Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50860 articles
Browse latest View live

คำแถลงปิดคดี 'หมอเลี๊ยบ' (หุ้นชินคอร์ป) ยันขั้นตอนถูกต้อง ‘ความเสียหาย’แค่สันนิษฐาน

$
0
0

ยืนยันขั้นตอนอนุมัติถูกต้อง พิจารณา 307 วันไม่เร่งรัด อัยการสูงสุดให้ไอซีทีพิจารณาได้ ส่งเข้า ครม.แล้วแต่สำนักเลขาฯ ครม.ส่งคืนบอกไม่เข้าหลักเกณฑ์ ชี้คำเบิกความ ‘บวรศักดิ์’ บิดเบี้ยว พร้อมระบุ 12 ปีผ่านมาพิสูจน์แล้วชินคอร์ปฯ ลดสัดส่วนถือหุ้นในชินแซทฯ ปกติธุรกิจ ไม่กระทบผลประโยชน์-ความมั่นคงประเทศ

<--break- />อ่านข่าวคดีนี้ได้ที่นี่

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

คดีหมายเลขดำ อม.66/2558

โจทก์ - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

จำเลยที่ 1 - นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือหมอเลี๊ยบ อดีต รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

จำเลยที่ 2 – นายไกรสร พรสุธี อดีตปลัดกระทรวงไอซีที

จำเลยที่ 3 - ไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ อดีตผอ.สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ อดีตปลัดกระทรวงไอซีที

คำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่า ข้อกำหนดสัดส่วนการถือหุ้น เป็นข้อเสนอเพิ่มเติมของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการการเจรจาระหว่าง บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น กับคณะกรรมการพิจารณาสัมปทาน จึงเป็นเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถของผู้รับสัมปทานที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ ครม.ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบให้บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น เป็นผู้รับสัมปทาน การแก้ไขสัญญาในเรื่องนี้จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี การที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้แก้ไขสัญญาโดยไม่ผ่านการพิจารณาของ ครม.จึงเป็นการอนุมัติโดยมิชอบ เนื่องจากเป็นการลดทอนความมั่นคงและความมั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียมของบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ในฐานะผู้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอำนาจการควบคุมบริหารจัดการอย่างเด็ดขาดและกระทบความเชื่อมั่นและความมั่นคงในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของรัฐ ทั้งเป็นเรื่องนายกรัฐมนตรีขณะนั้นมีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีส่วนได้เสียในการแก้ไขสัญญาอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทผู้รับสัมปทาน จำเลยที่ 3 ไม่ได้ศึกษาวิเคราะห์โดยละเอียดว่ารัฐจะได้รับผลกระทบหรือได้รับประโยชน์จากการแก้ไขสัญญาอย่างไร และเมื่อเสนอเรื่องไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็เพียงแต่ลงนามรับทราบโดยไม่ได้สั่งการให้ทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลให้ครบถ้วนตามที่ปลัดกระทรวงได้มีคำสั่งไว้ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

ศาลพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้จำคุก จำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 1 ปี และปรับคนละ 20,000 บาท สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และไม่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนดคนละ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30 อนึ่ง คดีนี้ยื่นฟ้องโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2559 ศาลเริ่มไต่สวนเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2559 ไต่สวนพยานโจทก์ 9 ปาก พยานจำเลย 9 ปาก ใช้เวลาไต่สวน 7 นัด คดีเสร็จการไต่สวนเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2559

อนึ่ง คดีนี้ยื่นฟ้องโดย ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2558 ศาลเริ่มไต่สวนเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2559 ไต่สวนพยานโจทก์ 9 ปาก พยานจำเลย 9 ปาก ใช้เวลาไต่สวน 7 นัด คดีเสร็จการไต่สวนเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559

สรุปคำแถลงปิดคดี จำเลยที่ 1-3

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยได้ร่วมกันพิจารณาอนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศ จากเดิมที่กำหนดให้ บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นใน บมจ. ชินแซทเทลไลท์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 51 เป็น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 โดยไม่นำเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบก่อน ทั้งที่ทั้งสามทราบว่าอัยการสูงสุดมีข้อสังเกตว่าโครงการนี้เดิมได้รับอนุมัติจาก ครม. เป็นโครงการของประเทศ (National Project) จึงควรที่ไอซีที ต้องส่ง ครม.พิจารณาก่อน เนื่องจากเรื่องการถือครองหุ้นดังกล่าวเป็นนัยสำคัญประการหนึ่งที่ ครม. อนุมัติให้สัมปทานกับ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น การอนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น เป็นการลดทอนความมั่นคงและมั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียมอันมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและมั่นคงในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมของรัฐ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้สามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83

จำเลยทั้งสามขอชี้แจงว่า  เมื่อบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่นมีหนังสือถึงไอซีที เมื่อ 24 ธ.ค.2546 ขออนุมัติลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ผอ.สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ ได้มีบันทึกข้อความถึงปลัดไอซีที ผ่านจำเลยที่ 2 ผ่านนิติกร 9 ของกระทรวง และผ่านเลขานุการรัฐมนตรีเพื่อเสนอข้อพิจารณาและความเห็นต่อจำเลยที่ 1 ว่า

1) การลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น จะยังคงรับผิดชอบการดำเนินการตามสัญญาดำเนินการกิจการดาวเทียมฯ ได้ต่อไป

2) การลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว บมจ.ชินแซทเทลไลท์ ยังรักษาสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลสัญชาติไทยโดยไม่ขัดกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3) หากไอซีทีอนุมัติการลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ก็ควรต้องแก้ไขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมฯ ซึ่งสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติได้แก้ไขร่างสัญญาแนบมาด้วยแล้ว

4) เพื่อความรอบคอบควรหารืออัยการสูงสุดในประเด็นข้อพิจารณาของสำนักงานกิจการอวกาศฯ และหากเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาแก้ไขดังกล่าวให้ก่อน

ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้หารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดตามคำแนะนำ สำนักงานอัยการสูงสุดมีบันทึกตอบกลับแจ้งผลการพิจารณาว่า บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ยังคงเป็นคู่สัญญาที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันและแทนกันกับผู้รับสัมปทานโดยไม่เปลี่ยนแปลง และบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่นยังเป็นผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยรายใหญ่ที่สุดในบริษัทผู้รับสัมปทาน ซึ่งสามารถควบคุมการดำเนินงานของบริษัทผู้รับสัมปทานอยู่ตามเจตนารมณ์ของสัญญา นอกจากนี้การแก้ไขสัญญาไม่ได้ลดภาระหน้าที่ของริษัทผู้รับสัมปทานและไม่ได้ทำให้บริษัทผู้รับสัมปทานจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐลดลง จึงไม่มีกรณีที่รัฐต้องเสียประโยชน์ และเห็นว่ากระทรวงไอซีทีสามารถที่จะใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาดังกล่าวด้วยแล้ว อย่างไรก็ตาม สำนักงานอัยการสูงสุดให้ข้อสังเกตว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญานี้เป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่มาของการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี จึงควรนำเรื่องเสนอ ครม.พิจารณาก่อนลงนามสัญญา

ไอซีทีจึงได้นำเสนอหนังสือถึงสำนักเลขาธิการ ครม.เพื่อให้พิจารณาเรื่องดังกล่าว สำนักเลขาธิการ ครม.ได้มีหนังสือส่งเรื่องดังกล่าวคืนไอซีทีโดยให้เหตุผลว่า เรื่องไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องเสนอ ครม.พิจารณา ประกอบกับ ครม.มีนโยบายจะลดเรื่องที่จะเสนอครม. จึงขอส่งเรื่องคืน

สำนักกิจการอวกาศฯ จึงทำหนังสือเสนอ รมว.ไอซีทีพิจารณา ดังนี้

1.อนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา และกำหนดวันเวลาลงนามร่วม 3 ฝ่าย ระหว่างไอซีทีกับบริษัททั้งสอง พร้อมกันนี้สำนักกิจการอวกาศฯ ได้เสนอร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดมาด้วย

2.ให้ปลัดไอซีที และรองปลัดไอซีที ลงนามในฐานะพยานฝ่ายกระทรวงไอซีที

จำเลยที่ 1 ในฐานะ รมว.ไอซีที สั่งการให้หารือสำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้งในข้อสังเกตต่อท้ายและที่สำนักเลขาธิการ ครม.เห็นว่าไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเสนอ ครม.พิจารณา เพื่อที่กระทรวงไอซีทีสามารถใช้ดุลยพินิจโดยไม่ต้องส่งเรื่องเข้าครม.ต่อไป

เมื่อส่งเรื่องไปสำนักอัยการสูงสุดก็ได้ตอบกลับมาว่า เมื่อสำนักเลขาธิการ ครม. เห็นว่า เรื่องนี้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเสนอ ครม.พิจารณา ไอซีทีจึงมีดุลยพินิจที่จะแก้ไขสัญญาตามร่างที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจแก้ไว้ได้

จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ลงนามอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน และได้มีการลงนามแก้สัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547

จำเลยขอแถลงว่า คดีมีประเด็นปัญหาสำคัญต้องพิจารณาเป็นลำดับ ดังนี้

1. เงื่อนไขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่

ปัญหาข้อนี้ได้ปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จริงของโจทก์ว่า อนุกรรมการไต่สวนของโจทก์ได้ทำการสอบปากคำนายวันชัย ศารทูลทัต ในฐานะประธานกรรมการร่างสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศเพื่อพิจารณาปัญหานี้ไว้แล้ว สรุปความได้ว่า "การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาภายหลังนั้น โดยหลักการแล้วสัญญาแก้ไขได้ภายหลัง ส่วนหลักเกณ์การแก้ไขอยู่ที่เหตุผลและความจำเป็นของคู่สัญญา" ในทางพิจารณาของโจทก์โจทก์ก็ยอมรับว่าหนังสือสัญญาดังกล่าวสามารถจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ เพียงแต่มีข้อโต้แย้งในส่วนของขั้นตอนกระบวนการในการอนุมัติแก้ไขสัญญาของจำเลยทั้งสามเท่านั้น อีกประการคือ ก่อนมีการพิจารณาอนุมัติแก้ไขก็ปรากฏว่า ไอซีทีก็ได้หารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ส่วนว่าการลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ทำได้หรือไม่ตามระเบียบราชการซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาและได้มีหนังสือตอบกลับความว่า การลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวก็ยังทำให้ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่นยังเป็นคู่สัญญาที่ยังต้องรับผิดชอบร่วมกันและแทนกันกับผู้รับสัมปทานโดยไม่เปลี่ยนแปลง และยังเป็นผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยรายใหญ่ที่สุดในบริษัทผู้รับสัมปทาน สามารถควบคุมการดำเนินงานของบริษัทผู้รับสัมปทานอยู่ตามเจตนารมณ์ของสัญญา การแก้ไขสัญญาไม่ได้ลดภาระหน้าที่ของบริษัทผู้รับสัมปทาน และไม่ได้ทำให้บริษัทผู้รับสัมปทานจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐตามสัญญาลดลง จึงไม่มีกรณีที่รัฐต้องเสียประโยชน์ ไอซีทีสามารถใช้ดุลยพินิจอนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวได้ และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาแล้ว ดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงเห็นว่า ในทางคดีสามารถพิจารณาเป็นหลักการเบื้องต้นได้แล้วว่า สัญญาดังกล่าวสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้

2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ จะต้องนำเรื่องเสนอ ครม.ก่อนลงสัญญาหรือไม่

ในการฟ้องนั้นอ้างอิงข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดที่มีถึงไอซีทีว่าให้ส่งครม. เรื่องนี้พยานโจทก์นายวีรพล ปานะบุตร อธิบดีอัยการฝ่ายที่ปรึกษา และนายชัยเกษม นิติสิริ อดีตรองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นผู้พิจารณาตรวจร่างสัญญาและตอบข้อหารือแก่ไอซีที ได้เบิกความอธิบายต่อศาลสรุปความได้ว่า ข้อสังเกตที่สำนักงานอัยการสูงสุดตอบไอซีทีไปว่า โครงการนี้เดิมได้รับอนุมัติจากครม.เป็นโครงการของประเทศ ก็ควรที่ไอซีทีจะต้องนำเรื่องเสนอ ครม.พิจารณาก่อนลงนามอนุมัติให้แก้ไขสัญญานั้น เป็นเพียงข้อสังเกตในหลักการทั่วไป มิได้อ้างอิงจากระเบียบกฎเกณฑ์เรื่องใดเป็นการเฉพาะ ซึ่งไอซีทีมีดุลยพินิจที่เสนอให้ ครม.พิจารณาหรือไม่ก็ได้เนื่องจากเป็นเพียงข้อสังเกต เรื่องนี้ปรากฏข้อเท็จจริงในทางคดีว่า ไอซีทีได้มีเจตนานำเรื่องการขอแก้ไขสัญญาส่งไปยังสำนักเลขาธิการ ครม.เพื่อให้ ครม.พิจารณาตามข้อสังเกตของอัยการสูงสุดแล้ว แต่สำนักเลขาธิการ ครม.แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ต้องให้ ครม.พิจารณาจึงส่งเรื่องคืน เมื่อพิจารณาหนังสือตอบกลับของสำนักเลขาธิการ ครม.ดังกล่าวประกอบกับคำเบิกความของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่เบิกความตอบศาล เมื่อดูมติ ครม.เรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศแล้วอธิบายว่า ในมติ ครม.ไม่ได้พูดถึง 51% ครม.ประชุมปรึกษาเมื่อ 4 มิ.ย.รับทราบผลการเจรจาเรื่องเพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็น 1,415 ล้านบาท ลดระยะเวลาผูกขาด 30 ปีเป็นคุ้มครอง 8 ปีและเห็นชอบตามคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจทั้ง 3 ข้อ และเบิกความอธิบายต่อมาว่า เอกสารที่อ้างประกอบการเสนอไม่ถือว่าเป็นมติ ครม. นอกจากนี้พยานปากดังกล่าวยังเบิกความอธิบายหลักการในเรื่องที่ต้องเสนอครม.ต่อศาลอีกว่า ถ้าครม.มีมติเรื่อง 51% ต้องเสนอให้ครม.พิจารณา ครม.ไม่ลงไปดูข้อสัญญาทุกข้อ เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่ถ้าเป็นหลักสำคัญแล้วอยู่ในมติครม. อันนั้นถือว่าเป็นมติ แต่ถ้ามติไม่ได้ระบุถึง 51% เลย แต่ไปอยู่ในเอกสารสัญญาก็จะถือเป็นมติ ครม.ไม่ได้ แม้จะเป็นความเห็นกระทรวงการคลังก็ตาม ก็ถือไม่ได้ต้องขึ้นกับ มติ ครม.นั้นเป็นอย่างไร

จำเลยทั้งสามขอเรียนว่า เมื่อพิจารณามติ ครม.ในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นมติครม.และมติคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการอนุมัติให้บมจ. ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น) เป็นผู้ได้รับสัมปทาน สาระสำคัญคือ ให้บมจ.ดังกล่าวเป็นผู้รับสัมปทานตามเงื่อนไขสัมปทานของกระทรวงคมนาคมในข้อกำหนดทำข้อเสนอขอรับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารในประเทศ โดยรายละเอียดของข้อกำหนดการทำข้อเสนอขอรับสัมปทานดังกล่าว รวมทั้งมติ ครม.และมติกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจ ไม่ได้มีการกำหนดในเรื่องของสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น ในบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่แต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงเห็นว่ากรณีนี้ต้องถือว่า ครม.ไม่เคยมีมติกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ว่าต้องถือหุ้นใน บมจ. ชินแซทเทลไลท์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ไทยคม) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 มาก่อน ดังนั้น การเสนอขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาจึงไม่ใช่เรื่องต้องทบทวนมติ ครม.แต่อย่างใด และเมื่อพิจารณาประกอบกับหนังสือของสำนักเลขาธิการ ครม. เทียบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อครม. จะเห็นได้ว่าเรื่องการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาในลักษณะตามฟ้องก็ไม่เข้าในหลักเกณฑ์เรื่องที่ให้เสนอต่อครม.ตามที่กำหนดในระเบียบดังกล่าว

ส่วนที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ (เลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น) เบิกความอธิบายข้อความคำว่า "ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสนอครม.พิจารณา" ตามปรากฏในหนังสือของสำนักเลขาธิการ ครม.นั้น หมายถึง เมื่ออ่านข้อความเรื่องที่เสนอให้ครม.พิจาณาแล้วไม่อาจเข้าใจได้ว่าจะให้ครม.มีมติอย่างไร จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์การเสนอเรื่องให้ครม. กับอ้างว่า ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียม นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ จึงไม่อาจจะเสนอเรื่องดังกล่าวให้ ครม.พิจารณาได้ โดยแจ้งทางโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ทราบพร้อมกับให้ถอนเรื่องกลับ ส่วนการที่สำนักเลขาธิการ ครม.มีหนังสือตอบกลับดังที่กล่าวไปแล้วนั้นเป็นการตอบทางเทคนิค เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับนายกรัฐมนตรีและรักษาหน้าจำเลยที่ 1 ในฐานะรมว.ไอซีทีเท่านั้น จำเลยทั้งสามของเรียนกว่า เมื่อพิจารณาคำอธิบายของพยานปากอื่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาข้อความของหนังสือตอบกลับของสำนักเลขาธิการ ครม.ที่ระบะว่า "ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสนอครม.พิจารณา" แล้ว ไม่ว่าจะเป็น นายวีรพล ปานะบุตร นายชัยเกษม นิติสิริ คุณหญิงทิพาวี เมฆสวรรค์ แม้กระทั่งอนุกรรมการไต่สวนของโจทก์เอง ทุกคนต่างก็เข้าใจความหมายของข้อความดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกันว่า หมายถึง ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของเรื่องที่จะต้องเสนอให้ครม.พิจารณา ไม่ได้หมายความถึง หนังสือที่นำส่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเสนอเรื่อง ดังความหมายที่นายบวรศักดิ์กล่าวอ้างอธิบายต่อศาล

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงจากคำพยานของนายบวรศักดิ์ ที่ตอบคำถามค้านทนายความจำเลยทั้งสามเมื่อให้พยานดูหนังสือเสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีของไอซีทีเปรียบเทียบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อครม. พยานก็รับว่า หนังสือนำเสนอเรื่องต่อ ครม.ดังกล่าวมีสาระของข้อความตรงตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งหากสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นว่า สาระของหนังสือเสนอเรื่องต่อครม.ฉบับนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนประการใด ตามระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ว่าให้สำนักเลขาธิการครม.แจ้งหน่วยงานที่เสนอเรื่องแก้ไขให้ถูกต้อง หรือแจ้งให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่สงสัย แต่ก็ไม่ปรากฏว่าสำนักเลขาธิการครม.ได้ดำเนินการเช่นนั้นแต่อย่างใด การที่นายบวรศักดิ์เบิกความกล่าวอ้างว่าหนังสือนำเสนอเรื่องให้ครม.พิจารณาของไอซีทีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเสนอเรื่องจึงส่งเรื่องคืนนั้น จำเลยทั้งสามเห็นว่า คำเบิกความส่วนนี้ขัดกับข้อเท็จจริงและเหตุผล ทั้งยังมีลักษณะการเบิกความให้แตกต่างจากความหมายของข้อความในหนังสือราชการที่ตนได้ทำไว้ตามอำนาจหน้าที่อีกด้วย จำเลยจึงขอให้ศาลได้โปรดรับฟังคำพยานของนายบวรศักดิ์ด้วยความระมัดระวัง

