Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

นศ.รามคำแหงยื่นหนังสือค้านนายกคนนอก

$
0
0
นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มเสียงจากคนหนุ่มสาว, กลุ่มราม-พรหมคีรี และกลุ่มกล้าคิด สร้างมิตร สร้างประชาธิปไตย ยื่นหนังสือคัดค้าน นายกคนนอก ระบุหากไม่แก้ไขอาจเป็นชนวนทำให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้ง พร้อมเสนอให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

 
 
ที่มาภาพ: สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
 
22 พ.ค. 2558 เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภารายงานว่านายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ รับหนังสือจากกลุ่มเสียงจากคนหนุ่มสาว กลุ่มราม-พรหมคีรี และกลุ่มกล้าคิด สร้างมิตร สร้างประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยรามคำแหงนักศึกษา เข้ายื่นหนังสือถึงนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องให้การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย ซึ่งต้องไม่เปิดทางให้บุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพราะการสรรหาไม่ได้การันตีว่าเป็นคนดี
 
พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อปี 2535 กลุ่มนักศึกษาออกมาต่อสู้ให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน จนทำให้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก เพื่อให้ประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำลังจะเปิดทางให้บุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เท่ากับว่าขัดต่อหลักการประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ดังนั้นหากรัฐธรรมนูญออกแบบเป็นอย่างนี้ก็จะเป็นชนวนที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งอีกครั้ง
 
ด้านนายอลงกรณ์ กล่าวภายหลังรับหนังสือแล้วว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติและประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพจ คสช. ถูก 'โหดสัส V2' ถล่มในโอกาสครบรอบ 1 ปี 22 พฤษภา 57

$
0
0

23 พ.ค. 2558 - เมื่อคืนวันที่ 22 พ.ค. เวลา 23.00 น. เพจ 'โหดสัส V2'ซึ่งเป็นเพจล้อเลียนและโพสต์เรื่องเสียดสี ได้นัดลูกเพจเข้าไปถล่มเพจ คสช. ในโอกาสรำลึกเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเพจดังกล่าวเคยนัดเข้าไปถล่มเพจ คสช. เช่นกัน

 

 

ปีที่แล้วก็โดนปาขี้ ครบรอบหนึ่งปีก็เอาขี้ไปแดกไอ้สัส บุกกกกกกกกกกกกกกกก

Posted by โหดสัส V2 on Friday, 22 May 2015

 

โดยล่าสุดเมื่อเวลา 00.13 น. ในท้ายความเห็นของเพจของ คสช. ได้มีผู้เข้าไป "ปาขี้" หรือโพสต์รูปอุจจาระ ตามการนัดหมายของแอดมินเพจโหดสัส V2

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ฯ ชี้หนึ่งปี รปห. ผ่านไป การปราบชั่วคราวกลายเป็นถาวร

$
0
0

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้ไม่เห็นสัญญาญยกเลิกมาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพ และสิทธิทางการเมือง เรียกร้องรัฐไทยยกเลิกกฎหมายและนโยบายที่กดขี่ รวมทั้งการปฏิบัติที่ละเมิดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย 

โดยองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกแถลงการณ์ดังนี้

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล 

แถลงการณ์ (คำแปล)

22 พฤษภาคม 2558

ประเทศไทย: หนึ่งปีผ่านไป การปราบปรามแบบ “ชั่วคราว” กลายเป็นถาวร

ในโอกาสครบรอบปีการยึดอำนาจของทหารโดยการทำรัฐประหาร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องอีกครั้งให้ทางการไทยดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อยกเลิกกฎหมายและนโยบายที่กดขี่ รวมทั้งการปฏิบัติที่ละเมิดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย ทางการควรรื้อฟื้นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชน และยุติการลอยนวลพ้นผิดกับผู้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน

แม้ว่าทางการไทยเสนอกรอบเวลาที่จะมุ่งไปสู่การเลือกตั้ง และล่าสุดบอกว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งอย่างเร็วสุดในเดือนสิงหาคม 2559 แต่ไม่มีการส่งสัญญาณใด ๆ ว่าจะยกเลิกมาตรการจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพและการใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างสงบ รวมทั้งสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองด้วย

พร้อมๆ กับการยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อเดือนเมษายน 2558 ในทุกพื้นที่ของประเทศยกเว้นพื้นที่ซึ่งมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกอยู่แล้วก่อนเดือนพฤษภาคม 2557 ทางการไทยก็ยังคงยึดกุมอำนาจที่กว้างขวางและปราศจากการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรืออาจจะจำกัดสิทธิมากกว่าอำนาจแบบเดิม และใช้อำนาจนั้นขัดขวางหรือปราบปรามอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชน โดยอ้างความจำเป็นเพื่อความมั่นคงของประเทศ และไม่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจในเชิงปกครอง

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองของบุคคลมากกว่าห้าคนขึ้นไป และจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ ส่งผลให้การเซ็นเซอร์ตัวเองและเต็มไปด้วยบรรยากาศของความหวาดกลัว รวมถึงมีการสั่งฟ้องคดีบุคคลที่แสดงความเห็นต่างจากรัฐต่อศาลทหารอย่างต่อเนื่อง แม้การแสดงออกนั้นจะเกิดขึ้นอย่างสงบก็ตาม ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิที่ได้จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงการใช้แรงกดดันอย่างไม่เป็นทางการและการแสดงท่าทีข่มขู่ของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี  ต่อสื่อมวลชนและภาคประชาสังคมที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์  มาตรการกดขี่เหล่านี้ทำให้บุคคลสามารถเรียกร้องหรือแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนทั้งของตนเองและบุคคลอื่นได้น้อยลง

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้ทางการปล่อยตัว ยกเลิกข้อกล่าวหาและบทลงโทษโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อบุคคลที่ถูกควบคุมตัว ถูกฟ้องคดี หรือถูกศาลตัดสินลงโทษเพียงเพราะการใช้สิทธิมนุษยชนของตนเพื่อแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมอย่างสงบ มีรายงานว่าพลเรือนกว่าร้อยคนถูกฟ้องคดีต่อศาลทหาร โดยเป็นผลมาจากการแสดงความคิดเห็นต่างอย่างสงบ หลายคนไม่มีสิทธิในการอุทธรณ์คดี มีผู้แสดงความเห็นอย่างสงบถูกศาลตัดสินจำคุกนานถึง 50 ปีตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งกำหนดให้มีการจำคุกได้ไม่เกิน 15 ปีต่อหนึ่งกระทงสำหรับการกระทำที่ถือว่าเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเรียกร้องให้ทางการยกเลิกการใช้อำนาจทหาร ซึ่งเดิมใช้ผ่านกฎอัยการศึกและปัจจุบันใช้ผ่านประกาศและคำสั่งของคสช. ในการควบคุมตัวบุคคลเพื่อนำไปเข้ารับ “การปรับทัศนคติ” ซึ่งกินเวลาไม่เกินเจ็ดวัน ในสถานที่ที่ไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการและไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการทรมานขึ้นได้

ทางการต้องยุติการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวจากการควบคุมตัวโดยพลการและการคุมขังอย่างอื่น อันเป็นเหตุให้บุคคลหลายร้อยคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองได้อีก เนื่องจากเสี่ยงจะถูกสั่งคุมขังอีกครั้ง เงื่อนไขเพื่อการปล่อยตัวต่าง ๆ ต้องถูกยกเลิก ส่วนอำนาจอย่างอื่นที่ทางการประกาศเพิ่มเมื่อเดือนเมษายน 2558 รวมทั้งการแต่งตั้ง “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย” ที่มีอำนาจในการตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายศาล ต้องถูกยกเลิกเช่นกัน

นอกจากนั้น ทางการต้องให้การประกันว่าการนำคำสั่งที่ประกาศใช้ในช่วงปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งป่าไม้ ทางกองทัพต้องไม่ขับไล่ชาวบ้านออกจากชุมชนในเขตชนบทห่างไกล ที่ผ่านมามีรายงานการขับไล่ชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งการบังคับไล่รื้อด้วย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเรียกร้องให้ทางการถ่ายโอนคดีของพลเรือนที่ถูกไต่สวนในศาลทหารไปยังศาลพลเรือน และให้การประกันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ รวมทั้งให้ความยุติธรรมและการเยียวยาต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการควบคุมตัวโดยพลการ การทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้าย และการบังคับบุคคลให้สูญหายในปีที่ผ่านมา

 

ที่มา Thailand: A year on – “temporary” suppression has become permanent

ประเทศไทย: หนึ่งปีผ่านไป การปราบปรามแบบ “ชั่วคราว” กลายเป็นถาวร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ระบุ คสช. ยังไม่ยอมให้มีการแสดงความเห็นต่างโดยสงบ

$
0
0
22 พ.ค. 2558 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในวันนี้ (22 พ.ค.) ว่าการจับกุมนักศึกษาและนักกิจกรรมต่อต้านรัฐประหารโดยพลการ ในเหตุการณ์อย่างน้อยสามครั้งในวันนี้ ทั้งที่กรุงเทพฯ และที่ขอนแก่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสัญญาณเตือนอย่างชัดเจนว่าระบอบทหารที่ปกครองประเทศมาครบปีแล้วยังไม่ยอมให้มีการแสดงความเห็นต่างโดยสงบ
                
ริชาร์ด เบนเน็ต (Richard Bennett) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า ครบหนึ่งปีพอดีนับแต่กองทัพไทยประกาศใช้กฎอัยการศึกและยึดอำนาจ เรายังคงเห็นการปราบปรามที่รุนแรงต่อผู้ประท้วงอย่างสงบบนท้องถนน
               
“ต้องไม่มีการจับกุมหรือควบคุมตัวผู้ประท้วงอย่างสงบ เพียงเพราะเขาเสนอความเห็นที่อาจไม่น่ารับฟังหรือท้าทายระบอบทหาร บุคคลที่ชุมนุมอย่างสงบเพื่อใช้สิทธิมนุษยชนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก ต้องได้รับการปล่อยตัวโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข และต้องยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมด
                
“ทางการต้องเคารพและต้องคุ้มครองให้มีการแสดงความเห็นต่างอย่างสงบ และให้ยกเลิกมาตรการอย่างเข้มงวดที่ปิดกั้นการแสดงออกและการชุมนุมในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ”
                
“ประมาณ 18.20 น.ตามเวลาในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวนักศึกษาและนักเคลื่อนไหว 20 คนที่กรุงเทพฯ ช่วงที่กำลังจะประท้วงเชิงสัญลักษณ์อย่างสงบ เพื่อต่อต้านรัฐประหารเมื่อปี 2557 ที่บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีการประท้วงต่อต้านรัฐประหารในช่วงแรก ๆ เมื่อปีที่แล้ว ตำรวจปฏิเสธไม่ให้ผู้ถูกควบคุมตัวได้พบกับทนายความ อ้างว่าต้องรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา มีรายงานว่านักกิจกรรมสองคนเป็นอย่างน้อยได้รับบาดเจ็บระหว่างการจับกุมและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล
                
ในอีกเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอน 15.00 น.ในวันนี้ที่กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจจับกุมนักศึกษา นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและคนขับแท็กซี่ที่สถานีรถใต้ดิน พวกเขาถูกควบคุมตัวไว้ที่โรงพักและได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา
                
บุคคลทั้งสามเป็นสมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ซึ่งเป็นกลุ่มประท้วงทางการเมือง และอยู่ระหว่างเดินทางเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลอาญาที่กรุงเทพฯ เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯคนปัจจุบันซึ่งทำการรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว ทางกลุ่มแจ้งแผนการต่อสาธารณะหลายวันก่อนจะมีการชุมนุมในโอกาสครบรอบหนึ่งปีรัฐประหาร สมาชิกคนอื่นของกลุ่มเคยถูกควบคุมตัวมาแล้วจากการประท้วงเชิงสัญลักษณ์อย่างสงบในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาอย่างนายสิริวิชญ์ เสรีวิวัฒน์ หรือนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ซึ่งลูกชายของเขาถูกทหารฆ่าตายระหว่างการปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปี 2553 และคนขับแท็กซี่อย่างนายวรรณเกียรติ ชูสุวรรณ
                
ในเหตุการณ์ที่สาม มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อยเจ็ดคนที่จังหวัดขอนแก่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อประมาณ 13.00 น. ผู้ประท้วงทั้งเจ็ดคนได้รวมตัวชุมนุมอย่างสงบเพื่อต่อต้านรัฐประหารและการบังคับไล่รื้อชุมชนในชนบทเพื่อเปิดทางให้กับโครงการขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนา ผู้ประท้วงเป็นสมาชิกกลุ่มดาวดิน ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรม โดยเชื่อว่าบางส่วนเคยถูกจับกุมมาแล้วในเหตุการณ์ชูสามนิ้วจากภาพยนตร์ “ฮังเกอร์เกมส์” ระหว่างที่พลเอกประยุทธ์มากล่าวปาฐกถาที่ขอนแก่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557
                
จากภาพข่าว เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบได้บุกเข้าไปสลายการชุมนุมก่อนจะจับกุมนักกิจกรรม ในเบื้องต้นมีการพาตัวสมาชิกกลุ่มดาวดินไปยังค่ายทหาร และในตอนนี้ถูกนำตัวไปที่โรงพักในขอนแก่น
                
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดเหล่านี้สะท้อนความพยายามอย่างต่อเนื่องของทางการไทย ในการปราบปรามเสียงที่เห็นต่างของประชาชน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองอาจต้องเจอกับโทษจำคุก ทางการได้ใช้อำนาจมากมายที่มีอยู่เพื่อจำกัดและปฏิเสธไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิของตนโดยอ้างว่าเพื่อความมั่นคงของประเทศ ถึงเวลาแล้วที่พวกเขาต้องอนุญาตให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการเห็นต่างได้อย่างสงบ” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.ยอมอ่อน ปล่อยก่อนแจ้งข้อหาทีหลัง หลังนศ.ลั่น ถ้าปล่อยต้องปล่อยหมด

