Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

ไกล่เกลี่ยโทรคมนาคมเหลว!? ยุติเรื่องได้แค่ปีละ 20 กรณี

$
0
0

เปิดรายงานผลการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคม พบช่วงเวลา 2 ปี 2 เดือน ไกล่เกลี่ยสำเร็จแค่ 43 กรณี จากจำนวนเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมปีละหลายพันเรื่อง แต่กลับมีการเสนอขึ้นทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยเพิ่มอีก 29 คน

5 ก.พ. 2559 แหล่งข่าวภายในสำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่าน สำนักงาน กสทช. ได้นำเสนอรายงานผลการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคมให้ที่ประชุมรับทราบ และในวันเดียวกันก็มีการเสนอรายชื่อผู้ประสงค์ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพิ่มเติมอีกจำนวน 29 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางในการดำเนินกระบวนไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ทั้งนี้ สถิติที่ปรากฏในรายงานผลการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฉบับดังกล่าวระบุว่า นับตั้งแต่ที่มีการเปิดให้บริการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคมขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 จนถึงธันวาคม 2558 ระยะเวลา 2 ปี 2 เดือน พบว่า มีเรื่องร้องเรียนที่ผู้ให้บริการประสงค์จะไกล่เกลี่ยจำนวน 42 เรื่อง ส่วนเรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคประสงค์จะไกล่เกลี่ยมีจำนวน 521 เรื่อง ยอดรวมทั้งสิ้น 563 เรื่อง แต่ท้ายที่สุดมีเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยจริงเพียง 47 เรื่อง และสามารถไกล่เกลี่ยจนได้ข้อยุติจำนวน 43 เรื่องเท่านั้น

แหล่งข่าวเปิดเผยต่อว่า กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยกำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีสามารถตกลงกันได้นี้ เป็นการดำเนินการตามระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นประกาศที่เกิดขึ้นในยุค กสทช. โดยแต่เดิมนั้นการจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนจะดำเนินการตามประกาศว่าด้วยเรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ซึ่งถือเป็นช่องทางปกติทั่วไป แต่ถึงกระนั้นวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก็ไม่ได้มาแทนที่การระงับข้อพิพาทตามช่องทางปกติ เพราะถ้าหากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่ประสบความสำเร็จ หรือหากคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายไม่สมัครใจที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ก็จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนตามช่องทางปกติต่อไป

สิ่งที่น่าตั้งข้อสังเกตคือจากสถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผลการดำเนินการขาดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะถ้าหารเฉลี่ยแล้ว เท่ากับในแต่ละเดือนสามารถไกล่เกลี่ยเรื่องร้องเรียนได้สำเร็จน้อยกว่า 2 เรื่อง ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณเรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคร้องเรียนมายังสำนักงาน กสทช. ในแต่ละปีที่มีจำนวนหลายพันเรื่อง อีกทั้งมูลค่าของเรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่อยู่ในหลักพันบาท ผลลัพธ์ที่ได้จึงไม่คุ้มค่าทั้งในแง่งบประมาณและทรัพยากรบุคคลที่ต้องใช้ดำเนินการ

ต่อกรณีนี้ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ความเห็นว่า โดยธรรมชาติของเรื่องร้องเรียนนั้น ส่วนมากคู่กรณีมักมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกันมาก่อนแล้ว เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ถึงร้องเรียนมายังสำนักงาน กสทช. ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยว่า เมื่อสอบถามความประสงค์ในการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ส่วนใหญ่จึงถูกปฏิเสธจากคู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยตั้งแต่เปิดศูนย์ฯ มา มีเรื่องร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเพียง 47 เรื่องเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดการแยกกระบวนการไกล่เกลี่ยออกมาจากขั้นตอนการจัดการเรื่องร้องเรียนตามกระบวนการปกติ ก็เท่ากับทำให้การจัดการเรื่องร้องเรียนต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาและงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค

ทั้งนี้ นอกจากการรายงานผลการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคมให้ที่ประชุมรับทราบแล้ว แหล่งข่าวระบุต่อว่า สำนักงาน กสทช. ยังได้เสนอรายชื่อผู้ประสงค์ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพิ่มเติมจากเดิมอีกจำนวน 29 คน เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาด้วย ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามที่สำนักงานเสนอ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แก้ปัญหาไทยพลัดถิ่นที่ตราด 'เตือนใจ' เสนอเร่งให้กลุ่มไต๋ก๋งเรือ-คนพิการ-ผู้สูงอายุ-นักเรียน ยื่นขอรับรองสถานะก่อน

$
0
0

กสม.ลงพื้นที่ตราด เตือนใจเสนอเร่งดำเนินการให้กลุ่มไต๋ก๋งเรือ-คนพิการ-ผู้สูงอายุ-นักเรียน ยื่นคำร้องขอคำรับรองการเป็นคนไทยพลัดถิ่นก่อน

5 ก.พ. 2559 เตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิสถานะบุคคลของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองพร้อมคณะ เดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีการกำหนดสถานะบุคคลของคนไทยพลัดถิ่นในจังหวัดตราด ระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2559 โดยร่วมเวทีสาธารณะกับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นจำนวน 500 คน และประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากองค์กรส่วนท้องถิ่น ตัวแทนหอการค้าจังหวัดตราด และเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นอำเภอคลองใหญ่และอำเภอเมือง จังหวัดตราด เพื่อรับฟังถึงประเด็นปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดตราด ซึ่งปัญหาที่พบของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดตราดในประเด็นสถานะบุคคลสามารถแยกออกเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มบุคคลที่มีสิทธิยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พบปัญหานายทะเบียนอำเภอไม่ออกใบรับคำขอให้กับผู้ยื่นคำขอ การรอเรียกพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบหรือบันทึกเอกสารประวัติทางทะเบียน เจ้าหน้าที่ไม่รับยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นรายใหม่ เนื่องจากต้อง พิจารณาคำขอเดิมให้แล้วเสร็จก่อน

2) กลุ่มที่ไม่มีสิทธิยื่นคำขอ ได้แก่ กลุ่มที่มีการขึ้นทะเบียนผิดพลาด กลุ่มที่ถูกระงับการดำเนินการทางทะเบียนไม่สามารถขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางทะเบียนราษฎรใดๆ ได้ หรือถูกจำหน่ายทางทะเบียนราษฎร และกลุ่มที่รอการบันทึกประวัติทางทะเบียนราษฎร

3) กลุ่มที่ได้สัญชาติตามบิดาหรือมารดา เช่น เด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียน นักศึกษาที่ยังไม่ได้รับการพิจารณากำหนดสถานะบุคคลที่ควรจะเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

4) กลุ่มที่ขอแก้ไขรายการสถานะทางทะเบียนราษฎร เช่น กลุ่มที่ได้สัญชาติไทยแต่บิดาหรือมารดาเสียชีวิตและระบุว่ามีสัญชาติกัมพูชาในช่องสัญชาติของบิดาหรือมารดา

5) กลุ่มที่ตกสำรวจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด ได้แก่ กลุ่มที่บิดาหรือมารดาได้รับการขึ้นทะเบียนสำรวจตามมติคณะรัฐมนตรีแล้ว หรือบิดาหรือมารดาผ่านการรับรองความเป็นไทยพลัดถิ่นและทำบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว แต่บุตรยังขอสถานะไม่ได้เพราะตกสำรวจ

ทั้งนี้ ในเรื่องของสิทธิในสถานะคนไทยพลัดถิ่นที่ขาดสิทธิด้านต่างๆ ได้แก่ สิทธิทางการศึกษา สิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการ เช่น ทุนการศึกษาและกองทุนอื่นๆ ของรัฐ ที่กำหนดว่าผู้มีสัญชาติไทยจึงจะได้รับสิทธินั้น สิทธิในการประกอบอาชีพทางการประมง ซึ่งผู้ไม่มีสถานะไม่สามารถเป็นไต๋กงเรือได้ เพราะไม่มีใบอนุญาตประกอบอาชีพไต๋เรือ และสิทธิในการทำใบขับขี่ ซึ่งขณะนี้กรมขนส่งทางบกมีหนังสือซักซ้อมแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการทางทะเบียนสำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองและบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนโดยได้ผ่อนผันให้มีบุคคลบางประเภทสามารถขอใบอนุญาตขับขี่ได้

ที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันที่จะแก้ไขปัญหาให้แก่บุคคลที่ได้รับผลกระทบตามคำร้องที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ โดยจะแบ่งการทำงานเป็นระดับตำบล และให้คนไทยพลัดถิ่นมาช่วยพิจารณาจัดการข้อมูลเพื่อติดตามคำขอพิสูจน์และรับรองคนไทยพลัดถิ่นมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมให้เกิดความครบถ้วนเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากอำเภอคลองใหญ่และอำเภอเมืองที่มีปริมาณคนไทยพลัดถิ่นจำนวนมากจึงเสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานระดับอำเภอขึ้น ส่วนในระดับจังหวัดขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะทำงานร่วมระดับจังหวัดโดยให้มีผู้แทนจากอำเภอที่มีคนไทยพลัดถิ่นจำนวนมากเข้าร่วมเพื่อประสานการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ได้ตกลงกันว่าจะประสานความร่วมมือกับชุมชน เครือข่ายในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559 ซึ่งมีหน่วยงานที่ร่วมลงนาม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรมการปกครอง กระทรวงมหาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) และมูลนิธิชุมชนไท (มชท.) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กำหนดวันที่หน่วยงานดังกล่าวจะมาร่วมกันดำเนินการตรวจสอบคำร้องของอำเภอคลองใหญ่ที่ยังค้างอยู่ในวันที่ 11-13 มีนาคม 2559

เตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิสถานะบุคคลของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง กล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนไทยพลัดถิ่นที่จังหวัดตราด โดยจะเป็นแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาในระดับนโยบายต่อไป ทั้งนี้ได้เสนอให้เร่งดำเนินการในกรณีของกลุ่มไต๋ก๋งเรือ กลุ่มคนพิการกับผู้สูงอายุ และกลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาให้สามารถยื่นคำร้องขอคำรับรองการเป็นคนไทยพลัดถิ่นก่อน ส่วนในเรื่องการขอยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นนั้น ขอให้ผู้จะยื่นคำร้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความซื่อสัตย์สุจริต โดยจะต้องให้ข้อมูล พยานบุคคล พยานหลักฐานที่ถูกต้องและเป็นความจริง เพื่อปัญหาจะได้รับการแก้ไขได้โดยเร็ว

ชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รับทราบถึงปัญหาต่างๆ ของคนไทยพลัดที่ถิ่น ที่เกิดขึ้นและกล่าวว่า เป็นการริเริ่มที่ดีที่ทุกภาคส่วนจะเข้ามาช่วยกันดูแลและประสานร่วมมือในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่เสียสิทธิในสัญชาติไทย ซึ่งหากเป็นคนไทยเจ้าหน้าที่ต้องให้สิทธิ แต่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ต้องโปร่งใส ไม่มีการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภัควดีเผยหลังตั้งคำถาม #ทหารมีไว้ทำไม ทหารก็มาถ่ายภาพบ้านที่เชียงใหม่

$
0
0

5 ก.พ. 2559 ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักเขียนและผู้เสนอให้มีการปฎิรูปกองทัพ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า วันนี้ (5 ก.พ.59) มีเจ้าหน้าที่ทหารในเครื่องแบบ 1 นาย ไม่เปิดเผยสังกัด ไปที่บ้านตน ที่สันกำแพง จ.เชียงใหม่ พร้อมกับถามหาตนกับเพื่อนบ้าน และถ่ายรูปบริเวณบ้านแล้วก็กลับ ซึ่งในขณะนั้นตนไม่ได้อยู่บ้าน

หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ภัควดี ระบุว่ารู้สึกกังวลใจแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องการใช้นอกเครื่องแบบ เพราะกลัวว่าจะมีมิจฉาชีพมาแอบอ้างได้

"คาดว่าเป็นผลมาจากการเสนอเรื่องปฏิรูปกองทัพและการให้สัมภาษณ์วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารในรายการของคุณจอม เพชรประดับ แน่นอน (อ่านรายละเอียดที่ภัควดีให้สัมภาษณ์) เพราะช่วงนี้รัฐบาลทหารเปราะบางอ่อนไหว สืบเนื่องจากการไม่มีผลงานและรัฐธรรมนูญที่ร่างออกมาก็ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย แม้แต่ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลทหารมาก่อน" ภัควดี กล่าว

ภัควดี ระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้เคยถูกทหารเรียกไปพูดคุยสองครั้ง ครั้งแรกคือหลังรัฐประหารใหม่ ๆ กับครั้งที่สองคือต้นปีที่แล้ว หลังจากนั้นก็ไม่ได้ถูกคุกคามอะไร เพิ่งจะเกิดขึ้นอีกครั้งก็คราวนี้

สำหรับ ภัควดี ได้มีข้อเสนอการปฏิรูปกองทัพต่อสังคมมาโดยตลอด โดยเฉพาะในงานที่กลุ่มพลเมืองโต้กลับจัดกิจกรรมรำลึก 9 ปี การเสียชีวิตของนวมทอง ไพรวัลย์ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 58 ภัควดี ได้เสนอให้มีการปฏิรูปกองทัพที่บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพบกประกอบด้วยการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ให้ทหารออกไปคลุกคลีกับประชาชนเพื่อทราบความเป็นไปของโลก กองทัพต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน รวมทั้งค่ายทหารควรไปอยู่ชายแดนไม่ใช่ใจกลางเมือง เสนอลดจำนวนนายพล อีกทั้งกองทัพไม่ควรมีหน่วยข่าวกรองของกองทัพ สร้างความโปร่งใสโดยเฉพาะการจัดซื้ออาวุธและใช้งบประมาณ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้กองทัพคำนึงถึงสิทธิในการแสดงออกของประชาชน ความเสมอภาคและการให้เกียรติระหว่างพลทหารกับนายทหาร การคำนึงถึงสันติภาพ เป็นต้น (อ่านรายละเอียด)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คกก.นักนิติศาสตร์สากล เรียกร้องยกเลิกดำเนินคดีอาญาทนายกลุ่ม NDM

$
0
0

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) เรียกร้องยกเลิกการดำเนินคดีอาญากับทนายกลุ่ม NDM หลังตำรวจส่งหมายเรียกรับทราบข้อกล่าวหา แจ้งความเท็จ-ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจพนง. โดยก่อนหน้านี้ ทนายปฏิเสธไม่ให้ตำรวจค้นรถ-แจ้งความกรณีตำรวจยึดรถเอาไว้


จนท.ตร.นำแผงกั้นล้อม-ใช้กระดาษติดเทปกาวแปะรอบประตูรถทนาย
(ที่มาภาพ: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน)

5 ก.พ. 2559 คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (The International Commission of Jurists - ICJ) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการดำเนินคดีอาญากับศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ทันที

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ได้รับหมายเรียกสองหมายให้เข้ามารายงานตัวกับสถานีตำรวจชนะสงครามในวันที่  9  กุมภาพันธ์ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดีอาญา ได้แก่ ข้อหาแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน โดยข้อหาดังกล่าวอาจส่งผลให้ได้รับโทษจำคุกนานถึงสองปี

