, sen170@senate.go.th, p_senate@hotmail.com, sen096@senate.go.th,
wp2557@hotmail.com, ilaw@ilaw.or.th

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพรณรงค์ไปใช้ได้ ตามนี้

หนึ่ง: ไม่เห็นด้วยกับ "การมีคณะกรรมการมาคิดแทนเราว่า เราควรดูอะไร ไม่ควรดูอะไร" (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)
 

 

สอง: ไม่เห็นด้วยกับ "การกำหนดนิยามความผิดกว้างขว้าง จนโพสต์อะไรแทบไม่ได้" (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)
 



สาม: รูปภาพรณรงค์ขอให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติยับยั้งการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)




 

ข้อมูลประกอบเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หวั่นผลประโยชน์ทับซ้อน 'ศรีสุวรรณ' ร้องสอบ 'ศานิตย์' สนช.ป้ายแดง นั่งที่ปรึกษาไทยเบฟฯ

$
0
0

13 ธ.ค. 2559 จากกรณีเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยการยื่นแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กรณีเข้ารับตำแหน่งใหม่ เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 จำนวน 31 ตำแหน่ง เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2559 จำนวน 2 ตำแหน่ง และกรณีพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา อีกจำนวน 1 ตำแหน่ง

โดยจำนวนนี้ มีกรณี พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ซึ่ง ระบุว่ามีรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2558 ได้เงินเดือนเดือนละ 50,000 บาท จนส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม

ที่มาภาพ เฟซบุ๊ก Srisuwan Janya

ล่าสุดวันนี้ (13 ธ.ค.59) ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางไปที่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน อาคาร B ศูนย์ราชการฯ เพื่อร้องเรียนกล่าวโทษต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อไต่สวน ตรวจสอบว่ามีความผิดต่อจริยธรรมและกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 100 (4) และมาตรา 103 ด้วยหรือไม่อย่างไร โดยระบุว่า อาจเข้าข่ายขัดหรือแย้งต่อประมวลจริยธรรมของข้าราชการตำรวจและประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2550 เพราะอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายอีกด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไอแอลโอเผยผลศึกษา 2 ชิ้น ปมแรงงานหญิงข้ามชาติ แนะ รบ.รับรองอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของไทย

$
0
0

13 ธ.ค. 2559 รายงานข่าวจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) แจ้งว่า ไอแอลโอ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแรงงานหญิงข้ามชาติ 2 เรื่อง ได้แก่ ตึกสูง ค่าแรงต่ำ : ประสบการณ์ของแรงงานหญิงข้ามชาติในภาคธุรกิจก่อสร้างไทยศึกษาข้อท้าทายอันเนี่องจากเพศสภาพที่แรงงานหญิงในภาคก่อสร้างประสบ เรื่องที่สอง แรงาน ผู้ช่วย ป้า แม่บ้าน? สภาพการทำงานและทัศนคติของแรงงานหญิงข้ามชาติในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย เชื่อมโยงทัศนคติของสาธารณะที่ปรากฎในสื่อและทัศนคติของนายจ้างต่อสภาพการทำงานที่แรงงานข้ามชาติทำงานบ้านเผชิญ

ไอแอลโอ ระบุว่า การศึกษาดังกล่าวได้ศึกษาภาคการผลิตสองแบบที่แตกต่างกัน งานบ้านคือภาคแรงงานนอกระบบซึ่งมีแรงงานผู้หญิงทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจก่อสร้างเป็นภาคส่วนธุรกิจที่มีแรงงานชายทำงานอยู่จำนวนมากและมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ประสบการณ์ของแรงงานหญิงข้ามชาติที่ทำงานในภาคธุรกิจทั้งสองภาคที่มีความแตกต่างกันนี้ มีปัจจัยที่สัมพันธ์กันหลายประการ

ประการแรก งานที่ทำโดยผู้หญิงทั้งในภาคก่อสร้างและงานบ้านนั้นได้รับการประเมินค่าต่ำ โดยเห็นได้จากค่าจ้างที่ต่ำ จากจำนวนแรงงานหญิงข้ามชาติทั้งหมดที่ได้สำรวจพบว่าร้อยละ 90 ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แม้ว่าประเทศไทยได้ให้สัตาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 100 ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียม ค.ศ.1951 แรงงานหญิงในภาคก่อสร้างเล่าให้ฟังว่าตนได้รับค่าจ้างน้อยกว่าแรงงานผู้ชาย แม้ว่าจะทำงานประเภทเดียวกันก็ตาม มีเพียงหนึ่งในสามของแรงงานหญิงข้ามชาติที่ให้สัมภาษณ์ได้รับค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในขณะที่แรงงานชายทั้งหมดที่ให้สัมภาษณ์ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ การถูกลดคุณค่าทางเศรษฐกิจ ยังทำให้แรงงานหญิงถูกลดคุณค่าทางสังคม โดยงานบ้านมักได้รับการปฎิบัติในฐานะที่ไม่ใช่งานและถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงที่ต้อง “เป็นคนช่วย” หรือ “เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว” ซึ่งเป็นการกันแรงงานหญิงออกจากการคุ้มครองสิทธิแรงงานและการคุ้มครองทางสังคม ทั้งนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐที่ให้สัมภาษณ์เน้นว่างานบ้านในรูปแบบครอบครัวนั้นมีความเหมาะสมเชิงวัฒนธรรมสำหรับประเทศไทย สำหรับภาคธุรกิจก่อสร้าง นายจ้างเห็นว่าแรงงานหญิงเป็นแรงงานชั้นสองที่ถูกจ้างพร้อมกับสามีที่เป็นเป้าหมายหลักในการจ้างงาน ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วแรงงานหญิงหลายๆ คน ทำงานประเภทเดียวกับแรงงานชาย

