Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50857 articles
Browse latest View live

‘4 Laws For Poor’ ชู 4 นิ้ว สนับสนุน 4 ร่างกฎหมายคนจน

$
0
0

13 มิ.ย.56  คนรุ่นใหม่รณรงค์ชู 4 นิ้ว ‘4 Laws For Poor’ ในสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดกระแสการติดตามข้อมูลข่าวสารสนับสนุนร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาคนจน 4 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.สิทธิชุมชน พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน พ.ร.บ.ภาษีทีดินอัตราก้าวหน้า พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม


“เราไม่อยากที่จะไปนอนตากแดดตากฝน เราไม่อยากให้คนบางกอก ก่นด่า อย่างรำคาญในปัญหาการจราจร เราไม่อยากที่จะไปเยี่ยมนายกทุกยุค ทุกสมัย เราไม่อยากร้องไห้เพียงเพราะญาติถูกจับกุม ในคดีที่ไม่สมควรที่จะโดนจับด้วยซ้ำไป ดังนั้น เราจึงหาทางออกให้รัฐบาลแล้ว และจะเกิดความสันติสุข มากขึ้นระหว่าง รัฐกับชุมชน กรณีการใช้ที่ดิน การจัดการที่ดิน ที่รัฐไม่เคยเห็นมันเลย” ข้อความจากแฟนเพจเฟสบุ๊ค “กฎหมายเพื่อคนจน 4 ฉบับ” ที่รวบรวมข้อมูลกฎหมายเผยแพร่สำหรับประชาชน พร้อมทั้งเชิญชนประชาชนให้ร่วมกัน "ชู 4 นิ้ว" แสดงสัญญะสนับสนุนกำหมายแก้ไขปัญหาของคนจนด้วย  พ.ร.บ. 4 ฉบับ

“ พ.ร.บ. 4 ฉบับสำคัญอย่างไร เพราะชาวเลทุ่งหว้าอาศัยอยู่มากว่า 150 ปี แล้วรัฐประกาศเป็นที่สาธารณะ เมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา แล้วปี 2547 มีนโยบายจะพัฒนาพื้นที่และไล่ชาวเลออก ถ้ามี  พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร ชาวเลกลุ่มนี้และชุมชนอื่นๆที่อยู่มายาวนาน จะมีแผ่นดินอยู่อาศัยและทำกิน”  โพสต์แสดงความคิดเห็นจากผู้เล่นเฟสบุ๊คชื่อ “Maitree Jongkraijug” พร้อมทั้งบอกอีกว่าเริ่มต้น เพื่อให้สังคมเข้าใจ กังขา ค้นหา แล้ว เมื่อเราสร้างความเข้าใจได้ เมื่อถึงช่วงล่ารายชื่อประชาชนจะได้เข้าใจทิศทางและความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ขณะเดียวกันเพื่อสร้างกระแสสังคม สื่อมวลชนก่อน และพิจารณากระแสตอบรับจากประชาชน

ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปที่สนใจ พ.ร.บ. ดังกล่าวนี้สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่


1.http://issuu.com/67916/docs/130606______________________________572f11de8f76bc
2.http://issuu.com/67916/docs/130606______________________________1f3168dc485b3d
3.http://issuu.com/67916/docs/130606______________________________e1b53a4c7e7bf8
4.http://issuu.com/67916/docs/130606______________________________4acd0c6c964042

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาพันธ์นักเรียนไทยฯ ประณามโรงเรียนดื้อตัดเกรียน - พร้อมยืนยันจะสู้ต่อไป

$
0
0

สมาพันธ์นักเรียนไทยฯ ออกแถลงการณ์อัดผู้อำนวยการและคณะครู "วางอำนาจบาตรใหญ่" บังคับตัดเกรียน พร้อมเรียกร้องกระทรวงศึกษาธิการให้นักเรียนได้รับอิสระในเรื่องทรงผม เป็นจุดเริ่มต้นให้รู้จักคิดเองในการใช้ชีวิต

ตามที่สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย ได้รวมกันเคลื่อนไหวเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกบังคับไว้การทรงนักเรียน กระทั่งต่อมา แม้กระทรวงศึกษาธิการจะมิได้ทำตามข้อเรียกร้อง แต่ได้ผ่อนปรนด้วยการออกระเบียบกฎกระทรวงฉบับใหม่ และมีหนังสือสั่งการถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานศึกษาในสังกัดให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรง และนักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ ทันทีที่เปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2556 และสถานศึกษาใดไม่ปฏิบัติตามให้ร้องเรียนมาที่กระทรวงศึกษาธิการ แต่ล่าสุดยังพบโรงเรียนหลายแห่งที่ไม่ปฏิบัติตามนั้น

