Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

ศาลทหารสั่งพิจารณาลับ ! คดี 112

$
0
0

 

21 ต.ค.2557  ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามคดีเกี่ยวกับเสรีภาพ เปิดเผยว่า วันนี้ที่ศาลทหาร กรุงเทพฯ มีนัดสอบคำให้การผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 จำนวน 2 ราย รายแรกเป็นชายไม่เปิดเผยชื่อ อีกรายคือ นายคฑาวุธ (สงวนนามสกุล) ดีเจรายการวิทยุทางอินเทอร์เน็ต โดยศาลมีคำสั่งพิจารณาคดีเป็นการลับ และนัดสอบคำให้การนายคฑาวุธในวันที่ 18 พ.ย. สอบคำให้การชายไม่เปิดเผยชื่อในวันที่ 24 พ.ย.

ทั้งนี้ ในวันนี้มีผู้สังเกตการณ์คดีทั้งจากองค์กรข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(OHCHR) เจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรป (อียู) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส) และไอลอว์

ยิ่งชีพกล่าวว่า ระหว่างรอฟังการพิจารณาคดีในช่วงสายวันนี้ เจ้าหน้าที่ของศาลทหารได้เข้ามาแจ้งกับผู้สังเกตการณ์คดีว่าศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ โดยเป็นอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อมีการสอบถามถึงเหตุผลเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตอบคำถามได้จึงได้เชิญเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่มาชี้แจง จากนั้นมีการอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์ทั้งหมดเข้าห้องพิจารณาคดีได้เพื่อฟังคำสั่งศาล ในห้องพิจารณา อัยการทหารได้แถลงว่า เนื่องจากคดีนี้เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หากข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นที่ล่วงรู้ไปภายนอกจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หลังสิ้นสุดการแถลงของอัยการ ศาลได้มีคำสั่งให้การพิจารณาคดีของทั้ง 2 คดีนี้เป็นไปโดยปิดลับ ญาติผู้ต้องหาและผู้สังเกตการณ์ทั้งหมดจึงต้องออกจากห้องพิจารณาคดี

เจ้าหน้าที่จากไอลอว์ระบุด้วยว่า คำสั่งพิจารณาคดีลับนี้ได้รับการบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาคดีด้วย แต่เมื่อทนายจำเลยขอคัดสำเนารายงานดังกล่าว ศาลกลับไม่อนุญาตโดยให้เหตุผลว่าได้อ่านคำสั่งให้ฟังแล้ว

สำหรับคดีของชายผู้ไม่เปิดเผยชื่อ ทนายจำเลยได้ร้องขอต่อศาลให้เลื่อนสอบคำให้การ และศาลนัดใหม่เป็นวันที่ 24 พ.ย. ขณะที่คดีของคฑาวุธ ทนายได้ขอเลื่อนสอบคำให้การเช่นกันและศาลให้เลื่อนเป็นวันที่ 18 พ.ย.

ยิ่งชีพกล่าวอีกว่า วันเดียวกัน ทนายความของนายคฑาวุธได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเป็นครั้งที่ 6 โดยใช้เงินสด 800,000 บาท พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกพนักงานสอบสวนมาไต่สวนเกี่ยวกับพฤติการณ์จำเลยด้วย แต่ศาลสั่งยกคำร้อง ไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยระบุเหตุผลว่า

“คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลต้องถามโจทก์ก่อนว่าจะคัดค้านหรือไม่

โจทก์คัดค้านเนื่องจากเป็นความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และความมั่นคงของประเทศ เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี

พิเคราะห์แล้ว คดีมีอัตราโทษสูง จำเลยอาจหลบหนี ประกอบกับโจทก์คัดค้านจึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว”

ทั้งนี้ ชายไม่เปิดเผยชื่อ ถูกทหารบุกจับกุมที่บ้านพักตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.2557 และถูกคุมขังในเรือนจำมาจนปัจจุบัน ส่วนคฑาวุธเป็นนักจัดรายการวิทยุ ใช้ชื่อว่า "คฑาวุธ นายแน่มาก" เป็นรายการวิเคราะห์การเมืองเผยแพร่ทางเว็บไซต์ เขาถูกเรียกเข้ารางานตัวตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 44/2557 หลังคุมตัวครบ 7 วัน เขาถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 112 โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าคลิปเสียงรายการตอนหนึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดดังกล่าว จึงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนปัจจุบันเช่นเดียวกัน

ผู้สื่อข่ายรายงานเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาคดี 112 ส่วนใหญ่มีการพิจารณาโดยเปิดเผย แต่เบื้องต้นมีอยู่ 2 คดีที่ผู้พิพากษาสั่งพิจารณาคดีลับ คดีแรกคือ คดีของนายบัณฑิต อานียา นักเขียนสูงวัย มีการพิจารณาในศาลชั้นต้นเมื่อปี 2548 อีกคดีหนึ่งคือ คดีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือดา ตอร์ปิโดซึ่งกรณีนี้จำเลยได้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่าคำสั่งพิจารณาคดีลับขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองคดีพิจารณาในศาลยุติธรรมปกติ ไม่ใช่ศาลทหาร

 

อ่านรายละเอียดคดีคฑาวุธ
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชมภาพ ปากมูนเงียบเหงาหลังปิดประตูเขื่อน

$
0
0

21 ต.ค.2557 ปากมูน เงียบเหงาหลังเขื่อนปากมูลปิดประตูระบายน้ำ คนหาปลาเริ่มละทิ้งลำน้ำ เรือหาปลาถูกเก็บขึ้นฝั่ง ต่อจากนี้ไปงานใหม่คือ การไปรับจ้างต่างถิ่น รอปีหน้าเขื่อนปากมูลเปิดประตูระบายน้ำอีกครั้ง ค่อยกลับมาหาปลาใหม่






 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15 - 21 ตุลาคม 2557

$
0
0

จ้างชาวนาขุดคลอง 1,264 ล้านบาท
 
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยแล้งปี 2557/2558 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดย ครม.เห็นชอบให้งดส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง และให้มีการออกประกาศทางราชการแจ้งพื้นที่ที่งดการส่งน้ำและงดทำนาปรังในพื้นที่ 26 จังหวัดให้ประชาชนรับทราบ หากเกษตรกรปลูกข้าวนาปรังทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลองจะไม่ได้รับการช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติด้านการเกษตร
 
ขณะเดียวกันจะมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและเจ้าพระยาทั้งในและนอกเขตชลประทานจากการที่ต้องงดทำนาปรังวงเงิน 1,264.43 ล้านบาทจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ประกอบด้วย มาตรการหลักคือ กรมชลประทานจะจ้างแรงงานเพื่อซ่อมคูคลองในฤดูแล้ง จำนวน 7.54 ล้านแรงคน ครอบคลุมเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการงดปลูกข้าวนาปรังจำนวน 200,000 ราย
 
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเสริมประกอบด้วยการอบรมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อส่งเสริมอาชีพด้านประมง 3,574 ราย, การอบรมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์ 13,389 ราย, การฝึกอาชีพในภาคเกษตร โดยกรมส่งเสริมการเกษตรฝึกอาชีพเกษตรกรจำนวน 17,804 ราย สำหรับมาตรการเสริมยังมีการฝึกอาชีพนอกภาคเกษตร โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวน 1,385 ราย และยังสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่พักนาที่มีความชื้นเพียงพอจำนวน 150,000 ไร่ โดยกรมพัฒนาที่ดิน
 
อย่างไรก็ตาม ทั้งมาตรการหลักและมาตรการเสริม เกษตรกรสามารถเลือกการช่วยเหลือตามความสมัครใจ ซึ่งเมื่อได้รับการช่วยเหลือมาตรการหลักแล้ว สามารถเลือกมาตรการเสริมได้ 1 มาตรการ หรือถ้าไม่เลือกมาตรการหลักก็ยังมีสิทธิ์เลือกมาตรการเสริมได้ ซึ่งจะเลือกได้เพียงมาตรการเดียวเช่นกัน เพื่อกระจายการช่วยเหลือไปให้เกษตรกรรายอื่นๆ อย่างเป็นธรรม โดยกำหนดจะเริ่มมาตรการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2557-30 เม.ย.2558
 
“กระทรวงเกษตรฯเสนอของบประมาณมาครั้งแรกวงเงิน 2,401.04 ล้านบาท แต่ รมว.เกษตรฯชี้แจงในที่ประชุม ครม.ว่าไม่มั่นใจว่ามาตรการที่เสนอประชาชนจะเห็นพ้องด้วยมากน้อยแค่ไหน ประกอบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ความเห็นว่า มีคนออกมาท้วงติงว่าการจ้างแรงงานเกษตรไปขุดลอกคูคลอง คนทำนาขณะนี้เป็นคนแก่จะทำไหวหรือไม่ หรือการลดต้นทุนการผลิต ชาวนาที่เป็นคนแก่ก็ต้องจ้างเขาทำจะลดต้นทุนได้อย่างไร กระทรวงเกษตรฯจึงขอปรับลดงบประมาณลงโดยตัดในส่วนที่ขอใช้งบกลางจำนวน 1,136.61 ล้านบาทออกไปก่อน”
 
(ไทยรัฐ, 15-10-2557)
 
เตือนหา “จ๊อบ” ผ่านเน็ตเสี่ยงถูกหลอก 11 เดือนร้องเรียน 472 คน
 
(15 ต.ค.) นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีแรงงานที่ถูกหลอกโดยนายหน้าเถื่อนว่าสามารถช่วยให้ไปทำงานต่างประเทศผ่านเฟซบุ๊กว่า ล่าสุดมีแรงงานที่ถูกหลอกร้องเรียนต่อกรมการจัดหางานแล้ว 27 คนแยกเป็นแรงงานจาก จ.บุรีรัมย์ 6 คน ลำพูน 3 คน มหาสารคาม 3 คน ร้อยเอ็ด 2 คน ขอนแก่น 2 คน สกลนคร 2 คน นครพนม 2 คน พะเยา 2 คน เชียงใหม่ 1 คน แพร่ 1 คน หนองคาย 1 คน ฉะเชิงเทรา 1 คน บึงกาฬ 1 คน ซึ่งได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับนายหน้าเถื่อนแล้วที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) หัวหมาก กรุงเทพฯ และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) โดยเอาผิดโทษฐานหลอกลวงคนไปทำงานต่างประเทศ ตามมาตรา 91 ของพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มีโทษปรับ 60,000 - 200,000 บาท จำคุก 3 - 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับต่อการหลอกลวงหนึ่งครั้ง
       
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ช่วงตั้งแต่เดือน ต.ค. 2556 - ก.ย. 2557 มีแรงงานที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศร้องทุกข์กับกรมการจัดหางานรวม 472 คนแยกเป็นร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน 142 คน สาย/นายหน้าเถื่อน 330 คน ขณะที่ในปี 2556 มีแรงงานร้องทุกข์ 955 คนแยกเป็นร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน 427 คน และกรณีสาย/นายหน้าเถื่อน 528 คน โดยช่วง 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือแรงงานที่มาร้องทุกข์ได้ 1,473 คน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงงานที่เคยมาร้องทุกข์ไว้แต่ตกค้างยังไม่ได้รับความช่วยเหลือภายในปีงบประมาณที่มาร้องทุกข์
       
ทั้งนี้ สาเหตุที่แรงงานร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน เนื่องจากเก็บเงินค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่สามารถจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศได้ เดินทางแล้วประสบปัญหาไม่สามารถทำงานได้ เมื่อกลับมาจึงต้องร้องทุกข์ขอค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืน รวมทั้งเดินทางไปทำงานต่างประเทศแล้วนายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา เช่น ให้ทำงานไม่ตรงกับตำแหน่ง ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าในสัญญาจ้าง ไม่มีสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ตรงกับสัญญาจ้าง
       
ส่วนการร้องทุกข์กรณีสาย/นายหน้าเถื่อนนั้น เนื่องจากถูกหลอกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่สามารถจัดส่งแรงงานไปทำงานได้ จัดส่งแรงงานไปทำงานแบบผิดกฎหมายหรือไม่มีงานทำ รวมทั้งกรณีเก็บค่าใช้จ่ายไปแล้วมีการจัดส่งไปทำงาน ปล่อยทิ้งให้แรงงานหาทางกลับประเทศไทยเอง ทั้งนี้ จึงขอเตือนผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศให้ระมัดระวังในการหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศโดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ โดยขอให้ติดต่อสอบถามข้อมูลกับกรมการจัดหางานได้ที่สายด่วน 1694 หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 15-10-2557)
 
ไอแอลโอ แนะตรวจสอบ ย้ายถิ่น แรงงาน
 
(15 ต.ค.) นายมอริซิโอ บุซซี่ (Mr.Maurizio Bussi) รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ประจำประเทศไทย กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP Roadmap Workshop) โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วน เช่น กรมประมง นายจ้างและสมาคมอุตสาหกรรม องค์การช่วยเหลือเด็กเข้าร่วมเป็นต้นว่า ต้องการเน้น GLP ที่โปร่งใส ซึ่งการร่วมกันทุกฝ่ายถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง การมีโรดแมปของ GLP นั้นถือเป็นจุดเริ่มต้น แต่ GLP นั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง จะต้อง เพิ่มความเข้มแข็งในการตรวจแรงงาน การย้ายถิ่นที่มีความยุติธรรม การเคารพลูกจ้างอย่างเท่าเทียม
       
ด้านนายสนาน บุญงอก ประธานคณะกรรมการประสานงานสหพันธ์แรงงานขนส่งแห่งประเทศ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ต้องทำให้นายจ้างปฏิบัติตาม GLP และควรจูงใจให้เลิกรูปแบบการจ้างแบบเหมาเพราะทำให้แรงงานมักไม่ได้รับการคุ้มครอง ควรบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตาม GLP มากกว่าใช้ระบบสมัครใจ เพราะมีกฎหมายด้านนี้อยู่แล้ว
       
