Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live

นักวิจัยจากคอร์เนลล์มอง 'ปฏิรูปที่ดินในกัมพูชา' ยังไม่แก้ปัญหาเดิม-ส่อเกิดปัญหาใหม่

$
0
0

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เขียนบทความกรณีรัฐบาลมีแผนปฏิรูปที่ดินในกัมพูชา สะท้อนวัฒนธรรมการเมืองแบบใช้ที่ดินสร้างอำนาจและความนิยม แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาในระยะยาว อีกทั้งยังส่อเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการจัดสรรที่ดิน


30 มี.ค. 2558 อลิซ เบบอง ฟรองซ์ ว่าที่ดุษฎีบัณฑิตจากภาควิชาพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เขียนบทความในเว็บไซต์อีสต์เอเชียฟอรั่มวิเคราะห์เกี่ยวกับการสนับสนุนปฏิรูปที่ดินในกัมพูชาซึ่งน่าหวั่นเกรงว่าจะสร้างปัญหาให้กับประชาชน

ฟรองซ์ระบุว่า การปฏิรูปที่ดินจะทำให้ประชาชนรายเล็กๆ ราว 770,000 คนที่ยังไม่ได้รับการระบุสิทธิชัดเจนเหนือที่ดินของตน ผู้อาศัยอยู่บนที่ดินรายเล็กๆ เหล่านี้ต้องเผชิญหน้ากับเหล่าบริษัทจากโครงการพัฒนาที่ต้องการทำพื้นที่ไว้ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรในนามของ 'สัมปทานที่ดินเพื่อเศรษฐกิจ' (ELCs) ซึ่งโครงการพัฒนาของรัฐบาลกัมพูชาก็ไม่มีการควบคุมและช่วยเหลือในเรื่องการยุติข้อขัดแย้งแต่อย่างใด

ฟรองซ์ระบุว่าปัญหาหลักๆ ในกัมพูชาคือเรื่องความโปร่งใสในภาคส่วนที่ดิน และการยกเลิก ELCs ก็ไม่รู้ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้างเพราะไม่เคยมีข้อมูลสาธารณะที่บ่งบอกชัดเจนว่าที่ใดเป็นผืนดินของรัฐ เป็นที่มีกรรมสิทธิ์ หรือเป็นที่ดินลงทุนทางการเกษตร

รัฐบาลกัมพูชาเคยให้นักศึกษามหาวิทยาลัยช่วยสำรวจพบว่ามีเจ้าของที่ดินในกัมพูชามากกว่า 600,000 คน อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐ และยังมีแผนการจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ แต่การพยายามจัดสรรนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยเฉพาะชนพื้นเมืองในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและการยึดครองที่ดินทำกิน ทั้งที่มีประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 74 จากการสำรวจโดยนักศึกษายังคงรอการออกเอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดินของพวกเขาอยู่ ส่วนที่ไม่ได้ถูกระบุในการสำรวจของนักศึกษากัมพูชาก็น่ากังวลเช่นกัน

ฟรองซ์ระบุว่าในช่วงที่มีแผนการจัดสรรกรรมสิทธิ์มีประชาชนบางส่วนถูกกดดันจากผู้มีอำนาจที่อาศัยในเมืองให้ขายที่ให้ซึ่งนับเป็นที่ดินขนาดกว้างขวางมาก โดยการจัดการนี้รอดพ้นไปจากสายตาของรัฐบาลกัมพูชาและการตรวจสอบของภาคประชาสังคม การขายที่ให้กับการลงทุนทางการเกษตรในกัมพูชาชวนให้ตั้งคำถามเนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศที่มีหนี้สินในชนบทสูงมากและมีความเสี่ยงสูงในภาคส่วนการธนาคาร

ฟรองซ์เสนอว่าควรมีการจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดินมากกว่านี้เพื่อสร้างความมั่นคงทางที่ดินในกัมพูชา นอกจากนี้ยังต้องมีการฝึกอบรมในชุมชนและการประชุมหารือของผู้ถือหุ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อนายทุนผู้บริจาคให้รัฐบาล แต่สิ่งที่ควรจะประเมินกันจริงๆ คือ ประชาชนกัมพูชายังคงสูญเสียที่ดินอยู่หรือไม่

บทความยกตัวอย่างวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวจากโครงการรณรงค์น้ำตาลเลือด (Blood Sugar Campaign) ซึ่งมีเป้าหมายเป็นผู้บริโภคน้ำตาลในยุโรปและสหรัฐฯ เพื่อกดดันให้สหภาพยุโรปปฏิบัติการสืบสวนในกรณีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและการไล่ที่อย่างไม่เป็นธรรมเพื่อการทำไร่อ้อยในกัมพูชา

"นักกิจกรรมชุมชนในปัจจุบันมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้นทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค ผู้บริจาคควรเล็งเห็นจะต้องเปลี่ยนวิธีการจากการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคในระยะสั้นๆ มาเป็นการส่งเสริมในระยะยาวทั้งด้านกฎหมายและการเสริมอำนาจให้คนในชุมชน ทุกวันนี้วาทกรรมเรื่องสิทธิที่ดินที่มีการเชื่อมโยงกับความมั่นคงทางอาหารและความจำเป็นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็กำลังเติบโตขึ้นด้วย" ฟรองซ์ระบุในบทความ

อย่างไรก็ตามฟรองซ์ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมยังมีอุปสรรคจากการข่มขู่คุกคาม เช่น การจำคุกนักกิจกรรมที่ปิดถนนประท้วง นอกจากนี้ยังมีการพยายามซื้อตัวนักกิจกรรมในชุมชนและเอ็นจีโอ รวมถึงการปฏิเสธต่ออายุวีซ่าให้กับนักกิจกรรมต่างชาติด้วย นอกจากนี้สภาแห่งชาติของกัมพูชายังเตรียมออกกฎหมายลิดรอนสิทธิหลายด้าน ทั้งกฎหมายควบคุมสื่อ กฎหมายการจำกัดชนิดพืชพันธุ์ของเกษตรกรและบทลงโทษของผู้ไม่ปฏิบัติตาม รวมถึงกฎหมายที่ทำให้รัฐมีอำนาจเหนือเอ็นจีโอมากขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นการออกกฎหมายล้าหลัง

ฟรองซ์ตั้งข้อสังเกตต่อวัฒนธรรมทางการเมืองกัมพูชาว่า ผู้นำกัมพูชาอย่างฮุนเซนมีการใช้ที่ดินเป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่น ใช้เรื่องแจกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับคนจนเป็นการรณรงค์หาเสียงช่วงก่อนเลือกตั้ง แต่ตัวเขาเองก็มีการแจกจ่ายที่ดินให้กับชนชั้นนำเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการเมืองและอาศัยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการสะสมความมั่งคั่งของตัวเอง

ฟรองซ์ระบุว่าสิ่งที่เป็นปัญหาท้าทายรัฐบาลกัมพูชาคือ "คนตัวใหญ่" อย่างพวกเขาจะทำอย่างไรในการสร้างความเปลี่ยนแปลงระยะยาวแทนการสร้างผลประโยชน์ทางการเมืองในระยะสั้น สิ่งที่ควรจะทำมีมากกว่าการมอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน การยึดครองที่ดิน หรือออกสัมปทาน แต่ควรมีการเปลี่ยนนโยบายทางสังคมที่มองที่ดินเป็นเรื่องคุณภาพชีวิตแทนการมองเป็นเครื่องมือทางการเมือง


เรียบเรียงจาก

Time to sow the seeds of land reform in Cambodia, Alice Beban France, East Asia Forum, 26-03-2015
http://www.eastasiaforum.org/2015/03/26/time-to-sow-the-seeds-of-land-reform-in-cambodia/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อเครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นต้องฟื้นฟูกิจการ

$
0
0

นับเป็นข่าวใหญ่ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับต่อกรณีที่ศาลล้มละลายกลางได้อนุมัติการเข้าฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด (ต่อไปนี้เรียกสั้นๆ ว่า “ยูเนี่ยนคลองจั่น”)  หากไม่นับเรื่องการทุจริตของอดีตประธานและเงินบริจาคแก่วัดธรรมกายแล้ว  การเข้าฟื้นฟูกิจการจากภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของยูเนี่ยนคลองจั่นยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประการ อาทิ ความเป็นสถาบันการเงินของยูเนี่ยนคลองจั่น ความเข้าใจของสมาชิกในฐานะลูกหนี้ เจ้าหนี้ และเจ้าของ จำนวนเจ้าหนี้ที่มีมากและอาจโยงกันเป็นลูกโซ่ และแนวทางการฟื้นฟูกิจการตามแผน เป็นต้น

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ลักษณะหนึ่งที่สมาชิกมักเป็นกลุ่มคนที่มีกิจกรรมร่วมกันหรือมีที่พักอาศัยในเขตหรือย่านเดียวกัน เช่น ยูเนี่ยนคลองจั่นที่มีสมาชิกอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจากสหกรณ์ออมทรัพย์อีกลักษณะหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นกลุ่มคนที่มาจากอาชีพเดียวกันหรือที่ทำงานเดียวกัน เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัทการบินไทย เป็นต้น  ในแง่ของการดำเนินงานแล้ว สหกรณ์ทั้งสองลักษณะนี้ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก  ผู้เขียนขอรวมเรียกสหกรณ์ทั้งสองลักษณะนี้ว่าสหกรณ์ออมทรัพย์  แรงจูงใจสำคัญในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์คืออัตราเงินปันผลที่จูงใจ อัตราดอกเบี้ย (เงินฝากและเงินกู้) ที่ดีกว่าตลาด และกระบวนการกู้เงินที่ง่ายกว่าธนาคารพาณิชย์  หลักประกันสำคัญที่ใช้ในการขอกู้ (สามัญ) คือการค้ำประกันโดยสมาชิกรายอื่น  ขณะที่วงเงินในการกู้นั้นจะผูกอยู่กับมูลค่าหุ้นของสมาชิก  หากสมาชิกรายใดฝากเงินและกู้เงินกับสหกรณ์ เขาจะเป็นทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้ และเจ้าของ

เท่าที่ทราบ ยูเนี่ยนคลองจั่นเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการผ่านศาลฯ นับตั้งแต่ปรับปรุงกฎหมายในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540  ประเด็นที่น่าคิดคือ ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พยายามอย่างมากที่จะไม่ให้สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์ล้มละลาย  หากเห็นธนาคารใดเริ่มมีฐานะง่อนแง่น ธปท. จะรีบเข้าไปแทรกแซงและฟื้นฟูกิจการด้วยตนเอง  นอกจากนั้นแล้ว กฎหมายประกันเงินฝากยังคุ้มครองผู้ฝากเงิน (ในวงเงินไม่เกินห้าสิบล้านบาทในปัจจุบัน) ทำให้ความกังวลของผู้ฝากเงินลดลง  ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายกำกับดูแลสถาบันการเงินที่กำลังจะออกใหม่นั้นยังทำให้ธนาคารพาณิชย์ล้มยากขึ้น  เราอาจไม่มีโอกาสเห็นการฟื้นฟูกิจการของธนาคารพาณิชย์ผ่านศาลฯ เพราะการฟูมฟักของ ธปท. ที่เป็นทั้งผู้กำหนด (นโยบาย) และผู้กำกับ (การดำเนินงาน)  ขณะที่ผู้ฝากเงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ (ซึ่งรวมถึงยูเนี่ยนคลองจั่น) นั้นไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายประกันเงินฝากทั้งๆ ที่เป็นสถาบันการเงินรูปแบบหนึ่ง  การกำกับดูแลจาก ธปท. จึงเป็นไปแบบห่างๆ อย่างห่วงๆ  ดังนั้น การฟื้นฟูกิจการผ่านศาลฯ ของยูเนี่ยนคลองจั่นน่าจะเป็นตัวอย่างสำคัญต่อสถาบันการเงินอื่นๆ ที่มิได้อยู่ภายใต้อาณัติของ ธปท.

ด้วยเหตุที่สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มรูปแบบเหมือนธนาคารพาณิชย์  การระดมเงินฝากและการทำธุรกรรมบางประเภทก็ถูกจำกัดไปโดยปริยาย  สหกรณ์ออมทรัพย์หลายแห่งเลือกที่จะกู้จากสหกรณ์อื่นและมาปล่อยกู้ต่อให้แก่สมาชิกของตน  การกู้ยืมกันไปมาเช่นนี้อาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่เมื่อสหกรณ์หนึ่งประสบปัญหา ดังเช่นในกรณีของยูเนี่ยนคลองจั่น 

ยูเนี่ยนคลองจั่นมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์อยู่ถึง 19,534 ล้านบาท (จากหนี้สินประมาณ 21,934 ล้านบาท)  ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ติดลบอย่างมหาศาลนี้ทำให้ความเป็นเจ้าของของสมาชิกหายไป เหลือเพียงแต่สถานะลูกหนี้ (หากกู้เงิน) และเจ้าหนี้ (หากฝากเงิน)  ในส่วนของลูกหนี้นั้น สมาชิกอาจไม่กังวลเท่าใดนักเนื่องจากทางยูเนี่ยนคลองจั่นอาจไม่สามารถเร่งรัดให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ในเวลาอันสั้น  ส่วนที่เป็นปัญหาและอาจทำให้สมาชิกขมขื่นที่สุดคือสถานะเจ้าหนี้เงินฝากที่นอกจากจะไม่ได้รับการคุ้มครองแล้ว เงินออมที่ตนฝากไว้กับยูเนี่ยนคลองจั่นอาจได้รับคืนเพียงร้อยละ 10 (ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์)

หลังจากที่ศาลฯ อนุมัติให้ยูเนี่ยนคลองจั่นเข้าฟื้นฟูกิจการไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 คณะผู้ทำแผน (ซึ่งเป็นคณะกรรมการสหกรณ์ชุดปัจจุบัน) มีเวลา 3 เดือนในการจัดทำแผนและต้องให้เจ้าหนี้จำนวน 2 ใน 3 ของเจ้าหนี้ทั้งหมดเห็นด้วยกับแผน  ขั้นตอนการทำแผนเป็นขั้นตอนที่ยากอีกขั้นตอนหนึ่ง ด้วยเหตุที่ว่าผู้ทำแผนต้องจัดทำแผนให้เป็นที่พึงพอใจแก่เจ้าหนี้ส่วนใหญ่  (ยูเนี่ยนคลองจั่นมีเจ้าหนี้ที่เป็นสมาชิกผู้ฝากเงินและสหกรณ์แห่งอื่นๆ รวมกันนับหมื่นราย)  การประนอมหนี้ที่มักใช้กันเป็นอันดับแรกคือการขอลดหนี้  ยูเนี่ยนคลองจั่นก็อาจขอลดหนี้โดยจ่ายคืนเพียงร้อยละ 10 ของจำนวนหนี้ (เช่นเดียวกับเจ้าหนี้เงินฝากจากสมาชิก)  ประเด็นดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้หลายรายซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพราะหนี้ที่หายไปถึงร้อยละ 90 ย่อมส่งผลถึงสถานะทางการเงินของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  มิหนำซ้ำบางรายยังต้องการให้ยูเนี่ยนคลองจั่นชำระหนี้คืนภายในหนึ่งเดือน (ซึ่งอาจเป็นไปได้ยาก)  ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์มักปล่อยกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันทำให้มีสิทธิมีเสียงรองลงมา

อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของแผนคือการฟื้นฟูกิจการตามแผนที่มีกรอบเวลา 5 ปี  ณ ขณะนี้รายละเอียดของแผนยังไม่ปรากฏและคงต้องติดตามดูเมื่อครบกำหนด 3 เดือน  อย่างไรก็ตาม  ผู้ทำแผนของยูเนี่ยนคลองจั่นกล่าวในเบื้องต้นว่าขณะนี้ยูเนี่ยนคลองจั่นมีสภาพคล่องอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาทและอาจได้รับเงินคืนจากวัดธรรมกายอีกเดือนละ 100 ล้านบาท  นอกจากนั้น ยังมีเงินสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีก 5,000 ล้านบาท  กระนั้นก็ตาม เจ้าหนี้บางรายยังมองไม่เห็นหนทางว่ายูเนี่ยนคลองจั่นจะจัดการกับหนี้กว่า 22,000 ล้านบาทได้อย่างไร 

