Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

บทความแปล: หนทางแก้ไขปัญหาเกาหลีเหนือ

$
0
0



แม้ว่าจะมีประธานาธิบดีคนใหม่แต่การเจรจากับเกาหลีเหนือดุดันเช่นเดิม ในกรุงวอชิงตันถึงแม้นายโดนัลด์ ทรัมป์จะอ้างว่าได้พลิกรูปแบบนโยบายเสียใหม่ เขายังคงมีชุดทางเลือกของนโยบายที่จำกัดเหมือนเดิมต่อเกาหลีเหนือ เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ทางเลือกเหล่านั้นก็เป็นแค่ชุดของการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ  วาทกรรมการขนานนามและการคุมคามที่ว่าสหรัฐฯและเกาหลีใต้จะตอบโต้ถ้าถูกโจมตีก่อน การป้องกันยับยั้ง (deterrence) ดังกล่าวได้หยุดสถานการณ์ในคาบสมุทรไว้ แต่ทั้ง 2 ทางคือ ไม่ให้เกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ แต่มันยังหยุดสหรัฐฯและเกาหลีใต้ไม่ให้โจมตีเกาหลีเหนือ

แรงกดดันนี้ไม่ได้ผลกับเกาหลีเหนือในอดีต แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าแรงกดดันมากขึ้นจะเกิดผลในทุกวันนี้ จีนสามารถเล่นงานทางเศรษฐกิจกับเกาหลีเหนือและนำประเทศเข้าสู่ความวุ่นวายได้ แต่จีนไม่ยอมทำ สหรัฐฯสามารถเริ่มต้นสงครามในคาบสมุทรผ่านการโจมตีก่อนเพื่อป้องกันตัวเอง  (pre-emptive strikes) และล้มรัฐบาลเกาหลีเหนือแต่ก็ไม่ยอมทำ ทั้งจีนและสหรัฐฯ เองก็ไม่ยอมใช้มาตรการอันแรงกล้าดังกล่าวเพราะผลเสียที่ได้สูงเกินไปและเห็นชัดเจนมากไป ในขณะที่ผลกระทบต่อจากนั้นก็ยังคงไม่เป็นที่รู้กันเลยแม้แต่น้อย

กรุงเปียงยางสามารถกวาดกรุงโซลด้วยอาวุธทั่วไป และแม้แต่สามารถหันมาเล่นงานกรุงโตเกียว การเริ่มต้นสงครามจะเสี่ยงต่อการสูญเสียของชีวิตนับล้าน และการทำให้รัฐบาลเกาเหลีเหนือล้มลงจะหมายถึงผู้อพยพหลายล้านคนทะลักเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อาวุธนิวเคลียร์ และอาวุธอื่น ๆ ในการทำลายล้างสูงอาจจะตกอยู่ในมือของใครก็ได้ท่ามกลางความวุ่นวายที่อยู่รายรอบ ด้วยความจริงอันน่าสะพรึงกลัวดังกล่าว รูปแบบเดิมๆ อย่าง การป้องกันยับยั้ง การเจรจาอันดุดัน การคว่ำบาตรและการเกี่ยวพันกันเพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังเป็นทางเลือกสำหรับนโยบายต่อเกาหลีเหนือ สำหรับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดถัดมา

นานาประเทศได้พยายามหลายทางในการสร้างแรงกดดันต่อเกาหลีเหนือเป็นเวลากว่า 70 ปีที่ผ่านมา การคว่ำบาตรอย่างเข้มงวดได้ถูกนำมาใช้กับประเทศนี้ไปแล้ว ก็เป็นการยากที่จะเชื่อว่าแม้แรงกดดันมากกว่าเดิมจะนำประเทศไปสู่ทิศทางใหม่ รัฐบาลเกาหลีเหนือมีประวัติการทนทานแรงกดดันเป็นอย่างดี เช่นเอาตัวรอดในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อกลางทศวรรษที่ 90 รวมไปถึงการรอดพ้นจากทุพภิกขภัยอันโหดร้าย  คำทำนายที่ว่าการคว่ำบาตรครั้งใหม่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในนโยบายของกรุงเปียงยาง แม้ว่าจะไม่นำไปสู่การล่มสลายอย่างสมบูรณ์ตั้งอยู่บนตรรกะที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผล

แม้ว่าจีนจะตัดสินใจบีบคั้นทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีเหนือ คำถามที่แท้จริงก็คือรัฐบาลเกาหลีเหนือจะยอมผ่อนปรนหรือไม่ หรือว่าจะแผลงฤทธิ์ในรูปแบบอื่น เกาหลีเหนือนั้นมีลักษณะอันคงเส้นคงวาอย่างสุดขั้วก็คือยอมปะทะแรงกดดันด้วยแรงกดดันของตัวเอง ด้วยการดำรงอยู่อันแทบจะโดดเดี่ยวมาหลายทศวรรษ เป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจนเลยแม้แต่น้อยว่าการถูกโดดเดี่ยวมากกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยจะช่วยเปลี่ยนแปลงอะไรได้

ทางแก้ใดๆ ต่อปัญหาของเกาหลีเหนือซึ่งนำไปสู่การยอมจำนนนั้น เป็นเรื่องไม่สมจริงอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ไม่ชอบเกาหลีเหนือเช่นเดียวกับบรรดาผู้นำและนโยบายของพวกเขา แต่สหรัฐฯ ต้องรับมือกับเกาหลีเหนือในฐานะเป็นประเทศๆ หนึ่งเหมือนกับประเทศอื่น เกาหลีเหนือจะไม่ได้สูญหายไปอย่างง่ายดาย และมีหลักฐานในหลายทศวรรษว่าจะไม่ยอมแพ้ต่อแรงกดดัน

สถานการณ์อาวุธนิวเคลียร์และความมั่นคงดูเหมือนกับ 20 ปีที่ผ่านมาแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายพยายามสกัดกั้นซึ่งกันและกันผ่านการข่มขู่ การคว่ำบาตรและแรงกดดัน แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปสำหรับเกาหลีเหนือคือเศรษฐกิจ หันกลับไปมองการเปลี่ยนแปลงซึ่งประเทศนี้ต้องประสบพบเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ รูปแบบเศรษฐกิจและธุรกิจนั้นแทบจำไม่ได้เลย หากเปรียบกับในปี 1995

เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีลักษณะเปิดกว้างกว่าเมื่อ 20 ปีก่อน มีการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล มีแหล่งข้อมูลเปิดเผยที่ดีที่สุดพบว่า รายได้ของชาวเกาหลีเหนือกว่าร้อยละ 40 แม้จะไม่ถึงครึ่งมาจากระบบเศรษฐกิจที่อิงกับตลาด  วิถีชีวิตของประชาชนผูกติดกับรัฐบาลของพวกเขาน้อยกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นทรงพลังถึงขั้นที่ว่ารัฐบาลพยายามจะพลิกกลับอำนาจของตลาดและเข้าควบคุมประชาชนด้วยความกลัวว่าจะสูญเสียอำนาจไป กรุงเปียงยางวิตกว่าเมื่อประชาชนเข้าสู่ระบบตลาด รัฐบาลจะมีอำนาจควบคุมน้อยลง

นี่จึงเป็นเหตุผลมากกว่าเดิมสำหรับนโยบายการเกี่ยวพันกัน (Engagement policy –ดังเช่นการทูต การสื่อสารกันรวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือ-ผู้แปล)  ที่จะช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเกาหลีเหนือ นโยบายดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนเกาหลีเหนือรอดพ้นจากการทนทุกข์และการอดตาย ในขณะเดียวกันก็นำประเทศไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง ไม่มีหนทางแก้ไขอย่างชัดเจนต่อปัญหาอาวุธนิวเคลียร์และความมั่นคงเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ แต่การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของชาวเกาหลีเหนือต่อรัฐบาลของพวกเขาและโลกภายนอกสามารถเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้

 

หมายเหตุ:แปลและเรียบเรียงจาก North Korea policies the same old, same old  เขียนโดยคุณเดวิด ซี คัง จากมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย จากเว็บไซต์ http://www.eastasiaforum.org/2017/04/09/north-korea-policies-the-same-old-same-old/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โพลล์สำรวจ 53% เคยพบเห็นการค้าประเวณีใน กทม.

$
0
0
บ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจความเห็นประชาชน 53% เคยพบเห็นการค้าประเวณีในกรุงเทพมหานคร 43.2% เห็นยืนรอข้างถนน รอบสวนลุมพินี วงเวียนใหญ่ วงเวียน 22 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่

 
 
 
29 เม.ย. 2560 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการค้าประเวณี โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,158 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 26 - 28 เมษายน 2560  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อปัญหาการค้าประเวณี ในมุมมองต่างๆของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัญหาการค้าประเวณีในมุมมองของชาวต่างชาติได้มุ่งเป้าว่าประเทศไทยเป็นเมืองในระดับต้นๆที่มีชื่อในด้านการค้าประเวณี รวมไปถึงในช่วงที่ผ่านมามีข่าวคดีการค้าประเวณีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งการค้าประเวณีในประเทศไทยนั้นมีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ 2539 และ พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ปัญหาการค้าประเวณีซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการค้าประเวณีทางอินเทอร์เน็ต และปัญหาดังกล่าวจะมีการแก้ไขอย่างไรต่อไป ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อปัญหาการค้าประเวณี มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ 
 
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยพบเห็นการค้าประเวณี ร้อยละ 53.0 รองลงมาคือ ไม่เคย ร้อยละ 31.1 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 15.9 ประเภทที่พบเห็นการค้าประเวณี อันดับหนึ่งคือ ยืนรอข้างถนน รอบสวนลุมพินี วงเวียนใหญ่ วงเวียน 22 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ร้อยละ 43.2 อันดับที่สองคือ สถานบันเทิง  คาเฟ่  ร้านคาราโอเกะ  สปา  ร้านตัดผม ร้อยละ 29.7 อันดับที่สามคือ สถานบริการอาบอบนวด / นวดแผนโบราณ ร้อยละ 16.8 และอันดับที่สี่คือ อินเทอร์เน็ต / ออนไลน์ ร้อยละ 10.3
 
ส่วนปัจจัยทำให้เกิดการค้าประเวณี อันดับที่หนึ่งคือ เงินใช้จ่ายไม่เพียงพอ ร้อยละ 30.6 อันดับที่สองคือ ถูกหลอกถูกบังคับ ร้อยละ 24.9 อันดับที่สามคือ ครอบครัวยากจน ร้อยละ 21.5 อันดับที่สี่คือ ความฟุ้งเฟ้อตามสมัยนิยม ร้อยละ 11.7 และอันดับที่ห้าคือ ประชดชีวิต ร้อยละ 11.3
 
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยพบเห็นการค้าประเวณีทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 61.3 รองลงมาคือ ไม่เคย ร้อยละ 27.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 10.9  โดยทราบว่าต่างชาติมองประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่มีการค้าประเวณีในอันดับต้นๆของโลก ร้อยละ 58.1 รองลงมาคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 29.1 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.8 อยากให้มีการนำ มาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี ร้อยละ 52.7 ไม่อยาก ร้อยละ 28.4 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 18.9 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าประเทศไทยไม่พร้อมกับการเปิดให้มีการค้าประเวณีอย่างถูกกฎหมาย ร้อยละ 49.3 คิดว่าพร้อม ร้อยละ 33.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.9
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลขาธิการญาติวีรชนพฤษภา เห็นด้วยให้ผู้บังคับบัญชาทหารยื่นทรัพย์สิน

$
0
0
เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 และผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch) ระบุเห็นด้วยให้ทหารในระดับผู้บังคับบัญชาหน่วยยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นอำนาจ

 
 
เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 และผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch)
 
29 เม.ย. 2560 นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 และผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch) ระบุถึงกรณีที่ ป.ป.ช. มีข้อเสนอในการพิจารณากำหนดตำแหน่งที่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเพิ่มเติม โดยจะให้นายทหารในระดับผู้บังคับบัญชาหน่วยต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วยนั้น ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง นายทหารในระดับผู้บังคับบัญชาหน่วยขึ้นไปต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ก่อนและหลังรับตำแหน่ง เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นทั้งระบบ
 
เนื่องจากการคอร์รัปชั่น ไม่ได้มีเฉพาะนักการเมืองเท่านั้น แต่มีข้าราชการเกี่ยวข้องด้วยแทบทุกครั้ง และทหารปัจจุบันเป็นทหารการเมือง ใช้อำนาจทางการเมือง เป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยและเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/58 อาจเข้าไปเกี่ยวข้องผลประโยชน์จากการคอร์รัปชั่นอำนาจ
 
กรณีการซื้อเรือดำน้ำก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง การจัดซื้อจัดจ้างทุกชนิดควรเปิดเผยและเผยแพร่ในระบบอิเล็คทรอนิคให้ประชาชนตรวจสอบได้ เพื่อความโปร่งใสของประเทศนับแต่นี้ มีข่าวลือกล่าวหาว่าจีนจะให้ฟรีพร้อมของแถมแลกเปลี่ยนแต่ดันมีคนละโมบไปตั้งงบประมาณรายจ่าย ดังนั้นจึงต้องเปิดเผยเอกสารโครงการจัดซื้อต่อประชาชน
 
นอกจากนี้เมธาระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับผู้กำกับสถานี้ตำรวจทุกสถานี  ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย กำกับดูแลธุรกิจสีเทาและระบบส่วยในท้องที่โดยตรง ว่ากันว่ามีเงินได้รายเดือนนอกระบบอีกมากมายที่ลูกน้องต้องไปหามาให้ แก้คอร์รัปชั่นไม่ได้ ถ้าไม่ตรวจสอบทหารและตำรวจด้วย นอกจากนี้ตำรวจยังไปขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง การตรวจสอบตำรวจยากมากนอกจากจะพึ่งสื่อมวลชน
 
ตัวอย่างจากคดีทายาทกระทิงแดงที่ล่าช้ามา 5 ปี หมดอายุความไป 1 คดี เพิ่งมาออกหมายจับหลังเลื่อนพบมาหลายรอบ เป็นบทเรียนสำคัญที่ตำรวจและอัยการสูงสุดต้องรับผิดชอบทางการเมืองกับข้อครหาในการเลือกปฏิบัติ
 
ทั้งนี้ ต้องสนับสนุน ป.ป.ช.ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและอิสระ มีบทลงโทษ ป.ป.ช.ในการละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมีการสมยอมกัน ในอนาคตเมื่อมีการจะกระจายอำนาจให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ จะต้องสนับสนุนให้มีกลไก ป.ป.ช. จังหวัด เพื่อตรวจสอบการคอร์รัปชั่นอย่างเข้มแข็งด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.เคาะแนวทางกำกับดูแล 'OTT' ก.ย.นี้

$
0
0
กสทช. คาดใช้เวลา 4 เดือน เคาะแนวทางดูแลการประกอบกิจการแพร่ภาพและเสียง Over The Top (OTT) ก่อน ก.ย. 2560

 
29 เม.ย. 2560 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่าหลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติให้การประกอบกิจการแพร่ภาพและเสียง Over The Top (OTT) เป็นกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ หรือ “โอทีที ทีวี” เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา  พร้อมมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์โอทีที เพื่อขับเคลื่อนแนวทางการกำกับดูแลให้เกิดประโยชน์สาธารณะและสร้างสนามแข่งขันที่เท่าเทียมกับในกิจการกระจายเสียงและแพร่ภาพอื่น ๆ 
 
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานคณะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ Over The Top  เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมาได้แต่งตั้งอนุกรรมการโอทีที ที่ประกอบด้วย นายต่อพงษ์ เสลานนท์, พ.อ.กฤษฎา เทอดพงษ์, นายกิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์, นายกฤษดา โรจนสุวรรณ, นายทวีวัฒน์ เส้งแก้ว ,นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ, นายสมบัติ ลีลาพตะ, นางสาวมณีรัตน์ กำจรกิจการ, นายพสุ ศรีหิรัญ และนายทนงศักดิ์ สุขะนินทร์ พร้อมประชุมครั้งแรก
 
ทั้งนี้ กรอบการทำงานจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกกลุ่มที่อยู่ในธุรกิจโอทีที รวมทั้งนักวิชาการ เพื่อสรุปแนวทางกำกับดูแล“โอทีที” ซึ่งเป็นกิจการแพร่ภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอื่นที่ไม่ใช่โครงข่ายกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์  
 
“วันนี้เพิ่งเริ่มนับหนึ่งการเข้ามาดูแลกิจการโอทีที จึงต้องเริ่มทำงานตั้งแต่การกำหนดนิยาม รูปแบบผู้ประกอบการที่เข้าข่าย วิธีการและแนวทางการกำกับที่ต้องหารือร่วมกันหลายกลุ่ม คาดว่าจะใช้เวลาราว 4 เดือน หรือไม่เกินเดือน ก.ย.นี้ สรุปกรอบทุกด้านในการกำกับดูแล”
 
พ.อ.นที กล่าวว่าปัจจุบันการให้บริการโอทีที ได้รับความนิยมในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นบริการที่เข้าถึงผู้ใช้จำนวนมาก หรือเป็นการสื่อสารที่ส่งผลต่อสาธารณะวงกว้าง ดังนั้นจึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเข้ามากำกับดูแล
 
ทั้งนี้ จากการกำหนดให้โอทีที เป็นกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ดังนั้นภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน กสทช. โอทีทีจึงอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. 3 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องในขณะนี้ คือ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2553 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 เช่นเดียวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ นอกจากนี้จะอยู่ภายใต้แนวทางการกำกับดูแลอื่น ๆ ตามประเภทกิจการ ที่คณะอนุกรรมการฯ โอทีที กำลังจัดทำแผน  
 
“หลักการกำกับดูแลโอทีที จะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคและสาธารณะได้ประโยชน์ตามสิทธิ พร้อมทั้งสร้างสนามการแข่งขันที่เท่าเทียมเช่นเดียวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์อื่น ๆ” พ.อ.นที กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 23-29 เม.ย. 2560

$
0
0

กระทรวงแรงงานเผยยอดแรงงานไทยไปขุดทองเมืองนอก ณ เดือนมีนาคมกว่า 153,000 คน ส่งเงินกลับประเทศกว่า 10,000 ล้านบาท
 
กระทรวงแรงงานเผยสถิติแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศและยังคงทำงานอยู่ในต่างประเทศช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จำนวน 153,264 คน จัดส่งโดยรัฐจำนวน 5,385 คน สร้างรายได้กลับประเทศ 10,249 ล้านบาท ย้ำแรงงานต้องพัฒนาทักษะทันยุคประเทศไทย 4.0 และกลับมาพัฒนาประเทศตนเอง
 
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เดือนมีนาคมที่ผ่านมามีแรงงานไทยที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศและยังคงทำงานอยู่ในต่างประเทศ จำนวน 153,264 คน ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงนิยมไปทำงานไต้หวันมากที่สุด จำนวน 74,240 คน รองลงมาเป็นอิสราเอล สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ตามลำดับ โดยทำงานตำแหน่งคนงานเกษตรมากที่สุด รองลงมาเป็นคนงานทั่วไป พนักงานทั่วไป พนักงานฝึกงาน และผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ ตามลำดับ ซึ่งในส่วนของการจัดส่งโดยรัฐนั้นมีจำนวน 5,385 คน (เดือนตุลาคม 2559 - มีนาคม 2560) โดยประเทศอิสราเอลเป็นประเทศที่จัดส่งมากที่สุด จำนวน 359 คน ตามด้วยสาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีรายได้ส่งกลับประเทศผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนมีนาคม 2560 จำนวน 10,249 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ส่งกลับฯ ในเดือนมีนาคม 2559 มีจำนวน 10,005 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 244 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44
 
