Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

แพทย์เผยวิธีรักษาสองผู้ติดเชื้ออีโบลาชาวอเมริกัน จนดีขึ้น

$
0
0

บรูซ ไรเนอร์ หนึ่งในผู้ร่วมรักษาคนทำงานด้านมนุษยธรรม 2 คนที่ได้รับเชื้ออีโบลาจากแอฟริกาเปิดเผยว่า ไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์หรือวัคซีนมหัศจรรย์ใดๆ ที่ช่วยฟื้นฟูคนไข้ทั้ง 2 คน แต่เป็นเรื่องการดูแลประคับประคองคนไข้อย่างจริงจัง ระบบจัดการความสะอาดที่ดีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดแคลนในประเทศที่อีโบลาแพร่ระบาดหนัก

30 ส.ค. 2557 ก่อนหน้านี้เมื่อราวสองสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวของคนทำงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวอเมริกัน 2 คนคือเคนท์ แบรนท์ลีย์ และแนนซี ไรท์โบล ติดเชื้ออีโบลาขณะทำงานในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตกก่อนที่ต่อมาได้ออกจากโรงพยาบาลเนื่องจาก "ได้รับการฟื้นฟูแล้ว" จากความช่วยเหลือของหน่วยงานโรคติดต่อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอมอรี ในรัฐแอตแลนตา

แม้ว่าก่อนหน้านี้คนไข้ทั้งสองคนจะถูกอ้างผ่านสื่อหลายแห่งว่าพวกเขาได้ "ขอบคุณพระเจ้า" ที่ช่วยให้พวกเขารอดชีวิตจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ ทางเว็บไซต์ Scientific American สัมภาษณ์บรูซ ไรเนอร์ ผู้อำนวยการหน่วยงานโรคติดต่อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอมอรี เพื่อสอบถามว่าชาวอเมริกัน 2 คน หายจากโรคได้อย่างไร และจะมีวิธีการนำมาใช้กับผู้ป่วยรายอื่นๆ ได้อย่างไร

ไรเนอร์ เปิดเผยในบทสัมภาษณ์ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนฟื้นฟูจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ร่างกายพวกเขาจะพัฒนาจนมีภูมิคุ้มกันต่อต้านไวรัสในสายพันธุ์ที่พวกเขาติดเชื้ออย่างเข้มแข็ง ทำให้แบรนท์ลีย์และไรท์โบลมีโอกาสน้อยมากในการติดเชื้ออีโบลาสายพันธุ์เดิมอีก อย่างไรก็ตามเชื้ออีโบลามีอยู่ 5 สายพันธุ์ การมีภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์นั้นไม่เข้มแข็งเท่าใด โดยพวกเขายังอยู่ในช่วงศึกษาแบรนท์ลีย์และไรท์โบลอยู่

เมื่อถามว่าทางโรงพยาบาลเอมอรีได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการดูแลคนไข้ทั้ง 2 คน ที่จะสามารถนำไปใช้ได้กับคนไข้ในแอฟริกาตะวันตก ไรเนอร์ตอบว่าประเทศแถบแอฟริกาตะวันตกยังคงขาดแคลนเครื่องมือหลายอย่าง เช่น เครื่องมือตรวจวัดเซลล์เม็ดเลือดที่เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจคนไข้ในโรงพยาบาลของพวกเขา เครื่องมือตรวจวัดทางการแพทย์สำคัญต่อคนไข้ที่ติดเชื้ออีโบลาเนื่องจากพวกเขาจะมีภาวะอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติเนื่องจากการสูญเสียน้ำในร่างกาย ทำให้ต้องคอยตรวจเช็กร่างกายคนไข้อยู่เสมอ

ไรเนอร์เปิดเผยอีกว่าคนไข้ชาวตะวันตกทั้ง 2 คนมีอาการบวมน้ำ คือการที่มีของเหลวจำนวนมากอยู่ในเนื้อเยื่อของพวกเขา โรคจากไวรัสอีโบลาจะสร้างความเสียหายต่อตับ ทำให้ตับไม่สามารถผลิตโปรตีนได้มากเท่าเดิม ทำให้โปรตีนในเลือดมีน้อยมากและมีของเหลวรั่วไหลออกไปยังเนื้อเยื่อ ทำให้พวกเขาเรียนรู้อย่างหนึ่งว่าควรให้ความสนใจในเรื่องการขาดโปรตีนและเสริมโปรตีนให้กับคนไข้

ไรเนอร์กล่าวถึงเรื่องการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วควรให้ความช่วยเหลือในด้านเครื่องมือรักษาคนไข้และช่วยเหลือด้านการพัฒนาเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งไรเนอร์คาดว่าภายในอีก 5 ปี ข้างหน้าพวกเขาจะมีเครื่องมือทางการแพทย์ไว้ใช้

ขณะเดียวกันไรเนอร์เปิดเผยอีกว่าพวกเขากำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานรวมถึงกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ เพื่อนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการรักษาผู้ป่วยและเป็นคู่มือแนวทางเพื่อแจกจ่ายต่อประเทศอื่นๆ เนื่องจากนั่นเป็นเป้าหมายของคณะทำงานในเอมอรี

ในบทสัมภาษณ์ไรเนอร์บอกว่ากรณีคนทำงานด้านสุขภาวะทั้ง 2 คนเหมือนกับกรณีที่คนไข้ถูกส่งต่อไปให้แพทย์คนอื่น เนื่องจากพวกเขาไม่มีเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดได้

ในเรื่องที่องค์การอนามัยโลกเคยกล่าวว่าผู้ป่วยอาจจะกลับมาติดเชื้อได้ในอีกหลายเดือนถัดมาหลังจากฟื้นตัวแล้ว ไรเนอร์กล่าวขยายความในเรื่องนี้ว่า แม้ผู้ป่วยหลายคนจะฟื้นตัวจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลาแล้ว เชื้อก็อาจจะยังคงปล่อยส่วนที่เป็นสารนิวเคลียร์พันธุกรรม (nuclear material) ที่ช่วยแพร่กระจายไวรัสไว้ตามของเหลวพวกน้ำอสุจิหรือน้ำจากช่องคลอดของสตรี รวมถึงอาจจะอยู่ในปัสสาวะด้วย ซึ่งไรเนอร์แนะนำว่าผู้ที่ได้รับการฟื้นฟูไม่ควรมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันภายใน 3 เดือนหลังจากนั้น

เกี่ยวกับขั้นตอนการดูแลรักษาคนทำงานด้านสุขภาวะทั้ง 2 คน ไรเนอร์เปิดเผยว่าพวกเขาใช้พยาบาล 21 คน และแพทย์ 5 คน รวมถึงมีคนช่วยเหลืออีกจำนวนมากที่คอยดูแลเครื่องมือที่ต้องทำการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูงทุกครั้งหลังนำออกจากห้องที่ดูแลผู้ป่วย รวมถึงต้องจ้างวานบริษัทที่เชื่อถือได้ในการจัดการกับของเหลือทิ้งทางการแพทย์ให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้ออีโบลาเหลืออยู่ในนั้นแล้ว

ในบทสัมภาษณ์ถามว่ามีการนำเลือดของคนไข้ที่ได้รับการฟื้นฟูแล้วมาใช้กับแบรนท์ลีย์ ซึ่งวิธีการนี้มีบทบาทอย่างไรบ้าง แต่ไรเนอร์บอกว่าวิธีการนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่ามีส่วนทำให้คนไข้ฟื้นฟูอาการได้หรือไม่ และวิธีการนี้ก็ไม่ใช่การรักษาที่เป็นมาตรฐานในสหรัฐอเมริกา

ในแง่การตรวจวินิจฉัยโรค ไรเนอร์เปิดเผยว่าในสหรัฐฯ จะใช้วิธีการหลักๆ ที่เรียกว่า "ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส" (Polymerase chain reaction) คือการนำเลือดของผู้ป่วยใส่ลงในเครื่องตรวจเพื่อหาว่ามีสารนิวเคลียร์พันธุกรรมจากเชื้ออีโบลาอยู่ด้วยหรือไม่ ซึ่งศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐฯ (CDC) มักจะใช้วิธีการนี้กับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด นอกจากนี้ยังมีการตั้งห้องทดลองของ CDC ทั้งในประเทศและตามที่ต่างๆ ในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเรื่องนี้ไรเนอร์บอกว่าเป็นวิธีการที่ไม่ยากนัก

ไรเนอร์ชี้อีกว่าโรคจากเชื้อไวรัสอีโบลาไม่มีการรักษาให้หายได้ ผู้รอดชีวิตต้องอาศัยการดูแลประคับประคอง ด้วยการเสริมของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ที่คนไข้สูญเสียไป การเติมเกล็ดเลือดในกรณีที่มีเกล็ดเลือดต่ำหรือมีเลือดออก การให้โปรตีนเสริมซึ่งคนไข้บางรายจะขาดโปรตีน ในประเทศพัฒนาแล้วมีเครื่องมือในการประคับประคองเหล่านี้มากกว่าในแอฟริกาตะวันตก

นอกจากนี้ยีงมีกรณีของยาที่ชื่อ ZMapp ซึ่งเป็นยาที่ยังอยู่ในขั้นทดลองซึ่งมีการพยายามนำมาใช้รักษาโรคจากเชื้ออีโบลา แต่ก็ยังมีคนเสียชีวิตหลังจากได้รับยานี้อยู่ ไรเนอร์กล่าวว่ายาในขั้นทดลองนี้ยังบอกไม่ได้ว่านำมาใช้ได้จริงหรือไม่ ตัวยาอาจจะส่งผลดีแต่อาการคนไข้อยู่ในระยะที่เกินกว่ายาจะช่วยเหลือได้ หรือตัวยาเองอาจจะยังไม่ได้ผล ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง

"ในอดีต ผู้คนคิดว่าพวกเขาต้องการอะไรสักอย่างเพื่อการ 'รักษาให้หาย' แต่กลายเป็นว่าตัวที่จะช่วยรักษาพวกนั้นกลับลดความสามารถในการรอดชีวิตของคนไข้เสียเอง เราควรเน้นในเรื่องการดูแลผู้ป่วยอย่างละเอียดถี่ถ้วนจริงจังและความสามารถในการจัดการความผิดปกติจากกระบวนการภายในร่างกายแทนที่จะใช้วัคซีนมหัศจรรย์หรือของที่อาจจะเพิ่มหรือลดอัตราการอยู่รอดก็ได้" ไรเนอร์กล่าว

เมื่อถามว่ามีการพยายามทดลองทางการแพทย์อื่นๆ นอกเหนือจากยา ZMapp ในประเทศอื่นนอกจากสหรัฐฯ พวกเขามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือมีผู้คอยดูแลควบคุมในเรื่องนี้อย่างไร ไรเนอร์ตอบว่าเขาไม่ทราบว่าจะมีองค์กรหรือหน่วยงานจำเพาะหน่วยงานใดที่จะทำหน้าที่ประสานงานในจุดนี้ แต่ก็คาดเดาว่าผู้ผลิตและค้นคว้าเรื่องยาคงทราบดีว่ากลุ่มอื่นๆ ทำอะไรอยู่และมีการเปรียบเทียบกับการค้นคว้าของตนเองเพราะรู้สึกว่ามันจะเป็นประโยชน์ถ้าพวกเขาทำงานร่วมกัน

คณะกรรมการฝ่ายจรรยาบรรณขององค์การอนามัยโลกเคยกล่าวไว้ว่าการให้ยาทดลองเพื่อรักษาผู้ป่วยอีโบลาเป็นเรื่องในเชิงจรรยาบรรณแต่ก็ไม่มีการระบุชี้ชัดว่าคนกลุ่มไหนควรได้รับยาก่อนกันหรือควรมีการแจกจ่ายวัคซีนในลักษณะใด ในแง่นี้ไรเนอร์กล่าวว่าจริงอยู่ที่ควรคำนึงถึงหลักจรรยาบรรณแต่ก็ต้องมีความระมัดระวังสูง เนื่องจากเรายังไม่ทราบชัดเจนว่ายาชนิดใดใช้ได้ผลจริง และอาจจะเป็นประโยชน์มากกว่าในการที่ยังไม่แจกจ่ายยาออกไป

สิ่งที่ทางคณะทำงานของไรเนอร์ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับอีโบลาอีกเรื่องหนึ่งคือ ประชาชนยังมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับเชื้อไวรัสอีโบลาอยู่น้อยและมีความกังวลต่อเรื่องที่คนไข้จะถูกส่งตัวออกนอกแอฟริกาไปรักษาในประเทศอื่นๆ เนื่องจากคิดว่าโรคนี้มีความร้ายแรงสูงมากดูจากอัตราการเสียชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้วไรเนอร์กล่าวว่าอัตราการเสียชีวิตสูงเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาและมีการระบาดของโรคเนื่องจากทรัพยากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ

"พวกเรารู้สึกอยู่เสมอว่าโอกาสการอยู่รอดของคนไข้จะเพิ่มขึ้นมากเมื่อได้รับการดูแลอาการในประเทศที่พัฒนาแล้ว" ไรเนอร์กล่าว

นอกจากนี้ในบทสัมภาษณ์ยังระบุอีกว่าผู้ติดเชื้ออีโบลาที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้วมีการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นน้อยมาก โดยคณะทำงาน 26 คน ของพวกเขาไม่มีใครได้รับเชื้อจากการรักษาคนไข้เลย

ไรเนอร์กล่าวถึงการป้องกันการติดต่อจากการรักษาว่า พวกเขาไม่จำเป็นต้องสวมเครื่องป้องกันมากเท่าคณะทำงานในแอฟริกาซึ่งต้องสวมเครื่องป้องกันทั้วตัว พวกเขาแค่ป้องกันไม่ให้เลือดหรือของเสียจากร่างกายผู้ป่วยถูกตัวพวกเขา ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของของเหลวด้วย

"พวกเราสามารถจัดการให้มีโอกาสติดต่อของเชื้อน้อยมาก ไม่ใช่ว่าพวกเรานำเชื้อโรคเข้ามาในฝั่งอเมริกา" ไรเนอร์กล่าว

 

เรียบเรียงจาก

Ebola Doctor Reveals How Infected Americans Were Cured, Scientific American, 27-08-2014
http://www.scientificamerican.com/article/ebola-doctor-reveals-how-infected-americans-were-cured/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอลงอาญา ช่างตัดเสื้อ คดี 112 หลังฝากขัง 84 วัน

$
0
0

1 ก.ย.2557 ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน แจ้งว่า สายวันนี้ศาลอาญารัชดา ได้พิพากษาคดีของนายเฉลียว (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังวัย 50 กว่าปี อาชีพช่างตัดเสื้อในคดีความผิดตามมาตรา 112 จากกรณีอัปโหลดคลิปดีเจรายหนึ่งสู่ระบบอินเทอร์เน็ต โดยลงโทษจำคุกและให้รอลงอาญา

ทนายระบุว่า ผู้ต้องหารายนี้รับสารภาพตั้งแต่ชั้นสอบสวน วันนี้เป็นวันฝากขังครบ 7 ผลัด (84 วัน) ผู้ต้องขังถูกนำตัวเข้าฟังคำพิพากษาในห้องเวรชี้ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปได้ ทำให้ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนโทษจำคุก ทราบเพียงว่าโทษดังกล่าวได้รับการรอลงอาญา และจะได้รับการปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในช่วงเย็นวันนี้

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว์ รายงานเพิ่มเติมว่า เฉลียวได้รับการปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในช่วงค่ำ พร้อมญาติมิตรที่รอรับราว 20 คน โดยเฉลียวระบุว่าศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี เนื่องจากรับสารภาพจึงได้รับการลดหย่อนโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือ 1 ปีครึ่งและศาลให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี 

ทั้งนี้ เฉลียว อายุ 50 กว่าปี มีอาชีพเป็นช่างตัดกางเกง เขาเป็นหนึ่งในชาวบ้านธรรมดาที่มีรายชื่อปรากฏในคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 44/2557 ให้เข้ารายงานตัวในวันที่ 3 มิ.ย. เขาถูกคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหาร 7 วัน ระหว่างควบคุมตัวเขาถูกสอบสวนหลายครั้ง ครั้งละหลายชั่วโมง ในขณะที่คนอื่นๆ ที่ถูกเรียกรายงานตัวในคำสั่งฉบับเดียวกันนั้นถูกสอบ 1-2 ครั้ง และเขายังถูกนำเข้าเครื่องจับเท็จหลายครั้งด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำกำลังเจ้าหน้าที่ทหารบุกตรวจค้นบ้านซึ่งเป็นห้องแถวที่ทำเป็นร้านตัดเย็บผ้าย่านสะพานซังฮี้ ยึดคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสาร

ทหารกล่าวหาว่าเขาอาจจะเป็น “ดีเจบรรพต” แต่เขายืนกรานปฏิเสธ

ต่อมาวันที่ 9 มิ.ย.2557 หลังถูกควบคุมตัวในค่ายทหารครบ 7 วัน เฉลียวถูกนำตัวไปที่กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เพื่อตั้งข้อหามาตรา 112 จากการอัปโหลดคลิปเสียงของดีเจบรรพตไว้ใน 4Share ซึ่งเฉลียวให้การรับสารภาพ อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนอนุญาตให้กลับบ้านได้ในคืนนั้น โดยนัดหมายให้ไปพบกันที่ศาลอาญาในวันรุ่งขึ้นเพื่อขอฝากขังและยื่นขอประกันตัว

