Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

238 นักวิชาการเรียกร้องขอให้เสรีภาพทางวิชาการในไทย

$
0
0

นักวิชาการ นักเขียน นักคิด จาก19ประเทศ อาทิ นอม ชอมสกี้, แคทเธอรีน โบวี่,ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, เควิน ฮิววิสัน, ดันแคน แม็คคาโก, เจมส์ ซี สก็อต, ไมเคิล บูราวอย ฯลฯ  ชี้จำกัดเสรีภาพทางวิชาการเป็นการขัดขวางการเรียนการสอน จำกัดจินตนาการ ความคิด การทำงาน และขัดขวางการกลับคืนสู่ระบอบที่มีการปกป้องสิทธิเสรีภาพเป็นหลัก ประนามไล่สมศักดิ์ออกเป็นความร่วมมือระหว่างธรรมศาสตร์และคณะทหาร  ผู้ลงชื่อทั้ง 238 คน เรียกร้องขอให้เสรีภาพทางวิชาการกลับมาในประเทศไทย

000

นักวิชาการ นักเขียน นักคิด เรียกร้องขอให้เสรีภาพทางวิชาการกลับมาในประเทศไทย
(เผยแพร่ วันที่ 4 มีนาคม 2558)

9 เดือนหลังจากที่คณะปฏิรูปแห่งชาติ (คสช.) ก่อรัฐประหารครั้งล่าสุดในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ได้มีกลุ่มนักวิชาการ นักเขียน นักคิด จำนวน 238 คนทำจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องขอให้มีเสรีภาพทางวิชาการในประเทศไทย นักวิชาการกลุ่มนี้เสนอข้อเรียกร้องด้วยจิตวิญญาณภราดรภาพและความเคารพต่อความจริง ก่อนหน้านี้ก็มีนักวิชาการไทยจำนวนไม่น้อยที่ออกแถลงการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลังจากที่ ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถูกไล่ออกจากตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างไม่เป็นธรรม กลุ่มนักวิชาการ 238 คนนี้ตั้งข้อสังเกตว่าตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมามีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสูงและอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง พวกเขาวิจารณ์การไล่ดร.สมศักดิ์ออกว่าเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะทหาร

กลุ่มนักวิชาการ 238 คนนี้ไม่ได้ยกเสรีภาพทางวิชาการว่ามีความสำคัญเหนือกว่าเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทุกคน หากแต่พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า การลิดรอนเสรีภาพทางวิชาการเป็นสิ่งที่ยิ่งอันตรายในช่วงระยะที่มีการปกครองแบบเผด็จการ เนื่องจากเป็นการ “ขัดขวางการเรียนการสอนของบรรดาอาจารย์และนักศึกษา ที่ภาระหน้าที่ปกติประจำวันคือการคิดและการพิจารณาความรู้และความหมาย ก่อให้เกิดการจำกัดจินตนาการและการทำงาน และขัดขวางการกลับคืนสู่ระบอบที่มีการปกป้องสิทธิเสรีภาพเป็นหลัก”

กลุ่ม 238 นักวิชาการ นักคิด และนักเขียนนี้มาจาก 19 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศออสเตรเลีย  ออสเตรีย  แคนาดา โคลัมเบีย เดนมาร์ก ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลี สวีเดน ไต้หวัน ประเทศไทย ตุรกี  อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ในตอนท้ายของจดหมาย นักวิชาการกลุ่มนี้ เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ทุกๆ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย “ก้าวออกมาเป็นผู้นำในการสนับสนุนเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพในการแสดงออกอย่างกว้างขวาง”พร้อมกับเสนอว่า “การคิดต่างกันไม่ใช่อาชญากรรม ถ้าหากไม่ได้คิดต่างกันในรั้วมหวิทยาลัยอันเป็นพื้นที่การเรียนการสอนและการแสวงหาความจริงแล้ว พื้นที่สำหรับความคิดนอกรั้วมหาวิทยาลัยจะเริ่มหดหายไปเช่นกัน”

000

Scholars, Writers and Thinkers Call for Academic Freedom in Thailand
For immediate release
March 4, 2015

Over nine months after Thailand’s 12th military coup since the end of the absolute monarchy in 1932 was launched by the National Council for Peace and Order (NCPO), 238 scholars, writers and thinkers, issued a call in support of academic freedom in Thailand in solidarity with colleagues inside the country who did so the week before.  Catalyzed by the summary firing of prominent historian Dr. Somsak Jeamteerasakul by Thammasat University, they note that there has been a sharp decline in protection of freedom of expression in Thailand since the coup. They are critical of the summary dismissal of Dr. Somsak and comment that it is an example of alignment between the NCPO and Thammasat University.

They do not privilege academic freedom, but note that attacks on it during dictatorship are particularly dangerous as this, “prevents students and scholars, those whose daily job is to think about knowledge and its implications, from imagining and working to return to a democratic regime founded on the protection of rights and liberties.”

The scholars are from 19 countries, including Australia, Austria, Canada, Colombia, Denmark, France, Germany, Japan, Malaysia, Netherlands, the Philippines, Singapore, South Korea, Sweden, Taiwan, Thailand, Turkey, United Kingdom, United States.  They conclude with a request for Thammasat University and all universities in Thailand, “to take an active and leading role in support of academic freedom and freedom of expression in a broad sense.” They link academic freedom with freedom of thought and human rights more broadly, and note that,  “To think differently is not a crime. If one cannot do so within the walls of the university, spaces of learning and the pursuit of truth, then the space to do so outside those walls will dwindle as well.”

 

A Call for the Protection of Academic Freedom in Thailand

As concerned international observers of Thailand, we stand in solidarity with our colleagues who have condemned the summary dismissal of Dr. Somsak Jeamteerasakul by Thammasat University on 23 February 2015. We have watched with growing concern as the space for freedom of expression has shrunk precipitously in Thailand since the 22 May 2014 coup by the National Council for Peace and Order (NCPO). By choosing to join with the NCPO to attack Dr. Somsak Jeamteerasakul, the Thammasat University administration has abdicated its responsibility to protect academic freedom and nurture critical thinking. While academic freedom is not worthy of protection greater than that of the right to freedom of expression of all citizens, the impact of its destruction during a time of dictatorship is particularly severe as it prevents students and scholars, those whose daily job is to think about knowledge and its implications, from imagining and working to return to a democratic regime founded on the protection of rights and liberties.

For more than twenty years, Dr. Somsak Jeamteerasakul has been a lecturer in the Department of History and has trained and inspired many students at Thammasat University. As a public intellectual, he has produced a significant body of work in modern Thai history that has impacted and challenged Thai society beyond the walls of the university. His critical stance has made those in power uncomfortable, and in 2011 he faced an accusation from the Army of violating Article 112, the section of the Criminal Code that addresses alleged lèse majesté. In February 2014, there was an attempt on his life when armed gunmen shot at his house and car with automatic weapons. Concerned about his life and liberty following the May 2014 coup, Dr. Somsak fled the country. He was subsequently summoned to report by the junta, and when he did not, the NCPO issued a warrant for his arrest and appearance in military court, as examination of violations of the junta’s orders was placed within the jurisdiction of the military court following the coup. In December 2014, he submitted his resignation. However, rather than accept his resignation, Thammasat University fired Dr. Somsak.

We stand in solidarity with our colleagues who note that, at the very least, Dr. Somsak Jeamteerasakul should be permitted to appeal the decision by Thammasat University to summarily dismiss him. In addition, he should be permitted to fight any legal charges against him in the civilian criminal court, not the military court. We further call on Thammasat University and all universities in Thailand to take an active and leading role in support of academic freedom and freedom of expression in a broad sense. To think differently is not a crime. If one cannot do so within the walls of the university, spaces of learning and the pursuit of truth, then the space to do so outside those walls will dwindle as well.

Signed,

1.      ​Patricio N. Abinales, Professor, School of Pacific and Asian Studies, University of Hawaii-Manoa

2.      Jeremy Adelman, Princeton University

3.      Nadje Al-Ali, Professor of Gender Studies, School of Oriental and African Studies, University of London

4.      Robert B. Albritton, Professor Emeritus, Department of Political Science, University of Mississippi

5.      Saowanee T. Alexander, Ubon Ratchathani University, Thailand

6.      Tariq Ali, Author

7.      Aries A. Arugay, Associate Professor, Department of Political Science, University of the Philippines-Diliman

8.      Indrė Balčaitė, PhD candidate, School of Oriental and African Studies, University of London

9.      Joshua Barker, Associate Professor of Anthropology, University of Toronto

10.  Veysel Batmaz, Professor, Istanbul University, Turkey

11.  Bryce Beemer, History Department, Colby College

12.  Trude Bennett, Emeritus Professor, School of Public Health, UNC

13.  Clarinda Berja, Professor and Chair of the Department of Social Sciences, University of the Philippines-Manila.

14.  Kristina Maud Bergeron, Agente de recherche et chercheuse associée, Chaire en entrepreneuriat minier UQAT-UQAM, Université du Québec à Montréal

15.  Chris Berry, Professor, Department of Film Studies, King's College London

16.  Robert J. Bickner, Emeritus Professor (Thai), Department of Languages and Cultures of Asia, University of Wisconsin

17.  David J.H. Blake, Independent Scholar, United Kingdom

18.  John Borneman, Professor of Antbropology, Princeton University

19.  Katherine Bowie, Professor of Anthropology, University of Wisconsin-Madison

20.  Francis R. Bradley, Assistant Professor of History, Pratt Institute

21.  Eloise A. Brière, Professor of French and Francophone Studies Emerita, University at Albany – SUNY

22.  Lisa Brooten, Associate Professor, College of Mass Communication and Media Arts, Southern Illinois University 

23.  Andrew Brown, Lecturer in Political and International Studies, University of New England

24.  James Brown, PhD Candidate, Department of Development Studies, School of Oriental and African Studies, University of London

25.  Din Buadaeng, Université Paris-Diderot (Paris 7)

26.  Michael Burawoy, Professor, University of California, Berkeley

27.  David Camroux, Associate Professor - Senior Researcher, Sciences Po

28.  Rosa Cordillera Castillo, PhD candidate, Freie Universität Berlin

29.  Danielle Celermajer, Professor and Director, Enhancing Human Rights Project, Faculty of Arts and Social Sciences, University of Sydney

30.  Pavin Chachavalpongpun, Associate Professor, Kyoto University

31.  Thak Chaloemtiarana, Professor, Cornell University

32.  Anita Chan, Research Professor, China-Australia Relations Institute (ACRI), University of Technology, Sydney

33.  Pandit Chanrochanakit, Visiting Scholar Thai Studies Program, Asia Center, Harvard University (Faculty of Political Science Ramkhamhaeng University)

34.  Nick Cheesman, Research Fellow, Political and Social Change, Australian National University

35.  Noam Chomsky, Institute Professor & Professor of Linguistics (Emeritus), MIT

36.  Lawrence Chua, Assistant Professor, School of Architecture, Syracuse University

37.  Nerida M. Cook, Ph.D.

38.  Simon Creak, Lecturer in Southeast Asian History, University of Melbourne 

39.  Robert Cribb, Professor of Asian History, Australian National University

40.  Linda Cuadra, MA Student, University of Washington, Jackson School of International Studies

41.  Robert Dayley, Professor of Political Economy, The College of Idaho

42.  Yorgos Dedes, Senior Lecturer in Turkish, School of Oriental and African Studies, University of London

43.  Arif Dirlik, Knight Professor of Social Science, Retired, University of Oregon

44.  Rick Doner, Professor, Department of Political Science, Emory University

45.  Ariel Dorfman, Author and Distinguished Professor, Duke University

46.  Ana Dragojlovic, UQ Postdoctoral Research Fellow, The University of Queensland

47.  Alexis Dudden, Professor of History, University of Connecticut

48.  Richard Dyer, Professor, King's College London and St. Andrews, Fellow of the British Academy

49.  Taylor M. Easum, Assistant Professor of History, University of Wisconsin, Stevens Point

50.  Nancy Eberhardt, Professor and Chair, Department of Anthropology and Sociology, Knox College

 

51.  Eli Elinoff, National University of Singapore 

52.  Olivier Evrard, Insitut de recherche pour le Développement, France & Chiang Mai University, Faculty of Social Sciences

53.  Nicholas Farrelly, Fellow, ANU

54.  Jessica Fields, Associate Professor, Sociology, San Francisco State University

55.  Alfredo Saad Filho, Professor, Department of Development Studies, School of Oriental and African Studies, University of London

56.  Amanda Flaim, Postdoctoral Associate, Duke University, Sanford School of Public Policy

57.  Tim Forsyth, Professor, International Development, London School of Economics and Political Science

58.  Arnika Fuhrmann, Assistant Professor of Asian Studies, Cornell University

59.  V.V. Ganeshananthan, Writer, Bunting Fellow, Radcliffe Institute for Advanced Study, Harvard University

60.   Paul K. Gellert, Associate Professor, University of Tennessee-Knoxville

61.  Charles Geisler, Professor of Development Sociology, Cornell University

62.  Henry Giroux, Author and Professor, McMaster University

63.  Parvis Ghassem-Fachandi, Associate Professor, Department of Anthropology, Rutgers University

64.  Jim Glassman, Professor, University of British Columbia

65.  Lawrence Grossberg, Morris Davis Distinguished Professor of Communication Studies and Cultural Studies, UNC-Chapel Hill

66.  Merly Guanumen, Professor of International Relations, Javeriana University

67.  Tessa Maria Guazon, Assistant Professor, Department of Art Studies College of Arts and Letters University of the Philippines-Diliman

68.  Geoffrey Gunn, Emeritus, Nagasaki University

69.  Tyrell Haberkorn, Fellow, Department of Political and Social Change, Australian National University

70.  Vedi Hadiz, Professor of Asian Societies and Politics, Asia Research Centre, Murdoch University

71.  Jeffrey Hadler, Associate Professor and Chair, Department of South and Southeast Asian Studies, U.C. Berkeley

72.  Paul Handley, Journalist and Author

73.  Eva Hansson, Senior Lecturer, Political Science and Coordinator, Forum for Asian Studies, Stockholm University

74.  Harry Harootunian, Max Palevsky Professor of History, Emeritus, University of Chicago

75.  Gillian Hart, Professor of Geography, University of California-Berkeley

76.  Yoko Hayami, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University

77.  Chris Hedges, Author

78.  Ariel Heryanto, Professor, School of Culture, History, and Language, Australian National University

79.  Michael Herzfeld, Ernest E. Monrad Professor of the Social Sciences, Department of Anthropology, Harvard University

80.  Kevin Hewison, Sir Walter Murdoch Professor of Politics and International Studies, Murdoch University

81.  Allen Hicken, Associate Professor of Political Science, University of Michigan

82.  CJ Hinke, Freedom Against Censorship Thailand (FACT), Independent scholar

83.  Philip Hirsch, Professor of Human Geography, University of Sydney

84.  Tessa J. Houghton, Director, Centre for the Study of Communications and Culture, University of Nottingham Malaysia Campus

85.  May Adadol Ingawanij, Reader, Centre for Research and Education in Arts and Media, University of Westminster

86.  Noboru Ishikawa, Professor, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University

87.  Sunisa Ittichaiyo, Ph.D. student, Faculty of Law, Augsburg University

88.  Soren Ivarsson, Associate Professor, University of Copenhagen, Denmark

89.  Peter A. Jackson, Professor, College of Asia and the Pacific, Australian National University

90.  Arthit Jiamrattanyoo, Ph.D. Student, University of Washington

91.  Lee Jones, Senior Lecturer in International Politics, Queen Mary, University of London

92.  Andrew Alan Johnson, Assistant Professor, Yale-NUS College

93.  Hjorleifur Jonsson, Associate Professor of Anthropology, School of Human Evolution and Social Change, Arizona State University

94.  Teresa Jopson, PhD candidate at the Australian National University

95.  Sarah Joseph, Professor, Castan Centre for Human Rights Law, Monash University

96.  Amanda Joy, Instructor and PhD Candidate, Carleton University

97.  Alexander Karn, Assistant Professor of History, Colgate University

98.  Tatsuki Kataoka, Associate Professor of the Graduate School of Asian and African Area Studies, Kyoto University

99.  Ward Keeler, Associate Professor of Anthropology, University of Texas-Austin

100. Charles Keyes, Professor Emeritus of Anthropology and International Studies, University of Washington

 

101. Akkharaphong Khamkhun, Pridi Banomyong International College, Thammasat University

102. Gaik Cheng Khoo, Associate Professor, University of Nottingham Malaysia Campus

103. Sherryl Kleinman, Professor of Sociology, University of North Carolina, Chapel Hill

104. Lars Peter Laamann, Department of History, School of Oriental and African Studies, University of London

105. John Langer, Independent researcher and broadcaster

106. Tomas Larsson, Lecturer, University of Cambridge

107. Pinkaew Laungaramsri, Visiting Scholar, Harvard Yenching Institute, Harvard University

108. Doreen Lee, Assistant Professor of Anthropology, Northeastern University

109. Namhee Lee, Associate Professor of Modern Korean History, University of California, Los Angeles

110. Terence Lee, Assistant Professor of Political Science, National University of Singapore

111. Christian C. Lentz, Assistant Professor of Geography, University of North Carolina, Chapel Hill

112. Busarin Lertchavalitsakul, PhD Candidate, University of Amsterdam

113. Daniel J. Levine, Assistant Professor of Political Science, The University of Alabama

114. Samson Lim, Assistant Professor, Singapore University of Technology and Design

115. Peter Limqueco, Editor Emeritus, Journal of Contemporary Asia

116. Johan Lindquist, Associate Professor, Department of Social Anthropology, Stockholm University

117. Kah Seng Loh, Assistant Professor at the Institute for East Asian Studies, Sogang University

118. Larry Lohmann, The Corner House

119. Tamara Loos, Associate Professor, History and Southeast Asian Studies, Cornell University

120. Taylor Lowe, PhD Student in Anthropology, the University of Chicago

121. Catherine Lutz, Thomas J. Watson, Jr. Family Professor of Anthropology and International Studies, Brown University

122. Chris Lyttleton, Associate Professor of Anthropology, Macquarie University

123. Regina Estorba Macalandag, Asia Center for Sustainable Futures, Assistant Professor, Holy Name University

124. Andrew MacGregor Marshall, Independent journalist and scholar

125. Ken MacLean Associate Professor of International Development and Social Change, Clark University

126. M F Makeen, Senior Lecturer in Commercial Law, SOAS, University of London

127. Neeranooch Malangpoo, PhD. student, Department of Anthropology, University of Wisconsin-Madison

128. Amporn Marddent, School of Liberal Arts, Walailak University

129. Jovan Maud, Lecturer, Institut für Ethnologie, Georg-August University

130. Duncan McCargo, Professor of Political Science, University of Leeds

131. Mary E. McCoy, Associate Faculty, University of Wisconsin-Madison

132. Kaja McGowan, Associate Professor of Art History, Cornell University

133. Kate McGregor, University of Melbourne

134. Shawn McHale, Associate Professor of History, George Washington University

135. Gayatri Menon, Faculty, Azim Premji University

136. Eugenie Merieau, INALCO, Paris

137. Marcus Mietzner, Associate Professor, Australian National University

138. Elizabeth Miller, Previous Thai language student at Ohio University

139. Owen Miller, Lecturer in Korean Studies, Department of Japan and Korea, School of Oriental and African Studies, University of London

140. Mary Beth Mills, Professor of Anthropology, Colby College

141. Bruce Missingham, Lecturer, Geography & Environmental Science, Monash University

142. Art Mitchells-Urwin, PhD candidate in Thai Studies, School of Oriental and African Studies, University of London

143. Dan Monk, George R. and Myra T. Cooley Professor of Peace and Conflict Studies, Colgate University

144. Michael Montesano, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore

145. Samuel Moyn, Professor of Law and History, Harvard University

146. Marjorie Muecke, Adjunct Professor, Family and Community Health, University of Pennsylvania School of Nursing, Paul G Rogers Ambassador for Global Health Research

147. Yukti Mukdawijitra, Visiting Assistant Professor, Department of Anthropology, University of Wisconsin-Madison

148. Laura Mulvey, Professor, Department of Film, Media and Cultural Studies, School of Arts, Birkbeck, University of London

149. Ben Murtagh, Senior Lecturer in Indonesian and Malay, School of Oriental and African Studies, University of London

150. Fumio Nagai, Professor, Osaka City University

 

