Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live

กก.สิทธิฯเอเชีย แถลงเรียกร้องนานาชาติช่วยเหลือแผนดินไหวเนปาล

$
0
0

เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเนปาลมีความรุนแรงมากทำให้คนเสียชีวิต บ้านเรือนและระบบโครงสร้างพื้นฐานพังเสียหาย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเชีย (AHRC) แถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อการสูญเสียและเรียกร้องให้นานาชาติช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

26 เม.ย. 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเชีย (AHRC) ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในเนปาลที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อเวลา 11.50 น. วันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมาตามเวลาของเนปาล เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาด 7.9 ส่งผลกระทบในระยะ 80 กม. ทางตะวันออกของเมืองโพคารา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก อีกทั้งยังส่งผลเสียหายต่อประเทศอื่นๆ ในแถบเทือกเขาหิมาลัย

แถลงการณ์ AHRC ระบุว่าเนปาลต้องการความช่วยเหลือโดยด่วน ในตอนนี้กองทัพอากาศอินเดียได้ส่งทีมค้นหาและกู้ภัยไปที่เนปาลแล้ว นอกจากนี้ อินเดียยังส่งทีมช่วยเหลือด้านการแพทย์และอุปกรณ์กู้ภัยขนาดใหญ่ไปยังเนปาลด้วย

AHRC ระบุว่าตัวเลขผู้สูญเสียในตอนนี้ยังไม่แน่นอนแต่ก็มีการระบุว่ามีผู้เสียชีวิตพุ่งสูงมากกว่าพันคนแล้ว ทั้งนี้การที่โครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหายทำให้การติดต่อสื่อสารถูกตัดขาดไปด้วย

แถลงการณ์ของ AHRC ระบุอีกว่าในช่วงที่เนปาลมีวิกฤติระดับชาติโดยที่ไม่ได้เตรียมการรับมือไว้ก่อนเช่นนี้ทำให้พวกเขาต้องดิ้นรนเพื่อให้มีการประสานงานรับมือต่อภัยฉุกเฉิน มีคนทำงานสาธารณสุข หน่วยงานกาชาด ตำรวจ ทหาร กลุ่มประชาสังคม และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โรงพยาบาลเต็มไปด้วยคนบาดเจ็บและมีการรักษาคนไข้ส่วนใหญ่ด้านนอกอาคารของโรงพยาบาลเนื่องจากกลัวจะเกิดอาฟเตอร์ช็อก

AHRC ระบุอีกว่าผู้คนพากันออกมานอกตัวอาคารเนื่องจากกลัวจะเกิดอาฟเตอร์ช็อก ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดพายุโหมกระหน่ำอย่างหนักในช่วงกลางคืน ถือเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเนปาล

ในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ทาง AHRC เรียกร้องให้ประชาคมโลกและหน่วยงานนานาชาติให้ความช่วยเหลือเนปาลอย่างไม่มีเงื่อนไข โดย มิเนนทรา ริจัล รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารของเนปาลได้เรียกร้องให้นานาชาติช่วยเหลือพวกเขาโดยเฉพาะประเทศหรือองค์กรที่มีความรู้มากกว่าและมีเครื่องมือที่สามารถรับมือกับภัยฉุกเฉินได้ โดย AHRC ระบุย้ำว่า "ประชาชนชาวเนปาลและประเทศเนปาลต้องการการสนับสนุนของพวกเราในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้"

 

เรียบเรียงจาก

NEPAL: Earthquake - call for international support, AHRC, 25-04-2015
http://www.humanrights.asia/news/ahrc-news/AHRC-STM-065-2015

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: หัวขาวขาว

$
0
0

 

๏ โหดร้ายเกินจะกล่าว
คนสนุกกับข่าวโศกนาฏกรรม

๏ เกลียดชังจนคั่งแค้น
อกอัดแน่นว่าถูกกระทำ
จนใจจมลงต่ำ
ดำสุดดำเขรอะเลอะเหนียว

๏ เคี่ยวดำในความคิด
วิปริตกระนั้นเชียว
ต่ำตมงับจมเขี้ยว
จะแก้เกี้ยวคงเกินการณ์

๏ ฝีมืออาจลือชา
หากชราเพราะสันดาน
แดกดันอันธพาล
จะขายบ้านจะขายรถ

๏ นิจจังสังขารา
น้ำลดมาปลากินหมด
ผุดตอคอหยักคด
เกินสลดจะกล่าวไป

๏ ตื้นเขินเกินจะกล่าว
หัวขาวขาวช่างโหดใน
กะหล่ำพับห่อใบ
พอกกะลาเทินบ่าหนอฯ


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาพันธ์นศ.มุสลิมฯ ชี้ละเมิดสิทธิ หลังคอมมานโดบุกหอพักนศ.รามฯ วอนรัฐปรับวิธี

$
0
0

26 เม.ย.2558 เมื่อเวลา 17.40 น. สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (MUSTFETH)ได้เผยแพร่แถลงการณ์ ฉบับที่ 2 กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารบุกตรวจค้นหอพักนักศึกษาย่านรามคำแหง

โดยแถลงการระบุว่า เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2558 เวลาประมาณ 6.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหาร ทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวม 1,800 นาย เข้าบุกค้นหอพักย่านรามคำแหงและวังทองหลาง ตลอดจนย่านลาดพร้าว ทั้งนี้ ได้เข้าไปบุกค้นหอพักนักศึกษาหญิงและนักศึกษาชาย ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกหวาดผวาอย่างสูงให้กับนักศึกษา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกลุ่มดังกล่าวได้ใช้ท่าทีข่มขู่ให้นักศึกษาเปิดประตูหอพักเพื่อเข้าตรวจค้น นักศึกษาจึงยินยอมให้เข้าไปตรวจด้วยความขืนใจและเพื่อแสดงว่าตนมีความบริสุทธิ์ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่ตามโครงการ “รามคำแหงร่มเย็น” หนึ่งในจุดใหญ่ที่เข้าตรวจค้น คือชุมชนภายในซอยรามคำแหง 53/1 แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีนักศึกษาพักอาศัยอยู่จำนวนมาก เเละได้เชิญตัวนักศึกษาผู้ต้องสงสัยกว่า 10 คน ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด ซึ่งการตรวจสอบไม่พบยาเสพติด และสิ่งผิดกฎหมายใดๆ

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรแกนนำนักศึกษาที่เคลื่อนไหวประเด็นทางการเมือง มีความเห็นว่า การทำงานของเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้เข้าข่ายการละเมิดและคุกคามต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของนักศึกษา อีกทั้งยังอาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชน ที่ต้องการมีส่วนร่วมรณรงค์เปิดและขยายพื้นที่ทางการเมืองสู่การลดพื้นที่การใช้ความรุนแรงในการนำพาสังคมไทยให้สงบสุข ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของภาครัฐโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงที่ได้พยายามใช้นโยบายขับเคลื่อนสังคมให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์

เพื่อไม่ให้การคุกคามของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารต่อนักศึกษาและพลเมืองในครั้งนี้ จะส่งผลให้ประชาชนหมดศรัทธาในแนวทางแห่งสันติวิธี ซึ่งควรได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย แห่งรัฐ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทยจึงขอเรียกร้องต่อรัฐดังต่อไปนี้

1.ขอความชัดเจนของวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายในการตรวจค้น รวมถึงการใช้อำนาจใดตามรัฐธรรมนูญ และขอให้เจ้าหน้าที่รัฐชี้แจงข้อมูลสู่ความเข้าใจแก่ประชาชนโดยเร็ว

2.ขอคัดค้านการตวรจ DNA ของผู้ถูกต้องสงสัยหรือตรวจค้น โดยที่เจ้าของไม่ยินยอมหรือการกระทำให้ยินยอมให้ตรวจ ซึ่งเป็นการละเมิดขั้นพื้นฐานของตัวบุคคลในฐานะมนุษย์ และเสี่ยงต่อการนำไปใช้ในทางมิชอบ

3.ขอคัดค้านวิธีการดังกล่าว เพราะย่อมเป็นการดีถ้าก่อให้เกิดความร่มเย็นแก่ประชาชนจริงๆ แต่การปราบปรามไร้ซึ้งการให้เกียติพลเมืองเช่นนี้ เสี่ยงก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สวนทางกัน กลายเป็นว่าเป็นรัฐเองจุดไฟแห่งความเกลียดชังระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งรัฐเองต้องการความร่วมมือของคนในชาติในการก้าวพ้นความขัดแย้งที่มีอยู่

 

 

แถลงการณ์ ฉบับที่ ๒กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารบุกตรวจค้นหอพักนักศึกษาย่านรามคำแหง เนื่องด้วยเมื่อวันที่ ๒๕...

Posted by สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (MUSTFETH) on 26 เมษายน 2015

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

คอมมานโดบุกค้นหอพักนักศึกษาราม ตามโครงการ "ยุทธการรามคำแหงร่มเย็น"

สมาพันธ์ นศ.มุสลิม ออกแถลงการณ์กรณีทหาร-ตร.บุกค้นหอพักนศ.ที่รามฯ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์สำรวจนักเศรษฐศาสตร์ชี้ GDPปี 58 หลุดเป้าเหลือ3% ชี้ไม่ควรลดดอกเบี้ย

$
0
0

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็น  นักเศรษฐศาสตร์จาก 25 องค์กร จำนวน 63 คน เรื่อง “คาดการณ์แนวโน้ม GDPและทิศทางดอกเบี้ย” พบว่า GDP ปี 58 ไม่น่าจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายของกระทรวงการคลังที่ตั้งไว้ 3.9%  และคาดว่าจะขยายตัวได้เพียง 3.0% เท่านั้น  ขณะที่ร้อยละ 9.5   คาดว่า GDP น่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  และมีเพียงร้อยละ 1.6 ที่คาดว่า GDP จะขยายตัวได้ 4.5% ที่เหลือร้อยละ 12.7 ไม่แน่ใจ

ในส่วนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 29 เมษายนที่จะถึงนี้  นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ  84.1  คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75%  มีเพียงร้อยละ 4.8 ที่คาดว่า กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1.50% ที่เหลือร้อยละ 11.1 ไม่แน่ใจ

เมื่อถามต่อว่า กนง.ควรปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างไร นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.9  เห็นว่า กนง.  ควรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75% ขณะที่ร้อยละ 22.2  เห็นว่า กนง.ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในจำนวนนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 15.9  เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ที่ 1.50% นักเศรษฐศาสตร์ที่เหลือร้อยละ 6.3  เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ที่ 1.25%  ที่เหลือร้อยละ  15.9 ไม่แน่ใจ


 

รายละเอียดของผลสำรวจ กรุงเทพโพลล์

1.คาดว่า GDP ปี 58 จะขยายตัวเป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงการคลัง(โดย สศค.) ที่ตั้งไว้ 3.9% ได้หรือไม่  

ร้อยละ   9.5  คาดว่า GDP น่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 3.9%

ร้อยละ 76.2  คาดว่าน่าจะเห็นการปรับลด GDP ในการประมาณการครั้งถัดไป  และเชื่อว่าปีนี้ GDP จะขยายตัวเพียง 3.0%

ร้อยละ 1.6   คาดว่าน่าจะเห็นการปรับเพิ่ม GDP ในการประมาณการครั้งถัดไป และเชื่อว่าปีนี้ GDP  จะขยายตัวได้ 4.5%

ร้อยละ 12.7 ไม่แน่ใจ

 

    หมายเหตุ: 1. สศค. จะมีการปรับการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 58 อีกครั้งวันที่ 29 เม.ย. 58

                        2. ค่าประมาณการเป็นค่าเฉลี่ย

 

2.การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 เมษายนนี้  คาดว่า  กนง. จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างไร (จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 1.75%)

ร้อยละ 84.1  คาดว่า กนง.  จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75%

ร้อยละ  4.8   คาดว่า กนง.  จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1.50%

ร้อยละ  11.1 ไม่แน่ใจ

 

3.การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 เมษายนนี้  คิดว่า  กนง.  ควรปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างไร (จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 1.75%)

ร้อยละ  61.9  เห็นว่า กนง.  ควรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75%

ร้อยละ  22.2  เห็นว่า กนง.  ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

       ในจำนวนนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 15.9  เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ที่ 1.50%  

       นักเศรษฐศาสตร์ที่เหลือร้อยละ 6.3  เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ที่ 1.25%

ร้อยละ  15.9 ไม่แน่ใจ

 

หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ           

                 นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

*******************************************************************************************************************

 

รายละเอียดในการสำรวจ

 

วัตถุประสงค์

เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อการคาดการณ์แนวโน้ม GDP และทิศทางดอกเบี้ยให้กับประชาชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรับทราบเพื่อนำไปใช้ประกอบการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจต่อไป

 

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก  อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์  วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 25  แห่ง  ได้แก่  ธนาคารแห่งประเทศไทย  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)  ศูนย์วิจัยกสิกร สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า  ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  ธนาคารไทยพาณิชย์  ธนาคารทหารไทย  บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย  บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                         คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร  สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ  คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น  และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ    

 

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล  :  1 – 21 เมษายน 2558

 

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ     :  26 เมษายน 2558


 

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

 

 

จำนวน

ร้อยละ

ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

  

หน่วยงานภาครัฐ

37

58.7

หน่วยงานภาคเอกชน

19

30.2

สถาบันการศึกษา

7

11.1

รวม

63

100.0

เพศ          

  

ชาย

42

66.7

หญิง

21

33.3

รวม

63

100.0

อายุ      

 

 

26 ปี – 35 ปี

11

17.5

36 ปี – 45 ปี

28

44.4

46 ปีขึ้นไป

24

38.1

รวม

63

100.0

การศึกษา      

  

ปริญญาตรี

3

4.8

ปริญญาโท

46

73.0

ปริญญาเอก

14

22.2

รวม

63

100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม

  

1-5  ปี

5

7.9

6-10 ปี

15

23.8

11-15 ปี

13

20.6

16-20 ปี

10

15.9

ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

20

31.8

รวม

63

100.0

 

 

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เฟซบุ๊กเปิด 'ระบบเช็คความปลอดภัย' สำหรับคนรู้จักผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเนปาล

$
0
0

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กประกาศเปิดระบบเช็คความปลอดภัยผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวในเนปาล โดยสามารถให้คนในพื้นที่ประกาศว่ายังปลอดภัยดีหรือไม่ รวมถึงให้คนรู้จักผู้ประสบภัยตรวจเช็คได้ว่าญาติพี่น้องหรือเพื่อนของตนยังปลอดภัยดีอยู่หรือไม่

26 เม.ย. 2558 เว็บไซต์เฟซบุ๊กประกาศว่าพวกเขาเปิดให้มีระบบตรวจสอบความปลอดภัย (Safety Check) เพื่อช่วยให้ทราบว่าเพื่อนของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ยังอยู่ในพื้นที่ประเทศเนปาลปลอดภัยจากแผ่นดินไหวหรือไม่

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เฟซบุ๊กประกาศผ่านทางเฟซบุ๊กของตัวเองว่า เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 26 เม.ย. เขาได้เปิดระบบตรวจเช็คความปลอดภัยให้กับคนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในเนปาล โดยถือเป็นวิธีการง่ายที่จะทำให้ผู้ใช้บอกกับเพื่อนหรือครอบครัวพวกเขาได้ทราบว่าพวกเขายังปลอดภัยดี

ระบบดังกล่าวจะรายงานเกี่ยวกับภัยพิบัติในเนปาลก่อนจะถามว่าคุณอยู่ในพื้นที่ๆ ได้รับผลกระทบหรือไม่ และสามารถคลิกเพื่อให้แจ้งเตือนเพื่อนได้ถ้าหากอยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบและปลอดภัยดี

"ถ้าเกิดคุณอยู่ในพื้นที่ๆ ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว คุณจะได้รับการแจ้งเตือนถามว่าคุณปลอดภัยหรือไม่ หรือถามว่าคุณต้องการเช็คดูเพื่อนคนอื่นๆ ของคุณว่ายังปลอดภัยดีหรือไม่" ซักเคอร์เบิร์กระบุในคำประกาศ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในเนปาลครั้งล่าสุดมียอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงมากกว่า 2,300 คนแล้ว ซึ่งถือเป็นเหตุแแผ่นดินไหวที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 80 ปี นอกจากนี้ยังมีภัยจากหิมะถล่มบนยอดเขาเอเวอร์เรสที่เป็นผลพวงจากแผ่นดินไหว รวมถึงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกในเนปาล อินเดีย และบังกลาเทศ ในช่วงวันอาทิตย์ที่ผ่านมาซึ่งสร้างความยากลำบากให้กับหน่วยกู้ภัย ทางถนนและภูเขาจำนวนมากถูกปิดกั้นเพราะหินถล่ม

สำนักข่าวบีบีซีรายงานอีกว่าหน่วยงานพยาบาลในเนปาลกำลังต้องการความช่วยเหลือด้านทรัพยากรทางการแพทย์ เนื่องจากอุปกรณ์ทางการแพทย์เริ่มน้อยลง ขณะที่ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลอาจจะมีมากขึ้น

"เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ผู้คนย่อมต้องการทราบว่าคนที่ตนรักปลอดภัยดีหรือไม่ ช่วงเวลาแบบนี้เองที่ความสามารถเชื่อมต่อสื่อสารได้เป็นสิ่งที่สำคัญ" ซักเคอร์เบิร์กระบุ

ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กระบุอีกว่าเขาเป็นห่วงสถานการณ์ในเนปาลเช่นเดียวกันผู้เกี่ยวข้องในโศกนาฏกรรมครั้งนี้


เรียบเรียงจาก

เฟซบุ๊กของมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก, 26-04-2015
https://www.facebook.com/zuck/posts/10102050030813611

Nepal earthquake: Rescue effort intensifies, BBC, 26-04-2015
http://www.bbc.com/news/world-asia-32470731

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาสังคมจากไทยประกาศถอนตัวพบผู้นำอาเซียนที่มาเลเซีย

$
0
0

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) แจ้งถอนตัวกิจกรรมภาคสังคม 10 ประเทศพบผู้นำอาเซียนจันทร์นี้ เนื่องจากผิดหวังรัฐบาลกัมพูชา-สิงคโปร์เลือกคนเพื่อเข้าพบผู้นำอาเซียนเอง โดย กป.อพช. ตัดสินใจแสดงความสมานฉันท์กับภาคสังคมกัมพูชา-สิงคโปร์ ด้วยการไม่ขอเข้าร่วม และขอให้ทั้ง 2 รัฐบาลพิจาณาทบทวน

หนึ่งในป้ายข้อความจากผู้เข้าร่วมชาวไทย ในขบวนเดินอาเซียน หรือ "ASEAN Walk" ในพิธีปิดการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2558 (ที่มา: ประชาไท/แฟ้มภาพ)

 

26 เม.ย. 2558 - รายงานจากเว็บไซต์ของการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียนเปิดเผยว่า คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ในนามตัวแทนภาคประชาสังคมและประชาชนที่เข้าร่วมในการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน/สมัชชาประชาชนอาเซียน (ACSC/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้แจ้งว่าภาคประชาชนไทยถอนตัวจากกำหนดการพบผู้นำอาเซียน ในการประชุมผู้นำอาเซียน วันจันทร์ที่ 27 เม.ย. นี้ เพื่อประท้วงการกระทำของรัฐบาลกัมพูชาและสิงคโปร์ ที่เป็นผู้คัดเลือกคนฝ่ายตนเข้าพบผู้นำอาเซียน โดยมิได้เคารพกระบวนการของภาคประชาสังคม โดยมีรายละเอียดดังนี้