“เป็นที่ชัดเจนว่าข้อหาต่อนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ นั้นเชื่อมโยงมาจากความพยายามของเธอที่จะคุ้มครองสิทธิทางกฎหมาย และสิทธิมนุษยชนของลูกความซึ่งเป็นนักศึกษา ทั้งนี้ นักศึกษาไม่ควรที่จะถูกจับกุมหรือดำเนินคดีอาญาด้วยเหตุที่มาจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมโดยสงบมาแต่แรกแล้ว”  แมทท์ พอลลาร์ด (Matt Pollard) หัวหน้าศูนย์ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา และทนายความของคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลกล่าว

“การดำเนินคดีกับนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ที่เกี่ยวโยงมาจากความพยายามของเธอในการปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่รับไม่ได้โดยสิ้นเชิง และจะยังผลให้ประเทศไทยละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศมากขึ้นไปอีก” เขากล่าวเสริม

แถลงการณ์ระบุว่า ถึงแม้ว่าในหมายเรียกจะมิได้ระบุโดยละเอียดถึงเหตุผลที่ให้มารายงานตัว แต่เนื่องจากในหมายเรียกระบุชื่อผู้กล่าวหา คือ พ.ต.อ.สุริยา จำนงโชค ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนกรณี  14 นักศึกษา ข้อหาดังกล่าวน่าจะเกี่ยวเนื่องมาจากการพฤติการณ์แวดล้อมที่ ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ นักศึกษา 14 รายที่ถูกจับกุมในวันที่ 26  มิถุนายน 2558 ภายหลังการชุมนุมโดยสงบเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และขอให้ยุติการปกครองโดยทหาร

สำหรับ ศิริกาญจน์ เจริญศิริ เป็นทนายความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่บุคคลจำนวนมาก รวมถึงนักกิจกรรม และนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน ภายหลังการปกครองโดยทหารซึ่งได้เริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2557

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลเคยได้แสดงความกังวลกับกรณีที่รัฐบาลไทยมุ่งจัดการ ศิริกาญจน์ เจริญศิริเป็นกรณีเฉพาะ ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 2  กรกฎาคม 2558 ภายหลังที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีกับเธอ โดยได้ประกาศให้สาธารณะรับทราบว่า ทางสำนักตำรวจแห่งชาติอยู่ในระหว่างการพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาในคดีอาญา โดยได้มีการเดินทางไปที่บ้านของศิริกาญจน์ เพื่อสอบถามสมาชิกในครอบครัว จะเห็นได้ว่า ภัยและการคุกคามดังกล่าวเป็นการตอบโต้กับเหตุการณ์ที่ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาค้นรถยนต์ของตน ภายหลังจากที่นักศึกษาขึ้นศาล อีกประการหนึ่งคือเหตุที่ศิริกาญจน์ แจ้งความกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการยึดรถยนต์ของตนเอาไว้

ทั้งนี้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลได้นำแจ้งกรณีของศิริกาญจน์ ให้ผู้แทนรายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและทนายความ และผู้แทนรายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในเดือนพฤษภาคม 2559 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจะทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งเป็นการใช้กลไกการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review) ของทุกประเทศสมาชิก

"ก่อนที่องค์การสหประชาชาติจะได้ทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมนี้ และเพื่อที่รัฐบาลไทยจะไม่ดำเนินการขัดแย้งกับ ‘โรดแมป’ ที่วางไว้เพื่อนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยต้องเคารพสิทธิมนุษยชนที่ยิ่งเพิ่มขึ้นในทุกวัน” แมทท์ได้กล่าวเสริม

 

ที่มา: 
Thailand: immediately drop criminal proceedings against human rights lawyer Sirikan Charoensiri 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คดี ม.112 แอบอ้างพระเทพฯ ศาลกำแพงเพชรนัดสืบพยาน 14 นัด ช่วง ก.ค.-ก.ย. นี้

$
0
0

5 ก.พ. 2559 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร กับนางอัษฎาภรณ์ และพวก รวม 4 คน ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, ความผิดในการร่วมกันปลอมเอกสารราชการ และความผิดในการสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ ระบุต่อว่า ในคดีนี้ ทางฝ่ายโจทก์ระบุว่าจำเลยทั้งสี่ ได้แก่ นางอัษฎากรณ์, นายกิตติภพ, นายวิเศษ และนายนพฤทธิ์ (สงวนนามสกุล) ได้ร่วมกันปลอมเอกสารราชการทั้งฉบับ โดยปลอมเอกสารหนังสือราชการของสำนักราชเลขานุการ กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้นำไปอ้างแสดงต่อเจ้าอาวาสวัดไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมกับผู้เสียหายอีกหลายคน และยังมีการกล่าวอ้างว่าสามารถที่จะทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มาร่วมในพิธีของวัดได้ โดยมีการกล่าวอ้างแสดงตนว่าเป็นหม่อมหลวง พร้อมเรียกเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้เสียหาย

ต่อมา ทางเจ้าอาวาสวัดไทรงามได้ให้ตัวแทนเข้าแจ้งความดำเนินคดี จำเลยทั้งสี่ได้ทยอยถูกควบคุมตัวในช่วงเดือนสิงหาคม 2558 และถูกคุมขังในเรือนจำมานับแต่นั้น โดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และในชั้นสอบสวนและการสอบคำให้การในชั้นศาล จำเลยทั้งสี่ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา (ดูรายงานก่อนหน้านี้)

ในนัดนี้ ศาลได้สอบข้อเท็จจริงที่คู่ความสามารถรับกันได้ แต่ไม่มีข้อเท็จจริงใดที่คู่ความรับกันได้ จากนั้นทางฝ่ายโจทก์ได้แถลงจะนำพยานเข้าสืบจำนวน 23 ปาก ศาลจึงกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 5-7 กรกฎาคม 2559 และวันที่ 16-18 สิงหาคม 2559 รวม 6 นัด

ขณะที่จำเลยที่ 1 แถลงจะนำพยานเข้าเบิกความจำนวน 20 ปาก ศาลจึงกำหนดวันนัดสืบพยานวันที่ 30-31 สิงหาคม 2559 และวันที่ 1-2 และ 6 กันยายน 2559 รวม 5 นัด

ส่วนจำเลยที่ 2 และ 3 แถลงจะนำพยานเข้าเบิกความ 2 ปาก ศาลจึงกำหนดวันนัดสืบพยานวันที่ 7 กันยายน 2559 รวม 1 นัด

ส่วนจำเลยที่ 4 แถลงจะนำพยานเข้าเบิกความจำนวน 5 ปาก ศาลจึงกำหนดวันนัดสืบพยานวันที่ 8-9 กันยายน 2559 รวม 2 นัด รวมแล้วนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งหมดจำนวน 14 นัด

สำหรับคดีนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ ระบุด้วยว่า ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ ได้เข้าให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับจำเลยที่ 4 ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างทนายความส่วนตัว ขณะที่จำเลยที่ 2 และ 3 ได้ให้ทนายความขอแรงจากศาลช่วยเหลือทางกฎหมาย

ก่อนหน้านี้ในนัดสอบคำให้การ จำเลยที่ 4 ได้เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น ในประเด็นสถานะของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่าเป็นบุคคลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ อย่างไร แต่ศาลได้ให้ยกคำร้องฉบับนี้ โดยระบุว่าชั้นนี้ยังไม่มีเหตุสมควรวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย

ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภูมิธรรมถามหาความรับผิดชอบ 'ปชป.-ตลก.รธน.' มีส่วนยุบพรรค 'ไทยรักไทย' ฟรี

$
0
0

5 ก.พ. 2559  ภูมิธรรม เวชยชัย  อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และจำเลย 1 ใน 111 กรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ปัจจุบันเป็น  เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เมื่อคำตัดสินของศาลฎีกาชี้ชัด "พรรคไทยรักไทย" บริสุทธิ์ไม่ได้จัดจ้างพรรคเล็กตามข้อกล่าวหา พรรคประชาธิปปัตย์ ผู้กล่าวหา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย จะชี้แจงความผิดพลาดครั้งนี้อย่างไร

"พรรคไทยรักไทยถูกยุบฟรี และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน ถูกตัดสินประหารชีวิตทางการเมืองโดยถูกเพิกถอนสิทธิโดยไม่ยุติธรรมไปฟรีๆ 5 ปี จะถามหาความยุติธรรมได้จากใคร ขอส่งเสียงถามดังๆ “องค์กรอิสระที่มีอำนาจเต็มในกระบวนการยุติธรรม” ช่วยตอบที แล้วยังจะเชื่อใจ มอบอำนาจมากมายให้องค์กรเหล่านี้ได้หรือครับ" ภูมิธรรม กล่าว

สำหรับคดีอาญากรณีจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้งของ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีต รมว.กลาโหมและกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จนเป็นส่วนหนึ่งในเหตผลที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย เมื่อ 30 พ.ค.50 พร้อมตัดสิทธิทางการเมือง กรรมการพรรค 111 คน นั้น ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง ไปเมื่อ 7 ม.ค. 57 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) และอัยการไม่ยื่นฎีกาคดีดังกล่าวแล้ว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรณียุบพรรคไทยรักไทย: ความอยุติธรรมกับวิกฤตที่ยังไม่สิ้นสุด

$
0
0



...สังคมไทยต้องวนเวียนอยู่ในวิกฤตที่เกิดจากการทำลายล้างและการกระทำอัน ‘อยุติธรรม’ ภายใต้ข้ออ้างของการจัดการกับคนโกงคนเลวให้สิ้นซาก ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำไปอย่างผิดฝาผิดตัวและไม่รับผิดชอบใดๆต่อความเสียหายที่ตามมา เช่น ในกรณีพรรคไทยรักไทยนี้

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 พรรคไทยรักไทยถูกยุบและกรรมการบริหารพรรค 111 คนถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศาลฎีกาได้ตัดสินคดีจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นข้อยุติว่าไม่มีคนของพรรคไทยรักไทยคนใดกระทำผิดกฎหมายแม้แต่คนเดียว

ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยซึ่งตกเป็นจำเลยข้อหาว่าจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเห็นว่าไม่มีมูลความจริง และอัยการไม่ฎีกา คดีจึงเป็นที่สุด

เรื่องนี้แสดงให้เราเห็นอะไร

เหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 คดีมาสู่ศาลเอาเมื่อหลังการรัฐประหาร 22 กันยายน 2549 ในขณะนั้นศาลรัฐธรรมนูญถูกยุบไปโดยคณะรัฐประหาร และคมช.ได้ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ ในคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้อาศัยพยานหลักฐานที่ชัดเจนใดๆ มีเพียงพยานแวดล้อมที่จินตนาการเอาเอง และเชื่อว่าพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา น่าจะจ้างพรรคเล็กลงสมัครเพื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย จะได้ไม่ต้องพบเงื่อนไขที่ต้องได้เสียงเกินร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์ในเขตที่ไม่มีผู้สมัครอื่นลงเลือกตั้ง

เมื่อเชื่อว่าพล.อ.ธรรมรักษ์ น่าจะจ้างผู้สมัครพรรคเล็ก ก็ใช้ตรรกะโดยไม่มีพยานหลักฐานใดๆทึกทักต่อไปว่า พล.อ.ธรรมรักษ์เป็นถึงรองหัวหน้าพรรคและประธานภาคอีสานของพรรค ทั้งยังได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย จึงเชื่อว่าหัวหน้าพรรคและผู้บริหารพรรคต้องรู้เห็นเป็นใจกับการจ้างพรรคเล็กในครั้งนี้คือร่วมกันทั้งพรรค จากนั้นก็โยงต่อไปว่าการจ้างพรรคเล็กนี้เป็นการกระทำให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงสมควรต้องยุบพรรคไทยรักไทยเสีย

ตามระบบกฎหมายปรกติในขณะนั้น เมื่อพรรคการเมืองถูกยุบ กรรมการบริหารพรรคจะถูกห้ามไม่ให้ไปก่อตั้งพรรคหรือเป็นกรรมการบริหารพรรคใหม่ ไม่มีบทลงโทษให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แต่คมช.ได้ออกประกาศกำหนดว่าเมื่อพรรคการเมืองใดถูกยุบ ให้กรรมการบริหารพรรคทั้งหมดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี ประกาศของคณะรัฐประหารนี้ออกหลังจากวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นเวลาหลายเดือน

แต่คณะตุลาการเสียงข้างมากมีมติวินิจฉัยให้ใช้ประกาศนี้ย้อนหลังไปลงโทษกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยได้ ด้วยเหตุผลว่าการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ใช่การลงโทษทางอาญา กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้งหมด 111 คนจึงถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี

มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตลอดมาว่า การยุบพรรคที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปโดยปราศจากพยานหลักฐาน และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 111 คนนั้นขัดต่อหลักนิติธรรม เนื่องจากเป็นการใช้คำสั่งของคณะรัฐประหาร ซึ่งเป็นกฎหมายอันมีที่มาที่ไม่ชอบธรรม และเป็นการใช้ให้มีผลย้อนหลังไปเป็นโทษอย่างร้ายแรง ทั้งยังเป็นการลงโทษบุคคลที่ไม่ได้กระทำความผิด แต่ต้องถูกลงโทษเนื่องจากความเกี่ยวพันกับองค์กร

แต่ขณะเดียวกัน พรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เคยมีสมาชิกพรรคมากที่สุด ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นติดต่อกัน มีสส.ในสภามากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และตั้งรัฐบาลที่บริหารงานเป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างกว้างขวาง นอกจากถูกทำลายไปแล้วก็ยังต้องถูกประณามว่าเป็นพรรคการเมืองที่ทุจริตในการเลือกตั้งจนถูกยุบไป นักการเมือง 111 คนต้องอยู่ในสภาพเป็นพลเมืองชั้นสองชั้นสามของประเทศ ทั้งยังถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ที่สมควรแล้วที่ต้องถูกลงโทษให้สาสม

เมื่อศาลฎีกาตัดสินเป็นข้อยุติว่าไม่มีคนของพรรคไทยรักไทยกระทำผิดกฎหมาย เมื่อพิจารณาย้อนหลังไปก็เท่ากับว่า ไม่มีเหตุอะไรที่จะยุบพรรคไทยรักไทย และก็ยิ่งไม่มีเหตุผลความชอบธรรมใดๆที่จะไปเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 111 คน

ประวัติศาสตร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า การยุบพรรคไทยรักไทยและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนักการเมือง 111 คนที่เกิดขึ้นนั้น คือ ‘ความอยุติธรรม’

ความอยุติธรรมที่ไม่อาจรื้อฟื้นให้ความถูกต้องกลับคืนมาได้ง่ายๆเสียแล้ว ด้วยระบบกฎหมายของประเทศนี้ยังถือว่าคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นที่สุด แม้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะเป็นผลมาจากการรัฐประหาร และแม้ว่าคำวินิจฉัยจะได้รับการพิสูจน์ต่อมาว่าไม่ถูกต้องชอบธรรมก็ตาม เรื่องนี้คงต้องเป็นเรื่องของผู้รักและใฝ่หาความยุติธรรมทั้งหลายจะขบคิดกันต่อไป

