Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

กลับลำผลศึกษา ยอมรับคลื่นจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มีความเสี่ยง

$
0
0
นักวิชาการลาดกระบังยอมรับผลวิจัยที่เคยเผยแพร่เรื่องผลกระทบของการแผ่คลื่นคลาดเคลื่อน ชี้การศึกษาเป็นแค่การวัดคลื่น ไม่ครอบคลุมผลกระทบด้านสุขภาพ ดังนั้นไม่อาจสรุปได้ว่าคลื่นจากเสาส่งสัญญาณมือถือปลอดภัย

                
19 ก.ย. 2557 ดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ นักวิชาการอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้าโทรคมนาคม กล่าวในงานเสวนา NBTC Public Forum ครั้งที่ 4/2557 เรื่อง “ปัญหาและทางออก กรณีผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์” ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2557 ณ โรงแรมมิราเคิล กรุงเทพฯ ระบุถึงความเสี่ยงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าว่า ความแตกต่างระหว่างผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือกับการอยู่ใกล้เสาสัญญาณคือ ผู้ใช้โทรศัพท์ยังสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งานนานมากน้อยแค่ไหน แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เสาสัญญาณไม่มีสิทธิเลือก และอยู่ในสภาพจำยอมต้องรับคลื่นตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการตั้งเสาสัญญาณจึงเข้าข่ายการละเมิดสิทธิ
                
ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า การศึกษาผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีมานานแล้ว โดยมีการค้นพบว่ามีผลกระทบต่อระบบชีวภาพของมนุษย์ คือสามารถทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตให้ชำรุดได้ โดยทำให้สายพันธุกรรมแตกขาด ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมากหรือต่อเนื่อง ถ้าร่างกายซ่อมแซมไม่ทันหรือซ่อมแซมผิดจากที่ควรจะเป็น ก็จะทำให้เกิดมะเร็งและโรคอื่นๆ ได้
                
“ผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อชีวภาพมนุษย์ นักวิชาการรู้กันมาตั้งแต่ปี 1998 ตั้งแต่สมัยที่การใช้โทรศัพท์มือถือยังไม่แพร่หลาย แต่ในระยะหลังๆ มีการค้นพบหลักฐานและงานวิจัยมากขึ้น และมีการตั้งข้อสงสัยว่าทำไมคนที่อยู่ใกล้เสามีจำนวนคนเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น” ดร.สุเมธกล่าว
                
นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการตั้งเสาสัญญาณมีความซับซ้อน เพราะมีประเด็นทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากหลายกรณีขาดการสื่อสารกับชาวบ้านและการทำประชาพิจารณ์ ในส่วนของผลกระทบต่อสุขภาพ องค์การอนามัยโลกได้จัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสารก่อมะเร็งประเภท 2B คือเป็นสารอาจก่อมะเร็ง
                
“องค์การอนามัยยังไม่ยอมรับว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ เพราะในอนาคตหากมีข้อค้นพบมากขึ้น ก็จะปรับให้เป็นสารก่อมะเร็งได้ ดังนั้นคนที่อยู่ใกล้เสา ถ้าสมัครใจก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าชุมชนไหนไม่พอใจเสา ก็ควรพยายามต่อยอดองค์ความรู้จากองค์การอนามัยโลกโดยใช้หลักการป้องกันไว้ก่อน และคงต้องอาศัยการผลักดันทางการเมืองเพื่อให้เกิดการเจรจาและแก้ปัญหา” นพ.พิบูลกล่าว
                
สำหรับงานวิจัยที่สำนักงาน กสทช. ได้เคยจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังศึกษาถึงผลกระทบของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐาน ซึ่งได้มีการแถลงผลการศึกษาไปเมื่อ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยสรุปว่า การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งเสาสัญญาณ
                
นายธัชชัย พุ่มพวง นักวิชาการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวในฐานะนักวิจัยในโครงการดังกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็นเพียงการวัดระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งพบว่าจากการวัดระดับความแรงของคลื่นจากสถานีฐานจำนวน 40 สถานี มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ กสทช. กำหนด ส่วนผลกระทบทางด้านสุขภาพยังจำเป็นต้องมีการศึกษาให้ละเอียดยิ่งขึ้น งานศึกษาที่ทีมวิจัยทำเป็นเพียงงานวิจัยเชิงฟิสิกส์ ไม่ใช่งานวิจัยทางการแพทย์ จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่าการแผ่คลื่นจากเสาสัญญาณมีความปลอดภัย เป็นเพียงการอนุมานได้ว่ามีความเสี่ยงต่ำ
                
“ผมยอมรับว่าทุกคนมีความกลัว ในปัจจุบันถ้าชุมชนใดมีความกลัวความกังวลสูง ทุกฝ่ายก็ต้องใช้วิธีการหาทางออกร่วมกัน อะไรที่เป็นเรื่องความปลอดภัย ก็ควรมีการหาทางออกร่วมกัน” นายธัชชัยกล่าว
                
ส่วนประเด็นทางออกของปัญหาการตั้งเสาส่งสัญญาณ ดร.สุเมธ กล่าวว่า สิ่งที่ กสทช. ควรทำ คือทบทวนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ และหามาตรการลดความเสี่ยง โดยยึดหลักของสหประชาชาติเรื่องมาตรการป้องกันไว้ก่อน
                
ดร.สุเมธ เสนอว่า ในพื้นที่ชนบทนอกเขตเทศบาลหรือชุมชนหนาแน่นควรให้ขีดจำกัดความหนาแน่นของกำลังคลื่นลดลงจากมาตรฐานปัจจุบัน 1,000 เท่า หรือในระดับไม่เกิน 10 มิลลิวัตต์/ตารางเมตร ส่วนในเขตเทศบาลและชุมชนหนาแน่น ให้ลดลง 10,000 เท่า หรือในระดับไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์/ตารางเมตร รวมทั้งไม่อนุญาตให้ติดตั้งเสาใกล้กับโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก บ้านพักคนชรา โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยที่มีประชาชนอยู่หนาแน่น สำหรับแนวทางการขยายโครงข่ายในเขตเทศบาล อำเภอ จังหวัด ให้ใช้สถานีฐานแบบไมโครเซลล์หรือพิโคเซลล์ ซึ่งเป็นเสาส่งขนาดเล็ก และในชนบทที่ยังจำเป็นต้องใช้แมคโครเซลล์ ที่เป็นเสาส่งขนาดใหญ่ ก็จะต้องไม่ตั้งอยู่กลางชุมชนหรือในหมู่บ้าน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กิจกรรม ‘8 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย.’ ไม่เกิด เหตุ จนท.คุมเข้มเต็มพื้นที่

$
0
0

กิจกรรมรำลึก ‘8 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย.’ ช่วงเย็นวันนี้ไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ในและนอกเครื่องแบบกระจายกำลังเต็มพื้นที่ตั้งแต่ช่วงบ่าย มีคำสั่งชัดใครทำกิจกรรมถูกควบคุมตัวทั้งหมด 

19 ก.ย.2557 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ติดตามรายงานข่าวกิจกรรมวางดอกไม้และจุดเทียนแดงรำลึก ‘ครบรอบ 8 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย.49’ ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน ซึ่งกำหนดเวลา 18.00 น. โดยก่อนหน้ามีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การจัดกิจกรรมดังกล่าวบนเฟซบุค

เมื่อเดินทางไปถึงในเวลา 17.30 น.พบว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกระจายตัวอยู่ทั่วบริเวณทางเท้ารอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ฝั่งด้านหน้าร้านแมคโดนัลด์ โดยมีรถควบคุมตัว 1 คันจอดอยู่ และมีเจ้าหน้าที่คอยบันทึกภาพวิดีโอผู้ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่นั้นเกือบตลอดเวลา ขณะที่มีประชาชนสัญจรไปมาและส่วนหนึ่งนั่งทานอาหารอยู่ภายในร้าน ส่วนบริเวณด้านนอกมีผู้สื่อข่าวทั้งไทยและเทศมาติดตามรายงานข่าวเป็นจำนวนมาก


 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้พูดคุยกับผู้ที่มารอร่วมกิจกรรมรายหนึ่งซึ่งกล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับการเมืองไทยมาโดยตลอด และอยากเห็นประเทศไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ อยากเห็นประชาชนกินดีอยู่ดี มีงานทำ มีการเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ และกล่าวด้วยว่าไม่รู้สึกว่ามีความหวังกับการปฏิรูปประเทศในแบบที่กำลังดำเนินอยู่ และยังไม่รู้สึกว่าประเทศกำลังดีขึ้น

เมื่อถึงเวลา 18.00 น.ยังไม่ปรากฏว่ามีการเริ่มกิจกรรมตามเวลานัดหมาย ขณะที่มีรถกระบะนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางมาสมทบอีก 1 คันรถ และเริ่มมีเจ้าหน้าที่ทหารบางส่วนเดินทางมาในพื้นที่

ร.อ.กิตติ อุตมกูล กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เดินทางมาดูแลความเรียบร้อย และกล่าวว่าขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามีการห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองทุกอย่าง ผู้สื่อข่าวถามว่าหากญาติของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในปี 2553 มาร่วมกิจกรรมในวันนี้จะทำอย่างไร ร.อ.กิตติ กล่าวว่าอยากขอให้ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิตมากกว่า นอกจากนี้ ยังเชิญชวนผู้สื่อข่าวให้มารายงานข่าวขบวนจักรยานในกิจกรรม Bangkok car free day ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่ 21 ก.ย.นี้ ซึ่งจะใช้เส้นทางถนนราชดำเนินเป็นทางผ่าน หลังจากนั้น ร.อ.กิตติ ได้ซื้อไอศกรีมจากรถเข็นขายไอศกรีมแจกจ่ายให้กับผู้สื่อข่าวอีกด้วย

เวลาประมาณ 20.00 น.เศษ ผู้สื่อข่าวและเจ้าหน้าที่บางส่วนเริ่มถอนกำลังกลับ ขณะที่ยังไม่ปรากฏวี่แววว่าจะมีการทำกิจกรรมใดๆ เกิดขึ้น จนกระทั่งเวลาประมาณ 21.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้รับทราบจากผู้มาร่วมกิจกรรมว่า ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่ามีคำสั่งเด็ดขาดจากผู้บังคับบัญชาให้ควบคุมตัวผู้ที่ทำกิจกรรมทุกราย จึงเป็นเหตุให้ต้องยกเลิกกิจกรรมในวันนี้ ในขณะที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยังคงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารบางส่วนพร้อมรถควบคุมตัวยังคงควบคุมพื้นที่อยู่ต่อไป

 

 

เวลาประมาณ 23.30 น.ของวันที่ 19 ก.ย. มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอบนเฟซบุค เป็นภาพของนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ หรือ ‘พ่อน้องเฌอ’ กำลังวิ่งรอบฐานอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเดินตามและส่องไฟฉายไปที่ตัวของนายพันธ์ศักดิ์

ในคลิปวิดีโอดังกล่าว มีภาพขณะนายพันธ์ศักดิ์กำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งบอกว่ามาสอบถามข้อมูล โดยที่มีนายทหาร ยืนคุมอยู่ด้านหลัง 2 นาย นายพันธ์ศักดิ์กล่าวว่า เขามาวิ่งแก้บน เนื่องจากบนบานไว้ว่าหากครบรอบของการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 และประเทศไทยยังไม่กลับเข้าสู่ประชาธิปไตย เขาจะวิ่งแก้บนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 1 รอบ และวันนี้ก็มาวิ่งแก้บน และหลังจากวิ่งแล้วจะกลับไปทานอาหารต่อกับกลุ่มเพื่อน จากนั้นนายพันธ์ศักดิ์ได้เดินออกจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยโดยมีเจ้าหน้าที่และช่างภาพจำนวนหนึ่งเดินพร้อมกันไปด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประยุทธ์' ขอโทษ 'นักท่องเที่ยว-กริชสุดา' ระบุชินกับการพูดแบบทหาร

$
0
0
รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีระบุรัฐบาลเริ่มเดินหน้าทำงานแล้ว พร้อมทั้งขอโทษครอบครัวนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ-กริชสุดา ที่พูดไม่สุภาพ ระบุชินกับการพูดคุยแบบทหาร เน้นตามจับกุมผู้ร้ายก่อเหตุฆาตกรรมนักท่องเที่ยวให้ได้ เพราะทำให้ประเทศเสียหายเป็นแสนล้าน 
 
 
19 ก.ย. 2557 เวลา 20.15 น.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยตอนหนึ่งว่า
 
"บางครั้งที่ผมพูดหรือกล่าวอะไรไป อาจใช้คำพูดไม่สุภาพบ้างหรือแรงไปบ้าง เพียงต้องการให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความเจ็บปวดของผมของทุกคนในชาติ แล้วมาร่วมมือกันในการแก้ปัญหาที่สำคัญทุก ๆ เรื่อง ผมก็พยายามปรับปรุงตัวเองไปเรื่อย ๆ ผมเป็นทหารมาเกือบทั้งชีวิต 38 ปี ในกองทัพบก ก็อยู่กับลูกน้องส่วนใหญ่ที่เป็นทหาร เป็นผู้ชาย ต้องขอโทษ ถ้าพูดไม่สุภาพบ้าง อะไรบ้าง ผมให้เกียรติทุกท่านเสมอ"
 
“เรื่องที่ผมกล่าวถึงนักท่องเที่ยวที่แต่งกายล่อแหลม หรือใส่บิกินี่ ผมไม่ได้ไปโทษท่าน ไม่ได้ไปให้ร้ายท่าน ไม่ได้เจตนาอย่างอื่น เพียงแต่ต้องการจะเตือนเท่านั้นเองว่า บางเวลา บางสถานที่ อาจจะมีความจำเป็นเพราะว่ายังไม่ปลอดภัยมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาวิกาล ผมก็เสียใจที่คำพูดของผมอาจจะทำให้หลายคนไม่สบายใจและโดยเฉพาะอย่างยิ่งนั้น ผมเสียใจเป็นที่สุดกับครอบครัวชาวต่างชาติที่เสียชีวิต ทุกคนที่เสียชีวิต ผมเสียใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนไทย คนต่างชาติ อะไรที่พูดแรงไป ต้องขอโทษด้วย ไม่ได้เจตนา ผมเป็นสุภาพบุรุษ ฉะนั้นเมื่อผมพูดผิด ทำอะไรผิด ต้องรับผิดชอบ ก็ขอโทษท่าน ต้องการให้เป็นแบบอย่างกับทุก ๆ คนด้วย”
 
“อีกที อย่าพูดอะไรที่เป็นการให้ร้ายเจ้าหน้าที่เลย เพราะว่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องไม่จริงทั้งนั้น ไม่ใช่ส่วนใหญ่ เกือบทั้งหมด ฉะนั้นคุณเป็นสุภาพสตรี ผมต้องขอโทษบางครั้งพูดแรงไป ก็มีอารมณ์เหมือนกัน เพราะว่าท่านให้ร้ายกองทัพให้ร้ายอะไรต่าง ๆ มาโดยตลอด โดยที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ต้องขอโทษด้วย ผมเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องสุภาพเรียบร้อย” พลเอกประยุทธ์กล่าว
 
โดยรายละเอียดของรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยวันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 20.15 น. ทั้งหมดมีดังต่อไปนี้
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 20.15 น.
 
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพรัก สัปดาห์ที่ผ่านมามีเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง โดยเมื่อวันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2557 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับที่พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน เพื่อทรงฟื้นฟูพระวรกาย หลังจากที่เสด็จฯ ประทับโรงพยาบาลศิริราชเพื่อทรงตรวจพระวรกายตามการถวายคำแนะนำของคณะแพทย์ พสกนิกรต่างพร้อมใจกันถือธงชาติและธง ภปร. รับเสด็จฯ เนื่องแน่นตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมกับเปล่งเสียงทรงพระเจริญเพื่อถวายความจงรักภักดี ทั้งสองพระองค์ได้ทรงโบกพระหัตถ์ และแย้มพระสรวล ซึ่งสร้างความปีติยินดีให้กับพสกนิกรที่มารับเสด็จและประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่าเป็นล้นพ้น
 
สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ถือเป็นสัปดาห์แรกที่รัฐบาลและคณะรัฐมนตรี ได้ทำงานในการบริหารประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ภายหลังจากที่ได้แถลงนโยบายแก่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้แบ่งมอบงานให้กับรองนายกรัฐมนตรี ทั้ง 5 ท่าน กำกับดูแลงานของกระทรวงต่าง ๆ โดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง (กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจ (กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ท่าน ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านสังคมจิตวิทยา (กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รับผิดชอบงานด้านการต่างประเทศ และกิจการอื่น ๆ (กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม) ท่าน วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม) ผมเองก็ได้มอบนโยบายให้กับผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการต่าง ๆ ไปแล้ว พวกเราทั้งหมด ทั้งรัฐบาล ข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ก็จะปฏิบัติหน้าที่กันอย่างเต็มความสามารถ ในการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนทุกคน อย่างเท่าเทียม โปร่งใส และเป็นธรรม
 
เรื่องของการปฏิรูป เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทุกด้านได้ประชุมหารือกัน วางแนวทาง หลักเกณฑ์ คัดเลือก สปช. แต่ละด้านไปแล้ว และในวันที่ 15 กันยายน 2557 ได้มีการประชุมนัดที่สอง เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ถูกเสนอชื่อเข้าสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คาดว่าจะมีการประชุม 2-3 ครั้ง เพื่อจะคัดเลือกให้เหลือด้านละ 50 รายชื่อ ก่อนที่จะเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้พิจารณาคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้าย การสรรหา สปช. ประจำจังหวัด ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว เหลือแค่รอการประชุมเพื่อคัดเลือกรายชื่อที่จะเสนอต่อ คสช. จังหวัดละ 5 คน จากนั้น คสช. ก็จะคัดเลือกที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมา ด้านต่าง ๆ ทั้ง 11 ด้าน 550 คน และจากจังหวัด ๆ ละ 5 คน 385 คน โดยจะคัดสรรให้ได้ผู้แทน ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ จากทุกภาคส่วน และทุกภาคของประเทศไทย จนเหลือ 250 คน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านต่าง ๆ 173 คน จากจังหวัด 77 คน จากนั้นสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปทั้ง 11 เรื่องต่อไป โดยจะต้องครอบคลุมในทุกเรื่อง เราจะต้องร่วมกันปฏิรูปประเทศ สร้างประเทศให้มั่นคงต่อไป
 