000

ภาคประชาสังคมไทยถอนตัวจากการพบผู้นำอาเซียนปี 2015 ประท้วงการกระทำของรัฐบาลอาเซียน

เราภาคประชาสังคมจำนวน 125 คนผู้เข้าร่วมในการประชุมภาคประชาสังคมและภาคประชาชนอาเซียน (ASEAN Civil Society Conference and ASEAN People’s Forum (ACSC/APF) ปี 2015 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในช่วงวันที่ 21-24 เมษายน 2558 เขียนแถลงการณ์นี้ เพื่อประกาศถึงการตัดสินใจร่วมกันที่จะถอนตัวจากการเข้าร่วมในการพบผู้นำอาเซียน ซึ่งมีกำหนดการที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 เมษายนที่จะถึงนี้

พวกเราขอแสดงความผิดหวัง ต่อการที่รัฐบาลกัมพูชาและสิงคโปร์ ยังคงเลือกตัวแทนด้วยตนเองเพื่อเข้าพบผู้นำอาเซียน โดยมิได้ให้ความเคารพต่อหลักการและกระบวนการของภาคประชาสังคม และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น พวกเราผิดหวังอย่างที่สุดในรัฐบาลอาเซียนทั้งมวล ในความล้มเหลวที่จะร่วมกันทำให้หลักการในการพบผู้นำของภาคประสังคม เป็นไปได้ด้วยหลักการและเจตนารมณ์ที่ดีได้อย่างแท้จริง

เราเชื่อว่า การนำเอาตัวแทนจากหน่วยงานรัฐบาลเข้ามาเป็นตัวแทนเข้าพบผู้นำ ในกรณีของกัมพูชา และนำตัวแทนจากกลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วม และไม่ได้แสดงความเห็นพ้องกับแถลงการณ์ของ ACSC/APF ในกรณีของสิงคโปร์ เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ และเป็นการทำลายหลักการที่ได้รับการยอมรับของ ACSC/APF โดยสิ้นเชิง  ทั้งนี้ หลักการคือมีดังต่อไปนี้

1.      การกำหนดและตัดสินใจด้วยตนเอง และการคัดเลือกตัวแทนด้วยตนเอง
2.      การเคารพซึ่งกันและกัน
3.      การมีการพบกันอย่างมีความหมาย
4.      การยอมรับในเนื้อหาของแถลงการณ์ ACSC/APF 2015 และ;
5.      การเข้าร่วมในกระบวนการ ACSC/APF

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มภาคประชาสังคม โดยการผ่านทางกระบวนการ ACSC/APF ได้พยายามชี้แจงหลักการดังกล่าวต่อรัฐบาลของแต่ละประเทศที่เป็นเจ้าภาพอาเซียน โดยการเสนอว่า ในท้ายที่สุด แม้รัฐบาลประเทศหนึ่งใดจะไม่ยอมรับตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกจากภาคประชาสังคม แต่สิ่งที่ควรเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสองฝ่าย คือการปล่อยให้ที่นั่งของตัวแทนประเทศนั้น ๆ ว่างลง และรัฐบาลจักต้องไม่แทนที่ตัวแทนภาคประชาสังคมด้วยบุคคลที่รัฐบาลจัดหามาเอง หลักการสำคัญนี้ ได้ถูกทำลายลงอีกครั้งในปีนี้

เราประสงค์จะแสดงความชื่นชมต่อรัฐบาลไทย ผู้ซึ่งเห็นด้วยกับหลักการการตัดสินใจด้วยตนเอง การคัดเลือกตัวแทนด้วยตนเอง และการเคารพซึ่งกันและกัน ภาคประชาสังคมไทยประสบความสำเร็จในการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคม และเราขอแสดงความขอบคุณ

อย่างไรก็ตาม เพื่อคงไว้ซึ่งหลักการและกระบวนการของอาเซียนโดยรวม เราจึงถอนตัวจากการพบผู้นำอาเซียนในปี 2015 นี้ เพื่อแสดงความสมานฉันท์กับเพื่อนจากกัมพูชาและสิงค์โปร์ และด้วยการตัดสินใจดังกล่าว เราขอขอบคุณอย่างจริงใจต่อภาคประชาสังคมมาเลเซีย รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ  ในการร่วมกันทำให้การจัดงาน ACSC/APF 2015 เกิดขึ้นได้ และสำเร็จลงด้วยดี

ในท้ายที่สุด ด้วยแถลงการณ์ฉบับนี้ เราขอยืนยันข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1.      ขอให้รัฐบาลไทยปล่อยเก้าอี้ของตัวแทนไทยในที่ประชุมกับผู้นำอาเซียนในวันพรุ่งนี้ให้ว่างลง และไม่จัดหาคนเข้าแทนตัวแทนประเทศไทย และ;

2.      ขอให้รัฐบาลสิงค์โปร์และกัมพูชา ทบทวนความตั้งใจของตนในการร่วมมือกับภาคประชาสังคมในประเทศของตนเองและกับภาคประชาสังคมอาเซียนทั้งมวล รัฐบาลทั้งสองควรตระหนักว่า การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อภาคประชาสังคม และต่อการตัดสินใจด้วยตนเองของประชาชน เป็นสิ่งที่จะทำลายความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นระหว่างกันของรัฐบาลอาเซียนและประชาชนอาเซียน การกระทำของทั้งสองรัฐบาล จะทำให้เป้าหมายที่อาเซียนจะเป็นภูมิภาคที่ประชาชนเป็นศูนย์กลางไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ หากจะเป็นเพียงคำพูดที่ว่างเปล่าที่ไร้ความหมาย

ด้วยความสมานฉันท์กับประชาชนในอาเซียนและกลุ่มภาคประชาสังคม

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
ในนามตัวแทนภาคประชาสังคมและประชาชนที่เข้าร่วมในการประชุม ACSC/APF ปี 2015

000

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ในการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC/APF 2015) ซึ่งจัดระหว่าง 22-24 เมษายน ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียนั้น ในวันแรกก่อนพิธีเปิด มีการสัมมนาหัวข้อย่อย "การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทยและผลกระทบต่ออาเซียน" จัดโดย กลุ่มรณรงค์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) พรรคสังคมนิยมมาเลเซีย (PSM) ศูนย์จัดการศึกษาทางกฎหมายสำหรับประชาชน (CLEC) ประเทศกัมพูชา และ ศูนย์ข้อมูลแรงงานซีดาน (LIPS) ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อหารือต่อสถานการณ์วิกฤตทางการเมืองในประเทศไทยและผลกระทบที่ตามมาต่อประชาชนอาเซียน ทั้งนี้หลังการสัมมนามีการออกแถลงการณ์ "เพื่ออาเซียนเป็นเขตปลอดรัฐบาลทหาร"

โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อได้แก่ "1. อาเซียนต้องเป็นเขตปลอดรัฐบาลทหาร 2. อาเซียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดนักโทษการเมือง 3.อาเซียนต้องทบทวนหลักการ "ไม่แทรกแซงกิจการภายใน" เพื่อให้เสียงและทางเลือกของประชาชนสามารถขับไล่ทุกๆ รูปแบบของอำนาจเผด็จการ และสร้างความเข้มแข็งต่อการสมานฉันท์เพื่อประชาธิปไตยและสังคมที่มีความยุติธรรมทั่วทั้งภูมิภาค" แถลงการณ์ดังกล่าวระบุ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: มนุษย์เกิดมาบริสุทธิ์ จนเมื่อไปรวมกลุ่มกันขึ้น

$
0
0

 

ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่ปิดกันให้แซ่ดนั้น ถูกวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย จนเห็นได้ชัดว่าหากตัดสินใจทำประชาพิจารณ์ ก็อาจจะไม่ผ่านดังฉบับ 2550 แม้เพื่อไทยและทักษิณอาจเชียร์ให้ผ่านก็ตาม เพราะผมเข้าใจว่าอิทธิพลของเพื่อไทยและทักษิณแผ่วลงไปไม่น้อยหลังรัฐประหาร ไม่ใช่เพราะ คสช. นะครับ แต่เพราะปฏิกิริยาของพวกเขาต่อ คสช. ต่างหาก

อย่างไรก็ตาม คำวิจารณ์หรือก่นด่าร่างรัฐธรรมนูญที่ปรากฏในโซเชียลมีเดีย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องกฎหมายและหลักประชาธิปไตย ผมจึงไม่ขอพูดอะไรเกี่ยวกับสองเรื่องนี้

แต่เมื่ออ่านร่างแล้ว ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า เราจะเข้าใจวิธีคิดของผู้ร่างได้ดีกว่า หากมองมันจากมุมของพระพุทธศาสนาที่เป็นทางการของไทย และจากทัศนะที่มีต่อธรรมชาติความเป็นมนุษย์... โดยเฉพาะมนุษย์ที่เป็นคนไทย

ปฏิเสธไม่ได้นะครับว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนกว้างขวางมาก และอาจจะมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ ด้วย เพราะได้รวมเอาสิทธิและเสรีภาพชนิดใหม่ๆ ซึ่งเพิ่งเกิดในสำนึกของคนไทยเข้ามาไว้ด้วย เช่น สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของ "เพศสภาพ", สิทธิของผู้บริโภคและบังคับให้จัดตั้งองค์กรเพื่อการนี้, ให้สิทธิและอำนาจในการที่ประชาชนจะเสนอกฎหมาย, ฯลฯ

แต่ขอให้สังเกตนะครับว่า ประชาชนที่ได้สิทธิเสรีภาพเพิ่มขึ้นนี้ เป็นปัจเจกบุคคล ในทางตรงกันข้าม ประชาชนที่เป็นกลุ่ม (collective body) กลับถูกระแวงว่าจะนำเอาสิทธิเสรีภาพไปใช้ในทางเสียหายแก่บ้านเมือง จึงต้องสร้างกลไกในการควบคุมถ่วงดุลและตรวจสอบอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ ที่เห็นได้ชัดและมีผู้วิจารณ์มากแล้วคือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ส.ว. ซึ่งถูกกลั่นกรองเสียก่อนจะเสนอให้ประชาชนเลือก รัฐบาลซึ่งเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งก็จะถูกตรวจตราควบคุมจากสรรพองค์กรที่ไม่มีอะไรเชื่อมโยงกับประชาชนเลยเป็นต้น ใช่แต่เท่านั้น สมัชชาคุณธรรมอันเป็นองค์กรใหม่ที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชนเช่นกัน ยังมีหน้าที่ "ปลูกฝัง และส่งเสริมจริยธรรมของประชาชน..." เห็นไหมครับว่า ประชาชนที่เป็น collective body นั้นขาดคุณธรรมขนาดไหน พรรคการเมืองซึ่งเป็น collective body อีกอย่างหนึ่ง ก็ถูกตรวจตราควบคุมอย่างใกล้ชิด ขนาดศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถเข้าไปแทรกแซงในการบริหารภายในของพรรคได้

แน่นอนครับ collective body บางอันก็น่าไว้วางใจเป็นพิเศษ เช่นสภาคุณธรรม หรือสมัชชาจิปาถะที่จะตั้งกันขึ้นมา (อย่างไรไม่รู้) ล้วนมีอำนาจในการไปเที่ยวตรวจสอบควบคุม collective body ที่เชื่อมโยงกับประชาชน และในบรรดา collective body ที่น่าไว้วางใจทั้งหลายนั้นมีอยู่สองอันด้วยกันที่ได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษ อันหนึ่งคือตุลาการ ซึ่งไม่ได้วางหลักในการที่คนภายนอกจะเข้าไปตรวจสอบถ่วงดุลอะไรได้เลย อีกอันหนึ่งก็คือกองทัพ ซึ่งในมาตรา 79 ได้เปิดทางให้กองทัพแทรกแซงการเมืองได้ตลอดเวลา เพราะรัฐมีหน้าที่ต้อง "พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตอำนาจรัฐ ความมั่นคงของรัฐ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้งต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเหมาะสมและเพียงพอแก่ความจำเป็นเพื่อดำเนินการดังกล่าว และเพื่อการพัฒนาประเทศ"

คำถามที่เกิดทันทีเมื่ออ่านร่างนี้ก็คือ เหตุใดภารกิจดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ของกองทัพเพียงอย่างเดียว การศึกษาไม่ใช่หรือ การพัฒนามนุษย์ไม่ใช่หรือ ความมั่นคงของชีวิตพลเมืองไม่ใช่หรือ สาธารณสุขไม่ใช่หรือ ฯลฯ ถ้าใช่ เหตุใดร่างรัฐธรรมนูญจึงไม่บังคับให้รัฐต้อง "จัด" อะไรให้แก่หน่วยอื่นๆ เพื่อทำภารกิจนี้บ้าง ถ้ารัฐบาลใดลดงบประมาณทหารลง จะเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทหารวินิจฉัยเองได้ใช่ไหมว่าจะต้องออกมายึดอำนาจเพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย หรือเพื่อรักษาความมั่นคง ฯลฯ เพราะในทัศนะของทหาร รัฐบาลไม่ทำหน้าที่นี้ หรือทำได้ไม่ดี

อันที่จริงแนวโน้มในการให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในฐานะปัจเจกอย่างกว้างขวางแต่สกัดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะที่เป็นกลุ่มหรือ collective body ไม่ได้เริ่มในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่เป็นแนวโน้มมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้หลายฉบับแล้ว

มีอะไรอยู่ในความคิดของชนชั้นนำไทย ที่เห็นว่ามนุษย์แต่ละคนนั้น มีคุณธรรมความดีในตัวเอง พอไว้วางใจได้ หรือถึงยังไม่ดีพอก็อาจอบรมให้ดีขึ้นได้ แต่มนุษย์ที่รวมกลุ่มกันเป็นหน่วย (entity) หนึ่งๆ นั้น ไม่น่าไว้วางใจ มีแนวโน้มที่จะเอียงไปในทางที่ชั่ว และหมดทางที่จะเยียวยาได้เสียแล้ว

ผมพยายามหาคำตอบแก่คำถามนี้อยู่พอสมควร แล้วคิดด้วยความไม่แน่ใจ (ทั้งคำถามและคำตอบ) ว่า ทัศนคติแบบนี้น่าจะมาจากพระพุทธศาสนาแบบทางการของไทย หรืออาจเรียกว่าพระพุทธศาสนาที่ถูกรัฐปฏิรูปในศตวรรษก่อน พุทธศาสนาแบบนี้เน้นที่ปัจเจกบุคคล การหาความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรมก็อยู่ที่พฤติกรรมและสำนึกของปัจเจก ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จะเวียนว่ายอยู่กับกองทุกข์ไปไม่สิ้นสุดก็ตัวเรา จะหลุดพ้นไปสู่ภาวะเหนือโลกเหนือทุกข์ก็ตัวเรา

ผมไม่ทราบว่า ก่อนหน้าการปฏิรูป พระพุทธศาสนาในเมืองไทยมีลักษณะเช่นนี้มาแต่เดิมหรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ก็คงอย่างที่นิกายอื่นเรียกเราว่า "หีนยาน" คือยานอันต่ำ เพราะช่วยพาคนพ้นทุกข์ได้คนเดียวคือปัจเจกผู้ประพฤติธรรมจนถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม คนไทยแต่ก่อนนับถือศาสนาที่คำนึงถึงกลุ่มคนหรือสังคมด้วย บางคนอธิบายว่าส่วนนี้ของศาสนาไทยคือการนับถือผีและฮีตคอง ซึ่งล้วนเป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อจรรโลงให้สังคมอยู่ร่วมกันได้ มีผีเรือน (ผีบรรพบุรุษ?) ที่คอยดูแลพฤติกรรมทางเพศของหญิงสาว มีผีอีกนานาชนิดที่คอยปกปักรักษาทรัพยากรสาธารณะซึ่งทุกคนต้องใช้ร่วมกัน นับตั้งแต่ป่า, บ่อน้ำ, วัด, นาข้าว, ศาลปู่ตา, ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ และระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมอีกนานัปการ

แต่การปฏิรูปศาสนาโดยรัฐได้ปลดความเชื่อส่วนนี้ออกไปจากศาสนาของคนไทยจนหมดบางคนอธิบายว่าเพื่อทำให้ศาสนาของไทยสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ตะวันตก ไม่เป็นที่ดูหมิ่นถิ่นแคลนของชาติอารยะทั้งหลาย แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็อยากจะเตือนไว้ด้วยว่า ศาสนาผีทำให้เกิดอาญาสิทธิ์ทางวัฒนธรรมขึ้นอีกหลายอย่าง ซึ่งอยู่นอกการกำกับควบคุมของรัฐ เช่น จ้ำ, หมอนานาชนิด, คนทรง, ฯลฯ โดยตัวของมันเอง ศาสนาผีจึงมีภยันตรายแก่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

ส่วนนี้ของศาสนามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าความหลุดพ้นของปัจเจกบุคคลเหมือนกันแน่นอนว่ามันไม่เหมาะกับโลกสมัยใหม่ในปัจจุบัน แต่ถ้าหมอผีมีโอกาสเท่ากับพระภิกษุที่รัฐเข้ามาอุปถัมภ์และควบคุม หมอผีก็อาจปรับเปลี่ยนความเชื่อโบราณเหล่านั้นให้กลายเป็นกลไกควบคุมสังคมใหม่ๆ ที่เหมาะกับยุคปัจจุบันได้ บางเรื่องอาจกลายเป็นพิธีกรรม, เป็นงานฉลอง, เป็นมารยาท, เป็นรูปแบบที่ถือว่า "อารยะ" ได้นานาชนิด

แต่เพราะส่วนนี้ของศาสนาไทยหายไปแล้ว จึงทำให้คนไทยปัจจุบัน (โดยเฉพาะชนชั้นนำซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาที่ถูกปฏิรูปมากที่สุด) มองคนที่รวมกันเป็นกลุ่มด้วยความหวาดระแวง เพราะไม่รู้ว่าจะตรวจสอบควบคุมกลุ่มคนได้อย่างไร และเพราะพระพุทธศาสนาที่เป็นทางการไม่เคยพัฒนากลไกการควบคุมทางสังคมขึ้นมาแทนที่ศาสนาผี ชนชั้นนำจึงมองหากลไกเช่นนั้นไม่เจอ ที่เจอก็เป็นกลไกที่สร้างกันขึ้นไว้ในสังคมตะวันตก อันเป็นสิ่งที่ไม่วางอยู่กับหลักการทางศาสนาใดๆ โดยเฉพาะไม่วางอยู่บนหลักการทางพระพุทธศาสนาเสียด้วย