แต่ความเสียหายที่เกิดจากกรณียุบพรรคไทยรักไทยนั้นใหญ่หลวงลึกซึ้งกว่าการยุบพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง และการตัดสิทธิ์นักการเมืองจำนวนหนึ่งมากนัก

การยุบพรรคไทยรักไทยและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของแผนบันได 4 ขั้นของคมช.ที่ต้องการทำลายพรรคไทยรักไทย และสกัดกั้นไม่ให้นักการเมืองพรรคไทยรักไทยกลับมาสู่อำนาจอีก เพื่อการนี้คณะรัฐประหารได้ใช้ฝ่ายตุลาการเป็นเครื่องมือด้วยการยุบศาลรัฐธรรมนูญ แล้วตั้งบุคลากรฝ่ายตุลาการขึ้นเป็นคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่แทน คล้ายกับการตั้งศาลพิเศษขึ้นมาพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งเป็นการเฉพาะ เท่ากับเป็นการประสานร่วมมือกันระหว่างคณะรัฐประหารกับตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งถูกผลักดันให้มีบทบาทหาทางออกของวิกฤตการเมืองไทยในขณะนั้นด้วยความเชื่อว่า ฝ่ายตุลาการมีความเป็นอิสระและเป็นกลางกว่าฝ่ายอื่นใด แต่เอาเข้าจริงกลับจัดการกับการเมืองโดยไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรมแต่อย่างใด

หลังจากกรณียุบพรรคไทยรักไทยแล้ว ผู้มีอำนาจทั้งหลายก็เดินหน้าต่อด้วยการทำให้การยุบพรรคการเมืองทำได้ง่ายขึ้น เช่น หากกกต.เชื่อว่ากรรมการบริหารพรรคคนหนึ่งทุจริตก็ให้ใบแดงได้ง่ายๆ และก็เป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้แล้ว นอกจากนั้นการลงโทษทั้งหมู่คณะหรือทั้งองค์กร ทั้งๆที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้กระทำผิดก็ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างเป็นทางการ ทำลายความเป็นประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมมากยิ่งขึ้น

แล้วระบบที่อ้างว่ามีไว้จัดการกับนักการเมืองเลวๆให้อยู่หมัดนี้ก็แสดงพิษสงของมันออกมา

รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ถูกล้มก็ด้วยระบบนี้

กรณีคล้ายกับการยุบพรรคไทยรักไทยยังเกิดขึ้นอีก ในการเลือกตั้งปี 2550 ผู้สมัครของพรรคชาติไทยถูกกกต.ให้ใบแดง เนื่องจากกกต.เชื่อว่าจ่ายเงินให้แก่ผู้สนับสนุนเป็นจำนวน 2 หมื่นบาท ต่อมาพรรคชาติไทยก็ถูกยุบ กรรมการบริหารพรรคทั้งหมดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคนละ 5 ปี ที่เป็นรัฐมนตรีอยู่ก็ต้องพ้นจากการเป็นรัฐมนตรีและไม่อาจเป็นอะไรอีกได้

ต่อมามีการดำเนินคดีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้ใบแดง ได้ข้อยุติว่าทางการสั่งไม่ฟ้องและให้คืนเงิน 2 หมื่นบาทแก่ผู้สมัครรายนั้นไป เนื่องจากพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินที่ใช้ในการชำระหนี้และไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

สิ่งที่เกิดกับพรรคชาติไทยก็เป็น ‘ความอยุติธรรม’ เช่นกัน

ระบบที่ให้อำนาจองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองและขจัดนักการเมืองได้ง่ายๆโดยไม่คำนึงถึงหลักประชาธิปไตยและนิติธรรมนี้ ได้ทำให้พรรคการเมืองและระบบพรรคการเมืองอ่อนแอลงอย่างมาก รัฐบาลอ่อนแอไม่มีเสถียรภาพและไม่สามารถบริหารงานได้ เกิดการหักล้างมติของประชาชนและเกิด ‘ความอยุติธรรม’ ขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า มีผลกระทบทางสังคมอย่างลึกซึ้งต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้

การใช้ ‘ตุลาการภิวัฒน์’ เป็นเครื่องมือจัดการกับการเมืองได้รับการพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าไม่ได้ผล ซ้ำร้ายยังทำให้ระบบยุติธรรมของประเทศนี้ต้องเสื่อมลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน การจัดการที่ไม่ชอบธรรมนี้นอกจากไม่ช่วยแก้ความขัดแย้งแล้ว ยังทำให้ประเทศต้องจมปลักอยู่ในวิกฤตความขัดแย้งที่ไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้นได้ในเร็วๆนี้เลย

วันนี้กำลังมีความพยายามทำให้องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมากขึ้น และมีบทบาทแทรกแซงจัดการกับการเมืองได้มากขึ้นกว่าที่แล้วมา ทั้งยังจะเอาระบบผิดคนเดียวลงโทษทั้งคณะมาใช้เพิ่มขึ้นอีก

สิ่งที่เกิดขึ้นกับพรรคไทยรักไทยและผลกระทบต่อเนื่องมาน่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้หวังดีห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองทั้งหลายต้องหันมาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตและสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบันกันเสียใหม่ เพื่อไม่ให้สังคมไทยต้องวนเวียนอยู่ในวิกฤตที่เกิดจากการทำลายล้างและการกระทำอันอยุติธรรมภายใต้ข้ออ้างของการจัดการกับคนโกงคนเลวให้สิ้นซาก ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำไปอย่างผิดฝาผิดตัวและไม่รับผิดชอบใดๆต่อความเสียหายที่ตามมาเช่นในกรณีพรรคไทยรักไทยนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สองปราชญ์พุทธศาสนากับปัญหาประชาธิปไตยไทย

$
0
0


 

พุทธศาสนาไทยที่เรารับรู้ในปัจจุบัน จัดเป็น “พุทธศาสนาของรัฐ” ทั้งในแง่โครงสร้างและอุดมการณ์ โดยพุทธศาสนาหน้าตาแบบนี้ได้ถูกสถาปนาขึ้น ตั้งแต่การแยกนิกายเป็น “ธรรมยุติกนิกาย” และ “มหานิกาย” ในสมัย ร.4 ผ่านการสถาปนาองค์กรสงฆ์แบบระบบราชการในสมัย ร.5 และการผนึกรวมพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ราชาชาตินิยม “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ในสมัย ร.6

หลังการปฏิบัติสยาม 2475 ไม่มีการเปลี่ยนระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาให้สอดคล้องกับความเป็นรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่หรือเสรีประชาธิปไตย คือไม่ได้เปลี่ยนองค์กรสงฆ์ของรัฐให้เป็นองค์กรเอกชน ให้รัฐมีหน้าที่รักษาเสรีภาพทางศาสนาเท่านั้น ไม่มีอำนาจไปก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในขององค์กรศาสนา และองค์กรศาสนาต่างๆก็ไม่มีสิทธิ์เข้ามาแชร์อำนาจรัฐ หรือให้รัฐออกกฎหมายเฉพาะใดๆ เพื่อรักษาสถานะ อำนาจ และผลประโยชน์ของตน แต่ละศาสนา นิกายศาสนา หรือพระสงฆ์กลุ่มต่างๆ มีอิสระในการศึกษาตีความและปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนาของตนอย่างเสรี ตราบที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

เหตุที่ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะอ้างเหตุผลเรื่องรักษาความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงต้องให้รัฐประชาธิปไตยทำหน้าที่ทางศาสนาแทนรัฐราชาธิปไตยและรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์

เหตุผลดังกล่าว ได้ถูกเน้นให้หนักแน่นขึ้นในการเสนอความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับรัฐของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่ปรากฏในหนังสือหลายเล่ม เช่น “ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ” และ “รัฐกับพระพุทธศาสนาถึงเวลาชำระล้างหรือยัง?.” เป็นต้น

ความคิดสำคัญของพระพรหมคุณาภรณ์คือ รัฐไทยสมัยใหม่ควรทำหน้าที่ทางศาสนาแบบรัฐสมัยเก่า เช่นรัฐสมัยพระเจ้าอโศก, สุโขทัย เรื่อยมาถึงรัตนโกสินทร์ นั่นคือรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความความเจริญและความเสื่อมของพุทธศาสนา โดยรัฐต้องออกกฎหมายวางระบบการปกครองและการศึกษาสงฆ์ให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการนำพุทธธรรมไปพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตประชาชน ให้จัดการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน ควรยอมรับว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และรัฐควรมีหน้าที่รักษาความบริสุทธิ์ถูกต้องของพระธรรมวินัย มีกฎหมายเอาผิดพระที่ประพฤติผิดพระธรรมวินัยเหมือนรัฐสมัยเก่าได้

จะเห็นได้ว่า รัฐตามความคิดของพระพรหมคุณาภรณ์คือ “รัฐกึ่งศาสนา” (semi-religious state) ได้แก่ รัฐที่ปกครองด้วยหลักการทางโลกแต่มีหน้าที่ทางศาสนาแบบรัฐโบราณด้วยเหตุผลเรื่องรักษาความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติ

ปัญหาของความเป็นรัฐกึ่งศาสนาคือ ทำให้รัฐไทยไม่สามารถเป็นรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่หรือเสรีประชาธิปไตยได้ เพราะรัฐเสรีประชาธิปไตยไม่ได้มีหน้าที่ทางศาสนาแบบรัฐโบราณ แต่ต้องเป็นกลางทางศาสนา และมีหน้าที่รักษาเสรีภาพทางศาสนาเท่านั้น จึงต้องแยกศาสนาจากรัฐ ให้องค์กรศาสนาเป็นเอกชน พระสงฆ์มีอิสระปกครองกันตามหลักธรรมวินัยและข้อตกลงของพระสงฆ์ตามสายครูอาจารย์ต่างๆ เท่านั้น ศาสนาอื่นๆก็ต้องเป็นองค์กรเอกชนเช่นเดียวกัน

เมื่อเปลี่ยนจากรัฐกึ่งศาสนาเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตย รัฐไทยก็จะไม่ตกเป็นเวทีการเมืองภายในคณะสงฆ์ในเรื่องสมณศักดิ์ ตำแหน่ง อำนาจ ดังที่เกิดขึ้นมาตลอดในประวัติศาสตร์ หรือที่เห็นได้ในกรณีธรรมกายและการแต่งตั้งพระสังฆราชในปัจจุบัน ปัญหาการที่รัฐละเมิดเสรีภาพทางศาสนา เช่นกรณีห้ามบวชภิกษุณี กรณีห้ามกลุ่มสันติอโศกไม่ให้มีสถานภาพเป็นพระสงฆ์เป็นต้นก็จะหมดไป อีกทั้งการปฏิรูปศาสนาก็จะไม่ตกอยู่ในเกมอำนาจของชนชั้นปกครองอีกต่อไป

ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือ พุทธศาสนาไทยได้เป็นฐานของการ “ผลิตซ้ำ” ความคิดการเมืองเชิงศีลธรรมที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ถ้าเป็นสมัยเก่าก็คือความคิดเรื่องการจัดระดับชั้นทางสังคมตามระดับสูง-ต่ำของบุญบารมีที่บำเพ็ญมาไม่เท่ากัน ชนชั้นปกครองสมควรเป็นผู้ปกครองเพราะทำบุญมามาก ไพร่ ทาสสมควรถูกปกครองก็เพราะทำบุญมาน้อยกว่า จึงจำต้องพึ่งบุญญาธิการของผู้ปกครอง เพื่อมีชีวิตที่ดีตามควรแก่ฐานะสูง-ต่ำทางสังคม

ถ้าเป็นสมัยใหม่ก็คือ ความคิดการเมืองเชิงศีลธรรมของพุทธทาสภิกขุ คือ “ธรรมิกสังคมนิยม” หรือ “เผด็จการโดยธรรม” ที่ถือว่าการปกครองที่ดีต้องถือ “ประโยชน์สุขของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่” และต้องใช้วิธีเผด็จการโดยธรรมคือ ต้องหาคนดีมีคุณธรรมผู้ปกครองเช่นทศพิธราชธรรมเป็นต้นมาเป็นผู้ปกครอง ระบบประชาธิปไตยหรือระบบปกครองใดๆไม่สามารถดีด้วยตัวมันเองได้ หากไม่มีธรรมะหรือศีลธรรมเป็นรากฐาน ซึ่งการมีธรรมะหรือศีลธรรมเป็นรากฐานก็ปรากฏเป็นจริงได้ด้วยการมี “คนดี” เป็นผู้ปกครองเท่านั้น

ความคิดดังกล่าวถูกนำมาตีความ ผลิตซ้ำอย่างแพร่หลายจนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ชนชั้นกลาง โดยมีผู้นำทางความคิดสำคัญ เช่น อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์,นายแพทย์ประเวศ วะสี นักวิชาการในมหาวิทยาลัย กวี ศิลปิน เอ็นจีโอสายนิยมความโปร่งใส คุณธรรมจริยธรรม การกระจายอำนาจ เป็นปากเป็นเสียงแทนคนเล็กคนน้อยในสังคม แต่ให้ความสำคัญน้อยกว่ากับเสรีภาพทางการเมืองและไม่ยืนหยัดในกระบวนการหรือหลักการและกติกาประชาธิปไตยอย่างมั่นคง

ผลที่ตามมาคือ ในทศวรรษแห่งความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการอ้างความคิดการเมืองเชิงศีลธรรมสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมืองที่ยึดอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมอย่างเข้มข้น จนนำมาสู่รัฐประหาร 2549 และ 2557 และให้กำเนิดร่างรัฐธรรมนูญ 2559 อันเป็นการสถาปนา “ระบบอภิชนาธิปไตย” ที่ทำให้อำนาจการปกครองโดยกลุ่มอภิชนคนดีเข้มแข็งขึ้น อย่างท้าทายต่อกระแสการตื่นขึ้นของประชาชนฝ่ายข้างมากที่เรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตย

แน่นอนว่า กระบวนการบริหารจัดการอำนาจรัฐของเครือข่ายอภิชน ที่นำมาสู่การสถาปนาระบบอภิชนาธิปไตยผ่านร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันมากขณะนี้ ย่อมมีปัจจัยเชิงความคิด กลุ่มอำนาจ ผลประโยชน์และเงื่อนไขอื่นๆ ทางประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทยที่สลับซับซ้อน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ระบบความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐที่ตกทอดมาจากยุคเก่า และความคิดของปราชญ์ทางพุทธศาสนาทั้งสองท่านที่กล่าวมาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของปัญหาประชาธิปไตยไทย

แม้เราจะยอมรับคุณูปการด้านอื่นๆของปราชญ์พุทธศาสนาทั้งสองท่าน และศรัทธาในวัตรปฏิบัติในฐานะพระภิกษุที่น่าเคารพของทั้งสองท่านเพียงใด แต่การตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ความคิดของทั้งสองท่านอย่างตรงไปตรงมา ก็เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งไม่ใช่หรือ ตราบที่เรายังหวังความก้าวหน้าทางปัญญาและอยากเห็นสังคมเปลี่ยนแปลงในทางที่ยุติธรรมมากขึ้น

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แผ่นดินไหวไต้หวัน ก.แรงงานให้ดูแลแรงงานไทยใกล้ชิด

