Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

ตั้งทีมยุทธศาสตร์เทือกเขาบรรทัดเจรจาทหาร สกัดโค่นสวนยาง หยุดดำเนินคดีชาวบ้าน

$
0
0

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มอบอำนาจให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดทำแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้, การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าไม้อย่างต่อเนื่องจนปริมาณลดลงจำนวนมาก ด้วยการวางยุทธศาสตร์ภายใน 10 ปี ต้องทวงคืนพื้นที่ป่าไม้ให้ได้อย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศไทย

แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาการประกาศเขตป่าสงวนและเขตอุทยานทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของประชาชนทั่วประเทศไทยเป็นปัญหาหนึ่งที่เรื้อรังและมีการต่อสู้เรียกร้องมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีประชาชนจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตป่าสงวนและเขตอุทยานแห่งชาติมีฐานะเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย และมีความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีจากรัฐได้ทุกเมื่อ

ดังนั้น แผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ฯ ย่อมสร้างความระแวงหวาดกลัวให้กับประชาชนไทยทั่วสารทิศจากภาคเหนือจรดภาคใต้ แม้ ‘ยุทธการทวงคืนผืนป่า’ ของ กอ.รมน. และกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะพุ่งเป้าเพื่อขจัดกลุ่มนายทุน ผู้มีอิทธิพลบุกรุกป่าก็ตาม

5 จังหวัดรอบเทือกเขาบรรทัดร้อนหารือต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ระบุว่าถึงคิวดาหน้าตัดฟันยางพาราภาคใต้แล้ว และหนึ่งในนั้น คือ อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จึงสร้างความร้อนรนให้กับประชาชนแนวเขตป่าอนุรักษ์บริเวณเทือกเขาบรรทัด 5 จังหวัดพัทลุง, ตรัง, นครศรีธรรมราช, สงขลา และสตูล และพยายามมีการหารืออย่างต่อเนื่องจากวันที่ 17 พฤษภาคม 2558

วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด จ.พัทลุง, ตรัง, นครศรีธรรมราช, สงขลา และสตูล ประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินเขตภูมินิเวศน์เทือกเขาบรรทัด

โดยมีประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจากจังหวัดตรัง,พัทลุง,นครศรีธรรมราช,สงขลาและสตูล รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน-พอช.) เข้าร่วมประมาณ 140 คน

มติรับข้อตกลงร่วมแก้ไขปัญหาที่ดินเดิมด้วยตนเอง

ที่ประชุมมีมติรับบันทึกข้อตกลงร่วม ‘การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมและที่อยู่อาศัยการอนุรักษ์ผืนป่าแนวเทือกเขาบรรทัด’ ด้วยหลักการและเหตุผลว่า ร้อยกว่าปีที่ผ่านมารัฐได้ใช้กฎหมายหลายฉบับและกลไกการทำงานของรัฐเป็นหลักในการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ พิสูจน์ได้ว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงประมาณปีละ 1.3 ล้านไร่ จนถึงขั้นวิกฤตทั่วประเทศ เป็นเหตุผลให้องค์กรชุมชนรวมตัวกันเป็นเครือข่ายจัดการปัญหาที่ดินและทรัพยากรด้วยตนเอง

เทือกเขาบรรทัด เป็นเทือกเขาที่ทอดยาวกั้นแนวฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันจากจังหวัดนครศรีธรรมราชถึงจังหวัดสตูล คลอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ครอบคลุม 19 อำเภอ 43 ตำบล โดยแบ่งเป็น 16 ตำบล จาก 6 อำเภอของจังหวัดตรัง 15 ตำบลจาก 6 อำเภอของจังหวัดพัทลุง 3 ตำบลจาก 2 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 ตำบลจาก 1 อำเภอของจังหวัดสงขลา และ 7 ตำบลจาก 4 อำเภอของจังหวัดสตูล

รัฐประกาศเขตป่าอนุรักษ์ทับที่-ปัญหาสารพัด

ในบันทึกข้อตกลงร่วม ‘การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมและที่อยู่อาศัยการอนุรักษ์ผืนป่าแนวเทือกเขาบรรทัด’ ระบุถึงปัญหาว่า ถูกรัฐประกาศเขตป่าทับซ้อน 2 ประเภท คือ อุทยานแห่งชาติเขาปู-เขาย่า ประมาณ 433,750 ไร่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ประมาณ 791,847 ไร่ ถูก ตรวจยึด จับกุม ดำเนินคดี ฟ้องศาล ยางถูกโค่น จำคุก คดีทางแพ่งปรับกรณีก่อปัญหาโลกร้อน ปัญหาการตัดโค่นยางพาราของเจ้าหน้าที่ การปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชไม่ได้ พื้นที่ที่มีเอกสารแสดงสิทธิที่ดิน เช่น นส.3, สค 1, นค1, นค.3, สปก.4-01 ไม่สามารถออกโฉนดได้ และไม่สามารถขอทุนสงเคราะห์ได้ ทั้งที่เดิมเคยขอได้ และการถูกเรียกเก็บเงินจากเจ้าหน้าที่กรณีโค่นยางหมดอายุ การปลูกยาง ถางสวนยาง

คณะทำงานขบวนเขาบรรทัด 22 ตำบลลงชื่อพร้อมร่วมแก้

บันทึกข้อตกลงร่วมขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด พัทลุง, ตรัง, นครศรีธรรมราช, สงขลา และสตูล โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ คือ การมีคณะทำงานขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด โดยให้แต่ละตำบลเสนอตัวแทนตำบลละ 2 คน จาก 5 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 76 คน มีกองเลขานุการ 2 คน และที่ปรึกษา จำนวน 5 คน

โดยเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา ตัวแทนประชาชน ตำบลละ 2 คน ซึ่งเป็นคณะทำงานขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วย ตำบลบ้านนา ตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ ตำบลตะแพน ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน ตำบลเขาไพร ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา ตำบลในเตา ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด ตำบลละมอ ตำบลช่อง อำเภอนาโยง ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรังตำบลวังอ่าง ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง ตำบลทุ่งหว้า ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตำบลท่าชะมวง และตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จำนวน 22 ตำบล จาก 43 ตำบล ใน 5 จังหวัดรอบเทือกเขาบรรทัดและได้ร่วมกันลงชื่อแนบท้ายบันทึกข้อตกลงร่วมขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด

ตั้งทีมยุทธศาสตร์รวมข้อมูล ‘ศึกษากฎหมาย-นโยบาย-สร้างกติการ่วม’

บันทึกข้อตกลงร่วมขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด พัทลุง, ตรัง, นครศรีธรรมราช, สงขลา และสตูล ยังระบุให้มีคณะทำงานยุทธศาสตร์ขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด โดยมาจากจังหวัดตรังและพัทลุง จังหวัดละ 5 คน สตูลและนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 3 คน ส่วนจังหวัดสงขลา 2 คน มีกองเลขานุการ 2 คน มีที่ปรึกษา 5 คน รวมเป็น 25 คน และให้มีผู้ประสานงานจังหวัดละ 1 คน

สำหรับคณะทำงานยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย นายประสาท ท่องคง นายสุชาติ สงจันทร์ นายขนิฐ คงทอง นายปลอด  ท่องคง นายชำนิ ยอดแก้วเรือง จากจังหวัดพัทลุง นายอานนท์  สีเพ็ญ นายสมศักดิ์ พรมแก้ว นายจีรวัฒน์  ควนวิลัย นายธันวาคม  หนูจันทร์ นางบุญทิพย์ เกตุทอง จากจังหวัดตรัง นายหลั่มหลี อรุณฤกษ์ นายทัน  จีนหวั่น นายสมพร  เกลี้ยงกลม จากจังหวัดสตูล นายจำเนียร  คงขำ นายสุทิน  สุกใส นายเทิดศักดิ์ บุญสุวรรณ จากจังหวัดนครศรีธรรมราช นางสาววรรณณี หลงพัน นายชะหริฟ  หมัดล๊ะ จากจังหวัดสงขลา

โดยมีนายสมปอง บุญรอด จากจังหวัดตรัง และนางนิสรา ละมูลสุข จากจังหวัดสตูล เป็นเลขานุการ ขณะที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ฯ คือ นายกรีฑา ด้วงมณี นายจรูญ ทองบุญแก้ว นายอำนวยโชค ฮุ้ยเคียน และนายสายัญ ทองสม

คณะทำงานยุทธศาสตร์ฯ มีบทบาทหน้าที่ คือ

1. รวบรวมข้อเท็จจริงของพื้นที่ตำบล จังหวัด เป็นข้อมูลระดับเครือข่าย
2. ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ. มติ ครม. กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบ หลักเกณฑ์ คู่มือการปฏิบัติ  ประกาศจังหวัด อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. พัฒนาข้อเสนอการแก้ปัญหาจำแนกตามประเภทปัญหาตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. เจรจาการขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในการแก้ปัญหากับหน่วยงาน ระดับพื้นที่ จังหวัด นโยบาย
5. พัฒนาระเบียบ ข้อตกลง ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ สู่ธรรมนูญเทือกเขาบรรทัด
6. หนุนเสริมพื้นที่ตำบลในภูมินิเวศน์เทือกเขาบรรทัด
7. กรณีตำบลใดหรือจังหวัดใดมีแนวเขตติดต่อเทือกเขาบรรทัดมีระเบียบหรือกฎกติกาเดิมอยู่แล้วให้ใช้หลักเกณฑ์นี้เป็นหลัก

นัดหารืออีกครั้ง 30 พฤษภา พัฒนาข้อมูลเพื่อเจรจา

บันทึกข้อตกลงร่วมขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด พัทลุง, ตรัง, นครศรีธรรมราช, สงขลา และสตูล กำหนดภารกิจเร่งด่วน คือ การรวบรวมข้อเท็จจริง ข้อมูลผู้เดือดร้อน สภาพปัญหาของแต่ละตำบลที่สามารถประสานงานได้จากทั้งหมด 43 ตำบล ใน 19 อำเภอของ 5 จังหวัด เพื่อเจรจากับทหาร รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสกัดก่อนการถูกตัดฟันและยุติการดำเนินคดีกับประชาชน โดยนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

ส่วนแนวทางการปฏิบัติการพัฒนาข้อมูลของแต่ละตำบล คือ

1. การทำข้อมูลผู้เดือดร้อน แผนที่ทำมือ สืบค้นประวัติชุมชนและประวัติการถือครองรายแปลง ทำข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) รายแปลงลงในแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1:4000
2. การจำแนกแนวเขตพื้นที่ชุมชน พื้นที่ป่า จำแนกประเด็นปัญหาที่ดินทับซ้อน ลงในแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1:4000
3. ดำเนินการจัดทำกติกาของชุมชน ในการดูแลรักษาพื้นที่ป่า การใช้ประโยชน์ที่ดินเสนอเป็นข้อบังคับสภาองค์กรชุมชน และพัฒนาเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยเรื่องการจัดทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสิ่งแวดล้อม
4. การรับรองข้อมูลการทำกินในที่ดินเดิมผ่านเวทีผู้เดือดร้อน สภาองค์กรชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และออกหนังสือรับรองข้อมูลรายชุมชน รายแปลง

ระดมหนุนช่วยพัฒนาข้อมูลตำบลต้นแบบ-แล้วเปิดเจรจา

ขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัด พัทลุง, ตรัง, นครศรีธรรมราช, สงขลา และสตูล ได้ให้แต่ละจังหวัดเสนอพื้นที่นำบนต้นแบบที่ได้ทำข้อมูล และมีความพร้อมกว่าตำบลอื่น โดยจังหวัดตรังให้ตำบลช่อง อำเภอนาโยง เป็นตำบลนำร่อง จังหวัดพัทลุงได้เสนอให้ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม เป็นตำบลนำร่อง จังหวัดสตูลให้ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง เป็นตำบลนำร่อง จังหวัดสงขลาเสนอให้ตำบลท่าชะมวงเป็นตำบลนำร่อง ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชยังไม่พร้อมที่เสนอตำบลใด

ทั้งนี้ในการจะเปิดเจรจากับทหาร รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสกัดก่อนการถูกตัดฟันและยุติการดำเนินคดีกับประชาชนนั้น ขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัดย้ำเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าข้อมูลต้องพร้อมสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องระดมคณะทำงานยุทธศาสตร์หนุนช่วยตำบลต้นแบบที่แต่ละจังหวัดเสนอก่อน เพื่อเปิดทางนำร่องในการเจรจา

เล็งร่วมเทือกเขาบูโดเจรจาสำนักนายกตอนลงใต้

ในการประชุมหารือขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา มีตัวแทนจากเครือข่ายแก้ปัญหาที่ดินบูโด-สุไหงปาดี ได้มาเล่าถึงสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดิน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ในพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติ บูโด-สุไหงปาดี และตัวแทนจากเครือข่ายแก้ปัญหาที่ดินบูโด-สุไหงปาดีได้แนะช่องทางหนึ่งเดียวกับที่เทือกเขาบูโดใช้ในการเจรจา คือ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ขบวนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเดิมแนวเทือกเขาบรรทัดก็เห็นด้วยที่จะร่วมเจรจาพร้อมเครือข่ายแก้ปัญหาที่ดินบูโด-สุไหงปาดี กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตอนที่ลงมาภาคใต้  แต่ทั้งนี้เบื้องต้นข้อมูลตำบลต้นแบบต้องเสร็จก่อน ส่วนตำบลที่เหลือต้องเร่งทำข้อมูลความเดือดร้อน ถึงจะเปิดเจรจาได้

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เจเจ

$
0
0

"เพราะความเป็นธรรมเฉยๆ เพราะว่าบ้านเมืองทุกวันนี้มันไม่ได้รับความเท่าเทียมในสังคมครับ คนรวยก็อยู่บ้านไม่ต้องติดคุก ทำผิดก็อยู่สบาย ส่วนคนจนก็ต้องติดคุกเพราะไม่มีเงินจะไปสู้คดีกับเขาครับ หลายๆ คดีครับ เห็นตัวอย่าง ทุกคนก็รู้อยู่ ทุกคนก็เป็นสื่ออยู่แล้ว ไม่ต้องพูดดีกว่า"

26 พ.ค.2558 'หนุ่มพังก์' มือพ่นสเปรย์สัญลักษณ์อนาคิสต์หน้าศาลอาญา หลังคดีของเพื่อนไม่ได้รับความเป็นธรรม

ยกเลิกหนังสือเดินทางทักษิณ ชินวัตร - บัวแก้วระบุให้สัมภาษณ์หมิ่นเกียรติภูมิชาติ

$
0
0

กรณีให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลีใต้ - กระทรวงการต่างประเทศ ประกาศยกเลิกหนังสือเดินทาง 'ทักษิณ ชินวัตร' เนื่องจากคำให้สัมภาษณ์มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย ชื่อเสียง เกียรติภูมิของประเทศไทย และกรณีดังกล่าวถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ม.326 ม.327 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ที่มาของภาพ: วิกิพีเดีย)

27 พ.ค. 2558 - เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศประกาศเมื่อเวลา 14.39 น. หัวข้อ "การยกเลิกหนังสือเดินทางของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร" โดยระบุว่า "ด้วยฝ่ายความมั่นคงได้เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องภายในอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับเรื่องที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่า ถ้อยคำให้สัมภาษณ์ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มีเนื้อหาบางส่วนที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยหรือชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทย ประกอบกับกรณีดังกล่าวอยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒, ๓๒๖ และ ๓๒๘ และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ (๓) (๕)"

"​กระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เข้าข่ายที่จะยกเลิกหนังสือเดินทางตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒๑ (๔) และข้อ ๒๓ (๒) จึงได้ประกาศยกเลิกหนังสือเดินทาง เลขที่ U957441 และเลขที่ Z530117 ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มาเลเซียไม่ให้ โจชัว หว่อง นักศึกษาผู้นำการเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ ฮ่องกงเข้าประเทศ

$
0
0

ผู้นำนักศึกษาฮ่องกง ผู้เรียกร้องการเลือกตั้งโดยตรงผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ถูกกักตัวที่ ตม. ปีนัง ก่อนปฏิเสธเข้าประเทศมาเลเซีย

 
27 พ.ค. 2558 เว็บไซต์ asiancorrespondentรายงานว่า โจชัว หว่อง ถูกกักตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซียเหตุเมื่อเช้าวันอังคารที่ผ่านมา ก่อนถูกปฏิเสธการเดินทางเข้าประเทศ


ทั้งนี้ โจชัวระบุว่าเขาได้รับเชิญจากภาคประชาสังคมในมาเลเซียเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการชุมนุมครั้งนั้น