$
0
0

 
ภาพโดย อานนท์ นำภา


ภาพโดย ขวัญระวี วังอุดม


ภาพโดย สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์


ภาพโดย สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์


ภาพจากเพจพลเมืองโต้กลับ

22 พ.ค. 2558 ความคืบหน้าล่าสุดของกิจกรรมว่า “ศุกร์ 22 มาฉลองกันมะ?” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการรำลึก ครบรอบ 1 ปี รัฐประหารนั้น มีผู้ถูกจับกุมไปจำนวนมากตั้งแต่ช่วงเย็น (อ่านข่าวที่นี่) ทั้งหมดยังคงถูกควบคุมตัวที่ สน.ปทุมวันจนย่างเข้าสู่วันใหม่ ท่ามกลางผู้มาให้กำลังใจหน้า สน.ราว 60-70 คน และตำรวจที่ประจำการโดยรอบราว 50 นาย

02.30 น.ที่สน.ปทุมวัน ธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์มธ. ออกจากห้องสอบสวนมาแจ้งกับมวชนที่รอด้านหน้าสน.ว่า ตำรวจแจ้งว่าจะเรียกสอบนักศึกษาประชาชนที่ถูกจับกุมทุกคน ทีละคน และจะปล่อยทั้งหมดภายในคืนนี้หลังจากสอบเสร็จ หากพบว่าคนใดเข้าข่ายมีความผิดจะแจ้งข้อหาในภายหลัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่านักศึกษายังคงหารือเพื่อให้คำตอบว่าจะให้ความร่วมมือในกรณีนี้หรือไม่

เวลาประมาณ 1.05 น.สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ อมธ. แถลงหน้า สน.ปทุมวัน ขอให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมดออกมาโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ เพราะการกระทำที่หน้าหอศิลป์เป็นสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนสามารถกระทำได้

ก่อนหน้านี้เวลาประมาณ 00.50 น. ธีระ สุธีวรางกูล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. ออกจากห้องสอบสวนแจ้งว่า ขณะนี้ตำรวจสันติบาลได้เสนอให้ผู้ที่ถูกจับกุมทุกคนลงชื่อเพื่อนำรายชื่อไปตรวจสอบประวัติ หากพบว่าไม่มีประวัติประท้วงหรือเคยลงนามข้อตกลงไม่เคลื่อนไหวทางการเมืองมาก่อนก็จะได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน แต่ผู้ที่มีประวัติมาแล้วจะถูกแจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.เรื่องการชุมนุม ซึ่งจะต้องดำเนินการยื่นประกันตัวต่อไป  

จากนั้นตัวแทนนักศึกษาได้เข้าไปพูดคุยกับเพื่อนที่ถูกคุมตัวซึ่งแยกกันเป็น 3 ห้องพร้อมกับนำคำตอบออกมาแจ้งนักศึกษาและประชาชนที่ให้กำลังใจอยู่หน้าสน.ปทุมวันกว่า 60 คนว่า ทุกคนตกลงกันว่า หากจะได้กลับบ้านก็ต้องได้กลับพร้อมกันทุกคน หากไม่ได้กลับก็จะอยู่ด้วยกันที่นี่ทุกคนเช่นกัน และจะยอมถูกแจ้งข้อกล่าวหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประมาณการกันว่า คนที่เคยมีประวัติชุมนุมและเคยเซ็นข้อตกลงแล้วมีประมาณ 9 คน หนึ่งในนั้นคือ ณัชชชา กองอุดม นักศึกษาม.กรุงเทพ ซึ่งยังไม่ได้ร่วมกิจกรรมใด เพียงแต่เดินเข้าไปในหอศิลป์

สำหรับผู้ถูกจับกุมทั้งหมด มีประมาณ 34 คน แต่ไม่สามารถยืนยันตัวเลขที่แน่ชัดได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ให้ข้อมูลและไม่อนุญาตให้เข้าไปในห้องสอบสวน ในจำนวนนี้เป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่นักศึกษาราว 10 คน ทั้งหมดถูกจับกุมตัวมาจากหอศิลป์ การจับกุมแบ่งเป็นสองระลอก รอบแรกคือถูกจับ 9 คน ขณะที่รอบหลังเป็นกลุ่มคนที่นั่งล้อมวงกันอยู่ ไม่ยอมกลับ จากนั้นตำรวจได้เข้าจับกุมตัวมาที่ สน.ปทุมวัน

ทั้งนี้เวลา 02.00 น.เศษ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชลธิชา แจ้งเร็ว หรือลูกเกด นักศึกษากลุ่ม ศนปท. หนึ่งในผู้ถูกควบคุมตัวมาตั้งแต่ช่วงเย็นมีอาการเป็นลมอยู่หน้าห้องน้ำ เจ้าหน้าที่นำตัวเข้าห้องสอบสวนก่อนที่อีกราว 30 นาทีต่อมารถพยาบาลจะมารับไปยังรพ.กลาง 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภานศ.มธ.-ปาตานี-เชียงใหม่-ลูกชาวบ้าน ม.บูรพา วอนปล่อยตัวนักศึกษา-ประชาชนทันที

$
0
0

หลังเหตุควบคุมตัวนักศึกษาและประชาชนที่จัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์รัฐประหาร วานนี้(22 พ.ค.58) ทั้งที่บริเวณหน้าหอศิลปะฯ กทม. และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจังหวัดขอนแก่น รวมประมาณ 59 ราย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีหน้าหอศิลปะฯกรณีขอนแก่น )

ล่าสุดวันนี้(23 พ.ค.58) สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวให้เร็วที่สุดโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ วอนนำบทเรียนการใช้ความรุนแรงของรัฐไทยในอดีตมาเป็นบทเรียน เรียกร้องให้เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้โดยเร็วที่สุด และคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด

ขณะที่วานนี้ เมื่อเวลา 22.55 สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้โพสต์ภาพการจับกุมนักศึกษาที่จัดกิจกรรมรำลึก 1 ปี การรัฐประหาร บริเวณหน้าหอศิลปฯ กทม.วันนี้ โดยสภาพนักศึกษา มธ. ได้เรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกจับคุมทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข 

รวมทั้งนักศึกษากลุ่มลูกชาวบ้าน ได้โพสต์แถลงการณ์ประณามเหตุการณ์ดังกล่าวเช่นกัน รวมทั้ง สมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์ "ปล่อยเพื่อนเราโดยไม่มีเงื่อนไข"

เมื่อเวลา 2.00 น. กลุ่มดาวดิน โพสต์ภาพผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘ดาวดิน สังกัดพรรคสามัญชน’ ซึ่งเป็นภาพบริเวณหน้า สภอ.เมืองขอนแก่น ซึ่งเป็นสถานที่ควบคุมตัวนักศึกษา 7 ราย พร้อมข้อความ “เพื่อนนักศึกษาจากสารคามเดินทางมาให้กำลังใจเพื่อนเราทั้ง 7 คน พร้อมแปลอักษรพร้อมกะโตน "ปล่อยเพื่อนเรา" หน้า สภ.เมืองขอนแก่น”

 

 

2.30น. นศ.ขอนแก่น สารคามและชาวบ้านที่มาให้กำลังใจ เข้าเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ปล่อยตัวเพื่อนเราทั้งหมด 7 คนโดยไม่มีเงื่อนไขหากไม่ได้รับคำตอบจะนอนรอในสถานนีตำรวจด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจชี้แจงไม่มีอำนาจตัดสินใจ. #ปล่อยตัวเพื่อนเราโดยไม่มีเงื่อนไข

Posted by ดาวดิน สังกัดพรรคสามัญชน on 22 พฤษภาคม 2015

 

รายละเอียดแถลงการณ์ :

แถลงการณ์ฉบับที่ 1

เรื่อง การควบคุมตัวนักกิจกรรมนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย

เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 22 พฤษภาคม2558 เจ้าหน้าที่ทำการควบคุมตัว นักศึกษานักกิจกรรมเพื่อสันติภาพและประชาธิปไตยที่ร่วมกันจัดกิจกรรมTIME $ SILENCE ครบรอบ 1 ปีการรัฐประหารยึดอำนาจประชาชน ณ หอศิลป์ กรุงเทพมหานครและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจังหวัดขอนแก่น กิจกรรมในครั้งนี้ได้ถูกยกเลิกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และได้ทำการควบคุมตัวนักศึกษาที่เข้ามาร่วมกิจกรรมดังกล่าวทั้งหมด 59 คน แบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 39 คน ขอนแก่น 13 คน.   ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว

สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานีเป็นองค์กรทางการเมืองที่เคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อสันติภาพปาตานีซึ่งยึดมั่นในหลักสันติวิธี สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ขอเสนอความคิดเห็นและเรียกร้องดังต่อไปนี้

1.     รัฐไทยต้องคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด การกดทับเสรีภาพของประชาชนถือเป็นเงื่อนไขที่จะนำมาสู่การใช้ความรุนแรง

2.     การทำร้าย ร่างกาย การซ้อมทรมาน การควบคุม มิใช่แนวทางที่สามารถหยุดหยั่งการเคลื่อนไหวของเหล่านักกิจกรรมนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพได้  รัฐไทยควรนำบทเรียนการ หนีเข้าป่าจับปืนสู้ ของขบวนนักศึกษาในอดีตมาเป็นบทเรียนและต้องเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้โดยเร็วที่สุด

3.     เราขอเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาทั้งหมดที่ถูกควบคุมตัวให้เร็วที่สุดโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

 

ด้วยจิตรักสันติภาพและประชาธิปไตย

สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี

23 พฤษภาคม 2558

00000

 

แถลงการณ์กลุ่มลูกชาวบ้าน

มารทมิฬกินเมืองเรืองอำนาจเกรี้ยวกราดฟาดงวงงาวางท่าใหญ่ ใช้อำนาจปราบปรามเก่งกว่าใครใจพี่ใหญ่เจ๋งต่อหน้าประชาชน คนมือเปล่าหรือจะสู้ทหารกล้าผู้คอยปราบปวงประชามาแต่หลัง หลบเร้นอยู่ภายในที่กำบังมีกำลังไว้สำหรับปัญญาชน โอ้พี่เอ๋ยสันติบาลทหารกล้ากินภาษีปวงประชามากี่หน เคยหรือไม่สำรวจตรวจสอบสำเหนียกตน ท่านเป็นคนหรือเพียงหุ่นไล่กา

พินิจเถิดถึงเครื่องแบบที่ท่านใส่เงินเดือนให้ท่านใช้แต่ละหน ไม่สำเหนียกสำนึกบุญคุณคน ประชาชนนั้นให้ท่านเสมอมา ยศถาเกียรติศักดิ์ที่ท่านแบกกลับแปลกแยกการกระทำท่านทุกหน ทั้งจับกุมกดขี่ย่ำยีประชาชน ท่านเป็นคนหรือเพียงหมาวิ่งล่ากวาง

กาลเวลาชี้ชัดประจักษ์แล้ว โถทแกล้วรั้วของชาติเก่งหนักหนาเสพอำนาจกร่างใหญ่ในอุราแล้วบีฑาประชาผู้เลี้ยงตน ตรองดูเถิดเกียรติของท่านอยู่หนไหนหรือห่างไกลเกียรติยศและศักศรีมีปัญญาทำได้เพียงย่ำยีแล้วกดขี่ปวงประชาผู้มีคุณ

แม้นท่านขืนใจเราได้ในวันนี้แต่ใช่จะทำได้อีกหลายหนเพราะประชามีขีดความอดทนเมื่ออับจนหนทางจักลุกยืน และเมื่อวันที่ประชาเริ่มหยัดยืนอำนาจปืนก็มิอาจขวางทางคน

“ชื่อของท่านจะจารึกไว้ในสุนัขบัญชี รอวันที่ปวงประชามาเอาคืน”

 

แถลง ณ วันที่

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘

 

00000

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ประกันตัวออกมาแล้ว

$
0
0


ภาพจาก Yuttana Teeb


ชาวบ้านที่มาให้กำลังใจเข้ามาร่วมแสดงความยินดี
ภาพจาก Yuttana Teeb

23 พ.ค. 2558 ที่ขอนแก่น นักศึกษากลุ่มดาวดินทั้ง 7 คนได้รับการประกันตัวออกมาแล้ว ด้วยวงเงินคนละ 7,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 52,500 บาท โดยเงินดังกล่าวได้จากการระดมเงินกัน

หลังจากออกมา นักศึกษาทั้ง 7 คนอ่านแถลงการณ์ที่เขียนจากในห้องขัง ระบุหากเผด็จการไม่หยุดดำเนินการในประเด็นปัญหาต่างๆ อาทิ ขุดเจาะปิโตรเลียม/ไล่ที่ดิน/โปรแตส/โรงไฟฟ้า/เหมือง/เขื่อน/อุตสาหกรรม และไม่คืนอำนาจให้ประชาชน พวกเขาก็เป็นปฏิปักษ์ต่อไป ก่อนร่วมกันร้องเพลงบทเพลงของสามัญชน

ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจนัดรายงานตัว 8 มิ.ย. นี้ โดยระบุว่า จะรีบทำสำนวนให้เสร็จและอาจจะส่งฟ้องเลย

นักศึกษาทั้ง 7 คนถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช.ที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง หลังทำกิจกรรม 1 ปีรัฐประหารวานนี้ที่ขอนแก่น เดิมพวกเขายืนยันไม่ประกันตัว เรียกร้องการปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข

 

