Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

สมาคมนักเขียน PEN แสดงความเสียใจกรณีนักข่าว เจมส์ โฟลีย์ ถูกสังหารในอิรัก

$
0
0

หลังจากที่กลุ่มกบฏไอซิสเผยแพร่ภาพการสังหารโหดนักข่าวชาวอเมริกันผู้ทำข่าวสงครามกลางเมืองซีเรีย สมาคมนักเขียนสากลหรือพีอีเอน (PEN) สาขาสหรัฐฯ แสดงความเสียใจและวิจารณ์การกระทำของไอซิสต่อการสังหารนักข่าวผู้มีอุดมคติต้องการสร้างสันติภาพ


20 ส.ค. 2557 จากเหตุการณ์ที่กลุ่มกบฏไอซิส (ISIS) ในอิรักสังหารนักข่าวชื่อเจมส์ โฟลีย์ โดยมีการบันทึกและเผยแพร่ภาพการสังหารนักข่าวอย่างโหดเหี้ยมโดยอ้างว่าเพื่อแก้แค้นที่สหรัฐฯ โจมตีประเทศอิรัก กลุ่มสมาคมนักเขียนสากลหรือพีอีเอน (PEN) สาขาสหรัฐฯ ได้แสดงความเสียใจรวมถึงวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มไอซิสต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

PEN ระบุว่าการสังหารนักข่าวชาวอเมริกัน โดยอ้างว่าเพื่อแก้แค้นที่สหรัฐฯ ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อประเทศอิรักเป็นสิ่งที่ฟังดูขัดแย้งในตัวเอง เนื่องจากโฟลีย์เป็นนักข่าวที่เคยทำงานในซีเรียช่วงที่เกิดสถานการณ์สงคราม และเป็นผู้มีแนวคิดว่านักเขียนควรจะ "ใช้อิทธิพลที่ตนเองมีในการสร้างความเข้าใจและความเคารพต่อกันและกันในทางระหว่างประเทศ"

นอกจากนี้โฟลีย์ยังมีแนวคิดว่านักเขียนควรมีหน้าที่ขจัดความเกลียดชังทั้งในด้านเชื้อชาติ, ชนชั้น และความขัดแย้งระหว่างประเทศ อีกทั้งยังควรมีอุดมคติในการสร้างโลกที่มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ไดแอน โฟลีย์ มารดาของเจมส์ เขียนข้อความหลังเกิดเหตุการณ์ว่า เธอรู้สึกภาคภูมิใจในตัวลูกชายเนื่องจากเขาได้อุทิศชีวิตเพื่อเปิดเผยให้โลกรู้ถึงความทุกข์ยากของประชาชนชาวซีเรีย อีกทั้งยังได้เรียกร้องให้กลุ่มที่ลักพาตัวคนอื่นไว้ชีวิตตัวประกันของพวกเขา เพราะตัวประกันเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ และพวกเขาก็ไม่สามารถควบคุมการดำเนินนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ อิรัก หรือซีเรีย หรือของประเทศใดในโลกได้

เจมส์ โฟลีย์ เป็นนักข่าวและช่างภาพอิสระ เขาทำงานให้กับสื่อโกลบอลโพสต์จนกระทั่งถูกจับตัวไปในวันที่ 22 พ.ย. 2555 ที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียขณะกำลังทำข่าวสงครามกลางเมือง

กลุ่มกบฏไอซิส หรือกลุ่มกบฏรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรียเป็นกลุ่มติดอาวุธที่ชาติตะวันตกและสหประชาชาตินิยามให้เป็นกลุ่มก่อการร้าย กลุ่มไอซิสมีบทบาทในการเข้าร่วมทำสงครามกลางเมืองในซีเรีย มีแนวคิดทางศาสนาแบบสุดโต่งที่ใช้ความรุนแรงทั้งกับเป้าหมายที่เป็นทหารและเป้าหมายที่เป็นพลเรือนทั่วไป วิกิพีเดียระบุว่ากลุ่มไอซิสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มอัลเคด้าจนกระทั่งในช่วงต้นปี 2557 แม้แต่กลุ่มอัลเคด้าก็ประกาศตัดความสัมพันธ์กับกลุ่มไอซิสโดยอ้างว่ามีความโหดเหี้ยมและ "ดึ้อรั้น" มากเกินไป


เรียบเรียงจาก

PEN Mourns James Foley, PEN, 20-08-2014
http://www.pen.org/blog/pen-mourns-james-foley

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Islamic_State_of_Iraq_and_the_Levant
http://en.wikipedia.org/wiki/James_Foley_(photojournalist)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เหตุใดชายแดนใต้ยังใช้ความรุนแรง' คำถามของ Stein Tønnesson ในการประชุมวิชาการนานาชาติ CCPP

$
0
0
ศ.ดร.Stein Tønnesson กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน CCPP ฉายภาพแนวโน้มความขัดแย้งในเอเชียที่ลดลง จำนวนสงครามและความตายน้อยกว่าอดีต เกิดสันติภาพมากกว่าในทวีปอื่นๆ แต่เหตุใดการต่อสู้ในชายแดนใต้จึงยังมีการใช้ความรุนแรงแม้จะมีอัตราในการชนะต่ำ
 
ศ.ดร.Stein Tønnesson
 
21 ส.ค. 2557 เวลาประมาณ 09.20 น. ศ.ดร.Stein Tonnesson นักวิชาการที่ศึกษาวิจัยความขัดแย้งในประเทศเวียดนาม และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากสถาบันวิจัยสันติภาพแห่งออสโล กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “จากระเบิดถึงป้ายผ้า? การเปลี่ยนยุทธวิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธสู่การไม่ใช้อาวุธ” ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง "การสื่อสาร ความขัดแย้ง และกระบวนการสันติภาพ : ภูมิทัศน์ความรู้จากเอเชียและจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย" (Communication, Conflicts and Peace Processes :Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand) หรือ CCPP ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ. ปัตตานี)
 
ศ.ดร.Stein นำเสนอผลงานวิจัยการรวบรวมสถิติการต่อสู้ในทวีปเอเชียในรูปแบบที่ใช้ความรุนแรงและสันติวิธี ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้ตอกย้ำถึงสถิติจากทั่วโลกว่า การต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรงประสบผลสำเร็จมากกว่าการใช้ความรุนแรง และตั้งคำถามมากมายว่าเหตุใดกลุ่มต่อสู้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงใช้ความรุนแรงในการต่อสู้
 
ดร.Stein ได้นำข้อคิดเห็นต่างๆ จากพื้นที่ความขัดแย้งจากพื้นที่ต่างๆ สู่สาธารณะ เริ่มการปาฐกถาด้วยการให้ข้อสังเกตถึงปัญหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ว่า มี 3 ประเด็น คือ 1.ความขัดแย้งระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา 2. ความขัดแย้งทางการเมืองในกรุงเทพฯ และ 3.ความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
 
เหตุใดในชายแดนใต้ยังใช้ความรุนแรง
 
ดร.Stein ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงยังมีการใช้ความรุนแรงอยู่? แต่อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลา 10 ปีของความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่ามีการเสียชีวิตน้อยกว่า หากเปรียบเทียบกับความรุนแรงในตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงที่มีสงครามระหว่างปี 1960 - 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดสงครามครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ผู้คนมากมายถูกฆ่าตาย
ศ.ดร.Stein ยกคำกล่าวสุนทรพจน์ของดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศมาเลเซียที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่เมื่อ 2 ปีที่แล้วว่า ภายหลังจากญี่ปุ่นยุติสงคราม ประเทศอื่นๆ อย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม และพม่าซึ่งมีความรุนแรงที่ยืดเยื้อต่างก็พยายามจะหยุดสงครามเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลแต่ละประเทศมีการใช้นโยบายที่ก่อให้การพัฒนา และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ความรุนแรงลดลง
 
 
ภูมิภาคนี้มีสันติภาพมากขึ้น
 
ศ.ดร.Stein ยังกล่าวถึงข้อมูลจากหนังสือเล่มหนึ่งที่กล่าวถึงความสลับซับซ้อนของความมั่นคงที่ค้นพบ ซึ่งมีข้อมูลที่น่ายินดีว่า แม้ขณะนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีกลุ่มต่อสู้โดยใช้ความรุนแรงบ้างก็ตาม แต่มีสถิติการก่อสงครามเกิดขึ้นเพียงปีละ 25 ครั้ง และมีการเสียชีวิตจากการต่อสู้โดยใช้อาวุธปีละ 1,000 คน ซึ่งหากเปรียบเทียบสถิตินี้กับในอดีตถือว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสันติภาพมากขึ้น
 
คำถามที่น่าสนใจของ ดร.Stein ก็คือ เหตุใดภูมิภาคใหญ่อย่างเอเชียมีสงครามจำนวนมาก แต่หากเปรียบเทียบกับจำนวนคนซึ่งมากกว่าทวีปอื่นๆ ถือว่ามีคนเสียชีวิตจากสงครามน้อย ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก สมดุลของอำนาจ วัฒนธรรมทางการเมืองของจีน และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านหลักนิติรัฐมากขึ้น แต่ละประเทศมุ่งเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เหล่านี้เป็นขีดความสามารถของรัฐ ที่สามารถกดดันผู้ต่อต้านไม่ให้เกิดสงครามนั่นเอง
 
สำหรับกลุ่มที่ก่อเหตุความขัดแย้ง ศ.ดร.Stein ก็ได้ศึกษาว่า กลุ่มเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไรบ้าง โดยการวิจัยเกี่ยวกับลัทธิของอำนาจของประชาชน งานวิจัยดังกล่าว มีสมมติฐานซึ่งบ่งบอกว่า เมื่อสงครามยุติลงก็ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งจะลดลง แต่ความขัดแย้งได้เปลี่ยนรูปแบบต่างหาก มีการเจรจาที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จ
 
ศ.ดร.Stein ได้ยกกรณีตัวอย่างการเจรจาสันติภาพในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาที่ประเทศเกาหลีเมื่อปี ค.ศ. 1991 ซึ่งถือว่าล้มเหลว เพราะหลังจากนั้นมีการแยกประเทศเป็นเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ หรือปี ค.ศ.2005 ที่มีการเจรจาสันติภาพที่อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ถือว่าเป็นการเจรจาประสบความสำเร็จ เพราะทำให้ความขัดแย้งลดลง และเกิดการพัฒนามากขึ้น ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวนับว่า ส่งผลต่อพื้นที่อื่นๆ ด้วย
 
 
การต่อสู้ด้วยอาวุธมีต้นทุนสูงขึ้น
 
ศ.ดร.Stein ยกเหตุผลว่าเหตุที่การต่อสู้โดยใช้อาวุธไม่ประสบความสำเร็จนั้น เนื่องมาจากการต่อสู้ในปัจจุบันต้องใช้ต้นทุนของการใช้อาวุธมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น สังคมกลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้น มีการสร้างถนนทำให้การคมนาคมสะดวกสบายมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มกบฏจึงมีต้นทุนสูงขึ้นตามมาด้วย
 
ข้อสรุปการต่อสู้ที่ไม่ใช้อาวุธมีอัตราที่ประสบสำเร็จมากกว่าการใช้อาวุธ ด้วยเหตุผลที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางความคิด กล่าวคือ หากกลุ่มต่อสู้ใช้อาวุธรัฐมักจะตอบโต้โดยอาวุธในการปราบปราม ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ใช้ความรุนแรง รัฐอาจเห็นใจมากกว่า อย่างกรณีการต่อสู้ของพลังประชาชนในเมืองมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ต่อสู้ต่อต้านประธานาธิบดีมาร์กอส ถือเป็นประสบความสำเร็จของประชาชนเลยทีเดียว
 
อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.Stein ให้ความกระจ่างว่า การต่อสู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรงก็ไม่ได้หมายถึงการไม่ใช้ความรุนแรงเสียทั้งหมด เพราะมีการใช้ยุทธวิธีที่ผสมผสานกัน อย่างกรณี เสื้อเหลือง เสื้อแดงในประเทศไทย มีการใช้ยุทธวิธีและกลยุทธ์ต่างๆ มากมาย เพื่อดึงมวลชนและเพื่อให้รัฐบาลเชื่อ การต่อสู้ดังกล่าวก็มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต หรือมีกรณีกลุ่มเสื้อดำ และผลสุดท้ายก็เกิดการเกิดรัฐประหารในท้ายที่สุด
 
ศ.ดร.Stein ให้ข้อสังเกตอีกว่า ภายหลังจากสงครามและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอินโดจีน พม่า หรืออินโดนีเซีย หลายประเทศก็เกิดความสงบสุข โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียภายหลังจากซูฮาร์โต้หมดอำนาจลง มีนักวิจัยและนักวิชาการหลายคนต่างเขียนหนังสือและบทความเกี่ยวกับความรุนแรงที่ผ่านมา แต่กลับไม่มีหนังสือเล่มไหนที่พูดถึงว่าทำไมอินโดนีเซียจึงมีสันติภาพมากขึ้น
 
 
คำถาม คำถาม คำถาม ต่อชายแดนใต้
 
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับปาฐกถาของ ศ.ดร.Stein ครั้งนี้ คือ “การตั้งคำถาม” หรือข้อสงสัยต่อความขัดแย้งยืดเยื้อในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ
 
เหตุใดในปีค.ศ.1990 กลุ่มต่อสู้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้วิธีการฆ่าครู ลอบสังหาร วางระเบิดรายวัน และเหตุใดการก่อเหตุแต่ละครั้งไม่มีการประกาศตัวการที่อยู่เบื้องหลัง?
 
เหตุใดการต่อสู้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงใช้ความรุนแรงแม้จะมีอัตราในการชนะต่ำ?
 
เป็นไปได้หรือไม่ว่ากลุ่มต่อสู้มองว่ารัฐไทยจะล่มสลายในอีกไม่ช้า?
 
เป็นไปได้หรือไม่ว่ากลุ่มต่อสู้หวังว่าจะมีการเรียกร้องกันในระดับโลก และมีการแทรกแซงจากต่างประเทศ? เหตุที่กลุ่มต่อสู้ยังใช้วิธีการรุนแรง เพราะไม่มีทางเลือกอื่นใดหรือ?
 
เป็นไปได้หรือไม่ว่า กลุ่มต่อสู้อาจมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยม ไม่ให้รัฐไทยเข้ามารุกรานโดยไม่ได้มุ่งเน้นความสำเร็จแต่อย่างใด หวังเพียงต้องการรักษาอัตลักษณ์ของตัวเองไว้?
 
หรือกลุ่มต่อสู้คิดว่าการใช้อาวุธในเวลานานๆ เพื่อให้รัฐใช้วิธีที่นุ่มนวลเพื่อพูดคุยต่อไป?
 
ข้อสรุปของ ดร.Stein ต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ คือ การพูดคุยของบีอาร์เอ็นนั้นสิ่งสำคัญ ตัวแทนของบีอาร์เอ็นต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ในขณะที่องค์ภาคประชาสังคมต้องมองว่า ตนมีอำนาจในการต่อรองกับรัฐไทยอย่างไร ข้อเรียกร้องของภาคประชาสังคมต้องเน้นไปที่การไม่แบ่งแยกระหว่างกัน ต้องเรียกร้องเรื่องการไม่ใช้อาวุธระหว่างการพูดคุย ควรมีการอบรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ใช้ความรุนแรง
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Line ถอดสติกเกอร์เซ็ตพุทธเจ้า ยันไม่มีเจตนาลบลู่ หลังกระแสต้าน

$
0
0

22 ส.ค.2557 หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กรณีสติกเกอร์ภาพพระพุทธเจ้าของแอพพลิเคชั่นไลน์ รวมไปถึงการรณรงค์ ‘ยกเลิกการเผยแผ่สติกเกอร์ของ บริษัทไลน์ ที่เป็นภาพพระพุทธเจ้า’ เช่นใน change.orgเป็นต้น

ล่าสุดวานนี้(21 ส.ค.) เวลา 20.00 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘LINE Thailand – Official’ ได้โพสต์ประกาศหยุดการขายสติกเกอร์เซ็ตดังกล่าว พร้อมชี้แจงด้วยว่า “เนื่องจากมีครีเอเตอร์สติกเกอร์ที่ใช้คาแรคเตอร์เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาออกวางจำหน่ายผ่าน LINE ครีเอเตอร์มาร์เก็ต  ซึ่งอาจมีสติกเกอร์บางส่วนที่ขัดต่อวัฒนธรรมหรือแนวคิดของคนบางกลุ่มหรือในบางประเทศ

ทาง LINE ได้ดำเนินการหยุดการขายสติกเกอร์เซ็ตนั้นๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทาง LINE มิได้มีเจตนาในการลบลู่ดูหมิ่นพุทธศาสนาแต่อย่างใด

LINE ประเทศไทย ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย  และ LINE ยังคงพัฒนาการให้บริการคอนเทนท์ที่เหมาะสมบน LINE ครีเอเตอร์มาร์เก็ต แพลตฟอร์มที่เปิดให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถส่ง-ขายผลงานสติกเกอร์ของตัวเองผ่าน LINE ได้ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชมรมแพทย์ชนบท วอน คสช. ปล่อยนักกิจกรรม 'ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน'

$
0
0
ชมรมแพทย์ชนบทออกแถลงการณ์ขอให้ปล่อยตัวรองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ และแกนนำ "ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" โดยเร็ว
 
22 ส.ค. 2557 ชมรมแพทย์ชนบทออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอให้ปล่อยตัวรองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ และแกนนำ "ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" โดยเร็ว โดยมีรายละเอียดทั้งหมดดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท
เรื่อง ขอให้ปล่อยตัวรองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ และแกนนำ"ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" โดยเร็ว
 
ตามที่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการรพ.จะนะ จังหวัดสงขลา รองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ตลอดจนแกนนำและสมาชิก "ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" ได้เดินรณรงค์อย่างสงบเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2557  ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องปลุกจิตสำนึกของคนในชาติให้ช่วย คสช. ในการปฏิรูปพลังงาน เพราะตระหนักดีว่าปัญหาเรื่องพลังงานนั้น ซับซ้อน เต็มไปด้วยผลประโยชน์ทั้งของคนในชาติ คนแดนไกล และต่างชาติ ลำพัง คสช.เพียงฝ่ายเดียวจึงยากที่จะปฏิรูปเรื่องนี้ได้สำเร็จ ฉันทามติของคนไทยเท่านั้นจึงจะสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเช่นนี้ได้ รวมถึงตลอด 2 เดือนภายใต้คสช. ที่ได้มีการตั้งคณะทำงานในเรื่องนี้ขึ้น สะท้อนว่าคสช.ยังต้องได้รับแรงหนุน แรงสะท้อนจากคนไทยที่รักชาติอีกมาก จึงจะสามารถปฏิรูปพลังงาน ซึ่งเป็นประเด็นเรียกร้องหนึ่งที่มวลมหาประชาชนให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และคาดหวังว่าเรื่องการปฏิรูปพลังงาน น่าจะเป็นประเด็นที่ คสช.ต้องการให้มีการปฏิรูปเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องทรัพย์สมบัติของชาติ อันจะนำไปสู่การปลดเปลื้องความทุกข์ของคนไทยในหลายปีที่ผ่านมาและคืนความสุขให้คนไทยได้อย่างแท้จริง  จึงชัดเจนว่าการเดินรณรงค์ครั้งนี้มิได้เป็นการต่อต้าน คสช.แต่อย่างใด ไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่กลับเป็นการหนุนเสริมการปฏิรูปพลังงานเพื่อคืนความสุขให้คนไทยตามนโยบายของคสช. แต่น่าเสียดายที่การเดินรณรงค์หนุนเสริมคสช.อย่างสงบครั้งนี้กลับถูกทหารจากค่ายเสนาณรงค์ ควบคุมตัวไว้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 โดยอ้างว่าฝ่าฝืนกฎอัยการศึกนั้น
 
นพ. สุภัทรเป็นแพทย์ชนบทที่ทำงานดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่อำเภอจะนะ มาอย่างต่อเนื่องยาวนานร่วม 20 ปี เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นเสียสละ กล้าหาญ และรักความเป็นธรรม เป็นที่ชื่นชม เป็นแบบอย่างของน้องๆแพทย์ชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ น้อมนำนโยบาย เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ทำให้ถึงแม้จะเป็นไทยพุธแต่ก็สามารถเข้าถึง เข้าใจพี่น้องมุสลิม จนสามารถพัฒนางานบริการสาธารณสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้ความขัดแย้งได้อย่างโดดเด่นชัดเจน นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมาโดยตลอด ทั้งการพูด, เขียน, อภิปราย ฯลฯ อย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของการปฏิรูปพลังงานก็เกิดจากการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภายหลังจากการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่อำเภอจะนะ ที่มีผลกระทบต่อคนในพื้นที่ คนในชาติด้านสุขภาพ และด้านอื่นๆอย่างมากมาย จึงร่วมกับประชาชนในพื้นที่ต่อสู้กับนายทุนข้ามชาติและระบบทุนนิยมมาโดยตลอด จนล่าสุดรวมตัวเป็น "ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน"  ชมรมแพทย์ชนบทจึงเห็นว่าสิ่งที่นพ.สุภัทร ตลอดจนสมาชิก"ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" เดินรณรงค์มิใช่เป็นการต่อต้านคสช. แต่ต้องการสะท้อนความคิดเห็นอีกด้านหนึ่งต่อคสช. ในบรรยากาศแห่งการปรองดองสมานฉัน คสช. จึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการ’แยกมิตรและศัตรู’ให้ออก ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องดังนี้
 
1.ขอให้ทบทวนมาตรการการกักกันและควบคุมตัว สมาชิก "ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" ทุกคนโดยเร็ว เพื่อให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลพี่น้องประชาชนโดยเร็วและเพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนและต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่เคารพในสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ต่อไป
 
2.ขอให้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดที่เกี่ยวข้อง เปิดเวทีให้ แกนนำ "ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" ตลอดจนนักวิชาการได้เป็นผู้ชี้แจงกับประชาชน เพื่อให้เห็นข้อมูลเชิงประจักษ์ อันจะนำไปสู่ฉันทามติของคนในชาติ และหนุนเสริมการทำงานของ คสช. สปช. สนช.และรัฐบาลต่อไป โดยเร็ว
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลเลือดชายชาวเมียนมาร์ ไม่ใช่อีโบลา แต่เป็นมาลาเรีย

$
0
0


22 ส.ค. 2557 สำนักข่าวอิระวดีรายงาน กระทรวงสาธารณสุขของสหภาพเมียนมาร์แถลง ผลการตรวจเลือดของชายชาวเมียนมาร์วัย 22 ที่เข้าข่ายเฝ้าระวังเชื้ออีโบลา เนื่องจากมีอาการไข้ และเดินทางกลับจากประเทศกีนี ทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นพื้นที่ระบาด พบว่าไม่มีเชื้ออีโบลา แต่เป็นไข้มาลาเรีย

สำหรับชายคนดังกล่าวขณะนี้พักรักษาตัวในห้องพักแยกเดี่ยว ที่ร.พ. เวบากี เมืองย่างกุ้ง สหภาพเมียนมาร์ โดยเขาเดินทางกลับถึงประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยต่อเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการทหารฟ้อง 9 ข้อหา ‘สมคบก่อการร้าย’ 26 ผู้ต้องหา ‘ขอนแก่นโมเดล’

$
0
0

(แฟ้มภาพ) ญาติผู้ต้องขังมารอเยี่ยมที่ศาลทหารขอนแก่น ในวันยื่นคำร้องฝากขังผลัดหลังๆ

22 ส.ค.57 นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายจากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) แจ้งว่า เมื่อเวลา 10.00 น. อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 23 ได้ยื่นฟ้องคดีอาญากลุ่มผู้ต้องหา "ขอนแก่นโมเดล" จำนวน 26 คน ต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 23 จังหวัดขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำ ที่ 10 ก./2557 ในฐานความผิด ดังนี้ 

(1)ร่วมกันฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง

(2)ร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกันเพื่อก่อการร้ายหรือกระทำความผิดใดๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อก่อการร้าย หรือรู้ว่าจะมีผู้ก่อการร้ายแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้

(3)เป็นซ่องโจร

(4)มีและร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย

(5)มีอาวุธ เครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

(6)พาอาวุธปืนติตัวไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควร

 (7)มีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาต

(8)มีเครื่องยุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

(9)มีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

วิญญัติกล่าวว่า อัยการยื่นฟ้องทั้ง 9 ข้อหานี้กับผู้ต้องหาทุกคนซึ่งโทษสูงสุดคือ ประหารชีวิต ขณะนี้ทนายจาก กนส. ได้เตรียมคำร้องขอประกันตัวชั่วคราวและเตรียมหลักทรัพย์คนละไม่น้อยกว่า 400,000 บาทยื่นประกันต่อศาล เบื้องต้นยื่นได้ 7 ราย และจะทราบในวันนี้ว่าศาลทหารจะให้ประกันตัวหรือไม่ นอกจากนี้ในวันนี้ยังไม่มีการนำตัวจำเลยทั้งหมดมาศาลแต่อย่างใด ทั้งที่โดยปกติคดีในศาลอาญาในวันฟ้องจะต้องนำตัวจำเลยมาศาลหรือใช้วิธีเทเลคอนเฟอเรนซ์

ศาลได้นัดพร้อมและสอบคำให้การจำเลย วันที่ 21 ต.ค.57 เวลา 9.00 น. ที่ศาลทหารจังหวัดขอนแก่น


 

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้ต้องหาคดีขอนแก่นโมเดลถูกจับกุมเมื่อวันที่ 23 พ.ค.หรือหลังรัฐประหาร 1 วัน ที่อพาร์ทเมนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ทั้งหมดถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร 7วัน จากนั้นถูกฝากขังจนครบ 7 ผลัดที่เรือนจำขอนแก่นก่อนอัยการทหารจะยื่นฟ้องในวันนี้ ในจำนวนนี้มีผู้หญิง 2 ราย ผู้ต้องหาส่วนใหญ่อายุ 50-60 ปี และอายุสูงสุดคือ 72 ปี หลายรายมีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภูมิแพ้ เก๊าต์ ผู้ต้องหามีหลากหลายอาชีพตั้งแต่ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษตรกร คนทำเครื่องจักรสาน คนขายไม้กวาด คนขายอาหารอีสาน ช่างเคาะพ่นสีรถยนต์ นักการเมืองท้องถิ่น พ่อค้าขายปลาสด ทำธุรกิจให้เช่าเครื่องเสียง เป็นต้น โดย จ.ส.ต.ประทิน จันทร์เกศ พนักงานรักษาความปลอดภัยของธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาขอนแก่น  ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่1

ตามรายงานข่าวก่อนหน้านี้ของสื่อมวลชนถึงพฤติการณ์การจับกุมระบุว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้บุกจับกุมผู้ต้องหา 22 รายที่อพาร์ตเม้นต์แห่งหนึ่ง ทั้งหมดแบ่งออกเป็นสองกลุ่มและแยกห้องประชุมเป็น 2 ห้อง ห้องหนึ่งมีคนประชุมอยู่ 10 คน อีกห้องมีคนนั่งอยู่ 9 คน และการจับกุมยังรวมไปถึงอีกห้องที่มีคนพักอาศัยอยู่ 2 คน การตรวจค้นเบื้องต้นทั้งหมดไม่มีอาวุธสงครามพกติดตัว ส่วนที่เหลืออีก 4 รายมีการทยอยจับกุมในภายหลัง ในคำฟ้องขอฝากขังผลัดที่ 1 ระบุว่าหลังจากตรวจค้นรถพบว่าพบอาวุธในรถบางคัน เช่น ระเบิดขว้าง 3 ลูก ระเบิดควัน 1 ลูก ขวาน 1 เล่ม เครื่องกระสุนปืนขนาด 9 มม.จำนวน 161 นัด กระสุนปืนขนาด 11 มม.จำนวน 73 นัด อาวุธพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 8 นัด ถึงแก๊ส 1 ถัง เสื้อเกราะอ่อน 1 ตัว

"แผนการลงมือขอนแก่นโมเดลนั้น แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1.ระดมมวลชนให้มากที่สุด 2. เจรจาปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ 3. เจรจาเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร 4. ทำลายสถาบันการเงินและนำเงินมาแจกจ่ายให้ประชาชน (ปฏิบัติการโรบินฮูด) “ทั่วปฐพีหนี้เป็นศูนย์” ซึ่งหากกลุ่มผู้ไม่หวังดีก่อเหตุที่ จ.ขอนแก่น สำเร็จ อาจมีการก่อเหตุที่ภาคเหนือ การที่ทหารจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาได้ ทำให้แผนการก่อเหตุต่างๆ หยุดชะงัก" พล.ต.ธวัช สุกปลั่ง รองแม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา

(แฟ้มภาพ) ญาติผู้ต้องขังมารอเยี่ยมที่ศาลทหารขอนแก่น ในวันยื่นคำร้องฝากขังผลัดหลังๆ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เร่งสอบถ้อยคำ 'อั้ม เนโกะ' ในโซเชียลว่าหมิ่นสถาบันหรือไม่ ชี้หนีออกนอกประเทศไปแล้ว

$
0
0
รอง ผบ.ตร. กำชับเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบข้อความของ "อั้ม เนโกะ" ผ่านเฟสบุ๊คว่าหมิ่นสถาบันหรือไม่ ระบุต้องใช้เวลา ข้อมูลเบื้องต้นชี้เดินทางออกนอกประเทศไทยไปแล้ว 

 
22 ส.ค. 2557 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่าพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่นายศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ อั้ม เนโกะ นักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวที่ใช้ชื่อว่า “Aum Neko” ในเชิงหมิ่นประมาท ท้าทายเบื้องสูง ว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อความดังกล่าวแล้ว ว่าเข้าข่ายการหมิ่นฯมากน้อยเพียงใด และให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ตรวจสอบถึงที่มาของเว็บไซต์ รวมถึงไอดีที่มาของข้อความดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะค่อนข้างมีรายละเอียดที่ซับซ้อน โดยเบื้องต้นจากข้อมูลที่ได้รับนายศรัณย์ ได้เดินทางออกนอกประเทศไทยแล้ว ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การดำเนินการยุ่งยากมากขึ้น 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถิติผู้ป่วย-ผู้เสียชีวิต จากการระบาดของอีโบล่า

$
0
0

คลิกดูภาพขนาดใหญ่

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกอัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ส.ค. เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 ส.ค. โดยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ระหว่างวันที่ 17-18 ส.ค. จำนวน 1 คน

ทั้งนี้การแพร่ระบาดของโรคขณะนี้มี 4 ประเทศ คือ กินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย

แพทย์อาสาติดเชื้ออีโบลา ฟื้นตัวออกจากโรงพยาบาลแล้ว ประสิทธิภาพของเซรุ่ม ZMapp ยังไม่ได้รับการยืนยัน