โจชัว หว่อง วัย 18 ปี เป็นหนึ่งในผู้นำการชุมนุมครั้งใหญ่ในฮ่องกงเมื่อปลายปีที่แล้วเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งโดยตรงผู้ว่าการประจำเขตปกครองพิเศษฮ่องกง หรือที่เรียกกันว่า การปฏิวัติร่ม ในปลายปี 2557 โดยการชุมนุมที่ยาวนานกว่า 79 วัน ถูกจับตาจากสื่อทั่วโลก และได้รับความสนใจและถูกกล่าวถึงเป็นพิเศษในแง่ที่ผู้ร่วมชุมนุมและผู้นำการชุมนุมเป็นคนรุ่นใหม่

ทั้งนี้ ความขัดแย้งเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกงที่จะมีขึ้นในปี 2560 มาจากความไม่พอใจของชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งเมื่อทราบว่าทางการจีนซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 1,200 คนจะทำการคัดเลือกผู้ลงชิงชัยในการเลือกตั้งแทนการเปิดรับสมัคร ทำให้เกิดการประท้วงในย่านธุรกิจของฮ่องกงนำโดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ก่อนที่ต่อมาชนชั้นกรรมาชีพในย่านมงก๊กจะเข้าร่วมชุมนุมด้วย โดยพวกเขามีความไม่พอใจนโยบายการเคหะของรัฐอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ฮ่องกงยังติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของเขตบริหารที่มีช่องว่างรายได้สูง โดยเมื่อไม่นานมานี้ธนาคารเครดิตสวิสได้รายงานเรื่องความมั่งคั่งของโลกในปี 2557 ซึ่งมีเขตบริหารพิเศษฮ่องกงติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศที่มีการกระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรม วัดจากจำนวนผู้มีความร่ำรวยสูงสุดร้อยละ 10 ของฮ่องกงถือสินทรัพย์อยู่ถึงร้อยละ 77.5 เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของคนทั้งประเทศ ทางด้านประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ผู้มีความร่ำรวยร้อยละ 10 ถือสินทรัพย์ร้อยละ 73.8 เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของคนทั้งประเทศ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มติ ครม. เห็นชอบความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น พัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

$
0
0

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบบันทึกความร่วมมือระบบรางไทย-ญี่ปุ่น พัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ระยอง - พัฒนาเส้นทางรางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ - เส้นทางรถไฟแม่สอด-มุกดาหาร รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง และรับความช่วยเหลือด้านวิชาการ

แฟ้มภาพขบวนรถไฟความเร็วสูง "ชินคันเซ็น" สาย JR East ของประเทศญี่ปุ่น ที่อู่จอดรถไฟนิงาตะ ภาพถ่ายในปี ค.ศ. 2010 (ที่มา: วิกิพีเดีย)

27 พ.ค. 2558 - ตามที่เมื่อวันที่ 26 พ.ค. มีการประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น หนึ่งในเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอคือ "ร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น" โดยมีรายละเอียดังนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้ คค. สามารถดำเนินการได้ โดยประสานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว

ร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดินฯ ของญี่ปุ่น มีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ความร่วมมือในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่

ทั้งสองฝ่ายยืนยันความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์รถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นที่ได้รับการรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก และจะร่วมกันพิจารณารูปแบบการลงทุนและความช่วยเหลือด้านการเงินที่เหมาะสม เพื่อให้ความร่วมมือระยะแรกของการลงทุนบรรลุผล รวมทั้งจะร่วมกันดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ การออกแบบรายละเอียดและการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการในรูปแบบของการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

2. การพัฒนาระบบรางเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้

ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและ/หรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ ตามที่ได้ระบุไว้ในบันทึกแสดงเจตจำนงฯ ที่ได้ลงนาม เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 และให้ความสำคัญในการเร่งดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถและการปรับปรุงการให้บริการทางรางในเรื่องต่าง ๆ เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า การปรับปรุงรางและโครงสร้างราง การยกระดับขบวนรถไฟและระบบอาณัติสัญญาณ ทั้งนี้ กระทรวงที่ดินฯ ร่วมกับ Japan International Cooperation Agency (JICA) จะเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้และการออกแบบรายละเอียดโดยเร็ว เพื่อหารูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสมที่สุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทั้งสองฝ่ายยินดีให้การสนับสนุนโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สามารถดำเนินการได้ในระยะสั้น การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนการพัฒนาด้านนิติบุคคลเฉพาะกิจสำหรับความร่วมมือระบบราง ไทย – ญี่ปุ่น และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อได้รับทราบวงเงินโครงการแล้ว นอกจากนี้กระทรวงที่ดินฯ จะพิจารณาทบทวนและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนโครงข่ายเส้นทางรถไฟในภาคตะวันออกที่มีความเหมาะสมด้วย

3. เส้นทางแม่สอด – มุกดาหาร

ทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องสำหรับความเป็นไปได้ในเส้นทางดังกล่าว ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาแนวเศรษฐกิจด้านตะวันออก – ตะวันตก โดยฝ่ายญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทยในการศึกษาความเป็นไปได้ และการศึกษารูปแบบการลงทุนในอนาคต

4. การให้บริการขนส่งสินค้าทางราง

ทั้งสองฝ่ายจะศึกษาความเป็นไปได้ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางรางนี้ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 และจะเริ่มดำเนินการโครงการนำร่องในต้นปี 2559 เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งสินค้าทางรางในประเทศไทย

5. ระบบการขนส่งมวลชนทางราง

ทั้งสองฝ่ายรับทราบความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจะได้นำระบบเทคโนโลยีของญี่ปุ่นมาใช้ โดยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีระบบรางของญี่ปุ่นมาใช้ในโครงการขนส่งมวลชนทางรางอื่น ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

6. โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – ระยอง

คค. รับทราบข้อเสนอของกระทรวงที่ดินฯ ที่จะพิจารณาให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง คค. จัดทำแผนงาน

7. ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ

กระทรวงที่ดินฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของญี่ปุ่นจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ อาทิ การฝึกอบรม และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญในสาขางานโยธา วิศวกรรมเครื่องกล/ไฟฟ้า การสื่อสารโทรคมนาคม ระบบอาณัติสัญญาณ และการควบคุมการดำเนินงาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบรางที่เหมาะสมเพื่อยกระดับโครงข่ายรางในประเทศไทยและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการโครงสร้างดังกล่าว ในการให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยและความทนทาน ของระบบรางซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของวัฏจักรระบบราง

8. คณะกรรมการบริหารร่วมระดับรัฐมนตรี

การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารร่วมระดับรัฐมนตรีขึ้น เพื่อควบคุมการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือฉบับนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นจะเป็นประธานร่วม คณะทำงานระบบรางระดับปลัดกระทรวงจะรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบแล้ว และจะมีการจัดตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อให้การดำเนินงานในแต่ละโครงการมีประสิทธิภาพ โครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย – ญี่ปุ่น

9. กรอบระยะเวลาการดำเนินการ

ทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปเรื่องกรอบระยะเวลาการดำเนินการความร่วมมือข้างต้น ภายในหนึ่งเดือนหลังการลงนามร่างบันทึกความร่วมมือฉบับนี้

10. การดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือฉบับนี้จะเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทั้งสองประเทศ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘พังก์พ่นป้ายศาล’ นอนคุก หลังยื่นประกันไม่ทันคดีทำลายทรัพย์ฯ ส่วนคดีละเมิดอำนาจศาลรอการลงโทษ

$
0
0

27 พ.ค.2558 กรณีมีคนพ่นสีสเปรย์ใส่ป้ายศาลอาญา เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นรูปตัวอักษร A อยู่ในวงกลม คล้ายสัญลักษณ์อนาธิปไตย(อนาคิสต์) เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘iLaw’ รายงานว่า เช้าวันนี้(27 พ.ค.58) เวลา 10.30 น. ตำรวจสน.พหลโยธิน นำตัว ณัฐพล ผู้ต้องหาไปที่ศาลอาญา เพื่อขออำนาจศาลฝากขังในความผิดตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ และฐานทำลายทรัพย์สินราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ณัฐพลมาถึงศาลในเวลาประมาณ 11.00 น. และถูกพาตัวขึ้นไปห้องพิจารณาคดีที่ 712 เพื่อไต่สวนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักอำนวยการศาลอาญามาเบิกความ

เจ้าหน้าที่สำนักอำนวยการศาลอาญา เบิกความว่า สัญลักษณ์ที่พ่นมีความหมายต่อต้านอำนาจรัฐ การพ่นสัญลักษณ์เช่นนี้ที่ป้ายศาลอาญา ถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในเขตศาล เข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล

ขณะที่ณัฐพล เบิกความต่อศาลว่า ไม่มีเจตนาจะละเมิดอำนาจศาล วันที่กระทำความผิดนั้นฟังเพลงและเดินมาเรื่อยๆ และพ่นสเปรย์ที่สะพานลอยแห่งหนึ่งมาก่อนแล้ว พอเดินผ่านมาหน้าศาลก็เลยพ่นอีกครั้ง และตั้งใจจะเดินไปพ่นสีต่อไปเรื่อยๆ รูปที่พ่นนั้นเป็นสัญลักษณ์วงดนตรีต่างประเทศชื่อ Anti Flag ไม่ได้มีความหมายอย่างอื่น

สำหรับแรงจูงใจในการพ่นสี ณัฐพลเบิกความว่าไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เป็นเพราะเขามีความคับแค้นเนื่องจากคดีที่มีทหารยิงรุ่นพี่ของเขาซึ่งขณะนี้อยู่ในศาลทหารไม่มีความคืบหน้า ณัฐพลยอมรับว่าตนทำความผิดฐานพ.ร.บ.ความสะอาดฯ และทำลายทรัพย์สินราชการจริง แต่คาดไม่ถึงว่าการพ่นสีที่ป้ายศาลจะเป็นความผิดร้ายแรง ตนรู้สึกสำนึกผิดในสิ่งที่ได้ทำไป ยินดีจะช่วยทำความสะอาดศาลและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม นอกจากนี้ณัฐพลยังตัดพ้อความคืบหน้าคดีที่ศาลทหารที่เป็นเหตุแห่งความคับแค้นใจ

หลังการไต่สวนในภาคเช้า ศาลนัดฟังคำสั่งคดีละเมิดอำนาจศาลในภาคบ่าย ศาลถามณัฐพลว่า พนักงานสอบสวนขออำนาจศาลฝากขังเป็นเวลา 12 วัน ในความผิดฐานทำลายทรัพย์สินและความตามพ.ร.บ.ความสะอาด ณัฐพลจะคัดค้านการฝากขังหรือไม่แต่ณัฐพลไม่คัดค้าน

ในช่วงบ่าย มีผู้สื่อข่าวมารอฟังคำสั่งที่ห้องพิจารณาคดีตั้งแต่บ่ายโมงเศษ ณัฐพลถูกนำตัวขึ้นมาจากห้องควบคุมตัวใต้ถุนศาลในเวลาประมาณ 13.50 น. เมื่อณัฐพลขึ้นมาที่ห้องพิจารณาคดีได้ครู่เดียวก็มีเจ้าหน้าที่ศาลเดินมาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ว่า ให้นำตัวณัฐพลลงไปที่ห้องควบคุมก่อน เพราะศาลกำลังหารือ

แต่สุดท้ายเจ้าหน้าราชทัณฑ์ก็บอกว่า ให้อยู่ที่ห้องพิจารณาก็ได้ ณัฐพลและเพื่อนนั่งคุยกันอย่างออกรสระหว่างรอคำสั่งศาล เขากล่าวตอนหนึ่งว่า แม้เขาจะยิ้มแต่ข้างในก็กังวลอยู่ เวลาล่วงเลยไปจน 16 นาฬิกาเศษ ณัฐพลและเพื่อนของเขาเริ่มแสดงความกังวลเพราะกลัวจะยื่นประกันตัวไม่ทัน เนื่องจากศาลตั้งราคาประกันตัวในคดีนี้ไว้ที่ 90,000 บาท ณัฐพลมีหลักทรัพย์ไม่พอ จึงจำเป็นต้องซื้อประกันอิสรภาพ แต่บริษัทจะไม่ให้หลักทรัพย์จนกว่าศาลจะมีคำสั่งในคดีละเมิดอำนาจศาล ณัฐจึงยังไม่ได้ยื่นประกันตัวจนกระทั่งเวลายื่นเอกสารใกล้จะหมด

16.20 น. ศาลขึ้นขึ้นบัลลังก์อีกครั้งและมีคำสั่งว่า การที่ณัฐพลพ่นสีที่ป้ายศาล เข้าข่ายเป็นการละเมิดอำนาจศาล ลงโทษจำคุก 1 เดือน แต่เนื่องจากณัฐพลสำนึกผิดและไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ให้รายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง และให้พนักงานคุมประพฤติรายงานการเข้าพบต่อศาลทุกครั้ง เมื่อศาลอ่านคำสั่งเสร็จเวลาก็ล่วงไปเกือบ 16.30 น. ซึ่งเจ้าหน้าที่ปิดรับคำร้องขอประกันตัวแล้ว ณัฐพลจึงจะถูกควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพอย่างน้อย 1 คืน เพื่อนของณัฐพลแจ้งด้วยว่า จะมายื่นประกันตัวอีกครั้งในช่วงเช้าวันพรุ่งนี้( 28 พ.ค. 58)

สำหรับเหตุที่พ้นสีดังกล่าว ณัฐพล ระบุว่า เนื่องจากต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับรุ่นพี่ที่ถูกยิงเสียชีวิต ขณะขี่รถจักรยานยนต์ผ่านย่านบางเขน เมื่อคืนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 โดยตำรวจสามารถจับกุม ส.ต.วัชรพงศ์ ชูรัตน์ ทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ แต่คดีไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร จึงเกิดความคับแค้นใจ และต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม จึงฉีดพ่นสัญลักษณ์ดังกล่าว เพราะเห็นว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และยอมรับว่าสิ่งที่ทำมีความผิด แต่ต้องการระบายและเรียกร้องความถูกต้องเท่านั้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 21-27 พ.ค. 2558

$
0
0
นักศึกษาจัดทำแฟ้มสะสมผลงานของชาวแรงงานต่างด้าว 
 
ในโลกออนไลน์เป็นที่ฮือฮา เมื่อเว็บไซต์หนึ่งเผยแพร่พอร์ตฟอลิโอของชาวแรงงานต่างด้าว ของ นายหรอด อ่องมู แรงงานชาวพม่า  ซึ่งรายละเอียดเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นและความรู้สึกของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นแรงงานต่างด้าวจริงๆ
 
ทั้งนี้ ภายในแฟ้มสะสมงานนี้ ประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐานสมัครงานปกติเหมือนชาวไทย ทั้งการเข้ามาทำงานที่นี่ ประสบการณ์ ทัศนคติต่างๆซึ่งแฟ้มผลงานชิ้นนี้จัดทำขึ้นโดยนักศึกษา สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
 
(MThai, 24/05/2558)
 
อเมริกัน เอ็กซ์เพรส คว้ารางวัล ‘สุดยอดนายจ้างดีเด่น’
 
อนัคฆวัชร์ ก่อวัฒนกุล และ คาโรลิน่า โบกาโดโกเมส รับรางวัลอเมริกันเอ็กซ์เพรสเอเชียฯ มี ดร.อดิศักดิ์ จันทรประภาเลิศ, พัณณ์ชิตา สวนศิลป์พงศ์ และ เจเรมี แอนดรูลิส ร่วมยินดี
 
อเมริกัน เอ็กซ์เพรส คว้ารางวัล “นายจ้างดีเด่นในประเทศไทย” (Best Employer Thailand) และ “นายจ้างดีเด่นแห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก” ประจำปี 2015 จัดโดย เอออน ฮิววิท ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคาโรลิน่า โบกาโดโกเมส ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท อเมริกัน เอ็กซ์เพรส ประเทศมาเลเซีย-ไทย และ อนัคฆวัชร์ ก่อวัฒนกุลรองประธานฝ่ายสมาชิกบัตรประเทศไทย บริษัท อเมริกัน เอ็กซ์เพรส (ไทย) จำกัด เป็นตัวแทนขึ้นรับรางวัล ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ
 
(แนวหน้า, 25/05/2558)
 
กรมบัญชีกลางเสนอขึ้นเงินเดือนลูกจ้างประจำใหม่
 
กรมบัญชีกลางเตรียมเสนอกระทรวงการคลัง ปรับโครงสร้างเงินเดือนให้สอดคล้องกับข้าราชการ ซึ่งข้าราชการจะได้รับโอนเงินตามโครงสร้างใหม่ และเงินตกเบิกในเดือนมิถุนายนนี้ หลังกฏหมายการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการมีผลบังคับใช้
 
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางพร้อมที่จะโอนเงินส่วนที่ปรับขึ้นไปให้ส่วนราชการได้ทันที ในรอบการจ่ายเงินเดือนของเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งปกติจะจ่ายทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน ส่วนสาเหตุที่ไม่สามารถโอนได้ทันในรอบเดือนพฤษภาคมนี้ เนื่องจากได้โอนเงินเดือน เข้าบัญชีของหน่วยราชการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่กฏหมายการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะมีผลบังคับใช้ 
 