ส่วนเรื่องที่นายบวรศักดิ์ กล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า ขณะที่มีการเสนอเรื่องการแก้ไขสัญญาให้ครม.พิจารณา นายทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ในขณะนั้นเคยเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ไม่สามารถเสนอเรื่องได้นั้น จำเลยทั้งสามขอเรียนเป็นข้อพิจารณาว่า ขณะที่มีการเสนอเรื่องการขอแก้ไขสัญญาตามคดีนี้ให้ครม.พิจารณานั้น จะถือว่า นายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นคู่สัญญากับรัฐ อันมีลักษณะห้ามมิให้ดำเนินการดังที่นายบวรศักดิ์อ้างจริงหรือไม่นั้น จำเลยทั้งสามเห็นว่า กรณีนี้ปรากฏข้อเท็จริงตามสัญญาดำเนินการกิจการดาวเทียมโดยชัดแจ้งแล้วว่า ในขณะที่ลงนามทำสัญญาฉบับดังกล่าว (เมื่อปี 2534) นายทักษิณ ชินวัตร ได้ลงนามในฐานะเป็นผ้แทนของ บมจ. ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น มิได้ลงนามเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐเป็นการส่วนตัว อีกทั้งก่อนที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2540 แล้วว่ามิได้มีฐานะเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ นอกจากนี้ตามแผนผังการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับชื่อบริษัท ผู้ถือหุ้น กรรมการผู้บริหาร และการถือครองหุ้นของบมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น และ ชินแซทเทลไลท์ ก็ปรากฏว่า นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้มีฐานะเป็นการรมการบริษัททั้งสองมาตั้งแต่ปี 2537 และไม่ได้มีส่วนเป็นผู้ถือหุ้นในบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ดังนั้น กรณีต้องถือว่าในขณะที่ไอซีทีนำส่งเรื่องการแก้ไขสัญญาไปยังสำนักเลขาธิการครม. ข้อเท็จจริงย่อมเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า นายทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ในขณะน้ันมิได้มีฐานะเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐทั้งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ดังนั้น ข้อที่นายบวรศักดิ์อ้างเหตุดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของครม.ตามที่ไอซีทีนำส่งและส่งเรื่องคืน จึงไม่มีเหตุที่มีอยู่ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแต่อย่างใด อีกทั้งหากเรื่องที่เสนอมีลักษณะต้องห้ามตามที่นายบวรศักดิ์กล่าวอ้างจริงก็ชอบที่นายบวรศักดิ์จะต้องมีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องหรือเหตุต้องห้ามตามกฎหมายให้แก่ไอซีทีได้ทราบอย่างถูกต้องตรงตามระเบียบปฏิบัติราชการ มิใช่มากล่าวอ้างถ้อยคำให้แตกต่างจากข้อความหนังสือราชการที่ตนทำขึ้นยามเมื่อเกิดปัญหาพิพาทในภายหลัง

3. การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นเป็นการลดทอนความมั่นคงความมั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียม บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น อันมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและมั่นคงในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมของรัฐหรือไม่

เรื่องนี้ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่า เมื่อลดสัดส่วนการถือครองหุ้นแล้ว บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ยังคงมีฐานะของการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในอันที่จะสามารถควบคุมการดำเนินงานของ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ ตามเจตนารมณ์เดิมของสัญญาได้อีกหรือไม่ ซึ่งกรณีนี้ จำเลยทั้งสามได้นำสืบอธิบายต่อศาลแล้วว่า ก่อนจะมีการพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขสัญญา สำนักกิจการอวกาศฯ ได้ทำการศึกษาปัญหาและส่งเรื่องหารือปัญหาดังกล่าวไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดตามระเบียบราชการแล้ว สามารถสรุปข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ว่า แม้จะมีการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ใน บมจ. ชินแซทเทลไลท์ จากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด แต่ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ก็ยังคงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยรายใหญ่ที่สุดในบมจ. ชินแซทเทลไลท์ และยังคงสามารถควบคุมการดำเนินงานของบริษัทดังกล่าวได้ตามเจตนารมณ์ของสัญญาอยู่ ซึ่งนับตั้งแต่แก้ไขสัญญามาเป็นเวลากว่า 12 ปีจนปัจจุบัน บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น หรือ บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และยังคงสามารถจะควบคุมการดำเนินงานของ บมจ. ชินแซทเทลไลท์ หรือ บมจ.ไทยคม ได้ตามข้อพิเคราะห์ในหนังสือตอบข้อหารือของสำนักงานอัยการสูงสุดทุกประการ มิได้มีผลให้เป็นการลดทอนความมั่นคงและความมั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียม และมิไม่ได้มีผลให้ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ต้องสูญเสียอำนาจการควบคุม บริหาร จัดการในบมจ. ชินแซทเทลไลท์ อีกทั้งมิได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมดังที่โจทก์กล่าวหาแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงส่วนนี้ได้ความจากคำเบิกความของนายสือ ล้ออุทัย อดีตปลัดไอซีที พยานโจทก์เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยว่า ภายหลังมีการแก้ไขสัญญาดังกล่าว กระทรวงไอซีทีไม่ได้รับผลกระทบจากการบริหารสัญญาจากกรณีที่มีการลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นดังกล่าว

นอกจากนี้ยังได้ความจากนายวันชัย ศารทูลทัต อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการร่างสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมฯ และกรรมการประสานงานตามที่ระบุในสัญญา และนายวีรพล ปานะบุตร อธิบดีอัยการฝ่ายที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด หนึ่งในคณะกรรมการตรวจร่างสัญญาที่ได้เบิกความต่อศาลและให้ถ้อยคำต่ออนุกรรมการไต่สวนของโจทก์ รับฟังได้ในทำนองเดียวกันว่า ถึงแม้จะลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นลงไปแต่ความรับผิดชอบ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยังคงเดิมทุกประการ ไม่มีกรณีใดถูกกระทบและสัญญาก็กำหนดบังคับไว้แล้ว่า ในการจัดตั้งบริษัทใหม่ ซึ่งก็คือ บมจ.ชินแซทเทลไลท์นั้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ยังจะต้องร่วมรับผิดชอบกับบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่นั้นต่อคู่สัญญาฝ่ายรัฐในลักษณะร่วมกันและแทนกัน ดังนั้น ถึงแม้จะลดสัดส่วนการถือหุ้นก็ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ยังมีเสียงข้างมากในการบริหารอยู่ โดยไม่มีผลกระทบต่ออำนาจควบคุมบริหารจัดการของบริษัทแต่อย่างใด สอดคล้องกับการให้ถ้อยคำของพยานผู้บริหารระดับสูงในบริษัท และการชี้แจงจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศที่ว่า หลังลดสัดส่วนการถือหุ้นแล้ว บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด รองลงมาได้แก่ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือหุ้นสูงสุดในปี 2551 ร้อยละ 9.2 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดแต่ก็ไม่มีผลในการลงคะแนนเสียงต่อบริษัท และยังเป็นเช่นนั้นจนปัจจุบัน

ปัจจุบันนับแต่การแก้ไขสัญญาเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวเป็นเวลา 12 ปีแล้วยังไม่เคยปรากฏข้อเท็จจริงยืนยันในทางใดได้เลยว่า บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ได้สูญเสียความมั่นคงและความมั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียมของตนไปจริงหรือไม่ อย่างไร หากแต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงในทางตรงกันข้ามว่า บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ยังคงฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของ บมจ.ไทยคมได้อยู่เช่นเดียวกับตอนก่อนที่ยังไม่ได้แก้ไขสัญญาทุกประการ ดังนั้น เหตุที่โจทก์หยิบยกมาเป็นข้อกล่าวหาดำเนินคดีกับจำเลยจึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐษนเท่านั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่จะนำมายืนยันเจตนากระทำความผิดของจำเลยทั้งสามได้ตามกฎหมาย อีกทั้งในทางคดีโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบพิสูจน์สนับสนุนประเด็นข้อกล่าวหานี้ต่อศาลได้โดยชัดแจ้ง และข้อเท็จจริงในปัจจุบันก็หักล้างข้อกล่าวหาของโจทก์แล้วว่า รัฐไม่ได้เสียเปรียบทั้งในเชิงกฎหมายและเชิงธุรกิจจากการลดสัดส่วนการถือหุ้นตามการแก้ไขสัญญาดังกล่าว โดยพยานผู้บริหาร บมจ.ไทยคม ได้ระบุว่า นับแต่ปี 2534 ที่เริ่มต้นดำเนินการตามสัญญาจนปัจจุบัน สามารถนำส่งรายได้จากการดำเนินงานตามสัญญาฯ ต่อไอซีทีแล้วรวมกว่า 8,000 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2553 อีกประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งกว่าร้อยละ 40 ของรายได้นำส่งดังกล่าวเป็นรายได้จากการให้บริการดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์)

4.จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันพิจารณาอนุมัติให้มีการแก้ไขสัญญา โดยมีเจตนาทุจริต หรือเจตนาเอื้อประโยชน์ให้แก่บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น และ บมจ.ไทยคม หรือไม่

โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยทั้งสามทราบเหตุที่บริษัทขอลดสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อต้องการหาพันธมิตรขยายศักยภาพในการแข่งขัน ให้มีความเข้มแข็งและมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยโจทก์ได้กำหนดกรอบการใช้ดุลยพินิจของจำเลยที่ 1 สำหรับพิจารณาเรื่องนี้ไว้ 3 ประการ คือ ใช้ดุลยพินิจไม่อนุมัติให้แก้ไขสัญญา, ไม่ใช่ดุลยพินิจ หรือชะลอการใช้ดุลยพินิจออกไป

จำเลยทั้งสามขอเรียนกว่า สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ มีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งคือ รัฐประสงค์จะให้ประเทศไทยมีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศเป็นของตนเอง แต่ให้บริษัเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้้งสิ้น โดยกำหนดข้อตกลงในรูปแบบสัญญาร่วมมการงานแบบสร้าง โอน และให้บริการ Build-Transfer-Operate (BTO) คือ เมื่อรัฐให้สัมปทานแก่บริษัทแล้ว ทรัพย์สินอันเกิดจากความร่วมมือตามสัญญา ได้แก่ ดาวเทียมที่บริษัทจัดส่งขึ้นไปตลอดจนสถานีภาคพื้นที่ดินที่บริษัทสร้างขึ้นจะโอนกรรมสิทธิให้กับกระทรวง และกระทรวงจะทำการส่งมอบให้คู่สัญญา คือ บริษัท นำทรัพย์สินดังกล่าวไปบริหารและดำเนินกิจการของบริษัทโดยบริษัทตกลงให้ผลตอบแทนรายปีแก่กระทรวง เนื่องจากขณะนั้นยังมีความเสี่ยงสูงในการลงทุนและการดำเนินกิจการดังกล่าว รัฐจึงกำหนดระยะเวลาให้สัมปทานแก่ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น เป็นระยะเวลานานถึง 30 ปี และมอบให้กระทรวงคมนาคมมีอำนาจดำเนินการและลงนามในสัญญสัมปทานที่สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจแก้แล้วแทนรัฐบาล ซึ่งในปี 2545 ภาระนี้ได้โอนไปให้กระทรวงไอซีทีแทน ทั้งนี้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศดังกล่าวไม่มีข้อกำหนดของสัญญาหรือบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาแต่อย่างใด เมื่อบมจ.ชินแซทเทลไลท์ ซึ่งเป็นผู้บริหารสัญญสัมปทานเสนอขอแก้ไขสัญญาโดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ในบมจ.ชินแซทเทลไลท์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการหาพันธมิตรขยายศักยภาพในการแข่งขัน ให้มีความเข้มแข็งและมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินการโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์นั้น คำร้องในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่คำร้องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด หากแต่เป็นการดำเนินงานปกติทั่วไปขององค์กรทางธุรกิจที่ต้องปรับปรุงองค์กรและเพิ่มศักยภาพของตนให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ประกอบกับสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมฯ เองก็จัดทำขึ้นตั้งแต่ 11 ก.ย.2534 โดยมีอายุของสัญญาเป็นเวลาถึง 30 ปี ซึ่ง ณ วันที่บริษัทร้องขอลดสัดส่วนการถือครองหุ้นนั้นระยะเวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วกว่า 12 ปี ตลอดเวลาที่ผ่านมาดังกล่าวภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบริษัทผู้รับสัมปทานได้เปลี่ยนแปลงไปจากวันที่มีการจัดทำสัญญาอย่างมาก อีกทั้งบริษัทผู้รับสัมปทานทั้งสองก็แปรสภาพจากบริษัทเอกชนมาเป็นบริษัทมหาชน จึงทำให้โครงสร้างและสัดส่วนของผู้ถือหุ้นตลอดจนเงินทุนและการบริหารจัดการของบริษัทมีข้อแตกต่างไปจากวันทำสัญญา เมื่อบริษัทผู้รับสัมปทานเห็นว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่กำหนดไว้เดิมตามสัญญาไม่มีความสอดคล้องกับสภาพการบริหารจัดการและลักษณะการแข่งขันของบริษัทในปัจจุบัน จึงได้ร้องขอให้มีการปรับปรุงแก้ไขสัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการบริหารจัดการและการแข่งขัน กรณีจึงมิได้เรื่องผิดปกติวิสัยของการดำเนินงานตามสัญญาสัมปทานลักษณะนี้แต่ประการใด และสำนักงานอัยการสูงสุดก็ได้พิจารณาแล้วว่าการแก้ไขสัญญาตามคำร้องขอไม่ได้กระทบต่อวัตถุประสงค์เงื่อนไขสำคัญในสิทธิประโยชน์ ความรับผิดชอบตามสัญญา การกำกับ การดูแล การบริหารจัดการ และมิได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และหากพิจารณาในภารวมแล้วย่อมถือว่าเป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐกับบริษัทผู้รับสัมปทาน กล่าวคือ รัฐสามารถผลักดันโครงการดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ได้สำเร็จทำให้ประเทศมีดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ในการสื่อสาร ส่วนบริษัทผู้รับสัมปทานก็สามารถระดมทุนไปจัดสร้างดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ให้แก่รัฐตามวัตถุประสงค์ของสัญญา

ในกระบวนการส่งเรื่องดังที่ได้เรียนไปในตอนต้น จำเลยทั้งสามได้พิจารณาคำขอของบริษัทตามขั้นตอนของระเบียบราชการ สิ้นระยะเวลาในการพิจารณาคำขอของบริษัททั้งหมด 307 วัน การพิจารณาดำเนินการอยู่ภายใต้กรอบการพิจารณาวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักเลขาธิการ ครม. จำเลยทั้งสามไม่ได้มีเจตนาที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศในลักษณะขัดกับกฎหมายแต่ยอย่างใด

อ่านฉบับเต็มได้ในไฟล์แนบด้านล่าง 

AttachmentSize
คำแถลงปิดคดี นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี และพวก (สัดส่วนหุ้นชินคอร์ป) .pdf1.97 MB
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้ ปธ.กสม. ลาออก หลังเบรคผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้แถลงข่าว

$
0
0

เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้ และองค์กรภาคี จำนวน 28 องค์กร ออกแถลงการณ์จี้ให้เปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการสิทธิฯ หลังปฏิเสธการแถลงข้อเสนอของเครือข่ายฯ ผ่านสื่อมวลชนไปยังรัฐบาล

เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้ ได้ “วอล์กเอาต์” เดินออกจากห้องประชุมสิทธิมนุษยชนที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดขึ้นในโรงแรมบุรีศรีภู บูติค อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อประท้วงการทำหน้าที่ของ วัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ไม่อนุญาตให้ชาวบ้านอ่านแถลงการณ์เรียกร้องรัฐหยุดดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจการที่ละเมิดสิทธิชุมชนในภาคใต้ ในห้องประชุม ทำให้ชาวบ้านต้องมาอ่านแถลงการณ์ด้านนอก หลังจากอ่านแถลงการณ์เสร็จแล้ว ได้มีการเรียกร้องให้ปลดประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คนนี้ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่

วัส ติงสมิตร ประธาน กสม. (แฟ้มภาพ)

จากนั้น เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้ และองค์กรภาคี จำนวน 28 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง วัส ติงสมิตร ไม่เหมาะสมที่จะเป็นประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

โดยแถลงกรณ์ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัด เวที กสม.พบประชาชนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงแรมบุรีศรีภู อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีประชาชนจากเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้ รวมถึงข้าราชการ นักวิชาการ และตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ ทั่วทุกจังหวัดในภาคใต้ เข้าร่วมกว่า 300 คน

การประชุมดังกล่าวมีการวิเคราะห์สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ และการระดมข้อเสนอเพื่อให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดใหม่ได้นำไปปฏิบัติเพื่อปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต โอกาสนี้ทางเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้ได้จัดทำข้อเสนอเตรียมออกเป็นแถลงการณ์เพื่อนำผ่านสื่อมวลชนไปยังรัฐบาล ให้หยุดการดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจการที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิชุมชนในภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และด้วยหวังจะให้คณะกรรมการสิทธิฯ ได้รับทราบเนื้อหาสาระของข้อเสนอในแถลงการณ์ดังกล่าวด้วย โดยได้ประสานงานกับคณะกรรมการสิทธิฯ บางท่านไว้ล่วงหน้าเพื่อขอช่วงเวลาก่อนการปิดเวทีการประชุมในการจัดแถลงข่าวนี้ แต่กลับได้รับการปฏิเสธจาก วัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้วยท่าทีที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ ทั้ง ๆ ที่เนื้อหาสาระในคำแถลงการณ์ดังกล่าวนั้น มิได้กระทบกับคณะกรรมการสิทธิฯชุดนี้แต่อย่างใด หากเป็นการสื่อสารไปยังรัฐบาลเท่านั้น

เป็นเหตุให้ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดรู้สึกไม่พอใจต่อท่าทีดังกล่าว จึงได้ประท้วงนายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิฯ ด้วยการเดินออกจากห้องประชุมก่อนที่จะกล่าวปิดการประชุมแล้วเสร็จ จากนั้นเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้ทั้งหมดได้ใช้พื้นที่หน้าห้องประชุมอ่านแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวต่อหน้าสื่อมวลชน พร้อมกันนี้ได้มีการกล่าวตำหนิท่าทีที่ไม่เหมาะสมของประธานคณะกรรมการสิทธิฯ ซึ่งทราบมาว่าในเวที กสม.พบประชาชนที่ได้จัดไปก่อนหน้านี้ในภาคอื่น ๆ ก็เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดกั้นสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน อันเป็นการกระทำที่ขัดแย้งอย่างยิ่งกับคุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้ที่จะทำหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 

เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้จึงมีฉันทามติร่วมกันว่าไม่สามารถยอมรับการปฏิบัติหน้าที่ของ วัส ติงสมิตร ในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้อีกต่อไป เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์กรอิสระซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นที่พึ่งของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศนั้นเกิดความมัวหมอง ไร้ความสง่างาม จึงขอตำหนิการปฎิบัติหน้าที่ของนายวิส ติงสมิตร ในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งหมดแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการเปลี่ยนตัวบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสิทธิฯต่อไป เพื่อแก้ไขภาพลักษณ์ และเรียกความศรัทธา ความเชื่อมั่นของประชาชนกลับมาอีกครั้ง