วันรุ่งขึ้นเฉลียวและครอบครัวเดินทางไปที่ศาลอาญา ญาติยื่นขอประกันตัวด้วยหลักทรัพย์มูลค่า 800,000 บาท แต่ศาลไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าเป็นการเผยแพร่ต่อข้อมูล เป็นความผิดร้ายแรง เฉลียวจึงถูกควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ



หมายเหตุ เพิ่มเติมเนื้อหา 2 ก.ย.2557

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ท่ามกลางภาวะไม่ปรกติของประเทศไทย

$
0
0

 

วันที่ 31 ส.ค.57 เรามีคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหารประเทศ ท่ามกลางการรัฐประหาร และการประกาศใช้กฎอัยการศึก ไม่รู้ว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้จะมีอายุการทำงานกี่ปี อย่างไรก็ตามระหว่างนี้ก็มีการดำเนินการทางสภานิติบัญญัติที่กำลังพิจารณา กฎหมายงบประมาณปี 2558 ด้วย ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข มีหมอ 2 ท่านมาเป็นรัฐมนตรี ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้วยในทันที ตามที่กฎหมายระบุไว้ สิ่งที่ท้าทาย รมว.สธ.และประธานบอร์ดหลักประกันสุขภาพ คือการชี้แจงเพื่อขอปรับเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวประชากรของระบบหลักประกันสุขภาพ ที่มีการแช่แข็งโดย คสช.ไม่ยอมปรับขึ้นให้ตามข้อเสนอของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ จังหวะนี้คงต้องให้เป็นบทบาทภาระหน้าที่ของประธานคนใหม่ ได้แสดงฝีมือและวิสัยทัศน์ในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน

เหตุผลที่ คสช. ไม่ปรับเพิ่มงบคือ ประเทศไทยต้องจำกัดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคม นับเป็นเหตุผลที่ไร้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในการลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคมไทยดังเป้าหมายของ คสช.ที่ต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การสมานฉันท์ การปรองดอง คนในสังคมจะปรองดองกันได้ก็ต่อเมื่อสามารถลดช่องว่างการกระจายรายได้ที่ต่างกันกว่า 15 เท่า คนรวยยิ่งรวย คนจนยิ่งจน การจัดสวัสดิการโดยรัฐเช่น ระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นการลดช่องว่างทันทีโดยคนจนไม่จนยิ่งขึ้นจากการล้มละลายในการจ่ายค่ารักษา ขณะที่คนรวยก็ไม่ล้มละลายเช่นกันเมื่อป่วยด้วยโรคค่าใช้จ่ายสูง เพราะระบบหลักประกันสุขภาพคุ้มครองดูแลคนทุกคนเสมอภาคกัน ด้วยการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายบนหลักการคนป่วยได้รับบริการ คนไม่ป่วยก็ยังไม่ต้องใช้บริการ แต่รับประกันว่าใครป่วยเมื่อไร อย่างไร จะสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทุกคนเท่าเทียมกัน การแช่แข็งงบประมาณทั้งที่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศยังไม่เกินร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง ประเทศที่จะก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศได้ต้องมีการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับประชาชนในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ด้านอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย การศึกษา และความยุติธรรม

ดังนั้น นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน และ นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศม์ ที่เข้ามารับตำแหน่ง รมว.และรมช.สธ.ในยุคไม่ปรกติของประเทศไทย จำเป็นต้องเร่งรีบสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างหลักประกันสุขภาพ ด้วยการปกป้องระบบให้ได้รับค่าใช้จ่ายรายหัวประชากรที่เหมาะสม ซึ่งจะถือเป็นผลงานที่มีคุณค่าในห้วงเวลาที่ประชาชนอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: บางชัน จันทบุรี คนไทยที่อยู่อย่างไร้แผ่นดิน(ชั่วคราว)

$
0
0


ชุมชนตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ มีหลักฐานการจัดตั้งชุมชนอ้างอิงจากใบวิสุงคามสีมาของโบสถ์วัดบางชันเมื่อปี พ.ศ. 2441 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ต่อมาในปี พ.ศ 2505 ได้มีการออกประกาศเป็นเขตป่าสงวน จึงเป็นที่มาของปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันตำบลบางชัน มีจำนวน 6 หมู่บ้าน เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 64.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 40,305 ไร่ พื้นที่เกษตร  19,050  ไร่  พื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลน โดยพื้นที่ 95% อยู่ในเขตป่าสงวน ชาวบ้านประกอบอาชีพประมง เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอย วางลอบปู อวนปู อวนลอยกุ้ง ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนมีการใช้หลักโพงพางหรือหลักเคยไว้เป็นเครื่องมือทำกิน
 
ความขัดแย้งระหว่างรัฐและชาวบ้างบางชัน
นายไพริน โอฬารไพบูลย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านปากน้ำเวฬุ  ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี กล่าวว่า สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น คือเรื่องพื้นที่ทำกิน  เนื่องจากทางการสั่งรื้อถอนหลักโพงพางเมื่อ พ.ศ. 2521 มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาในพื้นที่เพื่อรื้อถอนหลักโพงพาง ชาวบ้านมีความกังวลในการทำมาหากิน จึงได้เกิดการรวมกลุ่มขึ้นมา เพื่อที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ก็ไม่ได้มีความรู้เท่าใดนัก ยิ่งในเรื่องความรู้เรื่องกฎหมาย ทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องถูกจับดำเนินคดี ปัจจุบันก็มีการจับกุมชาวบ้านจากเจ้าหน้าที่รัฐ ปัญหาใหญ่ที่ควรได้รับการแก้ไข คือปัญหาการประกอบอาชีพเพราะเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย
 
นายชูชาติ จิตนาวา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่5 บ้าน นากุ้ง ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากปัญหาทำกิน ยังมีปัญหาน้ำกัดเซาะในปัจจุบัน ชาวบ้านไม่มีเอกสารสิทธิการถือครอง ปัจจุบันบ้านทุกหลังคาเรือนของตำบลบางชันมีเพียงบ้านเลขที่ชั่วคราว  พอน้ำเซาะคนในชุมชนก็ต้องขยายเข้าไปอยู่ในเขตป่าสงวน ทำให้ต้องทำผิดกฎหมายบุกรุกพื้นที่ไปเรื่อยๆ คำถามคือจะทำอย่างไรให้คนอยู่กับป่าได้  เพราะชาวบ้านในชุมชนก็ไม่มีใครอยากอยู่อย่างผิดกฎหมาย และสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น  สถานีอนามัย โรงเรียน วัด ทั้งหมดก็อยู่ในเขตป่าสงวน จะให้ชาวบ้านทำอย่างไรให้อยู่กับป่าได้ นี่คือปัญหาใหญ่

คำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่รัฐ
นายวินัย บุญล้อม หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่45 (ด่านเก่า-ตราด) กล่าวว่า ปัญหาในพื้นที่เรื่องของสิทธิในการถือครองที่ดินของชาวบ้านตำบลบางชัน เป็นปัญหาต่อเนื่อง เนื่องจากปี 2505 มีการประกาศให้พื้นที่ตำบลบางชัน เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จึงห้ามมีการกระทำบุกรุกพื้นที่ มีเพียงประมาณ 5% ที่ไม่อยู่ในเขตป่าสงวน  ทางหน่วยงานสถานีพัฒนาทรัพยากรฯที่ดูแลพื้นที่ มีภาพถ่ายทางอากาศเป็นหลักฐานในปี 2480 แสดงให้เห็นว่าไม่มีการจัดตั้งเป็นชุมชน แต่ปัจจุบันมีการเข้ามาอยู่อาศัยและตั้งเป็นชุมชน

ส่วนการออกโฉนดที่ดินนั้น นายวินัยบอกว่า ไม่สามารถออกให้ได้เพราะติดในข้อกฎหมายของกรมที่ดินซึ่งระบุไว้ชัดเจนว่า พื้นที่ใดจะออกเอกสารสิทธิ์โฉนดชุมชนต่างๆ จะต้องมีหลักฐานการได้มา เช่น ส.ค1 หรือมีร่องรอยการทำประโยชน์ก่อนที่จะมีประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวน จึงจะสามารถออกหลักฐานการครอบครองที่ดินได้

หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเสนอร่าง พ.ร.บ การมีส่วนร่วมของชุมชน ตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาในรัฐสภา คาดการณ์ว่าจะผ่านในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน ในเนื้อหานโยบายจะมีการจัดการพื้นที่ในชุมชน ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการทำงาน โดยแบ่งพื้นที่ไว้ 4 ส่วน แบ่งเป็น 30-30-30-10 โซนที่1จะเป็นโซนอนุรักษ์ โซนที่ 2 จะเป็นการใช้ไม้หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โซนที่ 3 พื้นที่ทำกิน และโซนที่ 4 จะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย แต่การทำงานทั้งหมดต้องรอการอนุมัติจาก ครม. และในเรื่องการรับฟังความคิดเห็น ต้องทำตามมติคณะรัฐมนตรี มาตรา 34 ที่ระบุว่าห้ามทั้งรัฐบาลและเอกชนใช้ประโยชน์จากป่าสงวนโดยเด็ดขาด ในปัจจุบันการทำงานต้องทำตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 64 เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และฉบับที่ 66 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้  โดยจะมีการตรวจตราพื้นที่การบุกรุกใหม่ กรณีชาวบ้านรายได้น้อย สามารถผ่อนผันได้ แต่ห้ามมีการขยายพื้นที่ใหม่
 
นายไพโรจน์ แสงจันทร์ หัวหน้าศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นด้านตะวันออก กล่าวว่า สำหรับปัญหาของชุมชนบางขัน เป็นปัญหาเรื่องการทำกิน ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ต้องใช้กฎหมาย เพราะเป็นข้อถือปฎิบัติ อาจจะมีใช้สำเร็จและไม่สำเร็จ ทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้อยากใช้กฎหมายกับชาวบ้าน เนื่องจากหลายครอบครัวก็หาเช้ากินค่ำ จึงมองปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องแก้ไขจากการเข้ามาร่วมมือพูดคุยกัน จัดประชุมเชิญผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่รัฐมาพูดคุย หาทางออกก่อนที่ปัญหาจะลุกลามไปมากกว่านี้
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: ‘ชุมชนบ่อแก้ว’ คนจนต้องไร้ที่ทำกิน ชะตาฟ้าลิขิต หรือ ชีวิตต้องกำหนดเอง

$
0
0
‘ชุมชนบ่อแก้ว’ ภาพแทนของหลายชุมชนซึ่งกำลังถูกหน่วยงานรัฐปิดป้ายไล่รื้อ ทางเลือกของพวกเขาคือจำนนต่อชะตาชีวิต หรือจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อสิทธิการทำกิน เพราะหากถูกไล่อีกครา พวกเขาอาจไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ทำกินอีกต่อไป
 
 
 
ตะวันทำหน้าที่แผ่ความร้อนมาตลอดวัน ยันใกล้จะสิ้นแสงทิ้งตัวลงลับขอบโลก มองออกไปไกลจนสุดเนินลาดเชิงเขา บรรยากาศโชยมาเตะต้องกายอย่างเย็นเฉียบ ความรู้สึกดูเหมือนจะถูกผสมไปด้วยความเงียบ อ้างว้าง ช่างเป็นช่วงที่มองดูเยือกเย็น หม่นหมอง เหมือนดั่งชีวิตคนเรา... ที่เขาว่าคำนวณอย่างไรก็ไม่เท่าฟ้าลิขิต เรื่องนี้จริงแท้แค่ไหนไม่ประจักษ์
 
หากจะกล่าวเฉพาะบางมุมในชีวิตของคนที่นี่ ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ของพวกเขา เปรียบเสมือนเป็นเชื้อไฟที่โหมพัด ให้ชีวิตของพวกเขาไม่เคยมอดดับไปตามอุปสรรค ไม่เคยละทิ้งผืนดินทำกินที่ถูกความไม่เป็นธรรมฉวยโอกาสประกาศเขตป่าฯ แล้วขับไล่พวกเขาออกไป พวกเขาจึงทั้งรักและหวงแหนที่จะอยู่ และต่อสู้ให้ที่ทำกินของพวกเขากลับคืนมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่น เหมือนดังที่เคยเป็น
 
 
“จะให้ทำอย่างไรได้ ยายไม่มีที่ดินทำกิน เขามาไล่เราออกไป บอกว่าเป็นพื้นที่ป่า มาขู่ว่าหากไม่ออกจะถูกจับดำเนินคดีติดคุกนะ เขาบอกพวกยายแบบนั้น ยายขบคิดมาตลอดว่า บุกรุกที่ไหน ทำกินในพื้นที่มาตั้งแต่เด็กยันเป็นสาวมีครอบครัว แต่กลับมาถูกขับไล่ ต้องมาช่วยกันประคองหอบลูกน้อยไปหารับจ้าง บางครั้งก่อนนอนในค่ำบางคืน น้ำตาไหลพรากออกมาโดยไม่รู้ตัว แม้ในขณะที่มือยังจับจอบก้มตัวลงผสมปูน คราบน้ำตายังเกาะปนกับเหงื่อไคลบนสองแก้ม ด้วยความอาวรณ์ถึงผืนดินที่เคยทำกิน” นางตัน เดชบำรุง แม่เฒ่าร่างเล็กทรวดทรงบอบบาง วัย 69 ปี บอกเล่า
 
ริ้วรอยบนใบหน้าเหี่ยวย่นไปตามวัย เปล่งเสียงแหบห้าวฟังดูมีพลัง เล่าถึงความย้อนถึงความหลังที่มักจู่โจมหวนกลับมาให้ระลึกถึงผืนดินทำกินที่ถูกยึดไปกว่า 50 ไร่ ขณะที่ยังสาวๆ เรี่ยวแรงยังพอมี ยังพอไหวที่จะเร่ร่อนไปหารับจ้าง แม้สมัยนั้นความสะดวกในการเดินทางยังลำบาก แต่จำทนต้องสู้ดิ้นรนหิ้วลูกน้อยไปเป็นแรงงานก่อสร้างถึงกรุงเทพฯ
 
ก่อนนั้นทุกวันโลกของพวกเขามีแต่ความสุข ครั้งเมื่อชีวิตยังคงผูกพันอาศัยหากินอยู่กับป่า อยู่ร่วมกับต้นไม้ อาศัยเก็บผลหมากรากไม้ หาเก็บเห็ด หน่อไม้ เด็ดยอดกระถินตำลึงริมรั้ว เคยเผื่อแผ่ เกื้อกุลกัน แต่กว่า 40 ปีมาแล้ว เป็นเรื่องน่าเศร้าใจ หลังจากที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ยึดที่ของพวกเขาไปปลูกป่ายูคาลิปตัส เมื่อปี 2521 ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องถูกอพยพออกจากพื้นที่ทำกิน บ้างไปอาศัยอยู่กับญาติ บางครอบครัวแตกสลาย กลายเป็นแรงงานรับจ้าง เพราะไม่มีที่ดินทำกิน
 
ท่ามกลางปัญหา อุปสรรค ที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้นมา มันคือความไม่ชอบธรรม ที่เบียดขับให้พวกเขากลายเป็นคนตกขอบของแผ่นดิน
 
เสียงเรียกร้องสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบกว่า 200 คอบครัว ต้องดิ้นรนต่อสู้ กระทั่งทวงคืนผืนทำดินเดิม กลับคืนมาได้ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 และจัดตั้งหมู่บ้าน ชื่อ “ชุมชนบ่อแก้ว”
 
 
กว่า 5 ปี แล้วชาวบ้านที่ได้ร่วมกันพลิกฟื้นทั้งชีวิตและผืนดิน มาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งในวันครบรอบ 3 ปีบ่อแก้ว ได้ร่วมกันประกาศเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมอินทรีย์ ทำการผลิตปลูกผักต่างๆ ทั้ง กล้วย ตะไคร้ งา ถั่วแดง ข้าวโพด และอีกหลายชนิด เพื่อให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองในระดับครอบครัวได้ โดยไม่ต้องพึ่งแหล่งอาหารจากภายนอก มีบางรายที่นำไปขายเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัว มาจนถึงวันนี้
 
“เดี๋ยวนี้มันเกิดความเศร้าใจขึ้นมาอีกครั้ง ป่าไม้มันเข้ามาติดป้ายประกาศไล่ให้พวกเรารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งพืชผลทั้งหมดออกไปภายใน 30 วัน อีกแล้ว” แม่เฒ่าบอกเล่าสถานการณ์
 
ภายใต้ชายคาแคบๆ อ้อมแขนของยายยังคงโอบกอดหลานน้อยไว้แน่น ราวกับว่าเป็นสมบัติอันมีค่าชิ้นสุดท้ายเทียบเท่ากับผืนดิน สายตาของยายทอดมองขึ้นไปบนฟ้าที่มืดครึ้มอย่างเศร้าสร้อย ไม่กี่อึดอัดใจ ยายหวนนึกถึงชีวิตลูก และหลานๆ อันเป็นสุดที่รัก เป็นลมหายใจ เป็นแม้กระทั่งชีวิตของแก...
 