ขณะเดียวกัน ส่วนราชการต่าง ๆ ต้องใช้เวลาในการจัดทำบัญชีเงินเดือนของข้าราชการแต่ละคนใหม่ ซึ่งจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับจำนวนข้าราชการในสังกัด โดยประเมินว่าจะมีหน่วยราชการมากกว่าร้อยละ 80 สามารถส่งเรื่องมายังกรมบัญชีกลางได้ภายใน 15 มิถุนายน เพื่อให้ทันการโอนเงินในงวดวันที่ 25 มิถุนายน โดยจะเป็นการจ่ายทั้งเงินเดือนใหม่ของเดือนมิถุนายน และเงินตกเบิกอีก 6 เดือน ตั้งแต่ธันวาคม 2557 ซึ่งมีข้าราชการจะได้รับโอนราว 2 ล้านคน คิดเป็นเงินรวมมากกว่า 10,000 ล้านบาท
 
ขณะที่ลูกจ้างประจำ กรมบัญชีกลางเตรียมเสนอกระทรวงการคลัง ปรับโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างประจำใหม่ให้สอดคล้องกับข้าราชการ โดยมีหลักเกณฑ์ คือ
 
1.ลูกจ้างประจำของส่วนราชการทุกราย ได้ปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 1 ขั้น 
2.ขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ทุกตำแหน่งเพิ่มขึ้น 3 ขั้น
3.ลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างขั้นสูงสุดของตำแหน่ง และได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ในรอบการประเมินที่แล้ว ให้นำค่าตอบแทนพิเศษมานับรวมเป็นค่าจ้างตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2557 ซึ่งจะมีลูกจ้างประจำได้ประโยชน์ 155,053 คน ใช้งบฯ 984 ล้านบาท 
 
(ครอบครัวข่าว, 25/05/2558)
 
แรงงานภาคเกษตรตกงานอื้อ เหตุภัยแล้ง-เลิกจำนำข้าวฉุดรายได้วูบหนัก
 
สศช.ไตรมาสแรก ผู้มีงานทำภาคเกษตรติดลบ 4.4% จากปัญหาภัยแล้ง-เลิกจำนำข้าว จับตารายได้เกษตรกรต่ำหนัก จากปัจจุบันเฉลี่ยเดือนละ 5,700 บาท ต่ำกว่านอกภาคเกษตรเท่าตัว ด้านภาคผลิต นายจ้างลดชั่วโมงทำงานลง หลังออร์เดอร์หด ส่วนหนี้ครัวเรือนยังเพิ่ม 7.6% ขณะที่หอการค้าไทยจับมือหอการค้าต่างประเทศพัฒนาศักยภาพชาวนาให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ
 
นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ปี 58 ว่า มีผู้มีงานทำ 37.6 ล้านคน ลดลง 0.5% หรือ 200,000 คน จากไตรมาสเดียวกันปี 57 ที่มีผู้มีงานทำ 37.8 ล้านคน โดยผู้มีงานทำภาคเกษตรลดลง 4.4% เพราะภัยแล้ง รวมทั้งยังเป็นช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว และการเพาะปลูกข้าวลดลงหลังจากยุติมาตรการรับจำนำ ส่วนผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 1.3% ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิต ก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร ส่งผลให้อัตราการว่างงานโดยรวมอยู่ที่ 0.94%
 
สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังต่อไปนั้น คือ ผลกระทบด้านรายได้ของแรงงาน ซึ่งในปี 58 ภัยแล้งมาเร็วกว่าปกติ และมีสัญญาณรุนแรงขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.57-21 พ.ค.58 มี 12,364 หมู่บ้านได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง คิดเป็น 16.47% จากทั้งหมด 74,965 หมู่บ้านทั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ของเกษตรกร จากปัจจุบันค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรเฉลี่ยรายละ 5,700 บาทต่อเดือน ต่ำกว่านอกภาคเกษตรรายได้ที่เฉลี่ยรายละ 12,500 บาทต่อเดือน ประมาณ 1 เท่า “เมื่อการจ้างงานภาคเกษตรลดลง ประกอบกับผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรลดลง จะยิ่งซ้ำเติมปัญหารายได้ของครัวเรือนเกษตร และลูกจ้างเกษตรที่ค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว”
 
สำหรับภาคการผลิตที่ต้องเฝ้าติดตาม คือ แม้ว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ผู้ประกอบการลดชั่วโมงการทำงานลง โดยไตรมาสแรก ชั่วโมงการทำงานภาคการผลิตเฉลี่ยลดลง 2.2% ภาคบริการลดลง 1.8% ทำให้ผู้ที่ทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงขึ้นไปในภาคการผลิตลดลง 2.4% และบริการลดลง 1.8% นอกจากนั้นยังพบว่า จำนวนผู้ที่ทำงานต่ำกว่าระดับการศึกษาในภาคการผลิตเพิ่มขึ้น 24.6%และภาคบริการเพิ่มขึ้น 4.6% แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อรายได้ของแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่อาศัยรายได้จากการทำงานล่วงเวลาเป็นรายได้เสริมเพื่อดำรงชีวิตและชำระหนี้สิน
 
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า โอกาสในการหางานทำลดลง เห็นได้จากสัดส่วนผู้สมัครงานต่อตำแหน่งงานว่างคิดเป็น 1.14 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 1.09 เท่า ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่สัดส่วนต่อการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างอยู่ที่ 0.86 เท่า และการบรรจุงานต่อผู้สมัครงานเฉลี่ยอยู่ที่ 0.76 เท่า อีกทั้งผู้ประกอบการยังชะลอการขยายตำแหน่งงาน เพราะความกังวลต่อสถานการณ์และการลดคำสั่งซื้อ และจากผู้สมัครงานที่มีมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสเลือกรับคนที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการมากขึ้น
 
นางชุตินาฏกล่าวว่า คาดว่าในปีนี้จะมีแรงงานจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรี 637,610 คน จากผู้จบการศึกษา 2,137,424 คน เป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 63.9% อาชีวศึกษา 21.5% และมัธยมศึกษา 14.7% ซึ่งในปี 57 ระดับปริญญาตรีว่างงานสูงสุด 1.54% โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์ เช่น วารสารศาสตร์และสารสนเทศว่างงาน 2.77% ศิลปกรรมศาสตร์ว่างงาน 2.76% และมนุษยศาสตร์ว่างงาน 2.71% เพราะผลิตกำลังคนเกินความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม ในอนาคตต้องเตรียมคนเพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านคมนาคมขนส่ง ทำให้เกิดความต้องการแรงงาน โดยเฉพาะวิศวกรและช่างเทคนิคด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้า อิเล็ก-ทรอนิกส์ ก่อสร้าง สำรวจ เป็นต้น เป็นจำนวนมาก
 
ขณะที่หนี้สินครัวเรือน พบว่าชะลอตัว โดยยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 7.6% ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้น 10.7% ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนหนี้เพื่อการบริโภคอื่นเพิ่มขึ้น 12.4% ชะลอลงจาก 17.6% แต่มูลค่าหนี้เสียเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่า 92,426 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% การผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น 27.4% คิดเป็นมูลค่า 15,469 ล้านบาท และยอดคงค้างชำระบัตรเครดิตเกิน 3 เดือน เพิ่มขึ้น 22% คิดเป็นมูลค่า 8,933 ล้านบาท มีสัดส่วน 3.1% ต่อยอดคงค้างรวม ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
ด้านนายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยร่วมกับหอการค้าต่างประเทศ และหน่วยงานภาครัฐจัดทำโครงการพัฒนาชาวนาให้เป็นผู้ประกอบการด้านข้าวแบบครบวงจร ด้วยการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้ความรู้ ตั้งแต่การจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี จัดหาปุ๋ย ลดต้นทุนทำนา รวมถึงการทำตลาดเพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศตามช่องทางต่างๆ เพื่อตัดวงจรพ่อค้าคนกลางที่กดราคา โดยจะเน้นผลิตข้าวคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงแปรรูปข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า รวมทั้งส่งเสริมให้ลูกหลานชาวนาที่จบการศึกษาปริญญาตรี ประกาศนียบัตรชั้นสูง และประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลับมาช่วยพัฒนางานในวิสาหกิจชุมชนด้วย.
 
(ไทยรัฐ, 26/05/2558)
 
สตง. ลงพื้นที่ด่วน "เชียงใหม่-อุดร-กระบี่" เพื่อสุ่มตรวจสอบ อปท. ดูเอกสารการเบิกจ่ายโบนัส เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสม
 
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีกำหนดการจะเข้าตรวจเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปี (เงินโบนัส) สำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
โดย สตง. วางกำหนดการไว้ในระหว่างที่ 27-29 พฤษภาคม 2558  จะลงพื้นที่ อบจ.เชียงใหม่ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง , อบต.ดอนแก้ว โดยให้หน่วยงานข้างต้นเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจ่ายโบนัสให้พร้อม ทั้งนี้ยังให้ผู้บริหารท้องถิ่น ปลัด และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเข้าร่วมชี้แจงรายละเอียดในการประชุมแบบสัมภาษณ์
 
ประเด็นในการตรวจหลักๆครั้งนี้ ตรวจสอบเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปี (เงินโบนัส) สำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่น 
 
ซึ่งในชุดคณะที่จะมาตรวจสอบครั้งนี้ นำทีมโดยผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการดำเนินงานที่ 3 (จากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) พร้อมทีมงาน และพ่วงท้ายมาด้วยผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น (จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
 
ทั้งนี้ อบจ.เชียงใหม่ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง , อบต.ดอนแก้ว เป็นองค์กรที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการบริหารจัดการที่ดี
 
(ชุมชนคนท้องถิ่น, 26/05/2558)
 
ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
 
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ
 
สาระสำคัญของเรื่อง
ด้วยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเป็นประจำทุกเดือน โดยสอบถามประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง ทุกจังหวัดทั่วประเทศมีครัวเรือนตกเป็นตัวอย่าง 27,960 ครัวเรือนต่อเดือน คิดเป็นจำนวนประชากรที่ตกเป็นตัวอย่างทั้งสิ้นประมาณ 97,860 คน ซึ่งขนาดตัวอย่างดังกล่าวนำเสนอข้อมูลในระดับ ภาค และยอดรวมทั้งประเทศ  สำหรับแนวคิดและคำนิยามที่ใช้ในการสำรวจใช้ตามสภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทย และตามข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และหน่วยงานสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเป็นมาตรฐานทางสถิติที่ประเทศต่าง ๆ นำไปใช้ในการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเพื่อให้ได้ข้อมูลการทำงาน การว่างงาน และ การประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของประชากร ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ในระหว่างประเทศ
 
สำหรับในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ในภาพรวมสถานการณ์แรงงานมีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 2.0 หมื่นคน (จาก 3.44 แสนคน เป็น 3.24 แสนคน) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 หากเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 5.40 หมื่นคน (จาก 3.78 แสนคน เป็น 3.24 แสนคน) สำหรับสาระสำคัญการสำรวจสรุปได้ ดังนี้
 
2.1 ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน
ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 38.28 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.53 ล้านคน ผู้ว่างงาน 3.24 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 4.30 แสนคน ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 จำนวน 2.5 แสนคน (จาก 38.03 ล้านคน เป็น 38.28 ล้านคน)
 
2.2 ผู้มีงานทำ
ผู้มีงานทำ 37.53 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 จำนวน 2.0 แสนคน (จาก 37.33 ล้านคน เป็น 37.53 ล้านคน) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ซึ่งมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้นและลดลง ในสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้
 
2.2.1 ผู้ทำงานเพิ่มขึ้น  ได้แก่ สาขาการผลิต 4.0 แสนคน (จาก 6.41 ล้านคน เป็น 6.81 ล้านคน) สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร 1.0 แสนคน (จาก 2.68 ล้านคน เป็น 2.78 ล้านคน) สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 9.0 หมื่นคน (จาก 1.17 ล้านคน เป็น 1.26 ล้านคน) สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ 8.0 หมื่นคน (จาก 1.54 ล้านคน เป็น 1.62 ล้านคน) สาขากิจกรรมด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ 7.0 หมื่นคน (จาก 0.65 ล้านคน เป็น 0.72 ล้านคน)  สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 4.0 หมื่นคน (จาก 0.14 ล้านคน เป็น 0.18 ล้านคน) และที่เหลือเป็นอื่น ๆ
 
2.2.2 ผู้ทำงานลดลง ได้แก่  สาขาเกษตรกรรม 4.3 แสนคน (จาก 11.04
ล้านคน เป็น 10.61 ล้านคน) สาขาการศึกษา 1.2 แสนคน (จาก 1.23 ล้านคน เป็น 1.11 ล้านคน) สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 8.0 หมื่นคน (จาก 0.63 ล้านคน เป็น 0.55 ล้านคน) สาขาการก่อสร้าง 6.0 หมื่นคน (จาก 2.62 ล้านคน เป็น 2.56 ล้านคน) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 3.0 หมื่นคน  (จาก 6.51 ล้านคน เป็น 6.48 ล้านคน) สาขากิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ 1.0 หมื่นคน (จาก 0.72 ล้านคน เป็น 0.71 ล้านคน)
 
2.3 ผู้ว่างงาน
2.3.1 ผู้ว่างงานทั่วประเทศมีจำนวน 3.24 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน
ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม (ลดลง 2.0 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557) ประกอบด้วย ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.51 แสนคน  อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.73 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคบริการและการค้า 8.2 หมื่นคน ภาคการผลิต 7.2 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 1.9 หมื่นคน
 
2.3.2 ผู้ว่างงานเป็นผู้มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา 1.39 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 7.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 5.4 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4.9 หมื่นคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.1 หมื่นคน
 
2.3.3 ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9.9 หมื่นคน ภาคกลาง 7.4 หมื่นคน ภาคใต้ 5.6 หมื่นคน ภาคเหนือ 5.1 หมื่นคน และกรุงเทพมหานคร 4.4 หมื่นคน หากคิดเป็นอัตราการว่างงาน ภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.1 รองลงมาเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ1.0 กรุงเทพมหานครและภาคเหนือมีอัตราการว่างงานเท่ากันคือร้อยละ 0.8 และภาคกลางน้อยที่สุด ร้อยละ 0.6
 
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤษภาคม 2558--
 
(มติคณะรัฐมนตรี, 26/05/2558)
 
“พยาบาล-ครูสอนพยาบาล” สมองไหล เหตุสายงานไม่ก้าวหน้า เร่งผลิตเพิ่ม
 
(26 พ.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังขาดแคลนพยาบาล เพราะงานพยาบาลใน รพ.รัฐ ถือว่าหนัก ทั้งยังไม่เปิดให้บรรจุเป็นข้าราชการ ทำให้เกิดภาวะสมองไหลไปยังภาคเอกชน นอกจากนี้ ครูพยาบาลที่ทำหน้าที่สอนและผลิตพยาบาลก็เกิดภาวะสมองไหลเช่นกัน เพราะไม่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ แม้จะจบการศึกษาระดับปริญญาโทมาจากต่างประเทศ แต่ก็ก้าวหน้าได้เพียงระดับซี 8 เท่านั้น สธ. จึงได้หารือร่วมกับสภาการพยาบาล และสถาบันผลิตพยาบาลในสังกัด ว่า จะดำเนินการอย่างไรเพื่อผลิตพยาบาลเพิ่มเติม และให้คงอยู่ในระบบมากที่สุด เบื้องต้นมี 3 แนวทางคือ 1. ผลักดันร่าง พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนก ที่ค้างมานาน ซึ่งร่าง พ.ร.บ. นี้ จะช่วยให้ครูพยาบาลมีความก้าวหน้าในวิชาชีพมากขึ้นถึงระดับศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
       
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า 2. ให้พยาบาลวิชาชีพเป็นครูฝึกสอนพยาบาลให้รู้ว่าการปฏิบัติหน้าที่จริงเป็นอย่างไร เช่น การทำงานในห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งเป็นการฝึกระยะสั้น และ 3. หามาตรการการคงอยู่ของพยาบาลเอาไว้ในระบบ เช่น ความมั่นคงในวิชาชีพ ถ้าไม่ให้มีการบรรจุเป็นข้าราชการก็ต้องมีความมั่นคงในการหาการจ้างงานรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่ลูกจ้างชั่วคราว เช่น พนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ฯลฯ เป็นต้น
       