สำหรับสถานการณ์เกี่ยวกับโรคอีโบลา เมื่อวานนี้ (21 ส.ค. )น.พ. เคนท์ แบรนท์เลย์ อาสาสมัครแพทย์ชาวอเมริกันที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลาจากไลบีเรีย ออกจากโรงพยาบาลแล้ว โดยก่อนหน้านี้ แนนซี ไรท์โบล ซึ่งเป็นอาสาสมัครด้านการแพทย์อีกคนที่ติดเชื้ออีโบลาได้ผ่านการตรวจเลือด พร้อมเดินทางออกจากโรงพยาบาลไปก่อนแล้วตั้งแต่วันองคารที่ผ่านมา

รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เคนท์ วัย 33 ปี เป็นมนุษย์คนแรกที่รับการฉีดเซรุ่ม ZMapp ซึ่งเป็นเซรุ่มสำหรับสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสอีโบลาก่อนที่จะถูกนำตัวไปรักษาต่อที่สหรัฐอเมริกา โดยเอบีซีระบุว่าเขาอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อได้รับการฉีดเซรุ่มดังกล่าว ขณะที่แนนซี ก็ได้รับการฉีดเซรุ่มดังกล่าวและอาการดีขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม น.พ.บรูซ ริบเนอร์ ผู้อำนวยการแผนกผู้ป่วยติดเชื้อ ของโรงพยาบาลอีมอรี ให้สัมภาษณ์ถึงประสิทธิภาพของ ZMapp ว่า เขายังไม่สามารถยืนยันได้ว่าในทางทฤษฎีแล้วเซรุ่มดังกล่าวทำงานอย่างไร และมันให้ผลในทางส่งเสริมการรักษา หรือไม่มีผลอะไร หรืออาจจะส่งผลให้คนไข้ฟื้นตัวช้ากว่าที่ควรจะเป็นก็ได้

อาสาสมัครสาธารณสุขทั้งสองราย ติดเชื้ออีโบลาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะที่พวกเขาทำงานอาสาดูแลผู้ติดเชื้ออีโบลาในเมืองมอนโรเวีย ประเทศไลบีเรีย พวกเขาถูกนำตัวไปรักษาต่อที่สหรัฐอเมริกาในวันเสาร์ที่ 2 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยมีประชาชนบางส่วนไม่เห็นด้วยที่จะนำตัวอาสาสมัครทางการแพทย์ทั้งสองคนเข้าประเทศ เนื่องจากกังวลเรื่องการระบาดของเชื้ออีโบลา

สาธารณสุขไทยแถลง จับตาดูอาการหญิงเดินทางกลับจากเคนยา พร้อมผู้ใกล้ชิด 13 ราย

สำหรับสถานการณ์ในไทย วานนี้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวกรณีมาตรการเฝ้าระวังโรคอีโบลา ว่า ขณะนี้มีหญิง อายุ 48 ปี ซึ่งทำงานอยู่ที่ประเทศไลบีเลีย ​ได้เดินทางมาจากประเทศไลบีเรีย ​วันที่ 18 ส.ค. เปลี่ยนเครื่องที่ประเทศเคนยา และ​มาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ วันที่ 19 ส.ค.​ ในระหว่างการเดินทางมีอาการปวดหัว และมีผื่นขึ้น แต่ไม่มีไข้ เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย ได้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชน โดยแพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นว่า เป็นลมพิษ จากนั้นได้เข้าพักที่โรงแรมแห่งหนึ่ง แต่ก็ยังมีความกังวล จึงได้โทรแจ้งสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 เจ้าหน้าที่จึงได้ไปรับตัวมายังสถาบันบำราศนราดูร เพื่อเฝ้าระวัง โดยแพทย์ได้ตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบไข้  ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ของโรคอีโบลา แต่ตามมาตรฐานการเฝ้าระวัง​ จึงได้จัดให้เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างสอบสวนโรค ไม่ใช่ผู้ต้องสงสัยว่าป่วย

ซึ่งนอกจากติดตามอาการของหญิงรายดังกล่าว กรมควบคุมโรค ยังได้ติดตามผู้ใกล้ชิดอีก 13 ราย ซึ่งมีทั้งผู้ที่ร่วมเดินทางมาด้วยกัน ญาติผู้ใกล้ชิด และพนักงานในโรงแรมที่หญิงรายดังกล่าวเข้าพัก

สาธารณสุขเมียนมาร์แถลงผลเลือดชายต้องสงสัยติดเชื้อ พบเป็นมาลาเรีย ไม่ใช่อีโบลา

สำหรับผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้ออีโบลาชาวเมียนมาร์วัย วันนี้ (22 ส.ค.) กระทรวงสาธารณสุขของสหภาพเมียนมาร์แถลง ผลการตรวจเลือดของชายชาวเมียนมาร์วัย 22 ที่เข้าข่ายเฝ้าระวังเชื้ออีโบลา เนื่องจากมีอาการไข้ และเดินทางกลับจากประเทศกีนี ทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นพื้นที่ระบาด โดยแวะต่อเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา พบว่าไม่มีเชื้ออีโบลา แต่เป็นไข้มาลาเรีย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียน ‘จปร.’ โอกาสเป็นนายกไทยมากที่สุด

$
0
0

ดูภาพขนาดใหญ่

22 ส.ค.2557 หลังจากที่วานนี้(21 ส.ค.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกใน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นรัฐมนตรี ส่งผลให้ได้นายกคนที่ 29 และเป็นผลบวกให้สัดส่วนนายกฯ ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(หรือโรงเรียนนายร้อยทหารบก) เพิ่มขึ้นเป็น 11 ราย หรือคิดเป็น ร้อยละ 38 ของจำนวนนายกฯ ทั้งหมด

ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), จอมพล แปลก พิบูลสงคราม, จอมพล ถนอม กิตติขจร, จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, พลเอก เปรม ติณสูลานนท์, พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ, พลเอก สุจินดา คราประยูร, พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และล่าสุดพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ขณะที่อันดับ 2 คือ นิติศาสตร์(หรือวิชากฏหมาย) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4 ราย ร้อยละ 14 ของจำนวนนายกฯ ประกอบด้วย ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ชวน หลีกภัย, สมัคร สุนทรเวช และ สมชาย วงศ์สวัสดิ์

โดยมีอันดับ 3 อยู่ 2 สถาบันละ 2 ราย ร้อยละ 7 คือ วิชาปรัชญา,เศรษฐศาสตร์ และการเมือง (Philosophy, Politics and Economics - PPE) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple)ประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) และ สัญญา ธรรมศักดิ์

ทั้งนี้นายกฯ ที่เหลืออีก 10 ราย นั้นกระจายวิชาและสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

ลำดับ

รายชื่อนายกรัฐมนตรี

สถาบันการศึกษา

1

พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)

โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม (เนติบัณฑิตสยาม) The Middle Temple (เนติบัณฑิต) ประเทศอังกฤษ

2

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

โรงเรียนนายร้อยทหารบกและ โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมนี

3

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม

โรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส และโรงเรียนทหารขั้นสูง ประเทศเยอรมัน

4

พันตรี ควง อภัยวงศ์

ศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธา ที่เอกอล ซังตรัล เดอ ลียอง ประเทศฝรั่งเศส

5

ทวี บุณยเกตุ

คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ วิชากสิกรรม ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ประเทศฝรั่งเศส

6

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

โรงเรียนเทรนต์ (Trent College) ในเมือง นอตติงแฮมไชร์ ประเทศอังกฤษ และศึกษาต่อ ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ ที่ วิทยาลัยวอร์สเตอร์ (Worcester College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ในกรุงลอนดอน

7

ปรีดี พนมยงค์

วิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Université de Caen) การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีส ฝรั่งเศส

8

พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

โรงเรียนนายเรือ กรุงเทพ และได้ศึกษาวิชากฎหมายจนสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตไทย

9

พจน์ สารสิน

ศึกษาที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อกลับสู่ประเทศไทยเข้าเรียนวิชากฎหมาย จนสอบได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472 และศึกษาวิชากฎหมายในประเทศอังกฤษ

10

จอมพล ถนอม กิตติขจร

โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1)

11

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

โรงเรียนนายร้อยทหารบก

12

สัญญา ธรรมศักดิ์

โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple)

13

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ศึกษาวิชาปรัชญา,เศรษฐศาสตร์ และการเมือง (Philosophy, Politics and Economics - PPE) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

14

ธานินทร์ กรัยวิเชียร

วิชาวิชากฎหมาย ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ อังกฤษ

15

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5

16

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)

17

พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายทหารม้า และโรงเรียนยานเกราะกองทัพบก (อาร์เมอร์สคูล) รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา

18

อานันท์ ปันยารชุน

ดัลลิชคอจเลจ และปริญญาตรีด้านกฎหมาย (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร

19

พลเอก สุจินดา คราประยูร

โรงเรียนเตรียมทหารและเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์ปอยต์ รุ่นที่ 5 หลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากฟอร์ทซิลส์ (Fort Sill’s) รัฐโอคลาโฮม่า (Oklahoma) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกาจากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธ (Fort Leavenworth)

20

ชวน หลีกภัย

นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21

บรรหาร ศิลปอาชา

นิติศาสตรบัณฑิต และนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

22

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

23

ทักษิณ ชินวัตร

โรงเรียนเตรียมทหาร  และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สาขากระบวนการยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต

24

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

25

สมัคร สุนทรเวช

นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

26

สมชาย วงศ์สวัสดิ์

นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

27

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

28

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา

29

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ เสนอ คสช.แก้ปัญหาเหลื่อมล้ำแก้เหมืองทอง จ.เลย-ดันเงินอุดหนุนเลี้ยงดูบุตร

$
0
0
22 ส.ค. 2557 สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จัดประชุมวิชาการประจำปี 2557 เรื่อง “งานวิจัยทางสังคมศาสตร์กับความเป็นธรรมทางสังคม” โดยมีการเสนองานวิจัยปัญหาเรื่องความเป็นธรรมในหลายกรณีที่เกิดขึ้นในสังคมไทย พร้อมกับจัดทำข้อเสนอคณะรักษาความความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีนโยบายการปฏิรูปประเทศเป็นหนึ่งในนโยบายหลัก
 
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวว่าสังคมไทยมีปัญหาความไม่เป็นธรรมในทุกด้าน ทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ
 
“ถ้าเอาความเป็นธรรมไปจับจะเจอทุกเรื่อง แม้แต่ความตายก็ไม่เป็นธรรม คนจนยังตายด้วยเรื่องที่ไม่ควรตายมากกว่าคนรวย”
 
นายแพทย์ประเวศได้ยกตัวอย่างการศึกษาในสังคมตะวันตกเรื่องความเหลื่อมล้ำ พบว่าสังคมที่ขึ้นชื่อว่าเจริญแล้วและมีประชาธิปไตยที่มีวุฒิภาวะแล้ว ยังมีปัญหาความเป็นธรรมอย่างมาก ยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา ตามการศึกษาของโจเซฟ สติคลิทส์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชาวอเมริกัน เรียกความเหลื่อมล้ำแบบสุดขั้วในสังคมอเมริกาว่าเป็นปรากฏการณ์ 99 ต่อ 1 คือการพัฒนาเป็นประโยชน์ต่อคนเพียงเปอร์เซ็นต์เดียวเท่านั้น คนจนไม่ได้ประโยชน์จากการพัฒนา มิหนำซ้ำกลับเลวลงไปอีก
 
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาความเหลื่อมล้ำทั่วโลกว่าเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “10: 90” และ “90: 10” กล่าวคือ คนเพียง 10% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 90% ขณะที่คน 90% เป็นเจ้าของทรัพย์สินเพียง 10% 
 
นายแพทย์ประเวศ กล่าวว่าเรามีความรู้สึกว่าการกระจายทรัพยากรในสังคมไทยไม่เป็นธรรมอย่างมาก และปรากฏการณ์  “10: 90” และ “90: 10” อาจเป็นจริงสำหรับสังคมไทยด้วย ซึ่งเมื่อทรัพยากรเหลือน้อยเกินไปสำหรับคนทั้งประเทศได้ก่อให้เกิดความรุนแรงในหลายด้าน ทำให้คนจนมีคุณภาพชีวิตเลวร้ายลง เกิดการแย่งชิงฉ้อโกงกันไปทั่ว ข้าราชการเงินเดือนต่ำ ไม่พอกินไม่พอใช้ ไม่ตั้งใจทำงาน แสวงหารายได้นอกหน้าที่ 
 
“ประชาชนที่จนเกินก็ตกอยู่ในระบบอุปถมภ์ ทำให้เกิดการเมืองแบบธนาธิปไตย ที่มีคุณภาพต่ำ คอร์รัปชันสูง ทำให้ประเทศไทยติดอยู่ในวังวนความขัดแย้งและความรุนแรง ได้ตัวแทนได้คนที่ไม่เหมาะสมกับการทำหน้าที่นิติบัญญัติ ก็เกิดปัญหาไปทั่ว”
 
นายแพทย์ประเวศกล่าวว่าแม้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องที่แก้ไขยาก แต่ต้องทำหากต้องการให้สังคมเกิดความเป็นธรรมและอยู่อย่างสันติ เพราะความเหลื่อมล้ำยิ่งมากเท่าไร ปัญหาสังคมก็ยิ่งรุนแรง นำไปสู่การจลาจลและใช้ความรุนแรงได้ง่าย เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
 
สำหรับผลการวิจัยที่นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอต่อ คสช.เพื่อการปฏิรูปนั้นมี 2 เรื่องคือ กรณีการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากการทำเหมืองทองคำจังหวัดเลย และเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร
นางสาวสมพร เพ็งคำ นักวิจัยสมทบ สถาบันวิจัยสังคม กล่าวว่ากรณีของเหมืองทองคำจังหวัดแลย สะท้อนให้เห็นว่าความเห็นชาวบ้านต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้รับความสนใจ จนกระทั่งเกิดปัญหาความขัดแย้งรุนแรงระหว่างชาวบ้านกับผู้ได้รับสัมปทาน โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2557 ที่มีกลุ่มชายฉกรรณ์ราว 300 คน พร้อมอาวุธครบมือข่มขู่และทำร้ายชาวบ้านที่คัดค้านการทำเหมืองแร่
 
ขณะนี้มีข้อมูลชัดเจนว่าใน 6 หมู่บ้าน พบสารปนเปื้อนของโลหะหนัก ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว แมงกานิส และแคดเมียม รวมถึงไซยาไนต์ ในตัวชาวบ้าน โดยมีชาวบ้านที่ป่วยด้วยโรคที่สงสัยว่าจะมาจากการรับสารพิษสะสมในร่างกาย เช่น แขนขาอ่อนแรงและเป็นอัมพาต จึงกังวลว่าจะไม่สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุขได้
 
ทั้งนี้ สถาบันวิจัย ได้เสนอให้ คสช.เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยในระยะสั้นขอให้ส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคัดกรองผู่ป่วยและกลุ่มเสี่ยง จากนั้นขอให้เร่งบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำและดินที่มีการปนเปื้อนสารพิษ เพื่อให้ชาวบ้านกลับมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
 
จากกรณีนี้ สถาบันวิจัยยังเสนอให้มีการปฏิรูปและปรับเปลี่ยนกลไกจัดการทรัพยากรแร่ เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นการปฏิรูปประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน บนหลักความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ
 
ด้าน ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กล่าวว่าเครื่องมือในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอนั้นต้องยึดเป้าหมายในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ที่ผ่านมา มีปัญหามุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์เฉพาะหน้ามากกว่าระยะยาว ซึ่งคณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาโครงการนั้น เป็นเพียงไม้ประดับเท่านั้น แต่ผู้ที่มีอำนาจตัดสินที่แท้จริงคือนักการเมือง โดยผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
 
ส่วนข้อเสนอเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงบุตร นางสาวราณี หัสสรังสี นักวิจัยสมทบ สถาบันวิจัยสังคม กล่าวว่าสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง จึงควรให้ความสนใจจัดสรรทรัพยากรในระหว่างคนรวยกับคนจนให้เป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งการอุดหนุนเงินเพื่อการเลี้ยงดูบุตรถือเป็นนโยบายที่ควรผลักดัน
 
ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาการดูแลเด็กกลุ่มนี้ในครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการเลี้ยงดูขั้นต่ำ นอกจากนี้ในหลายประเทศได้มีการออกกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการด้านสวัสดิการเด็กและครอบครัว
 
สำหรับข้อเสนอต่อ คสช.นั้น เห็นว่ารัฐบาลควรจัดให้มีนโยบายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเด็กเล็กที่จะได้รับการสนับสนุน ควรได้รับตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนถึง 6 ขวบ จำนวนเงินที่จะนำมาอุดหนุนควรอยู่ที่ 600 บาท ต่อเดือน โดยอาจเป็นแบบถ้วนหน้า คือเด็กทุกคนในประเทศไทยจะต้องได้รับเงินอุดหนุน
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นปัญหาของสังคมไทยต้องรีบแก้ไข โดย ดร.สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล นักวิจัย ประจำสถาบันวิจัยสังคม ยังเสนอหัวข้อ “หนี้นอกระบบกับความเป็นธรรมทางสังคม” ซึ่งเป็นผลการศึกษาจากการสำรวจลูกหนี้ 4,709 รายจาก 12 จังหวัด
 
ดร.สุรางค์รัตน์ กล่าวว่าหนี้นอกระบบเป็นตัวอย่างของความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ โดยพบว่ายิ่งลูกหนี้มีรายได้น้อย ก็ยิ่งมีสัดส่วนหนี้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว และเมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าเผชิญกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจ
 
แม้ว่าการสำรวจของสำนักสถิติแห่งชาติ ปี 2554 พบว่ามีหนี้นอกระบบ 6.1% ซึ่งถือเป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับหนี้ในระบบ แต่การสำรวจครั้งนี้พบว่า ลูกหนี้นอกระบบ สัดส่วน 48.4% เป็นหนี้ในระบบด้วย แสดงให้เห็นว่าหนี้นอกระบบเชื่อมโยงกับปัญหานี้ในระบบ
 
ดร.สุรางค์รัตน์ กล่าวว่ารัฐบาลที่ผ่านมามักแก้ปัญหาแบบเหมารวมในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่าลูกหนี้นอกระบบมีหลากหลายมาก ดังนั้นการดำเนินนโยบายจึงต้องแยกแยะลูกหนี้ออกมาให้ชัดเจนและออกนโยบายแก้ปัญหาให้แต่ละกลุ่มเป็นการเฉพาะ
 
สำหรับรายงานวิจัยอีกชิ้น ของ น.ส.วิชยา โกมินทร์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสังคมเช่นเดียวกัน ในหัวข้อ “การสร้างความเป็นธรรมสังคมเรื่องที่อยู่อาศัยในกลุ่มคนจนเมือง “ ซึ่งเป็นอีกปัญหาที่รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ไข
 
จากการสำรวจพบว่าชุมนุมแออัดทั่วประเทศมีถึง 6,334 แห่ง และคิดเป็น 1.63 ล้านครัวเรือน ในจำนวนนี้เป็นผู้เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยมากถึง 44.69% หรือ 7.28 ครัวเรือน 
 
แต่ปรากฏว่าในช่วงเกือบ 10 ปี ที่รัฐบาลดำเนินโครงการบ้านมั่นคง สามารถทำได้เพียง 1,548 โครงการ รองรับได้เพียง 90,876 ครอบครัว หรือ 12.47% และส่วนใหญ่เป็นโครงการในกรุงเทพฯ
 
ดังนั้น การแก้ปัญหาคนจนเมือง จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ โดยต้องยึดหลักสิทธิในที่อยู่อาศัยของคนจนเมือง ซึ่งนอกจากจะเป็นพลเมืองของประเทศแล้ว ยังควรต้องรับสิทธิได้รับที่อยู่อาศัยที่มีความปลอดภัยตามอัตภาพด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาชนชี้ คสช. กักขังผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน 11 ราย เป็นการละเมิดสิทธิร้ายแรง

$
0
0
เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม 57 องค์กร แถลงการณ์เรียกร้องต่อ คสช. ว่าด้วยการกักขังผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน 11 รายตามอำเภอใจ ชี้ละเมิดสิทธิ อิสรภาพอย่างร้ายแรงและเกินขอบเขต

 
22 ส.ค. 2557 เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม 57 องค์กร แถลงการณ์เรียกร้องต่อ คสช. ว่าด้วยการกักขังผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน 11 รายตามอำเภอใจ ชี้ละเมิดสิทธิ อิสรภาพอย่างร้ายแรงและเกินขอบเขต โดยรายละเอียดทั้งหมดของแถลงการณ์มีดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์เรียกร้องต่อ คสช. ว่าด้วยการกักขังผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน 11 รายตามอำเภอใจ 
 
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 ผู้นำในการรณรงค์เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปพลังงาน หรือ ผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงานรวม 11 ราย ถูกจับกุมขณะเดินเท้าในกิจกรรมการรณรงค์ปฏิรูปพลังงานจาก จ.สงขลา สู่กรุงเทพมหานคร โดยทั้งหมดถูกจับขังตามอำเภอใจไว้ในค่ายเสนาณรงค์ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา ด้วยข้อหาการชุมนุมในที่สาธารณะมากกว่า 5 คน ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎอัยการศึก ในขณะที่ผู้นำที่เหลืออีก 4 คนยังคงเดินเท้ารณรงค์ต่อไปนั้น
 
เราขอชี้แจงให้ทราบว่า การเดินเท้าเพื่อปฏิรูปพลังงานครั้งนี้ เป็นกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานให้แก่ประชาชนของกลุ่มผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด โดยเรียกร้องให้ภาคพลังงานให้ข้อมูลที่จำเป็น ครอบคลุม และครบถ้วน ตามความต้องการของประชาชน มิใช่เพียงการรับทราบข้อมูลที่ถูกป้อนโดยรัฐเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมตัดสินใจในนโยบายหรือกิจกรรมที่สำคัญของประชาชนอย่างแท้จริง
 
ดังที่กล่าวมา กิจกรรมรณรงค์การเดินเท้าของผู้นำขาหุ้นปฏิรูปพลังงานเป็นการรณรงค์อย่างสันติและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง จึงไม่เป็นการคุกคามต่อสันติภาพและความสงบของประเทศ การเดินเท้าจึงไม่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศได้ ด้วยมิได้เป็นการกระตุ้นให้เกิดความวุ่นวายต่อสาธารณะ โดยผู้ร่วมในกิจกรรมรณรงค์นี้มาด้วยวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลและแสดงเจตจำนงของตนโดยการเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปพลังงานกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ผ่านการเดินเท้าเท่านั้น
 
เราขอเน้นย้ำว่ามาตรการฉุกเฉินต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกรณีที่อาจจะละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี บัญญัติว่า “มาตรการใดๆ ของรัฐอาจจำกัดบางสิทธิเท่าที่จำเป็นอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ” และการเดินเท้าของเครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงานก็ไม่มีทางที่จะก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศได้เลย ดังนั้นเราจึงเห็นว่าการกักขังตามอำเภอใจของผู้รณรงค์เดินเท้าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พรากสิทธิในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีและการดำเนินกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ การกักขังบุคคลด้วยเจตนาที่ดีและสร้างสันติเพื่อให้ความรู้แก่สาธารณะจึงถือเป็นการละเมิดสิทธิ อิสรภาพอย่างร้ายแรงและเกินขอบเขต ซึ่งกติกาดังกล่าวได้รับการรับรองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
 
ในการนี้เราจึงขอเรียกร้อง คสช. ให้มีคำสั่งให้ปล่อยตัว 11 ผู้นำขาหุ้นปฏิรูปโดยทันทีและโดยปราศจากเงื่อนไข ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
 
1. น.ส.กรรณิกา แพรแก้ว
2. น.ส.วิลัยพร โกไสยกานนท์
3. นายประสิทธิชัย หนูนวล
4. นายศักดิ์กมล แสงดารา
5. นายสุวิทย์ ทองย้อย
6. นายอนุพล คงเอียด
7. นายเชภาดร จันทร์หอม 
8. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
9. นายสิทธิพงศ์ สังข์เศรษฐ์
10. ว่าที่ ร.ต.พร้อมศักดิ์ จิตจำ
11. นายเอกสิทธิ์ เบญจสุตะณรงค์
 
แถลงการณ์ ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2557
เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม 57 องค์กร 
 
1. มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
2. มูลนิธิศักยภาพชุมชน
3. ศูนย์ข้อมูลชุมชน 
4. สมาคมผู้บริโภคสงขลา
5. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
6. เครือข่ายผู้บริโภค จ.สุราษฎร์ธานี
7. เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้
8. สมาคมประชาสังคมชุมพร
9. เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
10. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน  
11. สมาคมรักษ์ทะเลไทย
12. เครือข่ายทุ่งตำเสารักษ์ถิ่น
13. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
14. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
15. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ
16. กลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนาภาคเหนือ
17. กลุ่มออมทรัพย์นักพัฒนาภาคใต้
18. เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
19. เครือข่ายรักบ้านเกิดท่าศาลา
20. คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม
21. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
22. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
23. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน
24. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
25. โครงการประมงพื้นบ้านสัตว์น้ำอินทรีย์
26. สมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็กจังหวัดระยอง
27. เครือข่ายพลเมืองสงขลา
28. เครือข่ายผู้เป็นเจ้าของแร่แห่งประเทศไทย
29. เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน
30. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.)
31. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
32. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
33. ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.)
34. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
35. โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา
36. มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ
37. สภาประชาชนรัตภูมิ-ควนเนียง จ.สงขลา
38. มูลนิธิสิทธิชุมชนสงขลา 
39. เครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหิน
40. เครือข่ายปกป้องเกาะแห่งชีวิต สมุย-พงัน-เกาะเต่า
41. กลุ่มครอบครัวเข้มแข็ง อ.จะนะ จ.สงขลา
42. โครงการทามมูล
43. เครือข่ายพิทักษ์ชุมชน จ.ตรัง
44. โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
45. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี
46. สถาบันจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
47. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)
48. ศูนย์พลเมืองเด็ก 
49. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ 
50. กลุ่มคนรักษ์บ้านแหง จ.ลำปาง
51. เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ
52. Asia  Pacific  Forum on Women , Law and Development (APWLD)
53. GABRIELA National Alliance of Filipino Women, Philippines
54. Suara Rakyat Malaysia (SUARAM), Malaysia 
55. Protection International 
56. Asia-Pacific Solidarity Coalition (APSOC) 
57. MARUAH, Singapore
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตรียมยกเลิกการละเว้นเกณฑ์ทหารให้บุคคลในพื้นที่ห่างไกล

$
0
0
กระทรวงกลาโหมเตรียมยกเลิกกฎกระทรวง ที่ยกเว้นการเกณฑ์ทหารให้กับบุคคลที่อยู่ห่างไกลความเจริญประมาณ 400-500 หมู่บ้าน ระบุเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเสมอภาค เพราะปัจจุบันสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วพร้อมทั้งได้รับสัญชาติไทยและมีบัตรประชาชนแล้ว

22 ส.ค. 2557 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เปิดเผยว่า ในที่ประชุมสภากลาโหมได้สรุปผลการดำเนินงานของกองทัพไทย และเหล่าทัพ ในส่วนของกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายให้จัดทำโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักให้กับกำลังพลและครอบครัวที่ได้รับบาดเจ็บจนทุพพลภาพ และเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งได้รับปูนบำเหน็จ 7 ขั้นขึ้นไป โดยในปี 2557 กองทัพบกได้ช่วยไปแล้ว 89 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 8,600,000 บาท ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานการประชุมสภากลาโหม ได้แจ้งให้กองทัพไทย และเหล่าทัพ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะแพทย์ทหารจะต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน โดยให้กองทัพไทยเป็นเจ้าภาพหลัก หลังจากนี้จะมีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

พล.อ.ไพชยนต์ กล่าวย้ำว่า กระทรวงกลาโหมเตรียมยกเลิกกฎกระทรวง ที่ยกเว้นการเกณฑ์ทหารให้กับบุคคลที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่น ชาวเขา ชาวดอย และหมู่บ้านชายแดน ประมาณ 400-500 หมู่บ้าน เนื่องจากในอดีตบุคคลกลุ่มนี้ไม่สามารถฟังพูด อ่านเขียนภาษาไทยได้ แต่ปัจจุบันสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วพร้อมทั้งได้รับสัญชาติไทย และมีบัตรประชาชน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเสมอภาค ซึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายจึงเห็นว่าควรยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าว

นอกจากนี้ ในส่วนของการเฝ้าระวังโรคไวรัสอีโบลา ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการให้กรมแพทย์ทหารทั้ง 3 เหล่าทัพเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และให้ประสานกระทรวงสาธารณสุข เพราะเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลด้านนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.ส่งด่วน ร่าง กม.ทวงหนี้-กม.กลับไปใช้สิทธิบำเหน็จบำนาญเข้า สนช.