ประการที่สอง แรงงานหญิงข้ามชาติในภาคธุรกิจก่อสร้างและงานบ้านนั้นทำงานหนักเกินไปและไม่ได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสมเพียงพอ แรงงานหญิงข้ามชาติที่ทำงานบ้านเล่าว่าตนต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน สำหรับแรงงานที่ทำงานด้านการดูแลนั้นต้องทำงานโดยเฉลี่ย วันละ 13.5 ชั่วโมง เกือบหนึ่งในสี่ของแรงงานทำงานบ้านที่ให้สัมภาษณ์เล่าว่าไม่ได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์ แม้ว่ากฎหมายไทยกำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 1 วัน สำหรับภาคธุรกิจก่อสร้าง แรงงานหญิงข้ามชาติหลายรายต้องทำงานหนักและกลัวว่าจะได้รับบาดเจ็บในสถานที่ก่อสร้าง มีนายจ้างจำนวนไม่มากนักที่จัดอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่เพียงพอต่อแรงงานทุกคน อิการที่สอง แรงงานหญิงข้ามชาตงสิทธิแรงงานและการคุ้มครองทางสังคม านหญิงข้งเหล่านั้นกระสบปั๊ใหมให

ข้อจำกัดในการคุ้มครองและการบังคับใช้กฎหมายแรงงานและบทบัญญัติเกี่ยวกับการประกันสังคมทำให้แรงงานหญิงข้ามชาติทั้งในภาคธุรกิจก่อสร้างและงานบ้านไม่ได้รับความคุ้มครอง แรงงานทำงานบ้านไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการลาคลอด และไม่ได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากการตั้งครรภ์ แม้ว่าแรงงานในภาคธรุกิจก่อสร้างจะได้รับการคุ้มครองดังกล่าว แต่นายจ้างในธุรกิจก่อสร้างมีการเลิกจ้างเนื่องจากแรงงานตั้งครรภ์ แรงงานหญิงที่ให้สัมภาษณ์ทุกคนไม่ได้รับการคุ้มครองในการลาคลอดและรายได้ระหว่างลาคลอด

ไอแอลโอ ระบุด้วยว่า การศึกษาเรื่อง ตึกสูง ค่าจ้างต่ำ มีข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยและนายจ้างในการแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายในด้านเอกสารของแรงงานข้ามชาติที่มีอัตราค่อนข้างสูง และรับรองให้แรงงานข้ามชาติได้รับค่าจ้างอย่างน้อยตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของไทย จัดให้มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่เพียงพอและปรับปรุงมาตรฐานที่พักของแรงงาน รายงานการศึกษานี้เสนอให้มีการคุ้มครองแรงงานหญิงข้ามชาติในเรื่องค่าจ้างที่ดีขึ้น

การศึกษาเรื่อง แรงาน ผู้ช่วย ป้า แม่บ้าน? ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของสาธารณะต่อแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบ้าน และที่สำคัญอย่างยิ่ง งานบ้านจะต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นงานและได้รับการคุ้มครองแรงงานและสิทธิประโยชน์จากการประกันสังคมที่เท่าเทียมกับงานในภาคการผลิตอื่นๆ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับตาวาระ กทค. กรณีผู้บริโภคร้องถูกเก็บค่าบริการเสริม SMS โดยไม่ได้สมัครใช้บริการ

$
0
0

13 ธ.ค. 2559 เว็บไซต์ NBTC Rights รายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ครั้งที่ 32/2559 ช่วงบ่ายของวันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2559 มีวาระที่น่าจับตาอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคจำนวนมากมักถูกเอาเปรียบโดยไม่รู้ตัว นั่นคือปัญหาการถูกเรียกเก็บค่าบริการเสริมจากข้อความสั้นหรือ SMS ทั้งที่ไม่ได้มีเจตนาสมัครใช้บริการ

วาระนี้สืบเนื่องจากผู้บริโภครายหนึ่งซึ่งใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบชำระค่าบริการรายเดือนของ บจ. แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ได้ร้องเรียนมายังสำนักงาน กสทช. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 ว่า ถูกเรียกเก็บค่าบริการเสริมจากการรับข้อความสั้น (SMS) ข่าว ดูดวง เฟสบุ๊ก สาระบันเทิง รวมทั้งสิ้น 7 เดือน เป็นจำนวนเงิน 1,890 บาท โดยที่ไม่เคยสมัครใช้บริการแต่ประการใด แต่ได้ชำระค่าบริการไปแล้ว เนื่องจากใช้วิธีการชำระค่าบริการผ่านการตัดบัตรเครดิตและไม่เคยตรวจสอบค่าใช้บริการที่เรียกเก็บจากใบแจ้งหนี้ จึงถูกเรียกเก็บค่าบริการเกินจริงไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตัวและติดต่อ Call Center ของบริษัทฯ เพื่อขอเงินคืน ก็ได้รับการปฏิเสธ

ภายหลังที่สำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (รท.) สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า ผู้บริโภครายนี้ได้รับการเชิญชวนให้สมัครใช้บริการเสริม SMS HORO Daily ของ บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งทดลองให้ใช้บริการฟรี 7 วัน เมื่อใกล้วันครบกำหนด จะมีข้อความแจ้งเตือนล่วงหน้าว่า หากไม่ต้องการใช้บริการต่อให้โทรแจ้งยกเลิกบริการ ซึ่งผู้ใช้บริการไม่ได้โทรแจ้งยกเลิก จึงเข้าสู่ระบบใช้บริการดังกล่าว โดยได้รับข้อความพยากรณ์ดวงชะตาวันละ 3 ข้อความ ข้อความละ 3 บาท ผู้ร้องเรียนเห็นว่าการเสนอขายบริการในลักษณะนี้ไม่เป็นธรรม เพราะบริษัทฯ ใช้วิธีเชิญชวนในลักษณะเดียวกันหลายล้านเลขหมาย บางรายอาจมีการตอบตกลงโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือตัดความรำคาญเนื่องจากเป็นการรบกวน

สำหรับการพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนนี้ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมได้พิจารณาและมีมติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 ว่า บจ. แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการ เพราะไม่มีหลักฐานการสมัครใช้บริการที่ชัดเจน และให้สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบว่าปัจจุบันยังมีการกระทำในลักษณะดังกล่าวอยู่อีกหรือไม่ หากยังมีการกระทำดังกล่าวอยู่ ให้สำนักงาน กสทช. มีคำสั่งให้บริษัทฯ ระงับการกระทำทันที เพราะถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการเอาเปรียบผู้บริโภคตามประกาศ กสทช. เรื่องการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมฯ แต่ปรากฏว่าในชั้นการพิจารณาของ กทค. ในการประชุมครั้งที่ 21/2559 วันที่ 13 กันยายน 2559 ที่ประชุมกลับเห็นว่าข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน โดยมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และนำกลับมาเสนอ กทค. พิจารณาใหม่อีกครั้ง ซึ่งรวมถึงให้ตรวจสอบประเด็นข้อกฎหมายด้วยว่าการสมัครทดลองใช้บริการถือเป็นการทำสัญญาระหว่างบริษัทฯ กับผู้ใช้บริการหรือไม่

ทั้งนี้ ในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมนั้น กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ได้มีหนังสือสอบถามความเห็นทางกฎหมายจากสำนักกฎหมายโทรคมนาคม (มท.) สำนักงาน กสทช. ซึ่ง มท. ก็ได้ให้ความเห็นว่า ตามข้อกำหนดในประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคมฯ กำหนดว่าสัญญาย่อมเกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาเสนอและสนองถูกต้องตรงกันโดยชัดแจ้ง กรณีที่ผู้ใช้บริการมิได้ปฏิเสธข้อเสนอเกี่ยวกับบริการใดของผู้ให้บริการ จะถือว่าผู้ใช้บริการได้แสดงเจตนาตกลงใช้บริการนั้นของผู้ให้บริการมิได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการเสริม นอกจากนี้ สำนักกฎหมายโทรคมนาคมยังมีข้อสังเกตด้วยว่า การที่ผู้ให้บริการเสนอให้ผู้ใช้บริการทดลองใช้บริการเสริมฟรี 7 วัน และผู้ใช้บริการตอบรับทดลองใช้บริการเสริมดังกล่าว เป็นเพียงการแสดงเจตนาเพื่อตกลงทดลองใช้บริการในช่วงที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเท่านั้น มิได้เป็นการแสดงเจตนาตกลงสมัครใช้บริการเสริมโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ผู้ให้บริการจึงไม่สามารถอ้างว่า การไม่ได้แจ้งยกเลิกการทดลองใช้บริการเสริมภายในระยะเวลาดังกล่าว ถือเป็นการแสดงเจตนาตกลงใช้บริการเสริมต่อเนื่องไป ส่วนประเด็นว่าพฤติการณ์ดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมหรือไม่ สำนักกฎหมายโทรคมนาคมมีความเห็นว่า การกระทำดังกล่าวมีลักษณะที่เข้าข่ายความผิดตามประกาศ กสทช. เรื่องการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมฯ เพราะมีเจตนามุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้บริการต้องผูกพันใช้บริการเสริมดังกล่าว กล่าวคือเป็นการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็นการบังคับโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้บริโภคต้องใช้บริการโทรคมนาคมโดยผู้บริโภคไม่ประสงค์จะใช้บริการนั้นและเป็นเหตุให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าบริการที่เพิ่มขึ้น

ในขณะที่ทางด้าน รท. มีการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วยการเชิญฝ่ายผู้ให้บริการมาชี้แจง และหลังจากนั้นก็ได้จัดทำข้อวิเคราะห์เสนอต่อที่ประชุม กทค. ในครั้งนี้ว่า บริษัทฯ ได้แสดงหลักฐานว่าผู้ร้องเรียนได้ตอบรับการสมัครบริการเสริม พร้อมแสดงรายละเอียดการใช้บริการ ซึ่งก็คือการส่งข้อความสั้นไปให้ผู้ใช้บริการ ประกอบกับการที่บริษัทฯ มีการแจ้งการเรียกเก็บค่าบริการผ่านใบแจ้งหนี้และผู้ร้องเรียนมีการชำระค่าบริการมาอย่างต่อเนื่อง นั่นแสดงว่าบริษัทฯ เรียกเก็บค่าบริการโดยถูกต้อง ส่วนบริการส่งดวงรายวันเป็นบริการของ บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศ กสทช. เรื่องการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมฯ ทั้งนี้ ในการนำเสนอวาระของ รท. ต่อ กทค. ในรอบใหม่นี้ มิได้นำพาต่อความเห็นทางกฎหมายของ มท. แต่อย่างใด

วาระนี้นับว่าน่าจับตาอย่างมากว่า กทค. จะพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคไปในทิศทางใด เพราะไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่มีความเห็นขัดแย้งกันเองระหว่างหน่วยปฏิบัติภายในสำนักงาน กสทช. แต่ยังเป็นปัญหายอดฮิตที่มีผู้บริโภคจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน โดยที่ผ่านมาถูกปล่อยปละและไม่มีการแก้ไขจากหน่วยงานกำกับดูแลอย่าง กสทช. เลย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศ.ญี่ปุ่นพบวิธีรักษาหูหนวกแต่กำเนิด ใช้สเต็มเซลล์แทนที่เซลล์ผิดปกติ

$
0
0

ใน 5-10 ปีข้างหน้า คนที่มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดด้วยโรคทางพันธุกรรม อาจได้รับการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ที่พัฒนาประสาทหูเทียม โดยแทนที่เซลล์เดิมที่มีความบกพร่อง ตอนนี้อยู่ในขั้นทดลองใส่เข้าในหูผู้ป่วย

13 ธ.ค. 2559 เว็บไซต์ข่าวมิลเลอร์ของอังกฤษรายงานความคืบหน้าการรักษาอาการหูหนวก โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาการสร้างเซลล์ประสาทหูเทียม ที่เชื่อว่า จะสามารถรักษาอาการหูหนวกแต่กำเนิดได้

คาสุซาคุ คามิยะ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางหู นำการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในนิตยสารสเต็มเซลล์รีพอร์ตว่า เธอตื่นเต้นมากกับสิ่งที่ได้สร้างขึ้น โดยใน 5-10 ปีนี้ สเต็มเซลล์ที่ผลิตขึ้นจะช่วยแก้ไขความบกพร่องทางพันธุกรรม ด้วยการสร้างเซลล์ประสาทหูเทียมที่สามารถนำไปแทนที่เซลล์เดิมที่มีความบกพร่องของคนหูหนวกโดยกำเนิดที่เกิดจากพันธุกรรม