“ยอมรับว่า ในอนาคตพยาบาลของเราจะไม่พอ เพราะคนแก่เยอะขึ้น โรคภัยไข้เจ็บจะมากตาม จึงจะต้องส่งพยาบาลไปทำงานเชิงรุกเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคด้วย แต่ขณะนี้พยาบาลในโรงพยาบาลก็ยังขาดแคลน ดังนั้น ในระยะยาว สธ. จะต้องคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการผลิตพยาบาลเพิ่ม และจะผลิตเพิ่มอย่างไร จะให้มีครูพยาบาลเพิ่มเป็นสัดส่วนเท่าไรต่อนักเรียนพยาบาล” นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวและว่า อย่างน้อยตอนนี้ต้องบรรจุพยาบาลเป็นข้าราชการรอบที่ 3 จำนวน 7,547 คน ให้สำเร็จ จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าต้องเสร็จใน 1 ม.ค. 2557 ก็ขยับมาเป็น 1 เม.ย. 2558 ก็ยังไม่สำเร็จ เพราะต้องรอ คณะกรรมการปฏิรูประบบกำลังคนภาครัฐ (ครป.) ประชุมก่อน
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 26/05/2558)
 
เครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านร้องขอเข้าประกันสังคม ม.33 แทน ม.40
 
นางสมร พาสมบูรณ์ ประธานเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย กล่าวว่า วันที่ 25 พฤษภาคม ได้ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาชีวิตแรงงานและอาชีพ เดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.)กระทรวงแรงงาน โดยมีนายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ รองเลขาธิการสปส.เป็นผู้รับหนังสือแทน ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สำนักงานใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
 
เพื่อขอให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 เพราะ พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกันสังคม พ.ศ.2558 กำหนดนิยาม ลูกจ้าง ว่าหมายถึงผู้ที่ทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งความหมายครอบคลุมถึงกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านที่มีนายจ้างชัดเจน
 
สาเหตุที่ต้องการเข้าสู้มาตรา 33 เนื่องจากบางครั้งลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ไปพบแพทย์ กลับถูกนายจ้างหักเงินค่าจ้าง บางคนถูกไล่ออก รวมทั้งไม่สะดวกในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จะต้องไปตรวจขั้นต้นที่ภูมิลำเนาทำให้เดินทางไกลและต้องลางาน
 
นางสมร กลางอีกว่า หากลูกจ้างทำงานบ้านได้เข้าไปอยู่ในมาตรา 33 จะทำให้มีหลักประกันในการทำงาน เช่น ถูกไล่ออกจากงานก็ยังมีสิทธิประโยชน์ว่างงานรองรับ มีเงินเลี้ยงชีพในระหว่างหางานใหม่ ในเรื่องของการรักษาพยาบาลก็สะดวก รวมทั้งมีสิทธิตลอดบุตร อีกด้วย หากเปรียบกับมาตรา 40 หากไปพบแพทย์ นอนพักรักษา 3 วัน ได้เงินเชยขาดรายได้เพียง 600 บาท
 
"ปัจจุบันมีแรงงานไทยและต่างชาติทำงานบ้านประมาณ 2 ล้านคน เครือข่ายมีสมาชิกจำนวน 500 คน และจากการหารือกับสมาชิก ต่างพร้อมจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกันสังคม พ.ศ.2558 จะไม่ให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 33 แต่จะให้เข้ามาตรา 40 แทน"
 
ด้านนายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ รองเลขาธิการสปส. กล่าวว่า จะนำข้อเรียกร้องไปหารือกับเลขาธิการสปส.และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายลำดับรอง เจตนารมณ์ของกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่ต้องการให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าสู่มาตรา 33 แต่ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายลำดับรอง ได้หารือแต่ยังไม่มีข้อสรุป
 
เนื่องจากอนุกรรมการบางคนมองในแง่กฎหมาย และนำข้อสังเกตของสมาชิกสภานิติบัญัติแห่งชาติ(สนช.)มาพิจารณาในเรื่องของคำว่าลูกจ้างจะรวมไปถึงลูกจ้างทำงานบ้านด้วยหรือไม่ รวมทั้งความพร้อมของนายจ้างและลูกจ้างด้วย จะหารือกับประธานคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายลำดับรองขอให้เปิดโอกาสให้ประธานเครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านฯ เข้าชี้แจงต่อในการประชุมวันที่ 12 มิถุนายนนี้ที่สปส.นนทบุรี แต่หากในที่สุดแล้วคณะอนุกรรมการสรุปว่าไม่ให้เข้ามาตรา 33 ก็จะให้เข้ามาตรา 40 แทน
 
(มติชน, 26/05/2558)
 
เตรียมพร้อมแรงงานนอกระบบ-พิการ เข้าถึงไอทีรู้ข่าวสาร มีรายได้ ใช้ชีวิตมั่งคง สู่ระบบประกันสังคม
 
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในโอกาสเป็นประธานการประชุมกระทรวงแรงงานครั้งที่ 5/2558 ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจำปี สมัยที่ 104 ของ ILO ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ระหว่างวันที่ 8-10 มิถุนายน 2558 นั้นกระทรวงแรงงานจะเสนอเรื่องการคุ้มครองแรงงาน การสร้างโอกาสสร้างงานให้มีคุณค่า แนวคิดการดำเนินงานของแรงงานนอกระบบ แรงงานพิการ ความก้าวหน้าเรื่องการรับอนุสัญญาอย่างน้อย 3 ฉบับที่จะรับรองในปีนี้ คือ อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2549 (MLC) ซึ่งผ่าน สนช.แล้ว ส่วนฉบับที่ 187 เรื่องความปลอดภัยของของพี่น้องแรงงาน และฉบับที่ 111 ว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ เหลือเพียงขั้นตอนนำเรื่องเข้า สนช. พิจารณา ส่วนเรื่องแรงงานนอกระบบ เราคงต้องพัฒนาผู้นำเครือข่ายให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านแรงงานได้ เราต้องเตรียมความพร้อมผู้นำแรงงานนอกระบบรวมถึงแรงงานกลุ่มพิการ ซึ่งจะมาพร้อมกับแอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ของกระทรวงแรงงานที่เขาสามารถท่องเทคโนโลยีได้ เราจะพัฒนาเขาไปสู่การพัฒนาแบบก้าวกระโดดได้อย่างไรนั้น ทั้งนี้เพื่อทำให้เขามั่งคง มีรายได้มากขึ้นและนำเข้าสู่ระบบประกันสังคม
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า การดำเนินงานของรัฐบาล คงต้องดำเนินงานตามโรดแม็พ คสช. 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย ระยะที่สองเป็นการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้เรากำลังอยู่ในช่วงที่สอง ส่วนระยะที่สามเป็นการส่งต่อการแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อวางรากฐานที่สำคัญของแต่ละหน่วยงานของประเทศเพื่อให้รัฐบาลได้ดำเนินการต่อไปได้ ส่วนข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีที่ได้กำชับให้ข้าราชการระดับปฏิบัติเข้าใจเนื้องานของกระทรวงและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติและถ่ายทอดได้ เพื่อให้งานที่ติดขัดในบางเรื่องสามารถเดินหน้าให้สำเร็จไปได้
 
ส่วนการพัฒนากำลังแรงงานรองรับอาเซียนนั้นได้จัดกิจกรรม 3 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อาทิ กิจกรรมการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบกิจการ 260 แห่ง เพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 6,800 คน ส่วนที่สองการเพิ่มศักยภาพกำลังแรงงาน มีกิจกรรรมยกระดับฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการให้เป็นแรงงานมีฝีมือในด้านภาษาต่างประเทศ ไอที ในอุตสาหกรรมสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศ 80,169 คน ทดสอบมาตรฐานฯ ส่งเสริมให้พัฒนาฝีมือ 1,025,000 คน และส่วนที่สามการพัฒนาฝีมือเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ ฝึกพัฒนาฝีมือแรงงานรองรับเขตเศรษฐกิจตามแนวชายแดน 33,380 คน
 
ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมการจัดหางานเมื่อวันที่ 27 พ.ค.58 เปิดเผยว่า ผลการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 มี.ค.58 พบว่า มีแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนเพื่อขอรับบัตรใหม่ทั้งสิ้น 613,478 คน นายจ้าง 127,864 คน และการจดทะเบียนในกิจการประมงทะเล 22 จังหวัด ทั้งสิ้น 41,936 คน นายจ้าง 6,496 คน
 
(ประชาชาติธุรกิจ, 27/05/2558)
 
'บิ๊กเต่า' สั่ง สปส.ศึกษาลูกจ้างทำงานบ้านขอเข้า ม.33
 
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านยื่นหนังสือต่อสำนักงานประกันสังคม(สปส.) เพื่อขอให้พิจารณาออกกฎหมายลูกกำหนดให้ลูกจ้างทำงานบ้านสามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ด้วย เนื่องจากถือว่ามีนายจ้างชัดเจน ว่า ในเรื่องนี้สปส.ต้องรับเข้ามาพิจารณาและดูในเนื้อหาของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกันสังคม พ.ศ.2558 ว่าได้กำหนดไว้อย่างไรบ้าง หากมีการขยายจริงก็ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ เพราะอาจเกิดการแอบอ้างได้ว่ามีนายจ้างทั้งที่ความจริงไม่มี
 
“ถ้าจะให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้ามามาตรา 33 นั้น จะต้องดูด้วยว่ามีความมั่นคงหรือไม่ ไม่ใช่ว่าทำงานกับนายจ้างแค่ 6 เดือนแล้วลาออก แล้วจะไปทำงานเป็นลูกจ้างทำงานบ้านต่อหรือไม่ คงจะต้องนำรายละเอียดทั้งหมดมาศึกษาอีกครั้ง”
 
(มติชน, 27/05/2558)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ประยุทธ์’ หนุนหลักสูตร ‘โตไปไม่โกง’ เข้าโรงเรียน แถมปลูกจิตสำนึก ‘ไม่ให้แซงคิวคน’

$
0
0

27 พ.ค.2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่า พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. แถลงผลการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ คตช. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการนำแนวโครงการ “โตไปไม่โกง” บรรจุเป็นหลักสูตรของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทุกแห่ง รวมถึงในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น หลังจากนำร่องในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครแล้วได้ผลดี ซึ่งจะมีการจัดอบรมครู และบุคลากรรองรับหลักสูตรดังกล่าวระยะแรกในวันที่ 29-30 มิถุนายนนี้

พล.อ.อนันตพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก Open Government Partnership หวังผลการจัดอันดับประเทศทุจริตของประเทศดีขึ้น และให้เตรียมการใช้ระบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ระบบ e-bidding แทน e-auction ในการประมูล หลังพบว่า e-auction เป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันการทุจริตได้ โดยเฉพาะในการประมูลงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งพบว่ามีช่องว่าง ทำให้เกิดความเสียกว่า 50,00-100,000 ล้านบาท โดยให้เริ่มได้ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เพื่อป้องกันการทุจริตการประมูลงานและไม่ให้เกิดการฮั้วประมูลงานของผู้รับเหมา และให้ใช้ระบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-market  ในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งกรมบัญชีกลางจะทำการคัดเลือกบริษัทและนำข้อมูลราคาและคุณสมบัติมาใส่ไว้ในระบบอินเทอร์เน็ตลดขั้นตอนการประกวดราคา และให้ได้วัสดุที่ตรงกับความต้องการและราคาที่เหมาะสม

พล.อ.อนันตพร กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 8 มิถุนายนนี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พร้อมกับทุกจังหวัด ซึ่งจะจัดขึ้นที่ศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ โดยที่ทำเนียบรัฐบาลจะมีการเชิญคณะทูตานุทูต และตัวแทนองค์กรในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านทุจริตทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

มติชนออนไลน์รายงานด้วยว่า จุรี วิจิตรวาทการ ประธานอนุกรรมการปลูกจิตสำนึกและสร้างการรับรู้ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานในการประชุมให้เปิดอบรมหลักสูตร "โตไปไม่โกง" ให้กับครูในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยช่วงแรกจะมี 3 รุ่น รุ่นแรกจะเริ่มวันที่ 29-30 มิถุนายน และรุ่นที่สองและสามในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม เพื่อให้ครูนำไปใช้ในโรงเรียนของตัวเอง นอกจากนี้จะมีการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกทางสื่อ โดยจะเป็นคลิปสั้นออกทางทีวี ทำให้รับผิดชอบสังคมส่วนรวมให้เด็กเตือนพ่อแม่ให้เคารพสิ่งแวดล้อม ไม่ให้แซงคิวคน โดยใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท ที่ไม่ใช่งบประมาณแผ่นดิน แต่มีมูลนิธิ 2 มูลนิธิขอบริจาคเข้ามา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รื้อระบบประเมินสถานศึกษาของสมศ. มาใช้เครื่องมือออนไลน์

$
0
0

รัฐบาลรื้อระบบการประเมินสถานศึกษาของสมศ. จากรูปแบบเดิมมาเป็นการประเมินด้วยเครื่องมือออนไลน์ ลดภาระของครูทั้งประเทศ

27 พ.ค.2558 เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับมอบหมายจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้กำกับดูแลสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้แถลงข่าวเรื่อง การปรับปรุงระบบการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ที่สืบเนื่องจากกระแสการปฏิรูปการศึกษาไทยให้มีคุณภาพดีขึ้น มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรับรองมาตรฐานและการประเมินสถานศึกษาโดย สมศ. ได้ดำเนินการทุก ๆ 5 ปี และดำเนินการมาแล้ว 3 ครั้ง แต่มีเสียงเรียกร้องให้มีการทบทวนบทบาทก่อนประเมินรอบ 4 เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอย่างที่ผ่านมา และต้องการเห็น สมศ.มีการปรับปรุงการประเมิน ดังนี้ 1. ตัวชี้วัดการประเมินต้องสะท้อนคุณภาพและสามารถนำมาใช้พัฒนาคุณภาพได้จริง 2.มาตรฐานการประเมินต้องดี 3. ไม่เป็นภาระงานมาก และ 4.ประเมินเชิงพื้นที่มากขึ้น

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการประเมินที่ผ่านมามีปัญหาเพราะพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติกำหนดให้ประเมินสถานศึกษาทุกแห่ง อีกทั้ง รูปแบบการประเมินทำให้ภาระงานมากเกินไป จึงต้องมีการปรับปรุงทั้งระบบ เช่น ตัวชี้วัดการประเมินมีจำนวนมากเป็นการวัดปริมาณมากกว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น จึงควรปรับลดจากการวัดมาตรฐาน 7 กลุ่ม 20 ตัวชี้วัดมาเน้นการสะท้อนคุณภาพใน 4 ด้าน ได้แก่ ศิษย์ ครูการบริหารจัดการภายในและความสัมพันธ์กับภายนอกรวมทั้งต้องเป็นหัวข้อที่วัดได้จริง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม

พร้อมทั้ง มอบหมายให้ สมศ.แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาขึ้น โดย มี รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธาน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และด้านพัฒนาระบบรับรองคุณภาพมาตรฐาน โดย ศ.ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ หนึ่งในคณะทำงาน ให้ความเห็นว่า สมศ. ได้ให้ความร่วมมือกับคณะทำงานเป็นอย่างดี และได้ร่วมกันทบทวนและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา นำไปสู่การพิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงตัวชี้วัดและวิธีการ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ได้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผล โดยมี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีข้อสรุปที่สำคัญ ดังนี้ 1) การยกเลิกการประเมินแบบเดิมที่เป็นการไปประเมินที่โรงเรียนตามเอกสารจำนวนมากที่โรงเรียน หรือสถานศึกษาต้องจัดเตรียมมาเป็นการประเมินออนไลน์ และบูรณาการใช้ข้อมูลของหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาเป็นหลัก ไม่ต้องไปประเมินที่โรงเรียน จึงลดภาระงานแก่ครูยกเว้นกรณีโรงเรียนที่มีข้อมูลสะท้อนปัญหาหรือความผิดปกติบางอย่างก็สามารถเข้าไปประเมินเชิงลึกและช่วยเหลือเป็นกรณีๆ ไป 2) การจัดระบบใหม่เพิ่มเติมให้มีการขอรับการประเมินโดยสมัครใจที่จะนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาสถานศึกษา โดยอาจมีการรับรองมาตรฐานหลายระดับ เช่น ระดับพื้นฐาน ระดับก้าวหน้า เป็นต้น และ 3) การประเมินเพื่อพัฒนาโรงเรียนและสถานศึกษาบางกลุ่มที่เป็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์การปฏิรูปของกระทรวงหรือของรัฐบาลหรือของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เช่น โรงเรียนในพื้นที่ยากลำบากหรือโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นปัญหามานาน

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในตอนท้ายว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาของไทยให้มีคุณภาพดีขึ้น จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการประเมินคุณภาพภายนอกและปฏิรูปสมศ. ให้เป็นองค์กรขนาดเล็กคุณภาพสูงเป็นมือยุทธศาสตร์ให้แก่รัฐบาลในการพัฒนาสถานศึกษาและนำพาให้การศึกษาของประเทศพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการเตรียมการ ดังนั้น การประเมินและการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 จะเลื่อนเวลาออกไปอีก 6 เดือนเพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินการ

ทั้งนี้ ระบบการประเมินสถานศึกษาของ สมศ. ด้วยเครื่องมือออนไลน์จะนำเสนอเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน ศกนี้

ที่มา : เว็บไซต์ ทำเนียบรัฐบาล

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาสังคมส่งรายงานคู่ขนานให้ยูเอ็นกรณีที่ดินป่าไม้ เสนอเพิกถอนคำสั่ง คสช.