น้ำเสียแม่เฒ่าขาดห้วงไปชั่วขณะ ก่อนเอ่ยความในที่อัดอั้นตันใจ น้ำตาเอ่อไหลลงมาตามแก้มที่เหี่ยวย่น ขณะที่ชี้นิ้วนำสายตาให้เหลียวมองไปตามภาพของแผ่นป้ายปิดประกาศขนาดใหญ่ที่ตั้งตระหง่านอยู่ทางเข้าชุมชนบ้านบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
 
ในวันที่โลกดูเหมือนแคบลงไปด้วยความสะดวกในเส้นทาง ตามมาด้วยระบบการสื่อสาร ทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ได้แทรกเข้าไปในทุกมุมของโลก ทว่าความทุกข์ยากของชาวบ้าน กลับถูกปิดกั้นจากข้อกฎหมาย จากภาระอันหนักหน่วงที่รัฐบาลหลายยุคสั่งสมมาให้ชาวบ้านแบกรับ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเคลื่อนไปเป็นปี
 
อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ผืนแผนดินที่ตั้งชุมชนบ่อแก้วได้ผ่านการพิสูจน์สิทธิ์จากหลายหน่วยงาน จนเป็นที่ยอมรับและมีมติร่วมกันมาหลายครั้งว่า สวนป่าคอนสารทับที่ทำกินชาวบ้าน
 
 
แต่สถานการณ์ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้น เสมือนยิ่งเป็นการกดทับความทุกข์ยากของพวกเขาให้หนักหน่วงขึ้นกว่าเดิม ด้วยว่าทางเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการปิดประกาศ โดยเนื้อหาระบุว่า อาศัยอำนาจคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า และคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 64/2557 ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 25557 เรื่องการเข้าไปบุกรุกยึดถือครอบครองในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม บริเวณป่าคอนสาร ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ เป็นการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ฐานยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่หรืออาศัยในที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถาง...
 
นายนิด ต่อทุน วัย 68 ปี ประธานโฉนดชุมชนบ้านบ่อแก้ว เล่าว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2557 ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังติดป้ายไปทั่วหมู่บ้าน ชาวบ้านได้เข้าไปสอบถามถึงที่มา ซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้อ้างแต่ว่าได้รับคำสั่งจากจังหวัดชัยภูมิ
 
“ความทุกข์ยากที่รัฐบาลโยนมาให้นั้นก็สุดจะหนักหน่วงอยู่แล้ว ผืนดินทำกินถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม และให้อุตสาหกรรมป่าไม้ได้รับสัมปทานนำต้นยูคาฯ มาปลูกทับพื้นที่ ขับไล่พวกเราออกไป พร้อมใช้กระบวนการทางยุติธรรมมาดำเนินคดี แจ้งข้อกล่าวหาบุกรุก แผ้วผางฯ วันนี้กลับมาอ้างคำสั่งไล่รื้อ ทั้งที่พื้นที่ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบมาแล้ว” เสียงห้าวๆ ก้องกังวาน จากชายใบหน้าคมสัน ริ้วรอยบนใบหน้าแสดงถึงประสบการณ์ชีวิตอันโชกโชนเอ่ย
 
ผู้เฒ่าที่ฟ้าลิขิตให้ผ่านปัญหาชีวิตมานับครั้งไม่ถ้วน นับจากสูญเสียที่ทำกินไปกว่า 30 ไร่ ได้นำการต่อสู้เรียกร้องเคียงบ่าไหล่กับพี่น้องที่ทุกข์ยากมาโดยตลอด กระทั่งได้นำขบวนคนทุกข์ยึดพื้นที่กลับคืนมาได้ นอกจากมติที่ได้รับจากทุกคะแนนเสียงที่มอบหน้าที่ให้เป็นประธานโฉนดชุมชนบ้านบ่อแก้วแล้ว สิ่งที่ติดตัวเขามากระทั่งอยู่ในชั้นการพิจารณาของศาลฎีกา คือ ตำแหน่ง ‘จำเลยที่ 1’ จากจำนวนทั้งหมด 31 คน ในคดีบุกรุกป่า
 
ประธานโฉนดชุมชน เล่าว่า ทุกช่วงของเวลาที่ผ่านมานั้น พวกเขาได้สรุปบทเรียนเกี่ยวกับการปลูกสร้างสวนป่าของหน่วยงานรัฐว่าไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของเกษตรกรอย่างพวกเขา เมื่อกลับเข้ามาทวงดินทำกินคืนมาแล้ว จึงได้ร่วมกันพลิกฟื้นผืนดินเพื่อให้เกิดความยั่งยืน พร้อมทั้งได้พัฒนาที่อยู่อาศัย ควบคู่ไปกับพัฒนาชีวิต และจัดการบริหารที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน
 
“แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้น พี่น้องของเราย่อมหวาดผวา กลัว รู้สึกไม่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตไปบ้าง แต่เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะทุกวันนี้ในหลายชุมชนทั่วประเทศกำลังถูกหน่วยงานของรัฐปิดป้ายไล่รื้อ รวมทั้งพื้นที่ชุมชนโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย สมาชิกของพวกเราที่เหลือไม่กี่วันจะครบกำหนดตามป้ายคำสั่งที่ป่าไม้นำมาปิดประกาศแล้ว ฉะนั้นทางเลือกของพวกเราคือ จะยืนหยัด ต่อสู้ เพื่อให้ข้ามผ่านไปบนทางที่ถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมาพี่น้องเราถูกปิดกั้นสิทธิในการถือครองที่ดินทำกินมาโดยตลอด หากถูกไล่ออกไปอีกครานี้ พวกเราจะไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ทำกินกันอีก” นายนิดกล่าว
 
จากป่ายูคาฯ มาจนถึงผลผลิตที่พวกเขาร่วมกันพลิกฟื้นกลับคืนมาบริการจัดการในรูปแบบการสร้างชุมชนเกษตรกรรมอินทรีย์ ถือเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้สังคม ดังนั้นพวกเขาจะรักษาผืนดินไว้ให้มีความมั่งคง และยั่งยืน สืบทอดไปสู่ลูกหลาน นี่คือคำมั่นของเกษตรกรนักสู้
 
 
แสงแรกที่จับขอบฟ้า จนค่อยๆกระจ่างขึ้น เสมือนเป็นสัญญาณแห่งการเริ่มต้นของทุกชีวิตที่นี่ ให้ตื่นขึ้นมาขยับจังหวะชีวิตในทุกๆ วัน โดยเฉพาะนับจากที่มีแผ่นป้ายปิดประกาศขับไล่ พวกเขาต้องเดินทางไปยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ  ทั้งต่อนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิฯ รวมทั้ง พล.ต.มารุต ลิ้มเจริญ ผู้อำนวยการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดชัยภูมิ (ผบ.กกล.รส.จว.ชัยภูมิ) เพื่อแจ้งข้อเท็จจริงแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
ถือเป็นการเดินทางไปขอความเห็นใจจากผู้มีอำนาจเพื่อคืนความสุขให้ประชาชน คืนสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดิน โดยหนังสือที่ยื่นมีข้อเรียกร้อง คือ 1.ให้ยกเลิกประกาศจังหวัดชัยภูมิ เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้และบุกรุกพื้นที่ป่าจังหวัดชัยภูมิ และ 2.ให้พิจารณามาตรการและแนวทางการคุ้มครองสิทธิในที่ดินและทรัพย์สินของชาวบ้านที่เดือดร้อน เพื่อให้เกิดความปกติสุขในการดำเนินชีวิต จนกว่าจะมีกระบวนการในการแก้ไขปัญหาในทางนโยบายต่อไป
 
อากาศเริ่มเย็นเฉียบ แรงลมยังคงพัดมาไม่แปรเปลี่ยน การเดินทางเพื่อร้องเรียนของผู้ได้รับผลกระทบ ดำเนินการผ่านความเหนื่อยล้ามาตลอดวัน ยันตะวันเริ่มคล้อยลงใกล้ทาบกับทิวเขาเบื้องหน้าอันยาวไกล ฝูงนกโผบินกลับคืนสู่รัง ไม่ต่างกับชีวิตของคนทำมาหากิน แสงจากเตาไฟในชุมชนบ่อแก้วกำลังถูกติดขึ้นมา บ่งบอกถึงเวลาที่กำลังเข้าสู่การประกอบอาหาร ทีละเตา สองเตา ตามทุกครัวเรือน
 
แม้ยามราตรีนี้ แสงไฟจากคนบ่อแก้ว จะค่อยๆ ดับไป ทีละดวง สองดวง จนความมืดดำเข้ามาปกคลุมในชุมชนอย่างเต็มที่ แต่ชีวิตของคนที่นี่ไม่เคยมอดดับไปตามอุปสรรค พวกเขามีหัวใจที่เสมือนเป็นเชื้อไฟที่โหมพัด ที่ต้องลุกขึ้นมากำหนดชีวิตตนเอง และก้าวข้ามไปสู่ความถูกต้อง เป็นธรรม
 
เพื่อรักษาผืนดินทำกินไว้ให้คงอยู่บนอ้อมกอดอันอบอุ่นของพวกเขา และเพื่อลูกหลานสืบไปจนตลอดชีวิต...
 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิจักขณ์ พานิช: ล้มพระพุทธเจ้า

$
0
0

 

-          ภาวะสุดโต่งแห่งศรัทธาในพุทธศาสนาไทยเป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณกาล หรือเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้?

-          พลังศรัทธาที่ขับเคลื่อนสังคมไทยเป็นสิ่งที่เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับในอดีต?

-          ถึงจุดใดที่ศรัทธาในศาสนาได้ก้าวพ้นความเมตตากรุณาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการละเมิดสิทธิต่อผู้เห็นต่างทางความคิด และพัฒนาไปสู่ความรุนแรงทางการเมืองที่กระทำต่อเพื่อนร่วมชาติได้อย่างโหดเหี้ยม?

ศรัทธาในสถาบันศาสนาคือรูปแบบหนึ่งของความรักที่ถูกบ่มเพาะและปลูกฝังในสังคมไทยอย่างเข้มข้น ศาสนาคือ “ที่พึ่งทางใจ” ศูนย์รวมแห่งการยึดมั่นถือมั่น อันเป็นข้อยกเว้นที่ไม่เคยถูกเตือนสติไว้ในคำสอนของพุทธศาสนาประจำชาติ การรับไตรสรณคมณ์ ที่ไม่ได้หมายถึง การตื่นรู้ในตน (พุทธะ) การเผชิญความจริง (ธรรมะ) หรือการเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ (สังฆะ)  แต่หมายถึงการรับเอาอุดมการณ์สูงสุดอันลบหลู่ ดูหมิ่น จาบจ้วง หรือวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้เป็นสรณะ พุทธศาสนาไทยจึงถูกทำให้กลายเป็นลัทธิอำนาจนิยมอันปราศจากความตื่นรู้ ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ขัน และความรักความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ในประเทศไทย แม้แต่สติ๊กเกอร์ LINE ก็กลายเป็นวัตถุต้องห้ามอันขัดต่อศีลธรรมอันดีไปได้ราวกับต้องคำสาป การออกมาพิทักษ์ปกป้องพุทธศาสนาของกลุ่มชาวพุทธไทยในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้เรายังเคยเห็นการรณรงค์เรียกร้องให้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการต่อกรณี “หมิ่นศาสนา” อยู่บ่อยครั้ง  ไม่ว่าจะเป็น กรณีพระเกษมเหยียบฐานและใช้มือตบหน้าพระพุทธรูป กรณีหอศิลป์ในเมืองนอริช ประเทศอังกฤษ วางกล้วยหอมและไข่ไก่สองฟองบนตักพระพุทธรูป นิตยสารฉบับหนึ่งโชว์นางแบบเปลือยอกถ่ายรูปคู่พระพุทธรูป การลงสีพระพุทธรูปเป็นลายแม็คโดนัลด์ หรือ การล้อเลียนชีวิตพระศาสดาในการ์ตูนอนิเมะเรื่อง Saint Young Man เป็นต้น 

ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน มีผู้ร่วมลงชื่อรณรงค์ให้ยกเลิกการจำหน่ายสติ๊กเกอร์ล้อเลียนพระพุทธเจ้ากว่า 7000 รายชื่อ พลังแห่ง “มวลมหาพุทธศาสนิกชน”ก่อตัวขึ้นเป็นแนวร่วมตามอารมณ์ได้รวดเร็วรุนแรงราวกับพายุไต้ฝุ่น ประหนึ่งว่าประเทศชาติกำลังประสบภัยก่อการร้ายครั้งยิ่งใหญ่ กระทบกระเทือนศูนย์รวมจิตใจคนไทยทั้งชาติ

สติ๊กเกอร์ล้อเลียนพระพุทธเจ้าที่ขณะนี้ถูกระงับการจำหน่ายในประเทศไทยไปแล้วนั้น ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยนักออกแบบชาวญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใช่ว่าคนญี่ปุ่นเขานึกอยากจะดูแคลนศาสนาพุทธหรืออย่างไรหรอกนะครับ เพียงแต่เขาไม่ได้มีทัศนคติไปในทางพิทักษ์ปกป้องพระศาสนาเหมือนในบ้านเราเท่านั้นเอง

เมื่อศักดิ์ศรีของชาติไม่ได้ผูกโยงอยู่กับอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันหนึ่งสถาบันใดอันลบหลู่ดูหมิ่นไม่ได้ ทว่าสถาบันทางสังคมของเขาต่างรู้จักปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ ความเชื่อทางศาสนาก็เหมือนความเชื่ออื่นๆ ที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยคุณค่าของตัวมันเอง โดยไม่ต้องมีใครไปโอบอุ้มหรือยกไว้ให้อยู่สูงเกินจริง เมื่อศาสนาอยู่ในโลกของความเป็นจริง ศาสนาของประชาชนก็มีชีวิตชีวาและเรียนรู้ที่จะอยู่กับผู้คนในสังคมสมัยใหม่อย่างไม่แปลกแยก พลังศาสนธรรมแบบโลกวิสัยงอกงามบนพื้นฐานของหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค  ความเชื่อทางศาสนามีความสำคัญเท่าเทียมกับศิลปะวิชาการด้านอื่นๆ เปิดกว้างต่อเสรีภาพในการตีความ การชื่นชมให้คุณค่า และการวิพากษ์วิจารณ์  ส่วนบุคคลอันเป็นที่เคารพศรัทธาทางศาสนาก็มีความเป็นคนเท่ากันกับคนอื่นๆ ด้วย  

เวลาไปเยี่ยมชมวัดในประเทศญี่ปุ่น อย่างที่คามาคุระหรือนารา ซึ่งมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ (ไดบุตสึ) ให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวเข้าไปสักการะและชื่นชมความงดงาม หากเข้าไปในร้านขายของที่ระลึก เราจะพบกับสินค้ากิ๊บเก๋คาวาอิมากมาย น่าสังเกตครับว่า สินค้าเหล่านั้นไม่ใช่พระเครื่อง ตะกรุด ของขลัง อันแสดงออกถึงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าอย่างที่เห็นกันเกลื่อนกลาดในวัดไทย แต่เราจะพบได้กับพระพุทธรูปหรือภาพไดบุตสึน่ารักๆ ที่มีใบหน้าเป็น Hello Kitty  หรือตัวการ์ตูนต่างๆ คุกกี้ไดบุตสึ ลูกกวาดไดบุตสึ ถุงเท้าไดบุตสึ หรือแม้แต่ เบียร์ไดบุตสึ!!!  เรียกได้ว่าเมื่อลองเปรียบเทียบกันแล้ว กรณีสติ๊กเกอร์ไลน์รูปพระพุทธเจ้านั้นดูจิ๊บจ๊อยไปเลย

การที่พุทธศาสนาในญี่ปุ่นสามารถเอาพระพุทธเจ้ามาล้อเล่นได้อย่างเป็นกันเอง ไม่ได้แสดงถึงความเสื่อมของพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นอย่างที่ชาวพุทธไทยรู้สึกเป็นเดือดเป็นร้อน แต่แทนที่จะแสดงออกถึงความศักดิ์สิทธิ์สูงส่ง จนถึงขนาดว่าแตะต้อง เข้าใกล้ กระทั่งทำความเข้าใจไม่ได้ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป หรือแม้แต่พระภิกษุญี่ปุ่น มีเอกลักษณ์อยู่ที่ “ความสาธารณ์” สถานะอันธรรมดาสามัญของพุทธศาสนาในญี่ปุ่นสอดคล้องกับหลักคำสอนมหายาน มุ่งเน้นไปที่ความกรุณาและการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์ การล้อได้ เล่นได้ หยอกได้ ขำได้กับพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระดับสายตาและเป็นมิตร อีกทั้งยังเป็นการท้าทายการยึดมั่นถือมั่นในอัตตา หรือมายาคติความศักดิ์สิทธิ์ของรูปเคารพทั้งหลายในฐานะที่พึ่งภายนอกตัวเราอีกด้วย สถานะความเป็น “ที่พึ่งทางใจ” หรือ “ความดีสูงสุด” ถูกแทนที่ด้วยความสัมพันธ์อย่างเป็นกันเองกับ “พุทธะ” ในฐานะพลังการตื่นรู้ที่มีอยู่แล้วในตัวคนทุกคน ข้ามพ้นสถานะของความเป็นพระหรือความเป็นเจ้า พุทธะคือความธรรมดาและคนธรรมดา ร่วมทุกข์ร่วมสุขอย่างตื่นรู้กับผู้คนในทุกบริบทอย่างไม่กลัวสกปรกหรือแปดเปื้อน คุณค่าทางจิตวิญญาณของผู้ปฏิบัติธรรมเกิดขึ้นจากการฝึกใจ ไม่ใช่เกิดขึ้นจากอำนาจ  

