Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50848 articles
Browse latest View live

4 องค์กรวิชาชีพสื่อถกคุมจริยธรรมสื่อ

$
0
0

4 องค์กรวิชาชีพสื่อถกคุมจริยธรรมสื่อ เตรียมร่างแนวทางปฏิบัติตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ เล็งดึง กสทช.ร่วมดูแลจริยธรรม พร้อมเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์


24 ก.ค.2557เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่า ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ นำโดย นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้ประชุมหารือถึงสถานการณ์สื่อมวลชนไทยและแนวทางการปฎิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีประกาศฉบับที่ 103/2557 ให้องค์กรวิชาชีพสื่อกำกับดูแลเรื่องจริยธรรมสื่อกันเอง โดยใช้เวลาหารือกว่า 3 ชั่วโมง

นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า การหารือกับองค์กรวิชาชีพสื่อในวันนี้ เป็นการทำความเข้าใจการทำหน้าที่สื่อร่วมกันแต่ละองค์กรวิชาชีพสื่อ และข้อสรุปร่วมกันว่า สภาวิชาชีพสื่อ ทั้งสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะมีการร่วมกันร่างแนวทางปฏิบัติงานสื่อตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่มีความชัดเจนมากขึ้นและจะเข้มงวดในการกำกับดูแลการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนตามหลักจริยธรรม ภายใต้กฎหมายที่มีการบังคับใช้  โดยเฉพาะหากมีการข้อร้องเรียนจากประชาชน จะมีการตรวจสอบอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งจะมีการดึง กสทช.เข้ามาร่วมดูแลเรื่องจริยธรรมของสื่อมวลชนด้วย

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีการเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 กำหนดให้องค์กรที่จะะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกสภาการวิชาชีพด้วย อย่างไรก็ตามข้อเสนอนี้ยังไม่เป็นที่ยุติ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

4 องค์กรวิชาชีพสื่อฯ ถก คุมจริยธรรมสื่อมวลชน

$
0
0
ถกร่วมกว่า 3 ชั่วโมง เดินตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ เข้มงวดในการกำกับดูแล จ่อ ดึงกสทช.ร่วมดูแลจริยธรรม พร้อมเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550
 
24 ก.ค. 2557 ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ นำโดย นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย นายจักรกฤษณ์ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้ประชุมหารือถึงสถานการณ์สื่อมวลชนไทยและแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยใช้เวลาในการหารือกันกว่า 3 ชั่วโมง
 
ภายหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีประกาศฉบับที่ 103/2557 ให้องค์กรวิชาชีพสื่อกำกับดูแลเรื่องจริยธรรมสื่อกันเอง เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2557
 
นายจักรกฤษณ์ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า การหารือกับองค์กรวิชาชีพสื่อในวันนี้ เป็นการทำความเข้าใจการทำหน้าสื่อร่วมกันแต่ละองค์กรวิชาชีพสื่อ และข้อสรุปร่วมกันว่า สภาวิชาชีพสื่อ ทั้งสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะมีการร่วมกันร่างแนวทางปฏิบัติงานสื่อตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่มีความชัดเจนมากขึ้น และจะเข้มงวดในการกำกับดูแลการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนตามหลักจริยธรรม ภายใต้กฎหมายที่มีการบังคับใช้ โดยเฉพาะหากมีการข้อร้องเรียนจากประชาชน จะมีการตรวจสอบอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งจะมีการดึง กสทช.เข้ามาร่วมดูแลเรื่องจริยธรรมของสื่อมวลชนด้วย
 
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีการเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 กำหนดให้องค์กรที่จะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกสภาการวิชาชีพด้วย อย่างไรก็ตามข้อเสนอนี้ยังไม่เป็นที่ยุติ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนุนพยาบาลตั้งองค์กร 'จิตอาสาราชประชาสมาสัย' ช่วยงาน 'คสช.' คืนความสุขให้คนไทย

$
0
0
สปสช.ร่วมกับมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันราชประชาสมาสัย ร่วมจัดประชุมผู้บริหารหน่วยงานพยาบาลทั่วประเทศ ดึงเป็นแกนนำรุกงานจัดตั้ง “องค์กรจิตอาสาราชประชาสมาสัย” ทั่วประเทศ มุ่งทำงานตามพระราชอุดมการณ์ “ปิดทองหลังพระ” เป็นกลไกหนุนงาน คสช. ช่วยแก้ไขปัญหาประเทศ “คืนความสุขให้คนไทย”  

 
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์และสถาบันราชประชาสมาสัย ได้ร่วมจัดประชุมหน่วยงานการพยาบาลภาครัฐ วิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุข และผู้บริหารการพยาบาลทั่วประเทศ เรื่อง “จิตอาสาราชประชาสมาสัย ทางออกประเทศไทย” โดยมี พล.ร.อ.จักรชัย ภู่เจริญยศ รองผบ.ทร. หัวหน้าที่ปรึกษาคสช.ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 350 คน อาทิ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนผู้บริหารการพยาบาลของหน่วยงานรัฐ เครือข่าย/ชมรมผู้บริหารการพยาบาลทั่วประเทศ และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากทั่วประเทศ
 
ทั้งนี้ ศ.นพ.ธีระ รามสูต ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวถึง การจัดงานว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น 1.เพื่อร่วมหารือแนวทางการขยายการจัดตั้งชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัยประจำตำบลและองค์กรทั่วประเทศ โดยมีพยาบาลทั่วประเทศเป็นแกนนำ/ผู้ประสานสนับสนุน/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2.ให้เครือข่ายจิตอาสาราชประชาสมาสัยประจำตำบล (องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบล ) และองค์กรของโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงานราชการ , รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เป็นพลังประชาสังคมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของตำบล และองค์กรในการช่วยสนับสนุนด้านพัฒนาสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมของกระทรวงสาธารณสุข และเสริมสร้างความมั่นคง จิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และความสามัคคีปรองดองของคนไทยทั่วประเทศในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยเต็มไปดวยความเห็นต่าง และต่อมาได้ลุกลามกลายเป็นความขัดแย้ง เริ่มจากสถาบันการเมืองในที่สุดได้กระจายไปยังทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้แต่สถาบันครอบครัว ที่ทำให้ฉุกรั้งการพัฒนาประเทศไทยในทุกด้าน ทางออกลดน้อยลงเรื่อยๆ สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ทางตัน วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์วันหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย จากสภาพสังคมไร้ทางออก กลับเข้าสู่สังคมแห่งความหวัง คสช. ได้นำความหวังที่หายไปกลับคืนสู่สังคมไทย ด้วยการทำงานที่มีระเบียบแบบแผนชัดเจน
 
นพ.วินัย กล่าวว่า นับจากวันนี้เป็นเวลา 65 วันแล้วที่คนไทยทั้งประเทศเริ่มมีความสุขเพิ่มขึ้นจากการทำงานในระยะที่ 1 ของ คสช. ได้เห็นความสงบเรียบร้อยเกิดขึ้นในภาพรวม แต่การจะทำให้เกิดความเข้าใจ เห็นใจ และจริงใจของประชาชนในระยะยาว จำเป็นต้องทำงานเชิงลึกลงไปทั่วทุกพื้นที่ประเทศไทย และด้วยความร่วมแรงร่วใจของทุกหน่วยงาน มูลนิธิราชประชาสมาสัยจึงได้จัดตั้งชมรมจิตอาสาเพื่อมุ่งทำงานตามพระราชอุดมการณ์ “ปิดทองหลังพระ” โดยมีหลักการร่วมกันทำความดีเพื่อพ่อแห่งแผ่นดิน โดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นการสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในทุกภาคส่วนสอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญในการ “คืนความสุขให้กับคนไทย” ของ คสช.
 
“การเสียสละเวลาอันมีค่าในการเป็นปรานการประชุมของท่าน ผบ.ทร.ในวันนี้ จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีความสำคัญในการสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทำงานสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมเชื่อว่าพวกเราคนไทยที่อยุ่ในที่นี่และอีกจำนวนมาก พร้อมจะร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ภายใต้ร่มพระบารมี” เลขาธิการ สปสช. กล่าว และว่า สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการประชุมครั้งนี้ 1.ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้เรียนรู้และเข้าใจแนวคิดทฤษฎีจิตอาสาราชประชาสมาสัย 2.ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานจิตอาสา ของผู้บริหารการพยาบาล และ 3.มีการมอบหมายงานเพื่อขยายการดำเนินงานจิตอาสาราชประชาสมาสัยสู่หน่วยงานและสถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประกาศ คสช. ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสิ้นสุดลง

$
0
0

เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2557 ที่ผ่านมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เผยแพร่ประกาศฉบับที่ 107/2557 เรื่องให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสิ้นสุดลง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 107/2557
เรื่องให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสิ้นสุดลง
 
ตามที่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งได้มาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2543 ได้ครบวาระลงแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.2556 แม้จะมีการดำเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดใหม่ แต่ก็ไม่อาจจะดำเนินการโดยเรียบร้อยได้ เพราะมีข้อขัดแย้งกันมาก จนมีคดีฟ้องร้องในศาลต่อเรื่องกัน มากกว่า 70 คดี สมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนี้ ล้วนเป็นสมาชิกซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าสมาชิกซึ่งได้รับเลือกขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ดังนั้น หากปล่อยใหเหตุการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ ก็จะเกิดความไม่สงบเรียบร้อย และไม่อาจดำเนินการให้ลุล่วงได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
 
ข้อ 1 ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับสิ้นสุดลง และให้การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยุติลง จนกว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือ กฎหมายอื่นใดที่จะกำหนดไว้เป็นประการอื่น
 
ข้อ 2 กรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา หรือ ให้ความเห็นชอบในเรื่องใด ให้บทบัญญัติว่าด้วยส่วนดังกล่าว เป็นอันงดใช้บังคับ
 
ข้อ 3 ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังคงปฏิบัติหน้าต่อไป ซึ่งนายกรัฐมนตรี อาจมอบหมายให้ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานอื่นตามกำหนดให้
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2557
 
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Prachatai Eyes View: เศษซาก-เส้นทางสู่การยอมแพ้ของชาวบ้านโนนดินแดง

$
0
0

Prachatai Eyes View: เศษซาก-เส้นทางสู่การยอมแพ้ของชาวบ้านโนนดินแดง

 

"อยาให่ข่อยออกเถ๊าะ ข่อยบอมีม่องอยู ไล่ข่อยแล่วข่อยสิไปอยูใส สงสารคนจนแน ถ้าข่อยมีม่องอยูข่อยบอมาอยู ม่องนี่ดอกเด้อสิบอกให่ ขอความเห็นใจแนเจ้านาย"

"ออกจากที่นี่เจ้านายจะให้หนูและแม่จะอยู่ที่ไหนจะมีเงินที่ไหนไปโรงเรียน เด็กคืออนาคตของชาติ"

"พวกเราไม่มีที่ทำกินความสุขของพวกเราคือได้ทำกินอยู่ที่เก่าของเรา ขอความเห็นใจเราคนจนด้วย ฉันไม่มีที่ทำกิน"

"ด้วยความยากจนจึงต้องมาหากินแบบนี้แล้วเจ้านายจะทำยังไงและจะช่วยพวกเราอย่างไร"

"เป็นที่ผืนสุดท้ายแล้วแต่ก่อนเจ้าบอกว่าจะจัดที่ให้เขย สะใภ้ รอจนหัวหงอกแล้ว ลูกจนได้หลานแล้วขอความเห็นใจด้วยเจ้านาย"

ที่ยกมาข้างต้นเป็นบางข้อความที่ชาวบ้านเขียนไว้บนป้ายหน้าทางเข้าศาลากลางของหมู่บ้านเก้าบาตร ที่อยู่อาศัยชั่วคราวของชาวบ้านตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา เนื่องชาวบ้านรู้สึกไม่ปลอดภัยเกรงจะเกิดอันตรายหรือมีการนำตัวสมาชิกในหมู่บ้านไปไว้ที่ค่ายทหาร จากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ที่ได้สนธิกำลังกันพร้อมติดอาวุธ เข้าไปแจ้งให้ชาวบ้านรื้อบ้านและอพยพออกจากพื้นที่ ป่าดงใหญ่ และได้ทำเครื่องหมายโดยการพ่นสีสเปรย์ระบุหมายเลขบ้านที่จะต้องรื้อเอาไว้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตามคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 64/2557  เรื่อง “การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้” โดยเจ้าหน้าที่ได้กำหนดเส้นตายไว้ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.

ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็ได้เข้าไปขอคืนพื้นที่ตามหมู่บ้านอีนๆ อีก 5 หมู่บ้านด้วย ได้แก่ ป่ามะม่วง ตลาดควาย(ดงเย็น) เสียงสวรรค์ คลองหินใหม่  และสามสลึง บ้านในหมู่บ้านทั้ง 5 แห่ง ได้ถูกไล่รื้อออกไปเกือบหมดแล้ว ซึ่งทางหน่วยงานรัฐยังไม่ได้มีมาตรการรองรับชาวบ้านเหล่านี้ที่ชัดเจน เช่น ชาวบ้านในหมู่บ้านตลาดควายหลังจากเจ้าหน้าที่ห้รื้อบ้านตัวเองออกแล้ว ต้องใช้ที่วัดลำนางลองเป็นที่พักชั่วคราวเนื่องจากไม่มีที่ไป หรือบางส่วนก็ให้กลับไปที่ภูมิลำเนาเดิมของตนตามทะเบียนราษฎรแต่ก็ยังมีบางครอบครัวที่ไม่สามารถกลับไปพักอาศัยในที่เดิมได้แล้วไม่ว่าจะเพราะขายที่อยู่เดิมไปหรือว่าที่อยู่อาศัยเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนสมาชิกครอบครัวที่เพิ่มขึ้นได้อีกแล้ว (รายงาน : เสียงจากชาวบ้านโนนดินแดงเมื่อออกจากป่า...ไม่มีที่ไป)

แต่สำหรับกรณีของสมาชิกหมู่บ้านเก้าบาตรยังคงยืนยันที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินทำกินของตนเอง และจะอาศัยอยู่ที่นี่ ซึ่งอยู่กันมานานตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตั้งแต่ราวปี 2509 ที่ชาวบ้านถูกทหารเกณฑ์ขึ้นไปถางป่าใช้เป็นที่ดินทำกินเพื่อไม่ให้คอมมิวนิสต์ ใช้ป่าเป็นที่หลบซ่อน จนภายหลังในปี 2518 ทหารได้อพยพคนออกจากป่าดงใหญ่ให้ไปอยู่ตามแนวถนนเส้น 348 (ละหานทราย-ตาพระยา) เพื่อป้องกันการแฝงตัวของคอมมิวนิสต์ในหมู่บ้าน

อีกหลายปีต่อมา ในช่วงปี 2531-2537 มีการให้สัมปทานบริษัทเอกชน 7 รายเข้ามาใช้พื้นที่ป่าดงใหญ่ทำสวนป่ายูคาลิปตัส ซึ่งในขณะนั้นเป็นป่าสงวนแล้ว  โดยบริษัท 6 ราย หมดสัญญาสัมปทานไปแล้วในปี 2546 และ 2552 ขณะนี้เหลือเพียง 1 รายที่หมดสัญญาลงในปี 2560 (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในรายงาน กสม. ตั้งแต่หน้า 131 ที่นี่)  ซึ่งขณะที่สมปทานยังไม่หมดลงพื้นที่ป่าเขาดงใหญ่ได้ถูกประกาศให้เป็นป่าสงวนในปี 2539 ต่อมาได้เป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และปัจจุบันยังเป็นมรกดโลกอีกด้วยเนื่องจากป่าดงใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี 2548

เมื่อสัญญาสัมปทานของบริษัทเริ่มทยอยหมดลง ในราวปี 2549 ชาวบ้านที่อยู่ที่อาศัยอยู่ตามแนวถนนเส้น 348 บางและมีอีกบางส่วนที่มาจากที่พื้นที่อื่นๆ ได้กลับเข้าไปในพื้นที่ป่าดงใหญ่อีกครั้ง ซึ่งสภาพป่าในขณะนั้นได้กลายเป็นป่าเสื่อมโทรมไปแล้ว

การกลับเข้าไปในป่าดงใหญ่ของชาวบ้านครั้งนี้ทำให้เกิดข้อพิพาทกันระหวา่งชาวบ้านและหน่วยงานรัฐอย่างกรมป่าไม้ โดยกรมป่าไม้ให้เหตุผลว่าพื้นที่นี้ล้อมรอบด้วยเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ติดกับอ่างกักเก็บน้ำลำนาง รอง อาจส่งผลกระทบต่อการพังทลายต่อหน้าดินและคุณภาพของน้ำ

และในปี 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลได้มีมติให้บริษัทเอกชนต่ออายุสัมปทานออกไปอีก ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ป่าดงใหญ่รวมตัวกันคัดค้าน และทำเรื่องร้องเรียนถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งในที่ประชุมรัฐบาลได้มีมติให้ชาวบ้านสามารถอาศัยอยู่ต่อไปได้จนกว่าข้อพิพาทจะยุติ (สรุปจาก รายงาน :(เรียก) คืนความสุข บ้านเก้าบาตร ?)

แต่ในขณะนี้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวดูเหมือนว่าจะไร้หนทางประณีประณอมกันได้อีกแล้วภายหลังจากมีการกดดันโดยเจ้าหน้าที่จากหลายฝ่าย ทำให้ชาวบ้านหมู่บ้านเก้าบาตรร่วมกับสมัชชาคนจนประท้วงที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก เพื่อยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีข้อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยุติการข่มขู่ ไล่รื้อบ้าน รวมถึงการจับกุมดำเนินคดี โดยระหว่างนี้ให้ชาวบ้านสามารถอยู่อาศัยที่เดิมไปก่อนจนกว่าปัญหาจะยุติ และให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหาทางออกโดยจะเป็นการร่วมกันระหว่างหน่วายงานราชการและชาวบ้านอย่างเสมอหน้ากัน  ซึ่งทางกองทัพเพียงแค่รับปากว่าจะช่วยให้ชาวบ้านได้พูดคุยตกลงกันกับแม่ทัพภาคที่ 2 เท่านั้น แต่กระบวนการอพยพคนออกจะยังเดินหน้าต่อไป แต่จะชะลอการไล่รื้อไว้ก่อน

สถานการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นในขณะนี้กลับไม่ได้เป็นไปตามที่ทางกองทัพได้รับปากเอาไว้ ตั้งแต่มีการประท้วงที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก เหล่าเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ก็ยังคงดำเนินการกดดันชาวบ้านอย่างต่อเนื่องจนเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2557 เวลา 14.00 น. ชาวบ้านทนสภาพการกดดันไม่ไหวต้องอพยพออกมา ซึ่งบางส่วนที่ยังคงมีทะเบียนบ้านอยู่ใน อ.ลำนางรองก็ยังพอจะมีที่กลับให้ไปพักอาศัยอยู่ได้ แต่กลุ่มที่ไม่มีที่ให้กลับก็ต้องไปพักอาศัยอยู่บ้านญาติชั่วคราวก่อน ส่วนที่ทางกองทัพรับปากว่าจะมีการประสานให้ชาวบ้านกับกองทัพภาคที่ 2 ได้เจรจาถึงมาตรการรองรับในกรณีที่ชาวบ้านต้องออกจากป่ายังคงไม่มีความคืบหน้าใดๆ

 

กรรมการสุขภาพแห่งชาติย้ำการค้าเสรี ต้องฟังความเห็นภาคประชาชน

$
0
0

25 กรกฎาคม 2557 การประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ มีมติเห็นชอบให้เตรียมเสนอครม.แก้ไขกระบวนการมีส่วนร่วมในการเจรจาการค้าและทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอจากการประชุมวิชาการ การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ ปี 2556-2557 ตามที่ คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจคส.) เสนอ
 
ดร.ศิรินา  ปวโรฬารวิทยา กรรมการสุขภาพแห่งชาติจากผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มธุรกิจ ประธานคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าฯ กล่าวว่า การเจรจาการค้าเสรีภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ มีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ ยารักษาโรค การเข้าถึงยา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และบริการทางสุขภาพ  
 
เมื่อเร็วๆนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงเห็นถึงความสำคัญถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 จึงมีบทบัญญัติในมาตรา 23 ระบุว่า การจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
 
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ต้องการเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้เพิ่มเติมมาตรา 23 เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านการรับฟังความเห็นจากภาคประชาชน ทั้งก่อน ระหว่างและหลังกระบวนการการเจรจาการค้า เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการดำเนินงาน และลดผลกระทบที่จะเกิดในอนาคต  
 
สำหรับ ข้อเสนอแนะจากการประชุมวิชาการ การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ ปี 2556-2557
 
ต่อกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ ประกอบด้วย 4 ด้าน ประกอบด้วย 
 
1. การค้าระหว่างประเทศ ควรใช้การเจรจาการค้าเสรี (Free Trade agreement : FTA) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและเป็นโอกาสในการปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อความยั่งยืนของประเทศ แต่ต้องรับฟังความห่วงกังวลต่างๆ และร่วมกันพิจารณาผลกระทบด้านสุขภาพและสังคม มีดุลยภาพระหว่างผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์  
 
2.ประเด็นอื่นๆที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ ควรพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางตรง ทางอ้อม และผลกระทบในทางสุขภาพอย่างชัดเจน ในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership : TPP) เนื่องจากเป็นกรอบการค้าที่มีแนวโน้มเอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศพัฒนาแล้ว 
 
3.ระบบยา การเข้าถึงยา การคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาและประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องในการเจรจาการค้าเสรี ควรเร่งส่งเสริมนักวิจัยไทยและอุตสาหกรรมยาที่มีศักยภาพสูง พัฒนาต่อยอดในการค้นคว้าวิจัยและผลิตยา ที่มีคุณภาพ รับมือกับข้อเรียกร้องของต่างชาติ ที่เรียกร้องขยายอายุสิทธิบัตรยาและขอผูกขาดตลาดยามากขึ้น 
 
4. ระบบบริการสุขภาพ ศึกษาถึงต้นทุน ความพร้อม และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากนโยบายศูนย์กลางสุขภาพ (Medical Hub) พร้อมวางแผนกำลังคนทางการแพทย์ เพื่อรับมือการเข้าสู่สังคมประชากรผู้สูงอายุ (Ageing population) 
 
ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ ได้เน้นย้ำถึงแนวทางระยะยาว เพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเจรจา บนฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ ทั้งผลด้านบวกและลบจากการเจรจาการค้าอย่างรอบด้าน และที่สำคัญยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเจรจาการค้าด้วย โดยจะเสนอแนวทางดังกล่าวให้ครม.เห็นชอบต่อไป
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฮิวแมนไรท์วอทช์แนะ แก้ รธน.ชั่วคราว ชี้ให้อำนาจทหารกว้างขวาง-ปราศจากการรับผิด

$
0
0


แฟ้มภาพ

25 ก.ค.2557 ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก สหรัฐฯ ระบุว่า คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองของไทยควรแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ประกาศใช้ และให้อำนาจกับพวกตนอย่างกว้างขวาง โดยปราศจากการต้องรับผิด หรือมาตรการสำหรับป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน 

ฮิวแมนไรท์วอทช์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ซึ่งมี 48 มาตรา และได้รับการลงพระปรมาภิไธยโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อนึ่ง คณะที่ปรึกษาของคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองได้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้ขึ้นโดยปราศจากการหารือใดๆ กับสาธารณะ 

แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการแผนกเอเชีย ฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า "รัฐธรรมนูญชั่วคราวพยายามให้ความชอบธรรมทางกฎหมายกับอำนาจที่กว้างขวาง และปราศจากการต้องรับผิดของคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง"

"แทนที่จะปูทางไปสู้การฟื้นฟูประชาธิปไตย คณะทหารกลับให้อำนาจที่ปราศจากการตรวจสอบแก่พวกตนในการที่แทบจะทำอะไรก็ได้ทุกอย่างตามต้องการ ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยไม่ต้องรับผิด" 

ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวมีเนื้อหาที่อ่อนมากเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และยังอนุญาตให้ คสช. สามารถดำเนินนโยบาย และมาตรการต่างๆ โดยปราศจากการตรวจสอบควบคุมที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นก็ไม่ต้องมีการรับผิดใดๆ ทั้งนี้ ถึงแม้มาตรา 4 จะให้การยอมรับอย่างกว้างๆ ต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพตามประเพณีประชาธิปไตย และพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทย แต่ คสช.มีอำนาจตามมาตรา 44 และ 47 ในการจำกัด ระงับ หรือยับยั้งการปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

