Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50697 articles
Browse latest View live

สบายใจได้ 'หมอเหรียญทอง' ยัน รพ.มงกุฎวัฒนะ ปลอดคนคิดเลวร้าย เผยไล่ออกตั้งแต่ 53

0
0

ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะและปธ.องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน ระบุที่รพ.แม้มีคนต้านคสช.อยู่ แต่ก็เป็นส่วนน้อยและให้ความร่วมมือล่าแม่มดพวกหมิ่นฯเป็นอย่างดี แนะองค์กรอื่นเปิดเผยบอุดมการณ์ทางการเมืองบุคลากรเพื่อให้ผู้บริโภคสบายใจ

 

30 พ.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 10.38 น. ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'เหรียญทอง แน่นหนา' ของ พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ และประธานองค์กรเก็บขณะแผ่นดิน ได้โพสต์ (ซึ่งเฟซบุ๊กเพจ 'องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน' ได้แชร์ต่ออีกที) ว่า ขออนุญาตประชาสัมพันธ์การเปิดเผยข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ รพ.มงกุฎวัฒนะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองของแพทย์และบุคลากรส่วนน้อยบางคนตามโพสต์นี้

"ผมเป็นคนชัดเจนจึงขอเปิดเผยว่า รพ.มงกุฎวัฒนะ ก็เป็นองค์กรหนึ่งที่มีแพทย์และบุคลากรที่ต่อต้าน คสช. แต่ก็มีเพียงส่วนน้อยและไม่ถึงกับเลวร้าย (พวกที่เลวร้ายไล่ออกไปตั้งแต่ปี 53 แล้ว) แต่ที่ทำให้ผมยอมรับได้ก็เพราะแพทย์และบุคลากรส่วนน้อยเหล่านี้ให้ความร่วมมือสืบค้นและส่งรายชื่อพวกหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นจำนวนมากให้แก่ผมเป็นอย่างดี ดังนั้นท่านผู้ใช้บริการ รพ.มงกุฏวัฒนะได้โปรดอย่ารังเกียจพวกเขา อย่างไรก็ตามหากท่านต้องการเลือกตรวจรักษากับแพทย์จำนวนมากที่สนับสนุน คสช. ท่านสามารถสอบถามข้อมูลโดยตรงได้ที่ผม" พล.ต.นพ.เหรียญทอง
 
ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ ระบุด้วยว่า ตนมีนโยบายเปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้ก็เพราะทุกองค์กรมีคนประเภทนี้ปะปนอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ผู้บริหารองค์กรจะต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจรับการตรวจอย่างสบายใจ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การุณ สกุลประดิษฐ์

0
0
"การใส่ชุดทหารมาเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ไม่ถือว่าผิดระเบียบเพราะสถานศึกษาเป็นผู้กำหนด ผมมองว่านอกจากจะทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจและรู้สึกเข้มแข็งเมื่อสวมเครื่องแบบแล้ว รูปแบบของกิจกรรมอาจต้องการความทะมัดทะแมงจากเด็กด้วย” 
 
เลขาธิการ กพฐ. กล่าว ถึงกรณีร.ร.ชุมชนดูนสาดจัดกิจกรรม "ทหารน้อยลูกแม่ฟ้าหลวง" โดยให้เด็กอนุบาลสวมชุดทหารมาเรียน, 27 พ.ค. 59

นักกฎหมายสากลชี้คำพิพากษาพรุ่งนี้ คดีปะทะเหมืองแร่ จ.เลย ทดสอบสิทธิของนักปกป้องสิทธิฯ

0
0

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลและโพรเท็คชันฯ ออแถลงการณ์ร่วม ชี้คำพิพากษาพรุ่งนี้คดีอดีทหารนำกลุ่มชายฉกรรจ์ทำร้ายร่างกายชาวบ้านเปิดทางขนแร่ จ.เลย เป็นบททดสอบสำคัญเรื่องสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ภาพเหตุการณ์ 15 พ.ค. 2557 กรณีกลุ่มชายฉกรรจ์ พร้อมอาวุธ เข้าเปิดทางให้รถบรรทุกขนย้ายแร่ทองคำออกจากเหมืองแร่ทองคำวังสะพุงจังหวัดเลย ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บร่วม 30 คน 

30 พ.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือ ไอซีเจ (International Commission of Jurists) และโพรเท็คชัน อินเตอร์เนชั่นแนล (Protection International) ได้ออกแถลงการณ์ร่วม เรื่องคำพิพากษาของศาลจังหวัดเลยที่จะออกมาในวันพรุ่งนี้ (31พ.ค.59) ในคดีที่มีจำเลย คือ พล.ท.ปรเมษฐ์ ป้อมนาค (เกษียณอายุ) และพ.ท.ปรมินทร์ ป้อมนาค (บุตรชาย) จำเลยทั้งสองถูกกล่าวหาในคดีอาญาว่ามีส่วนร่วมในการใช้ความรุนแรง โดยใช้กลุ่มชายฉกรรจ์ติดอาวุธ กว่า 100 คน เข้าทำร้ายสมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด รวมถึงชาวบ้านนอกเหนือจากกลุ่มดังกล่าวด้วย เหตุเกิดที่บ้านนาหนองบง จังหวัดเลย ในคืนวันที่ 15 พ.ค. 2557 โดยผู้เสียหายถูก ทำร้ายและกักขังไว้มากกว่า 7 ชั่วโมงระหว่างเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 20 ราย โดยในจำนวนดังกล่าวมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจำนวน 7 ราย 

ซึ่งคำแถลงร่วมดังกล่าว ระบุว่า คำพิพากษาของศาลจังหวัดเลยที่จะออกมาในวันพรุ่งนี้ จะเป็นบททดสอบสำคัญต่อความยึดมั่นของประเทศไทยเรื่องการนำตัวผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมาลงโทษ
 
สำหรับกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดนั้น เป็นการรวมตัวของกลุ่มชุมชนที่ประท้วง โดยกล่าวอ้างว่าการทำเหมืองส่งผลกระทบ เป็นการทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของพวกเขา ทั้งนี้กิจกรรมของกลุ่มฯส่วนมาก เน้นที่การขอให้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด หยุดการเหมืองแร่ทองคำ ที่ภูทับฟ้า จังหวัดเลย  

แซม ซารีฟี (Sam Zarifi) ผู้อำนวยการคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล สำนักงานเอเชีย กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทย คดีนี้กลายมาเป็นคดีสัญลักษณ์ที่นักปกป้องเพื่อสิทธิมนุษยชนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการที่พยายามคุ้มครองสิทธิชุมชนของพวกเขา” นอกจากนี้ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “มีคนจำนวนมากกำลังติดตามคดีนี้ เพื่อจะดูว่ารัฐบาลไทยจะได้ทำตามความยึดมั่นของตนเองที่จะคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนหรือไม่”

ทั้งนี้ การบุกโจมตีบ้านนาหนองบงดังกล่าวเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดรวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ตั้งสิ่งกีดขวางถนนเส้นในหมู่บ้านที่มุ่งไปทางเหมืองทองคำ ระหว่างการบุกโจมตี ได้มีการทำลายด่านกีดขวาง โดยมีรายงานว่ามีรถบรรทุกจำนวนอย่างน้อย 13 คัน เข้ามาขนแร่จากพื้นที่เหมือง

จากคำให้การบางส่วนของชาวบ้าน พล.ท.ปรเมษฐ์ และพ.ท.ปรมินทร์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในวันที่ 15 พ.ค.57  โดยบุคคลทั้งสองถูกตั้งข้อหาต่าง ๆ รวมถึงข้อหา ‘ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย’ และ ‘การกักขังผู้อื่นโดยมิชอบ หรือการลิดรอนเสรีภาพของผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 และ มาตรา 309

แซม ยังได้กล่าวเสริมว่า “หากพิเคราะห์จากรายงานที่น่าเชื่อถือว่ามีกลุ่มชายฉกรรจ์ติดอาวุธมากกว่า 100 นาย เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ไอซีเจมีข้อห่วงใยในประเด็นว่ามีจำเลยเพียงสองรายเท่านั้นที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาจากการโจมตีดังกล่าว ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้สืบสวนคดีใหม่และประกันว่ามีการนำบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมารับผิดชอบ รวมถึงมีการให้การเยียวยาเหยื่อที่เกี่ยวข้องด้วย”

คดีที่กล่าวหา พล.ท.ปรเมษฐ์ และพ.ท.ปรมินทร์ มีเหตุเชื่อมโยงมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดและบริษัท ทุ่งคำ จำกัด โดยในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ทางบริษัทฯได้ยื่นฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญากว่า 19 คดีต่อสมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดและชาวบ้านอื่น ๆ จำนวน 33 ราย ซึ่งหนึ่งในการยื่นฟ้องคดีรวมถึงการฟ้องหมิ่นประมาททางอาญากับเด็กหญิงอายุ 15 ปี ที่ถูกกล่าวหาว่าได้กล่าวข้อความอันไม่เป็นผลดีเกี่ยวกับงานของบริษัทฯในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง

อนึ่ง กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาและเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสอง ศาลจังหวัดเลยได้นัดอ่านคำพิพากษาในวันอังคารที่ 31 พ.ค.59 เวลา 9.00 น.

ข้อมูลพื้นฐาน :

พล.ท.ปรเมษฐ์ ป้อมนาค และพ.ท.ปรมินทร์ ป้อมนาค ถูกตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการ ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่ มาตรา 295 (‘ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย’) และมาตรา 296 (‘ระวางโทษฐานทำร้ายร่างกาย’), มาตรา 309 (‘ความผิดฐานการกักขังผู้อื่นโดยมิชอบ’ ) และมาตรา 310 (‘ระวางการกักขังผู้อื่นโดยมิชอบ’) , มาตรา 358 (‘ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ’), มาตรา 371 (‘ความผิดฐานพกพาอาวุธ’ ), มาตรา 376 (‘ความผิดฐานใช้ดินระเบิด’ ) , มาตรา 391 (‘ความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตราย’) ประกอบกับข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ได้แก่ มาตรา 32, มาตรา 33 (‘การนำอาวุธปืนไปจดทะเบียนยังนายทะเบียนท้องที่’) รวมถึงมาตราอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา อาทิ มาตรา 83และมาตรา 84 (ตัวการและผู้ใช้), มาตรา 91 (มาตรา 90 และมาตรา 91 เป็นมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท โดยให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ต้องไม่เกินโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91) นอกจากนี้ยังรวมถึงความผิดอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, มาตรา 7, มาตรา 8 ทวิ, มาตรา 72 และมาตรา 72ทวิ, พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 3, และคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ข้อ 3,
ข้อ6, และข้อ 7  

ประเทศไทยมีพันธกรณีทางกฎหมายที่จะคุ้มครองนักปกป้องเพื่อสิทธิมนุษยชนจากการถูกโต้กลับด้วยเหตุที่มาจากการใช้สิทธิของพวกเขาที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้ร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีก 126 ประเทศที่สมัชชาสหประชาชาติ (UN General Assembly) เพื่อรับเอาหนึ่งในข้อมติล่าสุดของสหประชาชาติเรื่องนักปกป้องเพื่อสิทธิมนุษยชน  ข้อมติสหประชาชาติที่ 70/161 ได้รับรองความสำคัญที่การให้ความคุ้มครองนักปกป้องเพื่อสิทธิมนุษยชนของรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่นักปกป้องเพื่อสิทธิมนุษยชนถูกประหัตประหารอันมีเหตุมาจากการมีกิจกรรมที่สงบและมติยังได้ต่อต้านภัยต่าง ๆ, การคุกคามและการข่มขู่ต่อนักปกป้องเพื่อสิทธิมนุษยชน รวมทั้งส่งเสริมให้รัฐต่าง ๆ สอบสวนข้อกล่าวหาเรื่องการข่มขู่และการโต้กลับ ทั้งยังสนับสนุนให้มีการนำตัวผู้กระทำผิดเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ทอม ดันดี’ กลับคำให้การรับสารภาพ คดี112 คดีแรก เหลืออีกคดีที่ศาลทหาร

0
0

30 พ.ค.2559 ที่ห้องพิจารณาคดี 912 ศาลอาญารัชดา นายธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี นักร้องดังวัย 58 ปีมาศาลในนัดตรวจความพร้อมของคู่ความ ในคดีหมายเลข อ.3575/2558 ก่อนจะถึงนัดสืบพยานในวันที่ 26-29 ก.ค.ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตาม ในนัดนี้ทอม ดันดี ได้กลับคำให้การจากที่ปฏิเสธข้อกล่าวหาขอต่อสู้คดี เป็น รับสารภาพทุกข้อกล่าวหาและขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและตัดสินคดีโดยเร็วเพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสรับประโยชน์จากการพระราชทานอภัยโทษ ศาลได้ยกเลิกกำหนดสืบพยานเดิมและนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 1 มิ.ย.นี้เวลา 10.00 น.