นายวรานนท์ฯ กล่าวต่อว่า การเดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยวิธีรัฐจัดส่งเป็นการจัดส่งของกรมการจัดหางาน ซึ่งคนหางานไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ นอกจากค่าใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซ่า ค่าสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้แรงงานไทยมีรายได้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในยุคประเทศไทย 4.0 แรงงานจะต้องพัฒนาตนเองให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศ สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตต่อไป ทั้งนี้ หากคนหางานใดสนใจจะไปทำงานต่างประเทศขอให้ติดต่อที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในพื้นที่ใกล้บ้านและขอย้ำว่าต้องไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694
 
ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 23/4/2560
 
เตือนนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดในวันแรงงานแห่งชาติ ฝ่าฝืนถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
 
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเท่ากับวันทำงาน หากฝ่าฝืนจะดำเนินคดีตามกฎหมาย กรณีให้ลูกจ้างทำงานต้องได้เงินเพิ่มไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของวันปกติ
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันแรงงานแห่งชาติ เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 มาตรา 29 ได้กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย จึงขอชี้แจงการปฏิบัติเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้หยุดงาน ในวันแรงงานแห่งชาติ และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดงานได้ เนื่องจากมีลักษณะงานที่จำเป็นหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดอาจจะเสียหายแก่งาน เช่น งานในกิจการโรงแรม ร้านขายอาหาร สถานพยาบาล งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง เป็นต้น ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะให้หยุดชดเชยวันอื่นแทนหรือจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง กรณีที่ตกลงกันว่าจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ สำหรับกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันแรงงานแห่งชาติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ
อธิบดีกรมสวัสดิการฯ กล่าวต่อว่า นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากลูกจ้าง นายจ้างมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่โทรศัพท์สายด่วน 1546
 
 
ก.แรงงาน ย้ำสถานการณ์การเลิกจ้างและแนวโน้มการเลิกจ้างดีขึ้น
 
กระทรวงแรงงานโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยผลการติดตามสถานการณ์แรงงานตามยุทธศาตร์แรงงานเพื่อคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง ย้ำสถานการณ์การเลิกจ้างและแนวโน้มการเลิกจ้างอยู่ในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง พบลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและได้มายื่นคำร้องกับพนักงานตรวจแรงงานลดลง สอดคล้องกับข้อมูลลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในระบบประกันสังคมที่มีจำนวนลดลง พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันปัญหาและให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบทันท่วงที
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กสร.ได้ติดตามสถานการณ์การเลิกจ้างและแนวโน้มการเลิกจ้างอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาตร์กระทรวงแรงงานในการส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองสิทธิด้านแรงงาน และจากข้อมูลการเลิกจ้างที่ลูกจ้างได้มายื่นคำร้องกับพนักงานตรวจแรงงานในเดือนมีนาคม 2560 มีลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 221 คน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาซึ่งมีลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 1,536 คน ทั้งนี้ กสร.ได้ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างให้ได้รับสิทธิประโยชน์ เป็นเงิน 1,695,437 บาท นอกจากนี้อัตราการเลิกจ้างในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ลดลงอย่างต่อเนื่อง
 
โดยในเดือนมกราคม – มีนาคม 2560 มีจำนวนอัตราการเลิกจ้าง 29,076 คน / 26,875 คน / 25,901 คน ตามลำดับ ขณะที่จำนวนผู้ประกันตนรายใหม่ในเดือนมีนาคม 2560 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 32,794 คน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จากภาพรวมแล้วถือได้ว่าสถานการณ์การเลิกจ้างและแนวโน้มการเลิกจ้างมีทิศทางที่ดีขึ้น
 
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวต่อไปว่า สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีการเลิกจ้างในช่วงเดือนมีนาคม 2560 มีจำนวน 42 แห่ง โดยแบ่งเป็นกิจการที่มีการเลิกจ้าง 5 อันดับแรก ดังนี้
1) กิจการประเภทการผลิตและจำหน่าย 2) กิจการสื่อสาร โทรคมนาคม 3) กิจการโรงแรม/สถานบันเทิง/งานบริการ 4) กิจการประเภทอื่นๆ (เช่น จัดทำเอกสาร ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ)/รักษาความปลอดภัยและ 5) กิจการก่อสร้าง/ขนส่ง ซึ่งกสร.ได้ให้เจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้คำแนะนำนายจ้าง ลูกจ้างให้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
 
 
ก.แรงงานเปิดรับฟังความเห็นร่างกม.แรงงานผ่านเว็บไซต์ www.labour.go.th
 
ผู้สื่อข่าวรายงานการเปิดเผยของนายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)ที่ระบุว่า การปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทยและของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นนโยบายสำคัญอีกประการหนึ่งของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ต้องการให้ผู้ใช้แรงงาน ได้รับการคุ้มครองและมีสภาพการจ้าง การทำงานที่เป็นธรรม มีหลักประกันการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งทางกสร. ได้ยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. … ขึ้นและได้จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายนายจ้าง ข้าราชการ นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ไปแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
 
แต่เพื่อให้ได้มุมมองและแนวคิดในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานที่รอบด้านและกว้างไกลมากขึ้น กสร.ยังเชิญชวนลูกจ้าง นายจ้าง และประชาชนทั่วไปมาร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th เพื่อจะได้รวบรวมความคิดเห็นนำไปประมวลผลและหาบทสรุปในการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายให้สมบูรณ์ต่อไป
 
 
เล็งผุด ร่าง พ.ร.บ.สิทธิประโยชน์บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ชี้พนง.ไม่มีสิทธิสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ-กองทุน กบข.
 
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ CHES เผยว่า เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 60 เวลาประมาณ 19.00-21.30 น.ตนพร้อมด้วยคณะ ประกอบด้วย ผศ. ดร. รัฐกรณ์ คิดการ ประธานที่ประชุมสภาคณาจารย์แห่งประเทศไทย (ทปสท) ผศ. ดร. พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค รองเลขาธิการฯ CHES และสมาชิกส่วนหนึ่ง ได้เข้าร่วมประชุมกับ ดร. สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการการอุดมศึกษา(เลขาฯกกอ.) และคณะทำงานด้านการยกร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
 
"ที่ประชุมเป็นการพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ที่ขณะนี้ ใน 80 มหาวิทยาลัย ทั้งในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ(ม.นอกระบบ)และมหาวิทยาละยของรัฐนั้น มีบุคลากรที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ประมาณ 1.9 แสนคน และมีข้าราชการที่จำนวนลดลงเหลือประมาณ 2 หมื่นคน นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรประเภทต่างๆที่สังกัดอยู่ในระบบ เช่น พนักงานจากเงินรายได้ พนักงานราชการ ลูกจ้างต่างๆ ซึ่งสิทธิสวัสดิการความมั่นคงในอาชีพต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องสิทธิ์รักษาพยาบาล ที่พนักงานมหาวิทยาลัยต้องใช้ร่วมกับระบบประกันสังคมอยู่ขณะนี้ ส่วนข้าราชการก็ใช้สิทธิ์ราชการต่อ ประกอบกับปัญหาสมองไหลที่พนักงานมหาวิทยาลัยที่เก่งๆ ลาออกจากอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อไปสมัครรับราชการในกรมกองต่างๆ ด้วยอยากได้สิทธิ์รักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ"รศ.ดร.วีรชัยกล่าว
 
รศ. ดร. วีรชัย กล่าวต่อว่า อีกปัญหาหนึ่งของระบบพนักงานมหาวิทยาลัยคือ ไม่มีสิทธิ์ในเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มั่นคง พนักงานมหาวิทยาลัยไม่สามารถเข้าร่วมกองทุน กบข. ได้ และแต่ละมหาวิทยาลัยไปดำเนินการจัดตั้งสิทธิ์ทั้งสองอย่างเอง ตามอัตภาพ เป็นเบี้ยหัวแตก ที่ประชุมมีความเห็นพ้องในเบื้องต้น ในการที่จะยกร่าง พรบ. สิทธิประโยชน์บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งจะโพกัสไปที่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสิทธิรักษาพยาบาล ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเป็นหลัก
 
‘’ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ถกกันอย่างมาก ถึงร่าง พ.ร.บ. บริหารงานบุคคล ซึ่งกำลังมีความแตกแยกในหมู่ประชาคมอุดมศึกษาอยู่ในขณะนี้ และร่วมกันถกประเด็นที่ต้องแก้ไขปรับปรุ่งก่อนนำเสนอรัฐบาลตามลำดับ ทั้งนี้ ทาง CHES เห็นว่า เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว อาจต้องเปลี่ยนชื่อร่าง พ.ร.บ. นี้ ด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ใช่พนักงานมหาวิทยาลัยเป็นหลัก แต่ยังมีข้าราชการและบุคลากรอีกหลายประเภท ในเบื้องต้น ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อร่าง พ.ร.บ.เป็นพ.ร.บ. ระเบียบบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ’’ รศ. ดร. วีรชัย กล่าวในที่สุด
 
 
ครม.เห็นชอบกม.ประกันสังคม 3 ฉบับ เพิ่มทางเลือกขยายสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนตามมาตรา 40
 
พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎหมาย 3 ฉบับ เพื่อปรับปรุงพัฒนาสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 เพิ่มเติมทางเลือกใหม่ เพื่อเป็นการออมในระยะยาว และเป็นของขวัญวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้ ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ สอดคล้องกับการทำงานของ ป.ย.ป. โดยสนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าถึงระบบประกันสังคม
 
สำหรับร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ... เพื่อกำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 โดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของบุคคลซึ่งมิใช่ลูกจ้างที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตน จากเดิมกำหนดไว้เพียง “มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์” เป็น “มีสัญชาติไทย หรือเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศเป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ หรือเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตน) และไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือของรัฐวิสาหกิจ
 
2. ร่างพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน พ.ศ. .... เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน โดยได้แก้ไขอัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเข้ากองทุนโดยการจ่ายเงินสมทบในอัตราเดือนละ 70 บาท (เดิมเดือนละ 100 บาท) จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย หากจ่ายเงินสมทบเป็นอัตราเดือนละ 100 บาท (เดิมเดือนละ 150 บาท) จะครอบคลุมกรณีชราภาพ ด้วย และได้เพิ่มสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนเป็นประเภทที่ 3 โดยหากจ่ายเงินสมทบในอัตราเดือนละ 300 บาท จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรด้วย นอกจากนี้ยังแก้ไขอัตราเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากวันละ 200 บาท เป็นวันละ 300 บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน เว้นแต่เป็นผู้ประกันตน (ประเภทที่ 3) จะมีสิทธิปีละไม่เกิน 90 วัน และเพิ่มสิทธิการได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้แม้จะมิใช่เป็นผู้ป่วยใน แต่ให้ได้รับในอัตราวันละ 200 บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน รวมทั้งยังได้เพิ่มสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้ เงินสงเคราะห์บุตรและเงินค่าทำศพ ให้สอดคล้องกับการเพิ่มสิทธิของประโยชน์ทดแทนประเภทที่ 3 ดังกล่าว
 
และ 3.ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ... เพื่อกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน เป็นการกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม โดยมีอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทประโยชน์ทดแทน ซึ่งไม่เกินกึ่งหนึ่งที่ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
 
"ข้อดีของมาตรา 40 คือ ไม่ต้องมีการตรวจสุขภาพ ไม่ตัดสิทธิบัตรทองหากขาดเงินสมทบยังเป็นสมาชิกต่อได้ และรัฐบาลช่วยจ่ายเงินสมทบด้วย" พล.อ.ศิริชัย กล่าว
 
รมว.แรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบอยู่ราว 21 ล้านคน ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แล้ว 2.2 ล้านคน ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าที่จะให้มีการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนฯ เพิ่มเติมในปีนี้อีก 3 ล้านคน โดยรัฐบาลมีภาระที่ต้องจ่ายเงินสมทบและทดแทนในปีแรกราว 400 ล้านบาท และคาดว่าหากมีผู้สมัครเข้าระบบทั้งหมดจะเพิ่มเป็นปีละ 3,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในวิสัยที่รัฐบาลสามารถดูแลได้
 
สำหรับการจ่ายเงินสมทบนั้นปัจจุบันผู้ประกันตนสามารถจ่ายผ่านได้เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านสะดวกซื้อ, ห้างสรรพสินค้า และธนาคารพาณิชย์ และในอนาคตจะขยายไปยังตู้เติมเงินด้วย
 
 
คสรท.ลุยเรียกร้องสิทธิ "กรรมกร" วันเมย์เดย์ ไม่ร่วมภาครัฐ-สภาลูกจ้างฯ กสร.แจงจัดงานลดบันเทิง-สีสัน
 
คสรท.ยันเดินหน้าเรียกร้องสิทธิ "กรรมกร" วันเมย์เดย์เอง ไม่ร่วมภาครัฐและสภาองค์การลูกจ้างฯ หวั่นไม่สามารถเรียกร้องได้เต็มที่ พร้อมยื่น 10 ข้อเรียกร้องถึง "บิ๊กตู่" เพื่อผู้ใชแรงงาน ด้าน กสร.แจงจัดกิจกรรมวันแรงงานเน้นลดสีสัน ลดความบันเทิง ถวายอาลัยในหลวงรัชกาลที่ ๙ เร่งเดินหน้าขยายสิทธิ "ลูกจ้าง" ตามข้อเรียกร้อง
 
ความคืบหน้าการจัดงานวันเมย์เดย์ หรือวันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค. ซึ่งผู้นำแรงงานเสียงแตกแยกเป็น 2 เวที โดยกลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) จะไม่ร่วมกิจกรรมกับสภาองค์การลูกจ้างและสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ที่ได้รับงบจัดงานจากรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน 4.9 ล้านบาท ที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชน กรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เพราะไม่ได้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน และบางส่วนนำไปจัดกิจกรรมความบันเทิง ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะจัดในช่วงนี้
 
วันนี้ (25 เม.ย.) นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2560 ว่า เนื่องจากปีนี้ต้องเตรียมสถานที่สำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บริเวณท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานวันแรงงานแห่งชาติเป็นประจำทุกปี จึงย้ายมาจัดงานพิธีทางศาสนาที่กระทรวงแรงงาน และจัดเวทีวันแรงงานแห่งชาติที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 แทน ซึ่งการจัดงานก็จะเน้นเรื่องการถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เช่น ริ้วขบวนต่างๆ ก็จะลดสีสันของการเดินขบวนเรียกร้องลง หรือการแสดงต่างๆ บนเวที ก็จะไม่หวือหวา ไม่นุ่งน้อยห่มน้อย เรียกว่าทั้งหมดมีความซอฟต์ลงจากทุกปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านแรงงาน เช่น ศาสตร์พระราชาในการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อผู้ใช้แรงงาน มาตรฐานแรงงานไทย เป็นต้น รวมถึงการจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูก (สินค้าธงฟ้า) จากกระทรวงพาณิชย์ และบริการตัดผมฟรี
 
เมื่อถามถึงงบประมาณการจัดงานที่น่าจะลดลง เพราะกิจกรรมต่างๆ มีการลดสีสันลงไป นายสุเมธ กล่าวว่า งบประมาณในการจัดงานไม่ได้เพิ่มไปจากทุกปี ส่วนที่ลดสีสันการจัดงานลงนั้นคือลักษณะของการจัดกิจกรรม แต่จำนวนกิจกรรมต่างๆ ยังมีเหมือนเดิม และอาจเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วย แต่บรรยากาศการจัดงานจะลดสีสันหรือลดความซอฟต์ลงเท่านั้น ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณต่างๆ ก็เป็นไปตรามระเบียบราชการ
 
เมื่อถามถึงข้อเรียกร้องวันแรงงาน นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2560 กล่าวว่า ข้อเรียกร้องหลักๆ มีทั้งหมด 5 ข้อ แบ่งเป็นแรงงานเอกชน 3 ข้อ รัฐวิสาหกิจ และแรงงานนอกระบบอย่างละ 1 ข้อ ดังนี้ 1.ขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 2. การปฏิรูปประกันสังคมใหม่ๆ หลายเรื่องๆ โดยเฉพาะการปรับให้เป็นองค์กรอิสระ 3. ไม่ให้มีการแปรรูปหรือขายรัฐวิสาหกิจ 4. การตั้งสถาบันแรงงานนอกระบบ เพื่อดูแรงงานนอกระบบกว่า 20 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าแรงงานในระบบ แต่คุณภาพชีวิตยังไม่ดีเทียบเท่า ซึ่งการมีสถาบันก็จะทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น และ 5. การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ
 
นายสุเมธ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องต่างๆ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล อย่างเรื่องการรับรองอนุสัญญาฯ เนื่องจากมีรายละเอียดมาก เบื้องต้นก็จะพิจารณาฉบับที่ 98 ก่อน ซึ่งขณะนี้ก็มีการพิจารณาร่วมกัน 3 ฝ่ายแล้ว อยู่ระหว่างการเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนกลุ่มรัฐวิสาหกิจ ขณะนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็อนุมัติให้กระทรวงการคลังและ ก.แรงงาน หารือกฎเกณฑ์การผลักดันให้พนักงานรัฐวิสาหกิจได้รับสิทธิประโยชน์และมีการปรับสิทธิประโยชน์มากขึ้น ส่วนการตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการก็จะขยายการจัดตั้งมากขึ้น โดยปี 2560 จะขยายเพิ่มขึ้นอีก 30 แห่ง ส่วนการดูแลแรงงานนอกระบบก็อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ซึ่งมีความพิเศษคือเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมผลักดันกรอบกฎหมาย ซึ่งคาดว่าจะได้ร่างใน พ.ค.นี้
 
"กรมฯได้มีการปรับปรุงสิทธิสวัสดิการต่างๆให้ลูกจ้าง อาทิ การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยมีประเด็นสำคัญ อาทิ กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีนายจ้างเลิกจ้างสำหรับลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี ให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน แก้ไขปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2553 อาทิ เพิ่มเติมเรื่องการเกษียณอายุหรือครบสัญญาจ้าง และการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดำเนินการจัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงาน คาดว่าปลาย พ.ค.นี้ น่าจะมีตัวร่างออกมา เพื่อดูแลแรงงานนอกระบบทุกกลุ่ม ส่วนที่มีข้อเสนอให้ปฏิรูปประกันสังคมนั้น เข้าใจว่าขณะนี้สำนักงานประกันสังคมกำลังดำเนินการ" นายสุเมธ กล่าว
 
นายชาลี ลอยสูง รองประธาน คสรท. กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา คสรท.ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 10 ข้อให้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์ดำรงธรรม ทำเนียบรัฐบาล และในวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 1 พ.ค. กลุ่ม คสรท.ยังคงมีกิจกรรมเรียกร้องเพื่อผู้ใช้แรงงานทุกคน แต่จะไม่ขอเข้าร่วมกับทางสภาองค์การลูกจ้างและสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ที่จัดงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน เนื่องจาก คสรท.มองว่า วันแรงงานคือวันของกรรมกร ก็ควรเป็นผู้ใช้แรงงาน กรรมกรทุกคนต้องเป็นผู้จัด เป็นผู้เรียกร้อง หากเป็นภาครัฐก็จะไม่ใช่ ไม่สามารถเรียกร้องได้อย่างเต็มที่ โดยวันที่ 1 พ.ค.นี้ คสรท.และเครือข่ายรวมกว่า 3,000 คนจะรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เวลาประมาณ 09.00 น. เสร็จแล้วจะเดินไปยังองค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) เพื่อจัดกิจกรรมเรียกร้อง เพื่อผู้ใช้แรงงาน จากนั้นเป็นอันเสร็จกิจกรรม
 
นายชาลี กล่าวว่า สำหรับข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ประกอบด้วย 1.รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฎิบัติ อาทิ ด้านสาธารณสุข ประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่าย 2. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน อาทิ กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี 3. รัฐต้องให้สัตยาอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฎิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง และอนุสัญญาฯ ฉบับที่183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 มาตรา 48)
 