มาตรา 44 ให้อำนาจอย่างกว้างขวางต่อ คสช.ในการออกคำสั่ง และดำเนินการต่างๆ ตามที่เห็นสมควรได้ ไม่ว่าจะมีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างไรก็ตาม กล่าวคือ "ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคี และความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายใน หรือภายนอกราชอาณาจักร" ให้หัวหน้า คสช. มีอํานาจ "สั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทําการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่ง หรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว ... ชอบด้วยกฎหมาย และรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นที่สุด"

อย่างไรก็ตาม อำนาจที่กว้างขวางเช่นนี้ไม่มีการตรวจสอบควบคุมจากฝ่ายตุลาการ หรือสถาบันอื่นใด หัวหน้า คสช. เพียงแค่ต้องรายงานการดําเนินการดังกล่าวให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีทราบหลังจากนั้นเท่านั้น 

มาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้การกระทำทั้งหลายของสมาชิก คสช. และผู้ที่กระทำการในนาม คสช. ซึ่งรวมถึงการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม "พ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง" ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าววว่า ถึงแม้จะมีบทบัญญัติตามมาตรานี้ แต่กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรับรองสิทธิในการได้รับการเยียวยาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และกำหนดให้รัฐบาลต้องสอบสวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 6, 30 และ 32 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้สร้างระบบการเมืองแบบปิด และไม่เป็นประชาธิปไตย โดย คสช.เป็นผู้คัดเลือกบุคคลเป็นเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนสำหรับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีข้อกำหนดให้ต้องทำการหารือใดๆ กับสาธารณะ หรือต้องผ่านการทำประชามติ ส่วนสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นมีหน้าที่ศึกษา และเสนอแนะเพื่อให้เกิดการสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเลือกตั้งที่เสรี และเป็นธรรม และการปฏิรูปในด้านต่างๆ

มาตรา 8 และ 33 กำหนดข้อห้ามอย่างกว้างๆ ไม่ให้ผู้ที่ดํารงตําแหน่ง หรือเคยดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมาสามารถเป็นมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีข้อห้ามไม่ให้สมาชิก คสช. ทหาร ตำรวจ และข้าราชการอื่นๆ ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า ข้อกำหนดเช่นนี้เปิดโอกาสความเป็นไปได้ที่พลเอกประยุทธ์จะรับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะที่ยังคงมีฐานะเป็นหัวหน้า คสช. ถ้าหากเขาประสงค์ที่จะทำเช่นนั้น

ตั้งแต่การทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ฮิวแมนไรท์วอทช์ได้เก็บบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมากที่เกิดขึ้นโดยคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง คสช. ซึ่งประกอบด้วยเหล่าทัพต่างๆ และตำรวจได้ปิดกั้นการแสดงออกอย่างกว้างขวาง ควบคุมตัวบุคคลต่างๆ มากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการตั้งข้อหาความผิด ห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะ และออกคำสั่งที่มีลักษณะกดขี่ข่มเหงต่อนักกิจกรรม และกลุ่มรากหญ้า มาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย โดยระบุว่า ประกาศ หรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติทั้งหมดของ คสช. ตั้งแต่ที่มีการยึด และควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน "ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด"

แบรด อดัมส์ กล่าวว่า "คำกล่าวอ้างของ คสช.ว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวเป็นสิ่งจำเป็นต่อการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง และการปกครองโดยพลเรือนนั้นเป็นฉากบังหน้าให้คณะทหารควบคุมอำนาจต่อไป"

"โดยการกระชับอำนาจการควบคุมมากขึ้น บรรดานายพลกำลังทำผิดคำสัญญาที่จะฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไทย รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญเพื่อเผด็จการ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสนออาเซียนปรับกฎหมายความปลอดภัยทางอาหาร ให้ประชาชน-เอ็นจีโอกำหนดนโยบาย

$
0
0
25 ก.ค. 2557 เวลา 10.00 น.ที่เมืองทองธานี  ในงานประชุมวิชาการมหกรรมอาหารและสุขภาพวิถีไท ครั้งที่ 1 ภายใต้แคมเปญ “กินเปลี่ยนโลก:บทบาทอาหารกับสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม” จัดโดย มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพวิถีไทย
 
นายสัตยา ชาร์มา ผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากล ประเทศอินเดีย (Consumers International, CI)  กล่าวระหว่างเสวนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารของประชาคมอาเซียนว่า แต่ ละประเทศอาเซียนเห็นตรงกันว่าการออกกฎหมายด้านอาหารหลายฉบับ และการแบ่งความรับผิดชอบในแต่ละกระทรวงทำให้เกิดความซ้ำซ้อนต่อการกำกับดูแล และควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ขณะที่กลุ่มประเทศต่างๆ ของอาเซียน รวมทั้ง ผู้บริโภคมีความตื่นตัว และคาดหวังที่จะบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้แปรรูปมีความรับผิดชอบ ทั้งนี้อยากเสนอแนะว่าแต่ละประเทศควรมีกฎหมายเกี่ยวกับอาหารให้ชัดเจน และมีเรื่องของวิทยาศาสตร์มารองรับ ตลอดจน มีขั้นตอนการตรวจสอบ เฝ้าระวัง และเปิดเผยต่อสาธารณชนให้รับทราบ และการจะออกกฎหมายเพิ่มเติมนั้นควรเปิดโอกาสให้ประชาชน และองค์กรที่ทำงานด้านอาหารเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและติดตามอย่างเข้า ใจ นอกจากนี้ทุกประเทศควรมีกองทุนระยะยาวด้านอาหารด้วย อย่างไรก็ตาม ขอชื่นชมประเทศไทยที่มีระบบตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยด้านอาหารที่ดีเป็น ตัวอย่างของประเทศอาเซียน
 
นางสาวคาริน แอนเดอร์สัน อาสาสมัครมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ปี 2558 จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและอาหารนำเข้าจะมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการติดฉลากสินค้าจึงเป็นเรื่องที่ทุกประเทศควรให้ความสำคัญ ซึ่งมาตรฐานที่ควรปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ ควรมีดังนี้ 1.แสดงวันหมดอายุ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยควรใช้เป็น วัน เดือน ปี 2.ส่วนประกอบของอาหาร ควรระบุสารเจือปนว่ามีปริมาณเท่าไหร่ 3.แจ้งรายละเอียดตกแต่งพันธุกรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจ 4.บอกคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นจริง ซึ่งควรระบุเป็นตัวเลขให้อ่านออกและเข้าใจง่าย 5. ระบุถึงแหล่งที่มาของอาหารให้ชัดเจน เพื่อป้องกันกรณีที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ 6.ควรมีระบบเตือนภัยอาหาร หากผลิตภัณฑ์นั้นเสี่ยงอันตราย โดยใช้สัญลักษณ์สีแดงเขียวเหลือง ซึ่งขณะนี้บางประเทศในกลุ่มอาเซียนเริ่มมีการนำมาใช้แล้ว
 
นายชูศักดิ์  ชื่นประโยชน์ คณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย/สถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย (ThaiGAP) กล่าวว่า ระบบด้านอาหารของแต่ละประเทศมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ดังนั้นหน่วยงานรัฐ เอกชน เกษตรกร SMEs ควรทำงานร่วมกันอย่างมีระบบ และสิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้คือกฎหมายไม่ถูกนำมาปฏิบัติใช้อีกทั้งยังไม่ครอบคลุมในด้านดังกล่าว จึงฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำแผนแม่บทระบบความปลอดภัยด้านอาหาร ส่วนผู้บริโภคควรลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ์ตัวเอง   
 
นางสาวสารี  อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ขณะที่กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคจะเน้นที่ความปลอดภัยและให้ผู้บริโภคมีทางเลือก เกิดกลไกที่เข้มแข็ง ล่าสุดเราได้จัดทำเว็บไซต์องค์กรผู้บริโภคเพื่อใช้ติดตามเข้าถึงปัญหาต่างๆ ดังนั้นต้องช่วยกันผลักดันวิถีการกินของประชาชนให้หันมาใสใจดูแลการกิน หันมาบริโภคอาหารพื้นบ้าน ไม่เน้นอาหารสำเร็จรูปหรือแช่แข็งมากเกินไป เนื่องจากเสี่ยงอันตรายจากสารปนเปื้อน ไม่รู้แหล่งที่มาในการผลิต
 
นายชัยสิทธิ์ บุญกัน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาสคบ.มีส่วนร่วมในการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค มีส่วนร่วมพัฒนาระบบเตือนภัย อาทิ สินค้าที่อันตรายห้ามขาย และนำมาเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังเน้นช่วยเหลือเยียวยาผู้บริโภคที่เกิดปัญหาจากการใช้สินค้า เฝ้าระวังสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นกลไกไก่เกลี่ยหากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม  
 
ดร.ทิพวรรณ  ปริญญาศิริ  ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)กล่าวว่า ปัญหาที่พบคือโครงสร้างด้านอาหารของอาเซียนไม่ตอบโจทย์การทำงาน จึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างในระบบ มีการวางกรอบที่ชัดเจนทั้งภาคเอกชนภาคผู้บริโภค อย่างไรก็ตามการทำงาน อย. เน้นการออกแบบและควรมีชุดความปลอดภัยด้านอาหาร เช่นสัญลักษณ์สุขภาพ ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยตอบโจทย์และพัฒนาโครงสร้างด้านอาหารในกลุ่มอาเซียนได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หัวหน้า คสช.ตีกลับแผนปฏิรูปราคาพลังงาน

$
0
0
หัวหน้า คสช.ตีกลับแผนปฏิรูปราคาพลังงาน ขณะที่ทีมเศรษฐกิจเตรียมเปิดรับฟังความเห็นเดือน ส.ค.นี้ ก่อนเสนอหัวหน้า คสช.พิจารณาอีกครั้ง

 
25 ก.ค. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ได้ส่งเรื่องการปฏิรูปราคาพลังงานกลับมาให้ทบทวน เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชนที่เนื้อหาเสนอไปให้นั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการผลิตและจัดหาจากในและต่างประเทศ ดังนั้น ทางทีมเศรษฐกิจจะจัดเสวนารับฟังความเห็นจากประชาชนในเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะเปิดให้สื่อเข้ารับฟังและสรุปโดยเร็ว ก่อนนำเสนอหัวหน้า คสช.พิจารณา จึงยังไม่สามารถกำหนดได้ว่า การปรับโครงสร้างราคาพลังงานจะเสร็จเมื่อใด
 
“สิ่งที่จะพิจารณาก่อนเป็นอันดับแรก คือ โครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มและน้ำมัน ที่จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้เหมาะสม ซึ่งจะพิจารณาเรื่องราคา อัตราภาษี กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการอุดหนุนข้ามประเภทที่ผู้ใช้น้ำมันจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ แต่เงินกองทุนฯ ต้องไปอุดหนุนราคาแอลพีจี ส่วนเรื่องสัมปทานปิโตรเลียมนั้น คงจะนำเสนอเข้าสู่สภาปฏิรูปแห่งชาติที่กำลังจะมีการจัดตั้งขึ้น โดยยืนยันจะดูแลให้เหมาะสมและเป็นธรรม” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช. สั่งปรับ เอไอเอส-ดีแทค 1.8 และ 1.5 แสนบาทต่อวัน ฐานคิดค่าบริการ 2G เกิน 99 สต.

$
0
0

          
25 ก.ค.2557 จากกรณี กสทช. มีประกาศ เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555 ที่กำหนดอัตราขั้นสูงไว้ไม่เกิน 99 สต./นาที โดยบังคับเฉพาะเจ้าใหญ่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) แต่ตลอดเวลาสองปีที่ผ่านมาพบว่าทั้งสองบริษัยังคงฝ่าฝืน โดยมีการเรียกเก็บอัตราค่าบริการสูงเกินกว่าอัตราที่กำหนด

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้กำหนดอัตราค่าปรับผู้ประกอบกิจการทั้งสองรายวันละกว่า 3 แสนบาท หากยังคงมีการฝ่าฝืน โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า กรณีนี้เป็นความพยายามของ กสทช. ที่จะบังคับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ทั้งสองรายที่จะต้องกำหนดอัตราค่าบริการของบริการประเภทเสียงในระบบ 2G ไว้ที่กรอบไม่เกิน 99 สตางค์ต่อนาที ซึ่งมีการออกประกาศบังคับไว้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2555 โดยสาระสำคัญของประกาศกำหนดให้รายการส่งเสริมการขายบริการประเภทเสียงที่ออกใหม่ต้องไม่เกิน 99 สต. ส่วนรายการส่งเสริมการขายเดิมที่มีการใช้อยู่ก่อนแล้ว ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2555 เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นปี 2555 สำนักงาน กสทช. ยังคงตรวจพบว่ามีรายการส่งเสริมการขายที่เรียกเก็บค่าบริการเกินอัตราที่กำหนดถึง 99 รายการ แบ่งเป็นรายการส่งเสริมการขายของ AIS จำนวน 66 รายการ และ DTAC จำนวน 33 รายการ ซึ่งต่อมาสำนักงาน กสทช. ก็ได้ทำหนังสือแจ้งทั้งสองบริษัทให้ปฏิบัติตามประกาศ แต่ก็ได้รับคำชี้แจงว่า บางรายการที่ยังไม่สามารถระงับได้ในทันที เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าเดิมยังใช้บริการอยู่

กระทั่งต้นปี 2557 สำนักงาน กสทช. ก็ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาศึกษาและกำหนดจำนวนค่าปรับทางปกครอง เพื่อกำหนดอัตราค่าปรับกรณีที่บริษัท AIS และ DTAC ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ หลังจากนั้นสำนักงาน กสทช. ก็ได้ทำหนังสือลงวันที่ 25 เมษายน 2557 แจ้งเตือนทั้งสองบริษัทอีกครั้ง โดยได้มีการกำหนดค่าปรับทางปกครองให้ทราบหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด คือวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป แต่ปรากฏว่าทั้งสองบริษัทต่างยังทำการฝ่าฝืนต่อไป ดังนั้นล่าสุดนี้ สำนักงาน กสทช. โดยเลขาธิการฐากร ตัณฑสิทธิ์ จึงได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ให้บริษัท AIS ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 186,669 บาท ส่วนบริษัท DTAC ชำระค่าปรับในอัตราวันละ 157,947 บาท

“ที่ผ่านมาบริษัทไม่ทำตาม โดยมีการคิดค่าบริการเกินอัตราขั้นสูงที่กำหนดมาโดยตลอด ซึ่งจากการที่สำนักงาน กสทช. ตรวจรายการส่งเสริมการขายก็พบ และยังมีกรณีที่ผู้ใช้บริการร้องเรียนเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ประชุม กทค. พิจารณาแล้วก็บอกว่าบริษัททำผิด ต้องคืนเงินที่คิดเกินให้ผู้ร้องเรียน เป็นการเยียวยาเฉพาะกรณีไป การสั่งปรับเพื่อบังคับให้บริษัททำให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะส่งผลคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมมากกว่า อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามให้มีการปรับกันจริงๆ ด้วย แต่เราไม่ได้อยากได้เงิน เพียงแต่อยากให้เกิดสภาพการบังคับเพื่อให้บริษัทยอมปฏิบัติให้ถูกต้อง” นายประวิทย์กล่าว

กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยังฝากคำแนะนำถึงผู้บริโภคด้วยว่า “หากพบว่ายังคงถูกคิดค่าบริการเกินก็สามารถโต้แย้งบริษัทได้ทันที เพราะเท่ากับเรื่องนี้ชี้ชัดแล้วว่าบริษัททำเช่นนั้นไม่ได้ เป็นการผิดกฎหมาย หรือหากโต้แย้งไม่เป็นผลก็สามารถร้องเรียนเข้ามาที่สำนักงาน กสทช. ได้”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงผลจับตา 3 ปี กสทช. เสียงสะท้อนและข้อเสนอในการปรับปรุง

$
0
0

 

21 ก.ค. 2557 โครงการวิเคราะห์และติดตามร่างกฎหมาย (Thai Law Watch) ร่วมกับโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) จัดแถลงรายงานวิเคราะห์บทบัญญัติว่าด้วยธรรมาภิบาลใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และข้อเสนอในการปรับปรุง

ในเวทีเดียวกันนี้ ยังมีการเสวนา '3 ปี กสทช.: ความฝัน ความเป็นจริง และการปฏิรูปกฎกติกา' โดยมี นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรคมนาคม, ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์, ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมอภิปราย ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม 101 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ นักวิจัยประจำโครงการ NBTC Policy Watch เปิดเผยถึงรายงานวิเคราะห์บทบัญญัติฯ ว่า พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มีข้อกำหนดด้านธรรมาภิบาลที่ดีระดับหนึ่ง เช่น กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญภายในระยะเวลาที่กำหนด เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ รวมถึงสร้างกลไกตรวจสอบจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ทว่าจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ กสทช. แสดงให้เห็นถึงช่องโหว่จากการตีความ บังคับใช้ และการออกแบบเชิงโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อระบบธรรมาภิบาล อาทิ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารล่าช้าหรือไม่เผยแพร่เลย การกำหนดนโยบายผ่านอนุกรรมการที่คัดเลือกจากระบบโควต้ามากกว่าคุณสมบัติ การรับฟังความคิดเห็นขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กลไกจัดการเรื่องร้องเรียนเป็นไปอย่างล่าช้า การใช้งบประมาณที่ขาดประสิทธิภาพและความโปร่งใส เป็นต้น

นักวิจัยประจำโครงการ NBTC Policy Watch กล่าวว่า ปัญหาธรรมาภิบาลของ กสทช. จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง และเปรียบเทียบกับกฎหมายที่คล้ายคลึงกัน สามารถจำแนกได้ 5 ประเด็นหลัก พร้อมเสนอข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. ด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร กสทช. และสำนักงาน กสทช. ไม่เปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือเปิดเผยไม่ทันตามเวลาที่กำหนด เช่น รายงานการประชุม ผลการศึกษาที่ว่าจ้างหน่วยงานภายนอกให้จัดทำ

ดังนั้น กฎหมายควรกำหนดระยะเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญให้ชัดเจน พร้อมทั้งเพิ่มบทลงโทษในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม โดยถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 ในประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติให้ กสทช. และสำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานอิสระใน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

2. ด้านการกำหนดนโยบาย ที่ผ่านมาใช้ระบบโควต้าในการแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อเสนอความเห็นเชิงนโยบาย ในกรณีนี้ กฎหมายควรกำหนดให้ กสทช. คำนึงถึงความรู้ความเชี่ยวชาญ และเปิดเผยคุณสมบัติของคณะอนุกรรมการ นอกจากนี้ กสทช. ยังได้จ้างหน่วยงานภายนอกผลิตงานศึกษาจำนวนมาก แต่กลับไม่มีการอ้างอิงงานศึกษาในกระบวนการกำหนดนโยบายเท่าที่ควร ดังนั้น ควรให้กฎหมายกำหนดให้ กสทช. ต้องทำการศึกษาวิจัย และศึกษาผลกระทบจากการกำกับดูแล (Regulatory impact assessment) เพื่อใช้อ้างอิงในการตัดสินใจ รวมถึงต้องเผยแพร่ผลการศึกษาก่อนกระบวนการรับฟังความคิดเห็น

3. ด้านการรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. ไม่สามารถจัดการเรื่องร้องเรียนให้เสร็จภายใน 30 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย การจัดการยังมีลักษณะตัดสินเป็นกรณี ขาดการยกระดับเรื่องร้องเรียนให้มีการบังคับใช้เป็นการทั่วไป รวมถึงอนุกรรมการด้านผู้บริโภคตั้งตามระบบโควต้า

ควรกำหนดให้มีการตั้งสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เป็นหน่วยงานอิสระแทนอนุกรรมการด้านผู้บริโภค ทำหน้าที่รับและจัดการเรื่องร้องเรียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา พร้อมนำเสนอคำตัดสินและความเห็นให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการต่อ เสนอเรื่องร้องเรียนที่มีการตัดสินเป็นมาตรฐานแล้วและควรถูกบังคับใช้เป็นการทั่วไปให้ กสทช. เพื่อพัฒนาเป็นประกาศ และถือเป็นผู้เสียหายที่สามารถฟ้องร้อง หรือยื่นให้มีการสอบสวนไปยังองค์กรตรวจสอบภายนอกแทนผู้บริโภคได้ รวมทั้งควรจัดตั้งคณะกรรมการด้านเนื้อหา (Content Board) ที่เป็นอิสระ สำหรับพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหา และจัดทำประกาศกำกับดูแลเนื้อหาและผังรายการให้ กสทช.

ทั้งนี้ ที่มาของหน่วยงานทั้งสองควรให้องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องเป็นผู้คัดเลือกกรรมการ เช่น องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคอื่น ๆ เป็นผู้สรรหาคณะกรรมการด้านผู้บริโภค ด้านสมามคมวิชาชีพ มูลนิธิด้านการพัฒนาเด็ก ตัวแทนจากคณะนิเทศศาสตร์ เป็นผู้สรรหาคณะกรรมการด้านเนื้อหา เป็นต้น ขณะที่ที่มาของรายได้ต้องเป็นอิสระจากการควบคุมของ กสทช. โดยอาจใช้เงินจัดสรรที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแทน

4. ด้านการใช้งบประมาณ หนึ่งในปัญหาหลักของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ คือ การให้อำนาจสำนักงาน กสทช. ในการจัดทำงบประมาณประจำปี และให้ กสทช. มีอำนาจในการอนุมัติงบ ซึ่งทั้งสองฝ่ายทำงานเป็นเนื้อเดียวกันมากกว่าตรวจสอบกัน

ดังนั้น กฎหมายควรปรับแก้ให้งบประมาณต้องผ่านกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ผ่านการตรวจสอบและอนุมัติจากรัฐสภา และให้องค์กรภายนอกที่ชำนาญการด้านงบประมาณตรวจสอบให้ความเห็นการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ควรปรับลดที่มาของรายได้ของ กสทช. ไม่ให้มากเกินไป เช่น ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการจาก 2% เหลือไม่เกิน 1% และให้รายได้จากค่าธรรมเนียมเลขหมายส่งเข้าคลังโดยตรง เนื่องจากสำนักงาน กสทช. มีแนวโน้มตั้งงบประมาณใกล้เคียงกับรายได้ โดยขาดการตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งบประมาณ

5. ด้านกลไกการตรวจสอบจากภายในและภายนอก ที่ผ่านมาปัญาที่เกิดขึ้น คือ การตีความสถานะของ กสทช. ทำให้ขอบเขตอำนาจขององค์กรตรวจสอบคลอบคลุมไปไม่ถึง การออกแบบกฎหมายให้สิทธิ์ กสทช. มีอิทธิพลต่อการทำงานขององค์กรตรวจสอบ เช่น มีอำนาจในการจัดสรรงบประมาณหรือแต่งตั้งกรรมการ เป็นต้น

กฎหมายควรแก้ไขให้ ครม. เป็นผู้ออก พ.ร.ก.กำหนดรายได้และค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) แทนการจัดสรรงบประมาณโดย กสทช. และกำหนดให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีอำนาจเปิดเผยรายงานการตรวจสอบบัญชีโดยตรง รวมถึงกำหนดให้ กสทช. และสำนักงาน กสทช. เป็นเจ้าพนักงานภายใต้อำนาจในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน และให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจสอบสวน และเป็นหน่วยงานยื่นฟ้องแทนผู้ได้รับผลกระทบได้

ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ นักวิจัย NBTC Policy Watch เห็นว่า ในกิจการโทรคมนาคมวิธีการประมูลน่าจะเป็นวิธีที่โปร่งใส สะท้อนราคาตลาด ส่วนในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์อาจต้องเลือกใช้วิธีตามธรรมชาติของแต่ละสื่อ เช่น กลุ่มธุรกิจใช้วิธีประมูล ส่วนกลุ่มสื่อสาธารณะใช้วิธีประกวดคุณสมบัติ เป็นต้น

เมื่อถูกถามถึงบทบาทของ NBTC Policy Watch วรพจน์ กล่าวว่า NBTC Policy Watch จะยังคงทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศ คสช. เลื่อนประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ออกไป โดยวิพากษ์ในเชิงผลกระทบที่เกิดขึ้น

"การเลื่อนประมูลคลื่นความถี่ออกไป ทำให้ระบบโทรคมนาคมไม่เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาต ซึ่งก็เป็นปัญหาหนึ่ง คลื่น 1800 MHz มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง นำมาให้บริการ 4G ได้ ต้องล่าช้าออกไปจะก่อให้เกิดความเสียหายแค่ไหน และเมื่อไหร่ประเทศไทยถึงจะได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใหม่ ส่วนนี้น่าจะเป็นระดับที่วิพากษ์วิจารณ์ได้" นักวิจัย NBTC Policy Watch กล่าว

