Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50697 articles
Browse latest View live

ตัวแทนสนช. แจง ปธ.รัฐสภาโลก ย้ำไทยกำลังเดินหน้าตามโรดแมป เตรียมเลือกตั้งทั่วไป

0
0

พิไลพรรณ หัวหน้าคณะผู้แทน สนช. เข้าพบ ประธานสหภาพรัฐสภา แจงสถานการณ์การเมืองไทยที่กำลังเดินหน้าไปตามโรดแมป จัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเตรียมการให้มีการเลือกตั้งทั่วไป

ที่มาภาพ เว็บไซต์ ข่าวรัฐสภา

25 ต.ค. 2559 ข่าวรัฐสภารายงานว่า พิไลพรรณ สมบัติศิริ หัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union:IPU) ครั้งที่ 135 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำคณะผู้แทน สนช.ประกอบด้วย สมชาย แสวงการ อนุศาสน์ สุวรรณมงคล เสาวณี สุวรรณชีพ เเละ สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ระหว่างวันที่ 22– 27 ต.ค. 2559 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยเข้าพบ ซาเบร์ โฮซเซน เชาว์ดรี ประธาน IPU เพื่อชี้แจงถึงสถานการณ์การเมืองไทยที่กำลังเดินหน้าไปตามโรดแมป มีกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาล และ สนช. ดำเนินการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเตรียมการให้มีการเลือกตั้งทั่วไป หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งประธาน IPU ได้รับทราบและเข้าใจถึงโรดแมปเเละสถานการณ์การเมืองไทย ท่ามกลางความเศร้าเสียใจของประชาชนไทยที่อยู่ในช่วงการถวายความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เเละเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถเดินหน้าตามโรดแมปและจัดให้มีการเลือกตั้งได้ภายหลังพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว 

สำหรับการประชุมครั้งนี้ สมาชิก สนช. ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิก IPU ทั้ง 153 ประเทศ ให้ทำหน้าที่กรรมาธิการสามัญของการประชุม IPU ประกอบด้วย พิไลพรรณ สมบัติศิริ ได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญ IPU ว่าด้วยกิจการสหประชาชาติ (Committee on UN Affairs (Public sittings)) และ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (Committee on Peace and International Security)
 


ประวัติความเป็นมา สหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union)


สหภาพรัฐสภา (IPU) เป็นองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ซึ่งจัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ.2431 โดยเริ่มจากในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ความคิดเห็นในการเรียกร้องให้มีการประชุมระหว่างมวลสมาชิกแห่งรัฐสภาเกี่ยวกับงานสันติภาพและความเข้าใจอันดี ซึ่งกันและกันได้เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศภาคพื้นยุโรป โดยมีความเข้าใจว่าการประชุมร่วมกันนี้จะเป็นทางหนึ่งที่จะขจัดข้อขัดแย้งที่อาจจะมีขึ้นและนำความสงบสุขมาสู่โลก

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2431 ได้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในลักษณะดังกล่าวขึ้นที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างสมาชิกรัฐสภา คือ เซอร์วิลเลียม แรนเดล ครีเมอร์ (Sir William Randal Cremer)ชาวอังกฤษ กับนายเฟรเดริค ปาสซี (Frédéric Passy) ชาวฝรั่งเศส และยังมีสมาชิกรัฐสภาอังกฤษ 7 คน กับสมาชิกรัฐสภาฝรั่งเศสอีก 25 คน เข้าร่วมใน การประชุมดังกล่าวด้วย รูปร่างของการประชุมระหว่างรัฐสภาได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 29 และ 30 มิถุนายน พ.ศ.2432  ณ กรุงปารีส โดยมีสมาชิกแห่งรัฐสภา 95 คน จากประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วย ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยียม เดนมาร์ก ฮังการี อิตาลี ไลบีเรีย สเปน และสหรัฐอเมริกา รวม 9 ประเทศ เข้าร่วมในการประชุม

มติแรกของการประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 1 มีว่า “การดำเนินงานของรัฐสภาทั้งหลายนั้น รู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ห่างจากความคิดเห็นของประชาชนไปทุก ๆ ที ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้แทนปวงชนที่ได้รับการเลือกขึ้นมาจะได้ทำหน้าที่ของตนเกี่ยวกับงานของนโยบายในการที่จะนำประเทศของตนไปสู่ความยุติธรรม  การนิติบัญญัติและภราดรภาพ”

จากการประชุมครั้งแรก หลักการในการที่จะจัดตั้งสหภาพรัฐสภาได้มีรูปร่างขึ้นแต่ก็ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยอีกห้าปีถัดมาจึงได้มีการยกร่างธรรมนูญของสหภาพ และในการประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 5 ณ กรุงเบอร์น สมาพันธรัฐสวิส ในปี พ.ศ.2435 ที่ประชุมฯ ได้จัดตั้งสำนักงานกลางชื่อว่า “สำนักงานสหภาพระหว่างรัฐสภาเพื่อตัดสินกรณีพิพาทระหว่างประเทศ” และในการประชุมสหภาพรัฐสภา ณ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2437 ธรรมนูญของสหภาพรัฐสภาได้รับการรับรองจากบรรดาสมาชิกของสหภาพรัฐสภา

วัตถุประสงค์

สหภาพรัฐสภาในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการประชุมรัฐสภานานาชาติมานับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2442 มีเป้าหมายที่จะดำเนินการเพื่อสันติสุขและความร่วมมือระหว่างประชาชน และเพื่อการจัดตั้งสถาบันที่มั่นคงของผู้แทนปวงชน การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าว สหภาพรัฐสภาจึงมีภารกิจในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

 1. ส่งเสริมการติดต่อ ประสานงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างรัฐสภาและสมาชิกของรัฐสภาทั่วโลก
 2. พิจารณาประเด็นปัญหาในระดับนานาชาติและหาข้อมติในประเด็นดังกล่าวโดยมุ่งประสงค์ถึงการมีส่วนร่วมของรัฐสภาและสมาชิกแห่งรัฐสภานั้น ๆ
 3. สนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนภายใต้กรอบกติกาสากลโดยตระหนักว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
 4. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาที่มั่นคงของผู้แทนประชาชน

นอกจากนี้ สหภาพรัฐสภายังได้ประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดภายใต้วัตถุประสงค์ร่วมกันกับองค์การสหประชาชาติและได้ประสานความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น


ทิศทางและแนวโน้มของสหภาพรัฐสภา

ทิศทางและแนวโน้มของสหภาพรัฐสภาต่อประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ และความร่วมมือกับฝ่ายนิติบัญญัติและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อผลักดันมิติรัฐสภาในด้านการต่างประเทศ ได้แก่

1. ด้านสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 

2. ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 

3. ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
4. ด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม 

5. ด้านสิทธิสตรี 

6. ด้านความร่วมมือกับสหประชาชาติ

7. ด้านความร่วมมือกับองค์การการค้าโลก 

8. ด้านปฏิรูปสหภาพรัฐสภาและการบริหารองค์กร

 

รัฐสภาไทยกับสหภาพรัฐสภา

ประวัติความเป็นมา

ประเทศไทยได้รับการทาบทามให้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพรัฐสภาทั้งผ่านทางรัฐบาล และทางรัฐสภาโดยตรง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ทางรัฐบาลติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนทางรัฐสภานั้น ประธานคณะมนตรีสหภาพรัฐสภาติดต่อกับประธานรัฐสภาไทย โดยครั้งแรกขอให้รัฐสภาไทยจัดส่งคณะผู้แทนไปสังเกตการณ์การประชุมใหญ่ของสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 37 ณ กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ในปี พ.ศ. 2491 แต่ในครั้งนั้นรัฐสภาไทยยังไม่พร้อมจึงไม่สามารถที่จะรับคำเชิญได้ อย่างไรก็ตามความพยายามที่จะดึงประเทศไทยให้เข้าเป็นภาคีของสหภาพรัฐสภายังคงดำเนินต่อไป เพราะว่าในขณะนั้นประเทศไทยเป็นประเทศเอกราชประเทศเดียวในเอเชียอาคเนย์ที่มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางรัฐสภา แต่ยังไม่ได้เป็นภาคีของสหภาพรัฐสภา ประธานคณะมนตรีและเลขาธิการสหภาพรัฐสภาต่างก็พยายาม ติดต่อโดยตรงกับประธานรัฐสภาไทยในขณะนั้นคือ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ทั้งทางส่วนตัวและทางการในที่สุดสหภาพรัฐสภาได้ส่ง นายปอล บาสทิต อดีตรัฐมนตรี ฝรั่งเศส และประธานหน่วยรัฐสภาฝรั่งเศสมาเยือนประเทศไทยในฐานะตัวแทนของสหภาพรัฐสภา และได้พบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของไทย ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาชิกรัฐสภาและรัฐมนตรีบางท่าน และในการประชุมคณะมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 คณะมนตรีได้มีมติให้ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร รับเรื่องไปพิจารณา รัฐสภาได้มีการประชุมเป็นการภายในเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2492 โดยที่ประชุมเห็นว่าสหภาพรัฐสภาเป็นองค์กร ที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีนโยบายในการที่จะหาลู่ทางเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพของโลก ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยทางรัฐสภา ทั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุน ทุกวิถีทาง ที่ประชุมรัฐสภาจึงได้ตกลงในหลักการให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพรัฐสภา โดยถือเอารัฐสภาไทยเป็นหน่วยประจำชาติ และสมาชิกแห่งรัฐสภาไทยเป็นสมาชิกของหน่วยโดยตำแหน่งและได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างข้อบังคับของหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา พร้อมกันนั้นทางรัฐบาลก็แปรญัตติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2493 เพื่อตั้งงบสหภาพรัฐสภาในงบของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท

ในการประชุมภายในของรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ที่ประชุมได้ให้การรับรองร่างข้อบังคับของหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา และพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการบริหารของหน่วยฯ ขึ้นมาตามข้อบังคับ หลังจากที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารหน่วยฯ เรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการบริหารได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 เป็นต้นไป และในคราวประชุมคณะมนตรีแห่งสหภาพรัฐสภา ณ กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2493 ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับหน่วยประจำชาติไทยเข้าเป็นภาคีของสหภาพรัฐสภา

การถูกระงับการเป็นภาคีของสหภาพฯ

ที่ประชุมคณะมนตรีสหภาพรัฐสภา สมัยประชุมที่ 111 ซึ่งประชุมกันที่กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ในปี พ.ศ. 2515 ได้ลงมติให้ระงับการเป็นภาคีสหภาพรัฐสภาของหน่วยประจำชาติไทยไว้ชั่วคราว เนื่องจากมีการปฏิวัติและยุบสภา

อย่างไรก็ตาม หน่วยประจำชาติไทยได้ขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง ในคราวประชุมคณะมนตรีสหภาพรัฐสภา สมัยประชุมที่ 112 ณ กรุงอาบิดจัน ประเทศโคท์ไอเวอรี่ ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2516 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สมัยประชุมที่ 162 ซึ่งประชุมกันที่รัฐสภาแห่งชาติโคท์ไอเวอรี่ได้พิจารณาการขอกลับเข้าเป็นภาคีสหภาพรัฐสภาของหน่วยประจำชาติไทย โดยได้เชิญผู้แทนของคณะผู้แทนหน่วยประจำชาติไทยเข้าไปชี้แจงเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ในการนี้  นายเสนาะ อูนากูล เลขาธิการหน่วยประจำชาติไทยได้ตอบข้อสงสัยของสมาชิกในคณะกรรมการบริหารเป็นที่พอใจ คณะกรรมการบริหารจึงได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้รับหน่วยประจำชาติไทยกลับเข้าเป็นสมาชิกของ  สหภาพรัฐสภาดังเดิม และยังคงเป็นภาคีแห่งสหภาพฯ อยู่จนกระทั่งบัดนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.ต่างประเทศชี้ขอตัวคนผิด ม.112 กลับไทยไม่ได้ หากประเทศนั้นไม่มีกฎหมายลักษณะนี้

0
0

รมว.ต่างประเทศ ระบุขอความร่วมมือไปยังหลายประเทศแล้ว ให้ช่วยกำชับหรือกำราบผู้ที่กระทำความผิด ม.112 ชี้เป็นการดำเนินการทางการทูตการเมือง แจงไม่สามารถขอตัวคนผิดกลับไทยได้ หากประเทศนั้นไม่มีกฎหมายลักษณะนี้

ดอน ปรมัตถ์วินัย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
 
25 ต.ค. 2559 ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กล่าวถึงการประสานขอความร่วมมือกับทางประเทศต่างๆ เพื่อติดตามตัวบุคคลที่หลบหนีการกระทำความผิดที่เข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ว่า เรื่องนี้กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพหลักในการติดตามตัวผู้กระทำความผิด และมีหน้าที่ประสานขอความร่วมมือในการส่งตัวผู้กระทำความผิดกลับมายังประเทศไทยส่วนกระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่ขอความร่วมมือไปยังประเทศต่างๆ โดยผ่านทูตไทยและต่างประเทศเพื่อให้ช่วยกำชับหรือกำราบผู้ที่กระทำความผิด ถือเป็นการดำเนินการทางการทูตการเมือง ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้วกับหลายประเทศ แต่ขอไม่เปิดเผยว่าเป็นประเทศใดบ้าง เพราะอาจมีผลกระทบในด้านต่างๆ ตามมา
 
“ส่วนเรื่องข้อกฎหมายการส่งตัวผู้กระทำผิดกลับไทย เป็นเรื่องของกระทรวงยุติธรรมที่ต้องตั้งเรื่องขึ้นมา ยังไม่สามารถดำเนินการได้เพราะแต่ละประเทศไม่มีกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าไม่ได้กระทำผิดกฎหมายของประเทศนั้นก็ไม่สามารถส่งตัวกลับได้ หากเป็นเรื่องการห้ามปราม หลายประเทศให้ความร่วมมือดี เหมือนกับที่ต่างประเทศขอให้ไทยช่วยดูแลปัญหาทางด้านการเมืองเช่นกัน” ดอน กล่าว
 
ดอน ปฏิเสธจะเปิดเผยรายชื่อประเทศที่ได้ส่งหนังสือไป เพราะอาจกระทบประเทศที่ 3 แต่ยอมรับได้จัดส่งไปหลายประเทศแล้ว
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต และ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ส่ง สนช.พิจารณาต่อ

0
0

25 ต.ค. 2559 ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล   พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ ครม. ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอ ภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป

นอกจากนี้ยัง รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

สำหรับร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 โดยกำหนดเพิ่มเติมบทนิยาม เพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ กำหนดสิทธิผู้ป่วยที่จะต้องได้รับ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน และควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิต กำหนดให้เจ้าหน้าที่จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดให้คณะกรรมการสถานบำบัดมีอำนาจให้ความยินยอมในการบำบัดรักษาทางกายแทนบุคคล (ผู้ป่วย) รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติจัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพจิต การป้องกันและควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิต แบบมีส่วนร่วม โดยเชื่อมโยงและประสานสอดคล้องกัน ทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น

เห็นชอบ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 

ครม. ยังมีมติ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอ สนช. แห่งชาติพิจารณาต่อไป

ครม. ยังรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติ             ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และรับทราบผลการดำเนินการขอจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการนำเสนอสาระสำคัญของพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 มารวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เช่น การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ กลยุทธ์ของธุรกิจยาสูบในการเพิ่มจำนวนผู้บริโภคยาสูบ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนเพื่อไม่ให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่ายซึ่งจะเป็นการลดจำนวนนักสูบรายใหม่อีกทางหนึ่ง รวมทั้งจะเป็นการลดภาระงบประมาณในด้านการช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ประชาชน อันเนื่องมาจากโรคที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบด้วย และในการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากร่างพระราชบัญญัติด้วยแล้ว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม. ตั้งศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ

0
0

25 ต.ค. 2559 ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)  โดย ครม.มีมติเห็นชอบผลการประชุมเรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2559 ตามบัญชานายกรัฐมนตรีและให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ดำเนินการตามที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เสนอ ดังนี้ ให้ มท. ดำเนินการตามหนังสือ มท. ด่วนที่สุด ที่ มท 0307.2/ว2417 ลงวันที่ 22 ส.ค. 2557ต่อไป แต่เพื่อให้มีการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้นในอำเภอเป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 96/2557 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้นในอำเภอและกำหนดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและช่วยเหลือนายอำเภอในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีสาเหตุจากการร้องเรียนร้องทุกข์

ให้ มท. เกลี่ยอัตรากำลังที่มีไปสนับสนุนการดำเนินการตามกรณีข้างต้น และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 96/2557 ให้แก่นายอำเภอเพื่อให้ศูนย์ดำรงธรรมที่จัดตั้งขึ้นสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีสาเหตุจากการร้องเรียน ร้องทุกข์ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ เมื่อศูนย์ดำรงธรรมอำเภอดำเนินการไประยะหนึ่งแล้ว ให้ มท. พิจารณาถึงความจำเป็นเหมาะสมในการคงอยู่ระหว่างศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกับศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยกคำร้อง คำขอประกันตัว ‘ตู่ จตุพร’ ระบุยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งถอนประกันตัว

0
0

แฟ้มภาพประชาไท

25 ต.ค. 2559 มติชนออนไลน์และคมชัดลึกออนไลน์รายงานตรงกันว่า  เมื่อเวลา 15. 00 น. วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ ของ จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำเลยที่ 2 ในคดีหมายเลขดำ อ.2542/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย โดยอัยการโจทก์ยื่นคำร้องเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว และศาลอาญามีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้เดินทางมายื่นคำร้องเพื่อขอปล่อยชั่วคราว จตุพร จำเลยที่ 2 ต่อศาลอาญา

วิญญัติ กล่าวก่อนยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ว่า วันนี้เป็นการยื่นคำร้องครั้งแรกหลังจากที่จตุพร ถูกเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว โดยคำร้องที่ยื่นในวันนี้นั้นระบุเหตุผลว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่ศาลเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเป็นเวลา 15 วันแล้ว ระยะเวลาที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม และจตุพรจำเลยที่ 2 ยอมรับถึงผลที่เกิดขึ้นไปแล้ว มีการรับโทษไปแล้ว หากได้รับการปล่อยชั่วคราวมาจำเลยจะระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นอีก จึงมาขอความเมตตาต่อศาล

วิญญัติ กล่าวว่า กรณีดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท ทำให้ถูกถอนประกัน ทั้งที่คดีก่อการร้ายที่จตุพร จำเลยที่ 2 โดนคดีอยู่นั้น จะต้องใช้เวลาพิจารณาคดียาวนาน บุคคลที่อ้างว่าได้รับความเสียหายใช้สิทธิได้อยู่แล้ว และเป็นสิทธิที่จะใช้ฟ้องคดีฐานดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท โทษเบากว่าคดีที่จตุพร จำเลยที่ 2 โดนดำเนินคดีอยู่ในขณะนี้

ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์คำร้องแล้วเห็นว่า ก่อนหน้านี้ศาลเคยมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ โดยกำหนดเงื่อนไข ตามคำสั่งในรายงานลงวันที่ 22 ส.ค. 2555 และวันที่ 30 พ.ย. 2555 ต่อมา จตุพร จำเลยที่ 2 ยอมรับว่า ได้พูดออกรายการโทรทัศน์และให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างๆ ตามที่โจทก์ร้องขอให้เพิกถอนประกันจริง ศาลพิจารณาแล้ว เป็นการผิดเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนดไว้ แม้บุคคลผู้ที่อาจได้รับความเสียหายมิได้ใช้สิทธิฟ้องร้องหรือยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อเพิกถอนประกันก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะร้องขอถอนประกัน และศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนประกันได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราว และศาลเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนประกันจตุพร จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา และขณะนี้ยังไม่มีพฤติการณ์ใดที่จะทำให้เห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 ให้ยกคำร้อง

ภายหลัง วิญญัติ กล่าวว่า แนวทางหลังจากนี้จะพิจารณาว่าจะยื่นประกันใหม่อีกครั้งหรือจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ยกคำร้อง ส่วนจะใช้เวลาเท่าไหร่นั้นยังบอกไม่ได้ เพราะการยื่นคำร้องอีกครั้งนั้นจะต้องดูเหตุเพื่อให้มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ อย่างในคำสั่งของศาลมีการระบุว่า เพิ่งมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมาจึงอาจจะต้องมีความเหมาะสมมากกว่านี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม. ประณามเหตุระเบิดตลาดโต้รุ่ง ปัตตานี วอนร่วมหาแนวทางในการนำสันติสุขคืนสู่ประเทศ

0
0

วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 

25 ต.ค. 2559 จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา กรณีกลุ่มบุคคลก่อความไม่สงบลอบวางระเบิดบริเวณหน้าตลาดโต้รุ่ง ถนนพิพิธ เทศบาลเมืองปัตตานี จ.ปัตตานี จนเป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิต จำนวน 1 ราย และได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก โดยมีเด็กจำนวนหลายรายรวมอยู่ด้วย อีกทั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน นั้น

วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ในห้วงเวลาที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีความกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  และได้ติดตามสถานการณ์ตลอดมา เห็นว่า การลอบวางระเบิดในที่สาธารณะ เป็นการกระทำที่ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ เป็นการละเมิดต่อสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพและความมั่นคงในการดำรงชีวิตของบุคคล อันขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรม ซึ่งเป็นหลักสากลที่ทุกฝ่ายพึงยึดถือ จึงขอประณามการกระทำดังกล่าว และขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และต่อผู้บาดเจ็บกับครอบครัวด้วย 