$
0
0

เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่ภาคใต้ของไต้หวัน ขนาด 6.4 ศูนย์การสั่นสะเทือนอยู่ที่เกาสง-ไถหนาน ตึกถล่มและและทรุดเอียงนับ 10 หลัง เจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคารเหวยก้วนได้แล้ว 230 คน จากผู้พักอาศัยกว่า 500 คน ด้านกระทรวงแรงงานให้ดูแลใกล้ชิดช่วยเหลือแรงงานไทยหากได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว

สภาพอาคารเสียหายที่เมืองไถหนาน หลังเหตุแผ่นดินไหวเช้ามืดวันที่ 6 ก.พ. 2559 (ที่มาของภาพ: สถานีโทรทัศน์ช่อง 51 ไต้หวัน/YouTube)

ที่มาของภาพ: สถานีวิทยุ Radio Taiwan International (RTI)

 

6 ก.พ. 2559 สถานีวิทยุ RTIของสาธารณรัฐจีน หรือไต้หวัน รายงานว่ารุ่งเช้าวันนี้ (6 ก.พ.) เวลา 03.57 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่ภาคใต้ของไต้หวัน ขนาด 6.4 ศูนย์การสั่นสะเทือนอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 16.7 ก.ม. บริเวณภูเขาเขตเหม่ยหน่ง นครเกาสง (高雄市美濃區) พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาเทียบเท่าระเบิดปรมาณู 2 ลูก ส่งผลให้เมืองใกล้เคียงได้รับความเสียหาย นครไถหนานเสียหายหนักสุด มีตึกสูงล้มถล่มและทรุดเอียงนับ 10 แห่ง ในจำนวนนี้ อาคารเหวยก้วน ที่ถนนหย่งต้าในเขตหย่งคัง ซึ่งเป็นอาคารที่พักสูง 17 ชั้น ถล่มลงมากองขวางอยู่กลางถนน  จนกระทั่ง 07.30 น. ผู้อยู่อาศัย 150 ครัวเรือน ประมาณ 500 คน ได้รับความช่วยเหลือออกมาแล้ว 130 คน ยังมีชาวบ้านติดอยู่ในซากปรักหักพังจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีตึกสูงหลายแห่งทรุดและเอียง

จนถึงเวลา 07.30 น. มีชาวไต้หวันเสียชีวิตแล้ว 2 ราย มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะถูกของหล่นทับ ขณะที่นอนหลับ ไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ รถไฟความเร็วสูงหยุดวิ่งที่ภาคใต้ หน่วยกู้ภัยจากเมืองต่างๆ และหน่วยกู้ภัยจากกองทัพได้รุดไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว

สำหรับภาคเหนือและเขตพื้นที่อื่นๆ วัดแรงสั่นสะเทือนได้เพียง 1-2 ริกเตอร์ ไม่รู้สึกถึงแผ่นดินไหวครั้งนี้ จึงไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

ล่าสุดข่าวใน สถานีวิทยุ RTI ปรับตัวเลขผู้ได้รับความช่วยเหลือออกมาแล้วจาก 130 คน เป็น 230 คน

ต่อมาในเวลา 13.00 น. สถานีวิทยุ RTI รายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 7 ศพ ผู้บาดเจ็บ 400 คนแล้ว ตัวเลขกำลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยผู้เสียชีวิต 7 คน ในจำนวนนี้ 5 คนเกิดจากเหตุการณ์ตึกเหวยก้วนถล่ม อีก 1 คนถูกทับตายเนื่องจากแทงค์น้ำร่วงที่ถนนหมินเซิงหนัน และอีก 1 บาดเจ็บที่โรงแรมวังหลิน เสียชีวิตหลังจากส่งถึงโรงพยาบาลเพราะอาการสาหัส

 

ก.แรงงานให้ดูแลใกล้ชิดช่วยเหลือแรงงานไทยหากได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว

ด้านกระทรวงแรงงานของไทย โดยนายธีรพล ขุนเมือง โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานแรงงานไทย กรุงไทเปว่าวันเสาร์ที่ 6 ก.พ.59  เวลา 03.57 น. เกิดเหตุแผ่นดินรุนแรงที่ภาคใต้ของไต้หวัน ขนาด 6.4 ศูนย์ จากการติดตามสถานการณ์ยังไม่มีรายงานว่าแรงงานไทย ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งนี้ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้สำนักงานแรงงานไทย นครเกาสง และสำนักงานแรงงานไทย กรุงไทเป ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และให้การช่วยเหลือโดยเร็วหากพบแรงงานไทยได้รับผลกระทบ จากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว

ส่วน กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยที่ไทเปได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วยังไม่พบคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ขณะที่ สำนักงานแรงงานไทย ไทเป ออกประกาศเตือนทางเฟสบุ๊ค ขอความร่วมมือพี่น้องแรงงานไทยทั่วไต้หวันส่งข่าวสารถึงกัน หากทราบหรือพบเห็นผู้ใดต้องการความช่วยเหลือ ขอให้ช่วยแจ้งมาที่สำนักงานแรงงานไทย ไทเปได้ทันที สำหรับเมืองไถหนานอยู่ทางภาคใต้ของไต้หวันห่างจากไทเป 317 กิโลเมตร และคนไทยในไต้หวันทีทั้งหมด 65,785 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในไถหนาน 5,080 คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถิติพบตรุษจีนผู้ป่วยปวดท้องมากกว่า 8 พันคน

$
0
0
สพฉ.เปิดข้อมูลผู้ป่วยปวดท้องในช่วงเทศกาลตรุษจีนเดือนกุมภาพันธ์มากกว่า 8 พันคน แนะควรปรุงอาหารไหว้เจ้าให้สุกสะอาดก่อนนำมาบริโภค  พร้อมเตือนประชาชนระมัดระวัง ไม่จุดประทัดในบ้านและไม่ควรจุดครั้งละมากๆ เพราะแรงระเบิดจากประทัดอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

 
6 ก.พ. 2559 นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้จัดเก็บสถิติการเจ็บป่วยฉุกเฉินของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ. 2558 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอาการ ไฟไหม้  ไฟลวก เหตุความร้อนจากสารเคมี และไฟฟ้าช๊อตจำนวนมากถึง 185 คน และนอกจากนั้นแล้วแล้วเรายังพบสถิติของผู้ป่วยฉุกเฉินจากอาการปวดท้องเฉียบพลันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้มากกว่า 8,595 คนด้วย ดังนั้นในช่วงตรุษจีนปีนี้ประชาชนจึงควรระมัดระวังตนเองให้มากๆ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่เสร็จสิ้นจากการไหว้เจ้า ซึ่งอาหารบางอย่างเมื่อสัมผัสกับอากาศภายนอกเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีภาชนะที่ปิดไว้ให้มิดชิดอาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคได้  โดยผู้ป่วยด้วยอาการอาหารเป็นพิษมีดังนี้  ท้องเสีย อาจเป็นน้ำ มูก หรือ มูกเลือด ปวดท้องอาจจะปวดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค มักเป็นการปวดบิดสลับกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายยังมีอาการไข้สูงด้วย ทั้งนี้ในขณะที่เราปวดท้อง หรือ คลื่นไส้อาเจียน ไม่ควรกินอาหาร หรือ ดื่มน้ำเพราะอาการจะรุนแรงขึ้น ที่สำคัญคือไม่ควรกินยาหยุดถ่ายท้อง เพราะการท้องเสียจะช่วยขับเชื้อและสารพิษออกจากร่างกาย ควรจิบน้ำ  หรือ  ดื่มเกลือแร่ บ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และควรรีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อรักษาตนเองต่อไป
 
เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีของมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอาการ ไฟไหม้  ไฟลวก เหตุความร้อนจากสารเคมีซึ่งหนึ่งในนั้นคือสารเคมีจากการจุดประทัดว่า  สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินเคยออกคำเตือนในทุกๆ ปีว่า การจุดประทัดสำหรับการไหว้เจ้านั้นเราไม่ควรจุดครั้งละจำนวนมาก เพราะแรงระเบิดจากประทัดอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย  โดยเฉพาะการจุดประทัดที่มีสายชนวนสั้น เมื่อจุดไม่ติดก็ไม่ควรจุดซ้ำ และที่สำคัญที่สุดคือห้ามโยนประทัดใส่กลุ่มคน ทั้งนี้ประทัด พลุ และดอกไม้ไฟ เป็นวัตถุอันตรายที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของวัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย 3 ทาง คือ  1.ทางผิวหนัง คือเกิดแผลไหม้จากแรงระเบิด  2.ทางนิ้วมือ คืออาจทำให้นิ้วมือ หรืออวัยวะขาด เนื่องจากแรงระเบิด และ 3.ทางตา ซึ่งเป็นอวัยวะที่บอบบางที่สุด คืออาจทำให้ตาดำไหม้ ขุ่นมัว เลือดออกช่องหน้าม่านตา และอาจทำให้ตาบอดถาวรได้
 
สำหรับการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่นิ้วหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขาดนั้น ให้รีบห้ามเลือดบริเวณที่อวัยวะขาด โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผล พันแผลบริเวณเหนือแผลให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดออก ทั้งนี้ไม่ควรใช้เชือกหรือสายรัดเพราะจะทำให้รัดเส้นประสาทหลอดเลือดเสียได้  นอกจากนี้ควรสังเกตอาการผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอย่างใกล้ชิด ควรงดอาหารทางปาก และจิบน้ำได้เล็กน้อย เพราะอาจจะต้องรับการผ่าตัดด่วน ส่วนวิธีการเก็บรักษาอวัยวะส่วนที่ขาดคือ ให้นำสิ่งสกปรกออกจากส่วนที่ขาด ล้างน้ำสะอาด ใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในน้ำแข็ง โดยอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อมาก ๆ เช่น แขน ขา ต้องได้รับการผ่าตัดต่อเส้นเลือดให้เร็วที่สุด ภายใน 6 ชม. ส่วนบริเวณที่ไม่มีกล้ามเนื้อ เช่น นิ้ว สามารถเก็บไว้ได้ 12 – 18 ชม. ส่วนการบาดเจ็บทางตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมากทันที  และหาก ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หรือกรณีฉุกเฉิน  ให้รีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์โดย ซึ่งจะมีทีมแพทย์ฉุกเฉิน และทีมกู้ชีพคอยให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เดือนธันวาคม 2558 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เลิกจ้าง 2,897 คน

$
0
0

ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการแรงงานเผยสถิติจ้างงาน 5 อุตสาหกรรมหลักเดือนธันวาคม 2558 พบอิเล็กทรอนิกส์ว่างงาน 6,398 คน ถูกเลิกจ้าง 2,897 คน ด้านการจ้างงานมีอัตราการชะลอตามยอดส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ยังคงหดตัว

ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานวิเคราะห์ข้อมูลการจ้างงาน[1] การเลิกจ้าง [2] และการว่างงาน [3]ของแรงงานในระบบประกันสังคม จำแนก 5 รายอุตสาหกรรม ณ เดือนธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นประเภทกิจการที่มีความสำคัญต่อการส่งออก หรือมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สูง มีสถานะดังนี้

1. สิ่งทอ การจ้างงานชะลอตัวร้อยละ -3.51 , การว่างงานชะลอตัวร้อยละ -13.74, การเลิกจ้างชะลอตัวร้อยละ -33.11

2. เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ การจ้างงานชะลอตัวร้อยละ -0.62 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 69.71 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 155.92

3. เครื่องใช้ไฟฟ้า การจ้างงานขยายตัวร้อยละ 5.61 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 50.40 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 75.11

4. ยานยนต์ การจ้างงานชะลอตัวร้อยละ -3.30 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 20.97 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 121.27

5. เครื่องประดับ การจ้างงานขยายตัวร้อยละ 2.93 , การว่างงานขยายตัวร้อยละ 15.27 , การเลิกจ้างขยายตัวร้อยละ 52.55

_______

[1] การจ้างงาน = ผู้ประกันตน มาตรา 33 ในระบบประกันสังคม

[2] การเลิกจ้าง = ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ประเภทเลิกจ้าง (R3) ในระบบประกันสังคม

[3] การว่างงาน = ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งหมด (R1-R3) ในระบบประกันสังคมประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ ลาออก (R1) สิ้นสุดสัญญาจ้าง (R2) และเลิกจ้าง (R3)

 

ข้อมูลการจ้างงาน การเลิกจ้าง และการว่างงาน ของแรงงานในระบบประกันสังคม จำแนก 5 รายอุตสาหกรรม ณ เดือนธันวาคม 2558

อุตสาหกรรมสิ่งทอมีการจ้างงานจำนวน 156,295 คนมีผู้ว่างงานจำนวน 1,884 คนมีผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 713 คน จากข้อมูล ณ ธันวาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (พฤศจิกายน 2558) พบว่าการจ้างงาน ในอุตสาหกรรมสิ่งทอมีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -0.40 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการชะลอตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -3.51 เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการผลิตตามความต้องการที่ถดถอย ประกอบกับบางส่วนมีการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน

ทั้งนี้ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 มีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 13.35 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการชะลอตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -33.11 ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 มีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็น ร้อยละ 5.02 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการชะลอตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -13.74

อุตสาหกรรมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์มีการจ้างงานจำนวน 408,779 คน มีผู้ว่างงานจำนวน 6,398 คน มีผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 2,897 คน จากข้อมูล ณ ธันวาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (พฤศจิกายน 2558) พบว่าการจ้างงาน ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -1.16 และเมื่อเทียบข้อมูลเดือนเดียวกันกับปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการชะลอตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -0.62 เนื่องจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ยังคง หดตัวสูงและมีแนวโน้มชะลอลงอีกตามแนวโน้มความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ลดลงต่อเนื่อง

ทั้งนี้ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 มีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 8.02 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการขยายตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 155.92 และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 มีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 0.79 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2558) มีอัตราการขยายตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 69.71

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการจ้างงานจำนวน 118,942 คน มีผู้ว่างงานจำนวน 1,313 คน มีผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 408 คน จากข้อมูล ณ ธันวาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (พฤศจิกายน 2558) พบว่า การจ้างงาน ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 0.52 และเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการขยายตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 5.61 เนื่องจากการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการส่งออกเครื่องปรับอากาศที่ปรับตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 มีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 3.29 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการขยายตัวเช่นเดียวกัน (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 75.11 ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 มีผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็น ร้อยละ -1.72 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 50.40 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11

อุตสาหกรรมยานยนต์มีการจ้างงานจำนวน 236,154 คน มีผู้ว่างงานจำนวน 2,561 คน ผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 489 คน จากข้อมูล ณ ธันวาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (พฤศจิกายน 2558) พบว่า การจ้างงาน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ชะลอตัวจากเดือนก่อน (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -0.16 และเมื่อเทียบข้อมูลเดียวกันกับปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการชะลอตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ -3.30 เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัวในประเทศแถบโอเชียเนียแอฟริกา ยุโรป รวมทั้งอมิรกากลางและอเมริกาใต้

ทั้งนี้ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2558 มีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 3.38 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 121.27 และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็น ร้อยละ -5.91 แต่เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 20.97