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย กล่าวว่า หากประเทศไทยส่งเสริมการปฏิบัติตาม GLP จะทำให้แรงงานข้ามชาติสนใจมาทำงานในไทยมากขึ้น เพราะนอกจากค่าจ้างที่ดีแล้วก็ต้องมีเรื่องการใช้แรงงานที่ดีด้วย ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่สะสมมานาน
       
ด้านนางสาวกนกวรรณ โมรัฐเสถียร หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวว่า ควรมีการควบคุมไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ทำงานโดยเด็ดขาด รวมถึงมีการควบคุมเรื่องลักษณะการทำงานและช่วงเวลาพักผ่อนของเด็กที่ทำงานซึ่งมีอายุระหว่าง 16 - 18 ปี
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 15-10-2557)
 
รมว.แรงงาน เผยกัมพูชาขอชะลอส่งเจ้าหน้าที่ร่วมพิสูจน์สัญชาติแรงงาน เหตุการประสานงานภายในประเทศยังไม่ลงตัว 
 
(16 ต.ค.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังนางอีต โซเฟีย เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจำประเทศไทย เข้าหารือเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติแรงงานกัมพูชา ว่า ที่ผ่านมา ทางกัมพูชาได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาทดลองระบบการพิสูจน์สัญชาติเพื่อคำนวณว่าจะสามารถดำเนินการได้วันละกี่ราย โดยทางการกัมพูชามีปัญหาการดำเนินการระหว่างหน่วยงานของตนเอง จึงได้เดินทางกลับประเทศ และยังไม่ได้เริ่มพิสูจน์สัญชาติแรงงานกัมพูชาที่จดทะเบียน ซึ่งทางการกัมพูชาจะจัดส่งเจ้าหน้าที่กลับมาดำเนินการภายหลัง
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 16-10-2557)
 
ทอท.หั่นโบนัสพนักงาน ไม่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง
 
ที่ประชุม บอร์ด ทอท. มีมติปรับลดโบนัสพนักงานจาก 11 เดือน เหลือ 6.5 เดือน เหตุกันเงินเพื่อนำมาลงทุน ยัน ไม่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง
 
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมิมติจ่ายเงินโบนัสพนักงาน 6.5 เดือนจาก 11เดือน สาเหตุที่ปรับลดลงเนื่องจากได้กันเงินจากผลกำไรไว้มากกว่า ร้อยละ 50 ของกำไร เพื่อใช้ในการลงทุนของบริษัทฯ ในอนาคต ทั้งนี้ สำหรับสาเหตุการปรับลดการจ่ายเงินโบนัสพนักงานลงนั้น ทางบริษัทฯ ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับทางพนักงานแล้ว
 
อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของบริษัทตั้งแต่ปี 2558-2562 ทางบริษัทฯ จะไม่มีปัญหาในการขาดสภาพคล่อง
ในการนำเงินมาลงทุนโครงการ เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการควบคุมรายจ่ายภายในและการกันเงิรจากผลกำไร ร้อยละ 50 ของกำไรทั้งหมด เพื่อใช้เป็นงบเป็นงบประมาณในดำเนินโครงการอยู่แล้ว โดยปัจจุบันขณะนี้ บริษัทฯ มีกระแสเงินสดอยู่ 44,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการลงทุนในโครงการแต่ละโครงการจะไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณในการดำเนินโครงการแน่นอน
 
(ไอเอ็นเอ็น, 16-10-2557)
 
รุกจัดระเบียบแรงงานเรือประมง นำร่องดันผู้ประกอบการ 500 รายใช้ GLP สกัดค้ามนุษย์
 
ดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาแรงงานภาคการประมงทั้งระบบให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยที่ผ่านมาได้ร่วมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานภายใต้การสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) จัดทำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) เพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานในสถานประกอบการในภาคการประมง ซึ่งมี GLP 4 ฉบับ ได้แก่ 1.สำหรับสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น (ล้ง) 2.สำหรับโรงงานแปรรูปกุ้งและอาหารทะเล 3.สำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง และ 4.สำหรับเรือประมง
 
โดยในส่วนของ GLP สำหรับผู้ประกอบการแปรรูปกุ้งและอาหารทะเล หลังจากที่ได้ลงนามแสดงเจตจำนงในการเข้าร่วมแนวปฏิบัติตั้งแต่กลางเดือนกันยายน 2556 มีผู้ประกอบการประสงค์เข้าร่วมจำนวน 178 ราย และมีการดำเนินการที่คืบหน้าไปมาก โดยผู้ประกอบการดังกล่าวได้ผ่านการฝึกอบรมไปแล้ว 81 ล้ง 73 โรงงาน รวมเป็น 154 ราย ซึ่งได้ผ่านระบบการติดตามการดำเนินการปรับปรุงสภาพการทำงานของสถานประกอบการดังกล่าวแล้วอีกด้วย
 
นอกจากนี้ กรมประมงยังเร่งขับเคลื่อนการทดสอบความเหมาะสมในการนำ GLP สำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ไปใช้กับกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งของไทย โดยมีกำหนดจะดำเนินการร่วมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และ ILO ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล จากนั้นจะนำมาปรับปรุง GLP สำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปปฏิบัติใช้อย่างแพร่หลายต่อไป
 
สำหรับ GLP เรือประมง ซึ่งเป็น GLP ที่กรมประมงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการร่างแล้วเสร็จมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงสภาพการทำงานในกิจการทำการประมง โดยกรมประมงจะนำไปใช้กับผู้ประกอบการเรือประมง เพื่อให้เกิดผลการพัฒนาและแก้ไขปัญหาแรงงานบนเรือประมงได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในปีนี้ได้จัดสรรงบประมาณให้มีการฝึกอบรมผู้ประกอบการเรือประมง 500 ราย ให้ได้รับทราบแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีเพื่อนำไปปฏิบัติ
 
ดังนั้นการเร่งดำเนินการทดสอบความเหมาะสมในการใช้ GLP สำหรับเรือประมงกับผู้ประกอบการในกลุ่มชาวประมง หรือสมาคมท้องถิ่นต่างๆ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้ประกอบการประมงสามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย อันจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาสำคัญของแรงงานในเรือประมงได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
 
(แนวหน้า, 17-10-2557)
 
เครือข่ายแรงงาน ชู 4 ข้อเรียกร้องปฏิรูปประกันสังคม
 
(17 ต.ค.) ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เครือข่ายประกันสังคมทำงาน (คปค.) 14 องค์กร นำโดยนายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ และ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) แถลงข่าวและประกาศเจตนารมณ์ปฏิรูปประกันสังคมคนทำงานถ้วนหน้า เท่าเทียม และเป็นธรรมโดยเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อคุ้มครองคนทำงานที่มีรายได้ทุกคน ป้องกัน หรือลดการทุจริตที่อาจเกิดจากการบริหารจัดการกองทุนที่ขาดการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิที่ควรพึงได้รับจากการร่วมจ่ายในระบบสวัสดิการต่างๆ และลดภาระการเงินการคลังที่รัฐจะต้องแบกรับในอนาคตจากการที่ประเทศไทยจะต้องเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 2558
       
การขอให้ปฏิรูปประกันสังคมโดยยึดหลัก 4 ข้อ ได้แก่ 1. หลักความครอบคลุม ผู้ทำงานทุกคนทุกอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จะต้องได้รับประโยชน์ทดแทนเหมือนกัน แต่ไม่จำเป็นต้องได้เท่ากันหรือแบบเดียวกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายเงินสมทบ 2. หลักความเป็นอิสระในการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจและยึดหลักธรรมาภิบาลโดยต้องบูรณาการเพื่อประสานสิทธิประโยชน์และการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงร่วมกับสวัสดิการอื่นๆ เช่น ระบบสุขภาพ ระบบประกันชราภาพ 3. หลักการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนทุกระบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนทุกระดับ เช่น มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมโดยตรง มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนกรรมการประกันสังคม รวมทั้งมีระบบตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส และ 4. หลักยืดหยุ่นเป็นธรรม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสามารถออกแบบและปรับปรุงให้เหมาะสม เช่น การจ่ายเงินสมทบที่สัมพันธ์กับฐานรายได้ การปรับปรุงเกณฑ์ เงื่อนไขอัตราเงินสมทบและการบริการ ระยะเวลาได้รับสิทธิประโยชน์เร็วขึ้น
       
นายมนัส กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับกระทรวงแรงงานเป็น 1 ใน 38 ร่างกฎหมายเร่งด่วนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่ขาดการมีส่วนร่วมและการบูรณาการข้อเรียกร้องของเครือข่ายแรงงาน จึงได้ไปยื่นหนังสือต่อประธาน สนช. ขอให้ชะลอการนำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับกระทรวงแรงงานเข้าสู่การพิจารณาเพื่อให้นำ 4 ประเด็นหลักข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานไปบูรณาการบรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับกระทรวงแรงงานก่อนเสนอต่อ สนช. และได้นำข้อเรียกร้องข้างต้นไปเสนอต่อ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานด้วย
       
“หากกระทรวงแรงงานไม่นำข้อเรียกร้องทั้ง 4 ของเครือข่ายแรงงานไปบรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับกระทรวงแรงงานภายใน 1 เดือน ทางเครือข่ายแรงงานจะตั้งโต๊ะล่ารายชื่อแรงงานทั่วประเทศรวบรวมรายชื่อ พร้อมนำข้อเรียกร้องไปยื่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายมนัส กล่าว
       
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า ช่วง 24 ปี ที่ผ่านมา ระบบประกันสังคมพัฒนาไปไม่มากนัก และขาดการมีส่วนร่วมไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน เครือข่ายจึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับผู้ใช้แรงงานมาอย่างต่อเนื่อง แต่ เมื่อเกิดสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้ทหารต้องเข้ามาบริหารประเทศและรัฐธรรมนูญปี 2550 ถูกยกเลิกไป เครือข่ายแรงงานไม่สามารถเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับผู้ใช้แรงงานต่อ สนช. จึงใช้วิธีเสนอ 4 ประเด็นหลัก ในการปฏิรูประบบประกันสังคมตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานบรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับกระทรวงแรงงาน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ คสรท. ได้เข้าพบ รมว.แรงงาน เพื่อเสนอข้อเรียกร้องดังกล่าว รวมทั้งเสนอให้ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้เป็นองค์กรอิสระและตรวจสอบการใช้เงินของ สปส. ซึ่ง รมว.แรงงาน เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องแต่ในส่วนของการปฏิรูปให้ สปส. เป็นองค์กรอิสระนั้นขอเวลาศึกษาก่อนว่าควรดำเนินการอย่างไร
       
ด้านนายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จะรับข้อเรียกร้องของเครือข่ายแรงงานเพื่อนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อพิจารณาทบทวนร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว หลังจากนั้น จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจาก 3 ฝ่ายทั้งภาครัฐ นายจ้างและลูกจ้างเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-10-2557)
 
โฆษกกต.ไทยโต้ BBC ยันช่วยโรฮิงญาเหยื่อค้ามนุษย์
 
นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กรณีสำนักข่าว บีบีซี นำเสนอรายงานระบุไทยยังเต็มไปด้วยปัญหาการค้ามนุษย์ว่า ข่าวที่ปรากฏเป็นการนำเอาเหตุการณ์จับกุมชาวโรฮิงญาในหลายครั้งที่ จ.พังงา นับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยผู้อพยพกลุ่มแรกได้รับการยืนยันว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และได้รับการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม ขณะที่กลุ่มอื่น ๆ ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยมีชายไทย 2 คนที่ถูกจับกุมพร้อมกับผู้อพยพและถูกตั้งข้อหาแล้ว
 
นายเสข กล่าวว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ทำให้มีผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเดินทางเข้าไทยอย่างต่อเนื่องผ่านพรมแดนทางบกของไทย ระยะกว่า 5,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นกับปัญหานี้ หน่วยงานราชการไทยและภาคเอกชนร่วมกันทำงานอย่างหนัก เริ่มด้วยการเปิดให้มีการลงทะเบียนแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน กว่า 1 ล้านคน เพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายไทย และขจัดการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ
 
นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับรัฐบาลพม่า ลาว กัมพูชาเพื่อหาทางออกที่ปฏิบัติได้จริงและแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว โดยยึดหลักปฏิบัติและกฎเกณฑ์ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและตลาดแรงงานสากล
 
(ไอเอ็นเอ็น, 21-10-2557)
 
จบ ป.ตรีเตะฝุ่นกว่า 1 แสนคน พบสายสังคมมากสุด
 
(21 ต.ค.) นายธนิช นุ่มน้อย รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลสำรวจการมีงานทำของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนก.ย.2557 ซึ่งพบว่ามีผู้ว่างงานกว่า 3.1 แสนคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่เรียนจบอุดมศึกษากว่า 1 แสนคน ว่า เชื่อว่า ผู้ว่างงานระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่จะเป็นผู้จบปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ เนื่องจากมีงานรองรับน้อยแต่มีคนเรียนจบสายนี้มาก ตรงข้ามกับผู้ที่จบสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีงานรองรับมากแต่มีคนเรียนด้านนี้น้อย 
       
ทั้งนี้ กกจ. มีแนวทางช่วยเหลือผู้ที่เรียนจบสายสังคมศาสตร์แล้วยังว่างงานโดยขอให้มาลงทะเบียนหางานทำได้ที่เว็บไซต์ www.doe.go.th ของ กกจ. หรือสอบถามสายด่วน โทร. 1694 คาดว่ามีตำแหน่งงานรองรับได้ 3-4 พันอัตรา ส่วนผู้มาลงทะเบียนที่เหลือจะคัดเลือกผู้ที่เคยเรียนด้านอาชีวะระดับ ปวส. หรือเรียนจบในสาขาที่สามารถต่อยอดพัฒนาทักษะวิชาชีพ หรือทักษะภาษาอังกฤษได้ ก็จะอบรมเพิ่มเติมและหางานตำแหน่งงานรองรับ เช่น ช่างฝีมือ พนักงานต้อนรับในโรงแรม โดยเฉพาะขณะนี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวแล้วมีต้องการแรงงานจำนวนมาก และหากต้องการประกอบอาชีพอิสระจะอบรมวิชาชีพและหากองทุนให้กู้ยืม
       
