Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live

ทหาร ปตอ.พัน.5 เยี่ยมสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันประจำเดือนสิงหาคม 59

$
0
0

ทหาร 4 นาย จากกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 เยี่ยมสำนักงานฟ้าเดียวกันประจำเดือนสิงหาคม พร้อมสอบถามว่าพิมพ์อะไรเป็นพิเศษหรือไม่ ขณะที่ทางสำนักพิมพ์ตอบว่าไม่เกี่ยวข้องกับปฏิทินทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ตอนนี้เร่งปิดต้นฉบับหนังสือให้ทันตุลาคมนี้

มีรายงานในเพจฟ้าเดียวกันว่า วันนี้ (23 ส.ค.) มีทหารจากกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 หรือ ปตอ.พัน.5 จำนวน 4 นาย เดินทางมากับรถฮัมวี ติดไซเรน มาเยี่ยมสำนักงานฟ้าเดียวกัน ที่ จ.นนทบุรี โดยเป็นการเยี่ยมประจำเดือน

ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่สอบถามว่าจะพิมพ์อะไรพิเศษไหม โดยทีมงานสำนักพิมพ์ตอบว่า ถ้าเป็นปฏิทินทักษิณ -ยิ่งลักษณ์ เราไม่เกี่ยวข้อง ถ้าจะมีก็แต่หนังสือของสำนักพิมพ์ที่จะออกเดือนตุลาคมนี้

ด้านธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ยืนยันข่าวทหารตบเท้าเข้าพบดังกล่าว โดยระบุว่าหน่วยงานทหารดังกล่าวมาตรวจเยี่ยมสำนักพิมพ์ทุกเดือน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประกันสังคมลุยเพิ่มสิทธิ ‘คนพิการ’ เทียบเท่าบัตรทอง

$
0
0

เลขาฯสำนักงานประกันสังคมย้ำเดินหน้าปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคม “คนพิการ” เทียบเท่าบัตรทอง เร่งแก้ปัญหาผูกติดโรงพยาบาลกับผู้ประกันตน ชี้ยังไม่โอนย้ายคนเข้า สปสช.

23 ส.ค. 2559 โกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงสิทธิประโยชน์เรื่องการรักษาพยาบาลให้กับคนพิการ โดยได้มอบหมายให้กองที่รับผิดชอบไปพิจารณาเทียบเคียงดูว่าสิทธิประโยชน์ใดที่คนพิการในระบบประกันสังคมได้รับน้อยกว่าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้กับผู้ที่ใช้สิทธิบัตรทอง เมื่อทราบแล้วให้ดำเนินการเร่งแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว

“ระบบประกันสังคมมีการผูกผู้ประกันตนไว้กับโรงพยาบาลที่ลงทะเบียน ซึ่งเราก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้ด้วย” โกวิท กล่าว

เขากล่าวอีกว่า ระหว่างที่คณะกรรมการแพทย์หารือกันว่าจะปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ส่วนใดให้เทียบเท่าระบบบัตรทองนั้น จำเป็นต้องพิจารณาว่าในช่วงรอยต่อนี้จะดูแลคนพิการให้ได้รับบริการที่สะดวกสบายอย่างไร

สำหรับแนวคิดเรื่องการโอนคนพิการจากระบบประกันสังคมไปให้ สปสช.เป็นผู้ดูแลนั้น เขามองว่า ยังเป็นแนวคิดที่ต้องพิจารณาในหลายด้านและมีผลกระทบเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น เมื่อ สปส.โอนคนพิการไปก็ต้องให้เม็ดเงินแก่ สปสช.ด้วย คำถามคือเงินส่วนนี้ใครจะเป็นผู้จ่าย

“ถามว่าจะเอาเงินจากไหน รัฐบาลหรือสำนักงานประกันสังคม นี่ยังไม่นับสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ซ้อนทับกันอยู่มากกว่าแค่เรื่องสิทธิรักษาพยาบาล ที่สุดแล้วต้องกลับมาดูว่าข้อเสนอดังกล่าวมันทำได้จริงหรือไม่ หลายคนมองว่าเป็นเรื่องง่ายแค่โอนย้ายไปก็จบ แต่ในรายละเอียดยังมีอีกมาก” โกวิท กล่าว

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานแก่คนพิการกำลังทำให้คนพิการได้รับความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ (อ่านที่นี่) โดยคนพิการที่สมัครเข้าทำงานและมีนายจ้างจะต้องเปลี่ยนสิทธิประกันสุขภาพจากเดิมที่ใช้ระบบบัตรทองเป็นประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ ระบบบัตรทองให้สิทธิคนพิการรักษาฟรีในสถานพยาบาลใดก็ได้ ขณะที่ระบบประกันสังคมคนพิการจะต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อให้เกิดสิทธิ และสามารถเข้ารับการรักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลต้นสังกัดที่ลงทะเบียนประกันตนเอาไว้เท่านั้น

สำหรับทางแก้ไข นพ.ยศ เสนอว่า ให้โอนคนพิการจากระบบประกันสังคมมาสู่ระบบบัตรทอง ซึ่งชัดเจนว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'คนพิการ' โอดประกันสังคมให้สิทธิด้อยกว่าบัตรทอง
หวั่นคนพิการที่สมัครงานตามนโยบายรัฐ ถูกลดสิทธิรักษา
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.นครบาล เล็งเอาผิด Fight Club ผิด พ.ร.บ.กีฬามวย หวันอันตรายถึงชีวิต

$
0
0

23 ส.ค. 2559 พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รรท.ผบช.น.) เปิดเผยถึงกรณีการจัดชกมวยที่ปรากฎคลิปวิดีโอผ่านโซเซียลมีเดียชื่อว่า Fight Club Thailand ว่า เบื้องต้นได้รับชมคลิปดังกล่าวแล้ว คาดว่าอาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ.2542 ม.26 วรรคหนึ่งห้ามมิให้ผู้ใดจัดแข่งขันกีฬามวยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เว้นแต่การแข่งขันกีฬามวยบางประเภทตามที่มีกำหนดในกฎกระทรวง มีความผิดม.55 ผู้ใดจัดการแข่งขันกีฬามวยโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม ม.26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

พล.ต.ท.ศานิตย์ กล่าวอีกว่า จากการดูคลิปการจัดชกมวยอาจไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน ทั้งเวที และการนำคนที่เดินผ่านไปมาขึ้นมาชกกัน อาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ การจัดมวยดังกล่าวอาจนำไปสู่การเล่นพนันได้ จึงได้กำชับทุกพื้นที่กวดขันอย่างเข้มงวด

สำหรับ พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ.2542 ม. 26 ระบุว่า 

ห้าม มิให้ผู้ใดจัดแข่งขันกีฬามวย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เว้นแต่ในกรณีการจัดการแข่งขันกีฬามวยบางประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การ ขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้จัดการแข่งขันกีฬามวยสำหรับนักมวยที่มีอายุต่ำกว่าสิบ ห้าปีบริบูรณ์จะกำหนดได้เฉพาะเมื่อมีอุปกรณ์ในการป้องกันความปลอดภัยในการ แข่งขัน

ใน การออกใบอนุญาต นอกจากต้องปฏิบัติตามวรรคสองแล้ว นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้การจัดการแข่งขันกีฬามวยเป็นไปตามระเบียบและกติกา ที่คณะกรรมการกำหนด

การจัดการแข่งขันกีฬามวยที่ไม่ต้องขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดตามมาตรา 16

ขณะที่ ม.55 ระบุว่า ผู้ใดจัดการแข่งขันกีฬามวยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ที่มา สำนักข่าวไทยและข่าวสดออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาขับเคลื่อนฯ เห็นชอบแผนปรับโครงสร้างท้องถิ่นยุบรวม อบต. เป็นเทศบาลตำบล

$
0
0

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เห็นชอบแผนปฏิรูปด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอปรับโครงสร้างท้องถิ่นขนาดเล็ก ควบรวม อบต. เป็นเทศบาลตำบล รองรับการถ่ายโอนภารกิจในอนาคต โดยหลังจากนี้รอชงคณะรัฐมนตรี-กฤษฎีกา-สนช. นอกจากนี้ยังพิจารณาแผนปรับโครงสร้างบริหารกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และตั้ง อปท.พื้นที่พิเศษ

23 ส.ค. 2559 ตามที่สภาวาระการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในวันที่จันทร์ที่ 22 ส.ค. และ วันอังคารที่ 23 ส.ค. โดยมี 6 หัวข้อ  ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง อบต. กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เมืองที่มีลักษณะพิเศษ ประกอบด้วย

1. การพัฒนาและบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อมุ่งเน้นให้เด็กเป็นคนดี ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรม และจริยธรรม

2. การปฏิรูประบบและเครื่องมือด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และประโยชน์สาธารณะ ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน

3. โครงสร้างและอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป และร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น

4. การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ....) พ.ศ. .... และคณะกรรมการยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาเมืองหลวงและปริมณฑล ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น

5. การปฏิรูปการบริหารเมืองพัทยา และร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... และคณะกรรมการยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาเมืองพัทยาและท้องถิ่นโดยรอบ ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น

และ 6. การปฏิรูปการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เมืองที่มีลักษณะพิเศษ ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น

ล่าสุดในรายงานของ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2559 มีการพิจารณาเรื่องโครงสร้างและอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป "ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...."

โดยวัลลภ พริ้งพงษ์ ประธานคณะกรรมาธิการ ฯ ได้นำเสนอรายงานว่า ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหาหลายเรื่อง ทั้งระบบการคลัง จัดเก็บรายได้ได้น้อย การจัดเก็บภาษีท้องถิ่นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงการใช้ทรัพยากร และประชาชนขาดการมีส่วนร่วม ดังนั้นจำเป็นต้องปฏิรูปเพื่อกำหนดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป โดยการควบรวมองค์กรเล็กๆ ในท้องถิ่นให้เป็นระบบเดียวกัน และยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. ให้เป็นระบบเทศบาล ให้ อบต.สามารถกำหนดสมาชิก ผู้ช่วยบริหารท้องถิ่น จำนวนเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับกับภารกิจการถ่ายโอนในอนาคต

ขณะที่ สมาชิก สปท. ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนแผนปฏิรูปตามรายงานนี้ เพราะการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น จะทำให้การถ่ายโอนภารกิจง่ายและมีประสิทธิภาพ โดยหลังการอภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับรายงานด้วยคะแนน 163 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง และ งดออกเสียง 3 เสียง

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาเรื่อง การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และคณะกรรมการยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาเมืองหลวงและปริมณฑล โดยสาระสำคัญที่ต้องปรับแก้เพื่อให้มีความสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของกรุงเทพมหานครให้ดียิ่งขึ้น เช่น ปรับปรุงวิธีจัดการสาธารณะให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น รวมทั้งให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาเมืองหลวงและปริมณฑล ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการฯ เพื่อความเป็นเอกภาพในการบริหารงาน

โดยสาระสำคัญของ "ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...." ที่เผยแพร่โดยสมาคมข้าราชการส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทยในมาตรา 5 กำหนดให้ "จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลทีมีอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ใช้บังคับเป็นเทศบาลตำบลตั้งแต่วันที่ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป

ให้เทศบาลตำบลที่ได้รับการจัดตั้งตามวรรคหนึ่ง มีชื่อและเขตตามชื่อและเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลเดิม หากกรณีเทศบาลตำบลที่มีชื่อซ้ำกับเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนครที่มีอยู่เดิมให้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลนั้นตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด"

นอกจากนี้ยังมีบทกำหนดให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน งบประมาณ บุคลากร ฯลฯ ขององค์กรบริหารส่วนตำบลเดิม ไปยังเทศบาลตำบลที่ตั้งขึ้นใหม่ ขณะที่ฝ่ายการเมืองขององค์การบริหารส่วนตำบล ไปเป็นฝ่ายการเมืองของเทศบาลตำบลและมีอายุทำงานจนกว่าจะครบวาระที่เหลือ หรือเมื่อได้ควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกันตามประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ สปท. จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ และเมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว จึงจะไปสู่ขั้นตอนตีความของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนส่งกลับมาให้คณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาและจัดทำเป็นกฎหมายต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลทหารรับฟ้อง 8 ผู้ต้องหาแอดมินเพจ 'เรารักพล.อ.ประยุทธ์' ม.116-พ.ร.บ.คอมฯ