ทอม ดันดี กล่าวว่า เหตุที่ให้การรับสารภาพเนื่องจากติดคุกมาเกือบ 2 ปีแล้วถูกฟ้องคดี 112 ทั้งที่ศาลอาญาและศาลทหารโดยมองไม่เห็นทางว่าการต่อสู้คดีนั้นจะจบลงที่ใดจึงขอกลับคำให้การเพื่อให้คดีสิ้นสุดและเพื่อดำเนินการขออภัยพระราชทานอภัยโทษโดยเร็ว

ทั้งนี้ ทนายจำเลยระบุว่าคาดว่าในศาลทหารที่มีกำหนดสืบพยานในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ ทอม ดันดีก็จะกลับคำให้การเป็นรับสารภาพด้วยเช่นเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทอม ดันดี ถูกจับกุมตัวโดยเจ้าหน้ามที่ทหารเมื่อวันที่ 9 ก.ค.2557 เขาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ไม่มารายงานตัว ศาลลงโทษจำคุก 6 เดือนแต่ให้รอลงอาญา 2 ปี จากนั้นเขาถูกแจ้งข้อหาเพิ่มเติมอีก 2 คดี คือ ความผิดตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) (3) และ (5)

คดี 112 คดีแรก พิจารณาคดีในศาลทหาร โดยอัยการทหารยื่นฟ้องเขาจากกรณีการปราศรัยเมื่อวันที่ 6 พ.ย.2556 ปรากฏเป็นคลิปในอินเทอร์เน็ตระหว่าง 6 พ.ย.2556-27 มิ.ย.2557 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังรัฐประหาร และคสช.ประกาศให้คดี 112 ขึ้นศาลทหาร 

คดี 112 คดีที่สอง อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 6 ยื่นฟ้องเขาต่อศาลอาญา รัชดา ในวันที่ 19 ต.ค.2558 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเขาถูกคุมขังมา 1 ปี 3 เดือน เหตุจากกรณีมีคลิปปราศรัยของเขาปรากฏในอินเทอร์เน็ตระหว่างวันที่ 13 พ.ย.2556- 26 เม.ย.2557 ซึ่งเป็นเวลาก่อนการรัฐประหาร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลพิพากษา 2 จำเลยคดี 112 แอบอ้าง 'พระเทพ' สารภาพลดโทษเหลือคุก 3 ปี 8 เดือน

0
0
30 พ.ค. 2559 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดฟังคำพิพากษาในคดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร กับ กิตติภพ และ วิเศษ (สงวนนามสกุล) ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, ความผิดในการร่วมกันปลอมเอกสารราชการ และความผิดในการสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ
 
โดยพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี ความผิดข้อหาสวมเครื่องแบบของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ ให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน และความผิดข้อหาร่วมกันปลอมเอกสารราชการ ให้ลงโทษจำคุก 3 ปี รวมโทษจำคุก 7 ปี 4 เดือน แต่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุกคนละ 3 ปี 8 เดือน
 
ทั้งนี้ในการอ่านคำพิพากษา ศาลได้อ่านเฉพาะเรื่องการกำหนดโทษของจำเลยทั้งสอง แต่ไม่ได้อ่านในส่วนรายละเอียดคดีและข้อวินิจฉัยทางกฎหมายต่างๆ แต่อย่างใด ในเบื้องต้น จึงยังไม่ทราบรายละเอียดเนื้อหาในส่วนดังกล่าว
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ รายงานด้วยว่า เหตุในกรณีนี้ กลุ่มจำเลยสี่คนถูกกล่าวหาว่าได้ร่วมกันปลอมเอกสารหนังสือราชการของสำนักราชเลขานุการ กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้นำไปอ้างแสดงต่อเจ้าอาวาสวัดไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมกับผู้เสียหายอีกหลายคน และยังมีการกล่าวอ้างว่าสามารถที่จะทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มาร่วมในพิธีของวัดได้ โดยมีการกล่าวอ้างแสดงตนว่าเป็นหม่อมหลวง พร้อมเรียกเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้เสียหาย ต่อมา ทางเจ้าอาวาสวัดไทรงามได้ให้ตัวแทนเข้าแจ้งความดำเนินคดี จำเลยทั้งสี่ได้ทยอยถูกควบคุมตัวในช่วงเดือนส.ค.58
 
ต่อมา เมื่อวันที่ 22 เม.ย.59 กิตติภพ จำเลยที่ 2 และ วิเศษ จำเลยที่ 3 ซึ่งเคยให้การปฏิเสธข้อหา ได้ยื่นขอกลับคำให้การต่อศาล เป็นรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ศาลจึงได้นัดฟังคำพิพากษาในวันนี้ ขณะที่ อัษฎาภรณ์ จำเลยที่ 1 และ นพฤทธิ์ จำเลยที่ 4 ยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ศาลจึงให้อัยการโจทก์แยกฟ้องคดีของจำเลยที่ 1 และที่ 4 เข้ามาใหม่
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ในส่วนคดีของ อัษฎาภรณ์และ นพฤทธิ์ ที่ยังต่อสู้คดี พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ต่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมาเมื่อวันที่ 27 เม.ย.59 โดยคำฟ้องในคดีใหม่นี้เขียนในลักษณะเดียวกันกับคำฟ้องในคดีเดิม แต่ไม่ได้มีการฟ้องในข้อหาสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146 เหมือนในคดีแรก โดยศาลได้นัดพร้อมและสอบคำให้การในคดีใหม่นี้ในวันที่ 6 มิ.ย.59
 
กรณีนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ ได้เข้าให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับ นพฤทธิ์ อายุ 28 ปี ซึ่งทำงานเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ นพฤทธิ์ ระบุว่าเขารู้จักกับ วิเศษ จำเลยอีกคนในคดีนี้ในฐานะรุ่นพี่รุ่นน้องที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน และไม่เคยรู้จักจำเลยอีกสองคนมาก่อน แต่วิเศษได้มาชวนไปร่วมทำบุญ โดยอ้างว่าให้เป็นเจ้าภาพร่วมกัน ที่วัดไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ในช่วงเดือนเม.ย.58 แต่เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแอบอ้างตามข้อกล่าวหา ไม่ทราบเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร และไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ โดยญาติของนพฤทธิ์เคยยื่นขอประกันตัวต่อศาลแล้ว 3 ครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาต
 
ก่อนหน้านี้ ในนัดสอบคำให้การครั้งแรก นพฤทธิ์และทนายความได้เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น ในประเด็นสถานะของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่าเป็นบุคคลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ แต่ศาลได้ให้ยกคำร้องฉบับนี้ โดยระบุว่าชั้นนี้ยังไม่มีเหตุสมควรวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ ระบุว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หญิงวัยรุ่นเนปาลถ่ายภาพสิ่งห้ามแตะต้องช่วงมีเมนส์ ชวนถกข้อห้ามชุมชน

0
0

ในพื้นที่ชนบทของเนปาลยังคงมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องประจำเดือนของผู้หญิง ทำให้เกิดการกีดกันที่ส่งผลถึงปัญหาสุขภาวะและทำให้ผู้หญิงเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา แต่ก็มีผู้หญิงวัยรุ่น 7 คน จากจังหวัดสินธุลี ตอบโต้กลับด้วยการถ่ายภาพสิ่งที่พวกเธอถูกห้ามไม่ให้แตะต้องในช่วงที่มีประจำเดือน


พวกเธอถ่ายสิ่งต้องห้ามขณะมีประจำเดือน (จากซ้ายไปขวา/บนลงล่าง) พวกเธอถูกห้ามดื่มนมวัว, ตัดเล็บ, ร่วมกิจกรรมชุมชน, ห้ามมองพระอาทิตย์ตรงๆ และต้องชำระร่างกายและแผ่นอนามัยในที่ลับตาคน
ที่มาภาพ WaterAid 

30 พ.ค. 2559 ในจังหวัดสินธุลีห่างจากกรุงกาฐมาณฑุลงไปทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ 130 กม. โครงการของหน่วยงานการกุศลวอเทอร์เอด (WaterAid) สนับสนุนโครงการให้ผู้หญิงวัยรุ่นทำการถ่ายภาพสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเธอในช่วงที่พวกเธอมีประจำเดือนเพื่อเป็นการท้าทายข้อห้ามในชุมชนและส่งเสริมสุขอนามัยสตรี มีการนำเสนอเรื่องนี้ผ่านสื่ออย่างดิอินดิเพนเดนต์เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมาในโอกาสวันสุขอนามัยประจำเดือนนานาชาติ

เนปาลมีความเชื่อว่าผู้หญิงในช่วงมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่ "ไม่บริสุทธิ์" หรือ "แปดเปื้อน" จึงมีการแยกผู้หญิงจากครอบครัวในช่วงนั้น มีการห้ามมองพระอาทิตย์ ห้ามแตะต้องผลไม้หรือดอกไม้ หรือแม้กระทั่งห้ามอยู่ที่บ้านตัวเอง หนึ่งในข้อห้ามนี้มาจากประเพณี "เชาปาดี" (Chhaupadi) ที่นิยมในหมู่ชุมชนชาวฮินดูในตะวันตกของเนปาลที่กีดกันไม่ให้ผู้หญิงปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวเป็นเวลา 6-10 วัน คนที่เพิ่งคลอดลูกก็อาจจะถูกห้ามในแบบเดียวกันเป็นเวลา 10 วันด้วย

เรื่องนี้มาจากความเชื่อเหนือธรรมชาติที่ว่าผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่บริสุทธิ์และอาจจะทำให้เกิดโชคร้ายหรือความเจ็บป่วย ทำให้ผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้กินเนื้อ นม ผลไม้ และผัก เพราะกลัวว่าประจำเดือนจะทำให้ผลผลิตแย่ลง ทำให้ผู้หญิงในช่วงมีประจำเดือนกินได้แต่ข้าว เกลือ และอาหารแห้งเท่านั้น เรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อการศึกษา สุขภาวะทางกายและใจ รวมถึงบทบาทในชุมชนของผู้หญิงด้วย ถึงแม้ว่าประเพณี "เชาปาดี" จะถูกสั่งห้ามจากศาลสูงสุดของเนปาลในปี 2548 แต่ก็ยังคงมีชุมชนในชนบทยังคงปฏิบัติตามประเพณีเหล่านี้อยู่

มานิชา หญิงวัยรุ่นอายุ 14 ปีที่เข้าร่วมโครงการเล่าว่าเธอต้องไปอยู่กับบ้านคนอื่นในช่วงที่มีประจำเดือนครั้งแรก เธอถูกห้ามไม่ให้ไปโรงเรียนและแม้กระทั่งถูกห้ามอ่านหนังสือ เธอมองว่ามันเป็นความเชื่อที่ผิดที่ห้ามคนเรียนหนังสือในช่วงมีประจำเดือน ในเนปาลมีจำนวนผู้หญิงที่ไม่รู้หนังสือมากถึงร้อยละ 58

หญิงวัยรุ่นที่เข้าร่วมโครงการต่างก็ไม่เคยแตะกล้องมาก่อน แต่พวกเธอก็ได้รับโอกาสให้สามารถแสดงผลงานภาพถ่ายของเธอต่อชุมชนได้เพื่อให้เพื่อนและครอบครัวของพวกเธอร่วมกันหารือเกี่ยวกับข้อห้ามเรื่องประจำเดือน

บาร์บารา ฟรอสต์ ผู้บริหารสูงสุดของวอเทอร์เอดกล่าวว่า ความเงียบและการตีตราเกี่ยวกับเรื่องประจำเดือนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้หญิง นอกจากนี้การที่ไม่มีห้องน้ำส่วนตัวในโรงเรียนทำให้ผู้หญิงมักจะโดดเรียนในช่วงที่มีประจำเดือนหรือบางคนก็ออกจากโรงเรียนไปเลยเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

ฟรอสต์กล่าวอีกว่า "ความสามารถในการจัดการกับประจำเดือนอย่างถูกสุขลักษณะและมีศักดิ์ศรีได้เป็นสิ่งสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้หญิง มันทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าพวกเธอสามารถมีบทบาทอย่างเต็มที่ในสังคมได้ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดก็ตาม"

หญิงวัยรุ่นที่เข้าร่วมโครงการถ่ายภาพต่างๆ ตั้งแต่ กระจก หวี ในฐานะสิ่งของที่ถูกห้ามใช้เวลาที่มีประจำเดือน ภาพของแสงอาทิตย์ ภาพครอบครัว ภาพผลไม้อย่างมะละกอ ภาพห้องน้ำโรงเรียนที่มีคนต่อแถวยาวเหยียดเพราะโรงเรียนห้องน้ำน้อยเกินไปจนไม่พอใช้ ภาพสถานที่ส่วนตัวที่พวกเธอใช้ชำระล้างผ้าอนามัยเนื่องจากถูกห้ามไม่ให้ชำระล้างในที่ๆ คนเห็น ภาพของคนที่ต้องเก็บหญ้าและฟืนเพื่อสะท้อนประสบการณ์สิ่งที่เธอกำลังทำอยู่ตอนมีประจำเดือนครั้งแรก

ซุชมา ดิยาลี อายุ 15 ปี บรรยายถึงรูปกระจกกับหวีของเธอว่า หวีกับกระจกสำหรับเธอเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำตัวเองให้สะอาดและมีสุขภาพดี เธอหวังว่าเพื่อนคนอื่นๆ ที่มีประจำเดือนเหมือนเธอจะสามารถเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกจำกัดเพียงเพราะมีประจำเดือน ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวมากกว่านี้ และสามารถเป็นอิสระออกสำรวจหาโอกาสและศักยภาพที่ดีขึ้นรอบตัวพวกเธอได้

 

 

เรียบเรียงจาก

Nepalese girls take photos of all the things they can't touch during their periods due to menstrual taboos, The Independent, 28-05-2016
http://www.independent.co.uk/news/world/asia/nepalese-girls-take-photos-of-all-the-things-they-cant-touch-during-their-periods-due-to-menstrual-a7052266.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส่ง กกต.กทม.ตรวจสอบ 'สุรนันทน์-พิชญ์' สวมเสื้อชี้นำ ผิด กม.ประชามติหรือไม่

0
0

กกต.เผยมีผู้ร้องผ่านแอพตาสับปะรด 'สุรนันทน์-พิชญ์' ใส่เสื้อข้อความ “รับและไม่รับ" มีลักษณะชี้นำ ส่ง กกต.กทม.ตรวจสอบผิดกฎหมายหรือไม่ ระบุความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ เป็นความผิดทางอาญา ผู้พบเห็นแจ้งพนักงานสอบสวนได้เลย

ที่มา เฟซบุ๊ก 'Suranand Vejjajiva

30 พ.ค. 2559 บุญส่ง น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า กกต.ได้รับแจ้งเบาะแสการกระทำการออกเสียงประชามติบริเวณปริมณฑล จำนวน 11 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง กลุ่มการเมืองที่ลงพื้นที่ แสดงความคิดเห็น และร้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจกระทำผิด พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งฝ่ายสืบสวนสอบสวนตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย และบางเรื่องเกิดขึ้นก่อนพ.ร.บ.ประชามติมีผลบังคับใช้ จึงได้สั่งยุติเรื่อง ดังนั้นจึงถือว่าไม่มีเรื่องร้องเรียนใน กกต.