$
0
0

สมาชิก สนช. เข้าฟังบรรยายร่างกฎหมายเร่งด่วน 2 ฉบับ "พ.ร.บ.กลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ" และ "พ.ร.บ.การทวงถามหนี้" ตามที่ คสช. ส่งให้ที่ประชุมพิจารณา

22 ส.ค. 2557 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เข้ารับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับความเป็นมา และสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ... โดยสำนักกฎหมายเป็นผู้บรรยายในข้อมูล เพื่อให้สมาชิก สนช. ทำความเข้าใจ ก่อนที่ร่าง พระราชบัญญัติ ทั้ง 2 ฉบับ จะบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม สนช. ในสัปดาห์หน้า ซึ่งร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเร่งด่วนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ส่งมาให้ที่ประชุม สนช.พิจารณา ทั้งนี้ ร่าง พระราชบัญญัติ การกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ ระบุว่า ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และผู้รับบำนาญที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รวมถึงทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด มีสิทธิขอกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 โดยให้แสดงความประสงค์ต่อส่วนราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ ระบุว่าให้มีคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกสภาทนายความ และผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการ โดยมีอำนาจออกประกาศและคำสั่งในการทวงถามหนี้ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้จะต้องจดทะเบียนตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยให้เจ้าหนี้ติดต่อลูกหนี้ตามสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ในเวลา 09.00 น.- 20.00 น. รวมถึงห้ามทวงถามหนี้ด้วยการข่มขู่ หรือใช้ความรุนแรงและติดต่อลูกหนี้ โดยใช้เอกสารที่ชัดเจน

พร้อมกันนี้ ยังมีข้อห้ามไม่ให้เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในสถานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กระแส Ice Bucket Challenge ลามถึงนักการเมืองไทย

$
0
0
“อภิสิทธิ์” รับคำท้าทำ Ice bucket challenge ส่วน "สมชัย ศรีสุทธิยากร" กกต. ท้า "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" มอบเงินให้สถาบันประสาทวิทยา

 
 
 
ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย
 
เมื่อเวลา 14.30 น. ที่สภากาชาดไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับคำท้านายฐากร ปิยะพันธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงศรี คอนซูเมอร์ จำกัด ร่วมแคมเปญ Ice Bucket Challenge ท่ามกลางแฟนคลับมาร่วมเป็นสักขีพยานเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเป็นกำลังใจ
 
โดยก่อนเริ่มแคมเปญดังกล่าว นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ที่จริงตนไม่ค่อยนิยมทำอะไรอย่างนี้ แต่ที่รับคำท้าจากนายฐากร เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมการกุศล และต้องการให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องโรคเอแอลเอส หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่ง ร.ต.อ.พเยาว์ พูนธรัตน์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และอดีตแชมป์มวยโลก ที่บั้นปลายชีวิตเป็นโรคดังกล่าว และตนได้เห็นถึงความยากลำบากในการต่อสู้กับโรคนี้ จึงรับคำท้า เนื่องจากนายฐากรระบุว่า จะบริจาคเงิน 500,000 บาท ให้สภากาชาดไทย โดยระบุจุดประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการระดมทุนช่วยเหลือผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง
 
“ผมดูแล้วในชีวิตคงไม่มีโอกาสหาเงินจำนวนนี้มาบริจาคได้ ดังนั้น ก่อนที่จะทำกิจกรรม จึงได้ลงนามเซ็นสัญญามอบเงินให้กับสภากาชาดไทยแล้ว และจะขอท้าอดีตพิธีกรรายการสายล่อฟ้า คือ นายเทพไท เสนพงศ์ นายศิริโชค โสภา และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โดยให้เวลาถึงวันที่ 25 ส.ค.ในช่วงบ่าย ถ้าท่านใดไม่ทำ ขอให้บริจาคแทนท่านที่ทำ แต่หากทำทั้ง 3 คน ผมจะไปหาสปอนเซอร์รับบริจาคให้ได้มากที่สุด” นายอภิสิทธิ์กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่นายฐากรจะยกถังน้ำแข็งราดศีรษะ นายอภิสิทธิ์ได้นำมือจุ่มลงไปในถังน้ำแข็งแล้วบอกว่า “ชิล ชิล” จากนั้นนายฐากรได้ยกถังน้ำแข็งราดนายอภิสิทธิ์เพียง 1 ถัง ท่ามกลางเสียงปรบมือจากบรรดาแฟนคลับ
 
 
กกต. ด้านการเลือกตั้ง ท้า นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ร่วมการกุศล Ice Bucket Challenge
 
 
ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย
 
เมื่อเวลา 16.00 น. ที่บริเวณลานอเนกประสงค์ อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติแจ้งวัฒนะ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ได้ตอบรับคำท้านายพีรวัฒน์ อัฐนาค ผู้ประกาศข่าวไทยรัฐทีวี ที่ท้าให้ร่วมกิจกรรมเอาน้ำแข็งราดตัว หรือ Ice Bucket Challenge เมื่อเวลา 21.00 น.วานนี้ ( 21 ส.ค.) โดยก่อนทำกิจกรรมดังกล่าว นายสมชัยได้อ่านกลอนที่แต่งเองถึงการตัดสินใจรับคำท้า และระบุถึงบุคคลที่ขอท้าต่อไป 3 คน คือ 1.ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีต รมช.พานิชย์ เนื่องจากแม้ไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว แต่เป็นผู้ที่ชอบเข้ามาต่อคำกลอนกับตนเอง 2.นักศึกษาหลักสูตรพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) รุ่น 5 ไม่ว่าจะเป็นประธานรุ่นคือนายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีต รมช.คลัง หรือนักศึกษาทั้งรุ่น และสุดท้าย นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งระบุว่าขอร่วมบริจาคให้กับกองทุนสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเอแอลเอส สถาบันประสาทวิทยา
 
ท้า "อำพน กิตติอำพน" มอบเงินให้มูลนิธิพระดาบส 
 
นายประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ด้านกิจการการมีส่วนร่วม ได้ร่วมการกุศล Ice Bucket Challenge ที่ บริเวณลานศูนย์ราชการ อาคารบี หลังได้รับคำท้าจากนายสมพันธ์ จารุมิลินท รองประธานกรรมการบริหาร ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการบริหาร สถานีข่าวโทรทัศน์ TNN โดยนายประวิช รัตนเพียร จะนำเงินร่วมการกุศลกับมูลนิธิพระดาบส เพื่อสร้างคนให้มีอาชีพและมีอนาคต ซึ่งไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดยอดเงินทำบุญ พร้อมทั้งท้าทำ Ice Bucket Challenge เพื่อร่วมทำบุญอีก 3 คน คือ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี // นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ ใหม่ เจริญปุระ ดารานักแสดง
 
 
 
ที่มาเรียบเรียงจาก
 
สำนักข่าวไทย, สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หัวหน้า คสช. เผยเดี๋ยวนี้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ต่างชาติชื่นชม

$
0
0
"คืนความสุขให้คนในชาติ" กับ พล.อ.ประยุทธ์ วอนชาวสวนยางอย่าเพิ่งเข้ากรุง มาแล้วจะเสียเวลาไม่ได้อะไรกลับไป - เดี๋ยวนี้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทุกคนเคารพกฎหมาย ต่างชาติชื่นชมหาดทรายสวยๆ ที่ภูเก็ต - วอนอย่าบ่นรถติด เมืองใหญ่ประเทศไหนรถไม่ติดบ้างบอกหน่อย เผยตอนเด็กก็เคยขึ้นรถเมล์รู้ถึงความยากลำบากขึ้นรถ 3 ต่อ 4 ต่อ จากนี้ไปรัฐจะเน้นระบบรางให้ใช้ได้แท้จริง

 
 
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 22  สิงหาคม  2557 เวลา 20.15 น ตอนหนึ่งว่าขอความร่วมมือกลุ่มผู้ต่อต้านที่เรียกตัวเองว่า “ประชาธิปไตย” โดยเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจและการเลือกตั้ง โดยมีการใช้คำตำหนิติเตียน ทำใบปลิว บัตรสนเท่ห์ โซเซียลเน็ตเวิร์คให้ร้ายการกระทำของ คสช. รวมทั้งทราบว่ามีการประชุมลับกันหลายครั้ง โดยยืนยันว่าบ้านเมืองเกิดปัญหามากมายที่ในระยะเวลาที่ผ่านมา และคสช.กำลังแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ อย่าพยายามทำให้คนไทยโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยเข้าใจผิด
 
“เราน่าจะมองว่าถ้าเราปล่อยให้สิ่งเหล่านั้น ยังเดินหน้าต่อไปด้วยการเป็นประชาธิปไตยแบบเดิม ก็น่าจะทำให้ประเทศไทยเสียหายเป็นอย่างยิ่งในอนาคต ทำให้การพัฒนาประเทศช้าลงตามลำดับ”
 
ส่วนการปรองดองและการปฏิรูปเพิ่งเริ่มต้นในระยะที่ 2 อย่าเพิ่งตำหนิ ติเตียน เรื่องของตัวบุคคล โดยตอนนี้ ถ้าดูในโซเชียลมีเดีย ดูในสื่อ ก็แทบจะไม่มีคนดีเหลืออยู่แล้วในสายตาของสังคมวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้จะให้โอกาสของคนทุกคนไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามเข้ามาแก้ไขร่วมกัน โดยจะมีการควบคุมด้วยระบบธรรมาภิบาล
 
ขณะที่ภาคเศรษฐกิจ มีทั้งวิกฤติและโอกาส ทำอย่างไรจะให้วิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และอื่น ๆ ต้องพัฒนาตนเองทั้งความรู้ความสามารถ ความซื่อสัตย์ ความเข้าใจซึ่งกันและกันรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยยึดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก และจะมีการปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัย โดยจะมีการสนับสนุนด้านเงินทุน ด้วยแบงค์รัฐ และกองทุนของรัฐ รวมทั้งบีโอไอ เพื่อให้เกษตรกรมีศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลกให้มากขึ้น
 
สำหรับด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ หาวิธีทำกฎหมายให้เป็นธรรมกับคนทุกคน เพื่อให้เกิดควยามยั่งยืน ก่อนกลับเข้าสู่การเป็นประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
 
นอกจากนี้ คสช.ได้แก้ปัญหาด้านความมั่นคง ได้แก่ปัญหาที่ดินทำกิน ซึ่งได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง คสช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่วนราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินแบบบูรณาการ คือโฉนดที่ดินยังเป็นของรัฐแต่ให้ประชาชนทำมาหากินร่วมกันได้ และมีการปลูกป่าไปด้วย และย้ำว่าไม่อยากให้มีการบุกรุกป่าสมบูรณ์อีกเป็นอันขาด ส่วนป่าชุมชนอยากให้ปรับมาเป็นป่าเศรษฐกิจ ให้คนในพื้นที่มาดูแล ซึ่งจะต้องมีการดูแลข้อกฎหมายใหม่ เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกป่ามากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการหารือ สามารถแสดงความคิดเห็นต่อ คสช.ได้
 
ทั้งนี้รายละเอียดทั้งหมดของรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 22  สิงหาคม  2557 เวลา 20.15 น มีดังต่อไปนี้
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 22  สิงหาคม  2557 เวลา 20.15 น 
 
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องประชาชนที่รักพบกันอีกครั้งเช่นเดิม ขอบคุณที่ทุกท่านได้กรุณาติดตามรับฟัง และเป็นกำลังใจให้ผมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตลอดมา
 
ทุกครั้งที่เราพบกัน อยากจะเรียนว่าสิ่งที่เราคิดและเราทำออกไปนั้น บางครั้งอาจจะดูเหมือนยังไม่เร็วเท่าที่ควรพอที่จะแก้ปัญหาทุกอย่างของประเทศได้ อยากจะเรียนว่ามีปัญหาความทับซ้อนกันมากมาย ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเหล่านั้น มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของประเทศ การพัฒนาประเทศ ความอยู่ดีกินดีของประชาชนในทุกมิติ
 
พวกเราจึงอยากขอความร่วมมือ ขอร้องบรรดาผู้ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจที่พยายามจะต่อว่าหรือต่อต้าน โดยเลือกที่จะพูดคำว่า ประชาธิปไตย โดยการคืนอำนาจและเลือกตั้ง หรือกล่าวคำตำหนิติเตียน ทำใบปลิว บัตรสนเท่ห์ ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ให้ร้ายการกระทำอันเป็นเจตนาดีของพวกเรา ผมไม่ทราบว่าจะทำไปเพื่ออะไรยังคงมีการซุ่มซ่อน หลบเลี่ยง ดำเนินการในลักษณะที่มีการปกปิดซ่อนเร้นอยู่ตลอดมา และผมทราบมีการประชุมกันอยู่หลาย ๆ ที่ด้วยกัน โดยเป็นคนกลุ่มเดิม ๆ พูดจากันว่าอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย กับการที่จะขับเคลื่อนประเทศในวันข้างหน้า หรือการปฏิรูปของพวกเราผมพูดอยู่เสมอแล้วว่าเราก็อยากสร้างบรรยากาศการปรองดอง ในการที่จะปฏิรูปประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ให้ได้ แต่หลายคนก็มีความพยายามที่จะนำพากลับไปสู่สถานการณ์ไม่ปกติอีกต่อไป โดยใช้คำว่าประชาธิปไตย การเลือกตั้ง โดยที่ไม่เห็นว่าประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ เกิดความไม่ปลอดภัย ขาดความน่าเชื่อถือจากสังคมโลก การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม การทุจริตผิดกฎหมาย มีการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเอารัดเอาเปรียบผู้คนโดยใช้ทุกวิธีการทั้งผิดและถูก เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่นั้นเชื่อมั่นในการกระทำดังกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ถูก เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งก็คงเกิดได้เฉพาะบางพวก บางกลุ่ม บางพื้นที่เท่านั้น ไม่ทั่วถึงและไม่แก้ปัญหาพื้นฐานของประชาชนได้เลย ตลอดระยะเวลายาวนานในอดีตที่ผ่านมา
 
ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ การบริหารจัดการเรื่องน้ำทั้งระบบ การแก้ปัญหาสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทันสมัยพร้อมต่อการให้บริการ การเตรียมการรองรับประชาคมอาเซียน การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นรูปธรรมปฏิบัติได้แล้วจับต้องได้ในระยะยาว การแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน การเข้าถึงทรัพยากรแหล่งเงินทุนของประชาชนที่ยั่งยืน ในการบริหารจัดการที่ผ่านมาเหมือนเราดูภาพถ่าย รูปถ่ายในภาพยนตร์ เหมือนนำมาให้ดูแล้วก็จบไปเหมือนหนังจบ หรือปิดหนังสือก็ไม่เห็นรูปอีกต่อไปจะเป็นชิ้น ๆ ไม่เกิดความต่อเนื่องทั้งระบบ ทั่วถึงและยั่งยืน
 
เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามทำอะไรที่จับต้องไม่ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากนัก มาบริหารจัดการให้ได้ เช่น การบริหารจัดการพลังงานอย่างไร้ทิศทางที่ชัดเจน มียุทธศาสตร์ระยะยาวและอีกหลาย ๆ เรื่องที่เมื่อเราเข้ามาควบคุมอำนาจในการบริหารราชการได้ตรวจสอบพบสิ่งเหล่านี้ บั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง การศึกษา  สาธารณสุขที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและยั่งยืน ผมใช้คำว่ายังไม่เพียงพอและยั่งยืน บางอย่างก็ดีอยู่ บางอย่างก็ยังไม่ยั่งยืน ผมอาจจะต้องก้าวล่วงในการทำงานของทุกฝ่าย ทั้งข้าราชการ ฝ่ายนโยบาย ฝ่ายการเมืองอยู่บ้าง เพราะท่านรู้ว่าปัญหาประเทศอยู่ที่ไหน เพียงแต่แก้ไขอะไรยังไม่ได้ ตราบใดที่ยังมีผู้บริหารข้าราชการบางคน บางส่วน บางพวก ยังมีผลประโยชน์ในการบริหารราชการ เพราะฉะนั้นประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับก็จะลดลงไปตามลำดับ ผมไม่ได้หมายถึงทุกหน่วย ทุกคน ก็มีบางคนบางส่วนเท่านั้นเอง แต่เป็นผลกระทบโดยรวม เป็นเหมือนลูกโซ่ พอตรงนี้พลาด ตรงนี้ไม่ดี ตรงนี้ผิด ก็ทำให้สิ่งที่อาจจะดีอยู่แล้ว ถูกถ่วงดุลดึงลงไปด้วย อันนี้อยากจะเรียนให้ทราบ
 
เรื่องที่ผมกล่าวไปทั้งหมด เราน่าจะมองว่าถ้าเราปล่อยให้สิ่งเหล่านั้น ยังเดินหน้าต่อไปด้วยการเป็นประชาธิปไตยแบบเดิม ก็น่าจะทำให้ประเทศไทยเสียหายเป็นอย่างยิ่งในอนาคต ทำให้การพัฒนาประเทศช้าลงตามลำดับ
 
จากผลดำเนินงานที่ผ่านมาของ คสช. ระยะที่ 1 ประมาณ 3 เดือน มีความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหามาในระดับหนึ่ง ไม่อยากให้ทุกอย่างเป็นในลักษณะไฟไหม้ฟาง คือทำแล้ว แก้ไปแล้ว ระหว่างที่เราเข้มงวดอยู่ก็ดูเหมือนจะดี แต่พอเราไปทำเรื่องอื่นที่มีปัญหามากมาย เรื่องเก่า อำนาจเก่า ผู้มีอิทธิพลเก่าก็จะเข้ามาอีก พยายามที่จะกลับเข้ามาแก้ไขอีก กลับไปเป็นแบบเดิมอีก โดยใช้กระแสสังคม โดยใช้กระแสของประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย ผมไม่เข้าใจว่าคนเหล่านี้ จิตใจทำด้วยอะไร พยายามจะทำให้คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีรายได้น้อยเข้าใจผิด และยกประโยชน์แต่เพียงส่วนน้อย ผิดกฎหมายหรือละเมิดความสงบเรียบร้อยของสังคมให้กับประชาชนเป็นจุดอ้าง และกอบโกยผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไป และแบ่งปันส่วนน้อยให้กับผู้ที่ทำผิดกฎหมายดังกล่าว โดยมีประชาชนเหมือนกับเป็นตัวประกัน อันนี้ต้องขอร้องให้เลิกซะที เช่น การที่เราไปจัดระเบียบในสังคมเหล่านี้ ก็ยังมีคนพยายามที่จะกลับมาให้เป็นเหมือนเดิม การปรับปรุงทางเท้า การปรับปรุงการค้าขาย ปลีก ขายย่อยตามถนนหนทางก็ไปจัดระเบียบกันมาให้ได้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องคงต้องไปหาแนวทางที่เหมาะสม ทำอย่างคนที่ยากจนจะไม่เดือดร้อน หาที่ขายให้ใหม่หรือกำหนดกติตาต่าง ๆ ให้ชัดเจนในบางพื้นที่ ก็ไปหาวิธีการทำให้ได้ คสช. กำหนดนโยบายไปแล้ว ฉะนั้นทุกคนต้องหามาตรการดำเนินการให้ดีที่สุด ทั้งระยะสั้น ระยะยาวไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปในการกระทำผิดกฎหมาย
 
การปรองดองและการปฏิรูป ในระยะที่ 2 ซึ่งเราพึ่งจะเริ่มต้นตอนนี้อย่าเพิ่งตำหนิติเตียนกันมากนักเลย ในเรื่องของตัวบุคคล วันนี้ถ้าดูในโซเชียลมีเดีย ดูในสื่อ ก็แทบจะไม่มีคนดีเหลืออยู่แล้วในสายตาของสังคมวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้ถ้าเราบอกว่าเราจะให้โอกาสของคนทุกคนไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามเข้ามาแก้ไข ถ้าคนที่เขาเคยทำไม่ดีก็เป็นโอกาสให้เขามาแสดงให้เห็นว่า ถ้าทำดีจะทำได้อย่างไร เพราะเราจะมีการบริหารจัดการ และควบคุมด้วยระบบธรรมาภิบาล เพราะอย่างไรเราต้องอยู่ร่วมกันต่อไปให้ได้
 
ด้านเศรษฐกิจ สัปดาห์ที่แล้ว ผมพูดไปแล้วว่าเรามีทั้งวิกฤติและโอกาส ทำอย่างไรจะให้วิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และอื่น ๆ ต้องพัฒนาตนเองทั้งความรู้ความสามารถ ความซื่อสัตย์ ความเข้าใจซึ่งกันและกันรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่มีอะไรยั่งยืน ผลิตผลต่าง ๆ การค้าขาย ฉะนั้นเราต้อง เตรียมตัวรับความเสี่ยงให้พร้อม เราก็มีหลักการอยู่แล้วใช่หรือไม่ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการมีภูมิคุ้มกัน โดยมีความรู้คู่คุณธรรม ความรู้สำคัญในทุกวิชาชีพ ทุกอาชีพต้องมีความรู้ คำว่ามีคุณธรรมคือไม่ไปเบียดเบียน ไม่ไปรังแก ไม่ไปขูดรีดกับผู้ที่มีรายได้น้อย ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น การทำค้าขาย การผลิตสินค้าต่าง ๆ ต้องเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ให้ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคและคู่ค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ วันนี้สิ่งที่เรามีอยู่คือความเข้มแข็งของทุกภาคการผลิต การปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น ก็ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ปรับปรุงเครื่องจักร ปรับปรุงการผลิตก็ต้องมีเงินทุนให้ไปทำการปรับปรุงในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น SME ในเรื่องของการลงทุนขนาดใหญ่ BOI และกองทุนต่าง ๆ ของรัฐ อันนี้ก็ต้องพยายามช่วยกัน ต้องนำคนทุกคนเข้าหาทรัพยากรให้ได้จะเข้าไปอย่างไร จะมีวิธีการเฉลี่ยแบ่งปันกันอย่างไรให้เกิดความพอเพียงเกิดขึ้น และค่อย ๆ สร้าง ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ก็จะดีขึ้นไปตามลำดับ ถ้าทุกคนยังคงยึดถือการผลิตที่เชิงปริมาณมากเกินไป โดยไม่มีการปรับปรุงเทคโนโลยี ไม่มีการขยายประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีขึ้น ให้มากขึ้น ให้ทันสมัยขึ้น ก็จะถอยหลังไปเรื่อย ๆ เราจะสู้เขาไม่ได้ สินค้าเราจะสู้เขาไม่ได้ ถ้าเขามาเห็นว่าการผลิตออกมาเป็นแบบนี้ เขาก็ไม่เชื่อถือ เราต้องช่วยกันเร่งปรับปรุงให้ได้โดยเร็ว รวมกลุ่มกันให้ได้ พึ่งพาอาศัยกันบ้าง อยากให้เป็นธุรกิจของคนไทยในประเทศของเราเอง สร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจที่ดำเนินการโดยคนไทยให้เข้มแข็งขึ้น เตรียมรับการเปลี่ยนแปลงของการแข่งขันในเวทีโลก ในการค้าขาย
 
การดำเนินการด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช. เราพยายามปรับปรุงแก้ไขในเรื่องที่เร่งด่วนไปบ้างแล้ว เรื่องใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ ที่มีผลผูกพันกับหลาย ๆ อย่างต้องไปแก้กันในสภาปฏิรูป หรือสภานิติบัญญัติ เราไม่ควรที่จะไปออกคำสั่ง หรือประกาศต่าง ๆ เพื่อที่จะไปหาวิถีทางเพื่อที่จะกำจัดเรื่องนั้นเรื่องนี้ กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดได้ 100% เป็นการชั่วคราวเท่านั้น แต่การที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนถาวรคงต้องไปแก้ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ในคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพราะเราต้องการทำกฎหมายทุกอย่างให้เกิดความเป็นธรรมกับคนทุกหมู่เหล่า คนไทยทั้งประเทศ วันหน้าเราต้องกลับเข้ามาสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มีการเลือกตั้งที่ทุกพวกทุกฝ่ายพอใจ เราต้องพยายามปรับแก้สิ่งเหล่านั้น น่าจะดีกว่าการให้ คสช. แก้ด้วยความรวดเร็ว โดยใช้กฎหมายพิเศษมากนัก เราต้องดูว่าที่ผ่านมานั้นจากระบบการเมือง การบริหารประเทศที่มีการทับซ้อน ก้าวก่ายกัน ระบบต่าง ๆ นั้นมีหรือไม่อย่างไร ผมคิดว่าทุกคนคงไม่มีใครอยากทำไม่ดี อยู่ที่ใครจะกำกับดูแล ใครจะควบคุมการใช้อำนาจให้ถูกต้องได้มากน้อยเพียงใด ทุกคนต้องมาช่วยกัน นั่นคือปัญหาสำคัญเพื่อจะนำพาประเทศชาติไปข้างหน้า
 
ฉะนั้นวันนี้อย่างพึ่งมาติ ให้ร้ายกันตั้งแต่ยังไม่ได้ทำอะไรหรือทำไปบ้างแล้ว จะถูก  จะผิด จะดี จะไม่ดี กฎหมายต้องตัดสินมา เมื่อจะแก้ไขเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีปฏิบัติให้เหมาะสม ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปยกโทษให้ยังไม่มี ทำไม่ได้หรอก คนผิดก็ต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย อันนี้มีไว้สำหรับคนทุกคนที่ผิดกฎหมาย
 
ผลการดำเนินงานในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาด้านความมั่นคงก็คงเป็นเรื่องการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน อันนี้เป็นปัญหาของประชาชนหลายแสนคน อาจจะเป็นจำนวนล้านด้วยซ้ำไปที่ไม่มีที่ดินทำกิน ฉะนั้นปัญหานี้ผมได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง คสช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่วนราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินแบบบูรณาการให้ได้ เป็นแนวคิดเฉย ๆ ว่าเราอาจจะพิจารณาได้หรือไม่ว่านำพื้นที่ของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ป่าเสื่อมโทรมไม่สามารถฟื้นฟูได้แล้ว พื้นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์จะทำอย่างไรให้ประชาชนสามารถจะมาหารายได้ ทำมาหากินร่วมกัน ถ้าเป็นพื้นที่ป่าก็ต้องดูแลป่า ปลูกป่าไปด้วย แต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของรัฐ ไม่เป็นโฉนดของใครทั้งสิ้นเป็นของรัฐอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรเขาจะเข้ามาทำกิน ผมเคยพูดเรื่องคิบบุตซ์ (Kibbutz) ในประเทศอิสราเอล เขาก็ทำแบบนี้ที่เขามีน้อยมาก ฉะนั้นเขาก็จัดเป็นกลุ่ม ๆ ขึ้นมา เป็นนิคมเล็ก ๆ ขึ้นมา ไปดูแลร่วมกัน รัฐลงทุนให้แบ่งปันผลประโยชน์กันไป ถ้าเราไม่มีที่แล้วเราไปแบ่งที่ทุกคน ๆ เมื่อไหร่จะพอ ไม่พอแน่นอน ถ้าทำเป็นกลุ่มแบบนี้และไปหาพื้นที่ของรัฐเข้าไปทำ แต่ไม่ใช่ไปทำกินอย่างเดียว ต้องปลูกป่าไปด้วย ถ้าใช้พื้นที่ป่า ป่าที่เสื่อมโทรมแล้วก็ทำเป็นป่าเศรษฐกิจ คำว่าป่าเศรษฐกิจคือมีทั้งไม้ยืนต้น มีทั้งไม้ที่ต้องอนุรักษ์ และมีไม้ที่เก็บผลประโยชน์ได้ เช่น อาจจะเป็นป่าผสมกันทั้งป่ายาง ป่าไม้ยืนต้น คือไม่มีอะไรที่จะสมบูรณ์ได้อย่างเดียว ป่าสมบูรณ์ 100% ประชาชนยากจน ประชาชนไม่มีที่ทำกิน ก็ไม่ได้ทั้งหมด ทำอย่างไรเราจะจัดระเบียบตรงนี้ได้ แต่ผมไม่ได้หมายความว่าให้ไปบุกรุกป่าใหม่เพิ่มเติม ทำอย่างไรป่าที่ฟื้นไม่ไหวแล้ว แต่ยังเป็นพื้นที่ป่าอยู่เหมือนเดิม แต่เป็นป่าเศรษฐกิจ กำลังให้ไปทดลองไปคิดกันมาว่าจะหาทางกันอย่างไร และนำไปสู่การปฏิรูปหรือการดำเนินการใน สนช. กันต่อไป มีกฎหมายหลายข้อ ป่าสมบูรณ์ปัจจุบันขออย่าบุกรุกอีกเป็นอันขาด จากขอบป่าเดิมที่มีพื้นที่บริเวณเดิม ถ้าบุกรุกเข้ามา ต้องตีพื้นที่ชัดเจนว่าตรงนี้เป็นแนวป่าอยู่ และตรงนี้รุกเข้ามาถึงตรงนี้ ในส่วนของตรงนี้ต้องไปใช้วิธีการแก้ปัญหาทั้งนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ อย่างที่ผมว่าคือรัฐศาสตร์ และยังเป็นป่าอยู่เหมือนเดิม แต่อาจจะมีปัญหาที่ประชาชนต้องเดือดร้อน ทำอย่างไรประชาชนจะอยู่กับป่าได้ หลาย ๆ ที่เป็นแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงทำไว้แล้ว เช่น ป่าชุมชน ป่าเศรษฐกิจ คำว่าป่าชุมชน ผมว่าน่าจะไปปรับมาทำเป็นป่าเศรษฐกิจจะได้หรือไม่ ถ้าป่าชุมชน ก็บ้านใคร บ้านมัน หมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนี้ ชี้ตรงนี้ ตรงนั้นเป็นของตรงนั้น ก็เป็นป่าเศรษฐกิจไปเลย คนในพื้นที่ก็ทำได้ มาดูแลได้ อีกส่วนหนึ่งก็มาแบ่งปันให้อีกส่วน ได้หรือไม่ยังไม่ทราบต้องไปดูข้อกฎหมายอีกและดูความเหมาะสม และดูว่าจะทำให้การบุกรุกป่ามากขึ้นหรือไม่ ถ้าประชาชนยังบุกรุกอยู่เหมือนเดิม ทำอะไรก็แก้ไม่ได้ ถ้าประชาชนยากจนอยู่ก็แก้ไม่ได้อีก บังคับใช้กฎหมายก็ทำไม่ได้ ฉะนั้นเรียนอีกครั้งอยู่ในขั้นการหารือ การพูดคุย ใครมีความคิดเห็นอย่างอื่นก็ว่ามา ว่าควรจะเป็นอย่างไร ผมก็รับฟังทั้งหมด
 
สำหรับความคืบหน้าการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว  8 แสนกว่าราย ทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่ามีการขึ้นทะเบียนชัดเจนขึ้น ปัจจุบันก็กำลังดำเนินการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการเตรียมการ พิสูจน์ยืนยันสัญชาติอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะจัดทำพาสปอร์ตให้ถูกต้อง เรามีกำหนดเวลาไปแล้วชัดเจน เพื่อจะได้สามารถบริหารจัดการแรงงานได้ ป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการต้องร่วมมือ จดทะเบียนการประกอบการค้าท่านให้เรียบร้อย ซึ่งจะได้มายื่นความต้องการ เราจะได้รวบรวมทั้ง Demand Supply ให้สอดคล้องกัน ไม่ใช่นำมามาก ๆ เข้า นำมาจดทะเบียนมาก ๆ และกระจัดกระจายไปทำอะไรก็ไม่ทราบ ท่านต้องสร้างความเข้มแข็งในการประกอบการของท่านด้วย และรองรับแรงงานพวกนี้ ถ้าท่านพัฒนาสถานประกอบการให้ทันสมัยขึ้น ใช้เครื่องจักร เครื่องมือเทคโนโลยีมากขึ้น คนที่เข้ามาก็ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพเพิ่มช่างฝีมือแรงงานต่าง ๆ เข้ามาหรือรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมอยากให้รับช่างฝีมือ หรือที่จบวิชาชีพในประเทศไทยทำงานในโรงงานของท่าน เราจะได้ไม่เสียคนพวกนี้ไปทำงานต่างประเทศ และเราจะเหลือแรงงานที่ไม่มีคุณภาพ อันนี้ต้อง
 
 
 
ช่วยกันคิดช่วยกันทำ เราจะเปิดรับลงทะเบียนถึง 31 ตุลาคม 2557 นี้เท่านั้น หลังจากนั้นจะเป็นการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายใน 31 มีนาคม 2558 อย่าให้เกินนั้นก็แล้วกัน
 
เรื่องของการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในด้านต่าง ๆ การปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคงร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน และส่วนราชการต่าง ๆ ไปรวบรวมกฎหมายที่จะต้องปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาการค้ามนุษย์ การป้องกันการลักลอบการค้าสัตว์ป่าและซากสัตว์  ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายความร่วมมือทางการค้าการลงทุนต่าง ๆ ขณะนี้ได้ส่งให้ฝ่ายกฎหมาย คสช. พิจารณาร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกา และนำเข้าสู่ สนช. เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยต่อไป
 
