Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

ฅนรักษ์บ้านเกิด ชี้พื้นที่ทำเหมืองทอง จ.เลย มีความขัดแย้ง ไม่ควรต่ออายุ

$
0
0

ความขัดแย้งประเด็นเหมืองทองคำในพื้นที่ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ที่มามาอย่างยาวนานนั้น กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งหลังจาก หลังจากมีความพยายามขัดขวางการจัดค่ายเยาวชน “เยาวชนฮักบ้านเจ้าของ” ซึ่งเป็นค่ายศึกษาสภาพท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนในพื้นที่ดังกล่าว อายุ 10-15 ปี หรือ ป.4 ถึง ม.3 และมีพี่เลี้ยงที่อายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นนักเรียน ม.ปลาย  พร้อมกับการคุมเข้มของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ก่อนการประชุมสมัยสามัญของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง ซึ่งจะเปิดให้มีการพิจารณาอนุญาตขอต่ออายุการใช้พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ ส.ป.ก. เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : เดินหน้าค่าย ป.4-ม.3 ไม่ขออนุญาต ทหารลั่นใช้ พ.ร.บ.ชุมนุม “ไม่ขอก่อน ห้ามจัด”)

วันนี้(28 ส.ค.58) ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมสมัยสามัญของสภา อบต.เขาหลวง เพื่อพิจารณาอนุญาตขอต่ออายุการใช้พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ ส.ป.ก. นั้น เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘เหมืองแร่ เมืองเลย V2’ ระบุว่า บริเวณสถานที่ประชุมมีตำรวจทหารประมาณ 300 นาย ดูแลสถานการณ์ พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดเรื่อง พรบ.ชุมนุมฯ เพื่อเตือนชาวบ้านที่จะเข้าร่วมประชุม จากนั้นมีตัวแทนชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับการทำเหมืองทองคำเข้ายื่นหนังสือเรื่องขอคัดค้านการใช้พื้นที่ สปก.

เพจเหมืองแร่ฯ รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ในที่ประชุมสภา อบต. นั้น มีความเห็นที่ขัดแย้งกัน จากนั้นประธานสภา อบต. กล่าว เพื่อลดความตึงเครียดและกังวลว่าจะเกิดเหตุความรุนแรง จึงให้ที่ประชุมดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น โดยไม่ลงมติว่าเห็นชอบ อย่างไรก็ตามแม้ปิดประชุมไปแล้วเหตุการณ์ก็ยังไม่จบ ชาวบ้านทั้งหมดลงมารวมตัวกันข้างล่างอ่านแถลงการณ์ และแสดงความไม่พอใจต่อว่าสมาชิก อบต. บางคน จนทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคุ้มกันออกจากพื้นที่ดังกล่าว

ฅนรักษ์บ้านเกิด อ.วังสะพุง จ.เลย ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีนี้โดยระบุว่า พื้นที่ มีความขัดแย้งดังนั้นจึงไม่อาจจะพิจารณาขอต่ออายุการใช้พื้นที่ป่าได้ตามระเบียบของกรมป่าไม้ พร้อมระบุด้วยว่า โดยหลักการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่มีระบุว่าทำไปทำเหมืองแร่ แม้แต่ระเบียบที่จะนำที่ สปก. ไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่นยังอยู่ในกระบวนการ และถูกศาลปกครองกลางสั่งให้ถอดถอนเพราะ เป็นการออกกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นควรชะลอกระบวนการนี้ไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

“ไม่ว่าปืนหรือรถถัง อำนาจ เงินนายทุนกลุ่มไหน หรือความรุนแรงในรูปแบบใดๆ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนจิตใจที่รักบ้านเกิด รักแม่น้ำ รักภูเขา รักสิ่งแวดล้อมของเราได้” ฅนรักษ์บ้านเกิด ระบุ

แถลงการณ์ ฅนรักษ์บ้านเกิด

ต่อกรณีการประชุมสภาตำบลเขาหลวงเพื่อต่อลมหายใจการทำลายธรรมชาติและวิถีชุมชน

28 สิงหาคม 2558

 

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่บ้านของเราและเป็นที่รับรู้ของสังคมทั่วไปถึงการสิทธิโดยชอบธรรมของมนุษย์ทั่วไป เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เป็นเหมือนฐานเพื่อทำให้ชีวิตเรามั่นคง ปกป้องวิถีชีวิตที่เป็นเหมือนมรดกให้ ลูกหลานที่จะเกิดและใช้ชีวิตในบ้านของเรา ฅนรักษ์บ้านเกิดได้ยืนยันและยืนหยัดต่อสู้อย่างสันติ ดั่งที่ปรากฎมาตลอด แต่เรายังต้องถูกทำร้าย ทำลาย ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สิทธิ ร่ายกาย กระทั่งชื่อเสียง ที่ถูกใส่ความอันเป็นเท็จต่างๆนานา ทั้งที่เราเองต่อสู้อยู่หลักความจริงและพร้อมพิสูจน์เสมอ และจะไม่กระทำการ อันป่าเถื่อนดั่งเช่นผู้คนที่ทำร้ายเรา สิ่งแวดล้อมที่ลูกหลานเราต้องใช้ชีวิตต่อไปปนเปื้อนสารพิษ วิถีชีวิตเรา ต้องเปลี่ยนจากเกษตรกรมาเป็นนักต่อสู้ สิทธิโดยชอบของเราถูกริดรอนบิดเบือนโดยผู้มีอำนาจเสมอ ร่างกายเราถูกทำร้าย เหตุการณ์ 15 พฤษภาคม 2557 คดีความต่างๆข้อหารักบ้านเกิดปกป้องชุมชน ชื่อเสียงเราถูกใส่ความต่างๆ เพื่อให้เป็นคนร้ายในสายตาของพี่น้องกันเอง เหตุการณ์ทั้งหมดถูกโยนให้เป็น ความผิดของเราชาวบ้านที่ไม่ก้มหัวให้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมที่พยายามทำร้ายทำลายเรา แต่ในความนึกคิดของเรานั้นหาเป็นดั่งคำเท็จที่ใส่ความ เราอยากจะถามต่อพี่น้องและสังคมว่านั้นเป็นสิ่งที่เรา ควรจะได้รับหรือไม่? เราต้องต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตเพราะมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตใช่หรือไม่ เราตั้งกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดเพราะมีอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นธรรมใช่หรือไม่? สาเหตุที่แท้จริงชุมชนเราขัดแย้งเพราะ ตั้งกลุ่มหรือตั้งเหมืองกันแน่?

 

วันนี้ก็เช่นกันความพยายามเปิดทำเหมืองทั้งระดับนโยบาย ระดับผู้ปฏิบัติการในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้ปรากฏว่า มีตัวละครใหม่ๆ หลายตัวแสดงบทบาทที่ปากกล้าขึ้นมาหลังจากมีร่มไม้ให้อาศัย นำมาสู่การปกปิด บดบัง ทำลาย ความชอบธรรมของเราไปเสียแทบไม่เหลือ การประชุมสภาตำบลที่มีการผลัดดันจากเบื้องบนอย่างมีนัยยะ คล้ายจะนำการประชุมครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อจะปิดปากไม่ให้ชาวบ้านส่งเสียงความทุกข์ยากที่เผชิญอยู่ อีกทั้งระเบียบกฎหมายป่าไม้ได้ห้ามนำพื้นที่ที่มีความขัดแย้งระหว่างผู้ขอใช้พื้นที่ป่ากับชุมชนมาพิจารณา แต่กระบวนการก็ยังคงเดินอย่างหน้าตาเฉย ไม่สนใจความรู้สึกของชาวบ้าน หนังสือคัดด้านของเรา ความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ให้ชะลอกระบวนการ ตลอดจน กฎหมายของประเทศและสิทธิของเรา หากกระบวนการต่อลมหายใจให้การทำลายธรรมชาตินี้สำเร็จ ผลกระทบ จะเกิดขึ้นแก่ชุมชนเราอย่างมากกว่าที่เคยได้รับมาเมื่อในอดีต แม้ผู้มีอำนาจจะอ้างกฎหมายต่างๆเพื่อทำให้เรายอม แต่ด้วยความจริงเราจึงไม่สามารถที่จะยอมให้ได้ ความจริงที่ว่า มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดที่บ้านเรา ความจริงที่ว่าลูกหลานเราจะต้องใช้ชีวิตกับสารพิษ แม้จะยกกฎหมายชุมนุมมาห้าม หากเป็นสิ่งที่เราเชื่อเราจะทำ เราจะสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมแม้ผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไรก็ตาม วันนี้เพื่อวิถีชีวิต เพื่อบ้านเกิด เพื่อลูกหลาน เราจึงมาเพื่อบอกว่า

1. ขอให้การประชุมครั้งนี้จะชอบด้วยกฎหมาย ไม่ก้าวข้ามข้อเท็จจริงจริงที่เกิดขึ้นในบ้านเราเป็นพื้นที่ที่ มีความขัดแย้งไม่อาจจะพิจารณาขอต่ออายุการใช้พื้นที่ป่าได้ตามระเบียบของกรมป่าไม้

2. หลักการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่มีระบุว่าทำไปทำเหมืองแร่ แม้แต่ระเบียบที่จะนำที่ สปก. ไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่นยังอยู่ในกระบวนการ และถูกศาลปกครองกลางสั่งให้ถอดถอนเพราะ เป็นการออกกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นควรชะลอกระบวนการนี้ไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

3. ไม่ว่าปืนหรือรถถัง อำนาจ เงินนายทุนกลุ่มไหน หรือความรุนแรงในรูปแบบใดๆ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนจิตใจที่รักบ้านเกิด รักแม่น้ำ รักภูเขา รักสิ่งแวดล้อมของเราได้

 

ด้วยความรัก

ฅนรักษ์บ้านเกิด

28 สิงหาคม 2558

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มาเลเซียเตรียมชุมนุมใหญ่ Bersih 4.0-มหาดไทยอัดชุมนุมผิดกฎหมาย

$
0
0

เตรียมชุมนุมใหญ่ข้ามคืน 'Bersih 4.0' ที่กัวลาลัมเปอร์ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี 'นาจิบ ราซัก' ลาออก หลังถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงิน 700 ล้านเหรียญสหรัฐจากกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจ 1MDB เข้าบัญชีส่วนตัว - ขณะที่ รมว.มหาดไทย มีคำสั่งให้เสื้อยืด และสิ่งพิมพ์ที่มีข้อความเกี่ยวข้องกับการชุมนุมดังกล่าวเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

ภาพการชุมนุมของกลุ่ม Bersih ในปี 2550 (ที่มาของภาพ: แฟ้มภาพ/Wormy lau/Flickr.com/CC 2.0)

 

กลุ่มหนุนเลือกตั้งเสรี 'Bersih' นัดชุมนุมใหญ่ในมาเลเซีย-หวังขับนายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่ง

28 ส.ค. 2558 - พันธมิตรเพื่อการเลือกตั้งเสรีและยุติธรรมหรือกลุ่มเบอเซะ (Bersih) เตรียมจัดชุมนุมใหญ่เพื่อเรียกร้องให้นาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียลาออกจากถูกสื่อมวลชนกล่าวหาว่ายักยอกเงินกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 24,500 ล้านบาท) จากกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย "วันมาเลเซียเดเวลอปเมนท์ เบอรฮาด" หรือ 1MDB

นอกจากนี้ผู้ชุมนุมยังมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อได้แก่ 1. การเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม 2. รัฐบาลที่ตรวจสอบได้ 3. เสรีภาพในการชุมนุม 4. ทำให้ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีความเข้มแข็ง และ 5. รักษาเศรษฐกิจของประเทศ

 

ชุมนุม 3 จุดใหญ่ทั่วมาเลเซียทั้งฝั่งคาบสมุทร และเกาะบอร์เนียว

โดยผู้ชุมนุม Bersih 4.0 จะชุมนุม 3 แห่งทั่วประเทศมาเลเซีย ได้แก่ที่กัวลาลัมเปอร์ กูชิง และโกตา กินาบาลู ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ของวันที่ 29 สิงหาคม จนถึงเที่ยงคืนของวันที่ 30 สิงหาคม

โดยในฝั่งคาบสมุทรมลายา จะจัดชุมนุมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มีการนัดหมายไว้ 5 จุด ได้แก่ ห้างโซโก, ตลาดปะซาเซนี, ลานหน้าธนาคาร Maybank, บริกฟิลด์ใกล้กับสถานีรถไฟ KL Sentral และมัสยิดเนอการา โดยผู้ชุมนุมจะเคลื่อนจากจุดนัดหมายไปยังจตุรัสเมอเดก้า หรือจตุรัสเอกราช (Dataran Merdeka)

ขณะเดียวกันที่ฝั่งบอร์เนียว เมืองกูชิง รัฐซาราวัก จะจัดที่ปาดัง เมอร์เดก้า (Padang Merdeka) และที่เมืองโกตา กินาบาลู รัฐซาบาห์ จะจัดที่ตันหยงลิปัต (Tanjung Lipat)

 

ตำรวจกัวลาลัมเปอร์ห้ามชุมนุม อ้างทำเรื่องไม่ครบ - นายกรัฐมนตรีโอดมาทำไมช่วงวันชาติ

อย่างไรก็ตามผู้บัญชาการตำรวจกัวลาลัมเปอร์ ทาจุดดิน โมฮัมหมัด อิซา (Tajuddin Md Isa) กล่าวเมื่อวันที่ 26 ส.ค. ว่าการชุมนุม Bersih 4.0 ดังกล่าวขัดกับกฎหมายว่าการชุมนุม (PAA) เนื่องจากผู้จัดการประชุมไม่ส่งแบบฟอร์มที่สมบูรณ์ รวมทั้งแผนการชุมนุม เส้นทางและสถานที่เพื่อให้ตำรวจอำนวยความสะดวก (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

มาเลเซียกินี รายงานเมื่อ 28 ส.ค. ด้วยว่า ในเว็บบล็อกของ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นาจิบ ราซัก ได้เผยแพร่คลิปเสียงของเขา ระบุว่า การชุมนุม Bersih 4.0 จัดขึ้นในสถานที่และเวลาใกล้เคียงกับการฝึกซ้อมกิจกรรมพาเหรดเนื่องในวันได้รับเอกราชของมาเลเซีย "ถ้าพวกเขาต้องการรวมตัว ก็ไปเลือกเวลาและสถานที่ซึ่งไม่เป็นการเผชิญหน้า" นาจิบ อ้างด้วยว่า "ไม่ว่าจะมีความแตกต่างทางความคิดหรืออุดมการณ์ระหว่างพวกเรา วันชาติก็ไม่น่าจะมีการแสดงออกถึงความขัดแย้งทางการเมือง"

 

ทางการปิดเว็บที่ให้ข้อมูลชุมนุม Bersih 4.0

ขณะที่ ตั้งแต่วันที่ 27 ส.ค. นี้  รายงานในมาเลเซียนอินไซเดอร์รายงานว่า คณะกรรมการด้านการสื่อสารและมัลติมีเดีย (MCMC) ของมาเลเซีย ได้ปิดการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลการชุมนุม Bersih 4.0 เนื่องจาก "ส่งเสริม เผยแพร่ข้อมูล และชักชวนประชาชนให้เข้าร่วมการชุมนุม Bersih 4.0" โดยอ้างว่าการชุมนุมดังกล่าว "คุกคามเสถียรภาพของประเทศ"

โดยมาตรการปิดกั้นเว็บดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐมนตรีมหาดไทยของมาเลเซีย อะหมัด ซาอิด ฮามิดี ( Ahmad Zahid Hamidi) ระบุว่ากลุ่ม Bersih 4.0 "ผิดกฎหมาย" และการเดินขบวนก็เป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย และหาว่าการชุมนุมดังกล่าวทำให้ภาพพจน์ประเทศเสียหาย

ทั้งนี้รายงานจากมาเลเซียกินีวันที่ 28 ส.ค. ซึ่งอ้างข้อมูลจากซาเลห์ ซาอิด เครูอัก (Salleh Said Keruak) รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและมัลติมีเดีย ซึ่งระบุว่าปิดเว็บแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ http://bersih.org, http://globalbersih.org, http://www.bersih.org and http://www.globalbersih.org

 

มหาดไทยออกคำสั่งว่าเสื้อยืด-ใบปลิวที่เกี่ยวข้องกับ Bersih 4.0 ถือว่าผิดกฎหมาย

ล่าสุดในวันนี้ (28 ส.ค.) มาเลเซียกินีมีคำสั่งของรัฐมนตรีมหาดไทย เผยแพร่ในเว็บไซต์ของอัยการสูงสุดมาเลเซีย ระบุว่า เสื้อเหลืองซึ่งมีข้อความว่า "Bersih 4" และสิ่งพิมพ์ แผ่นพับที่เกี่ยวข้องกับ "Bersih 4" ถือว่าผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า "การพิมพ์ การนำเข้า ผลิตภัณฑ์ การทำซ้ำ การพิมพ์ การจำหน่าย การแจกจ่าย การเวียน การกระจาย หรือการครอบครองสิ่งพิมพ์ที่อธิบายถึงกำหนดการที่ส่งผลเสียหายต่อความสงบเรียบร้อย หรือส่งผลเสียหายต่อความมั่นคง หรือขัดแย้งกับกฎหมายใดๆ ที่จะนำไปสู่ผลเสียหายของผลประโยชน์แห่งชาติ ถือเป็นสิ่งต้องห้ามทั่วมาเลเซีย" คำสั่งดังกล่าวระบุ

 

สมาคมสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนุนเสรีภาพการแสดงออก

ในวันเดียวกัน สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ทวีตและเขียนใน สเตตัสเฟซบุ๊กขององค์กรระบุว่า “สนับสนุนการเคลื่อนไหว Bersih 4.0” โดยระบุว่า เพื่อเป็นการเจตจำนงในการประท้วงต่อการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก

“ฉันจะอยู่เคียงข้างคุณ” SEAPA ระบุ

 

9 ปี ของพันธมิตรเพื่อการเลือกเสรีและยุติธรรมสำหรับมาเลเซีย

พันธมิตรเพื่อการเลือกตั้งเสรีและยุติธรรม หรือกลุ่มเบอเซะ (Bersih แปลว่า สะอาด ในภาษามลายู) ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2549 เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการเลือกตั้งในมาเลเซีย เช่น ให้ปรับปรุงระเบียบการเลือกตั้ง ให้ปฏิรูประบบลงคะแนนทางไปรษณีย์ เนื่องจากเกรงว่าจะไม่โปร่งใส เรียกร้องให้ใช้หมึกที่ลบไม่ออกในการลงคะแนน อนุญาตให้ทุกพรรคการเมืองเข้าถึงสื่อสารมวลชน และยุติการเมืองสกปรก

โดยการชุมนุม "Bersih" ครั้งแรกเมื่อ 10 พ.ย. 2550 การชุมนุม "Bersih 2.0" เมื่อ 9 ก.ค. ปี 2554 ส่วนการชุมนุม "Bersih 3.0" เกิดขึ้นเมื่อ 28 เม.ย. 2555 โดยทุกครั้งจบลงด้วยการสลายการชุมนุมโดยตำรวจมาเลเซีย

 

ชุมนุม 70 เมืองทั่วโลกรวมทั้งเมืองไทย - ที่กรุงเทพฯ ต้องย้ายสถานที่ หลังสวนลุมพินีไม่อนุญาต

นอกจากการชุมนุมในวันพรุ่งนี้ และวันอาทิตย์ที่มาเลเซีย ยังมีการจัดการชุมนุมโดยชาวมาเลเซียและประชาชนจากหลายประเทศในต่างประเทศด้วยในนาม "Global Bersih" โดยจัดใน 70 เมืองทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

สำหรับกิจกรรมในประเทศไทย ที่ จ.เชียงใหม่ สมาคมผู้หญิง กฎหมาย และการพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิก (APWLD) ได้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงความสนับสนุนการเคลื่อนไหว Bersih ในประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 27 ส.ค.

ส่วนในกรุงเทพมหานคร เดิมผู้จัดกิจกรรม Bersih 4.0 ในกรุงเทพฯ เตรียมจัดที่สวนลุมพินีในวันที่ 29 ส.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนวันนัดหมายได้แจ้งแก่ผู้สนับสนุนในประเทศไทยว่าได้โทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่สวนลุมพินีเพื่อขอใช้สถานที่ แต่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากไม่ได้ทำเรื่องขออนุญาตล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ทำให้ผู้จัดงานเปลี่ยนมาเป็นใช้สถานที่ส่วนบุคคลแทน โดยจะจัดกิจกรรมในวันที่ 29 ส.ค. นี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับวิบัติ : เมื่อ ‘เนติวิทย์’ ถาม "ตรรกะวิบัติคืออะไร?"

$
0
0

เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘จับวิบัติ Fallacies Thailand’ เผยแพร่ วิดีโอรายการคณะจับวิบัติแห่งชาติ เมื่อวันที 27 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยระบุว่าเป็นการตอบคำถามจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตรรกะวิบัติที่ทีมงานพบเจอในการทำโครงการ ประกอบด้วย จับวิบัติไม่ใช่ลิทธิ ตรรกะวิบัติเป็นคอนเซ็ปต์สากล พร้อมทั้งมี เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล มาร่วมรายการและตั้งคำถาม เช่น ตรรกะวิบัติเป็นเรื่องของการใช้เหตุผลผิดพลาด ไม่ว่าคุณจะมองว่าข้อสรุปดีหรือไม่ ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าข้อโต้แย้งนั้นใช้ตรรกะวิบัติหรือไม่ หากจะพิจารณาว่าข้อโต้แย้งใช้ตรรกะวิบัติหรือไม่ ต้องดูว่าเหตุผลที่ให้สนับสนุนข้อสรุปที่กล่าวอ้างจริงหรือไม่ เป็นต้น

โดยทีมงานคณะจับวิบัติ ระบุด้วยว่าไม่ได้ต้องการโน้มน้าวให้คุณมีความเชื่อเอียงไปทางใดทางหนึ่ง เพียงขอให้หยุดใช้เหตุผลวิบัติสนับสนุนข้อสรุปใดๆ ก็ตาม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม. ประณามเหตุล่วงละเมิดทางเพศลูกน้องในไปรษณีย์

$
0
0

กรรมการสิทธิมนุษยชนฯ แนะผู้เสียหายเผชิญหน้ากับสังคมอย่างกล้าหาญ ชี้ไม่จำเป็นต้องลาออกจากงาน จี้ต้นสังกัดสอบสวนอย่างเร่งด่วน- เยียวยาหญิงผู้เสียหายอย่างเหมาะสม ด้านคู่กรณีอ้างแค่หยอกล้อตามปกติ

28 ส.ค.2558 วิสา เบ็ญจะมโน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล กล่าวว่า ตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อสังคมออนไลน์และสื่อมวลชนว่า ผู้บังคับบัญชามีพฤติกรรมลวนลามข่มขืนใจผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานที่ทำงานสำนักงานไปรษณีย์แห่งหนึ่งนั้น คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิเด็ก สตรีและความเสมอภาคของบุคคลในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พิจารณาเห็นว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ  เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และสังคมควรช่วยกันปกป้องดูแลมิให้เหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้เกิดขึ้นอีก

วิสา ระบุด้วยว่า เหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้นเสมอๆ เนื่องจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชายังคงมีอยู่ในสังคมไทย  คณะอนุกรรมการฯ มีความห่วงใยผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำรุนแรงดังกล่าวว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม อีกทั้งมักจะถูกกดดันจากสังคม โดยสังคมมองว่าผู้หญิงนั้นสมยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ

คณะอนุกรรมการฯ จึงขอเรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสังคมให้ความเป็นธรรมและปฏิบัติต่อหญิงดังกล่าวอย่างเข้าใจและเห็นใจ นอกจากนี้คณะอนุกรรมการฯ ขอแนะนำว่าผู้เสียหายมีความชอบธรรมที่จะเผชิญหน้ากับสังคมอย่างกล้าหาญ  เนื่องจากตนไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด ไม่ต้องหลบซ่อน ไม่จำเป็นต้องลาออกจากงาน สุดท้ายนี้ หน่วยงานต้นสังกัดควรดำเนินการสอบสวนอย่างเร่งด่วน และให้การดูแลช่วยเหลือเยียวยาหญิงผู้เสียหายอย่างเหมาะสม

คู่กรณีอ้างแค่หยอกล้อตามปกติ

สำหรับกรณีนี้ ซึ่งมีการแพร่ภาพคลิปวิดีโอทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยผู้ที่ใช้ชื่อว่า วรดา วัชรพล ที่ระบุว่าเป็นพฤติกรรมของพนักงานไปรษณีย์บางปลาสร้อย อ.เมืองชลบุรี ที่สวมชุดกากีพยายามจับศีรษะพนักงานหญิงที่สวมเสื้อสีชมพู แล้วพยายามจับหน้าอก แต่พนักงานหญิงก้มตัวขัดขืน ก่อนที่จะตีก้นพนักงานสาวขณะเดินออกไปนั้น เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า ภัควัติ กิฬาภักตร์ อายุ 58 ปี พนักงานการเงินรักษาการหัวหน้าไปรษณีย์บางปลาสร้อย ผู้ตกเป็นข่าวในคลิปได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า วันเกิดเหตุคือ วันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยตนเองเพียงแค่หยอกล้อกับพนักงานคนดังกล่าวตามปกติ ไม่ได้เจตนาจะลวนลามแต่อย่างใด เพราะห้องที่เกิดเหตุก็ไม่มีประตูปิด ทุกคนสามารถเดินเข้าออกได้ จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นการกลั่นแกล้งตน

เนื่องจากในขณะรักษาการหัวหน้าอาจทำให้มีคนไม่พอใจ อีกทั้งพนักงานสาวที่เป็นข่าวซึ่งเป็นลูกจ้างต้องเข้าสอบประเมินเป็นพนักงานแข่งกับลูกจ้างอีก 8 คน แต่กลับได้คะแนนมาเป็นอันดับสุดท้ายจึงอาจโกรธที่ตนไม่ช่วย

ในขณะที่ทางสำนักงานไปรษณีย์เขต 2 ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสอบสวนเรื่องดังกล่าว โดยได้เรียกสอบพนักงานทั้ง 14 คน ของสำนักงานไปรษณีย์บางปลาสร้อย โดยคาดว่าจะใช้เวลา 2 วันจึงจะได้ผลสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้

นอกจากนี้ผู้จัดการออนไลน์ รายานด้วยว่า พนักงานสาวที่ถูกลวนลามเพื่อนพนักงานด้วยกันแจ้งว่า เธอตัดสินใจจะลาออกในสิ้นเดือนนี้เนื่องจากทนความอับอายไม่ไหว และไม่อยากทำงานกับคู่กรณีอีกต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คืนความสุขฯ ‘ประยุทธ์’ เปิด 5 พลังขับเศรษฐกิจ โอดมีคนขับรถชอบแกล้งนักปั่น

$
0
0

28 ส.ค.2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้นำคณะรัฐมนตรีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งใหม่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งก็ถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เป็นสิริมงคลแก่ผมและคณะรัฐมนตรีอย่างสูงสุด

ปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์

ส่วนในเรื่องของการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้นั้น ก็ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งในประเทศ และสถานการณ์โลก และช่วงนี้ก็เป็นช่วงระยะที่ 2 ของรัฐบาลด้วย วันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สถานการณ์ทั้งภายในประเทศด้วย ก็มีการผันผวนอย่างต่อเนื่อง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา ความมั่นคงด้วย ทั้งนี้ การเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีของผมครั้งนี้นั้น ไม่หวังว่าจะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมอะไรต่าง ๆ ทั้งสิ้น ผมต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้ได้และก็สร้างความเชื่อมั่นในการทำงานของคณะรัฐมนตรีของเรา ทั้งในชุดที่ 1 ชุดที่ 2 และชุดที่ 3 ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ทุกอย่างทำต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ชุดที่ผ่านมานั้น ก็เป็นผู้วางรากฐาน ทำงานท่ามกลางปัญหา ข้อขัดแย้งมากมาย ได้มีการกำหนดนโยบายใหม่ ๆ แก้ไขปัญหาเดิมที่ติดขัด นโยบายเร่งด่วนที่ผมได้กำหนดขึ้น และขณะนี้อยากให้รัฐมนตรีชุดใหม่นี้เข้ามาขับเคลื่อนทำให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วขึ้น เดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ภาคเอกชน รวมทั้งนักลงทุนทั้งไทยและชาวต่างประเทศ จะต้องมีการวางแผนการดำเนินการที่ชัดเจน กำหนดระยะเวลาที่จะได้ผลสัมฤทธิ์ที่จับต้องได้เป็นรูปธรรมในทุกมิติ ดูในเรื่องของความโปร่งใส มีประสิทธิภาพของการทำงาน ในเรื่องของโครงการทุกโครงการจะต้องปลอดจากการทุจริต

การประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดนั้น ผมได้ย้ำถึงนโยบายของรัฐบาลนี้ ว่าเราจะไม่ยอมรับการทุจริตคอรัปชั่นโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองชุดใหม่นี้ ผมได้กำชับให้คณะรัฐมนตรีทุกคนเน้นความรอบคอบ และระมัดระวังในเรื่องของการแต่งตั้งที่ปรึกษาและตำแหน่งอื่น ๆ จะต้องไม่มีข้าราชการการเมืองคนใดไปแอบอ้างหรือไปกระทำการใด ๆ ที่ส่อไปในทางทุจริตเด็ดขาด รวมทั้งจะต้องวางบทบาทตนเองให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่ไปนั่งเป็นประธานหัวโต๊ะสั่งการแทนรัฐมนตรีไม่ได้ ไม่มีอำนาจในการสั่งการแทนรัฐมนตรี เพราะมีรัฐมนตรีช่วยกันอยู่แล้ว การทำงานของข้าราชการนั้น ต้องเป็นไปตามสายบังคับบัญชาเท่านั้น ไม่ต้องเอาตำแหน่งหน้าที่ไปแสวงผลประโยชน์ส่วนตัว สร้างความสำคัญไม่ได้ทั้งนั้น ข้าราชการ การเมืองทุกคนนั้นจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ กติกา และประพฤติตนตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการ การเมืองอย่างเคร่งครัด

ขอประชาชนเข้าใจ ไม่สามารถทำทุกอย่างให้รวดเร็วโดยที่ไม่มีการไตร่ตรอง

นอกจากนั้น ผมยังได้ย้ำให้กระทรวงต่าง ๆ สร้างการรับรู้กับประชาชนให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของนโยบายของรัฐที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน เช่น เรื่องพลังงาน โรงไฟฟ้า โรงงานกำจัดขยะ และอื่น ๆ อีกมากมาย การปรับครั้งนี้ ก็อยากให้มองว่าไม่ใช่ว่าเราต้องการอำนาจ เพียงแต่จำเป็นต้องอยู่ในกลุ่มงานที่เหมาะสม ทหารจะอยู่ตรงไหน พลเรือนจะอยู่ตรงไหน ให้เหมาะสมกับระยะที่ 2 ในระยะที่ 1 เราจะเน้นเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก เมื่อขณะนี้ ก็มีเสถียรภาพแล้ว เมื่อเริ่มต้นไปแล้ว ชุดต่อไปก็จะต้องให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงานต่อ มีการปรับปรุง พัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่อาจจะมีผลกระทบ ในขณะนี้ก็คือเรื่องการหมุนเวียนที่จำเป็นต้องปรับออกไปบ้าง ไม่ได้ด้วยความขัดแย้งหรืออย่างอื่น ยังให้ความเคารพอยู่เสมอ และพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาของท่านเหล่านั้น เพราะท่านทำงานกับผมในระยะแรกเป็นที่น่าพอใจ ที่ผ่านมานั้นต้องแก้ทั้งปัญหา แก้กฎหมาย กระบวนการบริหารจัดการทั้งหมด ที่วุ่นวายสับสนอยู่ การจัดระเบียบข้าราชการ ซึ่งอาจจะทำให้สังคม หรือประชาชนส่วนหนึ่งมีความรู้สึกว่าช้า ไม่ทันการ รัฐบาลนี้มีอำนาจมากมายทำไมทำช้า ไม่ทันใจ ก็ขอให้เข้าใจด้วย เราไม่สามารถทำทุกอย่างให้รวดเร็วโดยที่ไม่มีการไตร่ตรอง หรือใคร่ควรให้ดีที่สุด ไม่อย่างนั้นจะเกิดปัญหาในห้วงต่อไป

ระยะแรกนั้น การปฏิรูปในเชิงโครงสร้าง การปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่ออนาคต ได้เริ่มกันไว้มากพอสมควรแล้ว ขณะนี้เป็นระยะต่อไปที่จะต้องเดินหน้าต่อ โดยเฉพาะในเรื่องของการปฏิรูป ซึ่งจะต้องนำแนวทางของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มาศึกษาดู อะไรที่ทำได้เราจะทำไปเลย ทั้งนี้จะต้องแบ่งระยะให้ถูกต้อง กำหนดโรดแมป กำหนดผู้กระทำ ความรับผิดชอบ ในช่วงที่ 2 ที่ผ่านมาก็ทำไปบ้างแล้ว วันนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่เข้ามาก็กำลังทำต่อ

เพราะฉะนั้นบางอย่างทำได้เลย ก็ทำไปแล้ว บางอย่างที่กำลังเริ่มก็เริ่มอยู่ พูดหลายครั้งแล้ว บางอย่างก็มีการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งจะต้องชัดเจนในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านคณะกรรมการ กรรมาธิการ 3 คณะด้วยกัน กว่าจะออกมาเป็นกฎหมายได้ อะไรที่จำเป็นผมก็ใช้มาตรา 44 ไปก่อน แต่กฎหมายที่เราออกตามมาก็ทำนองเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วเป็นไปตามกฎระเบียบ

ปฏิรูปการทำงานของรัฐบาล เพื่อจะบูรณาการ ไม่แบ่งเป็นพรรค เป็นฝ่าย

เรื่องของการปฏิรูปการทำงานของรัฐบาลนั้น วันนี้ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อจะบูรณาการการทำงานร่วมกันให้ได้ในทุกกระทรวง ในกระทรวงตนเองก็ต้องเป็นเรื่องของทุกกรม ไม่แบ่งเป็นพรรค เป็นฝ่าย แบบที่เคยเป็นมาในอดีต มีการจัดสรรแบ่งงบประมาณแยกไปทำกันเอง อย่างนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำให้เกิดการบูรณาการให้ได้ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าปฏิรูปเหมือนกัน ไม่มีการทำงานซ้ำซ้อน ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ หากการบูรณาการทำไม่ได้จริง ๆ ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากโดยไม่จำเป็น ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ แทนที่จะนำงบประมาณตรงนี้ไปให้ตรงโน้นบ้างอะไรบ้าง ก็รวมไปบางที่บางทางจนไม่ทั่วถึง เพราะฉะนั้นต้องเชื่อมโยงกันให้ได้ ทั้งในส่วนการประสานงานระหว่างกระทรวง การประชุมร่วมกัน หรือแม้กระทั่งทาง social media ในเรื่องของการเชื่อมโยงทางระบบคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล ต่าง ๆ ต้องใช้ร่วมกันทั้งหมด ไม่อย่างนั้นก็ต่างคนต่างทำ ไปไม่ได้

การบริหารจัดการระบบน้ำ

เรื่องของการบริหารจัดการระบบน้ำ วันนี้ก็ใช้คณะทำงานที่มาจากทุกกระทรวง เดิมตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีผู้รับผิดชอบเป็นทหาร วันนี้ใช้คณะทำงานของรัฐบาล มีรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกกระทรวงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของงานในแต่ละกลุ่มงานนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานตาม routine ตาม Function อันนั้นเป็นเรื่องของการทำงานของรัฐบาลปกติอยู่แล้ว ในส่วนของนโยบายเร่งด่วน นโยบายใหม่ ๆ ก็จะมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ ในการกำกับดูแลเป็นส่วนรวม

กระบวนการจัดซื้อจัดหาต่าง ๆ

ผมก็เร่งรัดให้เร็วขึ้น ที่ผ่านมาไม่ค่อยชัดเจน วันนี้ต้องแก้ไขทั้งหมด ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส รวดเร็ว มีการตรวจสอบ บางโครงการที่จะต้องมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด มีการนำหน่วยงานภาคนอกมาประเมิน มาตรวจสอบด้วย ต่างประเทศก็เอาเข้ามาด้วย เพราะฉะนั้นจะต้องมีการประสานงานระหว่างส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง

หลังจากที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีไปแล้ว ขอกรุณาอดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ได้กรุณาให้ทำความเข้าใจกับสื่อด้วย เพราะผมเองนั้นก็เป็นกังวลหลาย ๆ อย่าง ว่าจะไม่เข้าใจกันอีก ในส่วนของสื่อ ในส่วนของสังคม เพราะฉะนั้นในภาพรวมผมรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ในเรื่องของการทำงานไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีใดก็ตาม หรือรองนายกรัฐมนตรีท่านใดก็ตาม การตัดสินใจความรับผิดชอบอยู่ที่ผม เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่อาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่ท่านคิด ท่านก็บอกผมมาเท่านั้นเอง ผมเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่จะต้องขับเคลื่อนทุกกระทรวงไปพร้อม ๆ กัน รองนายกรัฐมนตรีทุกกระทรวงก็ต้องไปขับเคลื่อนให้ผม ร่วมกับรัฐมนตรีแปลงนโยบายของผมไปสู่การปฏิบัติ จากนั้นก็จะส่งไปยังข้าราชการที่อยู่ข้างหน้าเป็นผู้ปฏิบัติ วันนี้ก็เน้นหนักในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ต้องไปดูแลข้างล่างในพื้นที่ให้ชัดเจนขึ้น

ชี้เราติดกับดักตัวเอง ติดกับดักเรื่องกฎหมาย ติดกับดักเรื่องความคิด

ปัญหาในช่วงที่ผ่านมานั้นก็คือเริ่มต้นแล้ว การขับเคลื่อนยังเป็นไปได้อย่างช้าอยู่ ไม่รวดเร็ว ทุกกลุ่มงานต้องทำให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือข้าราชการ ประชาชน ที่มีส่วนร่วมกัน ปัญหาสำคัญคือหลายอย่างยังคงติดอยู่กับปัญหาเก่า ๆ เหมือนกับเราติดกับดักตัวเอง ติดกับดักเรื่องกฎหมาย ติดกับดักเรื่องความคิด ความไม่เข้าใจต่าง ๆ อะไรเหล่านี้ ความไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทั้งสองฝ่าย ก็ต้องปรับเข้าหากัน ทั้งรัฐบาล ราชการ ประชาชน เราจะต้องลดปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ ทั้งในส่วนของการทำงานของรัฐบาล ในส่วนของประชาชน มีส่วนร่วมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า ควรจะทำอย่างไรตรงไหน ให้เดินหน้าไปได้แล้วกัน ไม่อย่างนั้นผลประโยชน์ชาติ โดยรวมไม่เกิดขึ้น ประชาชนก็เดือดร้อนเหมือนเดิม

อยากให้เชื่อมั่นในพื้นฐานและศักยภาพของประเทศไทยที่ยังดีอยู่

เรื่องการเดินหน้าเศรษฐกิจระยะต่อไป ผมทราบดีว่า ประชาชนมีความเป็นห่วง จากด้านการข่าวหรือเสพจากสื่ออะไรก็แล้วแต่ และกังวลในสภาพเศรษฐกิจในช่วงนี้ หลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ก็ย่อมจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศมหาอำนาจ เช่น จีน หรือทางยุโรป สหรัฐอเมริกา ก็มีปัญหากันพอสมควร  ซึ่งปัจจัยภายในประเทศของเราที่เกษตรกรต้องประสบกับปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ  เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจขณะนี้อาจจะนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่น และมีผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศ  เกิดการชะลอทำนองนี้ ผมอยากให้ทุกท่านเชื่อมั่นในพื้นฐานและศักยภาพของประเทศไทยที่ยังดีอยู่  รัฐบาลจะเร่งเข้าไปแก้ไขในจุดอ่อนต่าง ๆ เหล่านั้น และวางรากฐานสำหรับอนาคต ประคองเศรษฐกิจให้ผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้ และก้าวไปได้อย่างมั่นคง

5 กลุ่มภารกิจขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

รัฐบาลมีนโยบายที่จะดูแลสภาพเศรษฐกิจของประเทศทั้งระบบ โดยแบ่งการขับเคลื่อนเป็น 5 กลุ่มภารกิจหลักที่ต้องขับเคลื่อนสัมพันธ์ไปด้วยกัน ให้เกิดเป็นรูปธรรม

กลุ่มภารกิจที่ 1 จะเป็นการดูแลช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร และประชาชนผู้มีรายได้น้อย ผมถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากตั้งแต่ต้นแล้ว  เพื่อประคองให้เขาผ่านพ้นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจขณะนี้ไปได้ด้วยดี

กลุ่มภารกิจที่  2 คือการดูแลเศรษฐกิจท้องถิ่น และภูมิภาคให้เข้มแข็ง ที่ผ่านมาการเติบโตของเศรษฐกิจไทย อิงกับภาคต่างประเทศ อย่างเช่น การส่งออกค่อนข้างมาก เราต้องปรับสมดุล สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจจากภายใน โดยจะเน้นที่การเจริญเติบโตในท้องถิ่น ภูมิภาค การพัฒนา 76 จังหวัดให้มีความเข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานหลักที่จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชน และทำให้เศรษฐกิจของประเทศหมุนเวียนและขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว การทำกิจการเพื่อสังคม การผลิตสินค้า OTOP  เพื่อจะสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์  รวมถึงเรื่องการส่งเสริมตลาดนัดชุมชน  เป็นต้น 

กลุ่มภารกิจที่ 3 จะมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพสินค้า ผ่านการส่งเสริมการแปรรูป/การทำ packaging  ให้กับสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ของ SMEs หรือแม้แต่สินค้าอุตสาหกรรม ที่จะต้องมีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชนผู้ผลิตสินค้า และจะช่วยทำให้เราสามารถแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศได้  รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้ตรงกับความต้องการและเพิ่มขีดความสามารถ องค์ความรู้ให้กับแรงงาน ทั้งในภาคเอกชน และภาคบริการ 

กลุ่มภารกิจที่ 4 จะเป็นการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการวางรากฐานอนาคตเศรษฐกิจของประเทศ  ทั้งในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้เชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกัน  ซึ่งอาจจะทำให้เร่งการเจริญเติบโตของเราไปสู่ภูมิภาคและภายในประเทศให้รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะมีการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมเป็น Cluster ที่ควรจะส่งเสริมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งการลงทุนนี้จะสัมพันธ์กับการพัฒนาท้องถิ่นที่จะต้องดำเนินการคู่ขนานกันไป

และกลุ่มภารกิจที่ 5  ด้านการต่างประเทศ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน และการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ผมอยากให้พี่น้องประชาชนเข้าใจว่า รัฐบาลตั้งใจอย่างเต็มที่ และการดำเนินการทั้งหมดที่กล่าวมา จะต้องเป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือการวางรากฐานเพื่ออนาคต ที่มุ่งสู่การลงทุนในภูมิภาคและท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งให้ทุกจังหวัด ทั้ง  76 จังหวัด เพราะเมื่อท้องถิ่นเข้มแข็ง ทุกจังหวัดเข้มแข็ง ความเหลื่อมล้ำก็ลดลง ประเทศย่อมเจริญเติบโตไปด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนด้วยตัวเอง ผมอยากให้พี่น้องประชาชนมีความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและช่วงนี้ และเชื่อมั่นในศักยภาพประเทศไทยของเรา และร่วมมือร่วมใจพัฒนาประเทศไปด้วยกัน

ความมั่นคง/การเฝ้าระวัง

เรื่องของความมั่นคง/การเฝ้าระวัง เป็นสิ่งที่จำเป็นจากเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้น ผมและรัฐบาลขอแสดงความเสียใจ และขอขอบคุณพี่น้องประชาชนอีกครั้งที่ได้ให้ความร่วมมือ ได้ร่วมกันออกมาแสดงพลังของความสามัคคีต่อไป ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันนำพาประเทศไทยของเราให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องขอการเป็นเจ้าบ้านที่ดีต่อนักท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์สิ่งดี ๆ ของประเทศเรา หรือการสร้างความเชื่อมั่นกับชาวต่างประเทศให้กลับมา ทุกคนมีส่วนร่วม มีขีดความสามารถที่จะช่วยกันทำได้ สำหรับภาคเอกชน บริษัท ห้างสรรพสินค้า โรงแรม  รวมถึงร้านค้าทั่วไป ท่านก็สามารถช่วยรัฐบาลได้ โดยการติดตั้งเพิ่มจำนวนหรือเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์เฝ้าระวัง เช่น กล้อง CCTV ตามพื้นที่ต่าง ๆ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร ในการติดตามคนร้ายที่มีความคืบหน้าตามลำดับ ต้องขอเวลาให้เจ้าหน้าที่ในการทำงานด้วย

ประวัติศาสตร์ “Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่”

หลังจากกิจกรรมครั้งประวัติศาสตร์ “Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมานั้น มีประชาชนทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน ข้าราชการ คนพิการ นักกีฬา คนในวงการบันเทิง เด็ก ผู้ใหญ่ คนมีอายุ มากันหมดทุกวงการ ออกมาร่วมแสดงความจงรักภัคดีและพลังแห่งความสามัคคีหลายแสนคน ได้สร้างแรงบันดาลใจให้มือใหม่หัดปั่น และคนที่ไม่เคยปั่น ไม่เคยขี่จักรยานมาก่อน ให้หันมาสนใจมากขึ้น ธุรกิจด้านจักรยานก็ดีขึ้น การท่องเที่ยวในชนบทต่าง ๆ ก็ดีขึ้น มีการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ผมอยากให้พี่น้องประชาชนช่วยกันรักษากระแสในเรื่องของการปั่นจักรยาน หรือขี่จักรยานกันต่อไป และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพื่อพบปะสังสรรค์ร่วมกันเป็นครอบครัว เป็นสังคมเล็ก ๆ ได้ ถ้าเป็นจักรยานมีโอกาสพูดคุยกันได้ยินเสียงกัน ขี่กันไปคุยกันไป แต่ก็ระมัดระวังรถ ให้ปลอดภัยก็แล้วกัน อย่าให้มีอุบัติเหตุ ขอให้เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นแรงบันดาลใจให้ทำต่อไปให้สม่ำเสมอ ใครที่ทำอยู่แล้วก็ให้ช่วยกันชักชวนเพื่อนฝูง พี่น้อง มาเพิ่มสมาชิกให้มากขึ้น รัฐบาลเองก็อยากเห็นการขยายผลอย่างต่อเนื่อง โดยต้องการให้มีการรณรงค์เรื่องความสำคัญของการออกกำลังกาย

ชี้มีคนขับรถแกล้งนักปั่น

สำหรับการขยายถนนหรือจัดสรรให้มีเลนจักรยาน เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสในการออกกำลังกาย ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย และต้องช่วยกันกระตุ้นให้สังคมมีความเข้าใจถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ผมเห็นคนขับรถบางครั้งก็ไม่ค่อยเกรงใจ เห็นจักรยานปั่นมา บางทีก็แกล้งกันบ้าง อะไรกันบ้าง มันไม่ใช่ ผมว่าเราต้องดูแลซึ่งกันและกัน การใช้ท้องถนนต้องใช้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ จักรยานยนต์ หรือจักรยาน คนเดินถนน เพราะทุกคนเป็นเจ้าของทั้งสิ้น

ในส่วนของสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนั้น ก็สามารถทำให้เราลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการสาธารณสุขลงไป เรื่องการรักษาพยาบาล ถ้าเราป้องกันตัวเอง รู้ตัวเองก็จะไม่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดสุขภาพที่ย่ำแย่ไป หลายอย่างผมเตือนไปแล้ว เรื่องการสูบบุหรี่ การดื่มสุราต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องลด ละ เลิก เพื่อจะให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

เรื่องของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วันนี้ประเทศเราค่อนข้างได้เปรียบ เพราะเรามีป่าเขา เรามีพื้นที่ชายทะเล เรามีชนบทมากมาย ที่พร้อมจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะฉะนั้นก็อยากจะให้เร่งเพิ่มนักท่องเที่ยวตามจังหวัดต่าง ๆ ได้อีกด้วย วันนี้ก็เป็นสิ่งที่นิยมกันทั่วโลก การปีนเขา การไต่เขา การเดินป่าอะไรเหล่านี้ ผมคิดว่าเราทำได้ทั้งหมด แต่ต้องให้มีความปลอดภัย  ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะช่วยดำเนินการผลักดัน ทั้งเรื่องเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว จำนวน 13 เส้นทาง ใน 13 จังหวัดของภาคกลาง เชื่อมโยงกันอย่างไร จะไปสถานที่ท่องเที่ยวอะไรบ้าง

นอกจากนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก็จะสนับสนุนให้แต่ละจังหวัดขับเคลื่อนการพัฒนาเส้นทางจักรยานมากขึ้น มีหลายจังหวัดทำไปแล้ว แต่ต้องพัฒนาให้ดีขึ้น อย่าให้มีเรื่องร้องเรียนอีกก็แล้วกัน ผมเห็นบางจังหวัดถูกร้องเรียนมาแล้ว คงต้องตรวจสอบ ทำให้เกิดความโปร่งใส ตั้งใจดีแต่อย่างทำให้เกิดความเสียหายก็แล้วกัน ทำอะไรก็ให้ดี ช่วงนี้ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นในส่วนของการใช้ประโยชน์ถนนเส้นทาง อย่างที่ผมเรียน ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยกันดูแลกัน อย่าให้เกิดขึ้นมาอีก เสียใจกันทั้งครอบครัว ประเทศชาติ กรณีถ้าเป็นชาวต่างประเทศด้วย เสียชีวิตในประเทศไทยจากการขี่จักรยาน ต่อไปคงไม่ให้เกิดขึ้น ต้องช่วยกัน

สุดท้ายนี้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายต่าง ๆ กำลังจะจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 12 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาการ และขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ในทุกระดับ รวมถึงเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรด้านการแพทย์แผนไทยที่เรามีอยู่แล้ว งานดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 6 กันยายน 2558 ระหว่างเวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนาที่จะทำให้ทรัพยากรสมุนไพรของไทยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงภูมิปัญญาของไทย หมอ แพทย์แผนไทยเหล่านี้ไปสู่ตลาดสากล ผมขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชน ทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศไปร่วมงานดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นของพี่น้องคนไทยกันเองด้วย (สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมการแพทย์และการแพทย์ทางเลือก โทร. 02-149-5696 หรือhttp//:natherbexpo.dtam.moph.go.th) ขอบคุณครับ ขอให้มีความสุขในวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

4 นศ.ญี่ปุ่น อดอาหารประท้วงกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่

$
0
0

 

28 ส.ค.2558 ตัวแทนจากกลุ่มนักศึกษาในญี่ปุ่น 4 คน เริ่มอดอาหารประท้วงการออกกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ที่ผ่านร่างในสภาล่างของญี่ปุ่นเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา กฎหมายดังกล่าวถูกมองว่าเป็นกฎหมายที่เพิ่มบทบาทแก่กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นให้สามารถเข้าร่วมรบเคียงข้างสหรัฐฯ ได้ในนามของ "การร่วมมือป้องกันตนเอง" รวมถึงการช่วยปกป้องประเทศพันธมิตรหากตกอยู่ภายใต้การโจมตี แม้ว่าญี่ปุ่นเองจะไม่ถูกโจมตีก็ตาม

มีนักศึกษาและประชาชนบางส่วนของญี่ปุ่นไม่พอใจกฎหมายนี้เนื่องจากมองว่าเป็นกฎหมายส่งเสริมการทำสงครามและไม่เป็นไปตามหลักการรัฐธรรมนูญ มีการประท้วงหลายครั้งซึ่งหลักๆ นำโดยกลุ่มนักศึกษาสนับสนุนประชาธิปไตยอย่างกลุ่ม 'นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อเสรีนิยมประชาธิปไตย' (Students Emergency Action for Liberal Democracy หรือ SEALDs) ในการประท้วงล่าสุดกลุ่มนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยพากันเดินขบวนผ่านย่านแฟชั่นอย่างชิบูยาและชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา

ตัวแทนนักศึกษาทั้ง 4 คน ที่อดอาหารประท้วงเปิดเผยว่าพวกเขาต้องการเพิ่มแรงกดดันเพื่อให้เกิดการยกเลิกกฎหมายความมั่นคงโดยแสดงให้เห็นว่าพวกเขายอมเสี่ยงชีวิตเพื่อหยุดยั้งกฎหมายฉบับนี้

"ที่พวกเราทำร้ายตัวเองและทำให้ชีวิตตัวเองอยู่ในอันตรายเช่นนี้ เพราะพวกเราต้องการให้รัฐบาลและสังคมรู้ว่าพวกเราไม่พอใจกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่มากเพียงใด และพวกเราจะดิ้นรนอย่างไม่คิดชีวิตเพื่อที่จะหยุดมัน" เคนจิ ชิมะเนะ นักศึกษากฎหมายอายุ 23 ปี จากมหาวิทยาลัยเซนชูกล่าว

นักศึกษากลุ่มดังกล่าวมีความตั้งใจว่าจะงดอาหารทั้งอาหารแข็งและอาหารเหลวโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่จะยังคงดื่มน้ำ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสุขภาพของผู้ประท้วงอดอาหารทุกคนในทุกๆ วัน และจัดให้มีกลุ่มเวรยามเพื่อไม่ให้มีใครมาทำร้ายพวกเขา พวกเขาจะเลิกอดอาหารก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกกฎหมายดังกล่าวหรือแพทย์ประกาศว่าสภาพร่างกายพวกเขาทนต่อการอดอาหารไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว

หลังจากประกาศอดอาหารประท้วง พวกเขาก็ตกเป็นเป้าการกล่าวโจมตี ข่มขู่และใส่ร้ายป้ายสีทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากประชาชนฝ่ายขวาในญี่ปุ่นบางกลุ่มไม่พอใจการต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่บางคนก็มองว่าการให้มีบุคลากรทางการแพทย์คอยตรวจสอบทำให้ดูเหมือนพวกเขาไม่ได้ 'เสี่ยงชีวิต'

ในแง่นี้กลุ่มนักศึกษาบอกว่าถึงแม้พวกเขาจะยอมเสี่ยงต่อสิ่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิต อย่างเช่นความเสียหายต่อสมอง แต่พวกเขาก็ไม่ถึงขั้นจะเอาชีวิตไปทิ้ง การดื่มน้ำก็เป็นหนึ่งในยุทธวิธีที่จะทำให้พวกเขาประท้วงโดยการอดอาหารได้ยาวนานมากขึ้น

"พวกเราไม่ได้อยากจะตายที่นี่ การอดอาหารประท้วงไม่ใช่การละทิ้งชีวิตของคุณเอง แต่เป็นการแสดงจุดยืนทางการเมือง" โชตะโระ คิโมะโตะ อายุ 19 ปี กล่าว เขาเป็นนักศึกษาวิชาวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยวาเซะดะ หนึ่งในตัวแทนนักศึกษาที่อดอาหารประท้วง 

 

เรียบเรียงจาก

Students launch hunger strike to protest security bills, Japan Times, 27-08-2015

http://www.japantimes.co.jp/news/2015/08/27/national/students-launch-hunger-strike-protest-security-bills

Lower House passes security bills amid protests, Japan Times, 16-07-2015

http://www.japantimes.co.jp/news/2015/07/16/national/politics-diplomacy/lower-house-set-to-pass-security-bills

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ 'โนเอสเคป'เผยถ่ายทำในไทย แต่ถูกห้ามบอกว่าเป็นไทย

$
0
0

 

28 ส.ค. 2558 เว็บไซต์เดอะสเตร็ทไทม์รายงานเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง 'โนเอสเคป' (ไร้ทางหนี) ซึ่งเคยมีกระแสข่าวในเชิงเข้าใจผิดว่าจะถูกแบนในไทยแต่ก็ได้เข้าฉายในที่สุด อย่างไรก็ตามเนื้อข่าวระบุว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าฉายในไทยเพราะผู้สร้างภาพยนตร์ยอมตกลงว่าจะไม่เผยแพร่สถานที่ถ่ายทำหรือแสดงให้เห็นอะไรที่เกี่ยวพันกับเรื่องสถาบันหรือศาสนา ถึงแม้ว่าภาพยนตร์ดังกล่าวนี้จะถ่ายทำในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2556 ก็ตาม

สองพี่น้อง จอห์น และดริว ดาวเดิล ผู้เขียนบทภาพยนตร์กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า พวกเขาทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิดและมีหลายเรื่องที่ทางการไทยอยากให้ห่างๆ ไว้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยแต่ก็ห้ามให้มีการใช้ภาษาไทยในตัวเรื่องเพราะไม่อยากให้ฉากของเรื่องนี้เป็นประเทศไทย นอกจากนี้ยังห้ามแสดงให้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์หรือแสดงให้เห็นสีเหลืองโดยให้เหตุผลว่าเป็นสีของพระมหากษัตริย์ และมีการห้ามไม่มีการทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าพระพุทธรูป

'โนเอสเคป' ซึ่งมีชื่อเดิมว่า 'เดอะ คู' (the coup-รัฐประหาร) เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับครอบครัวชาวอเมริกันที่พยายามหลบหนีจากเหตุโกลาหลที่เกิดขึ้นหลังเกิดการรัฐประหารในประเทศแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สองพี่น้องดาวเดิลเปิดเผยว่าพวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับทางการไทยและคิดว่าทางการไทยชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ 

 

 

เรียบเรียงจาก

Shot in Chiangmai, but no trace of Thailand, The Strait Times, 26-08-2015

http://www.straitstimes.com/lifestyle/entertainment/shot-in-chiangmai-but-no-trace-of-thailand

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.ธีรชัย นาควานิช นั่ง ผบ.ทบ. - พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา เป็นปลัดกลาโหม

