Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50857 articles
Browse latest View live

ส่องพาเหรดล้อ 5 ปีก่อนรัฐประหาร ล้อนักการเมืองไม่เป็นไร ล้อรัฐบาลทหารเท่านั้นเป็นเรื่อง

$
0
0

 

ถือเป็นปีที่ 2 แล้วของพาเหรดล้อการเมืองในงานฟุตบอลเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 และ 71 ภายใต้รัฐบาลทหาร และคสช. ที่กิจกรรมดังกล่าวถูกควบคุมอย่างเข้มข้นจากเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างที่ วรยุทธ์ มูลเสริฐ นักศึกษาชั้นที่ปี 3 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานกลุ่มอิสระล้อการเมือง ให้สัมภาษณ์หลังขบวนล้อการเมืองออกจากสนามวานนี้(13 ก.พ.59) ระบุว่าที่ผ่านมาทหารเข้ามาตรวจสอบและเจรจาหลายขั้นตอน และก่อนหน้านี้ได้รับแจ้งว่าวันจัดงานฟุตบอลประเพณีจะมีการเซ็นเซอร์เกิดขึ้น

วรยุทธ์กล่าวว่า ทางกลุ่มไม่มีเจตนาสร้างความขัดแย้ง เพียงแค่ต้องการเตือนรัฐบาลในเรื่องต่างๆ เช่น การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ การลงทุนสร้างรถไฟร่วมกับประเทศจีน รวมทั้งเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ (อ่านรายละเอียด)
 
ในโอกาสขอย้อนกลับไปดูผลงานการล้อการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน งานฟุตบอลเพณี 5 ปี ก่อนรัฐประหาร ที่ไม่ถูกควบคุมจากรัฐบาล ซึ่งภาพบางส่วนที่เพจกลุ่มอิสระล้อการเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ไว้ในอดีต ดังนี้
 
 
ครั้งที่ 69 ปี 56 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 
โดย เมื่อวันที่ 2 ก.พ.56 MGR Onlineรายงานบทสัมภาษณ์ “หงส์” สุบรรณ บุญท่วม นักศึกษาชั้นปี 3 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประธานกลุ่มอิสระล้อการเมือง ประจำปี 2556 เปิดเผย แนวคิดปีนี้ง่ายๆ สบายๆ เข้าใจง่าย ซึ่งได้หยิบเอาประเด็นทางการเมืองถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์หนังดังๆที่ใครหลายคนรู้จักดี ปรับเนื้อหาประเด็นให้เข้ากับภาพยนตร์แต่ละเรื่อง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจมากขึ้น ผ่านตัวหุ่นล้อการเมืองทั้ง 4 ตัว (ประกอบด้วย 300 ประชาตัน กัปตัน อเมริโกย หมื่นห้ามหาสนุก และคุณนาย(ก)ฮา)
 
ครั้งที่ 68 ปี 55 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 
 
 
โดยในครั้งนั้น วันที่ 25 ก.พ.55 MGR Onlineรายงานด้วยว่า “ออม-ศุทธิกร โพธิ์ทองคำ” นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีการจัดการสถาบันนานาชาติสิรินธร ประธานกลุ่มอิสระล้อการเมือง ประจำปี 2555 เล่าว่า พวกเราเหล่านักศึกษาได้แต่หวังว่าจะสามารถเป็นแรงบันดาลใจ และจุดประกายให้มวลชนได้ฉุกคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตพวกเขาเอง ในวาระนี้นักศึกษาทุกคนได้รวมตัวกันทุ่มเทแรงใจ สละหยาดเหงื่อ ทุ่มเทแรงกายและแรงใจ กลั่นกรองความรู้สึกที่ทุกคนมีอยู่ในเบื้องลึก เพื่อที่จะสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและประชาชนคนทั่วไป 
 
“คอนเซ็ปต์ของหุ่นล้อการเมืองในปีนี้ คือ การหยิบยกเอาประเด็นที่ไม่ยากและไม่ง่าย เน้นความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ และคลอบคลุมกระแสสังคม โดยใช้คำว่า “เอา” ซึ่งเป็นคำฮิตติดหู นำเสนอผ่านหุ่นล้อการเมืองทั้ง 4 ตัว คือ “เอาอยู่” แต่มัววุ่นเรื่องคนเมืองนอก “เอาหน้า” ออกทีวีทำทีใหญ่ “เอามั้ย” ล่ะ เสรีภาพอาบเลือดไทย รัฐบาลจัญไร...กู “ไม่เอา” ประธานกลุ่มอิสระล้อการเมืองประจำปี 2555 เล่า 

ครั้งที่ 67 ปี 54 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ 

ชื่อ ขึ้นเงินเดือนฟรี ภาษีประชาชน

นางอับ(ปรี)สิทธิ์

ชั่ว(จน) ฟ้าดินสลาย ตอน” ประชาวิวัฒน์” กับดักมนุษย์ สุดสยอง

ครั้งที่ 66 ปี 53 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ 

ล้อการเมืองทักษิณ ฮุนเซน ที่มา : tlcthai.com

ที่มา : tlcthai.com

ครั้งที่ 65 ปี 52 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ 

ปิ๊งรักสลับขั้ว ล้อเนวิน ชิดชอบและอภิสิทธิ์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยแผน 4 ระยะควบรวมอาชีวะสังกัด สช. มา สอศ.

$
0
0
เผยผลประชุมการบริหารจัดการรวมสถานศึกษา ระยะ 1 เดือน ก.พ. เร่งยกร่างประกาศ ศธ. การโอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ บุคคล สช.มาอยู่ในกำกับของ สอศ. ระยะ 2 เดือน มี.ค.-เม.ย. เร่งบริหารจัดการไม่ให้กระทบ นศ. ที่จะจบ ระยะ 3 เดือน พ.ค. ปีการศึกษาใหม่เร่งใช้สัดส่วนรับสายอาชีพต่อสายสามัญ 42:58 ระยะ 4 ช่วงจัดทำงบฯ ปี 2560 จะวางแผนระยะยาวร่วมกันอีกที โดยการควบรวมครั้งนี้เป็นเพียงการโอนบุคลากร ภารกิจที่อยู่ในกำกับของ สช.มาอยู่ในกำกับของ สอศ.ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแต่อย่างใด

 
14 ก.พ. 2559 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าตามที่ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 42ง ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 ประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่8/2559 เรื่อง การบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา44ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2547สั่งการให้โอนอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนในระบบ ประเภทอาชีวศึกษาไปเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
 
ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 13ก.พ. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เป็นประธานประชุมการบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน โดยมี รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สวทอ.) ผู้แทนและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วม
 
โดย ดร.ชัยพฤกษ์ กล่าวภายหลังประชุมว่า เนื่องจากคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 8/2559 กำหนดให้มีผลบังคับนับตั้งแต่วันถัดไปที่มีการประกาศ ซึ่งก็คือวันที่ 13 ก.พ. ดังนั้นจึงได้เชิญทุกที่ประชุมฝ่ายมาประชุมร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจในแต่ละประเด็นของคำสั่ง และเตรียมแผนการทำงาน เบื้องต้น กำหนดแนวทางดำเนินการเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก คือ ช่วง 2 สัปดาห์ของเดือน ก.พ.นี้จะมุ่งให้การเปลี่ยนผ่านเดินไปอย่างราบรื่นไม่สะดุด โดยเฉพาะการถ่ายโอนภารกิจ ทรัพย์สิน งบประมาณ บุคลากร ฯลฯ ซึ่ง สอศ.จะเร่งยกร่าง ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การโอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณบุคคล ฯลฯ เสนอให้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงนามในวันที่15ก.พ.นี้ และวันเดียวกัน ตนจะทำหนังสือแจ้งไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และผู้ว่าราชการจังหวัดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อมอบหมายให้การปฏิบัติภารกิจในการดูแลสถานศึกษาเอกชนเป็นไปตามเดิม ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานราบรื่นไม่สะดุด
 
ระยะที่สอง เดือน มี.ค.-เม.ย.ถือเป็นช่วงสำคัญที่นักเรียน นักศึกษาจะจบการศึกษาจึงต้องระวังไม่กระทำการอะไรที่ส่งผลกระทบต่อเด็กไม่ได้ ดังนั้น จะเป็นช่วงที่ต้องเร่งบริหารจัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยมากที่สุด เพื่อให้เด็กได้เรียนจบตามแผนที่วางไว้ ระยะที่สาม เดือน พ.ค.เป็นต้นไปซึ่งเป็นช่วงเข้าสู่ปีการศึกษาใหม่ จะร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2559 ซึ่ง สอศ.กำหนดสัดส่วนรับนักเรียนสายอาชีพต่อสายสามัญอยู่ที่ 42:58 โดย 42%ของอาชีวะทั้งอาชีวะรัฐและเอกชนในจังหวัดนั้นจะต้องวางแนวทางส่งต่อเด็กร่วมกันอย่างไรก็ตาม สอศ.ไม่ใช่จะแย่งเด็กจาก สพฐ.แต่เราพบว่ามีนักเรียน 7% ที่จบ ม.3 แล้วไม่เรียนต่อแต่เข้าสู่ตลาดแรงงาน สอศ.จะไปจูงใจให้เด็กกลุ่มนี้มาเรียนสายอาชีพมากขึ้นและระยะสุดท้าย ช่วงที่จะต้องจัดทำงบประมาณปี 2560 ก็จะมีการวางแผนการพัฒนาระยะยาวร่วมกันต่อไป
 
ดร.ชัยพฤกษ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในช่วงแรก สอศ.จะรับโอนข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างของกลุ่มงานโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สช.มาอยู่ในสังกัด สอศ.ทั้งสิ้น 27 คน ซึ่งจะมอบหมายให้รองเลขาธิการ กอศ.ทำหน้าที่กำกับดูแล โดยยังคงให้ปฏิบัติงานตามภารกิจที่ทำอยู่เช่นเดิมและจะค่อยๆเพิ่มปริมาณงานให้มากเพียงพอ เมื่อภาระงานมากขึ้นก็จะเสนอ รมว.ศึกษาธิการ จัดตั้งเป็นหน่วยงานระดับสำนักภายใน สอศ.และต่อไปอาจจะมีการยกร่าง พ.ร.บ.อาชีวศึกษาเอกชนด้วยแต่ระหว่างนี้วิทยาลัยอาชีวะเอกชนยังคงดำเนินการตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ไปก่อน
 
“คำสั่ง คสช.ดังกล่าวถือเป็นประโยชน์อย่างมากที่อาชีวะรัฐและเอกชนจะมาร่วมกันผลิตกำลังคนได้ตอบสนองความต้องการของประเทศ ซึ่งต่อไปทั้งอาชีวะรัฐและเอกชนจะสามารถรวมพลัง เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้วิชาการ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยืนยันว่าการควบรวมดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน แน่นอน เพราะเรายึดหลักการทำงานอย่างเป็นเอกภาพ ให้อิสระในการจัดการศึกษา แต่เป้าหมายสำคัญคือร่วมขับเคลื่อนการอาชีวศึกษาของประเทศให้มีประสิทธิภาพ โดยเมื่อควบรวมแล้วจะทำให้มี สอศ.มีวิทยาลัยอาชีวะอยู่ในกำกับดูแลทั้งสิ้น 886 แห่ง และมีนักเรียนสิ้น 976,615 คน แบ่งเป็น วิทยาลัยอาชีวะรัฐ จำนวน 425 แห่ง นักศึกษา 674,113 คน และวิทยาลัยอาชีวะเอกชนจำนวน 461 แห่ง นักศึกษา 302,502 คน” ดร.ชัยพฤกษ์ กล่าว และว่าทั้งนี้การรวมอาชีวศึกษารัฐและเอกชนครั้งนี้เป็นเพียงการโอนบุคลากร ภารกิจที่อยู่ในกำกับของ สช.มาอยู่ในกำกับของ สอศ.ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน
 
ด้าน รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สวทอ.) กล่าวว่า ส่วนตัวรู้สึกยินดีอย่างมากและรอการประกาศชัดเจนมาตลอด เพราะในการประชุม สวทอ.ในเดือนกันยายน 2558 ที่ผ่านมาที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ที่ต้องการให้เกิดการรวมอาชีวศึกษาเอกชนและอาชีวศึกษาของรัฐเข้าด้วยกัน เพื่อความเป็นเอกภาพของการจัดการศึกษา ทั้งในเรื่องการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน มาตรฐานวิชาการ ซึ่งจะทำให้การผลิตกำลังคนของอาชีวศึกษาไทยสอดคล้องกับและตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การบริการ ท้องถิ่น กลุ่มคลัสเตอร์ รวมถึงการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนด้วย
 
“คำสั่งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประเทศชาติและอุตสาหกรรม ที่ผ่านมาทางอาชีวะเอกชนก็มีเตรียมพร้อมวางโครงสร้างอาชีวะเอกชนระดับจังหวัด มีการสร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมการรองรับไว้อยู่แล้ว เชื่อว่าจากนี้มาตรฐานหลักสูตรต่าง ๆ ที่ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ที่ทำให้อาชีวะรัฐและเอกชนรวมตัวกันได้เป็นอาชีวศึกษาของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ผมยืนยันว่าไม่มีผลกระทบ เรายังสามารถบริหารงานจัดการได้อย่างอิสระมั่นใจว่าไม่มีผลกระทบ หากมีเรื่องที่ต้องการตัดสินใจที่รวดเร็ว เพื่อบริการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้บริหารอาชีวะเอกชนก็ยังคงทำได้ปกติ และเชื่อว่าข้อจำกัดปัญหาเรื่องการประสานงานต่าง ๆ จะหมดไป” รศ.ดร.จอมพงศ์ กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหพันธ์ปลัดอำเภอจี้รัฐบาลให้ความกระจ่างเหตุ 'พ.ต.ท.จันทร์' เสียชีวิต

$
0
0
สหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ให้รัฐบาลให้ความกระจ่างสาเหตุการเสียชีวิตของ 'พ.ต.ท.จันทร์ ชัยสวัสดิ์' เลขาธิการสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ

 
14 ก.พ. 2559 มติชนออนไลน์รายงานว่าสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย (ส.ปอ.ท.) ฉบับที่ 3/2559 ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอให้รัฐบาลให้ความกระจ่างสาเหตุการเสียชีวิตของพนักงานสอบสวน สน.เทียนทะเล โดยระบุว่า
 
สหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ (ส.พ.ช.) ยุคก่อตั้งมีสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย (ส.ปอ.ท.) ที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนด้วยเจตนารมย์ที่ตรงกันไม่ว่าจะเป็น การมุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความบริสุทธิ์ยุติธรรม ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและประพฤติมิชอบ การส่งเสริมสนับสนุนให้พนักงานสอบสวนไม่ว่าฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีความเป็นอิสระ สามารถ ใช้วิชาชีพการสอบสวนโดยปราศจากการชี้นำหรือบิดเบือนคดีจากผู้มีอำนาจไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้มีอิทธิพล ซึ่งในการขับเคลื่อนที่ผ่านมา สหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ และสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันยื่นหนังสือต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และร่วมสัมมนากับองค์กรภาคเอกชนในหลายองค์กรเพื่อกำหนดโครงสร้างรูปแบบกระบวนการสอบสวนคดีอาญา เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมต่อพี่น้องประชาชน ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
 
พ.ต.ท.จันทร์ ชัยสวัสดิ์ ท่านทำหน้าที่เลขาธิการสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ มีความมุ่งมั่นทุ่มเทขับเคลื่อนด้วยเจตนารมณ์ตามที่กล่าวมาร่วมกับพี่น้องพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจกว่า 3,000 นาย ซึ่งแน่นอนว่าเจตนารมณ์และแนวทางในการขับเคลื่อนย่อมมีผลกระทบต่ออำนาจ และผลประโยชน์โดยเฉพาะระบบโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น การเสนอขอแยกพนักงานสอบสวนให้มีสายงานเฉพาะของตนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือการขอแยกเป็นอีกองค์กรหนึ่ง ที่มีความเป็นอิสระในกระบวนการสอบสวนคดีอาญา ความมุ่งมั่นทุ่มเทของ พ.ต.ท.จันทร์ฯ ครั้งล่าสุดได้มีการยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีทบทวนคำสั่งคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2559 และที่ 7/2559 กรณีเนื้อหาของ 2 คำสั่งนี้มีผลกระทบต่อพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจทั้งประเทศ ซึ่งกรณีการเสียชีวิตของ พ.ต.ท.จันทร์ จึงมีความเคลือบแคลง สงสัยว่ามีความเชื่อมโยง กรณีที่ พ.ต.ท.จันทร์ ได้ออกมาต่อสู้เคลื่อนไหวเพื่อให้การสอบสวนของตำรวจมีความเป็นอิสระเพื่อพี่น้องประชาชนไทย ประเด็นการเสียชีวิตอาจมีส่วนเกี่ยวโยงทำให้ฝ่ายตรงข้าม ใช้อิทธิพลมืดและดำเนินการกับ พ.ต.ท.จันทร์ ฯได้ ซึ่งสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญา ดังนี้
 
1.ปลัดอำเภอมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญา และกรณีที่นายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมการสอบสวนคดีอาญาทั่วไปก็จะมีปลัดอำเภอ ในการร่วมทำการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจ หรือกรณีที่ประชาชนร้องขอความเป็นธรรม ในกระบวนการสอบสวนพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองโดยเฉพาะนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะมอบหมายให้ปลัดอำเภอเข้าร่วมในการสอบสวน รวมถึงคดีอาญาบางประเภทที่กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองเป็นผู้สอบสวนคดีอาญานั้นๆ แต่ฝ่ายเดียว จะเห็นได้ว่ามิติของการสอบสวนคดีอาญาหลักๆจะมีพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจและพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองทำการสอบสวน โดยจะขึ้นอยู่กับประเภทคดี ลักษณะคดีและเงื่อนไขกฎหมาย ในการเชื่อมโยงในการปฏิบัติงานสอบสวนร่วมกัน
 
2.เมื่อลักษณะงานของพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจและฝ่ายปกครองมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันนั้นกรณี พ.ต.ท.จันทร์ฯ เลขาธิการสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ ได้จัดตั้งองค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจอีกกว่า 3,000 นาย มีเจตนารมย์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับความยุติธรรมในกระบวนการที่ทำอย่างแท้จริงนั้น สหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ที่ต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขในพื้นที่แด่พี่น้องประชาชนเฉกเช่นเดียวกัน จึงต้องให้การสนับสนุนร่วมมือกัน สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการสอบสวนให้เกิดความเป็นอิสระ ตัดอำนาจการชี้นำคดีการบิดเบือนคดีจากอิทธิพล ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอิทธิพล ทั้งสององค์กรจึงมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน และ ได้ร่วมมือขับเคลื่อนกระบวนการสอบสวนเป็นไปตามหลักสากลนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 6 เดือน
 
เมื่อข้าราชการน้ำดี พ.ต.ท.จันทร์ ได้ออกมาเคลื่อนไหวขับเคลื่อนให้ระบบ และโครงสร้างการสอบสวนคดีอาญาในประเทศไทยมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริงนั้น หลายฝ่ายเชื่อว่าสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ตาย ย่อมมีประเด็นที่ตัดเสียไม่ได้ คือเกิดจากการใช้อิทธิพลมืดของผู้เสียประโยชน์ จึงเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของพี่น้องประชาชน ในระบบการปกครองและการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจ ทำให้ประชาชนเกิดความสิ้นศรัทธาและไม่ไว้ใจฝ่ายรัฐได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความกระจ่าง จึงขอให้รัฐบาล กระทรวงยุติธรรม หรือแม้แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตของ พ.ต.ท.จันทร์ ชัยสวัสดิ์ ให้ชัดเจน โดยการแสดงหลักฐานต่อสาธารณชน เพื่อให้เกิดความกระจ่างแก่พี่น้องประชาชน อย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้คนดีมีที่ยืนในสังคมไทยได้ต่อไป
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม. ระบุ ร่าง รธน.ต้องนำหลักสิทธิชุมชนและสิทธิอื่น ๆ ของประชาชนกลับมา