151. Kanda Naknoi, Department of Economics, University of Connecticut

152. Andrew Ng, Associate Professor, School of Arts and Social Sciences, Monash University, Malaysia

153. Don Nonini, Professor of Anthropology, University of North Carolina, Chapel Hill

154. Pál Nyiri , Professor of Global History from an Anthropological Perspective, Vrije Universiteit, Amsterdam

155. Rachel O'Toole, Associate Professor of History, University of California, Irvine

156. Akin Oyètádé, Senior Lecturer, School of Oriental and African Studies

157. Jonathan Padwe, Assistant Professor of Anthropology, University of Hawaiˈi at Mānoa

158. Ajay Parasram, Doctoral Candidate, Carleton University Ottawa

159. Eun-Hong Park, Professor, Faculty of Social Science, Sungkonghoe University

160. Prasannan Parthassarathi, Professor of History, Boston College

161. Raj Patel, Research Professor, Lyndon B. Johnson School of Public Affairs, The University of Texas at Austin.

162. Quentin Pearson III, Andrew W. Mellon Postdoctoral Fellow, Wheaton College

163. Thomas Pepinsky, Associate Professor of Government, Cornell University

164. Penchan Phoborisuth, University of Utah

165. Sheldon Pollock, Arvind Raghunathan Professor of Sanskrit and South Asian Studies, Columbia University in the City of New York

166. Chalermpat Pongajarn, PhD candidate, Wageningen University

167. Pitch Pongsawat, Visiting Scholar, Harvard Yenching Institute, Harvard University

168. Tim Rackett, UK

169. Rahul Rao, Senior Lecturer in Politics, SOAS, University of London

170. Malavika Reddy, PhD Candidate, University of Chicago

171. Luke Robinson, Lecturer, University of Sussex

172. Garry Rodan, Professor of Politics & International Studies, Asia Research Centre, Murdoch University

173. John Roosa, Associate Professor, Department of History, University of British Columbia

174. Robin Roth, Associate Professor, Department of Geography, York University

175. Ulrich Karl Rotthoff, Assistant Professor, Asian Center, University of the Philippines

176. Pakpoom Saengkanokkul, PhD student, INALCO, Paris, France

177. Jiratorn Sakulwattana, PhD student

178. Ton Salman, Associate Professor and Head of Department, Department of Social and Cultural Anthropology, Vrije Universiteit Amsterdam

179. Saskia Sassen, Robert S. Lynd Professor of Sociology, Department of Sociology and Chair, Committee on Global Thought, Columbia University

180. Wolfram Schaffar, Professor, Department of Development Studies, University of Vienna

181. Sarah Schulman, City University of New York

182. James C. Scott, Sterling Professor of Political Science and Anthropology, Yale University

183. Raymond Scupin, Director, Center for International and Global Studies, Lindenwood University

184. Laurie J. Sears, Professor of History, Director, Southeast Asia Center, University of Washington

185. Mark Selden, Senior Research Associate, East Asia Program, Cornell University

186. Yeoh Seng-Guan, Monash University Malaysia

187. Bo Kyeong Seo, Australian National University

188. John T. Sidel, Sir Patrick Gillam Professor of International and Comparative Politics, London School of Economics and Political Science

189. Roland G. Simbulan, Professor in Development Studies and Public Management, University of the Philippines

190. Subir Sinha, Senior Lecturer, Department of Development Studies, School of Oriental and African Studies, University of London

191. Aim Sinpeng, Lecturer in Comparative Politics, University of Sydney

192. Aranya Siriphon, Visiting Scholar, Harvard Yenching Institute, Harvard University

193. Dan Slater, Associate Professor, Department of Political Science, University of Chicago

194. Jay M. Smith, Professor of History, UNC-Chapel Hill

195. Claudio Sopranzetti, Postdoctoral Fellow, All Souls College, Oxford University

196. Paul Stasi, Associate Professor and Director of Undergraduate Studies, SUNY-Albany

197. Irene Stengs, Senior Researcher, Meertens Institute/Research and Documentation of Language and Culture in the Netherlands/Royal Netherlands Academy of Arts and Sciences

198. Carolyn Strange, Senior Fellow, School of History, Australian National University

199. Wanrug Suwanwattana, PhD student, Oxford University

200. David Szanton, UC Berkeley, emeritus

 

201. Eduardo Climaco Tadem, Ph.D.,  Professor of Asian Studies, University of the Philippines Diliman

202. Teresa S. Encarnacion Tadem, Ph.D, Professor, Department of Political Science, University of the Philippines Diliman

203. Neferti Tadiar, Professor of Women's, Gender, and Sexuality Studies, Barnard College, Columbia University

204. Danielle Tan, Lecturer, Institute for East Asian Studies (IAO-ENS Lyon), Sciences Po Lyon

205. Michelle Tan

206. Tanabe Shigeharu, Professor Emeritus of Anthropology, National Museum of Ethnology, Osaka, Japan

207. Nicola Tannenbaum, Professor of Anthropology, Lehigh University

208. Nicholas Tapp, Professor Emeritus, Australian National University, Director, Research Institute of Anthropology, East China Normal University

209. Ben Tausig, Assistant Professor, Stony Brook University

210. Nora A. Taylor, Alsdorf Professor of South and South East Asian Art, School of the Art Institute of Chicago

211. Philip Taylor, Senior Fellow, Anthropology, Australian National University

212. Julia Adeney Thomas, Associate Professor, Department of History, University of Notre Dame

213. Barry Trachtenberg, Associate Professor, History Department, Director, Judaic Studies Program, University at Albany

214. Tran Thi Liên, Associate Professor, History of Southeast Asia, University Paris Diderot-Paris 7

215. Andrew Turton, Reader Emeritus in Social Anthropology at the University of London

216. Jonathan Unger, Professor, Department of Political and Social Change, Australian National University

217. Jane Unrue, Harvard College Writing Program, Harvard University

218. Sara Van Fleet, University of Washington

219. Peter Vandergeest, Geography, York University, Toronto

220. Boonlert Visetpricha, PhD candidate at University of Wisconsin- Madison, Department of Anthropology

221. Joel Wainwright, Associate Professor, Department of Geography, Ohio State University

222. Andrew Walker, Professor of Southeast Asian Studies, The Australian National University

223. Kheetanat Wannaboworn, Master's Degree Student, Sciences Po Paris

224. Thomas Weber, DPhil

225. Meredith Weiss, Associate Professor of Political Science, University at Albany, SUNY

226. Marina Welker, Associate Professor, Department of Anthropology

227. Bridget Welsh, Senior Research Associate, Center for East Asia Demcracy, National Taiwan University

228. Marion Werner, Assistant Professor, Department of Geography, University at Buffalo, SUNY

229. Frederick F. Wherry, Professor of Sociology, Yale University

230. Erick White, Visiting Fellow, Southeast Asia Program, Cornell University

231. Dhrista Wichterich, Gastprofessur Geschlechterpolitik, Fachbereich Gesellschaftswissenschaften, Universität Kassel

232. Sutida Wimuttikosol, PhD student, King's College London

233. Thongchai Winichakul, Professor of History, University of Wisconsin-Madison

234. Hiram Woodward, Curator Emeritus, Asian Art, Walters Art Museum

235. Theodore Jun Yoo, University of Hawaii at Manoa

236. Karin Zackari, PhD candidate, Human Rights Studies, Department of History, Lund University

237. Peter Zinoman, Professor of History and Southeast Asian Studies, University of California, Berkeley

238. Rebecca Zorach, Professor of Art History, Romance Languages, and the College, University of Chicago

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คืนความจริงกับ ‘เจษฎา’ : เลือกตั้งคือทางออก และทิ้งประชาธิปไตย ปฏิรูปไม่มีทางสำเร็จ

$
0
0

เมื่อวันที่ 23 และ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘คืนความจริง’ ได้เผยแพร่วิดีโอบทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ถึงประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการปฏิรูปจำนวน 2 ตอน ในวาระครบรอบ 1 ปีการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57

โดยคืนความจริง ได้ยกคำพูดของ เจษฎา ที่กล่าวไว้ในเวทีอภิปราย “เลือกตั้งคือทางออก นายกฯเถื่อนคือทางตัน” เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2557 หรือ 5 วันก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ที่ห้องบรรยายรวม 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จัดโดย สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ด้วยว่า

"มนุษย์ทุกคนคือพี่น้องกัน ไม่รู้เราจะขัดแย้งกันทำไมในโลกนี้ แม้ทุกคนอาจเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน แต่สิ่งที่เราได้มาจากความเป็นมนุษย์ที่เหนือจากสัตว์อื่น คือเรามีวัฒนธรรม เรามีประวัติศาสตร์ เรามีการเรียนรู้ เราสามารถเรียนรู้การอยู่ร่วมกันได้ เราเรียนรู้จากยุคสมัยที่เรามีการปกครองที่บางคนเป็นเพราะเจ้าบางคนเป็นไพร่ เราเรียนรู้วรรณะ เราเรียนรู้มาถึงระบอบประชาธิปไตยที่ทุกคนเท่ากัน เราอาจมีชีวิตในสังคมที่เราไม่เท่ากัน แต่เวลาที่เรามีสิทธิเลือกตั้งทุกคนนั้นเท่ากัน และทุกท่านต่างหากที่เป็นคนกลางของสังคม เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพานายกคนกลาง ลากตั้งมาจากไหน พวกเราเองมีสิทธิที่จะปกครองตัวเราเองได้" เจษฎา กล่าวในเวทีอภิปราย “เลือกตั้งคือทางออก นายกฯเถื่อนคือทางตัน” เจษฎา กล่าว

00000

จะสอนหนังสือลูกศิษย์อย่างไร เมื่อไม่ทำตามกติกา

เจษฎา กล่าวว่า ในประเทศที่เจริญแล้วจะไม่นิยมใช้ความรุนแรงในการหาทางออก แต่จะใช้วิธีการที่เป็นสันติมากกว่า ซึ่งการถามเสียงของคนในประเทศที่เป็นวิธีทางแบบสันติอย่างหนึ่งก็คือการเลือกตั้ง โดยสำหรับประเทศไทยนั้นได้มีการพัฒนาประชาธิปไตยกันมาไกลแล้ว จึงไม่ควรที่จะย้อนกลับไปใช้วิธีการที่รุนแรงแล้วทำให้เกิดการบาดหมางกันได้ การเลือกตั้งมันจึงเป็นทางออกเพราะอยู่ในกรอบกติกาที่มีอยู่ และเป็นสิ่งที่จะคงไว้ซึ่งประชาธิปไตยให้กับประเทศไทยไว้ได้ แต่ประชาชนบางส่วนกลับไม่ต้องการที่จะทำตามกรอบกติกาที่มีอยู่เพราะคิดว่าวิธีอื่นจะเร็วกว่ารวบรัดกว่า ซึ่งผลที่จะตามมานั้นไม่สามารถที่จะคาดการณ์ได้ มันจึงอาจนำไปสู่อะไรที่เลวร้ายกว่าที่เป็นอยู่

“ในมุมของผมเองที่เป็นอาจารย์ผมจะสอนหนังสือลูกศิษย์ต่อไปอย่างไร เพราะทั้งชีวิตเราสอนให้คนเคารพกติกา ทำตามกฎระเบียบ วินัย ที่เรามีอยู่ ทำตามกฎหมาย ทำตามจารีตของสังคม แล้วถึงวันวันหนึ่งเราบอกว่าไม่เอาแล้ว ไม่ทำตามกติกาใด ๆ เลย ฉันจะเลือกวิธีนี้ แบบนี้ผมสอนหนังสือลูกศิษย์ต่อไปไม่ได้”

โมฆะการเลือกตั้ง  2 ก.พ.57 สร้างปัญหาเรื้อรัง

เจษฎาได้วิจารณ์เกี่ยวกับการตัดสินโมฆะการเลือกตั้ง  2 ก.พ. 57 ของศาลรัฐธรรมนูญว่า ถ้าต่อไปสิ่งนี้กลายเป็นบรรทัดฐานแล้วเมื่อเกิดการปิดคูหาอีกแม้จะซักคูหาเดียวการเลือกตั้งจะต้องโมฆะทั้งหมด มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเพระมันจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในอนาคต ดังนั้นการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้มันจึงสร้างบรรทัดฐานบางอย่างที่มีปัญหาในอนาคตได้

เราปฏิรูปไปพร้อมเลือกตั้งได้

เจษฎา กล่าวว่า คำว่าปฏิรูปเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทย ซึ่งเป็นคำที่น่าสนใจและเป็นคำที่ดี เพราะเป็นคำซึ่งแสดงว่าเราพยายามที่จะแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ให้ดีขึ้น ปฏิรูปเป็นคำที่ถูกเอามาใช้ในมุมมองที่เป็นนามอธรรมสูง ซึ่งหากถามผู้คนว่าจะต้องการปฏิรูปอะไร อย่างไรบ้าง คนมักจะตอบไม่ได้แต่รู้ว่าการปฏิรูปเป็นเรื่องที่ดี

เจษฎากล่าวต่อว่า ในประเด็นการปฏิรูปเป็นที่น่าสนใจว่าควรหันกลับมามองประเด็นในเรื่องกติกาอีกทีหนึ่งว่าเราต้องทำตามกติกาหรือไม่ เช่น พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็เหมือนกับว่ากฎหมายประกาศแล้วว่าต้องเลือกตั้ง ซึ่งหากไม่จัดให้มีการเลือกตั้งมันก็จะผิดต่อกติกาที่มีอยู่ ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถเลือกตั้งและปฏิรูปไปด้วยกันได้ โดยจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนโดยหากมีฝ่ายค้านที่มองว่าการเลือกตั้งมันไม่ยุติธรรม เราควรจับเข่าคุยดีกว่าหรือไม่ว่าควรออกกฎกติกาในการเลือกตั้งอย่างไร และการเลือกตั้งที่จัดไปก่อนแล้วก็ให้เป็นการเลือกตั้งเชิงสัญลักษณ์ไปก่อนก็ยังสามารถทำได้ ไม่ใช่ว่าพอเลือกตั้งไปแล้วก็จะเป็นการยึดครองอำนาจที่ฝ่ายคัดค้านการเลือกตั้งกลัวเพราะจะเป็นแค่การเลือกตั้งเชิงสัญลักษณ์ แล้วหลังจากนั้นก็มาใช้เวลาร่วมกันในการปฏิรูป เพราะเป็นที่แน่นอนว่าการจะปฏิรูปนั้นต้องใช้เวลานานพอปฏิรูปเสร็จแล้วก็จัดการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ และยังทำให้กลไกของประชาธิปไตยมันเดินต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องล้มทุกอย่างเพื่อไปสู่การปฏิรูปอย่างที่ว่า ในขณะนี้ประเทศไทยยอมทิ้งประชาธิปไตยไปทั้งหมด เพื่อใช้เส้นทางอื่นเพื่อปฏิรูป คำถามก็คือเมื่อใช้เส้นทางนี้มันจะเกิดความเป็นธรรมจริงหรือ เมื่อปฏิรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วผู้คนทั้งหมดจะยอมรับหรือไม่ ไม่ต่างกับเมื่อก่อนนี้ที่บอกว่าหากเลือกตั้งไปแล้วก็จะมีคนไม่ยอมรับ วันนี้ก็เช่นเดียวกันคนอาจลงทุนลงแรงปฏิรูปกันยกใหญ่แล้วยังเป็นคำถามอยู่ว่าคนจะยอมรับหรือไม่ หากคนจำนวนมากในประเทศไม่ยอมรับในสิ่งที่ปฏิรูปมา แม้แต่รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ในตอนนี้ก็เหมือนกันถ้าถึงวันที่ต้องลงประชามติคนจำนวนมากไม่ลงประชามติรับ หรือเกิดการคัดค้านตัวรัฐธรรมนูญในภายหลังสังคมก็จะกลายเป็นสังคมที่ขัดแย้งกันไปตลอด

ไม่ใช่ประชาธิปไตยเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะตรวจสอบได้

สำหรับปัญหาเรื่องการคอรัปชั่น เจษฎา ตั้งคำถามว่า เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการรัฐประหารจะแก้ปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหาของนักการเมืองจะไม่ถูกถ่ายโอนไปที่อีกมือหนึ่งเท่านั้น ถ้าเราไม่ใช่ประชาธิปไตยเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะตรวจสอบได้ หากดูจากที่ผ่านมาการที่เรารู้ได้ว่านักการเมืองมีการใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ หรือมีการโกง การยักยอกเกิดขึ้น เพราะมันอยู่ในบรรยากาศที่เป็นเสรีภาพเป็นประชาธิปไตยเราสามารถแสดงความเห็นได้เต็มที่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ สื่อสามารถวิจารณ์ได้ คนสามารถค้นหาข้อมูลได้มากขึ้นคนถึงได้รู้ และเมื่อรู้ก็จะหาทางออกร่วมกัน วิธีการที่จะแก้ของประชาชนทั่วไปคือการเลือกตั้ง เพราะประชาชนมองออกว่าใครดี หรือไม่ดี โกง หรือไม่โกง สามารถใช้การไปกากบาตเลือกตั้งในการตัดสิทธิและลงโทษนักการเมือง และที่สำคัญมันมีกลไกอื่น ๆ ที่คอยตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระ กกต.ที่ดูแลเรื่องการเลือกตั้ง ปปช.ที่ดูแลเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น หรือแม้แต่ระบบของศาลเองที่สามารถดำเนินการได้เราจะได้มั่นใจว่านักการเมืองที่จะถูกลงโทษถูกตัดสินมีน้ำหนักจริง ๆ มีข้อมูลจริงไม่ใช่การกล่าวหากัน ซึ่งสังคมไทยเป็นสังคมที่คนกล่าวหากันได้ตลอด

มองการเมืองไทย หลัง 1 ปีโมฆะเลือกตั้ง

เจษฎา กล่าวว่า ถ้ามองวันนี้เมื่อ 1 ปี ที่แล้วยังไม่มีภาพเลยว่าจะเกิดปฏิวัติขึ้นในประเทศไทย เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เกิดการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งทำให้ผู้คนได้เรียนรู้ในช่วงเวลา 6-7 เดือนที่ผ่านมาทำให้ผู้คนได้เริ่มเรียนรู้ในเส้นทางใหม่ การที่ผู้คนไม่สามารถที่จะพูดในสิ่งที่คิดออกมาได้เต็มที่ คนในสังคมต้องเงียบมากขึ้น เรากลับไปอยู่ในยุคสามสิบสี่สิบปีที่แล้วและกลับไปอยู่ในยุคที่ต้องฟังท่านผู้นำพูดว่าจะต้องเป็นอย่างไร มีกรอบมากขึ้น มีกฎอัยการศึกที่ประกาศออกมาอย่างไม่เหมาะสมเพราะมันยังไม่มีสงครามเกิดขึ้นในประเทศ หากแต่ก็ยังคงบังคับใช้กฎอัยการศึกมาจนถึงวันนี้ สื่อไม่สามารถเชิญนักวิชาการมาพูดและแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งทั้งหมดนี้มันทำให้สังคมย้อนกลับไปอยู่ในโลกที่ไม่มี่สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง แล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป

หากจะมองมุมซึ่งสวยงามอาจพูดได้ว่าเรามีความหวังมากขึ้นมี สนช. เข้ามาช่วยผ่านกฎหมายที่ค้างคาอยู่ให้เร็วขึ้น แต่เรามั่นใจได้แค่ไหนว่าการผ่านกฎหมายที่รวดเร็วแบบนั้นได้ผ่านการไตร่ตรองได้ดีแล้วหรือยัง มีความเป็นธรรมหรือไม่ กฎหมายที่ดีที่ผ่านออกมาได้อย่างรวดเร็วก็ดี แต่ก็มีหลายกฎหมายที่คนเริ่มตั้งคำถามกับสังคมว่ากฎหมายแบบนี้ดีหรือ เพราะตัวกฎหมายยังมีปัญหาอยู่และออกบังคับเป็นกฎหมายแล้ว และไม่สามารถยับยั้งอะไรได้ หรือความหวังจากการมีสภาปฏิรูป เพื่อที่สังคมจะได้มีการปฏิรูปมากขึ้น หากแต่การปฏิรูปเองก็มีความล่าช้า ยังมีการถกเถียงกันมากและไม่ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมจริง ๆ เข้ามาร่วมในการคิด รวมทั้งธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถตอบได้เลยว่ารัฐธรรมนูญเก่ามีปัญหาอย่างไร อะไรคือปัญหา แต่ก็มีการฉีกรัฐธรรมนูญไปแล้วจนต้องมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และมีโมเดลใหม่ผุดขึ้นมามากมายที่ยังถกเถียงกัน ว่าจะมีการเลือกตั้งนายยกหรือไม่ ซึ่งดีตรงที่ไม่เห็นความวุ่นวายในสังคมคิดว่าจะได้เห็นความปรองดองของทั้งสองฝ่ายที่เห็นต่างกันรึก็เปล่า เพราะมันมีการสร้างความแตกแยกไปแล้ว เมื่อคุณปลุกระดมให้แตกแยกให้เกลียดกันแล้วโอกาสที่มาคืนดีกันมันยากมันฝังใจแน่ ๆ วันนี้กดผู้คนให้ไม่ทะเลาะกันได้ด้วยกฎอัยการศึก แต่เมื่อวันหนึ่งไม่มีกฎอัยการศึกคนก็จะกลับมาทะเลาะกันใหม่ ดังนั้นแทนที่จะใช้เส้นทางที่สันติมาตั้งแต่แรกกลับมาเลือกเส้นทางนี้เราก็จะอยู่บนเส้นทางแบบนี้ที่คุณต้องเก็บที่คุณต้องไม่พูดอะไรมาก

เจษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่รัฐธรรมนูญใหม่ถูกประกาศใช้แล้ว กฎอัยการศึกถูกเลิกใช้ไปปัญหาต่าง ๆ ที่หายไปจากการบังคับใช้กฎอัยการศึกจะกลับมาหรือไม่อย่างไร และจะรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่จากการที่ถูกกดเอาไว้ หากว่าปีในปี พ.ศ. 2560-61 ยังคงไม่มีรัฐธรรมนูญยังไม่มีการเลือกตั้งจะกดให้ความอดทนของทั้งสองฝ่ายระเบิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าสังคมไทยจะไม่เป็นเช่นนั้น 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แนะรัฐเร่งดันนโยบายเงินอุดหนุนเด็ก ชี้สร้างโอกาสในการพัฒนาอย่างเท่าเทียม

$
0
0

ผู้อำนวยการวิจัยทีดีอาร์ไอเผย ภาครัฐควรเร่งผลักดันให้มีนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก และเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพอย่างเท่าเทียม ระบุการให้การอุดหนุนเด็กโดยเฉพาะช่วงปฐมวัย ถือว่าเป็นการลงทุนด้านสังคมที่คุ้มค่าที่สุด

ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงข้อเสนอ “เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็ก” ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์การภาคประชาชน คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และองค์การยูนิเซฟ กำลังผลักดันเพื่อให้ออกมาเป็นนโยบายภายในปีนี้ว่า เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานเพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ และเข้าถึงโอกาสการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน ถือเป็น “การคุ้มครองเพื่อการพัฒนา” ซึ่งจะถูกละเลยไม่ได้ ซึ่งประเทศใกล้เคียง เช่น จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน มองโกเลีย และศรีลังกา ล้วนมีเด็กเล็กมากมายกำลังเติบโตอย่างมีคุณภาพด้วยเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแล้ว

เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็ก เป็นการคุ้มครองทางสังคมอย่างหนึ่งภายใต้ระบบสวัสดิการเพื่อการคุ้มครองทางสังคมในระบบสากล โดยผู้รับไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ สำหรับกรณีของประเทศไทยนับตั้งแต่อดีต มีการดูแลให้มีการบริการรักษาพยาบาลฟรีถ้วนหน้า เรียนฟรีถ้วนหน้า เบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า แต่กลับไม่มีเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กมาก่อน ทั้งที่ถือว่าเป็นการลงทุนด้านสังคมที่คุ้มค่าที่สุด โดยมีผลการศึกษาของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอย่าง ศ. ดร. เจมส์ เจ เฮคแมน สนับสนุนอีกเสียงหนึ่งว่าการลงทุนพัฒนาเด็กโดยเฉพาะช่วงปฐมวัย จะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคตถึง 7-10 เท่า นับเป็นการลงทุนที่ให้ผลแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว

เมื่อเด็กได้รับเงินอุดหนุนจะก่อให้เกิดผลดี 3 ด้าน คือ 1. ด้านทรัพยากรมนุษย์ เด็กจะมีผลการเรียนดีขึ้น สำเร็จการศึกษามากขึ้น และเงินอุดหนุนเด็กครอบคลุมค่าใช้จ่ายเบื้องต้นคือค่าอาหาร จะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี ลดการเกิดโรคต่างๆ จนถึงวัยชรา 2. ด้านเศรษฐกิจ เป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพราะช่วยสร้างแรงงานคุณภาพให้เป็นผู้เสียภาษีที่มีศักยภาพ เม็ดเงินที่ไหลไปสู่มือของประชาชนจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งระดับชาติและท้องถิ่น  อีกทั้งงบประมาณเพื่ออุดหนุนเด็ก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ใช้เพื่อผู้สูงอายุ จะมีแนวโน้มที่ลดลงในอนาคต เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 3. ด้านความสมานฉันท์ทางสังคม เงินอุดหนุนเด็กช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพราะสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงโอกาสของเด็กในการพัฒนาด้านต่างๆ และช่วยลดโอกาสในการที่พ่อหรือแม่จะละทิ้งลูกให้อยู่กับคนอื่น

เนื่องจากนโยบายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กจะดำเนินการผ่านกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งที่ผ่านมาถือเป็นกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยที่สุด ทำให้เกิดข้อกังวลถึงงบประมาณในการดำเนินการของนโยบายนี้ โดยข้อเสนอเงินอุดหนุนเด็กต่อหัวจากที่เสนอไว้ประมาณ 600 บาท/คน/เดือน ถูกปรับเหลือเป็น 400 บาท/คน/เดือน และช่วงอายุเด็กที่หารือกันและนำเสนอไป คือ 0-6 ปี ถูกปรับเหลือเพียง 0-1 ปี

ความคืบหน้าล่าสุดของการผลักดันข้อเสนอนี้ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา  ทาง พม. และสภาพัฒน์ได้ร่วมกันในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น เพื่อจะนำข้อเสนอเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีในวาระต่อไป เนื้อหาสำคัญที่นำเสนอ คือ โครงการนำร่องสำหรับเงินอุดหนุนจะให้กับแม่ที่ยากจน อยู่ในครัวเรือนยากจนและเสี่ยงต่อความยากจนแบบถ้วนหน้า ทั้งนี้แม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต้องไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และฝากครรภ์ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2558 ถึง 30 ต.ค. 2559 ส่วนการดำเนินงานจะเป็นการแจกสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพของเด็กที่ต้องบันทึกรายละเอียดการรับวัคซีนด้วย การรับสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพของแม่จะเท่ากับเด็กได้เข้ามาสู่ระบบที่สามารถรับเงินอุดหนุนเด็กได้ โดยรูปแบบตามที่ พม. และสภาพัฒน์นำเสนอ แตกต่างไปจากข้อเสนอที่เครือข่ายองค์การภาคสังคม ยูนิเซฟ และทีดีอารืไอได้เสนอไว้เมื่อแรกเริ่ม คือวิธี U1T2 (universal first, targeting second) โดยเสนอว่าเด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเงินอุดหนุนนี้ในเบื้องต้น แต่หากตรวจสอบข้อมูลแล้ว พบว่าพ่อแม่ของเด็กอยู่ในฐานภาษีสูง หรือเป็นผู้ประกันตนที่มีรายได้สูง เด็กจึงจะถูกตัดสิทธิรับเงิน

ดร. สมชัย  ระบุ 2 ข้อควรระวังจากข้อเสนอล่าสุด คือ ปัญหาเรื่องเงินอุดหนุนไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง (exclusion error) เพราะกลุ่มเป้าหมายคือแม่ที่ยากจนขาดการรับรู้ข่าวสาร หรือถูกเลือกปฏิบัติจากผู้นำชุมชนที่อาจมีส่วนในการรับรองให้แม่ที่ยากจนเข้าร่วมในระบบ  และอีกปัญหาคือ การให้เด็กได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะในช่วง 0-1 ปี อาจเป็นเรื่องยากที่จะวัดระดับสติปัญญาของเด็ก หรือประโยชน์ที่เด็กได้รับจากเงินอุดหนุนอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ถ้าหากภาครัฐสนับสนุนให้เครือข่ายชุมชนสามารถประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และเร่งเก็บข้อมูลที่จะนำมาเป็นตัวชี้วัด อาทิเช่น น้ำหนักหรือส่วนสูงของเด็ก น่าจะแก้ปัญหาข้างต้นได้.

http://tdri.or.th/tdri-insight/subsidy-for-children-treatment/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ไม่ซื้อแนวคิดเว้นวรรคการเมืองแม่น้ำ 5 สาย เพราะจะไม่มีคนทำงาน

$
0
0

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ซื้อแนวคิดร่างรัฐธรรมนูญบทเฉพาะกาลให้แม่น้ำ 5 สาย ครม.-คสช.-สนช.-สปช.-กมธ.ยกร่าง เว้นวรรคการเมือง 2 ปี เพราะจะไม่มีคนทำงาน โดยจะยึด รธน.ชั่วคราวที่ คสช. ร่างเป็นหลัก - ด้านเจษฎ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่าง ยอมรับว่าเป็นผู้เสนอเอง เพราะเชื่อว่าแม่น้ำ 5 สายไม่คิดสืบทอดอำนาจ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (แฟ้มภาพ/เว็บไซต์รัฐบาลไทย)

5 มี.ค. 2558 - กรณีที่ เจษฎ์ โทณะวณิก หนึ่งในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะอนุกรรมาธิการร่างบทเฉพาะกาล เสนอแนวคิดตัดสิทธิหรือเว้นวรรคทางการเมือง แม่น้ำ 5 สาย หรือ คณะรัฐมนตรี (ครม.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากต้องการให้ประชาชนมั่นใจว่าแม่น้ำทั้ง 5 เข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติจริง อีกทั้งกลัวว่าจะเป็นปัญหาทางการเมืองต่อไป จึงเห็นว่าควรมีการเว้นวรรคช่วงหนึ่ง และเชื่อว่า แม่น้ำ 5 สายไม่มีแนวคิดสืบทอดอำนาจแน่นอน

ล่าสุด วันนี้ (5 มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว โดยใน เพจของวาสนา นาน่วมผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์ระบุว่า "หากหวาดระแวงผม ผมไม่จำเป็นต้องคืนอำนาจก็ได้" โดย พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า คสช. และ ครม. จะขอยึดรัฐธรรมนูญชั่วคราว คือ ห้ามแต่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่อย่างนั้นจะไม่มีคนทำงาน โดยยืนยันว่า หัวหน้า คสช. เป็นคนออกรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว ก็ยึดตามนั้น โดยขอให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปหาทางอื่นกันแทน

"เอาตามนั้น รัฐธรรมนูญชั่วคราว ห้ามแต่ กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ เสนอมาก็เสนอไปๆ ผมเอาตามนั้น นี่จะเอาทั้งหมด ห้ามแบบนี้ไม่มีใครทำงาน หามาตรการอื่น จะมาหวาดระแวงอะไรผม ผมไม่คืนอำนาจให้ ก็จบแล้ว ผมเอาตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ผมเอาอย่างนี้ คนอื่นว่าไง ก็ไปว่ามา"

ในเฟสบุ๊คของวาสนาระบุด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ เตือน กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญบางคน พูดมาก อย่าสร้างขัดแย้ง ควรพูดน้อย

ทั้งนี้ ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า นายเจษฎ์ โทณะวณิก หนึ่งใน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ยอมรับว่าแนวคิดตัดสิทธิ์หรือเว้นวรรคทางการเมืองแม่น้ำ 5 สาย เป็นข้อเสนอของเขาเอง เนื่องจากต้องการให้ประชาชนมั่นใจว่าแม่น้ำทั้ง 5 เข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติจริง อีกทั้งกลัวว่าจะเป็นปัญหาทางการเมืองต่อไป จึงเห็นว่าควรมีการเว้นวรรคช่วงหนึ่ง และเชื่อว่าแม่น้ำ 5 สายไม่มีแนวคิดสืบทอดอำนาจแน่นอน

ส่วนสาเหตุที่ตัดสิทธิ์ 2 ปี เนื่องจากเมื่อตัวเองดูเวลาแล้วพบว่าการทำงานของแม่น้ำ 5 สายมีเวลาราว 2 ปี ดังนั้นก็ควรมีการตัดสิทธิ์ในระยะเวลาเท่ากัน โดยการตัดสิทธิ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งในแม่น้ำ 5 สาย พ้นวาระจากตำแหน่ง และจะมีผลย้อนหลังทุกกรณี รวมถึง นางทิชา ณ นคร ที่เพิ่งลาออกจากตำแหน่งคณะ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และ สปช.ด้วย ซึ่งการตัดสิทธิ์จะตัดสิทธิ์ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ยังสามารถทำหน้าที่สรรหา ส.ว.หรือดำรงตำแหน่งอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองได้ เช่น สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ซี่งตนเองจะนำเสนอแนวคิดนี้ในวันนี้

อย่างไรก็ตามคิดว่าแนวคิดนี้คงไม่ผ่านการยอมรับจากคณะ กมธ.ยกร่างฯ และยังไม่ได้มีการพูดคุยกับสมาชิก สนช. และ สปช.ถึงแนวคิดนี้ด้วย ส่วนการยกร่างบทเฉพาะกาลคาดว่าจะมีทั้งหมด 20 มาตรา คงพิจารณาแล้วเสร็จวันพรุ่งนี้ โดยยังเหลือการพิจารณาประเด็นสำคัญใน 3-4 ประเด็น เช่น บทบาทของแม่น้ำ 5 สายหลังพ้นตำแหน่ง และแนวทางการส่งต่อบทบาทหน้าที่ในรัฐบาลชุดต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

$
0
0

"ถ้าหวาดระแวงผมเหรอ ผมก็ไม่คืนอำนาจให้ก็จบแล้ว"

5 มี.ค.58 กล่าวถึงข้อเสนอเว้นวรรคทางการเมือง คสช. แม่น้ำ 5 สาย 2 ปี เพื่อป้องกันการสืบทอดอำนาจ

สุรพศ ทวีศักดิ์: ตำรวจธรรมวินัย-ตรรกะการแยกศาสนาจากรัฐ

$
0
0

 

มีคำถามกันมากว่า การอ้างธรรมวินัยตรวจสอบพระ กำลังมีลักษณะเป็น “เผด็จการธรรมวินัย” มี “ตำรวจธรรมวินัย” คอยจับผิดพระว่าอย่างนั้นอย่างนี้ทำไม่ได้ ส่งผลให้ไม่มีเสรีภาพในการตีความธรรมวินัย ขาดความหลากหลาย ความมีชีวิตชีวาในพุทธศาสนาไทยๆ เป็นต้น


สิทธิอำนาจและผลประโยชน์จากการอ้างธรรมวินัย

แต่ข้อเท็จจริงคือ พระสงฆ์ไทยทุกนิกาย ทุกกลุ่ม ไม่ว่าพระในและนอกสังกัดมหาเถรสมาคม ต่างอ้างว่าตนเองเป็น “เถรวาท” และถือวินัยสงฆ์ (ศีลพระ) เถรวาท 227 ข้อ การอ้างเช่นนี้ทำให้พระมีอภิสิทธิ์ (สิทธิพิเศษ) ต่างๆ เหนือคนธรรมดามากมาย เช่น มีสถานะภาพสูงกว่าชาวบ้าน เป็นที่ศรัทธากราบไหว้ของผู้คน มีสิทธิอำนาจในการสอนศีลธรรม เป็น “เนื้อนาบุญ” รับบริจาคปัจจัยสี่จากชาวบ้าน กินฟรีอยู่ฟรี และ ฯลฯ

ถามว่าพระเป็น “ผู้ผลิต” หรือไม่? ตอบว่าเป็น เช่น เป็นผู้สอนศีลธรรม ให้บริการด้านกิจกรรมปฏิบัติธรรม พิธีกรรมและอื่นๆ แต่ทั้งหมดนั้นเป็นการให้ “ฟรีๆ” หรือไม่ ข้อเท็จจริงคือ ไม่ว่าพระจะสอนธรรม เขียนหนังสือธรรมะ เสวนาธรรม บรรยาย อภิปรายธรรมในเวทีวิชาการ จัดค่ายปฏิบัติธรรม ให้บริการด้านพิธีกรรม หรือทำการเผยแผ่พุทธศาสนาด้วยวิธีใดๆ แทบทั้งหมดนั้นมี “ค่าตอบแทน” ทั้งสิ้น แต่เราเรียกว่า “เงินทำบุญ” และพระก็รับเงินทำบุญนั้นเป็น “ของส่วนตัว” ได้ด้วย

แต่ตามวินัยสงฆ์ พระรับเงินเป็นสมบัติส่วนตัวไม่ได้ ถ้ารับก็ต้องอาบัติ “นิคสัคคีย์ปาจิตตีย์” ต้องปลงอาบัติ หรือแก้การผิดวินัยสงฆ์ข้อนี้ได้ด้วยการ “สละคืนให้สงฆ์” คือต้องมอบเงินนั้นให้เป็นของสงฆ์หรือของส่วนรวม สำหรับใช้เพื่อกิจการส่วนรวมของวัด หรือให้พระทุกรูปมีสิทธิ์เบิกใช้ยามจำเป็น เช่นค่ารักษาพยาบาลยามป่วยไข้เป็นต้น

แต่ในความเป็นจริง พระสงฆ์ไทยสามารถมีบัญชีเงินฝากส่วนตัวได้เป็นร้อยๆ ล้าน รับโอนเงินใน “ชื่อตัวเอง” ได้เป็นร้อยๆ ล้าน พันล้าน โดยไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องถูกรัฐตรวจสอบเรื่องร่ำรวยผิดปกติ ฯลฯ เพียงเพราะอ้างว่านั่นคือ “เงินบริจาคทำบุญ”

สำหรับบรรดาลูกศิษย์พระรวยๆ เช่นนั้น ก็ไม่ได้สนใจจะตรวจสอบอยู่แล้ว เพราะเชื่อใจท่าน ยิ่งถูกกล่อมเกลาให้เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลส กระทั่งมี “ญาณวิเศษ” หยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ด้วยแล้ว ยิ่งเชื่อต่อไปว่าการที่ท่านมีบัญชีเงินฝากในชื่อตัวเองเป็นร้อยเป็นพันล้าน นั่นก็ยิ่งแสดงถึงบุญบารมีอันสูงส่งของท่าน ใครคิดสงสัยหรือจะตรวจสอบความโปร่งใสของท่าน ย่อมมี “จิตอกุศล” เกิดขึ้น เป็นบาปกรรมแก่ตัวเองเปล่าๆ ไม่บังควรคิดเช่นนั้นโดยสิ้นเชิง

 

ตรรกะของการอ้างธรรมวินัยตรวจสอบพระ (และที่พอทำได้เพียงน้อยนิด)

อย่างไรก็ตาม แม้พระสงฆ์ทุกกลุ่มจะอ้างความชอบธรรมในสถานะ สิทธิอำนาจ ผลประโยชน์ทางนามธรรมและทางวัตถุจากการถือวินัยสงฆ์ หรือศีลพระ 227 ข้อ แต่ในความเป็นจริงชาวพุทธไทยก็ให้ความสนใจ หรือสามารถตรวจสอบพระได้จริงๆ ด้วยการอ้างวินัยสงฆ์เพียง 4 ข้อ หรือ “ปาราชิก 4 ข้อ” ที่ถ้าพระละเมิดแล้วจะขาดจากความเป็นพระเท่านั้น แปลว่าศีลพระอีก 223 ข้อ เป็นเรื่องที่แต่ละวัด แต่ละสำนักจะตรวจสอบกันเอง (แต่เราเคยเห็น “การตรวจสอบกันเอง” หรือไม่ ส่วนใหญ่เรารู้เมื่อเป็น “ข่าว”)

ตรรกะของการอ้างวินัยสงฆ์ตรวจสอบพระ คือการที่ชาวบ้านเรียกร้อง-ต่อรอง “ความรับผิดชอบ-accountability ทางศีลธรรม” จากพระ หมายความว่าเมื่อพระอ้างธรรมวินัยอะไรให้ความชอบธรรมแก่สถานะ สิทธิอำนาจ ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ตัวท่านควรได้รับ ประชาชนก็มีสิทธิอ้างธรรมวินัยที่ท่านอ้างนั้นมาเรียกร้องความรับผิดชอบกับท่านได้ แต่ที่ชาวพุทธไทยอ้างตรวจสอบพระได้จริงๆ คือ 4 ข้อนี้เท่านั้น