$
0
0

หลายหน่วยงานร่วมทำนายงานคู่ขนาน เรียกร้องเรื่องสิทธิในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลด้านสุขภาพของชนพื้นเมือง/ชนชาติพันธุ์ในประเทศไทย

27 พ.ค.2558 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) และศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ได้จัดส่งรายงานคู่ขนานเกี่ยวกับพื้นที่ขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ ในข้อ 1 สิทธิในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ, ข้อ 11 – สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง และข้อ 12 – สิทธิที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิต 

ในประเด็น ข้อ 1 สิทธิในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ  เสนอให้เพิกถอนคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ในการจับกุม ข่มขู่ ทำลายพืชผล ขับไล่ชุมชนในท้องถิ่นโดยพลการ ไม่มีการแจ้งให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบทราบล่วงหน้า ไม่มีการปรึกษาหารือกับหน่วยงานของพลเรือนในพื้นที่  และให้ทบทวนแผนปฏิบัติการป่าไม้ระยะ 10 ปีของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้โดยให้ประเมินผลกระทบต่อสิทธิของผู้อาศัยอยู่ในเขตป่า  รวมทั้งการพิจารณาแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายป่าไม้และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ควรได้รับการทบทวนและแก้ไขอย่างเหมาะสม ชนพื้นเมืองที่พลัดถิ่นหรือถูกโยกย้ายโดยเป็นผลมาจากกฎหมายเหล่านี้ ควรได้รับการเยียวยา ทั้งการชดเชย หรือหากไม่สามารถทำได้ให้จัดให้มี “ค่าชดเชยที่ยุติธรรม เป็นธรรมและเท่าเทียม”  และสนับสนุนแนวทางโฉนดชุมชนตามข้อเสนอขององค์กรภาคประชาสังคมในการแก้ปัญหาที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ประเด็น ข้อ 11 – สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รายงานฉบับดังกล่าวเสนอให้ยุติการโยกย้ายอย่างถาวรหรือชั่วคราวออกจากบ้านเรือนและ/หรือที่ดินที่ตนครอบครอง โดยขัดกับความประสงค์ของบุคคล ครอบครัว และ/หรือชุมชน ทั้งนี้โดยไม่มีการจัดให้มี และไม่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองตามกฎหมายหรืออื่น ๆ อย่างเหมาะสม รัฐบาลไทยจึงต้องพิจารณาที่จะโยกย้ายชุมชนเหล่านี้กลับไปสู่ที่ดินอันเป็นข้อพิพาท จากนั้นให้ใช้แนวทางการมีส่วนร่วมกับชุมชน และหาทางฟื้นฟูสิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง  รวมทั้งกำหนดค่าชดเชยให้กับชุมชนที่ถูกไล่รื้อและปฏิบัติตามมาตรการเพื่อการฟื้นฟู ทั้งนี้เพื่อดูแลให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินอย่างเพียงพอ สามารถเข้าถึงสิทธิอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลด้านสุขภาพและการเรียนหนังสือของบุตรหลานโดยทันที  อีกทั้งผลักดันให้รัฐบาลไทยควรยอมรับสถานภาพชนพื้นเมืองของ “ชาวไทยภูเขา” ในภาคเหนือและ “ชาวเล” ตามแนวชายฝั่งทะเลในภาคใต้ และ “ชนเผ่า” อื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก โดยกฎหมายป่าไม้และที่ดินควรยอมรับอย่างเป็นทางการต่อสิทธิแบบกลุ่มของชนพื้นเมืองที่มีต่อที่ดิน อาณาเขตและทรัพยากรของตนเอง ทั้งนี้เป็นไปตามปฏิญญาว่าด้วยสิทธิชนพื้นเมืองแห่งสหประชาชาติ (United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples)

ข้อ 12 – สิทธิที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิต รายงานฉบับนี้ได้เสนอให้รัฐบาลไทยจะต้องอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายหัวตามสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขสำหรับบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ กลุ่มที่มีบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ทร.38 ก โดยตัวเลขหลักที่ 6 และ 7 เป็นเลข 8,9 (0-XXXX-89XXX-XX-X) ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 เมษายน 2558 และ มติครม.20 เมษายน 2558 โดยทันที  โดยจัดสรรงบประมาณเพียงพอจัดสรรโดยทันที   รวมทั้งรัฐบาลไทยต้องพิจารณาเพิ่มนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในประเทศไทยซึ่งกำลังได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการอยู่ระหว่างการจัดทำทะเบียนและกำหนดเลขประจำตัว 13 หลักจำนวน 76,540 คน เพิ่มเข้าสู่ “กองทุนให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขสำหรับบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ”ตามมติครม.23 มีนาคม 2553 และให้มีการจัดสรรงบประมาณรายหัวอย่างเหมาะสม 

โดยเพิ่มเติมข้อเสนอให้จัดตั้ง “กองทุนควบคุมโรคชายแดน” ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาสิทธิขั้นพื้นฐานและการเข้าถึงบริการสุขภาพให้แก่ผู้อพยพเข้าเมืองและพลเมืองไทยที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ และไม่ได้อยู่ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและไม่ได้ริบสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขตามมติครม.23 มีนาคม 2553  สุดท้ายเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพที่ยั่งยืน เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมสำหรับพลเมืองไทยที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ รัฐบาลไทยต้องทบทวนและแก้ไขมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เพื่อตอบสนองความต้องการของพลเมืองไทยที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ โดยบุคคลเหล่านี้ควรมีสิทธิได้รับบริการดูแลด้านสุขภาพและหลักประกันสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

การนำเสนอรายงานคู่ขนานดังกล่าวสืบเนื่องจากที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2542 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2542 รัฐภาคีจะต้องเสนอรายงานภายในปีแรก นับจากวันที่กติกามีผลใช้บังคับ และทุกๆ 5 ปี หลังการส่งรายงานฉบับแรก หรือเมื่อได้รับการร้องขอจากคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม  โดยรัฐบาลไทยได้จัดส่งรายงานฉบับแรกหลังการให้สัตยาบันไปแล้วเป็นเวลา 16 ปี  ได้กำหนดว่าจะมีการทบทวนรายงานและการพิจารณารายงานคู่ขนาน ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในวันที่ 4-5 เดือนมิถุนายน ปี 2558 นี้  โดยทางคณะกรรมการ ESCR จะรับฟ้งการรายงานความก้าวหน้าจากผู้แทนของประเทศไทยและพร้อมกันนั้นก็เปิดโอกาสให้องค์กรภาคประชาชนสังคมทั้งไทยและต่างประเทศหลายองค์กรจัดส่งรายงานคู่ขนาน (shadow report) และร่วมรับฟังการรายงานด้วย ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีการถ่ายทอดสดในระบบ Webcast ขององค์กรสหประชาชาติด้วย ในวันที่ 4 มิถุนายนเวลา 15.00 และ ในวันที่ 5 มิถุนายน เวลา 10.00. และ 15.00  น. ณ เวลาท้องถิ่น

 

รายงานฉบับภาษาอังกฤษสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://tbinternet.ohchr.org/_layouts/TreatyBodyExternal/Countries.aspx?CountryCode=THA&Lang=EN

รายงานฉบับภาษาไทยสามารถดาวน์โหลดได้ที่  https://voicefromthais.files.wordpress.com/2015/05/submisssion-to-icescr-land-rights-_thailand_05-may-2015-final-thai-print2.pdf

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ  Tel. 02-6934939

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่ม Add Friends ส่งจม.หาสื่อ กังวลพาดหัวข่าวโรฮิงญาเหยียดเชื้อชาติ

$
0
0

28 พ.ค.2558  กลุ่มเพราะเราคือเพื่อนกันรวบรวมรายชื่อพร้อมจดหมายเปิดผนึกส่งถึงสำนักข่าวและสื่อมวลชนออนไลน์ แสดงความกังวลต่อกรณีนำเสนอข่าวโรฮิงญา เกรงว่าจะยั่วยุให้คนเหยียดเชื้อชาติ อ้างอิงข้อบังคับจริยธรรมวิชาชีพ

รายละเอียดมีดังนี้

จดหมายเปิ ดผนึก จาก กลุ่ม Add Friends : เพราะเราคือเพื่อนกัน
 

ถึง สํานักข่าวและสื่อมวลชนออนไลน์

เรื่อง ข้อกังวลในการนําเสนอข่าวกรณีการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของชาวโรฮิงญา

เรียน สํานักข่าวและสื่อมวลชนออนไลน์

สิ่งที่แนบมาด้วย 1. ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติพ.ศ.2541

จากที่ได้ทราบดีเป็นอย่างดีแล้วว่า ข่าวกรณีการเข้าเมืองโดยผิดกฏหมายของชาวโรฮิงญาได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน และประชาชนเป็นอย่างมาก ก่อนอื่นขอกล่าวขอบคุณสื่อมวลชนเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ทําการเสนอข่าวในประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง ทําให้ประชาชนชาวไทยได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีความตื่นตัวในเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาและการรักษาผลประโยชน์ของ ประเทศ ในการนําเสนอสื่อมวลชนได้มีการนําเสนอข่าวในแง่มุมต่างๆ มีการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง มีผลการค้นคว้าข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ของชาวโรฮิงญาและความสัมพันธ์ที่มีกับภูมิภาค รวมทั้งมีการนําเสนอกรณีเทียบเคียง กรณีผู้ลี้ภัยจาก ตะวันออกกลางและจากทวีปแอฟริกาที่พยายามเดินทางเข้าสู่สหภาพยุโรป มีการนําเสนอมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องถึงผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้นและแนวทางดําเนินการที่ควรผลักดันไปสู่การปฏิบัติ ไม่ว่าจะจากฝ่ายที่เห็นด้วยที่เห็นด้วยกับการตั้งศูนย์พักพิง ชั่วคราวในประเทศไทย และจากฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว

กระแสข่าวที่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทําให้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย ทําให้ทางกลุ่มฯ มีความกังวลถึงการนําไปสู่ความขัดแย้งของคนในสังคมอันเป็นผลมาจากการนําเสนอข่าวสารโดยหวังผลเพื่อปั่นกระแส หรือเป็นไปโดยทรรศนะส่วนบุคคล หัวข้อประเด็นที่ใคร่เรียนให้ท่านสื่อมวลชนได้เน้นย้ำพิจารณาในการนําเสนอข่าว แบ่งเป็นหัวข้อ ต่างๆ ดังนี้

1. การพาดหัวข่าว – มีความหมิ่นเหม่ที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดในประเด็นข่าวได้ (อ้างอิง :ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรม แห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติพ.ศ.2541 หมวด 2 ข้อ 16 การพาดหัวข่าวและความนํา ของหนังสือพิมพ์ต้องไม่เกินไปจากข้อเท็จจริงในข่าวและต้องสะท้อน ใจความสําคัญหรือเนื้อหาหลักของข่าว )

2. แหล่งข้อมูล – มีการนําเสนอข่าวโดยอ้างอิงจากความคิดเห็นจากบุคคลในโซเชียลมิเดีย โดยไม่มีการระบุชื่อ จึงเป็น ข้อกังวลในเรื่องความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าวและการรับผิดต่อสังคมในการแสดงความเห็นของแหล่งข่าวเอง (อ้างอิง : ข้อบังคับฯ หมวด 2 ข้อ 13 หนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอข่าวโดยเลื่อนลอยปราศจากแหล่งที่มา พึงระบุชื่อบุคคลที่ให้ สัมภาษณ์ หรือให้ข่าวอย่างเปิดเผยเว้นแต่จะมีเหตุอันควรปกปิดเพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแหล่งข่าว และต้องเป็น ประโยชน์ต่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชน )  

3. การแสดงความคิดเห็นลงในข่าว (หมวด 2 ข้อ 9 หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว)

4. ความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร (หมวด 2 ข้อบังคับฯ หมวด 2 ข้อ 4 หนังสือพิมพ์ต้องยึดถือข้อเท็จจริง ความถูกต้อง แม่นยําและความครบถ้วน)

5. ความสมดุลของการนําเสนอข่าว (หมวด 2 ข้อ 6 หนังสือพิมพ์ต้องแสดงความพยายาม ในการให้ความเป็นธรรมแก่ ทุกฝ่าย)

6. การละเมิดสิทธิของเหยื่อ (หมวด ๒ ข้อ 15 ในการเสนอข่าวหรือภาพใด ๆ หนังสือพิมพ์ต้องคํานึงมิให้ล่วงละเมิด ศักดิ์ ศรีความเป็นมนุษย์ของ บุคคลที่ตกเป็นข่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิ มนุษยชนของเด็ก สตรีและผู้ด้อย โอกาส ในการเสนอข่าวตามวรรคแรกต้องไม่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์หรือ โศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรีและผู้ ด้อยโอกาสนั้นไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง)

สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่มีความสําคัญต่อสังคมเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีพลังในการชี้ทิศทางของสังคมทั้งในทางบวกหรือทางลบ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทางกลุ่มที่ความกังวล เป็นอย่างมากในการเสนอข่าวที่มีลักษณะเข้าข่ายยุยงให้มีการสนับสนุนการเหยียดเชื้อชาติ เพราะผลที่ตามมานอกจากจะทํา ให้เกิดการกีดกันกลุ่มบุคคลที่กําลังมีความพยายามเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมายแล้ว ผลจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว อาจนําไปสู่การบ่มเพาะวัฒนธรรมการสร้างความเกลียดชังเหนือกลุ่มบุคคลที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม หรือ ศาสนา จนกลายเป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากคนในสังคม และอาจจะนําไปสู่การใช้ความรุนแรงทาง กายภาพต่อบุคคลต่างสัญชาติ ไร้สัญชาติ หรือแม้กระทั่งกับสมาชิกของรัฐด้วยกันเอง ทางกลุ่มมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งในพลังของสื่อมวลชนที่จะช่วยกันประกอบสร้างสังคมที่สงบสุขและส่งเสริมการใช้ วิจารณญาณและสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาร่วมกันของคนในสังคม

ด้วยความนับถือ

กลุ่ม Add Friends : เพราะเราคือเพื่อนกัน

 

รายชื่อผ้สนับสนุนจดหมายเปิดผนึก

1. เพิ่มสุข อัมพรจรัส

2. เดชรัต สุขกําเนิด

3. ชูเวช เดชดิษฐรักษ์

4. อรรถพล ศรีธิษณุวรานนท์

5. ศิธรา จุฑารัตน์

6. ธนภพ นิ่มนวลเกตุ

7. วรุฒ เลิศศราวุธ

8. เขมพิชญ์ กํ่า

9. พัชรี อิ่นคํา

10 . ยศนุชิต เลอพงศนนท์

11 . อันธภา สวัสศรี

12 . ฤทธิ์ รงค์ จุฑาพฤฒิกร

13 . ประดิษฐ์ ลีลานิมิต

14 . พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ

15 . ณรงค์ศิลป์ ล้านศรี

16 . พรเพ็ญ ฟ้าอํานวย

17 . พัชรี พาบัว

18 . ประไพ กระจ่างดี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิชาการฮัมบูร์ก ยก ‘รธน.เยอรมนี’ บัญญัติไม่ให้ทหารมีบทบาทการเมืองมาก

$
0
0

อูลริก คาร์เพน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก ยก ‘รธน.เยอรมนี’ บัญญัติไม่ให้ทหารมีบทบาททางการเมืองมาก ให้ประชาชนต่อต้านคนล้มล้างรัฐธรรมนูญได้ กลางวงแกนนำ ‘แม่น้ำ 5 สาย’

27 พ.ค.2558 ที่กระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วย กมธ.ยกร่างฯ สมาชิก สนช. และ สปช. ร่วมฟังการบรรยายพิเศษ “ถอดบทเรียนการคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมือง สู่การปฏิรูปประเทศในระบอบประชาธิปไตย : ประสบการณ์จากต่างประเทศ” โดย อูลริก คาร์เพน (Prof. Dr. iur.Ulrich Karpen) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี ที่ได้บรรยายในหัวข้อ “บทบาทของรัฐธรรมนูญในการคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมือง”

อูลริก คาร์เพน กล่าวตอนหนึ่งว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญประเทศเยอรมนี จัดอำนาจอยู่ในทั้งแนวนอนและแนวตั้ง อยู่บนพื้นฐานการยอมรับของศาลรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องรับฟังการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ และทุกคนต้องยอมรับรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญไม่ควรละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดสาธารณรัฐด้วย