ยังจำงานศิลปะ “ล้มพระพุทธเจ้า” ในเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมัน เมื่อสองปีก่อนกันได้ไหมครับ พระพุทธรูปถูกจัดวางให้ล้มหงายบนพื้นที่สาธารณะ แถมยังเปิดให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ขึ้นไปปีนป่ายบนพระพุทธรูปได้ งานนี้ก็เช่นกันที่มีพระภิกษุและชาวพุทธไทยกลุ่มหนึ่งแสดงความไม่พอใจ มองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการหมิ่นศาสนา และมีการรวมตัวเรียกร้องให้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการขบวนการล้มพระพุทธเจ้านั้นเสีย แต่สำหรับผม งานแสดงชิ้นนั้น คืองานศิลปะร่วมสมัยที่มีความงดงามในตัวมันเอง คนทั่วไปที่เดินผ่านมาพบเห็นพระพุทธเจ้าล้มสามารถเข้าไปเล่นได้ แตะได้ หยอกได้ ยิ้มได้ และหัวเราะได้ การได้เห็นภาพเด็กๆ ปีนป่ายพระพุทธรูปล้มหงายในพื้นที่สาธารณะช่วยเปิดจินตนาการ สร้างบรรยากาศอันผ่อนคลายและเปิดกว้างในใจได้อย่างน่าประหลาด

ตรงกันข้ามกับภารกิจการขยายมณฑลการพิทักษ์คุ้มครองพุทธศาสนาแบบไทยๆ ซึ่งดูแล้วก็ไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่าการพยายามเบ่งอำนาจศาสนาให้ครอบคลุมไปทั่วทั้งจักรวาลเช่นนี้ จะเกิดประโยชน์อะไรแก่ใครบ้าง แต่ที่แน่ๆ การรณรงค์ต่อต้านการหมิ่นศาสนาในแต่ละครั้ง ได้สร้างบรรยากาศความกลัวและความไม่เป็นมิตรอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในสังคมพุทธ  นอกจากจะแสดงออกถึงตัวกูอันใหญ่โต ราวกับเป็นศาสนาพุทธของกูแต่เพียงผู้เดียวแล้ว การเรียกร้องให้ใช้อำนาจรัฐจัดการพวกหมิ่นศาสนา ดูจะไม่ต่างอะไรกับการเรียกร้องให้ใช้ทุกวิถีทางจัดการกับพวกขายชาติหรือพวกล้มเจ้า เรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่ศรัทธาในศาสนากลายเป็นส่วนหนึ่งของความบ้าคลั่ง การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และการกำจัดผู้คนที่เห็นต่างทางการเมืองได้อย่างน่าเศร้า

เมื่ออำนาจค้ำจุนความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันคืออวิชชา อาจถึงเวลาที่พระพุทธเจ้าจะล้มลง เพื่อเปิดพื้นที่ให้มนุษยธรรมและความรักในเพื่อนมนุษย์สามารถกระจายออกไปได้ในแนวราบ 

...ก้าวแรก คือการปีนข้ามภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมลูกนี้ไปให้ได้   

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล

$
0
0

"ผมไม่ลาออกครับ เพราะผมเป็นข้าราชการประจำ"

1 ก.ย.57 ปลัดสำนักนายกฯ ตอบคำถามว่าจะลาออกหรือไม่ หลังควบตำแหน่ง รมต.สำนักนายกฯ อีก

อานันท์ขายไทยออยล์โปร่งใส ?

$
0
0

 

กรณีหนึ่งที่นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความโปร่งใสของตน ก็คือการขายโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์  เรามาลองตรวจสอบย้อนหลังกันดูว่ารัฐบาลของนายอานันท์ โปร่งใสจริงหรือไม่  ตั้งแต่ในประเด็นการรีบร้อนขาย การเลือกบริษัทประเมินราคา ราคาที่ขายเหมาะสมหรือไม่ และอื่นๆ  ทั้งนี้ผู้เขียนได้นำข่าวคราวเกี่ยวกับไทยออยล์ในหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงที่ผ่านมา มาวิเคราะห์ประกอบ

ทำไมจึงรีบร้อนขาย          

ประเด็นแรกที่มีผู้ตั้งคำถามมากที่สุดก็คือ ทำไมจึงรีบร้อนขาย ทำไมไม่รอรัฐบาลจากการเลือกตั้ง โดยถือเป็นการขายที่ "ฉุกละหุก" คือมีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขายในวันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2535 (ปกติจะประชุมทุกวันอังคาร) แล้วในวันรุ่งขึ้น (ศุกร์ที่ 11 กันยายน 2535) ก็ทำสัญญาซื้อขายเรียบร้อย [1]  ทั้งนี้ก่อนวันเลือกตั้งใหญ่ 13 กันยายน เพียง 2 วันเท่านั้น "โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดอันถือว่าไม่ได้รับความเห็นชอบจากทนายแผ่นดิน" [2]  นี่จึงเป็นที่มาของคำครหา

สำหรับคำชี้แจงของนายอานันท์ก็คือ "ถ้าเผื่อว่าจะสงสัย มันก็สงสัยกันได้ทุกอย่างล่ะครับ...คือผมอยากเรียนข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งผมไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจระบบวิธีการบริหารราชการแผ่นดินกันหรือไม่ อาจจะเป็นเพราะความเคยชินในอดีตหรือเปล่าผมไม่ทราบ แต่ผมรับประกันได้ว่า ในขณะที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรี . . . ผมนี่เป็นคนที่ไม่ใช้อำนาจเด็ดขาด ในเรื่องของการบริหารงาน ผมจะฟังเสียงทุกคน. . ." [3]  คำชี้แจงที่มีผู้ถามว่าทำไมต้องขายนี้ ดูจะไม่เป็นเหตุเป็นผลเท่าที่ควร

วิธีการคัดเลือกบริษัทประเมิน

ในการคัดเลือกบริษัทประเมินนั้น "ให้กระทรวงอุตสาหกรรมคัด 1 ราย ไทยออยล์คัด 1 ราย และให้บริษัททั้งสองร่วมกับคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศอย่างละ 1 ราย" [4]  ประเด็นที่พึงพิจารณาก็คือ

          1. บริษัทที่ทำประเมิน ไม่ใช่บริษัทวิชาชีพประเมิน เป็นสถาบันการเงินหรือหน่วยงานอื่น ซึ่งคงไม่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นของตนเอง อาจไปว่าจ้างบริษัทประเมินจริง ๆ มาทำการประเมินให้ในนามหรือเปล่าก็ไม่อาจทราบได้

          2. บริษัทประเมินค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโรงกลั่นในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีมากมาย แต่กลับไม่จ้าง อาจเป็นเพราะทางราชการไม่รู้จักวิชาชีพนี้ จึงจ้างสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพนี้โดยตรงมาดำเนินการแทน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง

          3. ยิ่งกว่านั้นการว่าจ้างบริษัทภัทรธนกิจซึ่งเป็นบริษัทในเครือกสิกรไทย และเกี่ยวพันกับนายเกษม จาติกวณิช [5] จึงไม่เป็นการสมควร แม้ราคาที่ประเมินได้จากบริษัทนี้จะสูง แต่ราคาจริงโดยบริษัทวิชาชีพประเมิน ก็ยังอาจสูงกว่านี้ก็เป็นได้  และยังไม่ใช่บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน

ราคาที่ประเมินเหมาะสมหรือไม่

ราคาที่ประเมินได้เฉพาะตัวโรงกลั่นคือ 200, 196, 140 และ 106 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ คณะกรรมการได้แล้วเอาสูงสุดและต่ำสุดออก เฉลี่ยได้ 168 ล้านเหรียญสหรัฐ วิธีการนี้ไม่เหมาะสมกับความเป็นจริง

          1. ในการพิจารณารายงานประเมินค่าทรัพย์สิน ไม่ใช่พิจารณาแต่เฉพาะตัวเลขที่ประเมินได้  ความจริงควรดูที่มาที่ไปว่าเขาคำนวณอย่างไร มีอะไรน่าเชื่อถือหรือไม่ ให้มีการตอบคำถามและประชุมร่วมกันทุกฝ่าย [6]

          2. ในแง่หนึ่งถ้าพิจารณาจากตัวเลขที่ปรากฏ  จะเห็นได้เบื้องต้นว่าราคาที่ประเมินได้ใกล้เคียงกัน 2 บริษัทคือ 196 และ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็มีความเป็นไปได้ที่เป็นราคาที่แท้จริงที่น่าจะเกาะอยู่ในกลุ่มนี้มากกว่าตัวเลขที่แตกต่างออกไปที่ 140 และ 106 ล้านบาท  ดังนั้นมูลค่าที่ประเมินได้น่าจะเป็น 198 ล้านบาท แทนที่จะเป็น 168 ล้านเหรียญสหรัฐหรือต่างกันถึง 30 ล้านเหรียญหรือ 758 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามนายอานันท์กลับสรุปเรื่องราคาประเมินว่า "ผลการประเมินราคาก็ต่ำ เราก็บอกว่าเราไม่ใช้ราคานั้นแล้ว เรามาได้ราคาหนึ่ง ซึ่งมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์คือ 8 พันกว่าล้านบาท" [3]  กรณีนี้เป็นการบิดเบือนหรือไม่ ราคาที่ประเมินได้คือราคาตัวโรงกลั่น ส่วนราคาที่สูงกว่านั้นรวมค่าเช่าที่ดินและหลังจากหักค่าเสื่อม และราคาที่ซื้อจริงไม่ได้มากกว่าเกิน 100% ตามที่นายอานันท์อ้างแต่อย่างใด

ราคาที่ซื้อขายกันเหมาะสมหรือไม่

ราคาที่มีการซื้อขายกันสุดท้ายตีไว้ 348.64 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 8,803.16 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าเช่าที่ดินโรงกลั่นตามสัญญาและค่าตัวโรงกลั่นที่ 1 และ 2 รวมทั้งส่วนควบอื่นๆ  ราคานี้มีข้อน่าสงสัยคือ

          1. ถ้านายวัฒนา อัศวเหมซึ่งในขณะนั้นเสนอซื้อ 15,000 ล้านบาท จะได้แต่เครื่องและให้ย้ายออกในเวลา 6 เดือน [5] ทั้งที่ๆ ไทยออยล์ซื้อ รวมค่าเช่าที่ดินและส่วนควบอื่น  การตอบโต้ของนายเกษมเช่นนี้แสดงถึงการมีเลศนัย ไม่โปร่งใสหรือไม่

          2. ถ้านิติบุคคลอื่นเสนอซื้อที่ 15,000 ล้านบาท จะได้เฉพาะตัวโรงงานแล้วให้รื้อไป ใช้ท่าเรือก็ไม่ได้ แสดงว่าการที่อยู่ติดตรึงกับไทยออยล์ มีมูลค่ามากกว่านี้ใช่หรือไม่ [7] [8]

          3. ในการหักค่าเสื่อมอาคารจนเป็นมูลค่าซากนั้น เป็นการหักโดยไม่คำนึงถึงอายุขัยทางเศรษฐกิจซึ่งน่าจะสูงล้ำกว่าอายุขัยทางกายภาพหรือไม่ อาคารโรงกลั่น ซึ่งได้รับการบำรุงรักษาอย่างดีเพื่อให้ใช้งานได้ น่าจะมีอายุขัยในการใช้งานนานกว่าและมีมูลค่ามากกว่าที่คาดไว้หรือไม่

จะเห็นได้ว่าไทยออยล์ได้ประโยชน์เพิ่มเติมหลังจากการซื้อโรงกลั่น ถือเป็น Goodwill ตามรายงานของไทยออยล์เองก็กล่าวว่า "ภายหลังจากการขยายกิจการโรงกลั่นน้ำมันครั้งที่ 2 เป็นที่เรียบร้อยในปี 2536 โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ กลายเป็นโรงกลั่นน้ำมันเดี่ยว (Single-Site) ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ด้วยกำลังการกลั่นน้ำมันดิบถึง 190,000 บาร์เรลต่อวัน" [9] เป็นการเพิ่มมูลค่าขึ้นซึ่งรัฐบาลไม่ได้มีส่วนได้ด้วย

ที่ดินที่เช่าจากกรมธนารักษ์ ซุกหรือไม่

ตามข่าวที่รวบรวมไว้ มีผู้ถามว่าในเมื่อสัญญาเช่าที่ดินโรงกลั่นจะหมดลงในอีก 8 ปีข้างหน้า ทำไมรัฐบาลไม่จัดประมูลใหม่  ทำไม่ไม่ขายให้คนอื่นมาดำเนินการ  ทำไมรัฐบาลโดย ปตท และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่แล้ว ทำไมให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาบริหารไทยออยล์ [10] ข้อนี้อาจยังข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสต่อสังคมอยู่พอสมควร

แต่ประเด็นหลักที่น่าสนใจก็คือ การที่กรมธนารักษ์ให้เช่าที่ดินแก่ไทยออยล์อีก 30 ปีนับแต่นั้นและจะหมดอายุในปี 2565 มีค่าเช่าเท่าไหร่ไม่เป็นที่เปิดเผย  มีใครไปประเมินค่าทรัพย์สินอย่างเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับและเปิดเผยต่อสังคมหรือไม่  ข้อนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการเช่าระยะยาว และเป็นที่ตั้งโรงกลั่นสำคัญซึ่งมีมูลค่าสูง ไม่ใช่การเช่าที่ราชพัสดุสำหรับการทำนา ทำสวน  มูลค่าที่เช่านี้น่าจะสูงมาก แต่ไม่ได้อยู่ในจำนวนเงิน 8,803.16 ล้านบาทที่ขายโรงกลั่นไป  นี่อาจถือเป็นประเด็นสำคัญของความไม่โปร่งใสของนายอานันท์หรือไม่

นอกจากนั้นยังมีข้อพึงพิจารณาว่า จริงหรือไม่ที่รัฐบาลอานันท์เอื้อประโยชน์ให้กับไทยออยล์ โดยนายอานันท์สั่งให้กระทรวงคมนาคมลดอาณาเขตน่านน้ำท่าเรือแหลมฉะบังลงจาก 80 ตารางกิโลเมตรเหลือ 40 ตารางกิโลเมตรทำให้ท่าเรือไทยออย์ไม่ต้องจ่ายค่าผ่านให้กรมเจ้าท่า [7] เป็นการลดรายจ่ายให้กับไทยออยล์  หรือกรณีที่ทำไมไทยออยล์จึงตระเตรียมเงินซื้อเกือบหมื่นล้านบาทได้ทันที ทั้งนี้ไทยออยล์อ้างว่าเป็นเงินสำรองไว้เพื่อซื้อน้ำมันและเพื่อลงทุนในหน่วยกลั่นที่ 4 ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้คงพิสูจน์ได้ยาก [11]

บทสรุปของความโปร่งใสหรือขมุกขมัว?

ข้อน่าสังเกตหนึ่งก็คือรัฐมนตรีของนายอานันท์ปกป้องไทยออยล์หรือไม่  เช่น นายวีระ สุสังกรกาญจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการอุตสาหกรรมที่ได้ชื่อว่ามีประวัติซื่อสัตย์คนหนึ่งกล่าวว่า โรงกลั่นนี้ไม่ใช่ของรัฐ แต่ไทยออยล์สร้างแต่ให้รัฐเมื่อครบสัญญาโดยรัฐไม่ต้องเสียอะไรเลย [4]  การกล่าวเช่นนี้อาจดูคล้ายถูกต้องแต่ผิดถนัด เพราะตามกฎหมาย บรรดาอาคารทั้งหลายที่ก่อสร้างบนที่ดินเช่าระยะยาว ย่อมต้องตกเป็นของเจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า (เว้นแต่จะมีการทำสัญญาเป็นอื่น)  ท่านรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์กลับมองว่าเป็นทรัพย์สินของไทยออยล์ 

ส่วนนายเกษมชี้แจงเรื่องความโปร่งใสว่า "คนที่คิดว่าไม่โปร่งใสก็คงจะเป็นการดูถูกการทำงานของ 2 ปลัดกระทรวงกับ 5 รัฐมนตรีเป็นแน่" [11] ถือเป็นการชี้แจงที่ดู "กำปั้นทุบดิน" ไม่เป็นเหตุเป็นผลเท่าที่ควร  เป็นการอ้างตัวบุคคลมาเฉย ๆ เข้าทำนอง "อมพระมาพูด" หรือไม่  ยิ่งกว่านั้นนายเกษมยังกล่าวว่า "วันเซ็นสัญญาก็ออกข่าวไปทั่วประเทศ ไม่มีอะไรปกปิด แล้วจะว่าดำเนินการไม่โปร่งใสอย่างไร" [12]  ซึ่งการออกข่าวไม่ได้แสดงถึงความโปร่งใสแต่อย่างใด

เรื่องนี้ผ่านไป 22 ปีแล้ว แต่ยังมีผู้กังขาอยู่  ผู้เขียนจึงได้รวบรวมหลักฐานจากข่าวคราวเหล่านี้มานำเสนอ  ส่วนจะมีข้อสรุปเป็นอย่างไรคงต้องมีหลักฐานที่แน่ชัดมากกว่าข่าวที่ปรากฏ และคงขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน  เพียงแต่ผู้เขียนให้ข้อสังเกตไว้ถึงความไม่สมเหตุสมผลบางประการเท่านั้น

 

อ้างอิง

[1]   สภายันกัดไม่ปล่อย ขายไทยออยล์ฉาว วัฒนาท้ารับซื้อเอง/ย้ำการซื้อขายมีพิรุธเหมือนฮั้ว สยามรัฐ 9 ก.พ.36 น.3.

