Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

ทหารปล่อยตัว นักศึกษา ม.มหาสารคาม แล้ว หลังกักตัวรอบ 2 มา 4 วัน

$
0
0

21 ก.ค.2557 นายปิยรัฐ จงเทพ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาคบัณฑิต) สมาชิกศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย หรือ ศนปท. แจ้งกับผู้สื่อข่าวว่า เมื่อเวลา 17.30 น. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารได้ปล่อยตัวนายนันทพงษ์ บุญพงษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ถูกควบคุมตัวเป็นครั้งที่ 2 แล้ว

หลังจาก พ.ต.ชายแดน เกาะแก้ว หัวหน้าฝ่ายยุทธการและการข่าว กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดมหาสารคาม ได้ทำหนังสือเรียกตัวนายนันทพงษ์ ให้ไปรายงานตัวที่กองบังคับการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดมหาสารคาม บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้สมัครประธานาธิบดีอินโดนีเซียขู่ไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง

$
0
0

"ปราโบโว" อดีตนายทหารซึ่งผันตัวลงชิงประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ขู่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งที่ "โจโกวี" มีแนวโน้มเป็นผู้ชนะ โดยเรียกร้องให้ กกต. นับคะแนนใหม่ - ส่วนประธานาธิบดีที่กำลังหมดวาระระบุว่าการเลือกตั้งเป็นไปอย่างมีสันติและประชาธิปไตย

ปราโบโว สุเบียนโต ผู้สมัครจากพรรค Gerindra (ที่มา: วิกีพีเดีย)

21 ก.ค. 2557 - วันนี้ (21 ก.ค.) ว่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ปราโบโว สุเบียนโต กล่าวว่าเขาจะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และกล่าวหาคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าไม่ตั้งใจสอบสวนข้อร้องเรียนการโกงเลือกตั้ง ทั้งนี้ตามรายงานของ สำนักข่าว ABC ของออสเตรเลีย

โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งอินโดนีเซียจะประกาศผลการเลือกตั้งในวันอังคาร (22 ก.ค.) นี้

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งเป็นการชิงชัยระหว่าง ปราโบโว สุเบียนโต อดีตนายทหาร อดีตลูกเขยของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต ที่ผันตัวลงเล่นการเมืองจากพรรค Gerindra และโจโก วีโตโต อดีตนายกเทศมนตรีเมืองสุระกาตา และผู้ว่าราชการการกรุงจาการ์ตา เกาะชวา จากพรรค PDI-P  โดยในการเฝ้าสังเกตการนับคะแนนโดยหน่วยงานเอกชนเมื่อสัปดาห์ก่อน ภายหลังการเลือกตั้ง 9 ก.ค. ที่ผ่านมา พบว่าคู่แข่งของปราโบโว คือโจโก วิโดโด หรือ "โจโกวี" มีแนวโน้มจะเป็นผู้ชนะ

อย่างไรก็ตาม สุเบียนโต กล่าวว่า ต้องมีการจัดเลือกตั้งใหม่ในพื้นที่ซึ่งกลุ่มเฝ้าระวังการเลือกตั้งแห่งหนึ่งเสนอมา "ถ้าพวกเขาไม่ยอม ก็จะถือเป็นการกระทำผิด สิ่งนี้จะต้องถูกตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของกระบวนการเลือกตั้งทั้งหมด" สุเบียนโตกล่าวกับผู้สื่อข่าว

ด้านฟาดลี ซอน รองเลขาธิการพรรคเกรินดรา ที่สุเบียนโตสังกัด กล่าวว่า พบหลักฐานจำนวนมากแสดงว่ามีการโกงการเลือกตั้ง และเรียกร้องคณะกรรมการการเลือกตั้งแก้ไขปัญหาด้วยการนับคะแนนใหม่ "เราจะไม่ยอมรับผล" เขากล่าว และระบุว่าการประกาศผลการเลือกตั้งควรเลื่อนออกไปจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข ขณะที่เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่ให้คำตอบดังกล่าว

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีซุซีโล บัมบัง ยุโดโยโน เรียกร้องชาวอินโดนีเซียให้ช่วยกัน "ปกป้องขั้นตอนสุดท้าย" ของการเลือกตั้งประธานาธิบดี และกล่าวว่าการเลือกตั้งเมื่อ 9 ก.ค. เป็นประชาธิปไตยและมีสันติภาพ

ทั้งนี้ยุโดโยโนแสดงความเห็นระหว่างการพบกับสองผู้สมัครประธานาธิบดี "ผมขอเรียกร้องประชาชนอินโดนีเซียทั้งมวล ปกป้องขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเลือกตั้ง"

สำหรับอินโดนีเซียเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม G-20 โดยหลังเหตุปราบปรามอย่างนองเลือดที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อย ทำให้ประธานาธิบดีซูฮาร์โตซึ่งครองอำนาจยาวนานนับสามทศวรรษ ยอมลงจากอำนาจในปี พ.ศ. 2541 และนับจากนั้นมาประเทศก็เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงมาแล้ว 3 ครั้ง

พอล โรลด์แลนด์ นักวิเคราะห์ซึ่งอยู่ในจาการ์ตา ระบุว่า เป็นเรื่องยากที่สุเบียนโตจะแสดงหลักฐานที่เพียงพอที่จะทำให้การประกาศผลการเลือกตั้งเลื่อนออกไป

"ทีมงานของปราโบโวจำต้องหาไอเดียบางอย่าง เพื่อแสดงเหตุความไม่ชอบมาพากลเพื่ออธิบายและร้องเรียนคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ให้ประกาศผลการเลือกตั้ง"

"ปัญหาเรื่องกระบวนการนับคะแนน หรือแม้แต่เหตุข่มขู่ หรือหลักฐานว่าเกิดความรุนแรงในวันเลือกตั้ง ยังไม่ใช่หลักฐานที่มีความสำคัญเพียงพอ" เขากล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: เสียงจากชาวบ้านโนนดินแดง เมื่อคนออกจากป่า ..ไม่มีที่ไป

$
0
0

พื้นที่ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ กลายเป็นพื้นที่ร้อนเพราะมีข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านหลายหมู่บ้านกับทหารและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เนื่องจากพื้นที่อาศัยและทำกินของชาวบ้านตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่และเจ้าหน้าที่ก็กดดันอย่างหนักให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่

เรื่องราวมีความเป็นมาที่ซับซ้อน (อ่านได้ที่นี่) อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ป่านั้นเริ่มต้นอย่างเข้มข้นทันทีหลัง คสช.มีประกาศ 64/2557  เรื่อง “การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้”  มีชาวบ้านบางส่วนที่ดื้อ-สู้ ไม่ยอมย้ายเพราะไม่รู้จะย้ายไปไหน บางส่วนที่อยู่มานานก็อพยพโยกย้ายมายังที่ที่ทางการจัดไว้ให้ และมีอีกส่วนที่ย้ายออกมาแล้วไม่รู้จะไปไหน เพราะเป็นส่วนของครอบครัวที่ขยายมาจากครอบครัวที่อยู่ดั้งเดิม หรือเข้าไปจับจองพื้นที่หลังสัมปทานเอกชนหมดเมื่อไม่กี่ปี เพราะทางการเคยให้สัญญาปากเปล่าไว้ว่าจะจัดสรรที่ดินให้ชาวบ้าน

ในวีดิโอคลิป คือชาวบ้านบางควาย  อพยพออกจากพื้นที่หลังถูกผลักดันหนัก พวกเขามาขออาศัยศาลาวัดลำนางรองเป็นที่พักชั่วคราวไปพลางระหว่างที่ยังหันซ้ายหันขวาไม่รู้จะไปทางไหน และขอร้องให้ทางการช่วยจัดสรรที่อยู่ให้พวกเขาซึ่ง มีอยู่ราว 16 ครอบครัวด้วย

พวกเขาอยู่ที่วัดจนกระทั่ง 2-3 วันก่อน ตัวแทนชาวบ้านแจ้งว่า ทางอำเภอได้มาไล่ไม่ให้ชาวบ้านอยู่ที่วัดอีกต่อไป และไม่มีการจัดสรรพื้นที่ให้ชาวบ้านอยู่อาศัยด้วย พวกเขาไม่มีที่ไปจึงได้ไปขออาศัยศูนย์ทอผ้าของผู้ใหญ่บ้านในแถบนั้นเพื่อพักพิง ด้วยความสงสารผู้ใหญ่บ้านจึงยินยอมแม้จะถูกกดดันจากหน่วยงานรัฐก็ตาม ชาวบ้าน 50 กว่าชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ผู้สูงวัย และเด็กจึงมีเพิงพักชั่วคราว

ปัจจุบันชาวบ้านที่ยังพอมีกำลังจะออกไปรับจ้างถอนมันซึ่งก็ไม่ได้มีงานทุกวัน ส่วนผู้หญิงก็จะหาเก็บผัก หาปลาเพื่อเลี้ยงดูคนแก่และเด็ก รวมทั้งพยายามให้เด็กๆ กลับไปเรียนหนังสือในโรงเรียนใกล้บ้านอีกครั้งเพราะอยู่ในช่วงใกล้สอบ

“เราไม่รู้จะไปไหนจริงๆ ถ้ามีที่ไปเราก็ไปแล้ว เราพยายามอธิบายแต่ทางการก็ไม่ฟัง หลังพิงฝาแล้ว จะทำอะไรก็ทำเถิด เราเป็นแค่ชาวบ้าน” ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว

 

(ชมคลิปวิดีโอสัมภาษณ์ตัวแทนชาวบ้านเมื่อครั้งที่พวกเขายังอาศัยอยู่ที่วัดลำนางรอง ขอขอบคุณทีมงานอาสาสมัครที่บันทึกบทสัมภาษณ์นี้)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ปัญญาชนไทยกับความทันสมัย

$
0
0

 

ปฏิกิริยาของคนไทยบางพวกต่อการกดดันของ "ฝรั่ง" (สหรัฐ, อียู และออสเตรเลียเป็นสำคัญ) ในทำนองให้ตอบโต้ด้วยการเลิกใช้สินค้าฝรั่ง หรือเลยไปถึงการทำให้ความสัมพันธ์เย็นชาลง ไม่สร้างความแปลกใจอะไรให้ผม เพราะเคยชินเสียแล้วที่จะได้เห็นคนเหล่านี้วิ่งตามเส้นทางของผู้มีอำนาจ และมักวิ่งให้เลยหน้าไปหนึ่งก้าวเสมอ เพราะอยู่ข้างหน้า ท่านจะได้เห็น อยู่ข้างหลังท่านอาจไม่เหลียวไปมองก็ได้

แต่ผมตระหนกและออกจะวิตกเมื่อปัญญาชนชั้นนำบางท่าน ออกมาโจมตีฝรั่งอย่างเมามัน บางท่านในบุคคลเหล่านี้เป็นที่นับถือของผมตลอดมา (และก็ยังนับถืออยู่เหมือนเดิมแม้จนบัดนี้) ไม่ใช่ผมตระหนกที่ฝรั่งถูกโจมตี หรือวิตกว่าฝรั่งจะตกที่นั่งลำบากในเมืองไทย แต่ตระหนกและวิตกแทนคนไทยต่างหาก เพราะเราจะเอาตัวรอดต่อไปในโลกของฝรั่งได้อย่างไร หากความเข้าใจต่อฝรั่งของปัญญาชนชั้นนำตื้นเขินและหยาบเช่นนี้

ที่ผมเรียกว่าโลกของฝรั่งนั้น ที่จริงคือความทันสมัย ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ผิวขาว ฝรั่งที่เรารู้จักในรอบร้อยกว่าปีที่ผ่านมานั้น ไม่เหมือนฝรั่งที่เข้ามาในสมัยอยุธยา เพราะฝรั่งรุ่นนี้เป็นตัวแทนของความทันสมัย (modernity) พวก "มัน" เองก็คิดว่าตัวเป็นความทันสมัย คนไทยทั้งชนชั้นนำและสามัญชนก็เข้าใจ (ไม่ว่าอย่างผิดๆ หรืออย่างถูกต้อง) ว่า "มัน" คือความทันสมัย ชนชั้นนำเลือกคบกับฝรั่งไม่ใช่เพราะความจำเป็นอย่างเดียว แต่เพราะอยากได้ความทันสมัยมาครอบครองบ้างต่างหาก (นับตั้งกำปั่นไฟ, ปืนกล, กล้องดูดาว, วิธีคำนวณดาราศาสตร์, การปกครองแบบรวมศูนย์ ฯลฯ)

แต่ความทันสมัยไม่ใช่หอดูดาว หรือเรือนก่ออิฐสองชั้น อย่างที่เราเคยรับจากฝรั่งในสมัยพระนารายณ์ โดยสรุปก็คือความทันสมัยไม่ใช่มีเพียงวัตถุ แต่มีการจัดองค์กรทางสังคม, ทางเศรษฐกิจ และทางการเมือง รวมทั้งความคิดและวิธีคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิมด้วย ความทันสมัยเป็นเรื่องการเปลี่ยนรูปทางสังคม (Social Transformation) ไม่ใช่เรื่องวัตถุและวิธีการใหม่ๆ ที่อำนวยอำนาจ, ทรัพย์ และความสะดวกแก่มนุษย์เท่านั้น

และเพราะความทันสมัยไม่ใช่วัตถุเพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมสมัยใหม่ จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเปลี่ยนส่วนอื่นๆ ที่เป็นนามธรรม เช่นการจัดองค์กรทางเศรษฐกิจ-สังคม, การเมือง, การถ่ายทอดและแสวงหาความรู้, ฯลฯ รวมแม้แต่ระบบคุณค่าก็ถูกกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะวัตถุกับการจัดองค์กรทางด้านต่างๆ มันแยกออกจากกันไม่ได้

พลานุภาพของปืนไฟในสงครามเกิดขึ้นได้ ก็เพราะการสร้างกำลังยิงที่หนาแน่นและต่อเนื่อง จะทำอย่างนี้ได้ก็ต้องฝึกทหาร จะฝึกทหารได้ก็ต้องมีกองทัพประจำการ จะมีกองทัพประจำการได้ก็ต้องเลิกการควบคุมประชาชนด้วยระบบไพร่ จะเลิกระบบไพร่ได้ ชนชั้นปกครองก็ต้องมีแหล่งรายได้ทางอื่น จะมีรายได้ทางอื่น สังคมก็ต้องเปลี่ยนเข้าสู่เศรษฐกิจที่ผลิตป้อนตลาด ต่อเนื่องเป็นห่วงโซ่ต่อไปอีกมาก จนกระทั่งสังคมไม่คงรูปอย่างเดิมอีกต่อไป อยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ก็มีปืนไฟใช้ จำนวนมากเสียด้วย แต่การจัดองค์กรทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ไม่อนุญาตให้เราใช้ปืนไฟอย่างมีพลานุภาพได้ จึงได้แต่แจกให้ราชองครักษ์ถือในขบวนเสด็จ เพราะไม่ไว้ใจให้คนอื่นถือ เพราะถึงอย่างไรปืนไฟก็เป็นอาวุธร้ายแรง

นี่เป็นปัญหาใหญ่ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม กล่าวคืออยากได้ความทันสมัยเฉพาะส่วนที่เป็นวัตถุ แต่ไม่อยากได้ส่วนที่เป็นนามธรรมกว่านั้น โดยเฉพาะการจัดองค์กรทางสังคม, การเมืองและเศรษฐกิจวัฒนธรรม ร.5 บอกเจ้านายและขุนนางซึ่งกราบทูลให้เปลี่ยนแปลงการปกครองว่า สยามยังไม่พร้อม การเปลี่ยนไปสู่ระบบปาลีเมนต์มีแต่จะทำให้เกิดความแตกสามัคคี ร.6 ยืนยันอย่างเดียวกัน ซ้ำยังทรงตำหนิการใช้ชีวิตของคนไทย "รุ่นใหม่" ว่าเอาอย่างฝรั่งอย่างมืดบอด (วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่แสดงลักษณะเสมอภาคชัดเจนเกินไป เช่นในคาบาเรต์ สถานะของแขกอยู่ที่เงินในกระเป๋า ไม่ใช่กำเนิด) ร.7 ทรงตระหนักดีถึงปัญหาของสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม แต่ก็ทรงเห็นว่าสยามยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนไปสู่ระบอบปกครองแบบอื่นอยู่นั่นเอง และในที่สุดก็เกิดการอภิวัฒน์

ปัญญาชนของสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ก็เหมือนปัญญาชนชั้นนำบางท่านในปัจจุบัน คืออยากมีความทันสมัย (หรืออยากเป็นฝรั่ง) ทางวัตถุเท่านั้น แต่พยายามดึงสังคมไว้มิให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ความทันสมัยจริง และไม่ต่างกันอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในที่สุดแล้ว ก็พากันอิงอาศัยอุดมการณ์ชาตินิยมหรือ "ความเป็นไทย" เพื่อหน่วงให้สังคมไทย "ทันสมัย" เฉพาะแต่ด้านวัตถุ

ผมพูดประหนึ่งว่าชาตินิยมกับความเป็นไทยนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกันมาก ลัทธิชาตินิยมตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าพลเมืองทุกคนเท่าเทียมกัน เป็นเจ้าของชาติร่วมกันอย่างเสมอหน้า อิสรภาพของชาติมีความสำคัญไม่แต่เพียงเพราะ"ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส"เท่านั้น แต่เพราะการยึดครองของข้าศึก ย่อมทำลายความเสมอภาคที่เป็นฐานของชาติไป ความรักชาติจึงจะหมายถึงอย่างอื่นไม่ได้นอกจากรักความเสมอภาคของเพื่อนร่วมชาติทุกคน

แต่ความเป็นไทยไม่ได้มีความหมายใกล้เคียงอย่างใดกับชาตินิยมเลย เพราะความเป็นไทยแทบจะประกาศอย่างเปิดเผยว่าเป็นปฏิปักษ์กับความเสมอภาค ความเป็นไทยต้องการรักษาอัตลักษณ์ไทยไว้ให้คงเดิมทุกอย่าง ทั้งส่วนที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่นพื้นที่ 4.6 ต.ร.กม.บนแผนที่ หรือการนั่งพับเพียบ และความเป็นสังคมช่วงชั้นที่เคร่งครัดและค่อนจะขึงตึง ความเป็นไทยจึงเครื่องมือสำคัญในการตรึงโครงสร้างอำนาจ, โครงสร้างผลประโยชน์, โครงสร้างช่วงชั้นทางสังคม, โครงสร้างความสัมพันธ์ ฯลฯ ไว้ให้หยุดนิ่งกับที่ โดยไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลงเลย

