Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

นักมานุษยวิทยาวิพากษ์การเยียวยาผู้ถูกล่าอาณานิคม ไปให้ไกลกว่า 'การบริจาค'

$
0
0

เกิดประเด็นถกเถียงเรื่องการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากลัทธิล่าอาณานิคมตั้งแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อนซึ่งบางส่วนยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ โดยนักมานุษยวิทยาเขียนบทความชี้แนะว่าไม่เพียงแค่ค่าชดเชยเท่านั้นแต่ควรกำจัดทัศนคติและสัญชาติญาณแบบนักล่าอาณานิคมผู้ขูดรีดผลประโยชน์ให้หมดไปด้วย

29 พ.ย. 2558 บทความของเจสัน ฮิกเกิล นักมานุษยวิทยาจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งลอนดอน (LSE) เผยแพร่ในเว็บไซต์เดอะการ์เดียนระบุถึงข้อถกเถียงเรื่องการชดเชยประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการล่าอาณานิคม โดยระบุว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาคือลักษณะการเล่าเรื่องในกระแสหลักของประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมักจะเล่าผ่านทางสถาบันใหญ่ๆ อย่างธนาคารโลก โดยเล่าในทำนองปัดความผิดให้พ้นตัว เช่นการกล่าวโทษว่าประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศยากจนเพราะพวกเขาขี้เกียจและสร้างปัญหาภายในกันเอง ส่วนประเทศตะวันตกร่ำรวยเพราะ "ทำงานหนัก"

นอกจากนี้ฮิกเกิลยังระบุอีกว่าถ้าหากมีกรณีที่ประเทศผู้เคยล่าอาณานิคมมาก่อนยอมรับว่าพวกเขาเคยกระทำการล่าอาณานิคมจริงก็มักจะยอมรับในแบบที่ทำให้มันไม่ถูกมองเป็นอาชญากรรม และมักจะเล่าในทำนองว่าการยึดอาณานิคมของพวกเขาเป็นบันไดที่ทำให้ประเทศนั้นๆ พัฒนาได้ แต่เรื่องนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน

บทความในเดอะการ์เดียนยกตัวอย่างกรณีวิดีโอของชาชิ ทารูร์ ส.ส.ประเทศอินเดียที่เคยกล่าวอภิปรายในสมาคมโต้วาทีออกซ์ฟอร์ดยูเนียนเรื่องที่ว่าอินเดียควรได้รับการชดเชยจากอดีตเจ้าอาณานิคมอังกฤษ การอภิปรายในครั้งนี้มีการเผยแพร่ผ่านยูทูบซึ่งมีผู้เข้าชมมากกว่า 3 ล้านวิว ทำให้ฮิกเกิลมองว่าประเด็นเรื่องการชดเชยประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการล่าอาณานิคมนั้นเป็นประเด็นที่ผู้คนให้ความสนใจมาก

อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องการชดเชยประเทศอดีตอาณานิคมก็ต้องคำนึงถึงวิธีการเล่าประวัติศาสตร์จากฝ่ายอดีตเจ้าอาณานิคมเองด้วย โดยฮิกเกิลมองว่าความยากจนที่เกิดขึ้นในประเทศแถบซีกโลกใต้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองแต่เป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์ และประเทศอดีตเจ้าอาณานิคมก็ไม่ได้เล่นบทเป็นผู้เสริมสร้างความเจริญแต่กลับเป็นบทบาทของ "ผู้ปล้นชิง" มากกว่า

ฮิกเกิลเปิดเผยถึงการที่ยุโรปเข้าไปยึดอาณานิคมแถบละตินอเมริกาในช่วงปี พ.ศ.2035 (ค.ศ.1492) ว่าเดิมทีพื้นที่เหล่านั้นมีจำนวนประชากรคนพื้นถิ่นราว 50-100 ล้านคน แต่ในอีกราว 100-200 ปีถัดจากนั้นมีประชากรคนพื้นถิ่นเหลืออยู่แค่ 3.5 ล้านคนเท่านั้นโดยส่วนใหญ่ผู้คนเสียชีวิตเนื่องมาจากโรคระบาดจากต่างประเทศ ถูกสังหารหรือไม่ก็ถูกใช้แรงงานทาสจนเสียชีวิต รวมถึงถูกขับออกนอกถิ่นจนอดตาย ซึ่งผู้เสียชีวิตมีมากกว่าจำนวนคนที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 7 เท่า

บทความของฮิกเกิลระบุต่อไปว่าชาวยุโรปในยุคนั้นล่าอาณานิคมแถบละตินอเมริกาเนื่องจากต้องการแร่เงินโดยระหว่างปี พ.ศ. 2046-2203 (ค.ศ.1503-1660) มีการส่งแร่เงินไปยังยุโรปมากถึง 16 ล้านกิโลกรัม มีจำนวนมากกว่าเหล็กในคลังของยุโรปถึง 3 เท่า และในอีก 100-200 ปีหลังจากนั้นก็มีการนำเอาทรัพยากรแร่เงินออกไปจากละตินอเมริกาถึง 100 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ามหาศาล พวกชาวยุโรปในยุคนั้นไม่เพียงแค่ใช้แรงงานทาสจากชนพื้นเมืองเท่านั้นแต่ยังมีการนำทาสจากแอฟริกาข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าไปด้วยทำให้มีแรงงานทาสอยู่เป็นจำนวนมาก

ในตอนนี้มีประเทศแถบแคริบเบียน 14 ประเทศกำลังอยู่ในขั้นตอนฟ้องร้องอังกฤษเรียกค่าเสียหายจากการใช้แรงงานทาสในอดีต โดยระบุว่าหลังจากที่อังกฤษเลิกทาสในปี พ.ศ.2377 (1834) มีการชดเชยให้แก่เฉพาะเจ้าของทาสแต่ไม่ได้มีการชดเชยให้ทาส แต่ฮิกเกิลชี้ว่าการเรียกร้องแค่ค่าเสียหายยังไม่เพียงพอเพราะเป็นการมองแรงงานทาสเป็นแค่สิ่งที่ถูกตีมูลค่าและละเลยความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่แรงงานทาสเคยได้รับ

ฮิกเกิลระบุว่าสิ่งที่เจ้าอาณานิคมได้รับจากความเจ็บปวดของพวกเขาคือบ้านเมืองที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม โดยฮิกเกิลยกตัวอย่างกรณีที่เบลเยียมในสมัยกษัตริย์เลออปอลที่ 2 ซึ่งเข้ายึดอาณานิคมของคองโกและเป็นเหตุให้มีชาวคองโกเสียชีวิต 10 ล้านคน นับเป็นประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของประชากร

ฮิกเกิลระบุว่าอาชญากรรมที่ชาติเจ้าอาณานิคมก่อไว้ยังมีอีกจำนวนมากซึ่งถือเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นระบบเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงเพียงคนจำนวนน้อยในขณะที่ทำลายคนส่วนใหญ่ แต่แนวการเล่าประวัติศาสตร์ของชาติที่เคยก่อเหตุเลวร้ายเหล่านี้ไว้กลับพยายามอ้างถึงเรื่องการพัฒนาซึ่งเป็นเรื่อง "เหลวไหล" และ "เป็นเท็จ" ในมุมมองของฮิกเกิล

อย่างไรก็ตามทารูร์มองว่าการจ่ายเงินชดเชยให้กับพวกเขาแม้แต่เพียงแค่ 1 ปอนด์ก็ถือว่าเป็นสิ่งแทนการยอมรับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าเคยมีเหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้เกิดขึ้น

แต่ฮิกเกิลเสนอให้ไปไกลกว่านั้นด้วยการที่ไม่ใช้แค่การให้แบบการกุศล แต่ต้องมีการขจัดสัญชาตญาณแบบนักล่าอาณานิคมทิ้งไปด้วย ถึงแม้ว่าในยุคปัจจุบันอาจจะไม่มีการกดขี่แบบอาณานิคมอย่างตรงตรงมาแบบในอดีตแต่ก็ยังคงมีการใช้วิธีการหาผลประโยชน์แบบขูดรีดอยู่ เช่น การรุกไล่ที่ดินทำกิน การหาประโยชน์ทางการเงินอย่างผิดกฎหมายและการทำสัญญาการค้าที่ไม่เป็นธรรม

ในประเด็นนี้แฟรงก์ บอยล์ เคยเขียนข้อความเชิงเสียดสีในบทความของเดอะการ์เดียนว่า "การให้ปลาหนึ่งตัวแก่คนๆ หนึ่งเขาจะมีกินไปหนึ่งวัน ถ้าเอาเบ็ดตกปลาให้เขาเขาจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่ว่าจะต้องไม่ไปทำให้แม่น้ำที่มีปลาของพวกเขาเน่าเสีย ไม่ลักพาตัวเทียด (พ่อแม่ของทวด) ของพวกเขาไปเป็นทาสแล้วก็โผล่หัวในอีก 400 ปีถัดมาเพื่อมาพูดอะไรบ้าๆ บอๆ เกี่ยวกับปลา"

 

เรียบเรียงจาก

Enough of aid – let’s talk reparations, Jason Hickel, The Guardian, 27-11-2015
http://www.theguardian.com/global-development-professionals-network/2015/nov/27/enough-of-aid-lets-talk-reparations

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.แจ้งข้อหา ม.116 บวก พ.ร.บ.คอมฯ หญิงวัย 61 โพสต์เฟซบุ๊กปมราชภักดิ์

$
0
0

30 พ.ย. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่า พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร รักษาราชแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แถลงจับกุม จุฑาทิพย์ หรือ เจนนี่ เวโรจนากรณ์ อายุ 61 ปี หลังโพสต์ข้อความหมิ่นประมาท อันเป็นเท็จ เกี่ยวกับการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้เกิดความเสียหาย และก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน

โดย มติชนออนไลน์ระบุว่า จุฑาทิพย์ เดินทางมามอบตัวกับพนักงานสอบสวน หลังตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ตรวจสอบได้จากเฟซบุ๊กส่วนตัวของ จุฑาทิพย์ โดยใช้ชื่อว่า "เจนี่เจนี่" (ซึ่งเว็บสวพ.FM91ระบุว่าชื่อ "Jeny Jeny verochanakorn") ว่ามีการนำข้อความเท็จเกี่ยวกับการทุจริตการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่ตรงกับความเป็นจริงและมีการกล่าวหาในลักษณะหมิ่นประมาทบุคคลอื่นมาเผยแพร่

จุฑาทิพย์ ยอมรับเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวจริง ลงในเฟสบุ๊คส่วนตัวเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยได้รับข้อความเหล่านี้มาจากบุคคลอื่น และไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยโพสต์ข้อความในลักษณะกล่าวหาการทำงานของรัฐบาลชุดนี้มาแล้ว เนื่องจากเกิดความไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาลที่ทำให้ธุรกิจส่วนตัวของตนเองชะงักตัวลง และไม่รู้ว่าผิดกฎหมาย

"เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พระโขนง ได้แจ้งข้อหา ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (2) ที่ระบุความผิดฐานกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และความผิด พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) (4) ที่ระบุว่าความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย ต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน และเผยแพร่หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" พล.ต.ท.ศานิตย์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมด้วยว่าจากการสืบค้นเฟซบุ๊กบัญชีชื่อ 'Jeny Jeny verochanakorn' ขณะนี้ไม่สามารถเข้าถึงได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘โหดสัส’ มหากุศล จัดประมูลโมเดลตุ๊กตา ‘สมศักดิ์ เจียม’ ได้ 2.8 หมื่น เข้าบ้านเด็กอ่อนรังสิต

$
0
0

30 พ.ย. 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘โหดสัส ตามภาพ’ ร่างปัจจุบันของเพจ ‘โหดสัส’ และ ‘โหดสัส V2’ โพสต์ประมูล โมเดลตุ๊กตา SJ Super Jeammy DeliveryChair นัมเบอร์สุดท้าย รหัส 11Z (หนึ่งหนึ่งแซด) ซึ่งเป็นโมเดลจำลอง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่ปัจจุบันลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศ

เพจ ‘โหดสัส ตามภาพ’ ระบุด้วยว่าโมเดลดังกล่าว มีตัวเดียวในกาแล็กซี่ (resintoy high 3inch By catmasktoy) เพื่อส่งเงินไปช่วยน้องๆ ที่สถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนรังสิต

“ปล.เงินไม่มีหัก,ไม่มีรายได้ส่วนหนึ่ง,ไม่มีรายได้ครึ่งหนึ่ง,เงินไม่ผ่านแอดมิน เข้าบัญชีช่วยน้องๆโดยตรงเต็มๆ จากคนชนะประมูล” เพจ ‘โหดสัส ตามภาพ’ ระบุ

โดยวาง กติกา ว่า เปิด 0 บาท ใส่ขั้นต่ำ 50 (ลงท้ายด้วย 0 ) ปิดตอน 4 ทุ่มวันนี้ (22:00น. ของวันจันทร์ที่ 30 เดือน 11 2015) เมื่อถึงเวลา แอดมินจะคอมเม้นว่าปิด แล้วคอมเม้นประมูลลราคาสูงสุดบนคอมเม้นแอดมิน จะได้ไป ผู้ชนะโปรดโอนเงินเข้าเพจตามบัญชีด้านล่างภายใน 24 ชั่วโมง แล้วส่งสลิปมาที่คอมเม้นรูปนี้ หากเกินกำหนด คนที่ประมูลราคาก่อนหน้าผู้ชนะจะได้ไปแทน พร้อมทั้งระบุหมายเลขบัญชีธนาคารของมูลนิธิสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต เพื่อสวัสดิการเด็ก เบอร์โทร เบอร์ FAX รวมทั้ง เว็บไซต์ http://www.rangsitbabyhome.org/th/donate

สำหรับผู้ที่ชนะการประมูลคือผู้ใช้ชื่อเฟซบุ๊กบัญชีว่า ‘Prapat Markpeng’ ยอด 28,000 บาท โดยเพจ ‘โหดสัส ตามภาพ’ โพสต์เมื่อเวลา 22.12 น. ที่ผ่านมาว่า ได้โอนเงินเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำหลักฐานการโอนมาแสดงด้วย

 

 

โล้นไซตามะโอนเรียบร้อย ยอด 28,000 บาท ขอให้บุญบารมีครั้งนี้ส่งผลให้โล้นไซตามะและสมเจียมอายุมั่นขวัญยืน ไปตลอดกาลนาน

Posted by โหดสัส ตามภาพ on 30 พฤศจิกายน 2015

 

ทั้งนี้เพจโหดสัส ได้เคยจัดประมูลโมเดลสมศักดิ์รุ่นก่อนหน้าช่วยแมว เพจ ‘CatVagrant รับบริจาคอาหารและยาเพื่อแมวจร’ (URL : https://www.facebook.com/CatVagrants )แล้วเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยผู้ชนะการประมูลคือ Prapat Markpeng เช่นกัน ซึ่งชนะการประมูลไปในราคา 8,500 บาท ขณะ 4 ส.ค.58 มีการประมูลในลักษณะดังกล่าวเช่นกันแต่บริจาคให้สุนัข ยอดชนะประมูลอยู่ที่ 5,500 บาท (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

 

 

ประมูลSJ Super Jeammy DeliveryChair นัมเบอร์สุดท้าย รหัส 11Z (หนึ่งหนึ่งแซด)*มีตัวเดียวในกาแล็กซี่(resintoy high...