แถลงการณ์จากกลุ่มดาวดิน ซึ่งเขียนขณะอยู่ในห้องขัง

ทหารที่รักทั้งหลาย การที่พวกคุณกักขังเรา มันก็ขังได้แต่ร่างกายเท่านั้น คุณไม่สามารถกักขังหัวใจอันเสรีของเราได้  กรงเหล็กแข็งๆ รึจะสู้หัวใจของเราได้

ม.44 ที่รัก มันก็แค่ตัวอักษรที่เผด็จการเขียนขึ้นมา แล้วมโนเอาว่าเป็นกฎหมาย ในเมื่อกฎหมายบอกว่าเราผิด เราก็ผิดตามกฎหมาย แต่เราไม่เคยผิดต่อสำนึกของหัวใจตัวเอง สำนึกที่รู้ผิดชอบชั่วดี สำนึกในความเท่าเทียมของสิทธิเสรีภาพของสามัญชน และสำนึกถึงความชั่วร้ายของเผด็จการและ ม.44 ที่พวกเรายอมรับไม่ได้

ตราบใดที่เผด็จการยังไม่หยุดขุดเจาะปิโตรเลียม/ไล่ที่ดิน/โปรแตส/โรงไฟฟ้า/เหมือง/เขื่อน/อุตสาหกรรมและยังไม่คืนอำนาจให้ประชาชน พวกเรายืนยันว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งชั่ว เผด็จการอันโสมม

 







ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บอกปล่อยตัวไม่มีเงื่อนไข สุดท้ายถ่ายบัตร ปชช. พร้อมให้เซ็นไม่เคลื่อนไหว

$
0
0


23 พ.ค. 2558 เมื่อเวลา 05.45 น. กลุ่มนักศึกษา ประชาชน ทั้งหมด 37 คน ที่ถูกจับกุมหน้าหอศิลปฯ เมื่อช่วงค่ำวานนี้หลังทำกิจกรรม 1 ปีรัฐประหารได้รับการปล่อยตัวทั้งหมด

โดยในการสืบสวน เจ้าหน้าที่ได้แยกห้องสืบสวนออกเป็น 3 ห้อง และยื่นข้อเสนอให้นักศึกษาแตกต่างกัน โดยบอกกับ 2 ห้องแรกว่า จะปล่อยตัวโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา แต่ขอให้ถ่ายเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเขียนกำกับว่า ไม่เคลื่อนไหว ขณะที่ห้องที่ 3 เจ้าหน้าที่บอกว่า ให้ปล่อยตัว โดยให้สัญญาปากเปล่าว่าจะไม่เคลื่อนไหวอีก

อย่างไรก็ตาม เมื่อทั้งหมดตกลง สุดท้ายเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการแรกคือ ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนเก็บไว้ทุกคน พร้อมเขียนกำกับว่าจะไม่เคลื่อนไหว แล้วจึงปล่อยตัว

ทั้งนี้ ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นักศึกษากลุ่ม ศนปท. หนึ่งในนักศึกษาที่ถูกจับมาด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างรักษาตัวที่ รพ.หัวเฉียวและรอผลตรวจ CT scan โดยระบุว่า ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายร่างกายขณะเข้าจับกุม
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรื่องราวการ 'เดิมพัน' ช่วยผู้แฉสะเทือนโลก 'เชลซี แมนนิง' ให้พ้นโทษ

$
0
0

กลุ่มผู้สนับสนุน เชลซี แมนนิง อดีตทหารสหรัฐฯ ที่ถูกจำคุกเพราะแฉเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสงครามอิรักกำลังพยายามต่อสู้อย่างแข็งขันเพื่อช่วยเหลือแมนนิงในชั้นศาลอุทธรณ์ ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามพลิกคดีด้วยการยืนยันว่า การเปิดโปงของแมนนิงที่เป็นการให้ความรู้ต่อสาธารณะไม่ใช่สิ่งที่ผิด


22 พ.ค. 2558 เว็บไซต์วิเคราะห์นโยบายการต่างประเทศ Foreign Policy In Focus (FPIF) รายงานถึงความพยายามช่วยเหลือให้มีการปล่อยตัว เชลซี แมนนิง อดีตทหารสหรัฐฯ ที่ถูกสั่งจำคุกหลังเปิดโปงการทารุณกรรมโดยกองทัพสหรัฐฯ ผ่านเอกสารที่ส่งให้วิกิลีกส์

ชาร์ลส์ เดวิส นักเขียนและโปรดิวเซอร์ผู้เขียนงานให้กับสื่ออัลจาซีรา เดอะนิวริพับลิค และซาลอน ระบุในบทความว่าเซลซี แมนนิง เป็นผู้รักชาติแบบอเมริกันแท้ในตอนที่เธอร่วมกองทัพสหรัฐฯ ในปี 2550 ในตอนที่กำลังมีกระแสสงครามอิรัก แต่เธอกลับรู้ความจริงว่าประเทศของเธอทำอะไรลงไปในช่วงสงคราม มีการนำตัวชาวมุสลิมนิกายซุนนีในอิรักให้กับกองกำลังนิกายชีอะฮ์ซึ่งรัฐอิรักให้การสนับสนุน ทำให้เธอรู้สึกว่าไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำเช่นนี้ เธอได้แต่มองความอยุติธรรมเกิดขึ้นตรงหน้าโดยไม่สามารถทำอะไรได้

แต่วันหนึ่งแมนนิงก็ตัดสินใจนำข้อมูลหลักฐานการก่ออาชญากรรมสงครามเขียนลงซีดีที่ระบุด้านหน้าเป็นชื่อนักร้อง "เลดี้ กาก้า" ตามการให้ปากคำของเธอ แล้วต่อมาก็มีการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ผ่านเว็บไซต์วิกิลีกส์ ทำให้เธอถูกศาลทหารตัดสินให้ต้องรับโทษจำคุก 35 ปีในข้อหาทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับรั่วไหล มีการตัดสินโทษนี้ตั้งแต่ปี 2556 ถ้าแมนนิงรับโทษจำคุกรวม 35 ปี เมื่อเธอออกมาเธอก็จะอายุ 60 ปี บทความใน FPIF ระบุว่าแม้เธอจะสามารถได้รับการปล่อยตัวโดยทำทัณฑ์บนได้เมื่อถึงปี 2563 แต่กลุ่มผู้สนับสนุนแมนนิงต้องการให้เธอออกมาจากคุกโดยทันที

แนนซี ฮอลลันเดอร์ หนึ่งในทีมทนายที่ต้องการให้มีการปล่อยตัวแมนนิงกล่าวว่า ทางการสหรัฐฯ มักจะมีการดำเนินคดีแต่กับผู้เปิดโปงที่อยู่ในฐานะนักโทษทางความคิดเช่นกรณีแมนนิงซึ่งถือเป็นการทำร้ายคนที่สมควรถูกลงโทษน้อยที่สุด แต่กลับเพิกเฉยต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ปากพล่อยเปิดเผยข้อมูลภายในต่อสื่อ

เดวิส ระบุในบทความว่ามีความแตกต่างระหว่างการกระทำของแมนนิงซึ่งเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้ความรู้ต่อสาธารณะที่กลายเป็นปัญหากวนใจฝ่ายความมั่นคงของรัฐ กับการทำข้อมูลรั่วไหลที่เป็นลักษณะการปล่อยข้อมูลเท็จที่มักจะเป็นการกระทำของพวก "ลูกสมุน" ที่ต้องการเอาใจ "ผู้มีอำนาจ"

ข้อมูลที่แมนนิงเปิดโปง มีวิดีโอทหารสหรัฐฯ สังหารประชาชนไม่มีอาวุธในอิรักรวมถึงนักข่าวรอยเตอร์ 2 คน ซึ่งโฆษกกองทัพอ้างว่าทหารที่ระดมยิงชายคนหนึ่งที่กำลังขับรถที่มีเด็กอยู่ในนั้นเป็น "ปฏิบัติการสู้รบต่อกองกำลังข้าศึก" โดยแมนนิงได้พิสูจน์ให้เห็นไปในอีกทาง นอกจากนี้ยังมีการเปิดโปงเรื่องที่อดีตผู้นำเผด็จการของเยเมนเคยร่วมมือกับรัฐบาลโอบามาในการช่วยปกปิดปฏิบัติการโจมตีด้วยเครื่องบิน "โดรน" โดยอ้างว่าเพื่อปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ แต่องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลรายงานว่าปฏิบัติการโดรนทำให้มีพลเรือนชาวเยเมนเสียชีวิต 41 คน เป็นเด็ก 21 คน

เดวิสระบุว่าสิ่งที่ทำให้การทำข้อมูลรั่วไหลในแบบของแมนนิงแตกต่างจากของพวกลูกสมุนผู้มีอำนาจคือเจตนาที่ไม่ได้ทำให้ตัวเองดูเป็นคนดีขึ้น แต่เพื่อ "ดับเปลวเพลิงความอยุติธรรมที่หมกไหม้อยู่ในจิตสำนึกของพวกเขา" โดยฮอลลันเดอร์และเพื่อนทนายเธอกำลังจะใช้จุดนี้มาช่วยอุทธรณ์ โดยเธอกล่าวถึงการดำเนินคดีในชั้นศาลว่าไม่มีการอนุญาตให้เชลซีให้การเกี่ยวกับความรู้สึกของเธอที่ได้เปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนเลย

"พวกเราร้องอุทธรณ์ในเรื่องนี้เพื่อตัวพวกเราเอง ...และพวกเราจะต้องหยุดยั้งมันให้ได้เพราะมันทำให้การเปิดโปงข้อมูลที่ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ อับอายกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย" ฮอลลันเดอร์กล่าว

แต่ความยุติธรรมก็มีราคาแพง มีการใช้เงินกองทุนเพื่อต่อสู้คดีเชลซี แมนนิง ในปี 2557 ไปแล้ว 149,000 ดอลลาร์จากทั้งหมด 247,000 ดอลลาร์ที่มีคนบริจาคให้ ซึ่งเมลิสซา คีธ ผู้ทำงานเครือข่ายสนับสนุนเชลซี แมนนิง กล่าวว่าเงินส่วนที่เหลือนี้จะนำไปใช้ปกป้องการกระทำของแมนนิงโดยให้ความรู้ต่อสาธารณะทั้งโฆษณา การเผยแพร่บทความของแมนนิงผ่านหนังสือพิมพ์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการเรียนรู้แก่ผู้คน และใช้เป็นเงินทุนเดินทางสำหรับผู้ที่ต้องการเยี่ยมแมนนิงโดยเฉพาะมารดาของเธอและญาติๆ ที่อยู่ในแคว้นเวลส์ และส่วนหนึ่งยังใช้เป็นค่าการศึกษาระดับวิทยาลัยของเธอเลย

บทความจาก FPIF ยังแสดงให้เห็นอีกว่าแม้เชลซี แมนนิง จะอยู่ในคุกที่เรือนจำฟอร์ท ลีเวนเวิร์ธ แต่เธอก็ยังคงพยายามเคลื่อนไหวผ่านโทรศัพท์จากในเรือนจำทหารเพื่อเรียกร้องขอทุนในการต่อสู้คดีและทุนในการส่งเสริมการต่อสู้เพื่อความเชื่อของเธอโดยมีผู้ช่วยดำเนินการคือบริษัทประชาสัมพันธ์ที่โพสต์ขอบริจาคผ่านทวิตเตอร์ของแมนนิง
อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าค่าจ้างทนายและค่าอื่นๆ ที่ใช้ในการต่อสู้คดียังคงเป็นปัญหาที่ฝ่ายผู้สนับสนุนแมนนิงยังต้องดิ้นรนแต่พวกเขาก็บอกว่าจะต้องเดินหน้าต่อไป เพราะจะต้องมีการพิจารณาข้อมูลคดีที่ "มีจำนวนข้อมูลมากที่สุดในประวัติศาสตร์คดีทหารของสหรัฐฯ" และเพื่อที่จะทำให้ข้อถกเถียงของพวกเขานำพาแมนนิงไปสู่ปลายทางของกระบวนการ

ทนายความของแมนนิงเปิดเผยว่าเป็นไปได้ที่จะมีการพิจารณาคดีในศาลทหารชั้นอุทธรณ์ของสหรัฐฯ อีกครั้งภายในปีนี้และถ้าหากการอุทธรณ์ไม่สำเร็จคดีนี้ก็อาจจะถูกนำเข้าสู่ระบบของศาลพลเรือน และเข้าสู่ศาลสูงสุดต่อไป

 

เรียบเรียงจาก

The Gambit to Free Chelsea Manning, Charles Davis, 20-05-2015
http://fpif.org/the-team-working-to-get-chelsea-manning-out-of-prison/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเรียกร้องสอบสวนกรณี จนท. ใช้กำลังปราบ นศ.