แต่คนที่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปอะไรก็ตาม (พรรคการเมือง, สหภาพแรงงาน, เสื้อแดง, เสื้อเหลือง, สหพันธ์ชาวนาชาวไร่ ฯลฯ) เป็นพลังที่ขาดไม่ได้ของภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีการรวมกลุ่มเช่นนี้ อำนาจของประชาชนที่ตราไว้ในกฎหมายก็ไม่มีผลในทางปฏิบัติ จะให้ปัจเจกเช่น นาย ก. นาย ข. ลุกขึ้นมากำกับควบคุมฝ่ายบริหาร, ตุลาการ และนิติบัญญัติได้อย่างไร รัฐธรรมนูญไทยหลายฉบับ รวมทั้งร่างฉบับนี้ จึงรู้สึกพิพักพิพ่วนกับประชาชนที่เป็น collective body ในขณะที่อาจเปิดสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนในฐานะปัจเจกไว้เต็มที่ก็ตาม

ร่างฉบับนี้ วางกลไกการตรวจสอบควบคุมประชาชนที่เป็น collective body ไว้มากมายหลายอย่าง จนประชาชนลักษณะนี้ทำอะไรแทบไม่ได้เลย ดังที่เขาวิเคราะห์วิจารณ์กัน เท่านั้นยังไม่พอ ผู้ร่างยังฝากความหวังไว้กับศีลธรรม, คุณธรรม, จริยธรรมอย่างมากไม่น้อยไปกว่ากลไกอื่นๆ นี่ไม่ใช่ของใหม่ ทำกันมานานแล้ว แต่ร่างฉบับนี้อาจให้ความสำคัญกว่าฉบับที่ผ่านๆ มา เพราะเสียงเรียกร้องศีลธรรม, คุณธรรม, จริยธรรม ดังมากขึ้นกว่าสมัยก่อน ราวกับว่าผู้เรียกร้องยังได้ผลตอบแทนไม่คุ้ม ทั้งๆ ที่ได้โซ้ยองค์กรประเภท ส.ต่างๆ ไว้ในมือบริษัทบริวารจนหมดสิ้นแล้ว หรือเพราะโซ้ยไปหมดแล้ว จึงมีพลังให้เรียกร้องได้ดังขึ้นก็เป็นได้

มีบางคนขยันตรวจสอบคำสามคำนี้ที่ใช้ในร่างฉบับนี้ เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญสองฉบับก่อนหน้านี้ ปรากฏผลว่า

คำว่า "ศีลธรรม" เพิ่มจาก 7 ครั้งในรัฐธรรมนูญสองฉบับก่อนเป็น 13 ครั้งในร่าง

คำว่า "จริยธรรม" ปี 2540 มีแค่ 2 ครั้ง 2550 กระโดดไปเป็น 26 ครั้ง ร่างฉบับนี้เพิ่มเข้าไปอีกเป็น 30 ครั้ง

แต่คำเหล่านี้มีความหมายว่าอะไร, แค่ไหน, และอย่างไรไม่เคยปรากฏชัดในรัฐธรรมนูญฉบับใด จึงอาจเป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญทั้งหลายนิยมเอาเทพที่จุติลงมาเป็นตุลาการ, ผู้บริหารมหาวิทยาลัย, ผู้บริหารคณะในมหาวิทยาลัย, นายกสมาคมวิชาชีพ, และเอ็นจีโอ ซึ่งต้องสมมติว่าอุดมด้วยคุณสมบัติสามคำนี้เต็มเปี่ยม เข้ามาแต่งตั้งกลุ่มประชาชน หรือตรวจสอบกลุ่มประชาชน จนอาจมีอำนาจเหนือคะแนนเลือกตั้งของเขา ร่างฉบับนี้ยิ่งเต็มไปด้วยเทพที่จุติลงมาตามที่ต่างๆ มากขึ้น พร้อมทั้งอิทธิฤทธิ์ที่สูงขึ้นไปพร้อมกัน

ผมคิดว่า หากไปถามผู้ร่างว่า เหตุใดจึงให้คนเหล่านี้ซึ่งไม่เชื่อมโยงกับประชาชนผู้เลือกตั้งแต่อย่างใดทั้งสิ้น มีอำนาจตรวจสอบ ควบคุม จนถึงปลดคนที่เชื่อมโยงกับประชาชนคือผู้เลือกตั้งได้ คำตอบที่ตรงใจที่สุดของผู้ร่าง ก็คือ หากปล่อยอำนาจไว้ในมือของคนซึ่งมีที่มาเชื่อมโยงกับกลุ่มประชาชนผู้เลือกตั้ง ก็เท่ากับยกอำนาจไปไว้ในมือของคนที่ไม่น่าไว้วางใจ คือผู้เลือกตั้งซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนเหมือนกัน จึงจำเป็นต้องสถาปนาอำนาจอีกส่วนหนึ่งที่อาจจะใหญ่กว่าไว้กับปัจเจกบุคคล ซึ่งได้ทำให้น่าเชื่อแล้วว่ามีศีลธรรม, คุณธรรม และจริยธรรมเพียบพร้อม เพราะเกิดและเติบโตมาในพระพุทธศาสนา (หรือศาสนาอื่น) ทั้งยังอาจอ้างพระพุทธเจ้าได้ในแทบจะทุกประโยค อำนาจของประชาชนที่เป็นกลุ่ม จึงจะถูกถ่วงดุลหรือถ่วงเกินดุลด้วยอำนาจทางศีลธรรม, คุณธรรม และจริยธรรม

เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนสุดสัปดาห์

ที่มา: มติชนออนไลน์
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

NGOs เหนือวอน คสช.หยุดจับชาวบ้านตัดไม้สร้างบ้าน หลังศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก23ปกาเกอะญอ

$
0
0

26 เมษายน 2558  หลังศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกราษฎรบ้านทุ่งป่าคา อ.แม่ลาน้อย แม่ฮ่องสอน คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.ภาคเหนือ) ออกแถลงการณ์ วอน คสช. ยุติการจับกุมดำเนินคดีชาวบ้าน ชาวชนเผ่าที่ตัดไม้มาทำที่อยู่อาศัย ยืนยันเป็นวิถีชีวิตมีความชอบธรรม จีี้ดำเนินการจับกุมนายทุนตัดไม้ทำลายป่าแทน

เนื้อหาในแถลงการณ์
 

ชั้นต้น เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2558 ที่ผ่านมานั้น คดีดังกล่าวเกิดจากการปฏิบัติการสนธิกำลังของเจ้าหน้ารัฐ นำโดยหัวหน้าทหารพรานที่ 36 ค่ายเทพสิงห์ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่อำเภอจำนวนกว่า 1,000 นายพร้อมอาวุธครบมือ ได้เข้าไปตรวจค้นบ้านเรือนของราษฎรบ้านทุ่งป่าคา ม.8 ต.แม่ลาหลวง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม 2557 โดยอ้างว่ามีเบาะแสการค้าไม้เถื่อน และมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเหตุให้มีการยึดไม้ที่ชาวบ้านเตรียมไว้สำหรับสร้างบ้านและต่อเติมบ้านเรือนเพื่ออยู่อาศัย จำนวน 39 ราย

คดีนี้มีความละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้น เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่ 64/2557 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2557 เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และคำสั่งที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน รวมถึงประกาศ คสช.ที่ 106 /2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ แม้นโยบายของ คสช.ดังกล่าวจะมีเงื่อนไขว่า การดำเนินการ ต้องมีการแยกแยะลักษณะของการกระทำของราษฎร และราษฎรที่ถูกกล่าวว่ากระทำผิด หรือเข้าข่ายผู้บุกรุกรายใหญ่ตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกำหนดหรือไม่ และต้องเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจต่อการดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากรณีคดีชาวบ้านปกาเกอะญอบ้านทุ่งป่าคาได้มีลักษณะที่เป็นไปเงื่อนไขตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 ข้อ 2.1 ที่ระบุว่า

“การดำเนินการใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมๆ นั้น ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่ จะต้องดำเนินการสอบสวน และพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป”

ดังนั้น การดำเนินคดีกรณีดังกล่าว จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างรอบคอบ หากแต่พนักงานอัยการในคดีดังกล่าว กลับยื่นฟ้องชาวบ้านทั้ง 39 รายต่อศาลจังหวัดแม่สะเรียงตามกระบวนการยุติธรรมปกติ ในข้อหาว่า มีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ศาลชั้นต้นได้ตัดสินจำเลย 39 คนในคดีนี้ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 7 ปี โดยไม่รอลงอาญา รวม 23 คน ส่วนจำเลยอีก 14 คน ให้ลงโทษปรับเป็นเงินจำนวน 10,000-20,000 บาท ตามจำนวนไม้ที่ครอบครอง และจำเลย 2 คน ได้เสียชีวิตลงก่อนหน้าที่ศาลจะมีคำพิพากษา ต่อมาจำเลยจำนวน 20 คนแถลงการณ์คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.ภาคเหนือ)

กรณี ชาวปกาเกอะญอบ้านทุ่งป่าคา อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต้องคำพิพากษาจำคุก

ตามที่ศาลอุทธรณ์ จังหวัดแม่สะเรียง ได้อ่านคำพิพากษากรณีที่ชาวบ้านเผ่าปกาเกอะญอ บ้านทุ่งป่าคา หมู่ 8 ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินคดีในความผิดฐานมีไม้สักที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 20 ราย โดยศาลอุทธรณ์ฯ ได้ยืนคำพิพากษาให้จำคุกจำเลย 1-5 ปี ไม่รอลงอาญาตามศาล ที่ต้องโทษจำคุกได้ยื่นอุทธรณ์ ขอให้ศาลรอลงอาญาหรือรอการลงโทษ โดยอ้างเหตุเรื่องความยากจน ผลกระทบต่อครอบครัว หากต้องโทษจำขัง และวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงที่ใช้ไม้เพื่อต่อเติมหรือสร้างบ้าน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบตัดไม้แต่อย่างใด ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าคำร้องดังกล่าวฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยทั้ง 20 คน โทษตั้งแต่ 1 ปี- 5 ปี ลดหลั่นกันตามจำนวนไม้ที่ครอบครอง โดยไม่รอลงอาญา

ทางคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.ภาคเหนือ) ได้ติดตามกรณีนี้อย่างใกล้ชิดและเห็นว่า ชาวปกาเกอะญอ บ้านทุ่งปาคา เป็นชุมชนชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่มีวิถีชีวิตจารีตประเพณีผูกพันอยู่กับธรรมชาติอย่างสมดุล ทำการเกษตรเลี้ยงชีพตามวิถีแบบทำไร่หมุนเวียน ดำรงชีวิตอยู่กับป่ามาก่อนที่รัฐจะมีการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น การกระทำของเจ้าหน้าที่ป่าไม้และหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ จึงเป็นการปฏิบัติการที่ไม่แยกแยะลักษณะของการกระทำหรือเจตนาของชาวบ้านที่มีไม้สำหรับการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยและซ่อมแซมบ้านที่ชำรุดไม่ใช่ครอบครองไว้ขาย ประการสำคัญ การยอมรับความผิดในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นของชาวบ้าน ก็เกิดจากการเจรจาของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เสนอว่าให้ชาวบ้านรับผิดตามข้อหาแล้วภาครัฐจะให้การช่วยเหลือ ชาวบ้านซึ่งมีฐานะยากจนไม่มีประสบการณ์ในการต่อสู้ทางกระบวนการยุติธรรม จึงยอมรับสารภาพโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กลายเป็นแพะของขบวนการค้าไม้สาละวิน

กป.อพช.ภาคเหนือ ขอแสดงท่าทีและมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

1.การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนนำมาซึ่งคำพิพากษาในครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ไม่การกลั่นกรองและแยกแยะความแตกต่างของพื้นที่ที่มีบริบทความเป็นมาของชุมชน ตามวิถีวัฒนธรรมความเชื่อและการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความชัดเจนในการกำหนดลักษณะการกระทำและผู้กระทำว่า ลักษณะใดที่เข้าข่ายเป็นผู้กระทำผิดรายใหญ่ที่มีเจตนาในทางการค้าไม้หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตน และลักษณะใดเป็นการกระทำเพื่อการดำรงชีวิตตามประเพณีวัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ การปฏิบัติการของภาครัฐโดยไม่แยกแยะ กรณีคดีชาวบ้านปกาเกอะญอดังกล่าวนี้ ได้ทำลายวิถีคนอยู่ป่า ทำลายความสันติสุขที่ชุมชนอยู่ร่วมกันมาช้านาน และอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนได้

2.ทาง กป.อพช.ภาคเหนือเห็นว่าความยุติธรรมสำคัญมากกว่ากฎหมาย การแก้ปัญหาเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า รัฐควรมุ่งจับกุมไปที่กลุ่มผู้ทำไม้เถื่อนเพื่อการค้าจริง ๆ ไม่ใช่คนจนที่ใช้ไม้เพื่อการอยู่อาศัย ไม่ควรใช้มาตรการทางกฎหมายดำเนินการจับกุมคนจนเพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ในทางกลับกันรัฐจะต้องให้การสนับสนุนชุมชนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการดูแลทรัพยากรอย่างยั่งยืน และยังเป็นการปกป้องวิถีชีวิตแห่งชาติพันธุ์ที่ผูกพันอยู่กับทรัพยากรป่าไม้อย่างสมดุลและสอดคล้อง

สุดท้ายนี้ กป.อพช.ภาคเหนือ หวังว่าเป็นอย่างยิ่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) คณะรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ จะนำเอาบทเรียนจากคดีดังกล่าวที่ชาวบ้านทุ่งป่าคาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนโยบายของภาครัฐ และการกระทำที่ไม่แยกแยะจนเป็นเหตุให้มีการละเมิดสิทธิของชุมชนอย่างรุนแรง เพื่อปรับปรุงนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วม และป้องกันผลกระทบและความขัดแย้งที่อาจมีความรุนแรงมากขึ้น จนอาจกลายเป็นสาเหตุปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอนาคตอันใกล้ พร้อมทั้งต้องทบทวนการดำเนินการในกระบวนยุติธรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ที่ต้องอำนวยให้ประชาชนได้ความเป็นธรรมและเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง อันจะนำมาซึ่งสันติสุขและความเป็นธรรมในสังคมไทยโดยเร่งด่วน

ด้วยจิตคาราวะ

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
วันที่ 25 เมษายน 2558

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.เปิดรับฟัง คห.เลื่อนจ่ายเงินประมูลทีวีดิจิตอล 6 พ.ค.

$
0
0

6 พ.ค. นี้ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นเลื่อนจ่ายเงินประมูล 4 ประเด็นพร้อมรายงานประเมินผลกระทบ


27 เม.ย. 2558 สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 27 เม.ย. นี้ ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 14/2558  มีวาระการประชุมสำคัญน่าจับตา ได้แก่ รายงานการประเมินผลกระทบจากการเลื่อนเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ภายหลัง กสทช. มีมติเห็นชอบหลักการให้เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลออกไป 1 ปี โดยนำข้อสังเกตของกรรมการ กสทช. ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแบบเร่งรัดใน 15 วัน ใน 4 ประเด็น ได้แก่

1.เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลออกไป 1 ปี เฉพาะงวดที่ 2 เท่านั้น หรือ 2.เลื่อนการชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลของทุกงวดออกไป 1 ปี 3.การคิดดอกเบี้ยระหว่างเลื่อนการชำระการประมูล โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และ 4.เงื่อนไขเพิ่มเติมกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำการช่วยเหลือผู้บริโภคด้วย

สุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ บรรยากาศสิทธิเสรีภาพสื่อที่ลดลงแล้ว ได้ส่งผลต่อทีวีดิจิตอลภายหลังการประมูลก็คือเหตุปัญหาความล่าช้าในเรื่องการวางโครงข่ายทีวีดิจิตอลที่ไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ อาทิ อสมท. หรือกรมประชาสัมพันธ์ที่ให้เหตุผลว่าโครงข่ายล่าช้าเพราะต้องรอไฟเขียวจากผู้บริหารชุดใหม่หลังการเมืองเปลี่ยนแปลง อีกทั้งคุณภาพการบริการโครงข่ายอื่นๆ ก็มีปัญหาความไม่เสถียรในปีแรก ตามข้อร้องเรียนของช่อง แต่ กสทช. ก็ยืดหยุ่นให้กับหน่วยงานรัฐในการวางโครงข่าย ซึ่งไม่เป็นธรรมกับภาคเอกชนที่เช่าโครงข่ายในราคาแพงด้วย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ กสทช. เลื่อนการชำระเงินประมูลงวดสองไป 1 ปี แบบมีเงื่อนไข เพื่อพยุงความอยู่รอดของรายใหม่ๆ ให้มีศักยภาพสามารถยืนแข่งขันได้ในตลาดต่อไป

“แต่ทีวีดิจิตอลทุกช่องก็ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการเป็นทางเลือกใหม่ที่มีคุณภาพของคนดู ยึดจรรยาบรรณสื่อ และเคารพผู้บริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มติเรื่องนี้ยังไม่มีผล  จนกว่าร่างประกาศและรายงานผลกระทบฯ จะผ่านการรับฟังความเห็นสาธารณะ ผ่านบอร์ดใหญ่ กสทช. วันที่ 20 พ.ค.  และลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน ระหว่างนี้ ฝ่ายต่างๆมาร่วมแสดงความเห็นได้ในวันที่ 6 พ.ค.” สุภิญญา กล่าว

วาระอื่นๆ น่าสนใจ ได้แก่ บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงาน กสทช. กับ กองทัพบก เรื่อง ความร่วมมือในการสื่อสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณดิจิตอลทีวี  วาระโครงการความร่วมมือการผลิตข่าวในพระราชสำนัก และการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธี และรัฐพิธี สำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ของสำนักงานรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ประจำปี 2558 วาระสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศ เรื่องแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล วาระแนวทางการพิจารณารายได้ที่นำมาคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (กรณีรายได้ส่วนแบ่งจากการร่วมธุรกิจ และรายได้บริการระหว่างใบอนุญาตภายในนิติบุคคลเดียวกัน) วาระการสอบทานการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (กรณีซับซ้อน) รอบปีบัญชี 2556

พร้อมกันนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เชิญ กรรมการ กสท. เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือและชี้แจงเรื่องการดำเนินงานช่วงที่ผ่านมา ในวันพุธที่ 29 เม.ย.นี้ และวาระเดิมที่ยังคงค้างการพิจารณา คือเรื่องแนวทางการอนุญาตสำหรับการให้บริการที่มีความคาบเกี่ยวระหว่างกิจการโทรคมนาคม และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 6 พ.ค. นี้ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นเลื่อนจ่ายเงินประมูล 4 ประเด็นพร้อมรายงานประเมินผลกระทบ
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดาบ2สั่งเพิกถอนใบอนุญาต ‘Peace TV’ แล้ว -ประธานกสท.แจงเหตุทำผิดซ้ำ

$
0
0

ประธานกสท. แจง พีซ ทีวี ออกอากาศยังมีเนื้อหาละเมิดต่อข้อตกลงฯ ในลักษณะเช่นเดิม จึงมีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ระบุการพิจารณาตามกระบวนการมาเป็นลำดับ ชี้เข้าข่ายการกระทำที่เป็นความผิดซ้ำซาก

27 เม.ย.2558 หลังจาก ช่อง Peace TV ถูกปิดชั่วคราวตั้งแต่ 0.01 นาฬิกา ของวันที่ 10 เมษายน 2558 ครบกำหนด 7 วัน ในวันที่ 16 เมษายน 2558 เวลา 24.00 น ตามมติของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) ที่มีมติให้พักใช้ใบอนุญาตของบริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด (ช่อง Peace TV)

ล่าสุด มติชนออนไลน์รายงานว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่มี พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ เป็นประธาน ได้มีมติให้มีการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ของสถานี พีซทีวี แล้ว

โดยพันเอก ดร. นที โพสต์รายละเอียดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Natee Sukonrat’ กรณีการเพิกถอนใบอนุญาต PEACE TV (27 เม.ย. 58) รายละเอียดดังนี้

1. วันนี้ กสท. ได้พิจารณาข้อร้องเรียนช่องรายการพีซ ทีวี ซึ่งเป็นการพิจารณาตามบันทึกข้อตกลงที่ทาง บ. พีซ เทเลวิชั่น จำกัด กับทาง กสทช.

2. หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อ 22 พ.ค.57 ได้มีช่องรายการโทรทัศน์ดาวเทียมจำนวนหนึ่งถูกยุติการออกอากาศตามคำสั่ง คสช.

3. เหตุของการถูกสั่งยุติการออกอากาศเนื่องมาจากช่องรายการเหล่านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศมาโดยต่อเนื่อง

4. ต่อมาช่องรายการเหล่านี้ได้รับการอนุญาตให้ออกอากาศอีกครั้งโดยจะต้องมีการยอมรับข้อตกลงกับทาง กสทช. ในการระมัดระวังการออกอากาศ

5. โดยช่องรายการตกลงที่จะไม่ออกอากาศเนื้อหาที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่น ให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างให้เกิดความแตกแยก

6. กรณีของช่องรายการพีซ ทีวี ก็เป็นช่องรายการหนึ่งที่ได้ทำข้อตกลงดังกล่าว และได้มีข้อร้องเรียนการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อตกลงมาตามลำดับ

7. ได้มีการตักเตือน ทำความเข้าใจ ในระดับของอนุกรรมการด้านเนื้อหารายการ ของ กสทช. หลายครั้ง/หลายวาระด้วยกัน ตั้งแต่ ต.ค.57

8. แต่ พีซ ทีวี ก็ยังคงนำเสนอเนื้อหาในลักษณะเช่นเดิมจนอนุกรรมการฯ ได้เสนอ กสท. เพื่อพิจารณาข้อร้องเรียนของ พีซ ทีวี เมื่อ 23 มี.ค.58

9. โดย กสท. ได้มีมติในการประชุมเมื่อ 23 มี.ค.58 ให้ตักเตือน พีซ ทีวี เป็นลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และที่กำหนดในข้อตกลง

10. ต่อมา พีซ ทีวี ยังคงออกอากาศรายการที่ยังขัดต่อข้อตกลงดังกล่าวอีก จนกระทั่ง กสท. ได้มีมติในการประชุมเมื่อ 30 มี.ค.58 ให้พักใช้ใบอนุญาต

11. โดยการพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าวส่งผลให้ พีซ ทีวี ต้องยุติการออกอากาศเนื้อหารายการตั้งแต่ 10 เม.ย.58 จนถึง 17 เม.ย.58

12. เมื่อ พีซ ทีวี ออกอากาศอีกครั้งใน 18 เม.ย.58 ก็ได้มีการออกอากาศเนื้อหาใน 18 เม.ย.58 มีเนื้อหาละเมิดต่อข้อตกลงฯ ในลักษณะเช่นเดิม

13. ดังนั้นสำนักงานได้นำเสนอวาระต่อที่ประชุม กสท. เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าว ที่ประชุมจึงได้มีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการฯ

14. ซึ่งมติดังกล่าว กสท. เป็นการพิจารณาตามกระบวนการมาเป็นลำดับ ด้วยการทำความเข้าใจ แจ้งเตือน พักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการฯ

15. เมื่อ กสท. ได้พิจารณาถึงการกระทำโดยถี่ถ้วนว่าเป็นลักษณะเข้าข่ายการกระทำที่เป็นความผิดซ้ำซาก ที่ประชุมจึงได้มีมติดังกล่าว 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาชนปรับทัศนคติ ‘นายกฯ’ ย้ำ บัตรทองไม่ใช่ระบบอนาถา เป็นสิทธิพื้นฐาน ต้องไม่แยก จน-รวย

$
0
0

27 เม.ย. 2558 เมื่อเวลา 10.30 น. จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา โดยขอให้คนรวยเสียสละไม่ใช้สิทธิ 30 บาท รักษาทุกโรค เพื่อทำกุศลให้กับคนจน และให้สิทธินี้มีไว้เพื่อคนจนเท่านั้น กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เครือข่ายผู้ป่วยและภาคประชาชน ได้ร่วมกันแถลงข่าว “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน” เพื่อชี้แจงหลักการการดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ต้องเป็นของคนไทยทุกคน

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษากลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพกล่าวว่า ยอมรับว่าขณะนี้ยังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจหลักการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งแม้แต่ในกลุ่มผู้บริหารประเทศเอง ยังเป็นกลุ่มที่เข้าใจและไม่เข้าใจต่อหลักการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการรับรู้ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และคิดว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นระบบที่จะเป็นภาระงบประมาณประเทศ จึงเห็นควรจัดให้เป็นระบบรักษาพยาบาลเฉพาะคนจน และให้คนมีเงินเสียสละออกจากระบบ ซึ่งในข้อเท็จจริงหากนำคนเหล่านี้ออกเมื่อไหร่ จะส่งผลกระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศทันที คุณภาพการรักษาพยาบาลจะลดลง รวมถึงประสิทธิภาพการบริการ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จะถือว่าเป็นการล้มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องมีการอธิบายให้ผู้นำประเทศได้เข้าใจ

นายจอน กล่าวว่า หลักการสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจหลักการ ซ้ำยังมองว่าเป็นระบบสำหรับคนจนเท่านั้น ทั้งนี้อาจมาจากภาพรอคิวการรักษาที่ยาวและใช้เวลารอนาน ต่างจากการรับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน แต่ปัญหานี้กำลังถูกแก้ไขลงโดยการปรับระบบการรอคิว การขยายการให้บริการคลินิกชุมชนซึ่งต้องใช้เวลา อีกทั้งหากต้องการให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีประสิทธิภาพ จะต้องนำคนเข้าสู่ระบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนมีเงิน หรือไม่มีเงิน ซึ่งที่ผ่านมาคนในวัยหนุ่มสาวเองคงยังไม่เห็นความสำคัญของระบบนี้ แต่หากเป็นผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีผู้ป่วยเรื้อรังจะเห็นคุณค่าของระบบนี้อย่างมาก

ทั้งนี้หลักการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือต้องไม่ใช่ระบบสงเคราะห์ แต่เป็นระบบบริการรักษาพยาบาลของรัฐสำหรับคนทุกคนในสังคมที่เข้าถึงการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นหลักการที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกใช้กันอยู่ ทั้งนี้ปัจจุบันงบเหมาจ่ายรายหัวอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท ครอบคลุมทุกโรค และดูแลประชากรกว่า 48 ล้านคน ซึ่งหากทำประกันสุขภาพเอกชนก็ยังไม่ครอบคลุมเท่า ทั้งยังมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพมากหากเปรียบเทียบกับสวัสดิการข้าราชการที่ใช้งบมากกว่าถึง 5 เท่า หรือ 12,000 บาทต่อคน หากจะประหยัดงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลของประเทศ ก็ควรจะที่จะรวมและบริหารเป็นกองทุนเดียว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลของประเทศ

“หากมีการเปลี่ยนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วทำให้กลายเป็นระบบสงเคราะห์ เชื่อว่าภาคประชาชนจะต่อสู้และไม่ยอม ซึ่งหากดูปรากฏการณ์ทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทุกครั้งที่มีการดำเนินนโยบายที่ลดคุณภาพการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพ ประชาชนจะลุกขึ้นคัดค้านทันที เพราะประชาชนต่างเห็นคุณค่าของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ที่ปรึกษาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวและย้ำว่า การทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นระบบรักษาพยาบาลชั้นสอง ถือว่าเป็นการล้มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเมื่อไหร่นำคนมีเงินออกจากระบบ ระบบก็จะล้ม เพราะหลักการถูกต้องคือต้องนำคนมีเงินเข้ามา เพื่อเฉลี่ยการรักษาที่ต้องได้รับสิทธิการรักษาเท่าเทียมกัน

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม อดีต สว.สมุทรสงคราม หนึ่งในกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า อยากทำความเข้าใจประชาชนและผู้มีอำนาจบริหารประเทศ อย่ามองว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นนโยบายประชานิยม หรือของพรรคการเมืองใด แต่ระบบนี้เกิดจากปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชนที่กระตุ้นให้หลายฝ่ายมาร่วมกัน จนทำให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขึ้น

“ผู้บริหารไม่ใช่ฟังเพ็ดทูลจากหน่วยงานัฐ แต่ควรต้องดูผลจากการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ทำให้ทุกคนในประเทศเข้าไปใช้บริการรักษาพยาบาลได้บนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งในระบบยังมีปัญหาอีกมาก ดังนั้นสิ่งที่ผู้นำประเทศต้องทำ คือต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่มองเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วหน้าเป็นภาระ แต่ต้องทำให้เป็นระบบที่เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ที่คนจนคนรวยมีสิทธิเท่ากันหมด และต้องลดความเหลื่อมล้ำการรักษาพยาบาลให้มีมาตรฐานเดียว เพราะยังมีบางกองทุนที่มีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 12,000 บาทต่อคน ขณะที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเฉลี่ยที่ 3,000 บาทเท่านั้น”

นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ทำลายภาพลักษณ์ว่าการักษาแพงถึงจะดี เพราะที่ผ่านมาจากการบริหารระบบที่มีประสิทธิภภาพ ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา แต่ยังทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง อย่างการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งกรมบัญชีกลางแต่เดิมต้องจ่ายค่าเส้นเลือดเทียมให้กับข้าราชการที่ต้องผ่าตัดหัวใจถึง 80,000 บาทต่อเส้น ซึ่งกรมบัญชีกลางไม่เคยต่อรอง แต่พอมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้เกิดการต่อรองราคา โดยปัจจุบันราคาลดลงเหลือเพียง 12,000 บาทต่อเส้น ดังนั้นรัฐบาลต้องฉลาด ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ในการบริหาร เพื่อให้ระบบรักษาพยาบาลเข้าถึงประชาชนทุกคน และรัฐต้องทบทวนว่ารัฐบาลจะเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการรวมกองทุนเพื่อเฉลี่ยงบประมาณรักษาพยาบาลประเทศมีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นธรรมกับคนทุกคนในประเทศหรือไม่

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข โดยผู้ป่วยได้จ่ายภาษีเพื่อเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพก่อนที่จะป่วยแล้ว ดังนั้นเราไม่ได้ใช้บริการรักษาพยาบาลฟรี ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่าโรคเอชไอวีมีค่ายาที่แพงมาก แต่ด้วยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้ที่มีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระบบต่อรองราคายา ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่จำเป็นได้ ทั้งส่วนตัวรู้สึกไม่สบายใจที่มีการบอกว่าเป็นระบบสุขภาพสำหรับคนจน เพราะเป็นการนำไปสู่การตีตราที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

นางสายชล ศรทัตต์ แกนนำเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีการจัดสรรงบเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาราคาแพงอย่างยามะเร็งได้ แม้จะไม่ทุกรายการ แต่ระบบนี้ก็ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้และตายอย่างมีศักดิ์ศรี โดยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านับเป็นแม่แบบให้กับระบบหลักประกันสุขภาพทุกระบบ ทำให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาได้

นายธนพล ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไต กล่าวว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้ผู้ป่วยโรคไตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตอยู่ในสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 50,000 ราย ทั้งผู้ป่วยล้างไตผ่านหน้าท้องและฟอกไตผ่านเครื่อง ซึ่งจากเดิมผู้ป่วยไตต้องเสียค่ารักษาเดือนละกว่า 6,000 บาทต่อสัปดาห์ ซึ่งหากไม่มีระบบนี้ผู้ป่วยจะเข้าไม่ถึงการรักษา หรืออาจต้องล้มละลายจาการรักษาได้

ด้าน น.ส.บุษยา คุณากรสวัสดิ์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า ในฐานะผู้บริหารประเทศควรมองการบริหารให้ครอบคลุม ซึ่งประเทศไทยมี 3 ระบบ โดยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใช้งบประมาณ 160,000 ล้านบาท ดูแลประชากร 48 ล้านคน แต่ระบบรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการใช้งบ 60,000 ล้านบาท ดูแลคนประมาณ 5 ล้านคน จะเห็นว่าแตกต่างกันมาก ขณะที่ระบบประกันสังคมเองก็ใช้งบมากกว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นผู้บริหารประเทศจึงต้องมองอย่างครอบคลุมทุกระบบ ไม่ใช่แค่มองระบบหลักประกันสุขภาพระบบเดียว

 

นอกจากนี้ในเพจ "กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ"ได้เผยแพร่คำอธิบาย 8 เหตุผลของการคงไว้ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้

ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ระบุให้คนรวยเสียสละไม่ใช้สิทธิ 30 บาท รักษาทุกโรค เพื่อทำกุศลให้คนจน และให้สิทธินี้มีไว้เพื่อคนจนเท่านั้น

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเห็นว่า นายกรัฐมนตรียังมีความไม่เข้าใจในหลักการ และหัวใจของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความเป็นธรรมและความสุขในสังคมอย่างแท้จริง จึงขอแถลงทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความจำเป็นของรักษาไว้ ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ใช่แปรเปลี่ยนเป็นสวัสดิการรักษาพยาบาล สำหรับผู้มีรายได้ต่ำ
ด้วยเหตุผลดังนี้

1. ประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยั่งยืน ประชาชนไม่ยอมให้รัฐบาลไหนมาทำลาย
ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน แบบเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่จนได้รับการยกย่องจากทั่วโลก ว่าสามารถรักษาได้ทุกโรค โดยประชาชนร่วมจ่ายผ่านระบบภาษี เป็นระบบเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ทำให้ทุกคนได้รับการรักษา ทุกคนได้ประโยชน์จากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ศ.อมาตยา เซน (Amartya Kumar Sen) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ได้เขียนบทความเรื่อง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: ฝันที่สามารถจ่ายได้ (Universal healthcare: the affordable dream) เผยแพร่ในเว็บไซต์ของ นสพ.เดอะการ์เดียน ซึ่งเป็น นสพ.ชั้นนำของประเทศอังกฤษ ยกย่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยว่า เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศร่ำรวย ก็สามารถทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้สำเร็จ และหลักประกันสุขภาพไทยก็ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถลดความยากจน ลดการล้มละลายจากการเจ็บป่วยลงได้อย่างรวดเร็วหลังจากดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่นาน รวมถึงตัวชี้วัดสุขภาพของประชากรก็ดีขึ้น

2. ปกป้องการล้มละลาย เนื่องจากภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังในครอบครัว
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ดําเนินการประเมินผลระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทยในช่วงทศวรรษแรก (พ.ศ.2545- 2554) พบว่าปี พ.ศ.2553 ครัวเรือนที่ล้มละลายเพราะค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลลดลงจากร้อยละ 6.8 ในปี พ.ศ.2538 เหลือ ร้อยละ 2.8 ในปี พ.ศ.2551 ป้องกันครัวเรือนไม่ให้ยากจนลงได้กว่า 8 หมื่นครัวเรือน นอกจากนี้กลุ่มผู้ให้บริการที่เคยมีระดับความพึงพอใจต่อระบบนี้ค่อนข้างต่ำในระยะแรกร้อยละ 39 ในปี พ.ศ.2547 กลับเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 79 ในปี พ.ศ.2553

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ปกป้องไม่ให้คนไทยต้องล้มละลายมากกว่า 300,000 คน ในจำนวนนี้คือ ผู้ป่วยไตวาย 34,000 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับยาต้านไวรัส 230,000 คน ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจวายได้รับยาละลายลิ่มเลือด 1,631 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องผ่าตัด 1,451 คน ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการดูแล 8,157 คน ได้รับเคมีบำบัด 2,560 คน ผู้ป่วยต้อกระจกได้รับการผ่าตัดแล้ว 26,863 คน คนเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นคนที่พอมีฐานะ แต่หากต้องใช้เงินกับค่ารักษาในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง อาจจะทำให้ล้มละลายได้

3. เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง มีอำนาจต่อรองราคายาและอุปกรณ์การแพทย์ ทำให้รักษาได้ทุกโรค
ระบบหลักประกันสุขภาพเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง มีอำนาจต่อรองราคายาและอุปกรณ์การแพทย์ เป็นพลังการต่อรองที่มหาศาล ทำให้คนเข้าถึงยาจำเป็นได้ โดยประเทศไม่สูญเสียงบประมาณเกินความจำเป็น

จากประสบการณ์การต่อรองราคายาต้านไวรัสเอชไอวี ในปี 2550 ทำให้ต้นทุนด้านการรักษาพยาบาลลดลง จนสามารถนำงบประมาณไปพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยไตวายได้ และมีคณะกรรมการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนชนเข้าถึงยาราคาแพงที่จำเป็นได้ ซึ่งจากการต่อรองราคาในปี 2555 สามารถต่อรองราคายาจำเป็นและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาได้มากกว่า 10 รายการ ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณรวมทั้งสิ้น 8,170 ล้านบาท

นอกจากนี้ กลไกการต่อรองราคายา ยังทำให้เห็นประสิทธิภาพของระบบที่เหนือกว่าระบบอื่น ยกตัวอย่าง Stent สำหรับโรคหัวใจที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซื้อได้ในราคา 12,000 บาท ในขณะที่สิทธิราชการต้องจ่ายในราคา 40,000 บาท

4. บริษัทยาข้ามชาติ บริษัทประกัน และโรงพยาบาลเอกชนเสียประโยชน์
เมื่ออำนาจต่อรองสูง บริษัทยาข้ามชาติที่เคยได้กำไรมหาศาลจากราคายาที่ไม่เป็นธรรม ก็สูญเสียทั้งอำนาจต่อรอง และผลกำไรส่วนเกินที่เป็นเม็ดเงินมหาศาลไปด้วย รวมไปถึงเมื่อประชาชนพึงพอใจกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้รับการรักษาที่มีมาตรฐาน โรงพยาบาลเอกชนที่เคยตั้งราคาค่ารักษาพยาบาลได้ตามใจ ก็มีฐานลูกค้าลดลง

หากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถอยหลังกลับไปเป็นระบบสำหรับคนจน เป็นระบบอนาถาสำหรับคนจนเท่านั้น อำนาจการต่อรองต่างๆ ของประเทศก็จะลดลงไป จนในที่สุดผลประโยชน์ต่างๆ ก็จะเอื้อกับบริษัทยาข้ามชาติ บริษัทประกัน และโรงพยาบาลเอกชนเช่นเดิม

