Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

ประชาธรรม: เครือข่ายเกษตรทางเลือกฮือค้านทดลองพืช GMOs ในแปลงเปิด-ปลูกเพื่อพาณิชย์

$
0
0
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกค้านทดลองพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิด-พาณิชย์ จนกว่าไทยจะมีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ พร้อมให้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ภายใต้สภาพัฒน์ฯ จัดทำยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเกษตรยั่งยืน-เกษตรอินทรีย์ โดยประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
 
 
30 ต.ค. 2557 เวลา 13:00 น. ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ อาทิ นครสวรรค์ เชียงใหม่ มหาสารคาม ขอนแก่น ยโสธร สุรินทร์ สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทราสงขลา พัทลุง เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล และศาลากลางจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เกิดการทบทวนนโยบายการทดทดลองการปลูกพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิด และการอนุญาตให้มีการปลูกในเชิงพาณิชย์
 
สำหรับเนื้อหาของจดหมายมีดังนี้ ตามที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ได้ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและเตรียมการให้มีการปลูกทดลองพืชดัดแปรพันธุกรรม (GMOs: Genetically Modified Organisms) ในแปลงเปิด รวมไปจนถึงการปลูกในเชิงพาณิชย์นั้น
 
องค์กรเกษตรกร องค์กรผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ มูลนิธิรักษ์ดิน รักษ์น้ำ (Earth Safe) กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมูลนิธิชีววิถี (BioThai) ซึ่งได้ติดตามการปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมในประเทศต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง พบว่า การปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์มีผลกระทบเชิงลบมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับดังนี้
 
 
ประการแรก เทคโนโลยีในการผลิตพืชดัดแปรพันธุกรรมส่วนใหญ่อยู่ในความครอบครองของบรรษัทข้ามชาติเพียงไม่กี่บริษัท ตัวอย่างเช่น พืชดัดแปรพันธุกรรมสำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ข้าวโพด ถั่วเหลือง และฝ้ายที่ปลูกในสหรัฐอเมริกามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มีบริษัทมอนซานโต้เป็นเจ้าของสิทธิบัตร การตัดสินใจเปลี่ยนเกษตรกรรมของประเทศไปใช้พืชดัดแปรพันธุกรรมจะทำให้ระบบเกษตรและอาหารของประเทศต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของบรรษัทขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหารของเกษตรกร ผู้บริโภค และประเทศไทยโดยรวม
 
ประการที่สอง ประชาชนและผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ มีแนวโน้มต่อต้านผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชดัดแปรพันธุกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในประเทศเยอรมนี และฝรั่งเศส สูงถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และ 84 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเอง มีประชาชนถึง 54 เปอร์เซ็นต์ที่ปฏิเสธอาหารดัดแปรพันธุกรรม และมีการเรียกร้องให้ติดฉลากสินค้าที่มาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม นั่นแสดงให้เห็นว่าตลาดที่จะรับซื้อผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากพืชดัดแปรพันธุกรรมกำลังลดลงเป็นลำดับ
 
ประการที่สาม ขณะนี้ผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทยถูกตีกลับเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศยุโรป และญี่ปุ่นเมื่อถูกตรวจสอบพบว่ามาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม และหากอนุญาตให้มีการทดลองปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมในแปลงเปิดหรือปลูกในเชิงพาณิชย์ จะทำให้ประเทศคู่ค้าจับตาผลผลิตที่ส่งออกจากประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการตรวจสอบและการจัดการเพิ่มขึ้นทั้งระบบ
 
ประการที่สี่ ประเทศไทยไม่สามารถปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมร่วม (Coexist) ไปกับการพืชทั่วไปและการปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ เนื่องจากพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรเฉลี่ยมีพื้นที่ขนาดเล็กประมาณ 15 ถึง 20 ไร่เท่านั้น ทำให้การแบ่งแยกพื้นที่ไม่ให้มีการปนเปื้อนทางพันธุกรรมเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ทั้งนี้โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการปนเปื้อนทางพันธุกรรมจากการที่เกิดจากการผสมเกสรของแมลงหรือลม แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเกษตรกรมีพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่และมีระบบการจัดการที่ดีกว่ากลับพบว่าไม่สามารถควบคุมการปนเปื้อนได้ ดังกรณีข้าวโพดสตาร์ลิงค์ (2543) ข้าวลิเบอร์ตี้ลิงค์ (2549) และข้าวโพดวิปเทอร่า (2557) ต้องจ่ายค่าเสียหายรวมกันหลายหมื่นล้านบาท
 
ในกรณีประเทศไทย การปนเปื้อนทางพันธุกรรมยังทำให้ยีนแปลกปลอมที่ได้รับการจดสิทธิบัตรโดยบรรษัทขนาดใหญ่ไปผสมปนเปื้อนกับทรัพยากรชีวภาพของประเทศ โดยไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้ (Irreversible) ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ต่อทรัพยากรธรรมชาติของประเทศในระยะยาว
 
ประการที่ห้า การปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์ทำให้มีการเพิ่มการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากมีผลเร่งกระบวนการวิวัฒนาการของศัตรูพืชเพื่อพัฒนาการต้านทานสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาทิ ทำให้เกิดวัชพืชที่ต้านทานสารเคมีกำจัดวัชพืช และแมลงที่ต้านทานสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การศึกษาที่ใช้ข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐเองพบว่าระหว่างปี 1996 ถึง 2011 มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นถึง 183 ล้านกิโลกรัม
 
ประการที่หก สำหรับคำกล่าวอ้างว่าเทคโนโลยีการดัดแปรพันธุกรรมสามารถทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้เป็นความจริง เพราะพืชดัดแปรพันธุกรรมทั้งหมดที่มีการนำมาใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นเพียงการนำยีนที่ผลิตสารพิษและยีนที่ต้านทานสารเคมีปราบวัชพืชตัดต่อใส่ในพืชผลผลิตสูงที่ผสมพันธุ์โดยวิธีปกติเท่านั้น ไม่ได้เพิ่มศักยภาพของพืชในการเพิ่มผลผลิตแต่ประการใด งานศึกษาเชิงเปรียบเทียบล่าสุดยังพบด้วยว่าการปลูกข้าวโพดสายพันธุ์ทั่วไปของประเทศในสหภาพยุโรปยังได้ผลผลิตมากกว่าข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรมในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
 
ประการที่เจ็ด แม้มีความพยายามในการผลักดันให้มีการปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมมาโดยต่อเนื่องตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมยังมีสัดส่วนเพียง 12 เปอร์เซ็นต์ของโลกเท่านั้น โดย 90 เปอร์เซ็นต์กระจุกตัวอยู่ในเพียง 5 ประเทศเท่านั้น ในระยะหลังอัตราการขยายตัวของพื้นที่ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมเริ่มมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจากปัญหาหลายประการดังที่ได้กล่าวแล้ว
 
ประการที่แปด ประชาคมวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมจะปลอดภัยต่อสุขภาพและจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในระยะยาว ดังที่พบว่ามีงานศึกษาที่เป็นอิสระจำนวนหนึ่งได้รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบมาเป็นระยะ ในขณะที่สมาคมทางการแพทย์สำคัญๆ เช่น British Medical Association, German Medical Association , American Public Health Association, California Medical Association, American College of Physicians เป็นต้น เสนอแนะให้รัฐบาลบังคับติดฉลากสินค้าดัดแปรพันธุกรรม เพื่อติดตามความเสี่ยงระยะยาว
 
ประการที่เก้า พืชดัดแปรพันธุกรรมที่ผลักดันให้มีการทดลองภาคสนามในประเทศไทย นับตั้งแต่ฝ้ายบีทีมอนซานโต้ มะละกอจีเอ็มโอต้านทานโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนคอร์แนล และข้าวโพดจีเอ็มโอมอนซานโต้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรที่มีต่างชาติเป็นผู้ครอบครอง ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีของเราเองแต่ประการใด การอนุญาตให้ปลูกทดลองในแปลงเปิดเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อที่จะได้ปลูกเชิงพาณิชย์เท่านั้น
 
ประการที่สิบ ประเทศไทยสามารถเลือกแนวทางการพัฒนาการเกษตรที่ดีกว่า มีความเสี่ยงน้อยกว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับมากกว่า โดยให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ อาทิเช่น การวิจัยเพื่อฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ การส่งเสริมให้บริษัทท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีปกติจนสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพได้เอง ตัวอย่างกรณีของการพัฒนาเมล็ดพันธุ์และผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน เป็นต้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาเกษตรกรรมอินทรีย์ซึ่งเป็นแนวทางที่เกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการภาคเอกชน ได้ผลักดันร่วมกันมานับแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค
 
ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว องค์กรซึ่งมีรายชื่อตามจดหมายนี้จึงขอเสนอต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้โปรดทบทวนนโยบายและการดำเนินการเกี่ยวกับพืชดัดแปรพันธุกรรมดังต่อไปนี้
 
หนึ่ง ขอให้ยับยั้งการอนุญาตให้มีการปลูกทดลองพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิด จนกว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งกำหนดให้มีการชดเชยความเสียหายและรับผิดชอบกรณีที่เจ้าของหรือผู้ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมทำให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับพืชทั่วไป พืชที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ หรือทำให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพ/ทรัพยากรธรรมชาติในระหว่างที่ไม่มีกฎหมายข้างต้น ให้มีการอนุญาตในการปลูกทดลองพืชดัดแปรพันธุกรรมในโรงเรือนทดลอง หรือให้ห้องปฏิบัติการเท่านั้น
 
สองขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ภายใต้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและเกษตรกรรมอินทรีย์ ทั้งนี้โดยให้มีตัวแทนของผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเครือข่ายเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรของประเทศสามารถเชื่อมโยงประสานกันโดยไม่ขัดแย้งกัน
 
สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เกษตรกรยั่งยืน จากพื้นที่ 14 อำเภอในเชียงใหม่ ซึ่งมีสมาชิกกว่า 1,000 ครัวเรือน ได้ยื่นหนังสือผ่านทางนายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยตัวแทนเกษตรกรรายหนึ่งกล่าวว่า อยากให้รัฐบาลมีการทบทวน ตัดสินใจเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ เพราะเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรใช้เพาะปลูกกันทุกวันนี้เราก็ไม่รู้ว่ามันมาจากไหน ทั้งหมดต้องเป็นไปเพื่อรักษาอธิปไตยทางอาหาร และความยั่งยืนของเกษตรกร
 
 
- ชมบรรยากาศการยื่นหนังสือที่ศาลากลาง จ.เชียงใหม่: http://youtu.be/_ad3lwXT6xU
- ชมการเนื้อหาการเสวนา เดินหน้า GMO บรรษัทกำไร ประชาชนไทยล่มจม?: http://www.youtube.com/playlist?list=PLs7l-zYsBZRjRqsXy9OjD9h0Nvi4D4boT
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายแรงงานชุมนุม-ยื่นหนังสือ สนช.ชะลอร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม เปิดเวทีรับฟังความเห็น

$
0
0

เครือข่ายประกันสังคมประกาศเดินหน้าปฏิรูปประกันสังคมเพื่อคนทำงาน สปช. ชี้หากรัฐบาลไม่ฟังเสียงผู้ประกันตน ถือว่าเป็นการลักไก่ไม่ชอบธรรม ด้าน สนช.เดินหน้าพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมต่อ ตอบหยุดไม่ได้เพราะคำสั่ง ครม.หากจะเบรกต้องให้รัฐมนตรีแรงงานดึงกลับไปสร้างการมีส่วนร่วมเองประกาศพรุ่งนี้ (31) เข้าพิจารณา เสนอตั้งนายมนัส โกศล และเครือข่ายอีก 6 คน เป็นกรรมาธิการ

30 ต.ค. 2557 เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) ประกอบด้วย 14 องค์กรด้านแรงงาน ราว 100 คน ชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือต่อรองประธานสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญชัย เพื่อให้ชะลอการนำร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่..)พ.ศ. ….ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเสนอเข้าวาระการประชุมของ สนช.

นายมนัส โกศล ตัวแทนเครือข่ายฯ กล่าวว่า ด้วยทราบว่าสนช.มีการบรรจุร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ในระเบียบวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งที่ 19/2557 วันที่ 30 ตุลาคม 2557 ซึ่งมีสาระสําคัญส่วนใหญ่คล้ายกับร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับคณะรัฐมนตรีเสนอก่อนยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนธันวาคม 2556 โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคมส่วนใหญ่ยังไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณา เสนอแนะต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ ในขณะที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติกําลังจะเร่งพิจารณา

ในการนี้ เครือข่ายประกันสังคมคนทํางาน (คปค.) ได้ศึกษาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับดังกล่าวแล้ว จึงมีข้อเสนอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังนี้

(1) ควรชะลอเวลาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) และขอให้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากตัวแทนภาคประชาสังคมที่เกี่ยวของ ทั้งฝ่ายผู้ประกันตน (มาตรา 33, มาตรา 39 และมาตรา 40) ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายสถานพยาบาล และหน่วยราชการต่างๆ เช่นกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย

(2) ด้วยร่างกฎหมายประกันสังคมดังกล่าวมีหลายประเด็นไม่สอดคล้องกับหลักการ 4 ประการ เพื่อการปฏิรูปประกันสังคม “หลักประกันเพื่อคืนความสุขสู่ประชาชน” ที่เครือข่ายประกันสังคมคนทํางาน (คปค.) เคยเข้าพบหารือกับรองประธานสภานิติบัญญัติ (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 แม้บางประเด็นในร่างกฎหมายได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายประกันสังคมให้ดีไปอีกตามหลักการการปฏิรูปประเทศ โดยขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนเครือข่ายประกันสังคมคนทํางาน (คปค.) ซึ่งประกอบด้วย 14 องค์กร เข้าร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคม

(3) เนื่องจากกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่มีร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเครือข่ายประกันสังคมคนทํางาน (คปค.) เข้าสู่การพิจารณาคู่ขนานไปด้วยกัน ทําให้การพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมาย อาจไม่มีข้อมูลและความเห็นรอบด้านและเป็นปัจจุบัน จึงขอให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมดังกล่าวด้วย ก่อนที่จะนําไปสู่การลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวให้ใช้บังคับต่อไป

โดยทางนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับดังกล่าวยังไม่ได้เข้าสู่การประชุมเพื่อพิจารณา แต่จะเข้าสู่การพิจารณาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งคงยับยั้งหรือชะลอการนำเข้าพิจาารณาไม่ได้ ด้วยทางคณะรัฐมนตรีมีมติให้นำเข้า หากเครือข่ายฯต้องการให้ชะลอต้องบอกให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานดึงร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมออกไปก่อนเพื่อรับฟังข้อเสนอ เมื่อมาสู่การพิจาณาของ สนช.ก็คงอยู่ที่ว่าสมาชิกสภาฯจะเห็นว่าอย่างไร ซึ่งทาง สนช.ก็จะมีการเว้นเรื่องระเบียบข้อบังคับเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขได้ในขั้นกรรมาธิการแรงงาน โดยได้เสนอให้มีนายมนัส โกศล เข้าไปเป็นตัวแทน และมีสัดส่วนของแรงงานอีก 6 คน ซึ่งก็ให้เสนอเข้ามาว่าเป็นใครบ้าง

ทั้งนี้ในวันเดียวกันเครือข่ายฯได้ยื่นหนังสือต่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อให้ทราบว่าทางคณะรัฐมนตรีได้บรรจุร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมเข้า สนช.แล้ว และต้องการให้ สปช.สนับสนุนกระบวนการปฏิรูปประกันสังคมคนทำงานของแรงงานด้วยโดยมี นางสารี อ๋องสมหวัง นายวิทยา กุลสมบูรณ์ และนางสาวสุภัทรา นาคะผิว สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มารับหนังสือ

โดยนางสารี อ๋องสมหวัง สมาชิก สปช.กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ประกันตนคนหนึ่งก็ได้เห็นถึงความเสียเปรียบของผู้ประกันตนในด้านสิทธิ สวัสดิการ การเข้าถึงสิทธิของกองทุน และเห็นถึงจุดอ่อนของการบริหารจัดการกองทุน และร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับนี้ยังขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตน ด้วยสถานการณ์ที่มีการนำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมเข้าสู่วาระการประชุมหากผ่านวาระที่ 1 การแก้ไขเพื่อนำเอาข้อเสนอของตัวแทนผู้ประกันตนที่มาร้องในวันนี้เข้าสู่การพิจารณาหลักการใหญ่คงไม่ได้แน่ด้วยสถานการณ์ที่ไม่ปกติของ สนช.