4. รัฐต้องปฎิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพรัฐวิสาหกิจ ในการให้บริการที่ดีมีคุณภาพเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน อาทิ จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ 5. รัฐต้องยกเลิกนโยบายที่ว่าด้วยการลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว 6. รัฐต้องปฎิรูประบบประกันสังคม เช่น จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐนายจ้าง ลูกจ้าง ตามหลักการของพรบ. ประกับสังคมพ.ศ.2533 และนำเงินส่งสมทบที่รัฐบาลค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวน เพิ่มสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้เท่ากับมาตรา33 เป็นต้น
 
7. รัฐต้องดูแลให้มีการปฎิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย เช่น การปิดกิจการ หรือยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ (ตามรัฐธรรมหมวด 5 มาตรา 53) 8. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการยกเลิกหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม 9. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ การบังคับใช้พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวคล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 อย่างจริงจัง และ 10.รัฐต้องจัดสรรเงินงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ
 
 
ต.ค.59-เม.ย.60 รวบต่างด้าวทำงานผิด กม. พบค้าขาย หาบเร่ แผงลอยมากสุด กว่า 3,761 คน ดำเนินคดีนายจ้างกว่า 519 ราย
 
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปีงบประมาณ 2560 (ตุลาคม 2559-เมษายน 2560) กรมการจัดหางานได้ร่วมบูรณาการกับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบนายจ้าง/สถานประกอบการและแรงงานต่างด้าว ตามคำสั่ง คสช.ที่ 100 และ 101/2557 โดยลงพื้นที่/กิจการกลุ่มเสี่ยงที่จะมีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวฝ่าฝืนกฎหมาย มีผลการตรวจสอบคือ ตรวจสอบนายจ้าง จำนวน 4,805 แห่ง เป็นเขตกรุงเทพมหานคร (คำสั่งที่ 100/2557) จำนวน 1,296 แห่ง เขตในส่วนภูมิภาค (คำสั่งที่ 101/2557) 3,509 แห่ง
 
อธิบดี กกจ. กล่าวอีกว่า ตรวจการทำงานของแรงงานต่างด้าว จำนวน 66,411 คน เป็นเขตกรุงเทพฯ 34,527 คน เขตภูมิภาค 31,884 คน ดำเนินคดีนายจ้างทั้งสิ้น 519 คน เขตกรุงเทพฯ 127 คน เขตภูมิภาค 392 คน ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวจำนวนทั้งสิ้น 3,761 คน เป็นเขตกรุงเทพฯ 1,292 คน เขตภูมิภาค 2,469 คน โดยดำเนินคดีแรงงานเมียนมามากที่สุด จำนวน 1,493 คน รองลงมาเป็นสัญชาติอื่นๆกัมพูชา และลาว ตามลำดับ
 
"ส่วนใหญ่กระทำผิดจากการประกอบอาชีพค้าขาย หาบเร่ แผงลอย รองลงมาคือ มัคคุเทศก์/นำเที่ยว และพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ โดยจะอนุญาตให้ทำงานได้ใน 2 ตำแหน่งงานคือ กรรมกรใน 24 ประเภทกิจการ และงานรับใช้ในบ้าน เท่านั้น"อธิบดีกกจ. กล่าว
 
นายวรานนท์ กล่าวอีกว่าหากพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้แล้วนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวทำงาน โดยไม่มีใบอนุญาตจะมีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 ถึง 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน
 
"ผมขอย้ำเตือนนายจ้างว่าหากประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว ขอให้จ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยนำเข้าตามระบบMOUซึ่งนายจ้างจะได้สบายใจ และสามารถตรวจสอบแรงงานได้ เพื่อความปลอดภัยของนายจ้าง สอบถามข้อมูลหรือแจ้งเบาะแสการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือ โทร.สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694"อธิบดี กกจ.กล่าวในที่สุด
 
 
จับแรงงานเขมรกว่า 500 คน กลางสวนลำไยสระแก้ว สารภาพจ่ายหัวละ 2,500 บาท ลอบเข้าไทย
 
(26 เม.ย.) พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว เดินทางมาร่วมตรวจสอบการจับกุมชาวกัมพูชาที่ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง กว่า 500 คน ที่หอประชุมเทศบาลวังน้ำเย็น ภายหลังจากเจ้าหน้าที่กองร้อยทหารพรานที่ 1306 กรมทหารพรานที่่ 13 กองกำลังบูรพา ทหาร ชุดประสานพื้นที่ ร.12 พัน.1 รอ. ฝ่ายปกครองวังน้ำเย็น และตำรวจภูธรอำเภอวังน้ำเย็น ร่วมกันจับกุมตัวได้ในพื้นที่ ม.2 ต.วังน้ำเย็น อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว หลังมีการนำมาพักซุกซ่อนไว้ในบ้าน และสวนลำไย ของ นายพนัส และนางน้อย ปลาทอง อยู่บ้านเลขที่ 267 ม.2 ต.วังน้ำเย็น อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา
โดย นายเหวือ อายุ 25 ปี ชาวกัมพูชาให้การว่า มีบ้านอยู่ที่ อ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา เคยเข้ามาทำงานในประเทศไทยที่ จ.ฉะเชิงเทรา อยู่กับรถตอกเสาเข็ม ได้ค่าจ้างวันละ 300 บาท แต่กลับบ้านไปช่วงสงกรานต์จึงต้องจ่ายค่านายหน้า และค่ารถให้แก่ผู้นำพาหัวละ 2,500 บาทเพื่อไปส่ง โดยเดินเท้าเข้ามาจากฝั่งประเทศกัมพูชาพร้อมกันประมาณ 200 คน ตั้งแต่เมื่อวานนี้ตอนประมาณ 21.00 น. และมารวมตัวกันอยู่ในไร่มัน ข้าวโพด และสวนลำไย จนถูกทหารเข้าจับกุมตัวเสียก่อน ขณะนี้ไม่มีเงินเหลือติดตัวแม้แต่บาทเดียว
 
พล.ต.ต.ยิ่งยศ กล่าวว่า การจับกุมครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันของหน่วยต่างๆ ทำงานบูรณาการกัน ซึ่งชาวกัมพูชากลุ่มนี้หลบหนีเข้ามาเพื่อต้องการกลับเข้าไปทำงาน หลังจากกลับบ้านช่วงสงกรานต์ โดยใช้วิธีการเดินเข้ามา และนำไปซุกอยู่ในสวนลำไย เพื่อรอให้รถมารับตัวเข้าไปในพื้่นที่ชั้นในเมือง บางคนเดินเท้ากันมาถึง 3 วัน ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ก็ต้องจัดหาอาหาร และดูแลให้พักค้างตามหลักมนุษยธรรมที่เทศบาลวังน้ำเย็นก่อน เพื่อทำประวัติ และดำเนินการผลักดันตามกฏหมาย รวมทั้งดำเนินการต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการนำพาด้วย
 
ทั้งนี้ มีรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่า จากการเข้าตรวจค้นเป้าหมายแรกบริเวณห้องเช่าไม่มีเลขที่ บ้านทรัพย์นิยม ม.2 ต.วังน้ำเย็น อ.วังน้ำเย็น สามารถจับกุมเเรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ซึ่งหลบซ่อนอยู่ภายในห้อง จำนวน 166 คน และบริเวณบ้านเลขที่ 267 บ้านทรัพย์นิยม ม.2 ต.วังน้ำเย็น อ.วังน้ำเย็น ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวเป็นบ้านของ นายพนัส ปลาทอง และนางน้อย ปลาทอง ซึ่งขณะเข้าจับกุมไม่พบเจ้าของบ้าน โดยจับกุมแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ซึ่งหลบซ่อนอยู่ในสวนลำไยหลังบ้าน จำนวน 301 คน
 
รวมทั้งสิ้นประมาณ 477 คน และจากการซักถามชาวกัมพูชาว่าทั้ง 2 เป้าหมายเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยจะมีรถทยอยมาจากชายแดนไทย-กัมพูชา มาพักไว้บริเวณดังกล่าว เพื่อที่จะส่งไปทำงานตามจุดต่างๆ ใน กทม. โดยจะคิดค่ารถคนละ 2,200-2,500 บาท เมื่อไปส่งถึงจุดหมายแล้ว
 
อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.พิษณุ เพ็งเดือน ผกก.สภ.วังน้ำเย็น กล่าวว่า ยังคงมีการนำตัวชาวกัมพูชาที่จับกุมได้มาเพิ่มเติมบางส่วน คาดว่าตัวเลขจะมีมากกว่า 500 คน ภายหลังจับกุมได้นำตัวมาไว้ที่หอประชุมเทศบาลวังน้ำเย็น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ และผลักดันส่งกลับประเทศต้นทางตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
 
 
แรงงานขอ 3 ปีข้างหน้าค่าแรงแตะ 410 บาท
 
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทยที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท 1,258 ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 97 ยังมีภาระหนี้สิน เนื่องจากกู้ยืมเงินมาซื้อยานพาหนะ รองลงมาเป็นการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และซื้อที่อยู่อาศัย โดยมีหนี้สินเฉลี่ยประมาณ 131,000 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 8 ปี
 
ทั้งนี้ หนี้เริ่มเข้าสู่ระบบมากขึ้น มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 46.4 ดีที่สุดในรอบ 4 ปี จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 39.3 ตามนโยบายรัฐที่ให้ประชาชนเข้าถึงสถาบันการเงินมากขึ้น ทำให้ภาระการชำระหนี้ลดลง แต่ยังประสบปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย เนื่องจากรายได้เท่าเดิม แต่ราคาสินค้าแพงขึ้น และวันหยุดแรงงาน 1 พฤษภาคมนี้ ยังคาดว่าบรรยากาศจะคึกคักเหมือนปีที่ผ่านมา ในการเดินทางไปท่องเที่ยว การเลี้ยงสังสรรค์ การทานอาหารนอกบ้าน และการทำบุญ เฉลี่ยมีมูลค่าการใช้จ่ายประมาณคนละ 1,335 บาท คาดว่าจะมีการใช้จ่ายรวมทั้งประเทศประมาณ 2,115 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3 ส่วนประเด็นที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ อันดับแรก ยังต้องการให้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำที่ควรมีการปรับขึ้นทุกปี โดยใน 3 ปีครั้งหน้า ควรปรับเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 410 บาท
 
นอกจากนี้ แม้ภาระหนี้ภาคแรงงานจะขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่เป็นการปรับหนี้มาใช้ในการซื้อสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ และบ้านมากขึ้น รวมทั้งยังมีความสามารถในการชำระอยู่ในระดับที่ดี และเริ่มมีการออมเพิ่มขึ้น ขณะที่สัญญาณการจ้างงานน่าจะค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น หลังจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อัตราการว่างงานสูงขึ้นร้อยละ 1.3 โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลเริ่มลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะทำให้อัตราการจ้างงานลดลง โดยช่วงสิ้นปีคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ หรือไม่เกินร้อยละ 1
 
 
เกิดเหตุรถบัสรับส่งพนักงานยางระเบิดเสียหลักตกเกาะกลาง ที่สระบุรี ดับ 1 เจ็บกว่า 30 ราย
 
(27 เม.ย. 2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ผ่านมา ตำรวจสภ.หนองแคได้รับแจ้งเหตุรถบัสรับส่งพนักงานตกเกาะกลางถนนบริเวณจุดกลับรถ ถ.พหลโยธิน กม.ที่ 88 ต.หนองไข่น้ำ อ.หนองแค จ.สระบุรี เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 30 คน เสียชีวิต 1 ราย จึงเดินทางไปยังที่เกิดเหตุพร้อมประสานอาสาสมัครกู้ภัยสว่างสระบุรี
 
โดยในที่เกิดเหตุพบรถบัสรับส่งพนักงานหมายเลขทะเบียน 30-1248 ลพบุรี อยู่ที่ร่องการถนน ในสภาพพลิกตะแคง มีนายรุ่งโรจน์ ขำบาง อายุ 49 ปี เป็นคนขับ ส่วนผู้บาดเจ็บนอนร้องครวญครางกระจัดกระจายผู้บนพื้นถนนจำนวนกว่า 30 ราย เจ้าหน้าจึงเร่งช่วยเหลือลำเลียงนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหนองแค 17 ราย , โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สระบุรี 12 ราย และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลแล้วเป็นชาย 1 ราย
 
จากการสอบสวนในเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ทราบว่า รถบัสคันดังกล่าวออกจากบริษัทเพื่อจะไปส่งพนักงานที่อำเภอดอนพุด ถึงจุดเกิดเหตุยางล้อขวาด้านหน้าระเบิด ทำให้เสียหลักพุ่งลงเกาะกลางถนนจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนหลายรายและเสียชีวิตดังกล่าว
 
 
เครื่องจักรก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงหน้าวัดดอนเมืองหล่นลงมา เบื้องต้นคนงานเสียชีวิต 3 คน
 
เกิดเหตุเครื่องจักรก่อสร้างรถไฟฟ้าหล่นลงมาทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน ภายในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ถนนกำแพงเพชร 6 เขตพื้นที่สน.ดอนเมือง ทราบชื่อ นายไมตรี สุภาศิริวัฒน์, นายสงัด เทศสินทัศน์, นายสันติพงษ์ แซ่ว่าง ซึ่งเป็นคนงานของคนงานของบริษัทอิตาเลียนไทย
 
จากการสอบถามนายบุญสืบ พานคำ วิศวกรคุมงาน เปิดเผยว่า ขณะเกิดเหตุ ตัว support (ตัวสีส้มยึดหัวเสาให้แน่น) ที่วางอยู่บนหัวเสาเกิดล้มลงมา ขณะเลื่อน ตัว truss (ตัวสไลด์ไปอีกเสานึง) ผ่านตัว support ไป 5 เมตร ตัว support ก็ล่วงลงมาทำให้คนงานขณะปฏิบัติหน้าที่ร่วงลงมาพร้อมกับคนงานเสียชีวิตทันที 3 ราย
 
เบื้องต้นตำรวจ สน.ดอนเมืองได้ควบคุมตัววิศวกรคุมงาน พร้อมคนงานบางส่วน ไปสอบสวนเพื่อสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้ง ทั้งนี้หลังเกิดพลตำรวจโทศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมผู้อำนวยการเขตดอนเมือง อยู่ระหว่างลงพื้นที่เพื่อสอบปากคำด้วยตนเอง
 
พลตำรวจโทศานิตย์ เปิดเผยว่า เบื้องต้นจากการสอบถามวิศวะกรคุมงานเล่าว่า ต้องหาสาเหตุว่าตัวล็อคของ support ที่ยึดอยู่บริเวณเสารถไฟฟ้าหลุดออกมาได้อย่างไร เบื้องต้นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบ หากตรวจพบว่ามีความประมาทก็จะต้องดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งบริษัทรับเหมา ผู้รับเหมา วิศวะกรคุมงาน
 
ด้าน นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยรายงานเบื้องต้นขณะเดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุว่า จุดดังกล่าวเป็นงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่2 โดยมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นต์ เป็นผู้รับเหมางานก่อสร้าง ส่วนสาเหตุของอุบัติเหตุดังกล่าวนั้นจะต้องตรวจสอบพื้นที่โดยละเอียดอีกครั้ง โดยล่าสุดมาอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการ รฟท.ได้เดินทางลงตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุด้วย
 
อย่างไรก็ตามยืนยันว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ไม่กระทบกับการเดินรถของการรถไฟ เนื่องจากเครนดังกล่าว ล้มพาดไปด้านหลังซึ่งเป็นถนนโลคัล โรด ไม่ได้มีการล้มพาดมาบนราง
 
 
กระทรวงแรงงาน เผย 9 เดือน ให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวผ่านศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวแล้วกว่า 25,000 ราย
 
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เผยผลการให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวผ่านศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวจำนวน 25,555 ราย โดยให้ความช่วยเหลือผ่านศูนย์ฯที่จังหวัดชลบุรีมากที่สุด จำนวน 7,818 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องการเปลี่ยนนายจ้าง สถานที่ทำงาน การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน การออกนอกเขตพื้นที่ การรับประโยชน์ทดแทนในกรณีต่างๆ เป็นต้น
 
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางานได้จัดตั้งศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวขึ้นเพื่อเป็นศูนย์บริการให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวที่ประสบปัญหาการทำงานในประเทศไทย โดยจะประสานให้ความช่วยเหลือ หรือส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือต่อไป เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างด้าว โดยได้จัดตั้งศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวไปแล้วจำนวน 10 จังหวัด ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก สงขลา สุราษฎร์ธานี ระนอง สมุทรสาคร สมุทรปราการ ชลบุรี ขอนแก่น และนครราชสีมา โดยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 - วันที่ 26 เมษายน 2560 ได้ให้การช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวไปแล้วจำนวน 25,555 ราย แบ่งเป็น 1) แรงงานต่างด้าวได้รับคำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ เช่น การรับประโยชน์ทดแทน กรณีบาดเจ็บจากการทำงาน การขอรับเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งตัวกลับฯ เงินชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างไม่จำเป็น นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงตามกำหนด การเปลี่ยนนายจ้าง สถานที่ทำงาน การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ใบอนุญาตทำงานสูญหาย การออกนอกเขตพื้นที่ จำนวน 19,762 ราย 2) แรงงานต่างด้าวได้รับการเปลี่ยนนายจ้าง/เพิ่มนายจ้าง จำนวน 3,694 ราย 3) แรงงานต่างด้าวได้รับการเปลี่ยน/เพิ่มสถานที่ทำงาน/เปลี่ยนลักษณะงาน จำนวน 686 ราย 4) แรงงานต่างด้าวได้รับใบอนุญาตทำงานแทนใบอนุญาตทำงานชำรุด/สูญหาย จำนวน 145 ราย 5) แรงงานต่างด้าวได้รับการแก้ไขข้อมูลทางทะเบียน/คัดเอกสารหลักฐาน จำนวน 295 ราย 6) แรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิที่พึงได้รับ เช่น เงินประกันส่งกลับฯ เงินประกันสังคม จำนวน 351 ราย 7) แรงงานต่างด้าวได้รับค่าจ้างค้างจ่าย จำนวน 238 ราย 8) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จำนวน 64 ราย 9) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 282 ราย 10) ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งแรงงานกลับประเทศ จำนวน 38 ราย
 
นายวรานนท์ กล่าวในตอนท้ายว่า การให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวดังกล่าวส่วนใหญ่ให้ความช่วยเหลือผ่านศูนย์ฯในจังหวัดชลบุรี จำนวน 7,818 ราย รองลงมาคือระนอง จำนวน 4,359 ราย สมุทรปราการ จำนวน 2,541 ราย สงขลา จำนวน 2158 ราย ตาก จำนวน 1,604 ราย สมุทรสาคร จำนวน 1,602 ราย นครราชสีมา จำนวน 1,600 ราย ขอนแก่น จำนวน 1,584 ราย เชียงใหม่ จำนวน 1,536 ราย และ สุราษฎร์ธานี จำนวน 753 ราย และขอประชาสัมพันธ์ให้แรงงานต่างด้าวที่ต้องการขอความช่วยเหลือขณะที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ติดต่อได้ที่ศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวใน 10 จังหวัด ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694
 
ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 29/4/2560
 
วิศวกรรมสถานฯ -พฐ. เร่งหาเหตุคานเหล็กทับคนงาน “แรงงาน” ลั่น เอาผิดอาญา รับไม่ได้เกิดซ้ำซาก ดับแล้ว 8 ศพ
 