$
0
0
14 ก.พ. 2559 สืบเนื่องจากการที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเบื้องต้นต่อสาธารณชนและเปิดรับฟังความคิดเห็น ตามที่ทราบกันโดยทั่วไปนั้น นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ขอให้นำหลักการของบทบัญญัติมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาบัญญัติแทนมาตรา 4 ในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการประกาศเจตจำนงของรัฐไทยในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค รวมทั้งรับรองหลักสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีระหว่างประเทศ  นอกจากนั้นควรรับรองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยในเรื่องต่างๆ โดยยังคงหลักการไม่ต่ำไปกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 ควบคู่ไปกับการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะทำให้การใช้สิทธิของประชาชนและการทำหน้าที่ของรัฐมีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งได้รับการยอมรับจากประชาชนและประชาคมโลกยิ่งขึ้น
 
สำหรับเรื่องสิทธิชุมชน ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญได้ตัดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองรักษาและส่งเสริมให้ชุมชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีไปกำหนดเป็นหน้าที่รัฐ  คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า ควรยืนยันกำหนดสิทธิชุมชนไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามเดิม โดยมีหลักการและสาระสำคัญไม่ต่ำไปกว่าที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 66 และมาตรา 67 เคยรับรองไว้
 
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขอบเขตของสิทธิชุมชนเกี่ยวข้องกับสิทธิในเรื่องอื่นๆ ด้วย ดังนั้น เพื่อให้การใช้สิทธิชุมชนมีความสมบูรณ์ขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องรับรองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิชุมชน เช่น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องกับชุมชน สิทธิที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจงเหตุผลก่อนการอนุญาตโครงการก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับชุมชน การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของรัฐอันอาจมีผลกระทบต่อชุมชน เป็นต้น
 
สุดท้าย ในประเด็นเรื่องการปฏิรูปทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างความปรองดอง ฯลฯ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลและเป็นความคาดหวังของภาคส่วนต่างๆ คณะอนุกรรมการฯ มีข้อเสนอแนะว่า ควรกำหนดเป็นหมวดการปฏิรูปแทนการกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล เพื่อให้เกิดกลไกรวมทั้งวางกรอบการปฏิรูปให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและนำไปสู่การขับเคลื่อนได้อย่างแท้จริง นางเตือนใจกล่าว
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พม.เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม 56-57 จำนวน 868 ราย 120 ล้านบาท

$
0
0
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เตรียมจ่าย 120 ล้านบาท ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2556-2557 จำนวน 868 ราย รวม 120 ล้านบาท ตายรับ 400,000 บาท ทุพพลภาพ 200,000 บาท บาดเจ็บสาหัส 100,000 บาท บาดเจ็บ 60,000 บาท และบาดเจ็บเล็กน้อย 20,000 บาท เปิดลงทะเบียน 17 กพ.-17 มี.ค. คาดล็อตแรกเงินถึงมือเดือน เม.ย. นี้

 
14 ก.พ. 2559 เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่านางขวัญวงศ์ พิกุลทอง รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ(พส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 8 ก.ย.2558 เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงิน ตามหลักมนุษยธรรม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ปี 2556-2557 พร้อมทั้งอนุมัติใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 120 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการ โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯรับผิดชอบดำเนินการนั้น ตนในฐานะที่ดูแลรับผิดชอบกองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตได้ประชุมกับคณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณการผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2556-2557 ซึ่งเป็นข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวน 868 ราย แบ่งเป็นผู้เสียชีวิต 28 ราย บาดเจ็บ 840 ราย ทั้งนี้ได้กำหนดให้ผู้ได้รับผลกระทบลงทะเบียนยื่นคำร้องรับเงินเยียวยา ระหว่างวันที่ 17 ก.พ.-17 มี.ค.นี้ โดยในกรุงเทพฯ เปิดลงทะเบียนที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พม.ต่างจังหวัดลงทะเบียนที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) ทุกจังหวัด ซึ่งพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมฯ จะแถลงข่าวรายละเอียดต่างๆ ในวันที่ 15 ก.พ.นี้
 
รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวด้วยว่า สำหรับเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยาเป็นไปตามกฎหมาย โดยผู้เสียชีวิต 400,000 บาท ผู้ทุพพลภาพ 200,000 บาท ผู้บาดเจ็บสาหัส 100,000 บาท บาดเจ็บ 60,000 บาทและบาดเจ็บเล็กน้อย 20,000 บาท ซึ่งจะมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์คู่ขนานไปกับการเปิดลงทะเบียน ทั้งการยื่นให้ 20 กระทรวง ตรวจสอบว่าผู้ได้รับผลกระทบมีคดีความทางการเมืองที่ยังไม่สิ้นสุดคดีหรือไม่ รวมถึงส่งเรื่องถึงคณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงิน ตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองพิจารณาอนุมัติ หากเห็นชอบ ก็ส่งรายชื่อขออนุมัติงบกลางจากสำนักงบประมาณ ซึ่งคาดว่าเร็วสุดจะสามารถเบิกจ่ายให้ผู้ได้รับผลกระทบชุดแรกภายในปลายเดือน เม.ย.นี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปิดฉาก 'โรงเรียนปอเนาะญีฮาดวิทยา' หลังศาลให้ยึดทรัพย์สินเป็นของแผ่นดิน

$
0
0
ด้านครอบครัวเจ้าของย้ายออกไปอยู่มัสยิดพร้อมตัดสินใจไม่อุทธรณ์ ระบุ "เราโดนมามากแล้ว อยากกลับไปใช้ชีวิตแบบคนปกติเสียที"

 
 
 
 
(ที่มาภาพ: บีบีซีไทย)
 
 
14 ก.พ. 2599  บีบีซีไทยรายงานว่าครอบครัวแวมะนอเก็บข้าวของทั้งหมดที่มีอยู่ในบ้านที่ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี มีชาวบ้านที่อยู่รอบๆไปช่วยพวกเขาเพื่อจะย้ายออกจากบ้านซึ่งก็เป็นที่ตั้งของโรงเรียนปอเนาะด้วย พวกเขาต้องออกจากที่ดินผืนนี้หลังจากที่แพ้คดีในศาล ถูกคำสั่งให้ยึดเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ว่าด้วยการยึดทรัพย์ที่ถูกใช้ในการสนับสนุนการก่อการร้ายด้วยการเป็นที่ฝึกอาวุธของผู้ก่อเหตุ
 
“ผมเคารพการตัดสินใจของศาล” บันยาล ลูกชายของดอเลาะ แวมะนอบอก ส่วนเรื่องที่ว่าคนที่มีหมายจับและเป็นต้นตอของการยึดทรัพย์หนนี้ ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินหรือเป็นเจ้าของโรงเรียนนั้น เขาเชื่อว่าศาลรู้แล้ว “ครอบครัวก็ไม่ทราบว่าพ่อไปทำอะไร แต่เรื่องที่ดินผมก็ชี้แจงไปแล้วว่ามันเป็นของคนอื่น แต่ศาลคงคิดว่ามีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เมื่อศาลตัดสินผมก็ยอมรับ ผมบอกแต่แรกแล้วว่า เมื่อเราสู้คดี ไม่ว่าแพ้หรือชนะเราก็จะยอมรับคำตัดสิน”
 
“โรงเรียนปอเนาะญีฮาดวิทยา” ชื่อที่เคยมีสื่อรายงานว่าเป็นตัวปัญหาตั้งแต่แรก เพราะทำให้คนทั่วไปรวมทั้งเจ้าหน้าที่ไม่ไว้ใจ แม้มุสลิมทั่วไปจะบอกว่าคำว่า “ญีฮาด” เป็นเรื่องของการต่อสู้กับตัวเองและเป็นการพยายามมุ่งมั่นทำความดีก็ตาม แต่ 11 ปีที่โรงเรียนเจอคดียึดทรัพย์อันเนื่องมาจากคดีที่เกี่ยวพันไปถึงครูใหญ่ของโรงเรียนคือ นายดอเลาะ ทำให้คนในครอบครัวต่างถูกเพ่งเล็งจนอยู่ไม่เป็นสุข สมาชิกบางคนถูกยิงเสียชีวิตยิ่งทำให้เส้นทาง 11 ปีเต็มไปด้วยปัญหา
 
จากคดีที่เริ่มต้นเมื่อปี 2548 ที่เชื่อมโยงมาจากการซัดทอดของบุคคลสองคนที่บอกเจ้าหน้าที่ว่า พวกเขาได้ฝึกอาวุธภายในบริเวณโรงเรียน คดีนี้มีกลุ่มบุคคล 36 คนถูกออกหมายจับในข้อหาก่อความไม่สงบ เป็นกบฎและอั้งยี่ ในจำนวนนั้นมีส่วนหนึ่งที่หลบหนี อีก 18 คนเข้ามอบตัวสู้คดีและได้รับการปล่อยตัวหมดเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่หลบหนีมีนายดอเลาะ ครูใหญ่โรงเรียนญีฮาดวิทยารวมอยู่ด้วย นอกจากคดีอาญาแล้ว อีกด้านหนึ่ง ปปง.โดยมีอัยการเป็นตัวแทน ได้นำคดีขึ้นสู่ศาลแพ่งร้องขอให้ยึดทรัพย์เพราะเห็นว่าเป็นการใช้ที่ดินไปสนับสนุนการก่อการร้าย หลักฐานสำคัญในคดีนี้คือคำให้การของผู้ต้องหาสองคนในคดีอาญาดังกล่าวที่ระบุว่าพวกตนเคยไปฝึกอาวุธในโรงเรียน ต่อมาศาลแพ่งตัดสินเมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาให้ริบทรัพย์เป็นของแผ่นดินตามที่ ปปง.ร้องขอ
 
“ที่ดิน 14 ไร่นี้เป็นของพี่น้องในตระกูลห้าคน” บันยาลกล่าว “เจ้าของที่ก็อยู่ในที่ต่างๆ กระจัดกระจายกันไปเพราะต่างก็มีครอบครัว มีแต่เราที่อยู่ที่นี่และสานต่อโรงเรียนปอเนาะ” แม่ของเขาเป็นหนึ่งในพี่น้องห้าคนนั้น แต่ส่วนพ่อเป็นลูกเขยที่แต่งเข้ามาในครอบครัว และได้รับหน้าที่ดูแลโรงเรียนเพราะในครอบครัวไม่มีผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ดอเลาะไม่ได้มีสิทธิในที่ดิน เขาทำหน้าที่ครูใหญ่ ความข้อนี้ทิ้งความคลางแคลงใจไว้กับครอบครัวและคนรอบข้างว่า ในเมื่อกฎหมายชี้ความผิดกับเจ้าตัว เหตุใดจึงยึดในสิ่งที่ไม่ใช่ของเขา
 
นอกจากที่ดินที่ไม่ใช่ของนายดอเลาะ ทรัพย์สินบนที่ดินคือโรงเรียน อาคารต่างๆรวมไปถึงสถานที่ละหมาดล้วนเป็นทรัพย์สินที่ทางครอบครัวถือว่าเป็นของส่วนรวม เนื่องจากชาวบ้านรอบข้างเข้าไปช่วยก่อสร้างและนำวัสดุสิ่งของไปช่วย “ตอนที่ครอบครัวมาทำปอเนาะ คนที่นี่ดีใจเพราะจะมีคนมาเผยแพร่ความรู้ ที่นี่ถือว่าเป็น “วะกัฟ” (ของสาธารณะ) ก็ว่าได้” บันยาลบอก มาตอนนี้เมื่อครอบครัวแพ้คดี พวกเขารู้ว่าต้องย้ายออกเพราะถ้าอยู่ต่อไป หากมีคนไปฟ้องร้องก็จะมีความผิด แม้ว่าหนทางเลือกอีกทางหนึ่งคือการอุทธรณ์แต่พวกเขาเลือกที่จะไม่ทำ
 
“มีเจ้าหน้าที่หลายคนมาพูดคุยบอกให้เราอุทธรณ์ ครอบครัวก็รู้สึกแปลก ทำไมเจ้าหน้าที่มาบอกให้พวกเราอุทธรณ์ ในเมื่อพวกเขาเองเป็นคนฟ้องร้องเรา มันเหลือจะบรรยาย ตกลงเจ้าหน้าที่จะเอายังไงกับเรากันแน่” ครอบครัวประชุมกับชาวบ้านเพื่อหารือกัน บันยาลบอกว่า ทั้งชาวบ้านและศิษย์เก่าเสนอทางออกว่าจะหาที่อยู่ให้ใหม่ แต่ในระหว่างนี้พวกเขาจะไปอาศัยอยู่ในมัสยิดเป็นการชั่วคราว
 
“วันนี้ก็มีเจ้าหน้าที่ทหารมาถาม พอเห็นเราจะย้ายไปอยู่มัสยิดก็บอกว่า ทำไมไม่ไปบอกทหารก่อน ผมก็บอกว่ามีชาวบ้านที่จะช่วยเราอยู่แล้ว ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของผมบ้าง”
 
นอกจากพ่อที่หนีไป พี่ชายของบันยาลซึ่งเรียนหนังสืออยู่ต่างประเทศคืออินโดนีเซียถูกยิงเสียชีวิตขณะที่กลับมาเยี่ยมบ้าน กลายเป็นอีกคดีหนึ่งในสามจังหวัดภาคใต้ที่ยังหาตัวผู้ลงมือไม่ได้ มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงเคยเสนอให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวในกรณีนี้ แต่ครอบครัวแวมะนอปฏิเสธ โดยชี้แจงว่าสิ่งที่ต้องการจากเจ้าหน้าที่เป็นอันดับแรกคือ หาตัวผู้ลงมือก่อเหตุให้ได้มากกว่า นอกจากนั้นก่อนที่จะมีการอายัดที่ดินของโรงเรียน เจ้าหน้าที่ได้ยึดรถกะบะที่บันยาลซื้อมาได้สามเดือนไปโดยระบุว่าเป็นรถที่ใช้ในการก่อการร้าย จนบัดนี้เขายังไม่ได้คืน “ผมก็ไม่รู้จะไปฟ้องร้องใคร ไม่รู้ว่ากำลังสู้อยู่กับใคร”
 
ด้วยเหตุดังนั้นครอบครัวจึงตัดสินใจว่าจะไม่อุทธรณ์ “ผมอยากให้คดีมันสิ้นสุด คือทนไม่ได้แล้วกับสิบเอ็ดปีที่เจอมา มีทั้งเจ้าหน้าที่มาล้อม ผมเองเคยโดนเชิญตัว พี่ชายโดนยิง ถ้าอุทธรณ์ก็คงจะไม่สิ้นสุด จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาหาเรื่อยๆ เราไม่อยากอยู่แบบนี้แล้ว อยากจะมีชีวิตปกติแบบชาวบ้านทั่วไปบ้าง”
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ไชยันต์ ไชยพร’ เป็นพยานคดี ‘มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร’

$
0
0
'ไชยันต์ ไชยพร' อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางเข้าให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ ในคดีที่กลุ่มนักวิชาการในนาม “เครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย”  ได้ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” 

 
 
(ที่มาภาพ: เว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน)
 
เว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่าเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2559 ที่ผ่านมาที่สถานีตำรวจภูธรช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางเข้าให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ ในคดีที่กลุ่มนักวิชาการในนาม “เครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย”  ได้ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” เมื่อวันที่ 31 ต.ค.58 และได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องการมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมืองที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
 
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.58 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สองผู้ต้องหาในคดีนี้ ได้เดินทางเข้ายื่นคำให้การต่อพนักงานสอบสวนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และได้ขอให้พนักงานสอบสวนได้สอบพยานบุคคลเพิ่มเติม ซึ่งเป็นนักวิชาการในสาขาต่างๆ อีก 4 คน เพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้คดี 
 
ไชยันต์ ไชยพร ได้นัดหมายเข้าพบพนักงานสอบสวนเมื่อวานนี้ และได้นำข้อเขียนเรื่อง ‘เสรีภาพทางวิชาการ’ ที่เคยเขียนลงตีพิมพ์ในนิตยสารเวย์ มายื่นเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อประกอบสำนวนคดีนี้ ส่วนคำให้การเกี่ยวกับคดีพร้อมจะให้การเป็นพยานในชั้นศาลต่อไป ถ้าหากมีการส่งฟ้องคดี
 
ในบทความดังกล่าว ไชยันต์อภิปรายถึงหลักเรื่องเสรีภาพทางวิชาการ โดยเห็นว่าเสรีภาพในการพูดและแสดงออกมีนัยที่กว้างกว่าเสรีภาพทางวิชาการ กล่าวคือ เสรีภาพทางวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของเสรีภาพในการพูด-คิดหรือแสดงออก ขณะเดียวกัน เสรีภาพทางวิชาการไม่ได้หมายความว่า นักวิชาการเท่านั้นที่มีเสรีภาพนี้ เพราะคนที่ไม่ได้เป็นนักวิชาการก็มีเสรีภาพทางวิชาการได้  สิ่งที่นักวิชาการแสดงออกก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นวิชาการเสมอไปด้วย บางครั้ง การที่นักวิชาการใช้เสรีภาพ อาจจะเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก โดยเนื้อหาที่แสดงออกมานั้นไม่ได้สามารถเรียกได้ว่าเป็นเนื้อหาและวิธีการที่เป็น“วิชาการ” และบางครั้ง การที่คนที่ไม่ใช่นักวิชาการใช้เสรีภาพ ก็อาจจะเป็นการใช้เสรีภาพทางวิชาการ    
 
ไชยันต์ระบุในบทความว่าในโลกทุกวันนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ในโลกสื่อสมัยใหม่แล้ว ยิ่งยากจะหาบรรทัดฐานต่อขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงออก โดยในพื้นที่ที่จำกัดและคนจำกัด คนในพื้นที่นั้นก็สามารถบอกหรือสร้างหรือกำหนดขอบเขตของเสรีภาพขึ้นมาได้  แต่สิ่งที่พวกเขา (จำนวนหนึ่ง) กำหนดภายใต้พื้นที่ (ขนาดหนึ่ง) ณ เวลานั้นๆ ย่อมไม่สามารถจะขยายไปครอบคลุมคนอื่นๆ ในพื้นที่อื่นและเวลาอื่นได้  ต่อให้ใช้อำนาจรัฐ อาจจะสามารถควบคุมสังคมที่เจอตัวกันได้  แต่สังคมเจอตัวก็มี “จำนวนคนหนึ่งๆ” “พื้นที่หนึ่งๆ” และ “เวลาหนึ่งๆ” จำกัดอยู่เสมอ แต่สำหรับโลกหรือพื้นที่ในสื่อสมัยใหม่ เป็นการยากที่จะควบคุม                            
 
ไชยันต์ระบุด้วยว่าในประเด็นปัญหาหนึ่งๆ หากมีผู้คนนำไปถกเถียงกัน โดยพยายามใช้เหตุผลหรือชุดความคิด ชุดจริยธรรม ศีลธรรม จารีต ฯลฯ และพยายามตัดสินว่า ขอบเขตควรอยู่แค่ไหนและอย่างไร ในลักษณะของข้อเสนอเพื่อการหารือถกเถียงเพื่อหาข้อสรุปที่พอเป็นไปได้ หรือถ้าหาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ก็เสวนากันต่อไป อย่างนี้ เรียกได้ว่า เป็นการใช้เสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งคนที่ไม่ใช่นักวิชาการก็สามารถแสดงออกทางความคิดผ่านการพูดหรือเขียนในลักษณะนี้ได้เช่นกัน
 
ทั้งนี้ ฝ่ายผู้ต้องหายังเหลือพยานบุคคลที่ต้องการจะนำเข้าให้การเพิ่มเติมอีกหนึ่งคน ได้แก่ ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น อาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย แต่เนื่องจากพยานยังไม่สะดวกเดินทางมาประเทศไทยในช่วงนี้ และพนักงานสอบสวนระบุว่าต้องเร่งจัดทำสำนวนส่งต่ออัยการทหาร ทำให้ทางฝ่ายผู้ต้องหาจะประสานพยานเพื่อจัดส่งคำให้การเป็นหนังสือมายื่นต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย: ตอบปัญหาหัวใจกับชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ (1)

$
0
0

 

 

14 ก.พ. 2559 - หมายเหตุประเพทไทยช่วงวันวาเลนไทน์นี้ สองพิธีกร อรรถ บุนนาค และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ ยังอยู่พูดคุยกับ ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วยตอบปัญหาความรักจากกระทู้พันทิป ตั้งแต่เรื่องรักร่วมสายเลือด แอบชอบลูกพี่ลูกน้องของตัวเอง จนถึงเรื่องจะทำอย่างไร แฟนชอบแกล้งป่วย ฯลฯ

พร้อมด้วยคำถามจากพิธีกรอาทิ "ความรักไม่ได้เป็นธรรมชาติ ต้องมีวัฒนธรรม กรอบศีลธรรม/สังคม ขีดกรอบด้วยหรือไม่?" "ในอนาคตความรักจะไร้พรมแดนไหม?" "ในการประคองความสัมพันธ์ จะทำอย่างไรกับการต่อรองและฟาดฟัน?" "เป็นไปได้ไหมที่จะสร้างกฎสำหรับความสัมพันธ์?" "ความรักมีถูกผิดไหม?"