บุญส่ง กล่าวว่า พบว่ามีการแจ้งเบาะแสแอพพลิเคชั่นตาสับปะรด นับตั้งแต่เปิดตัวแอพฯ จนถึงวันที่ 16 พ.ค.59 จำนวน 2 เรื่อง โดยร้องว่า สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย และ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวมเสื้อข้อความ  “รับและไม่รับ” ที่มีลักษณะชี้นำ ซึ่งได้ส่งไปยัง กกต.กทม. ในฐานะเจ้าของพื้นที่ในการตรวจสอบ  ว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดอาญาหรือไม่

นายบุญส่ง  กล่าวว่า แม้มาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ประชามติ   จะถูกมองว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ส่วนตัวเห็นว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ  เพราะการกระทำที่ถือว่าเข้าข่ายผิดมาตราดังกล่าวต้องมี 3 องค์ประกอบ  คือ 1.ต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง 2.ต้องไม่ก้าวราว รุนแรง ข่มขู่ ปลุกระดม   และ 3.การกระทำนั้นมีเจตนามุ่งให้ประชาชนออกเสียงไปทางใดทางหนึ่ง  ยากมากที่จะมีการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าวได้

“ไม่อยากให้ผู้ที่จะแสดงความคิดเห็นเกรงกลัวมากเกินไป เพราะตัวกฎหมายมีเจตนาปรามเท่านั้น ความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ เป็นความผิดทางอาญา ซึ่งกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจ กกต. ในการชี้ขาด ดังนั้น หากประชาชนพบเห็นการกระทำความผิดก็สามารถที่จะแจ้งต่อพนักงานสอบสวนได้เลย ถ้ามาแจ้ง กกต. ก็จะรวบรวมแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ไปดำเนินการ ซึ่งแนวปฏิบัตินี้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 พ.ค.59 ว่าตำรวจจะดำเนินการอย่างไร” บุญส่ง กล่าว

บุญส่ง ยังกล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายการเมืองเรียกร้องให้มีการเปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็นมากขึ้น ว่า กรณีดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ของ กกต. ตนมองว่าผู้ออกกฎหมายควบคุมสถานการณ์มีเจตนาที่ดี เพราะขณะนี้สถานการณ์ยังอยู่ในช่วงที่มีความขัดแย้งอยู่

ที่มา : สำนักข่าวไทยมติชนออนไลน์และเดลินิวส์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียก 2 อดีตส.ส.เพื่อไทย อุบลฯ เข้าค่ายคุย เหตุเข้าข่ายผู้มีอิทธิพล ก่อนกลับฝากชวนคนไปประชามติ

0
0

30 พ.ค. 2559 เมื่อเวลา 09.00 น. ที่กองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เกรียง กัลป์ตินันท์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี เขต 1 พรรคเพื่อไทย พร้อม พิศทยา ไชยสงคราม ภรรยา เข้ารายงานตัวตามคำสั่งเรียกของมณฑลทหารบกที่ 22 โดยมีอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย สมคิด เชื้อคง สมบัติ รัตโน ปัญญา จินตะเวช ณรงค์ศักดิ์ โกศัลวัฒน์ เอกชัย ทรงอำนาจเจริญ และสมาชิกสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี เดินทางมาให้กำลังใจ

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหารได้เชิญ เกรียง และวรสิทธิ์ พร้อมนางสาวพิศทยา เข้าพบ พล.ต.อชิร์ฉัตร โรจนะภิรมย์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 (ผบ.มทบ.22 ) ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบจังหวัดอุบลราชธานี ที่ห้องประชุมชั้น 2 โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปภายในห้องประชุมดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 30 นาที

ภายหลังการพูดคุย เกรียง เปิดเผยว่า การเข้าพบ ผบ.มทบ.22 ในครั้งนี้ เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่ทหารติดต่อนัดหมายมาตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค. 59 จึงได้เดินทางมาตามนัด ซึ่งจากการพบปะกันแล้ว เบื้องต้นทางทหารแจ้งว่าเข้าข่ายผู้มีรายชื่อกลุ่มผู้มีอิทธิพล 16 ด้าน ที่กระทรวงมหาดไทย ประกาศรายชื่อมาจากส่วนกลาง จึงปฏิเสธไปว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเป็นเพียงอดีต ส.ส. และระยะหลังก็ไม่ได้ทำอะไร อยู่แต่บ้าน
 
เกรียง เผยต่อว่า ผบ.มทบ.22 กล่าวว่าผู้กว้างขวางรู้จักคนมากกับผู้มีอิทธพลใกล้เคียงกันมาก และไม่รู้ว่าตนเองไปเข้าข่ายผู้มีอิทธพลด้านใด ก่อนที่ทาง ผบ.มทบ.22 จะพูดถึงเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ในฐานะที่รู้จักชาวบ้านเยอะอยากให้ช่วย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกมาลงประชามติ ซึ่งไม่กล้าพูดอะไรกับประชาชนมากเพราะเกรงจะเป็นการชี้นำ โดยหลังพูดคุยมีการลงชื่อในเอกสารว่าได้เข้ามาพบตามนัดหมายแล้วจึงเดินทางกลับ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มายาประชามติ (1)

0
0

ภาพที่หัวหน้า คสช. ถูกรุมล้อมจากประชาชนเพื่อขอถ่ายรูปเซลฟี่ราวกับซุปเปอร์สตาร์จากเกาหลี (ไม่แน่ใจว่าเป็นเกาหลีใต้หรือเกาหลีเหนือ) นั้นอาจทำให้หลายคนคิดไปไกลว่า คสช. ได้รับความนิยมล้นหลามจากคนไทยทั้งประเทศ

ความจริงแล้วในทุกรัฐบาลย่อมมีทั้งคนรักและคนเกลียดเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ดังนั้นการที่จะตัดสินความนิยมในรัฐบาลด้วยภาพถ่ายเพียงไม่กี่ภาพจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

คสช. หมายมั่นปั้นมือถึงความสำเร็จในการลงประชามติรัฐธรรมนูญว่า จะช่วยปฏิรูปประเทศไทยได้ ด้วยความไม่วางใจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คสช. จึงขอเป็นผู้แต่งตั้ง ส.ว. เสียเองเพื่อสานต่อภารกิจของ คสช. อย่างน้อย 5 ปี พร้อมพ่วงคำถามพิเศษเพื่อหวังให้ ส.ว. เหล่านี้มีอำนาจเลือกนายกฯได้

หลายคนอาจคิดว่า ประชามติกับการเลือกตั้งไม่เกี่ยวกัน แต่สำหรับประชาชนหาเช้ากินค่ำ หรือที่มักเรียกกันว่า “ชนชั้นล่าง” อาจไม่ได้คิดเช่นนั้น  

ก่อนการรัฐประหาร 2557 เรามีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลายรัฐบาล แต่รัฐบาลเหล่านี้ต้องเผชิญความยุ่งยากจากการชุมนุมทางการเมืองของฝ่ายที่เห็นต่าง

เห็นได้ชัดว่า ช่วงการชุมนุมทางการเมืองในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ คนในกรุงเทพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง-ชนชั้นสูง เนื่องจากการปิดถนนกีดขวางการจราจร ขณะที่ชาวชนบทได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก

เมื่อ คสช. เข้ามาบริหารประเทศสามารถสยบการชุมนุมทางการเมืองของทุกฝ่ายลงได้อย่างราบคาบ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนในกรุงเทพ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมาจะสนับสนุน คสช. 

แต่การที่ คสช. ปรับเปลี่ยนนโยบายประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าว และยางพารา ส่งผลให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้ตกต่ำอย่างหนักเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบต่อชาวชนบทอย่างรุนแรง ซ้ำร้ายภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปียิ่งซ้ำเติมชาวชนบทเข้าไปอีก ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ชาวชนบท

เม็ดเงินจากภาคการเกษตรหดหายอย่างมากทำให้ชีวิตของชาวชนบทที่เผชิญกับความยากลำบากอยู่แล้วยิ่งยากลำบากขึ้นไปอีก ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ 

คสช. อ้างว่า เศรษฐกิจโลกตกต่ำเป็นผลให้เศรษฐกิจไทยต้องตกต่ำตามนั้น คำถามจึงอยู่ที่ว่า เศรษฐกิจไทยตกต่ำตามเศรษฐกิจโลกจริงหรือ ?

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ปี 2000-2014



อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียน ปี 2000-2014

ข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) ระหว่างปี 2000-2014 แสดงให้เห็นว่า ช่วงปี 2001-2003 เป็นช่วงของรัฐบาลพลเรือนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยค่อนข้างสูงคือ จากร้อยละ 2.17 ต่อปีในปี 2001 เป็นร้อยละ 7.14 ต่อปีในปี 2003 เป็นไปตามประเทศเกือบทุกประเทศในอาเซียน แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสูงกว่าหลายประเทศมากจนขยับจากอันดับที่ 9 ของอาเซียนขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 3 ของอาเซียน รองจากพม่าและกัมพูชา

ในปี 2005 เป็นช่วงที่เริ่มมีการชุมนุมทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 6.37 ต่อปีในปี 2004 เหลือร้อยละ 4.6 ต่อปี แม้ว่าจะเป็นไปตามประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน แต่ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าหลายประเทศจนอันดับร่วงมาอยู่เกือบรั้งท้ายของอาเซียน เหนือกว่าบรูไนเท่านั้น

ช่วงรัฐบาลทหารปี 2006-2007 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ภาวะทรงตัวร้อยละ 5.04-5.09 ต่อปี เป็นไปตามประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน ยกเว้นฟิลิปปินส์และติมอร์ เลสเต ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสวนกระแส แต่อันดับของไทยก็ยังคงอยู่เกือบรั้งท้ายของอาเซียน เหนือกว่าบรูไนเท่านั้น

หลังการเลือกตั้งปี 2008 ที่ทำให้ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีถึง 2 คนภายในปีเดียวกัน และผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยก็ตกอยู่ในภาวะดิ่งเหวเหลือร้อยละ 2.48 ต่อปี และร้อยละ - 2.33 ในปีถัดมา แม้จะเป็นไปตามหลายประเทศในอาเซียน แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยหดตัวรุนแรงที่สุด ฉุดรั้งให้ประเทศไทยร่วงมาอยู่อันดับสุดท้ายของอาเซียนในปี 2009

ในปี 2010 แม้จะมีการชุมนุมทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ภาวะก้าวกระโดด โดยขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 7.81 ต่อปี เป็นไปตามประเทศเกือบทั้งหมดในอาเซียน ยกเว้นพม่าและติมอร์ เลสเต ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง แต่ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่สูงกว่าหลายประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 ของอาเซียน

ในปี 2011 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยหดตัวรุนแรงอีกครั้งจนเหลือร้อยละ 0.08 ต่อปี ด้วยภาวะเศรษฐกิจไทยที่เกือบไม่เติบโต ฉุดรั้งให้ประเทศไทยร่วงมาอยู่อันดับสุดท้ายของอาเซียนอีกครั้ง

ในปี 2012 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยกลับมาก้าวกระโดดอีกครั้ง โดยขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 6.49 ต่อปี สวนกระแสหลายประเทศในอาเซียน ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นไปอยู่อันดับที่ 6 ของอาเซียน