สารี ระบุว่า เห็นด้วยกับการนำร่างออกมาเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ที่ทำได้คือการชะลอร่างกฎหมายฉบับนี้ไว้ก่อน เพื่อสร้างหลักการที่สอดคล้องกัน เพราะบางประเด็นก็ต้องปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมที่มีอยู่ไม่ใช่ลดลง การที่นำร่างกฎหมายประกันสังคมเข้าโดยเร่งด่วนเช่นนี้ถือเป็นการลักไก่ประชาชนผู้ประกันตน

นางสาวสุภัทรา นาคะผิว สมาชิก สปช. กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเองจะเข้าไปเป็นตัวแทนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คิดว่าหลักการกระบวนการร่างกฎหมายของภาคประชาชนเพื่อสร้างแนวทางการมีส่วนร่วม โดยการล่าลายมือชื่อต้องทำได้จริง ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมที่ขบวนแรงงานร่วมกับภาคประชาชนช่วยกันลงลายมือชื่อนั้นดีอยู่ในหลักการแต่กลับไม่ได้รับการพิจารณา วันนี้เพียงที่จะนำหลักการมาเสนอต่อ สนช.ให้ชะลอร่างแล้วมาทำกระบวนการร่วมกันใหม่ ตนคิดว่า สนช.ต้องรับฟังข้อเสนอและนำร่างออกมาก่อน ช่วยกันพิจารณาอย่างมีส่วนร่วม

จากนั้นก็มีการประกาศเจตนารมณ์โดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ว่าตามที่เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน 14 องค์กรได้ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการปฏิรูประบบประกันสังคมนั้น บัดนี้ทางครม.ได้มีมติในการนำร่างกฎหมายประกันสังคมเร่งเข้าสู่การพิจารณา ซึ่งเห็นว่าเนื้อหายังไม่ใช่การปฏิรูปหรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกันตนอย่างแท้จริง หากต้องการปฏิรูปจริงต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนได้มีส่วนร่วมปฏิรูปในครั้งนี้ด้วยการฟังเสียงผู้ประกันตน หากทาง สนช.ยังคงเดินหน้าพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับนี้ ทางเครือข่ายฯจะร่วมพลังกันขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปฏิรูประบบประกันสังคมต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อผู้ประกันตน
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้งออนไลน์: วิบากกรรม NGO

$
0
0


 

สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่วันพฤหัสบดีนี้ หลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม คาดว่า สนช.จะผ่านฉลุย มิไยที่เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน 14 องค์กรคัดค้าน ต้องการ "มีส่วนร่วม" แก้ไขประเด็นสำคัญๆ เช่นให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกผู้บริหารกองทุน ไม่ให้อยู่ใต้ระบบราชการกระทรวงแรงงาน

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันเดียวกัน ยังเห็นชอบร่างพ.ร.บ.แร่ ซึ่งองค์กรชาวบ้านในพื้นที่ได้รับผลกระทบออกมาค้านเซ็งแซ่ว่า "เอื้อประโยชน์นายทุน" กฎหมายนี้มุ่งตัดอำนาจ "นักการเมืองชั่ว" โดย "กระจายอำนาจ" ออกประทานบัตร ให้ผู้ว่าฯ อธิบดี ปลัดกระทรวง อนุมัติเป็นกรณี จากเดิมที่เรื่องต้องถึงรัฐมนตรี ตอนนี้จะทำ One Stop Service แต่ชาวบ้านบอกว่า Fast Food เสียมากกว่า เพราะบางกรณียังยกเว้นไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือต่อให้ทับพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 ก็ให้อำนาจอธิบดีอนุมัติโดยไม่ต้องผ่านคณะรัฐมนตรี (นักการเมืองชั่ว)

นับแต่ คสช.ยึดอำนาจ จนตั้งสนช. ตั้งคณะรัฐมนตรี มีประกาศ คำสั่ง และกฎหมายหลายฉบับ ที่ถูกคัดค้านจาก NGO "ภาคประชาชน" ซึ่งก็ค้านได้เพียงบางเรื่อง แต่หลายเรื่องค้านไม่ได้ ค้านไม่ทัน หรือเกือบไม่รู้ด้วยซ้ำ ภายใต้อัตราฉับไว 5 เดือนมีกฎหมายเข้า สนช. 57 ฉบับ

กระบวนการอนุมัติใน ครม.ยุคกองทัพ ทั้งเฉียบขาด รวดเร็ว และปิดลับ รัฐมนตรีต่างกระทรวงได้อ่านเอกสารก่อนประชุมวันเดียว ไม่มีข่าวรั่วไหลให้สื่อรู้ตาม "ประเพณีประชาธิปไตย" ว่าวันอังคารนี้ ครม.จะพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง NGO จะได้ยกพลมาค้าน ขณะที่สภาซึ่งมีทหารร่วมครึ่ง ก็เชื่อว่ากฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของ ครม.ที่เป็น "ผู้บังคับบัญชา" อยู่ด้วย น่าจะถูกต้องชอบธรรมแล้ว

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงกฎอัยการศึก เอาแค่ความรวบรัด อย่างร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร ซึ่งมาตรา 7 ให้อำนาจศุลกากรตรวจค้นสินค้าผ่านแดนหรือถ่ายลำโดยไม่ต้องมีหมายค้น หากเชื่อได้ว่าเป็นภัยก่อการร้ายหรือผิดกฎหมาย ให้ยึดได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล กฎหมายนี้ผ่านสภาโดยแปรญัตติเพียง 7 วัน FTA Watch ต้องไปตามขอคำมั่นว่าจะไม่บังคับใช้กับยา เพราะบริษัทยาข้ามชาติอาจฉวยโอกาสใช้ยึดยาสามัญที่ไม่มีสิทธิบัตร

กฎหมาย ที่ค้านได้ก็อย่าง พ.ร.บ.ยา ซึ่งวิชาชีพเภสัชกรออกมาต้านอื้ออึง เนื่องจากอนุญาตให้วิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่แพทย์และเภสัชกรจ่ายยาได้ รวมทั้งเปิดช่องให้พวกคลินิกความงาม คลินิกผิวหนัง กวนยาขายเอง

ถามว่าผู้นำ คสช.ผู้นำรัฐบาลรู้เรื่องไหม ไม่รู้หรอกครับ หลายเรื่องไม่รู้หรือรู้บ้างแต่ไม่รู้รายละเอียด แล้วกฎหมายออกมาได้ไง ก็ส่วนราชการชงขึ้นมาให้ บางเรื่องก็เสนอมาจากภาคธุรกิจ เพราะเมื่อ คสช.ยึดอำนาจก็ใช้ระบบราชการทำงาน และด้วยความที่กลัวปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ต้องการเป็นรัฐประหาร "ปิดประเทศ" ก็เปิดรับฟังภาคธุรกิจขนานใหญ่ แล้วใช้อำนาจเบ็ดเสร็จจัดการปัญหา ในแนวทางที่ท่านคิดว่าถูกต้อง

ยกตัวอย่าง พ.ร.บ.ยา ซึ่งเสนอโดย อย. เป็นกฎหมายที่คั่งค้างมานาน NGO พยายามเสนอกฎหมายประกบแต่ตกไปในยุครัฐบาลเลือกตั้ง พอ คสช.เข้ามาก็ตั้งใจจะเคลียร์ให้เสร็จสรรพ แต่พอผ่านกฤษฎีกาไม่ทราบว่าเนื้อหางอกมาจากไหน กลายเป็นเอื้อประโยชน์ให้หมอคลินิกไปเสียได้

ความรวบรัดเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นในกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งอย่างน้อยก็ยังค้านได้ ยังมีเวลา มีโอกาส

อันที่จริงอยากจะบอกว่า "สมน้ำหน้า NGO" เพราะ NGO จำนวนมากมีบทบาทโค่นรัฐบาลเลือกตั้ง ผู้นำแรงงานที่ค้านร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมบางคนก็เป่านกหวีดสนั่น ด้วยความเกลียดนักการเมือง เกลียด "ทุนสามานย์" เพ้อฝันว่าจะมี "ปฏิวัติประชาชน" หรือ "สภาประชาชน" กระทั่งเกิดรัฐประหารก็ยังหวังจะ "มีส่วนร่วม" ปฏิรูป

แล้วเป็นไง ปฏิรูปพลังงาน ก็ได้ รสนา โตสิตระกูล เข้าไปคนเดียวโด่เด่ กระทรวงสาธารณสุข ก็ยังดีที่ปลัดณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ไม่งั้นแพทย์ชนบทขี้แตกกระเจิง

ภายใต้รัฐราชการ เผลอๆ "ภาคประชาชน" เดือดร้อนกว่าเสื้อแดงด้วยซ้ำ ตั้งแต่คำสั่ง คสช.ที่ 64 และ 66 แผนแม่บทพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งกระทรวงทรัพย์ฯ ฉวยมาใช้ไล่รื้อชุมชน ผลักดันชาวบ้านออกจากป่า และป่านฉะนี้ยัง "ตามหาบิลลี่" ไม่เจอ กรณีพิพาทตั้งแต่เหนือจดใต้ โฉนดชุมชน เหมืองแร่ ปากบารา ฯลฯ เมื่อข้าราชการเป็นใหญ่ NGO ก็ร้องไม่ออก

นี่ได้ยินว่ายังจะต่อต้านนโยบายพืช GMO ที่รัฐบาลจะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ยังจะค้านไหวหรือ

ใจหนึ่งอยากบอกว่าสมน้ำหน้า ไหนว่าอยากปฏิรูปกับกองทัพ ก็เจรจากับทหารเองสิครับ แต่ก็พูดเต็มปากไม่ได้อีก เพราะ NGO อีกมากไม่ได้เป่านกหวีด และท้ายที่สุดคนเดือดร้อนคือประชาชน

กระนั้นมาถึงขั้นนี้แล้วทำไง ไม่มีใครช่วยได้ ก็เก็บรับบทเรียนกันไปเถอะว่า "กระบวนการประชาธิปไตย" เท่านั้นที่เป็นหลักประกันให้ภาคประชาชน

 

ที่มาข่าวสดออนไลน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พื้นที่พูดคุยเพื่อการหนุนเสริมสันติภาพ

$
0
0

 

ปฏิบัติ การที่ภาครัฐกำลังดำเนินการในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในกรณีปัญหาความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยการลงนามบันทึกข้อตกลงการพูดคุยกับกลุ่มขบวนการ BRN ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งในอีกหลายกลุ่มที่เรียกร้องความเป็นอัตลักษณ์ของรัฐปัตตานีด้วยการให้ได้มาซึ่งเอกราชของความเป็นมลายูปัตตานี จากการพบปะชาวบ้าน นักวิชาการ นักพัฒนาจากองค์กรเอกชนหลายภาคส่วน บางส่วนเห็นด้วยกับมิติที่รวดเร็ว ทันด่วน ของรัฐบาลเพื่อไทยที่เกิดกระบวนการลงนามเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา เพื่อนำไปสู่กระบวนการการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้ ถึงแม้ว่ายังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยว่ามีเนื้อหาอะไรแอบอยู่ข้างใน และยังคงมีนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งตั้งคำถามว่าเกาถูกที่คันไหม หมายถึงว่าได้แก้ปัญหาตรงจุด ตรงประเด็นหรือไม่ หรือเป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นการขายภาพประชานิยม สร้างความเชื่อมั่นทางฐานเสียงทางการเมืองซึ่งได้กระทำการแต่งตั้งกลุ่มการ เมืองต่างๆ เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นทั้งฝ่ายทางการไทยและมาเลเซีย

กระบวนการพูดคุยเริ่มมีมานานแล้ว อย่างน้อยที่เป็นจริงและไม่น้อยกว่าสิบปี ซึ่งเป็นมีการพูดคุยเป็นรูปแบบไม่เป็นทาง (Informal Dialogue) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความจริงใจของฝ่ายรัฐและฝ่ายกลุ่มขบวนการฯ แต่ไม่สามารถหาความจริงใจได้จากทั้งสองฝ่าย เพราะต่างยืนกระต่ายขาเดียวแสดงจุดยืน (Position) ของตนเองอย่างชัดเจน, มีการปะทะด้านแนวคิดตลอดเวลา รวมถึงการต่อสู้ที่ใช้ความรุนแรงเข้ามาห้ำหั่น แย่งชิงมวลชนและผลประโยชน์กัน  ผลการกระทำเหล่านี้แทบทั้งสิ้นผู้รับชะตากรรมคือชาวบ้านในพื้นที่ไม่ว่าจะ เป็นไทยพุทธหรือมุสลิม ทั้งการปฏิเสธการประนีประนอม (compromise) เพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกันในแนวทางที่ต่างได้รับตอบแทน(win-win) ที่จะไปนำสู่การแก้ปัญหา (Problems solving) จึงไม่สามารถเปิดพื้นที่พูดคุยได้ เพราะไม่มีระบบหรือแนวทางที่จะสามารถรับรองว่าเมื่อมีการเปิดการพูดคุย ทั้งสองฝ่ายจะปลอดภัยจากการถูกลอบทำร้าย

การ เปิดพื้นที่พูดคุยเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำมานานแล้วสำหรับระดับนโยบายคือ รัฐบาล ประเด็นหนึ่งที่ควรตระหนักคือไม่ควรลงนามกับทีมใดทีมหนึ่งทีมเดียว ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งและก่อให้เกิดความรุนแรง ประเด็นที่รัฐควรทำความเข้าใจในขณะนี้คือการพื้นที่พูดคุยกับกลุ่มคนในสังคม ไทยที่ยังขาดความเข้าใจ ขาดความเห็นอกเห็นใจคนอื่นๆ ขาดการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ขาดความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ความเป็นรอยยิ้มสยาม ที่ลบเลือนหายไป และประกอบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นประชากรเกือบค่อนประเทศอยู่บนพื้นฐานของ ความสะใจ มีประชากรน้อยมากที่จะอยู่บนพื้นฐานของความเห็นใจ เพราะรับฟังข่าวด้านเดียว เช่นคนไทยทั้งประเทศรับข้อมูลตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชน คงมีเฉพาะกลุ่มคนที่อาศัยในพื้นที่ที่เกิดปัญหา เท่านั้นที่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงอยู่ในขณะนี้

สิ่งที่อยากเสนอให้รัฐบาลควรทำในขณะนี้

  • สร้างพื้นที่ความปลอดภัยเพื่อให้เกิดความวางใจแก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดการเปิดพื้นที่การพูดคุยรับฟังกับประชาชนทุกภาคส่วน
  • ในการเปิดพื้นที่พูดคุยควรมีเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงได้และสามารถประสานงานกันได้
  • ต้องยอมรับว่ากระบวนการสร้างสันติภาพเป็นแนวทางความดีร่วมกันทุกฝ่าย

ผู้ เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการจัดเวทีพูดคุยของภาคประชาสังคมในปัตตานีหลายต่อ หลายครั้ง ในประเด็นการพิจารณาหาทางออกร่วมกันว่าเราควรเดินทางไหน สรุปสาระสำคัญคือการสร้างพื้นที่ความปลอดภัยในการพูดคุยเพื่อหาทางออกอย่าง แท้จริง มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา โดยประเด็นปัญหาทั้งหมดที่กล่าวยกมาต้องอยู่บนพื้นฐานของการไม่ใช้ความ รุนแรงและใช้แนวทางสันติวิธีเพื่อให้เกิดความสงบสุขอย่างแท้จริง   

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจห้ามจัดกิจกรรม ระลึก ลุงนวมทอง แท็กซี่ประชาธิปไตย

$
0
0
ตำรวจกว่าร้อยคน ตรึงกำลังสะพานลอยนวมทอง ห้ามจัดกิจกรรมรำลึกครบรอบ 8 ปี 

 
31 ต.ค. 57 เมื่อเวลาประมาณ 8.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 100 คน เข้าควบคุมพื้นที่บริเวณสะพานลอยนวมทอง หน้า สำนักพิมพ์ไทยรัฐ และอ้างกฏอัยการศึก สั่งห้ามจัดกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการต้านรัฐประหาร ซึ่งรวมถึงการจัดกิจกรรมระลึกถึง นายนวมทอง ไพรวัลย์ คนขับรถแท็กซี่ซึ่งผูกคอตายที่สะพานลอยแห่งนี้ เมื่อ 8 ปีที่แล้ว 
 