[2]   แฉขายไทยออยล์กลิ่นฉึ่ง มวลชน-ชาติไทยตามเช็ดรัฐบาลอานันท์/เป้าถล่ม'สิปปนนท์' สยามรัฐ 3 ธ.ค.35 น.3.

[3]   อานันท์ ปันยารชุน เคลียร์ข้อกล่าวหา'ไม่โปร่งใส'กรณีขายโรงกลั่นอื้อฉาว 8,500 ล้าน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ 39,47 (25 เม.ย.-1 พ.ค.36) 10-11.

[4]   พลิกแฟ้ม'โรงกลั่นไทยออยล์' นักการเมืองไร้กึ๋น ฤาอานันท์ไม่โปร่งใส ประชาชาติธุรกิจ 18-20 ก.พ.36 น.12.

[5]   เกทัพวัฒนาซื้อไทยออยล์ 1.5 หมื่นล้าน ได้แต่เครื่อง ฐานเศรษฐกิจ 11-13 ก.พ.36 น.1.

[6]   กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล. รายงานประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ อย่าดูเพียงบันทัดสุดท้าย. www.thaiappraisal.org/thai/standard/standard04.htm

[7]   'ซูเปอร์เค'รับคำท้าทายฝ่ายค้าน พร้อมขายโรงกลั่นไทยออยล์ 1.5 หมื่นล./แถมกลั่นน้ำมันให้อีก 6 เดือน สยามรัฐ 10 ก.พ.36 น.3.

[8]   วัฒนาเร่งเครื่องไม่แตะเบรก กลับคำไทยออยล์เน่าไม่ซื้อ สยามรัฐ 11 ก.พ.36 น.16.

[9]   ส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/56/20080799T05.DOC

[10] วัฒนายันเอาจริงซื้อไทยออยล์ 1.5 หมื่นล้าน สยามรัฐ 10 มี.ค.36 น.2.

[11] ไทยออยล์ขายโรงกลั่น ใครเงินหนายินดีขาย สยามรัฐ 6 ก.พ.36 น.7.

[12] 'ซูเปอร์เค'-ไขปริศนาเรื่องวุ่น ๆ ทำไมต้องซื้อ-ขายโรงกลั่น? ประชาชาติธุรกิจ 7-10 ก.พ.36 น.35.

[13] ปตท.ติงหนี้'ไทยออยล์'อุปสรรคหลักแผนจ้างกลั่น ผู้จัดการรายวัน 26 ก.พ.42 น.5.

[14] เกษม จาติกวณิช นำไทยออยล์สู้ศึกโรงกลั่นเสรี ธุรกิจก้าวหน้า 6,69 (เม.ย.37) 86-92.

[15] เบื้องลึกวิวาทะ'เกษม-วัฒนา' ประชาชาติธุรกิจ 18-20 ก.พ.36 น.12.

[16] เลหลังโรงกลั่นไทยออยล์ ใคร? ได้ประโยชน์ ฐานเศรษฐกิจ 11-13 ก.พ.36 น.22.

[17] อวสาน ซูเปอร์เค? ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15-21 ก.พ.36 น.1.

[18] ไทยออยล์: ตำนานน้ำมันไทยที่ควรจดจำ http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1457

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจฮ่องกงใช้สเปรย์พริกไทยสลายชุมนุมกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย

$
0
0

ฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงชุมนุมต่อต้านและเข้าไปตะโกนไล่ขณะที่ผู้มีตำแหน่งจากทางการจีนกำลังปราศรัย เนื่องจากไม่พอใจที่ทางการจีนยังไม่ให้ 'ประชาธิปไตยเต็มใบ' จนตำรวจพยายามสลายการชุมนุมด้วยสเปรย์พริกไทย


1 ก.ย. 2557 สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจในฮ่องกงใช้สเปรย์พริกไทยสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมบุกฝ่าจุดตรวจเข้าไปในสถานที่ปราศรัยของเจ้าหน้าที่ทางการจีนหลังมีการประกาศว่าทางการจีนจะไม่ให้เขตบริหารพิเศษฮ่องกงซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมอังกฤษได้รับประชาธิปไตยอย่างเต็มที่

ขณะเกิดเหตุ หลี่เฟย รองเลขาธิการสภาประชาชนจีนกำลังปราศรัยอยู่นอกตัวอาคาร แต่กลุ่มผู้ประท้วงและ ส.ส. ฮ่องกง ตะโกนรบกวนการพูดปราศรัยจนต้องมีการระงับการปราศรัยชั่วคราว หนึ่งในกลุ่มผู้ประท้วงคือเหลียงกวอกฮุง ส.ส. ผู้ต่อต้านทางการจีน ผู้ตะโกนเรียกร้องให้ผู้ปราศรัยลงจากแท่นพร้อมทั้งชูมือขึ้นกลางอากาศ

จากนั้นจึงมีผู้ชุมนุมเข้ามาสมทบกับเหลียงเหลียงกวอกฮุง มีผู้ชุมนุมคนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งกางป้ายผ้าที่หน้าแท่นปราศรัยของหลี่เฟยพร้อมกับตะโกนว่าต่อว่ารัฐบาลกลางของจีนว่า "รัฐบาลกลางผิดคำสัญญา ช่างน่าละอาย"

ก่อนหน้านี้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (31 ส.ค.) ทางการจีนปฏิเสธข้อเรียกร้องของผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกงซึ่งเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ได้อย่างเสรี ทำให้ผู้คนในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงจำนวนมากไม่พอใจ

แม้ว่าสภาประชาชนแห่งชาติจีนจะอนุญาตให้ฮ่องกงเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดคนใหม่ได้ในปี 2560 ที่จะถึงนี้ แต่ก็ยืนยันว่าทางการจีนจะเป็นผู้สรรหาผู้สมัครชิงตำแหน่งเอง หลังจากการประกาศนี้ กลุ่มนักกิจกรรมก็แสดงความไม่พอใจและพากันประกาศว่าจะเกิดยุคสมัยของ "อารยะขัดขืน" เกิดขึ้นโดยวางแผนจะไปปักหลักประท้วงตามย่านการค้านานาชาติ

อย่างไรก็ตาม ร็อบ แม็กไบร์ด นักข่าวอัลจาซีรารายงานจากในฮ่องกงว่า มีฝ่ายผู้ชุมนุมสนับสนุนทางการจีนพากันชุมนุมภายในเมืองซึ่งมีจำนวนมากกว่าผู้ชุมนุมอีกฝ่ายหนึ่ง กลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนทางการจีนต้องการให้ฮ่องกงยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลจีนและไม่อยากให้สร้างความโกรธเคืองต่อรัฐบาลกลาง

ในการปราศรัย หลี่เฟยซึ่งพูดด้วยภาษาจีนกลางในเมืองที่คนส่วนใหญ่พูดภาษาจีนกวางตุ้งกล่าวว่าทางการจีนจะไม่ทนต่อผู้นำที่ไม่จงรักภักดีต่อจีนแผ่นดินใหญ่ และบอกว่าจะไม่เลือกคนเหล่านี้เป็นผู้สมัครเลือกตั้ง

"ผู้ที่ต้องการให้ฮ่องกงมีผู้แทนทางการเมืองอย่างอิสระ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบสังคมนิยมในประเทศนี้จะไม่มีอนาคตทางการเมือง" หลี่เฟยกล่าว

ก่อนหน้าการปราศรัยมีนักศึกษาจำนวนมากไปประท้วงที่หน้าโรงแรมที่หลี่เฟยอาศัยอยู่ ทำให้เขาซึ่งเพิ่งเดินทางจากกรุงปักกิ่งไปยังฮ่องกงต้องฝ่าฝูงชนเข้าไป

หลังจากที่ทางการจีนได้รับคืนเกาะฮ่องกงจากอังกฤษในปี 2540 ฮ่องกงยังคงมีเสรีภาพอยู่บางส่วน เช่น สิทธิในการชุมนุมและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีในจีนแผ่นดินใหญ่


เรียบเรียงจาก

Hong Kong police disperse pro-democracy group, Aljazeera, 01-09-2014
http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2014/09/hong-kong-police-disperse-pro-democracy-group-20149142031693583.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารสั่งงดจัดแถลงข่าวสถานการณ์สิทธิ ‘ความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุง’

$
0
0

2 ก.ย.2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ท.ภาสกร กุลรวีวรรณ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ได้ทำจดหมายแจ้งขอความร่วมมือให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน งดจัดกิจกรรมแถลงข่าวและเสวนา “ความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุง” ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นในวันนี้ เวลา 14.00 น.ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหากมีเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ประสบปัญหาการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในห้วงที่ผ่านมา หรือข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนในห้วงต่อไปให้ดำเนินการผ่านศูนย์ดำรงธรรม (สายด่วน 1567)

ผู้สื่อรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้จัดงานได้อีเมล์แจ้งสื่อมวลชนว่าได้รับจดหมายดังกล่าวในวันนี้เวลา 11.39 น. ผ่านทางโทรสาร อย่างไรก็ตาม ทางคณะผู้จัดงานจะคงไปยัง FCCT เพื่อรอรับเอกสาร (ตัวจริง) กับทางตัวแทน คสช. ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป 

เวลา 12.30 น. มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมากกว่า 10 นายเข้าดูแลพื้นที่ชั้น 1 ของอาคารจัดงาน

ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดโดยศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และเอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐบาลจีนใช้วิธีให้ของกำนัล หนุนชาวฮั่น-อุยกูร์ แต่งงานข้ามเชื้อชาติ

$
0
0

ทางการจีนเสนอให้เงินราว 10,000 หยวนต่อปีและสิทธิพิเศษด้านอื่นแก่คู่สมรสข้ามเชื้อชาติในพื้นที่ซินเจียงซึ่งมีความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ แต่ก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นความพยายามหลบเลี่ยงประเด็นละเมิดสิทธิฯ และไม่คิดว่าแค่การเอาวัตถุมาล่อจะคลี่คลายความขัดแย้งได้จริง


2 ก.ย. 2557 ในพื้นที่มณฑลซินเจียงของประเทศจีนซึ่งมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างชาวเชื้อสายฮั่นกับชาวเชื้อสายอุยกูร์ ทางการจีนพยายามใช้นโยบายให้เงินกำนัลแก่คู่แต่งงานข้ามเชื้อชาติเพื่อดูดกลืนอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อยอุยกูร์

สำนักข่าวเดอะการ์เดียนรายงานว่า ทางการจีนเสนอให้เงินกำนัลมูลค่า 10,000 หยวน (ราว 50,000 บาท) ต่อปีแก่คู่สมรสที่มีเชื้อสายต่างกันในช่วง 5 ปีแรกหลังการแต่งงาน นอกจากนี้ยังมีการเสนอเงินช่วยเหลือค่าที่อยู่อาศัย ค่าการศึกษา และค่าบริการสาธารณสุข ซึ่งมีประกาศผ่านเว็บไซต์บริหารท้องถิ่นชุมชนฉีโม

รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองเฉียงคู่เล่อกล่าวในเชิงสนับสนุนว่า การแต่งงานข้ามเชื้อชาติจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน คบค้าสมาคม และการผสมผสานกันของกลุ่มเชื้อชาติ เจ้าหน้าที่รัฐอีกรายหนึ่งยังยืนยันว่านโยบายนี้เป็นความพยายามส่งเสริมความกลมเกลียวของกลุ่มเชื้อชาติ

ซินเจียงเป็นมณฑลที่มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถานและอินเดีย มีชาวเชื้อสายอุยกูร์ซึ่งเป็นชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดครองซินเจียงในปี 2492 พบว่ามีชาวฮั่นอาศัยอยู่เพียงร้อยละ 6 แต่ในปัจจุบันมีชาวฮั่นอาศัยอยู่เกือบครึ่งหนึ่งของประชากร โดยในจีนการแต่งงานข้ามเชื้อชาติเป็นเรื่องปกติ เว้นแต่ระหว่างชาวฮั่นกับชาวอุยกูร์ซึ่งมีความแตกต่างทั้งด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมหยั่งรากลึก และตามเมืองต่างๆ ก็มีการแบ่งย่านของแต่ละเชื้อชาติอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามความขัดแย้งระหว่างชาวฮั่นและชาวอุยกูร์ปะทุขึ้นในปี 2552 เมื่อชาวอุยกูร์ชุมนุมเรียกร้องให้ทางการจีนสอบสวนเรื่องการปะทะกันระหว่างคนงานชาวอุยกูร์และคนงานชาวฮั่นซึ่งเป็นเหตุให้มีคนงานอุยกูร์เสียชีวิต 2 คน แต่การประท้วงก็ถูกปราบปรามจากทางการจีนหลังจากที่กล่าวหาว่ามีการก่อจลาจลเกิดขึ้น ทำให้หลังจากนั้นเกิดเหตุรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในพื้นที่ รวมถึงการโจมตีสถานที่ของรัฐ ไปจนถึงการก่อการร้ายใจกลางเมือง สื่อรัฐบาลจีนมักจะมุ่งเป้ากล่าวหาว่ากลุ่มก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนเป็นผู้ก่อเหตุ ขณะที่พยายามแสดงออกให้เห็นว่านโยบายของพวกตนมีระบบจัดการที่ดีในพื้นที่

แต่ชาวอุยกูร์ซึ่งมีอยู่ราว 8 ล้านคน ในพื้นที่ก็ยังคงวิจารณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ชาวเชื้อสายฮั่นเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่พอใจที่รัฐสั่งห้ามการแสดงออกทางศาสนาต่างๆ

ไมเคิล คลากค์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องซินเจียงจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธประเทศออสเตรเลียกล่าวว่า นโยบายล่าสุดของทางการจีนแสดงให้เห็นว่าพวกเขาคิดแค่ว่าการแจกจ่ายทางวัตถุอย่างเดียวจะสามารถไกล่เกลี่ยปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมได้ ซึ่งในแง่นี้นักสิทธิมนุษยชนไม่คิดว่าจะทำให้เกิดผลได้จริง

โซฟี ริชาร์ดสัน ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์สาขาประเทศจีนกล่าวว่าทางการจีนพยายามใช้วิธีการทางสังคมเพื่อเรียกร้องการสนับสนุน แต่ก็ยังคิดอยู่กับมุมมองแบบส่วนกลางที่มองสังคมแค่ในแบบที่ตัวเองอยากให้เป็น หรืออย่างน้อยก็พยายามลดการต่อต้านนโยบายจากส่วนกลางให้เหลือน้อยลง ริชาร์ดสันยังกล่าวอีกว่ารัฐบาลคิดว่าชาวฮั่นจะสนับสนุนนโยบายนี้ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง และรัฐบาลจีนยังหวังว่าจะใช้การแต่งงานเป็นการส่งเสริมความภักดีทางการเมือง

สื่อเรดิโอฟรีเอเชียระบุว่าในเขตเทศบาลฉีโมมีจำนวนคู่สมรสที่ต่างเชื้อชาติกัน 57 คน จากประชากรทั้งหมด 60,000 คน นโยบายแจกของกำนัลให้คู่แต่งงานยังอยู่ในขั้นทดลองและอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

"สำหรับฉันแล้วมันเป็นหนึ่งในความพยายามอย่างดื้อรั้นของรัฐบาลจีนที่รู้วิธีการเบี่ยงเบนประเด็นออกจากเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แทนที่จะยกเลิกนโยบายที่ละเมิดสิทธิซึ่งนำมาสู่การประท้วงตั้งแต่แรก" ริชาร์ดสันกล่าว

 

เรียบเรียงจาก

Chinese authorities offer cash to promote interethnic marriages, The Guardian, 02-09-2014
http://www.theguardian.com/world/2014/sep/02/chinese-authorties-cash-inter-ethnic-marriages-uighur-minority

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/July_2009_%C3%9Cr%C3%BCmqi_riots

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.เห็นชอบให้ กสทช. แจกคูปองเซ็ตท็อปบ็อกซ์แล้ว