จากกรณีเมื่อช่วงค่ำวันที่ 28 เมษายน เกิดเหตุอุปกรณ์ก่อสร้างคานเหล็กของรถไฟฟ้าสายสีแดง หล่นลงมาทับ ทำให้คนงานเสียชีวิต 3ราย บริเวณหน้าโรงเรียนวัดดอนเมือง ถนนกำแพงเพชร 6 เขตดอนเมือง ซึ่งต่อมา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เจ้าหน้าที่ทีมวิศวกรของบริษัทอิตาเลี่บนไทย จำกัด พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ บัณฑิตย์ ผกก.สน.ดอนเมือง พ.ต.ท.รังสรรค์ สอนสิงห์ รองผกก.(สอบสวน)สน.ดอนเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบสาเหตุของคานเหล็กถล่ม
 
ล่าสุดเมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 29 เมษายน นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายสมภพ ปราบณรงค์ ผู้ตรวจราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายอำนวย ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยแรงงาน พร้อมนายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ตรวจสอบที่เกิดเหตุ เพื่อหาหลักฐานและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
 
นายธเนศ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบความผิดปกติของคานเหล็กเส้นแรงดึงสูงสำหรับคอนกรีต โดยจะมีเหล็กที่เรียกว่าทีทีบาร์ ซึ่งเป็นตัวยึดต่อตอม่อ ขาดในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวส่งผลให้โครงสร้างเหล็กทั้งหมดร่วงหล่นลงมา โดยปกติเหล็กดังกล่าวมีทั้งหมด 6 เส้น แต่ขณะนี้ตรวจสอบเพียง1เส้นที่ขาด โดยพบว่าขาดแนวตัดขวาง จากแรงเฉือนที่รุนแรงซึ่งจะต้องนำเหล็กเส้นที่พบเข้าห้องแล็บ เพื่อตรวจสอบภายในอย่างละเอียดว่าขาดเพราะอะไร ทั้งนี้เบื้องต้นในส่วนระบบการปฏิบัติยังไม่พบข้อบกพร่อง ที่เกิดจากความประมาท แต่น่าจะเป็นอุบัติเหตุ ซึ่งการเคลื่อนตัวจากตอม่อหนึ่งไปยังอีกตอม่อหนึ่งนั้น จะมีแรงเสียดสีอยู่แล้ว เมื่อตัวทรัคเคลื่ิิอนไปแล้วเกิดสะดุดคนควบคุมจึงพยายามถอยหลังเพื่อเคลื่อนตัวไปข้างหน้าใหม่ โดยจังหวะนั้นน่าจะทำให้เกิดแรงเสียดสีที่แรงขึ้น จนเป็นเหตุให้เหล็กทีทีบาร์ขาด กระทั่งตกลงมาได้ อย่างไรก็ตามต้องตรวจสอบรายละเอียดว่าเหตุดังกล่าวเกิดจากความประมาทหรือข้อผิดพลาดจุดใดทั้งนี้หากเจ้าหน้าที่วิศวกรรมสถานฯและเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบแล้วเสร็จ ก็จะยกทรัคเหล็กออก แล้วก็น่าจะเปิดสัญจรได้ตามปกติภายในวันอังคารที่ 2 พฤษภาคมนี้
 
นายธเนศ กล่าวอีกว่า การก่อสร้างมีระเบียบมาตรฐานในการปฏิบัติอยู่แล้ว หากมีการยกสิ่งของหรือก่อสร้างก็จะมีการปิดกั้นพื้นที่ ซึ่งครั้งนี้ก็พบว่าทางบริษัทอิตาเลี่ยนไทยที่รับผิดชอบการก่อสร้างนี้ได้มีการปิดกั้นพื้นที่แล้ว และเลือกที่จะใช้เวลากลางคืนในการทำงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะกระทบกับประชาชนที่สัญจร แต่ต้องยอมรับว่าการทำงานในช่วงเวลากลางคืนนั้นอาจไม่สะดวก และเกิดความผิดพลาดได้ หลังจากนี้จึงต้องให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานให้ดี เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดีหลังจากนี้ยังสามารถดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องได้ตามปกติ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น
 
ด้านนายสุเมธ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต และไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น การก่อสร้างดังกล่าวนั้นเคยทำให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้มาแล้ว 6 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมด 8 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางเราไม่สบายใจมาก ว่าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขนาดนี้ได้อย่างไร แต่ละครั้งก่อนหน้านี้เราได้มีการเปรียบเทียบปรับ แต่ครั้งนี้จะไม่ยอม ต้องดำเนินคดีทางอาญา โดยก่อนจะไปแจ้งข้อหานั้นจะเชิญเจ้าหน้าที่ บริษัทที่รับผิดชอบมาตอบคำถามว่า เมื่อพบว่ามีเหตุขัดข้อง ทำไมจึงยังปล่อยให้คนงานยืนอยู่ในจุดเกิดเหตุ แทนที่จะกันให้ออกนอกพื้นที่ ซึ่งจะต้องตรวจสอบว่า เกิดจากความประมาทหรือไม่ หากพบว่าเกิดจากความประมาท จะส่งตัวแทน แจ้งความดำเนินคดีอาญาในข้อหาฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ.2554 ซึ่งครั้งนี้กระทรวงฯจะชดเชยตามสิทธิจากกองทุนชดเชยให้คนงานที่เสียชีวิต นอกจากดำเนินคดีอาญาแล้ว กระทรวงแรงงานมีอำนาจในการสั่งปรับปรุงแก้ไข หากไม่แก้ ก็จะสั่งระงับการทำงานของบริษัททันที
 
ขณะที่พ.ต.ท.รังสรรค์ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่แจ้งข้อหาแก่ผู้ใด อยู่ระหว่างสอบพยาน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาสาเหตุที่เป็นต้นตอในการเกิดเหตุดังกล่าว พร้อมทั้งรอผลสรุปจากวิศวกร ว่าสาเหตุเกิดจากระบบ หรือความประมาทของผู้ใดหรือไม่ ก่อนจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
 
ต่อมาเวลา 11.30 น.พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมกล่าว ว่าวันนี้เดินทางมาดูความปลอดภัยของพื้นที่เนื่องจากยังไม่มีความปลอดภัยทั้งหมด และจะต้องเปิดให้ประชาชนสัญจรไปมาบริเวณนี้ รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงของการสูญเสียว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในคดีทางอาญา เบื้องต้นได้รับรายงานว่าสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งคนงานและพยานในที่เกิดเหตุไปแล้ว 12 ปาก มีบางประเด็นที่เชื่อมโยงไปถึงผู้กระทำผิดได้บางส่วน ซึ่งก็ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการโดยเร็วที่สุดที่ผ่านมามีการเกิดอุบัติเหตุในลักษณะนี้มาแล้ว 6 ครั้ง ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก ดังนั้นขอความร่วมมือวิศวกรและผู้ประกอบการให้ใส่ใจและระมัดระวังมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า จะดำเนินคดีกับผู้ที่พยานหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงทั้งหมด เพราะว่ามีความเสียชีวิต พร้อมเตรียมดำเนินคดีกับวิศวกรคุมงานหากพบกระทำความผิด แต่ขอรวบรวมพยานหลักฐานเสียก่อน
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ฮิวแมนไรท์วอทช์' ชี้ร่าง พ.ร.บ.สื่อฯ คุกคามเสรีภาพสื่อ

$
0
0
'ฮิวแมนไรท์วอทช์' แสดงความกังวลต่อร่างพระราชบัญญัติสื่อฯ ชี้เป็นคุกคามการรายงานข่าวจากทั้งโทษจำคุก 2 ปี หากสื่อรายงานข่าวโดยไม่จดทะเบียน และประเด็นอื่น ๆ ระบุแทนที่จะออกกฎหมายเผด็จการเพิ่มเติม รัฐบาลควรยกเลิกการเซ็นเซอร์และระเบียบที่ละเมิดสิทธิ

 
 
29 เม.ย. 2560 (นิวยอร์ก) – รัฐบาลไทยควรถอนร่างกฎหมายฉบับล่าสุด ที่มุ่งควบคุมการรายงานข่าวในประเทศไทยให้เข้มงวดขึ้นโดยทันที ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) กล่าวในวันนี้ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐบาลทหารประกาศว่าจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 นี้ โดยร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนกำหนดให้มีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล เพื่อกำกับดูแลสื่อทุกสาขา ทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์และออนไลน์ ทั้งยังกำหนดโทษกับบุคคลใด ๆ ซึ่งมีรายได้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากรายงานข่าวต่อสาธารณะ โดยไม่มีการจดทะเบียนสื่อในลักษณะเป็นบริษัท สำนักข่าวหรือองค์กร โดยอาจได้รับโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 60,000 บาท
 
“กฎหมายว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพสื่อซึ่งมีชื่อไม่ตรงกับเนื้อหาฉบับนี้ เป็นความพยายามล่าสุดของรัฐบาลทหารในการเข้าไปแทรกแซงและควบคุมการรายงานข่าวอย่างอิสระ” แบรด อดัมส์ (Brad Adams) ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าว “การผ่านร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมาย ย่อมทำให้ผู้สื่อข่าวในประเทศไทยต้องคอยกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าพวกเขาอาจถูกจำคุกโดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยรัฐบาล”
 
องค์กรสื่อกว่า 30 แห่งในประเทศไทย รวมทั้งสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ได้แสดงข้อกังวลอย่างจริงจังต่อร่างกฎหมายนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้รัฐบาลสามารถแทรกแซงสื่อและทำให้ผู้สื่อข่าวต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกตอบโต้ รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจจะถูกเพิกถอนทะเบียน
 
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เคยสัญญาตลอดมาว่า จะเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นอิสระของสื่อ รัฐบาลนี้เน้นย้ำข้อสัญญาดังกล่าวครั้งล่าสุด เมื่อเดือนมีนาคม ในที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระหว่างการพิจารณาสถานการณ์ด้านสิทธิของประเทศไทย อย่างไรก็ดี สถิติการปฏิบัติต่อเสรีภาพในการแสดงออกของรัฐบาลทหารอยู่ในสภาพเลวร้ายมาก ที่ผ่านมาทางการไทยมักคุกคามและดำเนินคดีกับบุคคลเพียงเพราะการแสดงความเห็น การเขียน และการโพสต์ข้อความทางอินเตอร์เน็ต ที่แม้จะเป็นเพียงการวิจารณ์รัฐบาลเพียงเล็กน้อยก็ตาม
 
ทันทีหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 รัฐบาลทหารสั่งพักการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและดิจิทัล และสถานีวิทยุชุมชนซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกับกลุ่มการเมืองทุกกลุ่ม ต่อมามีการอนุญาตให้บางสถานีสามารถออกอากาศได้ โดยต้องลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลทหารว่าจะไม่แสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาลทหารหรือเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย
 
รัฐบาลทหารได้ออกประกาศคำสั่งหลายฉบับเพื่อเซ็นเซอร์สื่อมวลชน รวมทั้ง ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ซึ่งห้าม “การวิพากษ์ วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ“และห้ามเผยแพร่ “ที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิด ความแตกแยกในราชอาณาจักร“ โดยสำนักข่าวทุกแห่งถูกบังคับให้ต้องรายงานข้อมูลจากรัฐบาลทหาร
 
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 ห้ามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ กรณีที่เป็นข้อมูลซึ่งทางการเห็นว่า “บิดเบือน และ (สร้าง) ความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม” ซึ่งเท่ากับเปลี่ยนให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กลายเป็นเครื่องมือการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลทหาร ซึ่งมีอำนาจอย่างกว้างขวางและไม่อาจตรวจสอบได้ สามารถสั่งพักการออกอากาศของรายการโทรทัศน์และวิทยุได้ หากทางการเห็นว่าเนื้อหาของรายการมีลักษณะบิดเบือน สร้างความแตกแยก หรือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ
 
“ร่างกฎหมายสื่อฉบับนี้ จะยิ่งทำให้โอกาสที่รัฐบาลทหารจะสามารถทำตามสัญญาทั้งในแง่การเลือกตั้งและการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย เลื่อนลอยออกไปกว่านี้อีก” อดัมส์กล่าว “แทนที่จะออกกฎหมายเผด็จการเพิ่มเติม รัฐบาลควรยกเลิกการเซ็นเซอร์และระเบียบที่ละเมิดสิทธิ ซึ่งกำลังบั่นทอนเสรีภาพในการแสดงออกของไทยอยู่ในขณะนี้”
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ก.คมนาคม เผยความคืบหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ 8 ปี

$
0
0
ก.คมนาคม เผยความคืบหน้าแผนปฏิบัติการขนส่งระยะเร่งด่วนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยในระยะ 8 ปี ระหว่างปี 2558-2565  36 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 893,776.09 ล้านบาท

 
 
 
29 เม.ย. 2560 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action Plan) ของกระทรวงคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง  ของไทยในระยะ 8 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปี พ.ศ. 2565 ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน ปี 2560 (Action Plan 60) เช่นเดียวกับแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน ปี 2558 และปี 2559 (Action Plan 58, Action Plan 59) โดยพิจารณาถึงความสอดคล้อง เชื่อมโยงกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12  และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)
 
สำหรับแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน ปี 2560 (Action Plan 60) ได้พิจารณาคัดเลือกโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 และโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลที่มีความพร้อมในการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 รวมทั้งโครงการสำคัญที่ต้องการเร่งผลักดัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 36 โครงการ  แบ่งเป็น 6 กลุ่มโครงการ วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นจำนวน 893,776.09 ล้านบาท โดยมีความคืบหน้าผลการดำเนินงานแต่ละโครงการ ดังนี้
 
กลุ่มที่ 1 : โครงการพร้อมให้บริการ จำนวน 2 โครงการได้แก่
 
1)​โครงการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมโยงอ่าวไทยตอนบน ฝั่งตะวันออกและตะวันตก เส้นทางพัทยา – หัวหิน ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา
 
2) ​โครงการระบบตั๋วร่วม เพื่อเชื่อมระบบบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไป รวมทั้งจะให้เชื่อมกับระบบบัตรโดยสารของรถโดยสารประจำทาง เรือโดยสาร และระบบทางด่วนและทางพิเศษด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ตั๋วร่วมได้เร็วที่สุด
 
กลุ่มที่ 2 : โครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ จำนวน 5 โครงการได้แก่
 
1) ​ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ซึ่งอยู่ระหว่างกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) คัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างและเสนอให้เอกชนร่วมลงทุน
 
2) ​การพัฒนาท่าอากาศยานในภูมิภาค ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงแล้ว 2 แห่ง ได้แก่  ท่าอากาศยานแม่สอด จังหวัดตาก ท่าอากาศยานสกลนคร และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา
 
3) ​โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก อยู่ระหว่างการเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการ
 
4) ​โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ระหว่างปรับปรุง TOR และราคากลาง
 
5) ​การปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2560       
 
​กลุ่มที่ 3 : โครงการที่เริ่มประกวดราคาได้ จำนวน 15 โครงการได้แก่
 
1) ​โครงการจัดซื้อรถโดยสารรถไฟฟ้า จำนวน 200 คัน พร้อมก่อสร้างสถานีประจุไฟฟ้า นำร่าง TOR ประกาศลงเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว
 
2) ​โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนเมษายน – กันยายน 2560
 
3) ​โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ – บางปู จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2560
 
4) ​โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงคูคต – ลำลูกกา จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2560
 
5) ​โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างทบทวนกรอบวงเงินค่าก่อสร้างโยธา จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกรกฎาคม 2560 – พฤษภาคม 2561
 
6) ​โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) ส่วนต่อขยาย (ระยะที่ 1) ช่วงพญาไท – บางซื่อ และ (ระยะที่ 2) ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง ประกอบด้วยส่วนต่อขยาย (ช่วงที่ 1) ช่วงพญาไท – บางซื่อ จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2560 และส่วนต่อขยาย (ช่วงที่ 2) ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2560 – มกราคม 2561
 
7) ​โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตจะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกันยายน 2560 – มีนาคม 2561
 
8) ​โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย, ช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี, ช่วงขอนแก่น – หนองคาย, ช่วงชุมพร – สุราษฎร์ธานี จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 2560, ช่วงสุราษฎร์ธานี – หาดใหญ่ – สงขลา, ช่วงหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ และช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ จะดำเนินการประกวดราคาในเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2560
 
9) ​โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul: MRO) ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการได้ภายในเดือนสิงหาคม 2560
 
กลุ่มที่ 4 : โครงการที่เสนอคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการ PPP จำนวน 8 โครงการได้แก่ 
 
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ, โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม, โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา (เพิ่มเติมสถานี    บางกรวย – กฟผ. และสะพานพระราม 6), โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3, โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor ด้านตะวันออก, โครงการทางพิเศษสายกะทู้ – ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต, โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐม – ชะอำ และโครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จังหวัดนครพนม
 
กลุ่มที่ 5 : โครงการที่หน่วยงานเตรียมข้อเสนอโครงการแล้วเสร็จ จำนวน 4 โครงการได้แก่
 
โครงการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมโยงอ่าวไทยตอนบน ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกในระยะยาว, โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่ – ชายแดนไทย/มาเลเซีย, โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าเมืองชายแดน 9 แห่ง และโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าเมืองหลักในภูมิภาค 8 แห่ง         
 
กลุ่มที่ 6 : โครงการสำคัญที่ต้องการผลักดัน จำนวน 2 โครงการได้แก่ 
 
โครงการพัฒนาจุดพักรถบรรทุกตามเส้นทางการขนส่งสินค้าหลักของประเทศ (จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกำแพงเพชร) และโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการต่างๆ ได้เร่งดำเนินโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามแผนฯและนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับขบวนการแอบอ้างรางวัลพระราชทานที่ จ.ตรัง

$
0
0
'ตำรวจ-ทหาร' จ.ตรัง จับขบวนการแอบอ้างรางวัลพระราชทาน เรียกรับผลประโยชน์จากการรับรางวัลเทพกินรี ใช้ ม. 44 ควบคุมตัวไปสอบที่ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อยู่ระหว่างการสอบสวนเพิ่มเติมว่าเข้าข่าย ม.112 หรือไม่

 
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2560 ที่ผ่านมา news.ch7.comรายงานว่าเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการข่าวศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ตำรวจสันติบาลจังหวัดตรัง พร้อมด้วยหน่วยข่าวกรอง และทหารกองทัพภาคที่ 4 นำกำลังเข้าตรวจสอบบ้านพักหลังหนึ่ง เขตตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง ซึ่งอยู่ระหว่างจัดงานเลี้ยงฉลองรับรางวัล เนื่องจากมีผู้แจ้งความร้องทุกข์ว่าถูกขบวนการแอบอ้างเบื้องสูง เรียกรับผลประโยชน์จากการรับรางวัล "เทพกินรี" ประจำปี 2560 เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน
 
เจ้าหน้าที่ขยายผลตรวจค้นภายในบ้านพักหลังดังกล่าว พบโล่ประกาศเกียรติคุณ ภาพถ่ายการรับโล่รางวัล และเข็มกลัดตราสัญลักษณ์ ซึ่งขบวนการนี้แอบอ้างว่าเป็นรางวัลพระราชทาน รวมถึงเอกสารการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของหนึ่งในผู้ร่วมขบวนการ จึงใช้มาตรา 44 ควบคุมตัวบุคคลจำนวน 7 คน มาสอบสวนข้อเท็จจริงที่ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์
 
นางภัททิยา จำรัสเนตร หนึ่งในผู้ถูกควบคุมตัวรับสารภาพว่า ร่วมกันกับพวกแอบอ้างเบื้องสูงเพื่อรับผลประโยชน์จริง เริ่มจากแจ้งเครือข่ายในแต่ละภาค ให้จัดส่งรายชื่อบุคคลจากทุกสาขาอาชีพเข้ารับรางวัล โดยมีค่าลงทะเบียนรายละ 3,500 บาท ไม่รวมค่าชุดที่ใช้สวมใส่ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาร่วมงาน
 