$
0
0

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ โยกย้าย 831 ตำแหน่ง พล.อ.ธีรชัย นาควานิช เป็น ผบ.ทบ. - พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา เป็นปลัดกลาโหม - พล.อ.วลิต โรจนภักดี เป็นรอง ผบ.ทบ. - พล.ร.อ. ณะ อารีนิจ เป็น ผบ.ทร. ส่วน พล.ร.ต. พงศกร กุวานนท์ เป็นผู้บัญชาการกองเรือดำน้า

ส่วนหนึ่งของการตำแหน่งนายทหารที่มีการปรับเปลี่ยน หลังประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 (แถวบน จากซ้ายไปขวา) (1) พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม (2) พล.อ. สมหมาย เกาฏีระ เสนาธิการทหาร เป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (3) พล.อ. ธีรชัย นาควานิช ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผู้บัญชาการทหารบก (4) พล.อ. วลิต โรจนภักดี รองเสนาธิการทหาร เป็น รองผู้บัญชาการทหารบก

(แถวล่าง จากซ้ายไปขวา) (5) พิสิทธิ์ สิทธิสาร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็นเสนาธิการทหารบก (6) พล.อ.อ. วัธน มณีนัย ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการทหารอากาศ (7) พล.ร.อ. ณะ อารีนิจ เสนาธิการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ และ (8) พล.ร.ต. พงศกร กุวานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ (ที่มาของภาพ: กองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 3, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กองทัพบก, โรงเรียนนายเรืออากาศ และกองทัพเรือ)

 

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2558 ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษามีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ รวม 831 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งที่สำคัญ ได้แก่

 

กระทรวงกลาโหม

พล.อ. ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม

 

กองบัญชาการทหารสูงสุด

พล.อ. สมหมาย เกาฏีระ เสนาธิการทหาร เป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พล.อ. วิเชียร ศิริสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พล.ร.อ. ประสาน สุขเกษตร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พล.อ.อ. ถาวร มณีพฤกษ์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พล.อ. ประสูตร รัศมีแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

 

กองทัพบก

พล.อ. ธีรชัย นาควานิช ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผู้บัญชาการทหารบก

พล.อ. วลิต โรจนภักดี รองเสนาธิการทหาร เป็น รองผู้บัญชาการทหารบก

พล.อ. พิสิทธิ์ สิทธิสาร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น เสนาธิการทหารบก

พล.ท. กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

พล.ท. เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

พล.ท. สุรเดช เฟื่องเจริญ เจ้ากรมกำลังพลทหารบก เป็น รองเสนาธิการทหารบก

พล.ท. สสิน ทองภักดี เจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็น รองเสนาธิการทหารบก

พล.ท. สุทัศน์ จารุมณี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น รองเสนาธิการทหารบก

พล.ท. เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ แม่ทัพน้อยที่ 1 เป็น แม่ทัพภาคที่ 1

พล.ต. สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็น แม่ทัพภาคที่ 3

พล.ต. วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็น แม่ทัพภาคที่ 4

พล.ต. ธนศักดิ์ เก่งถนอมม้า รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

 

กองทัพอากาศ

พล.อ.อ. วัธน มณีนัย ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการทหารอากาศ

พล.อ.อ. ทวิเดนศ อังศุสิงห์ หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ

พล.อ.อ. เผด็จ วงษ์ปิ่นแก้ว ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ

พล.อ.ท. ชวรัตน์ มารุ่งเรือง เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ

พล.อ.ท. ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ

พล.อ.ท. มานะ ประสพศรี เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ

พล.อ.ท. อำพล อิ่มบัว เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ

 

กองทัพเรือ

พล.ร.อ. ณะ อารีนิจ เสนาธิการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ

พล.ร.อ. ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ รองผู้บัญชาการทหารเรือ

พล.ร.อ. ไกรวุธ วัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

พล.ร.อ. พัลลภ ตมิศานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น เสนาธิการทหารเรือ

พล.ร.ต. พงศกร กุวานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ

พล.ร.ท. นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 เป็น ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ

น.อ. ภิญโญ โตเลี้ยง เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ

 

โดยละเอียดของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี มีดังนี้

 

000

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณดังต่อไปนี้

กระทรวงกลาโหม

1. พลเอก นพดล ฟักอังกูร เจ้ากรมเสมียนตรา เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม

2. พลอากาศเอก วรฉัตร ธารีฉัตร ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ เป็น จเรทหารทั่วไป

3. พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็น หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

4. พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม

5. พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม

6. พลเอก พอพล มณีรินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม

7. พลเรือเอก อนุทัย รัตตะรังสี ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม

8. พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม

9. พลเอก ฐิตินันท์ ธัญญสิริ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหม

10. พลเอก ทวีป เนตรนิยม ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

 

11. พลเอก เชวงศักดิ์ ทองสลวย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

12. พลเอก สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

13. พลโท ภุชพงศ์ พงษ์ศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

14. พลโท ปิยะ ครุธเวโช รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

15. พลโท วิษณุศักดิ์ กลั่นเสนาะ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

16. พลโท วัลลภ รักเสนาะ เจ้ากรมยุทธการทหาร เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

17. พลโท วิสุทธิ์ นาเงิน รองเจ้ากรมเสมียนตรา เป็น เจ้ากรมเสมียนตรา

18. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ รองเสนาธิการทหารบก เป็น ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม

19. พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็น เจ้ากรมพระธรรมนูญ

20. พลโท เดชา ปุญญบาล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

 

21. พลโท อำนาจ รอดสวัสดิ์ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

22. พลโท วรวุธ กิจพจน์ หัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหารกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

23. พลโท ฐิติวัจน์ กำลังเอก ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

24. พลโท วิทยา จินตนานุรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

25. พลโท เอกพร พินโปน ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

26. พลโท ดำรงศักดิ์ วรรณกลาง เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

27. พลโท ณรงค์ฤทธิ์ อิศรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

28. พลโท เดชา เหมกระศรี ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

29. พลโท ปี โสภัณณา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

30. พลโท ปริญญา ทวีชัยการ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

 

31. พลโท ยุทธชัย พันธุ์งาม ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

32. พลโท อภิชัย หงษ์ทอง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

33. พลโท จีรศักดิ์ บุตรเนียร ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

34. พลโท พิชิต ฟูฟุ้ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

35. พลโท อัศวิน แจ่มสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

36. พลโท เยาวดนัย ภู่เจริญยศ ที่ปรึกษากองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

37. พลโท นาวิน ดำริกาญจน์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

38. พลโท พรรณนพ ศักดิ์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

39. พลอากาศโท นพดล นุ่มศิริ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลอากาศเอก)

40. พลอากาศโท ธนู ปานสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลอากาศเอก)

 

41. พลโท อาวุธ แสงตะวัน ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น หัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหารกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

42. พลโท ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น รองเจ้ากรมเสมียนตรา

43. พลโท สัมพันธ์ ธัญญพืช ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็น เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม

44. พลโท นพพงษ์ กิจรัตนา หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

45. พลตรี ชมพล อามระดิษ หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

46. พลตรี ไชยชาญ ศรีวิเชียร รองหัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหารกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหมเป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

47. พลตรี สวัสดิ์ ทัศนา ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตราเป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหม

48. พลเรือตรี ธนกฤต วงษ์ชัยสมร ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม

49. พลอากาศตรี อรณพ เมนะรุจิ รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม

50. พลตรี โชคดี เกตสัมพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

 

51. พลตรี ชาติชาย แจ้งสี รองเจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

52. พลตรี พชร ชัยวุฒิ ผู้ชำนาญการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

53. พลตรี สุทธิศักดิ์ สลักคำ รองเจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

54. พลตรี สมศักดิ์ รุ่งสิตา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

55. พลตรี กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ ผู้ช่วยเจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็น รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ

56. พลตรี รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

57. พลตรี อภิชาติ อุ่นอ่อน รองผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

58. พลตรี ชูเกียรติ จุณณะปิยะ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

59. พลตรี สรโกเศศ เปี่ยมญาติ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

60. พลตรี สถาพร มหารักษิต ผู้ชำนาญการสำนักงบประมาณกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

 

61. พลตรี สมนึก เอนกวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

62. พลตรี อรรถพงศ์ ศิริวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

63. พลตรี สมศักดิ์ ต่างท้วม หัวหน้าสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

64. พลตรี กมล เพิ่มกำลังพล ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

65. พลตรี สิทธิพร ศรีสุขโข ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

66. พลตรี ชูนล หาสารีสร ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

67. พลตรี ชัยยศ อุ่นเรือน ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

68. พลอากาศตรี ชิดพล เกษมคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลอากาศโท)

69. พลตรี อำนาจ สมประสงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

70. พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

 

71. พลตรี จักรกริช จันเทร์มะ รองเจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

72. พลตรี ยุทธ พรหมพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการพลเรือน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

73. พลตรี อภินันท์ คำเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

74. พลตรี ปริญญา ฉายดิลก นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น รองหัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหารกับกระทรวงการต่างประเทศ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

75. พลตรี โอภาส ลิ่วศิริวงษ์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกลาโหม กรมเสมียนตรา เป็น ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา

76. พลตรี รภิต ประทุมชัย ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกลาโหม กรมเสมียนตรา

77. พลตรี พนมเทพ เวสารัชชนันท์ ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ เป็น ผู้ช่วยเจ้ากรมพระธรรมนูญ

78. พลตรี เกียรติศักดิ์ ลิลิตธรรม ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม

79. พลตรี อนิรุจน์ มัสโอดี นักวิชาการพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็น รองเจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

80. พลตรี ปรีชา สายเพ็ชร รองผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น รองเจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม

 

81. พลตรี มโน นุชเกษม ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม เป็น รองเจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

82. พลตรี ชัยยศ ลิลิตวงษ์ ที่ปรึกษาทางเทคนิค กรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และอวกาศกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

83. พลตรี ร่มเกล้า ปั้นดี ผู้อำนวยการสำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น รองผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

84. พลอากาศตรีหญิง รจเรขา เบญจกุล ผู้อำนวยการสำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

85. พลตรี ต่างแดน พิศาลพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

86. พันเอก ประจักร ยิ้มภักดี เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

87. พันเอก ฐิติพล ไวยพจน์ เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหม

88. พันเอก ไชยอนันต์ คำชุ่ม เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม

89. พันเอก ยุทธนินทร์ บุนนาค เป็น เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

90. พันเอก นุชิต ศรีบุญส่ง เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

 

91. พันเอก เพิ่มศักดิ์ รอบจังหวัด เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการพลเรือน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

92. พันเอก ธนพล เป๋อรุณ เป็น รองหัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหาร กับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

93. นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร เป็น ผู้ชำนาญการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

94. พันเอก บรรพต เกิดผลเสริฐ เป็น ตุลาการพระธรรมนูญประจำสำนักตุลาการทหาร

95. นาวาเอก สรรศิริ เจริญศักดิ์ เป็น ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าคณะฝ่ายศาลทหารสูงสุด

96. พันเอก สราดล สุรัตพิพิธ เป็น ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าคณะฝ่ายศาลทหารสูงสุด

97. นาวาเอก เผ่าเทพ ประสานพานิช เป็น ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ

98. พันเอก สัณณชัย ทองขวัญ เป็น รองผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

99. พันเอก สมบัติ ประสานเกษม เป็น นักวิชาการพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

100. พันเอก ยศ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็น หัวหน้าสำนักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมกลาโหม

 

101. พันเอก วีระวุฒิ ผันนภานุกูล เป็น ที่ปรึกษาทางเทคนิค กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

102. พันเอก สมชาติ ศิลป์เจริญ เป็น ผู้อำนวยการสำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

103. พันเอก อดินันท์ ไชยฤกษ์ เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงบประมาณกลาโหม

104. พันเอก โกศล ชูใจ เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

105. พันเอก ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

106. พันเอก เกรียงศักดิ์ แย้มศิริ เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

107. พันเอก ณพล จีนวรรณ เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

108. พันเอกหญิง บุญรักษา นาควานิช เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

109. พันเอก จีรวัฒน์ รอดทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

110. พันเอก วัลลภ เอี่ยมสมบุญ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

 

111. พันเอก สุพมิตร ตรีธารทิพย์วิกุล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

112. พันเอก จิรวิทย์ เดชจรัสศรี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

113. พันเอก สิทธิชัย เกียรติไพบูลย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

114. พันเอก วรวุธ เอี่ยมอำภา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

115. พันเอก รังษี กิตติญาณทรัพย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

116. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

117. พันเอก คำรณ ชาติเสวียง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

118. พันเอก กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

119. พันเอก เอกมล สินหนัง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

120. พันเอก จรรยา ปัถวีเสถียร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

121. พันเอก อดิศร ขาวกระจ่าง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

122. พันเอก ดำรง เรืองฤทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

123. พันเอก วิญญู เชาว์นวม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

124. พันเอก พีรพงศ์ ศรีพันธุ์วงศ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

125. พันเอก นันทวัฒน์ ศรีสุพพัตพงษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

126. พันเอก ชาติชาย มาเมือง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

127. พันเอก ชูศิลป์ งามประสิทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

128. พันเอก สุเชษฐ์ ตันยะเวช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

129. พันเอก ชุมพล แก้วล้วน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

130. พันเอก อภิชาติ ไชยะดา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

 

131. พันเอก ชำนัญพจน์ พูลเกษ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

132. นาวาอากาศเอก นิพัทธ เล็กขาว เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

133. พันเอกหญิง พรกมล พิพิธกุล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

134. พันเอกหญิง ปิยนุช รัตนวิชัย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

135. พันเอกหญิง วัชราภรณ์ แจ่มสุวรรณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

136. พันเอกหญิง อรวรรณ อุชชิน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

137. พันเอกหญิง วราภรณ์ นาครัตน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

 

กองบัญชาการกองทัพไทย

138. พลเอก สมหมาย เกาฏีระ เสนาธิการทหาร เป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

139. พลเอก วิเชียร ศิริสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

140. พลเรือเอก ประสาน สุขเกษตร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

 

141. พลอากาศเอก ถาวร มณีพฤกษ์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

142. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

143. พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ รองเสนาธิการทหาร เป็น เสนาธิการทหาร

144. พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น รองเสนาธิการทหาร

145. พลเรือเอก จรูญ จาตุรพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองเสนาธิการทหาร

146. พลอากาศเอก ชูชาติ บุญชัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหาร

147. พลเอก สุภกิจ นุตสถิตย์ ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

148. พลเอก ธวัชชัย บุญศรี ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง

149. พลโท ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็น รองเสนาธิการทหาร

150. พลโท หัสพงศ์ ยุวนวรรธนะ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

 

151. พลโท พรพิพัฒน์ เบญญศรี ปลัดบัญชีทหาร เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด

152. พลอากาศโท ยรรยง คันธสร รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลอากาศเอก)

153. พลโท สีหนาท วงศาโรจน์ เจ้ากรมข่าวทหาร เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย

154. พลโท สุรสิทธิ์ ถาวร ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลเอก)

155. พลโท บุญชู เกิดโชค เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลเอก)

156. พลโท บัณฑิตย์ บุณยะปาน เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

157. พลโท ไพรัช โพธิ์อุบล เจ้ากรมการสื่อสารทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

158. พลโท ณัศพล กันตะปีติ เจ้ากรมสารบรรณทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

159. พลโท พัฒนพงศ์ องอาจอิทธิชัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

160. พลโท วสันต์ สุริยมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

 

161. พลโท พันธุ์ศักดิ์ บูรณปรีชา ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

162. พลโท ทศพร ศิลปาจารย์ ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

163. พลโท สมชาย วัชรานาถ รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

164. พลโท พิจิตร แก้วลี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ปลัดบัญชีทหาร

165. พลโท ธนสร ป้องอาณา ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

166. พลโท ธิวา เพ็ญเขตกรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น เจ้ากรมข่าวทหาร

167. พลโท อนุศักดิ์ เผ่านาค ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย เป็น เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร

168. พลโท สุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

169. พลตรี กฤษฎิ์ ยิ้มสู้ ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย

170. พลตรี ชัยยันต์ จิตต์ทา รองเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เป็น ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย

 

171. พลตรี กิตติเทพ เจียรสุมัย รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร เป็น ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย

172. พลตรี ชัยพฤกษ์ อัยยะภาคย์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร

173. พลอากาศตรี ไกรพล ยั่งยืน รองเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมกำลังพลทหาร

174. พลตรี ธงชัย สาระสุข รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็น เจ้ากรมยุทธการทหาร

175. พลตรี พิเชฏฐ์ แย้มแก้ว รองเจ้ากรมการสื่อสารทหาร เป็น เจ้ากรมการสื่อสารทหาร

176. พลตรี ธนเกียรติ ชอบชื่นชม รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย เป็น ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย

177. พลตรี สถาพร พันธ์กล้า ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหาร เป็น เจ้ากรมสารบรรณทหาร

178. พลเรือตรี สุธีพงศ์ แก้วทับ รองเจ้ากรมข่าวทหารเรือ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

179. พลอากาศตรี สุชิน วรรณโรจน์ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

180. พลตรี ยุทธนาสินธุ์ ศรีนุรัตน์เดชา รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด

 

181. พลตรี ไชยอนันต์ จันทคณานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

182. พลตรี สุวัฒน์ เจียมอ่อน ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

183. พลตรี จุลพจน์ อิทธะรงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

184. พลตรี ชัยกรณ์ นิลเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

185. พลตรี สุพัฒน์ ภูตินาถ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

186. พลตรี ธานินทร์ อยู่พงษ์พิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

187. พลตรี สุทธินันท์ ชมภูจันทร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

188. พลตรี ปรัชญา นครเก่า รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

189. พลตรี พัชระ จำรัสประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

190. พลตรี ณัฐ จิตต์แจ้ง ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

 

191. พลตรี สรานุวัตร ประดิษฐพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

192. พลตรี นิพนธ์ มณีใส ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

193. พลตรี ณัฐกร ทิพย์สุข ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

194. พลตรี เดชธิชัย ไขว้พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารสิ่งอุปกรณ์ กรมส่งกำลังบำรุงทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

195. พลตรี ภานุสร เกษสังข์ ผู้ชำนาญการกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

196. พลตรี ทรงเกียรติ ทิพย์เทียมพงศ์ ผู้ชำนาญการกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

197. พลตรี ธีร์ธวัช พลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

198. พลตรี สุรพล วันเพ็ญ เสนาธิการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

199. พลตรี ฤาเดช ชื่นประดิษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

200. พลตรี เทวัญ สมบุญโต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทหาร กรมการสื่อสารทหาร เป็น รองเจ้ากรมการสื่อสารทหาร

 

201. พลเรือตรี จีระ เขียนวิจิตร นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทหาร กรมการสื่อสารทหาร

202. พลตรี อัศฎางค์ สัจจปาละ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง กรมกิจการชายแดนทหาร

203. พลตรี สนธิ นวกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย

เป็น รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย

204. พลตรี ธรรมนูญ เชี่ยวการปราบ ผู้อำนวยการสำนักงานทหารพัฒนา

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

205. พลตรี ทำนุ โพธิ์งาม รองเสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

206. พลตรี นเรนทร์ สิริภูบาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

เป็น รองเสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

207. พลตรี อรรถธา รัตน์อ่อน รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร

เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

208. พลตรี พิสัณห์ ปฐมเอม ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

เสนาธิการทหาร เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนช่างฝีมือทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

209. พลตรี ธนัฐธัชญ์ พลอยไพศาล รองเจ้ากรมยุทธบริการทหาร

เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

210. พลตรี พัฒนา คุ้มเปลี่ยน ผู้อำนวยการสำนักยุทธโยธาทหาร

เป็น รองเจ้ากรมยุทธบริการทหาร

 

211. พลตรี คำรณ เครือวิชฌยาจารย์ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง

กรมกิจการชายแดนทหาร เป็น รองเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร

212. พลตรี สมเกียรติ วรรณพิรุณ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ศูนย์ประสานงาน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง เป็น ผู้อำนวยการสำนักยุทธโยธาทหาร

213. พลตรี วรยุทธ ด้วงกลัด ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการทหาร

เป็น ผู้อำนวยการสำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย

214. พลตรี ยอดพล เบี้ยวไข่มุข เลขานุการกองบัญชาการกองทัพไทย

เป็น ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการทหาร

215. พลตรี ศิราวุฒิ วงศ์ขันตี ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร

เป็น เลขานุการกองบัญชาการกองทัพไทย

216. พลตรี ปรีชา เทียมฉัตร์ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น รองปลัดบัญชีทหาร

217. พลอากาศตรี มงคล พันธุ์เพ็ง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองเสนาธิการทหาร

218. พลตรี ชัชชัย ภัทรนาวิก รองหัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหาร

กับกระทรวงการต่างประเทศ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการ

ต่อต้านการก่อการร้ายสากล

219. พลตรี วิศิษฐ์ วิศิษฏ์โยธิน ผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการ

ป้องกันประเทศ

 

220. พลตรี จุมพล เฉลยถ้อย ผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

221. พลตรี ชิติสรรค์ สุขเกษตร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 5

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

222. พลตรี อภิรมย์ จินตเกษกรรม ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหาร

เป็น เจ้ากรมการเงินทหาร

223. พลตรี กิตติภพ มนูญนิมิตร รองเจ้ากรมสารบรรณทหาร

เป็น รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร

224. พลตรี วิบูลจิตร สว่างอารมณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

เป็น รองเจ้ากรมสารบรรณทหาร

225. พลตรี วิวัฒน์ไชย ศรีมานพ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหาร

226. พลตรี จรูญ อำภา ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

เป็น ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหาร

227. พลตรี ศุภเดช แก้วเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

228. พลอากาศตรี รัฐเดช จุลวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์

กรมกิจการพลเรือนทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

229. พลตรี กสิณกฤษฏิ์ พงษ์เขียว ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ชำนาญการกองบัญชาการกองทัพไทย

230. พลตรี กิตติพงศ์ กาญจนาคม ผู้ชำนาญการกองบัญชาการกองทัพไทย

เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

 

231. พลอากาศตรีหญิง ดวงฤดี คีรีวัฒน์ เจ้ากรมการเงินทหาร

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

232. พันเอก วันชัย ชัยประภา เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย

233. พันเอก ธิติชัย เทียนทอง เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหาร

234. พันเอก ณัฏฐพัชร สกุลรังสฤษฏ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานทหารพัฒนา

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

235. พันเอก ขจรฤทธิ์ นิลกำแหง เป็น ผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

236. พันเอก นพดล มังคละทน เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

237. พันเอก พีรพงษ์ เมืองบุญชู เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

238. พันเอก ธีระ ญาณวโร เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำเสนาธิการทหาร

239. นาวาเอก นันทพล มาลารัตน์ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

240. นาวาเอก วรรณ์ลบ ทับทิม เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองเสนาธิการทหาร

 

241. นาวาเอก ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ เป็น รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร

242. พันเอก ดนัย เถาว์หิรัญ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย

243. พันเอก วิชัย ชูเชิด เป็น ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร

244. พันเอก มนต์ ทวีวรรณบูลย์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารสิ่งอุปกรณ์

กรมส่งกำลังบำรุงทหาร

245. พันเอก ศุภฤกษ์ ชัยชนะ เป็น รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร

246. พันเอก หัสฎี วงศ์อิศเรศ เป็น รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร

247. พันเอก ผดุงศักดิ์ รุจิยาปนนท์ เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการ

อันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง

248. พันเอก ธวัชชัย ชวนสมบูรณ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 5

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

249. พันเอก สัณห์เพชร สายสรรพมงคล เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ

ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง

250. นาวาอากาศเอก อัมรินทร์ ตรีเพ็ชร เป็น รองเจ้ากรมการสื่อสารทหาร

 

251. นาวาอากาศเอก ศุภณัฏฐ หนูรอด เป็น รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร

252. นาวาอากาศเอก ไกรสร จันทร์เรือง เป็น รองปลัดบัญชีทหาร

253. พันเอก พหล แก้วพรรณนา เป็น ผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

254. พันเอก จีรยุทธ ทุนเจริญ เป็น ผู้ชำนาญการกองบัญชาการกองทัพไทย

255. พันเอก ธนภัทร พละพล เป็น ผู้ชำนาญการกองบัญชาการกองทัพไทย

256. พันเอก วิธัต เสมาชัย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

257. พันเอก สุชาติ สุทธิผล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

258. พันเอก วรพจน์ เร้าเสถียร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

259. พันเอก อำนาจ จันทรนิมะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

260. พันเอก ขจรจักร ศิริมงคลพิสิษฎฐ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

 

261. พันเอก ทวีป ปิยะอรุณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

262. พันเอก ชรารักษ์ สมนาม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

263. พันเอก สุริยะ วงศ์ใหญ่ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

264. พันเอก วิสุทธิ์ บุญยินดี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

265. พันเอก สุชาต สุขสายชล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

266. พันเอก ไพโรจน์ ศรีคเรศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

267. พันเอก ทนงศักดิ์ รองทิม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

268. พันเอกหญิง พิรุณี เลขกิจสุนทร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

269. พันเอกหญิง จารุณี อรัณยกานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

270. พันเอกหญิง กรวิกา โพธิโชติ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

 

271. นาวาเอกหญิง ปิยาภรณ์ สร้างสมวงษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

272. นาวาเอกหญิง วรนารถ พงศ์พิพัฒน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

273. นาวาเอกหญิง จินดา สระสมบูรณ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

274. นาวาอากาศเอกหญิง อุดมลักษณ์ สนแจ้ง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทยกองทัพบก

275. พลเอก ธีรชัย นาควานิช ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผู้บัญชาการทหารบก

276. พลเอก วลิต โรจนภักดี รองเสนาธิการทหาร เป็น รองผู้บัญชาการทหารบก

277. พลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก

278. พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น เสนาธิการทหารบก

279. พลเอก กิตติ อินทสร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก

280. พลเอก ชนะพล แก้ววาตะ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

281. พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

282. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

283. พลโท สาธิต พิธรัตน์ แม่ทัพภาคที่ 3 เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก

284. พลโท ศุภกร สงวนชาติศรไกร รองเสนาธิการทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

285. พลโท ภาณุวัชร นาควงษม์ รองเสนาธิการทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

286. พลโท วิวรรธน์ สุชาติ รองเสนาธิการทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

287. พลโท เสริมศักดิ์ นิยะโมสถ รองเสนาธิการทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

288. พลโท สมชาย ยังพิทักษ์ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

289. พลโท พลาวุฒิ กลับเจริญ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

290. พลโท อาชาไนย ศรีสุข แม่ทัพน้อยที่ 2

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

 

291. พลโท เกษม ธนาภรณ์ แม่ทัพน้อยที่ 3

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

292. พลโท นพวงศ์ สุรวิชัย แม่ทัพน้อยที่ 4

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

293. พลโท ทลวงรณ วรชาติ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

294. พลโท สถาพร สีมาสุรรักษ์ เจ้ากรมการทหารช่าง

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

295. พลโท กฤษฎา อารีรัชชกุล เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

296. พลโท ชาญชัย ยศสุนทร ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

297. พลโท สิริศักดิ์ วรเจริญ เจ้ากรมพลาธิการทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

298. พลโท สิงหศักดิ์ อุทัยมงคล ที่ปรึกษากองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

299. พลโท พันธ์ศักด์ิ จันทร์ด้ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

300. พลโท ตฤณ กาญจนานันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

 

301. พลโท นคร สุขประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

302. พลโท อภิรัตน์ สุวรรณตรา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

303. พลโท สุรเดช เฟื่องเจริญ เจ้ากรมกำลังพลทหารบก

เป็น รองเสนาธิการทหารบก

304. พลโท สสิน ทองภักดี เจ้ากรมยุทธการทหารบก

เป็น รองเสนาธิการทหารบก

305. พลโท สุทัศน์ จารุมณี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

เป็น รองเสนาธิการทหารบก

306. พลโท เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ แม่ทัพน้อยที่ 1

เป็น แม่ทัพภาคที่ 1

307. พลโท พลภัทร วรรณภักตร์ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

สำนักงานผู้บังคับบัญชากองทัพบก เป็น เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

308. พลตรี วราห์ บุญญะสิทธิ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1

เป็น รองเสนาธิการทหารบก

309. พลตรี จิระพันธ์ มาลีแก้ว ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11

เป็น รองเสนาธิการทหารบก

310. พลตรี สรรชัย อจลานนท์ รองเจ้ากรมกำลังพลทหารบก

เป็น เจ้ากรมกำลังพลทหารบก

 

311. พลตรี ณัฐพล นาคพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน

กรมยุทธการทหารบก เป็น เจ้ากรมยุทธการทหารบก

312. พลตรี ธนเดช เหลืองทองคำ รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก

เป็น เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก

313. พลตรี ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการ

ทหารบก เป็น เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก

314. พลตรี สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล รองแม่ทัพภาคที่ 3

เป็น แม่ทัพภาคที่ 3

315. พลตรี วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4

เป็น แม่ทัพภาคที่ 4

316. พลตรี อภิรัชต์ คงสมพงษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1

เป็น แม่ทัพน้อยที่ 1

317. พลตรี วิชัย แชจอหอ รองแม่ทัพภาคที่ 2

เป็น แม่ทัพน้อยที่ 2

318. พลตรี บรรเจิด ฉางปูนทอง รองแม่ทัพภาคที่ 3

เป็น แม่ทัพน้อยที่ 3

319. พลตรี เรืองศักดิ์ สุวรรณนาคะ รองแม่ทัพภาคที่ 4

เป็น แม่ทัพน้อยที่ 4

320. พลตรี ธนศักดิ์ เก่งถนอมม้า รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

 

321. พลตรี ธนดล สุรารักษ์ รองเจ้ากรมการทหารช่าง

เป็น เจ้ากรมการทหารช่าง

322. พลตรี วีรชัย อินทุโศภน รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

323. พลตรี ถกลเกียรติ นวลยง รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

324. พลตรี มณฑล วัฒนธร เสนาธิการหน่วยบัญชาการป้องกันภัย

ทางอากาศกองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก

325. พลตรี พลรบ โชคระดา รองเจ้ากรมพลาธิการทหารบก

เป็น เจ้ากรมพลาธิการทหารบก

326. พลตรี พะโจมม์ ตามประทีป รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

เป็น ที่ปรึกษากองทัพบก

327. พลตรี สมโภชน์ วังแก้ว ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษา

พระองค์ เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับบัญชากองทัพบก (อัตรา พลโท)

328. พลตรี ชลอ เหาะเจริญสุข รองปลัดบัญชีทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

329. พลตรี ประวิทย์ หูแก้ว รองแม่ทัพภาคที่ 2

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

330. พลตรี มณี จันทร์ทิพย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

 

331. พลตรี ฐิติวุฒิ อ่วมพริ้ง รองแม่ทัพน้อยที่ 2

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

332. พลตรี โชติอนันต์ปรีชา ทรัพย์หิรัญ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัย

ทางอากาศกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

333. พลตรี จัดพล วุฑฒกนก รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

334. พลตรี สมพงษ์ ไทรงาม รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

335. พลตรี ชาติชายพัฎฐ์ สุคนธสิงห์ รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

336. พลตรี นพดล ยิ้มถนอม ผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

337. พลตรี เฉลิมเกียรติ พนาเวศร์ ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

338. พลตรี บรรณวัฒน์ มาโกมล เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

339. พลตรี ณัฏฐิพงษ์ เผือกสกนธ์ เจ้ากรมการเงินทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

340. พลตรี ชาติชาย อ่อนน่วม เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

 

341. พลตรี พันธ์ยศ พันธ์เพิ่มศิริ เจ้ากรมการสารวัตรทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

342. พลตรี วิบูล ขยันกิจ ผู้บัญชาการศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ

กองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

343. พลตรี จรูญ แป้นแก้ว ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 3

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

344. พลตรี มนตรี กำแพงเศรษฐ ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 4

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

345. พลตรี ธนกร จงอุตส่าห์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 24

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

346. พลตรี การุณ ขุนสูงเนิน ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกตาก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

347. พลตรี ไสว พลการ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

348. พลตรี ฐิตินันท์ อุตมัง ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

349. พลตรี สรชัช วรปัญญา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักนิยมและ

ยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

350. พลตรี ณรงค์ สบายพร ผู้อำนวยการสำนักฝึกและศึกษาทางทหาร

กรมยุทธการทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

 

351. พลตรี โสภณ สงวนพงษ์ เสนาธิการศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

352. พลตรี วิชัย ประยูรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

353. พลตรี โชติภณ จันทร์อยู่ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

สำนักงานผู้บังคับบัญชากองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

354. พลตรี องอาจ ชวาลวิวัฒน์ ผู้ชำนาญการกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

355. พลตรี ธีระ กรใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

356. พลตรี จงธนภัทร์ แสงแจ่มจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

357. พลตรี อัคร ทิพโรจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

358. พลตรี ทวีวัฒน์ บูรณสิงห์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

359. พลตรี ประดิษฐ์ อ่อนพุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

360. พลตรี สิทธิ ปิยะสนธิ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

 

361. พลตรี บุญเพิ่ม พิทักษ์วงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

362. พลตรี สนธิรัตน์ นาครัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

363. พลตรี ต่อศักดิ์ สุมะโน ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

364. พลตรี วรวิทย์ วรรธนะศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

365. พลตรี อัษฎา แสงฤทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

366. พลตรี เพิ่มพงษ์ ณ พัทลุง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

367. พลตรี นักรบ บุญบัวทอง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

368. พลตรี สมภพ ยะโสภา ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากร

สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก เป็น รองปลัดบัญชีทหารบก

369. พลตรี คธายุทธ์ เสาวคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักแผนเตรียมพล

กรมกำลังพลทหารบก เป็น รองเจ้ากรมกำลังพลทหารบก

370. พลตรี ชูชาติ บัวขาว ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการ

ทางทหารกองทัพบก เป็น รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก

 

371. พลตรี กัมพล ดิษฐคำเริง ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง

กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เป็น รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก

372. พลตรี ณัฐ อินทรเจริญ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1

373. พลตรี พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1

374. พลตรี ธรากร ธรรมวินทร ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 2

375. พลตรี นิรุทธ์ เกตุสิริ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 2

376. พลตรี โอม สิทธิสาร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 3

377. พลตรี ธนา จารุวัต เสนาธิการกองทัพภาคที่ 3

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 3

378. พลตรี คุณวุฒิ หมอแก้ว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 4

379. พลตรี ชินวัฒน์ แม้นเดช ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ 4

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 4

380. พลตรี เกื้อกูล อินนาจักร ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี

เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 4

 

381. พลตรี กันตภณ อัครานุรักษ์ เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 1

เป็น รองแม่ทัพน้อยที่ 1

382. พลตรี สมชาย เพ็งกรูด เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 2

เป็น รองแม่ทัพน้อยที่ 2

383. พลตรี ชาตชาย วัฒน์ธนนันท์ ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1

เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

384. พลตรี พิบูลย์ มณีโชติ เสนาธิการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

385. พลตรี บุญธัม สามปรุ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้

อากาศยาน เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก

386. พลตรี จักรชัย โมกขะสมิต ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ 1

เป็น รองเจ้ากรมการทหารช่าง

387. พลตรี พิษณุ บุญรักษา เสนาธิการกรมพลาธิการทหารบก

เป็น รองเจ้ากรมพลาธิการทหารบก

388. พลตรี ชาญชลิต พนมสารนรินทร์ ผู้บัญชาการศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ

กรมสรรพาวุธทหารบก เป็น รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก

389. พลตรี สาโรช เขียวขจี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก

390. พลตรี ณฐพนธ์ ศรีสวัสดิ์ รองแม่ทัพน้อยที่ 1 เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

 

391. พลตรี วิโรจน์ วิจิตรโท ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง

เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

392. พลตรี สุริศร์ สุขชุ่ม ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11

เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

393. พลตรี ธรรมนูญ วิถี ผู้ชำนาญการกองทัพบก

เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9

394. พลตรี สนธยา ศรีเจริญ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกนครพนม

เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6

395. พลตรี สุนัย ประภูชะเนย์ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1

396. พลตรี ดนัย กฤตเมธาวี ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ

397. พลตรี เกษม เบญจนิรัติศัย ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

เป็น เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก

398. พลตรี ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น เจ้ากรมการสารวัตรทหารบก

399. พลตรี ชวลิต พงษ์พิทักษ์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรี เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 16

400. พลตรี สุริยา ปาวรีย์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระแก้ว เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 19

 

401. พลตรี เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเลย เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 21

402. พลตรี มนัส หนูวัฒนา ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุรินทร์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25

403. พลตรี เดชอุดม นิชรัตน์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26

404. พลตรี สถาภรณ์ ใบพลูทอง ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 27

405. พลตรี ชัยวิน ผูกพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 28

406. พลตรี กนก ภู่ม่วง ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสกลนคร

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 29

407. พลตรี สมพงษ์ แจ้งจำรัส ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 35

408. พลตรี พิศาล นาคผจญ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงราย

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37

409. พลตรี ชัยณรงค์ แกล้วกล้า ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกน่าน

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38

410. พลตรี ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพิษณุโลก

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 310

 

411. พลตรี ปริยารณ มัชฌิมวงศ์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกทุ่งสง

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 43

412. พลตรี อุดมวิทย์ อโนวัลย์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกชุมพร

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 44

413. พลตรี วิชัย ทัศนมณเฑียร เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 4

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 45

414. พลตรี โภชน์ นวลบุญ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกปัตตานี

เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 46

415. พลตรี สมบูรณ์ ดีรอด ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี

เป็น ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก

416. พลตรี ชาญณรงค์ นาคสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา

ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ศูนย์อำนวยการแพทย์

พระมงกุฎเกล้า

417. พลตรี อดิศร โครพ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี

เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก

418. พลตรี ดุษฎี ทัตตานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า

419. พลตรี สุรเดช จารุจินดา ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น เสนาธิการศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า

420. พลตรี วัชระ นิตยสุทธิ์ เลขานุการกองทัพบก

เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

 

421. พลตรี วสุ เจียมสุข ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

422. พลตรี วชิรทิตย์ ยี่สาคร ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

423. พลตรี วิเชต เมาลานนท์ ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

424. พลตรี สุเทพ พูลวงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

425. พลตรี สุรศักดิ์ ศุขะ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

426. พลตรีหญิง สาวิณี ฉันทศาสตร์โกศล ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

427. พันเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ เป็น ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

428. พันเอก วรพล วิศรุตพิชญ์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5

429. พันเอก ณรงค์ พฤกษารุ่งเรือง เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11

430. พันเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2

รักษาพระองค์

 

431. พันเอก สุรใจ จิตต์แจ้ง เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

432. พันเอก ทรงวุฒิ จิตตานนท์ เป็น ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 3

433. พันเอก ธานินทร์ สุวรรณคดี เป็น ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 4

434. พันเอก สันติพงศ์ ธรรมปิยะ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11

435. พันเอก อภิชาติ สุขแจ่ม เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 17

436. พันเอก อัศวิน บุญธรรมเจริญ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 18

437. พันเอก อชิร์ฉัตร โรจนะภิรมย์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22

438. พันเอก อำนวย จุลโนนยาง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 24

439. พันเอก อรรถ สิงหัษฐิต เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 210

440. พันเอก บุญยืน อินกว่าง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31

 

441. พันเอก วิรัช ปัญจานนท์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34

442. พันเอก สุพจน์ บูรณจารี เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36

443. พันเอก เกียรติศักดิ์ ดวงแดง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 39

444. พันเอก เจษฎา เปรมนิรันดร เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ 1

445. พันเอก วัลลภ ฐิติกุล เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ 4

446. พันเอก ชัยวุฒ ยุทธศิลป์กุล เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก

447. พันเอก ชูชาติ สุกใส เป็น เจ้ากรมการเงินทหารบก

448. พันเอก วีระพันธ์ สมัครการ เป็น เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก

449. พันเอก ปัณณทัต กาญจนะวสิต เป็น เลขานุการกองทัพบก

450. พันเอก ลือเดช แสงชาติ เป็น ผู้บัญชาการศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก

 

451. พันเอก ศักดา ศิริรัตน์ เป็น ผู้บัญชาการศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธกรมสรรพาวุธทหารบก

452. พันเอก วัลลภ แดงใหญ่ เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

453. พันเอก พิชัย ผลพันธิน เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก

454. พันเอก ปราการ ปทะวานิช เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง

455. พันเอก สุภโชค ธวัชพีระชัย เป็น เสนาธิการกองทัพภาคที่ 3

456. พันเอก เอกรัตน์ ช้างแก้ว เป็น เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 1

457. พันเอก ชาญชัย ว่านเครือ เป็น เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 2

458. พันเอก สมพล ปานกุล เป็น เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 4

459. พันเอก อุดมศักดิ์ บัวพรหมมาตร์ เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

460. พันเอก บัณฑิต สุวัฑฒน เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก

 

461. พันเอก สุเทพ หิมารัตน์ เป็น เสนาธิการกรมพลาธิการทหารบก

462. พันเอก อยุทธ์ ศรีวิเศษ เป็น ผู้อำนวยการสำนักแผนเตรียมพลกรมกำลังพลทหารบก

463. พันเอก พีระ ฉิมปรี เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรมยุทธการทหารบก

464. พันเอก ชนาวุธ บุตรกินรี เป็น ผู้อำนวยการสำนักฝึกและศึกษาทางทหาร กรมยุทธการทหารบก

465. พันเอก สวัสดิ์ ชนะจิตราสกุล เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการกรมยุทธการทหารบก

466. พันเอก รุจน์ อ่อนน้อมพันธุ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก

467. พันเอก วิทยา เปี่ยมสุวรรณ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากร สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก

468. พันเอกหญิง วัฒนา อิ่มเงิน เป็น ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า

469. พันเอกหญิง ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์ เป็น ผู้อำนวยการกองการศึกษา

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า

470. พันเอก เธียรศักดิ์ รื่นเริง เป็น ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

 

471. พันเอก เศกสุข กำธร เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับบัญชากองทัพบก (อัตรา พลตรี)

472. พันเอก ชวการ คมคาย เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพบก

473. พันเอก กุศล ฤทธิ์เรืองเดช เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพบก

474. พันเอก ศักดา เนียมคำ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

475. พันเอก ฐิติศักดิ์ สมทัศน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

476. พันเอก กรีพล อุทิตสาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

477. พันเอก บัณฑิต สะอาดศรี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

478. พันเอก องอาจ คุลี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

479. พันเอก อนุสรณ์ นุตสถิตย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

480. พันเอก เรวัตร์ พิชิตโชคอนันต์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

 

481. พันเอก อาทิตย์ สุขพลอย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

482. พันเอก สุรชัย สินไชย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

483. พันเอก ฉัตรกุล บัวรา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

484. พันเอก บรรพต พูลเพียร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

485. พันเอก หทัยเทพ กีรติอังกูร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

486. พันเอก อรรถพร อินทรทัต เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

487. พันเอก ชัชพีร์วิทย์ เรนวาลี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

488. พันเอก วิศาล ศรีโพธิ์ทองนาค เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

489. พันเอก จิรวัฒน์ พันธ์สวัสดิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

490. พันเอก สุชาติ พรมใหม่ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

 

491. พันเอก คเชนทร์ ปิ่นสุวรรณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

492. พันเอก กฤษณะ วัชรเทศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

493. พันเอก อรรถพร ทองธิราช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

494. พันเอก มานะ ตรีนิคม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

495. พันเอก โสภณ จันทร์เปรม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

496. พันเอก ปริญญา ปูรณะปัญญา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

497. พันเอก ศรายุทธ พันธุ์วัฒนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

498. พันเอก นันทวงศ์ โชคถาวร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

499. พันเอก ราเชนทร์ จั่นทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

500. พันเอก ถวัลย์ สิริวัฒน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

 

501. พันเอก ศุภณัฎฐ์ อ่วมประเสริฐ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

502. พันเอก ฟูเศรษฐ จงเฟื่องปริญญา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

503. พันเอก ปิยะพงษ์ ปูรณโชติ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

504. พันเอก วัลลภ เจิมภักดี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

505. พันเอก ภัทรเดช แก้วบริสุทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

506. พันเอก อังกูร เอี้ยงทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

507. พันเอก เกรียงไกร หาญตระกูล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

508. พันเอก ประดิษฐ์ วิยะรันดร์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

509. พันเอก สุขสันต์ โบว์สุวรรณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

510. พันเอก สมสกุล แสงงาม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

 

511. พันเอก เกรียงเดช แย้มโอษฐ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

512. พันเอก ชลิต แย้มจินดา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

513. พันเอก ประสิทธิ์ ปัญจภักดี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

514. พันเอก มนตรี กันธรีย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

515. พันเอก ศศิวัฒน์ เยือกเย็น เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

516. พันเอก สงบ นาคถนอม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

517. พันเอก ต่อคุณ ภักดิ์ดีชนก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

518. พันเอก ปรีดา ศรีนนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

519. พันเอก อาทิตย์ สายสรรพมงคล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

520. พันเอก สมชาย พวงจันทร์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

 

521. พันเอก ปฎิญญา ลีลาศเจริญ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

522. พันเอก จิตติ ชื่นชุ่ม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

523. พันเอก พีระพันธุ์ พูนสวัสดิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

524. พันเอก ธนณัฐ ยังเฟื่องมนต์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

525. พันเอก ประเสริฐ แสงสูงเนิน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

526. พันเอก เฉลิมชนม์ ดวงกลาง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

527. พันเอก วิจารณ์ จดแตง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

528. พันเอก เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

529. พันเอกหญิง ไพจิตต์ อัศวธนบดี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

530. พันเอกหญิง วรัญญา มณีรินทร์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

 

531. พันเอกหญิง จุลลดา แสนสวัสดิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

532. พันเอกหญิง จุฑาวดี วุฒิวงศ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

 

กองทัพเรือ

533. พลเรือเอก ณะ อารีนิจ เสนาธิการทหารเรือ

เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ

534. พลเรือเอก ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

เป็น รองผู้บัญชาการทหารเรือ

535. พลเรือเอก ชุมพล วงศ์เวคิน ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ

536. พลเรือเอก ไกรวุธ วัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

537. พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

เป็น เสนาธิการทหารเรือ

538. พลเรือโท พลเดช เจริญพูล รองเสนาธิการทหารเรือ

เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ

539. พลเรือโท ชนินทร์ ชุณหรัชพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

540. พลเรือโท ประดิษฐ์ ศิริคุปต์ รองเสนาธิการทหารเรือ

เป็น หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

 

541. พลเรือโท จีรพัฒน์ ปานสกุณ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

542. พลเรือโท ประพฤติพร อักษรมัต รองเสนาธิการทหารเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

543. พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ

เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ

544. พลเรือโท นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2

เป็น ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ

545. พลเรือโท พิเชฐ ขำเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

546. พลเรือโท อนันต์ สุขณียุทธ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

547. พลเรือโท ชัยสินธุ์ ญาดี เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

548. พลเรือโท ศุภพงษ์ ศิริสนธิ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

549. พลเรือโท ไพฑูรย์ ประสพสิน รองเสนาธิการทหารเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

550. พลเรือโท ทักษิณ ฤกษ์สังเกตุ รองหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

 

551. พลเรือโท สมศักดิ์ วาณิชย์เจริญ เสนาธิการกองเรือยุทธการ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)

552. พลเรือโท จุมพล ลุมพิกานนท์ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ

เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ

553. พลเรือโท สุชีพ หวังไมตรี ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1

เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ

554. พลเรือโท พูลศักดิ์ อุบลเทพชัย เจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทหารเรือ เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ

555. พลเรือโท รังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

เป็น ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1

556. พลเรือโท ลือชัย รุดดิษฐ์ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ

เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ

557. พลเรือโท โสภณ วัฒนมงคล เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ

เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ

558. พลเรือโท ธานี ผุดผาด เจ้ากรมข่าวทหารเรือ

เป็น รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ

559. พลเรือโท ไพโรจน์ อุ่นใจ เจ้ากรมกำลังพลทหารเรือ

เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ

560. พลเรือโท เจริญศักดิ์ มารัตนะ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ

เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ

 

561. พลเรือโท พัชระ พุ่มพิเชฏฐ์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ

562. พลเรือตรี สุทธินันท์ สกุลภุชพงษ์ รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ เป็น เจ้ากรมอู่ทหารเรือ

563. พลเรือตรี สุรพงษ์ อำนรรฆสรเดช รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

564. พลเรือตรี ไชยณรงค์ ขาววิเศษ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 เป็น ที่ปรึกษากองทัพเรือ

565. พลเรือตรี อธินาถ ปะจายะกฤตย์ รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

566. พลเรือตรี นฤดม แป้นเจริญ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3

เป็น รองหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

567. พลเรือตรี จักรวัฒน์ นกจันทร์ ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

568. พลเรือตรี อรุณ ทองแท้ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

569. พลเรือตรี นพพร วุฒิรณฤทธิ์ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

570. พลเรือตรี จรินทร์ บุญเหมาะ รองเจ้ากรมอุทกศาสตร์ เป็น เจ้ากรมอุทกศาสตร์

 

571. พลเรือตรี ปัญญา เล็กบัว ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์

กองเรือยุทธการ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

572. พลเรือตรี ไตรสิทธิ์ พันธุ์สิทธิ์ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

573. พลเรือตรี พิเชฐ ตานะเศรษฐ รองเสนาธิการกองเรือยุทธการ

เป็น เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

574. พลเรือตรี เจียมศักดิ์ จันทร์เสนา ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร

กองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

575. พลเรือตรี นิเวช บุตรศรี รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

576. พลเรือตรี พัลลภ ทองระอา รองเจ้ากรมกำลังพลทหารเรือ

เป็น เจ้ากรมกำลังพลทหารเรือ

577. พลเรือตรี อดิเรก ชมภูนุช รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ

เป็น เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ

578. พลเรือตรี ธีร์ อุปนิสากร ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

579. พลเรือตรี พรชัย ปิ่นทอง เจ้ากรมการขนส่งทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2

580. พลเรือตรี ภาณุ บุณยะวิโรจ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ เป็น เสนาธิการกองเรือยุทธการ

 

581. พลเรือตรี ธานินทร์ ลิขิตวงศ์ รองเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ เป็น เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ

582. พลเรือตรี วิโรจน์ ธันวรักษ์กิจ ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ

เป็น เจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ

583. พลเรือตรี นพดล สุภากร เจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือ เป็น เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ

584. พลเรือตรี คณิน ชุมวรฐายี รองเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ เป็น เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ

585. พลเรือตรี สำราญ โชติทัตต์ รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

586. พลเรือตรี พิสุทธิ์ ไข่สุวรรณ รองผู้อำนวยการอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า

กรมอู่ทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

587. พลเรือตรี อำนวย ประพันธ์ศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

588. พลเรือตรี สุพรรณ เหมมาลา ผู้อำนวยการการท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

589. พลเรือตรี ประยุธ ภู่เทียน ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

590. พลเรือตรี ศักดิ์สิทธิ์ ยังวิจิตร รองเจ้ากรมพลาธิการทหารเรือ เป็น เจ้ากรมพลาธิการทหารเรือ

 

591. พลเรือตรี อุบล อินทรพิทักษ์ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

592. พลเรือตรี ปกรณ์ วานิช ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ

กองเรือยุทธการ เป็น เจ้ากรมข่าวทหารเรือ

593. พลเรือตรี สิงขร ธีระสินธุ์ ผู้อำนวยการอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช

กรมอู่ทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

594. พลเรือตรี สุรศักดิ์ เมธยาภา หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองเสนาธิการทหาร เป็น ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ

595. พลเรือตรี ช่อฉัตร กระเทศ ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือ

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

596. พลเรือตรี สุรพล คุปตะพันธ์ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2

เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการกองทัพเรือ

597. พลเรือตรี สมคิด ทิมสาด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

กรมแพทย์ทหารเรือ เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

598. พลเรือตรี พฤหัส รัชฎา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ

599. พลเรือตรี สิริบุญ สุคนธมาน รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2

600. พลเรือตรี วันชัย ท้วมเสม รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เป็น รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ

 

601. พลเรือตรี มนต์ชัย กาทอง เจ้ากรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ

602. พลเรือตรี รัตนะ วงษาโรจน์ เสนาธิการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

603. พลเรือตรี ชาติชาย ศรีวรขาน เสนาธิการฐานทัพเรือสัตหีบ เป็น รองปลัดบัญชีทหารเรือ

604. พลเรือตรี สมภพ สุวิทยาลังการ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2

605. พลเรือตรี สมหมาย วงษ์จันทร์ เจ้ากรมสารบรรณทหารเรือ เป็น รองเสนาธิการกองเรือยุทธการ

606. พลเรือตรี ทิวา ดาราเมือง ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น เจ้ากรมการขนส่งทหารเรือ

607. พลเรือตรี สมชาย ณ บางช้าง เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 3 เป็น เลขานุการกองทัพเรือ

608. พลเรือตรี อารักษ์ แก้วเอี่ยม ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น ผู้อำนวยการการท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ

609. พลเรือตรี เผดิม เนินฉาย ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3

610. พลเรือตรี สานนท์ ผะเอม ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ

เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

 

611. พลเรือตรี ประดิษฐ สำอางค์อินทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายแผน

อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

612. พลเรือตรี อาทร เคลือบมาศ ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือน

กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ

613. พลเรือตรี บรรเจิด วิภาตะวิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์

ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ

614. พลเรือตรี โสภณ รัตนสุมาวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

กรมแพทย์ทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ

615. พลเรือตรี สุรวิทย์ อาษานอก ผู้อำนวยการศูนย์ส่งกำลัง กรมพลาธิการทหารเรือ

เป็น รองเจ้ากรมพลาธิการทหารเรือ

616. พลเรือตรี ธีระพงษ์ มูลละ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

เป็น รองผู้อำนวยการอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ

617. พลเรือตรี เธียรศิริ มนต์ไตรเวศย์ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3

เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

618. พลเรือตรี รัษฎางค์ ธีรเนตร ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ

เป็น ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ

619. พลเรือตรี ยุจ พิจิตรชุมพล ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ

กองเรือยุทธการ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ

620. พลเรือตรี กฤษฎาภรณ์ พันธุมโพธิ รองปลัดบัญชีทหารเรือ

เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ

 

621. พลเรือตรี พงศกร กุวานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ

เป็น ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ

622. พลเรือตรี วศินสรรพ์ จันทวรินทร์ ผู้บัญชาการกองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ

เป็น ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ

623. พลเรือตรี สิทธิพร มาศเกษม เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 2

เป็น ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ

624. พลเรือตรี สุพจน์ ภู่ระหงษ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

625. พลเรือตรี วรรณพล กล่อมแก้ว ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ เป็น รองเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ

626. พลเรือตรี ชุมศักดิ์ นาควิจิตร รองปลัดบัญชีทหารเรือ เป็น เจ้ากรมการเงินทหารเรือ

627. พลเรือตรี บัณฑิตย์ จันทโรจวงศ์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ

628. พลเรือตรี มนัสวี บูรณพงศ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนช่างฝีมือทหาร

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น เสนาธิการฐานทัพเรือสัตหีบ

629. พลเรือตรี กาญจน์ ดีอุบล เลขานุการกองทัพเรือ เป็น รองเจ้ากรมข่าวทหารเรือ

630. พลเรือตรี ทินกร ตัณฑากาศ เจ้ากรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ

 

631. พลเรือตรี บุญเรือง หอมขจร ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ

เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ

632. พลเรือตรี อรรถพร บรมสุข ผู้อำนวยการสำนักบริการและสิทธิกำลังพล

กรมกำลังพลทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมกำลังพลทหารเรือ

633. พลเรือตรี โฆสิต เจียมศุภกิตต์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ

634. พลเรือตรี เอกราช พรหมลัมภัก หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

เสนาธิการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ

635. พลเรือตรี สุรพล ชัชวาลวานิช ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ

636. พลเรือตรี ธีรกุล พิชัยจุมพล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2

637. พลเรือตรี ชาลี มนต์ไตรเวศย์ รองเสนาธิการกองเรือยุทธการ

เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1

638. พลเรือตรี กิตติพงศ์ รุมาคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายผลิต

อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3

639. พลเรือตรี ชาลี สว่างใจ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ส่งกำลัง กรมพลาธิการทหารเรือ

640. พลเรือตรี ไชยชนะ อาทมาท ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น เจ้ากรมโรงงาน ฐานทัพเรือสัตหีบ

 

641. พลเรือตรี สันติ เปาอินทร ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

642. พลเรือตรี นิกิตติ์ ฑีร์ฆะยศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน

กรมยุทธการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ

643. พลเรือตรี พิสัย สุขวัน นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการ

กองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3

644. พลเรือตรี ประพัฒน์ สมบุญเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ

เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ

645. พลเรือตรี วิทยา ละออจันทร์ เจ้ากรมโรงงาน ฐานทัพเรือสัตหีบ

เป็น ผู้อำนวยการอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ

646. พลเรือตรี คำรณ พิสณฑ์ยุทธการ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ

647. พลเรือตรี เดชดล ภู่สาระ เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1

เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารเรือ

648. พลเรือตรี วินัย มณีพฤกษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น รองเจ้ากรมอุทกศาสตร์

649. พลเรือตรี จงกล มีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน

และรักษาฝั่ง เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

650. พลเรือตรี วสันต์ สุภาสงวน ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

 

651. พลเรือตรี ภุชงค์ บุญคณาสันต์ ผู้อำนวยการสำนักการข่าว กรมข่าวทหารเรือ

เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

652. พลเรือตรี บรรจบ โพธิ์แดง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมข่าว

ทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ

653. พลเรือตรี คงคา เทพกุญชร หัวหน้าฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

654. พลเรือตรี สุพจน์ สายวงศ์ปัญญา เจ้ากรมการเงินทหารเรือ เป็น เจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือ

655. พลเรือตรี ลือชัย ศรีเอี่ยมกูล นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการ

กองทัพเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ

656. พลเรือตรี วิพันธุ์ ชมะโชติ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายแผน อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ

657. พลเรือตรี เคารพ แหลมคม ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ

เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริการและสิทธิกำลังพล กรมกำลังพลทหารเรือ

658. พลเรือตรี มนตรี จึงมั่นคง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

เป็น เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 3

659. พลเรือตรี อนุสรณ์ ศรีศิริวิบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศจัดการทรัพยากร

สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ เป็น รองปลัดบัญชีทหารเรือ

660. นาวาเอก สอง เอกมหาชัย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

 

661. นาวาเอก พรชัย แย้มกลิ่น เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ

662. นาวาเอก วิชัย มนัสศิริวิทยา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

663. นาวาเอก โสภณ จงเรืองศรี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

664. นาวาเอก ธีรวัฒน์ ศรีชลา เป็น ผู้อำนวยการศูนย์บริหารข่าวสารการพัสดุ กรมพลาธิการทหารเรือ

665. นาวาเอก ต่อศักดิ์ วิจิตรโท เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

666. นาวาเอก เสนิส ทังสุบุตร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

667. นาวาเอก อนุชาติ บุญรอด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

668. นาวาเอก สุธรรม อยู่ดี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

669. นาวาเอก สมัย ใจอินทร์ เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายผลิตอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ

670. นาวาเอก นพรัตน์ เลิศล้ำ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

 

671. นาวาเอก สมเจตน์ วันหว่าน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

672. นาวาเอก ศุภกร ปรกแก้ว เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

673. นาวาเอก สมารมภ์ ชั้นสุวรรณ เป็น เจ้ากรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ

674. นาวาเอก มนู เสียงเสนาะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

675. นาวาเอก สิรภพ สุวรรณดี เป็น เจ้ากรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ

676. นาวาเอก สุรพงษ์ เผือกน้อย เป็น รองเสนาธิการกองเรือยุทธการ

677. นาวาเอก ปรัชญา กุมุท เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

678. นาวาเอก จารึก สมรรคบุตร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

679. นาวาเอก พีระศักดิ์ พัวพันธ์พงษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

680. นาวาเอก เทอดศักดิ์ แท้เที่ยง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

 

681. นาวาเอก ศิริชัย เนยทอง เป็น ผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนการเดินเรือ กรมอุทกศาสตร์

682. นาวาเอก สมชนก จารุวัสตร์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

683. นาวาเอก สมจิต เพชรทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

684. นาวาเอก วุฒิศักดิ์ คงนาวัง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

685. นาวาเอก พีระ อดุลยาศักดิ์ เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการกองทัพเรือ

686. นาวาเอก มาศพันธุ์ ถาวรามร เป็น หัวหน้าฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ

687. นาวาเอก ปณิธาน วังกานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

688. นาวาเอก ณรงค์เดช สภานุชาต เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ

689. นาวาเอก ณรงค์ศักดิ์ จาตกานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

690. นาวาเอก ธีรกุล กาญจนะ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศจัดการทรัพยากร สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ

 

691. นาวาเอก วรงกรณ์ โอสถานนท์ เป็น ผู้บัญชาการฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3

692. นาวาเอก ชนินทร์ ผดุงเกียรติ เป็น เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1

693. นาวาเอก วศิน บุญเนือง เป็น ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2

694. นาวาเอก ศูนย์ปืน โสมภีร์ เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

695. นาวาเอก ยงยุทธ พร้อมพรหมราช เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำผู้บัญชาการทหารเรือ

696. นาวาเอก ดามพ์ ปิ่นเฉลียว เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

697. นาวาเอกหญิง วิภาดา ปุตระเศรณี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

698. นาวาเอก บวร มัทวานุกูล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

699. นาวาเอก วรพล ทองปรีชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

700. นาวาเอก มนตรี รอดวิเศษ เป็น เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 2

 

701. นาวาเอก รณภพ กาญจนพันธุ์ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ซ่อมสร้างสรรพาวุธ

กรมสรรพาวุธทหารเรือ

702. นาวาเอก อภิชาติ ปัญญากิตติวัฒน์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน

กรมข่าวทหารเรือ

703. นาวาเอก วราห์ แทนขำ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

704. นาวาเอก สมพงษ์ บุญด้วยลาน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

705. นาวาเอก ทรงวุฒิ บุญอินทร์ เป็น เจ้ากรมสารบรรณทหารเรือ

706. นาวาเอกหญิง นพสรณ์ พิชิตานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

707. นาวาเอก เชษฐา ใจเปี่ยม เป็น ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ

708. นาวาเอก วิศาล ปัณฑวังกูร เป็น ผู้อำนวยการสำนักการข่าว กรมข่าวทหารเรือ

709. นาวาเอก ภิญโญ โตเลี้ยง เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ

710. นาวาเอก กฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

 

711. นาวาเอก กรกฎ กาญจนพังคะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

712. นาวาเอก พงษ์พันธ์ เปลี่ยนบางยาง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

713. นาวาเอก ภราดร พวงแก้ว เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ

714. นาวาเอก วิศณุ สร้างวงศ์ใหม่ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

715. นาวาเอกหญิง อัจฉรา จันทรอารีย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

716. นาวาเอก กิตติโศภณ โตสมบัติ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

717. นาวาเอก ชุตินธร ทัตตานนท์ เป็น หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

718. นาวาเอก ชูศักดิ์ ชูไพฑูรย์ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

 

กองทัพอากาศ

719. พลอากาศเอก วัธน มณีนัย ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการทหารอากาศ

720. พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ

721. พลอากาศเอก ทวิเดนศ อังศุสิงห์ หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ

722. พลอากาศเอก เผด็จ วงษ์ปิ่นแก้ว ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ

723. พลอากาศเอก วิจิตร์ จิตร์ภักดี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ

เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ

724. พลอากาศเอก สมศักดิ์ นะวิโรจน์ ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

725. พลอากาศโท นิทัศน์ ศิริมาศ รองเสนาธิการทหารอากาศ

เป็น หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

726. พลอากาศโท สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองเสนาธิการทหารอากาศ

เป็น ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

727. พลอากาศโท ธานินทร์ กิจสาลี รองหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

728. พลอากาศโท ธีรฉัตร์ กระโจมแก้ว รองผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติ

ทางอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

729. พลอากาศโท นิรันดร์ ยิ้มสรวล ปลัดบัญชีทหารอากาศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

730. พลอากาศโท ปรีชา แถมรัตน์ เจ้ากรมกำลังพลทหาร

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

 

731. พลอากาศโท ปรีชา ประดับมุข รองผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติ

ทางอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

732. พลอากาศโท วิสุรินทร์ มูลละ รองเสนาธิการทหารอากาศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

733. พลอากาศโท สุรศักดิ์ มีมณี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

734. พลอากาศโท เอกรัฐ ษรานุรักษ์ เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

735. พลอากาศโท สุรสิทธิ์ ปัญญาอุทัย เจ้ากรมช่างอากาศ

เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ

736. พลอากาศโท ชวรัตน์ มารุ่งเรือง เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ

เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ

737. พลอากาศโท ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ

เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ

738. พลอากาศโท มานะ ประสพศรี เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ

739. พลอากาศโท อำพล อิ่มบัว เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ

740. พลอากาศโท วิเชียร ธรรมาธร ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ

นวมินทกษัตริยาธิราช เป็น เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ

 

741. พลอากาศโท ภานุพงศ์ เสยยงคะ เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ

742. พลอากาศโท พงศธร ไชยเสน หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ปลัดบัญชีทหารอากาศ

743. พลอากาศโท บุญเอนก ดวงอุไร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ

เป็น เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ

744. พลอากาศโท กิติวัฒน์ ภักดีเสนา หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

745. พลอากาศโท วิริยะ มีศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

746. พลอากาศตรี ถาวรวัฒน์ จันทนาคม รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ

นวมินทกษัตริยาธิราช เป็น รองหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

747. พลอากาศตรี ธีรวุฒิ บุญเลิศ รองเจ้ากรมข่าวทหารอากาศ

เป็น เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ

748. พลอากาศตรี วันชัย นุชเกษม รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร

เป็น เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ

749. พลอากาศตรี ณัฐพงษ์ วิริยะคุปต์ ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพอากาศ

กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

750. พลอากาศตรี กอบชัย คงปรีชา รองเจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ

เป็น เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ

 

751. พลอากาศตรี ปรเมศร์ เกษโกวิท ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

เป็น รองผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

752. พลอากาศตรี สุรพันธ์ สุวรรณทัต เสนาธิการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

เป็น รองผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

753. พลอากาศตรี เปรมศักดิ์ อุทัยภพ รองเจ้ากรมช่างอากาศ เป็น เจ้ากรมช่างอากาศ

754. พลอากาศตรี ฉัตรชัย บุญญานุรักษ์ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

755. พลอากาศตรี สราวุธ กลิ่นพันธุ์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

การบินและอวกาศกองทัพอากาศ

756. พลอากาศตรี กัลชาญ หอมไกรลาศ เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

757. พลอากาศตรี เจริญ สมัคราษฎร์ รองเจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

758. พลอากาศตรี ชวดล สันตยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบราชการ

ทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

759. พลอากาศตรี ดล บัณฑุวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

760. พลอากาศตรี ธเนศร์ศักดิ์ วุฒาพิทักษ์ รองเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

 

761. พลอากาศตรี นิกร ชำนาญกุล รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ

นวมินทกษัตริยาธิราช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

762. พลอากาศตรี ยรรยง คุณโฑถม ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

763. พลอากาศตรี รุ่งโรจน์ กองมณี รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

764. พลอากาศตรี สกันต์ สอนหลักทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์การสงครามทางอากาศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

765. พลอากาศตรี สมคิด พัวเวส ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

766. พลอากาศตรี สุเทพ บุญนิมิตร ผู้บังคับศูนย์อำนวยการเครื่องบิน

พระราชพาหนะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

767. พลอากาศตรี สมศักดิ์ หาญวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันทางอากาศ

กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็น เสนาธิการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

768. พลอากาศตรี จิรวัฒน์ มูลศาสตร์ เสนาธิการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

769. พลอากาศตรี ชัยยะ อุปริรัตน์ ผู้บังคับการศูนย์การทหารอากาศโยธิน

หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

770. พลอากาศตรี หม่อมหลวงเทพสฤษด์ิ เทวกุล เสนาธิการกรมช่างอากาศ เป็น รองเจ้ากรมช่างอากาศ

 

771. พลอากาศตรี อภิรุม จันทรกุล วิศวกรอาวุโส กรมช่างอากาศ เป็น เสนาธิการกรมช่างอากาศ

772. พลอากาศตรี ไชยศ เทียนคำศรี เสนาธิการกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

ทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ

773. พลอากาศตรี สุวัฒน์ สุวโรพร รองเจ้ากรมการสื่อสารทหาร

เป็น รองเจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ

774. พลอากาศตรี กัมปนาท วีรกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจันทรุเบกษา

กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ

775. พลอากาศตรี วิชัย รุ่งฟ้าแสงอรุณ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจันทรุเบกษา กรมแพทย์ทหารอากาศ

776. พลอากาศตรี วีรพงษ์ นิลจินดา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและบริหารกำลังพล

กรมกำลังพลทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ

777. พลอากาศตรี นพฎล ทองพุ่ม ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

อากาศ เป็น รองเจ้ากรมข่าวทหารอากาศ

778. พลอากาศตรี สิทธิชัย แก้วบัวดี ผู้อำ นวยการสำนักกิจการพลเรือนเเละ

ประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

779. พลอากาศตรี นพดล บุญมั่น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน

กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

780. พลอากาศตรี คุณทร มณีเขียว ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ เป็น เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

 

781. พลอากาศตรี น้อย ภาคเพิ่ม ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ

เป็น ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

782. พลอากาศตรี ไพศาล น้ำทับทิม รองปลัดบัญชีทหาร

เป็น รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

783. พลอากาศตรี วารินทร์ เจริญรัตน์ ผู้อำนวยการกองการศึกษา

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็น รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ

นวมินทกษัตริยาธิราช

784. พลอากาศตรี วินัย จันทร์เปล่ง ศาสตราจารย์ กองการศึกษา

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็น ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ

นวมินทกษัตริยาธิราช

785. พลอากาศตรี ชนิด สุขวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัย ศูนย์วิจัยพัฒนา

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เป็น รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนา

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ

786. พลอากาศตรี สมโภชน์ ผิวเหลือง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

เป็น รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ

787. พลอากาศตรี เฉลิมวงษ์ กีรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง

กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็น ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

788. พลอากาศตรี จิระศักดิ์ เรืองจวง ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ

เป็น ผู้อำนวยการศูนย์การสงครามทางอากาศ

789. พลอากาศตรี เจษฎา ไชยภัฏ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

790. พลอากาศตรี ต่อพล ออเขาย้อย ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

 

791. พลอากาศตรี ธีระพันธ์ บุษสาย ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ

เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

792. พลอากาศตรี มนัส ลาภเจริญ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ

รองเสนาธิการทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

793. นาวาอากาศเอก กีรติ วรทรัชต์ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหาร

ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

794. นาวาอากาศเอก กฤษดา จันทร์อินทร์ เป็น ผู้บังคับศูนย์อำนวยการเครื่องบินพระราชพาหนะ

795. นาวาอากาศเอก เขมทัต จิระประภา เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันทางอากาศ

กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

796. นาวาอากาศเอก นภาพล อาชวาคม เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบราชการทหารอากาศ

797. นาวาอากาศเอก ทองใบ นิลจันทึก เป็น ผู้บังคับศูนย์การลาดตระเวนทางอากาศ

และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

798. นาวาอากาศเอก สมชาย พงศ์พระธานี เป็น ผู้บังคับการศูนย์การทหารอากาศโยธิน

หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

799. นาวาอากาศเอก สุรทิน ยาวะโนภาส เป็น วิศวกรอาวุโส กรมช่างอากาศ

 

800. นาวาอากาศเอก ยุทธชัย วัชรสิงห์ เป็น เสนาธิการกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ

801. นาวาอากาศเอก สำเริง พูลเพิ่ม เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

802. นาวาอากาศเอก พิชาญ พิชัยณรงค์ เป็น ศาสตราจารย์ กองการศึกษาโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

803. นาวาอากาศเอก สฤษดิ์พร สุนทรกิจ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัย ศูนย์วิจัย

พัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ

804. นาวาอากาศเอก สรายุทธ์ มหัตกีรติ เป็น ผู้อำ นวยการสำ นักนโยบายและ

บริหารกำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศ

805. นาวาอากาศเอก คงศักดิ์ จันทรโสภา เป็น ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหารอากาศ

806. นาวาอากาศเอก สุรศักดิ์ อินทร์จำนงค์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง

กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ

807. นาวาอากาศเอก พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน

กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

808. นาวาอากาศเอก สฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร เป็น ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือนเเละประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

809. นาวาอากาศเอก ชฤทธิพร คำหอม เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ

810. นาวาอากาศเอก แมน ศีตะจิตต์ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ

 

811. นาวาอากาศเอก อัครพล กลิ่นอุบล เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ

812. นาวาอากาศเอก เกรียงศักดิ์ สังข์สำราญ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

813. นาวาอากาศเอก เฉลิมพร ขำนวลทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

814. นาวาอากาศเอก ธวัชชัย สาโรช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

815. นาวาอากาศเอก ปราโมทย์ แตงหอม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

816. นาวาอากาศเอก ปวริศ พัฒน์ศรีอโนทัย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

817. นาวาอากาศเอก ปัญญา ชาญปรีชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

818. นาวาอากาศเอก ภูวเดช นันทนะมณี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

819. นาวาอากาศเอก มานิตย์ เหล่าคำ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

820. นาวาอากาศเอก วรวิทย์ ยศะทัตต์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

 

821. นาวาอากาศเอก วินัย เกิดสมบูรณ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

822. นาวาอากาศเอก วุฒิชัย เมตตานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

823. นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ คล้ายแจ้ง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

824. นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ล้วนวิเชียร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

825. นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ อุตมะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

826. นาวาอากาศเอก สุพจน์ บทสันเทียะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

827. นาวาอากาศเอก อภิชัย ศักดิ์สุภา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

828. นาวาอากาศเอก อรรถพล พัฒนครู เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

829. นาวาอากาศเอก อารีย์มิตร จันทรสนธิ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

830. นาวาอากาศเอก เดชา กรมสุริยศักดิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

831. นาวาอากาศเอกหญิง สุพัตรา สุรทิณฑ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ยกเว้นหมายเลข 339, 351, 419, 447, 528

ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุมตัวผู้ต้องสงสัยระเบิดราชประสงค์ ตำรวจเตรียมแถลงข่าวเย็นนี้ (29 ส.ค.)

$
0
0
จับกุมชายชาวต่างชาติต้องสงสัยวางระเบิดราชประสงค์ ผบ.ตร.เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ เผยจะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติในช่วงเย็นของวันนี้ (29 ส.ค.)

 
29 ส.ค. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่าทหาร-ตำรวจ ได้ปิดล้อมอพาร์ทเม้นทืย่านหนองจอก เพื่อจับกุมชายชาวต่างชาติต้องสงสัยวางระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหมใกล้สี่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา และคุมชาวต่างชาติได้อีก 1 คนซึ่งเป็นผู้เช่าห้องให้ชายต้องสงสัยวางระเบิด สอบเค้นเพื่อหาความเกี่ยวข้อง
 
กำลังเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ เข้าปิดล้อมตรวจค้นพูลอนันต์อพาร์ทเม้นท์ ตั้งอยู่เลขที่ 134 / 5 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ 11 ย่านหนองจอก หลังสืบสวนสอบสวนจนพบเบาะแสว่า มีชายต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดบริเวณศาลท้าวมหาพรหม ใกล้สี่แยกรราชประสงค์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา พักอาศัยอยู่
 
พลตำรวจโทศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยหลังนำกำลังเข้าปิดล้อมอพาร์ทเม้นท์ดังกล่าวว่า การเข้าค้นครั้งนี้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวชายชาวต่างชาติได้ 1 คน และอยู่ระหว่างตรวจค้นห้องพักอื่นๆในอพาร์ทเม้นต์ เบื้องต้นพบวัตถุบางอย่างคล้ายว่าจะสามารถนำไปประกอบเป็นวัตถุระเบิดได้ โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าชายต้องสงสัยมาเช่าห้องพักที่นี่เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ตำรวจอยู่ระหว่างตรวจสอบสัญชาติพร้อมสอบปากคำผู้ต้องสงสัย และตรวจค้นห้องพักทั้ง 4 ชั้นอย่างละเอียด และมีรายงานว่า พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำลังเดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ
 
ด้านพลตำรวตเอกอัคราเดช พิมลศรี ผู้บังคับการกองปราบปราม กล่าวว่า วัสดุสำคัญที่พบในห้องของชายชาวต่างชาติต้องสงสัย คือ ลูกปรายขนาด 0.5 เซ็นติเมตรเหมือนกับที่พบในที่เกิดเหตุระเบิดบริเวณศาลท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์
 
มีรายงานว่าหลักฐานสำคัญที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบในห้องชายต้องสงสัยคือ สารระเบิดที่เสื้อซึ่งตรวจพบในห้องพักของชายคนนี้ การเข้าตรวจค้นสามารถควบคุมตัวชายชาวต่างชาติได้อีก 1 คนซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าเช่าห้องพักดังกล่าว และอยู่ระหว่างการสอบสวนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นหรือไม่ และมีรายงานว่าหลัง ผบ.ตร.เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ จะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติในช่วงเย็นของวันนี้ (29 ส.ค.)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวเน็ตเผยเอกสารราคากลางจัดซื้อ CCTV กทม. ติงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล 4TB ราคา 8 แสน

$
0
0

 

จะบ้าไปเเล้วHard Disk 4TB ราคา 8 เเสนบาท??? 15 TB 2.7 ล้านบาท???20 TB 3.45 ล้านบาท??? http://office.bangkok.go.th/dotat/tor/2558/20082558/01/p.pdf

Posted by CSI LA on 28 สิงหาคม 2015

 

29 ส.ค. 2558เพจ CSI LA เปิดเผยเอกสารที่ระบุว่าเป็นเอกสารตารางวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรและราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ในการจัดซื้อที่มิใช่การก่อสร้าง ของโครงการ "งานจ้างเหมาบำรุงรักษาระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เข้าศูย์บริหารจัดการ พื้นที่ 2"ของกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการการจราจรและขนส่ง

ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงราคากลางที่สูงเกินไปของอุปกรณ์บางชิ้น เช่น อุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกขนาดไม่น้อยกว่า 4 TB ที่มีราคาต่อหน่วยถึงชุดละ 800,000 บาท อุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกขนาดไม่น้อยกว่า 15 TB ที่มีราคาต่อหน่วยถึงชุดละ 2,777,001 บาท และอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกขนาดไม่น้อยกว่า 20 TB ที่มีราคาต่อหน่วยถึงชุดละ 3,450,000 บาท
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จอห์น ราเบ้ นาซีผู้เป็นพระโพธิสัตว์แห่งเมืองนานกิง

$
0
0


   
แปลความนี้แปลจาก “สงครามและผู้ที่ดูไม่น่าเป็นวีรบุรุษ :ชินด์เลอร์แห่งเมืองนานกิง” หรือ War and an unlikely hero: Schindler of Nanjing  เขียนโดยคลิฟฟอร์ด คูนันแห่งเว็บไซต์เดอะอินดิเพนเดนต์
     
เกิดความโกลาหลขึ้นบนท้องถนนในเมืองนานกิง (Nanjing) เดือนธันวาคมปี 1937 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นโจมตีกำแพงที่สร้างในสมัยราชวงศ์หมิงที่โอบล้อมเมืองหลวงของจีนในขณะนั้น สิ่งนี้ทำให้เกิดการสังหารหมู่จนกลายเป็นชื่อที่รู้จักกันว่า "การข่มขืนเมืองนานกิง" (Rape of Nanking) ตามชื่อเก่าของเมือง
    
ชาวเมืองหลายพันหลายหมื่นคนถูกสังหารโดยกองทัพญี่ปุ่น แต่สำหรับใครหลายคน มีบุรุษผู้หนึ่งมาช่วยชีวิตเขาไว้ได้ทัน คนๆ นั้นคือสมาชิกพรรคนาซีผู้ซึ่งให้ชาวจีนได้พักพิงในสวนของบ้านที่สร้างจากอิฐสีเทาอันหรูหราใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัยนานกิง ทำให้สามารถช่วยชีวิตคนได้มากว่าสองแสนห้าหมื่นคน
    
จอห์น ราเบ้ได้นำกลุ่มมิชชันนารี นักธุรกิจและนักวิชาการชาวตะวันตกในการคลุมตรากาชาดที่เขียนไว้บนผ้าปูเตียงไว้รอบ ๆ พื้นที่ 2 หรือ 3 ตารางกิโลเมตร คนกว่าสองแสนห้าหมื่นคนที่สามารถเข้าไปข้างในเขตปลอดภัยสามารถรอดมาได้ แต่สามแสนคนที่ข้างนอกเขตปลอดภัยของนานาชาติกลายเป็นเหยื่อของการสังหารหมู่แห่งเมืองนานกิง
    
พร้อมปลอกแขนรูปสวัสดิกะ ราเบ้ดูไม่น่าจะเป็นวีรบุรุษ แต่ความกล้าหาญและปราศจากเห็นแก่ตัวจากการที่เขาสร้างเขตปลอดภัยสำหรับชาวเมือง เขาจึงกลายเป็น "พระโพธิสัตว์ในร่างมนุษย์แห่งเมืองนานกิง" เรื่องราวของเขากำลังจะกลายเป็นหนังฮอลลีวู้ดในไม่ช้า (ภาพยนต์มีชื่อ City of War: The Story of John Rabe สร้างในปี 2009 -ผู้แปล) และมหาวิทยาลัยนานกิงได้เปลี่ยนบ้านของราเบ้ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ จากความช่วยเหลือของบริษัทเก่าของเขาคือซีเมนส์ มันมีกำหนดการณ์จะเปิดในเดือนหน้า
   
กองทัพญี่ปุ่นได้โจมตีภาคพื้นดินในวันที่ 10 ธันวาคมและเมืองก็ถูกยึดได้ใน 3 วันหลังจากนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการกระทำชำเราเมืองนานกิงที่กินเวลากว่า 6 อาทิตย์ ทางจีนบอกว่าชาวจีนกว่า 3 แสนคนต้องเสียชีวิต ถึงแม้ทางญี่ปุ่นจะยืนยันว่าจำนวนต่ำกว่านั้น พยานกล่าวว่าเชลยชาวจีนถูกทรมาน เผาและฝังทั้งเป็น ตัดคอ ถูกดาบปลายปืนเสียบและถูกกราดยิงหมู่ ผู้หญิงและเด็กสาวชาวจีนกว่า 8  หมื่นคนถูกข่มขืน และมากกว่านั้นถูกสังหารกับถูกบังคับให้เป็นทาสบำเรอกาม เหตุการณ์เช่นนี้ได้สร้างรอยแผลทางใจรอยใหญ่ไว้กับจีนและยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงปักกิ่งและกรุงโตเกียวจนถึงทุกวันนี้
    
การบรรยายของเรเบ้ต่อการสังหารหมู่ครั้งนี้ในไดอารี่กว่า 1,200 หน้านั้นดูน่าสะเทือนใจและเต็มไปด้วยรายละเอียด และถึงแม้จะหายไปเป็นเวลาหลายปี มันกลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งนัก

"หากผมไม่เห็นมันด้วยสายตาของตัวเอง ผมก็จะไม่เชื่อเป็นอันขาด" พวกเขา (ทหารญี่ปุ่น) พังหน้าต่างและประตูเข้ามายึดฉวยเอาสิ่งที่ตนอยากได้ ผมเห็นด้วยสายตาตัวเองว่าพวกเขาปล้นสะดมร้านกาแฟของคุณคิซสลิง คนทำขนมปังซึ่งเป็นคนเยอรมันเช่นเรา" เขาได้เขียนไว้

ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรของเยอรมันและราเบ้มักจะใช้ประโยชน์จากการโบกผ้ารัดแขนรูปสวัสดิกะเมื่อเผชิญหน้ากับทหารญี่ปุ่นที่พยายามเข้ามาวุ่นวายกับการช่วยเหลือของเขา สหรัฐฯ ก็ยังไม่เข้าร่วมสงคราม ถึงแม้ความตึงเครียดจะทวีมากขึ้นและราเบ้ได้บรรยายว่ามันเป็นงานที่เสี่ยงภัยอย่างไรและชาวต่างชาติก็หวุดหวิดจะโดนฆ่าหลายครั้งต่อหลายครั้งอย่างไร ในครั้งหนึ่งที่ทหารญี่ปุ่นบางกลุ่มบุกเข้ามาในเขตต่างชาติเพื่อมาข่มขืนผู้หญิง

"พวกเราแค่ชาวต่างชาติหยิบมือเดียวไม่สามารถอยู่ได้ในทุกที่ในเวลาเดียวกันในการปกป้องความหายนะเช่นนั้น ไม่มีใครทรงอำนาจในการต่อกรกับอสูรกายเหล่านั้นที่ติดอาวุธไว้ที่ฟันและจะยิงใครก็ตามที่พยายามปกป้องตัวเอง" ราเบ้เขียนไว้

มีทหารจีนท่ามกลางผู้อพยพและญี่ปุ่นบุกเข้ามาเพื่อจับกุมคนเหล่านั้น และญี่ปุ่นพยายามบุกเข้ามาเพื่อจับกุมพวกเขา

"ประมาณว่ามีทหารจีนที่ไร้อาวุธประมาณ 1,000 คนที่เราให้ที่พักพิงในกระทรวงยุติธรรม ราวๆ  400 ถึง 500 คนถูกไล่ให้ออกไปพร้อมมือที่ถูกมัด เราคิดว่าพวกเขาคงถูกยิงเพราะหลังจากนั้นได้ยินเสียงปืนกลดังหลายชุดติดต่อกัน เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เราแข็งทื่อด้วยความกลัว"  ราเบ้ได้เขียนไว้

ฟู่บินจากสาขาประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนานกิงได้แสดงให้เห็นถึงสวนที่ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งคนจีน 650 คนอาศัยอยู่แออัดกันในฐานะผู้อพยพในเมืองของตัวเอง ซึ่งราเบ้ได้มอบข้าวและถั่วเหลืองให้