Posted by โหดสัส ตามภาพ on 29 พฤศจิกายน 2015

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ไมโครซอฟท์' ให้ข้อมูลรัฐไทยดำเนินคดี พ.ร.บ.คอมฯ โบรกเกอร์ปล่อยข่าวหุ้นตก

$
0
0

30 พ.ย. 2558 องค์กร Privacy International ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามในประเด็นสิทธิความเป็นส่วนตัว เปิดเผยรายงานผ่านเว็บไซต์องค์กรเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ว่าบริษัทไมโครซอฟท์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีร้ายแรงของรัฐบาลในประเทศไทย พร้อมระบุว่านี่เป็นตัวอย่างที่น่าตกใจของบริษัทสัญชาติตะวันตกที่ไม่เพียงแต่ร่วมมือกับรัฐบาลที่ไม่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยเหลือให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย

องค์กร Privacy International ระบุว่า กรณีดังกล่าวเป็นคดีที่นายคธา ซึ่งเป็นโบรกเกอร์คนหนึ่ง ถูกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ฟ้องด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฐานเป็นผู้ปล่อยข่าวพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยถูกกล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าวทำให้หุ้นตกลงอย่างฉับพลัน

ทั้งนี้ องค์กร Privacy International ชี้ว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่ห้ามไม่ให้ผู้ใช้ปล่อย “ข้อมูลอันเป็นเท็จ” ในโลกออนไลน์ เนื่องจากคำว่า “ข้อมูลอันเป็นเท็จ” เป็นคำที่คลุมเครือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จึงถูกใช้กับข้อความที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วหลายครั้ง เพื่อฟ้องร้องความเห็นใดก็ตามเกี่ยวกับราชวงศ์ที่ถูกมองว่าเป็นเชิงลบ

องค์กร Privacy International ระบุว่า จากการตรวจสอบพบว่าบริษัทไมโครซอฟเข้ามามีบทบาทในคดีนี้อย่างไม่ถูกต้อง ด้วยการให้เอกสารสำคัญที่ถูกใช้เป็นหลักฐานเอาผิดนายคธาในการไต่สวนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557

เอกสารสำคัญหนึ่งในสามชิ้นที่แสดงอยู่ในชั้นศาลคือจดหมายจากบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งค้นพบโดยองค์กร Privacy International ระบุหมายเลขไอพีของบัญชีอีเมลที่เกี่ยวข้องกับการโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพดังกล่าว แม้ว่าจดหมายดังกล่าวจะไม่ได้ให้อะไรมากไปกว่าหมายเลขไอพีของบัญชีอีเมลของผู้ต้องสงสัย แต่จดหมายฉบับนั้นก็ทำไปสู่การพิพากษาสั่งฟ้องนายคธาในที่สุด เอกสารฉบับดังกล่าวจากไมโครซอฟท์ถูกใช้เพื่อหักล้างหลักฐานของฝ่ายจำเลยในคดีนี้

นายคธาถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 2 ปี 8 เดือนเมื่อเดือนมีนาคม 2557 และขอยื่นอุทธรณ์ นายคธาถูกปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวและยังคงถูกจำคุกอยู่กว่าหนึ่งปี

องค์กร Privacy International ระบุว่า ก่อนการเผยแพร่รายงานนี้ ได้ให้โอกาสบริษัทไมโครซอฟท์ในการแสดงท่าทีต่อการตรวจสอบแล้ว โดยไมโครซอฟท์ตอบกลับมาว่า พวกเขาเพียงแค่ขานรับต่อคำร้องที่มีเป้าหมายแน่ชัดซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกฎหมาย พร้อมให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าระเบียบของกฎหมายดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายไทย และพุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้เฉพาะรายบุคคลเท่านั้น บริษัทไมโครซอฟท์ระบุว่า พวกเขาสนับสนุนการสอบสวนบัญชีอีเมลที่โดนกล่าวหาว่าถูกใช้ในการละเมิดกฎหมายของไทย จากการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและส่งผลต่อตลาดซื้อขายหุ้นของไทยในทางลบ

องค์กร Privcay International ชี้ว่า บริษัทไมโครซอฟท์ได้ให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของผู้ใช้กับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งที่รู้ว่าอยู่แล้วว่าการสอบสวนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรืออาชญากรรมร้ายแรง แต่เป็นเพียง “ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง” ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น การกระทำดังกล่าวของไมโครซอฟท์ถือว่าสนับสนุนการฟ้องร้องที่ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก

อีวา บลูม ดูมอนเตท (Eva Blum-Dumontet) เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยขององค์กร Privacy International กล่าวว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้ว รัฐบาลจีนได้ร้องขอให้ยาฮู (Yahoo) เปิดเผยหมายเลขไอพีของบัญชีอีเมลนิรนาม บัญชีอีเมลดังกล่าวถูกใช้เพื่อประจานรายการคำสั่งเซนเซอร์ที่รัฐบาลจีนใช้ควบคุมงาน Asia Democracy Forum ก่อนวันครบรอบการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ยาฮูได้รวบรวมข้อมูลและเปิดเผยออกมาว่าหมายเลขไอพีของอีเมลมาจากสำนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่อยู่ในมณฑลหูหนาน นายชือเต่า นักข่าวที่ทำงานให้กับสำนักข่าวหนังสือพิมพ์ถูกจับกุมและพิพากษาจำคุก 10 ปี ขณะนั้น ยาฮูถูกวิจารณ์อย่างหนักเนื่องจากยินยอมต่อคำขอของรัฐบาลจีน พวกเขาออกมาแก้ต่างว่าพวกเขาไม่ทราบถึงลักษณะคดีที่แท้จริงของคดีนี้

เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยขององค์กร Privacy International กล่าวว่า เป็นเรื่องที่รับไม่ได้อย่างสิ้นเชิงที่ 10 ปีให้หลังบริษัทสัญชาติอเมริกันอีกแห่งหนึ่งให้ความร่วมมืออย่างชนิดหน้ามืดตามัวกับคำร้องของรัฐบาลที่กดขี่ประชาชนอย่างโจ่งแจ้ง คำแก้ต่างของบริษัท ไมโครซอฟท์ ยิ่งก่อให้เกิดคำถามมากขึ้น เมื่อพวกเขาโต้แย้งว่าได้รับคำร้องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎหมายไทย โดย “การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องซึ่งส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยในทางลบ”

"ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน “การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง” ถูกนับว่าเป็นอาชญากรรมอย่างสมเหตุสมผล เราขอชื่นชมที่บริษัทต่างๆ ปฏิบัติตามกฎหมายของท้องที่ แต่ถ้อยแถลงเช่นนี้ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการละทิ้งมาตรฐานสิทธิมนุษยชนของสากลได้ นี่นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจและน่ากังวลที่บริษัทสัญชาติตะวันตกสมรู้ร่วมคิดกับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานที่เรียบง่ายอย่างชัดแจ้งแบบต่อหน้าต่อหน้า" อีวา บลูม ดูมอนเตท ระบุ

ที่มา

Privacy International investigation exposes the role of Microsoft in Thailand human rights abuse case
https://www.privacyinternational.org/node/673
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคสนามจากรัฐยะไข่: ร่องรอยทางประวัติศาสตร์-ความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงญา

$
0
0

บันทึกจากภาคสนามเรื่องเล่าของผู้คนในพื้นที่-ร่องรอยทางประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ก่อนกลายเป็นผู้ลี้ภัยภายในบ้านตัวเอง หลังความพยายามหลายทศวรรษของรัฐพม่าที่ต้องการลบล้างชาวโรฮิงญาออกจากรัฐยะไข่ รวมไปถึงการยึดครองที่ดินของชาวโรฮิงญาโดยชาวพุทธยะไข่ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การรับรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐ

000

เหตุการณ์จลาจลระหว่างคนมุสลิม-โรฮิงญาและคนยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธเมื่อปี ค.ศ. 2012 เคลื่อนผู้อพยพทางทะเลและสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยในช่วงปี 2013 - 2015 ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิม-โรฮิงญากลายเป็นหนึ่งในข้อถกเถียงที่ได้รับความสนใจจากสังคม ในลำดับต่อจากนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอบันทึกจากภาคสนาม หลังจากที่มีโอกาสลงพื้นที่เมืองซิตตเวและยะเตเตาก์ รัฐยะไข่ ประเทศพม่าในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ผ่านเรื่องเล่าของผู้คนในพื้นที่ ตลอดจนร่องรอยทางประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นอยู่ของคนมุสลิม-โรฮิงญาในชุมชนดั้งเดิมและในค่ายผู้ลี้ภัยภายประเทศซึ่งอธิบายได้ถึงตัวตนของคนมุสลิม-โรฮิงญาและอิทธิพลของศาสนาอิสลามในรัฐยะไข่ก่อนยุคอาณานิคม ตลอดจนความพยายามของรัฐบาลพม่าที่ต้องการลบล้างชาวโรฮิงญาออกจากรัฐยะไข่ และการยึดครองทรัพย์สิน โดยเฉพาะที่ดินของคนมุสลิม-โรฮิงญาโดยชาวพุทธซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การรับรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐ

 

ตัวตนของคนมุสลิม-โรฮิงญาและอิทธิพลของศาสนาอิสลามในรัฐยะไข่ก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ

ตัวตนของคนมุสลิม-โรฮิงญาเป็นหนึ่งในข้อถกเถียงที่ได้รับความสนใจจากสังคมในฐานะเป็นหนึ่งในปมความขัดแย้งเชิงประวัติศาสตร์อย่างน้อยสองมิติ

มิติแรก เสนอว่า คนมุสลิม-โรฮิงญาเป็นคนท้องถิ่นที่มีตัวตนในรัฐยะไข่ก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ โดยผู้สนับสนุนแนวคิดนี้เสนอว่า คนมุสลิม-โรฮิงญาเป็นคนท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามจากอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาลหรือมีการพัฒนาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์จากอิทธิพลของนักเดินเรือชาวมุสลิมในช่วงศตวรรษที่ 7 หรือ 8 และมีความรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงศตวรรษที่ 14-16

มิติที่สอง เสนอว่า คนมุสลิม-โรฮิงญา เป็นคนจิตตะกองที่อพยพเข้าสู่พม่าในยุคอาณานิคมอังกฤษ หนึ่งในผู้สนับสนุนแนวคิดนี้เสนอว่า คำว่าโรฮิงญาเพิ่งถูกลูกหลานของผู้อพยพจากจิตตะกองที่อาศัยอยู่ตอนเหนือของรัฐยะไข่นำมาใช้เรียกตัวเองเมื่อปี ค.ศ. 1951

ทว่าด้วยข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลภาคสนาม ทำให้การนำเสนอข้อเถียงทั้งสองมิติในช่วงเวลาที่ผ่านมาแทบไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจนมากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้เขียนมีโอกาสลงพื้นซิตตเวและยะเตเตาก์ ได้พูดคุยกับคนท้องถิ่น และมีโอกาสการลัดเลาะสังเกตการณ์บรรยากาศรอบเขตตัวเมือง เขตชุมชนดั่งเดิม และค่ายผู้ภัยภายในประเทศ ทำได้พบร่อยรองการตั้งถิ่นของคนมุสลิม-โรฮิงญาและอิทธิพลของศาสนาอิสลามในพื้นที่ซึ่งเกิดขึ้นก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ

ชุมชนดั้งเดิมของคนมุสลิม-โรฮิงญาแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตยะเตเตาก์ (Rathedaung) ซึ่งการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ค่อนข้างยากลำบาก ต้องขออนุญาตเดินทางเข้าไปในพื้นที่จากรัฐ การเดินทางที่ต้องอาศัยการนั่งเรือข้ามฝากจากฝั่งซิตตเว ต่อด้วยการนั่งรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง และเดินเท้าเข้าสู่ชุมชน เพราะความเป็นปฏิปักษ์หวาดระแวงระหว่างกัน ทำให้คนขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างซึ่งนับถือศาสนาพุทธไม่กล้าเข้าไปในชุมชนของคนมุสลิม-โรฮิงญา

การเดินทางเข้าไปในหมู่บ้านทำให้ผู้เขียนได้พบกับมัสยิดประจำหมู่บ้านซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1771 แต่ด้วยข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ สถานการณ์ความตึงเครียดที่กำกับให้คณะผู้เขียนต้องใช้เวลาในพื้นที่อย่างกระชับที่สุด นอกเหนือจากนี้ ยังมีข้อจำกัดทางด้านการสื่อสารเนื่องจากล่ามของคณะผู้เขียนซึ่งเป็นชาวโรฮิงญาไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ได้ การเก็บข้อมูลชุมชนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก อย่างไรก็ตาม มัสยิดแห่งนี้ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1771 นับเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญเพียงไม่กี่ชิ้นที่ปรากฏและหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ด้วยตัวเองถึงการมีตัวตนของคนมุสลิม-โรฮิงญาในรัฐยะไข่ก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษซึ่งเริ่มต้นขึ้นหลังจากกองทัพอังกฤษมีชัยชนะเหนือราชวงศ์อลองพญาของพม่าครั้งแรกในปี ค.ศ. 1826

มัสยิดของหมู่บ้านในเขตยะเตเตาก์ (Rathedaung) ห่างจากซิตตเวไปทางทิศเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ในเขตตัวเมืองซิตตเวยังพบร่องรอยทางประวัติศาสตร์ เช่น มัสยิดในเขตเมืองซึ่งถูกปิดโดยรัฐและบางแห่งถูกทุบทำลายลงซึ่งสามารถบอกเล่าถึงอิทธิพลของศาสนาอิสลามและการตั้งชุมชนมุสลิมในย่านเศรษฐกิจและเขตตัวเมืองได้เป็นอย่างดี