สำหรับสถานการณ์จากภาวะฝนตกในหลายพื้นที่ ในห้วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 29 จังหวัด รวม 77 อำเภอ 204 ตำบล 826 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบเกือบ 2 หมื่นครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายลงแล้ว 25 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด 10 อำเภอ 45 ตำบล 241 หมู่บ้าน อันได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ ซึ่งได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับสภาพอากาศในห้วงนี้ยังคงน่าเป็นห่วง ยังคงต้องระมัดระวังกันต่อไป ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ขอเรียนว่ารัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ห่วงใย ได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนได้รับฟังข้อมูลทางด้านอากาศด้วย เพื่อจะได้มีการระมัดระวังในทุกภาคส่วน รวมทั้งได้สั่งการเน้นส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการแจ้งเตือนไปแล้ว ให้แจ้งเตือนให้ทันเวลา เพื่อให้เกิดการป้องกันก่อนที่จะแก้ไขในภายหลังให้ประชาชนได้รับทราบ และปลอดภัย หน่วยงานของรัฐจะต้องสามารถดำเนินการช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในช่วงวันที่ 15 - 18 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีการแจ้งเตือน 18 จังหวัด ในพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ก็ขอให้แจ้งเตือน มีการเฝ้าระวังกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรือประมง เรือขนาดเล็ก เรือท่องเที่ยวต่าง ๆ ต้องระมัดระวังอย่าให้มีการเกิดอุบัติเหตุทางน้ำโดยเด็ดขาด
 
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ผมได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งได้นำส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าน พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร และอธิบดีกรมป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงไปตรวจเยี่ยมและพบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งได้รับการเสนอแนะจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และประชาชนในพื้นที่ ได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำมา 4 ข้อ ประกอบไปด้วย การเพิ่มแก้มลิงและพัฒนาพื้นที่แก้มลิง ทบทวนเกณฑ์การผันน้ำในลุ่มน้ำยมและน่าน ระบบรายงานสถานการณ์ฝนในทุกจังหวัด การขยายความจุลำน้ำ โดยการขุดลอก ซึ่งในสิ้นเดือนนี้จะมีการนำแผนการบริหารจัดการน้ำเข้าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อดำเนินการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 ที่เหลือจากรัฐบาลที่แล้วประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเศษ มาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำยม และอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นความเร่งด่วนมีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1. เร่งระบายน้ำจากแม่น้ำสายหลักลงสู่แก้มลิงให้ได้โดยเร็ว 2. ขุดลอกแม่น้ำเพื่อจะช่วยให้ระบายน้ำให้เร็วขึ้น และกักเก็บน้ำไว้ได้ในท้องน้ำที่มีความลึกและได้มีการพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย จะมีการขุดท่อเจาะช่องระบายน้ำบริเวณถนนในหลายจุด ซึ่งเป็นคันกั้นน้ำอยู่หลาย ๆ จุดในเวลานี้ 3. กรณีของการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำยมหรือลุ่มน้ำอื่น ๆ นั้น ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น จะต้องมีการพิจารณาพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า จะสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้มากน้อยเพียงใด และมีประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่ ประชาชนพอใจหรือไม่ด้วย อันนี้คงต้องใช้ระยะเวลาอีกสักระยะหนึ่ง อย่าเพิ่งไปพูดหรือไปคิดอะไรกันในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นจะเป็นปัญหาในการแก้ปัญหาทั้งระบบต่อไป
 
กรณีเกิดเหตุการณ์น่าสลดกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และได้รับอันตรายจนกระทั่งเสียชีวิตที่เกาะเต่านั้น เรื่องนี้ผมถือว่าสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และชื่อเสียงของประเทศชาติเป็นอย่างมาก ได้สั่งการให้เร่งติดตามหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยเร็ว ขณะนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าผู้กระทำเป็นใคร แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีความคืบหน้ามาโดยตลอด ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ร่วมกับประชาชน อาสาสมัครต้องช่วยกันและดูแลเรื่องความปลอดภัยให้มากกว่านี้ เพราะว่ามีผลกระบทต่อการท่องเที่ยวในประเทศและในท้องถิ่นด้วย
ความคืบหน้าทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ
 
ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนและการตลาด การดำเนินการด้านเศรษฐกิจนั้น ได้แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วนต้องดำเนินการโดยทันที ระยะต่อไปต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคาอยู่เป็นจำนวนมาก และระยะยาวที่ต้องวางรากฐานเพื่อการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเข้มแข็ง ในขณะนี้ได้กระตุ้นการลงทุน ด้วยการเร่งพิจารณาโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพที่นักลงทุนยื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนไว้แล้วให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยสถิติการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ ในช่วง 8 เดือนของปี 2557 ตั้งแต่มกราคม-สิงหาคม 2557 มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 886 โครงการ เงินลงทุนรวม 416,500 ล้านบาท มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง 7 เดือนก่อนหน้านี้อย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามพบว่า สถิติคำขอรับการส่งเสริมในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2557 นั้น เป็นโครงการใหม่ที่ยังไม่เคยลงทุนในประเทศไทยจำนวน 458 โครงการ หรือร้อยละ 52 ของจำนวนคำขอทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนรายใหม่เริ่มมีความมั่นใจเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
 
ด้านการปรับปรุงการให้บริการของรัฐแก่ประชาชน จากนโยบายของ คสช. และรัฐบาลในปัจจุบัน ในด้านการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการของประชาชน ส่วนราชการต่าง ๆ ในลักษณะ One stop service มีคำแนะนำ ให้ความรู้ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยมีทั้งศูนย์ดำรงธรรม จัดตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงต่าง ๆ ส่วนราชการต่าง ๆ เป็นอย่างดี ทำให้เกิดเป็นรูปธรรมในหลายจังหวัด หลายอำเภอ ต้องขอชื่นชมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอบคุณมาก ๆ อย่างไรก็ตาม การให้การบริการประชาชนนั้น จะต้องพัฒนาต่อไป ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยได้กำหนดจัดทำโครงการ “ฝึกอบรมเพิ่มทักษะเจ้าหน้าที่ในการบันทึกข้อมูล การร้องทุกข์ผ่านระบบสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่ Call Center สายด่วน 1567 ในการให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม” ณ ศูนย์ฝึกอบรม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 200 คน ก็คาดหวังว่าศูนย์ดำรงธรรมจะสามารถช่วยเหลือ และบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยความพึงพอใจของประชาชน
 
ด้านการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ตามที่ คสช. ได้จัดระเบียบในระยะแรกไว้แล้วนั้น ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา สรุปยอดรวมการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ปัจจุบันรวมจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,088,306 คน (แรงงานเป็นต่างด้าว 1,024,686 คน ผู้ติดตาม 63,620 คน) จำนวนนายจ้าง 206,678 ราย
สำหรับจังหวัดที่มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 232,119 คน ชลบุรี 76,330 คน และสมุทรสาคร 75,659 คน
สำหรับประเภทกิจการที่จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง 451,564 คน เกษตรและปศุสัตว์ 209,024 คน และการให้บริการต่าง ๆ 127,631 คน
 
ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่สำคัญ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานธุรกรรมทางด้านการเงิน (AMFICs= AMLO FINANCIAL INFORMATION CORPERATION SYSTEM) เพื่อเป็นการลดภาระและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินให้แก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอให้ภาคธุรกิจธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคมธนาคารไทยกรุณาให้ความร่วมมือด้วย ในการจัดทำหรือจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม หากได้รับการร้องขอตามกฎหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และความผิดเกี่ยวกับการทุจริต โดยกระทรวงยุติธรรมจะดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้สอดคล้องกับมาตรการทางสากลให้เป็นมาตรฐาน การออกร่างกฎหมายว่าด้วยการพิสูจน์พยานหลักฐานทางการเงินและทางบัญชี ให้เกิดความรวดเร็วต่อการสืบสวน ค้นหา ผู้กระทำความผิดของหน่วยงานที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ในคดีที่มีความซับซ้อน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ยาเสพติดและการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของ คสช. และรัฐบาล
 
สำหรับการทำงานของรัฐบาลและ คสช. ในระยะต่อไปนั้น มีความสำคัญมากนะครับกับประเทศของเราทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน การปฏิรูป การปรองดองสมานฉันท์ ตามที่ผมได้เคยกล่าวไปแล้วหลายครั้ง ๆ สิ่งที่เราคาดหวังไว้สำคัญ ๆ ได้แก่ การลดความขัดแย้งอย่างยั่งยืน การสร้างความรักใคร่ สามัคคีของคนในชาติ การขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกมิติ การปฏิรูปให้เกิดผลยั่งยืนในทุกด้าน การทำตามความคาดหวังของประชาชนทุกเรื่องให้ได้มากที่สุด การปลูกฝังค่านิยม 12 ประการ การปลูกฝัง และสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การยกระดับรายได้ของประชาชนทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การเพิ่มคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเพิ่มความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมโลก ด้วยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ลดความหวาดระแวง ร่วมมือกันในทุกมิติ ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม การสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่าง รัฐ เอกชน ประชาสังคม ประชาชน โดยมีข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุน ผู้ขับเคลื่อนเป็นข้าราชการที่ดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะต้องให้การบริการอย่างเต็มสติกำลัง
 
การขับเคลื่อนประเทศชาติในทุกมิตินั้น ทั้ง 3 เสาหลัก จะต้องมีความเข้มแข็ง ทัดเทียม นานาอารยะประเทศ เรามีทั้งวิกฤติและโอกาส เรามีทั้งเป็นหุ้นส่วนและก็เป็นผู้แข่งขันทางการค้าด้วย ต้องเร่งรัดในเรื่องนี้ การเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ส่งเสริมธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม
 
สำหรับการแก้ปัญหาที่ดินทำกินนั้น มีปัญหามากมายรวมทั้งการบุกรุกเขตป่าไม้ อุทยาน ราชพัสดุ จะต้องมีการบูรณาการทางกฎหมาย กฎ กติกา ปรับให้เกิดความเหมาะสม เป็นธรรม แก้ปัญหาประชาชนไม่มีที่ดินทำกินให้ได้โดยเร็ว
 
เรื่อง การใช้สื่อต่าง ๆ เรื่องนี้สำคัญ พบว่าสื่อมวลชนบางฉบับ หรือบางสำนัก ยังมีปรับปรุงน้อยนะครับ ยังคงมีการเขียนให้ร้ายกันในบางคอลัมน์ ก็ขอย้อนกลับไปดูที่ผ่านมานั้น ว่าอะไรที่เป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ วารสาร โทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โซเชียลมีเดีย วิทยุชุมชน บางช่อง บางคน บางท่านก็อ้างว่า เพื่อด้วยความรักชาติ ด้วยความเป็นธรรม เพื่อประชาธิปไตย หรืออะไรก็ตาม หากมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอีก มีความขัดแย้งเกิดขึ้นปฏิรูปไม่ได้ ท่านก็ต้องร่วมกับเราในการรับผิดชอบด้วย เพราะว่า หากเป็นสาเหตุในความขัดแย้งต่อไปด้วยการสร้างข้อมูลเท็จ ต้องขอร้องกันนะครับ กรุณาอย่าให้เราต้องบังคับใช้กฎหมายกันมากนักเลย จะมีความเดือดร้อน ไปทั้งพนักงานของสำนักพิมพ์ สถานีทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ต่าง ๆ ก็ที่ผ่านมาก็เดือดร้อนกันหมดในกรณีที่ท่านทำผิดกติกาที่ตกลงกันไว้กับหน่วยงานที่ควบคุมอยู่ในปัจจุบัน
 
ขอเรียนว่าการที่สื่อต่าง ๆ บางสื่อนั้น มีการกล่าวให้ร้ายนี้ จะบิดเบือนข้อเท็จจริงบางอย่างก็เป็นเรื่องเล็กน้อย บางอย่างก็ขยายความไปโดยไม่มีข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ บางอย่างยังไม่มีการดำเนินคดีหรือตัดสินให้ถูกต่อกระบวนการยุติธรรม หากไม่ได้กลั่นกรองแล้วออกไป ทำให้คนเข้าใจผิด ทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอ้างหรือกล่าวหานั้นเสียหาย ยังไม่จบขั้นตอนก็ขอให้ใจเย็น ๆ รอเวลา รอกระบวนการยุติธรรมเขาทำงานให้เรียบร้อยก่อน พวกเรานั้น รัฐบาล ก็ยังไม่ได้หวั่นไหวอะไร เพียงแต่บางครั้งก็รำคาญใจเหมือนกัน เพราะทำให้เราคิดอะไรไม่ออกว่าจะทำอะไรให้กับประชาชนได้ ก็ติด ๆ ขัด ๆ ไปทั้งหมด พอจะเริ่มทำ เริ่มคิดก็ติดแล้ว ก็ฟังก่อนว่าเขาไปถึงไหนอย่างไร เขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไรและค่อยไปดูว่าในขบวนการขั้นตอนเหล่านั้น ถูกต้องไหม พอใจกันไหม ถ้าเริ่มก็ติดหมดไปไม่ได้ก็จะอยู่เหมือนเก่าเหมือนเดิม ปัญหาเราก็ไม่ได้แก้ก็ฝากดูแลกันด้วย ช่วยกันดูแลด้วยว่าใครบ้างที่ยังมีพฤติกรรม ซึ่งไม่ร่วมกันสร้างบ้านเมือง ไม่ร่วมกันปฏิรูปปรองดอง
 
ในขณะนี้ ผลสำรวจดุสิตโพลล์หรือโพลล์ต่าง ๆ ก็ออกมาแล้วว่าประชาชนนั้น ไม่อยากให้มีความขัดแย้งอีกต่อไปและพอใจกับการปรองดองสมานฉันท์ การรณรงค์ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและพร้อมร่วมที่จะสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็งเหมาะสมกับประเทศไทยของเรา บางคนนั้นบอกว่าทหารเดี๋ยวนี้ประชาสัมพันธ์เก่ง ผมเรียนว่า ทหารนี้ตามหลักนิยมทางทหารต้องทำก่อนแล้วค่อยพูด ก็ดีกว่าบางคนพูดแล้วไม่ทำ หลายท่านก็ชอบพูดหรือกล่าวให้ร้ายในหลายประเด็นด้วยกัน
 
คำว่าประชานิยมนั้น ไม่มีปัญหาหรอก ถ้าหากว่าไม่สร้างปัญหาในอนาคตผมไม่อาจไปกล่าวว่าดีหรือไม่ดี หากทำแล้วรัฐบาลต้องมาหาเงินใช้หนี้ มีเงินกู้เพิ่มหนี้สาธารณะโดยไม่จำเป็นหรือมีผู้ที่ได้ประโยชน์มากกว่าประชาชนที่แท้จริง จากการทุจริต ไม่โปร่งใสในขั้นตอนต่าง ๆ ประชาชนได้แต่เพียงส่วนน้อยต้องไป ด้วยว่าประชาชนได้จริง ๆ เท่าไร ได้ทุนได้ไหม หรือข้าราชการที่ทุจริตได้ไหม หรือใครจะได้อีกต่อไปก็แล้วแต่ ไปดูว่าสิ่งที่เราทำไปแล้วนั้น เป็นปัญหาต่อไปในระยะยาวหรือไม่ เพราะว่าเราถูกเป็นเครื่องมือหรือเปล่า
 
เรื่องปัจจัย 4 ที่เป็นของทฤษฎีในการที่จะทำให้ประชาชนนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่จะต้องไม่เป็นประชานิยมในลักษณะที่ว่า เมื่อซื้อไปแล้วไม่มีแรงผ่อนต่อ ก็เกิดปัญหาหนี้สินรุงรัง วันนี้ก็ต้องพิจารณาในเรื่องนี้อีกเหมือนกัน หนี้ประชาชน หนี้ครัวเรือนต่าง ๆ มากมาย เราไม่ต้องการให้มีการสร้าง Demand เทียมในการผลิต คือความต้องการที่เกินจากข้อเท็จจริงไป บางคนกล่าวว่า ผมคิดแบบนักการเมือง ผมเรียนว่า ผมคิดแบบทหาร ทหารทำอะไรต้องมีผลสัมฤทธิ์ เพราะเรามีเวลา มีงบประมาณจำกัด เพราะฉะนั้นอีกอย่างหนึ่งที่มาเติมในขณะนี้ ที่ผมเติมมาก็คือผมคิดแบบประชาชน ต้องไม่มีผลประโยชน์ ไม่ต้องนึกถึงพรรค ไม่ต้องหาเงินเข้าพรรคไปบริหาร อะไรก็แล้วแต่ ไม่ต้องรักษาฐานเสียง พวกเรามาขับเคลื่อนทุกองคาพยพให้ทำงาน ด้วยสติปัญญาของผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ทุกคน หลาย ๆ คนมาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ร่วมกับข้าราชการทุกฝ่าย และฟังเสียงประชาชนด้วย เราจะไม่ใช้เงินภาษีของประชาชนหรืองบประมาณของแผ่นดิน ให้เกิดเป็นปัญหาระยะยาว ไม่สร้างหนี้สาธารณะให้มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นภาระต้องใช้หนี้ไปเรื่อย ๆ จนในอนาคตนั้น สรุปแล้วงบประมาณประจำปีจะไม่ได้นำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ไม่ได้นำมาดูแลพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึง
 
รัฐบาลนี้จะจัดลำดับงานตามลำดับความเร่งด่วน อะไรทำก่อน ทำจริง ทำทันที มีผลสัมฤทธิ์ และจะส่งต่อให้กับรัฐบาลต่อไปอย่างยั่งยืน ขอให้นักการเมืองในอนาคตเตรียมการให้ดี อะไรที่เราทำไม่เสร็จในระยะสั้น ท่านก็ต้องทำต่อ ประชาชนต้องช่วยกันตัดสิน ดูแล เฝ้าระวัง ช่วยกันประเมินผลสัมฤทธิ์ที่จะตามมาในภายหลังที่สำคัญ ถ้าหากใครเตรียมการไม่ดี ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง หากได้รับเลือกเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต่อไป ก็จะเป็นปัญหาอีกต่อไปในอนาคต ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม
 
อีกเรื่อง บางครั้งที่ผมพูดหรือกล่าวอะไรไป อาจใช้คำพูดไม่สุภาพบ้างหรือแรงไปบ้าง เพียงต้องการให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความเจ็บปวดของผม ของทุกคนในชาติ แล้วมาร่วมมือกันในการแก้ปัญหาที่สำคัญทุก ๆ เรื่อง ผมก็พยายามปรับปรุงตัวเองไปเรื่อย ๆ ผมเป็นทหารมาเกือบทั้งชีวิต 38 ปี ในกองทัพบก ก็อยู่กับลูกน้องส่วนใหญ่ที่เป็นทหาร เป็นผู้ชาย ต้องขอโทษ ถ้าพูดไม่สุภาพบ้าง อะไรบ้าง ผมให้เกียรติทุกท่านเสมอ
 