รวมทั้งคำถามเรื่อง "คนสมัยก่อนที่จับคลุมถุงชนแล้วบอกว่า "อยู่ไปก็รักกันเอง" จริงหรือไม่? ทั้งหมดนี้อาจารย์ชลิดาภรณ์จะตอบอย่างไรติดตามรับชมทางรายการหมายเหตุประเพทไทย

 

คลิกไลค์เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ https://facebook.com/maihetpraphetthai

ติดตามรายการใน YouTube ที่ https://www.youtube.com/playlist?list=PLyjd9jzMpO2Xby4FyxWMwY8auIFY01eVQ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวัติศาสตร์แบบฉลอง สุนทราวาณิชย์ (1): แกะรอยอาจารย์ฉลอง

$
0
0



หากมนุษยศาสตร์คือศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีวิทยาที่นำไปสู่การทำความเข้าใจสภาวะแห่งความเป็นมนุษย์แล้วไซร้ ฉลอง สุนทราวาณิชย์ คือนักประวัติศาสตร์ไทยคนหนึ่งที่สมควรได้รับการกล่าวถึงเพราะเป็นนักวิชาการผู้คร่ำหวอดในวงวิชาการ โดยเฉพาะในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มาเป็นระยะเวลายาวนาน อาจารย์ฉลองเป็นดัง “เสาหลัก” ของภาควิชาประวัติศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเสาหลักของแผ่นดิน -จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- มาเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่ามากว่า 40 เล่ม จน นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้กล่าวว่า “อาจารย์ฉลองเป็นนักวิชาการที่มีมิตรและศิษย์มากที่สุด...เพราะความสนใจของอาจารย์ฉลองนั้นกว้างขวาง” (ธนาพล และสุวิมล, 2558: 9)

บทความนี้ไม่ได้ต้องการจะนำเสนอว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาจารย์ฉลองได้ผลิตงานวิชาการเรื่องใดไว้บ้าง และมีความสนใจประเด็นอะไรในทางประวัติศาสตร์ และความสนใจเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแต่ละช่วงเวลา เพราะได้มีผู้ทำการสำรวจเบื้องต้นไว้แล้ว (โปรดดูบทความของ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ใน ธนาพล และสุวิมล, 2558) แต่ผู้เขียนการต้องจะศึกษาว่า แนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ รวมถึงมุมมองที่มีต่อมนุษย์และวัฒนธรรมของอาจารย์ฉลองเป็นอย่างไร โดยทำการสังเคราะห์ผ่านงานเขียนจำนวนหนึ่งของอาจารย์ ทั้งนี้นอกจากจะเพื่อบูชา “ครู” คนสำคัญคนหนึ่งของวงการประวัติศาสตร์ไทยแล้ว การสังเคราะห์แนวคิดและมุมมองทางประวัติศาสตร์ มนุษย์ และวัฒษนธรรมของอาจารย์ฉลองยังเป็นประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง โดยเฉพาะผู้สนใจที่จะก้าวเข้ามาเป็น “นักเรียนประวัติศาสตร์” เพราะการทำความเข้าใจแนวคิดทางประวัติศาสตร์ของอาจารย์ฉลองย่อมสะท้อนแนวโน้ม ความคลี่คลาย และความเปลี่ยนแปลงของแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ที่ผ่านมาอีกด้วย


แกะรอยอาจารย์ฉลอง

อาจารย์ฉลองได้กล่าวถึงลักษณะนิสัยของตนเองเอาไว้ว่าเป็นคนที่ “ใช้ชีวิตแบบไร้สาระ อยู่ไปวันๆ อยู่ไปเรื่อยๆ” (ฉลอง, 2553: 10) เกิดในครอบครัวจีนยากจนคนอพยพแถวชุมชนแออัดแถววัดดอนยานนาวา สายตระกูลทั้งปู่ตาและพ่อ รวมถึงพี่น้องของแม่ที่สิงคโปร์ล้วนทำงานรับจ้าง ไม่เป็นเสมียนก็ช่าง ไม่มีเคยมีใครคิดจะเอาดีทางท่องบ่นคำภีร์ขงจื้อสอบจองหงวน การสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สอบเข้ามหาวิทยาลัย จนกระทั่งกลายเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งที่อาจารย์ฉลองเรียกว่า “ไกลเกินฝัน-หล่นไกลต้น” (ฉลอง, 2553: 15)

ตอนเข้าโรงเรียนเตรียมฯ ใหม่ๆ นั้น อาจารย์ฉลอง เคยคิดจะเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ วางเข็มอนาคตว่าจะเป็นทูต ยังไม่มีความมคิดที่จะเข้าเรียนต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จนกระทั่งได้พบกับผลงานและเรื่องราวของนิสิตเก่าคณะอักษรฯ สองคนซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลให้อาจารย์เลือกเรียนสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ในคณะอักษรศาสตร์ นิสิตเก่าคณะอักษรคนแรกนั้นคือ -นิธิ เอียวศรีวงศ์- ที่อาจารย์ฉลองรู้จักผ่านทางงานเขียนทั้งที่เป็นเรื่องสั้น งานเขียนในเชิงวิพากษ์สังคมและมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ และงานเขียนทางวิชาการประวัติศาสตร์ จนกระทั่งประทับใจในข้อเสนอและข้อถกเถียง ความรอบรู้ ลุ่มลึก รวมทั้งความกล้าในการคิดวิพากษ์ อย่างที่ไม่เคยทึ่งหรือประทับใจใครในระดับนี้มาก่อน จนทำให้อาจารย์ฉลองหันมาแน่วแน่กับการเตรียมสอบเพื่อเข้าคณะอักษรฯ (ฉลอง, 2553: 31)

นิสิตเก่าคณะอักษรฯ คนที่สองได้แก่ -จิตร ภูมิศักดิ์- ผ่านบอร์ดนิทรรศการที่ว่าด้วยเรื่องราว “ความสำเร็จ” ของการปราบปรามคอมมิวนิสต์ และ “การจับตาย” ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เทือกเขาภูพานซึ่งในนิทรรศการดังกล่าวมีภาพและชื่อของ “ผกค.” (ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์) ที่ถูกจับตาย พร้อมคำบรรยายต่อท้ายชื่อว่า “อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาฯ” โดยอาจารย์ฉลองได้เล่าย้อนไปถึงเรื่องราวในตอนนั้นว่า “ผมอธิบายความรู้สึกของผมในตอนนั้นไม่ถูก แต่โดยรวมก็คือ ผมได้พบและ “รู้จัก” นิสิตอักษรฯ ที่เป็น “กบฏ” (ผ่านภาพและตัวอักษร) ในช่วงไล่ๆ กันถึง 2 คน...มันกลายเป็นความฝังใจลึกๆ อยากรู้อยากสัมผัสว่าคณะฯ นี้สอนอะไร ถึงสร้าง “กบฏ” ได้มากมายปานนั้น” (ฉลอง, 2553: 32) ความรู้สึกประทับใจกับ “กบฏ” เช่นนี้ได้สะท้อนลักษณะนิสัยและแนวคิดลึกๆ ของอาจารย์ฉลองซึ่งจะปรากฏออกมาในผลงานการศึกษาทางประวัติศาสตร์ของอาจารย์ฉลองด้วย ดังที่ธงชัย วินิจจะกูล ได้กล่าวไว้ว่า “บุคลิกของ อ.ฉลอง เป็นผู้ใหญ่ที่ชอบเล่นตลกกับเรื่องซีเรียส ชอบแหย่ ท้าทายแบบทีเล่นทีจริง (แปลว่าจริงจังแบบเราไม่รู้ตัว) อ.ฉลองรักษาความเป็นปัจเจกชนอิสระที่ “ล้อเล่น” กับจารีตธรรมเนียมมาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา พอเหมาะพอควร และด้วยความสามารถที่คนอื่นต้องเคารพ” (ธนาพล และสุวิมล, 2558: 119)


การเรียนในระดับปริญญาตรีเป็นเวลา 4 ปี อาจารย์ฉลองเลือกเรียนต่อในระดับปริญญาโทเพราะไม่ต้องการถูกเกณฑ์ทหาร วิธีที่จะเลี่ยงการเกณฑ์ทหารได้ชั่วคราวคือรักษาสถานะนิสิตไว้ อาจารย์ฉลองเลยสมัครเรียนต่อปริญญาโทที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และเริ่มตั้งใจร่ำเรียนอย่างจริงๆ จังๆ (ฉลอง, 2553: 37) ในช่วงที่ยังเป็นนิสิตปริญญาโทประวัติศาสตร์อยู่นั้น อาจารย์ฉลองดูจะให้ความสนใจการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์มากเป็นพิเศษ ผลงานวิชาการเรื่องแรกในชีวิตทางวิชาการของอาจารย์ฉลองจึงทำการศึกษาเรื่อง วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทยจากเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทั้งนี้เพราะเห็นความสำคัญของการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่า “ปัญหาประวัติและวิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย อันเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ในด้านประวัติศาสตร์ทางความคิด (History of Idea) กลับไม่ได้ความสนใจจากนักศึกษาประวัติศาสตร์ไทยเท่าที่ควร” (ฉลอง, 2515: 68) และควรจะต้องตระหนักด้วยว่า ในขณะที่อาจารย์ฉลองทำการศึกษาค้นคว้าและอธิบายในประเด็นดังกล่าวนั้น นิธิ เอียวศรีวงศ์ เพิ่งผลิตผลงานที่ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ออกมาเพียงบทความเดียว คือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับอาร์โนลด์ ทอยน์บี (นิธิ, 2512) ส่วนผลงานที่โด่งดังอย่าง ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา นั้นยังไม่แล้วเสร็จจนกระทั่งปี 2523 (นิธิ, 2523) จึงอาจกล่าวได้ว่าอาจารย์ฉลองเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยเป็นคนแรกๆ และการให้ความสำคัญกับการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์เช่นนี้จะส่งผลอย่างสำคัญต่อมุมมองที่อาจารย์ฉลองมีต่อวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เขียนจะอธิบายต่อไปในภายหลัง

ในบทความดังกล่าว อาจารย์ฉลองมุ่งศึกษาพัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทยในช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงและเริ่มรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเป็นแบบแผนในการปฏิรูปปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า

1. ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ทัศนคติและวิธีการศึกษาแบบตะวันตกได้ทำให้แนวทางของประวัติศาสตร์ไทยดำเนินไปในแนวใหม่ ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มมีเค้าโครงใกล้เคียงความหมายที่แท้จริง ผิดจากประวัติศาสตร์ของพระราชวงศ์ ที่แสดงออกในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ก่อนหน้านั้น

2. พร้อมๆ กับการที่มีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในทางประวัติศาสตร์ วิธีการเขียนประวัติศาสตร์ไทยได้เริ่มเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าไปจากเดิม และการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยก็เริ่มมีฐานะสูงขึ้นและสำคัญมากขึ้น แม้ว่า “นักประวัติศาสตร์อาชีพ” ในความหมายที่แท้จริงจะยังไม่มีก็ตาม แต่สถาบันหลายสถาบันที่ก่อตั้งในระยะเวลาดังกล่าว ก็ได้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในแบบแผนตะวันตกมากขึ้น เป็นต้นว่า หอพระสมุด หนังสือพิมพ์วชิรญาณ และโบราณคดีสโมสร เป็นต้น (ฉลอง, 2515: 69-70)

ด้วยเหตุดังนั้น “วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย” จึงเป็นผลของการที่ทัศนคติและแนวคิดของการศึกษาแบบตะวันตกแพร่หลายเข้ามา แต่พลังทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติก็มิได้ถูกกลืนหายไปกับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกทั้งหมด ลักษณะบางประการของพงศาวดารแบบเดิมยังคงมีปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในงานเขียนของระยะที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง (ฉลอง, 2515: 81-82) อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าหลังจากผลงานชิ้นนี้เสร็จสิ้นแล้ว ความสนใจในประเด็นเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ของอาจารย์ฉลองดูจะเบาบางลงไป เพราะไม่ปรากฏว่ามีผลงานศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ตีพิมพ์ขึ้นมาอีก ต้องรอจนกระทั่งปี 2535 อาจารย์ฉลองจึงกลับมาเสนอผลงานในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์อีกครั้งจากบทความเรื่อง งานเขียนประวัติศาสตร์ของของคนพื้นเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคท้องน้ำสมัยจารีต: “หน้าที่” ของอดีต และ “การรับรู้อดีต” ของคนพื้นเมือง (ฉลอง, 2535ก) และ Maha Sila Viravongs Phongsawadon Lao: A Reappraisal ในปี 2542 ก่อนที่จะแปลและพิมพ์เป็นบทความภาษาไทยในปี 2549 (Chalong, 1999; ฉลอง, 2549)

มีความเป็นได้ว่าอาจารย์ฉลองจะนำเวลาทั้งหมดไปทุ่มเทกับวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของตนเอง จนแล้วเสร็จโดยใช้เวลาในการศึกษาเพียงสองปีเศษ แม้วิทยานิพนธ์ของอาจารย์ฉลองจะไม่ได้สนใประเด็นเรื่องประวัติศาสตร์นิพนธ์อีกต่อไป แต่ก็ยังมีความคาบเกี่ยวกันอยู่บ้างกับความสนใจที่ปรากฏออกมาในบทความวิชาการฉบับแรก นั่นก็คือ ความสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในช่วงเวลาที่กำลังมีความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ สูงเนื่องจากการขยายอิทธิพลเข้าของจักรวรรดินิยมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 - 6 ซึ่งผลงานเรื่อง รุสเซีย-ไทย สมัยรัชกาลที่ 5 - 6 (2518) ของอาจารย์ฉลอง ได้ใช้ความพยายามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสองเป็นแกนกลางในการอธิบายที่นำพาผู้อ่านไปสู่ความเข้าใจระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจของประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในการเมืองโลก การสถาปนาความสัมพันธ์สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรุสเซีย-ไทย จึงไม่ได้เป็นเรื่องของเพียงสองประเทศนี้เท่านั้น เป็นผลมาจากตำแหน่งแห่งที่ของประเทศทั้งสองในระบบการเมืองโลกที่มีทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ ตะวันออกไกล และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย (โปรดดู ฉลอง, 2518)

ประวัติศาสตร์การดำเนินนโยบายระหว่างประเทศของสยามดูจะอยู่ในความสนใจของอาจารย์ฉลองไปอีกนาน เพราะหลังจากหนังสือเล่มดังกล่าวพิมพ์ออกมาแล้ว อาจารย์ฉลองก็ยังผลิตผลงานทางวิชาการในประเด็นดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ บทวิจารณ์บทความ “ฝรั่งเศสและคลองกระ” (2527ข) สัมพันธภาพไทย-ลาวเชิงประวัติศาสตร์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 (2529ง)ประเทศไทยกับการเมืองโลก: การเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (2533ข) การเมืองเบื้องหลังการเสด็จประพาสยุโรป (2540) และ ไทยกับการประชุมสันติภาพนานาชาติกรุงเฮกครั้งแรก ค.ศ.1899 (2542) เป็นต้น

หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว อาจารย์ฉลองก็ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ของภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทันที ภายหลังจากนั้น ความสนใจในงานวิชาการของอาจารย์ฉลองดูแตกต่างหลากหลายและยากที่จะระบุลงไปให้ชัดเจนว่าอาจารย์ฉลองให้ความสนใจประวัติศาสตร์ด้านใดมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนอยากจะลองแบ่งความสนใจของอาจารย์ฉลองช่วงหลังจากการบรรจุเข้าเป็นอาจารย์ออกเป็น 3 ด้านกว้างๆ ด้านที่หนึ่ง คือ ความสนใจอันเกี่ยวกับ “หลักฐานทางประวัติศาสตร์” ทั้งที่รวบรวมด้วยตนเอง อาทิเช่น การรวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉลอง 2529ค; 2530ก; 2530ข) และเขียนคำนำให้กับหนังสือที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ อาทิ หนังสือเรื่อง ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง (2529ข) และ ประวัติศาสตร์ลาว ของเติม วิภาคย์พจนกิจ (2530) เป็นต้น

ความสนใจด้านที่สอง ได้แก่ การทำงานประเภท “การสำรวจสถานภาพทางความรู้” ซึ่งพบว่าอาจารย์ฉลองได้ผลิตงานในลักษณะดังกล่าวออกมาหลายชิ้นด้วยกัน อาทิ สถานภาพการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเทศไทย (2529ก) สถานภาพการศึกษาด้านประวัติศาสตร์: รายงานการสำรวจเบื้องต้นจากวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ พ.ศ.2515-2534 (2533) สถานภาพงานวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ.2503-2535 (2536) และ สถานภาพของความรู้ทางประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยีไทย (2541) ความสนใจทางวิชาการทางด้านนี้ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการเสนอประเด็นหรือข้อถกเถียงในทางวิชาการใหม่ แต่ก็มีคุณูปการแก่วงการวิชาการเป็นอย่างสูง เพราะงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้จะทิ้งข้อสงสัย รอยว่าง ช่องโหว่ ของการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเด็นต่างๆ เอาไว้ให้นักวิชาการรุ่นหลังหรือผู้ที่สนใจได้สานต่อ คุณูปการด้านนี้เห็นได้อย่างชัดเจนจากการวิจัยเรื่อง สถานภาพของความรู้ทางประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของผลงานการศึกษาประวัติศาสตร์แพทย์ไทยชิ้นเยี่ยมของ ทวีศักดิ์ เผือกสม จากหนังสือเรื่อง เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ในสังคมไทย (ทวีศักดิ์ 2550) ซึ่งทวีศักดิ์เป็นผู้ช่วยวิจัยคนหนึ่งของอาจารย์ฉลองในการประเมินสถานภาพความรู้ทางประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั่นเอง

ส่วนงานกลุ่มสุดท้าย ที่อาจารย์ฉลองเพิ่งผลิตขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ ที่แม้ว่าจะมีปรากฏออกมาเป็นจำนวนน้อยเพียง 2-3 ชิ้น คือ โหรไทยกับประวัติศาสตร์โลก: เมื่อโหรไทยทำนายดวงพระชาตามกุฎราชกุมารรัสเซีย (2549ข) Small Arms, Romance, Crime and Violence in Post World War II Thai Society (2005) และ The Regionalization of Local Buddhist Saints: Amulets, Crime and Violence in Post WW II Thai Society (2013) แต่ผลงานทั้งหลายเหล่านี้กลับเป็นงานที่โดดเด่นที่สุดของอาจารย์ฉลอง เพราะเป็นผลงานที่ประหนึ่งว่าถูกทำคลอดออกมาจากองค์ความรู้และความสนใจอันหลากหลายที่อาจารย์ฉลองสั่งสมมาตลอดชีวิตทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองบทความหลังที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นผลงานทางวิชาการที่อธิบายสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อย่างรอบด้าน อาจารย์ฉลองนำเอาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่ดูเหมือนว่าไม่น่าจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันได้เลย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมและการบูชาพระเครื่อง, นักเลงและอันธพาล, ความรุนแรงและอาชญากรรม, สงครามโลกครั้งที่สอง, ปืนเล็กและความรู้ทางการทหาร, วัฒนธรรมการเขียนนิยาย, ความอ่อนแอของรัฐ ฯลฯ มาเชื่อมโยงจนได้ผลงานทางประวัติศาสตร์ที่ฉายภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่รอบด้าน ลุ่มลึก และอ่านสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นอย่างยิ่ง โดยที่อาจารย์ฉลองได้กล่าวถึงการศึกษาของตนเองไว้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่พยายามจะพูดถึงสิ่งที่ไม่เคยถูกพูดถึงในประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักเลย (Chalong, 20013: 207-208)