ขณะที่ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา แสดงความเห็นว่า การแก้กฎหมายไม่ใช่เครื่องมือเดียวในการปฏิรูป แต่จะต้องอาศัยการลงมือทำอย่างจริงจัง เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและวางระบบที่ดี สามารถกำจัดคนที่ไม่ทำงานหรือฉ้อฉลออกไปได้ง่าย รวมถึงวางระบบตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจให้มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

ทั้งนี้ กระบวนการแก้ไขกฎหมายจะต้องมีธรรมาภิบาล และไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมทางสังคมได้ถ้าต้องการให้คนไทยได้ประโชน์จากกฎหมาย ควรรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายอย่างเปิดกว้าง ไม่ผูกขาดหรือกีดกันกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม นพ.ประวิทย์เห็นด้วยกับข้อเสนอของ NBTC Policy Watch ที่จะให้มีคณะกรรมการตรวจสอบที่เป็นอิสระ แต่ต้องไม่ละเลยเรื่องการถ่วงดุลอำนาจ กสทช. แต่ละคนมีสิทธิให้ความเห็นต่อสาธารณะ และควรลดขนาดองค์กรให้เล็กลง เน้นประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

นพ.ประวิทย์ ย้ำว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน การปฎิรูปต้องอาศัยความคงเส้นคงวาในการให้ความเห็นที่สำคัญจากทุกฝ่าย ถ้าให้ความเห็นที่ถูกต้อง จะสามารถขับเคลื่อนประเทศได้ถูกทาง

ส่วนความเห็นต่อการประมูลคลื่นความถี่ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า การประมูลเป็นวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ดีที่สุด ไม่ใช่วิธีที่ได้รายได้สูงสุด แต่เป็นวิธีจัดสรรคลื่นให้แก่ผู้ที่ใช้คลื่นได้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยผู้ที่ประมูลคลื่นได้ควรต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง และเร่งวางโครงข่ายให้ครอบคลุม

ด้าน ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า กระบวนการสรรหา กสทช. ก็มีความสำคัญเช่นกัน กสทช. ควรต้องเป็นผู้มีควารู้ความเชี่ยวชาญ คิดวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา เข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบเป็นอย่างดี รวมถึงมีกระบวนการคัดบุคคลที่ก่อให้เกิดปัญหาออกจากองค์ด้วย ส่วนการตรวจสอบ ควรให้องค์กรอิสระหรือสถาบันการศึกษาที่ไม่มีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์เป็นผู้ตรวจสอบ

กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ แสดงความเห็นเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ว่า การประมูลเหมาะที่จะใช้กับกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้ได้ผู้เล่นที่มีความพร้อมมากที่สุด ถ้าหากใช้ระบบประกวดคุณสมบัติจำเป็นต้องระวังเรื่องความโปร่งใส และการกำกับดูแลที่อ่อนแอ ระบบประกวดคุณสมบัติจึงเหมาะที่จะนำไปใช้กับช่องทีวีสาธารณะมากกว่า

ด้านประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ เห็นว่า การแก้กฎหมายไม่ใช่ทางแก้ปัญหา เพราะกฎหมายมักจะแพ้คนหน้าด้าน กสทช. ก็เป็นองค์ที่มีความซับซ้อน กรรมการทั้ง 11 คนต่างก็เป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งการทำงานในรูปแบบกรรมการในประเทศไทยมักจะล้มเหลว เพราะมีผลประโยชน์ส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง

นอกจากนี้การตรวจสอบควบคุมหลายชั้น ทำให้มุ่งความสนใจอยู่แค่ กสทช. ปฏิบัติตามระเบียบหรือไม่ ซึ่งอาจละเลยเนื้อหางานว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากน้อยเพียงใด

ปัญหาของ กสทช. ยังรวมถึงคณะกรรมการที่ควรทำงานสอดคล้องกันกลับมีความขัดแย้งกัน ดังนั้น ในเรื่องที่มีความสอดคล้องกันอาจตั้งให้อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการชุดเดียว และการจัดสรรเงินกองทุนของ กสทช. ขาดความโปร่งใส โดยเฉพาะกรณีลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 จำนวน 427 ล้านบาท

กระบวนการร้องเรียนที่ต้องให้ผู้เสียหายเป็นผู้ร้องโดยตรง เป็นอีกประเด็นที่ควรแก้ไข เพราะบางเรื่องเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ กสทช. ควรเข้ามาดูแลโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้อง ส่วนข้อร้องเรียนด้านเนื้อหาควรส่งให้สมาคมวิชาชีพเป็นผู้พิจารณา

ขณะที่ ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต ตั้งข้อสังเกตว่า งบประมาณของ กสทช. สามารถบริหารจัดการได้เบ็ดเสร็จ องค์กรตรวจสอบเองก็ยังต้องอาศัยทรัพยากรขององค์กรที่ถูกตรวจสอบ ส่วนงบประชาสัมพันธ์ ใช้วิธีกลบข่าวร้ายขยายข่าวดี เน้นสร้างภาพลักษณ์เป็นหลัก แต่ยังไม่ได้เน้นสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ เช่นเดียวกับการใช้งบประมาณจำนวนมาก ว่าจ้างให้หน่วยงานภายนอกทำการศึกษาวิจัย แต่กลับไม่ได้รับการเผยแพร่ ประการสำคัญคือขาดการศึกษาผลกระทบอันเกิดจากกฎหมายหรือประกาศที่ออกโดย กสทช.

นอกจากนี้ กสทช. ยังขาดนวัตรกรรมในการกำกับดูแล ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็นแนวทางตั้งแต่ปี 2535 มีลักษณะของการกำกับดูแลแบบทหารซึ่งแทนที่ กสทช. จะต้องคอยทำหน้าที่ควบคุมในทุกกระบวนการ ควรออกเป็นเงื่อนไขในการให้ใบอนุญาตตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันปัญหาผู้ประกอบการตีความผิดวัตถุประสงค์

ทั้งนี้ ผศ.ดร.พิรงรอง มองว่า ปัญหาด้านความโปร่งใส หรือความขัดแย้งระหว่างอนุกรรมการที่ข่ายงานทับซ้อนกัน เป็นผลมาจากลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการทำหน้าที่ภายในองค์กร รวมถึงประเทศไทยไม่เคยมีนโยบายทางการสื่อสารมาก่อน ซึ่งนโยบายนี้ควรเกิดจากการสังเคราะห์ร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงข่ายดาวเทียมขานรับกำกับกันเอง–ไทยคมเสนอเป็นตัวหลัก

$
0
0


เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช. ได้จัดประชุมเรื่อง "กลไกการกำกับดูแลกันเองในกิจการโทรทัศน์ดาวเทียม" โดยนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. เป็นประธานการประชุม พร้อมผู้ประกอบกิจากรโครงข่าวดาวเทียมเข้าร่วม 26 บริษัท นอกจากนี้ในงาน นายธราวุฒิ สืบเชื้อ อุปนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ฝ่ายประสานงานภาครัฐและที่ปรึกษากฎหมาย ร่วมบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาคมฯ ด้านกลไกการกำกับดูแลกันเองที่มีมานานกว่า 40 ปี โดยโครงข่ายดาวเทียมให้ความสนใจร่วมฟัง พร้อมทั้งในที่ประชุมได้หารือถึงหาแนวทางการกำกับดูแลทีวีดาวเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายที่เปรียบเสมือนช่องทางการเชื่อมระหว่างช่องทีวีและผู้บริโภค ให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจเกี่ยวกับผังและเนื้อหารายการ ตลอดจนกลไกลการรับเรื่องร้องเรียนและการส่งเสริมการพัฒนาองค์กรวิชาชีพของกิจการทีวีดาวเทียมไม่ให้ทำผิดกฎหมายและไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

ทั้งนี้โมเดลการกำกับดูแลมาตรฐานสากลมี 4 ระดับคือ 1. กำกับตนเอง 2. กำกับกันเอง 3. กำกับร่วมกัน(รัฐกับเอกชน) และ4. กำกับโดยรัฐ โดยจะขึ้นอยู่กับความหนัก – เบาของเรื่องนั้นๆ ด้วย ในการประชุมร่วมกับโครงข่าย นางสาวสุภิญญา เสนอว่า แต่ละโครงข่ายทีวีดาวเทียมจัดทำแนวทางกำกับตนเองกับช่องรายการที่มาเป็นลูกค้า จากนั้นเสนอว่าไทยคมในฐานะเป็นผู้ให้เช่าดาวเทียมทั้งหมด เป็นตัวหลักในการทำกลไกกำกับกันเองระหว่างโครงข่ายต่างๆ เพื่อสร้างมาตรฐานร่วม (standardization) เพราะที่ผ่านมาแต่ละโครงข่ายมีแนวความคิด และรายละเอียดบางอย่างต่างกันมาก ดังนั้นเบื้องต้นควรช่วยกันทำกติกากลางที่เห็นร่วมกันก่อน เมื่อแต่ละโครงข่ายต่างทำกลไกกับดูแลตนเองแล้ว จากนั้นไทยคมอาสาเป็นตัวกลางในการทำกติการ่วมของทุกโครงข่าย จากนั้นเชื่อมกับ กสทช.กำกับร่วม ซึ่งถ้ากลไกทั้งหมดยังไม่ได้ผล กสทช.ก็ใช้อำนาจของตัวเองกำกับตรง คือลงโทษทางปกครองในกรณีที่ผิดกฎหมายชัดเจน ส่วนด้านจริยธรรมต้องส่งองค์กรวิชาชีพ

“วันนี้โครงข่ายดาวเทียมที่มาประชุมรับปากไปสร้างกลไกกำกับดูแลช่องลูกค้าของตนเอง อาทิ PSI เริ่มมีพนักงานประจำที่มาดูแลเรื่องเนื้อหาเต็มตัว รวมทั้งบริษัทไทยคมเองยินดีที่จะเป็นตัวหลักในการริเริ่มการหาแนวทางครั้งนี้ จากนี้ถ้าผู้บริโภคร้องเรียนเนื้อหาในรายการทีวีดาวเทียม สำนักงานจะแจ้งช่อง และโครงข่ายให้เร่งตรวจสอบด้วย ถ้าพบความผิดให้ระงับทันที รวมทั้งสำนักงานเอง จะทำงานต่อเนื่องให้การพัฒนากลไกกำกับดูแลตนเอง/กันเอง/ร่วมกัน กับผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดาวเทียม รวมทั้งกับช่องด้วยในอนาคต เพื่อให้เกิดรูปธรรมที่ยั่งยืน” นางสาวสุภิญญา กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาชนจี้ อภ.ต้องสรรหาบอร์ดใหม่โดยเร็ว

$
0
0
ยันพันธกิจผลิตยาช่วยชีวิต สร้างความมั่นคงทางยาของประเทศ เร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนยา ยกเครื่องพัฒนาระบบบริหารการจัดซื้อจัดหายาที่รองรับโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ

                
25 ก.ค. 2557 สืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมด้านสุขภาพเปิดเผยพฤติการณ์ เป็นผลให้บอร์ดองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ลาออก 10 คนมีผลวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 แต่ยังเหลืออีก 2 คน ที่ยังไม่ได้ลาออก ได้แก่ นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ. และนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และปัญหาสะสมเรื้อรังหลายประการจากการบริหารงานที่ผิดพลาด อาทิเช่น การไม่มียาจ่ายให้ รพ.ตามสั่ง โรงงานผลิตยาไม่สามารถผลิตยาได้ ตามแผนและอื่นๆ
 
นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่าปัญหาที่รีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ ปลดบอร์ดสองคนที่ยังไม่ได้ลาออก เนื่องจากเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปัญหาด้วย อภ.ต้องการยกเครื่องใหม่แล้วสรรหาและแต่งตั้งผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาเป็นกรรมการชุดใหม่ รวมไปถึงจำเป็นต้องแต่งตั้ง ผู้อำนวยการใหม่ ที่เสียสละเข้ามากอบกู้องค์กร ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และที่สำคัญต้องมาเพื่อแก้ปัญหาและกอบกู้สถานการณ์ยาขององค์การฯ ที่อยู่ในสภาวะร่อแร่ได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด
 
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพกล่าวว่า หากในช่วง 2 ปีเศษ ที่ปลัด สธ. ที่เป็นบอร์ด อภ.มาเข้าประชุมสม่ำเสมอ ใส่ใจในการให้คำแนะนำ อภ ตามหน้าที่ของบอร์ดมากกว่านี้ ไม่ใช่เข้าประชุมเฉพาะนัดที่ปลัด ต้องการ อภ.คงไม่แย่ขนาดนี้ มาตอนนี้ สายไปแล้ว ฉะนั้น ไม่สมควรอยู่เป็นบอร์ด หรือกลับเข้ามาอีกต่อไป
 
“บอร์ด และผู้อำนวยการต้องประกอบไปด้วยผู้มีความรู้ความสามารถ ไม่ถูกครอบงำโดยการเมือง กระทรวงสาธารณสุขและบริษัทยา ต้องแก้เพื่อแก้ปัญหาและเดินหน้า พันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์การเภสัชกรรม เมื่อแรกตั้งองค์กร ต้องไม่แสวงหากำไร เป็นองค์กรที่ผลิตยาช่วยชีวิต ยาจำเป็นและยากำพร้า ต้องเป็นหน่วยงานที่รักษาความมั่นคงทางยาของประเทศไว้ รวมไปถึงมีหน้าที่ต้องทำประชาพิจารณ์ ทุกปีด้วย”  นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว กล่าว
 
“บอร์ดและผู้อำนวยการคนใหม่ ต้องเดินหน้าสะสางปัญหาเร่งด่วนได้แก่ โรงงานยารังสิตที่ไม่สามารถสร้างเสร็จทันกำหนดเนื่องจากปัญหาในการแก้ข้อตกลงที่อาจจะเอื้อกับบริษัทเก่าที่ทิ้งงานไปในขณะที่ โรงงานของ อภ. ที่ถนนพระราม 6  จะต้องทยอยปิดปรับปรุงเพื่อให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด GMP ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ถ้าโรงงานยารังสิตไม่แล้วเสร็จจะเกิดปัญหา ไม่มีโรงงานรองรับการผลิตยาได้เพียงพอ ทำให้ปัญหาไม่มียาจำหน่ายให้โรงพยาบาล กระทบต่อผู้ป่วยทั่วประเทศรุนแรงขึ้น และ ปัจจุบันโรงงานยาที่รังสิต ต้องเสียค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ เดือนละหลายแสนบาทโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโรงงานเลย” นพ.วชิระ บถพิบูลย์กล่าว
 
ทางด้านภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ ตัวแทนชมรมเภสัชชนบทกล่าวว่า“ขณะนี้ โรงพยาบาลหลายแห่งเผชิญปัญหาการขาดยารักษาโรคเรื้อรังที่จำเป็นหลายรายการ โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า หรือแจ้งผัดผ่อนไปทีละเดือน ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถบริหารจัดการยาได้อย่างเหมาะและมีประสิทธิภาพ  เมื่อดูรายการยาตัดจ่าย(ยาที่อนุมัติคำสั่งซื้อแล้ว ถูกยกเลิก)ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งพบว่า  ว่าไตรมาสที่ 1/56 (ตค.55-ธค.55) มูลค่ายาที่จัดซื้อ =1,900,124.25บาท ขณะที่ไตรมาส1/57(ตค.56-ธค.56) มูลค่ายาที่จัดซื้อ =3,597,012.34บาท จากที่เห็น ตัวเลขพุ่งสูงเนื่องจากเราสั่งซื้อยา อภ.ไปแล้ว แต่ อภ.แจ้งตัดจ่ายเรา ทำให้ รพ.ต้องวิ่งวุ่นสั่งซื้อยาจากบริษัทเอกชนมาเพิ่ม แต่แล้ว ในส่วนที่แจ้งตัดจ่ายไปแล้วก็กลับส่งยามาให้เราเท่ากับว่า รพ.สั่งยาดับเบิ้ล
 
“ในส่วนไตรมาส 2/56 (มค.56-มีค.56) มูลค่าซื้อ = 4,856,907.68บาท เทียบกับไตรมาส 2/57 (มค.57-มีค.57) มูลค่าซื้อ = 4,266,507.78บาท จะเห็นได้ว่ามูลค่าซื้อ พอๆกัน เนื่องจาก รพ.เริ่มรู้ตัวแล้วว่า อภ. มีพฤติกรรมเช่นนี้  ยาตัวไหนที่ รพ.เคยได้รับแจ้งแล้ว ก็จะซื้อจากบริษัทเอกชน แต่ตัวไหนที่ไม่เคยได้รับแจ้ง เราก็จะสั่งไปก่อน   และคอย monitor ยา หากเห็นท่าไม่ดี ก็จะรีบโทรถามก่อนแล้วแจ้งให้เขาออกใบตัดจ่ายมาเลย
 
วิธีการเช่นนี้ดีตรงที่เราคุมคลังให้เป็นไปตามเป้าหมายเราได้ แต่เพิ่มภาระงานให้คนทำงานมาก แทนที่จะทำแค่ว่าสั่งซื้อยาแล้วรอรับยาเท่านั้น เวลาที่เหลืออยู่ เอาไปดูคนไข้  เท่ากับว่าต้องมาคอยนั่งดูระบบยา คอยโทรศัพท์ถาม เสียทั้งเวลาและค่าโทรศัพท์ ทำงานซ้ำซ้อน”
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหตุคาร์บอมบ์ยะลา เบื้องต้นเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บอย่างน้อย 40 คน

$
0
0

เหตุคนร้ายลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ กลางเมืองเบตง จ.ยะลา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บอย่างน้อย 40 คน ซึ่ง อ.เบตง เคยเกิดเหตุระเบิดครั้งล่าสุดตั้งแต่ปี 49 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว

ที่มาของภาพ: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

25 ก.ค. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่าเกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์บริเวณด้านหน้าโรงแรมฮอลิเดย์ฮิลล์ ถนนภักดีดำรงค์ อ.เบตง จ.ยะลา เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานการณ์ ก่อนชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดจะเข้าตรวจสอบ พบว่าคนร้ายประกอบระเบิดแสวงเครื่องน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ไว้ในรถกระบะยี่ห้อมาสด้า ทะเบียน มค 8594 เบตง นำไปจอดไว้หน้าโรงแรมฮอลิเดย์ฮิลล์ ก่อนจุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน ผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 40 คน จำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 5 คน และมีชาวต่างชาติรวมอยู่ด้วย แต่ยังไม่สามารถตรวจสอบจำนวนได้ ขณะที่อาคารบริเวณลอบจุดเกิดเหตุ รวมทั้งด้านหน้าโรงแรมฮอลิเดย์ฮิลล์ เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว ได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง

ผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่า ก่อนเกิดเหตุคนร้ายขับรถคันดังกล่าวมาจอดบริเวณหน้าโรงแรม ซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญ มีประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบกล้องวงจรปิดว่าบันทึกคนร้ายได้หรือไม่

สำหรับเหตุลอบวางระเบิด อ.เบตง เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2549 คนร้ายลอบวางระเบิดรถจักรยานยนต์บอมบ์ 11 จุด ส่วนใหญ่เป็นธนาคาร ทำให้มีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก

ส่วนที่ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส คนร้ายลอบวางระเบิดขณะทหารพรานชุดรักษาความปลอดภัยครูโรงเรียนนิคมพัฒนา 2 ลาดตระเวนผ่าน ทำให้ทหารบาดเจ็บ 4 นาย เสียชีวิต 1 นาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จอม เพชรประดับ: น่าเศร้าใจอย่างยิ่งต่อสมาคมนักข่าวไทย

$
0
0


ขณะที่หลายฝ่าย กำลังวิพากษ์วิจารณ์ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของ คสช. ที่ห่วงกันว่า จะทำให้ ประเทศไทย ถอยหลังไปสู่การปกครองแบบเผด็จการทหารยาวนานอีกหลายสิบปีและประเทศไทย อาจจะเป็นตัวอุปสรรคต่อการพัฒนาในภูมิภาคอาเซี่ยน

แต่สิ่งที่ผมติดใจ และให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ แถลงการณ์ฉบับหนึ่ง ที่ออกโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 23 กรกฎาคม  2557  ซึ่งได้อ่านผ่านเว็บไซด์ประชาไท

เป็นแถลงการณ์อันเป็นท่าที ของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่ได้แสดงความวิตกกังวล เป็นห่วงเป็นใยอย่างยิ่ง ต่อคำตัดสินของศาลเมียนม่าร์ ในเขตมะเกว สั่งจำคุกนักข่าว 4 คนที่ลักลอบเข้าไปหาข่าวเกี่ยวกับการผลิตอาวุธเคมีในเขตหวงห้ามของทหารของพม่า

บางช่วงบางตอนของแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า “เป็นเรื่องน่าเศร้า และถือเป็นความถดถอยในเรื่องสิทธิและเสรีภาพสื่อมวลชนในพม่าอย่างรุนแรง…เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ สะท้อนถึงความถดถอยของเสรีภาพสื่อมวลชนในเมียนมาร์ซึ่งยังคงอ่อนไหวอยู่ และสร้างความหวดกลัวว่า เมียนมาร์ จะกลับไปมีการเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวดอีกครั้ง” แถลงการณ์ระบุ

ตอนท้ายของแถลงการณ์ฉบับนี้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ยังแสดงความเห็นใจต่อเพื่อนสื่อมวลชนในเมียนม่าร์ อีกทั้ง ยังขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับการปฎิบัติที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และหวังที่จะเห็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะส่งเสริม และปกป้องเสรีภาพของสื่อในเมียนมาร์

หลังจากอ่านเนื้อหาสาระของแถลงการณ์ดังกล่าวแล้ว  ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมากมาย  ทั้งรู้สึกดี และมีคำถามรวมทั้งรู้สึกละอายใจอยู่ลึก ๆ ด้วยเหมือนกัน

รู้สึกแรกก็คือ การออกแถลงการณ์ดังกล่าว เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเพราะเป็นการแสดงออกถึงการไม่เห็นด้วย กับการที่เพื่อนร่วมวิชาชีพถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างรุนแรง  เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ สมาคมวิชาชีพฯ จะต้องออกมาแสดงการคัดค้าน หรือ ไม่เห็นด้วย กับการละเมิด หรือการปิดกั้นการทำหน้าที่ตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อ เพื่อยืนยันในหลักของสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนด้วยกัน

แต่ความรู้สึกที่รบกวนจิตใจอย่างยิ่ง และเป็นคำถามใหญ่ เมื่ออ่านแถลงการณ์ฉบับนี้ นั่นก็คือ  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ไทย ไม่ได้รู้สึกอ่อนไหว หรือ หวาดกลัวต่อ สถานการณ์การละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยในเวลานี้บ้างเลยหรือ  สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย อยู่ในสภาะที่ถดถอยอย่างรุนแรงด้วยเหมือนกันไม่ใช่หรือ

ไม่เฉพาะสิทธิเสรีภาพของสื่อไทยเท่านั้น ที่จะถูกละเมิด หรือถูกทำลายจากเผด็จการทหาร คสช.  แม้แต่ ประชาชนคนไทยเวลานี้ ก็ถูกปิดกั้นสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสารไปด้วยพร้อมทั้งยังถูกริดรอน สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก หรือความคิดเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมาด้วยเช่นกัน

อย่างนี้แล้ว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ไม่ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับปฎิบัติการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และหาทางออกเพื่อร่วมกันปกป้องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยด้วยกันเองบ้างหรือ

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ไทย มองไม่เห็นภาวะแห่งความถดถอยของการริดรอน และการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย รวมทั้งประชาชนคนไทย ที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้นนี้เลยหรืออย่างไร

มีนักข่าว นักหนังสือพิมพ์ไทย  จำนวนไม่น้อย ที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพในขณะที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่ ณ เวลานี้ แม้ว่าบางคนอาจจะไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมฯก็ตาม แต่พวกเขาอยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่ง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ไทย ได้ช่วยเหลือ หรือทำอะไรให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดความมั่นใจ และรู้สึกปลอดภัยในการปฎิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาบ้างแล้วหรือยัง

ไม่ว่าจะเป็น นักข่าวประชาไท  บก.นิตยสารฟ้าเดียวกัน นักข่าวเนชั่น อย่างคุณประวิตร โรจนพฤกษ์  และอีกหลายต่อหลายคน ในหลายสำนักข่าว ที่ถูก คสช. ข่มขู่ คุกคามให้เกิดความกลัว ทั้งการเรียกไปรายงานตัว สั่งให้ยุติการทำหน้าที่ในลักษณะต่าง ๆ ที่อ้างว่า จะเป็นการยุยงให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก  หรือแม้แต่การปิดสถานีโทรทัศน์ สำนักข่าว หรือ สื่อต่าง ๆ ที่คัดค้าน หรือ เห็นต่าง กับ เผด็จการทหาร

