Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50860 articles
Browse latest View live

ผู้ค้นพบเชื้อ 'เอชไอวี' แจง 'ฮุนเซน' กรณีไม่เชื่อ ปชช. ในพระตะบองเป็นโรคเอดส์

$
0
0

นักไวรัสวิทยาผู้ค้นพบว่าเชื้อเอชไอวีเป็นสาเหตุของโรคเอดส์จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ชี้ฮุนเซนน่าจะได้รับข้อมูลผิดๆ หลังจากที่ฮุนเซนพูดถึงกรณีมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดพระตะบองมากกว่า 100 คน ในเชิงไม่เชื่อว่าจะเป็นโรคเอดส์

ฟรองชัวร์ บาร์เร-ซินุสซิ นักไวรัสวิทยาผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ปี 2551 จากผลงานการค้นพบว่าไวรัสเอชไอวี กล่าวว่านายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชา "ได้รับข้อมูลผิดๆ" ในคำประกาศของเขากรณีที่มีประชาชนมากกว่า 100 คนในจังหวัดพระตะบอง ('บัตตัมบอง' ในภาษากัมพูชา) ตรวจพบเชื้อไวรัสเอชไอวีเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

ฮุนเซนกล่าวผ่านสื่อในเชิงไม่เชื่อว่าประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นโรคเอดส์ "แม้ว่าจะมีเชื้อไวรัสแต่มันไม่ใช่เอดส์... คนแก่อายุ 80 จะเป็นโรคเอดส์ได้จริงหรือ และเยาวชนที่ไม่รู้ความอะไรเลยจะติดเอดส์ได้หรือ" ฮุนเซนกล่าว จากคำกล่าวของฮุนเซนทำให้หน่วยงานสาธารณสุขหลายหน่วยงานรวมถึงยูเอ็นเอดส์และสถาบันวิจัยปาสเตอร์ในกัมพูชาระบุว่ามีโอกาสผิดพลาดในการตรวจโรคน้อยมาก

แต่ทางบาร์เร-ซินุสซิ ไม่เข้าใจว่าทำไมฮุนเซนถึงกล่าวเช่นนั้น เธอคาดเดาว่าฮุนเซนอาจจะได้รับข้อมูลผิดๆ ในเรื่องโรคเอดส์ เธอกล่าวอีกว่าในสถานการณ์เช่นนี้กลุ่มผู้นำในกัมพูชาควรเน้นสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนโดยบอกกับประชาชนว่าทางการจะตรวจสอบในเรื่องที่เกิดขึ้นและผู้ติดเชื้อจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นการที่เชื้อไวรัสเอชไอวีทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง จนทำให้เชื้อโรคอื่นๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ฉวยโอกาสทำให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ หรือทำให้เป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยบาร์เร-ซินุสซิ ค้นพบเชื้อไวรัสนี้ในปี 2526 ในช่วงที่เธอทำงานกับสถาบันปาสเตอร์ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านเชื้อโรคและวัคซีนตั้งอยู่ในฝรั่งเศส ปัจจุบันบาร์เร-ซินุสซิ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมการติดเชื้อเรโทรไวรัสของสถาบันดังกล่าว

เหตุการณ์ระบาดดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมาในอำเภอสังแก จังหวัดพระตะบองมีชายอายุ 74 ปี คนหนึ่งตรวจพบเชื้อเอชไอวีจึงได้ลองให้หลานสาวและหลานเขยของเขาไปตรวจด้วยก็พบว่ามีเชื้อเอชไอวีเช่นกัน ทำให้มีคนในหมู่บ้านของพวกเขาพากันไปตรวจ โดยจากการเปิดเผยล่าสุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาพบว่ามีประชาชนในอำเภอสังแกติดเชื้อมากกว่า 106 คน จากผู้ไปตรวจทั้งหมด 895 คน

มีการสันนิษฐานว่าการระบาดของเชื้อมาจากหมอในพื้นที่ซึ่งอาจจะไม่มีใบอนุญาตใช้เข็มฉีดยาเดิมในการรักษาคนไข้หลายคน ในตอนนี้หมอรายดังกล่าวถูกควบคุมตัวอยู่ในการคุ้มครองของตำรวจ

บาร์เร-ซินุสซิกล่าวว่าควรมีการตรวจสอบสาเหตุของการระบาดให้แน่ชัดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนด่วนสรุปว่าเป็นฝีมือหมอคนดังกล่าว ซึ่งทางการกัมพูชาระบุว่าในตอนนี้องค์กรด้านสาธารณสุขจากต่างชาติอย่างองค์การอนามัยโลก ยูเอ็นเอดส์ ยูนิเซฟ และสถาบันปาสเตอร์ กำลังให้การช่วยทางการเพื่อหาสาเหตุของการระบาด

ทางยูเอ็นเอดส์ประเมินว่ามีคนในกัมพูชาราว 41,000 ถึง 130,000 คน ที่ติดเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตามยูเอ็นเอดส์ได้ชื่นชมนายกรัฐมนตรีฮุนเซนที่วางงบประมาณราว 3.7 ล้านดอลลาร์เพื่อยับยั้งการแพร่เชื้อเอชไอวี ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ฮุนเซนยังให้คำมั่นว่าจะหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในกัมพูชาให้ได้ภายในปี 2563

 


เรียบเรียงจาก

HUN SEN “MISINFORMED” OVER CAMBODIA’S MASS HIV INFECTION, SAYS FRANÇOISE BARRÉ-SINOUSSI, Southeast Asia Globe, 19-12-2014
http://sea-globe.com/hun-sen-cambodias-mass-hiv-infection-says-francoise-barre-sinoussi-southeast-asia-globe/

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

http://en.wikipedia.org/wiki/Fran%C3%A7oise_Barr%C3%A9-Sinoussi
http://www.thaiall.com/aids/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'วู้ดดี้' ฟ้องหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมฯ ช่างภาพ-ทนาย-จ่าพิชิต

$
0
0

หลังช่างภาพฟ้องวู้ดดี้ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ล่าสุด วู้ดดี้ฟ้องกลับช่างภาพ-ทนาย พ่วงจ่าพิชิต ที่แชร์ภาพดังกล่าว ด้วยข้อหาหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมฯ

21 ธ.ค. 2557 สำนักข่าวอิศรารายงานว่า จากกรณีนายจักริน ภัสสรดิลกเลิศ อาจารย์สอนถ่ายภาพชื่อดัง ได้มอบหมายให้ นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความของส่วนตัวยื่นฟ้อง บริษัท วู้ดดี้ เวิลด์ จํากัด จำเลยที่ 1 และนายวุฒิธร มิลินทจินดา หรือ "วู้ดดี้" พิธีกรชื่อดังเจ้าของรายการ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" ในความผิดเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย "ประตูเมืองขอนแก่น" โดยยื่นฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ในช่วงปลายเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และศาลนัดไต่สวนคดีในวันที่ 25 ธ.ค.นี้

ล่าสุด นายรณณรงค์ ทนายความของนายจักริน เปิดเผยว่า ถูกวู้ดดี้ฟ้องร้องดำเนินคดีกลับ โดยฟ้องตนเอง นายจักริน และนายวิทวัส ศิริประชัย (จ่าพิชิต แห่งเพจดราม่าแอดดิก) ในข้อหาหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยยื่นฟ้องช่วงก่อนที่จักรินจะขึ้นเบิกความในวันที่ 25 ธ.ค.นี้พอดี สำหรับคดีล่าสุดนี้ ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 23 ก.พ.2558

ด้านจ่าพิชิตโพสต์ผ่านเพจว่า แค่แชร์ภาพของตากล้องแล้วเขียนว่า "ดราม่าครัชดราม่า" ก็ถูกฟ้องด้วยข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ มีความผิดตามมาตรา 14  พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม ได้เตรียมทนายไว้แล้ว

 


 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงานกลุ่มย่านรังสิตฯ ถูกทหารบล็อก อดชูป้ายรณรงค์ขึ้นค่าแรง เผยเตรียมเรียกร้องต่อ

$
0
0

กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ ถูกทหารบล็อกอดยื่นร้องเรียน รมว.กระทรวงแรงงานโดยตรง วอนขอความช่วยเหลืออดีตลูกจ้างบริษัทลอน-อิสฯ หลังนายจ้างปิดโรงงานหนีไม่จ่ายค่าแรงเกือบปี อดชูป้ายเรียกร้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เผยเตรียมณรงค์ต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ทหารบริเวณศูนย์ฟื้นฟูฯ

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน จังหวัดปทุมธานี ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง(กสรก.) ได้เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องต่อ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอความช่วยเหลือด้านการเงินกับกลุ่มอดีตลูกจ้างบริษัทลอน-อิส แมนนูแฟคเจอริ่งจำกัด เพื่อบรรเทาทุกข์ หลังนายจ้างชาวตุรกีปิดกิจการโดยไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยแก่ลูกจ้างจำนวน 105 คน และได้หลบหนีกลับประเทศตุรกีเกือบ 1 ปีแล้ว

นอกจากนี้กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ ยังได้เตรียมชูป้ายรณรงค์เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในพื้นที่ เป็น 421 บาทต่อวัน หลังจากมีการประกาศปรับขึ้นค่าแรงข้าราชการและด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ค่าครองชีพสูง

อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาควบคุมบริเวณศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานฯ จำนวนมาก ทำให้กลุ่มคนงานดังกล่าวไม่สามารถชูป้ายรณรงค์ได้ รวมทั้งไม่สามารถยื่นหนังสือเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้โดยตรง โดยมี พ.อ.พัลลภ เฟื่องฟู ซึ่งดูแลสถานการณ์อยู่รอบนอกเป็นผู้รับจดหมาย พร้อมรับปากว่าจะส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้แทน

พ.อ.พัลลภ เฟื่องฟู  รับหนังสือแทน

ศรีไพร นนทรีย์ ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ กล่าวว่า ทหารบริเวณดังกล่าวประมาณ 50 นาย รวมทั้งตำรวจอีก คอยกีดกันไม่ให้ยื่นกับรัฐมนตรีฯ เมื่อขยับตัวไปไหนบริเวณศูนย์ฟื้นฟู ทหารก็จะต้อนคนงานที่จะมียื่นข้อเรียกร้องให้เข้าห้องอย่างเดียว

“เหมือนเปลี่ยนศูนย์ฟื้นฟูฯ เป็นกองร้อยเลย” ศรีไพร กล่าว

ศรีไพร เปิดเผยด้วยว่าทางกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ จะมีการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อไป โดยจะเรียกร้องให้ขึ้นเป็น 421 บาทต่อวัน เนื่องจากค่าครองชีพมีการปรับตัวสูงขึ้น และการปรับเงินเดือนค่าราชการราคาสินค้าก็ปรับขึ้นตามทันที โดยจะมีการยื่นข้อเรียกร้องที่กระทรวง ซึ่งยังไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน และจะทำหนังสือคัดค้านบอร์ดค่าจ้างขั้นต่ำที่เคยระบุว่าจะไม่ขึ้นค่าแรงจนกระทั่งปลายปี 2558

สำหรับการรณรงค์นั้น ศรีไพร กล่าวว่า จะมีการแจกแถลงการณ์ตามหน้าโรงงาน สะพานลอย ในพื้นที่รังสิต ประมาณปลายเดือนนี้ รวมทั้งจัดสัมมนาเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำด้วย 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย : โลกาภิวัตน์ของสัญลักษณ์ในการประท้วง

$
0
0

 

 

 

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พบกับ ‘อรรถ บุนนาค’ และพิธีกรรับเชิญ ‘ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์’ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาคุยกันเรื่องโลกาภิวัตน์ของการใช้สัญลักษณ์ในการประท้วง

ในการประท้วงมักมีการนำสัญลักษณ์บางอย่างมาใช้เพื่อแสดงหรือสื่อสาร และที่มาของสัญลักษณ์เหล่านั้นมาจากหลายแหล่ง ทั้งจากภาพยนตร์ เช่นล่าสุด การชู 3 นิ้วจากภาพยนตร์เรื่อง ‘The Hunger games’ ที่ใช้ประท้วงการรัฐประหารในประเทศไทยและใช้ในการประท้วงที่ฮ่องกง, การสวมหน้ากาก Guy Fawkes ใน Occupy Wall Street และการชุมนุมอีกหลายที่ทั่วโลก ที่นำมาจากภาพยนตร์ ‘V for Vendetta’ นอกจากนั้น ในเหตุการณ์ตำรวจยิงวัยรุ่นผิวสีเสียชีวิตในเมืองเฟอร์กูสัน สหรัฐอเมริกา ก็มีการใช้ข้อความ Don’t Shoot และการชูสองมือขึ้นเหนือศีรษะในการประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรม หรือย้อนไปในช่วงที่มีการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของคนผิวสีในอเมริกาและแอฟริกาใต้ มีการนำท่าชูกำปั้นเหนือศีรษะของนักกรีฑาแอฟริกัน-อเมริกัน 2 คน ซึ่งได้เหรียญทองและเหรียญแดงในการแข่งขันวิ่ง 200 ม.ในโอลิมปิกส์เกมที่เม็กซิโกปี 1968 มาใช้ในการเคลื่อนไหวด้วย

คลิกไลค์เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ facebook.com/maihetpraphetthai

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานเสวนา: ถกข้อเสนอบทบาท กสทช.ในการกำกับเน็ต

$
0
0


โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) จัดเสวนาเรื่อง "บทบาทของ กสทช.ในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต" ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. โดยมีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการโครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต และ วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บข่าวไอที Blognone รายละเอียด มีดังนี้


สุภิญญาเสนอ กสทช.กำกับดูแลเน็ต ส่วนก.ไอซีทีดูแลอาชญากรรมคอมฯ
สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. และอดีตผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า บทบาทต่อเรื่องอินเทอร์เน็ตที่เด่นชัดที่สุดของ กสทช. ที่ผ่านมา เป็นเรื่องเอาคลื่นความถี่มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่ในมิติการแข่งขันยังครึ่งๆ กลางๆ กล่าวคือ มีการประมูลสามจีเกิดขึ้น ทำให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายมากขึ้น แต่ยังไม่มีการกำกับราคา ซึ่งถูกวิจารณ์ว่ายังไม่ได้ลดลงเท่ากับต้นทุนของคลื่นที่ถูกลง รวมถึงการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการ เช่น เน็ตรั่ว โรมมิ่ง เก็บค่าบริการเกิน สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นจุดอ่อนที่สุดในการกำกับดูแลของ กสทช.ในด้านโทรคมนาคม

สุภิญญา กล่าวต่อว่า แต่หากลงลึกไปอีก มากกว่าการคุ้มครองผู้ใช้บริการทั่วไป คือการกำกับดูแลเนื้อหา เรื่องนี้เป็น dilemma ของการกำกับดูแล แง่หนึ่ง กสทช. ถูกวิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพมาก หลังรัฐประหาร กสทช. ถูกวิจารณ์ในเรื่องการปิดกั้นเว็บ ขณะที่อีกมุมบอกว่า กสทช.ไม่ทำอะไร ปล่อยให้เกิดเว็บมีปัญหาเยอะแยะไปหมด จึงท้าทายว่าการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตในยุคดิจิทัลที่ซับซ้อนจะมีนโยบายอย่างไร 

ปัจจุบัน กสทช. ยังไม่มีบทบาทที่ชัดเจน แม้ กสทช. จะมีอำนาจกำกับดูแลไอเอสพีแต่เฉพาะแค่เรื่องการบริการ เว้นแต่ภายใต้สถานการณ์ไม่ปกติ เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ที่ทำให้สำนักงาน กสทช. เข้าไปพยายามจัดการไอเอสพี แต่ในเงื่อนไขปกติ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจในการจัดการเนื้อหาไว้ โดยเรื่องนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงไอซีทีผ่านการบังคับใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งที่ผ่านมา มาตรา 14 และ 15 ก็ถูกใช้พร่ำเพรื่อและผิดทาง

สุภิญญา เสนอว่า หากจะมีการปรับแก้กฎหมาย ต้องเคลียร์ให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนวางกรอบในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ตามหลักสากลนั้น คิดว่า อำนาจในการกำกับดูแลจะอยู่ที่ กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแล ส่วน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ควรจะใช้กับอาชญกรรมคอมพิวเตอร์จริงๆ เช่น การแฮก ฟิชชิ่ง ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

เธอขยายความว่า เรื่องของเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต ส่วนตัวเห็นว่า ระยะยาวควรโอนมาเป็นอำนาจขององค์กรอิสระ แต่ต้องเขียนข้อกำหนดอำนาจไว้ เช่นเดียวกับการกำกับดูแลโทรทัศน์ ที่มีเส้นแบ่งระหว่างการปล่อยให้ไอเอสพีกำกับกันเอง ผู้ใช้กำกับดูแลกันเอง หรือผิดกฎหมายมากๆ ก็เป็นอำนาจขององค์กรกำกับดูแล

อย่างไรก็ตาม สุภิญญา ชี้ว่า สำหรับสื่ออินเทอร์เน็ต ไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาตเท่านั้นที่ผลิตเนื้อหาเข้าสู่ระบบได้ แต่ผู้ใช้ทั่วไปก็ผลิตเนื้อหาได้ แต่จากสื่อทีวี วิทยุ จึงอาจต้องมีกรอบที่ต่างกันอยู่บ้าง หรือหากจะมองว่าเรากำลังจะเข้าสู่ยุคหลอมรวม ทุกอย่างเป็นดิจิทัล มี interactive ที่สื่อไม่ได้จบในตัวของมันเอง มีการส่งไปส่งกลับ อาจขยายโปรแกรมประยุกต์ไปได้ลึกซึ้ง แปลว่าเลยจุดที่ผู้รับใบอนุญาตจะควบคุมปลายทางของเนื้อหาได้ ตั้งคำถามว่าเราจะวางกรอบใหม่ให้ยืดหยุ่นมากขึ้นไหม