ปัญหาบางประการ คนไทยอาจจะไม่ค่อยทราบ หรือไม่ค่อยได้สนใจ แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก เช่น ปัญหาการค้างาช้าง ซึ่งอาจจะมีงาช้างในประเทศ ผมว่าจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นงาช้างที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ลักลอบเข้ามา เป็นงาช้างแอฟริกาบ้าง หรือจากอื่น ๆ จะเห็นขนาดที่ยาวใหญ่ อันนี้คือปัญหาสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่ออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ที่พวกเรารู้จักกันในชื่อ CITES ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า IUU Fishing ปัญหาการค้ามนุษย์ ที่มีการปรับลดระดับประเทศไทยจาก Tier 2 เป็น Tier 3 หรือTier 2.5 เดิมมี Tier 2 เราถูกลดมาเป็น 2.5 วันนี้มาเป็น Tier 3 แล้ว เราต้องพยายาม จะทำอย่างไรให้ย้อนกลับขึ้นไปให้ได้ ตรงนี้จะเป็นภาระผูกพันที่เกิดจากกลไกในการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ของประชาคมโลกทั้งสิ้น
 
ที่ผมพูดมาทั้งหมดเมื่อสักครู่นี้มีผลผูกพันทั้งสิ้น กฎหมายระหว่างประเทศทุกด้าน ท่านต้องแก้ไข วันนี้แก้ไขอย่างไร แก้ไขในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจน มีงบประมาณ มีผลสถิติการจับกุมดำเนินคดีในแต่ละเรื่องที่เป็นความสนใจของประชาคมโลก ถ้าเราแก้ตรงนี้ได้ ทำให้เป็นรูปธรรมได้ เราก็สร้างการรับรู้ ความเข้าใจไปต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าเรามีความตั้งใจในการแก้ปัญหา สิ่งที่เขาลดความไว้วางใจของเราลงไป เขาก็ต้องกลับมาเหมือนเดิม เพราะที่ผ่านมานั้นเราแสดงให้เขาเห็นไม่ได้ว่าเราได้ดำเนินการเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ต้องตอบได้ในหลาย ๆ เรื่อง กฎหมาย ผู้ปฏิบัติความรับผิดชอบ ผลทางคดี งบประมาณที่ใช้จ่ายไป ฉะนั้นถ้าจะตอบต่างประเทศได้ ต้องตอบแบบนี้ ทุกกระทรวงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมข้อมูลเหล่านี้ และต้องปฏิบัติให้ได้จริงจังด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตม. กรมศุลกากร อะไรต่าง ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
 
ในส่วนของการพัฒนาความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศในอาเซียน บอกแล้วว่าเรามีมิตรประเทศที่ใกล้ชิดรอบบ้านเราใกล้ ๆ ไม่ไปไหน รอบบ้าน ในระยะรอบประเทศเรา 5600 กิโลเมตร มีประเทศที่เราค้าขาย และมีผลประกอบการเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากผลการค้าชายแดนในแต่ละห้วงรายไตรมาสมีจำนวนสูงมาก วันนี้ถึงมีการปรับปรุงเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการปรับปรุงถนนเส้นทาง ด้านศุลกากร ขยายด่าน ขยายพื้นที่คอขวด กำลังทำอยู่ทั้งหมด เพื่อให้มีการค้าขายกับมิตรประเทศให้มากขึ้น
 
ขณะนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง ได้เดินทางไปประชุมร่วมคณะกรรมการความร่วมมือระดับสูง ระหว่างราชอาณาจักรไทย-สหพันธรัฐมาเลเซีย  ราชอาณาจักรไทย-สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์  ราชอาณาจักรไทย-สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และกำลังเตรียมการเดินทางไปกัมพูชาในเร็ววันนี้
 
นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธานของการประชุมร่วมกับนาย Alijandro Solano Ortiz ปลัดด้านการต่างประเทศ ของกระทรวงการต่างประเทศและศาสนาของสาธารณรัฐคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศผู้ประสานงานฝ่ายลาตินอเมริกา  ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานฝ่ายเอเชียตะวันออกของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ระหว่างวันที่ 19-22 สิงหาคม 2557 คือในช่วงนี้ ที่กรุงเทพมหานคร โดยไทยจะผลักดันความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศสมาชิก
 
งานด้านเศรษฐกิจได้มีการตรวจสอบการระบายข้าว ซึ่งคงจะเหลืออีกไม่มากนัก ก็มีความก้าวหน้าไปตามลำดับ อยากจะเรียนอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าจำนวนข้าวจะมีจำนวนอย่างที่ทราบกันอยู่แล้วประมาณ 80 , 20 เสีย 20 ยังมีอยู่ 80 ผมพูดถึงเฉพาะในเรื่องของปริมาณ เป็นการตรวจสอบทางกายภาพว่ามีจำนวนครบหรือไม่ครบ มีเสียหรือไม่เสีย แต่เมื่อดูว่าครบหรือไม่ครบแล้วก็จะมีการตรวจสอบของ ปปช. ของคณะกรรมการอื่น ๆ อีก ในเรื่องของ DNA ถูกหรือไม่ เป็นข้าวชนิดเดียวกันหรือไม่ ขณะนี้ยังตรวจสอบกันอยู่เพื่อยืนยันชนิดคุณภาพของข้าว
 
ฉะนั้น ถ้าอันใดถูกต้องทั้งกายภาพ จำนวน ต่อไปก็เป็นเรื่องของ DNA ข้าวชนิดเดียวกัน ประเภทเดียวกัน ไม่เช่นนั้นส่งไปจำหน่ายเขาแล้ว ต่างชาติเขาก็ไม่ไว้วางใจ เขาก็ไม่เชื่อถือต่อไป ผสมไปขายเขา ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนขึ้น ถ้าตรวจสอบได้แล้วก็เป็นเรื่องของการเตรียมการสู่การระบายข้าว
 
ปัญหาของเรื่องข้าวผมเรียนแล้ว นอกจากกายภาพเรื่องจำนวน เรื่อง DNA แล้วต้องไปดูเรื่องอื่น ๆ เพราะกระบวนการมีมากมาย การรับซื้อ รับจำนำ ราคา การทำสัญญาซื้อขายกับต่างประเทศหรือในประเทศ และเรื่องอื่น ๆ อยู่มาก เรื่องการเก็บดูแลรักษาก็มีการตรวจสอบในทุกระบบทุกขั้นตอน ซึ่งวันนี้ยังไม่ออกมาทั้งหมด ออกมาเฉพาะเรื่องของการตรวจสอบนับจำนวนข้าวเท่านั้นเอง แต่ที่เหลือทั้งหมดยังคงต้องดำเนินการต่อไป และเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ตามกระบวนการตรวจสอบขององค์กรอิสระก็ว่าไป
 
วันนี้เราจะดำเนินการเฉพาะข้าวที่ไม่มีปัญหา คือทั้งที่มีจำนวนครบนี้ คือทางกายภาพ และตรวจทางชีวภาพ คือการตรวจทาง DNA ถ้าตรงกัน ชนิดเดียวกัน อยู่ในกลุ่มนี้เดียวกัน เราจะได้ขายข้าวได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นการระบายข้าว อาจจะไม่มากนัก เพราะว่าเราจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติคู่ค้าเขาด้วย เราไม่ได้ทำเพื่อปกป้องให้ฝ่ายใด หรือใครจะไปอ้างผลทางคดี ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะเป็นการตรวจสอบทางกายภาพ เพื่อการระบายข้าว
 
สิ่งที่เราต้องเตรียมการมากในขณะนี้คือ มาตรการรองรับผลิตผลใหม่ เราคงไม่ย้อนกลับไปพูดถึงว่าเราจะช่วยเหลือเกษตรกรอย่างไร ถ้าเราดำเนินการไปแล้ว และแก้ไขตอนนี้คงไม่ได้ ลองทำดูก่อนว่าจะทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้เกิดความยั่งยืน มีการขายในราคาที่เป็นธรรม ไม่ผูกขาดกัน รัฐไม่ต้องเข้าไปดูแลมากนัก เป็นไปตามกลไกของตลาด ก็น่าจะดีกว่าถ้าทำได้ ถ้าทำไม่ได้ก็ไปว่ากันอีกครั้งหนึ่ง ขอร้องอย่าเพิ่งมาประท้วงร้องเรียนในขณะนี้เลย มีหลายอย่างที่มีผลผูกพันกันมากนัก เช่น เราต้องช่วยกันดูแลปรับปรุงคุณภาพให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้น มีพันธุ์ข้าวที่ดีปลูก และการสี การผลิตออกมาจะต้องไม่ปลอมปนกัน ไม่นำข้าวนอกประเทศมาปนในประเทศ จะได้เกิดการแข่งขันเสรีได้ ทุกประเทศในโลกเขากำลังทำอยู่ เรื่องการตรวจสอบ เวลาเราไปขายเขา ตอนไปให้เขาดู ถูกต้องทุกอย่าง แต่พอตอนส่งให้เขาไป ก็ขอร้องว่าอย่าไปปลอมปน ทำให้ประเทศเสียหาย และอีกหน่อยก็ไม่มีใครมาค้าขายกับเรา ก็เดือดร้อนไปถึงชาวนา เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ มีปัญหาไปหมด ราคาจะได้ไม่ตก ผลผลิตต่าง ๆ ก็ไม่ตก ในอนาคตกันใกล้ต้องเตรียมการเรื่องข้าว
 
ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์จัดประมูลข้าวในสต็อกของรัฐ ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อเป็นอย่างมาก มีผู้ร่วมยื่นซองเสนอราคารวม 49 ราย ชนิดข้าวสารที่ประมูลในครั้งนี้ ทั้งข้าวหอมมะลิ 100% ข้าวขาว 15% ข้าวเหนียวขาว 10% ข้าวท่อนหอมมะลิ ปลายข้าวหอมมะลิ ปลายข้าวปทุมธานี และปลายข้าวขาวเอวันเลิศ โดยการเปิดประมูลข้าวในสต็อกของรัฐครั้งนี้ได้จัดทำหลักเกณฑ์การประมูลให้มีความโปร่งใสในทุกขั้นตอน โดยผลการประมูลของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. ได้มีมติอนุมัติให้ขายข้าวได้เป็นปริมาณทั้งสิ้นรวม 73,200 ตัน มูลค่าประมาณ 737 ล้านบาท ข้าวทั้งหมดต้องมี DNA ตรงกัน อยู่ในกลุ่มแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน และเป็นข้าวที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน เป็นข้าวในประเทศ มีเอกชนยื่นซองรวม 11 ราย
 
การแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ตอนนี้มีตั้งแถวกันแล้วรอจะมาร้องเรียน ถ้าราคาตกต่ำกว่า 50 ก็พยายามจะไม่ให้ต่ำกว่า 50 อยู่ในขณะนี้ พยายามอย่างยิ่ง เราไม่อยากให้ท่านต้องเสียเวลาเดินทางมา และไม่ได้อะไรกลับไป เพราะเรายังไม่มีเงินให้ท่าน ของเก่าก็ยังอยู่ ของใหม่จะทำอย่างไร เราต้องพยายามจะทำอย่างไรให้เกิดการแข่งขั้น ทำอย่างไรจะทำให้เกิดประโยชน์จากยางให้มากขึ้น อันนี้กำลังแบ่งการแก้ปัญหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการเตรียมระบายยางในสต็อกจากโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ซึ่งรับซื้อมาจากท่านสมัยที่ผ่านมา รับซื้อมาเป็นจำนวนมาก ราคาสูง ขายไม่ออก ขายไม่ได้ เพราะราคาบิดเบือน ไปขายใครได้ ถ้าซื้อมาราคาสูง ๆ ข้างนอกราคาตลาดเขาไม่ใช่เท่านั้น ต้องมาเก็บสะสมไว้ ก็ขาดทุน ขายไม่ได้
 
ขณะเดียวกัน รุ่นใหม่ก็เรียกร้องจะเอาเท่าเก่าอีก แล้วจะเป็นไปได้อย่างไร ก็นึกไม่ออกเหมือนกัน ต้องแก้กันทั้ง 2 อย่าง อย่างแรกคือ เราต้องแก้ไขจะทำอย่างไรยางเหล่านี้ หรือยางใหม่จะใช้ในประเทศเป็นหลักได้ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ยางดิบให้ได้ โดยไปเชื่อมต่อกับ BOI เชื่อมต่อกับโรงงานต่าง ๆ ที่มีการผลิตยางไปทำถนน ไปทำถุงมือเป็น ที่ใช้ปริมาณยางให้มาก ๆ เราจะได้นำยางในสต๊อกมาใช้ในประเทศให้ได้ บริษัทต่าง ๆ ที่มาทำยางก็ต้องอุดหนุนยางของเรา อันนี้ต้องแก้ระเบียบ แก้กฎต่าง ๆ มากมาย อันนี้เป็นสิ่งที่เรากำหนดแนวทางในการพัฒนายางพาราทั้งระบบ ทั้งมาตรการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ได้แก่ แนวทางจัดการสต็อกยาง มาตรการบริหารจัดการในช่วงฤดูกาลผลิต ได้แก่ แนวทางยกระดับราคาเพิ่มสภาพคล่องด้านการตลาด แนวทางเพิ่มมูลค่าและคุณภาพผลผลิต มาตรการพัฒนายางพาราเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ การปรับโครงสร้างด้านการตลาด แนวทางในการหาตลาดส่งออกใหม่ วันนี้หลายประเทศปลูกเอง หลายประเทศไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ราคายางหรือความต้องการยางไทยลดลง ต้องเข้าใจตรงนี้ เราต้องมาช่วยตัวเองบ้าง
 
นอกจากการใช้ยางในประเทศแล้ว แนวทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง ควบคุมพื้นที่การปลูกยางให้ลดลง ต่อไปอาจจะกรีดยางไม่ได้ อาจจะต้องไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นไม้ผลิตภัณฑ์ยางพารา ต้องช่วยกัน ถ้าเราจะขายยาง ๆ อย่างเดียว ยางดิบอย่างเดียวก็เป็นอยู่แบบนี้ยังไงก็ตก ฉะนั้นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร การลดพื้นที่การเพราะปลูก ไปปลูกพืชหมุนเวียน หรือปลูกอย่างอื่น ๆ
 
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดทำร่างยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า เป็น Road map คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ได้เสนอคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืช ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 116/2557 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2557 เพื่อให้การขับเคลื่อนสินค้าเกษตร อาหารและพลังงานทดแทนจากสินค้าเกษตรของพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้าดังกล่าวเกิดความสมดุล เข้มแข็งและมั่นคง มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ
 
ขณะนี้ทราบว่าทางบริษัท China Oversea Investment Service Limited สนใจนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยราว 20,000-30,000 ตันต่อเดือน ภายในระยะเวลา 1 ปี ขณะนี้ก็ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลทางบริษัทอยู่ว่าเป็นอย่างไรจะทำสัญญากันอย่างไรเป็นไปได้หรือไม่ ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการติดต่อกันอยู่
 
ผลิตผลการเกษตรอื่น ๆ เช่นกัน น่าเป็นห่วง บอกแล้วว่าปลูกมากราคาก็ตก ปลูกมากก็ไม่รู้จะไปขายใคร ปลูกมากรับซื้อมาจากประชาชน แล้วเราก็ขายไม่ได้น่าเป็นห่วง ทั้งพืชไร่ พืชสวน ผลไม้ เรามีการผลิตจำนวนมาก วันนี้ราคาก็ตก แข่งขันกัน บางอย่างคุณภาพก็ไม่ได้ ราคาก็ตกอีก ฉะนั้นต้องแก้ทั้งระบบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงเกษตรฯ ต้องเข้าไปดูแลในพื้นที่เพาะปลูกอย่างใกล้ชิด ให้คำแนะนำ สนับสนุนการปรับเปลี่ยน การปลูกพืชให้เหมาะสม กติกา สัญญา ระเบียบข้อบังคับ ภาษี ต้องแก้ทั้งระบบ
 
ฉะนั้น การทำงานเกี่ยวกับผลิตผลการค้าขาย ต้องเกี่ยวพันทั้ง 3 กระทรวง ทั้งกระทรวงเกษตรฯ ดูแลเรื่องการผลิต กระทรวงพาณิชย์ค้าขาย กระทรวงการคลังเก็บภาษี 3-4 กระทรวงต้องเกี่ยวข้องกันในการวางแผนตั้งแต่ปลูก ตั้งแต่ผลิต แปรรูป ขาย กระทรวงการคลังก็ต้องไปดูกฎ กติกาว่าภาษีจะทำอย่างไร จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐเท่าไร บางอย่างต้องสร้างแรงจูงใจ อันนี้คือสิ่งสำคัญที่ต้องคุยกันมากกว่าการที่จะดูว่าพอราคาตกต่ำแล้วต้อง Subsidize ผมว่าแล้วเมื่อไหร่จะพอ เงินก็ไปทำอย่างอื่นไม่ได้อีก ทุกคนต้องการหมด ต้องรถไฟฟ้า ต้องการรถทางคู่ ต่าง ๆ แหล่งน้ำ แต่เงินทั้งหมดต้องมา Subsidize ของเหล่านี้เป็นตลอดระยะเวลาที่ยาวนานที่ผ่านมา ที่เราต้องการอย่างอื่นก็ไม่เกิดความทันสมัย ก็ไม่ได้ต้องลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลง เพื่อที่จะเพิ่มทางนี้จะได้ทันเวลาที่เราจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน AEC ด้วย
 
การตรวจสอบ Demand Supply การจัดทำฐานข้อมูลต้องทันสมัยทั้งความต้องการ การผลิต ต้องสมดุลกัน เพียงพอ สมดุล มีตลาด มีคุณภาพ ไม่ใช่เน้นปริมาณแต่ราคาต่ำมาก ไม่ได้ต้องจัดสรรกันให้เหมาะสมกันทั้งระบบ ผลประโยชน์ที่เราให้ได้ตอนนี้ ถ้าให้ได้ตอนนี้ก็เกิดโทษในวันหน้า ก็เกิดการต้องใช้เงินกู้ ต้องชำระหนี้ ที่วันนั้นผมไปแถลงงบประมาณ บางคนบอกทำไมต้องไปใช้หนี้อีก ก็ต้องใช้เขายืมเงินก้อนนั้นเขามามาทำตรงนี้ มา Subsidize ไป ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มต้นใหม่ก็ต้องนำอันนี้คืนเขา และก็กู้เข้ามาใหม่อีก เป็นอยู่แบบนี้แล้วเราจะทำอย่างอื่นได้อย่างไร อันนี้ต้องแก้ให้ได้โดยเร็วส่วนราชการ ประชาชนต้องเข้าใจ ซึ่งต่อไปนี้ผมได้กำชับไปแล้ว 3-4 กระทรวงหลัก ต้องรับผิดชอบให้ได้ จะมาทำคนละชิ้น คนละส่วนไม่ได้ ปลูกเท่าไรก็ปลูกไป พอจะขายกระทรวงพาณิชย์ก็รับไป กระทรวงการคลังก็แล้วแต่จะขายอย่างไรก็ได้ ไม่ได้ต้องมาทำด้วยกัน เพราะเราจัดทำงบประมาณเป็นลักษณะการบูรณา ท่านต้องทำงานให้ต่อเนื่องกัน ฉะนั้นการกำกับดูแลของรัฐบาล ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะต้องตามติดเรื่องพวกนี้
 
พื้นที่เพาะปลูกใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องก็ไม่ต้องซื้อ กระทรวงพาณิชย์ก็อย่าไปซื้อ ทุกคนต้องมีขื้นทะเบียนให้เรียบร้อย ต้องไม่บุกรุกที่ป่า ไม่ใช่ใครมาขายอะไรก็ซื้อหมด เราต้องควบคุม ถ้าไม่มีหลักฐานชัดเจนเป็นที่ของตัวเองมีโฉนด มีใบอนุญาตต่าง ๆ ก็ซื้อไม่ได้ อีกหน่อยคนเหล่านี้ก็ไม่กล้าที่จะไปบุกรุกป่ามาปลูกพืชเหล่านี้ เพราะไม่รู้จะไปขายใคร ผิดกฎหมาย ตำรวจจับ ต้องเข้มงวด ให้สอดคล้องกัน การบังคับใช้กฎหมาย คนจนจะทำอย่างไร พ่อค้าคนกลางจะทำอย่างไร ข้าราชการจะช่วยกันอย่างไร ทั้งหมดเป็นระบบทั้งสิ้น ฉะนั้นที่มาเหล่านี้ต้องถูกต้อง หลายกระทรวงต้องประชุมหารือกันให้เป็นระบบโดยเร็ว
 
เรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการพลังงาน คสช. เห็นชอบให้เดินหน้าโครงการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการการใช้งานที่มากขึ้นจากภาคประชาชน ภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ที่เรามีการขยับขยายตัวมากขึ้นตามลำดับ
 
ทั้งนี้ เราต้องการให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าต่อไปในอนาคต ว่าต้องวางแผน 5 ปี 5 ปี 5 ปี เรามีความต้องการไฟฟ้าเท่าไหร่ในภาคอุตสาหกรรม ในภาคครัวเรือน จะได้วางแผนได้ว่า จะสร้างโรงไฟฟ้าอย่างไร สร้างที่ไหน สร้างแบบไหน อันนี้ต้องเป็นยุทธศาสตร์ มีมาตรการระยะสั้น ระยะยาว ทำอย่างนี้ ไม่ใช่สั่งได้เลยทุกเรื่อง ไม่ได้ ทั้งวันนี้ก็ได้วันนี้ วันหน้าก็ไม่ได้อีก ฉะนั้นต้องจัดทำยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น ระยะยาวให้ได้ โดยได้อนุมัติโครงการที่สำคัญเร่งด่วนก่อน เพราะต้องใช้เวลา ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่าน ในการที่จะต้องไปทดแทนของเก่า เช่น โครงการโรงไฟฟ้าเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 ที่จะหมดอายุการใช้งานลงภายในปี 2560 อันนี้ใกล้จะหมดแล้ว จะมองว่าอีก 3 ปี ไม่ได้ เพราะการที่จะขยายต่าง ๆ หรือปรับปรุงเครื่องจักร เครื่องมือ ต้องใช้เวลาเป็นปี ๆ
 
วันนี้ก็อนุมัติไปก่อนเป็นการเร่งด่วน แต่ไปทำให้ถูกต้อง ให้โปร่งใสเป็นธรรมในการจัดซื้อ จัดหา โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าระยะที่ 12 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ เราก็มีการส่งไฟฟ้าจากภาคกลาง ภาคตะวันตกไปภาคใต้อยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า 2 แฟต 3 แฟต ต้องทำให้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า ป้องกันปัญหาไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าไม่เพียงพอในภาคใต้
 
การจัดสร้างโรงไฟฟ้า เราก็ไปส่งเสริมการลงทุนของ BOI ในการขออนุมัติลงทุนเรื่องโรงไฟฟ้าจากขยะ โรงไฟฟ้าจากพลังงานอื่นที่ไม่ใช้น้ำมันหรือแก๊ส ตอนนี้ก็อนุมัติไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 3-4 โรงไฟฟ้า เพื่อให้มีการใช้พลังงานจากขยะ หรืออื่น ๆ ที่เป็นพลังงานทดแทน อันนี้เราก็ให้นโยบายไปว่าสิ่งใด ๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความทันสมัย เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีมลพิษ เหล่านี้ได้รับการพิจารณาใน BOI เข้ามาก่อน หรือการสนับสนุนใด ๆ ก็ตาม จากภาครัฐเราจะมุ่งเน้นอย่างนี้ เพราะที่ผ่านเราไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหนอย่างไร เมื่อไหร่ ก็เกิดปัญหาทับซ้อนกันมาอยู่ตลอด
 
วันนี้เรื่องโรงไฟฟ้าต้องเดินไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ที่ให้ประเทศไทยได้มีปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต วันนี้ต้องดูว่าเราจะผลิตไฟฟ้าเองได้เท่าไหร่ เราจะรับซื้อจากภายนอกเท่าไหร่ ใช้พลังงานทดแทนเท่าไหร่ พลังงานหมุนเวียนทางเลือกอีกเท่าไหร่ ต้องเป็นตัวเลขออกมาให้ได้ แล้วเดินไปตามนั้น ปีนี้จะทำอะไร 5 ปีจะเกิดอะไร อีก 5 ปี จะเกิดอะไรต้องวางอย่างนั้น จริง ๆ แล้วทุกเรื่อง ต้องวางแผนงานอย่างนี้ จะได้ไม่ได้ปัญหาความไม่ยั่งยืน ปัญหาว่าไม่เป็นธรรม ก็มุ่งไปสู่การทุจริตอีกต่อไป ผมก็บอกว่าการตั้งโรงไฟฟ้าต่อไปต้องกระจายไปทุกภาค ไม่ใช่มารวมกันอยู่ในนิคม รวมกันอยู่ภาคกลางอย่างเดียว และลากสายไฟฟ้าส่งไปจากข้างบน ไปข้างล่างไม่ได้ อนาคต 5 ปี 10 ปี ต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กขนาดย่อมที่จะใช้เพียงพอในแต่ละภาค โดยที่อย่างน้อยก็แก้ปัญหาเรื่องปัญหาไฟฟ้าดับได้เป็นการชั่วคราว บางอย่างซื้อต่างประเทศมาก็ซื้อไป แต่ถ้าเขาไม่ส่งเมื่อไหร่ เขาตัดท่อแก๊สเมื่อไหร่ เราต้องอยู่ได้โดยที่ไม่ได้อยู่ในความมืด ทำอย่างไร ไปคิดมา
 
เรื่องขยะเป็นความจำเร่งด่วน ได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการในเรื่องของการกำจัดขยะนำร่องในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการดังกล่าวจะนำขยะไปผลิตไฟฟ้าใช้เทคโนโลยีแปลงขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ด้วยการเผาในเตา เตาของเรามีปริมาณความร้อนสูง ถ้าสูงไม่พอก็เผาไม่หมด มีมลพิษออกมาข้างนอกอีก จากข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อมระบุว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีปริมาณการผลิตขยะ 1,200 ตันต่อวัน แต่วันนี้สามารถกำจัดขยะได้เพียงประมาณ 700 ตันต่อวัน ดูว่าต่างกันอยู่แล้ว เกินมา 500 ตันต่อวัน จะทิ้งที่ไหน ตอนนี้มีขยะเก่าขยะใหม่รวมมาทั้งหมด  300,000 ตัน ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในขณะนี้ ถ้าหากเราตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้านี้ได้ ถ้าตั้งโรงขยะนี้ได้ ก็จะมีโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ และสามารถรองรับขยะสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มเติม 300 ตันต่อวัน ดีกว่าเดิม ที่เหลือที่เกินอยู่ ก็จะย้ายหาที่ฝังกลบ ซึ่งสามารถรองรับขยะได้ทั้งสิ้น 760,000 ตัน ในเบื้องต้น ทั้งนี้ได้กำชับแล้วว่าไปทำที่ไหนก็ตามจะต้องไม่ทำให้เสียบรรยากาศ เสียภูมิทัศน์ หรือทำให้เกิดมลพิษ ประชาชนในพื้นที่ได้ประโยชน์ สร้างงาน สร้างรายได้จากการแยกขยะ คัดขยะหรือกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับโรงงานต่าง ๆ ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่แถวนั้น ต้องขอความร่วมมือจากภาคประชาชนในพื้นที่ ภาคประชาชนในพื้นที่ช่วยสนับสนุนด้วย ถ้าท่านต่อต้าน ท่านไม่ให้ใช้พื้นที่ จะไปทิ้งที่ไหน ขยะตอนนี้ 300,000 ตัน ท่านจะนำไปถึงไหน ก็กองเป็นภูเขาไปเรื่อย ๆ สักวันก็กองไม่ได้แล้ว ไปทางกว้าง ไปเรื่อย ๆ ที่เท่าไหร่ก็ไม่พอ กี่ร้อยไร่ก็ไม่พอ แต่ถ้าเรามีโรงงานกำจัดขยะ  แยกขยะให้ชัดเจน และไปผลิตไฟฟ้าออกมาก็จะหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ธุรกิจที่เกี่ยวกับขยะ ต่างประเทศเขาร่ำรวย ประชาชนก็มีความสุข อย่าไปรังเกียจว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจ จริง ๆ แล้วมีคุณค่า มีประโยชน์
 
วันนี้มีคนอีกจำนวนมากที่ทำมาหากินเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต เลี้ยงครอบครัวจากขยะ ทุกท่านทราบดี  โรงงานที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ประเด็นสำคัญต้องรับผิดชอบต่อชุมชน ประชาชนโดยรอบ ให้มากขึ้นรอบโรงงาน เช่น เข้มงวดเรื่องระบบ มาตรการกำจัดของเสีย ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องปิดไป หรือจัดตั้งมาต้องแสดงให้เห็นถึงมาตรการควบคุมมลพิษ มาตรการกำจัดน้ำเสีย ต่าง ๆ ต้องแก้ไข ต้องเตรียมการตั้งแต่ต้น ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่อนุญาต ขอให้กรมควบคุมมลพิษ และในส่วนที่ตรวจสอบต่าง ๆ เหล่านี้ ของกระทรวงอุตสาหกรรมไปตรวจสอบให้ดีขึ้นด้วย โรงงานเก่าก็ช่วยกัน ท่านต้องไปตรวจ ไม่ใช่ตรวจแต่ใหม่ ตรวจเก่าด้วย เก่าไม่มีประสิทธิภาพก็ปิดไป ต้องพัฒนาสร้างใหม่ หรือปรับปรุงเทคโนโลยี ไม่มีเงินก็หาเงินกู้ เงินมาหมุนเวียน ท่านไม่พัฒนาเลย ท่านก็ปล่อยโทรมไปเรื่อย ๆ แต่ท่านก็มีรายได้จากการผลิตไปเรื่อย ๆ แต่สังคมเดือดร้อนท่านต้องเข้าใจ
 
เรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญคือเรื่องของการเดินสู่ประชาธิปไตยในอนาคตของประเทศไทยคือการปฏิรูปและการปรองดอง ทุกคนก็เป็นห่วงถึงความต่อเนื่องในการทำงาน ในการปฏิรูปของ คสช. และรัฐบาลในวันนี้ ถ้าวันนี้ท่านสังเกตบางคนอาจจะลืมแล้ว บางคนอาจจะไม่ได้สังเกต บางคนก็ยังสับสนอยู่ ท่านอย่าไปมองอะไรที่จะต้องแก้ยาก ๆ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา สิ่งแรกที่ท่านสังเกตผมได้ออกมาพูดทำความเข้าใจกับท่านมาโดยเปิดเผย ทุกเรื่อง กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ก็ ออกมาชี้แจงเป็นระยะ ๆ ท่านก็ต้องฟัง พูดไปแล้วไม่ฟัง พูดไปแล้วก็ลืม พูดไปแล้วไม่สนใจก็มีปัญหาตลอด ไม่เช่นนั้นผมจะมาพูดทำไม พูดแล้วเหนื่อยเปล่า ไม่ใช่ ผมไม่ได้มาฉายหนังให้ท่านดู มาเชียร์กันและจบ ๆ ไป ผมมีความสุขไม่ใช่
 