5. สุขภาพเป็นสิทธิของทุกคน ที่รัฐต้องจัดให้ ไม่ใช่บริการที่จะจำหน่ายให้ตามจำนวนเงินในกระเป๋า
แนวคิดเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งอยู่บนหลักการของการรักษาสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ที่รัฐต้องจัดให้ ไม่ใช่บริการที่จะจำหน่ายให้ตามจำนวนเงินในกระเป๋า ดังนั้นมาตรฐานและคุณภาพการรักษาย่อมต้องเท่าเทียมกันทุกคนไม่ว่ารวยหรือจน และมุ่งสู่การรักษาให้สามารถคงคุณภาพชีวิตที่ดี โดยรัฐต้องมีหน้าที่พัฒนาระบบ และหางบประมาณจากการนำเงินภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมเข้ามาบริหารจัดการ เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม บนหลักการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข คนป่วยช่วยคนไม่ป่วย ทุกคนร่วมจ่ายผ่านระบบภาษี

6. ความเหลื่อมล้ำของระบบสุขภาพที่ต่างกัน เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไข
ระบบหลักประกันด้านสุขภาพของไทยมีหลายระบบและยังมีความเหลื่อมล้ำ เช่น เหลื่อมล้ำจากเงินที่รัฐสนับสนุน ข้าราชการได้มากกว่าคนในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และประกันสังคม แต่ละระบบมีความเหลื่อมล้ำจากการรับบริการจากประชาชนที่อยู่ในสวัสดิการสุขภาพที่ต่างกัน รัฐจึงควรลดความเหลื่อมล้ำที่ต้นเหตุ คือบริหารที่ต่างกันของแต่ละระบบ นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันของการรับบริการ และมาตรฐานการรักษา

จากกราฟแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนที่ใช้บริการมากกว่าคือกลุ่มข้าราชการ ในขณะที่งบประมาณที่ใช้ต่อหัวประชาชนก็สูงกว่าถึง 5 เท่า ในแง่ประสิทธิภาพก็พบว่า ยาตัวเดียวกันหลายรายการ สิทธิข้าราชการต้องจ่ายในอัตราที่แพงกว่า

7. ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีส่วนช่วยพัฒนาสิทธิประโยชน์และมาตรฐานการรักษาของสวัสดิการด้านสุขภาพของประเทศ
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ระบบการรักษาแบบอื่น มองเห็นแนวทางการจัดการและพัฒนาในส่วนที่ด้อยกว่า เช่น ระบบข้าราชการและประกันสังคมปรับวิธีการจ่ายเงินมาใช้วิธีระบบจ่ายเงินแบบค่าวินิจฉัยโรครวม (DRG/Rw) การจัดทำระบบบัญชียาหลักของประเทศ ที่ทำให้ทุกระบบการรักษามาใช้บัญชียาหลักเดียวกัน เข้มงวดเรื่องยาไม่จำเป็นต่างๆ รวมไปถึงความต่างของสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคมที่ด้อยกว่าเมื่อเทียบเคียงกับบัตรทอง จนนำมาสู่การพัฒนาสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

8. ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นการบริหารภาครัฐเดียวที่มีการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง ในการพัฒนานโยบาย สิทธิประโยชน์ และบริหารจัดการมาตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด เขต และระดับชาติ
ประชาชนเป็นผู้ร่วมออกแบบกฎหมายมาตั้งแต่ต้น มีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นการไปร่วมกำหนดนโยบาย และบริหารงบประมาณในกลไกกรรมการในแต่ละระดับท้องถิ่น ระดับเขต ควบคุมและกรรมการระดับชาติ รวมทั้งมีการรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาชน ศูนย์ประสานงานหลักประกัน กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาระบบและรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของอย่างเต็มที่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ชัย ราชวัตร’ เปรียบเฟซบุ๊กเป็น ‘โต๊ะสังสรรค์ส่วนตัว’ อัดพวก ‘เสือก’ แสดงความเห็นปมทัวร์แผ่นดินไหว

$
0
0

27 เม.ย.2558 หลังจากวานนี้ ชัย ราชวัตร เป็นนามปากกาของ นักวาดการ์ตูนชาวไทย มีผลงานเป็นที่รู้จักกันคือ ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน โดย เป็นการ์ตูนรายวันตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และนักเขียนรางวัลศรีบูรพาคนที่ 12 ประจำปี 2547 โพสต์เฟซบุ๊กแบบสาธารณะใน ‘Chai Rachwat’ ระบุว่า “รู้งี้ยอมขายบ้านขายรถซื้อทัวร์ให้พวกซาตานรกแผ่นดินบ้านเกิดทั้งแก๊ง ไปเที่ยวเนปาลและปีนเขาเอเวอร์เรสต์ตรงกับวันแผ่นดินไหว คงทำให้ชีวิตเรารู้สึกตื่นเต้นมีลุ้น เหมือนนั่งลุ้นหน้าจอทีวีวันหวยออก แค่ฝันเล่น ๆ ก็เป็นสุขแล้ว”

วันนี้(27 เม.ย.58) ชัย โพสต์ชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ผมเชื่อโดยสุจริตใจว่า การพูดคุยกันในเฟซบุ๊กเปรียบเหมือนการพูดคุยกับเพื่อนๆ ในห้องอาหาร มันเป็นโต๊ะจองส่วนตัวเพื่อสังสรรค์ ส่วนคนอื่นไม่ได้รับเชิญอาจแอบได้ยินบ้าง ถ้าตั้งใจเงี่ยหูฟัง แต่คนมีสมบัติผู้ดีจะไม่สอดเสือกเรื่องคนอื่นที่ไม่ได้รับเชิญให้แสดงความคิดเห็น

เมื่อวานผมรำพึงรำพันให้เพื่อน ๆ ฟังบนโต๊ะอาหารเรื่องความฝันใฝ่ส่วนตัว อยากให้พวกซาตานเนรคุณแผ่นดินบ้านเกิดไปทัวร์ที่เนปาลในวันเกิดแผ่นดินไหว โดยไม่ได้เอ่ยชื่อใครหรือกลุ่มคนใดทั้งนั้น ก็มีเพื่อนสื่อที่แสนดีในมติชนออนไลน์แอบมาเอาไปเปิดประเด็น เขี่ยลูกให้เพจเสื้อแดงไปเห่าหอนต่อๆ กันเกรียวกราวยังกะฤดูติดสัด

ผมก็งง มันรู้ได้ไงที่ผมเอ่ยถึงซาตานเนรคุณแผ่นดินนั่นหมายถึงพวกมัน เป็นซาตานก็เป็นซาตานใจเสาะโคดๆ ยังไม่ทันเอ่ยชื่อเสือกชิงสารภาพก่อนเป็นแถวๆ

ไอ้คนแถวๆ นี้ที่เจอผมก็เห็นมันยกมือไหว้ผมประหลกๆ ลับหลังก็ผสมโรงไปติดสัดกะพวกนั้นทุกที กรูก็เลยรู้ตอนพวกนั้นติดสัดเมิงไปร่วมกลุ่มในฐานะตัวเมีย อย่าให้กรูแฉเมิงไปขอเศษเงินจากนักการเมืองชั่วๆ คนไหนบ้าง

ตรงไหนที่กรูไปย่ำยีคนเนปาลที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก พวกเมิงไปอ่านเพจทุกเพจในกลุ่มพวกกรูว่ากรูรู้สึกยังไงกับโศกนาฎกรรมของชาวเนปาลคราวนี้ และก็ขอบอกให้พวกเมิงรู้ก่อนคนอื่น ตอนนี้กรูกับศิลปินระดับแนวหน้าของประเทศหลายท่าน กำลังเร่งดำเนินการผลิตเสื้อยืดจำหน่ายเป็นการด่วน เพื่อหาทุนช่วยซับน้ำตาชาวเนปาลโดยส่งผ่านสภากาชาดไทย

แผ่นดินบ้านเกิดตัวเองยังไม่รัก อย่าดัดจริตมีคุณธรรมรักและห่วงใยแผ่นดินชาติอื่น”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยกฟ้องมัลลิกาหมิ่นประมาทยิ่งลักษณ์ประชุมโฟร์ซีซั่น-ศาลถือว่าติชมด้วยความเป็นธรรม

$
0
0

กรณีฟ้องหมิ่นประมาทมัลลิกา บุญมีตระกูล แถลงข่าวกรณียิ่งลักษณ์ ชินวัตรประชุมนักธุรกิจโฟร์ซีซั่น ศาลพิเคราะห์แล้วสงสัยว่ามีการประชุมนักธุรกิจจริงหรือไม่ เพราะไม่มีการแจ้งสื่อมวลชน ยอมเป็นที่สงสัยแห่งสาธารณชน มัลลิกาแถลงข่าวติชมด้วยความเป็นธรรม จึงยกฟ้อง

27 เม.ย. 2558 - ที่ศาลอาญา มติชนออนไลน์รายงานว่า ศาลอ่านคำพิพากษาคดีซึ่งอัยการเป็นโจทก์ และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ร่วม ยื่นฟ้อง นางมัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา จากกรณีเมื่อวันที่ 19 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2555 นางมัลลิกา ได้แถลงข่าวหมิ่นประมาท นางสาวยิ่งลักษณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ว่ามีพฤติการณ์ และความประพฤติผิดจริยธรรม กรณีประชุมร่วมนักธุรกิจ ว.5 โรงแรมโฟร์ซีชั่น

ในคำพิพากษา ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ได้นำนักธุรกิจ ที่เข้าร่วมประชุมมาเบิกความเป็นพยาน ยังมีข้อสงสัยว่าเข้าประชุมจริงหรือไม่ และไม่ได้แจ้งกำหนดการประชุมให้สื่อมวลชนทราบ ยังเป็นที่สงสัยแห่งสาธารณชน ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงหรือแถลงข่าว

นางมัลลิกา จำเลย ในฐานะ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ย่อมมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ แถลงข่าวติชมด้วยความเป็นธรรม จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ พิพากษายกฟ้อง

ภายหลังนางมัลลิกา ระบุว่าขอขอบคุณศาลที่ให้ความเป็นธรรม และตนในฐานะรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.เล็งชง คสช.ใช้ ม.44 เรียกคืนคลื่นกรมประชาสัมพันธ์

$
0
0

กสทช. เผย อสมท พร้อมคืนคลื่นที่ถือครองอยู่ 35 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาใช้ประมูล 4G แต่ยังต้องการอีก 35 เมกะเฮิรตซ์จึงเตรียมเสนอ คสช. ใช้มาตรา 44 เรียกคืนคลื่นความถี่จากกรมประชาสัมพันธ์ เพราะกฎหมายเดิม กสทช. ไม่มีอำนาจนำเงินไปจ่ายค่าเยียวยา

27 เม.ย. 2558ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับบริษัท อสมท กรณีเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ ว่า อสมท พร้อมที่จะคืนคลื่น จำนวน 35 เมกะเฮิรตซ์ กลับมาให้ กสทช. ใช้สมทบจัดประมูล 4G โดยมีการจ่ายค่าเยียวยา แต่เนื่องจากการนำคลื่นไปใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคม จะต้องนำคลื่นอีกส่วนที่กรมประชาสัมพันธ์ถือครองอยู่อีก 35 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานด้วยจึงจะเกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น กสทช. ต้องขอความร่วมมือจากรัฐบาลเจรจาขอคืนคลื่นจากกรมประชาสัมพันธ์ หากต้องจ่ายค่าเยียวยา

เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า หากเจรจาขอคืนคลื่นไม่สำเร็จ เนื่องจาก ขั้นตอนดังกล่าวผู้ถือครองคลื่นอาจเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งตามกฎหมายเดิม กสทช. ไม่มีอำนาจนำเงินไปจ่ายค่าเยียวยา ดังนั้น กสทช. จะทำหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ใช้มาตรา 44 เพื่อให้การเรียกคืนคลื่นครั้งนี้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสียงแตก ‘สุภิญญา’ ค้านปิดช่อง Peace TV แจง ‘ยังไม่ถึงขั้นปลุกปั่น’ ชี้มติไม่ผ่านอนุฯ ก่อน

$
0
0

27 เม.ย.2558 หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการฯมีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด (ช่อง Peace TV) เนื่องจากการกระทำที่เป็นความผิดซ้ำซากมีเนื้อหาละเมิดต่อข้อตกลงฯ ในลักษณะเช่นเดิมที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่น ให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างให้เกิดความแตกแยก (อ่านรายละเอียด)

ขณะที่ สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้โพสต์ทวิตเตอร์ @supinya  กล่าวถึงกรณีมติ กสท. สั่งเพิกถอนใบอนุญาตช่อง Peace TV โดยระบุว่า มติ กสท. กรณีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตช่อง Peace TV วันนี้ 4 : 1 ตนเป็นเสียงเดียวที่ลงมติไม่เห็นชอบ พร้อมเปิดเผยความเห็นในรายละเอียดต่อไป

 

 

“ดิฉันเห็นว่า กสทช. ควรให้กระบวนการกฏหมายปรกติของ กสทช.คือมาตรา 37 ในการพิจารณาโทษก่อน ที่จะไปใช้ประกาศ คสช.และ MOU ตั้งแต่แรก

อำนาจ กสทช.มีอยู่แล้วตามมาตรา37คือ เตือน ปรับขั้นต้น ปรับขั้นสูง พักใช้ และเพิกถอนใบอนุญาต แต่ กสท.ข้ามไปใช้ประกาศ คสช.และข้อตกลงแทนแต่แรก

แม้ในทางกฏหมาย กสท.จะมีสิทธิ์อ้างอำนาจประกาศ คสช.และข้อตกลงได้ แต่เนื้อหาของช่องดังกล่าวเป็นการพูดข้อมูลด้านเดียว ยังไม่ถึงขั้นปลุกปั่นยุยง

ดังนั้นเท่าที่ดูเนื้อหาที่ฝ่ายมั่นคงร้องเรียนมา ถ้าจะมีความสุ่มเสี่ยงก็คือการให้ข้อมูลด้านเดียว ถ้ามีความผิดควรใช้การปรับตามมาตรา37ก่อน

หลักการคือถ้ามีบางรายการเข้าข่ายสุ่มเสี่ยง แต่การเพิกถอนใบอนุญาต ให้ยุติทั้งสถานี ในมุมมองของดิฉันถือว่าอาจเป็นการลงโทษที่เกินสัดส่วน

ดิฉันเห็นด้วยในหลักการว่า กสทช.ควรกำกับดูแลช่องทีวีให้เข้มขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาการผลิตซ้ำความเกลียดชังและการปลุกปั่น แต่ต้องไม่เกินกว่าเหตุ

การใช้อำนาจต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสม ไต่ระดับ ไม่ใช่จากที่ไม่ค่อยจะใช้อำนาจ กระโดดไปใช้อำนาจแบบสูงสุด ที่สำคัญต้องไม่เลือกปฏิบัติ

ถ้าเราดูในบริบทภาพรวมที่ กสทช.ก็อนุญาตให้ช่องอื่นๆวิจารณ์การเมือง ให้ข้อมูลด้านเดียวได้ การเพิกถอนบางสถานีอาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติได้

ในส่วนของกระบวนการ ปรกติเวลามีเรื่องร้องเรียนเข้ามา จะส่งให้อนุกรรมการเนื้อหากลั่นกรอง และเชิญผู้รับใบอนุญาตมาชี้แจงก่อน แต่คราวนี้ไม่มี

การลงมติ 4:1เพิกถอนใบอนุญาตช่อง PeaceTV รอบนี้ เข้ามาครั้งแรก ไม่ผ่านอนุฯ ก็ลงมติเลย อ้างเหตุฉุกเฉินในการไม่ให้ผู้รับใบอนุญาตได้ชี้แจงก่อน

บอร์ด กสท.ให้เหตุผลว่าการต้องรีบตัดสินเพิกถอนใบอนุญาตช่อง PeaceTV เพราะจะมีผลกระทบร้ายแรงต่อสาธารณะ  ทั้งที่ สนง.ยังไม่ได้ถอดเทปครบเลย

เท่าที่ดูเนื้อหาเบื้องต้น หลักๆคือการวิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งดิฉันคิดว่าอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ แม้จะใช้ลีลาเหมือนอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา

ข้ออ่อนคือผู้ดำเนินรายการช่องPeaceTVใช้วิธีพูดคนเดียว พูดข้างเดียว เหมือนการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา แต่ถ้าเนื้อหายังไม่ล้ำเส้น ควรเตือนก่อน

หรือถ้าบางประเด็นละเอียดอ่อนเช่นกรณีระเบิดที่สมุยที่วิจารณ์ /ใส่ความรัฐบาลข้างเดียว ถ้าผิดจริงก็ควรใช้การปรับก่อนเหมือนช่องทีนิวส์ก่อนนี้

จากที่ฟัง ช่องPeaceTVไม่ได้ใช้ภาษาหยาบเหมือนอีกช่องของกลุ่มการเมืองเดียวกัน เพียงแต่เนื้อหาอาจเข้าข่ายเป็นการวิจารณ์อำนาจรัฐแบบไม่ไว้วางใจ

วันนี้มีเรื่องร้องเรียนช่องTV24ด้วย ซึ่งมีการเสนอให้ปรับตามมาตรา37 และให้ กสทช.ฟ้องหมิ่นประมาทเขา แต่ดิฉันไม่เห็นด้วยข้อหลัง เลยยังไม่สรุป

ช่อง TV24 จริงๆก็เป็นการวิจารณ์ กสทช. และรัฐบาลในการทำงาน แต่มีประเด็นผู้ดำเนินรายการบางท่าน ใช้ภาษาที่อาจจะหยาบคาย แม้พูดในลำคอ

ดังนั้นกรณีช่องTV24 ดิฉันไม่เห็นด้วยที่จะไปฟ้องหมิ่นประมาทเขา ที่เขามาวิจารณ์ กสทช. แต่ถ้าจะปรับฐานใช้ภาษาหยาบคาย ตามมาตรา37 ดิฉันเห็นด้วย

การใช้ภาษาหยาบคาย เราควรเตือน/ปรับก่อน ถ้าเขายังผิดซ้ำซาก คราวนี้จะเป็นเหตุผลให้ไต่ระดับการลงโทษเป็นการพักใช้/เพิกถอนใบอนุญาตได้ตามขั้นตอน

จากที่ดูเนื้อหาด้วยใจเป็นธรรม ช่องการเมืองเลือกข้างทั้งสอง ยังไม่ถึงขั้นปลุกปั่น แบ่งสี หลักๆคือวิจารณ์ผู้มีอำนาจรัฐ คนร่าง รธน. และ กสทช.