สุภิญญา ชี้ว่า นี่ยังเป็นสมการที่ยังแก้ไม่ตกแม้กระทั่งในระดับสากล ระหว่างการปล่อยให้อุตสาหกรรมกำกับตนเอง ผู้ใช้กำกับกันเอง กับการที่รัฐรวมศูนย์การกำกับ โดยเฉพาะในบริบทของไทย ที่มีเนื้อหาต้องห้ามเต็มไปหมด และต้องใช้กับอุตสาหกรรมที่เปิดกว้างขึ้นและประชาชนที่ตื่นตัว ก็น่าจะเป็นเรื่องยากลำบาก แต่ก็เสนอว่าจะต้องศึกษาบทเรียนจากต่างชาติ ดูบริบทของไทย และวางกรอบร่วมกันให้ชัดเจน


นักวิชาการแนะ แบ่งการกำกับใหม่ เป็นด้านเทคนิคกับเนื้อหา
สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการโครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กับภาคอุตสาหกรรม แสดงความเห็นต่อรายงานของ NBTC Policy Watch ซึ่งพบว่า กสทช. ยังบกพร่องในการกำกับดูแลความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต (อ่านข่าวที่นี่) ว่า โดยเสนอว่า หนึ่ง ให้ กสทช. ออกมาตรการให้โอเปอเรเตอร์ทำ Internal IT Audit เกี่ยวกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแล้วส่งให้ กสทช. สอง กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ควรมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบกรณีต่างๆ เช่นเดียวกับเวลาตึกถล่มแล้วเราไปขอให้สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยตรวจสอบ สาม กสทช. ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลต่างๆ ที่โอเปอเรเตอร์ส่งมา เป็นรายปี

ส่วนการกำกับดูแลสื่อในยุคหลอมรวมนั้น สุพจน์ เสนอว่า เส้นแบ่งตาม พ.ร.บ.ที่แบ่งเป็นฝั่งกระจายเสียงและฝั่งโทรคมนาคมน่าจะใช้ไม่ได้แล้ว การแบ่งว่า เสาต้นนี้ฝั่งกระจายเสียงดูแล เสาต้นนี้โทรคมนาคมดูแลนั้นประหลาดมาก เพราะผู้ประกอบการก็ใช้เสาต้นเดียวในการทำหลายอย่าง ดังนั้น หากจะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ควรจะแบ่งเป็นการกำกับเชิงเทคนิคคือการกำกับโครงข่ายและการบริการ กับการกำกับเนื้อหา 

ส่วนเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น สุพจน์ กล่าวว่า ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กสทช. คือ Digital divide หรือ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงดิจิทัล ซึ่งต้องเน้นที่การสื่อสารสองทางและอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ดังนั้น กสทช.จะต้องทำให้โครงการ USO (การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม) บังคับใช้ได้จริง และ สอง กสทช.ต้องกำกับดูแลคุณภาพการให้บริการ โดยมีมาตรการกำหราบและป้องกัน เนื่องจากสังเกตว่า ทุกครั้งก่อนที่จะมีการออกเทคโนโลยีใหม่ คุณภาพของเดิมจะด้อยลงทันที สาม ย้ำว่าเรื่องความปลอดภัยของระบบเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นพื้นฐานของการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

สุดท้าย เขาชี้ว่า แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์หรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรอย่างไร ก็ควรดูที่พฤติกรรมเฉพาะบุคคล พร้อมย้ำว่า กสทช. ควรจะเป็นองค์กรอิสระ ไม่ควรไปอยู่ใต้กระทรวงใด


ผู้เชี่ยวชาญยกตัวอย่างเกาหลีใต้ ชี้กระบวนการไม่โปร่งใสทำเอกชนพัง
วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บข่าวไอที Blognone  กล่าวว่า การกำกับด้านความปลอดภัย สิ่งที่ กสทช. ทำได้ในทางเทคนิค ได้แก่ การขอให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไปใช้บริการเข้ารหัสภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือมีการเตือนว่าการให้บริการไม่ได้เข้ารหัส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการถูกดักฟังและขโมยรหัสผ่านการใช้เว็บต่างๆ รวมถึงให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อเจอช่องโหว่ในระบบ

สอง ที่ผ่านมา มีการบล็อคเว็บด้วยเหตุผลทางเนื้อหาจำนวนมาก แต่ก็มีมัลแวร์หรือปลอมเว็บธนาคารซึ่งมีผลกระทบกับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งควรจะบล็อคหรือจัดการได้ เช่น มัลแวร์ผ่าน SMS ที่ทำให้มีการส่ง SMS หามือถือเพื่อนเอง กทช. ควรกำหนดให้ผู้ให้บริการมือถือบล็อคมัลแวร์เหล่านี้ได้ ซึ่งจะมีข้อถกเถียงน้อยเพราะเป็นผลกระทบต่อประชาชนจริงๆ

ด้านกระบวนการเก็บข้อมูลผู้ใช้ กทช. มีผลงานแอพ "สองแชะ" ที่พยายามให้ประชาชนลงทะเบียนซิมมือถือ มองว่า เมื่อเป็นนโยบายว่าจะเก็บข้อมูลผู้ใช้ ก็ควรจะโปร่งใสว่าเก็บอะไรบ้าง เพื่ออะไร เก็บอย่างไร ที่ไหน และใครเข้าถึงข้อมูลบ้าง ที่ผ่านมา เคยวิเคราะห์แอพ พบว่า ระบบจะส่งข้อมูลให้ผู้ให้บริการมือถือและ กสทช. รวมถึงพิกัดที่ลงทะเบียนอยู่ ทั้งที่ประชาชนไม่รู้

ส่วนเรื่องของเศรษฐกิจกับการดำเนินนโยบาย วสันต์ยกตัวอย่างกรณีเกาหลีใต้ ที่มีการใช้กฎหมายพิเศษในการขอดักฟังข้อความได้ โดยใช้กับแอพแชท Kakao Talk สุดท้าย รายงานนี้หลุดออกมา เมื่อประชาชนรู้ว่ามีการส่งข้อความแชทให้รัฐบาล ทำให้คนแห่ไปใช้โปรแกรมแชทตัวอื่นแทน จะเห็นว่า กระบวนการที่ทำแบบไม่มีรูปแบบ ไม่มีความชัดเจน จะทำให้บริษัทในประเทศเสียตลาด โดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิด


เสนอ กสทช.ดูแลแค่โครงข่าย ส่วนเนื้อหาให้องค์กรที่มีอยู่แล้วดูแล
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงการกำกับดูแลโดยใช้กรอบของ Lessig Code ซึ่งประกอบด้วย สถาปัตยกรรม ตลาด ปทัสถาน (ค่านิยมทางสังคม) และกฎหมาย

โดยด้านสถาปัตยกรรมนั้น เมื่อเทียบกับตลาดโทรคมนาคม จะเห็นว่าส่วนของโครงข่ายมันก้าวหน้าไปไกลมากแล้ว เสาเดียวส่งได้ทั้งโทรคมนาคมและบรอดคาสต์ทำได้หลายอย่าง

ด้านตลาด ตลาดมีการหลอมรวมอุตสาหกรรม ให้บริการโทรคมนาคมและบรอดคาสต์ บางที่ให้บริการการเงินด้วย ในสหรัฐฯ ดิสนีย์ ฟอกซ์ ให้บริการข้ามไปมา ระหว่างโครงข่าย คอนเทนต์ แอปพลิเคชั่น ของไทยก็มีทรู ที่มีทั้งเคเบิล ช่องทีวี โทรศัพท์มือถือ และบริการเติมเงินออนไลน์ 

ค่านิยม เปลี่ยนไปเป็น convergent culture กรณีของไทย เริ่มมีจอที่สอง คือดูทีวีไปพร้อมกับใช้อินเทอร์เน็ต ดูเวอะวอยซ์ในทีวีแล้วก็มาคอมเมนต์ การเสพสื่อไม่ได้เสพสื่อเดียวอีกต่อไป แต่เป็นหลายสื่อพร้อมกัน และผลิตบางอย่าง เช่น มีคนเอาภาพจากเดอะวอยซ์มาประกอบกัน แล้วอัพกลับขึ้นไป กลายเป็น procumer (producer+consumer)

จะเห็นว่าทั้ง สถาปัตยกรรม ตลาด และค่านิยม เปลี่ยนไปหมดแล้ว โดยมีการหลอมรวมกัน มีแต่กฎหมาย ที่ยังไม่เปลี่ยน สื่อ โดยสิ่งพิมพ์ ใช้ พ.ร.บ.สิ่งพิมพ์ฯ โทรคมนาคม ใช้กฎหมายโทรคมนาคม อินเทอร์เน็ตใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พอเป็น วิดีโอเกม หรือหนัง ใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์และวีดิทัศน์ เท่ากับว่า ต่อให้เป็นเนื้อหาอย่างเดียวกัน แต่พออยู่ในคนละสื่อ เกณฑ์ก็ไม่เหมือนกันเลย

อาทิตย์ ตั้งข้อสังเกตว่า พ.ร.บ.สิ่งพิมพ์นั้นให้การคุ้มครองเยอะมาก เมื่อเทียบกับ พ.ร.บ.คอมฯ โดยยกตัวอย่างกรณีสุภิญญาโดนช่อง 3 ฟ้องด้วย พ.ร.บ.คอมฯ หลังรีทวีตข้อความหนึ่ง (ปัจจุบันถอนฟ้องไปแล้ว) ว่า หากลองนึกว่า สุภิญญาให้สัมภาษณ์หนังสือพิม์ในทำนองเดียวกัน คืออ้างถึงทวีตๆ หนึ่ง โอกาสโดนฟ้องก็จะน้อยกว่า พ.ร.บ.คอมฯ

อาทิตย์ ชี้ว่า เมื่อเหลือกฎหมายที่ยังไม่เปลี่ยน กสทช. ต้องหาให้ได้ว่าถ้าเทคโนโลยีเปลี่ยนแล้ว รัฐทั้งหมดจะจัดการอย่างไรให้การกำกับดูแลทั้งแผงไปด้วยกัน กับสิ่งที่เปลี่ยนไปแล้วได้

เขาเสนอว่า ต้องแบ่งกันใหม่ แบ่งตามสื่อไม่ได้แล้ว แต่อาจแบ่งเป็นการกำกับโครงข่าย ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค เป็นส่วนงานที่ กสทช ดูแลได้โดยข้อขัดแย้งน้อยกว่าการกำกับเนื้อหา

ด้านเนื้อหา ซึ่งอาจรวมถึงแอปพลิเคชันด้วย อาจไม่ใช่หน้าที่ของ กสทช. เพราะน่าจะมีหน่วยงานเฉพาะอยู่แล้วในระดับออฟไลน์ เช่น ถ้าเป็นเรื่องธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ก็มีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่ดูเรื่องมาตรฐานการจ่ายเงิน แง่การค้า ก็มีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีกลไกอยู่แล้ว ทุกอย่างในอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องใหม่ มันต้องมีอะไรที่กำกับอยู่แล้ว เช่น เรื่องยา องค์การอาหารและยาก็ทำอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง grab taxi ซึ่งเป็นแอพบริการแท็กซี่ ก็น่าจะต้องเป็นกรมการขนส่งทางบก

อาทิตย์ ย้ำว่า ต้องลดขนาดและทำภารกิจของ กสทช. ให้ชัดเจน ทำเฉพาะเรื่องที่ต้องทำ ข้อขัดแย้งระหว่างองค์กรจะน้อยลง อะไรที่เป็นอาชญากรรม ก็ให้ สตช. แผนกคดีพิเศษ หรือดีเอสไอทำ เน้นว่าทำยังไงที่จะตั้งองค์กรใหม่ให้น้อย งานที่เป็นเนื้อเดียวกันจัดมาอยู่ด้วยกัน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สารคดีที่ห้ามพลาด ‘ความทรงจำ-ไร้เสียง’ 6 ตุลาในความทรงจำของ ‘พ่อ-แม่’

$
0
0

 

หอภาพยนต์ (องค์การมหาชน) จัดฉายสาคดีนี้เรื่องนี้ไปเมื่อ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา

“ความทรงจำ-ไร้เสียง (Silence-Memories)”

เป็นเสียงของ 2 ครอบครัวผู้สูญเสียลูกไปในวันที่ 6 ตุลาคม 2519

    >แม่เล็ก วิทยาภรณ์ แม่ของคุณมนู วิทยาภรณ์ นักศึกษาปีสุดท้ายของคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

    >พ่อจินดา ทองสินธุ์ พ่อของคุณจารุพงษ์ ทองสินธุ์ นักศกษาคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

หนังเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Hearing Historical Voicesฯ

จัดทำขึ้นโดยนักวิจัย ‘ภัทรภร ภู่ทอง’ กับเพื่อนครีเอทีฟ ‘เสาวนีย์ สังขาระ’

เป็นหนัง 6 ตุลาที่ไม่มีฉากเหตุการณ์ 6 ตุลา แม้สักซีน

เป็นหนัง 6 ตุลาที่ใช้เวลาเป็นปีๆ เพื่อสานความสัมพันธ์ สร้างความไว้วางใจกับพ่อแม่ผู้สูญเสีย ในขณะที่ถ่ายทำจริงไม่เกิน 3 วัน และระมัดระวังในการตั้งคำถามอย่างยิ่ง

เป็นหนัง 6 ตุลาที่จะพาเราไปนั่งในหัวใจบอบช้ำของพวกเขา ราวกับเรื่องราวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน....

หมายเหตุผู้เขียน หากผู้ใดมีข้อมูล มีเรื่องราว เรื่องเล่า เอกสารหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 สามารถติดต่อมาได้ที่ aor@museforpeace.org

 

ภายหลังการฉายหนังมีวงเสวนากับทีมผู้สร้าง และ นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่มีประสบการณ์ในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ประชาไทเก็บความมานำเสนอ

@ที่มาที่ไปของโครงการนี้?

ภัทรภรกล่าวว่า โครงการนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า Hearing Historical Voices: Oral Histories of Political Violence in Southeast Asia, Connecting Past Violence, the Present Situation and Future Justice ได้รับการสนับสนุนจากAsian Public Intellectual Program, Nippon Foundation  โครงการนี้เป็นการทำงานวิจัยเพื่อฟังเสียงประวัติศาสตร์ คือพยานและครอบครัวผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในประเทศไทยและจากเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวมุสลิม ที่ Talang Sari, Lampung, Indonesia ในยุคซูฮาโต้ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) ที่เรียกว่า Talang Sari tragedy

ที่มาของโครงการนี้ คือเราและเพื่อนๆ ที่เป็นนักวิชาการ นักวิจัยและคนทำงานด้านสันติศึกษาได้ริเริ่มทำโปรเจ็คที่ชื่อว่า project MUSE หรือ The Initiative of Museum and Library for Peace (โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเพื่อสันติภาพ) เราอยากทำงานที่เป็นการท้าทายและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมความเงียบจากความรุนแรงทางการเมืองและวัฒนธรรมการไม่รับผิด รวมทั้งทำงานด้านการศึกษาสันติวิธีเชิงวิพากษ์ และงานด้านการสื่อสาร เช่น พิพิธภัณฑ์สันติภาพและจัดพื้นที่การเรียนรู้สาธารณะ บนหลักการที่ว่า ทำให้งานวิชาการสามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนที่หลากหลายในรูปแบบที่เข้าใจและเข้าถึงง่าย งานวิจัย Hearing Historical Voices: Oral Histories of Political Violence in Southeast Asia, Connecting Past Violence, the Present Situation and Future Justice เป็นโครงการแรกของเราที่ทำขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมและบันทึกเสียงประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์ความรุนแรง ทางการเมืองที่เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เป็นที่กล่าวถึงนักหรือยังอยู่ในความเงียบในอาเซียน โดยทำเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้สูญเสียได้ส่งเสียง รวมทั้งกระตุ้นให้คนดูได้คิด ตั้งคำถามและเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสถานการณ์ปัจจุบัน

“ในฐานะนักวิจัย ไม่อยากให้แค่ศึกษาทางวิชาการแล้วจบ แล้วเอาขึ้นหิ้ง มันเข้าไม่ถึงคน จึงคิดว่าน่าจะทำเป็นสารคดีสักชิ้น เพราะมันเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า” ภัทรภรกล่าว

เสาวนีย์กล่าวว่า ปกติทำ Production House อยู่แล้วที่อินเดีย เช่น ทำเรื่องการศึกษาทางเลือก พอภัทรภรซึ่งเป็นเพื่อนติดต่อมาชวนทำสารคดีเรื่องนี้ก็คิดว่ามีคนทำเรื่อง 6 ตุลาเยอะแล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นแบบที่เราอยากเห็น  ที่ผ่านมาเราได้ยินเสียงนักวิชาการแต่ยังไม่เคยได้ยินเสียงผู้ถูกกระทำในเชิงลึก

“ครั้งแรกที่ไปบ้านป้า อยู่กับเขาทั้งวัน เราพบว่าความทรงจำเขายังอยู่เหมือนเดิม มันไม่ได้รับการเยียวยา เขาเล่าเรื่องด้วยอารมณ์ความรู้สึกเหมือนมันเพิ่งเกิดเมื่อวานนี้ เขาน้ำตาไหล เราถือกล้องอยู่ก็น้ำตาไหล และคิดว่าอย่างน้อยก็ยังมีเราที่รับฟัง” เสาวนีย์กล่าว

 

@ทำไมไม่ใช่ฟุตเทจ 6 ตุลา?