เรื่องที่ผมกล่าวถึงนักท่องเที่ยวที่แต่งกายล่อแหลม หรือใส่บิกินี่ ผมไม่ได้ไปโทษท่าน ไม่ได้ไปให้ร้ายท่าน ไม่ได้เจตนาอย่างอื่น เพียงแต่ต้องการจะเตือนเท่านั้นเองว่า บางเวลา บางสถานที่ อาจจะมีความจำเป็นเพราะว่ายังไม่ปลอดภัยมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาวิกาล ผมก็เสียใจที่คำพูดของผมอาจจะทำให้หลายคนไม่สบายใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนั้น ผมเสียใจเป็นที่สุดกับครอบครัวชาวต่างชาติที่เสียชีวิต ทุกคนที่เสียชีวิต ผมเสียใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนไทย คนต่างชาติ อะไรที่พูดแรงไป ต้องขอโทษด้วย ไม่ได้เจตนา ผมเป็นสุภาพบุรุษ ฉะนั้นเมื่อผมพูดผิด ทำอะไรผิด ต้องรับผิดชอบ ก็ต้องขอโทษท่าน ต้องการให้เป็นแบบอย่างกับทุก ๆ คนด้วย
 
เรื่องคุณกริชสุดา ผมขอร้องอีกที อย่าพูดอะไรที่เป็นการให้ร้ายเจ้าหน้าที่เลย เพราะว่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องไม่จริงทั้งนั้น ไม่ใช่ส่วนใหญ่ เกือบทั้งหมด ฉะนั้นคุณเป็นสุภาพสตรี ผมต้องขอโทษ บางครั้งพูดแรงไป ก็มีอารมณ์เหมือนกัน เพราะว่าท่านให้ร้ายกองทัพให้ร้ายอะไรต่าง ๆ มาโดยตลอด โดยที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ต้องขอโทษด้วย ผมเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องสุภาพเรียบร้อย
 
สำหรับเหตุการณ์ทำร้ายนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการตีกันของเด็กนักเรียน นักศึกษา คิดว่าต้องไม่มีอีกแล้ว ทุกคนต้องช่วยกันดูแล ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ประชาสังคมต้องช่วยกัน สร้างการเรียนรู้ สร้างว่า รับทราบว่าผลประโยชน์แห่งชาติอยู่ตรงไหน การท่องเที่ยวปีหนึ่งเป็นแสนล้านบาท ถ้าเกิดขึ้นเช่นนี้บ่อย ๆ อีกหน่อยใครก็ไม่มาเที่ยวประเทศไทย ไม่ปลอดภัย เขาจะมาเที่ยวชายหาด เขาจะมาพักผ่อน ประเทศไทยก็ได้ขับเคลื่อนในด้านท่องเที่ยว การบริการ อาหาร มากมาย ที่จะทำให้ประเทศชาติเราดีขึ้นในอนาคต ถ้าเรายังคงต้องมีเรื่องแบบนี้ ก็ทำให้เราเสียงบประมาณ เจ้าหน้าที่ก็มีงานเพิ่ม เสียอนาคตเด็กเยาวชนด้วย เรื่องตีกัน ทำให้เสียโอกาส เสียรายได้การท่องเที่ยว เสียชื่อเสียงในสังคมโลก วันนี้เราใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ ทุกคนทราบดี แต่เหตุการณ์เหล่านี้ทำไมยังเกิดขึ้นอีก สิ่งนี้น่าสงสัย น่าแปลกใจ ไปหาทางคิดดูว่า ถ้ากฎหมายแรงอย่างนี้ แล้วยังเกิดอย่างนี้ แสดงว่าคนเหล่านี้ไม่เกรงกลัวกฎหมาย แล้วจะทำอย่างไรต่อไป เมื่อใช้กฎหมายปกติอย่างเดียว แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหรือเปล่า ไปหามาตรการมาว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ผมไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นอีก ทุกคนในชาติก็ไม่ต้องการให้เกิด สงสารคนตาย คนเสียชีวิต คนบาดเจ็บ เหล่านี้ไม่ได้ ทุกคนในชาติต้องเข้มงวด ให้ความสำคัญอย่าปล่อยให้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เหมือนกับวัวหายแล้วล้อมคอกทุกครั้ง เราต้องทำตั้งแต่ เช่น ป้องกัน ป้องปราม มากกว่าแก้ไข เพราะหมายถึงชีวิตของคน เรื่องที่ผมต้องการพูดก็คงทยอยพูดไปเรื่อย ๆ วันนี้ก็ขอโทษ ขอโทษจริง ๆ ที่พูดจาอาจจะเร็วไปบ้าง หรือพูดแรงไปบ้าง ก็ขอโทษไปแล้ว ขอเพียงแต่ขอความร่วมมือจากทั้งสองฝ่าย ผมก็ขอโทษท่านให้เกียรติท่าน ท่านก็ให้เกียรติผมบ้าง การที่ให้สื่อช่วยระมัดระวังเรื่องการนำรูปผมไปดัดแปลง บางรูปดูไม่ได้เลย ไม่ใช่ดัดแปลงผมเสียหาย นำรูปประชาชนมาประกอบกับผม โดยแกล้งนำรูปจริง ๆ มา แล้วใส่เข้าไป บิดเบือน ทำให้เสียหายไปถึงสถาบันเบื้องสูงด้วย อะไรเหล่านี้ ผมว่าไม่สมควร จะทำทำไมไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
 
เรื่องภาษี เรื่องอะไรต่าง ๆ ยังไม่ได้เกิดอะไรขึ้นทั้งนั้น กำลังพิจารณากันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมรดก ไม่ว่าจะเป็นภาษีที่ดินอะไรต่าง ๆ ก็ไปว่ามา เหมาะสมไม่เหมาะสม เป็นเรื่องของสภานิติบัญญัติ ผมก็เพียงคิดริเริ่ม ศึกษา จากข้อมูลที่ส่วนราชการเขาทำขึ้นมา ผมก็ให้แนวทางไป ว่าจะเกิดอย่างไร ทั้งหมดต้องเกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนมีรายได้น้อย อย่าพึ่งไปกลัว แม้ว่าจะต้อง เรื่องไปขายที่ดินมาเสียภาษี ไม่ใช่แบบนั้นเลย แสดงว่ามีคนที่ปลุกปั่นในเรื่องเหล่านี้อยู่ ไม่เข้าใจ ก็รอฟังเขาก่อน เมื่อถึงเวลานั้นค่อยว่ากัน จะแก้ไขก็ว่ากัน พอเริ่มพูดก็มีปัญหามาโดยตลอด ไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ในเมื่อเราต้องการแก้ไขเรื่องคอร์รัปชั่นทุจริตในทุกมิติแล้ว ก็ต้องช่วยผมเฝ้าระวังตรงโน้น ดีกว่าที่จะ สิ่งนี้ เดี๋ยวจะทุจริตอีกก็ไม่ต้องทำ อย่างนี้จะไปอย่างไร ประเทศชาติไม่มีอนาคต วันนี้เราวางยุทธศาสตร์ชาติไว้แล้ว ว่าเราจะเดินหน้าไปอย่างไรในห้วง 5 ปี 10 ปี 15 ปี ตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ละ 5 ปี จะทำอย่างไรถึงจะต่อเนื่องได้ 3 แผนได้ไหม ในเรื่องของการลงทุน สาธารณูปโภค พื้นฐานในการพัฒนา หรือปฏิรูปในทุกมิติ ต้องมีความต่อเนื่อง วันนี้เราทำได้แต่เรื่องเร่งด่วนแล้วก็วางรากฐานของประเทศไปให้ได้ ก็เป็นยุทธศาสตร์ชาติ ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ชาติ ต้องเป็นไปตามนโยบายชาติ แล้วก็ยุทธศาสตร์ชาติ ฝ่ายความมั่นคง หรือฝ่ายเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา เหล่านี้ก็ต้องเสริมกันขึ้นมา ร่วมพลังกันขึ้นมาแล้วขับเคลื่อนประเทศชาติไปตามยุทธศาสตร์ชาติให้ได้ ทุกคนต้องการความก้าวหน้า ต้องการพัฒนาประเทศ เดี๋ยวปีหน้าเกิดประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ที่ขับเคลื่อน โดยในเรื่องของเศรษฐกิจอาเซียน AEC นี้จะเหนื่อยเล็กน้อย ต้องมีการแข่งขัน เป็นหุ้นส่วนกันก็เป็น แข่งขันกันก็ต้องแข่ง การเคลื่อนย้ายทรัพยากรบุคคล มนุษย์ และในเรื่องของฐานที่ตั้งเศรษฐกิจการค้า จะไม่มีข้อจำกัด เราต้องสร้างความมั่นคง สร้างความเป็นปึกแผ่นของเราในวันนี้ให้ได้ สร้างความเข้มแข็งให้สู้เขาให้ได้ ไม่อย่างนั้นวันหน้าเราจะสู้เขาไม่ได้ ทั้งคน ทั้งความรู้ ทั้งการประกอบการ ทั้งนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องรีบผลิตออกมา ผมเห็นว่ามีหลาย ๆ ธุรกิจประกอบการมีการพัฒนาเรื่องนวัตกรรมใหม่ ๆ ต้องการให้ทำให้ตรงแบบที่ประเทศชาติจะเดินไปข้างหน้า เขาจะเดินไปทางไหนก็ทำตรงนั้น ขอขอบคุณ วันนี้ก็มีเรื่องพูดคุยเพียงเท่านี้ ขอบคุณ สวัสดี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ตรวจการแผ่นดินยกคำร้องสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญค้าน 'ประยุทธ์' เป็นนายก

$
0
0
ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ 2 เสียงยกคำร้องกรณีสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญยื่นสอบ สนช.แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีโดยมิชอบ ระบุถือเป็นเรื่องของการกระทำของ สนช. ไม่เกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมาย จึงไม่อยู่ในอำนาจที่ผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะสามารถพิจารณาได้

 
19 ก.ย. 2557 นายเฉลิมศักดิ์  จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ยกคำร้องกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย  ร้องขอให้ตรวจสอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยไม่มีความหลากหลาย และเอื้อประโยชน์ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557และกรณีที่ขอให้ตรวจสอบ สนช.ที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงกรณีที่องค์กรตามรัฐธรรมนูญเข้าร่วมเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เนื่องจากเห็นว่าเข้าข่ายมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน และขัดต่อประมวลจริยธรรมขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
 
โดยนายเฉลิมศักดิ์ กล่าวว่า การพิจารณาคำร้องดังกล่าวต้องเข้าใจว่าขณะนี้รัฐธรรมนูญ 50 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วและรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวถูกประกาศใช้ ซึ่งการพิจารณาก็ต้องยึดตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเหตุที่ยกคำร้องเนื่องจาก ในประเด็น พล.อ.ประยุทธ์ ตั้ง สนช.นั้น เห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2552 กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น  ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ในขณะที่แต่งตั้ง สนช.เป็นหัวหน้า คสช. ที่ไม่ได้มีสถานะเป็นข้าราชการ หรือบุคคลตามมาตรา 13 จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่วนที่คำร้องอ้างว่าการกระทำของหัวหน้า คสช.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น  ก็เห็นว่า มาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว กำหนดให้บรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช. หรือคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ได้ประกาศในระหว่างวันที่ 22 พ.ค. จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ และให้ประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญและถือเป็นที่สุด ดังนั้นจึงไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าประกาศแต่งตั้ง สนช.ของพล.อ.ประยุทธ์ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
 
ส่วนในเรื่องที่ สนช.มีมติเสนอพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ได้ให้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะกรณีบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่การแต่งตั้งพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ของ สนช.ถือเป็นเรื่องของการกระทำของ สนช.ไม่เกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมาย จึงไม่อยู่ในอำนาจที่ผู้ตรวจฯ จะพิจารณาได้  ขณะที่ในประเด็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสปช.นั้น  ผู้ตรวจฯ เห็นว่าการเสนอชื่อดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสปช. ที่กำหนดให้นิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไรมาแบ่งปันกัน และองค์กรภาครัฐมีสิทธิที่จะเสนอบุคคลเข้ารับการสรรหา  ดังนั้นกรณีนี้การที่องค์กรตามรัฐธรรมนูญเข้าเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการสรรหานั้นเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย และไม่ได้เป็นปัญหาต่อความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
 
“การที่ผู้ร้องในลักษณะนี้เพราะกลัวว่าบรรดาองค์กรตามรัฐธรรมนูญจะใช้โอกาสนี้เข้าไปรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จึงกลัวว่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ในการเสนอชื่อเป็นแค่ขั้นตอนเบื้องต้นของการสรรหา และไม่มีอะไรมาการันตีว่าจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นสปช. เพราะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการสรรหา อีกทั้งตามกฎหมายก็ได้ระบุให้สมาชิก สปช.มีแค่ 250 คน การที่องค์กรตามรัฐธรรมนูญเสนอชื่อได้แค่ 2 คน คงไม่มีอำนาจที่จะไปกำหนดให้ใครทำอะไรอย่างไรได้  ในทางกลับกัน การที่มีบุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญได้รับการสรรหาเข้าไปอยู่ในสปช.น่าจะเป็นเรื่องดีและเป็นประโยชน์ อย่างเช่น องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งมีภาระหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและสร้างมาตรฐานความเป็นธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็น่าที่จะเป็นองค์กรที่เข้าไปมีส่วนร่วม หรือมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาและอาจเข้าไปมีส่วนร่วมออกข้อเสนอในชั้นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าไม่มีการกระทำหรือข้อเท็จจริงใดที่เรื่องดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ”
 
อย่างไรก็ตามมติของผู้ตรวจการแผ่นดินในครั้งนี้เป็นเพียงมติจากเพียง 2 เสียงเท่านั้นคือนางผานิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจฯ และนายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจฯ เนื่องจากนายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้ลาออกไปก่อนและแม้ก่อนลาออกก็ได้แสดงตนว่าจะไม่ร่วมพิจารณาในคำร้องดังกล่าวเพราะถือว่ามีส่วนได้เสีย
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: รอยย่ำ

$
0
0

 

๐ บนรอยทางวาดหวังเมื่อครั้งเก่า

กี่’สิบเก้า’สืบย่ำ ซ้ำรอยฝัน

กี่’แปด’เปื้อนปีเปล่า เงาคืนวัน

วนเวียนบั่น-บากผู้ สู้ท่ามทาง


๐ กลางกระแสสงบเชื้อ__โชนใน

เย็นนอกรอคืนไฟ__คุฟื้น

แรงหาญโชตินำใจ__ผจญมุ่ง

มิสยบเพียงต่ำตื้น__แต่เบื้องบนสุม


๐ แรมรอนในรางเลือน__แลบางเหมือนกระจ่างกุม

สิบก้าวกลับย่างรุม__กระหน่ำเท้าท้าวทางเดิม


๐ คงเพิ่มแท้__ทางยุทธ์

ตามคอยฉุด__สู่ใต้

ตีนฤาผลุด__ผงาดฝ่า

รอยย่ำให้__อย่าหือ ฯ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุดา รังกุพันธุ์: ทำรัฐประหาร 49 “เสียของ” อำมาตย์จึงต้องปล้นซ้ำ ปี 57

$
0
0

 


ออกมายอมรับกันอย่างไร้ยางอายในหมู่ผู้ร่วมปล้นชาติ เมื่อ 19 กันยา 2549 ว่ารัฐประหาร 8 ปีก่อนนั้น เป็นการรัฐประหารที่ “เสียของ” โดยเฉพาะโจรกบฏระดับนำอย่าง ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับอัปยศ ปี 50 วาทะ “เสียของ” ถูกตอกย้ำโดย โจรกบฏระดับลูกน้องประสงค์ อย่าง สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อัปยศ 50 ที่ออกมาให้สัมภาษณ์ด้วยนัยยะเดียวกัน แต่เปลี่ยนไปใช้คำตามวัจนลีลาดัดจริตว่า “สูญเปล่า”


ประเด็นที่เหล่าสมุนโจรกบฏรุ่น 49 เห็นว่าเป็นการเสียของอย่างมาก ก็คือ การที่คณะโจรกบฏรุ่น 49 ไม่สามารถ “กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย” มากพอ ทำให้กลับมาทวงคืนอำนาจส่วนหนึ่งกลับไปได้สำเร็จหลายต่อหลายครั้ง
คำพูดและความคิดดังกล่าว ได้สะท้อนความโหดเหี้ยมอำมหิตของอำมาตย์อย่างชัดเจน การสูญเสียชีวิตของประชาชนมากมาย ตลอดระยะเวลา 8 ปี ที่ผ่านมา ดูเหมือนยังไม่สามารถกระตุกต่อมสำนึกของเผด็จการอำมาตย์เหล่านี้ได้


31 ตุลาคม 2549 “นวมทอง ไพรวัลย์” กระทำการสละชีพ เพื่อยืนยันให้โลกรู้ว่าประชาชนยอมสละชีพได้เพื่อประชาธิปไตย ได้ทำลายมายาภาพของรัฐประหารที่ไม่เสียเลือดเนื้อ (bloodless coup) ที่โจรกบฏและสมุน 49 อัดเงินภาษีประชาชนให้ทีมโฆษณาชวนเชื่อตระเวนไปตามประเทศสำคัญๆ เพื่อกล่อมให้ผู้นำประเทศหลงเชื่อว่าคนไทยยินดีต้อนรับการปล้นอำนาจครั้งนั้นเป็นอย่างดี


กระแสการต่อต้านรัฐประหาร 49 ได้ก่อตัวและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนฝ่ายโจรกบฏจำเป็นต้องทำตามขั้นตอนการคืนอำนาจให้ประชาชน นำมาซึ่งการเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา แต่เมื่อประชาชนได้ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองเดิมที่ถูกปล้นอำนาจไปเมื่อปี 49 ฝ่ายอำมาตย์ก็ได้พยายามก่อสงครามมวลชนขึ้น จนเกิดการล้มรัฐบาลของประชาชน โดยการสมรู้ร่วมคิดของ “ขบวนการตุลาการวิบัติ” ตลอด 8 ปี ที่ผ่านมา การใช้สงครามมวลชนร่วมกับตุลาการวิบัติ หลายกลุ่ม หลายรอบ มาจนโจรกบฏก็ได้เข้ามาปิดเกม “ปล้นอำนาจซ้ำ” อีกครั้งในวันที่ 22 พฤษภา 57


ตลอด 8 ปี ที่ผ่านมา การกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย ทั้งโดยการล้อมฆ่าโดยกองกำลังทหารหลายหมื่นนาย ใช้อาวุธและกระสุนหลายแสนนัด ในเหตุการณ์ 10 เมษา 53 และพฤษภา 53, การกราดยิงใส่ประชาชนในวัดปทุมวนาราม เมื่อ 20 พฤษภา 53, การไล่ยิงผู้ชุมนุมในปี 52, การลอบสังหาร กรณีเสธ.แดง และไม้หนึ่ง ก.กุนที, การอุ้มฆ่า กรณีคนเสื้อแดงหลายราย หลังราชประสงค์แตก, และการอุ้มหาย และการตายอย่างมีเงื่อนงำอีกมากมายของคนเสื้อแดง ตลอด 8 ปี ที่ทำให้จำนวนศพไม่มีญาติเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดสังเกต

นี่ยังไม่นับรวมถึงการสูญเสียชีวิตประชาชนของทุกฝ่าย จากการที่โจรกบฏได้การใช้ทหารนอกเครื่องแบบปะปนเป็นผู้ชุมนุม ฝึกฝนและติดอาวุธให้การ์ด ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมยึดสะพานมัฆวาน ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ปี 2551 หรือการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ (Shut Down Bangkok) ปี 2556-57 ซึ่งชัดเจนว่าได้มีการใช้ทหารติดอาวุธปะปนทำตัวเป็นผู้ชุมนุม ที่พร้อมจะยั่วยุให้เกิดการปะทะ หรือทำร้ายเข่นฆ่าเจ้าหน้าที่หรือประชาชนในฝ่ายรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ดังที่ได้เกิดความสูญเสียกับ “ณรงศักดิ์ กรอบไธสง” หรือถึงแก่อัมพาต กรณี “ลุงอะแกว” รวมทั้งความสูญเสียจากการปะทะอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกรณี “โบว์ อังคณา” และผู้ชุมนุมพันธมิตร, กปปส. และกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องเข้าเสี่ยงชีวิตระงับเหตุต่างๆ

ความสูญเสียมากมายของชีวิตพี่น้องประชาชนหลายร้อยชีวิต บาดเจ็บหลายพันคน ส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดและครอบครัวนับหมื่นคน ที่กล่าวมานี้ยังไม่ใช่ข้อมูลตัวเลขที่สมบูรณ์ เช่นนี้ ยังเรียกว่า กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย ไม่มากพออีกหรือ? เผด็จการอำมาตย์ยังกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตยและทำลายชีวิตประชาชนไม่มากพอจนถึงกับสรุปว่ารัฐประหาร 49 เป็นเรื่องเสียของกระนั้นหรือ?