ฉะนั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ เมื่อก่อนท่านเคยได้ยินหรือไม่ว่ามีพูดเป็นเรื่อง ๆ พูดมาก ๆ เหมือนผมพูด อธิบายท่านมีหรือไม่ ไม่มี ลักษณะการทำงานทุกคณะออกมาอย่างเปิดเผย มีหรือไม่ ไม่มี การวางแผนงาน การจัดทำงบประมาณร่วม บูรณาการส่วนราชการต่าง ๆ มีหรือไม่ ไม่มี วันนี้มีแล้ว ผมถึงพูดได้เสียงดัง พูดได้เต็มปาก แต่ต้องไปดูว่าผลผลิตประสิทธิผลที่จะเกิดมา จะเกิดได้หรือไม่จากที่เราวางแผนไว้ จัดทำงบประมาณไป จะเกิดได้หรือไม่ เมื่อแผนงานโครงการเกิดต้องไปดูขั้นตอนการปฏิบัติการกำกับดูแลอีกระดับหนึ่ง ไม่ใช่สั่งไปแล้วต้องเป็นแบบนี้ เป็นแบบนั้น แล้วถ้าไม่เป็น คนสั่งรับผิดชอบอีก ไม่เป็นธรรมเหมือนกัน ไปทบทวนใหม่ว่ากระบวนการมีอะไร บางอย่างแก้ไขได้ก็สั่งได้ บางอย่างแก้ไขไม่ได้ต้องไปสั่งให้ทบทวนทำแผนงานโครงการขึ้นมา นำเข้า สนช. สภาปฏิรูป เข้า ครม. ก็ว่าไป เขาบริหารราชการกันมาแบบนั้น ไม่ได้คิดอะไร อยากจะทำอะไรก็สั่งไปก็ไม่ได้เหมือนเดิม
 
วันนี้คือการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่ผ่านมา บ้านเมืองก็สงบเรียบร้อย ชาวต่างชาติ ผู้ประกอบการค้าต่าง ๆ ที่เขาเคยไปไหนมาไหนไม่ได้ มีแต่การประท้วง มีการใช้อาวุธต่อกัน บ้านเมืองสกปรก ไปไหนมีแต่ความขัดแย้ง วันนี้เขาชื่นชมทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย คนต่างชาติเขาบอกว่าวันนี้ดีกว่าเดิมมาก บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทุกคนเชื่อฟัง เคารพกฎหมาย ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวที่ภูเก็ต ที่เราปรับปรุงไปแล้ว เขาก็ชื่นชม ไม่คิดเลยว่าภูเก็ตจะสวยงามขนาดนี้ เมื่อมีชายหาดขาว ๆ ทรายสวย ๆ ไม่มีร้านค้าไปขว้าง เขาก็อยากจะมามากขึ้น เขาก็จะกลับไปบอกคนที่บ้านเขาให้มามากขึ้น เพราะว่าสวย บ้านเรามีของสวย แต่ถูกปิดบังด้วยบรรยากาศที่ไม่สวย เพราะเรามีคนที่มีรายได้น้อย เพราะว่าเรามีคนที่มีรายได้น้อย ผมไม่ได้หมายความว่าเราจะไปรังเกียจคนรายได้น้อย แต่ต้องหาทางว่าจะให้เขาไปขายที่ไหน ให้เขาไปทำอะไรกิน เอาแต่ไล่ ๆ อย่างเดียวแต่ไม่มีที่ ก็ลำบากไปแก้ให้ครบระบบ เห็นหลาย ๆ พื้นที่เขาบอก เขาไปจัดที่ขายให้ เมื่อคนมาเที่ยวก็จะมีรถมารับต่อไป ไปซื้อของ ใครจะเล่นน้ำชายหาดก็เล่นไปก่อน ถึงเวลามีรถมารับไปซื้อของที่ศูนย์ขายของ ขายสินค้า ผมว่าก็ดี ไม่ใช่ไล่ไปหมด ไปไหนก็ไปกลับบ้านไป แต่มันก็คือปัญหากับคนยากจน คนรายได้น้อย ก็มีการกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ การใช้กฎหมายก็มีปัญหา มีการประท้วงผมว่าต้องแก้ใหม่แล้วนะ ไปหาวิธีการทำมา
 
วันนี้การสัญจรไปมา รถติดธรรมดาทุกประเทศติดหมด ถ้าในเมืองใหญ่มีประเทศไหนรถไม่ติดบ้างมาบอกผมซิ ผมก็ไปมาหลายประเทศก็เห็นรถติดเหมือนกัน ถ้าชั่วโมงเร่งด่วน เช้าเย็น กลางวัน ก็ไม่เห็นจะติด เช้าก็สัญจรไปมา ธรรมดา แต่ติดขัดด้วยการประท้วง ด้วยการปิดถนน ด้วยการจำกัดการใช้รถใช้ถนนเรื่องที่ผ่านมาเลยทำให้ติดมากกว่าเดิม วันนี้ก็อย่าบ่นเลยครับรถติด  รถมากไง คนก็มีสตางค์มากขึ้น ซื้อรถมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าซื้อแล้ว เงินสดก็ไม่เป็นไร ถ้าซื้อเงินผ่อนแล้วนำมาคืนไม่ได้ก็อย่าพึ่งไปซื้อ ฉะนั้นรัฐต้องมาดูในเรื่องของการให้การบริการให้มากขึ้น การบริการสาธารณูปโภค ขสมก. (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) มาไงจะหารถใหม่ได้แค่ไหน เส้นทางจะปรับอย่างไร รถไฟฟ้าความต่อเนื่องจะทำอย่างไร ที่จอดรถจะทำอย่างไร เหล่านี้มันไม่ได้แก้ปัญหาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นระบบ ก็ยังเป็นปัญหาอย่างนี้ เราจะมีรถไฟฟ้ากี่สายก็ไม่รู้ เราจะมี ขสมก. มีรถที่ทันสมัยกี่คันก็ไม่ทราบ เราจะมีอะไรดี ถนนกี่เส้นไม่ทราบแต่ถ้าทั้งหมดยังไม่เกื้อกูลซึ่งกันและกันคนก็ใช้รถอยู่แบบนี้ คนที่ใช้รถไฟฟ้าก็ใช้รถไฟฟ้า คนใช้รถก็ใช้รถ แต่ถ้าการให้บริการของรัฐดีขึ้นคนก็ใช้รถน้อยลง การขับรถยนต์ก็น้อยลง ถนนจะติดน้อยลง แต่ต้องทำอย่างไร เพราะบ้านบางคนไม่ได้อยู่กับรถไฟฟ้า เขาก็ต้องขับรถมา มาจอดรถ เราต้องมีที่จอดรถให้เขา เขาขึ้นรถไฟฟ้าต่อ เพราะรถไม่ติดดี เขาก็นั่งรถมา เย็นขึ้นรถกลับบ้าน ขึ้นรถไฟฟ้า รถเมล์ประจำทาง และลงมาขับรถจากที่จอดรถกลับบ้านประหยัดน้ำมันด้วย
 
วันนี้ยังไม่ครบ ไม่ต่อกันทั้งหมด สร้างรถไฟฟ้าก็ไม่มีที่จอดรถ ไม่มีที่ที่จะไปต่อจากตรงนี้ไป บางคนเขาขึ้นรถตั้งหลายทอดใช่หรือไม่ อันนี้ผมก็เคย เด็ก ๆ ผมก็เคยขึ้นรถเมล์อยู่แล้ว ก็รู้อยู่ว่าความยากลำบากขึ้น 3 ต่อ 4 ต่อ ก็เปลืองเงินอีก แต่รถไฟฟ้าการขนส่งทางรางนี้ ประหยัดที่สุด ฉะนั้นรัฐต้องทำอย่างไรให้การขนส่งทางรางให้การบริการได้อย่างแท้จริง วันนี้เราต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เข้าอกเข้าใจกันเห็นใจกันให้มากขึ้น ผมพูดไปหลายครั้งแล้ว บางคนก็ยังพูดอยู่ยุยุงปลุกปั่นอยู่ และวันนี้ประชาชนเราก็ฉลาดขึ้นมากแล้ว ไม่ยอมให้ใครมาชี้นำก็ยังมีอยู่บ้าง ที่พยายามอีก พยายามจะใช้เขาอีกต่อไป พยายามใช้ประชาชนอีกต่อไป วันนี้ที่เราทำถึงวันนี้ 3 เดือน นี่อนาคตแล้วมีอนาคตแล้ว ถ้าท่านไม่ทำจะมีอนาคตหรือไม่ แล้วท่านจะเริ่มปฏิรูปเมื่อไร ที่ผ่านมาหลายฝ่ายก็อยากจะปฏิรูป เห็นด้วยปฏิรูปรวมกัน หลายฝ่ายนะครับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมา อีกฝ่ายบอกปฏิรูปก่อน อีกฝ่ายบอกปฏิรูปหลังเลือกตั้งก็ไม่ยอมกันอีก วันนี้ทำให้เกิดการปฏิรูปแล้วท่านยังบอกว่า แบบนี้จะปฏิรูปได้อย่างไรจะสำเร็จหรือไม่ มันจะทำได้หรือ 1 ปี มันก็ดีกว่าที่ไม่ได้ทำใช่หรือไม่
 
ฉะนั้นทำเถอะครับ ทำมันจะเสร็จแค่ไหนก็ว่ามา แบ่งขั้นตอนให้ถูกต้องระยะสั้น ระยะยาว ระยะต่อไป ถ้าท่านไม่มาที่สภาปฏิรูป แล้วท่านเรียกร้อง ถึงเวลาท่านบอกไม่รู้ไม่ได้เข้า ไม่ได้ร่วมมันจะไปปฏิรูปได้หรือไม่ ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ก็เกิดขึ้นอีกอยู่ดี ถ้าทุกคนรักและสามัคคีไม่บ่อนทำลายซึ่งกันและกัน ไม่คอยจับผิดจับถูก ทุกอย่างก็ดำเนินไปในวิถีทางปกติ ไม่ต้องเป็นห่วงว่าใครจะไปใช้วิธีที่พิเศษอื่น ๆ อีก ถ้าดีอยู่แล้วใครอยากจะทำ ใครอยากจะใช้ ผมไม่เคยบอก ผมเองทำถูกทั้งหมดหรือผิดทั้งหมด เพราะผมมีเจตนาอันบริสุทธิ์ของผมในการที่จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดกับประเทศชาติบ้านเมือง ผมยังยอมรับในการกระทำของผมเอง แล้วทำไมบางคนยังไม่รับในความผิดพลาด ในความบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงตัวเองยังว่ากล่าวทุกวัน มีการวิพากษ์วิจารณ์ทุกวัน บางเรื่องผมพูดไปแล้ว บางเรื่องสั่งไปแล้ว แก้ไขไปแล้ว ก็ยังวิจารณ์อยู่เหมือนเดิม เรื่องเดิมไม่เคยฟังผมเลย นี้ไม่น่าจะดีนะ
 
วันนี้ต่างชาติเขาเข้าใจปัญหาเรามากขึ้น ทั้งอาเซียน ทั้งตะวันตก ตะวันออก ก็ว่าไปเขาเข้าใจเรามากขึ้น การค้าขายเป็นปกติแล้ว เริ่มจะมากขึ้น เขาบอกว่าบ้านเรามีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งการเมือง ความมั่นคง ความปลอดภัย ชีวิตทรัพย์สิน แต่เขาก็ไม่สามารถจะพูดได้เต็มที่ว่าเห็นด้วยกับ คสช. แต่หลักการของเขา เขามีหลักการของเขาอยู่แล้ว แต่หลายคนอยู่ประเทศไทยมานาน เขาเข้าใจดีที่ค้าขายมา เขาบอกว่าเขาเกิดความมั่นใจมากขึ้นในขณะนี้
 
อดีตผู้นำประเทศของไทยท่านหนึ่งที่เป็นนักประชาธิปไตย นักสิทธิมนุษยชน ผมขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อท่าน ก็เคยพูดไว้ว่าไม่มีใครสนับสนุนรัฐประหารอยู่แล้ว แต่ก็เห็นด้วยในการเสริมสร้างประชาธิปไตยใหม่ของใหม่ให้ยั่งยืน ฉะนั้นไม่อยากให้ทุกคนมาพูดว่ารัฐประหารว่าดีไม่ดีอย่างไร เพราะเกิดขึ้นมาแล้วทำมาแล้ว ก็ต้องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สนับสนุนให้เกิดสิ่งที่ดี ๆ ในระยะเวลาอันสั้น ในระยะเวลาที่เราต้องปฏิรูปนี้ น่าจะดีกว่า ดีกว่าที่จะต่อต้านตั้งแต่แรกไม่อย่างนั้นมันเสียเวลาเปล่า เสียทุกอย่างเลย
 
 
 
สำหรับหัวข้อในการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ในหัวข้อมีเรื่องปลีกย่อย เช่นการเมือง ผมบอกแล้วว่ามีข้อย่อย 4 – 5 ข้อข้างในหลายอย่างด้วยกันในนั้น การศึกษาหรือพลังงานก็ต้องมีหลายอย่างทั้งกฎหมายทั้ง การผลิตการจำหน่าย ราคา มากมาย ต้องไปปฏิรูปไปคุยกันมา ถ้ามีเรื่องอื่น ๆ อีกที่ท่านบอกว่ายังไม่มีหัวข้อนี้แล้วท่านบอกว่าไม่สำเร็จ มันไม่ใช่ ผมบอกไงว่ามีเรื่องอื่น ๆ อีก ไง อื่น ๆ ไปคุยกันสิครับนึกอะไรไม่ออกใส่อื่น ๆ ไป ถ้าเขาเสนอเพิ่มเติมเข้ามาในอื่น ๆ อื่น ๆ ก็จะแยกเป็นเรื่องนี้ เรื่องโน้นเพิ่มมาอีกทีไม่เข้ากับ 10 หัวข้อนี้พูดไปหลายครั้งแล้ว อย่ามาโจมตีกันเรื่องนี้อีก นะ 11 เรื่องจะครบได้อย่างไร ก็ข้อที่ 11 อื่น ๆ นี้อีก 100 เรื่องก็ได้ ถ้าท่านจะนำมา 100 เรื่องก็เถียงกัน นานหน่อย ฉะนั้นอย่าไปกังวล อีกอันหนึ่งก็ไปกังวลว่าจะครบหรือไม่ครบ ทำอย่างไรจะทันหรือไม่ทัน อยู่ที่ใครก็อยู่ที่ สภาปฏิรูป อยู่ที่คนเข้ามาร่วมสภาปฏิรูป ก็ไปตำหนิติติงกันว่าผู้เข้ามาเป็นคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ถูกเลือกไว้แล้ว ผมจะไปเลือกใคร เราคัดสรรมาทั้งหมด คาดว่าเป็น 1,000  2,000 3,000 คน ที่ประมาณการในขณะนี้  วันนี้ขึ้นมาเป็น 500-600 คนแล้ว วันก่อนผมเห็น 486 คน วันนี้น่าจะเกือบ 600-700 อันนี้คือมาสมัครส่วนกลาง ทั้งหมดนี้คืออาจจะคัดเลือกให้เหลือ 550 คน จากนั้นจะคัดเลือกให้เหลือ 173+77 คน 77 นี้มาจากจังหวัด การคัดสรรจังหวัดก็บอกอีก บอกว่าเลือกคนไว้แล้ว เขาก็ตั้งคณะกรรมการคัดสรรไว้ใช่หรือไม่ ถ้าเขาทำไม่ดีเขาคงไม่เสี่ยงหรอกผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการ ศาลที่เขาเกี่ยวข้องในการดำเนินการคัดสรรนี้เขาคงไม่กล้าเสี่ยง เขาจะไปชี้นำ คนโน้นคนนี้มา เดี๋ยวเขาโดนฟ้องวันหลังคุ้มค่ากับเขาไหม ผมว่าไปดูมาใหม่อย่าพูดกันเรื่อยเปื่อยไปเรื่อย ฉะนั้น 173+77 ก็เป็น รวม 250 คน
 
การเลือกคนเข้ามา ในเมื่อเราตั้งกลุ่มไว้ 11 กลุ่ม คนที่เข้ามามีหลากหลายประเภท หลายความรู้ หลายคุณสมบัติเราก็ สมัครมาคนนี้ก็สมัครมา คณะที่หนึ่งเท่าที่จำตัวเลขได้ ประมาณ 50-60 คน คณะที่สอง 30 คน คณะที่สาม 20 คน คณะที่สี่ 10 อะไรแบบนี้ เขาก็สมัครตามคุณวุฒิของเขาตามวาระของเขา เขาถึงมาลงหัวข้อ ไม่ใช่นำใครมาแล้วมาคัด ทั้งหมดจะทำได้อย่างไร ถ้าคนไม่มีความรู้เลย 11 เรื่อง ใครก็ได้ตัวแทนตรงนี้มาก็ไม่เข้าใจอีก ฉะนั้นเขาก็ สมัครของเขามาเอง โดยนิติบุคคลเป็นคนส่ง สมาคม มูลนิธิ อะไรที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ไปส่งมาแล้วมา คัดเลือก นี่คือส่วนกลาง ในส่วนของตรงโน้นก็เช่นกันเขาก็ไปสมัครที่จังหวัด จังหวัดเขาก็ไปใช้วิธีการในการคัด สรรเขาออกมา แต่เขาจะระบุออกมาว่า สมัครด้านอะไร ฉะนั้น 1 คน จังหวัดอาจจะเหนื่อยหน่อย เพราะว่า คัดมา ต้องรู้เกือบทุกเรื่อง เพราะว่าถนัดเรื่องอะไร เรื่องหนึ่งเป็นพิเศษที่เหลือก็ต้องพอรู้มาไปรวบรวม อ่านมาว่า กลุ่มเขา ต้องการอะไรนั้นเป็นการเก็บข้อมูล ซึ่งมันมีอยู่แล้วข้อมูลที่ศูนย์ดำรงธรรมข้อมูลที่สำนักงานปฏิรูปของ คสช. ที่ตั้งไว้ เดิมหรือ กอ.รมน. (กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไทย) ผมว่ามันมีหมด ท่านนำไปศึกษาเอง ไม่ใช่มาตัวเปล่า ไม่มีข้อมูลไม่มีพื้นฐาน ไม่มีความรู้อะไรเลย แต่ท่านอยากเป็น สปช. ถ้าแบบนี้ไปไม่ได้ท่านไปดูตรง นั้นมากกว่าถ้าท่านเก่งท่านดี เขาคัดเลือกท่านอยู่แล้ว จาก 5 คน จะมาเลือกให้เหลือ 1 คน เป็น 77 คน ในส่วนกลาง เมื่อสักครู่บอกไปแล้วจากทั้งหมดเป็น 1,000 ก็มาเหลือ 550 คัดเหลือ 173 ในส่วนนี้ก็เช่นเดียวกันต้องสมัครให้ตรง  มาแต่ละเรื่อง 11 เรื่อง ถ้าไม่สมัคร กลุ่มที่ 1 มาก ถ้ากลุ่มอื่นน้อยก็ต้องปัดที่เกินมาใส่ตรงนี้ แต่วิธีการทำงานไม่ใช่ว่าทุกคนมาแล้วพูดเรื่องเดียวกัน คนละเรื่องสองเรื่องแล้วจะไปไม่ได้เขามารวมกันได้ 250 เขา ก็กำหนดเรื่องเข้ามา แต่ละคณะก็จะไปศึกษารายละเอียดของตัวเองและมาเสนอในสภา เหมือนคณะกรรมาธิการ สนช. หรือ สส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ก็แล้วแต่ตามหลักกฎหมาย เขาก็ไปศึกษาแต่ละเรื่องของเขาในกลุ่ม 11 กลุ่มนี้และมาเสนอในที่ประชุมใหญ่ ประธานสภาปฏิรูปที่รับการเลือกตั้งมาเองก็เป็นผู้ดำเนินการประชุมเพื่อปฏิรูป เมื่อได้ข้อสรุปมาแล้วถึงจะไปให้ สนช. ออกกฎหมายหรือไปดำเนินการด้วยรัฐบาลอะไรก็ตาม ไม่ใช่ ว่าพูดเรื่องนี้ก็นำมาพูดเลยทีเดียว พูดไม่จบหรอกแบบนั้น เพราะฉะนั้น 11 เรื่อง 11 กลุ่ม แต่ละกลุ่มไปหาข้อมูล จากของตัวเองมา จากความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ คุณสมบัติที่ตัวเองมีอยู่และไปเก็บรายละเอียดเพิ่มเติม จากในพื้นที่มาส่งได้ตลอด การส่งข้อมูลมาเพิ่มเติมในสภาปฏิรูป ส่งตรงสภาปฏิรูปก็ได้ ส่งผ่าน คสช. ก็ได้ ส่งผ่านดำรงธรรมก็ได้ ส่งผ่านสำนักงานปฏิรูปก็ได้ สำนักงานปฏิรูป คสช. ที่จังหวัดหรือส่งผ่าน กอ.รมน. ก็ได้ เพราะฉะนั้นจะไปกังวลอะไรครับ วันนี้ที่ผมมีรายชื่อที่สมัครมายังไม่ได้คัดเท่าที่อ่าน ๆ ดู ไม่รู้จักใครสักคนไม่รู้จักจริง ๆ เป็นนักวิชาการบ้างพ่อค้าบ้าง มันก็ตรงในแต่กลุ่มของท่านฉะนั้นก็ไปเลือกกันมาสิครับ เดี๋ยวคัดสรรเข้าเลือกมา กรรมการคัดสรร ก็จะไปบอกว่าเขาเลือกคนของตัวเองไว้แล้ว ผมบอกแล้วไงว่า คสช. หรือใครก็แล้วแต่จะไม่ไปยุ่งกับท่าน เรื่องปฏิรูป ท่านต้องมาทำกันเอง มีประธานสภาประชุมและก็หาข้อสรุปมาให้ได้นี้ ผมอธิบายอย่างละเอียดแล้ว เดี๋ยวจะบอกว่าไม่รู้เรื่องอีก ในการสมัคร สปช. ใครยังไม่สมัครมาสมัครซะที่ส่วนกลางนี้ ที่ยอด 550 ที่จะถูกคัดมานี้ถ้ามาเป็น 1,000 ก็สมัครมาอีก ใครอยากสมัคร สมัครมาเดี๋ยวบอกไม่มียอดไม่มีคนโควตา คือคนอย่างนี้ชอบพูดใช่หรือไม่ พูดไว้ก่อน และตัวเองไม่สมัครแต่พูด แบบนี้ใช้ไม่ได้ คนพูดจะต้องสมัครมา ถ้าพูดแล้วไม่สมัครอย่าพูด ส่วนกลางสมัครได้ 2 อย่าง คือสมัคร กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ได้ เลยหรือไปรษณีย์มาส่ง เขาจะตรวจสอบคุณสมบัติคู่ขนานใน ระหว่างการรวบรวมรายชื่อเพื่อจะไปคัดสรร การคณะกรรมการแต่ละคณะเขาจะไปคัดมาไม่เกิน 50 คน 11 เรื่องก็ 550 ถ้ากรณีไม่ถึง 50 คนแต่ละคณะก็จะต้องส่งรายชื่อไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของบัญชีอันนี้เป็นเรื่อง ของ กกต. เดี๋ยวคงชี้แจงกันอีกครั้งหนึ่งวันที่ 4 กันยายนนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการสรรหาโดยผมหัวหน้าคสช.เป็น ประธานครั้งที่ 1 อีก 3 ครั้ง เพื่อจะคัดสรรมาให้ได้ภายในวันที่ 22 กันยายน 2557
 
ในส่วนของ กกต.ตอนนี้น่าจะส่งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด เรียงตามตัวอักษร 5 คน มีหลักการพิจารณา จุดเด่น  ประสบการณ์  อาชีพ  สังคมยอมรับ สามารถทำประโยชน์ได้ใน สปช.ก็จะส่งรายละเอียดเหล่านี้ขึ้นมา 5 คนก็จะถูกคัดเหลือ 1 คน
 
กรณี ข้าราชการจากทุกกระทรวง ทบวง กรม ท่านก็ต้องสมัคร วันนี้ผมสั่งการไปแล้วด้วย เขาเตียมการอยู่อย่าพึ่งไปบอกว่า กระทรวง ทบวง กรม ก็ไม่ส่ง เขาต้องส่งสิครับเพราะเขามีความรู้ในเรื่องนี้ เขาอาจจะอยู่ในแต่ละคณะไปเพื่อเป็นข้อมูล เพื่อรับทราบ แล้วจะทำอย่างไรถ้าท่าน ท่านคิดเองโดยประชาชนอย่างเดียวข้าราชการไม่มีเลย คงไม่ได้ จะทำได้หรือไม่ผมก็ไม่รู้ ฉะนั้นถ้ากระทรวง ทบวง กรม ขณะนี้เขาเตรียมการอยู่ที่จะส่งผู้แทนรับการคัดเลือกด้วย โดยต้องส่งให้ตรงทั้ง 11 กลุ่ม เช่นเดียวกันวันนี้ทุกกระทรวงก็ให้คณะกรรมการอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อกพ.) ของตนเองประชุมคัดเลือก เพื่อส่งชื่อเข้ามาอีก ไม่ต้องกลัวว่าจะน้อยมีมากมายแน่นอน
 
การคัดสรรวันนี้ได้สั่งการไปให้กระทรวงมหาดไทยได้ประชุมทางไกลชี้แจงและให้เลขา กกต. มาตอบข้อซักถามด้วย รู้สึกจะทำวันนี้ ถ้าสงสัยก็ถามมาอีกก็จะจัดพูดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าใจและตอบข้อซักถามให้ได้ อย่าบ่น อย่าเข้าใจเอาเอง ทำให้ทุกอย่างไปไม่ได้ สื่อก็ต้องเข้าใจ เดี๋ยวผมจะคอยดูว่า ที่พูดไปแล้วเข้าใจอีกหรือเปล่า หรือไม่เข้าใจอีก เพราะฉะนั้นทุกอย่างโปร่งใส กรณีที่ได้รับการคัดเลือก คัดสรรเข้ามาแล้วและให้ปฏิบัติหน้าที่แล้วมีการฟ้องร้องกลับมาว่า ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม อันนี้เราจะให้เข้ามาก่อน เหมือนกับใบเขียวใบแดง ถ้าเขียวก็ทำไปเลย ถ้าแดงเข้ามาก่อนแล้วก็สอบสวนและปลดออกไป ก็คัดสรรมาใหม่ก็แค่นั้นเอง ทำอย่างอื่นได้ไหมนอกจากนี้
 
ในเรื่องของผลกระทบการจัดระเบียบ เรื่อง วีซ่ารัน การอุ้มบุญ วันนี้มีคดีมากมายก็เป็นธรรมดาโลกเจริญขึ้น การพึ่งพาอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ก็มากขึ้นแต่ทำให้ถูกกฎหมายนี้ทำไม่ได้ซักที เมืองไทย วีซ่าท่องเที่ยวที่ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) แสตมป์ให้ตอนเข้ามามันชั่วคราว หมดอายุ แต่บางคนเขาอยากทำงานต่ออยู่ต่อ ก็เดินทางออกจากประเทศไทยชั่วคราว แล้วเข้ามาใหม่อาจจะวัน 1 หรือระยะเวลาหนึ่งและมาแสตมป์ใหม่และอยู่ต่ออีกระยะหนึ่งตามวีซ่า นี้เขาเรียกวีซ่ารัน มันก็มีผลตอนจัดระเบียบพูดไปมากมายก็เกิดผลต่อครูสอนภาษาอังกฤษ พวกวิชาการที่จะมาลงทุน ที่จะมาประชุมมีปัญหาหมด ฉะนั้นกำลังทำในเรื่องนี้อยู่ต้องแยกแยะให้ชัดเจนขึ้น อันไหนที่เป็นการชั่วคราว อันไหนต้องไปวีซ่ารันหรืออันไหนที่เป็นการท่องเที่ยวธรรมดาแยกให้ออกจากกัน วันนี้ได้สั่งการไปแล้วให้มีการผ่อนผัน ขึ้นบัญชีเหมือนกับแรงงานต่างด้าวผู้ที่ทำวีซ่ารัน ไปขึ้นทะเบียนกับเขาให้ ตม. รับผิดชอบไป และ หาทางแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ในอนาคตอย่างที่ผมบอกแล้วเมื่อสักครู่ ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวขาดครูสอนภาษาอังกฤษอีก ขาดไกด์ที่มาเสริมอีก ไกด์เราจำนวนคุณภาพก็ยังมีปัญหาอยู่ จำนวนถือว่าเพียงพอ คุณภาพว่าอย่างไร ต่างชาติมาก็หาว่าไกด์ต่างชาติมาแย่ง เรื่องใหญ่
 
เรื่องการจัดระเบียบ  ปรับปรุงข้อกฎหมายอุ้มบุญวันนี้มีกฎหมายไม่ชัดเจนต้องไปแก้ใน สตช. ในระหว่างนี้ให้มีการตรวจสอบเป็นไปตามข้อกฎหมายเดิมอยู่บางประการการจะแก้ไขให้ยั่งยืน ในการดำเนินการโดยทันที เพราะเกรงว่าวันนี้คนไทย ผู้หญิงไทยที่รับอุ้มบุญแล้วไม่กล้าไปปรึกษาแพทย์ ที่โรงพยาบาล ตัวเองอุ้มท้องอยู่ ไม่กล้าไปหาแพทย์กลัวจะถูกดำเนินคดี พอไม่ไปหาแพทย์สุขภาพตัวเองก็แย่ ก็อุ้มบุญอยู่ในท้องไปหาหมอก็ไม่กล้า คลินิกที่จ้างหรือที่ให้ทำก็ถูกปิด เพราะฉะนั้นอันตรายกับเด็ก ผมสั่งการไปแล้ว ให้ผ่อนผันเป็นราย ๆ ไป ไปแสดงหลักฐานให้ชัดเจน ขอความร่วมมือจากโรงพยาบาล  การบริการทางการแพทย์ของรัฐโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย
 