$
0
0

23 ส.ค. 2559 ศาลทหาร กรุงเทพ ฯ อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว 8 ผู้ต้องหาเป็นแอดมินเพจ "เรารักพล.อ.ประยุทธ์" โดยก่อนหน้านั้นศาลทหารได้รับฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 8 ราย ในคดียุยง ปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และพระราชบัญญัติคอมพิวตอร์ ด้วยวงเงินประกันตัว จำนวนคนละ 2 แสนบาทตามที่ทนายความได้ยื่นมา

โดย วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ เปิดเผยว่า การปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ มีเงื่อนไขคือ ห้ามออกนอกประเทศ และห้ามยุยง ปลุกปั่น การกระทำอันจะก่อไม่สงบต่อบ้านเมือง ซึ่งวันนี้เวลาประมาณ 19.00 น. จะนำหมายปล่อยตัวไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง เพื่อปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 8 ราย

สำหรับการยื่นประกันนั้น วิญญัติ ระบุว่า ใช้หลักฐานเดิมและยื่นประกันหลักทรัพย์คนละ 2 แสนบาท เหมือนที่เคยยื่นเรื่องไปก่อนหน้านี้ พร้อมมั่นใจว่าผู้ต้องหาทั้ง 8 คน ไม่เข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 116 เนื่องจากมีข้อขัดแย้งอยู่พอสมควร แต่ทั้งนี้ยังไม่เห็นรายละเอียด และหลักฐานของคำฟ้องที่ชัดเจน

ส่วนการต่อสู้ทางคดีนั้น วิญญัติ ระบุว่า ไม่สามารถให้รายละเอียดได้ เพราะอาจส่งผลต่อรูปคดี ซึ่งมั่นใจในหลักฐาน แต่ไม่มั่นใจในระบบกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด พร้อมเรียกร้องอยากให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจอย่างระมัดระวัง และเป็นไปตามกรอบกฎหมาย

8 ผู้ต้องหาในคดีนี้ประกอบด้วย นพเกล้า คงสุวรรณ, ศุภชัย สายบุตร, วรวิทย์ ศักดิ์สมุทรานันท์, โยธิน มั่งคั่งสง่า, กัณสิทธิ์ ตั้งบุญธินา, ธนวรรธ บูรณศิริ, หฤษฏ์ มหาทน และ ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์


เวลาประมาณ 20.50 น. ผู้ต้องหาชายได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
ขณะที่ผู้ต้องหาหญิงอีก 1 คนจะได้รับการปล่ยอตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง 
ทั้งนี้ ศาลทหารมีระบบแตกต่างจากศาลอาญา
ศาลอาญาสามารถปล่อยตัวผู้ต้องหาได้ที่ศาลทันทีหลังได้รับอนุญาตประกันตัว
แต่ศาลทหารต้องนำตัวผู้ต้องหาที่ได้ประกันมาเข้าเรือนจำ แล้วจึงปล่อยตัวจากเรือนจำ

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียกแดงบ้านโป่งเป็นพยานคดี ‘น่าเชื่อว่าจะแจก’ หลังพบสติ๊กเกอร์โหวตโนแปะอกหน้าโรงพักวันเกิดเหตุ

$
0
0

ตำรวจเรียกเสื้อแดงบ้านโป่ง มาเป็นพยานคดี 4 NDM- 1 นักข่าว ถูกจับกุมหน้าโรงพัก หลังพบพยานมีสติ๊กเกอร์โหวตโน แปะอยู่ที่หน้าอกเสื้อ ในวันเกิดเหตุ ด้าน 5 ผู้ต้องหาเตรียมเดินทางเข้ารายงานตัวต่อศาล 29 ส.ค. นี้

23 ส.ค. 2559 บริบูรณ์ เกียงวรากูร กลุ่มคนเสื้อแดงบ้านโป่ง ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ได้รับหมายเรียกพยานจากสถานีตำรวจภูธรบ้านโป่ง เพื่อเป็นพยานในคดีระหว่าง พ.ต.ท.สรายุทธ บุรีวชิระ ผู้กล่าวหา กับปกรณ์ อารีกุล, อนุชา รุ่งมรกต, อนันต์ โลเกตุ สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าวประชาไท ผู้ถูกกล่าวหา ตามข้อกล่าวหาฐานกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง จากกรณีการที่ขบวนการประชาธิปไตยใหม่เดินทางไปให้กำลังใจชาวบ้าน 23 คนที่ถูกเรียกงานตัวฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. จากกรณีการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ขณะที่ผู้สื่อข่าวได้ติดรถไปทำข่าวด้วย (อ่านข่าวที่นี่)

บริบูรณ์ ให้ข้อมูลว่า ตนได้รับหมายเรียกพยานดังกล่าวเมื่อเช้าของวันที่ 23 ส.ค. 2559 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งหมายดังกล่าวไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านซึ่งตนไม่ได้อาศัยอยู่ที่นั่นแล้ว  เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่าตนยังไม่ได้รับหมายเรียก จึงนำหมายเรียกพยานซึ่งออกเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2559 ไปใส่ไว้ในซองจดหมายของที่พักปัจจุบัน ซึ่งหมายดังกล่าวระบุให้ไปพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรบ้านโป่งในวันที่ 26 ก.ค. 2559 แต่เนื่องจากเลยกำหนดดังกล่าวมาแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดต่อให้ไปพบในวันพรุ่งนี้แทน (24 ส.ค. 2559) 

ทั้งนี้ในหมายเรียกพยานได้ระบุด้วยว่า เรียกตัวบริบูรณ์มาเป็นพยานครั้งนี้ เนื่องจาก “เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหา 5 คน ฐานความผิดก่อความไม่สงบฯ มีการแจกจ่ายสติ๊กเกอร์ โหวตโน สีน้ำเงิน จากการสืบสวนทราบว่า พยานมีแผ่นสติ๊กเกอร์ติดอยู่หน้าอกเสื้อ ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในคดีนี้”

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า วันที่ 29 ส.ค. 2559 นี้ ผู้ต้องหาทั้ง 5 คนจะต้องไปรายงานตัวกับศาลจังหวัดราชบุรี ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันครบกำหนดที่พนักงานสอบสวนและอัยการจะต้องทำความเห็นต่อศาลว่า ควรฟ้องหรือไม่

ทวีศักดิ์ เล่าว่า วันที่เกิดเหตุ (10 ก.ค.) หลังจากขบวนการประชาธิปไตยใหม่ได้เดินทางไปให้กำลังใจชาวบ้านที่อำเภอบ้านโป่ง โดยมีตนเองในฐานะผู้สื่อข่าวขอติดรถไปทำข่าวด้วย เวลาประมาณ 11.00 น. ขณะกลับมาที่รถ ซึ่งจอดอยู่หน้าบ้านพักของรองผู้กำกับฝ่ายสืบสวน สภ.บ้านโป่ง ก็พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบได้ทำการค้นเอกสารต่างๆ ซึ่งอยู่ท้ายรถกระบะ โดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของรถซึ่งคือ ปกรณ์ อารีกุล ก่อน แต่เมื่อพบว่ามีคนเดินมา เจ้าหน้าที่จึงได้ขออนุญาตค้นอีกครั้ง ซึ่งปกรณ์ได้อนุญาตให้ค้นโดยไม่ขัดขืน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวทั้ง 4 คน ปกรณ์, อนุชา, อนันต์ และทวีศักดิ์ ขึ้นไปทำบันทึกประจำวัน แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นการทำบันทึกการจับกุม

ในขณะที่บันทึกการจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุพฤติการณ์การจับกุมว่า "เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้รับแจ้งจากประชาชนอ้างว่าเป็นพลเมืองดีและศูนย์วิทยุ สภ.บ้านโป่ง ว่ามีบุคคลใช้รถยนต์กระบะเชฟโรเลท หมายเลขทะเบียน XXX บรรทุกอุปกรณ์สิ่งของท้ายรถมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะมาทำการแจกเอกสาร แผ่นพับ ใบปลิวในเรื่องรณรงค์ต่อต้านการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในเขต อ.บ้านโป่ง ต่อมาจากการสืบสวนพบว่ารถยนต์คันดังกล่าวจอดอยู่ถนนทรงพล เทศบาลเมืองบ้านโป่ง เจ้าหน้าที่จึงได้แสดงตัวขอตรวจค้นรถดังกล่าว"

ทั้งนี้ระหว่างที่ทั้ง 4 คนถูกควบคุมตัวอยู่ที่ สภ.บ้านโป่งเพื่อเตรียมส่งศาลเพื่อขออนุญาตฝากขังเมื่อวันที่ 10 ก.ค. ในเวลา 21.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตามไปควบคุมตัว ภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากบ้านพักในจังหวัดราชบุรีมายัง สภ.บ้านโป่งเพื่อสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 61 วรรค 2 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

ด้านทวีศักดิ์ ระบุด้วยว่า เขาได้แสดงตัวตนกับเจ้าหน้าที่ก่อนจะถูกควบคุมตัวหลายครั้งว่า ตนเองเป็นผู้สื่อข่าว และขอติดรถมาทำข่าวเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการแจกจ่ายเอกสาร หรือสติ๊กเกอร์ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่ามาด้วยกันจึงดำเนินคดีร่วมกัน อย่างไรก็ตามในวันที่ 12 ก.ค. 2559 ที่สำนักงานประชาไท กรุงเทพฯ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาพร้อมหมายค้น เพื่อตรวจและยึดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์โหวตโน แต่ก็ไม่พบสิ่งใดที่เกี่ยวข้อง

ต่อมาในวันที่ 11 ก.ค. 2559 ศาลได้อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 5 คน โดยผู้ต้องหาแต่ละคนได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 140,000 บาท และมีกำหนดให้ไปรายงานตัวต่อศาลอีกครั้งวันที่ 29 ส.ค. 2559

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์แจงปมคำถามพ่วง สภาเลือกรอบ 2 ถึงจะเลือกชื่อนายกฯนอกตะกร้าที่พรรคการเมืองเสนอได้

$
0
0

ปมคำถามพ่วง ประยุทธ์เผยที่ประชุม ครม.-คสช. เข้าใจว่า 5 ปีแรก 2 สภาร่วมเลือกนายกฯ จากรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอโดยต้องได้เสียงเกิดกึ่งหนึ่งคือ 376 เสียง แต่ถ้าไม่ได้เลือกรอบ 2 ถึงจะเลือกรายชื่อนอกตะกร้าที่พรรคการเมืองเสนอได้ เล็งแก้ รธน.เพิ่ม สนช.อีก 30 คน

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

23 ส.ค. 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่วมกับ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องทำความเข้าใจคำถามพ่วงจากการทำประชามติ
 
"5 ปีแรกในที่ประชุมร่วมของรัฐสภาคือ ส.ส. 500 คนนี่ และ ส.ว. 250 คน จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งแปลว่าเดิมให้ ส.ส.ฝ่ายเดียวเลือก ก็เปลี่ยนเป็นให้ ส.ส. ส.ว. 750 คน เลือกตั้งแต่ต้น แต่รอบแรกจำเป็นต้องเลือกจากรายชื่อในตะกร้าที่แต่ละพรรคเสนอมาพรรคละ 3 คน ตรงนี้เข้าใจไหมรายชื่อในตะกร้าพรรคการเมืองเสนอนะ เออมันมีกติกาอยู่ข้างในเยอะแยะ รอบแรกต้องเลือกจากรายชื่อนี้เท่านั้น พรรคละ 3 คน ถ้าใครได้ถึงครึ่งคือ 376 จาก 750 คน ก็เป็นนายกรัฐมนตรี ถ้ายังไม่ได้ก็เลือกรอบ 2" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ในรอบ 2 นี้ก็คือแก้ปัญหาเดิมก็คืออะไรไปไม่ได้ก็มาตรา 7 จึงต้องแก้ตรงนี้ หากเลือกไม่ได้ก็เลือกใหม่ โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า "เลือกรอบ 2 ทีนี้เลือกจากนอกตะกร้าก็ได้ อันนี้ใครเสนอชื่อผมยังไม่รู้ เป็นเรื่องของ กรธ. เขาพิจารณา มันก็ต้องไปหารือกับ สนช. สนช. ก็ต้องไปดูมติของ สนช.เขาหลายๆ อย่างที่ชี้แจงว่าคำถามพ่วงเขาทำมาเพื่ออะไร เขามีรายละเอียดหมดล่ะ มาพูดกันไปพูดกันมาอย่างนี้อย่างโน้นมันไม่ได้หรอก มันต้องเป็นไปตามตัวบทอักษร และก็ตามความมุ่งหมายที่ออกคำถามพ่วงไป"
 