ภัทรภรกล่าวว่า เราทะเลาะกันเยอะเหมือนกันตอนทำ เราอยากเล่าในแง่มุมใหม่ ที่ผ่านมีหลายเรื่องที่ใช้ภาพเหตุการณ์เข้าไปประกอบด้วย แต่เราอยากให้พื้นที่ว่างให้คนดูไปศึกษา ไปค้นพบ หาคำตอบให้กับตัวเอง นอกจากนี้ยังสนใจเกี่ยวกับความทรงจำกับพื้นที่ เราจึงใช้ภาพธรรมศาสตร์ ภาพสนามหลวงปกติแล้วลองดูว่าเมื่อเอามาใช้แล้วคนจะนึกถึงอะไร ได้ผลอย่างไร

“ถ้าเราจะทำสารคดีสักเรื่อง ก็อยากให้งานเราเพียงแค่โยนคำถาม กระตุ้นให้คนดูไปทำการบ้านที่เหลือเอง”ภัทรภรกล่าว

เสาวนีย์กล่าวว่า ตอนแรกเราลองใส่ฟุตเทจแบบนั้นลงไปแล้วพบว่ามันไม่แตกต่างจากชิ้นอื่น มันแรงเลย ใช่เลย แต่มันเหมือนคนอื่น เราจึงคิดใหม่ว่าทำยังไงให้กระชากโดยให้คนดูอยู่กับลุงกับป้าจริงๆ

ที่ผ่านมาไม่ได้สนใจ 6 ตุลาฯ มากนัก แต่พอจะทำสารคดีและได้ยินเคสที่เพื่อนเล่าแล้วมันสะเทือน เราจึงกลับไปศึกษา กลับไปเรียนประวัติศาสตร์ใหม่ บางทีการทำให้คนสนใจศึกษาเรื่องนี้มันอาจเริ่มต้นจากความรู้สึก

นิธินันท์กล่าวว่า รู้สึกประทับใจกับการเล่าเรื่องของคนรุ่นใหม่มากๆ สะเทือนใจมากๆ ความดราม่าในที่นี้คือ ดราม่าโดยไม่ต้องทำให้ดราม่า เราเองก็เป็นพ่อเป็นแม่คน เรื่องนี้มันไม่ใช่แค่เหตุการณ์ 6 ตุลา แต่มันสะท้อนความรุนแรงทั้งหมดทุกครั้งที่รัฐทำกับประชาชน

นอกจากนี้มันยังสะท้อนบางอย่างที่น่าสนใจ ประวัติศาสตร์เราถูกลบไปหนึ่งชั่วอายุคน คนรุ่นใหม่หลายต่อหลายคนไม่เชื่อว่ามันรุนแรงจริงๆ บางคนยังสงสัยว่านั่นคือภาพจริงหรือภาพจากหนัง

@หลายคนบอกว่า เราควรลืมบางอย่างเพื่อสร้างความปรองดอง สร้างสันติภาพ เพราะการจำทำให้ความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น?

ภัทรภรกล่าวว่า ก่อนถึงขั้นปรองดองความทรงจำจะทำให้เกิดการตั้งคำถาม นำไปสู่กระบวนการยุติธรรมที่ต้องมีคนรับผิด ความรุนแรงมันไม่ได้มีแค่ 6 ตุลา ยังมีพฤษภา35 และล่าสุดคือ พฤษภา53 นี่คือคำตอบว่ามันจะส่งผลยังไง การลืมทำให้เราไม่เรียนรู้ และกวาดปัญหาไปอยู่ใต้พรม มันจะเกิดขึ้นอีก ถ้าคนทำผิดก็ยังไม่ต้องรับผิด

“ความกล้าที่จะเผชิญกับความจริงคือ คีย์สำคัญในการรักษาแผล” ภัทรภรกล่าว

เสาวนีย์กล่าวว่า การพูดว่าเราควรลืม “เรา”ที่ว่านั้นคือใคร เราที่ว่าไม่ใช่พ่อแม่ผู้สูญเสีย พูดเหมารวมให้ทั้งสังคมลืมให้หมดนั้นไม่ได้  

 “ปิดแผล แผลมันก็เน่า และความเงียบทำให้สังคมโง่” นิธินันท์กล่าว

นิธินันท์กล่าวว่า ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้รู้สึกว่าต้องทำให้ความเงียบนั้นดังขึ้นมาในแง่มุมมต่างๆ เพราะที่ผ่านมาเธอเองก็ตั้งใจที่จะเงียบ เป็นประวัติศาสต์ช่วงที่ไม่มีใครอยากพูดถึง เป็นความพ่ายแพ้ คนที่เข้าป่าก็พบว่า พคท.ก็ไม่ใช่คำตอบ คนที่อยู่ในเมืองก็เงียบ ไม่ใช่เงียบเพราะญาติหรือเพื่อนถูกฆ่า แต่เป็นความเงียบที่รู้สึกว่า ฉันอยู่ในกลุ่มที่มันไม่ดี ถูกชี้หน้าประณามว่าไม่เข้าท่า ทำให้สังคมไทยเสียหาย

“เราเงียบจนกระทั่งดูหนังเรื่องนี้แล้วพบว่าต้องทำให้ส่วนที่เงียบนั้นดังขึ้นมา เพราะมันคือการต่อสู้เพื่อเสรีภาพด้วย” นิธินันท์กล่าว

กฤษฎางค์ นุตจรัส ผู้ร่วมดูสารคดีและฟังเสวนากล่าวว่า ผมเป็นเพื่อนกับคุณจารุพงษ์ ทองสินธุ์ ต้องขอขอบคุณที่ได้จัดทำสารคดีนี้ขึ้นมา มันเป็นบทเรียนที่สำคัญเพราะมันเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า

“เหตุการณ์นี้จำเป็นต้องเกิดและมันต้องเกิดอีก เพราะความขัดแย้งในสังคมยังไม่จบ เราทำได้เพียงแค่ให้มันไกลจากตัวเรา เราอย่าไปคิดว่าชนชั้นนำจะเอ็นดูพวกเรา ถามว่าจะช่วยให้หลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ยังไง สามสิบกว่าปีมานี้ผมก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ได้แต่ให้กำลังใจผู้ที่พยายาม ถ้าจะทำต่อช่วยทำให้ลึกซึ้งไปกว่านี้อีกว่า ใครเป็นคนทำ” กฤษฎางค์กล่าว


 

หมายเหตุ มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหา เวลา 16.45 น. (22 ธ.ค.57)                                                                                                                                                           

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ของขวัญปีใหม่เปิดตัวสติ๊กเกอร์ไลน์ค่านิยม 12 ประการฟรีจากภาษีประชาชน

$
0
0

ยงยุทธ ยุทธวงศ์ แถลงข่าว โครงการจัดทำ Line Sticker เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่การส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ เป็นของขวัญปีใหม่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด 6.6 ล้านบาท เริ่มดาวน์โหลด 30 ธ.ค.นี้

ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี

22 ธ.ค.2557 จากกณี เว็บไซต์กระทรวงไอซีที ระบุถึงตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ในการจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง ในชื่อโครงการ "จ้างเหมาจัดทำ Line Sticker เพื่อเผยแพร่ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ / หน่วยงานเจ้าของโครงการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร 7,117,400 บาท วันที่กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) 9 ธ.ค. 2557 เป็นเงิน 7,117,353.24 บาท ขณะที่แหล่งที่มาของราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ใบเสนอราคาของ Line Company (Thailand) Limited จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงคามเหมาะสมของงบประมาณดังกล่าว

ล่าสุดวันนี้(22 ธ.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าว โครงการจัดทำ Line Sticker เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่การส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ยงยุทธ ได้แถลงข่าวโครงการฯ มีสาระสำคัญสรุปความว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบค่านิยมหลัก 12 ประการ ให้แก่คนไทยทุกคน เป็นการรวบรวมมาจากพระราชดำริ พระราชดำรัสและค่านิยมที่ของคนไทย ซึ่งมีมาแต่อดีตกาล เพื่อนำไปสร้างมาตรฐานในการดำรงชีวิตของคนไทย ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรีด้วยความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมกันออกแบบและจัดทำ ให้เป็นภาพเคลื่อนไหวที่สื่อความหมายที่ง่ายต่อความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามค่านิยมหลัก 12 ประการ เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับคนไทยทุกคนในวาระแห่งความสุขขึ้นปีใหม่ 2558

พรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า มีคนใช้ไลน์ในการสื่อสารแต่ละวันถึง13 ล้านคน จึงได้จัดทำสติ๊กเกอร์ขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทำให้ประชาชนได้รับความรู้และปรับทัศนคติในการใช้ชีวิต เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด 6.6 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีผู้ดาวน์โหลดประมาณ 3-4 ล้านคน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ในตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคมเป็นต้นไป มีระยะเวลาโหลดภายใน 30 วัน และสามารถใช้งานได้นาน 3 เดือน

สำหรับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ประกอบด้วย

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 

7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

 

เรียบเรียงจาก ทำเนียบรัฐบาล, มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จาตุรนต์ ฉายแสง

$
0
0

"..ยิ่งการร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปเดินหน้าไปผิดทิศผิดทางมากขึ้นๆและเศรษฐกิจของประเทศแย่ลงๆ ก็จะยิ่งมีคนเข้าใจถึงผลเสียของการใช้กฎอัยการศึก พร้อมๆกับเห็นความเสียหายจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นประเทศนี้มากขึ้นๆ แต่ที่เขายังไม่ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันมากนัก ทั้งๆที่เดือดร้อนกันอยู่ก็เพราะการมีกฎอัยการศึกอยู่นั่นแหละ"

22 ธ.ค. 57

‘บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด’ เตะ ‘ปัตตานี เอฟซี’ กลางสายฝน หวังกีฬาคลายความขัดแย้งชายแดนใต้

$
0
0

22 ธ.ค.2557 เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 20 ธ.ค.ผ่านมา  มีการแข่งขันฟุตบอลนัดมิตรภาพระหว่างทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดที่เดินทางไปแข่งกับทีมปัตตานี เอฟซี ถึงถิ่น แฟนฟุตบอลปัตตานีพากันไปเชียร์บอลเต็มสนามแม้ว่าฝนจะเทลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา หลายคนที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาบอกว่า มันแสดงให้เห็นในความรักในฟุตบอลของคนสามจังหวัดและพวกเขาคิดว่าในอนาคตจะใช้การกีฬาและฟุตบอลนี่เองมาช่วยสร้างความสามัคคีคลี่คลายความขัดแย้งในพื้นที่


วิดีโอจากยูทูบของ guyi Mustafa
 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

น้ำท่วมปัตตานี-กลันตัน-ตรังกานู ได้รับผลกระทบหลายหมื่น

$
0
0

ปัตตานีฝนตกหนักจนล้นแม่น้ำปัตตานี อบจ.ปัตตานีเร่งช่วยเหลือ-เตรียมอพยพขึ้นที่สูง ขณะที่รัฐกลันตัน-ตรังกานู ประเทศมาเลเซีย เกิดน้ำท่วมเช่นกัน สั่งอพยพนับหมื่น ด้าน รมต.สำนักนายกฯ เตือนอย่าลงเล่นน้ำท่วม ส่วนสื่อมาเลเซียรายงานว่าข่าวลือน้ำจะท่วมรัฐเคดาห์เพราะไทยปล่อยน้ำออกจากเขื่อนไม่เป็นความจริง

22 ธ.ค. 2557 - สถานการณ์ฝนตกหนักและอุทกภัย บริเวณชายฝั่งอ่าวไทย ด้าน จ.ปัตตานี ประเทศไทย รวมไปถึงในพื้นที่รัฐกลันตัน และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซียนั้น

สถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.ปัตตานี (ที่มา: มีเดียสลาตัน)

ด้าน วิทยุมีเดียสลาตันรายงานว่า สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปัตตานี รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ทางจังหวัดประกาศให้ อ.เมือง เป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว เนื่องจากมีน้ำล้นจากแม่น้ำปัตตานี ไหลเข้าท่วมพื้นที่ ต.ปะกาฮารัง ต.บาราเฮาะ และ ต.ตะลุโบะ และขณะนี้ ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีสูงขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่บ้าน มีน้ำท่วมสูง 1 - 1.5 เมตร ส่วนเส้นทางหลักน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนรถไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทางจังหวัดจึงประกาศให้ประชาชนอพยพออกจากพื้นที่ โดยคาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีก

นายแวฮามะ โตะตาหยง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮารัง อ.เมือง จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า หลังจากได้มีกระแสน้ำในแม่น้ำปัตตานีเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก ใน 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบล ปะกาฮารัง ตำบลบาราเฮาะ และตำบลตะลุโบะ

ในส่วนของ ตำบลปะกาฮารัง นั้น ถือว่าทั้ง 8 หมู่บ้าน ประสบปัญหาทั้งหมด มีจำนวน3 หมู่บ้านที่ถือว่าหนัก คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่2 และหมู่ที่8 ซึ่งเบื้องต้นทางหน่วยงานรัฐและเอกชน ได้ให้การช่วยเหลือโดยการแจกถุงยังชีพแล้ว ในส่วนของแผนรองรับ มีการและเตรียมศูนย์อพยพ โดยการนำเต๊นท์วางไว้บนถนนที่สูง เพื่อเป็นที่อพยพชั่วคราวไว้แล้ว

ในส่วนของ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปัตตานีก็ได้ประกาศให้ประชาชนปัตตานีเพื่อไม่ประมาทขอให้ยกของไว้ที่สูงและในวันนี้ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เร่งสูบน้ำลงทะเลแล้ว แต่ก็เกรงว่าใน 1-2 วันนี้ระดับน้ำจะสูงขึ้นกว่าเดิม หากต้องการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วน สามารถโทรศัพท์ไปที่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี ที่หมายเลข 073-337-145

ขณะเดียวกันชาวรูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี แจ้ง วิทยุมีเดียสลาตันด้วยว่า ระดับน้ำทะเลเพิ่มระดับอย่างรวดเร็ว และล้นท่วมบ้านเรือนแนวฝั่งทะเลแล้ว แม้ว่ากระแสน้ำเริ่มลดระดับลง แต่ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้นำยานพาหนะมาจอดไว้บนถนน เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดน้ำท่วมขึ้นอีกในช่วงหลังเวลา 01.00 น. ของวันที่ 23 ต.ค. โดยสภาพทั่วไปชาวบ้านอยู่ในความระมัดระวังเฝ้าติดตามสถานการณ์เป็นพิเศษ

ขณะเดียวกันเมื่อคืนวันที่ 22 ธ.ค. สำนักประชาสัมพันธ์ จ.นราธิวาส เตือนภัยด้วยว่า ที่หาดนราทัศน์ จ.นราธิวาส คลื่นทะเลมีกำลังแรง ทำให้น้ำทะเลหนุนสูง และท่วมบ้านเรือนบริเวณชายฝั่งด้วย

กลันตัน-ตรังกานูน้ำท่วมเช่นกัน-อพพพนับหมื่น ส่วนข่าวลือไทยปล่อยน้ำท่วมไม่เป็นความจริง

ส่วนน้ำท่วมในมาเลเซียทางทิศตะวันออกของคาบสมุทรนั้น ที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งติดต่อกับ จ.นราธิวาส เกิดอุทกภัยเช่นกัน โดย สำนักข่าวเบอร์นามา ของทางการมาเลเซีย รายงานว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 22 ธ.ค. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ชาฮิดัน กัสซิม กล่าวว่า ระดับน้ำในแม่น้ำหลายสายในรัฐกลันตันอยู่ในระดับวิกฤต และประชาชนจำนวนมากจำเป็นต้องอพยพ

ทั้งนี้ชาวบ้านที่อำเภอกุอามุสัง ในรัฐกลันตัน ต้องอพยพอีกครั้ง หลังระดับน้ำกลับมาเพิ่มสูงอีกครั้ง โดยต้องอพยพไปอยู่ที่ศูนย์พักพิงในอำเภอกวนตัน รัฐปาหัง และอำเภอเบสุต รัฐตรังกานู

โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยที่โรงเรียนรัฐบาล ศรี ตุมปัต 2 ในอำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน โดยในรัฐกลันตันมีผู้ประสบอุทกภัย 16,000 ราย และอพยพไปอยู่ในศูนย์ช่วยเหลือ 60 แห่ง ในพื้นที่ 8 อำเภอของรัฐกลันตัน

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเตือนด้วยว่าไม่ควรลงเล่นน้ำหรืออาบน้ำในบริเวณที่มีน้ำท่วม เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ "นี่ไม่ใช่น้ำท่วมธรรมดา แต่เป็นน้ำท่วมแบบไม่ธรรมดา อย่าทำเหมือนอยู่ในช่วงเทศกาล"

น้ำท่วมในรัฐตรังกานู ทางฝั่งคาบสมุทรด้านตะวันออกของประเทศมาเลเซีย (ที่มา: มาเลเซียกินี)

ขณะที่รัฐตรังกานู ซึ่งอยู่ทางใต้ของรัฐกลันตัน ประสบอุทกภัยเช่นกันโดยสำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่าเมื่อคืนวันที่ 22 ธ.ค. มีผู้ประสบภัยแล้ว 5,918 ราย ทั้งนี้มีการเปิดศูนย์ช่วยเหลือในพื้นที่ทั้งสิ้น 59 แห่ง

ขณะเดียวกัน มาเลเซียกินีรายงานชี้แจงเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ด้วยว่า กรณีที่มีข่าวลือแพร่อยู่ในผู้ใช้แอพลิเคชั่น WhatsApp ว่ารัฐกลันตันของมาเลเซีย จะเกิดน้ำท่วมเพราะมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาสนั้น ข่าวลือที่ว่านี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาธารณสุขเชียงใหม่เตือนเล่นลานเกลือนาน-ระวังผลกระทบสุขภาพ

$
0
0

แพทย์ สสจ.เชียงใหม่ ตรวจลานเกลือที่ 'ตัน ภาสกรนที' ตกแต่งเป็นหิมะเทียม พบเป็นเกลือบริสุทธิ์แต่หากใช้กลางแจ้งอาจเกิดปนเปื้อน เตือนฝุ่น-กลิ่นจากไอระเหยเกลือส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ควรปล่อยเด็กเล็กเล่นตามลำพัง ขณะที่คืนวันที่ 21 ทีมงานต้องเร่งเคลียร์ หลังฝุ่นเกลือตกลงไปในถนน โดย 'ตัน' รับปากว่าจะไม่ให้เกลือร่วงลงถนนอีก

ตามที่เมื่อค่ำวันที่ 19 ธ.ค. นายตัน ภาสกรนที ผู้บริหารบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป และโครงการ Think Park สี่แยกรินคำ ถ.นิมมานเหมินท์ ตัดกับ ถ.ห้วยแก้ว ได้ให้ทีมงานนำเกลือแกงบริสุทธิ์หนัก 40 ตัน ไปถมและตกแต่งบริเวณลานกว้างและทางเดินของโครงการนัยว่าให้เหมือนหิมะเทียม โดยตั้งชื่องานว่า Nimman Snow festival และเปิดตัวกิจกรรมตั้งแต่เย็นวันที่ 20 ธ.ค. จนถึงวันที่ 4 ม.ค. นั้น