ล่าสุด "สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย" ได้ออกแถลงการณ์ "ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีทรงผมที่ยังมีอยู่ในโรงเรียนและการต่อสู้สิทธิทรงผมจะยังคงดำเนินต่อไป"ถึงนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ

บางตอนของแถลงการณ์เนื้อหาระบุว่า "เป็นที่น่าเศร้าใจอย่างสุดแสนที่แม้กระทั่งกฏใหม่นี้ก็ยังมีผู้บริหารบางสถานศึกษาและคณะครูหลายท่าน ยังคงยึดติดกับอำนาจใช้ระบอบเผด็จการโดยคิดถึงแต่ประเพณีที่ยาวนานโดยมิได้สนใจถึงเหตุผลและประโยชน์ต่อนักเรียนให้เหมาะสมกับโลกปัจจุบันเลยโดยการยึดติดกับอัตลักษณ์บางอย่างนั้นทำให้เกิดการเสื่อมเสียมากกว่าผลดีได้ และยังคงมีการปฏิบัติกับนักเรียนอย่างไม่เป็นธรรมราวกับผู้ที่มิได้สนใจกับความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นเช่น บางสถานศึกษากล่าวว่าการตัดผมเกรียน หรือ ตัดผมสั้นติ่งหู ของ โรงเรียน อักษรย่อ ว่า เทพ หรือ สตรี ว่านี้คืออัตลักษณ์ของโรงเรียนมีมายาวนานกว่า 100 ปีจะเปลี่ยนแปลงมิได้ ถ้าจะเปลี่ยนแปลงย่อมไม่เคารพกฎอัตลักษณ์ก็ออกจากสถานศึกษาไปซะ โดยที่ยังมิได้มีการให้เหตุผลอย่างจริงจังเลยว่าการไว้ทรงนักเรียนกับทรงอิสระนั้นสิ่งใดให้ประโยชน์มากกว่าทั้งที่สถานศึกษานั้นเป็นของภาครัฐ ที่ได้งบสนับสนุนจากภาษีประชาชน แต่ผู้อำนวยการและคณะครูวางอำนาจบาตรใหญ่เหนือประชาชนหรือนักเรียนและขับไล่ประชาชนหรือนักเรียนที่มีความเห็นต่างนักเรียนที่ตั้งคำถามที่ขัดกับอัตลักษณ์ ซึ่งเสียภาษีและปฏิบัติตามกฎหมายหลักการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือบ้างก็กล่าวว่า ถึงจะมีกฎแต่ก็จะมิทำตามใดๆ ทั้งสิ้น"

"และเรื่องการกล่าวว่าหากไว้ผมยาวแล้วจะท้องหรือมีคนโรคจิตมาข่มขืนซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์และความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้แม้จะเป็นการประชดประชันแต่เราก็ควรที่จะให้เกียรติความเห็นอีกด้านด้วย เพราะความเห็นที่แตกต่างอาจะช่วยพัฒนาข้อบกพร่องให้ดีขึ้นมีโรงเรียนชื่อดังภาคเหนือแห่งหนึ่งมีการทำประชามติในสถานศึกษาเรื่องทรงผม แต่ช่างเป็นประชามติที่ไม่มีความน่าเชื่อแม้แต่นิดเดียวไม่มีการทำเป็นลายลักษณ์อักษร มิหนำซ้ำยังมีการออกเสียงแบบที่มีอาจารย์ยืนคุมกดดันนักเรียนให้คิดตามที่ตนบอกเสมือนนายพรานถือปืนกระบอกใหญ่นั่งจับตาอยู่และนักเรียนก็เหมือนกับนกพิราบที่ปีกหักที่จะบินหนีก็ไม่ได้ จะร้องก็ไม่ได้ ต้องจนมุมเข้าเกรงเหล็กและรับฟังนายพรานพูดแบบคัดค้านมิได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่งว่าฝ่ายบริหารประเทศที่มาจากการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยที่มีนโยบายเชิงประชาธิปไตยแต่ก็อย่างไม่สามารถขจัดความเป็นไม่ประชาธิปไตยหรือเผด็จการไปได้"