ประยุทธ์ กล่าวต่อว่าในเรื่องของ 5 ปีที่ว่านั้น ตนเข้าใจว่าจะเลือกกี่ครั้งมันก็อยู่ใน 5 ปีนั้น ส.ว. กับ ส.ส.ก็ต้องเลือกภายใน 5 ปีนั้น 
 
"ถ้าได้คนดีมา แล้ว ส.ส.ก็เสนอมา แล้วใครจะไปปฏิเสธเขาได้ เขาก็ต้องยินยอม แล้วก็ใช้คะแนนเสียงครึ่งหนึ่ง 376 จาก 750 สองสภานั่นล่ะ นี่คือความเข้าใจของผม ของครม.ทั้งหมด แล้วก็ชี้แจงโดยอาจารย์วิษณุ (เครืองาม)ซึ่งเป็นผู้เชื่อมต่อของรัฐบาล เป็นฝ่ายกฏหมายของรัฐบาล เชื่อมต่อ กรธ. อะไรต่างๆ ก็สร้างความเข้าใจร่วมกันเท่านั้นเอง ต่อไปก็ได้หยุดสักที" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มีเรื่องการแก้ไข ม.6 รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เดิมที่มี สนช.ไม่เกิน 220 ก็เพิ่มอีก 30 คน เป็นไม่เกิน 250 คน เหตุผลเป็นเรื่องการเร่งรัดในเรื่องการทำกฏหมยสำคัญๆ ตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งกฏหมายตามนโยบายรัฐบาล
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลทหารให้ประกัน ญาติรอปล่อยตัว 15 ผู้ต้องหาคดี ‘อั้งยี่’-ตำรวจอายัดตัวต่อ 1 คนคดีอาวุธ

$
0
0

ศาลให้ประกัน 15 คน โดนพ่อค้าร้านของเก่าโดนอายัดตัวต่อคดีอาวุธ ทนายระบุไม่มีความเชื่อมโยงเหตุระเบิดหลายจุดภาคใต้ แค่คนแก่ตั้งกลุ่มพูดคุย ผบ.ตร.เผยได้เบาะแสคนร้ายก่อเหตุระเบิด คาดเป็นคนรุ่นใหม่ฝึกมาโดยเฉพาะ

ตำรวจกองปราบอายัดและควบคุมตัวนายสรศักดิ์ ดิษปรีชา ในคดีอาวุธ หลังศาลทหารให้ประกันคดีอั้งยี่

23 ส.ค.2559 ช่วงเย็นถึงค่ำที่ผ่านมาญาติบางส่วนของผู้ต้องหา 15 คน ได้รับมารอรับตัวผู้ต้องหาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง หลังจากเมื่อเวลา 14.00 น. ศาลทหารกรุงเทพอนุญาตให้ประกันตัวทั้งหมด โดยทีมทนายความได้ยื่นเรื่องขอประกันตัวในวงเงินคนละ 1 แสนบาท โดยใช้หลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินมูลค่า 1 ล้านบาทและเงินสดอีก 5 แสนบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลาประมาณ 19.15 น. มีการปล่อยตัวนายสรศักดิ์ ดิษปรีชา ออกมาก่อนเป็นคนแรก จากนั้นตำรวจจากกองปราบฯ ได้อายัดตัวเขาไว้ในคดีอาวุธและควบคุมตัวออกจากเรือนจำทันที ในขณะที่อีก 14 คนยังไม่ถูกปล่อยตัว

ทั้งนี้ ผู้ต้องหาทั้ง 15 คนถูกทยอยจับกุมตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค.หลังเกิดเหตุระเบิดหลายจุดในหลายจังหวัดภาคใต้ จากนั้นพวกเขาถูกควบคุมตัวใน มทบ.11 หลายวันก่อนมีการนำตัวส่งพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งข้อหาความผิดตามมาตรา 209 อั้งยี่ซ่องโจร และฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 ว่าด้วยการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน จากกรณีติดต่อกันเป็นขบวนการต่อต้านรัฐบาลและก่อตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อประาชาธิปไตย (นปป.) โดยตำรวจระบุว่าไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงกับเหตุระเบิดตามที่นายทหารพระธรรมนูญได้มาแจ้งความดำเนินคดีก่อนหน้านี้แต่อย่างใด

วิญญัติ ชาติมนตรี และธนเดช พ่วงพูล ทนายความจากสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) ระบุว่า ศาลทหารอนุญาตให้ประกันโดยมีเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ ห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง และห้ามแสดงความคิดเห็นทางการเมือง นอกจากนี้ศาลยังมีคำสั่งเพิกถอนหมายจับ ร.ต.ท.สมัย คูณสวัสดิ์ และ ร.ต.ต.หญิง วิไลวรรณ คูณสวัสดิ์ ซึ่งถูกออกหมายจับพร้อมกับผู้ต้องหาทั้ง 15 รายด้วย หลังจากที่ทนายความส่วนตัวได้มายื่นขอถอนหมายจับต่อตุลาการศาลทหาร เนื่องจากไม่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน แต่อาจจะเป็นแค่มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาในคดีขอนแก่นโมเดล ซึ่งเป็นเรื่องที่เห็นว่าหน่วยข่าวหรือเจ้าหน้าที่รัฐเพียงแค่เกิดความระแวงสงสัยก็นำประชาชนไปเป็นผู้ต้องหา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวล ตนไม่อยากให้เกิดความกังวลแบบนี้ขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะถือเป็นการใช้อำนาจที่ค่อนข้างอันตราย

ด้านนายธนเดช กล่าวว่า จากแนวทางการสอบสวนไม่สามารถนำเรื่องระเบิดหลายจุดในภาคใต้มาเชื่อมโยงกันได้ ดังนั้นคิดว่าคดีนี้ไม่น่าจะแจ้งข้อกล่าวหาคดีระเบิดต่อผู้ต้องหาทั้ง 15 คน เพราะแต่ละคนอยู่ในช่วงสูงวัย การที่พวกเขาไปพบปะกันก็เป็นไปในลักษณะของสภากาแฟแลกเปลี่ยนความเห็นในลักษณะของผู้สูงอายุ ส่วนประเด็นครอบครองอาวุธสงครามนั้นมี 1 รายเป็นพ่อค้ารับซื้อของเก่าเขารับซื้อของเก่าแล้วพบอาวุธสงครามจากนั้นเขาก็ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจสอบ แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งข้อกล่าวหาครอบครองอาวุธ

ล่าสุดเวลาประมาณ 20.30 น. เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้ปล่อยตัวผู้ต้องหา 12 คนแล้ว ขณะที่ผุ้ต้องหาหญิง 2 คนยังไม่ได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง

จนกระทั่งเวลาประมาณ 21.30 น. ผู้ต้องหาหญิง 2 คนจึงได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง

ผู้ต้องหาทั้ง 15 รายประกอบด้วย ด.ต.ศิริรัตน์ มโนรัตน์ อายุ 71 ปี ชาว จ.พัทลุง, นายวีระชัฏฐ์ จันทร์สะอาด อายุ 62 ปี ชาว จ.นนทบุรี, นายประพาส โรจนพิทักษ์ อายุ 67 ปี ชาว จ.ตรัง, นายปราโมทย์ สังหาญ อายุ 63 ปี ชาว จ.สตูล, นายสรศักดิ์ ดิษปรีชา อายุ 49 ปี ชาว กทม., น.ส.มีนา แสงศรี อายุ 39 ปี ชาว กทม., นายศิริฐาโรจน์ จินดา อายุ 56 ปี ชาว จ.หนองคาย, นายชินวร ทิพย์นวล อายุ 71 ปี ชาว จ.เชียงราย, นายณรงค์ ผดุงศักดิ์ อายุ 60 ปี ชาว จ.อ่างทอง, นายศรวัชษ์ กุระจินดา อายุ 60 ปี ชาว จ.มหาสารคาม, นายเหนือไพร เซ็นกลาง อายุ 41 ปี, นายวิเชียร เจียมสวัสดิ์ อายุ 59 ปี ชาว จ.นครศรีธรรมราช, นายบุญภพ เวียงสมุทร อายุ 61 ปี ชาว จ.เชียงราย, น.ส.รุจิยา เสาสมภพ อายุ 52 ปี ชาว จ.ร้อยเอ็ด, นายวิโรจน์ ยอดเจริญ อายุ 67 ปี ชาว จ.นครศรีธรรมราช

ขณะที่เว็บไซต์หนังสือพิมพ์บ้านเมืองระบุว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.กล่าวถึงความคืบหน้าคดีลอบวางระเบิดหลายจุดในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 10-12 ส.ค.ที่ผ่านมา ว่าการสืบสวนนับตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคมเป็นต้นมามีความคืบหน้าไปมากจนทราบขั้นตอน วิธีการ และจุดรวมตัวของผู้ก่อเหตุทั้งหมดแล้วซึ่งต้องทำด้วยความรอบคอบ ทั้งการเดินทางมาและเดินทางกลับหลังจากเสร็จภารกิจ ทราบแล้วว่าแผนประทุษกรรมของคนร้ายเป็นอย่างไร น่าเชื่อว่าจะมีผู้ร่วมขบวนการ 20 คนขึ้นไป โดยวิธีการผิดแปลกไป ครั้งนี้การก่อเหตุพยามปกปิดใบหน้า ใส่กางเกงขาสั้นคล้ายนักท่องเที่ยวเพื่ออำพรางตัวเอง โดยปกติแล้วการแต่งกายต้องเป็นไปตามวัฒนธรรมของตัวเอง ขณะนี้ออกหมายจับผู้ร่วมก่อเหตุเพียง 1 ราย คือ นายอาหะมะ เลงหะ ชาว จ.นราธิวาส จากกรณีวางระเบิดที่ป่าตอง จ.ภูเก็ต

ผบ.ตร.กล่าวว่า ส่วนประเด็นการก่อเหตุยังไม่ตัดทิ้ง ทั้งเรื่องการลงเสียงประชามติ การสร้างสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ การขยายพื้นที่ของแนวร่วมก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรืออาจจะมาทำงานแบบรับจ้างเฉพาะกิจก็อาจจะเป็นไปได้ เบื้องต้นในทางสืบสวนหน้าที่รู้ตัวแล้วว่ามีคนร้ายมากกว่า 20 คน ส่วนหนึ่งมีหมายจับ มีประวัติก่อเหตุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
“แต่ตั้งข้อสังเกตว่าการก่อเหตุครั้งนี้เป็นคนลงมือจากคนรุ่นใหม่ หลายคนไม่เคยมีประวัติมาก่อน แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดว่าเป็นการกระทำของกลุ่มใด เพราะยังไม่มีการประกาศตัวอย่างชัดเจน แต่คนรุ่นเก่าก็อาจจะมีส่วนร่วมในการสนับสนุน เพราะดูจากแผนประทุษกรรมแล้วแทบจะเป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งทางการสืบสวนค่อนข้างลำบาก แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่มีพยานหลักฐานอยู่ทั้ง 20 กว่าคน เชื่อว่าทั้งหมดผ่านการฝึกฝนก่อนที่จะมาก่อเหตุ" ผบ.ตร.กล่าว
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยัน รบ.มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ให้เกิดความสงบสุขโดยเร็ว

$
0
0

ที่มา เว็บทำเนียบรัฐบาล

23 ส.ค. 2559 เวลา 14.00 น. ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการจัดตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมาว่า ปัญหาดังกล่าว มีมายาวนานตั้งแต่อดีต โดยจะมีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะร่วมกันแก้ปัญหาให้กับพี่น้องชาวไทยทุกคนได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ซึ่งรัฐบาลมีความมุ่งมั่นแก้ปัญหาโดยเฉพาะการแก้ข้อกฎหมายให้พี่น้องชาวไทยมุสลิม ชาวไทยทุกคนในพื้นที่ภาคใต้ อย่าส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ความรุนแรง และหากพบเห็นเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ประพฤติผิดกฏหมายขอให้แจ้งโดยทันที จะได้ดำเนินการตามกฏหมายด้วยความยุติธรรม