ถ้าจะยกตัวอย่างให้ใกล้เคียงกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับ 4 นักข่าวชาวเมียนมาร์ มากที่สุด นั่นก็คือ กรณีของ คุณสมยศ พฤษาเกษมสุข ที่ศาลไทยตัดสินสั่งจำคุก เป็นเวลาถึง 15 ปี ในข้อหาหมิ่นสถาบัน โดยไม่มีการสอบสวน และไม่ยอมให้ประกันตัว

ความถดถอยที่กลายเป็นวิกฤติแห่งการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยในลักษณะนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทำไมถึงเพิกเฉย กับเพื่อนร่วมวิชาชีพที่เป็นคนไทยด้วยกันเอง

หรือมองว่า เป็นสื่อมวลชนคนละพวกกับสื่อที่สังกัดอยู่ในสมาคมวิชาชีพ  หรือคิดว่าเป็นสื่อที่รับใช้กลุ่มการเมือง เป็นทาสของกลุ่มอำนาจใหม่ที่กำลังทำสงครามอยู่กับกลุ่มอำนาจเก่า  หรือเป็นสื่อที่ใช้เสรีภาพอย่างไร้ความรับผิดชอบ เพราะนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งยั่วยุให้เกิดความรุนแรงตามการกล่าวอ้างของเผด็จการทหาร คสช

จุดยืนของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อยู่ตรงไหนกับการต่อสู้ ระหว่างกลุ่มประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย กับ กลุ่มอำนาจเก่าที่กำลังจะรื้อฟื้นอำนาจเผด็จการขึ้นมาอีกครั้ง

ระหว่างสื่อมวลชนที่กำลังเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพให้ประชาชนคนไทย  กับสื่อมวลชนที่รับใช้เผด็จการ  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ไทย จะเลือกสนับสนุนหรือปกป้องฝ่ายใด หรือยังคงอาศัย กลุ่มอำนาจเผด็จการเก่า เป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กคอยคุ้มกันให้สถานภาพของตัวเองและของสมาคมวิชาชีพดำรงอยู่ต่อไปได้

เป็นไปได้อย่างไร ที่สมาคมวิชาชีพสื่อมวลชนไทย ถึงไม่ได้รู้สึกหวั่นไหว ในบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว ซึ่งปกคลุมอยู่ทั่วประเทศไทยในเวลานี้  แม้กระทั่ง สิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ การตรวจสอบอำนาจรัฐ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสื่อมวลชนเอง กลับถูกยอมให้ละเมิดได้อย่างไม่ขัดขืน  อย่างนี้แล้วจะหาญกล้าที่จะประกาศว่า มีเสรีภาพบนความรับผิดชอบต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนได้อย่างไร

กว่า 2 เดือนที่ผ่านมา สังคมไทย ยังไม่เห็นความกล้าหาญและจริงจังของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่แสดงออกถึงการต่อต้านหรือการคัดค้าน เผด็จการทหารอย่างเป็นรูปธรรม ทำได้เพียงแค่การออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยและมีท่วงทำนองที่รับได้กับการทำรัฐประหารเสียด้วยซ้ำ และแม้แต่การยอมที่จะรอมชอมยอมความกัน

สื่อมวลชนของเมียนม่าร์เสียด้วยซ้ำ ที่แสดงออกในเชิงสัญญลักษณ์เพื่อต่อสู้กับอำนาจเผด็จการทหารอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

ด้วยการวางอุปกรณ์การประกอบวิชาชีพสื่อกองไว้กับพื้น พร้อมกับนั่งปิดหูปิดตา ปิดปากตัวเอง เพื่อบอกให้โลกรู้ว่า ไม่เห็นด้วยกับอำนาจเผด็จการ  และพวกเขาก็ยังคงปฎิบัติหน้าที่ในภาวะแห่งการปิดกั้นและถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพต่อไป ซึ่งก็ไม่แตกต่างกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสื่อมวลชนไทยเวลานี้

ดังนั้นการที่ สมาคมวิชาชีพสื่อมวลชนไทย แสดงท่าทีรอมยอมอ่อนข้อให้กับ อำนาจเผด็จการทหารที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จล้นฟ้า และกำลังใช้อำนาจที่ได้มาอย่างไม่ชอบธรรมนั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎกติกาการปกครองประเทศครั้งสำคัญเช่นนี้ ถือเป็นสัญญาณอันตรายอย่างยิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทยในอนาคต

ในฐานะที่เป็นสื่อมวลชนคนหนึ่ง นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งหากหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติในอนาคต  ส่วนหนึ่งมาจากน้ำมือ และความไม่รับผิดชอบของสื่อมวลชนที่หลอกตัวเองว่ามีเสรีภาพ

ถึงตอนนั้น ก็คงจะได้เห็นแถลงการณ์ของ สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์ของเมียร์ม่า ที่แสดงความวิตกกังวลและห่วงใยอย่างยิ่งต่อภาวะถดถอยของการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนในประเทศไทย  และคงจะได้เห็นน้ำใจอันงดงามของเพื่อนร่วมวิชาชีพชาวเมียนม่าร์ ที่อาสาจะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับปฎิบัติการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย
ถึงเวลานั้น ผมขอเป็นคนแรก ที่จะกล่าวขอบคุณ สมาคมวิชาชีพสื่อมวลชนเมียร์ม่าไว้ล่วงหน้า

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้านลุ่มน้ำชีร้อยเอ็ด ยื่นหนังสือ คสช.แก้ไขปัญหาเขื่อน

$
0
0
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร ลุ่มน้ำชี ยื่นหนังสือถึง คสช. ให้เร่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการสร้างเขื่อนที่ยืดเยื้อมานาน 

 
 
25 กรกฏาคม 2557 เมื่อเวลา 10.00 น. ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร ลุ่มน้ำชี จ.ร้อยเอ็ด กว่า 30 คน รุดยื่นหนังสือถึง คสช. ผ่าน ผู้บัญชาการ จทบ.ค่ายประเสริฐสงคราม จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ คสช.เร่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการสร้างเขื่อนที่ยืดเยื้อมานาน โดยมี พ.อ.วินัย เจริญศิลป์ เสธ.จทบ. ร.อ. มารับหนังสือ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมาด้วยกัน 30 กว่าคน แต่เข้าไปยื่นหนังสือไม่หมดทุกคนเพราะทางเจ้าหน้าที่ได้ประสานขอให้ส่งตัวแทนเข้าไปคุย 15 คน ตัวแทนชาวบ้านบางส่วนต้องรออยู่ข้างล่าง
 
โดยนายบัว สาโพนทัน ตัวแทนกลุ่มชาวบ้าน อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร ลุ่มน้ำชี กล่าวว่า การมาขอยื่นหนังสือถึง หัวหน้า คสช. ก็เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา เนื่องจากว่าปัญหาเขื่อนในลุ่มน้ำชีเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางชาวบ้านเองก็ได้ร้องปัญหา ผ่านมาแล้ว 2 รัฐบาล แต่กระบวนการแก้ไขปัญหายังไปไม่ถึงไหน เหมือนกับไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน
 
“ช่วงนี้ก็เข้าสู่ฤดูฝนอีกแล้วชาวบ้านก็หวั่นว่าปัญหาจะซ้ำรอยเดิมคือน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตร เป็นช่วงที่ชาวบ้านทำนาแบบเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม ดังนั้นทางกลุ่มจึงเดินทางมายื่นหนังสือเพื่อให้ คสช.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา”
 
นางอมรรัตน์ วิเศษหวาน ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร ลุ่มน้ำชี จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า วันนี้เราจะมาพูดถึงสภาพปัญหาและผลกระทบให้กับทางหน่วยงานทหารได้รับทราบว่า สิ่งที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนนั้นเป็นปัญหาจริงๆ มิใช่ปัญหาที่ชาวบ้านกล่าวอ้างขึ้นเอง พวกเราพยายามเรียกร้องสิทธิ์ และขอความเป็นธรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว และหลายหน่วยงานก็ทราบดี แต่ที่ผ่านมารัฐก็ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาแต่การแก้ไขไม่มีความคืบหน้าเลย ดังนั้นวันนี้ตัวแทนชาวบ้านจึงมาขอยื่นหนังสือเพื่อให้ คสช. ร่วมแก้ไขปัญหาให้ ซึ่งหลังจากการการยื่นหนังสือวันนี้เสร็จ หลังจากนี้อีกประมาณ 1 เดือนทางกลุ่มชาวบ้านก็จะได้ทำหนังสือมาถามความคืบหน้าต่อไป
 
ด้าน พ.อ.วินัย  เจริญศิลป์ เสธ จทบ. ร.อ. กล่าวว่า ผมได้ติดตามปัญหานี้เหมือนกันและผมก็มีเอกสารข้อมูลที่ทางกลุ่มเคยร้องเรียนที่ผ่านมา 2 รัฐบาลแล้ว และหนังสือที่ส่งให้ในวันนี้ทางเราจะนำไปสรุปและทำหนังสือยื่น คสช.ต่อไป
 
นอกจากนี้ นายสิริศักดิ์ สะดวก ผู้ประสานงานศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชี ได้เปิดเผยว่า  ปัญหาที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานานนี้ควรที่จะได้รับการแก้ไข เพราะว่าที่ผ่านมาก็เห็นกลุ่มชาวบ้านเขาเรียกร้องเรื่องสิทธิที่เขาถูกละเมิดจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของรัฐ หรือนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน รัฐก็ควรที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน ถึงจะเป็นปัญหาเก่าหรือใหม่เมื่อชาวบ้านเขาเรียกร้องรัฐก็ควรที่จะแก้ไข เพราะที่ผ่านมาผมมองว่ารัฐทำตัวอยู่เหนือปัญหาแล้วปล่อยให้ชาวบ้านเผชิญชะตากรรมกับนโยบายที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวบ้าน รัฐควรมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหามากกว่านี้ด้วย  ฉะนั้นผมว่าการยื่นหนังสือของชาวบ้านวันนี้ ก็เพื่อให้ผู้มีอำนาจได้รับรู้รับฟังปัญหาของชาวบ้านที่เกิดขึ้น และหาทางออกร่วมกันว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประยุทธ์' วอนประชาชนวางใจการใช้อำนาจของ คสช.

$
0
0
"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ”  ระบุ คสช.จะใช้อำนาจกระทำสิ่งที่ดี สร้างสรรค์ เกิดประโยชน์กับคนไทยอย่ากังวล รัฐบาลแต่งตั้งหากว่าเข้ามาแล้วไม่ดี ไม่ทำประโยชน์ ไม่โปร่งใส ก็ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ขอให้ประชาชนวางใจการใช้อำนาจของ คสช. 

 
25 ก.ค. 2557 เมื่อเวลา 20.25 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ตอนหนึ่งว่า สัปดาห์นี้มีเรื่องที่น่ายินดีและเป็นที่ปลาบปลื้มของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งได้ลงพระปรมาภิไธยแล้ว โดยฝ่ายกฎหมายของ คสช.ได้แถลงสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศให้ทราบในรายละเอียดและหลักการที่สำคัญๆ ไปบ้างแล้ว ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาของ คสช.สามารถเดินไปตามโรดแมประยะที่ 2 ได้ตามกำหนด ทั้งนี้ตนได้รับพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับพระราชทาน ซึ่่งถือเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
       
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ในด้านของความมั่นคงที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย คสช.มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตนได้มอบหมายให้กับรองผู้บัญชาการทหารบกเป็นประธาน ทั้งนี้เพื่อบูรณาการแผนงานโครงการของหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อทั้งหมด เพื่อให้เป็นเอกภาพ ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง รวมทั้งการสร้างการรับรู้กับต่างประเทศด้วย
 
โดยรายละเอียดทั้งหมดของรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ประจำวันที่ 25 ก.ค. 2557 มีดังต่อไปนี้
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 20.20 น.
 
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทุกท่าน
 
วันนี้พบกันอีกครั้ง สำหรับสัปดาห์นี้มีเรื่องที่น่ายินดี และเป็นที่ปลาบปลื้มของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งได้ลงพระปรมาภิไธยแล้ว โดยฝ่ายกฎหมายของคสช. ได้แถลงสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศให้ทราบในรายละเอียดและหลักการสำคัญ ๆ ไปแล้วบ้าง ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สามารถเดินไปตาม Road map ระยะที่ 2 ได้ตามกำหนด ทั้งนี้หัวหน้า คสช. ได้รับพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้ารับพระราชทาน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ ตอนท้ายรายการผมจะกล่าวอีกครั้ง
 
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินงานของ คสช. ด้านเศรษฐกิจ
 
เรื่องแรก ที่สำคัญคือการฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีตัวแทนสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ตัวแทนสมาคมไทย-จีน ตัวแทนสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ได้เข้าพบหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ โดยทุกฝ่ายได้แสดงเข้าใจและได้รับทราบนโยบายของ คสช. ซึ่งน่าจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นในการค้าการลงทุนของทุกภาคส่วน และจะทำให้สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจมีทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต
 
เรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC ฝ่ายเศรษฐกิจ ได้ขับเคลื่อนงานสำคัญ ๆ ไปหลายประการด้วยกัน ในด้านความร่วมมือด้านการค้าทั้งในกรอบ พหุภาคีและทวิภาคี เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น การประชุมหารือของฝ่ายอาเซียน การประชุมคณะกรรมการเจรจาทางการค้า สำหรับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง การประชุมอาเซียน – เกาหลี เพื่อเจรจาเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม
 
เรื่องการแก้ไขปัญหาสินค้าทางการเกษตรตามแนวชายแดน จากนโยบายของ คสช. ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เป็นเจ้าภาพ ในการหารือร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาดังกล่าวในภาพรวมทุกมิติ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดเข้า-ออกสินค้า พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ปริมาณ และประเภทของผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่เหมือนกัน การแปรรูป และการเพิ่มมูลค่าสินค้า การควบคุมคุณภาพ การส่งออก รวมถึงระบบภาษี การลงทุน ความร่วมมือกับภาคเอกชน และข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ให้มีรายได้ และเป็นการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านไปพร้อมกันไปด้วย
 
เรื่องของการส่งเสริมการลงทุน ในห้วง 1 เดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ได้อนุมัติไปแล้วทั้งสิ้น 92 โครงการ มีวงเงินลงทุนจากภาคเอกชนประมาณ 2.6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการปลดล็อคโครงการที่ค้างการพิจารณาในห้วงที่บ้านเมืองมีปัญหามาได้ส่วนหนึ่ง
 
เรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรและแนวทางการกำกับดูแล กลุ่มสินค้าเกษตรที่มีราคาเพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่ผ่านมามี 5 รายการ ได้แก่ ลำไยจากภาคเหนือ เนื่องจากโรงงานอบแห้งลำไยเข้ามารับซื้อ ทำให้ตลาดมีการแข่งขันสูงขึ้น คงต้องระมัดระวังเรื่องของพ่อค้าคนกลางอาจจะมีการกดราคาอยู่บ้าง ก็ขอให้แจ้งมายังกระทรวงพาณิชย์ ผมได้สั่งการกระทรวงพาณิชย์ไปแล้วให้แก้ไขในเรื่องของการผูกขาด หรือการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ต้องพยายามแก้ให้ได้ เรื่องทุเรียน เงาะ ลองกอง จากภาคใต้ เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง เพราะฉะนั้นมาตรการในการรักษาระดับเพิ่มราคาสินค้าในกลุ่มนี้ ยังคงใช้มาตรการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตให้ได้ในช่วงที่มีผลผลิตมาก รวมทั้งการผลักดันส่งออกทั้งตลาดเดิมและการหาตลาดใหม่ต่างประเทศ
 
เรื่องของกล้วยไม้ ขณะนี้แม้จะมีราคาเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ถือว่าเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ต่ำ เพราะว่าตลาดต่างประเทศมีความต้องการลดลง เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อกล้วยไม้พันธุ์ฟาแลนจากสิงคโปร์แทน รวมทั้งคุณภาพกล้วยไม้ไทยยังไม่ค่อยได้มาตรฐาน จะส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่สามารถจะซื้อปุ๋ย หรือพัฒนาพันธุ์ให้ดีขึ้นได้
 
สำหรับมาตรการในการรักษาระดับเพิ่มราคากล้วยไม้ ทางรัฐจะสนับสนุนการวิจัยและทดสอบเทคโนโลยีการปลูก การส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์ และลดภาษีในการนำเข้าผงวุ้น เพื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้
 
กลุ่มสินค้าเกษตรที่มีราคาคงที่ จากสัปดาห์ที่ผ่านมา มี 2 รายการ ได้แก่ มันสำปะหลัง ราคาคงที่ เนื่องจากความต้องการซื้อมันเส้นและแป้งมันยังคงมีต่อเนื่อง มาตรการในการเพิ่มระดับราคาของมันสำปะหลัง เนื่องจากอยู่ในช่วงการเพาะปลูกสำหรับฤดูกาลใหม่ จะเน้นการให้ความรู้ในการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมทั้งปัจจุบัน คสช. ได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง และคณะอนุกรรมการพิจารณาระบาย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพื่อกำกับดูแลปริมาณ และเสถียรภาพราคา ให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนเต็มที่ เหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับการระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในสต๊อกของรัฐบาล
 
เรื่องอ้อย ราคายังคงที่ เนื่องจากเราใช้วิธี “การประกาศกำหนดราคาอ้อย” ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อ้อยและน้ำตาลทราย ปีพ.ศ.2527 โดยการประกาศราคาล่าสุด เมื่อ 17 ธันวาคม 2556 ที่ราคาตันละ 900 บาท
 
ส่วนของมาตรการในการเพิ่มราคาของอ้อย เราจะเร่งพัฒนาอ้อยพันธุ์ดี ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งขยายอ้อยพันธุ์ดีให้เพียงพอกับความต้องการของชาวไร่อ้อย มีการแนะนำการปรับปรุงดิน การใช้ปุ๋ยเคมีที่จะต้องลดลง ให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น มีประสิทธิภาพ และต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลในทุกระบบ
 
สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มนักธุรกิจภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทั่วโลกได้มาร่วมงาน ASIAN SUGAR NIGHT IN BKK 2014 และได้เข้าพบกับคณะ คสช. ซึ่งผมได้ชี้แจงอธิบายถึงสถานการณ์ปัจจุบันของไทยและยืนยันกับเขาว่า การดำรงความสัมพันธ์และการค้าขายกับกลุ่มนักธุรกิจเหล่านั้น เราจะดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตามนโยบายการผลิตและส่งออกอ้อยและน้ำตาลของไทยจะต้องพิจารณาความต้องการของผู้ซื้อจากต่างประเทศและผู้ผลิตน้ำตาลดิบของไทย ตลอดจนนโยบายของรัฐบาล และจะต้องดูแลเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่มีอยู่ประมาณ 3 แสนราย มีแรงงานอยู่เป็นล้านคน และโรงงานน้ำตาลมีถึง 50 โรงในปัจจุบันจะต้องดูแลควบคู่กันไปกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ และเหมาะสมกับความต้องการทั้งในประเทศ และกับประเทศผู้ค้าด้วย
 
สำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรที่มีราคาลดลง จากสัปดาห์ที่ผ่านมา มี 2 รายการ ปาล์มน้ำมัน ราคาปรับลดลงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซียปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด แนวทางการกำกับดูแล ติดตามระบบการค้าในประเทศ เพื่อรักษาระดับราคาผลปาล์มให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันปาล์มสู่การบริโภค
 
เรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาปรับลดลง เนื่องจากข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวในต้นฤดูฝนมีความชื้นสูง ในแนวทางการกำกับดูแล แนะนำ ให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับ วิธีการจัดเก็บ การเก็บรักษาเพื่อรักษาความชื้นของข้าวโพดให้อยู่ในระดับมาตรฐาน การกำกับดูแลสินค้าเกษตร ปัจจุบันได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร” และ“ศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตร” เพื่อเป็นช่องทางการให้ความร่วมมือ และการให้คำแนะนำการแก้ปัญหาต่างๆ แก่เกษตรกรในทุกจังหวัด
 
สำหรับผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มังคุด และลองกอง ซึ่งในปีนี้ คาดว่าจะมีผลผลิตจำนวนมาก และอาจจะล้นตลาดนั้น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้รายงานขอแนวทางแก้ไขขึ้นมาแล้ว คสช. กำลังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ได้แก่ การหาหรือเพิ่มตลาด การกระจายผลผลิตไปยังพื้นที่อื่น ๆ
 
เรื่องปัญหาราคายางตกต่ำ สำหรับปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรสวนยางพาราประสบอยู่ในปัจจุบัน ในเรื่องปัญหาราคายางตกต่ำ เนื่องจากผลิตผลทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากการรณรงค์การเพาะปลูกยางตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมานั้น คสช. ได้ให้ส่วนราชการเกี่ยวข้องไปพิจารณาหาแนวทาง ทั้งมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนโดยเร็วที่สุด ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ
 
ด้านความมั่นคง ที่เราให้ความสนใจเป็นพิเศษคือการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้มีการจัดแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งผมได้มอบหมายให้รองผู้บัญชาการกองทัพบกเป็นประธานฯ ทั้งนี้ เพื่อบูรณาการงาน แผนงาน โครงการของ หน่วยงาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยแท้จริง รวมทั้งการสร้างการรับรู้กับต่างประเทศด้วย เราจะเห็นได้จากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิก OIC ครั้งที่ 41 ที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยในเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยมีประเด็นที่สำคัญคือ OIC ชื่นชมการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย สนับสนุนการเจรจาสันติภาพระหว่างกลุ่มต่าง ๆ กับไทย และเรียกร้องให้ไทยดำรงแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไปอย่างยั่งยืน
 
เรื่องสิทธิมนุษยชน วันนี้ คสช. อยากจะเรียนให้ต่างประเทศได้เข้าใจว่า เราไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงแต่ประการใด เราไม่มีนโยบายให้เกิดกรณี การทำร้าย ทารุณอย่างรุนแรงต่อศักดิ์ศรีมนุษย์ การฆ่า การทรมาน การข่มขืน แต่ในสภาวะไม่ปกติเช่นนี้ เราคงมีความจำเป็นในบางเรื่องที่อาจจะส่งผลกระทบอยู่บ้างต่อสิทธิ์ของประชาชน เช่น การกำหนดให้สื่อมีความระมัดระวังในการเสนอข่าว ผมใช้คำว่าระมัดระวัง
 
การมีมาตรการสำหรับการเดินทางนอกประเทศของบางท่าน คสช. อยากจะขอให้ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรระหว่างประเทศได้เข้าใจถึงความจำเป็นในการใช้กฎหมายพิเศษเพื่อควบคุมสถานการณ์ และปกป้องประชาชนและความมั่นคงของรัฐในช่วงการเปลี่ยนผ่านและการปฏิรูปในขณะนี้
 
เรื่องการส่งกลับผู้ลี้ภัยจากการสู้รบทางด้านชายแดนไทย – เมียนมาร์ เรายังไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เป็นเรื่องของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ต้องหามาตรการที่เหมาะสมและปลอดภัยให้กับผู้ลี้ภัยจากการสู้รบดังกล่าว ทั้งนี้จะต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ได้เป็นการดำเนินการโดยฝ่ายความมั่นคงหรือทหารแต่ประการใด
 
เรื่องโรฮิงญา ก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากมีขบวนการนำพาโรฮิงญาเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย ฉะนั้นเราจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมอย่างรัดกุมและชัดเจน หากไม่ดำเนินการก็จะเกิดการค้ามนุษย์ และการหลบหนีภัยจากการสู้รบที่ไม่เป็นธรรมชาติเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกต่อไป
 
สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้รองเสนาธิการทหารบก เข้าร่วมหารือกับคณะผู้แทนองค์กรนิรโทษกรรมสากล (AI) โดยได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อข้อห่วงใยขององค์กรนิรโทษกรรมสากลในประเด็น สถานการณ์ความรุนแรง และการดำเนินการของ คสช. ทั้งก่อนและหลังการประกาศใช้กฎอัยการศึก และการเข้าควบคุมอำนาจ ในเรื่องของการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ การเคารพในสิทธิมนุษยชน บทบาทของ คสช.หลังมีรัฐบาล การแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว และผู้ลี้ภัยจากการสู้รบชาวเมียนมาร์
 
ภายหลังการชี้แจง คณะผู้แทน AI ได้รับทราบและเข้าใจต่อสถานการณ์ในไทย และมีท่าทีเห็นด้วยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อแนวทางการดำเนินการของ คสช. ในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้แทน คสช. ได้ขอความร่วมมือให้คณะผู้แทน AI ช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อสถานการณ์ของไทยในเวทีต่าง ๆ ด้วย
 