อาจมีบางสิ่งที่ดูขัดรสนิยมหรือมาตรฐานจรรยาบรรณไป ถ้าผิด ก็ควรลงโทษแบบไต่ระดับ เบาไปหนักตั้งแต่แรก ที่สำคัญควรเปิดให้เขาชี้แจงก่อน”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สธ.-สพฉ. ส่งทีมแพทย์ร่วมประเมินสถานการณ์ที่เนปาลในวันนี้

$
0
0

สธ.-สพฉ.  เตรียมจัดแผนประเมินความจำเป็น เปิดรับอาสาสมัครทีมแพทย์และผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ฉุกเฉิน คาดส่งทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้าช่วยเหลืออย่างน้อย 1 เดือน ประกาศรับสมัครด่วน ล่าม  3 ภาษา ไทย -อังกฤษ-ฮินดี

28 เม.ย. 2558 สืบเนื่องจากกรณีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว (วอร์รูม) ขึ้น เพื่อประเมินสถานการณ์และเตรียมพร้อมส่งต่อการช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ไปยังประเทศเนปาล  โดยเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และสำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน  เป็นหน่วยงานหลักในการจัดหาทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย

นายแพทย์ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ในวันนี้ ตน และ นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ รองปลัด สธ.รองปลัดรองปลัดกระทรวงสาธารสุข นพ ไพโรจน์ เครือกาญจนา จากโรงพยาบาลราชวิถี จะเดินทางไปยังประเทศเนปาลเพื่อสำรวจความต้องการทางการแพทย์ฉุกเฉิน และความต้องการขั้นพื้นฐาน จากนั้นจะส่งข้อมูลมาประเมินอีกครั้งเพื่อจัดทีม Disaster Medical Assistance Team หรือ DMAT Thailand เข้าร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่ประเทศเนปาลร้องขอมามากที่สุด

ทั้งนี้ในเบื้องต้นจะเปิดรับอาสาสมัครทีมแพทย์และผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินที่ผ่านการอบรมเรื่องการช่วยเหลือผู้ฉุกเฉินในเหตุการณ์สาธารณภัยก่อน โดยไทยจะเข้าไปสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลเนปาลว่าต้องการความช่วยเหลือหรือขาดเหลือในส่วนใดบ้าง นอกจากนี้หากโรงพยาบาลเนปาลไม่ได้ร้องขอความช่วยเหลือ ก็จะไปจัดตั้งโรงพยาบาลภาคสนาม เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งคาดว่าจะส่งทีมเข้าไปช่วยเหลืออย่างน้อย 1 เดือน โดยจะสลับทีมกันไปเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ได้จัดเตรียม ยา เวชภัณฑ์ และน้ำดื่ม เพื่อไปช่วยเหลือด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่ประเทศเนปาลน่าจะต้องการมากที่สุด

อย่างไรก็ตามทางศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว (วอร์รูม) ได้เปิดรับสมัครล่าม ที่สามารถสื่อสารได้ 3 ภาษา คือ ภาษาฮินดี ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่จะเดินทางไปกับแพทย์ด้วย โดยผู้สนใจสามารถสมัครและสอบถามได้ที่เบอร์ 02-590-1994 และ 02-590-1993  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานเสวนา ทบทวนหลักการสันติภาพในอิสลามกับปรากฎการณ์ความไม่สงบในปาตานี

$
0
0

 

สมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (POSBO) ร่วมกับ โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดเวทีเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ สันติภาพอิสลาม @ ปาตานี [Peace-Islam @ Patani] อาจารย์มัสลันชี้ปัญหาชายแดนใต้ผู้คนที่นี่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตนเองด้วย ด้านอาจารย์เจะเหลาะห์ยืนยันต้องใช้ความรู้ในการวิเคราะห์ปัญหา

การเสวนาครั้งนี้จัดขึ้น ณ หอประชุมอัล-อิมาม อัล-นาวาวีย์ วิทยาลัยอิสลามศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันพุธ ที่ 22 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา วิทยากรโดย อาจารย์มัสลัน มาหะมัด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี และอาจารย์เจ๊ะเหลาะห์ แขกพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.สามารถ ทองเฝือ ผู้อำนวยการสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มัสลัน มาหะมัด : สังคมเจริญงอกงามภายใต้ภาวะสันติภาพ
อาจารย์มัสลัน กล่าวว่า เรื่องอิสลามกับสันติภาพเราพูดกันมานานแล้ว และไม่ใช่แค่ศาสนาอิสลามเท่านั้นที่เน้นย้ำในเรื่องของสันติภาพ แต่ศาสนาอื่นๆ ก็เน้นย้ำในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน แต่ประเด็นที่น่าสนใจก็คืออิสลามเริ่มก่อตัวหรือเริ่มสร้างขึ้นที่เมืองมักกะฮฺ(ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดิอาระเบีย)ซึ่งคุกรุ่นไปด้วยสงครามและสภาพสังคมที่เลวร้าย

“แต่ 13 ปีที่นบีเผยแพร่ศาสนาอิสลามในมักกะฮฺไม่เคยทำสงครามเลยสักหนเดียว แม้ฝ่ายที่มีอำนาจในมักกะฮฺจะรังแกและทำร้ายมุสลิมต่างๆ นาๆ ก็ตาม แต่มุสลิมก็อยู่กันอย่างอดทนอดกลั้น จนสาวกของนบีมาขออนุญาตเพื่อที่จะตอบโต้แต่ปรากฎว่านบีก็ไม่อนุญาตให้ตอบโต้ใดๆ ทั้งที่นบีมีสาวกที่เป็นตัวแทนชั้นสูงของชนเผ่าต่างๆ มากกว่า 20 ชนเผ่าแล้วในขณะนั้น และสามารถทำสงครามกองโจรหรือสงครามกลางเมืองได้อย่างสบาย แต่นบีก็เลือกที่จะอพยพไปยังเมืองมาดีนะห์ที่ต้องใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ในการเดินทาง”

เมื่อไปถึงมาดีนะห์และคนที่นั่นรับอิสลามป็นจำนวนมาก จนสามารถสร้างรัฐอิสลามขึ้นมา ชาวมักกะฮฺยังตามมาบุกถึงหน้าบ้านจึงเกิดสงครามขึ้นในช่วงปีแรกของการอพยพไปจนถึงปีที่แปด สงครามที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันบ้าน ป้องกันศาสนา ป้องกันผู้คน มีสงครามที่นบีเป็นแม่ทัพประมาณ 27 ครั้ง และสงครามเล็กๆ อีกประมาณกว่า 100 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 8 ปี ปรากฎว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่ายไม่เกิน 2,000 คน

“แม้จะมีคำกล่าวที่ว่าสงครามในอดีตไม่มีอาวุธร้ายแรงจึงทำให้มีคนตายในจำนวนที่น้อยมาก แต่เมื่อลองไปศึกษาสงครามต่างๆ ในอดีต ไม่ว่าจเป็นสงครามสามก๊ก สงครามเมืองทรอย หรือสงครามอื่นๆ จะเห็นได้เลยว่ามนุษย์สามารถที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยอาวุธนิวเคลียร์ใดๆ” อาจารย์มัสลัน กล่าว

อาจารย์มัสลัน กล่าวต่อไปว่า หลักคำสอนของอิสลามทำให้เชื่อได้ว่าการทำสงครามหรือการบังคับขู่เข็ญไม่สามารถเปิดใจของผู้คนได้ หรือหมายถึงครองแผ่นดินได้แต่ครองหัวใจไม่ได้ ที่สำคัญมนุษย์สามารถใช้ศักยภาพของตัวเองในการพัฒนาสังคมได้อย่างเต็มที่ในภาวะที่สงบสุข และจะพัฒนาได้ไม่เต็มที่ในภาวะสงคราม เพราะในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นแล้วว่าสังคมเจริญงอกงามภายใต้ภาวะสันติภาพทั้งสิ้น

“เมื่อถามว่าทำไมอิสลามถูกมองว่าเต็มไปด้วยสงครามในปัจจุบัน เราคงต้องย้อนกลับไปดูที่ต้นเหตุของสงครามว่าใครเป็นผู้จุดชนวนของสงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 หรือสงครามอื่นๆ ล้วนไม่ได้เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของมุสลิม หรือแม้กระทั่งสงครามในประเทศของมุสลิมเองก็ไม่ใช่มุสลิมเป็นผู้เริ่มก่อสงคราม ที่สำคัญบริษัทผลิตอาวุธสงครามไม่ได้อยู่ในประเทศของมุสลิม”

อิสลามกับสันติภาพในปาตานี
อาจารย์มัสลัน กล่าวว่า ตนเน้นย้ำมาโดยตลอดว่าให้ใคร่ครวญถึงปฐมโองการหรือโองการแรกของอัลกุรอานที่พระผู้เป็นเจ้าประทานลงมานั่นคือ “จงอ่าน” คำถามก็คือในสถานการณ์อันเลวร้าย ณ ขณะนั้น ทำไมถึงประทานโองการที่ว่าด้วยคำสั่งให้อ่านแก่ท่านนบีแทนที่จะเป็นจงปราบปรามคนชั่วหรืออะไรก็ตามแต่ ในขณะที่การอ่านในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ อ่านสิ่งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และอ่านสิ่งที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคืออ่านตัวเองและอ่านสังคมรอบข้าง การอ่านของนบีหากเปรียบกับปัจจุบันคือการวิเคราะห์ SWOT นั่นเอง กล่าวคือ นบีอ่านถึงจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส รวมไปถึงอุปสรรคต่างๆ ด้วย

ผู้คนในจังหวัดชายแดนใต้จำเป็นที่ต้องอ่าน และตั้งคำถามในสิ่งที่ทำอยู่ว่าในทางตรรกะเรามีทางที่จะชนะหรือไม่? สิ่งสำคัญคือต้องอ่านและวิพากษ์ตัวเองให้ถ่องแท้ และเมื่อเรารู้ว่าทางข้างหน้าจะต้องเจอกำแพงเรายังจะดันทุรันไปต่ออีกหรือ? หรือจะลองเลี้ยวไปหาทางอื่นเพื่อที่จะได้มีโอกาสได้เจอกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ และการญิฮาดก็ไม่ได้มีอยู่ประตูเดียว ในขณะที่การคิดว่าการญิฮาดคือการทำสงครามอย่างเดียวคือกับดักทางความคิดหรือไม่? เพราะเมื่อดูสถาพสังคมในปัจจุบันที่กว่า 80% ของเยาวชนติดยาเสพติด นี้คือความพ่ายแพ้ของมุสลิมอย่างสิ้นเชิง

“สิ่งที่จะฝากแก่ผู้ฟังโดยเฉพาะนักศึกษาก็คือ จะต้องหมั่นศึกษาความรู้ในด้านกฎหมายอิสลามหรือฟิกฮฺที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1.ฟิกฮฺว่าด้วยการลำดับความสำคัญ 2. ฟิกฮฺว่าด้วยความเป็นจริง และ 3. ฟิกฮฺว่าด้วยความสามารถ เพราะแน้แท้ทางที่จะนำไปสู่สวรรค์ไม่ได้มีอยู่ทางเดียว และอิสลามไม่ได้บังคับในเรื่องที่เราไม่มีความสามารถแม้ว่าจะวาญิบก็ตาม” อาจารย์มัสลัน กล่าว

เจ๊ะเหลาะห์ แขกพงศ์ : อิสลามสอนในเรื่องสันติภาพมากกว่าสงคราม
อาจารย์เจ๊ะเหลาะห์ กล่าวว่า สันติภาพเป็นความปรารถนาของทุกประชาชาติ ยิ่งอยู่ในภาวะความไม่สงบเรายิ่งเห็นความสำคัญของสันติภาพ นบีมุฮัมมัดถูกส่งลงมาเพื่อความเมตตาแก่มวลมนุษยชาติ ัสิ่งที่นบีปฏิบัติทั้งในเมืองมักกะฮฺและมาดีนะห์ นบีไม่ได้คิดเองแต่เป็นแผนการของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น ในอิสลามสันติภาพถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระบบตั้งแต่ชื่อต่างๆ ไปจนถึงหลักคำสอน มุสลิมคือคนที่เมื่อมีคนมาอยู่รอบข้างเขาทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมจะปลอดภัย เมื่อนั่นสังคมจึงจะเกิดความสงบสุข

ในคำภีร์อัลกุรอานมีคำว่าสันติภาพอยู่ 24 ครั้ง และมีคำว่าสงครามอยู่ 6 ครั้ง และ 6 ครั้งดังกล่าวถูกประทานลงมาในช่วงหลังจากที่นบีอพยพไปยังเมืองมาดีนะห์แล้ว ในขณะที่สันติภาพถูกประทานลงมาในช่วงที่อยู่มาดีนะห์เพียง 5 ครั้ง นั่นหมายถึง 19 ครั้งถูกประทานลงมาในช่วงที่อยู่มักกะฮฺ ชี้ให้เห็นว่าในช่วงที่มุสลิมถูกรังแกอย่างหนักพระผู้เป็นเจ้าสอนในเรื่องของการสร้างสันติภาพมากกว่า

“เมื่อไปดูถึงวิธีการต่างๆ เราจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เช่น การให้สิทธิต่างๆ พระผู้เป็นเจ้าให้สิทธิแก่มนุษย์ในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อในพระเจ้าก็ได้ ดังนั้นหน้าที่ของนบีคือการส่งสารที่พระเจ้าประทานลงมาไปยังมวลมนุษยชาติซึ่งมนุษย์จะเชื่อหรือไม่นั้น ไม่ใช่หน้าที่ของนบีที่จะไปต้องไปบังคับให้เชื่อ ที่สำคัญโองการต่างๆ ในอัลกุรอานท้าทายให้คิดมากกว่าบังคับให้เชื่อ” 

เพราะไม่ยึดหลักการจึงทำให้เกิดสงครามในโลกมุสลิมใช่หรือไม่?
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า เหตุการณ์ต่างๆ ในโลกปัจจุบันนี้เกิดจากมุสลิมไม่ยึดถือหลักการอิสลามใช่หรือไม่? อาจารย์เจ๊ะเหลาะห์ กล่าวว่า ตัวอย่างประวัติศาสตร์ก่อนยุคอิสลาม มี 2 ชนเผ่าที่มักจะรบกันไม่หยุดแม้แต่ปัญหาเล็กๆ อย่างเรื่องแมวตัวเดียวก็ทำให้รบกันได้ แต่เมื่อทั้งสองชนเผ่าเข้ารับและยึดมั่นในหลักการอิสลามก็ทำให้เกิดสันติภาพขึ้นระหว่าง 2 ชนเผ่าดังกล่าว

“แต่เราไม่สามารถด่วนตัดสินได้ว่าผู้ที่ก่อสงครามในปัจจุบันไม่ได้ยึดหลักการอิสลาม เพราะเมื่อเกิดสงครามสิ่งที่เราจะต้องดูหรือพิจารณาก่อนก็คือต้นเหตุของสงครามมาจากไหน? หรือเงื่อนไขต่างๆ มาจากไหน? เพราะบางครั้งบางกลุ่มกำลังทำสงครามเพื่อพิทักษ์สัจธรรมหรือเพื่อสร้างสันติภาพ โดยการทำสงครามปราบปรามความอธรรมสักระยะหนึ่งเพื่อให้เกิดสันติภาพตามมาในภายหลัง” อาจารย์เจ๊ะเหลาะห์ กล่าว

อาจารย์เจ๊ะเหลาะห์ กล่าวต่อไปว่า การจะวิเคราะห์ถึงความไม่สงบในสังคมมุสลิมนั้นจะต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ และเมื่อถามว่าทำไมหลักการอิสลามสงบแต่สังคมมุสลิมไม่สงบ เราต้องแยกให้ออกระหว่างหลักการกับปรากฏการณ์ เช่น หลักการว่าด้วยความสะอาดในอิสลาม อิสลามสอนว่า “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา” แต่เมื่อไปดูห้องน้ำตามบ้านเรือนของมุสลิมหรือแม้แต่ที่มัสยิดเองกลับสกปรก ในสังคมภาพรวมก็เช่นกัน

ความยุติธรรมกับสันติภาพในปาตานี
อาจารย์เจ๊ะเหลาะห์ กล่าวว่า สิทธิในการใช้กฎหมายชารีอะห์ของคนปาตานีจะต่างจากในอดีตมาก กล่าวคือในอดีตสามารถใช้กฎหมายชารีอะห์ได้กว่า 90 % คำถามก็คือปัจจุบันสามารถใช้ได้กี่เปอร์เซ็นต์ การให้ความยุติธรรมต่างๆ ให้ได้หรือไม่? ในหลักการอิสลามสอนว่าต้องอดทน ต้องให้อภัยและต้องให้ความยุติธรรมด้วย ในสมัยนบีเคยมีกรณีที่มีการวิ่งเต้นเพื่อที่จะให้ไม่มีการตัดมือผู้ที่ขโมยเพราะไม่อยากทำให้ครอบครับเสียหน้า จนมีสหายของท่านนบีไปถามว่าจะยกเว้นโทษผู้กระทำผิดคนดังกล่าวได้หรือไม่? นบีจึงออกไปประกาศว่าต่อให้ลูกสาวของท่านเป็นผู้ขโมย ท่านก็จะตัดมือของลูกสาวท่านเอง
“กฎหมายในปัจจุบันระบุว่าจะให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนเหมือนกันทั่วประเทศ แต่พอเอาไปใช้จริงก็ยังเป็นที่กังขาของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนใต้ ชี้ให้เห็นว่าบทบัญญัติที่สวยหรูแต่เอาไปใช้ได้ไม่หมด ดังนั้นหากประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้หรือปาตานีสามารถใช้กฎหมายชารีอะห์เหมือนอย่างในอดีตอาจนำมาซึ่งสันติภาพที่ขาดหายไปก็เป็นได้”

อาจารย์เจ๊ะเหลาะห์ กล่าวต่อว่า ในหลักการอิสลามมีบทบัญญัติว่าด้วยมุสลิมสามารถอยู่ร่วมกับทุกศาสนาได้ปราบใดที่เขาไม่ถูกละเมิดหรือไม่โดนขับไล่ออกจากบ้านของเขาเอง  กล่าวคือมุสลิมสามารถอยู่ร่วมกับใครก็ได้อย่างสันติภาพเมื่อผู้อื่นอยู่กับเขาอย่างสันติภาพ เพราะการที่ไม่มีสันติภาพในบางพื้นที่ เกิดจากพื้นที่นั้นๆ ไม่ให้สิทธิเสรีภาพในทางศาสนาอย่างครบถ้วน จึงอาจเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นมาได้

ดังนั้นมุสลิมจำเป็นที่จะต้องอ่านสังคมให้ดีๆ เพราะเราอาจกำลังอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งไปสู่สันติภาพก็เป็นได้ เช่น สมมติในระหว่างที่กำลังเจรจาเรื่องของการขอสวมฮิญาบที่ยังสวมไม่ได้ เราอาจต้องอดทนเพื่อที่ว่าอีก 2 วันข้างหน้าหลังจากการเจรจาจบลง ทั้งเราและคนอื่นๆ จะสามารถสวมฮิญาบตามบทบัญญัติของศาสนาได้ เป็นต้น การอ่านสังคมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและนำบทบัญญัติมาใช้อย่างฉลาดและใช้อย่างเข้าใจ และมีกำลังความสามารถพอที่จะปฏิบัติได้ สันติภาพก็อาจจะเกิดขึ้น

“หากไม่ยอมกันทั้งสองฝ่ายก็เป็นเหตุเป็นผลพอที่จะเกิดการปะทะกัน บางทีความรุนแรงที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นเพราะการที่เราไม่อ่านสังคมให้ดีๆ ในขณะเดียวกันก็เกิดจากฝ่ายอื่นๆ ด้วย หรืออาจจะเกิดจากการไม่มีโอกาสได้ใช้บทบัญญัติได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่มุสลิมทั้งหมดทั้งข้างบนในระดับสูงไปจนถึงข้างล่างสุดมีโอกาสได้ใช้บทบัญญัติแห่งอิสลามได้อย่างครบถ้วนสมบูณร์โดยใช้อย่างจริงจังและใช้อย่างเท่าเทียมกัน เมื่อนั้นสันติสุขและสันติภาพจะเกิดขึ้นมาในสังคมปาตานีได้อย่างไม่ต้องสงสัย” อาจารย์เจ๊ะเหลาะห์ กล่าว
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ASEAN Walk: ส่งเสียงของประชาชนจากที่ประชุมภาคประชาสังคมอาเซียนที่มาเลเซีย