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าอาจารย์ฉลองเป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีความสนใจหลากหลายและกว้างขวางมาก และผลงานทางวิชาการที่อาจารย์ฉลองผลิตออกมานั้นล้วนเป็นผลงานที่มีคุณภาพสูงและมีประโยชน์ต่อวงวิชาการไทยเป็นอย่างยิ่ง ประเด็นที่เราควรพิจารณาต่อไปก็คือผลงานต่างๆ เหล่านี้นั้นสะท้อนมุมมองที่อาจารย์ฉลองมีต่อวิชาประวัติศาสตร์อย่างไรซึ่งผู้เขียนขอยกไว้เล่าในบทความตอนต่อไป

 


บรรณานุกรม

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2515). “วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย จากเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ: ศึกษาเปรียบเทียบพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2,” วารสารศิลปากร, (ปีที่ 16 เล่มที่ 4, 2515), น.68-82.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2518). รุสเซีย-ไทย สมัยรัชกาลที่ 5-6. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2527ก). “ความเชื่อเรื่องพระศรีอาริย์และกบฏผู้มีบุญในภาคอีสาน: ข้อสังเกตเบื้องต้นว่าด้วยอุดมการณ์และผู้นำ” ใน พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล และอัจฉราพร กมุทพิสมัย (บก.) ความเชื่อพระศรีอาริย์และกบฏผู้มีบุญในสังคมไทย.กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, หน้า 22-32.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2527ข). “บทวิจารณ์บทความ “ฝรั่งเศสและคลองกระ” ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง 300 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสจัดโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 14-15 ธันวาคม 2527.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2529ก) “สถานะของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 3-4 (เมษายน-กันยายน 2529) หน้า 53-63

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2529ข). “คำนำ,” ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง. เสถียร พันธรังสี และอัมพร ทีขะระ แปล. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2529ค). “รากเหง้าของความเปลี่ยนแปลง: เอกสารประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2469-2474.” วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2529) น. 74-112.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (2529ง). “สัมพันธภาพไทย-ลาวเชิงประวัติศาสตร์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20,” ศิลปวัฒนธรรม. ปี่ที่ 8 ฉบับที่ 1 (พฤศจิกายน 2529). น.142-155.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2530ก). “รากเหง้าของความเปลี่ยนแปลง: เอกสารประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2469-2474.” วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2530) น. 68-80.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2530ข). “รากเหง้าของความเปลี่ยนแปลง: เอกสารประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2469-2474.” วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2530) น. 58-81.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2533ก). “ถิ่นกำเนิดชนชาติไท: สมมุติฐานของนักวิชาการตะวันตก.” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2533 เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา เรื่อง ชนชาติไทย: คำถามที่ต้องช่วยกันตอบ วันที่ 18-19 ตุลาคม 2533 ณ ห้อง 116 ตึกอักษรศาสตร์ 1 คณะอักษรศาสตร์ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2533ข). “ประเทศไทยกับการเมืองโลก: การเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.” นโยบายต่างประเทศไทยบนทางแพร่ง. ฉันทิมา อ่องสุรักษ์ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2535ก). “งานเขียนประวัติศาสตร์ของคนพื้นเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคน้ำสมัยจารีต: “หน้าที่” ของอดีตและ “การรับรู้อดีต” ของคนพื้นเมือง.” เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: คาบสมุทรและกลุ่มเกาะ” จัดโดยภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และทัศนศึกษาชายฝั่งทะเลคาบสมุทรไทย วันที่ 23-28 มิถุนายน 2535.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2535ข). “สถานภาพการศึกษาด้านประวัติศาสตร์: รายงานการสำรวจเบื้องต้นจากวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ พ.ศ.2515-2534.” วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎคม-ธันวาคม 2535)

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2536). รายงานการวิจัยเรื่อง สถานภาพงานวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ไทย ระหว่าง พ.ศ.2503-2535. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2540). “การเมืองเบื้องหลังการเสด็จประพาสยุโรป” รายงานการวิจัยนำเสนอในการประชุมทางวิชาการเรื่อง ยุโรปกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: โอกาส ความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลง จัดโดยสยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมป์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 18-20 ธันวาคม 2540 ณ โรงแรม เจ ดับลิว แมริออท.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2541). สถานภาพความรู้ทางประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2542). “ไทยกับการประชุมสันติภาพนานาชาติกรุงเฮกครั้งแรก ค.ศ. 1899” รัฐศาสตร์สารปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (2542) หน้า 1-36.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2544). “บทวิจารณ์อานันท์ กาญจนพันธุ์ “สังคมไทยตามความคิดและความใฝ่ฝัน ในงานของอาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา,” 60 ปี ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง). น. 229-245.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2549ก). “พงสาวะดานลาว ของ มหาสิลา วีระวงศ์,” จักรวาลวิทยา. (กรุงเทพฯ: มติชน). น. 2-37.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2549ข). “โหรไทยกับประวัติศาสตร์โลก: เมื่อโหรไทยทำนายดวงพระชาตามกุฎราชกุมารรัสเซีย.”  ศิลปวัฒนธรรม  ปีที่ 27  ฉบับที่ 3 หน้า 78-91

ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (2553). ไร้สาระ: บางส่วนของบันทึกและงานเขียนอันปราศจากคุณค่าและไม่สมควรรำลึกจดจำในช่วงชีวิต 43 ปีเศษๆ ในจุฬาฯ. กรุงเทพฯ: ศอฉ.ศูนย์อำนวยการการเกษียณอายุการทำงานของอาจารย์ฉลอง.

ธนาพล ลิ่มอภิชาต และสุวิมล รุ่งเจริญ บรรณาธิการ (2558). เจ้าพ่อ ประวัติศาสตร์ จอมขมังเวทย์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2512). “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับอาร์โนลด์ ทอยน์บี”, สังคมศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน-สิงหาคม).

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2523). ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

เติม วิภาคย์พจนกิจ (2530). ประวัติศาสตร์ลาว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ทวีศักดิ์ เผือกสม (2550). เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chalong Soontravanich (1999). “Maha Sila Viravong’s Phongsawadon Lao: A Reappraisal.” A research paper presented to the 7th International Conference on Thai Studies, University of Amsterdam, July 5-8.

Chalong Soontravanich (2005). “Small Arms, Romance, Crime and Violence in Post World War II Thai Society.” Southeast Asian Studies. Vol. 43, No. 1. 2005.

Chalong Soontravanich (2013). “The Regionalization of Local Buddhist Saints: Amulets, Crime and Violence in Post-World War II Thai Society.” SOJOURN: Journal of Social Issues in Southeast Asia. Vol. 28, No.2 (2013) pp. 179-215.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สตช. สั่งตรวจสอบสมาพันธ์พนง.สอบสวนจดทะเบียนถูกต้องหรือไม่ คาดอาจมีเบื้องหลัง

$
0
0

15 ก.พ. 2559 จากกรณี พ.ต.ท.จันทร์ ชัยสวัสดิ์ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ สน.เทียนทะเล ถูกพบเป็นศพในลักษณะผูกคอเสียชีวิตภายในบ้านพักย่านบางขุนเทียนเมื่อช่วงเช้ามืดวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากเขาในฐานะเลขาธิการสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติเคยเข้าร้องเรียนกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  เพื่อขอความเป็นธรรมและทบทวนการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 6/2559 เกี่ยวกับการยุบเลิกตำแหน่ง และเงินประจำตำแหน่ง พนักงานสอบสวน ตามคำสั่ง คสช.ที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 8 ก.พ.59 (อ่านรายละเอียด) โดยหลังจากนั้น พ.ต.อ.ภรภัทร เพ็ชรพยาบาล ในฐานะประธานสหพันธ์พนักงานสอบสวนฯ ดังกล่าวได้แถลงประกาศยุติบทบาท (อ่านรายละเอียด)

วันนี้ ( 15 ก.พ.59) สำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า พล.ต.ต.ทรงพล วัธนะชัย รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยอมรับว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพนักงานสอบสวน ที่ออกมาเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ อาจมีกลุ่มบุคคลอยู่เบื้องหลัง ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ด้านพล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่าการเคลื่อนไหวของตำรวจสายงานสอบสวนค้านคำสั่ง คสช. ยุติลงแล้ว ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ทั้งสิ้น โดยช่วงบ่ายวันนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ซึ่งจะมีวาระเกี่ยวกับการแต่งตั้งพนักงานสอบสวน โดยผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะชี้แจงและทำความเข้าใจถึงสิทธิผลประโยชน์อันพึงมีของพนักงานสอบสวนที่ยังคงมีอยู่เช่นเดิม และข้อสรุปที่ได้ในวันนี้จะนำไปชี้แจงกับกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อไป และยอมรับว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ระหว่างการตรวจสอบการจัดตั้งสมาพันธ์พนักงานสอบสวน (บางสื่อใช่คำว่า 'สหพันธ์' - ประชาไท) ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ โดยยอมรับว่ามีเพียงสมาคมพนักงานสอบสวน สมาคมเดียวเท่านั้นที่จดทะเบียนถูกต้อง

ส่วนกรณีการเสียชีวิตของพ.ต.ท. จันทร์ เป็นคนละส่วนกับการเคลื่อนไหวให้ทบทวนคำสั่ง คสช. แต่เชื่อว่าอาจมีปัจจัยมาจากความเครียดอื่น  ส่วนกรณีนายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตว่า พ.ต.ท. จันทร์ อาจถูกฆาตกรรม และมีการนำเสนอข้อความทางแอพพลิเคชั่นไลน์ พาดพิงผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว แต่ยืนยันว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติคงไม่มีการฟ้องร้อง

พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ยังยอมรับว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีมาตรการเฝ้าระวังระดับสูงสุดเข้มงวดบุคคลเข้าออก โดยกองบังคับการตำรวจสันติบาล 3 มีคำสั่งให้ดูแลบุคคลและผู้บังคับบัญชาระดับสูงตามระเบียบอยู่แล้ว หลังปรากฎข้อความผ่านทางไลน์ ให้ตรวจค้นตำรวจนอกหน่วยที่เข้ามาในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ห้ามพกพาอาวุธปืน โดยยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มพนักงานสอบสวนที่เห็นต่าง และที่ผ่านมาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือนายตำรวจระดับสูง ไม่มีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: ส่องวงการบันเทิง นักแสดง-บท 'คนพิการ' หายไปไหน-ทำไมต้องมี?

$
0
0

ต้นปีที่ผ่านมา เอียน เบอเรล (Ian Birrell) คอลัมนิสต์ชาวอังกฤษ ผู้มีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นคนพิการเป็นทุนเดิม และมีผลงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของคนพิการหลายชิ้น รวมทั้งลูกคนเล็กของเขาป่วยด้วยภาวะผิดปกติด้านการเรียนรู้ ได้เขียนบทความในเว็บสำนักข่าวดิอินดิเพนเดนท์ เกี่ยวกับบทบาทการแสดงของคนพิการในสื่อชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในภาพยนตร์และละคร โดยเล่าถึงความแปลกใจต่อซีรีย์เรื่องหนึ่ง ที่แสดงโดยคนแคระ แต่กลับไม่ได้นำความแคระแกร็นเหล่านั้นมาเป็นจุดเด่นในการแสดง กรณีแบบนี้หาได้ยากเพราะโดยทั่วไปมายาคติเกี่ยวกับความพิการ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของโศกนาฏกรรมหรือภาพความสำเร็จบนชะตากรรมที่ทุกข์ยากอยู่เสมอ

เบอเรลอ้างถึงผลการศึกษาว่า ร้อยละ 16 ของผู้ที่ได้รับรางวัลออสการ์ ล้วนแสดงในบทบาทของคนพิการ หรือผู้ที่มีปัญหาทางจิต พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า บทบาทเหล่านั้นกลับไม่ได้แสดงโดยคนพิการ เช่น แดเนียล เดย์ ลิวอิส จากเรื่อง ลินคอล์น (Lincoln), ดัสติน ฮอฟแมน จากเรื่องเรน แมน (Rain man), เจฟฟรีย์ รัช หรือแม้แต่ทอม แฮงค์ จากเรื่อง ฟอเรซ กัมป์ (Forrest Gump) ดังเช่นเรื่อง “The Theory of Everything” นำแสดงโดยเอ็ดดี เรดเมนี (Eddie Redmayne) ซึ่งขึ้นรับรางวัลออสการ์ ในบทบาทของ สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) ในปี 2015
 


เว็บช่อง 4 ประกาศวิสัยทัศน์เรื่องความหลากหลาย
ภาพหน้าจอ ช่อง 4

บีบีซี ทีวีสาธารณะของอังกฤษเปิดเผยว่า คนอังกฤษ 1 ใน 5 มีสัญลักษณ์ของความพิการปรากฏอยู่ แต่มีเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้นที่มีโอกาสเปิดเผยในสื่อ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาของนักแสดง หรือผู้จัด แต่ยังเกี่ยวเนื่องกับทัศนคติของสังคมในวงกว้างกว่านั้น อีกทั้งให้คำมั่นสัญญาว่า ในปีหน้าจะเพิ่มจำนวนคนพิการบนจอทีวีขึ้นอีก 4 เท่าจากปัจจุบัน ขณะที่ช่อง 4 ทีวีสาธารณะอีกช่องของอังกฤษ วางแผนว่าจะเพิ่มตัวแสดงหลักอย่างน้อยเรื่องละ 1 คน ที่มาจากกลุ่มคนชายขอบ โดยกล่าวในเว็บไซต์ www.channel4.com ว่า ต้องการเพิ่มความหลากหลาย โดยครอบคลุมถึงเรื่องคนพิการ, LGBT (กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ), กลุ่มชาติพันธุ์ และเรื่องเพศอีกด้วย


ทีเซอร์ ซีรีย์ ‘บอร์น ดิส เวย์’ 

ปีที่แล้วในอเมริกา ซีรีย์ ‘บอร์น ดิส เวย์’ เริ่มฉายเป็นครั้งแรก โดยนักแสดงทั้งหมดล้วนเป็นดาวน์ซินโดรม บอร์น ดิส เวย์นำเสนอเรื่องราวของ 7 หนุ่มสาว ทั้งในแง่การใช้ชีวิต อาชีพ ความรัก รวมไปถึงการสร้างครอบครัว ซึ่งคริสตินา หนึ่งในนักแสดงเรื่องนี้ก็กำลังจะแต่งงานกับแฟนหนุ่มซึ่งคบหากันมากว่า 4 ปี นอกจากซีรีย์เรื่องนี้จะแปลกใหม่ในสายตาของผู้ชมแล้ว ยังแฝงไปด้วยแง่คิดและมุมมองใหม่ๆ ที่สวนทางกับมายาคติของสังคมภายนอก ทั้งยังได้รับกระแสตอบรับที่น่าสนใจจากสังคม เช่น บางคนคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ตลกขบขัน จริงใจ และน่าสนใจ หรือกล่าวว่า เรื่องนี้ทำให้อบอุ่นหัวใจ เพราะไม่ว่าจะเป็นใคร ก็สามารถมีความสุขกับตัวตนของเราได้

ปลายปีที่แล้ว วงการภาพยนตร์ไทยก็มีภาพยนตร์สร้างกระแสอย่าง ‘เดอะดาวน์ เป็นคนธรรมดามันง่ายไป’ ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่ใช้เวลาถ่ายทำกว่า 1 ปี ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตประจำวันผ่านนักแสดงที่เป็นดาวน์ซินโดรม 5 คน ทั้งในแง่การใช้ชีวิต การทำงาน และที่สำคัญภาพยนตร์เรื่องนี้เทน้ำหนักไปที่ความสำคัญของครอบครัวว่า มีส่วนช่วยในการสนับสนุนให้คนที่เป็นดาวน์ซินโดรมเข้ามามีบทบาทในสังคมได้อย่างไร ซึ่งได้กระแสตอบรับที่ดีจากผู้ชม บ้างก็ว่าทำให้รู้จักคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมมากขึ้น บ้างก็ว่าได้รับกำลังใจที่ดีจากภาพยนตร์เรื่องนี้
 


ลูกเกด หนึ่งในกรรมการพูดถึง เฟิร์ส ธัญชนก
(ที่มา:
เฟซบุ๊กเพจ สงครามนางงาม)

ไม่นานมานี้ มีผู้สมัครคัดเลือกนักแสดงจากละคร สงครามนางงาม ซีซั่น 2 ‘เฟิร์ส ธัญชนก’ ซึ่งพิการทางการได้ยิน และต้องอาศัยภาษามือในการสื่อสาร สามารถชนะใจกรรมการ และเข้าไปเป็น 1 ใน 10 นักแสดงตัวจริงในบทบาทของแม่ค้าขายเสื้อผ้าหูหนวก ท่ามกลางกระแสสังคมที่ต่างพร้อมใจกันกล่าวว่า เฟิร์สนั้นมีความสามารถทางการแสดงเทียบเท่าหรือมากกว่าคนไม่พิการ แต่กรรมการส่วนใหญ่ก็ยังมีความกังวลว่า เธอนั้นจะสามารถท่องบท สื่อสารให้คนดูเข้าใจ และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างไร รวมทั้งอาจต้องใช้เวลาในการถ่ายทำเพิ่มขึ้นอีกด้วย

กรณีของเฟิร์ส นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของวงการบันเทิงไทย เพราะช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ของคนในสังคมที่มีต่อคนพิการ ซึ่งเห็นได้จากแรงเชียร์มากมายที่มีต่อเธอ

ด้วยความที่อาชีพนักแสดงพิการยังเป็นเรื่องแปลกใหม่ในไทย จึงมักเกิดความกังวลใจว่า คนพิการจะสามารถโลดแล่นบนจอทีวีได้อย่างไร แม้ว่ามีความพยายามในการเพิ่มเติมบทบาทของกลุ่มคนเหล่านี้ แต่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปี ผู้ที่รับบทเหล่านี้ ส่วนมากยังคงเป็นนักแสดงที่ไม่ได้มีความพิการแต่อย่างใด เห็นได้จากบทบาทของ ’ชายน้อย’ ในเรื่อง ’บ้านทรายทอง’ ซึ่งเน้นย้ำให้เกิดภาพจำแห่งความน่าสงสาร และรู้สึกต้องสงเคราะห์อยู่ตลอดเวลา  หากแม้มีนักแสดงที่เป็นคนพิการ ก็มักถูกนำเสนอในรูปแบบของสารคดี ที่นำเสนอชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น เสมือนกับว่า ‘แค่ได้รับรู้เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ก็เป็นเรื่องน่าสนใจไปเสียแล้ว’

เป็นเรื่องน่าสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่ค่อยพบนักแสดงที่เป็นคนพิการ เข้ามาเล่นในบทบาทอื่นๆ ที่ไม่ได้นำความพิการเหล่านั้นมาเป็นจุดเด่น เช่น เล่นในบทบาทของตัวเอก เพื่อนตัวเอก ผู้ร้าย แม้แต่ประกอบฉาก  หรือเล่นในบทบาทด้านอาชีพ เช่น พนักงานบริษัท ครู หมอ ตำรวจ นักธุรกิจ ฯลฯ กล่าวคือ ทำไมบทบาทที่ผู้พิการเล่นจึงมีลักษณะกึ่งสารคดี แทนที่จะแสดงในบทบาท ‘ปกติ’ เหมือนกับนักแสดงทั่วๆ ไป
 