วัส กล่าวเพิ่มเติมว่า กสม. มีบทบาทและหน้าที่ในอันที่จะส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย อันจะละเมิดมิได้ ขอวิงวอนกลุ่มบุคคลผู้ก่อความไม่สงบยุติการกระทำความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์ กับขอเป็นกำลังใจให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายที่มีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการช่วยกันเฝ้าระวังสอดส่องรักษาความปลอดภัย ป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และขอให้ประชาชนในพื้นที่อยู่ร่วมกันด้วยความเคารพในความแตกต่างของกันและกัน รวมทั้งร่วมกันแสวงหาแนวทางในการนำสันติสุขคืนสู่ประเทศต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิวยอร์กไทม์ลงหน้าคู่บันทึก 281 สิ่งที่โดนัลด์ ทรัมป์ เคยด่าผ่านทวิตเตอร์

0
0

นิวยอร์กไทม์บันทึกสิ่งที่โดนัลด์ ทรัมป์ เคยด่าผ่านโซเชียลมีเดียได้ยาวเป็นหางว่าวถึงขนาดลงหน้าคู่ได้ โดยในบัญชีรายชื่อนี้มีทั้งคน, สถานที่, สิ่งของ, ข้อตกลงทางการเมือง, นโยบาย, องค์กรระหว่างประเทศ ฯลฯ รวมแล้ว 281 รายชื่อ


หน้าหนังสือพิมพ์ดังกล่าว อ่านทั้งหมดที่นี่

 

สื่อนิวยอร์กไทม์ฉบับวันจันทร์ที่ผ่านมา (24 ต.ค. 2559) ลงหน้าคู่แสดงบัญชีรายชื่อ "281 ผู้คน, สถานที่ และสิ่งของทั้งหมดที่โดนัลด์ ทรัมป์ เคยด่าในทวิตเตอร์นับตั้งแต่ที่เขาประกาศว่าจะลงสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี" โดยมีทั้งรายชื่อคนหรือสิ่งที่ถูกด่าเรียงตามตัวอักษรตามด้วยคำด่าที่ใช้

สิ่งที่ถูกทรัมป์ด่าหรือเหยียดมีตั้งแต่ประเทศอย่าง "อังกฤษ" "เยอรมนี" สื่ออย่าง "ซีเอ็นเอ็น" "เดอะ เดลี บีสต์" กลุ่มคนอย่าง "ผู้นำยุโรป" หรือแม้กระทั่ง "การเลือกตั้งปี 2559" เองก็โดนด่าไปด้วย ใต้ชื่อของฮิลลารี คลินตัน คู่แข่งจากพรรคเดโมแครตก็มีบัญชีคำที่ใช้ด่าเธอยาวเหยียดเป็นจำนวนมากเช่นคำว่า "คนโกง" (crooked) "หายนะของนโยบายการต่างประเทศ" หรือ "ดีแต่พูดไม่ลงมือทำ"

ไม่เพียงคลินตันเท่านั้น บัญชีของนิวยอร์กไทม์ยังแสดงให้เห็นว่าทรัมป์ด่าผู้ลงสมัครพรรคเดียวกันอย่างเท็ด ครุซ, เจบ บุช, มาร์โก รูบิโอ เอาไว้ยาวเหยียดเช่นกัน ทรัมป์ยังเคยด่าพรรคการเมืองรีพับลิกันไว้ว่า "โคตรอ่อนต่อโลก!" "ไม่จงรักภักดี" "ไม่รู้จักวิธีการเอาชนะ" ขณะที่เขาด่าพรรคเดโมแครตว่าเป็น "เครื่องจักรการเมืองที่แปดเปื้อน" "โกงให้เบอร์นีหลุดออกจากชัยชนะ" และอ้างว่า "ความอ่อนแออย่างถึงที่สุดของพรรคกลายเป็นเครื่องมือเรียกพวกไอซิส" แต่ทรัมป์เองก็เคยด่าเบอร์นีเอาไว้เหมือนกันว่าเป็น "พวกหมดไฟ!" "บ้า" "เพี้ยน"

ในบัญชีสิ่งที่ทรัมป์ด่ายังประกอบด้วยกลุ่มคนอย่าง "ประชาชนทั่วไป" "สื่อกระแสหลัก" องค์กรอย่าง "องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ" หรือ "นาโต" ข้อตกลงทางเศรษฐกิจอย่าง "ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก" (TPP) และแม้กระทั่ง "ระบบการเลือกตั้ง" โดยกล่าวหาว่าระบบการเลือกตั้งมีการโกง (rigged) อยู่หลายครั้ง

อนึ่ง นิวยอร์กไทม์ยังบันทึกคำด่าที่ทรัมป์ด่าพวกเขาเอาไว้จำนวนมากด้วย เช่นด่าว่า "ล้มเหลว" "โคตรไม่ซื่อ" "เป็นหนังสือพิมพ์ที่กำลังจะตาย" "เขียนอะไรก็ได้ที่อยากเขียนแล้วก็สร้าง 'แหล่งข้อมูล' ขึ้นมาเอง"

 

เรียบเรียงจาก

The 281 People, Places and Things Donald Trump Has Insulted on Twitter: A Complete List, The New York Times,
http://www.nytimes.com/interactive/2016/01/28/upshot/donald-trump-twitter-insults.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'บรรยง' ชี้รวบรัดเอาผิดปมจำนำข้าว ก่อผลกระทบ ทั้งความยุติธรรมและอนาคตประเทศ

0
0

บรรยง พงษ์พานิช ระบุแม้ค้านนโยบายจำนำข้าวตั้งแต่หาเสียง หนุนดำเนินคดีเอาผิดกับคนทำเสียหาย แต่การดำเนินคดีที่รวบรัด เหมาเอาผิดหมด ไม่ว่ากันตามเนื้อผ้า ส่งผลกระทบของกระบวนยุติธรรมและกระบวนการนโยบายสาธารณะ เกรงอีกหน่อยจะไม่มีใครกล้าคิดนโยบายอะไรเลย 

บรรยง พงษ์พานิช (แฟ้มภาพ ประชาไท)

25 ต.ค. 2559 เมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา บรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน), กรรมการ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด และกรรมการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ โพสต์ความเห็นต่อโครงการรับจำนำข้าว การเร่งรัดดำเนินคดีดังกล่าวและผลกระทบที่จะตามมา ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Banyong Pongpanich' ในลักษณะสาธารณะ ซึ่งมีการกดไลค์กว่า 1,700 และ 383 แชร์

3 เหตุผลที่คัดค้านตั้งแต่หาเสียง 

บรรยง โพสต์ว่า ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งก็ได้แสดงความเห็นคัดค้านมาตลอด ตั้งแต่มีการคิดนโยบายเอามาหาเสียง และตลอดเวลาที่ดำเนินนโยบาย ตนก็มีการคัดค้านอย่างเปิดเผยตลอดมา ด้วยเหตุผลหลักๆ 3 ประการ คือ 1. เป็นการฝืนกลไกตลาด ความคิดที่จะกักตุนเพื่อลดอุปทานตลาดโลกแล้วหวังว่าจะทำให้ราคาดีขึ้นนั้น เป็นความคิดที่ไร้สาระเพราะเราผลิตข้าวเพียง 5% ของโลก ถึงแม้จะส่งออก 30%ของตลาดโลก

2. จะทำให้เกิดการเบี่ยงเบน เราจะผลิตข้าวมากขึ้นทั้งๆที่ประเทศไม่ได้มี Comparative Advantageจริง และการอุดหนุนอย่างนี้จะลดความกดดันที่จะให้ชาวนาเพิ่มผลิตภาพ เพิ่มคุณภาพ 3. เป็นการที่รัฐยึดอุตสาหกรรมข้าวมาทำเอง (Nationalization)ซึ่งนอกจากห่วยแล้วยังจะหาย คือ มีการทุจริตเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน
 
"ผลก็อย่างที่ทราบแหละครับ คือ นอกจากทำให้ข้าวไทยถอยหลังแล้ว ยังมีความเสียหายมากมาย ผมไม่เถียงหรอกครับว่าชาวนาได้รับประโยชน์บางส่วน แต่ไม่คุ้มค่าอย่างแน่นอน อย่างที่เสียหายไป 500,000 ล้าน ผมเชื่อว่าชาวนาได้รับ ประโยชน์อย่างมากแค่ครึ่งเดียว 250,000 ล้าน ส่วนที่หายไปก็ไม่ใช่เป็นการโกงทั้งหมดนะครับ ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่หายไปกับความไร้ประสิทธิภาพของระบบมากกว่า แต่มีโกงมีกินแน่นอน ซึ่งผมเชื่อว่ารวมประโยชน์มิชอบของพ่อค้า ข้าราชการ นักการเมืองทุกฝ่าย ไม่น่าจะเกินห้าหมื่นล้านบาท แต่ก็มากโขอยู่" บรรยง โพสต์
 
บรรยง โพสต์ย้ำด้วยว่า ที่ตนคัดค้านตลอดมา ก็เป็นการคัดค้านนโยบาย คัดค้านไม่ให้นำนโยบายประชานิยมที่คิดง่ายๆ ไม่รอบด้าน คิดเร็วๆ ชุ่ยๆ เพียงเพื่อจะให้ชนะเลือกตั้ง มาปฏิบัติให้เกิดผลเสียหายมหาศาลถึงเพียงนี้ และการคัดค้านของตนก็เป็นไปอย่างเปิดเผย ต้องการให้หยุดนโยบาย ต้องการให้สังคมรับรู้ได้บทเรียน
 

ยุติธรรม? รวบรัดเอาผิด ศาลเดียว เอาผิดหมดแทนที่จะจับคนโกง

บรรยง โพสต์ถึงกระบวนการดำเนินคดีจำนำข้าวด้วยว่า การที่เรามาเร่งรัดจะเอาผิด กับหัวหน้ารัฐบาลที่ทำเรื่องนี้ กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางอาญาทางแพ่ง ในกระบวนการที่รวบรัดเกินไป จะต้องคิดให้ดีว่ามันยุติธรรมจริงไหม กับจะส่งผลกระทบอะไรต่อไปอีกบ้าง อย่างข้อหาที่ว่าทำนโยบายที่มีการเปิดโอกาสให้มีการทุจริตได้นั้น ตนอยากถามเลยว่า ในประเทศนี้ มีนโยบายอะไรบ้างที่รัฐจ่ายเงินแล้วไม่มีโอกาสเกิดทุจริตเลยแม้แต่น้อย ตนกลัวว่า ถ้ามีการทุจริตเกิดขึ้น แทนที่เราจะไปหาว่าใครโกง กระบวนการไหนที่บกพร่อง จับคนผิดคนโกงมาลงโทษ ว่ากันไปตามเนื้อผ้า เรากลับเล่นหัวตลอดลำตัวไปถึงหางอย่างนี้ ว่าใครอยู่ในกระบวนการต้องรับผิดชอบหมดทุกคน ไม่ว่าโกงไม่โกง ใครมีอำนาจต้องโดนหมด ไม่ว่าจะได้ประโยชน์เข้าพกเข้าห่อหรือไม่ แถมใจร้อน ใช้กระบวนการเร่งรัด ใช้ศาลเดียว ใช้อำนาจยึดทรัพย์เร่งด่วน ไม่เปิดโอกาสให้ต่อสู้ตามครรลอง
 
"เหมือนคดีกรุงไทยแหละครับ ที่ผมขอยืนยันว่า ผู้ที่ถูกลงโทษทั้งยี่สิบกว่าคน ไม่ใช่ทุกคนที่มีการทุจริตอย่างแน่นอน แต่โดนตัดสินรวบยอดในศาลเดียว" บรรยง โพสต์
 

กลัวจะไม่มีใครกล้าคิดนโยบายอะไรเลย

"อย่างนี้ ที่ผมกลัว อีกหน่อยจะไม่มีใครกล้าคิดนโยบายอะไรเลย เพราะนโยบายที่จะแน่ใจว่าปลอดทุจริตร้อยเปอร์เซนต์ในประเทศนี้ เวลานี้ บอกได้เลยว่าหาแทบไม่มี หรือแม้กล้าคิดมาแล้ว ข้าราชการเจ้าหน้าที่ คนที่ต้องอยู่ในสายปฏิบัติการก็จะไม่มีใครกล้าเอาไปทำ เลยกลายเป็นว่าคนกล้าจริงๆ มักต้องมีส่วนได้เสีย ถึงจะคุ้มเสี่ยง" บรรยง โพสต์
 
บรรยง โพสต์ชวนคิดด้วยว่า ประเทศไทยเป็นระบบที่รัฐใหญ่ ทั้งขนาด บทบาท และอำนาจ เรามีกฎข้อบังคับกว่าแสนฉบับ แถมขยันออกกฎใหม่กฎเพิ่มทุกวัน รัฐธรรมนูญใหม่ก็มุ่งเน้นขยายรัฐเข้าไปอีก แต่ในขณะเดียวกัน กลับมีภาครัฐที่มีแต่ความกลัว ไม่กล้าทำอะไรใหม่เลย อย่างนี้ไม่เรียกว่าติดกับดักตัวเองแล้วจะเรียกอะไร ไม่ต้องหวัง 4.0 อะไรจากประชาชน ถ้ารัฐยังเป็นแค่ 2.0 อยู่
 
"ถ้าเรามีกระบวนการยุติธรรมที่อาจไปลงโทษคนที่แค่พลาด คนที่ไม่ได้โกง คนที่กล้าทำ คนที่แค่ไม่ได้ตรวจกฎให้ครบแสนฉบับก่อนลงมือทำ อีกหน่อยจะมีใครกล้าทำอะไรกัน ทุกคนย่อมรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดีกันไปหมด ประเทศจะเดินได้อย่างไร ผมไม่ได้บอกว่า อย่าดำเนินคดี อย่าสอบสวนเอาผิด กับคนที่ทำให้เสียหายนะครับ เพียงแต่ขอให้แยกแยะให้ดี และใช้กระบวนการที่ยุติธรรมจริงๆ เท่านั้น" บรรยง โพสต์ พร้อมตั้งคำถามว่า กระบวนการยุติธรรมแบบที้เรามีนั้น ควรได้รับการปฏิรูปจริงจังกันเสียทีไหม
 
 
ที่มา :  'Banyong Pongpanich
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับอนุสรณ์ อุณโณ ปรากฏการณ์ ‘ล่าแม่มด’ ที่ทางของความเศร้า-ความโกรธ

0
0

<--break- />สองสัปดาห์ก่อน หลังข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอันนำมาซึ่งความเศร้าโศกอย่างหาที่สุดมิได้แก่พสกนิกรชาวไทย ปรากฏการณ์ย่อยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทยก็ทยอยผุดขึ้นในหลายพื้นที่ด้วยเช่นกัน นั่นคือ การที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยซึ่งรับข่าวสารทางโซเชียลมีเดียเข้ารุมล้อมบ้านตามหาตัวผู้ที่โพสต์ข้อความไม่เหมาะสม ไม่แสดงความเคารพรักสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเขียนข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระทั่งมีการรุมทำร้ายผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำการดังกล่าวโดยประชาชนด้วยกันเอง

“มาตรการทางสังคม” ได้เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ภูเก็ตพังงาเกาะสมุยก่อนที่จะลามไปยัง ชลบุรีระยองจันทบุรี กระทั่งในกทม.ก็มีเรื่องชวน ‘ดราม่า’ เมื่อหญิงสูงวัยมีประวัติจิตเภทโดยตบปากอย่างแรงจากการพูดคนเดียวบนรถเมล์

อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิชาการด้านมานุษยวิทยาสังคมวิทยาและยังเคยทำการศึกษาวิจัยเรื่องแนวคิดทางการเมือง ลักษณะการรวมกลุ่มของประชาชนในจังหวัดภาคใต้ในช่วงทศวรรษแห่งความขัดแย้งทางการเมืองได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวในภาพรวม ซึ่งสะท้อนมาจากอารมณ์โศกเศร้าที่แปลเป็นความโกรธเกรี้ยว รวมทั้งประเมินสถานการณ์การข้างหน้าและเสนอทางออกจากความรุนแรงในลักษณะนี้

คิดอย่างไรกับกระแส ‘การล่าแม่มด’ ในช่วงที่ผ่านมา ?

ไม่รู้จะใช้คำว่าล่าแม่มดดีไหม เพราะมันทำให้เราไปคิดถึงปรากฏการณ์บางอย่าง แต่คิดว่ามันคือความโกรธเคืองที่เกิดขึ้นแล้วนำไปสู่ความรุนแรงที่เป็นหมู่ชน เอาเข้าจริงแล้วก่อนหน้านี้มันมีความโกรธเคืองอยู่ระดับหนึ่ง แต่คำถามคือทำไมมันปะทุขึ้นมาในช่วงนี้ เพราะว่าความขุ่นเคืองตรงนั้นไปบรรจบกับความเศร้าโศกเสียใจ ความเศร้าโศกเสียใจมีอยู่แล้ว แต่พอถูกกระทบกระทั่งมันก็แปลกลายเป็นความโกรธเคืองแล้วก็นำไปสู่การทำร้ายผู้คน

บางคนอาจถามว่าทำไมมันถึงเกิดกับภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่จะกระจายตัวไปในพื้นที่อื่นๆ ภาคใต้มีลักษณะเฉพาะที่พอจะอธิบายได้

หนึ่ง คือ ความรู้สึกรักและภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผลพวงของกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับประเทศ ไม่แตกต่างจากคนภาคอื่น พระราชอำนาจนำของพระมหากษัตริย์เกิดอย่างเข้มข้นในช่วงสองทศวรรษเศษที่ผ่านมา

สอง มันไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการแข่งขันทางการเมืองค่อนจะสูง เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับความนิยมมากในภาคใต้อิงอาศัยหรือให้ภาพการเป็นพรรคการเมืองที่จงรักภักดีมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา และตัวแทนอีกปีกการเมืองหนึ่งของประชาธิปัตยอย่าง กปปส. อิงอาศัยสถาบันกษัตริย์ในความขัดแย้งทางการเมืองอย่างชัดเจน เมื่อคนในภาคใต้บ่งชี้ตัวเองเข้ากับพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะเดียวกับก็ได้รับการกล่อมเกลาที่เกิดขึ้นในระดับภาพใหญ่ของประเทศจึงทำให้คนใต้จึงมีความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ค่อนข้างสูง บวกกับการมองว่าคนที่ไม่รักเจ้าเป็นฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทางการเมืองของตน เมื่อเห็นคนที่โพสต์อะไรแบบนั้น เขาก็จะมองว่านี่ไม่ใช่พวกเดียวกันทางการเมืองแถมยังไม่รักสถาบันอีก จึงเกิดกระแสอย่างที่เห็นขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว

สาม ผู้คนอาจมองว่าการแก้ปัญหาของคนในภาคใต้มีลักษณะที่จะใช้ความรุนแรงในภาพใหญ่กว่าภาคอื่น เช่น กรณีของภูเก็ตเมื่อตอนที่เกิดความไม่พอใจเหมืองแร่แทนทาลั่มก็มีการรวมตัวกันไปเผา การล้อมการปิดกั้นศาลากลาง ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ

เรื่องนี้อาจอธิบายได้ว่าในแง่หนึ่งเขาไม่ได้เชื่อถือกลไกรัฐในการแก้ปัญหาแต่เชื่อในการดำเนินการโดยมือของเขาเอง พวกเขาไม่ค่อยมีความกลัวรัฐส่วนกลางเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ ในแง่ของประวัติศาสตร์ ภาคใต้ตอนบนที่ไม่นับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เวลารัฐส่วนกลางไปปกครองนั้นไม่ได้มีลักษณะของการขูดรีดกดขี่ข่มเหงอำมหิตสักเท่าไรเมื่อเปรียบเทียบกับล้านนาหรือล้านช้าง ถ้าเราไปดูนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นรัฐหัวเมือง จะพบว่ามีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐส่วนกลางมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา แทบไม่มีกบฎ ความกลัวต่อความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐมันไม่อยู่ในสำนึกทางประวัติศาสตร์ของคนในภาคใต้ และรัฐส่วนกลางเองก็ไม่เคยใช้ความรุนแรงกับหัวเมืองในภาคใต้ในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา

ที่กล่าวว่าไม่อยากใช้คำว่า “ล่าแม่มด” นั้นเสนอว่าควรใช้คำใด ?

ใช้คำว่าอะไรก็ได้ จะ ศาลเตี้ย หรือ ล่าแม่มด ก็ได้หมด ปรากฏการณ์ทั้งหมดมันเกิดจากการไม่เชื่อในระบบหรือกระบวนการยุติธรรมปกติ มันคือการลุแก่อำนาจของคนบางกลุ่มที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดซึ่งค่อนข้างจะบ่งชี้ถึงคุณลักษณะทางอำนาจในสังคมไทยที่อิงกับการใช้ชีวิตประจำวันของคน เพราะจริงๆ แล้ว สังคมไทยไม่ได้อยู่ด้วยระเบียบกฎเกณฑ์หรือกฎหมายสักเท่าไร มันอยู่ที่ว่าคุณมีอำนาจหรือเส้นสายสักเท่าไร ใครสามารถละเมิดกฎหมายได้เท่าไรก็จะยิ่งมีอำนาจมาก มันเป็นภาพสะท้อนของสังคมไทยโดยรวมไม่ได้จำกัดเฉพาะภาคใต้ คนที่ไม่เชื่อในกระบวนการแบบปกติก็พร้อมที่จะลุแก่อำนาจ เราไม่เชื่อในอำนาจที่อยู่ในโครงสร้างหรืออำนาจตามบทบาทหน้าที่ คนที่มีอำนาจมากกว่าคือคนที่สามารถละเมิดกฎเกณฑ์แบบปกติได้ เป็นคนที่สามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องรับผิด สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในสังคมไทย การล่าแม่มดก็เป็นภาพสะท้อนอันหนึ่ง

บทบาทของพรรคการเมืองในปราปฏการณ์นี้มีมากน้อยแค่ไหน ?