อุตสาหกรรมเครื่องประดับมีการจ้างงานจำนวน 72,915 คน มีผู้ว่างงานจำนวน 1,155 คน มีผู้ที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 479 คน จากข้อมูล ณ ธันวาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (พฤศจิกายน 2558) พบว่า การจ้างงาน ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับมีอัตราการขยายตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ 2.60 เช่นเดียวกันและเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) พบว่า การจ้างงานมีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 2.93 เนื่องจากภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ภาคผลิตและการจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลัก ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการผลิตเพื่อสต๊อกสินค้าทดแทนการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่า จะขยายตัวโดยมีผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้ในปีนี้เป็นผลจากการส่งออก พลอย ไข่มุก และเครื่องประดับแท้ทำด้วยโลหะ มีค่าอื่นๆ

ทั้งนี้ผู้ว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -4.20 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 52.55 และผู้ว่างงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการชะลอตัว (%MoM) คิดเป็นร้อยละ -7.53 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีอัตราการขยายตัว (%YoY) คิดเป็นร้อยละ 15.27

สรุปภาวะเศรษฐกิจแรงงานเดือนธันวาคม 2558

อัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานจากสาเหตุ เลิกจ้าง และลาออก ของกรมการจัดหางาน ณ เดือนธันวาคม 2558

ทั้งนี้ในภาพรวมภาวะการจ้างงานในตลาดแรงงาน เดือนธันวาคม 2558 อยู่ในภาวะปกติ การจ้างแรงงานในระบบประกันสังคมมีผู้ประกันตน จำนวน 10,391,761 คน มีอัตราการขยายตัว 3.61% (YoY) ซึ่งชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 3.78% (YoY) สำหรับการว่างงานจากตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม เดือนธันวาคม 2558 มีจำนวน 123,536 คน มีอัตราขยายตัวอยู่ที่ 15.67% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และขยายตัวอยู่ที่ 0.24% (MoM) เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 ที่มีจำนวน 123,238 คน อย่างไรก็ตาม การเลิกจ้าง จากตัวเลขผู้ถูกเลิกจ้างที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 7,034 คน มีอัตราขยายตัว (YoY) อยู่ที่ 56.17% ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่มีอัตราการชะลอตัวที่ -15.43% (MoM) เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวน 8,317 คน

ด้านสถานการณ์จ้างงานจากข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2558 มีลูกจ้างที่มีนายจ้างในระบบประกันสังคม (ม.33) จำนวน 10,391,761 คน มีอัตราการขยายตัว 3.61% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือนธันวาคม 2557) ซึ่งมีจำนวน 10,029,777 คน แต่หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลง (YoY) ของเดือนธันวาคม 2558 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยในเดือนธันวาคม 2558 มีอัตราการขยายตัว (%YoY) อยู่ 3.61% ชะลอตัวจากเดือนพฤศจิกายน 2558 (%YoY) ซึ่งอยู่ที่ 3.78% สถานการณ์การจ้างงานขยายตัวมากกว่า 1% จึงถือว่าสถานการณ์การจ้างงานอยู่ในภาวะปกติ

ด้านสถานการณ์ว่างงานจากข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2558 มีผู้ว่างงานจำนวน 123,536 คน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (เดือนธันวาคม 2557) มีจำนวน 106,798 คน แสดงว่าผู้ว่างงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัว (%YoY) อยู่ที่ 15.67% ซึ่งตัวเลขลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2558 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2557 (%YoY) ซึ่งอยู่ที่ 21.35% แม้นว่าหากเทียบระหว่างเดือนธันวาคม 2558 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 (%MoM) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วซึ่งอยู่ที่ -2.88% มาอยู่ที่ 0.24%

และในด้านสถานการณ์เลิกจ้างจากข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2558 มีผู้ถูกเลิกจ้างในระบบประกันสังคมจำนวน 7,034 คน (มีอัตราขยายตัว อยู่ที่ 56.17%) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (ธันวาคม 2557) มีจำนวน 8,317 คน ดังนั้น ณ เดือนธันวาคม 2558 สถานการณ์เลิกจ้างยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าตัวเลขการเลิกจ้างเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านชะลอตัว (MoM) อยู่ที่ -15.43 อย่างไรก็ตามถือว่าการเลิกจ้างอยู่ในระดับที่สูงเนื่องจากการเลิกจ้างมีอัตราการเติบโตถึง 56.17% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 3 ปี ในช่วงเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ซึ่งอยู่ที่ 41.01% (ใช้ฐานข้อมูลปี 2548–2551) ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้สั่งการให้ส่วนราชการในพื้นที่ทุกจังหวัดติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านแรงงาน โดยให้มีการรายงานเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านแรงงานทุกเดือน โดยจับตาแนวโน้มและสัญญาณตัวเลขการเลิกกิจการ การเลิกโรงงานและความเคลื่อนไหวของการจ้างงานของธุรกิจทุกขนาดในพื้นที่จังหวัดอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันปัญหาและสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือแก้ไขได้ทันท่วงที

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

$
0
0

จากการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... (ร่างเบื้องต้น) ฉบับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า “ร่างรัฐธรรมนูญ 59”)เฉพาะหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญนั้นอาจพิจารณาได้จาก 3 ส่วน กล่าวคือ ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และ ส่วนที่ 3 สิทธิและเสรีภาพที่อยู่ในส่วนอื่นของรัฐธรรมนูญ ซึ่งในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 เท่านั้น โดยมีข้อสังเกตดังนี้

1. “หมวด 1 บททั่วไป” ของร่างรัฐธรรมนูญ 59 ไม่ปรากฏความของมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ 50 ที่บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” ความมุ่งหมายของมาตราดังกล่าวซึ่งอยู่ในบททั่วไปอย่างน้อยมีความมุ่งหมาย 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง เป็นเสมือนการประกาศอุดมการณ์ของรัฐในการที่จะคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ประการที่สอง ประกาศอุดมการณ์ของรัฐดังกล่าวอาจมีผลต่อการคุ้มครองบุคคลที่ไม่อยู่ในขอบเขตของบุคคลตาม หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย เพราะมักมีการตีความว่า “บุคคล” ในหมวด 3 หมายเฉพาะ “คนไทย” เท่านั้น

2. หมวด 3 “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย” โดยทั่วไปแล้วสาระสำคัญในหมวดนี้ของรัฐธรรมนูญ 40 ก็ดี 50 ก็ดี จะมีสาระสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งว่าด้วย “หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน” ส่วนที่สอง ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งในที่นี้มีข้อสังเกต ดังนี้

2.1“หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน” ในหมวดสิทธิและเสรีภาพส่วนนี้เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดของการบัญญัติสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพราะเป็นส่วนที่เป็นหลักประกันจะทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนบรรลุความมุ่งหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 ได้บัญญัติหลักในเรื่องดังกล่าวเป็นครั้งแรกของรัฐธรรมนูญไทย และต่อมารัฐธรรมนูญ 50 ได้ยืนยันและยังได้ปรับปรุงหลักดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น “หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน” มีหลักการสำคัญ 3 หลัก คือ (1) “หลักความผูกพันโดยตรงของสิทธิและเสรีภาพ” (2) “หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยองค์กรตุลาการ” และ (3) “หลักประกันในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิ” จากการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ 59 ไม่ปรากฏ “หลักความผูกพันโดยตรงของสิทธิและเสรีภาพ” และ “หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยองค์กรตุลาการ” ในขณะที่ “หลักประกันในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิ” ซึ่งประกอบด้วยหลักย่อยอีก 5 หลักนั้น ปรากฏว่าบัญญัติไม่ครบทั้ง 5 หลัก ซึ่งขาด “หลักการจำกัดสิทธิและเสรีภาพจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพมิได้” และ “หลักการระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิ”

กล่าวโดยสรุป ร่างรัฐธรรมนูญ 59 หมวดสิทธิและเสรีภาพมิได้บัญญัติหลักการที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนบรรลุความมุ่งหมาย ซึ่งหลักที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นศาลได้เคยมีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาที่ยืนยันหลักดังกล่าวไว้เกือบทุกกรณี การที่ไม่บัญญัติหลักดังกล่าวย่อมส่งผลต่อการใช้และการตีความสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรตุลาการที่ขาดฐานของหลักดังกล่าวที่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญของไทยมาโดยตลอด

2.2 การบัญญัติข้อจำกัดการใช้สิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ 40 และ 50 ต่างบัญญัติข้อจำกัดของการใช้สิทธิและเสรีภาพไว้ 3 ประการเหมือนกัน คือ (1) ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ (2) ไม่กระทบสิทธิของบุคคลอื่น และ (3) ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งเป็นหลักสากลทั่วไป แต่ในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญ 59 ฉบับนี้ได้ปรับปรุงแนวการเขียนใหม่เป็น “...บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิและเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น” หลักการเดิมคือการใช้สิทธิเสรีภาพต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ในขณะที่หลักการใหม่การใช้สิทธิเสรีภาพต้อง “ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ” ปัญหาคือแค่ไหนเพียงใดที่เป็นการ “กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ”กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ” ซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่ปัญหาการใช้สิทธิและเสรีภาพโดยรวมทั้งหมด

2.3 “สิทธิและเสรีภาพในแต่ละเรื่อง” ร่างรัฐธรรมนูญ 59 มีความพยายามที่จะเขียนให้สั้น จึงมีการปรับการเขียนให้กระชับ หรือมิเช่นนั้นนำไปบัญญัติไว้ใน “หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ” ซึ่งเป็นการปรับหลักการในเรื่องการเขียนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งในส่วนนี้มีประเด็นสำคัญ คือ การมิได้บัญญัติหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิอย่างน้อย 2 ประการ คือ “หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “สิทธิชุมชน” โดยมีข้อสังเกต ดังนี้

ก. “หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ถือว่าเป็นรากฐานของสิทธิและเสรีภาพทั้งปวง ซึ่งศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำพิพากษาคดีเกี่ยวกับการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ยืนยันในหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่า เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ถูกลดฐานะให้กลายเป็นวัตถุแห่งการกระทำของรัฐ เมื่อนั้นถือว่าเป็นการกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น การที่มิได้บัญญัติหลักนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้การตีความโดยองค์กรตุลาการได้

ข. “สิทธิชุมชน” สิทธิชุมชนถือว่าเป็นสิทธิที่มีความสำคัญต่อสังคมเกษตรกรรมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งสิทธิชุมชนถือว่าเป็น “สิทธิ”ประเภท “สิทธิกลุ่มบุคคล” หรือที่เรียกว่า “collective rights” ซึ่งแตกต่างจากสิทธิทั่วไปทั้งหลายที่เป็น “สิทธิของปัจเจกบุคคล” (individual rights) ดังนั้น การไม่บัญญัติรับรองสิทธิประเภทนี้ไว้อย่างชัดแจ้งย่อมเท่ากับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองแต่ “สิทธิของปัจเจกบุคคล” เท่านั้น ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการคุ้มครอง “ชุมชน” ของไทย

2.4 การนำสิทธิในบางเรื่องไปบัญญัติให้เป็น “หน้าที่ของรัฐ” ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 ของร่างรัฐธรรมนูญ 59 ซึ่งกรณีนี้เป็นการปรับหลักการการเขียนเกี่ยวกับ “สิทธิ” ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อหลักการคุ้มครองสิทธิ กล่าวคือ การบัญญัติไว้ในหมวดสิทธิเท่ากับเป็นการกำหนดขอบเขตของ “ผู้ทรงสิทธิ” และย่อมมีผลก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐโดยปริยาย เพราะสิทธิและเสรีภาพเป็นส่วนที่มีผลผูกพันรัฐโดยตรง แต่การนำ “สิทธิ” บางเรื่องไปบัญญัติไว้เป็นหน้าที่ของรัฐโดยขาดฐานของการเป็น “ผู้ทรงสิทธิ” ย่อมส่งผลกระทบต่อ “ผู้มีอำนาจฟ้อง” เพื่อให้องค์กรตุลาการบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิในเรื่องนั้นๆ เช่น สิทธิของบุคคลในการเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง กรณีที่บุคคลซึ่งพิการไม่สามารถเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าได้ได้นำคดีมาฟ้องศาล กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดเคยพิพากษาว่าบุคคลดังกล่าวมีอำนาจฟ้องและพิพากษาให้กรุงเทพมหานครดำเนินการให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวเข้าถึงบริการสาธารณะนั้นได้ แต่หากนำหลักดังกล่าวไปบัญญัติไว้ให้เป็นหน้าที่ของรัฐเพียงถ่าย ท้ายที่สุดก็จะเกิดปัญหาในเรื่องการบังคับให้เป็นไปตามหน้าที่นั้นๆเพราะขาดผู้ทรงสิทธิในการที่จะฟ้องร้องเพื่อให้องค์กรตุลาการบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิในเรื่องนั้นๆ ก็นี้จึงเป็นการเปลี่ยนหลักการที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชน

จากข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการพิจารณาเฉพาะหลักการสำคัญของ “หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย” เท่านั้น ยังมิได้พิจารณาในส่วนของสิทธิและเสรีภาพเฉพาะเรื่อง ซึ่งหลักการที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ “หมวดสิทธิและเสรีภาพ” ควรจะได้รับการยืนยันจากรัฐธรรมนูญต่อไปไม่ควรที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะตัดหลักดังกล่าวออกจากรัฐธรรมนูญ หากปราศจากหลักการดังกล่าวย่อมมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันจะทำให้หลักการในเรื่องเหล่านี้ถอยหลังกลับใช้หลักที่เคยใช้กันเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา การร่างรัฐธรรมนูญควรมองไปข้างหน้าแต่ก็ไม่ทำลายหลักที่เป็นประโยชน์กับประชาชนที่เคยบัญญัติไว้ในอดีต

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใช้ ม.44 ให้การตั้งแต่งตั้งตำรวจนับแต่รัฐประหารถูกกฎหมาย

$
0
0
ราชกิจจานุเบกษาประกาศคําสั่งหัวหน้า คสช. ใช้ ม.44 ให้การแต่งตั้งตำรวจตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2557 จนถึงวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

 
 
 
เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมาเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาแพร่ประกาศเล่ม 133 ตอนพิเศษ 36 ง ราชกิจจานุเบกษา 5 กุมภาพันธ์ 2559 คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่6/2559 เรื่อง การคัดเลือกหรือการแต่งตั้งข้าราชการตํารวจ ความว่า โดยที่ในการคัดเลือกและการแต่งตั้งข้าราชการตํารวจในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาได้ดําเนินการอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย ประกาศ และคําสั่งหลายฉบับ ซึ่งต่างมีกระบวนการและขั้นตอนที่แตกต่างกันเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตํารวจเป็นไปอย่างต่อเนื่องอันจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานในอํานาจหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งอันจะเป็นประโยชน์ต่องานการบริหารราชการแผ่นดินและกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
 
ข้อ 1 ให้บรรดาการคัดเลือกหรือการแต่งตั้งข้าราชการตํารวจตามพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ดําเนินการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมพ.ศ. 2557 จนถึงวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
 