บนถนน Main Road ของเมืองซิตตเว เริ่มต้นจากพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและห้องสมุดไปยังสนามบินซิตตเว ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีด้วยการเดินเท้าพบเห็นมัสยิดตั้งอยู่สองข้างทางถึงสามแห่ง มัสยิดแห่งแรก โดยสภาพทั่วไปดูทรุดโทรมเพราะถูกปล่อยทิ้งร้างมานานโดยไม่ได้รับการบำรุงรักษา แต่โครงสร้างตัวอาคารนับว่ายังมีความสมบูรณ์ มัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากย่านการค้าขายและท่าเรือของเมืองซิตตเวมากนัก แต่ไม่ทราบว่าถูกสร้างขึ้นในปีใด เพราะเป็นสถานที่ถูกปิดตายเป็นระยะเวลานาน ตรอกซอกซอยที่ตัดผ่านประตูทางเข้ามีแผงลวดหนามกั้นอยู่และไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปสัญจรผ่านได้ ประตูทางเข้ามีเจ้าหน้าที่รัฐอย่างน้อย 2-3 คน เฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม อดีตสมาชิกรัฐสภาชาวโรฮิงญาและเจ้าหน้าที่องค์กรท้องถิ่นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยซึ่งทั้งสองคนเคยอาศัยอยู่ในชุมชนมุสลิม-โรฮิงญาดั้งเดิมในเขตเมืองซิตตเว ก่อนเกิดเหตุจลาจลปี ค.ศ. 2012 กล่าวว่า มัสยิดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมานานกว่า 200 ปีแล้ว

มัสยิดแห่งแรกที่ผู้เขียนลงพื้นที่ สภาพโครงสร้างยังสมบูรณ์ แต่ทางเข้าภายนอกถูกปิดกั้นด้วยเครื่องกีดขวาง

ห่างออกมาจากมัสยิดแห่งแรกไม่ไกลมากนักเดินมุ่งหน้าไปทางสนามบินซิตตเวไม่เกิน 15 นาที พบเห็นซากปรักหักพังของมัสยิดแห่งหนึ่งซึ่งถูกทำลายลงเหลือแต่เพียงโครงสร้างส่วนล่างและฝั่งตรงกันข้ามมีวัดและเจดีย์ขนาดใหญ่ซึ่งถูกสร้างขึ้นภายหลังมัสยิดแห่งนี้

ที่ตั้งมัสยิดแห่งหนึ่งในเมืองซิตตเวมองจากภายนอก ซึ่งตัวอาคารถูกทำลาย

วัดถูกสร้างให้อยู่ตรงข้ามกับมัสยิด

วัดที่ถูกสร้างให้อยู่ตรงข้ามกับมัสยิด เมื่อมองจากภายนอก

จากนั้นเดินมุ่งหน้าต่อไปบนเส้นเดียวกันนี้ประมาณ 5 นาทีจนถึงสามแยกทางเข้าสนามบิน ซิตตเว พบมัสยิดแห่งที่สาม ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1887 มัสยิดแห่งนี้ยังคงความสมบูรณ์ทางด้านสถาปัตยกรรม แต่มีสภาพทรุดโทรมเพราะไม่ได้รับการบำรุงรักษา มีเจ้าหน้าที่รัฐเฝ้าอยู่หน้าประตูทางเข้า 2-3 คน ฝั่งตรงข้ามมีวัดซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1981หรือในยุคของนายพลเนวินซึ่งบริหารประเทศภายใต้แนวนโยบายชาติพม่านิยมแนวพุทธแบสุดโต่งหรือนโยบายสังคมนิยมวิถีพม่า

มัสยิดแห่งที่สามที่ผู้เขียนไปสำรวจ

ถึงแม้ว่ามัสยิดทั้งสามแห่งที่ได้กล่าวถึงข้างต้นไม่อาจบ่งบอกได้อย่างชัดเจนถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลามและการตั้งถิ่นฐานของคนมุสลิม-โรฮิงญาในซิตตเวก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการสำรวจมัสยิดและสัมภาษณ์ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การนี้ การสัมภาษณ์ชาวพุทธในประเด็นดังกล่าวแทบไม่มีความเป็นไปได้ ในขณะที่ชุมชนมุสลิมในละแวกดังกล่าวได้ถูกเผาทำลายและทุบทำลายในเหตุการณ์จลาจลเมื่อปี 2012

ที่มากไปกว่านั้น ปัจจุบันพื้นที่ทั้งหมดซึ่งเคยเป็นชุมชนชาวมุสลิมกำลังถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นชุมชนชาวพุทธ โดยที่ดินบางจุดมีการสร้างหลังใหม่แทนที่หลังเดิม ส่วนที่ดินแปลงที่เหลือได้มีการทำสัญลักษณ์จับจองที่ดินเป็นที่ดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระนั้นก็ตาม มัสยิดทั้งสามแห่งนี้บอกเล่าชัดเจนถึงความรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามและการตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมในย่านศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าและการคมนาคมทางเรือในอดีตอย่างชัดเจน สอดคล้องกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่อธิบายถึงเมืองซิตตเว ว่าเคยเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญของรัฐยะไข่นับตั้งแต่ยุคอาจักรโบราณต่อเนื่องมาจนถึงยุคอาณานิคมอังกฤษ และปัจจุบันพื้นแห่งนี้ยังทำหน้าที่ดังกล่าวเหมือนเช่นเคย ดังจะเห็นได้จากบรรยากาศการค้าขายและเรือที่เข้าเทียบท่าบริเวณท่าเรือที่มีผู้คนคึกคักในช่วงเวลาเช้าและช่วงหัวค่ำ อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างสำคัญประการหนึ่ง คือ หลังเหตุการณ์จลาจลเมื่อปี ค.ศ. 2012 ไม่มีคนมุสลิม-โรฮิงญาอาศัยอยู่ในเขตเมืองซิตตเว เพราะทุกคนได้ถูกบังคับให้ย้ายไปอยู่ในชุมชนชาวมุสลิมและค่ายผู้ลี้ภัยบางแห่งที่มีสภาพไม่แตกต่างไปจากค่ายกักกัน

ท่าเรือท้ายตลาดซิตตเว

บรรยากาศหน้าตลาดซิตตเว

เอกสารแสดงสิทธิถือครองที่ดินของชาวโรฮิงญา

(โปรดติดตามตอนที่ 2)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทความอีสต์เอเชียฟอรัมตั้งคำถาม หลังเลือกตั้งในพม่า ออง ซาน ซูจี จะมีอำนาจแค่ไหน

$
0
0

ในการเลือกตั้งของพม่าที่พรรคเอ็นแอลได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นก็มีคำถามเกิดขึ้นว่าจะมีการจัดสรรอำนาจกันอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออองซานซูจีให้สัมภาษณ์ว่าเธออาจจะมีอำนาจมากกว่าประธานาธิบดีซึ่งอาจจะถูกฝ่ายผู้นำเผด็จการทหารเอามาใช้เล่นงานได้


พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอล) ปราศรัยย่อยลานหน้าสถานีรถไฟย่างกุ้ง
เมื่อคืนวันที่ 5 พ.ย. 
(แฟ้มภาพ: ประชาไท)

30 พ.ย. 2558 มิ้นท์ ซาน (Myint Zan) ศาตราจารย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยมัลติมีเดียในมาเลเซีย เขียนบทความลงในเว็บไซต์อีสต์เอเชียฟอรัม ถึงประเด็นการเลือกตั้งของพม่าเมื่อไม่นานมานี้ที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ 'เอ็นแอลดี' (NLD) สามารถชนะการเลือกตั้งได้ แต่ก็มีคำถามว่า ออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีของพม่าจะมีอำนาจทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน

โดยในขณะที่ตามรัฐธรรมนูญปี 2551 ของพม่าระบุว่า ออง ซาน ซูจี ไม่สามารถเป็นประธานาธิบดีของพม่าได้เนื่องจากลูกชายเธอสองคนเป็นคนที่มีสัญชาติอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีคนต่อไปของพม่าจะมาจากการแต่งตั้งโดยพรรคของเธอที่ชนะการเลือกตั้งเสียงข้างมาก และจากการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา ออง ซาน ซูจี กล่าวว่าถ้าหากพรรคเอ็นแอลดีสามารถชนะการเลือกตั้งในวันที่ 8 พ.ย. และตั้งรัฐบาลใหม่ได้ตัวเธอจะมีสถานะ 'เป็นยิ่งกว่าประธานาธิบดี'

อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับในปี 2533 ที่การเลือกตั้งถูกทำให้เป็นโมฆะแม้ว่าพรรคเอ็นแอลดีจะชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย มิ้นท์ ซานระบุว่าการประกาศอย่างตรงไปตรงมาของ ออง ซาน ซูจี ในครั้งนี้ชวนให้นึกถึงอูจีหม่อง (U Kyi Maung) ผู้อาวุโสแห่งพรรคเอ็นแอลดีที่เคยกล่าวให้สัมภาษณ์อย่างไม่ระมัดระวังเอาไว้เมื่อเดือน มิ.ย. 2533 หลังจากที่พรรคเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งได้ไม่กี่สัปดาห์ว่า ขิ่น ยุ้นต์ (Khin Nyunt) ผู้นำทหารในยุคนั้นมีเรื่องให้ต้องร้อนๆ หนาวๆ แน่ ซึ่งเป็นการตอบคำถามเรื่องที่ว่าพรรคเอ็นแอลดีจะตั้งศาลพิจารณาคดีทหารที่ "ล้ำเส้น" แบบเดียวกับการพิจารณาคดีนาซีเยอรมนีในนูเรมเบิร์กหรือไม่

แต่หลังจากนั้นอูจีหม่องก็ถูกจับกุมเข้าคุก 5 ปี และเขาเสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็น ขิ่น ยุ้นต์ ถูกขับออกจากตำแหน่งและถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพักตั้งแต่ปี 2547 เป็นเวลา 7 ปี

โดยในการแสดงความคิดเห็นของอูจีเมาอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้พรรคเอ็นแอลดีเสื่อมอำนาจลง ถึงกระนั้นมิ้นท์ ซานก็ระบุว่าการแสดงความคิดเห็นในปี 2558 และปี 2533 ก็มีบริบทต่างกัน

สำหรับคำถามที่ว่ามีประเทศใดบ้างที่มีผู้มีอำนาจเหนือประธานาธิบดีอยู่ทั้งในเชิงตัวบุคคลหรือเชิงสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือแค่ในเชิงพิธีการ มิ้นท์ ซาน ยกตัวอย่างกรณีของอิหร่านหลังจากที่มีการโค่นล้มจักรพรรดิชาห์แห่งอิหร่านในปี 2522 แล้ว ก็มีตำแหน่งอยาตุลเลาะห์ซึ่งเป็นผู้รอบรู้ศาสนาและผู้นำนิกายชีอะฮ์เกิดขึ้นซึ่งถึงแม้ว่าในทางกฎหมายอยาตุลเลาะห์ โคไมนีจะไม่เป็นประธานาธิบดี แต่ในเชิงพิธีการและการปฏิบัติแล้วโคไมนีทำตัวอยู่เหนือประธานาธิบดี หลังจากโคไมนีเสียชีวิตก็มีเซย์เยด อาลี คาเมเนอี รับสืบทอดตำแหน่งต่อเขาก็แสดงอำนาจอยู่เหนือประธานาธิบดีเช่นกัน

มิ้นท์ ซานระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ในรัฐธรรมนูญอิหร่านจะระบุให้อยาตุลเลาะห์มีอำนาจเหนือประธานาธิบดีแต่ไม่ได้ระบุด้วยคำที่ตรงไปตรงมา และเมื่อมีการพิจารณารัฐธรรมนูญของพม่าปี 2551 แล้วก็เป็นไปได้ว่าถ้ามีการตีความในอีกแบบหนึ่ง อองซานซูจีก็อาจจะขึ้นเป็นผู้นำระดับสูงของประเทศได้

มิ้นท์ ซานยกตัวอย่างอีกประเทศหนึ่งคือฟิจิ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ของฟิจิหรืออย่างน้อยก็ในข้อตกลงระบุให้มีสภาผู้นำใหญ่ (Great Council of Chiefs) สามารถแต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดีได้ในภาวการณ์พิเศษ ทำให้ตีความได้ว่าสภาผู้นำใหญ่มีอำนาจเหนือประธานาธิบดี

ส่วนประเทศพม่าในอดีตก็เคยมีภาวะที่ผู้นำพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอยู่เหนือประธานาธิบดี คือกรณีที่เนวิน (Ne Win) อดีตประธานาธิบดีจากพรรคบีเอสพีพี (BSPP) ที่หลังจากออกจากตำแหน่งแล้วก็ยังคงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่ อีกทั้งเนวินก็แสดงยังมีอำนาจอยู่เหนือประธานาธิบดีคนถัดจากนั้นถึงแม้ว่าในรัฐธรรมนูญของพม่ายุคนั้นจะไม่มีข้อความระบุให้ประธานพรรคมีอำนาจเหนือประธานาธิบดีก็ตาม แต่เรื่องนี้ก็ถือเป็นอดีตไปแล้ว

มิ้นท์ ซาน ระบุว่าถ้าหาก ออง ซาน ซูจีทำตัวมีอำนาจอยู่เหนือประธานาธิบดีจริง ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแรงต้านจากพรรคยูเอสดีพีของฝ่ายเผด็จการทหารที่จะใช้ศาลรัฐธรรมนูญเล่นงานซูจีในเรื่องนี้โดยในรัฐธรรมนูญของพม่าระบุว่าผู้ที่สามารถฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญได้ขอแค่มีจำนวน ส.ส. ในสภาเพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น


เรียบเรียงจาก

Could Aung San Suu Kyi be above Myanmar’s next president?, Myint Zan, East Asia Forum, 25-11-2015
http://www.eastasiaforum.org/2015/11/25/could-aung-san-suu-kyi-be-above-myanmars-next-president/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปล่อย ‘จตุพร-ณัฐวุฒิ’ ถึงบ้านแล้ว แต่ยังมีรถทหารเฝ้าอยู่

$
0
0

1 ธ.ค. 2558 จากกรณี จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว กลางตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร ท่ามกลางสื่อมวลชนที่รอทำข่าว และประชาชน ระหว่างแถลงข่าวก่อนเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์ เมื่อช่วงสายของวานนี้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

ล่าสุดเมื่อเวลา 22.24 น.(30 พ.ย.58) เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Jatuporn Prompan - จตุพร พรหมพันธุ์’ ได้โพสต์ภาพพร้อข้อความว่า “ถึงบ้านโดยปลอดภัย ขอขอบคุณทุกความห่วงใยของพี่น้องครับ”