รองอธิบดี กกจ. กล่าวอีกว่า กกจ. จะให้บัณฑิตอาสาสมัครของกระทรวงแรงงานในแต่ละหมู่บ้านช่วยสำรวจว่าในหมู่บ้านมีแรงงานว่างงานจำนวนเท่าใด เพื่อจัดหาตำแหน่งงานรองรับและอบรมความรู้ด้านวิชาชีพให้เพิ่มเติม ส่วนมาตรการระยะยาวนั้น กกจ. ตั้งเป้าหมายจะจัดโครงการแนะแนวอาชีพให้กับเด็ก ม.ต้น ทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กรู้ถึงความชอบและความถนัดด้านอาชีพของตนเองเพื่อเลือกเรียนได้อย่างเหมาะสมและมีงานทำ นอกจากนี้ กกจ.จะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมวิชาชีพต่างๆ สำรวจความต้องการแรงงานในสาขาต่างๆ ในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558 - 2562 และเสนอข้อมูลต่อรัฐบาลเพื่อจะได้ผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ เมื่อเรียนจบแล้วมีงานทำ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.ประยุทธ์ ระบุจะใช้ความดี-ความตั้งใจแก้ไขปัญหา

$
0
0

นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ชี้แจง "ยิ่งลักษณ์" ไปญี่ปุ่นได้ขออนุญาต คสช. ตามขั้นตอนแล้ว ส่วนเรื่องคลื่นใต้น้ำ จะใช้ความดี-ความตั้งใจแก้ไขปัญหาประเทศต่อสู้กับกลุ่มไม่หวังดี

21 ต.ค. 2557 - เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลรายงานว่า วันนี้ (21 ต.ค.57) เวลา 13.20 น. ณ บริเวณทางเชื่อมตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ว่า ได้มีการขออนุญาตตามขั้นตอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติได้อนุมัติให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น โดยต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปถึงการรายงานกรณีคลื่นใต้น้ำ ว่า มีกลุ่มคลื่นใต้น้ำจริง พร้อมกล่าวยืนยันว่าจะใช้ความดี การทำความเข้าใจกับประชาชน และความตั้งมั่นแก้ไขปัญหาประเทศเข้าต่อสู้กับกลุ่มคลื่นใต้น้ำที่ไม่หวังดี ถ้าใครออกมาสร้างสถานการณ์ สร้างความวุ่นวายตอนนี้ถือว่าอันตราย เพราะทั่วโลกจับตามองสถานการณ์ภายในประเทศอยู่

พล.อ.ประยุทธ์ อ้างว่า จากการประชุมหารือกับผู้นำ 50 กว่าประเทศ ต่างกล่าวชื่นชมถึงพัฒนาการที่ดีของประเทศ ไม่มีการติติงเลย พร้อมกล่าวว่า พร้อมเดินทางไปชี้แจงความเข้าใจกับผู้นำประเทศต่างๆ ตามคำเชิญ ทั้งนี้ ต้องดูสถานการณ์ในประเทศว่าเป็นอย่างไร และต้องดูว่าไปแล้วจะได้ประโยชน์หรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชี้ผู้บริโภคยกเลิกสัญญาใช้เน็ตก่อนกำหนดได้ ไม่ต้องเสียค่าปรับ

$
0
0

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. ชี้ผู้บริโภคมีสิทธิยกเลิกสัญญาใช้บริการอินเทอร์เน็ตก่อนกำหนดได้ โดยไม่เสียค่าปรับ ระบุ กสทช.ยังไม่เคยเห็นชอบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการรายใด

21 ต.ค.2557 วานนี้ ที่สำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม แถลงข่าวกรณี “ยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ตไม่ได้เพราะสัญญาไม่เป็นธรรม” โดยระบุว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ผ่านมา มีการหยิบยกประเด็นปัญหาการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ตหารือในที่ประชุม เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการในหลายพื้นที่ ที่ประชุมจึงขอให้สำนักงาน กสทช. รายงานสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ โดยพบว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน มีการร้องเรียนกรณีประสบปัญหาผู้ประกอบการโทรคมนาคมคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด เมื่อผู้ใช้บริการต้องการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 757 กรณี และมีข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมหลายรายมีการใช้แบบสัญญาซึ่งมีข้อกำหนดที่ขัดต่อกฎหมายและเป็นข้อสัญญาที่มิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
 
ทั้งนี้สำนักกฎหมายโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้ตรวจสอบข้อมูลการให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมที่ผ่านมา ก็พบว่า ไม่ปรากฏว่า กทช. หรือ กสทช. เคยได้ให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการรายใด ดังนั้นเมื่อ กทช. หรือ กสทช. ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการย่อมไม่มีสิทธินำสัญญาหรือเงื่อนไขนั้นไปใช้กับผู้ใช้บริการได้

นอกจากนี้ที่ผ่านมา กทค. ได้เคยพิจารณาเงื่อนไขในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ โดยมีความเห็นให้ตัดเงื่อนไขดังกล่าวออก เนื่องจากการกำหนดให้ผู้ใช้บริการจะต้องชำระเงินค่าใช้บริการที่เป็นส่วนลดพิเศษ พร้อมทั้งค่าติดตั้งและค่าลงทะเบียนที่ได้รับยกเว้นให้แก่ผู้ให้บริการ หากเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการลงโทษ (penalty clause) แก่ผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ การกำหนดข้อสัญญาในลักษณะดังกล่าวเป็นการบังคับให้ลูกค้าไม่สามารถยกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้ มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือก่อให้เกิดภาระอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าข่ายเป็น tie-in-contact ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายแข่งขันทางการค้า หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และหลักการส่งเสริมการแข่งขันอันเป็นการปิดกั้นสิทธิและทางเลือกของผู้บริโภคในการเลือกรับบริการ ยกเลิกบริการ หรือเปลี่ยนแปลง  ผู้ให้บริการ
 
ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าติดตั้งแรกเข้ากับผู้บริโภคหากยกเลิกบริการก่อนกำหนด จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 51 วรรคสามแห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ที่กำหนดว่า เมื่อผู้รับใบอนุญาตได้รับความเห็นชอบในสัญญาหรือเงื่อนไขใดๆ แล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธินำสัญญาหรือเงื่อนไขนั้นไปใช้กับผู้ใช้บริการได้ และข้อสัญญาลักษณะดังกล่าวยังขัดต่อข้อ 15 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งห้ามบริษัท ผู้ให้บริการคิดค่าปรับ หรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
 
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้บริโภคทุกรายจึงมีสิทธิยกเลิกสัญญาใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการได้ โดยผู้ให้บริการไม่มีสิทธิคิดค่าติดตั้งแรกเข้าหรือค่าธรรมเนียมใดๆ เพราะคณะกรรมการ กสทช. ยังมิได้พิจารณาให้ความเห็นชอบเงื่อนไข สัญญา ของผู้ประกอบการ  แบบหรือเงื่อนไขสัญญาดังกล่าว จึงไม่มีผลผูกพันผู้ใช้บริการ
 
เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายโทรคมนาคม ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมจึงมีมติดังนี้

1) ขอให้กสทช. แจ้งให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมยุติการกระทำที่ผิดกฎหมายในการคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดกับผู้ให้บริการ หากผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด

2) ให้มีการดำเนินการเพื่อสั่งปรับทางปกครองตามกฎหมายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย ซึ่งกระทำความผิดตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549  และข้อ 15 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549

3) ขอให้ กสทช. สั่งให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายคืนเงินให้แก่ผู้ใช้บริการ กรณีเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ได้เก็บจากผู้ใช้บริการเพราะเหตุยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด

4) ขอให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภครับทราบ ถึงสิทธิของผู้ใช้บริการ โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ใช้บริการได้เพราะเหตุยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด

ตย. แบบสัญญาที่ขัดต่อประกาศ กสทช.
  เงื่อนไขสัญญาว่า “1.1.1 กรณีลูกค้าผู้สมัครใช้บริการ UTRA hi- speed Internet xDSL ยกเลิกก่อนกำหนด ผู้ใช้บริการยินดีชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าคืนให้แก่บริษัทเป็นเงินจำนวน 2,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมคืนอุปกรณ์ตามเงื่อนไข” และ “1.1.2 กรณีลูกค้าผู้สมัครใช้บริการ UTRA hi- speed Internet DOCSIS และ FTTH ยกเลิกก่อนกำหนด ผู้ใช้บริการยินดีชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าคืนให้แก่บริษัทเป็นเงินจำนวน 2,000 บาท และค่าติดตั้งอุปกรณ์ และค่าเดินสาย Coaxial Cable ให้แก่บริษัทเป็นเงินจำนวน 4,600 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมคืนอุปกรณ์ ตามเงื่อนไข”

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม.ชี้ โครงการเขตเศรษฐกิจฯทวาย ละเมิดสิทธิฯแบบข้ามพรมแดน

$
0
0

กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตเศรษฐกิจฯทวาย เข้าให้ข้อมูลคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ สะท้อนภาพรวมของผลกระทบ ที่ยังไม่ได้แก้ไข ภายใต้การผลักดันโครงการครั้งใหม่ของรัฐบาลไทย-พม่า ด้าน‘หมอนิรันดร์’ ชี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบข้ามพรมแดน

21 ต.ค. 57 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย(Dawei Special Economic Zone – DSEZ) พร้อมตัวแทนภาคประชาสังคม เดินทางให้ข้อมูลกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเสนอข้อกังวลเกี่ยวกับโครงการที่กำลังจะเดินหน้าอีกครั้ง หลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสภาพพม่าอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 –10 ตุลาคม ที่ผ่านมา (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ตัวแทนจากสมาคมพัฒนาทวาย(Dewei Development Association – DDA) เปิดรายงานฉบับใหม่ที่ชื่อว่า “เสียงจากชุมชน: ข้อกังวลต่อโครงการเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง” โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลผลกระทบและข้อกังวลของคนในชุมชน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ในรายงานฉบับดังกล่าวระบุถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนในเขตโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยประเด็นที่สำคัญที่สุดและเป็นที่มาของปัญหาอื่นๆ คือ ในการดำเนินโครงการที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการสร้างท่าเรือขนาดเล็กซึ่งปัจจุบันได้สร้างเสร็จแล้ว การสร้างถนนเพื่อใช้เป็นเส้นทางเข้าออก และกิจกรรมอื่นๆ ที่กำลังจากเกิดขึ้น ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ไม่ได้มีการแจ้งให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทราบอย่างทั่วถึง ชาวบ้านโดยส่วนมากได้รับข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากการบอกเล่าปากต้องปาก ซ้ำยังไม่เข้าใจรายละเอียดของโครงการว่าเกี่ยวข้องกับอะไร เพราะไม่ได้มีการแจ้งรายละเอียดใดๆให้ทราบ

รายงานฉบับนี้ยังระบุถึงกระบวนการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้าน ด้วยว่า เป็นเพียงการเรียกเชิญเฉพาะบุคคลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ หรือเป็นบุคคลที่เห็นด้วยกับโครงการเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเข้ามาพูดคุยของเจ้าหน้าที่รัฐ(พม่า)กับชาวบ้านอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านและชุมชนแต่อย่างใด ทว่าเป็นเพียงการเข้ามาบอกข้อเสนอข้อรัฐเท่านั้น

สิ่งที่เป็นปัญหาอีกประการหนึ่งคือ การยึดคืนที่ดินที่ทำกินของชาวบ้านซึ่งส่วนมากประมาณร้อย 71 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีกระบวนการที่ไม่เป็นธรรม ขาดการตกลงระหว่างรัฐกับชุมชน และมีการจ่ายค่าชดเชยที่ไม่ถูกต้อง

“ชาวบ้านอย่างเราไม่รู้ข้อมูลอะไรมาก เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาบอกว่าจะต้องใช้พื้นที่ตรงนี้ก่อสร้างโครงการ แล้วให้เราเซ็นรับเงินชดเชย ซึ่งถึงว่าน้อยมากไม่เพียงพอที่จะย้ายออกไปหาที่ทำกินใหม่ แต่เราก็ต้องรับ เพราะเขาขู่ว่าถ้าไม่เซ็นรับจะไม่ได้อะไรเลย” ชาวบ้านจากทวายกล่าว

“เมื่อสองปีก่อน มีการสร้างถนนและท่าเรือน้ำลึก สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีชาวบ้านในหมู่บ้านมูดู 16 คนสูญเสียที่ทำกินของตัวเอง จนกระทั้งวันนี้ยังไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ เลย” U Aung Myint ชาวบ้านหมู่บ้านมูดูกล่าว

ขณะที่ Saw Keh Doh ชาวบ้านจากหมู่บ้านตะบิวซองได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการและมีการสร้างถนนเข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้ตนและคนในหมู่บ้าน สูญเสียทั้งที่ดินที่ทำกิน น้ำสะอาด และอาชีพ แต่กลับไม่ได้รับการชดเชยอะไร ไม่มีการแจ้งข้อมูลหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับโครงการนี้