ในกรณีนี้ มีไม่มากเพราะเขารู้ว่ามันเป็นเกมที่อันตรายพอสมควร และในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นช่วงที่นักการเมืองถูกกดปราบให้อยู่หงิมๆ คุณไม่สามารถแสดงบทบาทหรือมีปากมีเสียงอะไรได้เพราะระบบการเมืองของประเทศไม่ได้อยู่ในจุดที่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองเป็นกำลังหลัก เขาจึงไม่สามารถแสดงตัวได้อย่างเปิดเผย หรือออกนอกหน้า ได้แต่จับตาดูว่ารัฐบาลทหารจะเอายังไง สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ได้เป็นแรงผลักหรือการยุยงปลุกปั่นของพรรคการเมือง แต่เป็นผลของขบวนการที่ต่อเนื่องแล้วเข้มข้น และปะทะขึ้นมาในจังหวะที่บรรจบกับพอดี

มันมีงานเขียนทางมนุษยวิทยาของเรนาโต โรซาลโด (Renato Rosaldo) สอนอยู่ที่ชิคาโก้ เขาเขียนหนังสือชื่อ Culture and truth: The remaking of social analysis เขาพูดถึงความเศร้าเสียใจ (grief) กับการล่าศรีษะมนุษย์ในหมู่ชาวอีลองกอสในหมู่เกาะลูซอนทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ เขียนเป็นวิทยานิพนธ์ เขาศึกษาอยู่นานแต่ก็ไม่เข้าใจสักทีว่าอะไรที่ทำให้ความเศร้าโศกเสียใจอันเกิดจากการเสียคนที่รักผลักให้ชาวอีลองกอสมีความโกรธแค้นแล้วนำไปสู่การล่าหัวของคนเผ่าอื่น มันมีคำอธิบายที่เป็นนามธรรมหรือปรัชญาว่า มันต้องเป็นการกิน soul stuff หรือจิตวิญญาณที่มันอยู่ในหัว ก็ว่ากันไป แต่โรซาลโดก็ยังไม่พอใจการอธิบาย วันหนึ่งเขาเดินไปเห็นพ่อคนหนึ่งนั่งกอดศพลูกสาวตัวเองนัยน์ตาแดงก่ำด้วยความโกรธ แล้วอีกซักพักก็ออกไปล่าหัวมนุษย์ เขาก็ยังไม่เข้าใจ จนกระทั่งมีประสบการณ์ด้วยตัวเองถึงจะเข้าใจว่าความเศร้าโศกเสียใจจากการสูญเสียมันนำไปสู่ความโกรธแค้นและเข่นฆ่าผู้อื่นได้ยังไง มันเริ่มต้นจากการเสียพี่ชายแล้วก็เห็นพ่อยืนเสียใจและโกรธ แต่ตอนนั้นเขาก็ยังไม่เข้าใจ จนกระทั่งเขาเจอกับตัวเอง ตอนที่ตัวเองไปวิจัยอีกครั้งที่ฟิลิปปินส์ ภรรยาของเขาชื่อมิเชล โรซาลดา ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาสอนอยู่ที่ชิคาโก้เหมือนกันก็ไปศึกษาชนเผ่าอิฟูกัลซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งในตอนใต้ของฟิลิปปินส์เหมือนกัน วันหนึ่งมีคนมาบอกว่ากับโรซาลโดว่ามิเชลพลาดเดินตกหน้าผาแล้วก็เสียชีวิต โรซาลโดรีบไปและเห็นภรรยาตัวเองนอนเสียชีวิตอยู่ในหุบเหวข้างล่าง แวบแรกตัวของโรซาลโดรู้สึกเสียใจที่สูญเสีบภรรยาไป แต่หลังจากเสียใจมันเป็นความโกรธที่ตามมา โกรธที่หนึ่งก็คือทำไมถึงได้สะเพร่าตกลงไป คนอื่นก็เดินกันตั้งเยอะแยะไม่เห็นตก อย่างที่สอง ซึ่งอาจจะฟังโรแมนติกมากเพราะว่าหลังจากนั้นไม่กี่ปีโรซาลโดก็แต่งงานใหม่ เป็นการโกรธและตัดพ้อว่าเธอเห็นแก่ตัวเกินไป ตัดช่องน้อยแต่พอตัว ทิ้งฉันไว้อยู่ลำพัง ฉันจะอยู่อย่างไร จะต้องเศร้าโศกเสียใจขนาดไหน เขาเลยถึงบางอ้อว่า ความเศร้าโศกเสียใจจากการสูญเสียคนที่ตัวเองรักมันกลายเป็นความโกรธแค้นและนำไปสู่การใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นได้อย่างไร

หากเรามาดูเปรียบเทียบกับกรณีของไทย คนไทยรู้สึกเศร้าโศกเสียใจที่สูญเสียพระมหากษัตริย์ที่ตนรักไป และมันก็กลายเป็นความโกรธเพราะมันมีแฟคเตอร์ตัวอื่นเข้ามา นั่นคือการดูแคลนความโศกเศร้า หรือรู้สึกว่าความตายนั้นมันถูกดูหมิ่น ความโศกเศร้าจึงผันไปเป็นความรุนแรงต่อคนที่ดูหมิ่น ในงานชิ้นนี้โรซาลโดยังพูดถึง cultural force of emotion คือพลังทางวัฒนธรรมของอารมณ์ คือ ปกติแล้วเราจะคิดว่าอารมณ์ความรู้สึกมันเป็นสัญชาติญาณเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่สิ่งที่โรซาลโดพยายามจะชี้คือมันมีพลังทางวัฒธรรมของอารมณ์อยู่ มันผูกอยู่กับความสัมพันธ์ของคนที่เรารักและอยู่ดีๆ มันก็หักสะบั้นลง


แฟ้มภาพ กรณีภูเก็ต (ภาพจากผู้ใช้ เฟซบุ๊กชื่อ Mint Idea-Tv)

มีความกังวลว่าเหตุการณ์จะลุกลามไปจนเกิดเป็นความเกลียดชังแบบที่เกิดขึ้นเมื่อ 6 ต.ค.2519 หรือไม่ ?

ผมคิดว่ามันไม่น่าจะถึงตรงนั้น มันน่าจะเป็นความรุนแรงประปรายและกระจัดกระจาย ไม่ได้มีการจัดการให้เป็นองค์กรแนวเดียวหรือเชื่อมโยงกัน เพราะกลุ่มที่เกิดมันกระจัดกระจายไปทั่ว อีกประการคือ มันยังไม่ได้รับการหนุนจากรัฐ หรือกลไกที่รัฐสนับสนุน เช่น เมื่อก่อนเรามีกลุ่มต่างๆ ที่รัฐเข้าไปเกี่ยว แต่ตอนนี้มันเหมือนเป็นการปะทะขึ้นมาของความโกรธเคืองซึ่งมีหลายปัจจัยบรรจบกัน แต่มันยังไม่ถูกทำให้เป็นแบบแผนหรือขวนการอันเดียวกันโดยรัฐ เพราะฉะนั้นการที่จะนำไปสู่ 6 ตุลาไม่น่าจะเกิดได้เพราะมันอาศัยการ organize การจัดตั้งอะไรหลายๆ อย่าง ต้องมีการกรุยทางมาตามลำดับ มีการกระพือโหมโดยสื่อของรัฐ แต่ปัจจุบันเราไม่ได้มีสภาพการณ์เช่นนั้น เอาเข้าจริงแล้วรัฐอยากจะรักษาสภาพทุกอย่างให้อยู่ในความปกติที่สุด อย่าลืมว่าเราอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน และรัฐอยากให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นอย่างราบรื่นที่สุด การเมืองปะทุมันไม่ได้เป็นที่พึงประสงค์ของรัฐ ความวุ่นวายจะยิ่งสื่อให้เห็นว่ารัฐจัดการไม่ได้ เราก็จะเห็นได้ว่าคนอย่างสรรเสริญ แก้วกำเนิด ออกมา บอกว่าไม่ใส่เสื้อดำก็ไม่เป็นไร พยายามจะ calm down คนที่โกรธแค้นอยู่ในตอนนี้ เขาต้องการให้ช่วงเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือถ้าเกิดมีปัญหาจริงๆ ก็ใช้กระบวนการทางกฎหมาย ใช้มาตรา 112 เอาเข้าซังเตไป แต่อย่าให้กระเพื่อมมีมวลชนวุ่นวาย มันเป็นภาพที่ไม่สวย และทำให้การเปลี่ยนผ่านดูไม่ราบรื่น

คิดว่าโซเชียลมีเดียมีบทมากแค่ไหนในปรากฏการณ์นี้ ?

โซเชียลมีเดียมีบทบาทอย่างสำคัญเลยในการทำให้กระแสของความเกลียดชังขยายตัวค่อนข้างเร็วและไร้การควบคุม มันใส่อะไรลงไปได้เรื่อยๆ นับเป็นความอันตรายข้อหนึ่งของโซเชียลมีเดีย เพราะพอมันไร้การควบคุมมันก็เปิดโอกาสให้กับการปลุกระดมและการให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ครบถ้วน ขาดการกำกับดูแล อันนี้ก็อาจจะเป็นปัญหาข้อหนึ่ง แต่การแก้ปัญหาคงไม่ใช่การให้รัฐเข้ามามอนิเตอร์ แต่มันอยู่ที่การสร้างวุฒิภาวะของคนไทยว่าคุณจะต้องมีความระมัดระวังความรอบคอบ มีวุฒิภาวะที่จะอยู่กับข้อมูลข่่าวสารและการชักจูงโน้มน้าว มันไม่มีใครดูแลได้หรอก สังคมไทยจะต้องโตกว่านี้ถึงจะอยู่กับโซเชียลมีเดียได้ดีกว่านี้ ไม่อย่างนั้นเราก็จะเจอการล่าแม่มดแบบนี้

เราอาจจะเห็นว่ามันคนโดนล่าเพราะเรื่องสีเสื้อ แต่พอเราเดินไปตามท้องถนนก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร แต่พอคุณเริ่มเปิดเฟซบุ๊กเมื่อไร มันอย่างกับจะเป็นสงคราม จะฆ่าแกงกัน ไม่ใส่เสื้อดำออกนอกบ้านไม่ได้ จริงๆ แล้วมันไม่ถึงขนาดนั้น เพราะโลกความจริงมันอยู่กันด้วยหลายสิ่งหลายอย่างมาก อย่างไรก็ดีพอมันถูกกระตุ้นในโซเชียลมีเดีย มันก็จะพาโลกในโซเชียลมีเดียออกไปสู่โลกภายนอกอีกทีหนึ่ง ทำราวกับว่าโลกข้างนอกจะต้องเป็นอย่างนั้น คนที่ถูกกระตุ้นก็รู้สึกว่าจะต้องไปจัดการคนที่ไม่ใส่เสื้อดำ มันเป็นช่องทางการกระจายข้อมูลข่าวสารที่บิดเบี้ยวไร้การตรวจสอบ ทำให้เกิดกลุ่มเฉพาะที่รับข้อมูลที่ไปในทางของตัวเอง จึงพากันรวมตัวกันออกไปทำในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์

ประเมินว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานไหม ?

ผมคิดว่าความโศกเศร้าโดยตัวของมันเองจะค่อยๆ คลี่คลายไปตามลำดับ ยิ่งเมื่อมีพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ของกษัตริย์องค์ใหม่เร็วเท่าไร มันก็จะแทนที่ความเศร้าเสียใจได้เร็วเท่านั้น แต่ตอนนี้ทางฝ่ายผู้ปกครองยังไม่พร้อมที่จะแทนที่อารมณ์ทางสังคมด้วยการเฉลิมฉลอง ก็ต้องปล่อยให้อารมณ์ของความสูญเสียดำรงอยู่ไปก่อน อารมณ์ของสังคมตอนนี้เป็นเรื่องของการไว้ทุกข์ไว้อาลัยให้กับการสูญเสีย แต่เมื่อมีจังหวะใหม่ อารมณ์ของสังคมใหม่ที่ใหญ่กว่าเข้ามาแทนที่ ก็อาจยังมีความรู้สึกที่สูญเสียอยู่ แต่ในแง่ของระดับรัฐ เขาจะต้องจัดการให้เกิดอารมณ์ของการเฉลิมฉลองให้กลายเป็นอารมณ์ใหม่ของสังคม เพราะไม่ว่าอย่างไรประเทศก็ต้องเดินหน้าต่อไป ความเศร้าโศกเสียใจอาจจะหดแคบลง หรือมีที่ทางที่เหมาะสม แต่จะไม่ใช่อารมณ์ใหญ่ของสังคมอีกต่อไป

มีตัวอย่างบางคลิปในโซเชียลมีเดียที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการล่าแม่มดด้วย คิดเห็นอย่างไร ?

ผมคิดว่ามันเป็นการลุแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ในแง่หนึ่งก็เข้าใจได้ว่ามันเป็นการยอมจำนนต่อกระแสกดดันของมวลชน แต่ผมว่าเขาก็มีทางเลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้น เช่นการทำตามขั้นตอนกฎหมายปกติ แต่ก็ไม่ ผมคิดว่าในตอนนั้นเขาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รักษากฎหมาย แต่เป็นส่วนหนึ่งของมวลชน

จะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร ?

ประการแรก คือ เราต้องเรียกร้องการคืนมาของกฎเกณฑ์ระเบียบปกติ เราต้องเรียกร้องการกลับมาของการใช้กฎหมาย ในการแก้ไขปัญหา ไม่เปิดโอกาสให้ใครก็ตามสูงส่งมาจากไหนมาละเมิดกฎเกณฑ์กติกาที่เราใช้ในการอยู่ร่วมกัน ไม่เช่นนั้นแล้วเราก็จะไม่มีหลักประกันอะไรให้กับชีวิตของผู้คน ไม่มีใครบอกคุณได้ว่าวันหนึ่งคุณใส่เสื้อสีแจ๊ดออกไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่บางอย่างทั้งที่คุณก็ไม่ได้รู้สึกอยากจะละเมิดใคร แต่ไอ้บ้าที่ไหนก็ไม่รู้มาตีหัวคุณ แล้วจะเอาผิดที่ไหนได้ถ้าคุณใช้วิธีการแบบนี้ร่ำไป มันไม่ได้ ใครผิดก็ต้องใช้กระบวนการยุติธรรมปกติ มันต้องไม่เปิดโอกาสแม้ว่าเขาจะใช้ข้ออ้างที่ดูดีสูงส่งมาละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของคนในฐานะที่เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ เราต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน มันต้องคล้ายๆ กับจัดสรรความโศกเศร้าให้มีที่ทางหรือแสดงออกอย่างเหมาะสม แล้วก็สำรวม โอเคว่าความโศกเศร้านั้นมีแน่และไม่ควรถูกทำให้หายไป แต่จะทำยังไงให้ความเสียใจได้รับการแสดงออกอย่างเหมาะสมและถูกที่ทาง

ประการที่สอง คือ ต้องไม่ให้ความเสียใจเป็นข้ออ้างในการกระทำสิ่งใดๆ ในการละเมิดกฎหมายหรือขั้นตอนปกติ ไม่ใช่แค่การไปละเมิดหรือตั้งศาลเตี้ย แต่หมายถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย ในสังคมไทยมีหลายกรณีมากที่การละเมิดกฎเกณฑ์ปกติมีข้ออ้างที่สูงส่งมีศีลธรรมเต็มไปหมดเลย เป็นคนดีบ้างล่ะ เศร้าโศกเสียใจบ้างล่ะ แต่ผมว่าเราควรจะลด โอกาสในการอ้างคุณงามความดีเหล่านี้มาละเมิดกฎเกณฑ์ปกติ

ประการที่สาม คือ ใช้กลไกกฎหมายตามปกติ ไม่เปิดให้ใครลุแก่อำนาจ เอากฎหมายมาไว้ในมือและใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น ที่สำคัญคือต้องมีการดำเนินคดีกับคนที่ละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่ว่าจะในนามของอะไรก็ตามแต่ ต้องเอามาลงโทษ ไม่ให้เขาลอยนวลพ้นผิด มิเช่นนั้นแล้วก็จะได้ใจแล้วก็ปฏิบัติอยู่ร่ำไป ตำรวจจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ไม่ได้ คุณเป็นผู้พิทักษ์สัมติราษฎร์ ผู้พิทักษ์กฎหมาย คุณก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย ตอนนั้นคุณอาจจะทำไม่ได้ แต่มันก็มีคลิปมีหลักฐานที่จะใช้ดำเนินคดีในภายหลังได้ เพราะถ้าเขาลอยนวลพ้นผิดได้ด้วยข้ออ้างแบบนี้ ต่อไปใครๆ ก็ทำ แล้วสังคมจะอยู่อย่างไร

การเมืองสีเสื้อมีผลในการทำให้ความรุนแรงทวีคูณขึ้นไหม ?

ก็น่าจะมีผล ที่ผ่านมาฝ่ายหนึ่งก็มักผูกโยงภาพว่าอีกฝ่ายว่าเผาบ้านเผาเมืองต้องการล้มสถาบันอยู่แล้ว แต่ตอนนี้มันน่ากลัวกว่าการเมืองเสื้อสี เพราะว่าตอนนี้มันขยายลุกลามไปทั่ว คนที่แต่เดิมอาจจะไม่ได้สมาทานขั้วใดขั้วหนึ่งเป็นการเฉพาะ อาจจะไม่ใช่เหลืองจัด แต่พอเห็นคนถูกกล่าวหาว่าหมิ่นก็พร้อมที่จะกระโจนเข้าไป พร้อมที่จะใช้ความรุนแรงด้วย ตอนนี้มันอันตรายกว่าการเมืองเสื้อสี มันถูกโหมด้วยอารมณ์ ความคลุ้มคลั่งค่อนข้างจะเยอะ มันน่ากลัวเพราะอะไร เพราะมันขาดการจัดตั้ง มันจึงคาดคะแนไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ ผมว่าตอนนี้ประเทศไทยอยู่สภาวะสุ่มเสี่ยง อ่อนไหว และเปราะบางมาก  

คิดว่าสังคมาถึงจุดสูงสุดของความรุนแรงแล้วหรือยัง ในอนาคตจะแรงขึ้นหรือเบาลง ?

ผมคิดว่ามันจะทรงตัวอยู่แบบนี้ไปประมาณสัปดาห์สองสัปดาห์ แล้วก็จะค่อยๆ ลดลง ผมไม่คิดว่ามันจะขยายใหญ่ เว้นเสียแต่ว่ามีพวกที่เคลื่อนไหวทางการเมืองเข้ามาผสม แต่ผมคิดว่า คสช. ซึ่งเป็นผู้สร้างความสงบเงียบให้กับการเปลี่ยนผ่านไม่ต้องการสิ่งนั้น มันจึงน่าจะถูกจำกัดไว้ระดับหนึ่ง ในแง่หนึ่งเราอาจจะเอาผิดคนเหล่านั้นไม่ได้ มีการเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ คนที่ถูกใช้ความรุนแรงก็อาจจะซวยไป เอาความผิดอะไรใครไม่ได้ แต่ขนาดของมันจะไม่ไปใหญ่กว่านี้สักเท่าไร จะประปราย กระจัดกระจายทั่วๆ ไป แต่สิ่งที่สำคัญคือมันไม่มีหลักประกันในชีวิต ผู้คนก็คงต้องระมัดระวังตัวเองกันไป ตอนนี้คุณอยู่ในสังคมที่ไม่มีหลักประกันอะไร ถ้าเกิดทำผิดแล้วพวกที่ใช้วาทกรรมใหญ่ๆ มาใช้วาทกรรมนั้นกับคุณ โอกาสที่เขาจะหลุดรอดมีสูงมากๆ ถ้าเขาอ้างว่าเขาทำในนามของความรัก ความดี ความเศร้าโศกเสียใจจากความสูญเสีย คุณก็พร้อมที่จะได้รับความรุนแรงที่มันเกินพิกัดและเกินไปจากกระบวนการยุติธรรมปกติ คงไม่สามารถนำคนเหล่านั้นมาดำเนินคดีตามขั้นตอนปกติได้ในช่วงเวลานี้

แปลว่าทุกส่วนต้องเงียบกันต่อไป ?

เพราะว่าสังคมถูกครองโดยความเศร้าโศกเสียใจ และส่วนหนึ่งก็กลายเป็นความคลุ้มคลั่งไป คนที่อยู่ในอำนาจรัฐก็ไม่กล้าที่จะเข้ามาจัดการอะไร สิ่งที่จะประคองตัวเองให้รอดคืออย่าไปทำอะไรที่มันขวางลำ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ณ ตอนนั้นไม่มีหลักประกันอะไรให้กับคุณหรอก เมื่อความเศร้าโศกเสียใจคลี่คลายไป และเมื่ออารมณ์ของสังคมถูกแทนที่ด้วยวาระใหม่นั่นคือการขึ้นครองราชย์ซึ่งจะต้องมีการเฉลิมฉลอง ความเศร้าโศกเสียใจก็จะต้องถูกจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของมันใหม่ ซึ่งก็จะช่วยให้ความรุนแรงลดลงไปตามลำดับ

เราจะป้องกันไม่ให้การล่าแม่มดเกิดขึ้นในอนาคตอีกได้อย่างไร ?