ขณะที่ ณัฐวุฒิ โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ เมื่อเวลา 0.07 น. ของวันนี้(1 ธ.ค.58) ว่า “ขอบคุณทุกท่านที่เป็นห่วงครับ ผมกลับถึงบ้านตอน 3 ทุ่ม 40 ปลอดภัยดี แต่มีรถทหารและรถปิคอัพตามมาจอดสตาร์ทเครื่องอยู่หน้าบ้านทันทีที่มาถึง คงจอดทั้งคืน ตกลงปล่อยผมหรือยังครับ”

เช่นเดียวกับ ธนาวุฒิ วิชัยดิษฐแกนนำ นปช. ซึ่งมีรายงานข่าวว่าถูกควบคุมตัวด้วยนั้น โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจด้วยว่าตนเองและคนอื่นๆ ปลอดภัยแล้ว

ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 18.21 น. (30 พ.ย.58) กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่า กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.)กองบัญชาการกองทัพบก ว่า ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหารมณฑลทหารบกที่ 16 จ.ราชบุรี ได้นำกำลังเข้าควบคุมตัวนายจตุพร พรหมพันธ์ และนายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ ที่มหาชัยเมืองใหม่เพื่อเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยได้นำตัวทั้งสองคนไปทำข้อตกลงและหารือ ที่กองพลทหารราบที่ 9 จ.กาญจนบุรี

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหารได้แจงถึงข้อตกลงตามคำสั่งคสช.ที่เคยทำข้อตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการห้ามเคลื่อนไหวใดๆที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เพราะจะมีความผิดตามมาตรา 44 ดังนั้นจึงต้องทำข้อตกลงเพิ่มเติมและให้บันทึกทำความเข้าใจด้วยเพื่อเตือนความจำ                 

"เรื่องนี้พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.ในฐานะผบ.กกล.รส. มีความเห็นว่าจะต้องทำบันทึกความเข้าใจ เพราะที่ผ่านมาอาจจะไม่มีการทำบันทึกเอาไว้ แค่เรียกมาปรับทัศคติหลายครั้งแล้วก็ปล่อยตัวกลับไป หลังจากรับปากว่าจะไม่เคลื่อนไหวอีก แต่ครั้งนี้ต้องทำบันทึกเพื่อจะได้เป็นการเตือนสติ ไม่ให้สร้างความวุ่นวายหรือเคลื่อนไหวใดๆอีกรวมถึงให้ตรวจสุขภาพ ทั้งสองคนก่อนจะปล่อยตัวในค่ำวันนี้(30พ.ย.)เพราะไม่เช่นนั้นเดี๋ยวจะไปอ้างว่าถูกทหารทำร้ายร่างกายดังนั้นจึงต้องทำให้รอบคอบป้องกันการฟ้องร้อง”แหล่งข่าวจาก กกล.รส. ของกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ระบุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาญวิทย์: อุดมการณ์อันยาวนาน กับใบปลิวเอกสารที่รอการพิสูจน์

$
0
0


แม้ในปี 2558 ชาญวิทย์ จะมีอายุ 60 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังคงเป็นคนที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ไม่ต่างจากสมัยหนุ่มๆ ที่เคยร่วมเคลื่อนไหวในเหตุการณ์เดือนตุลา ทั้งปี 2516 และ 2519 จนต้องสูญเสียอิสรภาพ ในครั้งนี้ (ปี 2558) ชาญวิทย์ต้องสูญเสียอิสรภาพอีกครั้ง เมื่อใบปลิวที่เขาแจกในงานชุมนุมทางการเมืองที่ท่าน้ำนนท์ เมื่อปี 2550 ถูกมองว่าเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ชาญวิทย์เป็นชาวจังหวัดพัทลุง เขาจบการศึกษามัธยมปลาย จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในปี 2516 เขาสอบเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ แต่ก็เรียนไม่จบ เนื่องจากเป็นโรคเครียด จึงลาออกขณะเรียนอยู่ปี 3 เพื่อไปรักษาตัว

ชาญวิทย์สนใจการเมืองและทำงานเคลื่อนไหวร่วมกับภาคประชาสังคมมาตลอด เขาเข้าร่วมขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เขาเคยถูกศาลจังหวัดเชียงใหม่พิพากษาให้จำคุกมาแล้วครั้งหนึ่ง

หลังออกจากคุกในช่วงปี 2520 เขาเข้าร่วมกับศูนย์นิสิตนักศึกษาภาคเหนือและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ชาญวิทย์เล่าถึงอุดมการณ์ของเขาในขณะนั้นว่า เขาต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

หลังรัฐบาลพล.อ.เปรม มีคำสั่งที่ 66/2523 นิรโทษกรรมให้กับผู้ร่วมขบวนการคอมมิวนิสต์ที่ยอมเข้ามอบตัว ชาญวิทย์ก็หยุดการเคลื่อนไหวทางการเมือง

ในเดือนพฤษภาคม 2535 ชาญวิทย์เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง โดยร่วมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นผลให้เขาถูกจับกุมและถูกขังที่เรือนจำคลองเปรม 3 วัน ช่วงปี 2539 ชาญวิทย์เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ก่อนที่จะมาทำหน้าที่ติดตามกฎหมายจากรัฐสภาให้กับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

หลังการรัฐประหาร 2549 ชาญวิทย์วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน และทำใบปลิวออกแจกจ่าย เนื่องจากต้องการให้เจตนารมณ์ของคณะราษฎรเกิดขึ้นจริง นั่นคือ "ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย"

ใบปลิวที่ชาญวิทย์แจก ยาว 5 หน้า มีกล่าวถึงบุคคลในพระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ และนักการเมือง อย่างน้อย 13 คน มีพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมอยู่ด้วย เนื้อหาของใบปลิวมีลักษณะเป็นการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ และมีการวิเคราะห์พฤติกรรมในอดีตของบุคคลต่างๆ โดยเชื่อมโยงกับโชคชะตา

และใบปลิวเจ้าปัญหาทำให้ชาญวิทย์ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ในปี 2551 ระหว่างสู้คดี ชาญวิทย์ได้รับการประกันตัว แต่ต่อมาเขาไม่มารายงานตัวตามนัดศาล ทำให้กลายเป็นผู้ต้องหาหนีคดี และถูกออกหมายจับ

เดือนมีนาคม 2558 มีเหตุปาระเบิดศาลอาญา ชาญวิทย์มีชื่อเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยด้วย เขาถูกจับอีกครั้งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ที่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งก่อนถูกจับกุมเขาไปเป็นวิทยากรประเด็นประชาธิปไตย ให้กลุ่มประชาชนในจังหวัดขอนแก่น และมักแจกใบปลิวเพื่อเผยแพร่แนวคิดในประเด็นต่างๆ เป็นประจำ

ในคดีปาระเบิด นอกจากมือระเบิดสองคนที่ถูกจับจากที่เกิดเหตุ ซึ่งให้การรับสารภาพไปแล้ว ชาญวิทย์และบุุคคลอีกอย่างน้อย 20 คนที่อยู่ในกลุ่มไลน์เดียวกัน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารตามจับตัวได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่ให้การปฏิเสธ ในจำนวนนี้ได้รับการประกันตัว 1 คน

ระหว่างถูกควบคุมตัวในคดีปาระเบิดศาลอาญา เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวเขากลับมาดำเนินคดี 112 อีกครั้ง หลังคดีถูกจำหน่ายชั่วคราวไปกว่า 7 ปี

"ผมต้องการให้สถาบันฯ มีความมั่นคงขึ้นตามเอกสารชิ้นนี้ " และ "ประเมินสถานการณ์ในช่วงเปลี่ยนผ่านเท่านั้น” ชาญวิทย์เบิกความไว้ตอนหนึ่ง ในวันสืบพยานที่ศาลจังหวัดนนทบุรี เมื่อเดือนกันยายน 2558

จากใบปลิว 1 ชุด อัยการฟ้องชาญวิทย์โดยแยกเป็นความผิดตามมาตรา 112 จำนวน 4 กรรม คือ การหมิ่นประมาท 1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2) สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 3) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช 4) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ซึ่งชาญวิทย์บอกกับศาลว่า เขาประเมินและวิจารณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สังคมและโหราศาสตร์ที่ศึกษามา และไม่เห็นว่าเป็นการหมิ่นประมาท แต่จะทำให้สถาบันมั่นคงขึ้นดังเช่นโมเดลของประเทศญี่ปุ่น โดยข้อมูลบางส่วนมาจากเอกสารที่ได้จากงานศพ พ.ท.ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช และรวบรวมจากที่อื่นๆ

ชาญวิทย์ยังต่อสู้ในประเด็นองค์รัชทายาทนั้นครอบคลุมถึงพระองค์ใดบ้างด้วย โดยเขาระบุว่า ตามกฎหมายมาตรา 112 คุ้มครองพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลนั้นกำหนดให้องค์รัชทายาทเป็นชายเท่านั้น จึงไม่ครอบคลุมถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาตามที่โจทก์ฟ้อง

“การแจกใบปลิวเป็นปฏิบัติการทางการเมืองอย่างหนึ่ง ผมเป็นพลเมืองผมจึงต้องนำเสนอแนวคิดต่อสังคม ไม่อาจนั่งเฉยๆ" ชาญวิทย์แถลงต่อศาลเพื่อย้ำถึงจุดประสงค์ที่ทำ

"ไม่มีครอบครัว อยู่ตัวคนเดียวมาตลอด" เขาพูดด้วยบุคลิกเด็ดเดี่ยว และท่าทีที่มั่นใจในตัวเองสูง เมื่อถามถึงครอบครัวและอุดมการณ์ที่ต่อสู้ หลังสืบพยานเสร็จสิ้น ชาญวิทย์ขอสัมผัสมือกับผู้มาร่วมฟังการพิจารณาคดีในศาล เป็นสัญญาณถึงมิตรไมตรีต่อกันก่อนจากลา

“ไม่เป็นไร ข้างนอกกับข้างในก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ ต่างแค่ขนาดของกรง” เขากล่าวกับเพื่อนที่ตามไปฟังการพิจารณาคดี เมื่อถามถึงสภาพการคุมขังข้างใน นับถึงก่อนการพิพากษาเขาถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ มากว่า 8 เดือนแล้ว และยังต้องต่อสู้คดีปาระเบิดศาลอาญาอีกคดีหนึ่งที่ศาลทหาร

ในมุมมองจากผู้สังเกตการณ์ หากจะมีสัจธรรมใดมาข้องเกี่ยวกับชีวิตที่ผ่านพบมาหลากเหตุการณ์ของชาญวิทย์ เรื่องของเขาคงเหมือน "เกมการเมือง" ที่ย่อมมีขึ้นมีลงอยู่เสมอ

* 1 ธันวาคม 2558 ศาลจังหวัดนนทบุรี จะอ่านคำพิพากษาคดี 112 ของชาญวิทย์




หมายเหตุ:อ่าน 112 The series ตอนอื่นๆ --> http://freedom.ilaw.or.th/node/162

ที่มา: แฟนเพจ iLaw

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานล่าสุดชี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญ ‘การระบาดที่ซ่อนเร้น’ ของ HIV ในวัยรุ่น

$
0
0

1 ธ.ค. 2558 คณะทำงานร่วมประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยเรื่องเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมียูนิเซฟ ยูเอ็นเอดส์ และองค์กรอื่นๆ เป็นสมาชิก เปิดรายงานฉบับใหม่ ‘วัยรุ่น: ภายใต้เรดาร์ของการรับมือกับปัญหาโรคเอดส์ในเอเชียแปซิฟิก’ วานนี้

รายงานดังกล่าวระบุว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญกับ ‘การระบาดที่ซ่อนเร้น’ ของเชื้อเอชไอวีในหมู่วัยรุ่น โดยมีการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 50,000 รายในกลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-19 ปีในพ.ศ. 2557 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ของการติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ปัจจุบันมีวัยรุ่นติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 220,000 รายในภูมิภาคนี้ โดยในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร ฮานอย และจาการ์ตานับเป็นศูนย์กลางของการติดเชื้อรายใหม่

รายงานระบุว่า แม้ว่าอัตราการติดเชื้อโดยรวมจะลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่วัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กหนุ่มที่รักเพศเดียวกันและชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย การติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กับพฤติกรรมเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย เช่น การมีคู่นอนหลายคน และการไม่ใช้ถุงยางอย่างสม่ำเสมอ 

“ช่วงวัยรุ่นเป็นเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านและความเสี่ยง โดยเด็กๆ ต่างเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่” ดาเนียล ทูล ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าว “ยูนิเซฟกำลังดำเนินงานร่วมกับรัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อให้แน่ใจว่ารัฐบาลได้ทำหน้าที่ปกป้องสุขภาพอันดีของวัยรุ่น ซึ่งรวมถึงการจัดบริการตรวจหาเชื้อในกลุ่มเสี่ยงและการรักษา”

วัยรุ่นที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี คือ กลุ่มชายรักเพศเดียวกัน ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย คนข้ามเพศ ผู้ใช้ยาเสพติดโดยการฉีด และผู้ใช้และขายบริการทางเพศ ทั้งนี้ ปัญหาโรคเอดส์ซึ่งเป็นภัยคุมคามด้านสาธารณสุข จะไม่มีทางหมดไปภายในพ.ศ. 2573 หากไม่มีการแก้ปัญหาการระบาดในหมู่วัยรุ่น

สำหรับการแก้ไขปัญหานี้ รายงานดังกล่าวเสนอให้รัฐบาลทุกประเทศ พัฒนาการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัยรุ่นให้ดีขึ้น พร้อมทั้งวางกลยุทธ์ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และพัฒนาระบบกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นโดยตรง ตลอดจนจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาที่มีเนื้อหาครอบคลุมในโรงเรียนและผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ รวมถึงให้ข้อมูลแก่วัยรุ่นเกี่ยวกับสถานที่ตรวจหาเชื้อเอชไอวี วิธีการตรวจหาเชื้อ การใช้ถุงยาง และการรักษาวัยรุ่นที่ติดเชื้อ

รายงานชี้ว่าสิ่งสำคัญคือวัยรุ่นต้องรู้ว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ และต้องเข้ารับการรักษาหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นในหลายประเทศถูกปฏิเสธจากการรับบริการในศูนย์ตรวจหาเชื้อเอชไอวี โดยมีเพียง 10 ประเทศในภูมิภาคเท่านั้นที่มีกฏหมายและนโยบายที่อนุญาตให้วัยรุ่นเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีและเข้ารับบริการที่เกี่ยวข้องได้  