“ขั้นต่อไปคือการหาวิธีการที่ปลอดภัยในการใส่เข้าไปในหูของผู้ป่วย มีความเป็นได้ที่การรักษานี้จะสามารถนำมาใช้ได้ใน 5-10 ปี” เธอกล่าว

ผลงานชิ้นนี้ดำเนินการในห้องแลปของมหาวิทยาลัยจูเทนโด ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีเป้าหมายที่จะแก้ไขการกลายพันธุ์ในยีน ชื่อว่า แกป จังค์ชั่น เบต้า 2 ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการทางการได้ยินในเด็ก 1 ใน 1,000 คน และในบางภูมิภาคของโลก การกลายพันธุ์ของยีนนี้เป็นต้นเหตุของการสูญเสียการได้ยินโดยกำเนิด กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูญเสียการได้ยินทั้งหมด

สเต็มเซลล์คือ เซลล์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดอื่นที่มีความเฉพาะตัวกว่าได้ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า สเต็มเซลล์นั้นเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะช่วยฟื้นคืนระบบการทำงานของเซลล์ของขนหูและประสาทรับเสียงที่ช่วยด้านการได้ยินของผู้ป่วย

ปัจจุบันการรักษาภาวะสูญเสียการได้ยินนั้นทำโดยการปลูกถ่ายเครื่องประสาทหูเทียม ที่ช่วยส่งผ่านเสียงเข้าสู่ระบบประสาทรับเสียงของผู้ป่วย ได้แก่ เซลล์ขนกว่า 11,000 เซลล์ ในหูแต่ละข้างซึ่งสำคัญมากในการส่งผ่านเสียง ในผู้สูงอายุ กระบวนการสูญเสียการได้ยิน และการตายของเซลล์จะเป็นไปอย่างช้าๆ ทั้งจากการได้รับเสียงที่ดังเกินไป การใช้ยา และอายุที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีการสูญเสียการได้ยินหลายประเภทที่ยังไม่มีการรักษา

ก่อนหน้านี้ มีวิจัยเรื่องการใช้สเต็มเซลล์โดย ดร.มาร์เซโล รีโวลตา จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสเต็มเซลล์เพื่อฟื้นคืนเซลล์ที่จำเป็นต่อการได้ยิน โดยร่วมมือกับ ดร.ซาร่าห์ บอดดี ซึ่งทำวิจัยเพื่อหาความเป็นไปได้ของการใช้สเต็มเซลล์จากไขกระดูกเพื่อช่วยฟื้นคืนความสามารถในการได้ยิน การวิจัยแสดงให้เห็นว่า สเต็มเซลล์จากไขกระดูกมนุษย์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์เสมือนของหู หลังจากสัมผัสกับสารเคมีที่ผลิตจากเซลล์ประสาทหูของทารกในครรภ์

 

แปลและเรียบเรียงจาก

http://www.mirror.co.uk/science/scientists-believe-found-cure-deafness-9298845

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ขอสื่ออย่าประโคมข่าว 'ธัมมชโย' หวั่นขัดแย้งบานปลาย ขอเวลาให้จนท.ดำเนินการตาม กม.

$
0
0

ย้ำไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างความเชื่อกับการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย กรณีปรับ ครม. ชี้ รบ.-คสช. บริหารต่างจากนักการเมือง เหตุตนมีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นไม่ว่าใครจะเป็นรัฐมนตรีมันมีค่าเท่ากัน

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบฯ

13 ธ.ค. 2559 รายงานข่าวจากเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า วันนี้ (13 ธ.ค.59) เวลา 13.40 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณี ดีเอสไอได้ขออนุมัติหมายค้นจากศาลเพื่อเข้าจับกุมตัวพระเทพญานมหามุนี หรือ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์วัดพระธรรมกาย ว่า คดีดังกล่าวถือเป็นคดีปกติทั่วไปที่ต้องดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องสั่งการอะไรเพิ่มเติม ทุกอย่างต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ตามกระบวนการยุติธรรม และมาตรการทุกอย่างตามกฎหมาย ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างความเชื่อกับการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย

"สิ่งใดก็ตามที่มันเป็นสิ่งที่ละเมิดกฎหมาย ก็ต้องดำเนินการ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ ยังฝากสื่อมวลชนและสังคมด้วยว่า อย่าประโคมข่าวให้เกิดความขัดแย้ง เพราะจะทำให้แนวโน้นการแก้ไขปัญหามีความยุ่งยาก และบานปลาย ก็ให้เวลา เดี๋ยวก็ดำเนินการเอง ตนให้แนวทางไปแล้วในการดำเนินการตามกฎหมาย

ปมปรับ ครม. ชี้ รบ.-คสช. บริหารต่างจากนักการเมือง 

"การจะปรับครม. แล้วใครจะเป็นรัฐมนตรี ผมคิดว่าในสถานการวันนี้ ไม่ใช่สถานการณ์การบริหารราชการแผ่นดินด้วยนักการเมือง ซึ่งผมไม่ได้รังเกียจนักการเมืองนะ พูดไว้ก่อน เป็นการบริหารราชการภายในกรอบนโยบาย คสช. เพราะฉะนั้นเรามีอำนาจ เรียกว่ามีอำนาจในการกำกับดูแล การปฏิบัติงานที่ลงลึกไปถึงทุกกระทรวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมเองนั้นมีอำนาจในการที่จะสั่งการทุกกระทรวงด้วยตัวเอง ทั้งในส่วนของความคิดริเริ่ม ในส่วนของมองวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ชาติ และกำหนดแนวทางปฏิบัติกว้างๆ ลงไป กระทรวงก็มีหน้าที่ในการนำไปสู่การปฏิบัติ นำไปสู่การขับเคลื่อน คิดแผนงานโครงการต่างๆ ขึ้นมา เพราะฉะนั้นไม่ว่าใครจะเป็นรัฐมนตรีมันมีค่าเท่ากันนั่นล่ะ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พร้อมระบุว่าไม่เหมือนกับรัฐมนตรีที่มาจากนักการเมือง เพราะทำตามนโยบายของพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งคนละกระทรวง เพราะฉะนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของพรรคการเมืองด้วย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล จึงเป็นคนละแบบกัน เพราะฉะนั้นการบริหารราชการแผ่นดินมันต่างกัน
 