สำหรับองค์กรประชาชนที่ร่วมแถลงการณ์เรื่อง ขอตำหนิ และขอให้เปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นี้ประกอบด้วย คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ เครือข่ายปฎิรูปที่ดินภาคใต้ เครือข่ายชนเผ่าภาคใต้ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ เครือข่ายสิทธิชุมชนเขาคูหา เครือข่ายชาวเลภาคใต้ เครือข่ายชาติพันธุ์ชนเผ่ามอแกน-มอแกลน สภาชนเผ่าพื้นเมือง เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดพังงา เครือผู้ประสบภัยสีนามิ เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสงขลา-สตูล สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ สมาคมรักษ์ทะเลไทย มูลนิธิอันดามัน เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย มูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต โครงการพลังพลเมืองร่วมสร้างภาคใต้น่าอยู่ เครือข่ายปกป้องแหล่งผลิตอาหารภาคใต้ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศภาคใต้ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคสงขลา สมาคมรักษ์ทะเลกระบี่ เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต เครือข่ายพลเมือง และเครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงานสงขลา

แถลงการณ์หยุดละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้

สำหรับเนื้อหาในแถลงการณ์ซึ่งผู้จัดการออนไลน์ได้นำมาเผยแพร่ด้วยนั้น  ระบุว่า ชาวบ้านเรียกร้องให้หยุดการดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจการที่ละเมิดสิทธิชุมชนในภาคใต้ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน ได้มีการดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจการที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต สังคม วิถีวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันนำไปสู่การละเมิดสิทธิชุมชนตามมา เช่น
       
1. นโยบายการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ที่รัฐบาลได้ประกาศเดินหน้าโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งสองฝั่งทะเลอ่าวไทย และอันดามัน หรือแลนด์บริดจ์ ที่จะต้องสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล และท่าเรือน้ำลึกบ้านสวนกง จังหวัดสงขลา รวมถึงการเกิดขึ้นของโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันอีกมากมาย เช่น การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างท่าเรือสองฝั่ง การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม การสร้างเขื่อน และการเปิดพื้นที่การลงทุนแบบใหม่ที่เรียกว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลา
 
2.โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโรงไฟฟ้าเทพา ที่มีการเร่งรัดดำเนินโครงการอย่างมีนัยในช่วงปีที่ผ่านมา
 
3.โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ และโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่เกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจายทั่วทุกจังหวัดในภาคใต้ ซึ่งพยายามหลบเลี่ยงข้อระเบียบ หรือขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่ความขัดแย้งในหลายพื้นที่
 
4.นโยบายการทวงคืนผืนป่าที่ได้มีการตรวจยึดพื้นที่ทำกินดั้งเดิมของชุมชนอย่างไม่แยกแยะ อันส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกรชาวไร่ ชาวสวนยาง ในหลายพื้นที่
 
5.การละเลยไม่คุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มชาติพันธุ์ภาคใต้ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มมันนิ (ซาไก) จนนำไปสู่ปัญหาอื่นๆเช่น การถูกรุกจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การสูญเสียที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวเล หรือการรับรองสิทธิพลเมืองของกลุ่มมันนิ
       
6. สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่มีแนวทาง หรือทางออกในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างเป็นระบบ และยังมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นรายวัน ทั้งที่โดยหลักการแล้วการดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจการต่างๆ เหล่านี้จะต้องอาศัยความละเอียดอ่อนที่รัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องพึงระวังถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น และระยะยาว อีกทั้งต้องอาศัยกระบวนการทางกฎหมาย หรือข้อระเบียบต่างๆ ในการกลั่นกรองก่อนการดำเนินโครงการอย่างรอบด้าน มิเช่นนั้นแล้ว ก็จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิของประชาชน และสิทธิชุมชนเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต
       
เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจาการละเมิดสิทธิชุมชนภาคใต้ มีความเห็นว่า นโยบาย และหลายโครงการที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นไม่เหมาะสมที่จะได้รับการตัดสินใจผลักดันเดินหน้าในรัฐบาลเฉพาะกิจ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการออกแบบ หรือสร้างกติกาทางสังคมแบบใหม่ ภายใต้เจตนารมณ์ของรัฐบาลเองที่ต้องการปฏิรูปประเทศนี้ให้ดีกว่าเดิม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดบรรยากาศของความขัดแย้งทางการเมือง และสังคมในภาคใต้ อันเกิดขึ้นจากความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างผู้ดำเนินนโยบายกับชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ ก็ซึ่งกำลังนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านในชุมชนด้วยกันเอง ซึ่งเป็นความขัดแย้งอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังขยายวงเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่
       
ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันการละเมิดสิทธิที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเสนอให้รัฐบาลยุติ หรือทบทวนการดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจการดังที่ได้กล่าวแล้วเบื้องต้น และให้หันมาสร้างบรรยากาศของประเทศไปสู่ความสมานฉันท์ปรองดอง และสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง         

เลขาธิการ กป.อพช.ใต้ เขียนผิดหวังปธ.กสม.คนนี้จริงๆ 

 
ผมรู้สึกผิดหวังกับบทบาทของประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนนี้...จริงๆครับ
 
การเกิดขึ้นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ถือเป็นพัฒนาการของวงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย และถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของสังคมไทย ผลงานของคณะกรรมการฯชุดแรกที่มี อ.เสน่ห์ จามริก เป็นประธาน ได้สร้างต้นแบบของการติดตาม ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของประชาชนคนฐานรากในสังคมไทยได้อย่างสวยงาม รวมถึงการแสดงบทบาทของคณะกรรมการแต่ละท่าน ไม่ว่าคุณสุนีย์ ไชยรส ,คุณวสันต์ พานิชย์ ก็สร้างความโดดเด่นในการทำหน้าที่จนสร้างผลสะเทือนต่อองค์กร หรือหน่วยงานที่ทำการละเมิดสิทธิอย่างประจักษ์ โดยเฉพาะด้านสิทธิชุมชนที่ได้ถูกกระทำและละเมิดมากขึ้นตามยุคสมัย จนมาถึงยุคของ อาจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ก็ได้ได้มีการสืบทอดเจตนารมณ์ตามบทบาท แม้อาจจะถูกตั้งคำถามเปรียบเทียบกับการทำหน้าที่ในชุดของ อ.เสน่ห์ ที่ได้สร้างบรรทัดฐานไว้ค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ความหวังของคณะกรรมการฯชุดนี้ ก็ตกมาอยู่ที่กรรมการอย่าง นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ซึ่งได้ช่วยกอบกู้สถานะของคณะกรรมการฯชุดนี้ได้ และโดยส่วนตัวแล้ว ผมมีความศรัทธา และเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของคุณหมอท่านนี้อย่างไม่มีข้อระแวงสงสัย ซึ่งรวมถึงทีมงานที่เป็นอนุกรรมการสิทธิชุมชนอีกหลายท่านก็มีบทบาทส่งเสริมกันอย่างน่าศึกษายิ่ง จากการทำงานของคณะอนุกรรมการฯชุดนี้ ยิ่งสร้างรูปแบบและกระบวนการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และมีลูกเล่นลูกชนที่มีศิลปะเป็นอย่างยิ่ง จนผมต้องเฝ้าสังเกตุกลยุทธ์การตรวจสอบของคุณหมอท่านนี้ละเอียดในท่วงทำนอง
 
แต่เมื่อมาถึงวาระของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่ 3 ที่มี วัส ติงสมิตร เป็นประธาน ซึ่งเป็นบุคคลที่ผมไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่ด้วยภาระหน้าที่ที่จะต้องเฝ้าติดตามการปฏิบัติงานของกลไกนี้อย่างหนีไม่พ้น ผมก็แอบหวังไว้ในใจว่าจะเป็นที่พึ่งพาของประชาชนผู้ถูกละเมิดสิทธิได้ต่อไป
ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่ปกติ ซึ่งนั่นหมายถึงการต้องอาศัยความกล้าหาญของผู้นำองค์กรเป็นที่ตั้ง เพื่อนำพาขบวนของการตรวจสอบการละเมิดสิทธิชุมชนของประชาชน และสิทธิด้านอื่นๆ ไปให้ได้ ทั้งที่ในความจริงผมแทบไม่มีความหวังกับคณะกรรมการฯทั้ง 7 ท่านนี้เท่าใดนัก ยกเว้นคุณเตือนใจ ดีเทศน์ และคุณอังคณา นีละไพจิตร ในฐานะที่ชีวิตและการงานของทั้งสองท่านที่ยึดโยงกับผู้ไร้สิทธิ์มาอย่างยาวนาน (ทั้งที่ผมทราบเป็นการภายในว่าสองท่านนี้ก็ไม่ได้ทำงานอย่างราบรื่นนัก)
 
วันนี้ผมมีโอกาสได้ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และก่อนนี้ก็ได้เตรียมการจัดเวทีกรรมการสิทธิพบประชาชน ในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม ที่ผ่านมา ในฐานะของเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) ด้วยหวังว่าจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันในอนาคต ทั้งที่ทราบว่าในเวทีดังกล่าวก่อนหน้าที่ในภาคเหนือ ภาคอีสาน ได้เกิดปัญหาการจัดเวทีที่ไม่ราบรื่นนัก โดยเฉพาะการแสดงท่าทีของประธานคณะกรรมการฯ คือ วัส ติงสมิตร แต่ไม่คาดคิดว่าจะได้เห็นท่าทีที่ไม่พึงปราถนาเช่นนี้ในเวทีภาคใต้ด้วยเช่นกัน การปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนที่ท่านได้เชิญมาในครั้งนี้ได้ขัดกับบทบาทหน้าที่ของการเป็นประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเกียรติภูมิระดับชาติ
 
ผมจึงรู้สึกผิดหวังกับบทบาทของ วัส ติงสมิตร เป็นอย่างยิ่ง และอาจจะนำไปสู่การเสื่อมศรัทธาต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรนี้ในอนาคตอีกด้วย ต่อเรื่องนี้จึงเป็นหน้าที่ของบุคคลากรที่อยู่ในกลไกของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งหมดว่าจะร่วมกันปกป้อง และรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรให้สง่างาม เป็นที่เชื่อมั่นของประชาชนผู้ถูกละเมิดสิทธิ และรวมถึงตัวกระผมเองได้อย่างไร...คิดกันเถอะครับ
 
สมบูรณ์ คำแหง
เลขาธิการ กป.อพช.ใต้
25 สิงหาคม 2559

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: ตรวจสอบ ‘มาตรา 116’ แด่ความมั่นคง หรือผลประโยชน์ทางการเมือง?

$
0
0

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” เป็นกฎหมายที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก เพราะมีเหตุให้ใช้ไม่บ่อย แต่หลังการรัฐประหารในปี 2557  ข้อหานี้ถูกใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ต่อกลุ่มคนที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองในทิศทางตรงข้ามกับรัฐบาลทหาร จนเข้าลักษณะเป็นการตั้งข้อหาเพื่อหวังผลทางการเมือง และตอกย้ำว่ากฎหมายมาตรานี้เป็นข้อหาที่อยู่คู่กับการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองมาทุกยุคทุกสมัย

 

รู้จักกฎหมายอาญามาตรา 116

“มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

(๑) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย

(๒) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ

(๓) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”

มาตรา 116 เขียนอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร จะเห็นได้ว่า มาตรา 116 เป็นความผิดอาญาที่มุ่งเอาผิด “การทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่น” หมายความว่า กฎหมายนี้เป็นกรอบกำกับการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ

หากเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม หรือ สำหรับยุคที่มีรัฐธรรมนูญ หากเป็นการใช้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นตามสิทธิขึ้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 116 และที่สำคัญเมื่อกฎหมายนี้อยู่ในหมวด “ความมั่นคง” การกระทำที่จะถือว่าผิดมาตรา 116 ผู้กระทำต้องมีเจตนาให้กระทบต่อความมั่นคงด้วย 

สำหรับการเรียกร้องต่อสาธารณะให้แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายที่เห็นว่าไม่เป็นธรรม หรือการเรียกร้องให้เปลี่ยนรัฐบาล หรือผู้นำประเทศ หากเป็นการเรียกร้องโดยสันติวิธี ไม่มีการใช้กำลังเข้าบังคับ ก็ย่อมไม่ผิดตามมาตรา 116 (1)

ประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้ตั้งชื่อเล่นหรือชื่อเรียก สั้นๆ ให้กับมาตรา 116 เหมือนความผิดฐาน “ลักทรัพย์” “ยักยอกทรัพย์” หรือ “ทำร้ายร่างกาย”  มาตรา 116 จึงถูกเรียกแตกต่างกันไป บางครั้งเรียกว่าความผิดฐาน “ยุยงปลุกปั่น” ซึ่งเป็นชื่อไม่เป็นทางการที่พอจะอธิบายลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดตามมาตรานี้ได้บ้าง แต่ไม่ถึงกับสมบูรณ์นัก

เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ความผิดในลักษณะนี้หลายประเทศเรียกว่า Sedition Law ซึ่งบางประเทศก็เขียนไว้ในกฎหมายอาญาเหมือนกับไทย บางประเทศก็กำหนดไว้ในกฎหมายพิเศษต่างหาก

 

ก่อนรัฐประหาร 2557 มาตรา 116 ถูกใช้ไม่บ่อย-ใช้ไม่ได้ผล

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ( iLaw)   ติดตามบันทึกข้อมูลการบังคับใช้กฎหมายกับการแสดงความคิดเห็นของประชาชนมาตั้งแต่ปี 2553 หากนับถึงช่วงเวลาก่อนการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557   พบการดำเนินคดีตามมาตรา 116 อย่างน้อย 4 คดี คือ

คดี ‘ปีนสภาสนช.’ เมื่อปี 2550  ซึ่งเอ็นจีโอ 10 คนตกเป็นจำเลยจากการปีนรั้วเข้าไปหยุดยั้งการพิจารณา กฎหมายที่ไม่ชอบธรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในสมัยนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานบุกรุก แต่ให้ยกฟ้องข้อหามาตรา 116  เนื่องจากเป็นการใช้เสรีภาพการชุมนุมและแสดงความคิดเห็นตาม รัฐธรรมนูญ ขณะที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา

คดี ‘ดีเจหนึ่ง’ หรือจักรพันธ์  ประกาศผ่านรายการวิทยุให้ประชาชนชุมนุมปิดถนนสายเชียงใหม่-ลำปาง บริเวณแยกดอยติ ในช่วงเดียวกับการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน 2552  ศาลจังหวัดเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่ให้รอการกำหนดโทษไว้ มีกำหนด 3 ปี เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนที่ไปปิดถนนเป็นคนที่ฟังรายการของจำเลย อีกทั้ง การลงโทษทางอาญาในคดีที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา 

คดี ‘เคทอง’ หรือ พรวัฒน์  อัดรายการในแคมฟร็อก  ทำนายว่าจะมีเหตุระเบิดในกรุงเทพ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากถ้อยคำที่จำเลยกล่าวตามฟ้องแล้ว เห็นได้ว่าเป็นถ้อยคำที่คนทั่วไปรับฟังแล้วย่อมเกิดความตระหนกตกใจ แต่ไม่ได้มีข้อความใดๆ ในทำนองยุยงส่งเสริมหรือปลุกระดมให้เกิดความปั่นป่วน  

คดี ‘สมชาย ไพบูลย์’  ส.ข.พรรคเพื่อไทย ปราศรัยที่แยกผ่านฟ้าระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงในปี 2553 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้มีความผิดตามมาตรา 116 ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อหามาตรา 116  กับเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ หลังโพสต์ข่าวลือการรัฐประหารใน สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ลงเฟซบุ๊ก ในเดือนสิงหาคม 2556, พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้าย แกนนำกลุ่มพิทักษ์สยาม จากการชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555, และอนุวัฒน์ แกนนำ นปช.โคราช จากการปราศรัยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เรื่องการแบ่งแยกประเทศ  ซึ่งทั้งสามกรณียังไม่มีรายงานความคืบหน้าในทางคดี

ปรากฎการณ์บังคับใช้มาตรา 116 หลังรัฐประหาร 2557

หลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี 2557  มีการจับกุม และดำเนินคดีผู้มี ความเห็นต่างทางการเมืองจำนวนมาก นับจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2558 มีการนำข้อหามาตรา 116 มาใช้อย่างน้อย 10 คดี มีคนตกเป็นผู้ต้องหาอย่างน้อย 47 คน

บางคดีกลายเป็นที่ถกเถียงอย่างมากว่า ความมั่นคงของรัฐที่ถูกอ้างในตัวบทกฎหมาย สุดท้ายความมั่นคงไปผูดขาดที่ตัวผู้นำประเทศ หรือกลุ่มผู้นำประเทศหรือไม่   รายงานพิเศษชิ้นนี้จะชี้ให้ผู้อ่านเห็นว่า ความมั่นของรัฐที่บังคับใช้กับคนกระทำผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องนั้น แท้จริงถูกใช้คุ้มครองใคร ? หรือถูกใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างไรบ้าง ?