”เราอยากให้วัยรุ่นทุกคน ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ไหนหรือเป็นใคร มีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์” สตีฟ เคราส์ ผู้อำนวยการโครงการช่วยเหลือในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกขององค์การยูเอ็นเอดส์ กล่าวและว่า “แต่สิ่งนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อพวกเขามีสิทธิที่จะได้รับบริการด้านเอชไอวีที่ครอบคลุม ทั้งในส่วนของการป้องกันและอนามัยเจริญพันธุ์ ดังนั้นเราต้องทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีอุปสรรคใดมาขวางกั้นพวกเขา”

นอกจากอุปสรรคด้านกฎหมายแล้ว วัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีมักต้องเผชิญกับการถูกตีตราและการถูกรังเกียจเดียดฉันท์ ซึ่งอาจทำให้พวกเขาไม่กล้าเข้ารับการรักษา การแก้ไขปัญหานี้ทำได้โดยให้วัยรุ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดบริการที่ตรงตามความต้องการของพวกเขา

“วัยรุ่นเองต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อเอชไอวี” นิลุกา เปเรรา จากองค์กร Youth Voices Count กล่าว “เราต้องหยุดเมินเฉยต่อกลุ่มวัยรุ่นเพียงเพราะพวกเขาเข้าถึงได้ยาก แต่เราต้องร่วมกันขจัดปัญหาการถูกตีตราและการรังเกียจเดียดฉันท์ที่วัยรุ่นติดเชื้อต้องเผชิญแม้จากเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขเอง เราต้องรับฟังความคิดเห็นของพวกเขาอย่างจริงจัง”

รายงานยังพบว่า:
    •    กลุ่มวัยรุ่นผู้ติดเชื้อเอชไอวีพบมากที่สุดใน 10 ประเทศ คือ กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม โดยคิดเป็นร้อยละ 98 ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10 – 19 ปี ที่ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
    •    ในกลุ่มประเทศที่มีข้อมูลนั้น ปาปัวนิวกีนีและฟิลิปปินส์มีอัตราวัยรุ่นติดเชื้อเอชไอวีมากที่สุด โดยคิดเป็นเกือบร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมดของประเทศ
    •    ในประเทศฟิลิปปินส์ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา จากประมาณ 800 รายในปี 2553 เป็น 1,210 รายในปี 2557
    •    ในภูมิภาคเอเชียใต้ การตายจากโรคที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี เพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่า จากประมาณ 1,500 รายในปี 2544 เป็น 5,300 รายในปี 2557 สำหรับเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกนั้น อัตราการตายเพิ่มจาก 1,000 ราย เป็น 1,300 รายในช่วงเวลาเดียวกัน

อนึ่ง คณะทำงานร่วมประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยเรื่องกลุ่มวัยรุ่นผู้ติดเชื้อถูกตั้งขึ้นในปี 2552 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติและพันธมิตรภาคประชาสังคม เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การรักษา การดูแล และความช่วยเหลือให้กับวัยรุ่น รวมถึงชายรักเพศเดียวกัน ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย คนข้ามเพศ ผู้ใช้ยาเสพติดโดยการฉีด และผู้ขายบริการทางเพศ

สมาชิกของคณะทำงานประกอบด้วย Asia Pacific Coalition on Male Sexual Health International HIV/AIDS Alliance องค์การยูเอ็นเอดส์ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การยูเนสโกประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การยูนิเซฟประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การยูนิเซฟประจำภูมิภาคเอเชียใต้ องค์การยูเอ็นเอฟพีเอประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การยูเอ็นโอดีซีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก Youth LEAD และ Youth Voices Count

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จำคุก 6 ปี ‘ชาญวิทย์’ คดี 112 แจกใบปลิว

$
0
0

 

1 ธ.ค.2558 ศาลจังหวัดนนทบุรีนัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายชาญวิทย์ (สงวนนามสกุล) ต้องเป็นผู้ต้องหาในคดีมาตรา 112 จากกรณีที่เขาแจกใบปลิววิเคราะห์การเมืองไทยระยะเปลี่ยนผ่านซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในที่ชุมนุมเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550

ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย 6 ปี จากการกระทำความผิด 1 กรรม โดยไม่รอการลงโทษ สำหรับประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาทรงเป็นองค์รัชทายาทที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายมาตรา 112 หรือไม่นั้น ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเนื่องจากถือว่าการกระทำความผิดได้พิจารณาสำเร็จแล้ว

ทั้งนี้คำฟ้องของโจทก์ระบุความผิดของจำเลย 4 กรรมในการหมิ่นประมาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มีการสืบพยานเมื่อวันที่ 15-16 ก.ย.2558 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ก่อนเริ่มการสืบพยาน อัยการโจทก์แถลงว่าทางสำนักพระราชวังได้ส่งหนังสือมายืนยันว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทตามม.112 ทนายความได้ขอคัดถ่ายหนังสือฉบับดังกล่าวจากศาล แต่ศาลไม่อนุญาตให้คัดถ่าย

ชาญวิทย์ อายุ 60 ปี เป็นนักกิจกรรมทางการเมืองมายาวนาน คดี 112 ดังกล่าวเป็นคดีตั้งแต่ปี 2550 และเขาเพิ่งถูกนำตัวมาขึ้นศาลอีกครั้งในปี 2558 หลังจากไม่ยอมมาตามนัดหมายของศาล ศาลจึงออกหมายจับและจำหน่ายคดีชั่วคราว เหตุที่ถูกนำตัวมาดำเนินคดีต่อในปีนี้เนื่องจากเขาถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 9 มี.ค.2558 จากอีกคดีหนึ่ง นั่นคือ ร่วมวางแผนปาระเบิดลานจอดรถศาลอาญา เหตุเกิดเมื่อ 7 มี.ค.2558 ตำรวจจับกุมเขาและกล่าวหาว่าเขามีส่วนร่วมด้วยเนื่องจากเขาไปเป็นวิทยากรให้กับกลุ่มประชาชนในจังหวัดขอนแก่นก่อนหน้านั้น เจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมวางแผนเตรียมการ ขณะที่เขายืนยันว่าเป็นเพียงกลุ่มศึกษาการเมืองซึ่งเขาได้ชวนสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน นักกิจกรรมสูงวัยที่มีอาชีพขับแท็กซี่ไปเป็นวิทยกรด้วย และภายหลังเกิดเหตุ ตัวเขา สรรเสริญ และผู้ประสานงาน รวมถึงวิทยากรอื่นๆ ในงานเสวนาดังกล่าวก็ถูกจับกุมและคุมขังไปด้วยจนถึงปัจจุบัน รวมเวลาราว 6 เดือน บางส่วนมีรายงานการถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายขณะสอบสวนด้วย หลายคนยื่นประกันตัวแต่ไม่สามารถประกันตัวได้ ขณะนี้กำลังพิจารณาคดีอยู่ในศาลทหาร แม้จำเลยทั้งหมดจะถูกคุมขังมาแล้ว 8 เดือนแต่ศาลทหารยังไม่มีการนัดหมายสืบพยานแต่อย่างใด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มจธ.จัดสองวิชาเสริมทักษะชีวิตอบรมคนพิการรุ่นที่ 2

$
0
0

คนพิการในสังคมโลกเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นรองในสังคม ทั้งด้านการศึกษา การหางานทำ และการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเท่าเทียมให้แก่ผู้อบรมกลุ่มผู้พิการในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ดำเนินโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานในสถานประกอบการเป็นรุ่นที่ 2 ซึ่งในปีนี้นอกจากจะมีการเรียนรู้ทางวิชาการแล้วก็ยังมีการสอดแทรกทักษะด้านอื่นๆ ให้แก่ผู้เข้าอบรมด้วย

หนึ่งในองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนพิการคือหลัก “Universal Design”  หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับบุคคลทุกคนทุกกลุ่มอายุอย่างเสมอภาคโดยหลักการใช้งาน 7 ข้อสำคัญที่คนพิการต้องรู้เพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน นั่นคือ ความเสมอภาค ความยืดหยุ่น ใช้ง่ายเข้าใจง่าย มีข้อมูลชัดเจน ปลอดภัย ทุ่นแรงกาย และขนาดสถานที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้ ดร.บุษเกตน์ อินทรปาสาน รองคณะบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. กล่าวว่า ในการอบรมครั้งนี้นอกจากการเรียนวิชาการและการฝึกทักษะทางอาชีพแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้อบรมกลุ่มผู้พิการได้ออกไปใช้ชีวิตภายนอกจริงๆ เนื่องจากผู้พิการบางคนแทบไม่ได้ออกจากบ้าน หรือสถานสงเคราะห์เลย จึงใช้วิชานี้เป็นโอกาสให้ผู้พิการหลายคนได้ก้าวออกจาก Safety Zone ของตัวเอง

“หลังจากที่สอนเรื่อง Universal Design และสร้างความเข้าใจ แล้ว เราก็ให้เค้าออกเดินทาง ออกไปทำสิ่งที่เค้าอยากทำ แล้วประเมินดูว่าสภาพแวดล้อมมันเอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตของเค้ามากน้อยอย่างไร  แน่นอนว่าความบกพร่องทางร่างกายเป็นอุปสรรคที่ทำให้บางคนไม่สามารถดำเนินชีวิตปกติได้ แต่ในการอบรมเราจะพยายามสอดแทรกเรื่อง Independent Living คือการอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่เป็นภาระให้กับคนอื่นในสังคม เพื่อปลุกความกล้าและความมั่นใจในตัวเค้าเอง แต่อย่างไรก็ตามสังคมจะเกิดสภาวะแบบ Independent Living ขึ้นได้นั้นต้องมีสองสิ่งสำคัญ หนึ่งคือความกล้าและความมั่นใจของคนพิการเอง และสองก็คือความพร้อมของบ้านเมืองที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการอย่างเท่าเทียมในสังคม”

ซึ่งในครั้งนี้มีการเชิญคุณโสภณ ฉิมจินดา บุคคลผู้มีกำลังใจที่ดีและรักในการท่องเที่ยวโดย Wheel chair มาเป็นวิทยากรในเรื่อง Independent living เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มผู้พิการที่เข้าอบรมด้วยการฝากข้อคิดไว้ว่า “การออกไปเรียนรู้ถึงสภาพแวดล้อม เรื่องนั้นผู้พิการออกไปข้างนอกไม่ลำบาก แต่คนที่ลำบากคือผู้ที่มาช่วยเราในการเดินทาง การยก Wheel chair หรือการช่วยผู้พิการทางสายตาให้ผ่านอุปสรรคนั้นไปได้จึงอยากชวนให้ผู้พิการมีกำลังใจและออกไปข้างนอกด้วยตัวเองกันเถอะ”

อ.บุษเกตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากจบวิชานี้ มีคนพิการหลายคนสะท้อนให้ได้รู้ว่าทำไมที่ผ่านมาเค้าต้องอยู่แต่ในที่ของคนพิการ  และทำไมคนพิการยังต้องพึ่งพาคนทั่วไปนั้น ส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยในเมืองไทยโดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะยังไม่พร้อมที่จะทำให้คนพิการมีความกล้าพอที่จะออกมาดำเนินชีวิตประจำวันแบบคนปกติ  เพราะกลัวสภาพแวดล้อมที่ไม่ตอบสนองต่อความบกพร่องของร่างกายและถึงแม้ผลสะท้อนจะมาจากคนกลุ่มเล็กๆ แต่ก็กลายเป็นอีกหนึ่งโจทย์สำคัญที่ต้องพัฒนากันต่อไปเช่นกัน และในการอบรมครั้งนี้

นอกจากนั้นในการอบรมคนพิการครั้งนี้ มจธ. ได้เปิดให้มีการสอนวิชาย่อยอย่างการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย โดยมี อาจารย์ไกรศิลา กานนท์  นักพัฒนาการศึกษา สถาบันการเรียนรู้ มจธ. เป็นวิทยากร ซึ่ง อาจารย์ไกรศิลา กล่าวว่า ในการอบรมคนพิการจะได้เรียนรู้และฝึกฝนในด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ จึงอยากให้คนพิการที่ผ่านการอบรมได้มีเวทีในการแสดงความรู้ความสามารถที่เรียนมา ผ่านผลงานซักหนึ่งชิ้น จึงนำมาซึ่งโจทย์สั้นๆ ว่าให้ทำคลิปวีดีโอมานำเสนอจะเป็นรูปแบบใดก็ได้ เรื่องใดก็ได้ โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อสื่อสารสิ่งที่คนพิการอยากให้โลกโซเชียลได้รับรู้

“เราไม่ได้กำหนดเนื้อหาของเรื่องแต่หลังจากได้ดูคลิปที่พวกเขามานำเสนอ เรื่องราวที่พวกเขาถ่ายทอดออกมามันทรงพลังมากโดยตัวของมันเอง เพราะเป็นเรื่องราวชีวิตจริงของคนพิการที่สะท้อนออกมาผ่านหนังสั้นบ้าง โฆษณาบ้าง บางเรื่องที่สะท้อนออกมาเป็นเรื่องที่คนปกติมีร่างกายสมบูรณ์แบบเราไม่เคยคำนึงถึงเลย มันทำให้เราเข้าใจโลกของคนพิการมากขึ้น ว่ามีอีกหลายสิ่งที่พวกเขาอยากจะทำ หรือมีสถานที่หลายแห่งที่พวกเขาอยากจะไปแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะข้อจำกัดของสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวก และความเท่าเทียมในสังคม และจากบทเรียนนี้เราก็นำกลับไปสอนนักศึกษาของเราให้เค้าคำนึงอยู่เสมอว่าการที่จะออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรมอะไรขึ้นมาซักอย่าง อยากให้ลองคำนึงถึง ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มคนพิการด้วย”

บรรยากาศระหว่างถ่ายทำหนังสั้น

 

ทางด้านนายสิทธิชัย หอมหวน หรือ น้องบีท ตัวแทนจากกลุ่มคนพิการที่เข้าอบรมในโครงการครั้งนี้ กล่าวทิ้งท้ายว่าจากการอบรมครั้งนี้ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ในหลายเรื่อง ทั้งความรู้ในห้องเรียน ความรู้รอบตัว ทักษะชีวิตที่เพิ่มขึ้นได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ และเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมเหมือนกับคนทั่วไป