1. ชาวพุทธมีสิทธิ์ตั้งคำถามได้ว่า เป็นพระต้องไม่ฆ่าคน ในเมื่อพระอ้างว่าถือวินัยสงฆ์ “ห้ามฆ่ามนุษย์” (ปาราชิกข้อที่ 1)

2. ชาวพุทธมีสิทธิ์ตั้งคำถามได้ว่า เป็นพระต้องไม่คอรัปทรัพย์สินคนอื่น ในเมื่อพระอ้างว่าถือวินัยสงฆ์ “ไม่ถือเอาของคนอื่นที่มีราคาตั้งแต่ 5 มาสก หรือ 1 บาทขึ้นไป” (ปาราชิกข้อ 2)

3. ชาวพุทธมีสิทธิ์ตั้งคำถามได้ว่า เป็นพระต้องไม่ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ในเมื่อพระอ้างว่าถือวินัยสงฆ์ “ห้ามเสพเมถุนหรือมีเพศสัมพันธ์” (ปาราชิกข้อ 3)

4. ชาวพุทธมีสิทธิ์ตั้งคำถามได้ว่า เป็นพระต้องไม่คอรัปศรัทธาหรือหลอกลวงหากินกับศรัทธาของพระชาชน ในเมื่อพระอ้างว่าถือวินัยสงฆ์ “ห้ามอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน” อันเป็นการห้ามอ้างคุณวิเศษหลอกลวงหากินกับศรัทธาของประชาชน (ปาราชิกข้อ 4)

จะเห็นว่า หากเทียบกับสถานะ สิทธิอำนาจ ผลประโยชน์ทั้งทางนามธรรมและวัตถุที่พระได้รับ การเรียกร้อง “ความรับผิดชอบ” จากพระเพียง 4 ข้อนี้ เป็นการเรียกร้องที่ “น้อยมาก” ข้อ 1, 2 และ 4 เป็นจริยธรรมพื้นฐานที่แม้แต่ฆราวาสก็ต้องปฏิบัติกันทุกองค์กรอยู่แล้วทั้งนั้น ไม่มีองค์กรหรือสถาบันทางสังคมอารยะที่ไหนอนุญาตให้สมาชิกองค์กร/สถาบันฆ่าคน โกง หรือโฆษณาตัวเองเกินจริงเพื่อหลอกลวงหากินเอาเปรียบประชาชนได้ สิ่งที่ต่างจากชาวบ้านก็มีเพียงข้อ 3 พระต้องถือพรหมจรรย์เท่านั้น (แต่ถ้าท่านจะไม่ถือพรหมจรรย์ ก็ต้องประกาศอย่างตรงไปตรงมาว่าท่านเป็นนิกายหรือกลุ่มสงฆ์ที่พระมีเมียได้ หากชาวบ้านเขาศรัทธา สนับสนุนก็อยู่ได้ จะไม่มีใครอ้างวินัยสงฆ์เถรวาทเรื่อง “ห้ามเสพเมถุน” ไปเอาผิดท่านได้)

ฉะนั้น การอ้างปาราชิก 4 ข้อ ตรวจสอบพระ เป็น “อำนาจต่อรองน้อยนิด” ที่ชาวบ้านพอจะมีอยู่จริงๆ ขณะที่พระไทยไม่ต้องถูกชาวบ้านตรวจสอบวินัยสงฆ์อีกตั้ง 223 ข้อ และยังมีอภิสิทธิ์ต่างๆอีกมากดังกล่าวแล้ว เช่นมีเงินในชื่อตัวเองหรือส่วนตัวได้เป็นร้อยๆ ล้าน โดยไม่ถูกชาวบ้านตั้งคำถามทั้งๆ ที่ผิดวินัยสงฆ์ชัดเจน ไม่ต้องเสียภาษี หรือถูกตรวจสอบเรื่องรวยผิดปกติ ฯลฯ


ยังไม่แยกศาสนาจากรัฐการอ้างธรรมวินัยตรวจสอบพระไม่ make sense?

มีข้อโต้แย้งว่า ระบบปกครองสงฆ์ที่เรียกว่า “มหาเถรสมาคม” ไม่เป็นประชาธิปไตย ฉะนั้นการอ้างธรรมวินัยตรวจสอบพระภายใต้ระบบเช่นนี้ ก็ไม่ต่างจากการอ้าง 112 ไปเอาผิดคนอื่นๆ

ความเข้าใจเช่นนี้ เพราะไปคิดว่าระบบมหาเถรสมาคมไม่ต่างอะไร หรือ “เท่ากับ” อำนาจเผด็จการรัฐประหาร แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะอำนาจเผด็จการรัฐประหารนั้นฉีกรัฐธรรมทิ้ง และตั้งกฎการปกครองขึ้นมาใหม่ แล้วเอาผิดคนอื่นๆ ภายใต้กฎที่ตนเองตั้งขึ้น

แต่มหาเถรสมาคมนั้นแม้จะถูกสถาปนาขึ้นโดยอำนาจรัฐที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก็จริง แต่ไม่ได้ฉีก “ธรรมวินัย” ทิ้ง และไม่ได้บัญญัติธรรมวินัยขึ้นมาใหม่ได้ ธรรมวินัยมีอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งพระไตรปิฎกก็ไม่ใช่มหาเถรสมาคมเขียนขึ้น แต่มีอยู่ก่อน และที่ชาวพุทธไทยถือกันคือ “พระไตรปิฎกภาษาบาลี” ที่เขียนขึ้นในศรีลังการาว 500 ปี หลังพุทธปรินิพพาน (ซึ่งยังถืออย่างเทียบเคียงกับฉบับสันสกฤต และฉบับอักษรโรมันเป็นต้นด้วยเพื่อเทียบเคียงความสอดคล้องกัน ซึ่งแปลได้ในระดับหนึ่งว่าคณะสงฆ์ไทยเอง “ผูกขาด” ความถูกต้องของพระไตรปิฎกไม่ได้จริง)

ถึงจะเป็นเช่นนั้น มหาเถรสมาคมก็มีอำนาจ “ผูกขาด” การตีความ? ก็อาจเป็นเช่นนั้นได้ แต่ “ผูกขาดอย่างสิ้นเชิง” ได้จริงๆหรือ? ถ้าได้ ทำไมมีการตีความพระไตรปิฎกแบบพุทธทาส, หลวงพ่อชา (ขณะปฏิบัติวิปัสสนาในสายหลวงพ่อชา-พระอาจารย์มั่น ท่านห้ามพระอ่านพระไตรปิฎกและหนังสือใดๆ ให้ใช้สติและปัญญาพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจิตของตนเองโดยตรงเท่านั้น) แบบธรรมกาย สันติอโศก ฯลฯ เกิดขึ้นได้

แปลว่า ถึงมหาเถรสมาคมจะพยายามผูกขาด แต่ก็ไม่สามารถอ้างธรรมวินัยมาเอาผิดการตีความต่างกันได้ เพราะพุทธะไม่ได้บัญญัติไว้ในธรรมวินัยให้เอาผิดการตีความคำสอนต่างกัน หรือแม้แต่ตีความผิด หากพระจะผิดก็เฉพาะกรณีละเมิดวินัยสงฆ์เท่านั้น (ซึ่งหลังสมัยพุทธกาลก็ขึ้นอยู่กับวินัยสงฆ์ของแต่ละนิกาย ไม่ใช่อ้างวินัยสงฆ์ของนิกายหนึ่งไปตัดสินนิกายอื่นได้)

ฉะนั้น ธรรมวินัยที่สงฆ์กลุ่มไหน นิกายไหนอ้างความชอบธรรมให้กับตัวเองนั่นแหละ คือธรรมวินัยที่ประชาชนมีสิทธิ์อ้างตรวจสอบพระสงฆ์กลุ่มนั้น นิกายนั้น และในเมื่อพระสงฆ์ไทยทุกกลุ่ม ทุกนิกายต่างอ้างวินัยสงฆ์เถรวาท ซึ่งตามหลักการของวินัยสงฆ์เถรวาทที่อ้างกันนั้น ก็สามารถอ้างตรวจสอบพระทุกรูปตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมาถึงพระธรรมดาได้ใน “มาตรฐานเดียวกัน” ฉะนั้นย่อมชอบธรรมที่ชาวพุทธจะอ้างวินัยสงฆ์ดังกล่าวตรวจสอบพระสงฆ์ไทย แม้จะยังไม่แยกศาสนาออกจากรัฐก็ตาม

เพราะตรรกะของ “การแยกศาสนาจากรัฐ” ไม่เกี่ยวโดยตรงกับการที่ศาสนาใดๆ จะตรวจสอบกันตามหลักการเฉพาะของศาสนานั้นๆ แต่ตรรกะการแยกศาสนาจากรัฐเป็นส่วนหนึ่งของไอเดีย secularism-ฆราวาสนิยม ที่ต้องการทำให้ทุกเรื่องอยู่ภายใต้กติกาทางโลก หรือทำให้การปกครองของรัฐ-การเมือง เศรษฐกิจ สังคมอยู่ภายใต้หลักการ กติกาทางโลก ที่มี rationality-ความเป็นเหตุผล มีเสรีภาพที่จะตั้งคำถามได้ เถียงได้ วิจารณ์ตรวจสอบได้ทุกเรื่อง ไม่ทำให้เรื่องของรัฐ การเมือง เศรษฐกิจสังคม หรือกิจกรรมสาธารณะอื่นๆ อยู่ภายใต้ความเชื่อทางศาสนา หรือความจริงสูงสุดที่เถียงไม่ได้ แตะไม่ได้ พูดง่ายๆ คือ เอา “ความเป็นศาสนา” ออกไปจาการเมือง หรือกิจกรรมสาธารณะเช่นเรื่องสิทธิ ความยุติธรรมเป็นต้นให้มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่อง “อุดมคติ” ที่แต่ละสังคมอาจยังบรรลุถึงได้ไม่เท่ากัน

ส่วนเรื่องศาสนาเป็นเสรีภาพของปัจเจกบุคคล รัฐต้องรับรองเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนา แต่ถ้าหากศาสนา นิกายศาสนา หรือกลุ่มศาสนาต่างๆ จะถือหลักการหรือกติกาทางศาสนาบางอย่างร่วมกัน และตัดสินผิด ถูกตามกติกานั้นๆ เช่นสงฆ์เถรวาทตัดสินว่า พระขาดจากความเป็นพระเพราะต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อ ก็เป็นเรื่องข้อตกลงทางศาสนากันเอง รัฐไม่เกี่ยวข้อง ไม่เข้าไปแทรกแซงว่าทำอย่างนี้ถูกหรือผิด นักเสรีนิยมเองก็ไม่ไปยุ่งด้วย เพราะเป็นสิทธิทางศาสนาที่ต้องได้รับการเคารพ

ณ ปัจจุบัน สังคมไทยยังไม่แยกศาสนาจากรัฐ ก็ยังไม่มีกติกาห้ามรัฐเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของศาสนา แต่ประเด็นคือ การที่รัฐเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของศาสนานั้นมัน “ผิด” หลักการของ “รัฐฆราวาส” แน่นอนแต่ก็ไม่ได้เท่ากับว่าไม่สามารถปรับอาบัติพระที่ทำผิดวินัยสงฆ์ได้ หากอธิบายได้ว่ากระบวนการตัดสินพระทำผิดวินัยสงฆ์ได้ดำเนินไปตามกรอบธรรมวินัย

เช่น หากมีการกล่าวหาว่า “พระภิกษุ ก.จ้างวานฆ่าคนอื่นตาย” ถ้ามีการดำเนินการตามหลัก “สัมมุขาวินัย” คือให้ผู้กล่าวหามาให้การ แสดงพยานหลักฐาน และให้ผู้ถูกกล่าวหามาแก้ต่าง แสดงพยานหลักฐานหักล้าง และคณะสงฆ์ที่เป็นกลางตัดสินออกมาอย่างเปิดเผยและยุติธรรม การตัดสินเอาผิดทางวินัยสงฆ์ว่าพระ ก.ต้องอาบัติปาราชิก และให้สึกจากพระ ก็ย่อมชอบธรรมตามธรรมวินัย แม้พุทธศาสนาจะยังไม่แยกจากรัฐก็ตาม

หากอ้างว่า “ถ้ายังไม่แยกศาสนาจากรัฐ จะดำเนินการกับพระ ก.เช่นนั้นไม่ได้” ก็เท่ากับกำลังอ้างหลักการแยกศาสนาจากรัฐเป็น “หลักการสูงสุด” ของความชอบธรรมในการแก้ปัญหาภายในของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และเท่ากับกำลังยืนยันว่าพระสงฆ์ปัจจุบันสมควรได้สถานะ สิทธิอำนาจ ผลประโยชน์ต่างๆ จากการอ้างความชอบธรรมจากธรรมวินัย แต่ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อธรรมวินัยนั้นเลย

ตรรกะแบบนี้ไม่สมเหตุสมผลและไม่สามารถปฏิบัติได้จริงอยู่แล้ว และหาก “ปฏิบัติได้จริง” ก็เท่ากับว่าถึงพุทธศาสนาจะยังไม่แยกจากรัฐ  รัฐ(โดยมหาเถรฯ) ก็ไม่มีสิทธิ์อ้างวินัยสงฆ์ดำเนินการใดๆ แก่พระทำผิดวินัย ปล่อยให้พระแต่ละวัดตรวจสอบกันเอง หากเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่าสิ่งที่ผู้อ้างตรรกะเช่นนี้ต้องการก็เกิดขึ้นได้จริงๆ แล้ว (คือพระสงฆ์แต่ละวัดมีอิสระตรวจสอบกันเอง) ก็ไม่จำเป็นต้องแยกศาสนาจากรัฐ

แต่เนื่องจากตรรกะการแยกศาสนาจากรัฐ ไม่เกี่ยวกับเรื่องตรวจสอบพระทำถูก ทำผิดวินัยสงฆ์โดยตรง ฉะนั้นแม้ (ถ้า)ในความเป็นจริงมหาเถรฯ จะปล่อยให้พระแต่ละวัดตรวจสอบกันเองอย่างอิสระ การแยกศาสนาจากรัฐก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำอยู่นั่นเอง ตราบที่เราต้องการให้รัฐเป็นรัฐฆราวาส/เสรีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

พูดให้ชัดๆ คือ ตรรกะการแยกศาสนาจากรัฐ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับการทำถูก ทำผิดหลักการภายในศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับความเจริญหรือเสื่อมของศาสนาใดๆ โดยเฉพาะ ถ้ายืนยันตรรกะการแยกศาสนาจากรัฐจริงๆ ถึงแม้ถ้าแยกศาสนาจากรัฐวันนี้แล้วพุทธศาสนาจะหมดไปจากสังคมไทยทันที ก็ต้องแยกให้ได้ เพื่อให้รัฐไทยเป็นรัฐฆราวาส/เสรีประชาธิปไตยให้ได้

แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า พุทธศาสนาที่อยู่ภายในรัฐฆราวาส/เสรีประชาธิปไตยจะมีอิสระคลี่คลาย งอกงามมีชีวิตชีวาอย่างตอบสนองต่อวิถีชีวิตสมัยใหม่มากกว่าปัจจุบัน ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าถ้ายังไม่แยกพุทธศาสนาจากรัฐแล้ว จะอ้างธรรมวินัยตรวจสอบความรับผิดชอบของพระสงฆ์ไม่ได้เลย        

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มน.ศ.พิทักษ์ประชาธิปไตย ม.ราม จี้ 'สนช.ที่ตั้งญาติช่วยงาน' ลาออก-เรียกคืนเงินเดือนผู้ช่วย

$
0
0

กลุ่มนักศึกษาพิทักษ์ประชาธิปไตย ม.ราม ยื่นหนังสือต่อประธาน สนช. เรียกร้องให้ สนช.ที่แต่งตั้งบุคคลในครอบครัว ให้รับตำแหน่งผู้ช่วยฯ ลาออกจากตำแหน่ง พร้อมให้บุคคลเหล่านั้นคืนเงินเดือน


5 มี.ค. 2558 กลุ่มนักศึกษาพิทักษ์ประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือ DSRU ยื่นหนังสือต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เพื่อเรียกร้องให้ สมาชิก สนช.ที่แต่งตั้งบุคคลในครอบครัว เครือญาติ และคนสนิท ให้รับตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ผู้ชำนาญการประจำตัว และผู้ช่วยดำเนินการประจำตัว ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากขัดต่อหลักจริยธรรม สนช. ที่สมาชิกต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเอื้อประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง และขัดต่อหลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลปฏิบัติงานใน สนช. ตามที่ประธาน สนช.ได้เป็นผู้ลงนามคำสั่งกำหนดคุณสมบัติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา

และเรียกร้องให้บุคคลในครอบครัว เครือญาติ และคนสนิท ของสมาชิก สนช. ที่ได้รับตำแหน่งประจำตัว สนช. อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง จะต้องแสดงความรับผิดชอบทางจริยธรรม ด้วยการคืนเงินภาษีประชาชนที่ได้รับเป็นรายเดือนคืนสู่ประเทศชาติ

โดยนายพงษ์นรินทร์ นนท์ก่ำ ตัวแทนกลุ่มนักศึกษาพิทักษ์ประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระบุว่า การแต่งตั้งบุคคลในครอบครัว เครือญาติ และคนสนิทเข้ารับตำแหน่งประจำตัว สนช. ถือว่าขัดต่อจริยธรรมของ สนช. และขัดต่อหลักเกณฑ์การแต่งตั้งที่ลงนามโดยประธาน สนช. อย่างชัดเจน ดังนั้นเห็นว่า สนช.ควรแสดงความผิดชอบทางจริยธรรมด้วยการลาออก เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อฝ่ายนิติบัญญัติ

ด้านนายวีรชัย เฟ้นดี้ ตัวแทนกลุ่มนักศึกษาพิทักษ์ประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงความชอบธรรมของสนช.ต่อกรณีพิจารณาการถอดถอน 38 ส.ว.กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เนื่องจาก สนช.ไม่ได้มาจากเสียงประชาชน ดังนั้นเห็นว่า สนช.จึงไม่มีความชอบธรรมในการพิจารณา

ขณะที่นายกัมปนาท บุญเหลือง ตัวแทนกลุ่มนักศึกษาพิทักษ์ประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงการที่นายตวง อันทะไชย อดีต ส.ว.สรรหา และสมาชิก สนช. ที่ออกมาระบุว่าการตรวจสอบการตั้งเครือญาติและคนสนิทเป็นการทำลายความชอบธรรมว่า เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เนื่องจากการกระทำที่ขัดหลักจริยธรรม ก็ต้องว่าไปตามหลักการ ส่วนการแต่งตั้งเครือญาติ หากไม่ขัดก็ควรแสดงความจริงใจในการถูกตรวจสอบ



 

 

ที่มา:
เพจกลุ่มนักศึกษาพิทักษ์ประชาธิปไตยและ เฟซบุ๊ก บารมี ชัยรัตน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'วิชัย วิวิตเสวี' รับ ป.ป.ช.หารือต่ออายุจริง-เพราะเกรงทำคดีไม่ต่อเนื่อง

$
0
0

กรณี ป.ป.ช.หารือเรื่องต่ออายุการดำรงตำแหน่ง เนื่องจากจะมี ป.ป.ช. พ้นวาระปีนี้ 5 คนรวดนั้น 'วิชา มหาคุณ' ระบุเรื่องนี้สื่อรายงานไปเอง สงสัยว่าไปได้ข้อมูลมาจากที่ใด ขณะที่ 'วิชัย วิวิตเสวี' ยอมรับว่ามีการหารือเรื่องต่ออายุจริงใน ป.ป.ช. เพราะหากหมดวาระพร้อมกัน 5 คน จะเกิดชะงัก-ป.ป.ช.ที่เหลือจะทำคดีความไม่ต่อเนื่อง

5 มี.ค. 2558 - ตามที่มีข่าวเผยแพร่ใน มติชนออนไลน์ เมื่อวานนี้ ระบุว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้หารือเรื่องต่ออายุการดำรงตำแหน่งกับ คสช. เนื่องจากในปี 58 โดยกรรมการ ป.ป.ช.จะต้องพ้นวาระถึง 5 คน ได้แก่ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ที่ต้องพ้นวาระ เนื่องจากมีอายุครบ 70 ปี ในเดือนพฤษภาคม ส่วนนายวิชา มหาคุณ นายวิชัย วิวิตเสวี นายประสาท พงษ์ศิวาภัย และนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี ในเดือนกันยายนนั้น

ล่าสุดวันนี้ (5 มี.ค.) เนชั่นทันข่าวระบุคำให้สัมภาษณ์ของนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ที่ยืนยันว่าทางคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่เคยมีการปรึกษาหารือหรือมีมติในเรื่องดังกล่าว โดยกระแสข่าวที่เกิดขึ้นเป็นการรายงานของสื่อมวลชนเองตนจึงสงสัยและอยากถามว่าผู้ที่รายงานนั้นไปได้ข้อมูลเรื่องนี้จากที่ใด

อย่างไรก็ตาม มีกรรมการ ป.ป.ช. ออกมายอมรับว่าเสนอเรื่องดังกล่าวจริง โดยวันนี้ ใน ไทยรัฐออนไลน์ลงคำให้สัมภาษณ์ของ วิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. โดยยอมรับว่ามีการคุยเรื่องการต่ออายุดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ป.ป.ช.จริง โดยแจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องดังกล่าวมีการคุยกันในที่ประชุม ป.ป.ช.นานแล้ว ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรให้ไปสอบถามนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. และนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.