(ผมควรกล่าวไว้โดยไม่ต้องอ้างฝรั่งให้รำคาญใจว่า อัตลักษณ์เป็นเรื่องสมมติ ทั้งคนอื่นสมมุติให้เราและเราสมมติตัวเองและคนอื่นไปพร้อมกัน แต่อัตลักษณ์เป็นสมมติที่มีพลังกำหนดวิธีคิด วิธีปฏิบัติ และการดำเนินชีวิตของผู้คนอย่างสูง ด้วยเหตุดังนั้น อัตลักษณ์จึงมักถูกสร้างขึ้นเป็นอุดมคติ เพื่อการจัดสรรอำนาจ, โภคทรัพย์ และเกียรติยศในทุกสังคม รวมทั้งสังคมไทย)

ผ่านมาเกินศตวรรษแล้ว ปัญญาชนไทยจำนวนหนึ่งก็ยังง่วนกับการรักษาความเป็นไทยเพื่อต่อต้านความทันสมัย เหมือนกับปัญญาชนเมื่อร้อยปีที่แล้ว

ทั้งนี้ผมไม่ได้หมายความว่า ไม่มีอะไรดีๆ ในอุดมคติความเป็นไทยเอาเสียเลย แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า สิ่งที่เราเห็นว่า "ดี" นั้นมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือ "ดี" โดยมีเงื่อนไข เช่นเหมาะกับกาลสมัยหรือความเป็นจริงของสังคมสมัยหนึ่งหรือสถานการณ์หนึ่งๆ กับสองคือ "ดี" อย่างอกาลิโก ดีมาตั้งแต่โบราณและยังดีอยู่แม้ในปัจจุบัน (ในฐานะลูกเจ๊ก ก็ขอยกตัวอย่างเช่นความกตัญญูเป็นต้น)

แต่อย่าลืมสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนนะครับว่า อะไรดีหรืออะไรชั่วนั้น เกิดจากการปรุงแต่งของกิเลสเราเอง จึงไม่มีอะไรดีอย่างเดียวหรืออะไรชั่วอย่างเดียว เพราะดีชั่วล้วนเป็นสังขตธรรม คือเป็นความจริงที่มีเงื่อนไข ดังนั้น จะสืบทอดสิ่งดีๆ เหล่านั้นให้เป็นทางเลือกของสังคมไทยต่อไป จึงต้องคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ของสังคม "ทันสมัย" ที่เปลี่ยนไปแล้ว หนึ่งในวิธีที่จะทำอย่างนั้นได้ คือไม่ฟูมฟายกับอะไรที่ถือว่าเป็น"ไทยๆ" แต่ต้องศึกษาจนจับหัวใจของมันได้ คือจับได้ว่าในเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ, สังคม, การเมืองอะไร ที่ทำให้สิ่งนั้นมันดีหรืองดงามหรือเหมาะสม และหนึ่งในปัญญาชนชั้นนำที่ออกมาด่าฝรั่งในตอนนี้ ก็ได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงในงานวิชาการของท่านไว้แล้ว ด้วยการชี้ให้เห็นเงื่อนไขอันสลับซับซ้อนเบื้องหลังระบบคุณค่าแบบไทยๆ

ผมไม่คิดว่า การเปลี่ยนผ่านทางสังคมเข้าสู่ความ "ทันสมัย" เป็นความดีในตัวเอง ก็เหมือนสังคมประเภทอื่นๆ สังคม "ทันสมัย" ก็มีการเอารัดเอาเปรียบกันระหว่างคนในสังคมเดียวกัน และคนต่างสังคม หรือระหว่างชาติเหมือนกัน (ก็อย่างที่ว่าไม่มีอะไรดีอย่างเดียวหรือเสียอย่างเดียวตามคำสอนของพระพุทธเจ้าไงครับ) เมื่อเราเปลี่ยนเข้าสู่สังคมเกษตรกรรมในสมัยหินใหม่ คนที่หาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่าก็เสียเปรียบ จำนวนมากของพวกเขาไม่ต้องการทำเกษตร เพราะชีวิตแบบเดิมทำงานน้อยกว่าและอิ่มกว่า (นักมานุษยวิทยาพิสูจน์เรื่องนี้มาหลายกรณีแล้ว) แต่เงื่อนไขทางการเมือง, สังคม และวัฒนธรรมไม่เอื้ออำนวยให้ล่าสัตว์และเก็บของป่าเป็นหลักอีกต่อไป ในที่สุดจำนวนมากก็ต้องหยุดเคลื่อนย้าย ตั้งภูมิลำเนาถาวรเพื่อปลูกธัญพืช สะดวกแก่รัฐซึ่งมีอำนาจมากขึ้นสามารถเก็บส่วยได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

ความ "ทันสมัย" ทำให้คนไปมาหาสู่ถึงกันได้กว้างขึ้นไกลขึ้น ในเวลาอันสั้นลงด้วย โอกาสนี้ถูกใช้ไปทั้งในทางดีและไม่ดี เช่นจะเอาเปรียบกันก็เอาเปรียบได้กว้างไกลกว่าเก่ามาก (และลึกลงไปกว่าเก่ามากด้วย) ครอบงำกันก็ง่ายขึ้น จะขุดโคตรอเมริกัน อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือออสซี่มาด่าอย่างไรก็ได้ ล้วนเป็นเรื่องจริงทั้งนั้น แต่เราจะหลุดรอดจากการเอารัดเอาเปรียบและการครอบงำจากเขาอย่างไร เอาแต่ด่าแบบถูลู่ถูกังไปแบบนี้ไม่ช่วยอะไร

ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องเข้าใจความ "ทันสมัย" ให้ลึกและรอบด้านกว่านี้มากนัก ในขณะที่ต้องสำนึกถึงความบกพร่องของความ "ทันสมัย" ก็ต้องสำนึกถึงพลังใหม่ๆ ที่ความ "ทันสมัย" มอบให้เราด้วย จะใช้ประโยชน์จากความรู้เหล่านี้อย่างไร สิ่งที่ต้องเสียก็ต้องเสีย (เช่นค่าลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร) แต่จะเสียอย่างไรให้คุ้มค่าเป็นเรื่องสำคัญกว่า ในขณะเดียวกันก็อย่าลืมพลังใหม่ๆ ที่ความ "ทันสมัย" มอบให้ด้วย เช่น ประชาธิปไตย เพราะมันเป็นกลวิธีที่สามารถระดมพลังกายและพลังสมองของพลเมืองทุกคนได้อย่างทั่วถึง

ระหว่างประชาธิปไตยกับความเป็นช่วงชั้นที่แข็งโป๊กของไทย ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเลือกอย่างใดก็มีคนได้กับคนเสียทั้งนั้น ด้วยเหตุดังนั้น วิธีการเลือกจึงควรเปิดให้ทุกฝ่ายสามารถเข้ามาต่อรองอย่างเท่าเทียมกัน และไม่ว่าเสียงส่วนใหญ่จะตัดสินใจอย่างไร การต่อรองอย่างเท่าเทียมยังเปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยได้ต่อรองกระบวนการเปลี่ยนผ่านและแม้แต่ต่อรองการชดเชยต่อความสูญเสียของพวกเขา

ด้วยเหตุดังนั้น เมื่อฝรั่งคัดค้านการทำรัฐประหารในประเทศไทย จึงมีคนเห็นด้วยกับฝรั่งอยู่ไม่น้อย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขาเป็น "ขี้ข้า" อเมริกัน พวกเขารู้ดีถึงพิษภัยของฝรั่งหรือความ "ทันสมัย" แต่เขาเลือกที่จะรับฝรั่งในเรื่องที่เขาเห็นว่าสำคัญแก่บ้านเมือง เขาอาจเลือกผิดได้เท่ากับที่ท่านอาจเลือกผิด แต่เราจะรู้ผิดรู้ถูกได้อย่างไร โดยไม่มีเสรีภาพที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างอิสระ

ทั้งหมดที่พูดมานี้ ปัญญาชนชั้นนำที่ผมนับถือก็รู้ ซ้ำรู้ดีกว่าผมด้วยซ้ำ แต่ในฐานะปุถุชนด้วยกัน เราคงถอนอคติออกไปให้หมดไม่ได้ อย่างมากที่ทำกันด้วยความนับถือเหมือนเดิมได้ก็คือ กราบเรียนเตือนให้รู้ตัวว่านั่นคืออคติ


...............

ที่มา:มติชนออนไลน์
เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนรายวัน 21 ก.ค.2557

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฟังเหตุผล 3 แกนนำองค์การเสรีไทย ปฏิเสธกลับไทยตามคำเชิญ “ประยุทธ์”

$
0
0


หมายเหตุ– หลังจาก ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. ได้เอ่ยปากเชิญคนไทยที่ต่อต้าน คสช. และลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ ให้กลับมา เพื่อร่วมแก้ปัญหาบ้านเมือง โดยพล.อ.ประยุทธ์ยืนยันที่จะให้ อภัยและให้ความเป็นธรรม ไม่ควรจะขัดแย้งกัน แต่ควรจะมาร่วมมือกันนำพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีกว่าในวันข้างหน้า  และนี่คือท่าทีของคนไทยที่คัดค้าน คสช. ซึ่งขณะนี้หลบหนีอยู่ในต่างประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
เลขาธิการ องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย
อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

คิดอย่างไรต่อคำเชิญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะให้กลับประเทศ
เป็นคำพูดของเผด็จการทหาร ที่ล้มรัฐบาลของประชาชน โดยร่วมมือกับ กปปส.และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่เห็นหัวประชาชน และไม่ฟังเสียงประชาชน แล้วจะเชื่อคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ได้อย่างไร

พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันจะให้ความเป็นธรรม เมื่อเดินทางกลับมา
ความเป็นธรรม ที่พล.อ.ประยุทธ์พูดคืออะไร ในเมื่อพล.อ.ประยุทธ์เองนั่นแหละที่ชิงความเป็นธรรมจากประชาชนไป คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์จึง ไม่มีสัจจะอะไรทุกคนทราบดีว่า ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ สัมภาษณ์หลายครั้งว่า ปัญหาการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง และยืนยันจะไม่มีการปฎิวัตร การที่ พล.อ.ประยุทธ์เข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยเชิญทั้งสองฝ่ายมาไกล่เกลี่ยเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ แต่เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ ก็ทุบโต๊ะ ทำการปฎิวัตร แสดงว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีการเตรียมการวางแผนล่วงหน้าร่วมกับกปปส. ไว้ก่อนแล้ว นี่คือการโกหก ไหนว่าจะแก้ปัญหาบ้านเมืองโดยไม่มีการปฎิวัตร ดังนั้น การที่ผมตัดสินใจหนีออกมา เพราะไม่เชื่อมั่น พล.อ.ประยุทธ์ ที่ไม่มีสัจจวาจาอะไร

ถ้าจะกลับประเทศไทย มีเงื่อนไขอย่างไร
ผมจะกลับประเทศไทย ก็ต่อเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ คสช.จะต้องพ้นไปจากอำนาจ และ คณะ คสช. ต้องเป็นฝ่ายมารายงานตัวกับ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะเป็นรัฐบาล เพราะ พล.อ.ประยุทธ์เป็นกบฎ

จะกลับประเทศไทยเมื่อไหร่
เมื่อประชาชนคนไทยได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา แล้วนำไปสู่การ เลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ทหารจะต้องถอนตัวออกจากการเมือง

ถ้าไม่กลับตามคำเชิญอาจจะถูกมองว่าไม่จริงใจที่จะแก้วิกฤติของประเทศ

คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นการสร้างภาพให้ตัวเองมากกว่า และผมก็ไม่เชื่อด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์จะให้อภัย เพราะยังมีการตั้งข้อหา มีการยึดทรัพย์ ยึดหนังสือเดินทาง หรือการสั่งระงับการทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับคนที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช. ผมจึงไม่เชื่อว่า คสช.จะให้ความเป็นธรรมและให้อภัยพวกผม

ขณะนี้ประเทศไทย อยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการทหาร พูดความจริงก็ไม่ได้ ผมจึงต้องออกมาให้พ้นอำนาจเผด็จการทหารที่กดหัวประชาชนอยู่ และเพื่อบอกให้ชาวโลกได้รับรู้ จะเคลื่อนไหวกดดันให้ คสช. ยอมคืนอำนาจกลับสู่ประชาชน และคืนประชาธิปไตยกลับมา

การที่ พล.อ.ประยุทธ์ เชิญชวนให้กลับมา เพื่อร่วมแก้ปัญหาของบ้านเมืองนั้น เป็นการพูดเพื่อสร้างภาพให้เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีจิตใจเมตตา ให้อภัย แต่แท้จริงแล้ว เป็นการพูดเพื่อเป็นข้ออ้างนำมา กดขี่พวกผมให้หนักขึ้นอีก โดยจะนำไปอ้างว่า ให้โอกาสแล้ว แต่ไม่กลับมา ไม่หวังดีกับประเทศเป็นเพียงคำพูดที่ฉาบยาพิษของ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อที่จะใช้อำนาจเผด็จการทำลายล้างพวกผมต่อไปมากกว่า

000


จรัล ดิษฐาภิชัย
อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คิดอย่างไรกับ คำเชิญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาที่จะให้อภัย คืนความเป็นธรรมให้เพื่อร่วมแก้ปัญหาบ้านเมืองไปด้วยกัน

เป็นคำเชิญที่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อมากว่า และเท่ากับเป็นการโจมตีคนที่หนีออกไปต่างประเทศว่ามีความผิด เมื่อกลับมาก็จะยกโทษให้ หรือแก้ความผิดให้ ซึ่งไม่ใช่ แต่คนที่มีความผิดคือ พล.อ.ประยุทธ์ มากกว่าที่ทำการัฐประหาร ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย  ดังนั้นคำเชิญนี้ จึงไม่มีความจริงใจ ถ้าจริงใจ พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องคืนความเป็นประชาธิปไตยให้กับประชาชน เลิกการจับกุมประชาชนที่คัดค้าน คสช. ปล่อยตัวถูกต้องขังตามประกาศ คสช. หยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ยกเลิกการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ยกเลิกการส่งทหารเข้าไปค้นบ้าน จับกุม ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช. นี่คือ จุดเริ่มต้นของการให้อภัยและการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในการพัฒนาประเทศ

การที่พล.อ.ประยุทธ์ พูดว่า จะสู้กันต่อไปทำไม แสดงว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เข้าใจเรื่อง วิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย เขาต้องการให้คนไทยอยู่ในความสงบไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ซึ่งการต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตยจะจบแบบนี้ไม่ได้

จะจบแบบไหนถึงจะยอมรับได้

ชัยชนะของการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตย คือจะต้องได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์กลับคืนมา ไม่ใช่ จะจบกันที่ศาลโดยการให้อภัยโทษกันแล้วจบแต่จะต้องจบลงด้วยการที่ประชาชนได้สิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริง ตามระบอบประชาธิปไตย
พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า ประชาธิปไตยของไทยที่ผ่านมามีความพกพร่องและสร้างปัญหามากมาย

ระบอบประชาธิปไตยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีจุดเด่น จุดด้อย ในทุกประเทศ แต่จุดอ่อน หรือจุดด้อยเหล่านั้น ก็สามารถแก้ไขได้ในตัวของมันเอง แต่ไม่ใช่การยกเลิกแล้วไปเริ่มต้นใหม่ เราเริ่มต้นใหม่กันโดยรัฐประหารมาแล้วไม่รู้กี่ครั้ง  และการที่ ทหารออกมาทำรัฐประหารอีกครั้งในยุคนี้ ทหารเองก็ไม่มีความเป็นกลางด้วย

000

สุนัย จุลพงศธรส.ส. อาวุโส พรรคเพื่อไทย

คิดอย่างไรต่อ คำเชิญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ขอบคุณสื่อที่โทรมาสัมภาษณ์ และถ้า พล.อ.ประยุทธ์ มีเจตนาที่จะสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นจริง จะต้องไม่สั่งการให้ทหารมาก่อกวนสื่อที่ตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ของผมในครั้งนี้

เรื่องคำเชิญให้กลับมาพัฒนาประเทศชาติร่วมกัน ของ พล.อ.ประยุทธ์ นั้น ถ้าว่าตามสำนวนไทยเรียกว่า “ตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จ” มากกว่า เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีความจริงใจที่จะสร้างความสามัคคีและแก้ปัญหาของคนในชาติเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย เป็นการโกหกประชาชน เพราะประการที่หนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ โกหกว่า ตัวเองและทหารเป็นกลาง แท้จริงแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ร่วมมือกับ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ และพรรคประชาธิปัตย์ สร้างสถานการณ์ให้บ้านเมืองเกิดจลาจลแล้ว ทำการรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้ทำหน้าที่ทหารเพื่อรับใช้ประชาชนเลย

ประการที่สอง พล.อ.ประยุทธ์ หลอกลวงให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยเพื่อปรองดองกัน แต่แท้จริงแล้วเป็นการหลอกจับทั้งหมดก่อนทำรัฐประหาร

ประการที่สาม พล.อ.ประยุทธ์ ขอให้พวกผมกลับมา แล้วทำไมวันรัฐประหารถึงได้ส่งทหารไปจับกุมผมและส.ส.อีกหลายถึงบ้าน และจะจับลูกเมียพวกผมด้วยนี่คือการแสดงเจตนาว่าเป็นคนร่วมชาติเดียวกันหรือไม่

ประการที่สี่ พล.อ.ประยุทธ์บอกว่าให้กลับมาเพื่อร่วมกันสร้างบ้านสร้างเมือง แต่พฤติกรรมของพล.อ.ประยุทธ์ที่ทำอยู่เวลานี้ เป็นการทำลายบ้านเมืองมากกว่า เช่น การยกเลิการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ และการปิดปากสื่อทั้งหมดทุกแขนง ซึ่งผู้นำรัฐประหารที่ผ่านมาไม่เคยทำเช่นนี้