‘รินดา’ หมิ่นประมาทบุคคล ไฉนเป็นข้อหา’ยุยงปลุกปั่น’

รินดา หรือหลิน ขณะถูกจับกุมอายุ 44 ปี ประกอบธุรกิจส่วนตัว เธอถูกกล่าวหาว่า โพสต์ข้อความลงใน    เฟซบุ๊ก ชื่อ "รินดา พรศิริพิทักษ์"  เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2558 (ก่อนได้ประกันตัวเพื่อสู้คดีในภายหลัง)  ข้อความที่โพสต์เป็นข้อความที่แชร์ต่อกันในสื่อออนไลน์ เรียกร้องให้คนที่ทำงานเกี่ยวกับการเงิน ช่วยกัน สกัดการโอนเงินจำนวนหลายหมื่นล้านบาทไปยังประเทศสิงคโปร์ โดยเงินดังกล่าวเป็นเงินที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยา ได้มาโดยมิชอบ และจะโอนผ่านการเปิดบัญชีย่อยๆ หลายบัญชีกับธนาคารกสิกร ไทย (http://freedom.ilaw.or.th/th/case/682)

ตอนหนึ่งในคำร้องขอฝากขังที่พนักงานสอบสวนยื่นต่อศาลทหารระบุว่า ผู้ต้องหาโพสต์ข้อความในลักษณะที่เป็นเท็จให้ร้าย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าโยกย้ายทรัพย์สินออกนอกประเทศเพื่อลี้ภัยไปประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่เป็นความจริง ผ่านทางเฟซบุ๊ก

“เฟซบุ๊กที่ใช้โพสต์ข้อความเปิดสาธารณะ บุคคลทั่วไปสามารถเห็นข้อความที่เจ้าของเฟซบุ๊กโพสต์และสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกตกใจ และหากหลงเชื่ออาจทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบใประเทศ"

การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่าย เป็นความผิดฐานยุงยงปลุกปั่น และ ฐานปล่อยข่าวลือเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และมาตรา 384 และ ฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (2)

ในชั้นสอบคำให้การ  ธันวาคม 2558 ศาลขึ้นบัลลังค์โดยยังไม่ได้ถามคำให้การรินดา ว่าจะให้การอย่างไร  แต่อ่านคำฟ้องของโจท์ และศาลพิเคราะห์แล้วเห็นเองว่า จากข้อความ "พล.อ.ประยุทธ์ และภรรยาทุจริตภาษีประชาชน โอนเงินไปประเทศสิงคโปร์หลายหมื่นล้านบาท " ไม่เข้าข่ายความผิดยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เป็นเพียงการหมิ่นประมาทโดยโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328  ศาลทหารจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  ความเห็นศาลอาญาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล

ภาพรินดา ขณะถูกดำเนินคดีที่ศาลทหารกรุงเทพ ที่มาภาพ : iLaw

อีกคดีที่น่าฉงน ‘จุฑาทิพย์’ วิจารณ์ทุจริตอุทยานราชภักดิ์

24 พฤศจิกายน 2558 เวลาประมาณ 18.49 น  ‘จุฑาทิพย์’ โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ ‘เจนนี่เจนนี่’ ว่า "วงในว่ามาน่ะ ...." รอยร้าวเริ่มปริ เริ่มเห็นชัดเมื่อพลเอกประยุทธ์และพลเอกประวิทย์สั่งให้จับตาสองคีย์แมนทหาร "วงศ์เทวัญ" พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา พลโทอภิรัชต์ คงสมพงษ์ เมื่อสัญญาณจากพลเอกเปรมบอกให้ล้มรัฐบาลหมิ่นสถาบัน  พลโทอภิรัชต์ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารที่จงรักภักดีต่อสถาบันมากที่สุด ถึงกับทนไม่ไหวต่อการกระทำเรียกกินหัวคิวและส่วนต่างในการสร้างอุทยานราชภักดิ์ อันตรายมากสำหรับ "บิ๊กป้อม" พลเอกประวิทย์ เมื่อข่าวว่าอาทิตย์ที่ผ่านมานี้พลเอกเปรมได้เรียกพลเอกอุดมเดชเข้าไปพบ เพื่อสอบถามเรื่องต่างๆ จนมีข่าวทุจริตอุทยานราชภักดิ์แพร่ไปทั่ว พลเอกอุดมเดชซัดทอดถึงต้นตอทั้งหมดคือ พลเอกประวิตร ตั้งแต่เริ่มงานรับเหมา การคัดเลือกบริษัทก่อสร้าง ช.การช่างงานปั้น ตลอดไปจนถึงสิ่งของ และรับเงินบริจาคทุกรายการ” (freedom.ilaw.or.th/case/707)

ในคำร้องของเจ้าหน้าที่ เขียนว่าการกระทำของจุฑาทิพย์ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  116 (2) และผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) (2) (3) (5)

ชั้นฟังคำสั่งอัยการ  เมษายน 2559  อัยการทหารแจ้งคำสั่งว่า หัวหน้าอัยการทหารพิจารณาตรวจสำนวน แล้วมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116  ส่วนความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  ไม่ใช่ความผิดที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  (คสช.) ฉบับที่ 37/2557"  ต้องดำเนินคดีในศาลยุติธรรม จึงขอส่งคืนสำนวนคดีนี้ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป

นอกจากนี้ข้อหายุยงปลุกปั่นยังถูกใช้ในบริบทอื่นๆ โดยเฉพาะการแสดงออกทางการเมืองอย่างชัดเจนว่า เป็นขั้วตรงข้ามกับรัฐบาล

คดีของจาตุรนต์ ฉายแสง จากการให้สัมภาษณ์นักข่าวโจมตีคสช.ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เมื่อวันที่  27 พฤษภาคม 2557  ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาที่ศาลทหารกรุงเทพ

คดีของสมบัติ บุญงามอนงค์ ซึ่งถูกจับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 จากการโพสเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ นัดหมายให้ประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้าน คสช. ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาที่ศาลทหารกรุงเทพ

คดีของชาวเชียงราย 3 คน ได้แก่ ออด ถนอมศรี และสุขสยาม ถูกจับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557 จากการติดป้ายมีข้อความขอแบ่งแยกเป็นประเทศล้านนา คดีนี้ศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษาจำคุกจำเลยคนละ 4 ปี  แต่ลดโทษให้ 1 ใน 4 เหลือจำคุก 3 ปีเพราะให้การเป็นประโยชน์ และรอการลงโทษจำคุกมีกำหนด 5 ปี

คดีของชัชวาลย์ นักข่าวอิสระจากจังหวัดลำพูน ที่รายงานข่าวการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารผิดวัน จากวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ต่อมาศาลทหารจังหวัดเชียงใหม่พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากจำเลยเพียงนำเสนอข่าวเหตุการณ์ประจำวัน และโจทก์ไม่อาจนำสืบจนสิ้นสงสัยได้ว่า จำเลยมีเจตนาสร้างความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน

คดีของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ 14 คน จากการชุมนุมต่อต้านคสช. และเรียกร้องหลักการ 5 ข้อ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปัจจุบันคดียังอยู่ระหว่างการสรุปสำนวนสอบสวน

การตั้งข้อหาด้วยมาตรา 116 และดำเนินคดีต่อศาล อาจไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการลงโทษผู้กระทำความผิดที่เป็นภัยต่อสังคมโดยตรง แต่หลายกรณีพอเห็นได้ว่ามีผลประโยชน์ทางการเมืองอยู่เบื้องหลังการตั้งข้อหาและดำเนินคดีตามมาตรา 116 อยู่ด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดเจนขึ้นในยุคของคสช. พอจะกล่าวได้ดังนี้

ใช้ข้อหาหนักเพื่อขู่ให้กลัว เนื่องจากมาตรา 116 เป็นความผิดในหมวด “ความมั่นคง” ตามประมวลกฎหมายอาญา และมีโทษจำคุกสูงสุดถึงเจ็ดปี ซึ่งถือเป็นข้อหาหนักที่มีโทษสูง เมื่อฝ่ายรัฐนำมาตรา 116 มาใช้กับประชาชน มักจะมีการแถลงข่าวเรื่องการจับกุมและการตั้งข้อหาด้วย ซึ่งไม่ว่าคดีความและผลของคดีจะดำเนินต่อไปอย่างไร ผู้ต้องหาที่ถูกตั้งข้อหาหนักเช่นนี้ ย่อมรู้สึกกลัว เป็นกังวลกับผลคดีของตัวเอง

เพิ่มภาระให้จำเลย ต้องหาหลักทรัพย์ประกันตัวสูงขึ้น เนื่องจาก มีโทษจำคุกสูงสุดถึงเจ็ดปี ทำให้ตำรวจและอัยการสามารถขอฝากขังผู้ต้องหาไว้ก่อนฟ้องคดีมีระยะเวลาสูงสุดได้ 48 วัน ในระหว่างการฝากขังนั้น จำเลยต้องยื่นขอประกันตัวโดยวางหลักทรัพย์ต่อศาล ซึ่งศาลมักจะตีราคาหลักทรัพย์ตามอัตราโทษสูงสุดในคดีนั้นๆ

คดีต้องขึ้นศาลทหาร ตามประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้คดีในประมวลกฎหมายอาญาหมวด “ความมั่นคง” และคดีฐานฝ่าฝืนประกาศและคำสั่งคสช. ที่พลเรือนตกเป็นผู้ต้องหาต้องพิจารณาที่ศาลทหาร และต้องต่อสู้กันอย่างยืดเยื้อยาวนาน

อ่าน 'จับตา': “จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับประชามติ 2559"
http://www.tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=6377

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอนโธนี เดวิส วิเคราะห์เหตุระเบิดในไทย รัฐบาลจะจัดการปัญหาอย่างไร

$
0
0

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงวิเคราะห์ถึงปัญหาระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มติดอาวุธในสามจังหวัดภาคใต้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดล่าสุดเมื่อช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย ในขณะที่รัฐบาลเผด็จการทหารยังพยายามเอาแต่รักษาหน้ามากกว่าจะยอมรับและแก้ไขปัญหาการเจรจาสันติภาพอย่างจริงจัง

26 ส.ค. 2559 แอนโธนี เดวิส นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงเขียนบทความในเว็บไซต์ Nikkei Asian Review ถึงกรณีการวางระเบิดในไทยช่วงกลางเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา สำหรับเดวิสแล้วเรื่องนี้ชวนให้รู้สึก "เดจาวู" ราวกับได้เห็นภาพเหตุการณ์ซ้ำซ้อน มีสื่อวิเคราะห์ถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่กำลังอ่อนแรงลงหลังจากเฟื่องฟูมาเป็นเวลานาน มีการสันนิษฐานกันในโลกออนไลน์ไปต่างๆ นานารวมถึงความเป็นไปได้เรื่องการสมคบคิด การสาดโคลนใส่อีกฝ่าย แบบเดียวกับทุกครั้งหลังจากเกิดเหตุรุนแรงที่ไม่มีใครอ้างตนเป็นผู้ก่อเหตุ

แต่สำหรับเดวิสแล้วการที่หลังก่อเหตุประเทศไทยกลับเข้าสู่ภาวะ "กลับไปทำมาหากินตามปกติ" ได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ได้คำตอบว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุกันแน่เช่นนี้ เป็นสิ่งที่อันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่มีการออกมากล่าวหาผู้ก่อเหตุด้วยเหตุผลทางการเมืองโดยทันทีแม้จะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อย การสืบสวนสอบสวนของตำรวจเองก็ดูเอาแน่เอานอนไม่ได้จากการพยายามมุ่งเป้าไปที่ทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไป อย่างเช่นมัวแต่มุ่งเป้าไปที่กลุ่มเสื้อแดง ทั้งที่ตามความคิดเห็นของเดวิสแล้ว ผู้ต้องสงสัยคือกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีหรือบีอาร์เอ็น เมื่อพิจารณาจากการวางแผนและเตรียมการให้เกิดเหตุต่อเนื่องเป็นจุดๆ และความสามารถในการดำเนินการ

กลุ่มบีอาร์เอ็นไม่ได้อ้างความรับผิดชอบการก่อเหตุในครั้งนี้ เช่นเดียวกับที่พวกเขาไม่เคยอ้างความรับผิดชอบกับการก่อเหตุในเขตจังหวัดแถวหน้าอย่าง ปัตตานี, นราธิวาส และยะลา เดวิสระบุว่าทางการไทยก็ไม่ค่อยชี้นิ้วไปที่บีอาร์เอ็นเช่นกัน แต่การที่พวกเขาไม่ทำเช่นนั้นก็ถือเป็นการเมินเฉยต่อการยกระดับการก่อเหตุรุนแรงและเป็นการปฏิเสธไม่มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาทางการเมือง

นอกจากมุมมองทางการเมืองแล้วเดวิสยังระบุถึงสาเหตุที่เขาสงสัยว่าเป็นฝีมือบีอาร์เอ็นจากหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องมือระเบิดที่ใช้ก่อเหตุที่มีรูปแบบเดียวกับที่ใช้ก่อเหตุสามจังหวัดภาคใต้ รวมถึงการตั้งเวลาจุดระเบิดก็มีลักษณะเดียวกับวิธีการของกลุ่มบีอาร์เอ็น ดีเอ็นเอที่ตรวจพบใกล้กับจุดเกิดเหตุในภูเก็ตก็ตรงกับผู้ต้องสงสัยที่อยู่ในบันทึกกลุ่มติดอาวุธของทางการ เดวิสระบุว่าถึงแม้บีอาร์เอ็นมักจะก่อเหตุในเขตจังหวัดแถวหน้าเป็นส่วนใหญ่แต่ก็มีบางครั้งที่ขยายผลการโจมตีนอกเขตของพวกเขา แม้ว่าจะไม่ได้จงใจวางเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวแต่การโจมตีเหล่านี้ก็ทำให้ชาวต่างชาติบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายครั้ง

เดวิสมองว่าแรงจูงใจอย่างหนึ่งในการโจมตีครั้งนี้น่าจะมาจากการต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ละเลยชาวมุสลิมในในสามจังหวัดในขณะที่ส่งเสริมพุทธนิกายเถรวาทอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังอาจจะมีแรงจูงใจที่กว้างกว่านั้นคือการเจรจาสันติภาพที่กระท่อนกระแท่นของรัฐซึ่งบีอาร์เอ็นไม่ยอมรับในกระบวนการ พวกเขาเคยให้สัมภาษณ์ต่อ Nikkei Asian Review ขณะที่พวกเขาอยู่นอกประเทศไทยว่าต้องการให้มีการเจรจากับทางการไทยแต่ต้องมีตัวกลางจากต่างประเทศด้วย แต่ทางการไทยไม่อยากให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องระดับนานาชาติโดยยืนยันว่าเป็นเรื่องภายในประเทศจึงมีกระบวนการหารือที่ล่าช้ากับกลุ่มย่อยอย่างมาราปาตานีที่ไม่ได้มีอิทธิพลควบคุมปฏิบัติการภายในประเทศไทย

เดวิสวิเคราะห์อีกว่าการที่บีอาร์เอ็นขยายผลการปฏิบัติการไปทางเหนือมากขึ้นเป็นการเสี่ยงทำลายเศรษฐกิจของประเทศทำให้บีอาร์เอ็นสามารถคำนวณว่าพวกเขาจะเรียกความสนใจจากทางการไทยได้ในเวลาไหน จุดนี้ถือว่าบีอาร์เอ็นถือไพ่เหนือกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากที่ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายกับความขัดแย้งในภาคใต้ที่มีมาเป็นเวลานาน 13 ปี การขยายวงก่อเหตุจึงเป็นการส่งสัญญาณแรงๆ ให้กับกลุ่มที่สนับสนุนขบวนการของพวกเขาและผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวมุสลิมมาเลย์ว่า พวกเขาเป็นกลุ่มอำนาจที่รัฐบาละเลยต่ออันตราย

นอกจากนี้เดวิสยังวิเคราะห์จากแถลงการณ์ของกลุ่มบีอาร์เอ็นเมื่อเดือน ต.ค. อีกว่าการก่อเหตุในครั้งนี้น่าจะมาจากฝีมือของกลุ่ม "ยัง เติร์ก" ที่เป็นกลุ่มย่อยซึ่งมีการแบ่งแยกภายในผู้ที่ทนไม่ไหวกับการนำของขบวนการในสายการเมือง โดยกลุ่มบีอาร์เอ็นมีทั้งกลุ่มที่ปฏิบัติการทางทหารและกลุ่มที่ปฏิบัติการฝ่ายการเมือง

เดวิสประเมินว่ารัฐบาลทหารของไทยน่าจะพยายามหลีกเลี่ยงการยอมรับว่าการก่อเหตุในครั้งนี้เป็นฝีมือของบีอาร์เอ็นอย่างตรงไปตรงมาเพราะนั่นจะหมายถึงการยอมรับว่าพวกเขาล้มเหลวในด้านความมั่นคงเพราะไม่สามารถจำกัดวงความขัดแย้งในเขตสามจังหวัดไว้ได้ อีกทั้งยังอาจจะถูกตั้งคำถามจากผู้คนว่าพวกเขาจะปรับนโยบายใหม่กับการแก้ไขปัญหาหรือไม่ขณะที่อยู่ภายใต้การข่มขู่ของกลุ่มติดอาวุธ

อย่างไรก็ตามเมื่อดูท่าทีของรัฐบาลแล้ว เดวิสระบุว่าพวกเขาคงพยายามรักษาหน้าด้วยการอ้างว่ามีนักการเมืองที่ไม่ระบุชื่อซึ่งอาจจะเป็นชาวมุสลิมที่ไม่พอใจโรดแมป "การปฏิรูป" ของ คสช. จึงจ้างคนก่อเหตุ แต่การอ้างเช่นนี้เมินเฉยต่อความซับซ้อนของปฏิบัติการและการวางแผนเบื้องหลังที่ไม่ใช่ว่าจะจ้างใครก็ได้แต่ต้องเป็นทีมที่มีประสบการณ์และมีการฝึกฝนจากหน่วยปฏิบัติการและหน่วยสนับสนุนอย่างน้อย 30 คน แต่ที่รัฐบาลพยายามเบี่ยงเบนเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของ "ผู้บงการเบื้องหลัง" ทางการเมือง เป็นการเล่นบทจากความเชื่อฝังหัวว่าการกระทำต่างๆ ต้องมาจากการจ้างวาน แทนที่จะยอมรับว่าเป็นการกระทำที่มีแรงจูงใจทางอุดมการณ์

เดวิสประเมินอีกว่ามาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับปัญหาการท่องเที่ยวตกต่ำและการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยชวนตั้งคำถามว่าเป็นแค่การทำแบบสร้างภาพเอาหน้าในขณะที่กลุ่มติดอาวุธดูมีการดัดแปลงยุทธวิธีและมีประสบการณ์มากกว่าหรือไม่ และมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลทหารจะพูดยืนยันว่าจะมีการเจรจาสันติภาพอีกแต่ก็เป็นกระบวนการเดิมๆ ที่บีอาร์เอ็นเคยปฏิเสธมาแล้ว

 


เรียบเรียงจาก

Anthony Davis -- Denial not an option in Thai bombing aftermath, Anthony Davis, Nikkei Asian Review, 24-08-2016
http://asia.nikkei.com/Viewpoints/Viewpoints/Anthony-Davis-Denial-not-an-option-in-Thai-bombing-aftermath

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนช. ผ่าน 3 วาระรวดแก้ รธน.ฉ.ชั่วคราว 57 เพิ่มจำนวน สนช.เป็น 250 คน

$
0
0
 

26 ส.ค. 2559 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  พิจารณา 3 วาระรวด ก่อนมีมติในวาระ 3 ด้วยคะแนนเสียง 189 เสียง ไม่เห็นด้วย  ไม่มี ขณะที่ งดออกเสียง 3 เสียง เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ที่คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้เสนอ โดยมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ  1. แก้ไขเพิ่มจำนวน สมาชิก สนช. จาก 220 คน เป็นจำนวนไม่เกิน 250 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย โดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสีสิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคำแนะนำ และ 2. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งเพื่อความสมบูรณ์ โดยให้สมาชิก สนช. ที่แต่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีรัฐสภาชุดใหม่   

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง เหตุผลที่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2557 ว่าเป็นไปเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของ สนช. และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตลอดจนกฎหมายที่จะต้องตราขึ้นตามร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบในการประชามติ  เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 

ขณะที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อที่ประชุม โดยยืนยันว่า การแก้ไขโดยบัญญัติวาระการดำรงตำแหน่ง และปรับเพิ่มจำนวนสมาชิก สนช. จากจำนวน 220 คน เป็นจำนวนไม่เกิน 250 คน นั้น ถือว่าเหมาะสมกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น  และช่วยให้ สนช. พิจารณากฎหมายที่กำลังจะเข้าสู่สภาอีกว่า 100 ฉบับ กฎหมายที่ยังค้างพิจารณา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญกว่า 80 ฉบับ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก 10 ฉบับ ได้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนที่ปรับเพิ่มดังกล่าว ยังสอดรับกับบทเฉพาะกาลและบทหลักในร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามมติ ที่กำหนดให้ สนช. ที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ยังคงทำหน้าที่เป็น รัฐสภา ส.ส. และ ส.ว. ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐสภาชุดใหม่ และมีจำนวน 250 คน เช่นกัน ซึ่งทำให้การทำงานในอนาคตราบรื่น ชัดเจน และไม่ต้องตีความอะไรเพิ่ม