ข้อ 2คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
สั่ง ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 
ทั้งนี้คำสั่งดังกล่าวส่งผลให้การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจนับแต่รัฐประหาร ซึ่งมีหลายตำแหน่งที่มีการร้องเรียน ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ถือว่าเป็นไปด้วยความถูกต้องไม่ต้องแก้ไขเยียวยา ทั้งนี้ในการแต่งตั้งรองผบก.-สว.วาระ 2558 ที่ยังไม่แล้วเสร็จ และมีข้อมูลผู้ที่ต้องแต่งตั้งเยียวยานับ 100 นาย เมื่อคำสั่งนี้ออกมาก็เท่ากับว่าไม่ต้องแต่งตั้งเยียวยาแล้ว เพราะคำสั่งนี้ถือว่าการแต่งตั้งที่ผ่านมาเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสนอ รบ.ทบทวนมาตรการปรับลดภาษีเงินได้-แนะคำนึงวินัยการคลัง

$
0
0

เสนอรัฐบาลทบทวนกรณีปรับลดภาษีเงินได้เหลือ 20% อย่างถาวร ถามตอบโจทย์กระตุ้นเศรษฐกิจจริงหรือไม่ หวั่นรัฐบาลกู้จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแบบกรีซ แนะคำนึงถึงวินัยการเงินการคลัง ระยะกลางและระยะยาวเป็นสำคัญ

5 ก.พ. 2559 กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ดำเนินรายการเช้าทันโลก ทางคลื่น FM 96.5 คลื่นความคิด สัมภาษณ์ ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. นักวิชาการ โครงการส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงบประมาณประจำรัฐสภา หรือ Thai PBO ในประเด็นเรื่อง การปฏิรูปการเก็บภาษีนิติบุคคล เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา กรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านกฎหมายสามวาระรวด ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก 23% เหลือ 20% อย่างถาวร เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้นิติบุคคลจากต่างประเทศมาลงทุนในประเทศมากขึ้น

ภาวิน กล่าวว่า ในภาพรวม รัฐบาลปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% และเหลือ 20% แต่ที่ผ่านมาปรับในลักษณะชั่วคราว คือออกกฎหมายปรับลดอัตราเป็นปีต่อปี ช่วงที่ผ่านมา เราปรับเพื่อดึงดูดให้บริษัทต่างประเทศเข้ามา และเพื่อบอกว่าเราจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทไทย ทั้งนี้ เมื่อดูประเทศเพื่อนบ้าน อัตราภาษีของมาเลเซียอยู่ที่ 25% และสิงคโปร์ 17% อาจเป็นเหตุผลหลักที่ไทยพยายามปรับลงภาษีนิติบุคคลลงเพื่อแข่งขันกับเขา ทั้งนี้มีปัจจัยรอบด้านที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มด้วย เพราะการปรับลดจะทำให้สูญเสียรายได้รัฐในการจัดเก็บภาษีพอสมควร

เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า เมื่อครั้งที่มีการลดจาก 30% เหลือ 23% ดูเหมือนว่า คนที่ได้ประโยชน์จริงๆ คือบริษัทยักษ์ใหญ่ใน SET50 โดยพลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไร หรือกำไรพรวดพราดเลย มีการศึกษาไหม ว่าลดแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง เขาตอบว่า ส่วนตัวยังคิดว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ได้รับการลดหย่อนภาษีมาระดับหนึ่ง เพื่อดึงดูดให้บริษัทเข้าไปจดทะเบียน เพราะฉะนั้น ในกลุ่มนี้อาจได้ประโยชน์อยู่ระดับหนึ่ง แต่ที่กระทบหลักๆ คือกลุ่มบริษัทขนาดกลางมากกว่าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน และยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในลักษณะอัตราภาษีระดับต่ำของเอสเอ็มอี

ภาวินมองว่า สำหรับปัญหาหลักของการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุุคคล เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับรัฐบาลเป็นอันดับสอง รองจากภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อดูสถานการณ์รายรับรายจ่ายของรัฐบาล ที่ผ่านมา ไทยขาดดุล (รายจ่ายมากกว่ารายได้) ต่อเนื่องมาเกินกว่า 15 ปี มีเพียงปีงบประมาณ 2548 ที่รายได้มากกว่ารายจ่ายเล็กน้อย ขณะที่มีแนวโน้มขาดดุลต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระยะหลัง ขาดดุลเกือบ 400,000 ล้านแล้ว ถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง

เขากล่าวต่อว่า หากจะลดการขาดดุลของรัฐบาล ต้องดูว่าเราสามารถเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายได้บ้างหรือเปล่า สำหรับรายจ่ายมองว่าปรับลดได้ยาก เนื่องจากสัดส่วนของงบลงทุนของรัฐปรับลดลงเรื่อยๆ ขณะที่ประเทศต้องการการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ด้านรายรับ มองว่า ถ้าไม่ปรับเพิ่มก็ไม่ควรจะปรับลด เนื่องจากรายรับเราไม่พอรายจ่ายอยู่แล้ว และอย่างที่เรียนไปว่า รายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายได้อันดับสองของรัฐบาล คิดเป็นมูลค่าหนึ่งในสี่ของรายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บได้ อันดับหนึ่งคือ VAT ซึ่งมีงานศึกษาว่า ถ้าปรับจาก 30% เป็น 20% จะลงถึงหนึ่งในสาม หรือเสียไประดับแสนล้านต่อปี เทียบได้กับรถไฟฟ้าสายแพงที่สุดหายไปปีละหนึ่งสาย ถือว่าเสียรายได้ในระดับที่ค่อนข้างสูงมาก

ผู้ดำเนินรายการถามว่า หากต้องการปฏิรูปภาษีอย่างแท้จริง มีคำแนะนำอย่างไร เขาตอบว่า วัตถุประสงค์ในการปฏิรูปภาษีมีได้หลากหลาย กรณีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นการปฏิรูปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่เรายังไม่เคยมีการประเมินว่าการปรับลดอัตราภาษีที่ผ่านมาสามารถดึงดูดการลงทุนในไทยได้จริงหรือไม่ พร้อมชี้ว่าเมื่อย้อนไปดูผลการศึกษาต่างๆ พบว่าการจะดึงดูดบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่ง การลดภาษีไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก เพราะหากต่างชาติมองเรื่องภาษี อาจเลือกไปลงทุนในแอฟริกามากกว่า

ภาวินชี้ว่า ปัจจัยที่บริษัทต่างชาติคำนึงถึงมีอยู่หลากหลาย เช่น มีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ แรงงานมีคุณค่าดีหรือไม่ โครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำ-ไฟ เสถียร มีถนน มีท่าเรือ ส่งออกไปประเทศอื่นๆ ได้ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่อาจจะสำคัญกว่าอัตราภาษี ไม่เช่นนั้นคงไม่มีโรงงานไปเปิดใหม่ในยุโรป หรืออเมริกา ที่อัตราภาษีสูงกว่าประเทศในเอเชีย หากเราจะพัฒนาต้องมองให้รอบด้าน ครบถ้วนทุกปัจจัย

"ส่วนตัวเชื่อว่าถ้าจะปรับลดภาษีเพื่อที่จะส่งเสริมการเติบโต การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจไม่ใช่วิถีทางที่ถูกต้องนัก" ภาวินกล่าวและว่า ถ้าปรับจริงๆ อาจส่งเสริมให้คนหันมาสนใจการศึกษา ลดหย่อนให้คนที่ไม่ได้ทำงานมาก่อน สนใจหันมาทำงาน เช่น ผู้สูงอายุ แม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งจะทำให้มีแรงงานเพิ่มมากขึ้น มีคุณภาพแรงงานที่ดีขึ้น 

ผู้ดำเนินรายการถามว่า เมื่อปรับลดภาษีถาวรแล้ว ขณะที่ลดรายจ่ายไม่ได้ เรากำลังจะเผชิญกับอะไร ภาวิน ตอบว่า เมื่อรายรับไม่พอรายจ่าย เราก็ต้องกู้ ทั้งนี้เมื่อดูสัดส่วนหนี้เงินกู้ต่อจีดีพีของไทยถือว่ายังไม่สูงนัก แต่สิ่งที่น่ากลัวคืออัตราการเพิ่มขึ้นของหนี้ต่อจีดีพี หนี้ต่อรายได้ของเราอัตราการปรับเพิ่มมันสูงอย่างน่ากลัวในปีหลังๆ สอดคล้องกับที่งบประมาณเราขาดดุล ค่อนข้างเยอะ การเพิ่มขึ้นเร็วในที่สุดจะชนเพดาน และเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ในอนาคต อย่างกรณีกรีซ หรือลาตินอเมริกา

ผู้ดำเนินรายการถามว่า จากประสบการณ์ของประเทศเหล่านั้น รัฐบาลจะเลือกตัดงบสวัสดิการสังคมก่อน เขาชี้ว่า อาจจะเป็นเช่นนั้น ซึ่งก็จะกระทบกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

เขาแนะนำว่า รัฐบาลต้องประเมินว่า การปรับลด อัตราภาษีเงินได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจริงหรือไม่ หากไม่ ต้องปรับตัว ในระยะกลางและระยะยาว การคำนึงถึงวินัยการเงินการคลัง เป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลที่ผ่านมายังคำนึงถึงค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ที่สุดเรากู้ต่อไปไม่ได้ เรามีเพดาน และสุดท้าย ต้องลดมาตรการช่วยเหลือระยะสั้นที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในระยะยาว เช่นกรณีมาตรการจ่ายเงินเยียวยาเพื่อกระตุ้นเป็นครั้งคราว ซึ่งใช้เม็ดเงินเยอะ แต่หายไปเลย ไม่มีประโยชน์ในปีต่อไป ควรโยกไปส่งเสริมความสามารถและความเข้มแข็งของผู้คนในประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ระยะยาวมากกว่า

 

 

เรียบเรียงจาก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปท. แนะ กรธ. เขียนบทเฉพาะกาล ให้ คสช. สรรหา ส.ว. ดำรงตำแหน่ง 5 ปีแรก

$
0
0
พล.อ.ธวัชชัย สมาชิก สปท. แนะ กรธ. เขียนบทเฉพาะกาล ให้ คสช. สรรหา ส.ว  ดำรงตำแหน่ง 5 ปีแรก  ทำงานสอดรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ  พร้อมชี้  ที่มา ส.ว. แบบเลือกไขว้ ตามร่าง กรธ.  ยังล็อบบี้ได้ ด้าน ประธาน สนช. ระบุไม่สามารถใช้มาตรา 44 แก้ไขรัฐธรรมนูญได้

 
เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภารายงานว่าพล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร  สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)  กล่าวถึง ประเด็นที่มา ส.ว.  โดยเสนอ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ร่างบทเฉพาะกาล ให้  5 ปีแรก เป็น ส.ว. มีที่มาจากการสรรหาโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เช่นเดียวกับการสรรหาสมาชิก สปท.  เพื่อให้ได้ ส.ว.สรรหา ทีมีความรู้ความสามารถ เข้ามาทำหน้าที่ ในช่วง 5 ปีแรก ซึ่งสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  ที่แบ่งเป็นช่วงละ 5 ปี  พร้อมชี้ว่า  ที่มา ส.ว. ตามที่ กรธ. ให้เลือกแบบไขว้จาก 20 กลุ่มนั้นตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก และเชื่อว่ายังสามารถล็อบบี้กันได้อยู่ดี
 
ประธาน สนช. ระบุไม่สามารถใช้มาตรา 44 แก้ไขรัฐธรรมนูญได้
 
นอกจากนี้ เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภายังรายงานว่านายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงประเด็นการลงคะแนนเสียงประชามติว่า ขณะนี้อยู่ในกระบวนการหารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นการลงคะแนนเสียงประชามติโดยการใช้เสียงกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์ ซึ่งจะได้ข้อยุติในเร็ววัน ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นยืนยันว่า ไม่สามารถใช้มาตรา 44 แก้ไขได้ เพราะ มาตรา 44 อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญต่อข้อถามว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะดำเนินการอย่างไร ประธาน สนช.ระบุว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ชี้แจงไว้แล้วว่า ตามหลักร่างนี้จะตกไปและเหลือรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งจะต้องกำหนดกลไกต่างๆ ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ว่าหากทำประชามติไม่ผ่านจะทำอย่างไรต่อไป เชื่อว่าผู้เกี่ยวข้องได้วางแนวทางไว้แล้วและตั้งธงไว้ว่า จะต้องนำไปสู่การเลือกตั้งให้ทันในปี 2560
 
ประธาน สนช.กล่าวถึงการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญด้วยว่า สนช.ได้มีการประสานงานกับ กรธ.อยู่ตลอด โดยยืนยันว่าจะทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จำเป็นต่อการเลือกตั้งให้เสร็จก่อน เพื่อให้มีการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 และระหว่างการเลือกตั้งจะทำกฎหมายที่เหลืออยู่ให้แล้วเสร็จ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยเด็กเป็นเหยื่อภัยพิบัติครึ่งหนึ่งจาก 4.4 พันล้านคน

$
0
0
เปิดข้อมูล 20 ปีมีผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกกว่า 4.4 พันล้านคน ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กที่ไม่สามารถเอาตัวรอดได้ เสนอ ชุมชม โรงเรียน ครอบครัว ให้ความรู้เด็กเข้าใจภัยพิบัติเพื่อเรียนรู้วิธีในการเอาตัวรอด 

 
 
6 ก.พ. 2559 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สภากาชาดไทย และ FamilyMart ได้ร่วมกันจัดพิธีเปิดนิทรรศการนวัตกรรมลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและพิธีมอบรางวัลการประกวดเรียงความเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศ ซึ่งนอกจากจะมีการจัดแสดงนิทรรศการตัวอย่างนวัตกรรมลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ แล้ว ยังมีการเสวนาที่น่าสนใจในหัวข้อ “บทบาทของเด็กกับการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ” โดยมีวิทยากรจากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภาชาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตัวแทนจากองค์กร Save the Children ตัวแทนนักวิชาการด้านภัยพิบัติ ตัวแทนคุณครูและเด็กเข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ด้วย
 
น.ส.จารุรินทร์ พลหินกอง ผู้ประสานงานโครงการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ จาก Save the Children กล่าวว่า จากคำแถลงการณ์ของนายบัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้นมีผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกราว 4.4 พันล้านคน ซึ่งครึ่งหนึ่งของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถิติดังกล่าวเป็นเด็ก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกหน่วยงานที่จะต้องป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆต่อไปในอนาคตให้ได้ โดยหนึ่งในทางแก้ไขปัญหาคือการติดอาวุธความรู้ให้กับเด็กได้เรียนรู้และเข้าใจถึงลักษณะของภัยพิบัติแต่ละชนิด ให้เด็กสามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ของตนได้ และที่สำคัญคือให้เด็กได้เรียนรู้วิธีในการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติต่างๆ ได้ ซึ่ง Save the Children ได้ดำเนินงานในการสร้างความรู้ให้กับเด็กๆ ในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ในช่วงของการฟื้นฟูจากเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งในครั้งนั้นเราได้ดำเนินงานจัดทำหนังสือ “กระต่ายตื่นตัว” จนถึง “ตุ่นน้อยตื่นตัว” ในทุกวันนี้ โดยดึงทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้กับเด็ก และสร้างแผนในการรับมือกับภัยพิบัติให้กับเด็ก ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนได้
 