ในมุมของผู้เขียน แนวทางในการทำแผนและฟื้นฟูกิจการที่น่าจะเป็นไปมากได้ที่สุดคือเริ่มจากขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้  หากขอลดหนี้ไม่ได้มากก็ควรจะขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป  ขณะเดียวกันก็พิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้ยูเนี่ยนคลองจั่นมีกระแสเงินสดหมุนเวียนมากขึ้นในแต่ละเดือนและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง  หากเป็นไปได้อาจต้องมีตัวแทนเจ้าหนี้มาอยู่ร่วมในคณะผู้ดำเนินงานตามแผนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่เจ้าหนี้  ประเด็นที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งคือยูเนี่ยนคลองจั่นต้องปรับปรุงเรื่องธรรมาภิบาลในการดำเนินงานของตนเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการทุจริตของอดีตประธาน  หากปรับปรุงเรื่องธรรมาภิบาลและสามารถฟื้นฟูกิจการกลับมาได้ ยูเนี่ยนคลองจั่นจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินงานต่อสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์อื่นๆ ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น  ปัญหาการทุจริตและธรรมาภิบาลเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ขบวนการสหกรณ์ของไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สกต. ห่วงถูกทหารกล่าวหาเป็นผู้มีอิทธิพล ขณะที่ชุมชนถูกไล่รื้อต่อเนื่อง

$
0
0

ล่าสุด ‘ชุมชนทุ่งทับควาย’ ถูกให้ออกจากพื้นที่สวนป่าบางขัน ภายใน 15 เม.ย.2558 แกนนำชาวบ้านเร่งยื่นหนังสือขอชะลอ ด้าน ‘ชุมชนเพิ่มทรัพย์’ และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีอิทธิพล

30 มี.ค. 2558 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. พ.อ.ทวี เกิดสมบูรณ์ รอง ผบ.จทบ.ส.ฎ. เป็น ผู้แทน ผบ.จทบ.ส.ฎ. เข้าชี้แจงรายละเอียดต่ออธิบดีกรมองค์การต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กรณี สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษย์ชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ให้ชี้แจงกรณี การปฏิบัติการของ จนท.บก.ควบคุม.จทบ.ส.ฎ. ต่อชุมชนเพิ่มทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) จ.สุราษฎร์ธานี 

หน่วยข่าวทหารระบุว่า เกิดการร้องเรียนโดยการบิดเบือนข้อมูลนำไปสู่ความสับสนที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันจนมีการนำข้อมูลยกระดับเป็นปัญหาระดับประเทศ และดึงสหประชาชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่โดยแท้จริงแล้ว เป็นเรื่องของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ที่ใช้ความเดือดร้อนของพี่น้องประชามาเป็นหนทางในการแสวงหาประโยชน์ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานความมั่นคงทราบถึงพฤติกรรมของแกนนำคนดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ การประชุมเสร็จสิ้นเมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. โดยจากการประชุม กระทรวงการต่างประเทศจะสรุปรายละเอียดนำเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบและ พิจารณาดำเนินการต่อไป 

ด้านตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีดังกล่าวว่า การกล่าวหาว่าชาวบ้านเป็นผู้มีอิทธิพลทำให้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็น ห่วงอย่างยิ่งในด้านความปลอดภัย เพราะถูกใส่ร้ายทำให้สังคมโดยเฉพาะในภาครัฐเข้าใจผิด และอาจเป็นการคิดกำจัดให้พ้นทางผลประโยชน์ของนายทุนและกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ 

“การใส่ร้ายป้ายสี การปรักปรำ การบิดเบือนข้อเท็จจริง เป็นกลยุทธ์ ที่ชนชั้นปกครองใช้ทำลายนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคมมาทุกยุคทุกสมัยคราวนี้ก็เช่นกัน” ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้กล่าว พร้อมระบุด้วยว่า การทำลายชื่อเสียง ทำลายความน่าเชื่อถือ หวังผลให้ชาวบ้านสูญเสียความชอบธรรมทางสังคม และจะกระทบกับการต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินของชาวบ้านซึ่งไม่ใช่เพียง แค่เพียงชุมชนเพิ่มทรัพย์ แต่ยังมีที่อื่นๆ ด้วย

ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ให้ข้อมูลด้วยว่า ล่าสุดชุมชนทุ่งทับควาย อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราชถูกปักป้ายไล่รื้อ และวันนี้ (30 มี.ค. 2558) ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้และแกนนำชาวบ้านได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงผู้ ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอให้ยุติการไล่รื้อชุมชนบ้านทุ่งทับควายไว้ก่อน ทั้งนี้ ชุมชนทับควายอยู่ในพื้นที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ที่ตั้งชุมชนด้านหน้าติดถนนลาดยาง ห่างที่ว่าการ อ.บางขัน ประมาณ 5-7 กิโลเมตร 

สืบเนื่องจาก มีหนังสือลงนามโดยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครศรีธรรมราช ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงวันที่ 20 ม.ค.2558 ซึ่งระบุว่าชาวบ้านเป็นผู้บุกรุก และให้รื้อถอนสิ่งที่ปลูกสร้าง พืชผลอาสิน ออกไปให้พ้นจากพื้นที่สวนป่าบางขัน ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควายฯ ให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 15 เม.ย.2558

สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ชี้แจงเหตุผลไว้ในหนังสือที่ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดดังนี้

1.กระบวนการตรวจสอบพื้นที่สวนป่าบางขันฯ ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ้นเสร็จครบถ้วน เนื่องจากยังมิได้รายงานผลการตรวจสอบไปยังคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( แต่งตั้งภายใต้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม สั่งเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2555 โดย นาวสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี) ซึ่งการทำงานของคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้หยุดชะงักลงเนื่องจากความผันผวนและ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องยุติการบริหารราชการแผ่นดิน 

2. ต่อมารัฐบาล คสช. โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2557 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมอบหมายให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

3. ต่อมามี คำสั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/ 2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (อ้างถึงลำดับที่ 7) 

4. ต่อมาหม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล จึงได้มี คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ที่ 1/2558 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อ้างถึงลำดับที่ 3)

“กระบวนการตรวจสอบพื้นที่สวนป่าบางขันฯ ควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จะสรุปเป็นประการใด และการจะไล่รื้อราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย หรือไม่ อย่างไร จะต้องผ่านการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และต้องผ่านกระบวนการไต่สวนรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน และพิจารณาโดยรอบคอบ เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อราษฎรน้อยที่สุด” จดหมายระบุ

 

29 มีนาคม 2558

เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนทุ่งทับควาย

เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

สำเนาถึง

1. ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช

2. หัวหน้างานสวนป่าอ่าวตง – บางขัน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

3. นายอำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

อ้างถึง

1. แผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้, การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2557 ลงวันที่  20  พฤศจิกายน  2557    เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

3. คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ที่ 1/2558 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2558 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงนามโดย หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

4.หนังสือที่ นศ 0013.3/1342 ลงวันที่ 20 มกราคม 2558  เรื่องการเข้าอยู่ในพื้นที่สวนป่าทุ่งทับควาย  ของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ลงนามโดย นายสวัสดิ์ อั้นเต้ง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

5.หนังสือที่ นศ 1718/153 ลงวันที่ 30 มกราคม 2558 เรื่องขอรายงานผลการประชุมคณะทำงานตรวจสอบและรังวัดพื้นที่บริเวณที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงนามโดย นายวิรัช แก้วเมือง ปลัดอำเภอบางขัน

6.ประกาศองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เรื่องให้ผู้เข้าอยู่อาศัยในเขตพื้นที่สวนป่าบางขัน ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทุ่งทับควาย ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงนามโดย นายปริญญา เกตุแก้ว หัวหน้างานสวนป่าอ่าวตง – บางขัน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

7.คำสั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/ 2558 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สั่ง ณ วันที่ 29 มกราคม 2558 ลงนามโดย หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ตามหนังสือที่อ้างถึงลำดับที่ 4 ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้พิจารณาและ ลงความเห็นว่าการเข้าอยู่ในพื้นที่สวนป่าทุ่งทับควายของสหพันธ์เกษตรกรภาค ใต้ชุมชนบ้านทุ่งทับควายเชื่อได้ว่าเป็นการบุกรุกทรัพยากรของรัฐ และในหนังสือดังกล่าวจึงได้สั่งการให้สวนป่าทุ่งทับควายต้องดำเนินการตามกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ และนำไปสู่การออกประกาศขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ตามหนังสือที่อ้างถึงลำดับที่ 6 ซึ่งมีใจความสำคัญ สองประการ ดังนี้

1.คณะทำงานตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่บริเวณที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เข้าทำประโยชน์ ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เสร็จแล้ว

2. สวนป่าบางขัน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่สวนป่าฯ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงขอให้สมาชิกชุมชนบ้านทุ่งทับควาย รื้อถอนสิ่งที่ปลูกสร้าง พืชอาสินหรือสิ่งอื่นใดที่ผิดไปจากเดิม ออกไปให้พ้นจากพื้นที่สวนป่าบางขัน ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควายฯ ให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 15 เมษายน 2558 ฯลฯ

เกี่ยวกับกรณีข้างต้น สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) มีประเด็นขอเรียนชี้แจง และขอให้ยุติการไล่รื้อชุมชนบ้านทุ่งทับควาย อำเภอบางขัน  จังนครศรีธรรมราช ไว้ก่อน ด้วยเหตุผล ดังนี้

1. กระบวนการตรวจสอบพื้นที่สวนป่าบางขันฯ ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ้นเสร็จครบถ้วน เนื่องจากยังมิได้รายงานผลการตรวจสอบไปยังคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (แต่งตั้งภายใต้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม สั่งเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี) ซึ่งการทำงานของคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้หยุดชะงักลงเนื่องจากความผันผวนและ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องยุติการบริหารราชการแผ่นดิน

2.ต่อมารัฐบาล คสช. โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2557 ลงวันที่  20 พฤศจิกายน 2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (อ้างถึงลำดับที่ 2) โดยมอบหมายให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

3. ต่อมามี คำสั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  ที่ 1/ 2558  เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (อ้างถึงลำดับที่ 7)

4. ต่อมาหม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล จึงได้มี คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ที่ 1/2558 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2558 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อ้างถึงลำดับที่ 3)

ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบพื้นที่สวนป่าบางขันฯ ควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จะสรุปเป็นประการใด และการจะไล่รื้อราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย หรือไม่ อย่างไร จะต้องผ่านการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (อ้างถึงแล้วลำดับที่ 7) และต้องผ่านกระบวนการไต่สวนรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน และพิจารณาโดยรอบคอบ เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อราษฎรน้อยที่สุด เกิดความเป็นธรรมต่อราษฎรมากที่สุด ทั้งต้องไม่ขัดต่อแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้, การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน บทที่ 1

“ข้อ 1.3.1 การกระทำใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆ ก่อนคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 มีผลบังคับใช้....” ด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้อมูลและความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมตามลำดับ เพื่อคณะกรรมการ และคณะทำงาน ดังกล่าวข้างต้นจะได้ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชน

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณายุติการบังคับไล่รื้อ จนกว่ารัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร ชุมชนทุ่งทับควายที่ขาดแคลนหรือไร้ที่ดินทำกินได้แล้วเสร็จ

สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียกร้องปล่อยตัว บก.มาเลเซียนอินไซเดอร์-The Edge

$
0
0

องค์กรวิชาชีพสื่อเรียกร้องรัฐบาลมาเลเซียเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและเรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัว บ.ก.มาเลเซียนอินไซเดอร์ทั้งสี่และผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สนพ. The Edgeซึ่งถูกคุมตัวโดยไม่จำเป็น

กรณีตำรวจมาเลเซียบุกจับบรรณาธิการมาเลเซียนอินไซเดอร์ 3 ราย และดำเนินคดีตามกฎหมายปลุกระดมยั่วยุ หลังเว็บดังกล่าวเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับกฎหมายศาลชารีอะห์ และล่าสุด มีการจับกุม จาฮาบาร์ ซาดิก ผู้บริหารเว็บข่าวเดอะมาเลเซียนอินไซเดอร์ (The Malaysian Insider), ฮอไกตั๊ด ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สนพ. The Edge เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา

31 มี.ค. 2558 ศูนย์เพื่อสื่อมวลชนอิสระ (Centre for Independent Journalism: CIJ) และ สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้ปล่อยตัวสื่อทั้ง 5 ราย

CIJ และ SEAPA ระบุว่า การจับกุมภายใต้กฎหมายปลุกระดมยั่วยุและกฎหมายการสื่อสารและมัลติมีเดีย เป็นการโจมตีเสรีภาพสื่อและการข่มขู่โดยใช้กำลังตำรวจในการจับกุมและคุมตัวทั้งห้าคน

แถลงการณ์ระบุย้ำสิ่งที่ CIJ ได้แถลงไปเมื่อวานว่า หากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเจตนาจะสอบสวนมาเลเซียนอินไซเดอร์ถึงกรณีบทความเกี่ยวกับการประชุมของสุลต่าน 9 รัฐ และผู้ว่าการรัฐ 4 รัฐ (the Conference of Rulers) จริง ตำรวจก็สามารถสอบคนเหล่านี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวพวกเขา กักตัวไว้ข้ามคืน และฝากขัง และหากบทความดังกล่าวมีความผิดพลาด ก็สามารถถอดหรือแก้ไขบทความนั้นได้ ทั้งนี้ หากบทความดังกล่าวเป็นความจริง ก็ไม่มีเหตุให้ต้องสอบสวน นอกจากนี้ ยังวิจารณ์ด้วยว่า การกระทำของตำรวจนั้นไม่ได้สัดส่วนกับเหตุผลจับกุมที่ระบุไว้

"หลังจากการจับกุมและควบคุมตัวผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหลายครั้ง ทำให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อในการทำหน้าที่ฐานันดรที่สี่ซึ่งเป็นเสาหลักในการธำรงหลักการรับผิดของรัฐบาลและแจ้งข่าวสารต่อประชาชน" แถลงการณ์ระบุพร้อมยกตัวอย่างว่าที่ผ่านมา สื่อทั้งสองได้ทำหน้าที่รายงานและตั้งคำถามเรื่องกองทุน 1MDB ของรัฐอย่างต่อเนื่อง

แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซียเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและเรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัวบรรณาธิการมาเลเซียนอินไซเดอร์ทั้งสี่และฮอไกตั๊ด ซึ่งถูกคุมตัวโดยไม่มีความจำเป็นด้วย

 

ที่มา:

https://www.facebook.com/CijMalaysia/posts/947504625301880?fref=nf

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ป่าสาละ’ เปิดงานวิจัยเหตุผลทางธุรกิจของธนาคารที่ยั่งยืนในไทย พร้อมชวนร่วมเครือข่ายฯ

$
0
0

เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา บริษัท ป่าสาละ จำกัด ดำเนินการภายใต้ทุนวิจัยจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ขอเชิญท่านร่วมงานสัมมนา “การธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทย” (Sustainable Banking Thailand) ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมฮิลตัน ซอยสุขุมวิท 24  โดยมี สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด กล่าวถึงผลสรุปงานวิจัย“เหตุผลทางธุรกิจของการธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทย”

งานวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักในระดับผู้ดำเนินนโยบาย นักการเงิน ธุรกิจการธนาคาร และผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายอื่นๆ ในสังคมไทย ถึงความสำคัญของวิถีการธนาคารที่ยั่งยืน จัดตั้ง “เครือข่ายการธนาคารที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย” ที่ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ที่สนใจในวิถีการธนาคารที่ยั่งยืน และพร้อมจะทำตัวเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรที่ตนสังกัด และเพื่อรณรงค์ส่งเสริมธรรมเนียมปฏิบัติของการธนาคารที่ยั่งยืน ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ Equator Principles

สฤณี กล่าวถึงรูปธรรมของธนาคารที่ยั่งยืนในไทย ซึ่งการธนาคารที่ยั่งยืนในภาคปฏิบัติวันนี้จะต้องพิสูจน์ผ่านการดำเนินธุรกิจสองด้านหลักด้วยกัน คือ ด้านการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ ทั้งสินเชื่อสำหรับลูกค้า ธุรกิจและสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อย และ ด้านการเสริมสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชากรที่ยังเข้าไม่ถึง

สำหรับรูปธรรมของธนาคารที่ยั่งยืนในไทยนั้น คณะวิจัยพบว่าวงการธานคารพานิชย์ไทยโดยรวมยังค่อนข้างล้าหลังทั้ง 2 ด้าน แต่ธนาคารพาณิชย์ที่นำวิถีปฏิบัติของธนาคารที่ยั่งยืนไปประยุกต์ใช้น่าจะมีโอกาสทางธุรกิจหลายประการโดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงความสนใจของธนาคารหลายแห่งที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ภายหลังการเปิดตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบุกตลาดผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะการเติบโตอย่างก้าวกระโดของการใช่สมาร์ทโฟนและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (อ่านรายงานวิจัยเพิ่มเติม)

สฤณี อาชวานันทกุล

สฤณี ได้ยกองค์ประกอบของการธนาคารที่ยั่งยืน ตามในรายงาน “Banking for Sustainability ของ IFC หรือ International Finance Corporation ซึ่งต้องทำ 4 เรื่อง ดังนี้