 

ที่มา เว็บไซต์วิทยุรัฐสภา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปล่อยตัวชั่วคราวครอบครัวบูรณุปกรณ์-พนง.ท้องถิ่นรวม 11 ราย คดีจดหมายประชามติ

$
0
0

ศาลทหารเชียงใหม่มีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวบุญเลิศ-ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ รวมทั้งครอบครัว และ จนท.ท้องถิ่น รวม 11 ราย คดีเผยแพร่จดหมายวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญที่เชียงใหม่ หลังฝากขังแล้ว 2 ผัด ศาลเห็นว่าผู้ต้องหามีอาชีพ-ที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หลักประกันเพียงพอและเชื่อถือได้ ถูกสอบสวนมาแล้วระยะหนึ่ง ไม่น่ามีโอกาสไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายใดๆ

แฟ้มภาพทัศนีย์ บูรณุปกรณ์เดินทางขึ้นศาลทหารมณฑลทหารบกที่ 33 (แฟ้มภาพ/เฟซบุ๊กของทนายวิญญัติ ชาติมนตรี)

26 ส.ค. 2559 ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจนำตัว 11 ผู้ต้องหาจากกรณีส่งจดหมายวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญไปขออำนาจศาลทหารในการฝากขัง โดยทั้ง 11 คนถูกกล่าวหาใน 4 ข้อหา คือตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (ความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน), มาตรา 209 (ความผิดฐานอั้งยี่), มาตรา 210 (ความผิดฐานเป็นซ่องโจร) และตาม พ.ร.บ.ประชามติมาตรา 61 วรรคสอง โดยก่อนหน้านี้ศาลอนุมัติฝากขังมาแล้ว 2 ผัด เป็นเวลา 24 วัน

โดยคดีดังกล่าว เหตุเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 ก.ค. เมื่อมีผู้ส่งจดหมายที่มีเนื้อหาวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ จ่าหน้าซองถึงบ้านเลขที่ของผู้รับ แต่ไม่มีการระบุถึงชื่อผู้รับและไม่ระบุชื่อของผู้ส่ง หย่อนลงตามตู้ไปรษณีย์ในพื้นที่ของ จ.เชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าพบจดหมายดังกล่าวรวมกันทั้งสิ้น 11,181 ฉบับ

และหลังจากนั้นมีการควบคุมตัวผู้ต้องหารวม 11 คน ประกอบด้วย นักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ครอบครัวบูรณุปกรณ์ พนักงาน อปท. ในจังหวัดเชียงใหม่ และพนักงานในบริษัทของครอบครัวบูรณุปกรณ์ โดยทยอยถูกนำตัวไปควบคุมภายในมณฑลทหารบกที่ 11 กรุงเทพฯ เป็นเวลา 7 วัน โดยทหารอ้างคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ก่อนจะถูกนำตัวมาสอบสวนตามอำนาจของพนักงานสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ จนครบ 48 ชั่วโมง โดยได้มีการแจ้งข้อหา 4 ข้อหาดังกล่าว อันรวมไปถึงมาตรา 116 ซึ่งตามคำสั่ง คสช. กำหนดให้คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหาร

ล่าสุดวันนี้ (26 ส.ค.) พนักงานสอบสวนยื่นขอฝากขังเป็นผัดที่ 3 ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 หรือ ศาลทหารเชียงใหม่ โดยเฟซบุ๊คของ วิญญัติ ชาติมนตรีทนายความคดีดังกล่าว ระบุว่า เมื่อเวลา 14:55 น. ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 ปล่อยตัวชั่วคราว 11 ผู้ต้องหาแล้ว

"ทีมทนายและญาติ ยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวคนละ 100,000 บาท โดยศาลทหารเชียงใหม่ มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน (ฝากขังผัดที่ 3)โดยมีเงื่อนไข ห้ามออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล,ห้ามกระทำการใดๆอันมีลักษณะยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อก่อให้เกิเความวุ่นวายในบ้านเมือง"

วิญญัติเปิดเผยด้วยว่า คำสั่งตุลาการศาลทหาร ความว่า "แม้พนักงานสอบสวนคัดค้านว่า เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง มีผู้ร่วมกระทำความผิดจำนวนหลายคน และเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย และการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีก และรอผลการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานของกลางและรอผลการตรวจสอบประวัติของผู้ต้องหา เห็นว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้ที่มีอาชีพและมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หลักประกันเพียงพอและเชื่อถือได้ ประกอบกับผู้ต้องหาถูกขังระหว่างการสอบสวนมาแล้วระยะหนึ่ง และผู้ต้องหาน่าจะไม่มีโอกาสไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการใดๆ จึงมีคำสั่งอนุญาต"

สำหรับ 11 ผู้ต้องหา ประกอบด้วย 1) บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่  2) ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ รองนายกอบจ.เชียงใหม่ และอดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทย  3) ธารทิพย์ บูรณุปกรณ์ อาชีพทันตแพทย์ และน้องสาวของ ทัศนีย์  4) ไพรัช ใหม่ชมภู รองนายก อบจ. เชียงใหม่ 5) คเชน เจียกขจร นายกเทศมนตรีตำบลช้างเผือก 6) อติพงษ์ คำมูล ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่เทศกิจเทศบาลตำบลช้างเผือก 7) กอบกาญจน์ สุชีตา พนักงาน บริษัทเชียงใหม่ทัศนาภรณ์  8) สุภาวดี งามเมือง กรรมการ บริษัท เชียงใหม่ทัศนาภรณ์  9) เอมอร ดับโศรก ผู้ช่วยนักวิชาการส่งเสริมสุขภาพเทศบาลตำบลช้างเผือก10) กฤตกร โพธยา ผู้ช่วยบุคลากรเทศบาลตำบลช้างเผือก และ  11) เนติธัช อภิรติมัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เทศบาลตำบลช้างเผือก

ขณะที่ เทวรัตน์ รินต้า คนขับรถของทัศนีย์ซึ่งเพิ่งถูกควบคุมตัวล่าสุดยังไม่ได้รับการประกันเนื่องจากไม่มีนายประกัน และล่าสุดยังมีการจับกุมตัว อัครพล ถนอมศิลป์ เจ้าของโรงพิมพ์นพบุรีการพิมพ์มาอีก 1 ราย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: ความจำเป็นของความขัดแย้ง

$
0
0

 

ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนาต่อผลการลงประชามติรัฐธรรมนูญในประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งผ่านมาได้ด้วยดี  ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรก็ตาม อย่างน้อยก็สะท้อนว่าชาวบ้านที่เป็นเจ้าของประเทศคิดอย่างไร โดยที่ยังไม่รวมถึงกระบวนการจัดการประชามติที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ้างในแง่การเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญน้อยไปหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ไม่เต็มที่

ทั้งหมด ไม่ว่าจะยอมรับกันหรือไม่ก็ตามสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาประชาคมที่เป็นของสากลว่า ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องถือเอาข้อสรุปจาก “เสียงส่วนใหญ่” หรือ สังฆาธิปไตย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้น

นี่ถือเป็นมิติใน “การปรองดอง” อย่างหนึ่งด้วยหรือไม่?

เพียงแต่ว่าก่อนที่จะมีการสรุปในเรื่องราวหรือประเด็นสาธารณะใดๆ ก็ตาม จำเป็นต้องผ่านการวิพากษ์เนื้อหาอย่างอิสระเสรีตามสมควรสำหรับทุกๆ ฝ่าย ซึ่งน่าเสียดายว่า ประเด็นการรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญของไทยที่ผ่านมายังเปิดโอกาสให้กระทำเรื่องทำนองนี้น้อยไป (สื่ออเมริกันเองจำนวนหนึ่งก็กล่าววิจารณ์ถึงประเด็นนี้ ก่อนที่ความวิตกกังวลดังกล่าวจะถูกส่งผ่านไปยังสถานทูตอเมริกันที่กรุงเทพฯในเวลาต่อมา)

ข้อนี้ก็เลยทำให้ รัฐธรรมนูญที่ลงประชามติผ่านไปมีข้อที่ควรตำหนิในประการนี้

เมื่อหลายปีมาแล้ว Dana Rohrabacher ส.ส.เขตออเร้นจ์ เคาน์ตี้ พรรครีพับลิกัน ในฐานะผู้เคี่ยวกรำกับงานกิจการต่างประเทศของคองเกรสมายาวนานหลายปี เคยพูดให้ผมฟังที่ ฮันติ้งตัน บีช แคลิฟอร์เนีย ว่า ในความเห็นของเขาแล้ว การปรองดองไม่มีอยู่จริง ปัญหาของหลายๆ ประเทศที่เป็นเผด็จการส่วนใหญ่ คือ การไม่ยอมรับอีกฝ่ายที่มีความเห็นต่างจากฝ่ายตน

เขาถามว่า ทำไมจะต้องก้าวข้ามความขัดแย้งที่เป็นแค่วลีสวยงามเท่านั้น??? ในเมื่อความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของมนุษย์

ซึ่งก็ตรงกันกับที่ วิษณุ เครืองาม เคยกล่าวไว้ในที่ประชุมสัมนาวิจารณ์งานวิทยานิพนธ์ของนิสิตไทยท่านหนึ่งเมื่อหลายเดือนก่อน

เพียงแต่มนุษย์หรือคนจำเป็นที่จะต้องอยู่กับความขัดแย้งเหล่านั้นให้ได้ตะหากเล่า

Rohrabacher ยังบอกว่า ความขัดแย้งเสียอีกที่มีคุณูปการต่อสังคมอเมริกันมากมาย สังคมอเมริกันที่อยู่กันอย่างหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่ก็อยู่กันมาด้วยความสงบสันติตลอดมา จนท้ายที่สุดมันได้ถูกบ่มเพาะจนกลายเป็นวัฒนธรรมเฉพาะชาติอเมริกันไป ไม่ว่าคุณจะยืนอยู่บนขั้วการเมืองหรือขั้วความคิดแบบไหนก็ตาม

บนความขัดแย้งในเรื่องต่างๆ นั้น คุณวิพากษ์วิจารณ์ คุณเถียงกันได้ แต่คุณก็เคารพเหตุผลของฝ่ายตรงข้ามกับคุณ ไม่ใช่คุณห้ามเขาพูดแล้ว คุณพูดได้อยู่เพียงฝ่ายเดียว

ในอเมริกา ครูฝึกเด็กๆ เยาวชน ให้เรียนรู้ถึงการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่เป็นตัวของตัวเองตั้งแต่ชั้นอนุบาล เด็กๆ มีสิทธิที่จะบอกว่า ทำไมดอกกุหลาบที่เขาวาดจึงมีสีดำ สีที่ผิดแผกไปจากธรรมชาติ และครูผู้สอนจำเป็นต้องรับฟังเหตุผลของเด็กๆ เหล่านั้น

จึงไม่แปลกที่ผู้คนที่โตมาในสังคมอเมริกันเหล่านี้ จะกลายเป็นคนกล้าพูด กล้านำเสนอความคิดของตนอย่างไม่อายว่าคนอื่นจะคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งมันก็เป็นเหตุให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นจากความขัดแย้งซึ่งอาจคือคำวิพากษ์วิจารณ์ หรือที่จริงก็คือความหลากหลายทางความคิด (ความคิดต่าง)นั่นเอง ทำให้เห็นในสิ่งที่เป็นคุณทั้งในเรื่องของคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิต รวมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมดาและธรรมชาติของมนุษย์ เพราะคุณและผม เราไม่จำเป็นต้องคิดหรือปฏิบัติเหมือนกันแต่เราสามารถอยู่ร่วมกันได้

ในเรื่องการศึกษาของเมืองไทยนั้น พอดีเมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ในเฟซบุ๊กของอาจารย์ ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน อาจารย์ภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ปรารภเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย โดยเฉพาะในระดับดุษฎีบัณฑิต (ป.เอก) ที่ทำการผลิตกันออกมาจำนวนมากมายเพื่อสนองตอบต่อแฟชั่นเห่อปริญญาบัตร เห่อดอกเตอร์  ดังข้อความต่อไปนี้ครับ

“จบดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่เขียนบทความทางวิชาการยังไม่เป็น แค่เขียนบทนำก็ยังไม่เข้าใจเลย นี่ก็เหนื่อย”

คำถามคือ มาตรฐานทางการศึกษาของไทยอยู่ตรงไหน? เป็นระบบชงเอง กินเองอยู่ใช่หรือไม่?

เพราะบัณฑิตที่ผลิตมาแล้ว ไม่ได้สนองตอบต่อการพัฒนาวิชาการไทยให้มีความก้าวหน้า (เช่น ไม่ได้สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ไม่ได้สร้างนวัตกรรม ไม่ให้คุณประโยชน์ต่อสังคมอย่างจริงจัง ทั้งเวทีในประเทศและเวทีสากลใดๆ เลย) 

ทั้งๆ ที่มหาวิทยาลัยเหล่านี้ รัฐเป็นผู้ให้การอุดหนุนในเรื่องงบประมาณซึ่งเป็นภาษีของชาวบ้าน

หน่วยงานที่ทำการตรวจสอบ คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่มีหน้าที่คอยกำกับดูแลสถาบันเหล่านี้มัวทำอะไรอยู่ และหากทำ ได้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและยุติธรรมหรือไม่?

ครับ ในเมื่อระบบหรือกรอบใหญ่สร้างวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์ให้ถูกทำไม่ได้ระบบเล็กหรือกรอบเล็ก อย่างเรื่องการศึกษาก็พลอยทำไม่ได้ไปด้วย ทั้งที่การวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะในเชิงความรู้หรือวิชาการควรปล่อยให้เป็นไปอย่างอิสระในสถาบันการศึกษา ยิ่งในระดับอุดมศึกษาด้วยแล้ว

นอกจากนี้แล้ว การศึกษาหรือการวิจัยในระดับอุดมศึกษาก็น่าควรที่จะตั้งสมมติฐานอยู่บนสถานการณ์อันเป็นข้อเท็จจริงทั้งในแง่สังคมและวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์กับสังคมในโลกปัจจุบันมากกว่าการหวังผลที่ล่องลอยในโลกจินตนาการ ทั้งจินตนาการในอดีตและในอนาคตที่เกิดจากพื้นฐานการศึกษา “วิชาหน้าที่พลเมือง”ที่คนจำนวนมากถูกฝังหัวมาตั้งแต่อดีต

หากเพราะสังคมปัจจุบัน เป็นสังคมที่มีความหลากหลายและจะยิ่งหลากหลายมากขึ้น เราจึงจำเป็นต้องอยู่กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นให้ได้ ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน เคารพนับถือซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

มิใช่จงหุบปากเสีย แล้วทุกอย่างจะสงบ !!!

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์ ระบุ 'สุขุมพันธุ์' เจอ ม.44 ไม่เกี่ยวพรรค

$
0
0

26 ส.ค. 2559 หลังจากวานนี้ (25 ส.ค.59)  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ได้อาศัย ม.44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2557 ออกคำสั่ง คสช. ที่ 50/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 6 ส่งผลให้  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถูกระงับการปฏิบัติราชการ หรือหน้าที่ในกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวโดยยังไม่พ้นจากตําแหน่ง จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงคําสั่ง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนในระหว่างนี้ (อ่านรายละเอียด)

โดยวันนี้ (26 ส.ค.59) อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตามระเบียบคือรองผู้ว่าฯ ท่านหนึ่งต้องขึ้นมารักษาการ แต่ตามคำสั่งของ คสช.มีข้อยกเว้นกรณีนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ พรรคเคยออกแถลงการณ์ไปก่อนหน้านี้ว่าเมื่อผู้บริหารของ กทม.ไม่พร้อมที่จะให้พรรคเข้าไปช่วยติดตามดูแลก็ถือว่าทำงานกันโดยเอกเทศ จึงเป็นเรื่องของ กทม. อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าในส่วนของประชาชนอาจจะมีความรู้สึกที่แตกต่างออกไป แต่ตนได้อธิบายไปแล้วว่าเมื่อไม่สามารถเข้าไปดูแลได้ก็ขอโทษประชาชน จากนี้ไปเป็นเรื่องที่ กทม.ต้องชี้แจงตามขั้นตอนของกฎหมาย

ต่อกรณีคำถามว่าจะมีผลกระทบตามมาว่าประชาชนจะขาดความเชื่อมั่นต่อคนที่พรรคเลือกให้ลงสมัครผู้ว่ากทม.ในอนาคตหรือไม่ อภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคต้องเก็บเกี่ยวจากเรื่องนี้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เพราะปัจจุบันยังไม่มีการเลือกตั้งท้องถิ่น หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้แม้จะครบวาระในปี 2560 ก็คงไม่ได้หมายความว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เกิดขึ้นทันที เพราะหากคำสั่ง คสช.ตัวหลักยังอยู่ก็ยังไม่มีการเลือกตั้ง จึงไม่ทราบนโยบายของ คสช.จะเป็นอย่างไร ดังนั้นพรรคจึงไม่ได้มีการวางตัวสำหรับเรื่องนี้

อภิสิทธิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ตนทราบมาว่าจะมีการปรับปรุงกฎหมาย กทม.เกี่ยวกับโครงสร้าง โดยมีคนบอกตนว่าอาจจะไม่มีสภาเขต ที่ยังไม่ทราบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักอย่างไร เพราะในขณะนี้มีการปรับปรุงกฎหมายท้องถิ่นทั้งหมด ซึ่งตนเป็นห่วงเรื่อง อบต.มากที่สุด เพราะการเอาหลักเกณฑ์จำนวนประชากร กับรายได้นั้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในหลายพื้นที่ โดยจากที่ตนลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสพภัย ที่ จ.พะเยา น่าน และการบริหารจัดการน้ำที่ จ.ขอนแก่น พื้นที่เหล่านี้หากคิดตามหลักเกณฑ์ใหม่จะต้องถูกควบรวมหมด เห็นได้ชัดว่าหากควบรวมแล้วจะไม่สามารถตอบสนองการแก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นการเอาตัวเลขจากส่วนกลางโดยไม่ดูพื้นฐานชุมชนว่าประชากรไม่ได้กระจายเสมอกัน และพื้นที่ภูมิศาสตร์ก็แตกต่างกัน การควบรวมจะทำให้เกิดความยากลำบากในการเดินทางและการทำงานของเทศบาลกับ อบต.ก็มีลักษณะต่างกันระหว่างชุมชนเมืองกับชนบท จึงไม่ควรใช้รูปแบบเดียวกัน เช่นเดียวกับที่อ้างว่ารายได้ไม่พอ เท่ากับว่าพื้นที่ยากจนจะไม่มีทางมีท้องถิ่นเป็นของตนเอง เพราะศักยภาพในการจัดเก็บรายได้ขึ้นอยู่กับความเป็นจริงทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในต่างประเทศพื้นที่ยากจนจะได้รับเงินอุดหนุนพิเศษ ไม่ใช่ไปบอกว่าเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะเป็นท้องถิ่น
       
“ผมเป็นห่วงเรื่องนี้ เพราะหากใช้หลักการนี้หลายพื้นที่จะถูกควบรวมหรือถูกยุบเยอะมาก จึงหวังว่า ครม.จะทบทวนเรื่องนี้ เพราะเป็นข้อยุติจาก สปท. ผมคิดว่าที่เราเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปการกระจายอำนาจ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นสวนทางต่อการกระจายอำนาจ เพราะกลายเป็นว่าพูดกันเรื่องเลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่ท้องถิ่นกำลังถูกยุบควบรวมในรูปแบบที่ไม่หลากหลาย ไม่ตอบโจทย์ความหลากหลายของพื้นที่ กลายเป็นการรวมศูนย์มากกว่ากระกระจายอำนาจ” อภิสิทธิ์ กล่าว

ประยุทธ์ แจง ม.44 พักงานผู้ว่าฯ กทม.ไม่เกี่ยวน้ำท่วม

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า การออกคำสั่งตามมาตรา 44 มีมากกว่า 50 ฉบับ  ในกรณีของผู้ว่าฯ กทม. เพราะมีการทักท้วงจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) และอย่าเพิ่งตัดสินว่าเป็นการทุจริต

“คำสั่งดังกล่าวต้องการให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจสอบ คนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบก็จะเกิดความสบายใจ ขณะที่ คนถูกตรวจสอบก็จะสามารถชี้แจงได้เต็มที่ ยืนยันไม่เลือกปฎิบัติ และดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีอื่นๆ ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ  ประชาชนต้องเข้าใจ หากผลการสอบสวนออกมา แล้วไม่มีความผิด ผู้ว่าฯ กทม.ก็จะกลับมาปฎิบัติหน้าที่ได้ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อไป” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องการตรวจสอบ ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  เพราะปัญหาน้ำท่วมต้องแก้ไขทั้งระบบตั้งแต่ต้นทาง และหากจะเอาผิดก็ต้องดำเนินการกับทุกพื้นที่ทุกจังหวัด เพราะน้ำท่วมเกือบทุกพื้นที่  ที่ผ่านมาทุกหน่วยงานพยายามทำงานอย่างเต็มที่แล้ว แต่การแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทาง ก็ยังติดขัดปัญหาหลายอย่างที่ไม่สามารถดำเนินการได้

ไพบูลย์ เผยศอตช.ไม่ได้เสนอพักงาน ผู้ว่าฯกทม.