ในที่สุดแล้วเราต้องไม่สร้างความผูกพันที่มากล้นเกินไป เราต้องไม่สร้างหรือทำให้คนคนหนึ่งผิดธรรมชาติไป เช่น จะอยู่ได้ยาวนาน เราต้องไม่สร้างบุคคลที่มีลักษณะพิเศษไปจากมนุษย์ธรรมดาแล้วผูกตัวเองกับเขา เพราะเมื่อมันเจอกับข้อเท็จจริงของชีวิต คุณจะไม่สามารถรับความจริงที่เกิดขึ้นได้ มันจะนำมาสู่อารมณ์ที่พุ่งพล่านเดือดดาล เราต้องทำให้คนในสังคมอยู่กับสภาพความเป็นจริงของชีวิต หนึ่ง คือ มนุษย์ทุกคนคือปุถุชนคนธรรมดา มีดีชั่วปะปนกัน ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติมนุษย์ สอง คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเรื่องปกติสามัญ การเกิดแก่เจ็บตายมันเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็ต้อง to be fair กับผู้สูญเสียด้วย คือไม่ควรจะใช้โอกาสนี้ในการทับถมหรือทำร้ายจิตใจกัน เราควรจะเคารพผู้คนในฐานะมนุษย์ธรรมดาที่เศร้าโศกเสียใจได้ อย่าไปถากถางเยาะเย้ย ต้องให้เกียรติผู้ที่สูญเสียด้วย สังคมอารยะจึงจะอยู่ด้วยกันได้ ไม่อย่างนั้นมันก็จะลำบาก สาม คือ เมื่อมีความเศร้าโศกเสียใจ ควรจะแสดงออกอย่างพอเหมาะพอควรไม่คลุ้มคลั่ง นี่พูดภาษาพระเลยนะ มันตลกมากที่พูดเรื่องนี้ต้องพูดแบบพระ แต่มันเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องหยิบคำพระมาระดับหนึ่ง คือ เราต้องจัดวางความเศร้าโศกเสียใจให้มันถูกต้อง พอเหมาะพอควร รู้ว่าความจริงของชีวิตคืออะไร

อีกเรื่องหนึ่งคือรัฐ ถ้ามีการสูญเสียขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถาบันทางสังคม รัฐจะต้องรีบเข้ามาคลี่คลายหรือจัดการกับความเศร้าโศกเสียใจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เรื่องราวเกิดขึ้นกระจายเต็มไปหมดโดยที่แทบจะไม่จัดการอะไรเลย ความสูญเสียมีหลายระดับ ในระดับบุคคล มันไม่เป็นไร แต่พอมันเป็นระดับสถาบันทางสังคม หรือสถาบันทางการเมือง มันกระทบกันไปหมด รัฐจะต้องเข้ามาจัดการในทันที จะต้องเข้ามาบอกแนวทางปฏิบัติ ออกมาห้ามปรามโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เรื่องมันเกิดจนถึงจุดที่ไม่สามารถจัดการได้ ตอนนี้รัฐยังจัดการช้าเกินไป และยังคิดไม่เป็นระบบ

ช่วงนี้มีคำที่ฮิตคือ #ดึงสติกันหน่อย อยากให้ช่วยทิ้งท้ายเพื่อดึงสติคนในสังคม

เป็นธรรมดาที่เราจะเสียใจเมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก แต่ก็ต้องตระหนักว่า ความสูญเสียนี้เป็นสิ่งธรรมดาที่เราต้องเผชิญไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพราะฉะนั้นในฟากหนึ่งเราก็ไม่เสียสูญความเป็นมนุษย์ที่จะเสียใจได้ แต่ในอีกฟากหนึ่งเราก็ต้องไม่สูญเสียความเป็นมนุษย์ที่จะคิดและมีวิจารณญาณได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ปล่อยให้ความสูญเสียมันไปปิดกั้นการใช้ความคิดวิจารณญาณในการตอบสนองต่อบุคคลที่อาจจะกระทำการที่เราคิดว่าไม่เคารพความสูญเสียของเรา มันอาจจะมีเหตุผล เงื่อนไข เหตุปัจจัย ลักษณะเฉพาะอยู่ข้างหลังก็ได้ อย่างเร่งด่วนตัดสินใจโดยใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ต่อให้การกระทำที่เรารู้สึกว่าไม่เคารพหรือดูหมิ่นต่อความสูญเสีย หรือผู้สูญเสีย เราก็ไม่อยู่ในสถานะที่จะไปพิพากษาหรือลงทัณฑ์เขาได้ ประเทศนี้มันมีระบบกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมที่จะทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว ก็ปล่อยให้มันได้ทำหน้าที่ของมันไป เพราะสุดท้ายแล้วกระบวนการเหล่านั้นมันจะมาป้องกันไม่ให้ความสูญเสียเกิดขึ้นอีก อันจะนำมาซึ่งความโกรธแค้นที่มีต่อกันไปไม่มีที่สิ้นสุด 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาว 17 แจ้งความ ถูกปลอมเฟซบุ๊กโพสต์หมิ่นกษัตริย์ คาดฝีมือคนเคยทะเลาะกัน

0
0

 

25 ต.ค. 2559 พ.ต.ท.ณรงค์ แสนเกื้อ พนักงานสอบสวน สภ.กันตัง รับเรื่องแจ้งความร้องทุกข์จาก ณัฐกานต์ (สงวนนามสกุล) อายุ 17 ปี ชาว อ.กันตัง จ.ตรัง ว่า มีคนแอบอ้างนำชื่อ และภาพของตนไปสร้างเฟซบุ๊กปลอมขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “นู๋โบวี่ รักปี๋โอมมี” โดยมีภาพใบหน้าของ ณัฐกานต์และอาวุธปืน พร้อมลักษณะเข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฟซบุ๊กดังกล่าวเพิ่งเปิด และมีการโพสต์ข้อความในวันเดียวกัน ส่งผลให้ณัฐกานต์เสื่อมเสียชื่อเสียง และถูกสังคมเข้าใจผิด อีกทั้งภาพที่ถูกโพสต์ขึ้นมีปืนไม่ทราบชนิดรวมอยู่ด้วย โดยชาวเน็ตเมื่อเห็นข้อความพร้อมกับภาพดังกล่าวที่ถูกโพสต์ขึ้นต่างก็พากันวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม ทั้งด่าทอ สาปแช่ง และแชร์ข้อความดังกล่าวออกไป โดยที่ไม่รู้ที่มาที่ไปว่าเฟซบุ๊กนั้นถูกปลอมขึ้นมา

พ.ต.ท.ณรงค์ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี เปิดเผยว่า เบื้องต้นได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของ ณัฐกานต์ เอาไว้เพื่อตรวจสอบ 

ณัฐกานต์ ระบุว่า ตนกับสามีเคยมีปัญหาส่วนตัวกับผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นแฟนกับสามีตน โดยสามีตนได้เลิกรากับผู้ชายคนดังกล่าวไปได้ประมาณ 2 เดือน และยังเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทจนมีการแจ้งความดำเนินคดีกันมาแล้วก่อนหน้านี้ จึงเชื่อว่าจะต้องเป็นฝีมือของผู้ชายคนนี้อย่างแน่นอน เพราะตนเองไม่เคยมีปัญหาขัดแย้งกับใคร ส่วนภาพใบหน้าของตนนั้น เชื่อว่าเขาจะต้องไปก๊อปปี๊ภาพมาจากในเฟซบุ๊กของคนที่เป็นเพื่อนกับตนอย่างแน่นอน

ทางด้านเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน สภ.กันตัง หลังสอบปากคำ ณัฐกานต์ แล้ว จึงได้เดินทางไปนำตัว นินทร์ (นามสมมติ) อายุ 29 ปี อดีตแฟนของสามีณัฐกานต์มาสอบสวนที่ สภ.กันตัง โดยเบื้องต้น นินทร์ ให้การปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้กระทำ เจ้าหน้าที่จึงยึดโทรศัพท์มือถือไว้ตรวจสอบและปล่อยตัวไปก่อน โดยยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาใดๆ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวน และหาพยานหลักฐาน

ขณะเดียวกันก็ยังจะต้องนำตัวผู้ต้องสงสัย และพยานรายอื่นๆ ประมาณ 3-4 คน มาสอบปากคำด้วย เพื่อหาหลักฐานติดตามหาตัวมือโพสต์ต่อไป เนื่องจากเขาข่ายกระทำความตามมาตรา 112 และกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550

กมล ประเสริฐกุล นายอำเภอกันตัง ในฐานะเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้ลงมาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วยตนเองถึงกรณีที่เกิดขึ้นว่า สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นผู้เสียหายได้มาแจ้งความร้องทุกข์เอาไว้ โดยทางตำรวจหาพยานหลักฐานผู้ที่ต้องสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวได้กระทำผิดหรือไม่ ซึ่งทราบว่าในเบื้องต้น เจ้าตัวได้ปฏิเสธ โดยผู้เสียหายต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษเพราะอยู่ในเขตเมืองกันตัง ซึ่งเป็นห่วงในเรื่องของความปลอดภัย เพราะอาจมีคนจำนวนมากโกรธเคือง และสร้างความไม่พอใจได้ต่อกระแสที่ถูกแชร์ออกไป จึงได้มอบหมายให้ทางอำเภอและฝ่ายความมั่นคงติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตามแนวประชารัฐ ครม.ไฟเขียวทุ่มงบ 1.8 หมื่นล้านให้หมู่บ้านละ 2.5 แสน

0
0

ครม. มีมติเห็นชอบโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ 18,760 ล้านบาท พัฒนาความเข้มแข็งกว่า 74,000 หมู่บ้าน ราว 250,000 บาทต่อหมู่บ้าน 

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล  พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย ครม. มีมติเห็นชอบโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐประจำปีงบประมาณ 2560 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ กค. กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไป  

กค. รายงานว่า โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐประจำปีงบประมาณ 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ภูมิภาคผ่านโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้าน หรือการดำเนินกิจการสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายมีจำนวน 74,655 หมู่บ้าน ระยะเวลาดำเนินโครงการประมาณ 3 เดือน โดยให้ มท.เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ และขั้นตอนการดำเนินโครงการ

โดย พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางประชารัฐประจำปีงบประมาณ 2560 และอนุมัติงบกลางสำรองจ่าย 18,760 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ พัฒนาความเข้มแข็งกว่า 74,000 หมู่บ้าน ราว 250,000 บาทต่อหมู่บ้าน พร้อมขยายระยะเวลาจัดทำแผนงานจาก 2 เดือน เป็น 3 เดือน

ทั้งนี้ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยอีกว่า โครงการนี้ใช้งบประมาณกลางปี 2560 เดือน พ.ย.ปี 2559 ถึง ม.ค.ปี 2560 โดยนายกรัฐมนตรีย้ำว่า ขออย่าไปจัดซื้อครุภัณฑ์ เพราะเงินจะไม่กระจายลงพื้นที่ หรือสิ่งใดถ้ามีงบประมาณประจำปีอยู่แล้ว อย่าไปทำ เพราะจะซ้ำซ้อน เพื่อจะต่อยอดอาชีพได้

 

ที่มา เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลและมติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิษณุยันไม่เลื่อนโรดแมปเลือกตั้ง

0
0
26 ต.ค. 2559 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เรื่องโรดแมปเลือกตั้งในขณะนี้ยังไม่ถือว่ามีการเลื่อนใดๆ เกิดขึ้น เพราะถ้าไม่ยึดตามนี้จะมีคนคอย อยากเลื่อน ซึ่งยืนยันว่าไม่เลื่อน ส่วนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญ คือมีเวลา 90 วัน เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาแล้วเสร็จก่อนส่งมายังรัฐบาล รัฐบาลก็ยังมีเวลา 20 วัน ในการนำความขึ้นกราบบังคมทูล จึงไม่มีปัญหา
 
"ตรงนี้มีการประสานเป็นการภายในแล้วว่ากิจการใดเร่งด่วนให้เสนอไปตามขั้นตอน หากไม่เร่งด่วนก็ทำตามกรอบเวลา" วิษณุ กล่าว
 
โดยวานนี้ (25 ต.ค.59) ศ.กิลเลียน ทริกส์ (Prof. Gillian Triggs) ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย เข้าพบ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ณ ห้องรับรอง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ในโอกาสเยือนไทยระหว่างวันที่ 25– 27 ต.ค. 2559 เพื่อเข้าร่วมการประชุม Asia – Pacific Forum on National Human Rights Institutions – NHRIs
ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย เข้าพบ วิษณุ เครืองาม (ที่มาภาพ เว็บทำเนียบรัฐบาล)
 
วิษณุ ได้ชี้แจงถึงสถานการณ์เมืองไทยและการดำเนินการตาม Roadmap พร้อมยืนยันว่าทุกอย่างกำลังเดินหน้าตามกรอบเวลาที่ได้วางไว้ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานี้เป็นระยะเวลาพิเศษ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในประเทศ ซึ่งฝ่ายออสเตรเลียเข้าใจสถานการณ์ประเทศไทยในขณะนี้ สำหรับประเด็นที่ฝ่ายออสเตรเลียให้ความสนใจ คือ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนด้านสังคม (Social Human Rights) การต่อต้านการค้ามนุษย์และการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ พร้อมชื่นชมบทบาทของไทยและแสดงความต้องการที่จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ในระดับภูมิภาคภายใต้กรอบอาเซียนด้วย
 
นอกจากนี้ ศ.กิลเลียน ทริกส์ ได้กล่าวถึง ความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลียและไทย โดยการเดินทางมาเยือนไทยครั้งนี้ เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสององค์กรผ่านการทำ work shop  ทั้งนี้ ในปัจจุบัน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย ต้องการส่งเสริมความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องนี้  เนื่องจาก พบว่า ในหลายกรณีมีการกระทำที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อลูกจ้างทั่วโลก ทั้งจากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในส่วนของประเทศไทย รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเป็นองค์กรอิสระที่ทำงานเชิงรุก โดยในช่วงทีผ่านมา รัฐบาลได้รับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ ในหลายโอกาส และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเอง ก็ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้ และได้เคยสั่งการให้หน่วยงานภาครัฐของไทยทำงานร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอย่างใกล้ชิดเพื่อรับฟังความต้องการและชี้แจงการทำงานระหว่างกัน โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดการประชุมระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไทยด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนทางสังคม (Social Human Rights) โดยเฉพาะแก่ผู้ด้อยโอกาส สิทธิเด็กและสตรี คนทุพพลภาพ รวมถึงสิทธิของผู้สูงอายุ ซึ่งออสเตรเลียเห็นพ้องและชื่นชมบทบาทของไทยในด้านนี้
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: วิเคราะห์คดีน้องคาร์เมน-LGBT ครอบครัวต้องห้าม?

0
0

วิเคราะห์คดีน้องคาร์เมน ศาลพิจารณาจากผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นที่ตั้ง นักวิชาการชี้ไม่ช่วยสร้างบรรทัดฐานด้านสิทธิในการมีครอบครัวของ LGBT ขณะที่สังคมยังติดกับมายาคติเรื่องครอบครัวที่สมบูรณ์ พ่อ-แม่-ลูก LGBT เลี้ยงเด็กไม่ได้ เร่งผลักดันกฎหมายคู่ชีวิตเพื่อสิทธิการสร้างชีวิตคู่ที่เท่าเทียม

ครอบครัวของน้องคาร์เมน ภาพจาก http://socialnews.teenee.com/penkhao/2244.html

คดีน้องคาร์เมนที่ใช้เวลาไต่สวนยืดเยื้อกว่า 1 ปี ซึ่งในที่สุดก็จบลงตามที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้ตัดสินให้ฝ่ายผู้ร้องที่เป็นคู่รักชายรักชายชาวต่างประเทศได้รับสิทธิในการดูแลน้องคาร์เมน

ส่วนหนึ่งของเนื้อหาคำพิพากษาระบุว่า อีกทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการไต่สวนพยานผู้ร้องก็รับฟังได้ว่า ผู้ร้องอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงด้วยความรักและเอาใจใส่ และถึงแม้ผู้ร้องเป็นคนรักร่วมเพศ แต่ความเป็นคนรักร่วมเพศมิใช่อุปสรรคที่จะทำให้ผู้ร้องไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงให้ได้รับความสุขและความอบอุ่นเท่ากับเด็กอื่นๆ

คำถามที่ตามมาคือ คำพิพากษาครั้งนี้ได้วางบรรทัดฐานบางประการเกี่ยวกับประเด็นสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศในการมีบุตรหรือไม่ เกิดแรงกระเพื่อมต่อนิยามความเป็นครอบครัว ความเป็นพ่อ-แม่จากคำพิพากษานี้หรือไม่ และสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศในการสร้างครอบครัวที่แตกต่างจากนิยามเดิมๆ เปิดกว้างขึ้นหรือไม่

‘ครอบครัวมายาคติที่ถึงเวลาต้องเปลี่ยน

มัจฉา พรอินทร์ ผู้อำนวยการโครงการสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน นักศึกษาปริญญาโท สาขาสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในฐานะหญิงรักหญิงที่รับเลี้ยงหลานสาวแท้ๆ ของเธอในฐานะลูก กล่าวว่า ตนดีใจกับคู่รักที่ได้รับสิทธิการเลี้ยงดูน้องคาร์เมน เพราะเธอมีทัศนะว่าใครก็ตามที่มีความตั้งใจที่จะเลี้ยงดูลูก สังคมควรต้องเคารพสิทธินี้ ไม่ว่าเขาจะมีความหลากหลายทางเพศหรือไม่ เนื่องจากเหตุแห่งเพศย่อมไม่ใช่เหตุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ

“กรอบเรื่องครอบครัวคือมีพ่อ แม่ และลูก และต้องอบอุ่นด้วย แต่จริงๆ ครอบครัวมีความซับซ้อนมาก หมายความว่าหลายครอบครัวไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย เช่น ครอบครัวที่มีเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือบางครอบครัวก็มีความรุนแรงในครอบครัว ภาพมายาคตินี้มันทำให้คนจำนวนมากรู้สึกว่าไม่ Fit In และไม่สามารถเป็นไปตามอุดมคติได้ แต่สำหรับเรา นิยามของครอบครัวมันเป็นได้หลากหลายกว่านั้น

“LGBT (หมายถึงกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ L-Lesbian, G-Gay, B-Bisexual และ T-Transgender) ลึกๆ แล้วหลายครอบครัวไม่ได้ยอมรับในอัตลักษณ์และรสนิยมทางเพศเขา แปลว่าพ่อแม่จำนวนมากที่มีลูกเป็น LGBT ก็รักลูกแบบครอบครัวอื่นๆ แต่ไม่สามารถยอมรับอัตลักษณ์ของลูกได้ หรือบางคนยอมรับสิ่งที่ลูกเลือก ลูกเป็น แต่ก็ไม่ยอมรับคู่ชีวิตของลูก เพราะมีมายาคติ ว่าคนที่มีความหลากหลายทางเพศไม่น่าจะอยู่ด้วยกันได้ ทำให้ LGBT จำนวนมากไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้ หลายคนต้องออกไปจากครอบครัว ซึ่งเมื่อออกไปแล้วก็พบว่าสามารถสร้างความหมายใหม่ได้ เป็นครอบครัวที่เรารู้สึกจริงๆ คือเราเจอคนกลุ่มหนึ่งที่เราสามารถสร้างนิยามความหมายร่วมกัน รู้สึกเป็นครอบครัว ดูแลกัน แบ่งปันกัน รู้สึกอบอุ่นที่ได้อยู่ด้วยกัน”

สอดคล้องกับความเห็นของสุชาดา ทวีสิทธิ์ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมเพศวิถีศึกษา ที่เห็นว่ามายาคติเรื่องครอบครัวที่สมบูรณ์ที่มีพ่อ-แม่-ลูกสร้างแรงกดทับทั้งต่อผู้ชายและผู้หญิง และแน่นอนว่าต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย เนื่องจากในยุคปัจจุบันนิยามความเป็นครอบครัวลื่นไหลและหลากหลายไปจากเดิมมาก

ศาลพิจารณาบนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดที่เด็กจะได้รับ

ปัจจุบัน ในทางปฏิบัติคู่รักเพศเดียวกันจำนวนมากอยู่กินและสร้างครอบครัวกันอย่างเปิดเผย แม้ว่าในทางกฎหมายจะยังไม่รองรับสิทธิดังกล่าว เมื่อผลคดีน้องคาร์เมนออกมาในลักษณะดังกล่าว จึงเกิดการตื่นตัวว่าคำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางน่าจะช่วยสร้างบรรทัดฐานใหม่ในมิติด้านสิทธิให้แก่คนหลากหลายทางเพศ

ทว่า มันอาจจะเร็วเกินไปที่สรุปเช่นนั้น

สุชาดา กล่าวว่า ต้องขอชื่นชมคณะผู้พิพากษาชุดนี้ที่ค่อนข้างใจกว้าง แม้ว่าสิ่งที่เน้นจะเป็นเพื่อประโยชน์และสิทธิของเด็กเป็นสำคัญ แม้ว่าทัศนคติแบบอนุรักษ์นิยมเรื่องครอบครัวของสังคมไทยยังมองว่าคนรักเพศเดียวกันไม่สามารถเลี้ยงเด็กได้ เพราะจะทำให้เด็กมีปัญหา เกิดปมด้อย แต่คณะผู้พิพากษาชุดนี้ก็ยอมรับครอบครัวคนรักเพศเดียวกัน จึงยอมให้เด็กอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองซึ่งเป็นชายรักชาย

"วันหนึ่งต้องเดินทางไปต่างประเทศ รู้เลยว่าถ้าเราเสียชีวิต แฟนเราจะไม่ได้สิทธิดูแลลูกเรา เพราะแฟนเราไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือด ทำให้ตระหนักเลยว่าถ้าเราเป็นอะไรไป สองคนนั้นจะไม่ได้อยู่ด้วยกันทั้งที่เขาก็รักกันมากและเป็นแม่ลูกกัน"

แต่นี่อาจไม่ได้สร้างบรรทัดฐานใดๆ สำหรับการตัดสินในกรณีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อมิติด้านสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ต้องการสร้างครอบครัว