พฤติกรรมของ พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งหมดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไม่มีความจริงใจต่อการสร้างประชาธิปไตย ไม่เห็นคนไทยเป็นคนในชาติเดียวกัน

พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะหลอกตัวเอง หรือหลอกลูกน้องตัวเองได้ แต่หลอกพวกผมไม่ได้

ตั้งใจจะลี้ภัยอยู่ต่างประเทศนานแค่ไหน

ไม่แน่ใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะพังก่อน ก่อนที่จะผมจะกลับหรือไม่

จากผลการสำรวจประชาชนส่วนมากต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

โพลจริง หรือ โพลสอพลอ กันแน่ ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ เชื่อโพล ก็ขอให้รีบออกรัฐธรรมนูญแล้วลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะรู้เองว่าเป็นที่พึงพอใจของประชาชนคนไทยจริงหรือไม่
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.ออกคำสั่งแก้ไขเรื่องสื่อหลังถูกวิจารณ์-ระบุวิจารณ์ได้หากมีเจตนาสุจริต, ให้องค์กรสื่อสอบสวนจริยธรรมแทนสั่งปิด

$
0
0

สืบเนื่องจากคำสั่งฉบับที่ 97/2557 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา มีเนื้อหาเตือนสื่อ หากวิพากษ์วิจารณ์คสช. จนท.สามารถระงับการออกอากาศสื่อดังกล่าวได้ทันที นำมาซึ่งคำวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสื่อ อาทิ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 103/2557 แก้ไขคำสั่งเพิ่มเติมฉบับที่ 97/2557 โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

0000

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ 103/2557
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557
 
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน และความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
 
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
“(3) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ”
 
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
“ข้อ 5 ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ 3 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดำเนินการสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ”
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
 
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.ออกคำสั่งแก้ไขเรื่องสื่อหลังถูกวิจารณ์-ระบุวิจารณ์ได้หากมีเจตนาสุจริต, ให้องค์กรสื่อสอบสวนจริยธรรมแทนสั่งปิด

$
0
0

สืบเนื่องจากคำสั่งฉบับที่ 97/2557 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา มีเนื้อหาเตือนสื่อ หากวิพากษ์วิจารณ์คสช. จนท.สามารถระงับการออกอากาศสื่อดังกล่าวได้ทันที นำมาซึ่งคำวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสื่อ อาทิ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 103/2557 แก้ไขคำสั่งเพิ่มเติมฉบับที่ 97/2557 โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

0000

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ 103/2557
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557
 
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน และความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
 
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
“(3) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ”
 
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
“ข้อ 5 ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ 3 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดำเนินการสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ”
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
 
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.ออกคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมหลังถูกวิจารณ์จากสมาคมสื่อ

$
0
0

ระบุวิจารณ์ได้หากมีเจตนาสุจริต, ให้องค์กรสื่อสอบสวนจริยธรรมแทนการสั่งปิดจากรัฐ  

สืบเนื่องจากคำสั่งคสช.ฉบับที่ 97/2557ซึ่งออกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา มีเนื้อหาเตือนสื่อว่า หากวิพากษ์วิจารณ์คสช. จนท.สามารถระงับการออกอากาศสื่อดังกล่าวได้ทันที นำมาซึ่งคำวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสื่ออาทิ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 103/2557 แก้ไขคำสั่งเพิ่มเติมฉบับที่ 97/2557 โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

0000

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ 103/2557
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557
 
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน และความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
 
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
“(3) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ”
 
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
“ข้อ 5 ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ 3 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดำเนินการสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ”
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
 
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศธ.หนุน "พาสปอร์ตความดี" เป็นเกณฑ์พิจารณาเข้ามหา’ลัยทั่วประเทศ

$
0
0

เว็บไซต์มติชนรายงานว่า นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมขอให้ทุกองค์กรหลักฯได้นำนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรการวัดและประเมินผล 

 
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการจัดทำพาสปอร์ตความดี ของนักเรียนทุกระดับชั้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รวมถึงนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ได้มีการจดบันทึกความดีสิ่งที่ตนเองได้ทำในทุกวัน โดยทุกคนจะเขียนความดีที่ตัวเองได้ปฏิบัติในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้างลงใน "พาสปอร์ตความดี" โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเซ็นรับรองให้ ทั้งนี้ ยังได้ขอให้ สกอ. พิจารณานำเรื่องพาสปอร์ตความดีนี้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเด็กเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาด้วย ซึ่ง รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการ กกอ. รับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ต่อไป
       
“สพฐ. เคยทำโครงการดังกล่าวมาแล้ว โดยมีตัวอย่างของ “นครปฐมโมเดล” ที่โรงเรียนให้นักเรียนทำคุณงามความดีได้สิทธิในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการใช้พาสปอร์ตความดีในการเรียนการสอนลูกเสือเช่นกัน แต่ครั้งนี้ ศธ. จะนำมาดำเนินการอย่างจริงจังและขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อสอดรับกับนโยบายของ คสช. ที่ต้องการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมของคนในชาติ ส่วนแนวคิดว่าจะนำพาสปอร์ตความดีขยายผลเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ม.4 หรือไม่นั้นก็ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไป” 
 
ปลัด ศธ. กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ศธ.จะทำความร่วมมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนา กระทรวง (พศ.) วัฒนธรรม (วธ.) มหาเถรสมาคม (มส.) จัดการเรียนการสอนธรรมะในสถานศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อต้องการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรของสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ซึ่งเมื่อเด็กจบหลักสูตรนี้จะได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรีควบคู่กับการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาต่อไป
     
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศธ.หนุน "พาสปอร์ตความดี" เป็นเกณฑ์พิจารณาเข้ามหา’ลัยทั่วประเทศ

$
0
0

เว็บไซต์มติชนรายงานว่า นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมขอให้ทุกองค์กรหลักฯได้นำนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรการวัดและประเมินผล 

 
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการจัดทำพาสปอร์ตความดี ของนักเรียนทุกระดับชั้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รวมถึงนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ได้มีการจดบันทึกความดีสิ่งที่ตนเองได้ทำในทุกวัน โดยทุกคนจะเขียนความดีที่ตัวเองได้ปฏิบัติในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้างลงใน "พาสปอร์ตความดี" โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเซ็นรับรองให้ ทั้งนี้ ยังได้ขอให้ สกอ. พิจารณานำเรื่องพาสปอร์ตความดีนี้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเด็กเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาด้วย ซึ่ง รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการ กกอ. รับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ต่อไป
       
“สพฐ. เคยทำโครงการดังกล่าวมาแล้ว โดยมีตัวอย่างของ “นครปฐมโมเดล” ที่โรงเรียนให้นักเรียนทำคุณงามความดีได้สิทธิในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการใช้พาสปอร์ตความดีในการเรียนการสอนลูกเสือเช่นกัน แต่ครั้งนี้ ศธ. จะนำมาดำเนินการอย่างจริงจังและขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อสอดรับกับนโยบายของ คสช. ที่ต้องการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมของคนในชาติ ส่วนแนวคิดว่าจะนำพาสปอร์ตความดีขยายผลเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ม.4 หรือไม่นั้นก็ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไป” 
 
ปลัด ศธ. กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ศธ.จะทำความร่วมมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนา กระทรวง (พศ.) วัฒนธรรม (วธ.) มหาเถรสมาคม (มส.) จัดการเรียนการสอนธรรมะในสถานศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อต้องการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรของสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ซึ่งเมื่อเด็กจบหลักสูตรนี้จะได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรีควบคู่กับการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาต่อไป
     
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศธ.หนุน "พาสปอร์ตความดี" เป็นเกณฑ์พิจารณาเข้ามหา’ลัยทั่วประเทศ

$
0
0

เว็บไซต์มติชนรายงานว่า นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมขอให้ทุกองค์กรหลักฯได้นำนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรการวัดและประเมินผล 

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการจัดทำพาสปอร์ตความดี ของนักเรียนทุกระดับชั้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รวมถึงนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ได้มีการจดบันทึกความดีสิ่งที่ตนเองได้ทำในทุกวัน โดยทุกคนจะเขียนความดีที่ตัวเองได้ปฏิบัติในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้างลงใน "พาสปอร์ตความดี" โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเซ็นรับรองให้ ทั้งนี้ ยังได้ขอให้ สกอ. พิจารณานำเรื่องพาสปอร์ตความดีนี้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเด็กเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาด้วย ซึ่ง รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการ กกอ. รับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ต่อไป
       
“สพฐ. เคยทำโครงการดังกล่าวมาแล้ว โดยมีตัวอย่างของ “นครปฐมโมเดล” ที่โรงเรียนให้นักเรียนทำคุณงามความดีได้สิทธิในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการใช้พาสปอร์ตความดีในการเรียนการสอนลูกเสือเช่นกัน แต่ครั้งนี้ ศธ. จะนำมาดำเนินการอย่างจริงจังและขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อสอดรับกับนโยบายของ คสช. ที่ต้องการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมของคนในชาติ ส่วนแนวคิดว่าจะนำพาสปอร์ตความดีขยายผลเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ม.4 หรือไม่นั้นก็ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไป” 
 
ปลัด ศธ. กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ศธ.จะทำความร่วมมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนา กระทรวง (พศ.) วัฒนธรรม (วธ.) มหาเถรสมาคม (มส.) จัดการเรียนการสอนธรรมะในสถานศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อต้องการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรของสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ซึ่งเมื่อเด็กจบหลักสูตรนี้จะได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรีควบคู่กับการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาต่อไป
     
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ชิ้นส่วนของความไร้เดียงสา

$
0
0

 

ฉันไม่เข้าใจว่า
พระเจ้าของคุณจะต้องการแยกชิ้นส่วนเด็กๆไปทำไม
ถ้าพระองค์ไม่ปรารถนาจะสร้างเด็กๆขึ้นมาแต่แรก

นี่น่าจะเป็นขาของเด็กชายสักคน
ที่กำลังวิ่งไล่เตะลูกฟุตบอลอยู่บนชายหาด

นี่คงเป็นมือของเด็กชายที่เล่นเป็นผู้รักษาประตู
ที่กำลังพยายามชูออกไปคว้าลูกฟุตบอลลูกเดียวกัน

นี่น่าจะป็นดวงตาของเด็กหญิง
ที่กำลังมองพี่ชายเธอเล่นฟุตบอลด้วยความร่าเริง

นี่คงจะเป็นใบหูเพื่อนเธออีกคน
ที่อาจเพิ่งจะหยิบดอกไม้มาทัดด้วยความรักสวยรักงามตามประสา

นี่อาจจะเป็นหัวใจของน้องชายเด็กหญิงที่มีดอกไม้ทัดหู
มันยังเต้นตุบๆ แม้ไม่มีร่างให้อาศัย
เหมือนว่ายังตื่นเต้นจากการวิ่งเล่นอยู่รอบๆแปลงดอกไม้

ถ้าพระองค์จะส่งลูกระเบิดมาเพื่อแยกความไร้เดียงสาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
พระองค์จะสร้างความร่าเริงไร้เดียงสามาทำไมแต่แรก

ดวงตาเบิกโพลง
ใบหูโชกเลือด
แขนขาแหว่งวิ่นรุ่งริ่ง
และหัวใจที่ยังสูบฉีดที่กระเด็นกระดอนออกมานอกร่าง

พระองค์มีความรีบร้อนประการใด
ที่จะเรียกชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้กลับคืน
ฉันขอถามพระเจ้าของคุณแทนเด็กๆที่ไม่มีแม้แต่เวลาจะสงสัย
เพราะพวกเขาถูกแยกเป็นชิ้นๆไปแล้วโดยไม่ทันรู้ตัว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีมผู้เชี่ยวชาญเนเธอร์แลนด์เข้าสืบสวนในพื้นที่กรณี MH17 แล้ว

$
0
0

หลังจากที่ก่อนหน้านี้กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนในยูเครนพยายามกันไม่ให้คณะตรวจสอบจากองค์กรยุโรปเข้าไปในพื้นที่ กรณีเครื่องบิน MH17 ถูกยิงตกจนมีผู้โดยสารเสียชีวิตเกือบสามร้อยคน ล่าสุดกลุ่มนักนิติเวชจากเนเธอร์แลนด์สามารถเข้าไปตรวจสอบร่างผู้เสียชีวิตในพื้นที่ได้ ด้านสหรัฐฯ ชี้ เป็นไปได้ที่กลุ่มกบฏทำให้พยานหลักฐานในพื้นที่ยุ่งเหยิงก่อนจะมีคนเข้าตรวจสอบ


21 ก.ค. 2557 จากกรณืเครื่องบินโดยสาร MH17 ถูกยิงตกในพื้นที่ประเทศยูเครน ทีมสืบสวนด้านนิติเวชของทางการเนเธอร์แลนด์ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และสามารถนำร่างของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ออกจากพื้นที่ไปตรวจสอบได้เป็นผลสำเร็จ

สำนักข่าวบีบีซีระบุว่ายอดผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบิน MH17 ถูกยิงตกอยู่ที่ 298 คนแล้ว ซึ่งทางการยูเครนพบศพ 272 ศพ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 17 ก.ค. เมื่อเครื่องบินของสายการบินมาเลเซียถูกยิงตกในพื้นที่เมืองโดเนตสค์ซึ่งอยู่ภายใต้การยึดครองของกลุ่มกบฏ ในพื้นที่โดยรอบของที่เกิดเหตุยังคงมีการสู้รบรวมถึงมีการใช้อาวุธหนักยิงถล่มใส่กัน

ก่อนหน้านี้กลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนในยูเครนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียปิดกั้นไม่ให้คณะตรวจสอบจากองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ ทางด้านสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศชี้ว่ามีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ารัสเซียมีส่วนร่วมในการโจมตีครั้งนี้

ทีมสืบสวนของทางการเนเธอร์แลนด์เป็นกลุ่มนานาชาติกลุ่มแรกที่สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้ และได้ทำการลำเลียงร่างผู้เสียชีวิตขึ้นรถไฟเพื่อนำไปที่เมืองทอเรซ ห่างออกไป 15 กม. จากพื้นที่เกิดเหตุ โดยมีการตรวจสอบสภาพ 196 ศพ และพบว่าศพยังอยู่ในสภาพดี

ทางด้านมาเลเซียได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญ 133 คนประกอบด้วยทีมค้นหาและกอบกู้ ทีมนิติเวชวิทยา ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และทางเทคนิคเข้าไปในยูเครน ทางการอังกฤษเองก็ได้ส่งทีมสืบสวนของพวกตนเข้าไปเช่นกัน แต่รัฐบาลของยูเครนบอกว่าพวกเขาไม่สามารถจัดเส้นทางที่ปลอดภัยเข้าสู่สถานที่เกิดเหตุได้ โดยประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก ของยูเครนทำได้เพียงสั่งให้กองกำลังฝ่ายรัฐบาลหยุดยิงภายในรัศมี 40 กม. รอบพื้นที่เครื่องบินตก ด้านประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียกล่าวว่าการคุ้มกันความปลอดภัยของผู้เชี่ยวชาญนานาชาติเพื่อให้มีการสืบสวนอย่างอิสระได้เป็นเรื่องสำคัญ

สื่อต่างๆ ระบุว่าการที่เครื่องบิน MH17 ถูกยิงตกทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นระดับนานาชาติ จากเดิมที่การสู้รบระหว่างฝ่ายต้องการแบ่งแยกดินแดนไปเข้ากับรัสเซียและฝ่ายทางการยูเครนถือเป็นความขัดแย้งระดับภูมิภาค

นานาชาติได้แสดงความไม่พอใจการควบคุมสถานการณ์ของกลุ่มกบฏ ซึ่งประวิงเวลาไม่ยอมให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบแล้วนำอาสาสมัครที่ไม่ได้รับการฝึกฝนเข้าไปในพื้นที่ กลุ่มกบฏบอกว่าพวกเขาจะส่งบันทึกการบินให้กับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) แต่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ก็กล่าวหาว่ากลุ่มกบฏได้เปลี่ยนแปลงสร้างความยุ่งเหยิงต่อหลักฐานชิ้นอื่นๆ

ก่อนหน้านี้มีข้อสันนิษฐานว่าขีปนาวุธที่ใช้โจมตีเครื่องบิน MH17 คือขีปนาวุธที่เรียกว่า 'บุ๊ก' (Buk) แต่เมื่อวันจันทร์ทางการรัสเซียก็ยังคงปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าพวกเขาเป็นผู้จัดหาอาวุธดังกล่าวให้กับกลุ่มกบฏในยูเครน

โฆษกพนักงานอัยการเนเธอร์แลนด์กล่าวว่าผู้กระทำผิดในกรณีนี้มีโอกาสจะถูกตั้งข้อกล่าวหาได้แก่ การฆาตกรรม อาชญากรรมสงคราม และทำให้เครื่องบินตกโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

 

เรียบเรียงจาก

MH17 plane crash: Dutch experts examine bodies, BBC, 21-07-2014
http://www.bbc.com/news/world-europe-28399406

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับแอมเนสตี้ฯ ผู้รณรงค์ยุติโทษประหารและการข่มขืน

$
0
0

จากกรณีที่เกิดกระแสสังคมหลังคดีข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงวัย 13 ปีบนรถไฟ เมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา จนเกิดการรณรงค์อย่างกว้างขวางและมีการล่ารายชื่อเพื่อเรียกร้องให้ลงโทษประหารชีวิตผู้กระทำผิดในกรณีข่มขืนและฆ่าในทุกกรณี

ประชาไท สัมภาษณ์ 'ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล' ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติที่ทำงานรณรงค์ยุติโทษประหารชีวิตและการข่มขืนล่วงละเมิดทางเพศในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ถึงมุมมองและความคิดเห็นต่อการลงโทษผู้กระทำผิดด้วยการประหารชีวิตว่าจะเป็นทางออกของปัญหาอย่างยั่งยืนได้หรือไม่

0000

ประชาไท : ทำไม แอมเนสตี้ ถึงได้รณรงค์เรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต

ปริญญา : แอมเนสตี้ รณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิตมา 30 ปีแล้ว ทำมาตั้งแต่ก่อตั้งองค์กร โดยเหตุผลที่รณรงค์ยุติการใช้โทษที่รุนแรงนี้มี 5 ข้อ