$
0
0

เลขาธิการ กสทช. เผย คสช. เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. แจกคูปองเซ็ตท็อปบ็อกซ์ มูลค่า 690 บาท แก่ประชาชนจำนวน 22.9 ล้านครัวเรือนแล้ว

3 ก.ย.2557 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. รับหนังสือแจ้งจากคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ว่า หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลต่อไปได้

เนื่องจากได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และทบทวนโครงการให้มีความเหมาะสมแล้ว เพื่อให้สามารถแจกจ่ายคูปองให้กับประชาชนได้ตามแผนงานที่กำหนด โดยมีค่าใช้จ่ายจำนวนทั้งสิ้น 16,165.265 ล้านบาท ดังนี้ 

1.ค่าคูปอง 22.9 ล้านฉบับๆ ละ 690 บาท เป็นเงิน 15,801 ล้านบาท  2.ค่าพิมพ์คูปอง ฉบับละ 2.85 บาท เป็นเงิน 65.265 ล้านบาท  3.ค่าสติ๊กเกอร์คู่คูปอง ฉบับ 1.50 บาท เป็นเงิน 34.350 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับคืนจากบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ  4.ค่าสติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงความสอดคล้องมาตรฐาน ฉบับละ 1.50 บาท เป็นเงิน 34.350 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับคืนจากบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ  5.ค่าจัดส่งคูปองโดยไปรษณีย์ไทย ฉบับละ 10 บาท เป็นเงิน 229 ล้านบาท  6.ค่าธรรมเนียมธนาคาร ฉบับละ 0.55 บาท เป็นเงิน 12.595 ล้านบาท โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นผู้ชำระ  7.ค่าระบบบริหารจัดการโครงการ จำนวน 50 ล้านบาท  8.ค่าดำเนินการตรวจสอบ จำนวน 20 ล้านบาท

โดยในการดำเนินการดังกล่าว คสช. ขอให้สำนักงาน กสทช. กำกับการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบจากหน่วยงานตรวจสอบภายนอก

นายฐากร ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า กระบวนการหลังจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะทำการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลการดำเนินการตามโครงการ ได้แก่ 1.คณะกรรมการคัดเลือกบริษัทผู้เข้าร่วมโครงการฯ     2.คณะกรรมการพิมพ์คูปอง  3.คณะกรรมการแจกคูปอง  และ 4.คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินโครงการฯ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะเชิญ หน่วยงานต่างๆ รวมถึง NGO เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ สำหรับการประกาศรายชื่อบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ คาดว่าคณะกรรมการคัดเลือกบริษัทผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะคัดเลือกบริษัทผู้เข้าร่วมโครงการฯ และจะประกาศรายชื่อบริษัทที่เข้าร่วมในวันที่ 15 ก.ย. 2557 และจะประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมเพิ่มเติมทุก 15 วัน ในส่วนของการแจกคูปอง จะเริ่มจัดส่งคูปองให้ประชาชนผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ในวันที่ 15 ต.ค. 2557 โดยประชาชนที่จะได้รับการแจกจ่ายคูปองจะต้องมีบ้านพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ให้บริการที่โครงข่ายในแต่ละจังหวัดครอบคลุมอยู่ด้วย ดังนี้ 1.สถานีหลักกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี เพชรบุรี และสระบุรี (บางพื้นที่)  2.สถานีหลักนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา  3.สถานีหลักเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ และลำพูน  4.สถานีหลักสงขลา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี  5.สถานีหลักอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ  6.สถานีหลักสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี  7.สถานีหลักระยอง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด ระยอง จันทบุรี และชลบุรี  8.สถานีหลักสิงห์บุรี ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี ชัยนาท สระบุรี และสุพรรณบุรี  9.สถานีหลักสุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร และพิจิตร  10.สถานีหลักขอนแก่น ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์  11.สถานีหลักอุดรธานี  ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด อุดรธานี หนองคาย และหนองบัวลำภู

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถนำคูปองไปแลกกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ได้ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. 2557 โดยในปีแรกจะแจกให้แล้วเสร็จทั้ง 11.45 ล้านครัวเรือน ภายในไม่เกินเดือน ธ.ค. 2557

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ถวัลย์ ดัชนี’ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 74

$
0
0

‘ถวัลย์ ดัชนี’ ศิลปินแห่งชาติ ปี 2544  สาขาทัศนศิลป์ เสียชีวิตแล้ว หลังจากป่วยด้วยโรคตับอักเสบเป็นเวลา 3 เดือน จัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

3 ก.ย.2557 นายดอยธิเบศร์ ดัชนี บุตรชาย นายถวัลย์ ดัชนี อายุ 74 ปี  ศิลปินแห่งชาติปี 2544 สาขาทัศนศิลป์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กตนเอง ‘Doytibet Duchanee’  เมื่อเวลา 2.35 น. ระบุบิดาตนเองได้เสียชีวิตแล้ว หลังจากป่วยด้วยโรคตับอักเสบเป็นเวลา 3 เดือน

ข่าวสดออนไลน์รายงานด้วยว่า นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า นายถวัลย์มีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน และความดัน เมื่อประมาณปี 2555 ได้เข้ารับการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ต่อมาเมื่อต้นปี 2557 ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย และในช่วงปลายเดือนมิ.ย. จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างจริงจัง จนกระทั่งพบว่าเชื้อมะเร็งลุกลามไปที่ตับและปอด มีอาการไตวาย จากนั้นอาการทรุดหนักจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต 

ในการนี้กำหนดจะมีพิธีพระราชน้ำหลวงอาบศพ ในวันที่ 4 ก.ย. เวลา 13.00-17.00  น. ณ ศาลา 1 วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ในฐานะผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานในพิธี จากนั้นกำหนดจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพ ในระหว่างวันที่ 4-10 ก.ย. เวลา 19.00 น. และจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 11 ก.ย. เวลา 17.00 น. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

นายชาย กล่าวต่อว่า รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้สูญเสียศิลปินแห่งชาติผู้มีคุณูปการต่อแผ่นดิน ซึ่งได้สร้างผลงานที่มีเอกลักษณ์ ทรงคุณค่า และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังอุทิศตนส่งเสริมงานด้านศิลปะอย่างมากมาย โดยเฉพาะโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติและโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจรของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่มุ่งถ่ายทอดประสบการณ์การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ให้แรงบันดาลใจ รวมถึงเป็นต้นแบบให้แก่เด็ก เยาวชน ครูอาจารย์ และบุคลากรด้านศิลปะมาโดยตลอด ทำให้วงการศิลปะของไทยเกิดการพัฒนาและก้าวสู่สากลยิ่งขึ้น อ.ถวัลย์ ดัชนี จึงเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รักของทุกคน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มีเดียคาเฟ่: สนทนาเรื่องเพศสภาพในสื่ออาเซียน

$
0
0


จากที่เคยถูกปิดกั้นพื้นที่การแสดงออก ปัจจุบันกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีพื้นที่ในการแสดงออกในแวดวงภาพยนตร์มากขึ้น มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์ เปิดเวทีมีเดียคาเฟ่-สื่อสนทนา “เรียนรู้เรื่องผู้หญิง และเพศสภาพในสื่ออาเซียน” เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา

มรกตวงศ์ ภูมิพลับ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวียดนาม กล่าวว่า มีการตั้งข้อสังเกตเรื่องการแสดงออกของผู้หญิง หรือกลุ่มผู้ที่มีหลากหลายทางเพศในภูมิภาคอาเซียน ตั้งแต่ปี 2533-2543 เริ่มมีการเคลื่อนไหวที่เวียดนามและสิงคโปร์ มีการรวมกลุ่มของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เห็นถึงการยอมรับในสังคมมากขึ้น

มรกตวงศ์ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการรวมกลุ่มในประเทศสิงคโปร์ รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการแบนหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Homosexuality สามเล่ม โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่า เนื้อหาในหนังสือไม่เหมาะสมกับเยาวชน จึงมีการรวมกลุ่มแสดงออกของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้รัฐบาลยกระดับหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่เนื้อหาเหมาะสมกับผู้ใหญ่

อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ กล่าวว่า ด้านประเทศเวียดนาม ค่านิยมในภาพยนตร์ของผู้หญิงสมัยสงครามเวียดนามก่อนปี พ.ศ 2518 ผู้หญิงเวียดนามถูกมองว่าเป็นแกนหลักของครอบครัว ที่ต้องคอยหาเสบียงมาให้ผู้ชายที่ออกไปรบ ในช่วงสงครามเวียดนาม มีการพบว่าเริ่มมีการขายบริการทางเพศของผู้ชาย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มชายรักชายในเวียดนาม รับอิทธิพลมาจากกลุ่มทหารจีไอที่มาจากตะวันตก ต่อมา หลังปี พ.ศ 2543 - ปัจจุบันประเทศเวียดนามได้เริ่มมีการเปิดประเทศ มีการเสพข้อมูลได้ง่ายขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนความคิดจึงมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มชายรักชาย และมีการจัดตั้งกลุ่มเกย์ เพื่อรวมตัวกันมากขึ้นในปัจจุบัน

มรกตวงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในประเทศสิงคโปร์และเวียดนาม การแสดงออกของกลุ่มเพศที่สาม จะถูกมองว่าขัดต่อข้อลัทธิขงจื้อ จึงทำให้ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก แต่ในอนาคตกลุ่มเพศที่สาม น่าจะมีพื้นที่ในการแสดงออกมากขึ้น

ชนม์ธิดา อุ้ยกุล กลุ่มฟิล์มกาวัน กล่าวว่า  ในประเทศอินโดนีเซีย ประชาชนนับถืออิสลามเป็นศาสนาหลัก ทำให้การแสดงออกทางความคิดของผู้หญิงถูกลิดรอน เนื้อหาในภาพยนตร์มักปลูกฝังเรื่องคุณค่าของพรหมจรรย์ พื้นที่ในการแสดงออกของกลุ่มหญิงรักหญิงอยู่ในข้อจำกัด  แต่ภายหลังรัฐบาลซูฮาร์โตหมดอำนาจ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในวงการภาพยนตร์ เนื้อหาในภาพยนตร์มีการสะท้อนเรื่องราวในสังคมมากขึ้น มีการส่งเสริมประชาธิปไตยแทรกซึมในเนื้อหาหนังมากขึ้น ทำให้การแสดงออกของกลุ่มเพศที่สามถูกนำเสนอมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีพื้นที่การแสดงออกมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงก็ยังไม่มีกลุ่มคนที่แสดงออกชัดเจนในพื้นที่สาธารณะ

ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการมูลนิธิหนังไทย กล่าวว่า ปี 2543 ถึงปัจจุบันภาพยนตร์มีอิสระในด้านเนื้อหามากขึ้น หนังนอกกระแสเริ่มได้รับความสนใจ การแสดงออกจากกลุ่มเพศที่สามเริ่มมีบทบาทมากขึ้น จะเห็นได้ว่าเริ่มมีหนัง เกย์         เลสเบี้ยน จากหลายประเทศ ให้คนที่สนใจได้เลือกชม ทำให้เห็นการตื่นตัวของหนังอิสระมากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ชลิดา กล่าวต่อว่า แม้มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่เกี่ยวกับกลุ่มหญิงรักหญิง แต่ชื่อของผู้กำกับกลับเป็นผู้ชาย จึงมีการตั้งคำถามว่า การที่ผู้ชายมากำกับหนังหญิงรักหญิง แนวคิดของผู้กำกับมีความสนใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับหญิงรักหญิงมากเพียงใด

ชลิดา ทิ้งท้ายด้วยว่า การทำภาพยนตร์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ แต่ภาพยนตร์สามารถเป็นกระจกสะท้อนสังคมได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วงจรอุบาทว์การรับน้อง ว่าด้วยการเมืองเชิงวัฒนธรรม

$
0
0

 

เป็นอีกครั้งที่เยาวชนไทยต้องเสียชีวิตจากการเข้าร่วมกิจกรรมการรับน้อง จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมาอีกครั้งเป็นเสมือนคลื่นลูกใหม่ที่ซัดเข้าหาฝั่ง ก่อนที่คลื่นลูกนั้นจะหายไปตามพลวัตรแล้วชายฝั่งก็หลงลืมคลื่นของการรับน้องที่ซัดเข้ามา อย่างไรก็ดี โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เราต้องตั้งคำถามขึ้นมาต่อระบบการรับน้องประชุมเชียร์ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้รุ่นน้องต้องเข้ารับน้องแบบยอมพลีกายถวายหัว ชนิดที่ว่าไม่กลัวเจ็บกลัวตาย หากจะหาคำตอบของคำถามนี้เราคงต้องย้อนกลับไปมองว่าตัวรุ่นพี่ที่ทำการรับน้องนั้นมี อำนาจพิเศษ ไรอยู่ในมือ

จากที่ผมได้ลองใคร่ครวญถึงระบบการรับน้องในมหาวิทยาลัยของตัวเอง พร้อมๆกับการนั่งมองประเพณีอันไร้แก่นสารนี้อย่างใกล้ชิดในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็พบได้ว่าตัวรุ่นพี่นั้นคือกลุ่มอำนาจหนึ่งที่ถือต้นทุนทางวัฒนธรรมเอาไว้ ในทีแรกผมเองอยากจะเรียกโครงข่ายอำนาจนี้ว่าเป็น “กลุ่มทุน”มากกว่า “กลุ่มอำนาจ” หากทว่าเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วก็พบว่ากลุ่มรุ่นพี่มีความเป็นกลุ่มอำนาจมากกว่าจะเป็นกลุ่มทุนด้วยเหตุผลดังนี้

1.รุ่นพี่ไม่มีการถือครองปัจจัยการผลิต แม้รุ่นพี่จะมีเงื่อนไขการขูดรีดทรัพย์สินรุ่นน้องปี 1 ผ่านการหลอกขายเสื้อมหาวิทยาลัย เสื้อคณะ เสื้อสาขา หรือเรียกเก็บเงินค่ากิจกรรมการรับน้อง แต่กลุ่มรุ่นพี่นั้นมิได้ถือครองปัจจัยการผลิต หากแต่เป็นกลุ่มอำนาจในมหาวิทยาลัยที่สามารถสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายทุนนอกมหาวิทยาลัยได้

2.ถึงแม้รุ่นพี่จะมีการถือครองสินค้า [เช่นเสื้อคณะ/สาขา และสัญลักษณ์คณะ/สาขา] แต่ก็มิได้ใช้สินค้าในการสร้างกำไรเพื่อการลงทุนใหม่ แต่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเพื่อขูดรีดผ่านการบังคับขาย และนำกำไรนั้นมาใช้ผลิตซ้ำกิจกรรมรับน้องอีกต่อหนึ่ง

จากเหตุผลหลักข้างต้นผมจึงขอนิยามว่าเครือข่ายของกลุ่มรุ่นพี่ที่ทำการรับน้องนั้นมีลักษณะเป็นกลุ่มอำนาจมากกว่าจะเป็นกลุ่มทุน เมื่อถึงตรงนี้ผมจะขออธิบายต่อว่าถ้าเช่นนั้นแล้วตัวรุ่นพี่มีความชอบธรรมหรืออำนาจอะไรในการจัดกิจกรรมรับน้องเพื่อกดขี่และขูดรีดรุ่นน้องผ่านการทำกิจกรรมที่ไร้แก่นสารนี้

1.การรับน้องและรุ่นพี่เป็นกลุ่มอำนาจทางจารีต หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นชนชั้นนำตามจารีตของมหาวิทยาลัย เมื่อแรกก้าวเข้ามาในมหาวิทยาลัยจนกระทั่งเข้าร่วมการรับน้อง นักศึกษาปี 1 จะถูกสอนและบังคับให้สยบยอมต่อระบบอาวุโสที่นับกันตามชั้นปีที่ศึกษา ที่ถูกอ้างว่าเป็นธรรมเนียม/วัฒนธรรม/จารีต ที่สืบต่อกันมา

2.จากที่กล่าวไว้ในข้อ 1. ลำพังเพียงเหตุผลข้างต้นไม่อาจจะทำให้การรับน้องคงอยู่ได้ เพราะหากรุ่นน้องไม่เข้าร่วมระบบก็จะล่มลงไปเอง ดังนั้นสิ่งที่เอื้อให้การรับน้องดำรงอยู่ได้นั้นคือการผูกขาดมหาวิทยาลัย คณะ และสาขาไว้กับการรับน้อง ด้วยระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่วางแผนการเรียนการสอนเอาไว้เป็นกรอบให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนร่วมกับเพื่อนในสาขา และคณะของตนเองเท่านั้น [หากลงทะเบียนเรียนข้ามไปเรียนร่วมกับคณะอื่นจะมีความยุ่งยากกว่าการลงเรียนตามแผนการเรียนที่มหาวิทยาลัยจัดวาง] ด้วยกรอบที่ว่านี้นักศึกษาปี 1 จึงถูกขีดกรอบว่าตำแหน่งแห่งที่ในสังคมมหาวิทยาลัยของเขาจะต้องอยู่ท่ามกลางเพื่อนๆในสาขา และคณะของตนเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้สถานที่ที่ผูกขาดการหาเพื่อนร่วมสาขาและคณะเอาไว้ก็คือการรับน้อง ที่จะแยกกระทำกันในรายสาขา และคณะของตน ทั้งนี้หากมีนักศึกษาปี 1 คนใดลุกขึ้นต่อต้านหรือไม่เข้าร่วมการรับน้อง ก็จะถูกกระบวนการกดดันทางสังคมผลักให้กลายไปเป็นคนชายขอบของสังคมมหาวิทยาลัย