สำหรับเหตุผลที่ต้องต่ออายุ เนื่องจากหากกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 5 คน หมดวาระไป จะเหลือกรรมการอยู่ 4 คน หากจะทำเรื่องคดีก็ไม่มีความต่อเนื่อง จะเกิดการชะงัก หากมีคนมารับงานสืบเนื่องไป ก็ไม่น่าห่วง แต่หากหมดวาระไป 5 คน เหลือยู่แค่ 4 คน จะทำงานไม่ได้ ปัญหาจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ไม่ห่วงกระแสวิจารณ์เรื่องการต่ออายุว่า เป็นการสืบทอดอำนาจ แต่เป็นการทำเพื่อความจำเป็นให้นำงานมาทำต่อ ไม่ใช่เพื่อความสนุกสนาน มันจะมีอำนาจอะไร มีแค่การยื่นคำร้องถอดถอน และชี้มูลความผิดเท่านั้น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความทรงจำ ความหวังและ “วันพรุ่งนี้”

$
0
0

                                               

                                                                        

น่าทึ่งมากนะครับที่คุณประภาส ชลศรานนท์ ได้แต่งเพลง “ วันพรุ่งนี้”ขึ้นมา โดยได้ผนวกรวมเอา “ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” ไว้ด้วยกันอย่างแยบคาย การเลือกให้เด็กทวงถาม “ ความทรงจำ” เพื่อนำไปสู่การกระตุกเตือนให้ผู้คนหวนกลับไประลึกถึงการบอกเล่า/สอนสั่งในเรื่องความดีงามของความสัมพันธ์ทางสังคมในครั้งเก่าก่อน ขณะเดียวกันก็โยงมาสู่ปัจจุบันที่ผู้คนเหล่านั้นไม่ได้ทำตามสิ่งที่บอกเล่า/สอนสั่งมา และได้โยงไปสู่ความหวังในอนาคตว่าหากพี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายายที่ขัดแย้งกันในวันนี้หวนระลึกและใช้ความทรงจำเก่ามาคืนความสามัคคี ลูกหลานก็จะปฏิบัติตามและอนาคตก็ย่อมสดสวยเหมือนเดิม

กล่าวได้ว่าความปรารถนาของมนุษย์ในการสร้างสังคมที่ดีกว่าก็จะต้องจำเป็นที่จะต้อง “ ควบรวม”อดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าด้วยกันเช่นนี้แหละ เพราะการทำความเข้าใจปัจจุบันได้ก็จำเป็นต้องสร้างการอธิบายอดีต พร้อมกันนี้การมองเห็นเส้นทางประวัติศาสตร์ที่เคลื่อนจากอดีตมาปัจจุบันก็จะทำให้มองเห็นแนวทางในการสร้าง “ ความหวัง” ให้แก่อนาคต

นักทฤษฏีสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์จำนวนไม่น้อยพยายามที่จะเขียนหนังสือเพื่อชักชวนให้ผู้อ่านมองเห็นความสำคัญของการมองต่อเนื่องระหว่าง อดีต ปัจจุบัน กับอนาคต แต่บทเพลงสั้นๆนี้ได้สรุปความหมายและได้เชื่อมต่อเอาไว้อย่างครบถ้วนทีเดียว

แต่ความปรารถนาของเด็กน้อยที่หวังจะกระตุกเตือนญาติผู้ใหญ่ทั้งหมดก็คงจะไม่มีพลังอย่างที่คุณประภาสคาดหวัง  เพราะความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นในช่วงยี่สิบปี  ได้ทำให้ “ อดีต”ของผู้ใหญ่แต่ละกลุ่มเป็นอดีตที่ไม่เหมือนกันอีกแล้ว ผู้ใหญ่บางกลุ่มอาจจะตอบแก่เด็กน้อยว่า “ เขาไม่ลืมหรอก” แต่เขาก็จะบอกต่อไปว่าเมื่อก่อนที่เขาเชื่อเช่นนั้นและสอนสั่งไปเพราะถูกทำให้เชื่อว่าสังคมเป็นเช่นนั้น  แต่วันนี้ไม่ใช่แล้ว  ผู้ใหญบางกลุ่มก็อาจจะเน้นย้ำอดีตว่าเป็นอ่ย่างนั้นจริงๆ แต่ปัจจุบันไม่สามารถกลับคืนได้อีกแล้วเพราะทนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้

“ อดีต” ไม่ใช่เรื่องที่ตายตัว  หรือไม่ใช่เพียงแค่ถาวรวัตถุทีคงที่ตลอดกาล  หากแต่เป็นกระบวนการการให้”ความหมาย” แก่อดีต  การให้ความหมายแก่อดีตก็ไม่ใช่เพียงเพราะค้นพบหลักฐานใหม่ๆ แต่ความเปลี่ยนแปลงของการดำรงอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมในปัจจุบัน จึงทำให้ผู้คนให้ “ ความหมาย” ต่ออดีตไปในทิศทางที่สอดคล้องไปกับปัจจุบันกาลของเขา

“ความทรงจำ” ซึ่งเป็นสาระสำคัญของสังคมก็เช่นเดียวกัน   “ ความทรงจำ” ชุดหนึ่งเคยหล่อเลี้ยงความหวังในวันนี้และวันข้างหน้าจึงมีโอกาสที่จะหมดพลังไปในยามที่ผู้คนได้เริ่มเปลี่ยนความหมายของตนเองซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความหมายต่ออดีตไปพร้อมๆกัน

“ความทรงจำ” ชุดที่ปรากฏในเพลง “วันพรุ่งนี้ “ เป็นความทรงจำชุดที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อมานานมานี้เอง หากคุณประภาสกลับไปอ่านขุนช้างขุนแผนหรือไปพักอาศัยกับพี่น้องชาวบ้านจริงๆ (ที่ไม่ได้ทำรีสอร์ตสวยๆขายนักท่องเที่ยวผู้โหยหาอดีต)  ก็จะพบว่าความเรียบง่ายในแบบของชุดความทรงจำที่บรรจุไว้ในบทเพลงนั้นไม่มีจริง   นักศึกษาที่เดินทางเข้าป่าไปสบทบกับพรรคคอมมิวนิสต์หหลัง 2519 จำนวนไม่น้อยที่เข้าป่าไปพร้อมกับความเชื่อว่าชาวบ้านน่ารักและบริสุทธิ์ก็อกหักกลับมาไม่น้อยเพราะมนุษย์ทุกแห่งหนล้วนไม่เคยมีใครสมบูรณแบบ

“ความทรงจำ”ถึงอดีตที่แสนงามจึงเป็นเพียงภาพและบทเพลงที่ไม่สามารถจะกระตุ้นเตือนให้ใครได้หวนกลับสู่ความสัมพันธ์แบบเดิมอีกแล้ว นอกจากเสพความรู้สึกเพื่อเติมความโหยหาในบางช่วงเวลาเท่านั้น

เป็นไปไม่ได้เลย ที่เราจะผลัก “ ความทรงจำ” ชุดเดิมให้มีปฏิบัติการแบบเดิมในสังคมที่แปรเปลี่ยนจนระบบความสัมพันธ์ทั้งหมดไม่เหมือนเดิมไปแล้ว และเราจะหวังผลักให้ความสัมพันธ์จริงๆทีแปรเปลี่ยนไปแล้วให้กลับมาอย่างเดิม ก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน

 “ความทรงจำ” เป็นฐานที่สำคัญที่สุดของการจัดตั้งสังคมของมนุษย์  คนแต่ละคนที่จดจำอะไรไว้มากมายไม่ได้จดจำในฐานะของปัจเจกชนเท่านั้น หากแต่สายใยที่เกาะเกี่ยวผู้คนในสังคมได้ทำให้ “ความทรง”ของคนแต่ละรุ่นแต่ละช่วงเวลามีส่วนร่วมกันจนกล่าวได้ว่า “ความทรงจำ”ทั้งหมดเป็น”ความทรงจำร่วม”ของสังคมในระดับใดระดับหนึ่ง

“ความทรงจำร่วม” ของคนในสังคมจะนำให้เกิดการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของผู้คนในสังคมนั้นๆและการจัดวางนี่ก็จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในความหวังว่าอนาคตจะเดินไปอย่างไร

ในวันนี้ นอกจากความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันที่เกิดขึ้นและทอดยาวมานานกว่าสิบปี  ลึกลงไปสังคมไทยกำลังต้องการการให้ความหมายแก่ “ อดีต”กันใหม่  เพื่อที่จะร่วมกันสร้าง “ความทรงจำร่วม” ชุดใหม่อันจะเป็นฐานให้แก่สังคมที่งดงามในอนาคต 

ปัญหาที่สำคัญ ก็คือ  เราจะสัมพันธ์กับ “อดีต” เพื่อสร้าง “ ความทรงจำร่วม” กันอย่างไรในการนำสังคมไทยไปสู่อนาคตที่ดีกว่านี้   เพราะ“ อดีต” หรือ “ประวัติศาสตร์” ไม่ใช่เรื่องราวความรู้เกี่ยวกับอดีตที่ผ่านมาแล้วอย่างที่ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมเข้าใจกัน  หากแต่ความรู้เรื่อง “อดีต” ล้วนแล้วแต่เป็นพลังทางภูมิปัญญาของคนในยุคปัจจุบันกาลหนึ่งๆที่เริ่มมองเห็นว่าสังคม ณ เวลานั้นมีปัญหาเกิดขึ้นและเขาไม่สามารถเข้าใจได้ว่าทำไมจึงเกิดขึ้น ความปรารถนาที่จะเข้าใจปัญหาในปัจจุบันกาลจะชังจูงให้ผู้คนหันกลับไปอธิบาย “อดีต” กันใหม่เพื่อที่จะให้สามารถทำเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันได้

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ทำให้มองเห็นบทบาทของสามัญชนคนธรรมดาในการสร้างประวัติศาสตร์ และก่อให้เกิดการศึกษาประวัติศาสตร์ของผู้คนโดยทั่วไป และส่งผลให้เกิดประวัติศาสตร์สังคม  ประวัติศาสตร์ของสังคม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมทั้งประวัติศาสตร์ของชนชั้นรองที่ถูกกดขี่( Subaltern) 

การเกิดขึ้นของประวัติศาสตร์ที่มุ่งอธิบายบทบาทของผู้คนทั่วไปว่ามีส่วนในการสร้างประวัติศาสตร์ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มชนชั้นนำเท่านั้น  ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้หลักฐานในการเขียนประวัติศาสตร์โดยเริ่มไปใช้ความทรงจำมากขึ้น

ตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงในการเขียนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมในสังคมไทย  เช่น คำนำในงานเขียนเรื่อง “ ตำนานเสนาบดีกรุงรัตนโกสินทร์ “ ของขุนวรกิจพิศาล ( เปล่ง สุวรรณจิตติ  พิมพ์ในปี พ.ศ. 2463)  ที่แสดงให้เห็นว่า “ ในชั้นแรก ก็แลเห็นแต่ปฐมเหตุข้อเดียวว่า เพราะพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดิน พระองค์เป็นผู้ทรงรวบรวมกู้ให้คนมีขึ้นอย่างเดิม...มานึกดูอีกครั้งหนึ่งว่า...พระองค์ท่านพระองค์เดียวจะทรงปกป้องประเทศและชาติให้เจริญถาวรคงอยู่ได้เช่นนั้นหรือ  จำเป็นจะต้องมีเสนาอำมาตย์ราชเสวกช่วย...เมื่อแลเห็นความจริงฉะนี้แล้ว  ก็ทวีความรู้สึกมากขึ้นอยากจะทราบว่าใครเป็นผู้ช่วยเหลือในราชการแผ่นดินมาแต่ก่อนบ้าง...”

กล่าวได้ว่าเมื่อเกิดการขยายตัวของระบบราชการ สามัญชนที่ก้าวขึ้นมาเป็นข้าราชการระดับสูงก็ได้เกิดความสำนึกที่ว่าตนเองก็มีส่วนในการบริหารบ้านเมือง และความรู้สึกนี้เป็นแรงผลักดันให้กลับไปศึกษา “ อดีต” กันใหม่  ตัวอย่างลักษณะนี้มีอีกมากมาย ที่น่าสนใจอีกหนึ่งปรากฏการณ์ได้แก่ ข้อสงสัยของสมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ในบทบาทของท่านผู้หญิงโม้ที่ว่าในพงศาวดารนั้น “ ไม่เห็นแสดงอิทธิฤทธิ์อะไร” คำตอบของสมเด็จกรมพระดำรงราชานุภาพแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของการศึกษาอดีตความว่า “ การสร้างรูปท่านผู้หญิงโม้นั้น เป็นอุทาหรณ์อันหนึ่ง ซึ่งแสดงว่าความคิดสมัยใหม่ผิดกับสมัยเก่า” ( สาส์นสมเด็จ เล่ม 4 หน้า 267  )

ความเปลี่ยนแปลงของการเขียนประวัติศาสตร์ที่เน้นให้คนจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์เช่นนี้ ได้แก่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่ง  ได้แก่  การทำให้เกิดการสร้าง “ ความทรงจำร่วม” ( Collective Memory ) ของคนในชาติ  ได้แก่  การสร้างความคิดนามธรรมในการอธิบายลักษณะเฉพาะของชนชาติไทยในประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชาติไทยดำเนินมาได้ถึง ณ ปัจจุบันกาล 

แกนกลางของ“ความทรงจำร่วม” นี้ ได้แก่  “ความสามัคคี” กันของคนในอดีตที่ได้นำพาให้ชาติไทยพ้นภัยกันมาได้ เมื่อใดที่แตกสามัคคีก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา  ภายใต้ความทรงจำร่วมเรื่องความสามัคคีก็จะเติมและสานไว้ด้วยความรัก/ประสานประโยชน์/แบ่งปัน ฯลฯ อันเป็นกลไกที่ทำให้ความสามัคคีดำเนินต่อไปได้

“ความทรงจำร่วม” ชุดนี้ส่งผลทำให้เกิดการกระทำรวมหมู่ของสังคมมาเนิ่นนาน  เพราะสามารถใช้ยึดโยงผู้คนในสังคมที่ยังมีการแตกตัวทางชนชั้นและสถานะไม่ชัดเจน  ความสามัคคีจึงป็นนามธรรมของปฏิบัติการณ์ทางสังคมของระบบอุปถัมภ์ที่เป็นจริงในสังคมไทย

แต่ในยี่สิบปีที่ผ่านมา  ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ของผู้คนในสังคมที่หลากหลายมากขึ้น  แม้ว่าในคำกล่าวเชิงลบทำนองว่าคนไทยปัจจุบันนับถือคนมีเงินแม้ว่าเงินได้มาจากการโกงกิน ฯลฯ  แต่ก็แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่เห็นความเปลี่ยนแปลงสถานภาพของผู้คนในสังคมว่ามีมากมายและลึกซึ้ง

ระบบอุปถัมภ์ที่เป็นฐานการจัดตั้งทางสังคมก็ไม่มีพลังหลงเหลืออยู่  เพราะการเข้าถึงทรัพยากรได้กระจายมากขึ้นจนระบบอุปถัมภ์เปลี่ยนแปลงไปจนอาจจะเรียกไม่ได้แล้วว่าเป็นระบบอุปถัมภ์ เพราะกลายเป็นการแลกเปลี่ยนชั่วคราวกันเป็นส่วนใหญ่  การใช้ถ้อนคำที่แสดงนัยยะว่าเป็น “ อุปถัมภ์” เป็นเพียงฉากบังไม่ให้การแลกเปลี่ยนบาดความรู้สึกเท่านั้น  

ปฏิบัติการณ์ทางสังคมที่เป็นจริงของคนกลุ่มต่างๆหลายหลายสถานะและชนชั้น  ได้ทำให้ “ ความทรงจำร่วม” ของสังคมไทยอ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ  เพราะแกนกลางของ “ความทรงจำร่วม”  อันได้แก่ ความสามัคคี/การแบ่งปัน/ประสานผลประโยชน์ฯลฯลักษณะเดิม เริ่มไม่มีความหมายต่อจิตใจของผู้คนไปจนเกือบหมดสิ้นแล้ว

เพราะการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของผู้คนโดยทั่วไปพบว่า  หากจะยึดมั่นความสามัคคีกันแล้วกลับทำให้คนบางกลุ่มฉวยเอาไปใช้หาประโยชน์เข้าตนเองได้มากกว่า 

ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันที่เกิดขึ้นและทอดยาวมานานกว่าสิบปีเกิดขึ้นมาจากการสูญเสียพลังของ “ความทรงจำร่วม” ชุดเดิม  สังคมไทยกำลังต้องการการให้ความหมายแก่ “ อดีต”กันใหม่  เพื่อที่จะร่วมกันสร้าง “ความทรงจำร่วม” ชุดใหม่อันจะเป็นฐานให้แก่สังคมที่งดงามในอนาคต 

หากจะคิดถึงการใช้ความทรงจำร่วมกันในเรื่องความสามัคคีในการรักษาความสัมพันธ์ในปัจจุบัน ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้ความทรงจำร่วมชุดนี้มีความหมายต่อผู้คนให้มากที่สุด    ท่ามกลางการแตกตัวทางชนชี้นและสถานะจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้ผู้คนทั้งหลายมองเห็น “ความสามัคคีอย่างเสมอภาค” ว่าเป็นแกนกลางของความทรงจำร่วมในอดีตที่ผ่านมา

บทเพลง “วันพรุ่งนี้” คงจะเป็นได้เพียงแค่บทเพลงที่ถูกบังคับให้ร้องกันในโรงเรียนในช่วงเวลาที่รัฐบาลและทหารกลุ่มนี้อยู่ในอำนาจเท่านั้น ( นักศึกษาของผมล้อว่า “เปลี่ยนช่องได้ไหม” เวลาต้องฟังเพลงนี้ทางโทรทัศน์ครับ)  ศิลปิน /นักแต่งเพลง/ผู้สร้างงานศิลปท่านอื่นๆทั้งหลายอาจจะช่วยกันทดลองสร้างหรือเสนอ “ความทรงจำร่วม” กันชุดใหม่ๆ ที่อาจจะกินใจผู้คนในสังคมจนก่อรูปเป็นพลังทางสังคมก็ได้นะครับ

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลพัทยาสั่งจำคุก 4 ปี 15 แกนนำเสื้อแดง กรณีล้มประชุมอาเซียน ปี 52

$
0
0

ศาลพัทยาตัดสินจำคุกแกนนำเสื้อแดง 15 คน กรณีนำพากลุ่มคนเสื้อแดงบุกล้มการประชุมอาเซียน ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท ไม่รอลงอาญา

5 มี.ค. 2558มติชนออนไลน์รายงานว่า ศาลจังหวัดพัทยาได้ตัดสินจำคุก 15 แกนนำเสื้อแดง กรณีเป็นแกนนำพากลุ่มคนเสื้อแดงบุกล้มการประชุมอาเซียน ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552 ซึ่งมีพนักงานอัยการจังหวัดพัทยา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 4 ปี ไม่รอลงอาญา ได้แก่