  1. เรื่องการใช้โทษเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เรื่องสิทธิการมีชีวิตของคนทุกคน
  2. เรื่องของการใช้โทษนี้เป็นการทรมาน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรือจิตใจ ไม่เฉพาะผู้กระทำความผิดเท่านั้น แต่รวมไปถึงเหยื่อ และครอบครัวของเหยื่อด้วย
  3. จากการศึกษาของเรา พบว่าโทษนี้ถูกใช้กว่า 80% กับคนยากจนและคนเปราะบางในสังคม และหลายครั้งเป็นเครื่องมือของภาครัฐในการจัดการกับคนที่มีความคิดเห็นต่าง หรือมีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ หรือความหลากหลายทางเพศ เช่น อูกันดามีการใช้โทษนี้กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ
  4. เรื่องของกระบวนการยุติธรรมมีความเสี่ยงในความผิดพลาดอยู่ ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ 100% ดังนั้นความเสี่ยงในความผิดพลาดนี้เป็นที่มาที่ผู้บริสุทธิ์จะกลายเป็นเหยื่อของการใช้โทษที่รุนแรงนี้ และเมื่อผู้บริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อของการใช้โทษที่รุนแรงนี้ เราก็ไม่สามารถที่จะเรียกคืนกลับมาได้เนื่องจากถูกประหารชีวิตไปแล้ว
  5. การใช้โทษที่รุนแรงนี้ไม่ได้มีผลโดยตรงกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอาชญากรรมใดๆ ทั้งสิ้น

เหล่านี้เป็นเหตุผลหลักๆที่เรารณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิตมา แต่การที่เรารณรงค์เปลี่ยนแปลงโทษนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้กระทำความผิดไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่ผู้กระทำความผิดนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและได้รับโทษอย่างเหมาะสม ได้สัดส่วน ตามความผิดของเขา และต้องไม่ปล่อยให้ผู้กระทำความผิดนั้นลอยนวลพ้นผิดได้

และเราย้ำและรณรงค์เสมอว่าภาครัฐมีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องเยียวยาฟื้นฟูเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อให้เขาสามารถที่จะกลับมายืนในสังคม ฟื้นฟูชีวิตของเขาได้ยืนในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีอีกครั้งด้วย การเยียวยานี้ไม่ใช่เฉพาะตัวเงิน แต่หมายถึงทางด้านจิตใจและสังคมด้วย เพราะในหลายๆครั้งเหยื่อจะตกเป็นเหยื่อของสังคมไปด้วย

ตลอด 30 ปีที่ แอมเนสตี้ รณรงค์เรื่องนี้มามีผลสัมฤทธิ์อย่างไรบ้าง

เราเห็นความก้าวหน้าของการรณรงค์นี้คือเมื่อ 30 ปีที่แล้วมีประมาณ 16 ประเทศทั่วโลกที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่เมื่อปี 2556 จากรายงานประจำปีของ แอมเนสตี้ พบว่ามี 141 ประเทศทั่วโลกที่ได้ยุติการใช้โทษนี้ ไม่ว่าจะเป็นในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ มีเพียงแค่ 22 ประเทศ ที่ยังประหารชีวิตเมื่อปีที่แล้ว จะเห็นว่าแนวโน้มของการใช้โทษนี้ลดลงตลอดเวลา หลายประเทศกลับมาให้ความสำคัญกับการปฏิรูปและทำในกระบวนการยุติธรรมของเขามีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เพราะเขาเห็นว่าการใช้โทษที่รุนแรงมันไม่ได้มีส่วนโดยตรงกับการที่จะทำให้อาชญากรรมของประเทศเขาลดลงหรือมีผลดีต่อสังคมเขา

การให้โอกาสอาชญากรกลับมาสู่สังคมโดยไม่มีโทษประหารชีวิตนั้น บางคนอาจก่ออาชญากรรมซ้ำ การรณรงค์ยุติการใช้โทษในลักษณะนี้ไม่เท่ากับเปิดโอกาสให้เกิดอาชญากรรมซ้ำด้วยหรือ

ต้องไปดูว่าทำไมคนที่ทำผิดแล้วถูกจับกุมคุมขังออกมาแล้วกระทำผิดซ้ำ ก็ต้องพิจารณาที่สาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะเมื่อคนที่ถูกคุมขังกระบวนการของราชทัณฑ์ในการที่จะต้องดูแลคนเหล่านี้ ต้องมีการเยียวยาฟื้นฟูคนเหล่านี้ด้วยไม่ใช่เพียงจับไปขังเฉยๆ ซึ่งปกติทุกประเทศจะมีการเยียวยาฟื้นฟูคนเหล่านี้

วิสัยทัศน์กรมราชทัณฑ์ของเราคือการคืนคนดีสู่สังคม ซึ่งต้องพิจารณาว่าการออกมากระทำผิดซ้ำนั้นเกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการราชทัณฑ์เหล่านี้ ในต่างประเทศก่อนที่จะปล่อยตัวเขาจะมีการทดสอบก่อนว่าคนเหล่านี้ว่ามีการสำนึกผิดหรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเปล่า หรือยังเป็นเหมือนเดิม หากเป็นเช่นนั้นอาจจะยังไม่ถูกปล่อยออกมา อาจมีการเยียวยาฟื้นฟูก่อน

สำหรับประเทศที่ยกเลิกโทษประการก็ใช้โทษจำคุกตลอดชีวิตแทน และผ่านไป 25 ปี เขาอาจนำคนเหล่านั้นมาทดสอบว่าสำนึกผิดหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้ว ก็อาจจะให้ศาลพิจารณาว่าจะปล่อยตัวหรือลดโทษให้ได้หรือไม่

กระแสในสังคมไทยตอนนี้มีการตื่นตัวเรื่องโทษประหารชีวิตขึ้นหลังจากมีอาชญากรรมสะเทือนขวัญ ในฐานะที่รณรงค์เรื่องนี้มากว่า 30 ปี กระแสที่เกิดขึ้นแบบนี้มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกันไหมกับประเทศอื่นๆ

ในบางประเทศอาจจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น คือ เมื่อมีอาชญากรรมที่รุนแรงสะเทือนขวัญ แม้จะเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วก็อาจจะมีประชาชนส่วนหนึ่งลุกขึ้นมาเรียกร้องให้กลับมาใช้โทษแบบนี้อีก แต่ค่อนข้างจะน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน 141 ประเทศที่ได้ยกเลิกโทษนี้ไปแล้ว

ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าทำไมคนถึงออกมาเรียกร้องให้ใช้โทษที่รุนแรงเพราะคนในสังคมไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมและความปลอดภัย หรือการมีชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงในสังคมที่อยู่ จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องให้ใช้โทษที่รุนแรง

ประกอบกับการไม่มีข้อมูลและภาครัฐไม่มีการให้ข้อมูลอย่างรอบด้านกับประชาชนกับการใช้โทษนี้ ว่าการใช้โทษที่รุนแรงมีข้อดีข้อเสียอย่างไร การใช้โทษในลักษณะนี้ส่วนใหญ่ใช้กับความผิดอย่างไร เป็นต้น ส่งผลให้คนเข้าใจว่าการใช้โทษที่รุนแรงจะลดอาชญากรรมได้ แต่ความจิรงแล้วการเกิดอาชญากรรมนั้นมีปัจจัยของการเกิดที่หลากหลาย เช่น เรื่องความยากจน ความเหลื่อมล้ำของสังคม ระดับการพัฒนาของมนุษย์ หรือกรณีการล่วงละเมิดทางเพศก็มาจากทัศนคติของสังคมที่ชายเป็นใหญ่ มองผู้หญิงเป็นเพียงวัตถุ รวมไปถึงระบบการศึกษาที่ไม่เพียงพอในเรื่องการเคารพซึ่งกันและกัน การเข้าใจเรื่องของเพศ เหล่านี้นำมาซึ้งการเกิดอาชญากรรม

เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาอาชญากรรมนั้น การใช้โทษที่รุนแรงเพียงอย่างเดียวมันไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ได้

จริงๆแล้วเราก็มีโทษประหารชีวิตอยู่ แต่อาชญากรรมก็ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ อย่างข้อมูลเรื่องการละเมิดทางเพศ เมื่อปีที่แล้ว ของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่าทุก 15 นาที มีการข่มขืนล่วงละเมิดทางเพศ ถือว่ามีจำนวนมากในสังคมไทย การใช้โทษที่รุนแรงอาจจัดการกับคนกลุ่มหนึ่งได้ แต่เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะกลับขึ้นมาอีกถ้าไม่ไปดูสาเหตุและแก้ต้นตอของปัญหาที่แท้จริง

จากที่กล่าวมาแสดงว่า แอมเนสตี้ มองสมติฐานของการเกิดอาชญากรรมไม่ได้มองเพียงตัวปัจเจคบุคคลเหล่านั้น แต่มองถึงบริบทของสังคมที่หล่อหลอมปัจเจคเหล่านั้นให้ก่ออาชญากรรมด้วย แต่ในสังคมไทยส่วนใหญ่มองว่าเป็นปัญหาที่ปัจเจค เช่น คนจะดีอยู่ที่ไหนก็ดี หรือบางคนเป็นคนที่เกิดมาจากดาวโจรก็จะเป็นโจร หรือบางคนเคยทำกรรมเก่าในอดีตก็จะต้องก่อนอาชญากรรม ดังนั้นการจัดการคนเหล่านั้นโดยเอาออกไปจากสังคม เช่น การจำคุกตลอดชีวิต การเนรเทศหรือการประหารชีวิต เป็นต้น ก็ถือเป็นวิธีที่พวกเขาเชื่อว่าดี ทาง แอมเนสตี้ ในฐานะที่ต้องรณรงค์เรื่องนี้มีวิธีการทำความเข้าใจกับสังคมอย่างไร

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าคนจะเชื่อแบบนี้ ซึ่งตนเองก็เคยคิดแบบนี้เช่นกัน แต่เมื่อได้ทำการศึกษาและทำข้อมูลเพิ่มเติมก็จะพบความเข้าใจมากขึ้นเพราะคนแต่ละคน คนที่เกิดมาแล้วเลวโดยกำเนินอาจจะมี แต่ไม่ได้มีมากเท่ากับจำนวนอาชญากรรมที่เรามีอยู่ในตอนนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลพวงของสังคม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของระบบต่างๆของสังคม บางอย่างอาจทำให้คนไม่มีทางเลือก จำกัดทางเลือก บีบคั้นชีวิตคนคนหนึ่งจนทำให้เขาต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างด้วยการที่เขาไม่มีทางเลือกอื่น เราเชื่อว่าผลพวกของสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้คนต้องกลายมาเป็นอาชญากรมากกว่า เราเองอาจจะมีส่วนในการผลักดันคนเหล่านั้นด้วยเหมือนกัน

มีกรณีที่นักโทษที่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมได้สำนึกผิดและออกมาจากเรือนจำ อยากกลับมาใช้ชีวิตธรรมดาในสังคม แต่หลายครั้งเขาไปก่ออาชญากรรมซ้ำ เพราะว่าสังคมเองที่ไม่ให้โอกาสเขา และยังดูถูกดูแคลนเขา ปิดกั้นโอกาสเขา จนสุดท้ายมันก็อาจทำให้เขาไม่มีทางเลือกทำอาชญากรรมซ้ำ

เพราะฉะนั้นเราต้องมาทบทวนตัวเองทบทวนสังคมว่ามีส่วนในการผลักดันให้คนก่ออาชญากรรมหรือเปล่า

ในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็ออกมาต่อว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับโทษประหาร ให้โอกาสอาชญากร ว่าไม่คำนึงถึงเหยื่อบางหรือ? อาชญากรยังไม่ให้โอกาสเหยื่อ แล้วทำไมเราต้องให้โอกาสอาชญากรด้วย? องค์กรสิทธิเหล่านี้คำนึงถึงเหยื่อบ้างหรือไม่?

เวลาเรารณรงค์ เรารณรงค์เสมอว่าภาครัฐมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อ รวมถึงครอบครัวของเหยื่อ ซึ่งต้องเยียวยารอบด้าน เป็นสิ่งที่เราผลักดันและเรียกร้องให้รัฐทำเสมอ เราไม่ได้ละเลยสิทธิของเหยื่อ และเรายังเรียกร้องว่าเวลาฟื้นฟูเยียวยาเหยื่อก็ต้องเคารพสิทธิของเหยื่อด้วย เช่น ความเป็นส่วนตัว การที่เขาต้องสามารถดำรงชีวิตต่อ เป็นสิ่งที่เราต้องคำนึง และภาครัฐต้องทำงานแบบบูรณาการโดยหลายหน่วยงาน

ในเมืองไทยเราอาจยังไม่มีการทำงานในรูปแบบเครือข่ายของเหยื่อ แต่ในต่างประเทศมี Murder Victims' Families Network เราก็ทำงานร่วมกับเขาและผลักดันให้รัฐดูแลกลุ่มเหล่านี้ด้วยเหมือนกัน

กระแสสังคมขณะนี้นอกจากเรื่องประหารชีวิตแล้ว อีกเรื่องที่คู่กันมาคือเรื่องการข่มขื่น ดูเหมือนว่าในบางสังคมการข่มขืนเป็นเรื่องปกติ แม้แต่ในภาพยนตร์พระเอกก็ยังสามารถข่มขืนนางเอกได้ ทาง แอมเนสตี้ มีการรณรงค์เรื่องสิทธิของผู้หญิงจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศเหล่านี้ด้วยหรือไม่

แอมเนสตี้ ทำการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงมาต่อเนื่องหลายปีแล้ว แต่อาจจะไม่เป็นที่ประจักษ์ เพราะการข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้หญิงโดยเฉพาะอยู่แล้ว และเราก็มีการรณรงค์ให้ยุติ รวมทั้งรณรงค์ให้มีการแก้ไขกฎหมายต่างๆเพื่ออำนวยให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมหากเกิดเหตุการณ์ล่วงละเมิดเขา รวมทั้งออกมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ แอมเนสตี้ ทั่วโลกร่วมกันรณรงค์มาอย่างยาวนานอยู่แล้ว

หลายครั้งสื่อเองก็มีส่วนที่ทำให้เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติรวมทั้งการนำเสนอการกดขี่การล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิง แต่สื่อในหลายครั้งกลับเป็นเรื่องธรรมดา อย่างกรณีการข่มขืนของประเอกต่อนางเอกกลายเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ เพราะสุดท้ายกลายเป็นนางเอกตกลงยินยอมอยู่กับพระเอกในท้ายที่สุด เรื่องเหล่านี้จึงสร้างทัศนคติที่ผิดๆกับคนในสังคมที่จะยอมรับกับเรื่องเหล่านี้ และกรณีการข่มขืนการล่วงละเมิดทางเพศกว่า 80% เกิดขึ้นจากคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน แฟน คนที่รู้จัก ฯลฯ เมื่อเกิดจากคนใกล้ตัวทำให้ในหลายๆครั้งเหยื่อไม่กล้าฟ้องร้อง

รวมทั้งในหลายกรณีที่ผู้หญิงไปฟ้องร้องจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ตำรวจไม่ค่อยใส่ใจกับประเด็นเหล่านี้ในการดำเนินคดี และหลายครั้งกลับประณามผู้หญิงอีกว่าไปทำให้ผู้ชายมาทำอย่างนี้ จนทำให้ผู้กระทำผิดลอยนวลไม่ ซึ่งเราเรียกร้องเสมอว่าเรื่องเหล่านี้ต้องนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

“เพราะเราเชื่อมั่นว่ากระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลจะทำให้อาชญากรรมลดน้อยลงมากกว่าโทษที่รุนแรงและอาจจะมีผลเสียตามมาได้”

ปัจจุบันประเทศไทยยังมีโทษประหารชีวิตอยู่ หลายคนก็กังวลว่าแม้มีโทษประหารชีวิตก็จริงแต่ผู้ก่ออาชญากรรมรุนแรงสุดท้ายก็จะได้รับการลดโทษอยู่ดี แอมเนสตี้ มองอย่างไร

เราไม่ควรใช้ความรุนแรงตอบโต้ความรุนแรง เราไม่ควรใช้แบบเดียวกันทำแบบเดียวกันกับอาชญากรในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น มันมีทางอีกหลายทางในการจัดการปัญหาได้

อย่างกรณีอินเดียที่เราได้ยินข่าวการข่มขืนผู้หญิงที่อยู่บนรถโดยสารสาธารณะ จากเหตุการณ์นี้ประชาชนในประเทศได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการแก้กฎหมาย และทางการได้แก้โดยมีการแก้ไขกฎหมายข่มขืนในบางกรณีให้มีการใช้โทษที่รุนแรง และมีการจัดการกับคนที่กระทำผิดค่อนข้างเข้มข้น แต่เราก็ยังได้ยินข่าวการข่มขืนในอินเดียอีก เพราะฉะนั้นการที่คนลุกขึ้นมากระทำความผิดเขาคงไม่ได้นึกถึงโทษ แต่ว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เขาก่ออาชญากรรม เขาอาจจะเชื่อว่าเขาทำแล้วอาจจะไม่โดนจับ หรือกรณีที่เราเห็นว่าในหลายกรณีตำรวจก็ไม่ได้ใส่ใจในการที่จะดำเนินคดี

เรื่องเชื่อมั่นว่าถ้ามีการจับกุมที่รวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง และเข้าสู้กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม ใช้โทษที่เหมาะสมกับเขาและมีการดูแลนักโทษเป็นระบบมีประสิทธิภาพในเรือนจำ ก็จะทำให้สถานการณ์น่าจะดีขึ้น จำนวนอาชญากรรมก็จะลดลง การกระทำผิดซ้ำหลังออกจากเรือนจำก็จะลดลงถ้าเรามีกระบวนการเยียวยาฟื้นฟูคนที่กระทำความผิดอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้

จากกระแสสังคมขณะนี้ที่มีการพูดทั้งเรื่องโทษประหาร แม้จะเป็นกระแสที่สวนทางกลับสิ่งที่ แอมเนสตี้ รณรงค์มาให้ยุติโทษนี้ ทาง แอมเนสตี้ จะทำอย่างไรกับกระแสที่คนตื่นตัวนี้