ตำรวจสืบประวัติ นางภัททิยา พบเปลี่ยนชื่อ-สกุลมาแล้วถึง 6 ครั้ง จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แต่มีการใช้คำนำหน้าชื่อว่า "ด็อกเตอร์กิตติมศักดิ์ " เบื้องต้นตำรวจได้แจ้งข้อหากับนางภัททิยา ฐานฉ้อโกงประชาชน ส่วนจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วยหรือไม่ อยู่ระหว่างการสอบสวนเพิ่มเติม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ปล่อยไผ่ไปรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน

$
0
0


ภาพจาก #ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement – NDM

 

คิม ยัง แร ผู้อำนวยการมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร้องขอให้ปล่อยตัวจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” เพื่อให้เดินทางไปรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ปี 2560

เนื่องจากไผ่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากการแชร์เฟซบุ๊กข่าวเกี่ยวกับพระราชประวัติของ ร.10 ที่เผยแพร่ในบีบีซีไทย โดยไผ่ไม่ได้รับสิทธิประกันตัวอันเป็นสิทธินั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงมี เขาถูกควบคุมตัวอยู่ที่ทัณฑสถานบำบัด จังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2559 หนังสือของคิม ยัง แร ให้เหตุผลสำคัญตอนหนึ่งว่า

“ ทางมูลนิธิได้ให้เสนอชื่อให้ จตุภัทร์ ได้รับรางวัล เพราะเขาเป็นตัวอย่างที่หาได้ยากยิ่งในการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตยของไทย และเชิดชูไว้ซึ่งหลักแห่งความเสรีภาพ ความเสมอภาค และสิทธิมนุษยชน แม้ในขณะที่การกระทำดังกล่าวจะต้องเสียสละซึ่งความปลอดภัย ผลประโยชน์ แม้กระทั่งอนาคตของตนเอง

…ทางมูลนิธิเชื่อว่าทางการไทยควรปรับภาพพจน์ใหม่เป็นรัฐที่เคารพในสิทธิและเดินหน้าสู่การคืนการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยการปล่อยตัวจตุรภัทร์ตั้งแต่บัดนี้ เพื่อให้เขาเข้าร่วมพิธีรับรางวัลกวางจูในวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ที่กวางจู ประเทศเกาหลีใต้ “

ผมมีข้อสังเกตบางอย่างคือ ขณะที่นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวจำนวนไม่น้อยในบ้านเรา มักมองเรื่องสิทธิเป็นส่วนๆ เน้นการเคลื่อนไหวเฉพาะสิทธิของคนบางกลุ่ม เช่น สิทธิสตรี, สิทธิของคนไม่มีศาสนา,สิทธิชุมชน, สิ่งแวดล้อมฯลฯ โดยเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาการเมืองระดับชาติ

หรือยิ่งกว่านั้นบางกลุ่มก็เรียกร้องสิทธิในกลุ่มของตนเองไปพร้อมๆ กับเรียกร้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งที่ไม่อิงวิถีทางประชาธิปไตย ทั้งยังผลักดันวาระของพวกตนผ่านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช.อีกด้วย

อีกประเภทหนึ่ง คือปัญญาชนที่พูดเรื่องประชาธิปไตย แต่เข้าไปมีตำแหน่ง บทบาทภายใต้อำนาจรัฐบาล คสช.โดยอ้างจริยธรรมว่าต้องการทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง

ผมไม่ได้คิดว่า การเรียกร้องสิทธิ, ผลประโยชน์ของคนเป็นกลุ่มๆ หรือการมีจริยธรรมบนสำนึกคำนึงถึงประโยชน์ของชาติเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ เพราะอันที่จริงประวัติศาสตร์ความก้าวหน้าของประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน มักเกิดจากการที่ปัจเจกบุคคล, กลุ่มบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่ถูกกดขี่แล้วตระหลักถึงปัญหาการไม่มีสิทธิเท่าเทียมของตนเอง และลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้อง อย่างที่ริชาร์ด รอร์ตีกล่าวว่า “ความก้างหน้าของสิทธิมนุษยชนไม่ได้เกิดจากหลักปรัชญาหรือความคิดทางศีลธรรมที่สูงส่ง แต่เกิดจากเรื่องเล่าความเจ็บปวดในการต่อสู้ของบรรดาผู้ถูกกดขี่” หรืออย่างที่บางคนมองว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในทางสังคมการเมือง ไม่ได้เกิดจากนักคิด ปัญญาชนที่มีชื่อเสียง แต่เกิดจากการเคลื่อนไหว การต่อสู้ของบรรดาผู้คนที่โนเนม ผู้ซึ่งไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจที่กดขี่

ขณะเดียวกันจริยธรรมของปัจเจกบุคคลที่ต้องการทำประโยชน์แก่ส่วนรวมก็จำเป็น แต่มันต้องสอดคล้องกับ “กติกากลาง” ของส่วนรวม การเป็นนักปฏิบัตินิยม (Pragmatists) แบบไทยที่เลือกให้ความสำคัญและมุ่งความสำเร็จเฉพาะสิทธิของกลุ่มตน โดยกระตือรือร้นผลักดันวาระของตนผ่านกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรืออ้างจริยธรรมที่ต้องการทำประโยชน์ส่วนรวมให้ความชอบธรรมกับการเข้าไปมีตำแหน่ง บทบาทภายใต้รัฐบาลเผด็จการ มันคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเราเดินมาถึงวันนี้

คือเดินมาถึงจุดที่สังคมไม่มี “กติกากลาง” ที่ให้หลักประกันสิทธิทางการเมืองของทุกคนทุกฝ่าย ทำให้ไม่มีหลักอ้างอิง หรือช่องทาง, เวทีต่อรองบนหลักการของการมีสิทธิที่เท่าเทียมได้อีกต่อไป  

ถึงตรงนี้ผมต้องการจะเน้นให้เห็นว่า ความโดดเด่นของไผ่ คือการเชื่อมโยงสิทธิด้านต่างๆ ของชาวบ้านเข้ากับสิทธิทางการเมืองระดับชาติ เพราะเขาชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า เมื่อการเมืองระดับชาติไม่เป็นประชาธิปไตย สิทธิชุมชน สิทธิในที่ทำกิน สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ของชาวบ้าน ที่เขาเคยร่วมต่อสู้มาย่อมถูกกระทบไปด้วย ในเมื่อไม่มี "กติกากลาง" ที่เป็นประชาธิปไตย ก็ไม่มีพื้นที่ ไม่มีเวทีให้ชาวบ้านได้ต่อรองและเรียกร้องสิทธิด้านต่างๆ ของพวกเขาได้

นี่คือเหตุผลที่ทำให้ไผ่และเพื่อนๆ เป็นกลุ่มแรกๆ ที่ออกมาต่อต้านเผด็จการ โดยการออกมายืนเผชิญหน้ากับหัวหน้ารัฐบาล คสช.อย่างกล้าหาญ และยืนหยัดเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย แม้จะมองไม่เห็นโอกาสที่จะทำได้สำเร็จก็ตาม

การที่ไผ่ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการยืนยันอุดมการณ์ประชาธิปไตยและความกล้าหาญที่มูลนิธิ May 18 Memorial แห่งประเทศเกาหลีใต้มองเห็น แน่นอนว่า ประชาชนไทยจำนวนมากที่รักประชาธิปไตยย่อมจะมองเห็นด้วยเช่นกัน ยกเว้นบรรดาชนชั้นปกครอง หรือคนประเภทที่พูดคำว่า "ประชาธิปไตย" แต่ปากเท่านั้นที่ไม่เคยมองเห็น

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วัดญี่ปุ่นยอมจ่ายค่าโอทีค้างจ่ายพระ หลังร้องเรียนสหภาพแรงงาน

$
0
0

ที่ญี่ปุ่นพระภิกษุบางนิกายสามารถประกอบอาชีพ ทำงานแลกเงินเดือนและค่าล่วงเวลาด้วยเช่นเดียวกัน วัดญี่ปุ่นแห่งหนึ่งที่เบี้ยวโอทีก็ต้องยอมจ่ายให้พระ 2 รูป หลังร้องเรียนสหภาพแรงงาน สืบพบวัดอาจทำผิดกฎหมายแรงงานเพราะทำข้อตกลงไม่จ่ายโอทีมากว่า 40 ปี

พระภิกษุของญี่ปุ่นบางนิกายสามารถประกอบอาชีพอาชีพต่าง ๆ เช่นการเป็นพนักงานบาร์เหล้าได้ ที่มาภาพประกอบ: The Japan Times

30 เม.ย. 2560 เว็บไซต์ The Japan Timesรายงานเมื่อปลายเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาว่าวัดพุทธแห่งหนึ่งในเกียวโตยอมจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา (OT) เป็นจำนวน 6.6 ล้านเยน (ประมาณ 2,046,236 บาท) ให้กับพระภิกษุ 2 รูปหลังจากวัดแห่งนี้ได้ค้างจ่าย ทำให้พระภิกษุทั้ง 2 รูปได้ร้องเรียนและเรียกร้องค่าชดเชยผ่านสหภาพแรงงานแห่งเกียวโต (the Kyoto Union)

พระภิกษุทั้ง 2 รูปทำงานในส่วนของสถานที่ฝึกอบรมของวัดโดยมีสัญญาจ้างระหว่างเดือน พ.ย. 2013 ถึงเดือน มี.ค. 2017 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ พระภิกษุ 2 รูป ระบุว่าบางเดือนต้อทำงานล่วงเวลาถึง 130 ชั่วโมง แต่ทางวัดไม่ยอมบันทึกชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาไว้ นอกจากนี้จากการสืบสวนพบว่าวัดแห่งนี้อาจจะทำผิดกฎหมายแรงงานเนื่องจากมีการทำข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายว่าจะไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้กับพนักงานที่เป็นพระภิกษุมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้ว

อนึ่งพระภิกษุของญี่ปุ่นบางนิกายนอกจากจะสามารถแต่งงานและมีครอบครัวได้แล้ว ก็ยังสามารถประกอบอาชีพอาชีพต่าง ๆ ได้ด้วย ทั้งรับจ้างประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ดูแลวัด และส่วนธุรกิจต่าง ๆ ของวัด พระภิกษุบางครอบครัวเปิดวัดหรือสำนักเองแล้วให้ลูกหลานดูแลสืบทอดธุรกิจ รวมถึงอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเลย เช่น เป็นอาจารย์ พนักงานร้านกาแฟ พนักงานบาร์เหล้า รวมทั้งประกอบธุรกิจอื่น ๆ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์สำรวจความเห็นแรงงาน 52.8% ชี้ควรขึ้นค่าแรงมากกว่านี้

$
0
0
กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจ “แรงงานไทย ใจสู้หรือเปล่า” 65.2% ทราบว่ามีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 52.8% ชี้ควรขึ้นมากกว่านี้  47.4% บอกค่าจ้างพอดีกับค่าใช้จ่ายแต่ไม่มีเงินออมเลย  เปรียบการเงินของตนเองกับสำนวน พออยู่พอกินไปวันๆ 58.7% ไม่ทราบว่าแรงงานมีฝีมือ จะได้ค่าจ้างเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่อยากให้รัฐพัฒนาฝีมือด้านการทำอาหาร เครื่องดื่ม และ ไอที คอมพิวเตอร์

 
 
เนื่องในวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันแรงงานแห่งชาติ  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “แรงงานไทย ใจสู้หรือเปล่า” โดยเก็บข้อมูลกับผู้ใช้แรงงาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  จำนวน 1,149  คน พบว่า  
 
ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.2 รับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิม 300 บาท เป็น 305 - 310 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นค่าจ้างใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 34.8 ไม่ทราบข่าว ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 บาท เป็น 310 บาทแล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.9 ระบุว่า “ได้รับแล้ว” ขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุว่า “ยังไม่ได้รับ”
 
สำหรับความเห็นต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าวของภาครัฐพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เห็นว่าน่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่านี้ ขณะที่ร้อยละ 32.8 เห็นว่าเป็นการขึ้นที่สมเหตุสมผลแล้ว เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ ส่วนร้อยละ 14.4 เห็นว่ายิ่งขึ้นยิ่งหางานทำยาก เพราะต้นทุนของนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น
 
เมื่อถามว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.4 เห็นว่าพอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ส่วนร้อยละ 33.8 เห็นว่า ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ขณะที่ร้อยละ 18.8 เห็นว่า เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
 
ทั้งนี้เมื่อให้เปรียบสภาพทางการเงินของตนเองกับสำนวนไทยพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2 เปรียบได้กับสำนวน พออยู่พอกิน รองลงมาร้อยละ 31.4 ชักหน้าไม่ถึงหลัง และร้อยละ 3.1 เหลือกินเหลือใช้
 
นอกจากนี้เมื่อถามว่าการเข้ามาของแรงงานต่างด้าว จากประเทศเพื่อนบ้าน มีผลต่อการแย่งงาน หรือ กีดกันการทำงานของแรงงานไทยใช่หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 เห็นว่า “ไม่ใช่” ขณะที่ร้อยละ 48.6 เห็นว่า “ใช่”
 
เมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีเพิ่มขึ้น จาก 300 ไปจนถึง 700 แก่กลุ่มแรงงานมีฝีมือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.7 ระบุว่า “ไม่ทราบ” ขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุว่า “ทราบ”
 
สุดท้ายเมื่อถามว่าหากมีโอกาสอยากได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านใดจากหน่วยงานภาครัฐหรือกระทรวงแรงงาน  เพื่อตอบรับไทยแลนด์ 4.0 ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.3 อยากได้รับการพัฒนาด้านการทำอาหาร เครื่องดื่มมากที่สุด รองลงมาด้านไอที คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 20.9) และด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 19.9) 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตรียมเอาผิดอาญา-'ไจก้า' เล็งแบล็กลิสต์ 'อิตาเลี่ยนไทย' เหตุคนงานเสียชีวิต

$
0
0
วสท.ตรวจสาเหตุคานเหล็กหลังอุปกรณ์โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงหล่นทับคนงานเสียชีวิต จ่อเอาผิดอาญาผู้รับเหมา ด้านรักษาการผู้ว่าการ รฟท. ยอมรับ 'ไจก้า' เตรียมพิจารณาขึ้นบัญชีดำ 'อิตาเลี่ยนไทย' ทุกโครงการที่ให้เงินกู้ รวมทั้งโครงการลงทุนอื่นของรัฐ

 
 
 
เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2560 ที่ผ่านมา Nation TVรายงานว่าจากกรณีเมื่อช่วงค่ำวันที่ 28 เม.ย. เกิดเหตุอุปกรณ์ก่อสร้างคานเหล็กของรถไฟฟ้าสายสีแดงหล่นลงมาทับคนงานเสียชีวิต 3 ราย เหตุเกิดบริเวณจุดก่อสร้างหน้าโรงเรียนวัดดอนเมือง ถนนกำแพงเพชร 6 เขตดอนเมือง กทม. ต่อมาเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุพบตัวยึดตอม่อขาด เตรียมแจ้งความเอาผิดคดีอาญากับผู้รับเหมาเนื่องจากปล่อยให้เกิดเหตุซ้ำ
 
เมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 เม.ย. นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายสมภพ ปราบณรงค์ ผู้ตรวจราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายอำนวย ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยแรงงาน พร้อมนายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เจ้าหน้าที่ทีมวิศวกรของบริษัทอิตาเลี่ยนไทย จำกัด พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ บัณฑิตย์ ผกก.สน.ดอนเมือง พ.ต.ท.รังสรรค์ สอนสิงห์ รองผกก.(สอบสวน)สน.ดอนเมือง และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ เพื่อหาหลักฐานและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
 
นายธเนศ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบความผิดปกติของคานเหล็กเส้นแรงดึงสูงสำหรับคอนกรีต โดยจะมีเหล็กที่เรียกว่าทีทีบาร์ ซึ่งเป็นตัวยึดต่อตอม่อขาดในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวส่งผลให้โครงสร้างเหล็กทั้งหมดร่วงหล่นลงมา โดยปกติเหล็กดังกล่าวมีทั้งหมด 6 เส้น แต่ขณะนี้ตรวจสอบเพียง 1 เส้นที่ขาด โดยพบว่าขาดแนวตัดขวาง จากแรงเฉือนที่รุนแรง ซึ่งจะต้องนำเหล็กเส้นที่พบเข้าห้องแล็บ เพื่อตรวจสอบภายในอย่างละเอียดว่าขาดเพราะอะไรทั้งนี้ เบื้องต้นในส่วนระบบการปฏิบัติยังไม่พบข้อบกพร่อง ที่เกิดจากความประมาท แต่น่าจะเป็นอุบัติเหตุ ซึ่งการเคลื่อนตัวจากตอม่อหนึ่งไปยังอีกตอม่อหนึ่งนั้น จะมีแรงเสียดสีอยู่แล้ว เมื่อตัวทรัคเคลื่อนไปแล้วเกิดสะดุดคนควบคุมจึงพยายามถอยหลัง เพื่อเคลื่อนตัวไปข้างหน้าใหม่ โดยจังหวะนั้นน่าจะทำให้เกิดแรงเสียดสีที่แรงขึ้น จนเป็นเหตุให้เหล็กทีทีบาร์ขาด กระทั่งตกลงมาได้ อย่างไรก็ตามต้องตรวจสอบรายละเอียดว่า เหตุดังกล่าวเกิดจากความประมาทหรือข้อผิดพลาดจุดใด หากเจ้าหน้าที่วิศวกรรมสถานฯและเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบแล้วเสร็จ ก็จะยกทรัคเหล็กออก แล้วก็น่าจะเปิดสัญจรได้ตามปกติภายในวันอังคารที่ 2 พ.ค. นี้
 
ดร.ธเนศ กล่าวอีกว่า การก่อสร้างมีระเบียบมาตรฐานในการปฏิบัติอยู่แล้ว หากมีการยกสิ่งของหรือก่อสร้างก็จะมีการปิดกั้นพื้นที่ ซึ่งครั้งนี้ก็พบว่าทางบริษัทอิตาเลี่ยนไทยที่รับผิดชอบการก่อสร้างนี้ได้มีการปิดกั้นพื้นที่แล้ว และเลือกที่จะใช้เวลากลางคืนในการทำงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะกระทบกับประชาชนที่สัญจร แต่ต้องยอมรับว่าการทำงานในช่วงเวลากลางคืนนั้นอาจไม่สะดวก และเกิดความผิดพลาดได้ หลังจากนี้จึงต้องให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานให้ดี เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดีหลังจากนี้ยังสามารถดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องได้ตามปกติ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น
 
ด้านนายสุเมธ กล่าวว่า เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น การก่อสร้างดังกล่าวนั้นเคยทำให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้มาแล้ว 6 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมด 8 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางเราไม่สบายใจมาก ว่าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขนาดนี้ได้อย่างไร แต่ละครั้งก่อนหน้านี้เราได้มีการเปรียบเทียบปรับ แต่ครั้งนี้จะไม่ยอม ต้องดำเนินคดีทางอาญา โดยก่อนจะไปแจ้งข้อหานั้นจะเชิญเจ้าหน้าที่ บริษัทที่รับผิดชอบมาตอบคำถามว่า เมื่อพบว่ามีเหตุขัดข้อง ทำไมจึงยังปล่อยให้คนงานยืนอยู่ในจุดเกิดเหตุ แทนที่จะกันให้ออกนอกพื้นที่ ซึ่งจะต้องตรวจสอบว่า เกิดจากความประมาทหรือไม่ หากพบว่าเกิดจากความประมาท จะส่งตัวแทน แจ้งความดำเนินคดีอาญาในข้อหาฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ.2554 ซึ่งครั้งนี้กระทรวงฯจะชดเชยตามสิทธิจากกองทุนชดเชยให้คนงานที่เสียชีวิต นอกจากดำเนินคดีอาญาแล้ว กระทรวงแรงงานมีอำนาจในการสั่งปรับปรุงแก้ไข หากไม่แก้ ก็จะสั่งระงับการทำงานของบริษัททันที
 