อย่างไรก็ตามกิจกรรมดังกล่าวถูกวิจารณ์ว่าจะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากเกลือจำนวนมากปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำ โดยมีผู้ตั้งกระทู้ในเว็บบอร์ดพันทิพ (อ่านรายละเอียด)นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพหากสูดดมละอองเกลือเข้าไปจนเกิดภาวะ ภาวะโซเดียมสูง หรือ Hypernatremia นั้น (อ่านรายละเอียด)

ต่อมา เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. สวท.เชียงใหม่รายงานคำให้สัมภาษณ์ของ นพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเพิ่งลงตรวจสอบพื้นที่ โดยระบุว่า พบว่าเป็นเกลือที่ใช้เป็นเกลือบริสุทธิ์แบบแห้งร้อยละ 99.85 ไม่มีไอโอดีน มีความชื้นร้อยละ 0.15 เป็นเกลือบริสุทธิ์ มีความเด่นคือมีสีขาวสะอาด ปราศจากสีเจือปน มีจุลินทรีย์ที่ใช้ประโยชน์ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้ทางยา

แต่หากนำมาใช้เป็นหิมะเทียมกลางแจ้ง อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนได้จากสิ่งแวดล้อมและจากการเหยียบย่ำของประชาชน เนื่องจากเกลือมีความเค็มสูง ฝุ่นและกลิ่นจากไอระเหยของเกลืออาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ จึงควรเล่นอย่างระมัดระวัง ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล็กเล่นตามลำพัง ไม่ควรเล่นนานเกิน 30 นาที ระวังอย่าให้เกลือเข้าปาก จมูก หากผิวหนังมีบาดแผล ควรปิดด้วยพลาสเตอร์ก่อนเล่น ควรสวมรองเท้าป้องกันการปนเปื้อน ไม่ควรนำอาหาร เครื่องดื่มเข้าไปในบริเวณเกลือหิมะ เพราะอาจจะทำให้เกลือละลายปนเปื้อนน้ำและอาหารไปสู่คนได้ ควรสวมเสื้อผ้ามิดชิดป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง ไม่ควรเล่นหรืออยู่ใกล้บริเวณที่มีเกลือหิมะนานเกิน 1 ชั่วโมง เพราะไอระเหยของเกลือจะกระทบกับระบบหายใจ ทำให้แสบคอ จมูกและแสบตาใต้ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบออกจากบริเวณดังกล่าวโดยเร็วและกลั้วคอด้วยน้ำสะอาดทันที

ผู้มีโรคประจำตัวเช่น ภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการเล่นบริเวณที่มีไอระเหยของเกลือหิมะ หากมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยหอบ ให้รีบออกจากบริเวณดังกล่าวโดยเร็วและให้กลั้วคอด้วยน้ำสะอาดทันที 2-3 ครั้ง หรือจนกว่าจะมีอาการดีขึ้น ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่โทรศัพท์ 0-5321-1048-50

 

ตัน ภาสกรนที ชี้แจงหลังใช้งานจะนำเกลือไปกำจัด-แถมรองพลาสติกปิดฝาท่อน้ำ

ก่อนหน้านี้ ตัน ภาสกรนที ชี้แจงเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ว่า เกลือที่นำมาใช้ในกิจกรรมเคยใช้เป็นปกติในงานถ่ายโฆษณา และหลังใช้งานเสร็จจะส่งไปกำจัดอย่างถูกวิธี หรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย บ่อกุ้งนอกจากนี้ในพื้นที่จัดงานมีการรองด้วยพลาสติกเพื่อปิดฝาท่อระบายน้ำ

"ตอนถ่าย “อิชิตันทัวร์ยกแก๊งฮอกไกโด” ปีก่อนก็ใช้เกลือแบบเดียวกัน ผมกับทีมนอนคลุกอยู่ 2 วันเต็มๆ การจัดงานครั้งนี้ควบคุมด้วยทีมงานมืออาชีพ หลังใช้งานเสร็จจะจัดเก็บเกลือทั้งหมดส่งคืนกลับไปให้ผู้ขายเอาไปกำจัดอย่างถูกวิธี หรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย บ่อกุ้ง ฯลฯ ใต้เกลือในพื้นที่จัดงานรองด้วยพลาสติคเพื่อปิดฝาท่อระบายน้ำทั้งหมดมิดชิดมั่นใจได้ครับ" ตันโพสต์ชี้แจงในเพส ตัน ภาสกรนที

ทีมงานของโรงแรมอีสตินตัน และ Think Park เร่งทำความสะอาดและดูดฝุ่นเกลือ บริเวณพื้นที่ทางเท้าและด้านข้าง ถ.นิมมานเหมินท์ ช่วงเช้ามืดวันที่ 22 ธ.ค. หลังมีเกลือปนลงไปบนพื้นที่สาธารณะ ในภาพจะเห็นทีมงานใช้หน้ากากกันฝุ่นปิดปากปิดจมูกระหว่างทำความสะอาดด้วย โดยตัน ภาสกรนที รับปากจะป้องกันไม่ให้เกิดการรบกวนพื้นที่สาธารณะอีก (ที่มา: เพจตัน ภาสกรนที)

อย่างไรก็ตาม เมื่อคืนวันที่ 21 ธ.ค. มีละอองเกลือปลิวไปในพื้นที่สาธารณะและถนน ทำให้ในช่วงเช้ามืดวันที่ 22 ธ.ค. ทีมงานของโรงแรมอีสตินตัน และ Think Park ต้องเร่งทำความสะอาดและดูดฝุ่นเกลือออกจากบริเวณพื้นที่สาธารณะ โดยในภาพที่มีการเผยแพร่ในเพจตัน ภาสกรนที จะเห็นทีมงานสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นระหว่างทำความสะอาดด้วย

ทั้งนี้ตัน ภาสกรนที ได้โพสต์ชี้แจงด้วยว่า "ขณะนี้ทีมงานโรงแรมอีสตินตันและ thinkpark ทั้งหมดกำลังเร่งทำความสะอาด ดูดฝุ่นบริเวณฟุตบาท ผิวถนนไม่ให้เกลือปลิวไปในพื้นที่สาธารณะ ผมขอขอบคุณชาวเชียงใหม่ที่ให้ความสนใจมาเที่ยวงานจำนวนมากจนเกินความคาดหมาย ทำให้การควบคุมดูแลความสะอาดพื้นที่สาธารณะบกพร่องไปบ้าง ผมขอโทษอย่างสูงสำหรับความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น และให้คำมั่นว่าทีมงานทุกคนจะเร่งมือทำความสะอาด และจัดการป้องกันไม่ให้ไปรบกวนพื้นที่สาธารณะอีก เรากำลังเร่งมือกันอย่างสุดความสามารถเพื่อให้งานของเราไม่กระทบต่อชาวเชียงใหม่ครับ และเร่งปูหญ้าเทียมรอบบริเวณให้เสร็จภายในหกโมงเช้าเพื่อป้องกันไม่ให้หิมะเทียมลงสู่ถนนครับ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สงครามกองโจรและเส้นทางที่เปราะบางของสันติภาพโคลัมเบีย

$
0
0

นักปฏิบัติการสันติภาพชาวโคลัมเบีย ถอดบทเรียนความขัดแย้งที่ใช้กำลัง ความเหลื่อมล้ำที่ก่อเกิดสงครามกองโจรในโคลัมเบีย กระบวนการสันติภาพที่ล้มเหลวหลายครั้งนำไปการหลอกสังหารหมู่ ขณะที่กระบวนการสันติภาพภายใต้ผู้นำคนใหม่เป็นความหวังใหม่ให้ชาวโคลัมเบีย ท่ามกลางความเสี่ยงและความท้ายที่ยังมีอยู่

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2557 ที่เรือนพักรับรอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) โรงเรียนวิชาการเมือง ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ร่วมกับห้องเรียนสันติภาพ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD)และสถาบันสันติภาพและการพัฒนาศึกษานานาชาติ(IIPDS) จัดบรรยายสาธารณะหัวข้อ “สงครามกองโจรและกระบวนการสันติภาพในโคลัมเบีย:เราจะทำงานร่วมกัน (กับศัตรู) อย่างไร?” โดย นพ.วิกเตอร์ เดอ เคอรีอา-ลูโก(Dr. Víctor de Currea-Lugo)นักวิชาการและนักปฏิบัติการด้านสันติภาพชาวโคลัมเบีย โดยมีตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเข้าร่วมประมาณ 40 คน มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

กระบวนการสันติภาพภายในประเทศโคลัมเบียมีความยากลำบากอย่างมาก เนื่องจากกลุ่มขบวนการที่ต่อต้านรัฐมองว่า ต้องเอาชนะรัฐบาลโคลัมเบียด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบของการก่อสงครามกองโจรหรือสงครามจรยุทธ์ หรือที่รู้จักกันว่าเป็นขบวนการกอริลล่า (guerrilla movement) ส่วนรัฐบาลโคลัมเบียมองว่าฝ่ายตนสามารถเอาชนะขบวนการต่อต้านรัฐได้ด้วยการใช้กองกำลังปราบปราม ทำให้การผลักดันกระบวนการสันติภาพในประเทศโคลัมเบียเป็นไปด้วยความยากลำบาก

 

รากเหง้าความขัดแย้ง

นพ.วิกเตอร์ เริ่มต้นการบรรยายว่า เราจำเป็นต้องเข้าใจรากเหง้าของความขัดแย้งเป็นเบื้องต้น สำหรับโคลัมเบียนั้นเราจะเห็นได้ว่า พื้นที่ความขัดแย้งที่มีการใช้ความรุนแรงกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ นี่เป็นผลมาจากรากเหง้าสองสามประการ

ประการแรก มาจากสาเหตุการกีดกันทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ

ประการที่สอง การสร้างความรักชาติโคลัมเบีย ซึ่งทำให้ประชาชนที่อยู่ในชนบทมีความรู้สึกรักษาชาติน้อยมาก เพราะประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้พรมแดนติดกับประเทศเอกวาดอร์รู้สึกว่าตัวเองเป็นชาวเอกวาดอร์ ส่วนคนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนติดกับประเทศเวเนซุเอลามีความรู้สึกตัวเองเป็นชาวเวเนซุเอลา

ประการที่สาม การสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ในโคลัมเบียที่ส่งผลให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่เมืองโบโกต้า ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศโคลัมเบีย ทำให้ประชาชนที่อยู่ตามชนบทต่างๆ มีความรู้สึกว่าถูกผลักออกจากสังคม

กองกำลังที่เคลื่อนไหวในประเทศโคลัมเบียมีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มแรกกองกำลังของรัฐบาลโคลัมเบีย ประกอบด้วย ตำรวจ ทหาร มีกำลังพลจำนวน 500,000 คน ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา

กลุ่มที่สอง คือ กองกำลังติดอาวุธอิสระ หรือ paramilitary ซึ่งเป็นกองกำลังที่บรรดาเจ้าที่ดินจัดตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ปกป้องคุ้มกันและขับไล่ชาวนาออกจากที่ดิน รวมทั้งต่อต้านกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นกลุ่มที่สาม อันได้แก่ ขบวนการกอริลล่าที่ประกอบด้วย 2 กลุ่มหลักๆ คือ 1) กลุ่มฟาร์ก (FARC, Revolution Armed Farce of Colombia)เป็นขบวนการต่อต้านรัฐบาลโคลัมเบียใหญ่เป็นอันดันที่หนึ่ง และ 2) กลุ่มอีแอลเอ็น (ELN,National Liberation Army) หรือกองกำลังปลดแอกแห่งชาติ ซึ่งมีสมาชิกระดับแนวหน้ารวมทั้งสิ้น 12,000 คน

ในอดีตมีกลุ่มต่อต้านรัฐจำนวนมากหลายกลุ่ม และมีความแตกต่างกันในทางอุดมกาณ์ เช่น กลุ่มที่ยึดถือแนวทางสตาลิน แนวทางเหมาอิสต์ และแนวทางเทววิทยาซึ่งรวมแนวคิดระหว่างชาตินิยม สังคมนิยม และความเป็นคริสเตียนไว้ด้วยกัน แต่ในปัจจุบัน ถือว่าสองกลุ่มข้างต้นยังคงเคลื่อนไหว มีกองกำลังและทรงอิทธิพลมากที่สุดกล่าวโดยสรุปแล้ว กองกำลังที่เคลื่อนไหวทั้ง 3 ฝ่ายนี้ ล้วนแล้วแต่มีการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยธรรมระหว่างประเทศในระหว่างการต่อสู้เช่นเดียวกัน

 

กำเนิดสงครามกองโจร

ในปี ค.ศ.1948 – 1957 เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงระดับท้องถิ่นในประเทศโคลัมเบียจำนวนมาก หลังการสังหารผู้นำชาวนาคนสำคัญ เป็นที่มาของการสังหารผู้คนจำนวนมาก จนเรียกกันว่าเป็น “ช่วงเวลาของความรุนแรง” (La Violencia) และนำไปสู่การจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการที่ใช้กลยุทธ์แบบกองโจรซึ่งถือกำเนิดเป็นแห่งแรกในละตินอเมริกา ไม่ใช่คิวบาอย่างที่เข้าใจกัน

ประกอบกับการต่อสู้ระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคหัวก้าวหน้า ต่อมาเกิดการรัฐประหารในประเทศโคลัมเบีย มีการเรียกร้องให้มีเจรจากับกลุ่มชาวนาหัวก้าวหน้าและมีการตกลงสันติภาพกันกับรัฐบาลโคลัมเบีย โดยกลุ่มชาวนาหัวก้าวหน้า มีการยุติการเคลื่อนไหวและวางอาวุธที่มีอยู่ทั้งหมด แต่ปรากฏว่าสมาชิกชาวนาหัวก้าวหน้าโดนสังหารทั้งหมด เหมือนกับหลอกให้เข้าในกระบวนการสันติภาพ แต่เมือฝ่ายชาวนาหัวก้าวหน้าวางอาวุธ รัฐบาลโคลัมเบียมีการกว้างล้างสมาชิกชาวนาหัวก้าวหน้าทั้งหมด จนเป็นเหตุผลให้กลุ่มกอริลล่าตัดสินใจไม่เข้าร่วมกระบวนการเจรจาสันติภาพในอีกหลายครั้งต่อมา

อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การเจรจาก็เกิดขึ้นอีกหลายครั้งตามเงื่อนไขในแต่ละช่วงเวลา แต่ความรุนแรงก็เกิดขึ้นควบคู่ไปกับความล้มเหลวของแนวทางสันติวิธีตลอดมาเช่นเดียวกัน

ในบางช่วงเวลา มีการผ่อนคลายในทางการเมือง และเปิดโอกาสให้กลุ่มกบฎที่เคยเคลื่อนไหวแบบใต้ดินได้มีโอกาสจัดตั้งพรรคการเมือง ซึ่งก็คือ พรรคการเมืองที่ชื่อว่า Patriotic Union ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของกลุ่ม FARC และลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ในปี 1987 หัวหน้าพรรคและแกนนำคนสำคัญก็ถูกลอบสังหาร ตลอดจนมีการสังหารหมู่ตามมาอีกจำนวนมาก โดยฝีมือของกองทัพ กองกำลังอิสระของเจ้าที่ดิน และขบวนการค้ายาเสพติด และเป็นครั้งแรกที่โลกได้รู้จักกับคำว่า “การสังหารหมู่ทางการเมือง”

 

ชะตากรรมของกระบวนการสันติภาพ

ในปี 1989 กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทำลายลง กลุ่มกอริลล่าหลายกลุ่มที่มีแนวคิดสังคมนิยมเริ่มเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ ซึ่งมีทั้งกลุ่ม M-19, EPL และ PRL แม้ว่าจะมีการลงนามกันในข้อตกลงที่ถือว่าก้าวหน้าหลายประการ แต่ปรากฏว่าไม่ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างใดๆ อีกทั้งยังคงมีการตามสังหารผู้นำขบวนการอีกตามมา

แม้แต่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากหลายพรรคการเมือง ซึ่งรวมทั้งตัวแทนของกลุ่มกอริลล่าบางกลุ่มก็ถูกสังหารทั้งหมดทั้ง 4 คน ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง จึงอาจถือได้ว่ากระบวนการสันติภาพในรอบดังกล่าวนั้น เกิดความล้มเหลวขึ้นอีกครั้ง แต่สิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้จากกรณีนี้ก็คือ วาระหรือข้อเสนอในเวทีต่างประเทศนั้น สามารถบ่งบอกหรือส่งอิทธิพลว่า ควรดำเนินการกระบวนการสันติภาพด้วยหรือไม่และอย่างไร

บทเรียนสำคัญจากประสบการณ์การดำเนินการกระบวนการสันติภาพที่ผ่านมาในช่วงนี้คือ ทำให้เรียนรู้ได้ว่า ชาวโคลัมเบียที่ไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองตามประเพณีนิยมหรือตั้งแต่ต้น จะถูกกีดกันไม่ให้มีบาบาททางการเมือง และบทเรียนอีกประการคือ หัวหน้าของฝ่ายเจรจาอีกฝ่ายหนึ่งมักถูกตามสังหาร ซึ่งทำให้สูญเสียโอกาสของสันติภาพไป

ถึงจุดนี้ นพ.วิกเตอร์ สะท้อนว่า โดยส่วนตัวแล้ว ตนเองเห็นว่ามีโอกาสที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศโคลัมเบียด้วยสันติวิธีอยู่หลายครั้งตลอดระยะเวลาของความขัดแย้งหลายสิบปี แต่การสังหารผู้นำของฝ่ายต่อต้านและหลายครั้งเมื่อมีข้อตกลงจากการเจรจาแล้ว รัฐบาลไม่ได้รักษาสัญญาที่เคยตกลงกันไว้ สิ่งนี้ได้นำไปสู่การอ้างเหตุผลรองรับให้กับกลุ่มกอริลล่าที่จะใช้ความรุนแรงต่อไป

 