ช่วงปี 2013-2014 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามและการรัฐประหาร อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยทรุดตัวลง 2 ปีติดต่อกันจนลงมาเหลือร้อยละ 0.71 ต่อปี ฉุดรั้งให้ประเทศไทยลงมาอยู่ที่อันดับสุดท้ายของอาเซียนอีกครั้งในปี 2014

แม้ประเทศไทยไม่อาจฝืนกระแสเศรษฐกิจโลกได้ แต่ข้อมูลเหล่านี้บ่งบอกว่า การชุมนุมทางการเมืองส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ส่วนการรัฐประหารซึ่ง คสช. เชื่อว่า จะช่วยกอบกู้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยได้กลับไม่ได้ช่วยอะไร ดังนั้นการที่ คสช. พยายามสร้างภาพมายาเรื่องเศรษฐกิจจึงไม่ใช่ของจริง

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผอ.เผยอนุบาลแต่งชุดทหาร ทำมาก่อนปี 56 แล้ว ผู้ปกครองสงสารลูกเจออากาศร้อน

0
0

30 พ.ค.2559 จากกรณี เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา มีภาพและข่าวปรากฏโรงเรียนชุมชนดูนสาด ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น เด็กนักเรียนอนุบาลแต่งชุดทหารมาเรียน โดย อรุณ โพธิ์ศรี หัวหน้าสายอนุบาล เปิดเผยว่า สาเหตุที่ให้เด็กนักเรียนแต่งชุดทหารมาโรงเรียนคือ ทางโรงเรียนได้จัดทำโครงการ "ทหารน้อยลูกแม่ฟ้าหลวง" เพื่อเป็นการสำนึกในแม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทย โดยการปลูกฝังให้เด็กมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีระเบียบวินัย สร้างจิตสำนึกของเด็ก เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน คือ ยิ้ม ไหว้ ทักทาย จิตอาสา โดยให้เด็กแต่งชุดทหารมาทุกวันพฤหัสบดี โดยช่วงเช้าจะทำการรวมเด็กเกี่ยวกับการมีระเบียบวินัย ออกทำการเก็บขยะบริเวณโรงเรียน โดยเป็นการปลูกฝังนิสัยให้เด็ก ๆ ด้วย (อ่านรายละเอียด) จนก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กทั้งเชิงเห็นด้วยและคัดค้าน รวมทั้งมีนักวิชาการได้ออกมาแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าว

ล่าสุดวันนี้ (30 พ.ค.59) ข่าวสดออนไลน์รายงานว่า ผู้สื่อข่าวของข่าวสดได้เดินทางไปที่โรงเรียนชุมชนดูนสาด พร้อมทั้งสอบถามกับ ประจักษ์  จันทร์ทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าว ซึ่งแสดงสีหน้าเป็นกังวลอย่างมากในการตกเป็นข่าวครั้งนี้  โดย ประจักษ์ กล่าวว่า ตนเพิ่งย้ายมารับตำแหน่งในปี 56 แต่โครงการ “ทหารน้อยลูกแม่ฟ้าหลวง” มีมาก่อนที่ตนจะเข้ามาเป็นผู้อำนวยการของโรงเรียน ฉะนั้นตนจึงได้สั่งการให้ฝ่ายวิชาการค้นหาเอกสารโครงการดังกล่าวว่าเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่อย่างไร ถ้าทุกอย่างไม่ผิดระเบียบข้อบังคับใดๆ อีกทั้งชุมชนในพื้นที่เห็นด้วย ก็อาจจะดำเนินโครงการนี้ต่อไป เพียงย้ายจากวันพฤหัสบดีมาใส่ชุดทหารน้อยในวันพุธแทน เนื่องจากทุกวันพุธระดับชั้นประถมศึกษาจะแต่งกายชุดลูกเสืออยู่แล้ว ก็ให้น้องอนุบาลได้แต่งเป็นทหารน้อยรอไปก่อนจนได้เลื่อนชั้นถึงระดับประถมศึกษา

ด้าน ศิริพร  พินิจมนตรี อายุ 27 ปี อาชีพทำนา ผู้ปกครองของนักเรียนเรียนซึ่งอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนนี้ กล่าวว่า ทุกวันพฤหัสบดีตนต้องแต่งชุดทหารน้อยให้กับลูกสาวตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน โดยเครื่องแบบนี้เป็นกางเกงลายทหารขายาว และเสื้อลายทหารแขนยาว พร้อมกับมีผ้าพันคอสีฟ้าขอบตะเข็บสีแดงซึ่งวันเปิดภาคเรียนใหม่ทางโรงเรียนได้จำหน่ายให้แก่เด็กทุกๆคน ราคาชุดละ 100 บาท
 
ศิริพร กล่าวอีกว่า ตนรู้สึกสงสารลูกมากที่ต้องได้แต่งเป็นชุดทหารเสื้อแขน-กางเกงแขนยาวอย่างนี้ เพราะอากาศทางภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่นของเราอากาศร้อนจัด ลูกสาวของตนพอกลับถึงบ้านก็ต้องรีบถอนเครื่องแบบชุดทหารน้อยออกพร้อมบ่นว่าร้อนมาก และตนก็ไม่เคยเห็นโรงเรียนไหนเขาให้เด็กนักเรียนแต่งชุดทหารกัน ยิ่งตำบลดูนสาดมีแต่ป่า ตนก็รู้สึกว่าแปลกๆอยู่เช่นกัน แต่ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อองซานซูจีเตรียมเยือนไทยมิถุนายนนี้-หลังพม่าตั้งรัฐบาลพลเรือน

0
0

โฆษกสำนักงานประธานาธิบดีพม่าเผย อองซานซูจี ซึ่งมีตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐ รมว.ต่างประเทศ และ รมว.สำนักงานประธานาธิบดี เตรียมเยือนไทยเดือนมิถุนายนนี้ แต่ยังไม่แน่ว่าประธานาธิบดีถิ่นจ่อ จะเยือนไทยด้วยหรือไม่ ด้านสื่อพม่า 'อิระวดี' แซวว่าไทย-พม่าเป็นชาติเพื่อนบ้านที่มีชะตาทางการเมืองพลิกผันกัน พม่าเปิดกว้างมากขึ้นแม้จะเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น ส่วนไทยซึ่งเป็นที่พักพิงผู้อพยพ-แหล่งจ้างงานแรงงานพม่านับล้าน ขณะนี้ปกครองภายใต้รัฐบาลทหารมา 2 ปีแล้ว

31 พ.ค. 2559 ซอเท โฆษกของสำนักงานประธานาธิบดีพม่า เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (30 พ.ค.) ว่า อองซานซูจี ในฐานะที่ปรึกษาของรัฐ รัฐมนตรีประจำสำนักงานประธานาธิบดี และรัฐมตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยในเดือนมิถุนายนนี้ โดยรายละเอียดและกำหนดการเดินทางอยู่ระหว่างการหารือ

อย่างไรก็ตาม ซอเท ปฏิเสธที่จะยืนยันว่า ประธานาธิบดีถิ่นจ่อจะเดินทางมาเยือนไทยด้วยหรือไม่

ด้านสำนักข่าวอิระวดีของพม่า ยังอ้างแหล่งข่าวว่า หากกำหนดการเยือนประเทศไทยอยู่ระหว่าง 23 - 25 มิถุนายน คาดว่า ถิ่นจ่อ จะร่วมเดินทางเยือนไทยด้วย

สำหรับกำหนดการเยือนต่างประเทศหลังพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยตั้งรัฐบาลพม่าเมื่อเดือนมีนาคมนั้น ก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคม ถิ่นจ่อ และ อองซานซูจี เดินทางเยือนประเทศลาว และในวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ถิ่นจ่อเดินทางเยือนรัสเซียเพื่อฉลองความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย 20 ปี

ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ หารือ อองซานซูจี ในฐานะ รมว.ต่างประเทศพม่าเมื่อ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มา: MNA)

 

ก่อนหน้านี้เมื่อ 9 พฤษภาคม ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนพม่าและเข้าพบอองซานซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งมีตำแหน่งเสมือนเป็นผู้นำ แต่ด้วยข้อจำกัดทางรัฐธรรมนูญทำให้อองซานซูจี ไม่สามารถขึ้นเป็นประธานาธิบดีได้

ขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้บัญชาการกองทัพพม่า พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ได้เยือนประเทศไทยเป็นเวลา 3 วัน ตามคำเชิญของผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ โดย พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ได้พบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. รวมทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ทั้งนี้สำนักข่าวอิระวดี บรรยายสภาพทางการเมืองของไทย-พม่าว่า "เป็นประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่พลเมืองของพวกเขาประสบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่มีชะตาผกผันน่าสนใจในรอบไม่กี่ปีมานี้ โดยที่นับตั้งแต่ปี 2554 พม่าเคลื่อนไปในทิศทางที่เปิดกว้างและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แม้จะเป็นการเคลื่อนอย่างกระท่อนกระแท่นก็ตาม ซึ่งนำมาสู่การผ่อนคลายทางการเมืองมากขึ้นเมื่อพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งที่ทำให้ อองซานซูจีขึ้นสู่อำนาจ

ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้รัฐบาลทหารมาได้ 2 ปี นับตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจ และเสรีภาพสื่อมวลชน เสรีภาพในการรวมตัวสมาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวของฝ่ายต่อต้าน คสช. ถูกจำกัดอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาลทหาร

สำนักข่าวอิระวดีกล่าวถึงสภาพของชาวพม่าในไทยว่า ผู้คนพม่านับหลายล้านคนเข้ามาทำงานในประเทศไทยในรอบหลายปีมานี้ ขณะที่คนเรือนแสนยังคงอยู่ในค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย-พม่า พวกเขาหลบหนีภัยมาหลายทศวรรษแล้ว อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าและกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้หลายคนก็หลบหนีการกดขี่ภายใต้อดีตรัฐบาลทหารพม่า

 

แปลและเรียบเรียงจาก

Suu Kyi to Visit Thailand in June, By THE IRRAWADDY, Monday, May 30, 2016 http://www.irrawaddy.com/burma/suu-kyi-to-visit-thailand-in-june.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฝนตกแห่เก็บของป่า-สุรินทร์เห็ดถอบกิโลละ 200 บาท แม่ค้าแถมใบส้มติ้วแกงใส่หน่อไม้

0
0

เข้าหน้าฝนชาวบ้านเมืองช้างแห่เข้าป่ากลางดึก เพื่อส่องหาเห็ดป่า และเก็บของป่าหายากขาย สร้างรายได้งามวันละกว่า 2 พันบาท โดยเก็บได้ทั้งดอกกระเจียว ลูกยาง กระท้อนป่า หน่อไม้ป่า เห็ดระโงกขาวไข่ รวมทั้งเห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ ที่ราคารับซื้อเริ่มตั้งแต่กิโลละ 120 บาท จนถึง 200 บาท โดยแม่ค้าจะแถมใบส้มติ้วให้ด้วยเพื่อนำไปแกงใส่หน่อไม้

30 พ.ค. 2559 - ที่ จ.สุรินทร์ ผลพวงจากที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องบริเวณ วนอุทยานป่าสนหนองคู ต.ทับทัน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสนหนองคู เนื้อที่ประมาณ 6,250 ไร่ ด้วยสภาพผืนป่าที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีเห็ดป่านานาชนิด ออกดอกผุดจากพื้นดินเกิดขึ้นมากมายตามธรรมชาติ และพืชผักของป่าผลิดอกออกผลเป็นจำนวนมาก อาทิ ดอกกระเจียวสีแดง ผลไม้ป่าขึ้นชื่อของสุรินทร์ "ตุมกุย" หรือ ลูกยาง ซึ่งเมื่อผลสุกจะสีเหลืองอร่าม นอกจากนี้ยังมี กระท้อนป่า หน่อไม้ป่า หน่อไม้ป่า ผักป่าหายาก และของป่านานาชนิด

ถุงเห็ดขายพร้อมผักส้มติ้วเครื่องเคียง

เห็ดเผาะฝ้าย หรือเห็ดถอบฝ้ายราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท จนถึง 200 บาท

ขายดอกกระเจียวที่ห้างริมทางหลวงสังขะ-สุรินทร์

แม่ค้าและกองเห็ดในกาละมัง

ตุมกุย หรือลูกยาง

โดยชาวบ้านระบุว่า ปีนี้มีเห็ดป่าและพืชผักของป่า เกิดชุกชุมและมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ต่างเก็บมาวางจำหน่ายที่ริมถนน ทางหลวง สายสังขะ-สุรินทร์ จึงคึกคักตลอดทั้งวัน

ในทุกๆ ค่ำคืนจนถึงเช้ามืด ชาวบ้านจะพากันเข้าป่า เพื่อไปส่องหา เห็ดระโงกขาวไข่ เห็ดเผาะ และเห็ดนานาชนิด รวมทั้ง พืชผัก และผลไม้ป่าหายาก เพื่อนำมาวางขายในเพิงไม้ที่ตั้งเป็นร้านอยู่ตามริมถนนทางหลวง สายสังขะ-สุรินทร์ ให้แก่ประชาชนนักท่องเที่ยวที่สัญจรผ่านไปมา สามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวในช่วงฤดูฝนนี้เป็นอย่างดี