ในเรื่องของการปฏิบัติงานของ คสช. ในช่วงมีรัฐบาลหรือมีการบริหารราชการเมื่อมีนายกรัฐมนตรี (นรม.) มีรัฐมนตรี (รมต.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะบริหารราชการในระบบกฎหมาย และระเบียบปกติ ผมพูดถึง ครม. แต่บางอย่างมีปัญหาทับซ้อนจะแก้ไขโดยเร็วยังไม่ได้ โดยกฎหมายปกติ เรื่องนี้ คสช. ครม. จะร่วมมือกันประชุมร่วมกันจัดพิจารณา กำหนดว่าเรื่องใด ควรจะเป็นหลักของรัฐบาลหรือเรื่องเร่งด่วนที่ต้องการอำนาจพิเศษ ในการขับเคลื่อนก็จะจัดทำเป็นนโยบายขึ้นให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานร่วมกัน อะไรที่เป็นเรื่องเร่งด่วนต้องใช้กฎหมายพิเศษโดยทันทีก็ให้ คสช. ผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อน โดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่มีอยู่ หรือจัดตั้งคณะกรรมการเข้าดำเนินการ เช่น การแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น โดยทันที การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การแก้ไขปัญหาความยากจนระยะสั้น การแก้ไขปัญหายาเสพติด การแก้ไขปัญหาบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดระเบียบอื่น ๆ ในเรื่องเหล่านี้บางเรื่องแก้ได้เร็ว บางเรื่องเป็นปัญหาเฉพาะหน้าก็ต้องใช้อำนาจพิเศษถึงจะเร็วขึ้น แต่อะไรที่ใช้อำนาจปกติได้ ก็ทำไปดำเนินการไปไม่ทับซ้อนกันแน่นอน พยายามไม่ให้เกิดผลกระทบในกว้าง
 
เรื่องการศึกษาเป็นหัวใจของชาติเป็นอนาคตของประเทศ เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอยู่หลายประการ การจัดทำหลักสูตร การเตรียมการปรับปรุงเรื่องครู อะไรก็แล้วแต่ที่กระทรวงศึกษาธิการทำอยู่ ขณะนี้แต่ผมก็เป็นห่วงเรื่องความเป็นรูปธรรม ท่านต้องทำให้ได้ และให้ได้ทั้งระบบ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งคุณภาพปริมาณ ความต้องการของแรงงาน ความต้องการของลูกจ้างวิชาชีพ  ท่านต้องกำหนดระยะเวลา ประสิทธิผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว ให้ทันปีการศึกษานี้ให้ได้ ท่านต้องทำให้ได้ ให้เวลาท่านแก้มานานแล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้ต้องแก้ให้ได้นี่ไงเป็นเรื่องที่บางอย่างต้องใช้อำนาจ คสช. เหมือนกัน ไม่เช่นนั้นทำไม่ได้ซะที ผมรู้ว่ายากแต่ท่านต้องทำให้ได้ ประชุมร่วมกัน ลดข้อขัดแย้ง ใช้จ่ายงบประมาณ บุคลากรร่วมกัน เวลาของท่านจำกัด ต้องนำร่องเกิดขึ้นให้ได้โดยเร็วทุกเรื่องที่พูดไปแล้ว สั่งไปแล้วและข้อเรียกร้องของประชาชน ผู้ปกครองเด็ก ผู้ใหญ่ ทั้งหมดที่มีส่วนเกี่ยวข้องเขาเรียกร้องมาทำอย่างไรจะเกิดได้ ให้เขาพอใจแต่ไม่ใช่ทำให้การศึกษามันแย่ลง การศึกษาต้องดีคนก็พอใจ ไม่เดือดร้อน การเรียนพิเศษอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ต้องไปแก้หมด เพราะฉะนั้นท่านต้องทำให้ได้โดยเร็ว ให้เวลามานานเต็มทีหลาย 10 ปีแล้ว การศึกษาไทยนี้ ดีก็มี ไม่ดีก็มี ทำอย่างไรเราจะดีทั้งหมดได้ อยากให้ทำทุกมิติ การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐท่านทราบดี ว่าใช้จ่ายงบประมาณมากที่สุด มากกว่าทุกกระทรวงแต่การศึกษาเป็นอย่างไร ผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร ผลการประเมินเป็นอย่างไร เด็กไทยเป็นอย่างไรท่านทราบดี ไปแก้มา
 
ประวัติ ศาสตร์ชาติไทย  ประเทศไทย เด็กไทยวันนี้ไม่ทราบว่าบางคนนะ ถามว่ามีกี่จังหวัดตอบไม่ได้ ผมไม่เข้าใจ มี 76+1 กรุงเทพมหานครไม่รู้ไม่เข้าใจและมีที่ท่องเที่ยวที่ไหนต่างประเทศไปโน้นไปนี่ ถามว่าเมืองไทยมีมรดกโลกไหม ไม่ทราบ แล้วมันเป็นคนไทยได้อย่างไร แล้วใครบกพร่อง เวลาไปสอบสัมภาษณ์  ไปต่างประเทศหรือไปเรียนต่างประเทศ เขาบอกให้นักศึกษาต่างประเทศเขียนประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของแต่ละชาติ พี่ไทยเขียนไม่ได้ เพราะไม่รู้  ไม่รู้จะเขียนยังไงประเทศไทยเขียน 3 บรรทัด เพราะไม่รู้เลยไม่เคยสนใจ นั้นเป็นความบกพร่องของกระทรวงศึกษาธิการ ท่านต้องให้เขารู้ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของเราเป็นไปเป็นมาที่ไหน ถ้าเราไม่รู้ตัวเราว่ามาจากไหน เราจะรู้ว่าเราจะทำอะไร ทำอะไรให้ประเทศไทยดินแดนผืนนี้ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างมาแล้ว ท่านต้องรู้บรรพบุรุษของท่านหรือพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ทำอะไรมาบ้าง ความเป็นมาที่ยาวนานตั้งหลายร้อยปีตั้ง 4 ยุค 4 สมัย มีการต่อสู้รบรากันมากมาย เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นการต่อสู่เพื่อรักษาผืนแผ่นดินไทย กับรอบ ๆ บ้านอะไรก็แล้วแต่เป็นประวัติศาสตร์ ไม่ใช่นำมาทะเลาะกัน ต้องเรียนรู้บอกว่าถ้าเรียนไปแล้ว เดี๋ยวจะขัดแย้งก็สอนให้เขาไม่ขัดแย้งสิ สอนว่าอย่าให้เกิดขึ้นอีก สอนว่าต้องเป็นมิตรกันอย่างไร แต่ต้องรู้ต่างชาติเขาก็สอนกัน วันหน้าผมติดตามสิว่าเราไปเขียนประวัติศาสตร์ต่างประเทศจะเขียนได้หรือไม่ เด็กไทย อาย อายเขานะ บางประเทศเขาเพิ่งเกิดมาในไม่กี่ปี ไม่กี่สิบปีเขาเขียนเป็นหน้า ๆ ผมได้รับรายงานมาคนไทยเขียนไม่ได้เลย มีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นพันปีอยู่แล้ว ฉะนั้นถ้าท่านรวบรวมความรู้เหล่านี้ได้ที่ท่านเคยเรียก สปช. ของท่านสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ผมเห็นหนังสือพวกนี้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทยเขียน 3 บรรทัด สิ่งที่พระมหากษัตริย์ทำ 2 บรรทัด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นผู้ที่กู้ชาติไทยเมื่อวันนี้พุทธศักราช (พ.ศ.) นี้จบ 2 บรรทัด สมัยเด็ก ๆ ผมท่องทุกคนท่องหมด ท่านมาอย่างไรเล็กจนโต ทรงต่อสู้อะไรอย่างไร เราก็ภูมิใจ เราดีใจ วันนี้ก็เลย พันกันไปหมดพันกันไปทั่วหมด เมื่อสมัยก่อนพระมหากษัตริย์ทรงทำสงครามเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย วันนี้พระมหากษัตริย์ของเราก็ต่อสู้ทำสงครามกับความยากจน สมัยก่อนท่านไปพัฒนาที่ดิน ที่ทำกิน ทั้งน้ำ ทั้งพืช ทั้งป่า ทั้งอะไรต่าง ๆ เพื่อให้มีที่ทำกินเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาตินั้นไงคือการทำสงครามของ สถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน ความยากจนไม่ใช่ว่าทำสงครามกับประชาชน ไม่ใช่ไปหาว่าใครทำ
 
การเขียนเรียงความ การร่างหนังสือ การสรุปความย่อความ ทำไม่เป็น เขียนหนังสือไม่เป็น วันหลังผมจะให้ตรวจสอบ เรียกมาตรวจสักทีที่ว่าเก่ง ๆ จะเขียนเรียงความได้ทันผมหรือไม่ เขียนหนังสือทันผมหรือไม่ ก็ไม่ใช่ผมเก่งแต่ผมฝึกการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เขียนหนังสือให้เร็ว อ่านหนังสือให้เร็วจะได้เก็บบรรจุข้อมูลอะไรได้มากหัวสมองก็มีมากมาย สมองมีไว้ใช้ไม่ได้มีไว้เก็บ มีส่วนหน้า ส่วนซ้าย ส่วนขวา หน้าหลังมีการบังคับควบคุมแต่ละอย่าง มีความสลับซับซ้อน ถ้าไม่ใช้ก็จะเล็กลงไปเรื่อย ๆ ไม่มีประโยชน์ หัวโตซะเปล่าไม่มีสมอง สมองมีไม่ได้ใช้อีก เพราะฉะนั้น ต้องสอนให้เขาต้องเตรียมการให้เขา มีข้อมูลให้เขาอย่าย่อมากนัก ความรู้ประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์ 2 บรรทัด มันจะไปเกิดความภาคภูมิใจได้อย่างไร รู้ความเป็นมาของตัวเองได้อย่างไร ต้องแก้ไขนะครับ การคิดเลขในใจเหมือนกัน ไม่มีเท่าที่ทราบไม่มีนะ มันทำให้รู้จักการคิดเร็ว ไม่ได้จะเอาคิดเลขไปใช้อย่างไรไปใช้ไม่ได้ใช้หรอก ฝึกสมองให้ทำงานได้คล่องตัวได้มากขึ้น ถ้าท่านไม่หัดคิดก็จะคิดไม่เป็น พอคิดสั้น ๆ คิดยาว ๆ คิดไม่ได้ปวดหัว คิดสั้น ๆ พอแล้วจบ การทำแผนงานโครงการทำสั้น ๆ ดีกว่าของเก่ามีปัญหาแก้ไม่ได้ ทำเรื่องใหม่ดีกว่า ไอ้เรื่องเก่าก็ไม่ได้แก้ เรื่องใหม่ก็ทำไม่เสร็จก็เป็นอยู่แบบนี้ ท่านต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก ๆ ให้เขาคิดให้เป็น คิดขบวนการคิด มีวิสัยทัศน์และกำหนดว่าจะทำอย่างไรได้ รู้จักคำว่า ทำ Road Map ได้หรือไม่ วางอนาคตตัวเองได้หรือไม่ วิเคราะห์ตัวเองได้หรือไม่ ว่าเป็นเด็กแล้วโตขึ้นจะเป็นอะไร อยากเห็นประเทศชาติเป็นอะไร เราต้องวางยุทธศาสตร์ชาติให้ได้ก่อนเด็กต้องรู้ ถ้าเด็กไม่รู้เขาก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อจากนั้น เขาเพียงเดี๋ยวเรียนหนังสือจบ หาเงินหารายได้ เลี้ยงครอบครัวมีลูกมีเต้า ตาย มีแค่นั้น คนจนก็พยายามจะรวยอะไรที่ถูกก็ทำ ไม่ถูกมีเงินก็ทำถูกนี่จิตสำนึกมันไม่เกิด ท่านต้องทำให้ได้ ตั้งแต่เด็กจนโต
 
วันนี้เห็นมีเรื่องการรับจ้างทำเอกสารวิจัย ผมเห็นในสื่อไม่รู้จริงหรือไม่จริง ในเว็บไซต์ก็มีการโฆษณาทำการบ้าน การทำการบ้านเด็กเล็กก็มี ทำเอกสารวิจัยก็มี เอกสารวิจัย 3,000 บาท ทำการบ้านตามระดับไม่แพงมากนั้น ราคา 200 เกิดขึ้นได้อย่างไรในประเทศไทย แล้วเด็กจะรู้เรื่องไหม เด็กก็มี ใครมีสตางค์ก็ไปจ้างเขา ผมไม่ได้หมายความทั้งหมดนะ มีกิจกรรมอย่างนี้ได้อย่างไร กิจการขายในโซเชียลมีเดียได้อย่างไร ใครควบคุม ต้องไม่มี ถ้ามีอีกหน่อยก็ไม่ต้องทำเองจ้างเขาหมด ใครมีสตางค์ก็จ้างแล้วก็จบมา โรงเรียน  มหาวิทยาลัย วันนี้มีมหาวิทยาลัยในระบบกับนอกระบบไม่เท่ากัน ครู ลูกจ้าง พนักงานไม่เท่ากัน ข้าราชการไม่เหมือนกัน ผลตอบแทนไม่เท่ากันก็มันมี แล้วใครไปคิดมาในระบบนอกระบบ ถ้านอกระบบออกไปแล้วรัฐก็ไม่ต้องดูแลมากนัก ท่านต้องหาทางดูแลให้ได้ พัฒนาให้คนมาเรียนรู้และดูแลตัวเอง วันนี้ท่านบอกว่ารัฐต้องดูแลทั้งหมดทั้งในระบบและนอกระบบ แบบนี้จะไปอย่างไรผมก็นึกไม่ออก ไปทบทวนใหม่ในระบบนอกระบบ และนอกระบบเหมือนกันมีเยอะไปหมด ตอนแรกมีเยอะมากผลิตนักศึกษาดีครับดี เป็นสิ่งที่ทำให้คนจบปริญญาแต่ถามว่าเขาทำงานแค่ไหน มีงานทำได้หรือไม่ ตอนนี้ 53% ตกงานทั้งหมด จบมาท่านต้องไปเรียนวิชาชีพ ไปดูว่าผลิตตอนปีเท่าไร มีงานได้หรือไม่ ผมเห็นเทคโนโลยีวิทยาลัยต่าง ๆ เขามีงานทำเลย บริษัทเขาไปรอรับได้เลย จบมามีงานทำแน่นอนคนก็ไปเรียนกันมากมาย เราไม่ได้ส่งเสริมเรื่องพวกนี้ ไม่ได้สร้างความเข้าใจไม่ให้ข้อมูล เด็กก็ไปเรียนแต่ปริญญาหมดอย่างนี้ไม่ได้ ถ้าไปเรียนวิชาชีพอาจจะไม่ได้ปริญญาไปหาว่าทำอย่างไรเมื่อเขาจบแล้ว ไปทำงานสามารถเรียนเพิ่มเติมได้ปริญญาอีก ทำไมไม่ไปคิดให้เป็นระบบ ให้เขาไปคิดเองทำไม เราวางแผนไว้ ให้เขากลับมาอย่างไรจะไปต่อตรงไหน บางมหาวิทยาลัยบอกอะไรจ่ายครบจบแน่ เป็นไปได้อย่างไร แบบนี้ก็เละเทะไปหมด รัฐบาลต้องดูแลรัฐบาลเป็นทุกอย่างเลย
 
การบริหารจัดการระบบไอทีเพื่อการศึกษา
 
คือการใช้ระบบที่ทันสมัย การใช้ระบบคมนาคม นอกจากการเสริมอุปกรณ์ให้แล้ว ต้องคุ้มค่า เตรียมบุคลากรที่มีความรู้ ทั้งเทคนิค  ฮาร์ดแวร์  ซอฟแวร์ และระบบเครือข่ายให้รู้เรื่องจริง ๆ ไปควบคุมก็เสียอีก พอเสียก็เลิก ก็เป็นแบบนี้มาโดยตลอด ต้องเตรียมให้พร้อมและให้ความสำคัญในการพิจารณาเนื้อหา สื่อการสอน ควบคู่กับการพัฒนาครู มากกว่าปีหน้าขออุปกรณ์มาใหม่ให้ดีขึ้น เร็วขึ้นบางอย่างอุปกรณ์ไปหน้าแล้ว เจ้าหน้าที่ ครู ตามไม่ทันเลย จะเอาของใหม่ตลอด ทำของเก่าให้ได้ รักษาให้ได้ พัฒนาไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เหมาะสมกับกำลังเงิน เหมาะสมกับเด็กนักเรียน เอาแค่นี้ก่อนได้ไหม ซื้อใหม่ตลอดไม่ไหวหรอกปีนี้กี่พันล้านไม่รู้ที่ไปเตรียมทำเรื่องนี้ เรื่อง IT เพราะฉะนั้นต้องเหมาะสมกับเด็กในหลายช่วง ตั้งแต่เด็กเลยต้องเรียนรู้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่เด็ก จะรู้ได้อย่างไร ก็ได้ประโยชน์แต่คุ้มค่าหรือไม่ ถ้าเรามีเงินมากมาย ตกลง แจกได้น่าจะให้เขาได้ แต่วันนี้ผมว่ายังไม่ได้ประโยชน์ ได้แต่ได้น้อยเกินไป
 
การบูรณาการให้การศึกษาทางไกล ระบบการสอนจากดีวีดี  ระบบ e-learning ไปดูว่าคืออะไร ทุกคนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ มีระบบวัดผลผ่านไม่ผ่าน ผ่านกี่คนอย่างน้อย อย่างน้อยทุกคนก็มีโอกาสเข้ามาศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองในสิ่งที่เพิ่มเติม ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานอันนี้ก็ไปดำเนินการด้วย การจัดครู  บุคลากรรับผิดชอบระบบ IT ประจำโรงเรียน พูดไปแล้วต้องให้เหมาะสมเป็นการเฉพาะ และรู้จริงของไม่เสีย ไม่พังอีก โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลซึ่งจะกำหนดมาตรฐานทำได้ยาก เพราะไกลครูก็น้อยยากลำบาก ระบบ IT จะช่วยได้บ้างในการพัฒนาและส่งเสริม
 
การจัดทำ Smart Classroom เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ให้กระทรวงศึกษาธิการไปพิจารณา ก็ต้องพิจารณาเรื่องเนื้อหา การเรียน การสื่อ การสอนเป็นลำดับแรก โดยท่านไปประยุกต์มา เนื้อหาหรือสื่อการสอนในโครงการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่หัวหินมีอยู่แล้วนำมาประยุกต์สิครับ ท่านบอกอันนี้ตรงนี้ใช้ไม่ได้ ไม่ตรงกับตรงนั้น เขาเรียกว่าประยุกต์ ถ้าเกิดนี้ไม่เหมาะเริ่มไม่ได้เหมือนคนจัดเสื้อตัวเดียวทั้งหมด ทั้งอ้วน ทั้งผอม ใส่ไม่ได้ ไม่ได้ 10 คนใส่เสื้อตัวเดียวกันไม่ได้ ท่านต้องนำมาประยุกต์ เพราะฉะนั้นไปปรับปรุงให้เหมาะสม บางคนบอกไม่ยอมรับ ไม่ใช่แบบนี้ไม่ได้ ไม่เข้าใจกันคนละพื้นที่ แบบนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยดีกว่า อย่าเป็นประเทศกัน เป็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นท่านต้องพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้หน่วยงานรับผิดชอบด้าน IT สามารถนำระบบ IT มาสนับสนุนการศึกษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และต้องมีการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เกี่ยวพันทั้งสิ้น
 
ศูนย์ดำรงธรรม ของกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการ ให้เร่งรัดดำเนินการให้ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการแก้ปัญหาภาคเกษตร การเกษตร ราคาพืชผล มาตรการป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไขความเดือดร้อน โดยเร่งดำเนินการในพื้นที่ ทำให้ได้โดยเร็ว สร้างความเข้าใจ ถ่ายทอด นโยบาย แนวทาง คสช. ให้เขารับทราบ คสช.หรือรัฐบาลต่อไปให้ทราบว่า รัฐบาลกำลังทำอะไรอยู่ ถ้าเขาไม่รู้ เขาก็ร้องเรียน เขาก็ดิ้นรน น่าสงสารเขา แก้ให้เขาสร้างให้เขา อดทนเดี๋ยวจะเกิดนี้เกิดนั้น ทุกอย่างใช้เวลา กรุงโรมไม่ได้สร้างวันเดียว ประเทศไทยเหมือนกัน สร้างวันเดียวปีเดียวไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องใช้เวลาในการแก้เป็นระยะ ๆ ให้เขาทราบอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องในทุกเรื่อง
 
เรื่องการสาธารณสุข ต้องดูว่าจะทำอย่างไร จะดูแลคนทุกเพศทุกวัยได้มากน้อย ตามสัดส่วน ตามขีดความสามารถ ท่านต้องหามาตรการว่าจะดูแลคนส่วนใหญ่ทุกวัยได้อย่างไร มากน้อย ตามสัดส่วน ตามกำลังขีดความสามารถ ประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือ ทำอย่างไร คนรวยจะช่วยเสียสละให้คนรายได้น้อย รัฐไม่ต้องบังคับ พอบังคับก็ไม่ได้อีก เพราะฉะนั้นใครมีสตางค์สมัครมาเลย บอกว่าผมสละสิทธิ์ครับ ยอดเท่าไรกี่ล้านไม่รู้ 20 ล้าน 30 ล้าน อาจจะมีคนสละสิทธิ์ไม่ยอม ไม่ใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลรัฐ 30 บาท สัก 3 ล้าน 5 ล้านคน ก็นำเงินที่สละใน 5 ล้านมาใส่ให้คนที่ไม่มีมาก จำนวนก็จะมากขึ้นนี้ ต้องทำแบบนี้นะ ถ้าเราหาเงินมาก ๆ ขึ้น ไปใส่เข้าไปอีก ใส่ไปอีกแล้วเท่าไรถึงจะพอ แล้ววันนี้คนสูงวัยมีมากขึ้น ๆ สุขวิทยาอนามัยดีขึ้น คนก็อายุยืนและคนสูงอายุต้องมีเบี้ยสูงขึ้น คนจน Subsidize รายได้ Subsidize ผลิตผลทางการเกษตร การรักษาสุขาภิบาลก็ต้องมากขึ้น จะไปนำเงินมาจากที่ไหนผมก็ยังนึกไม่ออก นึกไม่ออกช่วยคิดหน่อยแล้วกัน ต้องช่วยกันเสียสละและขึ้นบัญชีเสียสละ ตัดยอดกันไป กระทรวงสาธารณสุขลองดูนะ ลองประกาศไป ถ้าทำก็ได้บุญนะครับคนรวยก็ได้บุญ ชาติหน้าก็รวยอีก ชาตินี้ชาติหน้าตามหลักศาสนาพุทธ ศาสนาอื่นเขาก็สอนไปแล้ว ถ้าเกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา เรียกร้องต่อสิทธิ์ไม่มีหน้าที่ ก็ไปไม่ได้ คนไทยต้องช่วยคนไทยด้วยกัน
 
ทุนการศึกษา วันนี้ก็ยังมีเหมือนเดิม ที่ลดเงินในงบประมาณไป เพราะไปนำเงินในกองทุนอื่นมาโปะเข้าไปอีก ทั้งของเก่าก็ยังไม่ได้คืน ของใหม่ก็ต้องให้ไป จำนวนคนกู้ก็มากขึ้น แล้วจะทำอย่างไรไม่ได้ไปลด ไม่ได้ไปตัด กองทุนอื่น ๆ ก็ต้องไปพิจารณาให้เหมาะสม ยังไม่ไปตัดอะไรสักอย่าง เพียงแต่ชะลอบางเรื่องที่มีปัญหาจากการตรวจสอบสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) บางกองทุนไม่ชัดเจน บางกองทุนไม่เรียบร้อย ก็ต้องไปแก้ไข อย่าไปปลุกระดมกันอีกเลย ว่าเราจะไปตัดตรงโน้นตัดตรงนี้ ประชาชนจะเดือดร้อน ที่ผ่านมาผมเห็นบางเรื่องประชาชนไม่ได้ ไม่รู้ไปอยู่ไหน ยังไม่รู้เลย ไปแก้กันมาไปสอบกันมา
 
เรื่องทุนการศึกษา คนรวยอย่ามายืมเงินอีก คนรวยมีสตางค์บางทีเป็นลูกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อะไรก็แล้วแต่ หรือกลาง ๆ มีเงินมากู้เงินอีก แล้วอย่างนี้คนจนจะเอาที่ไหนเหลือ เพราะใกล้ระบบอยู่แล้ว ก็ทำง่ายไม่ได้ ต่อไปนี้อย่าให้เกิด
 
 
 
เรื่องพลังงาน รัฐวิสาหกิจ มีการปรับปรุงหลายอย่าง บางคนบอกไม่เห็นทำอะไรเลย ก็ตั้งคณะกรรมการนโยบายไป ตั้งซุปเปอร์บอร์ดไป กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานไป แก้เรื่องบอร์ด แก้เรื่องระเบียบ แก้เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แก้ไปก่อน เร่งด่วน แต่ถ้าอยู่หลายมิติด้วยกัน ที่เกี่ยวพันเรื่องโครงสร้างราคา โครงสร้างการผลิต การจัดหาแหล่งพลังงาน พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน แต่ละเรื่องมีเป็นร้อยแปดพันเรื่อง จากเรื่องเดียว ท่านจะลดราคาพลังงานเรื่องเดียว พันกันอีก 15 เรื่อง 15 เรื่อง แตกไปอีกเป็น 100 เรื่อง แล้วท่านก็ใจร้อน ท่านจะให้ผมทำเร็ว ๆ แล้วทำได้หรือไม่ เถียงกันไปเถียงกันมา นี่ผมสั่งไปแล้ว ชี้แจงกันให้ได้ ถ้าไม่ได้มา Debate ด้วยกัน แล้วดูสิว่าเหตุผลใครดีกว่ากัน น่าเข้าใจกว่ากัน ถ้าไปเชื่อตามที่เขียนอยู่ตามเว็บไซต์ ตามโซเชียล ก็ตีกันตายกันทั้งนั้น ทุกคนต้องฟังเหตุผล และเข้าใจกันด้วยเหตุด้วยผลกัน อย่าไปทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นไปไม่ได้บางเรื่องไม่ใช่ข้อเท็จจริง นี่ผมก็โดนเล่นงานอยู่เหมือนกัน หาว่าผมไปเอื้อประโยชน์ให้บริษัทโน้น บริษัทนี้ เขาเป็นญาติผมหรือเปล่า ผมไม่ได้เป็นญาติกับใครสักคนไม่รู้จัก ผมก็ซื้อน้ำมันแพงเหมือนท่านเหมือนกันเวลาที่ใช้รถส่วนตัว ไม่ใช่โทษกันไปโทษกันมา ไปหาทางแก้มา ใจเย็น ๆ เดี๋ยวต้องเข้าสภาปฏิรูป ไปดูว่าจะทำอย่างไร จะหาจากที่ไหนจะทดแทนด้วยอะไร จะผลิต จำหน่ายอย่างไร ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐจะอยู่ที่ไหน เอกชน ประชาชน  จะถือหุ้นอย่างไร ถ้าอะไรเป็นของบริษัท ถ้าจะกลับเป็นของรัฐ รัฐก็ต้องหาเงินไปซื้อหุ้นมาให้มากขึ้น ๆ จนกลับมาเป็นของรัฐ ไปดูใหม่ สิทธิประโยชน์กรรมการก็ลดไปแล้ว บางอย่างต้องให้ความเป็นธรรมเขาด้วย คณะกรรมการไม่ใช่เขาทำอะไรได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เขาไม่ได้มองว่าเขาไปโกงร้อยเปอร์เซ็นต์เพียงแต่ว่าอาจจะไม่มีประสิทธิภาพดี ตรงโน้นตรงนี้ที่มีโอกาสที่จะรั่วไหลหรือไม่เข้าใจอะไรก็แล้วแต่ ต้องไปอธิบายกันเองให้เข้าใจ ต้องเห็นใจเขาว่าคณะกรรมการทุกกรรมการ บอร์ดเขามีกฎหมาย 20 กว่าฉบับ แต่ทำอย่างไรกฎหมายเหล่านั้นจะสามารถควบคุมให้มีประสิทธิภาพไปว่ามา ไปแก้ในกรอบปฏิรูปให้ชัดเจนขึ้น วันนี้แก้เร่งด่วนไปก่อนแล้ว
 
 
 
เรื่องพลังงาน เรื่องน้ำ เรื่องทั้งหมด ฟังเวลาที่ผมพูด ปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชน ความเดือดร้อนของประชาชน ทุกอย่างถูกบิดเบือน ถูกคนนำไปใช้ประโยชน์ ต้องใช้เวลาวิธีบริหารที่จัดการอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม แยกให้ออกว่าอะไรเป็นของรัฐ อะไรของเอกชน อะไรผสมกัน เราจะเข้าไปถือหุ้นเพิ่มอย่างไร เราจะนำกลับมาเป็นของรัฐได้อย่างไร ไม่ใช่จะให้ คสช. ไปยึด การใช้อำนาจพิเศษไปยึดมา ไม่น่าได้ อย่าโยนภาระแบบนี้มาให้ คสช. เพราะเราทำหน้าที่ตามกฎหมาย กฎหมายพิเศษทำเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้โดยเร็วเท่านั้น เราไม่ไปบิดเบือนอะไร ไม่ได้ทั้งสิ้น วัดหน้าเดี๋ยวก็มีปัญหาอีก เพราะฉะนั้น เราก็เป็นห่วงเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงด้านพลังงานจะต้องยั่งยืนสืบไป
 
ในส่วนสถานการณ์ภายนอกยังคงผันผวนตลอดเวลา ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา การสู้รบ ความมั่นคงมีทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ เรื่องพลังงาน เราไปดูแลหมด ทั้งพลังงาน ขนส่ง บริการ ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ต้องได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ได้รับความพอใจจากประชาชน ผมพูดไปแล้วหลายเรื่องโครงสร้างยุทธศาสตร์ นโยบายรัฐ วิธีดำเนินการ ผลประกอบการ การฟื้นฟู การเตรียมการเรื่องการปรับราคา การลงทุนใหม่ ทุกอย่างไม่สามารถสั่งได้ในครั้งเดียว ผมพูดมาก็ยังเหนื่อยเลย ถ้าสั่งด้วย ทำด้วยเหนื่อยกว่านี้อีก คนนั่งฟังอาจจะเห็นว่าไม่มีอะไร ราคาน้ำมันไม่หันลงสักที ชี้แจงอย่างนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ไปไม่ได้หมด ผลผูกพันมากมาย ต้องเริ่มแก้ไข ค่อย ๆ แก้ไขไป
 