$
0
0
23 พ.ค. 2558 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ออกแถลงการณ์ขอให้มีการสอบสวนกรณีเจ้าหน้าที่ใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมโดยสงบในวันครบรอบหนึ่งปี 1 รัฐประหาร โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
ขอให้มีการสอบสวนกรณีเจ้าหน้าที่ใช้กำลัง
ปราบปรามผู้ชุมนุมโดยสงบในวันครบรอบหนึ่งปี 1 รัฐประหาร
           
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 มีการจับกุมนักศึกษาที่ชุมนุมอย่างสงบจำนวนทั้งสิ้น 34 คนหลังการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ที่ หอศิลปกรุงเทพ โดยมีการรายงานว่ามีการใช้กำลังจากเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบในการยุติการชุมนุมโดยสงบ การใช้กำลังส่งผลให้มีผู้ชุมนุมอย่างน้อยสองรายถูกส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล  และมีภาพเผยแพร่ทางสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศในลักษณะที่เจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบใช้กำลัง บีบคอ ล๊อคคอ ดึงผม ดึงศีรษะ จับผู้ชุมนุมลากถูไปบนพื้นถนน เป็นต้น
           
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้สัมภาษณ์ผู้ชุมนุมชายอายุ 24 ปีที่ได้รับบาดเจ็บที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งพบว่า ผู้เสียหายถูกทำร้ายร่างกาย โดยการเตะ ต่อย ชกทำร้าย จนมีร่องรอยบาดแผลตามร่างกาย มีการกอดรัดคอและมีเจ้าหน้าที่บางรายใช้หัวเข่ากดกระแทกบริเวณหน้าอก และลากผู้เสียหายรายนี้จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง มีการข่มขู่ทางวาจาและขณะนั้นก็มีการรุมเตะทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บและสลบไป  เจ้าหน้าที่ได้นำน้ำมาราดที่หน้าจนฟื้นแล้วผู้เสียหายก็มีอาการหายใจไม่ออก จนอาเจียน ต่อมาถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผู้เสียหายมีบาดแผลบริเวณหน้า คอ แขนทั้งสองข้าง ตาขวาปิดเกือบสนิท มีอาการบาดเจ็บที่ซี่โครงด้านขวา ปัจจุบันยังคงพักรักษาตัวและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
 
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมมีความเห็นว่าการชุมนุมเพื่อแสดงออกทางความคิดเห็นอย่างสงบสันติต้องได้รับการเคารพ การกระทำของเจ้าหน้าที่เพื่อยุติการชุมนุมหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมต้องเป็นไปในลักษณะที่ไม่สมควรกว่าเหตุและได้สัดส่วน  จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแม้ผู้ชุมนุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาทั้ง 34 คนได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ตั้งข้อหา อย่างไรก็ตาม  สุดท้ายก่อนปล่อยตัวเจ้าหน้าที่ ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนพร้อมให้ผู้ชุมนุมทุกรายเขียนกำกับว่าจะไม่เคลื่อนไหว  
 
ในวันเดียวกันมีเหตุการณ์ยุติการชุมนุมที่จังหวัดขอนแก่น มีนักศึกษาจำนวน 7 ราย ถูกจับกุมและควบคุมตัวเป็นเวลาหนึ่งคืน ต่อมาถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช.ที่ 3 /2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง หลังทำกิจกรรม 1 ปีรัฐประหาร โดยล่าสุดเช้านี้  นักศึกษากลุ่มดาวดินทั้ง 7 คนได้รับการประกันตัวออกมาแล้ว ด้วยวงเงินคนละ 7,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 52,500 บาท
          
ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรมมีความห่วงใยต่อการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ปราบปราม จับกุมและตั้งข้อหา การแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและปราศจากความรุนแรง  ขอเรียกร้องดังนี้              
 
1) ขอเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนเหตุการณ์โดยทันที อย่างเป็นอิสระ และมีประสิทธิภาพในทุกกรณี เพื่อเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้การยุติการชุมนุมเกิดเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอีก
 
2) การสืบสวนสอบสวนต้องนำมาซึ่งการนำคนผิดมาลงโทษทั้งทางวินัยและกฎหมาย  รวมทั้งการพิจารณาการชดเชย  การชดใช้และการฟื้นฟูเยียวยาต่อผู้ชุมนุมอย่างเหมาะสมและเพียงพอ  และไม่จำกัดสิทธิผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย   
 
3) ยุติการใช้กำลังที่เกินกว่าเหตุในการปราบปราม ยุติการชุมนุมโดยสงบของประชาชน อันเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐบาลควรเคารพและปกป้องคุ้มครอง
 
4) ขอให้พนักงานสอบสวนพิจารณาการสั่งคดีด้วยความเป็นธรรม การตั้งข้อหาต่อนักศึกษาสมาชิกกลุ่มดาวดิน ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่ขัดต่อหลักการด้านสิทธิมนุษยชนและเป็นการปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดเห็นต่อกลุ่มนักศึกษาจนเกิดสมควรไม่เป็นธรรม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นศ. ยันถูกทำร้ายร่างกายจริง แต่ไม่โดนช็อตไฟฟ้าตามข่าวลือ

$
0
0

ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่ถูกนำส่งโรงพยาบาล ยืนยันว่าถูกทำร้ายร่างกายจริง แต่ไม่ได้โดนช็อตไฟฟ้าตามที่เป็นข่าวลือ 

23 พ.ค. 2558 จากกรณีการสลายการชุมนุมของนักศึกษาที่บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา และมีรายงานว่า ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นักศึกษากลุ่ม ศนปท. ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายนั้น

นายณัชปกร นามเมือง เจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ซึ่งเดินทางไปโรงพยาบาลหัวเฉียวกับทรงธรรม ให้สัมภาษณ์เมื่อเวลา 23.10 น. ของวานนี้ (22 พ.ค.) ว่าก่อนหน้านี้ ทรงธรรมถูกนำตัวส่งห้องตรวจฉุกเฉิน ก่อนที่แพทย์จะส่งตรวจเอ็กซเรย์ และส่งตัวมา CT scan อีกที่หนึ่ง หลังจากนี้คาดว่าจะกลับไปแอดมิดที่ รพ. เพราะเจ้าตัวซึ่งขณะนี้หลับไปแล้ว มีอาการอ่อนเพลียมาก ทั้งนี้ ณัชปกร ระบุว่าทรงธรรมมีรอยถลอกและฟกช้ำตามร่างกาย ตาข้างหนึ่งลืมไม่ขึ้น แพทย์ยังไม่ได้วินิจฉัย แต่ระบุว่าจะให้แพทย์เฉพาะทางมาทำบันทึกแผลโดยละเอียดให้

ล่าสุดวันนี้ (23 พ.ค.) ณัชปกร ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวว่านายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลนั้น ยืนยันว่าถูกทำร้ายร่างกายจริง แต่ไม่ได้โดนช็อตไฟฟ้าตามที่เป็นข่าวลือ

 

ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ ยิ้มได้ลุกได้ ท่านข้าวได้แล้ว แต่อาการที่ตายังไม่ดีขึ้น รอยฟกช...

Posted by Nutchapakorn Nummueng on 22 พฤษภาคม 2015

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

งาน '75 ปีนิธิ เอียวศรีวงศ์' ยังจัดได้แม้เปลี่ยนสถานที่

$
0
0

งาน '75 ปีที่ผ่านและวันข้างหน้าของ นิธิ เอียวศรีวงศ์' ยังจัดได้ หลังย้ายสถานที่จากโรงละคร หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มช. ที่ปิดปรับปรุง 

23 พ.ค. 2558 เพจพลเมืองเสมอกัน รายงานว่าวันนี้ (23 พ.ค.) สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มพลเมืองเสมอกัน ได้จัดงาน "75 ปีที่ผ่านและวันข้างหน้าของ นิธิ เอียวศรีวงศ์" โดยมีการบรรยายเพื่อแสดงมุทิตาจิตโดยนักวิชาการและนักกิจกรรมทางสังคมหลายท่าน

 

เกือบลืมบุคคลสำคัญในงาน

Posted by We, The People on 22 พฤษภาคม 2015

 

ดูบรรยากาศภายในงานเพิ่มเติมได้ที่:https://www.facebook.com/wetheequalcitizen

 

ย้ายสถานที่หลังโรงละคร หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มช. ปิดปรับปรุง

อนึ่งตามกำหนดการเดิมนั้น งานนี้จะจัดที่โรงละคร หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่เนื่องจากทางคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แจ้งกับทางผู้จัดว่าในส่วนของโรงละครนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการปรับปรุงและซ่อมแซม ทางผู้จัดจึงได้เปลี่ยนสถานที่การจัดงาน มาเป็นสถานที่แห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่แทน

 

(ติดตามรายละเอียดการบรรยายในงานโดยละเอียดที่ประชาไทเร็วๆ นี้)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรสิทธิจี้ตรวจสอบการใช้อำนาจคุมตัวประชาชนและนักศึกษา

$
0
0
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม จี้ตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในการเข้าควบคุมตัวประชาชนและนักศึกษาที่ร่วมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างสงบและสันติ เพื่อรำลึกเหตุการณ์ครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร

 
23 พ.ค. 2015 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมออกแถลงการณ์ขอให้ตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในการเข้าควบคุมตัวประชาชนและนักศึกษา ที่ร่วมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างสงบและสันติ เพื่อรำลึกเหตุการณ์ครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์ขอให้ตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในการเข้าควบคุมตัวประชาชนและนักศึกษา
ที่ร่วมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างสงบและสันติ เพื่อรำลึกเหตุการณ์ครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร
 
จากกรณีที่มีประชาชน นักศึกษา ร่วมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อรำลึกเหตุการณ์ ครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร และบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น  ปรากฏตามภาพและรายงานของสำนักข่าวต่างๆ ว่า มีเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมและควบคุมตัวประชาชนและนักศึกษาที่ทำกิจกรรมบริเวณดังกล่าวรวม 46 ราย โดยในการเข้าจับกุมและควบคุมตัวโดยไม่สมควรต่อประชาชนและนักศึกษาบางรายจนได้รับบาดเจ็บ และมีการตั้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีกับนักศึกษาที่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น จำนวน 7 คน นั้น
 
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)  เห็นว่า การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของประชาชนและนักศึกษาดังกล่าวเป็นการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ เป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน การกระทำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก อันเป็นสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐและประชาชนทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเคารพเสรีภาพดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
 
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 4  ได้รับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกไว้ ว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้”
 
2. ตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวรัฐมีหน้าที่ต้องผูกพันตามพันธะกรณีในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 19 “บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง  บุคคลทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออก...” และข้อ 21 “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการคุ้มครอง” โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2540  รัฐบาลไทยจึงมีหน้าที่ต้องปกป้อง คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน ไม่ทำให้ประชาชนเกิดความขยาดหรือความกลัวในการใช้สิทธิ เสรีภาพของประชาชนรัฐบาลจึงมีหน้าที่ในการฟังความคิดเห็นของประชาชนและนำความเห็นดังกล่าวไปพิจารณา ทบทวน และพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน เสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธจึงเป็นเสรีภาพที่สำคัญ  ซึ่งหากรัฐให้ความสำคัญจะทำให้รัฐได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ปกป้อง คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง
 
3. ด้วยเหตุดังกล่าวเจ้าหน้าที่จึงไม่มีอำนาจในการจับกุมและควบคุมตัวประชาชนและนักศึกษาที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกด้วยการชุมนุมโดยสงบและสันติ อีกทั้งไม่อาจใช้อำนาจและกระทำการที่ก่อให้เกิดการกระทบต่อสิทธิในร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนแต่อย่างใด
 
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) และองค์กรท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอเรียกร้องแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้
 
1. ยุติการดำเนินคดีกับประชาชน นักศึกษา ที่ใช้สิทธิตามสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ และตามพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อแสดงออกซึ่งความคิดเห็นโดยสงบ สันติและปราศจากอาวุธ
 
2. ตั้งคณะกรรมการที่เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจในการเข้าควบคุมตัวและจับกุมของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวว่ามีการใช้อำนาจอันส่งผลกระทบต่อสิทธิในร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนและนักศึกษา หากการกระทำผิดต้องมีการลงโทษผู้กระทำความผิดและเยียวยาความเสียหายโดยเร็ว                                                              
 
ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ILO เผย ‘งานไม่มั่นคง’ คุกคามตลาดแรงงานโลก

$
0
0

พบว่าคนทำงานกว่า 3 ใน 4 ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการจ้างงานไม่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างด้วยสัญญาระยะสั้น หรือแม้กระทั่งการทำงานที่ไม่มีสัญญาจ้างใด ๆ เลย

 

แผนที่โลกแสดงการจ้างงานคนงานที่ไม่มีสัญญาจ้างที่มั่นคง (permanent contract)ที่มา: ILO

Posted by Workazine on 23 พฤษภาคม 2015

 

23 พ.ค. 2015 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้เปิดเผยรายงาน World Employment and Social Outlook 2015เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยในรายงานชิ้นนี้ระบุว่าจากฐานข้อมูลของ ILO ที่ครอบคลุมร้อยละ 84 ของคนทำงานทั่วโลกระหว่างปี 2009-2013 พบว่าคนทำงานกว่า 3 ใน 4 ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการจ้างงานไม่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างด้วยสัญญาระยะสั้น หรือแม้กระทั่งการทำงานที่ไม่มีสัญญาจ้างใด ๆ เลย รวมทั้งการเป็นแรงงานนอกระบบแบบจ้างงานตนเอง (self-employed) และการช่วยเหลือครอบครัวทำงานโดยไม่มีรายได้ในประเทศกำลังพัฒนา

ในรายงานชิ้นนี้ยังระบุว่างานที่มีสัญญาจ้างแบบเต็มเวลาและแบบถาวรลดลง ส่วนงานนอกเวลาและงานที่มีสัญญาจ้างระยะสั้นกลับมีเพิ่มมากขึ้น โดยมีเพียงร้อยละ 42 ของผู้มีรายได้ประจำเท่านั้นที่มีสัญญาการทำงานแบบถาวร ซึ่งลักษณะการจ้างงานที่ไม่มั่นคงนี้มาพร้อมกับปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดย ILO ประเมินว่ามีผู้ว่างงานประมาณ 201 ล้านคนในปี 2014 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 20 ล้านคน จากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2008 โดยอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นในระดับต่ำ ภาพรวมการจ้างงานของโลกเพิ่มขึ้นพียงร้อยละ 1.4 ต่อปีมาตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ยังพบว่าคนทำงานส่วนใหญ่ ไม่ได้รับบำเหน็จ บำนาญ และสวัสดิการต่าง ๆ ส่วนในประเด็นความเหลื่อมล้ำทางเพศกับการทำงานนั้น พบผู้หญิงประมาณร้อยละ 24 ทำงานไม่เต็มเวลา หรือน้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับผู้ชายมีเพียงร้อยละ 12.4 เท่านั้นที่ทำงานแบบไม่เต็มเวลา