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนี้ด้วยว่า ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.)ไม่ได้เป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าว น่าจะเป็นเรื่องที่ต้นสังกัดของ กทม.เสนอต่อ คสช.โดยตรง อย่างไรก็ตามเรื่องการตรวจสอบทางวินัยก่อนหน้านี้ที่มีเรื่องเสนอศอตช. ก็ต้องยุติไปเพราะถือว่ามีคำสั่งให้พักงานแล้ว หลังจากนี้ก็เป็นเรื่องความผิดทางอาญา

 

ที่มา : สำนักข่าวไทยและผู้จัดการออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฎีกาสั่งคุก 'อดีตปธ.-อดีตเลขาฯ ปรส.' 2 ปี รอลงอาญา คดีเอื้อ บ.เลแมนฯ ประมูลขายหนี้เน่าปี 41

$
0
0

26 ส.ค. 2559 ที่ห้องพิจารณา 905 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 26 ส.ค. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีดำ อ.3344/2551 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง อมเรศ ศิลาอ่อน อายุ 83 ปี อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.), วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อายุ 69 ปี อดีตเลขาธิการ ปรส., บริษัท เลแมน บราเดอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ จำกัด โดย ชาร์ล เจสัน รูบิน (CHARLES JASON RUBIN) ผู้รับประโยชน์, บริษัท เลแมน บราเดอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โดย ชาร์ล เจสัน รูบิน (CHARLES JASON RUBIN) ที่ปรึกษา ปรส., กองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ ผู้รับโอนสิทธิจากการประมูลสินทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ผู้จัดตั้งกองทุนรวมโกลบอลไทยฯ เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11

ซึ่งศาลอาญารัชดา อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ระบุว่าไม่เห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุก อมเรศ และ วิชรัตน์  คนละ 2 ปี และปรับ 20,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 3 ปี กรณีไม่เรียกเก็บเงินงวดแรกในการขายสินทรัพย์ให้กับ บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้งส์ อิงค์ จำนวนกว่า 2,300 ล้านบาท 

อมเรศ เปิดเผยภายหลังฟังคำพิพากษาว่า เค้ายอมรับคำตัดสิน และยืนยันที่ผ่านมา ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมตลอด จึงอยากเตือนคนรุ่นหลัง หากจะทำอะไรเพื่อส่วนรวมก็ขอให้คิดให้ดี เพราะผลที่ออกมาสุดท้ายก็เป็นเรื่องส่วนตัว

คดีนี้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ฟ้อง อมเรศ และ วิชรัตน์ พร้อมพวกรวม 6 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ซึ่งศาลชั้นต้น พิพากษาจำคุกนายอมเรศ และนายวิชรัตน์ 2 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 3 ปี ส่วนจำเลยที่ 3-6 ยกฟ้อง ต่อมาเมื่อปี 2557 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ยกฟ้อง อมเรศ และ วิชรัตน์

 

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์และ Voice TV

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คณะรัฐบุคคลเสนอประยุทธ์ใช้ม.44 ปรับร่างรธน.เปิดช่องให้ทหารคุมสถานการณ์กันรัฐประหาร

$
0
0

26 ส.ค. 2559 พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประธานและที่ปรึกษาคณะรัฐบุคคล มอบหมายให้ เกรียงศักดิ์ เหล็กกล้า ผู้ประสานงานฯ พร้อมตัวแทนสำนักงานคณะรัฐบุคคลเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ผ่าน ภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์ กรธ. ขอให้พิจารณาทบทวนหรือแก้ไขบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญหรือส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการรัฐประหารในประเทศไทยที่เกิดจากวิกฤตการเมือง โดยในจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว ได้ระบุข้อเสนอที่สำคัญ ว่า เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองและก่อนถึงจุดล่มสลาย ให้ทหารประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เพื่อควบคุมสถานการณ์ จากนั้นให้บุคคลที่มีความรู้ ในสถาบันหลักของสังคมที่ได้รับการยอมรับร่วมกัน ปรึกษา หารือ พิจารณาแก้ไขสถานการณ์ตามแนวทางที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ โดยต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติการ อาทิ ระงับการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยไม่จำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อควบคุมสถานการณ์ จากนั้นในระยะเวลา 2 ปีหลังจากการพิจารณาดังกล่าวให้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป 

ทั้งนี้ในข้อเสนอดังกล่าวระบุด้วยว่าขอให้ใช้อำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอ

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ และ มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้อสังเกตเพิ่มเติมบางประการ: ว่าด้วยการอดอาหารประท้วงจากมุมมองของนักเรียนสันติวิธี

$
0
0


 

หลังจากข้าพเจ้าตีพิมพ์บทความเรื่อง “ว่าด้วยการอดอาหารประท้วงของ ไผ่ ดาวดิน : ข้อสังเกตจากนักเรียนสันติวิธี” ลงในประชาไทไป ข้าพเจ้าเห็นว่าควรตั้งข้อสังเกตบางประการเพิ่มเติมต่อยอดจากบทความดังกล่าว อย่างที่ทราบกันแล้ว (หรือหลายคนอาจจะยังไม่ทราบ) ว่า บทความก่อนหน้านี้ เสนอว่า การอดอาหารประท้วงไม่ได้เริ่มต้นที่คานธี และไม่ได้จบลงที่คานธี แต่เป็นขนบทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและเกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าไม่ควรทำความเข้าใจอำนาจและเงื่อนไขความสำเร็จของการอดอาหารประท้วงด้วยการจำกัดอยู่ที่คานธีเพียงคนเดียว จากนั้น บทความก็ได้พยายามลองประยุกต์ใช้ทฤษฎีปฏิบัติการไร้ความรุนแรงของ ยีน ชาร์ป ที่ช่วยให้เห็นพลวัตอำนาจและเงื่อนไขความสำเร็จของการอดข้าวประท้วงได้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่บทความดังกล่าวยังไม่ได้สาธยายให้ละเอียด ก็คือ ประเด็นว่าด้วยการจัดประเภทการอดอาหารประท้วงออกมาให้เป็นระบบ เพราะบทความดังกล่าวสนใจไปที่อำนาจและเงื่อนไขความสำเร็จของการอดอาหารประท้วงโดยทั่วไปมากกว่า เพื่ออุดช่องโหว่ดังกล่าว คำถามของบทความชิ้นนี้จึงอยู่ที่ว่าเมื่อการอดอาหารประท้วงเป็นขนบทางประวัติศาสตร์ที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ก็แสดงว่าการอดอาหารประท้วงก็ต้องมีหลากหลายรูปแบบ ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราจะสามารถจำแนกแยกแยะการอดอาหารประท้วงออกมาให้เป็นระบบได้อย่างไร

คำถามที่ว่านี้ไม่ได้เป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการเท่านั้น แต่มีประโยชน์ในเชิงปฏิบัติด้วย เพราะการจำแนกแยกแยะประเภทของการอดอาหารประท้วง จะช่วยทำให้นักกิจกรรมที่ยังปฏิบัติงานอยู่สามารถเลือกใช้วิธีการอดอาหารประท้วงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเองและพัฒนาประสิทธิภาพของการอดข้าวประท้วงได้ดียิ่งขึ้น

เพื่อตอบคำถามที่ว่านี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า วิธีการจำแนกแยกแยะการอดข้าวประท้วง สามารถทำได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ (1.) การอดอาหารประท้วง กับ การถือศีลอดอาหารประท้วง (2.) จำแนกด้วยพลวัตอำนาจ (3.) จำแนกด้วยจำนวนของคน(4.) จำแนกด้วยเป้าหมายของการประท้วง วิธีการจำแนกแยกแยะเหล่านี้ไม่ได้แยกขาดออกจากกัน แต่เชื่อมโยงสอดคล้องกันในบางมุม การวิเคราะห์หรือวางแผนกิจกรรมการอดอาหารประท้วงที่มีประสิทธิภาพ จึงควรคำนึงถึงรูปแบบกิจกรรมด้วยการพิจารณาวิธีการจำแนกแยกแยะเหล่านี้ร่วมกันทั้งหมดให้ดีก่อน ประเด็นทั้งหมดนี้จะได้รับการขยายความให้ชัดเจนขึ้นในส่วนต่อ ๆ ไป


การอดอาหารประท้วง กับ การถือศีลอดอาหารประท้วง

ในประเด็นนี้ ข้าพเจ้าขอยกข้อความ ของ อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ในหนังสือเรื่อง “ท้าทายทางเลือก : ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง (ฉบับปรับปรุง)” มาดังนี้:


“...การอดอาหารประท้วงเป็นการอดอาหารจำเพาะประเภทที่มุ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาวะทางสังคมชนิดที่ไม่พึงประสงค์บางประการ คำว่า “อดอาหารประท้วง” แปลมาจากคำภาษาอังกฤษที่ต่างกันสองคำ คือ คำว่า “Hunger Strike” กับคำว่า “Fasting”

คำแรกนั้นอาจตรงกับคำว่า “อดอาหารประท้วง” ยิ่งกว่าคำหลังที่น่าจะแฝงกังวานทางศาสนา ดังนั้น น่าจะตรงกับคำว่า “ถือศีลอดอาหารประท้วง”    

จากที่ยกมานี้ จะเห็นได้ว่า อ.ชัยวัฒน์ ได้แยก “การอดอาหารประท้วง” ทั่วไปในทางโลก ออกจากการอดอาหารประท้วงในทางศาสนาที่เรียกว่า “การถือศีลอดอาหารประท้วง” อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอย่างมีก็จุดร่วมกันอยู่ตรงที่มีเป้าหมายเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างตั้งใจ มากกว่าจะเป็นพิธีกรรมกิจวัตรทางศาสนา หรือเป็นการอดอาหารเพราะไม่มีจะกินอย่างไม่ได้ตั้งใจ

ข้าพเจ้าเห็นว่า การแยกการอดอาหาร 2 ประเภทนี้ออกจากกันจะช่วยให้นักกิจกรรมสามารถออกแบบกิจกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าต้องการจะทำกิจกรรมรูปแบบไหน หากต้องการเน้นให้ศาสนิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาเข้าร่วมกิจกรรม ก็ให้ใช้ภาษาในทางศาสนาของกลุ่มนั้น ๆ เพื่อจัดกิจกรรมการถือศีลอดอาหารประท้วง เช่น การอดอาหารประท้วงที่ระบุอยู่ในคัมภีร์พันธะสัญญาเก่า (ตัวอย่าง ของ อ.ชัยวัฒน์)[1]หรือ การอดอาหารประท้วงที่ปรากฏอยู่ในประไตรปิฎก (ตัวอย่างของ อ.ชาญณรงค์)[2]หรือบางที นักกิจกรรมอาจลองคิดถึงการให้ศาสนิกจากต่างศาสนากันมาต่อสู้ร่วมกันในประเด็นหนึ่ง ๆ ร่วมกัน ด้วยการให้ศาสนิกแต่กลุ่มได้ใช้เหตุผลศรัทธาของตัวเองเป็นเหตุผลในการต่อสู้ร่วมกันก็ได้ แต่หากต้องการเน้นให้ทุกคนเข้าร่วมอดอาหารประท้วงในทางโลกเหมือนกันในฐานะพลเมือง โดยไม่ต้องพึ่งหาเหตุผลทางศาสนาเลย ก็ให้ใช้ภาษามนุษยธรรมทั่วไปในทางโลกเพื่อจัดกิจกรรมก็ได้ ถึงเวลาแล้ว นักกิจกรรมควรจะคิดถึงการจัดรูปแบบกิจกรรมที่เปิดให้คนสามารถมาเข้าร่วมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการต่อสู้  


จำแนกด้วยพลวัตรอำนาจ

เพื่อชี้ให้เห็นการจำแนกวิธีนี้ ข้าพเจ้าขอเท้าความไปถึงบทความที่แล้ว เกี่ยวกับทฤษฎีปฏิบัติการไร้ความรุนแรงของ ยีน ชาร์ป จากทฤษฎีที่ว่านี้ เราสามารถแยกพลวัตอำนาจตามกลไกของการเปลี่ยนแปลงได้ออกเป็น 4 ระดับ[3]ได้แก่ :

(1.) อำนาจระดับน้อย : อำนาจของการเปลี่ยนทรรศนะ

(2.) อำนาจระดับกลาง : อำนาจของการสร้างแรงกดดันทางสังคมให้ฝ่ายตรงข้ามการโอนอ่อนตาม

(3.) อำนาจมาก : อำนาจของการบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามต้องยอมจำนน เพราะฝ่ายตรงข้ามสูญเสียอำนาจถึงขั้นที่เป็นภัยต่อการดำรงอยู่

(4.) อำนาจมากที่สุด : อำนาจของการทำให้ฝ่ายตรงข้ามแตกสลายไป กระทั่งว่าไม่สามารถที่จะยอมจำนนได้อีก (มีอำนาจมากที่สุด)                

ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าชี้ให้เห็นว่าการอดข้าวประท้วงด้วยตัวมันเองเป็นกิจกรรมที่อำนาจอยู่ในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง ที่อำนาจน้อยก็เพราะธรรมชาติของการอดข้าวประท้วงมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนทรรศนะ ด้วยการปลุกเร้าให้เกิดมโนธรรมสำนึกขึ้นในกลุ่มประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ และเนื่องจากตัวกิจกรรมไม่ได้ก่อให้เกิดสภาพบังคับ อำนาจจึงมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าหากประชาชนสนับสนุนการอดอาหารประท้วงและเข้าร่วมอดอาหารหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างกดดันให้กับรัฐบาลมากขึ้น พลวัตอำนาจก็อาจยกระดับจากการเปลี่ยนแปลงทรรศนะไปสู่การสร้างแรงกดดันให้เกิดการโอนอ่อนตาม หรือกระทั่งขยายผลยกระดับไปถึงขั้นที่สูงขึ้นได้ (แม้ว่าโอกาสของการขยายผลที่ว่านี้จะน้อยมากก็ตาม) ดังนั้น การอดอาหารประท้วงจึงสามารถจำแนกออกมาด้วยพลวัตอำนาจได้ และส่วนใหญ่แล้วอำนาจจะอยู่ที่การเปลี่ยนทรรศนะ (อำนาจน้อย) ไม่ก็สร้างแรงกดดันเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามโอนอ่อน (อำนาจปานกลาง)     

การแยกพลวัตอำนาจออกเป็นประเภทเช่นนี้จะเป็นประโยชน์กับนักกิจกรรม ตรงที่ทำให้นักกิจกรรมสามารถเลือกที่จะใช้ทรัพยากรให้ตรงจุดขึ้น เช่น ถ้าต้องการเพิ่มอำนาจของการเปลี่ยนแปลงทรรศนะ ก็อาจเน้นไปที่การทำให้ข่าวของผู้อดอาหารประท้วง สามารถมองเห็นได้ในสังคมมากขึ้น สื่อสารให้ชัดเจนขึ้น หรืออาจจะอาศัยโวหารต่าง ๆ เพื่อให้คนในสังคมมาให้ความสำคัญกับปัญหามากขึ้น แต่ถ้าต้องการเพิ่มอำนาจของการสร้างแรงกดดันทางสังคม นักกิจกรรมก็อาจคิดถึงชักชวนให้คนออกมาเข้าร่วมมากขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมนัดอดอาหารประท้วงเป็นกลุ่ม หรือ อาศัยการจัดกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างแรงกดดันให้เกิดขึ้นต่อฝ่ายตรงข้าม ถ้าต้องการยกระดับกระแสกดดันเพิ่มขึ้นอีก (ซึ่งไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นไปได้น้อยมาก) ก็จะต้องออกแบบกิจกรรมให้คนเข้าร่วมมากขึ้นและบั่นทอนอำนาจของฝ่ายเผด็จการให้มากขึ้นอีก

ทั้งนี้ ควรตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ไม่ว่าจะเป็นการถือศีลอดประท้วง หรือ การอดอาหารประท้วงตามปกติในทางโลก ก็ไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างทางด้านพลวัตอำนาจด้วยตัวมันเองเสมอไป เพื่อขยายประเด็นที่ว่านี้ ข้าพเจ้าขอยกข้อความของ อ.ชัยวัฒน์ ขึ้นมาก่อน แล้วจากนั้นจะเสนอข้อโต้แย้งต่อข้อความดังกล่าว:

“คำแรก [การอดอาหารประท้วง] มีลักษณะของการอดอาหารประท้วงแกมบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในขณะที่คำหลัง [การถือศีลอดอาหารประท้วง] ออกจะเป็นการประท้วงที่มุ่งเปลี่ยนทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม แล้วจึงค่อยอาศัยทรรศนะที่เปลี่ยนแปลงนั้นมาแปรรูปพฤติกรรมในภายหลัง

ตรงนี้เห็นจะต้องอธิบายให้ชัด

มาตรการบางประเภทนั้นเป็นไปเพื่อบังคับให้พฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนแปลงไปโดยตรง ทั้งนี้โดยไม่ใส่ใจว่าเขาจะปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือไม่ เช่น เมื่อคนงานนัดหยุดงานประท้วงนายจ้างเพื่อให้เพิ่มค่าข้างนั้น เป้าหมายอยู่ที่การให้นายจ้างขึ้นค่าจ้าง คงมีน้อยคนที่หวังว่าจะเปลี่ยนทรรศนะเรื่องการจ้างงานของนายจ้างให้แปรจากการเป็นคนเห็นแก่เงินและประโยชน์ส่วนตน มากลายเป็นคนมีเมตตาต่อคนงานได้