แกนนำนักศึกษาจาก ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ศนปท.) จำนวนเจ็ดคนได้เดินทางมาที่สะพานลอยดังกล่าว เพื่อวางหรีด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับไม่ยอมให้พวกเขาเข้าไปบริเวณสะพานลอย นึกษาจึงยืนสงบนิ่งไว้อาลัยหนึ่งชม. เพื่อทดสอบความอดทนของรัฐ ก่อนจะถูกนำตัวไปเจรจาบริเวณศาลาใกล้เคียงเป็นเวลาประมาณสองชม. สุดท้ายเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมวางหรีด โดยก่อนที่จะเดินทางกลับได้ยืนไว้อาลัยประมาณ 1 นาที 
 
อย่างไรก็ตาม อานนท์ นำภา ทนายความนักโทษการเมือง ได้รับอนุญาตให้ไปวางหรีด หลังจากทำการเจรจากับตำรวจนานถึงครึ่งชั่วโมง และยังมีหญิงไม่ทราบชื่ออีกคนหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปวางดอกไม้ด้วยเช่นกัน 
 
 
 
 
 


 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปธน.บูร์กินาฟาโซประกาศภาวะฉุกเฉิน-ยุบสภา

$
0
0

เหตุประท้วงในกรุงวากาดูกูไม่พอใจประธานาธิบดีซึ่งครองอำนาจหลังรัฐประหาร 27 ปี เตรียมแก้ไขกฎหมายเลิกข้อจำกัดวาระดำรงตำแหน่ง - การชุมนุมบานปลายเป็นจลาจลบุกรัฐสภา สุดท้ายประธานาธิบดีประกาศภาวะฉุกเฉินให้ผู้นำกองทัพควบคุมสถานการณ์และยุบสภา ยอมเจรจากับฝ่ายค้าน ขณะที่สถานการณ์ยังไม่แน่ชัดว่าจะคลี่คลายไปทิศทางใด

(ซ้าย) แบลส คอมปาโอเร ประธานาธิบดีบูร์กินาฟาโซ ซึ่งครองอำนาจมานานถึง 27 ปี และ (ขวา) ธงชาติของบูร์กินาฟาโซ (ที่มา: วิกิพีเดีย/cc)

30 ต.ค. 2557 - ในบล็อกรายงานสดของบีบีซี ที่กรุงวากาดูกู เมืองหลวงของประเทศบูร์กินาฟาโซ ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ผู้ชุมนุมได้ยึดถนนในกรุงอูกาดูกู จุดไฟเผาอาคารรัฐสภา และบุกสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล เนื่องจากพวกเขาโกรธที่จะมีการลงมติในสภาเพื่อขยายวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี แบลส คอมปาโอเร ซึ่งครองอำนาจมา 27 ปี นับตั้งแต่ทำรัฐประหารในปี 2530

โดยในขณะที่สถานการณ์ยังคงสับสน ผู้นำฝ่ายค้านของบูร์กินาฟาโซ เซฟิริน ดิอาเบร ได้ทวีตด้วยว่า "พวกเราไม่ยอมรับการขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลังอาวุธ พวกเราขอให้ท่านเคารพหลักประชาธิปไตย"

 

 

ด้านสหภาพแอฟริกา ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศของชาติในทวีปแอฟริกา ได้ทวีตเช่นกันว่า "พวกเรากำลังติดตามสถานการณ์และขอให้ชาวบูกินาฟาร์โซอยู่ในความสงบ"

มีรายงานด้วยว่าบัน คี มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ จะส่งผู้แทนพิเศษเข้ามาสังเกตการณ์บูร์กินาฟาโซด้วย

ขณะที่จำนวนผู้ร่วมชุมนุมในวากาดูกู สามารถชมได้วิดีโอที่โจ เพนนี ช่างภาพรอยเตอร์ ทวีต

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวบีบีซี ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ทหารในบูกินาฟาร์โซใช้กระสุนจริงยิงผู้ชุมนุมที่บุกเข้าไปในรัฐสภาด้วย และมีผู้เสียชีวิต 5 ราย โดยมีรายงานด้วยว่า สนามบินของวากาดูกูถูกปิด เที่ยวบินทั้งหมดถูกยกเลิก

ในเวลา 17.07 น. ตามเวลาท้องถิ่น ประธานาธิบดีบูร์กินาฟาโซ ได้กล่าวผ่านทางสถานีวิทยุ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยให้ผู้บัญชาการกองทัพเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้ประธานาธิบดียังประกาศยุบสภาเพื่อที่จะเจรจากับผู้ประท้วงด้วย และขอให้ผู้นำฝ่ายค้านยุติการประท้วง "ผมขอรับประกันว่า นับจากวันนี้เป็นต้นไปจะเปิดการเจรจากับทุกฝ่ายเพื่อยุติความขัดแย้ง"

สำหรับประธานาธิบดี แบลส คอมปาโอเร ครองอำนาจมา 27 ปี นับตั้งแต่ทำรัฐประหารในปี 2530 หลังจากประธานาธิบดีโธมัส ซานคาราถูกสังหารโดยฝีมือของทหารกลุ่มหนึ่ง จากนั้นประธานาธิบดีคอมปาโอเร ได้รับเลือกตั้งในปี 2534 และ 2541 

ชนวนที่ทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองรอบใหม่ขึ้นนั้น เกิดขึ้นหลังจากมีการนัดอภิปรายในสภาในวันที่ 30 ต.ค. ในวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบใหม่ในปีหน้า ทำให้ผู้ประท้วงฝ่ายตรงข้ามกับประธานาธิบดีคอมปาโอเรไม่พอใจ โดยพยายามบุกรัฐสภา และเผาอาคารในรัฐสภา

นอกจากนี้ในรอบปีมานี้เกิดภาวะค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นในประเทศแห่งนี้ด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เภสัชใต้จี้ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับปรับปรุงใหม่ก่อนส่ง ครม.

$
0
0

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557 มีการประชุมหารือของกลุ่มเภสัชกรภาคใต้ ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.ยา ซึ่งในขณะนี้ทางองค์การอาหารและยา (อย.) ได้หารือร่วมกับสภาเภสัชกรรมแห่งประเทศไทย ภาคประชาชน สภาวิชาชีพต่างๆ ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ดูแลคุ้มครองสุขภาพระดับภูมิภาคและได้ร่างที่ผ่านความเห็นชอบจากทุกกลุ่มทุกวิชาชีพมาอย่างครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นร่างที่มีจุดยืนในการปกป้องและคุ้มครองผู้บริโภค
 
อย่างไรก็ตามในการประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์ในวันนี้ กลุ่มเภสัชกรภาคใต้เห็นว่า “ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ที่มีการแก้ไขจากสหวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มแล้ว แต่ในขั้นตอนจากนี้ไปทาง อย.ควรนำข้อสรุปจากการหารือดังกล่าวมาจัดทำเป็นร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับแก้ไขปรับปรุง แล้วนำส่งร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับแก้ไขปรับปรุงนี้เข้าสู่สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอพิจารณาในที่ประชุม ครม. แต่กลับปรากฏว่า ทาง อย.จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับเดิมแนบข้อสรุปการแก้ไขที่ได้พิจารณาร่วมกันระหว่าง อย.และสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจทำให้มีความยากในการทำความเข้าใจและขาดน้ำหนักเมื่อเข้าสู่การประชุม ครม. 
 
ทางกลุ่มเภสัชกรภาคใต้จึงได้ออก “แถลงการณ์กลุ่มเภสัชกรภาคใต้ ฉบับที่ 3” เรื่องยืนยันการคัดค้านร่างพระราชบัญญัติยาฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและกระทรวงสาธารณสุขส่งร่างพระราชบัญญัติยาที่มีการปรับแก้และเห็นชอบแล้วของสหวิชาชีพ ไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติยาฉบับที่มีการแก้ไขโดยสหวิชาชีพแล้วและนำเข้าสู่กระบวนการในการออกกฏหมายต่อไป ไม่ใช่นำร่างฉบับกฤษฎีกาแล้วแนบด้วยข้อสรุปจากวิชาชีพและองค์กรต่างๆ นำส่ง ครม.”
 
ทั้งนี้ทางกลุ่มเภสัชกรภาคมใต้จะหาโอกาสสร้างความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวกับรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและตัวแทนของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในสายสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขต่อไปในสัปดาห์หน้า
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยกฟ้องคดีโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทรัฐบาลยิ่งลักษณ์

$
0
0
ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น ยกฟ้องในคดีบริหารงานโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 
31 ต.ค. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่าศาลปกครองสูงสุด กลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น ยกฟ้องในคดีบริหารงานโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
โดยคดีนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวก 45 คน ยื่นฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวก รวม 4 คน โดยศาลพิเคราะห์เห็นว่า โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ยังไม่กระทบต่อประชาชน เป็นเพียงแผนแม่บทเท่านั้น และแผนไม่ได้กระทบต่อผังเมืองและภาคประชาชน ยังไม่มีการเวนคืนที่ดิน ส่วนประเด็นที่ผู้ว่าจ้าง ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเป็นผู้จัดโครงการประชาพิจารณ์ ที่ผู้ฟ้องอ้างว่าอาจมิชอบนั้น ศาลเห็นว่าบริษัทเอกชนที่ว่าจ้าง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล หากมีความไม่โปร่งใส ก็เป็นอำนาจของรัฐที่จะกำกับดูแลอยู่แล้ว ส่วนการเอาผิดทางอาญา ศาลเห็นว่าเป็นอำนาจของ ป.ป.ช. ตามมาตรา 157
 
ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวหลังศาลมีคำพิพากษาว่า รู้สึกเสียใจ ภาคประชาชนต้องทำงานหนักมากขึ้น แต่จากคำพิพาษาวันนี้ จะเป็นบรรทัดฐานที่ประชาชนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วม ตรวจสอบการดำเนินงานที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน พร้อมเดินหน้าตรวจสอบโครงการที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกโครงการ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: นวมทอง ไพรวัลย์

$
0
0

 

นวม สวมใส่ใจสู้รู้เกณฑ์กฎ

ทอง นั้นคืออนาคตผู้ทุกข์เข็ญ

ไพร ไกลห่างชนชั้นล่างผู้ลำเค็ญ

วัลย์ เลื้อยเด่นเป็นผู้นำปูทาง

 

นวม สวมชกตามกติกาประชาธิปไตย

ทอง เหรียญชัยมอบให้หัวใจกว้าง

ไพร ทั้งผืนตื่นตามลำดับพลาง

วัลย์ ที่นำทางผลิชูช่องาม

 

นวม ที่สวมแขวนแล้วอาลัยนัก

ทอง อนาคตที่ฟูมฟักถูกยักษ์ย่ำ

ไพร ไม่มีให้หลบหลีกเลียปีกช้ำ

วัลย์ ผลผลิตนำเป็นพลวัต

 

นวม จึงถูกหยิบสวมต่อแล้วขึ้นชก

ทอง นั้นคืออนาคตแม้รกชัฏ

ไพร หรือไพร่ตื่นสู้รู้ปฏิบัติ

วัลย์ คืบคลานปฏิวัติ "ประชาชน"

 

 

31 ตุลาคม 2557

ครบรอบ 8 ปีการจากไปของ "นวมทอง ไพรวัลย์"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน ครม. พบ 'ประยุทธ์-คู่สมรส' มี 128 ล้านบาท

$
0
0
ป.ป.ช.เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ครม. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคู่สมรสมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท ขณะที่หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจมีทรัพย์สินมากที่สุด 1.3 พันล้านบาท

 
31 ต.ค. 2557 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สิน พร้อมเอกสารประกอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรณีเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 จำนวน 33 ราย 35 ตำแหน่ง
 
โดยนายกรัฐมนตรี และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีทรัพย์สิน 87,373,757 บาท ไม่มีหนี้สิน หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 1,378,394,902.62 บาท ไม่มีหนี้สิน ซึ่งถือว่า มากที่สุดในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ รองลงมาคือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคู่สมรสมีทรัพย์สิน 1,315,332,228 บาท ไม่มีหนี้สิน
 
ขณะที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน อาทิ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 116,847,346.51 บาท พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 186,033,607.07 บาท พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 37,709,130.47 บาท พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 54,634,679.28 บาท
 
พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 51,789,420.88 บาท พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 93,959,333.05 บาท นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 830,523,789.33 บาท พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคู่สมรส มีทรัพย์สิน 33,280,755.90 บาท ไม่มีหนี้สิน พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 6,948,378.27 บาท ซึ่งถือว่ามีทรัพย์สินน้อยที่สุดในรัฐบาลชุดนี้
 
ทั้งนี้ ป.ป.ช. กำหนดเปิดแสดงบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สินดังกล่าว ไปจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ ระหว่างเวลา 08.30 น.–16.30 น. ที่ห้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี หรือ เว็บไซต์ของสำนักงา ป.ป.ช. WWW.NACC.GO.TH
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ป.ป.ช. แถลงเปิดคดีถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ต่อ สนช. 12 พ.ย. นี้

$
0
0
"ปานเทพ" ประธาน ป.ป.ช. ระบุรัฐบาลสามารถขอข้าวที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบไปขายก่อนได้ พร้อมทำหนังสือถึงรัฐบาลขอตรวจสอบสต็อกข้าว พร้อมส่งตัวแทนแถลงเปิดคดีถอดถอน “ยิ่งลักษณ์” ต่อที่ประชุม สนช. 12 พ.ย.นี้

 
31 ต.ค. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบสต็อกข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า เบื้องต้น ป.ป.ช.ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับการตรวจสอบสต็อกข้าว ซึ่งจะนำมาประกอบในการพิจารณาคดี ทั้งการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ โดยเน้นที่การทุจริตเป็นหลัก เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับต่างประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับเอกสารกลับจากรัฐบาล ส่วนกรณีที่รัฐบาลจะขอข้าวไปจำหน่ายก่อนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นข้าวที่อยู่ในกระบวนการตรวจสอบหรือไม่ หากไม่เกี่ยวข้องน่าจะสามารถอนุมัติให้ขายได้ แต่ต้องรอให้รัฐบาลประสานมาก่อน
 
“ผมเข้าใจว่ารัฐบาลต้องการเร่งระบายข้าวก่อนที่จะเกิดการเสื่อมสภาพ และเกิดความเสียหาย ซึ่งทาง ป.ป.ช.พร้อมนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมทันทีหากรัฐบาลประสานมา ส่วนเรื่องข้าวหายจะใช้คณะกรรมการชุดเดิมในการตรวจสอบ” นายปานเทพ กล่าว
 
นายปานเทพ ยังกล่าวถึงสำนวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กำลังเข้าสู่วาระการประชุมพิเศษของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ว่า ป.ป.ช.จะส่งตัวแทนไปแถลงเปิดคดีที่รัฐสภา ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ สามารถส่งตัวแทนไปรับฟังคำแถลงเปิดคดีแทนได้โดยไม่ต้องเดินทางไปด้วยตัวเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลไม่ให้ประกัน รอบสอง คดี 112 ลุงวัย 67 ปีเขียนผนังห้องน้ำห้าง

$
0
0

ที่ศาลทหาร เจ้าหน้าที่นำตัวนายโอภาส (สงวนนามสกุล) อายุ 67 ปี  ผู้ต้องหาคดี 112 จากกรณีเขียนข้อความในผนังห้องน้ำห้างสีคอนสแควร์ โดยผู้ต้องหาถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.และถูกคุมขังมาจนปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยยื่นประกันตัวไปแล้วครั้งหนึ่งโดยใช้โฉนดที่ดินมูลค่า 2.5   ล้านบาทแต่ศาลไม่อนุญาต