ที่มาข่าวบางส่วนเรียบเรียงจาก:

ILO warns of widespread insecurity in the global labour market
http://www.ilo.org/global/about-the-ilo/newsroom/news/WCMS_368252/lang--en/index.htm

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.ยันไม่ใช้มาตรการพิเศษกับกลุ่มนักศึกษา

$
0
0
โฆษก คสช.ยันไม่ใช้มาตรการพิเศษกับกลุ่ม นศ.ที่เคลื่อนไหวต้าน คสช. ยัน จนท.ไม่ได้ทำร้าย-ไม่เรียกปรับทัศนคติ ชี้ 'พลเมืองโต้กลับ' ฟ้อง 'ประยุทธ์' และ คสช. ข้อหากบฎ เป็นการดำเนินการในเชิงสัญลักษณ์เพื่อทำกิจกรรม

 
 
23 พ.ค. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ครบรอบ 1 ปี การทำรัฐประหาร วานนี้ ( 22 พ.ค.) ว่า เจ้าหน้าที่ที่ดูแลในแต่ละพื้นที่ได้พยายามทำความเข้าใจและใช้วิธีการขอความร่วมมือ ซึ่งที่ผ่านมา พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการ คสช.  เน้นย้ำในส่วนของทหารและตำรวจตลอดว่า การดำเนินการกับนักศึกษาที่ยังเป็นเยาวชนจะต้องใช้วิธีทำความเข้าใจและขอความร่วมมือเป็นหลัก เพราะกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวยังอยู่ในวัยศึกษา ส่วนที่มีการเผยแพร่ภาพทางโซเชียลมีเดียว่าเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายนักศึกษานั้น ขอยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำร้ายนักศึกษา จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการรับข้อมูลข่าวสารและขอเตือนผู้ไม่หวังดีที่เผยแพร่ภาพและข้อความใส่ร้ายเจ้าหน้าที่ด้วย
 
เมื่อถามว่าคสช.จะใช้มาตรการพิเศษเพื่อดำเนินการกับกลุ่มนักศึกษาที่ยังไม่เข้าใจอย่างไร และจะมีการเชิญตัวมาปรับทัศนคติหรือไม่ พ.อ.วินธัย กล่าวว่า คสช.จะไม่ใช่มาตรการพิเศษ เพราะต้องระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีการสร้างเรื่องต่าง ๆ ให้เกิดเป็นประเด็น สำหรับการปรับทัศนคตินั้นคงไม่มี แต่ถ้าบางอย่างผิดกฎหมาย ก็จะต้องเชิญตัวไปโรงพัก เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมและขอความร่วมมือ แต่เจ้าหน้าที่จะพยายามไม่ตั้งข้อหา
 
ส่วนกรณีที่ กลุ่มพลเมืองโต้กลับฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. กับพวกรวม 5 คน ในฐานะความผิดเป็นกบฎ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 และมาตรา114 กรณีร่วมกันยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 พ.อ.วินธัย กล่าวว่า เป็นการดำเนินการในเชิงสัญลักษณ์เพื่อทำกิจกรรม สิ่งใดก็ตามที่ผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการ และขออย่ารวมตัวกันเพื่อชุมนุมทางการเมือง และอย่าฝ่าฝืนกฎหมาย มิฉะเช่นนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ดุลยพินิจในการดำเนินการตามขั้น ตอนกรอบกฎหมาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลักการห้ามผลักดันไปเผชิญอันตราย (Non-Refoulement) กับประเทศไทย: กรณีโรฮิงญา

$
0
0

               

บทนำ

ปัญหาโรฮิงญากลายเป็นประเด็นสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลไทยและสาธารณชนกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เรื่องโรฮิงญาเกี่ยวข้องกับปัญหาหลายเรื่อง เช่น ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาแหล่งพักพิง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการผลักดันชาวโรฮิงญาให้ออกนอกประเทศ วัตถุประสงค์ของข้อเขียนนี้คือการอธิบายหลักกฎหมายการห้ามผลักดันไปเผชิญอันตราย (non-refoulement) ในมุมมองของกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนประเด็นอื่นๆ เช่น การตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวและการค้ามนุษย์ อยู่นอกขอบเขตของข้อเขียนนี้ อนึ่ง ผู้เขียนจะใช้คำว่า “Non-Refoulement” ซึ่งเป็นศัพท์สากลที่ใช้กันแพร่หลายในระดับระหว่างประเทศ

1.หลัก Non-Refoulement คืออะไร

หลักการห้ามผลักดันไปเผชิญอันตราย (Non-Refoulement มาจากภาษาฝรั่งเศส refouler ที่แปลว่า ส่งกลับ หรือขับไล่) นั้นได้กำหนดพันธกรณีแก่รัฐในเชิงปฏิเสธ (negative)[1]กล่าวคือ รัฐผู้รับ (Host state) ไม่สามารถผลักดันผู้อพยพ (Refugees) หรือ ผู้แสวงหาแหล่งพักพิงหรือลี้ภัย (Asylum seekers) กลับออกไปได้ทันที หากว่าการผลักดันนั้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือเสรีภาพของผู้นั้น อย่างไรก็ดี หลัก Non-Refoulement  ไม่ได้กำหนดพันธกรณีในเชิงบวก กล่าวคือ  รัฐที่ปฎิบัติตามหลัก Non-Refoulement  นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องให้สถานะผู้ลี้ภัย[2]กล่าวอีกนัยหนึ่ง หลัก Non-Refoulement  ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้แหล่งพักพิง (Right to asylum) จากรัฐผู้รับ[3]

2.ลักษณะพิเศษของหลักห้ามผลักดันไปเผชิญอันตราย (Non-Refoulement)

หลัก Non-Refoulement เป็นหลักกฎหมายสำคัญมากทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย (Refugee law)[4]และกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human rights) แต่ข้อเขียนนี้จะจำกัดเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเท่านั้น ก่อนที่จะกล่าวถึงประเด็นเรื่องโรฮิงญา มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบาย ลักษณะพิเศษของ หลัก Non-Refoulement เสียก่อนว่าเป็นอย่างไร มิฉะนั้นแล้ว ผู้อ่านอาจไม่เข้าใจว่าหลักนี้มีความสำคัญอย่างไรและเกี่ยวข้องกับประเทศไทยเพราะเหตุใด ลักษณะพิเศษของหลักนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ

2.1 รัฐตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับหลัก Non-Refoulement ไม่ได้

อนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ได้เปิดช่องให้รัฐภาคีได้ตั้งข้อสงวน (Reservation) ได้ แต่ในข้อบทที่ 42 (1) ของอนุสัญญานี้ห้ามมิให้รัฐภาคีตั้งข้อสงวนในเรื่อง Non-Refoulement การตั้งข้อสงวนมีผลทำให้รัฐภาคีสามารถยกเว้นที่จะไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีข้อหนึ่งข้อใดในอนุสัญญาได้ แต่การที่อนุสัญญาห้ามมิให้มีการตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับ Non-Refoulement แสดงให้เห็นว่าหลัก Non-Refoulement มีความสำคัญอย่างยิ่งในบริบทของปัญหาผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ ฉะนั้น รัฐที่เป็นภาคีอนุสัญญานี้จะต้องผูกพันและปฏิบัติตามพันธกรณีในเรื่องนี้

2.2 หลัก Non-Refoulement มีสถานะเป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ

หลัก Non-Refoulement มี 2 สถานะคือ เป็นพันธกรณีที่อยู่ในรูปของสนธิสัญญา ฉะนั้นจึงผูกพันรัฐที่เป็นภาคี นอกจากนี้แล้ว หลัก Non-Refoulement ยังมีสถานะเป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ (Customary international law) อีกด้วย ผลในทางกฎหมายก็คือ หลัก Non-Refoulement  ผูกพันทุกรัฐ ไม่เว้นแม้กระทั่งรัฐที่มิได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 สถานะของหลัก Non-Refoulement ที่เป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศได้รับการยืนยันจากความเห็นของ ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees)[5]หรือ UNHCR รวมทั้งตราสารระหว่างประเทศอื่นๆ[6]นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ Goodwin-Gill, Guy ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ เห็นว่า ในทางปฏิบัติหลังจากที่อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 เริ่มใช้บังคับ ไม่มีรัฐใดไม่เว้นแต่รัฐที่มิได้เป็นภาคีอนุสัญญานี้คัดค้านหลัก Non-Refoulement  ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับโดยปริยายว่าหลัก Non-Refoulement  มีสถานะเป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ[7]อย่างไรก็ตามมีนักกฎหมายบางท่านที่เห็นว่าหลัก Non-Refoulement  ยังไม่มีสถานะเป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ[8]

2.3 หลัก Non-Refoulement เป็นกฎหมายบังคับเด็ดขาด (jus cogens)

หลัก Non-Refoulement มีสถานะเป็นกฎหมายบังคับเด็ดขาด (Peremptory norms หรือ jus cogens) ด้วย หมายความว่าเป็นหลักกฎหมายที่มีค่าบังคับสูงกว่ากฎหมายธรรมดาทั่วๆไป กฎหมายระหว่างประเทศใดก็ตามจะขัดกับหลักกฎหมายบังคับเด็ดขาดไม่ได้ หรือรัฐอื่นๆจะทำสนธิสัญญาเพื่อยกเว้นที่จะไม่ปฏิบัติหลัก Non-Refoulement ไม่ได้ สถานะของความเป็นกฎหมายเด็ดขาดของหลัก Non-Refoulement ได้รับการยืนยันจาก Executive Committee ของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees) หรือที่รู้จักกันดีว่า UNHCR ก็ได้มีมติยืนยันสถานะหลัก Non-Refoulement  ว่ามีสถานะเป็นกฎหมายบังคับเด็ดขาด[9]รวมทั้ง ปฏิญญา Cartagena[10]และนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยืนยันหลักนี้[11]

2.4 หลัก Non-Refoulement ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรม

ข้อนี้หมายความว่า การตีความข้อบทที่ 33 ของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมเป็นสำคัญ ข้อบทที่ 33 มีเนื้อหาที่ค่อนข้างซับซ้อน มีถ้อยคำที่เปิดโอกาสให้ตีความได้หลากหลาย อย่างไรก็ตาม การตีความต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของหลัก Non-Refoulement ด้วย

3.ข้อยกเว้นของหลัก Non-Refoulement

ข้อยกเว้นของหลัก Non-Refoulement มีอยู่ในข้อบทที่ 33 (2) ของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951  คือเรื่องความมั่นคงของรัฐ (national security) โดยกำหนดว่า ผู้ลี้ภัยไม่อาจอ้างสิทธิประโยชน์ใดๆได้ หากว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า (reasonable grounds) ผู้นั้นจะเป็นภัยแก่ความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากเป็นข้อยกเว้น Sir Elihu Lauterpacht จึงเห็นว่าควรตีความอย่างเคร่งครัดและรัฐต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดด้วย โดยเห็นว่า การเป็นภยันตรายนี้ต้องพิจารณาจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (future threat) มากกว่าจะพิจารณาจากการกระทำในอดีต (past conduct) แต่การกระทำในอดีตก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำมาพิจารณาประกอบได้[12]

4. การยอมรับหลัก Non-Refoulement ในตราสารระหว่างประเทศอื่นๆ

นอกจากจะได้รับรองไว้อย่างชัดแจ้งในข้อบทที่ 33 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 แล้ว หลัก Non-Refoulementยังได้รับการยอมรับจากตราสารระหว่างประเทศต่างๆทั้งในระดับสากลและระดับภูมิภาคอีกด้วย โดยระดับสากลนั้นมีข้อมติจากสมัชชาใหญ่รับรองไว้ ส่วนระดับภูมิภาคนั้นที่รับรองหลัก Non-Refoulementได้แก่ Bangkok Declaration on Status and Treatment of Refugee (2001)[13]Cartagena Declaration on Refugees,[14]

5.ขอบเขตการบังคับใช้ของหลัก Non-Refoulement

สำหรับเรื่องขอบเขตการบังคับใช้ของหลัก Non-Refoulementแบ่งได้ออกเป็นสองประเด็นใหญ่คือ ขอบเขตในแง่ของตัวบุคคล เป็นการพิจารณาว่า หลัก Non-Refoulementจะใช้กับใคร ส่วนขอบเขตในแง่ของพื้นที่เป็นการพิจารณาว่าหลักนี้จะใช้กับอาณาบริเวณพื้นที่ส่วนใดของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่เป็นอาณาเขตทางทะเล

5.1 ขอบเขตในแง่ตัวบุคคล (ratione personae): ใครที่ได้รับการคุ้มครอง

บุคคลที่จะได้รับการคุ้มครองภายใต้หลัก Non-Refoulement อย่างมิต้องสงสัยได้แก่ ผู้ลี้ภัย (Refugees) อย่างไรก็ตาม UNHCR และปรมาจารย์กฎหมายระหว่างประเทศอย่าง Sir Elihu Lauterpacht ตีความว่า ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยหรือพักพิงที่เรียกว่า asylum seekers ซึ่งยังไม่ได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ก็ได้รับการคุ้มครองตามหลักนี้ด้วย[15]

ปัญหาหนึ่งที่มีการถกเถียงในหมู่นักกฎหมายว่ากรณีของการทะลักของผู้แสวงหาที่พักพิงจำนวนมากมายที่เรียกว่า mass influx นี้จะได้รับการคุ้มครองภายใต้หลัก Non-Refoulement หรือไม่ (กรณีของชาวโรฮิงญาก็ถือได้ว่าเข้าข่ายกรณี mass influx แล้ว) หากพิจารณาจากรายงานการประชุมตอนร่างอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยแล้วจะพบว่า ผู้แทนจากตะวันตกไม่ว่าจะเป็นสวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลีมีความเห็นทำนองที่ว่าหลัก Non-Refoulement ไม่ควรใช้กับการไหลบ่าของผู้แสวงหาที่พักพิงจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ตาม การตีความจำกัดเช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน ในความเห็นของ UNHCR และ Sir Elihu Lauterpacht เห็นว่า หลัก Non-Refoulement ใช้กับการทะลักอพยพคราวละมากๆของผู้ลี้ภัยหรือผู้แสวงหาแหล่งพักพิงด้วย[16]