ในส่วนของการโยกย้ายชาวบ้านออกจากพื้นที่ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการได้เล่าว่า ได้มีการโยกย้ายชาวบ้านออกจากพื้นที่นาบูเล่ เพื่อที่จะพัฒนาให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่สิ่งที่ยังเป็นที่กังวลคือ บ้านที่รัฐได้สร้างให้ไม่ได้มีโครงสร้างที่มั่นคง และที่สำคัญคือ ชาวบ้านกว่า 32,000 คนที่จะถูกย้ายออกไปส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่พื้นที่ที่จะต้องไปอยู่นั้นไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำการเกษตร ทั้งนี้ยังย้ำว่าหากจะให้ชาวบ้านออกจากพื้นรัฐจะต้องมีหลักประกันว่า คุณภาพชีวิตของพวกเขาจะต้องไม่แย่ลงกว่าเดิม

ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

“ที่มาวันนี้เพราะเราต้องการรู้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งการให้ข้อมูลครั้งนี้ทางคณะกรรมการสิทธิฯได้เชิญ บริษัท อิตาเลียนไทย ซึ่งเคยเป็นผู้ลงทุนหลักในโครงการ ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐไทยกับพม่า แต่น่าเสียดายที่ทางบริษัทปฏิเสธไม่ร่วมงานครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้แล้ว และยิ่งตอนนี้กำลังจะมีการผลักดันโครงการนี้อีกครั้ง คำถามที่เราต้องการคือใครกันจะเป็นผู้รับผิดชอบผลกระทบที่เกิด ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้นอีก”ตัวแทนจากกลุ่มประชาสังคมชุมชนกระเหรี่ยงกล่าว

ด้าน นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงการศึกษารายละเอียดกรณีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายว่า มีการกระบวนดำเนินการที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบข้ามพรมแดน ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจะมีความสำคัญอย่างมากต่อภูมิภาคอาเซียน แต่ก็ไม่สามารถที่จะละเลยเรื่องของสิทธิมนุษยชนได้ อย่างไรก็ตามภายใต้การร่วมในนามกลุ่มประเทศอาเซียนไม่ได้มีเพียงการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวเท่า แต่ยังมีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องสิทธิมนุษยชน และมีกลไกพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาคด้วย

“แน่นอนผมเองก็เห็นด้วยกับการพัฒนา แต่ประเด็นสำคัญคือเราจะพัฒนาอย่างไรไม่ให้เกิดการทำร้ายประชาชน” นิรันดร์กล่าว

ขณะที่แนวทางที่คณะกรรมการสิทธิฯ กำลังเร่งดำเนินการคือ จะมีการเชิญตัวแทนจากรัฐบาลไทยและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบริษัทอิตาเลียนไทย เข้ามารับฟังข้อมูลและข้อกังวลจากรายงานพิเศษที่ทางสมาคมพัฒนาทวายได้ทำขึ้น พร้อมทั้งจะเสนอคำแนะนำให้การดำเนินการต่างๆต้องมีความเป็นธรรมต่อคนทุกกลุ่ม โดยจะต้องยึดสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการในการดำเนินงาน ซึ่งภายใน 1-2 สัปดาห์จะมีข้อมูลและหนังสือเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาร่วมรับฟังปัญหา คาดว่าประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน จะได้มีการพูดคุยร่วมกันระหว่างคณะกรรมการสิทธิฯ ตัวแทนจากรัฐบาล และผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยพลาดที่นั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

$
0
0

ไทยได้คะแนนน้อยสุดในบรรดา 5 ชาติเอเชียที่ลงชิงที่นั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น ชาติที่ได้รับเลือกคือกาตาร์ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย อินเดีย ขณะที่ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ส่งหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ให้เลิก คสช.-กฎอัยการศึก ปรับปรุงสิทธิมนุษยชนให้มีมาตรฐานก่อนไปเสนอตัวชิงที่นั่งยูเอ็น

22 ต.ค. 2557 - เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ แห่งองค์การสหประชาชาติ มีการเลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) หรือ UNHRC จำนวน 15 ที่นั่ง หลังสมาชิกคณะมนตรีของ UNHRC ชุดเก่าหมดวาระ

สำหรับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติชุดใหม่จะเริ่มทำงานวันที่ 1 ม.ค. 2558 มีวาระทำงาน 3 ปี

โดยสมาชิกในทวีปเอเชีย มีโควตาที่จะได้รับเลือกเข้าไปเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จำนวน 4 ชาติ จากทั้งหมด 15 ที่นั่ง โดยมีชาติที่สมัคร 5 ชาติ ได้แก่ กาตาร์ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย

ผลการลงมติโดยสมาชิกในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ แห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งชาติที่จะผ่านการรับรองต้องได้เสียงอย่างน้อยเกินกึ่งหนึ่งหรือ 97 เสียง ผลปรากฏว่า อินเดีย ได้รับการรับรอง 162 เสียง อินโดนีเซีย 152 เสียง บังกลาเทศ 149 เสียง กาตาร์ 142 เสียง จึงได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ส่วนไทยได้รับการรับรอง 136 เสียง จึงไม่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 มีการเลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council - UNHRC) วาระปี พ.ศ.2553-2556 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก จำนวน 14 ที่นั่ง ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าไทยได้รับคะแนนเสียง 182 เสียงเป็นอันดับ 2 จาก 14 ประเทศ รองจากมัลดีฟส์ ซึ่งได้ 185 เสียง ทำให้ไทยได้เข้าเป็นสมาชิก UNHRC เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีการจัดตั้ง UNHRC เมื่อปี พ.ศ. 2549

ขณะที่อินเดีย และอินโดนีเซีย ถือเป็นชาติที่ได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นวาระที่สองติดต่อกัน

อนึ่ง ก่อนมีการลงมติในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ฮิวแมน ไรท์ วอทช์ โดยแบรด อดัม ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียของฮิวแมน ไรท์ วอทช์ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้ไทยปฏิบัติตามพันธะกรณีระหว่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนที่จะเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอีกสมัย

โดยข้อเสนอของฮิวแมน ไรท์ วอทซ์ รวมไปถึงเรื่อง ยกเลิกกฎอัยการศึก ยกเลิก คสช. ยุติการเซ็นเซอร์ เปิดกว้างด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ยุติการทรมานและควบคุมตัวบุคคลโดยไม่เปิดเผย การมีความรับผิดชอบต่อสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองและเหตุการละเมิดสิทธิ รวมทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนใต้ คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ปกป้องสิทธิผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติ และไม่ใช้วิธีปราบปรามยาเสพย์ติดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.เห็นชอบแผนสร้างรถไฟทางคู่ 903 กม.-รถไฟฟ้า 4 สาย-ศึกษารางมาตรฐาน

$
0
0

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนลงทุนคมนาคม งบปี'58-สร้างรถไฟทางคู่ ราง 1 เมตร 6 สายรวม 903 กม.-ทำ EIA รางมาตรฐาน 1.435 เมตร กทม.-โคราช-มาบตาพุด, กทม.-ระยอง, โคราช-หนองคาย รวม 1,060 กม.-สร้างรถไฟฟ้า 4 สาย ประกวดราคา 7 สาย-ศึกษาเส้นทาง 1 สาย - มอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด ขยายถนน 4 เลน 5 สาย-ทางหลวงระหว่างประเทศ 4 สาย ฯลฯ

สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีชุมทางของรถไฟสายใต้ สายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ (แฟ้มภาพ/ประชาไท)

 

22 .. 2557 - ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 21 .. 2557 ครม. มีการเสนอแผนการดำเนินงานรถไฟทางคู่ ประจำปีงบประมาณ พ.. 2558 และ แผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งปี.. 2558 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ในเรื่อง แผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ปีงบประมาณ.. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ตามที่กระทรวงคมนาคม (กระทรวงคมนาคม) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

1. กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการประเมินสถานการณ์ด้านคมนาคมขนส่งในปัจจุบันแล้วพบว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาโครงข่ายคมนาคม เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าชายแดน และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กระทรวงคมนาคม จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 ซึ่งมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 4 เป้าหมาย ประกอบด้วย 1) เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม 2) เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 3) เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัย และ 4) สร้างโอกาสสำหรับการแข่งขันและให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน และ 5 แผนงาน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2) การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 4) การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ 5) การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ

2. กระทรวงคมนาคม ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดเพื่อแก้ไข

ปัญหาด้านการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 11 ตุลาคม 2557 โดยได้จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการ (Action Plan) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางรถไฟประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ซึ่งสถานะในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1.00 เมตร และรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร มีดังนี้

2.1 สถานะรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง1.00 เมตร(Meter Gauge) ในปัจจุบัน

ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงข่ายทางรถไฟระยะทาง 4,043 กิโลเมตร ให้บริการครอบคลุมเพียง 47 จังหวัด ประกอบด้วย ทางเดี่ยว ระยะทาง 3,685 กิโลเมตร หรือร้อยละ 91.1 ทาง สามระยะทาง 107 กิโลเมตร หรือร้อยละ 2.7 (ช่วงรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี) ระยะทาง 61 กิโลเมตร และช่วงหัวหมาก – ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 46 กิโลเมตร) ที่เหลือเป็นทางคู่ระยะทาง251 กิโลเมตรหรือร้อยละ6.2 ประกอบด้วย

2.2 แผนการดำเนินการในปีงบประมาณ2558 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ

2.2.1 โครงการที่พร้อมดำเนินการก่อสร้าง 1 โครงการ คือ โครงการ

รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างประกวดราคา [ได้รับความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้ว]

2.2.2 โครงการที่อยู่ระหว่างนำเสนอขออนุมัติโครงการ [ได้รับความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้ว] จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1. โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น - ระยะทาง 185 กิโลเมตร อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติโครงการคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในไตรมาสที่ 1 และประกวดราคาได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

2. โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการในไตรมาสที่ 2 และประกวดราคาได้ ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

2.2.3 โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านคมนาคมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่

1. ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร
2. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร
3. ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร

โดยคาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2557 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการเพื่อการประกวดราคาต่อไป ทั้งนี้ ภายหลังดำเนินโครงการรถไฟทางคู่แล้วเสร็จ จำนวน 6 เส้นทางดังกล่าว จะทำให้มีโครงข่ายรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นระยะทาง 903 กิโลเมตร อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการเดินรถที่คับคั่งและรองรับการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ของประเทศ ลดระยะเวลาการเดินทาง ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มคุณภาพชีวิตในการเดินทางของประชาชนทั่วประเทศ

2.2.4 ดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 8 เส้นทางได้แก่

1. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90
2. ปากน้ำโพ-เด่นชัย 285
3. ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 309
4. ขอนแก่น-หนองคาย 174
5. ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 167
6. สุราษฎร์ธานี-สงขลา 339
7. หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45
8. เด่นชัย-เชียงใหม่ 217

โดยเส้นทางทั้งหมดอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จประมาณปลายปี พ.ศ. 2558 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการเพื่อการประกวดราคาต่อไป

2.3 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง1.435 เมตร(Standard Gauge)

2.3.1 สถานะรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) ในปัจจุบันยังไม่มีโครงข่ายทางรถไฟขนาดทางมาตรฐาน

2.3.2 แผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1.435 เมตร

กระทรวงคมนคม ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลตามกรอบยุทธศาสตร์ฯ ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ ขนาดทางมาตรฐาน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-ท่าเรือแหลมฉบัง ดังนี้

1. ช่วงกรุงเทพฯ นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด ระยะทาง 512 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเตรียมการศึกษาทบทวนปรับแบบกรอบรายละเอียด รวมทั้งเสนอขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน

2. ช่วงกรุงเทพฯ –ระยอง ระยะทาง 193 กิโลเมตร ได้ศึกษาและออกแบบแล้วเสร็จอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3. ช่วงนครราชสีมา- หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร อยู่ระหว่างศึกษา ออกแบบกรอบรายละเอียด รวมทั้งเสนอขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือน

ทั้งนี้ เมื่อการศึกษาออกแบบกรอบรายละเอียดแล้วเสร็จ ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปสู่การขออนุมัติโครงการและก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562 – 2563 ตามลำดับ จะทำให้ประเทศไทยมีโครงข่ายรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ระยะทาง 1,060 กิโลเมตร

2.4 ภาพรวมการพัฒนารถไฟทั้งระบบ

เมื่อดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 แล้วเสร็จ จะทำให้โครงข่ายทางรถไฟทางคู่ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีระยะทางเพียง 251 กิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็นระยะทาง 3,589 กิโลเมตร

000

ส่วนเรื่องแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งปี.. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ปี พ.ศ. 2558 ตามที่ กระทรวงคมนาคม เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

1. กระทรวงคมนาคม ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งทางบกทางน้ำ และทางอากาศ ระหว่างวันที่ 27 กันยายน-11 ตุลาคม 2557 และได้จัดทำ สรุปแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญในปี พ.ศ. 2558 อันจะแสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศในภาพรวม โดยสรุปได้ ดังนี้

1.1 การพัฒนารถไฟทางคู่

กระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เตรียมการสำหรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร และขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ทั้งในเรื่องการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด การประกวดราคา การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการก่อสร้าง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1.1. รถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง1 เมตร (Meter Gauge)

(1) ประกวดราคา 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร

(2) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร และนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร

(3) ศึกษาออกแบบรายละเอียด 8 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตร ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กิโลเมตร ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร สุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กิโลเมตร หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร และเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กิโลเมตร

1.1.2 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน1.435 เมตร (Standard Gauge) ได้ดำเนินการศึกษาทบทวน ออกแบบกรอบรายละเอียด และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เส้นทางหนองคาย-ขอนแก่น-นครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ประกอบด้วย

(1) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด ศึกษาทบทวน ปรับแบบกรอบรายละเอียด รวมทั้งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน

(2) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะทาง 193 กิโลเมตร

(3) เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย ศึกษาออกแบบกรอบรายละเอียด ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 14 เดือน

1.2 การพัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

1.2.1 เร่งรัดก่อสร้าง4 เส้นทางได้แก่ เส้นทาง (1) รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร (2) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ- ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร (3) รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.80 กิโลเมตร และ (4) รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร

1.2.2ประกวดราคา1 เส้นทางคือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต –สะพานใหม่ – คูคต ระยะทาง 18.40 กิโลเมตร

1.2.3 โครงการและเตรียมการประกวดราคา6 เส้นทางได้แก่ เส้นทาง (1) รถไฟฟ้าสาย สีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร (2) รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (3) รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร (4) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงดอนเมือง – บางซื่อ – พญาไท ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร (5) รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง ระยะทาง 25.5 กิโลเมตร และ (6) รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กิโลเมตร

1.2.4 ศึกษาออกแบบรายละเอียด1 เส้นทางคือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร

1.3 การพัฒนาทางหลวงสายหลัก

1.3.1 จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(Motorway) สายพัทยามาบตาพุดระยะทาง 32 กิโลเมตร ซึ่งได้รับงบประมาณปี 2558

1.3.2 เร่งรัดก่อสร้างขยายทางหลวง4 ช่องจราจรประกอบด้วย 5 เส้นทางสำคัญ ซึ่งสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558 ได้แก่ เส้นทาง (1) ทล.304 อำเภอกบินทร์บุรี – อำเภอวังน้ำเขียว ตอน 3 ระยะทาง 15.51 กิโลเมตร (2) ทล.304 กบินทร์บุรี – อำเภอปักธงชัย (ทางเชื่อมผืนป่า) ระยะทาง 3 กิโลเมตร (3) ทล.4 กระบี่ – อำเภอห้วยยอด ระยะทาง 16.45 กิโลเมตร (4) ทล.3138 อำเภอบ้านบึง – อำเภอบ้านค่าย ตอน 3 ระยะทาง 18.23 กิโลเมตร และ (5) ทล.314 อำเภอบางปะกง – ฉะเชิงเทรา ตอน 2 ระยะทาง 3.25 กิโลเมตร

1.3.3 ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศประกอบด้วย 4 เส้นทางสำคัญ ซึ่งสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558 ได้แก่ เส้นทาง (1) ทล.212 อำเภอโพนพิสัย – บึงกาฬ ตอน 1 ระยะทาง 30 กิโลเมตร (2) ทล.12 ตาก – แม่สอด ตอน 3 ระยะทาง 25.50 กิโลเมตร (3) ทล.12 กาฬสินธุ์ – อำเภอสมเด็จ ตอน 2 ระยะทาง 11.00 กิโลเมตร และ (4) ทล. 3 ตราด – หาดเล็ก ตอน 2 จังหวัดตราด ระยะทาง 35 กิโลเมตร

1.4 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ

1.4.1 เสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติโครงการ2 โครงการได้แก่ (1) การก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง และ (2) การก่อสร้างศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (SRTO) (ระยะที่ 1)

1.4.2 ดำเนินการก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเรือเดิน (ระยะที่ 1) ในแม่น้ำป่าสัก

1.5 การเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการขนส่งทางอากาศ

1.5.1 ทบทวนสำรวจออกแบบและก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

(1) ทางวิ่งสำรองด้านทิศตะวันตกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะดำเนินการสำรวจออกแบบเพื่อรองรับการขึ้น – ลงของอากาศยานในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือทางวิ่งเส้นที่ 1 หรือเส้นที่ 2 ปิดทำการซ่อมบำรุง

(2) งานระบบพื้นที่ปฏิบัติการด้านการบิน(Airside) จะดำเนินการทบทวนวงเงินงบประมาณให้มีความเหมาะสม ตามความจำเป็นต่อการใช้งาน โดยคาดว่าจะสามารถก่อสร้างได้ภายในปี 2558

(3) งานอาคารที่พักผู้โดยสารอเนกประสงค์(Multi – Terminal) ด้านทิศเหนือ พร้อมสะพานเทียบเครื่องบิน ลานจอดอากาศยาน ระบบขนส่งผู้โดยสารเพื่อเชื่อมกับอาคารผู้โดยสารหลัก (Main Terminal) รวมทั้งที่จอดรถยนต์ ทั้งนี้ เป็นการก่อสร้างเพื่อทดแทนการขยายอาคารผู้โดยสารหลัก ไม่ให้กระทบต่อการบริการประชาชน

(4) งานระบบสาธารณูปโภค (ระบบไฟฟ้า ประปา และระบบบำบัดน้ำเสีย) จะดำเนินการทบทวนวงเงินงบประมาณให้มีความเหมาะสมตามความจำเป็นต่อการใช้งาน เพื่อเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558

1.5.2 ดำเนินการก่อสร้างขยายท่าอากาศยานภูเก็ตเพื่อรองรับผู้โดยสารจาก 8 ล้านคน เป็น 12.5 ล้านคนต่อปี และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการแก่ผู้โดยสาร

1.5.3 ท่าอากาศยานอู่ตะเภากระทรวงคมนาคม ได้จัดให้มีคณะทำงานโดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [สนข. กรมการบินพลเรือน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และ รฟท.] เป็นคณะทำงาน โดยคณะทำงานได้หารือร่วมกับกองทัพเรือในการเตรียมการวางแผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่3 เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าผู้โดยสารรวมทั้งวางแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับท่าอากาศยานอู่ตะเภาซึ่งคาดว่าจะได้สรุปแผนการดำเนินงานและแผนการเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องแต่ละหน่วยงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2558

1.6 การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ

เร่งรัดจัดซื้อรถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติNGV จำนวน3,183 คันโดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบรถปรับอากาศ 5 คันแรกภายในเดือนมกราคม 2558 เพื่อทดลองวิ่งดำเนินการ และภายในเดือนมีนาคม 2558 จะได้รับมอบรถตามสัญญาจำนวน 489 คัน ส่วนที่เหลือ 2,694 คัน ได้รับมอบภายในปี 2558

2. ขณะนี้กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการประมวลสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557 วันที่ 4 ตุลาคม 2557 และวันที่ 11 ตุลาคม 2557 และคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อจัดทำเป็นแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย.. 2558-2567 (ระยะ10 ปี)รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วน.. 2558 (Action Plan) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาโครงการพื้นฐานฯและแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนฯดังกล่าวข้างต้นในโอกาสต่อไปเพื่อหน่วยงานได้ใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

สำหรับผลการประชุม ครม. ประจำวันที่ 21 .. เรื่องอื่นๆ สามารถติดตามได้ที่นี่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สั่งจัดระเบียบรอบ 2 จยย.รับจ้าง-รถตู้-ชายหาด หลังกลับสู่ความไม่เป็นระเบียบ

$
0
0

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผย คสช. และ ครม. จะประชุมร่วม 4 พ.ย. - ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในที่ประชุม ครม. ว่ารถตู้ จักรยานยนต์รับจ้าง ชายหาด เมื่อเวลาผ่านไปเริ่มกลับสู่ความไม่เป็นระเบียบ จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดระเบียบอีกรอบ และจะหาทางช่วยผู้ประกอบการด้วย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. หลังการประชุม ครม. เมื่อ 21 ต.ค. 2557 (ที่มา: ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล)

22 ต.ค. 2557 - เมื่อวานนี้ เวลา 14.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)  ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เป็นประธาน ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมฯ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า การประชุม ครม. วันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้มีการกำหนดการประชุมร่วมกันระหว่าง ครม.กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งการประชุมร่วมกันครั้งนี้ จะมีการหารือและพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องของคณะกรรมาธิการในสัดส่วนของ คสช. และครม. ด้วย เพราะในส่วนของ คสช. คือ 5 บวก 1 และ ครม. คือ 5

ขณะที่นายกรัฐมนตรี ได้ปรารภถึงเรื่องของการจัดระเบียบพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถตู้ มอเตอร์ไซค์ ชายหาด ซึ่งการจัดระเบียบเบื้องต้นในบางกรณี ถือว่าลงตัวและเรียบร้อยดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง ปรากฏว่าเริ่มกลับไปสู่ความไม่เป็นระเบียบอีกแล้ว จึงได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปดำเนินการจัดระเบียบพื้นที่ใหม่อีกครั้ง

อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรี ยังคำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มีการจัดระเบียบ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ไปดำเนินการจัดระเบียบพื้นที่ได้กำหนดมาตรการหรือหามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการดังกล่าว เพื่อแบ่งเบาความเดือดร้อนเหล่านั้นด้วย

ส่วนมาตรการในการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยวเพื่อป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยว ทั้งความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือในระหว่างการขนส่งและการเดินทางท่องเที่ยวนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานกับผู้ประกอบการให้ดำเนินการควบคุมมาตรการในเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้เป็นรูปธรรม และอาจต้องมีการกำหนดบทลงโทษหากมาตรการในเรื่องดังกล่าวยังหละหลวม เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และเป็นประโยชน์โดยรวมต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

180 วัน ‘คิดถึงบิลลี่’ กับ ‘คังด้ง’ 1,000 ใย

$
0
0

กิจกรรม 180 วัน คิดถึงบิลลี่กับคังด้ง 1,000 ใย จึงไม่ได้เป็นเพียงพิธีเรียกขวัญบิลลี่เท่านั้นแต่ยังเป็นการปลอบขวัญชาวบ้านบางกลอย นำกำลังใจจากคนเมืองที่สนใจอยากให้ความช่วยเหลือไปสู่ชาวบ้านซึ่งกิจกรรมลำดับถัดไปกลุ่มดินสอสีได้จัดตั้งกองทุนบิลลี่เพื่อครอบครัวและต่อสู้คดีอีกด้วย

ที่มาของภาพ: กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

คังด้งหรือใยแมงมุม 1,000 ใย ที่ทางกลุ่มดินสอสีและประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรม "เราทุกคน คือ บิลลี่" ร่วมกันทำขึ้น (ครั้งที่1 ‘WE ALL BILLY’ วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2557 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ, ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2557 ณ สยามสมาคม สุขุมวิท 21) ถูกนำออกมาแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียกขวัญบิลลี่ ที่สะพานแขวนระหว่างหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี วันที่ 19-20 ตุลาคม 2557 นำไปแขวนไว้ที่ราวสะพาน ตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง เรียกขวัญบิลลี่ที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ถึง 6 เดือน (180 วัน) ให้กลับบ้าน โดย มีปู่คออี้ มิมี ผู้เฒ่าชาวกะเหรี่ยง วัย 105 ปี เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม การประกอบพิธีกรรมเป็นไปอย่างเรียบง่ายโดยการนำคังด้งตบลงกับพื้นบริเวณสะพานและระหว่างประกอบพิธีห้ามผู้คนสัญจรผ่าน

กิจกรรมครั้งนี้ นำโดย กลุ่มดินสอสี เครือข่ายกระเหรี่ยงภาคตะวันออกและภาคเหนือกับชาวบ้านบางกลอย นักข่าวและช่างภาพจากหลายสำนัก รวมทั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร เช่น แอมเนสตี้-ไทย รวมแล้วเกือบ 100 คน แม้ว่า ฝนจะตกแต่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างออกไปผูกคังด้งกับราวสะพานแขวนท่ามกลางสายฝนกระหน่ำ

“เมื่อกลไกรัฐทำงานล่าช้า เราต้องใช้วิธีนี้” ตัวแทนชาวกะเหรี่ยงกล่าว คังด้ง เป็นสัญลักษณ์ของใยแมงมุมซึ่งตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงมีไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมในงานบุญต่างๆ เรียกขวัญหรือวิญญาณให้มาอยู่ในคังด้ง มักติดเอาไว้ตามบ้านเพื่อเป็นเครื่องหมายนำทางให้ขวัญหรือวิญญาณกลับบ้าน คังด้งใช้เชือกไหมพรมหลายสีม้วนพันไว้บนไม้รูปกากบาทสี่แฉกหรือหกแฉกแล้วทำเป็นตุ้มสำหรับแขวน ทั้งนี้ นอกจากเรียกขวัญบิลลี่กลับบ้านยังเป็นการให้กำลังใจชาวบ้านบางกลอยซึ่งถูกอพยพโยกย้ายจากบางกลอยบนลงมาที่หมู่บ้านโป่งลึกในปัจจุบัน

ที่มาของภาพ: กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

ปัญหาอพยพโยกย้ายชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ปี 2554 กลายเป็นข่าวโด่งดังและยังเป็นคดีความในชั้นศาล เมื่อพบว่า มีการเผาไล่รื้อบ้านและฉางข้าวของพวกเขาเพื่อให้ออกมานอกเขตป่าแก่งกระจานที่กำลังถูกเสนอชื่อเป็นมรดกโลกและบิลลี่เป็นหนึ่งในผู้เรียกร้องความเป็นธรรมก่อนจะหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 จนถึงวันนี้ เป็นเวลา 6 เดือน

ตัวแทนชาวกะเหรี่ยงขยายความต่อไปว่า บิลลี่เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ตามกฏหมายองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ระบุว่าบุคคลที่รับราชการหรือเป็นพนักงานของรัฐไม่ปรากฏตัวอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบงานเกินกว่า 180 วัน ให้หมดสิทธิ์ในหน้าที่ราชการทันที ตัวแทนชาวกะเหรี่ยง ชี้ว่า สิ่งที่น่าสนใจ คือ คนของรัฐหายตัวไปอย่างไร้ร่อรอย ต้นสังกัดนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ลำดับต่อมาในช่วงเย็นเป็นพิธีการให้กำลังใจครอบครัวของบิลลี่ด้วยการจุดเทียนรำลึกถึงผู้หายไปพร้อมกับบทเพลงให้กำลังใจชาวบ้านและการแสดงเตหน่าของหญิงชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย โดย ลูกสาวของบิลลี่ร่วมจุดเทียนรำลึกถึงพ่อของเธอด้วย ต่อกรณีของบิลลี่ นับเป็นการบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐเพราะมีหลักฐานปรากฏเป็นที่ชัดเจนว่า ก่อนจะหายไปอย่างไร้ร่องรอย บิลลี่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งขณะนี้มีการดำเนินการสอบสวนในชั้นศาล