แม้การตายและบาดเจ็บจะมากมายเพียงนี้แล้ว ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดของการกวาดล้างของเผด็จการอำมาตย์ “การตีตรวน” ประชาชนหลายพันคน การล่ามฝ่ายประชาธิปไตยไว้กับคดีการเมืองมากมายตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความสูญเสียทั้งที่ถึงแก่ชีวิต อย่างกรณี อากง, วันชัย, สุรกริช และนักโทษการเมืองอีกหลายคนที่เสียชีวิตไม่นานหลังได้รับอิสรภาพ จากการใช้ชีวิตในคุกไทย ที่มีสภาพเป็นการซ้อมทรมานผู้ต้องขัง โดยเฉพาะกับผู้ที่ยากจน

เฉพาะในปี 2553 เผด็จการอำมาตย์ได้กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย ด้วยการจับกุมดำเนินคดีทางการเมืองกับกลุ่มคนเสื้อแดงมากถึง 1,857 คน ไม่ใช่เฉพาะจำนวนที่มากมาย แต่วิธีการที่เผด็จการอำมาตย์รวมหัวกับ “ขบวนการตุลาการวิบัติ” บังคับใช้กฎหมายอย่าง 2 มาตรฐาน ตั้งแต่ขั้นตอนการจับกุม การตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรงเกินจริง การปิดกั้นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม การไม่ให้สิทธิประกันตัว การใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมกับจำเลยฝ่ายประชาธิปไตย ไปจนถึงการลงโทษทัณฑ์อย่างไร้ความปราณี กรณีคนเสื้อแดงชุมนุมที่ศาลากลางอุบลราชธานี และเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ในปี 53 ถูกจับกุม ดำเนินคดีหลายสิบคน และบางคดีถูกพิพากษาจำคุกสูงถึง 34 ปี

ความเลวร้ายของขบวนการตุลาการวิบัติ ที่สมรู้ร่วมคิดกับเผด็จการอำมาตย์ เป็นที่ประจักษ์จนตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายประชาธิปไตยหลายร้อยคน ตัดสินใจลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่นอกประเทศไทย

และการกวาดล้าง ที่ยังไม่เคยเห็นการรวบรวมข้อมูลตัวเลข คือ การทำให้สูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน โอกาสทางธุรกิจ การต้องออกจากสถานศึกษากลางครัน และความเสียหาย ที่ยังไม่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ

จากที่กล่าวมานี้ ตลอดระยะเวลา 8 ปี ฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ ได้ใช้ความเหนือกว่าในกลไกอำนาจรัฐ ที่มีอำนาจกองทัพหนุนหลัง หรือออกหน้า ร่วมกับอิทธิพลทางเครือข่ายอนุรักษ์นิยม ทำให้กลุ่มทุนหลายกลุ่มที่ร่วมสนับสนุนการปล้นชาติ ทำลายประชาธิปไตย ของฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ เครือข่ายเหล่านี้ ได้ร่วมกัน “กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย” ในหลายรูปแบบ สร้างความเสียหายมากมายมหาศาล

เช่นนี้ ยังเรียกว่า กวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตย ไม่มากพออีกหรือ? เผด็จการอำมาตย์ยังกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตยและทำลายชีวิตประชาชนไม่มากพอจนถึงกับสรุปว่ารัฐประหาร 49 เป็นเรื่องเสียของกระนั้นหรือ?

หรือว่า การตาย บาดเจ็บ ติดคุก ลี้ภัย เสียอาชีพ สิ้นเนื้อประดาตัว ฯลฯ ยังไม่สาแก่ใจของฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ เพราะแม้จะสูญเสียมากมายเช่นนี้ ประชาชนก็ยังคงลุกขึ้นต่อสู้ทวงคืนอำนาจอธิปไตยอันเป็นของพวกเขาโดยชอบธรรม ครั้งแล้วครั้งเล่า จนดูเหมือนจะทำให้ฝ่ายโจรกบฏขัดเคืองใจ ไม่เว้นแม้แต่โจรกบฏในคราบอาจารย์ นักวิชาการ ผู้บริหารอุดมศึกษา อันสูงส่ง “สมคิด เลิศไพฑูรย์” ที่หลุดคำพูดเดียวกับหัวหน้าเก่า “ประสงค์ สุ่นศิริ” ที่ร่วมกันร่างกฎโจร ปี 50 ออกมาว่า “บทเรียนจากรัฐประหารเมื่อปี 2549 ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาอะไร หลายคนก็บ่นว่าเสียดายของ”

นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ยังรำพึง “เสียดายของ” แต่ไม่เอ่ยแม้น้อยนิดถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชนหลายหมื่นหลายแสนคน ตลอด 8 ปีที่ผ่านมาจากการกวาดล้างของโจรกบฏ 49 ทั้งนี้ยังไม่ได้กล่าวถึง ความเสียหายต่อระบอบประชาธิปไตย ที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในชาติ และเพื่อนบ้านในภูมิภาค

และสิ่งที่สมุนโจรกบฏ 49 ดาหน้ากันออกมาย้ำว่าการปล้นอำนาจเมื่อปี 49 เป็นการเสียของ ขณะที่คนพวกนี้ช่วยกันผลักดันให้เกิดการปล้นอำนาจซ้ำอีกครั้งในปี 57 เขาก็ช่วยกันตอกย้ำให้การปล้นในรอบนี้ ต้องใช้อำนาจกับฝ่ายประชาธิปไตยให้เต็มที่

นั่นคือ ต้องกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตยให้สิ้นซาก!

สิ่งที่เผด็จการอำมาตย์ ควรทบทวนบทเรียน 8 ปี นี้ คือ

เหตุใดกองทัพและอำมาตย์ทั้งเครือข่าย ใช้อำนาจรัฐและเหนือรัฐกวาดล้างฝ่ายประชาชนมากมายเพียงนี้ จึงยังมีประชาชนลุกขึ้นต่อสู้ทวงคืนอำนาจอันชอบธรรมของพวกเขาอย่างไม่เสียดายชีวิต มากขึ้น ขยายวงกว้างขึ้น และกล้าแข็งขึ้นทุกที และควรเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ประชาชนจะไม่ปล่อยให้อำนาจของเขาถูกปล้นตลอดไป !!!

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยกเลิกกรรมการเลือก สปช. เหตุ รธน.ให้เป็นอำนาจ คสช.

$
0
0

คสช.มีคำสั่งยกเลิกการตั้งคณะกรรมการคัดเลือก สปช. ทั้ง 14 คน ระบุเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้เป็นอำนาจของ คสช. อยู่แล้ว





20 ก.ย. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งที่ 121/2557 เรื่อง ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 117/2557 ใจความ ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 117/2557 ลงวันที่ 17 ส.ค. 2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือก สปช. จำนวนไม่เกิน 250 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 มาตรา 30 วรรค 6 ได้กำหนดให้ คสช. คัดเลือก สปช. จากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอจำนวนไม่เกิน 250 คน

โดยเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2557 ที่ผ่านมาเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 121/2557 เรื่อง ยกเลิกคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 117/2557 ที่ได้กําหนดให้มีคณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทําหน้าที่พิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ นั้น โดยที่มาตรา 30 (6) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้กําหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ จํานวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ดังนั้น อํานาจในการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติให้เหลือจํานวนดังกล่าว จึงเป็นอํานาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด
       
เพื่อให้กระบวนการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และมาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งให้ยกเลิกคําสั่งดังกล่าว สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
อนึ่งคำสั่งที่ 117 ได้กำหนดคณะกรรมการคัดเลือกฯ ขึ้นมา 14 คน ประกอบด้วย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ต่างประเทศ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม พล.อ.จิระเดช โมกขะสมิต ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รอง ผบ.สส. พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ หัวหน้าคณะทำงานเตรียมการปฎิรูป กห. พล.ร.อ.จักรชัย ภู่เจริญยศ รอง ผบ.ทร. พล.อ.อ.สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ รองผบ.ทอ. พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาการผบ.ตร. และพล.อ.อุทิศ สุนทร หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายและสั่งการของผู้บังคับบัญชาในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำหน้าที่เพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิก สปช.จากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน และในแต่ละด้าน พร้อมทั้งนำรายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเสนอต่อหัวหน้า คสช. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โพลล์เผยความนิยมพรรค 'ประชาธิปัตย์' เหนือ 'เพื่อไทย'

$
0
0

กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจเรื่อง  “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” พบ "อภิสิทธิ์-พรรคประชาธิปัตย์" มีความนิยมเหนือ "ยิ่งลักษณ์-พรรคเพื่อไทย"



20 ก.ย. 2557 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังจัดตั้งรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,170 คน พบว่า

คะแนนนิยมนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ที่ร้อยละ 24.0 เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม 2557 ร้อยละ 5.6 (จากเดิมร้อยละ 18.4) ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 22.3 ลดลงจากผลสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 4.5 (จากเดิมร้อยละ 26.8)

นอกจากนี้เมื่อถามความเห็นว่า “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด” ร้อยละ 27.4 บอกว่าจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 8.4) รองลงมาร้อยละ 23.5 บอกว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทย (ลดลงร้อยละ 5.8) และร้อยละ 2.8 บอกว่าจะเลือกพรรคชาติไทยพัฒนา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3)

ด้านความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “อยากให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีระยะเวลาการทำงานเป็นอย่างไร” ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.4 อยากให้ทำงานจนกว่าประเทศจะเรียบร้อยในทุกๆ ด้าน โดยอาจจะมากกว่า 1 ปี ขณะที่ร้อยละ 33.6 อยากให้ทำงานแล้วเสร็จภายใน 1 ปี และจัดให้มีการเลือกตั้ง

สุดท้ายเมื่อถามว่าปัญหาที่อยากให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปฏิรูปให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีมากที่สุดคือ ปัญหาการคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 30.8) รองลงมาคือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ (ร้อยละ 30.1) และปัญหาความแตกแยกในสังคม (ร้อยละ 19.8)  
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปาฐกถา 30 นาทีที่ มธ.ศูนย์รังสิตโดย 'นิธิ เอียวศรีวงศ์'

$
0
0

18 ก.ย. 2557 - 30 นาทีกับ ปาฐกถานิธิ เอียวศรีวงศ์ ในงานเสวนา 'ห้องเรียนประชาธิปไตย ตอนที่ 2' 'การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ' ที่ใต้ถุนอาคารเรียน บร.2 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จัดโดย LLTD ทั้งนี้นิธิได้ปาฐกถาเป็นเวลา 30 นาที ก่อนที่ผู้จัดงานและวิทยากรได้ถูกเชิญตัวไปสถานีตำรวจ

 

นิธิเริ่มการเสวนาว่า แม้ว่าจุดมุ่งหมายของการพูดในวันนี้จะอยู่ที่อนาคตของเผด็จการ แต่เป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีนิยามให้ชัดเสียก่อนว่าเผด็จการหมายถึงอะไร ประเด็นแรกที่ผมฟันธงคือ เผด็จการนั้นเป็นผลผลิตจากรัฐสมัยใหม่ เพราะในรัฐโบราณมีเพียงแต่ทรราช (tyrant) เท่านั้น ซึ่งหมายถึงผู้ปกครองที่มักจะทำอะไรตามอำเภอใจ โหดร้าย โหดเหี้ยม รังแกคนมาก ทรราชนี่สามารถที่จะเป็นราชาหรือไม่ใช่ราชาก็ได้ คนเหล่านี้ผมมองว่าไม่ใช่เผด็จการด้วยเหตุผล 3 ประการ หนึ่ง ในโลกสมัยโบราณ ทรราชมีอำนาจจำกัด คือขาดระบบราชการ เครื่องมือในการสื่อสารคมนาคม ขาดกองทัพประจำการ หมายความว่า อาจจะมีกองทัพอยู่แต่เป็นเพียงกองทัพเล็กๆ  ซึ่งใหญ่กว่าคนอื่น แต่คนอื่นๆ  เขาก็มีกองทัพด้วย ทำให้ทรราชไม่สามารถจะผูกขาดความรุนแรงได้ ถ้าเป็นเผด็จการแล้วไม่ผูกขาดความรุนแรงเป็นไปไม่ได้  นอกจากนี้ยังขาดกลไกอีกหลายอย่าง ที่ไม่สามารถเข้าสู่รายละเอียดในการควบคุมประชาชนได้ ฉะนั้นทรราชก็ได้แต่แสดงอำนาจ "มันๆ ไป" อยู่กับคนใกล้ตัวเท่านั้น ไม่สามารถที่จะแผลงฤทธิ์ หรือแสดงความไม่ฉลาดของตนให้ปรากฏแก่สาธารณชนได้เท่าเผด็จการ

โดยสรุปก็คือการที่ขาดระบบราชการรวมศูนย์ ขาดกองทัพ ขาดอะไรก็แล้วแต่ คุณไม่สามารถสร้างความสะพรึงกลัวในระดับที่กว้างขวางได้ เพราะความสะพรึงกลัวนั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดของเผด็จการ ทรราชนั้นไม่ว่ามันจะเลวร้ายแค่ไหนก็แล้วแต่มันไม่สามารถสร้างความสะพรึงกลัวในระดับที่กว้างขวางได้

สอง ในระบอบปกครองของทรราช ยังมีอำนาจอื่นเหลืออยู่อีกมาก เช่น อำนาจท้องถิ่น ศาสนา ขุนนาง ประเพณี และอื่นๆ  อีกหลายประการ ซึ่งทรราชไม่มีกำลังพอที่จะไปปราบอำนาจเหล่านั้นได้ วิธีเดียวที่ทรราชจะอยู่ได้คือต้องมีการประนีประนอมกับอำนาจอื่นๆ  เหล่านั้น เพราะฉะนั้นโดยปกติราชาธิราชทั้งหลายในโลกนี้ ไม่ว่าท่านอยากจะมีอำนาจมากแค่ไหน จะเหี้ยมโหดแค่ไหนก็ตาม มันจะมีอำนาจอื่นคอยขวางอยู่ตลอดเวลาทำให้ทรราชนั้นต้องประนีประนอมด้วย เพราะฉะนั้นเผด็จการจึงเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีรัฐสมัยใหม่ เพราะมันไม่มีเครื่องมือต่างๆ  ที่ทำให้เกิดความสะพรึงกลัว

สาม อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ทรราชแตกต่างจากเผด็จการก็คือ ในรัฐโบราณไม่มีสิ่งที่เรียกว่าชาติ หรือรัฐชาติ ซึ่งนี้คือสิ่งที่สำคัญมากๆ  ฉะนั้นถ้าไม่มีรัฐสมัยใหม่ ซึ่งเป็นรัฐชาติด้วย โอกาสจะเกิดเผด็จการนั้นเป็นไปได้ยากมาก เพราะชาติไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ดินแดนและกลไกของรัฐเท่านั้น แม้จะยึดดินแดน ยึดกลไกของรัฐได้ นั่นไม่ได้หมายความว่าจะยึดชาติได้ เพราะชาติมีมากกว่าดินแดน และกลไกของรัฐ คือชาติมีสำนึกร่วมกันถึงอัตลักษณ์ของคนด้วย มีสำนึกของความคิดถึงอนาคตร่วมกันบางอย่าง ซึ่งรัฐเฉยๆ  ไม่มี  เพราะฉะนั้นเผด็จการที่แท้จริงจะต้องมีชาติอยู่ด้วย

ถ้าคุณยึดกุมได้แต่รัฐ คุณเป็นได้เพียงทรราช แต่ถ้าคุณยึดกุมชาติได้ด้วย เมื่อนั้นคุณจึงสามารถเป็นเผด็จการได้ ในขณะที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าความเป็นชาติของรัฐสมัยใหม่ทั้งหลายมันไม่เท่ากัน

การจะมีสำนึกความเป็นชาติร่วมกันได้ จะต้องยอมรับเสียก่อนว่า พลเมืองทุกคนเป็นเจ้าของรัฐอย่างเท่าเทียมกัน ถ้ายอมรับข้อนี้ไม่ได้ นั่นหมายความว่า มีเพียงแค่รัฐที่ไร้ชาติ