ในวันนี้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามายื่นคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 2 ที่ศาลทหารในช่วงเช้า ทนายความผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขอฝากขังครั้งที่ 2 และขอให้ศาลไต่สวนพนักงานสอบสวน โดยคัดค้านว่าพนักงานสอบสวนไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ เนื่องจากคดีมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ไม่ซับซ้อน คำให้การของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนก็เป็นประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีนี้แล้ว ไม่มีเหตุที่ผูต้องหาจะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้อีก สอบผู้ร้องแล้วยืนยันตามคำร้องฉบับวันที่ 31 ตุลาคม 2557 ที่ยื่นต่อศาล

จากนั้นมีการสอบพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแถลงต่อศาลว่า พนักงานสอบสวนได้เร่งรัดทำการสอบสวนมาโดยตลอด แต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากต้องสอบสวนปากคำพยานบุคคลเพิ่มเติมอีก 5 ปาก รอผลการพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร

ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ต้องหาหรือผู้ต้องถูกหล่าวหาว่ากระทำผิดข้อหาร้ายแรงตามคำแถลงของพนักงานสอบสวน ปรากฏว่ายังมีเหตุจำเป็นที่จะต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวนต่อไป

ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความผู้ต้องหาแจ้งว่าในช่วงบ่ายได้ยื่นประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์เดิม พร้อมแหตุผลประกอบด้านปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้ต้องหาเป็นโรคเส้นเลือดในจอรับภาพบวมซึ่งอาจแตกและทำให้ตาบอด ซึ่งโดยปกติผู้ต้องหาต้องพบแพทย์ทุก 2-3 เดือนหากพบว่ามีอาการจะยิงเลเซอร์เพื่อทำการรักษา

ต่อมาเวลาประมาณ 16.00  น.ศาลทหารมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาโดยระบุว่า

“พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าศาลนี้เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีนี้ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง แจ้งผู้ต้องหาและผู้ยื่นคำร้องทราบ”

ทั้งนี้ โอภาสถูกจับวันที่ 15 ต.ค.โดยเจ้าหน้าที่ของห้างซีคอนสแควร์เป็นผู้นำตัวส่งหทาร หลังเขายอมรับและเสียค่าปรับทำห้องน้ำห้างสกปรก 2,000 บาท ต่อมาพ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญได้นำตัวโอภาสมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่กองบังคับการปราบปรามก่อนนำตัวไปขอฝากขังที่ศาลทหาร

โอภาส เป็นชายวัย 67  ปีชาวกรุงเทพฯ มีอาชีพขายของเบ็ดเตล็ด เขากล่าวว่า ไม่เคยร่วมชุมนุมแต่อย่างใด และเป็นผู้ติดตามการเมืองเพียงห่างๆ จนกระทั่งในราวปี 2552 ได้เจอคลื่นวิทยุชุมชนทั้งฝ่ายเหลืองและฝ่ายแดงโดยบังเอิญจึงรับฟังมานับแต่นั้นมา และพบว่าชอบฟังสถานีของฝ่ายเสื้อแดงมากกว่า แต่ก็จะเลือกฟังเฉพาะดีเจบางคน เขายืนยันว่าไม่ได้ถูกล้างสมองจากวิทยุชุมชนตามที่เจ้าหน้าที่ทหารพยายามแถลงข่าวไปในแนวทางดังกล่าว 

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลว่า ในปัจจุบันคดี 112 มีอยู่เกือบ 20 คดี ผู้ต้องหาเกือบทั้งหมดไม่ได้รับการประกันตัว ในจำนวนนี้มีอยู่ 6 คดีที่ถูกส่งไปดำเนินคดียังศาลทหาร คดีล่าสุดคือคดีของโอภาสนับเป็นคดีที่ 2 ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการกระทำความผิดหลังรัฐประหาร (คดีทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ที่จังหวัดเชียงรายนับเป็นกรณีแรก) นอกเหนือจากนั้นเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

5 วิธีใช้ 'โดรน' ให้เป็นประโยชน์ต่อโลก

$
0
0

แม้ว่า 'โดรน' หรือเครื่องบินไร้คนขับมักจะถูกใช้เป็นอาวุธโจมตีจนกลายเป็นกรณีอื้อฉาวสำหรับกองทัพสหรัฐฯ แต่สื่อต่างประเทศก็นำเสนอการใช้เทคโนโลยีนี้ในมุมอื่นๆ ที่บางมุมก็เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์เช่นการใช้ช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติ หรือช่วยพัฒนาด้านการขนส่งลำเลียง


ภาพโดย Don McCullough (CC BY 2.0)
 

30 ต.ค. 2557 สำนักข่าวโกลบอลโพสต์นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องบินไร้คนขับควบคุมจากระยะไกลหรือ 'โดรน' โดยระบุว่าแม้โดรนจะถูกนำมาใช้เป็นอาวุธอันตรายที่สังหารคนจำนวนมาก แต่ก็มี 5 วิธีการที่จะทำให้เทคโนโลยีโดรนกลายเป็นประโยชน์ต่อผู้คนได้

สำนักงานข่าวสืบสวนสอบสวนของอังกฤษซึ่งเป็นผู้คอยติดตามเฝ้าระวังการใช้งานโดรนระบุว่ามีคนจำนวนมากถูกโดรนสังหารเช่นในประเทศปากีสถาน โซมาเลีย และเยเมน อย่างไรก็ตามในตอนนี้กำลังมีการจับตาโดรนในบทบาทใหม่ซึ่งไม่ใช่การสังหารผู้คนแต่เป็นการช่วยเหลือทำให้โลกดีขึ้น รวมถึงการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น โครงการ 'ไพร์มแอร์' ของอมาซอน และโครงการ 'โปรเจกต์วิง' ของกูเกิลซึ่งกำลังทดลองใช้โดรนในการช่วยส่งสินค้าตามบ้าน

ทางด้านนักช่วยเหลือทางมนุษยธรรมก็กำลังศึกษาการใช้โดรนเพื่อช่วยงานในด้านนี้โดยมีการศึกษาประสิทธิภาพและผลกระทบเช่นงานศึกษาจากศูนย์วิจัยด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของนอร์เวย์

แพทริก ไมเออร์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมสังคมจากสถาบันวิจัยวิชาการคอมพิวเตอร์ของกาตาร์ประเมินว่าการใช้โดรนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนพบเห็นได้ทั่วไป จากช่วงเริ่มต้นที่อาจจะมีราคาสูงมากหลายแสนดอลลาร์ แต่จะเริ่มถูกขึ้นจนเท่ากับราคาโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งยังจะมีความซับซ้อนมากขึ้น มีการใช้งานอัตโนมัติมากขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น ขณะที่ขนาดจะเล็กลง เบาลง และปลอดภัยมากขึ้น

แต่ก็มีกรณีที่ผู้มีอำนาจควบคุมพยายามควบคุมการใช้โดรนและนักวิจัยก็ยังมีความกังวลว่าผู้ผลิตให้กองทัพอาจจะฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากกลุ่มผู้ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อขยายตลาดใหม่ในขณะที่ทำให้ตัวเองมีภาพลักษณ์ดูดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการเอาป้ายแปะโดรนที่ตนเองต้องการจะโปรโมทว่า "เป็นการใช้ช่วยเหลือในเชิงมนุษยธรรม"

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวโกลบอลโพสต์นำเสนอวิธีการใช้งานโดรนในทางที่ไม่ใช่การสังหารผู้คนเอาไว้ 5 วิธีดังนี้


1. ใช้โดรนเพื่อคุ้มกันสัตว์ป่า

นักกิจกรรมด้านสัตว์ที่เป็นขาโหดอาจจะอยากได้โดรนล่าสังหารไว้จัดการกับพวกล่าช้างล่าแรด แต่ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ไม่ใช่โดรนจำพวกนั้น แต่เป็นโดรนที่ใช้ในการติดตามการเคลื่อนที่ของสัตว์ เช่นในองค์กรอนุรักษ์โอลเพฮาตาที่ประเทศเคนยามีการทดลองใช้โดรนขนาดกว้าง 6 ฟุตครึ่งเพื่อติดตามการเคลื่อนที่ของสัตว์

นอกจากนี้ยังมีการวางแผนใช้โดรนในการติดตามการบุกรุกล่าสัตว์ในพื้นที่ 90,000 เอเคอร์ ซึ่งถือว่ากว้างมาก หรือใช้โดรนเพื่อปฏิบัติงานประจำวันของอุทยาน ช่วยเหลือนำทางนักท่องเที่ยว รวมถึงช่วยงานเจ้าหน้าที่อุทยานซึ่งเป็นงานอันตรายเช่นการขับไล่ผู้บุกรุกล่าสัตว์

นอกจากในเคนยาแล้วประเทศนามิเบียและอินเดียยังวางแผนจะนำโดรนมาใช้ในการคุ้มครองสัตว์ป่าด้วย


2. ใช้ในการรับมือเชิงมนุษยธรรม

ถึงแม้ว่าคริสติน แซนด์วิค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของนอร์เวย์จะกล่าวว่า "การระบุถึงปัญหาวิกฤติด้านมนุษยธรรมเป็นคำถามเชิงการเมืองและการใช้โดรนจะไม่สามารถช่วยเหลือพวกเราด้านข้อจำกัดทางการเมืองหรือทรัพยากรได้" แต่ก็เริ่มมีการนิยมใช้โดรนเพิ่มมากขึ้นในการรับมือเชิงมนุษยธรรมแล้ว

ทางด้านแพทริก ไมเออร์ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมโดยเครื่องบินไร้คนขับหรือ UAViators กล่าวว่า ในตอนนี้ยังเป็นช่วงเริ่มต้นสำหรับการใช้โดรนให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่การใช้โดรนในการนี้ก็สามารถช่วยชีวิตคนได้จริง และเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาสำนักงานสหประชาชาติในนิวยอร์กก็เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมของเหล่าผู้กำหนดนโยบาย ผู้ผลิต และคนทำงานให้ความช่วยเหลือ เพื่อหารือเรื่องการใช้โดรนในทางมนุษยธรรม ซึ่งไมเออร์บอกว่ามีหน่วยงานราว 20 หน่วยงานที่สนใจการใช้โดรนในแง่นี้

วิธีการใช้โดรนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ การช่วยฟื้นฟูและดูแลด้านสุขภาวะหลังเกิดภัยพิบัติ การทำแผนที่วิกฤตการณ์เพื่อส่งความช่วยเหลือ ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย รวมถึงการสอดส่องดูแลด้านสิทธิมนุษยชน ในบางกรณีโดรนยังอาจช่วยเหลือร่วมกับการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลาย อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงวัตถุในสถานที่ๆ เข้าถึงยากหรือมีอันตรายด้วย


3. ใช้กับงานด้าน "รักษาสันติภาพ"

เมื่อเดือน ธ.ค. 2556 สหประชาชาติหรือยูเอ็นได้ใช้โดรนของพวกเขาเป็นครั้งแรกที่ทางภาคตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกซึ่งเป็นเขตที่เต็มไปด้วยป่าเขามีกองกำลังติดอาวุธหลากหลายทั้งกลุ่มเล็กและใหญ่ ซึ่งถือเป็นการขยายผลภารกิจรักษาสันติภาพของยูเอ็น

โดรนที่ใช้นี้ไม่ใช่โดรนล่าสังหารแต่เป็นโดรนรุ่น 'เซเล็กซ์อีเอส ฟัลโค' (Selex-ES Falco) ซึ่งนำมาใช้ลาดตระเวนสอดส่องการค้าอาวุธผิดกฎหมายหรือการเคลื่อนพลของกลุ่มติดอาวุธ นอกจากนี้ยังช่วยค้นหาการค่ายของกลุ่มติดอาวุธเพื่อชี้นำปฏิบัติการของกองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นและกองทัพคองโก ช่วงที่โดรนของยูเอ็นบินกลับในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา มีการพบเหตุเรือล่มระหว่างทางที่ทะเลสาบคีวูจนพวกเขาสามารถส่งเรือกู้ภัยช่วยเหลือคนได้ 17 คน

กลุ่มให้ความช่วยเหลือบางส่วนยังคงไม่ไว้ใจการใช้โดรนโดยปฏิเสธที่จะแบ่งปันข้อมูลเพราะกลัวว่าจะทำให้เกิดความไม่เป็นกลาง แต่ฝ่ายปฏิบัติการรักษาสันติภาพของยูเอ็นเชื่อว่าพวกเขาประสบความสำเร็จโดยมีคองโกตะวันออกเป็น "หนูทดลอง" ซึ่งตอนนี้พวกเขายังได้นำโดรนไปใช้กับประเทศมาลี และกำลังวางแผนใช้กับสาธารณรัฐแอฟริกากลางรวมถึงปฏิบัติการในที่อื่นๆ ทั่วโลก


4. ใช้เพื่อขนส่งพัสดุ

ขณะที่กลุ่มให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกำลังพิจารณาใช้โดรนในการช่วยเหลือลำเลียงสิ่งให้ความช่วยเหลือไปในเขตที่เกิดภัยพิบัติ องค์กรบางแห่งก็กำลังคิดนำโดรนมาใช้กับการขนส่งเครื่องใช้ประจำวัน บ้างก็คิดว่าจะใช้โดรนในการพัฒนาประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐานในระดับก้าวกระโดด เช่น โครงการ "ลาบินได้" ที่พยายามดัดแปลงการขนส่งสินค้าในเคนยาด้วยการใช้โดรนแทนลา ผู้นำเสนอพยายามอธิบายกับคนแก่ในเคนยาว่าโดรนก็เปรียบเสมือนลาที่บินบนท้องฟ้าได้

บริษัทอโฟรเทควางแผนออกแบบโดรนไว้ใช้ในเคนยาเพื่อ "ขนส่งพัสดุในระดับกลางเดินทางในระยะทางระดับกลางเพื่อส่งไปในเมืองระดับกลาง" แต่เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาความพยายามทดสอบโดรนนี้ก็ถูกทางการเคนยาควบคุมการดำเนินการ แต่ผู้วางแผนใช้โดรนยังคงเดินหน้าผลักดันให้มีการใช้ในประเทศใกล้เคียง

เจ.เอ็ม เลดการ์ด ผู้วางแผนริเริ่มใช้โดรนในประเทศแถบแอฟริกาบอกว่าเขามีเป้าหมายต้องการวางเส้นทางบินของโดรนเพื่อการค้าเป็นแห่งแรกในแอฟริกาภายในปี 2559 โดยพัสดุที่โดรนจะนำส่งอย่างแรกคือคลังโลหิตที่ใช้ถ่ายให้ผู้ป่วยหรือบาดเจ็บเพื่อช่วยชีวิตโดยวางเส้นทางนำส่งเป็นระยะทาง 50 ไมล์ หลังจากนั้นจะพัฒนาให้สามารถขนน้ำหนักได้มากขึ้นเป็น 44 ปอนด์ และมีระยะการเดินทางหลายร้อยไมล์เพื่อขนส่งพัสดุในเส้นทางกันดาร


5. ใช้เพื่อทำแผนที่วิกฤตการณ์

หลังเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนพัดถล่มฟิลิปปินส์ในเดือน ก.ย. ปี 2556 มีการใช้โดรนแบบ 4 ใบพัดเพื่อช่วยระบุตำแหน่งแก่นักให้ความช่วยเหลือว่าควรจะตั้งแคมป์ตรงไหนและมีจุดไหนที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด ขณะที่โดรนแบบปีกเครื่องบินจะทำหน้าที่เก็บภาพถ่ายทางอากาศเพื่อทำแผนที่รายละเอียดในแบบ 2D และ 3D ในเรื่องผลกระทบจากไต้ฝุ่นที่มีต่อเมืองทาโคลบาน

การทำแผนที่วิกฤตการณ์ด้วยโดรนจะช่วยให้การรับมือต่อเหตุฉุกเฉินของคนทำงานให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้พวกเขาไปยังสถานที่ซึ่งต้องการความช่วยเหลือได้เร็วขึ้น แซนด์วิคกล่าวว่ากรณีในเมืองทาโคลบานเป็นข้อพิสูจน์ว่าเครื่องบินโดรนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องนี้ได้จริง
 


เรียบเรียงจาก

5 ways drones are making the world a better place (without killing anyone), Globalpost, 25-10-2014
http://www.globalpost.com/dispatch/news/business/innovation/141024/drones-wildlife-humanitarian-peacekeepers

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วาด รวี: เพลงลาจากของนวมทอง ไพรวัลย์

$
0
0

 

นวมทอง ไพรวัลย์ฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2549 เขาจงใจสังหารตนเองในเดือนตุลาคม ด้วยเหตุผลว่าเพราะเป็นเดือนสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ผมสงสัยมาตลอดว่านวมทองเลือกเดือนผิดหรือไม่ ยิ่งเมื่อคิดถึงพฤติกรรมของบรรดา “วีรชนเดือนตุลา” จำนวนมากที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และยิ่งเมื่อย้อนทบทวนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ตุลาคมปี 2516 เดือนตุลาคมสมควรเป็นเดือนสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจริงหรือไม่? “คนเดือนตุลา” มีจิตใจและการกระทำสมควรแก่การยกย่องและโอ่อวดมาตลอด 41 ปีที่ผ่านมาหรือไม่?