แต่ขณะเดียวกัน หากลูกรักร้องไห้เสียใจที่ไม่ได้เสื้อนักเรียนตัวใหม่เมื่อเปิดภาคเรียน ผู้เป็นพ่ออาจสงสารลูกจนเปลี่ยนใจจากที่เก็บเงินไว้ทำการอย่างอื่นมาเป็นซื้อเสื้อให้ลูกได้ ในกรณีนี้อาจกล่าวได้ว่าน้ำตาลูกทำให้พ่อเปลี่ยนใจจนยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ลักษณะเช่นนี้พ้องกับ Fasting ในคติของคานธียิ่งนัก[4]

               
ในข้อความตอนนี้ อ.ชัยวัฒน์ ชี้ให้เห็นว่าอำนาจของการถือศีลอดอาหารประท้วงอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงทรรศนะ แต่อำนาจของการอดอาหารประท้วงธรรมดาอยู่ที่การสร้างแรงกดดันทางสังคมให้ฝ่ายตรงข้ามโอนอ่อนตาม ข้าพเจ้าเห็นแย้งว่า การอดอาหารประท้วง ไม่ว่าจะเป็นการถือศีลอดอาหารประท้วง หรือ การอดอาหารประท้วงทั่วไป ก็สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรรศนะและสร้างแรงกดดันทางสังคมเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามโอนอ่อนตามไปพร้อม ๆ กันได้ เพราะด้านหนึ่ง การอดอาหารประท้วงในทางโลกก็มุ่งที่จะให้ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางทรรศนะ ด้วยการปลุกเร้าให้เกิดมโนธรรมสำนึกในเชิงมนุษยธรรมขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งหลักการของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง  ตัวอย่างเช่น กรณีที่ ไผ่ ดาวดิน กำลังทำอยู่ก็ถือว่าเป็นการอดอาหารประท้วงในทางโลกที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรรศนะ เพราะปลุกเร้าให้เกิดมโนธรรมสำนึกจากคนได้จำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกัน ถ้าการถือศีลอดอาหารประท้วงในเชิงศาสนาเกิดขึ้นในลักษณะร่วมกันทำเป็นหมู่หรือมีคนออกสนับสนุนมากขึ้น ก็อาจก่อให้เกิดแรงกดดันทางสังคมขึ้นได้เช่นกัน แม้จะเป็นจริงที่ว่าการถือศีลอดในคติทางศาสนาจะเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงทรรศนะมากกว่า และการอดอาหารประท้วงจะเน้นไปที่การสร้างแรงกดดันทางสังคมมากกว่า แต่ข้อเสนอที่ว่านี้ก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป


จำแนกด้วยจำนวนคนที่เข้าร่วม

การอดอาหารประท้วงสามารถจำแนกด้วยจำนวนคนที่เข้าร่วมออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ :

(1.)  การอดอาหารประท้วงคนเดียว เช่น กรณีของ ไผ่ ดาวดิน ในช่วงที่ผ่านมา กรณีของ ฉลาด วรฉัตร ในช่วงพฤษภาทมิฬ หรือ กรณีของคานธีในประเทศอินเดีย เป็นต้น

(2.)  การอดอาหารประท้วงรวมหมู่ ซึ่งประกอบด้วยผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป เช่น กรณีการอดอาหารประท้วงของนักโทษชาวปาเลสไตน์จำนวนหลายร้อยคนที่ถูกทารุณกรรมในเรือนจำของอิสราเอลอย่างไม่เป็นธรรม และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนาย Bilal Kayed ซึ่งเป็นหนึ่งในคนแรก ๆ ที่เริ่มอดอาหารประท้วงในเรือนจำต่อทางการอิสราเอลเป็นเวลากว่า 54 วันจนกระทั่งเข้าโรงพยาบาล เหตุที่นาย Bilal Kayed อดอาหารประท้วงในเรือนจำ เนื่องจากเขาเป็นชาวปาเลสไตน์ที่เพิ่งพ้นโทษจำคุกของอิสราเอลเป็นเวลากว่า 14 ปีครึ่งออกมา แต่กลับถูกจับตัวเข้าไปใหม่จากคำสั่งของฝ่ายบริหารของรัฐบาลอิสราเอล[5]

(3.)  การอดอาหารที่มีคนเข้าร่วมสนับสนุนด้วยการทำกิจกรรมรูปแบบอื่นๆเช่น กรณีการต่อต้านเกณฑ์ทหารของประเทศกรีซ ซึ่งมีผู้อดอาหารประท้วงอยู่ในคุกจำนวน 2 คน แต่มีผู้สนับสนุนอยู่นอกคุกนับหมื่นคนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อต่อต้านการเกณฑ์ทหารและเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้อดอาหารประท้วง ด้วยการเขียนจดหมายหลายพันฉบับเข้าไปในเรือนจำ และจัดกิจกรรมคอนเสิร์ต รวมไปถึง อีเวนต์ อีกจำนวนมากเพื่อสร้างแรงกดดันรัฐบาล[6]

               
การจำแนกประเภทที่ว่านี้สัมพันธ์กับพลวัตของอำนาจอย่างมาก เพราะหากผู้อดอาหารประท้วง และผู้เข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ มีจำนวนน้อย พลวัตของอำนาจจะเน้นไปที่การเปลี่ยนทรรศนะเป็นหลัก แต่ถ้าจำนวนของผู้อดอาหารประท้วงหรือผู้สนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวมากขึ้น พลวัตของอำนาจก็จะยกระดับไปเน้นที่การสร้างแรงกดดันทางสังคมเพื่อให้รัฐบาลโอนอ่อนตามได้  

การจำแนกประเภทที่ว่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักกิจกรรมให้สามารถออกแบบการต่อสู้ให้ประสิทธิภาพขึ้นได้ ถ้าหากคนที่พร้อมจะอดอาหารประท้วงมีเพียงแค่คนเดียว (เช่น กรณีของ ไผ่ ดาวดิน) เป้าหมายก็คือต้องทำให้ความอยุติธรรมที่ผู้อดอาหารประท้วงประสบพบเจออยู่เป็นที่รับรู้ในสังคมมากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรรศนะ ถ้าหากคนที่พร้อมจะอดอาหารประท้วงมีหลายคน ก็อาจทำให้ผู้คนในสังคมฮึกเหิมและพร้อมที่จะต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวได้มากขึ้น และในทั้งสองกรณี การหาคนจำนวนมากในสังคมเพื่อมาร่วมกันกิจกรรมรูปแบบอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมผู้อดอาหารประท้วง ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้อำนาจแรงกดดันของการอดอาหารประท้วงให้เพิ่มขึ้นได้


จำแนกด้วยเป้าหมายของการต่อสู้

การจำแนกเป้าหมายของการต่อสู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

(1.)  ระดับครัวเรือน (เล็ก) : เช่น การอดอาหารประท้วงของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ในประเทศอินเดีย และไอร์แลนด์ เป็นต้น

(2.)  ระดับกลุ่มเดียวกัน (กลาง) : เช่น การอดอาหารประท้วงของคานธีต่อความขัดแย้งระหว่างกลุ่มฮินดูกับมุสลิมในประเทศอินเดีย เป็นต้น

(3.)  ระดับชาติ (ใหญ่) : เช่น การอดอาหารประท้วงแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการทารุณกรรมนักโทษชาวปาเลสไลน์ในประเทศอิสราเอล และการอดอาหารประท้วงเพื่อต่อต้านการเกณฑ์ทหารในประเทศกรีซ เป็นต้น    

การจำแนกเป้าหมายให้ชัดเจนว่ากำลังต่อสู้ในระดับไหน ทำให้เห็นว่าการอดอาหารประท้วงไม่จำกัดอยูเพียงการใช้กับพวกเดียวกันเอง หรือต้องอาศัย “ความรัก” อย่างที่คานธีทำอย่างเดียว แต่เป็นเครื่องมือที่สร้างแรงกดดันให้เกิดขึ้นในสังคมได้หากตระเตรียมดี ๆ ความเข้าใจที่ว่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักกิจกรรมตรงที่ช่วยให้เห็นว่า ถ้าหากต้องการต่อสู้ในระดับชาติ นักกิจกรรมก็จะต้องตระเตรียมวางแผนสร้างอำนาจต่อรองของตนเองให้มาก ด้วยการทำให้ประเด็นการต่อสู้เป็นที่มองเห็นในสังคมได้อย่างกว้างขวาง และทำให้คนมาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ จำนวนมาก ถ้าหากการต่อสู้เป็นระดับภายในกลุ่มด้วยกันเอง เช่น เรียกร้องให้เกิดความสามัคคีขึ้นในกลุ่ม การประท้วงก็ไม่ต้องอาศัยพลังของสื่อมวลชนหรือประชาชนสนับสนุนมากนัก


บทสรุป          

บทความนี้พยายามจะสร้างเครื่องมือการวิเคราะห์ขึ้นมาเพื่อจำแนกแยกแยะการอดอาหารประท้วงต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในโลก และช่วยให้เห็นชัดมากขึ้นว่าการอดอาหารประท้วงที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เหมือนแตกต่างกันอย่างไร ทั้งนี้ การแยกประเภทของการอดอาหารประท้วงยังจะเป็นประโยชน์ต่อนักกิจกรรมด้วย เพราะทำให้เห็นชัดขึ้นว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และจะพัฒนาขีดความสามารถในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในสังคมให้มากขึ้นได้อย่างไร

ประเด็นสุดท้ายที่อยากฝากเอาไว้ก็คือ การอดอาหารประท้วงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอดประวัติศาสตร์การเมืองโลก กระทั่งในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกก็ยังมีการอดอาหารประท้วงอยู่เพื่อเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมอยู่ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าปัญหาความอยุติธรรมในสังคมเรา ไม่ได้เป็นเรื่อง “ไทยแลนด์ออนลี่” เพราะหลาย ๆ ประเทศก็ยังมีเหยื่อของความอยุติธรรมในสังคมอยู่เช่นกัน ดังนั้น พวกเราจึงไม่ควรสิ้นหวัง และไม่ควรท้อแท้ว่าตนกำลังต่อสู้กับความอยุติธรรมอยู่คนเดียวบนโลกนี้  

0000

 

เชิงอรรถ

[1]ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ท้าทายทางเลือก : ความรุนแรง และการไม่ใช้ความรุนแรง (ฉบับปรับปรุงใหม่), (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ของเรา, 2557), หน้า 148-149

[2]ชาญณรงค์ บุญหนุน, ‘แด่. . .ไผ่ ดาวดิน การอดอาหารประท้วง สันติวิธีที่ผิดที่ผิดทาง ?’, ประชาไท,http://www.prachatai.com/journal/2016/08/67509, (เข้าถึง 18 สิงหาคม 2559)

[3] Gene Sharp, From Dictatorship to Democracy: A Conceptual Framework for Liberation (East Boston, The Albert Einstein Institution, 2010), p. 35

[4]ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ท้าทายทางเลือก, pp. 147-148

[5]‘Bilal Kayed threatened with forced treatment on 56th day of hunger strike’, SAMIDOUN: Palestinian Prisoner Solidarity Network, http://samidoun.net/2016/08/bilal-kayed-threatened-with-forced-treatment-on-56th-day-of-hunger-strike/ (accessed 22 August 2016)

[6] Alexia Tsouni and Mechalis Maragakis, ‘Refusing to serve in the army for reasons of conscience in Greece’, in, Özgür Heval Çınar and Cos¸kun Üsterci, ed., Conscientious Objection : Resisting Militarized Society (London and Newyork : Zed Books, 2009), p. 161

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีต ผวจ.ชาวญี่ปุ่นผู้ริเริ่ม "หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์" ต้นแบบ "โอท็อป" เสียชีวิตแล้ว

$
0
0

โมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 92 ปี โดยเป็นผู้ริเริ่ม "หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์" ต้นแบบ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ส่งเสริมการต้มสุราพื้นบ้าน "โชชู" จนดัง เคยเสนอแนวคิดให้ท้องถิ่นญี่ปุ่นมีอำนาจปกครองตนเองมากขึ้นด้วยการแยกออกเป็นหลายมลรัฐ ในมลรัฐประกอบด้วยกลุ่มจังหวัด ด้านยิ่งลักษณ์เขียนข้อความไว้อาลัยและยกย่องให้เป็นต้นแบบ "โอท็อป" เป็นแรงบันดาลใจ-ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนไทยอย่างกว้างขวาง

โมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะ (ที่มา: Japantimes)

26 ส.ค. 2559 เจแปนไทมส์รายงานเมื่อ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยอ้างสำนักข่าวเกียวโดว่า อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น โมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ ( Morihiko Hiramatsu) ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นผู้พัฒนาโครงการ "หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์" (一村一品運動/OVOP) ของจังหวัดโออิตะ เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยวัย 92 ปี

ฮิรามัตสึเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะ เป็นเวลา 24 ปี จนถึงปี 2546 สำหรับโครงการ "หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์" เป็นความริเริ่มของเขาสำหรับจังหวัดโออิตะ และต่อมาได้รับการนำเสนอไปยังประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ

ทั้งนี้เขาได้รับรางวัลแมกไซไซในปี 2538 สาขาบริการภาครัฐ หลังจากที่เขาพยายามสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการพึ่งตนเองของจังหวัดโออิตะ ผ่านโครงการ "หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์" และด้วยจิตวิญญาณของเขาที่เรียกร้องให้ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นมีมาตรฐานสากล

เขายังมีบทบาทรณรงค์อย่างแข็งขันเพื่อให้ท้องถิ่นปกครองตัวเองมากขึ้น ด้วยการเสนอให้ญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นหลายมลรัฐ และในมลรัฐประกอบด้วยหลายจังหวัด

ฮิรามัตสึยังส่งเสริมการต้มกลั่นสุราพื้นบ้าน "โชชู" (shochu) ซึ่งมักใช้วัตถุดิบจากข้าว ข้าวบาร์เลย์ มันเทศ โซบะ น้ำตาลทรายแดง ฯลฯ ซึ่งต่อมาทำให้เกิดปรากฏการณ์ "shochu boom" นอกจากนี้เขายังประสบความสำเร็จที่ผลักดันให้จังหวัดโออิตะเป็นสถานที่หนึ่งสำหรับแข่งฟุตบอลโลกที่ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพในปี 2545 ด้วย

เขายังได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Grand Cordon จากสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะในปี 2547 ด้วย

ด้านนี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ยังได้เขียนข้อความในเฟซบุ๊คเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ "หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์" ต้นแบบ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" หรือ OTOP

"ฉันเพิ่งทราบข่าวและรู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อการจากไปของคุณโมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ อดีตผู้ว่าการจังหวัดโออิตะ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มความคิดหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ One Village, One Product โดยเริ่มจากการเข้าใจชุมชนของตนเองอย่างลึกซึ้งว่ามีผลิตภัณฑ์ใดที่มีศักยภาพเหมาะสมกับชุมชนของตนเองแล้วนำมาใส่เอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนเข้าไป โดยเริ่มต้นจากภายในจังหวัดโออิตะของท่านก่อน จนแนวคิดนี้แพร่หลายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น

ต่อมา ดร.ทักษิณได้นำเอาหลักการและกระบวนการคิดของคุณโมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ มาปรับปรุงให้เข้ากับประเทศไทยจนกลายเป็น “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” ที่มุ่งส่งเสริมท้องถิ่นให้พัฒนาสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยโครงการโอท็อปนี้ได้กระตุ้นให้ชาวบ้านหันมาพัฒนาคุณภาพสินค้าชุมชนตนเองจนกลายเป็นโอท็อปห้าดาวที่สะท้อนคุณภาพของสินค้าจากชุมชนเหล่านี้ และผลสำเร็จของโครงการนี้ได้มีผลสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งสร้างงานสร้างอาชีพเกิดการสร้างสรรค์ทางความคิดอีกมากมาย

หลังจากที่ดิฉันได้มาเป็นรัฐบาลก็ต่อยอดพัฒนา “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ให้ชาวบ้านด้วยการสร้างแบรนด์สินค้าโอท็อปเหล่านี้ให้มีเอกลักษณ์และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ พร้อมกับผนวกความรู้สมัยใหม่ให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาคุณภาพและขยายการผลิตได้มากขึ้น ตลอดจนเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายถาวรในพื้นที่ทั่วประเทศโดย ใช้สถานที่ราชการและกลไกของกระทรวงพาณิชย์ ขอความร่วมมือจากภาคเอกชนให้จัดสรรพื้นที่สำหรับสินค้าโอท็อปที่มีคุณภาพ และให้ทีมประเทศไทย (Team Thailand) นำโดยกระทรวงการต่างประเทศเน้นการผลักดันสินค้าโอท็อปไทยสู่สากลให้มากขึ้นด้วย

ดิฉันจึงขอยกย่องคุณโมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ ในฐานะที่เป็นต้นแบบของนโยบายโอท็อปและเป็นแรงบันดาลใจให้กับนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนไทยอย่างกว้างขวาง และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวคุณโมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ ที่ได้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งและเป็นผู้ที่อุทิศตนเองทั้งแรงกาย แรงใจ ในการสร้างคุณประโยชน์ต่อประชาชนชาวโออิตะและชาวญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทยด้วยนะคะ ดิฉันขอไว้อาลัยต่อการจากไปของคุณโมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โปรดเกล้าฯ ตั้ง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เป็น 'พล.ท.' นายทหารฯในสมเด็จพระบรมฯ

$
0
0

เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแผร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ให้นายทหารรับราชการ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ พล.ต.หญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย  รักษาพระองค์ (อัตรา พล.ต.) เป็น นายทหารปฏิบัติการพิเศษสํานักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษ ในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ (อัตรา พล.ท.) ตั้งแต่วันที่  26 สิงหาคม 2559 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

โดย เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี โปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศ "พล.ต.หญิง" เมื่อวันที่ 10 พ.ย.56 เนื่องด้วยรับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นผลดีแก่ทางราชการ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานบำเพ็ญกุศลอายุวัฒนมงคล 8 รอบนักษัตร 'พล.อ.เปรม'

$
0
0

เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา เวลา 10.00 น. ที่พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เขตพระนคร กทม. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดงานบำเพ็ญกุศลอายุวัฒนมงคล 8 รอบนักษัตร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 96 ปี ทั้งนี้ในโอกาสเดียวกันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์เชิญแจกันดอกไม้พระราชทานมามอบให้

และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พล.อ.อ.เกษม อยู่สุข เป็นผู้แทนพระองค์เชิญแจกันดอกไม้พระราชทานมามอบให้เช่นกัน

ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พล.อ.เปรม เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 สำหรับตำแหน่งสำคัญก่อนจะได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เคยดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ผู้บัญชาการทหารบก รมว.มหาดไทย และนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเป็นเวลา 8 ปี

 

ที่มา มติชนออนไลน์และสำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่อยากขัดใจ เผย 'ชวลิต' เลื่อนการสนทนาธรรมไปก่อน หลัง คสช.มีหนังสือขอร้อง

$
0
0

27 ส.ค. 2559 พล.ท.พิรัช สวามิวัศดุ์ หรือเสธ.หมึก ซึ่งเป็นคนสนิทของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ต้องยกเลิกการสนทนาธรรมกับเจ้าอาวาสวัดยานนาวาในวันนี้ว่า มีคำสั่งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นหนังสือส่งมาที่บ้านพักของพล.อ.ชวลิต ซึ่งมีเนื้อหาขอร้องให้พล.อ.ชวลิต เลื่อนการสนทนาธรรมไปก่อน ในส่วนของตนก็ยังไม่เห็นคำสั่งนั้น แต่พล.อ.ชวลิต เห็นหนังสือดังกล่าวแล้วก็ไม่อยากเกิดความขัดแย้ง หรือมีปัญหากับคสช.                