"ห้าครอบครัวอาศัยอยู่ในบ้านและมากกว่านั้นอาศัยอยู่ข้างนอก" เขาบอก

ฟู่เป็น 1 ใน 3 นักประวัติศาสตร์ ที่ไปเยอรมันเมื่อปีนี้เพื่อพบกับหลานของราเบ้และคนอื่นๆ ที่รู้จักเขาเพื่อมาเอาของที่ระลึกและแฟ้มต่างๆ มายังพิพิธภัณฑ์
    
สิ่งของบางชิ้นที่ถือครองโดยหลานๆของเขาซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองไฮเดลเบิร์กและกรุงเบอร์ลินนั้นน่าตื่นตาตื่นใจมาก มันคือสร้อยคอที่ทำจากหยกอันสวยงามและตุ๊กตาจีน ภาพที่เก่าเป็นสีน้ำตาลหม่นของปราการของชุมชนเยอรมันและครอบครัวของเขาเป็นประจักษ์พยานอันน่าซึ้งใจในการมาใช้ชีวิตในต่างแดนเมื่อทศวรรษที่ 30 แต่ลูกหลานของเขาได้ถนอมเก็บความทรงใจต่อสิ่งที่ปู่ได้ทำไว้เกือบทั้งหมด
     
ในลักษณะเดียวกับออสการ์ ชินด์เลอร์ นักธุรกิจที่ช่วยชีวิตชาวยิวไว้ได้ 1,200 คน แต่เป็นที่ชัดเจนว่าราเบ้นั้นเป็นบุคคลที่ดูท้าทายกว่าในหลาย ๆ ด้าน เขาเข้าร่วมกับพรรคนาซีในช่วงต้น ๆ ได้เป็นหัวหน้าของสาขาระดับท้องถิ่นและดูเหมือนไม่สงสัยในศรัทธาต่ออุดมการณ์นาซีของตนเลย
     
ถัง ตวนหลวน ผู้อำนวยการสถาบันหอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยนานกิงเชื่อว่าราเบ้นั้นแท้ที่จริงไม่สนใจการเมืองและเข้าร่วมกับพรรคเพียงเพื่อจะได้รับการสนับสนุนในการตั้งโรงเรียนสอนภาษาเยอรมันที่เขาสร้างขึ้นในนานกิ่ง สำหรับหล่อน ความเป็นมนุษย์อันประเสริฐของราเบ้นั้นทำให้หล่อนซาบซึ้งใจที่สุด

"เขานั้นเป็นเพียงนักธุรกิจ ไม่ใช่พระหรือคนขององค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน สิ่งที่เขาทำที่นี่คือการปกป้องพลเมืองของประเทศอื่นโดยไม่สนใจความปลอดภัยของตัวเองซึ่งได้พ้นไปจากหน้าที่ของตน เขาเป็นคนดีที่เข้าใจศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ "ถังกล่าวไว้

ราเบ้เป็นลูกชายของกัปตันเรือ เขาเกิดในเมืองฮัมบรูก ปี 1882 และเดินทางมาถึงเมืองจีนในปี 1908 เข้าทำงานให้กับบริษัทซีเมนส์สองปีต่อมา เขาทำงานในกรุงปักกิ่งจนถึงเดือนธันวาคม ปี 1931 เมื่อบริษัทได้ย้ายเขาไปยังสำนักงานในเมืองนานกิง
   
ในฐานะเป็นตัวแทนอาวุโสประจำประเทศจีนของบริษัท เขาได้ขายโทรศัพท์ กังหันน้ำและเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กับรัฐบาล
    
ภาพถ่ายหลายใบได้แสดงให้เห็นถึงความชาญฉลาดของราเบ้ หลุมป้องกันภัยทางอากาศที่เขาสร้างในสวนของตัวเองในเดือนสิงหาคม ปี1937 ถูกคลุมด้วยธงรูปสวัสดิกะเพื่อให้เบี่ยงเบนความสนใจของผู้โจมตี
     
ในปี 1937 เป็นที่ชัดเจนว่า กองทัพญี่ปุ่นกำลังเคลื่อนเข้ามา และชุมชนต่างชาติและประชากรชาวจีนจำนวนมากของเมืองนานกิงรวมไปถึงรัฐบาลได้หลบหนีออกจากเมืองตั้งแต่พฤศจิกายน
    
ราเบ้ได้ส่งครอบครัวของตนกลับเยอรมันแต่เขายังคงอยู่เบื้องหลังพร้อมด้วยชาวต่างชาติจำนวนหลายสิบคนในการสร้างเขตปลอดภัย ไม่ช้าหลังจากกองทัพญี่ปุ่นมาถึง ราเบ้ได้รับเลือกให้เป็นประธานของคณะกรรมการที่มีสมาชิก 15  คนของเขตปลอดภัยนานาชาติ

"ในครั้งแรก เขาลังเลใจและกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของครอบครัวตัวเอง แต่แล้วเขาก็เข้ารับตำแหน่ง และแบกรับความรับผิดชอบไว้และไม่หันหลังกลับ" ถังกล่าว

ฮวง หุยอิงได้เขียนชีวประวัติของราเบ้และสัมภาษณ์ผู้รอดชีวิตจำนวนมาก

"ราเบ้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระโพธิสัตว์หรือผู้มาไถ่ในร่างของมนุษย์โดยผู้รอดชีวิต สิ่งนี้นับได้ว่าเป็นการยกย่องในระดับสูงตามวัฒนธรรมของจีน" หล่อนว่าไว้

แม้แต่ในเวลานั้นชื่อเสียงของเขาถึงระดับที่ว่าผู้หญิงจากมหาวิทยาลัยสตรีจินหลิงจำนวน 3,000 คนได้คุกเข่าตามข้างถนนด้วยความกตัญญูเมื่อราเบ้ถูกบังคับให้ออกไปจากเมืองในตอนต้นปี 1938
   
หลังจากกลับไปนครเบอร์ลิน ราเบ้ได้ไปเดินสายบรรยายเกี่ยวกับการสังหารหมู่และพยายามติดต่อฮิตเลอร์เพื่อให้เข้าไปแทรกแซง เขาถูกจับกุมและถูกสอบสวนโดยเกสตาโปเป็นเวลา 3 วัน แต่ด้วยเส้นสายของบริษัทซีเมนส์เขาได้รับการปล่อยตัวและถูกสั่งให้หุบปาก เขาเดินทางไปอัฟกานิสถานและกลับมากรุงเบอร์ลินเพื่อทำงานให้กับซีเมนส์ ภายหลังสงคราม เขาถูก”ถอนความเป็นนาซี" จากฝ่ายสัมพันธมิตรและสามารถยังชีพด้วยห่ออาหารและเงินที่ส่งมาจากชาวจีนที่รู้สึกกตัญญูต่อวีรกรรมของเขา ราเบ้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในปี 1950
   
ในตอนหนึ่งของไดอารี่ของเขาที่ถูกบันทึกในช่วงคริสต์มาส ปี 1937 สรุปแรงจูงใจของเขาได้อย่างดี เขาเพิ่งได้รับจดหมายอวยพรคริสต์มาสทั้งภาษาเยอรมันและภาษาจีนจากผู้อพยพเพื่อขอบคุณในสิ่งที่เขาได้ทำลงไป

 "ของขวัญวันคริสต์มาสที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้รับคือการช่วยเหลือชีวิตของคนมากกว่า 600 คน"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สวัสดิการแรงงานฯ แนะพนักงาน บ.จอร์จี้ ใช้ ม.123 หากนายจ้างเบี้ยวจ่ายค่าแรงอีก

$
0
0
29 ส.ค. 2558 สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์เปิดเผยว่าหลังการเข้าพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงและขอให้ทางฝ่ายปกครองของจังหวัดเชียงใหม่ช่วยแก้ปัญหาให้กับพนักงานเนื่องจากบริษัท จอร์จี้ แอนด์ลู จำกัด เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมานั้น ซึ่งได้ข้อสรุปว่าทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบว่าบริษัทจอร์จี้ แอนด์ลู จำกัด ประสบปัญหาภาวะด้านการเงินและยอดการสั่งซื้อจริงหรือไม่ รวมทั้งทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ได้ระบุว่าทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ได้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรสันกำแพงเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา
 
ล่าสุดสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ว่าในส่วนคดีแพ่งนั้นพนักงานจำนวน 36 คน มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้รับคำร้องแล้วจะพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งภายใน 60 วันนับแต่รับคำร้อง หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและไม่ไปอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด จะถือว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด ลูกจ้างก็จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไปก่อนในอัตราไม่เกิน 60 เท่าของค่าจ้างรายวัน (คนละไม่เกิน 18,000 บาท) 
 
โดยทางสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ระบุว่าพนักงานบางส่วนยังจะรอท่าทีของนายจ้างว่าจะจ่ายเงินตาม ม.75 หรือไม่ ก่อนที่สิทธิที่จะยื่นคำร้องตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในลำดับต่อไป
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.ตร.ยังไม่ชี้ชัดสัญชาติชายต่างชาติโยงคดีระเบิดราชประสงค์-ส่งให้ทหารคุมตัวแล้ว

$
0
0
ผบ.ตร.ยังไม่ชี้ชัดชายชาวต่างชาติที่ถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหามีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตสัญชาติใดจนกว่าจะพิสูจน์ชัด และยังไม่ยืนยันว่าเอี่ยวเหตุระเบิดใกล้สี่แยกราชประสงค์และท่าเรือสาทรจนกว่าจะได้สอบปากคำอย่างละเอียด ล่าสุดส่งตัวไปอยู่ในการควบคุมของฝ่ายทหารแล้ว ด้าน คสช.แถลงรวบชายต่างชาติวัย 28 โยงบึ้มราชประสงค์-สาทร เชื่อกลุ่มเดียวกัน

 
29 ส.ค. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่าพล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังเข้าตรวจสอบอพาร์ตเมนทต์ที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่อาคารพูลทรัพย์ อพาร์ตเมนต์ ถนนเชื่อมสัมพันธ์ โดยยืนยันว่าตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องหาเป็นชายชาวต่างชาติได้ 1 คน พร้อมวัตถุระเบิด และส่วนประกอบ เบื้องต้นได้แจ้งข้อหามีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ยังไม่สามารถระบุสัญชาติได้ เพราะต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ โดยต้องมีเจ้าหน้าที่ตัวแทนสถานทูตเข้าร่วมสอบปากคำก่อน และไม่ยืนยันว่าจะมีความเชื่อมโยงกับเหตุระเบิดราชประสงค์และบริเวณท่าเรือสาทร โดยระหว่างสัมภาษณ์ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ตำหนิสื่อมวลชนบางสำนักในประเด็นคำถามที่ไม่สร้างสรรค์อีกด้วย มีรายงานว่า ตำรวจได้ส่งตัวผู้ต้องหารายนี้ให้ฝ่ายทหารควบคุมตัวต่อ โดยไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุม
 
คสช.แถลงรวบชายต่างชาติวัย 28 โยงบึ้มราชประสงค์-สาทร เชื่อกลุ่มเดียวกัน
 
 
 
 
 
 
สำนักข่าวไทยยังรายงานว่า คสช.แถลงความคืบหน้าการสืบคดีเหตุระเบิดราชประสงค์ วันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ได้สนธิกำลังทำการตรวจค้นตามเป้าหมายที่เราสงสัยและมีข้อมูลจากการสืบสวนตลอดเวลาที่ทำงานหลังจากเหตุระเบิดมา ที่อพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในซอยเชื่อมสัมพันธ์ 11 ทราบมาว่ามีผู้ต้องสงสัยเข้าไปพักอาศัย ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่ราชประสงค์และสาทร
 
พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษก ตร. เผยผลการตรวจค้นพบชาย ซึ่งขณะนี้ถูกจับกุมในฐานะที่มีวัตถุระเบิดอยู่ในความครอบครอง เป็นชายชาวต่างชาติ อายุ 28 ปี พร้อมของกลางซึ่งเป็นวัตถุระเบิด ชิ้นส่วนประกอบวัตถุระเบิด ได้แก่ ฝักแคระเบิด และชิ้นส่วนที่เป็นลูกปืน รถจักรยานยนต์ และมีแพ็กที่มีสติ๊กเกอร์ติดอยู่ เพื่อสะดวกในการประกอบระเบิด ท่อซึ่งเป็นคอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุระเบิด ท่อเหล็ก และมีฝาครอบท่อเหล็ก และพาสปอร์ต ซึ่งเป็นพาสปอร์ตของประเทศๆ หนึ่งจำนวนมาก ขณะนี้ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมตัว และนำตัวไปควบคุมไว้ ซึ่งรายละเอียดในการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีความเชื่อมโยงกับเหตุระเบิดทั้งสองเหตุ ทั้งที่ราชประสงค์และสาทร เชื่อว่าเป็นคนร้ายกลุ่มเดียวกัน
 
ทั้งตำรวจ ทหาร พลเรือน อาสาสมัคร ยังคงเฝ้าระวังและให้ความสำคัญกับหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเฝ้าระวังในจุดผ่านเข้าออกพื้นที่ชายแดนทั่วประเทศ โดยผู้บัญชาการทหารบกกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่บริเวณชายแดนมีความเข้มข้นในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องของการเฝ้าระวัง นอกเหนือจากที่มีมาตรการปรับการรักษาความปลอดภัยในจุดท่องเที่ยวหรือพื้นที่ชุมชนต่างๆ ที่เป็นพื้นที่มีผู้คนหรือนักท่องเที่ยวอยู่จำนวนมาก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘LLTD’ อ่านร่างรัฐธรรมนูญตามรูทีน เสียดสีเหตุไม่ให้ ปชช. แสดงความคิดเห็น

$
0
0

29 ส.ค.2558 เมื่อเวลา 15.00 น. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) รวมตัวบริเวณ ลานปรีดี ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อจัดกิจกรรม "อ่านร่างรัฐธรรมนูญตามรูทีน" โดยต้องการสื่อถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2558 นี้ ที่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ได้

เฟซบุ๊กแฟนเพจกลุ่ม LLTDระบุด้วยว่า กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่พวกเราอ่านร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐบาลประยุทธ์ ห้ามรณรงค์รับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่จะใช้ในอนาคต และจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศไทย

นอกจากนี้เดลินิวส์รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ต่อมาได้ทยอยมานั่งอ่านวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมกันใต้ต้นไม้ภายในลานปรีดี พนมยงค์ เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหาแต่ละหมวดและมาตรา ซึ่งในวันนี้เป็นการอ่านร่างรัฐธรรมนูญ หมวด 1 และหมวด 2 นอกจากนี้ยังมีการแจกร่างรัฐธรรมนูญให้กับคนที่สนใจด้วย โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ มาร่วมสังเกตการณ์ อย่างไรก็ตามในส่วนของหมวดอื่นนั้น ทางกลุ่มฯ แจ้งว่าจะหาโอกาสจังหวะที่เหมาะสมและสถานที่อ่านร่างรัฐธรรมนูญในครั้งต่อไปอีกครั้ง จากนั้นเวลา 17.00 น. ทางตัวแทนกลุ่มแอลแอลทีดี ได้แยกย้ายกันกลับ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทความบีบีซี: ตั้งคำถามว่าทำไมเพลงชาติหลายประเทศถึงถูกหาว่า 'ลอกเลียนแบบ' เพลงอื่น

$
0
0

ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เพลงชาติในที่ต่างๆ ของโลก เขียนบทความถึงสาเหตุที่ทำไมเพลงชาติหลายแห่งถึงมีลักษณะคล้ายกับเพลงชาติอื่นหรือเพลงอื่นๆ มีการขโมยผลงาน (plagiarism) กันในหมู่นักประพันธ์ดนตรีเหล่านี้หรือไม่? หรือมีสาเหตุในอื่นๆ เช่นในด้านเทคนิคการเรียบเรียง?

30 ส.ค. 2558 - สำนักข่าวบีบีซีรายงานเมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา ถึงกรณีที่เพลงชาติของประเทศหลายแห่งในโลกมีลักษณะองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับเพลงอื่นจนน่าตั้งคำถามว่าผู้ประพันธ์เพลงชาติทั้งหลายแอบขโมยผลงานคนอื่นมาหรือไม่

อเล็ก มาร์แชลล์ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เพลงชาติในหลายประเทศเขียนบทความถึงเรื่องนี้โดยระบุถึงกรณีของนักประพันธ์ดนตรีชื่อดูซาน เซสติค ผู้ที่ร่วมแข่งขันประกวดแต่งเพลงชาติบอสเนียเพราะกำลังร้อนเงินในปี 2541 ถึงแม้ว่าเซสติคเองจะหวังแค่ให้ชนะเงินรางวัลสักอันดับไม่ว่าจะเป็นที่ 2 หรือที่ 3 แต่บทเพลงของเขากลับชนะรางวัลที่ 1 ทำให้มีปัญหา 'ดราม่า' ตามมาหลายครั้ง

'ดราม่า' เรื่องแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับเชื้อชาติเมื่อชาวเซิร์บผู้ต่อต้านการมีอยู่ของชาติบอสเนียกล่าวหาว่าเซสติคผู้เป็นชาวเซิร์บด้วยกันว่าเป็นผู้ทรยศ ส่วนชาวบอสเนียคและชาวโครแอตก็ไม่พอใจที่ชาวเซิร์บเป็นผู้เขียนเพลงที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาติของพวกเขา โดยก่อนหน้านี้บอสเนียเคยมีเหตุสงครามกลางเมืองที่ทำให้คนเชื้อชาติต่างๆ ขัดแย้งกันซึ่งการประกวดเพลงชาติบอสเนียมีวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อเป็นการประสานรอยร้าวนี้

เพลงชาติของบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา จากการประพันธ์ของเซสติค

แต่เรื่องยังไม่จบเท่านั้นต่อมาในปี 2552 เซสติค ถูกกล่าวหาว่าเพลงของเขาฟังดูคล้ายกับเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง 'แอนิมอล เฮาส์' ของนิตยสารเนชันแนลแลมปูน ซึ่งฉายในปี 2521 ถึงขั้นมีการพยายามตามหาครอบครัวของผู้ประพันธ์เพลงของแอนิมอล เฮาส์ เพื่อให้เขาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อเซสติค

เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง 'แอนิมอล เฮาส์' ที่ถูกมองว่ามีส่วนคล้ายคลึงกับเพลงชาติที่เซสติคแต่ง

เรื่องนี้ทำให้เซสติคออกมากล่าวโต้แย้งว่าไม่เป็นความจริง เขาไม่เคยรู้จักชื่อภาพยนตร์มาก่อน พอเขาได้ฟังเพลงประกอบจากภาพยนตร์ก็รู้สึกประหลาดใจและอาจจะเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเคยดูภาพยนตร์แบบผ่านๆ แล้วได้ยินเพลงนี้มาก่อนตอนวัยรุ่นแล้วติดอยู่ในหัวโดยไม่รู้ตัวจนกระทั่งกลายเป็นอิทธิพลต่อการประพันธ์ของเขาซึ่งตัวเขาเองมองว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นการขโมยผลงาน และยังบอกอีกว่าทั้งสองเพลงมีทำนองต่างกันบางส่วน

บทความของมาร์แชลล์ระบุถึงอีกกรณีหนึ่งคือเพลงชาติอุรุกวัยที่ประพันธ์โดยฟรานซิสโก โฮเซ เดบาลี ในปี 2399 ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุปรากรขนาดย่อม แต่ธีมหลักๆ ของเพลงซึ่งหมายถึงทำนองที่น่าจดจำหรือส่วนเด่นๆ ของเพลงถูกมองว่ามีลักษณะเหมือนกับส่วนหนึ่งของอุปรากร 'ลูเครเซีย บอร์เจีย' ผลงานของดอนนิเซตตี มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้ที่เดบาลีจะเคยฟังอุปรากรนี้มาก่อนที่จะแต่งเพลง โดยทั้งสองเพลงมีตัวโน๊ตทำนองที่เหมือนกัน 9 ตัวโน๊ต แต่ฝ่ายผู้สนับสนุนเดบาลีก็โค้แย้งว่าความเหมือนเพียงแค่นี้เป็นเรื่องบังเอิญเท่านั้น

ในบทความยังยกตัวอย่างกรณีอื่นๆ อีกเช่น กรณีท่อนเริ่มต้นของเพลงชาติอาร์เจนตินามีความคล้ายคลึงกับผลงานของไคลเมนติ นักประพันธ์เพลงชาวอิตาลี กรณีเพลงชาติแอฟริกาใต้ที่มักจะถูกมองว่านำทำนองมาจากเพลง Aberystwyth ของนักประพันธ์ชาวเวลส์ถึงแม้ว่าทั้งสองเพลงดูไม่น่าจะเป็นการลอกกันได้

เพลงชาติอาร์เจนตินา

Sonatina Op.36 No.4 in F Major ของ ไคลเมนติ

มาร์แชลล์ มองว่าเรื่องของเพลงชาติน่าจะเป็นวัฒนธรรมการหยิบยืมกันมากกว่า อย่างกรณีเพลงชาติเพลงแรกสุดของสหราชอาณาจักรเองก็ถูกหยิบยืมไปใช้กับเพลงชาติในที่อื่นๆ เช่น เดนมาร์ก เยอรมนี หรือรัสเซีย จนกระทั่งราชอาณาจักรฮาวายนำเพลงไปใช้ทั้งเพลงโดยเปลี่ยนแค่คำร้องเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีประเทศลิกเตนสไตน์ที่มีทำนองเพลงชาติแบบเดียวกับเพลงชาติ 'ก็อดเซฟเดอะควีน' ของสหราชอาณาจักรซึ่งชาวลิกเตนสไตน์ต่างก็รู้ดีแต่ก็มีความภาคภูมิใจในเพลงนี้และคิดว่าพวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหราชอาณาจักร

มาร์แชลล์ยังได้ยกตัวอย่างเพลงชาติของเอสโตเนียกับฟินแลนด์ที่มีทำนองแบบเดียวกัน ซึ่งมาจากการประพันธ์ของเฟรดริค แปเซียส ผู้บอกว่านำเพลงนี้มาจากเพลงคนเมาของเยอรมนี ในแง่นี้มาร์แชลล์ระบุว่ามีเพลงชาติหลายเพลงที่หยิบยืมทำนองมาจากเพลงพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังมีกรณีที่หยิบยืมเพลงตามประเพณีต่างๆ เช่นเกาหลีใต้และมัลดีฟส์เคยหยิบยืมทำนองของเพลงโอลด์แลงไซน์ซึ่งเกาหลียืมมาจากมิชชันนารีสก็อตแลนด์ ขณะที่ผู้แต่งเพลงของมัลดีฟส์ใช้เพลงนี้เมื่อได้ยินทำนองจากเสียงนาฬิกา แม้แต่เพลงชาติสหรัฐอเมริกาก็นำมาจากเพลงคนเมาของสหราชอาณาจักร จนเป็นที่ถกเถียงในหมูนักการเมืองว่าสหรัฐฯ ควรใช้เพลงที่มีท่วงทำนองในแบบของตัวเองมากกว่านี้หรือไม่

เป็นเรื่องน่าตั้งคำถามว่าทำไมเพลงชาติเหล่านี้ถึงไม่ถูกดำเนินคดีในเรื่องการขโมยผลงานหรือทำไมถึงมีการหยิบยืมกันมาเรื่อยๆ ซึ่งตัวมาร์แชลล์เองมองว่าเรื่องนี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าการสร้างสิ่งที่เป็นต้นฉบับเฉพาะไม่ใครเหมือนนั้นเป็นเรื่องยาก รวมถึงเพลงชาติเป็นเพลงที่ต้องมีทำนองไม่ซับซ้อนมากเพื่อให้คนจดจำได้ในขณะเดียวกันก็ต้องฟังดูมีศักดิ์ศรีและมีลักษณะปลุกใจ ทำให้การสร้างผลงานโดยไม่มีความคล้ายคลึงกันเลยยิ่งยากเข้าไปอีก

 

เรียบเรียงจาก

How many national anthems are plagiarised?, BBC, 26-08-2015 http://www.bbc.com/news/magazine-34052000

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสียงจากผู้ชุมนุม Bersih 4.0 - ประชาชนต้องไม่กลัวและรู้ว่าสิทธิอยู่กับเรา

$
0
0

บริเวณถนน Pasar Besar ด้านที่มุ่งไปทางจัตรัสเมอเดก้า ผู้ชุมนุมบ้างยืน บ้างนั่งพักข้างทาง ระหว่างการชุมนุม Bersih 4.0 ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2558 (ที่มา: ประชาไท)

ผู้ชุมนุมชูป้ายเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นาจิบ ราซัก ลาออก ระหว่างชุมนุม Bersih 4.0 เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2558 (ที่มา: ประชาไท)

29 ส.ค. 2558/กัวลาลัมเปอร์ - พันธมิตรเพื่อการเลือกตั้งเสรีและยุติธรรมหรือกลุ่มเบอเซะ (Bersih) ชุมนุมใหญ่ที่เรียกว่า "Bersih 4.0" ที่จัตุรัสเมอร์เดก้า ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ของวันที่ 29 ส.ค. จนถึงเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 30 ส.ค. นี้ เพื่อเรียกร้องให้นาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียลาออกจากถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 24,500 ล้านบาท) จากกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย "วันมาเลเซียเดเวลอปเมนท์ เบอรฮาด" หรือ 1MDB

นอกจากนี้ผู้ชุมนุมยังมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อได้แก่ 1. การเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม 2. รัฐบาลที่ตรวจสอบได้ 3. เสรีภาพในการชุมนุม 4. ทำให้ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีความเข้มแข็ง และ 5. รักษาเศรษฐกิจของประเทศ

ในการชุมนุมเมื่อวานนี้ นอกจากแกนนำ Bersih ทั้งมาเรีย ชิน อับดุลลาห์ (Maria Chin Abdullah) อัมพิกา ศรีเนวาซาน (Ambiga Sreenevassan) แล้ว แกนนำฝ่ายค้านอย่าง หลิม กิตเสียง (Lim Kit Siang) แกนนำพรรคกิจประชาธิปไตย (DAP) บุตรชาย คือหลิม กวนอิง (Lim Guan Eng) ผู้ว่าการรัฐปีนัง และเลขาธิการพรรค DAP ก็เข้าร่วมการชุมนุมด้วย

ขณะที่พรรคยุติธรรมประชาชน PKR มีแกนนำพรรคฝ่ายค้านได้แก่ วัน อาซิซะ วัน อิสมาอิล (Wan Azizah Wan Ismail) ภรรยาของอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) อดีตผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา ซึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาผู้ถูกศาลตัดสินจำคุกในข้อกล่าวหาว่ามีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน รวมทั้งบุตรสาวนูรุล ฮานา อันวาร์ (Nurul Hana Anwar) ก็เข้าร่วมการชุมนุมด้วย นอกจากนี้ยังมี ฉัว เทียนชาง ส.ส. จากพรรค PKR รวมทั้งอีริค พอลเส็น (Eric Paulsen) จากกลุ่มทนายความเพื่อเสรีภาพเข้าร่วมด้วย

อย่างไรก็ตามพรรคฝ่ายค้านอีกพรรคหนึ่งคือพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS) ไม่ได้ประกาศร่วมการชุมนุมอย่างเป็นทางการ แต่ไม่ห้ามให้ผู้สนับสนุนของพรรคตนเข้าร่วมการชุมนุม

 

คู่ปรับฝ่ายค้านและอดีตนายกรัฐมนตรี 'มหาธีร์ โมฮัมหมัด' เยี่ยมที่ชุมนุม Bersih แบบเหนือความคาดหมาย

 

(ซ้าย) มหาธีร์ โมฮัมหมัด ในวัย 90 ปี อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของมาเลเซีย และภรรยา เข้ามาเยี่ยมผู้ชุมนุม Bersih 4.0 เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2558 ขณะที่คนที่ช่วยอำนวยความสะดวกพามหาธีร์ฝ่าฝูงชน คือคู่ปรับเก่าอย่าง "ฉัว เทียนชาง" ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน พรรคยุติธรรมประชาชน หรือ PKR ทั้งนี้ในสมัยที่มหาธีร์เป็นนายกรัฐมนตรี ฉัว เทียนชาง หรือ "เทียนฉัว" สมัยที่เพิ่งตั้งพรรคฝ่ายค้าน เคยถูกตำรวจมาเลเซียทุบและควบคุมตัวเมื่อเดือนเมษายนปี 2542 (ขวา) หลังจากที่เขานำผู้ชุมนุมกว่า 3,000 คน ประท้วงคำตัดสินของศาลซึ่งลงโทษ อันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้จำคุก 6 ปี ในข้อกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) นอกจากนี้ เทียน ฉัว ยังเคยถูกจองจำในปี 2544 ในยุคของมหาธีร์ ภายใต้กฎหมายความมั่นคงภายใน (ISA) ในข้อกล่าวหาเตรียมอาวุธร้ายแรงโค่นรัฐบาล (ที่มา: มาเลเซียกินี)

 

และที่เหนือความคาดหมายของผู้ชุมนุมก็คือ เมื่อเวลาประมาณ 19.39 น. ตามเวลาท้องถิ่นของมาเลเซีย อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของมาเลเซีย มหาธีร์ โมฮัมหมัด (Mahathir Mohamad) ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2546 คู่ปรับคนสำคัญของพรรคฝ่ายค้าน ได้เข้าร่วมมาในที่ชุมนุมเบอเซะบริเวณจัตุรัสเมอร์เดก้าด้วย