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรนวมทองก็เลือกไปแล้ว และการเลือกของเขาก็ช่วยต่อชีวิตและจิตวิญญาณให้กับสัญลักษณ์เดือนตุลาคมที่ผูกพันกับประชาธิปไตย

นวมทอง ไพรวัลย์ไม่ได้ฆ่าตัวตายครั้งเดียว แต่ทำทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกเขาขับรถแท๊กซี่พุ่งชนรถถัง การแลกชีวิตครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ เขารอดตาย แต่ก็กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่ง “แท็กซี่ขับชนรถถัง” เพื่อประท้วงการรัฐประหาร

ตามที่ระบุไว้ในจดหมายฉบับสุดท้ายของเขา หลังจากฆ่าตัวตายครั้งแรกไม่สำเร็จ เขาไม่ได้คิดที่จะทำอีก แต่ตั้งใจจะกลับไปทำมาหากินตามปรกติ แต่เมื่อมีนายทหาร คมช. ออกมาสบประมาทว่า “ไม่มีใครมีอุดมการณ์พอที่จะตายได้หรอก” นวมทอง ไพรวัลย์จึงตัดสินใจอีกครั้ง...

เป็นการตัดสินใจท่ามกลางการมอบดอกไม้และถ่ายรูปกับรถถังของชนชั้นกลาง ท่ามกลางความเงียบใบ้ หรือไม่ก็แอบเชียร์รัฐประหารของปัญญาชน นักเขียน บรรณาธิการ... ผมจำได้ว่าตอนนั้น การตายของนวมทอง ไพรวัลย์ สั่นสะเทือนผมอย่างรุนแรง เป็นเหมือนมือที่ตบผลัวะเข้าที่ใบหน้าในขณะที่ผมกำลังเกือบจะเคลิ้มไปกับคำออกตัวต่าง ๆ นานาเพื่อจะไม่คัดค้านต่อต้านการรัฐประหารของบรรดาปัญญาชน นักเขียน บรรณาธิการ... ล้วนเป็นคนที่ผมเคยนับถือทั้งสิ้น

ความตายของนวมทองเปรียบได้กับมือที่ตบหน้าผมให้ตื่นขึ้นจากความหลอกหลวง หลับใหล หรือแม้แต่กะล่อนของคนเหล่านั้น และทำให้ผมมองพวกเขาใหม่อีกครั้งด้วยดวงตาที่กระจ่างแจ้งกว่าเดิม

การฆ่าตัวตายของนวมทองเป็นการกระทำของ “ผู้ตื่นรู้” ที่ถือครองอำนาจของการปลดปล่อยอย่างแท้จริง เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา และเป็นอดีตทหารชั้นผู้น้อย ไม่ใช่ปัญญาชน นักวิชาการโก้หร่าน นักเขียน กวี ใหญ่คับกะลา พ่นน้ำลายปนน้ำหมึกตอแหลหลอกลวงเทศนาโอ้อวดตัวว่าตื่นว่ารู้และคอยเก็บเกี่ยวอ้าปากรับเศษผลประโยชน์ที่กระเด็นมาเข้าปากตัวเอง

ท่วงทีแห่งการตายของเขาคือหลักฐานว่านวมทอง ไพรวัลย์ไม่ใช่คนสิ้นคิด และไม่ใช่คนไม่รักชีวิต การฆ่าตัวตายของเขาไม่ใช่การปราศจากศรัทธาที่จะมีชีวิตต่อ ไม่ใช่การพยายามวิ่งหนีจากอะไร แต่เป็นการออกไปเผชิญหน้า ออกไปรบ...ก้าวสู่สมรภูมิที่ต้องเอาชีวิตเข้าแลกกับการปลุกผู้คนและทำลายความปลิ้นปล้อนหลอกลวง ก่อนตายเขาอัดเทปและฝากเพลง “ลูกแก้วเมียขวัญ” ถึงครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความอาลัยอาวรณ์อย่างซื่อสัตย์จริงใจ ไม่ต้องการจากผู้เป็นที่รัก ทว่า สมรภูมิรออยู่เบื้องหน้า และเขาต้องออกไปแลกชีวิตกับมัน และนี่คือความหมายมนุษย์ที่ยืนหยัดอยู่บนส้นตีนและศักดิ์ศรีของตน ไม่ใช่ฝุ่นละอองใต้ฝ่าเท้าหรือไม้เถาที่ต้องเลื้อยพันสิ่งอื่น

ลาก่อนเถิดหนาจอมขวัญ
เพลาสายัญพี่จะต้องจากไปทัพ
อยู่บ้านจงหมั่นดูแล ดูลูกดูแม่กว่าผัวจะกลับ
แม้นเสร็จศึกทัพ แล้วพี่จะกลับมาเชย
อยู่บ้านเถิดหนานวลเนื้อ
ผู้ชายพายเรือน้องอย่าได้เชื่อคำเลย
สงวนทรามเชยไว้อย่าให้เปื้อนราคี
อยู่บ้านหมั่นสวดมนต์สวดพร
ก่อนหลับก่อนนอนวอนคุณพระให้ช่วยที
ถ้าแม้นบุญมีแล้วพี่คงได้กลับมา
ไก่แก้วตะโกนแว่วร้อง แสงเงินแสงทองเริ่มจับขอบฟ้า
ถึงเวลาแล้วพี่ต้องจากบังอร
จูบลูกเป็นครั้งสุดท้าย โอ้ยอดดวงใจพ่อต้องลาไปก่อน
ขวัญเอยขวัญอ่อนจงสุขสบาย
อยู่บ้านอย่ากวนแม่นัก
ลูกเอ๋ยลูกรักจงอย่าเที่ยวให้ไกล
โรงร่ำโรงเรียนเจ้าจงได้หมั่นเพียรไป
สางแล้วไก่แก้วแว่วมา
ถึงเวลาแล้วที่พ่อต้องจากไกล
ต้องขอลาไปแล้วลูกแก้วเมียขวัญ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยิ่งลักษณ์-ทักษิณไหว้บรรพบุรุษที่เหมยเซียน มณฑลกวางตุ้ง

$
0
0

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนจีนเดินทางไปเคารพบรรพบุรุษที่เหมยเซียน เมืองเหมยโจว ในมณฑลกวางตุ้ง

31 ต.ค. 2557 - เฟซบุ๊คเพจยิ่งลักษณ์ ชินวัตรโพสต์ภาพยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบุตรชาย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปเคารพหลุมฝังศพบรรพบุรุษที่อำเภอเหมยเซียน เมืองเหมยโจว ซึ่งเป็นถิ่นฐานของชาวจีนฮากกา หรือจีนแคะ อยู่ติดต่อกับเมืองซัวเถา ถิ่นฐานของชาวจีนแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง

ที่มาของภาพ: เฟซบุ๊คเพจยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ในเฟซบุ๊คเพจของยิ่งลักษณ์ยังมีการโพสต์สเตตัสว่า

"วันนี้เดินทางมาที่เมืองเหมยเซี่ยน มณฑลกวางโจว เพื่อมาเคารพหลุมฝังศพบรรพบุรุษที่เรียกว่ายายทวด และไปดูบ้านที่แม่เคยอยู่ตอนช่วงอายุ 9 ถึง 13 ขวบตอนตามคุณตามาอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองก่อนที่จะอพยพไปอยู่ที่ฮ่องกงและนั่งเรือจากฮ่องกงเพื่อมายังประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสพบญาติที่ยังเหลืออยู่ในรุ่นหลานซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับดิฉันและพี่ชาย ท่านทักษิณได้ใช้เวลาในการสืบหาสถานที่นี้ตั้งแต่ก่อนที่ท่านเป็นนายกฯจากคำบอกเล่าของคุณแม่และท่านก็เคยเดินทางมาแล้วครั้งหนึ่งสมัยที่มาเยือนเมืองจีนตอนเป็นนายกรัฐมนตรี ที่สำคัญมาครั้งนี้มีข่าวดีเพิ่มคือมีโอกาสได้ไปเคารพหลุมฝังศพและบ้านที่เคยอยู่ของสายคุณพ่อซึ่งมีอายุเกือบ 300 ปี ต้องขอขอบคุณฝ่ายทางการจีนที่ช่วยสืบหาให้จนพบต้นกำเนิดบรรพบุรุษสายทางคุณพ่อด้วยค่ะ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกที่บรรพบุรุษสายคุณพ่อและคุณแม่ มาจากมณฑลเดียวกัน อยู่ห่างกันเพียง 3 ชม หากเดินทางโดยรถยนต์"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กมธ.ยกร่างชี้ทำประชามติ รธน. ยาก ใช้เวลานานงบประมาณมาก

$
0
0
"พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช" กรรมาธิการยกร่าง รธน. ระบุทำประชามติ รธน. ยากเพราะต้องใช้เวลานานและงบประมาณจำนวนมาก ได้ กมธ.ครบ 36 คน จ่อประชุมกำหนดหน้าที่ 4 พ.ย. ด้านการประชุม สนช. เริ่มพิจารณาร่างกฎหมาย 9 ฉบับที่ ครม.เสนอ รับหลักการร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมแล้ว

 
31 ต.ค. 2557 ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุถึงการทำงานของกรรมาธิการภายหลังได้กรรมาธิการครบทั้ง 36 คน ภายในวันที่ 4 พ.ย. จะประชุมเพื่อกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและระดมความเห็นความทุกภาคส่วน โดยใช้กลไกของกรรมาธิการวิสามัญที่จะตั้งขึ้นและคณะกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความเห็นของประชาชน ก่อนรวบรวมสรุปเพื่อส่งให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
 
ทั้งนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ ยังเชื่อว่า ไม่มีล็อกสเปกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 25 คน ในสัดส่วนของ สปช. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพราะทั้งหมดมีความหลากหลาย มีความสามารถและจะเป็นที่ยอมรับ ส่วนภายหลังร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น จะทำประชามติหรือไม่ มองว่าเป็นเรื่องยาก เพราะต้องใช้เวลานานและงบประมาณจำนวนมาก ซึ่งเห็นว่าเพียงใช้กลไกของกรรมาธิการน่าจะเพียงพอ
 
ขณะที่ร่างข้อบังคับการประชุม สปช. คาดว่าจะเสร็จสิ้นวันที่ 3 หรือ 4 พ.ย. จากนั้นจะให้สมาชิกคัดเลือกกรรมาธิการสามัญประจำ สปช.17 คณะ และนำเรื่องให้ที่ประชุมเห็นชอบใน วันที่ 10 พ.ย.
 
พิจารณาร่างกฎหมาย 9 ฉบับ ที่ ครม.เสนอ
 
ส่วนการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันนี้ (31 ตุลาคม 2557) เริ่มเวลา 10.00 น. โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำหน้าที่ ประธานในที่ประชุม มีวาระเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอเข้าสู่การพิจารณาวาระแรก จำนวน 9 ฉบับ
 
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ..... นาง กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ชี้แจงถึงเหตุผลการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า เพื่อเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2528 เนื่องจากมีข้อกฎหมายบางอย่างไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้ง กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ขึ้นในการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพัฒนา และจัดสวัสดิการที่เกี่ยวกับกีฬา ขณะเดียวกัน ยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา และกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลการดำเนินการของสมาคมกีฬาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
โดยการอภิปรายของสมาชิก สนช. ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่แสดงความเป็นห่วงในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 3,000 ล้านบาท ที่อยู่ในอำนาจการบริหารของคณะกรรมการฯ จึงต้องการให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกีฬาอย่างแท้จริง พร้อมฝากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาการพนัน และการทะเลาะวิวาทของนักกีฬาระหว่างการแข่งขัน
 
รับหลักการร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม 
 
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยที่ประชุมได้มีมติในวาระที่ 1 รับหลักการ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 150 ต่อ 4 งดออกเสียง 19 เสียง พร้อมตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ เพื่อศึกษาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน 18 คน ในจำนวนนี้ มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 คน กำหนดแปรญัตติภายใน 15 วัน กรอบเวลาในการดำเนินงาน 45 วัน
 
โดย พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวชี้แจงว่า สาระสำคัญในการแก้ไข คือ เรื่องความคุ้มครองให้แก่ลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ การแก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า ลูกจ้าง ทุพพลภาพ ให้มีความชัดเจน รวมถึง การแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นต้น พร้อมกันนี้ ยังเพิ่มบทบัญญัติให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบกรณีเกิดภัยพิบัติร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้าง ตลอดจนกำหนดโทษทางอาญากรณีนายจ้างไม่ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ
 
ทั้งนี้ ในการอภิปรายของสมาชิกฯ ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณีให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่าลูกจ้าง ในมาตรา 5 แห่งร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ.2533 ให้กำหนดว่า ลูกจ้าง หมายถึง ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ตามความในมาตรา 4 ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ แทน หมายรวมถึงลูกจ้างที่ทำงานในบ้านซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจด้วยนั้น จะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินสมทบในอนาคต ขณะที่ ในมาตรา 36 ที่ให้ผู้ประกันตน ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงไม่ว่าจะส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือไม่ก็ตามและประสงค์จะไม่พำนักอยู่ในประเทศไทยให้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพนั้น มีลักษณะที่ขัดกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุที่ให้ความคุ้มครองกับผู้มีสัญชาติไทย
 
นอกจากนี้ ยังได้มีการตั้งข้อสังเกตอีกหลายประการ ทั้งในกรณีผู้ประกันตน ซึ่งเป็นผู้พิการที่ถูกตัดสิทธิประโยชน์บางประการตามพระราชบัญญัติอื่นหลังเข้าเป็นผู้ประกันตน การขยายความคุ้มครองแรงงาน รวมไปถึงการขาดแรงจูงใจที่จะทำให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคม
 
อย่างไรก็ตาม สมาชิก สนช. ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับคณะกรรมการประกันสังคม และกองทุนประกันสังคม ว่ามีเงื่อนไขติดขัดเกี่ยวกับโครงสร้างและข้อกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาหลายประการทั้งในเรื่องการบริหารจัดการ การลงทุน และสวัสดิการประชาชน จึงเสนอให้แยกคณะกรรมการประกันสังคม และกองทุนประกันสังคม ออกจากส่วนราชการ เพื่อการดำเนินงานที่มีความเป็นอิสระ เป็นไปตามกลไกที่เป็นมาตรฐานสากล และตรวจสอบได้
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวชี้แจงว่า กฎหมายนี้เกิดประโยชน์สุงสุดต่อผู้ประกันตนและประเทศชาติ ที่ผ่านมา มีความพยายามจะผลักดัน แต่ไม่สำเร็จจนมาถึงสมัยนี้ ทราบดีว่าทุกคนมีความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติมุมมองที่แตกต่างกัน แต่ยืนยันว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ดีกว่าฉบับเดิม เพราะครอบคลุมไปถึงลูกจ้างของรัฐ และราชการที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ด้วย ส่วนเรื่องความโปร่งใสของคณะกรรมการบริหาร ได้พยายามใช้ความสามารถ รื้อบอร์ดทั้งหมดด้วยดุลยพินิจ แต่ยอมรับว่า หนักใจที่เงินกองทุนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงแรงงาน ส่วนตัวเห็นด้วยกับข้อเสนอที่จะให้องค์กรอิสระเข้ามาบริหารจัดการ แต่ไม่มีใครยืนยันได้ว่า จะบริหารเงินจำนวนมหาศาลได้สำเร็จ เพราะเป็นเงินจำนวนมาถึง 1.19 ล้านล้านบาท
 
 
 
ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก
 
ไทยรัฐออนไลน์, สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประยุทธ์' แนะออกแบบ รธน. ใหม่ให้เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะกับคนไทย

$
0
0
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ พล.อ.ประยุทธ์ ขอบคุณและให้กำลังใจสภาปฏิรูปแห่งชาติ ชี้การปฏิรูปประเทศในห้วงเวลานี้เป็นเรื่องยาก พร้อมแนะว่ารัฐธรรมนูญใหม่ควรออกแบบให้เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับคนไทย 

 
 
31 ต.ค. 2557 ในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ระบุไว้ตอนหนึ่งว่ารัฐบาลได้เดินหน้ามาตรการเพิ่มรายได้ช่วยเหลือชาวนาไปแล้วกว่า 67,700 ราย จำนวนเงินกว่า 837 ล้านบาท ส่วนมาตรการจัดระเบียบสังคมที่ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วง คสช.นั้น ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อเนื่อง ขณะที่ปัญหาที่ดินทำกิน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติขึ้นมาแก้ปัญหาในด้านการเมือง นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้ขอบคุณและให้กำลังใจสภาปฏิรูปแห่งชาติ ชี้การปฏิรูปประเทศในห้วงเวลานี้เป็นเรื่องยาก พร้อมแนะว่ารัฐธรรมนูญใหม่ควรออกแบบให้เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับคนไทย
 
โดยรายละเอียดทั้งหมดของรายการมีดังต่อไปนี้
 
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2557 เวลา 20.15 น.
 