เป็นโอกาสที่ดีที่ประชาชนลุกขึ้นมารณรงค์ในสิ่งที่เขารู้สึกว่าไม่ถูกไม่ต้อง เป็นสิ่งที่เราสนับสนุนกับการที่ประชาชนลุกขึ้นมาทำอะไรบางสิ่งบางอย่างตามศักยภาพของเขาเมื่อเห็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมในสังคม แต่อยากเชิญชวนให้มองการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนเพิ่มเติม เพราะการเรียกร้องให้มีการใช้โทษประหารมันอาจเป็นการแก้ปัญหาในขณะหนึ่ง เป็นการจัดการกับคนคนหนึ่งที่กระทำความผิดนี้ แต่การแก้ปัญหามันอาจจะไม่ยั่งยืน เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอสาเหตุของการทำให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศ หรืออาชญากรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมเรา

เพราะฉะนั้นเราอยากเชิญชวนให้ใช้พลังของประชาชนนี้ ขยายเพิ่มเติมเรียกร้องให้ภาครัฐมีความจริงใจ มุ่งมั่นในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เป็นรูปธรรม รอบด้าน เพื่อจะทำให้อาชญากรรมในบ้านเราลดลงอย่างจริงจัง

เพราะภาครัฐไทยและรัฐอื่นๆบางครั้งใช้โทษที่รุนแรงแบบนี้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณะในการที่จะมาแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนนั้นอาจจะต้องใช้เวลาและกำลังทรัพยากรต่างๆ ค่อนข้างมาก บ้านเราอาจมีปัญหาที่ค่อนข้างเยอะที่เก็บไว้ ทำให้หลายๆครั้งประชาชนอาจรู้สึกไม่มั่นใจว่าสุดท้ายจะได้รับการแก้ปัญหาจริงหรือไม่ จึงเป็นที่มาของการใช้โทษที่รุนแรงเพราะอย่างน้อยเขามองว่าได้แก้ปัญหาช่วงหนึ่ง ซึ่งเราก็อยากขอเชิญชวนให้มองภาพที่กว้างและระยะยาวมากขึ้น

ตลอดระยะเวลาที่รณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย อะไรคืออุปสรรคสำคัญของการรณรงค์

อุปสรรคอย่างรุนแรงคือทุกคนเห็นด้วยกับโทษประหาร เหมือนกับว่าถ้าเราทำอย่างอื่นก็ไม่รู้จะใช้เวลาอีกกี่ปีในการที่รัฐจะมาแก้ปัญหาอย่างนี้ดีกว่า ก็เลยเอากันอย่างนี้เหมือนฆ่าตัดตอนในยาเสพติด คือตัดตอนไปก่อน จะได้อย่างน้อยให้ลดลง ชั่วคราวก็ยังดี ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่พวกเขารู้สึกหรือเปล่า

เรื่องของการเปลี่ยนแปลงโทษประหาร หัวใจของการรณรงค์คือการเคารพในคุณค่าของความเป็นคนทุกๆคน เรื่องของการเปลี่ยนแปลงโทษประหารอาจเป็นเพียง 1 ผลลัพธ์ของมัน แต่หัวใจของมันคือการที่คนเราเคารพซึ่งกันและกัน ถ้าคนเราเคารพกัน เคารพในสิทธิของผู้อื่นไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นก็จะทำให้สังคมของเราสามารถที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติไม่ใช้ความรุนแรง และไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้ความรุนแรง ซึ่งอันนี้คงเป็นหัวใจหลักที่ทำให้คนในสังคมมีทัศนคติ วัฒนธรรมแบบนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เราฝ่ายเดียวที่จะทำ คงเป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐที่จะสร้างวัฒนธรรมของการเคารพซึ่งกันและกัน เคารพสิทธิมนุษยชนของทุกคนในสังคม ถ้าเกิดขึ้นก็เชื่อมั่นได้ว่าก็คงไม่มีใครเรียกร้องในการใช้ความรุนแรงจัดการปัญหาต่างๆ แล้วก็อาชญากรรมในสังคมก็ไม่มีมากเท่าที่เป็นอยู่นี้เพราะทุกคนเคารพสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดผู้อื่น เคารพในความหลากหลาย เคารพในความเห็นต่าง อยู่ร่วมกันอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัพเดทคดีฝืนคำสั่ง คสช. กรณี ‘ทอม-จิตรา-ฟอร์ด-สุรสิทธิ์และสาวพ่นสีรถทหาร’

$
0
0

ศาลอนุญาตฝากขังผลัดที่ 4 จิตรา คชเดช, ฟอร์ด เส้นทางสีแดง และสุรสิทธิ์ น่วมศิริ ผู้ต้องหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.  ทอม ดันดี ถูกถอนประกันเนื่องจากถูกจำคุกด้วยข้อหามาตรา 112 อัยการส่งฟ้อง สาวพ้นสีสเปรย์ใส่รถทหารแล้ว

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ศาลทหารมีคำสั่งอนุญาตฝากขังผลัดที่ 4 น.ส.จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ (ฟอร์ด เส้นทางสีแดง) และ นายสุรสิทธิ์ น่วมศิริ ผู้ต้องหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. หลังจากที่พนักงานสอบสวนจากกองปราบขออำนาจฝากขังต่อศาล อีก 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 20 - 31 ก.ค. นี้ เนื่องจากรอสอบพยานเพิ่มเติมและตรวจสอบประวัติอาชญากรของผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย และทั้ง 3 รายได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากศาลทหาลมีคำสั่งปล่อยชั่วคราวตั้งแต่ฝากขังในผลัดแรก ซึ่งจิตรา ประกันตัวด้วยเงินสด 20,000 บาท ขณะที่อนุรักษ์ และ สุรสิทธิ์ ประกันตัวด้วยเงินสด 10,000 บาท

พร้อมด้วยเงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการประกันตัว ห้ามชุมนุมทางการเมืองอันก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร และห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด หรือทำเป็นหนังสือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน

ทนายขอความเป็นธรรม ชี้ ‘ทอม ดันดี’ ไม่ควรขึ้นศาลทหาร

สำหรับทอม ดันดี หรือนายธานัท ธนวัชรนนท์ นั้น ศาลทหารอนุมัติการฝากขังผลัด 4 และได้ถอนประกันตัวตัวในข้อหาขัดคำสั่ง คสช.ด้วยเนื่องจากเห็นว่าทอมถูกจำคุกด้วยข้อหามาตรา 112 แล้ว จึงคืนเงินประกันแก่ญาติ อย่างไรก็ตาม นายรัฐศักดิ์ อนันตริยกุล ทนายความจากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กสน.) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลทหารเพื่อขอความเป็นธรรมเนื่องจากเห็นว่าคดีของทอมนั้นไม่ควรขึ้นศาลทหาร เนื่องจากเป็นการปราศรัยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และการที่มีผู้มาโพสต์คลิปปราศรัยในยูทูปในเดือน มิ.ย.นี้ ก็ไม่ใช่ทอม ในท้ายที่สุด ศาลได้สั่งให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นส่งศาลโดยเร็วที่สุดว่าคดีนี้ควรขึ้นศาลทหารหรือไม่และใครเป็นคนโพสต์คลิปที่นำส่งฟ้อง

อัยการส่งฟ้อง สาวพ่นสีสเปรย์ใสรถทหารแล้ว

ด้านนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความจากกนส. แจ้งด้วยว่า คดีของ น.ส.พรรณมณี ชูเชาวน์ นั้น อัยการทหารได้ส่งฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้วเมื่อวันที่ 18 ก.ค.เช่นกัน อย่างไรก็ตาม จำเลยใช้หลักทรัพย์เดิมในการประกันตัวและศาลยังไม่กำหนดวันนัดพร้อม ตรวจพยานหลักฐาน คำให้การจำเลยเพื่อกำหนดวันสืบพยานต่อไปแต่อย่างใด

ทั้งนี้ กรณีของ น.ส.พรรณมณี นั้นเป็นข่าวดังเมื่อเธอถูกแจ้งข้อหา ข้อหาร่วมกันฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามฉบับที่ 7/2557 ห้ามมิให้มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน หรือผู้ซึ่งต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย จนเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานนั้นได้รับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ ทำให้เสียหายทำลายหรือทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึงทรัพย์ของผู้อื่น จากการพ่นสีสเปรย์ใสรถทหาร ที่อนุสาวรย์ชัยสมรภูมิ เมื่อ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา และถูกจับกุมตัวในเวลาต่อมาเมื่อ 30 พ.ค.

‘จิตรา-ฟอร์ด’ เตรียมขอความเป็นธรรม

นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ หรือ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง กล่าวยืนยันว่าตนเองไม่ได้ชุมนุมหลังเกิดรัฐประหาร พร้อมกล่าวด้วยว่า จะทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมกับตุลาการศาลทหาร เนื่องจากวันที่มีการชุมนุมคัดค้านการทำรัฐประหารที่บริเวณหอศิลป์ฯ กทม. นั้น ตนเดินทางไปเพียงลำพังและไม่ได้ไปร่วมชุมนุม แต่นั่งรถไฟฟ้าไปลงที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ซึ่งอยู่ใกล้ที่ชุมนุมดังกล่าว เพื่อไปที่ห้างสรรพสินค้าบริเวณนั้น ระหว่างทางที่เดินผ่านพบทหารกับผู้ชุมนุมเผชิญหน้ากัน ขณะนั้นตนเข้าใจผิดว่าทหารกำลังรังแกประชาชนอยู่ ด้วยความเสียใจจึงเข้าไปขวางทหาร พร้อมบอกให้ทหารมาจับตนเองแทน แต่พอตนตั้งสติได้จึงเดินไปกินอาหารที่ห้างมาบุญครอง และขากลับตนได้เข้าไปขอโทษกับทหารคนดังกล่าว พร้อมทั้งตอนที่ตนถูกจับไปสนามเป้าทหารชุดที่สอบสวนตนก็เป็นทหารที่ตนได้เคยกล่าวขอโทษแล้ว จึงจะขอให้ทหารคนดังกล่าวมาเป็นพยาน

จิตรา กล่าวด้วยว่า ตนมีความกังวลมีความกังวลในระหว่างการขอประกันตัวในชั้นอัยการ เนื่องจากระหว่างการขอประกันตัวในชั้นตำรวจตนต้องถูกนำตัวไปฝากไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง หลายชั่งโมงก่อนได้รับการปล่อยตัว และในระหว่างที่อยู่ในทัณฑสถานฯ ก็ต้องผ่านกระบวนการทำให้เป็นนักโทษ การตรวจค้นร่างกาย ซึ่งมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก

จิตรา กล่าวว่า ตนจะยื่นขอความเป็นธรรมกับอัยการด้วย หากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเห็นสั่งฟ้อง เพราะตนไม่มีเจตนาหลบหนีคำสั่งเรียกรายงานตัวของ คสช. เนื่องจากขณะนั้นตนอยู่ประเทศสวีเดน และมีกำหนดกลับตามตั๋วที่จองอยู่แล้ว จึงไม่สามารถมาตามวันที่ คสช. กำหนดได้ แต่ในวันดังกล่าวก็ได้ไปรายงานตัวกับเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน แล้ว

ทั้งนี้ จิตรา ถูก คสช. เรียกเข้ารายงานตัวตามคำสั่งที่ 44/2557 แต่ไม่สามารถเดินทางมารายงานตัวได้เนื่องจากติดภารกิจที่ประเทศสวีเดน อย่างไรก็ตามในวันเวลากำหนดตามคำสั่ง จิตราได้เดินทางไปรายงานตัวที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุง สตอกโฮล์ม(สวีเดน)แล้ว แต่จากนั้น คสช.ได้ออกหมายจับ และเมื่อจิตราเดินทางกลับจากสวีเดนถึงสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อเช้าวันที่13 มิ.ย. ก็ถูกควบคุมตัวไว้ที่กองปราบ 1 คืน

ส่วน ทอม ดันดี นั่นไม่มารายงานตัวตามวันเวลาที่ คสช. กำหนด และถูกจับกุมตัวในเวลาต่อมา ขณะที่นายสุรสิทธิ์ นั้นเป็นประชาชนที่ถูกกับกุมจากหน้าห้างพารากอนในวันที่มีกิจกรรมต้านรัฐประหารเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมาถูกควบคุมตัวที่กองปราบ ขณะที่ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง นักกิจกรรมช่วยเหลือผู้ไดรับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวจากบ้านพักราว 2-3 วันก่อนมาไว้ที่กองปราบเช่นกัน ก่อนถูกฝากขังและได้รับประกันตัวในผลัดแรก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โศกนาฏกรรมของรัฐธรรมนูญไทย

$
0
0

 

เมื่อ คสช.ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้มีสมาชิกคนหนึ่งของรัฐบาลทหารออกมาพูดเป็นทำนองว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ (และฉบับถาวรในอนาคต) จะเป็นระดับขั้นหนึ่งที่ทำให้ต่างชาติเกิดความเชื่อมั่นในโรดแมพของการปฏิรูปประเทศโดยคสช.อันนำไปสู่ความสัมพันธ์รูปแบบปกติระหว่างไทยกับประเทศนั้นๆ  คำพูดนี้ทำให้ผู้เขียนรู้สึกสะเทือนตับเป็นอย่างมาก อยากจะเข้าใจว่าคำพูดของเขาซึ่งแทนความคิดของคสช.เช่นนี้เป็นการเสแสร้งเสียมากกว่าความเขลาเพื่อเป็นการตบตาตะวันตก  ซึ่งผู้เขียนเองก็คิดว่าประเทศตะวันตกนั้นไม่ได้โง่และน่าจะศึกษาบริบทการเมืองไทยรวมไปถึงเข้าใจภาษาไทยในรัฐธรรมนูญเป็นอย่างดี ทำให้พวกเขาเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร (1)    

ประเทศเหล่านั้นต่างก็รู้ดีว่า รัฐธรรมนูญ (Constitution) นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวบ่งบอกความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป  ประเทศทั้งหลายล้วนแต่มีรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย เผด็จการหรือคอมมิวนิสต์อย่างเช่นสหภาพโซเวียต  เกาหลีเหนือ และจีนซึ่งฝ่ายหลังสุดนั้นถือได้ว่ามีรัฐธรรมนูญที่ยาวที่สุดฉบับหนึ่งของโลก ด้วยประโยชน์ประการหนึ่งของรัฐธรรมนูญคือหลักที่อนุญาตให้รัฐมีอำนาจเหนือประชาชนและสามารถจัดการรัฐกิจทุกประการได้อย่างสะดวกและชอบธรรม  ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญของประเทศเหล่านี้ยังบรรจุเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ด้วยแต่จากการกระทำของรัฐบาลเหล่านั้นผ่านข่าวต่างประเทศที่เราเห็นอยู่ทุกวันแสดงให้เห็นว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นเรื่องอันเลื่อนลอยไม่สามารถสู้กับมาตราอื่นที่เน้นเรื่องความมั่นคงของรัฐได้  รัฐธรรมนูญจึงมักกลายเป็นเครื่องประดับของรัฐบาลเผด็จการที่ดูสวยงามเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง    

สำหรับเนื้อหาทั้ง 48 มาตราของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของไทยที่เพิ่งถูกประกาศใช้นั้น ผู้เขียนของดวิจารณ์และวิเคราะห์ในเชิงลึกเพราะรู้ว่าผู้อ่านบทความนี้น่าจะได้อ่านมาอย่างดีและหลายท่านที่มีความรู้ด้านกฎหมายน่าจะวิเคราะห์ได้ดีกว่าผู้เขียนเสียอีก ปัญหาก็คือในหลายๆ  ส่วนของรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นเป็นการพายเรือวนอยู่ในอ่าง หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับโดยเฉพาะฉบับที่ถูกร่างขึ้นโดยรัฐบาลทหารอย่างเช่นปี 2550   อารัมภบทของรัฐธรรมนูญเหล่านั้นล้วนแต่อ้างถึงเหตุผลที่ทหารได้ "อาสามารับใช้ชาติ" เพราะความฉ้อฉลของรัฐบาลชุดก่อนและการเข้ามายุติความขัดแย้งหรือภัยจากศัตรูคือคอมมิวนิสต์ในยุคก่อนอันเป็นการโหมโรงก่อนรัฐธรรมนูญมาตราอื่นซึ่งมักสอดใส่เรื่องสนองผลประโยชน์ของตนเช่นนิรโทษกรรมแก่ผู้ทำรัฐประหาร (มีคนออกมาแขวะว่าทำไมยังไม่มีใครออกมาเป่านกหวีดประท้วง ?) รวมไปถึงการให้อำนาจของคณะรัฐประหารก้ำกึ่งกับฝ่ายบริหารที่จะเกิดขึ้น (และสมาชิกก็คือพวกตัวเองนั้นแหละ) อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ดูเหมือนจะงดประณามรัฐบาลของยิ่งลักษณ์หรือเครือข่ายทักษิณเหมือนฉบับก่อนอันนำไปสู่การคาดเดาได้ต่างๆ นาๆ เช่นอาจไม่ต้องการให้คนซึ่งฝักใฝ่เสื้อแดงเกิดความไม่พอใจอันอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหม่ในอนาคต หรืออาจจะมีการเกี้ยะเซี้ยะกับอีกฝ่าย ด้วยเป็นที่น่าสนใจว่า คสช.ปล่อยให้ ยิ่งลักษณ์เดินทางไปต่างประเทศในช่วงที่ปปช.ตัดสินความผิดของยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องจำนำข้าวพอดี 

แต่สำหรับผู้เขียนเห็นว่าการหลีกเลี่ยงการประณามรัฐบาลชุดก่อนตามจารีตอันดีงามของรัฐประหารนั้น ได้สร้างปัญหาให้กับคนเขียนว่าจะต้องไปให้น้ำหนักของปัญหาของความมั่นคงมากจนเกินไป และยังต้องเขียนบรรยายขยายภาพความหายนะของประเทศจนน่าตกใจจนดูเหมือนภาพยนตร์แนวหายนะที่ทำรายได้ถล่มทลายของภาพยนตร์ฮอลลีวูด  แต่ถ้าเรานึกถึงการที่กำนันสุเทพ (ซึ่งได้บวชเป็นพระในวัดที่เขาไม่คู่ควรแม้แต่จะก้าวเท้าเข้าไปเสียด้วยซ้ำ) ออกมาแฉถึงการติดต่อระหว่างกองทัพกับ กปปส.ซึ่งมีส่วนในการก่อความขัดแย้งตั้งแต่ปี 2553 นั้น หากคำพูดของเขาเป็นจริง ก็เท่ากับอารัมภบทเช่นนี้น่าจะถูกเขียนตั้งแต่ก่อนการก่อหวอดของกลุ่ม กปปส.หรือการรัฐประหารโดยระบบราชการและศาลต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือว่าแท้ที่จริงอารัมภบทนี้คือสคริปต์ที่เป็นตัวกำหนดบทบาทและกลยุทธ์ของตัวละครทางการเมืองทั้งหลายซึ่งมีผลต่อวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เราได้ประสบพบมาหลายเดือนเสียด้วยซ้ำ ! 

ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องน่าสนใจว่าสาธารณชนจะให้ความสนใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเช่นนี้มากน้อยเพียงใด เช่นเดียวกันสาธารณชนควรจะเตรียมพร้อมและแสวงหาสิทธิในการวิพากษ์รัฐธรรมนูญฉบับในอนาคตว่าเนื้อหานั้นถูกต้องและเหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด แต่ผู้เขียนเดาเอาว่านอกจากขีดจำกัดทางกฎหมายที่ถูกยัดเหยียดโดยคสช.ให้กับนักวิชาการทั้งหลายแล้ว โดยวิสัยของมวลชนที่ยังเปี่ยมสุขด้วยหลายเรื่องที่คสช.ประเคนให้ไม่ว่าไม่ว่าการจ่ายเงินให้กับชาวนา การปลดผู้ว่ารถไฟเพราะกรณีน้องแก้ม การจัดคิวรถ การคืนความสุขโดยการจัดปาหี่นานาชนิด ฯลฯ แล้ว ความตื่นตัวและพลังต่อต้านรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็คงจะขาดพลังไปมาก ที่สำคัญการยืนยันของรัฐบาลทหารว่าจะไม่ให้มีการลงประชามติก็จะทำให้การถกเถียงกันอย่างละเอียดดังในปี 2550 นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะมองรัฐธรรมนูญในเชิงวิพากษ์ นอกจากจะกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ได้ถูกบันดาลจากเบื้องบน

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าไม่น้อยดังที่นักวิชาการหลายท่านชี้ให้เห็นว่าสำหรับสังคมไทยนั้น รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งสำคัญกว่าฉบับตัวหนังสือ ทั้งที่ในโลกตะวันตกนั้น รัฐธรรมนูญฉบับหนังสือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับประชาชนเพราะมันเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดขอบเขตและความสูงต่ำของกฎหมายต่างๆ รวมไปถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจขององค์กรต่างๆ ของรัฐรวมไปถึงประชาชน และตัวหนังสือในรัฐธรรมนูญถึงแม้อาจจะมีข้อบกพร่อง สามารถถูกตีความได้แตกต่างกันแต่ก็ยังมีหลักยึดที่ชัดเจนกว่ารัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมที่หาความแน่นอนไม่ได้  นอกจากนี้ยังน่าเสียดายว่าก่อนการทำรัฐประหารนั้นได้มีการจัดงานเสวนาและการถกเถียงระหว่างนักวิชาการเสื้อสีต่างๆ  ผ่านสื่อมวลชนเกี่ยวกับการตีความในรัฐธรรมนูญปี 2550  จนน่าจะขยายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างใหม่นั้นคือทำให้คนตื่นตระหนักถึงประชาธิปไตยที่มีศูนย์กลางคือรัฐธรรมนูญ (ที่เป็นตัวหนังสือ) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยใกล้เคียงกับรัฐธรรมนูญฉบับอันเป็นลักษณะเดียวกับประเทศที่มีการปกครองประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมตะวันตก  แต่ปรากฏการณ์เช่นนี้ก็ได้ล้มเหลวอันเกิดจากการปิดกั้นเสรีภาพของรัฐสตาลินแบบไทยๆ  รัฐธรรมนูญไทยจึงยังคงขาดความศักดิ์สิทธิ์ดังในอดีตและจำนวนของรัฐธรรมนูญก็สามารถเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ  ในอนาคตอย่างไร้ขีดจำกัด เพราะวัฒนธรรมไทยที่เน้นการถูกกำหนดจากเบื้องบนมากกว่าเบื้องล่างหรืออาวุธปืนมีพลังมากกว่าเหตุผล

นอกจากนี้ที่มาของรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งอย่างเช่นรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งถือได้ว่ามาจากเจตจำนงของประชาชนอย่างแท้จริงเพราะมาจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ สสร.ที่มาจากการเลือกของประชาชน การร่างก็ย่อมนึกถึงเรื่องการให้อำนาจแก่ประชาชนและรัฐบาลที่มาจากประชาชนเป็นหลัก แม้จะก่อให้เกิดองค์กรอิสระซึ่งกลายเป็นตัวทำลายรัฐบาลในตอนหลัง รวมไปถึงจุดอ่อนหลายๆ ข้อดังที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550  ซึ่งถูกใช้ผ่านประชามติเชิงบังคับได้อ้างก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มีคุณค่าเสมือนกับสมุดการบ้านที่ประชาชนได้ฝึกซ้อมความเป็นพลเมือง นอกจากนี้ผู้เขียนยังคิดว่าการร่างรัฐธรรมนูญแต่ละครั้ง ย่อมเกิดจากการที่คนร่างคำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเองหรือ "นายจ้าง"ของตัวเองเป็นสำคัญ การที่ใครหลายคนยกย่องรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นต้นเพราะสามารถคานอำนาจกับฝ่ายบริหารได้มากๆ  จากกลุ่มผลประโยชน์อื่นเช่นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรที่เราเชื่อมั่นว่า "ดี" ก็เพราะเราไม่เคยตรวจสอบเขาได้อย่างจริงจังเลยว่ามีพฤติกรรมแตกต่างจากนักการเมืองมากน้อยแค่ไหน

อย่างในตอนนี้ใครหลายคนอาจมีความสุขกับรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจแก่คสช.อย่างมหาศาลอันจะเป็นตัวรับประกันเสถียรภาพและความสงบสุขภายใต้รองเท้าบู๊ต แต่ว่าในอนาคตถึงแม้ระบอบและเครือข่ายทักษิณจะปลาสนาการจากโลกนี้โดยสิ้นเชิง  คนไทยก็ยังมีความสุขแบบเด็กไม่รู้จักโตเสียทีเพราะรัฐธรรมนูญต่อไปนี้ซึ่งมักถูกอ้างว่าเป็นการระงับการทำงานประชาธิปไตยเพียงชั่วคราว (เพื่อให้คนไทยได้ตายใจ) นั้นก็ได้กำหนดแผนที่ทางอำนาจให้พรรคการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นฝ่ายด้อยอำนาจกว่าระบบราชการ สถาบันการเมืองเหล่านั้นถูกจับดองในโหลนั้นคือจะต้องขาดพัฒนาการไปตลอดกาล  ประเทศไทยก็จะไม่มีการเรียนรู้ประชาธิปไตยโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางนั้นคือนักการเมืองที่มาจากการเลือกจะตกอยู่ใต้อำนาจของข้าราชการและนักการเมืองที่มาจากการสรรหา คนไทยในอนาคตก็จะคุ้นชินกับการปกครองเผด็จการเบ็ดเสร็จ โดยกลุ่มคณาธิปไตยที่เน้นผลประโยชน์ตัวเองไปเรื่อยๆ เนียนๆ  ภายใต้ผ้าคลุมของประชาธิปไตยอันอาจจะดูเหนือชั้นกว่าเพียงเล็กน้อยตามสายตาของคนที่เกลียดทักษิณคือ “ประชาธิปไตยที่ปราศจากทักษิณ" แต่หารู้ไม่ว่ามีคนแบบทักษิณอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่เต็มไปหมด

ดังนั้นผู้เขียนมองว่าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญของคสช.คือจุดเริ่มต้นโศกนาฏกรรมของรัฐธรรมนูญไทย


เชิงอรรถ
(1) กระนั้นผู้เขียนในฐานะที่ไม่ได้ศรัทธาในนโยบายต่างประเทศของตะวันตกแอบมาคิดเล่นๆ ว่าอาจจะเป็นการนัดแนะหรือการตกลงกันระหว่าง คสช.กับตะวันตกหรือไม่เพื่อสร้างฉากทางการเมืองบางประการอันจะเป็นทางออกให้ตะวันตกสามารถเชื่อมความสัมพันธ์กับไทยได้เหมือนเดิมด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มากมายรวมไปถึงอิทธิพลของบริษัทข้ามชาติ
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิษณุ เครืองามเปรียบ รธน.ชั่วคราว 2557 เป็นแม่น้ำ 5 สายของโรดแม็ป

$
0
0

ถ่ายสดที่ปรึกษา คสช. อธิบาย รธน.ชั่วคราว "พรเพชร วิชิตชลชัย" ย้ำ ม.44 ไม่แรง ใช้สร้างบรรยากาศที่ดีสู่การปฏิรูป ถ้ารบ.ทำตามปกติไม่ได้ คสช. ก็ทำให้ "วิษณุ เครืองาม" ระบุเนื้อหา รธน.เข้มงวดกวดขันแต่จำเป็นเพื่อไม่ให้คนบ่นว่า "เสียของ" แจงโครงสร้างแม่น้ำ 5 สาย "สนช.-ครม.-สปช.-กมธ.ยกร่าง-คสช." ย้ำอำนาจ คสช. ไม่ใช่พี่เลี้ยง ครม. แต่วางไว้ป้องกันเหตุแทรกซ้อน

ที่มาของภาพ: ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล

23 ก.ค. 2557 - วันนี้ (23 ก.ค.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช., นายพรเพชร วิชิตชลชัย ที่ปรึกษา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ร่วมแถลงความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ทั้งนี้การแถลงดังกล่าวมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยด้วย (คลิกเพื่อชมเทปบันทึกภาพ)

 

พรเพชร วิชิตชลชัย ระบุ รธน.ชั่วคราวมีเนื้อหายาว เพราะเขียนเรื่องพระราชอำนาจ

ทั้งนี้นายพรเพชร ซึ่งเคยเป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมัยรัฐธรรมนูญ 2550 และเสนอให้เพิ่มโทษในมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาด้วย กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมาพูดในสิ่งที่ประชาชนคนใจให้ความสนใจ "หลายท่านอาจรู้สึกเหมือนผมที่เห็นภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระบรมราชวโรกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2557"

รัฐธรรมนูญนี้ถึงแม้จะเป็นฉบับชั่วคราว แต่ความรู้สึกแรกก็คือ บ้านเมืองของเรากำลังมีกฎกติกาที่แน่นอน มีหลักกฎหมาย คือกฎหมายสูงสุด เป็นนิติรัฐ มีรัฐที่ยึดถือกฎหมาย มีกติกาการอยู่ร่วมกันของประชาชนกับองค์กรที่ใช้อำนาจประชาธิปไตย อีกความรู้สึกประการต่อมาคือ ความชัดเจนของแนวทางการพัฒนาการเมืองของประเทศไทย ว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด เพื่อนำไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่เรียกกันว่าโรดแม็ป ถ้าจะพูดอีกในรูปแบบหนึ่งคือ "การปฏิบัติตามพันธะสัญญาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ที่จะดำเนินการอย่างไร ด้วยวิธีการและรูปแบบอย่างไร และกำหนดระยะเวลาอย่างไร ดังจะเห็นได้ชัดเจนถึงกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้อย่างละเอียด แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะไปสู่จุดหมายของประชาธิปไตย ภายในกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน

"แต่ความรู้สึกเหนือสิ่งอื่นใดที่ผมสัมผัสได้เมื่อเห็นภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่หัวหน้า คสช. ก็คือ ความรู้สึกที่ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ใต้การปกครองของรัฐธรรมนูญฉบับใด จะเป็นฉบับถาวรหรือฉบับชั่วคราว แต่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองสูงสุด แม้รัฐธรรมนูญจะเขียนว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งตามหลักรัฐศาสตร์เรียกว่า "Constitutional Monarchy" แต่พระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นเป็นยิ่งกว่าผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ไม่สามารถผู้มีเกียรติจะรู้สึกเหมือนผมหรือไม่ว่า เมื่อเห็นภาพที่ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น ผมในฐานะคนไทย รู้สึกอบอุ่น และมั่นคงว่า เราอยู่ภายใต้การปกครองที่มี "พ่อของแผ่นดิน" ดูแลอยู่ ถ้าท่านอ่านตารางเปรียบเทียบของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเห็นได้ว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวครั้งนี้ มีบทบัญญัติที่ชัดเจนถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในเรื่องต่างๆ ที่พวกเราคนไทย อยากให้ทรงมีพระราชอำนาจนั้น เช่น พระราชอำนาจในการอภัยโทษ พระราชอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลต่างๆ เป็นต้น นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ค่อนข้างจะยาว มากกว่าฉบับชั่วคราวอื่นๆ เพราะได้เขียนไว้มากในเรื่องพระราชอำนาจ ยืนยันถึงพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

หมวดพระมหากษัตริย์คงเดิม แต่เขียนให้ชัดขึ้นเรื่องพระราชอำนาจ

ในส่วนของโครงสร้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญนั้น นายพรเพชร อธิบายว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ จัดโครงสร้างขององค์กรต่าง ๆ ไว้ชัดเจน องค์กรแรกคือพระมหากษัตริย์ ดังนี้จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ แม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะให้คงบทบัญญัติของหมวด 2 ของพระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไว้ให้ยังบังคับใช้อยู่ แต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้เขียนให้ชัดเจนถึงพระราชอำนาจในเรื่องต่างๆ เช่น พระราชอำนาจในการใช้อำนาจอธิปไตยแห่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี พระราชอำนาจในการแต่งตั้งต่างๆ พระราชอำนาจที่สำคัญคือพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายและร่างรัฐธรรมนูญ เขียนไว้ชัดเจน พระราชอำนาจในการทำสัญญากับนานาประเทศ นอกจากนั้น ยังทรงมีพระราชอำนาจอื่นตามที่กำหนดไว้ในประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนองคมนตรีนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของหมวดพระมหากษัตริย์ซึ่งคงไว้เช่นเดิม

สนช. ครม. มีการกำหนดคุณสมบัติต้องห้าม

องค์กรต่อไปคือสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่นิติบัญญัติ คือหมายความว่าการจะออกกฎหมายต่าง ๆ เป็นหน้าที่ขององค์กรนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีจำนวนไม่เกิน 220 คน รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ เป็นอำนาจของหัวหน้า คสช. ที่จะคัดเลือกจากบุคคลภาคต่าง ๆ แล้วนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงแต่งตั้ง ข้อสังเกตประการหนึ่งเกี่ยวกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็คือ ครั้งนี้รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดคุณสมบัติไว้หลายประการ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม แตกต่างจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับก่อน ๆ สำหรับคณะรัฐมนตรีก็คงรูปแบบเดิมที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับคือ คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน คุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของคณะรัฐมนตรีก็เช่นเดียวกัน ชัดเจนว่าจะต้องประกอบด้วยผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม ต้องมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง และก่อนจะทำงานต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อองค์พระมหากษัตริย์

ยืนยันมาตรา 44 ไม่แรง มีใช้สร้างความสงบสุข สร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิรูป

องค์กรต่อไปที่ท่านคงสนใจและเดี๋ยวอาจจะซักถามอาจารย์วิษณุ ต่อไปก็คือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาตินั้นรัฐธรรมนูญชั่วคราวบัญญัติให้ยังคงไว้อยู่ต่อ เพื่อดูแลตามวัตถุประสงค์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติคือในเรื่องของความมั่นคง ดูแลให้ประเทศชาตินั้นเดินไปได้ ดูแลในเรื่องการปฏิรูป ปรองดอง เพื่อที่กระบวนการต่างๆ ไม่ว่าในด้านนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการจะดำเนินการไปได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาตินั้นจำนวนสมาชิกอาจจะเพิ่มขึ้นได้แต่ไม่เกิน 15 คน ที่สำคัญคือมีการทำงานร่วมกันกับคณะรัฐมนตรีในลักษณะของการปรึกษา การที่จะแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบในเรื่องความเห็นที่จะต้องดำเนินการ แต่ว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ได้เข้าไปทำงานในส่วนที่เป็นของคณะรัฐมนตรี อยู่ข้างนอก

ในส่วนของอำนาจตามมาตรา 44 นั้น นายพรเพชรอธิบายว่า อำนาจที่อาจจะบอกว่าเป็นอำนาจเด็ดขาด เป็นอำนาจตามแบบมาตรา 17 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ขอเรียนว่ามาตรา 44 ไม่ได้แรงขนาดนั้น มาตรา 44 มีวัตถุประสงค์สร้างความสงบสุข ปึกแผ่น มีบรรยากาศที่ดีไปสู่การปฏิรูป ถ้ามีสิ่งใดที่รัฐบาลตามปกติทำไม่ได้ คสช. ก็มีอำนาจทำได้ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว

ส่วนสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว นายพรเทพกล่าวว่า สิ่งนี้เป็นหลักการสำคัญของหัวหน้า คสช. ที่ได้มอบหมายภารกิจมาว่าจะทำอย่างไรที่จะสนองตอบต่อความต้องการการปฏิรูปในมิติด้านต่างๆ เป็นโจทย์ที่ยากมาก เพราะการที่จะระดมความคิดส่วนต่างๆ แล้วให้เกิดผล คงต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน "ด้วยเวลาที่จำกัด เราคงไม่สามารถที่จะใช้วิธีการที่เรียกว่าให้ภาคส่วนต่างๆ คัดเลือกกันมาหรือทำนองนั้น เลยใช้วิธีสรรหา"

วิษณุเปรียบรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เป็นต้นธารแม่น้ำ 5 สาย

ด้านนายวิษณุ กล่าวว่า ถือว่าเข้าสู่ช่วงเวลาที่ 2 ตามแผนและขั้นตอน หรือที่เรียกว่า "โรดแม็ป" ซึ่งหัวหน้า คสช. ประกาศไว้หลายวันก่อน ซึ่งโรดแม็ปเริ่มต้นด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ซึ่งตรงกับวันครบกำหนด 2 เดือนพอดีในการ "เข้าครองอำนาจ" ในวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่ 19 แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งรวมทั้งฉบับถาวรและฉบับชั่วคราว โดยไม่นับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