โดยเห็ดป่าหลากหลายชนิดที่ชาวบ้านหามาได้ จะถูกนำมาล้างให้สะอาดและคัดแยกเห็ดแต่ละชนิดบรรจุในกระทงใบไม้ ประมาณกระทงละ 10-15 ดอก ขายในราคา 50 บาทต่อกระทง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเห็ดน้ำหมาก เห็ดผึ้ง เห็ดถ่าน เห็ดรังแหล่ ส่วนเห็ดระโงกขาวไข่ ขายในราคากิโลกรัมละ 350 บาท และเห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ กิโลกรัมละ 200 บาท เนื่องจากหายาก รสชาติอร่อย และเป็นที่รู้จักจึงนิยมบริโภคกันมาก

นางวิไลรัตน์ สุขเสริม แม่ค้าขายเห็ด กล่าวว่า เห็ดเผาะหนัง ต่างจากเห็ดเผาะฝ้ายทั่วไปเป็นสีขาว เห็ดเผาะหนังมีสีดำ ตนรับมากิโลกรัมละ 120 บาท นำมาขายต่อในราคา กิโลกรัมละ 200 บาท 2 ขีดกว่าราคา 50 บาท ขายดีบ้างขายไม่ดีบ้างเป็นบางวัน มีรายได้จากการขายเห็นวันละเกือบ 2,000 บาท ช่วงฝนตกเห็ดอื่นๆ ก็จะออกด้วย เช่น เห็ดระโงก โดยเขาขายเห็ดเผาะหนัง แถมใบส้มติ้ว สำหรับไว้นำไปแกงใส่หน่อไม้

นางแหม สืบเสาะเสมอ แม่ค้าขายเห็ด กล่าวว่า ตนและสามีจะเข้าป่าช่วงกลางคืน เพื่อไปส่องหาเก็บเห็ด วิธีการสังเกต เห็ดระโงกจะอยู่บนดิน ถ้าดอกเล็กๆจะอยู่ใต้ใบไม้ เวลากลางคืนเมื่อใช้ไฟฉายส่องไปก็จะเห็นเป็นสีขาว ตนเรียนรู้วิธีการหาเห็ดมาตั้งแต่เด็ก ถ้าอันไหนไม่เคยกินก็จะไม่เก็บมาขายเด็ดขาด ตอนนี้ภายในป่าเห็ดเผาะและเห็ดโคนหายากที่สุด เห็ดเผาะจะเกิดในป่าที่อุดมสมบูรณ์ เกิดในที่โล่ง อยู่ใต้หินทำให้การหายากลำบาก ต้องสังเกตรอยดินแตกถึงจะเอาไม้เขี่ยเก็บได้

นายสม สืบเสาะเสมอ พ่อค้าขายเห็ด กล่าวว่า เห็ดสองอย่างที่มีราคาแพงคือเห็ดเผาะ และเห็ดระโงกขาว ไข่ ลักษณะคล้ายไข่เป็ด ถ้าเราใช้ไฟฉายส่องหาเห็ดในเวลากลางคืนจะหาง่ายกว่า จะออกเป็นช่วงประมาณตี 3

ถุงเห็ดขายพร้อมผักส้มติ้วเครื่องเคียง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

34 ภาคประชาสังคมชายแดนใต้ตั้งองค์กรสังเกตการณ์ประชามติ

0
0

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา มติชนออนไลน์ รายงานว่า ที่โรงแรมไดฮิชิ อ.หาดใหญ่ มันโสด มะเต๊ะ ประธานภาคีเครือข่ายองค์กรสังเกตการณ์ ลงประชามติจังหวัดชายแดน ติดตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2559 โดยมีตัวแทนเครือข่าย 34 องค์ จาก 8 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมประมาณ 50 คน โดย มันโสด กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่จะจัดให้มีการลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค. ตามมาตรา 7 พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ เผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงจัดตั้งองค์กรสังเกตการณ์ลงประชามติจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น โดยมีภาคีเครือข่าย 34 องค์กรเข้าร่วม

“สมาคมสตรีมุสลิม สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สมาคมการศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ศูนย์ประสานงานการศึกษาอิสลามประจำมัสยิด ชมรมโต๊ะอิหม่าน สมาคมฟัรดูอีน สมาพันธ์โรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครือข่ายที่ดินทำกิน จ.พัทลุง เครือข่ายที่ดินทำกิน จ.พัทลุง ชมรมตาดีกาและองค์กรฮัจญ์และอุมเราะห์ จ.ปัตตานี”

มันโสด กล่าวว่า เพื่อให้ประชาชนเข้าใจเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ เชิญชวนประชาชนออกไปใช้สิทธิลงประชามติ เพื่อให้การลงประชามติเป็นไปตามกฎหมายและเกิดความยุติธรรม ป้องกันและดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐและ ประชาชนไม่ให้กระทำผิดกฎหมายประชามติ สังเกตการณ์และเฝ้าระวังไม่ให้มีการทุจริต ในการนับคะแนนลงประชามติ และสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องการปกครองระบอบประชามติ

มันโสด กล่าวว่า ก่อนที่ไปลงประชามติ ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญถ่องแท้ก่อน จะรับหรือไม่รับรัฐธรรม และให้ประธานระดับจังหวัดไปสร้างเครือข่ายในระดับอำเภอตำบลและหมู่บ้าน และให้มีการสรรหาประธานระดับอำเภอและตำบล เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

นปช. จ่อเปิดศูนย์ปราบโกงการทำประชามติ 5 มิ.ย.นี้ 

30 พ.ค.59 เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'TV24 NEWSROOM' รายงานว่า ธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์ และ สมหวัง อัศราษี แกนนำ นปช. เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอความร่วมมือส่งวิทยากรไปให้ความรู้อาสาสมัครของ นปช.ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามการลงประชามติทั่วประเทศ โดยจะเปิดศูนย์ปราบโกงการทำประชามติ ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ที่อิมพีเรียลเวิลด์ลาดพร้าว โดยหวังว่า กกต.จะช่วยอบรมให้อาสาสมัครเข้าใจกฏหมายประชามติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเด็นใดทำได้ ประเด็นใดไม่สามารถทำได้ ส่วนรูปแบบการตรวจสอบนั้นจะมีความชัดเจนหลังวันที่ นปช.เปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ โดยยืนยันว่า การติดตาม การลงประชามติ จะไม่สร้างความวุ่นวาย หรือสร้างความขัดแย้ง รวมถึงการลงพื้นที่ เพื่อคอยเฝ้าระวัง จะไม่มีรูปแบบของการชี้นำเพื่อให้ผลการลงประชามติออกมาในทางหนึ่งทางใด แต่เชื่อว่า การลงประชามติครั้งนี้ จะมีกลุ่มคนที่ทำผิดกฏหมายประชามติเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในฝากฝั่งของคนที่ต้องการให้ผลประชามติผ่านความเห็นชอบจากประชาชน

กสม.จี้คสช.ผ่อนสถานการณ์อีก

ข่าวสดออนไลน์ รายงานด้วยว่า อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง กล่าวกรณีคสช.จะยกเลิกคำสั่งที่เคยสั่งห้ามบุคคลเดินทางออกนอกประเทศยกเว้นบุคคลที่มีคดีติดตัว ว่า ส่วนตัวถือเป็นสัญญาณที่ดีในการที่จะยกเลิกการจำกัดสิทธิเสรีภาพการเดินทางของบุคคล นับเป็นแนวทางที่ดีมากและหวังว่าจะนำมาสู่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้สิ่งที่ประชาชนร้องเรียนมากก็คือประเด็นสิทธิการแสดงความคิดเห็นโดยเฉพาะช่วงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านทั่วไปยังไม่มีความเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลควรผ่อนปรนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ถกแถลงร่างรัฐธรรมนูญเพราะจะเป็นการให้ความรู้กับประชาชน

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์บอกพร้อมเลื่อนประชามติ หากศาลรธน.ตัดสินกม.ประชามติขัดรัฐธรรมนูญ

0
0

2 มิ.ย.2559 จากกรณีที่วานนี้ (1 มิ.ย.59) ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติเอกฉันท์เห็นว่า มาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเนื้อหาในวรรคสองมีการบัญญัติคำว่า "รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย" นั้น มีความไม่ชัดเจนและคลุมเครือ นำไปสู่ความสับสนของประชาชน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และอาจทำให้การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยดุลพินิจของตัวเอง จนทำให้กระทบสิทธิของประชาชนที่อาจนำไปสู่ความเสียหาย จึงเห็นควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เฉพาะมาตรา 61 วรรคสอง ส่วนข้อความในมาตรา 61 วรรคสาม และวรรคสี่ นั้นที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่องของบทกำหนดโทษ ซึ่งเป็นดุลพินิจของผู้ออกกฎหมาย และเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณา ทั้งนี้คาดว่าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ภายในสัปดาห์นี้ โดยคำร้องดังกล่าวเป็นของ จอน อึ๊งภากรณ์  ผู้อำนวยการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

ประยุทธ์บอกพร้อมเลื่อนประชามติ 7 ส.ค. 

วันนี้ (2 มิ.ย.59) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า ขึ้นอยู่กับผู้ตรวจการแผ่นดิน ผลออกมาว่าอย่างไรก็ตามนั้น ถ้ามันขัดแย้งต้องเลื่อนการลงประชามติออกไปก็ต้องเลื่อน ไม่ได้ว่าอะไร แต่ถ้าเลื่อนอย่ามาบอกว่าตนเป็นคนสั่งเลื่อนแล้วกัน

ต่อกรณีคำถามที่ว่าต้องรอคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญก่อนใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขาไปฟ้องแล้วว่าอย่างไร ต้องถามศาลที่จะเป็นผู้พิจารณาซึ่งไม่รู้ว่าจะพิจารณาเมื่อไร ถึงตอนนั้นถึงเวลาค่อยว่ากันจะเอาอย่างไร ทำไมต้องมาถามดักหน้าดักหลังอย่างนี้ มันก็จะไม่ผ่านกันพอดีทุกเรื่อง ถ้าเขาไปฟ้องแล้วศาลตัดสินว่าขัดรัฐธรรมนูญก็ต้องเลื่อนการทำประชามติออกไป ไม่ใช่ตนเป็นคนสั่งเลื่อน นี่คือข้อแรก และข้อ 2 ศาลจะพิจารณาเมื่อไร ทันก่อนวันที่ 7 สิงหาคม หรือไม่ ถ้าทันแล้วผิดก็ต้องหยุด ถ้าไม่ผิดก็ทำต่อ มันก็มีคำตอบแค่นี้ แต่อยู่ดีๆ จะให้ตนไปสั่งเลื่อน โดยที่ยังไม่เกิดอะไรสักอย่าง แค่มีคนไปฟ้องมันไม่ได้ แบบนั้นตนไม่ใช้
 
“ถ้าอย่างนั้นการจำนำข้าวผมก็สั่งเลยสิ ไม่ต้องรอศาลให้ผมใช้มาตรา 44 เลยสิจะได้ติดคุกกันให้หมดเอาไหม ตอนนี้ให้สู้คดีกันอยู่ก็สู้ไปสิ ต้องเข้าใจในภาพรวมด้วย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 

ประวิตรโยน กกต.ตอบ

วันเดียวกัน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า 
 ต้องไปถาม กกต. อย่ามาถามตน เพราะกกต.เป็นผู้บังคับใช้ ส่วนที่หวั่นเกรงว่ามาตราดังกล่าวจะสุ่มเสี่ยงต่อความขัดแย้งนั้น ตนยืนยันว่าไม่มีความขัดแย้ง หากกกต.ชี้แจงออกมาเป็นอย่างไรต้องว่าไปตามนั้น เพราะเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการในการทำประชามติ เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วง
 
ต่อกรณีคำถามถึงความมั่นใจหรือไม่ที่จะคุมสถานการณ์ได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า “มั่นใจสิ ถ้าไม่มั่นใจผมจะมายืนตรงนี้ได้หรือ คิดว่าทุกคนพูดกันรู้เรื่อง มีน้อยคนที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เป็นไรหรอก ทุกอย่างต้องทำตามโรดแมป”
 

ปธ.สนช.ชี้หากเลื่อนประชามติ ประยุทธ์ ใช้ ม.44 ดำเนินการได้

พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณีนี้ด้วยว่า การพิจารณาพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติของ สนช. ได้ดำเนินการอย่างดีที่สุดเพื่อให้การออกเสียงประชามติมีความเป็นธรรม และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  หากศาลรัฐธรรมนูญรับที่จะวินิจฉัยว่ามาตรา 61 วรรค 2 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สนช. กกต. และ คสช. ต้องติดตามดูผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ซึ่งหากผลวินิจฉัยไม่กระทบกับการออกเสียงประชามติ ก็เดินหน้าทุกอย่างตามโรดแมป  แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 61 วรรค 2  ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กกต. ก็ควรใช้เหตุความวุ่นวายในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 57 จะเป็นบทเรียนและควรเตรียมช่องทางแก้ปัญหา  ซึ่งหากต้องเลื่อนการออกเสียงประชามติก็เป็นหน้าที่ของ กกต. พิจารณาหรือนายกรัฐมนตรีจะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ก็สามารถดำเนินการได้เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย  อย่างไรก็ตาม สนช. จะรอผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  โดยจะยังไม่แก้ไขกฎหมายประชามติล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหา เพราะมาตราดังกล่าวยังมีความสำคัญต่อสถานการณ์บ้านเมือง
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยดิจิทัลทีวีห่วง ถ่ายทอดสดโอลิมปิกไม่ทั่วถึง