1 ธนาคารต้องมีความมั่นคงทางการเงินของสถาบันการเงินและลูกค้า จะได้สามารถมีส่วนร่วมในระยะยาวกับการพัฒนาประเทศ

2 ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของโครงการและบริษัทต่างๆ ที่สถาบันการเงินออกทุนให้

3 ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมผ่านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4 ความยั่งยืนทางสังคมผ่านสวัสดิการของชุมชน

หากธนาคารให้ความสำคัญเรื่องนี้ คนจะให้ความเชื่อมั่นมากขึ้น ตัวนักลงทุนเองก็เรียกร้องให้สนใจความยั่งยืน และลุกค้าของธนาคารเองก็มีการเรียกร้องให้ธนาคารใส่ใจเรื่องของสินเชื่อที่ปล่อยไปแล้วไม่ก่อให้เกิดรายได้ ด้วย

นอกจากนี้ สฤณี ยังได้นเสนอระดับของธนาคารที่ยั่งยืน ตั้งแต่

1.     ระดับ ที่เน้นการประชาสัมพันธ์ ทำกิจกรรมซีเอสอาร์ การกุศล ไม่เกี่ยวใดๆ กับการดำเนินธุรกิจหลักของธนาคาร

2.     ระดับ ที่มีโครงการ กิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เช่น สินเชื่อเขียว มาเสริมผลิตภัณฑ์หลัก

ซึ่งธนาคารของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ 1 กับ 2

3.     ระดับที่มีหลักการและธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรากฐานของผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่างๆ ของธนาคาร

4.     ระดับ ที่มีการจับมืเป็นแนวร่วมกับธนาคารอื่นและสื่อสารกับสาธารณะ สนับสนุนนักลงทุนที่รับผิดชอบ แก้ไขกฏเกณฑ์กำกับดูแลภาคธนาคารให้มุ่งสู่ความยั่งยืน

5.     ระดับ ที่มีเป้าหมายไม่ใช่หลีกเลี่ยงสถานการณ์เชิงลบ อีกต่อไป แต่เน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างความร่วมมือของธนาคาร ที่สร้างเครือข่ายและให้รางวัล เช่น GABV ที่มีสมาชิก 25 แห่ง UNEP FI ที่มีสถาบันการเงินลงนามกว่า 200 แห่งทั่งโลก โดยมีธนาคารทิสโก้และ บ.กรุงเทพประกันภัย เข้าร่วมด้วย เป็นต้น

สฤณี กล่าวถึง แนวโน้มโลกที่ทำให้วิถีธนาคารที่ยั่งยืนมีประโยชน์ทางธุรกิจสูงขึ้น ประกอบด้วย วิถีธุรกิจที่ไม่ยั่งยืน มีความชัดเจนมากขึ้น ต้นทุนที่เคยตกอยู่กับสังคม สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ธุรกิจที่เป็นลุกค้าของธานคารต้องแบกรับมากขึ้น ข้อตกลงระหว่างประเทศ กฏหมายและแรงจูใจจากภาครัฐ อาทิ ภาษีคาร์บอน สิทธิประโยชน์ทางภาษี ฯลฯ กำลังเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับธุรกิจที่ยั่งยืน อาทิ พลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ รวมทั้ง เอ็นจีโอ หันมาให้ความสนใจ ธนาคารมากขึ้นในฐานะผู้มีบทบาท มีมาตั้งคำถามกับ ธนาคารมากขึ้น

ตัวอย่างกรณีความเสี่ยงทางการเงินของโครการเขื่อนไชยะบุรี ที่ไม่มีสถาบันการเงินรายใดในไทยลงนามรับหลัก Equator ไทยยังมีแต่บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ไม่มีบริษัทผู้เชี่ยวชาญไฟฟ้าพลังน้ำ ต้นทุนเพิ่มจากประมาณการเดิมแล้วกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาตราการดักตะกอนสุ่มเสี่ยงที่จะลดรายได้และเพิ่มค่าใช้จ่าย ไม่เคยได้รับความเห็นชอบจากกัมพูชาและเวียดนาม ประเทศท้ายน้ำที่จะได้รับผลกระทบสูงสุด กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าตามข้อตกลงไม่เคยแล้วเสร็จ ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินกู้คืน จากความเสี่ยงทางกฏหมาย

ระบบคุ้มครองผู้บริโภคการเงิน โดยเฉพาะหลังวิกฤติทางการเงิน เรียก World Bank Good Practices ของ ธนาคารโลก ประกอบด้วย อำนาจการกำกับดูแลไม่ควรกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน การเปิดเผยข้อมูลที่รับผิดชอบ ข้อมูลทั้งหมดต้องเปิดเผยในภาษาที่เข้าใจง่าย เพียงพอ ให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ใช้วิธีขายที่เป็นธรรมและเหมาะสม ไม่ยัดเยียด ให้เวลาเปลี่ยนใจ คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค มีกลไกเยียวยา รับเรื่อร้องเรียน และส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินและความตระหนักรู้เรื่องการเงิน

สำหรับประสิทธิผลของโครงการให้ความรู้ทางการเงิน เช่น จัดอบรม สิ่งที่มีประสิทธิผลจริงที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือต้องทำที่จุดขายหรือให้บริการ เพราะเป็นจุดที่คนต้องตัดสินใจ

สฤณี ระบุถึงนัยจากพฤติกรรมทางการเงินของคนไทย ค่าใช้จ่ายก่อนใหญ่ที่เป็นปัญหา คือประเภทที่เกิดกะทันหัน และอาศัยทุนทางสังคมไม่ได้ และคนไทยโดยรวมยังไม่ออมเงินระยะยาว ต้องบูรณาการให้ความรู้ทางการเงินในการออกแบบผลิตภัณฑ์เงินออมระยะยาว

หนี้ที่สร้างปัญหาจริงๆ คือหนี้ที่กำหนดยอดชำระสูงและเงินต้นไม่ลดลงระหว่างทางและคนจำนวนมากกลัวการเป็นหนี้ ต้องปรับปรุงมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลสินเชื่อและให้ความรู้เรื่องวิธีจัดการหนี้ คนไทยโดยรวมรู้สึกเครียดกับการทำบัญชีรายรับ-จ่าย ลำพังการแจกแบบฟอร์มบัญชี สอบบัญชีและสร้างเครื่องมือให้ความรู้ทางการเงินไม่เพียงพอ ต้องฝังการให้คำแนะนำอย่างสร้างสรรค์และให้กำลังใจด้วยเพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนใช้เครื่องมือจริงๆ 

เครือข่ายการธนาคารที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย

“เครือข่ายการธนาคารที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย” เป็นการรวมตัวกันของนักการเงิน นักการธนาคาร และบุคลากรในภาคการเงิน รวมถึงนักวิชาการด้านการเงินการธนาคาร ผู้มีความสนใจร่วมกันที่จะขับเคลื่อนภาคธนาคารกระแสหลักในไทย ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ “การธนาคารที่ยั่งยืน” (sustainable banking) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”

วัตถุประสงค์ของเครือข่ายฯ

1.     เป็นแหล่งเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการธนาคารที่ยั่งยืนของสมาชิก และระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอก ผ่านการจัดประชุม ประชุมเชิงปฏิบัติการ และ/หรืองานสัมมนารายไตรมาส

2.     เป็นเวทีกลางในการค้นคว้าวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการธนาคารที่ยั่งยืน

3.     เป็นสถาบันกลางในการติดต่อประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการธนาคารที่ยั่งยืน อาทิ BSRGlobal Alliance of Banking on Values (GABV)Equator PrinciplesInternational Finance Corporation

คุณสมบัติของผู้ประสงค์เป็นสมาชิก

1.     ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับภาคการเงินการธนาคารในประเทศไทย อาทิ นายธนาคาร นักวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่องค์กรกำกับดูแล กรรมการกลุ่มองค์กรการเงินชุมชน นักวิชาการด้านการเงิน

2.     มีความสนใจในแนวคิด วิถีปฏิบัติ และเหตุผลทางธุรกิจของ “การธนาคารที่ยั่งยืน”

3.     สามารถสละเวลามาร่วมกิจกรรมของเครือข่ายฯ ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง

สิทธิประโยชน์ของสมาชิก

1.     ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น

2.     รับข้อมูลข่าวสารของเครือข่ายฯ ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

3.     รับรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “Business Case for Sustainable Banking in Thailand” โดย บริษัท ป่าสาละ จำกัด และงานวิจัยทุกฉบับโดยเครือข่ายฯ ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

4.     หนังสือ “การเงินปฏิวัติ”  โดย สฤณี อาชวานันทกุล ฟรี! เมื่อสมัครเป็นสมาชิก (เฉพาะ 40 ท่านแรกเท่านั้น)

ท่านใดปรารถนาอยากยกระดับวงการธนาคารไทยไปพร้อมกับเรา เชิญสมัครได้แล้ววันนี้ โดยคลิกที่นี่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.แนะ รธน.ใหม่ต้องคงเสรีภาพสื่อ เสนอแก้กฎหมายจำกัดสิทธิประชาชน

$
0
0

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) แนะนายกฯ ประธาน สนช. ประธาน สปช. คงเสรีภาพสื่อในรัฐธรรมนูญ เสนอแก้ ก.ม.จำกัดเสรีภาพประชาชน-สื่อมวลชน แนะ สตง.ตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ เผยต่อสาธารณะทุก 3 เดือน

31 มี.ค.2558 นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติโดย คปก.มีความเห็นว่า เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นประเด็นสำคัญที่มีความเชื่อมโยงกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และเสรีภาพของสื่อมวลชนคือเสรีภาพของประชาชน

ในข้อเสนอแนะของ คปก.เสนอให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะต้องคงไว้ซึ่งหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนเพื่อเป็นการรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งถือเป็นหลักการที่สอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและฝ่ายการเมืองผ่านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการนำเสนอของสื่อมวลชน

นอกจากนี้ คปก.ยังยืนยันให้คงหลักเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สื่อมวลชนสามารถปฏิบัติภารกิจในการนำเสนอข่าวตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำหรือแทรกแซงภาครัฐ รวมถึงฝ่ายการเมืองหรือเจ้าของกิจการและรัฐธรรมนูญจะต้องคงไว้ซึ่งหลักการข้อห้ามนักการเมืองเข้าครอบงำกิจการสื่อสารมวลชนโดยการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนตามที่ปรากฏในมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดย คปก.ยังได้เสนอให้มีกฎหมายรองรับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อเป็นการปกป้องเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพสื่อ

สำหรับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เป็นข้อห้ามมิให้กระทำการที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกันระหว่างคนในชาติหรือศาสนา หรือยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ หรือใช้ความรุนแรงระหว่างกันนั้น คปก.มีความเห็นว่า จะต้องเป็นการบัญญัติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองด้วย

ส่วนข้อเสนอแนะของ คปก.ต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอแนะให้มีการทบทวนกฎหมายที่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน และเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน และต้องสร้างกลไกการตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ให้มีความโปร่งใส-ตรวจสอบได้ โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้ามาทำหน้าที่ดูแลองค์กรดังกล่าวเป็นการเฉพาะ และจะต้องเปิดเผยรายงานการตรวจสอบดังกล่าวต่อสาธารณะเป็นรายไตรมาส

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตผู้นำ นศ. สิงคโปร์ วิจารณ์ 'ลีกวนยู' เป็นเผด็จการนักสร้างภาพ

$
0
0

อดีตผู้นำ นศ. ที่เคยถูกรัฐบาลสิงคโปร์ตั้งข้อกล่าวหาจนต้องลี้ภัยทางการเมืองเขียนบทความถึงการเสียชีวิตของลีกวนยู อดีตผู้นำสิงคโปร์ ระบุว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ประชาชนได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ และตัวเขาคิดว่าสิงคโปร์ประสบความสำเร็จได้เองโดยไม่ต้องมีลีกวนยู

31 มี.ค. 2558 ตันหัวเปียว (Tan Wah Piow) อดีตผู้นำนักศึกษาสิงคโปร์ผู้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ลอนดอนในปี 2530 เขียนบทความตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการเสียชีวิตของ ลีกวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ได้รับการยกย่อง โดยแสดงความคิดเห็นที่ต่างออกไปว่าการเสียชีวิตของลีกวนยูจะทำให้ประชาชนชาวสิงคโปร์เป็นอิสระ

ตันหัวเปียวต้องลี้ภัยเพราะเคยถูกรัฐบาลสิงคโปร์ในยุคนั้นกล่าวหาว่าเขาร่วม "สมคบคิดลัทธิมาร์กซิสม์" (Marxist Conspiracy) ซึ่งมีคนถูกทางการสิงคโปร์จับกุมด้วยข้ออ้างนี้ 16 ราย เขาระบุในบทความว่าในชีวิตของลีกวนยูเขามีความเป็นห่วงอยู่เรื่องเดียวคือต้องการให้ประชาชนในชาติกลัวเขาทำให้เขาไม่มีเพื่อนร่วมงานมีแต่ลูกสมุน

ในแง่ที่ลีกวนยูถูกยกย่องให้เป็นผู้นำเผด็จการที่ประสบความสำเร็จโดยยังคงสร้างภาพความเป็นประชาธิปไตยและการมีหลักนิติธรรมได้นั้น ตันหัวเปียวมองว่าการที่ "สิงคโปร์โมเดล" ประสบความสำเร็จได้เป็นเพราะนครรัฐสิงคโปร์มีที่ตั้งที่ได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ในแง่ของการเป็นท่าเรือ รายล้อมด้วยประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากร นอกจากนี้ยังเป็นเพราะประชาชนที่มีความอุตสาหะและขยันขันแข็งอีกด้วย

ตันหัวเปียวระบุว่า สิ่งที่ลีกวนยูประสบความสำเร็จคือการสร้างความเชื่อผิดๆ ว่ามีแต่ตัวเขาคนเดียวเท่านั้นที่เป็นบิดาผู้ก่อตั้งบุกเบิกสิงคโปร์ แต่ความเชื่อนี้จะค่อยๆ ลบเลือนไปหลังการเสียชีวิตของเขา

"สำหรับคนที่ต้องการเป็นที่หวาดกลัวมากกว่าจะเป็นที่รัก ครอบครัวของเขาและสมุนของเขาที่ตอนนี้กำลังไว้ทุกข์ให้กับการเสียชีวิตของเขาก็ไม่ควรแปลกใจถ้าหากมีผู้เฉลิมฉลองการเสียชีวิตของเขาในฐานะเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่จะทำให้ประชาชนเป็นอิสระในที่สุด" ตันหัวเปียวระบุในบทความ

"การเสียชีวิตของลีกวนยูจะปลดล็อกผู้คนออกจากข้อห้ามและปลดปล่อยผู้คนออกจากความหวาดกลัว ความหวาดกลัวจะถูกลงโทษทางการเมืองทำให้ชาวเมืองและผู้อาศัยในสิงคโปร์ 'ง่อยเปลี้ย' อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่น ซึ่งความกลัวนี้ส่งผลไปถึงทั้งคนที่ร่ำรวยมากและคนที่ฉลาดมาก แม้กระทั่งผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงก็ยังกลัวที่จะแสดงความเห็นต่าง" ตันหัวเปียวระบุในบทความ

ตันหัวเปียววิเคราะห์อีกว่าพรรคกิจประชาชน (PAP) ที่ได้รับอานิสงค์จากการค้ำจุนโดยลีกวนยูมาตลอด 50 ปี ก็จะมีความสามารถในการครอบงำทางการเมืองลดลง และการเป็นชนชั้นนำทางการเมืองของพวกเขาก็ไม่ได้ง่ายอีกต่อไป


ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Tan_Wah_Piow

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อีสานระดมอีก ชูแผนแม่บทป่าไม้ประชาชน ยันผลกระทบแผนแม่บทป่าไม้จากรัฐ

$
0
0

นักกฎหมาย-นักวิชาการจัดเวทีระดมสมองปัญหาป่าไม้ที่ดินอีสาน ชี้ผลกระทบจากการจัดการป่าไม้ยุค คสช. ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่มีส่วนร่วม

เมื่อวันที่ 28 – 29 มี.ค.58 ที่ศาลาบ้านดินชุมชนหนองจาน ต.นาหองทุ่ม อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น ภาคประชาชนอีสานที่ได้รับผลกระทบเรื่องที่ดินทำกินทั้งในเขตพื้นที่ป่าไม้ และที่สาธารณะประโยชน์กว่า 80 คน ร่วมแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นจัดทำร่างแผนแม่บทป่าไม้โดยประชาชนเตรียมเสนอภาครัฐ โดยมีนักวิชาการและนักกฎหมายร่วมแลกเปลี่ยน