อย่างไรก็ตาม คสช. ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณามอบหมายให้มีคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกมิติ มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคงไปดำเนินการ
 
การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว วันนี้ คสช. ได้รับทราบปัญหาของแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่มีพาสปอร์ตทำให้ไม่สามารถเดินทางเข้าไทยได้ในขณะนี้ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการดำเนินการขอพาสปอร์ตที่ประเทศต้นทาง คือประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ได้มอบให้ฝ่ายความมั่นคง ไปหามาตรการแก้ไข โดยเร่งด่วนแล้ว ต้องขอขอบคุณทุกส่วนราชการ ที่ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาในห้วงที่ผ่านมา ปัจจุบันปัญหาหลัก ๆ ได้รับการคลี่คลายลงแล้ว โดยผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินการได้อย่างคล่องตัวขึ้น เจ้าของเรือประมงที่มีลูกจ้างเป็นแรงงานต่างด้าวได้มาขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวไปแล้ว จำนวน 53,260 คน และเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา คสช. ได้เปิดศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว one stop service เพิ่มเติมจนครบทั้ง 22 จังหวัดติดชายทะเลแล้ว
 
ด้านการศึกษา คสช. ได้เห็นชอบโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นการจัดหาอุปกรณ์ให้กับทุกโรงเรียนทั้งในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ซึ่งจะยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทั่วประเทศให้พัฒนาและมีมาตรฐานเดียวกันมากยิ่งขึ้น
 
เรื่อง กองทุนเพื่อการศึกษา คสช. ได้พิจารณาอนุมัติขยายเวลาการดำเนินงานโครงการ กองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต หรือ กรอ. ซึ่งต่อไปในปีการศึกษา 2558 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกองทุนประสบปัญหามีหนี้ค้างชำระเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุน เพิ่มช่องทางชำระหนี้ การจัดทำฐานข้อมูลที่ถูกต้องในระยะต่อไป
เรื่อง การเพิ่มอัตราบุคลากรทางสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเราได้อนุมัติอัตราเพิ่มเติมในขั้นต้น เฉพาะปีงบประมาณ 2557 จำนวน 9,074 อัตรา แยกเป็นบรรจุพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุข 7,547 อัตรา และบรรจุนักศึกษาแพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ และเภสัชกร จำนวน 1,527 อัตรา อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาในระยะต่อไป กระทรวงสาธารณสุขจะต้องดำเนินการตามมาตรการบริหารและพัฒนากำลังคนภาครัฐให้ครบถ้วนก่อนเสนอคำขออัตรากำลังเพิ่มมาใหม่ในครั้งต่อไป
 
ประเด็นสำคัญ ๆ ที่สังคมให้ความสำคัญ ในขณะนี้
 
การเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย ซึ่ง คสช. ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องแปลก ที่แปลกก็มีอยู่เพียงว่า สถานการณ์ประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมา มีปัญหามาโดยตลอดในทุกมิติ ทั้งในด้านการเมือง การเข้าสู่ระบบ อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ การทุจริต ความไม่โปร่งใส เอื้อประโยชน์ และผลประโยชน์ทับซ้อน จนทำให้ข้าราชการไม่สามารถปฏิบัติงานในการให้การบริการกับประชาชนได้ ผมไม่เข้าใจว่า ผู้เรียกร้องดังกล่าวเหล่านั้น มองข้ามเรื่องที่กล่าวมาไปได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ การประท้วงที่ยาวนาน มาตั้งแต่ปี 2549 2553 2556 และปี 2557 ที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวอ้างว่า ทำเพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด คสช. ต้องการที่จะยุติและแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยั่งยืน น่าจะมองเหตุผลตรงนี้มากกว่า น่าจะเข้าใจกัน และก็ไปหาว่าใครที่ทำให้เกิดสถานการณ์วุ่นวายเหล่านั้น หากท่านมาประณามเรา ซึ่งเราจะเข้ามาแก้ไข ไม่น่าจะถูกต้องเท่าไรนัก ก็ขอความเป็นธรรมด้วย
 
การเรียกร้องผลประโยชน์ ในการแต่งตั้งบอร์ด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รัฐบาล ผมพูดมาหลายครั้งแล้วก็ยังมีอยู่ ทราบแล้วว่าใครเป็นคนไปเรียกร้อง ยืนยันว่า คสช. ไม่มีทั้งสิ้น และกำลังหาวิธีการดำเนินการตามกฎหมาย ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าว และผู้ที่เคยเสียเงินเสียทองให้ไป ให้เรียกคืนโดยทันที มิฉะนั้นท่านอาจจะเสียเงินเปล่า คนที่ได้รับการแต่งตั้งจาก คสช. ในปัจจุบันนั้น คสช. จะมีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการของ คสช. ทั้งในด้านประวัติส่วนตัว ผลการปฏิบัติงาน การทุจริตคอรัปชั่น การถูกฟ้องร้อง หรืออยู่ในกระบวนการฟ้องร้อง โดยจะตรวจสอบทั้งหมด มิได้รับรายชื่อมาจากผู้ใดแล้วแต่งตั้ง ไม่ใช่แบบนั้น หากแต่งตั้งไปแล้วตรวจพบมีความผิดก็ต้องถูกดำเนินคดี ปลดออกเช่นกัน
 
การเรียกร้อง บัตรสนเท่ห์ เพื่อโจมตี คสช. กองทัพบก ว่าเป็นการเรียกร้อง ใส่ความที่ไม่เป็นธรรม การจัดหา จัดซื้ออาวุธ สิ่งนี้ได้เรียนมาหลายครั้งแล้วว่ามีการตรวจสอบอยู่แล้ว ฉะนั้นที่ผ่านมาก่อนจะซื้ออะไรได้ มีการตรวจสอบมาทั้งสิ้น หน่วยงานของรัฐก็ถามมา คสช. ก็ตอบไป จนบางครั้งทำให้การจัดหาจัดซื้อเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด ก็ต้องไปแก้ไขต่อไปเรื่อย ๆ เพราะ คสช. ต้องการให้ทุกคนไว้วางใจ เพราะฉะนั้นอย่าโจมตีกันอีกเลยในเรื่องเหล่านี้ เพราะว่าเมื่อซื้อมาแล้วเกิดชำรุด ก็ต้องซ่อมกันต่อไป บางอย่างเราไม่ได้ผลิตเอง ไม่ได้ทำเองทั้งสิ้น บางอย่างต้องซื้อมา เพื่อทดลองใช้งาน และนำไปสู่การวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ด้วย ก็เรียนมาให้ทราบเท่านั้นเอง เราก็อยากจะมีการผลิต มีการออกแบบ มีการผลิตเอง มีงบประมาณในการวิจัยพัฒนา แต่บางอย่างต้องใช้เวลานานมาก เพราะ คสช. ทำเองไม่ไหวแน่
 
กรณีการเรียกรับผลประโยชน์ ในโครงการที่ คสช. ได้อนุมัติไปของทุกกระทรวง ยืนยันทุกกระทรวง ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการก่อสร้าง การบริหารจัดการน้ำ การขุดลอกคูคลอง สาธารณูปโภคพื้นฐาน และอื่น ๆ และได้มีการอ้างว่า สามารถเคลียร์กับ คสช. เคลียร์กับหัวหน้า คสช. ได้ และมีการแบ่งการเรียกรับผลประโยชน์ให้กับ คสช. อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ พลเรือน ตำรวจ ทหาร หรือใครก็ตาม ขอให้แจ้ง คสช. ทราบโดยทันที คสช. จะดำเนินการโดยด่วน
 
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต ผิดกฎหมาย ตั้งแต่เริ่มจัดทำแผนงานโครงการ จนกระทั้งถึงขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ต่าง ๆ มีปัญหามาโดยตลอด ต้องช่วยกันดูแล ต้องทำให้โปร่งใส ตั้งแต่เรื่องการจัดทำงบประมาณ แผนงาน โครงการ การเปิดประมูลให้มีการแข่งขันโดยเสรี รอฟังเวลาเขาประกาศเชิญชวนไปแข่งขัน ก็ไป ถ้าท่านไม่ไป แล้วบอกว่าไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็คงไม่ได้ ท่านต้องไปแข่งขันสู้กับเขาโดยเสรี ปัจจุบัน เรามีคณะกรรมการตรวจสอบทุกขั้นตอน และแต่ละกระทรวง ทบวง กรม แต่ละระดับก็จะมีความรับผิดชอบตามลำดับชั้นลงไป จะต้องไม่มีเด็ดขาด ในเรื่องการเรียกรับผลประโยชน์
 
การแก้ไขปัญหาทุจริต คอรัปชั่น เป็นนโยบายของ คสช. อยู่แล้ว ในช่วงนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยมีคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐ (คตร.) เข้าตรวจสอบแผนงานโครงการที่ใช้งบประมาณมาก ๆ ของแต่กระทรวง แต่ละส่วนราชการ ก็มีอีกหลายโครงการที่มีลักษณะผิดปกติ ทั้งนี้ได้สั่งให้ทบทวน และระงับในบางกรณี รวมทั้งได้ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ได้วางรากฐานการตรวจสอบ การป้องกัน การทุจริตคอรัปชั่น และการปลูกฝัง ส่งเสริม การเป็นข้าราชการที่ดีในทุกระดับ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการสร้างมาตรการกำหนดให้ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง ปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล จริยธรรม และนำหลักการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส มาใช้ในการทำงาน ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดี ส่งเสริมความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐ ซึ่งหากทุกกระทรวง ทุกส่วนราชการ ได้ทำเช่นเดียวกัน มุ่งเน้นในเรื่องนี้ ก็จะเป็นรากฐานที่ดีต่อข้าราชการไทยต่อไป
 
การกระจายอำนาจการบริหารราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ที่มีอยู่แล้วเดิม คสช. ไม่ได้มองว่ามีปัญหาอะไรที่มากนัก มีแต่เพียงการสรรหาบุคลากรในการทำหน้าที่ในเรื่องของความโปร่งใส ความมีประสิทธิภาพ ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้างเล็กน้อย ก็ต้องปฏิรูปให้เกิดความชอบธรรม เป็นธรรม และทั่วถึง ไม่ได้มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น เราต้องอย่าลืมว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว เป็นรัฐเดียว ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ทั้งดินแดน ประชาชน การปกครอง ตามมาตรา 1 ที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ และมาตราอื่น ๆ ก็ได้กำหนดไว้ ให้มีการปกครองในลักษณะส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นอยู่แล้ว เราให้ความสำคัญกับข้าราชการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด แต่ก็จำเป็นต้องมีการยึดโยงกับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคไว้ด้วย
 
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจไว้ หากสามารถสร้างบุคลากรทั้ง 3 ระดับให้ดีได้ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใด ๆ ตราบใดที่มีการสอดประสานกัน เป็นการดูที่จะได้มีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เติมช่องว่างที่ขาดได้ ปัญหาสำคัญอยู่ที่คน ถ้าเรามีความรู้ มีคุณภาพ มีความเสียสละ โปร่งใส นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าตนเอง และพวกพ้อง ก็ต้องดี
 
กรณีที่มีการเลือกตั้ง ก่อนวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมาของส่วนท้องถิ่น ก็อนุญาตให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สามารถประกาศผลรับรองได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ผ่านการตรวจสอบเรื่องใบเหลือง ใบแดง ส่วนใดที่ยังมีปัญหาอยู่ก็ชะลอการเลือกตั้งทดแทนไปก่อนเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำสั่ง
 
เรื่องนี้ คสช. ได้มอบให้กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กกต. จังหวัด ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีไม่กี่แห่งเป็นจำนวน 100 แห่ง ในจำนวนหลาย ๆ พันแห่งที่หมดอายุลงไปเท่านั้นเอง ขอเวลาสักเล็กน้อยก่อน
 
เรื่องการปรับปรุงและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย วันนี้ได้ให้คณะที่ปรึกษาจัดตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อทำการศึกษาในเรื่องดังกล่าว คู่ขนานไปกับการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการหามาตรการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจในกิจการดังกล่าว ให้ได้ข้อยุติโดยรวดเร็ว และทันต่อการชะลอการประมูลเครือข่าย 4G ออกไปเป็นการชั่วคราว 1 ปี ใช้เวลาในการฟื้นฟูส่วนงานเหล่านี้ก่อน อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ทำให้ผู้ใช้บริการเดือดร้อน ขอเน้นย้ำตรงนี้
 
เรื่องการตรวจโกดังข้าว คสช. ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการดำเนินคดี ในกรณีตรวจพบความไม่โปร่งใส เพื่อจะนำเข้าสู่กระบวนการสอบสวนและกระบวนการยุติธรรมต่อไป ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการตรวจสอบดำเนินคดีของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยปัจจุบัน คณะทำงาน ได้เข้าตรวจสอบปริมาณข้าวแล้ว จำนวนโกดังทั้งสิ้น 836 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 46.78 จากจำนวนคลัง หรือโกดัง ทั้งหมด 1,787 แห่ง เบื้องต้นพบว่า มีสภาพปกติ 685 แห่ง สภาพผิดปกติ 126 แห่ง เช่น เสื่อมสภาพ ชนิด ที่มาไม่ตรงตามบัญชี มีข้าวชนิดอื่นปลอมปน มีมอด ไร สิ่งเจือปน ในข้าวค่อนข้างมาก เป็นต้น
 
การระบายข้าว คสช. ได้ให้ความเห็นชอบ ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ซึ่งมี ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ได้นำเสนอ ยุทธศาสตร์ แนวทาง เป้าหมาย แผนงาน และวิธีการระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาล โดยกำหนดเป้าหมายระบายข้าวในสต็อกจำนวน 18 ล้านตัน ให้ได้ภายในระยะเวลา 3 ปี แบ่งประเภทข้าวในการระบายเป็น ข้าวคุณภาพดี คุณภาพปานกลาง คุณภาพต่ำ และข้าวเสื่อมคุณภาพ ในช่องทางที่เหมาะสม เช่น การส่งออก การค้าทั่วไป การบริโภค และการแปรรูป โดยคำนึงถึงความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ การค้าข้าวภายในและต่างประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาและคำนึงถึงผลกระทบต่อเกษตรกร รวมทั้งผลประโยชน์ของรัฐ สำหรับแนวทางการส่งออกข้าวจะพิจารณาในหลายช่องทาง เช่น วิธีรัฐต่อรัฐ หรือความร่วมมือรัฐกับเอกชนขายข้าวให้ลูกค้าต่างประเทศ การขายให้องค์กรเอกชน องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เป็นต้น
 
เรื่องสื่อ ผมต้องขอขอบคุณที่เข้าใจกัน ขอให้ผู้รับผิดชอบแต่ละสมาคม ได้ดูแลกัน อย่าให้มีการล่วงละเมิดโดยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ ไม่เป็นจริง หรือการให้ข่าวโดยไม่มีหลักฐาน ทั้งนี้ อยากให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวอ้าง ทั้งนี้ คสช. ไม่ได้มุ่งหวังที่จะใช้อำนาจเข้าไปควบคุมสื่อแต่ประการใด อยากให้ทุกสมาคมสื่อ และสื่อทุกประเภทมีความเข้มแข็ง และเป็นที่น่าเชื่อถือของสาธารณชนเท่านั้น
 
ผมขอให้ สื่อ สมาคมนักข่าวไทย นักข่าวต่างประเทศ ได้เข้าใจการปฏิบัติงานของ คสช.ในระยะที่ 2 จำเป็นต้องให้เกิดความสงบเรียบร้อยให้มากที่สุด หากท่านไม่ได้มีเจตนาเสียหาย วิพากษ์วิจารณ์เกินกว่าเหตุ เจตนาไม่บริสุทธิ์ก็คงไม่มีใครไปทำอะไรท่านได้ ขอความร่วมมือด้วย เพราะท่านมีพลังในการจะทำให้สังคมสงบเรียบร้อยหรือวุ่นวายก็ได้ หากท่านมีเจตนาร่วมกันปฏิรูปประเทศ ท่านก็น่าจะเข้าใจ ในระยะที่ 2 ก็อยู่ในการปฏิรูปด้วยในกลุ่มหนึ่งคือ การปฏิรูปสื่อมวลชนทุกแขนง ท่านต้องเข้ามาช่วยเหลือร่วมกันด้วย
 
เรื่องการมีรัฐธรรมนูญชั่วคราว เรามีความจำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ แต่ละฝ่ายให้ชัดเจน เพราะเป็นการใช้พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามรัฐธรรมนูญ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 2 เดือน จะเห็นได้ว่า คสช. พยายามที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างด้วยความรวดเร็ว ไม่ได้มุ่งใช้อำนาจในการทำร้ายใคร แต่ใช้อำนาจในทางสร้างสรรค์ความสงบสุขให้กับประชาชนและชาติบ้านเมือง ซึ่งก็คงมีทั้งผู้ที่ถูกใจและไม่ถูกใจบ้าง คสช. ปฏิบัติงานด้วยความเป็นธรรม มุ่งหวังแต่เพียงว่า จะทำอย่างไรให้ประเทศชาติมั่นคงยั่งยืน ดังนั้น ทุกพวกทุกฝ่ายน่าจะร่วมมือกับ คสช. ในการทำงาน อย่ามองเฉพาะประชาธิปไตยอย่างเดียว ถ้ามองเฉพาะเรื่องนั้นจะไปเรื่องอื่นไม่ได้ ฉะนั้น ถ้าท่านต่อต้านในทุกประเด็น บางอย่างที่ยังไม่เกิด ท่านเป็นห่วงแบบนั้นแบบนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาถือว่าเป็นบทเรียนรู้แล้ว ถ้าเราไม่ต้องการให้เกิดอย่างเช่นในอดีตที่ผ่านมา เราต้องร่วมมือกันในวันนี้ เพื่อจะเดินไปในวันข้างหน้า ตรงนี้อยากจะเรียนว่า เป็นการบริหารงาน ของรัฐบาลใหม่ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว
 
ทุกคนน่าจะมีความสบายใจ ถ้ามีการถ่วงดุล ดูแลทั้งรับบาลและ คสช. ซึ่งจะมีอำนาจที่เข้มแข็ง ในการสงบเรียบร้อยต่อสังคม และการตรวจสอบความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของทุกภาคส่วน วันนี้เป็นสถานการณ์ที่ยังไม่ปกติ ถ้าปกติแล้วคงเลิกได้ทั้งหมด ยังไม่ปกติยังปฏิรูปไม่ได้ วันนี้เพียงแค่ลดความรุนแรงลง มาพบปะ หารือพูดคุยกัน เนื่องจากปัจจุบันยังมีคนที่ต่อต้านอยู่ มีการสร้างความเข้าใจผิด บิดเบือนข้อเท็จจริงทั้งในและต่างประเทศ คสช. ได้พยายาม ที่จะชี้แจงถึงอย่างไรก็ยังที่มีคนที่ไม่เข้าใจอยู่ ผมจึงไม่ทราบว่า ไม่เข้าใจจริงหรือว่า ไม่จริง เพื่อจะปกปิดหรือปิดบังหรือไม่ ซึ่งอยากจะขอร้องให้เลิก เพราะการตรวจสอบในปัจจุบันในเรื่องของขบวนการยุติธรรมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องขององค์กรอิสระก็ยังทำอยู่ ใครจะผิดจะถูกก็ว่ากันตรงนั้น
 
หากจะหาว่าเราไปรังแกคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คนใดคนหนึ่ง ดูว่าประเด็นสำคัญคือ เขาทำความผิดจริงหรือไม่ ถ้าไม่จริงจะไม่ถูกดำเนินคดีอยู่แล้ว แต่ถ้าจริงต้องถูกดำเนินคดี ซึ่งตรงนี้เราให้เวลาในการสอบสวน พิสูจน์ทราบให้เกิดความชัดเจน มีความเป็นธรรม ไม่มุ่งหวังจะไปใช้อำนาจทำลายล้างใคร ให้กระบวนการยุติธรรมของเราได้ทำ ถ้าหากเราไม่ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมปกติดำเนินการ คงมีข้อขัดแย้งเพิ่มขึ้นอีก วันนี้ถ้าเราต้องการจะทำลายจริง เราคงลงโทษไปแล้วฐานะเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ซึ่งมีอำนาจมากมาย แต่เราไม่ได้ใช้ บางพวกว่าไม่ใช้ ผมถามกลับว่าความขัดแย้งจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ถ้ากระบวนการยุติธรรมปกติไม่ได้สอบสวน อย่าใช้ความรู้สึกอย่างเดียว เพราะวันข้างหน้าต้องอยู่ร่วมกันอีก
 
คสช. จะพยายามไม่ทำตามข้อเรียกร้องของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพราะหากเรียกร้องไปและทำตามไป บางอย่างอีกพวกจะบอกว่าไม่ได้ทำ ซึ่งจะต้องสู้ไปอีกเหมือนเดิม ฉะนั้น รอให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการไปด้วย หลักฐานที่เพียงพอ ทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับในกฎกติกาของสังคม ให้เป็นไปตามกฎหมายและไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะกฎหมายมีไว้ เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างความขัดแย้งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผู้กระทำความผิดจริงก็ต้องถูกลงโทษ ถ้าไม่ให้ถูกลงโทษก็ต้องหนีไป ซึ่งจะอยู่ในประเทศไทยไม่ได้ ถ้ากลับมาอยู่ที่ประเทศไทยต้องถูกติดตามจับกุมดำเนินคดี ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายราย
 
คสช. อยากให้ประชาชนและสังคมไทยนึกถึงประเทศชาติให้มาก มากกว่าความโกรธเกลียดซึ่งกันและกัน จนลืมไปหรือไม่ ว่าตัวเราและลูกหลานในอนาคตจะอยู่อย่างไร ถ้าเรายังคงทะเลาะเบาะแว้งกันต่อไป อาฆาตเครียดแค้นกันต่อไป ลูกหลานจะอยู่อย่างเป็นสุขได้อย่างไร ต้องไปว่าด้วยข้อกฎหมายดีกว่า
 
สำหรับตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้ ไม่ว่า คสช. จะมีอำนาจมากเท่าใด หากผู้ใช้อำนาจนั้น ใช้ในการกระทำสิ่งดี ๆ เกิดประโยชน์กับคนไทย กับประเทศไทย ก็ไม่ต้องกังวลใด ๆ ถ้าเราไว้ใจผู้บริหารประเทศ หรือผู้ที่จะมาอยู่ในกระบวนการใช้อำนาจทุกคน ในขณะนี้ มีธรรมาภิบาล มีคุณธรรม จริยธรรม มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าเข้ามาแล้วไม่ดี ไม่ทำประโยชน์ไม่โปร่งใสสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ฉะนั้น ขอความไว้วางใจกับการใช้อำนาจของ คสช.
 