“เยอรมนี มี ส.ส. 598 คน มาจากการเลือกตั้ง ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสหพันธรัฐ ซึ่งเข้าใจว่าประเทศไทยคงเทียบกับจังหวัด และรัฐธรรมนูญเยอรมนี ไม่ได้แสดงความเห็นใดในเรื่องที่มาของ ส.ส. แต่เป็นภาพกว้างๆ ว่า การเลือกตั้งต้องเป็นไปอย่างเสรี แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดว่าต้องดำเนินการอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะถ่วงดุลและรับมือสถานการณ์ การเลือกตั้งของเยอรมนีมีความยุ่งยาก เป็นการผสมผสานกันระหว่างการเลือกตั้งแบบเขตและสัดส่วน”

อูลริก คาร์เพน กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนี มีความเข้มงวด และเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจตุลาการ มีความพยายามให้คนในเยอรมนีเข้ามามีส่วนร่วมในการมีประชาธิปไตยโดยตรงมากขึ้น ประเทศเราไม่ชอบการทำประชามติ แต่เรามีระบบของเรา และการเปลี่ยนแปลงควรมี แต่ไม่ใช่แบบพลิกฝ่ามือ จะใช้ระบบนี้ได้ต้องเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง เที่ยงธรรม และเชื่อมั่นในผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีหน้าที่ปกป้องสิทธิความเป็นมนุษย์ของเรา ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็แนะนำให้ใช้ระบบการเลือกตั้งของเยอรมนีได้ แต่ก็ไม่ใช่การตัดสินใจของตน

อูลริก คาร์เพน กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญควรเขียน เช่น ในรัฐธรรมนูญของเยอรมนีเองที่มีบทบัญญัติเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารมีบทบาททางการเมืองมากนัก รวมถึงควรให้อำนาจประชาชนสามารถออกมาต่อต้านผู้จะล้มล้างรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งในเยอรมนีการใช้อำนาจทางการทหาร รัฐบาลจะเป็นผู้เสนอเรื่องเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน

อูลริก คาร์เพน ตอบคำถามถึงการทุจริตเลือกตั้งในเยอรมนี ว่า เราไม่มีอะไรอย่างนั้นเลย พรรคการเมืองจำเป็นจะต้องใช้เงิน เราสามารถบริจาคเงินให้พรรคการเมืองได้ และได้คืนเงินภาษีระดับหนึ่ง ไม่มีการทุจริตหรือการฉ้อโกง ถ้าเราพบว่าพรรคการเมืองมีการรับเงินสำหรับการรณรงค์การหาเสียง อาจสูญเสียการสนับสนุนจากรัฐที่เป็นเงินให้เปล่าและมีมากพอสำหรับการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

ต่อข้อถามว่าจะทำอย่างไรให้รัฐบาลต่อไป ดำเนินการในเรื่องการปฏิรูปต่อจากนี้ อูลริก คาร์เพน กล่าวว่า ตามความเข้าใจของตน การปฏิรูปคือรูปแบบของการนำกฎหมายหลาย ๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และอื่น ๆ มาออกเป็นกฎหมายโดยรัฐสภา หลักพื้นฐานของระบบรัฐสภาคือความต่อเนื่อง ถ้ามีรัฐบาลใหม่ขึ้นมารัฐบาลอาจตัดสินใจต่อเนื่องในประเด็นเดียวกัน ถ้าพิจารณาว่าเป็นเรื่องดีก็ดำเนินการต่อไป แต่บางเรื่องรัฐบาลต่อมาอาจไม่เห็นด้วย มาตรการพื้นฐานที่เรามีจึงต้องใส่ส่วนประกอบของการปฏิรูปไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีผลผูกมัดต่อรัฐบาลในอนาคต

 

เรียบเรียงจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์, เดลินิวส์ เว็บและ มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

1 เดือนหลังแผ่นดินไหวในเนปาล ยูนิเซฟชี้เด็กๆ เสี่ยงขาดสารอาหารเพิ่มขึ้น

$
0
0

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2558 เป็นวันครบรอบ 1 เดือน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในเนปาล องค์การยูนิเซฟระบุวันนี้ว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 70,000 คน ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านโภชนาการอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร โดยขณะนี้มีเด็กประมาณ 15,000 คนใน 14 เขตที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดกำลังต้องการอาหารเพื่อการบำบัด อาทิ ถั่วลิสงบดพร้อมใช้ที่อุดมด้วยสารอาหาร เพื่อรักษาภาวะขาดสารอาหารรุนแรงเฉียบพลัน นอกจากนี้เด็กอีก 55,000 คนที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหารระดับปานกลางยังต้องการอาหารเสริมและการดูแลเพื่อให้กลับมามีสุขภาพแข็งแรงอีกครั้ง

“ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหว เด็กกว่าหนึ่งในสิบคนทั่วประเทศเนปาลอยู่ในภาวะขาดสารอาหารเฉียบพลัน ขณะเดียวกันเด็กเกือบสี่ในสิบคนมีภาวะเตี้ยแคระแกร็นเนื่องจากขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ตอนนี้เรากังวลอย่างยิ่งว่าภัยพิบัติครั้งนี้จะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง ซึ่งจะทำให้ความก้าวหน้าด้านโภชนาการที่ประเทศเนปาลได้บรรลุไว้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับถดถอยลงไป” นายโทโมโอะ โฮซูมิ ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศเนปาลกล่าว 

“ขณะนี้ยูนิเซฟกับภาคีพันธมิตรกำลังเร่งส่งหาอาหารและจัดการดูแลอย่างเร่งด่วนเพื่อปกป้องชีวิตของเด็กๆ ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยไข้เจ็บให้แก่พวกเขา โดยเฉพาะโรคติดต่อจากน้ำในช่วงฤดูมรสุมที่กำลังจะมาถึง” นายโฮซูมิกล่าว

องค์การยูนิเซฟให้ข้อมูลว่าได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับชาติและระหว่างประเทศ และรัฐบาลเนปาล เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านโภชนาการ ได้แก่

•        ปกป้องและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นการช่วยชีวิตเด็กและลดการใช้ขวดนม

•        จัดหาอาหารเสริมที่จำเป็นแก่เด็กกว่า 120,000 คน และให้คำปรึกษาแก่มารดาและครอบครัวเกี่ยวกับวิธีการให้อาหารเด็กเล็กด้วยอาหารที่มีในครัวเรือน

•        สนับสนุนการคัดกรองเด็กในชุมชนที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรงในเขตที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

•        จัดหาอาหารบำบัดพิเศษแบบพร้อมใช้ เพื่อรักษาเด็กที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหารรุนแรงกว่า 3,000 คนในชุมชน

•        ทำงานร่วมกับสถานีวิทยุเนปาล และสถานีวิทยุเอกชนและท้องถิ่นอีก 111 แห่งเพื่อเผยแพร่ข้อมูลสำคัญด้านโภชนาการของแม่และเด็กให้แก่ประชาชน 380,000 ครอบครัว

•        ทำแคมเปญรณรงค์ตลอดหนึ่งสัปดาห์ภายในช่วงกลางเดือนมิถุนายนก่อนเข้าฤดูมรสุม เพื่อให้เด็กกว่า 350,000 คน ได้รับการช่วยเหลือด้านโภชนาการที่สำคัญ 6 อย่าง รวมทั้งการเสริมวิตามินเอและยาถ่ายพยาธิ

นอกจากปัญหาด้านโภชนาการแล้ว ยูนิเซฟยังชี้ว่าเด็กจำนวน 1.7 ล้านคนในเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเกือบ 24 เขตยังคงต้องการความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน โดยเด็กๆ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อปัญหาทางสุขภาพและทางจิตใจในระยะยาว

“เราได้เห็นถึงภาวะสุขภาพเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น เด็กติดเชื้อทางเดินหายใจอย่างรุนแรง เพราะถูกกระตุ้นจากฝุ่นละอองของซากปรักหักพังในเมืองและหมู่บ้าน” นายโฮซูมิกล่าว “เด็กยังต้องมีชีวิตอยู่กับความพิการเพราะได้รับบาดเจ็บจากแผ่นดินไหว และยังมีปัญหาทางจิตใจจากความวิตกกังวล”

ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา องค์การยูนิเซฟได้ระดมความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อช่วยเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ  เช่น

•        จัดหาน้ำสะอาดให้กับประชาชนกว่า 305,109 คน และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัยแก่ประชาชนกว่า 45,201คน

•        จัด “พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก” ให้แก่เด็ก 10,000 คน

•        ให้การดูแลด้านจิตใจเบื้องต้นแก่เด็กเกือบ 9,000 คน และผู้ปกครองกว่า 2,000 คน

•        จัดการฉีดวัคซีนโรคหัดและโรคหัดเยอรมันให้แก่เด็กอายุระหว่าง 6-59 เดือน กว่า 3,000 คน

“หนทางการฟื้นฟูประเทศเนปาลยังอยู่อีกไกลและเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่ยูนิเซฟก็พร้อมทำงานต่อไปไม่ว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน เพื่อช่วยให้เด็กๆ ชาวเนปาลได้มีอนาคตที่ดีและสดใสกว่าเดิม และเราต้องการการสนับสนุนในทุกๆ ด้าน เพราะความช่วยเหลือที่เราได้มอบให้ในตอนนี้จะส่งผลระยะยาวแก่คนรุ่นต่อๆ ไป”นายโฮซูมิกล่าว 

 

วิดีโอคลิปบทสัมภาษณ์เด็กที่โรงเรียนและบ้านถูกทำลาย http://uni.cf/nepaledu

อนิเมชั่นเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่เด็กเนปาลเผชิญอยู่หาได้ที่ http://uni.cf/nepal1mth

ภาพและวิดีโออื่นๆ เพิ่มเติม http://uni.cf/1HH6SbO

=================

วิธีการบริจาค


โอนเงินเข้าบัญชียูนิเซฟที่

• ธ.กรุงเทพ (กระแสรายวัน) สาขาสำนักงานก.พ. เลขที่บัญชี 201-3-01324-4

• ธ.กรุงไทย (กระแสรายวัน) สาขาบางลำพู เลขที่บัญชี 167-6-00662-1


• ธ.กรุงศรีอยุธยา (กระแสรายวัน) สาขาบางลำพู เลขที่บัญชี 011-0-06153-6


• ธ.กสิกรไทย (กระแสรายวัน) สาขาบางลำพู เลขที่บัญชี 008-1-09766-6


• ธ.ไทยพาณิชย์ (กระแสรายวัน) สาขาบางลำพู เลขที่บัญชี 003-3-10443-3

• บริจาคออนไลน์ได้ที่ https://www.unicef.or.th/supportus/

• บริจาคผ่านเคาน์เตอร์ เซอร์วิส ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขา


• ท่านสามารถบริจาคผ่านบัตรเครดิตได้ โดยติดต่อยูนิเซฟที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 356 9299

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิชาการติง อภ.อย่าเน้นยาตลาด ‘เสริมสมรรถภาพทางเพศ’ จนลืมบทบาทตัวเอง

$
0
0

27 พ.ค.2558 ผศ.ดร.ภญ.สุนทรี ท.ชัยสัมฤทธิ์โชค อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า  รู้สึกกังวลกับบทบาทขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในกรณีการผลิตยารักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ “ซิเดกรา” ออกมาจำหน่าย เนื่องจากมีการโฆษณาแอบแฝงในสื่อทั้งสิ่งพิมพ์และรายการโทรทัศน์ อาทิ การให้ข้อมูลว่าราคาถูกกว่ายาต่างประเทศ ยา 3 - 4 แสนเม็ดขายหมดภายใน 20 นาที หรือจะกระจายยาไปวางจำหน่ายในระดับอำเภอ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมา กลายเป็นว่า อภ.เน้นน้ำหนักไปที่ยาตลาด ยาแบบ Lifestyle Drug สวนทางกับความคาดหวังของสังคมที่ต้องการเห็น อภ.เป็นผู้นำในเรื่องการผลิตยา Life saving Drugs เพื่อประชาชนและคนจน

“เข้าใจว่าอภ.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ก็ต้องทำกำไรด้วย และเขาก็อาจบอกว่าเอากำไรจากยา Lifestyle Drug มาช่วยเหลือจุนเจือในการผลิตยา Life saving Drugs แต่ก็อยากให้รู้หน้าที่หลักของตัวเองด้วยว่าพันธกิจต่อสังคมคืออะไร อภ.ลืมหน้าที่หลักไปแล้วหรือเปล่า เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีข่าวว่ายังมียาที่จำเป็น ยา Life saving Drugs อีกเยอะแยะที่ไม่ได้ผลิต ไม่ได้ส่ง ไม่รู้ว่าทำไปถึงไหนแล้ว อยากเห็นข่าวในลักษณะของตัวชี้วัดว่า อภ.สำเร็จในการผลิตยาเพื่อช่วยเหลือชีวิตคนอย่างนี้มากกว่า ถ้าภาพของอภ.กลายเป็นผู้เล่นที่เล่นเรื่องยาตลาด แล้วต่อไปจะมาพูดเรื่องการเป็นผู้ผลิตยาเพื่อประชาชน เพื่อคนจน มันก็จะพูดได้ไม่ชัด”ผศ.ดร.ภญ.สุนทรี กล่าว

นักวิชาการรายนี้ กล่าวต่อไปด้วยว่า ยาที่ได้รับอนุญาตให้โฆษณาส่งเสริมการขาย จะเป็นยาที่ประชาชนใช้ในการดูแลตัวเองได้ อาทิ ยาแก้ปวดลดไข้ ซึ่งไม่ใช่ยาซิเดกรา แต่การโฆษณาแอบแฝงในหนังสือพิมพ์ธุรกิจหรือรายการข่าวทางโทรทัศน์ จะเกิดคำถามว่าทำไมรัฐวิสาหกิจทำได้ แต่บริษัทยาเอกชนทำไม่ได้ เป็นเรื่อง 2 มาตรฐานหรือไม่ขึ้นมาอีก

“ที่สำคัญเราไม่ได้อยากให้คนใช้ยาพร่ำเพรื่อ ยิ่งหาง่ายเท่าไรก็ยิ่งทำให้คนใช้ยาความเกินจำเป็น ซึ่งหากทานมากๆ มันก็เกินอันตรายจากการใช้ยาได้”ผศ.ดร.ภญ.สุนทรี กล่าว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สงสัยจะเสียของ 33,000 รายชื่อ ที่สนับสนุนให้รัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพงเกินไป

$
0
0

 

 

ตามที่คุณปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา รณรงค์ผ่านทางเวบไซต์ change.org ให้มาลงชื่อสนับสนุนให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคาค่ารักษาแพงเกินไปนั้น นับว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่ธรรมดาเพราะได้รายชื่อ 33,000 รายชื่อในเวลาเพียงสองสัปดาห์ แสดงว่ามีคนที่รับรู้และประสบพบกับเรื่องนี้กันอย่างทั่วถึง ประกอบกับในร่าง รัฐธรรมนูญ ปี 2558 ที่กำลังรับฟังความเห็นนั้น ในภาคว่าด้วยการปฏิรูปและการปรองดองมีเขียนไว้ชัดเจนใน มาตรา 294 (4) ให้มีการพัฒนากลไกการกำกับดูแลระบบสุขภาพและการให้บริการสุขภาพในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นธรรม กำกับควบคุมราคายาและค่าบริการทางการแพทย์ให้มีราคาและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้รับบริการ  ซึ่งนับว่าเป็นการเข้าใจและเห็นปัญหาอย่างแท้จริงของกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ

แต่ผ่านไปเกือบจะหนึ่งเดือนแล้ว รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและอาจกำลังถูกชี้นำให้ไขว้เขวไปกับเสียงของผู้แทนโรงพยาบาลเอกชนที่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บริการโรงพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือก เราพร้อมจะประกาศราคาขายบริการรักษาของเรา ติดประกาศให้เห็น และพร้อมให้ขึ้นเว็บไซต์  กลายเป็นว่าหากคุณมีเงินมากพอก็มาซื้อบริการเราได้ หรือมีเงินน้อยแต่อยากได้บริการราคาแพงก็แล้วแต่คุณจะเลือก ทำให้ประเด็นค่ารักษาแพงหายไปกับสายลมและรายชื่อ 33,000 ชื่อก็ไม่มีความหมายเป็นอันเสียของที่ประชาชนต่างร่วมใจกันแสดงออก ที่น่าเจ็บใจคือกระทรวงสาธารณสุขเองก็เห็นดีเห็นงามไปกับวิธีการนี้