ภาษีเหมือนกันตอนนี้บอก เมื่อไหร่จะปรับภาษี เดี๋ยวปรับมาอย่าบ่นก็แล้วกัน ปรับมาต้องมีคนได้  คนเสียมาก คนเสียน้อย ผมก็บอกให้เป็นธรรมกับคนที่มีรายได้น้อยก็แล้วกัน ไปคิดมายังไม่เกิดอะไรทั้งสิ้น เขาแค่คิดเป็นแค่ข้อมูลเสนอมา จะทำไม่โน่น ครม. โน่น สปช. โน่น สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เอามาตีกันแล้ว มาเขียนในสื่อ ในอะไรต่าง ๆ มีวิพากษ์วิจารณ์ บางอย่างคุยกันอยู่ในห้อง ไปได้อย่างไรผมยังไม่ทราบเลย บางเรื่องเป็นเรื่องลับ บางเรื่องเป็นเรื่องที่ยังไม่ดำเนินการ บางเรื่องไม่ได้สั่งการ เป็นเรื่องหารือ ออกไปแล้วว่า จะทำโน่นทำนี่ ไป ด่ากลับมาอีกว่า คสช. ไม่ทำอะไรไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจอีกกลายเป็น คสช. ไม่เข้าใจ ก็เหนื่อยใจเหมือนกัน บางคนบอก คสช. มีอำนาจล้นฟ้าตอนนี้ทำไมไม่ทำ ยึดมาเลยเป็นของรัฐได้ทั้งหมด อำนาจพิเศษไปยึดมา ไปยึดท่อ ยึดทาง ยึดบริษัท ยึดมาเลยเป็นของรัฐทั้งหมด ไปดูใหม่ว่าเป็นของใครอะไรอย่างไร ผมไม่ได้เข้าข้างใคร ไปเถียงกันให้จบก่อน ถ้าท่านเถียงกันไม่จบ ผมก็ทำไม่ได้เหมือนกันถ้าอย่างนั้นก็ เพราะฉะนั้นขอความร่วมมือ ความเข้าใจ อย่าพึ่งไปวิพากษ์วิจารณ์เสียหาย
 
ในเรื่องของการประชุม เสวนา วิพากษ์วิจารณ์หลายคณะ ผมไม่ได้ไปห้าม จนไม่กระดิกกระเดี้ยงไม่ได้ แต่ท่านไปรวมสัมมนาในที่ลับหรือไปประชุมการเมือง ประชุมในแนวทางต่อต้าน คสช. ผมว่าไม่ถูก ท่านจะทำอะไรมาบอกผม ขออนุญาตมา ผมจะพิจารณาให้ บางคนแอบไปประชุมที่โน่นที่นี่ บอกว่าเดี๋ยวรอ คสช. ขัดขาตัวเองล้มไปก่อนแล้วค่อยมา ประชาชนเตรียมให้พร้อมไว้ก่อนแล้วกันน่าเกลียดนะ ผมว่าผมไม่อยากจะไปกีดกั้นท่าน บางคนเป็นอดีตข้าราชการ อดีตนักการเมือง นักวิชาการที่เคยมีปัญหาหลาย ๆ ด้านกฎหมายพวกนี้พยายามยุอยู่อย่างนั้น ผมไม่รู้จะทำไปทำไม ตัวเองก็มีคดีความมากมาย แต่ยังจะไปให้คนอื่นเขาเชื่ออีก ผมพูดอย่างท่านไม่เชื่อก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
 
ขอความร่วมมือจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) อบจ. (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท่านมีความสำคัญที่สุด ท่านใกล้ประชาชนที่สุด ผมพูดหลายครั้งแล้ว ช่วยกันนำพาประเทศชาติ ประชาชน อย่าไปรวมกลุ่มมาประท้วงอีก คสช. เรื่องนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็วันนี้อะไรกันอยู่ ทำอะไรกันอยู่กำลังจะปฏิรูป แล้วใครไปบอกว่าจะไปยึดผมพูดมาหลายครั้งแล้ว ยังไม่เคยคิดเลย โน้นปฏิรูปไปว่ามา ตำรวจจะแก้อย่างไร โน่นปฏิรูปไปแก้มาโครงสร้าง จะให้ผมแก้โครงสร้างทั้งหมด โดยคำสั่ง คสช. ฉบับเดียว ผมทำไม่ได้ ผมก็แก้แต่ระเบียบบางอย่างให้ง่ายขึ้น ให้ทันสอดคล้องกับสถานการณ์ ผมมีแค่นั้น ท่านบอกอยากให้แก้แล้วท่านไม่ปฏิรูป จะทำได้หรือไม่ คสช. ไม่ทำ แบบนั้นไม่ทำให้ เราต้องพูดคุย พัฒนาตนเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อบต. อบจ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านคุยพัฒนาตัวเองอย่างไร ทั้งความคิด ทั้งแนวทาง ทั้งการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ท่านต้องสอดคล้องกับภูมิภาค ไม่ใช่ภูมิภาคจะไปยุบท้องถิ่น ท้องถิ่นจะยุบภูมิภาคอีกคงไม่ต้องมีอะไรแล้ว ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น เขาตั้งไว้สอดคล้องกันอยู่แล้ว บริหารไล่กันมาอยู่แล้ว ถ้าท้องถิ่นมาเล่นกับท้องถิ่นก่อนก็มีเงินท้องถิ่นไปแล้ว อบต. ต้องไปสร้างว่า 1 ปี ปีนี้ท่านต้องการอะไร ต้องการซ่อมโรงเรียน ต้องการซ่อมถนนกี่สาย ต่าง ๆ ถ้าท่านคำนวณอะไรที่เป็นของเก่ายังทำไม่เสร็จก็ไปทำปีที่ 2 อะไรที่ต้องสร้างใหม่ทำใหม่ ท่านก็ไปทำปีที่ 3 นี่คืองบประมาณที่ท่านมีอยู่ สถานพยาบาล ตลาดนัด ตลาดกลาง ท่านก็ไปคิดเพื่อจะไปดูแลประชาชนในพื้นที่ให้มีที่ทำกิน ที่อยู่ที่กินเขา ท่านก็ใช้งบประมาณท่านที่มีอยู่ ไม่ใช่ไปทำอะไรที่ซ้ำซาก ทำอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์ผุดแล้ว ผุดอีก ซ่อมแล้ว ซ่อมอีกอยู่แค่นั้นแล้วไม่มีอะไรใหม่ขึ้นเลยก็เน่าอยู่แบบเดิม ถ้าท่านทำแผนอย่างนี้ได้ 1 ปี ใช้งบประมาณ ปีหน้าใช้อะไร ปีต่อไปใช้อะไร ท่านมีแผนระยะยาวว่าใน 5 ปี 10 ปี ในตำบลในหมู่บ้านท่านใช้เงินของท่านจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าท่านไม่พอภูมิภาคก็ของบประมาณส่วนกลางมาโปะเข้าไปอีกในช่องที่ไม่เกิด หรือต้องการให้เกิดเลย  ท่านต้องไปขอภูมิภาคสำหรับ ผู้ว่าราชการจังหวัด ก็รู้กระทรวง ทบวง  กรม เขาก็ไปช่วยกันนี่อันที่ 2 พออันที่ 3 สุดท้ายถ้าท่านไม่พออีกเดือดร้อนอีก ก็งบกลางรัฐบาลเติมเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นมี 3 งบด้วยกัน ท่านจะเอาแต่งบท่านอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะเช็คตรวจสอบถ่วงดุลกันได้อย่างไร
 
ผมไม่ได้มุ่งหวังจะไปแก้ไขอะไรทั้งนั้นตอนนี้ ไปว่ามาปฏิรูป ท่านอยากจะเปลี่ยนอยากจะยุบ อยากจะเลิก ใครก็ไม่ว่า ผมก็ไม่เกี่ยวกับท่าน รอผลออกมาปฏิรูปทำได้หรือไม่
 
การลดอิทธิพลความขัดแย้งในพื้นที่ ฝ่าย อปท. ท้องถิ่นต้องเลิกต้องหยุดให้ได้ทุกอย่างอยู่ในสภาปฏิรูป 11 เรื่อง คสช. ไม่เคยมีธง ทั้ง สนช. สปช. ไม่เคยมีธงให้ไปจะทำอะไรก็ทำ เราจะรักษาสภาพให้ได้ ขับเคลื่อนประเทศไปให้ได้ ท่านไปแก้ไขระยะยาวให้ได้ก็แล้วกัน 1 ปี 4 ปี ของรัฐบาลต่อ ๆ ก็ว่ามา แผนพัฒนาเศรษฐกิจก็ 5 ปี 5 ปี เลือกว่าจะเอากี่ปี เราต้องการให้ทุกคนทุกส่วนใช้ความคิด สติปัญญาของคนไทย ร่วมแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ใช้สมองทุกส่วนให้ได้โดยเร็ว เป็นความหวังของพวกเรา ท่านต้องช่วยเราตรงนี้
 
เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือการปรับย้ายในกองทัพ ในตำรวจ วิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดเวลาเสียหาย แล้วเวลาไม่ตรงเขาไม่เห็นพูดอะไร ขอโทษครับ ขอโทษค่ะ ไม่เห็นมี เพราะเรามีหลักการ จะถูกจะผิดจะดีไม่ดี เขาพิจารณากันหลายคนไม่ใช่ใครจะไปชี้ตรงโน้น ตรงนี้ได้ มีระเบียบวินัย ทหาร ตำรวจต้องมีวินัย เราไม่เคยต้องไปแย่งชิงกัน แย่งชิงตำแหน่งผู้บัญชาการ (ผบ.) แย่งกันไม่ได้ถ้าแย่งอย่างนี้ก็ตาย ไม่แย่ง ต้องฟัง สั่งไปแล้วเซ็นไปแล้ว ประชุมไปแล้ว อนุมัติไปแล้วก็จบแค่นั้น ปีหน้าสู้กันด้วยเรื่องการทำงานใหม่ ทำงานให้ผู้บังคับบัญชาเห็น ให้นายเห็น เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องมีกติกาทั้งสิ้น  อย่าไปเขียนตามความเห็นส่วนตัวว่า ถ้าเป็นตัวเองตั้งอย่างนี้ ๆ พวกเราไม่มี ผมไม่เคยบอก ถ้าผมมีพวกป่านนี้ไม่ได้ ผมไม่ใช้คำว่าพวก ผมใช้คำว่าเป็นครอบครัว เราเป็นครอบครัวเดียวกัน ทหารคือครอบครัวทหาร ตำรวจคือครอบครัวตำรวจ ก็เป็นสังคมระหว่างครอบครัวทหารตำรวจก็ต้องมารู้จักต้องมาเจอกัน ทำงานด้วยกันไปได้ ฉะนั้นเป็นเรื่องธรรมดา อย่าไปพูดมากเสียหาย ทุกอย่างมีระเบียบข้อบังคับกฎหมายวินัยต่าง ๆ มากมาย
 
ขอบคุณนะครับ ก่อนจะถึงเวลานี้ผมเหนื่อยมาก พูดก็เหนื่อย ทำก็เหนื่อย ขอบคุณที่ทุกคนกรุณาฟังผม แต่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็ต้องคอยดูกันต่อไป แต่ขออย่าพึ่งมาต่อต้านเรา อย่าพึ่งอะไรทั้งสิ้นเราก็รู้ทั้งหมด แต่เราไม่อยากใช้ความรุนแรงอะไรกับท่าน  ถ้าบังคับใช้กฎหมายมาก ๆ ก็น่าเบื่อ ท่านอาจจะไม่เบื่อแต่ผมเบื่อ เบื่อการใช้กฎหมายมาก ๆ ทำให้สังคมมีปัญหาหมด เป็นเรื่องของท่าน ต้องพิจารณาใคร่ครวญในความเป็นจริง อย่ามองโลกด้านเดียว ฟังใครอย่างเดียว บางอย่างต้องใช้ทั้งรัฐศาสตร์  นิติศาสตร์ ในการทำงาน ในการบริหารราชการ แต่ต้องมีหลักธรรมาภิบาลในการแก้ไขปัญหาการเดินหน้าประเทศไทยต่อไป
 
ขอความร่วมมือเรื่องการปฏิรูปนะครับ ผมไม่ต้องการบังคับใคร ผมชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นไปแล้ว หากทุกคนเป็นคนไทย ไม่ว่าจะกลุ่มใด พวกใด ควรจะเข้ามาสมัครเข้ามาทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ผมเรียนแล้วว่าเราจะไม่เข้าไปก้าวก่ายในขบวนการปฏิรูปทั้งสิ้น ถือว่าเป็นเรื่องของคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน คงมีเท่านี้ที่คุยกับพวกเราใช้เวลานานพอสมควร คนฟังก็เหนื่อย คนพูดก็เหนื่อย ผมอาจจะพูดเร็วไปบ้าง ช้าไปบ้าง ส่วนใหญ่จะเร็ว พยายามฟังให้ทันหน่อยแล้วกัน จะเห็นได้ว่าผมคิดทั้งหมดและทำให้เร็ว พูดยังเร็วยังไม่ทันใจท่านเลย แต่บางคนไม่ฟังเลย ติอย่างเดียวก็สวนทางกันหมด ขอบคุณนะครับ ขอบคุณ  พ่อแม่พี่น้องทุกคน  สวัสดีครับ  คิดถึงนะครับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Jacke Lynch : ‘วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ’ คือการปฏิรูปการนำเสนอข่าวของทั่วโลก

$
0
0
ถอดปาฐกถาพิเศษของ ดร.Jacke Lynch จากออสเตรเลีย ในงาน CCPP ที่ ม.อ.ปัตตานีอธิบายวารสารศาสตร์สันติภาพเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง ชี้เป็นการปฏิรูปการนำเสนอข่าวของสื่อทั่วโลก เป็นงานยากของนักข่าว แต่มีเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลง ย้ำการเสนอข่าวแบบแพ้-ชนะ คือตัวเร่งขยายความรุนแรง 

 
 
 
 
 
เวลา 09.15 น. วันที่ 22 สิงหาคม 2557 ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง "การสื่อสาร ความขัดแย้ง และกระบวนการสันติภาพ : ภูมิทัศน์ความรู้จากเอเชียและจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย" (Communication, Conflicts and Peace Processes :Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand) หรือ CCPP ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ. ปัตตานี)
 
รศ.ดร.Jake Lynch ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความขัดแย้งและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วารสารศาสตร์สันติภาพเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง” โดยรศ.ดร.Jake Lynch ได้ทุ่มเทเวลากว่าสิบปีเพื่อการศึกษา พัฒนาองค์ความรู้สาขาวิชาวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ (Peace Journalism) รวมทั้งมีประสบการณ์ด้านการรายงานข่าวเพื่อสันติภาพทางสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง
 
วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพคืออะไร
 
รศ.ดร.Jacke Lynch กล่าวถึงศักยภาพของสื่อที่จะสร้างสมรรถภาพในการสร้างสันติภาพ โดยเฉพาะการวารสารเพื่อสันติภาพ โดยอธิบายว่าวารสารศาสตร์สันติภาพคืออะไร มีต้นกำเนิดมาจากไหน โดยกล่าวถึงข้อค้นพบจากงานวิจัยของเขา และการปรับวิธีนำเสนอข่าวที่จะสร้างประโยชน์ให้สาธารณชนได้อย่างไร และจะทำอย่างไรที่จะให้การนำเสนอข่าวเป็นตัวเอื้ออำนวยไม่ให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
 
รศ.ดร.Jacke Lynch กล่าวว่า วารสารศาสตร์สันติภาพเป็นนโยบายการสื่อสารระดับนานาชาติ ซึ่งแนวคิดนี้เริ่มต้นจากโยฮัน กัลตุง และเกาเตอร์ และลูก้า ที่พยายามเพิ่มเนื้อหาการนำเสนอข่าวเพื่อสันติภาพ โดยพยายามยกกรณีศึกษาการนำเสนอข่าวตามสถานการณ์จริง โดยพบว่า แม้นักข่าวมีหน้าที่รายงานข้อเท็จจริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงมันมากกว่าสิ่งที่รายงาน ดังนั้นนักข่าวก็เสมือนผู้กำหนดข่าวสารว่าจะนำเสนออะไรบ้าง
 
รศ.ดร.Jacke Lynch นำเสนอโครงสร้างการนำเสนอข่าวของสื่อระดับนานาชาติและเสนอแนะการปรับวิธีการนำเสนอข่าวเพื่อให้เกิดสันติภาพว่า จากการศึกษาพบว่า สื่อระดับชาติมักรายงานข่าวความขัดแย้งทั่วโลก และมักนำเสนอข้อมูลที่มองว่าผู้รับสารชื่นชอบ
 
“ผู้สื่อข่าวมีกระบวนการเลือกนำเสนอข่าว บางองค์กรเลือกประเด็นข่าวที่ตัวเองชื่นชอบ และนักข่าวมักนำเสนอเฉพาะเหตุการณ์ แต่ผลกระทบหลังจากนั้นมักไม่ค่อยนำเสนอ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของนักข่าวที่ต้องส่งข่าวสำนักข่าวตามเวลาที่กำหนดนั่นเอง”
 
งานยากของนักข่าว-เป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลง
 
รศ.ดร.Jacke Lynch ได้ยกตัวอย่างการสัมภาษณ์ทหารอเมริกันที่อิรักโดยนักข่าวที่ไปฝังตัวอยู่ที่นั่นว่า ผู้สื่อข่าวทั่วไปเน้นความถี่หรือจำนวนในเหตุการณ์เท่านั้น แต่หากจะนำเสนอข่าวเพื่อสันติภาพก็จำเป็นต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องนำเสนอข่าวนั้นทันที แต่ควรวิเคราะห์หรือค้นหาสาเหตุ หรือผลประโยชน์บางอย่างหากนำเสนอได้ จึงจะถือว่าเป็นการรายงานข่าวที่ยอดเยี่ยม แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก
 
“แน่นอน ข่าวร้ายมักถูกนำเสนอมากกว่าข่าวดี นักข่าวมักหาข่าวในพื้นที่เกิดเหตุร้ายก็จริง สิ่งที่น่าสนใจคือในพื้นที่นั้นก็มีกลุ่มคนที่พยายามปรับตัวหรือแก้ปัญหาอยู่ด้วย แต่นักข่าวมักจะไม่เห็นหรือไม่สนใจ”
 
ดังนั้นโยฮัน กัลตุงจึงได้คิดค้นการนำเสนอข่าวเพื่อสันติภาพ โดยก่อตั้งศูนย์เพื่อศึกษาพร้อมสร้างหลักสูตรวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการนำเสนอข่าวระดับชาติเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งยอมรับว่าการที่จะให้ผู้ข่าวยอมรับแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย
 
รศ.ดร.Jacke Lynch ระบุว่า ที่ผ่านมาได้เชิญบรรดานักข่าวมาพูดคุยและเปลี่ยนแนวคิดวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ เช่น บรรณาธิการสำนักข่าวสกายนิวส์ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่มองว่า การนำเสนอข่าวในรูปแบบใหม่นี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ขณะนี้มีการจัดอบรมหลักสูตรวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ แต่เน้นเฉพาะการแทรกแซงสถานการณ์ความขัดแย้งโดยกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเจ้าหน้าที่และประชาสังคม
 
เพราะวารสารศาสตร์ส่งอิทธิพลต่อสังคม
 
รศ.ดร.Jacke Lynch กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ต้องมีการอบรมหลักสูตรวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ เนื่องจากวารสารศาสตร์มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างยิ่ง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับโครงสร้างการนำเสนอข่าวที่สร้างสรรค์ การนำเสนอข่าวที่สร้างสรรค์ คือ นำประเด็นต่างๆ หรือกระบวนการต่างๆ มานำเสนอไม่เฉพาะเหตุรุนแรงเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อสะท้อนพลังของประชาชนในการรับมือหรือตอบโต้กับปัญหาที่เกิดขึ้น หรือความพยายามสร้างสันติภาพอย่างไรบ้าง
 
ข้อจำกัดใหญ่ของสื่อมวลชนคือ มักต้องนำเสนอตามวาระขององค์กรข่าวของตัวเอง ของเจ้าของหนังสือพิมพ์หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งที่จริงผู้สื่อข่าวต้องนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากที่สุด วารสารศาสตร์ในภาวะสงครามมุ่งเน้นการนำเสนอที่ต่างกับความขัดแย้งทั่วไป แต่นักข่าวส่วนใหญ่มักไม่อยากพูดเรื่องสันติภาพ ซึ่งเป็นไปได้ว่านักข่าวมักจะเกรงว่าผู้รับสารอาจไม่อยากรับฟัง หรือกลัวว่าจะถูกกล่าวหาว่าพูดเกินจริง การผลิตข่าวต่างๆ จำเป็นต้องพิจารณาว่า เมื่อนำเสนอแล้วจะส่งผลให้เกิดความกระจ่างต่อสถานการณ์ยิ่งขึ้น หรือทำให้สถานการณ์ถูกปิดบังลง หรือสร้างความมืดมนให้กับสังคม 
 
เสนอข่าวแบบแพ้-ชนะ คือตัวเร่งขยายความรุนแรง
 
ตัวอย่างเช่น นักข่าวตะวันตกส่วนใหญ่ต่างตัดสินว่า การฆ่าพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี ประธานาธิบดีแห่งลิเบียเป็นชัยชนะของนาโต้ จึงไม่จำเป็นต้องรายงานข่าวนี้อีกต่อไป ในขณะเดียวกันก็มีนักข่าวอื่นๆ ที่ยังติดตามปัญหาการกดขี่จากการใช้กำลังในการโค่นล้มอำนาจของกัดดาฟี ซึ่งอาจจะก่อปัญหาอื่นๆตามมาก็เป็นได้ ดังนั้นหากเรานำเสนอข่าวเพียงแค่กัดดาฟีเสียชีวิตแล้ว ก็ถือว่าเราไม่ได้เรียนรู้ที่นำไปสู่การแก้ไขความขัดแย้งหรือการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งภายในประเทศลิเบียได้
 
หนังสือพิมพ์ News weekly เคยพาดหัวข่าวว่า “ใครจะเป็นผู้ชนะระหว่างบุชกับซัดดัม” ซึ่งการพาดหัวเช่นนี้เป็นการแบ่งเป็นฝ่ายผู้แพ้กับผู้ชนะ แต่“ในที่สุดเวลาจะเป็นตัวตัดสิน” แต่การนำเสนอลักษณะนี้ ก็อาจนำไปสู่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งก็เป็นไปได้ ส่วน Daily mirror เป็นหนังสือพิมพ์ของประเทศอังกฤษที่สนับสนุนการต่อต้านสงคราม มามากกว่าเรื่องการแพ้ชนะ โดยให้ความสนใจประเด็นอื่นๆ ด้วย เพื่อเป็นบทเรียนในการคลี่คลายความขัดแย้งก่อนที่จะเกิดความรุนแรง
 
หากเราแบ่งว่ามีแต่แพ้กับชนะ ผู้แพ้ก็ต้องหาเหตุผลว่าทำไมต้องเพิ่มกำลังอาวุธ ต้องหายุทธศาสตร์อย่างไร ส่วนผู้สื่อข่าวก็พยายามนำเสนอข่าวท่าทีหรือเร่งรัดให้เกิดการแพ้หรือชนะ กระบวนการเหล่านี้ถือว่าผู้สื่อข่าวเป็นบุคคลสำคัญที่สร้างให้ความรุนแรงยิ่งทวีมากขึ้น
 
วารสารศาสตร์สันติภาพคือการปฏิรูปการนำเสนอข่าวทั่วโลก
 
นักข่าวหรือนักวิชาการบางคนมักมีแผนที่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งกรอบคิดหรือมุมมองสถานการณ์ความขัดแย้งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นผลที่ทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นได้เหมือนกัน เช่น กัดดาฟีอยู่พื้นที่ไหนและถ้ายังไม่เสียชีวิต ผู้สื่อข่าวก็มองเป็นความล้มเหลวของประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งการรายงานทัศนคติแบบนี้เป็นการกดดันให้สร้างความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้ หรืออาจนำไปสู่สงครามในที่สุด
 
หากนักข่าวมีอคติต่อสิ่งๆ หนึ่งแล้ว ก็อาจทำให้นักข่าวไม่ได้ตั้งคำถามว่าทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นั้นได้ แต่หากมีการตั้งคำถามหรือนำเสนอข้อมูลที่ดีก็อาจนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ได้ เช่น เนชั่นนำข้อคิดเห็นหรือข้อวิเคราะห์มาลงหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ ก็อาจส่งอิทธิพลต่อผู้นำประเทศได้
 
ดังนั้นวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพจึงเป็นนโยบายหนึ่งที่พยายามปฏิรูปการนำเสนอข่าวของสื่อทั่วโลก ที่ผ่านมามีนักวิจัยจากเอเชีย 2 คน คือจากสิงค์โปรและฟิลิปปินส์ได้นำทฤษฎีวารสารศาสตร์สันติภาพนำไปสู่การปฏิบัติโดยไม่นึกถึงผลประโยชน์ และงานศึกษาเหล่านี้ก็ได้จัดตีพิมพ์ด้วย
 
โดยมีคำถามที่น่าสนใจว่า วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพมีจริงหรือเปล่า ซึ่งพบว่า การนำเสนอข่าวเหล่านี้เกิดขึ้นจริง เป็นหนังสือพิมพ์ Incuary ของประเทศฟิลิปปินส์
 
คำถามที่สองคือ หากมีการนำเสนอข่าวเพื่อสันติภาพมากขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ซึ่งพบว่า การนำเสนอข่าวเพื่อสันติภาพนั้นจะกระตุ้นให้ผู้อ่านไม่สนับสนุนความรุนแรงและหนุนเสริมสันติภาพมากขึ้น
 
คำถามที่สามคือ นักข่าวจะได้รับการสนับสนุนในการทำวารสารศาสตร์สันติภาพในแต่ละวันได้หรือไม่ 
 
วารสารศาสตร์สงคราม – วารสารศาสตร์สันติภาพ
 
รศ.ดร.Jacke Lynch ได้ยกตัวอย่างภาพของการอบรมหลักสูตรวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพในที่ต่างๆ อย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเลบานอน ซึ่งมีการจัดตั้งสมาคมวารสารศาสตร์เพื่อสื่อมวลชน
 
การยกพื้นที่การอบรมที่ต่างๆ ไม่ได้มุ่งเน้นจำนวนหรือปริมาณ แต่เรามุ่งที่จะศึกษาผลลัพธ์ของวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพมากกว่าว่าเกิดประโยชน์ต่อสังคมนั้นอย่างไรบ้าง เช่น การก่อตัวของความขัดแย้ง การเปิดโปงข้อเท็จจริง เป็นต้น
 
การพัฒนาวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ ด้านวารสารศาสตร์ที่เป็นข่าวในทีวี มีการปรับปรุงรายละเอียดของข่าวให้มีมาตรฐานระดับโลก มีการเปรียบเทียบระหว่างวารสารศาสตร์ด้านสงครามและวารสารศาสตร์ด้านสันติภาพเพื่อให้เห็นความแตกต่าง
 
จากการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้และแมกซิโก พบว่าในออสเตรเลียมีการตอบสนองทางการเมือง คนที่สื่อสารผ่านสื่ออาจมีความเสี่ยง เช่น การนำเสนอเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย อาจถูกทำร้ายได้ในภายหลัง ก่อให้เกิดความเสียหายด้านร่างกายและจิตใจหรือส่งผลต่อความยากลำบากในชีวิต นี่เป็นตัวอย่างของการตอบสนองที่นำไปสู่ความรุนแรง ในทางกลับกันเมื่อผู้อ่านหรือผู้ฟังได้ทราบสถานภาพของผู้ลี้ภัยที่มักถูกปฏิเสธในการขอสถานภาพลี้ภัยแล้ว ก็ส่งผลให้เกิดความเห็นอกเห็นใจนั่นเอง
 
สะท้อนภาพใหญ่ในสังคม นำเสนอคุณค่าของทุกคน
 
รศ.ดร.Jacke Lynch ได้ยกตัวอย่างการทำข่าวโดยสัมภาษณ์คุณอาลีที่เป็นผู้ลี้ภัยจากอัฟกานิสถาน โดยต้องเดินทางด้วยเรือเป็นเวลาหลายวันกว่าจะเข้ามาบนเกาะออสเตรเลียได้ เมื่อได้รับรู้เรื่องของผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เกิดการสนับสนุนให้มอบสถานภาพให้กับผู้ลี้ภัย และได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัยในที่สุด ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่ารัฐบาลออสเตรเลียตัดสินใจไม่ผิดพลาด เพราะอาลีได้ให้สัมภาษณ์ว่าประเทศออสเตรเลียทำให้พบกับอิสรภาพที่แท้จริง
 
“ปัญหาเริ่มต้นจากระบบที่มีปัญหาในการให้สถานภาพผู้ลี้ภัย หากผู้ขอสถานภาพไม่ได้สื่อสารให้ผู้คนได้รับฟังเสียงของพวกเขา เราก็จะไม่เข้าใจสถานภาพของคนเหล่านี้ได้ สื่อส่วนใหญ่นำเสนอแต่เสียงของผู้มีอำนาจมีสิทธิในการตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว เป็นเสียงของนักการเมืองอย่างเดียว นี่คือตัวอย่างของวารสารสันติภาพที่พยายามนำเสียงเงียบมานำเสนอให้สังคมใหญ่ได้รับทราบ”
 
รศ.ดร.Jacke Lynch อธิบายเพิ่มว่า วารสารศาสตร์สงครามนั้นมักจะสร้างความโกรธ และความรู้สึกหมดหวัง มีการต่อสู้ช่วงชิง ในขณะที่วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพจะนำเสนอระบบโครงสร้างที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม พร้อมสะท้อนภาพใหญ่ในสังคม และนำเสนอคุณค่าของทุกคนในสังคม
 
ตัวอย่างจากคนชายขอบในเม็กซิโก ปัญหาเรื่องการค้ายาเสพติด การแก้ไขปัญหาเรื่องการค้ายาเสพติดในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น แทนการให้ตำรวจใช้อาวุธเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง
 
“เราต้องการเปลี่ยนแปลงจุดสนใจของผู้คน ซึ่งเป็นผลมาจากวารสารศาสตร์สันติภาพ เราควรขยายขอบเขตของเรื่องราว เพื่อให้เกิดการรับรู้และยอมรับกันและกันมากขึ้น”
 
บทบาทสื่อท้องถิ่น คือผู้ส่งต่อข้อมูลและนำคนชายขอบมาสื่อสาร
 
ในประเทศฟิลิปปินส์ประสบความสำเร็จอย่างมาก เช่น มินดานิวส์ เป็นการรับมือและตอบสนองด้วยการมีนักข่าวจำนวนมาก เพราะสำนักข่าวหลักส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวงจึงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อเท็จจริงในพื้นที่ จึงมีการจัดตั้งสื่อมวลชลท้องถิ่นเพื่อส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องให้สื่อมวลชนกระแสหลัก รวมทั้งการนำคนที่เป็นคนชายขอบเข้ามาพูดคุยและค้นหาสิ่งที่เขาอยากสื่อสาร เพื่อสะท้อนเสียงออกมาสู่สังคมใหญ่
 
คุณวานีซา แบสเซิล สุภาพสตรีที่เริ่มต้นทำงานด้านวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพในประเทศเลบานอน เธอเริ่มต้นเขียนบทความให้กับ UNDP และเขียนข่าวให้สำนักข่าวในเลบานอนตามแนวทางวารสารศาสตร์สันติภาพ วารสารศาสตร์สันติภาพเป็นส่วนหนึ่งของสื่อกระแสหลัก และสื่อท้องถิ่น Social Media เพื่อให้เกิดการสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของสังคม
 
ความท้าทายและโอกาสการสื่อสารเพื่อสันติภาพ
 
ตัวอย่างจาก wiki leak ที่มีทั้งการแจ้งเหตุและเตือนภัยให้คนรับทราบ โดยไม่จำเป็นว่าตนเองเป็นใคร ในกรณีการโจมตีของอิสราเอลในชนวนกาซ่า เกิดการเรียกร้องให้หยุดยิงในชนวนกาซ่า wiki leak สามารถเผยแพร่ข้อมูลในแง่เพื่อให้เกิดการหยุดยิง เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจต้องล่มสลาย เป็นหนึ่งในความสำเร็จของ wiki leak 
 
wiki leak แสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตยทำให้สื่อมวลชนสามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ การสร้างพันธมิตรด้านสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข้อมูล การสร้างความเป็นหุ้นส่วนเผยแพร่ข้อมูล เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสแก่นักข่าวในการใช้การสื่อสารเพื่อสร้างสันติภาพ
 
หลายแห่งมีการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการ กรพูดคุยระหว่างรัฐไทยกับขบวนการเคลื่อนไหวปาตานี อาจเป็นจุดกึ่งกลางที่จะนำเสนอข้อเท็จจริง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความต้องการแบ่งแยกดินแดน นั่นคือจุดกึ่งกลางของการพูดคุย นักสื่อสารเพื่อสันติภาพจึงควรแจ้งเตือนสาเหตุของความขัดแย้งให้ประชาชนได้รับทราบอย่างถ่องแท้และหลีกเลี่ยงการโฆษณาชวนเชื่อ
 
ข้อแนะนำการปฏิรูปวารสารศาสตร์ของไทย 
 
ข้อแนะนำการปฏิรูปวารสารศาสตร์ของประเทศไทย คือขอบเขตในการปฏิรูปความขัดแย้งนั้นต้องเกื้อหนุนมุมมองในเรื่องคุณค่าที่จะอยู่ในข่าว และต้องยอมรับว่า ทุกความต้องการของชุมชนอาจไม่ถูกตอบรับทั่งหมด เราจำเป็นต้องมีการการเคลื่อนไหวของนักข่าว มีการรวบรวมทรัพยากร ต้องมีมุมมองด้านสันติภาพและเนื้อหาของวาระของข่าวเป็นสิ่งสำคัญ ต้องสร้างความเป็นพันธมิตรกับภาคประชาสังคมและนักวิชาการ
 
การตั้ง conflict new press เพื่อนำเสนอใจกลางของความขัดแย้ง ต้องนำเสนอประเด็นอำนาจของการจัดการความขัดแย้งมากกว่าเสนอประเด็นแบ่งแยกดินแดน เสนอจุดยืนของการประนีประนอม ปรองดอง แม้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก จึงจำเป็นต้องมีการกระจายความรู้เรื่องวารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ โดยการเผยแพร่ความรู้ด้านสันติภาพ ปฏิรูปวารสารศาสตร์ เรื่องการปฏิบัติ และเนื้อหา เพื่อเป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'บิ๊กตู่ Big Ass' สำรวจเก้าอี้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งอยู่

$
0
0

ดูภาพขนาดใหญ่

22 ส.ค.2557 หลังจากที่วานนี้(21 ส.ค.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกใน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นรัฐมนตรี ส่งผลให้ได้นายกคนที่ 29 ซึ่งเป็นอีก 1 ตำแหน่งหรือเก้าอี้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ นั่ง นอกจากนี้ พล.ประยุทธ์ ยังนั่งในตำแหน่ง

1.     หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ตั้งแต่ 22 พ.ค. 57

2.     ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ตั้งแต่ 1 ต.ค. 53

3.     ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI)

4.     ประธานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ(กรอ.) ตั้งแต่ วันที่ 17 มิ.ย. 57 แต่งตั้งโดย คสช.