ทั้งนี้มหาธีร์ ซึ่งอายุ 90 ปีแล้ว เดินทางมาพร้อมกับภรรยา พญ.ซิติ ฮัมซาห์ (Siti Hamzah) โดยพวกเขายิ้มทักทายผู้ชุมนุม และใช้เวลาในที่ชุมนุมประมาณ 20 นาที โดยมหาธีร์ตอบคำถามสื่อมวลชนเมื่อถูกถามถึงสาเหตุของการเดินทางมาร่วม โดยมหาธีร์ตอบเป็นภาษามลายูว่า "ฉันมาเพื่อมาดูเบอเซะ" นอกจากนี้ยังมีผู้ได้ยินมหาธีร์พูดว่า "teruskan, teruskan" หรือ "ทำต่อไป ทำต่อไป" ขณะที่ฝูงชนที่รายล้อมต่างโห่ร้อง ขณะที่ภรรยาของมหาธีร์กล่าวว่า "นี่คือพลังประชาชน"

ทั้งนี้มหาธีร์ ซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีและยังคงมีอิทธิพลในพรรครัฐบาล "แนวร่วมแห่งชาติ" (Barisan Naitonal) ได้วิจารณ์นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก พรรคเดียวกันบ่อยครั้ง นับตั้งแต่มีกรณีอื้อฉาวกรณีกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจ 1MDB

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามหาธีร์ ไม่เคยมีจุดยืนสนับสนุนการชุมนุมใดๆ แต่แล้วในระหว่างกล่าวปราศรัยที่รัฐยะโฮร์ในหัวข้อ "มาเลเซียวันนี้ พวกเราจะไปทางไหน" ในช่วงบ่ายวันที่ 29 ส.ค. ตอนหนึ่งมหาธีร์พูดว่า เขาไม่ได้ชอบการชุมนุมเลย เพราะมีหนทางอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา จากนั้นเขาพูดว่า "แต่ช่องทางเหล่านี้ถูกปิดกั้น ถ้าเราร้องเรียน เราเองกลับเป็นฝ่ายถูกสอบ นี่ไม่ใช่ความผิดของตำรวจ แต่เป็นความผิดของคนที่อยู่ข้างบน"

"บุคคลนี้อยู่เหนือกฎหมายและรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ละเมิดกฎหมาย บุคคลนี้ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดกับประเทศมาเลเซียวันนี้" มหาธีร์กล่าวพาดพิงถึงบุคคลหนึ่ง โดยไม่ยอมเอ่ยชื่อ แต่สื่อมวลชนมาเลเซียระบุว่าแน่ชัดว่าพาดพิงถึงนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายที่รัฐยะโฮร์ มหาธีร์ยังกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าอาจจะไปร่วมการชุมนุม และในช่วงค่ำมหาธีร์ก็มายังที่ชุมนุมจริง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

มีรายงานใน FMTด้วยว่า มารีนา มหาธีร์ (Marina Binti Mahathir) บุตรสาวของมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ร่วมชุมนุม Bersih กับชาวมาเลเซียที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ด้วย เช่นเดียวกับ แคลร์ ริวคาสเทิล บราวน์ (Clare Rewcastle-Brown) บรรณาธิการของเว็บไซต์ข่าวสืบสวนสอบสวนซาราวักรีพอร์ท ก็ร่วมชุมนุม Bersih ที่ลอนดอนด้วย ซึ่งเผยแพร่ข่าวกล่าวหาว่ามีการยักยอกเงินจากกองทุน 1MDB ไปยังบัญชีของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และต่อมาเว็บไซต์ซาราวักรีพอร์ทถูกปิดกั้นการเข้าถึง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

ประธาน Bersih ระบุไม่ได้คาดหมายมาก่อนว่า มหาธีร์ จะเข้าร่วม

ทั้งนี้จากปฏิกิริยาของผู้นำการชุมนุม Bersih ที่หลายคนเคยเป็นอริกับอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียผู้นี้นั้น เดอะมาเลเซียนอินไซเดอร์รายงานว่า มาเรีย ชิน อับดุลลาห์ ประธานองค์กร Bersih 2.0 กล่าวเพียงว่า ไม่ได้คาดหมายมาก่อนว่าจะเห็นมหาธีร์ "ฉันไม่ได้คาดหมายมาก่อน แต่มหาธีร์บอกว่ากำลังคิดอยู่ว่าจะมา แสดงว่าเขาคิดเร็วมาก"

ด้านคณะกรรมการ Bersih 2.0 หนิว ซินเยียว (New Sin Yew) กล่าวว่า ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าร่วมการชุมุนม Bersih และจะไม่มีการเลือกปฏิบัติกับใครก็ตามไม่ให้เข้าร่วมชุมนุม "ที่นี่เป็นสถานที่สาธารณะ เราไม่เลือกปฏิบัติกับใคร เราต้อนรับทุกคน"

 

คนช่วยพาเข้าที่ชุมนุม คืออดีต ส.ส. ผู้เคยถูกจองจำในยุคมหาธีร์ "ปัญหาส่วนหนึ่ง เกิดจากระบบที่มหาธีร์สร้าง"

อีกเรื่องที่เหมือนตลกร้ายก็คือ ผู้ที่ช่วยพา 'ผู้เฒ่า' มหาธีร์ โมฮัมหมัดฝ่าฝูงชนเข้ามาในจัตุรัสเมอเดก้า ก็คือ ฉัว เทียนชาง หรือ "เทียนฉัว" ส.ส.ฝ่ายค้านพรรคยุติธรรมประชาชน (PKR) ทั้งนี้ในสมัยที่มหาธีร์เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2544 เทียนฉัว เคยถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวภายใต้กฎหมายความมั่นคงภายใน (ISA) มาแล้ว โดยเขาถูกรัฐบาลมหาธีร์กล่าวหาว่า เตรียมการทำหลายอย่าง เตรียมโค่นรัฐบาลด้วยการใช้ "ระเบิด เครื่องยิงลูกระเบิด ระเบิดขวด สะเก็ดลูกปืน และอาวุธอันตรายอื่นๆ"

เทียนฉัว กล่าวถึงโอกาสที่เขาได้พบมหาธีร์ว่า "ผมมีโอกาสที่จะได้พบกับเขา และได้จับมือ แต่ว่าไม่มีเวลามากพอที่จะได้สนทนากัน"

เขากล่าวด้วยว่า "มหาธีร์มีสิทธิที่จะแสดงออกว่าเขาสนับสนุน (ฺBersih 4.0) แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะลืมไปว่าส่วนหนึ่งของปัญหาทุกวันนี้ก็มาจากระบบที่มหาธีร์สร้างขึ้น ในขณะที่พื้นที่ประชาธิปไตยกลับถูกปิดลง" เทียนฉัวกล่าวต่อว่า "ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ประชาชนต้องลุกฮือกันในวันนี้" เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวมาเลเซียกินี (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

000

เสียงจากประชาชนผู้ร่วมชุมนุม Bersih 4.0

ทั้งนี้ในช่วงกลางวัน ผู้สื่อข่าวประชาไท มีโอกาสพูดคุยกับผู้เข้าร่วมชุมนุม Bersih 4.0 ถึงความคาดหวังของพวกเขาต่อการชุมนุม หลายคนครั้งนี้เป็นการชุมนุมครั้งแรก ขณะที่อีกหลายคนก็เข้าร่วมการชุมนุม Bersih มาแล้วหลายหนนับตั้งแต่เริ่มมีการชุมนุม Bersih ครั้งแรกในปี 2549 ตามมาด้วยการชุมนุมในปี 2554 และ 2555 ซึ่งทุกครั้งจบลงด้วยการสลายการชุมนุมโดยตำรวจมาเลเซีย

บรรยากาศการชุมนุม Bersih 4.0 ช่วงกลางวัน และพูดคุยกับชายหนุ่มชาวมาเลเซียผู้ร่วมการชุมนุมครั้งแรก

ชายชาวมาเลเซียผู้นี้ บอกกับผู้สื่อข่าวว่าเข้าร่วมการชุมนุมเป็นครั้งแรก ที่ผ่านมาไม่เคยเข้าร่วมมาก่อนเพราะยุ่ง แต่หลังจากเห็นว่าเกิดปัญหาหลายอย่างกับประเทศมาเลเซีย รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลไม่เคยมีคำอธิบายที่ดี รวมไปถึงการใช้งบประมาณของรัฐอย่างผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เขาตัดสินใจเข้าร่วม นอกจากนี้เขายังเห็นว่าคำสั่งของ รมว.มหาดไทยที่ระบุให้เสื้อยืดพิมพ์ข้อความ Bersih ผิดกฎหมายนั้นเป็นเรื่องไม่มีเหตุผล (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

อาสาสมัครซึ่งริเริ่มขึ้นเองโดยผู้ร่วมชุมนุม ได้เก็บขวดพลาสติกจากพื้นที่ชุมนุมมาประดิษฐ์ดอกไม้ (ที่มา: ประชาไท)

สัมภาษณ์ คาโรลีน เหลา คุณแม่ลูกสามและนักภูมิสถาปัตย์ เกี่ยวกับกิจกรรมอาสาสมัครเก็บขยะพลาสติกในที่ชุมนุมเพื่อเปลี่ยนเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ และความคาดหวังกับการชุมนุม

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังได้พูดคุยกับ คาโรลีน เหลา คุณแม่ลูกสาม นักสถาปนิกด้านภูมิสถาปัตย์ ซึ่งมาชุมนุม Bersih ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 โดยกิจกรรมที่ทำระหว่างร่วมชุมนุมมาราธอน 34 ชั่วโมงนี้ก็คือ ริเริ่มทำกิจกรรมเล็กๆ ด้วยตัวเอง ด้วยการเป็นอาสาสมัครเก็บขยะจำพวกขวดพลาสติกมาทำดอกไม้

"ดิฉันไม่ใช่กรรมการใน Bersih ดิฉันเป็นอาสาสมัคร" คาโรลีน ตอบคำถามเมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นแกนนำกลุ่มย่อยหรือไม่ และกล่าวต่อว่า "ไอเดียของกิจกรรมคือ คาดหมายว่าเราจะทำกิจกรรมร่วมกันในระหว่างที่เรารอคอยในช่วงชุมนุม และพูดคุยกัน เริ่มต้นมีแค่ฉันเท่านั้น จากนั้นก็มีคนอื่นๆ มาร่วมกันทำดอกไม้จากพลาสติก จากนั้นเราก็เดินไปมอบให้กับผู้ชุมนุมคนอื่นๆ และก็มีเพื่อนๆ ของฉันที่มาทำกิจกรรมนี้ด้วยกันเป็นครั้งแรก นี่เป็นเรื่องใหม่สำหรับพวกเขา"

คาโรลีน ซึ่งร่วมการชุมนุม Bersih 2.0 ในปี 2554, Bersih 3.0 ในปี 2555 และ Bersih 4.0 เป็นครั้งล่าสุด ตอบคำถามที่ว่าการชุมนุมครั้งล่าสุด ต่างจากการชุมนุมครั้งก่อนหน้านี้อย่างไร โดยเธอกล่าวว่า ครั้งนี้เป็นการชุมนุมที่ยาวนานขึ้น สงบมากกว่าเดิม การชุมนุมก่อนหน้านี้ใช้เวลาจำกัด มาชุมนุม 4 ชั่วโมงแล้วก็กลับ แต่การชุมนุมหนนี้ใช้เวลานานขึ้น บรรยากาศค่อนข้างผ่อนคลาย มันเหมือนงานเทศกาล

"ฉันคิดว่าก่อนหน้านี้ ผู้คนรู้สึกกลัว เจ้าหน้าที่บอกว่าสิ่งพวกนี้จะถูกแบน อย่างเสื้อยืดที่ฉันใส่ก็ผิดกฎหมาย (แสดงเสื้อยืดพิมพ์ข้อความ "Bersih 4.0" แต่อย่างที่คุณเห็น ผู้คนเป็นมิตร และผู้คนก็เข้าร่วมมาตั้งแต่ก่อนกำหนดการของกิจกรรมชุมนุมจะเริ่ม"

คาโรลีน กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทุกคนที่มาชุมนุมก็คาดว่าจะต้องเตรียมรับมือ (หากถูกสลายการชุมนุม) แต่การชุมนุมก็เป็นอย่างสงบ ร่าเริง คนก็เริ่มกลับบ้านเพราะพวกเขามาตั้งแต่ 11.00 น. (การชุมนุมเริ่มเมื่อเวลา 14.00 น.)

เมื่อถามว่าคาดหมายว่าผลจากการชุมนุมจะทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงหรือไม่ คาโรลีนกล่าวว่าไม่ได้คาดหวังถึงขนาดนั้น "แต่หวังว่ารัฐบาลจะนึกถึงประชาชนอย่างจริงใจกว่านี้ และสิ่งที่สำคัญที่เกิดขึ้นในเวลานี้ สำหรับประชาชนก็คือ ต้องไม่รู้สึกเกรงกลัวอีกแล้ว ต้องรู้จักสิทธิของเรา ว่าเรามีสิทธิอยู่กับตัวเรา"

ประมวลภาพการชุมนุม Bersih 4.0 ช่วงกลางวัน 29 สิงหาคม 2558

ผู้ชุมนุมเดินทางมาถึงสถานีรถไฟ KL Sentral ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 29 ส.ค. ก่อนเดินทางไปยังสถานที่ชุมนุมคือบริเวณใกล้เคียงจัตุรัสเมอเดก้า (ที่มา: ประชาไท)

ผู้ชุมนุม Bersih 4.0 บริเวณถนน Pasar Besar ด้านหลังตลาดปะซาเซนี เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2558 (ที่มา: ประชาไท)

ผู้ชุมนุม Bersih 4.0 ที่ถนน Pasar Bedar ช่วงที่มุ่งไปทางจัตุรัสเมอเดก้า แต่ตำรวจปิดกั้นบริเวณถนนช่วงนี้ ทำให้ผู้ชุมนุมจำนวนมากปักหลักชุมนุมบริเวณดังลก่าวแทน บ้างยืนถ่ายเซลฟี

ผู้ชุมนุมพูดคุยกับตำรวจ (ที่มา: ประชาไท)

กิจกรรมปราศรัยย่อยเกิดขึ้นหลายเวที ในภาพเป็นการปราศรัยหลังรถกระบะ บริเวณ Madan Pasar ใกล้ตลาดปะซาเซนี (ที่มา: ประชาไท)

บรรยากาศผู้ฟังปราศรัยย่อย บริเวณ Medan Pasar ใกล้ตลาดปะซาเซนี (ที่มา: ประชาไท)

การ์ตูนในที่ชุมนุม (ที่มา: ประชาไท)

ประชาชนทยอยร่วมชุมนุม Bersih 4.0 ทั้งนี้บรรยากาศการชุมนุมผิดไปจากการชุมนุม 3 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมักถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซีย และมีการสลายการชุมนุม (ที่มา: ประชาไท)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประจักษ์ ก้องกีรติ: ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาประชาธิปไตยในภูมิภาคอุษาคเนย์

$
0
0


ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย แม้กระทั้งหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยทั่วโลก ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงฝืนกระแสดังกล่าวได้อย่างมั่นคงยืนยาว ยกตัวอย่าง ในหลายกรณี ประเทศไทย ที่หลังสิ้นสุดสงครามเย็นสิ้นสุดแล้วก็ยังมีการก่อรัฐประหารสำเร็จมากถึง 3 ครั้ง จึงนำมาสู่คำถามที่ว่า ทำไมระบอบประชาธิปไตยจึงไม่สามารถลงหลักปักฐานในภูมิภาคนี้ได้ ?

เวลา 14.00 น. วันที่ 26 สิงหาคม 2558 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ “ประชาธิปไตยกับประชาคมอาเซียน” โดย ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558  ณ ห้อง 5204 อาคารเรียนรวม 5 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

๐๐๐๐

ประจักษ์ ก้องกีรติ เริ่มด้วยการพูดถึง การศึกษาประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าส่วนใหญ่เน้นที่ด้านสังคม วัฒนธรรม แต่มีการพูดประเด็นด้านการเมืองน้อยมากโดยเฉพาะในประเด็นประชาธิปไตย โดย การศึกษาหรือตำราชิ้นที่ใหม่สุดที่เป็นภาษาไทยในเรื่องนี้ได้เขียนขึ้นเมื่อ  15 ปีที่แล้ว ดังนั้นนักวิชาการจึงต้องพึ่งการศึกษาจากตำราภาษาอังกฤษ เป็นส่วนใหญ่

หากย้อนไป ในช่วง 4 – 5 ทศวรรษที่ผ่านมา นักวิชาการด้านนี้ได้แต่หมกมุ่นต่อการตั้งคำถามว่า ประชาธิปไตยมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งอิงกับฐานกรอบทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization Theory)ยกตัวอย่างผลงานที่สำคัญ เช่น งานเขียนของ Samuel Huntington(3)การทำลายกำแพงเบอร์ลิน (ค.ศ. 1989) ล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ.1991) ตอกย้ำความเชื่อนี้

อย่างไรก็ตาม สองทศวรรษผ่านไป และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ประชาธิปไตยมันเติบโต  

ประจักษ์ กล่าวว่า ยังมีหลายประเทศในโลกนี้ที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยและบางประเทศยืนยันจะเป็นเผด็จการเหมือนเดิม จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามในหมู่นักวิชาการใหม่ โดย โดยคำถามได้เปลี่ยนจากที่มุ่งศึกษาว่า ‘การเปลี่ยนแปลง’ สู่ประชาธิปไตยของประเทศต่างๆ มาเป็นการศึกษาความ ‘ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง’ เป็นประชาธิปไตยของประเทศต่างๆ ว่า ‘ความยั่นยืน ความคงทนของระบอบเผด็จการ’ (authoritarian durability) ซึ่งการให้ความสำคัญกับการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยของประเทศต่างๆนี้

ได้นำไปสู่คำถามงานวิจัย เปลี่ยนวิธีวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใหม่

เดิมนักวิชาการมักตั้งคำถามว่า “เหตุใดหลายประเทศจึงไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเป็นประเทศประชาธิปไตย เช่น หลายประเทศในตะวันออกกลางและในเอเชีย” การศึกษา รัฐต่างๆเหล่านี้ มา 4 - 5 ทศวรรษก็ยังไม่ได้คำตอบ เนื่องจาก นักวิชาการตั้งคำถามผิดมาตลอด ซึ่งคำถามที่ถูกต้องในการที่จะเข้าใจพลวัตทางการเมืองของประเทศเหล่านี้ คือถามว่า “ทำไมประเทศเหล่าที่มีระบอบการปกครองที่เรียกว่าเผด็จการ ทั้งเผด็จการทหาร,เผด็จการอำนาจนิยม,เผด็จการพรรคการเมือง,และเผด็จการตัวบุคคล ฯลฯ ทำไมรัฐเหล่านี้สามารถฝืนกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ อาจเป็นเพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้มันเอื้อให้รูปแบบการปกครองแบบนี้อยู่  หรือวัฒนธรรมบางอย่างมันเอื้อให้เผด็จการยังอยู่หรือสนับสนุนระบอบเผด็จการ ?” ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้คือคำถามใหญ่เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาเกี่ยวกับประชาธิปไตยในปัจจุบันควรให้ความสำคัญ

ประจักษ์ชี้ว่าเมื่อดูการเมืองในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วจะเห็นปรากฏการณ์นี้อย่างชัดเจน มีนักวิชาการที่ศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยและเผด็จการมาก่อน พบว่า ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคอุษาคเนย์นั้น ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย แม้การสิ้นสุดของสงครามเย็น ที่มีการไหลบ่าเข้ามาของประแสประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์ ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงฝืนกระแสดังกล่าวได้อย่างมั่นคง

ประจักษ์ได้อ้างงานของDonald Emmerson(4)นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า เป็นภูมิภาคที่มี‘ความดื้อด้าน’ (recalcitrance) ต่อกระแสประชาธิปไตยมากแม้โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตามภูมิภาคก็จะฝืนกระแสนี้ยังมีความเป็นระบอบอำนาจนิยมสูงและมีโอกาสพัฒนาเป็นประชาธิปไตยได้ยากมาก ความดื้อด้านของภูมิภาคนี้เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ ประการแรก การขาดอุดมการณ์ประชาธิปไตยของประเทศในภูมิภาคนี้ แม้แต่ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทยที่ถูกเรียกว่าเป็นประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตยก็มีข้อบกพร่องและมีปัญหามากมาย

สาเหตุอีกประการหนึ่งมาจากความหลากหลายทางการเมืองของภูมิภาคที่มีอยู่สูงมากกล่าวคือ ในภูมิภาคอุษาคเนย์มีระบอบการปกครองเกือบทุกระบอบทุกรูปแบบก็ว่าได้ความแตกต่าง หลากหลายทางการเมืองของแต่ละประเทศที่เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน และการที่แต่ละประเทศไม่อยากเข้าไปยุ่งกับการเมืองภายในของประเทศอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ทำให้การสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

นอกจากนั้น ผู้นำประเทศในภูมิภาคนี้ก็ยังพยายามสร้างแนวคิดที่ใช้โต้แย้งกับแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย ยกตัวอย่างเช่น วาทกรรมประชาธิปไตยแบบเอเชียหรือที่รู้จักกันในนาม ‘วีถีเอเชีย’ที่สร้างขึ้นมาเพื่อปฏิเสธประชาธิปไตยแบบตะวันตกตัวผู้นำประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างวาทกรรมนี้ขึ้นมา เช่น ผู้นำของของสิงคโปร์และมาเลเซีย แม้แต่ประเทศไทยช่วงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ยังเกิดวาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทยขึ้น วาทกรรมเหล่านี้ได้ท้าทายประชาธิปไตยแบบตะวันตกอย่างมาก

เมื่อสำรวจภูมิทัศน์ทางการเมืองจากในช่วงที่ Emmerson เขียนงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1995 จนถึงปัจจุบันแล้วจะเห็นว่าประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เวียดนามและลาวก็ยังคงเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ปกครองด้วยพรรคเดียว พม่ายังอยู่ภายใต้กองทัพ บรูไนก็ยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กัมพูชาก็ยังคงเป็นระบอบประชาธิปไตยแค่เพียงเปลือกนอก มาเลเซียและสิงคโปร์ยังถูกครอบงำโดยพรรคการเมืองใหญ่เพียงพรรคเดียว การเมืองฟิลิปปินส์ยังคงถูกควบคุมด้วยกลุ่มการเมืองไม่กี่กลุ่ม ส่วนที่แย่ลงคือ ประเทศไทยที่พัฒนาจากประเทศประชาธิปไตยคุณภาพต่ำ (low-quality democracy)กลายเป็นประเทศเผด็จการทหารแต่ที่ดีขึ้นกลับกลายเป็นประเทศอินโดนีเซียที่อดีตเคยอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการมากว่า 30 ปี แต่บัดนี้ประชาธิปไตยเริ่มจะลงหลักปักฐานมั่นคงมากขึ้น

ประจักษ์ยังกล่าวถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจเป็นปัญหาสำหรับการสร้างประชาธิปไตยในอุษาคเนย์ในเชิงประวัติศาสตร์หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกเป็นอาณานิคมของเจ้าอาณานิคมตะวันตก และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเจ้าอาณานิคมล่มสลายได้เกิดกระแสเรียกร้องเอกราช และเมื่อได้รับอิสรภาพประเทศเหล่านี้ก็ถูกกลืนด้วยกระแสเผด็จการซึ่งอาจมีช่วงสั้นๆเท่านั้นที่มีประชาธิปไตยแต่ก็ไม่ยั่งยืนเช่น ในช่วงที่มีขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในแต่ละประเทศ

ประจักษ์ยังได้ยกตัวอย่าง“อินโดนีเซียโมเดล”ที่ถือว่าเป็นต้นแบบของประเทศที่มีประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียอุษาคเนย์ในยุคปัจจุบันคือวิธีการประนีประนอมของชนชั้นนำ ซึ่งการประนีประนอมนี้ ชนชั้นนำของอินโดนีเซียทุกฝ่าย ผู้นำกองทัพ ได้พูดถึงการรักษาประชาธิปไตยที่เป็นรูปแบบเอาไว้ ซึ่งให้ประโยชน์กับทุกฝ่ายมากกว่าจะกลับไปสู่ระบอบเผด็จการเหมือนอย่างในอดีต พูดง่ายๆ คือการตกลงแบ่งผลประโยชน์ทางอำนาจกันระหว่างชนชั้นนำทุกฝ่าย ไม่มีใครได้หมด เสียหมดในระบอบแบบนี้ซึ่งก็ได้นำมาสู่คำถามว่า แล้วทำไมชนชั้นนำไทยไม่สามารถประนีประนอมกันได้เหตุใดขึงเป็นเช่นนั้น เราจะมีแต่การเมืองที่แตกหัก สู้กันให้มีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์หมด ส่วนอีกฝ่ายเสียหมดทุกอย่างหรือไม่ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงประเทศไทยก็ไม่มีทางที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพหรือยั่งยืนได้

ประจักษ์ ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าการที่ชนชั้นนำของแต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังสามารถยึดกุมอำนาจอยู่ได้ส่งผลทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองในภูมิภาคนี้เป็นไปอย่างจำกัด แม้จะมีการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยในแต่ละประเทศ แต่อุษาคเนย์ก็ไม่เคยมีประสบการณ์คล้าย‘อาหรับสปริง’ (Arab Spring) ที่การเรียกร้องประชาธิปไตยของประเทศหนึ่งลุกลามไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค

นอกจากนั้น ประจักษ์ชี้ไปที่บทบาทของชนชั้นกลางต่อการพัฒนาประชาธิปไตยว่า แท้จริงแล้วชนชั้นกลางที่เชื่อกันว่าเป็นกำลังสำคัญหรือหัวหอกในการต่อสู้หรือสร้างประชาธิปไตยในหลายๆประเทศนั้นไม่สามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ชนชั้นกลางกับการพัฒนาประชาธิปไตยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ เนื่องจากบางครั้งชนชั้นกลางกลับมีบทบาทในการออกมาประท้วงโค่นล้มประชาธิปไตย ล้มการเลือกตั้งและสนับสนุนอำนาจเผด็จการ อย่างเช่นใน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย เป็นต้น

นี่คือความขัดแย้งทางชนชั้น ที่ชนชั้นกลางถูกบีบอัดทั้งจากชนชั้นสูงและหวาดกลัวการขึ้นมามีอำนาจของชนชั้นล่าง ขบวนการชาวนา กรรมกร ที่จะทำให้ตนเองเสียประโยชน์ประเด็นต่อมาคือการที่ชนชั้นกลางถูกแบ่งแยกทางศาสนาและชาติพันธุ์ จึงทำให้ชนชั้นกลางไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน นำมาสู่ความอ่อนแอในหมู่ชนชั้นกลาง โดยเฉพาะบางประเทศในอาเซียนและการที่ชนชั้นกลางพยายามแยกตัวออกจากขบวนการชาวนาและแรงงาน คนชนชั้นล่างจึงทำให้ชนชั้นกลางไม่มีความเข้มแข็งหรือได้แรงสนับสนุนจากชนชั้นล่างเหล่านี้ ซึ่งเป็นปัญหาในแง่ของการจัดตั้งองค์กรทางการเมือง

นอกจากคำถามเกี่ยวกับชนชั้นกลางแล้ว ประจักษ์ อธิบายเพิ่มเติมว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้นำมาสู่ความเป็นประชาธิปไตย หลายประเทศในภูมิภาคนี้ได้มีอัตราการเจริญทางเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางด้านประชาธิปไตยเลย ยกตัวอย่างเช่นประเทศสิงคโปร์ที่ถูก Larry Diamond เรียกว่า “ประเทศเผด็จการที่ร่ำรวยที่สุดในโลก”(5)

ประจักษ์ สรุปในตอนท้ายว่าการพัฒนาประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้คงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก การรวมกลุ่มกันของประเทศในภูมิภาคนี้อยู่บนฐานของการไม่แทรกแซงการเมืองไม่พยายามที่จะสร้างค่านิยมและอุดมการณ์ที่สามารถยึดถือร่วมกันเหมือนเช่นในยุโรป การรวมตัวกันเช่นนี้จะไม่เป็นผลดีกับการพัฒนาประชาธิปไตยในภูมิภาคหากจะเกิดการพัฒนาประชาธิปไตยในภูมิภาคบ้าง เช่น ในกรณีพม่า มันเกิดจากแรงกดดันจากภายนอกมากกว่าอิทธิพลของอาเซียนเอง

 
 

เชิงอรรถ 

1. เชิงอรรถในบทความชิ้นนี้ถูกเพิ่มโดยผู้เขียนเอง

2.  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

3. Samuel Huntington อธิบายใน The Third Wave: Democratization in the Late Twentieth Century (1991) กระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิด ‘คลื่น’ (wave) ประชาธิปไตยกระจายไปยังประเทศต่างๆ ในประวัติศาสตร์ Huntington อธิบายว่าได้มีคลื่นดังกล่าวมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และคลื่นลูกที่สองเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนในคลื่นที่สาม (third wave) นี้ได้เกิดในช่วงทศวรรษที่ 1970 – 1990 ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศจำนวนมากกลายเป็นประชาธิปไตย โดย Huntington ชี้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดประชาธิปไตยในประเทศต่างๆเหล่านี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศ บวกกับกระแสกดดันจากต่างประเทศ (ดู Huntington, Samuel. 1991. The Third Wave: Democratization in the Late Twentieth Century. USA: University of Oklahoma Press.– ผู้เขียน)

4. Donald Emmerson. 1995. Region and Recalcitrance: Rethinking Democracy through Southeast Asia.The Pacific Review. Volume 8, Issue 2.