สำหรับชาติไทยนั้นมีพัฒนาการความเป็นชาติที่ช้ากว่าชาติอเมริกัน ชาติฝรั่งเศส แต่เรากำลังก้าวเดินสู่ความเป็นชาติเข้าไปเรื่อยๆ จนคนเริ่มมีสำนึกในความเป็นเจ้าของประเทศมากขึ้น จากแต่เดิมที่มีเพียงศูนย์กลางที่กรุงเทพ ข้าราชการ และชนชั้นนำของประเทศ ชาวนาเกษตรกรไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

และด้วยเหตุนี้ ผมมองว่าการรัฐประหารที่ผ่านมาในหลายๆ ครั้งของประเทศไทย จึงเป็นเพียงแค่การยึดรัฐ ไม่สามารถยึดชาติได้ จะมีก็เพียงสองครั้งคือ รัฐประหารปี 2549 และรัฐประหารครั้งล่าสุดปี 2557  ที่มีความพยายามจะยึดชาติด้วย และเมื่อใดก็ตามที่มีความพยายามจะยึดชาติ มันไม่ง่ายเหมือนการยึดดินแดนและกลไกของรัฐ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กๆ เพียงแค่มีปืน มีอำนาจ จะยึดเมื่อไรก็สามารถยึดได้ แต่กับการยึดชาตินั้นเท่ากับว่าเป็นการยึดสำนึกของคน ต้องยึดความหวัง ยึดความฝันของคนด้วย ซึ่งมันไม่ง่าย และที่ผ่านมาในปี 2549 นั้นล้มเหลว "ล้มเหลวไม่ใช่เสียของนะครับ ล้มเหลวเพราะไม่สามารถยึดชาติได้ แต่สำหรับครั้งนี้ เขาไม่ให้พูด ผมก็ไม่พูด"

อ่านบทรายงานปาฐกถาของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่นี่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครอบครัวนักข่าวที่ถูกไอซิสสังหาร ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ถูกจับเป็นตัวประกัน

$
0
0

ครอบครัวเจมส์ โฟลีย์ ผู้ถูกกลุ่มติดอาวุธไอซิสจับเป็นตัวประกันและสังหารเผยแพร่ผ่านวิดีโอ ตั้งกองทุนเพื่อเป็นเกียรติแก่ลูกและเพื่อช่วยเหลือนักข่าวรวมถึงญาติของผู้ที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ขณะเดียวกันก็ยังมีข้อถกเถียงเรื่องควรให้เงินประกันเพื่อไถ่ตัวประกันจากกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่


20 ก.ย. 2557 ครอบครัวของเจมส์ โฟลีย์ นักข่าวชาวอเมริกันที่ถูกกลุ่มติดอาวุธไอซิสจับเป็นตัวประกันและสังหารโหดเผยแพร่ผ่านวิดีโอตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมนักข่าวชาวอเมริกันที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้ความช่วยเหลือครอบครัวชาวอเมริกันที่มีญาติถูกจับเป็นตัวประกัน และส่งเสริมโอกาสการศึกษาของวัยรุ่นในเมือง

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 ก.ย.) จอห์น และไดแอน โฟลีย์ พ่อและแม่ของเจมส์ประกาศก่อตั้งกองทุนเจมส์ ดับเบิลยู โฟลีย์ "เพื่อส่งเสริมความใฝ่ฝันและอุดมคติของคนยุคอนาคต"

หลังข่าวการสังหารโฟลีย์โด่งดังไปทั่วโลกครอบครัวโฟลีย์ซึ่งอาศัยในเขตนิวอิงแลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ก็กลายเป็นที่สนใจของสาธารณชนและได้ร่วมถกเถียงว่าจะจัดการกับปัญหาการลักพาตัวและเรียกค่าไถ่โดยกลุ่มติดอาวุธไอซิสอย่างไร

ก่อนหน้านี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เจมส์ โฟลีย์ ถูกจับตัวไปขณะกำลังทำข่าวความขัดแย้งอยู่ในซีเรีย ในช่วงเวลานั้นเขาถูกทุบตีและทารุณกรรมจนกระทั่งถูกสังหารโดยกลุ่มไอซิสในที่สุด แต่กองทุนของโฟลีย์ซึ่งถูกตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่ต้องทนทุกข์กับการที่ญาติถูกจับเป็นตัวประกัน ก็ทำให้นักข่าวผู้กล้าคนนี้เสมือนได้รับการเชิดชูเกียรติ

ครอบครัวโฟลีย์แถลงข่าวว่า "เป้าหมายอย่างแรกของกองทุนคือการสร้างศูนย์ทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของตัวประกันชาวอเมริกันในขณะที่พวกเขาต่อสู้เพื่อให้บุคคลอันเป็นที่รักของตนได้กลับบ้าน"

นี่เป็นประเด็นที่ครอบครัวโฟลีย์มีความรู้สึกร่วมอย่างลึกซึ้งกับครอบครัวที่ถูกกลุ่มไอซิส รวมถึงกลุ่มก่อการร้ายหรือกลุ่มอาชญากรอื่นๆ จับเป็นตัวประกัน

กองทุนของเจมส์ โฟลีย์ ไม่เพียงแค่ต้องการช่วยเหลือญาติของผู้ถูกลักพาตัวเท่านั้น แต่ยังต้องการให้เกียรติสิ่งที่โฟลีย์เคยทำไว้เช่นการเป็นครูสอนผู้ด้อยโอกาส


ข้อถกเถียงเรื่องเงินประกันตัว

ก่อนหน้านี้ครอบครัวโฟลีย์กล่าวให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อหลายสำนักโดยได้พูดถึงความไม่พอใจเรื่องที่ทางการสหรัฐฯ ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือมากนักในการสืบสวนเพื่อปลดปล่อยตัวประกัน ทำให้พวกเขามีความรู้สึกโกรธแค้นและเศร้าเสียใจมาเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งครอบครัวอื่นๆ ที่มีญาติถูกจับเป็นตัวประกันก็แสดงความผิดหวังและไม่พอใจความไร้สมรรถภาพของการต่างประเทศสหรัฐฯ และทำเนียบขาวในการจัดการปัญหาตัวประกันเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ประเทศอย่างสหรัฐฯ และอังกฤษอ้างว่าพวกเขาหรือครอบครัวของตัวประกันไม่สามารถจ่ายเงินให้กับกลุ่มไอซิสเป็นค่าไถ่เพื่อให้ปล่อยตัวประกันได้เนื่องจากเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศของพวกเขา ซึ่งกฎหมายทำนองนี้มีขึ้นเพราะไม่ต้องการแสดงการสนับสนุนให้มีการลักพาตัวเพิ่มขึ้น สำนักข่าวบางสำนักเช่นโกลบอลโพสต์ บีบีซี และสำนักข่าวใหญ่ๆ ก็มีนโยบายไม่จ่ายเงินค่าไถ่ แต่จะติดต่อกับทางการให้ช่วยดำเนินการเรื่องตัวประกัน

แม้กฎหมายในสหรัฐฯ จะห้าม แต่ในประเทศยุโรปบางประเทศเช่นฝรั่งเศสและสเปนก็มีการพยายามรวบรวมเงินเพื่อช่วยเหลือตัวประกัน ซึ่งไดแอนก็พยายามทำอย่างเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีพนักงานสืบสวนเอกชนที่ไม่ประสงค์ออกนามผู้หนึ่งวิพากษ์วิจารณ์การนำมาปฏิบัติอย่างสับสนและไม่คงที่ในกรณีนโยบายตัวประกัน เช่นกรณีหนึ่งที่พวกเขาปล่อยตัวนักโทษตอลีบาน 5 คน จากคุกกวนตานาโมเพื่อแลกกับการปล่อยตัวทหารยศสิบโทรายหนึ่ง

พนักงานสืบสวนเอกชนกล่าวอีกว่าครอบครัวผู้ถูกลักพาตัวควรมีสิทธิที่จะจ่ายค่าไถ่เพื่อแลกกับอิสรภาพของคนในครอบครัวพวกเขา ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นความรู้สึกปกติของมนุษย์ต่อคนที่ตัวเองรัก

อลัน เดอโชวิตซ์ ศาตราจารย์ด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายกล่าวว่าเรื่องที่พ่อแม่ต้องการจะช่วยชีวิตลูกตัวเองเป็นเรื่องปกติและพวกเขาควรจะมีสิทธิช่วยเหลือ ซึ่งทางการอาจจะจ่ายค่าไถ่แต่ในอีกทางหนึ่งก็คิดถึงการทำลายกลุ่มก่อการร้ายไปด้วยได้

เดวิด โรห์ด นักข่าวรางวัลพูลิตเซอร์ที่เคยถูกจับโดยกลุ่มตอลีบานและสามารถแอบหลบหนีออกมาได้เขียนบทความเรียกร้องให้เรื่องการถกเถียงเรื่องเงินค่าไถ่ของคนที่ถูกจับโดยคนต่างชาติกลายเป็นเรื่องที่ยกมาพูดในที่สาธารณะได้โดยไม่มีการปกปิด อีกทั้งยังได้เรียกร้องให้ชาติตะวันตกมีการโต้ตอบการลักพาตัวอย่างคงเส้นคงวามากกว่านี้ ความไม่คงเส้นคงวาของพวกเขาทำให้เสี่ยงต่อความผิดพลาด


เรียบเรียงจาก

Foley family honors son with new nonprofit, Globalpost, 16-09-2014
http://www.globalpost.com/dispatches/globalpost-blogs/groundtruth/foley-family-honors-son-legacy-fund 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สูญเสียนักสันติวิธีชายแดนใต้ 'อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง'

$
0
0

สูญเสียอีกหนึ่งนักสันติวิธีชายแดนใต้คนสำคัญ นายอัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง เสียชีวิตกะทันหันที่ประเทศสวีเดนอาการหัวใจวายขณะเดินทาง ด้วยภารกิจเพื่อสร้างสันติภาพจนวาระสุดท้ายของชีวิต

นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง (แฟ้มภาพ)

รายงานข่าวแจ้งว่า นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักสันติวิธีคนสำคัญที่เคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันขณะเดินทางด้วยรถไฟอยู่ในประเทศสวีเดน โดยมีอาการแน่นหน้าอก จึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล Helsingborg Lasarett เมือง Lund ในช่วงเช้าวันที่ 20 กันยายน 2557

นายอัฮหมัดสมบูรณ์ เดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 กันยายน ไปประเทศสวีเดน เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนขององค์กรภาคประชาสังคมในการประสานกับตัวแทนฝ่ายต่างๆ ในเรื่องการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ซึ่งหลังจากญาติๆที่จังหวัดปัตตานีทราบข่าว ได้มารวมตัวกันที่บ้านพักของนายอัฮหมัดสมบูรณ์ที่บ้านเลขที่ 23 ม.6 ต.ปูยุด อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อหารือถึงการสูญเสียดังกล่าว ท่ามกลางบรรยากาศที่เศร้า โดยญาติต้องการให้นำศพกลับมาประกอบศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามที่จังหวัดปัตตานี แต่อาจต้องใช้เวลาดำเนินการ 2-3 วัน

นายอัฮหมัดสมบูรณ์ เดินทางไปประเทศสวีเดนรวมทั้งประเทศต่างๆ บ่อยครั้งเพื่อพบปะกับตัวแทนกลุ่มขบวนการต่อสู่กับรัฐไทยที่เคลื่อนไหวในต่างประเทศ เพื่อหาทางออกในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ โดยเขามักยืนยันต่อแกนนำขบวนการหลายคนถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีและไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง

นายอัฮหมัดสมบูรณ์ นอกจากจะเป็นนักวิชาการอิสระแล้ว เขายังเป็นนักประชาสังคมและทำงานชุมชนมานานหลายปี ที่ผ่านมาเคยดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ หรือ กอส. ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ตำแหน่งล่าสุดที่เขาเป็นคือ ผู้อำนวยการหลักสูตรเสริมสร้างสันติสุขของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งการเสียชีวิตของเขานับเป็นการสูญเสียบุคคลากรที่มีความสำคัญในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทุ่มเทอย่างจริงจังในการทำหน้าที่เพื่อสันติภาพจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

3 กสท.เตรียมเสนอผ่าทางตัน กรณีช่อง 3 จันทร์นี้

$
0
0

ยืนยันต้องทำตามกฎหมาย มีทางออกให้คนดูหลังจอดำ คือให้ช่องยอมออกคู่ขนานอนาล็อก-ดิจิตอล เหมือนช่อง7 ช่อง9

20 ก.ย.2557  สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 22 ก.ย. นี้ ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ตนเองและ กสท.อีก 2 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และ พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ เตรียมเสนอวาระแนวทางการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์จากระบบแอนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิตอล ตามที่บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ได้ยื่นหนังสือพร้อมมีข้อเสนอแนะที่ยินดีจะออกอากาศช่อง 3 คู่ขนานทั้งระบบแอนาล็อกและดิจิตอล แต่ขอมีข้อยกเว้น หรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงข้อปัญหาที่ว่า ช่อง 3 แอนาล็อก คนละนิติบุคคลกับช่อง 3 ดิจิตอล ที่ช่อง 3 อ้างมานั้น วันจันทร์นี้ กสท.จะเคลียร์ประเด็นนี้ให้ชัดเจน

สุภิญญา กล่าวว่า ได้เตรียมข้อเสนอทางออกภาพรวมต่อการเปลี่ยนผ่านเพื่อเยียวยาทุกช่องที่ออกคู่ขนาน 2 ระบบ และดูแลช่องใหม่อย่างเป็นธรรมด้วย ภายหลังหากได้ข้อสรุปแล้ว จะเชิญตัวแทนช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 รวมทั้งทุกช่องใหม่ดิจิตอล มาพบตามลำดับ เพื่อถามและหาบทสรุปร่วมกัน จะแก้ปมปัญหาให้จบภายในสัปดาห์นี้ แต่ถ้าสุดท้ายทางช่อง 3 ยังไม่ประสงค์จะร่วมมือเดินตามกติกา กสทช. เรื่องนี้ก็คงต้องไปจบลงที่ศาลจริงๆ

ส่วนปัญหาโครงข่าย (MUX) โทรทัศน์ดิจิตอลของ บริษัท อสมท.จำกัด(มหาชน) ขัดข้องเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น ได้มีการนำวาระเรื่องนี้เข้าพิจารณาแก้ปัญหา รวมทั้งจะมีการหารือกับ 3 ช่องที่เป็นผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ MUX ขัดข้อง ในวันจันทร์นี้ช่วงบ่าย 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัญญาชนมุสลิมอังกฤษเรียกร้อง 'ไอซิส' ปล่อยตัวประกัน

$
0
0

ชาวนิกายซาลาฟี 3 คนในอังกฤษทำวิดีโอเรียกร้องให้กลุ่มติดอาวุธไอซิสปล่อยตัวประกันนักช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชื่ออลัน เฮนนิง ซึ่งถูกข่มขู่ว่าจะถูกสังหารเป็นรายต่อไป โดยบอกว่าการสังหารคนและจับคนเป็นตัวประกันนั้นผิดหลักคัมภีร์อัลกุรอาน


20 ก.ย. 2557 ปัญญาชนชาวมุสลิมนิกายซาลาฟีในอังกฤษเผยแพร่วิดีโอเรียกร้องให้กลุ่มติดอาวุธไอซิสปล่อยตัวอลัน เฮนนิง ผู้ทำงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวอังกฤษผู้ที่ถูกกลุ่มติดอาวุธขู่ตัดคอสังหาร โดยระบุว่าการสังหารผู้คนถือว่าผิดกฎของอิสลาม

วิดีโอดังกล่าวจัดทำโดยปัญญาชนชาวมุสลิม 3 คน จากนิกายซาลาฟี ซึ่งเป็นนิกายที่มักจะถูกชาวตะวันตกมองว่าเป็นกลุ่มหัวรุนแรง พวกเขาเรียกร้องแทนเฮนนิงซึ่งเป็นเพื่อนกับช่างภาพข่าวชาวอังกฤษชื่อจอห์น แคนไทล์ ผู้ที่ถูกไอซิสบังคับให้จัดทำวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อซึ่งปรากฏผ่านโซเชียลมีเดียเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา (18 ก.ย.)