เรื่องการบริหารราชการแผ่นดินในระยะที่ 2 เมื่อเรามีนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เราก็คงปฏิบัติงานในกรอบอำนาจเต็ม คือ การใช้อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ผ่าน ครม. สภานิติบัญญัติกระบวนการยุติธรรม โดยมีการปฏิรูปในเรื่องที่สำคัญควบคู่ไปด้วย และจะกำหนดให้ผลการปฏิรูปมีผลในทางปฏิบัติในระยะสั้น คือ (ทันที) บางอย่างต้องระยะกลาง (1 ปี) ที่มีรัฐบาล ระยะยาว ส่งต่อรัฐบาล (ต่อ ๆ ไป) ให้ต่อเนื่อง วันนี้ขอให้ทุกคนใจเย็น ๆ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันตกลงใจ และมีความเห็นชอบร่วมกัน จะได้หาข้อยุติลงได้และจะได้ส่งผลร้ายเช่นที่ผ่านมาอีกในอนาคต มิฉะนั้นแล้ว การเรียกร้อง ต่อสู้ ล้มตายของประชาชนและเจ้าหน้าที่ และการปฏิบัติงานของ คสช. ก็จะสูญเปล่าไปอีกเหมือนเดิม บ้านเมืองกลับเข้าสู่วงจรเดิม ท่านจะยอมแบบนั้นหรือไม่
 
การมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อจะทำให้การปฏิรูป สามารถดำเนินการได้อย่างแท้จริง ทุกอย่างมีเวลาที่จำกัด เราประกาศไว้ใน Road Map เราพยายามทำให้ตามนั้น หากไม่สามารถกำหนดเวลาต่าง ๆ เพื่อให้เดินได้ตามนั้น จะทำให้การปฏิรูปไม่ได้ เวลาที่มีอยู่ไม่ได้ จะทำให้ยืดยาวออกไปอีก เราไม่ต้องการที่จะแสวงหาอำนาจเป็นระยะเวลานาน ฉะนั้น ทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับ คสช. ฝ่ายเดียว เราพยายามจะทำงาน เราจะแก้ปัญหา แต่การจะช่วยให้ประเทศชาติเดินต่อไปข้างหน้า ต้องเป็นท่าน ร่วมมือกับเรา รับฟังความคิดเห็นร่วมกันกับเรา มีความคิดเห็นอย่างไรสามารถสอบถามมาได้ อย่าไปวิเคราะห์วิจารณ์กันไปเองหรือไปกลัวอะไรที่ยังมาไม่ถึง ถึงวันข้างหน้าถ้าเกิดอะไรไม่ดีก็แก้ไขทันที สรุปว่าต้องมีการแก้ไข
ฉะนั้นอยากจะขอความร่วมมือกับทุกคนให้ช่วยกันนำบ้านเมืองไปสู่ความสงบ ไปสู่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน อย่างที่ทุกคนต้องการและไม่ให้มีความขัดแย้งกันต่อไป ทั้งฝ่ายประชาชน ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่จะได้ทำงานได้สะดวกขึ้นในการรักษากฎหมาย ฉะนั้นหากว่าเกิดความวุ่นวาย ไม่โปร่งใสอีก ซึ่งผมไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ซึ่งไม่มีทางแก้ไขปัญหาอีกแล้ว คราวนี้ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่จะต้องร่วมมือกันให้ได้มากที่สุด และถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของประเทศไทย กรุณาอย่าเรียกร้องอะไรกันมากนัก ในระหว่างที่ยังไม่มีการเลือกตั้งโดยใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งจะต้องร่างขึ้นมาใหม่ ในระยะที่ 2 นี้ ให้ทันเวลาเพื่อจะนำไปสู่การเลือกตั้งประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ และเกิดการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม ตามที่ทุกพวกทุกฝ่ายต้องการ
 
เรื่องต่างประเทศ สรุปแล้วว่าจะเห็นได้ว่า หลายประเทศส่วนใหญ่ ได้มีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับไทย อย่างต่อเนื่อง และการค้าขายธุรกิจกับประเทศไทยอย่างต่อต่อเนื่อง การค้าต่าง ๆ การลงทุนต่าง ๆ ภาคเอกชนได้ดำเนินการไปตามปกติ ซึ่งทุกคนจะพยายามสนับสนุนเรา มุ่งหวังให้ประเทศไทย คนชาวไทย ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนต่อไป สำหรับความสัมพันธ์ทางทหารนั้น ในห้วงเดือน สิงหาคม ได้มีการฝึกร่วมระหว่าง กองทัพบกไทย-กองทัพบกออสเตรเลีย ที่ จังหวัดตาก และ จังหวัดสงขลา รหัส CHAPLE GOLD 14 ซึ่งปีนี้ไทยเป็นเจ้าภาพ และสัปดาห์ที่ผ่านมาเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยและผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพสิงคโปร์ ได้เข้าพบปะคณะ คสช. ทั้งสองประเทศได้เข้าใจถึงสถานการณ์ของประเทศไทยและการทำงานของ คสช. เป็นอย่างดี รวมทั้งพร้อมจะให้การสนับสนุนและกระชับสัมพันธไมตรีกันต่อไปในอนาคต
 
สำหรับกรณี เครื่องบินของสายการบิน มาเลเซียแอร์ไลน์ และสายการบินทรานซ์เอเชียของไต้หวัน ซึ่งประสบเหตุในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ในนามของประชาชนชาวไทยขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บทั้งลูกเรือและผู้โดยสารของประเทศต่าง ๆ ทุกท่าน
 
กรณีการสู้รบระหว่างอิสราเอล และปาเลสไตน์ ที่ฉนวนกาซา ซึ่งมีแรงงานไทยเสียชีวิต 1 คนนั้น ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ให้กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้ประสานงานย้ายแรงงานไทยออกจากบริเวณใกล้เคียงฉนวนกาซา ไปยังเขตที่ปลอดภัยแล้ว
 
เรื่องอื่นๆที่สำคัญ อาทิ การลงทุนด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการด้านพลังงาน การขนส่ง และเรื่องอื่น ๆ ยังคงอยู่ในกระบวนการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้ได้โดยเร็ว
 
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จาก 22 พฤษภาคม - 22 กรกฎาคม 2557 ประมาณ 2 เดือนแล้ว ที่ คสช. ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก คนไทยทุกภาคส่วน
 
ขอขอบคุณแกนนำม็อบทุกฝ่าย ที่ยุติการเคลื่อนไหว ต่างคนต่างไปทำกิจกรรมส่วนตัว พักผ่อนออกกำลังกาย ดูแลครอบครัวประกอบอาชีพ และเตรียมตนเองในเรื่องการปฏิรูป และการเมืองในอนาคต หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากนี้เป็นต้นไป คสช. คงจะได้รับความร่วมมือเช่นเดิม หรืออาจจะมากกว่าเดิม ทั้งในด้านความปรองดองสมานฉันท์ การปฏิรูป และร่วมมือกันในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผ่านพ้นเมฆหมอก ที่บดบังความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทยมายาวนาน ทั้งนี้ เพื่อมอบอนาคตที่ดีงานให้กับลูกหลานของเราสืบไป คสช. ยืนยันไม่ได้มุ่งหวังจะมีอำนาจหรือแสวงหาผลประโยชน์ประการใด ทั้งสิ้น
 
ในโอกาสที่วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารใกล้จะมาถึงแล้ว คือวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทั่วราชอาณาจักรร่วมกันถวายพระพรชัยมงคล ขออนุภาพสิ่งศักดิ์ทั้งหลายได้โปรดอภิบาลรักษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารให้ทรงมีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญและทรงพระเจริญมายุยิ่งยืนนาน ขอบคุณทุกท่านครับสวัสดีครับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์พิเศษ วิโรจน์ ณ ระนอง : เจาะ 30 บาทรักษาทุกโรค ร่วมจ่ายหรือรัฐสวัสดิการ

$
0
0
ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข­และการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 
 
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของระบบหลัก­ประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ ‘30 บาทรักษาทุกโรค’ กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มเดินหน้าปฏิรูประบบสาธารณสุข และมีข้อเสนอว่า ต้องการให้ผู้ใช้บริการ 30 บาทรักษาทุกโรคร่วมรับผิดชอบ 30-50 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จนมีกระแสคัดค้านอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีข้อยุติดังเช่นทุกครั้งที่ประเ­ด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมา
 
ประชาไท สัมภาษณ์พิเศษ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข­และการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ถึงมุมมองเกี่ยวกับข้อถกเถียงดังกล่าวจากป­ระสบการณ์งานวิจัยการปฏิรูประบบสุขภาพและประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงแนวทางและทางออกของปัญหาค่าใช้จ่ายข­องระบบหลักประกันสุขภาพ และการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข
 
 
00000

ประชาไท : ที่มาของแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นอย่างไร บางคนอาจมองแค่ว่าทำไมไม่ให้เฉพาะคนจนจริงๆ ?

วิโรจน์ : แนวคิดเรื่องนี้โดยหลักมี 2 แบบซึ่งล้วนเห็นตรงกันว่าคนควรได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น แต่เห็นต่างกันในวิธีการทำ

แบบแรกสุขภาพเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับบริการเมื่อจำเป็นโดยไม่ต้องห่วงเรื่องการเงิน แนวคิดนี้อยู่ในประเทศรัฐสวัสดิการ หรือระบบประกันสังคมในยุโรป แคนาดา ส่วนว่าเอาเงินมาจากไหนก็เอามาจากภาษี โดยเก็บจากแต่ละคนตามความสามารถในการจ่าย

แบบที่สองประชาชนควรมีส่วนรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของตนเอง ใครรับไม่ไหวรัฐหรือสังคมจะเข้าไปช่วย แนวคิดนี้พบในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งทำให้ประชาชนออมเป็นกองทุนแล้วมาเบิกจ่ายเพื่อรักษา หากไม่พอก็ใช้กองทุนของรัฐ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีแนวคิดให้ประชาชนซื้อประกันสุขภาพ ใครที่ทำงานก็สามารถซื้อประกันสุขภาพได้ในราคาไม่แพงมาก แต่คนจำนวนหนึ่งไม่มีงานทำ ราคาที่ขายคนไม่มีงานทำจะแพง

ประเทศไทยเริ่มด้วยแนวคิดแบบหลัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลายประเทศรวมทั้งไทยด้วยมองว่าประเทศจนเกินกว่าที่รัฐจะมาแบกรับเพราะรัฐเองก็เก็บภาษีได้ไม่มากนัก เราถึงเน้นช่วยคนจน ใครไม่จนก็ช่วยตัวเองไป วิธีนี้ถ้าทำได้ดีก็จะใช้เงินน้อยกว่าการให้กับทุกคน ประเทศจนจะรู้สึกว่าวิธีนี้ง่ายกว่า ไม่เหมือนกับประเทศรวยที่รายได้ก็สูงภาษีก็เก็บได้สูงเขาจึงทำระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้อย่างสบายกว่า

แต่ก็ใช่ว่าประเทศรวยจะไม่มีปัญหา เพราะค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีแนวโฌน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1. สังคมประเทศต่างๆ เปลี่ยนเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น 2.เทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งก็ดีแต่ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นด้วย

สำหรับประเทศไทยแนวคิดเดิมคือช่วยเฉพาะคนที่เดือนร้อน สมัยก่อนโน้นไม่มีระบบที่ชัดเจนว่าจะช่วยอย่างไร ส่วนใหญ่ก็คงขึ้นกับความกรุณาปราณีของผู้อำนวยการ  พอมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ก็เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 (ซึ่งร่างหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ) เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติไว้ว่า “รัฐพึงให้การรักษาแก่ผู้ยากไร้โดยไม่คิดมูลค่า”  นักการเมืองอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ตระหนักดีว่าต้องให้ความสนใจกับเกษตรกร และกับประชาชนทั่วไปรวมถึงคนในชนบทด้วย  รัฐบาลคึกฤทธิ์ จึงเป็นจุดเริ่มของโครงการพวกประกันราคา ตอนนั้นมีคำขวัญ “เงินผัน ประกันพืชผล สภาตำบล คนจนรักษาฟรี” ซึ่งถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงถูกวิจารณ์ว่าเป็นประชานิยมที่มุ่งเป้าไปที่รากหญ้า ในปี 2518 เริ่มมีการจัดสรรงบให้ รพ. สำหรับสงเคราะห์ประชาชนผู้มีรายได้น้อย

ความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจครั้งต่อมาเกิดขึ้นในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์ดูแลด้านสาธารณสุข ในปี 2532 มีการขยายความช่วยเหลือจากผู้มีรายได้น้อยอย่างเดียวไปสู่ผู้สูงอายุ โดยไม่สนใจว่ารายได้เท่าไร หากมีอายุ 60 ปีขึ้นไปก็จะได้รับสิทธิ์เหมือนกัน ต่อมาปี 2537 มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกครั้งคือ ขยายสิทธิไปสู่กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี

ถึงตอนนั้น ถ้ารวมคนสามกลุ่ม เด็ก ผู้สูงอายุ และคนจน เข้าด้วยกันก็จะตกประมาณ 20 ล้านคน สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาในยุครัฐบาลทักษิณ ซึ่งมีการขยายความครอบคลุมไปสู่คนที่เหลืออีกยี่สิบกว่าล้านคนด้วย ทำให้เมื่อรวมกับคนที่อยู่ในสวัสดิการข้าราชการอยู่แล้ว และคนที่อยู่ในโครงการประกันสังคม (ซึ่งเกิดขึ้นประมาณปี 2535) กลายมาเป็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนทั้งประเทศ

แนวคิดเรื่องช่วยแต่คนจนหรือช่วยทุกคน ตอนแรกยังไม่เป็นประเด็น แต่เมื่อรัฐบาลขยายโครงการไปสู่ผู้สูงอายุและเด็กก็เริ่มมีการถกถียงในประเด็นเหล่านี้ ตอนนั้นมีการเปลี่ยนชื่อโครงการจากโครงการสงเคราะห์ประชาชนผู้มีรายได้น้อย (สปน.) เป็น โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (หรือ สปร.) ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาล้อตามสวัสดิการข้าราชการ แต่หลังจากที่มีการขยายโครงการ ก็เริ่มมีเสียงบ่นจากแพทย์ที่ให้บริการบ้างว่า มีคนไข้ สปร. ใส่ทองเส้นโตมารับการรักษาฟรี ซึ่งในช่วงนี้คุณอาจจะได้ยินข่าวที่พูดถึงเสียงบ่นทำนองเดียวกัน แค่เปลี่ยนจากคำว่า สปร.เป็น 30 บาทการถกเถียงเรื่องเราควรมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนทั้งประเทศหรือไม่ เป็นประเด็นที่ถกกันมากันเป็นเวลานาน ปี 2532 และ 2537 เราขยายไปจนครอบคลุมครึ่งประเทศ เมื่อรวมกับสวัสดิการข้าราชการกับประกันสังคมก็รวมเป็นค่อนประเทศ เหลือคนจำนวนหนึ่งประมาณ 20 กว่าล้าน  คนอย่าง นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ต้องการให้เป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากคนในวงการแพทย์และสาธารณสุขอยู่พอสมควร  แต่พอช่วงที่มีการเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย พยายามขายแนวคิดใหม่ มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ก็ผลักดันเรื่องนี้แล้วก็นำไอเดียคุณหมอสงวนมา ตอนที่หาเสียงหมอสุรพงษ์และพรรคไทยรักไทยเองก็ไม่ได้คิดว่าฟรีทั้งหมด จะรักษาทุกโรคแต่คิดว่าจะต้องเก็บเงินจากประชาชนเดือนละ 100 บาท ปีละ 1,200 บาทเอามาใช้ แต่ปรากฏว่าหลังจากที่เขามาเป็นรัฐบาลก็ไปดูงบต่างๆ ด้านสาธารณสุข แล้วสรุปว่าสามารถทำได้โดยไม่ต้องเก็บเบี้ยจากประชาชน นั่นเป็นที่มาของโครงการ 30 บาทฯ

แต่วิธีนี้ก็มาพร้อมปัญหาเรื้อรังอันหนึ่งคือ งบที่ตั้งขึ้นมามาด้วยค่าหัว 1,202 บาทก็เป็นตัวเลขมาถึงวันนี้นักวิชาการค่ายต่างๆ ก็เห็นตรงกันหมดว่าเป็นค่าหัวที่ต่ำเกินไปที่จะให้บริการที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง จึงมีข้อถกเถียงว่าจะทำอย่างไรกับตรงนั้น  วิธีคิดก็มี 2 ฟากใหญ่ ฝ่ายแรก คือ รัฐบาลบอกว่าจะทำโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าแต่ปีแรกใส่เงินมาไม่พอ คือเพิ่มแค่หมื่นกว่าล้านบาท (เพราะถือว่ามีเงินเดิมอยู่แล้ว) ก็ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ควรต้องใส่เงินเข้าไปเพิ่มในโครงการนี้เพื่อให้เพียงพอ แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีทั้งฝั่งนักธุรกิจ และนักปฏิรูประบบสาธารณสุขที่ได้รับไอเดียมาจาก อ. ฝรั่งบางคนที่มาช่วยผลักดันเรื่องนี้ในเมืองไทย ก็มีความเชื่ออยู่อันหนึ่งว่า ระบบสาธารณสุขจะหรือการให้บริการสุขภาพจะยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อค่าใช้จ่ายของระบบไม่โตเร็วนัก หรือควรตั้งเกณฑ์ว่าค่าใช้จ่ายของระบบต้องไม่โตเร็วไปกว่า GDP ของประเทศ เช่น ถ้าประเทศมีรายได้เพิ่ม 5% ค่าใช้จ่ายในระบบบริการสาธารณสุขไม่ควรเพิ่มเกิน 5% ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะไม่ยั่งยืนในระยะยาว

ด้วยแนวคิดแบบนี้ ทำให้คนจำนวนหนึ่งรู้สึกว่า ถ้าเอาเงินจากภาษีมาเพิ่มประเทศจะไปไม่ไหว ควรหาเงินจากทางอื่นด้วย หาทางไหนได้บ้าง ก็มีตั้งแต่ภาษีบาปไปจนถึงอีกทางหนึ่งที่มีการพูดกันมาโดยตลอด คือ การให้ร่วมจ่าย (หรือ copay)  แนวคิดนี้มีการพูดถึงมาตั้งแต่เริ่มโครงการ หรือแม้แต่งานวิจัยของ สวรส. ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่ผลักดันให้เกิดโครงการนี้ ก็มีการถกเรื่องควรมีการร่วมจ่ายหรือไม่ ถ้าร่วมจ่ายจะทำอย่างไร ดังนั้น ที่ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุขออกมาปฏิเสธเมื่อเร็วๆ นี้ว่า สธ. ไม่เคยคิดเรื่องการร่วมจ่ายนั้นไม่จริง เพราะมีการพูดเรื่องนี้กันมาตลอด แต่ตัวเลข 30-50% นั้น ผมได้ไปเจอในข่าวที่มีการถอดเทปการประชุม ว่ามาจากประธานในที่ประชุม ซึ่งท่านมาจาก คสช. ทางกระทรวงไม่ได้เป็นผู้เสนอ แต่ที่คุณหมอประชุมพรออกมาพูดว่าจริงๆคิดถึงให้ร่วมจ่ายเพียง 30-50 บาท อันนั้นก็คงไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในใจของกลุ่มแพทย์ที่เสนอเรื่องนี้จริงๆเช่นกัน  เพราะนั่นไม่ได้ต่างจากโครงการ 30 บาทฯ เท่าไร ตอนที่เก็บ 30 บาท รายได้ที่เข้าสู่โครงการจากก็อยู่ที่พันกว่าล้าน ถ้าเพิ่มเป็น 50 บาทก็คงแค่สองพันกว่าล้านบาท ขณะที่โครงการนี้ใช้เงินระดับแสนกว่าล้านบาทต่อปี สองพันล้านก็จะเป็นแค่หยดน้ำในมหาสมุทร

เรื่องประเด็นร่วมจ่าย ผมคิดว่าตรงนี้ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า เวลาพูดเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มันไม่จำเป็นต้องฟรีทุกบาททุกสตางค์ ในหลายประเทศก็ไม่ได้ฟรีทุกบาท อย่างอังกฤษที่เป็นต้นแบบของเรา คนไข้ต้องรับภาระค่ายาจำนวนยหนึ่งถึงแม้จะไม่มากนัก หลายประเทศก็ไม่ได้ทำแบบฟรีหมด เพียงแต่ยึดหลักการว่าการเงินต้องไม่เป็นอุปสรรคให้คนเข้าถึงบริการที่จำเป็นสำหรับเขา

จากที่ไล่มาโครงการหลักประกันดูเหมือนจะมาพร้อมกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มันมีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร ?

สัมพันธ์ในแง่ที่ในระบบเลือกตั้งหนึ่งคนหนึ่งเสียงนั้น ในอดีตเสียงที่สำคัญมากคือชาวนา ขนาดทุกวันนี้ชาวนาลดจำนวนลงเยอะเหลือ 3-4 ล้านครอบครัว รวมเป็นคนที่มีสิทธิเลือกตั้งก็อาจราว 10 ล้านคน ไม่ใช่คนส่วนใหญ่อีกแล้วแต่ก็จะเห็นว่าประเด็นของชาวนาก็ยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่  ในปัจจุบันเสียงของชาวนาและเสียงของคนชนบทก็ยังมีความสำคัญมากในการเลือกตั้ง ที่ผ่านมาเรามีทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย ที่ว่าคนชนบทตั้งรัฐบาล คนกรุงล้มรัฐบาล แม้ว่าทฤษฎีนี้อาจจะไม่สามารถอธิบายได้ดีมากในปัจจุบัน แต่ก็คงสะท้อนถึงความสำคัญของเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเลือกตั้ง

มีคนที่มองปัญหาของระบบนี้ว่า ทำให้คนเข้าไปใช้พร่ำเพรื่อหรือเปล่า และจากที่ทำงานวิจัยเรื่องนี้มา มองเห็นปัญหาอะไรบ้าง ?

ก่อนจะพูดประเด็นนี้ ขอต่อเรื่องการร่วมจ่ายอีกนิดหนึ่ง เมื่อเราพูดถึงการร่วมจ่าย มันขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการยืนหลักการเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับทุกคนหรือเปล่า หรือไม่ใช่ ซึ่งถ้ารบอกว่าไม่ใช่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่เลว อย่างที่สิงคโปร์ทำก็อาจเป็นภาระของประชาชนพอสมควรแต่ก็ได้ผลดีพอควรเมื่อเทียบกับอเมริกา

ถ้าเราจะยังยืนยันหลักการว่าคนต้องได้รับบริการโดยการเงินไม่เป็นอุปสรรคก็ต้องคิดวิธีร่วมจ่ายดีๆ ที่ต้องว่า “ดีๆ” เพราะเรามีปัญหามาตั้งแต่ยุค สปร. แรกๆ ซึ่งชื่อว่า สปน. หรือโครงการสงเคราะห์ประชาชนผู้มีรายได้น้อย คือ เราตั้งใจจะช่วยคนจนแต่ปัญหาก็คือว่า เราจะดูอย่างไรว่าใครเป็นคนจน กระบวนการในอดีตคือมีทั้งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านดู ให้ประชาสังคมดู แต่ผลการวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนที่มีโอกาสได้บัตรมากคือคนที่มีเส้นสายในตำบล ในหมู่บ้าน ใกล้ชิดผู้นำท้องถิ่น ในขณะที่คนจนก็ไม่ได้เป็นที่ต้อนรับของคนในหมู่บ้านเสียด้วยซ้ำ มันก็เป็นสภาพที่มีปัญหาว่า คนจนไม่ได้บัตร คนได้บัตรไม่จน เป็นปัญหามาตั้งแต่ในยุคนั้น ที่สำคัญอีกอย่างคือ ปัญหาสุขภาพ เป็นปัญหาที่ต่างจากหลายๆ ปัญหา ยกตัวอย่างเรื่องอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ค่าใช้จ่ายเรื่องพวกนี้สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า คนรวยอาจทานมื้อละเป็นพันเป็นหมื่น คนจนก็มีเมนูที่ต่างไป แต่ก็คาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าค่าใช้จ่ายจะตกเดือนละเท่าไร แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ หากป่วยเล็กน้อยก็อาจคาดได้ว่าคนทั่วไปอาจเจอปีละ 2-3 ครั้งแต่สิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้คือ การป่วยหนัก เราไม่รู้ว่าจะเจ็บเมื่อไร วิธีหนึ่งที่ดี คล้ายที่สิงคโปร์ทำ คือ ในเมื่อรู้ว่ายังไงต้องป่วยหนักก็ให้สะสมเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น แต่ในสังคมที่มีคนที่รายได้น้อยจำนวนมาก คนกลุ่มหนึ่งก็อาจจะยากที่จะสะสมเงินได้เพียงพอให้เป็นหลักประกันด้านการรักษาพยาบาล

ยิ่งกว่านั้น การเรียกร้องให้คนจนสะสมเงิน หรือแม้แต่พวกเราเองก็ตาม มันก็เป็นการเรียกร้องสูง เพราะความจำเป็นยังไม่เห็นในขณะนั้น ยิ่งถ้าคนจนเขาต้องหาอาหารมื้อต่อไป หาบ้านเช่า จะเรียกร้องให้เขากันเงินสำหรับอนาคตมันก็เป็นเรื่องที่ยาก จึงกลับมาถึงว่า การให้รับภาระเองนั้นใครบ้างที่จะไม่เดือดร้อน อันนี้คนที่มีโอกาสเดือดร้อนจากภัยด้านสุขภาพมีมากกว่าคนจนคือ คนที่ตอนนี้ยังไม่จนแต่ถ้าป่วยหนักมาครั้งหนึ่งก็อาจเป็นคนจนได้ทันตาเห็น ดังนั้น การที่เราจะเลือกว่าเราจะให้สิทธิกับใครมันยากขึ้น ถ้าจะทำให้การเงินไม่เป็นอุปสรรคจริงๆ ก็ต้องให้สิทธิกับทุกคนที่มีความเสี่ยงที่จะจนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพ และในประเทศไทยมีคนน้อยมากที่จะสามารถพูดได้เต็มปากว่า เขามีทุนรอนพอที่จะรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดขึ้นกับทุกคนในครอบครัวในกรณีที่เกิดอย่างไม่คาดฝัน นี่เป็นประเด็นหนึ่งว่าจะให้ใครจ่าย หรือให้จ่ายตามฐานะหรือให้จ่ายเฉพาะคนที่จ่ายแล้วไม่เดือดร้อนนั้นไม่ได้เป็นเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ได้ง่ายๆ