ครรชิต สพโชคชัย

ครรชิต สพโชคชัย กรรมการผู้จัดการและผู้กำกับหนังโฆษณา บริษัท หับ โห้ หิ้น จำกัด ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทคนพิการในสื่อไทยว่า บทบาทของคนพิการในวงการบันเทิงไทยนั้นยังนับว่ามีน้อย ซึ่งอาจเกิดจากหลายๆ ปัจจัย เช่น ผู้เขียนบทไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมหรือใกล้ชิดกับคนพิการ ไม่เคยรับรู้ และไม่มีจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องความพิการ จึงไม่ปรากฏภาพความพิการเหล่านั้นในบทที่เขียน รวมทั้งภาพจำของสังคมที่เห็น ไม่ค่อยมีภาพคนพิการอยู่ในความทรงจำเหล่านั้น จึงทำให้การถ่ายทอดเป็นไปตามความเคยชินที่พบเจอ จนทำให้ภาพของคนพิการไม่ได้ถูกหยิบยกมานำเสนอ

“ถ้าเราอยากผลักดัน เราอาจจะต้องเอาตัวอย่างของคนพิการมานำเสนอให้น่าสนใจขึ้น ให้คนมองเห็นขึ้น มองเห็นแบบไหนด้วย มองแบบยอมรับว่าเขาก็เป็นเรื่องปกติ หรือมองแบบที่คนไทยชอบมองว่า ต้องสงสาร ต้องให้ความเมตตา มันก็จะถูกทำซ้ำ และวางบทบาทแบบนั้น ซึ่งผมเห็นว่าเราควรจะเลิกคิดแบบนี้” เขากล่าว

เขากล่าวต่อว่า คนไทยยังอาจมองว่าคนพิการทำนั่น ทำนี่ไม่ได้ ชีวิตต้องน่าเวทนา และข้องเกี่ยวกับบาปบุญ คุณโทษตลอดเวลา เสมือนว่ามีลิสต์รายการสำหรับคนพิการว่า สามารถทำสิ่งนี้ได้ และสิ่งนั้นไม่ได้ พอพบเจอคนพิการที่มีชีวิตที่เท่าเทียมคนไม่พิการ เลยถูกมองว่าแปลก ซึ่งความคิดเหล่านี้ยังเป็นทัศนคติที่ต้องขยับเขยื้อนในสังคม

นอกจากขยับความคิดของสังคมแล้ว เขากล่าวว่า ตัวคนพิการเองก็ต้องหลุดออกจากกรอบความพิการ เพิ่มทักษะ และต้องมีบรรทัดฐานความสามารถในการแสดงเท่ากันกับคนไม่พิการด้วย

“สิบปีที่แล้วเคยเป็นอาสาสมัครทำสารคดีให้กับเครือข่ายผู้ติดเชื้อ HIV แล้วได้ไปสัมภาษณ์พี่คนหนึ่ง เขาพูดสิ่งซึ่งผมคิดว่าจริงว่ะ เขาบอกว่า ถ้าอยากจะให้คนไทยทั่วไปยอมรับผู้ติดเชื้อ จุดแรกเลยผู้ติดเชื้อก็ต้องยอมสลายตัวเองลง ยอมสลายกำแพงของตัวเองออก ยอมสลายความเป็นผู้ติดเชื้อของตัวเองออก แล้วก็บอกว่าตัวเราก็คือคนปกติ” เขาเสริม

เขากล่าวว่า สื่อมีบทบาทสูง ในการรวมกลุ่มคนต่างๆ เข้าด้วยกัน เพราะคนบริโภคเนื้อหาจากสื่อ จนค่อยๆ ซึมซับไปโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงควรเลิกการใช้คำจำกัดความ เช่น คนชายขอบ คนพิการ เพื่อลดการแบ่งกลุ่มและขจัดความสงสาร  สงเคราะห์ และสร้างให้เกิดภาพจำใหม่ๆ ว่าคนพิการก็มีความสามารถทัดเทียมคนไม่พิการ รวมทั้งต้องสะท้อนกลับไปสู่สังคมว่า ‘เราแข็งแรงนะ เราทำได้’

นอกจากนั้น นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องเคาท์ดาวน์ จากค่ายจีทีเอช ซึ่งมีประสบการณ์ในการกำกับเอ็มวีและโฆษณา ได้ให้ความเห็นว่า ความไม่หลากหลายในวงการบันเทิงนั้นเกิดขึ้นทุกๆ ประเทศ บางครั้งคนพิการอาจเล่นได้ดีในบทบาทหนึ่งๆ เท่านั้น จึงทำให้ความหลากหลายในการรับงานหายไป แต่ในทางกลับกัน หากมีบทบาทที่เหมาะสม เขาเชื่อว่าคนพิการเป็นตัวเลือกที่เพอร์เฟ็กต์



โฆษณา S&P นำแสดงโดยชายซึ่งพิการทางสายตา

ในปีที่ผ่านมา เขาได้ถ่ายทำโฆษณาสองเรื่อง ซึ่งมีตัวเอกที่เป็นผู้พิการทางสายตา หนึ่งในนั้นคือโฆษณาของ S&P โดยมีแนวคิดที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการหรือไม่พิการ ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่ต้องการได้ เป็นในสิ่งที่อยากเป็นได้ รู้สึกอย่างที่พวกเรารู้สึกได้ และสามารถรักลูก ห่วงลูกได้ ซึ่งเขาเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนไม่พิการแสดงไม่ได้ ด้วยท่าทาง รายละเอียดในการแสดงต่างๆ อีกทั้งอินเนอร์บางอย่างที่ไม่สามารถเลียนแบบได้ ซึ่งการทำงานก็มีความยากขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ด้วยความเชื่อมั่นและร่วมมือ ผลลัพธ์ที่ได้จึงค่อนข้างน่าพอใจ

“ก็เป็นการพิสูจน์ในทางการสร้างและคนดูทั่วไปว่าเห็นไหม เขาก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องเอาคนที่เป็นนักแสดงซึ่งคิดว่าจะเล่นเก่งมาเล่น เราต้องทำให้ผู้พิการทางสายตาได้พัฒนาศักยภาพตัวเอง ทางด้านการแสดงขึ้นมาให้เทียบเท่าคนไม่พิการให้ได้ นี่คือความเชื่อผม” เขากล่าว

เขากล่าวว่า ในไทย ทิศทางของภาพยนตร์ ซีรีย์ ละครต่างๆ ก็กำลังถูกขยายกรอบออกไป เป็นผลจากการทำงานของกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ที่ช่วยกันลบล้างมายาคติเดิมๆ ที่ว่า การมีคนพิการในสื่อจำเป็นต้องมีปมหลังบางอย่าง แต่ควรทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วมันไม่สำคัญ ความเป็นมนุษย์คือความเป็นมนุษย์ ไม่ได้ถูกแบ่งย่อยด้วยความพิการ และหากทำอย่างเข้มแข็งพอ น่าจะนำไปสู่จุดที่ว่านักแสดงที่ดี คือนักแสดงที่เก่งและสามารถรับได้ทุกบทบาท โดยไม่จำเป็นต้องแยกแยะว่า นี่คือคนพิการหรือไม่อย่างไร

“หวังว่าในหนังจะมีตัวละครที่เป็นคนพิการ ที่การเป็นคนพิการของเขาไม่ได้ถูกโปรในด้านดราม่า ก็เป็นแค่ตัวละคร ก็เป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง ที่มีความรู้สึกเหมือนกับพวกเราทั่วๆ ไป ซึ่งผมเชื่อว่า วันนั้นจะมาถึงในเร็ววัน”

 

 

อ้างอิง 
“Where are the disabled actors?”
http://www.independent.co.uk/voices/where-are-the-disabled-actors-a6831001.html
“New TV Series Features Young Adults With Down Syndrome” https://www.disabilityscoop.com/2015/11/16/new-tv-series-down-syndrome/20963/

สงครามนางงาม The Casting Project (นาทีที่ 10.57) 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

$
0
0

"การที่ผู้คนสงสัยถามว่า "มีอาชีพนั้นๆ ไว้ทำไม?" ไม่ใช่เขาไม่รู้ว่า อาชีพคุณมีหน้าที่อะไร แต่อาจเป็นเพราะว่า คุณมีหน้าที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่ยังไปทำเรื่องอื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ หรือที่ยิ่งแย่คือ ไปทำเรื่องที่สาธารณชนเดือนร้อนเสียหาย คนที่ถามว่า "มีอาชีพนั้นๆ ไว้ทำไม?" นั้นเขาหมายความว่า คุณรู้หน้าที่ของตัวเองหรือเปล่า? แค่นั้น"

บางส่วนจากโพสต์ในเฟซบุ๊ก, 15 ก.พ. 2559

พระฝ่าวงล้อมทหารชุมนุมพุทธมณฑล จี้รบ.เร่งสถาปนาสังฆราช - หนุนพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

$
0
0

15 ก.พ. 2559 ขณะที่ Voice TVรายงานด้วยว่า พระสงฆ์และประชาชน จากศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย สมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา และศูนย์ประสานงานเครือข่ายพระเมธีธรรมมาจารย์ ร่วมสัมมนา หัวข้อ "สกัดแผนล้มการปกครองคณะสงฆ์ไทย" ที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อแสดงออก ต่อต้านการกระทำของพระพุทธะอิสระ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทาง และมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ของ สปช. พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลทูลเกล้าแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช และจะอยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกันถึงวันพรุ่งนี้ (16 ก.พ.)

ขณะที่ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี มีตำรวจ และทหาร ปิดประตูเข้า-ออกวัด โดยนายเสริมวิทย์ สมบัติ ปลัดอำเภอคลองหลวง เปิดเผยว่า เพื่อทำความเข้าใจกับพระในวัดธรรมกาย เพราะกังวลว่า จะเดินทางไปรวมตัวที่พุทธมณฑล แต่ภายหลังไม่พบว่าจะมีการนำพระหรือมวลชนไปร่วม ตำรวจและทหารจึงได้กลับไป
 
วางมวย! คลิปเต็ม บรรยากาศพระปะทะทหาร ที่พุทธมณฑล

วางมวย! คลิปเต็ม บรรยากาศพระปะทะทหาร ที่พุทธมณฑล ทหารกว่า 50นายพยายามสกัดกั้นรถที่จะเข้ามาชุมนุมในพุทธมณฑล โดยมีพระภิกษุสงฆ์นับร้อยพยายามผลักดันให้รถเข้าก่อนเกิดปะทะกันเมื่อเวลาประมาณ 13.00น.วันนี้(15 ก.พ.)บริเวณหน้าปากทางเข้าสำนักพุทธฯ ได้มีกำลังทหารจากกองพันทหารราบที่ 5 จำนวนกว่า 50 นายพยายามสกัดกั้นไม่ให้รถยนต์ไม่ให้เข้าไปชุมนุมกันในสำนักพุทธ โดยมีพระภิกษุสงฆ์นับร้อยพยายามผลักดันให้ทหารหลีกทางเพื่อให้รถเข้าไป ก่อนที่จะกำลังทหารจะนำรถจี๊ปมาปิดกั้น ทำให้พระไม่พอใจจึงทำการช่วยกันยกรถ ด้านทหารก็พยายามดันกลับไม่ให้ยกรถ จึงเกิดการปะทะกันถึงขั้นชกต่อย ก่อนที่จะมีการห้ามปรามให้ยุติ ซึ่งทหารก็ยินยอมให้รถผ่านไปโดยไม่เต็มใจ เพราะไม่สามารถสกัดกั้นได้ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในมีพระสงฆ์เข้าร่วมประมาณ 4000 รูป โดยยังไม่รวมจำนวนชาวพุทธที่ตามมาสมทบกับพระสงฆ์อีกจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีบางกลุ่มไดเนำเต้นมากาง ลักษณะเหมือนจะมีการค้าง จากการสอบถามข้อมูลผู้ที่มาร่วมชุมนุมกันวันวันนี้ทราบว่า ที่มาในวันนี้ ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายวัดพระธรรมกาย สำหรับการชุมนุมดังกล่าวเป็นการแสดงจุดยืนว่า ไม่พอใจรัฐบาลที่ปล่อยให้ มีกลุ่มบุคคลวิจารณ์คณะสงฆ์ รวมทั้งแสดงจุดยืนการเสนอตั้งสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งจะสนับสนุนให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการจัดกิจกรรมดังกล่าวมี พระเมธีธรรมจารย์ เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (ศพศ) เป็นผู้ประสานงานผู้สื่อข่าวเวิร์คพอยท์ จ.นครปฐมรายงาน

Posted by Workpoint News - ข่าวเวิร์คพอยท์ on 14 กุมภาพันธ์ 2016

 

Workpoint News - ข่าวเวิร์คพอยท์ รายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ที่บริเวณหน้าปากทางเข้าสำนักพุทธฯ ได้มีกำลังทหารจากกองพันทหารราบที่ 5 จำนวนกว่า 50 นายพยายามสกัดกั้นไม่ให้รถยนต์ไม่ให้เข้าไปชุมนุมกันในสำนักพุทธ โดยมีพระภิกษุสงฆ์นับร้อยพยายามผลักดันให้ทหารหลีกทางเพื่อให้รถเข้าไป ก่อนที่จะกำลังทหารจะนำรถจี๊ปมาปิดกั้น ทำให้พระไม่พอใจจึงทำการช่วยกันยกรถ ด้านทหารก็พยายามดันกลับไม่ให้ยกรถ จึงเกิดการปะทะกันถึงขั้นชกต่อย ก่อนที่จะมีการห้ามปรามให้ยุติ ซึ่งทหารก็ยินยอมให้รถผ่านไปโดยไม่เต็มใจ เพราะไม่สามารถสกัดกั้นได้ 

นอกจากนี้ในคลิปจากข่าวเวิร์คพอยท์ ประมาณนาทีที่ 3.30 มีเสียงถามพระที่มาร่วมชุมนุมนั้นด้วยว่า "เขาจ้างมาเท่าไหร่"

จากนั้น ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า ช่วงเย็นของวันนี้ พระเมธีธรรมาจารย์ เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย จะมีการแถลงข่าว และอ่านสังฆามติถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ โดยมีเนื้อหายืนยันถึงจุดประสงค์ในการชุมนุนมีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ คือ 1. เสนอให้บรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ 2. ให้รัฐบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเร่งสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ในทันที โดยให้เป็นไปตามวาระที่เหมาะสม 3. เพื่อเป็นการแสดงพลังให้พระบางรูปที่เป็นปฏิปักษ์ จาบจ้วงประมุขสงฆ์ให้รู้สำนึกว่าการแสดงพลังไม่ได้ทำได้เฉพาะที่แจ้งวัฒนะเท่านั้น และ ข้อ 4. เพื่อแสดงออกในการปกป้องพระพุทธศาสนาจากภัยความมั่นคงเเละภัยคุกคามตามความเชื่อ

ไพบูลย์ยื่นดีเอสไอ ตรวจสอบการทำหน้าที่สมเด็จช่วง ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปกป้องธรรมกาย

สำนักข่าวไทยรายงาน ด้วยว่า ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)  นายไพบูลย์ และ นพ.มโน เลาหวณิช อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตพระวัดพระธรรมกาย ยื่นหนังสือถึงอธิบดีดีเอสไอเพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์หรือสมเด็จช่วง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและประธานกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) สืบเนื่องจากมติที่ประชุมมส. ที่ระบุว่าประเด็นลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช  กรณีอาบัติปาราชิกของพระธัมมชโย  เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสิ้นสุดลงแล้ว

นายไพบูลย์ กล่าวว่า หากพิจารณาข้อเท็จจริงจะพบว่าพระลิขิตยังไม่สิ้น สุดเพราะคดี มส.แถลงเป็นคดีที่ฆราวาส 2 รายฟ้องไม่ใช่เรื่องของพระลิขิตซึ่งไม่พบว่าเคยมีการดำเนินการ  แต่มีความพยายามเบี่ยงเบนให้เป็นเรื่องเดียวกัน  นอกจากนี้ยังมีข้อครหาเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าสมเด็จช่วงมีความสัมพันธ์และผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับพระธัมมชโย จึงต้องสงสัยว่าอาจเป็นผู้ให้การช่วยเหลือกัน จึงไม่ต้องการให้พระธัมมชโยสละสมณเพศ  พฤติการณ์ดังกล่าวจึงอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จึงต้องการยื่นให้ดีเอสไอรับสอบสวนเป็นคดีพิเศษ
 
นายไพบูลย์  ยังเรียกร้องให้ ดีเอสไอตรวจสอบสมเด็จช่วง ที่มีข้อสงสัยอาจเข้าข่ายมีพฤติการณ์ทุจริตเชื่อมโยงกับคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นด้วยหรือไม่ จึงละเว้นการปฏิบัติหน้าที่  เนื่องจากก่อนหน้านี้มีข้อครหาเกี่ยวข้องกับสมเด็จช่วงว่าได้รับเงินจากพระธัมมชโยหลายครั้ง ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวใกล้เคียงกับช่วงที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ ยักยอกเงินของสหกรณ์ซึ่งอาจมีเงินบางส่วนถูกนำไปให้วัดปากน้ำภาษีเจริญหรือสมเด็จช่วงด้วย  ทั้งนี้ ยืนยันว่าดีเอสไอมีอำนาจสอบสวนความผิด มส. เนื่องจากเคยมีคำพิพากษาศาลฎีการะบุว่าพระภิกษุและพระปกครอง ไม่อยู่ในนิยามของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพราะไม่ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ  แต่ในส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนา(พศ.) อยู่ในอำนาจการพิจารณาของป.ป.ช.
 