ก่อนอื่นต้องย้ำกันก่อนว่าราคาค่ารักษาแพงเกินนั้นจริง ดังที่มีผู้ป่วยหลายรายออกมาให้ข้อมูล ตอนเข้าไปรักษานั้นเข้าไปอย่างสง่าผ่าเผยได้รับการต้อนรับอย่างดี แต่ตอนจะออกกลับออกไม่ได้หากไม่เซ็นรับสภาพหนี้ก่อน บางราย 4-5 วันค่ารักษาเป็นแสน บางรายผ่านไปอาทิตย์หนึ่งโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินทุกวันจวนจะถึง 1 ล้านบาท บางรายต้องจ่ายล้านกว่าบาท มันเป็นไปได้อย่างไรที่คนเราต้องจ่ายค่ารักษากันขนาดนี้ พอเข้าไปดูใบเสร็จต่างๆก็จะมีทั้งค่ายา ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าห้อง ค่าบริการของหมอ(doctor fee) บางรายการเห็นว่ามีการโกงเห็นๆเช่นจำนวนถุงมือยางที่เรียกเก็บจากหนึ่งรายแทบจะใช้กับคนทั้งโรงพยาบาลได้(เรียกเก็บค่าถุงมือยางของเจ้าหน้าที่ได้ด้วยหรือ) 

ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ทางโรงพยาบาลเรียกเก็บได้เองไม่มีการควบคุมใดๆ ทั้งที่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับคือ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งต้องควบคุมราคาค่าบริการของโรงพยาบาล การออกตรวจว่าติดป้ายราคาค่ารักษาหรือไม่ เป็นการไขว้เขวเรื่องราคาแพงอย่างชัดเจน สิ่งที่ต้องกำกับคือราคานั้นสูงเกินไปหรือไม่มากกว่า ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง องค์การอาหารและยา(อย.)ที่ต้องตรวจสอบโครงสร้างราคายาก่อนขึ้นทะเบียนยา คณะกรรมการยาแห่งชาติที่พิจารณากลไกเกี่ยวกับยาทั้งระบบ กองประกอบโรคศิลป์ที่ควบคุมการให้ใบอนุญาติการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชน แพทยสภาที่ควบคุมจริยธรรมของแพทย์  สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)ซึ่งไม่สามารถจัดการเรื่องร้องเรียนราคาแพงของค่ารักษาได้เลยแค่เรื่องคลีนิกเสริมความงามกับคอร์สสปาฟิตเนสต่างๆก็ยังจัดการไม่ได้

ทั้งนี้ หน่วยงานที่กล่าวมาทั้งหมดต่างคนต่างทำงาน และไม่มีใครจัดการเรื่องราคาแพงได้ โดยเฉพาะกรมการค้าภายในไม่สามารถควบคุมราคาได้เพราะไม่รู้ต้นทุนของค่าบริการ ค่ายาใดใดเลย และไม่ดำเนินการตรวจสอบราคายาในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อเปรียบเทียบและคำนวณส่วนต่างที่บริษัทยาใช้ในการส่งเสริมการขาย(อาชีพส่งเสริมการขายยามีค่าคอมมิสชั่นสูงมาก) รวมถึงประสานงานอย่างใกล้ชิดกับอย. ซึ่งควรมีข้อมูลโครงสร้างราคายาโดยเฉพาะยาใหม่ที่มาจดทะเบียน ตลอดจนการควบคุมไม่ให้ยาที่มาขอจดสิทธิบัตรที่อาจไม่สมควรได้สิทธิบัตรเพราะไม่ใช่การคิดค้นใหม่เพียงแต่ต่อยอดจากของเดิม ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์อีกเช่นกัน 

ยาและบริการรักษาเป็นสินค้าคุณธรรมจำเป็นต้องมีการกำกับควบคุมใกล้ชิดไม่ให้กลายเป็นสินค้าไร้มนุษยธรรม ในท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศไทย การส่งเสริมให้โรงพยาบาลเป็นธุรกิจเพื่อการค้ากำไรในโลกทุนนิยมใครมีเงินมากก็ซื้อได้มากนั้นไม่อาจลดความเหลื่อมล้ำได้ ยิ่งทำให้ไม่เกิดความเป็นธรรม

สังคมไทยมีทางออกเดียวคือการส่งเสริมระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การควบคุมราคายา ควบคุมโรงพยาบาลเอกชน การลดมายาคติว่ายาแพงคือยาดี ควบคุมการใช้ยามากเกินไปจนกลายเป็นอันตรายจากการใช้ยาเกินจำเป็นโดยการสั่งยาของแพทย์ซึ่งต้องได้รับการควบคุมกำกับด้านจริยธรรมโดยแพทยสภา ตลอดจนการสั่งตรวจเกินจำเป็นหรือไม่เกี่ยวกับอาการที่เป็นเพื่อเรียกเก็บค่าบริการมหาโหด

หลักการสำคัญคือคุ้มครองประชาชนผู้ไปรับบริการรักษาพยาบาลให้ได้รับบริการที่เหมาะสม คุ้มค่า ในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม มีกลไกกำกับที่เป็นกลางโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน 

อย่ากลัวที่จะตั้งตัวแทนประชาชนที่เป็นพลเมืองที่เข้มข้นอย่างคุณปรียานันท์และองค์กรประชาสังคมด้านสุขภาพเข้าไปเป็นกรรมการกลางกำกับติดตามการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมอย่างแท้จริง

ทั้งนี้  กรรมการจะมีผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้าร่วมได้โดยต้องมีความโปร่งใส และชี้แจงการมีผลประโยชน์นั้นอย่างชัดแจ้ง เช่นเดียวกับ สมาชิกของแพทยสภา สมาชิกของกรรมาธิการสาธารณสุข ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  กรรมาธิการปฏิรูปสาธารณสุข ในสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่หลายคนมีบทบาทเป็นทั้งเจ้าของ ผู้ถือหุ้น ผู้ทำงานให้กับโรงพยาบาลเอกชน ก็ต้องชี้แจงตนเองก่อนจะพิจารณาและให้ความเห็นเรื่องใดเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขและการปฏิรูประบบสาธารณสุขว่าจะไม่เป็นการปกป้องผลประโยชน์แห่งตนเองเท่านั้น

ทั้งนี้ ผู้แทนประชาชนต้องทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองผู้รับบริการสาธารณะสุข ผู้รับบริการในโรงพยาบาลด้วยราคาที่เป็นธรรมอย่างเต็มความสามารถเพราะมีผลประโยชน์ได้เสียในฐานะผู้รับบริการ ไม่ใช่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดใด

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : ที่มาทางสังคมของเสื้อเหลือง สลิ่ม-นกหวีด (2)

$
0
0

แม้ว่าวงการธุรกิจอุตสาหกรรมไทยจะขยายตัวขึ้นอย่างมากซึ่งทำให้จำนวนของ"ชนชั้นบริหาร"(executiveclass) ในวงการนี้ขยายตัวขึ้นตามไปด้วย ลองดูหน้าของบุคคลในชนชั้นบริหารทางธุรกิจอุตสาหกรรมไทยให้ดี ก็จะเห็นว่าไม่ได้เปิดกว้างแก่ผู้มีความสามารถทั่วไป

หากเป็นผู้บริหารระดับสูง เช่นกรรมการผู้จัดการของธนาคารหรือเครือบริษัทใหญ่ๆ ทั้งหลาย เขาเหล่านั้นคือลูกหลานของ "เจ้าของ" หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของกิจการแม้แต่ไปลงทุนในกิจการใหม่ที่ไม่สัมพันธ์กับกิจการเดิม เราก็อาจรู้ได้ว่ากิจการใหม่นี้สังกัดอยู่ในเครือเดียวกับอะไรเพียงแต่เหลือบดูนามสกุลของผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นผมไม่มีความรู้พอจะบอกได้ว่าไต้หวัน,เกาหลี, ญี่ปุ่น เมื่อตอนที่เศรษฐกิจของเขาโตเท่ากับเราตอนนี้ วงการธุรกิจอุตสาหกรรมของเขาทำอย่างเดียวกับเราในตอนนี้หรือไม่ แต่เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นขยายตัวขึ้นจนใหญ่โตอย่างเป็นอยู่ในปัจจุบัน ระบบบริหารแบบเถ้าแก่ในครอบครัวเช่นนี้ไม่ปรากฏเด่นชัดอีกแล้ว และชนชั้นบริหารของเขาครอบคลุมคนจำนวนมากและหลากหลาย

ระบบบริหารธุรกิจแบบเถ้าแก่ในครอบครัวเช่นนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียในด้านความมั่นคงของบริษัทในการเผชิญความผันผวนทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่ผู้รู้เถียงกันอยู่ผมไม่มีความรู้จะติดตามการถกเถียงได้แต่ที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือ ด้านบนสุดของชนชั้นบริหารถูกปิดด้วยการสืบสายโลหิตจึงเป็นผลให้ชั้นล่างๆ ลงมาถูกตรึงไปด้วย จนถึงปากประตูทางเข้าก็ย่อมแออัดไปด้วยผู้คนที่แย่งชิงกันเข้าไปสู่ดินแดนของชนชั้นบริหาร

ผมอยากชวนให้พิจารณาระดับกลางค่อนข้างสูงและกลางจริงๆของชนชั้นบริหารในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมคนระดับนี้คือพลังที่แท้จริงของชนชั้นบริหารแม้เขาไม่ใช่ผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย แต่เขาคือผู้ที่เตรียมข้อมูลและประเมินทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารระดับสูงใช้ในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล จำนวนมากทีเดียวของคนเหล่านี้สำเร็จการศึกษาจากโลกตะวันตก บางคนอาจเคยทำงานวิเคราะห์ข้อมูลในบริษัทระดับโลก หรือองค์กรระดับโลกมาแล้ว อันที่จริงการศึกษาและประสบการณ์คือใบเบิกทางให้เขาเข้ามายืนในชนชั้นบริหารระดับนี้ได้ และด้วยเหตุดังนั้นจึงไม่เปิดกว้างแก่ทุกคน เพราะการศึกษาระดับนี้เปิดให้แก่คนบางกลุ่มเท่านั้น ความสามารถเป็นเพียงส่วนเดียวของคุณสมบัติที่จะได้โอกาสทางการศึกษาเช่นนี้ ดังนั้นคนระดับนี้ในชนชั้นบริหารของธุรกิจอุตสาหกรรมก็ค่อนข้างปิดหรืออย่างน้อยก็ไม่ได้เปิดกว้างแก่ทุกคนที่มีความสามารถ

ลักษณะเฉพาะกลุ่มเช่นนี้ของชนชั้นบริหารระดับกลางยังทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถเชื่อมต่อกับชนชั้นบริหารระดับกลางของระบบราชการได้ง่ายด้วยเป็นเพื่อนกันมาในชั้นมัธยมเรียนมหาวิทยาลัยเมืองนอกแห่งเดียวกัน ได้พบกันในที่ประชุมที่ธุรกิจหรือราชการจัดอยู่เสมอ จนถึงที่สุดก็อาจเป็นญาติกัน

แม้ว่าในปัจจุบันราชการมีส่วนในการสร้าง "สิ่งแวดล้อม" ทางธุรกิจได้น้อยลงแต่ก็ยังมีส่วนสำคัญอยู่ ดังนั้นสายสัมพันธ์ของชนชั้นบริหารระดับกลางในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมกับราชการจึงเป็นข้อได้เปรียบของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยผมไม่ปฏิเสธว่าเงินใต้โต๊ะมีจริงและมีส่วนกำหนดการตัดสินใจในภาครัฐอยู่ไม่น้อยแต่ในขณะเดียวกันเงินที่บริษัทแต่ละแห่งลงไปเพื่อสร้างและกระชับสายสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับกลางของราชการก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเพียงแต่สื่อให้ความสนใจด้านนี้น้อยเกินไปเพราะไม่คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคอร์รัปชั่นซึ่งสลับซับซ้อนกว่าพื้นที่ใต้โต๊ะ

ชนชั้นบริหารระดับล่างคือพวกที่ยืนตายอยู่กับที่ เพราะไม่มีช่องให้ก้าวขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ใครเคยได้ยินบ้างว่ามีโฟร์แมนที่สร้างผลิตภาพในกลุ่มของตนเองให้ประจักษ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายแรงงานบ้างผมไม่เคยได้ยินเลย(อาจมีบ้างแต่น้อยเต็มที)เพราะตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายแรงงานย่อมสงวนไว้แก่เอ็มบีเอจากวอร์ตัน ซึ่งไม่เคยพิสูจน์ความสามารถด้านผลิตภาพอะไรเลย

โดยสรุปก็คือ การขยายตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศไทยไม่ได้ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เลื่อนไหลทางสถานภาพได้อย่างเสรีถ้าดูแต่รายได้ทางเศรษฐกิจคนจำนวนมากรวมทั้งชนชั้นนำชายขอบขยับฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นแน่แต่เป็นการขยับทั้งโครงสร้างดันคนทุกสถานะให้ขยับขึ้นไปทางรายได้ (และวิถีชีวิตอันเป็นผลมาจากรายได้) แต่ทุกคนยังยืนอยู่ที่เก่าในความสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ว่าจะมีเงินมากขึ้นแค่ไหน นายก็ยังเป็นนาย บ่าวก็ยังเป็นบ่าว

เมื่อเร็วๆ นี้มีนักวิชาการท่านหนึ่งซึ่งศึกษาคนชั้นกลางระดับล่างและคนชั้นล่างในชนบท พบว่าพวกเขาหาได้ยี่หระต่อความเหลื่อมล้ำแต่อย่างใด นักวิชาการท่านนั้นสรุปว่า ความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องที่ชนชั้นนำชายขอบ (คำของผม) "มโน" ไปเองว่าคือปัญหาใหญ่ต่างหาก ผมคิดว่าใช่เลยครับ เพียงแต่ว่าชนชั้นนำชายขอบไม่ได้ "มโน" เขารู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เจ็บปวดกับมัน น้อยใจกับมัน สิ้นหวังกับมัน เพราะนั่นคือประสบการณ์จริงที่เขาเผชิญอยู่ จนเมื่อมีโอกาสเปล่งเสียงบ้าง ก็นำประสบการณ์ส่วนตัวของตนไปอธิบายสังคมทั้งหมด (อย่างที่ปัญญาชนมักทำอย่างนั้นเสมอ... และบ่อยครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย)

ระบบราชการไทยเป็นอย่างไรคงไม่ต้องพูดละเอียด เพราะรู้ดีกันอยู่แล้ว นับตั้งแต่เกิดระบบราชการสมัยใหม่ขึ้น ระบบราชการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ประกาศเปิดเผยมาแต่ต้นว่า "เส้นสาย" เป็นเงื่อนไขสำคัญในการเข้ารับราชการและก้าวหน้าในราชการ ระบบเส้นสายเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่ทำให้การปฏิวัติ 2475 ประสบความสำเร็จ แต่สถานการณ์ทางการเมืองหลังการยึดอำนาจ เช่นการต่อต้านการปฏิวัติทุกวิถีทางของฝ่ายระบอบเก่า บีบบังคับให้คณะราษฎรต้องใช้ "เส้น" (ที่ไม่เกี่ยวกับสาย-โลหิต-โดยตรง) ในระบบราชการต่อไป และใช้สืบมาจนทุกวันนี้ แม้ว่าคณะราษฎรได้สลายไปนานแล้ว เพียงแต่ว่าเส้นที่ใช้คือสายสัมพันธ์กับนักการเมือง คำนี้ผมหมายถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของรัฐ ทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและการรัฐประหาร เหตุฉะนั้นระบบราชการกับการเมืองจึงสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ความรู้ความสามารถมีความสำคัญเป็นรองกว่าเส้น หลัง 6 ตุลา 2519 ระบบเส้นของราชการยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก เมื่อ "ผู้ใหญ่" ระดับต่างๆ ที่ไม่ใช่นักการเมือง ใช้อิทธิพลของตนเป็นเส้นให้แก่ระบบราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานขนาดใหญ่ที่มีอำนาจมาก เท่ากับกีดกันชนชั้นนำชายขอบ (หรือผู้มีศักยภาพจะเป็นชนชั้นนำชายขอบ) จำนวนไม่น้อยออกไปจากชนชั้นบริหารของระบบราชการ เพราะเข้าไม่ถึง "เส้น"

โดยทั่วไปในอีกหลายสังคม ชนชั้นนำ และชนชั้นนำชายขอบงอกออกมาจาก "กระฎุมพีน้อย" หากหันมาดูเส้นทางก้าวหน้าของกระฎุมพีน้อยในประเทศไทยก็จะพบเส้นทางที่ค่อนข้างตีบตันอยู่เหมือนกัน

จำนวนน้อยมากของกระฎุมพีน้อยในประเทศไทยที่รับเอาธุรกิจของตระกูลมาสืบต่อและพัฒนาจนกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้นตรงกันข้ามด้วยซ้ำครอบครัวกระฎุมพีน้อยมักอดทนส่งเสียลูกหลานให้ได้เรียนหนังสือเพื่อไปแสวงหาอนาคตที่ดีกว่าในวงการอื่น ทั้งนี้เพราะธุรกิจของกระฎุมพีน้อยขาดความมั่นคง ซ้ำมาในภายหลังยังถูกแข่งขันจากทุนขนาดใหญ่อย่างไม่มีทางสู้ (อย่าว่าแต่ชาวนาเลย ที่ไม่อยากให้ลูกเป็นชาวนา เจ้าของสวนยาง, ร้านชำ, โรงแรมห้องแถว, อู่ซ่อมรถยนต์ ฯลฯ ก็ไม่อยากให้ลูกอยู่ในอาชีพนั้นๆ เหมือนกัน)