ในวิดีโอของแคทไทล์ เขาพูดต่อหน้ากล้องด้วยการอ่านสคริปต์โดยที่ยังอยู่ภายใต้การข่มขู่ เขาพูดในทำนองว่าถูกทอดทิ้งจากรัฐบาลอังกฤษและสหรัฐฯ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลของทั้งสองประเทศเจรจากับไอซิสที่จับกุมตัวเขาไว้ ในวิดีโอแคนไทล์ยังได้อ่านสคริปต์ที่ระบุว่าจะมีการ "เปิดโปงความจริง" เกี่ยวกับไอซิสและปฏิบัติการทางทหารของชาติตะวันตกในพื้นที่

เพื่อนร่วมงานของแคทไทล์ผู้ไม่ประสงค์ออกนามรายหนึ่งสงสัยว่าสิ่งที่แคทไทล์กำลังทำอยู่คือการพยายามช่วยให้ตัวเองรอดชีวิตโดยเสนอตัวว่าจะช่วยทำวิดีโอให้กับกลุ่มไอซิส

ปัญญาชนชาวมุสลิมซึ่งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวเฮนนิงกล่าวว่าการกักกันตัวเขาขัดต่อหลักคำสอนของคัมภีร์อัลกุรอาน อีกทั้งยังเป็นความอยุติธรรมในระดับเดียวกับที่ชาวมุสลิมถูกขังอยู่ในคุกกวนตานาโมของสหรัฐฯ และผู้ที่ถูกทางการอังกฤษกุมขังโดยไม่มีการพิจารณาคดี

มีอยู่ 2 คนที่ปรากฏตัวในวิดีโอเคยถูกกล่าวหาว่ามีความเห็นใจกลุ่มหัวรุนแรงซึ่งพวกเขาปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ พวกเขาบอกว่าเฮนนิงเป็นผู้ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมซึ่งเดินทางไปซีเรียเพื่อช่วยเหลือชาวมุสลิม พวกเขาหวังว่าชื่อเสียงทางการเมืองและการศึกษาด้านเทววิทยาของพวกเขาจะทำให้ไอซิสยอมทำตามได้ และหวังว่าพวกไอซิสจะเห็นวิดีโอของพวกเขาผ่านทางโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นช่องทางถนัดของกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้

เฮนนิงเป็นคนขับแท็กซี่อายุ 47 ปีที่แต่งงานแล้วมีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่น 2 คน เขาเดินทางไปซีเรียกับเพื่อนชาวมุสลิมก่อนจะถูกไอซิสจับตัวไว้ขณะเดินทางอยู่ในรถลำเลียงความช่วยเหลือเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา (2556) ขณะที่กลุ่มให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมข้ามผ่านแดนจากตุรกีได้ไม่นาน

ทั้งนี้ ไอซิสแสดงวิดีโอการสังหารตัวประกันเป็นรายที่สามคือผู้ทำงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวสก็อตแลนด์ชื่อ เดวิด ไฮเนส เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยข่มขู่ว่าจะสังหารเฮนนิงเป็นรายต่อไป

อิหม่าม ชาคีล เบ็กก์ จากศูนย์อิสลามลูอิสแฮมในลอนดอนเรียกผู้ที่ลักพาตัวว่าเป็น "พี่น้องร่วมศาสนาอิสลาม" เขากล่าวอ้างถึงเนื้อความในคัมภีร์อัลกุรอานเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการปล่อยตัวเฮนนิงโดยไม่ได้รับอันตรายใดๆ


เรียบเรียงจาก

British Muslim scholars tell Isis that holding hostage goes against Qur'an, The Guardian, 19-09-2014
http://www.theguardian.com/world/2014/sep/19/isis-muslim-scholars-call-release-alan-henning-hostage

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยทหารสั่งงดจัดเสวนา คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

$
0
0

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2557 ที่ผ่านมา เว็บไซต์มติชนออนไลน์รายงานว่า ในการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง ความสุขและความปรองดองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 จัดโดย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีผู้ร่วมเสวนา นายชำนาญ จันทร์เรือง อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายเอกชัย ไชยนุวัติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม นายกฤษณ์พัชร โสมณวัตร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 25 กันยายน นั้น ล่าสุดได้รับการประสานจากทางทหาร ให้ยกเลิกการจัดกิจกรรมดังกล่าวแล้ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรสิทธิแรงงานระบุมาเลเซียใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมไอที

$
0
0

 

21 ก.ย. 2557 องค์กรสิทธิแรงงานในสหรัฐฯ ระบุว่ามีการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของมาเลเซีย โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ ที่ถูกขูดรีดค่านายหน้าหนักตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางที่มาเลเซีย

เมื่อกลางเดือนกันยายน 2014 ที่ผ่านมา Verité องค์กรด้านสิทธิแรงงานที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลวิจัย "Forced Labor in the Production of Electronic Goods in Malaysia: A Comprehensive Study of Scope and Characteristics" ความยาว 244 หน้า ระบุว่าคนงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มาเลเซียเกือบร้อยละ 28 ตกอยู่ในสภาพยากลำบากไม่ต่างจากทาสแรงงาน ทั้งสภาพการจ้างงานและสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้าย รวมทั้งถูกขูดรีดจากค่านายหน้าโดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านของมาเลเซีย

ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของมาเลเซียมีแรงงานงานทั้งชายและหญิงจากอินโดนีเซีย, เนปาล, อินเดีย, เวียดนาม, บังกลาเทศ และพม่า เกือบประมาณ 1 ใน 3 จากจำนวนคนงานทั้งหมดในอุตสาหกรรม 350,000 คน

จากการสัมภาษณ์คนงานในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ 501 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ กว่าร้อยละ 94 ระบุว่าพวกเขาถูกนายจ้างยึดพาสปอร์ตไว้ ร้อยละ 71 ระบุว่าไม่มีทางที่นายจ้างจะคืนพาสปอร์ตให้พวกเขาอย่างแน่นอน

โดยแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ยังต้องจ่ายค่านายหน้าจัดหางานทั้งประเทศต้นทางและปลายทางที่มาเลเซีย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกินกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาพที่เป็นหนี้ และบ่อยครั้งนายหน้ามักจะหลอกลวงเรื่องสภาพการทำงาน อัตราเงินเดือนและสวัสดิการ ซ้ำร้ายกว่านั้นเมื่อมาถึงมาเลเซียพวกเขากลับพบว่าไม่มีงานให้ทำ และต้องหางานใหม่ที่ต้องจ่ายค่านายหน้าอีกครั้ง

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จับตากระบวนการผลิตสินค้าในต่างประเทศที่ใช้แรงงานบังคับ เพื่อประกอบการตัดสินใจคว่ำบาตรสินค้าเหล่านั้น ทั้งนี้มาเลเซียเป็นประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับแบรนด์ดังระดับโลก เช่น Apple, Samsung, Sony และอื่นๆ แต่ในงานวิจัยฉบับนี้ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าแบรนด์ใดบ้างที่ใช้แรงงานทาสเหล่านั้น

อนึ่งปัญหาการกดขี่แรงงานข้ามชาติในมาเลเซียนั้นเป็นข่าวอยู่เนืองๆ โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาศูนย์สิทธิแรงงานต่างชาติจากพม่า (Myanmar Migrants Rights Centre - MMRC) ระบุว่าพนักงานชาวพม่าของบริษัทโซนี (Sony EMCs) ในประเทศมาเลเซียคนหนึ่งถูกบังคับให้เซ็นชื่อยอมรับการไล่ออก และถูกนำตัวออกจากโรงงานไปกักขังไว้ในรถก่อนนำตัวไปส่งยังที่พัก โดยพนักงานคนดังกล่าวเป็นหนึ่งใน 32 คนที่ถูกนายจ้างยึดพาสปอร์ตไว้เมื่อต้นปี 2014 โดยในครั้งนั้นฝ่ายบุคคลของบริษัทระบุว่าเป็นการรวบรวมพาสปอร์ตของพนักงานไว้เพื่อขอต่ออายุการทำงานในประเทศมาเลเซียให้แก่พนักงาน

 

ที่มาเรียบเรียงจาก

‘Modern slavery’ in Malaysia electronics factories
http://en.prothom-alo.com/international/news/53748/%E2%80%98Modern-slavery%E2%80%99-in-Malaysia-electronics-factories

Forced Labor in the Production of Electronic Goods in Malaysia: A Comprehensive Study of Scope and Characteristics
http://www.verite.org/sites/default/files/images/VeriteForcedLaborMalaysianElectronics2014.pdf

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

60 นักวิชาการ จาก 16 สถาบัน ประณาม คสช. คุกคามอาจารย์-นักศึกษา

$
0
0

นักวิชาการ 60 คนจากมหาวิทยาลัย 16 แห่งทั่วประเทศ ออกจดหมายเปิดผนึกประณามทหาร-ตำรวจ ที่ใช้กำลังเข้ายุติงานเสวนาวิชาการ พร้อมคุมตัวนักวิชาการและนักศึกษา ถึงภายในเขตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  

21 กันยายน 2557 นักวิชาการ 60 ท่านจากมหาวิทยาลัย 16 แห่งทั่วประเทศ ได้ออกจดหมายเปิดผนึกประณามการที่ทหารและตำรวจบังคับให้นักวิชาการและนักศึกษายุติงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ "ห้องเรียนประชาธิปไตย: บทที่ 2 การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ" ซึ่งจัดขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พร้อมทั้งควบคุมตัวนักศึกษาและวิทยากรไปสถานีตำรวจ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา  นักวิชาการกล่าวในจดหมายว่า การกระทำของทหารและตำรวจครั้งนี้เป็นการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการอย่างชัดเจน และยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง ผู้ลงนามในจดหมายยังเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หยุดคุกคามนักวิชาการและนักศึกษาโดยทันทีด้วย  นักวิชาการที่ร่วมลงชื่อประกอบด้วยอาจารย์ประจำจาก 31 คณะ 16 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ  

อันธิฌา แสงชัย อาจารย์ประจำคณะคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ลงชื่อ ให้ความเห็นว่า "ข้ออ้างของเจ้าหน้าที่รัฐที่ว่าเขามีอำนาจเข้าควบคุมได้เพราะกฎอัยการศึกยังประกาศใช้อยู่นั้น เป็นเพียงการประกาศว่ามีอำนาจคุกคาม แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้อำนาจคุกคามนั้นชอบธรรม"  ส่วน ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งผู้ร่วมลงชื่อ กล่าวด้วยว่า "การที่ตำรวจบังคับให้นักวิชาการต้องเซ็นเอกสารว่าจะยินยอมส่งหัวข้อการเสวนาทุกๆ ครั้งให้ทหารอนุมัติก่อนนั้น เป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการอย่างชัดเจน งานวิชาการที่เนื้อหาถูกควบคุมนั้นไม่เรียกว่าเป็นงานวิชาการที่แท้จริง"

๐๐๐๐

จดหมายเปิดผนึกประณามการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ
21 กันยายน 2557 
เรื่อง ประณามการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการและการควบคุมตัวอาจารย์และนักศึกษา 

เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 ได้มีทหารและตำรวจเข้าบังคับนักวิชาการและนักศึกษา ให้ยุติงานเสวนาวิชาการ "ห้องเรียนประชาธิปไตย: บทที่ 2 การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ" ซึ่งจัดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นอกจากนี้ทหารและตำรวจยังได้ควบคุมตัวนักศึกษาที่จัดงาน รวมทั้งวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ ได้แก่ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดร.เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ  และ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ไปที่สถานีตำรวจนครบาลคลองหลวง 

เราในฐานะนักวิชาการ ขอประณามการกระทำของทหารและตำรวจ ที่ใช้อำนาจคุกคามนักศึกษาและนักวิชาการถึงในพื้นที่มหาวิทยาลัย การกระทำดังกล่าวคุกคามสิทธิเสรีภาพทางวิชาการอย่างชัดเจน และเป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง 

ข้ออ้างที่ว่ากฎอัยการศึกยังประกาศใช้อยู่นั้นเป็นเพียงการประกาศว่าทหารและตำรวจมี "อำนาจ" จะคุกคามได้ แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้อำนาจคุกคามนั้นชอบธรรม ส่วนข้ออ้างที่ว่างานเสวนาวิชาการนี้อาจกระทบต่อความมั่นคงนั้นก็เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น การจัดเสวนาวิชาการเกี่ยวกับการเมือง ไม่ว่าจะการเมืองในประเทศหรือการเมืองต่างประเทศ เป็นเรื่องปกติอย่างยิ่ง และที่ผ่านๆ มาก็ไม่เคยปรากฏเลยว่างานเสวนาวิชาการลักษณะนี้กระทบต่อความมั่นคง ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ 

เราขอเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หยุดใช้อำนาจคุกคามนักวิชาการและนักศึกษา และหยุดคุกคามเสรีภาพในทางวิชาการ หากสิทธิพื้นฐานอย่างสิทธิในการแลกเปลี่ยนทางปัญญาในสถานศึกษายังไม่ได้รับการเคารพ เราก็ย่อมไม่มีทางหวังได้เลยว่าประเทศไทยภายหลังการปฏิรูปของ คสช. จะเป็นประเทศที่เคารพสิทธิพื้นฐานของประชาชน  

 

รายนามนักวิชาการที่ลงชื่อ (ตามตัวอักษร): 

1.  ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.  ดร.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3.  คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
4.  ผศ.ดร.คำแหง วิสุทธางกูร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5.  ดร.จักรกริช สังขมณี, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.  จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
7.  ผศ.ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
8.  ดร.ชนิสร เหง้าจำปา, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9.  ดร.ชลัท ศานติวรางคณา, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
10. ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
11. ดร.ณรงค์ อาจสมิติ, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
12. ณภัค เสรีรักษ์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
13. ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. ดร.ธร ปีติดล, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15. ธาริตา อินทนาม, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. ธานินทร์ สาลาม, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
18. รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. นพพร ขุนค้า, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
20. บัณฑิต ไกรวิจิตร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
21. บัณฑูร ราชมณี, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
23. ปฐม ตาคะนานันท์, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
24. ประไพพิศ มุทิตาเจริญ, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25. ปราชญ์ ปัญจคุณาธร, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26. ปรีดี หงษ์สตัน, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. รศ.พงศ์จิตติมา หินเธาว์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. พชรวรรณ บุญพร้อมกุล, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. พิพัฒน์ สุยะ, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
30. พุทธพล มงคลวรวรรณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
31. ภัทธิพงษ์ ศิริปัญญา, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32. มนวัธน์ พรหมรัตน์, สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
33. ดร.มิเชลล์ แทน, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. ดร.มูฮัมหมัด อิลยาส หญ้าปรัง, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
35. รชฏ ศาสตราวุธ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
36. ดร.ลลิตา หาญวงษ์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
37. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล, คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
38. ดร.วิโรจน์ อาลี, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
39. ดร.ศิริจิต สุนันต๊ะ, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
40. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
41. ดร.วิศรุต พึ่งสุนทร, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42. สมัคร์ กอเซ็ม, ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43. ดร.สายัณห์ แดงกลม, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
44. ผศ.ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
45. ผศ.ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี, สถาบันศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
46. สุธิดา วิมุตติโกศล, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
47. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
48. สุรัยยา สุไลมาน, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
49. รศ.ดร.โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50. อนุสรณ์ ติปยานนท์, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
51. ผศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
52. ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
53. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
54. อสมา มังกรชัย, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
55. อันธิฌา แสงชัย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
56. อัมพร หมาดเด็น, สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
57. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
58. ผศ.อาชัญ นักสอน, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
59. เอกรินทร์ ต่วนศิริ, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
60. ดร.ฮารา ชินทาโร่, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำ ผกา: ชีวิตต้องง่าย เป็นโฆษณาชวนเชื่อ

$
0
0

ได้ฟัง คุณโจน จันได พูดในเวที Ted Talk สำหรับคนที่สนใจเปิดไปฟังได้ที่ http://m.youtube.com/watch?v=LovmKLQcQw4

ตัวฉันเองรู้จักคุณโจน ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าพี่โจน มักจะเห็นพี่โจนใส่เสื้อเก่าๆ ขาดๆ อย่างที่พี่เขาพูดบนเวทีนั่นแหละ

เคยไปบ้านดินของพี่โจนที่แม่แตง ยอมรับว่าพี่โจนไม่ใช่คน fake ไม่ใช่คนที่เทศนาให้คนอื่นอยู่แบบสมถะแต่ตัวเองรับเงินเดือนเป็นแสนเป็นล้าน

พี่โจนเขาใช้ชีวิตอย่างที่เขาพูดนั่นแหละ จำได้ว่าครั้งหนึ่งไปนั่งคุยกันบ้านพี่โจน แล้วก็นั่งฟังเสียงปลวกกินเสื่ออะไรสักอย่างในบ้านไปด้วยดังกร๊วบๆ กร๊วบๆ น่าอร่อยมาก

จำได้อีกว่าที่ศูนย์การเรียนรู้พันพันของพี่โจนนั้น แม้จะมีห้องน้ำที่ "พอใช้ได้" สำหรับคนที่ไปอยู่ที่นั่น แต่ห้องน้ำที่พี่โจนกับครอบครัวใช้เองเป็นส้วมหลุมตัวจริงเสียงจริง (แต่นั่นหลายปีแล้ว)

ความรู้สึกของฉันที่ไปบ้านพันพันของพี่โจน และเห็น "ฝรั่ง" กินมังสวิรัติ พยายามปลุกปั้นอบขนมเค้กกล้วยหอมจากเตาอบที่ใช้ฟืนคือ "ฮิปปี้"

ใน งานของ Ted Talk นั้น เขาแนะนำว่าพี่โจนคือคนที่อยู่กับเศรษฐกิจแบบยั่งยืนหรือ self sufficient economy ในภาษาไทยพยายามยัดเยียดตำแหน่ง "ปราชญ์" ให้พี่โจน ซึ่งฉันก็เชื่อว่าพี่โจนคงลำบากใจน่าดูกับฉายานี้

เพราะสำหรับฉัน พี่โจนไม่ใช่ปราชญ์ ไม่ใช่ผู้นำเศรษฐกิจแบบยั่งยืน แต่พี่โจนเป็นฮิปปี้

ฮิปปี้ ในความหมายของขบวนการคนหนุ่มสาวที่เกิดขึ้นในอเมริกายุคปลาย 60s เป็นต้นมา คือกลุ่มคนที่กบฏต่อวิถีชีวิตกระแสหลักที่บอกว่าคนเราเกิดมาต้องเรียน หนังสือ เข้ามหาวิทยาลัย ไปโบสถ์ หางานดีๆ ทำ แต่งงาน ซื้อบ้าน ซื้อรถ มีลูก เลี้ยงหมา

จากนั้นวนกลับมาที่รูปเดิมคือ ส่งลูกเรียนหนังสือดี ให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัย ลูกของเราก็จะทำงานดีๆ แต่งงาน ซื้อรถ ซื้อบ้าน มีลูก เลี้ยงหมา วนไปอย่างนี้ไม่ที่สิ้นสุด

พวกฮิปปี้เขาเห็นว่าวิถี ชีวิตอย่างนี้คือกระบวนการที่ผูกคนให้เชื่องต่อกลไกการทำงานของรัฐที่เกี่ยว กันไปกับระบบเศรษฐกิจแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาคือระบบตลาดเสรี

พูดให้หยาบ คือ มันดึงเราไปอยู่ในห่วงโซ่ของการขูดรีดผู้อื่นและตัวเอง และยั่วยวนเราไว้ด้วยความสุขสบายจากลัทธิบริโภคนิยม

คนเหล่านี้เลยปลดแอกตัวเองด้วยออกมาทำการผลิตเอง พยายามปลูกผักเอง ไม่สนใจแฟชั่น แต่งตัวง่ายๆ ยับๆ จะได้ไม่ต้องรีดผ้าให้เปลืองไฟ วิถีชีวิตของฮิปปี้ที่พัฒนามาเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดในระบบทุนนิยม (มันช่างย้อนแย้งอย่างน่าขัน) คือกระแส eco ทั้งหมด

ไม่ว่าจะเป็นอีโคลิฟวิ่ง อีโคทัวริสซึ่ม อีโค่แฟชั่น ตลาดสินค้าออร์แกนิกที่มีมูลค่ามหาศาล

และสุดท้าย มันเป็นอย่างที่ บูดิเยอร์ อธิบายเรื่อง ชนชั้นกับรสนิยมในการบริโภค ว่า

ถ้าคุณเป็นคนชั้นกลางบ้านๆ คุณก็เดินห้างสรรพสินค้ากระแสหลัก คาร์ฟูร์ โลตัส กินบุฟเฟ่ต์ในโรงแรม บุฟเฟ่ต์โออิชิอะไรก็ว่าไป ถ้าเป็นชนชั้นกระแดะหน่อยก็กินมิชลินสตาร์

ถ้าคุณเป็นคนชั้นสูง คุณก็มี vineyard เป็นของตัวเองไปเลย มีไร่ มีฟาร์มอิชาบาลาโกะ กินอาหารง่ายๆ แต่หายาก เพราะผลิตมาเฉพาะของในไร่นาของตระกูลเท่านั้น