5.     ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตั้งแต่ วันที่ 9 มิ.ย. 57 แต่งตั้งโดย คสช.

6.     ประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ(ซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ) ตั้งแต่ วันที่ 26 มิ.ย. 57 แต่งตั้งโดย คสช.

7.     ประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) แต่งตั้งโดย คสช.

8.     ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมตั้งแต่ 30 ก.ค. 57 แต่งตั้งโดย คสช.

9.     ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)หรือ บอร์ด SME ตั้งแต่ วันที่ 12 มิ.ย. 57 แต่งตั้งโดย คสช.

10.  ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตั้งแต่ 10 ก.ค. 57 แต่งตั้งโดย คสช.

11.  ประธานกรรมการบริหารกิจการโทรทัศน์กองทัพบก

12.  ประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)

13.  ประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด

14.  ประธานกรรมการอำนวยการสนามมวยเวทีลุมพินี

15.  และ นายกรัฐมนตรี เป็นต้น

ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ ไทยพรีเมียร์ลีก

นอกจากนี้ยังมีตำแหน่ง กรรมการบริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)ซึ่งพึ่งลาออกไปเมื่อ 26 มิ.ย. ที่ผ่านมา 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อผู้ประท้วงที่เมืองเฟอร์กูสัน ใช้แมคโดนัลด์เป็น 'พื้นที่สาธารณะ'

$
0
0

จากเหตุการณ์ประท้วงอย่างหนักที่เมืองเฟอร์กูสัน รัฐมิสซูรี ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ประท้วงและนักข่าวได้ใช้แมคโดนัลด์ในย่านนั้นเพื่อเป็นแหล่งนัดพบ พักผ่อน และหลบภัย เรื่องนี้สะท้อนถึงการขาดแคลนพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ที่ควรจะมีในประเทศที่รับรองเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสหรัฐอเมริกา

ภาพจากหน้าเว็บไซต์แมคโดนัลด์ (แฟ้มภาพ/ที่มาของภาพประกอบ: Mcdonald.com)

22 ส.ค. 2557 เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวฮัฟฟิงตันโพสต์รายงานเกร็ดน่าสนใจเกี่ยวกับการประท้วงที่เมืองเฟอร์กูสัน รัฐมิสซูรี่ สหรัฐฯ โดยระบุว่าร้านอาหารแฟรนไชล์อย่างแมคโดนัลด์กลายเป็นศูนย์รวมของผู้ประท้วงและมีบทบาทสำคัญในการประท้วง

หลังจากเหตุการณ์ชายหนุ่มอายุ 18 ปีชื่อไมเคิล บราวน์ ถูกตำรวจสังหารด้วยอาวุธปืนสร้างความไม่พอใจอย่างมากจนทำให้มีการประท้วงและมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ทางการรัฐมิสซูรี่ในเวลาต่อมา

โดยเหตุการณ์ที่ไมเคิล บราวน์ถูกยิงและเหตุการณ์ประท้วงต่างเกิดขึ้นใกล้กับร้านอาหารแมคโดนัลด์ในย่านเวสต์ฟลอริสซานต์ ทำให้มีผู้ประท้วงและนักข่าวเข้าไปใช้แม็กโดนัลด์เป็น 'พื้นที่สาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ' (Informal Public Space) กล่าวคือใช้เป็นที่พักผ่อน ชาร์จโทรศัพทฺ์มือถือและกล้องถ่ายรูป รวมถึงแลกเปลี่ยนข่าวสารสถานการณ์ความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนั้น

แต่การที่แมคโดนัลด์ในย่านดังกล่าวกลายเป็นแหล่งรวมตัวกันของผู้ชุมนุมไม่ใช่เรื่องใหม่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านคนจนทั่วสหรัฐฯ ต่างใช้แมคโดนัลด์เป็นแหล่งนัดพบขางชุมชนแทนร้านกาแฟเนื่องจากอาหารที่นั่นมีราคาถูก มีที่นั่งจำนวนมาก มีห้องน้ำ อินเตอร์เน็ต Wi-Fi และการที่ร้านแมคโดนัลด์มีจำนวนมากก็ทำให้คนหันมานัดพบกันที่นี่

นอกจากนี้แมคโดนัลด์ในย่านเวสต์ฟลอริสซานต์ยังเป็นแหล่งที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ เช่นเมื่อตอนที่ตำรวจจัมกุมนักข่าว 2 คน พวกเขากำลังชาร์ตแบตเตอร์รี่โทรศัพท์อยู่ในร้าน ในช่วงคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (17 ส.ค.) มีกลุ่มผู้ประท้วงทุบกระจกหน้าร้านเพื่อนำนมมารักษาดวงตาคนที่ถูกแก็สน้ำตาจากตำรวจ

ในแง่การปฏิบัติตัวของแมคโดนัลด์ นักข่าวที่ใช้ร้านเป็นเสมือนสำนักงานชั่วคราวเปิดเผยว่าพนักงานแมคโดนัลด์สาขาเวสต์ฟลอริสซานต์ปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างดีและอนุญาตให้พวกเขานั่งอยู่เป็นเวลานานได้โดยไม่ซื้ออะไร นักข่าวบางคนถึงขั้นไปขอน้ำเปล่าจากพนักงาน

นอกจากนี้ในช่วงที่มีการปะทะกันชุลมุนผู้ประท้วงยังพากันเขียนทวิตเตอร์แนะนำว่าแมคโดนัลด์ใช้เป็นสถานที่หลบภัยได้

แม้แต่หลังจากเหตุการณ์ที่ถูกทุบกระจกและอยู่ในระหว่างสืบสวนหาผู้กระทำผิด แมคโดนัลด์ก็ยังเปิดทำการในอีกเช้าวันถัดมาและมีประชาชนจำนวนหนึ่งพากันมารวมตัวดูข่าวเรื่องผลการขันสูตรศพของบราวน์

อย่างไรก็ตามผู้จัดการสาขาของแมคโดนัลด์ได้ตัดสินใจให้ร้านในย่านเวสต์ฟลอริสซานต์ปิดในเวลา 4 โมงครึ่งช่วงเย็น จากเดิมที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัย แต่ลิซ่า แมคคอมบ์ โฆษกของแมคโดนัลด์ก็บอกว่าคนในชุมชนก็ยังคงรู้สึกขอบคุณที่ทางร้านเปิดบริการสำหรับพวกเขาในช่วงที่มีเหตุขัดแย้ง

คริส เบอร์นาโด ผู้ก่อตั้งบริการให้เช่าพื้นที่ธุรกิจในย่านกล่าวว่าแมคโดนัลด์มีดำเนินการอย่างระมัดระวังระหว่างการให้พื้นที่แก่ผู้ประท้วงกับการปกป้องลูกค้าที่พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ไม่สงบ

"คุณไม่อยากยับยั้งคนที่ต้องการแสดงสิทธิ์เหล่านี้" เบอร์นาโดกล่าว "ในขณะเดียวกันคุณก็ไม่อยากโดดเดี่ยวและกีดกันคนที่แค่เข้ามาใช้บริการ"

เรื่องนี้ทำให้เกิดมุมมองในด้านการใช้พื้นที่สาธารณะ โดยดอน มิตเชลล์ ศาตราจารย์จากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อพื้นที่สาธารณะกล่าวว่าพื้นที่อย่างแมคโดนัลด์และพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันซึ่งคนสามารถมารวมตัวกันได้จัดว่าเป็นพื้นที่เปิดให้กับสาธารณะ ทำให้เป็นเสมือนพื้นที่สาธารณะชั่วคราวได้ และพวกเขาก็มีความรับผิดชอบในการคุ้มครองความเป็นพื้นที่สาธารณะนี้

แมคโดนัลด์ในอีกหลายๆ ที่ของสหรัฐฯ ก็มีการใช้พื้นที่ในลักษณะแบบที่กล่าวมา เช่นในเทศมณฑลควีนส์ เมืองนิวยอร์กซิตี้ กลายเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนสูงอายุชาวเกาหลีหลังจากที่ร้านเบเกอรี่ของชาวเกาหลีปิดตัวไป ทำให้แมคโดนัลด์สาขาเทศมณฑลควีนส์เคยเรียกตำรวจมาเพื่อขับไล่ลูกค้าที่นั่งอยู่เป็นเวลานานหลายชั่วโมง จนกระทั่งนักการเมืองท้องถิ่นต้องเข้าไปไกล่เกลี่ย

นอกจากนี้กลุ่มโบสถ์ศาสนาคริสต์ ยังได้อาศัยพื้นที่แมคโดนัลด์หลายแห่งในสหรัฐฯ ในการจัดศึกษาพระคัมภีร์ เว้นแต่กลุ่มพระคัมภีร์เพื่อคนไร้บ้านในแคมเดน รัฐนิวเจอร์ซี ได้ย้ายสถานที่ไปจัดที่อื่นตั้งแต่เมื่อปี 2555 หลังจากที่มีลูกค้าร้องทุกข์ในเรื่องนี้

ก่อนหน้านี้แมคโดนัลด์ก็ยังเคยเป็นสถานที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประท้วง 'ออคคิวพายวอลล์สตรีท' ในย่านใจกลางเมืองแมนฮัตตันปี 2554 เพื่อใช้ห้องน้ำและใช้เป็นที่พักผ่อน

เมื่อปีที่แล้ววอลล์สตรีทเจอนัลรายงานว่าวัยรุ่นที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านก็มักจะออกมาใช้แมคโดนัลด์เป็นที่ทำการบ้านเพราะว่าเป็นร้านที่เปิดนานกว่าห้องสมุดในท้องถิ่น ซึ่งห้องสมุดประชาชนในสหรัฐฯ ยังถูกตัดงบประมาณลงร้อยละ 3.8 ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยในปี 2551

มิตเชลล์กล่าวอีกว่าการที่แมคโดนัลด์มีกระจกใหญ่ๆ รอบร้านทำให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยในช่วงที่มีการปราบปรามอย่างหนักจากตำรวจ เนื่องจากเป็นที่ๆ มีคนทั่วไปมองเห็นได้ อีกทั้งคนในพื้นที่ยังมีความรู้สึกคุ้นเคยและสำรวจพื้นที่ได้ง่าย

นี้ควรจะเป็นเรื่องเศร้าหรือเรื่องน่ายินดีกันแน่ที่แมคโดนัลด์กลายเป็นสถานที่สำหรับการเรียกร้องสาธารณะ เนื่องจากในแง่หนึ่งมันก็สะท้อนว่าพื้นที่สาธารณะเดิมๆ เช่นห้องสมุดหรือร้านค้าในท้องถิ่นถูกแทนที่ด้วยบรรษัทยักษ์ใหญ่อย่างแมคโดนัลด์และสตาร์บัคส์

"เมื่อแมคโดนัลด์กลายเป็นสถานที่รวมตัวหลักๆ มันอาจแสดงให้เห็นว่าไม่มีพื้นที่สาธารณะมากพอที่จะให้ผู้คนได้ใช้สิทธิตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ฉบับที่ 1 (ซึ่งระบุถึงเสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออก)" เบอร์นาโดกล่าว

เนื้อความรายงานของฮัฟฟิงตันโพสต์ระบุไว้ช่วงท้ายว่า "เมื่อพื้นที่สาธารณะถูกยึดครองโดยกองกำลังตำรวจที่ติดอาวุธทหาร เมื่อนั้นพวกเราคงอาจจะรู้สึกยินดีกับทางเลือกที่มี"

เรียบเรียงจาก

How One McDonald's Became The Epicenter Of The Ferguson Conflict, Huffington Post, 19-08-2014 http://www.huffingtonpost.com/2014/08/19/ferguson-mcdonalds_n_5689428.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลขาธิการ กกต. คาด ได้ สปช.เร็วกว่ากำหนดเดิม

$
0
0
ยันไม่ขยายวันรับสมัคร สปช. แม้จะมีบางด้านมีผู้สนใจน้อย เผยประชุมคณะกรรมการสรรหาทั้งหมด 4 ก.ย. ดาดได้ สปช.เร็วกว่ากำหนดเดิม 9 วัน มีผู้สมัคร 1,830 คน 

 
23 ส.ค. 2557 นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจเยี่ยมการเปิดรับบุคคลเข้ารับการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) วันนี้ ซึ่งเป็นวันที่ 10 และเป็นครึ่งทางของการเปิดรับบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็น สปช. ว่า โดยภาพรวมมีผู้มาสมัครจนถึงขณะนี้ จำนวน 1,845 แบ่งเป็นส่วนกลาง 11 ด้าน จำนวน 541 คน และคาดว่า เมื่อสิ้นสุดการรับสมัครวันที่ 2 ก. ย. จะมีผู้มาสมัครในส่วนกลางไม่น้อยกว่า 1,000 คน หรือ ทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 3,000 คน
 
“เชื่อว่า ช่วงโค้งสุดท้ายที่เหลือ 7 วัน จะมีผู้มาเข้าสมัครเพิ่มเติม และได้สั่งการเพิ่มเจ้าหน้าที่ไว้รองรับ อำนวยความสะดวกแก่บุคคลที่มาสมัครแล้ว นายภุชงค์ กล่าว
 
นายภุชงค์ กล่าวว่า สำหรับข้อห่วงใยเรื่องบางด้านของการปฏิรูปจะมีผู้สมัครน้อย อาทิ ด้านพลังงานนั้น ยอมรับว่าบางด้านมีผู้มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านน้อยจริง แต่ก็มีอดีตข้าราชการ อธิบดีกรมของหน่วยราชการต่างๆ ติดต่อสอบถามถึงหลักเกณฑ์และวิธีการ รวมถึง สนใจเข้ามาสมัครแล้ว จึงเห็นว่าเมื่อปิดการรับสมัครแล้ว จะมีจำนวนมากพอ  
 
“ยืนยันว่า ไม่จำเป็นต้องขยายเวลาการรับสมัคร เพราะได้วางโรดแมปต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว หากเลื่อนจะกระทบต่อปฏิทินที่ คสช. วางไว้” นายภุชงค์ กล่าว
 
นายภุชงค์ เปิดเผยว่าในวันจันทร์ที่ 25 ส.ค. นี้จะมีการประชุมของคณะกรรมการสรรหาด้านการศึกษา เพื่อเลือกประธานและรองประธาน และขั้นตอนการทำงานเป็นคณะแรก  และจะมีการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสรรหาด้านอื่นๆ ทั้งหมด เพื่อเลือกประธานและรองประธาน และหารือพูดคุยถึงหลักเกณฑ์ และกระบวนการสรรหา เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน  มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม ในวันที่ 4 กันยายนนี้ ที่ สโมสรกองทัพบก  ถ.วิภาวดี  
 
“เชื่อว่า หากเดินตามปฏิทินที่วางไว้ อาจจะได้ สปช.เร็วกว่ากำหนดเดิมที่วางไว้” นายภุชงค์ กล่าว
 
รับสมัคร สปช.วันที่ 10 เงียบเหงา
 
สำนักงาน กกต. 23 ส.ค. - วันที่ 10 ของการเปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นไปด้วยความเงียบเหงา มีผู้มาสมัครเพียง 20 คนเท่านั้น
 
บรรยากาศที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงเช้าวันนี้ ตั้งแต่เปิดรับสมัครเวลา 08.30 น. มีเพียงตัวแทนจากองค์กรนิติบุคคล ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจสื่อมวลชน มาสมัครจำนวน 20 คน โดย กกต.ตั้งเป้าจะมีตัวแทนนิติบุคคลมาสมัครไม่น้อยกว่า 3,000 คน ซึ่งจะเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 2 กันยายนนี้
 
สำหรับขั้นตอนการสรรหา สปช.นั้น กกต.จะส่งรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณสมบัติ ก่อนให้คณะกรรมการสรรหาทั้ง 11 คณะ คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม ส่งรายชื่อไปยัง คสช. พิจารณาคัดเลือกไม่เกิน 250 คน เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป โดยใช้เวลาทั้งหมด 50 วัน
 
สรุป 9 วัน มีผู้สมัคร 1,830 คน
 
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมานายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงสรุปยอดการเปิดรับเสนอรายชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) วันที่ 9 ว่า ตลอดทั้งวันมีองค์กรนิติกรบุคคลไม่แสวงหากำไรยื่นเสนอรายชื่อผู้ที่เหมาะสมเข้ารับการสรรหาเป็น สปช. ในส่วนของสำนักงาน กกต.กลาง จำนวน 11 ด้าน รวม 138 คน โดยเป็นองค์กรนิติบุคคลยื่นเอง 105 คน และส่งเอกสารทางไปรษณีย์จำนวน 33 คน ส่วนที่เข้าเสนอชื่อต่อคณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัดมี 285 คน รวมวันนี้ทั่วประเทศมีผู้เสนอชื่อ 423คน สรุป 9 วันของการเปิดรับการเสนอชื่อเมื่อวันที่ 14 ส.ค.-21 ส.ค. มีองค์กรนิติบุคคลที่เสนอชื่อเข้ามาจำนวน 541 คน สมัครทางจังหวัด 1,289 คน รวมทั้งสิ้น 1,830 คน คาดว่าภายในสุดสัปดาห์นี้จะมีองค์กรนิติบุคคลเสนอชื่อผู้เข้ารับการสรรหาถึง 2,000 คน และขอเชิญชวนองค์กรนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรซึ่งประสงค์จะยื่นเข้ารับการสรรหา ได้เร่งเสนอชื่อบุคคล เนื่องจากระยะเวลาเหลืออยู่ไม่มากแล้ว
 
นายภุชงค์กล่าวว่า ในวันที่ 4 ก.ย.จะมีการประชุมคณะกรรมการสรรหา 11 ด้าน อย่างเป็นทางการ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ว่าที่นายกรัฐมนตรี มามอบนโยบายก่อนที่คณะกรรมการสรรหาทั้ง 10 จะประชุมกันเพื่อเลือกประธานคณะกรรมการสรรหา ยกเว้นคณะกรรมการสรรหาด้านการศึกษาที่จะประชุมเพื่อเลือกประธานในวันที่ 25 ส.ค. ที่สำนักงาน กกต.
 
สำหรับการเข้ารับการเสนอชื่อเป็น สปช.ขององค์กรนิติบุคคลในวันนี้ มีบุคคลที่เป็นที่รู้จักของสังคมได้รับการเสนอชื่อ อาทิ สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย เสนอชื่อ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ อดีต ส.ว.สรรหา ขณะที่พรรคเพื่อแผ่นดินเสนอชื่อ พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก เข้าสรรหาด้านการเมือง ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเสนอชื่อนางจรวยพร ธรณินทร์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ พญ.ดิษยา รัตนากร ประธานมูลนิธิวิจัยประสาท ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษาเสนอชื่อนางทิพย์พาพร ตันติสุนทร ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายศึกษา เข้าสรรหาด้านการศึกษา
 
มูลนิธิจำนง รังสิกุล เสนอชื่อนายสุรัตน์ เมธีกุล อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าสรรหาด้านสื่อสารมวลชน องค์การเภสัชกรรมเสนอชื่อนายสมชาย ศรีชัยนาค รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม สมาคมพ่อค้าไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสนอชื่อ พล.ต.ต.สันติ วิจักขณา อดีตผู้บังคับการตำรวจรถไฟ สมาคมข้าราชการบำนาญมหาดไทย เสนอชื่อนายประสงศ์ศักดิ์ บุญเดช อดีต ส.ว.สรรหา เจ้ารับการสรรหาด้านบริหารราชการแผ่นดิน 
 
สมาคมการค้าเครือข่ายชาวนาไทย เสนอชื่อนายระวี รุ่งเรือง ประธานเครือข่ายชาวนาไทย เข้าสรรหาด้านการปกครองท้องถิ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เสนอชื่อนายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา อธิบดีอัยการสำนักต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด เข้าสรรหาด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และเสนอชื่อนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันฯ เข้ารับการสรรหาด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เสนอชื่อคุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร เข้าสรรหาด้านการปกครองท้องถิ่น 
 
มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เสนอชื่อนายพิสิษฐ์ ณ พัทลุง ประธานมูลนิธิ เข้าสรรหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย เสนอชื่อ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เข้าสรรหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เสนอชื่อ พล.ท.ฐิติวัจน์ กำลังเอก บุตรชาย พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก เข้ารับการสรรหาด้านการเมือง 
 
ขณะที่มูลนิธิสหพันธ์ครอบครัวเพื่อความสามัคคีและสันติภาพโลก (ประเทศไทย) เสนอชื่อนายสุทิน นพเกตุ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าสรรหาด้านสังคม มูลนิธิ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เสนอชื่อ นางไพฎิตร รัตนานนท์ ประธานกรรมการบริษัททีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด เข้าสรรหาด้านสังคม สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เสนอชื่อ พล.ต.โอสถ ภาวิไล อดีตนายกสมาคมกีฬาคนพิการ เข้าสรรหาด้านสังคม เทศบาลนครรังสิตเสนอชื่อนายเมฆินทร์ เมธาวิกูล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เข้าสรรหาด้านอื่นๆ 
 
สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เสนอชื่อนายวินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าสรรหาในด้านสังคม และเสนอชื่อนายอิบรอเหม อาดำ อดีต ส.ว.สตูล เข้าสรรหาในด้านอื่นๆ สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย เสนอชื่อนายสมชาติ เจริญวัชรวิทย์ นายกสมาคมฯ เข้าสรรหาในด้านอื่นๆ กรรมการข้าวเสนอชื่อนายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย อดีตที่ปรึกษา รมว.เกษตรฯ เข้าสรรหาด้านบริหารราชการแผ่นดิน
 
 
ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก
 
สำนักข่าวไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาค ปชช.อีสาน ทวงสิทธิฯ ความชอบธรรม กรณีที่ดิน-ป่า

$
0
0
เสวนาทางวิชาการ “การกล่าวอ้างสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม กรณีที่ดินและป่าไม้” แลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขปัญหาให้นำไปสู่ความถูกต้อง หวังนักศึกษากฎหมายอีสานจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกฎหมาย ประเด็นสิทธิชุมชน ให้เกิดความเป็นธรรมในอนาคต

 
 
 
 
 
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมประดิษฐ์มนูธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมกับองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ภาคอีสาน จัดงาน “ โครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่องการกล่าวอ้างสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม กรณีที่ดินและป่าไม้” โดยมีองค์กรภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นวิทยากร อาทิ นายนรินทร์ พรหมสาขา ณ สกลนคร (ยุติธรรมจังหวัดขอนแก่น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม)  นายวิพัฒนาชัย พิมพ์หิน (อดีตประธาน กป.อพช.ภาคอีสาน) นายพงศ์จำรัส รวยร่ำ (ทนายความสิทธิมนุษยชน) นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ (นักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชน) และ นายประทีป มีคติธรรม (เลขากรรมการคณะปฎิรูปกฎหมาย) เป็นต้น
 
นายสมนึก ตุ้มสุภาพ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า จากหลายพื้นที่ของชาวบ้านที่ได้ผลกระทบในกรณีป่าไม้ ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก มีเป้าหมายจะจัดการทวงคืนผืนป่าอย่างเข้มข้น จากนโยบายดังกล่าว แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนไปทั่วภูมิภาค ด้วยว่าในหลายพื้นที่ที่เป็นเป้าหมายนั้น ชาวบ้านส่วนมากได้อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ทำกินในพื้นที่มาก่อน แม้ในหลายพื้นทีได้มีนโยบายร่วมกับรัฐบาลมาหลายชุดสมัย ทั้งการทำข้อตกลงร่วม พิสูจน์สิทธิ์ การออกพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน และในระหว่างการแก้ไขปัญหาสามารถให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำกินได้ หากข้อตกลงไม่เกิดผลในภาคปฎิบัติตามข้อตกลงที่สัญญาไว้ ประชาชนหลายพื้นที่จะได้รับผลกระทบยิ่งขึ้นหลายเท่าตัว
 
ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาที่จะได้รับผลกระทบมากขึ้นกว่าเดิมนั้น ภาคประชาชนจากหลายองค์กรในอีสาน ตลอดจนนักวิชาการ นักกฎหมาย และคณะอนุกรรมการด้านที่ดินและป่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ได้ตระหนัก และเล็งเห็นถึงความเดือดร้อนในสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นตามมาอีกนั้น จึงได้ร่วมกันจัดงานเสวนาฯขึ้นมา เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขปัญหาให้นำไปสู่ความถูกต้อง และหวังให้เกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยเวทีครั้งนี้เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนและหลายหน่วยงาน ที่ได้มีโอกาสออกมาแสดงวามคิดเห็น แลกเปลี่ยน เป็นการแสดงตัวตนออกมาเพื่อทวงสิทธิ ทั้งในด้านการมีส่วนร่วมของการจัดการทรัพยากร และในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการยอมรับในสังคม ถึงผลกระทบในวิถีชุมชนที่พวกเขาได้รับ และได้ร่วมต่อสู้กันมายาวนาน เพื่อให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่มั่นคง และยั่งยืนตลอดไป
 
“ถือว่าได้รับเกียรติจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เข้ามากล่าวเปิดเวทีเสวนาฯ และ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ในการมาร่วมกล่าวรายงานชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ชองเวที ทั้งยังเป็นการเสริมเสร้างหลักสูตรการอบรมและการเรียนการสอนในเรื่องสิทธิมนุษยชน ให้นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ได้เข้ามาร่วมรับฟังและเรียนรู้ถึงกลไกที่เข้มแข็งของการขับเคลื่อนในกระบวนการต่อสู้ของภาคประชาชนต่อปัญหาที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งตนหวังว่านักศึกษาที่เรียนด้านกฎหมายนั้น สิ่งที่ได้รับในงานเสวนานี้ จะทำให้เขาค่อยๆซึมซับถึงกระบวนการบางส่วนของกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และในอนาคตพวกเขาจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกฎหมาย เช่น ในประเด็นสิทธิชุมชน ให้เกิดความเป็นธรรม และเท่าเทียม ต่อไปในทุกภาคส่วน”  ผ.อ.ศูนย์กฎหมาย กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ด้านที่ดินและป่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร่วมกล่าวสรุปและปิดการเสวนา โดยประธานอนุกรรมการสิทธิฯ กล่าว ถึงที่มาของปัญหาผลกระทบในประเด็นที่ต่างกล่าวกันมานั้น ในหลายจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในปีนี้ทางกรรมการสิทธิฯได้รับเรื่องร้องเรียนมากมาย
 
ในส่วนของภาคอีสานนั้น จากที่ได้มารับฟังปัญหาในเวทีนี้ โดยส่วนตัว ตนรู้สึกภาคภูมิใจ ที่คนอีสานได้ร่วมกันลุกขึ้นมาแสดงตนในการทวงสิทธิ เพื่อไม่ให้ต้องกลับไปตกอยู่ในสภาพปัญหาเดิมที่ทุกข์ยากอีกและจะร่วมกันปกป้องรักษาชุมชนไว้ให้มั่นคง และยั่งยืนต่อไป ฉะนั้นให้ทุกพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ รวบรวมข้อมูลส่งมายังคณะกรรมการสิทธิฯ แล้วตนจะดูทั้งหมด เพื่อที่จะได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับฟังปัญหา และให้ประชาชนทุกภาคส่วนมาร่วมชี้แจงข้อเท็จจริง โดยตนจะเข้าร่วมรับฟังด้วย เพื่อจะได้ผลักดันให้มีการดำเนินการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images