0
0

2 มิ.ย. 2559 สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยความคืบหน้าการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในการประชุม กสท. ครั้งที่ 13/59 วันที่ 27 เม.ย. 59 ได้เห็นชอบการสนับสนุนภายใต้วงเงิน 150 ล้านบาท ตามที่โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ได้ทำหนังสือขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กสทช. ต่อกองทุน กทปส. ซึ่งตนและกรรมการบางท่านได้งดออกความเห็น พร้อมกันนั้นในที่ประชุมได้ถกกันในหลายประเด็นเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและการวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่รอบคอบเพียงพอ รวมทั้งประเด็นการสนับสนุนที่อาจถูกมองว่าเป็นการเอื้อต่อผู้ประกอบการรายเดิมเป็นการเฉพาะ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 59 ทรท. ได้ทำหนังสือแจ้ง กสท. ในการประชุมครั้งที่ 15/59 เรื่องขอยกเลิกประเด็นการเชื่อมต่อสัญญาณการอนุญาตให้สถานีโทรทัศน์ที่ไม่ใช่สมาชิก ทรท. ร่วมถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากหลีกเลี่ยงปัญหาด้านลิขสิทธิ์ จึงทำให้ กสทช. จะได้รับสิทธิประโยชน์ เฉพาะการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านการรับชมดิจิตอลทีวีในห้วงการถ่ายทอดสดการแข่งขันรวม 537.30 นาที หรือ 2.30 นาทีต่อหนึ่งชั่วโมงการถ่ายทอดสด และสามารถให้สถานีโทรทัศน์ร่วมรายงานข่าวการแข่งขันได้เช่นเดียวกับสมาชิก ทรท. และกรมประชาสัมพันธ์ โดย ทรท. จะตั้งศูนย์ถ่ายทอดสดที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์สามารถส่งเจ้าหน้าที่และนำอุปกรณ์ไปเชื่อมต่อและผลิตการรายงานข่าวการแข่งขันได้ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โดยจะไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณที่ถ่ายทอดสดจากสมาชิก ทรท.และกรมประชาสัมพันธ์ในลักษณะ Must Carry ตามที่ได้เคยยื่นเสนอโครงการและ กสท.พิจารณาอนุมัติไปแล้ว

สุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ดีมีผู้ประกอบการดิจิตอลทีวี ได้มีข้อกังวลบางประการโดยได้ทำหนังสือพร้อมข้อเสนอแนะและข้อสังเกตต่อการใช้งบประมาณกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) กับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิก ว่า วัตถุประสงค์ กองทุน กทปส.คือการส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพรายการและผู้ชมหันมาชมโทรทัศน์ดิจิตอลมากขึ้น โดยนำงบประมาณจัดสรรมาจากวงเงินค่าใบอนุญาตของสถานีโทรทัศน์ดิจิตอล ทั้งนี้ สมาชิก ทรท. ได้แก่ ช่อง 3 5 7 9 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ต่างจากผู้ขอรับใบอนุญาตโทรทัศน์ดิจิตอลแม้จะมีชื่อคล้ายกัน ซึ่งการสนับสนุน หรือการใช้เงินจากกองทุน กทปส. น่าจะให้สิทธิระบบดิจิตอลเพื่อการถ่ายทอดสดโอลิมปิกในสัดส่วนการออกอากาศถ่ายทอดสดกีฬามากกว่าระบบแอนะล็อก รวมทั้งให้สิทธิถ่ายทอดสดกีฬาที่ทีมชาติไทยเข้าแข่งขันทุกประเภทแก่สถานีโทรทัศน์ดิจิตอล และสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศในระบบดาวเทียม ซึ่งเป็น Must Carry ตามกฎของ กสทช. ตลอดจนการได้สิทธิ ID Card ให้ทีมข่าวกีฬาไปทำข่าวโดยใช้ Facility ของศูนย์ IBC รวมทั้งให้ กสทช. นำเวลาที่ได้รับจัดสรรมาให้เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับดิจิตอลทีวี เพื่อให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับดิจิตอลทีวีให้มากที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกองทุนฯ และการเปลี่ยนผ่านดิจิตอลทีวี ซึ่งตนได้นำข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของกลุ่มผู้ประกอบการดิจิตอลทีวีส่งถึงสำนักงานเพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่อไป 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนรุ่นใหม่ ขอศาล รธน. เห็นเสรีภาพประชาชนเป็นสำคัญ จี้รับคำร้อง พ.ร.บ.ประชามติ

0
0

เครือข่ายคนรุ่นใหม่ออกแถลงการณ์ขอศาลรัฐธรรมนูญรับพิจจารณา คำร้องเรื่อง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ของผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมขอให้ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายยุติการใช้กฎหมายดังกล่าวจนกว่าการพิจจารณาแล้วเสร็จ

2 มิ.ย. 2559 หลังจากเมื่อวานที่ผ่านมา ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาคำร้องของ จอน อึ๊งภากรณ์  ผู้อำนวยการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ที่ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา  61 วรรคสอง ,สามและสี่ ขัดรัฐธรรมนูญ 2557 (ฉบับชั่วคราว) หรือไม่ ซึ่งในที่สุดมีมติเอกฉันท์ว่า มาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อความในมาตรา 61 วรรคสาม และวรรคสี่ นั้นที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่องของบทกำหนดโทษ ซึ่งเป็นดุลพินิจของผู้ออกกฎหมาย และเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณา และเตรียมการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญภายในสัปดาห์นี้

ต่อกรณีดังกล่าว กลุ่มเยาวชนนักกิจกรรม ซึ่งรวมตัวกันในนามเครือข่ายคนรุ่นใหม่ได้ออกแถลงการณ์ โดยมีใจความว่า ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจจารณา คำร้องเรื่อง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ของผู้ตรวจการแผ่นดิน บนข้อเท็จจริงและหลักการทางกฎหมายโดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ และขอให้ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายยุติการใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวที่ยังเป็นปัญหาและอยู่ในกระบวนการพิจารณา รวมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการใช้คำสั่งหรือกฎหมายอื่นซึ่งจะขัดขวางการแสดงออกและการส่วนร่วมอย่างเต็มทีของประชาชน เพื่อสร้างบรรยากาศในการลงประชามติอย่างเป็นประชาธิปไตยและบริสุทธิ์ยุติธรรม

ขณะเดียวกัน เมื่อเวลา 11.00น. กลุ่มเสียงจากคนหนุ่มสาว นำโดยนันทพงศ์ ปานมาศ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เข้ายื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต) เพื่อเรียกร้องให้กกต.เปิดพื้นที่ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีตัวแทนจากกกต.มารับหนังสือ

เนื้อหาสำคัญที่ทางกลุ่มเรียกร้องได้แก่ ขอให้กกต.แก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 เพื่อให้ประชนได้แสดงความเห็นต่อรธน. ขอให้กกต.กำหนดกรอบให้ชัดเจนว่าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและความคิดเห็นได้มากน้อยเพียงใดสำหรับการทำประชามติครั้งนี้ และการอภิปรายแสดงความเห็นต่อรธน.ไม่ควรผูกขาดอยู่กับ สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรสื่อ ควรให้ทุกภาคส่วนดำเนินการได้เท่าเทียมกัน และขอให้เปิดพื้นที่สื่อโทรทัศน์สำหรับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐธรรมนูญนี้ด้วย นอกจากนี้ทางกลุ่มขอเชิญชวนประชาชน นักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำประชามติ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ด้วย

00000

แถลงการณ์ขอให้มีการรณรงค์การออกเสียงประชามติอย่างเสรี

ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีการประกาศให้จัดออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อให้ประชาชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศแสดงเจตจำนงต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งกระบวนการออกเสียงประชามติมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างเสมอหน้า อย่างไรก็ตามนับแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าบริหารประเทศ ปรากฏว่าการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนหลายกิจกรรมถูกแทรกแซงโดยเจ้าหน้ารัฐ โดยอ้างถึงคำส่งหัวหน้า คสช ฉบับ 3/2558 และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน

นอกจากนี้ หลังการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ซึ่งมีเนื้อหาในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกหนึ่งฉบับ โดยเฉพาะมาตรา 61 วรรคสอง ที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดโดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและคลุมเครือ เช่นคำว่า "รุนแรง" "ก้าวร้าว" "ปลุกระดม" ซึ่งเป็นคำที่ไม่เคยมีนิยามอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน ทำให้ประชาชนอาจสับสนและไม่อาจแน่ใจได้ว่าการแสดงออกอย่างใดจะผิดหรือไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างยิ่ง และยิ่งทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความชอบธรรมน้อยลงไปอีก เพราะขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ว่า มาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  เนื่องจากเนื้อหามีความไม่ชัดเจนและคลุมเครือ ซึ่งจะนำไปสู่ความสับสนของประชาชน  ทำให้ประชาชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และอาจทำให้การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เป็นการดำเนินการโดยใช้ดุลพินิจของปัจเจกบุคคล จนทำให้กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ในสัปดาห์หน้า

เพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นการแสดงเจตจำนงตามหลักสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ เราในนามของเครือข่ายคนรุ่นใหม่ห่วงใยการลงประชามติ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องเรื่อง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ของผู้ตรวจการแผ่นดิน บนข้อเท็จจริงและหลักการทางกฎหมายโดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ และขอให้ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายยุติการใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวที่ยังเป็นปัญหาและอยู่ในกระบวนการพิจารณา รวมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการใช้คำสั่งหรือกฎหมายอื่นซึ่งจะขัดขวางการแสดงออกและการส่วนร่วมอย่างเต็มทีของประชาชน เพื่อสร้างบรรยากาศในการลงประชามติอย่างเป็นประชาธิปไตยและบริสุทธิ์ยุติธรรม สุดท้ายในช่วงระยะเวลาก่อนถึงวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญทางเครือข่ายขอเชิญชวนประชาชนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ออกมารณรงค์และแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเสรีและเสมอภาคกัน

1 มิถุนายน 2559

เครือข่ายคนรุ่นใหม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกาตัดสินจำคุก-ปรับ 'จตุพร' คดีหมิ่นอภิสิทธิ์ รอการลงโทษ 2 ปี

0
0

ศาลฎีกาตัดสินจำคุก-ปรับ 'จตุพร' คดีหมิ่นอภิสิทธิ์ กรณีแถลงข่าวปี 52 โดยโทษจำคุกรอการลงโทษ 2 ปี ด้าน แกนนำ นปช. เผยตรวจสอบเสื้อแดงชู 3 นิ้วในธรรมกาย ไม่มีในระบบการ์ดแดง ชี้เป็นการจัดฉาก ปมพุทธะอิสระโพสต์เสื้อแดงถือกระเป๋าใหญ่เข้าวัด

 จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.