“แต่มันก็ไม่ได้เป็นมาตรฐานของการตัดสิน เพราะเขาตัดสินตามบทเฉพาะกาลมาตรา 56 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ พ.ศ.2558 ที่บอกว่าให้ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. นี้ประกาศใช้ กรณีน้องคาร์เมนเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ เพราะฉะนั้นการใช้ดุลยพินิจของศาลก็จะเป็นกรณีๆ ไป โดยเอาประโยชน์ของเด็กเป็นที่ตั้ง ซึ่งจะไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานคำพิพากษาได้ ถ้าหากเราจะบอกว่าคำพิพากษานี้จะเป็นมาตรฐานต่อไป ถ้ามีปัญหากรณีเดียวกัน มีผู้ชายรักเพศเดียวกันมาฟ้องเพื่อเป็นผู้ปกครองเด็กที่เกิดจากอสุจิของคนใดคนหนึ่ง คณะผู้พิพากษาอื่นเมื่อมองสภาพแวดล้อมแล้ว เขาอาจไม่ตัดสินแบบนี้ก็ได้ เขาอาจใช้ดุลยพินิจต่างก็ได้ ซึ่งคิดว่ามีความเป็นไปได้”

สุชาดาขยายความว่า กรณีน้องคาร์เมนก็มีการดูข้อเท็จจริงหลายอย่าง เช่น การเปรียบเทียบระหว่างแม่ที่อุ้มบุญมาแต่ไม่มีความเชื่อมโยงทางพันธุกรรมกับพ่อซึ่งมีความเชื่อมโยงทางพันธุกรรม การที่พ่อสามารถดูแลเด็กได้ดี ดูสถานะทางเศรษฐกิจ ดูความเป็นไปได้ที่เด็กจะเติบโตมาในครอบครัวหรือสถานะครอบครัวที่จะสนับสนุนให้เด็กได้รับประโยชน์สูงสุดได้ กล่าวคือคำตัดสินนี้วางอยู่บนพื้นฐานที่อิงกับประโยชน์สูงสุดที่เด็กจะได้

ขณะที่ถ้าเป็นคู่ชายรักชายที่ไม่มีความเกี่ยวพันทางพันธุกรรมแบบในกรณีน้องคาร์เมน ไม่ได้มีสถานะทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ศาลเห็นว่าเด็กจะได้รับประโยชน์สูงสุดในอนาคต และมองว่าแม่อุ้มบุญอาจมีสถานะที่ดีกว่า เด็กจะได้ประโยชน์มากกว่า ก็อาจจะตัดสินให้แม่อุ้มบุญเป็นฝ่ายชนะ ขึ้นอยู่ที่สภาพข้อเท็จจริง โดยศาลจะพิจารณาประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นหลัก

กรณีน้องคาร์เมนไม่ได้ยืนยันสิทธิของคู่รักเพศเดียวกันในการมีครอบครัว

“ถ้าเกิดหลังการใช้กฎหมายอุ้มบุญ ซึ่งการจ้างอุ้มบุญถือว่าผิดกฎหมาย การนับญาติทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความประสงค์จะทำอุ้มบุญ คู่สามีภรรยาจะต้องแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าในคู่ที่เป็นคนต่างชาติก็จะต้องจดทะเบียน อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่ได้อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันทำอุ้มบุญได้ในกฎหมายฉบับนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเด็กเกิดมา คู่สามีภรรยาที่ต้องการอุ้มบุญสามารถดำเนินตามกระบวนการกฎหมายและให้ผู้หญิงที่เป็นญาติมาอุ้มบุญ ถ้าฟ้องร้องกัน เด็กจะต้องเป็นสิทธิของพ่อแม่ที่ตั้งใจจะมีลูกและเป็นเจ้าของพันธุกรรม

“ดิฉันไม่คิดว่าจะเป็นบรรทัดฐานให้ได้ เพราะว่าเขาใช้บทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ.อุ้มบุญ และศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ใช้ ซึ่งพิจารณาบนประโยชน์ของเด็กเป็นที่ตั้ง แต่ผู้พิพากษาคณะนี้ไม่ได้มีอคติต่อครอบครัวคนรักเพศเดียวกัน ที่มองว่าคู่รักเพศเดียวกันไม่สามารถมีลูก หรือสร้างครอบครัวได้ หรือไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้ดีได้ แต่ถ้าผู้พิพากษาคณะอื่นมีอคติต่อคนรักเพศเดียวกัน เขาก็อาจจะตัดสินอีกแบบก็ได้”

กล่าวโดยสรุปอีกครั้งก็คือ คำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางกรณีน้องคาร์เมน ศาลพิจารณาอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเด็กจะได้รับประโยชน์สูงสุด มิได้พิจารณาบนฐานของสิทธิของคู่รักที่เป็นเพศเดียวกันแต่อย่างใด

ขณะที่มัจฉาก็ตั้งคำถามผ่านมิติของความเหลื่อมล้ำในทำนองเดียวกันว่า สิ่งที่ตนสนใจคือถ้าผู้ร้องไม่ใช่คนผิวขาว เป็นคนข้ามเพศ อยู่ในประเทศไทย และอาจจะไม่ได้มีฐานะดี คำตัดสินจะเป็นอย่างที่ปรากฏหรือไม่ ดูเหมือนว่านี่จะเป็นอภิสิทธิ์ที่ซ้อนอยู่ในสังคม พ่อแม่หลากหลายทางเพศต้องมีฐานะดีเท่านั้นหรือจึงจะได้รับเลี้ยงลูก เธอเชื่อว่าคนหลากหลายทางเพศสามารถเลี้ยงดูลูกได้ และไม่จำเป็นต้องวางอยู่บนเงื่อนไขว่าต้องมีฐานะดี แต่ต้องใช้มาตรฐานเดียวกันว่า พ่อแม่หลากหลายทางเพศไม่ว่าจะเป็นใครที่มีความตั้งใจอยากดูแลลูก เขาก็ต้องได้รับสิทธิในการดูแลลูก

คู่รักเพศเดียวกันเลี้ยงเด็ก เด็กจะมีปัญหา?

มัจฉาเชื่อว่า ความหลากหลายทางเพศไม่ใช่ข้อจำกัดใดๆ ต่อการให้ความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลลูก ความเข้าใจกรอบเรื่องเพศต่างหากที่ทำให้เธอสามารถเลี้ยงดูลูกสาวของเธอได้อย่างไม่ตีกรอบผ่านเพศที่สังคมวางเอาไว้

“ลูกสาวเราหรือเด็กที่อยู่ในครอบครัวแบบนี้ เขาก็จะไม่มีกรอบว่าขึ้นต้นไม้ไม่ได้หรือเรียนมวยไทยไม่ได้ เขาก็จะสามารถเป็นตัวของตัวเองได้และดึงศักยภาพของตัวเองออกมา เขาจะกลายเป็นคนมั่นคง ไม่ต้องพึ่งพิงใคร”

ประเด็นหนึ่งที่คนภายนอกมักจะวิตกกังวลแทนครอบครัวหลากหลายทางเพศก็คือ จะทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อย ถูกล้อล้อเลียนหรือกลั่นแกล้ง ซึ่งมัจฉาเห็นว่า ประเด็นนี้เป็นปัญหาของมาระบบการศึกษาที่ไม่มีความเข้าใจ ไม่ตระหนัก ไม่ระมัดระวัง และไม่ได้สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรต่อความแตกต่างหลากหลายในห้องเรียน เด็กชาติพันธุ์ เด็กพิการ หรือมีบุคลิกภาพที่แตกต่างหลากหลาย เด็กที่มีขนาดของร่างกายต่างๆ กัน ก็มักจะถูกล้อเลียน รังแกอยู่เสมอ ดังนั้น

“สิ่งที่เราต้องจัดการไม่ใช่ว่าลูกเราจะถูกรังแกมั้ย แต่เราต้องกลับไปตั้งคำถามว่าเราอยู่ในสังคมและระบบการศึกษาที่มีวิธีคิดอย่างไร จึงปล่อยให้เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาจำนวนมากถูกล้อเลียนรังแก ซึ่งทางออกที่เราจะเสนอคือ ระบบการศึกษา ซึ่งหมายถึงโรงเรียน ครู และเด็ก จะต้องอยูในบรรยากาศที่ปลอดภัย แปลว่าต้องไม่มีการล้อเลียน รังแก และทำโทษ เพื่อเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ การตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนและความแตกต่างหลากหลาย เคารพในเนื้อตัวร่างกายและวิธีคิดที่แตกต่างกัน”

‘กฎหมายคู่ชีวิตเพราะการสร้างครอบครัวเป็นสิทธิของทุกคน

ชีวิตครอบครัวของคนหลากหลายทางเพศทุกวันนี้ยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรคจากกรอบกฎหมายที่ดำรงอยู่ ในกรณีของมัจฉาและคู่ชีวิต เธอเล่าว่า ห้วงเวลาแรกๆ ที่คบหากัน พวกเธอไม่คิดว่ากฎหมายจะมีความสำคัญอะไรต่อการใช้ชีวิตคู่ ภายหลังเมื่อเริ่มก่อร่างทรัพย์สินด้วยกัน จากสิ่งของที่เคยเป็นของ ‘ฉัน’ หรือของ ‘เธอ’ เปลี่ยนเป็นของ ‘เรา’ จึงทำให้รู้ว่า หากใครคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต ด้วยความที่กฎหมายยังไม่ยอมรับรูปแบบการใช้ชีวิตคู่ของคู่รักเพศเดียวกัน คนที่ยังมีชีวิตอยู่จะไม่มีสิทธิใดๆ ในทรัพย์สินที่สร้างร่วมกันมา เพราะถือว่าไม่ใช่ ‘คู่ชีวิต’ นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างเท่านั้น ส่วนในกรณีการเลี้ยงดูบุตร...

“พอเรามีลูก ตอนแรกเราก็รู้สึกว่าไม่มีปัญหาอะไรหรอก ถึงแม้เราจะไม่สามารถรับเขาเป็นลูกบุญธรรมได้ เพราะเรารักกันมาก แต่ปรากฏว่าวันหนึ่งต้องเดินทางไปต่างประเทศ รู้เลยว่าถ้าเราเสียชีวิต แฟนเราจะไม่ได้สิทธิดูแลลูกเรา เพราะแฟนเราไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือด ทำให้ตระหนักเลยว่าถ้าเราเป็นอะไรไป สองคนนั้นจะไม่ได้อยู่ด้วยกันทั้งที่เขาก็รักกันมากและเป็นแม่ลูกกัน

“หนักกว่านั้นคือเราวางแผนจะพาลูกไปต่างประเทศ แต่ปรากฏว่ากระบวนการที่จะพาเด็กคนหนึ่งออกนอกประเทศจะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าคุณไม่สามารถหาพ่อแม่เด็กมาเซ็นต์เอกสารและต้องทำเอกสารเยอะแยะมากมาย เราจะไม่สามารถพาลูกเดินทางไปต่างประเทศด้วยได้ ถ้าเจี๊ยบไม่มีสิทธิเป็นครอบครัวโดยชอบธรรม แต่ก็อาจพูดได้ว่าก็ให้เขาเซ็นต์เอกสารอนุญาตให้พาไปได้มั้ย มันก็พอได้ แต่ประเด็นในกรณีของเรา แม่ (หมายถึงแม่ผู้ให้กำเนิด) ของลูกสาว เขาก็ไม่ได้อยู่ด้วยกัน ก็ไม่สามารถให้เขามาเซ็นต์เอกสารได้ จึงทำให้เราตระหนักว่าเราไม่มีสิทธิทำอะไรเลยในเรื่องเอกสารของลูก”

นี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่การผลักดัน ‘กฎหมายคู่ชีวิต’ ให้มีผลบังคับใช้เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้คนทุกคนไม่ว่าจะมีเพศสภาพหรือเพศวิถีแบบใด หากต้องการสร้างครอบครัวร่วมกันย่อมสามารถทำได้ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากกฎหมายของรัฐ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ไฟเขียวซื้อหุ้นถ่านหินอินโดฯ 1.17 หมื่น ล.

0
0

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ กผฝ.อินเตอร์ ซื้อหุ้นถ่านหิน 1.17 หมื่นล้านบาทจากบริษัท Adaro Indonesia ยักษ์ใหญ่ในอินโดนีเซีย ด้าน กพร. เตรียมเดินหน้าเปิดเหมืองใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2559 สำข่าวสิ่งแวดล้อม Green News TVรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มติเห็นชอบให้บริษัท กฟผ.อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด (EGATi) บริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทอะดาโร (Adaro Indonesia : AI) ซึ่งประกอบกิจการเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่และส่งออกถ่านหินมากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศอินโดนีเซีย ในสัดส่วน 11-12%

ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนจะไม่เกิน 325 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่เกิน 11,700 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เงินลงทุนจากรายได้ของกฟผ.ไม่เกิน 164 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่เกิน 5,904 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 161 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้ใช้เงินปันผลที่ได้รับจากการเข้าไปถือหุ้นในบริษัท AI

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยืนยันว่าการเข้าไปลงทุนในบริษัท AI ครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นการลงทุนเพื่อนำเข้าถ่านหินจากอินโดนีเซียมาผลิตไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ.2558-2579 (พีดีพี 2015) ตามที่หลายฝ่ายกังวลแต่อย่างใด แต่เป็นการลงทุนตามปกติของ กฟผ.

“ขอให้ทุกฝ่ายอย่าวิตกกังวล เพราะการจะดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินหรือไม่นั้น ต้องตกลงกับคนในพื้นที่ให้ลงตัวก่อน ขณะเดียวกันเวลานี้มีเทคโนโลยีที่พัฒนาไปมากแล้ว ยืนยันว่าไม่ได้ผลีผลามใดๆ เป็นเพียงการลงทุนตามปกติเท่านั้น”โฆษกรัฐบาล กล่าว

พ.อ.หญิง ทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ยังเห็นชอบให้ บริษัท EGATi ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่าย พร้อมทั้งให้ กฟผ.เพิ่มทุนให้บริษัท EGATi เพื่อลงทุนในเรื่องดังกล่าว

วันเดียวกัน เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) โดย สมบูรณ์ ยินดียั่งยืน รองอธิบดี กพร. รักษาราชการแทนอธิบดี กพร. ได้หารือร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4) เพื่อหาแนวทางพัฒนาแหล่งแร่ในภาคใต้ให้เกิดกิจกรรมการทำเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่เป้าหมายหลัก

นายสมบูรณ์ กล่าวว่า หากมีการพัฒนาแหล่งแร่ในพื้นที่ดังกล่าวจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนและชุมชนในพื้นที่ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหากดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายหลักสำเร็จ ก็จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

ทั้งนี้ ศักยภาพแร่ในพื้นที่ภาคใต้ อาทิ แร่ดีบุก ดินขาว ทองคำ ควอตซ์ ทรายแก้ว วุลแฟรม แมงกานีส ฯลฯ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

5 องค์กรสิทธิห่วง 4 ประเด็นใน 'ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมฯ'-เรียกร้อง สนช.ไม่เห็นชอบ

0
0

26 ต.ค. 2559 องค์กรสิทธิมนุษยชน 5 แห่งออกแถลงการณ์ร่วมระบุว่า เนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ไม่ตอบสนองต่อข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนใน 4 ประเด็นใหญ่ พร้อมเรียกร้อง สนช.ไม่เห็นชอบร่างแก้ไขดังกล่าว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) อินเตอร์เนชั่นแนล เฟเดอเรชั่น ฟอร์ ฮิวแมนไรท์ (International Federation for Human Rights) องค์กรฟอร์ติฟาย ไรท์ (Fortify Rights) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists) และลอว์เยอร์ ไรท์ วอทช์ แคนาดา (Lawyers Rights Watch Canada) เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ของไทย พิจารณาไม่เห็นชอบต่อเนื้อหาที่เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และให้ดำเนินการแก้ไขให้มีเนื้อหากฎหมายที่สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งพันธกรณีที่จะต้องเคารพสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความเป็นส่วนตัว

โดยทั้ง 5 องค์กรระบุว่าหากทาง สนช.เห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ถูกเสนอแทนที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ กลับจะทำให้ข้อบกพร่องเดิมของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เลวร้ายลงกว่าเดิมและหากเนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้รับการอนุมัติจะเกิดการคุกคามมากยิ่งขึ้นต่อการใช้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและการจัดกิจกรรมอย่างสงบของบุคคล สถาบัน และหน่วยงานธุรกิจต่างๆ
           
สำหรับเนื้อหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และบทแก้ไขเพิ่มเติมที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสนช. ที่ทางองค์กรสิทธิมนุษยชนดังกล่าวมีความกังวลเป็นพิเศษได้แก่ การกำหนดโทษอาญาต่อผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เนื่องจากการแสดงออกที่ควรได้รับการคุ้มครอง ความรับผิดของผู้ให้บริการ สิทธิความเป็นส่วนตัวถูกละเมิดและการเซ็นเซอร์ที่ทำได้สะดวกขึ้น

 


ประเทศไทย: เนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ไม่ตอบสนองต่อข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชน

กรุงเทพฯ 25 ตุลาคม 2559

พวกเราซึ่งเป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศตามรายนามที่ลงชื่อแนบท้ายนี้ขอเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ของไทย พิจารณาไม่เห็นชอบต่อเนื้อหาที่เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และให้ดำเนินการแก้ไขให้มีเนื้อหากฎหมายที่สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งพันธกรณีที่จะต้องเคารพสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความเป็นส่วนตัว

ในช่วงสองปีที่ผ่านมามีการฟ้องร้องดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามข้อมูลของสำนักงานศาลยุติธรรมซึ่งมอบให้กับองค์กรฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights) มีข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ที่เข้าสู่การพิจารณาคดีของศาล 399 ข้อกล่าวหา นับตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2559 เปรียบเทียบกับปี 2558 ที่มี 321 ข้อกล่าวหา ปี 2557 มี 71 ข้อกล่าวหา ปี 2556 มี 46 ข้อกล่าวหา ปี 2555 มี 13 ข้อกล่าวหาและหกข้อกล่าวหาในปี 2554

ปัจจุบันมีการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯอย่างสม่ำเสมอและอย่างไม่เป็นที่ยอมรับ เพื่อจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและความคิดเห็น ตลอดจนการใช้เพื่อคุกคามและลงโทษนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และผู้สื่อข่าว จากสถิติของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนหรือ iLaw ระบุว่าระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 ถึงธันวาคม 2557 มีการฟ้องคดีอาญาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 277 ครั้ง โดยมีเพียง 22% ที่เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ตามความหมายโดยทั่วไป เช่น การเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนอีก 78% ของคดีเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีลักษณะดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท

หากทาง สนช.เห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ถูกเสนอ แทนที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ กลับจะทำให้ข้อบกพร่องเดิมของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เลวร้ายลงกว่าเดิมและหากเนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้รับการอนุมัติจะเกิดการคุกคามมากยิ่งขึ้นต่อการใช้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและการจัดกิจกรรมอย่างสงบของบุคคล สถาบัน และหน่วยงานธุรกิจต่างๆ

เรามีความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเนื้อหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และบทแก้ไขเพิ่มเติมที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสนช. ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

1)  การกำหนดโทษอาญาต่อผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เนื่องจากการแสดงออกที่ควรได้รับการคุ้มครอง
เนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯยังคงกำหนดโทษอาญาสำหรับการละเมิดกฎหมายนี้ และไม่มีการแก้ไขระวางโทษที่ไม่ชอบธรรมต่อผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งกำหนดโทษจำคุกเป็นเวลานานต่อการกระทำของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยที่จริงแล้วอาจเป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

มาตรา14 (1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯกำหนดระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีที่มีการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ “ปลอม” หรือ “เท็จ” “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการใช้ประโยชน์โดยพลการจากเนื้อหาที่กว้างขวางและกำกวมของข้อบัญญัตินี้เพื่อปราบปรามผู้สื่อข่าว นักปกป้องสิทธิมนุษยชนไปจนถึงบุคคลซึ่งทำงานสำคัญเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารและเพื่อรณรงค์ให้มีการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ มักมีการใช้ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาทหรือการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพประกอบกับข้อหาตามมาตรา14(1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมที่กำหนดขอบเขตเนื้อหาชองมาตรา 14 (1) ให้แคบลงอย่างมากเพื่อป้องกันไม่ให้มีการบังคับใช้กฎหมายนี้กับคดีประเภทดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่เมื่อเร็วๆ นี้ สนช. กลับแสดงท่าทีว่าจะกำหนดให้มีเนื้อหาที่กว้างอยู่ตามเดิม

กฎหมายที่เอาผิดทางอาญากับการแสดงออกอย่างสงบซึ่งได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก รวมทั้งกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา ล้วนไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยที่มีต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามกติกา ICCPR ได้แสดงข้อกังวลเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นประมาทซึ่งกำหนดความผิดทางอาญาหรือถูกใช้เพื่อลงโทษบุคคลที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ระบุว่าคำว่าประโยชน์สาธารณะสำหรับบางกรณีอาจถือเป็นข้อต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิในการแสดงออก “กรณีที่เป็นความเห็นเกี่ยวกับบุคคลสาธารณะเป็นอย่างน้อย และควรพิจารณาหลีกเลี่ยงการลงโทษหรือการตัดสินว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่เป็นการตีพิมพ์เผยแพร่ข้อความที่ผิดพลาดโดยปราศจากเจตนาร้าย” คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ยังย้ำด้วยว่า “โทษจำคุกไม่อาจถือได้ว่าเป็นบทลงโทษที่เหมาะสมเลย” สำหรับคดีหมิ่นประมาท

เนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา14 (2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะยิ่งขยายเนื้อหาเพื่อกำหนดโทษจำคุกเป็นเวลาไม่เกินห้าปีสำหรับบุคคลที่พบว่ามีความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ “ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ บริการสาธารณะ […] หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ความกว้างขวางและความกำกวมของถ้อยคำเหล่านี้ ทำให้มีแนวโน้มว่าทางการอาจมีการนำข้อบัญญัตินี้ไปใช้โดยมิชอบ ทั้งนี้เพื่อปราบปรามรูปแบบการแสดงออกซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศ

2) ความรับผิดของผู้ให้บริการ
เนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา15ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังคงกำหนดความรับผิดทางอาญาให้กับ “ผู้ให้บริการ” บุคคลซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ให้บริการอาจได้รับโทษจำคุกไม่เกินห้าปีกรณีที่ “ร่วมมือ ให้ความยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ” ในการกระทำความผิดตามมาตรา 14 เนื่องจากมีการนิยามคำว่า “ผู้ให้บริการ” ค่อนข้างกว้างตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯโดยหมายรวมถึงผู้ให้บริการเครือข่ายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้จัดทำเว็บไซต์ ผู้จัดทำเนื้อหา และแพลตฟอร์มทางอินเทอร์เน็ต เรียกว่าธุรกิจโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตแทบทุกด้านในไทยล้วนเสี่ยงจะได้รับโทษอาญาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ตราบใดที่มีการกำหนดนิยามหรือบังคับใช้ความผิดตามมาตรา 14 ในลักษณะที่กว้างขวางหรือกำกวมอย่างไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ความรับผิดของผู้ให้บริการอันเนื่องมาจากพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนด้วย

3) สิทธิความเป็นส่วนตัวถูกละเมิด
เนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯไม่กำหนดให้มีการคุ้มครองป้องกันการล่วงล้ำโดยพลการต่อความเป็นส่วนตัวระหว่างการสอบสวนตามข้อกล่าวหาว่าเป็นความผิดทางคอมพิวเตอร์ ข้อ17ของ ICCPR กำหนดว่า “บุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ และจะถูกลบหลู่เกียรติและชื่อเสียงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้”

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทางการเก็บพยานหลักฐานเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น โดยให้สามารถใช้วิธีการที่แตกต่างกันมากมาย ซึ่งบางกรณีจำเป็นต้องได้รับหมายจากศาล อย่างไรก็ตามมาตรา18 และ19 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังคงให้อำนาจเจ้าพนักงานสอบสวนในการเรียกตัวบุคคลหรือบังคับให้ผู้ให้บริการต้องยอมส่งมอบข้อมูลจราจรทางอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์แต่ละคน โดยไม่จำเป็นต้องมีหมายศาล ส่งผลให้ทางการสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องขออำนาจจากศาล จนถึงปัจจุบัน เนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา18 และ19 ยังไม่ได้รับการแก้ไขเพื่อตัดข้อบกพร่องเหล่านี้ ซึ่งย่อมส่งเสริมให้มีการใช้อำนาจตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยพลการและโดยจงใจ เพื่อปราบปรามนักกิจกรรม ผู้สื่อข่าว ผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและบุคคลอื่นๆ ต่อไป

ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกกล่าวไว้ในรายงานปี 2559 เกี่ยวกับภาคเอกชนและเสรีภาพในการแสดงออกในยุคดิจิทัล โดยเน้นย้ำว่า “การเรียกร้อง การร้องขอ หรือมาตรการอื่นใดเพื่อกำจัดเนื้อหาทางดิจิทัล หรือการเข้าถึงเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต หรือการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชอบ ต้องผ่านการตรวจสอบดูแลจากหน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ และต้องสะท้อนถึงช่องทางที่จำเป็นและได้สัดส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวหรืออื่นๆ โดยเป็นไปตามข้อ 19 (3) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง”

4) การเซ็นเซอร์ทำได้สะดวกขึ้น
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไม่ชอบธรรม โดยการอำนวยความสะดวกให้เจ้าพนักงานสามารถเซ็นเซอร์เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตได้

ตามเนื้อหาที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา20 ทางการจะสามารถปกปิดหรือถอดเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ที่ขัดต่อพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ละเมิดกฎหมายอาญา หรือเป็นการคุกคาม “ความมั่นคงภายในประเทศ” แม้ว่าการดำเนินการตามมาตรา 20 จำเป็นจะต้องได้รับหมายศาล แต่เนื่องจากเนื้อหาที่กว้างขวางและคลุมเครือของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯทำให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างกว้างขวางในการปราบปรามเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต ประเด็นนี้นับเป็นข้อกังวลที่สำคัญเมื่อพิจารณาว่าที่ผ่านมาทางการไทยได้ลงโทษบุคคลเนื่องจากการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการสมาคมและการชุมนุมอย่างสงบ รวมทั้งสิทธิอื่นๆ นอกจากนี้ มาตรา 20 ยังไม่ได้กำหนดให้ความเห็นชอบจากศาลต้องสิ้นสุดลงหลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่งด้วย

โทษอาญาที่รุนแรงตามที่กำหนดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังสนับสนุนให้มีการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างกว้างขวาง ซึ่งยิ่งเป็นการคุกคามต่อสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขยายความรับผิดทางอาญาของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นเหตุให้เกิดการเซ็นเซอร์เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวางมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นการจำกัดการแสดงออกของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมากขึ้นไปอีกขั้น

เราจึงขอเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่งเสริมให้ประเทศไทยปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยการไม่ให้ความเห็นชอบต่อเนื้อหาที่เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เหล่านี้ และให้มีการทบทวนแก้ไขเนื้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในลักษณะที่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยให้มีการปรึกษาหารือกับภาคประชาสังคม และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 

ลงนาม:
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International)
อินเตอร์เนชั่นแนล เฟเดอเรชั่น ฟอร์ ฮิวแมนไรท์ (International Federation for Human Rights)
องค์กรฟอร์ติฟาย ไรท์ (Fortify Rights)
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists)
ลอว์เยอร์ ไรท์ วอทช์ แคนาดา (Lawyers Rights Watch Canada)


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ ปรับแก้รายชื่อ 27 นายพล ผู้ปฏิบัติงานในคสช.

0
0

26 ต.ค. 2559 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 5/2559 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานใน คสช. เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. สั่ง ณ วันที่ 20 ต.ค.59 

โดยระบุว่า ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 93/2557 ลงวันที่ 17 ก.ค. 2557 เรื่อง การกําหนดอัตราตําแหน่ง และค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้วนั้น เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการรักษาความสงบเรียบร้อย และการสนับสนุนภารกิจการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้เปลี่ยนแปลงการแต่งตั้งบุคคลปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 15/2558 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 30 ต.ค. 2558 และคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2558 เรื่อง แก้ไขรายชื่อ ผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 24 พ.ย. 2558 เป็นดังนี้ 

1. รองเลขาธิการประจําผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จํานวน 14 ราย 
1.1 พลเอก อาทร โลหิตกุล (รองเลขาธิการฯ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) 
1.2 พลตรี อนุศิษฐ์ ศุภธนิต (รองเลขาธิการฯ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) 
1.3 พลเรือเอก บรรจบ ปรีชา (รองเลขาธิการฯ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) 
1.4 พลอากาศโท สุรศักดิ์ หมู่พยัคฆ์ (รองเลขาธิการฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) 
1.5 พลเอก มงคล เผ่าพงษ์คล้าย (รองเลขาธิการฯ พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว) 
1.6 พลเอก สถิต แจ่มจํารัส (รองเลขาธิการฯ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร) 
1.7 พลเอก เยาวดนัย ภู่เจริญยศ (รองเลขาธิการฯ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา) 
1.8 พลโท ไชยชาญ ศรีวิเชียร (รองเลขาธิการฯ พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล) 
1.9 พลเอก ธงชัย สาระสุข (รองเลขาธิการฯ พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์) 
1.10 พลเรือเอก ชุมพล วงศ์เวคิน (รองเลขาธิการ ฯ พลเรือเอก ณะ อารีนิจ) 
1.11 พลอากาศเอก อนันตศักดิ์ อะดุงเดชจรูญ (รองเลขาธิการฯ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง) 
1.12 พันตํารวจเอก รุ่งโรจน์ สายันประเสริฐ (รองเลขาธิการฯ พลตํารวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา) 
1.13 นางมยุระ ช่วงโชติ (รองเลขาธิการ ฯ นายมีชัย ฤชุพันธุ์) 
1.14 พลโท โกญจนาท ศุกระเศรณี (รองเลขาธิการฯ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท) 

2. ที่ปรึกษาประจําผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จํานวน 14 ราย 
2.1 พลเอก อมรฤทธิ์ แพทย์เจริญ (ที่ปรึกษา ฯ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) 
2.2 พลเอก ประภาณ สุวรรณวัฒน์ (ที่ปรึกษาฯ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) 
2.3 พลเรือเอก มานิตย์ สูนนาดํา (ที่ปรึกษา ฯ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) 
2.4 พลอากาศเอก วิโรจน์ นิสยันต์ (ที่ปรึกษา ฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) 
2.5 พลตํารวจตรี เกรียงศักดิ์ อรุณศรีโสภณ (ที่ปรึกษาฯ พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว) 
2.6 พลเอก ระพีศักดิ์ ธนะพัฒน์ (ที่ปรึกษา ฯ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร) 
2.7 พลโท ทรงศักดิ์ สหสมโชค (ที่ปรึกษา ฯ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา) 
2.8 พลตรี จิรวิทย์ เดชจรัสศรี (ที่ปรึกษา ฯ พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล) 
2.9 พลเอก บัณฑิตย์ บุณยะปาน (ที่ปรึกษา ฯ พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์) 
2.10 พลเรือเอก บุญชัย มรินทร์พงษ์ (ที่ปรึกษา ฯ พลเรือเอก ณะ อารีนจิ) 
2.11 พลอากาศเอก ฌเนศ ชลิตภิรัติ (ที่ปรึกษา ฯ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง) 
2.12 พลตํารวจเอก อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช (ที่ปรึกษาฯ พลตํารวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา) 
2.13 พลตํารวจโท ไพศาล เชื้อรอด (ที่ปรึกษา ฯ นายมีชัย ฤชุพันธุ์) 
2.14 พลตรี สุรชัย สินไชย (ที่ปรึกษา ฯ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท) 
3. พันเอก วินธัย สุวารี เป็น โฆษกประจําคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 
4. พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง เป็น รองโฆษกประจําคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 
5. พลตรี วิระ โรจนวาศ เป็น ประจําคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 
6. พันเอก ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ เป็น ประจําคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 
7. นายคนันท์ ชัยชนะ เป็น ประจําคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 
8. นางสาวณัชฐานันท์ รูปขจร เป็น ประจําคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เป็นต้นไป 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 20-26 ต.ค. 2559

0
0
เครือข่ายแรงงานโต้สุดฤทธิ์ ค้านมติค่าแรงขั้นต่ำไม่เป็นธรรม ปรับขึ้น 5 บาทจะกินอะไร/สภาองค์การนายจ้างฯ ยันปีนี้ยังแจกโบนัส/ออกกฎกระทรวงให้นายจ้างดูแลแรงงาน "ความร้อน-แสง-เสียง"/เศรษฐกิจซบคนแห่ขายประกันเพิ่มรายได้/9 เดือนแรกยอดขอตั้งโรงงานวูบ 17%/ก.แรงงานแจงปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ลูกจ้าง – นายจ้างอยู่ได้ เน้นไม่กระทบเศรษฐกิจสังคม/แรงงานร้องนายกฯ ขอขึ้นค่าจ้างเท่ากันทั้งประเทศ

 
กลุ่มพนักงานโรงแรม ดิแอสปาเซีย ภูเก็ต กว่า 60 คน เดือดร้อนหนัก เข้าร้องศูนย์ดำรงธรรมถูกเลิกจ้างกะทันหัน
 
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2559 ที่ผ่านมาที่ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต กลุ่มพนักงานโรงแรม ดิ แอสปาเซีย ภูเก็ต ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต จำนวน 63 คน ได้เข้าร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมภูเก็ต หลังจากเมื่อวานนี้ (18 ต.ค.) ได้รับแจ้งจากทางบริษัทเจ้าของทรัพย์สิน (The Breakers Resort & Development) ให้พนักงานทุกคนหยุดการทำงานอย่างกะทันหัน โดยอ้างว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทางโรงแรม ดิ แอสปาเซีย ภูเก็ต (The Aspasia Phuket) มีปัญหาด้านการบริหาร และไม่สามารถชำระหนี้คืนให้แก่ทางบริษัทเบรกเกอร์ ได้ ทำให้บริษัทเบรกเกอร์ต้องว่าจ้างบริษัทอื่นเข้ามาบริหารจัดการแทน
 
นายธนพงศ์ อรชร นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังพูดคุยทำความเข้าใจต่อกลุ่มพนักงานโรงแรม ดิแอสปา เซีย ภูเก็ต ถึงแนวทางปฏิบัติต่อจากนี้ ว่า สำหรับกลุ่มพนักงานดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากทางบริษัทเจ้าของทรัพย์สินไม่ให้เข้าไปทำงาน จึงได้รวมตัวกันเดินทางมายังศูนย์ดำรงธรรมภูเก็ต เพื่อขอคำปรึกษาถึงแนวทางในการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย ตนในฐานะที่ดูแลลูกจ้าง คือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต ก็มาแนะนำขั้นตอนตามกฎหมายว่าจะเดินกันอย่างไร เพราะว่าการที่จะเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย ในแง่ของกฎหมายที่ชัดเจนคือ ต้องมีการเลิกจ้าง แต่ตอนนี้การเลิกจ้างยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากยังไม่มีหนังสือเลิกจ้าง หรือยังไม่มีการเลิกจ้างด้วยวาจาจากนายจ้าง
 
เมื่อการเลิกจ้างยังไม่มีความชัดเจน ประการแรก ตนก็ได้แนะนำให้เขากลับเข้าไปทำงานตามปกติ ถ้าถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปทำงานได้ให้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจภูธรกะรน ว่า ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ ประการต่อมาคือ ให้รอครบกำหนดจ่ายค่าจ้าง คือ ภายในวันที่ 31 ต.ค.59 ถ้านายจ้างยังไม่จ่ายค่าจ้างก็จะเข้า 2 องค์ประกอบหลัก คือ ไม่ให้ทำงาน และไม่จ่ายค่าจ้าง ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแล้ว ให้ไปที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และที่ศาลแรงงานภาค 8 เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยรายได้ตามกระบวนการของกฎหมายแรงงานต่อไป
 
 
เหยื่อถุกหลอกรับงานปักแผ่นเฟรมผ่านเฟสบุ๊ค ร้องกองปราบ หลังส่งงานตามกำหนดแต่กลับถุกเบี้ยวค่าแรง
 
ผู้เสียหายกว่า 10 คน เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปราม หลังถูกหลอกให้จ่ายเงินค่ามัดจำรับจ้างปักแผ่นเฟรม ผ่านเฟซบุ๊คชื่อหวานใจปักเฟรม ซึ่งมีผู้หลงเชื่อกว่า 1,500 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท โดยผู้เสียหาย เล่าว่า ได้สมัครรับจ้างปักแผ่นเฟรมผ่านเฟซบุ๊ค เนื่องจากต้องการหารายได้เสริมจุนเจือครอบครัว โดยเสียค่าประกัน 650 บาท และจะได้ค่าจ้างถักแผ่นละ 3 บาท ซึ่งหนึ่งครั้งจะได้รับแผ่นเฟรมครั้งละ 50 แผ่นพร้อมไหมพรม และเข็มปัก ผ่านทางไปรษณีย์ และต้องทำงานครบ 20 ครั้งก่อนถึงจะได้เงินมัดจำคืน แต่เมื่อทำเสร็จกลับไม่ได้รับเงิน
 
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย ระบุว่า ค่ามัดจำมีจำนวนตั้งแต่ 650 – 2,500 บาท และหากผู้เสียหายจ่ายค่ามัดจำสูงขึ้น ผู้ต้องหาอ้างว่าจะได้รับเงินค่าปักสูงขึ้นถึงแผ่นละ 15 บาท ทำให้มีผู้เสียหายหลงเชื่อจำนวนมาก และในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ จะนำรายชื่อที่รวบรวมได้กว่า 2 แสนคนยื่นที่รัฐสภา เพื่อขอเพิ่มโทษกฎหมายตามพระราชบัญญัติการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน จากเดิม 3 ถึง 5 ปี เป็น 7 ถึง 14 ปี
 
ด้านพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้ พร้อมสอบปากคำผู้เสียหายทั้งหมด
 
 
เครือข่ายแรงงานโต้สุดฤทธิ์! ค้านมติค่าแรงขั้นต่ำไม่เป็นธรรม ปรับขึ้น 5 บาทจะกินอะไร
 
ตามที่คณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 19 มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ ในปี 2560 แบ่งค่าจ้างเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแรกไม่ขึ้นค่าจ้างใน 8 จังหวัด กลุ่มที่ 2 ขึ้นค่าจ้าง 5 บาท ใน 49 จังหวัด กลุ่มที่ 3 ขึ้นค่าจ้าง 8 บาท ใน 13 จังหวัด และกลุ่มที่ 4 ขึ้นค่าจ้าง 10 บาท ใน 7 จังหวัด นั้น
 
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม นายชาลี ลอยสูง รักษาการประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงผลการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ ของคณะกรรมการค่าจ้างว่า ทาง คสรท.และพี่น้องแรงงานต่างไม่พอใจ เพราะผลที่ออกมาทำให้เสียความรู้สึก เนื่องจาก 1.มีจังหวัดที่ไม่ได้ปรับค่าจ้าง หนำซ้ำจังหวัดที่ได้ปรับสูงสุดเพียง 10 บาท ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน และจังหวัดที่ไม่ปรับก็หนักไปอยู่ทางภาคใต้ ความจริงไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะภาคใต้มีความเป็นอยู่ลำบาก ไม่ควรไปกดค่าจ้าง ไม่เพิ่มเลย
 
“รัฐบาลบอกว่าจะพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และจะเอาเศรษฐกิจไปลงสามจังหวัดภาคใต้ แต่กลับไม่เพิ่มค่าแรงให้คนในจังหวัด แสดงว่าจะทำให้เป็นจังหวัดที่มีค่าแรงต่ำสุดหรือไม่อย่างไร แบบนี้มองได้หลายมุม เราจึงสงสัยว่าทำไมไม่ปรับให้เท่ากันทั่วประเทศ หากจะปรับ 10 บาท ก็ควรทุกจังหวัดเท่ากันก็ยังดีกว่าปรับขึ้น 5 บาท 8 บาท 10 บาท ไม่เท่ากันแต่ละจังหวัดอีก ปรับแบบนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ค่าครองชีพ ค่ากินค่าอยู่ จะทำอะไรได้” นายชาลีกล่าว
 
นายชาลีกล่าวอีกว่า 2.น่าสังเกตว่ามีการพิจารณาหลักเกณฑ์ใหม่ 10 รายการระบุกว้างๆ แต่ไม่มีรายละเอียด ซึ่งหากเป็นไปได้ควรจะชี้แจงว่า จังหวัดที่ไม่ปรับได้คะแนนเท่าไร และเกณฑ์คืออะไร และแต่ละข้อใครเป็นผู้พิจารณา นักวิชาการคนไหน ไปเอาตัวไหนเป็นตัวตั้งในการพิจารณา ซึ่งเรื่องแบบนี้มีคนตั้งข้อสังเกตเยอะ คนก็มองเรื่องความยุติธรรมหรือไม่ 3.ในเมื่อใช้คณะอนุกรรมการจังหวัดเป็นเครื่องมือมาตั้งแต่ต้น และมีการเสนอก่อนหน้านั้นว่าควรปรับ 13 จังหวัดในอัตรา 4 บาทไปจนถึง 60 บาท แต่พอมาถึงขั้นคณะกรรมการค่าจ้างกลับไม่ได้เอาข้อเสนอจากคณะอนุกรรมการจังหวัดเลย แบบนี้จะมีไปทำไม
 
“อย่างกรณีปรับขึ้น 5 บาท หากคิดจริงๆ ผ่านมา 5 ปีเพิ่งจะมาปรับค่าจ้าง ดังนั้น เราคิดเฉลี่ยแล้วตกปีละ 1 บาทเอง ถามว่าปรับเพิ่มปีละ 1 บาท ถูกต้องหรือไม่ เครือข่ายแรงงานจะมีการหารือกัน และจะทำหนังสือร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อแรงงานทุกคน” นายชาลีกล่าว
 
 
สภาองค์การนายจ้างฯ ยันปีนี้ยังแจกโบนัส
 
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงแนวโน้มการจ่ายเงินพิเศษ (โบนัส) ของห้างร้าน และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ช่วงสิ้นปี 59 ว่า ภาพรวมคาดว่า จะใกล้เคียงกับปี 58 โดยสำรวจเบื้องต้นอย่างไม่เป็นทางการส่วนใหญ่ 70% ยังจ่ายโบนัสภาพรวมเฉลี่ย 1 เดือน ซึ่งแต่ละที่จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่แต่ละกิจการเนื่องจากผลกำไรย่อมต่างกันไป
 
"ธุรกิจปีนี้ภาพรวมหลายอุตสาหกรรมก็ยังไปได้ดีแต่บางธุรกิจที่เน้นการส่งออกแม้ว่าภาพรวมส่งออกจะติดลบแต่ในแง่ของมูลค่านั้นไม่ได้ติดลบมากนักเฉลี่ยแล้วก็ใกล้เคียงกับปีก่อน เชื่อว่าธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงจ่ายโบนัสปกติที่เคยทำมาโดยมีเพียง 30% ที่จะไม่มีการจ่ายซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา"
 
สำหรับการจ้างงานใหม่ในปี 60 คาดว่า ภาพรวมในช่วงต้นปีจะยังคงทรงตัวเพื่อรอสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกให้ชัดเจนอีกครั้ง
 