คำว่า "ฉบับชั่วคราว" มีความหมายว่าให้ใช้บังคับไปพลางก่อน คาดว่าจะมีระยะเวลา 1 ปี บวกลบ ระหว่างรอการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และเมื่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร หรือฉบับที่ 20 เสร็จสิ้น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญต่างๆ ดำเนินการเสร็จสิ้นก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรดแม็ป คือ การจัดการเลือกตั้งเพื่อคืนการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกลับสู่ประเทศ โดยมีความเชื่อว่าในช่วงเวลาประมาณ 1 ปี นับจากนี้ไปจะสามารถจัดการปัญหาที่ค้างคาและเป็นชนวนให้เกิดความคับแค้น ความไม่สงบเรียบร้อยในช่วงที่ผ่านมาได้เป็นผลสำเร็จ หรืออย่างน้อยในระดับหนึ่ง

ความจำเป็นในช่วงเวลาประมาณ 1 ปี จากนี้ไปก็คือ ทำอย่างไรหนอ ที่จะไม่ให้เกิดเสียงบ่น หรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าสิ่งที่อุตส่าห์ลงแรงทำมาในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานั้น เป็นสิ่งที่เสียของ หรือสูญเปล่า เพราะเหตุดังนี้เอง ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราว จึงจำเป็นต้องวางหลักการที่อาจดูเข้มงวดกวดขัน หรืออาจจะดูพะรุงพะรัง อาจจะดูว่ายุ่งยากไปบ้าง แต่ก็มีความจำเป็น เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นเหมือนกับต้นธารหรือต้นสายแม่น้ำ 5 สาย ที่จะหลั่งไหล พรั่งพรู นับแต่นี้ไปที่จะจะต้องเดินหน้า” นายวิษณุ กล่าว

แม่น้ำสายแรก "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" 220 คน ไม่มีการสมัคร หัวหน้า คสช. พิจารณาเอง

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า แม่น้ำหรือแควสายที่หนึ่งที่จะแยกไป คือ การเกิด "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" หรือ สนช. ซึ่งจะทำหน้าที่นิติบัญญัติ มีสมาชิกไม่เกิน 220 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของหัวหน้า คสช. โดยหัวหน้า คสช. จะเป็นผู้พิจารณาโดยเลือกสรรเพื่อนำกราบบังคมทูล ซึ่งสมาชิก สนช.ทั้ง 220 คน ทั้งนี้จะไม่มีการสมัคร แต่หัวหน้า คสช. จะเป็นผู้พิจารณาโดยอาศัยฐานข้อมูลต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เช่น ให้ครอบคลุมสาขาอาชีพ ครอบคลุมจังวัดพื้นที่ ภูมิภาค ครอบคลุมวัย โดยคุณสมบัติสำคัญของผู้ที่จะเข้ามาเป็น สนช. ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 40 ปี ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองในพรรคการเมือง หมายถึงดำรงตำแหน่งของพรรคการเมือง หมายความว่า ไม่ได้ขัดข้องที่จะตั้งนักการเมืองในอดีตซึ่งมิได้มีตำแหน่งในพรรคการเมือง อาทิ หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค ผู้บริหารพรรค เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงสมาชิกของพรรคการเมือง

นายวิษณุ กล่าวว่า สนช.มีอำนาจหน้าที่สำคัญ 4 ประการ ประกอบด้วย การออกกฎหมาย เหมือนกับ ส.ส.ส.ว.ในอดีต รวมถึงการอนุมัติพระราชกำหนดที่รัฐบาลจำเป็นต้องออกเร่งด่วน หรืออำนาจให้ความเห็นชอบสนธิสัญญาและหนังสือสำคัญที่รัฐบาลทำกับต่างประเทศ อำนาจหน้าที่ประการที่สองของ สนช.คือ การให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ส่วนจะเลือกจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก สุดแต่สภาฯจะพิจารณาเองไม่มีข้อกีดกันหรือจำกัด

อำนาจที่สาม คือ การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินหรือการทำงานของรัฐบาล โดยจำกัดเพียงการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี ไม่รวมถึงการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อซักฟอก ถ้ามีปัญหาสงสัยในการทำงานอาจเชิญรัฐบาลมาสอบถามหรือที่เรียกว่าอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ

อำนาจที่สี่คือ การให้ความเห็นชอบบางเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดว่าต้องมาที่สภา เช่นการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง เช่น อัยการสูงสุด เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมถึงให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญ

แม่น้ำสายสอง "คณะรัฐมนตรี" เปิดทาง ขรก. รัฐวิสาหกิจ เพราะต้องการ "บุคคลมีความรู้ความสามารถ"

นายวิษณุ กล่าวว่า แม่น้ำสายที่ 2 คือ คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหนึ่งคน และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวนไม่เกิน 35 คน รวมเป็น 36 คน ซึ่งเป็นตัวเลขเดิม ครม.จะแต่งตั้งจากบุคคลใดก็ได้ เป็นข้าราชการประจำ ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจก็ได้ เพราะได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นห้วงเวลาที่ไม่ปกติ ซึ่งใช้เวลาสั้นเพียง 1 ปี จึงสมควรเปิดทางให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ควบคู่กันไปเป็นรายกรณี ถือเป็นเรื่องปกติภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว

อำนาจหน้าที่ของ ครม.แต่เดิมคือการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เนื่องจากปัจจุบันเป็นช่วงเวลาไม่ปกติ และต้องการป้องกันไม่ให้ถูกกล่าวหาว่า “เสียของ” หรือสูญเปล่า จึงกำหนดเป็นครั้งแรก ให้ ครม.มีอำนาจเพิ่มอีก 2 อย่าง นอกจากการบริหารราชการแผ่นดิน คือ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ ทั้งที่ดำริเอง หรือตามข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือวงการอื่นๆ และ ให้ ครม.มีอำนาจและหน้าที่ในการสร้างความสามัคคีปรองดองแลการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม โดยถือเป็นพันธกิจที่ ครม.ต้องปฏิบัติ

แม่น้ำสายสาม "สภาปฏิรูปแห่งชาติ" มีวาระ 11 เรื่อง สรรหามาจากจังหวัด และความเชี่ยวชาญ

นายวิษณุ กล่าวว่า แม่น้ำสายที่ 3 คือ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีสมาชิกไม่เกิน 250 คน มาจากการสรรหา ซึ่งแบ่งออกเป็นมาจากจังหวัดต่างๆ และ กทม. รวม 77 คน โดยสรรหามาจากแต่ละจังหวัด โดยแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการสรรหาจังหวัดละ 1 คณะ เพื่อหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและเป็นที่เคารพนับถือ มีความสามารถ มีเวลา เข้ามาเป็นผู้แทนจังหวัดละ 1 คน โดยเลือกเข้ามาจังหวัดละ 5 คน และให้ คสช.เลือก 1 คน ในส่วนอีก 173 คนที่เหลือ จะเป็นการกระจายมาจากทั่วประเทศไม่ผูกพันกับจังหวัดหรือพื้นที่ใด แต่ผูกพันจากด้านต่างๆ 11 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเมือง ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงาน ด้านสื่อสารมวลชน ด้านสังคม และด้านอื่นๆ

จะมีคณะกรรมการสรรหาประจำด้านละ 1 ชุด ผู้ที่เป็นกรรมการสรรหาจะไม่มีโอกาสรับเลือกเป็น สปช. โดยการสรรหาสมาชิก 173 คน จากทั่วประเทศจะให้ใช้วิธีการเสนอชื่อเข้ามา ห้ามสมัครเอง หรือแสดงความจำนงว่าอยากเป็น จะต้องมีองค์กรหรือนิติบุคคล สมาคม มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา หรือแม้แต่วัด รับรองและเสนอชื่อเข้ามาองค์กรละ 2 คน ว่าจะเข้ามาปฏิรูปด้านใด ดังนั้นใครอยากสมัครเข้ามาเป็น สปช.ต้องหาองค์กรรองรับเพื่อเสนอชื่อเข้ามาว่าจะปฏิรูปด้านใด แต่เมื่อเข้ามาแล้วก็สามารถขอเปลี่ยนไปปฏิรูปด้านอื่นได้  โดยคณะกรรมการสรรหาจะคัดเลือกผู้ที่องค์กรต่างๆ เสนอชื่อเข้ามาด้านละไม่เกิน 50 คน รวมแล้ว 550 คน จาก 11 ด้าน ส่งไปยัง คสช.เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียง 173 คน

นายวิษณุ กล่าวว่า อำนาจหน้าที่ของ สปช. คือ การเสนอแนะแนวทางปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้เลย ก็ส่งไปยังรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือ คสช.ดำเนินการทันที แต่ถ้าเรื่องใดต้องมีกฎหมายรองรับจะต้องขอให้สปร. ยกร่างกฎหมาย ก่อนนำเสนอให้ สนช. ซึ่งหมายความว่า สปช.สามารถเสนอกฎหมายได้โดยเสนอผ่าน สนช. อำนาจหน้าที่ประการที่สอง ของ สปช. คือการให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

แม่น้ำสายสี่ "กมธ.ยกร่าง" ให้เวลา 120 วันร่างรัฐธรรมนูญ

นายวิษณุ กล่าวว่า แม่น้ำสายที่สี่ คือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรมมนูญ หรือ "กมธ.ยกร่าง" จำนวน 36 คน โดยมาจาก สปช.เสนอ 20 คน  มาจาก สนช.เสนอ 5 คน มาจากที่ ครม.เสนอ 5 คน และจากที่ คสช.เสนอ 5 คน โดย คสช.จะเป็นผู้เสนอคนขึ้นมาเป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง อีก 1 คน ซึ่งกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญนี้จะมีอำนาจมาก คนที่จะเป็น สปช.ไม่มีข้อห้ามว่าคนที่เป็นสมาชิกพรรค เป็นกรรมการบริหารพรรค หรือมีตำแหน่งในพรรค สามารถเข้ามาเป็นได้ โดยมีอายุตั้งแต่ 35 ปี อย่างน้อย จะเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผอ.เทศบาลได้ทั้งสิ้น เพราะงานปฏิรูปเป็นงานของประเทศ จึงพยายามให้มีข้อจำกัดน้อยที่สุด จบ ป.4 ก็เข้ามาเป็นได้

แต่ผู้ที่จะเข้ามาเป็น กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คน โดยต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นพิเศษ ทำงานแข่งกับเวลา เพราะกำหนดให้เวลาทำงานเพียง 120 วัน หรือ 4 เดือน ต้องร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้คนทั้งประเทศเห็นจะต้องเสร็จ คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาเป็น "กมธ.ยกร่าง" จะต้องไม่เคยดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง 3 ปี ก่อนย้อนหลัง พยายามเอาคนที่ปลอดจากการเมืองมาร่างรัฐธรรมนูญ และห้ามคนที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ เช่น กกต. ปปช. ศาลรัฐธรรมนูญ เข้ามาเป็น กมธ.ยกร่าง รวมถึงห้าม กมธ.ยกร่าง ทั้ง 36 คน ไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ในอนาคตอีกไม่ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ถือเป็นการกันทั้งอดีต และอนาคต ซึ่งหมายความว่าคนที่จะเข้ามาเป็นนั้นนอกจากมีความรู้ ความสามารถ มีเวลา มีความคิดแล้วต้องเสียสละเป็นพิเศษ

นายวิษณุ กล่าวว่า ทั้งนี้เมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ เสร็จก็ให้นำเสนอต่อ สปช.ให้ความเห็นชอบ ซึ่งอาจมีการขอแก้ไขหรือแปรญัตติได้ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของ กมธ.ยกร่างฯ และเพื่อป้องกันไม่ให้กมธ.ยกร่างฯ ไปร่างตามใจชอบ รัฐธรรมนูญชั่วคราวได้กำหนดกรอบไว้ว่า กมธ.ยกร่างฯ จะต้องร่างภายใต้กรอบสำคัญ 4 ด้าน คือ กรอบที่ สปช.ให้ไว้ตั้งแต่ต้น กรอบที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 ฝากไว้ในมาตรา 35  เช่น การกำหนดเป็นรัฐเดี่ยว การปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการป้องกันขจัดการทุจริต แลการป้องกันไม่ให้คนที่เคยได้ชื่อว่าทุจริตหรือโกงการเลือกตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาดในอนาคตรวมทั้งกำหนดหลักการในการวางมาตรการป้องกันไม่ให้มีการนำงบประมาณแผ่นดินมาใช้ในการมุ่งหาเสียงหรือประโยชน์ใส่ตนโดยทุจริตมิชอบรวมทั้งการทบทวนความจำเป็นว่าควรจะใส่เรื่ององค์กรอิสระอะไรเอาไว้ในรัฐธรรมนูญบ้างเพราะอาจมีหลายองค์กรที่ไม่มีความจำเป็น อาจออกเป็นกฎหมายธรรมดาก็พอ แต่ไม่ได้หมายความว่าบังคับให้ยกเลิกการตั้งองค์กรอิสระเพียงแต่ให้ไปทบทวนความจำเป็น หรือเห็นควรว่าควรมีสิ่งใดใหม่ก็ต้องพิจารณา

แม่น้ำสายที่ห้า คือ คสช. ยืนยันไม่ใช่พี่เลี้ยง ครม. แต่วางไว้ป้องกันปัญหาแทรกซ้อน

นายวิษณุ กล่าวว่า แม่น้ำหรือลำธารสายสุดท้ายหรือสายที่ 5 คือตัว คสช. ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้คงอยู่ต่อไป เพียงแต่อาจเพิ่มจำนวนจากปัจจุบัน 6-7 คน ให้มีเพิ่มไม่เกิน 15 คน อำนาจหน้าที่ของ คสช.มีเพียงแค่ หนึ่ง เสนอแนะให้ ครม. พิจารณาปฏิบัติในเรื่องใด ถ้า ครม.พิจารณาแล้วอาจจะไม่ปฏิบัติก็ได้

นอกจากนี้อำนาจหน้าที่ประการที่สองของ คสช. คือ ยังมีอำนาจหน้าที่เชิญ ครม. ประชุมร่วมกันหารือปัยหาสำคัญของประเทศ ถ้า คสช. ไม่เชิญไป ครม.สามารถเชิญ คสช. ได้

“ไม่มีที่ใดในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 นี้ กำหนดให้ คสช.มีอำนาจปลดรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีดังที่มีผู้ร่ำลือ ไม่มีที่ใดที่กำหนดให้ คสช.เป็นพี่เลี้ยงหรือเปลือกหอยให้ ครม. และไม่ได้กำหนดให้ คสช. มีอำนาจบังคับบัญชา ครม. หรือข้าราชการประจำ เพียงแต่ให้ คสช.มีอยู่เพื่อดูแลแบ่งเบาภาระ ครม.ในด้านความมั่นคง การรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อที่ ครม. จะได้ทำงานบริหารราชการแผ่นดิน ไม่วอกแวกกับปัญหาแทรกซ้อนในช่วงเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่ง คสช. ก็จะรับภาระไปดำเนินการ รวมทั้งการสร้างความสมานฉันท์ ปรองดอง สามัคคี"

วิษณุยืนยันมาตรา 44 ใช้อำนาจเพื่อการสร้างสรรค์ไม่ใช่ปราบปราม และหลีกเลี่ยงไม่ใช้วิธีนอก รธน.

นายวิษณุกล่าวถึงมาตรา 44 ว่า อย่างไรก็ตามเพื่อให้ คสช. มีอำนาจในการดำเนินการเรื่องต่างๆ ในกรณีเกิดความจำเป็นสุดขีด โดยไม่ต้องหาวิธีการนอกรัฐธรรมนูญอื่นใดอีก จึงได้กำหนดในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญให้ คสช. อาจใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 ว่าถ้ามีกรณีจำเป็นต้องใช้อำนาจเพื่อการสร้างสรรค์ ไม่ใช้เพื่อการปราบปราม คสช. ก็อาจใช้อำนาจพิเศษได้แม้แต่จะใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติ แต่ไม่ใช่ไปมีอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ  ซึ่ง คสช.คงไม่ได้ใช่บ่อยครั้งหรือพร่ำเพรื่อ ซึ่งทุกยุคที่มีการยึดอำนาจในอดีต เกือบทุกยุคทุกสมัย แต่ก็ไม่ได้ปรากฏว่าใช้ทุกยุคทุกสมัย แต่ก็จะใช้ในยามที่ไม่อาจใช้กระบวนการปกติได้เท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญอื่นใดอีก ที่สำคัญอาจจะใช้เพื่อการสร้างสรรค์และทำในสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ที่คณะรัฐมนตรีเองอาจจะใช้ลำบาก เพราะติดขัดในข้อกฎหมาย รวมทั้งปัญหาหลายอย่าง ทั้งหมดนี้คือลำธาร 5 สายแยกไปจากรัฐธรรมนูญ" นายวิษณุกล่าว

นายวิษณุกล่าวต่อไปว่า แน่นอนครับรัฐธรรมนูญนี้แม้จะมี 48 มาตรา ซึ่งยาวกว่าในอดีต แต่ก็ยังถือว่าสั้นเมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

"หลายคนอาจจะสงสัยว่ามี 48 มาตราแค่นี้จะพอกินพอใช้ พอแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันหรือ เรื่องนี้ก็เป็นธรรมดาที่เขาจะต้องเขียนเอาไว้ สิ่งที่เราเคยรู้จักกันดีในอดีตเรื่องมาตรา 7 มันก็ต้องมาปรากฏอีกตรงนี้ว่า ถ้าไม่มีที่ใดบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ก็ให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หลายคนฟังแล้วก็พึมพำว่า "อ้อ ม. 7 มาอีกแล้ว"  ก็ที่มันยุ่งกันในอดีตไม่ใช่เพราะไม่รู้ว่า ม. นี้แปลว่าอะไรหรอกหรือ เราก็รู้ว่ามันยุ่ง แต่จะไม่เขียนไว้ก็ไม่ได้ เพราะถ้าไม่เขียนไว้ก็จะเกิดปัญหาช่องว่าง ขาดมาตราหลายมาตรา แต่ไม่ต้องกลัวว่าถ้าเขียนแล้วไม่รู้ว่ามันแปลว่าอะไร ถึงเวลาก็เถียงกันเหมือนกันว่าเป็นหรือไม่เป็นประเพณี คราวนี้ได้แก้ปัญหาว่าถ้าสงสัยว่าเรื่องใดเป็นประเพณีการปกครองหรือไม่ อย่าเพิ่งไปทะเลาะกัน ให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้คำปรึกษาล่วงหน้าได้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าเป็นประเพณี ทำได้ก็จะได้ทำ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกไม่เป็น ทำไม่ได้ก็จะได้ไม่ต้องทำ ไม่ต้องปล่อยให้ทำไปถูกๆ ผิดๆ แล้วมาวินิจฉัยทีหลังว่ามันไม่เป็น ที่ทำไปแล้วผิด แล้วก็ต้องหาตัวผู้รับผิดชอบ"