3.พื้นฐานของปัจเจคบุคคลในสังคมมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มสถาบันนิยม [Institutionalism]ซึ่งต้องการเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือต้องการยึดโยงตนเองเข้ากับสถาบันที่สังกัด ผ่านวัตถุที่จะแสดงให้เห็นว่าปัจเจคบุคคลนั้นยังมีตัวตนอยู่และผูกโยงอยู่กับมหาวิทยาลัย [แม้ว่าจะมีตัวตนผ่านวัตถุที่เหมือนๆกับคนอื่นก็ตาม]สิ่งที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ก็คือการรับน้องประชุมเชียร์ซึ่งเป็นผู้ผูกขาดการขายวัตถุประโลมจิตใจเช่น สัญลักษณ์เอก เสื้อคณะ เสื้อมหาวิทยาลัย

จากปัจจัยสามข้อที่กล่าวมาข้างต้นนั้นได้เอื้อให้เกิดการผลิตซ้ำวัฒนธรรมการรับน้องประชุมเชียร์อยู่ตลอดเวลา กลุ่มอำนาจของรุ่นพี่ในมหาวิทยาลัยทำงานกันอย่างแข็งขันตั้งแต่ก่อนเปิดเรียนเพื่อผลิตซ้ำต้นทุนทางจารีต และสะสมต้นทุนทางจารีตตลอดการรับน้องผ่านพิธีกรรม และความเชื่อที่ห้ามตั้งคำถาม ปัจจัยหลากหลายเหล่านี้ทั้งความเชื่อทางศาสนาผี การครอบงำปัจเจคบุคคล การสถาปนาอำนาจทางจารีต จนกระทั่งผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ผูกโยงเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายที่ช่วยกันผลิตซ้ำและสนับสนุนการรับน้องเรื่อยมา

สุดท้ายนี้ผมขอแสดงความเสียใจต่อญาติและครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากการรับน้องในปีนี้ด้วยความเศร้าใจอย่างที่สุด และขอตั้งคำถามต่อสังคมไทยว่าจะต้องมีคนรุ่นใหม่อีกกี่คนกันหรือที่ต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการรับน้อง จะต้องมีอีกกี่หยาดน้ำตาจากหัวอกคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องสูญเสียลูกไปในการรับน้อง เราจึงจะรู้สึกว่าต้องยำเลิกประเพณีอันล้าหลัง และป่าเถื่อนนี้เสียที

 

เพิ่มเติม : ข่าวเหยื่อรับน้องโหด หัวหิน - http://www.komchadluek.net/detail/20140901/191226.html

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คตร.สั่งยกเลิกโครงการแท็บเล็ต เหตุไม่คุ้มค่า ให้ ศธ.เสนอโครงการใหม่ ก.ย.นี้

$
0
0

คตร. สั่งทบทวนระเบียบการจ่ายเบี้ยประชุมสมาชิกรัฐสภา ชี้โครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของ กสทช. จำนวนครัวเรือนไม่ชัดเจน โครงการเครือข่ายโทรศัพท์ยุค 3 ไม่โปร่งใสเอื้อประโยชน์ผู้รับจ้าง ฯลฯ

3 ก.ย.2557  ที่กองบัญชาการกองทัพบก(บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน พล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.)เป็นประธานการประชุม คตร.ครั้งที่ 11/2557 โดยในที่ประชุมได้สั่งการให้คณะทำงานเร่งติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ที่ คตร. ได้นำเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เพื่อให้สำเร็จโดยเร็ว รวมถึงโครงการที่ คตร. มอบหมายให้คณะทำงานไปเร่งตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินการด้วย โดยโครงการที่ คตร. ได้สรุปผลการติดตามและตรวจสอบแล้วจำนวน 20 โครงการ อาทิ

โครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของ กสทช. วงเงิน 25,976.75 ล้านบาททบทวนแล้วเหลือ 16,165.265 ล้านบาท โดยทาง คตร.ตรวจพบว่า จำนวนครัวเรือนไม่ชัดเจน ความเหมาะสมของมูลค่าคูปองวิธีการแจกจ่ายไม่ชัดเจน จึงให้ กสทช.กลับไปทบทวน

โครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 วงเงิน 19,980 ล้านบาท ซึ่งผลการตรวจสอบมีความไม่โปร่งใสและมีการเอื้อประโยชน์ให้แก้ผู้รับจ้าง จึงต้องส่งเรื่องให้ สตง.ติดตามผลการดำเนินการของ ป.ป.ช.ต่อไป

โครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่เชิงพาณิชย์จำนวน 115 คันของ รฟท.วงเงิน 4,981.02 ล้านบาท ได้สั่งให้ชะลอและทบทวนโครงการใหม่

โครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ จำนวน 50 คันของ รฟท.วงเงิน 6,562.50 ล้านบาท ได้แจ้งให้ รฟท.ตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางและร่าง ทีโออาร์.ใหม่มีรายละเอียดชัดเจนโปร่งใส โดยจะต้องลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนก.ย.2557

โครงการจ้างให้บริการระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้าของทอท.วงเงิน 8,313,900,000 บาท , โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ของ ทอท. วงเงิน 60,741.61 ล้านบาท โดยคตร. มีมติให้แจ้งให้ ทอท.ทบทวน TOR และดำเนินการให้สามารถลงนามในสัญญาได้ภายในสิ้นเดือน ก.ย.2557

ส่วนโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต)ของ ศธ.วงเงินรวมปี 2555 จำนวน 1,794.83 ล้านบาท และในปี 2556 จำนวน 4,616.25 ล้านบาท ซึ่งมีประเด็นที่ตรวจพบว่า ไม่คุ้มค่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องขาดทักษะ การซ่อมบำรุงไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งหลังการตรวจสอบต้องยกเลิกและให้เสนอโครงการใหม่ทดแทนและให้จัดทำโครงการใหม่และจะต้องสามารถ ลงนามในสัญญาได้ภายในเดือน ก.ย. 2557

นอกจากนี้ยังมี กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.2556 คตร.ตรวจพบว่ามีการจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้กับผู้ที่เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาในอัตราที่สูงมาก ทำให้เป็นภาระทางด้านงบประมาณ จึงสมควรแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับเงินใกล้เคียงกับข้าราชการ รวมถึงเรื่องการเบิกค่าเบี้ยประชุมของรัฐสภา เพราะมีการแก้ไขระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการพ.ศ.2555 โดยปรับอัตราเบี้ยประชุมทำให้ค่าใช้จ่ายในการประชุมมีแนวโน้มสูงขึ้น คตร.จึงให้ทบทวนระเบียบให้เหมาะสมโดยเร็วและให้สตง.ตรวจสอบย้อนหลังหากมีการปฏิบัติผิดระเบียบให้เรียกเงินคืน ตามมติ คสช. 15 ก.ค.2557

โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจทดแทน 181 โครงการ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ วงเงิน 2,459,793,166 บาท ผลการดำเนินงานให้มีการกระจายงานไปยังภูมิภาคและประกวดราคาโดยใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเลคโทรนิค โดยคณะอนุกรรมการฯด้านพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างเข้าตรวจสอบและสรุปผลเสนอที่ประชุม คตร.เมื่อวันที่ 20 ส.ค.57 มีมติให้ดำเนินการต่อไปและกำกับดูแลให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส , โครงการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจำนวน 23 โครงการ คตร.ให้เลิกและให้เสนอโครงการใหม่ทดแทน , สำหรับโครงการกิจกรรมการเพาะชำกล้าไม้ตามแผนฟื้นฟูป่าและนิเวศฯของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วงเงิน 481.55 ล้านบาท คตร.เห็นว่าไม่มีความชัดเจนในเรื่องการบำรุงรักษาและแจกจ่ายและมีความสูญเสียของกล้าไม้จำนวนมาก ซึ่งผลการตรวจสอบเป็นโครงการที่ใช้เงินกู้สำหรับโครงการตามแผนฟื้นฟูและระบบนิเวศ ภายใต้ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เงินกู้ 350,000 ล้านบาทปีงบประมาณ 25555 ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งให้ทบทวนโครงการ จึงทำให้โครงการหยุดชะงัก ทางกระทรวงทรัพยากรฯได้ของบกลางจากรัฐบาลเพื่อที่จะนำมาบำรุงรักษากล้าไม้ในโครงการนี้จำนวน 170 ล้านบาท แต่ไม่ได้รับทำให้กล้าไม้ร้อยละ 20-30 เกิดความเสียหาย

ทั้งนี้ยังมีโครงการที่ คตร.อยู่ระหว่างการดำเนินการติดตามและตรวจสอบอีกจำนวน 13 โครงการ อาทิโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภา วงเงิน 12,280 ล้านบาท ,โครงการก่อสร้างอาคารที่พักสวัสดิการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร วงเงิน 5,087.91 ล้านบาท ,โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา คลองสิบเก้า แก่งคอย ของรฟท.วงเงิน 11,135.52 ล้านบาท ,โครงการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ catamaran ขนาด 80 ฟุต จำนวน 1 ลำของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจำนวน 200 ล้านบาท ได้ขอปรับลดวงเงินเหลือ 150 ล้านบาท และที่ขอตรวจสอบเพิ่มอีก 3 โครงการ อาทิ โครงการซ่อมแซมสะพานปลาท่าเทียบเรือประมงหัวหินของ องค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วงเงิน 114,928,784 บาท ,โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี)จำนวน 3,183 คัน ของ ขสมก.กระทรวงคมนาคม วงเงิน 13,162 ล้านบาท เป็นต้น

 

เรียบเรียงจาก เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารยื่นคำขาดม็อบยึดสวนปาล์มกระบี่ต้องออก 15 ก.ย.นี้ ชาวสวนยางนัด 16 ก.ย. ปัดปิดถนน

$
0
0

นายกสมาพันธ์สวนยางฯเผย ชาวสวนยางนัดประชุม 16 ก.ย. แจงไม่ใช่การชุมนุมปิดถนน ด้าน ผบ.ร.15 พัน.1 เข้าเจรจากับม็อบยึดสวนปาล์ม ให้ออกภายใน 15 ก.ย. หลังจากยื่นเงื่อนไข พร้อมขู่หากไม่ปฏิบัติตามจะนำกำลังเข้าสลาย

3 ก.ย.2557 พ.อ.จรูญ จตุรงค์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 15 (ร.15 พัน1) จ.กระบี่ กล่าวว่า ขณะนี้ทางทหารพร้อมด้วยตำรวจ ฝ่ายปกครอง และป่าไม้ ได้เข้าเจรจากับกลุ่มชาวบ้านที่ยึดสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ที่บริษัทยูนิวานิช จำกัด มหาชน เช่าและหมดสัมปทาน เนื้อที่กว่า 1 หมื่นไร่ให้ออกจากพื้นที่ หลังจากก่อนหน้านี้ได้เคยเจรจา และให้เวลาไปแล้วรอบหนึ่งแต่ปรากฏว่าชาวบ้านไม่ยอมออก โดยได้เข้าประกาศให้ออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 15 กันยายนนี้ หากไม่ออกจะสนธิกำลังเข้าควบคุมพื้นที่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาทางทหารได้มีการหารือกับทางกลุ่มชาวบ้านมาโดยตลอด และไม่ต้องการให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเจรจากันอีกรอบหนึ่ง แต่รอบนี้เป็นการเข้าไปแจ้งให้ทราบ โดยกำหนดการแจ้งคือวันที่ 3 วันที่ 8 และ 11 ก.ย. จากนั้นในวันที่ 15 หากยังพบมีกลุ่มชาวบ้านอยู่ในสวนอีก ก็จะจับกุมและควบคุมพื้นที่ทันที

ชาวสวนยางนัดประชุม 16 ก.ย. แจงไม่ใช่การชุมนุมปิดถนน

ขณะที่วานนี้ นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ก.ย.นี้ ชาวสวนยางได้นัดหมายที่จะมาประชุมร่วมกันเพื่อหารือถึงกรณีปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอไปยังรัฐบาลใหม่ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาให้กับชาวสวนยางต่อไป

นายบุญส่ง กล่าวว่า 16 ก.ย.นี้ไม่ได้นัดปิดถนน แต่เป็นวันครบรอบ 1 ปีที่ชาวสวนยางควนหนองหงษ์ ชุมนุมปิดถนนเมื่อ 16 ก.ย.ปีก่อน พี่น้องชาวสวนยางจึงถือโอกาสนัดหมายมาประชุมกันเพื่อหารือเรื่องราคายางตกต่ำในขณะนี้ และจะส่งแนวทางการแก้ปัญหานี้ให้รัฐบาลรับทราบว่าจะตกผลึกกันอย่างไรในประเด็นเรื่องการให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยาง

 

เรียบเรียงจาก โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูเอ็นแถลงกังวลอย่างยิ่ง กรณีผู้ปกป้องสิทธิฯ ไทยถูกจำกัดสิทธิ เสวนาถูกระงับ

$
0
0

3 ก.ย.2557 สำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(The United Nations Human Rights Office for South East Asia  - OHCHR) ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่ง จากกรณีผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยถูกจำกัดสิทธิ์มากขึ้นในการชุมนุมอย่างสันติและแสดงความคิดเห็น

หลังจากที่วานนี้หน่วยงานของทหารได้สั่งให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย งดจัดงานแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหลังจากการรัฐประหารตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. รวมทั้งการเสวนาในหัวข้อ ‘ความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุง’ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ

แถลงการณ์ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติฯ ระบุว่าการสั่งงดจัดงานดังกล่าวก็เป็นเหตุการณ์อีกครั้งหนึ่งที่ส่อว่าภาวะแวดล้อมผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศย่ำแย่ลง ประเทศไทยในฐานะผู้ให้สัตยาบันกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและการเมืองพึงเคารพคำประกาศของสหประชาชาติเรื่องผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยคำประกาศดังกล่าวกำหนดว่าทุกคนมีสิทธิ์ที่จะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลหรือร่วมกับผู้อื่น และมีสิทธิ์ที่จะเสวนาตลอดจนรายงานสถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนให้สาธารณชนรับรู้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวัติลิขสิทธิ์ (20): ลิขสิทธิ์กับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของเทคโนโลยี

$
0
0

“ผู้จดจำอดีตไม่ได้จะถูกสาปให้ทำสิ่งเดิมซ้ำอยู่ร่ำไป”
                  George Santayana, นักปรัชญาชาวอเมริกันเชื้อสายสเปน
 


ในช่วงของการถือกำเนิดของลิขสิทธิ์ มันเป็น “กฎหมายควบคุมสิ่งพิมพ์” อย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาได้ผ่านมาจาก ณ จุดที่กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลกปรากฏขึ้นมาสามร้อยกว่าปี ในตอนนี้เมื่อพูดถึงลิขสิทธิ์ก็คงไม่มีใครนึกถึงมันในฐานะของ “กฎหมายควบคุมสิ่งพิมพ์” อีกแล้ว และสิ่งพิมพ์ก็ดูจะลดบทบาทไปจากสิ่งอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้คนสนใจไปอย่างมากแล้ว เพราะทุกวันนี้เวลาจะกล่าวถึงลิขสิทธิ์ ผู้คนดูจะนึกถึงลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ลิขสิทธิ์งานบันทึกเสียง และลิขสิทธิ์ภาพยนตร์กันมากกว่า

ลิขสิทธิ์สิ่งเหล่านี้ไม่มีในสมัยที่กฎหมายลิขสิทธิ์ถือกำเนิดขึ้น และเอาจริงๆ เมื่อ 100 ปีก่อนตอนครบรอบ 200 ปีของกำเนิดลิขสิทธิ์ กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ควบคุมสิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ เพราะตัวเทคโนโลยีบันทึกภาพเคลื่อนไหวและเสียงเกิดขึ้นครั้งแรกช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก่อนจะเริ่มถูกนำมาใช้ในเชิงการค้าจริงจังและกลายเป็นอุตสาหกรรมตอนต้นศตวรรษที่ 20 ส่วนการเขียนซอฟต์แวร์ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ก่อนที่มันจะกลายมาเป็นธุรกิจใหญ่โตตอนช่วงปลายศตวรรษที่ 20

ผู้เขียนต้องการจะเสนอว่ากุญแจสำคัญของการที่จะเข้าใจว่าทำไมลิขสิทธิ์ยุคปัจจุบันถึงมีรูปร่างหน้าตาอย่างนี้ก็คือการพยายามทำความเข้าใจพัฒนาการภาคธุรกิจที่อยู่บนฐานของทางเทคโนโลยีเหล่านี้

นี่เป็นประเด็นสำคัญเพราะถ้าประวัติศาสตร์จะสอนอะไรในเชิง “ทฤษฎี” เกี่ยวกับลิขสิทธิ์บ้างแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราน่าจะกล่าวได้ก็คือ ลิขสิทธิ์ของสิ่งหนึ่งๆ จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคนไม่คิดว่าสิ่งนั้นๆ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็คือ สำนึกความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ “ลิขสิทธิ์” ของสิ่งหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์มันก็ดูจะแยกออกจากความสามารถในเชิงเทคโนโลยีในการหากำไรต่อสิ่งนั้นๆ ยาก และแทบจะร้อยทั้งร้อย การเรียกร้องให้มี “ลิขสิทธิ์” ในสิ่งหนึ่งๆ ก็ไม่ได้เกิดจาก “ผู้สร้างสรรค์” สิ่งเหล่านั้นแต่มักจะเกิดจากเหล่าพ่อค้าคนกลางที่ซื้อ “ลิขสิทธิ์” จากผู้สร้างสรรค์มาทำกำไรมากกว่า

ดังนั้นกล่าวในอีกแง่หนึ่ง การเขียนประวัติศาสตร์ลิขสิทธิ์ให้เห็นที่มาที่ไปของสภาวะลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน มันก็คือการเขียนประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองของเทคโนโลยีที่เป็นฐานให้อุตสาหกรรมลิขสิทธิ์นั่นเอง พูดง่ายๆ คือภายใต้กรอบแบบนี้ คำถามจากคำถามว่า “ลิขสิทธิ์ ‘มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร’ จากจุดกำเนิด?” ก็จะกลายมาเป็นคำถามว่า “เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร? ถูกนำไปใช้ในเชิงการค้าอย่างไร? มันต้องต่อสู้กับอุตสาหกรรมอะไร? มัน ‘มีลิขสิทธิ์’ ได้อย่างไร? และการกล่าวอ้าง “ลิขสิทธิ์” ของมันมีขอบเขตแค่ไหน?”