ขณะที่พ.ต.ท.รังสรรค์ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่แจ้งข้อหาแก่ผู้ใด อยู่ระหว่างสอบพยาน และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาสาเหตุที่เป็นต้นตอในการเกิดเหตุดังกล่าว พร้อมทั้งรอผลสรุปจากวิศวกร ว่าสาเหตุเกิดจากระบบ หรือความประมาทของผู้ใดหรือไม่ ก่อนจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
 
นายประเสริฐกล่าวว่า หลังจากได้รับทราบเหตุการณ์ดังกล่าวได้รายงานให้กระทรวงคมนาคมรับทราบแล้วโดยหลังจากที่ตนได้ลงพื้นที่พร้อม ผู้เชี่ยวชาญจากสภาวิศวกร เบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสลิงของคานเหล็กที่รับน้ำหนักมากเกินไปจนทำให้สลิงขาดในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าจะต้องใช้เวลาตรวจสอบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายใน 7 วัน ทั้งนี้ เบื้องต้นรฟท.ได้สั่งการให้หยุดการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสาสีแดงไว้ชั่วคราวแล้ว ในส่วนของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)ผู้ควบคุมงานการก่อสร้างสัญญาที่ 2 นั้น ได้สั่งให้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ในส่วนของเหตุการณ์ดังกล่าวจะกระทบต่อสัญญาที่บริษัท อิตาเลียนไทย ต่อการก่อสร้างสายสีแดงหรือไม่ ต้องรอผลการสอบสวนอีกครั้ง ซึ่งหากจากการสอบสวนพบว่าความผิดเกิดจากความประมาทของบริษัท อาจจะต้องมีการขึ้นบัญชีดำในขั้นตอนต่อไป ส่วนมาตรการการเยียวยาผู้เสียชีวิต รฟท.จะพิจารณาดูหลักเกณฑ์ต่างๆภายในสัญญาและเยียวยาให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
 
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากได้รับรายงานเหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้สั่งการให้สั่งพักการก่อสร้างทันที พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบสวน และพักงานวิศวกรควบคุมงาน และให้บริษัทอิตาเลียนไทย เตรียมแถลงความรับผิดชอบ และแสดงแผนความปลอดภัยในการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงทั้งหมด ภายใน 7 วัน
 
ด้าน พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผบช.น. เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมกล่าวว่าวันนี้เดินทางมาดูความปลอดภัยของพื้นที่เนื่องจากยังไม่มีความปลอดภัยทั้งหมด และจะต้องเปิดให้ประชาชนสัญจรไปมาบริเวณนี้ รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงของการสูญเสียว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในคดีทางอาญาพล.ต.ท.ศานิตย์กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่าสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งคนงานและพยานในที่เกิดเหตุไปแล้ว 12 ปาก มีบางประเด็นที่เชื่อมโยงไปถึงผู้กระทำผิดได้บางส่วน ซึ่งได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการโดยเร็วที่สุดที่ผ่านมามีการเกิดอุบัติเหตุในลักษณะนี้มาแล้ว 6 ครั้ง ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก ดังนั้นขอความร่วมมือวิศวกรและผู้ประกอบการให้ใส่ใจและระมัดระวังมากขึ้น ยืนยันว่าจะดำเนินคดีกับผู้ที่พยานหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงทั้งหมด เพราะว่ามีความเสียชีวิต พร้อมเตรียมดำเนินคดีกับวิศวกรคุมงานหากพบกระทำความผิด แต่ขอรวบรวมพยานหลักฐานเสียก่อน
 
รักษาการผู้ว่าการ รฟท. ยอมรับ 'ไจก้า' เตรียมพิจารณาขึ้นบัญชีดำ 'อิตาเลี่ยนไทย'
 
สปริงนิวส์ รายงานเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2560 ที่ผ่านมาว่านายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยกับสปริงนิวส์ว่า กรณีเหตุ launcher อุปกรณ์ก่อสร้างที่ใช้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงของ บริษัทอิตาเลี่ยนไทยฯที่กำลังก่อสร้างอยู่หล่นลงมาทับคนงานเสียชีวิต บริเวณหน้าโรงเรียนวัดดอน เมืองเมื่อคืนที่ผ่านมา 
 
หลังจากที่การรถไฟ ฯได้ลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ หรือ วสท. เจ้าหน้าที่ตำรวจ และ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครวันนี้แล้ว ต้องใช้เวลาสรุปสาเหตุที่ชัดเจนก่อนคาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันจึงจะทราบสาเหตุในเบื้องต้นได้ หลังจากนั้น บริษัทฯ จะต้องมีการกำหนดมาตร การป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ รวมถึงมาตรการควบคุมด้านความปลอดภัย ซึ่งระหว่างการสรุปสาเหตุและจัดทำมาตรการป้องกัน บริษัทอิตาเลี่ยนไทยจะต้องหยุดการปฏิบัติงานไปจนกว่าจะมีผลสรุปสาเหตุออกมาชัดเจนและมีแผนป้องกันเกิดเหตุซ้ำ 
 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ไจก้า ในฐานะผู้ให้กู้ลงทุนโครงการรถไฟสายสีแดง เตรียมพิจารณาขึ้นบัญชีดำ บริษัทอิตาเลี่ยนไทย ทุกโครง การที่ไจก้าให้เงินกู้ รวมทั้งโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์อื่นของภาครัฐที่ใช้เงินกู้จากไจก้า จะต้องเพิ่มความระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยสูงสุด แต่เพื่อความเป็นธรรมของผู้รับสัมปทานจะต้องหาสาเหตุที่ชัดเจนก่อนว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น ประมาทเล่นเล่อ อุปกรณ์ชำรุด หรือ ปัญหาเทคนิคด้านวิศวกรรมของอุปกรณ์ 
 
นายอานนท์ กล่าวอีกว่าหลังจากรายงานสถาน การณ์ที่เกิดขึ้นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนา คมรับทราบ ได้สั่งการให้หยุดก่อสร้างทันทีเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนและบริษัทอิตาเลี่ยนไทยต้องรับผิดชอบความเสียหายและผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ยังกำชับให้หน่วยงานที่ดำเนินโครงการลงทุนโครง สร้างพื้นฐานภายใต้กระทรวงคมนาคมทั้งหมด มีความรอบคอบและเพิ่มเข้มงวดด้านความปลอดภัยการทำงานให้มากขึ้น 
 
สำหรับการก่อสร้างโครงการฯที่เกิดเหตุ เป็นสัญญา 2 คือ งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต มูลค่าสัญญากว่า 21,235 ล้านบาท ซึ่ง รฟท. มีเป้าหมายเปิดเดินรถในปี 2563 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: 26 ปี คนทำงานวงการสื่อมวลชนทั่วโลกตาย 2,419 คน

$
0
0

รายงานพิเศษจาาก TCIJ พบระหว่างปี 1990-2016 คนทำงานในวงการสื่อมวลชนทั่วโลก ตั้งแต่คนขับรถจนถึงบรรณาธิการข่าว เสียชีวิตจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ทั้งจากการโจมตี อุบัติเหตุและภัยพิบัติต่าง ๆ รวมแล้วกว่า 2,419 คน ภูมิภาคเอเชียตายสูงสุด 599 คน

<--break- />ปี 2016 เสียชีวิตรวม 122 คน

ในรอบหลายปีที่ผ่านมา คนทำงานวงการสื่อมวลชนทั่วโลกตั้งแต่คนขับรถ นักข่าว ช่างภาพ จนถึงบรรณาธิการข่าว ต่างแบกรับความเสี่ยงในชีวิต ทั้งในพื้นที่สงคราม พื้นที่ขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ หลายกรณีสาเหตุการเสียชีวิตเกิดขึ้นทั้งจากการถูกฆาตกรรม, ถูกโจมตีจากอาวุธปืนและระเบิด, ลูกหลงจากการยิงต่อสู้ของกลุ่มขัดแย้ง, การลักพาตัวโดยใช้ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งจากอุบัติเหตุและภัยพิบัติต่าง ๆ

จากรายงาน IFJ list of journalists & media staff killed in 2016 ของสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวระหว่างประเทศ (International Federation of Journalists หรือ IFJ) ระบุว่าคนทำงานวงการสื่อมวลชนทั่วโลกเสียชีวิตจากเหตุการณ์ต่าง ๆ (ไม่นับการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยหรือชราภาพ)  ในปี 2016 ที่ผ่านมารวม 122 คน แยกเป็นเสียชีวิตจากการถูกโจมตี 93 คน และจากอุบัติเหตุและภัยพิบัติต่าง ๆ อีก 29 คน

ในด้านสถานที่เกิดเหตุรุนแรงเมื่อแยกเป็นรายทวีปพบว่าภูมิภาคอเมริกาเป็นสถานที่ที่คนทำงานในวงการสื่อมวลชนเสียชีวิตมากที่สุด 44 คน ตามมาด้วยตะวันออกกลาง 30 คน เอเชียและแปซิฟิก 28 คน ยุโรป 12 คน และแอฟริกาเสียชีวิต 8 คน ตามลำดับ เมื่อแยกเป็นรายประเทศที่คนทำงานในวงการสื่อมวลชนเสียชีวิตมากที่สุดคือโคลัมเบีย 20 คน ตามมาด้วย อิรัก 15 คน, อัฟกานิสถาน 13 คน, เม็กซิโก 11 คน, รัสเซีย 9 คน, เยเมน 8 คน, ซีเรีย 6 คน, กัวเตมาลา 6 คน, ปากีสถาน 5 คน, อินเดีย 5 คน, ฟิลิปปินส์ 3 คน, โซมาเลีย 3 คน, บราซิล 3 คน, ตุรกี 2 คน, ลิเบีย 2 คน, ฮอนดูรัส 2 คน, พม่า 1 คน, ยูเครน 1 คน, เวเนซูเอลา 1 คน, ซูดานใต้ 1 คน, เปรู 1 คน, จอร์แดน 1 คน, กินี 1 คน, คองโก 1 คน และบังกลาเทศ 1 คน ตามลำดับ

โศกนาฏกรรมครั้งสำคัญในปี 2016 สำหรับวงการสื่อมวลชน เกิดขึ้นที่โคลัมเบียเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2016 เครื่องบิน Avro RJ85 ของสายการบิน LaMia ซึ่งเป็นสายการบินของประเทศโบลิเวีย เที่ยวบินที่ CP-2933 ประสบอุบัติเหตุตกที่ La Ceja, Antioquia ประเทศโคลัมเบีย มีผู้เสียชีวิตรวม 71 คน มีผู้สื่อข่าวกีฬาเสียชีวิตถึง 20 คน (อ่านเพิ่มเติม: เปิดแฟ้มอุบัติเหตุเครื่องบินโดยสาร 2559 ตก102-เสียชีวิต 629)

ในภูมิภาคอาเซียน ที่พม่า Soe Moe Tun นักข่าวสังกัด Daily Eleven ถูกฆาตกรรมเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2016 หลังเขารายงานข่าวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การตัดไม้ผิดกฎหมาย และการเติบโตของธุรกิจคาราโอเกะที่มีการขายบริการทางเพศ ทั้งนี้เมืองสะกาย (Sagaing) พื้นที่ทำข่าวของเขาถือเป็นศูนย์กลางของการทำเหมืองแร่และป่าไม้ของพม่า ส่วนที่ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศที่คนทำอาชีพสื่อมวลชนมีความเสี่ยงที่สุดในโลก Elvis Ordaniza ผู้สื่อข่าวสังกัดสถานีวิทยุ dxWO Power99 FM ถูกฆาตกรรมที่เมืองซัมบอนกา (Zamboanga) เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2016, Alex Balcoba ผู้สื่อข่าวสังกัด the People’s Brigada ถูกฆาตกรรมที่ร้านซ่อมนาฬิกาที่เขาเป็นเจ้าของที่มะนิลา เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2016 และ Larry Que คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น News Now ถูกฆาตกรรมใกล้กับออฟฟิศที่ทำงานในเมืองคาตาดูนาเนส (Catadunanes) เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2016 หลังที่เขาเขียนบทความระบุถึงบรรดาเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปล่อยปละละเลยให้มีโรงงานผลิตยาบ้าในท้องถิ่น

(สำหรับรายชื่อ ตำแหน่ง และต้นสังกัดของคนทำงานสื่อมวลชนที่เสียชีวิตในปี 2016 ทั้งหมดอ่านเพิ่มเติมใน ‘จับตา: ปี 2016 คนทำงานวงการสื่อที่เสียชีวิตในหน้าที่ 122 คน’)

26 ปี เสียชีวิตรวมไปแล้ว 2,419 คน

เมื่อนำตัวเลขล่าสุดของปี 2016 ไปรวมกับข้อมูลจากรายงาน Journalists And Media Staff Killed 1990 -2015: 25 years of contribution towards Safer Journalism เมื่อปี 2016 ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมโดย IFJ เช่นเดียวกัน พบว่าในรอบ 26 ปี ตั้งแต่ปี 1990-2016 คนทำงานวงการสื่อมวลชนทั่วโลกเสียชีวิตรวมแล้วถึง 2,419 คน ด้านสถานที่เกิดเหตุรุนแรงเมื่อแยกเป็นรายทวีป พบว่าภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเป็นสถานที่ที่คนทำงานในวงการสื่อมวลชนเสียชีวิตมากที่สุด 599 คน ตามมาด้วยอเมริกา 516 คน, ตะวันออกกลาง 503 คน, แอฟริกา 432 คน และยุโรป 369 คน ตามลำดับ เมื่อแยกเป็นรายประเทศที่คนทำงานในวงการสื่อมวลชนเสียชีวิตมากที่สุดคืออิรัก 324 คน ตามด้วย ฟิลิปปินส์ 149 คน, เม็กซิโก 131 คน, ปากีสถาน 120 คน, รัสเซีย 118 คน, แอลจีเรีย 106 คน, อินเดีย 100 คน, โซมาเลีย 78 คน, โคลัมเบีย 76 คน และซีเรีย 73 คน ตามลำดับ

สภาพสำนักงาน Charlie Hebdo นิตยสารแนวล้อเลียนของฝรั่งเศส ที่ถูกโจมตีในเดือน ม.ค. 2015 ที่มาภาพ: wikimedia.org

โศกนาฏกรรมครั้งสำคัญ ๆ ในรอบ 26 ปี ที่ผ่านมาก็อย่างเช่น ในเดือน ม.ค. 2015 มือปืนสวมหน้ากากสองคนติดอาวุธครบมือบุกสำนักงานของ Charlie Hebdo ซึ่งเป็นสำนักงานนิตยสารล้อเลียนในกรุงปารีส ฝรั่งเศส การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน เป็นบรรณาธิการและพนักงานของ Charlie Hebdo อีก 8 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 คน และอีก 11 รายได้รับบาดเจ็บ

การสังหารหมู่ทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ ที่มากินดาเนาเมื่อปี 2009 มีสื่อมวลชนเสียชีวิตถึง 32 ราย ที่มาภาพ: cmfr-phil.org

ส่วนฟิลิปปินส์ ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่คนทำงานในวงการสื่อมวลชนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ต่าง ๆ มากที่สุด ในรอบ 26 ปี มานี้ (รวมถึงเป็นอันดับแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย) โดยเฉพาะเหตุ ‘ฆาตกรรม’ อย่างเมื่อปี 2009 เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์ จากความขัดแย้งทางการเมืองระดับท้องถิ่น ในจังหวัดมากินดาเนา (Maguindanao) ทางตอนใต้ของประเทศ มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้รวม 57 คน ซึ่งคนทำงานในวงการสื่อมวลชนเสียชีวิตถึง 32 คน
 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:
จับตา: ปี 2016 คนทำงานวงการสื่อมวลชนเสียชีวิตในหน้าที่ 122 คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายคุ้มครองเด็กและสตรีจี้เอาผิดผู้เกี่ยวข้องกรณีค้าประเวณีเด็กแม่ฮ่องสอน

$
0
0
กลุ่มองค์กรด้านการคุ้มครองเด็กและสตรี ออกแถลงการณ์กรณีค้าประเวณีเด็กที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอให้เร่งรัดการดำเนินคดี เพื่อเอาผิดทางกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจัดให้มีกระบวนการคุ้มครองพยานผู้เสียหายที่มีประสิทธิภาพ ทั้งพยานที่เป็นเด็ก เยาวชน ครอบครัว และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

 
เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2560 ที่ผ่านมากลุ่มองค์กรด้านการคุ้มครองเด็กและสตรี ออกแถลงการณ์กรณีค้าประเวณีเด็กที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระบุว่าจากกรณีที่มีมารดาของผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งตัวเด็กและเยาวชนผู้เสียหายเอง ได้ออกมาเปิดโปงขบวนการล่อลวงและบังคับให้เด็กและเยาวชนหญิงค้าประเวณี จนเป็นข่าวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยระบุว่ามีข้าราชการตำรวจในจังหวัดดังกล่าวพัวพันกับการเป็นธุระจัดหา และอาจเข้าข่ายกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ โดยมีการพาดพิงถึงข้าราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ว่าเป็นหนึ่งในผู้ซื้อบริการจากการค้าประเวณีเด็กและเยาวชนดังกล่าว แม้ขณะนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้มีการจับกุมผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับการล่อลวง บังคับ และเป็นธุระจัดหาในการค้าประเวณีแล้วบางส่วน แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการทางอาญากับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าซื้อประเวณี ขณะที่กระทรวงมหาดไทยได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนถูกกล่าวหาว่าพัวพันในคดีดังกล่าว โดยผู้ถูกสอบยังคงประจำอยู่ในพื้นที่ และยังคงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไปตามปกติ
 
จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มองค์กรด้านเด็กและสตรีขอยืนยันว่า การค้าและการซื้อประเวณีเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะในลักษณะที่เด็กและเยาวชนถูกล่อลวงบังคับหรือไม่ก็ตาม เป็นสิ่งที่สังคมต้องไม่ยอมรับให้เกิดขึ้นโดยปราศจากบทลงโทษที่จริงจังและเข้มงวด เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นการเอารัดเอาเปรียบ แสวงหาประโยชน์ ล่วงละเมิด และกระทำความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของสังคมไทย ทั้งนี้โดยอาศัยเหตุจากความเป็นผู้เยาว์ของเด็กและเยาวชนเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่ผิดทั้งกฎหมายและหลักจริยธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันในสังคม และเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการจับกุม สอบสวน และเอาผิดตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องในทุกมิติอย่างแข็งขัน จริงจัง และโปร่งใส และมีกระบวนการคุ้มครองและเยียวยาเด็ก เยาวชน และครอบครัวซึ่งเป็นผู้เสียหายให้ปลอดภัยและได้รับความเป็นธรรม
 
ในการนี้ กลุ่มองค์กรด้านการคุ้มครองเด็กและสตรีที่มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ ขอเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดการดำเนินคดี เพื่อเอาผิดทางกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในคดีดังกล่าว ทั้งผู้ที่เป็นธุระจัดหา และผู้ซื้อประเวณีจากเด็กและเยาวชน โดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ การซื้อประเวณีเด็กและเยาวชนเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงต้องไม่ละเว้น หรือทอดเวลาในการดำเนินการทางอาญาต่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ซื้อประเวณีจากเด็กและเยาวชน โดยอ้างเหตุว่าหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ถูกกล่าวหาได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในหน่วยงานขึ้นแล้ว 2. ในการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีที่ข้าราชการระดับสูงถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีนี้ สามารถทำคู่ขนานไปกับการดำเนินการทางอาญาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่การตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่ควรเป็นกระบวนการตรวจสอบเฉพาะภายในของหน่วยงานด้วยกันเอง แต่ควรจัดตั้งเป็นคณะกรรมการที่มีบุคคลภายนอก โดยเฉพาะตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรีเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย เพื่อความเป็นกลาง โปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เสียหายและคนในสังคม ว่ากระบวนการสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจะไม่มีการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ถูกกล่าวหา ด้วยเหตุที่ผู้สอบและผู้ถูกสอบเป็นข้าราชการในสังกัดเดียวกัน
 
3. ในระหว่างที่มีการสอบสวนดำเนินคดี ให้กระทรวงมหาดไทยย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาออกจากการปฏิบัติราชการในพื้นที่เดิม เพื่อลดโอกาสที่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงจะสามารถใช้อำนาจหรืออิทธิพลจากตำแหน่งหน้าที่ เข้าไปแทรกแซงหรือขัดขวางกระบวนการทางอาญาและการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่กำลังดำเนินอยู่ ทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจว่าพยานผู้เสียหายจะไม่ถูกกดดันหรือคุกคามด้วยอำนาจและอิทธิผลตามตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา และ 4. ให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจัดให้มีกระบวนการคุ้มครองพยานผู้เสียหายที่มีประสิทธิภาพ ทั้งพยานที่เป็นเด็ก เยาวชน ครอบครัว และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ปลอดพ้นจากโอกาสที่อาจถูกข่มขู่ คุกคาม หรือทำร้าย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินต่อไปได้จนถึงที่สุด โดยปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจหรืออิทธิพลใด ๆ
 
ท้ายที่สุด กลุ่มองค์กรด้านเด็กและสตรีที่มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์นี้ ขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้กับเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายและครอบครัว ที่กล้าออกมาเปิดโปงกระบวนการค้าและซื้อประเวณีเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมายาวนาน และพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อเรียกร้องข้างต้นอย่างเร่งด่วน
 
โดบผู่ที่ลงชื่อ กลุ่มองค์กรด้านเด็กและสตรี มีดังนี้ 1. ทิชา ณ นคร ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษก 2. จะเด็จ เชาวน์วิไล มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล 3. สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม 4. กอบกาญจน์ ตระกูลวารี สหทัยมูลนิธิ 5. ณัฐิยา ทองศรีเกตุ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ 6. อาทิตา รอดสมนาม มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก 7. วราภรณ์ แช่มสนิท แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ 8. จารุปภา วะสี แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ 9. อภัสรินทร์ ขณะรัตน์ นักวิชาการอิสระ 10. วรภัทร วีรพัฒนาคุปต์ นักพัฒนาภาค CSR / ที่ปรึกษาเครือข่ายประธานนักเรียนฯ 11. อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ นักวิจัยอิสระ 12. กัญจน์ณัฏฐ์ แซ่อึ้ง นักวิจัยอิสระ 13. มูลนิธิพิทักษ์สตรี (AAT)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฏีกานัดฟังคำพิพากษา 'ชาวบ้านบ่อแก้ว' จะถูกให้ออกจากที่ทำกินหรือไม่ 2 พ.ค.