กิจกรรม 180 วัน คิดถึงบิลลี่กับคังด้ง 1,000 ใย จึงไม่ได้เป็นเพียงพิธีเรียกขวัญบิลลี่เท่านั้นแต่ยังเป็นการปลอบขวัญชาวบ้านบางกลอย นำกำลังใจจากคนเมืองที่สนใจอยากให้ความช่วยเหลือไปสู่ชาวบ้านซึ่งกิจกรรมลำดับถัดไปกลุ่มดินสอสีได้จัดตั้งกองทุนบิลลี่เพื่อครอบครัวและต่อสู้คดีอีกด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สร้อง รมว.แรงงาน สอบ สนง.คุ้มครองแรงงานสมุทรปราการ

$
0
0
สหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สส่งหนังสือถึง "พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ ระบุปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วน

 
22 ต.ค. 2557 สหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สเปิดเผยว่าได้ส่งหนังสือร้องเรียนถึงพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ โดยสหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สระบุว่าเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วน
 
ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ ได้ทำการรับรองว่าการเปลี่ยนข้อบังคับในการทำงานของบริษัทลินเด้ (อ่านเพิ่มเติม: สหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สค้านประกาศบริษัทฯ ชี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง)นั้นถูกต้องตามมาตรา 110 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน โดยไม่มีการตรวจสอบหรือสั่งให้แก้ไขตามมาตรา 108 แต่อย่างใด
 
โดยสหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สระบุว่าประกาศการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการทำงานของบริษัทลินเด้นี้เป็นการออกประกาศที่จงใจละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้างที่บริษัทฯ ทำกับสหภาพแรงงานไว้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ประกาศการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับฉบับนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้างอีกด้วย
 
ซึ่งสหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สเห็นว่าการรับรองประกาศการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการทำงานนี้โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ นั้นดำเนินการโดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วน อาจส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิแรงงานและการละเมิดกฎหมายแรงงาน จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสั่งการให้มีการตรวจสอบในกรณีนี้
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ว่าการฯ ฮ่องกงเผยกลัวคนจนในฮ่องกงมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งมากเกินไป

$
0
0

เหลียงชุนอิง ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้ว่า ถ้าให้มีการลงสมัครผู้แทนลงเลือกตั้งโดยตรงอาจจะทำให้คนจนในฮ่องกงมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งรวมถึงนโยบายมากเกินไป ทำให้ข้อความบทสัมภาษณ์ถูกแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว

21 ต.ค. 2557 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ "ควอตซ์" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวธุรกิจนำเสนอเรื่องคำกล่าวของผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เหลียงชุนอิง ที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การปฏิรูปการเลือกตั้งตามความต้องการของผู้ประท้วงในฮ่องกงล่าสุดจะทำให้คนจนในฮ่องกงมีอิทธิพลมากเกินไป

เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา (20 ต.ค.) เหลียงชุนอิงให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างประเทศจากทำเนียบของทางการ ซึ่งสื่อควอตซ์บรรยายฉากของทำเนียบที่เป็นอาคารทรงโคโลเนียลประดับด้วยของหรูหรา เหลียงชุนอิงให้สัมภาษณ์ว่าการยอมให้ประชาชนชาวฮ่องกงซึ่งมีอยู่ราว 5 ล้านคนเลือกตั้งผู้แทนที่มาจากผู้สมัครโดยตรงถือเป็นข้อผิดพลาด

"ถ้านี่เป็นเกมที่นำเสนอในเชิงจำนวนล้วนๆ คุณคงต้องคุยกับประชาชนครึ่งหนึ่งของฮ่องกงที่มีรายได้น้อยกว่า 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ราว 58,000 บาท) คุณก็จะได้การเมืองและนโยบายในรูปแบบนี้แหละ" เหลียงชุนอิงกล่าว

เหลียงชุนอิงได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างประเทศสามฉบับซึ่งมักจะต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าไปอ่านได้ แต่คำกล่าวในบทสัมภาษณ์ของเขามีการแชร์กันผ่านโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว

ข้อพิพาทเรื่องการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2560 มาจากความไม่พอใจของชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งเมื่อทราบว่าทางการจีนซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 1,200 คนจะทำการคัดเลือกผู้ลงชิงชัยในการเลือกตั้งแทนการเปิดรับสมัคร ทำให้เกิดการประท้วงในย่านธุรกิจของฮ่องกงนำโดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ก่อนที่ต่อมาชนชั้นกรรมาชีพในย่านมงก๊กจะเข้าร่วมชุมนุมด้วย โดยพวกเขามีความไม่พอใจนโยบายการเคหะของรัฐอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

เหลียงชุนอิงเป็นลูกชายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่การที่เขาสร้างรายนับล้านได้จากการเป็นผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิ์แห่งชนชั้นกรรมาชีพ" ตัวเขายังถูกผู้ประท้วงล้อเลียนโดยแต่งรูปเขาเป็นแดรกคูล่าและตะโกนไล่ให้เขาไปลงนรก

ฮ่องกงยังติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของเขตบริหารที่มีช่องว่างรายได้สูง โดยเมื่อไม่นานมานี้ธนาคารเครดิตสวิสได้รายงานเรื่องความมั่งคั่งของโลกในปี 2557 ซึ่งมีเขตบริหารพิเศษฮ่องกงติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศที่มีการกระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรม วัดจากจำนวนผู้มีความร่ำรวยสูงสุดร้อยละ 10 ของฮ่องกงถือสินทรัพย์อยู่ถึงร้อยละ 77.5 เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของคนทั้งประเทศ ทางด้านประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ผู้มีความร่ำรวยร้อยละ 10 ถือสินทรัพย์ร้อยละ 73.8 เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของคนทั้งประเทศ

เหลียงชุนอิงยังได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อวอลล์สตรีทเจอนัลอีกว่า ทางรัฐบาลจะยืนยันไม่ให้มีการลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง แต่ก็หวังว่าจะมีการเจรจาหารือให้กับกลุ่มผู้ประท้วงจนหาข้อตกลงร่วมกันได้ เช่นการมีเงื่อนไขประนีประนอมที่ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็นกลุ่มคนที่ผู้ประท้วงยอมรับได้


เรียบเรียงจาก

Hong Kong has too many poor people to allow direct elections, leader says, Quartz, 20-10-2014

Hong Kong Leader Warns Poor Would Sway Vote, The Wall Street Journal, 20-10-2014

Maybe US wealth inequality isn't as bad as you thought, CNBC, 17-10-2014
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นร.ม.5 กลุ่มต้านค่านิยม 12 ประการ เผยทหารโทรถามหาที่ ร.ร.-วอน คสช.เลิกระแวงคนคิดต่าง

$
0
0

หลังกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทยื่นหนังสือเรียกร้องยกเลิกค่านิยม 12 ประการ ล่าสุด นร.ม.5 เผย จนท.ทหาร โทรเข้า รร. ถามหาตัวนักเรียนที่เคลื่อนไหว แจงไม่ได้ต้องการล้มล้าง คสช. แค่เห็นต่างเรื่องค่านิยม 12 ประการ ยันไม่หยุดเคลื่อนไหว


ณัฐนันท์ คนที่ 2 จาก ขวามือ

22 ต.ค.2557 ณัฐนันท์ วรินทรเวช อายุ 17 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทให้สัมภาษณ์ว่า ทราบมาว่าเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา  มีเจ้าหน้าที่ทหารโทรศัพท์ไปที่โรงเรียนต่อสายถึงผู้อำนวยการโรงเรียน และถามหาเธอ โดยระบุถึงชื่อและนามสกุลอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ในไลน์กลุ่มห้องเรียน ยังมีอาจารย์เข้ามาไถ่ถามว่ามีใครไปเคลื่อนไหวกระทบกับ คสช.หรือไม่ ทำไมจึงมีการแจ้งเข้ามาที่โรงเรียน

เธอกล่าวว่า การเคลื่อนไหวเรียกร้องยกเลิกค่านิยม 12 ประการ เป็นความหวังดีกับ คสช. ในเรื่องของการศึกษา อยากให้ คสช.เลิกระแวงคนที่คิดต่าง โดยย้ำว่า ควรยกเลิกค่านิยม 12 ประการ เพราะมองว่าการปลูกฝังกันแบบนี้เป็นการล้างสมอง เป็นการถอยหลังลงคลองครั้งใหญ่ของการศึกษาไทย พร้อมยืนยันว่าจะไม่หยุดเคลื่อนไหวในประเด็นนี้

ณัฐนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเคลื่อนไหวในครั้งนี้ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะคนในกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทมีอุดมการณ์ทางการเมืองหลายหลาย ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะล้มล้าง คสช. เพียงเห็นต่างในเรื่องค่านิยม 12 ประการเท่านั้น

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทได้รวมตัวหน้ากระทรวงศึกษาธิการ แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านการใช้หลักค่านิยม 12 ประการ ในการชี้นำความคิดเยาวชนไทย โดยตัวแทนของกลุ่มได้อ่านบท “อาขยานถึงท่านผู้นำ” เพื่อแสดงจุดยืนถึงการคัดค้านกรณีที่รัฐบาลพยายามสร้างชุดความดีชุดเดียวให้คนนับถือ โดยมองว่าคนในสังคมนั้นมีความหลากหลาย ควรยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายนั้น

นอกจากนี้กลุ่มดังกล่าวยังกล่าวตั้งแคมเปญรณรงค์ล่ารายชื่อใน ‘change.org’ ถึง พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  และ ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรียกร้องให้มีการยกเลิกการบังคับใช้ค่านิยม 12 ประการ ในหลักสูตรการศึกษาด้วย

 

 



กิจกรรมคัดค้านค่านิมยม 12 ประการ หน้ากระทรวงศึกษาฯ เมื่อวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาครัฐเร่งดันกฎหมายคุมสารตะกั่วในสี ป้องกันเด็กไทยปัญญาอ่อนจากพิษตะกั่ว

$
0
0
กระทรวงสาธารณสุขจับมือกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมผลักดันมาตรฐานคุมสารตะกั่วในสีทาอาคาร ลดปัญหาพิษตะกั่วที่ต้นเหตุ นักวิจัยเผยผลสำรวจ 129 โรงงานสี พบผู้ประกอบการยินดีทำตามกฎหมายหากรัฐชัดเจนทางนโยบายและตรวจสอบลงโทษผู้ฝ่าฝืน
 
 
22 ต.ค. 2557 กิจกรรมสัปดาห์ป้องกันภัยจากพิษตะกั่ว ปี 2557 (Lead Poisoning Prevention Week of Action, Thailand 2014) ในหัวข้อ ‘ปกป้อง IQ เด็กไทย จากภัยสารตะกั่ว’ จัดโดยความร่วมมือระหว่างกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์วิจัยเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี และแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ห้องจักรพันธุ์ อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี
 
กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมรณรงค์ตลอดสัปดาห์ใน 30 กว่าประเทศทั่วโลก นำโดย “เครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการเพิกถอนสารตะกั่วในสีทาอาคาร” (GAELP) ก่อตั้งโดยองค์การอนามัยโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
 
 
ดันทั่วโลกเลิกใช้สารตะกั่วผลิตสี ภายใน 6 ปี ข้างหน้า
 
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข แสดงความห่วงใยถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่มีเด็กป่วยด้วยโรคปัญญาอ่อนจากพิษตะกั่ว กว่า 6 แสนคนทุกปีจากทั่วโลก และเด็กไทยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงจากภัยของพิษตะกั่วเช่นกัน ซึ่งแหล่งกำเนิดที่สำคัญที่สุดในขณะนี้คือ สารตะกั่วที่ผสมอยู่ในสีทาบ้านหรือสีตกแต่งอาคาร ซึ่งเด็กมักได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายจากการกินแผ่นสีที่ลอกออกมา หรือฝุ่นสีที่หลุดร่อนจากผนังต่างๆ และไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
 
ร่างกายของเด็กเล็กแตกต่างจากผู้ใหญ่คือ เด็กเล็กสามารถย่อยและดูดซึมสารตะกั่วได้ดีกว่าผู้ใหญ่ และเด็กยังเป็นวัยที่อ่อนไหวเป็นพิเศษ เนื่องจากสารตะกั่วจะเข้าไปทำลายเซลล์สมองของเด็กที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการผิดปกติทางสมองได้ แม้ได้รับสารตะกั่วในปริมาณเพียงเล็กน้อย
 
ดร.ลีวีอู เวดราสโก ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่าพิษตะกั่วเป็นต้นเหตุของปัญหาทางสุขภาพที่หลากหลาย ทั้งโรคโลหิตจาง โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคของระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งพัฒนาการทางสติปัญญาบกพร่อง และความผิดปกติเชิงพฤติกรรม เช่น โรคสมาธิสั้น ทั้งที่พิษตะกั่วเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ ด้วยเหตุนี้ องค์กรอนามัยโลกจึงต้องการให้ประเทศสมาชิกทุกแห่งยกเลิกการใช้สารตะกั่วในการผลิตสี
 
นายปราโมทย์ วิทยาสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ตระหนักถึงอันตรายของสาระกั่วเป็นอย่างยิ่ง จึงได้จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ให้สีเคลือบเงามีปริมาณสารตะกั่วได้ไหม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน (พีพีเอ็ม) จากเดิม 600 พีพีเอ็ม และขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงเป็นมาตรฐานบังคับด้านความปลอดภัยเรื่องโลหะหนักเป็นพิษ ซึ่งกำหนดให้มีสารตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม ไม่เกิน 100 พีพีเอ็ม ซึงเป็นไปตามพันธกิจของรัฐบาลไทยที่ได้ร่วมลงมติก่อตั้งเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิกถอนสารตะกั่วจากสี (GAELP) ในการประชุมนานาชาติว่าด้วยการจัดการสารเคมีอย่างปลอดภัย ครั้งที่ 2
 