ผู้ประสานงานโครงการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ Save the Children กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สิ่งที่สำคัญในการทำงานเรื่องนี้คือผู้ใหญ่จะต้องเปลี่ยนแนวคิดและทัศนคติเรื่องเด็กกับภัยพิบัติใหม่ เพราะยังมีผู้ใหญ่จำนวนมากที่ยังมีความเชื่อว่าไม่มีความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องให้ความรู้กับเด็กในเรื่องนี้ และมองว่าเด็กคือกลุ่มเปราะบางที่ผู้ใหญ่ต้องให้ความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว การที่ผู้ใหญ่มองว่าไม่จำเป็นต้องให้ความรู้กับเด็กนั้นจึงเป็นเหมือนช่องว่างเล็กๆ แต่มีผลอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เด็กๆ ไม่เข้าใจว่าเขาจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติและทำให้เด็กไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมา 
 
“สิ่งที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ทำได้คือเราต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติได้ด้วยตัวเขาเอง ให้เขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบางอย่างร่วมกับชุมชน ครอบครัว และโรงเรียน โดยในระดับครอบครัว พ่อแม่ควรที่จะสอนให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องภัยพิบัติจากสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติให้ลูกได้รับทราบพร้อมทั้งสอนวิธีในการเอาตัวรอดหากเกิดภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ให้กับลูกๆ ด้วย ในส่วนของโรงเรียนก็ควรปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติ อาทิ การปรับการคิดคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์เป็นช่วงเวลาของความเร็วของน้ำที่จะเข้าท่วมหมู่บ้าน ซึ่งในส่วนของกระบวนการศึกษานั้น ก่อนหน้านี้ Save the Children ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนลได้จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการเรียนรู้เรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศขึ้นมา ซึ่งโรงเรียนใดที่สนใจสามารถนำคู่มือเล่มนี้ไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในโรงเรียนของตนเองได้ เราเชื่อว่าถ้าเด็กๆ มีการเตรียมพร้อมรับที่ดีเขาจะช่วยเหลือตัวเองได้มากยิ่งขึ้นและลดการสูญเสียชีวิตของเด็กลงได้ด้วย เพราะเมื่อเด็กๆ เข้าใจสาเหตุและรูปแบบของการเกิดภัยพิบัติแล้ว เขาก็สามารถที่จะเอาตัวรอดได้และสามารถที่จะช่วยครอบครัว ชุมชน โรงเรียนของเขาให้รอดจากภัยพิบัติได้ด้วยเช่นกัน” น.ส.จารุรินทร์กล่าว
 
ด้านรศ. ดร. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า ภัยธรรมชาติในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศจะมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่หากมองเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากปัจจัยในเรื่องของการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับภัยธรรมชาตินั้นๆมากน้อยขนาดไหน เพราะแม้ว่าภัยธรรมชาติจะมีความรุนแรงน้อย แต่ถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมใดๆ ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มีมาก เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งถือว่าภัยที่ไม่สามารถจัดการได้แต่เตรียมความพร้อมรับมือได้ เช่น การออกแบบโครงสร้างของอาคารบ้านเรือนให้ทนต่อการสั่นไหวของแผ่นดิน
 
รศ. ดร. สุทธิศักดิ์ ระบุว่า ในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นนั้น มองได้ 2 ด้าน คือด้านที่ดี และไม่ดี ด้านไม่ดี ขึ้นอยู่กับครอบครัวของเด็กว่าจะฟื้นตัวได้เร็วมากน้อยแค่ไหนจากเหตุภัยพิบัติ แต่ถ้าเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นต้องย้ายหมู่บ้าน เด็กจะได้รับผลกระทบเรื่องการศึกษาอย่างมาก เพราะนั่นหมายถึงการย้ายโรงเรียน เช่นที่เกิดขึ้นที่บ้านน้ำเค็ม ในสมัยที่เกิดสึนามิ
 
“ในมิติที่ผมมองเด็กๆจะได้รับผลกระทบไม่ต่างอะไรไปจากผู้ใหญ่เท่าใดนัก แต่เด็กๆเหล่านี้จะมีประสบการณ์ที่เขาได้เจอโดยตรง เขาสามารถชี้จุดเกิดเหตุต่างๆได้ ถ้าเราใช้ประโยชน์ตรงนี้เข้าไปให้ความรู้ วิธีการเอาตัวรอด ให้เขาสามารถจัดการตัวเองได้ ไม่ให้ตัวเองต้องเป็นภาระ เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าเด็กๆเหล่านี้มีศักยภาพ”
 
นักวิชาการด้านแผ่นดินไหว ระบุด้วยว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองและเด็ก ควรจะทำร่วมกันเพื่อเป็นการป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ สำรวจว่าพื้นที่ที่ตนเองอยู่อาศัยมีภัยประจำถิ่นคืออะไร ความสามารถในการรับมือภัยพิบัติมีมากน้อยขนาดไหน และผู้ปกครองและเด็กจะต้องซักซ้อมแผนร่วมกันว่าหากเกิดภัยพิบัติขึ้นจะทำอย่างไร
 
“การนัดแนะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องตกลงกันว่าถ้าเกิดภัยพิบัติ พ่ออยู่บ้าน ลูกอยู่โรงเรียน น้ำป่าไหลหลากมาจะเจอกันที่ไหน แต่จากการวิจัยพบว่าที่โรงเรียนเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุดเมื่อเกิดภัยพิบัติ ดังนั้นผู้ปกครองควรที่จะไปหาลูกที่โรงเรียน”
 
นอกจากนี้ รศ. ดร. สุทธิศักดิ์ ยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่ประเทศไต้หวันว่า กรณีล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นที่ประเทศไต้หวันเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โครงสร้างวิศวกรรมมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้เราได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมากหรือน้อย ซึ่งเมืองไถหนานของไต้หวันที่เกิดแผ่นดินไหวนั้นเป็นเมืองเก่าอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ไม่ได้รองรับภัยแผ่นดินไหว ซึ่งในกรณีของประเทศไทยอาคารกว่า 90 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ที่ปรึกษา สปสช. ค้านใช้ ม.44 แก้ปัญหาระบบหลักประกันสุขภาพ

$
0
0

6 ก.พ. 2559 เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่าที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัดงาน "ราชดำเนินเสวนา" หัวข้อ“กฤษฎีกาตีความทำลายระบบหลักประกัน ? ผลกระทบและทางออก” โดยนายศุมล ศรีสุขวัฒนา ที่ปรึกษากฎหมายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลังจากที่มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณของ ปสช. ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่ามีการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผิดพลาด ผิดกฎหมาย ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตในการตีความหลายประการ เช่น ประเด็นสามารถจ่ายเงินช่วยหลือชดเชยผู้ให้บริการได้หรือไม่ การจัดสรรเงินค่าเหมาจ่ายรายหัวที่ให้ไปแต่ละโรงพยาบาลใช้เรื่องอื่นๆ ได้หรือไม่ สามารถนำงบประมาณไปให้มูลนิธิหรือองค์กร เช่น ยาบางประเภทที่มีราคาสูงได้หรือไม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากมีการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 44 ในการแก้ไขปัญหาจริงๆ อาจเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่จะเกิดความไม่ยั่งยืน ตนคิดว่าทางออกที่ดีคือการวางระบบ วิกฤตินี้น่าจะเป็นประโยชน์ จึงอยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจบริบท ทั้งคณะกรรมการสปสช.ต้องทบทวนกระบวนการปัญหาที่ผ่านมา และในส่วนของผู้ตรวจสอบนั้น อยากให้ตระหนักในภารกิจที่จะให้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลการใช้งบประมาณของรัฐเกิดประโยชน์สูงสุด
 
ด้านน.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ระบบหลักประกันเป็นกฎหมายที่ประชาชนมีส่วนร่วม กฎหมายถูกร่างขึ้นมาโดยเจตนารมย์ ให้ทุกคนเข้าถึงการบริการสาธารณสุข แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถเอาเงินกองทุนไปจ่ายให้กับบุคลากรที่ติดวัณโรคหรืออุบัติเหตุ เพราะกฎหมายหลักประกันสุขภาพไม่ชัดเจน ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อย่าเพิ่งใช้มาตรา 44 ในการแก้ปัญหา เพราะไม่มีประโยชน์ จึงอยากให้เปิดโอกาสคณะกรรมการสปสช.ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะดีกว่า“
 
ขณะที่นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาทั้งหมดเป็นปัญหาวนอยู่กับความเข้าใจการตีความกฎหมาย การบริหารงานให้เป็นไปตามกฎหมาย และหลักพื้นฐานเบื้องต้นต้องใช้อำนาจอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 เพราะทางออกอยู่ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการสปสช. เหตุที่คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ตีความมา เนื่องจาก คณะกรรมการสปสช.ยังไม่ได้กำหนดชัดเจน ตนเห็นว่าการตีความนั้นเป็นการวางแนวทางว่าสปสช.จะใช้จ่ายเงินต้องคำนึงถึงกฎหมาย ไม่รั่วไหล และต้องชี้แจงให้ได้ว่าจำเป็นต่อการบริการสาธารณสุขอย่างไร ถ้าอยากให้เรื่องนี้จบ ต้องบริหารงานบนหลักพื้นฐานของกฎหมาย  อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความไม่ได้ปิดประตูตาย ไม่มุ่งไปทำให้ระบบหลักประกันถูกทำลาย แต่อยากให้ระบบนั้นตรวจสอบตัวเอง วางวิธีบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นบอร์ด สปสช.และฝ่ายบริหารหันหน้าข้าหากัน ก็สามารถหาทางออกได้
 
นายกิตติศักดิ์ กล่าวอีกว่า มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็นตัวใหญ่สุด แต่การบริหารจัดการบกพร่อง ตนไม่เชื่อว่าสปสช.มีการทุจริต แต่รั่วไหลบ้างเป็นธรรมดา แต่การตีความนี้จะเป็นการเชื่อมโยงทางความคิดในผู้บริหารและสายปฏิบัติชัดเจน และควบคุมในระบบได้ดียิ่งขึ้น เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้นการใช้มาตรา 44 จะทำให้เสียโอกาสเรียนรู้จากข้อเท็จจริง รวมถึงเสียโอกาสการจัดการหลักบัญชีต้นทุน หลักการแพทย์ หลักการตีความกฎหมายด้านการแพทย์ การพัฒนาหลักประกันสุขภาพ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรรคประชาธิปัตย์เสนอให้ประชาชนยื่นเรื่องศาล รธน.กรณีล้มล้างการปกครอง

$
0
0
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ระบุ กรธ.ควรปรับแก้เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้ประชาชนยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงกรณีการกระทำใดที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง  'วินธัย' ชี้ นศท.รณรงค์ทำความเข้าใจ รธน. ได้

 
6 ก.พ. 2559 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่างแรกรัฐธรรมนูญ ว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ควรพิจารณาปรับแก้เนื้อหาบางมาตรา เช่น มาตรา 46 ระบุว่า หากผู้ใดทราบการกระทำใดที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองให้ยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดเพียงช่องทางเดียว นั้น เห็นว่าควรเพิ่มให้ประชาชนมีสิทธิยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่หาก กรธ.จะคงไว้ว่าให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียว ก็ควรเพิ่มเติมให้ประชาชนสามารถยื่นคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ หากกระบวนการของอัยการสูงสุดเกินระยะเวลา 30 วัน
 
ส่วนมาตรา 126 ควรระบุให้ชัดว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่น ควรระบุรวมไปถึงพรรคการเมืองด้วย และต้องระบุความรับผิดให้ชัด กรณีมีบุคคลละเมิดศาล เพื่อปกป้องการทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
 
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มาตรา 127 ที่ให้ สนช. ส่งร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่พิจารณาแล้วเสร็จไปให้องค์กรอิสระตรวจสอบนั้น ควรเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่ต้องพิจารณา  ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่ประชาชนจะร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วม
 
'วินธัย' ชี้ นศท.รณรงค์ทำความเข้าใจ รธน. ได้
 
นอกจากนี้ สำนักข่าวไทยยังรายงานว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  กล่าวถึงกรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระบุ การที่กองทัพให้นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) ร่วมรณรงค์ ทำความเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ อาจทำไม่ได้เพราะเป็นการชี้นำว่าไม่อยากให้มองภาพของการเมืองอย่างเดียว  เพราะเรื่องของการออกมาใช้สิทธิ์เป็นธรรมเนียมหลักของประชาธิปไตย แต่ส่วนจะเลือกอะไร ก็คงเป็นเรื่องเอกสิทธิ์ของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ฉะนั้นการร่วมรณรงค์จึงน่าเป็นเรื่องปกติตามครรลองของประชาธิปไตย ที่คนในสังคมทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ เพราะไม่ใช่ไปเพื่อชี้นำผลให้เลือกอย่างหนึ่งอย่างใด
 
“รัฐบาลและ คสช. ไม่ได้เร่งให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติ หรือบังคับให้ใครประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่ผู้เกี่ยวข้องต้องการให้ทุกคนได้ศึกษาก่อน เพราะที่ผ่านมาเริ่มพบว่ามีบางคนบางกลุ่มพยายามบิดเบือนเนื้อหา หาจุดอ่อนมาติติงแบบหลวมหลวมๆ หวังสร้างปั่นกระแสในทางการเมือง” พ.อ.วินธัย กล่าว
 
โฆษก คสช. กล่าวว่า  เท่าที่ติดตามข้อมูลมา พบว่า มีบางกลุ่มที่เจตนาไม่ชัด เหมือนตั้งธงจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว กับ บางกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์ด้วยเจตนาอยากปรับแก้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปจริง ๆ ส่วนที่มีการใช้คำว่าเป็นการทำประชามติลวงโลก อาจเป็นหนึ่งในวาทะกรรมของกลุ่มที่มีตั้ง ธงไว้ในใจอยู่แล้ว เชื่อสังคมคงรู้เท่าทัน
 
“ขณะนี้เชื่อว่ามีหลายคนอาจยังไม่ได้ศึกษาร่างรัฐธรรมนูญโดยละเอียด.จึงอยากเชิญชวนให้ศึกษา โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ละเอียดอ่อนจะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือปลุกปั่นให้ใคร คสช.ไม่ได้มองความเห็นต่างเป็นภัยคุกคาม” พ.อ.วินธัย กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจนอกเครื่องแบบบุก 'รื้อรั้ว-จับกุม-ทำร้าย' ชาวบ้านหนองไผ่ล้อม

$
0
0
ตำรวจนอกเครื่องแบบบุกรื้อรั้ว จับกุม และทำร้ายชาวบ้านในพื้นที่พิพาทหนองไผ่ล้อม ต.หนองสาหร่าย สถานที่ก่อสร้างศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง โดยไม่มีหมาย ไม่แสดงตัว และไม่นำตัวไปสถานีตำรวจโดยพลัน ก่อนแจ้งข้อกล่าวหา ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

 

ตำรวจ!!ศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง (5/2/59) #ปากช่องใส่กุญแจมือแล้วตบผู้หญิง