5. Larry Diamond เรียกว่า “ประเทศเผด็จการที่ร่ำรวยที่สุดในโลก” เพิ่มเติมให้ด้วย ดู Diamond, Larry. 2003. Universal Democracy? Policy Review. June – July, p.14 (ผู้เขียน).

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เอกสิทธิ์ หนุนภักดี: ว่าด้วยทักษิโนมิคส์

$
0
0

 

ว่าด้วยทักษิโนมิคส์การที่คุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตทีมเศรษฐกิจของคุณทักษิณรับตำแหน่งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลประยุทธ์นำมาซึ่งความวิตก (ความหวัง?) ว่าจะเป็นการหวนคืนของ “ทักษิโนมิกส์”

ทักษิโนมิกส์คืออะไร? ทักษิโนมิกส์คือชื่อเรียกแนวทางการจัดการเศรษฐกิจไทยสมัยรัฐบาลทักษิณที่มีลักษณะเฉพาะตัวบางประการแตกต่างจากแนวแนวนโยบายก่อนหน้านั้นจนผู้คนสังเกตและขนานนามให้เพื่อสื่อความกันได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่เรียกว่า “ทักษิโนมิกส์” นั้น  ทักษิณ ชินวัตรเป็นผู้นำจากการเลือกตั้งผู้มีอำนาจเด็ดขาด ดำเนินการปฏิรูปปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยเข้าใกล้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว

การยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยให้เข้าใกล้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว คือการไล่กวดโลกให้ทัน หมายความว่าประเทศไทยตัดสินใจที่จะมีสัมพันธ์แนบแน่นกับทุนนิยมโลก/ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ซึ่งในห้วงเวลานี้มักหมายถึงการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและยึดถือการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายและดัชนีวัดการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยในเวลานั้น (และในเวลานี้?) ยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานและเงื่อนไขด้านจำนวนผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มากพอจะร่วมขบวนเศรษฐกิจโลกในลักษณะดังกล่าวได้

ด้วยเหตุนี้การปฏิรูประบบราชการและองค์กรในกำกับของรัฐในฐานะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ และ dual-track policies ที่หมายถึงนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันระดับโลกของบริษัทใหญ่ในเมืองและส่งเสริมเศรษฐกิจของ “รากหญ้า” ในชนบท (Akira Suehiro, 2014, 304) จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

รัฐบาลทักษิณจึงเดินหน้าเปิดเสรีทางการค้า เชื่อมต่อกับระบบเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลกให้มากขึ้น สร้างชุดนโยบายที่มุ่งเพิ่มจำนวนผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วยการทำให้คนที่ไม่เคยมีเงินมีเงิน ทำให้คนที่ไม่เคยคิดหรือไม่เคยมีโอกาสลงทุนเกิดความต้องการหรือมีโอกาสที่จะลงทุน ริเริ่มโครงการกองทุนหมู่บ้านหรือโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรเพื่อนำเงินไปไว้ในมือชาวบ้านโดยตรงหรือการสนับสนุนให้ชาวบ้านเป็นผู้ประกอบการในโครงการ OTOP ตลอดจนสร้างนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเพื่อลดภาระในการดำรงชีวิตของประชาชน ทั้งหมดนี้เพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสสะสมทุนและเข้าสู่เศรษฐกิจแบบตลาดโลกในวงกว้างทั้งในฐานะผู้บริโภคและผู้ประกอบการแทนที่การมีส่วนร่วมในฐานะแรงงานเท่านั้นดังเช่นในอดีต

ในกระบวนการดำเนินแนวนโยบายแบบทักษิณ รัฐบาลได้ใช้อำนาจทั้งที่ชอบธรรมและดิบเถื่อนหักหาญกลุ่มผลประโยชน์เก่าหรือกระทบกระทั่งรังแกชาวบ้านชุมชนท้องถิ่นตลอดจนภาคประชาสังคมนอกเครือข่ายของพวกตนเองเพื่อรื้อ/ปฏิรูป/สร้างใหม่ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจโดยอิงความชอบธรรมจากฉันทานุมัติที่ได้ผ่านการเลือกตั้งเป็นฐานในการใช้อำนาจ

ความหมายของทักษิโนมิกส์จึงมิได้อยู่ที่เพียงตัวนโยบาย dual-track เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันอย่างมากกับที่มาของอำนาจกำหนดนโยบาย กระบวนการในการใช้อำนาจเพื่อดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ และเป้าหมายทางเศรษฐกิจ

ที่มาของอำนาจในกระบวนการกำหนดนโยบายนี้สำคัญเพราะว่าในกระบวนการกำหนดนโยบายจะมีการเจรจาเสมอไม่ว่าจะเป็นผู้นำจะเป็นใครหรือใช้ระบอบใดบริหารประเทศ โดยผู้นำจะเจรจากับอำนาจที่หนุนหลังเขาเป็นหลัก เมื่อเขาต้องเจรจาต่อรองกับใครเขาก็แบ่งปันโลกทัศน์และผลประโยชน์กับคนที่เขาคุยด้วย ดังนั้นเมื่อที่มาของอำนาจทักษิณมาจากประชาชนเขาจึงต้องคุยกับประชาชน (แน่นอนว่าเขาคงจะคุยกับคนอื่น ๆ ด้วยเหมือนกัน) 

ในกระบวนการใช้อำนาจเพื่อดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ทักษิณใช้รัฐเป็นกลไกผลักดันเศรษฐกิจ เช่น เปลี่ยนหน้าที่ผู้ว่าฯ เป็นผู้ว่าฯ ซีอีโอ เปลี่ยนหน้าที่ทูต เป็นทูตซีอีโอ ฯลฯ

ส่วนเป้าหมายทางเศรษฐกิจนั้น ทักษิโนมิกส์มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการร่วมขบวนทุนนิยมโลกและพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อที่จะร่วมขบวนไปกับทุนนิยมโลกให้ได้
จะเห็นได้ว่าทักษิโนมิคส์มีบุคลิกลักษณะที่สำคัญคือ ผู้นำอำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้งใช้กลไกรัฐเพื่อรับใช้ตลาด มุ่งขยายทุนนิยมโลกาภิวัตน์

เมื่อเปรียบเทียบกับแนวนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลประยุทธ์กับลักษณะแกนกลางของทักษิโนมิกส์ทั้ง 3 ประการดังที่ได้กล่าวมา สิ่งที่แตกต่างกันคือ รัฐบาลประยุทธไม่จำเป็นต้องคุยกับประชาชนในกระบวนการกำหนดนโยบาย พวกเขาคุยกันในหมู่ “คนกันเอง” (ที่เรียกว่า “คนดี”) ไม่กี่ราย รัฐบาลประยุทธ์มุ่งใช้กลไกของรัฐไปในเรื่องความมั่นคงมากกว่าใช้ในเรื่องการพาณิชย์ เช่น ผู้ว่าฯ ถูกกำชับให้ช่วยสอดส่องตรวจตราจับกุมผู้เห็นต่าง ทูตถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลภาพลักษณ์รัฐบาล เป็นต้น และแม้ว่ารัฐบาลนี้จะมุ่งขยายทุนและอำนวยความสะดวกให้ทุนอย่างมากแต่เป้าหมายของรัฐบาลอยู่ที่การแช่แข็งประเทศไทยให้อยู่ในสถานะเดิมมากกว่าที่จะร่วมขบวนโลกาภิวัตน์

โดยพื้นฐานแล้วนโยบายเศรษฐกิจของไทยทุกรัฐบาลจะส่วนที่คล้ายคลึงกันในแง่ของการมุ่งขยายทุน แม้แต่รัฐบาลประยุทธ์ที่ประกาศยึดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวนโยบายหลักได้ยังเร่งผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนแก่บริษัทต่างชาติและอำนวยความสะดวกให้ทุนข้ามชาติอย่างเต็มที่ภายในระยะเวลาไม่นานหลังเข้าสู่อำนาจ สิ่งที่แนวนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลประยุทธ์จะคล้ายคลึงกับทักษิโนมิกส์ก็คงจะเป็นเรื่องการมุ่งขยายทุนนิยมและความเป็นเผด็จการ

แม้ว่านโยบายของทักษิณจะเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนจำนวนมากและนักวิชาการจำนวนหนึ่งจัดสิ่งที่เขาทำเป็นการปฏิรูประบบเศรษฐกิจไทยที่สำคัญแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าลักษณะอำนาจนิยมของทักษิณ การผลักดันนำกลไกรัฐรับใช้ตลาดอย่างเข้มข้นและการมุ่งเชื่อมโยงกับโลกด้วยการขยายพื้นที่ทุนนิยมอย่างกว้างขวางของทักษิณนั้นส่งผลกระทบในด้านลบต่อสังคมด้วย

การใช้อำนาจเกินเลยและผลเสียจากทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในยุคทักษิโนมิกส์นั้นจะมากน้อยยังถูกถ่วงทานด้วยกรอบของประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์ นั่นคือ ถึงทักษิณจะมีอำนาจมากแต่อย่างมากที่สุดเมื่อครบสี่ปีเขาต้องลงจากตำแหน่งให้ประชาชนเลือกใหม่ ประชาชนที่ไม่พอใจนโยบายหรือพฤติกรรมของเขาสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เดินขบวนประท้วงได้ ฯลฯ ในขณะที่กรอบโลกาภิวัตน์นั้นนอกจากด้านที่รุกคืบยึดทรัพยากรท้องถิ่นทำกำไรแล้วก็ยังมีด้านที่ช่วยกำกับและยกระดับมาตรฐานต่าง ๆ

จริงอยู่ที่ว่าทักษิณเกิดจากประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์และด้วยประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์นี่แหละที่คอยขวางมือเท้าของเขามิให้กระทำการตามอำเภอใจได้ทั้งหมด

ดังนั้นเราอาจจะนิยาม “ทักษิโนมิกส์” ได้ว่าเป็นการใช้อำนาจนิยมขยายทุนภายใต้กรอบประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์ที่คอยกำกับถ่วงทาน

ถ้าเชื่อว่าทักษิโนมิกส์ “สร้างปัญหา” ให้กับสังคมไทยตลอดทศวรรษที่ผ่านมา “ทักษิโนมิกส์” ที่ปราศจากเครื่องมือกำกับและถ่วงทานก็น่าจะเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าของสังคมไทยในภายภาคหน้าด้วย
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

30 ส.ค. วันผู้สูญหายสากล แอมเนสตี้เผยการบังคับบุคคลให้สูญหายยังมีทั่วโลก

$
0
0
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ "การบังคับบุคคลให้สูญหายยังคงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคของโลก" เพื่อร่วมรำลึกถึงการสูญเสีย การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการก่ออาชญากรรมที่คุกคามมนุษยชาติ

 
เนื่องด้วยวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of the Disappeared) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอยู่ในหลายประเทศ และส่งผลให้มีผู้สูญหายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในวันนี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงออกแถลงการณ์เพื่อร่วมรำลึกถึงการสูญเสีย การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการก่ออาชญากรรมที่คุกคามมนุษยชาติ
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์
 
วันผู้สูญหายสากล: การบังคับบุคคลให้สูญหายยังคงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคของโลก
                
รัฐบาลยังคงใช้การบังคับบุคคลให้สูญหาย เป็นวิธีการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์ ทำให้เกิดความหวาดกลัวต่อกลุ่มเป้าหมาย การกระทำเหล่านี้ยังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาคของโลก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในโอกาสที่คนทั้งโลกจัดกิจกรรมเนื่องในวันผู้สูญหายสากล 30 สิงหาคม  
                
ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา ทางองค์การได้ให้ความช่วยเหลือบุคคลกว่า 500 คน ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการบังคับบุคคลให้สูญหาย และยังคงกดดันรัฐบาลให้ชี้แจงถึงชะตากรรมและที่อยู่ของบุคคลซึ่งถูกทำให้สูญหายด้วย
                
ซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่ารัฐบาลในทุกภูมิภาคของโลกตั้งแต่ซีเรียถึงเม็กซิโก และศรีลังกาถึงแกมเบีย อาจเป็นผู้ควบคุมตัวบุคคลหลายร้อยคนหรือหลายพันคนในที่ลับ และในอีกหลายประเทศเหล่านี้ ทางการยังคงข่มขู่และคุกคามผู้ที่พยายามค้นหาญาติของตนเอง การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมจึงเป็นอันต้องไม่ยุติลง
               
“ในโอกาสจัดกิจกรรมวันผู้สูญหายสากล เราขอส่งกำลังใจให้กับเหยื่อและครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย และถูกควบคุมตัวอย่างผิดกฎหมายโดยทางการทั่วโลก รัฐบาลในหลายประเทศที่ยังมีการบังคับบุคคลให้สูญหายเกิดขึ้น ต้องถูกกดดันมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ยุติการปฏิบัติที่น่าชิงชังนี้”
                
การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นการกระทำที่ได้รับการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนามของเจ้าหน้าที่ โดยปฏิเสธไม่ยอมบอก หรือปกปิดไม่ให้บุคคลทราบถึงชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลเหล่านั้น เป็นเหตุให้พวกเขาไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
                
การสูญหายของบุคคลมักมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน เริ่มจากการถูกจับกุม ผู้ตกเป็นเหยื่อจะไม่มีโอกาสใช้สิทธิของตนต่อศาล และแทบจะไม่มีการบันทึกข้อมูล “อาชญากรรม” ที่เกิดขึ้นกับตนหรือการควบคุมตัวนั้นเลย เมื่อบุคคลไปพ้นจากสายตาของสาธารณะ พวกเขาย่อมตกเป็นเหยื่อการบังคับบุคคลให้สูญหาย เสี่ยงอย่างยิ่งที่จะถูกปฏิบัติอย่างโหดร้าย ถูกทรมาน หรืออาจถูกสังหาร 
                
ในปีนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกระตุ้นให้รัฐบาลหลายสิบแห่งซึ่งใช้วิธีการบังคับบุคคลให้สูญหายเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามของตน ให้ยุติการใช้ยุทธวิธีดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง ในโอกาสวันผู้สูญหายสากล ทางองค์การอยากเสนอข้อมูลเฉพาะกรณีที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคของโลก
 
ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ – ซีเรีย
                
ในซีเรีย ประชาชนเกือบ 85,000 คนถูกบังคับให้สูญหายระหว่างปี 2554-2558 ทั้งนี้ตามแหล่งข้อมูลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล พลเรือนยังคงหายตัวไปในอัตราที่น่าตกใจ และจากข้อมูลที่มีการบันทึกขององค์กรซึ่งทำงานด้านนี้พบว่าบุคคลผู้สูญหายเป็นคนกลุ่มใหม่ ๆ มากขึ้น ไม่ได้มีเพียงฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง หรือนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมเท่านั้น หากยังรวมถึงครูและพลเรือนซึ่งเพียงแค่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ปกครองของรัฐบาลเพื่อไปรับเงินเดือนจากราชการเท่านั้น
                
Rania Alabbasi และลูกทั้งหกคนอายุตั้งแต่สามขวบถึง 15 ปี ถูกทางการซีเรียจับกุมตัวเมื่อเดือนมีนาคม 2557 จากนั้นมาไม่มีใครทราบข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวนี้อีกเลย แม้ว่าญาติจะร้องขอข้อมูลแต่ทางการซีเรียไม่ยอมให้ข้อมูลใด ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา ไม่บอกว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน หรือไม่บอกว่าทำไมต้องมีการจับกุมพวกเขา
                
Naila Alabbasi น้องสาวของ Rania Alabbasi กล่าวกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า
                
“ตอนที่ประชาชนเริ่มลุกฮือ เธอยังไม่อยากจะหนีไป เธอคิดว่าเธอและครอบครัวน่าจะปลอดภัย เพราะไม่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมือง และไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคฝ่ายค้านด้วย พวกเขาไม่เคยไปร่วมชุมนุมเลย เธอจึงคิดว่าไม่น่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกตน”
                
“ตอนนี้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาเลย เราพยายามทำทุกอย่างแต่ไม่ประสบความสำเร็จ...เราต้องไม่ลืมราเนีย ครอบครัวของเธอ และผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ซึ่งมีสภาพแบบเดียวกัน เราต้องเปล่งเสียงให้ดังมากขึ้นเพื่อให้ปล่อยตัวพวกเขา”
                
ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลสามารถส่ง จดหมายร้องเรียนไปยังรัฐบาลซีเรียเพื่อให้ยุติการบังคับบุคคลให้สูญหายในทุกกรณี และเพื่อให้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติเดินทางมาสอบสวนอย่างเป็นอิสระในซีเรีย
 
อเมริกา - เม็กซิโก
                
จากตัวเลขของทางการ มีประชาชนเกือบ 25,000 คนหายตัวไปหรือสาบสูญในเม็กซิโกตั้งแต่ปี 2550 โดยเกือบครึ่งหนึ่งหายตัวไปในยุคของรัฐบาลปัจจุบันของประธานาธิบดี Peña Nieto
                
ประเด็นนี้กลายเป็นข่าวพาดหัวระหว่างประเทศในเดือนกันยายน 2557 ภายหลังการหายตัวไปของนักศึกษา 43 คนจากวิทยาลัยครูในชนบทที่เมืองอาโยซินาปาในรัฐเกเรโรของเม็กซิโก
                
นักศึกษาเหล่านี้อยู่ระหว่างเดินทางไปประท้วงต่อต้านการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล พวกเขาถูกตำรวจและมือปืนโจมตีที่เมืองอิกัวลา และมีนักศึกษาถูกสังหารสามคน ผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าตำรวจนำตัวนักศึกษาที่เหลือไป อีกหนึ่งวันต่อมามีผู้พบศพของ Julio César Mondragón นักศึกษาในสภาพที่ถูกทรมาน ส่วนครอบครัวของนักศึกษาที่เหลืออีก 42 คนต่างเศร้าโศกเสียใจต่อชะตากรรมที่เกิดขึ้นต่อบุคคลอันเป็นที่รักของตน
                
ในเบื้องต้น ทางการอ้างว่าไม่ทราบว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน แต่อีกหลายเดือนต่อมา ทางการให้ข้อมูลอีกอย่างซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลของครอบครัวและตัวแทนคนอื่น ๆ
                
แม้จะเป็นประเด็นปัญหาที่มีคนสนใจทั่วโลก แต่ทางการเม็กซิโกกลับไม่ดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับเบาะแสทุกประการในคดี โดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่น่ากังวลว่ามีเจ้าหน้าที่ของกองทัพเข้าร่วมในเหตุการณ์ครั้งนี้ อย่างไรก็ดี พวกเขาพบว่ามีความร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นกับแก๊งอาชญากรรม
                
นักศึกษา ครอบครัวและพลเมืองชาวเม็กซิกันจากทุกชนชั้นต่างออกมาประท้วงนับแสนคน เพื่อเรียกร้องให้มีปฏิบัติการ โอมาร์ เพื่อนของนักศึกษาเหล่านี้กล่าวกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า พวกเขาจะต่อสู้ต่อไปจนกว่าจะได้รับความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยา
                
“รัฐบาลไม่ได้แสดงท่าทีรับผิดชอบใด ๆ เลย มีแต่แสดงท่าทีที่ไม่เคารพและไม่ใส่ใจความรู้สึกของเรา ผมรู้สึกตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ไม่หวาดกลัว เราจะยังไม่ยุติการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม” เขากล่าว
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจัดกิจกรรมรณรงค์เขียนจดหมายเป็นภาษาสเปนกระตุ้นให้ประธานาธิบดีเม็กซิโกดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างเหมาะสมต่อกรณีการสูญหายของบุคคลหลายพันคน
 
เอเชีย – ศรีลังกา
                
เชื่อว่ามีผู้สูญหายหลายหมื่นคนในช่วงสงครามระหว่างกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬกับกองทัพซึ่งยุติลงเมื่อปี 2551 รวมทั้งในช่วงปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายซ้ายในช่วงปี 2532-2533 มีการคลี่คลายคดีที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่คดี และมีรายงานการข่มขู่ครอบครัวที่กล้าออกมาตั้งคำถามเพื่อให้ได้รับข้อมูลว่าบุคคลอันเป็นที่รักของตนอยู่ที่ใด
                
รัฐบาลหลายชุดตั้งแต่ปี 2533 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งมีการกล่าวหาเอาผิดกับนักการเมืองชั้นนำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั้งของตำรวจและทหาร อย่างไรก็ดี ทางการแทบไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเหล่านี้ และบุคคลที่ถูกกล่าวหาบางส่วนยังคงดำรงตำแหน่งเดิม ทั้ง ๆ ที่ควรถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
                
แม้ในช่วงที่สงบสุข การสูญหายของบุคคลยังคงเกิดขึ้นต่อไป Prageeth Egnalikoda นักเขียนการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ตกเป็นเหยื่อการสูญหายไม่นานหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2553
                
Sandya ภรรยาของเขาแจ้งกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า การต่อสู้เพื่อให้ได้ความยุติธรรมและมีการนำตัวคนผิดมาลงโทษกลายเป็นการต่อสู้ที่สำคัญในชีวิต “บุคคลซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัวเราหายตัวไป ทำให้พวกเราขัดสนด้านการเงินมาก ดิฉันยังต้องทำตัวเป็นทั้งพ่อและแม่ให้กับลูก เป็นการต่อสู้ร่วมกันของหลายครอบครัวซึ่งมีบุคคลผู้สูญหาย” เธอกล่าว
                
เราจัดการรณรงค์ให้ชาวศรีลังกาทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศร่วมกันแข่งขันเขียนบทกวีเพื่อรำลึกทศวรรษของการสูญหายของบุคคลที่มีชื่อว่า “เงาเงียบ” (Silenced Shadows) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาส่งอีเมล์ไปที่ info.poetry@amnesty.org
 
ยุโรป – บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  
                
ยังมีบุคคลที่ไม่ทราบชะตากรรมกว่า 8,000 คน ภายหลังสงครามในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในช่วงทศวรรษ 1990 แม้จะผ่านไปสองทศวรรษแล้ว ทางการทั่วประเทศยังคงสร้างความผิดหวังให้กับครอบครัวของผู้สูญหาย รัฐไม่ได้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยผู้สูญหายอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้รัฐต้องค้นหาผู้สูญหาย และต้องจัดตั้งกองทุนที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนผู้เป็นเหยื่อและครอบครัว
                
“กฎหมายมีอยู่แต่ในกระดาษ ไม่มีใครเคารพกฎหมายนั้น” Zumra Sehomerovic รองประธานขบวนการแม่แห่งเซรบานิซาและเซปา (Movement of Mothers of the Srebrenica and Žepa enclaves) กล่าว
                
“เมื่อเราไปหาเจ้าหน้าที่ เช่นถ้าไปแจ้งว่ามีคนหายในพื้นที่เพื่อขอใบรับรอง พวกเขาจะไม่ค่อยใส่ใจกับเราสักเท่าไร” 
                
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ประธานของคณะรัฐมนตรีแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ดูแลให้ทางการค้นหาผู้ตกเป็นเหยื่อการบังคับบุคคลให้สูญหายจากสงครามทุกคน และให้การช่วยเหลือเยียวยากับญาติของพวกเขา
                
 
แอฟริกา – แกมเบีย
                
ผู้สื่อข่าวในหลายประเทศในแอฟริกาต้องเผชิญกับการข่มขู่และการฟ้องคดีจากรัฐบาล รัฐบาลที่เผด็จการมากสุดแห่งหนึ่งคือรัฐบาลแกมเบีย ในเดือนเมษายน 2547 ประธานาธิบดี Yahya Jammeh เรียกร้องให้ผู้สื่อข่าวต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล “ไม่อย่างนั้นก็ไปลงนรกซะ”
                
ในเดือนกรกฎาคม 2549 มีรายงานว่า Ebrima Manneh ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Daily Observer ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจับกุม ภายหลังมีการตีพิมพ์ซ้ำรายงานของบีบีซีซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีไม่นานหลังการประชุมสหภาพแอฟริกาที่กรุงบานิจูล เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ตอนจับกุม
                
หลังจากที่พ่อของเขาและเพื่อนนักข่าวพยายามค้นหาตัวเขาหลายครั้ง รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ปฏิเสธว่าไม่ได้จับกุมตัวเขา และไม่รู้ว่าเขาอยู่ที่ใด ในปี 2551 ศาลยุติธรรมแห่งชุมชนของประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก (Economic Community of West African States) มีคำสั่งว่า การจับกุมและควบคุมตัวเขาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสั่งให้ทางการแกมเบียปล่อยตัวเขาโดยทันที ทั้งยังสั่งให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเป็นเงินจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
                
รัฐบาลแกมเบียยืนยันว่าได้ค้นหาตามเรือนจำต่าง ๆ และไม่พบร่องรอยของเขา อย่างไรก็ดี รายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่า เขาได้ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหาอยู่ที่สถานีตำรวจเฟโตโต้ในภาคตะวันออกของแกมเบีย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเห็นว่าเขาเป็นนักโทษทางความคิด และเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขาโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดทราบว่าเขาอยู่ที่ใด
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นร.มัธยมญี่ปุ่นตั้งสหภาพแรงงานช่วยเพื่อนแก้ปัญหางานพาร์ทไทม์

$
0
0
นักเรียนมัธยมในญี่ปุ่นจัดตั้งสหภาพแรงงานเพื่อช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนที่ทำงานพาร์ทไทม์ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานกับนายจ้าง ซึ่งในญี่ปุ่นมีปัญหาที่เรียกว่า "งานสีดำ" หรือ "black arbeit" ที่เป็นลักษณะการจ้างงานอย่างกดขี่และไม่เป็นธรรม

 
29 ส.ค. 2558 กลุ่มนักเรียนจากโรงเรียน 5 แห่งในกรุงโตเกียวและจังหวัดชิบะจัดตั้งสหภาพแรงงานชื่อ 'ชูโทะเคน โคโคเซย์ ยูเนียน' (首都圏高校生ユーニオン) เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเน้นการต่อสู้กับการจ้างงานพาร์ทไทม์นักเรียนอย่างไม่เป็นธรรม เช่นการบังคับให้ทำงานนานหลายชั่วโมงหรือจ้างให้ทำงานหนักมากจนส่งผลต่อชีวิตการเรียนของพวกเขา
 
สหภาพที่จัดตั้งโดยนักเรียนกลุ่มนี้จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านปัญหาการทำงานและดำเนินกิจกรรมการรณรงค์บนท้องถนนที่เป็นการช่วยเหลือนักเรียนลูกจ้างพาร์ทไทม์ที่ประสบปัญหาในการทำงาน โดยผู้เข้าร่วมสหภาพจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นสมาชิกเดือนละ 500 เยน (ประมาณ 150 บาท)
 
ยูนะ ฮะตะโนะ ผู้จัดตั้งสหภาพชูโทะเคน โคโคเซย์ ยูเนียน กล่าวว่า ตอนที่เธอทำงานในร้านสะดวกซื้อ เธอเคยแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการรวมกลุ่มกันต่อรองจนทำให้เธอเกือบจะแก้ไขปัญหาสำเร็จ ทำให้เธออยากจัดตั้งสหภาพเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง สหภาพพาร์ทไทม์ยังได้รับการสนับสนุนจากสหภาพ 'ชูโทะเคน เซย์เนน ยูเนียน' (首都圏青年ユニオン) ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานคนหนุ่มสาวโดยรวมอีกด้วย
 
อนึ่ง ในญี่ปุ่นมีคำที่เรียกว่า "งานสีดำ" หรือ "black arbeit" ที่ใช้เรียกลักษณะการจ้างงานแบบกดขี่ไม่เป็นธรรม เช่นการบังคับให้นักเรียนทำงานแม้กระทั่งในช่วงสอบหรือการบังคับให้ซื้อสินค้าด้วยเงินตัวเองหากทำยอดขายไม่ได้ตามเป้า ซึ่งกระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นก็กำลังรณรงค์เพื่อให้นักเรียนรับรู้ถึงกฎหมายขั้นพื้นฐานของการจ้างงานแบบพาร์ทไทม์เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ต้องประสบความทุกข์ยากจาก "งานสีดำ" เหล่านี้
 
เรียบเรียงจาก
 
High school students form labor union for protection in part-time jobs, Asahi, 28-08-2015
 
เนื้อความฉบับภาษาญี่ปุ่น
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images