ส่วนเรื่องการประกันสุขภาพข้าราชการ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อยู่ในขั้นตอนการศึกษา ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องหาวิธีการดูแลให้ดีที่สุดเหมือนเดิม ขออย่าขยายความให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งนี้ ขอให้ระมัดระวังการรั่วไหลของการเบิกจ่ายยา และต้องมีความซื่อสัตย์ ขออย่าเบิกจ่ายยาเกินความเป็นจริง
 
เรื่องการปลดล็อคพรรคการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตัวพรรคการเมืองยังไม่ปลดล็อคตัวเองเลย ยังพูดขัดแย้งกันอยู่ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาก็ไปสู่การเลือกตั้งเอา
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘โตโต้’ และเพื่อนนอนคุกคดีฉีกบัตรประชามติ วืดประกันหลัง 2 อาจารย์ใช้ตำแหน่งยื่น

$
0
0


ที่มา: เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์'

13  ธ.ค.2559  ดนตร์ เกษมรัชดารักษ์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้อัยการนัดส่งสำนวนคดีฟ้องศาลจังหวัดพระโขนง คดีที่นายปิยรัฐ จงเทพ หรือโตโต้ นายกสมาคมเพื่อเพื่อน และเพื่อนอีก 2 คนถูกแจ้งข้อหาหลังปิยรัฐฉีกบัตรประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่คูหาออกเสียง เมื่อวันที่ 7 ส.ค.2559 เมื่ออัยการส่งฟ้องคดีต่อศาลในวันนี้ ทนายจำเลยได้ยื่นประกันตัวในชั้นศาล โดยใช้ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย 2 คนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ โดยก่อนหน้านี้มีอาจารย์อีก 1 คนใช้ตำแหน่งยื่นประกันด้วยแต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าเอกสารไม่ครบและตำแหน่งอาจารย์เพียง 2 คนก็ครอบคลุมวงเงินที่ต้องใช้ประกันทั้ง 3 คนแล้ว ต่อมาในช่วงบ่ายศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวทั้ง 3 คนโดยให้เหตุผลว่า อาจารย์ไม่ใช่ญาติพี่น้องและไม่ใช่นายจ้างของผู้ต้องหา จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ทำให้ทั้ง 3 คนถูกควบคุมตัวไปคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในช่วงเย็น

ทนายความระบุด้วยว่า วันพรุ่งนี้ (14 ธ.ค.) ทางทีมทนายจะนำเงินสดไปยื่นประกันตัวอีกครั้ง โดยจะวางหลักทรัพย์รายละ 200,000 บาท คาดว่าจะสามารถระดมเงินประกันตัวได้ทัน

ปิยรัฐ ถูกแจ้งข้อกล่าวทั้งหมด 4 ข้อกล่าวหา ประกอบด้วยความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 59 มาตรา 60 (9) และกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 และมาตรา 358 ขณะที่ จิรวัฒน์ เอกอัครนุวัตร และทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ เพื่อนทั้งสองคนของปิยรัฐถูกเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาด้วย ฐานฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 60 (9) ร่วมกันก่อความวุ่นวายขึ้นในที่ออกเสียงหรือกระทำการรบกวนหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกเสียงในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนออกเสียง โดยตำรวจระบุว่าเห็นทั้งสองคนมากับปิยรัฐและใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายคลิปขณะปิยรัฐฉีกบัตร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.เห็นชอบ 'ช้อปช่วยชาติ' ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 1.5 หมื่น เริ่ม 14-31 ธ.ค.นี้

$
0
0

13 ธ.ค. 2559 กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการช้อปช่วยชาติ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนในโค้งสุดท้ายปลายปี หวังส่งเสริมการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้า ของขวัญ สินค้าจำเป็นทั่วไป โดยไม่รวมถึงการซื้อสุรา ยาสูบ เบียร์ ไวน์ น้ำมัน รถยนต์ ตลอดจนค่าใช้จ่ายเรื่องทัวร์ มัคคุเทศน์ ที่พักโรงแรม เนื่องจากมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปแล้วสัปดาห์ที่ผ่านมา  มาตรการดังกล่าวกำหนดให้เริ่มระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 ระยะเวลา 18 วัน จากปี 58 กำหนดให้ช้อปเพียง 7 วันช่วงปลายปี  ด้วยการนำใบเสร็จภาษีมูลค่าที่เป็นค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกิน 15,000 บาทต่อราย สำหรับการยื่นแบบภาษีประจำปี 59  โดยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีในเดือน ม.ค.-มี.ค. 60

แม้คาดว่ารัฐบาลสูญเสียรายได้ประมาณ 3,200 ล้านบาท  แต่คาดว่าจะเกิดเงินหมุนเวียนในระบบถึง 2 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมายผู้ช้อปสินค้าตามนโยบายรัฐบาล 2 ล้านราย  จึงมีส่วนช่วยขับเคลื่อนจีดีพีของประเทศได้ร้อยละ 0.2  เกิดการจ้างงาน การเพิ่มยอดขายสินค้า ช่วยลดภาระภาษีให้กับประชาชน และดึงเอกชนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น จากมากตรการช้อปช่วยชาติในปี 58 มีผู้ซื้อสินค้า 1 ล้านราย ส่งผลต่อรัฐเสียรายได้ 1,200 ล้านบาท มียอดซื้อสินค้า 10,000 ล้านบาท

กอบศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติและรับทราบ ร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ซึ่งได้คับใช้มาแล้ว 20 ปี  และได้มีการแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้เอาประกัน บริษัทเอกชนจากการฉ้อฉล การใช้ระบบออนไลน์ขายประกัน จึงต้องแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม เช่น ป้องการฉ้อฉล จากการหลอกลวงทำประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ชาวบ้านจ่ายเบี้ยประกันแต่ตัวแทนไม่ได้ส่งเงินชำระให้กับบริษัทประกัน จึงถือว่าเป็นการหลอกหลวง  รวมทั้งการสร้างเอกสารหลักฐานเท็จ เพื่อเบิกสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันในการเรียกรับผลประโยชน์ เช่น ไม่ได้ป่วย แต่นำหลักฐานยา การรักษามาเบิกเงินประกัน  และการแก้ไขเกี่ยวกับการทำหลักฐานจากตัวแทนนายหน้า เพื่อรับสินไหมแล้วนำเงินมาแบ่งกับผู้เอาประกันถือว่ามีวามผิด โดยความผิดดังกล่าวในระบบประกันที่ผ่านมาถือว่าการยอมความ เมื่อชดเชยเงินคืนให้ถือว่าคดีส้ินสุดลง แต่ได้แก้ไขให้เจ้าพนักงาน คปภ.เป็นเจ้าทุกข์แจ้งความดำเนินคดี แม้จะมีการยอมความ เพื่อไม่ให้เอาเป็นแบบอย่างหรือมีคดีเกิดขึ้นอีก

สำหรับสาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกัน วินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ เหมาะสมกับสภาวการณ์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันโดยปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติในการกำกับดูแลตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต ผู้ประเมินวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัย ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำกับการทำธุรกิจประกันภัยผ่านเทคโนโลยี ตลอดจนเพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความมั่นใจในการใช้ธุรกิจประกันภัยในการบริหารความเสี่ยงของตน เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการทำประกันภัยที่สามารถสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิต รวมถึงช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ 

อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ

ครม. ยังมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 17  พ.ย. 2559 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลใช้บังคับต่อไป โดยสาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงแรงงาน รายงานว่า  คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ได้ดำเนินการจัดทำอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ  3 กลุ่มอุตสาหกรรม 12 สาขาอาชีพ  โดยพิจารณาข้อมูลผลการสำรวจ ลักษณะการทำงานการจ่ายค่าจ้างจริงในตลาดแรงงาน  และความสามารถในการจ่าย รวมถึงความเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา รับฟังความคิดเห็น (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ  เมื่อวันที่  6 ก.ย.2559 แล้ว  และมีมติเห็นชอบการปรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ผ่านกา ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ระดับ  ให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม ดังนี้
 

กลุ่มอุตสาหกรรม/สาขาอาชีพ

อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ (บาท)

ระดับที่ 1*

ระดับที่ 2 **

ส่วนต่าง

จักรกลและโลหะการ

 

 

 

1.  ช่างเทคนิคเขียนแบบเครื่องกล

460

550

90

2. ช่างเชื่อมทิกสำหรับอุตสาหกรรมจักรกลและโลหะการ

500

600

100

3.  ช่างเทคนิคระบบส่งกำลัง

450

540

90

4.  ช่างเทคนิคระบบไฮโดรลิก

460

550

90

เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น

 

 

 

1. ช่างเชื่อมระบบท่อในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น

400

485

85

2. ช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่

385

470

85

3.  ช่างเทคนิคห้องเย็นขนาดเล็ก

385

470

85

4. พนักงานประกอบเครื่องปรับอากาศ

370

455

85

ม่พิมพ์

 

 

 

1.   ช่างเทคนิคเครื่องกัดอัตโนมัติ

450

540

90

2.  ช่างเทคนิคเครื่องอีดีเอ็ม

430

515

85

3.  ช่างเทคนิคเครื่องไวร์คัทอีดีเอ็ม

430

515

85

4.  ช่างขัดเงาแม่พิมพ์

380

455

75

 

*มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์  นับถึงวันสมัครเข้ารับการทดสอบ  และมีประสบการณ์การทำงานหรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาอาชีพ  ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของแต่ละสาขาอาชีพ   หรือผ่านการฝึกฝีมือแรงงานหรือฝึกอาชีพในสาขาอาชีพตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของแต่ละสาขาอาชีพและมีประสบการณ์จากการฝึกหรือปฏิบัติงานในกิจการในสาขาที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของแต่ละสาขาอาชีพ หรือเป็นผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้อง

** มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ  ระดับ 2 ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องมีประสบการณ์การทำงานหรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี  หรือ 2 ปี  ในบางสาขาอาชีพ นับตั้งแต่ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระดับ 1  หรือได้คะแนนรวมในการทดสอบระดับ 1 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 สามารถเข้ารับการทดสอบได้ทันที โดยไม่ต้องรอระยะเวลา 1ปี

ทั้งนี้  ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป  โดยอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามประกาศฉบับนี้ไม่มีผลบังคับใช้กับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค   ราชการส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  นายจ้างที่จ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล  นายจ้างที่ตกลงจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน นายจ้าง  ที่จ้างลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างลูกจ้างทำงานตลอดปี หรือมิได้ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่เป็นงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานเกษตรกรรม

 

ที่มา สำนักข่าวไทยและเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพื่อไทยไม่ร่วมเวทีฟังความเห็นกม.พรรคการเมือง อลงกรณ์แนะอย่าเกี่ยงงอน ยังมีเวลาแก้ไขปรับปรุง

$
0
0

ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยระบุ ไม่เข้าร่วมเวทีชี้แจง และรับฟังความคิดเห็น พ.ร.บ.พรรคการเมือง ซัดชี้แจง 3 ชั่วโมง รับฟังแค่ 30 นาที ย้ำความเห็นต่างๆ บอกผ่านสื่อไปหมดแล้ว ด้าน รองประธาน สปท. แนะ พรรคการเมืองอย่าเกี่ยงงอน ไม่เข้าร่วม ระบุยังมีเวลาแก้ไขปรับปรุงได้

14 ธ.ค. 2559 ที่ศาลฎาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยไม่เข้าร่วมเวทีชี้แจง และรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ สโมสรสันนิบาตสหกรณ์ ว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้มีเจตนาสร้างความขัดแย้ง หรือไม่ให้ความร่วมมือ แต่กระบวนการร่างกฎหมายจะต้องเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทย จะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ เพราะพรรคเพื่อไทยได้ออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ยิ่งลักษณ์ตอบว่า แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะมีจุดยืนที่เห็นต่าง แต่เป็นหน้าที่ของนักการเมืองที่ต้องแสดงเจตนารมณ์ แสดงความเห็นถึงข้อดีข้อเสีย  เพื่อให้ประชาชนรับรู้ ส่วนการตัดสินใจขึ้นอยู่ที่กับประชาชน จึงเห็นว่าทำไมพรรคต้องพูดหรือต้องแสดงความเห็น เพราะนี่เป็นเสน่ห์ในระบอบประชาธิปไตย