5.2   ขอบเขตในแง่พื้นที่ (ratione loci)

ในเรื่องขอบเขตการบังคับใช้ของหลัก Non-Refoulement มีอยู่ 2 ประเด็นที่สมควรทำความเข้าใจ ดังนี้ ประเด็นแรก หลัก Non-Refoulement จะใช้ได้เฉพาะกรณีที่ผู้อพยพหรือผู้แสวงหาแหล่งพักพิงเข้ามาในดินแดนของรัฐผู้รับที่เป็นภาคีของอนุสัญญาแล้ว (already entered the territory of a host state) หรือจะรวมถึงกรณีที่รัฐปฎิเสธมิให้เข้ามาตั้งแต่อยู่แนวพรมแดนที่เรียกว่า rejection at the frontier ประเด็นนี้มีความเห็นอยู่สองความเห็น ความเห็นแรก เป็นความเห็นของผู้แทนจากประเทศตะวันตกซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมตอนยกร่างอนุสัญญา โดยผู้แทนของรัฐหลายท่านเห็นว่า หลัก Non-Refoulement ใช้ในกรณีที่ผู้อพยพได้เข้ามาในอาณาเขตของรัฐแล้วเท่านั้น ส่วนความเห็นที่สองซึ่งเป็นความเห็นของ UNHCR และรับการสนับสนุนในปัจจุบันเห็นว่า หลัก Non-Refoulement นั้นใช้กับกรณีที่ผู้อพยพหรือผู้แสวงหาแหล่งพักพิงยังไม่ได้เข้ามาในอาณาเขตของรัฐผู้รับ แต่อยู่ที่พรมแดน (at the border) ด้วย  เนื่องจากตัวบทของข้อบทที่ 33 ของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951  บัญญัติว่า “ไม่มีรัฐภาคีใดต้องขับไล่หรือส่งกลับ(ผลักดัน) ผู้ลี้ภัย ไม่ว่าจะโดยลักษณะใดๆ…” (No Contracting State shall expel or return a refugee in any manner whatsoever) คำว่า “in any manner whatsoever” มีความหมายรวมถึงการห้ามมิให้ผลักดันกลับตั้งแต่ขณะอยู่ที่พรมแดนของรัฐผู้รับ[17]ฉะนั้น การผลักดันกลับตั้งแต่อยู่ชายแดนหรือพรมแดนของรัฐผู้รับ (at the border or frontier) ก็ถือว่าเป็นการละเมิดหลัก Non-Refoulement แล้ว

ประเด็นที่สอง คำถามมีต่อไปว่า กรณีที่ผู้อพยพหรือผู้แสวงหาแหล่งพักพิงมาทางทะเลไม่ใช่มาทางบก อย่างเช่นกรณีของโรฮิงญา หลัก Non-Refoulement จะมีขอบเขตใช้อย่างไร ในประเด็นนี้ UNHCR รวมทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศ เห็นว่า ขอบเขตการบังคับใช้ของหลัก Non-Refoulement ขยายไปยังอาณาเขตทางทะเลที่รัฐชายฝั่งมิได้มีอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) แต่รัฐสามารถใช้เขตอำนาจได้อย่างมีประสิทธิผลได้ (to excise effective jurisdiction) ด้วย รวมถึงในเขตทะเลหลวงที่ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐใด[18]ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมคร่าวๆว่า ตามหลักกฎหมายทะเล อาณาเขตทางทะเลมีหลายประเภท ทะเลอาณาเขต (Territorial seas) คืออาณาเขตทางทะเลที่วัดจากชายฝั่งออกไป 12 ไมล์ทะเล พื้นที่ส่วนนี้ถือว่าเป็นดินแดนของรัฐชายฝั่งที่รัฐชายฝั่งใช้อำนาจอธิปไตยได้ พ้นจากนี้ก็จะเป็นอาณาเขตทางทะเลที่รัฐมีเพียงสิทธิอธิปไตย (Sovereign rights) ที่จะสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งออกกฎระเบียบบางเรื่องได้ แต่รัฐไม่สามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้เต็มที่ พื้นที่ส่วนนี้ได้แก่ ไหล่ทวีป (Continental Shelf) และ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone: EEZ) ส่วนอาณาเขตทางทะเลที่ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยใดของรัฐคือ ทะเลหลวง (High Seas) กล่าวโดยสรุปก็คือ หลัก Non-Refoulement ใช้ทั้งพื้นที่ที่รัฐมีอธิปไตยและพื้นที่ที่รัฐสามารถใช้เขตอำนาจได้อย่างเขตเศรษฐกิจจำเพาะส่วนกรณีไหล่ทวีปไม่น่าเกี่ยวกับกรณีนี้เพราะเป็นอาณาบริเวณอยู่ใต้ท้องทะเลและพื้นดินใต้ท้องทะเล (subsoil)

6.ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านต้องปฏิบัติตามหลัก Non-Refoulement หรือไม่

หลายประเทศที่เกี่ยวข้องกับโรฮิงญา เช่น พม่า มาเลเซีย รวมทั้งไทยต่างก็มิได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ฉะนั้นหลายคนจึงคิดว่า ประเทศไทยไม่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้นว่า สถานะหลัก Non-Refoulement ที่อยู่ในข้อบทที่ 33 มีสถานะเป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศด้วย ฉะนั้น จึงผูกพันประเทศไทย (และประเทศอื่นๆด้วย) ที่จะต้องปฏิบัติตามหลัก Non-Refoulement มีข้อสังเกตว่า ในทางปฏิบัติ หลายประเทศได้ละเมิดหลัก Non-Refoulement ดังที่ UNHCR ได้แสดงความวิตกกังวลไว้หลายครั้ง[19]แต่การละเมิดหลักกฎหมายนี้มิได้หมายความว่าหลักนี้สิ้นสภาพบังคับแล้ว

บทส่งท้าย  

ประเทศไทยเคยเป็นและยังเป็นประเทศที่เป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาแหล่งพักพิงมาโดยตลอดทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของประเทศ ซึ่งสร้างภาระให้กับประเทศไทยมากพอสมควร แต่การจะผลักดันให้ชาวโรฮิงญาออกไปเผชิญชะตากรรมในทะเลก็ดูทารุณโหดร้าย ปัญหาที่แก้ไม่ตกของการจัดการผู้ลี้ภัยคือการชั่งความสมดุลระหว่างมนุษยธรรมกับภาระการดูแลและปัญหาความมั่นคง ปัญหาโรฮิงญาเป็นปัญหาที่ใหญ่และยุ่งยากเกินกว่าที่ประเทศไทยจะรับมือโดยลำพัง การที่ประเทศไทยปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันไปสู่อันตรายนั้นเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม แต่การแก้ไขปัญหาระยะยาวต้องอาศัยหลายเวทีทั้งระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคโดยอาศัยกลไกของอาเซียน และThe Asian-African Legal Consultative Organization (AALCO) ซึ่งทั้งประเทศไทย พม่า มาเลเซียและบังคลาเทศต่างก็เป็นสมาชิก AALCO ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอาศัยข้อบทที่ X ของ Bangkok Declaration ที่กล่าวถึงเรื่องร่วมแบ่งเบาภาระ (Burden sharing) และหลักความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางระหว่างประเทศ (international solidarity) และที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ความเห็นของผู้แทนประเทศสิงค์โปร์ที่แสดงความเห็นไว้ใน Bangkok Declaration ว่า ประเทศที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดปัญหาผู้อพยพจะต้องเป็นตัวหลักในการแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหานี้[20]นอกจากนี้ ในระดับสากล ความช่วยเหลือจาก UNHCR และประชาคมระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอันขาดเสียมิได้ ทั้ง 3 กลไกอาจพอบรรเทาปัญหาโรฮิงญาไม่มากก็น้อย  รวมถึงการเร่งแก้ไขปัญหาการลักลอบการค้ามนุษย์ในประเทศไทยอย่างจริงจังด้วย

 




[1] P. Weis, The United Nations Declaration On Territorial Asylum, The Canadian Yearbook of International Law, 1969, p. 142

[2] Ibid.

[3] Walter Kalin and Jorg Kunzil, The Law of International Human Rights Protection, (USA: , Oxford University Press, 2009),p. 511; Elihu Lauterpacht and Daniel Bethlehem, The Scope and Content of the Principle of Non-Refoulement: Opinion, in Feller/V. Turk/Nicholson, Refugee Protection in International Law,2007, p112

[4] Walter Kalin and Jorg Kunzil, p. 511

[5]UN High Commissioner for Refugees (UNHCR), The Principle of Non –Refoulment as a Norm of Customary International Law. Response to the Question Posed to UNHCR by the Federal Constitutional Court of the Federal  Republic of Germany in Case 2 BvR 1938/93, 2 BvR 1953/93, BvR 1954/93, para.  1,

[6]ดู Sanremo Declaration on the Principle of Non-Refoulement, 2001; Executive Committee, Conclusion No. 6 (XXVIII),1977, para (a) มีข้อสังเกตว่า ใน Conclusion No. 6 ไม่ได้ใช้คำว่า “customary international law” อย่างชัดเจนแต่ใช้คำว่า “ non-refoulement …is generally accepted by States.”; Declaration of States Parties of the 1951 Convention and/or its 1967 Protocol Relating to the Status of Refugees (2001), preambular para. 4

[7] Goodwin-Gill, Guy S., The Refugee in International Law, Oxford: Oxford UP, 1996, 2nd ed, p. 167-169.; Elihu Lauterpacht and Daniel Bethlehem,p. 162

[8] James C. Hathaway, The Rights of Refugees under International Law, (U.S.A: ,Cambridge University Press,2005),pp. 364-365

[9]โปรดดู Conclusion No. 25 (XXXIII) of 1982 ใน UN Document No. 12 A (A/37/12/Add.1) ;

[10] Cartegena Delaration on Refugees (1984),Section III (5)

[11] Jean Allain, The jus cogens Nature of non-refoulement, International Journal of Refugee Law, 2001,pp.533-558; Orakhelashvili, Peremptory Norms in International Law, (U.S.A: Oxford University Press, 2006), p.55; Antonio Trindade, Jus Cogens: The Determination and the Gradual Expansion of Its Material Content in Contemporary International Case Law,p. 13

[12] Elihu Lauterpacht and Daniel Bethlehem, ,p129,135

[13]ดูข้อบทที่ III อนึ่ง Bangkok Declaration เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นภายใต้กรอบของ The Asian-African Legal Consultative Organization (AALCO) ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกด้วย นอกจากนี้ Bangkok Declaration ไม่ก่อให้เกิดความผูกพันทางกฎหมายเนื่องจากไม่มีสถานะเป็นสนธิสัญญา แต่ก็เป็นแนวทางให้รัฐภาคีใช้แก้ไขปัญหาผู้อพยพ

[14]ดูข้อที่ II (5)

[15] Elihu Lauterpacht and Daniel Bethlehem, The Scope and Content of the Principle of Non-Refoulement: Opinion, in Feller/V. Turk/Nicholson, Refugee Protection in International Law,2007, p.118

[16]UN High Commissioner for Refugees (UNHCR), The Principle of Non –Refoulment as a Norm of Customary International Law. Response to the Question Posed to UNHCR by the Federal Constitutional Court of the Federal  Republic of Germany in Case 2 BvR 1938/93, 2 BvR 1953/93, BvR 1954/93 ; Elihu Lauterpacht and Daniel Bethlehem, p.119

[17]ดู Advisory Opinion on the Extraterritorial Application of Non- Refoulement Obligations under the 1951 Convention relating to the Status of Refugees and its 1967 Protocol, para. 27-29; Elihu Lauterpacht and Daniel Bethlehem, p.113;  Trevisanut, The Principle of Non-Refoulement at Sea and the Effectiveness of Asylum Protection, Max Planck Yearbook of United Nations Law, Vol. 12, 2008, p. 209; Executive Committee, Conclusion No. 6 (XXVIII),1977, para (c)

[18]UN High Commissioner for Refugees (UNHCR), The Principle of Non –Refoulment as a Norm of Customary International Law. Response to the Question Posed to UNHCR by the Federal Constitutional Court of the Federal  Republic of Germany in Case 2 BvR 1938/93, 2 BvR 1953/93, BvR 1954/93, para. 2, 30; Advisory Opinion on the Extraterritorial Application of Non- Refoulement Obligations under the 1951 Convention relating to the Status of Refugees and its 1967 Protocol, para 43; Guy Goodwin-Gill, The Right to Seek Asylum: Interception at Sea and the Principle of Non-Refoulement, International Journal of Refugee Law, Vol. 23, (2011), p.444

[19] Executive Committee, Conclusion No. 6 (XXVIII),1977, para. (b); Executive Committee, Conclusion No. 41 (XXXVII), 1986, para. (j); Executive Committee, Conclusion No 99 (LV), 2004, para. (l)

[20]ดู Article X ของ Notes, Comments and Reservations made by the Member States of AALCO 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประยุทธ์' ชี้คนหมิ่นสถาบันอยู่ในแนวร่วมขบวนการยึดประเทศ

$
0
0
ระบุตนวิเคราะห์มาแล้วคนที่หมิ่นสถาบันอยู่ในขบวนการของผู้ที่ต้องการมีอำนาจ แต่มี 2 อย่างที่เขายังยึดอำนาจไม่ได้ คือทหารและสถาบัน ถ้าทำลายทั้ง 2 อย่างนี้ได้ก็จะยึดประเทศไทยทั้งหมด