ในวงวิชาการ มีนักวิชาการจำนวนค่อนข้างน้อยที่ได้รับการยอมรับนับถือ (แม้ในวงวิชาการด้วยกัน) เป้าหมายหลักในชีวิตของนักวิชาการไทยจำนวนไม่น้อยคือก้าวไปสู่ตำแหน่งบริหารมหาวิทยาลัย แม้ทำได้สำเร็จก็ยังไม่สามารถใช้ตำแหน่งนั้นก้าวเข้าสู่ชนชั้นนำชายขอบได้ มีอธิการบดีที่ถูกลืมชื่อไปแล้วจำนวนมากในประเทศไทย นักวิชาการอีกมากลาออกไปเพื่อหันไปไต่เต้าในตำแหน่งบริหารขององค์กรอื่นๆ หรือวงการอื่นๆ ในระยะหลังมีประตูทางเข้าสู่สถานภาพชนชั้นนำที่เปิดใหม่สองประตู คือสื่อและเวทีการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่บทบาทของนักวิชาการที่ผ่านเข้าประตูทั้งสองก็ไม่ใช่บทบาททาง "วิชาการ" แท้ๆ

กล่าวโดยสรุปก็คือ โลกทางวิชาการซึ่งดึงเอากระฎุมพีน้อยของไทยเข้าไปจำนวนมาก ไม่ใช่เส้นทางที่จะนำใครเข้าสู่พื้นที่ของชนชั้นนำ แม้แต่ชนชั้นนำชายขอบด้วยซ้ำ หากจะเข้าไปได้ก็ต้องใช้ความสามารถด้านอื่นที่ไม่ใช่ "วิชาการ" โดยตรง

ในวงการศิลปะของไทยปัจจุบันนั้น ได้สูญเสียพลังในการกำหนดสถานภาพของคนในวงการตนเองไปแล้ว ต้องปล่อยให้รัฐเข้ามากำหนดให้เองฝ่ายเดียว ผมหมายความอย่างนี้ครับ ลองนึกถึงสุนทรภู่ เมื่อหมดที่พักพิงในราชสำนักแล้ว สุนทรภู่ก็ยังมีชื่อเสียงได้รับการยกย่องว่าเป็น "ครู" สืบมา เช่นเดียวกับศิลปินชาวบ้านอีกมาก ซึ่งได้รับสถานะสูงในหมู่คนในวงการเดียวกัน บางคนอาจได้รับอุปถัมภ์จากเจ้านาย แต่ที่ทรงอุปถัมภ์ก็เพราะความมีชื่อเสียงของเขาอยู่แล้ว พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือศิลปินไทยโบราณมี "สำนัก" ของตนเอง ได้รับชื่อเสียงเกียรติยศจากสังคม รัฐ (หรือเจ้านาย) เข้ามาอุปถัมภ์เพื่อผนวกเอาชื่อเสียงเกียรติยศของท่านเข้ามาเป็นของตนด้วย แต่ศิลปินไทยปัจจุบันไม่ได้มี "สำนัก" อย่างนั้นอีกแล้ว จะมีสถานภาพที่สูงขึ้นได้ก็ต้องได้การรับรองจากรัฐ (เช่นเป็นศิลปินแห่งชาติ) โดยตนเองไม่ได้มีอำนาจต่อรองแต่อย่างใด ศิลปินคนสุดท้ายที่มีอำนาจต่อรองกับรัฐได้คือ

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นเอกศิลปิน หรืออะไรสักอย่างที่ไม่ใช่ศิลปินแห่งชาติธรรมดา (ผมจำชื่อนั้นไม่ได้แล้ว)

เปรียบเทียบกับญี่ปุ่นเท่าที่ความรู้อันจำกัดของผมมี เขายกย่องศิลปินบางคนขึ้นเป็น "สมบัติประจำชาติ" แต่ศิลปินเหล่านั้นมักมี "สำนัก" ของตนเอง เช่นด้านเซรามิกนั้นมีสำนักสอนให้ลูกศิษย์ที่ฝีมือส่อแวว มีผลงานราคาแพงลิบลิ่วออกขาย ซึ่งแปลว่าตลาดหรือสังคมรับรู้คุณวิเศษของศิลปกรรมชิ้นนั้นๆ รัฐจะไม่ยกย่องขึ้นเป็น "สมบัติประจำชาติ" ก็กระไรอยู่

เมื่อเป็นเช่นนี้ในประเทศไทย เกณฑ์การพิจารณาว่าศิลปินใดควรได้รับเกียรติและสถานภาพ จึงเป็นเกณฑ์ของรัฐฝ่ายเดียว ไม่มีเกณฑ์ของสำนักหรือสังคมถ่วงดุลเลย ผมไม่ทราบหรอกว่าการเป็นศิลปินแห่งชาติต้องใช้เส้นหรือไม่ แต่หากต้องใช้ก็ไม่แปลกใจอะไร ศิลปินแห่งชาติของรัฐที่เต็มไปด้วยเส้นสาย จะไม่มีเส้นเลยสิ น่าประหลาด

หันมาดูด้านนักเขียนบ้าง โดยทั่วๆ ไปก็ไม่ต่างจากศิลปินแห่งชาติสาขาอื่นๆ แต่เนื่องจากตลาดผู้อ่านเริ่มโตมากขึ้น ตลาดจึงมีส่วนสร้างสมดุลกับรัฐบ้าง คนอย่างคุณทมยันตี หรือคุณกฤษณา อโศกสิน ซึ่งมีผู้อ่าน (และผู้ชมละครโทรทัศน์) เต็มเมือง จะไม่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติย่อมเกินกำลังของรัฐไทยจะทำได้ ศิลปินที่ผลงานของเขาเกี่ยวพันกับตลาดในสาขาอื่นๆ เช่น นักร้อง, ครูเพลง, นักสร้างภาพยนตร์ ฯลฯ ก็เช่นเดียวกัน

สหภาพแรงงานอ่อนแอ บางส่วนมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับกองทัพหรือหน่วยงานความมั่นคงมานาน อันที่จริงจำนวนของแรงงานในประเทศไทยมีมากพอที่จะเกิดชนชั้นบริหารในกลุ่มสหภาพแรงงานแล้ว เพื่อประสานและวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน แม้เรามีสหภาพแรงงานมานาน แต่ก็ไม่เกิดชนชั้นบริหารสหภาพเป็นกลุ่มก้อน พอที่จะมีส่วนทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย หรือมีส่วนในการปกป้องประชาธิปไตย สหภาพแรงงานจึงไม่เป็นพื้นที่การเติบโตของชนชั้นนำชายขอบเลย

ประตูที่แคบหรือบางครั้งปิดตายเช่นนี้กีดกันคนที่พร้อมมิให้กลายเป็นชนชั้นนำชายขอบและกีดกันชนชั้นนำชายขอบมิให้ทะลุทะลวงขึ้นไปได้พร้อมกันมีคนออแน่นอยู่ตรงทางเข้า เบียดเสียดยัดเยียดกันแน่นขนัด ช่องใดที่แง้มเปิดออกเพียงเล็กน้อยก็มีคนที่พร้อมจะแทรกเข้าไป แทรกเข้าไปได้แล้วก็ไม่แน่ว่าจะถูกผลักดันกลับออกไปอีกหรือไม่ (อันเป็นชะตากรรมปกติของชนชั้นนำชายขอบ) ความเครียดจึงสูง และพร้อมจะกระโดดไปแสดงบทบาทนำในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในความเคลื่อนไหวของฝ่ายเสื้อแดงก็มี และในความเคลื่อนไหวของเสื้อเหลือง-สลิ่ม-นกหวีดก็มี แยะด้วย

ในตอนต่อไป ผมจะพูดถึงสภาวะผันผวนทางการเมืองในระยะหลังนี้ เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ชนชั้นนำชายขอบ (ทั้งที่เป็นจริงและเป็นโดยสำนึก) อย่างไร



เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนรายวัน 25 พ.ค.2558

ที่มา:มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: เฮ้อออ...!

$
0
0

 


ชาวนาเป็นหนี้ให้เลิกทำนา
ยางราคาตกต่ำโค่นต้นยาง
ถ้ามีปัญหาต้องล้างบาง
ใครกันสร้างคนบ้าหน้าไม่อาย

ย้อนกลับเมื่อปีก่อนหน้า
ซ้ายขวาทะเลาะกันจะเป็นจะตาย
รัฐประหารแก้ง่ายง่าย
คิดง่ายทำง่ายสบายใจ (เฮ้อ)

คนไม่เชื่อบังคับเชื่อ
ใครเหม็นเบื่อก็ไปไกลไกล
ประเทศต้องสงบดั่งผ้าพับไว้
แต่ข้างในระริกระรัวกลัวจนตัวสั่น

หลอกลวงคนทั้งโลก
ยิ้มโศกโบกมือพลัน
ประชาธิปไตยแบบของฉัน
สามร้อยหกสิบกว่าวันฝันสลาย.


28 พฤษภาคม 2558
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘คืนความสุขให้แฟนบอล’ ประยุทธ์ สั่งเลื่อนรายการ คืนความสุขฯ

$
0
0

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีบัชญาเลื่อนรายการคืนความสุข วันที่ 29 พ.ค. ไปออกอากาศเวลา 17.00 น. จากเดิมเวลา 20.30 น. เพื่อให้คนไทยได้ร่วมเชียร์ฟุตบอลทีมชาติไทย ในกีฬาซีเกมส์

28 พ.ค. 2558 เว็บไซต์รัฐบาลไทย รายงานว่า พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้เลื่อนช่วงเวลาการออกอากาศรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ประจำวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม เป็นเวลา 17.00 น. แทนช่วงเวลาเดิมคือ 20.30 น. เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมส่งใจไปเชียร์นักฟุตบอลทีมชาติไทย ในการแข่งขันฟุตบอลชาย ซีเกมส์ รอบแรก ในเวลา 19.30 น.

"ท่าน นายกฯ อยากให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมชม และส่งกำลังใจไปเชียร์นักกีฬาไทยซึ่งเดินทางไปร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ณ ประเทศสิงคโปร์ และในวันที่ 29 นี้จะมีการแข่งขันฟุตบอลชายในรอบแรก ซึ่งเชื่อว่าพี่น้องประชาชน รวมทั้งท่านนายกฯ ล้วนอยากเฝ้าชมและส่งใจไปเชียร์ จึงมีบัญชาให้เลื่อนการออกอากาศรายการคืนความสุขเป็นเวลา 17.00 น. แทน"

สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ขอความร่วมมือสื่อมวลชนได้ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้พี่น้องประชาชนที่ ติดตามชมรายการของท่านนายกฯ จะได้ไม่พลาดการรับชม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: เพียงแว่วเพลงแห่งรัก “หนักแผ่นดิน”

$
0
0

บทกวีโดย ดาว วัญ กุ๋ย

 

เพียงแว่วเพลงหนักแผ่นดินกลิ่นเลือดคลุ้ง
เห็นภาพทุ่งสังหารเมื่อกาลก่อน
จำรอยยิ้มรักชาติของฆาตกร
คล้ายละครฉากเก่าฉายซ้ำวน

เพียงท่อนแรกเพลงล้าหลังเริ่มดังขึ้น
คุไฟฟืนคลั่งบ้าโกลาหล
ปลุกเกลียดชังผู้คิดต่างไม่ใช่คน
แล้วยกตนขึ้นกดข่มสาสมใจ

“คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน”*
คนเช่นนั้นชาชินเสียงร่ำไห้
คนเช่นคุณวิเศษวิโสแต่ปางใด
เฉดหัวคนขับไล่ไม่เหลือดี

มันก็หนักแผ่นดินกันทั้งนั้น
คุณหรือท่าน หรือใครในโลกนี้
กรรมเกิดก่อต่อกรรมเราต่างมี
สิ่งใดเล่าชัดชี้วิถีทาง

ถูกกระทำย่ำยีมากี่ชาติ
แต่งเสริมปาดป้ายสีเป็นผีสาง
ปิดประตูไล่ต้อนมิผ่อนวาง
ประวัติศาสตร์จึงถูกสร้างให้ซ้ำรอย


ภาพเก้าอี้ตีกระหน่ำย้ำบาดแผล
ปลุกกระแสตกค้างคราบด่างพร้อย
ผู้คลั่งชาติพร้อมเพียงเรียงแถวทยอย
ยิ้มรอคอยรับท่อนไม้จากชายลึกลับ

แว่วเพลงรักหนักแผ่นดินคาวกลิ่นเลือด
หยดน้ำตาแห้งเหือดไหลย้อนกลับ
ฟื้นคืนเศร้ารันทดมากดทับ
ระยิบระยับเดือนดาวพราวพรายฟ้า
ฟื้นคืนเศร้ารันทดมากดทับ
ฮัมเพลงซับน้ำตาเย้ยฟ้าดิน

 

 

(*ท่อนหนึ่งในเนื้อเพลงหนักแผ่นดิน)

 

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุก 2 ปี 6 แกนนำพันธมิตร ‘บุกทำเนียบ’ ปี 51 ทนายจำเลยยันสู้คดีต่อชั้นอุทธรณ์ ศาลให้ประกัน 2 แสนบาท

$
0
0

"แม้จำเลยจะมีเจตนาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ก็มีความผิดตามฟ้อง" ศาลสั่งจำคุก 2 ปี สนธิ, จำลอง, พิภพ, สมเกียรติ, สมศักดิ์ และสุริยะใส คดีบุกทำเนียบรัฐบาลปี 2551 ทนายจำเลยยันสู้คดีต่อ ศาลให้ประกัน 2 แสนบาท ไร้เงื่อนไข

28 พ.ค. 2558 มติชนออนไลน์ รายงานว่า พลตรีจำลอง ศรีเมือง สนธิ ลิ้มทองกุล พิภพ ธงไชย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ สมศักดิ์ โกศัยสุข และสุริยะใส กตะศิลา 6 แกนนำ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมายังศาลอาญา เพื่อฟังคำพิพากษา คดีที่อัยการยื่นฟ้องทั้ง 6 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและร่วมกันทำให้ให้เสียทรัพย์ กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์มีตำรวจ เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบรัฐบาล เบิกความยืนยันว่าจำเลยทั้ง 6 เป็นแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร ชักชวนให้ผู้ชุมนุม กดดันให้ สมัคร สุนทรเวช รัฐบาลในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการวางแผนดาวกระจาย ให้ผู้ชุมนุมบุกรุกไปยังสถานที่ราชการต่างๆ รวมถึงทำเนียบรัฐบาล ซึ่งผู้ชุมนุมได้ปีนรั้ว ตัดโซ่คล้องประตู ผลักดันแผงเหล็ก บุกเข้าไปตั้งเวทีปราศรัย และชุมนุม ด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนออกจากทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2551

ซึ่งพยานโจทก์เบิกความอีกว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ส่งผลให้ทรัพย์สินภายในทำเนียบรัฐบาล อาทิ สนามหญ้าระบบสปริงเกอร์ ระบบกล้องวงจรปิด และทรัพย์สินอื่นๆ ได้รับความเสียหาย ซึ่งพยานโจทก์ เป็นเจ้าพนักงาน เชื่อว่าไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน เชื่อว่าเบิกความตามความจริง

และแม้จำเลยทั้ง 6 จะต่อสู้ ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นการบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลของกลุ่มผู้ชุมนุม และได้เข้าไปห้ามปรามไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมก่อความเสียหายภายในทำเนียบรัฐบาล ศาลเห็นว่า เป็นเพียงคำกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีเหตุรับฟัง ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ศาลเห็นว่า การบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ

แม้จำเลยจะมีเจตนาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ก็มีความผิดตามฟ้อง พิพากษา จำคุกจำเลยทั้ง 6 คนละ 3 ปี แต่การนำสืบเป็นประโยชน์ ต่อการพิจารณาคดี ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุกจำเลยทั้ง 6 คนละ 2 ปี

ภายหลัง สุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความเปิดเผยว่า จะใช้หลักทรัพย์ เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ วงเงินคนละ 2 แสนบาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราว และเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดี ซึ่งศาลพิจารณาแล้วอนุญาต โดยตีราคาประกันคนละ 2 แสนบาท

สำหรับคดีกลุ่มพันธมิตรฯ บุกทำเนียบรัฐบาล ปี 2551 พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, สนธิ ลิ้มทองกุล สมศักดิ์ โกศัยสุข และสุริยะใส กตะศิลา แกนนำพันธมิตร ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และร่วมกันทำให้ให้เสียทรัพย์กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 , 91 , 358 , 362 และ 365 คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images