1.นายนิสิต สินธุไพร 2.นายสำเริง ประจำเรือ 3.นายนพพร นามเชียงใต้ 4.นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ 5.นายสมญศฆ์ พรมมา 6.นายสิงห์ทอง บัวชุม 7.นายธนกฤต หรือวันชนะ ชะเอมน้อย หรือเกิดดี 8.นายวรชัย เหมะ 9.นายพายัพ ปั้นเกตุ 10.นายธรชัย ศักมังกร 11.นายศักดา นพสิทธิ์ 12.นายวัลลภ ยังตรง 13.นายพิเชษฐ์ สุขจินดาทอง 14.นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง และ 15.พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์  โดยนายสุรชัย และพ.ต.ต.เสงี่ยม ไม่ได้เดินทางมารายงานตัวแต่อย่างใด ขณะที่ พ.ต.อ.สมพล รัฐกาญจน์ และ “มังกรดำ” ศาลยกฟ้อง ส่วนนางศิริวรรณ์ นิมิตรศิลปะ นั้น ให้จำหน่ายคดีชั่วคราว เนื่องจากจำเลยไม่เคยเข้าสู่กระบวนการตั้งแต่แรก

ด้านนายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ขณะนี้กำลังทำเรื่องประกันตัวอยู่ที่ศาลจังหวัดพัทยา โดยได้เดินทางมาศาลตั้งแต่เวลาประมาณ 09.00 น. จนขณะนี้ก็ยังไม่ได้ออกไปไหน อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีกำลังใจดี ไม่ได้กังวลอะไร เคารพการตัดสินของศาล และพร้อมที่จะสู้โดยการยื่นอุทธรณ์ต่อ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจพม่าสลายชุมนุม-จับกุมนักศึกษาประท้วงที่ย่างกุ้ง

$
0
0

นักศึกษาที่ย่างกุ้งประท้วงกรณีตำรวจขวางนักศึกษาอีกกลุ่มที่ประท้วงกฎหมายการศึกษาฉบับใหม่ที่ภาคพะโค อย่างไรก็ตามตำรวจตัดสินใจสลายการชุมนุมนักศึกษาที่ย่างกุ้ง โดยผู้ที่ถูกควบคุมตัวมีนักรณรงค์สิทธิสตรีพม่ารวมอยู่ด้วย

5 มี.ค. 2558 - สำนักข่าวอิระวดีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมนักศึกษาและนักกิจกรรมที่ชุมนุมกันราว 200 คน ซึ่งจัดการประท้วงบริเวณย่านสวนมหาพันธุละ ใกล้ศาลาว่าการนครย่างกุ้ง โดยมีรายงานว่า ในจำนวนผู้ที่ถูกตำรวจควบคุมตัว มีนักรณรงค์สิทธิสตรีรวม "นีละเต่ง" อยู่ในนั้นด้วย

ทั้งนี้การชุมนุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อประท้วงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแนวกีดขวางผู้ประท้วงที่เมืองเล็ตปะตั่น ภาคพะโค ห่างจากย่างกุ้งราว 120 กม. โดยที่นั่นมีการประท้วงของนักศึกษาอีกกลุ่มที่ประท้วงกฎหมายการศึกษาฉบับใหม่ ที่เพิ่งผ่านสภาเมื่อปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตัดสินใจสลายการชุมนุมของนักศึกษาที่ย่างกุ้ง โดยเมื่อเวลา 16.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้กระบองทุบตีผู้ประท้วง ภายหลังจากที่มีตำรวจนอกเครื่องแบบเข้ามายุยงแทรกแซงการประท้วง ทั้งนี้จากคำให้สัมภาษณ์ของโป่ต๊ะ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยดะโกง ที่ร่วมการชุมนุม โดยเขาให้สัมภาษณ์กับอิระวดีขณะที่อยู่ในรถควบคุมตัว

"ในรถควบคุมตัว มีคน 8 คน รวมไปถึงผู้นำนักศึกษารุ่น 88 (หมายถึง "กลุ่มนักศึกษารุ่น 88 เพื่อสันติภาพและสังคมเปิด")" โป่ต๊ะกล่าว และระบุด้วยว่า มีนักรณรงค์ด้านสิทธิสตรีชื่อ "นีละเต่ง" ถูกควบคุมตัวด้วย

ผู้สื่อข่าวอิระวดีที่เห็นเหตุการณ์ ระบุว่า ผู้ประท้วงถูกควบคุมตัวในรถบรรทุก 2 คัน ซึ่งจอดอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีการประท้วง และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 2 คนจากการสลายการชุมนุม

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.บุกสอบปากคำ อ.มหาสารคาม สงสัยมือแขวนป้ายต้านเผด็จการใน ม.

$
0
0

ตร.เข้าสอบปากคำ วินัย ผลเจริญ อาจารย์ ม.มหาสารคาม สงสัยเป็นมือแขวนป้ายผ้าต้านเผด็จการใน ม. หลังเจ้าตัวโพสต์ภาพป้ายผ้าลงเฟซบุ๊ก ด้านวินัยปัด ไม่ได้ทำ แค่เห็นด้วย จึงเซฟมาโพสต์

5 มี.ค. 2558 วินัย ผลเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้สัมภาษณ์ประชาไทว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนาย หนึ่งในนั้นยศพันตำรวจตรี เข้ามาที่ห้องทำงานที่วิทยาลัย เพื่อขอสอบปากคำตนเอง เพราะสงสัยว่าเป็นผู้แขวนฝ้ายผ้า "เผด็จการจงบรรลัย ประชาธิปไตยจงเจริญ" ในบริเวณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลังจากเขาโพสต์ภาพป้ายผ้าดังกล่าวเมื่อช่วงสายวานนี้ในเฟซบุ๊ก

อย่างไรก็ตาม วินัย กล่าวว่า เขาได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคนทำ เพียงแต่เห็นด้วยกับข้อความเท่านั้น ส่วนใครจะทำนั้นไม่รู้จริงๆ ทั้งนี้ เขาเห็นภาพป้ายผ้าดังกล่าวในเฟซบุ๊กแล้วอยากแชร์ แต่ระบบขึ้นคำเตือนว่าอาจมีคนไม่เห็น จึงเซฟแล้วโพสต์ในเฟซบุ๊กของตัวเองแทน ทั้งนี้ ทราบจากเพื่อนที่ทำงานว่า เมื่อวานมีตำรวจและทหารมาที่ ม. จำนวนมาก ซึ่งเขาเข้าใจว่าคงมาดูแลความเรียบร้อยงานลงนามความร่วมมือระหว่างศาลรัฐธรรมนูญและวิทยาลัยการเมืองการปกครองที่จะจัดในวันนี้ อย่างไรก็ตาม เพื่อนของเขายืนยันว่ามีการถามหาเขา รวมถึงอาจจะมาหาที่บ้านด้วย แต่มีผู้ทักท้วงไว้ก่อน

เขากล่าวว่า เขาตกเป็นผู้ต้องสงสัย 2-3 คน คงเพราะแชร์ภาพดังกล่าว โดยหนึ่งในผู้ต้องสงสัยคือ ศนปท. อย่างไรก็ตาม เขาได้บอกไปว่า ศนปท.น่าจะไม่เกี่ยว เพราะอยู่กรุงเทพฯ

เขากล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าได้ตรวจสอบลายนิ้วมือและลายนิ้วมือแฝงของผู้ต้องสงสัยไว้เปรียบเทียบแล้ว เขาจึงถามว่าจะตรวจลายนิ้วของเขาด้วยไหม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจบอกว่ายังไม่ตรวจ เพียงแค่มาสอบปากคำตามหน้าที่เท่านั้น และว่าทหารบอกให้มา ทั้งนี้ ถ้าจำเป็นจะมาขอตรวจลายนิ้วมืออีกครั้ง ก่อนจะขอถ่ายรูปเขาและกลับไป

เมื่อถามว่าเหตุใดตำรวจจึงมาหาเขาได้เร็ว ทั้งที่เพิ่งโพสต์ไปเมื่อวาน วินัย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เขาเคยถูกเรียกรายงานตัว 2 ครั้งหลังรัฐประหาร เนื่องจากเขาเป็นหนึ่งใน 118 คนที่ร่วมลงชื่อกับ ครก.112 ซึ่งรณรงค์ให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และมักโพสต์แสดงความไม่เห็นด้วยกับมาตรา 112 จัดกิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้ง กิจกรรมรำลึก 24 มิ.ย. หรือแสดงความเห็นทางการเมือง ทำให้เขาถูกจับตาอยู่แล้ว พอมีเรื่องเกิดขึ้น เลยอาจจะถูกสงสัย ก็เข้าใจได้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสียงจากนามูล : ทางผ่านของการขุดเจาะปิโตรเลียม หรือชีวิต และสิทธิชุมชน

$
0
0

คุยกับชาวบ้านนามูล จ.ขอนแก่น สิทธิชุมชนถูกกลบหายหลังรัฐประหาร เหตุผลของการค้านการขุดเจาะปิโตรเลียม และเรื่องเล่าของการทำข่าวในพื้นที่

"เขาว่าเราเป็นคนส่วนน้อยทำไมไม่รู้จักเสียสละเพื่อคนส่วนใหญ่ เขาบอกแค่นี้"

ย้อนกลับไปเมื่อเช้าของวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา การผนึกกำลังกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ไปจนถึงกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ได้สร้างความแคลงใจให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านนามูล ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น อยู่ไม่น้อย คำถามใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความไม่เข้าใจของชาวบ้านได้ก่อตัวขึ้น เหตุใดหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงยืนอยู่เคียงข้างบริษัท เพราะภาพที่ปรากฏเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมาคือ กองกำลังผสมระหว่างตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง เข้าอำนวยความสะดวกในการขนย้ายอุปกรณ์สำหรับเตรียมสำรวจและขุดเจาะก๊าชปิโตรเลียม ให้กับบริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด ภายใต้การอ้างใช้กฎอัยการศึก

ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 13 – 19 ก.พ. 2558 กองกำลังเจ้าหน้าที่ได้เข้าควบคุมพื้นที่บริเวณบ้านนามูล เพื่อเปิดทางให้รถขนอุปกรณ์ของบริษัทผ่านของไปยังหลุ่มเจาะดงมูล บี (DM-B) แปลงสัมปทาน L27/43 อยู่ในการสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 18 ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขต ต.กุงเก่า อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ ทว่าอยู่ห่างจากหมู่บ้านเพียง 1.5 กิโลเมตร แน่นอนว่าบริเวณบ้านนามูลอยู่ในเขตพื้นที่ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 5 กิโลเมตร แต่พวกเขากลับไม่ได้รับรู้ข้อเสีย หรือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมแต่อย่างใด

ขณะเดียวกันก็มิได้หมายว่า ทางด้านบริษัทไม่ได้มีการจัดเวทีประชุม ประชาพิจารณ์ หรือพูดคุยกับชาวบ้านเลย ชาวบ้านในพื้นที่เล่าให้เราฟังว่า เคยมีการเข้ามาจัดประชุมพูดคุยกันทั้งหมด 3 ครั้ง โดยมี กอ.รมน.จ.ขอนแก่น ในพื้นที่เป็นผู้จัดการประชุมกับชาวบ้าน แต่แล้วเสียงคัดค้าน ความไม่เห็นด้วยของชาวบ้าน ถูกกลบหายไปด้วยข้อดีของการพัฒนา และการเป็นคนส่วนน้อยจำต้องเสียสละเพื่อคนส่วนใหญ่

"บริษัทเข้ามาจัดเวที เอาทหารมาคุม บอกให้เราเซ็นชื่อ ใครไม่เซ็นไม่ให้เข้าประชุม ไม่เซ็นไม่ได้รับนม แล้วก็เอาชื่อเราไปประกอบใบอนุญาต เห็นเราเป็นอะไร เราถาม 1 คำถาม เขาตอบ 2 ชั่วโมง มีแต่ข้อดีทั้งนั้น ข้อเสียไม่มีหรอก อย่างนี้มันเรียกประชาพิจารณ์ได้อย่างไร เราเป็นชาวบ้านเราไม่รู้หรอกว่าผลกระทบมันจะเกิดอะไรขึ้น เขามีทั้งเงินมีทั้งคนทำไมไม่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจริงๆ ทำไมเอาแต่ข้อดีมาบอกเรา จะมีการจ้างงาน จะมีแก๊สฟรีใช้ จะมีถนนดีๆ ทำไมไม่บอกข้อเสียเราบ้างล่ะ ถึงเราไม่รู้ว่าเขาศึกษากันอย่างไร แต่เราเคยเห็นมาก่อนว่าผลกระทบมันทำให้ต้นยางไม่มีน้ำ แล้วนั่นคืออาชีพของเรา จะให้เราทำอย่างไร"

คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนามูลประกอบอาชีพเกษตรกร ปลูกยางพารา 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือคือ มันสำปะหลัง และอ้อย และส่วนมากมีที่ทำกินอยู่ใกล้กับแปลงขุดเจาะปิโตรเลียม

เราเข้าไปในพื้นที่ ตั้งคำถามหลายเรื่องกับชาวบ้านที่ออกมาคัดค้านการขุดเจาะปิโตรเลียม เพื่อที่จะสะท้อนเสียง และความความรู้สึกที่อัดแน่นตลอดเวลาที่ผ่านมาของพวกเขา ดูเหมือนคำตอบที่เราได้จะก่อรูปมานานพอสมควรสำหรับพวกเขา แต่ไม่เคยถูกนับว่าเป็นคำตอบสำหรับทุน และรัฐ หากแต่ถูกมองว่าเป็นการขัดขวางการพัฒนา

กฏอัยการศึกค้ำคอ ห้ามต่อต้าน แม้กระบวนการไม่ถูกต้อง

การคัดค้านไม่เอาการขุดเจาะปิโตรเลียมในพื้นที่แปลงดงมูลบี มีกระแสการต่อต้านเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา โดยชาวบ้านเริ่มก่อตัวคัดค้านในลักษณะของการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หลังจากช่วงสายของวันที่ 19 ม.ค. 2558 ได้มีรถของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และรถของบริษัทฯ ขับผ่านเส้นทางในหมูบ้านเพื่อผ่านไปยังพื้นที่สำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม โดยมีรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดไซเรน 3 คันขับผ่านหมู่บ้านไป สร้างความกังวัลใจให้กับชาวบ้านว่า จะมีการขนย้ายอุปกรณ์ขุดเจาะปิโตรเลียมเข้าไปในพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากชุมชน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2557 เจ้าหน้าของบริษัทฯ ได้เดินทางเข้ามาในชุมชน เพื่อเข้ามาแจกเสื้อ กระเป๋า และกรรไกรตัดเล็บให้กับชาวบ้าน โดยได้มีการขอรายชื่อชาวบ้านที่รับของไว้ด้วย ทั้งนี้ชาวบ้านหลายรายเลือกที่จะไม่รับของดังกล่าว และตั้งข้อสังเกตว่ารายชื่อที่ได้ให้ไปนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุญาตขนย้ายอุปกรณ์เข้าไปยังพื้นที่ขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมหรือไม่

ด้านบริษัทอ้างว่าได้รับการอนุญาตให้ขนย้ายอุปกรณ์สำหรับสำรวจและขุดเจาะ ในช่วงวันที่ 13 – 26  ม.ค. ที่ผ่านมา โดยได้รับการอนุญาตจากทางหลวงชนบท และพลังงานจังหวัดขอนแก่น แต่แล้วในช่วงเวลาดังกล่าวก็ไม่ได้มีการขนย้ายเกิดขึ้นแต่อย่างใดเนื่องจากชาวบ้านได้รวมตัวแสดงพลังคัดค้าน จนกระทั่งบริษัทได้รับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานสายปกครองในอีกหนึ่งเดือนถัดมา จึงจะสามารถขนย้ายอุปกรณ์เข้าพื้นที่ได้

ชาวบ้านรายหนึ่งเล่าว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเข้ามาดำเนินการติดประกาศ โดยมีความว่า

 “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานขอแจ้งให้ประชาชนชาวตำบลดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ทราบว่า ทางราชการได้อนุญาตให้ บริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด ทำการขนย้ายอุปกรณ์สำหรับขุดเจาะปิโตรเลียม เข้าในพื้นที่แปลงสำรวจ L27/43 หลุมดงมูล-บี (ดงมูล-5) ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวจะนำมาวางและติดตั้งในพื้นที่ โดยจะมีคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ โดยจังหวัดขอนแก่นและกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ผู้แทนภาคประชาชน โดยชาวบ้านตำบลดูนสาด และผู้แทนบริษัทฯ ร่วมดำเนินการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานรวมถึงพิจารณาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป (ลงชื่อ) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน”

ป้ายนี้ถูกปักลงพื้นดินบ้านนามูลเพียงชั่วข้ามคืนก็ถูกปลดออก แต่ไม่ใช่เพราะฝีมือของชาวบ้าน หากเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ชาวบ้านหลายคนยังคงตั้งคำถามต่อเรื่องนี้ว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะตามที่พวกเขาเข้าใจการขนย้ายอุปกรณ์สำหรับขุดเจาะ และสำรวจ จะต้องมีการแจ้งให้ชาวบ้านในพื้นที่ทราบล่วงหน้าก่อน 15 วัน และที่มากไปกว่านั้นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีคำสั่งชะลอการดำเนินโครงการทั้งหมดในพื้นที่ไว้ก่อน แต่ถึงที่สุดแล้วหนังสือของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็ไม่ได้มีอะไร ถ้าเทียบกับกฏอัยการศึก

ตลอดช่วงเวลาที่มีการขนย้ายอุปกรณ์สำรวจและขุดเจาะของบริษัทฯ ผ่านพื้นที่หมู่บ้านนามูล เป็นเรื่องที่รู้กันว่ากองกำลังผสมระหว่างเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จะเข้ามาในพื้นที่เพื่อควบคุมไม่ให้ชาวบ้านออกไปขัดขวางการขนย้าย บางวันเจ้าหน้าที่เข้ามาพร้อมโล่และกระบอง บางวัน พ.อ.จตุรพงศ์ บกบน รอง ผอ.รมน.จังหวัดขอนแก่น ก็ลงพื้นที่มาดูแลความเรียบร้อยเอง ซี่งการเข้ามาในพื้นที่ทุกครั้งต่างก็เป็นการอ้างใช้กฎอัยการศึกทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลาของการขนย้ายชาวบ้านทำได้แต่เพียงกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เขียนป้ายผ้า สวดมนต์แผ่เมตตา และโห่ร้องขับไล่ขบวนรถเป็นครั้งคราว

“มันทั้งตกใจ ทั้งย่าน (กลัว) จนบ่กล้าเว่า แต่พอตกตอนบ่ายมันสูน เครียด รถขังหมา (รถควบคุมตัวผู้ต้องหา) เขาก็เอามา มันเสียใจ คือว่าทำไมเจ้าหน้าที่จึงมาเฮ็ดจังซี้ มันผิดความคาดหมาย เราแค่คนกลุ่มเล็กๆ เขาเอาคนมาสองสามร้อยคน ถือโล่ ถือกระบองเข้ามา พวกเราก็มือเปล่านั่งกันอยู่ตามขอนไม้ธรรมดา...เจ้าหน้าที่ก็เป็นคนของรัฐ ทำงานกินเงินเดือนภาษีพวกเรา แต่ทำไมไปเข้าข้างอพิโก้”

ทางผ่าน หรือชีวิต และสาเหตุที่ออกมาต้าน

“มันเจ็บปวด โกรธด้วย เขาพูดมาได้อย่างไร ว่านามูลมันแค่ทางผ่าน ที่ขุดเจาะจริงๆ อยู่กาฬสินธุ์ ลองมาดูสิว่าบ้านเรา สวนยาง มันอยู่ห่างจากที่ขุดเจาะแค่ไหน พูดมาได้อย่างไร นี่เหรอวิสัยทัศน์ผู้ใหญ่ ผู้นำประเทศ”

นั่นคือคำตอบที่เราได้ เมื่อถามถึงกรณี คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งได้พูดถึงกรณีปัญหาการขนย้ายอุปกรณ์ขุดเจาะปิโตรเลียมเข้าผ่านพื้นที่บ้านนามูล ในเวทีเสวนาสัมปทานปิโตรลียมรอบที่ 21 เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่ผ่านมา

ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2558 คุรุจิต พร้อมด้วย ศิริ จิระพงษ์พันธ์ และมนูญ ศิริวรรณ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้เดินทางลงพื้นที่บ้านนามูล โดยเดินทางเข้ามาเพื่อรับฟังชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับการขุดเจาะปิโตรเลียม

คำถามจากชาวบ้านมากมายพุ่งตรงไปยังคณะเดินทางรับฟังปัญหาของ คุรุจิต เหตุใดนามูลจึงเป็นเพียงแค่ทางผ่าน การขุดเจาะปิโตรเลียมไม่มีผลกระทบอะไรเลยหรือ และกระบวนการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ไม่เป็นธรรม และชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เหตุใดภาครัฐจึงเพิกเฉยต่อเรื่องเหล่านี้

คำตอบที่ได้จากคณะเดินทางรับฟังปัญหาคือ นามูลเป็นทางผ่าน เพราะวันที่มีการเสวนาเรื่องดังกล่าวมีเวลาน้อยไม่สามารถที่จะอธิบายรายละเอียดได้ทั้งหมด สำหรับเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมนั้นยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบใดๆ ส่วนการที่ชาวบ้านยกกรณีของผลกระทบที่เคยได้รับจากการขุดเจาะปิโตรเลียม หลุมเจาะ ดงมูล 3 (DM-3ST) ในพื้นที่บ้านนาคำน้อย ในเขตจังหวัดกกาฬสินธุ์ ที่อยู่ห่างจากบ้านนามูลประมาณ 5 กิโลเมตร และติดกับที่ทำกินของชาวบ้านนามูลขึ้นมาอ้างนั้น  ชาวบ้านต้องหาหลักฐานมายืนยัน เช่น ผลตรวจ หรือการแจ้งความที่เป็นบันทึกหลักฐาน และฟ้องร้องตามกระบวนการ ต่อกรณีคำถามเรื่องการทำ EIA ไม่ชอบธรรม ไม่มีคำตอบใดๆ จากคณะเดินทางรับฟังปัญหาครั้งนี้

“มันบ่คุ้มกับชีวิตพวกเรา ต่อให้เป็นผลประโยชน์ของชาติเราก็ว่ามันบ่คุ้ม ใครว่าบ่มีผลกระทบลองมาอยู่ตรงนี้แทนเราไหมล่ะ จะยกให้เลย”

เราถามชาวบ้านไปตรงๆ ว่าสาเหตุที่ต้องออกมาต้านการเข้ามาขุดเจาะปิโตรเลียมครั้งนี้คืออะไร พวกเขาเล่าให้ฟังว่า มองไม่เห็นความชอบธรรมในการดำเนินการของบริษัทฯ  ทุกครั้งที่มีการจัดเวทีประชุมก็เป็นเพียงการชี้แจงจากบริษัทว่าจะทำอะไรบ้าง มีผลดีอย่างไร ชาวบ้านไม่มีสิทธิพูดอะไรได้มาก ทุกครั้งเป็นเวทีที่มีทหารเข้ามาจัดการดูแล ชาวบ้านคนใดมีท่าทีแข็งกร้าว ต่อต้าน หรือตั้งคำถาม ก็จะถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษจากเจ้าหน้าที่

ดูเหมือนว่าสิ่งที่ชาวบ้านต้องการรู้มากที่สุดคือ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หาใช่ผลดีที่จะได้รับจากการพัฒนา พวกเขาต้องการรู้ว่าหากเกิดผลกระทบขึ้น ใครจะเป็นคนเยียวยาผลกระทบดังกล่าว และแน่นอนพวกเขาตั้งคำถามสำคัญว่า ทำไมพวกเขาจึงต้องเป็นผู้เสียสละ ซึ่งต้องโอบกอดชะตากรรมที่ไม่มีทางเลือกมากนักเหล่านี้ไว้ พวกเขาไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา แต่เขาต่อต้านการพัฒนาที่ทำลายชีวิตพวกเขา โดยที่เขาไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดและตัดสินใดๆ ทั้งสิ้น

“พวกเขาต่อสู้เพื่อที่จะรู้ว่าได้กำไรมากน้อยแค่ไหน แต่เราไม่ได้สู้เพื่ออย่างอื่น เราสู้เพื่อชีวิต”

การคุกคาม และความกลัว กับเรื่องเล่าเมื่อเราลงพื้นที่

ตลอดเวลากว่า 3 ชั่วโมงที่เรานั่งคุยกับชาวบ้านราว 20 คน บริเวณที่พวกเขารวมตัวกันคัดค้านการขนย้ายอุปกรณ์ของบริษัทฯ มีรถกระบะซึ่งชาวบ้านบอกว่าเป็นรถของบริษัทและเจ้าหน้าที่รัฐขับวนมา และชะลอรถมองดูว่าพวกเรากำลังทำอะไรกันอยู่ ชาวบ้านเล่าว่าเป็นเรื่องปกติเวลามีนักข่าว หรือนักศึกษาลงมาในพื้นที่ ก็จะมีคนขับรถมาดูอย่างนี้ตลอด แต่ก็ไม่ได้เข้ามาทำอะไร

เราคุยกับพวกเขาต่อไปถึงเรื่องการถูกคุกคาม พวกเขาเล่าว่ายังไม่มีการเข้ามาทำร้ายชาวบ้านแต่อย่างใด หากจะมีก็เป็นเรื่องข่าวลือว่าจะมีการบุกค้นบ้านของชาวบ้านที่ออกมาคัดค้านการขนย้ายในช่วงเวลา 04.00 น.  ของวันที่ 20 ก.พ. 2558 แต่แล้วก็ไม่ได้มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น

เราเข้าใจว่าการคุกคามในพื้นที่ไม่ได้รุนแรงอะไรมากนัก จนกระทั่งเราเดินทางเข้าไปถ่ายภาพบริเวณแปลงขุดเจาะปิโตรเลียม เมื่อขับรถไปถึงหน้าแปลงขุดเจาะ เราลงจากรถแล้วเดินไปบอกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยว่า เราเป็นนักข่าว เข้าถ่ายรูปแปลงขุดเจาะ เพื่อเอาไปใช้ประกอบข่าว แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ได้ตอบอะไรกลับมา

เราถ่ายภาพอยู่ได้ไม่นานนัก ก็มีชายคนหนึ่งเดินเข้ามาถามว่าเรามาทำอะไรกัน เราตอบไปตามความจริง ชายคนนั้นไม่ได้ว่าอะไร จากนั้นเราขับรถขึ้นไปบนภูเขาเพื่อที่จะถ่ายภาพมุมสูง เราใช้เวลาถ่ายภาพบนเขาประมาณ 10 นาที แล้วจึงเดินกลับมาที่รถ ปรากฏว่ามีรถกระบะ 2 คันของเจ้าหน้าฝ่ายปกครองจอดอยู่ด้านหลังรถของเรา ซึ่งจอดขวางทางที่กลับรถอยู่ โดยไม่ได้ขยับรถให้เรากลับรถได้ เราขับรถขึ้นไปบนเขาต่อไปอีกประมาณ 100 เมตร พบว่าพอจะมีช่องทางให้กลับรถได้ แต่รถกระบะทั้ง 2 คันขับตามมา ช่วงที่เรากำลังกลับรถเพื่อที่จะลงจากเขา เหมือนรถกระบะ 2 คันนั้นจงใจจอดขวางเรา แต่แล้วก็ขับผ่านทางกลับรถออกไป เราจึงขับรถลงมาจากเขามาได้

แต่มาเจอกับเจ้าหน้าที่ทหาร 2 นาย ซึ่งขับรถจักรยานยนต์ มาดักเราไว้ตรงหน้าทางขึ้นเขา เจ้าหน้าที่บอกให้เราจอดรถ แล้วซักถามว่าเรามาทำอะไร มาจากไหน และถ่ายภาพเราเก็บไว้ พร้อมกับบอกเราว่า คราวหลังถ้าจะมาทำข่าว มาถ่ายรูปแบบนี้ต้องขออนุญาตก่อน

เรารีบขอโทษเขาเพราะไม่ต้องการให้ภาพที่ถ่ายมาได้ถูกลบ แล้วรีบกลับมาที่หมู่บ้าน และเมื่อเรามาถึงหมู่บ้านได้ไม่นาน ก็มีรถกระบะของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองขับตามมา แล้วชะลอดูพวกเราอีกครั้ง ก่อนจะขับเลยไป 

ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ มีชาวบ้านสองคนพาเราไปไหว้พระที่วัดแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน ระหว่างทางกลับเราถามเขาว่ากลัวไหมที่ออกมาคัดค้านเรื่องนี้ ในสถานการณ์ที่ประเทศประกาศใช้กฎอัยการศึก เขาตอบเราว่า

“พ่อแก่แล้ว บ่มีหยังต้องกลัว อย่างไรมันก็มาถึงอยู่ดี เพิ่นสิมาเฮ็ดหยังกับเราก็ให้มันรู้ไป เราบ่ได้เฮ็ดหยังผิด เราเฮ็ดเพื่อชีวิตเรา กลัวอยู่อย่างเดียว กลัวจะตายเพราะบ่อก๊าซนี่มากกว่า...”

ข้อมูลเบื้องต้น

บริษัทอพิโก้ (โคราช) จำกัด ได้รับการสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม หลุ่มเจาะดงมูล บี (DM-B) แปลงสัมปทาน L27/43 ซึ่งอยู่ในเขต ต.กุงเก่า อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2546 ทั้งนี้บริษัทได้รับการอนุมัติ ผลการศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2557 ซึ่งในการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมนั้น จะต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดสองครั้ง แต่ชาวบ้านในพื้นที่กับไม่มีส่วนร่วมกับกระบวนการดังกล่าว มีเพียงกลุ่มผู้นำชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เท่านั้นที่เข้าไปมีส่วนร่วม

ขณะ เดียวกันบริษัทฯได้เข้ามาจัดเวทีประชาสัมพันธ์โครงการให้ชาวบ้านรับรู้ ทั้งหมด 3 ครั้ง โดยมีการจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2558 ซึ่งในเวทีวันนั้นยังไม่สามารถหาข้อสรุปกันได้ เนื่องจากบริษัทเพียงแต่เข้ามาชี้แจง และแจ้งว่าจะขนย้ายอุปกรณ์เข้าในพื้นที่แต่เพียงเท่านั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2558 ได้มีการจัดเวทีขึ้นอีกครั้ง ในเวทีครั้งนี้ได้มีความพยายามสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างชาวบ้าน และบริษัทฯ ในเรื่องของการให้ค่าชดเชย การเยียวยาผลกระทบ การจัดตั้งกองทุน แต่ก็ยังหาข้อสรุปตกลงกันไม่ได้ และครั้งสุดท้ายได้มีการจัดเวทีเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2558 โดยข้อสรุปในเวทีครั้งนั้นได้ให้มีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคีเพื่อดูแลการ สำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในพื้นที่ ประกอบตัวตัวแทนจากภาครัฐ บริษัท และภาคประชาชน ซึ่งคือผู้ใหญ่บ้าน และกำนันในพื้นที่ ทั้งนี้การจัดเวทีในแต่ละครั้งทาง กอ.รมน. จ.ขอนแก่น ได้เข้ามาดูแลการจัดเวทีตลอดงาน

ณ ขณะนี้ (5 มี.ค. 2558) ทางบริษัทกำลังดำเนินการเพื่อให้ได้รับการยินยอมจากคณะกรรมการไตรภาคี สำหรับการขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม โดยล่าสุดได้มีการประชุมคณะกรรมการไตรภาคีไปเมื่อวันที่ 2  มี.ค. 2558 แต่ทางกรรมการในสัดส่วนของภาคประชาชนยังไม่ยินยอมให้มีการขุดเจาะ เนื่องจากบริษัทฯยังไม่ยอมลงนามในสัญญาข้อตกเรื่องการชดเชยและเยียวยาผล กระทบ โดยทางบริษัทฯให้เหตุผลว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องพูดคุยกันอีกมาก กว่าจะได้สัญญาที่ลงตัว จึงอยากให้มีการดำเนินการขุดเจาะไปก่อน พร้อมกับพัฒนาข้อตกลงในสัญญากันไปด้วย อย่างไรก็ตามกรรมการภาคประชาชน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน และกำนันในพื้นที่ ยังไม่ยอมรับในข้อเสนอของบริษัท

ทั้ง นี้ถ้ามีการยอมรับให้มีการขุดเจาะได้ คาดว่าบริษัทฯจะทำการขุดเจาะทั้งหมดประมาณ 53 วัน และจะมีการเผาทดสอบก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 22 วัน อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้รับการสัมปทานการขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่ ดังกล่าวจนถึงปี 2560 ทั้งนี้ หากการสำรวจก๊าซธรรมชาติครั้งนี้ประสบความสำเร็จ หรือสามารถพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ได้ ก็จะมีการต่ออายุสัมปทานสำหรับการพัฒนาปิโตรเลียมต่อไปได้อีก 20 ปี โดยจะมีการสร้างโรงแยกก๊าซ และต่อท่อส่งก๊าซ ตามมาอีก

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความล้าหลังของศาลทหาร: ไม่เลิกก็ต้องปฏิรูป บทเรียนจากอารยะประเทศ

$
0
0

 

ในช่วงที่ผ่านมา เห็นฝ่ายสนับสนุนรัฐประหารพูดกันมากว่า หลังรัฐประหาร การดำเนินคดีกับพลเรือนในศาลทหาร ไม่มีปัญหาความยุติธรรม ก็เลยทำให้ดิฉันสงสัย อยากรู้ว่าประเทศอื่นๆ ที่อารยะ เป็นประชาธิปไตย เขามองศาลทหารกันอย่างไร   

@@@@

กำเนิดของศาลทหารนั้นมีเหตุผลของสภาพแวดล้อมรองรับอยู่  ซึ่งในปัจจุบันสภาพแวดล้อมดังกล่าวก็ได้เปลี่ยนไปมากจนทำให้หลายประเทศตัดสินใจยกเลิกศาลทหาร หากทหารทำผิดก็ให้มาขึ้นศาลอาญาปกติ   เช่น ในอดีต หน่วยทหารมักตั้งอยู่ในที่ทุรกันดารห่างไกลจากเมือง การเดินทางติดต่อสื่อสารทำได้ลำบาก หากต้องส่งทหารที่กระทำผิดมาขึ้นศาลพลเรือนในเมือง ก็จะไม่ทันการณ์ แต่การคมนาคมทุกด้านของโลกยุคใหม่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น แม้แต่การส่งตัวผู้กระทำผิดจากทวีปหนึ่งไปอีกทวีปหนึ่ง ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอีกต่อไป และการดำเนินคดีของศาลพลเรือนก็รวดเร็วมากขึ้นด้วย  

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง หนึ่งในภารกิจสำคัญของรัฐบาลหลายประเทศในยุโรปตะวันตกลงมือทำคือตรวจสอบระบบยุติธรรมแบบทหาร (Military justice) เพราะพบว่ามีคนมากมายเดือดร้อนจากศาลทหารที่ขาดกฎเกณฑ์ชัดเจน  ผู้พิพากษา-อัยการไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย หรือมีไม่เพียงพอกับความต้องการ มีการลงโทษอย่างรุนแรง และตามอำเภอใจ ถูกวิพากษ์จากสังคมอย่างรุนแรง ส่งผลให้เยอรมันตะวันตก สวีเดน ออสเตรีย และเดนมาร์คยกเลิกศาลทหารโดยสิ้นเชิง

ในกรณีเยอรมัน หลังฮิตเลอร์ขึ้นครองอำนาจในปี 1933 ระบอบนาซีได้รื้อฟื้นศาลทหาร ที่ถูกยกเลิกไปก่อนหน้านี้ ขึ้นมาใหม่ ศาลทหารยุคนาซีได้ละเมิดสิทธิของทั้งทหารและพลเรือนอย่างกว้างขวางรุนแรง เมื่อสงครามโลกยุติลง เยอรมันตะวันตกจึงยกเลิกศาลทหารทันทีในปี 1946

สำหรับบางประเทศ ที่ยังมีศาลทหารอยู่  ก็ไม่ได้นิ่งเฉย  เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์ และแคนาดา รัฐบาลและรัฐสภาของประเทศเหล่านี้พยายามให้พลเรือนเข้าไปมีอำนาจควบคุมตรวจสอบและมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานของศาลทหารมากขึ้น ตลอดจนแก้ไขกระบวนการศาลทหารให้มีมาตรฐานความยุติธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน

ตัวอย่างกรณีอังกฤษ นับแต่ปี 1946 รัฐสภาได้ผ่านกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของศาลทหารอย่างมากมาย โดยกำหนดว่า

1.ต้องจัดให้มีทนายอาสาที่เป็น “พลเรือน” ว่าความให้นายทหารที่ถูกดำเนินคดี

2.จัดตั้งสำนักงานอัยการทหารที่เป็นอิสระ พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยงานพลเรือนที่เรียกว่า Judge Advocate General ทำหน้าที่ป้อนผู้พิพากษาพลเรือนให้กับศาลทหาร หน่วยงานนี้เป็นอิสระจากกองทัพ-กลาโหม  ผู้พิพากษาในศาลนี้เรียกว่า Judge Advocate โดยผู้พิพากษาเหล่านี้จะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับโครงสร้างกองทัพ จารีตประเพณี และประวัติศาสตร์การทหาร ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

3.การอุทธรณ์ของทหารจะต้องกระทำในศาลพลเรือน มีผู้พิพากษาสามคนมาจากศาลอุทธรณ์[1]

กระนั้น เมื่อสองปีที่แล้ว ผู้พิพากษาอาวุโสของศาลทหารอังกฤษ นาย Jeff  Blackett ยังออกมาวิพากษ์ระบบที่ไม่ยุติธรรมของศาลทหารอังกฤษเอง ที่การตัดสินคดีใช้เสียงส่วนใหญ่ของผู้พิพากษาเพียงแค่ 5 คน หมายความว่า หากมีการลงคะแนน 3:2 หรือชนะเพียงแค่คะแนนเดียว ก็สามารถชี้ขาดต่อชะตากรรมของจำเลยแล้ว Blackett มองว่าไม่ยุติธรรม โดยเขาเมื่อเปรียบเทียบกับระบบศาลพลเรือน ที่ใช้ระบบลูกขุน ที่ต้องได้เสียงขั้นต่ำของเสียงส่วนใหญ่ 10: 2[2]  พูดง่ายๆ คือ หลักฐานที่นำมาตัดสินว่าใครผิดนั้นต้องมีน้ำหนักมากจนทำให้ “คนส่วนใหญ่จริงๆ” คล้อยตามได้

หมายเหตุ   ศาลทหารของไทยไม่มีระบบอุทธรณ์ ฎีกา ผู้พิพากษา-อัยการศาลทหารขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหม

@@@@


ในประเทศประชาธิปไตยที่ยังมีศาลทหารอยู่ หลักการสำคัญที่ละเมิดไม่ได้คือ ห้ามนำพลเรือนไปขึ้นศาลทหารหรือแม้กระทั่งในกรณีที่พลเรือนเป็นคู่กรณีกับทหาร ก็ต้องขึ้นกับศาลพลเรือน ในสหรัฐอเมริกาก็เช่นกัน

แต่นับตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา การคุมขัง-ทรมานผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ก่อการร้ายมุสลิม ก็ได้สร้างรอยด่างพร้อยให้กับกระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ ในปี 2001 หลังเหตุการณ์ตึกเวิร์ดเทรดสองหลังถูกโจมตีโดยกลุ่มอัล-กออิดะฮ์ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับบลิว บุช ลงนามคำสั่งทางทหาร อนุมัติให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ก่อการร้าย ที่ถูกจับได้ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศสหรัฐฯ

หนึ่งในประเด็นที่นักวิชาการ นักการเมือง นักสิทธิฯ วิจารณ์รัฐบาลอเมริกันกันอย่างมากคือ[3]การใช้ศาลทหารดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม เพราะกฎหมายกำหนดว่า ศาลทหารมีไว้ดำเนินคดีกับทหารประจำการเท่านั้น (ทั้งที่เป็นทหารอเมริกัน และทหารต่างชาติที่ก่ออาชญากรรมต่อสหรัฐฯ ทั้งในและนอกประเทศสหรัฐฯ) แต่ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายจำนวนมาก เป็นพลเรือน หรือก้ำกึ่งระหว่างการเป็นทหารกับพลเรือน พวกเขาจึงไม่เข้าข่าย ขณะที่รัฐบาลบุชอ้างว่า ผู้ก่อการร้ายเหล่านี้เป็น Enemy Combatant (ทหารข้าศึก) จึงเสมือนเป็นทหาร