สมนึก ตุ้มสุภาพ  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า การระดมสมองครั้งนี้ต่อเนื่องจากเวทีสัมมนา “ยกร่างแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 – 20 มี.ค.58 ณ โรงแรมเจริญธานี  จังหวัดขอนแก่น โดยในวันดังกล่าว นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า ได้ร่วมเชิญตัวแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านป่าไม้ที่ดินในภาคอีสาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอจากภาคประชาชน ที่ร่วมกันร่างแผนแม่บทการจัดการป่าไม้ภาคประชาชน เสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวเพิ่มว่า เวทีครั้งนี้ จึงเป็นส่วนของชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ นัดหมายร่วมกันจัดทำแผนยกร่างแผนแม่บทฯ ที่จัดการกันเองโดยชุมชนขึ้นอีกครั้ง เพื่อรวบรวมและร่วมระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแต่ละพื้นที่ ทั้งปัญหาและผลกระทบต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อเตรียมเสนอภาครัฐให้ร่วมพิจารณาสนับสนุนแผนแม่บทที่ร่างโดยประชาชน ให้มีการกระจายอำนาจสู่ชุมชน รวมทั้งให้ผู้มีอำนาจสั่งการยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 ยกเลิกการจับกุม ไล่รื้อ และตัดฟันพืชผลของประชาชน และให้มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาร่วมกับภาคประชาชน เพื่อศึกษาว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทจำนวนเท่าไร อย่างไร

สมนึกเสริมอีกว่า ในพื้นที่ภาคอีสานภายหลังคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 64/57 และประกาศใช้แผนแม่บทป่าไม้ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ของรัฐพบว่า ประชาชนหรือราษฎรได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าว เท่าที่ร่วมแลกเปลี่ยนจากตัวแทนที่เข้าร่วมครั้งนี้พบว่า มีไม่ต่ำกว่า15 พื้นที่ และไม่น้อยกว่า 10 จังหวัดได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งคำสั่งให้ออกจากพื้นที่  เช่นชุมชนโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และชุมชนบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมินับจากวันที่ 25 ส.ค. 57 เจ้าหน้าที่สนธิกำลังปิดป้ายประกาศไล่รื้อ ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง

นอกจากนี้ บางพื้นที่ถูกตัดฟันอาสิน  จับกุมดำเนินคดี  และถูกผลักดันออกจากพื้นที่  ทั้งขโมยทรัพย์สินชาวบ้าน  ติดป้ายตรวจยึด  เช่น ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงชมภูพาน และป่าดงกระเฌอ บ้านจัดระเบียบ ต.หลุบเลา อ.ภูพาน จ.สกลนครโดยหน่วยงานภาครัฐเข้าทำการตัดต้นยางพาราไป 380 กว่าไร่ แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาบุกรุก 37 ราย โดนทั้งคดีอาญา บางรายโดนรื้อบ้าน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูพาน บ้านดานเม็ก ต.สำราญ อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ โดยเจ้าหน้าฝ่ายปกครองอำเภอสามชัยเจ้าหน้าที่ทหารชุดร้อย รส.1 ม.พัน 14 และเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรสามชัย  แจ้งให้ชาวบ้านมารวมกันเพื่อจะดำเนินการทำข้อมูลออกเอกสารสิทธิที่ดินให้  ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้รวบรวมบัตรประชาชนไว้  จากนั้นได้ทำการจับกุมดำเนินคดีชาวบ้าน

“แน่นอนว่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาส่งผลต่อความหวาดระแวงของประชาชนมาอย่างต่อเนื่องการดำเนินชีวิตแบบไม่มีความสุข ไร้สิ้นซึ่งความมั่นคง บางพื้นที่ถูกผลักดันออกไปแล้วคือ กรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ บ้านเก้าบาตร ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ครอบครัวต้องจากบ้าน สูญสลายกระจัดกระจายไปรับจ้างทำงานต่างถิ่นซึ่งข้อเท็จจริงกรณีข้างต้น มีอีกเป็นจำนวนมาก รัฐบาลที่ผ่านมาหลายยุคสมัยไม่สามารถดำเนินการให้เป็นที่ยุติได้กระทั่งปัจจุบัน หากแผนแม่บทดังกล่าวดำเนินการต่อ โดยไม่พิจารณาประวัติศาสตร์และพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นั้นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ อันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐ ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิที่ดิน การถูกอพยพอาจเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งชาวบ้านต้องถูกดำเนินคดีในฐานะผู้บุกรุกที่ดินอย่างแน่นอน ดังนั้นชาวบ้านจึงร่วมระดมยกร่างแผนประชาชนดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่ซ้ำรอยมานับครั้งไม่ถ้วน” ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน ดร.อลงกรณ์ อรรคแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มองว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้น ชาวบ้านมักเป็นผู้ถูกกระทำมาตลอด และนำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับภาครัฐ โดยภาพรวมมองว่า นอกจากปัญหาความเหลี่ยมล้ำที่ต่อเนื่องมาจากทุกยุคสมัยรัฐบาลไม่ได้มีนโยบายกระจายการถือครองที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความไม่เป็นธรรม เนื่องจากรัฐมีเป้าหมายให้ที่ดินกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มทุนเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เช่น การอนุญาตให้เอกชนเช่าทำประโยชน์ในเขตป่าและที่ดินของรัฐ ทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกต่อต้านความไม่เป็นธรรม แม้ชุมชนจะมีหลักฐานพร้อมข้อเท็จจริงในสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่า  แต่ขาดโอกาสที่จะเข้าพบและอธิบายข้อมูลให้กับผู้มีอำนาจให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นปัญหาเรื้อรังมาตลอด

อลงกรณ์ กล่าวว่า หากเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะผู้มีอำนาจสั่งการไม่พร้อมเปิดใจรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริง ให้เกิดการมีส่วนร่วมตัดสินใจกันหลายฝ่าย ชาวบ้านก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บุกรุกมาโดยตลอด ขณะเดียวกันภาครัฐกลับไม่เคยเข้าใจว่าชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างไรบ้าง ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน ตลอดจนครอบครัว และญาติพี่น้อง ทั้งในเรื่องชีวิตและทรัพย์สิน การถูกละเมิดสิทธิชุมชน และถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพียงฝ่ายเดียว

“ส่วนการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสอบ หรือการพิสูจน์สิทธิ์ ต้องมีความหลากหลาย ทั้งนี้ต้องมีลักษณะจำแนกแยกแยะให้ชัดเจน ระหว่างนายทุนที่ถือครองที่ดินในเขตป่า กับชาวบ้านที่มีกรณีพิพาทสิทธิในที่ดินกับหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ควรมีการระงับแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ออกไว้ก่อน และดำเนินการทบทวน โดยเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในช่วงที่ผ่านมา “อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองกล่าว

ด้านวิบูลย์ บุญภัทรรักษา ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากพิเคราะห์ลึกลงไปในรายละเอียดให้มากกว่านี้ จะเห็นว่านับแต่มีกฎหมายป่าไม้ รวมทั้ง พ.ร.บ.ต่างๆ ที่คลอดออกมา ทุกฉบับไม่มีพื้นที่สำหรับในเรื่องของสิทธิชุมชนที่เอื้อประโยชน์ให้ชาวบ้านสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารจัดการได้เลย ดังนั้น หลักการแก้ไขปัญหาต้องคำนึงถึงการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และการเข้าถึงสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชน โดยพิจารณามาตรการหลักๆ เพื่อผลักดันให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เช่น การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า กองทุนธนาคารที่ดิน และการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อความยั่งยืนในแต่ละพื้นที่ด้วย

ที่ปรึกษาศูนย์ฯ กล่าวเพิ่มว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะสามารถดำเนินการแก้ไขได้ ควรอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะหันมาให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการทบทวนแผนแม่บทป่าไม้ฯ ไม่เช่นนั้น คำสั่ง คสช.ฉบับที่ 66/57 ที่ระบุและมีผลบังคับใช้ ว่า การกระทำใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆ ยกเว้นผู้บุกรุกใหม่จะต้องดำเนินการสอบสวน และพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการขั้นตอนต่อไป ตรงกันข้ามผู้มีอำนาจกลับไม่หยิบคำสั่ง 66/57 มาบังคับใช้ ในฐานะที่ชาวบ้านต่างถือครองทำประโยชน์มาก่อนที่รัฐจะเข้ามาประกาศเขตป่าต่างๆ ทับซ้อน อีกทั้งชาวบ้านก็ไม่ได้มีการบุกรุกเพิ่มแต่อย่างใด รวมทั้งพื้นที่พิพาทก็ได้มีกระบวนการแก้ไขมาโดยตลอด ล่าสุดมติตามนโยบายข้อเสนอในที่ประชุมให้ชะลอและยุติการดำเนินการใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตอันปกติสุขของประชาชน

“หากวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุแห่งความขัดแย้ง จะพบว่ากรอบความคิดและแนวปฏิบัติของรัฐ จะมุ่งผูกขาดอำนาจการจัดการทรัพยากรป่าไม้ไว้ที่หน่วยงานรัฐเพียงส่วนเดียว รวมทั้งทัศนะในการมองปัญหาว่าการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศเกิดจากการบุกรุกของราษฎร ทำให้ความไม่ชอบธรรมตกอยู่ที่ชาวบ้านสิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นการสร้างความไม่ปกติสุขในการดำเนินชีวิตให้กับชาวบ้าน ไม่ใช่เป็นการคืนความสุขอย่างแท้จริง และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่ง “ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายฯ ให้ความเห็น ทิ้งท้าย

ในเวทีระดมความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้ภาครัฐมีส่วนร่วมการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐที่ประกาศทับซ้อนชุมชนและพื้นที่ทำกิน จัดทำแนวเขตและจำแนกที่ดินให้ชัดเจน รวมทั้งจัดสรรที่ดินและรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินให้กับราษฎรที่ยากจน และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการที่ดินร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการ หรือการใช้แนวคิดในระบบนิเวศวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการฟื้นฟูฐานทรัพยากรโดยชุมชน รวมทั้งเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ผลกระทบพื้นที่เขตป่า ผู้เข้าร่วมเวทีที่ได้รับผลกระทบจากกรณีพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ให้ข้อมูลว่า ถูกหน่วยงานท้องถิ่น เข้ามาดำเนินการปิดกั้นพื้นที่พิพาทหลังมีประกาศคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และแผนแม่บทป่าไม้ฯ รวมทั้งยื่นคำขาดให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ เช่น กรณีที่สาธารณะประโยชน์โคกป่าแดง ต. สำโรงปราสาท อ.ปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงปราสาท อ้างคำสั่ง คสช.ที่ 64 /2557 จัดทำโครงการขุดคลองส่งน้ำโดยขุดผ่านที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของชาวบ้าน รวมทั้งมีการแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้านข้อหาบุกรุกพื้นที่

กรณีที่สาธารณะประโยชน์ทุ่งซำเสี้ยว ต.สระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดำเนินการขุดลอกแนวเขตที่สาธารณะประโยชน์ทำให้พืชพันธุ์ผลอาสิน อาทิ ไร่อ้อย และนาข้าว ถูกทำลายได้รับความเสียหาย

และกรณีที่สาธารณะโคกหนองสิม ต.โพนสูง อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด จากเหตุการณ์วันที่ 12 ก.พ.58 มีเจ้าหน้าที่ประกอบด้วย จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด กองทัพภาคที่สอง รวมทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กว่า 60 นาย เข้ามาตรวจสอบพื้นที่พร้อมข่มขู่ให้ชาวบ้านที่ไปร่วมลงชื่อออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ยังขู่ว่าจะทำการรื้อถอนวัด และมีการข่มขู่ว่าหากพระกลับเข้ามาจะจับสึกโดยทันที ทำให้วันนี้พระยังไม่กล้ากลับเข้ามาจำวัด


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.เตรียมใช้ มาตรา 44 ตั้งสถาบันการบินพลเรือนอิสระ-แก้ปัญหาการบินถูกลดชั้น

$
0
0

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด เผยนายกรัฐมนตรีหารือเรื่องแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในกิจการประมง และยกเลิกการใช้ "กฎอัยการศึก" เพราะต่างชาติกังวล แต่จะใช้มาตรา 44 แทน โดยเตรียมใช้อำนาจตั้งสถาบันการบินพลเรือนแห่งชาติให้กลายเป็นหน่วยงานอิสระแบบ กสทช.

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมตลาดศิลปะคลองผดุงกรุงเกษม และสำรวจคลองผดุงกรุงเกษม ณ ริมคลองผดุงกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต กทม. เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2558 (ที่มา: แฟ้มภาพ/เว็บไซต์รัฐบาลไทย)

31 มี.ค. 2558 - ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมฯ ถึงเรื่องที่นายกรัฐมนตรีปรารภและสั่งการต่อที่ประชุมฯ สรุปสาระสำคัญ รายงานในเว็บไซต์รัฐบาลไทยดังนี้

การประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนเมษายน 2558 จะมีการประชุม 3 ครั้ง คือ วันที่ 7, 21 และวันที่ 28 เมษายน 2558 อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 เมษายน 2558 เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีภารกิจที่จะเดินทางไปเยือนต่างประเทศจึงได้มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม ครม.แทน

สำหรับเรื่องการช่วยเหลือแรงงานประมงไทยที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงที่ผิดกฎหมายและยังอยู่ในต่างประเทศนั้น ปรากฏว่าตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2557 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ทางกระทรวงการต่างประเทศได้มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อดำเนินการช่วยเหลือแรงงานประมงไทยให้เดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว จำนวน 146 ราย โดยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมาก็ได้มีการช่วยเหลือแรงงานประมงไทยกลับประเทศอีก จำนวน 21 ราย และในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้จะมีการช่วยเหลือแรงงานประมงเพิ่มอีกจำนวน 6 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการในเรื่องหลักฐานอีก 3 ราย ซึ่งหากดำเนินการเรื่องดังกล่าวเรียบร้อยก็จะทยอยเดินทางกลับประเทศไทย ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวเรื่องการค้ามนุษย์และการทำประมงที่ผิดกฎหมาย รัฐบาลได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาในระดับผู้ประกอบการ เรือประมง แรงงานที่ทำงานในเรือประมง การจัดซื้อจัดจ้าง และการติดตั้ง GPS เพื่อตรวจสอบเรือประมงว่าทำประมงในพื้นที่ที่ถูกต้องหรือไม่ และเข้าไปในเขตที่ทับซ้อนกับประเทศอื่นหรือไม่ เป็นต้น ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงให้ที่ประชุม ครม. ได้รับทราบอีกครั้งว่า รัฐบาลไม่ได้ช่วยเหลือแรงงานประมงไทยและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะยาวควบคู่ไปพร้อมกันด้วย

ส่วนเรื่องแนวทางการใช้อำนาจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วครานั้น นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชี้แจงในรายละเอียดเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตามรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าเบื้องต้นสามารถแบ่งสัดส่วนของการใช้อำนาจตามมาตร 44 ของ คสช. เป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรกคือ การใช้เพื่อแก้ไขปัญหาต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ได้รับการเพ่งเล็งจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องมาตรฐานการบินระหว่างประเทศของสหประชาชาติ รวมทั้งเรื่องการหากฎกติกามาทดแทนเรื่องของกฎอัยการศึก

ทั้งนี้ในส่วนกรณีของ ICAO ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ได้ถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือจาก ICAO เพียงแต่มีการแจ้งเตือนมาว่าสิ่งที่ ICAO ได้แจ้งเตือนมาและชี้แจงข้อบกพร่องมาตั้งแต่ปี 2548 เรายังไม่ได้มีการแก้ไขให้เป็นไปตามที่ ICAO กำหนด ซึ่งล่าสุดได้มีการแจ้งเตือนมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมาว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ไทยดำเนินการไม่เป็นไปตามที่ ICAO แจ้งเตือน คือ กฎระเบียบยังไม่ครบถ้วนและทันสมัย เจ้าหน้าที่เทคนิคยังไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่มีระยะเวลาไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบทางด้านเทคนิคอย่างถูกต้อง การฝึกอบรมเจ้าเจ้าหน้าด้านเทคนิคไม่ครบถ้วนทำให้ขาดประสบการณ์และความรู้ที่จำเป็น เครื่องมืออุปกรณ์ไม่เพียงพอ และขาดระบบในการติดตามตรวจสอบและการแก้ไขข้อบกพร่อง จนส่งผลให้ญี่ปุ่นประกาศห้ามเครื่องบินแบบเช่าเหมาลำของไทยเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานการบินขององค์การการบินระหว่างประเทศนั้น จะไปโทษญี่ปุ่นไม่ได้เพราะเรื่องของมาตรฐานการบินประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศผู้นำในเรื่องของเทคโนโลยี ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไทยจะต้องมีการปรับแก้ไข