 และถ้าเราจะให้มีการร่วมจ่ายโดยที่ยังยึดแนวคิดหลักประกันสุขภาพ การเก็บร่วมจ่ายไม่ควรจะร่วมจ่าย ณ จุดบริการ ถ้าคุณเก็บ 20% ณ จุดบริการ พอคนไม่สบาย คนจำนวนหนึ่งก็จะลังเลว่าจะไปหาหมอ หรือจะพาพ่อแม่ไปหาหมอดีหรือเปล่า ถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้ว สมัยที่เราทำวิจัยเรื่องหลักประกันสุขภาพ ไปคุยกับชาวบ้าน ชาวบ้านหลายคนก็ถูกถามเรื่องพวกนี้ ว่า พอรักษาฟรี หรือเก็บแค่ 30 บาท ทำให้ไปหาหมอบ่อยไม่จำเป็นหรือเปล่า ชาวบ้านก็บอกว่านั่นมันโรงพยาบาลนะครับ สามที่ที่ชาวบ้านอยากอยู่ไกลๆ คือ โรงพัก โรงพยาบาล แล้วก็คุก ถ้าพูดกันจริงๆ ในสถานีอนามัย ก็อาจมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่อยากไปคุยกับเจ้าหน้าที่บ่อยๆ แต่โดยส่วนใหญ่ไม่ใช่ และสถานที่ให้บริการสุขภาพของเราก็แออัดมากพอควร เพราะตั้งแต่เดิมมาเรามีสัดส่วนแพทย์ พยาบาล ต่อจำนวนประชากรแล้วเราขาดแคลนมาก เพราะฉะนั้นเวลาไปสถานพยาบาลโอกาสต้องรอคิวเป็นครึ่งวันนั้นมีค่อนข้างมาก

คนส่วนหนึ่งห่วงปัญหาว่าคนจะไปใช้บริการมากเกินไป  แต่ความจริงแล้ว ความแออัดโดยตัวมันเองก็ทำให้คนจำนวนหนึ่งเห็นว่าถ้าไม่เป็นอะไรมาก ก็ไม่ไปดีกว่า ผมขอยกตัวอย่างเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งจากคุณหมอจรัส สุวรรณเวลา ซึ่งท่านเคยเป็นอธิการบดี และคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ คุณหมอจะมีโครงการไปเยี่ยมหมอจบใหม่ที่ไปใช้ทุนตาม รพ.ในต่างจังหวัดและสังเกตเห็นว่า มีชาวบ้านที่มา รพ. กันแบบเป็นคันรถ อาจจะมีคนป่วยหนักสักคนแล้วคนที่เหลือก็ติดตามมาด้วย พอมีโครงการ 30 บาทก็พบว่าผู้ติดตามที่เหลือส่วนหนึ่งก็มาขอหาหมอด้วย ถ้าถามว่าอันนี้ทำให้มีคนมารับบริการมากขึ้นหรือเปล่า มันมีแน่ๆ แต่เมื่อคุณหมอได้ลองไปถามคนเหล่านั้นดูถึงเหตุที่มาพบแพทย์ พบว่าถ้าพูดตามมาตรฐานทางการแพทย์ แทบทุกคนที่มาขอพบแพทย์ก็มีเหตุผลด้านการแพทย์ที่ควรจะได้รับการพบแพทย์ มันก็สะท้อนอะไรบางอย่างเหมือนกันว่า ที่เราเห็นว่าเมื่อรักษาฟรีหรือราคาถูกทำให้คนแห่มาใช้บริการนั้น มันอาจไม่ใช่จริงการมารับบริการที่ไม่จำเป็น แต่เป็นเพราะแต่เดิมเขาเข้าถึงบริการยาก

อีกประเด็นที่เกี่ยวข้องกันคือ พอมีหลักประกันสุขภาพที่รักษาฟรีทำให้คนไม่รักษาสุขภาพ เสียก็ค่อยซ่อมเอา ถ้าถามว่ามีจริงไหมคนที่คิดแบบนี้  จริงๆ ก็คงมีบ้าง แต่ก็ไม่น่าจะมาก

จากการวิจัยเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มองเห็นอะไรที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ?

ถ้ามองจากภาพใหญ่ ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ในด้านการเข้าถึงบริการนั้นดีขึ้นมาก ที่ดีขึ้น บางคนสงสัยว่าทำไม สมัยก่อนคนส่วนใหญ่ได้รับสิทธิอยู่แล้วไม่ใช่หรือ ซึ่งแม้ว่าจะจริง แต่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้สิทธิของตัวเอง ได้บัตรมาใบหนึ่งก็ไม่มีไอเดียเลยว่าไป รพ. แล้วจะเจออะไรบ้าง แต่สโลแกน “30 บาทรักษาทุกโรค” สื่อสารได้ดีมาก ทำให้คนมีความมั่นใจมากขึ้นว่ามีเงินแค่นี้ก็เดินเข้า รพ.ได้ ในแง่การเข้าถึงบริการจึงดีขึ้นมาก

แต่ในแง่คุณภาพก็ยังเป็นปัญหาค่อนข้างมาก คนจำนวนมากไม่ค่อยไว้ใจเรื่องคุณภาพ ซึ่งไม่ใช่แค่โครงการ 30 บาทฯ อย่างเดียวที่มีปัญหานี้ ประกันสังคมในช่วงต้นๆ ก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน แรกๆ คนมาใช้บริการโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ครั้งต่อคนต่อปี คนในประกันสังคมอาจจะป่วยน้อยเพราะอยู่ในวัยทำงาน หยุดมาหาหมอลำบากกว่า แต่ส่วนหนึ่งก็เพราะเขาไม่ไว้ใจแล้วไปจ่ายเงินกันเองเยอะ  แต่ในช่วงหลังการใช้บริการประกันสังคมก็มากขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เคียงกับในโครงการ 30 บาท  

ปัญหาเรื่องคุณภาพในแง่หนึ่งต้องยอมรับว่ามีอยู่จริง และมีความสัมพันธ์กับงบประมาณด้วย เพราะถ้าเราเทียบค่าใช้จ่ายงบต่อหัวปัจจุบันอยู่ที่ 2,800 บาท หากเทียบกับโครงการสวัสดิการข้าราชการ จะพบว่ามีงบต่อหัวหมื่นกว่าบาท ตอนผมทำวิจัยพบว่าการงบต่อหัวของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ที่ประมาณ 2,000 ของสวัสดิการข้าราชการอยู่ที่ 11,000 บาท ห่างกันประมาณ 5 เท่า ปัจจุบันไม่ได้ตามตัวเลขแต่ก็คิดว่าคงห่างกันระดับเดิม ในอดีตโครงการสวัสดิการข้าราชการอาจจะมีปัญหาการใช้ยาแพง แต่ปัจจุบันก็มีความพยายามจะปฏิรูประบบให้หันมาใช้ยาที่ผลิตในประเทศมากขึ้นโดยการเปลี่ยนกลไกการจ่ายเงิน ทุกวันนี้ก็เข้าใจว่ามาใช้ยาในประเทศมากขึ้น แต่แม้กระทั่งเป็นอย่างนั้นค่าใช้จ่ายของโครงการสวัสดิการข้าราชการก็ยังสูงกว่าถึง 4-5 เท่า

ดังนั้นยังเชื่อคุณภาพยังเป็นปัญหาและมีความสัมพันธ์กับงบที่ได้ และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่บุคลากรด้านสาธารณสุขพยายามเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินเพิ่ม เพราะเขาเห็นว่างบที่ได้มาไม่เพียงพอที่จะรักษาได้อย่างมีคุณภาพ เขาถึงเห็นว่าถ้าใครมา รพ. แล้วมีเงิน ก็ควรมาร่วมจ่ายเงินด้วย  เขาจะได้มีกองเงินที่ใหญ่ขึ้นและให้การรักษาที่มีคุณภาพมากขึ้นได้

คนที่คุมงบคือ สปสช.แต่คนให้บริการคือคนของกระทรวงสาธารณสุข การแยกส่วนตรงนี้ทำให้เกิดปัญหาอะไรไหม?

ความจริงสิ่งที่คุณพูดมาเป็นกรณีทั่วไปแต่ไม่ใช่ทั้งหมด  รพ. ที่อยู่ในโครงการ 30 บาทฯ มีรพ.เอกชนด้วย รวมทั้งโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ด้วย แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เป็น รพ. ของกระทรวงสาธารณสุขจริง

แนวคิดในการตั้ง สปสช. จริงๆ แล้ว เป็นแนวคิดที่ว่ากระทรวงสาธารณสุขของไทยในอดีต มีงานที่อาจแบ่งออกเป็น 3-4 ด้านใหญ่ๆ คือ งานด้านการควบคุมกำกับดูแล , งานด้านวิชาการ, งานด้านการให้บริการรักษาพยาบาล และอาจนับได้เป็นงานที่สี่คือการจัดสรรงบต่างๆ มาใช้ในสามด้านนี้ด้วย  สิ่งที่ทำให้เกิด สปสช. คือ การดึงกำลังคนส่วนหนึ่ง คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในด้านการจัดสรรงบโครงการพวกนี้ ซึ่งในสมัยก่อนกระทรวงสาธารณสุขจะมีหน่วยงานที่เรียกว่า สำนักประกันสุขภาพ มาตั้งเป็นองค์กรใหม่ เพื่อแบ่งแยกหน้าที่กัน ให้หน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับเงินแล้วมาซื้อบริการจากสถานพยาบาลแทน

หากจะเปรียบเทียบง่ายๆ คือ ในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมไม่ใช่เจ้าของ รพ.  ในอดีตสำนักงานประกันสังคมก็คิดจะตั้ง รพ. ของตัวเองด้วยแต่แนวคิดนี้ถูกตีตกไปแต่ต้น  ตอนนี้ สนง. ประกันสังคมก็ทำหน้าที่ซื้อบริการให้ผู้ประกันตน ซึ่งเราจะพบว่า 60% ซื้อจากเอกชน 40% ซื้อจากกระทรวงสาธารณสุข รพ.รัฐ หรือ รร.แพทย์ (ส่วนที่เป็นของกระทรวงส่วนใหญ่ก็จะเป็น รพ. ระดับจังหวัด ไม่ใช่ระดับอำเภอ)

แนวคิดก็คือว่า ถ้ากระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่และเป็นผู้ถือเงินด้วย วิธีการจัดสรรเงินของกระทรวงสาธารณสุขก็อาจจะเกิดกรณีตาเล็กตาใหญ่ ระหว่างการจ่ายเงินให้องค์กรตัวเองกับการซื้อบริการของคนอื่นในกรณีที่อาจเกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่า ถ้ายกตัวอย่างเปรียบเทียบกับกรณีประกันสังคม คนจำนวนมากเลือกจะไปอยู่ในสังกัดรพ.เอกชนเพราะเขารู้สึกว่าสะดวกสบายกับเขามากกว่า แต่ถ้าสมมติสำนักงานประกันสังคมมีรพ.ของตัวเองด้วย สำนักงานประกันสังคมอาจมีเป้าหมายแรกให้ รพ. ของตัวอยู่รอดก่อน อาจจะไม่เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตัวเลือกสถานพยาบาลได้อย่างเสรี  กรณีกระทรวงสาธารณสุขก็เช่นเดียวกัน  มีคนที่เชื่อว่าถ้าสองบทบาทนี้รวมอยู่ที่เดียวกัน ก็อาจจะคิดถึงตัวกระทรวงก่อนและคิดถึงประชาชนน้อยกว่า จึงมีการแยกบทบาทแบบนี้ จริงๆ แนวคิดนี้ก็ไม่ใช่ภูมิปัญญาไทย แต่เป็นแนวคิดที่เกิดในสมัยมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ ที่พยายามสร้างสิ่งที่เรียกว่า ตลาดภายใน (internal market) ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของอังกฤษ ศัพท์ที่เขาใช้เรียกคือ purchaser-provider split คือแยกผู้ซื้อบริการกับผู้ให้บริการออกจากกัน

ส่วนบทบาทที่พูดไปแล้วอีกสองอย่างคือ บทบาทการเป็นผู้คุมกฎ (หรือ regulator) ซึ่งในบางประเทศมีแนวคิดว่า ถ้ากระทรวงสาธารณสุขจะต้องเป็นผู้ควบคุมกำกับโรงพยาบาลด้วย ก็ไม่ควรเป็นเจ้าของโรงพยาบาลด้วย ในประเทศไทยเราก็จะเห็นว่าอะไรที่เป็นของรัฐมักจะได้รับการผ่อนปรน ในการสร้างโรงพยาบาลเอกชนขึ้นมาสักแห่ง จะมีกองประกอบโรคศิลปะที่จะกำหนดว่าคุณต้องมีเตียงเท่าไร เครื่องไม้เครื่องมือเท่าไร บุคลากรเท่าไร  แต่ทั้งหมดนี้จะผ่อนผันให้กับ รพ. ของรัฐ กลายเป็นว่า รพ. ของรัฐไม่จำเป็นต้องได้มาตรฐานพวกนี้  หรือถ้าเปรียบเทียบในอดีต องค์การเภสัชสามารถผลิตยาได้โดยไม่ต้องผ่านกฎระเบียบเท่ากับบริษัทเอกชน ฉะนั้น จึงมีคนเชื่อว่าเราควรจะแยกบทบาทการเป็นผู้คุมกฎออกจากผู้ให้บริการด้วย ถ้าดูประเทศแถบสแกนดิเนเวีย บางประเทศกระทรวงสาธารณสุขจะมีคนอยู่แค่ 200-300 คน เขาแค่ดูแลแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของ รพ. เอง ทำสองงานหลักคือ งานกำกับดูแล กับงานวิชาการด้านสาธารณสุข เช่น การควบคุมโรค

อาจารย์เคยให้สัมภาษณ์เรื่องข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขแบบสุดซอย แต่ก็บอกว่าเป็นไปได้ยาก ทำไมมันถึงเป็นไปได้ยาก ?

ที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดคือการแยกผู้ให้บริการกับผู้ถือเงิน หรือการแยกผู้ถือเงินออกจากกระทรวง ถ้าอ่านบทความของคุณหมอไพบูลย์ สุริยวงศ์ไพศาล ที่ลงในสำนักข่าวอิศรา ท่านก็เปรียบเทียบว่าทุกวันนี้เงิน 99% (จริงๆ อาจจะแค่ 90) ถูกโยกออกไปที่ สปสช. ตอนนี้กระทรวงสาธารณสุขบริหารเงินน้อยมาก ซึ่งอาจทำให้ผู้บริหารที่เติบโตมาในระบบนี้ แต่เดิมเคยบริหารเงินทั้งหมด 100 บริหารกระทรวงที่ใหญ่โต แต่ตอนนี้บริหารกระทรวงที่มีเงินนิดเดียว ก็สร้างความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีนัก นอกจากนี้ ก็มีปรากฏการณ์ที่เมื่อเกิด สปสช. ก็ย้ายคนจำนวนหนึ่งจากกระทรวงสาธารณสุขไป ถ้าพูดแบบภาษาที่หลายคนพูดกันก็คือ ย้ายพวกสายปฏิรูปไป ดังนั้น กลุ่มที่ไปอยู่ สปสช. ก็คือกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงในกระทรวงสาธารณสุข เมื่อไปอยู่ สปสช. แล้ว บางท่านก็ยังคิดเหมือนตัวเองยังอยู่ในกระทรวง ยังพยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระทรวงด้วยโดยใช้อำนาจเงินที่ตัวเองมี จึงเกิดกรณีที่ว่ามีการใช้งบที่ตีความได้ว่าผิดประเภท เอางบที่เรียกว่าเป็นงบลงทุนทดแทนที่มีเป้าหมายเพื่อทำนุบำรุงรักษา รพ.ไม่ให้เสื่อมสภาพ เอางบนั้นมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้แพทย์ที่ทำงานเพิ่มเพื่อทำให้เกิดสิ่งที่ สปสช.อยากจะเห็น ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดูดี แต่กระทรวงสาธารณสุขอาจรู้สึกว่าทุกคนใน รพ. เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา แต่กลับมีคนจากองค์กรอื่นมากำหนดว่าเขาควรจะได้โบนัสด้านโน้นด้านหรือไม่ เท่าไร โดยข้ามหน้าข้ามตาผู้บังคับัญชาโดยตรง ประเด็นนี้อาจดูเป็นประเด็นเล็กๆ แต่ถ้ายกตัวอย่างต่อไปก็คือ งานของกระทรวงสาธารณสุขจริงๆ เป็นงานที่ถ้าจะทำให้ได้ดี ต้องสามารถส่งต่อคนไข้โดยมีการประสานกันระหว่างระดับต่างๆ อย่างไร้รอยต่อ  แต่ในการซื้อบริการนั้น ไอเดียแรกๆ ของคนที่ตั้ง สปสช. คือต้องการให้เงินอยู่กับ รพ.ชุมชน  อันนี้ถ้าจะพูดกันโดยหลักการ ระบบที่ดีจะต้องมีการแบ่งงานกันทำที่เหมาะสมตั้งแต่รพ.ชุมชนไปจนถึงพวกโรคยากๆ ต้องไป รพ.จังหวัด รพ.เขต หรือระดับประเทศ ถ้าทำรพ.เขตให้ดีพอระดับที่ว่าถ้าคุณอยู่ภาคเหนือไม่ต้องวิ่งมา กทม. ก็จะเป็นระบบที่พึงปรารถนา ในทางกลับกัน บางที รพ.ชุมชนต้องการเปิดแผนกอะไรเยอะๆ แต่บางครั้งก็อาจจะไม่คุ้ม เช่น ซื้อเครื่องมือราคาแพงแต่ก็ทำได้ปีละไม่กี่เคส

ดังนั้นถ้าจะบริหารระบบสาธารณสุขที่ดี จึงไม่ใช่แค่ให้เงินทั้งหมดไปที่รพ.ชุมชน แล้วให้ รพ.ชุมชนเป็นคนตัดสินใจว่าเมื่อไรจะส่งต่อ สมมติ รพ.ชุมชนเกิดหวงเงินจะเป็นอย่างไร อันนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปีแรก จากนั้นมีการตกลงกันได้ว่า รพ.ชุมชนเอางบผู้ป่วยนอกไป (เวลาพูดถึง รพ.ชุมชน นับรพ.จังหวัดด้วย) ส่วนงบผู้ป่วยในให้มาแชร์กันทั้งจังหวัด ถ้าถ้าจะพูดกันต่อก็มีที่สูงกว่าระดับจังหวัดอีก จึงนำไปสู่การแบ่งเงินมาเป็นกองทุนค่าใช้สูงขึ้นมาด้วย

ประเด็นที่ขัดแย้งส่วนหนึ่งอยู่ที่ว่า กระทรวงเคยถือเงินจำนวนมาก และจัดสรรให้ รพ. ระดับต่างๆ แต่ตอนนี้มีเงินให้จัดสรรน้อยมาก กระทรวงสาธารณสุขก็พยายามบอกว่า แทนที่ สปสช.จะเป็นคนกำหนดว่าแต่ละโรงพยาบาลจะได้เท่าไร แต่ถ้าคุณมาซื้อบริการกับฉัน ก็เอาเงินทั้งก้อนมาให้ฉัน แล้วฉันจะเอาไปบริหารเองเป็นเขตๆ เอาเงินไปกองในระดับเขตเพื่อจัดสรรเงินเอง ขณะที่คนที่อยู่ สปสช. ก็มีความเชื่อว่า เงินไปที่หน่วยบริการข้างล่างมีโอกาสใช้ให้คุ้มค่ากว่า ดีกว่าไปกองไว้ข้างบนซึ่งเขาไม่ไว้ใจ

ที่บอกว่าการให้บริการสาธารณสุขที่ดีต้องบริหารให้ไม่มีรอยต่อ แต่ทิศทางการปฏิรูปจะกระจายไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น โดยเฉพาะการให้บทบาท อปท. ตรงนี้คิดว่าจะมีประโยชน์ไหม?

ถึงแม้เราต้องการแบบไม่มีรอยต่อ แต่เราก็ต้องการ รพ. ที่ฟังเสียงประชาชนด้วย และเราต้องยอมรับว่าแม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ใหญ่มาก แต่ข้างในก็มีความหลากหลายพอสมควร สิ่งที่เกิดในจังหวัดตาก ระนอง เลย เหล่านี้ก็ต่างกับสิ่งที่เกิดในภาคกลาง ฉะนั้น คนในท้องถิ่นอาจจะอยู่ในวิสัยที่จะบอกได้ว่าตอนนี้ท้องถิ่นต้องการอะไร มีเงื่อนไขอะไรที่ต่างไปจากที่อื่น ดังนั้น การที่ อปท. เข้ามาร่วมในการกำกับดูแล รพ. หรือเป็นบอร์ด ก็น่าจะส่งผลดี เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ ส่วนที่ว่าจะทำกันอย่างไร บางทีคำตอบอาจะไม่ได้มาจากส่วนกลาง ไม่ใช่ออกแบบให้เหมือนกันทั่วประเทศอีก

ณ ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบสวัสดิการสุขภาพสามระบบใหญ่ อาจารย์มองอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสามระบบนี้ เพื่อให้ไปสู่การบริการอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม ?

อันนี้คำตอบก็จะสะท้อนมุมมองของสองฝั่งที่ต่างกันอีก ฝั่งหนึ่งก็จะมองว่าความเท่าเทียมควรเป็นเป้าหมายหลัก แต่ด้วยระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจริงๆ เราก็เป็นหนึ่งประเทศสองระบบอยู่ดี เพราะมีรัฐกับเอกชน บางประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเขาไม่ยอมให้มีระบบเอกชนที่อยู่นอกเหนือระบบสวัสดิการเลย คือไม่ยอมให้มีทางเลือก ยกตัวอย่างง่ายๆ ในแคนาดา ถ้าคุณต้องเข้าระบบ อยากผ่าข้อเข่าต้องรอ 10 เดือน โรคอะไรที่ไม่ใกล้ตายจะต้องรอนาน ประชาชนเขาไม่มีข้อกังขาเรื่องคุณภาพและรู้ตั้งแต่แรกว่าจะต้องรอนาน ถ้าเป็นเมืองไทยมีเงินก็เดินไป รพ.เอกชนได้ แต่แคนาดาก็มีข้อถกเถียงเรื่องพวกนี้กันนานมาก แต่เท่าที่ทราบจากที่เคยไปเมื่อหลายปีก่อนเขาก็ยังไม่ยอมให้มีสองมาตรฐาน เพราะเขารู้ว่าถ้ามีเอกชนทำในที่สุดมันจะเกิดสองมาตรฐานขึ้นมา ทำให้มีกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือบางคนที่ต้องการรักษาเร็วก็จะข้ามพรมแดนไปรักษาที่อเมริกา

กลับมาที่คำถาม ในเมืองไทยปัญหามันใหญ่กว่านั้น เราไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเข้าถึง เผลอๆ เราสามารถวิ่งไป รพ.โดยไม่ต้องนัดหมอแต่คุณภาพของบริการก็เป็นที่กังขา แคนาดาคุณอาจได้บริการแต่ช้า แต่ของเมืองไทยถ้าบางครั้งหมออาจตัดสินใจเลยว่าไม่ต้องพูดถึงบริการนี้และข้ามไปเลยเพราะอาจรู้ว่าตัวเองไม่มีกำลังพอที่จะให้การรักษา อาจข้ามไปโดยไม่ได้เสนอบริการเหล่านั้น ไม่บอกว่าต้องรอคิว 10 เดือน