2 มิ.ย. 2559 จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. เดินทางไปศาลอาญา รัชดา เพื่อฟังคำตัดสินขั้นฎีกาในคดีหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา กรณีที่อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง จตุพร เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา กรณีเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ปี 52 จตุพร แถลงข่าวที่พรรคเพื่อไทย กล่าวหา อภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี กระทำการมิบังควรตีตนเสมอพระเจ้าแผ่นดิน โดยนั่งเก้าอี้เทียบเสมอพระเจ้าแผ่นดินในการถวายรายงานราชการ

โดยศาลชั้นฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น มีความผิดจริงตามฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 57 จำคุก  จตุพร 6 เดือน ปรับ 5 หมื่นบาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาลงในหนังสือพิมพ์เอเอสทีวี-ผู้จัดการรายวัน และหนังสือพิมพ์มติชน เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน
 
ด้าน จตุพร กล่าวยอมรับคำตัดสินของศาล
 

เผยตรวจสอบเสื้อแดงชู 3 นิ้วในธรรมกาย ไม่มีในระบบการ์ดแดง

จตุพร ยังกล่าวในรายการ มองไกล วันนี้ด้วยว่า ภาพชายฉกรรจ์อ้างเป็นการ์ดเสื้อแดงในวัดพระธรรมกายเป็นการจงใจ จัดฉากขึ้นมา เพื่อทำให้เข้าใจผิดว่า วัดเป็นแหล่งส่องสุมกองกำลัง ซึ่งรอรับเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในอนาคต

จตุพร ระบุว่า เมื่อพุทธะอิสระโพสต์มีชายฉกรรจ์พร้อมกระเป๋าใบใหญ่เข้าไปในวัดพระธรรมกาย จากนั้นมีภาพชายใส่ชุดขาวชูสามนิ้ว อ้างเป็นฝ่ายรักษาความปลอดภัย หรือการ์ดเสื้อแดงอยู่ในวัดพระธรรมกาย ขณะเดียวกัน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รีบตรวจสอบชายในภาพเช่นกัน ดังนั้น ตนขอให้ชายคนนี้แสดงตัวออกมาให้ชัดเจน เพราะนปช.ได้ตรวจสอบรายชื่อแล้ว ไม่มีในสาระบบของการ์ดเสื้อแดง ดังนั้น เรื่องนี้จึงไม่ธรรมดาแน่นอ

จตุพร ยังกล่าวด้วยว่า ตนต้องการรู้เช่นกันว่า เป็นใครจึงมาถ่ายรูปในวัด โดยจงใจทำลายความน่าเชื่อถือของวัดพระธรรมกาย ส่วนการติดลวดหนามตามรั้วของหมู่บ้าน แล้วฝ่ายตรงข้ามนำมาเล่นงานใส่ร้ายนั้น ล้วนเป็นเกมเดิมๆ ของพวกเชื้อชั่วไม่ย่อมตาย วัดพระธรรมกายต้องเพิ่มมาตรการตรวจสอบให้มากขึ้น ควรติดกล้องไว้ทุกจุดสำคัญ เพราะต้องป้องกันการใส่ร้าย ซึ่งพวกตนเคยเจอมาแล้วในเหตุการณ์ปี 2553

ประธาน นปช. กล่าวอีกว่า การพยายามใส่ร้ายนั้น เริ่มปรากฏขึ้นจากฝ่ายพุทธะอิสระเริ่มขึ้นก่อน โดยอ้างว่า มีชายเสื้อแดงขนกระเป๋าใบใหญ่เข้าวัดพระธรรมกาย ถัดมาแบบต่อเนื่องกัน ได้มีภาพการ์ดเสื้อแดง ถ่ายรูปชู 3 นิ้วอีก ซึ่งน่าแปลกใจมากที่บังเอิญมาสอดคล้องกันได้ ตนจึงขอชายผู้อ้างตัวนั้นได้แสดงตัวออกมา และดีเอสไอต้องไปจับตัวมาสอบถามว่า คุณเป็นใคร ทำไมไปถ่ายรูปชูสามนิ้วแบบโง่ๆ และใครสั่งให้ไปทำ พยายามสร้างเรื่องให้วัดพระธรรมกายเสื่อมเสีย ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นแหล่งส่องสุ่มกำลัง

ดังนั้น ไม่ใช่ความบังเอิญ หรือเป็นความฉลาดของพวกคนแก๊งนี้ แต่จงใจจะยัดเรื่องให้ จึงขอให้วัดพระธรรมกายป้องกันตัวให้มาก ไม่เช่นนั้นจะถูกจัดฉาก สร้างสถานการณ์เพื่อนำไปสู่การทำลายศรัทธา ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จในการโยนความผิดมาแล้ว ทั้งการยัดอาวุธ ซุกยาเสพติด แล้วมีถุงยางอนามัยใช้แล้ววางเกลื่อนกราด สิ่งนี้จึงเป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้น ตั้งแต่วันนัดพระธัมมชโยมารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.คลองหลวง แต่ไม่เดินทางเข้าไปแจ้งข้อหาในวัด ถ้าทำเช่นนั้น ทุกอย่างจบเรื่องอย่างง่ายดายไปแล้ว
 

ชี้เป็นการจัดฉาก ปมพุทธะอิสระโพสต์เสื้อแดงถือกระเป๋าใหญ่เข้าธรรมกาย

"ผมเรียนอีกครั้งหนึ่งว่า เรื่องนี้ถ้าปรากฏมีเพียงภาพนี้ เราต้องประเมินกันว่า โง่หรือจงใจ แต่ทันที่ที่พุทธอิสระโพสต์ว่า ชายฉกรรจ์เสื้อแดงถือกระเป๋าใหญ่เข้าวัดพระธรรมกายนั้น ผมรู้ทันทีว่า นี่มันมีงานแล้ว และดีเอสไอขานรับเข้าไปตรวจสอบ จึงเป็นลักษณะแบ่งงานกันทำ มันไม่บังเอิญกันไปหน่อยหรือ เมื่อการจัดฉากต้นทางเป็นเช่นนี้แล้ว เรารู้ได้เลยว่า ปลายทางจะเป็นอย่างไร ผมขอบอกไปยังดีเอสไอว่า คุณเลิกความคิดนี้เถิด ส่วนพุทธะอิสระ มันเกินความปกติแล้ว เพราะไม่มีใครเห็นภาพชายเสื้อแดงขนกระเป๋าใบใหญ่เข้าวัด จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดาแล้ว แต่เป็นการจงใจจะจัดฉาก เพื่อรองรับเหตุการณ์ในวันหน้า และการเตรียมกำลังตำรวจ 2,350 นาย ที่จะเตรียมการในวันหน้านั้น ไม่ได้เพียงต้องการตัวพระธัมมชโยมารับทราบของกล่าวหา แต่ถ้าติดตามสถานการณ์บ้านเมืองแล้ว ย่อมคิดได้ทันทีว่า ใครกำลังคิดอ่านอะไรกัน" จตุพร กล่าว

จตุพร กล่าวว่า วันนี้วัดพระธรรมกายกำลังถูกจัดฉาก สร้างสถานการณ์ให้เสื่อมเสีย โดยมีการจัดฉากขึ้นจากกลุ่มคนที่ทำเป็นขบวนการ และต่อไปเชื่อว่า คงไปสู่การยัดข้อหาให้วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยมุ่งหวังทำลายสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (สมเด็จช่วง) เพราะกลุ่มคนพวกนี้ต้องการทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง และไม่ต้องการให้เรื่องจบ 

จตุพร กล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับวัดพระธรรมกาย ตนเชื่อว่า เป็นการสั่นสะเทือนพุทธศาสนา โดยฝ่ายอาณาจักรได้สร้างปัญหาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายศาสนจักร เมื่อมีข่าวจะมีการแก้ไข ม.7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ปี 2505 ฉบับแก้ไขเพิ่มปี 2535 ในส่วนที่มาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งสร้างผลกระทบต่อการปกครองของสงฆ์ จึงไม่ใช่เรื่องปกติ แต่เป็นคนอคติต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสร้างปัญหาให้วงการสงฆ์มากขึ้น
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.ส่งสำนวนคดี 'อรรถจักร์-สมชาย ปมแถลง 'มหาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร' ให้อัยการศาลทหาร

0
0

สองนักวิชาการเชียงใหม่เตรียมตัวขึ้นศาลทหาร หลังตำรวจเสนอสำนวนต่ออัยการศาลทหาร คณาจารย์มช. รุดเยี่ยมนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินย้ำปฏิรูปที่ดินไม่เกิดขึ้นใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

 
 
ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และ รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล
 
2 มิ.ย. 2559  จากกรณีที่ “เครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย” ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา เรื่อง มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร ยืนยันในเสรีภาพที่จะแสวงหาความรู้ในการเรียนการสอน แต่คณาจารย์ที่ร่วมกันแถลงกลับถูกออกหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในข้อหา “ร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  (รายละเอียดเพิ่มเติม)
 
ล่าสุด บีบีซีไทย - BBC Thaiรายงานว่า เช้าวันนี้ (2 มิ.ย.59) ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 ค่ายกาวิละ เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำสำนวนการสอบสวนส่งให้กับอัยการของศาลทหารในคดีที่เจ้าหน้าที่เสนอให้สั่งฟ้องนักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สองคน คือ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และ รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล ผู้ต้องหาคดีดังกล่าว ซึ่งอัยการได้นัดฟังการตัดสินใจว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ในวันที่ 6 ก.ค.นี้ 
 
โดยทีมทนายความของนักวิชาการทั้งคู่ระบุว่า ในการเตรียมตัวสู้คดี ทนายความได้นำเสนอเอกสารหลักฐานไปไม่น้อย รวมทั้งเสนอชื่อพยานไปสี่ปากเป็นนักวิชาการทั้งสิ้น 
 
อรรถจักร์ และ สมชาย กล่าวกับผู้สื่อข่าวบีบีซีไทยภายหลังว่า ในห้วงเวลาที่ผ่านมาตลอดจนในการพบปะกันหนนี้ได้มีความพยายามที่จะไกล่เกลี่ย เนื่องจากคำสั่ง คสช.เองก็เปิดให้ทำได้ โดยไกล่เกลี่ยในรูปแบบจะให้ลงนามในบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยู ซึ่งไม่ต้องการลงชื่อ เนื่องจากเอ็มโอยูมีเนื้อหาให้ยอมรับว่าสิ่งที่ได้ทำไปคือการออกแถลงการณ์เรื่องเสรีภาพในการแสดงออกเรื่อง “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” เมื่อ 31 ต.ค.2558 เป็นความผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ถือว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน แต่ทั้งสองคนต่างยืนยันว่า ไม่ว่าเนื้อหาของแถลงการณ์ในวันนั้น หรือการอ่านแถลงการณ์ไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง เป็นการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการอันเป็นเรื่องปกติที่นักวิชาการพึงทำ และไม่มีท่วงทำนองยั่วยุอย่างใด จึงไม่เข้าข่ายความผิดแม้จะยึดตามเนื้อหาของคำสั่ง คสช.เอง 
 
สมชาย และ อรรถจักร์ ระบุว่า ในการเตรียมตัวต่อสู้คดีนี้ ตนยึดหลักว่าสิ่งที่ทำไม่ได้เป็นความผิด ไม่ว่าจะโดยบรรทัดฐานในยามปกติ หรือในอารยะประเทศ “หากว่าสิ่งที่เราทำโดยบริสุทธิ์ใจ ถ้ามันกลายเป็นความผิด เราสองคนก็จะยอมรับ แล้วสังคมก็จะตัดสินและตั้งคำถามกันเอง” อรรถจักร์ กล่าว 
 
ส่วน สมชายระบุว่า ขณะนี้มีประชาชนที่แสดงออก เคลื่อนไหว และถูกลงโทษทั้งที่ไม่สมควรถือเป็นความผิดเป็นจำนวนมาก ในฐานะที่ตนเป็นนักวิชาการถือว่ามีสถานะที่พิเศษมากกว่าคนอื่นอยู่แล้ว “สิ่งที่น่ากังวลคือ ถ้าคนที่อยู่ในสถานะแบบนี้ยังโดน คนที่แย่กว่าเราน่าจะโดนมาก เราเองอาจจะกังวลบ้าง แต่ที่น่าจะกังวลมากกว่าคือเรื่องเสรีภาพ เพราะส่วนหนึ่งที่เราพยายามสู้คือ เราพยายามจะเปิดช่องให้การแสดงความเห็นมันเกิดขึ้นได้” 
 
สมชาย กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีเพื่อนนักวิชาการด้วยกันอีก 6 คนที่ร่วมอ่านแถลงการณ์ด้วย แต่พวกเขาได้ลงนามในเอ็มโอยูไปกับเจ้าหน้าที่ สำหรับการทำบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยูกับเจ้าหน้าที่มักจะมีเงื่อนไขพ่วงเข้ามาด้วย เช่นห้ามการเคลื่อนไหวหรือแสดงออกทางการเมือง ซึ่งคนส่วนหนึ่งลงนามในเอ็มโอยูแต่ไม่คิดว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรม ในขณะที่คนอีกส่วนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีความอ่อนไหวต่อแรงกดดัน ไม่เหมือนคนที่อยู่ในพื้นที่ที่สื่อให้ความสนใจมากอย่างเช่นในกรุงเทพฯ
 

คณาจารย์มช. เยี่ยมนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินย้ำปฏิรูปที่ดินไม่เกิดขึ้นใต้การปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ขณะที่ สำนักข่าวประชาธรรมรายงานว่า วานนี้ (1 มิ.ย. 59) ที่เรือนจำลำพูน คณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ - มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินทางมาเยี่ยมแกนนำนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินทำกินชาวบ้านบ้านแพะใต้ ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน ที่ถูกตัดสินจำคุก7 คน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมาจากกรณีพิพาทปัญหาที่ดินทำกินกับนายทุนซึ่งต่อสู้ยืดเยื้อมายาวนานถึง 19 ปี
 
สำหรับกลุ่มคณาจารย์มช.นำโดย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ ศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยอาจารย์และนักศึกษาร่วม 10 คน เดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจกับนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินทำกินจังหวัดลำพูนที่ถูกตัดสินใจจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา ได้แก่ 1.นายสุแก้ว ฟุงฟู 2.นายพิภพ หารุคำจา 3.นายสองเมือง โปยาพันธ์ 4.นายวัลลภ ยาวิระ 5.นายวัลลภ ไววา 6.นางคำ ซางเลง 7.นางบัวไร ซางเลง การเดินทางมาเยี่ยมครั้งนี้เพื่อต้องการให้กำลังใจนักต่อสู้ทั้ง 7 คน และอาจหาแนวทางช่วยเหลือ เยียวยา ตลอดจนถึงอาจต้องมีการทบทวนปัญหาเรื่องที่ดินทำกินที่กำลังเป็นปัญหาทั่วประเทศ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศการเยี่ยมพบว่า เมื่อนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินทำกินบ้านแพะใต้ทั้ง 7 คน พบคณาจารย์ ทนายความ และนักพัฒนาเอกชน ที่ต่อสู้ด้วยกันมาตลอดถึงกับตาแดง น้ำตาไหล บางคนถึงกับร้องไห้ โดยนักต่อสู้รายหนึ่งกล่าวฝากถึงพี่น้องที่ต่อสู้ด้วยกันมาให้ทำหน้าที่ข้างหลังต่อจากนี้ให้ดีที่สุด อย่าให้เป้าหมายหรืออุดมการณ์เพื่อความเป็นธรรมต่อคนจนสูญหาย
 