ส่วนบรรดาชนชั้นกลางปัญญาชนที่โดยมากจะรายได้ต่ำแต่รสนิยมสูง เพราะเสือกเรียนมาเยอะ รู้เยอะ อ่านเยอะ ก็ต้องการ "แยก" ตัวเองออกจากชนชั้นกลางบ้านๆ กับชนชั้นสูงรวยๆ ก็มักจะหันมาหาไลฟ์สไตล์แบบไม่ต้องใช้เงินเยอะแต่เข้าถึงยากนิดนึง

เช่นบรรดาคนที่ไปกินอาหารร้านพันพันของพี่โจนนั่นแหละ คือคนแบบฉันแบบเพื่อนๆ ของฉันอีกหลายคน ที่เราพยายามจะกวนแยมกินเอง ทำขนมปังกินเอง เย็บผ้าเองบ้าง ปั้นเซรามิกเองบ้าง อยากจะลองปลูกกาแฟสักต้นสองต้น เก็บเองคั่วเองบดเอง หาไวน์ออร์กานิกยังงี้อย่างงั้นมากิน หาผลไม้มาดองเหล้าเองเก๋ๆ เพื่อจะบอกว่า "ไม่รวยแต่มีรสนิยมนะจ๊ะ"

แต่ไอ้ประโยค "ไม่รวยแต่มีรสนิยม" เนี่ยะ โดยมากเราไม่ได้พูดออกมาดังๆ และเราก็ไม่ได้คิดว่าเราเป็นอย่างนั้นด้วย

โดยมากเราเชื่อว่าเราทำไปเพราะเราคือผู้บริโภคที่มี awareness ต่อกลุ่มทุนใหญ่ที่ใช้แรงงานทาสเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรต่างหากว้อยยย

อีกอย่างเราก็ไม่อยากกินผักจีเอ็มโอ หรือบุฟเฟ่ต์ห่วยๆ ที่ผลิตมาจากวัตถุดิบห่วยๆ ที่พวกชนชั้นกลางบ้านๆ เขาไปกินกันจริงๆ

เพราะฉะนั้น สิ่งที่พี่โจนเป็น สิ่งที่พวกเราชนชั้นที่มักคิดว่าเรามี awareness รู้เท่าทันระบบตลาด เศรษฐกิจ ทุน บ้าบอคอแตกอะไรเหล่านี้มันคือเสรีภาพของมนุษย์ที่จะมี choice หรือทางเลือกที่จะใช้ชีวิต มันคือไลฟ์สไตล์ ทว่ามันไม่ใช่ "ศีลธรรม"

ความอึดอัดใจของฉันในขณะทีฟังพี่โจนพูดในเวที Ted Talk คือภาวะปริ่มๆ ของการพิพากษาว่า เฮ้ย พวกคุณที่ทำงานเก็บเงินซื้อบ้านซื้อรถเนี่ย พวกคุณแม่ง ทั้งโง่ทั้งบ้า

ในแง่นี้ ถ้าพ้นจากภาวะปริ่มๆ นี้ สิ่งที่พี่โจนพูดจะอันตรายมาก เพราะพี่โจนกำลังจะสถาปนาทางเลือกในการใช้ชีวิตของตนเอง ว่ามัน "ถูกต้อง" กว่าทางเลือกอื่นๆ ของมนุษย์คนอื่นๆ

แน่นอนว่าเราวิพากษ์ระบบทุนได้ เราวิพากษ์การครอบงำของมันได้ แต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องแทนที่ระบบที่เราวิพากษ์นั้นด้วยการบอกว่ามันมีอีก ระบบหนึ่งที่ถูกต้องและระบบนั้นคือสิ่งที่ "ผิด" โดยสิ้นเชิงด้วยตัวของมันเอง

ก่อนที่จะวิจารณ์ว่า ในสิ่งที่พี่โจนพูดมันจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อประเด็นใดบ้าง จะสรุปเนื้อหาในการพูดก่อน ถ้าสรุปผิดพลาดไป ก็จะถือเป็นความรับผิดชอบของฉันเอง

พี่โจนพยายามบอกว่า ชีวิตมันง่ายจะตายไป ปัญหาคือคนเราทุกวันนี้ไปทำให้ชีวิตมันซับซ้อนมันยากไปเอง

พี่โจนยกตัวอย่างว่าสมัยพี่โจนเป็นเด็กอยู่บ้านนอก ชีวิตมันง่ายมาก มันสนุกมาก แต่ชีวิตเริ่มยาก เมื่อมีไอ้บ้าที่ไหนก็ไม่รู้มาบอกว่าไอ้ชีวิตง่ายๆ เนี่ยเขาเรียกว่า "จน" และ "ไม่พัฒนา" พี่โจนเลยพยายามตะเกียกตะกายออกไปจากความจนด้วยการไปกรุงเทพฯ ไปเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย ไปทำงานหนักมาก

แต่พบว่ายิ่งทำงานหนักก็ยิ่งจน ชีวิตก็ยิ่งลำบากมากขึ้น ไอ้ความสำเร็จที่ว่าก็ไม่เห็นมาถึงหรือมีอยู่จริง

สุดท้ายจึงกลับบ้าน และตระหนักว่าชีวิตชาวบ้านนอกจนๆ ทำงานปีละสองเดือนมีเวลาว่างเยอะๆ ต่างหาก คือความสุข

"คน บ้านนอกเราทำนาปีละสองเดือน มีข้าวกินทั้งปี คนบ้านนอกเลยมีเทศกาลงานบุญเยอะแยะไปหมด เพราะเขามีเวลามาก เมื่อเขามีเวลามากเขาก็มีเวลาที่จะมาทำความเข้าใจตัวเอง ทำให้เขารู้ว่าเขาต้องการอะไรในชีวิต และนั่นทำให้พวกเขารู้ว่าอะไรทำให้พวกเขามีความสุข เมื่อเขามีความสุข มีเวลา เขาก็สามารถทำงานสวยๆ ออกมาได้ เช่น การแกะสลัก การสานกระบุงตะกร้าสวยๆ การทอผ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ค่อยๆ หายไปจากวิถีชีวิตชาวบ้านไปแล้ว"

พี่โจนยังบอกอีกว่า พี่โจนทำนาปีละสองเดือน ทำสวนผักที่ใช้เวลาดูแลแค่วันละสิบห้านาที สรุปคือพี่โจนทำงานปีละสองเดือน ทำสวนวันละสิบห้านาที มีอาหารเลี้ยงคนหกคนในบ้านสบายๆ มีข้าวเหลือขาย (ส่วนฉันฟังก็อ้าปากหวอ อะเมซซิ่งมาก)

จากนั้นพี่โจนก็ทำบ้านดิน บ้านดินของพี่โจนง่ายมาก เด็กๆ ก็ทำได้ ทำวันละสองชั่วโมง สามเดือนก็เสร็จ ไม่ต้องผ่อนบ้านสามสิบปี มีความสุขจัง (แต่บ้านดินพี่โจนปลวกกินกร๊วบๆ เลยนะ บ้านดินของเพื่อนฉันก็มีดินร่วงลงมาตลอดเวลา แต่หลายๆ คนมีความสุขกับการอยู่บ้านแบบนี้ และฉันผิดตรงไหนฟะ ที่ยอมเป็นหนี้สามสิบปี เพราะอยากอยู่บ้านไม่มีปลวก และ "มาตรฐาน" ในแบบที่ฉันชอบ)

ให้ตายเถอะ บ้านดินแปดสิบเปอร์เซ็นต์ที่ฉันเคยเห็น เป็นบ้านที่อยู่ "ไม่สบาย" เผลอๆ อยู่ไม่ได้จริง

ส่วนบ้านดินที่สวยและอยู่ได้จริง โดยมากสร้างโดยนักสร้างบ้านมืออาชีพและต้องผสมผสานไปกับความรู้แบบสถาปนิก มืออาชีพและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่น เทคนิคในการทำหลังคาและการใช้วัสดุที่ไม่ "ธรรมชาติ" ผสมสิ่งเหล่านี้เข้าไป บ้านดินก็จะเป็นบ้านอยู่ได้จริงและสบาย

และแน่นอนว่าจะทำบ้านดินที่อยู่ได้สบายนี้มันไม่ได้ "ง่าย" และ "ถูก" อย่างที่พี่โจนพยายามบอกว่า โอ๊ยยย ทำเลย ใครๆ ก็ทำบ้านดินได้ เว้นแต่ว่าเราจะลาออกจากงาน อุทิศตัวให้กับการฝึกทำบ้านดิน ลองผิดลองถูก ทำไปสักยี่สิบหลัง เราก็จะได้ความชำนาญในการสร้างบ้านดิน บ้านดินหลังที่ยี่สบเอ็ดของเรา อาจจะเป็นบ้านที่อยู่ได้จริงขึ้นมาก็เป็นได้

แล้วไอ้กระบวนการฝึกทำบ้านดินด้วยตนเองสักยี่สิบสามสิบหลังจนสามรถตกผลึกในวิชา สร้างบ้านให้ตอบสนองความต้องการของตนเอง และได้บ้านที่ "อยู่ได้" มันก็ตือกระบวนการที่มนุษย์เราได้ค่อยสั่งสมความรู้มาตั้งแต่ยุคอยู่ถ้ำ อยู่เรือนชั่วคราว ค่อยๆ พัฒนาองค์ความรู้มาเป็นวิชาสถาปัตยกรรม วิศวกรรม

พัฒนาการ ของความรู้เรื่องการสร้างบ้าน สร้างอาคารของเรา ก็คือเพื่อจะตอบโจทย์ว่า สร้างบ้านอย่างไรให้ปกป้องเราจาก มด งู หนู แมลง จากอากาศร้อน อากาศหนาว พายุ ทำบ้านอย่างไรไม่ให้พายุมาแล้วพังครืนทันที

หรือสร้างบ้านอย่าง ไรไม่ต้องขึ้นไปเปลี่ยนหญ้าคาบนหลังคาทุกปี และนี่คือสิ่งที่พี่โจนบอกในการพูดบนเวทีนี้ว่า วิชาความรู้ที่สอนกันในมหาวิทยาลัย ล้วนแล้วแต่ destructive มากกกว่าจะ productive

วิชาพวกสถาปัตยกรรม วิศวกรรม มีแต่จะทำลายล้างผลาญโลก ทำให้ระเบิดภูเขามากขึ้น ฯลฯ

ฉันฟังแล้วรู้สึกว่า ไม่เถียงเรื่องนี้กับพี่โจนและผู้ฟังทุกคนที่ปรบมือชื่นชมพี่โจนในวันนั้นไม่ได้

แน่นอนว่าสิ่งที่โจนเลือกเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม

ไม่มีใครเถียงว่าพี่โจนกล้าหาญมากที่เลือกจะใช้ชีวิตอย่างนั้น

แต่ข้อเสนอของพี่โจนจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดหลายอย่าง

อย่างแรกที่สำคัญมากคือ พี่โจนกำลังสร้างคู่ตรงกันข้ามระหว่างธรรมกับอธรรม

นั่นคือ ชนบทดี กรุงเทพฯ เลว

วิถีชีวิตดั้งเดิมดี การพัฒนาเลว

ภูมิปัญญาท้องถิ่นดี ความรู้สมัยใหม่เลว

แต่ชีวิตโดยเฉพาะชีวิตทางสังคมการเมืองของเรามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น

และหากจะพูดให้ถึงที่สุด ชีวิตจริงของเรามันไม่ง่าย และมนุษย์เราต้อง complicate

ต่อให้เราหนีไปสร้างบ้านดิน ปลูกผัก ทำนากินเอง แต่ในยุคที่เรามี "รัฐ" สมัยใหม่ มีความเป็น "พลเมือง" พี่โจนจะเดินทางก็ต้องมีพาสปอร์ต วีซ่า

เพราะฉะนั้น "เรา" ไม่ได้กำหนดชีวิตของตัวเราตามลำพัง แต่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กำกับชะตากรรมของเราอยู่เสมอ

แต่ ทั้งหมดที่พี่โจนพูดบนเวที Ted Talk พี่โจนกำลังเคลมความสำเร็จนี้ว่ามาจากศักยภาพของปัจเจกบุคคลที่เพียงแต่คุณ กล้าหาญจะเดินออกจากบ้านมาปลูกผักทำบ้านดิน คุณก็จะมีความสุขแบบผม

พอพูดแบบนี้ปุ๊บ ความเข้าใจที่ตามมาคือ บรรดาชาวบ้าน ชาวนาที่ทำนา แต่ยังจน เพราะว่าคุณไม่รู้จักพอเพียง?

เพราะว่าคุณเฝ้าตามแฟชั่น?

คำถามของฉันคือ มีคนจำนวนมากที่ทำเหมือนพี่โจนมาหลายชั่วอายุคนและยังยากจน เป็นหนี้เพราะเขาไม่รู้จักพอ?

เพราะเขาใช้สารเคมีมากเกินไป?

เพราะเขาทะเยอทะยานอยากส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย?

เพราะเขาไม่อยู่บ้านดิน?

เพราะเขากินเหล้า?

หรือจริงๆ แล้วเขาไม่ได้จน และมีคนมาบอกว่าเขาจน เขาเลยมีความทุกข์?

ฉัน ไม่เคยทำนา แต่ถ้าชีวิตชาวนามันสบายแบบที่พี่โจนบอก คือทำงานปีละสองเดือนที่เหลือเต้นระบำรำฟ้อน มีความสุขสนุกสนาน มีวิตชาวบ้านมีแต่งานบุญงานรื่นเริง ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ฉันคิดว่าป่านนี้เราคงมีชาวนาสักร้อยละเก้าสิบของประเทศ

แต่เท่าที่ รู้คือ ไม่มีชาวนาคนไหนอยากให้ลูกเป็นชาวนา ค่านิยมแบบไทยๆ ที่อยากให้ลูกเป็นเจ้าคนนายคนก็เรื่องหนึ่ง แต่ถ้าการเป็นชาวนามัน "สบาย" มัน "สนุก" จริง คนเราต้องอยากให้ลูกหลานเป็นชาวนานี่แหละ ไม่มีวันอยากให้ลูกเป็นอย่างอื่น

ชีวิตชาวนามัน "ชิล" เป่าขลุ่ยบนหลังควาย มีสายลมเย็นกับช่อดอกโสนสีเหลืองลออโบกล้อกับเราระหว่างไถนา จริงหรือ?

เทศกาล งานบุญมากมายของชาวบ้านชาวนาที่พี่โจนว่ามานั้น ล้วนแต่เป็นกลไกของพิธีกรรมที่ช่วยให้ชาวบ้าน ชาวนา สามารถรับมือกับทุพภิกขภัยของชีวิตที่ไร้หลักประกันใด เพื่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรักพย์สินหรือไม่ใช่? ทั้งแห่นางแมวขอฝน บุญบั้งไฟ และอื่นๆ อันเกี่ยวมากับความ "กลัว" ว่าจะเกิดความแห้งแล้ง ความไม่อุดมสมบูรณ์ สภาวะธรรมชาติที่เอาแน่เอานอนไม่ได้

ฉันไม่ได้บอกว่า โอ๊ยยยย เป็นชาวนามันแย่ เราควรเลิกเป็น ชาวนาควรหันไปทำอาชีพอื่น

แต่กำลังจะบอกว่า ข้อเสนอของพี่โจนที่บอกว่า - ไอ้พวกคนในเมือง คนในกรุงเทพฯ มันทุกข์ มันเหนื่อย เพราะมันไม่รู้ออกไปทำนา ขุดบ่อปลา สร้างบ้านดิน มันมัวแต่เรียนวิชาบ้าๆ บอๆ ในมหาวิทยาลัย มันเลยทุกข์

ถ้าข้อเสนอนี้จริง ทำไมชาวนาถึงไม่อยากให้ลูกเป็นชาวนา ทำไมลูกหลานชาวนาจำนวนมากไม่อยากเป็นชาวนา?

เวลาพี่โจนพูดว่าทำสวนผักวันละสิบห้านาที ทำนาปีละสองเดือน ฟังแล้วมันชวนเคลิ้มนะ ราวกับว่าโลกนี้คุณภาพดินสมบูรณ์เท่ากันหมดทั่วโลก โลกนี้ไม่มีศัตรูพืช โลกนี้ไม่มีน้ำท่วม โลกนี้ไม่มีฝนแล้ง และโลกนี้ทุกคนมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง

ประสบการณ์ของฉันอาจจะผิด แต่ชาวนา ชาวบ้านนอกที่ฉันรู้จัก เขาไม่เคยวิ่งตามแฟชั่น เขาไม่เคยซื้อกางเกงยีนส์ เขาอยู่บ้านที่สร้างเอง เขาก็ใช้ชีวิตเหมือนพี่โจนทุกอย่างนั่นแหละ รวมทั้งเก็บเมล็ดพันธุ์พืชผักต่างๆ และไม่มีใครเชิญเขาขึ้นเวที Ted Talk ด้วย

เพราะว่าพวกเขาจนจริง ป่วยจริง ตายจริง และสมุนไพรก็ไม่ช่วยอะไร (สามสิบบาทรักษาทุกโรคต่างหากที่ช่วยได้จริง)


พี่โจนคะ โลกก่อนการพัฒนาและก่อนกำเนิดความรู้สารพัดที่พี่โจนบอกว่ามัน destructive นั้น คนมีอายุขัยเฉลี่ยแค่ไม่เกิน 40 นะ เพราะแค่เป็นหวัด หรือ ท้องร่วงก็ตายแล้ว คนครึ่งหนึ่งในพระราชวังแวร์ซายส์ก็หน้าปรุเพราะเป็นฝีดาษ

สิ่งที่พี่โจนควรจะพูดบนเวที Ted Talk คือ เงื่อนไขหรือปัจจัยอะไรที่ทำให้ "ทางเลือก" ของพี่โจนเป็นไปได้สำหรับพี่โจน แต่เป็นไปไม่ได้สำหรับคนอื่น!

นอกเหนือไปจากเงื่อนไขแบบ อ๋อ เพราะผมรู้เท่าทันทุนนิยม

อ๋อ เพราะผมเลิกตามแฟชั่น อ๋อ เพราะผมเป็นตัวของตัวเอง

คน ฟังน่าจะอยากรู้ว่า พี่โจนมาทำที่แม่แตงได้อย่างไร ซื้อที่ดินอย่างไร ราคาเท่าไหร่ มีหลักในการเลือกที่ดินอย่างไร บริหารเงิน แรงงานของตนเองและครอบครัวอย่างไร เผชิญกับอุปสรรคอะไรบ้าง

จะแตกต่างไหม ถ้าพี่โจนไม่ได้เลือกเชียงใหม่ แต่เลือกจังหวัดอื่น?