ด้าน ชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่เข้าร่วมเวทีที่ กรธ. จัดขึ้น เนื่องจากไม่เห็นความจำเป็น และหากเข้าร่วมก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะเป็นการรับฟังกรธ. ชี้แจงถึง 3 ชั่วโมง และซักถามเพียง 30 นาทีเท่านั้น ส่วนความเห็นต่าง ๆ พรรคแสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชนไปแล้ว ก็ต้องขึ้นกับ กรธ. จะนำไปพิจารณามากน้อยเพียงใด จุดยืนของพรรค ไม่ได้ต้องการสร้างความขัดแย้ง และสิ่งที่จำเป็นขณะนี้ คือการรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย

ในส่วนของการเดินทางมาขึ้นศาลในคดีความจำนำข้าวนั้น เป็นการมาเพื่อสืบพยานฝ่ายจำเลยนัดที่ 9 โดยมีอดีตรัฐมนตรี แกนนำพรรคเพื่อไทย อาทิ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกฯ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรค ชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรค พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรค สมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.อุบลราชธานี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีต ส.ส.น่าน เป็นต้น ร่วมให้กำลังใจ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 จำนวน 1 กองร้อย

ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าศาลถึงการยื่นคัดค้านคำสั่งทางปกครอง กรณีการชดใช้ค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวต่อศาลปกครองว่า ยังอยู่ในกำหนดเวลา อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะใช้สิทธิตามกรอบของกฎหมาย ขณะที่ทางทีมทนายความ อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ หากเรียบร้อยแล้วจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ด้าน อลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ก่อนการร่วมประชุมวิป 3 ฝ่าย อันประกอบด้วย รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสปท. ว่า ในที่ประชุมวันนี้จะหารือเกี่ยวกับกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติและกฎหมายปฏิรูป เพราะตามรัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติกำหนดให้ตรากฎหมายดังกล่าวและประกาศใช้ใน 120 วัน หลังร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ซึ่งกฎหมายนี้จะเป็นกฎหมายชุดแรกที่ประกาศใช้เพื่อวางรากฐานการปฏิรูปประเทศ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว มั่นใจจะทำได้ตามกรอบเวลา และก่อนที่สปท.จะสิ้นวาระ

มื่อถามว่าวิป 3 ฝ่ายได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายลูกที่อยู่ระหว่างการร่างหรือไม่ อลงกรณ์ กล่าวว่า วิป 3 ฝ่ายจะไม่มีการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับการเมือง ส่วนที่พรรคการเมืองไม่ส่งคนร่วมเวทีรับฟังกฎหมายลูกนั้น การปฏิรูปประเทศต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้นพรรคการเมืองควรเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความเห็น อย่าเกี่ยงงอนหรือตั้งแง่ในการให้ความเห็น เพราะเป็นสิทธิ์ที่ควรรักษาไว้ ขณะนี้ยังมีเวลาปรับปรุงร่าง

เมื่อถามว่าในฐานะที่เป็นอดีตนักการเมืองเห็นด้วยหรือไม่กับการให้สมาชิกพรรคต้องเสียค่าสมาชิก อลงกรณ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยในหลักการ ในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างรับผิดชอบ และเป็นเจ้าของพรรคในการรับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมของพรรคซึ่งจำเป็นต้องใช้เงิน การที่สมาชิกจ่ายค่าบำรุงพรรคเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเพื่อไม่ให้พรรคการเมืองอยู่ใต้อิทธิพลทุนทางการเมือง ที่เป็นปัญหาใหญ่ในอดีต

ที่มาจาก: มติชนออนไลน์1 , 2 , สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.คมนาคมเผยปี 60 มีแผนลงทุนด้านขนส่ง 36 โครงการวงเงินลงทุนกว่า 8 แสนล้าน

$
0
0

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลรายงานว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย ครม. มีมติรับทราบตามที่ กระทรวงคมนาคม เสนอ แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ซึ่งเว็บไซต์ทำเนียบฯ ได้สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ประกอบด้วย โครงการจำนวน 20 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1,796,385.77 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นโครงการที่สามารถเริ่มประกวดราคาได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 10 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 50 ของโครงการทั้งหมด เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนน จิระ-ขอนแก่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง เป็นต้น นอกจากนั้นเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการเตรียมการประกวดราคาปรับแก้ไขรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นำเสนอคณะรัฐมนตรี เสนอรายงาน EIA หรือศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ซึ่งโครงการตามแผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2559 ส่วนใหญ่สามารถดำเนินการได้ตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ แต่มีบางโครงการที่มีความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมยาก เช่น โครงการความร่วมมือก่อสร้างทางรถไฟไทย-จีน และ ไทย-ญี่ปุ่น โครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นต้น

2. แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ให้เป็นไปตามแผนการดำเนินการที่กำหนดไว้ รวมทั้งเพื่อใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมความเข้าใจ และสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนและนักลงทุนเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับร่างกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) (ร่าง) ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. 2558-2565) (ระยะ 8 ปี) โดยมีโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และต้องการเร่งรัดผลักดัน รวมจำนวน 36 โครงการ วงเงินรวม 895,757.55 ล้านบาท เช่น โครงการบริหารจัดการระบบตั๋วรวม โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ โครงการจัดชื้อรถโดยสารรถไฟฟ้า จำนวน 200 คัน พร้อมก่อสร้างสถานีประจุไฟฟ้า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงต่าง ๆ และโครงการรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงิน และสีเขียวเข้ม เป็นต้น

รมว.คมนาคม เผยงบลงทุน 8.95 แสนล้าน

สำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ การจัดทำแผนปฏิบัติการ ดังกล่าว โดยมีสารสำคัญถึงแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำนวน 36 โครงการวงเงินลงทุน 895,757.55 ล้านบาท