สมชาย กล่าวภายหลังว่า หากพูดถึงปัญหาเรื่องสิทธิที่ทำกินของชาวบ้าน เป็นปัญหาใหญ่ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา สิ่งสำคัญที่สุด คือ โครงสร้างของสังคมไทยขณะนี้ อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงยากมากที่จะทำให้เกิดการแก้ไขเชิงโครงสร้างได้ ซึ่งเท่าที่สังเกตปีที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องที่ดินชาวบ้านถูกนำมาดำเนินคดีเพิ่มขึ้น ชาวบ้านถูกจับกุมในหลายพื้นที่แต่เรื่องกลับเงียบมาก
 
“กรณีบ้านแพะใต้ จ.ลำพูน เป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน เแต่เราไม่มีความเข้มแข็งของสังคมที่จะผลักเรื่องนี้ ผมคิดว่าเราควรจะได้เห็นขบวนการต่อสู้ การเคลื่อนไหวผลักดันปัญหาที่มันกว้างขวางกว่านี้ แต่การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นไม่ได้ในสถานการณ์แบบนี้ เพราะการปฏิรูปมันหมายความว่าต้องเกิดการปรับโครงสร้างสถาบันนั้น ๆ ซึ่งมันจะต้องกระทบกับคนที่อยู่ในนั้น ฉะนั้น เมื่อไหร่ที่เราพูดถึงการปฏิรูป มันต้องการแรงผลักจากทุกฝ่าย ซึ่งไม่ใช่แรงผลักจากผู้มีอำนาจอย่างเดียว แต่มันต้องการแรงผลักดันของสังคม เช่น การออกภาษีที่ดิน ผมพนันได้เลย มันไม่ออกในรัฐบาลชุดนี้แน่ เพราะมันกระทบกับคนมีอำนาจ ซึ่งคนมีอำนาจก็อยู่ข้าง ๆ รัฐบาลนั้นแหละ”
 
“ส่วนการปฏิรูปมาตลอดในช่วงสองปีที่ผ่านมา มันเป็นเพียงคำใหญ่ ๆ ที่ถูกนำเสนอในเชิงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้อำนาจทางการเมืองในขณะนี้เท่านั้น การปฏิรูปไม่เกิดขึ้นตอนนี้ เพราะเราไม่มีแรงผลักจากสังคม และผมไม่เชื่อเรื่องการล็อบบี้” สมชาย กล่าวทิ้งท้าย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อุทธรณ์ยกฟ้องสนธิปราศรัยพาดพิงทักษิณปี 51-ถือว่าติชมด้วยความเป็นธรรม

0
0

ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีหมิ่นประมาท ที่สนธิ ลิ้มทองกุล ปราศรัยปี 51 ว่าทักษิณ ชินวัตร ซื้อรากหญ้า ยึดตำรวจ จ่ายเงินทหารบางคนเพื่อทำให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ ศาลพิเคราะห์ว่าแม้จะเป็นข้อความหมิ่นประมาท แต่บุคคลใกล้ชิดและบริวารโจทก์อย่าง โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เคยถูกดำเนินคดี ม.112 จึงเห็นว่าสนธิ ติชมด้วยความเป็นธรรมในเรื่องบ้านเมือง-กิจการสาธารณะที่บุคคลทั่วไปทำได้จึงให้ยกฟ้อง

สนธิ ลิ้มทองกุล ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเดือนธันวาคมปี 2558 (แฟ้มภาพ)

2 มิ.ย. 2559 - คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ และ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โจทก์ร่วม ยื่นฟ้อง บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด โดยนายพชร สมุทวณิช และนายขุนทอง ลอเสรีวานิช กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กรรมการผู้มีอำนาจ และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลย ที่ 1-3 ฐานร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียงหรือภาพ

กรณีเกิดเหตุเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2551 เวลากลางคืน นายสนธิ ขณะนั้นเป็นแกนนำ พธม. จำเลยที่ 3 ได้ขึ้นปราศรัยบริเวณทำเนียบรัฐบาล ผ่านเครื่องขยายเสียงให้ผู้ชุมนุมจำนวนมากฟังทำนองว่าทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีจาบจ้วงสถาบัน และพยายามซื้อรากหญ้า ยึดตำรวจและเอาเงินไปจ่ายให้ทหารบางคนเพื่อให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ ทำลายรากฐานของกษัตริย์ โดยมีจำเลยที่ 1-2 เป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงผ่านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี และเว็บไซต์ผู้จัดการ ซึ่งข้อความที่นายสนธิกล่าวทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้เสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง เหตุเกิดที่แขวงและเขตดุสิต กทม.และทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรไทย จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ

โดนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ระบุว่าพฤติการณ์ของ นายสนธิ จำเลยที่ 3 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ในส่วนของบริษัท ไทยเดย์ฯ จำเลยที่ 1 และ บริษัท เอเอสทีวีฯ จำเลยที่ 2 นั้นพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยจะต้องร่วมรับผิดชอบกับการปราศรัยของนายสนธิ จำเลยที่ 3 ด้วย อีกทั้งเมื่อศาลพิพากษาว่าการกระทำของนายสนธิ จำเลยที่ 3 ไม่เป็นความผิด บริษัท ไทยเดย์ฯ จำเลยที่ 1 และ บริษัท เอเอสทีวีฯ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดด้วย โดยอัยการโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลลงโทษตามกฎหมายนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ต่อมาอัยการโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลลงโทษตามกฎหมาย โดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันนี้ มติชนออนไลน์รายงานว่าศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า ประเด็นข้อความที่นายสนธิ จำเลยที่ 3 กล่าวว่า “วันนี้ผมไม่รู้ว่าสื่อมวลชน นักคอลัมนิสต์ คนที่ทำงานโทรทัศน์จะโง่ หรือว่าแกล้งโง่ที่ยังดูไม่ออกอีกหรือว่ารัฐบาลชุดนี้ ภายใต้บงการของนายทักษิณ ชินวัตร …” นั้นแม้จะเป็นข้อความหมิ่นประมาท ที่ให้โจทก์ร่วมเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ฝ่ายจำเลยนำสืบนั้นปรากฏว่า มีบุคคลอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวพันร่วมกับโจทก์ร่วมในทางการเมือง บุคคลใกล้ชิดและบริวารโจทก์ร่วม เช่น นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เคยถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาความผิดหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามมาตรา 112 จึงเห็นว่านายสนธิ จำเลยที่ 3 มีความเชื่อหรือสงสัยว่าโจทก์ร่วมอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อันเป็นการแสดงความเห็น หรือ กล่าวติชม ด้วยความเป็นธรรมในเรื่องบ้านเมืองและกิจการสาธารณะ ที่บุคคลและประชาชนทั่วไปสามารถกระทำได้ การกระทำของนายสนธิ จำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดังนั้นบริษัทไทยเดย์ฯ จำเลยที่ 1 และ บริษัทเอเอสทีวีฯ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดด้วย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยพิพากษายืนให้ยกฟ้อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นัดฟังคำตัดสินคดี 'ประชาไท' ฟ้องแพ่งไอซีทีปิดเว็บ ปี 53 - 11 ก.ค.นี้

0
0

สืบพยานวันที่สอง คดีประชาไทฟ้องแพ่งกระทรวงไอซีทีปิดเว็บ ปี 53 ไอซีทีปัด ทำตามคำสั่งคณะกรรมการที่ตั้งโดยรองนายกฯ ขณะนั้น ศาลนัดฟังคำพิพากษา 11 ก.ค.นี้

2 มิ.ย. 2559 ที่ห้องพิจารณาคดี 703 ศาลแพ่ง รัชดา มีการสืบพยานจำเลย คดีหมายเลขดำที่ 1455/2553 ที่มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน (เว็บไซต์ประชาไท) เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และกระทรวงการคลัง เป็นเงิน 350,000 บาท จากกรณีมีคำสั่งตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดเว็บไซต์ประชาไท เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2553

โดยพยานจำเลยมี 1 ปากคือ อารีย์ จิวรรักษ์ จากกระทรวงไอซีที

อารีย์ยื่นเอกสารคำเบิกความต่อศาล และตอบคำถามทนายโจทก์ถามค้าน โดยระบุว่า ในช่วงเกิดเหตุคือ ปี 2553 เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงไอซีที โดยในการปิดเว็บไซต์ตามคำสั่ง ศอฉ. มีขั้นตอนคือ เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ที่แต่งตั้งโดยรองนายกฯ ในขณะนั้น พบเว็บที่ละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะส่งข้อมูลให้กระทรวงไอซีทีทำการปิดกั้น โดยการตรวจ วินิจฉัย เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ไอซีทีไม่ได้เกี่ยวข้อง

อารีย์ตอบคำถามทนายโจทก์ว่า การรายงานข่าวเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร จะมีรายงานในสื่อต่างๆ ตั้งแต่ ธ.ค. 2551 หรือไม่นั้น ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ เนื่องจากผ่านมานานแล้วและช่วงนั้นยังไม่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

อารีย์กล่าวว่า หลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การเสนอข่าวการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกหรือยั่วยุ

อารีย์ระบุว่า หลัง ศอฉ. มีคำสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ ไอซีทีจะส่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ดำเนินการปิดกั้น และส่งให้เจ้าของเว็บนั้นๆ ปิดกั้น กรณีเว็บไซต์ประชาไท มีปัญหาอยู่มาก จึงดำเนินการปิดกั้นทั้งเว็บไซต์ โดยการปิดเว็บดังกล่าวเป็นการปิดเฉพาะเว็บไซต์ประชาไท ไม่ได้ปิดเว็บบอร์ด และหลังจากนั้นจะมีการสั่งปิดเว็บบอร์ดไหมไม่ทราบ

อารีย์กล่าวว่า สำหรับข่าว-บทความจากเว็บประชาไทที่จำเลยเคยอ้างไว้ ไม่มีข้อความในลักษณะข่มขู่บังคับให้รัฐบาลทำตาม แต่อ่านโดยรวมเข้าใจเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม เขาตอบคำถามทนายจำเลยถามติงโดยระบุว่า แต่ละชิ้นมีลักษณะบีบบังคับให้ยุบสภา

เขาตอบคำถามทนายโจทก์ว่า เอกสารที่นำมาอ้างในศาลไม่ได้พิมพ์ออกมาจากเว็บไซต์ประชาไทโดยตรง และไม่ใช่เอกสารเดียวกับเอกสารให้ปิดกั้นจาก ศอฉ. แต่ตอบคำถามทนายจำเลยถามติงว่า ถ้าเทียบกับเอกสาร ศอฉ.แล้วเป็นข้อความเดียวกัน เพราะเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์

สำหรับการสืบพยานจำเลยครั้งนี้ กระทรวงการคลัง ในฐานะจำเลย ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา

ศาลนัดฟังคำพิพากษา 11 ก.ค. 2559

สำหรับคดีนี้ เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2553 จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท เป็นผู้รับมอบอำนาจจากมูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (จำเลยที่1) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. (จำเลยที่ 2), ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (จำเลยที่ 3), กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (จำเลยที่ 4) และกระทรวงการคลัง (จำเลยที่ 5) เรื่อง ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยเรียกร้องค่าเสียหาย 350,000 บาท กรณีมีคำสั่งปิดกั้น prachatai.com และยื่นคำร้องขอให้ศาลเปิดการไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอให้คุ้มครองชั่วคราว ในการยกเลิกการปิดกั้น prachatai.com โดยวันเดียวกัน ศาลแพ่งมีคำสั่งยกฟ้องโดยไม่มีการไต่สวน ด้วยเหตุผลว่าจำเลยทั้งหมดมีอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ต่อมา เว็บไซต์ประชาไทอุทธรณ์คำสั่งศาล โดยศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้รับฟ้องจำเลยที่ 4-5 คือ กระทรวงไอซีทีและกระทรวงการคลัง แต่ไม่อาจฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. และ ศอฉ.ได้ ต่อมา จำเลยฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอ่านคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ รับฟ้องคคีดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2558 จากนั้น จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเขตอำนาจศาล โดยเห็นว่าอยู่ในอำนาจศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองศาลมีความเห็นว่าเป็นอำนาจของศาลแพ่ง (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้บัญญัติตัดอำนาจของศาลปกครองไม่ให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษา) โดยศาลแพ่งอ่านความเห็นของทั้งสองศาลเมื่อ 14 ธ.ค. 2558

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50697 articles
Browse latest View live