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับต่อกรณีดังกล่าวพบว่า ในการแก้ไขของเรานั้นต้องมีการปรับแก้ในหลายรูปแบบ เช่น เรื่องการปรับหน่วยงานที่รับผิดชอบจากกรมการบินพลเรือนที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นหน่วยงานของทางราชการ ซึ่งข้อเท็จจริงของ ICAO แล้วต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องมาตรฐานทางด้านการบินเป็นหน่วยงานอิสระ จึงมีการวางแผนว่าจะปรับให้กลายเป็นสถาบันการบินพลเรือนแห่งชาติและให้เป็นหน่วยงานอิสระคล้ายกับ กสทช. ขณะเดียวกันจะมีการจัดตั้งกรมควบคุมการขนส่งทางอากาศเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติ โดยจะเป็นการแยกหน่วยควบคุมกับกำดูแลออกจากหน่วยปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามกฎกติกาของ ICAO กำหนด รวมทั้งจะมีการปรับโครงสร้างอัตรากำลังพล ซึ่งดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดดังกล่าวคาดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง ดังนั้นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการพิจารณาที่จะใช้อำนาจของ คสช. ตามมาตรา 44 ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้ คสช. สามารถที่จะใช้อำนาจในการแก้ไขปัญหาเรื่องต่าง ๆ ได้ จึงถือเป็นการใช้อำนาจในทางที่สร้างสรรค์เพื่อลดขั้นตอนต่าง ๆ และให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระยะเวลาในการปรับแก้ไขเรื่องดังกล่าวภายใน 90 วัน ตามกฎกติกาของ ICAO กำหนด ซึ่งคาดว่าภายใน 90 วัน จะสามารถส่งรายละเอียดการแก้ไขเกี่ยวกับมาตรฐานการบินของไทยไปที่ ICAO อีกครั้งได้ ซึ่งหากผ่านการพิจารณาของ ICAO ก็จะทำให้ข้อกังวลในเรื่องนี้หมดไป อย่างไรก็ตามหากไม่ผ่านก็จะถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือลง ซึ่งจะส่งผลต่อเรื่องเที่ยวบินต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ฉะนั้น นายกรัฐมนตรี จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ว่าเป็นการใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์และขอให้ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือเพื่อให้การแก้ไขปัญหานี้ลุล่วงไปได้ด้วยดีตามระยะเวลาที่กำหนด

ส่วนกรณีกฎอัยการศึกที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 นั้น ได้มีการปรารภในที่ประชุมฯ ว่า ต่างประเทศมีความเป็นกังวลต่อคำว่า “กฎอัยการศึก” ซึ่งโดยปกติแล้วในประเทศไทยทุกคนจะเข้าใจว่ากฎอัยการศึกเราไม่ได้นำมาใช้ในทุกมาตรา จะใช้เพียงบางข้อที่จำเป็นให้สอดคล้องกับสถานการณ์เท่านั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถที่จะเข้าไปตรวจค้น จับกุมหรือสืบสวนสอบสวนผู้ที่มีข้อมูลโยงใยจะก่อเหตุวุ่นวายกับบ้านเมือง ซึ่งในต่างประเทศไม่ได้สนใจเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นเพื่อทำให้สังคม โดยเฉพาะในต่างประเทศเกิดความสบายใจจึงพยายามหาแนวทางในการใช้อำนาจของ คสช.ตามมาตรา 44 มากำหนดเป็นกฎหมาย เพื่อดำเนินการในเฉพาะเรื่องซึ่งจะทำให้บรรยากาศโดยรวมดีขึ้น ส่วนรายละเอียดในการดำเนินการดังกล่าวนั้น นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นผู้ชี้แจงต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.ตำรวจนครบาล เชื่อ ‘ระเบิดปลอม’ ย่านพัฒนาการ หวังสร้างสถานการณ์

$
0
0

พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ระบุวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิด ย่านพัฒนาการเป็นของปลอม เชื่อเป็นการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความแตกตื่น จากนี้จะนำไปตรวจหาดีเอ็นเอ ลายนิ้วมือแฝง

1 เม.ย.2558 เมื่อ เวลา 10.45 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งว่าพบวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิดผูกติดกับเสาไฟฟ้าบริเวณปากซอยพัฒนาการ 65 จึงทำการปิดการจราจรและเข้าตรวจสอบ

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดตรวจสอบพบว่ามีลักษณะคล้ายระเบิดไดนาไมท์ และมีสายไฟรวมทั้งแผงวงจรติดอยู่ด้วย

ต่อมาจากการตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่าวัตถุดังกล่าวเป็นระเบิดปลอม โดยมีการใช้กระดาษม้วนเป็นแท่งคล้ายระเบิด แต่ไม่มีดินระเบิดภายใน รวมทั้งมีการนำแผงวงจรมาประกอบ แต่ไม่มีการต่อวงจร ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เก็บกู้แล้ว

พ.ต.อ.กำธร อุ่ยเจริญ ผู้กำกับการกลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด หรือ อีโอดี เปิดเผยว่าวัตถุระเบิดปลอมที่พบเป็นสิ่งเทียมอาวุธที่ทำขึ้นมาคล้ายระเบิดชนิด “โฮคบอมบ์” (Hoaxbomb) จากการตรวจสอบคาดเป็นนาฬิกาปลุกที่ทำรูปทรงคล้ายระเบิด เพราะยังขาดอุปกรณ์หลายชนิดที่จะประกอบเป็นระเบิดได้

ด้าน พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเดินทางมาตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ยืนยันระเบิดที่พบเป็นระเบิดปลอม เชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความแตกตื่น จากนี้จะนำไปตรวจหาดีเอ็นเอ ลายนิ้วมือแฝง พร้อมตรวจสอบภาพจากล้องวงจรปิด เพื่อเร่งติดตามผู้ที่นำมาวางไว้ โดยมีความผิดเข้าข่ายมีสิ่งเทียมอาวุธผิดกฎหมาย ทั้งนี้ตนไม่ขอเตือนผู้ไม่หวังดีให้เลิกสร้างสถานการณ์ ยืนยันตำรวจมีหน้าที่จับอย่างเดียว

เรียกเรียงจาก สำนักข่าวไทยและ โพสต์ทูเดย์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: พิสูจน์การทรมานด้วยพิธีสารอิสตันบูล

$
0
0

 

ข่าวคราวที่อื้อฉาวในช่วงระยะหลังๆที่ทำให้องค์การด้านสิทธิมนุษยชนหลายองค์การออกมาท้วงติงการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐไทยที่มีต่อผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังว่ามี"การทรมาน"เกิดขึ้น จนมีการตอบโต้อย่างรุนแรงและแข็งกร้าวจากผู้นำของรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยต่างฝ่ายต่างก็อ้างข้อมูลของฝ่ายตนเองมาสนับสนุนและโต้แย้ง ซึ่งอันที่จริงเรื่องดังกล่าวนี้มีวิธีปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำที่ชัดเจนอยู่แล้วก็คือสิ่งที่เรียกว่า "พิธีสารอิสตันบูล: คู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีการทรมาน และ การปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ( Istanbul Protocol: Manual on the Effective Investigation and Documentation of Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment)" นั่นเอง

พิธีสารอิสตันบูลนี้ได้ถูกนำเสนอต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2542 และไทยเราก็ได้ลงนามและให้สัตยาบันต่อออนุสัญญาต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ(UN Convention against Torture)หรือเรียกย่อๆว่า CAT ไปแล้วเมื่อปี 2550 กอปรกัปมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ปี 57 (ฉบับชั่วคราว)ก็ให้การยืนยันที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อองค์การระหว่างประเทศไว้ ไทยเราจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม

พิธีสารอิสตันบูลนี้เกิดจากความร่วมมือของนักนิติวิทยาศาสตร์ แพทย์ นักจิตวิทยา ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนและนักกฎหมายในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อวางหลักการมาตรฐานในการบันทึกรวบรวมพยานหลักฐานกรณีการทรมานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้เสียหายจากการถูกทรมานเพื่อการคุ้มครองและเยียวยา และสามารถนำเสนอพยานหลักฐานอันเกิดจากการได้รับบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจต่อศาลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

การนำนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic science) และนิติจิตเวชศาสตร์ (Forensic psychiatry) เป็นเครื่องมือและกลไกหนึ่งที่เข้ามาสนับสนุนให้กระบวนการยุติธรรมต่อเหยื่อผู้รอดพ้นจากการทรมาน จะเกิดประสิทธิผลอันทำให้ผู้เสียหายได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายและได้รับการเยียวยาได้ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่าย สำหรับนิติจิตเวชศาสตร์เป็นองค์ความรู้ใหม่ในสังคมไทยที่จะนำมาใช้กับเหยื่อผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมานไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบและจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีอำนาจ

นิติวิทยาศาสตร์และนิติจิตเวชศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมที่จะสามารถคุ้มครองเหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเหยื่อผู้เสียหายด้านการทรมานและการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมควรได้รับความรู้ ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและการเยียวยาความเสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากกระทรวงยุติธรรม

เนื้อหาในพิธีสารนั้นมีครบถ้วนกระบวนความในอันที่จะพิสูจน์การทรมาน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกาย ผิวหนัง ใบหน้า ทรวงอกและช่องท้อง ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ระบบสืบพันธุ์และปัสสาวะ ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย รวมไปถึงการตรวจร่างกายและประเมินผลที่ได้รับจากการทรมานในรูปแบบต่างๆอีกด้วย เช่น การทุบตีและการกระแทกด้วยวัตถุไม่มีคม การทุบตีเท้า การแขวน การทรมานด้วยการจี้ การทรมานที่เกิดกับฟัน การขาดอากาศหายใจ การทรมานทางเพศซึ่งรวมถึงการกระทำชำเรา

พิธีสารฯนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทยและจัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดย American Bar Rule Of Law Initiative (ABA ROLI) หรือเนติบัณฑิตยสภาแห่งอเมริกาเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชนทั่วโลก และเป็นส่วนย่อยจาก American Bar Association (ABA) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพนักกฎมายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 400,000 คน ทั้งผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายความ นักกฏหมายและอาจารย์ด้านกฎหมายที่ได้อาสาและให้การสนับสนุนความช่วยเหลือทางกฎหมาย (pro bono)

กว่า 20 ปีที่ผ่านมา ABA ROLI ได้มีโครงการและดำเนินงานในการปฏิรูปกฎหมาย เสริมสร้างระบบกระบวนการยุติธรรม ให้ความรู้ด้านกฎหมาย และมีโครงการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนใน ๔๐ ประเทศทั่วโลก ABA ROLI มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิมนุษยชน โดยให้ความสำคัญเรื่องสิทธิของเหยื่อผู้เสียหาย และการตรวจสอบรวบรวมหลักฐานด้วยนิติวิทยาศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เนปาล ฟิลิปปินส์รวมถึงประเทศไทยเราด้วย
ฉะนั้น จึงเป็นอันว่าไม่ต้องมาเถียงกันให้เปลืองน้ำลายให้มากความ เพราะเป็นหน้าทีที่จะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว เนื้อหาสาระฉบับเต็มก็ไม่ต้องซื้อหาให้ยุ่งยากแต่อย่างใดเพราะมีให้ดาวน์โหลดฟรีอยู่แล้ว

ถามว่าเซ็นสัญญาและให้สัตยาบันแล้วไม่ปฏิบัติตามได้ไหม ก็ต้องตอบว่าได้เพราะเราเป็นรัฐเอกราชมีอธิปไตยเป็นของตนเองและคิดว่าเราจะอยู่คนเดียวในโลกไม่คบหาสมาคมกับใครอีกแล้วในโลกนี้ ขนาดรัสเซียที่เคยยิ่งใหญ่เจอกรณียูเครนเข้าไปตอนนี้ยังสะบักสะบอม ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะออกหัวออกก้อยเหมือนกัน

 


หมายเหตุ:

1) เนื้อหาของบทความนี้ส่วนใหญ่นำมาจาก voicefromthais.wordpress.com ซึ่งผมขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ครับ
2) เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 1 เมษายน 2558

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โฆษก ตร. เผยเตรียมออกหมายจับผู้เกี่ยวคดีปาระเบิดศาลเพิ่ม

$
0
0

โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยกำลังรวบรวบพยานหลักฐานขอหมายจับผู้ต้องหาผู้เกี่ยวข้องคดีปาระเบิดศาลเพิ่มเติม ส่วน ‘อเนก ซานฟราน’ ยังไม่สามารถดำเนินการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้

1 เม.ย.2558 พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าคดีลอบปาระเบิดศาลอาญา รัชดาภิเษก ว่า พนักงานสอบสวนกำลังรวบรวบพยานหลักฐานขอหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มเติม คาดว่าในเร็ววันนี้จะออกหมายจับผู้เกี่ยวข้องได้เพิ่มอีก 1 คน โดยนายธราเทพ มิตรอารักษ์ บุตรชายของนางสุภาพร มิตรอารักษ์ หรือเดียร์ 1 ในผู้ต้องหาในส่วนของผู้จ้างวาน เป็น 1 ในคนที่กำลังถูกพิจารณาขอออกหมายจับ

ส่วนความคืบหน้าในการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดน โดยเฉพาะนายมนูญ ชัยชนะ หรือ อเนก ซานฟราน และนายธณาวุฒิ อภินันท์ถาวร ผู้ต้องหาที่ยังอยู่ในต่างประเทศนั้น เนื่องจากคดีนี้ยังไม่ได้ส่งฟ้องจึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามได้มีการแปลหมายจับส่งให้ตำรวจสากล หรือ อินเตอร์โปลช่วยติดตามและเฝ้าระวังแล้ว

ที่มาสำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นไม่ขำถ้อยคำ 'พล.อ.ประยุทธ์' คุกคามนักข่าว-ระบุผิดหวังและเสียใจ

$
0
0

กรณีถ้อยคำ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อสัปดาห์ก่อน ล่าสุด 'เดวิด ไคย์' ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านสิทธิเสรีภาพ ระบุว่าความคิดที่จะสังหารนักข่าวหรือปิดสื่อเพียงเพราะวิจารณ์รัฐบาล แถมนำมาทำเป็นเรื่องตลกนั้นถือเป็นสิ่งน่าประณาม พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยออกห่างจากถ้อยคำคุกคามเสรีภาพสื่อ และดำเนินการทันทีเพื่อให้มีพื้นที่แสดงความเห็น

เดวิด ไคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก (ซ้าย) และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. (ที่มา: OHCHR/เว็บไซต์รัฐบาลไทย/แฟ้มภาพ)

1 เม.ย. 2558 - มีรายงานว่า เดวิด ไคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ซึ่งอยู่ที่นครเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ ได้เผยแพร่ใบแถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงตัวออกห่างอย่างชัดเจนต่อถ้อยคำคุกคามเสรีภาพสื่อของผู้นำรัฐบาลไทย และดำเนินมาตรการโดยพลันเพื่ออนุญาตให้มีพื้นที่อภิปรายถกเถียงและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (อ่านแถลงการณ์ในเว็บของ OHCHR)

ในใบแถลงข่าวยังระบุว่า "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2557 กล่าวถึงนักข่าวที่วิพากวิจารณ์ตนหรือ "สร้างความแตกแยก" ว่าอาจถูกลงโทษประหารชีวิตและกล่าวว่าตน "มีอำนาจในการปิดสื่อทุกสื่อ จับ และ ยิงเป้า"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกกล่าวย้ำว่า "ผมขอประณามถ้อยคำดังกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ อย่างไม่มีเงื่อนไข ในรอบปีที่ผ่านมามีการสังหารและใช้ความรุนแรงต่อนักข่าวทั่วโลก การกล่าวถ้อยคำลักษณะเช่นนี้เป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติระบุด้วยว่า "เราได้รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเกี่ยวกับการโจมตี สังหาร และจำคุกนักข่าวจำนวนมาก "การกระทำเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อปิดการวิพากษ์วิจารณ์และปฏิเสธมิให้พลเมืองเข้าถึงสิทธิในข้อมูลข่าวสาร"

นายเดวิดกล่าวว่า "นักข่าวทุกๆ ประเภททำหน้าที่สำคัญที่เป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย" นั่นคือ "ฉายภาพให้เห็นว่ารัฐบาลได้ปฏิบัติงานสอดคล้องกับหลักนิติธรรม หรือมีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นและละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ การข่มขู่คุกคามนักข่าวจึงเป็นการโจมตีสิทธิของสาธารณะที่จะได้รับรู้ข้อมูล"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติกล่าวด้วยว่า "ไม่มีข้อมูลใดที่บ่งบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถ้อยคำดังกล่าวอย่างเป็นเรื่องตลก แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะกล่าวในลักษณะนั้น การที่ความคิดในการสังหารนักข่าวหรือการปิดสื่อเพียงเพราะการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสามารถนำมาทำเป็นเรื่องตลกได้นั้นเป็นสิ่งที่น่าประณาม"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติระบุว่า ประเทศไทยควรดำเนินมาตรการเพื่อยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันก็แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อความเป็นไปได้ที่จะนำมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้ ซึ่งมาตรานี้จะให้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขตกับ พล.อ.ประยุทธ์ ในการสั่งการใดๆ ซึ่งมีผลบังคับทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร และทางตุลาการ