สำหรับเหตุการณ์การวางระเบิดใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งดำเนินการสืบสวนสอบสวนผู้ต้องสงสัย เพื่อเชื่อมโยงไปถึงวัตถุประสงค์ขอการก่อเหตุดังกล่าวโดยเร็ว หากผู้ต้องสงสัยมีการกระทำความผิดจริง ก็จะดำเนินการเอาผิดตามกฏหมายเพราะเป็นคดีอาญาที่กระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย พร้อมกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลต้องการยุติเหตุการณ์เหล่านี้โดยเร็ว เพื่อความสงบสุขของประชาชนทุกคน

ย้ำมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระจายความเจริญไปสู่ชนบท

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงเรื่อง แผนการดำเนินงานของรัฐบาลที่ผ่านมาว่า รัฐบาลได้มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงสังคมเมืองไปสู่สังคมชนบท พร้อมทั้งสร้างรายได้ให้กระจายไปสู่พื้นที่ชุมชนในชนบทให้ได้ในอนาคต แต่ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว อาจจะต้องใช้ระยะเวลา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวย้ำว่า วันนี้รัฐบาลได้ทำงานกันอย่างมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานให้สำเร็จ โดยคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ร่วมกันหารือเพื่อวางแนวทางในการดำเนินการ ปรับปรุงโครงสร้างทั้งหมดอย่างเต็มกำลังและเร่งด่วน

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนประชาชนทุกคนร่วมกันทำกิจกรรมการปลูกป่าในเชิงวิชาการเพื่อเพิ่มพื้นที่ธรรมชาติที่สมบูรณให้กับประเทศต่อไป

ครม.ทราบรายงานการช่วยเหลือปชช.บาดเจ็บ-เสียชีวิต เหตุการณ์ระเบิด 7 จว.ภาคใต้

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงเรื่องที่ ครม. รับทราบสรุปรายงานการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุกรณีเหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้ใน 7 จังหวัดในช่วงที่ผ่านมาจาก วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาชนที่เป็นคนไทยและชาวต่างชาติได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยชาวต่างชาติที่ได้รับบาดเจ็บประกอบด้วย ชาวเยอรมัน ฮอลแลนด์ ออสเตรีย และอิตาลี มีจำนวนทั้งสิ้น 11 คน  ซึ่งขณะนี้ชาวต่างชาติที่ได้รับบาดเจ็บได้เดินทางกลับประเทศไปเรียบร้อยแล้ว จำนวน 10 คน และเหลืออีกจำนวน 1 คน ซึ่งเป็นชาวฮอลแลนด์ยังคงพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการดูแลช่วยเหลือในเรื่องค่ารักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ให้กับประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าว
 
สำหรับกรณีคนไทยที่เสียชีวิต จำนวน 4 ราย  เบื้องต้นได้รับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1,185,000 บาท ส่วนคนไทยที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 26 ราย รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือดูแลตามเกณฑ์ที่มีอยู่ โดยยึดถือตามเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากกรณีเหตุการณ์ระเบิดที่ราชประสงค์
 
อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายที่จะให้มีการจ่ายเงินช่วยกรณีผู้ประสบอุบัติเหตุจากกรณีเหตุการณ์ระเบิดดังกล่าวให้ครบในครั้งเดียวโดยจะไม่แยกกระจายจ่ายเงินเหมือนที่ผ่านมา เว้นแต่หน่วยงานใดที่ได้มีการมอบเงินให้ไว้ก่อนแล้ว ขณะที่ในส่วนที่เหลือทั้งผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำไปมอบให้โดยกำหนดให้เสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2559 นี้

 

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ยังไม่ตอบรับข้อเสนอยูพีอาร์เลิกโทษประหาร-ม.112 ชี้ละเอียดอ่อน

$
0
0

ผลการพิจารณาข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมตามการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยภายใต้กระบวนการยูพีอาร์ รับไปแล้ว 181 ข้อ แต่ยังมีอีก 68 ข้อ ที่ยังพิจารณาอยู่ ส่วนการยกเลิกโทษประหารชีวิตและมาตรา 112 ยังไม่ตอบรับ เหตุเป็นประเด็นละเอียดอ่อน และยังคงการบังคับใช้คำสั่ง คสช.

ที่มา เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

23 ส.ค. 2559 พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า จากผลการพิจารณาข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมตามการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยภายใต้กระบวนการยูพีอาร์ ที่รับไปแล้ว 181 ข้อ แต่ยังมีอีก 68 ข้อ ที่ยังพิจารณาอยู่ ซึ่งรับเพิ่มอีก 6 ข้อ เกี่ยวกับการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ การจัดตั้งหน่วยงานอิสระเพื่อตรวจสอบข้อกล่าวหาการทรมาน รวมถึงเหตุการรุนแรงในพื้นที่ใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ อีกทั้งการลดระดับโทษประหารชีวิต เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอที่รับทราบ แต่ไม่ตอบรับอีก 62 ข้อ เนื่องจากมองว่ามีความละเอียดอ่อน ซึ่งแต่ละประเทศมีบริบท กติกาของที่พิเศษเหมาะสมกับสังคม โดยประเด็นละเอียดอ่อนของเราที่ยังไม่ตอบรับ นั่นคือ การยกเลิกโทษประหารชีวิตทุกด้าน และยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงประเด็นที่จำเป็นต้องคงไว้ในบริบทปัจจุบัน เช่น การบังคับใช้คำสั่ง คสช.

 

ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนช. สรุปขอบเขตคำถามพ่วง ชี้ ส.ว. มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯคนนอก หากรอบแรกตกลงกันไม่ได้

$
0
0

วิป สนช. สรุปประเด็นขอบเขตคำถามพ่วง ชี้ให้อำนาจ ส.ว. เสนอชื่อนายกได้ หากรายชื่อในตะกร้าของพรรคการเมืองมีปัญหา ตกลงกันไม่ได้ เปิดช่อง ส.ว. เสนอชื่อนายกฯ ให้รัฐสภาโหวต กี่ครั้งก็ได้ภายใน 5 ปี แรก

23 ส.ค. 2559 มติชนออนไลน์รายงานว่า  นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปสนช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 ส.ค. นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเสนอแนะ และรวบรวมความเห็น เพื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สนช. เพื่อสรุปความเห็นคำถามพ่วงที่ กมธ. ส่งให้ กรธ. นำไปพิจารณา ขณะนี้ถือเรื่องคำถามพ่วงของสนช.ถือว่านิ่งแล้ว นั่นคือ การพิจารณาเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกให้ ส.ส.และ ส.ว. สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอมา แต่หากไม่สามารถดำเนินการเลือกนายกฯตามบัญชีพรรคการเมืองได้ จะเข้าสู่ก๊อกสองคือ ให้สมาชิกรัฐสภา ซึ่งหมายความรวมถึง ส.ว. มีสิทธิเสนอรายชื่อบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกเหนือจากบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอมาได้ หมายถึงมีสิทธิเสนอชื่อคนนอกเป็นนายกฯได้ ทั้งนี้ภายใน 5 ปีแรก หากมีการเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อใด ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวทุกครั้ง หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรธ. ว่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของ สนช. หรือไม่ ถ้า กรธ. จะตีความแบบแคบ ตามลายลักษณ์อักษรก็ไม่เป็นไร แต่ สนช .ตีความแบบกว้าง ทั้งนี้หลังจากที่ กรธ. แก้ไขปรับปรุงบทเฉพาะกาลเรียบร้อยแล้ว ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้งว่า มีความสอดคล้องกับคำถามพ่วงหรือไม่ หากศาลรัฐธรรมูญเรียกสนช.ไปชี้แจง ก็พร้อมไปให้ข้อมูล

ด้าน ธานี อ่อนละเอียด สมาชิก สนช. กล่าวว่า ในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 ให้ ส.ส. พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ แต่หากว่า ส.ส. ไม่สามารถโหวตเลือกนายกฯได้ก็ให้ ส.ส. เข้าชื่อไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนสมาชิก ส.ส. เท่าที่มีอยู่ เช้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ซึ่งก็จะเป็นตามมาตรา 272 เพื่อขอยกเว้นให้เสนอชื่อนายกฯนอกบัญชีได้ แต่เมื่อคำถามพ่วงประชามติผ่านก็ต้องกลับมาพิจารณาว่า กระบวนการเลือกนายกฯนั้นจะเริ่มตั้งแต่แรกหรือไม่ โดยพิจารณาจากข้อความในคำถามพ่วงประชามติที่ว่า ร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะเห็นว่า ส.ว. จะต้องดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบ เหมือนที่ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ที่พูดชัดเจนคือ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งก็เปรียบเหมือนศาลที่จะมีคำติดสินอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการไต่สวน สืบพยาน จนนำไปสู่การพิพากษา ดังนั้น ส.ว.จะร่วมพิจารณาโหวตนายกฯตั้งแต่เริ่มแรก โดยเลือกของบัญชีของพรรคการเมืองที่เสนอมา ยกเว้นกรณีไม่สามารถเลือกบัญชีรอบแรกได้ก็จะเข้าเงื่อนไขที่ให้ส.ว.มีสิทธิ์ เสนอชื่อนายกฯในรอบสองได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจเลื่อนส่งสำนวนให้อัยการ คดีโตโต้ฉีกบัตรประชามติ เจ้าตัวลั่นไม่มา เชิญออกหมายจับได้เลย

$
0
0

พนักงานสอบสวน สน.บางนา เลื่อนการส่งสำนวนคดี โตโต้ ฉีกบัตรประชามติ ให้กับอัยการ ชี้ยังมีถ่อยคำต้องปรับแก้ ด้านโตโต้ ระบุในเมื่อ ตำรวจนัดมาเอง แต่ไม่ส่งฟ้อง นัดครั้งหน้าจะไม่มาอีก จนกว่าจะมีเลือกตั้ง หากจะออกหมายจับดำเนินการได้เลย

ภาพจากเฟซบุ๊ก Piyarat Chongthep

23 ส.ค. 2559 เวลาประมาณ 09.00 น.  ปิยรัฐ จงเทพ จิรวัฒน์ เอกอัครนุวัฒน์ และทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ เดินทางไปยัง สน. บางนา เพื่อเข้ารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน หลังจากเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2559 ปิยรัฐ ได้ทำการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงการลงประชามติที่ไม่เป็นธรรม โดยการฉีกบัตรลงคะแนนเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมกับตะโกนว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อกล่าวหาทั้งหมด 4 ข้อกล่าวหา ประกอบด้วยความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 59 มาตรา 60 (9) และกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 และมาตรา 358 ด้าน จิรวัฒน์ เอกอัครนุวัฒน์ และทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ ถูกเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาด้วย ฐานฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 60 (9) โดยเจ้าหน้าที่เห็นว่าทั้งสองคนอยู่ในเหตุการณ์ และถ่ายคลิปขณะที่ปิยรัฐเดินออกจากคูหามาฉีกบัตร

ต่อมาเวลา 10.00 น. พนักงานสอบสวนได้พาตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 ไปยังสำนักงานอัยการจังหวัดพระโขนง เพื่อนำสำนวนการสอบสวนคดีความมาให้กับอัยการ พร้อมความของพนักงานสอบสวนว่าควรฟ้องคดีหรือไม่

ต่อมาในเวลา 12.00 น. พนักงานสอบสวนได้ขอดึงสำนวนกลับ เนื่องจากเห็นว่ายังไม่มีความเรียบร้อย ในส่วนของการปรับแก้ไขถ้อยคำ จึงขอนัดหมายผู้ต้องหาอีกครั้ง ภายใน 15 วัน ด้านปิยรัฐ จงเทพเห็นว่า การนัดมาครั้งนี้เป็นการนัดหมายของพนักงานสอบสวนอีก จึงชี้แจงกับพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีว่า หากวันนี้ยังไม่ส่งฟ้อง ตนจะไม่เดินทางมาอีกแล้ว เนื่องจากเสียเวลา และต้องลางานมา หากจะนัดอีกครั้งขอให้เป็นหลังการเลือกตั้งปีหน้า แต่ถ้าออกหมายเลยก่อนหน้านั้นแล้วตนไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เห็นว่าควรออกหมายจับก็ดำเนินการได้เลย