สงครามกองโจรในยุคต่อต้านก่อการร้าย

หลังเหตุการณ์ถล่มตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ.2001 คำศัพท์ที่ใช้เรียกการต่อสู้ด้วยกองกำลังหรือความขัดแย้งเปลี่ยนมาเป็นการต่อสู่กับกลุ่มก่อการร้าย หรือสงครามต่อต้านการก่อการร้ายนี้เป็นผลมาจากอิทธิพลของสหรัฐฯ ในละตินอเมริกาด้วย ความล้มเหลวของกระบวนการสันติภาพในหลายปีก่อนหน้านั้น ทำให้ผู้คนคิดว่า หนทางเดียวเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศโคลัมเบียคือ การก่อสงครามต่อต้านก่อการร้าย

ในปี 2002 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ทุกพรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้งหาเสียงว่า กระบวนการสันติภาพไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดในประเทศโคลัมเบียได้ ดังนั้นวิธีการที่จัดการความขัดแย้งคือสงคราม ซึ่งถูกนำเสนอในสื่อของประเทศโคลัมเบียด้วย ทำให้ความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น

คนที่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคือ อัลวาโร อูริเบ (Álvaro Uribe) มีความเชื่อมั่นว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นต้องแก้ด้วยการใช้กองกำลังเท่านั้น ส่งผลให้ยิ่งเกิดความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลอูริเบก็ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก ขณะเดียวกันนโยบายของเขาไม่เคยกล่าวถึงปัญหารากเหง้าที่เกิดจากการกีดกันทางการเมือง การแก้ปัญหาความยากจนและการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในประเทศโคลัมเบียใดๆ เลย

 

กระบวนการสันติภาพรอบใหม่

ในช่วงการเลือกตั้งในปี 2010 คู่แข่งของทายาทางการเมืองของอูริเบ คือ ฮวน มานูเอล ซานโตส (ำJuan Manuel Santos) ผู้ประกาศนโยบายว่า จะสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ นพ.วิกเตอร์ เดอ เคอริอา-ลูโก เป็นหนึ่งในคนที่โหวตให้กับเขาด้วยนโยบายดังกล่าว

ท้ายที่สุด ซานโตสได้ครองตำแหน่งประธานาธิบดีแต่ก็ได้คะแนนเสียงที่ก้ำกึ่งกันระหว่างคู่แข่งที่ยืนยันจะคงทิศทางการใช้กำลัง ด้วยเหตุนี้ โคลัมเบียจึงเป็นสังคมที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างหนักในแนวทางการรับมือกับบรรดาขบวนการกอริลล่า

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการกระบวนการสันติภาพในครั้งนี้ มีความแตกต่างจากกระบวนการสันติภาพที่ผ่านมาคือ มีการพบปะพูดคุยในต่างประเทศ โดยมีประเทศคิวบากับนอร์เวย์ร่วมกันเป็นคนกลางไกลี่เกลี่ย (Mediators) และดำเนินเจรจาอย่างลับๆ เป็นเวลาสองปี จากนั้นในปี ค.ศ.2012 จึงมีการประกาศแก่สาธารณชน

สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม คือ การให้ความสำคัญกับวาระ (agenda) ของฝ่าย FARC ในการหยิบยกขึ้นมาพูดคุย อันได้แก่ 1) การพัฒนาชนบทในประเทศโคลัมเบีย 2) การสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทุกกลุ่ม 3) FARC จะยุติการผลิตยาเสพติดและรัฐบาลต้องเข้ามาสนับสนุนอาชีพทางเลือกแก่คนที่ประกอบอาชีพค้ายาเสพติด นอกจากนั้น ทั้ง FARCและรัฐบาลจะต้องลงโทษคนที่เข้าไปเกี่ยวกับยาเสพติด

4) ปัญหาการละเมิดหลักการกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่กระทำต่อเหยื่อ 5) การยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการใช้กำลัง และ 6) การแปรข้อตกลงต่างๆ นำไปสู่การปฏิบัติ ทั้งหมดนี้มีความคืบหน้าในการพูดคุยไปค่อนข้างมาก

 

มีสัญญาณบวกหลายประการ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในกระบวนการสันติภาพดังกล่าว กลุ่ม ELN จะยังไม่ได้มีเข้าร่วมมากนักก็ตาม เพราะพวกเขามีจุดยืนที่เน้นว่า หากมีการเจรจาจะต้องไม่เพียงแต่เจรจากับรัฐบาลเท่านั้น หากแต่ต้องเจรจากับสังคมและผู้คนกลุ่มต่างๆ ด้วย นพ.วิกเตอร์ และเพื่อนนักวิชาการในมหาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่ง ก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการพูดคุยเจรจากับ ELN ขึ้นด้วยในขณะนี้

สัญญาณเชิงบวกมีขึ้นหลายประการ เช่น ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ (18 ธ.ค.) ทางฝ่าย FARC ได้ประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียว (unitary ceasefire) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับกระบวนการ ในขณะที่ก่อนหน้านี้ไม่นาน ทางขบวนการก็ได้ปล่อยตัวนายพลที่ได้ถูกลักพาตัวไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

โดยส่วนตัวแล้ว นพ.วิกเตอร์เชื่อมั่นว่าในขณะนี้ทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นที่จะยุติความขัดแย้งและความรุนแรงอย่างจริงจัง ไม่เว้นแม้แต่ชนชั้นนำของประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเคยคัดค้านแนวทางดังกล่าวนี้มาโดยตลอด แต่ถึงอย่างนั้น ความท้าทายที่กระบวนการสันติภาพจะล้มเหลวก็ยังคงมีอยู่หลายประการ ในขณะที่ประเด็นปัญหาอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายอย่างจริงจัง

 

โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ นพ.วิกเตอร์ บรรยายและแลกเปลี่ยนนั้น มีจุดเน้นสำคัญอยู่ที่ว่า ความขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องปกติ ไม่มีความขัดแย้งที่ใดที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงที่ไม่สามารถเรียนรู้กันได้ แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันหลายลักษณะ แต่ก็สามารถเรียนรู้กันได้ นอกจากนี้ การทำความเข้าใจรากเหง้าของปัญหาเป็นสิ่งสำคัญต่อการรับมือกับความขัดแย้ง เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างความเข้าใจระหว่างคู่ขัดแย้งให้มีความชัดเจน

ที่สำคัญ การทำงานสันติภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันกับศัตรู ไม่มีประโยชน์และไม่สมเหตุสมผลที่เราจะทำงานแต่เฉพาะกับเพื่อนของเราเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมด้วยว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการสันติภาพนั้นสำคัญ เพราะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับกระบวนการสันติภาพอีกด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.ไอซีทีเผย ส่องสอด 'ไลน์' ได้-ลั่นจับตา 'ข้อความหมิ่นฯ'

$
0
0

รมว.ไอซีทีเผยสอดส่องไลน์ผู้ใช้ได้ พร้อมจับตาการส่งต่อข้อความหมิ่นสถาบันฯ เป็นพิเศษ ขู่ไม่ควรส่งต่อข้อความ เพราะอาจเข้าข่ายสมรู้ร่วมคิด

22 ธ.ค.2557เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงผลการสำรวจสถิติของไอซีที ที่พบว่าปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ใช้แอพพลิเคชั่น“ไลน์” ประมาณ 33 ล้านคน โดยมีการส่งข้อความวันละเกือบ 40 ล้านข้อความ ว่า กระทรวงไอซีทีสามารถสอดส่องตรวจดูได้หมดว่ามีการส่งต่อข้อความประเภทไหนบ้างในแอปพลิเคชั่น “ไลน์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อความหมิ่นประมาท ข้อความหมิ่นสถาบัน และข้อความที่มีผลกระทบด้านความมั่นคง ซึ่งจะถูกจับตาเป็นพิเศษ แต่ละวันมีการส่งข้อความประเภทนี้จำนวนมากเช่นกัน

นายพรชัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามหากใครได้รับการส่งต่อข้อความประเภทนี้ สามารถนำข้อความนั้นไปแจ้งความกับตำรวจ เพื่อให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ในการไปตรวจสอบหาต้นตอที่ส่งมาได้ 

ส่วนกรณีที่ถ้ามีการจับกุมแล้วผู้ต้องสงสัยอ้างว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” นายพรชัย กล่าวว่า คิดว่าฟังไม่ขึ้น เพราะตามกฎหมายแล้วถือว่าเป็นคนที่สมรู้ร่วมคิด ดังนั้นทางที่ดี ทุกคนไม่ควรส่งต่อข้อความประเภทนี้ 

นายพรชัย กล่าวอีกว่า กระทรวงไอซีที มีหน่วยงานหลักที่ดำเนินการติดตามเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย และเว็บไซต์ที่ขายยาที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) รวมถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ซึ่งมีประมาณร้อยละ 20-30 โดยทำเป็นขบวนการ ซึ่งเราต้องจัดการทั้งหมด ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่เปิดที่ต่างประเทศ เราก็จะมีการขอหมายศาล แล้วนำไปประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อส่งหมายศาลไปยังประเทศต้นทางของเว็บไซต์ แจ้งว่าเว็บไซต์นั้นๆ ทำผิดกฎหมายไทย ดังนั้นการดำเนินการอาจจะช้าเล็กน้อย เพราะต้องเจรจา เนื่องจากบางประเทศมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกับไทย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีการดำเนินการเป็นระยะ แม้จะไม่มีการแถลงข่าว แต่กระทรวงไอซีที ได้รายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตลอด
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลสั่งดำเนินคดีเจ้าฟ้าหญิงคริสตินาแห่งสเปน ข้อหาฉ้อโกง

$
0
0

เจ้าฟ้าหญิงคริสตินาถือเป็นเชื้อพระวงศ์สเปนคนแรกที่ถูกสั่งดำเนินคดีหลังจากการสืบสวนกว่า 4 ปี ในคดีมีส่วนฉ้อโกงร่วมกับพระสวามี จากการเอาเงินทุนสาธารณะไปใช้ในการส่วนตัวและข้อหาฉ้อโกงอื่นๆ

22 ธ.ค. 2557 ศาลสเปนสั่งดำเนินคดีเจ้าฟ้าหญิงคริสตินา เดอ เบอร์บอน พระขนิษฐาของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน ในข้อหาโกงภาษี ทำให้พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์ชาวสเปนคนแรกที่ถูกดำเนินคดีในชั้นศาล

มีการสืบสวนคดีโกงภาษีในสเปนซึ่งกินเวลานานกว่า 4 ปี โดยมีการสืบสวนเรื่องการทำธุรกรรมของบริษัทที่ อินนากิ เออดันการิน พระสวามีของพระนางมีร่วมเป็นเจ้าของอยู่ จนกระทั่งล่าสุดผู้พิพากษา โฮเซ คาสโตร สั่งฟ้องเจ้าฟ้าหญิงคริสตินาซึ่งกระทำความผิดในช่วงปีงบประมาณที่ 2550-2551 รวมถึงเออดันการินในข้อหาละเมิดหน้าที่ตามกฎหมาย ยักยอกเงินทุนสาธารณะ ฉ้อโกง ใช้เส้นสาย และฟอกเงิน

สำนักข่าวเดอะการ์เดียน ประเมินว่าจะมีการดำเนินคดีในชั้นศาลต่อเจ้าฟ้าหญิงคริสตินา พระสวามีของพระนางและคนอื่นๆ รวม 16 คน ที่มีส่วนร่วมกระทำความผิดภายในช่วงปลายปีหน้า โดยผู้พิพากษาระบุว่าเจ้าฟ้าหญิงคริสตินาทรงได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากอาชญากรรมตามข้อกล่าวหา นอกจากนี้ ยังจัดตั้งบริษัทร่วมกับเออดันการินเพื่อดึงเอาเงินทุนจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร 'นอส' ไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว

เดอะการ์เดียนระบุอีกว่าราชวงศ์ของสเปนได้รับความนิยมลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เจ้าฟ้าชายเฟลิเปสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระราชาธิบดีฮวน คาร์ลอส ซึ่งมีเหตุการณ์น่าอับอายเกี่ยวกับเชื้อพระวงศ์เกิดขึ้นมากรวมถึงคดีของเจ้าฟ้าหญิงคริสตินาด้วย

การตัดสินดำเนินคดียังทำให้มีคำถามเรื่องเกี่ยวกับการสืบทอดราชสมบัติซึ่งเจ้าฟ้าหญิงคริสตินาทรงอยู่ในลำดับที่ 6 ของการสืบทอด สำนักราชวังสเปนออกแถลงการณ์ระบุถึงการดำเนินคดีนี้ว่าพวกเขาเคารพต่อความเป็นอิสระทางตุลาการ แต่ในเรื่องที่ว่าเจ้าฟ้าหญิงคริสตินาควรจะถูกถอดถอนจากการเป็นผู้มีสิทธิสืบทอดราชสมบัติหรือไม่ควรมาจากดุลยพินิจของพระนางเอง

ฝ่ายเจ้าฟ้าหญิงคริสตินาไม่ทรงให้การต่อข้อซักถามของศาลในช่วงที่มีการไต่สวนเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา แต่ก็ทรงให้การไว้ว่าพระนางไม่ได้มีส่วนตัดสินใจใดๆ ในกิจการรายวันขององค์กรนอส แม้จะทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานบอร์ดก็ตาม

ก่อนหน้านี้พนักงานอัยการของคดีเคยเรียกร้องให้ผู้พิพากษาคาสโตรตัดสินให้เจ้าฟ้าหญิงคริสตินาถูกรวมเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยคดีนี้ด้วย


เรียบเรียงจาก

Spanish king’s sister to stand trial on tax fraud charges, The Guardian, 22-12-2014
http://www.theguardian.com/world/2014/dec/22/spanish-king-sister-borbon-trial-fraud

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มองวิดีโอเกมยุคใหม่ ในฐานะเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาด้วยวิถี 'ประชาธิปไตย'

$
0
0

วิดีโอเกมเป็นสื่อบันเทิงที่กำลังเติบโต แม้จะถูกวิจารณ์ในหลายเรื่อง แต่ผู้คนส่วนหนึ่งก็เล็งเห็นว่าเกมอย่างเช่น Papers, Please หรือ Unrest มีส่วนในการสร้างความเข้าใจต่อผู้คน และเกมในยุคสมัยของ crowdsource อาจจะนำมาใช้ประโยชน์ในการหารือเพื่อร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ของโลกได้


เกม Papers, Please ที่ให้ผู้เล่นรับบทเจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารคนเข้าเมือง
ท่ามกลางความผันผวนของการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อการทำงาน

22 ธ.ค. 2557 จอห์น เฟฟเฟอร์ ผู้อำนวยการเว็บไซต์วิเคราะห์นโยบายการต่างประเทศ Foreign Policy In Focus (FPIF) เขียนบทความเกี่ยวกับวิดีโอเกมที่มีส่วนในการสะท้อนประเด็นต่างๆ ของสังคม โดยยกตัวอย่างความประทับใจในเกมที่ชื่อ 'Papers, Please' ซึ่งเป็นเกมเกี่ยวกับการเล่นเป็นพนักงานตรวจเอกสารคนเข้าเมืองในรัฐเผด็จการ

Papers, Please พัฒนาโดยลูคัส โป๊ป ผู้ที่เคยทำงานในค่ายเกมดัง 'Naughty Dog' โป๊ปบอกว่ามันเป็นเกมแนว "สารคดีระทึกขวัญเกี่ยวกับโลกที่เลวร้าย" (dystopian document thriller) ในเกมนี้ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นคนตรวจเอกสารที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองในประเทศสมมติที่ชื่ออาร์สโตตซกา ด้วยขั้นตอนต่างๆ ทั้งการตรวจเอกสาร ตรวจสอบการพกอาวุธ รวมถึงมีการไต่สวนเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น และในบางครั้งอาจจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นการก่อการร้าย การพยายามติดสินบนทั้งจากพลเรือนและจากเจ้าพนักงานเอง เป็นต้น นอกจากนี้บทบาทคนตรวจเอกสารที่เราเล่นยังได้รับเงินค่าจ้างน้อยนิด จนต้องเผชิญความยากลำบากเวลาครอบครัวเจ็บป่วยหรือหิวโหย

"เกมนี้ให้ความรู้สึกสนุกแบบแปลกๆ" เฟฟเฟอร์ระบุในบทความ "ไม่นานนักผมก็เริ่มเข้าสู่วิธีคิดแบบของคนที่ 'แค่ทำตามคำสั่งไป' แล้วผมก็ตกใจตัวเองว่ามันง่ายมากที่ผมเริ่มรู้สึกเหมือนอยู่ในสภาพเดียวกับข้าราชการที่พยายามจะอยู่รอดในระบบที่ชั่วร้าย"

แม้ว่าวิดีโอเกมจะเป็นหนึ่งในสื่อบันเทิงที่ทำให้คนสามารถหลบหนีออกจากโลกความจริงได้ชั่วคราว แต่ดูเหมือนว่าหลายเกมในยุคปัจจุบันจะทำให้ผู้เล่นอยู่ในสภาพความเป็นจริงของโลกอีกแบบหนึ่ง เช่น เกม Pandemic ที่ให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นไวรัสทำลายล้างโลก เกม Unmanned ที่สะท้อนชีวิตของคนที่ทำงานเป็นผู้ควบคุมเครื่องบินไร้คนขับหรือ 'โดรน' เกม 'World Without Oil' ที่ให้ผู้เล่นเผชิญกับวิกฤติน้ำมันโลกเป็นเวลา 32 สัปดาห์

ในปี 2553 นักออกแบบเกมที่ชื่อ เจน แมคกอนนิกัล เสนอในงานสัมมนา TED ว่าถ้าหากผู้คนใช้เวลาเล่นเกมหรือปฏิสัมพันธ์กันในโลกเสมือนมากขึ้นน่าจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของโลกได้ โดยแมคกอนนิกัลบอกว่าในโลกเสมือนจริงนั้นเกมเมอร์จำนวนมากร่วมมือกันเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาที่มีความท้าทายต่างๆ ถ้าหากเราเปลี่ยนพลังในการแก้ไขปัญหาตรงนี้เป็นการร่วมมือกันช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติต่างๆ ของโลกจะเป็นเรื่องดี