นายเดวิดกล่าวย้ำว่า "เสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนที่จะสามารถรายงานข่าวได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกตอบโต้แก้แค้น ช่วยส่งเสริมการอภิปรายถกเถียงสาธารณะ และเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างสังคมที่มีความบูรณาการและเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเสรีภาพดังกล่าวรวมถึงสิทธิที่ทุกคนจะแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐได้"

"รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐไม่เพียงต้องเคารพบทบาทหน้าที่ของนักข่าวเท่านั้น แต่ควรจะต้องประณามอย่างเปิดเผยต่อการข่มขู่คุกคาม การโจมตีนักข่าวในทุกๆ รูปแบบโดยผู้มีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงสุด และรับประกันไม่ให้ใครสามารถถูกข่มขู่คุกคามได้" ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวย้ำ

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ยังแสดงความกังวลต่อการจับกุมคุมขังประชาชนตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น และเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ที่มีความเห็นต่าง และยังกล่าวด้วยว่า "สิ่งเหล่านี้สำคัญมากในช่วงเวลาที่มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะกำหนดทิศทางของประเทศในอนาคต"

สำหรับนายเดวิด ไคย์ เป็นชาวสหรัฐอเมริกา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

โดยผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติเป็นส่วนหนึ่งของกลไกพิเศษ หรือ Special Procedure ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กลไกพิเศษซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ในการติดตามสถานการณ์ในประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนประเด็นหนึ่งทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญของกลไกพิเศษดำเนินงานในฐานะอาสาสมัคร เขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติและไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากการทำงาน เป็นอิสระจากรัฐบาลหรือองค์กรใดๆ และทำงานภายใต้ศักยภาพส่วนบุคคล

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เดวิด ไคย์

$
0
0

"เสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนที่จะสามารถรายงานข่าวได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกตอบโต้แก้แค้น ช่วยส่งเสริมการอภิปรายถกเถียงสาธารณะ และเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างสังคมที่มีความบูรณาการและเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเสรีภาพดังกล่าวรวมถึงสิทธิที่ทุกคนจะแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐได้"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติฯ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงตัวออกห่างอย่างชัดเจนต่อถ้อยคำคุกคามเสรีภาพสื่อของผู้นำรัฐบาลไทย

แดนทอง บรีน มอง 'ลีกวนยู' ทำสิงคโปร์เป็นประเทศที่หยุดโต

$
0
0

ประธานที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนวิพากษ์ ลีกวนยู ไม่ใช่รัฐบุรุษ แต่เหมือนนักฉวยโอกาสที่หวาดระแวง สร้างชาติจากการเป็นตัวกลางการค้าอย่างเดียว ทำให้นอกจากเรื่องการค้าแล้วสิงคโปร์แทบจะไม่มีสิ่งยึดโยงด้านอื่นกับประชาคมโลกเลย


31 มี.ค. 2558 แดนทอง บรีน ประธานที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เขียนบทความเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ ลีกวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ผู้ที่มักจะถูกมองว่าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสิงคโปร์ให้กลายเป็นประเทศที่มีความเจริญเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตามบรีนเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิดที่ถูกเผยแพร่ต่อกันมาเป็นทอดๆ

"ความเข้าใจผิดที่ถูกโฆษณาชวนเชื่อกันในทุกวันนี้คือการบอกว่าลีกวนยูเป็นคนสร้างปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจจากอากาศในโลกยุคหลังอาณานิคม" บรีนระบุในบทความ

แต่ที่สิงคโปร์เป็นอย่างทุกวันนี้ได้ ไม่ใช่เพราะปาฏิหาริย์ บรีนระบุว่าความมั่งคั่งและการเติบโตของสิงคโปร์มาจากรายได้จากสงครามเกาหลีครั้งที่ 1 และสงครามเวียดนามจากการที่สิงคโปร์เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องบินทิ้งระเบิด B59 ซึ่งทำลายประเทศในเอเชียประเทศอื่น นอกจากสงครามแล้วในเวลาต่อมาสิงคโปร์ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างประเทศในเอเชียที่แบ่งแยกโดยอุดมการณ์ที่ต่างกัน เช่นกับกลุ่มประเทศพันธมิตรในยุคสงครามเย็นจะถูกห้ามค้าขายกับจีน สิงคโปร์ก็เสนอเป็นตัวกลางให้โดยเป็นผู้รับซื้อจากจีนแล้วขายต่อให้กับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์ใช้ความได้เปรียบด้านแหล่งที่ตั้งในการค้าขายสินค้าที่ได้รับความนิยม

บรีนระบุว่าเป็นเรื่องเข้าใจได้ที่หลังการเสียชีวิตลีกวนยูจะได้รับการยกยอถึงแม้ว่าเขาจะสนับสนุนการปิดกั้นสื่อก็ตาม เพราะนโยบายของลีกวนยูเป็นไปตามจุดยืนของตะวันตกในช่วงสงครามเย็นรวมถึงนโยบายโลกาภิวัตน์ที่ตามมา บรีนมองว่าในขณะที่ลีกวนยูวางมาดให้น่าชื่นชมในเวทีโลกแต่ในความเป็นจริงลีกวนยูเหมือนคนที่เล่นละครหุ่นแสดงการยึดกุมอำนาจในรัฐเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ ถ้าประวัติศาสตร์บิดผันไปสิงคโปร์อาจจะกลายเป็นเมืองท่าของสหพันธรัฐมาลายาซึ่งเป็นรัฐสืบทอดต่อจากอาณานิคมอังกฤษไปแล้ว

"ลีกวนยูเป็นนักเผด็จการ เขาวางแผนและชักใยนครรัฐของเขา เขาไม่เคยเป็นรัฐบุรุษเลย" บรีนระบุในบทความ

บรีนบรรยายลักษณะเมืองของสิงคโปร์ว่าเป็นพื้นที่ๆ ไม่มีเขตห่างไกลความเจริญทำให้รัฐไม่ต้องมีความรับผิดชอบต่อชุมชนชนบทและแรงงานพึ่งพา สิงคโปร์เคยอาศัยแรงงานจากชาวมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนกับการศึกษาหรือการฝึกอบรมแรงงาน ต่อมาชาวมาเลเซียเริ่มอายุมากขึ้นหรือเริ่มล้มป่วยแล้วจึงพากันกลับบ้านในมาเลเซียโดยไม่กลายเป็นผู้ถ่วงเศรษฐกิจของสิงคโปร์ แรงงานส่วนใหญ่ของสิงคโปร์ในตอนนี้จึงเป็นชาวจีนที่อพยพไปอยู่ในสิงคโปร์แทน

บรีนวิจารณ์ลีกวนยูว่าเขาไม่มีอะไรเลยที่จะเรียกได้ว่าเป็นรัฐบุรุษนอกจากท่าทีหยิ่งยโสในการทำให้สิงคโปร์เป็นจุดเชื่อมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ลีกวนยูกลับไม่เข้าใจพลวัตที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีนโยบายของสหรัฐฯ ครองงำอยู่ นโยบายของลีกวนยูช่วยสงครามเวียดนามเป็นการใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อผลประโยชน์ของตนโดยเกื้อหนุนการแทรกแซงของสหรัฐฯ ในขณะที่วางท่าทีแบบไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในแง่นี้ชวนให้ตั้งคำถามต่อด้วยว่าเขาเป็นรัฐบุรุษของอาเซียนได้อย่างไรโดยที่ดำเนินนโยบายแบบปกป้องรัฐของตนเองแต่ยับยั้งภูมิภาคอาเซียนไม่ให้มีการพัฒนาอย่างแท้จริง

บรีนยังมองว่าสิ่งที่ลีกวนยูเสนอเรื่อง 'เมืองโลก' (Global City) ตามแนวคิดแบบโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่เพ้อฝันเพราะสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมเกษตรเป็นหลัก การเชื่อตามลีกวนยูจะยิ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและทรัพยากรส่งออกสำคัญอย่างข้าว

บรีนระบุว่าการที่เขาไม่รู้สึกยกย่องลีกวนยูเป็นการส่วนตัวมาจากการที่คนรุ่นหนุ่มสาวเติบโตมาโดยไม่หลงเชื่อเรื่องของลีกวนยู คนหนุ่มสาวที่เรียนจบมหาวิทยาลัยมีอุดมคติถึงอนาคตที่ปฏิบัติได้จริงแทนการ 'เล่นพนัน' ทางเศรษฐกิจแบบในปัจจุบัน พอเห็นว่าพวกเขาไม่มีความหวังหรือเสรีภาพในดินแดนของลีกวนยูพวกคนเก่งๆ ฉลาดๆ ก็พากันอพยพออกจากประเทศ แม้ว่าจะมีบางส่วนที่เห็นด้วยและชื่นชมการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของลีกวนยูโดยไม่ตั้งคำถาม ขณะที่คนจำนวนมากที่ต่อต้านถูกทำให้กลายเป็นชายขอบ บีบให้อยู่ภายใต้อำนาจนำของพรรคกิจประชาชน (PAP) ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นที่ๆ น่าเบื่อที่สุดในโลก

ในประวัติศาสตร์มาเลเซีย-สิงคโปร์ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีการพยายามรวบรวมเป็นสหพันธรัฐมาลายาแต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติทำให้มีการแยกประเทศ แต่บรีนมองว่าแทนที่สิงคโปร์จะพัฒนาร่วมกันแบบสหพันธรัฐได้ลีกวนยูกลับ "มีความทะเยอทะยานแบบเจงกิสข่าน" "มีแผนความมั่นคงแบบกองกำลังที่แยกอยู่โดดเดี่ยวอย่างอิสราเอล" รวมถึง "การทูตแบบหวาดระแวง" โดยไม่เข้าร่วม ไม่ช่วยเหลือหรือรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ

บรีนระบุว่าการเมืองในสิงคโปร์ไม่เคยเติบโตเลย ลีกวนยูอาศัยแต่เฉพาะผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรทางการเมืองกลุ่มหนึ่ง แต่สิ่งที่เขาทำก็เต็มไปด้วยการชักใย การเป็นพันธมิตรในเวลาสั้นๆ และความระแวงว่าจะมีการท้าทายอำนาจการนำของเขาทำให้เขาไม่เชื่อใจและขับไล่พันธมิตรเดิมออกไป เขาไม่เชื่อใจใครเลยได้แต่สืบทอดอำนาจไปให้ลูกตัวเองเหมือนคนทรยศที่ไร้ความสามารถในการรวมกลุ่มผู้นำให้ดีได้ แล้วตอนนี้สิงคโปร์ที่ไม่มีลีกวนยูก็มีผู้สืบทอดที่ไม่มีความสามารถในการประสานงานเลย

"สิงคโปร์เองในตอนนี้เปรียบเสมือนคนแคระหยุดโตในแถบทวีปเอเชีย โดยไม่มีความเคารพผูกพันธ์และความเข้าใจร่วมกันที่จะเชื่อมโยงประเทศอื่นในโลกได้" บรีนระบุในบทความ

บทความของบรีนประเมินว่าสิงคโปร์กำลังเผชิญปัญหาจากการขาดทรัพยากรความมั่นคงเพื่อรับมือกับความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งลีกวนยูยังทำให้เด็กรุ่นใหม่ขาดวิสัยทัศน์มีแต่การสอนให้ฉวยโอกาสและเชื่อมั่นในเรื่องความเป็นนักการขายที่คอยชักใยทางเศรษฐกิจ

"สิงคโปร์จะสร้างอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ให้กับผู้ก่อตั้งประเทศหรือไม่ จะมีถนนหนทาง มหาวิทยาลัย ห้องแล็บอวกาศชื่อลีกวนยูผุดเพิ่มขึ้นหรือไม่ เป็นไปได้ยาก สิ่งที่จะมีอยู่คือความฝันอันว่างเปล่าและการตื่นจากภาพลวงตาโดยมีจินตภาพรางๆ ของคนแคระทางวัฒนธรรม ซึ่งจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ เขาเป็นคนฉลาดอย่างไม่เต็มที่แต่ไม่เคยมีสติปัญญา ไม่มีความสามารถในการรู้สึกร่วมหรือเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง" บรีนระบุในบทความ

บรีนยังได้เล่าถึงเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของลีกวนยูในสายตาของเขา คือตอนที่ลีกวนยูไปอัดคำปราศรัยก่อนวันชาติสิงคโปร์ 1 วัน เขาบอกให้ผู้อำนวยการของสตูดิโอแก้ปัญหาแมลงวันที่บินรบกวนสมาธิเขาแต่ผู้อำนวยการสตูดิโอก็บอกว่าเขาช่วยอะไรไม่ได้ ลีกวนยูจึงสั่งให้ทุกคนเปิดประตูภายในให้หมดแล้วหาหนังสือพิมพ์มาให้เขาหนึ่งฉบับ หลังจากเปิดประตูทุกบานแมลงวันก็บินเข้าไปในห้องน้ำ ลีกวนยูถือหนังสือพิมพ์ตามเข้าไปตบแมลงวันด้วยม้วนหนังสือพิมพ์จากนั้นจึงเอาแมลงวันออกมาวางบนโต๊ะผู้อำนวยการแล้วยิ้มเยาะ จากนั้นเขาก็สั่งให้ทีมถ่ายทำไปที่บ้านของเขาในตอนเย็นเพื่อถ่ายทำที่นั่นแทน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ฯ เปิดรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตทั่วโลก ปี 57

$
0
0

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยแพร่รายงานรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตทั่วโลก ประจำปี 2557 ระบุมีการใช้โทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ หลังจากรัฐบาลหันมาใช้โทษประหารชีวิตเพื่อปราบปรามอาชญากรรมและการก่อการร้าย โดยจีนประหารชีวิตบุคคลมากกว่าประเทศอื่นใดในโลก แต่รัฐบาลเก็บข้อมูลเหล่านี้เป็นความลับทำให้ไม่สามารถหาจำนวนที่แท้จริงได้  รองลงมาคือ อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย อิรัก และสหรัฐฯ

·       รัฐได้ใช้โทษประหารชีวิตเพื่อปราบปรามอาชญากรรม การก่อการร้าย และจัดการกับความไม่สงบในประเทศ ทั้งๆ ที่เป็นวิธีการที่มีข้อบกพร่อง
·       จำนวนโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอียิปต์และไนจีเรีย โดยทั่วโลกมีการใช้โทษประหารชีวิต 2,466 ครั้ง เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับปี 2556
·       จากข้อมูลที่บันทึกได้ มีการประหารชีวิต 607 ครั้ง ลดลงเกือบ 22% เมื่อเทียบกับปี 2556 (ไม่นับการประหารชีวิตที่เกิดขึ้นในจีน ซึ่งมากกว่าจำนวนการประหารชีวิตทั้งโลกรวมกัน)
·       จำนวนประเทศที่มีการประหารชีวิตยังอยู่ที่ 22 ประเทศ เท่ากับปี 2556


ปี 2557 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรายงานสถานการณ์และโทษประหารชีวิตทั่วโลก ระบุมีจำนวนประเทศที่ใช้โทษประหารชีวิตมากอย่างน่าตกใจ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาภัยคุกคามต่อความมั่นคงทั้งที่เป็นเรื่องจริงหรือเป็นสิ่งที่คิด ไม่ว่าจะเป็นภัยก่อการร้าย อาชญากรรม และการก่อความไม่สงบในประเทศ
           
จำนวนโทษประหารชีวิตที่มีการบันทึกข้อมูลได้ในปี 2557 เพิ่มขึ้นเกือบ 500 ครั้งเมื่อเทียบกับปี 2556 ส่วนใหญ่เป็นเพราะการเพิ่มขึ้นอย่างมากในอียิปต์และไนจีเรีย รวมทั้งการสั่งลงโทษประหารชีวิตคนจำนวนมากในทั้งสองประเทศในบริบทของการก่อความไม่สงบในประเทศและความไร้เสถียรภาพทางการเมือง
           
ซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า รัฐบาลที่ใช้โทษประหารชีวิตเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมกำลังหลอกตัวเอง ไม่มีหลักฐานใดที่ชี้ว่าการประหารชีวิตจะมีส่วนช่วยในการป้องปรามการก่ออาชญากรรมได้ดีกว่าการลงโทษชนิดอื่น 