ด้าน เอกภาพ วงศ์สวัสดิ์ ทนายความ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ให้ข้อมูลว่า สุดท้ายพนักงานสอบสวนได้เลื่อนการนัดพบกับอัยการไปอย่างไม่กำหนด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลังคาร์บอมบ์กลางดึกหน้าโรงแรมดังปัตตานี ประวิตรไม่ตอบเลื่อน 'พูดคุยสันติสุข' หรือไม่

$
0
0

24 ส.ค. 2559 ผู้จัดการออนไลน์รายงานความคืบหน้าเหตุระเบิดที่ จ.ปัตตานี เมื่อคืนที่ผ่านมา ว่า จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่พบว่า คนร้ายลอบวางระเบิด จำนวน 3 จุด ในเวลาไล่เลี่ยกันช่วงเวลาประมาณ 22.40 น. เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 30 ราย ในจำนวนนี้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 5 ราย และเกิดเพลิงไหม้ทำให้ร้านค้า ห้องอาหารคาราโอเกะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่จอดอยู่ได้รับความเสียหายจำนวนมาก

ขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว และยังคงตรึงกำลังเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างเข้มงวด สำหรับจุดเกิดเหตุที่คนร้ายลอบวางระเบิด จุดแรกคือ บริเวณห้องน้ำในผับ ข้างโรงแรมเซาเทิร์นวิว ม.3 ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี จุดที่ 2 เป็นระเบิดคาร์บอมบ์ โดยคนร้ายได้นำรถยนต์อีซูซุ ทะเบียน กจ 1381 ปัตตานี หมายเลขเครื่อง 4JK1LT0578 หมายเลขตัวถัง MP1TFR86JET014764 มาจอดไว้ด้านหน้าผับข้างโรงแรมเซาเทิร์นวิว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 30 ราย จุดที่ 3 บริเวณถังขยะตลาดนัด ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จุดนี้ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
 
สำหรับผู้เสียชีวิตในเหตุร้ายครั้งนี้ทราบชื่อคือ น.ส.อรพรรณ ศรีเรือนหัด อายุ 35 ปี พนักงานห้องอาหาร อยู่บ้านเลขที่ 44 ม.6 ต.หนองบ่อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี รายชื่อผู้ได้รับบาดเจ็บ 30 ราย คือ 1.ด.ญ.ภทรานิศฐ์ แลดูขำ 2.ด.ญ.ลภัสรดา แลดูขำ 3.น.ส.ซอลีฮะห์ หวังและ 4.น.ส.นงคภัทธ์ สุขสวัตน์ 5.นายสมาน กาแลซา 6.น.ส.แลซอ แวสะดง 7.นางนันทนา ณ สงขลา 8.นางยินดี สุขสุวรรณ 9.นายสิริพันธ์ สมทรง 10.น.ส.ศราเรศถ์ ราชบุญ 11.นายเกศนรินทร์ สะนิ 12.น.ส.ปาตีเมาะ สาแล 13.น.ส.นูรไอนี เจะเลาะ 14.น.ส.สร้อยอุมา ภิรมพันธ์ 15.น.ส.ฮูไซมะห์ กือเด็ง 16 น.ส.สุปราณี สุวรรณศรี 17.น.ส.ชบาไพ ยิ่งยง 18.นายอาซือมัน กะเซะ 19.นายรุสมิน สาและ 20.น.ส.ดวงฤดี ไชพุทรา 21.น.ส.เพชรนภา เป้ามีศรี 22.นายดือเระ สาและ 23.น.ส.อรัญญา จันทร์ทอง 24.น.ส.ดารุณี ศรีสวัสดิ์ 25.นายซาการียา มามะ 26.น.ส.วิพาพร พงสำราญ 27.น.ส.กามารีเยาะ ยามา 28.น.ส.จุฑามาส คงกระเรียน 29 นางสัลมา ดือเระ และ 30.หญิงไม่ทราบชื่อ นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเมืองปัตตานี
 

ประวิตรไม่ตอบเลื่อน 'พูดคุยสันติสุข' หรือไม่

วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์รายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 10.30 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะเลื่อนการพูดคุยสันติสุขออกไปหรือไม่ ต้องให้พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข ที่กำลังดูรายละเอียดอยู่ว่าเหตุระเบิดที่โรงแรมเซาเทิร์น จังหวัดปัตตานี มาจากสาเหตุอะไร หากยังมีเหตุระเบิดเราไม่สามารถกำหนดร่างบันทึกข้อตกลง (ทีโออาร์) ได้ เพราะต้องรอให้เหตุการณ์สงบก่อน และหากสถานการณ์เช่นนี้ ตนจะให้เจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่ให้เข้มงวดเพิ่มมากขึ้น โดยต้องวางมาตรการให้ประชาชนมีความปลอดภัย
 
พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมตนมีกำหนดการเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อพูดคุยกับรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เกี่ยวกับปัญหาแนวชายแดนทั้งการสร้างรั้ว การสร้างสะพาน การสร้างด่านศุลกากร ปัญหาบุคคล 2 สัญชาติ
 
"ความจริงเรื่องของความสงบมันต้องให้เงี่ยบเสียก่อน แล้วมาเจรจากัน มาพูดจากัน ทั้งนอกรอบและในรอบ" พล.อ.ประวิตร กล่าว
 
 
ขณะที่ วาสนา นาน่วม รายงานผ่านเฟซบุ๊ก 'Wassana Nanuam' ถึงความเห็นของ พล.อ.อักษรา ต่อกรณีเหตุระเบิดดังกล่าว โดย พล.อ.อักษรา กล่าวว่า ไม่มีผลกดดัน การพูดคุย และ ยังไม่เลื่อน กำหนด ลงนามTOR วันที่ 2 ก.ย. นึ้ออกไป ทั้งนี้ การก่อเหตุรุนแรง ไม่ใช่แนวทาง ที่ถูกต้อง ในการพูดคุยสันติสุข เพราะยิ่งมีเหตุรุนแรง ยิ่งทำให้การพูดคุย ไม่เป็นไปตามเป้า

"ใช้ความรุนแรง กดดัน ก็ยิ่งไม่มีผลเพราะเรา ไม่ยอมรับความรุนแรง" พล.อ.อักษรา กล่าว พร้อมกล่าวด้วยว่า ไม่เชื่อว่า การก่อเหตุนี้ หวังผลต่อการพูดคุย เพราะ การพูดคุยเราไม่ได้หยุดชะงัก ยังคงมีอยู่ แต่เป็นขั้นของการปรับแก้ และ การพูดคุย สร้างความไว้วางใจ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ขอนักศึกษาอย่าคิดแต่เรื่องประชามติ-ประชาธิปไตย ถามมันกินได้หรือไม่?

$
0
0

24 ส.ค. 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ว่าเมื่อเวลา 08.30 น. นายกรัฐมนตรีเดินทางถึงโรงแรมราชภัฏกรีนวิว มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เพื่อเป็นประธานการประชุมและติดตามการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลกับหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

“ที่ผ่านมาบ้านเมืองวิกฤต เพราะฉะนั้นไม่ใช่อะไรๆ ก็จะต้องประชาธิปไตยหรือประชามติอย่างเดียว และถ้ามันไม่เลวร้ายผมคงไม่เข้ามา อย่าคิดแต่เรื่องประชามติ ประชาธิปไตยอย่างเดียว มันกินได้หรือไม่ ประชาธิปไตยคือความเห็นต่างโดยไม่เอาปืนมาไล่ยิงคน ถามว่าใครยิงคน ทหารยิงหรือ ไปถามไอ้ลูกหมาโน่น ต้องขอโทษนะที่พูดไม่เพราะ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวทักทายและพูดคุยกับคณาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดที่มารอต้อนรับ ก่อนการประชุม

จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ได้ทักทายและพูดกับนักศึกษาอีกว่า “วันนี้ให้ช่วยกันอย่าไปคิดเรื่องเดิมๆ โดยเฉพาะเรื่องของความขัดแย้ง บ้านเมืองต้องแก้ไขโดยพวกเรา เข้าใจกันนะ ผมไม่ได้คาดหวังอะไรซักอย่าง กฎหมายมันละเว้นไม่ได้ขอให้ไปบอกเพื่อนๆ ด้วย จะให้ปล่อยตัวมันจะปล่อยได้อย่างไร เพราะกฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมาย ทุกอย่างมีขั้นตอนและกระบวนการ”

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่ง ก่อนการประชุมว่า วันนี้ที่มาจังหวัดร้อยเอ็ด อยากเรียนว่า ความจริงตนพร้อมที่จะไปในทุกจังหวัดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใด จะชอบหรือไม่ชอบ ตนก็จะไป เพราะมีความตั้งใจและมีความปรารถนาดีกับทุกคน วันนี้เราพยายาม ที่จะร่วมมือกันทำอย่างไร ที่จะให้ร้อยเอ็ดมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจกับพวกเราทุกคนและประชาชนในทุกมิติว่า วันนี้เรากำลังเดินหน้าประเทศกันอย่างไรและร้อยเอ็ดจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
       
“ผมไม่ต้องการให้ประชาชน เข้าใจอะไรที่ผิดหรือถูกบิดเบือน เราต้องสร้างคนของเราให้รู้จักคิด เข้าใจเหตุผลและเข้าใจถึงหลักการของเรา ในการที่จะพัฒนาประเทศและการใช้จ่ายงบประมาณ จะต้องสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับทุกคนว่า ประเทศไทยนั้นเป็นหนึ่งเดียว มี 77 จังหวัด เพราะฉะนั้นจะต้องนึกถึงคนอื่นด้วย แล้วรัฐบาลเองก็ไม่สามารถที่จะหางบประมาณเพิ่มเติมได้เลยในช่วงที่ผ่านมา เพราะช่วงที่ผ่านมานั้น ไม่อยากจะใช้คำว่ามันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะแม้จะมีความเจริญอย่างไร แต่ก็เป็นความเจริญท่ามกลางพยัญอันตรายระยะยาว ซึ่งเกิดจากความล้มเหลวทั้งหมด เพราะฉะนั้นการที่ต้องเข้ามาวันนี้ใช้เวลามา 2 ปี เพื่อแก้ปัญหา เพื่อที่จะเดินหน้าประเทศและสร้างความเข้าใจในทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ ภูมิภาคและท้องถิ่น ทุกคนก็ต้องร่วมมือกันและเข้าใจตรงกัน ไม่เช่นนั้นเราก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

โมเดล "ร้อยเอ็ด 4.101" 

สำหรับการประชุมดังกล่าว อนุสรณ์ แก้วกังวาล ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นำเสนอยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเศรษฐกิจของจังหวัดให้สามารถนำไปสู่ภาวะที่เอื้อต่อการสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชน ทั้งนี้ สถานะทางเศรษฐกิจของจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบันขาดพลังในการขับเคลื่อน ซึ่งภาคการเกษตรที่เป็นรายได้หลักของประชาชนไม่แข็งแรงเพราะเป็นระบบการผลิตแบบดั้งเดิม และมีความเสี่ยงต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทางจังหวัดจึงกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้วยโมเดล "ร้อยเอ็ด 4.101" เพื่อใช้คุณค่าจากศักยภาพของจังหวัดที่มีอยู่ขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดตามโมเดล ดังนี้ 1. พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา 2. พัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดให้เป็นพื้นที่เป้าหมายทางการท่องเที่ยวตามแผนสามเหลี่ยมการท่องเที่ยวสาเกตนคร 3. พัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมขนส่งสนับสนุนให้จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นพื้นที่น่าสนใจการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และ 4. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งซ้ำซากในพื้นที่อำเภอจังหาร ทุ่งเขาหลวง และเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อลดพื้นที่การเกษตรที่ประสบอุทกภัย และลดพื้นที่ภัยแล้ง

ภายหลังการรับฟังการนำเสนอยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายกรัฐมนตรีกล่าวมอบแนวทางการพัฒนาว่า การพัฒนาจะต้องสร้างความเข้มแข็งในทุกระดับ และพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ตามหลักความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน โดยโครงการพัฒนาที่จังหวัดเสนอมานั้น นายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการและให้หน่วยงานไปร่วมกันพิจารณาดำเนินการ โดยเฉพาะในส่วนที่เชื่อมโยงกัน ส่วนโครงการใดที่อยู่ในแผนงานของส่วนราชการอยู่แล้วให้เร่งรัดดำเนินการให้ได้ในปีงบประมาณ 2560 เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์และบรรเทาความเดือดร้อน ได้ผลอย่างชัดเจน นอกจากนี้ แผนการพัฒนาต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญเรื่องการเชื่อมโยง เช่น การท่องเที่ยวจะต้องเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด และจัดเป็นแพคเก็ตการท่องเที่ยวในภูมิภาค หรือการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานจะต้องเชื่อมโยงในแต่ละระดับทั้งถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบินรวมถึงการเชื่อมโยงไปประเทศเพื่อนบ้าน
 
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ส่วนราชการต่าง ๆ เร่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาล เช่น ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้นโยบายสามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการสนับสนุนและตอบรับจากประชาชน
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นายอำเภอธาตุพนมนำกำลังทหารบุก ‘ดงคัดเค้า’ ขอคืนพื้นที่

$
0
0

24 ส.ค.2559 เวลาประมาณ 12.30 น. นายอำเภอธาตุพนม ช่างรังวัดสำนักงานที่ดินนครพนม สาขาธาตุพนม นายก อบต. อุ่มเหม้า ทหารมณฑลทหารบกที่ 210 อส. และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เดินทางเข้ามาตรวจสอบพื้นที่สาธารณประโยชน์ดงคัดเค้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยมีชาวบ้านประมาณ 100 คน รวมตัวกันที่บริเวณสวนยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว

การเข้าตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวนี้ นายอำเภอธาตุพนม ได้มีหนังสือแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า คณะอนุกรรมการแก้ปัญหาที่ดินของรัฐ (กบร.) จังหวัดนครพนม ได้มีมติที่ประชุมครั้งที่ 1/2554 ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับราษฎรที่บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ “ดงคัดเค้า” หรือ “โคกคัดเค้า” ในท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม และองค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มเหม้าได้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับราษฎรที่ทำการบุกรุกแล้ว แต่ผลการดำเนินการดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากผู้บุกรุกส่วนใหญ่เป็นคนที่มาจากที่อื่น ทำให้ไม่อาจทราบได้ว่าใครเป็นผู้กระทำความผิด กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด ผู้บุกรุกแต่ละรายบุกรุกเนื้อที่จำนวนเท่าใด ตลอดจนผู้บุกรุกได้ทำการปลูกสร้างบ้านพักในท้องที่อื่น แต่มาทำการบุกรุกปลูกต้นยางพาราในท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า ทำให้ยากในการพิสูจน์ทราบผู้กระทำผิด อำเภอธาตุพนมร่วมกับมณฑลทหารบกที่ 210 พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะต่างๆ ในปัจจุบันที่มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของแห่งกฎหมายอันจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ และก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย จึงได้มีกำหนดการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวใน วันที่ 24 ส.ค. เวลา 10.00 น.

แหล่งข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 1 ก.ย.2559 อำเภอธาตุพนมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าดำเนินการปักป้ายขอคืนพื้นที่ และจัดทำแนวเขตพื้นที่ขอคืนจำนวน 800 ไร่ โดยวางแผนจะดำเนินการขอคืนพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เนื่องจากจะนำพื้นที่ดังกล่าว ไปดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

แหล่งข่าวระบุอีกว่า พื้นที่อำเภอธาตุพนมกำลังดำเนินขอคืนอยู่นี้ไม่ใช่ที่สาธารณะประโยชน์ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มาตั้งแต่ปี 2504 ประชาชนไม่เคยมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อมาผู้ใหญ่บ้านหนองกุงและบ้านขอนขว้างใหญ่ได้ขึ้นบัญชีสำรวจที่สาธารณประโยชน์ ในปี 2529 และ 2536 ตามลำดับ  และมีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในปี 2529 จำนวน 2 แปลง ประกอบด้วย หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ 33620 เนื้อที่ 331 – 2 – 21 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกุง หมู่ 10 ต.พุ่มแก อ.นาแก จ.นครพนม และเลขที่ 33621 เนื้อที่ 360 – 2 – 81 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกุง หมู่ 10 ต.พุ่มแก อ.นาแก จ.นครพนม  และในปี 2539 จำนวน 1 แปลง  เลขที่ นพ 0824 เนื้อที่ 862 – 3 – 14 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านขอนขว้างใหญ่ หมู่ 4 ต.นาหนาด อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ซึ่งหน่วยงานราชการแจ้งกับชาวบ้านในพื้นที่ที่มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าว มีที่ตั้งจริงอยู่ใน ต.อุ่มเหม้า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และ ต.ชะโนดน้อย อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ที่ผ่านมาชาวบ้านได้ร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการต่างๆ ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานราชการ ซ้ำร้ายกลับถูกแจ้งความดำเนินคดี

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ประจักษ์ชัย’ ผู้ป่วยจิตเภทและคดี 112 ภาคพิศดาร ขึ้นศาลทหารนัดสืบพยาน 1 ธ.ค.

$
0
0

 

24 ธ.ค.2559 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า วันนี้ประจักษ์ชัย(สงวนนามสกุล) พร้อมพี่สาวและทนายความเดินทางมาศาลทหารตามนัดตรวจพยานหลักฐาน ในคดีที่เขาตกเป็นจำเลยจากการเขียนและยื่นคำร้องถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2558 จนถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112

การพิจารณาเริ่มในเวลา 9.45 น. ก่อนเริ่มการตรวจพยานหลักฐาน ทนายความของประจักษ์ชัยได้แถลงว่าเอกสารการรักษาโรคของประจักษ์ชัยที่ได้ส่งหมายขอไปทางสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ยังไม่ได้ส่งมาเนื่องจากทางสถาบันกำลังรวบรวมอยู่ จึงไม่สามรถนำมาในนัดนี้ได้ ซึ่งตุลาการศาลทหารเห็นว่าเอกสารดังกล่าวสามารถนำมาสืบในการสืบพยานได้อยู่แล้วจึงไม่เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานออกไป

จากนั้นอัยการศาลทหารกรุงเทพซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเป็นพยานบุคคล10 ปาก ได้แก่ นายทหารผู้กล่าวหา นายทหารผู้จับกุม นายทหารที่อยู่ในเหตุการณ์ นายทหารผู้นำตัวประจักษ์ชัยไปซักถามในชั้นกฎอัยการศึก พยานลำดับที่ 5-8 เป็นผู้ที่ออกความเห็นจากการอ่านข้อความของประจักษ์ชัย พยานผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา พนักงานสอบสวนในคดี นอกจากนั้นยังมีพยานเอกสารอีก 13 ลำดับ

ทางฝ่ายจำเลยทนายความได้ยื่นบัญชีระบุพยานเป็นพยานบุคคลจำนวน 9 ปาก ได้แก่ ตัวประจักษ์ชัยเอง น้องสาวและแม่ของประจักษ์ชัย ซึ่งจะเบิกความถึงช่วงที่ได้ดูแลรักษาประจักษ์ชัยตั้งแต่เด็กและช่วงหลังเกิดเหตุ จิตแพทย์ที่ทำการรักษา พยานที่จะเบิกความเรื่องโรคและสิทธิในการรักษาของผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตเภท และพยานที่จะเบิกความถึงสิทธิของผู้ป่วยโรคจิตเภทก่อนถูกนำเข้าสู่การดำเนินคดี นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ที่จะเบิกความในประเด็นของการพิจารณาคดีและเจตนารมณ์ของมาตรา 112 พี่สาวของประจักษ์ชัย และพยานปากสุดท้ายเป็นอดีตนายจ้างของประจักษ์ชัยที่จะเบิกความถึงช่วงที่ได้รับประจักษ์ชัยเข้าทำงานในโรงขัดเหล็ก

ตุลาการศาลทหารได้อนุญาตให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดูพยานหลักฐานที่จะใช้ในการสืบพยาน โดยพักการพิจารณาเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีเวลาในการดูพยานหลักฐานของอีกฝ่าย จากนั้นภายหลังคู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดูพยานหลักฐานเสร็จสิ้นได้แถลงไม่รับพยานหลักฐานของอีกฝ่าย

ทั้งนี้ทนายความได้แถลงคัดค้านการตรวจพยานหลักฐานเนื่องจากฝ่ายโจทก์ไม่นำพยานเอกสารลำดับที่ 22-23 ซึ่งเป็นคำให้การพยานในชั้นสอบสวนมาแสดงต่อศาลในนัดนี้จึงไม่สามารถตรวจได้

ภายหลังการตรวจพยานเสร็จสิ้นศาลได้นัดสืบพยานโจทก์ปากแรกนายทหารผู้กล่าวหาในคดีนี้มาเบิกความต่อศาลในวันที่ 1 ธ.ค.2559

คดีนี้จิตแพทย์ได้เคยมีความเห็นสรุปได้ว่าประจักษ์ชัยวิกลจริตจริง ศาลจึงสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวจนกว่าจะสู้คดีได้และให้ประกันตัวด้วยเงินหนึ่งแสนบาท จากนั้นเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2559 จิตแพทย์ได้ให้การต่อศาลในนัดประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีของจำเลยว่าอาการดีขึ้นแล้วสามารถสู้คดีได้

สำหรับประวัติของประจักษ์ชัย ศูนย์ทนายฯ รายงานไว้ว่า คดีนี้เริ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 ประมาณ 10.00น. จากคำบอกเล่าของประจักษ์ชัย เขาเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพียงคนเดียว เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยติดต่อตำรวจที่ป้อมยามหน้าประตูทำเนียบ ตำรวจให้เขาข้ามถนนไปร้องเรียนที่ศูนย์ร้องเรียนในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) ทหารที่อยู่หน้าทางเข้าได้ยื่นกระดาษให้ 1 แผ่นพร้อมปากกา เขาได้เขียนข้อความร้องเรียนของเขาลงไปในกระดาษแผ่นนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ได้อ่านข้อความ ตำรวจ 10 กว่านายกรูเข้าล้อมตัวเขาและนำตัวไป สน.ดุสิต

เมื่อถึงที่หมายประจักษ์ชัยถูกพาขึ้น “ห้องสายสืบ” ราว 20 นาที แล้วเจ้าหน้าที่ก็ปล่อยตัวไป เขาจึงไปเที่ยวงานตรุษจีนที่ลาดพร้าวแล้วจึงเดินทางไปทำงานต่อที่ย่านบางบอนตอนเวลาประมาณทุ่มสองทุ่ม แต่ในขณะเดินทางด้วยรถสองแถวเข้าที่ทำงานแถววัดหัวกระบือก็มีตำรวจมาดักรอจับและเรียกให้ลงจากรถแล้วควบคุมตัวไปที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1

ที่เขาถูกถ่ายภาพทำประวัติพิมพ์ลายนิ้วมือและสอบสวนและเขาได้ให้การว่าเป็นคนทำในการสอบสวน สารวัตรสอบสวนยศพันตำรวจตรี พูดว่า “ไม่เกิน 2 เดือนยกฟ้อง” และตำรวจได้ถามว่า “ได้ความคิดนี้มาจากไหน” แต่ ประจักษ์ชัยเพียงแค่บอกว่า “เพราะกระดาษแผ่นเดียว” ระหว่างการสอบสวนเขาไม่มีทนายความร่วมฟังการสอบสวนจนเวลาประมาณ 23.00น. เขาถูกส่งตัวไปขังที่สน.ดุสิต เบ็ดเสร็จในวันเดียวเขาถูกจับถึงสองครั้ง

ประจักษ์ชัยเล่าว่าเคยมาร้องเรียนแบบนี้ตั้งแต่ปี 2537 รวมแล้วน่าจะเกิน 10 ครั้ง แต่ทุกครั้งก็จะร้องเรียนปากเปล่าไม่เคยเขียนลงกระดาษมีครั้งนี้ที่เขียน ที่ผ่านมาไม่เคยถูกจับดำเนินคดี ที่ทำแบบนี้เพราะอยากพบนายกรัฐมนตรีเพื่อขอความเป็นธรรม เขาเห็นว่า “สมบัติทุกอย่างเป็นของประชาชน” เขาไม่เคยทำความผิดอาญา และไม่มีสีทั้งเหลืองทั้งแดง