$
0
0
ศาลฏีกานัดฟังคำพิพากษาคดีระหว่างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฟ้องขับไล่ชาวบ้านบ่อแก้ว ออกจากพื้นที่ทำกินซึ่งตั้งรกรากถือครองทำประโยชน์มาแต่บรรพบุรุษ จะออกมาในรูปแบบใด ถือเป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งในกระบวนการยุติธรรม ชาวบ้านจะถูกอพยพจากที่ทำกินเดิมอีกหรือไม่รู้ผล 2 พ.ค. นี้

 
 
กว่า 30 ปี ในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิที่ดิน และเกือบ 8 ปี หลังจากเข้ายืดที่ดินทำกินเดิมกลับคืนมาพร้อมกับพลิกฟื้นชีวิตและรักษาผืนดินให้มีความมั่นคง ยั่งยืน สืบทอดไปยันรุ่นลูกรุ่นหลาน
 
ซะตากรรมชีวิตชาวบ้าน ชุมชนบ่อแก้ว จะเป็นอย่างไร หลังจากวันที่ 2 พ.ค.2560 นายนิด ต่อทุน จำเลยที่ 1 พร้อมพวกรวม 31 คน เดินทางไปยังศาลจังหวัดภูเขียว เพื่อเข้านัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกา  ซึ่งจะต้องติดตามกันต่อไปว่า คำพิพากษา คดีระหว่างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฟ้องขับไล่ชาวบ้าน ออกจากพื้นที่ทำกินซึ่งตั้งรกรากถือครองทำประโยชน์มาแต่บรรพบุรุษ  จะออกมาในรูปแบบใด ถือเป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งในกระบวนการยุติธรรม ชาวบ้านจะถูกอพยพจากที่ทำกินเดิมอีก หรือไม่
 
ในส่วนของพื้นที่พิพาทนั้น เกิดขึ้นนับแต่ ปี พ.ศ. 2521 หลังจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ได้ดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าคอนสาร ตามเงื่อนไขการสัมปทานทำไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ในบริเวณเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,401 ไร่ อย่างไรก็ตาม การปลูกสร้างสวนป่าไม่ได้ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย คือบริเวณป่าเหล่าไฮ่ แต่ได้นำไม้ยูคาลิปตัสเข้ามาปลูกทับที่ดินทำกินชาวบ้าน  จนนำมาสู่ปัญหาส่งผลกระทบให้หลายครอบครัวถูกอพยพออกจากที่ทำกิน  ชาวบ้านจึงได้ออกมาเคลื่อนไหวมานับแต่นั้น กลายเป็นข้อพิพาทและมีการบังคับ ข่มขู่ คุกคาม  ระหว่าง ออป.กับชาวบ้าน
 
ในปี 2547 ผู้ได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนามทับซ้อนที่ดินทำกินใน 5 ตำบล ของอำเภอคอนสาร ได้ร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน (สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน คปอ.) เพื่อเรียกร้องสิทธิที่ดินทำกินพร้อมกับผลักดันให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบาย และได้ร่วมกันชุมนุมที่หน้าสำนักงานสวนป่าคอนสาร เป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 9 – 11 พ.ย. 2547 เพื่อให้ยกเลิกสวนป่าคอนสาร และคืนที่ดินทำกินให้แก่ผู้เดือดร้อน
 
ต่อมาได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีกลไกรัฐร่วมกับฝ่ายประชาชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และหน่วยงานระดับท้องถิ่น ผลปรากฏการตรวจสอบมีความเห็นตรงกันว่า “สวนป่าคอนสารปลูกสร้างทับที่ดินทำกินของประชาชน ให้ยกเลิกสวนป่าแล้วนำที่ดินมาจัดสรรแก่ผู้เดือดร้อนต่อไป” อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าวไม่ได้รับการปฏิบัติจาก ออป. แต่อย่างใด
 
 
ในส่วนของการถูกดำเนินคดี เกิดขึ้นหลังจาก ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 ชาวบ้านผู้เดือดร้อนเข้าปฏิบัติการยึดพื้นที่พร้อมกับจัดตั้ง “ชุมชนบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ”  ขึ้นมาเพื่อแสดงสัญลักษณ์ความเป็นเจ้าของพื้นที่ และเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การปกป้องสิทธิในที่ดินของชุมชน นอกจากนี้เพื่อรอคำตอบในการแก้ไขปัญหาสวนป่าคอนสารจากรัฐบาล ภายหลังจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างล่าช้า  ตามที่ชาวบ้านมีข้อเรียกร้อง คือ ให้ยกเลิกสวนป่าคอนสารโดยเด็ดขาด ให้จัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อนในรูปแบบโฉนดชุมชน และในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านสามารถทำประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน จำนวนเนื้อที่ 1,500 ไร่
 
นอกจากนี้ การเข้ายึดที่ดินทำกินเดิมกลับคืนมา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตทางการเกษตร เป็นที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมของชุมชน
 
 
ผลการต่อสู้เรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมในสิทธิที่ดินทำกิน กลับกลายเป็นที่มาของการถูกดำเนินคดี  โดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ได้ใช้กระบวนการทางกฎหมาย เป็นโจทก์ยื่นฟ้องขับไล่ นายนิด ต่อทุน และพวกรวม 31 คน เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2552  ข้อกล่าวหาว่าจำเลยและบริวารได้กระทำการบุกรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม จึงขอให้ศาลได้มีคำสั่งขับไล่ออกจากพื้นที่ พร้อมกับรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และไม้ผลไม้ยืนต้นที่ปลูกไว้
 
แต่ด้วยความที่ชาวบ้านมีหลักฐาน ร่องรอย การถือครองที่ดินที่ชัดเจน มาแต่ปี 2496 เช่น หลักฐานประเภทใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ สค. 1 ใบแจ้งการครอบครอง และร่องรอยการทำประโยชน์ในพื้นที่พิพาท อีกทั้งความไม่เป็นธรรมที่ต้องสูญเสียที่ดินทำกินได้สร้างปัญหาผลกระทบให้กับการดำรงชีวิต ดังนั้น ชาวบ้านต่างยืนยันจะปักหลักอยู่ในพื้นที่ทำกินเดิมของบรรพบุรุษ และเพื่อรักษาผืนดินให้ดำรงอยู่สืบต่อไปถึงลูกหลาน
 
เมื่อการต่อสู้เรียกร้องจากการถูกละเมิดสิทธิด้านที่ดินทำกิน เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในวันที่ 28 เม.ย.2553  ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ จำเลย ที่ 1 ถึง 31 และบริวารออกจากพื้นที่พิพาทสวนป่าคอนสาร กับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ ที่ได้นำไปปลูกไว้ในพื้นที่พิพาท  ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์ และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้ชั่วคราว แต่ในขณะเดียวกันโจทก์ยื่นคำให้การแก้อุทธรณ์และคัดค้านคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีชั่วคราว กระทั่งวันที่ 13 ธันวาคม 2553 ศาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการบังคับคดีชั่วคราวตามที่จำเลยยื่นคำร้อง และโจทก์ได้วางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อติดหมายบังคับคดีในพื้นที่พิพาท ในวันเดียวกัน 
 
ทำให้ชาวบ้านได้เคลื่อนไหว โดยการเดินเท้าทางไกลจากคอนสาร ถึง กทม. ในวันที่ 4 ก.พ. – 16 มี.ค. 2554 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการให้ ออป.ถอนการบังคับคดี และเร่งประกาศพื้นที่โฉนดชุมชนในพื้นที่พิพาทสวนป่าคอนสาร  ตามที่ได้ผลักดันให้รัฐบาลสมัยนั้นมีมาตรการทางนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิที่ดินดังกล่าว
 
ผลการเจรจาระหว่างผู้แทนชาวบ้านกับ อ.อ.ป. ในวันที่ 2 มีนาคม 2554 นำมาสู่ข้อตกลง 3 ข้อคือ 1. ออป.จะไม่เร่งรัดบังคับคดี  2. การนำพื้นที่จำนวนประมาณ 1,500 ไร่ ไปดำเนินการโฉนดชุมชน ให้ผู้แทน ออป. สำนักนายกรัฐมนตรี และชาวบ้านผู้เดือดร้อน ลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกัน และ 3. การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ให้นำข้อกำหนดของ ออป.มาปรับปรุงให้เกิดการยอมรับร่วมกัน แต่การปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการส่งมอบพื้นที่โฉนดชุมชนให้แต่อย่างใด  นอกจากจำนวนพื้นที่เดิม (ประมาณ 86 ไร่) ที่ชาวบ้านร่วมกันยึดเข้ามาได้ในวันที่ 17 ก.ค.2552
 
กระทั่ง ในวันที่ 21 ธันวาคม 2554 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากพื้นที่ภายใน 30 วัน ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม 2555 จำเลยได้ฏีกา
 
 
จากผลกระทบดังกล่าว ถือเป็นความไม่เป็นธรรมเชิงนโยบายจากภาครัฐที่กระทำต่อชาวบ้าน โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งมิได้คำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านแม้แต่น้อย นอกจากความพยายามอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ รวมถึงการใช้มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีกับชาวบ้านอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้ชาวบ้านต้องดิ้นรนต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม สภาพที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ ชาวบ้านต้องแบกรับทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม คดีความ รวมทั้งสิทธิที่ถูกลิดรอนไป
 
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเข้ายึดพื้นที่ ชาวบ้านชุมชนบ่อแก้ว ร่วมกันสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการยกระดับเป้าหมายไปสู่การพัฒนาระบบการผลิตในพื้นที่โดยกำหนดเป็น “หมู่บ้านเกษตรกรรมอินทรีย์”เพื่อทำหน้าที่พัฒนาพลังการผลิตของสมาชิก  และเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศ เพราะจากผลผลิตจำพวกกล้วย ตะไคร้ งา ถั่วแดง ข้าวโพดและพืชผักบางชนิด เป็นต้น ซึ่งเปรียบเทียบกับสวนป่ายูคาลิปตัสของ ออป. จะเห็นว่ามีความที่แตกต่างกันมาก อีกทั้งการผลิตของชาวบ้านบ่อแก้วสามารถพึ่งตนเองในระดับครอบครัว โดยไม่ต้องพึ่งแหล่งอาหารจากภายนอก และสามารถนำออกขายเป็นรายได้ในครัวเรือน
 
 
แม้ชุมชนบ่อแก้ว จะได้รับผลกระทบอีกครั้ง กล่าวคือ เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2557 เจ้าหน้าที่เข้ามาปิดประกาศ คำสั่ง คสช.ฉบับที่ 64/2557 ให้ รื้อสิ่งปลูกสร้าง ผลอาสิน อพยพออกจากพื้นที่ ภายใน 30 วัน ชาวบ้านจึงเดินทางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ  เพื่อเข้ายื่นหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้อำนวยการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดชัยภูมิ (ผบ.กกล.รส.จว.ชย) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ องค์การสหประชาชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเนื้อหาระบุว่า ขอให้ทบทวนพิจารณายกเลิกสั่งที่จะขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่
 
 
ต่อมา ได้มีการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ในวันที่  7 ต.ค. 2557 ณ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล  มติที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีหนังสือประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร โดยให้มีการชะลอการดำเนินการใดๆ ที่อาจเป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้งจนกว่ากระบวนการพิจารณาแก้ไขปัญหาจะมีผลเป็นที่ยุติต่อไป
 
กว่า 30 ปี ในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิที่ดิน และเกือบ 8 ปี หลังจากเข้ายืดที่ดินทำกินเดิมกลับคืนมาพร้อมกับพลิกฟื้นชีวิตและรักษาผืนดินให้มีความมั่นคง ยั่งยืน สืบทอดไปยันรุ่นลูกรุ่นหลาน ซะตากรรมชีวิตชาวบ้าน ชุมชนบ่อแก้ว จะเป็นอย่างไร หลังจากวันที่ 2 พ.ค.2560 นายนิด ต่อทุน จำเลยที่ 1 พร้อมพวกรวม 31 คน เดินทางไปยังศาลจังหวัดภูเขียวเพื่อเข้านัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกา  ซึ่งจะต้องติดตามกันต่อไปว่า คำพิพากษา คดีระหว่างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฟ้องขับไล่ชาวบ้าน ออกจากพื้นที่ทำกินซึ่งตั้งรกรากถือครองทำประโยชน์มาแต่บรรพบุรุษ  จะออกมาในรูปแบบใด ถือเป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งในกระบวนการยุติธรรม ชาวบ้านจะถูกอพยพจากที่ทำกินเดิมอีก หรือไม่
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วัยแรงงานเจ็บป่วยฉุกเฉินมากที่สุดจากอุบัติเหตุยานยนต์

$
0
0
สพฉ. ห่วงคนวัยทำงานป่วยโรคฉุกเฉิน เหตุเครียด ไม่มีเวลาออกกำลังกาย พร้อมเปิด 3 อันดับอาการที่วัยแรงงานเจ็บป่วยฉุกเฉินมากที่สุด อุบัติเหตุยานยนต์ครองแชมป์

 
 
30 เม.ย. 2560 เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)  กล่าวว่าวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันแรงงาน ซึ่งวัยแรงงานถือเป็นกำลังหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่คนกลุ่มนี้ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะมีโรคและอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินคุกคาม โดยตลอดปี 2559  สพฉ. ได้สรุปสถิติโรคฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับคนไทย โดยเฉพาะในช่วงวัยทำงาน อายุ 20-60 ปี พบว่ามีการแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 ในเรื่องอุบัติเหตุยานยนต์มากที่สุด ซึ่งได้รับแจ้งเหตุในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คือ 35,758 ครั้ง ส่วนผู้หญิง 18,114 ครั้ง
 
รองลงมาคือมีอาการป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง โดยได้รับแจ้งเหตุในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเช่นกัน คือ ชาย ได้รับแจ้ง 15,773  ครั้ง หญิงได้รับแจ้ง 13,680 ครั้ง ขณะที่อันดับ 3  คืออาการปวดท้อง หลัง เชิงกราน ได้รับแจ้งเหตุในเพศชาย 10,024 ครั้ง และเพศหญิง 8,270 ครั้ง
               
เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ  กล่าวต่อว่า  สาเหตุที่คนวัยทำงานเป็นโรคมากขึ้น เนื่องจากมีความเครียด ไม่มีเวลาพักผ่อน และใช้เวลาอยู่กับการทำงานค่อนข้างมาก  ขณะที่คนเมืองยังต้องเผชิญกับความเครียดจากปัญหาการจราจรที่ติดขัด ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพอย่างหนักซึ่งหนึ่งในโรคที่น่าเป็นห่วง คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ (STROKE) คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ซึ่งคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง  มีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคหัวใจ สูบบุหรี่เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งโรคนี้จะสังเกตอาการได้ง่าย ๆ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบ พลัน มึนงง วิงเวียน ทรงตัวไม่ได้ ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ ซึ่งส่วนมากทุกอาการจะเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างฉับพลัน
                
และอีกโรค  คือ โรคภาวะหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) ซึ่งอาการของผู้ป่วยนั้น จะมีอาการเจ็บแน่น จุกเสียดที่หน้าอกหรือท้องส่วนบน หรือมีอาการแน่นเหนื่อยขึ้นมาทันที ร่วมกับอาการหายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ซึ่งเมื่อมีอาการดังกล่าวให้รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์
 
 “ดังนั้นอยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีเพื่อให้ปลอดจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินในทุก ๆ โรคที่สำคัญต้องออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และที่สำคัญคือต้องไม่เครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ และลดความเครียดจากการทำงานที่หากเจ็บป่วยฉุกเฉินก็ให้รีบโทรฯ แจ้งสายด่วน 1669” 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวประจำรัฐสภาเรียกร้อง สปท.ถอนร่างกฎหมายคุมสื่อ

$
0
0
ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภาออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ สปท.ถอนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อรับฟังความเห็นให้รอบด้านก่อน นักวิชาการแนะทุกฝ่ายพูดคุยหาทางออกร่วม ส่วนเพื่อไทยชี้กระทบกับหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน 'พล.อ.อ.คณิต' สปท.สื่อ จะเสนอตัดเรื่องสื่อฯ ต้องขอใบอนุญาตหากไม่ขอจะมีโทษอาญาจำคุกถึง 2 ปีออกไป

 
30 เม.ย.2560 ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภาออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ สปท.ถอนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อรับฟังความเห็นให้รอบด้านก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
 
ด้าน ThaiPBSรายงานว่า ผู้ช่วยศาสตรจารย์ บุปผา บุญสมสุข ในฐานะนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน เห็นด้วยหากจะให้มีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ที่มีตัวแทนภาครัฐเข้าร่วมเป็นกรรมการ แต่ควรปล่อยให้บุคคลากรในแวดวงสื่อสารมวลชนได้ทำหน้าที่ พร้อมแสดงความไม่เห็นด้วยหากต้องมีการขอใบอนุญาตประกอบวชาชีพสื่อมวลชน เพราะเชื่อว่าจะกระทบต่อการทำหน้าที่
 