สวัสดีพ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
 
พบกันเช่นเคยนะครับ ทุก ๆ คืนวันศุกร์ สำหรับในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมและรัฐบาลได้มีโอกาสเตรียมงานสำคัญที่เป็นความสุขของปวงชนชาวไทยทุกคน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 87 พรรษา ที่จะมาบรรจบครบรอบในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 ที่จะถึงนี้ ได้มีการประชุมร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านอย่างสมพระเกียรติ ผมขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยทุกท่าน ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “รักพ่อ” ทุกหนแห่งที่ทางราชการจัดขึ้น ทั่วทั้งประเทศ สำหรับในกรุงเทพมหานครจะจัดงานเฉลิมฉลอง ณ บริเวณท้องสนามหลวงและถนนราชดำเนินกลาง ในวันที่ 30 พฤศจิกายน – 6 ธันวาคม 2557 ซึ่งจะมีการจัดแสดงกิจกรรมมากมาย หลายรูปแบบ ทั้งการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ พระอัจฉริยภาพ พระเกียรติคุณ และโครงการตามพระราชดำริ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่น การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของดี 77 จังหวัด
 
การแสดงออกถึงความจงรักภักดีนั้น เราสามารถทำความดีในรูปแบบต่าง ๆ ผมขอชื่นชม คุณสอิ้ง หาญประโคน อายุ 63 ปี ชาวจังหวัดแพร่ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมวิ่งและเดินเท้า เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายพระพร ขอให้ทรงหายจากพระอาการพระประชวร โดยเริ่มเดินจากบ้านเกิดในจังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2557 และมาถึงโรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557 รวมระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร ใช้เวลา 11 วัน
 
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ผมได้โอกาสพบกับผู้อำนวยการใหญ่โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) และรองเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งท่านได้กล่าวชื่นชมการดำเนินการ และบทบาทที่สำคัญของไทยในการแก้ปัญหาโรคเอดส์อย่างยั่งยืน และได้ยกย่องว่าประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีของภูมิภาค และของโลกที่ได้ดำเนินการในด้านนี้อย่างจริงจังและสร้างสรรค์ ซึ่งประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคควรเรียนรู้จากไทย จากสถิติที่ผ่านมาเราสามารถลดการติดเชื้อ HIV จากมารดาสู่ทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทางโครงการเชื่อว่าไทยนั้นจะสามารถยุติการติดเชื้อรายใหม่ได้ภายในปี พ.ศ. 2563 นี่เป็นข้อมูลที่ควรภาคภูมิใจและน่ายินดี ผมก็อยากแสดงความขอบคุณต่อทุกองค์กร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ที่นอกจากจะช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังคงมีส่วนในการพัฒนาสังคมและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยให้กับชาวต่างชาติอีกด้วย
 
โอกาสเดียวกันนี้ ผมได้ชี้แจงถึงความมุ่งมั่นของไทย ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ที่เน้นการเข้าถึงการรักษา การเข้าถึงยาโดยไม่คำนึงถึงระดับเม็ดเลือดขาว การเปิดพื้นที่ 19 จังหวัด เพื่อให้มีการใช้เข็มที่สะอาด การเร่งพัฒนาระบบประกันสุขภาพให้แรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง การดำเนินโครงการ เพื่อลดการติดเชื้อของผู้ใช้ยาเสพติด และการจัดสรรงบประมาณในการจัดการกับปัญหาโรคเอดส์ อย่างไรก็ดีผมได้แจ้งไปแล้วว่าเรายังคงต้องการการสนับสนุนของกองทุนโลกเพื่อต่อสู้กับโรคติดต่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอดส์ วัณโรค หรือโรคมาลาเรียต่อไป และที่สำคัญ ผมได้ชี้แจงความพร้อมของไทยที่จะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในการลดอัตราการติดเชื้อ HIV กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภูมิภาคในการจัดการกับโรคดังกล่าวอีกด้วย อีกโรคหนึ่งคือโลกอีโบล่า เราก็ต้องให้ความร่วมมือและสร้างความรู้ให้กับประชาชนทั่วไปด้วย ต้องช่วยกันระมัดระวัง
 
การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนที่สำคัญในห้วงที่ผ่านมา
 
ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร ก่อนหน้าที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเข้ามานั้น ในภาคการเกษตรหลาย ๆ ภาค ค่อนข้างมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องชาวนาที่ไม่ได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าว ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งข้าวและยาง จากปัญหาผลผลิตที่มีจำนวนมาก และประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป อเมริกา ต่างก็อยู่ในช่วงเศรษฐกิจซบเซา มีการชะลอตัว ทำให้มีการนำเข้าสินค้าผลผลิตทางการเกษตรลดลง
 
หลังจากที่ คสช. และรัฐบาลในปัจจุบันได้เข้ามาก็มีความพยายามที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง6การช่วยเหลือพี่น้องชาวนา เริ่มตั้งแต่การอนุมัติให้เงินแก่ชาวนาที่ไม่ได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าว ปีการผลิต 2556/57 ซึ่งได้ดำเนินการจ่ายเงินให้แก่พี่น้องชาวนาเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นจำนวนประมาณ 8 แสนราย คิดเป็นเงินกว่า 86,000 ล้านบาท
 
ในเรื่องของการอนุมัติโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557 ซึ่งจะช่วยให้พี่น้องชาวนาได้รับเงินคุ้มครองถึง 1,111 บาทต่อไร่ หากเกิดภัยพิบัติ โดยพี่น้องชาวนาจ่ายค่าเบี้ยประกันเพียง 60 - 100 บาทต่อไร่ ขณะนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการจากทุกภาคทั่วประเทศกว่า 55,000 ราย คิดเป็นเนื้อที่กว่า 8 แสนไร่ มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวนาผู้มีรายได้น้อย ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครอบครัวละ 15 ไร่ ซึ่งเริ่มดำเนินการในวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ชาวนาได้รับการช่วยเหลือไปแล้วกว่า 67,700 ราย คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 837 ล้านบาท มาตรการ การช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เช่น โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร มาตรการลดค่าปัจจัยการผลิตและค่าบริการต่าง ๆ ทั้งปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ข้าว ค่าบริการเกี่ยวนวดข้าว ค่าเช่าที่นา และได้มีการออกตรวจสอบร้านค้า เพื่อควบคุมคุณภาพ
 
อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ เป็นเพียงการช่วยเหลือระยะสั้นเท่านั้น ผมได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เตรียมดำเนินมาตรการในระยะยาวที่จะช่วยให้การปลูกข้าวเป็นไปอย่างยั่งยืน เช่น การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว ธนาคารปุ๋ย การให้ความรู้ในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าว การทำเกษตรผสมผสาน การปลูกข้าวออแกนิค การจัดสรรแหล่งน้ำ และการจัดทำโซนนิ่ง ซึ่งหลาย ๆ เรื่องเป็นการวางรากฐานระยะยาวและต้องใช้เวลา ก็ขอให้พี่น้องเกษตรกรเข้าใจด้วย เราจะใช้การทำด้วยความสมัครใจ
 
ยางพาราก็เช่นเดียวกัน รัฐบาล และ คสช. พยายามที่จะพัฒนายางพาราทั้งระบบ ในหลาย ๆ เรื่องได้มีการประชุมและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง ได้เห็นชอบไปแล้ว เช่น การช่วยเหลือสนับสนุนค่าปัจจัยการผลิตเกษตรกรชาวสวนยางรายละ 1,000 บาท ไม่เกินครอบครัวละ 15 ไร่ คาดว่าจะช่วยเกษตรกรชาวสวนยางได้ถึง 850,000 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ 8.2 ล้านไร่ โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง 6,000 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเกษตรกรรายย่อยประกอบอาชีพเสริม รายละไม่เกิน 1 แสนบาท สินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมสต๊อกยาง สินเชื่อเพื่อแปรรูปยางพารา
 
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาจะต้องเป็นไปทั้งระบบและยั่งยืน นอกจากนั้นเราจะช่วยเรื่องแหล่งเงินทุนต่าง ๆ และการบริหารจัดการเพิ่มรายได้เบื้องต้น ในการจัดหาตลาดใหม่ ปรับเปลี่ยนการปลูกยางให้เหมาะสมกับพื้นที่ ลดพื้นที่ปลูกยางต้นเก่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำควบคู่กันไปด้วย พร้อมกันกับการส่งเสริมการลงทุนในเรื่องของการใช้ผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ และการพัฒนานวัตกรรมจากวัตถุดิบยางในบ้านเราเอง ขณะนี้ได้มีการพิจารณาจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมยาง และเพิ่มความร่วมมือกับประเทศผลิตยางในอาเซียนด้วยกัน ขอความร่วมมือจากบริษัทต่าง ๆ ในประเทศนี้ด้วย การดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรนี้ ผมได้กำชับให้ดูแลให้รวดเร็ว ทั่วถึง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปอย่างโปร่งใส อย่าให้เดือดร้อนถึงพี่น้องเกษตรกร อย่าทุจริต เอาเปรียบผู้มีรายได้น้อยอีกเลยครับ
 
สำหรับเรื่องการจัดระเบียบสังคม นั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถตู้ วินมอเตอร์ไซด์ ทางเท้าและที่สาธารณะอื่น ๆ รวมทั้งการเร่งจัดการขยะมูลฝอยสะสมและของเสียอันตราย ผมอยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการจัดระเบียบที่ผ่านก็ดำเนินการไปในระยะแรกแล้ว ได้ช่วยกันกำกับดูแล ติดตามผลงานที่ได้ทำไว้อย่างต่อเนื่อง อย่าให้เสียของเสียเวลา ทุกอย่างที่เราได้ทำมานั้น เป็นประโยชน์กับส่วนรวมทั้งสิ้น สังคมและประชาชนมีความคาดหวัง ขอให้ทุกคนได้พยายามทำต่อไปเรื่องนี้ผมต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายทุกคน การที่เราจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้นั้น ผมเชื่อว่าเราต้องเคารพในหลักกฎหมายกฎระเบียบต่าง ๆ ที่มีอยู่เราต้องสร้างวินัยของคนในชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น การรักษาความสะอาด การทิ้งขยะให้ถูกที่ การคัดแยกขยะ ผมอยากให้ช่วยกันมองว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทยทุกคน ต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึก ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จนหรือรวย มีอาชีพอะไรก็ตาม ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ พัฒนาสังคม และพัฒนาชุมชนของเรา ใครเห็นอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม หรือมีข้อเสนอแนะรัฐบาลก็ขอให้แจ้งข้อมูลกับศูนย์ดำรงธรรมได้เลย วันนี้รัฐบาลก็ให้มีการผ่อนผัน ผ่อนคลายอยู่บ้าง แต่จะให้ทำเป็นอิสระเหมือนเดิมเป็นการถาวรคงเป็นไปไม่ได้
 
“ศูนย์ดำรงธรรม” และการรักษาความสงบเรียบร้อยปลอดภัย เราได้ติดตาม รับทราบ ความลำบาก ความยากจน การถูกเอารัดเอาเปรียบ ความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ ของประชาชนในทุก ๆ ด้าน ปัญหาเชิงโครงสร้างเหล่านั้นสะสมมาเป็นเวลานาน ต้องใช้กลไกการแก้ปัญหาที่ต้องบูรณาการหลายหน่วยงาน แต่ที่ผ่านมานั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากรัฐบาลก็ยังไม่สามารถจะดำเนินการได้ในช่วงไร้เสถียรภาพด้านการเมือง ปัจจุบันนับเป็นโอกาสที่พี่น้องประชาชนจะได้เข้าถึงระบบการบริหารงานของรัฐ ที่สะดวกและกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะ “ศูนย์ดำรงธรรม” ซึ่งทาง คสช. ก็พร้อมที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องได้อย่างเบ็ดเสร็จ และตรงไปตรงมา เนื่องจากเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง
 
ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา นั้น สถิติการดำเนินการแก้ปัญหาให้กับพี่น้อง จนเป็นที่น่าพอใจ ได้รับเรื่องราวร้องเรียนในรูปแบบต่าง ๆ จำนวน 211,797 รายการ และสามารถให้บริการแก้ปัญหาแล้วเสร็จ 191,797 ราย คิดเป็น 90.56% ส่วนใหญ่ก็เป็นรายการที่สามารถดำเนินการได้เลย เช่น การให้คำปรึกษา การบริการข้อมูล การบริการส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ การบริการแบบ One Stop Service แต่ก็มีส่วนน้อยที่เป็นรายการที่ต้องใช้ระยะเวลา ใช้งบประมาณ ในการสอบสวนหาข้อเท็จจริง จะต้องมีการประสานงานหลายหน่วยงาน กลไกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็คือ การจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วของพลเรือน ตำรวจ ทหาร เข้าไปแก้ปัญหาในเชิงรุก ปฏิบัติทันทีที่ได้รับการแจ้งเบาะแสและการขอความช่วยเหลือจากประชาชน ผมขอรับรองว่าทุกเสียงแห่งความเดือดร้อนของพี่น้องจะต้องได้รับการเอาใจใส่ เรื่องร้องเรียนต้องไม่เงียบหาย หรือเพิกเฉย ปัจจุบันเราก็ได้เพิ่มเติมเจ้าหน้าที่จากทุกกระทรวงมาประจำ ณ ศูนย์ดำรงธรรมของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วขึ้น ทั้งจากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบนตามที่เรียนมาให้ทราบแล้ว
 
เรื่องของการบริหารจัดการที่ดินทำกิน นั้น ผู้ไม่มีที่ดินทำกินและผู้มีรายได้น้อย จะประสบปัญหาจากการเข้าไปบุกรุกเขตอุทยาน ป่าสงวน บางกรณีก็เป็นข้อพิพาทว่ารัฐไปประกาศเขตป่า เขตอุทยาน ทับที่ดินทำกินชาวบ้าน หรือการจัดสรรที่ดินสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ที่ไม่เป็นธรรมบ้าง ซึ่งก็ต้องมีกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์เป็นกรณี ๆ ไป แต่เมื่อ คสช. เข้ามาบริหารประเทศนั้นก็เร่งดำเนินการเป็นวาระแห่งชาติ ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มี 6 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมพิจารณาดำเนินการ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ โดยจะเน้นการบริหารจัดการแบบบูรณาการ จะไปดูรูปแบบการจัดสรรที่ดินที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอยู่แล้วไม่เกิดประโยชน์ จะจัดสรรให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกินได้อย่างไรโดยไม่ผิดกฎหมาย
 