แม่ซึ่งเป็นผู้ดูแลประจักษ์ชัยมาตลอดเล่าว่าตอนประจักษ์ชัยอายุ 18-19 ปี แสดงออกถึงอาการทางจิตและเสพยาเสพติดทำให้อาการของโรคหนักขึ้น จึงส่งตัวตรวจที่โรงพยาบาลศรีสะเกษด้วย แต่ว่าทางโรงพยาบาลได้ขอยาจากทางโรงพยาบาลจิตเวชในจังหวัดอุบลราชธานี แต่ประจักษ์ชัยกินยาได้เพียงครั้งเดียวแล้วก็ไม่ได้กินอีกเลย

น้องสาวของประจักษ์ชัยเล่าว่าตั้งแต่เธอเริ่มรู้ความ พี่ชายก็มีอาการทางจิตแล้วตั้งแต่ในวัยเด็กแต่เริ่มสงบขึ้นเมื่อตอนอายุ 20 ปลายๆ อาการที่เธอเคยเห็นมีทั้ง ตะโกนเสียงดังด้วยคำที่ไม่มีความหมาย หัวเราะหรือพูดคนเดียว แต่ปกติไม่เคยทำร้ายใครและสามารถทำงานได้ก่อนถูกจับก็เป็นช่างเจียร์ในโรงงานแห่งหนึ่งย่านบางขุนเทียนและคำนวนเลขได้เพราะเคยเรียนจนถึงชั้นประถม6

นอกจากอาการทางจิตแล้วประจักษ์ชัยยังมีอาการท้องบวมจากโรคตับแข็งจากการดื่มสุราและตับอักเสบเป็นมา 3 ปีแล้ว แต่เรื่องนี้เจ้าตัวไม่ยอมรับว่าติดเหล้าแค่ “กินเหล้าขาวเยอะ”

ระหว่างที่ประจักษ์ชัยถูกคุมขังในเรือนจำเมื่อการฝากขังมาถึงผัดที่4 ทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านฝากขังของพนักงานสอบสวนต่อศาลทหารโดยให้เหตุผลเกี่ยวกับอาการป่วยไข้ของประจักษ์ชัยซึ่งมีทั้งโรคตับที่อาการขอโรคปรากฎให้เห็นทั้งท้องบวมจากน้ำคั่งในท้องและมีเนื้องอกที่สะดือ ตัวเหลืองตาเหลือง

นอกจากนั้นยังมีอาการทางจิต ซึ่งจำเป็นต้องตรวจรักษาประจักษ์ชัย หากยังควบคุมตัวต่อจะกระทบสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอาการป่วยทางกายและทางจิตของประจักษ์ชัยได้ ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทางครอบครัวของประจักษ์ชัยเองก็ไม่สามารถจะยื่นหลักทรัพย์เพื่อประกันตัวเขาออกมาได้เนื่องจากมีฐานะยากจน เขาจึงอยู่ในเรือนจำมาตลอด

ในระหว่างที่การสอบสวนของตำรวจยังไม่เสร็จสิ้นทนายความได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนให้มีการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตและให้พนักงานสอบสวนทำการส่งตัวประจักษ์ชัยได้รับการตรวจความผิดปกติทางจิต ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 14 แต่พนักงานสอบสวนอ้างว่าตนเองไม่มีอำนาจให้ยื่นคำร้องต่อศาล และทนายความก็ได้ยื่นถึงผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพแต่ก็ได้รับคำตอบแบบเดียวกัน

เมื่อเป็นดังนี้เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ภายหลังอัยการทหารสั่งฟ้องคดีของประจักษ์ชัยและคดีเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลทหาร ทนายความจึงดำเนินการยื่นคำร้องถึงศาลทหารเรื่อง ขอให้ส่งตัวประจักษ์ชัยตรวจรักษาอาการทางจิตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 โดยให้เหตุผลว่าจากการที่ทนายได้เข้าพบประจักษ์ชัยและข้อเท็จจริงจากญาติพบว่าประจักษ์ชัยมีอาการทางจิตที่สามารถเห็นจากอาการภายนอกได้และ ญาติได้ให้ข้อมูลว่าเขามีอาการตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น ซึ่งศาลได้พิจารณาส่งตัวประจักษ์ชัยตรวจที่สถาบันกัลยาณ์ฯ และได้รับการตรวจครั้งแรกเมื่อ 6 ก.ค. ซึ่งนำมาสู่การไต่สวนรายงานในครั้งนี้

หลังจากที่ประจักษ์ชัยได้รับการปล่อยตัวแล้วระหว่างนี้เขายังต้องอยู่ในการดูแลของญาติให้ได้รับการรักษาอาการทางจิตไปพร้อมโรคตับแข็ง และแพทย์ของสถาบันกัลยาณ์ฯ จะต้องรายงานผลทุก 180 วัน ต่อศาลตั้งแต่วันที่รับตัวรักษาจนกว่าประจักษ์ชัยมีอาการทางจิตดีขึ้นจนสามารถต่อสู้คดีได้ ศาลทหารจึงนำคดีกลับมาพิจารณาอีกครั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทวิเคราะห์เหตุระเบิด 7 จังหวัด ความพยายามเบี่ยงประเด็นของรัฐบาล

$
0
0

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงตั้งคำถามเหตุใดเวลามีเหตุความไม่สงบ กองทัพไทยถึงพยายามเบี่ยงประเด็นไปหาฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเสมอ แทนที่จะสงสัยว่าเป็นฝีมือของกลุ่มติดอาวุธในภาคใต้ พร้อมเสนอให้กองทัพแจกแจงเบื้องหลังการก่อเหตุอย่างตรงไปตรงมาเพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้ด้วยวิธีทางการเมืองและการหารือ

24 ส.ค. 2559 แมทธิว วีลเลอร์ จากองค์กรอินเตอร์เนชันแนลไครซิสกรุ๊ปซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อผลักดันนโยบายเชิงสันติภาพเขียนบทความลงในนิวยอร์กไทม์เกี่ยวกับกรณีการวางระเบิดในย่านนักท่องเที่ยว 7 จังหวัดของประเทศไทยเมื่อวันที่ 11-12 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่มีฝ่ายใดออกมาอ้างว่าก่อเหตุและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลทหารก็ประกาศว่าการก่อเหตุครั้งนี้ไม่ใช่การก่อการร้ายโดยแทบจะทันที พวกเขายังประกาศว่าการก่อเหตุในครั้งนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มติดอาวุธที่ก่อเหตุทางภาคใต้มาตลอด 13 ปีเลย

วีลเลอร์ยังระบุถึงกรณีที่โฆษกตำรวจแถลงว่าประเทศไทยไม่ได้มีความขัดแย้งด้านศาสนา เชื้อชาติ เขตแดน หรือชนกลุ่มน้อย ซึ่งวีลเลอร์บอกว่ามันเป็นคำแถลงที่น่าพิศวงมากในขณะที่ยังมีการก่อความไม่สงบจากกลุ่มเชื้อชาตินิยมในเขตจังหวัดที่มีชาวมลายู-มุสลิม อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งการก่อเหตุของพวกเขาทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมแล้วราว 6,500 ราย นับตั้งแต่ปี 2547

บทความระบุว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังรีบออกมากล่าวหาว่าเป็นฝีมือของฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองคือกลุ่มอดีตนายกฯ ทักษิณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ร่างขึ้นมาเพื่อให้อำนาจกับกองทัพและกองทัพยังห้ามรณรงค์ต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หลังจากเหตุระเบิดก็มีคนที่อยู่ในกลุ่มเสื้อแดงหลายคนถูกคุมขังถึงแม้ว่าวิธีการวางระเบิดจะไม่เหมือนกับวิธีการใช้ความรุนแรงของกลุ่มสนับสนุนทักษิณก่อนหน้านี้เลย และไม่แม้กระทั่งจะเหมือนกับกรณีการวางระเบิดศาลพระพรหมในปี 2558 ด้วยซ้ำ

วีลเลอร์มองว่าการก่อเหตุมีลักษณะคล้ายกับการก่อเหตุของกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีหรือบีอาร์เอ็นที่มักจะใช้วิธีการวางระเบิดแบบตั้งเวลา 1-2 ชิ้น เพื่อให้เกิดระเบิดแบบต่อเนื่องกัน ระเบิดมักจะมีขนาดเล็ก และแม้ว่าจะรุนแรงแต่ก็ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก และอีกอย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกับการก่อเหตุของบีอาร์เอ็นคือการที่ไม่ออกมาอ้างตนว่าเป็นผู้ก่อเหตุ

นอกจากนี้การสืบสวนของตำรวจระบุว่าระเบิดเป็นแบบเดียวกับที่มักจะใช้ในการก่อเหตุแถบสามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งนี่ขัดกับที่รัฐบาลระบุ และเมื่อวันที่ 15 ส.ค. รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ออกมายอมรับว่าผู้ก่อเหตุอาจจะถูกจ้างมาจากกลุ่มติดอาวุธภาคใต้

วีลเลอร์ตั้งข้อสังเกตว่าทางการไทยมักจะชอบอ้างว่าเหตุรุนแรงเป็นเพราะคู่ขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว ในปี 2536 ที่เคยมีเหตุเผาโรงเรียน 33 แห่ง ในสามจังหวัดภาคใต้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลก็อ้างว่าเป็นฝีมือพวกกลุ่มอำนาจเก่าที่สูญเสียอิทธิพลหลังการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล เมื่อเดือน เม.ย. 2558 ที่เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ในเกาะสมุย เจ้าหน้าที่ระดับสูงก็กล่าวหาว่าเป็นฝีมือของนักการเมืองที่สูญเสียอำนาจ โดยเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลใดๆ เลยจนกระทั่งในที่สุดตำรวจก็พบว่าเหตุระเบิดนี้มีความเชื่อมโยงกับการก่อเหตุอื่นๆ ในแถบจังหวัดภาคใต้ ไม่เพียงเท่านั้นแม้แต่เหตุระเบิดศาลพระพรหมเมื่อปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่ทางการก็เคยพยายามโยงไปหากลุ่มเสื้อแดงเช่นกัน

"ทำไมรัฐบาลทหารถึงวิตกกังวลจนพยายามเบี่ยงเบนความสนใจเรื่องการก่อเหตุไปจากเรื่องการก่อความไม่สงบโดยกลุ่มมลายูมุสลิม" วีลเลอร์ตั้งคำถามในบทความ

วีลเลอร์ประเมินว่าสาเหตุแรกน่าจะเป็นการพยายามปกป้องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศร้อยละ 20 อย่างที่สองคือการที่กองทัพมักจะพูดถึงการก่อเหตุของกลุ่มติดอาวุธว่าเป็น "การก่อกวน" ที่กระทำโดยปัจเจกบุคคลที่หลงผิดเพื่อเป็นการลดทอนการส่งสารทางการเมืองของการก่อเหตุ เจ้าหน้าที่ทางการไทยจำนวนมากมีความกลัวอย่างลึกซึ้งว่าจะมีการแทรกแซงจากต่างชาติซึ่งอาจจะนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนได้ นอกจากนี้ มันยังอาจแปลว่ากองทัพล้มเหลวในการแก้ปัญหาในภาคใต้ การที่สามจังหวัดภาคใต้โหวตปฏิเสธร่างรัฐธรรมนญฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาปฏิเสธกองทัพและการพยายามควบรวมอำนาจจากส่วนกลาง