ขณะที่ ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ถอนวาระร่าง พ.ร.บ.สื่อฯ ออกจากการพิจารณาในวันพรุ่งนี้ (1 พ.ค.) เพื่อทบทวนเนื้อหาและหลักการสำคัญ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่ภาคสนามด้วย เพื่อเป็นการสะท้อนมุมมองและข้อเท็จอีกด้านหนึ่ง หลังเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ถูกคัดค้าน
 
เนื่องจากเห็นว่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ รวมไปถึงบุคคลที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ถูกกำกับควบคุม จนมิอาจใช้สิทธิเสรีภาพของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ ตามรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติที่ให้สิทธิ์ไว้ การผลักดันกฎหมายควรเป็นไปในลักษณะมุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และสร้างกลไกที่ธำรงความเป็นอิสระของสื่อมวลชนอย่างแท้จริงบนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวม และการใช้เสรีภาพบนพื้นฐานความรับผิดชอบ
 
ขณะที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เรียกร้องให้ยุติการผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะกระทบกับหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และยังจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของประเทศจากประชาคมโลก
 
ล่าสุด พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน (สปท.สื่อ) ระบุว่าจะเสนอต่อที่ประชุม สปท. ตัดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อฯ ต้องขอใบอนุญาตหากไม่ขอจะมีโทษอาญาจำคุกถึง 2 ปีออกไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาฯ ศูนย์กลางแรงงาน จี้ คสช. คืนอำนาจให้ประชาชน ต้องเลือกตั้งปีนี้

$
0
0
สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เนื่องในวันกรรมกรสากล เรียกร้องให้ คสช. ต้องคืนอำนาจให้ประชาชนโดย “เลือกตั้งปีนี้” ยกเลิก ม.44 และให้ผู้ใช้แรงงานใช้สิทธิเลือกตั้งในสถานประกอบการ

 
 
 
30 เม.ย. 2560 สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เนื่องในวันกรรมกรสากล โดยระบุว่า“วันกรรมกรสากล” หรือ “วันเมย์เดย์” (May Day) กำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” จากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ผู้คนอพยพจากการผลิตภาคเกษตรกรรมไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ใช้แรงงานต้องทนกับการถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุนโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ต้องทำงานหนักถึงวันละ 14 - 16 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด รวมทั้งไม่มีสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน  ทำให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้การกดค่าจ้างแรงงานและให้ลดชั่วโมงการทำงาน ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ขยายไปในหลายประเทศทางยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
 
เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1886 คนงานแห่งเมืองชิคาโก ประเทศอเมริกา ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้อง “ระบบสามแปด” คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง การต่อสู้ครั้งนั้นอำนาจรัฐนายทุนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง 
 
สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาก็ได้ฟื้นการต่อสู้เรียกร้องระบบสามแปด โดยมีมติให้เดินขบวนทั่วประเทศในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1890 ในช่วงนั้นก็เริ่มมีแนวคิดจากกรรมกรในหลายประเทศแถบยุโรป ที่จะประกาศวันที่แน่นอนให้เป็นวันสามัคคีต่อสู้ของขบวนการกรรมกรทั่วโลก ที่ประชุมของสภาสังคมนิยมสากล ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส  จึงมีมติให้วันที่ 1 พฤษภาคม 1890 เป็นวันเดินขบวนเรียกร้องให้ลดชั่วโมงทำงานตามที่สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาได้กำหนดไว้แล้ว และให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “วันกรรมกรสากล” และเป็นวันเดินขบวนแสดงพลังของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก
 
มติดังกล่าวได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง และการยืนหยัดต่อสู้ของคนงานชิคาโกและคนงานอื่นๆ ก็สามารถทำให้นายจ้างลดชั่วโมงการทำงานลงเหลือ 8 ชั่วโมงในทุกๆ แห่ง
 
1 พฤษภาคม ของทุกปี คือ “วันกรรมกรสากล” เป็นสัญลักษณ์แห่งการสามัคคีต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชั้นกรรมกร ซึ่งกรรมกรทั่วโลกจะจัดให้มีการชุมนุมเดินขบวน เพื่อสร้างวัฒนธรรมการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยจากการกดขี่ขูดรีดของระบบทุนนิยม
 
ในประเทศไทย การจัดงานวันกรรมกรสากลในที่สาธารณะอย่างเปิดเผยครั้งแรก มีขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ที่สนามหน้าสำนักงานสมาคมไตรจักร์ (สามล้อ) พระราชวังอุทยานสราญรมย์ จัดโดยสมาคมกรรมกรสงเคราะห์กรุงเทพรวมกับสมาคมไตรจักร์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 3 พันคน
 
การชุมนุมวันกรรมกรสากล พ.ศ. 2490 มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ภายใต้คำขวัญ “กรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน”ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงพลังความสามัคคีของชนชั้นกรรมกรไทยครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์เพื่อเฉลิมฉลองการจัดตั้งสหพันธ์กรรมกรระดับชาติแห่งแรกในประเทศไทย คือ “สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย” วันกรรมกรสากลปีนั้นมีผู้เข้าร่วมกว่าแสนคน นับเป็นการจัดงานที่มาจากจิตสำนึกของกรรมกร โดยกรรมกรและเพื่อกรรมกรอย่างแท้จริง
 
แต่แล้ว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจ โดยรัฐบาลเผด็จการได้สั่งห้ามจัดงานวันกรรมกรสากล
 
ในปี พ.ศ.2499 “กรรมกร 16 หน่วย” จัดตั้งรวมตัว โดยมีเป้าหมายเคลื่อนไหวให้รัฐบาลเร่งออกกฎหมายรับรองสิทธิด้านต่างๆ และได้เคลื่อนไหวให้มีการจัดงานวันกรรมกรสากลขึ้นอีกครั้ง แต่รัฐบาลเผด็จการมีเงื่อนไขให้เปลี่ยนชื่อ “วันกรรมกรสากล” เป็น “วันแรงงานแห่งชาติ” ใช้มาจนถึงทุกวันนี้
 
จากการควบคุมโดยรัฐบาลเผด็จการ ทำให้วันกรรมกรสากลถูกแทรกแซงจากรัฐบาลมาโดยตลอด  เนื้อหา และรูปแบบของการจัดงานมักจะถูกควบคุมโดยรัฐบาล การยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในวันที่ 1 พฤษภาคม ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลเท่าที่ควร  ไม่มีการติดตามอย่างจริงจัง ทำให้การยื่นข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน  เป็นเพียงพิธีการเท่านั้น 
 
“วันกรรมกรสากล” พี่น้องกรรมกรทุกคนจะต้องร่วมกันรำลึกถึงการต่อสู้ในอดีตกว่า 200 ปี ที่ปลดปล่อยกรรมกรจากการทำงานเยี่ยงทาส  ณ วันนี้ การต่อสู้ของกรรมกรยังคงต้องดำเนินต่อไป เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีของชนชั้นกรรมาชีพ ให้เชื่อมั่นในพลังของเรา ต้องปลดปล่อยโซ่ตรวนทางความคิดที่คอยแต่พึ่งพา ร้องขอและยอมจำนน ไม่นำพาการต่อสู้ด้วยตนเอง  เพื่อปลดปล่อยโซ่ตรวนของการกดขี่ขูดรีดทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เฉกเช่นบรรพบุรุษของเราที่ได้ต่อสู้และทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง เสียสละแม้กระทั่งชีวิต เพื่ออนาคตของลูกหลานกรรมกรของเราและสังคมใหม่
 
สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย กลุ่มสหภาพแรงานย่านรังสิตและใกล้เคียง ยืนหยัดร่วมต่อสู้กับมวลพี่น้องกรรมกรและประชาชนทุกสาขาอาชีพ เพื่อปากท้องของทุกคน  ในแนวทางที่เป็นประชาธิปไตย กรรมกรต้องสร้างอำนาจประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นคืออำนาจประชาธิปไตยทางการเมือง อำนาจประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ อำนาจประชาธิปไตยทางด้านวัฒนธรรม “อำนาจอธิปไตย (ต้อง) เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
 
อำนาจประชาธิปไตยทางการเมือง - คสช. ต้องคืนอำนาจให้ประชาชนโดย “เลือกตั้งปีนี้” - ให้ยกเลิก ม.44  - ให้ผู้ใช้แรงงานใช้สิทธิเลือกตั้งในสถานประกอบการ
 
อำนาจประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ - รัฐ ต้องจัดเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า - ค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม กำหนดค่าจ้างแรกเข้าและโครงสร้างค่าจ้างในสถานประกอบการ
 
อำนาจประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม - รัฐต้องจัดการศึกษาฟรี และต้องมีปฏิรูปการศึกษา - รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการ
 
ทั้งหมดนี้ เพื่อสร้างสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของกรรมกรและราษฎรทั้งหลาย ตามหลักการ สิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต้องเท่าเทียมกัน 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักเศรษฐศาสตร์เรียกให้จัดระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงมีมาตรฐานสากล

$
0
0
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานไปจัดระบบให้ระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วง มีมาตรฐานการจ้างงานที่เป็นสากล ไม่เช่นนั้นผู้ใช้แรงงานในระบบเหมาช่วงจะถูกเอาเปรียบอย่างมาก

 
30 เม.ย. 2560 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงสถานการณ์การเลิกจ้างจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จะเกิดภาวะการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอุตสาหกรรมและงานบางลักษณะ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะช่างประเภทต่างๆ อุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยว บุคลากรทางการแพทย์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ งานแม่บ้านและกิจการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น มีแรงงานไทยจำนวนมากขึ้นตามลำดับที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ตัวเลขล่าสุดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 คนงานไทยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศยอดรวมมากกว่า 150,000 คน สร้างรายได้กลับประเทศประมาณ 10,249 ล้านบาท (รายได้ส่งกลับประเทศจากการทำงานเฉพาะเดือนมีนาคม 2560) การไหลออกของแรงงงานทักษะสูงและช่างเทคนิคต่างๆทำให้ตลาดแรงงานตึงตัวและขาดแคลนแรงงาน ขณะที่แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านทักษะต่ำไม่สามารถทดแทนได้ เกิดความไม่สมดุลในตลาดแรงงาน การปรับค่าแรงตามมาตรฐานแรงงานฝีมือแรงงานจึงมีความจำเป็นต่อการรักษาแรงงานทักษะและช่างเทคนิคให้ทำงานในระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป 
 
ภาวะการเลิกจ้างยังคงมีอยู่ในกิจการอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า เป็นต้น กิจการบริการสถานบันเทิงมีการเลิกจ้างสูงในช่วงที่ผ่านมา กิจการก่อสร้างขนาดเล็ก กิจการสื่อสารมวลชน (กระทบหนัก คือ สื่อสิ่งพิมพ์ ทีวีดิจิทัลและธุรกิจโฆษณาผ่านสื่อดั้งเดิม) กิจการทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กิจการเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมส่งออกที่มีอัตราการเติบโตติดลบต่อเนื่องหลายปี เป็นต้น ภาพรวมในช่วงครึ่งปีหลัง การเลิกจ้างมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องและอัตราว่างงานในช่วงครึ่งปีหลังไม่น่าจะเกิน 1% ตลาดแรงงานค่อนข้างตึงตัว แรงงานในบางประเภทขาดแคลน รัฐบาลจึงควรพิจารณาให้มีการเปิดกว้างอนุญาตให้แรงงานบางประเภทเข้ามาทำงานได้เพิ่มขึ้นหรือพิจารณาให้มีการเปิดเสรีตลาดแรงงานในส่วนที่ขาดแคลนอย่างชัดเจน
        
แรงงานระดับล่างรายได้ต่ำยังคงมีภาระหนี้ครัวเรือนในระดับสูง สะท้อนว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต จึงขอเสนอให้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกปีโดยต้องปรับขึ้นไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อของแต่ละปี แนวโน้มในระยะนี้ อาจจะยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของการทำงานต่ำระดับ (underemployment) ขณะนี้มีทำงานต่ำระดับ 2-3 แสนคน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะทำงานไม่เต็มเวลาและต้องการทำงานเพิ่มเพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ส่วนการลดชั่วโมงการทำงาน OT มีแนวโน้มลดลงจากอุตสาหกรรมส่งออกที่เคยหดตัวหรือมีการเติบโตต่ำเริ่มมีสัญญาณขยายตัวดีขึ้น   
 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ได้มีข้อเสนอแปดข้อต่อรัฐบาลและขบวนการแรงงาน องค์กรนายจ้าง เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติหรือวันกรรมกรสากล ดังนี้ ข้อหนึ่ง เสนอให้มีการปฏิรูประบบประกันสังคม ระบบคุ้มครองและระบบสวัสดิการแรงงานเพิ่มเติม หลังจากรัฐบาลได้ขยายสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (แรงงานนอกระบบ) แล้ว ควรขยายสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ด้วย แต่ควรเก็บสมทบเพิ่มทั้งจากนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาลเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเงินของเงินกองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะกองทุนชราภาพ ข้อสอง รัฐบาลควรจัดระบบสวัสดิการถ้วนหน้าหรือระบบรัฐสวัสดิการให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2570 โดยหาแหล่งรายได้จากภาษีทรัพย์สิน นอกจากทำให้คุณภาพชีวิตประชาชนส่วนใหญ่ดีขึ้นแล้วยังเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสร้างเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่งด้วย อันนำไปสู่สันติสุขของสังคมและประชาธิปไตยเข้มแข็งมั่นคง 
 
ข้อสาม พิจารณาดำเนินการแปรเปลี่ยน สำนักงานประกันสังคม จาก หน่วยราชการ เป็น องค์กรของรัฐหรือองค์กรมหาชนที่บริหารงานแบบเอกชนจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ระบบค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกองทุนประกันสังคมให้แข่งขันได้กับภาคเอกชนเพื่อดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงาน ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบเดียวกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต เป็นต้น  ข้อสี่ เสนอให้มีการศึกษาเพื่อพิจารณาจัดตั้ง ธนาคารแรงงาน เพื่อกระจายกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตประเภท “ทุน” สู่ผู้ใช้แรงงาน ก่อให้เกิด “ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ” อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานอันมั่นคงของประชาธิปไตยทางการเมือง ธนาคารแรงงานจะเป็นสถาบันสำคัญในการพัฒนา ธุรกิจรายย่อย (Micro Business) และ วิสาหกิจหรือสหกรณ์ที่ประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกัน (Social enterprise or Cooperative for workers and the poor) 
 
ข้อห้า รัฐบาลไทยควรทำสัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับสิทธิพื้นฐานในการรวมกลุ่ม และ อำนาจในการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นสิทธิแรงงานพื้นฐานและเป็นสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ระดับความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสถานประกอบการในไทยโดยภาพรวมยังอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในสถานประกอบการมากขึ้น ต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างได้รวมกลุ่มกัน และ กลไกองค์กรลูกจ้างและสหภาพแรงงานที่มีคุณภาพยังทำให้ ระบบแรงงานสัมพันธ์ดีขึ้นในระยะยาวอีกด้วย ข้อหก การเตรียมมาตรการรับมือกับผลกระทบจาก Disruptive Technology (เทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่ส่งผลเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจ) ต่อแรงงานรวมทั้งมีมาตรการพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับผู้ที่มีทักษะไม่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เติบโตอยู่ในขณะนี้หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต ส่วนในระยะยาว หากมี Disruptive Technology and Innovation  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พลิกโฉมการผลิต ธุรกิจและเศรษฐกิจบวกเข้ากับพลวัตของระบบทุนนิยมโลก แล้วเราไม่มียุทธศาสตร์ในตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเหมาะสม และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในระบบการศึกษาไทยให้สามารถผลิตคนคุณภาพใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ หากเรามียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เราจะไม่เผชิญกับปัญหาวิกฤติการจ้างงานและเศรษฐกิจในอนาคต มีการคาดการณ์โดยนักอนาคตศาสตร์ว่าในปี ค.ศ. 2030 ความก้าวหน้าเทคโนโลยีจะทำให้ตำแหน่งงานแบบเดิมในบางอาชีพหายไปไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านตำแหน่งงาน ขณะเดียวกันก็มีการสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆที่คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ ๆ ซึ่งระบบการศึกษาไทยต้องทำหน้าที่ในการผลิตคนรองรับตั้งแต่วันนี้ ขณะเดียวกัน IMD คาดการณ์ว่า ตำแหน่งงานในประเทศไทยจะหายไปจำนวนมากในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีแบบเก่าในหลายกิจการอุตสาหกรรม  
          
ข้อเจ็ด การสร้างระบบ กลไกและกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อแรงงานในระบบเหมาช่วง กลุ่มที่น่าเห็นใจมากที่สุด คือ บรรดาแรงงานทักษะต่ำและเป็นแรงงานนอกระบบทั้งหลายที่อยู่ภายใต้ระบบการทำงานในบริษัทเหมาช่วงจะได้รับผลกระทบจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจมากที่สุด แม้นระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการลดต้นทุนระยะสั้น มีความยืดหยุ่นในการจ้างงานสอดคล้องภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการผลิตและยอดขาย ปัญหาในระบบการผลิตแบบเหมาช่วงเป็นปัญหาในระดับสากล เรื่อง ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับผู้ประกอบการในระบบการผลิตแบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเองก็แสวงหาวิธีในการลดต้นทุนการผลิต การผลิตที่มีความยืดหยุ่นตามภาวะเศรษฐกิจ จึงเลือกที่จะ ส่งออกงานในบางลักษณะให้บริษัทเหมาช่วงรับไปทำเพื่อให้มีการจ้างงานแบบยืดหยุ่น  จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานไปจัดระบบให้ระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วง มีมาตรฐานการจ้างงานที่เป็นสากล ไม่เช่นนั้นผู้ใช้แรงงานในระบบเหมาช่วงจะถูกเอาเปรียบอย่างมาก หลักคิดของการยกระดับมาตรฐานระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงเพื่อให้เกิดการคุ้มครองแรงงาน เพราะแรงงานแตกต่างจากสินค้าอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ และเกี่ยวกับความอยู่รอดและคุณภาพของชีวิตของคนงานและครอบครัว การกำหนดมาตรฐานแรงงานในระบบเหมาช่วงต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคมด้วยไม่สามารถกำหนดจากอุปสงค์อุปทานในตลาดแรงงาน ความผันผวนของภาวะการผลิตและเศรษฐกิจเท่านั้น อีกประการหนึ่งลูกจ้างโดยเฉพาะในระบบเหมาช่วงมีอำนาจต่อรองน้อย ลูกจ้างในบริษัทเหมาช่วงมักไม่มีสหภาพแรงงาน 
 
และข้อแปด รัฐบาลควรเพิ่มการลงทุนทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น รวมทั้งระบบความปลอดภัยในการทำงาน และรัฐบาลควรจัดสรรเงินงบประมาณให้สถาบันปลอดภัยฯ กระทรวงแรงงานให้เพียงพอ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สำนักพระราชวังแถลงการณ์พระอาการสมเด็จพระราชินี

$
0
0
แถลงการณ์สำนักพระราชวัง กรณีพระอาการ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

 
 
30 เม.ย. 2560 แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 
 
คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร ได้รายงาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2560 คณะแพทย์ ฯ ได้กราบบังคลทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อถวายตรวจทางรังสีวิทยาติดตามผลการรักษา 
 
ผลการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พระปัปผาสะ (ปอด) และการตรวจพระสมอง ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่พบการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับผลการตรวจเดิม คณะแพทย์ ฯจึงได้กราบบังคลทูลเชิญ เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ในวันที่ 30 เมษายน 2560 
 
จึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกัน 
 
สำนักพระราชวัง 
 
30 เมษายน 2560
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images