“กลุ่มของผมทำคลิปโฆษณาสั้นๆ และอีกหลายกลุ่มทำเป็นหนังสั้น พวกเราแบ่งหน้าที่กันตามความถนัด บางคนชอบคิดบท บางคนถนัดเรื่องแสดง บางคนชอบตัดต่อ รูปแบบของการนำเสนอแต่ละกลุ่มก็แตกต่างกันไป แต่พวกเรามีจุดประสงค์ในการสื่อสารอย่างเดียวกันคือเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมที่มีต่อคนพิการ”

และถึงแม้โครงการอบรมจะจบไปแล้วแต่สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวทั้งมุมมอง หรือข้อคิดจากฝีมือการถ่ายทอดของคนพิการในโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการนี้ก็สามารถเข้าไปชมใน Channel : PWD KMUTT ทาง youtube ได้ ทั้งนี้ในส่วนของโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานในสถานประกอบการรุ่นที่ 2 จะมีการจัดพิธีปิดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปล่อยว่าง! สนพ.ไทยไม่พิมพ์บทความ โทมัส ฟุลเลอร์ เรื่องศก.ไทย ลงนิวยอร์กไทมส์ วันนี้

$
0
0

 


1 ธ.ค. 2558  หนังสือพิมพ์รายวัน อินเตอร์เนชั่นแนล นิวยอร์กไทมส์ ฉบับวันที่ 1 ธ.ค. เวอร์ชั่นที่พิมพ์ในไทย ปล่อยพื้นที่ว่างในหน้า 1 และหน้า 6 ของหนังสือพิมพ์ พร้อมข้อความว่า "บทความซึ่งอยู่ในพื้นที่นี้ถูกนำออกไปโดยผู้พิมพ์ของเราในประเทศไทย  อินเตอร์เนชั่นแนล นิวยอร์กไทมส์ และกองบรรณาธิการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำออกดังกล่าว"

ทั้งนี้ บทความดังกล่าวเขียนโดย โทมัส ฟุลเลอร์ ใจความหลักพูดถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยที่กำลังย่ำแย่ นอกจากนั้นเป็นการให้ภาพรวมด้านสถานการณ์ทางการเมืองทั้งการ "ปรับทัศนคติ" และแนวคิดซิงเกิลเกตเวย์ รวมถึงกรณีการเสียชีวิตด้วยการ "ฆ่าตัวตาย" และ "ป่วย" ของผู้ต้องหาสามรายในคดี 112 รวมถึงมีการกล่าวถึงสมาชิกในราชวงศ์

การเซ็นเซอร์โดยโรงพิมพ์ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่สองในรอบปี โดยเมื่อวันที่ 22 ก.ย. ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์รายวัน อินเตอร์เนชั่นแนล นิวยอร์กไทมส์ ส่งอีเมลถึงสมาชิกที่อยู่ในประเทศไทยว่า สำนักพิมพ์คู่สัญญาของนิวยอร์กไทมส์ตัดสินใจไม่ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฉบับวันอังคารนี้ เนื่องจากมองว่ามีเนื้อหาอ่อนไหวเกินไปที่จะตีพิมพ์ โดยบทความในหน้าหนึ่งวันดังกล่าวที่เกี่ยวกับประเทศไทย เขียนโดยโทมัส ฟุลเลอร์ เกี่ยวกับพระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การสืบราชสันตติวงศ์ และอนาคตของสถาบันกษัตริย์ไทย

ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา อินเตอร์เนชั่นแนล นิวยอร์กไทมส์ ได้ประกาศหยุดพิมพ์หนังสือพิมพ์ในไทยภายในสิ้นปีนี้ โดยระบุเหตุผลว่าเป็นเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม นสพ.ดังกล่าวยังคงมีจำหน่ายใน 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเมียนมาร์

 

ที่มา:

https://twitter.com/thomasfullerNYT/status/671517489273049089
http://www.bangkokpost.com/news/general/781673/nyt-edition-printed-with-blank-spaces-in-thailand

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: เดี๋ยวก็คุ้น!

$
0
0

 


สงบ...บ้านเมืองต้องสงบ
ทำให้ครบรื้อสร้างถางทางใหม่
ทางเก่าคุมไม่ได้ในมือใคร
สมบัติใครสมบัติกูให้รู้กัน


ส่งคนไปคุมรุมสร้างสถานการณ์
เอ่ยอ้างความชอบธรรมหว่านล้อมฝัน
หาวิธีหลอกล่อสารพัน
แล้วดับฝันเผด็จการเข้าครอบครอง


บริสุทธิ์...ข้าเป็นผู้บริสุทธิ์
เร่งรุดอุดรูรั่วทั่วทั้งผอง
วันหนึ่งมันก็รั่วเน่าทั้งคลอง
งัดครรลองเก่าเดิมที่เคยคุ้น


สงบ...บ้านเมืองต้องสงบ
แม้ต้องรบก็ต้องทำไม่ต้องลุ้น
อำนาจเถื่อนใช้ได้อย่าให้ฉุน
เดี๋ยวก็คุ้นคนไทยใจปลาซิว.


 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จตุพร ชี้ปมราชภักดิ์ ตั้งลูกน้องสอบนาย ใครจะกล้าตรวจสอบ

$
0
0

ปมราชภักดิ์ ‘จตุพร’ ชี้ไม่มีที่ไหนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปตรวจสอบผู้บังคับบัญชาตัวเองที่เป็นรัฐมนตรี ใครจะกล้าตรวจสอบ ‘ณัฐวุฒิ’ เผยทหารมาเฝ้าหน้าบ้านอ้างทำตามหน้าที่ สวนการตรวจสอบทุจริตก็เป็นหน้าที่ ปชช. เช่นกัน

จากเมื่อช่วงสายของวานนี้ (30 พ.ย.58) จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว กลางตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร ท่ามกลางสื่อมวลชนที่รอทำข่าว และประชาชน ระหว่างแถลงข่าวก่อนเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) ล่าทั้งคู่ถูกปล่อยตัวจนกลับถึงบ้าน ในคืนวันเดียวกัน โดย ณัฐวุฒิ โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ เมื่อเวลา 0.07 น. ของวันนี้(1 ธ.ค.58) ว่า “ขอบคุณทุกท่านที่เป็นห่วงครับ ผมกลับถึงบ้านตอน 3 ทุ่ม 40 ปลอดภัยดี แต่มีรถทหารและรถปิคอัพตามมาจอดสตาร์ทเครื่องอยู่หน้าบ้านทันทีที่มาถึง คงจอดทั้งคืน ตกลงปล่อยผมหรือยังครับ”

ณัฐวุฒิ เผยทหารเฝ้าบ้านอ้างทำตามหน้าที่ สวนตรวจสอบทุจริตก็เป็นหน้าที่ ปชช. เช่นกัน

เมื่อเวลา 13.21 น. วันนี้(1 ธ.ค.58) ณัฐวุฒิ โพสต์ภาพและข้อความผ่านเพจดังกล่าวอีกว่า เมื่อการเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์เป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคงยอมให้เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ยุติเรื่องนี้ เพราะไม่มีเจตนาจะใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นเงื่อนไขทางการเมืองเผชิญหน้ากับรัฐบาลแต่อย่างใด ส่วนการติดตามผลการตรวจสอบจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงเดินหน้าต่อไป

“ผมมั่นใจว่าความจริงที่ตรงไปตรงมา ในระยะเวลาที่เร่งด่วนเท่านั้นที่จะคลายความสงสัยของคนในสังคมได้ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่บ้านผม ไม่แน่ใจว่ามาจากเจตนาใดของผู้มีอำนาจ เพราะยังคงมีทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบสลับกันมาเฝ้าหน้าบ้านตลอด 24 ชั่วโมง ช่วงสายวันนี้ผมเดินออกไปสนทนาด้วย เขาบอกว่ามาทำตามหน้าที่ ผมก็ไม่ขัดข้อง แต่การติดตามตรวจสอบการทุจริตก็เป็นหน้าที่ของประชาชนเช่นกัน” ณัฐวุฒิ กล่าว

ภาพณัฐวุฒิ ตรวจสอบรถที่มีตรากองทัพและไม่ติดป้ายทะเบียนซึ่งจอดบริเวณบ้านพักตนเอง

ทั้งนี้ตั้งแต่มีการประกาศของทั้ง 2 แกนนำ นปช. ที่จะไปอุทยานราชภักดิ์ ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารมาอยู่บริเวณบ้านพักของ ณัฐวุฒิ โดยเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เขากล่าว่า มีรถทหาร 4 คันมาที่บ้าน ริมถนนหน้าหมู่บ้าน 4 คน ป้อมยาม 8 คน ศาลพระภูมิ 6 คน จอดรถหน้าบ้าน 1 คัน

จตุพร ชี้ปมราชภักดิ์ ตั้งลูกน้องสอบนาย ใครจะกล้าตรวจสอบ

ขณะที่ จตุพร กล่าวในรายการมองไกล ผ่านยูทูปเมื่อ 1 ธ.ค.นี้ ว่า การถูกควบคุมตัวขณะจะเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์นั้น ไม่ได้กระทบกระเทือนจิตใจเลย และขอขอบคุณทหารที่ควบคุมตัวได้ทำด้วยน้ำใจแห่งมิตรไมตรีต่อกัน แม้ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และกองทัพบก แถลงการควบคุมตัวเนื่องจากใช้คำว่า "ทุจริต" ซึ่งเป็นเพียงความรู้สึก ความเชื่อเท่านั้น แต่ตนได้ย้ำมาเสมอว่า รับไม่ได้กับการทุจริตเพราะเป็นสิ่งที่เลวร้าย ยิ่งการทุจริตอุทยานราชภักดิ์จึงเป็นสิ่งเลวร้ายเกินกว่าจะหาเรื่องใดมาเปรียบเทียบได้

"ไม่คาดคิดว่า การเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์จะไปกระทบความมั่นคง หรือกระทบต่อผู้มีอำนาจทั้งปวง เพราะอุทยานราชภักดิ์ ไม่ได้เป็นสมบัติของใคร คนใดคนหนึ่ง แม้กองทัพเป็นผู้จัดสร้าง แต่เป็นของคนไทยทุกคน เนื่องจากได้รับการพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า อุทยานราชภักดิ์ แปลว่า อุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดี ดังนั้น การห้ามพวกผมไปอุทยานราชภักดิ์ สังคมก็ไม่ได้หมดความเคลือบแคลงใจ และที่สำคัญ พวกผมไม่ได้ไปเพื่อโค่นล้มใคร แต่ต้องการไปเห็นด้วยตาของตัวเอง" จตุพร กล่าว

จตุพร กล่าวด้วยว่า ตลอดเวลาเกิดข้อหาการจัดสร้างมีทุจริตขึ้น คนไทยเรียกร้องให้ตรวจสอบตามข้อเท็จจริง แต่ผลสอบของกองทัพบกกลับไร้ข้อมูลมาอธิบาย บอกเพียงให้เชื่อว่าไม่ทุจริต แล้ว พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ตั้งกรรมการจากทหารทั้งหมดมาตรวจสอบซ้ำอีก ซึ่งคงไม่มีที่ไหนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปตรวจสอบผู้บังคับบัญชาตัวเองที่เป็นรัฐมนตรี ใครจะกล้าตรวจสอบ ดังนั้นจึงเป็นเพียงการแก้ปัญหาทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนหายเคลือบแคลงใจ โดยไม่ได้มุ่งตรวจสอบหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น รวมทั้งไม่ได้กำหนดเวลาให้แล้วเสร็จไว้ด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบปลิว ‘มหา'ลัยหรือค่ายทหาร อธิการหรือนายพล’ โผล่ม.เกษตร

$
0
0

1 ธ.ค. 2558 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เมื่อช่วงกลางวันที่ผ่านมา ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน  ได้ปรากฏใบปลิวติดตามจุดต่างๆ ในมหาวิทยาลัยฯ เช่น หน้าอาคารเทพศาสตร์สถิตย์ ทางเดินระหว่างศูนย์เรียนรวม 3  ฯลฯ  โดยเนื้อหาในใบปลิวเป็นการตั้งคำถามกับมหาวิทยาลัย ถึงการเป็นสถานศึกษาเพื่อสร้างปัญญาชน แต่กลับปิดกั้นความคิดของนิสิต  พร้อมทั้งยังยินยอมให้อำนาจเผด็จการจากภายนอกเข้าแทรกแซงการจัดกิจกรรมของนิสิตในพื้นที่มหาวิทยาลัย 

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ ร่วมด้วย กลุ่มเสรีนนทรี และ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ เตรียมจัดกิจกรรมห้องเรียนสาธารณะ รู้ทันเผด็จการซีรีย์ 2 # “จากทุ่งบางเขนสู่ราชดำเนิน : เกษตรศาสตร์กับการเมืองไทย" พร้อมชมคอนเสิร์ต จิบกาแฟ ทำแซนด์วิชไส้ต่างๆ และรับประทานแซนด์วิชร่วมกัน  โดยตามกำหนดการ จะจัดในเวลา 16.00-19.00 น. ของวันนี้ ณ ลานกิจกรรมหน้าตึก 8 (อยู่ติดโรงอาหารกลาง 1 หรือ "บาร์ใหม่") มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) แต่กลับถูกขัดขวางการจัดงานดังกล่าว เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการยกกฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะ โดยอ้างว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวไม่ได้ขออนุญาตก่อน มีการให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเก็บเก้าอี้ และช่วงค่ำมีการตัดไฟฟ้าบริเวณสถานที่จัดกิจกรรม (อ่านรายละเอียด)

ขณะที่ เมื่อช่วงค่ำวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา พบป้ายผ้าสีดำมีข้อความว่า “กองพันเกษตรศาสตร์  #มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” ขึ้นที่สะพานลอยหน้าป้ายรถประจำทางประตูงามวงศ์วาน 1  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พร้อมกันนั้น  ยังมีใบปลิวแปะตามจุดต่างๆ ในมหาวิทยาลัย  มีข้อความว่า “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร !” โดยไม่ทราบว่าเป็นการดำเนินการโดยกลุ่มไหน (อ่านรายละเอียด)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ก่อการร้ายกับประชาธิปไตย

$
0
0



การก่อการร้ายเป็นวิธีการต่อสู้กับอำนาจวิธีใหม่ มนุษย์คงใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับอำนาจมาตั้งแต่สมัยหิน แต่ก่อการร้ายเป็นการใช้ความรุนแรงอีกลักษณะหนึ่ง เพราะการใช้ความรุนแรงไม่ได้เป็นจุดหมายในตัวของมันเอง การทำให้เกิดความสยดสยองน่าสะพรึงกลัวต่างหาก ที่เป็นจุดหมายอันแท้จริงของการก่อการร้าย ความสยดสยองน่าสะพรึงกลัวนี้กระทำแก่ทุกคนโดยไม่เลือกหน้า ไม่เฉพาะแต่ผู้ถืออำนาจที่เป็นศัตรูเพียงกลุ่มเดียว