ผู้เขียนชี้ว่า ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้กลุ่มติดอาวุธในภาคใต้จะพยายามไม่ตั้งเป้าหมายเป็นชาวไทยภายนอกจังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด แต่เหตุที่ในครั้งล่าสุดมีการขยายปฏิบัติการออกไปอีก ทางองค์กรอินเตอร์เนชันแนลไครซิสกรุ๊ปเคยระบุไว้เมื่อปีที่แล้วว่ามีความเป็นไปได้ที่กลุ่มติดอาวุธในภาคใต้จะเริ่มขยายการก่อเหตุออกจากพื้นที่เดิมเมื่ออยู่ในภาวะคุมเชิงกันและเมื่อรู้สึกว่าการโจมตีในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ผลน้อยลง กลุ่มบีอาร์เอ็นไม่ยอมรับกระบวนการสันติภาพที่กระง่องกระแง่งของรัฐบาลทหาร ซึ่งสำหรับพวกเขาแล้วดูเหมือนเป็นการแสร้งพูดโดยไม่มีการเจรจาหารืออย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังมีการผ่านร่างรัฐธรรมนูญที่จะทำให้รัฐบาลทหารคงอยู่ในอำนาจไปอีกอย่างน้อย 6 ปี

วีลเลอร์ระบุว่าการโจมตีนอกพื้นที่ปฏิบัติการเดิมทำให้ความขัดแย้งยกระดับเข้าสู่ช่วงใหม่เพิ่มความเสี่ยงต่อความขัดแย้งระหว่างศาสนามากขึ้นโดยเฉพาะกับศาสนาพุทธ จากที่เมื่อปีที่แล้วแม้ว่าจะมีการสั่งห้ามการชุมนุมเกิน 5 คน แต่ก็มีการชุมนุมของชาวพุทธจำนวนมากที่แสดงการต่อต้านอุตสาหกรรมฮาลาลในเชียงใหม่และการประท้วงต่อต้านการก่อสร้างมัสยิดแห่งใหม่ในน่าน และเมื่อปลายเดือน ต.ค. ปีที่แล้วก็เคยมีพระในกรุงเทพฯ เรียกร้องให้เผามัสยิดต่อพระหนึ่งรูปที่ถูกสังหารในจังหวัดชายแดนภาคใต้

อย่างไรก็ตามวีลเลอร์มองว่าการที่กองทัพไทยพยายามปฏิเสธว่าการก่อเหตุล่าสุดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มติดอาวุธในภาคใต้นั้นถือเป็นเรื่องที่ไม่มองการณ์ไกลและทำลายตัวเอง วีลเลอร์เสนอว่ากองทัพไทยควรเล็งเห็นว่าการก่อความไม่สงบเป็นปัญหาทางการเมืองที่ต้องการวิธีการแก้ไขปัญหาทางการเมือง นั่นคือการคืนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมให้กับประชาชนไทย มีการเจรจาแลกเปลี่ยนกับกลุ่มติดอาวุธอย่างแท้จริง และพยายามหาทางถ่ายโอนอำนาจให้กับคนในภูมิภาคเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้

 


เรียบเรียงจาก

Can Thailand Really Hide a Rebellion?, Matthew Wheeler, International Crisis Group, 22-08-2016
https://www.crisisgroup.org/asia/south-east-asia/thailand/can-thailand-really-hide-rebellion

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จ่อปรับเกณฑ์จ่ายค่ารักษาพยาบาล ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ เทียบเท่าข้าราชการ

$
0
0

24 ส.ค. 2559 ธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลมีความห่วงใยพนักงานรัฐวิสาหกิจในช่วงระหว่างที่จะมีการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ 12 แห่ง ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น จึงจะปรับปรุงสิทธิ ด้านสวัสดิการของพนักงานให้สูงขึ้นเป็นการทดแทนไปก่อน โดยคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ได้มีการประชุมหารือเตรียมเสนอปรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ให้กับลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจโดยให้มีหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเช่นเดียวกับข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนิยามคำว่า “การรักษาพยาบาล” “ค่ารักษาพยาบาล” ตลอดจนปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเพื่อการตรวจสุขภาพ การเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคให้สอดคล้องและเป็นไปเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ที่เป็นของข้าราชการ 

ธีรพล กล่าวต่อไปว่า นอกจากปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังได้เพิ่มเติมนิยามและหลักเกณฑ์การจ่ายกรณีป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ให้สามารถรับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ใดก็ได้ รวมทั้งสถานพยาบาลเอกชนนอกระบบของตน โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่ายล่วงหน้าตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงการขยายสิทธิและอัตราการจ่ายค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ให้จนถึงระดับปริญญาตรี เช่นเดียวกับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรข้าราชการด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อีสานโพลเผยเหตุที่คนรับร่าง รธน. เพราะต้องการความสงบและเลือกตั้งเร็วที่สุด

$
0
0

อีสานโพลเผยคนอีสานรับร่างรธน. อันดับ 1 เพราะต้องการความสงบ รองลงมาคือให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด ส่วนคนที่ไม่รับร่างฯ เพราะต้องการร่างที่มาจากตัวแทนของประชาชนและกระบวนการประชามติไม่เป็นไปตามหลักสากล

 

เมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสารวจเรื่อง "เหตุผลคนอีสานในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559”

ผลสารวจพบว่า 3 เหตุผลหลัก ที่คนอีสานรับร่างรัฐธรรมนูญ คือ ต้องการให้ประเทศสงบ/ไม่วุ่นวาย ต้องการให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด และรัฐธรรมนูญจะช่วยถ่วงดุลนักการเมือง/และปราบนักการเมืองทุจริต

ขณะที่ 3 เหตุผลหลัก ที่คนอีสานไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คือ ต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญจากตัวแทนของประชาชน กระบวนการทาประชามติไม่เป็นไปตามหลักสากล และอาจมีการสืบทอดอานาจของ คสช. หรือเปิดช่องนายกรัฐมนตรีคนนอก

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://ecberkku.com/th/component/content/article/46-2012-12-06-06-56-25/1276--2559-18859.html

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชุมชนไทใหญ่ในรัฐฉานค้านโครงการเขื่อนหนองผา เตือนรัฐบาลพม่าอย่าขายแม่น้ำสาละวิน

$
0
0

องค์กรชุมชนไทใหญ่ระบุพม่าเตรียมสร้างเขื่อนหนองผา 1,200 เมกกะวัตต์ส่งไฟขายจีน ทำอีไอเอแบบปิดลับ กลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉานเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงอองซานซูจีให้ยกเลิกสร้างเขื่อนในพื้นที่สู้รบ หวั่นชาวบ้านต้องอพยพเยอะ แผ่นดินไหวเขื่อนแตก

เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2559  ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) องค์กรชุมชนไทใหญ่ (Shan community groups) จัดแถลงข่าวเรื่องข้อกังวลเกี่ยวกับการเตรียมการลับๆ เพื่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวิน ทางตอนเหนือของรัฐฉานซึ่งยังมีการทำสงคราม เพื่อส่งไฟไปขายในประเทศจีน

ภาพจาก องค์กรชุมชนไทใหญ่ : แผนที่แสดงแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในพม่า รอยเลื่อนใกล้เขื่อนหนองผา

องค์กรชุมชนไทใหญ่ ระบุว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา บริษัทไฮโดรไชน่าซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจากจีนได้เดินหน้าตามแผนการสร้างเขื่อนหนองผา กำลังการผลิต 1,200 เมกกะวัตต์ ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งมากที่สุดแห่งหนึ่งในรัฐฉาน และยังเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างต่อเนื่องระหว่างกองทัพรัฐบาลพม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธทางฝั่งตะวันตกของพื้นที่เขื่อน และพื้นที่หยุดหยิงที่เปราะบางระหว่างกองทัพรัฐบาลพม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธทางฝั่งตะวันตกของพื้นที่เขื่อน และพื้นที่หยุดยิงที่เปราะาบางกับกองทัพสหรัฐว้าที่มีการติดอาวุธอย่างหนาแน่นทางฝั่งตะวันออก ท่ามกลางสงครามดังกล่าว บริษัท Snow Mountains Engineering Corporation (SMEC) จากออสเตรเลียยังได้ทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESIA) สำหรับเขื่อนหนองผาโดยดำเนินการเป็นความลับ

ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการประท้วงของชุมชนในพื้นที่ เพราะเมื่อปีที่แล้วก็ได้มีการขัดขวางการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและ สังคมของโครงการเขื่อนอีกแห่งหนึ่ง คือ เขื่อนเมืองโต๋นที่เป็นของนักลงทุนจากจีนและจะมีการก่อสร้างในตอนใต้ของรัฐ ฉาน แต่คราวนี้ต่างจากปีที่แล้วเพราะปีนี้บริษัท SMEC ไม่จัดทำการเปิดตัวโครงการในเมืองตองจีเพื่อประกาศการจัดทำการประเมินผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ชาวบ้านที่ได้รับเชิญมาใน 'การรับฟังความเห็นสาธารณะ' เกี่ยวกับโครงการหนองผาได้รับแจ้งก่อนจะมีการประชุมเพียงไม่กี่ชั่วโมง

จายเคอแสง นักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมของรัฐฉาน กล่าวว่า ในขณะที่สายตาทุกคู่จับอยู่ที่โครงการเขื่อนมิตโสนในแม่น้ำอิระวดี รัฐบาลพม่าได้ขายแม่น้ำสาละวินให้แก่จีนอย่างเงียบๆ เรากลัวว่าที่ผ่านมาจะมีการเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนกันแล้ว ถ้าจีนต้องการอยู่ร่วมกับพม่าอย่างสงบสุข เหตุใดจึงผลักดันเขื่อนที่ประชาชนไม่ต้องการ และยังเป็นเหตุให้เกิดสงครามอีก

ภาพจากองค์กรชุมชนไทใหญ่: ชาวบ้านประมาณ 250 คน จาก 9 ตำบล ในอำเภอต้างยาน ประท้วงต่อต้านเขื่อนหนองผา เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา

ในการแถลงข่าวยังระบุต่อว่า นับแต่ข่าวที่จะมีการสำรวจเขื่อนรั่วไหลออกมา ชุมชนต่างๆ ได้จัดประท้วงต่อต้านเขื่อน โดยเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านประมาณ 250 คนจาก 9 ตำบล ในอำเภอตองยาน รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน จากพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยไทใหญ่ (Shan Nationality League for democracy - SNLD) ได้จัดประท้วงต่อต้านเขื่อน และเมื่อ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ผู้นำชุมชนประมาณ 60 คน จากเมืองต่างๆ เช่น โหป่าง กุ๋นโหลงต้างยาน ล่าเสี้ยว และแสนหวี ได้จัดการประท้วงต่อต้านเขื่อนหนองผาเช่นกัน นอกจากข้อกังวลว่าเขื่อนจะเป็นเหตุให้เกิดการสู้รบและการอพยพของประชาชนมากขึ้น ชาวบ้านยังกลัวว่าเขื่อนจะแตก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและน้ำท่วม เมืองโหป่างซึ่งเป็นเมืองเอกของพื้นที่ชาวว้าที่จะได้รับผลกระทบจากเขื่อนหนองผาเพิ่งจะประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและน้ำท่วมเมื่อไม่กี่สัปดาห์นี้เอง โหป่างตั้งอยู่บนรอยเลื่อนน้ำติ๋ง ที่ผ่านมาจีนได้ชะลอโครงการก่อสร้างเขื่อนของตนเองในแม่น้ำสาละวิน/แม่น้ำนูในมณฑลยูนนาน เนื่องจากกลัวความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว

ภาพจากองค์กรชุมชนไทใหญ่: ผู้นำ 60 คน จากเมืองต่างๆ เช่น โหป่าง, กุ๋นหลง, ล่าเสี้ยว และแสนหวี จัดการประท้วงต่อต้านเขื่อนหนองผา เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา

ไม่นานหลังจากอองซานซูจีได้ไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลพม่าประกาศเดินหน้าสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวิน โดยอ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาความต้องการด้านพลังงานของพม่า แต่ความจริงแล้วไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จากเขื่อนทั้ง 5 แห่งซึ่งเป็นเขื่อนที่สร้างโดยบริษัทจีนทั้งหมดจะถูกขายให้กับประเทสเพื่อนบ้านทั้งนั้น เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มชนในรัฐฉานเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงอองซานซูจี เรียกร้องให้ยกเลิกโครงการเขื่อนในแม่น้ำสาละวิน พวกเขาเตือนว่าการขายแม่น้ำสาละวินโดยการตัดสินใจของรัฐบาลฝ่ายเดียวจะทำลายกระบวนการสร้างสันติภาพ เนื่องจากแม่น้ำสายนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลุ่มชาติพันธุ์หลายล้านคนทางตะวันออกของพม่า

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live




Latest Images