$
0
0

24 เม.ย. 2558 - ในการจัดงานวันสุดท้าย ของการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 24 เม.ย. นั้น ในพิธีปิดการประชุม ภาคประชาสังคมในอาเซียน 11 ประเทศ ซึ่งรวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมจากติมอร์ตะวันออกด้วยได้ร่วมกิจกรรม "ASEAN Walk" หรือ "เดินอาเซียน" เพื่อส่งเสียงข้อเรียกร้องของพวกเขา

 

 

คลิปจากกิจกรรม "ASEAN Walk" หรือเดินอาเซียน ในการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC/APF 2015) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (สามารถคลิกมุมล่างเพื่ออ่านคำบรรยายภาษาไทย)

ขบวน "ASEAN Walk" ปิดการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC/APF) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2558 (รับชมภาพเพิ่มเติมที่นี่)

ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมการเดินร่วมกันเรียกร้องให้ติดตามคนที่หายสาบสูญอย่าง สมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสชาวลาว สมชาย นีละไพจิตร ทนายด้านสิทธิมนุษยชนจากประเทศไทย และยังมีข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักสิทธิแรงงานชาวไทย ที่ถูกตัดสินจำคุกคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

"เราต้องการเสรีภาพในการแสดงออก กัมพูชาไม่ต้องการเขื่อน ไม่เอาเขื่อนผลิตไฟฟ้า ไม่เอาเขื่อนดอนสะโฮง เขื่อนเซซาน 2" ผู้เข้าร่วมชาวกัมพูชารายหนึ่งกล่าว

"คุณสมบัด (สมพอน) เป็นคนชาติลาว ที่ถูกรัฐบาลควบคุมตัวและทำให้หาย เราเรียกร้อง เช่นเดียวกับที่เรียกร้องถึง คุณบิลลี่ (พอละจี รักจงเจริญ) ของพี่น้องกะเหรี่ยง แก่งกระจาน พวกเขาคือคนที่ปกป้องชุมชน ปกป้องประชาชนในดินแดนของเขา โลกจะไม่ลืมคุณสมบัด โลกจะไม่ลืมคุณบิลลี่ และโลกจะไม่ลืมทนายสมชายด้วย" วุฒิ บุญเลิศ ชาวกะเหรี่ยงจาก อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี กล่าวระหว่างร่วมกิจกรรมเดินอาเซียน โดยระหว่างเดินเขาได้ชูป้ายพิมม์รูปของสมบัด สมพอน นักพัฒนาชาวลาวที่หายตัวไป

ขณะที่บุนทอน จันทะลาวง ชาวลาวที่ร่วมกิจกรรมเดินอาเซียนร่วมกับชาวลาวพลัดถิ่นคนอื่นๆ ซึ่งชูธงชาติลาวสมัยรัฐบาลราชอาณาจักร ได้ตะโกนเรียกร้องให้ลาวมีประชาธิปไตย มีการปกครองหลายพรรคการเมือง มีการเลือกตั้งเสรี มีรัฐบาลที่สุจริต และไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อน เพราะจะทำลายธรรมชาติ ทำลายชีวิตประชาชน

ในขณะที่ร่วมกับเพื่อนเยาวชนจากพม่า ตะโกนคำขวัญ "ปล่อยนักศึกษาพม่า!" โดย โฟน เปีย คเว นักศึกษาพม่าที่ร่วมการประชุมภาคประสังคมอาเซียนกล่าวว่า พวกเขาต้องการให้ปล่อยตัวเพื่อนักศึกษาพม่าที่ถูกตำรวจควบคุมตัว ทั้งนี้หลังมีการสลายการชุมนุมนักศึกษาที่เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าแก้ไขกฎหมายการศึกษาฉบับใหม่ เนื่องจากมีผลลิดรอนสิทธิการรวมกลุ่มของนักศึกษา และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษาในพม่า

ทั้งนี้ขบวนของ ASEAN SOGIE Caucus หรือ คณะประชุมด้านส่งเสริมสิทธิความหลากหลายทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออกทางเพศ ได้ตะโกนคำขวัญแบบขานรับไปตลอดทางว่า "เราต้องการสิ่งใด" "SOGIE!" (สิทธิความหลากหลายทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ) "เราต้องการเมื่อไหร่?" "ทันที!"

 
ในขณะที่พรรคสังคมนิยมมาเลเซีย (PSM) ยังทำกิจกรรมแสดงความสมานฉันท์กับประชาชนไทย ด้วยการถือป้ายขนาดใหญ่เขียนข้อความว่า "ไม่ต้อนรับเผด็จการ ประชาธิปไตยเดี๋ยวนี้" ด้วย
 
นอกจากนี้นักศึกษาปาตานี ได้ร่วมในขบวนเดินอาเซียนด้วย โดยร่วมกันตะโกนคำขวัญ "Free Patani" และป้ายผ้าสนับสนุนให้ประชาชนในปาตานี มีสิทธิในการกำหนดใจตนเองหรือ "Self-determination"
 
ทั้งนี้ขบวนเดินออกจากที่จัดการประชุมมายังลานกว้างบนถนนอัมปัง ย่านธุรกิจใจกลางกัวลาลัมเปอ์ เพื่อร่วมพิธีกล่าวปิดการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน ได้เชิญผู้แทนเยาวชนจากสภาเยาวชนติมอร์ตะวันออก มาเรีย ฟิโลเมนา ซัวเรส อลอรันเตส และ เอเคพี ม็อคตัน รองเลขาธิการสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เป็นหนึ่งในผู้กล่าวปิดงาน
 
โดยมาเรีย ฟิโลเมนา ซัวเลส อลอรันเตส กล่าวว่า "ดิฉันมาที่นี่ เพื่อบอกว่า ทำไมการเข้าร่วมประชาคม ASEAN จึงสำคัญสำหรับติมอร์ตะวันออก"
 
"ประการแรก เป็นพันธะสัญญาของผู้ก่อตั้งประเทศติมอร์ (ซานานา กุสเมา) นับตั้งแต่ต่อสู้เพื่อเอกราช และประการที่สอง โดยภูมิศาสตร์ติมอร์ตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย และประการที่สาม เพื่อเสริมความสมานฉันท์ของเราให้แข็งแกร่ง การมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนต่อประชาชน"
 
"เพราะเรารู้ว่า พวกเรามีความเป็นพี่น้องกัน "และเราเชื่อว่า ถ้าพวกเรารวมกันจะแก้ไขปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
 
"ติมอร์ตะวันออก จงเจริญ! "ประชาคมของประชาชนอาเซียน จงเจริญ!" เธอกล่าว พร้อมกล่าวคำขวัญในภาษาโปรตุเกสว่า "A luta continua (การต่อสู้จะดำเนินต่อไป)"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มองสังคมมุสลิมไทยผ่าน Postmodern

$
0
0

 

หลังจากที่ได้อ่านหนังสือเรื่อง Postmodern ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ ของ รองศาสตราจารย์.ดร.ไชยันต์ ไชยพร นักปรัชญาการเมืองจากค่ายจุฬาฯ ความคิดวูบแรกที่เข้ามาคือภาพจินตนาการสังคมมุสลิมที่กำลังแสดงละครบทหนึ่ง ที่ครั้งหนึ่งสังคมยุโรปได้แสดงไปแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18  ภาพดังกล่าวทำให้เห็นลักษณะบางอย่างที่สามารถสะท้อนมาถึงสังคมมุสลิมไทยและกรอบความคิดของมุสลิมได้ในหลายประเด็น บทความนี้เป็นการพิจารงานของไชยันต์โดยมองผ่านสังคมมุสลิมไทยและพยายามทำความเข้าใจ postmodern ของเขา โดยตั้งคำถามว่า สังคมมุสลิมไทยหรือกรอบความคิดของมุสลิมจะได้อะไรจากความเข้าใจโลกแบบ postmodern ในหนังสือเล่มนี้

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นเป็นพื้นก่อนว่า สังคมมุสลิมไทยในปัจจุบันยังประสบปัญหาภายในที่เรื้อรังมานานนมหลายประเด็น เช่น ประเด็นเรื่องคณะเก่า vs คณะใหม่ [1] ประเด็นระหว่างผู้ที่นิยมกลุ่มภราดรภาพมุสลิม  vs ผู้ที่ต่อต้าน ประเด็นด้านอัตลักษณ์ความเป็นคนมุสลิมในประเทศไทย และการร่วมเทศกาลต่างๆ ในสังคมไทย เป็นต้น หากจำแนกแล้วก็มีทั้งประเด็นปัญหาศาสนา การเมืองและสังคม และที่สำคัญ ปัญหาคลาสสิคเรื่อง ‘จะเก่าหรือจะใหม่’ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือจืดจางไปจากสังคมมุสลิมไทยในเร็วๆ นี้  คำถามในบทความนี้คือ แล้ว postmodern ของไชยันต์มันเกี่ยวข้องกันตรงไหน?

ประการแรก หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่า คนเราในยุคโลกาภิวัฒน์ต้องการอะไรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะในวงการไหน หรืออาชีพใด คำถามว่า ‘มีอะไรใหม่ๆ ไหม’ สะท้อนถึงความต้องการของคนทั่วไปในยุคสมัยใหม่เสมอ เช่นว่า มีคำอธิบายเรื่องนี้แบบใหม่ๆ ไหม? มีวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ไหม? มีกลยุทธ์การขายแบบใหม่ๆ ไหม? มีการผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆ ไหม? มีวิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ ไหม? มีระบบใหม่ๆ ไหม? หรือแม้กระทั่ง เราต้องการการปฎิรูปไหม ก็เป็นคำถามที่ต้องการบอกถึงความปรารถนา ‘ของใหม่’ ของคนในยุคนี้

ประการที่สอง ไชยันต์จำแนกผู้รู้ (โซฟิสต์) ออกเป็นสามจำพวก คือ 1.ผู้รู้ระดับ VIP ที่ให้คำปรึกษากับผู้บริหารประเทศ  2. ผู้รู้ทั่วไปที่สอนหนังสือตามสถานศึกษาต่างๆ และ 3. ผู้รู้วณิพกที่ชอบไปเคาะประตูชาวบ้านเพื่อขาย (เชิญชวนไปสู่) ความรู้และความเชื่อตามแบบของตน    

ประการที่สาม ไชยันต์ได้จำแนกการค้นคว้าหาความรู้ออกเป็นสองประเภทหลักคือ หนึ่ง การค้นคว้าหาของ (ความรู้) เก่า เพราะเชื่อว่าของเก่ามีคุณค่า สมบูรณ์และมีความศักดิ์สิทธิ์กว่าของใหม่ และสองการมุ่งหา (คิดค้น) ความรู้ใหม่อยู่เรื่อยๆ เพราะคิดว่าความรู้เก่าๆ ใช้การไม่ได้แล้วในยุคใหม่ เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ การแพทย์ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบการเงินการธนาคารและอื่นๆ    ความเข้าใจจากทั้งสามประการข้างต้นจะนำไปสู่การครอบครององค์ประกอบประการที่สี่ คือ ทัศนคติ หรือโลกทัศน์ 2 แบบที่ว่า 1. นักวิชาการในอดีตมีความรู้มากกว่าคนปัจจุบัน หรือ 2. นักวิชาการในปัจจุบันมีความรู้มากกว่าผู้รู้ในอดีต

เมื่อมองไปที่สังคมมุสลิมไทย เราอาจจะนึกไม่ถึงว่าสิ่งที่ไชยันต์พยายามสื่อนั้นมีปรากฎให้เห็นในสังคมมุสลิมไทยถึงวิวัฒนาการของสังคมก่อนการเป็นสังคมสมัยใหม่ กล่าวคือ ระยะการเข้าสู่สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในอดีตกาลของสังคมยุโรปเพิ่งจะเวียนว่ายมาถึงสังคมมุสลิมในยุคนี้เอง ในบทความนี้จะขอกล่าวแค่สี่ประการเบื้องต้น โดยขอวิเคราะห์เป็นลำดับดังนี้

1. เราอาจเริ่มต้นด้วยการตั้งสมมุติฐานว่า สังคมมุสลิมไทยเรายังติดชะงักอยู่กับอะไรบางอย่างจนทำให้ไม่สามารถก้าวเข้าไปหา ‘ของใหม่’ หรือสู่ความเป็น modern ได้ ดังนั้นหนึ่งในปัญหาสำคัญคือ รอยร้าวระหว่างคณะเก่า vs คณะใหม่ โดยคณะเก่าต้องการยึดติดกับคำสอนและแบบปฎิบัติที่ส่งทอดมาจากบรรพบุรุษและเหล่ากูรู (อีหม่าม) ต่างๆ ในขณะที่ คณะใหม่ หรือกลุ่มวะฮฺบี/สุนนะ/ซะลัฟ ก็พยายามตัดสายใยที่ทอดความคิด ความเชื่อจากสำนักความคิดเก่าๆ (มัซฮับ) โดยเสนอให้เข้าตรงไปที่ ‘ตัวบท หลักฐาน’ เลย ยกเลิกประเพณีแบบปฎิบัติของบรรพบุรุษที่ไม่มีหรือขัดแย้งกับตัวบท (โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับหลักความเชื่อและพิธีกรรม/การปฎิบัติศาสนกิจ) กลุ่มแรกมองว่าแนวทางของกลุ่มที่สองเป็นแนวทาง ‘ใหม่’  และเป็นภัยคุกคามต่อแบบปฏิบัติและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคนในชุมชนที่เขาอยู่กันมานาน หากพูดอีกในนัยหนึ่งมันเป็นภัยคุกคามต่อความมั่่นคงทางจิตวิญญานและความเชื่อเดิม ในขณะที่กลุ่มที่สอง (ถูกเรียกว่าคณะใหม่) มองว่า กลุ่มแรกได้นำของ ‘ใหม่’ เข้ามาแปลกปลอมในหลักปฏิบัติที่เกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อของศาสนาอิสลาม จึงเรียกของใหม่นั้นว่า “อุตริกรรม” หรือ บิดอะฮฺในภาษาอาหรับ ปัญหาเรื่องของความใหม่ การนิยมของใหม่จึงเป็นพื้นฐานของปัญหาทั้งมวลที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมมุสลิมไทยและทั่วโลก ตามความเข้าใจแบบ postmodern ของไชยันต์

2. เราจะเห็นว่าในสังคมมุสลิมก็มีผู้รู้หรือนักวิชาการที่โลดแล่นอยู่บนเวทีระดับนานาชาติและระดับประเทศอยู่ไม่น้อย ซึ่งสามารถจัดประเภทได้ตามบทบาทที่นักวิชาการแต่ละท่านเลือกที่จะกำหนดพื้นที่ให้กับตัวเอง นักวิชาการระดับ VIP ในทัศนะของ postmodern ของไชยันต์คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในระดับชาติและมีปฎิสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจในสังคม ท่านที่อยู่ในกลุ่มแรกนี้มักเป็นที่รู้จักมักคุ้นกับชนชั้นนำในสังคมไทย เช่น ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอนันต์ รศ.ดร. อิศรา ศานติศาสน์ ผศ.ดร.อิสมาแอลลุตฟี จะปะกิยา รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ปกรณ์ ปรียากร และ ศ.ดร จรัล มะลูลีม เป็นต้น ส่วนนักวิชาการหรืออาจารย์ทั่วไปที่สอนตามสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่มีบทบาทไม่เท่ากับกลุ่มแรก รวมถึงอาจารย์ที่เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมมุสลิม คือกลุ่มคนที่เป็นเซล์แมนขายความรู้ตามสถานที่ต่างๆ อย่างเป็นหลักเป็นแหล่งเพื่อให้ได้มาซึ่งด้วยเงินทอง สิ่งของ เกียรติยศ ฐานะทางสังคมหรือความพึงพอใจของพระเจ้าตามทัศนะ postmodern ของไชยันต์  อาจารย์กลุ่มนี้มีจำนวนมากกว่ากลุ่มแรก ยกตัวอย่างเช่น เชคริฎอ สะมะดี อ.ฟารีด เฟ็นดี อุสตาสอิสมาแอล สะปันยัง อ.ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม อ.มุรีด ทิมะเสนเป็นต้น ส่วนกลุ่มที่สามคือ ผู้รู้วณิพกที่เร่ร่อนขายความรู้ ความเชื่อตามบ้านต่างๆ ไชยันต์ (2550; 32) เปรียบเทียบกลุ่มนี้ว่าเหมือนกับเซลส์แมนขายของตามบ้านที่ชอบเคาะประตูหรือกดกระดิ่งเพื่อจะขายของ (ความรู้ ความเชื่อ) ซึ่งทำให้เราเห็นภาพกลุ่มญามาอะฮฺตับลีฆในสังคมมุสลิมที่ใกล้เคียงกับคำนิยามในหนังสือ postmodern ของเขามากที่สุด

3. ในสังคมมุสลิม กลุ่มที่เรียนศาสนาอย่างเดียวก็จะสาละวนอยู่กับการ “ท่องจำ” คัมภีร์อัลกุรอานและฮาดีษ (วจนะของท่านศาสดา) ด้วยกับความเชื่อที่ว่า ความรู้ที่มาจากผู้รู้ยุคแรก (ซะลัฟ) มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง สมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์มากกว่า โดยไชยันต์ (2550; 37) มองว่ากลุ่มนี้คิดว่า

“ความรู้ที่แท้จริงอันประเสริฐสุดและสมบูรณ์แบบนั้นได้ถูกค้นพบแล้วโดยผู้รู้ในสมัยโบราณและไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาอะไรใหม่ๆ อีกต่อไป สิ่งที่สำคัญคือทำอย่างไรที่จะฟื้นฟูภูมิปัญญานั้นให้ได้เท่ากับผู้รู้ในอดีต”

ในขณะที่อีกกลุ่มที่ออกไปเรียนในระบบสามัญ คุ้นเคยกับระบบการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง และได้พบเจอความรู้ใหม่ๆ ทำให้มีความเชี่ยวชาญและมีทักษะเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ในยุคสมัยใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการอย่างทันด่วนในด้านสังคม เศรษฐกิจและสุขภาพ เช่น ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ การแพทย์และเทคโนโลยี เป็นต้น ไชยันต์ (2550; 37) กล่าวเกี่ยวกับกลุ่มนี้ว่า

“ภูมิปัญญาโบรานนั้นมิได้เป็นอย่างที่พวกแรกกล่าวอ้าง แต่ภูมิปัญญาสมัยใหม่อันได้แก่ความรู้ต่างๆ ที่ถูกค้นพบใหม่ต่างหากที่จะนำมนุษยชาติไปสู่ความจริงแท้ และไม่มีเหตุผลที่จะยึดติดและหยุดชะงักกับภูมิปัญญาโบรานต่อไป ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่คือเข็มทิศสำคัญสำหรับมนุษยชาติ”

แต่ในความเป็นจริงของสังคมมุสลิมไทย ปัญหาเรื่องการแยกการศึกษาออกเป็นศาสนาและสามัญก็ค่อยๆ คลี่คลายลงเมื่อมีการนำกระบวนการ Islamization of Knowledge มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย (นิพนธ์: 2547) โดยเห็นได้จากการเปิดโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐ ซึ่งได้กำหนดวิชาสามัญและศาสนาอยู่ในหลักสูตรเดียวกัน [2]