ฝ่ายวิพากษ์ยังชี้ให้เห็นว่า ศาลทหารขาดความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร พวกผู้พิพากษา อัยการ ล้วนอยู่ในสายบังคับบัญชาของกองทัพและรัฐบาล ซึ่งมักเป็นคู่กรณีในความขัดแย้ง การตัดสินคดีความย่อมมีความโน้มเอียงไปตามอำนาจที่ครอบงำองค์กรอยู่

ฝ่ายที่วิพากษ์ยังเตือนประชาชนอเมริกันว่า อย่านิ่งเฉยกับความอยุติธรรม เพียงเพราะเหยื่อเป็น “คนนอก” เป็นมุสลิมจากประเทศอื่น แต่ “คนนอก” ที่ไม่ใช่ทหารก็ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมายอเมริกา ประการสำคัญ กฎหมายต้องปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยในฐานะ “ผู้บริสุทธิ์” จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าพวกเขาทำผิดจริง รัฐบาลอเมริกันไม่สามารถสรุปตามอำเภอใจว่าคนที่ตนเองจับกุม หรือ “อุ้มข้ามประเทศ” มาสอบสวน-ทรมาน เป็นผู้ก่อการร้ายจนกว่าจะมีการพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมที่ชอบธรรม

พวกเขาชี้ว่าระบบข่าวกรองในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายมีปัญหามากมาย คนบริสุทธิ์ก็กลายเป็นแพะได้ง่ายๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นจริงจากรายงานการสอบสวนการซ้อมทรมานของซีไอเอ โดยของคณะกรรมการวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่เพิ่งเปิดเผยออกมาเมื่อเร็วๆนี้

ฝ่ายวิพากษ์มองว่า ก็ขนาดศาลพลเรือนที่คนเชื่อกันว่ายุติธรรม ยังมีการจับแพะบ่อยมาก ในสหรัฐฯ หลังจากมีเทคโนโลยี่ตรวจ DNA นักโทษนับร้อยคนที่ถูกขังมาเป็นเวลานาน ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ นับประสาอะไรกับระบบยุติธรรมแบบทหาร ที่มักรวบรัดตัดความ ขาดความเป็นอิสระจากอำนาจของฝ่ายบริหาร (ในแง่นี้ ก็ทำให้อดคิดถึงกระบวนการยุติธรรมของไทยไม่ได้เลยเชียว)

ความยุติธรรมแบบทหาร (Military justice) นั้นถูกมองว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการรักษาระเบียบวินัย อีกทั้งระบบสายการบังคับบัญชา ที่ทำให้ผู้พิพากษา อัยการทหาร ขาดความเป็นอิสระ พวกเขายังต้องคำนึงถึงการก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งคนที่จะให้ความดีความชอบกับพวกเขา ก็คือผู้บังคับบัญชาในกองทัพ-กลาโหม หรือรัฐบาล ที่มักเกี่ยวข้องกับการสั่งฟ้องด้วย และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องยกเลิกศาลทหาร หรือปฏิรูปให้ศาลทหารใกล้เคียงกับกระบวนการยุติธรรมปกติมากที่สุด

ระเบียบวินัยที่ใช้ในค่ายทหารจะนำมาใช้กับพลเรือนไม่ได้ เพราะการดำรงอยู่ของกองทัพนั้นขึ้นกับ ระเบียบวินัย และการปฏิบัติตามคำสั่งตามสายบังคับบัญชา แต่ชีวิตของพลเรือนมีความหลากหลายและเสรีภาพมากกว่าทหาร

การแสดงความเห็น การตั้งคำถาม การปฏิเสธให้ความร่วมมือ การประท้วง ดื้อแพ่ง อย่างสันติวิธี เป็นสิ่งที่พลเมืองกระทำได้ตามกฎหมาย ประการสำคัญ มันยังเป็นส่วนสำคัญที่แยกไม่ออกจากศักดิ์ศรีแห่งการเป็นพลเมือง ที่ย่อมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบอำนาจรัฐที่มีอำนาจมหาศาล ที่สามารถบันดาลคุณอนันต์หรือโทษมหันต์แก่สังคมได้

ในขณะที่พลเรือนยึดหลักสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความยุติธรรม (Fairness) ระบบที่เที่ยงธรรม (Just) และอำนาจที่ตรวจสอบได้ ระบบยุติธรรมแบบทหาร โดยเฉพาะภายใต้รัฐเผด็จการ กลับให้ความสำคัญกับการรักษา “ระเบียบวินัย” “ความมั่นคงของรัฐ” “อำนาจแห่งรัฐ” การดำเนินคดีต่อพลเรือนที่ดื้อแพ่งต่อการปกครองของทหารโดยศาลทหาร จึงเสมือนการบังคับข่มเหงต่อสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง ให้ต้องสยบยอมต่อระบบอำนาจนิยมของทหารนั่นเอง

 

 


[1] Edward F. Sherman, “Military Justice Without Military Control”, The Yale Law Journal, Jan 1973.

[2]  “Military judge  raises court  martial concerns” , 25 June 2013, <http://www.bbc.com/news/uk-23003483>

 

[3]ดู Karen J. Greenberg (ed.), The Torture Debate in America. New York: Cambridge University Press, 2006 “The Senate Committee’s Report on the C.I.A.’s Use of Torture”, http://www.nytimes.com/interactive/2014/12/09/world/cia-torture-report-document.html?_r=0

 Peter A. Schey, “Marching the war on terrorism towards injustice: Military tribunals and constitutional tunnels”, http://perterschey.com/ARTICLES/MilitaryTribunals.html ; “The injustice of military courts”, http://stallman.org/military-courts.html

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เผยรายงาน ตร.เมืองเฟอร์กูสันเลือกปฏิบัติกับคนผิวสี

$
0
0

หลังการประท้วงของคนในสหรัฐฯ หลายเมืองกรณีตำรวจยิงวัยรุ่นคนผิวสี ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานระบุมีการเลือกปฏิบัติในการเรียกตรวจ จับกุม และดำเนินคดีกับคนผิวสีมากถึง 95%


5 มี.ค. 2558 กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ เปิดเผยสถิติอาชญากรรมจากเมืองเฟอร์กูสัน รัฐมิสซูรี ระบุว่าตั้งแต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการจับกุมประชาชนที่เป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน หรือคนผิวสีจำนวนมากถึงร้อยละ 95 ของอาชญากรรมทั้งหมดทั้งที่มีประชากรคนผิวขาวอยู่ 1 ใน 3 จนทางกระทรวงสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองนี้เลือกปฏิบัติต่อการจับกุมซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

เกิดความตึงเครียดในประเด็นเรื่องสีผิวขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว หลังจากวัยรุ่นคนผิวสีชื่อไมเคิล บราวน์ ถูกตำรวจยิงเสียชีวิต ทำให้ผู้คนในหลายแห่งของสหรัฐฯ ออกมาประท้วงเพราะไม่พอใจที่ตำรวจทำเกินกว่าเหตุกับคนผิวสี ในรายงานของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุอีกว่าเมืองเฟอร์กูสันซึ่งมีประชากรชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ร้อยละ 67 เจ้าหน้าที่มักจะเลือกปฏิบัติโดยการเรียกให้คนผิวสีหยุดเพื่อตรวจอย่างไม่มีเหตุผล นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ในเฟอร์กูสันยังถึงขั้นส่งมุกตลกแบบเหยียดสีผิวไปตามอีเมลของรัฐบาล

นิวยอร์กไทม์ระบุว่าเรื่องเหล่านี้สะท้อนสิ่งเดียวกับที่ประชาชนคนผิวสีที่ประท้วงในช่วงเดือน ส.ค. 2557 โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติ รายงานของกระทรวงยุติธรรมสำรวจโดยการพิจารณาบันทึกคดีความของตำรวจรวม 35,000 หน้า พบว่าตำรวจมักจะดำเนินคดีกับคนผิวสีในความผิดเล็กน้อยจำพวก "ก่อกวนความสงบ" และ "เดินข้ามถนนแบบผิดกฎหมาย" ขณะที่คนผิวขาวมีโอกาสรอดมากกว่าเมื่อถูกฟ้องร้องในคดีเหล่านี้

รายงานฉบับนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในเฟอร์กูสันต้องเจรจาข้อตกลงกับกระทรวงยุติธรรม ไม่เช่นนั้นจะถูกฟ้องร้องละเมิดรัฐธรรมนูญ โดยก่อนหน้านี้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ อิริค โฮลเดอร์ เคยไต่สวนหน่วยงานตำรวจท้องถิ่นมาแล้วมากกว่า 20 กรณี แต่สำหรับกรณีในเฟอร์กูสันถูกจับตามองมากเป็นกรณีพิเศษนับตั้งแต่ปี 2537 หลังมีการสืบสวนกรณีตำรวจซ้อมกรรมกรคนผิวสี รอดนีย์ คิง จนทำให้มีเหตุจลาจลตามมา ก่อนหน้านี้โฮลเดอร์ยังได้วิพากษ์วิจารณ์วิธีการจัดการกับผู้ชุมนุมประท้วงแสดงความไม่พอใจกรณีไมเคิล บราวน์ และเตือนว่าอาจจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับกรมตำรวจท้องถิ่นทั้งหมด แต่เจ้าหน้าที่ในเฟอร์กูสันก็ตอบโต้ว่าโฮลเดอร์ด่วนตัดสินพวกเขามากเกินไปและเป็นคนนอกที่ไม่เข้าใจสถานการณ์ของเมืองเฟอร์กูสันเอง

รายงานของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุเรียกร้องให้ตำรวจท้องถิ่นยอมรับว่าวิธีการรุนแรงและเลือกปฏิบัติเช่นนี้ทำให้เกิดความไม่เชื่อใจจากประชาชนและถือเป็นการละเมิดสิทธิพลเมือง อย่างไรก็ตามไบรอัน พี เฟลตเชอร์ อดีตนายกเทศมนตรีเฟอร์กูสันวิจารณ์ว่ารายงานฉบับนี้มีความอคติและมีข้อมูลไม่มากพอ

รายงานฉบับนี้มีกำหนดเผยแพร่ในการดำรงตำแหน่งวันสุดท้ายของ อิริค โอลเดอร์ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมคนผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ ผู้ที่เคยกล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัวจากการถูกตำรวจเลือกปฏิบัติเพราะเป็นคนผิวสี อนึ่ง ในการผลักดันปฏิรูปตำรวจนี้ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ไม่ได้เรียกร้องให้แก้ปัญหาในเชิงตัวบุคคลอย่างการไล่ใครคนใดคนหนึ่งออก แต่ต้องการเปลี่ยนแปลงในระดับสถาบันตำรวจแทน โดยหลายเมืองในสหรัฐฯ มีการตกลงกันว่าจะให้รัฐบาลกลางตรวจสอบเพื่อให้กรมตำรวจในท้องถิ่นปฏิบัติตามข้อกำหนด


เรียบเรียงจาก

Ferguson Police Routinely Violate Rights of Blacks, Justice Dept. Finds, New York Times, 03-03-2015
http://www.nytimes.com/2015/03/04/us/justice-department-finds-pattern-of-police-bias-and-excessive-force-in-ferguson.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงยุติการทำงาน กก.ปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา

$
0
0

สปช. ไพบูลย์ แถลงข่าวยุติการทำงานกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา รับมีกระแสกดดัน แต่ไม่ใช่ปัจจัย



6 มี.ค. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา แถลงข่าวยุติการทำงานของคณะกรรมการฯ หลังปฏิบัติหน้าที่มาร่วม 1 เดือน โดยตลอดระยะเวลาดังกล่าว กรรมการฯ ได้พิจารณาประเด็นสำคัญที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วนเนื่องจากเป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน ทั้งเรื่องศาสนสมบัติของวัดและพระภิกษุสงฆ์ปัญหาของพระสงฆ์ที่ไม่ประพฤติ ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย นำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธา เรื่องการทำผิดพระวินัยและความประพฤติ รวมทั้งปกป้องคุ้มครองกิจการของฝ่ายศาสนจักร ซึ่งถือว่าทำหน้าที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมจะเสนอผลการพิจารณาให้ประธาน สปช.ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

“ยอมรับว่ามีกระแสกดดันให้ยุบกรรมการฯ ชุดนี้ ซึ่งไม่ใช่ปัจจัยที่ให้ต้องยุติการทำงาน แต่เป็นเพราะภารกิจเสร็จสิ้นมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะสามารถให้พุทธบริษัทและพุทธศาสนิกชนตื่นตัว ออกมาปกป้องพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม จะยังคงทำงาน ประสานงานร่วมกับองค์กรเครือข่ายเพื่อติดตามเส้นทางการเงินของวัดพระธรรมกายต่อไป” นายไพบูลย์ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนทำงาน กุมภาพันธ์ 2558

ร้องกองปราบเอาผิดพระพุทธะอิสระ

$
0
0

สมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา ร้องกองปราบเอาผิด พระพุทธะอิสระ ผิด พ.ร.บ.คณะสงฆ์ กรณีนำมวลชน บุกวัดปากน้ำ ภาษีเจริญและพฤติการณ์อื่นๆ ชี้ เข้าข่ายอาบัติปาราชิกแล้ว

6 มี.ค. 2559 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายเสถียร วิพรมหา (วิ-พร-มะ-หา) รักษาการนายกสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) พร้อมด้วยพระมหาโชว์ ทัสสนีโย ที่ปรึกษา สนพ. เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน กองปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับพระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ผิดตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 44 ทวิ และมาตรา 44 ตรี เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทั้งการแสดงออกผ่าน facebook และนำมวลชนไปคุกคามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยนำสังฆทานที่บรรจุสิ่งของไม่เหมาะสม อาทิ กางเกงในและดอกไม้จัน เข้าไปภายในวัด จึงต้องการให้ตำรวจสืบสวนสอบสวนเรื่องนี้

พระมหาโชว์ กล่าวต่อว่า พฤติกรรมของพระพุทธอิสระ จงใจกระทำการไม่เหมาะสม ปลุกระดมประชาชนข่มขู่ ให้ร้าย ผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และคณะสงฆ์ โดยใช้ถ้อยคำรุนแรง เพื่อให้เกิดความแตกแยก โดยมีเจ้าหนที่ทหารพร้อมอาวุธครบมือ บุกเข้าไปภายในวัด และเห็นว่าพระพุทธอิสระ เข้าข่ายอาบัติปาราชิกแล้ว ตั้งแต่การขัดขวางการเลือกตั้ง และการนำมวลชนไปยังโรงแรมเอสซีปาร์ค เพื่อเรียกรับเงิน

สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 44 ทวิ ระบุว่าผู้ใดหมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 44 ตรี ระบุว่าผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่น อันก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือความแตกแยก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เคท ครั้งพิบูลย์' จี้อธิการ มธ. ตอบ กรณียังไม่บรรจุอาจารย์ หวั่นถูกเลือกปฏิบัติเพราะเป็นสาวประเภทสอง

$
0
0

เคท ครั้งพิบูลย์ ยื่นหนังสือถึงอธิการ มธ. เพื่อสอบถามความคืบหน้าการบรรจุเข้าเป็นอาจารย์ภายใน 15 วัน หลังผ่านมากว่า 242 วัน ยังไม่มีความคืบหน้า คาดสาเหตุอาจเกิดจากเธอเป็นสาวประเภทสอง



6 มีนาคม 2558 เคท ครั้งพิบูลย์ ผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ หมวดวิชานโยบายและบริหารงานสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ยื่นหนังสือถึง สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. ณ  มธ.ท่าพระจันทร์ เพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามประกาศผลการคัดเลือกพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งอาจารย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  มธ. ครั้งที่ 1/2557

เคท ครั้งพิบูลย์กล่าวว่า เธอได้ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นพนักงาน ตำแหน่งอาจารย์ตามที่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ปฏิบัติงาน ณ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ศูนย์ลำปาง โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557  และประกาศผลการคัดเลือกตามประกาศคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. เรื่องการประกาศผลการคัดเลือกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์  คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ครั้งที่ 1/2557  ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2557  จนบัดนี้รวมแล้วเป็นระยะเวลา 242 วัน หรือ 10 เดือนกว่านับตั้งแต่มีการประกาศผล แต่ปรากฏว่ายังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อเข้ารับการบรรจุเป็นอาจารย์แต่อย่างใด แม้ว่าจะพยายามติดต่อสอบถามความคืบหน้าจากทางคณะและมหาวิทยาลัยตลอดเวลา จึงใคร่สอบถามความคืบหน้าการดำเนินการตามประกาศผลการคัดเลือกพนักงานดังกล่าว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับทราบผลการพิจารณาภายใน 15 วันและหากยังไม่ได้รับคำตอบก็จะทวงถามอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้รับคำตอบโดยเร็วที่สุด

เคทกล่าวต่อว่า สาวประเภทสองในสังคมมักถูกเลือกปฏิบัติ โดยการไม่ได้รับการพิจารณาให้เข้าทำงาน ซึ่งเธอเป็นกังวลว่าทาง มธ. จะพิจารณาในส่วนนี้ด้วยหรือไม่ หากทาง มธ. ใช้เรื่องเพศเป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณาเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นอาจารย์ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมและขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ส่วนเรื่องการนำข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์มาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับตำแหน่งอาจารย์นั้น ต้องมาพิจารณาว่าในระเบียบการรับสมัครมีการระบุเอาไว้หรือไม่ หรือถูกระบุขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งเธอไม่มีความกังวลต่อเรื่องนี้ เพราะยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบการรับสมัครทุกประการ

“แน่นอนเราไม่สามารถรู้ได้ว่าใครชอบหรือไม่ชอบเรา แต่เรื่องการพิจารณามันก็ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ ต้องให้ความเป็นธรรมกับดิฉัน โดยส่วนตัวคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะใช้เกณฑ์เรื่องเพศมาเป็นเกณฑ์และมาตัดสิน ซึ่งในหลายๆ ประเทศคนที่เป็นสาวประเภทสองก็ไม่ได้รับการจ้างงานเพราะใช้เรื่องอัตลักษณ์ทางเพศเป็นฐานในการตัดสิน ดิฉันขอให้ประชาคมธรรมศาสตร์ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องของดิฉัน แต่เป็นเรื่องบรรทัดฐานทางสังคมที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต” เคทกล่าว
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กมธ.ยกร่างฯ สรุปไม่เว้นวรรค 2 ปี แม่น้ำ 5 สาย พร้อมตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป และ กก.ยุทธศาสตร์การปฏิรูป ควบคู่ รบ. เลือกตั้ง

$
0
0

กมธ.ยกร่าง ไม่เห็นชอบให้เว้นวรรคทางการเมืองแม่น้ำ 5 พร้อมตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 120 คน จาก สปช. 60 สนช. 30 ผู้เชี่ยวชาญ 30 และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ไม่เกิน 15 คน จากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์<--break- />

 

6 มี.ค. 2558 เว็บข่าวรัฐสภา รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เห็นชอบข้อเสนอของ เจษฎ์ โทณะวณิก ที่ให้เว้นวรรคทางการเมืองของแม่น้ำ 5 สาย เป็นเวลา 2 ปี โดยมีมติให้ยืนตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่เว้นวรรคทางการเมืองเฉพาะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งหลังจากพ้นจากตำแหน่งแล้ว ห้ามดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง เป็นเวลา 2 ปี โดยกรรมาธิการเสียงข้างมากให้เหตุผลว่า เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมา รวมถึง แม่น้ำอีก 4 สายไม่ทราบเงื่อนไขดังกล่าว แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสรรหาคณะต่างๆ ที่จะตั้งขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การ ปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งจะตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ จำนวนไม่เกิน 120 คน มาจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. 60 คน สมาชิกสภานิติบัญญัติ หรือ สนช. 30 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิรูป 30 คน 

ขณะที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิรูป จำนวนไม่เกิน 15 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ โดยทั้ง 2 ชุด จะทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปฏิรูปต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรม โดยต้องศึกษากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก่อนว่า จะตั้งคณะกรรมการชุดนี้ได้เมื่อใด ขณะที่ต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ เช่นเดียวกับนักการเมืองด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images