“ผมยินดีอย่างยิ่งที่ทราบว่าองค์การอนามัยโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้ร่วมผลักดันและกำหนดเป้าหมายให้ยกเลิกการใช้สารตะกั่วในสีในทุกประเทศทั่วโลกภายใน พ.ศ. 2563 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
 
สารตะกั่วมักถูกใช้เป็นวัตถุดิบในสีน้ำมันทาอาคารและสีน้ำมันตกแต่ง โดยมักอยู่ในรูปของผงสีโทนสด เช่น สีเหลือง สีแดง สีเขียว ในบางกรณี สารตะกั่วยังถูกนำมาเป็นส่วนผสมของสารเร่งแห้งและสารเร่งปฏิกิริยาทางเคมี แต่เนื่องจากสารตะกั่วในสีเป็นต้นเหตุของโรคพิษตะกั่วในเด็กจำนวนมาก ปัจจุบัน รัฐบาลกว่า 40 ประเทศทั่วโลกมีกฎหมายเลิกใช้สารตะกั่วในสี และล่าสุด เมื่อธันวาคม 2556 ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ออกกฎหมายห้ามผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์สี บรรจุภัณฑ์อาหาร ตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีสารตะกั่วเจือปน ภายในปี 2559
 
 
นักวิจัยเผยผลสำรวจ ชี้โรงงานสียินดีทำตามกฎหมายหากรัฐมีนโยบายชัด
 
นางเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานควบคุมปริมาณสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคารตั้งแต่ปี 2538 อันเป็นปีเดียวกันที่ประเทศไทยออกกฎหมายเพิกถอนสารตะกั่วจากน้ำมันเชื้อเพลิง แต่เนื่องจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์สีเป็นเพียงมาตรฐานสมัครใจ จึงทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตาม เกือบ 30 ปีต่อมา ผลการสำรวจสีน้ำมันทาอาคาร 120 ตัวอย่างโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศเมื่อปี 2556 พบสีน้ำมันทาอาคารร้อยละ 79 มีสารตะกั่วปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน มอก. แบบสมัครใจ ซึ่งกำหนดให้มีสารตะกั่วเจือปนได้ไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน (พีพีเอ็ม)
 
นอกจากนี้ พบผลิตภัณฑ์สีจำนวนมากที่แสดงฉลาก ‘ไร้สารตะกั่ว’ แต่ตรวจพบสารตะกั่วเจือปนสูง ตั้งแต่ 230 พีพีเอ็ม ถึง 56,000 พีพีเอ็ม
 
ดร.ปนันดา จันทร์สุกรี รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำในสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการสีขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 129 ราย พบว่าร้อยละ 95 ยินดียกเลิกใช้สารตะกั่วเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สีหากรัฐประกาศมาตรฐานบังคับ และผู้ประกอบการเล็งเห็นประโยชน์ของมาตรฐานบังคับว่าจะช่วยป้องกันผลกระทบทางสุขภาพต่อพนักงานและลูกค้า อีกทั้งจะช่วยให้ภาพลักษณ์ของบริษัทดีขึ้น
 
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสีเรียกร้องให้รัฐออกมาตรการที่ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องจากมาตรฐานสมัครใจไร้สภาพบังคับ อีกทั้งยังเรียกร้องให้รัฐตรวจสอบผลิตภัณฑ์อย่างเข้มงวด มีบทลงโทษผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานจากประเทศเพื่อนบ้าน
 
 
สธ.ร่วม อก.ดันกฎหมายคุมปริมาณสารตะกั่วในสี ลดปัญหาที่ต้นเหตุ
 
“ผมขอยืนยันว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนามาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถปรับเปลี่ยนสู่การผลิตสียุคใหม่ที่ปลอดสารตะกั่ว” นายปราโมทย์ วิทยาสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
 
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญและดำเนินการยกร่างมาตรฐานบังคับ เพื่อควบคุมปริมาณสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สีน้ำมันทาอาคาร ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางขององค์การอนามัยโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
 
“ผมหวังว่าการจัดกิจกรรมสัปดาห์ป้องกันภัยจากพิษตะกั่วในครั้งนี้ จะส่งผลให้ทุกภาคส่วนเกิดความตระหนัก เข้าใจถึงอันตราย และร่วมมือดำเนินการผลักดันนโยบายควบคุมการใช้ตะกั่วในสีทาอาคารให้เป็นมาตรฐานบังคับในอนาคตอันใกล้ เพื่อเป็นการควบคุมตะกั่วที่ต้นกำเนิด อันจะเป็นการป้องกันเด็กให้ห่างไกลพิษสารตะกั่ว มีต้นทุนสมองและต้นทุนสุขภาพที่ดีเป็นอนาคตของชาติต่อไป” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
 
นายชัยสิทธิ์ บุญกัน นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในการประชุมวันที่ 29 ต.ค.นี้ คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจะพิจารณากำหนดให้สีตกแต่งและสีทาอาคารเป็นสินค้าควบคุมฉลาก เพื่อบังคับให้ภาชนะบรรจุสีแสดงข้อมูลปริมาณสารตะกั่วและคำแนะนำเรื่องอันตรายทางสุขภาพจากสารตะกั่ว เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.ศธ.ย้อนถามกลุ่มต้านค่านิยม 12 ประการ “ผิดปกติหรือเปล่า”

$
0
0

รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ถามคนที่ต่อต้านค่านิยม 12 ประการ ยังปกติหรือเปล่า แจงพร้อมรับฟังถ้ามีคนไม่เห็นด้วยเยอะ


22 ต.ค. 2557 พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. กล่าวถึงกรณีมีกลุ่มออกมาต่อต้านค่านิยม 12 ประการว่า “ก็ต้องถามว่า ค่านิยม 12 ประการ มันมีข้อไหนที่ไม่ดีบ้าง น้องลองท่องดูนะ 1. รักชาติ ศาสนา 2.ซื่อสัตย์ เสียสละ 1-12 มันก็ดีทุกข้อ ถ้าเราจะบอกคนให้ทำความดี 12 ประการอย่างงี้ ถ้ามันเป็นเรื่องผิดผมก็ว่า ต้องไปดูคนที่โพสต์หรืออยากเสนอเรื่องนี้ว่า ตัวเขาผิดปกติหรือเปล่า”

“ผมว่านะคือคนต่างความคิด ก็อันนี้เป็นเรื่องของสังคมดีกว่า ถ้าเขาเสนอมาแล้วสังคมส่วนใหญ่ คน 50-60 ล้านคนเห็นด้วยตามเขา รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการก็ต้องพิจารณาว่ามันไม่ถูกต้อง แต่ถ้ามีคนฟังแค่ 10 คน 5 คน ผมว่าเป็นเรื่องที่เราไม่ต้องไปสนใจ เพราะว่าไอ้เรื่องแบบนี้เก็บมาใส่หัวมากๆ ปวดสมองไม่ต้องคิดทำงานทำการอะไร ก็ต้องดูมันว่ายังมีคนขวางโลกอยู่ในทุกที่”

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า มีการแจ้งกับองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องแล้วว่า ไม่ได้ให้ครูสอนแบบท่องจำ ต้องมีการอธิบายเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน อาทิ ชาติ ศาสนาสำคัญอย่างไร ต้องขึ้นอยู่ระดับการศึกษาของเด็กด้วย

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทได้รวมตัวหน้ากระทรวงศึกษาธิการ แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านการใช้หลักค่านิยม 12 ประการ ในการชี้นำความคิดเยาวชนไทย โดยตัวแทนของกลุ่มได้อ่านบท “อาขยานถึงท่านผู้นำ” เพื่อแสดงจุดยืนถึงการคัดค้านกรณีที่รัฐบาลพยายามสร้างชุดความดีชุดเดียวให้คนนับถือ โดยมองว่าคนในสังคมนั้นมีความหลากหลาย ควรยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายนั้น

นอกจากนี้กลุ่มดังกล่าวยังกล่าวตั้งแคมเปญรณรงค์ล่ารายชื่อใน ‘change.org’ ถึง พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  และ ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรียกร้องให้มีการยกเลิกการบังคับใช้ค่านิยม 12 ประการ ในหลักสูตรการศึกษาด้วย

 

ที่มา:http://news.voicetv.co.th/thailand/124139.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“เราจะทำตามสัญญา” กกต. พม่ายันเลือกตั้งแน่ ปลายตุลาต้นพฤศจิกาปี58

$
0
0

22 ต.ค. 57 – เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ทิน เอ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งสหภาพพม่า(UEC) เผยหลังจากร่วมการประชุมกับบรรดาพรรคการเมืองพม่าว่า ได้กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปของพม่าแล้ว ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนต.ค. หรือช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพ.ย. ปี 2558  พร้อมย้ำว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม ขณะเดียวกันได้เรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆ องค์กรภาคประชาสังคม และกลุ่มให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศให้ความร่วมมือต่อการเลือกตั้งที่จะ มีขึ้นในปีหน้านี้ พร้อมเปิดโอกาสให้มีการสังเกตการเลือกเลือกตั้งได้

“เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เราจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และให้มีการจัดตังรัฐบาลภายใน 90 วันหลังจากการเลือกตั้ง และเพื่อที่จะทำให้มันเกิดขึ้นเราจะมีการจัดการเลือกตั้งในช่วงปลายเดือนตุลาคม หรือช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปี 2558 ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้”ทิน เอกล่าว

ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งสหภาพพม่า ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีชาวพม่าที่อยู่ต่างแดนว่า จะมีการจัดการเลือกตั้งสำหรับแรงงานพม่าที่ถูกกฎหมายในต่างประเทศ โดยจะจัดให้มีการลงคะแนนเสียงที่สถานทูตพม่าในประเทศนั้นๆ ส่วนผู้ที่พักอาศัย หรือทำงานอย่างผิดกฎหมายในต่างประเทศหากต้องการเลือกตั้งจะต้องเดินทางกลับ ยังภูมิลำเนาของตนเอง

ที่ผ่านมาทางการพม่าได้สัญญาว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ หลังจากกองทัพได้เลิกควบคุมอำนาจบริหารพม่าโดยตรงเมื่อ 2 ปีก่อน และปล่อยให้รัฐบาลพลเรือนเป็นฝ่ายขับเคลื่อนประเทศ และที่ผ่านมา รัฐบาลของนายเต็ง เส่ง ยังได้รับการยกย่องจากนานาชาติและประชาคมโลกว่า ได้ดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยในหลายด้าน และนำไปสู่การเลิกการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก อย่างไรก็ตามกลุ่มสิทธิมนุษยชนเองได้แสดงความวิตกว่า ทางการพม่ายังมีพฤติกรรมริดรอนเสรีภาพสื่อฯ รวมทั้งการลงโทษผู้สื่อข่าวและนักกิจกรรมสังคมอยู่  ซึ่งการกระทำนี้อาจเป็นกระทำที่ส่วนทางกับการพัฒนาประชาธิปไตย และทำให้พม่าถอยหลังกลับไปสู่การเป็นรัฐบาลเผด็จการอีกครั้ง

พม่าจัดการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2553 โดยพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ของเต็ง เส่ง ชนะคะแนนเสียงส่วนใหญ่ โดยเต็งเส่ง ที่เป็นหัวหน้าพรรคในขณะนั้นได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี หลังอยู่ภายใต้การปกครองของทหารนาน 5 ทศวรรษ และการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 1 เม.ย.2555 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้ที่นั่งในรัฐสภาไป 43 ที่นั่ง จากทั้งหมด 45 ที่นั่ง

ขณะที่การเลือกตั้งที่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยครั้งล่าสุดของพม่าเกิดขึ้นเมื่อ 2533 โดยครั้งนั้นพรรคสันติบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากกองทัพ เพราะต้องการสืบทอดอำนาจทางการเมืองต่อไป

ที่มา : สำนักข่าวอิรวะดี,มติชนออนไลน์,

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย

$
0
0

“ก็ต้องถามว่า ค่านิยม 12 ประการ มันมีข้อไหนที่ไม่ดีบ้าง น้องลองท่องดูนะ 1. รักชาติ ศาสนา 2.ซื่อสัตย์ เสียสละ 1-12 มันก็ดีทุกข้อ ถ้าเราจะบอกคนให้ทำความดี 12 ประการอย่างงี้ ถ้ามันเป็นเรื่องผิดผมก็ว่า ต้องไปดูคนที่โพสต์หรืออยากเสนอเรื่องนี้ว่า ตัวเขาผิดปกติหรือเปล่า”

22 ต.ค.57 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. กล่าวถึงกรณีมีกลุ่มออกมาต่อต้านค่านิยม 12 ประการ

คณะทูต EU หารือ 4 องค์กรสื่อฯ ขอให้เคารพสิทธิฯผู้เสียหายกรณีเกาะเต่า

$
0
0

คณะทูตสหภาพยุโรปเข้ายื่นหนังสือและพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่อง ความรับผิดชอบของสื่อในการนำเสนอข่าวเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายกรณีเกาะเต่า กับ 4 องค์กรสื่อฯ แนะให้ยึดจริยธรรม และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มากกว่าแข่งขายข่าว

22 ต.ค. 57 คณะทูตจากกลุ่มประเทศยุโรปนำโดยนายฟรานเชสโก ซาเวริโอ นิสิโอ (Francesco Saverio Nisio) เอกอัครราชทูตอิตาลี ประจำประเทศไทย ในฐานะประธานกลุ่มฯ ร่วมกับเอกอัครราชทูตอีก 7 ประเทศ ประกอบด้วย ฝรั่งเศส, อังกฤษ, เดนมาร์ก, เยอรมัน, สเปน, เช็ก และโปรตุเกส เข้าพบตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้แก่ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยเป็นการเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือและหารือเรื่อง ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวผู้เคราะห์ร้ายกรณีการฆาตกรรมที่เกาะเต่า