Posted by รวมคลิปตบ-ต่อย 20+ on 4 กุมภาพันธ์ 2016

 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลาประมาณ 17.00 น. กลุ่มชายฉกรรจ์ราว 10 คน บางคนใส่หมวกปีกคลุมหน้าและใส่แว่นดำ เข้ารื้อรั้วบ้าน นางชัชฎาภรณ์ (สงวนนามสกุล) บ้านหนองไผ่ล้อม ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา สามีชาวเยอรมันจึงโทรศัพท์แจ้งนางชัชฎาภรณ์ ซึ่งอยู่ระหว่างไปรับลูกในตัวอำเภอปากช่อง เมื่อชัชฎาภรณ์กลับถึงบ้านเวลาประมาณ 18.00 น. จึงได้เข้าสอบถามชายกลุ่มดังกล่าวว่าเป็นใคร ใครสั่งให้มารื้อ แต่กลุ่มชายดังกล่าวไม่ตอบคำถาม บอกเพียงว่า ทำตามคำสั่งนาย ชัชฎาภรณ์จึงได้บอกให้หยุด และเกิดการโต้เถียงกันขึ้น ชายคนหนึ่งในกลุ่มได้เข้าใส่กุญแจมือชัชฎาภรณ์และลากออกมาจากบ้าน เมื่อชัชฎาภรณ์ขัดขืน จึงเข้าทำร้าย โดยการทุบตี ตบที่บริเวณใบหน้าและลำตัวหลายครั้ง พร้อมทั้งด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย แม้ครอบครัวของเธอและชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์จะห้ามปราม จากนั้น ชายกลุ่มนั้นก็ลากตัวชัชฎาภรณ์ขึ้นรถตู้ออกจากหมู่บ้านไป
 
 
ต่อมา นายภาส  อินทรประพงษ์ ทนายความ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านจึงไปติดตามหาชัชฎาภรณ์ และพบว่า กลุ่มชายลึกลับ ได้นำตัวชัชฎาภรณ์ไปที่โรงอาหารของศูนย์ฝึกอบรมยุทธวิธีตำรวจกลาง ต.หนองสาหร่าย จึงเข้าไปสอบถามชายกลุ่มดังกล่าว จนยอมเปิดเผยว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ แต่ไม่บอกสังกัด บอกแต่เพียงว่า ผมไม่จำเป็นต้องตอบคุณ พร้อมทั้งถ่ายรูปชาวบ้านที่ตามไปสังเกตการณ์อยู่ด้วย ขณะที่ชัชฎาภรณ์ให้ข้อมูลกับทนายว่า ระหว่างที่อยู่บนรถตู้ ตำรวจนอกเครื่องแบบกลุ่มนี้ได้ด่าทอเธออย่างหยาบคาย พร้อมทั้งรัดกุญแจมือที่ข้อมือเธอจนแน่น
 
 
 
เวลาประมาณ 19.00 น. พ.ต.ท.พิเชษฐ์ จันทรัตน์ รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร ลำทะเมนชัย จ.นครราชสีมา ช่วยราชการศูนย์ฝึกฯ ได้เดินทางมาถึงโรงอาหารแห่งนั้นในชุดนอกเครื่องแบบ และได้นำตัวชัชฎาภรณ์ไปที่ สภ.หนองสาหร่าย เพื่อให้พนักงานสอบสวนทำบันทึกจับกุมและสอบปากคำ โดยในบันทึกการจับกุมระบุว่า เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้รับแจ้งจาก ผู้รับเหมางานก่อสร้างงานของศูนย์ฝึกฯ ว่า เวลา 16.30 น. นางชัชฎาภรณ์ได้ขัดขวางการทำงาน และใช้ก้อนหินขว้างปาใส่รถแบ็คโฮบริเวณหน้าบ้าน เจ้าหน้าที่จึงเข้าระงับเหตุ โดยบอกให้นางชัชฎาภรณ์หยุด แต่ชัชฎาภรณ์ไม่หยุดจึงเข้าจับกุม นางชัชฎาภรณ์ขัดขืนไม่ยอมให้จับกุม พร้อมทั้งต่อว่าว่า ตำรวจทำร้ายประชาชน ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาชัชฎาภรณ์ว่า ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ชัชฎาภรณ์ให้การปฏิเสธ และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุม เนื่องจากไม่ใช่ความจริง พร้อมกันนี้ได้ขอประกันตัวด้วยเงินสด 30,000 บาท และได้รับการประกันตัวในเวลา 01.00 น. วันที่ 5 ก.พ.59
 
ทั้งนี้ ชัชฎาภรณ์ในสภาพที่ข้อมือมีรอยเขียว ตาช้ำ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับ ร.ต.ท.กันตพจน์ รอดโฉม ตำรวจที่ทำร้ายร่างกาย ในข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ, กักขังหน่วงเหนี่ยว, กระทำอนาจาร, ทำร้ายร่างกาย และทำให้เสียทรัพย์ และได้เดินทางไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลปากช่องนานาเพื่อเป็นหลักฐานในการถูกทำร้าย โดยพนักงานสอบสวน สภ.หนองสาหร่าย ได้นัดสอบปากคำเพิ่มเติมทั้งสองคดีในวันที่ 7 ก.พ.นี้
 
ทนายภาสให้ความเห็นว่า กรณีนี้ เจ้าหน้าที่บุกเข้าจับกุมชาวบ้านโดยไม่แสดงตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ และไม่แจ้งข้อกล่าวหา รวมถึงมีการทำร้ายร่างกาย และควบคุมตัวไปในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน  ทั้งนี้ ในระหว่างทางจากโรงอาหารของศูนย์ฝึกฯ มาที่ สภ.หนองสาหร่าย พ.ต.ท.พิเชษฐ์ พยายามไกล่เกลี่ยให้ชัชฎาภรณ์เลิกราไม่เอาความที่ถูกทำร้ายร่างกาย แต่ชัชฎาภรณ์เห็นว่า เธอถูกทำร้ายเกินกว่าเหตุจึงไม่อาจยอมความได้
 
ทนายภาส ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เดิมทีพื้นที่บ้านหนองไผ่ล้อมเป็นที่ดินราชพัสดุ มีชาวบ้านประมาณ 80 ครัวเรือน อาศัยอยู่มานานหลายสิบปี ต่อมา ปี 2555 กรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ใช้ที่ดิน 1,919 ไร่ เพื่อนำมาจัดสร้างศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง โดยมีเงื่อนไขให้ สตช. จัดทำแผนอพยพชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ให้มีที่อยู่อาศัยและทำกินได้ต่อไปโดยไม่เดือดร้อน แต่ สตช. ไม่ได้ทำตามเงื่อนไข ทั้งยังห้ามชาวบ้านเข้าทำกิน ทำให้ชาวบ้านสูญเสียที่ทำกิน อาชีพ และรายได้ อีกทั้งชาวบ้านยังได้รับความเดือดร้อนจากการฝึกของตำรวจที่เข้ามาใช้สถานที่ฝึกซ้อม เช่น ยิงแก๊สน้ำตา ยิงปืน ซึ่งบ้างครั้งก็มีลูกกระสุนตกใส่หลังคาบ้าน และชาวบ้านต้องสัมผัสกับแก๊ซน้ำตา ที่ผ่านมา ชาวบ้านได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมถึงหน่วยงานต่างๆ ขอให้จัดสรรที่ทำกินให้ชาวบ้านอย่างเหมาะสม แต่ยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาใดๆ
 
ต่อมา สตช. ได้เข้าทำการปรับพื้นที่พิพาทดังกล่าวนี้ เพื่อก่อสร้างอาคารต่างๆ และผลักดันให้ชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่ โดยบอกว่าจะสร้างบ้านให้ครอบครัวละ 1 หลัง ขนาด 3 ม. x 4 ม. ในที่ดิน 70 ตร.ว. รวมเนื้อที่ทั้งหมด 50 ไร่ แต่ชาวบ้านกว่า 10 ครอบครัว ที่ยินยอมย้ายออกจากพื้นที่แล้ว กลับยังไม่มีบ้านให้เข้าอาศัย ทำให้ชัชฎาภรณ์ และชาวบ้านอีกหลายครอบครัวเกิดความรู้สึกไม่เชื่อมั่น ประกอบกับบ้านและที่ดินขนาดดังกล่าวเล็กเกินกว่าจะอยู่อาศัยและทำการเกษตรได้ จึงไม่ขอย้ายออก เพราะไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มีชาวบ้าน 3-4 ครอบครัว ถูกเจ้าหน้าที่เข้ารื้อบ้าน ขุดต้นไม้ แต่ไม่มีใครกล้าแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากมีการข่มขู่คุกคามจากเจ้าหน้าที่
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลสำรวจเศรษฐานะกองทุนสุขภาพพบ 'ข้าราชการ' คนรวยมากสุด

$
0
0
อาจารย์เภสัช มข. ชี้ ผลสำรวจเศรษฐานะกองทุนสุขภาพพบ ข้าราชการคนรวยมากสุด สูงถึงร้อยละ 78.8 คนจนมีเพียงร้อยละ 9.7 เท่านั้น ขณะที่บัตรทองคนจนมากสุด ร้อยละ 37.5 คนรวยมีเพียงร้อยละ 23 สะท้อนความแตกต่างของผู้มีสิทธิ พร้อมระบุแนวทางร่วมร่วมจ่ายต้องคำนึงเศรษฐานะที่แตกต่าง หากเฉลี่ยเท่ากันคนจนได้รับผลกระทบ และค้านร่วมจ่ายตอนป่วย

 
 
7 ก.พ. 2559 ศ.ภก.สุพล ลิมวัฒนานนท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากผลการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการครัวเรือนทั่วประเทศของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ได้ทำการสำรวจทุก 2 ปี โดยนำของปี 2556 มาใช้ในการติดตามและวิเคราะห์ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย โดยเฉพาะใน 3 กองทุนสุขภาพหลัก คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนรักษาพยาบาลประกันสังคม และกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการ โดยได้ติดตามตั้งแต่ปี 2546 ในช่วงเริ่มต้นนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อดูการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชน รวมถึงเศรษฐานะของครัวเรือนทั้ง 3 กองทุน ที่วิเคราะห์จากทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อวิเคราะห์ ถึงความแตกต่างของเศรษฐานะที่มีผลการเข้าถึงการรักษาในสถานพยาบาลแต่ละระดับ โดยในประเด็นนี้ได้นำเสนอต่อที่ประชุมหลักประกันสุขภาพระดับชาติที่ผ่านมา
 
ศ.ภก.สุพล กล่าวว่า จากข้อมูลชุดเดียวกันนี้ยังสะท้อนว่าผู้มีสิทธิทั้ง 3 กองทุนมีเศรษฐานะที่แตกต่างกันจริง จากการสุ่มเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างประชากร 67 ล้านคนใน 3 กองทุน โดยแบ่งกลุ่มเศรษฐานะออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งพบว่าผู้มีสิทธิกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.8 มีเศรษฐานะที่ดีอยู่ในระดับบน โดยร้อยละ 58.7 เป็นกลุ่มที่อยู่ในระดับรวยที่สุด โดยเป็นกลุ่มที่จนสุดและจนรองลงมามีเพียงแค่ 9.7 เท่านั้น ซึ่งสวนทางกับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีกลุ่มระดับจนจำนวนมาก โดยเป็นกลุ่มระดับจนที่สุดและจนรองลงมาถึงร้อยละ 37.5 ส่วนกลุ่มที่มีเศรษฐานะที่ดีระดับบนมีร้อยละ 23 ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มระดับที่รวยที่สุดเพียงร้อยละ 14.3
 
ต่อข้อซักถามว่า งานวิจัยนี้สามารถชี้ว่าข้าราชการเป็นกลุ่มที่มีรายได้มากได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาการให้สิทธิรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการมักระบุเหตุผลว่า เป็นผู้มีรายได้น้อย ศ.ภก.สุพล กล่าวว่า การระบุดังกล่าวคงเป็นการเปรียบเทียบรายได้กับภาคเอกชน แต่ทั้งนี้ข้าราชการในระบบยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่เป็นข้าราชการและกลุ่มที่เป็นลูกจ้างประจำ และยังมีอีกหลายกลุ่ม หากจะสรุปในประเด็นนี้คงต้องมีการแยกย่อยในข้อมูลอีก แต่จากข้อมูลวิจัยข้างต้นนี้สามารถสะท้อนครัวเรือนในสังคมที่มีความต่างกัน ดังนั้นการเปรียบเทียบระบบสุขภาพทั้ง 3 กองทุน ต้องคำนึงถึงเศรษฐานะด้วยไม่ใช่ดูแค่ระบบอย่างเดียว
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า งานวิจัยนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงกับข้อเสนอการร่วมจ่ายได้หรือไม่ ศ.ภก.สุพล กล่าวว่า การร่วมจ่ายรักษาพยาบาลมี 2 รูปแบบ คือ การร่วมจ่ายตอนรักษาพยาบาลหรือการร่วมจ่ายก่อนเจ็บป่วย ซึ่งกรณีร่วมจ่ายช่วงรักษาพยาบาลในทางทฤษฎีเราไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว เพราะเป็นความเสี่ยงของผู้ป่วยไม่ว่าจะจนหรือรวย โดยขณะนี้มีการพูดถึงตัวเลขการร่วมจ่ายที่ร้อยละ 10 หากเป็นการจ่ายขณะที่ป่วย ถ้าค่ารักษา 1,000 บาทก็แค่ 100 บาท แต่หากเป็น 100,000 บาทเท่ากับหนึ่งหมื่นบาท ทั้งนี้หากเป็นการจ่ายก็ล่วงหน้าก็ควรเป็นการจ่ายตามความสามารถของรายได้  
 
มองข้อเสนอของคณะกรรมการจัดทำแนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างไร ที่เสนอการร่วมจ่าย ต้องเป็นการ่วมจ่ายจากทุกกองทุนทั้งระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสวัสดิการข้าราชการ ศ.ภก.สุพล กล่าวว่า ระบบประกันสังคมปัจจุบันแม้มีการร่วมจ่าย แต่ก็มีสิทธิประโยชน์อื่นด้วย ไม่ใช่แต่แค่การรักษาพยาบาลเท่านั้น ซึ่งการร่วมจ่ายทุกกองทุนต้องมาคำนวณสัดส่วนว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสม โดยเฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งมีคนระดับจนสุดอยู่มาก หากใช้วิธีการจัดเก็บที่เท่ากันก็คงลำบาก อีกทั้งมองว่ากลไกการจัดเก็บก็คงไม่ง่าย เพราะมีคนที่ไม่ได้ทำงานภาคราชการและอาชีพอิสระตรงนี้จะจัดเก็บอย่างไร คงมีความยุ่งจากในทางปฏิบัติ กลายเป็นต้นทุนดำเนินการที่คิดไม่ถึงและอาจไม่คุ้มได้ ส่วนสวัสดิการข้าราชการนั้นเคยมีแนวคิดให้ใช้ระบบการออมทรัพย์เพื่อการักษาพยาบาลเช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งกรณีไม่ป่วยก็ไม่ต้องดึงมาใช้ แต่ระบบนี้ไทยในฐานะประเทศรายได้ปานกลางจะใช้ได้หรือไม่
 
ภก.สุพล กล่าวว่า ขณะนี้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งได้เชิญ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธาน เพื่อพิจารณาการร่วมจ่าย จึงขอฝากข้อห่วงใยประเด็นร่วมจ่าย ในการพิจารณต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน และไม่ควรใช้วิธีเฉลี่ยการจ่ายเท่ากันทั้งหมด เพราะคนไทย 67 ล้านคน เศษรฐานะไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วมานำทิศทาง
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images