แต่ข้อเสนอของแมคกอนนิกัลยังต้องถูกพิจารณาในแง่ที่ว่าการแก้ปัญหาในเกมที่เป็นโลกเสมือนจำนวนมากเป็นการตอบสนองทางอารมณ์โดยความพึงพอใจเพื่อได้กำจัดตัวร้ายในเกม จนมีคนเสียดสีว่าการให้คนมาแก้ปัญหาในโลกเสมือนด้วยวิธีการแบบตั้งโต๊ะเจรจาอาจจะทำให้ผู้เล่นรู้สึกเบื่อจนหลับคาโต๊ะเอาได้ มีการล้อเลียนแนวคิดนี้โดยวิดีโอ 'The World of PeaceCraft' ในรายการของนักแสดงตลกเสียดสีชาวอังกฤษ จอห์น โอลิเวอร์ ที่นำเสนอภาพในเกม (ซึ่งไม่มีอยู่จริง) จำลองการเจรจาหารือเพื่อสันติภาพ มีการทุ่มเถียงกันอย่างจริงจังบนโต๊ะที่เต็มไปด้วยเอกสาร และมีฉากที่ตัวละครในเกมเอาหัวโขกโต๊ะเวลาผิดหวัง

เกมในฐานะสื่อสร้างความเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม บางสิ่งบางอย่างที่ดูน่าเบื่อในชีวิตจริง เช่น การตรวจเอกสารคนเข้าเมือง อาจจะถูกจับใส่ระบบออกแบบการเล่นที่ดีจนกลายเป็น 'ความท้าทาย' ทำให้ผู้เล่นบางคนสนุกไปกับเกมได้ หรือหลายเกมในยุคปัจจุบันก็พยายามสะท้อนมุมมองจากโลกที่ผู้เล่นอาจจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสจริง เช่น เกม This War of Mine ที่สะท้อนชีวิตที่โหดร้ายในช่วงสงครามโดยได้รับแรงบัลดาลใจจากเหตุการณ์ปิดล้อมเมืองซาราเยโว ช่วงปี 2535-2539

จอร์จ ไวด์แมน นักวิจารณ์เกมผู้ใช้นามแฝงในยูทูบว่า 'Super Bunnyhop' กล่าวถึงเกมนี้ไว้ในหัวข้อวิดีโอที่ชื่อ 'Anti-War War Games' หรือ 'เกมสงครามที่มีลักษณะต่อต้านสงคราม' ว่าเกมในลักษณะเดียวกับ This War of Mine และ Papers, Please เป็นเกมที่พยายามใช้ระบบการเล่นเพื่อเป็น 'สื่อ' ในการทำให้คนเข้าใจเรื่องโศกนาฏกรรมและพยายามทำให้ผู้เล่นเกิดความรู้สึกตามไปด้วย ทั้งความกังวล ความผิดหวัง ความโกรธ หรือความรู้สึกผิด ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ผู้เล่นเข้าถึงหัวอกของผู้ที่อยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับที่เกมจำลองมา

จากความคิดเห็นและประสบการณ์ของไวด์แมนเอง เขาบอกว่าเกมที่จำลองการรบแบบสมจริงมากอย่างซีรีส์ 'ArmA' ก็อาจจะทำให้ไวด์แมนเห็นถึงความยุ่งยากในการสงครามซึ่งไม่ได้ 'สนุก' เท่าเกมจำลองที่สมจริงน้อยกว่า อีกทั้งยังทำให้ไวด์แมนเห็นการลดทอนความเป็นมนุษย์ในสงคราม

นอกจากนี้ยังมีเกมที่พยายามสะท้อนเรื่องความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติและชนชั้นอย่างเกม 'Unrest' ที่นำผู้นำทีมสร้างเป็นชาวอินเดียและมีฉากในเกมเป็นประเทศอินเดียยุคเก่า Unrest เป็นเกมแนวแสดงบทบาท (Role-Playing Game) ที่ให้ผู้เล่นสวมบทเป็นตัวละครหลายตัวที่มีสถานภาพทางสังคมและตกอยู่ในสถานการณ์ต่างกัน เช่น หญิงสาวชาวนาผู้มีความรู้แต่กำลังจะถูกจับคลุมถุงชน หรือนักการทูตเผ่านากที่ต้องดำเนินภารกิจสร้างความเชื่อใจท่ามกลางการเหยียดเผ่าพันธุ์ เป็นต้น โดยตัวเกมเน้นให้ผู้เล่นเลือกบทสนทนาหรือเลือกแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ มีการต่อสู้ใช้กำลังน้อยมากและสามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งการกระทำของตัวละครจะส่งผลต่อเนื้อเรื่องและตัวละครอื่นๆ
 

Crowdsource กับความร่วมมือของเกมเมอร์เพื่อช่วยโลก?
อย่างไรก็ตาม วิดีโอเกมก็ยังคงจัดว่าเป็นความบันเทิงชนิดหนึ่งที่ผู้เล่นต้องการความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่สิ่งที่น่าจะนำไปต่อยอดได้คือรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ทั้งกับระหว่างตัวผู้เล่นและระบบ รวมถึงระหว่างตัวผู้เล่นด้วยกันเองโดยเฉพาะในยุคสมัยที่มีการรวบรวมการสร้างสรรค์จากฝูงชนหรือที่เรียกว่า 'crowdsource' ตัวอย่างเช่นโครงการให้คนทั่วไปร่วมสำรวจค้นหาสุสานของเจงกิสข่าน หรือการช่วยเหลือองค์กรเซติค้นหามนุษย์ต่างดาว ซึ่งเฟฟเฟอร์ระบุว่าระบบแบบนี้อาจจะนำมาใช้กับการช่วยแก้ไขปัญหาของโลกได้

เฟฟเฟอร์ระบุในบทความว่าหลังจากที่เขาได้เล่น Papers, Please เขามีแรงบันดาลใจเสนอไอเดียเกี่ยวกับการสร้างเกมเพื่อให้คนเล็งเห็นและช่วยกันแก้ปัญหาของโลก โดยมีวิธีดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ขั้นแรกคือการสร้างความรู้สึกตื่นตัว เช่นถ้าต้องการทำให้คนตื่นตัวในเรื่องปรากฏการณ์โลกร้อน ก็ลองทำเกมจำลองเมืองของผู้เล่นเองที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนภายในอีก 50 ปีข้างหน้า ทำให้ผู้คนตื่นตะลึงที่ได้เห็นภาพแผนที่สมจริงคล้ายกูเกิลแมปแต่เป็นภาพของโลกที่จมอยู่ใต้บาดาลหรือเต็มไปด้วยทะเลทราย นอกจากนี้ยังน่าจะปรับใช้กับเรื่องผลกระทบจากความไม่เท่าเทียม แนวคิดสุดโต่งทางศาสนา และการใช้เครื่องบินโดรน

เฟฟเฟอร์เสนออีกว่าในขั้นตอนต่อไปคือการให้ผู้เล่นร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในแบบ crowdsource โดยเน้นเรื่องการโต้ตอบกับปัญหาด้วยวิธีการของภาคพลเมืองและอาศัยข้อมูลจากข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญแทนการใช้หน่วยพิเศษของกองทัพในการจัดการปัญหาต่างๆ เช่นปัญหาการแพร่ระบาดของโรค ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาพืชผลทางการเกษตร และวิกฤติการเงินโลก

ในขั้นตอนที่สาม เฟฟเฟอร์เสนอถึงเรื่องเชิงปฏิบัติการช่วยกันจินตนาการถึงโลกที่ทุกคนอยากจะให้เป็นและแสดงให้เห็นผลที่จะเกิดตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่นการตัดงบประมาณกองทัพร้อยละ 20 อาจจะทำให้เกิดการจ้างงานลดลง การปิดฐานทัพ กลุ่มนักล็อบบี้พยายามดิ้นรน หรือการจำลองอื่นๆ ที่ให้ประชาชนร่วมหารือกันโดยมีเป้าหมายบางอย่างร่วมกันอย่างอัตราการกำจัดของเสียภายในเมืองหรือการลดความเข้มข้นของระบอบอำมาตยาธิปไตย เป็นต้น อีกทั้งยังมีการหารือร่วมกันว่าจะดำเนินการหรือปฏิบัติการอย่างไร


หน้าตาของเกม Democracy 3 ที่แสดงระดับความพึงพอใจจากประชากรภาคส่วนต่างๆ
ท่ามกลางประเด็นที่รายล้อมเป็นรูปสัญลักษณ์ในวงกลม


'เกมแบบจริงจัง'
สิ่งที่เฟฟเฟอร์เสนอมาโดยเฉพาะในขั้นตอนที่สามเหมือนจะมีอยู่ในเกมแนวจำลองรูปแบบ (Simulation) บางเกม โดยเฉพาะเกมซีรีส์ 'Democracy' ซึ่งถูกใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ในเกมนี้ผู้เล่นจะได้เป็นผู้นำรัฐบาลในประเทศประชาธิปไตยที่มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้นำอยู่ ผู้เล่นจะต้องจัดการด้านงบประมาณและนโยบายต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีกลุ่มประชากรหลากหลาย เช่นกลุ่มประชากรที่มีแนวคิดชาตินิยม กลุ่มประชากรที่มีแนวคิดเสรีนิยม กลุ่มสหภาพแรงงาน กลุ่มเยาวชน กลุ่มประชากรที่เป็นผู้ฝักใฝ่ศาสนา เป็นต้น

เกมอย่าง 'Democracy' ถูกจัดให้เป็นเกมแนวที่เรียกว่า 'เกมแบบจริงจัง' หรือ 'ซีเรียสเกม' ซึ่งผู้เขียนบทความในนิตยสารคอมพิวเตอร์ชื่อไมค์ ซีดา เคยให้ความหมายของเกมแบบจริงจังไว้ว่าเป็น "การแข่งขันทางสติปัญญาที่มีการเล่นในคอมพิวเตอร์โดยมีกฎเกณฑ์วางเอาไว้ ถือเป็นการใช้ความบันเทิงในหน่วยงานรัฐหรือบรรษัทเพื่อฝึกอบรม เพื่อการศึกษา สุขภาวะ นโยบายสาธารณะ และการสื่อสารเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์"

เกมแบบจริงจังยังถูกแบ่งออกเป็นหลายจำพวกตามแต่วัตถุประสงค์ของแต่ละเกม เช่น เพื่อการศึกษา เพื่อการออกกำลังกาย เพื่อการโน้มน้าวใจ เป็นต้น องค์กรกองทัพของบางประเทศมีการใช้เกมจำลองทางการทหารเพื่อช่วยฝึกสอน ในขณะเดียวกันหน่วยงานสิทธิมนุษยชนอย่างองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ก็เคยนำเสนอเกมที่ให้ผู้เล่นเป็นผู้ช่วยโน้มน้าวให้ทั้งรัฐบาลและประชาชนทั่วไปให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในเกมชื่อ 'Amnesty - the game'

นอกจากนี้เกมเมอร์บางคนอาจจะได้ช่วยเหลือโลกไปแล้วโดยไม่รู้ตัว จากเกมที่ชื่อ 'Phylo' สร้างโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เล่นช่วยถอดรหัสยีนที่ทำให้เกิดโรคผ่านระบบการเล่นที่เหมือนเกมไขปริศนา (Puzzle) ซึ่ง เจอโรม วัลดิสปูห์ล ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวสารสนเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมคกิลกล่าวว่ามีหน้าที่บางอย่างที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าคอมพิวเตอร์นั่นคือการไขปริศนา เกมดังกล่าวให้ผู้เล่นเลื่อนเรียงแถบสีซึ่งเป็นตีวแทนนิวคลีโอไทด์ (หน่วยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ) ของสัตว์ 2 ชนิด การจัดเรียงนี้จะช่วยให้นักชีววิทยาสามารถค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมได้ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากระบบ crowdsource ผ่านเกมอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมว่าวิดีโอเกมเป็นหนึ่งในความบันเทิงที่ทำให้คนใช้พักผ่อนหย่อนใจจากการเรียนหรือการทำงาน คงไม่มีใครอยากพยายามแก้ปัญหาซับซ้อนเกินความสามารถหรือทำในสิ่งที่รู้สึกว่า 'เป็นงาน' ถ้าหากว่าพวกเขาไม่ได้รับค่าจ้างให้ทำ ในเรื่องนี้เฟฟเฟอร์ก็ตั้งคำถามกับตัวเองผ่านบทความเช่นกัน

กระนั้น เฟฟเฟอร์ก็เชื่อว่าการใช้เกมจะสามารถดึงดูดบุคคลที่เป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญและมือสมัครเล่นจากทั่วโลกมาหารือร่วมกันได้ และในแง่ของการเมืองแล้ว เฟฟเฟอร์คิดว่าพวกเราคงดูถูกสติปัญญาของฝูงชนไม่ได้ บางคนอาจจะมีข้อเสนอทางออกที่ดีกว่าคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเสียอีก

 

เรียบเรียงจาก

The Games of Our Lives, John Feffer, Foreign Policy In Focus, 17-12-2014
http://fpif.org/games-lives/

Computer Game Makes You a Genetic Scientist, Wired, 30-11-2010
http://www.wired.com/2010/11/phylo-game

Unrest preview: an unexpected game from India about India, Techniasia, 08-07-2014
https://www.techinasia.com/unrest-preview-an-unexpected-game-from-india-about-india/

Youtube : Anti-War War Games, Super Bunnyhop, 04-12-2014
https://www.youtube.com/watch?v=-228auScq1g


ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

http://en.wikipedia.org/wiki/Papers,_Please
http://en.wikipedia.org/wiki/This_War_of_Mine
http://en.wikipedia.org/wiki/Amnesty_the_game
http://en.wikipedia.org/wiki/Democracy_(video_game)
http://en.wikipedia.org/wiki/Serious_game

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดข้อสรุปนักศึกษาเวทีปฏิรูปฯ แนะจัดทำกระบวนการสรรหานักการเมืองที่ดี ชี้ไม่ควรมีวาระ ยึดทศพิธราชธรรม ฯลฯ

$
0
0

เปิดข้อเสนอนักศึกษาจากเวที ‘สานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย’ แนะควรจัดทำกระบวนการสรรหา เพื่อค้นหานักการเมืองที่ดี ชี้ไม่ควรกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนักการเมือง ใช้หลักทศพิธราชธรรม ฯลฯ เวทีเงียบเหงาไร้เงานักศึกษาที่เคลื่อนไหวทางการเมือง

ภาพบรรยากาศเวทีบางส่วน ที่มาภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา

23 ธ.ค.2557 จากที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า จัดเวทีเสวนา สานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย ที่จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 20 -22 ธ.ค. 57 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์  โดยเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา’ เผยแพร่ข้อสรุปจากเวที "สานพลังนักศึกษา เพื่อปฏิรูปประเทศไทย" ดังนี้

ประเด็นระบบการศึกษาที่ดีซึ่งแต่ละกลุ่มเสนอประเด็นสำคัญดังนี้

1. ปรับปรุงระบบคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น มีมาตรฐานการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานเพื่อให้นำมาใช้ได้ในชีวิตจริง

2. มีการสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็นมากกว่าท่องจำ รวมทั้งสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมให้กับเด็ก ทำให้นักเรียนนักศึกษาได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมครอบคลุมทั้งผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา

3. ปรับปรุงมาตรฐานโรงเรียนรัฐบาลให้เทียบเท่าเอกชน ปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานเดียวกัน

4. จัดสรรงบประมาณในส่วนการเรียนการสอนให้มากขึ้น จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนท้องถิ่นให้เข้ากับภูมิภาคนั้นๆ

5. ส่วนของการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา พัฒนาครูผู้สอนให้มีคุณภาพ ต้องมีการประเมินเพื่อปรับปรุงแก้ไข โดยเน้นการประเมินด้านจรรยาบรรณครู รวมทั้งปรับเงินเดือนครู เพื่อสร้างแรงจูงใจ

6. สถาบันการศึกษาต้องปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

7. จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา มีระบบที่ตรวจสอบมาตรฐานระบบการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

8. ควรกำหนดนโยบายการเรียนฟรีให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาทุกระดับชั้นตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา ควรทำให้เป็นนโยบายการเรียนฟรีอย่างแท้จริง

9. เพิ่มทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา ให้นำไปใช้ได้จริง

ประเด็นด้านพลเมืองที่ดีเสนอประเด็น มีปัญญาความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม โดยสร้างจิตสำนึกให้แก่ตนเอง รวมทั้งเผยแพร่คุณธรรม จริยธรรมด้วย

ประเด็นด้านการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นมีดังนี้

1. สร้างกฎหมายที่สามารถใช้ในการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นได้อย่างแท้จริง

2. ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

3. จัดตั้งองค์การนักศึกษาเพื่อต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม

4. ปรับโครงสร้างระดับภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้มแข็ง ปรับโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมและทั่วถึง

5. ทุกคนมีหน้าที่ในการตรวจสอบทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ การตรวจสอบเป็นหน้าที่ของทุกคน

ประเด็นระบบการเมืองและนักการเมืองที่ดี เสนอประเด็นดังนี้

1. ระบบการเมืองต้องปราศจากการทุจริตคอรัปชั่น

2. จัดตั้งองค์กรนักศึกษาเพื่อตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น

3. จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ร่วมกับภาคประชาชน ในการใช้งบประมาณของรัฐ

4. จัดตั้งชมรมต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นในระดับเยาวชน

5. ต้องมีภาวะความเป็นผู้นำ มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นนักการเมืองอย่างมืออาชีพ

6. นักการเมืองควรมาจากประชาชนทั่วไป

7. ควรจัดเวทีเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

8. ไม่ควรกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของนักการเมือง มีบทลงโทษนักการเมืองอย่างเป็นรูปธรรม

9. ใช้หลักทศพิธราชธรรมในการปกครองบ้านเมือง

10. จัดทำ MOU ทางสังคม กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง

11. ควรจัดทำกระบวนการสรรหา เพื่อค้นหานักการเมืองที่ดี

12. นักการเมืองต้องทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

 

 