“แนวโน้มที่มืดมนของการใช้โทษประหารชีวิตของรัฐบาลทั้งๆ ที่ไม่ได้ผล ในการรับมือกับภัยคุกคามต่อความมั่นคงที่เป็นจริงหรือที่คิดเอง และเพื่อรักษาความปลอดภัยของสาธารณะ เป็นแนวโน้มที่ชัดเจนในปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องน่าละอายที่รัฐจำนวนมากทั่วโลกกำลังเอาชีวิตประชาชนมาล้อเล่น ทั้งนี้โดยการสั่งประหารชีวิตคนเพราะ “การก่อการร้าย” หรือการปราบปรามการก่อความไม่สงบโดยเชื่อว่าเป็นมาตรการในการป้องปรามทั้ง ๆ ที่เป็นการเข้าใจผิด”
           
แต่มีข่าวดีในปี 2557 เช่นกัน เนื่องจากจำนวนการประหารชีวิตที่บันทึกได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ หลายประเทศยังหันมาใช้แนวทางเชิงบวกเพื่อมุ่งหน้าสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต

ประเทศที่ประหารชีวิตมากสุด
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่จีนประหารชีวิตบุคคลมากกว่าประเทศอื่นใดในโลกรวมกัน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่ามีการประหารชีวิตหลายพันคน และการลงโทษประหารชีวิตในจีนทุกปี แต่รัฐบาลเก็บข้อมูลเหล่านี้เป็นความลับทำให้ไม่สามารถหาจำนวนที่แท้จริงได้
           
ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เป็นห้าอันดับแรกของประเทศที่มีการประหารชีวิตบุคคลจำนวนมากในปี 2557 ได้แก่ อิหร่าน (ตัวเลขอย่างเป็นทางการ 289 ครั้ง แต่เชื่อว่ามีอย่างน้อย 454 ครั้งหรือกว่านั้น แต่ทางการไม่ได้ยอมรับ) ซาอุดิอาระเบีย (อย่างน้อย 90 ครั้ง) อิรัก (อย่างน้อย 61 ครั้ง) และสหรัฐฯ (35 ครั้ง)
           
ยกเว้นประเทศจีน มีข้อมูลการประหารชีวิตอย่างน้อย 607 ครั้งในปี 2557 เปรียบเทียบกับ 778 ครั้งในปี 2556 ลดลงกว่า 20%

มีการบันทึกข้อมูลการประหารชีวิตใน 22 ประเทศในปี 2557 เท่ากับจำนวนประเทศในปีก่อนหน้านี้ ถือว่าลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับ 20 ปีก่อนในปี 2538 ซึ่งในขณะนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลบันทึกข้อมูลการประหารชีวิตที่เกิดขึ้นได้ 42 ประเทศ ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนในระดับโลกของรัฐต่างๆ ที่ออกห่างจากโทษประหารชีวิต
           
“ตัวเลขเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า โทษประหารชีวิตกำลังกลายเป็นอดีต มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังคงประหารชีวิตประชาชน ซึ่งพวกเขาต้องส่องกระจกทบทวนอย่างจริงจัง และถามตัวเองว่ายังคงต้องการจะละเมิดสิทธิการมีชีวิตรอดต่อไปหรือไม่ หรือจะเข้าร่วมกับประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ละทิ้งการลงโทษที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรมมากสุดเช่นนี้” ซาลิล เช็ตติกล่าว

โทษประหารชีวิตประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ณ วันที่ 31 มกราคม 2558 มีนักโทษประหารรวมทุกประเภทจำนวน 649 คน ชาย 597 คน หญิง 52 คน กว่าครึ่งหนึ่งเป็นนักโทษในคดียาเสพติด ด้านแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีข้อเสนอแนะสำหรับเมืองไทย ดังนี้

·     ประกาศพักการประหารชีวิตในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  ฉบับที่ 3 โดยมีเจตจำนงที่จะออกกฎหมายให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในท้ายที่สุด

·     เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อลดจำนวนความผิดทางอาญาที่มีบทโทษประหารชีวิต

·     ลงนามและให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) ที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิต 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตและเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พาณิชย์เผยเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 3 เดือน

$
0
0

1 เม.ย.2558 สมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมอยู่ที่ระดับ 106.33 ลดลงร้อยละ 0.57 เมื่อเทียบกับช่วงกันของปีก่อน ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปี 6 เดือน จากเดือนกันยายน 2552 ที่ติดลบร้อยละ 1 สาเหตุหลักมาจากหมวดเชื้อเพลิงลดลงมากถึงร้อยละ 19.49 ซึ่งหมวดเชื้อเพลิงมีสัดส่วนในการคำนวณดัชนีฯ ถึงร้อยละ 10 จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงมาก

สำหรับอัตราเงินเฟ้อปีนี้ แม้จะติดลบต่อเนื่อง 3 เดือนแรก และมีแนวโน้มจะยังคงติดลบต่อไตรมาส 2 แต่เชื่อว่าไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะยังมีเงินเฟ้อระดับอ่อน ๆ ราคาสินค้ายังปรับเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่าย ผู้ผลิตสินค้ายังผลิตสินค้าอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มราคาน้ำมันยังคงปรับขึ้น แต่ไม่เร็วเท่ากับที่ผ่านมา จึงเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในกรอบคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6-1.3 ภายใต้สมมติฐาน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 3-4 ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 50-60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 32-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

เตรียมประเมินทิศทางหลัง สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ คาดส่งออกโตร้อยละ 0

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แม้สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยจะมีการประเมินตัวเลขส่งออกตลอดปี 2558 เติบโตเพียงร้อยละ 0 แตกต่างจากกระทรวงพาณิชย์ โดยภายในสัปดาห์นี้หรือต้นสัปดาห์หน้าจะหารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์และทิศทางการส่งออก การดูแลประเทศคู่ค้าทั้งตลาดเก่าและใหม่ ดังนั้น จึงขอประชุมหารือทบทวนตัวเลขส่งออกทั้งหมดก่อนจะแถลงประเมินสถานการณ์ส่งออกปีนี้อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม แม้ทิศทางการส่งออกโดยเฉพาะภาพรวมเศรษฐกิจโลกหลายตลาดที่เป็นตลาดหลักของไทย เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) จีน ญี่ปุ่น อินเดีย แม้การส่งออกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาแต่ละประเทศจะติดลบ แต่ในส่วนของอียูหรือสหรัฐภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดเหล่านี้มีสัญญาณดีขึ้น จึงอยากให้หลายฝ่ายอย่าพึ่งวิตกกังวลว่าการส่งออกปีนี้จะไม่ขยายตัว เพราะกระทรวงพาณิชย์ยังเชื่อว่าการส่งออกไตรมาสแรกทุกปีจะชะลอตัวลงหรือติดลบ และจะดีขึ้นไตรมาส 2 และ 3 รวมถึงไตรมาส 4 ทำให้กระทรวงพาณิชย์จะต้องกำหนดแนวทางและปรับกลยุทธ์โดยเฉพาะการผลิตสินค้าและการหาตลาด

ลดราคาสินค้ารับเปิดเทอมสูงสุดถึงร้อยละ 70-80

บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวภายหลังหารือผู้ผลิตสินค้าและผู้แทนห้างค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ว่า เพื่อขอความร่วมมือการจัดงาน “เทใจ คืนสุข ต้อนรับเปิดเทอม” ระหว่างวันที่ 30เมษา ถึง 10 พฤษภาคมนี้ เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และเครื่องเขียน เพื่อช่วยลดค่าครองชีพประชาชน โดยเป็นการลดราคาสูงสุดร้อยละ 70-80 โดยจะจัดพร้อมกันทั่วประเทศ

สำหรับสถานการณ์ราคาสินค้า ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดยื่นเรื่องขอปรับราคาสินค้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ผลิตยังไม่กล้าปรับขึ้นราคา รวมทั้งสินคัาเกษตร เช่น ไข่ไก่ เนื้อหมู ราคาก็ปรับลดลง พร้อมอยากให้ผู้บริโภคไม่ต้องกังวล เพราะยังไม่มีสินค้ารายการใด โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้นราคา ซึ่งการลดราคาครั้งนี้จะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ได้ระบายสินค้าออกสู่ตลาด ขณะที่ผู้บริโภคจะได้ลดค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมที่จะต้องมีการจับจ่ายสูง

คณะกรรมการปฏิรูปภาษี ดึง สปช.เข้าร่วมเป็นกรรมการ

สมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานประชุมคณะกรรมการปฏิรูปภาษี   เพื่อเดินหน้าศึกษาแนวทางการยกร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง โดยที่ประชุมได้เสนอแนะและข้อท้วงติงในหลายประเด็น เช่น อัตราการจัดเก็บภาษี ทำให้ต้องมีการหารืออีกครั้งในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้  โดยต้องนำร่าง พ.ร.บ. ที่ดินและส่ิงปลูกสร้างรับฟังความเห็นชอบให้นักวิชาการ และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจากนี้จะประชุมคณะกรรมการปฏิรูปภาษีเป็นประจำทุกเดือน  และคาดว่าแนวทางการปฏิรูปภาษีของกระทรวงการคลังจะมีความชีดเจนในอีก 4 เดือนข้างหน้า

ลวรณ แสงสนิท เลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปภาษีกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประขุมในวันนี้มีการหารือใน 3 ประเด็น คือ การร่างแผนปฏิรูปภาษีทั้งระบบของประเทศ โดยนำข้อเสนอของกระทรวงการคลัง และ ข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)  มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำแผนปฏิรูปภาษี  ประเด็นต่อมา เป็นการหารือแนวทางจูงใจเพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)  ที่อยู่นอกระบบฐานภาษี เข้าสู่ระบบมากขึ้น ด้วยการหาแนวทางด้านต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้นผ่านการลงทะเบียน ตามนโยบายของภาครัฐ เช่น การให้ประชาชนแสดงรายได้และนำข้อมูลใส่ไว้ในบัตรประชาชน

กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง กล่าวว่า กล่าวว่า ที่ประชุมได้เชิญนายสมชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจฯ สปช. เข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อนำเข้าเสนอเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูประบบภาษี  และการแยกระบบการจัดเก็บภาษีออกเป็น 2 ส่วนคือ อัตราภาษีระดับชาติ และการจัดเก็บภาษีระดับท้องถิ่น ด้วยการเพิ่มบทบาทองค์กรบริหารท้องถิ่น เพื่อให้มีอำนาจในการ จัดเก็บธรรมเนียม หรือภาษีสำหรับท้องถิ่น เพื่อให้มีรายได้พัฒนาท้องถิ่นมาได้มากขึ้น  เช่น รายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อไปรัฐบาลจะได้จัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นลดลง เพื่อลดความรู้สึกว่าจ่ายภาษีให้รัฐบาลกลาง ประชาชนในชุมชนจะได้ติดตามผลการบริหารขององค์กรท้องถิ่นในการใช้งบประมาณพัฒนาถนน สะพาน ได้ใกล้ชิดมากขึ้น เมื่อได้รับฟังความเห็นจากส่วนต่างๆ จะทำให้ขั้นตอนการออกกฎหมายที่ดินและส่ิงปลูกสร้างมีความชัดเจนมากขึ้น

หุ้นพุ่ง 19.64 จุด

ตลาดหลักทรัพย์ปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 1,525.58 จุด เพิ่มขึ้น 19.64 จุด หรือร้อยละ 1.30 มูลค่าการซื้อขาย 38,003.45 ล้านบาทการซื้อขายหุ้นวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ โดยแตะจุดสูงสุดของวันที่ระดับ 1,525.63 จุด ส่วนจุดต่ำสุดของวันอยู่ที่ 1,502.74 จุด

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แม่บ้านเอธิโอเปียร้องสภาทนายฯ ถูกนายจ้างทำร้าย-จนท.อนามัยโลกรู้เห็น

$
0
0

หญิงชาวเอธิโอเปีย วัย 25 ปี ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ หลังตกลงเดินทางเข้ามาทำงานบ้านกับครอบครัวนายจ้างชาวเอธิโอเปียซึ่งทำงานในองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ประจำประเทศไทย ตลอดระยะเวลาการทำงาน 1 ปี 8 เดือน ถูกยึดพาสปอร์ต กักขัง ทำร้ายร่างกายและจิตใจ ได้รับการปฏิบัติเยี่ยงทาส ไม่จ่ายค่าแรงตามสัญญาก่อนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านและเข้าแจ้งความเพื่อดำเนินคดีไว้ที่สถานีตำรวจภูธร ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยความช่วยเหลือขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสตรีและสภาทนายความ

1 เมษายน 2558 ที่สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน เขตราชเทวี นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ รับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสตรี กรณี เอนเน็ต (นามสมมติ) หญิงชาวเอธิโอเปีย วัย 25 ปี ซึ่งได้เดินทางเข้ามาทำงานบ้านภายในบ้านพักย่านปากเกร็ดกับนายจ้างชาวเอธิโอเปียซึ่งทำงานอยู่ในองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ประจำประเทศไทย ว่า เอนเน็ตเดินทางเข้ามายังประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2556 ผ่านการชักชวนจากนายหน้าชาวเอธิโอเปียซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่รู้จักกับภรรยานายจ้างชาวเอธิโอเปียคนดังกล่าวและให้สัญญาว่าจะจ่ายเงินค่าแรงในการทำงานบ้าน เป็นจำนวน 2,000 เบอร์/เดือน (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3,000 บาท) และให้หยุดวันเสาร์-อาทิตย์แต่เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยกลับถูกยึดพาสปอร์ตและบังคับให้ทำงานตั้งแต่เวลา 05.00 น.-24.00 น. ของทุกวันโดยไม่มีวันหยุดและไม่ได้รับค่าแรงเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน

เอนเน็ตแจ้งว่า นายจ้างอ้างว่าจ่ายเงินผ่านนายหน้าเป็นจำนวน 5,000 เบอร์ (ประมาณ 8,000 บาท) ให้แก่ลุงของเธอเพียงครั้งเดียวและตลอดการเดินทางภรรยานายจ้างเป็นผู้ถือพาสปอร์ตและออกหนังสือเดินทางด้วยเอกสิทธิ์พิเศษทางการฑูตในฐานะเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ

เอนเน็ต แจ้งว่า เมื่อมาถึงประเทศไทย ภรรยาของนายจ้างซึ่งเป็นชาวเอธิโอเปียเช่นเดียวกันได้ทำการยึดพาสปอร์ต เมื่อทวงถาม กลับมีการบ่ายเบี่ยง ข่มขู่ รวมทั้งกักขังไม่ให้ออกจากบ้าน ภรรยาของนายจ้างคนดังกล่าวมักจะด่าว่าและทำร้ายร่างกายตนต่อหน้าลูกและสามีหรือใช้ถ้อยคำเหยียดหยามต่อหน้าแขกที่มาเยี่ยมบ้าน รวมทั้งให้นอนในห้องร่วมกับสุนัขเลี้ยงภายในบ้าน ไม่ให้ออกไปนอกบ้านและให้กินข้าวเปล่าตลอดระยะเวลา 1 ปี 8 เดือน โดยภรรยาของนายจ้างจะเป็นผู้ลงมือทำร้ายร่างกายเสียเป็นส่วนใหญ่

จนกระทั่ง วันที่ 8 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา เอนเน็ตถูกทำร้ายและขับไล่ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน ต่อมาจึงเข้าแจ้งความดำเนินคดีไว้ที่สถานีตำรวจภูธรปากเกร็ด จ.นนทบุรี ในวันที่ 18 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา

ทางด้าน กรวไล เทพพันธกุลงาม ทนายความจากสภาทนายความ เล่าว่า จากข้อมูลที่ได้รับมา เอนเน็ตเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในประเทศเอธิโอเปียที่รัฐบาลเอธิโอเปียกำลังปราบปราม ครอบครัวของเอนเน็ตเสียชีวิตทั้งหมด นอกจากนี้ หญิงสาวยังถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้าย มูลเหตุจากความรุนแรงนี้เป็นแรงผลักดันให้เอนเน็ตหาวิธีเดินทางออกนอกประเทศจนกระทั่งไปเจอกับนายหน้าคนดังกล่าวและชักนำให้รู้จักกับภรรยาของนายจ้างชาวเอธิโอเปีย ซึ่งในทางคดี สภาทนายความและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสตรีได้แจ้งความเพื่อเอาผิดกับนายจ้างชาวเอธิโอเปีย 4 ข้อกล่าวหา คือ กักขังหน่วงเหนี่ยว กระทำการใดๆ ให้ขาดเสรีภาพทางร่างกาย เอาคนลงเป็นทาส ค้ามนุษย์และยักยอกทรัพย์