ถ้าพันพันไม่ได้เปิดที่วัดสวนดอกในตอนแรก แต่ไปเปิดที่บึงกาฬแทน มันจะเวิร์กไหม

และหากฉันเป็นชาวนาที่บีงกาฬ ฉันอยากทำเหมือนพี่โจน ฉันต้องทำอย่างไร เงื่อนไขของครอบครัวมีผลต่อการเลือกวิถีชีวิตอย่างนี้หรือไม่?

ระหว่างมีแฟนเป็นเอ็นจีโอ เป็นชาวนา เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ฯลฯ แฟนอาชีพไหนจะเหมาะที่สุดสำหรับทางเลือกแบบนี้?

ถ้าแฟนเรามีภาระเลี้ยงน้อง ส่งน้องเรียนหนังสือ แม่ป่วย พ่อเป็นอัลไซเมอร์ เราควรเปลี่ยนแฟน หรือสั่งให้น้องแฟนออกจากมหาวิทยาลัย มาช่วยทำนา? แล้วเอาสมุนไพรไปรักษาแม่?

ฯลฯ

เหล่านี้คือตัวอย่างคำถาม สำหรับ "เงื่อนไข" ที่มากไปกว่าการที่มนุษย์คนหนึ่งจะดั๊นนนน โง่ ไม่รู้เท่าทันทุนนิยมที่มันหลอกให้เราทำงานหนักและตามล่าหาความสำเร็จใน ชีวิตอย่างที่พี่โจนพยายามจะบอก

สุดท้าย ฉันไม่เห็นด้วยอย่างแรง ว่าวิทยาการความรู้สมัยใหม่มัน destructive - ฉันนั่งอยู่ที่เกียวโตตอนนี้ เมืองที่มีการจัดการเมืองได้น่าอยู่ที่สุด สิ่งแวดล้อมดีที่สุด ผังเมืองงดงามที่สุด เป็นมิตร โอบอุ้มมนุษย์มากที่สุด

เบื้องหลังมันคือความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม การวางผังเมืองที่ก้าวหน้าที่สุด ทันสมัยที่สุดต่างหาก หาใช่ภูมิปัญญา ชาวนา ซามูไรพื้นบ้านไม่

สองฝั่งแม่น้ำคาโม่ที่สวยกริ๊บ เป็นพื้นที่สาธารณะที่จรรโลงใจ เกิดขึ้นได้เพราะฝีมือของวิศวกร สถาปนิก นักออกแบบภูมิสถาปัตย์ เครื่องจักร เครื่องกลของงานก่อสร้างที่ทันสมัย แรงงานของผู้คนที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีในระบบ "สมัยใหม่"

และฉัน เชื่อว่าเมืองที่น่าอยู่เมืองอื่นๆ ในโลกนี้ ก็ล้วนแต่ถูกชำแรกความบริสุทธิ์โดยนักออกแบบเมืองและนักวางผังเมืองกันมา แล้วทั้งนั้น

เมืองสวยๆ ที่เราเห็นทั้งโลก ไม่ได้สวยอย่างนี้ตาม "ธรรมชาติ"

แต่สวยด้วยการจัดการและ "วิชาการ" ย้ำว่าเป็นวิชาการสมัยใหม่มากๆ ด้วย

สิ่งที่พี่โจนและผู้ฟังในเวที Ted Talk วันนั้น ไม่ได้ตระหนักเลยก็คือ ทุน และความเป็นสมัยใหม่ ไม่ได้ "เลว" แต่อุดมการณ์ในสังคมที่กำกับความรู้เหล่านั้นต่างหาก ที่จะแปรผันสิ่งเหล่านี้ให้ดีหรือเลว ให้ยุติธรรมหรืออยุติธรรม

น่าเสียดาย และน่าเสียใจ ที่อุดมการณ์ที่กำกับองค์ความรู้ของพี่โจน ผู้มีวิถีชีวิตตามความเป็นจริงที่น่านับถือยิ่งในคืนนั้น กลับคืออุดมการณ์ที่กำกับและผดุงความอยุติธรรมในสังคมไทยเอาไว้ภายใต้การ สร้างมายาคติว่าด้วยชนบทอันงดงาม VS ปีศาจของทุนและความรู้ตะวันตก

มึงจนเพราะมึงไม่รู้จักพอ

มึงทุกข์เพราะมึงทะเยอทะยาน

ย้ำ : ชีวิตที่ง่ายไม่จำเป็นต้องทิ้งความซับซ้อน โดยเฉพาะในวิธีคิด

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12-18 กันยายน 2557

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย : กระแสต้านสตรีนิยม

$
0
0

 

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พบกับ ‘คำ ผกา’ และ ‘อรรถ บุนนาค’ มาคุยกันถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับ ‘สตรีนิยม’ ในต่างประเทศที่เพิ่งมีการต่อต้านจากสตรีด้วยกัน ด้วยการรณรงค์ปฏิเสธสตรีนิยม การรณรงค์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในช่วงราว 2 เดือนเศษที่ผ่านมาบนโลกสังคมออนไลน์ เมื่อมีผู้หญิงจำนวนหนึ่งถ่ายภาพคู่กับกระดาษที่เขียนข้อความขึ้นต้นว่า ‘I don’t need feminism’ และบรรยายเหตุผลต่างๆ ของการปฏิเสธกระแสสตรีนิยม และเผยแพร่ไปบนอินเตอร์เน็ต

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ จับกระแสความเคลื่อนไหวต่อต้านสตรีนิยมมาวิเคราะห์ และพูดคุยถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ของสตรีนิยมซึ่งนับถอยหลังไปได้ไกลถึงเกือบหนึ่งศตวรรษ โดยเป็นขบวนการต่อสู้ในสังคมตะวันตกเพื่อให้ผู้หญิงมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับผู้ชาย จนกระทั่งการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมในเรื่องอื่นๆ รวมถึงการต่อสู้เพื่อจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากความเป็นผู้หญิง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.จัดทีมใหม่-รวมสมาชิก 15 คน "พล.อ.ประวิตร" ขึ้นรอง คสช.

$
0
0

พล.อ.ประยุทธ์ ลงนามประกาศ คสช. 122/2557 จัดทีม 15 คสช. เพิ่ม "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" เป็นรองหัวหน้า คสช. - พล.ต.อ.สมยศ - พล.อ.ไพบูลย์ - มีชัย ฤชุพันธุ์ - สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ฯลฯ เป็นสมาชิก คสช.

ภาพก่อนเข้ารายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" เมื่อวันศุกร์ที่ 19 กันยายน เป็นภาพสมาชิก คสช.  ที่ปรับตำแหน่งใหม่ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 122/2557 เรียงกันเป็นรูปหัวใจ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี อยู่ตรงกลาง

 

เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 131 ตอนพิเศษ 181 ง เผยแพร่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีรายละเอียดดังนี้

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557
เรื่อง แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งสําคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

ข้อ 2 แต่งตั้งให้บุคคลดังต่อไปนี้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
2. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็น รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
3. พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็น รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
4. พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็น รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
5. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เป็น รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
6. พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็น รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
7. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล เป็น สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
8. พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร เป็น สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
9. พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็น สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
10. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ เป็น สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
11. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง เป็น สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
12. พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็น สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
13. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็น สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
14. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
15. พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เป็น เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ข้อ 3 ให้สํานักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทําหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พุทธศักราช 2557
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อโลกเป็นไข้และรัฐไทยไปประชุมผู้นำยูเอ็นเรื่องโลกร้อน

$
0
0

 


 

วันอังคารที่ 23 กันยายน ที่จะถึงนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ จะเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำเรื่องโลกร้อนของสหประชาชาติ หรือ UN Climate Summit ที่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะเข้าร่วมการประชุมประจำปีสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ โดยรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศมีชื่อเป็นผู้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์อยู่รายชื่อสุดท้ายของช่วงบ่าย และนี่ถือเป็นการเยือนประเทศตะวันตกของรัฐบาลปัจจุบันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

 

เมื่อความมุ่งมั่นของผู้นำโลกขาดแคลน

การประชุมโลกร้อนครั้งนี้เป็นนัดพิเศษที่จัดขึ้นโดยนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติเพื่อกระตุ้นให้ผู้นำระดับโลกแสดงเจตนารมณ์ว่ายังจริงจังกับการหยุดภาวะโลกร้อนอยู่ โดยเปิดโอกาศให้เหล่าผู้นำกล่าวสุนทรพจน์แสดงวิศัยทัศน์และแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศคนละ 4 นาที เนื่องจากช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเจรจาเพื่อหาหนทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ “กรอบอนุสัญญาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (UNFCCC)” ซึ่งดำเนินมากว่าสองทศวรรษ ปรากฏสัญญานชัดว่า ผู้นำโลกโดยเฉพาะประเทศขนาดใหญ่และประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมไปไกลแล้วต่างขาด “ความมุ่งมั่นทางการเมือง”  ทั้งที่จะต้องเจรจาหาข้อตกลงใหม่ร่วมกันเพื่อกำหนดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปีหน้า 

อย่างไรก็ดี ภาวะที่น่ากังวลในขณะนี้คือ แม้จะมีการประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซฯ ของประเทศต่างๆ แต่เมื่อนำมารวมกันแล้วก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดภาวะโลกร้อนไว้ไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรษได้ ในทางกลับกัน เรากำลังเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่จะพาเราไปสู่โลกที่ร้อนขึ้น 4-6 องศา ขณะที่ประเทศมหาอำนาจส่วนใหญ่ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากรวมทั้งประเทศกำลังพัฒนา ต่างยังไม่ยอมให้การลดการปล่อยก๊าซฯ ของตนเป็นพันธะผูกพันทางกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

 

เสียงของประชาชนเรียกร้อง หยุดโลกร้อนให้ทันอย่างถูกวิธี

กล่าวในส่วนการตื่นตัวของภาคประชาชน วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน ก่อนการประชุมผู้นำเรื่องโลกร้อนของสหประชาชาติ กระบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนทั่วโลกพร้อมใจกันจัดการเดินขบวนเรื่องโลกร้อนครั้งใหญ่(ที่สุด) ภายใต้ชื่อ People's Climate March หรือ #PeolplesClimate โดยคาดว่ามีผู้เข้าร่วมการเดินขบวนกว่า 100,000 คนในนิวยอร์ค และอีกกว่า 100,000 คนในเมืองใหญ่ทั่วโลก เช่น เบอร์ลิน ปารีส ลอนดอน อัมสเตอร์ดัม ฯลฯ ขณะที่นักกิจกรรมอีกส่วนหนึ่งกำหนดการเดินขบวนในวันจันทร์ที่ 22 กันยายน ณ ถนนวอลล์สตรีท ศูนย์กลางการเงินการธนาคารของสหรัฐอเมริกาและโลก ภายใต้แคมเปญ #FloodWallStreet เพื่อกระตุ้นให้คนตระหนักถึงอิทธิพลของกลุ่มทุน ต่อการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและการขัดขวางการลดโลกร้อนอย่างจริงจัง

ในโอกาสนี้ คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Climate Justice) ร่วมกับขบวนการเคลื่อนไหวและกลุ่มองค์กรประชาชนกว่า 340 องค์กรทั่วโลก ได้ออกแถลงการรวมพลังและขับเคลื่อนเพื่อ “หยุดยั้งและป้องกันโลกป่วยไข้” ระบุเหตุพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า เพราะระบบการผลิตและการบริโภคของมนุษย์ปัจจุบันพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลมากเกินไป คิดว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งของที่ซื้อขายได้ไม่สิ้นสุด และไม่ยอมรับว่าโลกมีข้อจำกัด  ในขณะเดียวกัน เราปล่อยให้คนไม่กี่กลุ่มควบคุมทิศทางการพัฒนา ทำให้ผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรและการพัฒนาไปไม่ถึงคนส่วนใหญ่ในสังคม  ยิ่งไปกว่านั้น เราปล่อยให้นักการเมืองและผู้มีอำนาจตัดสินใจ ฟังและอุ้มนักธุรกิจมากกว่าประชาชน ดังนั้นหนทางแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืนคือการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ยั่งยืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ และตอบโจทย์ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม  ขณะที่ประชาชนและชุมชนต้องถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจและควบคุมระบบพลังงงาน-การผลิต-การบริโภค กลับคืนมาจากผู้มีอำนาจและกลุ่มธุรกิจที่อยู่เบื้องหลัง

แถลงการดังกล่าวได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศษ สเปญ โปรตุเกส และไทย นำเสนอว่า ถึงเวลาที่สังคมมนุษย์ต้องรีบ “ทบทวนนิยาม คุณภาพชีวิต การกินดีอยู่ดี และความเจริญรุ่งเรือง ใหม่ เพื่อให้มนุษย์ดำรงอยู่ได้อย่างเคารพและกลมกลืนกับธรรมชาติ สรรพชีวิต และขีดจำกัดของโลก" โดยนำเสนอทางออกในระยะยาวคือ "การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจและการพัฒนารูปแบบใหม่ ที่หลุดกรอบการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล มุ่งหน้าพัฒนาพลังงานสะอาด และให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ไม่คำนึงแต่ผลกำไรของภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรม”  ทั้งยังนำเสนอทางออกที่ควรทำได้ทันทีอย่างน้อย 10 ประการ เช่น แต่ละประเทศต้องให้พันธะสัญญาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลผูกพันโดยทันที, ไม่นำเชื้อเพลิงฟอสซิลสำรองที่ค้นพบแล้วกว่า 80% ขึ้นมาเผา, หยุดโครงการสำรวจและขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลและนิวเคลียร์ใหม่ทั้งหมด, หยุดการสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ไม่จำเป็นและมิได้ก่อประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นตัวก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและทำลายธรรมชาติ เช่น โครงการเขื่อนขนาดใหญ่ ทางด่วน-ถนนขนาดใหญ่, และส่งเสริมการผลิตในท้องถิ่นและการบริโภคผลิตภัณฑ์คงทนที่จะตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นต้น

 

ความจริงจังของรัฐไทยในการหยุดโลกร้อน

สำหรับประเทศไทย ได้ประกาศต่อที่ประชุมประจำปีภาคีอนุสัญญา UNFCCC เมื่อปีที่แล้ว (2556) ว่ามีแผนโดยสมัครใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 7-20% ภายในปี 2020 (ในอีก 6 ปีข้างหน้า) โดยเตรียมนำเสนอแผนปฏิบัติการที่จะเน้นภาคพลังงานและภาคขนส่งในปีนี้  อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังไม่เคยมีการถกเถียงในทางสาธารณะอย่างกว้างขวางเพียงพอ ว่าการตั้งเป้าหมายเหล่านี้มีผลอย่างไรต่อการกำหนดทิศทางกาพัฒนาประเทศในอนาคตอย่างยั่งยืน และเราจะต้องมีปฏิบัติการอะไรบ้างเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ขณะเดียวกัน เมื่อย้อนมาดูทิศทางนโยบายพลังงานของกระทรวงพลังงานภายใต้รัฐบาลปัจจุบัน ยังคงเป็นไปในทางเพิ่มและพึ่งพาการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่ยั่งยืนเป็นหลัก ดังที่ได้มีการประกาศนโยบายสำคัญได้แก่ การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยรอบที่ 21 การเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศอีก 10,000 เมกกะวัตต์ การเดินหน้าโครงการโรงไฟ้านิวเคลียร์ การนำเข้าไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น ในขณะที่ คสช. เพิ่งจะอนุมัติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะเพิ่มเติมอีก 600 เมกกะวัตต์ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังคงชูนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่รวมทั้งการทำเหมือนแร่ซึ่งจะส่งผลต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่มีเหลือน้อยอยู่แล้ว โดยไม่ฟังเสียงทัดทานจากชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ

แนวทางการพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในขณะนี้ ยังคงไม่ต่างจากรัฐบาลอื่นๆ ที่ผ่านมา อันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกในการรับมือกับภาวะโลกร้อน ซึ่งขณะนี้ต้องการความร่วมมือของทุกประเทศเพ่ือเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุดโดยเริ่มต้นในทันที เพื่อป้องกันหายนะภัยจากภาวะโลกร้อนที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  ทั้งนี้ การเดินหน้าพัฒนาแบบเดิมๆ ด้วยความเชื่อว่าเศรษฐกิจจะโตได้ต้องเอาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินขึ้นมาเผา เป็นการละเลยต่อขีดจำกัดของโลกและทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งยังเป็นการเพิกเฉยต่อเสียงเรียกร้องของประชาชนที่เริ่มมีการตื่นตัวต้องการเห็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ยั่งยืน อยู่บนฐานพลังงานสะอาดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

 

แก้โลกร้อน ต้องส่งเสริมประชาธิปไตยในกระบวนการนโยบายสาธารณะ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ประชาชนทั่วโลกมีความตื่นตัวเป็นอย่างยิ่ง ว่าการแก้ปัญหาโลกร้อนที่แท้จริง จะต้องทำให้ระบบพลังงานและระบบการผลิตต่างๆ กระจายศูนย์โดยให้ชุมชนและประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้มากขึ้น ทำให้การควบคุมนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นประชาธิปไตยขึ้น จึงไม่อาจปฏิเสธว่าเรื่องพลังงาน-ทิศทางการพัฒนา-โลกร้อน มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง เป็นการเมืองเชิงอำนาจ เพราะการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจจากนักการเมืองและบรรษัทเอกชนมาเป็นของประชาชนและชุมชน ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่สังคมไทยต้องช่วยกันคิด

น่าเศร้าว่าสำหรับประเทศไทยในขณะนี้ การออกเดินขบวนและรณรงค์ของกลุ่มประชาชน ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงโครงสร้างระบบพลังงานไทยและนโยบายสาธารณะอื่นๆ กลับถูกจำกัดพื้นที่ในการแสดงความเห็น และยิ่งถูกปราบปรามอย่างหนักภายใต้กฎอัยการศึก ในขณะที่ตัวแทนของกลุ่มธุรกิจพลังงาน (เชื้อเพลิงฟอสซิล) และวิสาหกิจพลังงานขนาดใหญ่ มีพื้นที่อย่างมั่นคงในคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมการสรรหาสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังนั้น สุทรพจน์แสดงวิสัยทัศน์เรื่องโลกร้อนของของรัฐมนตรีต่างประเทศที่จะแถลงในที่ประชุมสหประชาชาติในวันอังคารนี้ ซึ่งต้องสอดคล้องกับทิศทางของนโยบายรัฐบาลปัจจุบันดังได้กล่าวมา คงจะเป็นเพียงลมปากที่ไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาแบบใหม่ที่ยั่งยืนและตอบโจทย์ผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images