วันเดียวกัน ทีมข่าววิทยุรัฐสภารายงานบทสัมภาษณ์ของ ประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ระหว่างร่วมเวทีเสวนาดังกล่าว โดยประสาน กล่าวว่า เวทีเสวนาในครั้งนี้ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพราะได้รับการตอบรับจากนักศึกษาเป็นอย่างดี และได้รับข้อมูลโดยตรงจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นประโยชน์ในการปฏิรูปประเทศ และประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ และนอกจาก สปช. จะเปิดเวทีรักฟังความเห็นจากนิสิตนักศึกษาแล้ว ก็จะมีการเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากประชาชนควบคู่ไปด้วย ต่อเนื่องตลอดปี ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติคาดหวังว่า นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้จะนำความรู้ที่ได้ไปขยายผล ร่วมกันเดินหน้าปฏิรูปประเทศ อย่างไรก็ตาม สปช. ได้ส่งหนังสือเชิญไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเชิญผู้นำนักศึกษาเข้าร่วมแสดงความเห็น ส่วนนักศึกษาที่มีความเห็นต่างจะเข้าร่วมหรือไม่ อยู่ที่ความสมัครใจ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถส่งความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศมายัง สปช.ได้ จนถึง ก. ย. 58 ส่วนความเห็นยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่งความเห็นมาที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ถึงก่อน 18 เม. ย. 58

ขณะที่ มติชนออนไลน์รายงานถึงเวทีดังกล่าวด้วยว่า จากการตรวจสอบพบว่าไม่มีรายชื่อของนักศึกษาที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองเข้าร่วม โดยทางคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นยินดีรับฟังทุกความคิดเห็น แต่ถ้าหากนักศึกษาที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วม ก็สามารถส่งความเห็นมายังคณะอนุกรรมาธิการฯได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไลน์ยัน ไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ ชี้มี กม.สากลคุ้มครอง-ต้องมีหมายศาล

$
0
0

23 ธ.ค. 2557เว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า น.ส.วารดี วสวานนท์ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ไลน์ ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กรณีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อ้างว่าสามารถตรวจสอบข้อความของผู้ใช้ไลน์ในไทย ประเภทหมิ่นสถาบันและกระทบต่อความมั่นคง และจะดำเนินการเอาผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ว่า ไม่ทราบว่าไอซีทีตรวจสอบด้วยวิธีอย่างไร แต่ไลน์ยืนยันว่าไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล และในทางสากลก็มีกฎหมายละเมิดสิทธิของผู้ใช้ไลน์คุ้มครองอยู่ หากทางการไทยประสานมาที่ไลน์ประเทศไทย เพื่อจะขอข้อมูลผู้ใช้ไลน์ต้องมีหมายศาลและติดต่อไปที่ไลน์ ประเทศญี่ปุ่นหรือบริษัทแม่ก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทแม่ด้วยว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ได้หรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17 - 23 ธ.ค. 2557

$
0
0

พนักงานบริษัท แคนนอน ยุติการประท้วงขอเพิ่มโบนัส ขณะบริษัทฯ ไม่เอาผิดพนักงาน
 
นายสุพัฒน์ กองเงิน รักษาราชการแทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ปราจีนบุรี กล่าวถึงผลความคืบหน้ากรณีพนักงานบริษัท แคนนอนปราจีนบุรี (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสากรรม 304 อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี กว่า300 คน ปิดปากทางเข้า-ออก บริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 16-17 ธ.ค. 57 นั้น เมื่อคืนนี้ เจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ปราจีนบุรี พร้อมตัวแทนบริษัทแคนนอน ได้เจรจา และพิจารณาข้อเรียกร้องของพนักงาน คือ ให้โบนัสจำนวน 2.7 เดือน จากเดิมที่พนักงานได้ 1.5 เดือน พร้อมเงินตอบแทนพิเศษให้ คนละ 3,000 บาท ส่วนข้อเรียกร้องอื่น ๆ อาทิ ค่าอาหารค่าที่พัก ค่าเดินทาง นั้นจะพิจารณาหลังสิ้นปี 2557 แล้ว พร้อมกับทางบริษัทฯ ไม่เอาผิดในกรณีการประท้วงนี้ และให้กลับเข้าทำงานตามปกติในวันที่ 18 ธ.ค. 57 นี้
 
(ไอเอ็นเอ็น, 17-12-2557)
 
คนงานโรงงานสายไฟย่านปทุมธานี ยืนประท้วงหลังได้โบนัส 8 วัน
 
ตั้งแต่เช้าวันที่ 18 ธ.ค. 57 ที่บริเวณหน้า บริษัท สยาม แปซิฟิค อีเล็คทริค ไวร์ แอนด์ เคเบิ้ล จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 8 ม.5 ถ.ติวานนท์ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี เป็นโรงงานผลิตลวดทองแดงเคลือบน้ำยา สายเคเบิลโทรศัพท์และสายไฟ โดยได้มีกลุ่มพนักงานกว่า 200 คน มารวมตัวกันประท้วง หลังไม่พอใจที่ทางบริษัทฯ จะจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้คนละ 8 วัน และได้มีตัวแทนพนักงานกล่าวไฮปาร์คว่า ขอให้ทางบริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานคนละ 2 เดือน โดยมีตำรวจนอกเครื่องแบบจาก สภ.ปากคลองรังสิต และเจ้าหน้าที่ทหาร คอยดูแลความสงบเรียบร้อย 
 
ต่อมา นายชยลภ ใหญ่สูงเนิน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงาน ได้เดินทางมาพบกับกลุ่มของพนักงาน พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดปทุมธานี และเจ้าหน้าที่จากอำเภอเมืองปทุมธานี ได้ให้พนักงานและตัวแทนสหภาพ เข้าไปพูดคุยหาข้อยุติและข้อตกลงภายในบริษัทฯ โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปร่วมรับฟัง โดยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ 
 
ด้าน น.ส.วัฒนาวรรณ บุญคุ้ม ผจก.ฝ่ายวางแผนการผลิต กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทุกปีที่ผ่านมา พนักงานแต่ละคนจะได้รับโบนัสกันคนละ 2-3 เดือน จนกระทั่งมาปี 2556 ที่ผ่านมา ได้รับโบนัสเหลือแค่คนละ 1 เดือนเศษ เนื่องจากทางบริษัทอ้างว่า เพิ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ และอยู่ระหว่างปรับปรุงกิจการ พวกพนักงานทุกคนก็เห็นใจบริษัทฯ แต่พอมาปีนี้ ทางบริษัทฯ มาแจ้งว่ากำไรน้อย จึงขอให้โบนัสพนักงานคนละ 8 วันเท่านั้น ทำให้พนักงานไม่พอใจ เพราะทราบว่ามีกำไรนับร้อยล้านบาท จึงได้มีการเจรจา เบื้องต้นได้ขยับมาให้เป็น 21 วัน และจะขอแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด พวกตนจึงไม่ยอมและได้ประท้วงดังกล่าว ซึ่งหากการเจรจาในวันนี้ไม่เป็นผลตามที่พวกตนขอไว้ 2 เดือน ก็จะประท้วงตลอดไป และจะไปร้องที่กรมแรงงานอีกด้วย.
 
(ไทยรัฐ, 18-12-2557)
 
กมธ.ยกร่างฯ รับข้อเสนอเครือข่ายแรงงาน 7 ข้อ
 
วันที่ 19 ธ.ค. ที่รัฐสภา องค์กรเครือข่ายแรงงาน อาทิ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) นำโดยนายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท. นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สรส. พร้อมสมาชิกเครือข่าย เข้ายื่นข้อเสนอร่วมในการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในส่วนของแรงงานและการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่อนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ประธาน คสรท.แจงเหตุยื่นตรง กมธ.ยกร่างฯ
 
นายชาลี กล่าวว่า มายื่นประเด็นสิทธิ เสรีภาพของแรงงานในเรื่องเศรษฐกิจ สาธารณสุข สวัสดิการ และสวัสดิภาพของผู้ใช้แรงงาน รวมถึงการชุมนุมและการรวมตัวเป็นเครือข่าย ที่สำคัญมีประเด็นเกี่ยวกับศาลในคดีผู้ใช้แรงงานที่มีปัญหาการพิจารณาคดีล่าช้า ทำให้ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับผลกระทบ อาทิ การเลิกจ้าง เป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เสนอต่อ กมธ.ปฏิรูป แรงงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไปแล้ว แต่ในการรายงานข้อเสนอของ กมธ.ปฏิรูปแรงงานต่อที่ประชุม สปช. ไม่พบประเด็นที่ทางเครือข่ายได้เสนอ จึงต้องมายื่นอีกครั้งโดยตรงต่อ กมธ.ยกร่างฯ
 
ขณะที่นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนพร้อมรับข้อเสนอนี้ไปพิจารณา โดยข้อเสนอบางส่วนที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะพิจารณา อาทิ สิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมถึงคนต่างด้าวด้วย ส่วนการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือผู้นำทางการเมืองต้องพิจารณาในระดับที่เหมาะสม และขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีหน้าตาอย่างไร จึงขอให้เครือข่ายแรงงานร่วมติดตามและเคลื่อนไหวสนับสนุนในกรณีที่อนาคตอาจจะมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะหากมีการตัดสินใจทำประชามติ ถือว่าเครือข่ายแรงงานมีส่วนสำคัญที่จะต้องลงมติในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย เปิดข้อเสนอเครือข่ายแรงงานขอ 7 ข้อ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเสนอต่อการเขียนรัฐธรรมนูญของ สรส. ว่ามีสาระสำคัญ คือ 1.หมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย เสนอให้รัฐธรรมนูญฉบับให้คุ้มครองและมีหลักประกันด้านสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า เพศ และทุกศาสนา โดยไม่ถูกละเมิดและถูกจำกัดตามกฎหมายที่มีการรับรอง โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องใช้อำนาจที่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นบุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
 
2.หมวดความเสมอภาค เสนอให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมกับบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ ภาพทางกายหรือสุขภาพ, สถานะของบุคคล ฐานทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม ความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
 
สำหรับบุคคลที่เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐและพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม
 
3.หมวดสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ เสนอให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงานรวมถึงหลักประกันในการดำรงชีพระหว่างการทำงานเพื่อพ้นภาวะทำงานตามกฎหมายบัญญัติ
 
4.หมวดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน เสนอให้คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระในการจัดสรรคลื่นฯ โดยเป็นไปตามความสำคัญ คือ ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ การศึกษาและวัฒนธรรม การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
 
นอกจากนั้นต้องให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ เพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือครอบงำระหว่างสื่อมวลชนด้วยกัน หรือโดยบุคคลอื่น ขณะที่ผู้ดำรตำแหน่งทางการเมืองห้ามเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อฯ ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม
 
5.หมวดสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ เสนอให้รัฐจัดบริหารสาธารณสุข ความช่วยเหลือและสวัสดิการที่เข้าถึงบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ บุคคลวิกลจริต บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัยหรือไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ
 
6.หมวดเสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม เสนอให้บุคคลมีสิทธิในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ รวมถึงมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพแรงงาน สหพันธ์ สหกรณ์ โดยสิทธิดังกล่าวต้องคุ้มครองถึงข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย
 
7.หมวดแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ เสนอให้รัฐต้องจัดการออมเพื่อการดำรงชีพในยามแก่ชรากับประชาชน, ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในภาคเอกชน ลดการผูกขาด รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี โดยจัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีให้ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตนเองในพื้นที่ที่ทำงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการให้กับประชาชนในชาติ โดยการบริหารรัฐวิสาหกิจแบบรวมศูนย์ ภายในการกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐเพียงหน่วยงานเดียว และตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจไทย โดยหักเงินจากเงินนำส่งผลกำไรของการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้สามารถพัฒนารัฐวิสาหกิจทั้งหมด ทั้งประเภทที่มีกำไร และไม่แสวงหากำไร
 
(ไทยรัฐ, 19-12-2557)
 
ก.แรงงาน ถกแนวทาง จ้างคนพิการทำงานในท้องถิ่น
 
นายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุม คณะทำงานส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ให้ทำงานบริการสังคมในท้องถิ่น/ชุมชน ครั้งที่ 1/2557 ณ ห้องประชุมมิตรไมตรี 2 ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการให้ทำงานบริการสังคมในท้องถิ่น/ชุมชน ซึ่งเสนอโดยมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้คนพิการได้มีโอกาสทำงานมีรายได้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ดำรงชีพด้วยตนเองอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เน้นให้คนพิการทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ตามขอบเขตภาระงาน ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ภายใต้การดูแลและดำเนินการของ “หน่วยงาน” ด้วยการสนับสนุนการจ้างงานคนพิการจาก บริษัท/สถานประกอบการ มุ่งเน้นให้เกิดการจ้างงานคนพิการในพื้นที่ ณ ที่ตั้งของ “หน่วยงาน” นั้นๆ หรือภารกิจงานขององค์กรด้านสาธารณประโยชน์ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบในแนวทางดังกล่าว
       
ทั้งนี้ ข้อมูลจำนวนคนพิการจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2557 มีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทั้งสิ้น 1,621,549 ราย โดยเป็นเพศชาย จำนวน 878,912 ราย หรือร้อยละ 54.20 และเพศหญิง จำนวน 742,637 หรือร้อยละ 45.80 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 628,791 คน หรือร้อยละ 38.87 ภาคเหนือ จำนวน 377,537 คน หรือร้อยละ 23.29 โดยส่วนใหญ่เป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 773,509 คน หรือร้อยละ 47.70 และข้อมูลการมีงานทำของคนพิการจากการสำรวจความพิการ พ.ศ.2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าคนพิการที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงาน จำนวน 1,065,493 คน คิดเป็นร้อยละ 72.26
       
สำหรับคณะทำงานส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ให้ทำงานบริการสังคมในท้องถิ่น/ชุมชน มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจ้างงานคนพิการให้ทำงานบริการสังคมในท้องถิ่น สร้างรูปแบบการจ้างงาน รวมถึงกำกับดูแลและการติดตามประเมินผลการจ้างงานคนพิการให้ทำงานบริการสังคมในท้องถิ่น
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 19-12-2557)
 
ประมงชงรับทำจีทูจีนำเข้าแรงงาน แก้ปัญหาขาดแคลนต้นตอสหรัฐยกไทยขึ้นเทียร์ 3
 
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.สมศักดิ์ ถนอมวรสิน ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ร่วมกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย ได้ร่วมกันแถลงในประเด็น "แรงงานประมงกับ Tier 3 อย่าเหมาเข่ง" ที่สหรัฐอเมริกายกระดับประเทศไทยจาก Tier 2 Watch List เป็น Tier 3 ที่มีสถานะการค้ามนุษย์ร้ายแรง มีการหลอกลวงแรงงานต่างด้าว แรงงานผิดกฎหมาย จ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรม เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2557 และมีแนวโน้มที่จะตอบโต้ห้ามนำเข้าสินค้าไทยในการส่งเข้าสหรัฐในปีต่อไปเต็มที่ หากการดำเนินการแก้ไขปัญหาไม่มีความคืบหน้าว่า การที่สหรัฐยกระดับไทยขึ้น Tier 3 ถือว่าไม่เป็นธรรม และยังกล่าวหาว่ากุ้งไทยเป็นกุ้งทะเลที่ใช้แรงงานประมง
 
นายจ้างและผู้ประกอบการค้าด้านประมงและอาหารทะเลในไทยเกือบทั้งหมดมีการจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรม จัดสวัสดิการที่ดีต่อลูกจ้างทั้งไทยและต่างชาติ โดยได้รับค่าจ้างสวัสดิการในระดับเดียวกัน การนำนายจ้างบางรายที่มีพฤติกรรมไม่ดูแลลูกจ้าง ซึ่งเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วน้อยมากเพียง 0.0001% แล้วมากำหนดให้สถานะไทยเป็น Tier 3 เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง จึงขอให้สหรัฐให้ความเป็นธรรม กำหนดสถานภาพไทยเสียใหม่ อย่านำเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาเป็นประเด็นในการกำหนดสถานภาพแรงงานประมงไทยให้เป็น Tier 3 
 
สำหรับการดำเนินการแก้ไขปัญหาของฝ่ายไทยในเรื่องนี้ ดร.สมศักดิ์กล่าวว่ามีตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศ คสช.ฉบับที่ 67 68 69 70 เรื่องมาตรการในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าว ด้านกระทรวงแรงงานได้แก้ไขกฎกระทรวง 3 เรื่อง คือ 1.ต้องทำสัญญาจ้าง ก่อนลงเรือต้องนำลูกจ้างรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ปีละ 1 ครั้ง 2.แรงงานที่ทำงานบนเรือ ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป 3.กฎกระทรวงข้างต้น ใช้กับนายจ้างที่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป 
 
นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งระบบติดตามเรือเพื่อให้รู้ตำแหน่งพิกัดเรือ ง่ายต่อการเข้าไปตรวจสอบสภาพชีวิตแรงงานประมงบนเรือ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาแรงงานประมงด้วยการตั้งศูนย์ประสานงานประมงใน 22 จังหวัดติดชายทะเลเพื่อดูแลสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง รวมทั้งผู้แทนกระทรวงยุติธรรมได้เดินทางไปยุโรปเพื่อทำความเข้าใจและแจ้งต่อสหภาพยุโรป (อียู) ว่าไทยอยู่ระหว่างการจัดระเบียบแรงงานเพื่อเข้าสู่ระบบให้แล้วเสร็จภายใน 31 มี.ค. 2558 ซึ่งผู้แทน อียูพอใจ แต่ภาคทัณฑ์ให้ไทยต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเป็นระบบตรวจสอบได้
 
(ประชาชาติธุรกิจ, 19-12-2557)
 
เผยแรงงานไทยกว่า 100 ถูกหลอกทำงานประมงตกค้างอินโดนีเซีย
 
วันที่ 20 ธันวาคม นายสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) กล่าวถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกไปทำงานบนเรือประมงไทยในน่านน้ำอินโดนีเซีย ว่า ขณะนี้มูลนิธิได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐช่วยเหลือคนไทยจากเกาะอัมบนและเกาะตวนมาได้แล้ว 28 คน แต่คาดว่ายังมีคนไทยอีกกว่า 100 คน ชาวเมียนมาร์ 200-300 คน และชาวกัมพูชา 100 คน ที่ตกเรืออยู่ตามเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซีย   
 