นี่เป็นคำถามที่ดูสั้นๆ ง่ายๆ แต่ตอบไม่ใช่ง่ายๆ เลย ปัญหาในการตอบคำถามนี้โดยพื้นฐานเลยก็คือ เราจะตอบอย่างไรให้ครอบคลุมที่สุด? เพราะอย่างน้อยๆ งานช่วงที่แล้วของผู้เขียนที่เล่าถึงที่มาที่ไปของต้นกำเนิดของกฎหมายลิขสิทธิ์ในอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ก็น่าจะเป็นหลักฐานเบื้องต้นว่ามันไม่สามารถจะหาลักษณะร่วมกันของกำเนิดลิขสิทธิ์ในทั้งสามประเทศได้เท่าใดนัก ซึ่งในเชิงวิชาการก็เป็นเพียง “ตัวอย่าง” ของการกำเนิดลิขสิทธิ์ด้วยซ้ำ เพราะในประเทศยุโรปอื่นๆ เองก็มีที่มาที่ไปของลิขสิทธิ์ที่ต่างกันในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็น อิตาลี สเปน เนเธอร์แลนด์ หรือสวีเดน ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดก็มีความผูกพันกับพลวัตของเทคโนโลยีการพิมพ์ ตลาดหนังสือ และอำนาจรัฐของแต่ละประเทศโดยตรง

ในที่นี้การเล่าถึงกำเนิดของลิขสิทธิ์ของทั้งงานบันทึกเสียง งานบันทึกภาพ และซอฟต์แวร์นั้นหากทำในแบบเดียวกันก็ดูจะต้องใช้หน้ากระดาษมหาศาล เพราะลำพังเนื้อหาที่พูดถึงที่มาที่ไป “ลิขสิทธิ์สิ่งพิมพ์” ในสามประเทศก็เพียงพอจะเป็นหนังสือขนาดเล็กเล่มหนึ่งแล้ว (ซึ่งผู้เขียนก็คาดหวังว่ามันจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้) ดังนั้นหากจะพูดถึง 3 ลิขสิทธิ์ให้มีเนื้อหาเท่าๆ กันแล้ว ทางออกที่ดีก็คือการเลือกที่จะศึกษาพัฒนาการของ 3 ลิขสิทธิ์นี้ในประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ

สหรัฐอเมริกาดูจะเป็น “ตัวอย่าง” แรกที่ผู้เขียนนึกออก และก็ดูจะเป็นตัวอย่างที่เหมาะสมที่สุดเสียด้วย เพราะต้นตอของกฎหมายลิขสิทธิ์ของทั้งสามสิ่งนี้ในโลกยุคปัจจุบันก็คือกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกานั่นเอง

สหรัฐอเมริกามี “พัฒนาการ” ของลิขสิทธิ์ที่ดูพิสดารมาก สหรัฐเป็นประเทศที่สองในโลกที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์มาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ก็จริง (โดยเอาเจ้าอาณานิคมเก่าอย่างอังกฤษเป็นต้นแบบ) และมีการกล่าวถึงอำนาจรัฐในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในรัฐธรรมนูญก็จริง (ซึ่งก็น่าจะมีน้อยประเทศที่จะมีการกำหนดแบบนี้ในรัฐธรรมนูญ) แต่สหรัฐอเมริกาก็เป็นประเทศที่แทบไม่มีบทบาทในการกำหนดความเป็นไปของกฎหมายลิขสิทธิ์ในโลกเลยก่อนศตวรรษที่ 20 และเอาจริงๆ สหรัฐฯ ก็ดูจะเป็นประเทศที่ไม่สู้จะอยากยอมรับลิขสิทธิ์ของประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำดังที่จะเห็นว่าสหรัฐฯ ไม่ยอมร่วมลงนามในอนุสัญญาเบิร์นที่ทำให้ประชาคมยุโรปอยู่ใต้มาตรฐานลิขสิทธิ์เดียวกัน (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี) ในปี 1886

ทำไมประเทศนอกคอกทางลิขสิทธิ์ที่ไม่ยอมรับมาตรฐานลิขสิทธิ์ของประเทศอื่นนี้ถึงกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจที่พยายามจะผลักดันให้ทั้งโลกอยู่ในระบอบลิขสิทธิ์ที่ตัวเองสร้างขึ้นในปัจจุบัน? คำตอบและวิธีตอบเป็นไปได้หลายรูปแบบ อย่างไรในที่นี้ “บังเอิญ” เหลือเกินที่คำตอบของคำถามดังกล่าวมันอยู่ร่วมกับคำตอบที่ว่าทำไม ลิขสิทธิ์งานบันทึกเสียง งานบันทึกภาพ และซอฟต์แวร์ถึงเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
อุตสาหกรรมเหล่านี้ในปัจจุบันล้วนป็นอุตสาหกรรมส่งออกใหญ่ของอเมริกาที่มีส่วนได้ส่วนเสียทางการค้ามหาศาล ดังนั้นการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมลิขสิทธิ์โลกก็จึงเป็นหนทางที่ดีที่จะบังคับใช้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในสิ่งเหล่านี้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออเมริกามีอำนาจต่อรองมหาศาลในฐานะของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจแล้วในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20

อย่างไรก็ดีคำอธิบายกว้างๆ นี้ก็ไม่ได้บอกเราว่าทำไมอุตสาหกรรมเหล่านี้ของอเมริกาถึงสามารถผงาดขึ้นมาจนได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศด้วยซ้ำ เพราะ “การสร้างสรรค์” ไม่ว่าจะทางด้านการบันทึกเสียงดนตรี การทำภาพยนตร์ หรือการเขียนซอฟต์แวร์นั้น ไม่น่าจะสามารถรวมเข้าไปในสารบบลิขสิทธิ์ของคนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้ เพราะอย่างน้อยๆ งานบันทึกเสียงดนตรีก็ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์กำกับมากว่าครึ่งศตวรรษ เพราะในช่วงนั้นคนไม่ได้มองว่าตัว “งานดนตรี” มันอยู่บนกระบอกเสียงหรือแผ่นเสียง แต่มันอยู่บนบทประพันธ์ที่เป็น “ข้อเขียน” บนบรรทัด 5 เส้น และการนำงานดนตรีไป “บันทึกเสียง” ก็เป็นเพียงแค่การนำบทประพันธ์ทางดนตรีไป “แสดง” เท่านั้น ที่ไม่ได้ต่างจากการเอาบทละครที่มีลิขสิทธิ์ไปเล่นละคร ที่คนยุคนั้นก็ไม่ได้มองว่าละครที่เล่นออกมาจะมีลิขสิทธิ์อะไรเช่นกัน

สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 20 อย่างช้าๆ ภายใต้การฟาดฟันของสารพัดอุตสาหกรรมต่างๆ กันที่ขัดขากันไปมาในการแย่งผู้บริโภค ผลของการฟาดฟันกันแต่ละครั้งไม่มีความชัดเจนในผลสรุป แต่สิ่งที่เราจะคาดเดาได้แน่นอนก็คือ อุตสาหกรรมเก่าจะไม่ยอมตาย จะสู้จนเลือดหยดสุดท้ายแม้นั่นจะหมายถึงการร่วงหล่นลงจากการเป็นหนึ่งในกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่กลายมาเป็นเพียงปลิงดูดเลือดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังโตก็ตาม ซึ่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็มักจะได้กลายมาเป็นผู้กำหนดกฎหมายทางเทคโนโลยีที่มักจะกลายมาเป็นกฎหมายมาตรฐานของโลกต่อไป

และที่ตลกที่สุดก็คือ เหล่าอุตสาหกรรมเก่าที่กำลังต่อต้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ก็ล้วนเคยเป็นอุตสาหกรรมที่หากินกับเทคโนโลยี “ใหม่” ในอดีตทั้งนั้น และก็เคยฟาดฟันอุตสาหกรรมเก่ากว่าจนแพ้ราบคาบมาแล้ว [1]อุตสาหกรรมเหล่านี้เคยอาศัยกระแสสนับสนุนเทคโนโลยี “ใหม่” เพื่อโค่นเทคโนโลยี “เก่า” มาแล้วทั้งนั้น และตอนนี้อุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ได้กลายมาเป็นผู้สนับสนุนเทคโนโลยีเก่าและต่อต้านเทคโนโลยีใหม่ไปแทน

ทั้งนี้แม้โลกจะไม่เคยขาดแคลนการต่อต้านเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่โลกก็ดูจะขาดแคลนท่าทีใหม่ๆ ในการต่อต้านเทคโนโลยีเหล่านั้น ทุกอย่างเกิดขึ้นซ้ำๆ ดังที่ในศตวรรษที่ 19 ผู้คนก็ได้ก่นด่าว่าความรวดเร็วของการสื่อสารในยุคนั้นนั้นทำให้ผู้คนอ่านเขียนอะไรน้อยลงและฉาบฉวยขึ้นไม่ได้ต่างจากปฏิกิริยาของคนในปัจจุบันต่อเว็บอย่าง ทวิตเตอร์ และบรรดาเว็บเครือข่ายสังคมทั้งหลาย [2]ซึ่งก็ไม่ได้ต่างจากการที่แนวคิดกว้างๆ ว่า “คนปัจจุบันมันแย่เหลือเกิน” หรือ “สังคมมันเสื่อมลงทุกวัน” ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏมาตลอดศตวรรษที่ 20 [3]แต่ผู้คนก็ยังพูดเรื่องเดิมๆ ซ้ำราวกับมันเป็นเรื่องใหม่ตลอดเวลา  ซึ่งก็ไม่แปลกนักที่ผู้คนจะจำสิ่งนี้ไม่ได้เพราะเงื่อนไขสำคัญหนึ่งของสภาวะสมัยก็คือความหลงลืมนั่นเอง [4]

 

อ้างอิง
[1]  ในแง่นี้จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมปัจจุบันก็ไม่ได้มีพฤติกรรมต่างจาก สมาคมช่าง หรือ “กิลด์” (guild) อันเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจสำคัญในโลกก่อนทุนนิยมนัก เพราะทั้งคู่ก็ล้วนเลือกแต่จะรับเทคโนโลยีที่ทำให้ตนได้เปรียบ และปฏิเสธเทคโนโลยีที่ทำให้ตนเสียเปรียบ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอย่างน้อยๆ ในกรณีอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ จริยธรรมในการสร้างและโอบรับนวัตกรรมก็ไม่ได้อยู่คู่กับบรรษัททุนนิยมเสมอไป ดู S. R. Epstein & Maarten Prak, "Introduction: Guilds, Innovation, and the European Economy, 1400–1800" in Guilds, Innovation and the European Economy, 1400-1800, S. R. Epstein & Maarten Prak, (eds.), (Cambridge: Cambridge University Press, 2008), pp. 1-24

[2] ดู  Mike Masnick, “The Next Time Someone Says Twitter Is Killing Deep Thinking With Short Quick Messages, Show Them This” <https://www.techdirt.com/blog/innovation/articles/20130619/10395523531/next-time-someone-says-twitter-is-killing-deep-thinking-with-short-quick-messages-show-them-this.shtml>

[3] ตัวอย่างที่ดีก็คือปฏิกิริยาต่อดนตรียอดนิยมในยุคนั้นๆ เช่น คำด่าประณามเพลงป๊อปเกาหลีในตอนต้นศตวรรษที่ 21 เราก็จะได้เห็นก่อนหน้านี้ในยุคที่เพลงเฮฟวี่เมทัลกำลังรุ่งเรืองในทศวรรษ 1980 ช่วงร็อคแอนด์โรลเกิดในช่วงทศวรรษ 1950 และตอนที่ดนตรีแจ๊สรุ่งในทศวรรษ 1920 และ 1930 หรือก่อนหน้านั้นเพลงอย่างวอลซ์ที่ทุกวันนี้นับเป็นเพลงคลาสสิกแล้วก็ดูจะมีสถานะเทียบเคียงกันได้ ดู Alan P. Merriam, Anthropology of Music, (USA: North Western University Press, 1980), pp. 241-244; ธนา วงศ์ญาณณาเวช, ใต้เตียงนักดนตรี เล่ม 1, (กรุงเทพฯ: openbooks, 2554).

[4]  Paul Connerton, How Modernity Forgets, (Cambridge: Cambridge University Press, 2009)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดิศร เกิดมงคล: แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย: สิทธิและสวัสดิการ

$
0
0

คลิปการอภิปรายหัวข้อ "แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย: สิทธิและสวัสดิการ" โดยอดิศร เกิดมงคล (ติดตามชมคลิปเสวนาของประชาไทได้ที่นี่)

เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเสวนาหัวข้อ "แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย: สิทธิและสวัสดิการ" วิทยากรโดย อดิศร เกิดมงคล นักวิจัยด้านแรงงานจาก International Rescue Committe (IRC)

ทั้งนี้ในช่วงท้ายการนำเสนอ อดิศรกล่าวถึง ข้อท้าทายการดำเนินนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติ ได้แก่ หนึ่ง นโยบายการย้ายถิ่น พบว่ามีการแปรผกผันกับการเมืองภายในของแต่ละประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศในอาเซียนด้วยกันเอง ความเป็น/ไม่เป็นประชาธิปไตยมีผลต่อการจัดการการย้ายถิ่นของภูมิภาคนี้

สอง อาเซียนกลายเป็นชุมชนทางจินตนาการที่พยายามเปิดเสรีสำหรับทุน/รัฐราชการ แต่ไม่สามารถกรอบพ้นกรอบคิดอำนาจอธิปไตยแบบเดิม และผลิตซ้ำวาทกรรมความมั่นคง ที่เข้มงวดกับการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่ไร้อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะภาคประชาชนขาดการมีส่วนร่วม

สาม ข้อตกลงร่วมของอาเซียนพูดถึงเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติแบบจำกัด แต่ก็ยังขาดกลไกการคุ้มครองที่แท้จริง หรือกฎหมายภายในยังไม่เอื้อต่อการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติเท่าที่ควร

สี่ การย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติในช่วงที่ผ่านมาก่อให้การแลกเปลี่ยน การปะทะทางวัฒนธรรม และการเข้าสู่สังคมแห่งความหลากหลายของวัฒนธรรม ภายใต้กรอบคิดอำนาจอธิปไตยและชาตินิยมแบบเดิม

ห้า เรามองแรงงานข้ามชาติในฐานะแรงงาน แต่การดำรงอยู่ของพวกเขาทำให้การเกิดขึ้นของชุมชนแรงงานข้ามชาติ การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม เราจะดำรงอยู่ท่ามกลางความหลากหลายอย่างไร

และหก การพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และการพัฒนาในพื้นที่ชายแดน ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ และคนยากจนในชุมชน และมีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน ในอีกด้านหนึ่งเรากลับละเลยการจัดการโดยชุมชน

"ส่วนตัวผมไม่ค่อยมีความหวังกับอาเซียนมาตั้งแต่ต้น เพราะอาเซียนคือการขยายตัวของรัฐข้าราชการที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น ถ้ายังไม่มีการปรับกระบวนทัศน์ของอาเซียน ยกเว้นว่าภาคประชาสังคมจะลุกขึ้นมาขับเคลื่อนที่จะออกไประบบ Consensus แล้วเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น"

ทั้งนี้สามารถอ่านบทอภิปรายโดยละเอียดได้ที่ สำนักข่าวประชาธรรม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images