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงกรณีเครือข่ายคณะสงฆ์ฯนัดรวมตัวที่พุทธมณฑล แสดงความไม่พอใจการเคลื่อนไหวของพระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ประเด็นเรียกร้องให้พระธัมมชโยอาบัติปาราชิก ว่า น่าจะเป็นการรวมตัวเพื่อปกป้องมหาเถรสมาคม(มส.) ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมองว่าคณะสงฆ์และมส.เป็นพระพุทธศาสนา แต่ในข้อเท็จจริงพระธรรมวินัยเป็นพุทธศาสนา ส่วนคณะสงฆ์และมส.เป็นพุทธบริษัท มีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนาจึงต้องถูกตรวจสอบได้
 
ด้านพ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.ศูนย์บริหารคดีพิเศษ รองโฆษกดีเอสไอ กล่าวหลังเป็นผู้แทนรับเรื่องว่า ดีเอสไอจะนำกรณีดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับหนังสือจาก มส.ที่จะชี้แจงรายละเอียดของมติที่ประชุมกรณีพระธัมมชโยและตอบมายังดีเอสไอ ซึ่งขณะนี้ มส.ก็ยังไม่ได้ส่งหนังสืออย่างเป็นทางการให้ดีเอสไอ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิจัยอังกฤษเผยการเล่นเกม 'รุนแรง' ไม่สามารถสรุปได้ว่าเกี่ยวกับ 'ความก้าวร้าว'

$
0
0

ขณะที่สื่อกระแสหลักในประเทศเรามักจะนำเสนอให้วิดีโอเกมเป็นจำเลยอยู่เสมอ แต่ในต่างประเทศมีการวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจังและไม่มีอคติ โดยพีธ เอตเชลล์ส นักจิตวิทยาในอังกฤษผู้เขียนบทความให้เดอะการ์เดียนเปิดเผยถึงงานวิจัยของเขาว่าเรื่องที่เกมเชื่อมโยงกับความก้าวร้าวนั้นไม่สามารถสรุปได้ และปัจจัยของเกมต่อพฤติกรรมเด็กมีความซับซ้อนกว่านั้น


ที่มาภาพ: Andreas Levers (CC BY-NC-ND 2.0)

15 ก.พ. 2559 ไม่เพียงแค่สื่อไทยเท่านั้นที่นำเสนอเรื่องเกมอย่างไม่มีมิติมุมมองด้านอื่นและบางครั้งอาจจะเป็นไปในเชิงบิดเบือน บทความของพีธ เอตเชลล์ส นักจิตวิทยาชีวภาพระบุว่าข่าวจากสื่อแท็บลอยอย่างเดลิเมลก็เคยลงข่าวโดยให้ข้อมูลผิดๆ เรื่องงานวิจัยเกี่ยวกับวิดีโอเกมไว้ซึ่งเอตเชลล์สมองว่าเป็นการเสนอข่าวแบบสร้างความน่ากลัวเกินจริง ทำให้ตัวเขา กับซูซี เกจ นักเขียนเรื่องสุขภาวะในเดอะการ์เดียนและเพื่อนนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสตอลและมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ลงมือศึกษาวิจัยในเรื่องนี้

เอตเชลล์สระบุว่าจากงานวิจัยที่ผ่านมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับวิดีโอเกมก็มีปัญหาเรื่องการนิยามคำว่าพฤติกรรม "ก้าวร้าว" และมีการวัดผลเปรียบเทียบกับความรุนแรงในโลกจริงได้แย่มากจนทำให้ผู้วิจัยยุคก่อนจะโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้ากับการเล่นเกมได้ และแม้กระทั่งการนิยามคำว่า "ความรุนแรง" ในวิดีโอเกมก็ต้องมีการใคร่ครวญมากกว่านี้เพราะแม้แต่เกมที่ถูกมองว่า "รุนแรง" ก็มีระบบการเล่นที่ต่างกัน

ในการวิจัยโดยทีมของเอตเชลล์สเน้นสำรวจโดยอาศัยเครื่องมือวัดผลที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์ในแง่ผลกระทบต่อสุขภาพจิตในทางลบ 2 ด้านในเด็กอายุ 15 ปีคือโรคซึมเศร้าและความประพฤติผิดปกติ (conduct disorder) ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมเกเร กระทำทารุณต่อสัตว์ ทำลายทรัพย์สินและลักขโมย โดยทีมของเอตเชลล์สใช้วิธีการสำรวจโดยตรงว่าเด็กๆ แสดงออกพฤติกรรมเหล่านี้จริงหรือไม่แทนการใช้เครื่องมือตัวกลางในการวัด ไม่เพียงเท่านั้นทีมของเอตเชลล์สยังนำปัจจัยอื่นๆ เช่น ประวัติปัญหาทางจิตของคนในครอบครัว หรือประวัติการตกเป็นเหยื่อของการข่มเหงรังแกของเด็ก มาร่วมพิจารณาด้วย

จากการแบ่งผู้เล่นออกเป็นสามกลุ่มคือกลุ่มที่เล่นเกมแนวต่อสู้ด้วยการยิง (shoot-em-ups) กลุ่มที่เล่นเกมแนวแก้ไขปริศนา (puzzles) กับกลุ่มที่ไม่ได้เล่นเกม พบว่ามีความเกี่ยวข้องระหว่างแนวเกมที่เล่นกับพฤติกรรมด้านลบในระดับต่ำ จากกลุ่มตัวอย่างเด็ก 1,815 คนมีเพียง 26 คนเท่านั้นที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงที่จะมีความประพฤติผิดปกติ

เอตเชลล์สมองว่าการเปรียบเทียบแค่ว่าแนวเกมที่เล่นนั้นมีความรุนแรงหรือไม่เป็นเรื่องชวนเข้าใจผิด เพราะวิดีโอเกมมีความซับซ้อนในแง่ระบบการเล่นที่ไม่เหมือนกันด้วย เช่น เกม Call of Duty มีการต่อสู้แข่งขันกันมากพอสมควรและดำเนินเกมอย่างรวดเร็ว ขณะที่ Candy Crush Saga เป็นเกมที่มีความผ่อนคลายมากกว่าและเน้นเล่นคนเดียว ทั้งหมดนี้ทำให้แค่งานวิจัยชิ้นเดียวไม่สามารถสรุปเชื่อมโยงเรื่อง "ความรุนแรง" ในวิดีโอเกมกับพฤติกรรมได้รวมถึงงานวิจัยของเอตเชลล์สเองด้วย

อย่างไรก็ตามมันก็ชวนให้มีการถกเถียงและการวิจัยเพิ่มเติมในแง่อื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องการแบ่งแนวเกมเพื่อโยงเข้ากับ "ความรุนแรง" แต่เป็นการศึกษาเรื่องลักษณะเนื้อหาอื่นๆ ภายในเกม เนื่องจากแม้แต่เกมที่ถูกมองว่ามี "ความรุนแรง" ก็มีลักษณะการเล่นต่างกัน บางเกมก็มีลักษณะเน้นแข่งขันกัน บางเกมก็มีลักษณะร่วมมือกัน หรือบ้างก็เน้นเล่นคนเดียว การที่ไม่พิจารณาบริบทอื่นๆ ร่วมด้วยจะทำให้มีการตั้งคำถามต่อการวิจัยที่ผิดพลาดและเมื่อตั้งคำถามผิดพลาดแล้วก็จะทำให้ไม่ได้ค้นพบอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อโลกเลย


เรียบเรียงจาก

Is there an association between video games and aggression?, The Guardian, 12-02-2016
https://www.theguardian.com/science/head-quarters/2016/feb/12/violent-video-games-aggression-a-complex-relationship

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ต่อต้านอิสลามในภาคเหนือตอนบน

$
0
0



ข่าวนี้สร้างความตกใจแก่ผมพอสมควร เมื่อปลายเดือนที่แล้ว มีการประชุมที่เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีบุคคลจากสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดเชียงใหม่เป็นตัวแทนฝ่ายฆราวาส ที่ประชุมมีมติแจ้งแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ว่า ทางกลุ่มคัดค้านโครงการสร้างนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลในทุกอำเภอของเชียงใหม่ หลังจากที่โครงการเช่นนี้ถูกระงับไปที่อำเภอดอยหล่อ เพราะกระแสคัดค้านเช่นกัน

แค่นี้ผมคงไม่ตกใจอะไร หลังจากได้อ่านข่าวการต่อต้านมุสลิมในจังหวัดภาคเหนือมาหลายครั้งแล้ว เช่นคัดค้านการสร้างมัสยิด หรือร้องเรียนทางการว่าการเรียกสวดของมัสยิดที่มีมานานแล้วรบกวนความสงบสุขของตน ฯลฯ

แต่ที่ออกจะตกใจก็คือกลุ่มที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นอกจากสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยังประกอบด้วยกลุ่มอื่นอีก 11 องค์กร คือศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา จ.เชียงใหม่ ศูนย์เผยแพร่ธรรม จ.เชียงใหม่ พุทธสมาคม จ.เชียงใหม่ ยุวพุทธิกสมาคม จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ฯลฯ (กลุ่มอะไรอีกบ้าง สื่อไม่ได้รายงานไว้ให้ครบ 11) นั่นคือองค์กรทุกกระแสของพุทธศาสนาที่เป็นทางการของไทย ไม่เว้นแม้แต่องค์กรด้านวิชาการ และองค์กรซึ่งครั้งหนึ่งเชื่อมโยงปัญญาชนชาวพุทธที่เป็นฆราวาสเข้ากับการเผยแผ่พุทธศาสนา เช่น พุทธสมาคม และยุวพุทธิกสมาคม

เหตุผลที่คัดค้านตามที่สื่อรายงานก็คือ“โครงการนี้จะส่งผลกระทบในพื้นที่หลายเรื่อง ทั้งปัญหามลพิษและของเสียจากกระบวนการผลิต ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งแตกแยก เนื่องจากความแตกต่างทางวิถีชีวิตระหว่างชาวพุทธใน จ.เชียงใหม่ กับชาวมุสลิมที่หลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ และที่มีการอ้างว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานคนท้องถิ่น ไม่เป็นความจริง เพราะตามหลักศาสนาอิสลามห้ามคนนับถือศาสนาอื่นทำงานฮาลาลอยู่แล้ว”

อ่านข้อคัดค้านแล้วก็คงเห็นด้วยว่ามีเหตุมาจากอคติต่อมุสลิม มากกว่าความรู้ความเข้าใจศาสนาอิสลามจริงจัง ข้อนี้ไม่น่าตกใจอะไร เพราะในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยต่อต้านกันและกันด้วยอคติมากกว่าความรู้ความเข้าใจตลอดมา ผมคงไม่มีความสามารถไปลดทอนอคติของใครได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจแก่ผมมากกว่าก็คือกระแสต่อต้านมุสลิมในเมืองไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบนนั้น เกิดขึ้นจากอะไร

แต่ก่อนจะไปตอบปัญหานั้น ผมก็ยังมีหน้าที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ข้อคัดค้านของ 12 องค์กรนั้นเป็นอคติ เพราะไม่สนใจจะเหลียวไปดูว่าฮาลาลในศาสนาอิสลามนั้นหมายถึงอะไรกันแน่

ปัญหามลพิษและของเสียจากกระบวนการผลิตจนกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นจากการตั้งนิคมอุตสาหกรรมแน่ ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมอะไร แต่ไม่เกี่ยวอะไรทั้งสิ้นกับอิสลาม ทั้งนี้เพราะกฎหมายและการบริหารควบคุมนิคมอุตสาหกรรมของภาครัฐไทย ไม่ทำให้การควบคุมมีประสิทธิภาพจริง

ฮาลาลคือสิ่งที่อนุญาตแก่มุสลิม ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือพฤติกรรม ตามหลักการแล้วสิ่งที่ไม่ได้ห้ามไว้ทั้งหมด คือสิ่งที่อนุญาต แต่ที่มักจะเจาะจงกันก็คืออาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ เช่นเครื่องสำอางและยา ซึ่งอาจปนเปื้อนสัตว์หรือผลผลิตจากสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้มุสลิมใช้บนหรือแก่ร่างกายของตน (เช่นสารที่สังเคราะห์จากหมู หรือวัคซีนที่เพาะจากหมู เป็นต้น)

การฆ่าสัตว์ที่ใช้ในการบริโภคต้องกระทำให้ถูกต้องตามพิธีกรรม ส่วนสำคัญของพิธีกรรมนี้คือการไม่ทรมานสัตว์นั่นเอง เช่นต้องใช้มีดที่คมกริบ แทงให้ลึกลงไปที่ส่วนหน้าของคอ (คือเชือดหลอดลมและหลอดเลือดสำคัญให้ขาดโดยรวดเร็ว) อีกส่วนหนึ่งคือความปลอดภัยของเนื้อสัตว์ที่จะบริโภค เช่นซากสัตว์ที่ตายเองห้ามบริโภค หรือสัตว์ที่ถูกทุบตีจนตาย หรือเป็นเหยื่อของสัตว์อื่นก็ห้ามบริโภค เป็นต้น

ใช่เลย โรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทยมักถูกปล่อยปละละเลยให้ทิ้งของเสียลงสู่ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นโรงฆ่าสัตว์ฮาลาลหรือไม่ก็ตาม แม้แต่โรงฆ่าสัตว์ของนายทุนใหญ่ก็มีปัญหาเหมือนกัน แต่ก็ดังที่กล่าวแล้วว่าเพราะกฎหมายและการบริหารจัดการของเราไม่ดี จึงปล่อยให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะเช่นนี้ได้

อันที่จริงการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามอาจมีปัญหาได้จริงเหมือนกัน เพราะการทำให้สัตว์งงด้วยสารเคมีหรือการชอร์ตไฟฟ้าก่อนลงมือฆ่า อันเป็นวิธีที่โรงฆ่าสัตว์สมัยใหม่ใช้เพื่อไม่ทรมานสัตว์นั้น อิสลามไม่อนุญาต และที่ไม่อนุญาตนั้นก็ไม่ได้มาจากความป่าเถื่อนอะไร แต่เพราะอาจทำให้เนื้อสัตว์มีอันตรายในการบริโภคระยะยาวได้ ทำให้ประเทศตะวันตกบางประเทศไม่อนุญาตให้มีโรงฆ่าสัตว์ฮาลาล เพราะกฎหมายของเขาบังคับว่าต้องทำให้สัตว์ “งง” เสียก่อนฆ่า

แต่ข้ออ้างอันนี้ใช้ในเมืองไทยได้ยาก เนื่องจากโรงฆ่าสัตว์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทำให้สัตว์งงแต่อย่างไร ใครเคยอยู่ใกล้โรงฆ่าหมูก็จะได้ยินเสียงกรีดร้องของหมูเกือบทั้งวัน

เฉพาะการฆ่าสัตว์เท่านั้นที่บังคับว่าต้องกระทำโดยคนที่เป็นมุสลิม ส่วนการเอาเนื้อสัตว์ไปปรุงอาหาร จะทำโดยคนไม่ใช่มุสลิมก็ได้ เพียงแต่ต้องแน่ใจว่าส่วนประกอบอื่นต้องเป็นอาหารที่ฮาลาล เช่นไม่ใช้น้ำมันหมูในการปรุงอาหาร การผลิตอาหารซึ่งมีตราฮาลาลที่ได้รับการรับรองระดับนานาชาตินั้น เป็นช่องทางส่งออกอาหารที่มีตลาดกว้างขวางทีเดียว ผมเคยซื้ออาหารกระป๋องจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีตราฮาลาล แต่ที่จริงแล้วผลิตที่ปทุมธานี แล้วส่งไปติดฉลากในประเทศเพื่อนบ้าน เปิดกินเข้าก็อาหารไทยเราดีๆ นี่เอง อร่อยเสียด้วย

เท่าที่ผมทราบ ในเมืองไทยยังไม่มีองค์กรที่ได้การรับรองเป็นสากลในการออกตราฮาลาล เขาว่ากันว่าแย่งกันอุตลุดระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพราะมีผลประโยชน์แฝงมหาศาลทีเดียว แต่หากองค์กรใดได้ไป และทำด้วยความซื่อสัตย์จริงก็จะช่วยการส่งออกไทยได้แยะ ไม่เฉพาะแต่อาหาร ยังรวมถึงเครื่องสำอางและยาซึ่งต้องวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีอย่างรัดกุมให้ฮาลาลจริง

ดังนั้น หากมีนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีมุสลิมอพยพเข้ามาทำงานในนิคมจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่ของแรงงานก็คงเป็นคนเชียงใหม่หรือจังหวัดใกล้เคียง

แต่ผมไม่อยากใช้เงินหรือผลประโยชน์ทางวัตถุมาเป็นเหตุผลว่าควรยอมให้มีนิคมฮาลาลขึ้น จะมีหรือไม่เป็นเรื่องที่คิดและถกเถียงกันได้ แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลที่เป็นอคติทางศาสนาเท่านั้น

คราวนี้กลับมาสู่อคติทางศาสนาซึ่งผมสนใจมากกว่า คำถามที่ผมอยากตอบมีสองอย่างที่สัมพันธ์กันคือ 1/ ทำไมอคตินี้จึงต้องมุ่งไปยังมุสลิม 2/ ทำไมจึงภาคเหนือ เราสามารถค้นหาสมุฏฐานของอคติทางศาสนาได้หลายอย่าง เช่นมีเชื้ออยู่ในคำสอนทางศาสนาของสังคมนั้นอยู่แล้ว มีคนยุยงปลุกปั่น มีการสมคบคิดของกลุ่มคนเพื่อจุดมุ่งหมายอื่น หรือข่าวสารข้อมูล คำตอบเหล่านี้อาจถูกก็ได้ แต่ผมเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนจำนวนมากในสังคม หรือเมื่อเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม หนึ่งในคำตอบก็ต้องเป็นเงื่อนไขปัจจัยของสังคมนั้นเอง ที่ผลักดันให้คำยุยง, คำสอน, การสมคบคิด ฯลฯ มีความหมายพอที่จะทำให้คนจำนวนมากลุกขึ้นมาทำอะไรต่อมิอะไรได้ ผมสนใจอยากรู้คำตอบในแนวนี้

เพื่อจะตอบปัญหานี้ได้ คงต้องศึกษาค้นคว้าอีกมาก ซึ่งเกินความสามารถของผม ฉะนั้นจึงขอตอบตามความนึกคิด

1. ผมไม่ทราบชัดว่ามุสลิมเป็นสัดส่วนเท่าไรในหมู่ประชากรของภาคเหนือตอนบน แต่เข้าใจว่าน้อยกว่าทุกภาค และส่วนใหญ่คือประชากรอพยพจากยูนนาน นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับว่า มุสลิมในภาคกลางและภาคใต้แทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำในสังคมไทย แต่ไม่ใช่มุสลิมในภาคเหนือตอนบน ไม่ว่าในวงการธุรกิจ, องค์กรเกียรติยศตามประเพณี, ผู้นำด้านวัฒนธรรม, ด้านวิชาการ, หรือในองค์กรวิชาชีพ แทบจะหาชนชั้นนำที่เป็นมุสลิมในภาคเหนือตอนบนไม่ได้เลย

มุสลิมในภาคเหนือตอนบนจึงถูกมองให้เป็น “อื่น” ได้ง่าย

เมื่อเปรียบเทียบกับคริสต์ศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์ในภาคเหนือตอนบน จะมองเห็นประเด็นนี้ได้ชัด นอกจากกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ภาคเหนือเป็นพื้นที่ทำงานของมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ที่เก่าที่สุด ไม่ว่าคริสต์ศาสนิกรุ่นแรกๆ จะเป็นใครมาจากไหน แต่เขาคือคนมีการศึกษาแผนใหม่กลุ่มแรกๆ ของภาคเหนือตอนบน เป็นผู้ประกอบ “วิชาชีพ” กลุ่มแรกๆ เช่นกัน และเป็นผู้บริหารธุรกิจสมัยใหม่กลุ่มแรกๆ พร้อมๆ กับตระกูลจีนในท้องถิ่น หรือหลังลงมาก็ไม่นานนัก

ชาวพุทธไทยในปัจจุบันไม่รู้สึกว่าพุทธศาสนากำลังถูกคุกคามจากคริสต์ศาสนา ทั้งๆ ที่คริสต์ศาสนามีองค์กรเผยแพร่ศาสนาที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดยิ่งกว่าศาสนาอิสลามในประเทศไทยเสียอีก

2. ผมคิดว่าพุทธศาสนาที่เป็นทางการของไทยกำลังอ่อนแอลง ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐซึ่งเป็นผู้อุ้มชูปกป้ององค์กรพุทธศาสนาอ่อนแอลงด้วย อีกส่วนหนึ่งก็เพราะองค์กรพุทธศาสนาที่เป็นทางการ ไม่อาจทำให้คำสอนสอดคล้องกับชีวิตในโลกสมัยใหม่ของผู้คนได้

ผมคิดว่าคนในภาคกลางและภาคใต้ ซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนก่อนใคร คือต้องเข้าไปผลิตในเศรษฐกิจตลาดอย่างเข้มข้นขึ้นมานานแล้ว ปรับเปลี่ยนคำสอนทางศาสนาด้วยการทำให้ “ศาสนา” ตอบสนองต่อผลสำเร็จทางโลกได้ชัดเจนขึ้น เช่น เครื่องรางของขลัง, พิธีกรรมนานาชนิด, ตลอดจนการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอื่นๆ ให้กลายเป็นเทพของพุทธศาสนา (พระคเณศ, เจ้าแม่กวนอิม, เสด็จพ่อ ร.5,จตุคามรามเทพ, ฯลฯ)

ภาคอีสานก็ได้เปลี่ยนมาสู่วิถีชีวิตสมัยใหม่ที่ชีวิตถูกดึงให้ไปอยู่ในตลาดเหมือนกัน แต่ภาคอีสานนั้นกว้างใหญ่ไพศาลและมีผู้คนอยู่มาก การปรับเปลี่ยนเป็นไปอย่างสมดุลพอสมควร เช่นในขณะที่อีสานเป็นแหล่งของ “พระป่า” ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กรศาสนาแล้ว แต่อีสานก็ยังมีความเชื่อเรื่องผีแม่ม่าย ลึกไปกว่านั้นอิทธิพลของฮีตคองก็ยังมีบทบาทในชีวิตของผู้คน แม้จะถูกปรับเปลี่ยนไป เช่น ยิงบั้งไฟเพื่อพนันกันในกลุ่มคนหนึ่ง เพื่อได้มีบทบาทในสังคมเมืองซึ่งตัวไม่เคยมีพื้นที่เหมือนคนอื่นแก่คนอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นต้น แต่เขาก็ยังยิงบั้งไฟกันอยู่ ในขณะที่เลิกยิงในภาคเหนือตอนบนไปแล้ว

ภาคเหนือตอนบนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน และอาจเร็วกว่าอีสานด้วย ดูเหมือนภาคเหนือตอนบนจะเผชิญปัญหาไม่มีพระภิกษุประจำวัดก่อนภาคอื่น เพราะผู้คนไม่นิยมบวชเรียนนานเกินพรรษา ในช่วงหนึ่งต้องรับพระจากภาคอีสานมาประจำวัด

ในภาคเหนือตอนบน วัดกับชุมชนสัมพันธ์กันผ่านตุ๊เจ้า เมื่อไม่มีตุ๊เจ้าที่ชาวบ้านคุ้นเคยให้ความนับถือ “ศาสนา” แบบเก่าของคนเมืองจึงหายไป เช่นชุมชนที่เป็น “ศรัทธา” ของวัดต่างๆ หมดบทบาทลง เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ผมจำได้ว่าในงานพิธีต่างๆ ชุมชนเหล่านี้ยังมีบทบาทมาก นับตั้งแต่มีช่างฟ้อนในชุมชนไว้แห่พระหรือร่วมในพิธีกรรมต่างๆ แต่ในปัจจุบัน ถ้าไม่ออกไปนอกเมืองจริงๆ แล้วก็แทบไม่ได้เห็นงาน “ปอย” ในชุมชนใดอีก (จัดงานในชุมชนเพื่อรวมรวมเงินและสิ่งของไปถวายวัด)

ในแง่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ศาสนาต้องตอบสนอง ผมเข้าใจว่าภาคเหนือตอนบนมี “เกจิ” น้อยนะครับเมื่อเปรียบเทียบกับภาคกลางและภาคใต้ พระภิกษุที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางคือครูบาศรีวิชัยและสานุศิษย์ของท่าน ไม่ใช่ “เกจิ” ที่มีเครื่องรางของขลังระดับชาติ “พระป่า” สายอาจารย์มั่นในภาคเหนือก็มรณภาพไปหมดแล้ว วัดที่ท่านเคยประจำอยู่ก็แทบจะร้างไป

ผมจึงอยากสรุปอย่างง่ายๆ ว่า ในท่ามกลางความอ่อนแอของพุทธศาสนาที่เป็นทางการ พุทธศาสนากระแสนี้ในภาคเหนือตอนบนอ่อนแอที่สุด จนชาวพุทธในภาคเหนืออาจรู้สึกถึงความอ่อนแอนี้ได้ชัดเจนกว่าชาวพุทธในภาคอื่นๆ จึงเป็นธรรมดาที่ชาวพุทธในภาคเหนือตอนบนจะหวั่นไหวว่าถูกคุกคามจากความเป็น “อื่น” ได้ง่ายกว่า และดังที่กล่าวแล้วว่า อิสลามถูกทำให้เป็น “อื่น” ได้ง่ายกว่าในภาคเหนือตอนบน อะไรที่เกี่ยวกับอิสลามจึงถูกใช้เพื่อต่อต้าน เป็นการปลอบใจกันและกันว่าเรายังเข้มแข็งอยู่

ผมคิดว่าการตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับศาสนาอื่นในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าพุทธต่อต้านมุสลิม หรือมุสลิมต่อต้านพุทธ มักเกิดขึ้นจากความอ่อนแอทางศาสนาของสังคมนั้นๆ เอง ทั้งนี้รวมถึงศาสนาใหม่ๆ ทั้งหลาย เช่น รัฐฆราวาสวิสัย, ประชาธิปไตย, การแข่งขันเสรีในระบบทุนนิยม ฯลฯ ด้วย จะต่อต้านศาสนาอื่น ก็เพราะสงสัยในศาสนาของตนเอง หรือมองไม่เห็นคุณค่าของศาสนาตนเอง



ที่มา: มติชนออนไลน์ 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารวังสะพุง กันชาวบ้านติดตามการประชุมต่ออายุใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่าทำเหมืองทอง

$
0
0

ศูนย์รักษาความสงบฯ วังสะพุง สั่งกันชาวบ้านขวางประชุม อบต. เพื่อพิจารณาต่อใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำเหมืองทอง ชี้เป็น “พื้นที่เขตควบคุม... ห้ามเข้า"

15 ก.พ. 2559 เวลาประมาณ 14.00 น.ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน อ.วังสะพุง จ.เลย ประมาณ 200 คน เดินทางมาที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง (อบต.เขาหลวง)  ตามที่ก่อนหน้านี้ได้ยื่นหนังสือขอใช้สถานที่ราชการ คือ อบต.เขาหลวง ระหว่างวันที่15-16 ก.พ. 2559 เพื่อรอติดตามผลการประชุมสภา อบต.เขาหลวง สามัญสมัยครั้งที่ 2 เพื่อลงมติในวาระค้างพิจารณา กรณีขอต่ออายุขอเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกภูเหล็ก  ตามประทานบัตรที่ 26968/15574 ,26969/15575, 26970/15576 และ26973/15560  บนภูทับฟ้า หมู่ 3 บ้านนาหนองบง ต.เขาหลวง ซึ่งมีการยื่นขอให้เป็นการประชุมลับ

เมื่อชาวบ้านเดินทางไปถึงที่ อบต.เขาหลวง กลับมีกุญแจปิดล็อกประตูทางเข้า โดย นายก อบต. ได้ทำหนังสือตอบ ไม่ให้ใช้สถานที่ และมีการตั้งเต็นท์ซึ่งคาดว่าเตรียมไว้ให้เจ้าหน้าที่มารักษาความสงบบริเวณ 2 ฝั่งด้านหน้าของ อบต.เขาหลวง

สำหรับเหตุผลที่ไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ ตามหนังสือตอบคือ “เนื่องจากมีคำสั่งจากผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อยวังสะพุง ให้พื้นที่เป็นเขตควบคุมห้ามเข้า”

จากนั้นเมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. มีเจ้าหน้าที่ทำการติดป้าย “พื้นที่เขตควบคุม... ห้ามเข้า ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อยวังสะพุง” บริเวณหน้าประตูทางเข้า อบต.

การเคลื่อนไหวดังกล่าว ต่อเนื่องจากในช่วงเช้าวันนี้ (15 ก.พ. 2559) กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ประมาณ 150 คน เดินทางไปที่ศาลากลาง จ.เลย เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เรื่องการคัดค้านการประชุมลับ ที่สภา อบต.เขาหลวง ในวันอังคารที่ 16 ก.พ. 2559

เนื่องจากการประชุมสภา อบต.เขาหลวง สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2559 เมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านการนำวาระพิจารณาการต่ออายุการใช้พื้นที่ ส.ป.ก.ในการทำเหมืองทองคำ ของบริษัททุ่งคำจำกัด และพิจารณาการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ หรือขยายพื้นที่ประทานบัตรเหมืองแปลงใหม่บนภูเหล็กที่ค้างมาตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. 2558 ทำให้ไม่สามารถดำเนินการลงมติได้ แต่พบว่ามีการขอเปิดประชุมลับในวันที่ 16 ก.พ.นี้ เพื่อพิจารณามติที่ค้างอยู่ดังกล่าว

ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ระบุว่า เหตุผลที่ชาวบ้านต้องคัดค้านการประชุมลับนี้ เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งของชาวบ้านกับเหมืองทองยังคงมีอยู่ก่อนแล้ว ยิ่งไม่ควรเร่งการขออนุญาตเปิดเหมืองรอบใหม่ และมีข้อเสนอ ดังนี้

1.ให้ไม่มีการประชุมลับ

2.ให้เลื่อนการประชุมการลงมติการอนุญาตพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ ส.ป.ก.ออกไปก่อน

เมื่อเวลา 09.50 ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ผู้ตรวจราชการสำนักนายก และผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมลงมารับหนังสือของชาวบ้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังการยื่นหนังสือให้ผู้ว่าฯ ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 11.15 น. ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ส่วนหนึ่งได้เดินทางไปยื่นหนังสือ 3 ฉบับให้กับนายสมัย ภักดิ์มี ประธานสภา อบต.เขาหลวง ที่ อบต.เขาหลวง โดยหนังสือดังกล่าวประกอบด้วย

1.หนังสือคัดค้านการประชุมลับ

2.หนังสือขอเข้ารับฟังการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง ประมาณ300 คน เพื่อติดตามการอภิปรายของสมาชิก อบต. และรับฟังการพิจารณาการขอต่ออายุพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกภูเหล็ก และ3.หนังสือขอใช้สถานที่ราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ระหว่างวันที่ 15-16 ก.พ. 2559

ระนอง กองแสน กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน กล่าวว่า การประชุมลับที่เกิดขึ้นเนื่องจากหน่วยงานรัฐกลัวว่าชาวบ้านจะไปหยุดการประชุมไม่ให้มีการผ่านวาระดังกล่าว เป็นสัญญาณว่าจะดันให้มีการเปิดทำเหมืองให้ได้ แต่สำหรับชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงแล้ว การประชุมดังกล่าวไม่ควรเป็นความลับกับชาวบ้าน สภา อบต.ไม่ควรตัดสินใจแทนผู้ได้รับผลกระทบ

ระนองกล่าวด้วยว่า หากเหมืองได้รับอนุญาตก็จะดำเนินการไปได้อีก 10 ปี และจะไม่ใช่แค่พื้นที่ที่ดำเนินการอยู่เดิม แต่จะขยายไปยังพื้นที่ภูเหล็ก และนาโป่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 300 กว่าแปลงที่บริษัทได้ประทานบัตร ขณะที่ปัญหาเก่ายังไม่ได้แก้ไขเพื่อให้ชาวบ้านไว้วางใจได้ว่าจะไม่เกิดผลกระทบขึ้นอีก

“เราจะคัดค้านให้ถึงที่สุด ก็จะได้เห็นกันพรุ่งนี้ว่ารัฐไม่เห็นแก่ชุมชน แต่เห็นแก่ผู้ประกอบการ” ระนองกล่าว พร้อมระบุว่าข้อมูลจากป่าไม้บอกว่าการให้ใช้พื้นที่อยู่กับ อบต.จะให้ผ่านหรือไม่ หากผ่านเหมืองก็เดินหน้าต่อไปได้ เพราะถือว่าหน่วยงานพื้นที่อนุญาต

ชาวบ้านนาหนองบงระบุว่า ชาวบ้านจะจับตาการประชุมพรุ่งนี้ (อังคารที่ 16 ก.พ. 2559) ซึ่งจะเริ่มต้นเวลา 9.00 น. แต่เนื่องจากมีแนวโน้มว่าจะมีการเกณฑ์กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากมากั้นไม่ให้ชาวบ้านเข้าร่วม ชาวบ้านจึงยืนยันที่จะปักหลักรอตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 15 ก.พ. เป็นต้นไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มล้อการเมืองฯ ชี้คำถาม #ทหารมีไว้ทำไม เกิดจากบทบาทของ 'ทหารการเมือง'

$
0
0

'วิทเยนทร์ ปชป.' ตอบในฐานะรุ่นพี่ มธ. ต่อคำถาม #ทหารมีไว้ทำไม ชี้ทุกครั้งที่ชาติวิกฤติก็ได้ทหารออกมาป้อง ย้อนถามตัวเองก่อนดีไหม "เกิดมาทำไม" ด้านกลุ่มล้อการเมืองฯ ระบุคำถามดัวกล่าวเกิดจากการวิพากษ์บทบาทของ 'ทหารการเมือง' ขณะที่พล.อ.ประวิตร ยันไม่ติดใจขบวนล้อ อีกแค่ปีกว่าๆ ตนก็ไปแล้ว

15 ก.พ. 2559 หลังจากงานฟุตบอลเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 71 ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ซึ่งที่ผ่านมา นอกจากการชุลมุลและการควบคุมอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ทหารภายในงานแล้ว ขบวนพาเหรดล้อการเมืองโดยเฉพาะป้าย "มีทหาร ไว้ทำไม ใครกล้าถาม" นั้น ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ 

ที่มา: Facebook/กลุ่มอิสระล้อการมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทเยนทร์ ปชป. ตอบในฐานะรุ่นพี่ มธ. ทุกครั้งที่ชาติวิกฤติก็ได้ทหารออกมาป้อง

วิทเยนทร์ มุตตามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัทบลูสกายแชนเนลจำกัด หรือช่องฟ้าวันใหม่ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'วิทเยนทร์ มุตตามระ (Vittayen Muttamara) - ปชป' วานนี้ (14 ก.พ.59) ว่า "รุ่นพี่ตอบน้อง" คงเป็นเพราะความเยาว์ความเขลาของน้องๆธรรมศาสตร์จึงถามว่า "มีทหารไว้ทำไม" ในฐานะรุ่นพี่ธรรมศาสตร์อยากจะตอบน้องๆ ว่า "ทุกครั้งที่ประเทศชาติวิกฤติ เราก็ได้เหล่าทหารกล้านี่แหละออกมาปกป้อง" น้องๆ ถามตัวเองเถิดว่า "วันนี้และวันข้างหน้าที่น้องๆโตขึ้นน้องจะทำอะไรให้ประเทศชาติบ้าง เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน" อย่ารอให้คนอื่นมาถามน้องว่า "เกิดมาทำไม"

 

กลุ่มล้อการเมืองฯ ชี้คำถาม 'ทหารมีไว้ทำไม' เป็นคำถามจากบทบาทของ 'ทหารการเมือง'

ด้านกลุ่มอิสระล้อการเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจตัวเองด้วยเช่นกัน เมื่อวานนี้ ว่า ปัจจุบันทหารเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงานของรัฐบาล และสร้างผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะรู้สึกไม่เป็นธรรม เช่น การเข้ามาตรวจสอบการล้อการเมืองของกลุ่มตน และทหารผู้ปฏิบัติงานอย่างหนักในหน้าที่ของเขาจริงกลับถูกแอบอ้างโดย "ทหารการเมือง" อยู่ในขณะนี้  จึงเกิดคำถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ของทหารอย่งที่เกิดขึ้นนั่นเอง

โดย กลุ่มอิสระล้อการเมืองฯ โพสต์อธิบายทั้งหมดดังนี้

....จริงๆแล้ว การตั้งคำถามว่าอะไรมีไว้ทำไมนั้น ล้อการเมืองคิดว่าเป็นเรื่องที่ควรแก่การนำมานั้งคิดค้นหาคำตอบเป็นอย่างยิ่ง (แต่อย่าโมโหต่อยกันก่อนนะครับ) เพราะในปัจจุบันเราก็มักเห็นคำถามและการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำหน้าที่ ซึ่งอาจจะไม่เป็นไปตามใจของใครหลายๆ คนนัก เช่น เราอาจเห็นเจ้าหน้าที่รปภ.บางคน ชอบหลับขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ หรือแม้บางที ก็มีข่าวว่ารปภ.นั้นเป็นผู้ขโมยของเสียเอง เป็นต้น เช่นนี้เอง คำถามที่อาจออกมาจากความรู้สึกผิดหวัง (เซ็ง) ก็คือ "เฮ้อออ แบบนี้จะมีรปภ.ไว้ทำไม" ...
 
เช่นเดียวกันครับ กับกรณีของรัฐบาลในปัจจุบัน ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ทหาร" ได้เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการปฏิบัติงานของรัฐบาลไปแล้ว 
 
ล้อการเมืองก็ได้พยายาม "ดิ้นรน" เพื่อที่จะแสดงออกว่า บางครั้งก็มีเหตุการณ์ที่รัฐบาลนั้นได้ใช้ทหาร ในหน้าที่ๆ ประชาชนหลายๆ กลุ่มได้รับผลกระทบในแบบที่พวกเขารู้สึกไม่เป็นธรรมนัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ขบวนล้อการเมืองของเรานี่แหละครับ ที่ก็มิวายโดนตรวจสอบ จับตากันทุกระเบียบนิ้ว จนบางครั้งนักศึกษาผู้เพียงปรารถนาที่จะอยากแสดงออกถึงปัญหาต่างๆของชาติ ผ่านพื้นที่แสดงออกอันน้อยนิดที่พอจะเหลืออยู่บ้าง คืองานฟุตบอลประเพณีนี้ ก็อาจรู้สึกหรือนึกต้องคำถามไปว่า "เฮ้ออ ทำแบบนี้ทำไม ทหารมีไว้ทำไม มีไว้ยึดหุ่นกระดาษกับป้ายผ้าของพวกเราหรอ" ....หรืออีกกรณีคือทหารตัวใหญ่ตัวโตได้ใช้ทหารตัวเล็กๆ เป็นเบี้ยเพื่อเดินเกมส์ทางการเมืองรึเปล่า..แล้วก็ตีโพยตีพายว่าทหารก็ทำงานหนักอย่างอื่นเหมือนกัน แบบนี้ยังจะมาวิจารณ์ถึงหน้าที่ทหารอีกหรอ?? (มักมีการยกตัวอย่างทหารที่ชายแดน) เป็นต้น......เป็นไปได้หรือไม่ว่าความมีเกียรติมีศักดิ์ศรีที่ทหารผู้ปฏิบัติงานอย่างหนักในหน้าที่ของเขาจริงนั้น กำลังถูกเกาะกินแอบอ้างโดย "ทหารการเมือง" อยู่ในขณะนี้ ที่เป็นตัวการทำให้เกิดการตั้งคำถามและการวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย....
 