การให้สิทธิ์ในการทำกินตรงนี้ อาจจะให้ในลักษณะสิทธิทำกินชุมชน จะไม่ให้เป็นรายบุคคลหรือให้กรรมสิทธิ์ซื้อขาย ซึ่งจะต้องมีการจัดแยกกลุ่มราษฎรที่ทำกินว่ากลุ่มใดสามารถอยู่ทำกินได้ กลุ่มใดไม่สามารถอยู่ได้ ที่สำคัญก็คือการหาพื้นที่รองรับราษฎรที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ทำมาหากิน ในส่วนที่ผิดกฎหมายอยู่ ในส่วนของประชาชนเอง ก็จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่บิดเบือนอย่าไปเชื่อในคำอ้าง คำกล่าวว่าจะช่วยเหลือท่านได้ ท่านต้องมาร่วมมือกับรัฐช่วยกัน ผมรู้ว่าพี่น้องเดือดร้อน แต่เราต้องการความร่วมมืออย่างจริงใจ และโปร่งใสของทุกฝ่าย ถึงจะทำให้การแก้ไขปัญหานั้นได้เป็นไปอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ทั้งนี้ ได้ขอให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรฯ ทำการขึ้นทะเบียนผู้ที่ไม่มีที่ทำกินให้ทันสมัย รวมทั้งผู้ที่บุกรุกเข้าไป คสช. ได้ให้เคลื่อนย้ายออกมาจากพื้นที่บุกรุกป่าว่าได้อย่างไรกับคนทั้งสองประเภทเหล่านี้
 
เรื่องของกฎหมาย ได้มีการให้รวบรวมจัดระเบียบกฎหมายที่ล้าสมัย ปรับปรุงร่างกฎหมายใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสากล ได้รวบรวมตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช. และได้ส่งมอบข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ดำเนินการเร่งปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ที่คงค้างอยู่เป็นจำนวนมาก และรัฐบาลจะเร่งดำเนินการเสนอร่างกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ รวมทั้งจะเปิดช่องทางให้ภาคประชาชน ธุรกิจ และเอกชน ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจการค้าต่าง ๆ ขณะนี้ได้เสนอร่างกฎหมายหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการเสนอร่าง 37 เรื่อง ขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมาย 49 เรื่อง ขั้นตอนการพิจารณาของ สนช. 61 เรื่อง และการประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว 4 เรื่อง สำหรับกฎหมายเมื่อมีผลบังคับใช้แล้ว ไม่ใช่ว่าประกาศแล้วจะใช้เลยทำให้ประชาชนเดือดร้อนก็จะต้องมีระยะเวลากำหนดให้เพียงพอในการทำความเข้าใจทั้งกับประชาชนและเจ้าหน้าที่ด้วย เช่น อาจจะ 60 วัน 90 วัน 120 วัน 180 วัน
 
สำหรับผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ ผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมจุดตรวจชลประทาน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการทุ่งยางแดงโมเดล และให้ประเมินผลภายใน 3 เดือน หากได้ผลเป็นที่พอใจให้ขยายผลไปสู่อำเภออื่น ๆ ก็เป็นเรื่องของการบูรณาการประสานงานกันให้ใกล้ชิดและมีความรับผิดชอบที่ชัดเจน
 
กระทรวงศึกษา โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดสรรงบประมาณจำนวนกว่า 4 ล้านบาท เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวรวม 9 หลัง ให้กับโรงเรียนบ้านน้ำดำ โรงเรียนบ้านมะนังยง และโรงเรียนบ้านเขาดิน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ในส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ได้จัดโครงการ “เตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา” นำร่องในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ 3 สถาบัน และ จังหวัดปทุมธานีหรือ จังหวัดนนทบุรี 1 สถาบัน โดยคาดว่าจะมีนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 300 คน เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมนักศึกษา นักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาทใช้ความรุนแรง
 
ในส่วนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาโครงการลงทุนจำนวน 115 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 102,000 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่เป็นกิจการขนาดใหญ่ จำนวน 24 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 90,000 ล้านบาท เช่น การผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ระยะที่ 2 และโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ในการพิจารณาอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในกิจการขนาดเล็ก และขนาดกลาง มีจำนวนทั้งสิ้น 91 โครงการ เงินลงทุนรวม 12,425 ล้านบาท
 
เรื่องขอความร่วมมือจากเราเพื่อจะสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในเรื่องของการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ขอขอบคุณท่านประธานสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ สมาชิก สปช. ทุกท่าน ได้เห็นความตั้งใจในการทำงาน เพื่อประเทศไทย คนไทย คสช. และรัฐบาลขอให้กำลังใจ และก็นำเรื่องที่ติชมนั้น มาเป็นแรงใจในการทำงานต้องอดทนเสียสละ ผมรู้ว่าเป็นเรื่องที่ยากในการที่จะปฏิรูปประเทศในท่ามกลางความขัดแย้ง ยังคงมีบางคน บางพวก ยังมุ่งแต่จะรักษาผลประโยชน์ตนเอง ทั้งในวันนี้และในอนาคต ทุกท่านต้องช่วยกันอดทน
 
เรื่องที่ดี ๆ มีอยู่หลายอย่าง เรียนอีกครั้งว่า การทำงานของรัฐบาลขณะนี้ ก็คือการปฏิรูป อย่างหนึ่งก็คือ ในระยะสั้น เฉพาะหน้า ต้องสอดคล้องกับหลัง 1 ปีไปแล้ว และทำต่อในรัฐบาลต่อ ๆ ไป นั้นคือความต่อเนื่อง รัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องมียุทธศาสตร์และนโยบายของประเทศระยะยาว มิฉะนั้นก็จะเกิดการขัดแย้งกันไปมา ต้องเริ่มต้นกันใหม่มาตลอด ประกอบกับการทุจริตผิดกฎหมาย ไม่โปร่งใสทุกขั้นตอน ซึ่งเรื่องเหล่านี้เรากำลังนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
 
วันนี้ คสช. รัฐบาลจะกำหนดมาตรการอะไรลงไป มีปัญหาหมด ปัญหาซ้ำซ้อน แล้วก็เดือดร้อน ยิ่งคิดใหม่ ยิ่งทำใหม่ ก็ต้องมาระแวงการทุจริตกันอีก ก็คาดโทษเอาไว้แล้วกัน ข้าราชการดี ๆ เขาก็หวาดผวา ไม่กล้าทำอะไร กลัวจะถูกกล่าวหาว่าทุจริต ท่านต้องมั่นใจ อะไรที่ท่านคิดว่าท่านทำได้ ถูกต้องท่านทำไป เป็นไปตามนโยบาย ท่านก็ต้องทำ ไม่ต้องกลัว แต่พร้อมจะรับการตรวจสอบได้ก็แล้วกัน
 
ส่วนผู้ที่คอยทุจริตเหล่านั้น ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมยังมีข่าวจ้องจะทำความผิดตลอดเวลา นัดกันจะเป็นกลุ่มประโยชน์แอบอ้าง คสช. อ้างรัฐบาล อ้างความใกล้ชิดคนโน้นคนนี้มาตลอด สังคมต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ทำให้เห็นว่าการทุจริตเหล่านั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ไม่อย่างนั้นรัฐบาลก็จะทำอะไรไม่ได้อีก จะเริ่มโครงการอะไรใหม่ ๆ ก็เริ่มโจมตีกันไปอีกแล้ว ทำให้การพัฒนาประเทศการขับเคลื่อนประเทศช้าไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ที่เป็นปัญหาในขณะนี้ ต้องรับฟังปัญหาทั้ง 2 ฝ่าย ผมรับฟังทั้ง 2 ฝ่าย อะไรที่ดีก็ต้องทำ อะไรที่ไม่ดียังไม่ตรงกันก็มาหาข้อมูลให้ตรงกัน แล้วจะทำอย่างไรก็หาทางออกให้ได้ ไม่อย่างนั้นเราเสียเวลาไปเรื่อย ๆ ทุกอย่างก็กลับมาที่เดิม เสียเวลาต้องทำงานหนักเป็น 2 - 3 เท่า ประชาชนก็ต้องคอยคาดหวังอีกไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน ช่วยกันเฝ้าระวัง ไม่ว่าจะเป็นข้อติชม ข้อเสนอแนะ หรือคนทุจริตที่ไหน อะไรอย่างไร ผมรับได้หมด
 
อีกประเด็นที่สำคัญ ก็คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเรานั้นค่อนข้างมีปัญหา เราจะต้องสร้างให้คนของเราอยู่ร่วมกันให้ได้อย่างสันติ ถ้าเรามัวแต่พูดถึงว่าคำว่าสิทธิเสรีภาพหรือประชาธิปไตยจนไร้ขีดจำกัด จะรวมกันไม่ได้ คิดจะพูดอะไรก็ไม่ได้ ขัดแย้งกันทุกเรื่อง ทำอะไรไม่ได้เลย ต้องหาทางรวมพลังเหล่านี้ให้ได้ ก็ด้วยการสร้างความเข้าใจ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเราทำไม่ได้ เราจะปฏิรูปกี่ครั้ง ตั้งสภาปฏิรูปกี่ครั้ง ก็ทำไม่ได้แก้อะไรไม่ได้ ประชาธิปไตยไทยนั้น ถ้าสอนให้คนรู้จักแต่เพียงสิทธิ เสรีภาพ ไม่คำนึงถึงหน้าที่ ไม่รู้จักผลประโยชน์แห่งชาติว่าอยู่ที่ไหน ก็ยังคงเป็นแบบนี้อยู่ต่อไป ผมต้องการใช้คำว่าพวกเราทุกคนยก็ไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สำหรับประเทศไทย ถ้ายังเป็นอย่างนั้นอยู่อีก
 
ระบบการสอน การเรียนรู้ การให้แนวคิด ในสังคมปัจจุบัน อยากให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องลองปรับเล็กน้อย อย่าสอนให้เสรีมากนัก คำว่าเสรีต้องมีขีดจำกัด อยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ต้องรู้จักหน้าที่ ต้องรู้จักการให้เกียรติบุคคลอื่นบ้าง ไม่สอนให้คนไม่เคารพกฎหมาย หรือต่อให้เรามีกี่คณะ ทำงานออกมา กฎกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ทำออกมา สปช. ออกแบบออกมาว่า จะร่างรัฐธรรมนูญกันอย่างไร ก็ไม่สำเร็จ เพราะทุกคนจะรู้สึกว่า ถูกบังคับ ไม่ยอม ก็เป็นอันตราย ประชาธิปไตยของโลกสากล เขายังต้องเคารพกฎหมาย มีกฎหมาย ข้อบังคับมากมาย เขาก็ไม่ได้ต่อต้านอะไรกันรุนแรงแบบบ้านเรา ถ้าเราจะไม่มีกฎหมาย ไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบอะไรเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องของเสรีประชาธิปไตย ผมว่าอันตราย เพราะฉะนั้นเราน่าจะออกแบบให้เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับคนไทย สอนให้มีสติ จะคิด จะเชื่อ เพราะเราอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและความมีเหตุผล อย่าให้เขาใช้ความยากจน ความเหลื่อมล้ำมาเป็นเครื่องมือในทางด้านการเมืองอีกต่อไปเลย
 
มีอีกหลายเรื่องที่รอให้รัฐบาลดำเนินการ ล้วนเป็นเรื่องใหญ่ ๆ มีความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ ก็เพื่อเราจะสร้างอนาคตที่ดีให้ลูกหลาน เตรียมความพร้อมให้กับประเทศ ให้กับรัฐบาลต่อไป ได้เข้ามาสานต่อ ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่รัฐบาลปกติที่ผ่านมานั้นทำได้ยากหรือทำไม่ได้ เพราะอาจจะเป็นเรื่องของการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ รัฐบาลนี้จะพยายามวางรากฐานที่มั่นคงไว้ให้
 
เรื่องที่คิดและจะดำเนินการต่อไป ได้แก่ การวางยุทธศาสตร์ประเทศ ในการสร้างความสัมพันธ์ประเทศเพื่อนบ้านให้ชัดเจน สร้างความเข้มแข็งทางด้านการค้า เศรษฐกิจ ทั้งนำเข้า – ส่งออก วางยุทธศาสตร์ชาติ จัดทำงบประมาณในลักษณะการบูรณาการกลุ่มงาน จัดตั้งคณะกรรมการมากกว่า 11 คณะในขณะนี้ เพื่อปรับปรุงการทำงาน การใช้จ่ายงบประมาณ ในเรื่องของการสร้างความเข้าใจ การพัฒนาระบบราชการยังคงดำเนินการต่อไป การร่างแผนภาษี ร่างกฎหมาย การบริหารจัดการพลังงาน การบุกรุกป่า การไม่มีที่ดินทำกิน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ คนรวยก็รวยมาก คนจนก็จนมาก ทำอย่างไรให้ทั้ง 2 ส่วนนี้ ไม่มีความเหลื่อมล้ำหรือมีความแตกต่างให้น้อยที่สุด ดูแลซึ่งกันและกัน เราจะได้ดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
ในสัปดาห์นี้ผมดีใจ และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเลี้ยงขอบคุณนักกีฬาไทยทุกคนที่รอมานานแล้ว เราต้องรอให้ครบทั้ง 4 คณะ ซึ่งได้นำพาความสุข ความภาคภูมิใจ ชื่อเสียงมาให้กับพี่น้องชาวไทยทุกคน ในช่วงการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ เอเชียนพาราเกมส์ ยูธเกมส์ แล้วก็ฟุตบอลหญิงที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปนั้น นักกีฬาทุกคนได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ในการแข่งขันกีฬา เป็นธรรมดา กีฬาก็ต้องมีทั้งแพ้และชนะ แต่ที่สำคัญทุกท่านได้แสดงให้เห็นถึง Spirit ของความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เคารพกฎกติกา เป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจที่ดีให้กับเยาชนไทยอีกหลาย ๆ คน ทางรัฐบาลยินดี มีความตั้งใจที่จะสนับสนุนการพัฒนาด้านกีฬาของประเทศไทยต่อไป ก็ต้องการให้เพิ่มเติมในเรื่องของโรงเรียนกีฬาหรือส่วนที่จะนำคนที่ชอบกีฬามาเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐด้วย เพื่อจะพัฒนานักกีฬาต่อไปในอนาคต ไม่อย่างนั้นเราสู้เขาไม่ได้ เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา อะไรเหล่านี้ต้องใช้งบประมาณสูง
 
ส่วนความภาคภูมิใจล่าสุดของคนไทยก็คือ ผลการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม เยาวชนไทยได้รับเหรียญรางวัลถึง 6 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง และมีใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถอีก 12 คน ถือว่าเป็นการแสดงศักยภาพของเยาวชนไทยในระดับนานาชาติ เราควรต้องสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ผมขอแสดงความยินดีกับเยาวชนไทยทุกคนที่ได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ด้วย สำหรับแรงงาน ผมว่าคงจะต้องพัฒนาในเรื่องภาษาด้วย ทุกประเทศที่มาลงทุนประเทศไทยชื่นชมแรงงานของไทยว่าเข้มแข็ง มีฝีมือ แต่มีอย่างเดียวที่เขาต้องการให้แก้ไขมากที่สุดคือเรื่องภาษา เพราะว่าพูดภาษากันไม่รู้เรื่อง ภาษาอังกฤษสำคัญ แล้วก็จะได้พัฒนาตัวเองไปสู่ในระดับบริหารได้ด้วย ขอให้เร่งพัฒนา เพื่อรองรับ AEC ในปีหน้านี้ด้วย
 
อีกไม่กี่วันนี้ก็จะเข้าสู่เทศกาล “ลอยกระทง” ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ผมก็ได้กำชับล่วงหน้าไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ช่วยกันออกตรวจตรา เตรียมการ ดูแลความปลอดภัยล่วงหน้า ในสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทงหรือจัดกิจกรรมรื่นเริงที่มีคนจำนวนมาก ความมั่นคงแข็งแรง ท่าเทียบเรือ การสัญจรทางน้ำ อุปกรณ์กู้ชีพ รวมทั้งตรวจตราร้านผลิต ร้านจำหน่ายดอกไม้เพลิง พลุ ประทัด ว่าได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือไม่ รวมทั้งการขนย้ายด้วย หากพบว่าไม่ได้ปฏิบัติตามให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด รวมทั้งตรวจตราสถานบริการ สถานบันเทิง สวนสาธารณะ โรงแรม หอพัก ไม่ให้เป็นแหล่งมั่วสุมของเยาวชน หากพบว่าเจ้าของสถานประกอบการหรือผู้จัดงานปล่อยปละละเลยให้มีเด็กเข้ามาใช้บริการ แล้วเกิดอันตราย หรือเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง อะไรก็แล้วแต่ ถือว่าต้องรับผิดชอบด้วย มีความผิดด้วย
 
เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกคนได้กวดขันร่วมกับรัฐ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ด้วย การกวดขันไม่ให้มีการจำหน่ายสุรานอกสถานที่และเกินเวลาที่กำหนด การเมาแล้วขับ ทั้งหลายทั้งปวง ให้กวดขันกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะไม่กี่เดือนจะถึง “เทศกาลปีใหม่” อีกแล้ว ปีนี้เราก็หยุดถึง 5 วัน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่ามีการหยุดระยะยาวต่อเนื่องมาโดยตลอด ฉะนั้นต้องระมัดระวังการสูญเสียจากอุบัติภัย ทั้งหลายทั้งปวง สถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทุกปีมากมายมหาศาล เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้เป็นกิจวัตร ต้องทำให้เป็นนิสัย ไม่ใช่พอถึงเทศกาลใดก็มารณรงค์กันเป็นครั้ง ๆ เสียงบประมาณ เสียเวลา เราต้องแก้ไขเป็นมาตรการป้องกันให้ได้ ไม่ใช่เกิดเรื่องแล้วค่อยมาล้อมคอก เป็น “วัวหายล้อมคอก” ทีหลัง อย่างนี้ไม่ได้ ผู้ประกอบการ ผู้จัดงาน เตือนอีกครั้งต้องร่วมรับผิดชอบในอันตรายเหล่านี้ด้วย ผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือในการกวดขันดูแลบุตรหลานให้ใช้ความระมัดระวังในช่วงเทศกาลลอยกระทงเป็นพิเศษด้วย ขอให้ทุกคนมีความสุข ขอขอบคุณ สวัสดีครับ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปช.นัดประชุมร่างข้อบังคับ 3-4 พ.ย. นี้ กปปส.พร้อมหนุน กมธ.ยกร่าง รธน.