 
23 พ.ค. 2558 เนชั่นทันข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 19.00 น.ที่โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “นายกฯ พบหอการค้า: รวมพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตอนหนึ่งว่า สิ่งที่หอการค้าพูดและอ.ธนวรรนธ์ พลวิชัยพูด พูดตรงกันกับตนสองอย่างในเรื่อง ข้อเท็จจริงกับความรู้สึก คนไทยเป็นคนโรแมนติก แต่ส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึก รักใคร ชอบใครใช้หัวใจมากแต่ใช้สมองน้อย ตนไม่ได้ดูถูก เพียงแต่ท่านต้องใช้หัวใจและใช้สมองคิดใคร่ครวญว่าใช่หรือไม่ วันนี้สิ่งแรกที่แก้คือ เราต้องมีทั้งความรู้ สติ ความรู้สึกในการดำเนินชีวิต ถ้าประเทศยังเป็นอยู่แบบนี้ใช้ความรู้สึกในการดำเนินชีวิต มันเดินไปไม่ได้ ไม่ว่าอะไรก็ตาม 
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า พระมหากษัตริย์ ไม่ได้ต่อสู้กับสงคราม แต่ต่อสู้กับความยากจน แต่คนเลวก็ไปพูดกันกลับไปกลับมาบิดเบือนไปหมด แล้วก็มีคนเชื่อตาม ท่านเคยใช้เงินอะไรหรือเปล่า เคยไปศูนย์การค้าหรือเปล่าก็ไม่เคย เงินที่มีก็เอาไปช่วยตามโครงการหลวงต่าง ๆ เท่านั้น ตอนนี้ท่านมีพระชนม์มายุขนาดนี้แล้วก็ยังไม่มีความสุข คนที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจแล้วคล้อยตามมีไม่กี่คนหรอก เพราะตนวิเคราะห์มาแล้วคนที่หมิ่นสถาบัน อยู่ในขบวนการของผู้ที่ต้องการมีอำนาจ เพื่อมีผลประโยชน์ซึ่งประเทศไทย มี 2 อย่างที่เขายังยึดอำนาจไม่ได้ คือทหารและสถาบัน เขาต้องการทำลาย ถ้าทำลายทั้ง 2 อย่างนี้ได้ก็จะยึดประเทศไทยทั้งหมด โดยใครก็ไม่รู้ ซึ่งทุกคนรู้จักกันหมดแต่ตนไม่อยากเอ่ยชื่อ พูดไปก็มีคนมาตอบโต้ เดี๋ยวตนโมโหก็ใช้อำนาจอีก ตนก็ไม่อยากใช้อำนาจ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: คัดค้านประชามติ คว่ำบาตรทุกอย่างคือ ไม่ทำอะไรสักอย่าง!

$
0
0

 


ถึงวันนี้ เริ่มมีแนวโน้มแล้วว่า อาจจะมีประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญ 2558 เมื่อทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่างมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เห็นควรให้มีประชามติ ส่วนคำถามที่ว่า ถ้าผลของประชามติเป็น “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ” แล้วจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไรนั้น ดูเหมือนจะมี “ทางเลือก” อยู่เพียงสองทางคือ ให้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งในอดีตมาปรับใช้ หรือให้คณะกรรมาธิการทำการยกร่างใหม่ทั้งฉบับอีกรอบหนึ่ง

แต่ยังมีข้อเสนอจากนักการเมืองและประชาชนแยกเป็นสามแนวทางคือ ให้นำรัฐธรรมนูญ 2550  (ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์) หรือรัฐธรรมนูญ 2540 (นักการเมืองบางคนในพรรคเพื่อไทย) มาปรับใช้ หรือให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อยกร่างใหม่ทั้งฉบับ (ข้อเสนอของกลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย)

อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ยืนยันให้คว่ำบาตรกระบวนการทั้งหมดของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ซึ่งก็คือ คว่ำบาตรประชามติ คว่ำบาตรรัฐธรรมนูญ และคว่ำบาตรการเลือกตั้ง รวมทั้ง เรียกร้องกดดันให้พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคร่วมกันคว่ำบาตรกระบวนการข้างต้นทั้งหมดด้วย

เหตุผลของแนวทาง “คว่ำบาตรทุกอย่าง” คือ เป็นการปฏิเสธรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และผลพวงทั้งหมด ซึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 และกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งกระบวน

แน่นอนว่า ผู้ที่รักประชาธิปไตยจะต้องคัดค้านรัฐประหาร รัฐธรรมนูญชั่วคราวและการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังกระทำกันอยู่ แต่การ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” นั้นก็ไม่ใช่วิธีการที่จะไปบรรลุผลที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ

ข้ออ้างที่ว่า “ปฏิเสธรัฐประหารและรัฐธรรมนูญชั่วคราว” ก็เป็นเพียงโวหารที่ว่างเปล่า เพราะความเป็นจริงในชีวิตนั้นเป็นตรงข้ามคือ ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบและต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บางคนต้องหลบหนีไปต่างประเทศ หลายคนถูกเรียกตัว ควบคุมตัว มีคดีในศาล ส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่เคยทำและอยู่อย่างหวาดระแวง นี่คือผลที่เป็นจริงของรัฐประหารและมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยที่ผู้ได้รับผลกระทบก็ต้องจำยอมโดยดุษฎี แม้ปากจะยืนยันว่า “ไม่ยอมรับรัฐประหารและรัฐธรรมนูญชั่วคราว” ก็ตาม!

การเสนอแนวทางแบบสุดโต่งที่ “ปฏิเสธทุกอย่าง คว่ำบาตรทุกอย่าง” นั้น ฟังดูดี “มีหลักการ” และ “ถูกใจ” ผู้คนจำนวนหนึ่งก็เพราะเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับอารมณ์โกรธและผิดหวังที่แพร่หลายอยู่ในหมู่ผู้รักประชาธิปไตยปัจจุบัน

การ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” แม้จะฟังดูดีในทางการเมือง แต่ผลทางปฏิบัติก็คือ การปล่อยให้กระบวนการของรัฐธรรมนูญชั่วคราวดำเนินไปอย่างลื่นไหลจนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยไร้อุปสรรคใด ๆ นั่นเอง เพราะภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของมาตรา 44 การคว่ำบาตรทุกอย่างดังว่าก็คือการที่คนจำนวนหนึ่งบอกกับตัวเองว่า “ไม่ยอมรับรัฐประหาร” แล้วก็ไม่ทำอะไร เป็นการมัดมือมัดเท้าและปิดประตูตัวเองออกไปจากการต่อสู้ทางการเมืองในขณะนั้น ขณะที่ประชาชนส่วนข้างมากไม่ได้รับรู้อะไรนอกจากเฝ้าดูกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ จนมีการเลือกตั้ง

แม้แต่การที่คนกลุ่มนี้ “คว่ำบาตรประชามติ” ด้วยการออกไป “ทำบัตรเสีย” หรือไม่ออกไปใช้สิทธิ์ลงเสียง ก็จะไม่มีผลทางการเมืองใด ๆ เพราะการกระทำดังกล่าวจะถูกนับเป็นจำนวน “บัตรเสีย” และจำนวนคน “นอนหลับทับสิทธิ์” ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นดังเช่นบทเรียนจากการเคลื่อนไหว “โหวตโน” ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการเลือกตั้งปี 2554 ที่กลายเป็นการละทิ้งเวทีการต่อสู้และทำลายความน่าเชื่อถือของตัวเองไปในที่สุด

ความจริงแล้ว ผู้ที่เสนอให้ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” ก็รู้ถึงข้อจำกัดของประชาชนที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงมีข้อเสนอเพื่อแก้เกี้ยวคือ ให้ประชาชน “กดดันพรรคการเมืองมาเป็นด่านหน้าคว่ำบาตรรัฐธรรมนูญ ประชามติ และการเลือกตั้ง” โดยให้เหตุผลว่า ประชาชนไม่ต้องเสี่ยงออกไป “เผชิญหน้า” กับคณะรัฐประหารด้วยตัวเอง แต่ “ดันหลังพรรคการเมืองให้ไปชนกับคณะรัฐประหาร” แทน!

แต่นี่เป็นข้อเสนอที่ไร้เดียงสาทางการเมืองยิ่ง เพราะนักการเมืองย่อมมีผลประโยชน์ของตนเองเป็นสำคัญ ซึ่งก็คือ มีการเลือกตั้ง ได้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรและจัดตั้งรัฐบาล ประสบการณ์ในช่วงสิบปีมานี้ ยังไม่เพียงพออีกหรือที่จะเรียนรู้ว่า พรรคการเมืองในระบบเลือกตั้งไม่อาจเป็นกองหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้ สิ่งที่พวกเขาทำได้อย่างมากที่สุดคือ การสนับสนุนประชาชนอยู่ข้างหลัง และคอยรับดอกผลจากการต่อสู้ของประชาชนเท่านั้น!

เมื่อพิเคราะห์ให้ถึงที่สุด แนวทาง “คว่ำบาตรทุกอย่าง” ก็คือ การเอา “หลักการสวยหรู” ที่สุดโต่งชุดหนึ่งมาปกปิดอารมณ์พ่ายแพ้และผิดหวังของตนเอง มาเป็นข้ออ้างรองรับการที่จะไม่ทำอะไรทั้งสิ้น ในทางปฏิบัตินี่คือ “การยอมแพ้” ทางการเมืองที่ตกแต่งด้วยโวหารหลักการสวยหรู และด้วยข้ออ้าง “ให้พรรคการเมืองออกหน้า” แทน

การดำเนินงานทางการเมืองจะต้องยึดหลักการและแนวทางใหญ่ไว้ให้มั่น แต่การกระทำทางยุทธวิธีก็ต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริงโดยพิจารณาจากผลสะเทือนทางการเมืองในสาธารณะเป็นสำคัญ สถานการณ์ปัจจุบันนั้นยากลำบาก ช่องทางการเมืองก็ตีบตันและอันตราย เราจึงต้องใช้ประโยชน์จากช่องทางทุกด้านเท่าที่จะหาได้ เพื่อส่งผลสะเทือนทางการเมืองไปสู่สาธารณะ ซึ่งในภาวการณ์ปัจจุบันก็คือ การผลักดันให้มีประชามติและให้มีการอภิปรายสาธารณะในประเด็นรัฐธรรมนูญได้ (แม้ว่า อำนาจตาม ม.44 จะยังคงอยู่ก็ตาม)

แน่นอนว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่ผลประชามติจะเป็น “รับร่างรัฐธรรมนูญ” จึงได้มีข้อโต้แย้งอีกข้อหนึ่งคือ นี่มิเท่ากับไปสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญ 2558 เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 ดอกหรือ? คำตอบคือ ประชามติที่ “รับร่างรัฐธรรมนูญ” จะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับที่ประชามติปี 2550 ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ส่วนทั้งหมดในขณะนั้น ซึ่งก็คือ แม้มีเลือกตั้ง ความขัดแย้งและวิกฤตการเมืองก็ยังปะทุอยู่ดี จนเกิดรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญในที่สุด! รัฐธรรมนูญ 2558 ที่ผ่านประชามติแล้วก็จะเป็นทำนองเดียวกัน แต่จะให้ผลลัพธ์ที่เลวร้ายกว่าเพราะโครงสร้างอำนาจที่พิกลพิการ แข็งทื่อ ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ของรัฐธรรมนูญ 2558 เอง ในที่สุด ความขัดแย้งก่อนรัฐประหารก็จะปะทุขึ้นมาอีก นำไปสู่การฉีกรัฐธรรมนูญที่รวดเร็วยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เสียอีก!

แต่ถ้าผลประชามติเป็น “ไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ” แล้วพวกเขายังดึงดันที่จะหวนกลับไปสู่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแบบเดิมอีก พวกเขาก็ยากที่จะหาเหตุผลมารองรับ อีกทั้งได้สูญเสียความน่าเชื่อถือทางการเมืองต่อสาธารณะไปแล้ว

ข้อวิจารณ์อีกประการหนึ่งคือ ประชามติเป็นการ “ยืดเวลา” ให้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คงอยู่ต่อไปอีกหกเดือน ถึงหนึ่งปี คำตอบคือ ในทางกลับกัน การ “คว่ำบาตร” ด้วยการนั่งเฉย (หรือด้วยการกดดันพรรคการเมืองที่ไร้ผล) ให้กระบวนการเดินไปจนมีการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญชั่วคราวสิ้นสุดลง จะเป็นการช่วยเร่งฟื้นประชาธิปไตยที่ตรงไหน? และสถานการณ์ประชาธิปไตยจะดีกว่าปัจจุบันอย่างไร?