เราคิดว่าการที่สังคมของเราสามารถตั้งคำถามได้กับทุกสิ่งว่า สิ่งนั้นมีไว้ทำไมกัน มันเกิดขึ้นมาได้ยังไงกัน จะช่วยให้เราได้มองลึกลงไปถึงรายละเอียดของสิ่งเหล่านั้นเรียนรู้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อสิ่งที่ดีและเหมาะสมขึ้น ไม่ใช่ว่าต้องสร้างเป็นพื้นที่แห่งความศักสิทธ์ที่ใครมิอาจแตะต้องได้เลย ซึ่งเสี่ยงต่อการนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของบางกลุ่มอย่างยิ่ง โดยผลเสียก็อาจะตกไปอยู่กับสิ่งที่เขาแอบอ้างนั่นเอง ซึ่งบางคนอาจจะไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็พลอยโดนไปด้วย..เช่นกรณีทหารมีไว้ทำไมนี้ เป็นต้น
 
....สุดท้ายนี้เองกิจกรรมที่พวกเราทำลงไปทั้งหมดนั้นล้วนมีความหมายทั้งสิ้น และพร้อมรับกับคำถามว่า"ล้อการเมือง มีไว้ทำไม".....แต่คำถามจะมีคำตอบได้ก็คงต้องมาพูดคุยกันนะครับ...ไมใช่รีบร้อนโมโหกันไปก่อน...เช่นนั้นสังคมไทยคงจะไม่ได้อะไรเลย
 
พล.อ.ประวิตร ยันไม่ติดใจขบวนล้อ อีกแค่ปีกว่าๆ ตนก็ไปแล้ว
 
วันนี้ ( 15 ก.พ.59) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงขบวนล้อการเมืองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในงานฟุตบอลประเพณีดังกล่าวว่า ตนได้เห็นภาพทั้งหมดแล้ว ซึ่งอะไรที่สมควรเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงก็ดูแลทั้งหมดแล้ว และตนไม่ติดใจอะไรอยากทำอะไรก็ทำ เพราะมีข้อเท็จจริงให้เห็นอยู่แล้วอย่าเอาไปโยงกับการเมืองเลย และเหลืออีกแค่ปีกว่าๆ ตนก็จะพ้นจากตำแหน่งแล้ว ให้รัฐบาลใหม่มาประสานงานต่อแต่ขณะนี้ตนก็จะทำงานในวันนี้ให้ดีที่สุด

สำหรับกระแสการตั้งคำถาม ทหารมีไว้ทำไม นั้น เกิดขึ้นหลังจาก นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการเขียนบทความ เรื่อง 'ทหารมีไว้ทำไม' ตีพิมพ์ใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับ 1-7 ม.ค. 2559 (อ่านบทความ) จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมกับการติดแฮชแท็กในโซเชียลเน็ตเวิร์กว่า #ทหารมีไว้ทำไม โดยหลายความเห็นตอบโต้เพียงตัวชื่อบทความของนิธิ โดยไม่ได้ลงรายละเอียดที่นิธิเขียนในเนื้อบทความ หลังเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ทหารบุกอุ้ม นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว นักศึกษาและนักกิจกรรม ในยาววิกาลบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีการยกเหตุการณ์อุ้มประชาชนดังกล่าวมาเพื่อโต้กลับผ่านแฮชแท็กดังกล่าวด้วย (อ่านยรายละเอียด)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เนสท์เล่ยอมรับมีการใช้แรงงานทาสในไทย ขณะยังต่อสู่คดีใช้แรงงานเด็กในไอวอรี่โคสต์

$
0
0





ไม่ว่าคุณจะทำงานในบริษัทใด ก็คงไม่อยากให้บริษัทเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าแรงงานทาสสมัยใหม่ แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เนสท์เล่ บริษัทผู้ผลิตอาหารขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และแบรนด์สินค้าอุปโภคที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดแบรนด์หนึ่ง ได้เสนอข่าวต่อสาธารณชนว่า บริษัทพบการใช้แรงงานทาสในห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย โดยลูกค้าของเนสท์เล่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์เปื้อนเหงื่อและเลือดของแรงงานต่างด้าวผู้ยากไร้ ไม่ได้รับค่าตอบแทน และถูกกดขี่

ผลจากการเปิดเผยว่าลูกค้าของเนสท์เล่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนสนับสนุนแรงงานทาสโดยไม่ตั้งใจ บริษัทได้กล่าวว่าถึงเวลาที่จะเดินทางเข้าสู่ยุคใหม่ คือการกำหนดนโยบายในห่วงโซ่อุปทานด้วยตนเอง การสืบสวนที่ใช้เวลานับปีของบริษัทยืนยันเช่นเดียวกับรายงานจากสื่อที่ว่า อุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทยมีการใช้แรงงานทาสและขบวนการค้ามนุษย์ โดยการใช้แรงงานทาสดังกล่าวอยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตแบรนด์อาหารแมว Fancy Feast

เนสท์เล่ยังต้องการความมั่นใจและความชัดเจนว่าไม่มีบริษัทอื่นที่ซื้อสินค้าทะเลจากประเทศไทย ประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเดียวกับที่เนสท์เล่เผชิญ

“อย่างที่เรากล่าวอยู่เสมอ จะต้องไม่มีการใช้แรงงานบังคับและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานของเรา” แมกดี บาตาโต (Magdi Batato) รองประธานบริการด้านการดำเนินการ บริษัทเนสท์เล่ เขียนในคำแถลงการณ์ “เนสท์เล่เชื่อว่าเราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกได้จากการทำงานร่วมกับคู่ค้าในการจัดหาวัตถุดิบ”

การเปิดเผยดังกล่าวนับเป็นเรื่องที่สั่นสะเทือนวงการธุรกิจ นิค โกรโน (Nick Grono) ผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน Freedom Fund ที่ลงทุนจำนวนมากในโครงการเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เชื่อว่าการยอมรับของเนส์เล่จะเป็นแรงผลักดันสำคัญและสร้างมาตรฐานที่ควรคาดหวังต่อบริษัทในประเด็นความรับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทานของตนเอง

“การตัดสินใจของเนสท์เล่ที่ดำเนินการสืบสวนในประเด็นดังกล่าวนับว่าเป็นเรื่องน่าชื่นชม” นิคกล่าว “หากมีแบรนด์ขนาดยักษ์บนโลกก้าวออกมายอมรับว่ามีการใช้แรงงานทาสในการดำเนินงานของบริษัท ก็ย่อมสร้างความเป็นไปได้ที่จะพลิกกระดานและอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงในการบริหารห่วงโซ่อุปทาน”

งานวิจัยที่เนสท์เล่ใช้ประกอบการรายงานดำเนินการโดยบริษัทอเมริกัน Verite’ ซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับหลายองค์กรที่พยายามพัฒนาความโปร่งใส่ในห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา

เมื่อปีที่ผ่านมา Verité ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครของของแบรนด์เสื้อผ้าพาทาโกเนีย (Patagonia) ซึ่งระบุว่าห่วงโซ่อุปทานในไต้หวันหลายแห่งมีการใช้แรงงานบังคับ และวิธีการจ้างงานที่ขาดจริยธรรม

แดน วีเดอร์แมน (Dan Viederman) ผู้บริหาร Verité กล่าวว่า “ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา Verité ได้มีส่วนร่วมในการเปิดเผยข้อมูลของสองแบรนด์ยักษ์ใหญ่ และบทเรียนสำคัญที่เราได้รับคือ ไม่มีแบรนด์ใดที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้แรงงาน แต่กลับได้รับความชื่นชมจากความกล้าหาญที่จะยอมรับและเปิดเผยข้อเท็จจริง”

“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นี่จะเป็นตัวอย่างที่ช่วยขับเคลื่อนบริษัทให้กล้าหาญขึ้น และสืบค้นข้อมูลลึกขึ้น เพราะในอนาคตอันใกล้ ความเสียหายจากชื่อเสียงจากการเพิกเฉยต่อปัญหาจะเพิ่มมากขึ้น”

สำหรับวีเดอร์แมน ประเด็นสำคัญที่สุดคือการหาทางที่จะจัดการให้การเปิดเผยข้อมูลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมต่อกลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่งมีความเปราะบางและติดกับดักอยู่ใต้ฐานห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าระดับโลก

ทำความสะอาดห่วงโซ่อุปทาน

ทุกวันนี้ ความสำคัญทางกฎหมายเริ่มเพิ่มขึ้นในประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงานในการดำเนินงานของบรรษัทข้ามชาติ กฎหมายในประเทศทั้งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษระบุให้บริษัทต้องเผยแพร่รายงานประจำปีในประเด็นเรื่องความพยายามในการทำให้ธุรกิจของพวกเขาปราศจากแรงงานทาส

แม้ว่ากฎหมาย “ความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ค.ศ. 2010 (California Transparency in Supply Chain Act 2010)” จะยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างชัดเจนนัก แต่กฎหมายดังกล่าวก็นับว่าเป็นก้าวแรกการฟ้องร้องคดีอาญาจำนวนมาก โดยกลุ่มผู้บริโภคและแรงงานใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อดำเนินการต่อบริษัทมีแถลงการณ์ในประเด็นการต่อต้านการค้าแรงงานทาสที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด

เนสท์เล่คือหนึ่งในบริษัทที่โดนฟ้องร้องในสหรัฐอเมริกา และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนสท์เล่ไม่สามารถเรียกร้องให้ศาลสูงสุดยกฟ้องในกรณีความเกี่ยวข้องกันระหว่างบริษัทและการใช้แรงงานเด็กในไร่โกโก้ในไอวอรี่โคสต์

กรณีดังกล่าวทำให้บริษัทตกอยู่ในสถานภาพไม่สู้ดีนัก เนื่องจากมีการเปิดเผยว่าพบการใช้แรงงานทาสในธุรกิจส่วนหนึ่ง ในขณะที่กำลังต่อสู้ในชั้นศาลเพื่อปัดป้องคำกล่าวหาว่ามีการใช้แรงงานทาสในอีกธุรกิจหนึ่งซึ่งมีสัดส่วนกำไรมากกว่า

แอนดรูว์ วอลลิส (Andew Wallis) ผู้บริหารองค์กร Unseen UK องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ต่อต้านการค้ามนุษย์และเรียกร้องให้มีความรับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทานกล่าวว่า “สำหรับผม นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่บางส่วนของเนสท์เล่บอกว่า ‘โอเค เราถูกลากเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าแรงงานทาสในประเทศไทย เรามาเริ่มโครงการเพื่อแก้ปัญหากันเถอะ’ แต่ในเวลาเดียวกันก็ต่อสู้อย่างเต็มกำลังในชั้นศาลเพื่อปฏิเสธการฟ้องร้องให้รับผิดชอบต่อการใช้แรงงานเด็กในไอวอรี่โคสต์ในธุรกิจหลักของตน”

เขากล่าวว่า รายงานของเนสท์เล่อาจเป็นหนึ่งในเทคนิคที่จะป้องกันอีกหลายคดีอาญาที่ยังคงค้างคาอยู่

“มันเป็นเรื่องง่ายที่จะยอมรับผิดในเรื่องที่ถูกเปิดเผยอยู่แล้ว” เขากล่าว “ก่อนที่เนสท์เล่จะมาเปิดเผยว่ามีการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมงไทย ประเด็นดังกล่าวก็มีได้รับการยอมรับแล้วในระดับสาธารณะ เราจะเข้าสู่โลกใหม่ที่แท้จริงก็ต่อเมื่อบริษัทได้ทำการสืบสวนอย่างแท้จริงในห่วงโซ่อุปทานของตน และเปิดเผยปัญหาที่อยู่นอกเหนือความสนใจของสาธารณชน”

“เราต้องเดินไปยังจุดที่เราสามารถพูดได้ว่า ‘เราทั้งหมดล้วนกระทำความผิด แต่เราต้องก้าวผ่านจุดนี้ไปสู่การแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี’ ซึ่งผมมองว่าปัจจุบันเรายังไม่ถึงขั้นนั้น”
 


หมายเหตุ: แปลจาก  Nestlé admits slavery in Thailand while fighting child labour lawsuit in Ivory Coast โดย Annie Kelly

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'มีชัย'ยังไม่บอกจะมี องค์กรพิเศษ หรือไม่ ระบุร่าง รธน. ยังแก้ไขเพิ่มเติมได้

$
0
0

ประธาน กรธ. ยังไม่เฉลยสุดท้ายจะเพิ่ม คณะกรรมการยุทธศาตร์ชาติ ในร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ระบุตอนนี้ถ้ามีคนเสนอเรื่องอะไรมาและมีเหตุผล ยังสามารถพิจารณาได้ พร้อมเตรียมออกบทความเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อร่าง รธน.

15 ก.พ. 2559 เว็บข่าวรัฐสภารายงานว่า มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวภายหลังรับหนังสือจาก สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 ที่ได้นำเสนอข้อสรุปความเห็นประกอบการร่างรัฐธรรมนูญ ของ สนช.ว่า ขณะนี้มีหลายฝ่ายทยอยส่งความเห็นมายัง กรธ. ทั้งองค์กรอิสระ พรรคการเมือง และภาคส่วนต่างๆ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประมวลว่าในแต่ละมาตรามีข้อเสนออะไร และมาจากที่ใดบ้าง ต่อจากนี้จะปรับแก้เป็นรายมาตรา ซึ่งการพิจารณาจะยึดหลักเนื้อหาและเหตุผล หากข้อเสนอใดที่เป็นประโยชน์ และไม่ถึงกับทำให้ต้องยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้ง หมดก็สามารถที่จะปรับแก้ได้ แต่หากถึงกับต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ คงไม่สามารถดำเนินการได้ทัน

มีชัย ระบุด้วยว่า ความเห็นที่ได้รับการเสนอเข้ามามากที่สุดคือ เรื่องของสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิชุมชน ซึ่งพร้อมที่จะปรับแก้ ทั้งนี้ เมื่อมีการปรับแก้ในมาตรใด ก็จะทยอยชี้แจงกับประชาชนว่ามีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง

ต่อข้อถามถึงเรื่องทางออกประเทศ ประธาน กรธ.ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นในตอนนี้ เพราะยังไม่เห็นข้อเสนอจึงยังไม่ทราบรายละเอียด

ยังบอกไม่ได้ว่าจะมี คปป. หรือไม่ เพราะไม่ใช่ศาสตราจารย์ ที่ยังไม่เห็นเนื้อหาก็วิจารณ์

ไทยรัฐออนไลน์รายงานด้วยว่า เมื่อถามว่า หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า ควรมีองค์กรหนึ่งทำหน้าที่ผ่าวิกฤติ เพราะศาลรัฐธรรมนูญตีความได้เฉพาะกฎหมายเท่านั้น นายมีชัย กล่าวว่า ยังไม่เห็นรายละเอียด ขอไปดูข้อเสนอก่อน ตนไม่ใช่ศาสตราจารย์คงยังวิจารณ์ไม่ได้ เพราะศาสตราจารย์วิจารณ์ได้โดยยังไม่เห็นเนื้อหา เมื่อถามว่า สภาพัฒนาการเมืองไม่เห็นด้วยที่ให้อำนาจตามมาตรา 7 แก่ศาลรัฐธรรมนูญ นายมีชัย กล่าวว่า ยังไม่เห็นข้อเสนอของสภาพัฒนาการเมือง แต่ถ้ามีเหตุผลเราก็พิจารณา ยืนยันว่า กรธ.ไม่ได้เพิ่มอำนาจหรือเปลี่ยนแปลงอะไร และต้องถามเขากลับว่า แต่เดิมใครเป็นผู้มีอำนาจพิจารณา ส่วนข้อเสนอให้แยกหมวดปฏิรูปออกจากหมวดบทเฉพาะกาลนั้น ถ้าไม่มีเรื่องปฏิรูปเยอะ ก็แยกเป็นหมวดได้ ไม่หนักหนาอะไร

เมื่อถามว่า ในร่างรัฐธรรมนูญจะไม่มีการเขียนเพิ่มองค์กรที่มีลักษณะคล้าย คปป.แล้วใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าไม่มีคนเสนอเราจะไม่เพิ่มอะไรที่เป็นสาระสำคัญ เว้นแต่ตกหล่นแล้วมีคนเสนอด้วยเหตุผล กรธ.ก็พิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้หากมีการปรับแก้มาตราใด ตนกำลังติวเข้มทีมโฆษกอยู่ โดยจะออกมาบอกความเคลื่อนไหวของการปรับแก้ตลอดเวลา

กรธ. เตรียมออกบทความ ข้อบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ หวั่นประชาชนเข้าใจผิด

เว็บข่าวรัฐสภารายงานด้วยว่า อุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (รธน.) ภายหลังการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นว่า กรธ.ได้จัดทำบทความเรื่อง “ข้อบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ” เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ www.parliament.go.th เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน

โดยในบทความดังกล่าวจะชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์จนส่งผลให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน  อาทิ ระบบการเลือกตั้ง โดยย้ำว่าระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมมีเจตนาให้ทุกคะแนนเสียงตรง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนเท่านั้น

ดังนั้น การที่ฝ่ายการเมืองใดจะมีเสียงมากขึ้นหรือน้อยลง กรธ. ไม่อาจไปคำนวณล่วงหน้าได้ การเพิ่มอำนาจให้องค์กรอิสระอยู่เหนือรัฐบาล ยืนยันว่าองค์กรอิสระจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหาร เท่านั้น และยังเป็นไปตามกรอบที่รัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 วางไว้ การวิพากษ์วิจารณ์ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เปิดโอกาสให้เกิดการแก้ไข ยืนยันว่าแก้ไขได้ แต่ห้ามแก้ไขเรื่องรูปแบบของรัฐ และรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่า นั้น พร้อมย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยากขึ้น เป็นเพราะที่ผ่านมา กลุ่มการเมืองบางกลุ่มพยายามใช้เสียงข้างมากแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้านเข้ากรุงค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-ทหารจัดเวทีแจงสื่อสงขลา

$
0
0

<--break- />


ภาพจากเพจพลังพลเมืองร่วมสร้างภาคใต้น่าอยู่

เพจเฟซบุ๊กพลังพลเมืองร่วมสร้างภาคใต้น่าอยู่รายงานว่า วันพรุ่งนี้ (16 ก.พ.) ตัวแทนประชาชนจังหวัดสงขลา ปัตตานี ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จะเดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องให้หยุดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพ โดยในวันนี้ (15 ก.พ.) ได้เดินทางไปยื่นเรื่องกับรัฐสภาและสำนักงานนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ก่อนแล้ว

ขณะเดียวกันระหว่างการเดินทางสายคัดค้านโครงการของกลุ่มชาวบ้านและนักศึกษา ฝ่ายความมั่นคงก็เดินหน้าสร้างความเข้าใจในโครงการ โดยในวันนี้ (15 ก.พ.) ศูนย์ประชาสัมพันธ์ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ออกหนังสือเชิญสื่อมวลชนจังหวัดสงขลาให้เข้าร่วมเวทีที่มณฑลทหารบกที่ 42 จะจัดชี้แจงทำความเข้าใจการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในวันที่ 16 ก.พ. เวลา 9.00 น. ที่โรงแรมเทพาบัชรีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา

สำหรับแถลงการณ์เครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้

เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ(PERMATAMAS)

การไม่ปกป้องสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญฉบับร่างและบทเรียนจากความฉ้อฉล ไม่เคารพสิทธิชุมชน

กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559

เรื่อง ขอให้คืนสิทธิชุมชนในร่างรัฐธรรมนูญ และยุติความฉ้อฉลไม่เคารพสิทธิชุมชนกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

เรียน ประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ นายมีชัย ฤชุพันธุ์
 

รัฐธรรมนูญที่ประชาชนคาดหวังต้องมีหลักการสำคัญประการหนึ่งคือ การปกป้องสิทธิชุมชนเพราะชุมชนคือฐานชีวิตฐานวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย แต่ปรากฏว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยกลับละเลยและไม่ได้มีการระบุถึงสิทธิชุมชนอย่างเพียงพอสำหรับการส่งเสริมให้ชุมชนมีภูมิต้านทานต่ออำนาจรัฐและอำนาจทุนที่จะเข้ามาฉกชิงวิ่งราวทรัพยากรธรรมชาติและวิธีวัฒนธรรมอันดีงามไปจากชุมชน

บทเรียนจากการผลักดัน “โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา” ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นั้น สะท้อนชัดเจนว่า ชุมชนต้องการการระบุสิทธิชุมชนที่ชัดเจนและต้องได้รับการปกป้องในรัฐธรรมนูญ หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า “ขอให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เห็นหัวของชาวบ้านและชุมชนบ้าง อย่าเห็นแต่หัวรัฐราชการและนายทุน” 

โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เป็นต้นกำเนิดมลพิษขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ แต่การผลักดันโครงการของ กฟผ.ไม่มีการเคารพสิทธิชุมชนแม้แต่น้อย ต้องมีการย้ายประชาชนกว่า 240 ครัวเรือน กระทบต่อมัสยิดและกุโบร์(สุสาน) 2 แห่ง วัด 1 แห่ง และโรงเรียนปอเนาะอีก 1 แห่ง ซึ่งต้องย้ายออกไป กระทบต่อหลักศรัทธาของประชาชนในพื้นที่อย่างยิ่งทะเลจะถูกทำลาย ประมงพื้นบ้านอาจสาบสูญ มลพิษทางอากาศจะแพร่กระจายไปไกล โครงการดังกล่าวยังได้สร้างแตกแยกในชุมชน กฟผ.ใช้เงินซื้อทุกอย่าง ใช้อำนาจอิทธิพลข่มขู่ อีกทั้งพื้นที่เทพาและชายแดนใต้ที่มีปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบอยู่แล้ว โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาจะเป็นภัยแทรกซ้อนที่สำคัญเป็นเงื่อนไขใหม่ต่อการปะทุของสถานการณ์ความไม่สงบได้

ในขณะที่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ผ่ามาทั้งการทำ ค.1 ค.2 และ ค.3 ไม่มีการรับฟังกลุ่มเห็นต่าง และมีการใช้กำลังปิดกั้นการมีส่วนร่วม รวมทั้งไม่มีการจัดเวทีสร้างการรับรู้หรือการรับฟังความคิดเห็นใดๆ ในพื้นที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แม้แต่ครั้งเดียว ทั้งๆที่ผลกระทบไปไกลถึง 100 กิโลเมตร

นี่คือบทเรียนแห่งความฉ้อฉลของการผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาโดยไม่เคารพต่อสิทธิชุมชนเลยแม้แต่น้อย คำถามคือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะสามารถแก้ปัญหาความฉ้อฉลในลักษณะดังกล่าวได้หรือ จะเป็นรัฐธรมนูญที่ชาวบ้านกินได้ได้อย่างไร ในเมื่อประเด็นสิทธิชุมชนไม่ได้มีความชัดเจนแต่อย่างใด

หากประเด็นเรื่องสิทธิชุมชนไม่มีความชัดเจนในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ภาคประชาชนก็ย่อมไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50857 articles
Browse latest View live




Latest Images