โดยในการหารือครั้งนี้ฟรานเชสโก ซาเวริโอ นิสิโอ กล่าวว่าตนมีความกังวลในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนไทยกรณีเหตุการณ์การสูญ เสียที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่าจึงอยากเรียก ร้องให้การรายงานข่าวของสื่อไทยนอกเหนือจากเรื่องเนื้อหาแล้ว ภาพ กราฟิกยังต้องไม่ไปละเมิดผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงไม่จำเป็นต้องนำ เสนอรายละเอียดของผู้ตกเป็นเหยื่อมากจนเกินไปเนื่องจากจะเป็นการไม่เคารพ ความเป็นส่วนตัว และสิทธิส่วนบุคลแล้วทั้งยังจะส่งผลกระทบกับความรู้สึกต่อคนในครอบครัว และผู้ใกล้ชิดอีกด้วย

ด้านนายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ซึ่งเป็นผู้รับมอบหนังสือ ได้เผยว่าประเด็นใหญ่ที่อียูเน้น คือการที่สื่อไทยได้ลงรายละเอียด เนื้อหา และภาพที่ไม่สมควรในกรณีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่ เกาะเต่า ซึ่งอาจจะกล่าวว่า สาเหตุอาจมาจากการแข่งขันกัน และขาดความระมัดระวังทำให้ ภาพและข่าวที่ไม่สมควร ถูกเผยแพร่ออกไปเช่นสภาพศพทำให้เข้าข่ายไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทางคณะทูตอียูเป็นห่วงว่าเหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นอีกก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวจากยุโรปมาเที่ยวไทยบ่อย โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อมีสูง และไม่อยากให้เกิดขึ้น ซ้ำรอย โดยการมาเข้าพบครั้งนี้ของคณะทูตไม่ได้ต้องการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ เพราะประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับการให้สิทธิเสรีภาพมาก แต่อยากให้มองความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบตามหลักจริยธรรมมากว่า

ขณะเดียวกัน 4 องค์กรวิชาชีพยืนยันว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยพร้อมจะหยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้ามาพุดคุยและผลักดันให้เกิดการปฏิรูปสื่อมวลชนต่อไป

 ที่มา: สำนักข่าวไทย, สำนักข่าวอิศรา, คมชัดลึกออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลุดเอกสาร 'ลับมาก' ชงแก้ พ.ร.บ.กสทช. ยุบบอร์ด กทค.-กสท.

$
0
0

กสทช. หลุดเอกสาร "ลับมาก" เนื้อหาชงแก้ กม.กสทช. ยุบบอร์ด กทค.-กสท. ให้อำนาจเต็มบอร์ดใหญ่ แจงเกิดปัญหากรณีบอร์ดใหญ่ไม่ได้ตัดสินใจแต่ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย คาดส่งเรื่องต่อ ครม.และ สนช.เร็วๆ นี้ ด้านสุภิญญาทวีต ไม่รู้เรื่องด้วย ชี้ควรขอมติบอร์ด กสทช.ก่อนเสนอ

22 ต.ค.2557 เมื่อวันที่ 20 ต.ค. เวลาราว 21.00 น. ทวิตเตอร์ @TakornNBTCของ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีการเผยแพร่ภาพถ่ายรายละเอียดภายใน "เอกสารลับมาก" ของ กสทช. โดยมีเนื้อหาระบุว่า ความเห็นชอบจากประธาน กสทช.เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ด้วยการปรับปรุงโครงสร้าง กสทช.เป็นการเร่งด่วน และเสนอให้มีคณะกรรมการเพียงคณะเดียว เพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดเอกภาพ ส่งเสริมการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นธรรม สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและธุรกิจที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจฐานดิจิตอล (ดิจิตอลอีโคโนมี) และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ต่อมา เวลา 12.30 น. นายฐากรได้ลบภาพดังกล่าวออก และมีการให้สัมภาษณ์สื่อยืนยันว่า ไม่ได้ดำเนินการเผยแพร่รูปภาพดังกล่าว แต่ยอมรับว่ารูปภาพดังกล่าวได้ถ่ายไว้จริงในไอแพดส่วนตัว และไม่ได้ส่งให้แก่ใคร กำลังตรวจสอบที่มาของการเผยแพร่รูปภาพ แต่ยอมรับว่าหนังสือฉบับดังกล่าวที่เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการขอยุบบอร์ด กรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้เหลือเพียงบอร์ด กสทช. เป็นบอร์ดเดียวเป็นเรื่องจริง

ด้านเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช. ว่า สาเหตุที่ต้องปรับโครงสร้างใหม่ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 35 ให้ กสทช.แต่งตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก 2 ชุด คือ กทค. และ กสท. เพื่อให้มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมถึงตัดสินใจได้ทันทีโดยไม่ต้องส่งเรื่องเข้าที่ประชุม กสทช. ทำให้ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่การตัดสินใจของกรรมการชุดเล็กมีปัญหา ขณะที่คณะกรรมการ กสทช.ไม่สามารถเข้าไปร่วมตัดสินใจได้ แต่เมื่อเกิดการฟ้องร้อง กสทช.ทั้งหมดกลับต้องรับผิดชอบด้วย

แหล่งข่าวคนดังกล่าวระบุว่า ดังนั้นสำนักงาน กสทช.จึงตัดสินใจลดอำนาจหน้าที่ของกรรมการทั้ง 2 ชุดดังกล่าว ด้วยการตัดมาตรา 35 ออก เพื่อไม่ให้มีกรรมการชุดเล็ก และให้อำนาจการตัดสินใจของทุกเรื่องอยู่ที่กรรมการ กสทช.ชุดใหญ่แทน ส่วนการดำเนินงาน ก็อาศัยการตั้งคณะอนุกรรมการดูรายละเอียดในเรื่องต่างๆ แทน ก่อนจะส่งเรื่องให้กรรมการ กสทช.พิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเรื่องนี้สำนักงานได้หารือกับกฤษฎีกาอย่างต่อเนื่องจึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาในการแก้กฎหมายดังกล่าว จากนี้จะดำเนินการนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ สภานิติบัญญัติ (สนช.) คาดว่าจะเรียบร้อยภายในเร็วๆ นี้
           
แหล่งข่าวคนดังกล่าวระบุว่า การแก้กฎหมายนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เพราะที่ผ่านมา กสทช.มีปัญหาในการบริหารงานหลายเรื่อง ถ้าไม่แก้ กสทช.อาจจะถูกยุบได้ อีกอย่างคือรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะออกมา ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะกำหนดบทบาทของ กสทช.ไว้อย่างไร จะยังให้เป็นองค์กรอิสระหรือไม่ หรือจะให้ไปอยู่ภายใต้หน่วยงานใด จึงไม่รู้ว่ากสทช.จะถูกจัดระเบียบอย่างไร ถึงตอนนั้นอาจจะต้องมีการแก้กฎหมายอีกครั้งหนึ่ง

ด้านกรุงเทพธุรกิจอ้างแหล่งข่าวจาก กสทช. ระบุว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ กสทช. นำส่งยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเบื้องต้นนายฐากร ได้หารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และ กสทช. บางรายแล้ว ซึ่งกว่าครึ่งได้เห็นชอบ
      
ขณะที่ สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ @supinyaระบุว่า ยังไม่ทราบเรื่องข้อเสนอยุบรวมบอร์ดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากสำนักงานและประธานจะเสนอแก้ พ.ร.บ.กสทช.ก็ไม่ว่าอะไร แต่ประธานและสำนักงานควรทำวาระหารือกรรมการทั้ง 10 คนว่าคิดเห็นอย่างไรด้วย อีกทั้งตาม พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 27 (23) ระบุอำนาจของบอร์ด กสทช.ในการเสนอแก้ไขกฏหมาย ไม่ใช่อำนาจของประธาน กสทช.โดยลำพัง

"ไม่ได้ค้านเรื่องการแก้กฏหมาย ถ้าคนนอกจะยุบจะแก้ ไม่เป็นไร แต่ถ้าคนในจะเสนอแก้เอง ขอเพียงให้หารือมติบอร์ด กสทช.ด้วย จะได้เสนอความเห็น" สุภิญญาระบุ




ที่มา:ASTVผู้จัดการออนไลน์, กรุงเทพธุรกิจ และ ทวิตเตอร์ @supinya

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนช.ผ่านกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯ ด้าน ก.ศป.เฮ! ได้อยู่ยันครบวาระ

$
0
0
สนช.ถก กฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯ หลังอภิปรายเกือบ 2 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติในวาระ 3 เห็นชอบ 169 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ผ่านร่างกฎหมาย ด้านตุลาการ 101 คนเฮ! ก.ศป.อยู่ยันครบวาระ
 
22 ต.ค. 2557 การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม  ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่.. ) พ.ศ. …. ในวาระ 2 และ 3 ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีสาระเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ซึ่งที่ผ่านมาได้บัญญัติไว้เฉพาะในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยไม่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
 
ดังนั้นควรจะกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง  ไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ และแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติ คุณลักษณะต้องห้าม วิธีการเลือก และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ผู้ทรงคุณวุฒิให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่สภาจะรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้มีตุลาการศาลปกครอง 101 คน เข้าชื่อเพื่อทำหนังสือถึงนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เพื่อให้ระงับหรือชะลอการพิจารณา เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ไม่ผ่านรับความคิดเห็นของตุลาการศาลปกครอง กระทั่งนายพรเพชร เปิดให้ตุลาการฝ่ายที่เห็นต่างและสนับสนุนร่างดังกล่าวเข้าเป็น กมธ.ร่วมเพื่อพิจารณากฎหมาย
 
หลังอภิปรายเกือบ 2 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมก็ได้มีมติในวาระ 3 เห็นชอบ 169 ต่อ 1 เสียง และงดออกเสียง 8 เสียงให้บังคับใช้ ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่.. ) พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
 
ทั้งนี้ สำนักข่าวไทยรายงานว่า ประชุมได้พิจารณาเป็นรายมาตรา โดยสมาชิกส่วนใหญ่เห็นชอบตาม กมธ.เสียงข้างมาก ให้มีการแก้ไข เมื่อเข้าสู่การพิจารณาในมาตรา 12 กำหนดให้ดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ศป.) ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้
 
โดยคณะ กมธ.เสียงข้างมากมีมติให้ตัดออกทั้งมาตรา ขณะที่ นายวิชัย ชื่นชมพูนุท รองประธานศาลปกครองสุงสุด ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย ได้สงวนความเห็นเพื่อขออภิปรายต่อที่ประชุม เพราะต้องการให้คงไว้ซึ่งมาตรา 12  เนื่องจากองค์ประกอบ ก.ศป.เป็นการบัญญัติใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ เป็นครั้งแรก เพราะไม่เคยมีการระบุไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ มาก่อน ดังนั้น องค์ประกอบของ ก.ศป.ที่จะกำหนดขึ้นมาใหม่ ตามร่างฯ ที่สภาฯ รับหลักการ และกำลังพิจารณากันอยู่นี้ ก็ควรมีกำหนดให้เลือกตั้งใหม่ทั้งหมดด้วย
 
นายวิชัย ระบุว่า การตัดมาตรา 12 ออกทั้งมาตรา น่าจะไม่ถูกต้อง ขณะเดียวกัน องค์ประกอบของ ก.ศป.มีอยู่ไม่ครบตามจำนวน เพราะสัดส่วนจากวุฒิสภาและครม.หมดวาระลงไปแล้ว ก่อนที่รัฐธรรมนูญ 2550 จะสิ้นสุดลง และจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่อยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อให้ กศป.ทำหน้าที่ไปพร้อมๆ กัน จึงน่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมดภายหลังจากที่ร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวบังคับใช้ไปแล้ว
 
ขณะที่ นายกล้านรงค์ จันทิก สมาชิก สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวกล่าวว่า ร่างเดิมที่สภามีมติรับหลักการนั้น มีการยกเลิก ก.ศป.ทั้งหมด และจะมีการตั้งขึ้นมาใหม่ แต่ในระหว่างตั้งขึ้นใหม่นั้น ได้ให้ที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองเข้าไปทำหน้าที่แทน ซึ่งคณะ กมธ.เห็นว่า ก.ศป.ชุดนี้ที่เหลือวาระอยู่ถึงวันที่ 19 เม.ย. 2558 หรืออีกราว 6 เดือน จะต้องหมดวาระไปด้วย เมื่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นการลิดรอน สิทธิ ก.ศป.ที่ยังอยู่ในวาระ
 
การที่ คณะกมธ.ตัดมาตรา 12 เพราะต้องการให้กศป.อยู่ต่อไป จนกว่าจะครบวาระ และเมื่ออยู่ครบวาระแล้ว ทางกมธ.ก็เขียนวิธีการคัดเลือก กศป.ที่ว่างลงได้ โดย คณะกมธ.ได้เขียนรองรับไว้ในมาตรา 13 แล้ว คือ ให้ ก.ศป.ซึ่งดำรงตำแหน่งก่อนรัฐธรรมนูญปี 50 สิ้นสุดลง ยังคงมีตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะครบวาระ 19 เม.ย.58 และให้ประธานกรรมการ และกรรมการ ใน ก.ศป.เป็นคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ  ซึ่งที่ประชุมอภิปรายราว 2 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติในวาระ 3 เห็นชอบ 169 ต่อ 1 เสียง และงดออกเสียง 8 เสียง ให้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้ 1  ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานกรรมการ  2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเก้าคนซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครองและได้รับเลือกจากตุลาการในศาลปกครองด้วยกันเอง 3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาสองคน และจากคณะรัฐมนตรีอีกหนึ่งคน รวมแล้ว 13 คน  แต่ขณะนี้ไม่มี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากวุฒิสภา และจากคณะรัฐมนตรี ทำให้เหลือ 10 คน ประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสูงสุด ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 6 คน ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น 3 คน
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images