4. สิ่งที่สามารถสะท้อนได้จากหนังสือเล่มนี้คือ กลุ่มที่เรียนจบศาสนามาจากตะวันออกกลางมักจะอธิบายความรู้ความจริงด้วยวิธีแบบกลุ่มแรกและมักจะตั้งคำถามลักษณะที่ว่า ‘มีอะไรเก่าๆ ไหม?’ หรือมีอะไรเก่าๆ ที่เรายังไม่เจอไหม? แทนที่จะมีคำถามลักษณะที่ว่า มีอะไรใหม่ๆ ไหม? โดยไชยันต์มองว่า เขาเชื่อว่า

“ภูมิปัญญาในอดีตนั้นได้ถึงที่สุดของความสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่คนปัจจุบันจะเข้าใจคนโบราณได้ดีกว่าคนโบราณเข้าใจตัวเองและสรรพสิ่งต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่คำถามที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่จะเข้าใจคนในอดีตได้อย่างที่คนเหล่านั้นเข้าใจตัวเองและสรรพสิ่งต่างๆ”

ในขณะที่กลุ่มคนที่ไม่ได้จบการศึกษาศาสนามาโดยตรงหรือเรียนจบมหาวิทยาลัยสายสามัญมามักจะตั้งคำถามที่ตรงกันข้ามกัน เพราะเชื่อในแบบที่สองว่า “คนปัจจุบันจะเข้าใจคนในอดีตได้ดีกว่าคนในอดีตเข้าใจตัวเขาเอง” (Kant, 1929; 310) เพราะคนในปัจจุบันสามารถใช้เวลาที่น้อยกว่าในการอ่านงานเขียนในแต่ละยุคสมัยที่สะสมมาถึงเราและสามารถทำความเข้าใจความคิดของพวกเขาได้มากกว่า ขณะที่เราใช้เวลาอ่านหนังสือเหล่านั้นเล่มละไม่เกินหนึ่งอาทิตย์ก็สามารถทำความเข้าใจได้ แต่พวกเขาใช้เวลาในการเขียนเป็นแรมปี ดังนั้นข้อได้เปรียบของคนสมัยเราคือขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าการถกเถียงลักษณะนี้เป็นวาทกรรมในยุโรปมาก่อนแล้วและเป็นวิวาทะครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งเมื่อราวศตวรรษที่ 17-18 หรือรู้จักกันในนาม “การวิวาทะระหว่างผู้นิยมภูมิปัญญาโบรานกับผู้นิยมภูมิปัญญาใหม่” (ไชยันต์, 2550; 36)

ดังนั้นเมื่อถามไชยันต์ผ่านทางหนังสือเล่มนี้ว่าทางออกจากการมองจาก postmodern มันอยู่ตรงไหน คำตอบก็คงเดาได้ว่า มันอยู่ที่ ‘การตีความ’ หรือ hermeneutics ซึ่งหมายถึงการพิจารณาเรื่องเล่า ความรู้ นิทาน หรือเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียมกันไม่ว่ามันจะมาจากใคร (เช่น บังหมัด เชคริฎอ อ.ฟารีด บังยี นิมา พี่ฟา แบมังหรือกะม๊ะ เป็นต้น) และสิ่งที่ไชยันต์จะให้ข้อคิดจาก postmodern ได้คือ “อารมณ์แห่งสภาวะหลังสมัยใหม่นั้นจะแผ่คลุมได้ก็ต่อเมื่อทุกอย่างมีค่าเท่าเทียมกันในฐานะของความทรงจำของคนคนหนึ่ง” เท่านั้น ไม่ได้มีความศักดิ์สิทธ์หรือประเสริฐมากกว่ากันเลย

ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้ทำให้เราเห็นอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมยุโรปแต่ที่ มีองค์ประกอบที่คล้ายกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับสังคมมุสลิมไทยในปัจจุบัน ผู้ที่กำลังติดอยู่ในวิวาทะระหว่างคณะเก่า vs คณะใหม่ ควรพึงระลึกว่า แม้ว่ากลุ่มนิยมภูมิปัญญาใหม่ในยุโรปจะชนะการถกเถียงในช่วงศตวรรษที่ 17-18 แห่งคริสต์ศักราช โดยมีการปฎิวัติฝรั่งเศษเป็นพยานหลักฐาน แต่การอยู่กับ modern ก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นอยู่กับไฟ ที่ Rousseau ได้เตือนไว้ หากคิดจะไม่นิยมภูมิปัญญาใหม่ก็ไม่สามารถกลับไปอยู่ในยุคต้นแบบแห่งมะดีนะฮฺ ยุครุ่งเรื่องของอิสลามแห่งอัลดาลูเซีย (สเปน) และอับบาซิด (แบกแดด) ในยุคศตวรรษที่ 7-15 ได้ เพราะเงื่อนไขทางกาลเวลาไม่อนุญาตให้พวกเขาทำเช่นนั้นได้และมันได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว ในขณะเดียวกันการถกเถียงด้านปรัชญาในอิสลามก็ได้สกิดให้เราเห็นว่า วิวาทะระหว่างกลุ่มที่นิยมตัวบทวจนะของท่านศาสทูต (อะฮฺลุลฮาดีษ) [3] กับกลุ่มที่นิยมเหตุผล (อะฮฺลุลเราะอี)[4] ในศตวรรษที่ 10-12 แห่งคริสต์ศักราชได้จบลงด้วยชัยชนะของกลุ่มแรก แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคืออาณาจักรอับบาซิดและอัลดาลูเซียก็สามารถเจริญรุ่งเรืองได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 10-15 อย่างที่ไม่ปรากฏในอารยธรรมอื่นในช่วงเวลานั้น [5] นักปราชญ์ในยุคนั้นนามว่า Ibn Khaldun ได้ให้ทัศนะไว้ว่า

“การตามภูมิปัญญาโบราณแบบหลับหูหลับตานั้นไม่สามารถทำให้ซากศพที่ตายไปแล้วกลับมามีชีวิตได้อีกครั้งหนึ่ง แต่การทำอย่างนั้นต่างหากจะทำให้ชีวิตมนุษย์และสุนทรียภาพกลายเป็นสภาพที่ไร้วิญญาน”

และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราไม่ควรโหยหากับไปสู่อดีตอันยิ่งใหญ่และทำให้มันเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์จนเกินพอดี อาจจะเป็นไปได้ว่า การเปิดพื้นที่ในการถกเถียงหรือปริมณฑลสาธารณะในยุคนั้นถือเป็นลู่ทางแห่งอารยธรรมอิสลามที่รุ่งเรืองมาจนถึงปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “การปิดพื้นที่ทางความคิด” Closure of the door of ijtihad [6] การล้มสลายของอาณาจักรอัลดาลูเซีย (15th CE) และอาณาจักรอับบาซิด (16th CE) ที่สำคัญการล้มสลายของอาณาจักรออตโตมันในปี คศ. 1924 ถือเป็นพยานหลักฐานของความพ่ายแพ้ทางกายภาพของโลกมุสลิมต่อความเป็นสมัยใหม่อย่างปฎิเสธไม่ได้

เนื่องจากการขาดหายจากบรรยาการแห่งการใช้ความคิดและการถกเถียงเชิงวิชาการ อีกทั้งวิธีการศึกษาในอดีตยังยึดติดอยู่กับการ ‘ท่องจำ’ และเชื่อฟังมากกว่าการ ‘คิดเชิงวิพากษ์’ และการตั้งคำถาม สังคมมุสลิมไทยโดยทั่วไปจึงไม่คุ้นชินกับการโต้แย้งหรือวิวาทะด้วยหลักวิชาการสมัยใหม่จนเป็นเหตุอย่างหนึ่งของการสาละวนอยู่กับการเทิดทูนของเก่า (ระบบ/วิธีการแบบเก่าๆ) จนคิดว่ามันสมบูรณ์ที่สุดและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทำให้ง่ายต่อการสับสนระหว่างการเข้าใจขอบเขตของพิธีกรรมความเชื่อ (อีบาดะฮฺ-อากีดะฮฺ) และกิจกรรมทางสังคม (มูอามาลาต) (Ramadan: 2009) เป็นความสับสนภายใต้แรงกดดันจาก colonization, modernization ด้วยเช่นกัน เชคยูสุฟ ก็อรฎอวี (2546) นักปราชญ์อาวุโสชาวอียิปต์ให้ทัศนะว่า “สภาวะลักษณะนี้ทำให้พวกเขาขาดความต่อเนื่อง ขาดความมั่นใจ ขาดความเป็นผู้นำ ขาดการคิดค้นนวัตกรรม ขาดการคิดนอกกรอบเชิงสร้างสรรค์” ความจริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือเสียศักดิ์ศรีอะไรเลย หากมุสลิมจะกลับไปดูวิวัฒนาการทางสังคมและความคิดของโลกตะวันตก เพื่อนำเอามาเป็นกระจกสะท้อนและสร้างความเข้มแข็งให้อารยธรรมโลกอีกครั้งหนึ่ง ยิ่งถ้ามุสลิมเรียนรู้ว่าชาวยุโรปในยุคกลางได้เข้ามาเรียนรู้ศิลปวิทยาการในโลกมุสลิมและถ่ายทอดศาสตร์ด้านปรัชญาของ Plato และ Aristotle จากโลกมุสลิมไปสู่โลกตะวันตกในยุคกลางมากเท่าไหร่ คงทำให้มุสลิมรู้สึกดีขึ้นและมีแรงบันดาลใจได้มากเท่่านั้น วันนี้มุสลิมอาจต้องกลับไปสวมบทบาทเป็นตัวแสดงตัวนั้นในประวัติศาสตร์แห่งอารยธรรมอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ไช่เพื่อเลียนแบบและไม่ไช่เพื่อการตาม แต่เพื่อส่งต่อศิลปวิทยาการต่างๆ และพัฒนาต่อยอดอารยธรรมที่ยังยึดเหนี่ยวกับหลักศีลธรรมและจริยธรรมอย่างแข็งกล้าให้กลับมาเป็นตัวเลือกหนึ่งของมวลมนุษยชาติอีกครั้งหนึ่ง หากมองย้อนกลับไปศึกษาอดีตแล้ว เราจะพบคำวิเคราะห์ของ Ibn Khaldun (2004) ว่ามีหลายชนชาติที่ประสบความล้มเหลวทางด้านกายภาพ แต่ด้วยเหตุนั้นก็ไม่ทำให้ชนชาติต้องล้มสลายลง แต่เมื่อชนชาติหนึ่งได้กลายเป็นเหยื่อของความล้มเหลวทางด้าน ‘สังคมจิตวิทยา’ แล้วนั้น นั่นคือจุดจบของชนชาตินั้นต่างหาก บทความชิ้นนี้คงต้องจบการสนทนา postmodern ให้ชาวมุสลิมฟังด้วยประการฉะนี้

 

เชิงอรรถ


[1] ดูคําอธิบายประเด็นวิวาทะนี้ได้จาก เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2557). การเมืองแห่งอัตลักษณ์: ความหลากหลายและพลวัตมลายูมุสลิมปาตานีในโลกสมัยใหม่. ใน คนหนุ่มสาวกับมุสลิมในโลกสมัยใหม่ (หน้า479-526). กรุงเทพฯ: คณะทํางานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย., นิพนธ์ โซะเฮง. (2557). ลัทธิสมัยใหม่นิยมแบบอิสลามกับกระบวนการการวางโครงสร้างองค์ความรู้อิสลาม. ในคนหนุ่มสาวกับมุสลิมในโลกสมัยใหม่ (หน้า. 183–226). กรุงเทพฯ: คณะทํางานวาระทางสังคมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย., และ ฮาฟีส สาและ. (2557). โลกาภิวัตน์กับการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์มุสลิม: พลวัตของกระแสอิสลามบริสุทธิ์ในสังคมมุสลิมไทย. ใน คนหนุ่มสาวกับมุสลิมในโลกสมัยใหม่ (หน้า 329–368). กรุงเทพฯ: คณะทํางานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ความคิดของมุสลิมจะได้อะไรจากความเข้าใจโลกแบบ postmodern ในหนังสือเล่มนี้

[2] นอกจากนั้นยังมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศที่ทําการเรียนการสอนโดยการบูรณาการความรู้จากสองสายองค์ความรู้เช่น มหาวิทยาลัยฟาฎอนีมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย(IIUM) มหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีก้า (อินเดีย) เป็นต้น

[3] ตัวแทนของกลุ่มผู้ที่นิยมภูมิปัญญาโบรานตามทัศนะ  Postmodern ของไชยันต์

[4] ตัวแทนของกลุ่มที่นิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่ตามทัศนะ  Postmodern ของไชยันต์

[5] คือการไปด้วยกันได้ระหว่างวิวรณ์และเหตุผล ระหว่างความเชื่อและวิทยาศาสตร์และระหว่างศาสนาและการเมือง

[6] เริ่มเห็นปรากฎการณ์นี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 10

 

 


อ้างอิง
นิพนธ์  โซะเฮง. (2557). ลัทธิสมัยใหม่นิยมแบบอิสลามกับกระบวนการการวางโครงสร้างองค์ความรู้อิสลามใน คนหนุ่มสาวกับมุสลิมในโลกสมัยใหม่ (หน้า. 183–226). กรุงเทพฯ: คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิพนธ์ โซะเฮง. (2547). ปฏิรูปการศึกษาในโลกมุสลิม อิสลามานุวัตร และ อิสลามานุวัตรองค์ความรู้. PEACE Mahidol. Retrieved May 26, 2014, from http://www.peace.mahidol.ac.th

ยาสมิน ซัตตาร์, อันวาร์ กอมะ, & เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2558, เมษายน 15). ถอดความสรุปหัวข้อ ความสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์สำหรับสังคมมุสลิมทั้งในตะวันตกและตะวันออก ปาฐกถาโดย ฎอริค รอมาฎอน. Retrieved April 18, 2015, from http://www.pataniforum.com/single.php?id=504

ยูสุฟ อัล ก็อรฺฎอวีย์. (2546). อิสลามกำลังพ่ายแพ้. (มันศูร อับดุลลอฮฺ, Trans.). กรุงเทพฯ: อิสลามิค อะเคเดมี.

อาลี เสีอสมิง. 2556. อารยธรรมอิสสลาม. กรุงเทพฯ. ศูนย์หนังสืออิสลาม.

ไชยันต์ ไชยพร. (2550). Postmodern ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ. กรุงเทพฯ: OpenBook.

เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2557). การเมืองแห่งอัตลักษณ์ความหลากหลายและพลวัตมลายูมุสลิมปาตานีในโลกสมัยใหม่. ใน คนหนุ่มสาวกับมุสลิมในโลกสมัยใหม่ (หน้า 479-526). กรุงเทพฯ: คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฮาฟีส สาและ. (2557). โลกาภิวัตน์กับการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์มุสลิม: พลวัตของกระแสอิสลามบริสุทธิ์ในสังคมมุสลิมไทย. ใน คนหนุ่มสาวกับมุสลิมในโลกสมัยใหม่ (หน้า 329–368). กรุงเทพฯ: คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ramadan, T. 2009. Radical Reform: Islamic Ethics and Liberation. Oxford: Oxford Press.

Kant, I., Banham, G., Smith, N. K., & Caygill, H. (2007). Critique of Pure Reason (2nd edition). Basingstoke; New York: Palgrave Macmillan.

Ibn Khaldûn. (2004). The Muqaddimah: An Introduction to History. (F. Rosenthal, Trans., N. J. Dawood, Ed.) (Abridged.). Princeton University Press.



เผยแพร่ครั้งแรกใน www.pataniforum.com

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Alert! ร่าง กม.ดิจิทัล-กสทช.เข้า ครม.วันนี้ เครือข่ายผู้บริโภคท้วงไม่ฟังเสียงปชช.

$
0
0

เครือข่ายผู้บริโภคเรียกร้อง กระทรวงไอซีที หยุดยึดเอา  ร่าง กฎหมายดิจิทัล เป็นของตน และไม่ฟังเสียงประชาชนที่เรียกร้องให้มีการปรับปรุง แก้ไขร่างนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง

28 เม.ย. 2558 นางสุวรรณา จิตรประภัสสร์ ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า เป็นที่น่าตกใจอย่างยิ่งว่ากระทรวงไอซีทีจะนำ ร่างกฎหมายดิจิทัล ซึ่งรวมถึง ร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และร่าง แก้ไข พรบ.กสทช.เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (อังคารที่ 28 เมษายน 2558) โดยยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมทบทวน เสนอแนะ แก้ไข ซึ่งถือว่าเป็นการฝืนกระแสสังคมที่ต้องการให้ปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ดิจิทัล ชุดนี้ทุกฉบับนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง

ก่อนหน้านี้ ได้มีนักวิชาการ ผู้บริโภคและ ประชาชนที่สนใจ ได้แสดงความคิดเห็นทักท้วง และตั้งคำถาม ต่อ ร่างกฎหมายดิจิทัล ในเวทีรับฟังความคิดเห็น ในหลายประเด็น ซึ่งกระทรวงไอซีทีไม่สามารถตอบต่อสังคมได้ โดยใจความใหญ่สรุปข้อบกพร่องของร่าง พ.ร.บ. นี้ไม่ตอบโจทย์ประโยชน์สาธารณะ หรือการคุ้มครองประชาชน ขาดวิสัยทัศน์พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล แต่เน้นการตั้งหน่วยงานรัฐใหม่ มีการจัดสรรอำนาจ และการยึดอำนาจจากองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการปฏิรูปสื่อ และล้วงกองทุน กสทช. เพื่อให้ประโยชน์กับการพัฒนาดิจิทัลที่เป็นเรื่องของภาคเอกชน มากกว่าให้กองทุนที่ได้มาจากการประมูลคลื่นสาธารณะ เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง กระทรวงไอซีทียังไม่สามารถอธิบายได้ว่า การแก้กฎหมาย กสทช. ทำไมจึงไม่แตะที่ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริงของ กสทช. คือปัญหาธรรมาภิบาลองค์กร แต่กลับไปลดทอนความเป็นอิสระขององค์กรกำกับดูแลแห่งนี้ และเหตุใดร่างกฎหมายใหม่จึงละเลยการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ทำให้มีการแทรกแซงกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อสาธารณะ  ทั้งที่สิทธินี้ เป็นสิทธิของประชาชนที่ได้รับรองไว้ใน พ.ร.บ. กสทช. พ.ศ. 2553

“การที่กระทรวงไอซีทีเพิกเฉยต่อการมีส่วนร่วมภาคประชาชน แล้วนำร่างนี้เข้าสู่การพิจารณาของครม. ถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของการปฏิรูปประเทศที่เน้นการส่วนร่วมภาคประชาชนในทุกกระบวนการการทำงานภาครัฐ  เครือข่ายผู้บริโภคจึงเรียกร้องให้กระทรวงไอซีทียุติการนำร่างนี้เสนอต่อ ครม. แล้วรำกลับมาแก้ไขปรับปรุงร่วมกันกับภาคประชาชนจนกว่าจะได้ร่างที่สมบูรณ์ จึงนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.” นางสุวรรณากล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live




Latest Images