“จริงๆ แล้วท่านก็ไม่ได้จะไปทำอะไร แค่ต้องการไปสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ที่วัด สาเหตุที่เลือกวัดยานนาวาก็เพราะว่าวัดเป็นศูนย์กลางของประชาชน เป็นสถานที่ที่ประชาชนพักใจ โดยเฉพาะคนสมัยก่อนที่เลือกเข้าไปนั่งในวัด เรียนหนังสือในวัด และเเค่อยากทำตามหลักการบวร บ้าน วัด โรงเรียน แค่นั้นเอง ” พล.ท.พิรัช กล่าว

 

ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ และมติชนออนไลน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส่งออกก.ค.ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 4 ตลาดรถยนต์ 7 เดือนปีนี้ยังไม่ฟื้น ยอดขายลด 0.2%

$
0
0

27 ส.ค. 2559 บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ ผู้ตรวจราชการและโฆษกประจำ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังออกตรวจสอบติดตามสถานการณ์ การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ตลาดมณีพิมาน เขตบางซื่อ กทม.ว่า ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคในช่วงนี้ถือว่าทรงตัว และเป็นปกติไม่มีรายการสินค้าใดมีราคาสูงขึ้น โดยภาพรวมราคาสินค้าทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนมา 2 สัปดาห์แล้ว เช่น ราคาเนื้อหมู กิโลกรัมละ 140-145 บาท ไก่สดทั้งตัว กิโลกรัมละ 70-75 บาท ไข่ไก่เบอร์ศูนย์ ราคาฟองละ 4.50-4.60 บาท ไข่ไก่เบอร์ 1 ราคาฟองละ 4.4-4.30 บาท ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคาฟองละ 4 บาท ไข่ไก่เบอร์ 3 ราคาฟองละ 3.80 บาท 

บรรจงจิตต์ กล่าวด้วยว่า ถือเป็นราคาที่ทรงตัวทั้งหมด แต่กระทรวงพาณิชย์ยังคงเดินหน้าติดตามราคาสินค้าทุกรายการอย่างใกล้ชิด ให้พาณิชย์และค้าภายในแต่ละจังหวัดออกตรวจสอบราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำท่วม หากมีการกักตุนหรือเอารัดเปรียบจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างจริงจัง หากประชาชนพบเห็นจำหน่ายสินค้าแพงเกินจริงร้องเรียนสายด่วน 1569 ได้

พาณิชย์ระบุเศรษฐกิจโลก ฉุดส่งออกก.ค.ติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 4

วานนี้ (26 ส.ค. 59) สุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยมูลค่าการส่งออกของไทยในเดือนก.ค. 2559 พบว่า มีมูลค่า 17,415 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบร้อยละ 4.4 มากกว่าเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ที่ติดลบเพียงร้อยละ 0.07 และติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกลงเหลือร้อยละ 3.1

ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.4 โดยเฉพาะรถยนต์และส่วนประกอบ ติดลบร้อยละ 6.7  น้ำมันสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 40.7 และเม็ดพลาสติก ติดลบร้อยละ 14.8 และการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ติดลบร้อยละ 18.6 จากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรลดลง รวมทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ปรับตัวลดลงเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 42.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล  ส่งผลให้ในระยะ 7 เดือนแรกของปีนี้  มีมูลค่าส่งออกรวม 122,553 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบร้อยละ 2

ตลาดรถยนต์ 7 เดือนปีนี้ยังไม่ฟื้น ยอดขายลดลงร้อยละ 0.2

วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยยอดขายรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2559 ว่า มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 60,635 คัน ลดลงร้อยละ 0.4  อย่างไรก็ตาม รถยนต์นั่งมียอดขาย 24,358 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 รถเพื่อการพาณิชย์ 36,277 คัน ลดลงร้อยละ 6.1 รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 29,177 คัน ลดลงร้อยละ 7.7

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือนแรกปีนี้ มีปริมาณการขาย 429,265 คัน ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 9.2 ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศยังคงฟื้นตัวช้า ส่งผลทางจิตวิทยาต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งมีผลถึงตลาดรถยนต์

 

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์ระบุคนไทยเห็นว่า ม.44 ยังจำเป็น 75%

$
0
0
กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจ ประชาชน 75.0% ชี้ ม.44 ยังจำเป็นต่อสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน 56.2% เชื่อจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติ 53.5% ไม่กังวลกับเหตุการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ

 
 
 
27 ส.ค. 2559 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความจำเป็นของมาตรา 44 กับสถานการณ์บ้านเมือง หลังผ่านการลงประชามติร่างฯ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,176 คน พบว่า 
 
เมื่อถามความเห็นว่ามาตรา 44 ยังจำเป็นหรือไม่กับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.0 เห็นว่ายัง “จำเป็น” ขณะที่ร้อยละ 19.0 เห็นว่า “ไม่จำเป็น” มีเพียงร้อยละ 6.0 ไม่แน่ใจ
 
เมื่อถามต่อว่ามาตรา 44 จะสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ให้แก่นานาประเทศหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.2 เห็นว่าจะสร้างความเชื่อมั่น ขณะที่ร้อยละ 30.4 เห็นว่าจะไม่สร้างความเชื่อมั่น ส่วนที่เหลือร้อยละ 13.4 ไม่แน่ใจ
 
สุดท้ายเมื่อถามว่าวิตกกังวลมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์ความไม่สงบต่างๆ เช่น เหตุระเบิด การก่อการร้าย ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.5 วิตกกังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 42.4 วิตกกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 4.1 ไม่แน่ใจ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายประชาชนภาคเหนือหวั่น!! พ.ร.บ.ใหม่ กสทช.ขาดการคุ้มครองผู้บริโภค

$
0
0

เครือข่ายประชาชนภาคเหนือหวั่นร่าง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ไม่สร้างความสมดุล บั่นทอนและกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความมุ่งมั่นและความตั้งใจในการทำงานของเครือข่ายที่จะทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน

วันที่ 27 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ในเวทีส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายผู้บริโภค ระดับภูมิภาค ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ ประกอบด้วย เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคเหนือ เครือข่ายเพื่อนสื่อสาธารณภาคเหนือ เครือข่ายคนทำงานด้านเด็กและเยาวชนภาคเหนือ เครือข่าย 17 ชาติพันธุ์ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนภาคเหนือ เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ เครือข่ายผู้พิการภาคเหนือ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือ สถาบันปวงผญาพยาว และสมาคมสื่อจังหวัดพะเยา ได้ขอช่วงเวลาระหว่างการทำกิจกรรม อ่านแถลงการณ์ “พรบ.กสทช.ฉบับใหม่ ต้องสนับสนุนการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอย่างแท้จริง”

นายวีรพงษ์ กังวาฬนวกุล ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนภาคเหนือ อ่านแถลงการณ์ว่า ขอให้กำลังใจ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ชุดปัจจุบัน และคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่มีความตั้งใจดีที่จะทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน ตามแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ดังนั้นพลเมืองที่มีคุณภาพที่ดีและสังคมที่ดำรงด้วยคุณธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาล

ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ซึ่งอาจไม่สร้างความสมดุลย์อีกทั้งยังคงบั่นทอนและกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความมุ่งมั่นและความตั้งใจในการทำงานของเครือข่าย และ กสทช. ที่จะทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน ในนามเครือข่ายภาคประชาชนภาคเหนือ จึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ พรบ.กสทช.ชุดใหม่ ได้ปฎิบัติตามข้อเสนอและข้อเรียกร้องด้วย (อ่านในแถลงการณ์)

ทั้งนี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กรรมการ กสทช. ได้เป็นตัวแทนรับข้อเสนอเพื่อส่งต่อไปยังกรรมการ กสทช. สำนักงาน และ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การแก้ไขร่าง พรบ.กสทช.ชุดใหม่ต่อไป พร้อมทั้งกล่าวว่าตนอยากให้คณะกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ได้เชิญเครือข่ายภาคประชาชนภาคเหนือเข้าร่วมให้ความเห็นด้วย


แถลงการณ์เครือข่ายประชาชน ภาคเหนือ

“พรบ.กสทช.ฉบับใหม่

"ต้องสนับสนุนการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอย่างแท้จริง”

วันที่ 27 สิงหาคม 2559
ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่

 ในนามเครือข่ายประชาชนภาคเหนือ ขอให้กำลังใจ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมและกิจการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ (กสทช.) ชุดปัจจุบัน และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่มีความตั้งใจดีที่จะทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน ตามแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ดังนั้นพลเมืองที่มีคุณภาพที่ดีและสังคมที่ดำรงด้วยคุณธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาล

 ดังนั้น ร่าง พรบ.กสทช.ฉบับใหม่ ซึ่งอาจไม่สร้างความสมดุลย์อีกทั้งยังคงบั่นทอนและกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความมุ่งมั่นและความตั้งใจในการทำงานของเครือข่าย และ กสทช. ที่จะทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน

 ในนามเครือข่ายภาคประชาชนภาคเหนือ จึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.กสทช.ชุดใหม่ ได้ปฎิบัติตามข้อเสนอและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1)      ให้คงรูปแบบการมีอนุกรรมการในชุดต่าง ๆ เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคประชาชน

2)      ในสัดส่วนของ บอร์ด กสทช. 7 คนชุดใหม่ที่จะต้องมีการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่นั้น ต้องมีผู้เชียวชาญงานคุ้มครองผู้บริโภคที่มาจากตัวแทนภาคประชาชน

3)      สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม โดยมีองค์ประกอบที่กลุ่มองค์กรผู้บริโภคที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นตัวแทนและเป็นปากเสียงสำคัญแทนผู้บริโภคในการทำงานคุ้มครองสิทธิร่วมกับกสทช.อย่างต่อเนื่อง

4)      ให้ความสำคัญจัดและการมีส่วนร่วมด้านให้มีการทำแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนให้ชัดเจน

5)      ให้คงรูปแบบการมีอนุกรรมการในชุดต่าง ๆ เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคประชาชน

6)      ในสัดส่วนของ บอร์ด กสทช. 7 คนชุดใหม่ที่จะต้องมีการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่นั้น ต้องมีผู้เชียวชาญงานคุ้มครองผู้บริโภคที่มาจากตัวแทนภาคประชาชน

7)      สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม โดยมีองค์ประกอบที่กลุ่มองค์กรผู้บริโภคที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นตัวแทนและเป็นปากเสียงสำคัญแทนผู้บริโภคในการทำงานคุ้มครองสิทธิร่วมกับกสทช.อย่างต่อเนื่อง

8)      ให้ความสำคัญจัดและการมีส่วนร่วมด้านให้มีการทำแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนให้ชัดเจน

เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ ประกอบด้วย

♣ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคเหนือ          

♣ เครือข่ายเพื่อนสื่อสาธารณภาคเหนือ

♣ เครือข่ายคนทำงานด้านเด็กและเยาวชนภาคเหนือ     

♣ เครือข่าย 17 ชาติพันธุ์

♣ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนภาคเหนือ                    

♣ เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ

♣ เครือข่ายผู้พิการภาคเหนือ                                

♣ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือ

♣ สถาบันปวงผญาพยาว                                     

♣ สมาคมสื่อจังหวัดพะเยา

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยร่าง กม.ลูกเสร็จแล้ว 2 ฉบับ ตั้งพรรคการเมืองต้องหาสมาชิก 4 ภาคให้ครบก่อน

$
0
0
กกต. เผยความคืบหน้าการร่างกฎหมายลูกเสร็จแล้ว 2 ฉบับ เตรียมนำเข้าหารือในที่ประชุม กกต. 29 ส.ค.นี้ จัดตั้งพรรคการเมืองยากขึ้นเพราะต้องให้พรรคการเมืองหาสมาชิกให้ครบ 5,000 คน จากทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ จึงจะจัดตั้งได้

 
27 ส.ค. 2559 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายบุญส่ง น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับ กกต.และการเลือกตั้ง โดยล่าสุดเสร็จแล้ว 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะทำให้จัดตั้งพรรคการเมืองได้ยากขึ้น และมีแนวทางป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง จากเดิมสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองก่อนแล้วค่อยหาสมาชิก ในครั้งนี้ได้กำหนดให้พรรคการเมืองต้องหาสมาชิกให้ครบ 5,000 คน จากทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ จึงจะจัดตั้งพรรคการเมืองได้
 
นายบุญส่ง กล่าวยอมรับว่า ปัจจุบันไทยมีพรรคการเมืองมากถึง 71 พรรค ถือว่ามากเกินไป ส่วนการยุบพรรคการเมืองก็สามารถยุบได้จาก 2 สาเหตุเท่านั้น คือ พรรคการเมืองที่มีเจตนาล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และพรรคการเมืองที่ปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย
 
“ทุกฉบับอยู่ระหว่างพิจารณาเนื้อหาเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติอย่างแท้จริง คาดว่าจะทยอยส่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ.พิจารณาทั้ง 2 ฉบับภายในเดือนสิงหาคม โดยในวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคมนี้ จะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง” นายบุญส่ง กล่าว
 
นายบุญส่ง กล่าวด้วยว่า ในส่วนฉบับที่ยังร่างไม่เสร็จ คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาให้สอดคล้องและมีความเหมาะสมกับรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดให้ กกต.มีทั้งหมด 7 คน ส่วน ส.ว.ถือเป็นฉบับที่ต้องระมัดระวัง เพราะวิธีการได้มาซึ่ง ส.ว.มีความซับซ้อน สำหรับกรณีการแก้รัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติในส่วนบทเฉพาะกาลนั้น หลักการแก้รัฐธรรมนูญที่จะต้องไม่สามารถแก้ง่ายหรือยากจนเกินไป และระวังเรื่องการตีความ เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนูญถูกตีความได้หลากหลาย ทำให้มีปัญหา แต่ถ้าบัญญัติไว้ชัดเจนจะทำให้ปัญหาน้อยลง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบช.ก. แถลงจับ 'กิมเอ็ง' พี่สาวหญิงไก่ ฐานแอบอ้างเบื้องสูง

$
0
0

27 ส.ค. 2559 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผบช.ก. พร้อมด้วย พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืชน์ รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.ชาญ วิมลศรี รรท.บก.ป. เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ร่วมแถลงข่าวการจับกุม นางกมนทรรศน์ ธนธรณ์โฆษิตจิร หรือแม่ตุ่ม (ชื่อเดิม นางกิมเอ็ง แซ่เตียว) อายุ 62 ชาว จ.สมุทรปราการ ตามหมายจับศาลอาญาเลขที่ 1563/2559 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2559 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกง และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม” พร้อมของกลาง เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา กำไลข้อมือเงิน โดยมีข้อความว่า ”Long Live The King” สามารถจับกุมได้ที่ ต.เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 
 
พล.ต.ท.ฐิติราช กล่าวว่า สืบเนื่องจาก กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้มีคำสั่ง ที่ 131/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 และ ที่ 136/2559 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 แต่งตั้งคณะพนักงาน สืบสวนสอบสวนดำเนินคดีกับนางมณตา หยกรัตนกาญ หรือนางไก่ ข้อหา แจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ค้ามนุษย์ และหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นพนักงานสอบสวน ระหว่างการสืบสวนสอบสวน ได้มีผู้เสียหาย(ขอปิดนาม) เดินทางมามอบพยานหลักฐาน และให้ข้อมูลว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์ในลักษณะคล้ายนางไก่ และคาดว่าน่าจะเป็นบุคคลคนเดียวกันกับ นางกิมเอ็ง แซ่เตียว อดีตผู้ต้องหา คดีหลอกลวงผู้อื่นให้บริจาคเงิน โดยอ้างว่าสามารถขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ ถูกศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิพากษาจำคุก 6 ปี ต่อมาพ้นโทษจึงเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล หลายครั้งจนปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ดร.กมนทรรศน์ ธนธรณ์โฆษิตจิร หรือแม่ตุ่ม” 
 
พล.ต.ท.ฐิติราช กล่าวอีกว่า ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบทราบว่า เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ แห่งหนึ่งได้เผยแพร่วีดีทัศน์สารคดีเฉลิมพระเกียรติ โดยนางกมนทรรศน์ ให้สัมภาษณ์เชิงกล่าว อ้างว่าเคยตามเสด็จฯ และ อ้างว่าเป็นบุคคลใกล้ชิดกับบุคคลชั้นสูง อีกทั้งเป็นผู้ปรุงอาหารถวายในสำนักพระราชวัง มีการสร้างภาพทาง สังคมหรือสาธารณะเพื่อให้ผู้ที่พบเห็นเชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดกับคนชั้นสูง โดยแสดงตนเป็นตัวแทน ประกอบพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการเฉลิมพระเกียรติ และจัดงานวันเกิดอย่างยิ่งใหญ่ มีผู้แต่งกายเป็นเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังนำของขวัญและแจกันดอกไม้ซึ่งอ้างว่าได้รับพระราชทานมามอบให้กับนางกมนทรรศน์ เพื่อให้บุคคลที่มาร่วมงาน หรือผู้พบเห็นหลงเชื่อ จากนั้นจะชักชวนให้ร่วมทำบุญถวายเป็นพระราชกุศลในโอกาสต่างๆ โดยมีผู้เสียหายจำนวนหลายคนหลงเชื่อ มอบเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีนางกมนทรรศน์ ซึ่งขณะนี้มีผู้เสียหายมาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี รวมมูลค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 2,979,300 บาท และหลังจากที่ได้รับเงินแล้วนางกมนทรรศน์ ได้นำหนังสือทรงขอบคุณ โดยอ้างว่าเป็นหนังสือที่ออกโดย สำนักพระราชวัง นอกจากนี้จากการตรวจสอบพบว่าเป็นหนังสือปลอม    
 
พล.ต.ต.สมหมาย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม เวลา 09.40 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ได้ติดตามจับกุมนางกมนทรรศน์ ขณะหลบหนีไปที่ ต.เกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ก่อนขยายผลค้นห้องพักย่านลาดพร้าว 60 พบทรัพย์สินมีค่าจำนวนมาก อาทิ เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบว่าเป็นของแท้ หรือของที่ทางนางกมนทรรศน์ ปลอมแปลงขึ้น อีกทั้งจะทำการตรวจสอบว่าบุคคลที่มามอบดอกไม้ให้กับนางกมนทรรศน์ เป็นบุคคลของสำนักราชวังจริงหรือไม่ซึ่งอยู่ในระหว่างตรวจสอบ 
 
พล.ต.ต.สมหมาย กล่าวด้วยว่า จากการสอบปากคำเบื้องต้น ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการแจ้งข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายมาตรา 112 ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการขยายผลผู้ร่วมขบวนการ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบตัวหมดแล้วสำหรับรายละเอียดนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50860 articles
Browse latest View live




Latest Images