$
0
0
ประธาน สปช.นัดประชุมเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 3-4 พฤศจิกายนนี้ ด้าน กปปส.พร้อมหนุนกมธ.ยกร่างรธน. เชื่อทุกคนมีความรู้ความสามารถ เผย "พระสุเทพ" ยังไม่มีกำหนดลาสิกขาบท “วันชัย” เชื่อไม่เกิน 2 เดือน เห็นรูปร่างปฏิรูปประเทศ

 
1 พ.ย. 2557 นายเทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีคำสั่งนัดประชุมสภาปฎิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ในวันที่ 3 และ 4 พฤศจิกายนนี้ เวลา 09.30 น. โดยมีวาระการประชุมรับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งประธานและรองประธาน สปช. และวาระพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สปช. พิจารณาเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ร่างข้อบังคับดังกล่าวคณะกรรมาธิการฯ ที่มีพลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สปช. เป็นประธาน กำหนดให้มีทั้งหมด 143 ข้อ 8 หมวด ได้แก่ หมวด 1.การเลือกประธานสภาและรองประธานสภา หมวด 2.อำนาจและหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภาและเลขาธิการ หมวด 3.การประชุม แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วิธีการประชุม ส่วนที่ 2 การเสนอญัตติ ส่วนที่ 2 การอภิปราย ส่วนที่ 4 การลงมติ หมวด 4.กรรมาธิการ หมวด 5.การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ หมวด 6.การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็นส่วนที่ 1 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 2 การพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หมวด 7.การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย หมวด 8.บทสุดท้าย และหมวดเฉพาะกาล
 
กปปส.พร้อมหนุนกมธ.ยกร่างรธน. เชื่อทุกคนมีความรู้ความสามารถ เผย "พระสุเทพ" ยังไม่มีกำหนดลาสิกขาบท
 
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษกคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์(กปปส.) กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายมองกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ยังไม่มีความหลากหลายว่า ทุกคนที่ได้รับการเลือกมาล้วนมีความรู้ความสามารถที่จะทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้และยังมีโควต้าจากคสช.และรัฐบาลอีกก็เชื่อว่า จะมีการสรรหาคนที่มีประสบการณ์ความรู้ด้านกฏหมาย การร่างรัฐธรรนูญ มาเพิ่มในส่วนที่เห็นว่า ขาดได้ ส่วนที่รัฐบาลอยากให้คู่ขัดแย้งมาร่วมพูดคุยถึงแนวทางการปฏิรูปประเทศนั้น กปปส.ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับใครโดยเฉพาะกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.)แต่ฝ่ายตรงข้ามพยายามวาดภาพให้เห็นว่า กลุ่มนปช.เป็นคู่ขัดแย้ง ที่ผ่านมายืนยันมาโดยตลอดว่า กปปส.ไม่สนใจตัวบุคคลใครจะเข้ามาร่วมทำให้เกิดการปฏิรูปเราก็ยินดี
 
และพร้อมให้การสนับสนุน แม้ว่าจะไม่มีตัวแทนของกปปส.เข้าร่วมก็ตาม เพราะเราเน้นที่ผลงานมากกว่า อย่างไรก็ตามจากนี้ไป กปปส.จะเริ่มมีการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะแนวทางการปฏิรูปประเทศ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็กำลังเดินหน้าจัดตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าก็จะเสร็จสิ้น
 
นายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมาถือเป็นวันครบรอบ 1 ปีการชุมนุมของกปปส. ซึ่งกปปส.ได้มีการจัดพิธีอุปสมบทหมู่จำนวน ภายใต้ชื่อโครงการ”บวชพระเพื่อปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัว “. และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่เสียชีวิตจากการชุมนุมของกปปส.ที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีแกนนำมาร่วมงานอย่างพร้อมเพียง อาทิ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายจุมพล จุลใส น.ส.จิตตภัสร์ กฤษดากร นายแซมดิน เลิศบุศก์ เป็นต้น
 
ส่วนกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นเราเห็นว่า การชุมนุมที่ผ่านมาเราได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ที่สามารถปลุกจิตสำนึกให้คนไทยให้ต่อต้านเผด็จการทางรัฐสภา รณณรงค์การปฏิรูปประเทศ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้เข้ามาบริหารประเทศ ทางกปปส.จึงขอหยุดความเคลื่อนไหวทางการเมืองไว้ก่อน ซึ่งพระสุเทพ ปภากโร (สุเทพ เทือกสุบรรณ)ได้บอกให้แกนนำทุกคนปล่อยวางสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ และขอให้แกนนำให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและคสช.ในการเดินหน้าปฏิรูปประเทศ ส่วนพระสุเทพยังจะคงบวชต่อไปให้ครบ 204 วันตามจำนวนที่กปปส.ชุมนุม ซึ่งประมาณต้นเดือนก.พ.ปีหน้าก็จะครบกำหนด แต่จะลาสิกขาหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพระสุเทพ
 
“วันชัย” เชื่อไม่เกิน 2 เดือน เห็นรูปร่างปฏิรูปประเทศ
 
ด้านนายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในฐานะโฆษกวิป สปช.ชั่วคราว กล่าวว่าหลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธาน และรองประธาน สปช.แล้ว จากนั้น สปช.จะต้องรีบร่างข้อบังคับการประชุมให้เสร็จ ซึ่งวันที่ 3 พ.ย.จะนำเข้าที่ประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาและตั้งคณะกรรมาธิการสามัญทั้ง 17 คณะให้เรียบร้อย น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเป็นการเริ่มนับ 1 ในการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง และเป็นทางการ แต่เรื่องใดที่แต่ละด้านสามารถที่จะทำได้ก่อน ก็ต้องทำเลย ไม่ต้องรอกระบวนการข้างต้น
 
“เชื่อว่าไม่เกิน 2 เดือนหลังจากที่ตั้ง กมธ.แล้ว จะเห็นรูปร่างในการปฏิรูปประเทศอย่างแน่นอน แต่ถ้าไม่เห็นผลงาน ทำไม่สำเร็จ ถือว่าเสียของเป็นอย่างมาก”นายวันชัย กล่าว และว่าการเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของ สปช. 20 คน
 
จากที่มีการพูดคุยกันในวิป สปช. เห็นว่าครบถ้วนในทุกด้าน มีการครอบคลุมในทุกมิติ ได้คนที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการเลือกของสมาชิกเกิดขึ้นอย่างมีอิสระ ทุกคนเลือกกันเอง ภาพรวมทั้งหมดวิป สปช.มีความพอใจ การทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ น่าจะมีประสิทธิภาพครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ต่อจากนี้ทาง สปช.เองก็จะตั้งกรรมาธิการเพื่อเสนอแนะต่อ กมธ.ยกร่างฯ
 
รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อส่งข้อมูลให้ กมธ.ยกร่างฯ นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
 
ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก
 
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มาสเตอร์โพลล์ระบุแกนนำชุมชนอยากให้ 'ประยุทธ์' ทำงานอีก 4 ปี

$
0
0
แกนนำชุมชน พอใจการทำงาน รบ. - คสช. ให้คะแนนสูงสุด ส่งเสริม ปชช.ดำเนินรอยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ชดเชยรายได้ชาวสวนยาง ต้อนรับการเยือนนายกฯบาห์เรน พักชำระหนี้เกษตรกร พร้อมให้โอกาส "ประยุทธ์" นั่งนายกฯ ต่ออีก 4 ปี

 
1 พ.ย. 2557 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เรื่อง สำรวจความพึงพอใจของแกนนำชุมชนต่อการทำงานของรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 626 ชุมชน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 - 31 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา พบว่า
 
เมื่อถามถึงความพึงพอใจของแกนนำชุมชนต่อการทำงานของรัฐบาลและ คสช. โดยภาพรวม ได้ 8.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้หากพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ การส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินรอยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ได้คะแนนความพึงพอใจสูงที่สุดอยู่ที่ 8.68 คะแนน อันดับที่ 2 ได้แก่ โครงการชดเชยรายได้พี่น้องชาวสวนยางไร่ละ 1,000 บาทต่อไร่ ไม่เกินครอบครัวละ 15 ไร่ ได้ 8.39 คะแนน อันดับที่ 3 ได้แก่ การต้อนรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีบาห์เรน และโครงการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ชาวสวนยางพารารายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริม รายละไม่เกิน 1 แสนบาท ได้ 8.22 คะแนนเท่ากัน อันดับที่ 4 ได้แก่ โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชน เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยจะช่วยรับซื้อยางในราคาเป้าหมายที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม ในชั้นต้น ได้ 8.21 คะแนน อันดับที่ 5 ได้แก่ การพักชำระหนี้ในปี 2557 เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้มีรายได้น้อย ได้ 8.20 คะแนน
 
และรองๆ ลงมา คือการส่งเสริมและพัฒนาการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหวของผู้พิการทางการมองเห็น ได้ 8.15 คะแนน การจัดระเบียบพื้นที่ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม (Zoning) ได้ 8.14 คะแนน การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนน้ำ ได้ 8.13 คะแนน ผลการเข้าร่วมประชุมผู้นำเอเชีย - ยุโรป ครั้งที่ 10 ที่ประเทศอิตาลี ได้ 8.04 คะแนน การพบปะผู้นำจากประเทศต่างๆ เพื่อแนะนำตัวอย่างสร้างความเข้าใจในสถานการณ์ของประเทศไทย และการขอความร่วมมือในการนำเสนอข่าวของสื่อไทย เพื่อสร้างความเข้าใจกับต่างประเทศ ได้ 8.01 คะแนน เท่ากัน การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าระหว่างเมือง ได้ 7.98 คะแนน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศบาเรนห์กับประเทศไทยในทุกมิติ และการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้ 7.97 คะแนนเท่ากัน การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ได้ 7.96 คะแนน การพัฒนาการเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางอากาศ ได้ 7.89 คะแนน และการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ ได้ 7.88 คะแนน ตามลำดับ
 
นอกจากนี้เมื่อสอบถามแกนนำชุมชนต่อการให้โอกาส พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรี พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.6 ให้โอกาสในการทำงานจนกว่าจะแก้ไขปัญหาได้เรียบร้อย ร้อยละ 7.7 ให้ทำงานต่ออีก 1 ปี ร้อยละ 14.9 ให้ทำงานต่ออีก 2 ปี ร้อยละ 5.8 ให้ทำงานต่ออีก 3 ปี และร้อยละ 8.0 ให้ทำงานต่ออีก 4 ปี
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดีเดย์! วันนี้ (1 พ.ย.) กรมชลฯ งดส่งน้ำทำนาลุ่มน้ำเจ้าพระยา-แม่กลอง

$
0
0
กรมชลประทานเริ่มงดส่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง 26 จังหวัด ตั้งแต่วันนี้ (1 พ.ย.) ถึง 30 เม.ษ. 58 เพื่อสำรองน้ำในเขื่อนไว้อุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งที่คาดการณ์ว่าจะเกิดวิกฤตสุดในรอบ 15 ปี วอนชาวนาเจ้าพระยา-แม่กลองงดทำนาปรังหลังพบหลายพื้นที่เริ่มปลูกรอบใหม่

 
1 พ.ย. 2557 กรมชลประทานจะงดส่งน้ำตั้งแต่วันนี้ (1 พ.ย.) เป็นไปตามมติ ครม. เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง พร้อมให้หามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และแนะนำปลูกพืชตระกูลถั่วทดแทน แต่กลับพบปัญหาไม่มีเมล็ดพันธุ์เพียงพอ 
 
โดยเมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่จังหวัดกำแพงเพชร โครงการส่งน้ำและบำรุงน้ำรักษาท่อทองแดง ได้เข้าชี้แจงกับชาวบ้าน ถึงการปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ทั้งโครงการชลประทานท่อทองแดง, วังบัว และวังยาง เพื่อถือโอกาสซ่อมแซมระบบ โดยจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรในจังหวัดและใกล้เคียง ต้องหยุดจ่ายน้ำนานถึง 6 เดือน พร้อมให้คำแนะนำเกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย แทนการปลูกข้าวนาปรัง อีกทั้งยังเปิดให้ชาวบ้านแสดงความจำนงเข้าร่วมเป็นลูกจ้างชั่วคราวกรมชลประทานเพื่อซ่อมแซมระบบที่เป็นปัญหา
 
ขณะที่พื้นที่ จ.ชัยนาท แหล่งปลูกข้าวในลุ่มเจ้าพระยา พบว่า ชาวนาส่วนใหญ่ทราบแนวทางปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวนาปรัง แต่พบปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ถั่วที่ภาครัฐแนะนำให้ปลูก ซึ่งไม่มีจำหน่ายในร้านสินค้าการเกษตร สอดคล้องกับนักวิชาการที่ระบุว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านเป็นยุควิกฤตเมล็ดพันธุ์พืชของไทยหลังยุบสำนักเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์แจกจ่ายให้เกษตรกร แต่ปัญหาขณะนี้ คือ มีหน่วยงานวิจัยด้านเมล็ดพันธุ์มาก แต่ขาดหน่วยงานที่ผลิตเมล็ดแจกจ่ายไปยังเกษตรกร โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ทั้งที่เป็นพืชไร่ที่มีประโยชน์บริโภคและอุปโภคอย่างมหาศาล  
 
กรมชลฯวอนเกษตรกร 2 ลุ่มน้ำงดทำนาปรัง หลังพบส่วนหนึ่งเริ่มปลูกข้าวรอบใหม่
 
ด้านศูนย์ประมวลวิเคราะห์ถานการณ์น้ำ กรมชลประทานรายงานสถานการ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 57 ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,015 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,215 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,835 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,985 ล้านลูกบาศก์เมตร
 
เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 784 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 741 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี  มีปริมาณน้ำ  817 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 85 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 814 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้ง 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 6,755 ล้านลูกบาศก์เมตร
 
นอกจากนี้ เนื่องจากทางกรมชลประทานได้ประกาศงดส่งน้ำเพื่อการทำนานาปรังทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้ว แต่พบว่ายังคงมีเกษตรกรบางส่วนที่ยังคงทำนาปรังต่อไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อปริมาณน้ำที่จะใช้ในการอุปโภค-บริโภค การผลิตน้ำประปา การผลักดันน้ำเค็ม และรักษาระบบนิเวศน์ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งหมด จึงขอความร่วมมือเกษตรกรให้งดการทำนาปรัง เพื่อให้ประชาชนทั้งลุ่มน้ำมีน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีพตลอดช่วงฤดูแล้งได้
 
 
ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก
 
ครอบครัวข่าว, ประชาชาติธุรกิจ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images