ต่อเรื่องนี้ นายสุรพงษ์ กองจันทึก ให้ความเห็นว่า กรณีนี้เข้าข่ายการค้ามนุษย์เพราะมีการกักขังเอาตัวคนลงเป็นทาส ซึ่งจะได้รับสิทธิคุ้มครองให้อยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ส่วนในระยะยาวอาจดำเนินการเพื่อขอเป็นผู้ลี้ภัย ถึงแม้ว่า ตามข้อมูลที่ได้รับมานายจ้างชาวเอธิโอเปียผู้เป็นสามีจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือทำร้ายด้วยตนเองแต่เมื่อยินยอมให้เกิดเหตุความรุนแรงเช่นนี้ขึ้นก็เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายของไทย แม้ว่า นายจ้างจะเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO ภายใต้สังกัดสหประชาชาติหรือ UN ก็ต้องมีการตรวจสอบเพราะเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศจะต้องได้รับการคัดกรองประวัติมาเป็นอย่างดีและมีมาตรฐานทางจริยธรรมที่ยอมรับได้

อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ไม่เกี่ยวข้องต่อการทำงานองค์การอนามัยโลกหรือ WHO เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นส่วนตนของนายจ้างชาวเอธิโอเปียและภรรยาเท่านั้น ดังนั้น นายสุรพงษ์ เชื่อว่า UN จะไม่แทรกแซงการดำเนินการทางคดี โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องเร่งรัดสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้: ย้อนอดีตบ้านโต๊ะชูด ย้อนรอยโมเดลทุ่งยางแดง

$
0
0

ย้อนอดีตบ้านโต๊ะชูด อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี กับ “ผู้ใหญ่บ้านไข่” ชุมชนสุดท้ายปลายสุดของตำบลพิเทน ที่นี่เป็นชุมชนคนไทยพุทธที่ตั้งรกรากมาอย่างยาวนาน คนในพื้นที่จะรู้จักบ้านโต๊ะชูดพร้อมๆ กับรับรู้ว่าที่นี่เป็นหมู่บ้านที่มีคนไทยพุทธเป็นผู้ใหญ่บ้าน และเป็นพื้นที่ที่มีความสงบสุขมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกันกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเดินหน้าหาข้อมูลกรณีปิดล้อมปะทะ 4 ศพ

ย้อนอดีตบ้านโต๊ะชูดกับผู้ใหญ่ไข่

นายสมควร ดำแก้ว อดีตผู้ใหญ่บ้าน ม.6 บ้านโต๊ะชูด ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ที่ทุกคนรู้จักในนาม “ผู้ใหญ่ไข่” ในวัย 70 ปี เล่าว่า ตนเกิดที่บ้านโต๊ะชูดแห่งนี้ โดยพ่อเป็นคนบ้านควน อ.ปะนาเระ บ้านเดิมของพ่ออยู่บริเวณหลังปั๊มน้ำมัน ปตท.ปาลัส ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดแวะพักรถที่สำคัญของพื้นที่ สมัยนั้นการเดินทางจากโต๊ะชูดไปปะนาเระมีเพียงทางช้างเดินตามถนนสายโต๊ะชูด-เตราะปลิงปัจจุบัน สมัยเด็ก การเดินทางไปตลาดนัดปาลัสวันพุธเพื่อซื้อข้าวของ ซื้อปลาต้องขี่ช้างไปเท่านั้น ต้องเตรียมข้าวห่อออกจากบ้านแต่เช้า แวะกินข้าวห่อบนสันเขาเตราะปลิงก่อนเดินทางลงไปตลาด

ผู้ใหญ่ไข่บอกว่าตนมาเป็นผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ พ.ศ. 2514 เมื่ออายุ 26 ปี หลังจากกลับจากเกณฑ์ทหาร ปะจูมะอีซอกับเปาะเตะเลาะ ท่าธง ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในสมัยนั้นตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในสมัยนั้นการปกครองยังขึ้นกับอำเภอมายอ หลังจากนั้นอีกหลายปีกว่าจะมีการตั้งเป็นกิ่ง อ.ทุ่งยางแดง โดยในช่วงนั้นชาวบ้านที่มาอยู่โต๊ะชูดส่วนใหญ่เป็นคนจากต่างถิ่นมาจับจองพื้นที่ทำกินบริเวณที่เป็นบ้านโต๊ะชูดปัจจุบัน

ในขณะนั้นมีคนไทยพุทธมาอาศัยอยู่ที่นี่ 28 ครัวเรือน อยู่ร่วมกันกับคนมลายูมุสลิมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากตั้งแต่ที่นี่ไปทางบ้านพิเทนลงไป กลุ่มคนไทยพุทธที่นี่จะพูดภาษาไทยใต้ ในขณะที่คนมลายูจะพูดภาษาไทยพิเทน แต่ทุกคนที่นี่พูดภาษามลายูได้เป็นอย่างดีและอยู่ด้วยกันเหมือนญาติพี่น้อง

ผู้ใหญ่ไข่เล่าว่า ตั้งแต่ตนเป็นผู้ใหญ่บ้านมา 34 ปี เกษียณ ปี 2548 บ้านโต๊ะชูดไม่เคยมีความขัดแย้งระหว่างคนไทยพุทธกับคนมุสลิม ต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบ

“ย้อนกลับไปสมัยที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนตั้งแต่รุ่น มะอีซอ หรือครูเปาะสู หรือช่วงที่เซ็ง ท่าน้ำ มีอิทธิพล ก็ไม่เคยมีปัญหาความขัดแย้งหรือความรุนแรงเกิดขึ้นที่บ้านโต๊ะชูดเลย”

หรือช่วงเวลาหลังปี 2547 ที่เกิดความรุนแรงรอบใหม่ ที่บ้านโต๊ะชูดมีเพียงเหตุการณ์ลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนครั้งหนึ่ง แต่ไม่มีความเสียหายอะไรมาก ส่วนเหตุการณ์อื่นๆ ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ถึงแม้ว่าตนจะเกษียณจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาแล้วแต่ก็ยังมีคนเคารพนับถือ แวะเวียนมาที่บ้านตลอดเวลา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด ผู้ใหญ่ไข่บอกว่า ตนรู้จักกับนายซัดดัม ที่ถูกยิงเสียชีวิตเป็นอย่างดี สนิทสนมเหมือนลูกหลาน โดยเขาจะมารับซื้อขี้ยางของครอบครัวเป็นประจำ บ่อยครั้งที่ตนเคยตักเตือนเรื่องที่นายซัดดัมติดยาเสพติด บางครั้งนายซัดดัมถึงกับร้องไห้เวลาที่เขาตักเตือน แต่ก็ยังเลิกไม่ได้เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ยาเสพติด

ส่วนเรื่องที่นายซัดดัมเป็นแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบนั้น ผู้ใหญ่ไข่บอกว่าเขาไม่เชื่อเด็ดขาด โดยบอกว่าเด็กพวกนี้คงคิดเรื่องแบบนั้นไม่เป็นด้วยซ้ำไป

ทุกวันนี้ผู้ใหญ่ไข่บอกว่าที่นี่มีคนไทยพุทธอยู่ 14 ครัวเรือน ลูกๆ ของเขาก็อยู่ที่นี่ มีหลานหลายคนที่อยู่ด้วยกัน ที่หมู่บ้านไม่มีวัด แต่ก็มีศาลาสำหรับทำพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเพียงพิธีกรรมเกี่ยวกับคนตาย พิธีสวดศพโดยนิมนต์พระสงฆ์จากที่อื่นมาทำพิธี

ย้อนรอยเหตุการณ์โต๊ะชูด ย้อนแย้งโมเดลทุ่งบางแดง

เวลา 9 โมงเช้าของวันสิ้นเดือนมีนาคม ชาวบ้านจำนวนหนึ่งรวมตัวกันที่สำนักงาน อบต.พิเทน เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ปะทะที่บ้านโต๊ะชูด อ.ทุ่งยางแดง นัดหมายกับผู้ที่ถูกควบคุมตัวในเหตุการณ์ปะทะและได้รับการปล่อยตัวมาเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกันที่นี่ ขณะเดียวกันชาวบ้านที่เป็นญาติๆ เพื่อนบ้าน ต่างมารวมตัวกันที่ อบต.พิเทน อย่างล้นหลาม โดยคณะกรรมการที่เดินทางมาครั้งนี้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเป็นประธานและประชุมสอบถามผู้ที่ได้รับเชิญมาที่ห้องประชุมชั้น 2 ของสำนักงาน อบต.

กลุ่มชาวบ้านที่มายังคงสอบถามสารทุกข์ของกันและกันอย่างต่อเนื่องด้วยใบหน้าที่ยังหมองเศร้า ไม่ปรากฏรอยยิ้มให้เห็นมากนักแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของ อบต.ให้การต้อนรับอย่างดีและพยายามสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น บิดาของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้สองคนยังคงร้องไห้น้ำตานองหน้าเมื่อถูกถามถึงความรู้สึกที่ต้องสูญเสียลูกชาย ในที่เดียวกันมีนักข่าวทั้งที่เป็นสตริงเกอร์จากพื้นที่และนักข่าวโทรทัศน์จากกรุงเทพส่วนหนึ่งยังคงเดินทางมาที่นี่เพื่อเกาะติดสถานการณ์นี้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในห้องประชุมแต่อย่างใด

นายซาการียา สาแม็ง บิดาของนาย คอลิด สาแม็ง นักศึกษามหาวิทยาลัยฟาตอนีที่เสียชีวิตบอกว่าเขาต้องการความเป็นธรรมให้กับลูกชายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวร่วมขบวนการก่อความไม่สงบ โดยเฉพาะเรื่องที่ลูกชายมีอาวุธปืนในการปะทะกับเจ้าหน้าที่จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต โดยเล่าว่าในวันดังกล่าวเวลาประมาณ 15.30 น. ลูกชายได้ไปฉีดยาที่โรงพยาบาลทุ่งยางแดง เนื่องจากปวดเมื่อยจากที่ต้องช่วยครอบครัวขนข้าวเปลือกในนามาสองวันแล้ว กลับจากโรงพยาบาลได้เข้ามาละหมาดที่บ้านและทำธุระหลายอย่างก่อนออกจากบ้านในช่วงเย็นไปกับเพื่อน ซึ่งเมื่อดูช่วงเวลาที่เกิดเหตุแล้วไม่สมเหตุสมผลที่จะไปก่อเหตุใหญ่ขนาดนั้นได้ ในขณะที่ผู้ที่ถูกควบคุมตัวในเหตุการณ์นี้ที่เดินทางมาตามนัดหมายของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างอยู่ในอารมณ์เคร่งเครียดกันทุกคน

ชาวบ้านจากหมู่บ้านโต๊ะชูดหลายคนต่างเล่าเหตุการณ์ในมุมที่ตนเองรับรู้ โดยบอกว่าที่บ้านดังกล่าวเป็นที่รับรู้ของชาวบ้านว่าเป็นแหล่งรวมตัวของวัยรุ่นโดยเฉพาะเป็นที่ต้มน้ำกระท่อมกัน โดยหลังบ้านมีกระต๊อบหลังเล็ก 2 หลังไว้เป็นที่พักผ่อน มีโต๊ะไม้ที่ทำจากรากไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลังบ้าน บิดานายซัดดัมที่เสียชีวิตเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านหลังดังกล่าวโดยที่นายซัดดัมเองก็เป็นช่างไม้ที่ทำงานกับพ่อในงานรับเหมาสร้างบ้านหลังนี้ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีการเกณฑ์ชาวบ้านใกล้เคียงมาเพื่อยกเสาไม้ที่เป็นไม้เก่าขนาดใหญ่ประมาณ 10 คน

นายอูเซ็น ตอคอ อายุ 60 ปีที่ถูกควบคุมตัวเล่าว่าตนเลี้ยงแพะอยู่ไม่ไกลจากที่นั่น และมักจะแวะมาดูกิจกรรมสร้างบ้านและยกเสาไม้ ซึ่งในวันนั้นตนก็เดินไปดูกลุ่มคนที่รวมตัวอยู่ที่นั่น แต่ไม่ได้ไปช่วยยกเสาเพราะไม่มีแรง เมื่อไปถึงปรากฏว่าเจ้าหน้าที่มาปิดล้อมจึงต้องถูกควบคุมตัวไปด้วย

ด้านนายฮาราบี แวฮาโละ บอกว่าเขากับเพื่อน 6 คนมาจากบ้านปากูโดยมาถึงที่บ้านนี้ประมาณสามโมงครึ่ง เพื่อเจรจาเรื่องจ่ายค่าประกันรถ เนื่องจากตนเป็นคนค้ำประกันรถซึ่งเจ้าของรถขับรถชนเสียหายยับทั้งคัน เมื่อได้เงินจากประกันแล้วไม่จ่ายค่าเสียหาย เจรจามาหลายครั้งยังไม่สำเร็จ ครั้งนี้นัดกันมาเจรจาที่นี่ โดยนั่งคุยอยู่ชั้นบนของบ้าน

“ช่วงเวลาที่เกิดเหตุนั้นกลุ่มของตนได้พูดคุยกันเสร็จแล้วกำลังจะเตรียมตัวกลับเมื่อมีเจ้าหน้าที่มาปิดล้อม ขณะที่หนึ่งในกลุ่มวัยรุ่นที่อยู่ในกลุ่มต้มน้ำกระท่อมที่อยู่หลังบ้านบอกว่ากลุ่มของพวกเขาที่ไม่หนีไปในการปิดล้อมครั้งนี้เพราะวิ่งหนีไม่ทัน เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาปิดล้อมทุกด้านทำให้ต้องวิ่งเข้าไปในบ้านอย่างเดียว ส่วนคนที่หนีไปและเสียชีวิตนั้นตนไม่ทันเห็นว่าวิ่งไปทางไหนเวลาไหน” นายฮาราบี กล่าว

เรื่องเล่ายังคงพรั่งพรูพร้อมๆ กับการสอบถามความเป็นไปเพราะยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว ดูเหมือนว่าทุกคนยังคงมึนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชาวบ้านหลายคนบอกว่าช่วงนี้เป็นหน้าแล้ง กรีดยางไม่ค่อยได้อยู่แล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ในหมู่บ้านทำให้ไม่กล้าออกไปกรีดยาง ทำให้ขาดรายได้ ดูเหมือนว่าสิ่งที่ทุกคนรอคอยคือเมื่อไรที่เรื่องร้ายนี้จะผ่านพ้นไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิ ยูเอ็น แนะพิจารณาข้อเสนอควบรวม กสม.-ผู้ตรวจการใหม่

$
0
0

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ยูเอ็น ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนะหากไทยพิจารณาควบรวม กสม.-ผู้ตรวจการฯ ใหม่ ย้ำหากจะควบรวม ต้องสอดคล้องหลักการปารีส คงอำนาจเรียกเอกสาร-บุคคลมาให้ถ้อยคำ

1 เม.ย. 2558  สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำความเห็นทางเทคนิคเรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2558 โดยตอนหนึ่ง มีคำแนะนำให้ กมธ.ยกร่างฯ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  (คสช.) พิจารณาข้อเสนอในการควบรวม กสม.กับผู้ตรวจการแผ่นดินใหม่ อีกครั้ง โดยหากตัดสินใจว่าจะคง กสม.ไว้ โดยไม่รวมกับผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับ กสม. ด้วยการให้มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการเงินอย่างมีอิสระ

แต่หากตัดสินใจควบรวม 2 องค์กรเข้าด้วยกัน คณะกรรมการใหม่ที่เกิดขึ้น ต้องเป็นสถาบันสิทธิมนุษยแห่งชาติ ที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักการปารีส รวมทั้งมีบทบัญญัติชัดเจนระบุรายละเอียดว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมการชุดใหม่ จะทำภารกิจที่ต่างจากเดิมได้อย่างไร รวมถึงต้องคงอำนาจทั้งหมดของคณะกรรมการสิทธิมนุษยแห่งชาติ ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550  และ พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปี 2542 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจในการเรียกเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ

ทั้งนี้ ระบุด้วยว่าไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ขอให้จัดการสรรหาใหม่ที่สอดคล้องกับหลักการปารีสสำหรับหน่วยงานที่เป็นอิสระ รวมถึงให้มีตัวแทนที่มีความหลากหลายโดยรวมถึงภาคประชาสังคมและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำคัญๆ กลุ่มอื่นโดยคณะกรรมการคัดเลือก กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาและมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางกับหน่วยงานพัฒนาเอกชนในขั้นตอนยื่นใบสมัครคัดกรอง และคัดเลือก และจัดทำเกณฑ์ที่ชัดเจนและมีรายละเอียดในการประเมินความสามารถของผู้สมัครที่มีสิทธิเพื่อให้มีการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพโดยพิจารณาประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือของผู้สมัครในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงประกันว่า กสม.จะเป็นตัวแทนของประชากรจากสังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา เพศ และภูมิภาคที่มีความหลากหลายในประเทศไทย

และก่อนที่การยกร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้น ขอให้หารือกับสมาชิกภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรสิทธิมนุษยชน ตลอดจนปัจเจกชน หรือชุมชนที่ได้รับประโยชน์จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยแห่งชาติอย่างกว้างขวางด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live




Latest Images