ฉะนั้น การเรียกร้องให้มีประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และให้มีการอภิปรายสาธารณะในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นหนทาง “สายกลาง” เชิงปฏิบัติที่ให้ผลดีมากกว่าผลเสียคือ การอภิปรายสาธารณะว่าด้วย “อำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญ” ตลอดจนข้อบกพร่องของร่างรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อส่งผลสะเทือนไปสู่สาธารณะในวงกว้างในที่สุด

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข” ฉบับวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2558

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผับ เพศ และพื้นที่ ในประเทศตุรกี

$
0
0

ตอนนี้เป็นเวลาหนึ่งเดือนกว่าที่ฉันเริ่มปรับตัวกับที่นี่ได้ การปรับตัวได้ทำให้ตัวฉันกระเสือกกระสน (struggling) กับชีวิตที่นี่น้อยลง และเมื่อฉันต้องใช้ความพยายามในการใช้ชีวิตที่นี่น้อยลงมันทำให้ฉันมองอะไรรอบตัว สังเกตอะไรรอบๆ ตัว เผื่อจะมีอะไรที่ทำให้ฉันสนใจที่จะลงไปศึกษามันอย่างจริงจังมากขึ้นได้

วันหนึ่งฉันกับเพื่อนร่วมห้องจากราวันด้าตกลงกันว่าเราจะไปกินเบียร์กัน โดยมีเพื่อนซึ่งเป็นผู้หญิงชาวตุรกีไปด้วย เพื่อนชาวตุรกีพูดภาษาอังกฤษได้ดีทำให้ภาษาไม่ได้เป็นอุปสรรคในการสื่อสารมากนัก (แต่อันที่จริงฉันพบว่าพอมีแอลกอฮอล์เข้าเลือดภาษาก็เป็นอุปสรรคน้อยลงอีกเหมือนกัน) เราเริ่มต้นการเดินทางเพื่อหาที่ดื่มอย่างสับสนและไร้ทิศทาง เนื่องจากย่านที่เราอยู่ค่อนข้างจะเป็นย่านที่ Conservative (เอาง่ายๆ ค่อนข้างจะเคร่งทีเดียว แต่อ่านดีๆ นะจ๊ะ conservative ไม่ได้เป็นอันเดียวกับ fundamentalism) เมื่อฉันถามเธอว่าเราจะไปที่ไหน เธอตอบว่ายังไม่รู้ ฉันถามว่าทำไมเราไม่ไปย่าน Aksaray (เป็นย่านการค้าอารมณ์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิบ้านเรา) เนื่องจากที่นั่นเพื่อนของฉันเคยไปมาก่อนและบอกว่าที่นั่นมีสิ่งที่เรียกว่า “Pub” แต่เธอบอกว่า “ที่นั่นอันตราย” ฉันไม่เข้าใจนักกับคำว่า “อันตราย” ของเธอ เพราะสำหรับฉันแล้วเวลามืดทุกที่ก็อันตรายเหมือนๆ กันหมด

เราเดินไปทางแถวมหาวิทยาลัยซักพักเพื่อรอเพื่อนชาวเกาหลี ระหว่างทางเราแวะซื้อเบียร์ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ที่กิน (การกินแอลกอฮอล์ในพื้นที่สาธารณะที่นี่ผิดกฎหมายคับ) จริงๆ แล้วเพื่อนสองคนที่ไปด้วยกันอยากจะกินที่สวนซักแห่งแต่ฉันปรามว่าเราทำเช่นนั้นไม่ได้ (อารมณ์แก่ที่สุดในนั้น) แต่สิ่งหนึ่งที่ฉันแปลกใจคือ เมื่อซิ้อเบียร์เธอไม่ยอมพูดภาษาตุรกีกับเจ้าของร้านชายของชำและเธอบอกว่าเธอมาจากออสเตรีย ในเวลานั้นฉันได้เพียงแต่เก็บความสงสัยนี้เอาไว้ และคิดว่าจะถามเธอภายหลัง

ในที่สุดเพื่อนขาวเกาหลีก็มาและฉันพบว่าเพื่อนในหออีกสองซึ่งเป็นคนอังกฤษกับคนมองโกลเลียติดตามมาด้วย ซึ่งสำหรับฉันแล้วคืนนี้คงจะเป็นคืนที่น่าสนุกทีเดียว จนในที่สุดเราตัดสินใจเดินทางไปที่ย่าน Aksaray เราตัดสินใจจะไม่ไป “Pub” เดิมที่เพื่อนฉันเคยไปเราจะไปอีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่อีกฝั่งของถนน เมื่อฉันเห็นสถานที่แห่งนั้น “Pub” ในความหมายของคนที่นี่คงไม่ต่างจากความหมายทั่วไปคือ “สถานที่ซึ่งคนเข้ามาดื่มกิน พูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มแอลกอฮอล์” แต่เป็นที่น่าประหลาดใจ คือ ในสถานที่แห่งนั้นนอกจากบริกรแล้ว ไม่มีเพศ (Sex) หญิงเข้าไปนั่งกินเลย และเพื่อนชาวตุรกีของฉันก็เกิดความรู้สึกกระอักกระอ่วนที่จะเข้าไปอย่างมาก เมื่อเราเข้าไปนั่งได้ซักพักเราตัดสินใจที่จะย้ายร้านไปร้านเดิมเนื่องจากบรรยากาศดีกว่ามาก ระหว่างทางฉันถามเพื่อนชาวตุรกีว่าเธอเป็นอะไร

“ทำไมเธอถึงรู้สึกอึดอัดใจที่จะเข้าไปในร้านนั้นหละ” ฉันถามขณะที่เรากำลังเดินไปเพื่อย้ายร้าน

“โดยปกติแล้วผู้หญิงชาวตุรกีจะไม่เข้าผับ และผู้หญิงที่เข้าผับจะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี จะไม่มีใครให้ความเคารพนับถือต่อเธอ เวลาฉันมากับพวกเธอฉันเลยไม่พยายามพูดภาษาตุรกีเพราะฉันไม่อยากให้ใครรู้ว่าฉันเป็นคนตุรกี แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือฉันผมบลอนด์ ซึ่งมันทำให้ฉันเหมือนผู้หญิงรัสเซีย ซึ่งคนตุรกีมองว่าผู้หญิงรัสเซียใจง่ายซึ่งนั่นมันยิ่งเลวร้ายเข้าไปอีกสำหรับฉัน”

เมื่อเราย้ายร้านและไปนั่งในชั้นใต้ดินซึ่งมันทำให้เธอรู้สึกสบายใจมากขึ้น ประกอบกับร้านนั้นบรรยากาศค่อนข้างอบอุ่นฉันก็ถามเธอเกี่ยวกับการที่เธอไม่ยอมพูดตุรกีที่ร้านขายของชำขณะซื้อเบียร์ ก็ได้คำตอบแบบเดียวกันว่าเธอไม่อยากให้ใครรู้ว่าเป็นคนตุรกี เพราะเธอไม่อยากถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี และเมื่อย้ายร้านแล้วสิ่งหนึ่งที่ฉันพบคือร้านดังกล่าวก็มีลักษณะคล้ายๆ กันคือ นอกจากบริกรและเพื่อนของฉันแล้วไม่มีผู้หญิงเข้าไปใช้บริการในผับดังกล่าวเลย

การใช้และการเข้าถึงพื้นที่ เป็นประเด็นสำคัญ “เกี่ยวกับมิติเพศภาวะ” เพราะพื้นที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจบอกตำแหน่งแห่งที่ของคนในสังคมนั้นๆ ว่าเขาหรือเธอควรจะอยู่ในพื้นที่ไหนและไม่ควรจะอยู่พื้นที่แบบใด และประการสำคัญหากเกิดการละเมิดกติกาทางพื้นที่แล้วมีการลงโทษทางสังคมแบบใด ในมุมมองของฉันจากการสังเกต สังคมรอบๆ และท่าที่ของเพื่อนชาวตุรกีทำให้เห็นการแบ่งแยกพื้นที่ตามเพศสภาพค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ

อีกประการหนึ่ง คือ การประกอบสร้างความกลัวเมื่อต้องเข้าไปในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งหากจะบอกว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่โดยตัวมันเองมีอันตราย เช่น อาชญากรรม “ความกลัว” นี้ก็ควรจะเกิดกับทุกคนโดยไม่อิงตามเพศสภาพ แต่อะไรที่ทำให้ผู้หญิงเกิดความกลัวที่มากกว่าประเด็นนี้น่าสนใจว่าสังคมแห่งนี้ประกอบสร้างความกลัวสำหรับผู้หญิงขึ้นมาบนฐานคิดแบบใด

แต่การลงโทษทางสังคมในมิตินี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าเพื่อนของฉันรู้สึกอึดอัดใจอย่างมากที่จะละเมิดกติกาทางสังคม ซึ่งความอึดอัดใจนี้มีลักษณะที่ซึมซ่านมาจากภายใน ซึ่งทำให้เธอตัดสินใจที่จะไม่เข้าผับ ไม่อยากพูดภาษาตัวเอง และสบายใจมากกว่าที่จะต้องติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ

แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ฉันเล่ามาและสรุปในตอนท้ายนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ซึ่งฉันอาศัยแต่เพียงการสังเกต พูดคุยกับเพื่อน และวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎีที่ร่ำเรียนมา ซึ่งสำหรับฉันแล้วฉันคิดว่าเพียงข้อมูลเท่านี้มันทำให้ข้อสรุปที่ออกมายังดูบี้แบน และไม่เห็นความแตกต่างหลากหลายและการซ้อนทับของอัตลักษณ์ของคนในสังคม ที่ทำให้พวกเขาหรือเธอตัดสินใจที่จะใช้หรือไม่ใช้พื้นที่ซึ่งเรียกว่า “Pub” ในประเทศตุรกี และคำถามต่อมาคือพื้นที่ซึ่งเรียกว่า Pub สามารถเป็นตัวแทนของพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ได้ด้วยหรือไม่? คำถามเหล่านี้ฉันอาจต้องทำความเข้าใจมากขึ้น และอ่านให้มากขึ้น (เมื่อเข้าใจภาษาตุรกีดีกว่านี้)

 

เกี่ยวกับผู้เขียน: ผู้เขียนเป็นนักศึกษาปริญญาโทคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: หนึ่งปี เสรีหาย

$
0
0

 

ยี่สิบสี่ พฤษภา เวียนมาถึง
เป็นวันซึ่ง ครบหนึ่งปี ชีวิตเปลี่ยน
เสรีภาพ หายไป ดุจเปลวเทียน
ที่ถูกเฆี่ยน ด้วยลม เผด็จการ
คำสั่งเรียก รายงานตัว ฉบับนั้น
ออกในวัน ที่สอง หลังรัฐประหาร
ดูรายชื่อ แล้วก็มี นักวิชาการ
กับบรรดา เหล่าอาจารย์ ผู้โด่งดัง
สุรชัย สุนัย และสมศักดิ์
จักรพันธ์ บริรักษ์ เกี่ยวตรงไหน
พอไล่เรียง รายชื่อ ค่อยดูไป
โอ้....บรรลัย ผังล้มเจ้า ในตำนาน

ตั้งสติ แล้วคิดหวน ให้ถ้วนถี่
เก็บเสื้อผ้า จรลี..หนีสิทั่น
จะให้ไป รายงานตัว อย่างไรกัน
เรียกเช้านั้น ให้เจอกัน ในตอนเย็น
อยู่เชียงใหม่ ใช่อยู่ แถวสีลม
จะให้ผม เหาะไป หรือไงท่าน
ค่าเครื่องบิน เบิกกับใคร ที่ไหนกัน
คิดเช่นนั้น ไม่ไปเลย เฉยเฉยดี
เก็บกระเป๋า เสื้อผ้า มาตั้งหลัก
ย้ายที่พัก ตะลอนไป ในทุกที่
ที่นั่นวัน...ที่นี่คืน..โอ้ชีวี
อยู่ดีดี ก็ต้องหนี ทำผิดไร

สองเดือนผ่าน พ้นไป แสนลำบาก
เงินทองจาก กระเป๋า ไม่เข้าหา
มิตรสหาย หลายท่าน ช่วยเยียวยา
อนิจจา ยังคงมี เพื่อนที่แท้จริง
เดือนที่สาม อาการ ยิ่งทรุดหนัก
ค่าที่พัก แสนหนัก กระไรนี่
จ่ายเป็นวัน ไม่ไหว ในทันที
คงต้องเปลี่ยน วิธี ลี้สัญจร
ไปอาศัย นอนหลับ พักกับเพื่อน
เป็นบ้านเรือน ที่ทำงาน อาคารสอน
นอนกลางคืน เช้าตรู่ ก็ต้องจร
ก่อนที่เหล่า คนนคร จะทำงาน
ส่วนกลางวัน ไหลหลบ สยบนิ่ง
เข้าแอบอิง ตามร้านเน็ต เช็คข่าวสาร
ความเคลื่อนไหว ของเพื่อนร่วม อุดมการณ์
หวังพบพาน ทางรอด ที่ปลอดภัย

วันผ่านไป หลายข่าว ก็เริ่มโผล่
เผด็จการ โชว์ผลงาน ที่วาดฝัน
รายงานตัว ใช่จะรอด ปลอดชีวัน
โดนลงทันฑ์ ด้วยกฏหมาย ทำลายคน
รุ่งศิลา คฑาวุธ พิสูจน์แล้ว
ว่าไม่แคล้ว ถูกจับ ให้สับสน
อีกน้าทอม ดันดี ช่วยพลีตน
เราหรือพ้น หนทาง แห่งอาญา
นี่มันคือ ประเทศบ้า อะไรนี่
สิทธิ์ เสรีคือสิ่ง ทีโหยหา
อยู่ไม่ได้ เสียแล้ว ต้องขอลา
ขอไปตาย เอาดาบหน้า ค่อยว่ากัน

คนในหมาย หลายคน เริ่มมีข่าว
ไปอยู่ดาว นาเม็ก กันสินั่น
อยู่ที่ไหน ดาวไหน ไม่สำคัญ
ขอฉันนั้น ตามรอย ไปด้วยคน
สิ้นเดือนสาม ประหนึ่ง ใจจะขาด
จะมีไหม โอกาส ไปสักหน
จะอยู่รอด ยังไง ให้เป็นคน
ความอับจน เข้าครอบคลุม ทุกอณู

กริ๊ง กริ๊ง กริ๊ง ดังเสียงโทรศัพท์
เป็นเบอร์ลับ ของใคร โทรมานี่
พอคุยสาย ก็รู้ได้ ในทันที
มิตรสหาย ท่านนี้ มีช่องทาง
ไม่รีรอ ทันใด ได้โอกาส
ไม่ถึงฆาต คงได้กลับ มาอีกหน
จะเดินทาง ไปตามหา ความเป็นคน
ขยายผล ให้โลกรู้ เรื่องทุยแลนด์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live


Latest Images