การก่อการร้ายจะเป็นการต่อสู้กับอำนาจที่ได้ผล ก็ต่อเมื่อผู้คนเกิดสำนึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประชาชาติแล้วเท่านั้น รัฐประชาชาติทำให้เกิดสำนึกว่าคนอื่นที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตาหรือรู้จักมักจี่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ล้วนเป็นญาติหรือมีความสัมพันธ์พิเศษกับตนเอง เมื่อพวกนั้นโดนระเบิดหรือกราดยิง จึงรู้สึกน่าสะพรึงกลัวมากกว่าปกติ

เมื่อตอนที่เขาล้อมจับขุนวรวงศาธิราชไปบั่นเศียร คนไทยส่วนใหญ่ซึ่งไม่ได้เป็นพรรคพวกของขุนวรวงศาธิราช ย่อมไม่รู้สึกสยดสยองน่าสะพรึงกลัวแต่อย่างไร เพราะเป็นเรื่องของเจ้านาย ไม่เกี่ยวอะไรกับตัว เช่นเดียวกับการระเบิดตามสถานีรถไฟในรัสเซียสมัยพระเจ้าซาร์ แม้มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก แต่พระเจ้าซาร์และขุนนางคงไม่รู้สึกสยดสยองน่าสะพรึงกลัวสักเท่าไร เพราะมั่นใจว่าได้วางกำลังไว้ป้องกันตัวอย่างดีแล้ว มีคนเล็กคนน้อยจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่โชคร้ายบาดเจ็บล้มตายลง

การก่อการร้ายจึงเป็นวิธีการใช้ความรุนแรงแบบใหม่ ไม่ใช่เพราะมีอาวุธแบบใหม่ให้ทำได้ แต่เพราะมี "เหยื่อ" แบบใหม่ให้ทำแล้วได้ผลต่างหาก นั่นคือความเป็นพลเมืองของรัฐประชาชาติ

ทำไมคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตเมือง ไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือนกับการก่อการร้ายโดยรัฐใน พ.ศ.2553 คำตอบที่ตรงที่สุดก็คือ เพราะไทยยังไม่ได้พัฒนาความเป็นชาติอย่างสมบูรณ์นั่นเอง "คนไม่เท่ากัน" ไม่ได้เป็นหลักการสำคัญของ  กปปส.เท่านั้น ที่จริงแล้วแฝงอยู่ในสำนึกทางสังคมของ "ผู้ดี" ไทยมาตั้งแต่สมัยที่เริ่มโฆษณาลัทธิชาตินิยมใน ร.6 แล้ว

แต่ไม่อย่างนั้นในอีกหลายประเทศซึ่งได้พัฒนาสำนึกความเป็นชาติอย่างเต็มที่แล้ว การก่อการร้าย จึงเป็นรูปแบบที่ได้เห็นอยู่บ่อยๆ ในการต่อสู้กับอำนาจของโลกปัจจุบัน

สาระสำคัญของการก่อการร้ายอีกอย่างหนึ่งคือความไม่ประชาธิปไตย ขบวนการก่อการร้ายปฏิเสธความเท่าเทียมของคนอื่น โดยเฉพาะเหยื่อ ไม่เคารพความเป็นมนุษย์ของเขา เหยื่อจึงเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมือง ขบวนการ เผด็จอำนาจตุลาการไว้ในมือ คือกล่าวหาและลงโทษเอง ใช้ความสยดสยองน่าสะพรึงกลัวให้รัฐต้องยอมจำนน เพราะถูกประชาชนกดดัน

ในสมัยหนึ่ง ขบวนการก่อการร้ายซึ่งไม่ประชาธิปไตย ต่อสู้กับอำนาจของระบอบที่ไม่ประชาธิปไตยเหมือนกัน เช่น เวียดกงต่อต้านการ "ยึดครอง" ของสหรัฐ ที่ใช้รัฐบาลเผด็จการเป็นเครื่องมือ ขบวนการกู้เอกราชแอลจีเรียใช้การก่อการร้ายต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ขบวนการฮามาสต่อสู้กับมหาอำนาจที่สนับสนุนการยึดครองปาเลสไตน์ของอิสราเอล ฯลฯ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่อำนาจของระบอบที่ไม่ประชาธิปไตยจะใช้การก่อการร้ายตอบโต้

แต่ที่น่าแปลกก็คือ เมื่อการก่อการร้ายขยายตัวไปสู่ประเทศในระบอบประชาธิปไตย เช่น สหรัฐและยุโรปตะวันตก ประเทศเหล่านั้นก็มักเลือกวิธีการที่ไม่ประชาธิปไตยในการตอบโต้เหมือนกัน

ไม่กี่วันมานี้ คุณอรุณ วัชระสวัสดิ์ วาดการ์ตูนรูปหอไอเฟลกลางกรุงปารีส กำลังแปรรูปจากยอดเป็นเครื่องบินรบทะยานออกไป ทีละปล้องทีละลำ สะท้อนการตอบโต้การก่อการร้ายที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของฝรั่งเศส คือการถล่มเมืองที่พวกไอเอสยึดครองได้ในซีเรีย นอกจากเป็นผลให้นักรบไอเอสเสียชีวิตจำนวนหนึ่งแล้ว ยังเป็นผลให้พลเรือนมากกว่ามากต้องบาดเจ็บล้มตายหรือสูญเสียทรัพย์สินอันเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิต เช่น บ้านเรือนและอาหาร อย่าลืมด้วยว่าสิ่งเหล่านั้นกำลังขาดแคลนอย่างหนักในเมืองเหล่านั้น

หอไอเฟลอาจเป็นสัญลักษณ์การท่องเที่ยวของปารีส แต่ในภาพการ์ตูน ก็อาจเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยแบบฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบให้แก่ประชาธิปไตยทั่วโลกเสียยิ่งกว่าอังกฤษ ประชาธิปไตยแบบนั้นกำลังกลายเป็นกำลังรบที่สร้างความสยดสยองน่าสะพรึงกลัวให้แก่ผู้คนไม่น้อยไปกว่าการก่อการร้าย เพียงแต่ผู้คนที่ต้องเผชิญ อยู่นอกประเทศห่างไกลจนคนฝรั่งเศสอาจไม่ทันได้รู้สึก

การละเมิดสิทธิมนุษยชนดูเหมือนกลายเป็นมาตรการปกติในการเผชิญกับการก่อการร้าย เกือบจะทันทีที่เกิดวินาศกรรม 9/11 ในสหรัฐ รัฐสภาอเมริกันก็ผ่านกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหลายอย่างอันขัดต่อประเพณีประชาธิปไตยอายุ 200 ปีของสหรัฐออกมา เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจที่ได้มาในการล้วงข้อมูลส่วนตัวของประชาชน หรือแม้แต่ผู้นำประเทศพันธมิตร จับกุมคุมขังคนไว้ในคุกต่างประเทศโดยไม่ตั้งข้อหา และใช้การซ้อมทรมานเป็นเครื่องมือรีดข้อมูล ไม่กี่วันมานี้เอง เบลเยียมซึ่งพลเมืองของตนมีส่วนเกี่ยวข้องทางใดทางหนึ่งกับเหตุก่อการร้ายในปารีส พยายามเข้าไปควบคุมข้อมูลบางเรื่องในโซเชียลมีเดียที่ประชาชนใช้ในการสื่อสารกันอยู่ การกระทำเช่นนี้ ยิ่งทำให้ประเทศกึ่งประชาธิปไตยเช่นไทย ไม่รู้สึกเดือดร้อนกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ตอนล่างซึ่งดำเนินมากว่า 10 ปีแล้ว

ทฤษฎีที่ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นประตูที่เปิดกว้างให้แก่ผู้ก่อการร้ายสามารถปฏิบัติการได้สะดวก เป็นทฤษฎีที่น่าสงสัยอย่างยิ่ง เพราะเมื่อปิดประตูนี้ในหลายสังคม ผู้ก่อการร้ายก็ยังปฏิบัติการได้อยู่นั่นเอง

มาตรการป้องกันต่างๆ อาจมีความจำเป็น แต่การทำจนเลยเถิดจากความจำเป็น ทำให้วิถีชีวิตปกติของผู้คนเป็นไปไม่ได้ และอาจเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี เช่น ประกาศเคอร์ฟิวด้วยเวลายาวนานเกินไป ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารบนเครื่องบินทั้งๆ ที่วิทยุการบินและเครื่องมือสื่อสารใช้ย่านความถี่คนละย่านกัน การตรวจค้นด้วยวิธีที่ละเมิดศักดิ์ศรีของผู้ถูกตรวจ ฯลฯ

แท้จริงแล้ว ความปกติในวิถีชีวิตเป็นปราการสำคัญของการต่อสู้ ระหว่าง The Battle of Britain ในสงครามโลกครั้งที่สอง นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล ยืนยันที่จะไม่ปิดโรงเรียน เพราะการที่เด็กต้องไปโรงเรียน ได้สร้างวิถีชีวิตปกติให้แก่คนอังกฤษโดยทั่วไปอยู่แล้ว เช่น แม่อาจต้องตื่นเช้าทำอาหารให้ลูก พ่อต้องพาลูกไปห้องสมุดเพื่อค้นหาข้อมูลบางอย่าง ฯลฯ การหยุดเรียนทำให้ทุกคนเสียขวัญ ไปโรงเรียนหรืออยู่บ้านก็เสี่ยงเท่าๆ กัน คืออาจโดนนาซีทิ้งระเบิดใส่ได้ไม่ต่างกัน รัฐบาลฝรั่งเศสในปัจจุบันก็ขอร้องให้ประชาชนใช้ชีวิตตามปกติ มากกว่าขอให้เก็บตัวอยู่บ้านอย่างเดียว

ชีวิตปกติก็เป็นสิทธิมนุษยชนอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมักถูกทำลายลงเมื่อ "ประกาศสงคราม" กับผู้ก่อการร้าย

กระบวนการยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตยก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่มักจะถูกทำให้ย่อหย่อนลง เมื่อรัฐประชาธิปไตยต้องเผชิญกับผู้ก่อการร้าย การจับกุมคุมขังผู้ต้องหาไว้ในคุกนอกประเทศของสหรัฐ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหา ในประเทศไทยศาลมักปฏิเสธสิทธิประกันตัวแก่ผู้ต้องหาคดีเผาศาลากลาง เพราะไปมองว่าเป็นคดีก่อการร้าย เช่นเดียวกับ "ชายชุดดำ" ที่ถูกจับตัวได้หลังรัฐประหาร เรื่องราวของเขากลับเงียบหายไปเบื้องหลังการคุมตัวของทางการโดยยังไม่สิ้นสุดกระบวนการยุติธรรม

กลไกประชาธิปไตยอีกหลายอย่างมักถูกระงับไป ในรัฐที่เผชิญกับการก่อการร้าย

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนรายวัน 30 พ.ย.2558

ที่มา: มติชนออนไลน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทสนทนากับ 'ปีศาจ' ถ้อยแถลงรางวัลเอเอฟพี จากการทำข่าว 112

$
0
0

1 ธ.ค. 2558 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) สำนักข่าวเอเอฟพีของฝรั่งเศสมอบรางวัล Agence France-Presse Kate Webb ประจำปี 2015 ให้กับ มุทิตา เชื้อชั่ง ผู้สื่อข่าวประชาไท จากการรายงานข่าวคดีมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา โดยในงานมีราเชล มิลเลอร์ น้องสาวของเคท เวบบ เข้าร่วมด้วย

สำหรับ รางวัล Agence France-Presse Kate Webb มอบให้แก่ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในสถานการณ์ที่ยากลำบากในภูมิภาคเอเชีย โดยชื่อรางวัลตั้งขึ้นตามชื่อของ เคท เวบบ ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีที่อุทิศตนทำงานข่าวสงครามและในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่างๆ เธอเสียชีวิตเมื่อปี 2550 ขณะอายุ 64 ปี เธอมีชื่อเสียงในฐานะนักข่าวที่มีความกล้าหาญและมีความเป็นอิสระ

มุทิตา กล่าวว่า รางวัลเคท เวบบ เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในชีวิตการทำงาน แม้ว่าความยากลำบากที่เจอจะเทียบไม่ได้เลยกับบรรดานักข่าวสงคราม และโดยเฉพาะเจ้าของรางวัลนี้ ซึ่งบุกตะลุยทำข่าวในพื้นที่สงครามหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม การที่ได้รับรางวัลนี้สะท้อนถึงความสำคัญของประเด็นคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นประเด็นที่แยกออกจากใจกลางปัญหาการเมืองไทยได้ยากยิ่ง

มุทิตา ระบุว่าติดตามทำข่าวประเด็นนี้ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กฎหมายนี้เริ่มถูกใช้อย่างจริงจัง บทลงโทษของมันเป็นที่เลื่องลือและยิ่งหนักหน่วงขึ้นในยุคนี้

มุทิตา กล่าวว่า ผู้คนธรรมดาที่ถูกกล่าวหาและลงโทษจากมาตรานี้กลายเป็นปีศาจสำหรับสังคม โดยไม่ต้องถามไถ่ สิ่งที่ตนเองทำก็เพียงแค่สนทนากับบรรดาปีศาจและติดตามกระบวนการของศาลที่ลงโทษพวกเขา แล้วพยายามนำข้อมูลเหล่านี้ออกมาเท่าที่ทำได้ ว่ากันตามตรงมันก็ไม่ได้ใช้ความกล้าหาญอะไรนัก ความมุ่งหวังของการทำแบบนั้นก็เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้เห็น ได้เข้าใจมากขึ้นในเรื่องนี้ เพื่อว่าความรุนแรงเช่นนี้อาจมีโอกาสได้รับการแก้ไขทั้งในทางโครงสร้างกฎหมายและในวิธีคิดของผู้คน ทั้งนี้ เชื่อว่า หากวัฒนธรรมการตั้งคำถาม การยอมรับความแตกต่าง การถกเถียง ได้มีโอกาสเติบโตและรับการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น ท้ายที่สุด สถาบันกษัตริย์และสังคมโดยรวมก็น่าจะยั่งยืนยิ่งขึ้น