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องติดตามขณะนี้ล่าสุดตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายของไทยนั้นปกติที่ผ่านมาเฉลี่ยจะอยู่ในระดับ 1.5 ล้านคนแต่ล่าสุดกลับอยู่ที่เพียง 1.178 ล้านคนตัวเลขที่หายไปกว่า 3 แสนกว่าคนนั้น คงต้องหาปัจจัยที่แท้จริงว่า เพราะเหตุใด เนื่องจากรัฐบาลเข้มงวดการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฏหมายตัวเลขควรจะเพิ่มขึ้น แต่การลดลง ก็อาจจะมองได้ว่าเป็นการปลดออกจากภาวะเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่ยังไม่ฟื้นตัวนัก โดยเฉพาะภาคการส่งออก ที่พึ่งพาแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก หรือแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ แต่ก็เชื่อว่า ไม่น่ามาก หรือเป็นผลมาจากแรงงานไม่ยอมจดทะเบียน ซึ่งต้องหาข้อเท็จจริงต่อไป
 
 
ก.แรงงาน MOU 5 องค์กรสร้างช่างไฟฟ้ามืออาชีพรองรับ พ.ร.บ.ใหม่
 
กระทรวงแรงงาน ลงนามข้อตกลงความร่วมมือของเครือข่ายรวม 5 องค์กร เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านช่างไฟฟ้า ให้มีมาตรฐานฝีมือแรงงานและส่งเสริมให้ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ (License) ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับ 2)
 
พลเอกเจริญ นพสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรด้านช่างไฟฟ้า โดยกระทรวงแรงงานร่วมกับเครือข่าย 5 องค์กร ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สภาวิศวกร และสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ในการพัฒนาบุคลากรช่างไฟฟ้าภายในอาคารและส่งเสริมให้มีหนังสือการรับรองความรู้ความสามารถรองรับการเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วันนี้ (20 ตุลาคม 2559) ณ ห้องประชุม ปกรณ์ อังศุสิงห์ อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
 
นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า “สืบเนื่องจากกระทรวงแรงงานได้มีการประกาศกำหนดสาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร เป็นสาขาอาชีพแรกที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสาธารณะ จะต้องดำเนินการโดยผู้ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ (License) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 26 ตุลาคม 2559 นั้น เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นใจในการทำงาน จึงได้ร่วมมือกับเครือข่าย 5 องค์กร เพื่อลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรด้านช่างไฟฟ้า โดยมีแนวทางความร่วมมือ ดังนี้ 1.) การใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาช่างไฟฟ้าและสาขาอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.) กระทรวงแรงงานร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย และสภาวิศวกร ในการผลักดันให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร และศูนย์ประมินความรู้ความสามารถในสาขาดังกล่าว 3.) กระทรวงแรงงานร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง ในการผลักดันให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร รองรับการทดสอบให้แก่ช่างไฟฟ้า เพื่อนำไปสู่การเข้ารับการประเมินรับรองความรู้ความสามารถ 4.) กระทรวงแรงงานร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานของการไฟฟ้าในหลักสูตรสาขาผู้ปฏิบัติงานใต้น้ำ ระยะเวลาการฝึก 217 ชั่วโมง ทั้งสองหน่วยงานจะประสานงานแผนการฝึกในระดับพื้นที่ต่อไป
 
โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ใน 8 วาระเร่งด่วนของกระทรวงแรงงาน เรื่อง การสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัย (Safety Thailand) และนโยบายเรื่องการพัฒนาคนโดยมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นกลไกลในการขับเคลื่อน อีกทั้ง ยังเป็นไปตามแนวทางประชารัฐของรัฐบาล ที่นอกจากจะสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่กำลังแรงงานและครอบครัวแล้ว ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมและทดสอบดังกล่าว สามารถสร้างงานที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยให้แก่สังคมและชุมชนด้วย”
 
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้รับเกียรติจากผู้บริหารจาก 5 องค์กรที่ร่วมลงนามความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง นายวรพจน์ มานะพันธุ์พงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการบริการทำการแทนผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายกมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร และนายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์ นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย
 
 
เอวอนประกาศยุติธุรกิจในไทย
 
ถือเป็นข่าวช็อกวงการขายตรงไทยรายล่าสุดเมื่อ บริษัท เอวอน คอสเมติกส์ (ประเทศ ไทย) จำกัด ประกาศยุติการดำเนินธุรกิจในไทย ในเดือนธันวาคม 2559 นี้ เริ่มเคลียร์พนักงานต้น พ.ย.นี้ ก่อนหน้านี้ถอนตัวและขายทิ้งกิจการในหลายประเทศ
 
ภายหลังจากเอวอน โปรดักส์ อิงค์ บริษัทแม่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจที่จะปิดกิจการในไทย ผู้บริหารจึงส่งสัญญาณให้กับพนักงานสาระสำคัญ เกี่ยวกับเอวอน ประเทศไทยผ่านเว็บไซต์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในช่องทางที่สาวเอวอนเข้ามาสั่งซื้อสินค้า รวมถึงการส่ง SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือให้สาวเอวอน ได้รับทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ใจความสำคัญของประกาศดังกล่าว
 
"เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างของทั่วโลก ซึ่งมีการดำเนินขั้นตอนในเชิง กลยุทธ์เพื่อนำพาให้เอวอนกลับมาเติบโตโดยสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว เอวอนได้ตัดสินใจออกจากตลาดประเทศไทยปลายปี 2559"
 
"การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการทบทวนธุรกิจในประเทศไทยอย่างละเอียด ถึงแม้ว่าทีมงานจะทำงานหนักและใช้ความพยายามอย่างมากแต่เอวอน ประเทศไทยก็ยังประสบปัญหาและสภาวะไม่มีผลกำไรมาหลายปี การปิดธุรกิจครั้งนี้จะช่วยให้เอวอนมุ่งทรัพยากรไปในตลาดหลักในเอเชียแปซิฟิกและตลาดหลักทั่วโลกของเอวอน"
 
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังนางศุภราภรณ์ เอสซีเปา กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอวอนฯ ได้แจ้งให้ สมาชิกกว่า 30,000 คนและพนักงานเอวอนได้ รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้วว่า บริษัทแม่ที่สหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจปรับโครงสร้างธุรกิจโดยรวมเพื่อให้กลับมา เติบโตและทำกำไรในระยะยาว จึงตัดสินใจถอนตัว จากตลาดขายตรงเมืองไทยในเดือนธันวาคมนี้ โดยเป็นการยุติการทำตลาดเฉพาะในไทยประเทศเดียว แต่ยังคงทำตลาดเอเชียในประเทศอื่นๆ เช่นเดิม เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ จีน ไต้หวัน นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย
 
โดยสาเหตุสำคัญที่ต้องมีการตัดสินใจดังกล่าว เนื่องจากตลาดขายตรงเมืองไทยมีการแข่งขันที่รุนแรง แม้บริษัทจะมีการปรับตัวถึงขนาดที่มีการใช้แผนการจ่ายผลตอบแทนแบบหลายชั้นเข้ามาช่วย เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น ทำให้ผลประกอบการ 5 ปีหลังมานี้ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
 
ขณะที่การปลดพนักงานจะทยอยเริ่มเดือน พ.ย. ราว 80% ของจำนวนทั้งหมด 200 คน โดยพนักงานได้รับเงินชดเชย ตามกฎหมายแรงงานและระยะเวลาทำงานเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 10 เดือน ซึ่งได้ส่งหนังสือให้กับนักธุรกิจและสมาชิกของเอวอน 3 หมื่นคน รับทราบ มั่นใจว่าการถอนตัวในไทยจะผลักดันให้ธุรกิจเอเชียและตลาดหลักทั่วโลกเอวอน ยังเติบโตได้ดี เอวอนเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน เข้ามาเปิดธุรกิจขายตรงรายแรกในไทยเมื่อปี 2521 หรือ 38 ปีที่แล้ว ธุรกิจหลักมาจากกลุ่มเครื่องสำอางสัดส่วน ร้อยละ 90 โดยเอวอนเคยทำรายได้ในไทยสูงสุดระดับหลักพันล้านบาท สินค้าที่มีค้างในสต๊อก กำลังอยู่ระหว่างพิจารณานำมาลดราคาให้กับนักธุรกิจหรือสมาชิก เพื่อเคลียร์สินค้าให้เสร็จปลายปีนี้
 
ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2555 เอวอนโปรดักส์อิงค์ บริษัทแม่ที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศจะถอนตัวและเลิกจ้างพนักงาน 1,500 คน ในตลาดแถบเอเชีย อย่างเกาหลีใต้และเวียดนาม และหลังจากนั้นเมื่อมีนาคม 2559 หรือต้นปีนี้ ได้ประกาศขายกิจการในทวีปอเมริกาเหนือทั้งหมดให้ Cer berus Copital Management LP มูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และเลิกจ้างพนักงานทั่วโลกอีก 2,500 คน และย้ายสำนักงานใหญ่จากนิวยอร์กซิตี้ สหรัฐอเมริกา ไปยังประเทศอังกฤษ โดยเป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ให้เกิดประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
 
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าววอลสตรีท เจอร์นัล ยังรายงานเมื่อเดือน ธ.ค.2558 ว่า "เอวอน" ได้บรรลุข้อตกลงกับ "เซอร์เบอรัส แคปิตอล แมเนจเมนท์" (Cerberus Capital Management) ซึ่งเป็นบริษัทกองทุนรวมสัญชาติอเมริกัน และมีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านฟื้นฟูธุรกิจเพื่อแลกกับเม็ดเงินลงทุนกว่า 605 ล้านเหรียญสหรัฐ
 
สำหรับในดีลนี้ "เอวอน" จะแยกหน่วยธุรกิจในทวีปอเมริกาเหนือ หรือ "เอวอน นอร์ท อเมริกา" (Avon North America) ออกไปเป็นบริษัทลูก และขายหุ้น 80% ของบริษัทใหม่นี้ให้กับ "เซอร์เบอรัส" ด้วยมูลค่า 170 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมหุ้น อีก 17% ของบริษัทแม่ในมูลค่า 435 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกันนี้มีการเปลี่ยนตัวบอร์ดบริหารใหม่ทั้งหมด
 
เชอริล แมคคอย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอวอน โปรดักส์ ระบุว่า ดีลนี้จะช่วยให้บริษัทได้รับเม็ดเงินลงทุนเพิ่มเติม พร้อมกับปลดภาระทางการเงินจากหน่วยธุรกิจในทวีปอเมริกาเหนือที่มีปัญหาเรื้อรังมานาน ช่วยเปิดโอกาสให้สามารถทุ่มเททรัพยากรในการทำตลาดต่างประเทศซึ่งมีศักยภาพมากกว่าได้อย่างเต็มที่
 
 
ออกกฎกระทรวงให้นายจ้างดูแลแรงงาน "ความร้อน-แสง-เสียง"
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เร่งรัดและผลักดันให้ออกกฎกระทรวงเพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ขณะนี้กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2559 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคมเป็นต้นไป ถือเป็นมิติใหม่ในการดูแลความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง
 
"กฎกระทรวงดังกล่าว กำหนดให้นายจ้างต้องควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการที่ติดประกาศแจ้งเตือนบริเวณที่มีแหล่งความร้อน มีมาตรการควบคุม นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ให้นายจ้างควบคุมระดับเสียงไม่ให้เกินมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และจัดให้มีมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือมาตรการที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้างตามสภาพและลักษณะงานตลอดเวลาที่ทำงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน และจัดอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้แก่ลูกจ้าง ต้องมีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ และรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน
 
นอกจากนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานในสภาวะการทำงานที่อาจได้รับอันตรายจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ด้วย" นายสุเมธกล่าว และว่า กฎกระทรวงนี้มุ่งหวังให้ลูกจ้างได้รับการคุ้มครองให้มีความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง ซึ่งนายจ้างจะต้องมีระบบการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานที่ได้มาตรฐาน หากนายจ้างฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
 
ก.แรงงานเสนอ กขป.5 เพิ่มพนักงานตรวจแรงงานบูรณาการแก้ค้ามนุษย์
 
ที่ประชุม คณะอนุฯแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมาย (อกคร.) มีมติขอเพิ่มอัตรากำลังพนักงานตรวจแรงงาน ต่อที่ประชุม คกก.ขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 (กขป.5) วันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ หวังคุ้มครองดูแลลูกจ้างให้ปราศจากการเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ สอดคล้องตามระบบมาตรฐานสากล
 
พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ พลเอก อักษรา เกิดผล ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมาย (อกคร.) ที่กระทรวงแรงงาน โดยที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้นำประเด็นการขอเพิ่มอัตรากำลังพนักงานตรวจแรงงาน เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 (กขป.5) ที่จะประชุมในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีพนักงานตรวจแรงงานเพียง 1,245 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองดูแลลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ในจำนวนนี้เป็นบุคลากรของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 821 คน และจากหน่วยงานอื่นๆ อาทิ กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน รวม 424 คน
 
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์อัตราส่วนพนักงานตรวจแรงงาน 1 คน ต่อแรงงาน 15,000 คน ตามข้อเสนอแนะของกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ที่ระบุในรายงานทั้ง 3 ฉบับ คือ รายงานการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ค้ามนุษย์ของไทย (Tip Report) รายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) และรายงานสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย
 
สำหรับพนักงานตรวจแรงงานนั้น จะต้องผ่านหลักสูตรการอบรมโดยความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรโดยกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ จึงจะสามารถตรวจแรงงานได้ ซึ่งขณะนี้มีพนักงานตรวจแรงงานจากหน่วยงานข้างต้นได้อบรมไปแล้ว 2 รุ่น รวม 100 คน ส่วนอีก 1 รุ่น จะสามารถอบรมได้ภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อให้เพียงพอตามที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศกำหนดไว้ จำนวน 1,500 คน สำหรับความคืบหน้าการขอเพิ่มอัตรากำลังพนักงานตรวจแรงงานนั้น ขณะนี้กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ทำหนังสือเพื่อประสานไปยังสำนักงาน ก.พ. เพื่อขอสนับสนุนกรอบอัตรากำลังพนักงานตรวจแรงงานเพิ่มแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน ก.พ. ให้ความเห็นชอบต่อไป
 
 
เตือนระวังแก๊งตุ๋นไปทำงานที่เกาหลีทำร้าย-บังคับค้าประเวณี
 
นางพรปวีณ์ วิชิต จัดหางานจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่ากรมการจัดหางานได้รับแจ้งจากฝ่ายแรงงาน ประจำเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ว่ามีหญิงสาวไทยหลายราย ถูกทาบทามให้เข้าไปทำงานที่ร้านนวดในประเทศเกาหลีใต้ โดยเมื่อไปถึงถูกนายหน้าร้านนวดยึดหนังสือเดินทางไว้เป็นประกัน เพื่อไม่ให้คนงานหนี แล้วบังคับให้ค้าประเวณี ในครั้งแรก จะถูกทางร้านหักเงินค่านายหน้ากว่า 3 ร้อยล้านวอน หรือราวๆ 250,000 บาท โดยหักจากเงินค่าตอบแทนที่คนงาน ควรจะได้รับจากการค้าประเวณี กว่าร้อยละ 50 และต้องถูกบังคับให้ค้าประเวณี จำนวนกว่า 75 ครั้ง จึงจะหักลบกับเงินที่หักค่านายหน้าไป
 
โดยบางรายถูกทารุณ ทำร้าย กักขังให้อยู่แต่ในห้อง หากไม่ทำงานก็จะถูกตบตีไม่ให้ทานอาหาร ปัจจุบันสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้มงวด กวดขันเพื่อไม่ให้เกิดกระบวนการค้าประเวณีอีก ดังนั้น ผู้ที่จะ เดินทางไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้ ต้องศึกษาข้อมูลการทำงานให้ละเอียด เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง
 
สำนักงานจัดหางาน จ.ลำปาง จึงขอประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน/คนหางาน ที่จะเดินทางไปทำงานในเกาหลีใต้ ให้ศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางไปทำงาน พบเห็นเบาะแส สามารถติดต่อฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล โทรศัพท์ +82-2795-0095, +82-2795-3258 ต่อ 101-108 หรือกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล โทรศัพท์ 0-2575-1048 หรือ 0-2981-7171 เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
 
 
เศรษฐกิจซบคนแห่ขายประกันเพิ่มรายได้
 
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ยอดผู้สมัครสอบขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตทั่วประเทศผ่านสมาคมประกันชีวิตไทยรอบ 9 เดือน ตั้งแต่ม.ค.-ก.ย.59 มีทั้งสิ้น 149,563 คน เพิ่มขึ้น 11,977 คน หรือ 8.70% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 137,586 คน ซึ่งมีผู้เข้าสอบจริง 105,190 คน และสอบผ่าน 39,290 คน หรือ 37.35% ของผู้เข้าสอบยอดสมัครตัวแทนประกันที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้คนไทยหันมายึดอาชีพตัวแทนประกันหารายได้ เสริมเพื่อให้เพียงพอกับค่าครองชีพ ประกอบกับบริษัทประกันชีวิตต้องการรับตัวแทนเพิ่มเพื่อใช้เป็นช่องทางหลักการขายประกัน รวมถึงระยะหลังคนไทยใส่ใจ ทำประกันชีวิตมากขึ้นทำให้มีโอกาสขายประกันได้เพิ่ม
 
นายพิชากล่าวต่อว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าระยะหลังผู้สมัครสอบส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่อายุ 20-30 ปี ทั้งที่เพิ่งเรียบจบใหม่หรือบางคนเพิ่งเข้าทำงาน แต่อยากมีรายได้เสริม และยังพบอีกว่าวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นกลุ่มที่สมัครตัวแทนประกันชีวิตมากสุด สะท้อนว่าอาชีพตัวแทนประกันเป็นที่ยอมรับของสังคมและคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับระยะหลังบริษัทประกันชีวิตได้ยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวแทน ทั้งนี้ สถิติยังระบุว่ามีผู้สมัครสอบมากสุดที่อายุ 20-30 ปี และมีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าสอบเป็นตัวแทนประกันชีวิตมากที่สุดถึง 43.79% จังหวัดที่มีผู้สมัครสอบสูงสุด 5 อันดับแรก นำโดยกรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ ขอนแก่น เชียงใหม่ อุดรธานี และอุบลราชธานี
 
 
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกฯ 26 ต.ค. ทบทวนมติปรับค่าแรงปี 60 หลังขึ้นสูงสุด 10 บาทต่อวัน ไม่พอค่าครองชีพ
 
คุณชาลี ลอยสูง รักษาการประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในวันพุธที่ 26 ตุลาคม เวลา 10.00 น. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จะเดินทางไปยังศูนย์ดำรงธรรม ข้างทำเนียบรัฐบาล เพื่อยืนหนังสือให้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ทบทวนมติการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 2560 ที่ทางด้านคณะกรรมการค่าจ้าง ที่มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน มีมติปรับขึ้นค่าแรงใน 69 จังหวัดทั่วประเทศ ในอัตรา 305 บาทต่อวัน 308 บาทต่อวัน และ 310 บาทต่อวัน และไม่ปรับขึ้นอีก 7 จังหวัด เนื่องจากมองว่าการปรับขึ้นค่าแรงควรจะปรับขึ้นในอัตราเดียวเท่ากันทั่วประเทศ อีกทั้งการปรับเพิ่มของค่าแรงในอัตราดังกล่าวไม่มีความสมเหตุสมผลกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันนี้ โดยมองว่ารัฐควรปรับขึ้นค่าแรงในอัตราเท่ากับทั่วประเทศที่ 360 บาทต่อวัน จึงจะมีความเหมาะสม
 
 
9 เดือนแรกยอดขอตั้งโรงงานวูบ 17%
 
นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย ยอดแจ้งประกอบกิจการ และเริ่มขยายโรงงานใน 9 เดือนปี 2559 (ม.ค.-ก.ย. 2559) ว่า มีจำนวนโรงงานรวมทั้งสิ้น 3,177 โรงงาน ลดลงช่วงเดียวกันในปี 2558 ที่มีอยู่ที่ 3,834 โรงงาน หรือ ลดลง 17.13%
 
ขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 3.39 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่อยู่ที่ 3.49 แสนล้านบาท หรือลดลง 2.94% โดยแบ่งเป็นการเปิดกิจการใหม่จำนวน 2,790 โรงงาน ลดลง 17.69 % จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีอยู่ 3,390 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุน 2.39 แสนล้านบาท ลดลง 3.23 % เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 2.47 แสนล้านบาท
 
ส่วนการขยายกิจการมีจำนวน 387 โรงงาน ลดลง 12.83% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีอยู่ 444 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุน 1 แสนล้านบาท ลดลง 0.99% เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 1.01 หมื่นล้านบาท
 
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวอีกว่า สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการแจ้งเปิดกิจการใหม่และ ขยายกิจการที่มีมูลค่ามากที่สุดในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2559 ได้แก่ การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ มูลค่าการลงทุน 3.94 หมื่นล้านบาท เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ 3.34 หมื่นล้านบาท อุตฯอาหาร 2.74 หมื่นล้านบาท ผลิตภัณฑ์พลาสติก 1.94 หมื่นล้านบาท เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 1.82 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
 
 
ทหารปิดล้อม รวบแรงงานกัมพูชาข้ามแดนเก็บลำไยคู่ค้า หลังเจ้าของสวนยกเลิกสัญญา
 
หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 13 กองกำลังบูรพา อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว เข้าปิดล้อมและจับกุมแรงงานชาวกัมพูชา ที่มีทั้งชาย หญิง และเด็ก รวม 319 คน รถกระบะที่โดยสารมาอีก 16 คัน พร้อมกระเป๋าและสัมภาระอีกจำนวนหนึ่ง ขณะเข้ามาเก็บลำไยในหมู่บ้านเขาดิน หมู่ 8 ตำบลและอำเภอคลองหาด
 
สอบปากคำทราบว่า ทั้งหมดเป็นแรงงานจากล้งลำไย "ซิสโก้" อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ที่นายจ้างพาข้ามแดนเข้ามาเก็บผลลำไยของคู่ค้า แต่ถูกเจ้าของสวนปฏิเสธและยกเลิกสัญญา เพราะตกลงราคากับล้งอื่นที่ให้ราคาสูงกว่า ซ้ำยังโทรแจ้งทหารให้เข้าจับกุมด้วย
 