“ปัญหาคนไทยและแรงงานข้ามชาติถูกหลอกไปทำงานบนเรือประมงไทยในน่านน้ำอินโดนีเซียและตกเรือเป็นปัญหาสะสมมานานกว่า 10 ปี แต่ที่ผ่านมา การทำงานของหน่วยงานรัฐยังเป็นไปในลักษณะของการตั้งรับเป็นหลัก จึงควรปรับรูปแบบมาทำงานเชิงรุกและประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างจริงจัง”
 
นายสมพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยควรเจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซีย เมียนมาร์ และกัมพูชา เพื่อทำข้อตกลงความร่วมมือในการเร่งให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ตกค้างอยู่ รวมทั้งตั้งทีมเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อลงพื้นที่ไปสำรวจและให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งเพิ่มโทษทั้งทางแพ่งและอาญาแก่นายจ้างและผู้เกี่ยวข้องที่ทำผิดด้วย
 
นอกจากนี้ จะต้องปรับระบบการคุ้มครองแรงงานในภาคประมงโดยมีการตรวจสอบสัญญาจ้าง และให้ทำสัญญาจ้างที่เป็นธรรมและเป็นไปตามความสมัครใจทำงาน ไม่ใช่การถูกข่มขู่ บังคับ และแก้ปัญหาเรื่องการสวมสิทธิและหนังสือคนประจำเรือ (ซีแมน-บุ๊ค) ปลอมด้วย  จะช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์ในภาคประมง ทำให้ไทยมีโอกาสหลุดจากประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้ามนุษย์ได้เร็วขึ้น
 
(มติชน, 20-12-2557)
 
สนช.พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม เพิ่มสิทธิประโยชน์เพียบ เทียบเท่าบัตรทอง ส่วนผู้พิการเฮ! ได้เงินทดแทนตลอดชีวิต
 
คณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือ กมธ. พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเพิ่มประโยชน์ให้ผู้ประกันตน และผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ประกันตนทั่วประเทศ
 
โดยเพิ่มการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค ซึ่งจะครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพก่อนที่ผู้ประกันตนจะเจ็บป่วย การยื่นขอรับผลประโยชน์ทดแทน 7 ประการ
 
จากเดิมให้ผู้ประกันตนขอยื่นรับผลประโยชน์ภายใน 1 ปี แต่ได้มีการขยายเป็น 2 ปี การคำนวณค่าจ้างรายวันเมื่อผู้ประกันตนขาดรายได้ โดยยึดอัตราค่าจ้างที่สูงสุดมาคำนวณ
 
และเพิ่มสิทธิประโยชน์ไม่จำกัดครั้งในการคลอดบุตร และขยายเงินทดแทนสงเคราะห์บุตรจากเดิม 2 คนเป็น 3 คน และเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้ผู้ประกันตน
 
กรณีได้รับความเสียหายในการรับบริการทางการแพทย์ ตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ กรรมาธิการฯได้พิจารณาเพื่อให้ทัดเทียมกับบัตรทอง
 
ขณะเดียวกันได้แก้ไขกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นบุคคลที่สูญเสียความสามารถในการทำงานเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ถึงจะได้รับเงินชดเชย โดยได้มีการขยายให้ครอบคลุมการสูญเสียแม้เพียงเล็กก็จะได้รับเงินชดเชย
 
รวมถึงกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม ที่ครอบคลุมระยะเวลาเพียง 15 ปี แก้ไขให้ได้รับผลประโยชน์ทดแทนตลอดชีวิต
 
โดยให้ย้อนหลังกับผู้ประกันที่ทุพพลภาพจะได้รับสิทธิ์ทั้งหมด ส่วนการจ้างเหมาบริการ สัญญาปีต่อปี กรรมาธิการฯจะพิจารณาว่าถ้าเป็นการทำงานตอบแทนเป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันจริง จะถือว่าครอบคลุมด้วย
 
(MThai News, 22-12-2557)
 
องค์การลูกจ้างยื่น 6 ข้อปฏิรูปด้านแรงงาน
 
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือต่อนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอการปฎิรูปด้านแรงงานเพื่อบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ประกอบด้วย การนิยามคำว่า แรงงาน หมายถึง คนทำงานที่มีรายได้ทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกวัย ที่อยู่ในโรงงานสถานประกอบการ หรือประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่น ชุมนุม และในครัวเรือน องค์ประกอบของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทำงาน ความเท่าเทียมเสมอภาค ไม่เลือกปฎิบัติต่อแรงงานทั้งในและนอกระบบ และมีสิทธิในการเลือกหรือตัดสินใจในการทำงานอย่างอิสระ
 
การส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการเข้าถึงบริการ การได้รับข้อมูลข่าวสาร การส่วนเสริมและพัฒนาศักยภาพในระดับบุคคล และ การสร้างความเป็นธรรมทั้งในด้านกระบวนการยุติธรรมแรงงาน การบังคับใช้นโยบาย และการออก พ.ร.บ.ต่างๆ ไม่ให้กระทบต่อการลิดรอนสิทธิด้านแรงงาน และการเข้าถึงบริการและเงินทุน
 
(โลกวันนี้, 22-12-2557)
 
เอ็นจีโอหวั่น สป.ดูแลต่างด้าวแทนกรมจัดหางาน ยิ่งเปิดช่องกอบโกย
 
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับภารกิจของกรมการจัดหางาน (กกจ.) ในปีหน้า รมว.แรงงาน มีนโยบายเน้นการส่งเสริมให้คนไทยมีงานทำ เนื่องจากมีแรงงานไทยว่างงานกว่า 3 แสนคน ยังไม่รวมบัณทิตจบใหม่ปีละ 1.5 แสนคน นอกจากนี้ ยังมีแรงงานนอกระบบอีกกว่า 26 ล้านคนได้มีงานทำทั้งในไทยและต่างประเทศจึงต้องกระจายภารกิจการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวโดยมอบอำนาจให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน และสำนักงานแรงงานจังหวัดเข้ามาช่วยดูแลเพื่อลดภาระงานของกรมการจัดหางาน ซึ่งตนเป็นประธานคณะทำงานฯ ทำการศึกษาในเรื่องนี้ก็จะเร่งศึกษา ว่า กกจ. ควรมอบอำนาจการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานในเรื่องใดบ้างจึงจะเหมาะสมและจะเสนอต่อ รมว.แรงงาน ต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวอยู่ในระบบเกือบ 3 ล้านคน
       
ด้านนายอดิศร เกิดมงคล เครือข่ายผู้ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า หากมีการดำเนินการตามนโยบายข้างต้นจริงอาจจะแก้ปัญหาได้เพียงระยะสั้น และมีทั้งข้อดีข้อเสีย โดยข้อดี จะทำให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวมีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น เพราะสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานมีการทำงานที่ใกล้ชิดกับรัฐมนตรีมากกว่า กกจ. และการประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านทำได้รวดเร็วกว่าส่วนข้อเสียจะมีปัญหาในระดับปฏิบัติเพราะเจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวและต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต้องรื้อกันใหญ่เพราะกฎหมายให้อำนาจอธิบดี กกจ. ดูแล รวมทั้งต้องโอนภารกิจการดูแลบริษัทจัดหางานที่นำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในไทยให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานดูแลด้วย และจะวางระบบอย่างไรไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานต่างด้าวเกิดขึ้นอีก ที่สำคัญ ในอนาคตหากรัฐมนตรีมาจากการนักการเมืองและทำงานใกล้ชิดกับสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน อาจจะเกิดปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานต่างด้าวขึ้นหรือไม่
        
“หากจะโอนภารกิจการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานดูแลแทน พล.อ.สุรศักดิ์ คงต้องทำการบ้านชุดใหญ่ทั้งในเรื่องของบุคลากรระดับปฏิบัติ การแก้ไขกฎหมาย การถ่ายโอนภารกิจและอำนาจต้องศึกษาอย่างละเอียดและรอบคอบให้มากที่สุด ไม่ใช่ศึกษาแค่เวลาสั้นๆ แล้วดำเนินการ และควรเปิดเวทีให้ภาคเอกชนที่ทำงานด้านแรงงานต่างด้าวมาร่วมด้วย เพื่อช่วยกันคิดหาทางอุดช่องโหว่ทั้งในแง่กฎหมายและการปฏิบัติไม่ให้รัฐมนตรีที่มาจากฝ่ายการเมืองและข้าราชการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานต่างด้าวขึ้นซ้ำรอยเดิม” นายอดิศร กล่าว
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-12-2557)
 
ครม.ไฟเขียวลดค่าธรรมธรรมเนียม ตรวจลงตรา 3 สัญชาติ
 
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ เห็นชอบปรับอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมาร์ ลาว และ กัมพูชา ซึ่งเข้ามาทำงานในไทย ตามประกาศของ คสช.ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
 
โดยจะลดค่าธรรรมเนียมสำหรับดำเนินการขออนุญาตทำงานต่อในประเทศไทย เป็น 500 บาทต่อราย จากเดิมร่างกระทรวงกำหนดไว้ 2,000 บาทต่อราย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุม และดูแลแรงงานต่างด้าวได้ง่ายขึ้น และ เป็นไปตามมาตรการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวของ คสช. 
 
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอ โดยมีสาระสำคัญเพื่อกำหนดให้มีการจดทะเบียนรับรองว่าที่ดินเพื่อสาธารณูปโภค หรือ ที่ดินส่วนกลางของหมู่บ้านสรรจัด ที่นำมาจัดสรรเป็นสวนสาธารณะ หรือ สวนหย่อมของหมู่บ้าน ต้องนำมาใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวม ห้ามโอน หรือ ขายโดยเด็ดขาด ขณะเดียวกันยังป้องกันการสมาชิกหมู่บ้าน หลีกเลี่ยงการชำระค่าส่วนกลางเพื่อดูแลรักษาที่ดินดังกล่าวด้วย 
 
(ครอบครัวข่าว, 23-12-2557)
 
ก.แรงงาน โต้ แรงงานไทยในอิสราเอลติดยาหนักกว่า 1.5 หมื่นคน เผยบันทึกล่าสุดพบแค่ 63 คน รับโทษตามกฎหมายแล้ว
 
(23 ธ.ค.) นายนพดล กรรณิกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลที่ว่าแรงงานไทยในอิสราเอลกว่า 15,000 คน ติดยาเสพติดซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของคนไทยที่ทำงานในอิสราเอลทั้งหมดประมาณ 26,500 คน ได้สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ประเทศไทยและกระทรวงแรงงาน แต่อีกด้านหนึ่งพบว่า ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานไทยในอิสราเอลมีน้อยมากและส่วนใหญ่ส่งเงินกลับบ้านทุกเดือนโดยบันทึกอย่างเป็นทางการที่มีการทำขึ้นเกี่ยวกับแรงงานไทยในอิสราเอลระบุว่า คนไทยที่ถูกจับกุม แยกเป็นกรณียาเสพติด ระหว่างปี 54 ถึง ล่าสุด 10 พ.ย. 57 มี 63 คน ปัจจุบันรับโทษ 10 คน ในจำนวนนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคดี 7 คน ใน 10 คนนี้ มีโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี 8 เดือน และพ้นโทษถูกเนรเทศไปแล้ว 46 คน
       
ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังปี พ.ศ. 2552 ที่เคยจับกุมยาเสพติดได้ 63,000 เม็ด และมีการเรียกค่าหัวคิวไปทำงานจำนวน 3 - 4 แสนบาท แต่ตอนนี้การจัดแรงงานไทยไปอิสราเอลมีการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration, IOM) เป็นโครงการที่สหประชาชาติสนับสนุน องค์กรนี้ทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลครอบคลุมกว่า 150 ประเทศ มีหน้าที่คัดกรองแรงงานไทยไปอิสราเอล ขจัดค่าหัวคิวในกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่แรงงานไทยปัจจุบันจ่ายไม่เกิน 7 หมื่นบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กระทรวงแรงงานกำลังทำงานกันอย่างใกล้ชิดกับสำนักงาน ป.ป.ส. มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในทางลึก แก้ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานไทยให้หมดไป
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-12-2557)
 
รมว.แรงงาน แจง ปรับค่าจ้างรัฐวิสาหกิจอยู่ระหว่างหารือหน่วยงานเกี่ยวข้อง ก่อนเสนอเข้า ครม. 
 
(23 ธ.ค.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.แรงงาน) กล่าวหลังเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้ยังไม่มีการเสนอโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ (บัญชี 58 ขั้น) ซึ่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากจะต้องเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา เช่น กระทรวงการคลังพิจารณา จึงจะนำเข้าสู่ ครม. ต่อไป
        
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 จำนวน 65 แห่ง โดยมีรัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ (บัญชี 58 ขั้น) จำนวน 35 แห่ง ซึ่งมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้ให้มีการปรับโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ (บัญชี 58 ขั้น) เป็นขั้นที่ 1 เริ่มที่อัตรา 9,040 บาท หรือคือขั้นที่ 12 ของโครงสร้างเดิม และให้ตัดขั้นเริ่มต้น 1 - 11.5 ขั้นออก ส่วนขั้นที่ที่ 40.5 และขั้นที่ 41 ซึ่งซ้ำกันและรับเงินในอัตรา 50,000 บาทนั้น ที่ประชุมให้ตัดขั้นที่ 41 ออก พร้อมกับให้มีการเพิ่มขั้นที่ 47 ไปจนถึง 53 ซึ่งเป็นขั้นเงินเดือนสูงสุดรับค่าจ้างในอัตรา 142,830 บาท โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 ก.ย. 2557
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-12-2557)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.ประยุทธ์ไปเมืองจีน-ทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูง 300 กม. ต่อชั่วโมง

$
0
0

นายกรัฐมนตรีเยี่ยมศูนย์ควบคุมรถไฟของจีน โดยศึกษาการบริหารรถไฟ และสอบถามว่าถ้าทำให้รถไฟไทยมีความเร็ว 160 กม./ชม. จะทำได้หรือไม่ โดย พล.อ.ประยุทธ์ หวังว่าการเชื่อมโยงคมนาคม จะช่วยให้ประเทศพัฒนาและช่วยขับเคลื่อนอาเซียน พร้อมกันนี้ได้ทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงเส้นทางปักกิ่ง-เทียนจินด้วย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภริยา ทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เทียนจิน ระยะทาง 120 กม. โดยรถไฟทำความเร็ว 300 กม./ชม. (ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย)

23 ธ.ค. 2557 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า ในระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการสาธารณรัฐประชาชนจีนของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในวันนี้ได้มีโอกาสเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมรถไฟแห่งประเทศจีน ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมรถไฟทั่วประเทศ

โดยนายกรัฐมนตรีให้ความสนใจและสอบถามถึงการบริหารจัดการ การควบคุมรถ เช่น การให้บริการประชาชนกับภาคการขนส่งที่แยกออกจากกัน รวมถึงหากไทยจะพัฒนารถไฟปัจจุบันให้เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะกระทบกับการเดินรถหรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมรถไฟแห่งประเทศไทย-จีน ยืนยันสามารถดำเนินการได้

จากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะได้ทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงจากรถไฟทางใต้แห่งกรุงปักกิ่งไปยังนครเทียนจิน ซึ่งถือเป็นรถไฟความเร็วสูงของจีนซึ่งจากการทดลองนั่งครั้งนี้ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาทีระยะทาง 120 กิโลเมตร ความเร็วกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมในภูมิภาคที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ เชื่อมั่นว่าบนพื้นฐานการพัฒนานี้จะส่งเสริมให้ประเทศพัฒนาแล้วยังเป็นโอกาสเพิ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจไทย-จีน และยังเป็นการขับเคลื่อนการรวมตัวเศรษฐกิจอาเซียนด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพแรงงาน-บ.จอร์จี้ ไกล่เกลี่ยพิพาทแรงงานได้ข้อตกลงแล้ว

$
0
0

23 ธ.ค. 2557 สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานของบริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด เปิดเผยว่าจากที่สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557 และได้มีการเจรจาครั้งแรกในวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ครั้งที่สองในวันที่ 9 ธันวาคม 2557 และครั้งที่สามในวันที่ 16 ธันวาคม 2557ตั้งแต่เวลา 15.00 - 15.30 น. และบริษัทฯ ยืนยันที่จะไม่มีการเจรจาครั้งต่อไป สหภาพแรงงานฯ จึงได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2557 นั้น
 
ต่อมาในการเจาราไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งสุดท้าย (ครั้งที่ 3) เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมานั้นทั้งสองฝ่ายได้ข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด กับสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ 
 
โดยรายละเอียดข้อตกลงสภาพการฉบับใหม่ก็มีอาทิเช่น นายจ้างตกลงที่จะจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานรายเดือน โดยจะคำนวณจากค่าจ้างรายวันขณะนั้นคุณด้วย 30 วัน ส่วนพนักงานรายวันจะได้รับไม่น้อยกว่าวันละ 320 บาท และพนักงานรายชิ้นมีอัตราเท่ากับพนักงานรายวัน ทั้งนี้ตัวแทนสหภาพแรงงานฯ ตกลงที่จะให้บริษัทฯ ยกเลิกการปรับพนักงานรายชิ้นให้เป็นพนักงานรายวัน
 
บริษัทฯ จะพิจารณาโบนัสประจำปี 2557 เริ่มจาก 0-3 เท่าของรายได้ ส่วนโบนัสประจำปี 2558 จะเริ่มจาก 1-3 เท่าของรายได้ ในด้านวันลาหยุดนั้นทั้งสองฝ่ายตกลงกันที่ พนักงานที่ทำงานติดต่อครบ 1-3 ปี มีสิทธิลาหยุดได้ 6 วัน พนักงานที่ทำงานติดต่อครบ 3-6 ปี มีสิทธิลาหยุดได้ 10 วัน และพนักงานที่ทำงานติดต่อครบ 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิลาหยุดได้ 12 วัน นอกจากนี้พนักงานที่เข้าทำงานก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2555 มีสิทธิลากิจโดยได้รับเงินค่าจ้างได้ 4 วัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50860 articles
Browse latest View live




Latest Images