"ส่วนที่อาจารย์พรเพชรได้ชี้แจงแล้วว่าหลายอย่างไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญนี้ หลายคนสงสัยว่าศาลยังอยู่ไหม ไม่ว่าศาลยุติธรรม ศาลทหาร ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ตอบว่าอยู่ ยังอยู่ไปตามปกติ ถามว่าองค์กรอื่นเช่น กกต. ป.ป.ช. ยังอยู่ไหม ตอบว่าอยู่ไปตามปกติ เว้นแต่องค์กรที่ คสช. ได้ออกประกาศล่วงหน้าต่อก่อนหน้านี้ยกเลิกไปแล้ว นั่นก็แล้วไป อะไรที่เขาไม่ได้พูดถึงไว้ก็ทำหน้าที่กันต่อไปตามปกติจนกว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะมากำหนด และสุดท้ายอาจจะมีคำถามในใจหลายคนว่า รัฐธรรมนูญฉบับหน้าคือฉบับที่ 20 ที่จะไปร่างกันนั้น ร่างเสร็จแล้วจะเปิดให้ลงประชามติหรือไม่ ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้เขียนไว้ แต่ก็ไม่ได้ผิดทาง เป็นสิ่งที่สามารถที่จะไปพิจารณากันตามความจำเป็นในอนาคตได้"

รัฐธรรมนูญชั่วคราวจะอยู่จนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และอาจฝากงาน "สภาปฏิรูป" ทำต่อได้

"ข้อสำคัญก็คือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ทำสิ่งซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในอดีตไม่ได้เขียนไว้ แต่มีเขียนในครั้งนี้ข้อหนึ่งคือ เมื่อใดที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้คือฉบับที่ 19 ชั่วคราวนี้ มีปัญหาอย่างใดที่สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ แม้จะเป็นฉบับชั่วคราว คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจับมือกันเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อขอแก้ไขเพิ่มเติมบางเรื่องที่บกพร่องอยู่ หรือควรจะมีแม้จะเป็นฉบับชั่วคราวก็สามารถจะแก้ไขได้อนาคต คือได้พยายามทำให้มีความยืดหยุ่นที่สุด เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินและลำธาร 5 สายที่แยกออกไปจากรัฐธรรมนูญในวันนี้สามารถไหลได้คล่อง สามารถที่จะดำเนินการได้โดยไม่สะดุด พบสะดุดที่จุดไหนก็จะได้แก้ไขกันไป"

"และสุดท้ายที่มีคำถามในใจ ขออนุญาตตอบก่อนที่จะมีการถามในตอนหลังว่าลำธาร 5 สายจะอยู่ไปนานจนถึงเมื่อใด คำตอบ ตัวรัฐธรรมนูญฉบับนี้มันอยู่ไปจนมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ต้องเลิกแน่ เพราะของใหม่มาแทน ของเก่าก็หมดไป สนช. นั้นจะอยู่ไปจนกระทั่งถึงวันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาชุดหน้า คือมี ส.ส. สมัยหน้าเมื่อใด สนช. ก็ไม่จำเป็นและหมดไป คณะรัฐมนตรีจะอยู่ไปเมื่อใด จนกระทั่งถึงเมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่มารับไม้ส่งต่อครับ ชุดเก่าก็หมด ชุดใหม่ก็เข้ามาแทน สภาปฏิรูปแห่งชาติจะอยู่ไปจนถึงเมื่อใด คำตอบคือว่าเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ร่างเสร็จและเขียนเกี่ยวกับสภาปฏิรูปอย่างไร ก็ให้เป็นไปตามอย่างนั้น รัฐธรรมนูญฉบับหน้าอาจจะเขียนให้สภาปฏิรูปอยู่ทำหน้าที่ปฏิรูปเรื่องที่ค้างคาต่อไปก็ได้ หรือจะไม่ให้อยู่เพราะจะเวนคืนอำนาจนี้ให้เป็นของ ส.ส. ที่เขาเข้ามาก็ได้ ก็ฝากไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะทำหน้าที่เสร็จและหมดไปเมื่อใดก็เมื่อร่างเสร็จลงพระปรมาภิไธยเสร็จ ประกาศใช้ คณะกรรมาธิการก็สิ้นไปเมื่อนั้น และ คสช. จะอยู่ไปจนถึงเมื่อใด โดยหลักเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งก็คงจะไม่ได้เขียนเรื่อง คสช. เอาไว้ในฉบับใหม่อีก คสช. ก็จะหมดไปเมื่อนั้น ทั้งหมดนี้ก็คือแผนและขั้นตอนที่จะเกิดขึ้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปภายในระยะเวลาประมาณ 1 ปีบวกลบ ก็ขอกราบเรียนเพื่อความเข้าใจครับ"

"ประวิตร โรจนพฤกษ์" ยกมือถาม-ก่อนตัดจบถ่ายสดเพราะหมดเวลาถ่ายทอด

ทั้งนี้ ในการแถลงข่าวดังกล่าวการถ่ายทอดสดโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยใช้เวลาประมาณ 50 นาที ก่อนจะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ซักถาม โดยนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น โดยขอถามนายพรเพชร และนายวิษณุ 2 มาตรา คือ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เปรียบเทียบกับ มาตรา 17 ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 สมัยจอมพลสฤษฎดิ์ ธนะรัชต์  และมาตรา 48 เรื่องบทนิรโทษกรรม คสช.

กรณีมาตรา 44 นายประวิตรถามว่า ที่ระบุว่ากรณีหัวหน้า คสช. เห็นว่ามีความจำเป็น ให้หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. มีอำนาจสั่งการระงับยับยัง หรือกระทำการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้น จะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ  และให้ถือว่า คำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่ง หรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นที่สุด

นายประวิตรถามว่า "ตรงนี้นี่สามารถตีความได้ไหมครับว่า อำนาจของหัวหน้าคณะ คสช. ก็คือสูงสุด และอาจจะมีความคล้ายคลึงกับยุคสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ปกครองผ่านมาตรา 17 อันนี้คือความเป็นห่วงเป็นใย แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นเนี่ย จะถือได้ไหมครับว่า  ในความเป็นจริงแล้วอำนาจของหัวหน้า คสช. ในช่วงที่ยังมีการใช้ รัฐธรรมนูญชั่วคราวเนี่ย ก็ยังอยู่เหนือ ครม. และตัวนายกรัฐมนตรี"

ส่วนคำถามที่สองที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 48 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว นายประวิตรถามว่า "ขอถามไปที่ มาตรา 48 ที่พูดถึงว่า การกระทำใดๆ ที่โยงกับ การยึดอำนาจในวันที่ 22 พ.ค. ที่ผู้ปฏิบัติทุกท่าน "หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำนั้นพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง" จากนั้นประวิตรถามว่า "คำถามนี้อาจจะโยงเกี่ยวกับเรื่องการปรองดอง เพราะในขณะเดียวกัน ก็คงชัดว่า คสช. ไม่ต้องรับผิดชอบ ทางกฎหมายใดๆ กับการกระทำ ในการยึดอำนาจวันที่ 22 พ.ค. แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีประชาชน หรือคนจำนวนหนึ่งที่ ออกมาก่อการกระทำบางอย่าง โดยนายประวิตรยกตัวอย่าง กรณีนายจาตุรนต์ ฉายแสง หรือนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่ถูก คสช. ดำเนินคดี

อย่างไรก็ตามไม่ทันที่จะถามจบ สัญญาณถ่ายทอดสดโทรทัศน์ตัดเข้าสู่รายการปกติ อย่างไรก็ตามช่วงถาม-ตอบ ยังคงดำเนินอยู่ โดยที่ก่อนหน้าการแถลงข่าวเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่า จะไม่มีการถ่ายทอดสดช่วงถาม-ตอบ โดยหลังการตั้งคำถาม ทั้งนายพรเพชร และนายวิษณุได้ตอบคำถามนายประวิตรด้วย โดยประชาไทจะนำเสนอในส่วนของช่วงตอบคำถามต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กกต. เผย คสช. ตั้งให้เป็นฝ่ายเลขานุการ ‘สรรหา’ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

$
0
0

เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดเผย ได้รับการประสานจาก คสช. ให้เป็นฝ่ายเลขานุการในกระบวนการสรรหา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

23 ก.ค. 2557 นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า สำนักงาน กกต. ได้รับการประสานจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ภายหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว โดย คสช. มอบหมายให้สำนักงาน กกต. เป็นฝ่ายเลขานุการในการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อสรรหาคัดเลือกบุุคคลเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 วันหลังจากนี้จะมี "ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ...." โดยอ้างถึงมาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ซึ่งกระบวนการสรรหาเบื้องต้น คสช. จะตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นมา 11 คณะ คณะละ 7 คน และคณะกรรมการสรรหาในส่วนจังหวัดอีก 1 คณะ เพื่อดำเนินการสรรหา คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ใน 11 ด้าน ด้านละ 50 คน รวมไม่เกิน 550 คน เสนอต่อ คสช. เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือไม่เกิน 173 คน , ขณะที่ในส่วนจังหวัด คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสม จังหวัดละ 5 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือเพียงจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน ซึ่งจะทำให้ได้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมดไม่เกิน 250 คน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 คาดว่ากระบวนการสรรหาทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 50-60 วัน จะได้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ภายในเดือนตุลาคม 2557

เลขาธิการ กกต. กล่าวด้วยว่า บุคคลที่จะเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามประกาศ ,ซึ่ง 1 คน สามารถเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาได้เพียง 1 ด้าน และต้องเป็นการเสนอชื่อโดยองค์กร นิติบุคคล ที่ไม่แสวงหาประโยชน์หรือผลกำไร องค์กรละไม่เกิน 2 คน และต้องเป็นมติเสนอจากการประชุมขององค์กร นิติบุคคล สำหรับสำนักงาน กกต.จะมีบทบาทในการตรวจสอบคุณสมบัติและเสนอความเห็นให้คณะกรรมการสรรหาเท่านั้น

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มติชน เปิดประวัติ "พรเพชร วิชิตชลชัย" มือกฎหมาย คสช.

$
0
0

23 ก.ค. 2557 มติชนออนไลน์รายงานว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันนี้มีการตั้งโต๊ะแถลงข่าว อธิบายรายละเอียดที่มาของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ภายหลังจากที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 แถลงกัน 3คน นั่งตรงกลางคุ้นหน้าคุ้นชื่อกันดี คือ "พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา" ถัดไปทางขวามือของพลเอกไพบูลย์ ไม่ใช่ใครอื่น เนติบริกรเรื่องชื่อ "วิษณุ เครืองาม"       

แต่ที่ใครๆได้ยินชื่อแล้ว "ต่อมงง" อาจจะทำงานอย่างรวดเร็ว แม้หลายท่านจะรู้จักแล้ว แต่อาจมีหลายท่านอาจไม่คุ้นนัก คือชื่อของ "พรเพชร วิชิตชลชัย" ว่าแต่เขาเป็นใคร กล่าวกันว่าเขามีบทบาทหลักในการจัดทำรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้ เพราะเนื้อหาที่แถลงเป็นเรื่องหลักการล้วนๆ ผิดกับ วิษณุ ที่แถลงลงแต่ในรายละเอียด

"นายพรเพชร วิชิตชลชัย" หรือ "ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย"

ประวัติ

เกิดเมื่อ 1 ส.ค. 2491 ปัจจุบันอายุ 65 ปี

จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เนติบัณฑิตไทย

ปริญญาโท กฏหมาย จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งนิติกร สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ต่อมาเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษา เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกา

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผ่านการฝึกอบรมได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงวิธีดําเนินคดีแพ่ง และวิธีดําเนินคดีอาญาจากสหรัฐ และประกาศนียบัตรทรัพย์สินทางปัญญา

จบหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. 41)

เคยเป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ อดีตสมาชิกวุฒิสภา

เคยเป็นองค์คณะ ในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (คดีทุจริตกล้ายาง)

เป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ ธุรกิจ ชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท

ล่าสุดเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินป้ายแดง แทน นายประวิช รัตนเพียร ที่ ลาออกไปสมัครเป็น กกต.

และ นายพรเพชร ผู้นี้นี่เอง เป็นผูู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้พระราชกฤษฎีกาจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อันส่งผลให้การเลือกตั้งคราวล่าสุดนั้นสิ้นผลไป

และเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย โดยเฉพาะวิชาพยานหลักฐาน ในระดับปริญญาตรี ชั้นเนติบัณฑิต รวมถึงระดับปริญญาโทด้วย

อีกทั้งในสมัยที่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็น สนช. ได้เคยเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยให้ความผิดดังกล่าว ครอบคลุมถึง การกระทำความผิดต่อ พระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่บางประการอันเป็นราชการในพระองค์ ให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดและรับโทษหนักขึ้น และยังเสนอให้ออกกกฎหมาย ห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอีกด้วย(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : สนช.เสนอเพิ่มโทษ ม.112 กม.หมิ่นฯ ขยายคลุม "องคมนตรี" และห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ)

กับตำแหน่งใหม่ล่าสุด ที่ปรึกษาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่นเอง

แถมยังมีรายงานด้วยว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่มาช่วยเป็นที่ปรึกษาหัวหน้า คสช. และมีส่วนในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ครั้งนี้ อาจได้เป็น ประธานคณะกรรมาธิการในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

FTA Watch อัด รธน.ชั่วคราว ตัดตอน ปชช. ทิ้งธรรมาภิบาลการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ

$
0
0

กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน แถลง รธน.ชั่วคราว ฉบับ คสช. “ละทิ้งธรรมาภิบาลในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ยึดคืนพื้นที่ประชาชน กระชับอำนาจชนชั้นนำไทย”

23 ก.ค. 2557 กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ออกแถลงการณ์ “ละทิ้งธรรมาภิบาลในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ยึดคืนพื้นที่ประชาชน กระชับอำนาจชนชั้นนำไทย” โดยแถลงการณ์ดังกล่าวเริ่มด้วยการยก คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 8 ม.ค. ที่ผ่านมา

ซึ่งระบุว่า “การแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหารัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยมีเจตนาเพื่อเพิ่มอำนาจในการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศให้แก่ฝ่ายบริหาร ซึ่งประกอบด้วยบุคคลส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่มีอำนาจ มากขึ้น โดยปราศจากการตรวจสอบจึงถือได้ว่าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกของบุคคลเหล่านั้น การกระทำของผู้ถูกร้องจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 อันเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศซึ่งไม่เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ สิทธิเสรีภาพและความเสมอของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะสิทธิของประชาชน นอกจากนี้เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 4, 5 และมาตรา 87 อันเป็นการกระทำให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง โดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้”

จากเหตุผลสำคัญนี้ที่ทำให้ความพยายามในการที่จะเขี่ยประชาชนทิ้งจากกระบวนการจัดทำหนังสือสัญญาไม่สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ขจัดประชาชนออกไปจากกระบวนการจัดทำหนังสือสัญญาออกไปสำเร็จ กลับเป็น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้ยึดอำนาจจากรัฐบาลเพื่อไทยเสียเอง

หากจะอ้างว่า รัฐธรรมนูญนี้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่มีเวลาให้จัดรับฟังความคิดเห็น หรือศึกษาผลกระทบ แต่โดยความจริงแล้วไม่ว่าจะชั่วคราวหรือถาวร การจัดทำหนังสือสัญญาจะสำเร็จได้ ต้องมีกระบวนการที่ดีและมีธรรมาภิบาล

ดังนั้น การตัดขั้นตอนธรรมาภิบาลออกไปจึงส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงและไม่เป็นเหตุเป็นผลกับการที่จะอธิบายกับการใช้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว การตัดขั้นตอนธรรมาภิบาลออกไปเป็นความพยายามชนชั้นนำไทยไม่ว่าภาคธุรกิจหรือภาคราชการ นับตั้งแต่มาตรา 190 ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ถือกำเนิดขึ้นมา

ตลอดชีวิตของมาตรา 190 ได้ก่อให้เกิดคุณูปการมากมายต่อประเทศไทย ได้วางรากฐานกระบวนการที่ดี แต่ขณะเดียวกัน มาตรา 190 ก็ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือฟาดฟันกลุ่มการเมืองขั้วตรงข้าม ดูเหมือนผู้มีอำนาจปัจจุบันจะมองเห็นเพียงประโยชน์อย่างหลัง ณ นาทีนี้ มาตรา 190 จึงหมดความหมาย

ทั้งที่จริงแล้ว การสร้างกรอบกติการะหว่างประเทศที่เป็นธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ จะเป็นการประกันความสุขให้กับประชาชน โดยไม่ต้องหวังพึ่งให้ใครมาคืน

ย้ำอีกครั้ง กระบวนการธรรมาภิบาลซึ่งประกอบด้วยการศึกษาผลกระทบของการจัดทำความตกลง การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้สร้างความขัดแย้งหรือความเกลียดชังทางการเมืองแต่อย่างใด และไม่ได้ลดประสิทธิภาพการเจรจา ดังนั้น การกำจัดหลักการเหล่านี้ออกไป จึงเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง

ในตอนท้ายแถลงการณ์กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน ระบุด้วยว่า “ภาคประชาชนจะพยายามอย่างสร้างสรรค์และเต็มที่ที่จะนำหลักการและการมีส่วนร่วมกลับมาสู่การจัดทำความตกลงระหว่างประเทศโดยเร็วที่สุด”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images