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐาน พบว่าผู้ต้องหาทั้งหมดมีใบอนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างถูกต้อง แต่ไม่ได้ทำใบ "บอเดอร์พาส" ที่สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ จึงส่งตัวทำบันทึกประวัติและผลักดันกลับ ส่วนเจ้าของล้ง ถูกแจ้งข้อหานำแรงงานข้ามเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต
 
 
ก.แรงงาน เปิดทางลูกจ้างทั่วประเทศ กราบถวายบังคมพระบรมศพ
 
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักพระราชวัง ได้ประกาศให้ประชาชนได้เข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายหลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 15 วันแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.นั้น พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้แรงงานจังหวัดทุกจังหวัดร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั่วประเทศประสานกับผู้ประกอบการ และลูกจ้างในสถานประกอบการแต่ละพื้นที่ ที่มีความประสงค์จะเดินทางมาเข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมพระบรมศพ โดยให้จัดทำระบบรายงานที่ชัดเจน เช่น รายชื่อลูกจ้าง นายจ้าง เส้นทางการเดินทาง จุดรับส่งแต่ละจังหวัด การอำนวยความสะดวกและบริการระหว่างการเดินทาง และรายชื่อผู้ประสานงานพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างได้รับความสะดวกตลอดการเดินทางและเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานสามารถปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกด้วยระบบการตรวจสอบที่ชัดเจนรัดกุมมากยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
 
ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวต่อไปว่า หากมีลูกจ้าง นายจ้างในสถานประกอบการพื้นที่ใดที่มีความประสงค์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ ขอให้แรงงานจังหวัดอำนวยความสะดวกในการเดินทางและให้ยึดแนวปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สอดคล้องตามแผนอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะเดินทางมาเข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมพระบรมศพ ทั้งนี้ ให้รายงานการปฏิบัติตามแบบรายงานที่กำหนดให้ศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ กระทรวงแรงงานทราบเป็นประจำทุกวันด้วย ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงาน ยังได้จัดให้ข้าราชการ นายจ้าง ลูกจ้าง เครือข่ายภาคแรงงาน ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป ลงนามแสดงความอาลัยผ่านทางหน้าแรกก่อนเข้าเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน www.mol.go.th เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งรายชื่อผู้ที่ร่วมลงนามทั้งหมดจะรวบรวมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
 
ครม.เห็นชอบจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ขยายเวลาแรงงานกิจการประมงถึง 1 พ.ย.60
 
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยมาตรการดำเนินการหลังสิ้นสุดการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมอำนวยความสะดวกการตรวจสัญชาติ การตรวจสัญชาติเป็นการดำเนินการของประเทศต้นทาง และกระทรวงแรงงานจะอำนวยความสะดวกเพื่อให้มีการตรวจสัญชาติแรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมา อย่างมีประสิทธิภาพ
 
พร้อมทั้งเห็นชอบยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ปี 2560-2564 ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ฯ 5 ด้าน ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดระบบแรงงานเพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับความต้องการแรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ, ยุทธศาสตร์ที่ 2 การควบคุม กำกับ ดูแลกระบวนการเข้ามา ระหว่างการทำงานและกลับออกไปของแรงงานต่างด้าว, ยุทธศาสตร์ที่ 3 การกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล, ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่มีประสิทธิภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 5 การติดตามและประเมินผล
 
ทั้งนี้ ให้ขยายระยะเวลาการอยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล และกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 และกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ (รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน 18 ปี) ซึ่งใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ออกไปอีกจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เท่ากันทุกคน เพื่อเข้ารับการตรวจสัญชาติ สำหรับแรงงานที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางหรือเอกสารรับรองบุคคล จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตทำงานถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 และสามารถต่ออายุได้อีกครั้งเดียวไม่เกิน 2 ปี
 
 
ก.แรงงานแจงปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ลูกจ้าง – นายจ้างอยู่ได้ เน้นไม่กระทบเศรษฐกิจสังคม
 
นายสุทธิ สุโกศล ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะรองโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2560 ที่คณะกรรมการค่าจ้างมีมติเมื่อ (19 ต.ค.59) ให้ปรับขึ้นตามที่สื่อนำเสนอไปแล้วนั้นว่า หลักการสำคัญในการพิจารณา คือ อัตราค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดที่ลูกจ้างอยู่ได้และนายจ้างอยู่ได้ด้วย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และเพื่อไม่ให้ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น จนส่งผลกระทบต่อภาวะครองชีพของประชาชนโดยทั่วไป นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อัตราการว่างงาน ผลกระทบในภาพรวมที่มีต่อด้านแรงงาน ด้านผู้ประกอบการ ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองโลก ปัจจัยเสี่ยงจากโรคและภัยพิบัติ เป็นต้น
 
ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 นั้น มีคณะอนุกรรมการฯ 3 ชุด คือ อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ประชุมพิจารณาทบทวนความเหมาะสมอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรอง และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนวทางการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวสอดคล้องกับสูตรคำนวณฯ ของประเทศอินโดนีเซียและบราซิล โดยนำอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมากำหนดเป็นสูตรคำนวณ
 
ขณะที่ นายอดิสร ตันประเสริฐ ประธานสหภาพแรงงานโทเร ไทยแลนด์ ลูกจ้างของบริษัท ไทยโทเรซินเทติคส์ จำกัด (โรงงานกรุงเทพ) กล่าวถึงผลการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2560 ว่า โดยภาพรวมเป็นที่พอใจ แม้ว่าจะปรับขึ้นเล็กน้อยแต่ดีกว่าไม่ปรับขึ้นเลย เพราะถ้าปรับขึ้นสูงมากจะทำให้นายจ้างอยู่ไม่ได้ เมื่อนายจ้างอยู่ไม่ได้ สถานประกอบการจะปิดกิจการลง ลูกจ้างก็อยู่ไม่ได้ จึงต้องหาจุดกึ่งกลางเพื่อให้สมดุลกับทั้งสองฝ่าย ค่าจ้างขั้นต่ำจึงมีความสำคัญต่อลูกจ้างและนายจ้างในสถานประกอบการมาก เนื่องจากเป็นแหล่งเงินแหล่งเดียวของคนใช้แรงงานและภาคธุรกิจ ทั้งนี้ รายได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่ามีเงินเหลือเท่าไหร่ การใช้จ่ายในปัจจุบันจึงต้องจัดทำบัญชี เพื่อรู้ว่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นหรือไม่ ขณะเดียวกันหากมีรายได้น้อยก็ต้องใช้จ่ายแต่พอควร สมฐานะ ทั้งนี้ อยากให้ภาครัฐมีการจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมากขึ้น เพื่อเป็นแรงจูงใจช่วยกระตุ้นให้ลูกจ้างได้พัฒนาฝีมือให้สูงขึ้น จะได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้งนายจ้างและลูกจ้างที่จะทำให้งานมีประสิทธิภาพ
 
สอดคล้องกับ นางหทัยชนก ม่วงโต พนักงานรายวัน บริษัทเอ็นเอ็กซ์พี แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวถึงการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ว่า สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากเมื่อค่าแรงขั้นต่ำขึ้น ลูกจ้างก็จะได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ทำให้มีขวัญกำลังใจในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้นแล้ว อยากให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ให้เพิ่มขึ้นตามค่าแรง ดังนั้นการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันจึงต้องมีการวางแผน อาทิ การจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อคำนวณรายรับ รายจ่าย รวมทั้งการวางแผนการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น รวมทั้งไม่เป็นหนี้นอกระบบ เป็นต้น ส่วนการพัฒนาฝีมือให้สูงขึ้นจะสามารถทำให้มีค่าตอบแทนที่สูงขึ้นนั้น ปัจจุบันสาขาอาชีพที่เข้าสู่การปรับระดับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือยังไม่ได้ครอบคลุมทุกภาคอุตสาหกรรม เช่น สาขาไอที เป็นต้น
 
 
แรงงานร้องนายกฯ ขอขึ้นค่าจ้างเท่ากันทั้งประเทศ
 
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดย นายชาลี ลอยสูง พร้อมเครือข่ายประมาณ 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือ ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการค่าจ้าง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 ระหว่าง 5-10 บาททั่วประเทศ ส่งผลให้ปรับขึ้นจากปัจจุบันเป็น 305-310 บาท โดยเห็นว่า มติที่ออกมา ยังไม่สะท้อนภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงการปรับที่ไม่เท่ากัน และพื้นที่บางจังหวัดไม่ได้ปรับขึ้น มองว่า ขัดแย้งกับเป้าหมายพัฒนาประเทศและทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำมากขึ้น ที่สำคัญหากพิจารณาการปรับขึ้นในอัตรา 5,8 และ 10 บาท ถือว่าน้อยมาก และ ส่งผลกระทบต่อแรงงาน ที่รอการปรับขึ้นมานานกว่า 3 ปี ดังนั้นจึข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล 3 ข้อ คือ 1. ขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ , 2.ขอให้รัฐบาลมีนโยบายโครงสร้างค่าจ้างที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ต้องมีการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีทุกสถานประกอบการ และ 3.ขอให้รัฐบาลมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน
 
โดยนายชาลี ชี้แจงว่า การยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการกดดัน แต่เป็นความเดือดร้อนของภาคแรงงาน ที่คาดหวังให้เกิดความเป็นธรรม บนพื้นฐานหลักการเดียวกับภาคข้าราชการ และ รัฐวิสาหกิจที่ได้รับการพิจารณาก่อนหน้านี้
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.เร่งจัดการคดีหมิ่นฯ หลัง 13 ต.ค. ยอดพุ่งถึง 20 คดี

0
0

เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2559 พ.ต.ท.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ให้สัมภาษณ์ว่า นับตั้งแต่วันสวรรตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน มีคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เกิดขึ้นแล้ว 20 คดี โดยได้รับแจ้งเหตุจากหลายพื้นที่ บางส่วนเป็นประชาชนทั่วไปเข้าแจ้งความ บางส่วนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบพบการกระทำผิดเอง ส่วนข้อมูลจาก พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนานั้นทางตำรวจยังไม่ได้รับข้อมูลเพื่อดำเนินการ สำหรับพฤติการณ์การกระทำผิดส่วนใหญ่เป็นการโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย แต่ก็มีการพูดด้วย ในจำนวนนี้มีทั้งที่จับกุมตัวผู้ต้องหาได้ ผู้ต้องหาเข้ามอบตัวเอง และบางส่วนอยู่ระหว่างการตามจับกุม

พ.ต.ท.กฤษณะกล่าวว่า เรื่องนี้ ผบ.ตร.ให้ความสำคัญในการดำเนินคดีและติดตามผู้กระทำผิด เนื่องจากเป็นเรื่องนโยบายทางที่รัฐบาลให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยทางตำรวจได้ประสานข้อมูลจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกระทรวงไอซีทีเก่า สำนักข่าวกรองของทหาร

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ที่มีข่าวการจับกุมผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์หมิ่นฯ ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ผู้ต้องหาหลายรายถูกฝากขังที่เรือนจำแล้วโดยพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว ทั้งกรณีของ เกาะสมุยระยองชลบุรีขณะที่กรณีของพังงานั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่แจ้งเพียงว่า มีการแจ้งความคดีอาญาและดำเนินการทางวินัยด้วยเนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาเป็นพลทหารในสังกัดทหารเรือ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.ตร.ยอมเป็นหนี้เพื่อชาติ ออกตั๋วไล่พวกหมิ่นสถาบันฯ - ประยุทธ์ สั่งดูการส่งตัวกลับไทย

0
0

26 ต.ค.2559 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ตอบคำถามถึงกรณีที่มีความกังวลว่าคนร้าย อาทิ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจากภาคใต้ หรือขบวนการค้ายาเสพติดจะอาศัยจังหวะที่ประชาชนเดินทางมา กทม.จำนวนมากเพื่อลอบก่อเหตุนั้น โดย ผบ.ตร. กล่าวว่า ได้ติดตามตรวจสอบด้านการข่าว เฝ้าระวังอย่างเข้มจนไม่ต้องห่วง ส่วนกลุ่มยาเสพติดนั้น ก็อาจมีคนที่คิดแบบนี้ฉวยโอกาส ก็เฝ้าระวังปราบปรามแต่ตนไม่ให้ราคากับคนพวกนี้ ตนคิดว่าคนที่คิดทำแบบนี้ในช่วงเวลาเช่นนี้ไม่รู้เป็นคนอย่างไร เช่นเดียวกับกลุ่มที่หมิ่นสถาบันฯกลุ่มนี้มีทั้งที่ทำเป็นขบวนการเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวการเมืองผลิตสื่อข้อมูลต่างๆ ในต่างประเทศ บางครั้งก็ทำแบบส่วนตัว กลุ่มที่อยู่ต่างประเทศขณะนี้ประสานงานผ่านช่องทางตำรวจสากลเพื่อดำเนินคดีแล้ว แต่ตนเผยรายละเอียดไม่ได้ กลุ่มที่เคลื่อนไหว มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมโดยยังอยู่ในประเทศก็มี ตำรวจกำลังสืบสวนติดตามดำเนินคดีอยู่ ดำเนินการกับกลุ่มนี้โดยตลอด

“ผมไม่รู้ว่าคนที่หมิ่นสถาบันฯ เคลื่อนไหว แสดงออกแบบนี้คิดอย่างไร ถ้าไม่อยากอยู่ประเทศไทยก็ออกไปนอกประเทศเสีย ไปอยู่ที่ต่างประเทศ ถ้าไม่มีเงินค่าตั๋วเครื่องบินมาเอาที่ผม ผมออกให้ไปอยู่ต่างประเทศเลย ผมยอมเป็นหนี้เพื่อชาติ ออกเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้คนพวกนี้ออกไป” ผบ.ตร.กล่าว

พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ โชคชัย ผบก.ปอท. กล่าวถึงมาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง ของสถาบันหลักของชาติในช่วงนี้ ว่า ตำรวจ บก.ปอท. ได้มีการประสานงานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างใกล้ชิดในการสอดส่องและปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบต่อความมั่นคงชาติ และสถาบันหลัก อย่างรวดเร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม ตำรวจ บก.ปอท.จะเข้าไปพิสูจน์ทราบ หาตัวบุคคล หรือกลุ่ม บุคคลที่อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ผิดกฎหมายว่าเป็นใคร และอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักร ขอให้ประชาชนชาวไทยสบายใจไม่ต้องกังวล

ประยุทธ์ สั่งดูพันธสัญญาข้อ กม.เรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

ขณะที่วานนี้  ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การติดตามตัวผู้กระทำความผิดมาตรา 112 ที่หลบหนีไปต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อยากให้ทุกฝ่ายทำความเข้าใจก่อนว่า มาตรา 112 รัฐบาล ประชาชนทุกคนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นกฎหมายเหมือนกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เพียงแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เคยที่จะลงมาฟ้องร้องใคร ฉะนั้นเราต้องดูแลในสิ่งที่เรารักและเคารพ และเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจ ไม่ใช่เป็นความต้องการของพระองค์ท่าน แต่เราต้องดูแล และที่ผ่านมาเวลาเกิดเหตุในขั้นสุดท้าย ท่านจะลงพระราชทานอภัยโทษเสมอ ขณะที่กติกาแบบนี้เราเองไปบังคับเขาก็ลำบาก

“ดังนั้นการติดตามตัว นายกฯ จึงให้ไปรวบรวมข้อมูลมาว่าเรามีพันธสัญญาข้อกฎหมายเรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไหนบ้าง แล้วที่ผ่านมาจากข้อมูลมีประเทศไหนให้ความร่วมมือในการส่งตัวและแลกส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้บ้าง เพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพิจารณาในอนาคต” พล.ท.สรรเสริญ กล่าว

 

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์และมติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลทหารเชียงรายฝากขังต่อผัด 2 ช่างตัดแว่นพ่อลูกอ่อน

0
0

ศาลทหารจังหวัดเชียงรายไม่อนุญาติให้ประกันตัว ช่างตัดแว่นตาพ่อลูกอ่อน ปมโพสต์ภาพเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชบนเฟซบุ๊ก ชี้ยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานถึง กรณีนายสราวุทธิ์ ช่างตัดแว่นตาในจังหวัดเชียงราย ถูกพนักงานสอบสวนสภ.เมืองเชียงราย เรียกตัวไปแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 และถูกนำตัวไปขออำนาจศาลมณฑลทหารบกที่ 37 ฝากขัง เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2559 โดยศาลทหารมีความเห็นไม่อนุญาตให้ประกันตัวนั้น

โดยเมื่อวานนี้ (25 ต.ค.2559) ญาติและทนายความได้ยื่นขอประกันตัวนายสราวุทธิ์ เป็นครั้งที่สอง หลังจากครบกำหนดฝากขังผัดที่สอง ไปเมื่อวันที่ 22 ต.ค. โดยยื่นโฉนดที่ดินเดิม มูลค่าประเมินกว่า 4 แสนบาท พร้อมกับเพิ่มหลักทรัพย์เป็นเงินสดอีก 1 แสนบาท รวมเป็นหลักทรัพย์มูลค่ากว่า 5 แสนบาท ในการขอปล่อยตัวชั่วคราว พร้อมระบุเหตุผลว่าผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี โดยมาพบตามที่เจ้าหน้าที่ติดต่อไป และผู้ต้องหายังมีภาระต้องหาเลี้ยงครอบครัวซึ่งมีบุตรคนเล็กพึ่งคลอดได้ 3 เดือน

วานนี้ เจ้าหน้าที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 37 ได้รับเอกสารคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไว้ แต่ระบุว่าตุลาการศาลทหารเดินทางไปพิจารณาคดีอื่นที่ศาลทหารเชียงใหม่ ทำให้ไม่มีตุลาการพิจารณาคำร้องขอประกันตัวในวันนี้ ต้องรอให้ตุลาการเดินทางกลับมาก่อน จนในวันนี้ ญาติและทนายความจึงได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ศาลทหารว่าตุลาการมีความเห็นให้ยกคำร้องขอประกันตัว เนื่องจากยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม โดยตามคำสั่งเดิมระบุสาเหตุการไม่ให้ประกันตัวว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุร้ายอย่างอื่น

สำหรับคดีนี้ พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อนายสราวุทธิ์ว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2559 เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) จ.เชียงราย แจ้งว่า เฟซบุ๊กชื่อเดียวกับสราวุทธิ์ได้โพสต์ภาพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร พร้อมข้อความบรรยายภาพ ก่อนถูกลบภายใน 2-3 นาที แต่เจ้าหน้าที่ กกล.รส. บันทึกภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ไว้ จากนั้น เฟซบุ๊กชื่อสราวุทธิ์ได้โพสต์ภาพชลาตัน อิบราฮิโมวิช นักฟุตบอลชาวต่างประเทศ ที่มีรอยสักตามร่างกายสวมเสื้อกล้ามสีดำและสีขาว พร้อมพิมพ์ข้อความประกอบภาพ

ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา ระบุว่าเจ้าหน้าที่ กกล.รส. มทบ.37 ผู้กล่าวหาในคดีนี้ ได้เฝ้าติดตามสราวุทธิ์ เนื่องจากสราวุทธิ์แสดงความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง เมื่อนำเรื่องราวไปปรึกษากับอัยการศาลทหาร มทบ.37 และรายงานผู้บัญชาการ กกล.รส. มทบ.37 แล้ว จึงได้รับมอบหมายให้มากล่าวโทษดำเนินคดีกับสราวุทธิ์ เบื้องต้นสราวุทธิ์ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

ทั้งนี้ ก่อนนายสราวุทธิ์จะถูกเรียกตัวไปแจ้งข้อกล่าวหา เขาได้ถูกเจ้าหน้าที่ทั้งทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เข้าตรวจค้นที่บ้านพักเมื่อวันที่ 26 ส.ค.59 พร้อมกับตรวจยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแฟลชไดรฟ์ไป หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนจึงมีการเรียกตัวนายสราวุทธิ์ไปที่สถานีตำรวจเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 11 ต.ค.59 โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เขาไม่ได้หลบหนีแต่อย่างใด

สราวุทธิ์ ปัจจุบันอายุ 32 ปี เปิดกิจการรับตัดแว่นและขายแว่นตาในพื้นที่ จ.เชียงราย โดยเขาและภรรยามีลูกด้วยกัน 2 คน คนโตอายุ 5 ปี และคนเล็กเพิ่งคลอดอายุ 3 เดือน ทำให้ยังมีภาระต้องดูแลครอบครัวค่อนข้างมาก สราวุทธิ์เคยเข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงในช่วงปี 2553 หลังจากนั้นก็ติดตามการเมืองมาโดยตลอด แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองภายใต้สังกัดกลุ่มใด ส่วนมากสราวุทธิ์มักใช้วิธีแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนโลกออนไลน์

หลังการรัฐประหาร สราวุทธิ์ยังถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ 7/57 เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่เขากับเพื่อนไปชูป้ายในพื้นที่ จ.เชียงราย เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ทำกิจกรรมกินแมคโดนัลด์ต้านรัฐประหาร และศาลทหารให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ตลอดสองปีกว่าที่ผ่านมาหลังการรัฐประหาร สราวุทธิ์ยังถูกเรียกตัวเข้าพูดคุยในค่ายทหารและถูกเจ้าหน้าที่เดินทางไปพบที่บ้านอีกมากกว่า 10 ครั้ง ส่วนใหญ่เกิดจากการโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในเฟซบุ๊กส่วนตัว และการเข้า “พบปะ” ที่เจ้าหน้าที่ระบุว่าทำตามหน้าที่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50697 articles
Browse latest View live