มุทิตา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ผ่านมาหลายปีจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนความหวังนั้นไม่ประสบความสำเร็จนัก การดำเนินคดียังคงมีอยู่เรื่อยๆ ไม่ใช่ในศาลยุติธรรมแต่ในศาลทหารซึ่งบทลงโทษหนักขึ้นมาก มากจนถึง 50 ปีแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ สิทธิในการประกันตัวเพื่อออกมาต่อสู้คดีของผู้ต้องหายังถูกวิจารณ์อย่างหนัก การเข้าถึงผู้ต้องหาถูกปิดกั้นอย่างยิ่ง กระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปโดยปิดลับมากขึ้นกว่าเดิมจนแทบไม่เหลือพื้นที่ สำหรับการรับรู้ข้อเท็จจริง ตลอดจนคดีล่าสุดที่มีผู้เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง ซึ่งยังคงเป็นปริศนา

มุทิตา กล่าวว่า หากมองในมุมบวก ยังมีคนอีกหลายคน หลายองค์กร ที่ผลักดันในประเด็นนี้ โดยตนเองเป็นเพียงหนึ่งในจิ๊กซอว์เล็กๆ หนึ่งเท่านั้น ท้ายที่สุด ขอแบ่งปันรางวัลนี้กับเพื่อนร่วมงาน เครือข่าย ครอบครัว และที่สำคัญที่สุด คือครอบครัวของผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ที่เผชิญความทุกข์ทรมานอยู่เงียบๆ และโดดเดี่ยวในสังคมนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฟ้อง 116-พ.ร.บ.คอมฯ คนโพสต์ FB วิจารณ์ทุจริตอุทยานราชภักดิ์ ศาลทหารให้ประกัน วงเงิน 1แสน

$
0
0

1 ธ.ค. 2558ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า เวลาประมาณ 10.30น. ตำรวจ สน.พระโขนงนำตัว นางแจ่ม (นามสมมติ) ซึ่งถูกตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการทุจริตการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ไปฝากขังที่ศาลทหาร

โดยในตอนบ่าย ศาลไต่สวนคำร้องขอฝากขังโดยทางตำรวจได้อ้างเหตุว่ายังต้องสอบพยานอีก 7 ปาก และยังต้องรอผลการตรวจพิสูจน์ของกลางจึงมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมตัวระหว่างสอบสวน ทางทนายความของนางแจ่มจึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังต่อศาล ซึ่งศาลพิจารณาว่า มีหลักฐานพอสมควรว่ากระทำผิดจริง และเป็นคดีอัตราโทษเกิน 3 ปี จึงอนุญาตให้ฝากขังเป็นเวลา 12 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 ธ.ค. ภายหลังศาลอ่านคำสั่งทนายจึงยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวพร้อมวางหลักทรัพย์ประกันตัวเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ซึ่งศาลได้อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว

สำหรับคดีนี้ นางแจ่มเล่าว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พ.ย. มีเจ้าหน้าที่ทหารในเครื่องแบบและตำรวจนอกเครื่องแบบราว 20 นาย ไปที่บ้านของเธอย่านพระโขนง แต่ไม่พบตัวจึงไปหาที่ทำงานของเธออีก แล้วไม่พบตัวเธออีกมีเพียงลูกสาวที่อยู่ในที่ทำงานจึงได้ฝากให้ลูกสาวบอกกับเธอว่าให้ไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แต่นอกจากการแจ้งให้นางแจ่มไปที่ ปอท. แล้ว เจ้าหน้าที่ยังได้ยึดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของที่ทำงานไปด้วย

นางแจ่มเล่าว่า ภายหลังจากที่นางแจ่มทราบเรื่องจึงเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ที่ ปอท. ในเวลาประมาณ 20.00 น. วันเดียวกัน เมื่อเธอไปถึงพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนเธอในคืนวันเดียวกัน โดยเธอถูกสอบสวนเกี่ยวกับข้อความที่เธอโพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 24 พ.ย. เป็นข้อความที่เกี่ยวกับอุทยานราชภักดิ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในการสอบสวนเธอได้ถูกเจ้าหน้าที่ยึดโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและรหัสเข้าโซเชียลมีเดียไปด้วย แล้วปล่อยตัวเธอกลับ รวมถึงให้เธอไปที่ ปอท. อีกครั้งในวันจันทร์ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งเพียงว่าเป็นการไปรับโทรศัพท์คืน

นางแจ่มระบุว่า ต่อมาในวันจันทร์เมื่อนางแจ่มเดินทางไปถึง ปอท. นอกจากเธอจะไม่ได้รับโทรศัพท์คืนแล้ว เจ้าหน้าที่แจ้งกับเธอว่าจะนำตัวไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เมื่อไปถึง บช.น. เธอถูกตำรวจเกลี่ยกล่อมให้ยอมแถลงข่าว จากนั้นเธอถูกนำตัวไปแจ้งข้อกล่าวหาที่ สน.พระโขนง พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาว่เธอได้กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นที่ไม่ใช่การกระทำในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ใช่แสดงความเห็นโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 อนุ 2 และนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา14 (1), (2) และ(3) ซึ่งนางแจ่มได้ให้การยอมรับว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความจริง แต่ไม่ได้มีเจตนาจะให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เมื่อเสร็จสิ้นเจ้าหน้าที่ได้ปล่อยตัวเธอกลับบ้านและนัดมาที่ สน.พระโขนงอีกครั้ง ก่อนนำตัวเธอไปฝากขังที่ศาลทหารในเช้าวันนี้
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปกครองเปิดแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ ชี้เพิ่มประสิทธิภาพปราบทุจริต

$
0
0

เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา นายไกรรัช  เงยวิจิตร รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เปิดเผยว่า วันที่ 1 ธ.ค.58 ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้นทุกแห่ง จะดำเนินการเปิดทำการแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ เป็นวันแรก โดยแผนกคดีดังกล่าวจะพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเกี่ยวกับวินัยการคลังและการงบประมาณโดยเฉพาะ ซึ่งหมายถึง คดีพิพาททางปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในกรณีการฝ่าฝืนข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารการเงินและการคลังที่ออกตามความในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดอื่นใดที่เกี่ยวกับการรับ การเบิก การจ่าย การใช้จ่าย การบริหารงบประมาณ และก่อหนี้ผูกพัน การจัดเก็บรายได้ การใช้ประโยชน์ การเก็บรักษาการพัสดุ และการจัดการซึ่งเงินทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ใด ๆ ของหน่วยงานทางปกครอง ที่ได้มาจากเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินกู้ เงินอุดหนุน เงินบริจาค และเงินช่วยเหลือจากแหล่งในประเทศหรือต่างประเทศ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงานทางปกครอง ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงเงิน ทรัพย์สิน สิทธิและผลประโยชน์ดังกล่าวที่หน่วยงานทางปกครองมีอำนาจ หรือสิทธิใช้จ่ายหรือประโยชน์ด้วย ซึ่งเป็นความผิดวินัยทางการคลังและการงบประมาณและได้รับการลงโทษปรับทางปกครองตามกฎหมาย

นายไกรรัช กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ เป็นแผนกคดีพิเศษ ลำดับที่ 3 ที่มีการจัดตั้งขึ้นในศาลปกครอง หลังจากที่ได้เปิดทำการแผนกคดีสิ่งแวดล้อม และแผนกคดีบริหารงานบุคคล ไปแล้วเมื่อช่วง 2 – 4 ปี ที่ผ่านมา เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับวินัยการคลังและการงบประมาณเป็นไปโดยรวดเร็ว ทันต่อการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่อาจเกิดขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ โดยประธานศาลปกครองสูงสุดได้มีประกาศลงวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ให้จัดตั้งแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณในศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองเกี่ยวกับวินัยการคลังและการงบประมาณในเขตอำนาจของศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น โดยแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ จะประกอบด้วยองค์คณะและตุลาการผู้แถลงคดีที่มีความเชี่ยวชาญคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ ตามที่ประธานศาลปกครองสูดสุดประกาศกำหนด กรณีเป็นแผนกฯในศาลปกครองสูงสุด และตามที่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นประกาศกำหนด กรณีเป็นแผนกฯ ในศาลปกครองชั้นต้น ทั้งนี้ ประกาศจัดตั้งแผนกคดีดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป

อนึ่ง ณ ปัจจุบันมีศาลปกครองชั้นต้นที่เปิดทำการแล้วจำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง ได้แก่ ศาลปกครองกลาง (ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร) ศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองสงขลา ศาลปกครองนครราชสีมา ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองพิษณุโลก ศาลปกครองระยอง ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ศาลปกครองอุดรธานี ศาลปกครองอุบลราชธานี และศาลปกครองเพชรบุรี

สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการหัวหน้าแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ
ในศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองชั้นต้น มีรายนามดังนี้

1.     นายวิษณุ  วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่ ตุลาการหัวหน้าแผนกคดีวินัยการคลังฯ ในศาลปกครองสูงสุด

2.     นายประวิทย์  เอื้อนิรันดร์ รองอธิบดีศาลปกครองกลาง ปฏิบัติหน้าที่ ตุลาการหัวหน้าแผนกคดีวินัยการคลังฯ ในศาลปกครองกลาง

3.     อธิบดีศาลปกครองในภูมิภาคแต่ละศาล ปฏิบัติหน้าที่ ตุลาการหัวหน้าแผนกคดีวินัยการคลังฯ ในศาลปกครองในภูมิภาคของแต่ละศาล อีกหน้าที่หนึ่ง

วิษณุ ชี้พิจารณาได้รวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอน ปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพ

ล่าสุด 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา นายวิษณุ วรัญญู ได้ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวไทยด้วย ตอนหนึ่งว่า ประโยชน์ของการแยกแผนกคดีวินัยการคลังและงบประมาณ จะทำให้คดีดำเนินกระบวนพิจารณาได้รวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอนบางอย่างลง เมื่อคดีเข้าสู่แผนกเฉพาะ จะได้รับการดำเนินกระบวนการพิจารณาในลักษณะพิเศษ เพราะต้องเสร็จเร็วกว่าปกติ

“คดีที่เกี่ยวกับการปฏิบัติไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเงิน คดีทุจริต ประชาชนอยากทราบผลเร็ว หากประชาชนต้องรอผลการตัดสิน 5 ปี 10 ปี ก็อาจจะทำให้รู้สึกว่า การปราบกรามการทุจริตไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าทำให้เสร็จได้โดยเร็ว ก็จะทำให้เห็นว่า การปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพ และจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง”  นายวิษณุ กล่าว  

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปท. ผุดไอเดียตั้ง ‘ศาลทุจริตและคอร์รัปชัน’ รบ.ดันวิธีพิจารณาคดีทุจริตใหม่ให้ศาลค้นหาความจริงเอง

$
0
0

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา MGR Onlineรายงานว่า พล.อ.นคร สุขประเสริฐ สมาชิกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สปท.กล่าวว่า คณะ กมธ.ได้จัดทำข้อเสนอในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อเสนอแก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่าควรมีกลไกในการขจัดปัญหาทุจริตอะไรใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญบ้าง ข้อเสนอที่น่าสนใจคือ การตั้งศาลทุจริตและคอร์รัปชัน ซึ่ง กมธ. มีแนวความคิดว่า จะตั้งศาลนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และจะวางกรอบการทำงานให้ชัดเจนโดยจะตัดสินคดีทุจริตในส่วนของข้าราชการและนักการเมืองท้องถิ่น ส่วนนักการเมืองระดับชาติหรือข้าราชการระดับสูงจะยังให้ ป.ป.ช.ดำเนินการเป็นหลักตามเดิม แนวทางแบบนี้จะช่วยให้คดีทุจริตที่อยู่ในมือ ป.ป.ช.จำนวนมากได้สะสางรวดเร็วมากขึ้น งานจะไม่ไปกระจุกตัวที่ ป.ป.ช.อย่างเดียว ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถส่งความเห็นแก่ กรธ. ได้ภายในสัปดาห์นี้ ส่วน กรธ. จะนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็แล้วแต่การตัดสินใจของพวกเขา

รบ.ดันกฎหมายใหม่ ให้ศาลค้นหาความจริงเอง จบแค่ 2 ศาล คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

ขณะที่ มติชนออนไลน์รายงานว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีตั้งศาลทุจริตและคอร์รัปชั่นดังกล่าวนั้นว่า ยังไม่ทราบเรื่อง แต่รัฐบาลกำลังพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้เสนอ ครม. ได้รับหลักการในเบื้องต้นและส่งต่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งรัฐบาลได้ตัดสินใจเลือกใช้แนวทางนี้ ถือว่าเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่ สปท. เสนอ พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนวิธีพิจารณาคดี แต่เดิมการพิจารณาคดีจะใช้ระบบกล่าวหาโดยมีโจทก์และจำเลย จากนั้นก็สืบพยาน แต่ใน พ.ร.บ.นี้ จะเป็นการไต่สวนโดยศาลจะเป็นผู้ลงมาค้นหาความเป็นจริงโดยจะจบแค่สองศาล คือศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ไปถึงฎีกาเพราะอาจทำให้กระบวนการล่าช้า อีกทั้งผู้พิพากษาต้องเป็นมืออาชีพ ผ่านการพิจารณาคดีมาแล้ว 10 ปี เป็นอย่างต่ำ วิธีการนี้จะทำให้คดีทุจริตได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว หากผู้ต้องหาหนีคดีอายุความก็จะหยุดชั่วคราวคดียังไม่สิ้นสุด

“พ.ร.บ.นี้ เหมารวมทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะข้าราชการ มีการนิยามแยกประเภทของคดีทุจริตกับการประพฤติมิชอบ ส่วนคดีทุจริตของนักการเมืองจะไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ ซึ่งจะเป็นอำนาจศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นเดิม” นายวิษณุกล่าวและว่า สำหรับพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ... ได้ผ่านครม.ไปนานแล้ว ขณะนี้รอคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบก่อนส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อย่างไรก็ตาม เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายฉบับใหญ่ที่มีความสำคัญ จัดว่าเป็นกฎหมายปฏิรูปที่สำคัญที่สุดอีกฉบับหนึ่งของรัฐบาลชุดนี้  การจัดซื้อจัดจ้างในประเทศไทยที่ผ่านมา อยู่ภายใต้ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อยกฐานะมาเป็นกฎหมายจะมีโทษต่อผู้ที่ทุจริต นอกจากนี้ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ ยังครอบคลุมหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ องค์การมหาชน ท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดข้อถกเถียงจากหลายหน่วยงาน จึงต้องการให้นำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวส่งกลับไปยังกระทรวงต่างๆเพื่อพิจารณา ให้มีความเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live


Latest Images