เพราะฉะนั้นในกรณีที่ถ้าทั้งระบบมีความขาดแคลน ไม่มีบุคลากรพอหรือทรัพยากรพอที่จะจัดบริการให้ทุกคนอย่างมีคุณภาพ คุณจะทำอย่างไร คนที่ยึดเรื่องความเสมอภาคก่อนก็บอกว่าให้แย่ถ้วนหน้า คือแย่เท่าๆกัน คนอีกกลุ่มก็บอกว่าแนวทางการแก้หรือปฏิรูปอะไรก็ตาม คุณต้องไม่ไปทำให้อันที่ดีกว่าแย่ลง แต่คุณค่อยๆไปพัฒนาอันที่แย่กว่าให้ดีขึ้น ถ้าทำตามแนวคิดแรกเมื่อพบว่าสวัสดิการข้าราชการใช้เงินมากกว่าของ ‘30 บาทรักษาทุกโรค’ มาก ก็ควรทุบสวัสดิการข้าราชการให้ใช้น้อยลง แต่จริงๆ แนวทางนี้ก็เกิดยาก  ถ้าเราไปดูผลจากรายงานที่ สปสช. จ้าง เอแบคศึกษาเรื่องความพึงพอใจของคนในระบบต่างๆ จะพบว่าคนในระบบ ’30 บาท’ มักจะพึงพอใจสูง ซึ่งบางครั้งก็สูงกว่าคนที่มีสวัสดิการข้าราชการด้วย  อันนี้หลายคนมีข้อกังขาว่านักวิจัยทำงานเอาใจ สปสช. หรือเปล่า แต่ถ้าเทียบกับงานที่ผมกับ อ.อัญชนา ณ ระนอง เคยทำศึกษาโครงการ สปร. (โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล) ตั้งแต่ก่อนโครงการ ‘30 บาท’ พบผลการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน คือ คนที่อยู่ในโครงการ สปร. แม้ไม่ใช้คำถามถึงความพึงพอใจแบบตรงๆ แต่ก็พบว่าคนที่อยู่ใน สปร. ด้วยกันมีความพอใจที่ต่างกัน คนที่อยู่ปทุมธานีมีความไม่พอใจมากกว่าคนที่เชียงใหม่ ขอนแก่น กรณีสวัสดิการข้าราชการก็อาจคล้ายกันตรงที่ความคาดหวังของข้าราชการต่อบริการสูงกว่าคนที่รักษาฟรีหรือจ่ายไม่กี่บาท โดยหลายคนไม่เคยได้สวัสดิการนี้มาก่อน พอได้มาก็รู้สึกดีและไม่ได้คาดหวังอะไรมากมาย แต่สวัสดิการข้าราชการนั้น ข้าราชการจะคิดว่าตนเองทำงานโดยรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าเอกชน เพราะฉะนั้นจึงควรมีสิทธิที่ตนควรมีควรได้มากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นคนที่อยู่ในสวัสดิการข้าราชการเองก็ยังต้องการให้ปรับปรุงให้ดีขึ้น การที่จะมาทำให้เสมอภาคซึ่งอาจหมายความว่าไปลดสิทธิประโยชน์เขาลง หลายคนก็มองว่าไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องและจะคัดค้านอย่างแข็งขันด้วย

คำตอบจากอีกฝั่งหนึ่งคือ ความเชื่อที่ว่าเราจะต้องรักษาค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลไม่ให้มันโตเร็วกว่าจีดีพีเป็นมายาคติ ตัวอย่างที่น่าจะเทียบกันได้คือเรื่องข้าว ในระยะหลังประเทศเราส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นมากซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรากินเองภายในประเทศน้อยลง เนื่องจากคนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น แทนที่จะกินข้าวเพื่อเอาพลังงานอย่างเดียว ก็หันไปกินกับข้าว กินโปรตีนต่างๆมากขึ้น  ซึ่งอาจทำให้รายจ่ายด้านกับข้าวของหลายคนเพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ แต่สภาวการณ์เช่นนั้นไม่ได้เป็นเหตุที่จะทำให้พวกเขาล้มละลายเสมอไป (ตราบที่เขาสามารถปรับตัวโดยการลดสัดส่วนรายจ่ายในด้านอื่นลง) ความเชื่อที่ว่าประเทศจะประสบปัญหาอย่างรุนแรงถ้าปล่อยให้ค่าใช้จ่ายในด้านใดด้านหนึ่ง (เช่น สุขภาพ) เพิ่มเร็วกว่ารายได้จึงเป็นเพียงมายาคติ

ในทางเศรษฐศาสตร์ข้าวเป็นตัวอย่างของ Inferior Goods (หรือสินค้าคนจน) ซึงคนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจะบริโภคน้อยลง ในขณะที่สุขภาพเป็นสินค้า Superior Goods หรือสินค้าคนรวย เมื่อคนมีฐานะดีขึ้นก็สามารถสนใจสุขภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้นคนที่มีฐานะดีขึ้นมักจะยินดีจ่ายเรื่องสุขภาพมากขึ้น ประเทศก็คล้ายกัน ในช่วงที่ประเทศมีฐานะดีขึ้น เป็นธรรมชาติที่อย่างน้อยในบางช่วง รายจ่ายด้านสุขภาพจะเพิ่มในอัตราที่เร็วกว่าจีดีพี

เพราะฉะนั้นเรื่องหลักประกันสุขภาพที่มีฝ่ายที่ขัดแย้งกันทั้ง 2 ฝ่าย มีฉันทามติร่วมกันว่า เรื่องคุณภาพของเรายังไม่ดีพอ จึงน่าจะมีความจำเป็นต้องเติมเงินเข้าไปในภาพรวม ซึ่งก็จะช่วยให้คุณภาพดีขึ้น  ตรงนี้ก็นำเรากลับมาสู่ประเด็นเดิมที่กลุ่มหนึ่งเห็นว่าเงินที่จะใส่เข้าไปเพิ่มไม่ควรเป็นภาระของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรวยและชนชั้นกลางจำนวนหนึ่งก็มีความรู้สึกว่าไม่ควรเป็นภาระของผู้เสียภาษีอย่างพวกเขา ควรให้ผู้ป่วยที่พอมีเงินร่วมจ่ายเป็นหลัก  แต่ที่เป็นแบบนี้บางคนก็อาจคิดว่าถ้าตัวเองมีปัญหาสุขภาพก็ไปโรงพยาบาลเอกชนที่เลือกเอง จึงไม่อยากจ่ายภาษีสูงขึ้นเพื่อให้นำไปปรับปรุงโครงการเหล่านี้ที่พวกเขาไม่คิดจะไปใช้อยู่แล้วเพราะไม่มั่นใจในคุณภาพ เพราะฉะนั้นคนที่ได้ประโยชน์ในโครงการนี้ก็ควรที่จะร่วมจ่ายเอง

ขณะที่อีกแนวทางหนึ่งเห็นว่าถ้าจะทำหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีคุณภาพ คนก็ไทยก็จะต้องพร้อมที่จะจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งทุกวันนี้เราจ่ายภาษีกัน 16-17% ของจีดีพี (โดยคนรวยกับจนก็จ่ายในสัดส่วนที่ไม่ค่อยต่างกัน)  ในหลายประเทศที่มีระบบประกันสุขภาพที่ดี อย่างเช่นประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการมักจะจ่ายภาษีกันเกินครึ่งของรายได้ หรือประเทศในยุโรปที่ใช้ระบบประกันสังคมเมื่อรวมภาษีปกติบวกกับเบี้ยประกันสังคมแล้วก็ใกล้ๆครึ่งหนึ่งของรายได้เหมือนกัน ดังนั้นถ้าประเทศไทยได้อยากได้บริการทางสังคมที่ดีก็ต้องยอมจ่ายภาษีกันมากขึ้น ซึ่งคนที่คิดแบบนี้น่าจะเป็นคนส่วนน้อย ในขณะที่ชนชั้นกลางจำนวนมากมักจะต้องการจ่ายภาษีน้อยๆ และขอเก็บเงินไปจ่ายให้โรงพยาบาลที่ตัวเองเลือกหรือโรงเรียนของลูกที่ตัวเองเลือกเองมากกว่า

กรณีรัฐมีงบประมาณไม่เพียงพอในการจ่ายหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า มีช่องทางอื่นในการหาเงินสนับสนุนหรือไม่?

อันนี้เป็นอีกโจทย์หนึ่ง ที่มีหลายคนตั้งขึ้นมาเช่นกัน อย่างงบประมาณของรัฐบาลไทย ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายของกระทรวงฯ ต่างๆ นั้น ในยุค คสช. ก็มีความพยายามที่จะควบคุมค่าใช้จ่าย โดยตั้งเป้าว่างบประมาณปีนี้จะเพิ่มประมาณ 5% จากปีก่อน ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวการทำงบประมาณแบบอนุรักษ์ ซึ่งมีข้อดีที่สนใจเรื่องวินัยการเงินการคลัง แต่ส่วนหนึ่งก็คงมาจากการที่จีดีพีเราจะเพิ่มไม่มาก โดยหลายคนคาดการณ์ว่าปีนี้จะเพิ่มประมาณ 2% ดังนั้นการตั้งงบประมาณของรัฐก็ยังเพิ่มมากกว่าจีดีพี

แต่ข้างในงบประมาณนั้นก็ยังมีประเด็นเรื่องความสำคัญก่อนหลัง ตอนนี้ก็มีการพูดถึงเรื่องการลงทุนพื้นฐาน ซึ่งบางอันก็จำเป็น นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนที่สำคัญอีก 2 ส่วนคือเรื่องการศึกษากับเรื่องสาธารณสุข ซึ่งควรเป็นความจำเป็นระดับต้นเหมือนกัน งบอีกส่วนหนึ่งซึ่งมักมีคนพูดกันมากว่าควรหาทางปรับลดหรือไม่ควรขึ้นเร็วก็คืองบด้านความมั่นคง ซึ่งทางด้านทหารนั้นมีคนจัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่อันดับ 24 ของโลก (สูงกว่าประเทศที่ทำตัวเป็นมหาอำนาจทางทหารอย่างอย่างเกาหลีเหนือ) ในขณะที่เวลามีการจัดอันดับหลายอย่างของประเทศไทยเรามักได้ยินอันดับ 60-70 ของโลก

เพราะฉะนั้นงบด้านนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราควรนำมาร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งในอดีตหลายคนก็มีความพยายามเสนอว่าควรเพิ่มงบด้านสุขภาพโดยตัดงบความมั่นคงลงบ้าง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ช่วงหลังรัฐประหาร 2549 ก็มีการตั้งงบความมั่นคงเพิ่มขึ้น ไม่แน่ใจว่ารัฐประหารในยุค คสช. จะมีแนวทางแบบเดิมหรือไม่ แต่ถ้า คสช. ที่ตระหนักเรื่องวินัยด้านการเงินการคลังก็ควรจะทำในสิ่งที่กลับกันกับรัฐประหารครั้งที่แล้ว

รัฐประหารปี 49 มีการเปลี่ยนจาก 30 รักษาทุกโรคเป็นรักษาฟรี และต่อด้วยรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ต่อเนื่อง แต่มาถึงรัฐบาลเพื่อไทยเปลี่ยนเป็น 30 บาทรักษาทุกโรค การเปลี่ยนแบบนี้มีผลอย่างไรหรือไม่?

เข้าใจว่ามีผลบ้าง แต่ก็คิดว่าไม่มาก เพราะเงินมันนิดเดียว อยู่ที่หลักพันหรือไม่กี่พันล้านต่อปีเมื่อเทียบกับงบที่เป็นแสนล้าน

ปัญหาที่หลายคนกลัวคือเมื่อเลิกเก็บ 30 บาทแล้ว คนจะมาใช้บริการมากขึ้นหรือไม่ ถ้าดูแนวโน้มก็มากขึ้น แต่มากขึ้นเพราะเลิกเก็บ 30 บาทหรือไม่นั้นไม่มีใครรู้ แต่ว่าที่มากขึ้นก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก และคิดว่ามากขึ้นมากไม่ได้เพราะว่าข้อจำกัดด้านบุคลากร สถานที่ ฯลฯ โดยที่ทุกวันนี้คนก็รอคิวครึ่งวันอยู่แล้ว ถ้าหากต้องรอนานขึ้นจากครึ่งวันเป็นหนึ่งวันคนจำนวนหนึ่งก็จะถอยกลับไป เพราะฉะนั้นคนก็จะมาใช้บริการมากขึ้นมากไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นถ้าถามว่าตอนที่เลิกเก็บ 30 บาท มีผลต่อจำนวนผู้ใช้บริการหรือไม่นั้น ก็คงมีผล แต่ผลก็ไม่น่าจะมากนัก

แล้วการกลับมาเก็บ 30 บาท นั้นมีผลต่อจำนวนผู้มาใช้บริการหรือไม่ ผลก็ไม่น่ามากเท่าไหร่เหมือนกัน ด้วยสาเหตุสองประการคือ ประการแรก เมื่อเลิกแล้วกลับมาเก็บจะเก็บยากขึ้น เพราะฉะนั้นฝ่ายการเมืองเอง ซึ่งผมเข้าใจว่าตอนเลิกนั้นคนที่เสนอคือคุณหมอมงคล ณ สงขลา ซึ่งเป็นหัวเรียวหัวแรงที่ผลักดันโครงการนี้มาตั้งแต่ต้น เพียงแต่ต้องการให้เลิกเพื่อทำลายแบรนด์ ‘30 บาท’ ซึ่งมันติดตลาด (แต่แม้ทำลายแล้วคนจำนวนมากก็ยังเรียก ‘30 บาท’ อยู่ดี) ดังนั้นฝ่ายการเมืองที่ต้องการให้มาเก็บ ’30 บาท’ ก็เพื่อกลับมาใช้แบรนด์เดิม ซึ่งเอาเข้าจริงฝ่ายการเมืองเองก็ต้องยอมให้จ่ายตามความสมัครใจ ซึ่งหมายความว่าหากใครไม่อยากจ่ายก็ไม่ต้องจ่ายก็ได้ เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติทั้งสองกรณีจึงไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรต่างมากนัก

ข้อเสนอในการปฏิรูประบบ สปสช. ในทศวรรษต่อไปอย่างไร?

ปัญหาหนึ่งที่ทำให้งานของเรายากพอสมควรก็คือเราอยู่ในสถานการณ์ที่เริ่มจากเราพยายามแยกยักษ์ใหญ่อย่างกระทรวงสาธารณสุขออกเป็นผู้ให้บริการกับผู้ซื้อบริการ แต่แล้วเราก็กลับมาพบปัญหาเดิมคือผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการเป็นยักษ์ใหญ่ทั้งคู่อยู่ดี และทั้งคู่ก็ไม่สามารถใหญ่ได้ด้วยตัวเอง หมายถึง สปสช. ไม่สามารถบอกได้ว่าหากกระทรวงสาธารณสุขไม่ปฏิรูปไปในแนวทางที่ สปสช.ต้องการ ก็จะเลิกซื้อบริการและหันไปซื้อบริการของเอกชนแทนหมด เพราะจะไม่มีเอกชนให้ซื้อ หรือถึงมีให้ซื้อก็ไม่สามารถซื้อทั้งหมดในราคาที่เป็นอยู่ได้ แม้ว่าเอกชนจำนวนหนึ่งยินดีเข้าร่วมในโครงการของ สปสช. โดยที่เร็วๆนี้มี รพ. ในเครือธนบุรี ไปเปิด รพ. ที่มหาชัย โดยเป้าหมายหนึ่งเพื่อรับโครงการ 30 บาท  ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้น ในอดีตเราจะเห็นแต่ รพ. ที่ตั้งขึ้นเพื่อรับประกันสังคม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้มี รพ. ที่ไปเปิดเพื่อรับโครงการ 30 บาท แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อย จึงทำให้ สปสช. ไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่พึ่งกระทรวงสาธารณสุข

ในขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากไม่ได้มีบทบาทแค่เป็นผู้คุมกฏหรือทางวิชาการ แต่เป็นเถ้าแก่โรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่มากของประเทศ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้เงินจาก สปสช. กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่สามารถอยู่ได้เช่นกัน ในขณะนี้จึงเกิดสถานการณ์ที่นักเศรษฐศาสตร์จะเรียกว่าเป็นการผูกขาดทั้ง 2 ทาง หรือ “bilateral monopoly” คล้ายกับเรื่องอ้อยและน้ำตาล ระหว่างโรงงานกับชาวไร่ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าจะมีการต่อรองกันอย่างดุเดือดแต่ก็ขยับไปไหนไม่ค่อยได้ คิดว่าในกรณีกระทรวงสาธารณสุขกับ สปสช. ก็จะเจอสถานการณ์ที่ขยับยากเช่นกัน และถ้าทั้ง 2 ฝ่ายพยายามจะรุกทั้งคู่ก็จะไม่มีที่ให้ฝ่ายไหนขยับไปข้างหน้าอยู่ดี คิดว่าจะเป็นปัญหาแบบนี้ไปอีกนานพอสมควร

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ โครงสร้างของเราให้รัฐมนตรีคุมกระทรวงสาธารณสุขและมีสถานะเป็นประธานบอร์ด สปสช. ด้วย  แต่เนื่องจากว่าในบอร์ด สปสช. มีคนที่หลากหลายไม่ใช่มีแต่ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขล้วนๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขจึงคุม สปสช.ได้จำกัดกว่า แต่พอมาถึงโครงสร้างในยุค คสช. ก็จะเกิดความซับซ้อนเพิ่มขึ้นคือปลัดกระทรวงกลายเป็นผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเอง เนื่องจากทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีด้วย ปลัดจึงกลายเป็นประธานบอร์ด สปสช. แต่จะเป็นเสียงข้างน้อยใน สปสช. ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ สปสช. หยุดการประชุม เพราะประธานบอร์ดไม่เรียกประชุม ซึ่งเป็นสถานการณ์พิเศษที่ทำให้เกิดปัญหาจากโครงสร้างที่ลักลั่นในช่วงนี้ แต่ก็หวังว่าปัญหานี้จะอยู่กับเราไม่นานนัก 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารกองหนุนอิสราเอลกว่า 50 คนประท้วงไม่ร่วมสงครามฉนวนกาซา

$
0
0

ทหารอิสราเอลมากกว่า 50 คนปฏิเสธเข้าร่วมสงครามล่าสุดระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ในฐานะทหารกองหนุน เผยโครงสร้างอำนาจรวมศูนย์ของกองทัพอิสราเอลทำให้มีการกดขี่ชาวปาเลสไตน์ ทั้งยังมีการเบียดเบียนผู้หญิงและชาวยิวที่มีพื้นเพอาหรับในระบบกองทัพ


25 ก.ค. 2557 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่ามีอดีตทหารอิสราเอลมากกว่า 50 คนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสงครามในฐานะทหารกองหนุนของประเทศอิสราเอล โดยอ้างว่าพวกเขาเสียใจที่กองทัพส่วนกลางอิสราเอลมีบทบาทในการกดขี่ชาวปาเลสไตน์มาก่อน

ทหารรายหนึ่งได้เขียนร้องทุกข์ในอินเทอร์เน็ตว่า ทหารซึ่งควบคุมพื้นที่อยู่ไม่ได้ใช้อำนาจในการวางระบบควบคุมจัดการชีวิตชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่ได้เพียงกลุ่มเดียว แต่กองทัพอิสราเอลทั้งหมดได้ใช้อำนาจในส่วนนี้ด้วย ทำให้พวกเขาไม่พอใจและปฏิเสธที่จะเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยทหารกองหนุน นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้คนต่อต้านการถูกเกณฑ์ทหาร

แม้ว่าชาวอิสราเอลบางส่วนปฏิเสธที่จะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เขตเวสต์แบงค์ของปาเลสไตน์ แต่โครงสร้างอำนาจของกองทัพก็บีบบังคับให้พวกเขาต้องมีส่วนร่วมในความขัดแย้ง

"พวกเราจำนวนมากทำหน้าที่สนับสนุนในเชิงการส่งกำลังบำรุงและการปฏิบัติตามคำสั่งทางการ แต่พวกเราก็พบว่ากองทัพทั้งหมดของอิสราเอลมีส่วนในการกดขี่ชาวปาเลสไตน์" กลุ่มทหารที่ถอนตัวจากกองทัพกล่าว

ในตอนนี้ความขัดแย้งในฉนวนกาซายังคงดำเนินต่อไปทำให้ชาวปาเลสไตน์หลายพันคนกลายเป็นคนพลัดถิ่น โดยในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาทางการอิสราเอลกล่าวว่าจะอาศัยทหารกองหนุนในการเข้าร่วมการสู้รบด้วย

กลุ่มทหารที่ต่อต้านส่วนกลางอิสราเอลกล่าวอีกว่ากองทัพของส่วนกลางเป็นฝ่ายวางแผนทั้งหมดในเรื่องการเจรจาหารือแทนที่จะให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่วางแผนทำให้ไม่มีการกล่าวถึงหนทางที่จะยุติปัญหาโดยไม่ใช้กำลังจากกองทัพ เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อชาวอิสราเอลเองซึ่งตกอยู่ภายใต้วงล้อมของประเทศเพื่อนบ้านที่ขัดแย้งกับพวกเขา

กลุ่มทหารผู้ต่อต้านเปิดเผยอีกว่าพวกเขาคัดค้านกองทัพอิสราเอลและกฎหมายเกณฑ์ทหารเพราะผู้หญิงถูกจำกัดบทบาทกองทัพอยู่แค่ในระดับล่าง อีกทั้งระบบการคัดกรองยังมีอคติต่อชาวยิวผู้ที่มีพื้นเพมาจากประเทศแถบอาหรับด้วย

ในอิสราเอลผู้มีอายุ 18 ปี จะต้องเข้าไปรับใช้กองกำลังป้องกันอิสราเอลเป็นเวลา 3 ปี โดยมีข้อยกเว้นเป็นบางกลุ่มเช่น กลุ่มนักเรียนโรงเรียนสอนศาสนายูดายที่มีความเคร่งครัดอย่างมาก และกลุ่มชาวอิสราเอลที่มีพื้นเพมาจากพื้นที่อาหรับ อย่างไรก็ตาม ทางการอิสราเอลมีแผนการยกเลิกการงดเว้นให้กับนักเรียนศาสนาภายในปี 2560 ที่จะถึงนี้

 


เรียบเรียงจาก

50 Israeli Reservists Refuse To Serve in Gaza War, The Jewish Daily Forward, 23-07-2014
http://forward.com/articles/202671/-israeli-reservists-refuse-to-serve-in-gaza-war/#ixzz38UVYqwD6

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรรมการสิทธิประณามเหตุระเบิดเบตง

$
0
0
กรรมการสิทธิประณามการใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยใช้วิธีการที่ป่าเถื่อน โหดร้ายทารุณ ไร้มนุษยธรรม ต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์

 
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2557 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอประณามการใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงโดยใช้วิธีการที่ป่าเถื่อน โหดร้ายทารุณ ไร้มนุษยธรรม ต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
 
แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรื่อง ขอประณามการใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยใช้วิธีการที่ป่าเถื่อน โหดร้ายทารุณ ไร้มนุษยธรรม ต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์
                                
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เคยแสดงความห่วงใยและความกังวลต่อการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ โดยได้มีการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบและติดตาม รวมถึงการออกแถลงการณ์เพื่อประณามการใช้ความรุนแรงมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ได้เกิดเหตุความรุนแรงระเบิดในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นเหตุให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต จำนวน 3 ราย ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมากกว่า 40 ราย และทรัพย์สินเสียหาย ดังปรากฏเป็นข่าวแล้วนั้น
                                
ทั้งๆที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นเมืองที่มีความสงบที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ประชาชนอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเอื้ออาทร และมีความเข้าใจ ซึ่งกันและกันทุกเชื้อชาติทุกศาสนา ใช้ชีวิตอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันโดยไม่แบ่งแยก อีกทั้งเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรม จนได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นเมืองที่นำมาซึ่งความร่มเย็น และมีความสงบเรียบร้อยอย่างต่อเนื่องยาวนาน
                                
จากเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอแสดงความเศร้าสลดเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้เสียชีวิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวของบุคคลดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากเสียชีวิต ร่างกายได้รับบาดเจ็บ และสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมากแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจและความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบและครอบครัว และขอประณามการใช้ความรุนแรงที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงโดยใช้วิธีการที่ป่าเถื่อน โหดร้ายทารุณ ไร้มนุษยธรรม ทั้งผิดกฎหมาย ขัดต่อหลักศาสนาทุกศาสนา ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และขัดต่อหลักมนุษยธรรมเช่นนี้ โดยไม่คำนึงถึงการกระทำต่อกลุ่มเป้าหมายที่บริสุทธิ์ เป็นการกระทำที่ไม่รู้สำนึกถึงความรุนแรงจากผลแห่งการกระทำ ซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่ทุกฝ่ายต้องยึดถือ  
                          
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอสนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้ความพยายาม ในการดำเนินมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ด้วยความร่วมมือของภาคประชาชนในการเฝ้าระวัง แจ้งเบาะแสของผู้กระทำความผิด และการป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ให้กลับคืนมา พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบเพื่อดูแลเยียวยา รักษาพยาบาล โดยเฉพาะการฟื้นฟูจิตใจในทุกมิติตามมาตรการต่างๆอย่างเต็มกำลังความสามารถ อีกทั้งเร่งเยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูจิตใจและความบอบช้ำของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ รวมถึงต้องเร่งดำเนินการตามกฎหมายโดยสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้สาสมกับการกระทำผิดต่อกฎหมายและละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงโดยเร็ว
                               
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอเป็นกำลังใจและให้กำลังใจแก่ทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันสอดส่องดูแลความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และการดำรงชีพในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันเหตุร้ายจากผู้ก่อความไม่สงบ และเป็นหูเป็นตาให้กันและกัน ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินมาตรการรักษาความสงบ และความปลอดภัยให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่าโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติหรือศาสนาใดทั้งสิ้น เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ตามความปรารถนาของคนไทยทุกคน
                                                                                                                               
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
26 กรกฎาคม  2557            
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50848 articles
Browse latest View live




Latest Images