โดยโครงการแบ่งการลงทุนออกเป็นกลุ่มโครงการสำคัญ คือโครงการระบบรางรถไฟทางคู่ 10 เส้นทางวงเงิน 408,616 ล้านบาท, รถไฟชานเมืองสายสีแดง 2 เส้นทาง วงเงิน 26,639 ล้านบาท, โครงการระบบรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาในเมืองหกเส้นทางวงเงินลงทุนกว่า 221,148 ล้านบาท, โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและผักพิเศษห้าเส้นทางวงเงินกว่า 167,222 ล้านบาท

โครงการขนส่งทางน้ำ 3 โครงการวงเงิน 36,081 ล้านบาท , โครงการที่เกี่ยวข้องทางอากาศ3 โครงการวงเงิน 10,949 ล้านบาท, โครงการรถโดยสารสาธารณะหนึ่งโครงการวงเงิน 2272 ล้านบาท,โครงการสิ่งอำนวยความสะดวกทางผมห้าโครงการวงเงิน 21,473 ล้านบาท,โครงการระบบบริหารจัดการขนส่งสาธารณะ 1 โครงการ วงเงิน 1355 ล้านบาท

ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าโครงการลงทุนในปี 2560 มีหลายโครงการที่เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2559 และหากคำนวณ เป็นเม็ดเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปกติจะมีวงเงิน ประมาณ 140,000 ล้านบาท ในภาพรวมจะมีส่วนสำคัญทำให้จีดีพีของไทยขยายตัวได้เพิ่มเติมอีกประมาณร้อยละ 1-2  และงบประมาณการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนี้จะเพิ่มขึ้นอีกกว่าเท่าตัวในปี 2561

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหมืองทองอัคราฯ ประกาศเลิกจ้างพนักงานหลัง คสช.ใช้ ม.44 สั่งระงับการประกอบกิจการ

$
0
0

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เหมืองทองอัครา ชี้จำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานเหมืองทองทุกคน หลัง คสช. ใช้ ม.44 สั่งระงับการประกอบกิจการทั้งหมดภายในสิ้นปี พร้อมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายระบุ

เกรก ฟาวลิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ภาพจากสำนักข่าวไทย

14 ธ.ค. 2559 สำนักข่าวไทยรายงานว่า เกรก ฟาวลิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวกรณีที่มีประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่72/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ที่ผ่านมา ว่า อัคราฯ ดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี รู้สึกประหลาดใจอย่างมากที่มีการประกาศใช้คําสั่งหัวหน้า คสช. อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคําระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป

โดยคำสั่งดังกล่าวส่งผลให้ผู้มีอํานาจในการออกอาชญาบัตร ประทานบัตร และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ระงับการอนุญาตให้สํารวจและทําเหมืองแร่ทองคํา รวมถึงการต่ออายุประทาน บัตรเหมืองแร่ทองคําและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคําไว้จนกว่าคณะกรรมการจะมีมติเป็นอย่างอื่น ส่วนผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคํา รวมถึงอัคราฯ ระงับการประกอบกิจการไว้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป จนกว่าคณะกรรมการจะมีมติเป็นอย่างอื่น

เกรก ฟาวลิส  ระบุว่า บริษัทฯ จำต้องยื่นจดหมายเลิกจ้างให้กับพนักงานทุกคนในบริษัท มีผลทันทีวันที่ 31 ธ.ค. 2559 และบางส่วนจะมีผลในวันที่ 31 ม.ค. และ 28 ก.พ. 2560 ตามลำดับ โดยบริษัทฯ จะรับผิดชอบจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างงานให้กับพนักงานทุกท่านตามกฏหมายระบุไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งพนักงานจะได้รับเงินค่าเลิกจ้างสูงสุดถึง 300 วัน สำหรับพนักงานที่ร่วมงานกับบริษัทฯ มาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเงินจำนวนเหล่านี้จะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแก่เพื่อนพนักงานได้

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม อัคราฯ ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและถูกต้องเสมอมา ขอยืนยันว่าไม่เคยดำเนินการใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงสถานที่ประกอบกิจการ

สำหรับ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 72/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ได้ถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 เนื้อหาดังนี้

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 72/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ

โดยที่ได้มีการร้องเรียนและคัดค้านการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำเนื่องจากการประกอบ กิจการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่โครงการทำเหมืองแร่ทองคำหลายแห่ง ซึ่งยังต้องรอการตรวจสอบ วิเคราะห์ และวินิจฉัยในข้อเท็จจริงและปัญหา จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการในการป้องกันและระงับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน รวมทั้งกำหนดมาตรการในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมทั้งส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในคำสั่งนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่ แห่งชาติ พ.ศ. 2559 หรือตามกฎหมายว่าด้วยแร่ แล้วแต่กรณี

ข้อ 2 ให้ผู้มีอำนาจในการออกอาชญาบัตร ประทานบัตร และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ระงับการอนุญาตให้สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงการต่ออายุประทาน บัตรเหมืองแร่ทองคำและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคำไว้จนกว่าคณะกรรมการจะมีมติเป็นอย่างอื่น

ข้อ 3 ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ระงับการประกอบกิจการไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป จนกว่าคณะกรรมการจะมีมติเป็นอย่างอื่น แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการดังกล่าวยังคงมีหน้าที่ ในการฟื้นฟูพื้นที่ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่ว่าพื้นที่ประทานบัตรจะอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดก็ตาม

ข้อ 4 ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการให้ระงับ การประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำและการประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ (1) กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับดูแล การฟื้นฟูพื้นที่ตามข้อ 3 (2) กระทรวงสาธารณสุข ดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง (3) กระทรวงแรงงาน ดูแลพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการระงับการประกอบกิจการ เหมืองแร่ทองคำและการประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ

ข้อ 5 ให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตรวจสอบ วิเคราะห์ และวินิจฉัย ข้อเท็จจริงและปัญหา พร้อมทั้งเสนอมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำและประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนเสนอกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ ให้คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบ และรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

ข้อ 6 ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ที่ได้กระทำไป ตามอำนาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ ย่อมได้รับความคุ้มครอง และ ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้อง ค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ข้อ 7 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อ 8 ในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้

ข้อ 9 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2559

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images