"ทางสมาพันธ์นักเรียนจึงจะขอเรียกร้อง ให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และ คณะกระทรวง ร่วมถึง คณะครู และผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีใจ รัก ประชาธิปไตย โปรดเรียกร้องความเป็นธรรมแก่นักเรียนอย่างที่มนุษย์ผู้หนึ่งควรได้รับจากผู้ที่มิสนใจเรื่องความเป็นธรรม โปรดเรียกร้องการให้อิสระนักเรียน ในการคิด วิเคราะห์ เลือกสิ่งที่ดีแก่ชีวิตและร่างกายของนักเรียนเองขอให้นักเรียนได้รับอิสระจากทรงผมเพราะจะได้เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆให้พวกเขารู้จักคิดเองในการใช้ชีวิต เพราะทรงผมถือเป็นเรื่องที่พื้นฐานมากในชีวิตหากจุดเริ่มต้นเล็กๆอย่างเรื่องทรงผมคุณไม่ปล่อยให้เขาคิดเอง แล้วจุดใหญ่ๆในชีวิตคุณจะให้ใครคิด?นักเรียนต้องเริ่มคิดเป็นและรู้จักการใช้ชีวิตในสังคม หากเรื่องพื้นฐานเราสามารถจัดการเองได้เรื่องปัญหาชีวิตเราก็จะรู้จักคิดและจัดการได้วัยรุ่นไทยจะได้ไม่ถูกใส่ความว่าไม่รู้จะโตเพราะเขาจะได้เริ่มคิดเริ่มใช้ชีวิตจริงตั้งแต่เด็กๆ แต่เพราะกฎทรงผมบังคับนักเรียนนี้พยายามใส่ความเด็กที่ผมยาวว่าเป็นเด็กเสเพลโดยที่ให้นักเรียนจดจำว่าผมยาวเสเพลแล้วผมสั้นเกรียนเป็นเด็กดีโดยที่ไม่ได้ให้เด็กคิดเลยว่าผมยาวต้องเสเพลจริงไหมแล้วผมสั้นเกรียนจะเป็นเด็กดีหรือแม้คิดก็จะถูกต่อต้านจนยอมไป แต่ความจริงแล้วกฎนี้เอง ที่สาดโคลนให้แก่เด็ก นักเรียนต้องการคิดเองเหมือนกับประเทศที่มีอารยะ โปรดอย่าห่วงพวกเราว่า เลิกกฎนี้แล้วเด็กจะเสเพล เพราะกฎของสังคมจะขัดเกลาเด็กและเยาวชนเองเราประชาชนชาวไทยต้องการ นำกะลาไทยออกจากหัวของอนาคตของชาติเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด หากจุดเล็กๆเช่นนี้ท่านยังไม่ใส่ใจ ไม่เริ่มต้นให้เด็กคิดไม่ต่อสู้เพื่อเด็กผู้จะเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า จุดใหญ่ๆคงไม่มาถึงแล้วท่านจะให้เด็กจะคิดเป็น ใช้ชีวิตอย่างถูกต้องในอนาคตได้อย่างไรขอให้วิสัยทัศน์ของท่านไม่ใช่เพื่อเด็กน้อย แต่เพื่ออนาคตของชาติข้างหน้า เพราะผมเชื่อว่าเด็กในวันนี้จะเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ในวันหน้า ท่านจะเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและเป็นที่เชิดชูของเด็กๆ และโลกนี้"

ตอนท้ายของแถลงการณ์ระบุด้วยว่า "หากมีโรงเรียนที่ไม่ทำตามกฎใหม่ที่ได้ยื่นมา ทางสมาพันธ์นักเรียนจะทำการประณามโรงเรียนนั้นผ่านทางสื่อและทุกเส้นทางและหากกฎนี้ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและบังคับใช้ได้สำเร็จทางสมาพันธ์นักเรียนจะดำเนินต่อต้านต่อไป และจะไม่ลดละจนกว่ากฎจะถูกใช้จนสมบูรณ์หากผู้บริหารและทางกระทรวงยิงมิได้ดำเนินการอย่างจริงจังโดยคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลักทางสมาพันธ์จะยังมิหยุดและจะสนับสนุนนักเรียนให้ต่อต้านต่อไปอย่างไม่ลดละไม่ว่าจะต้องต่อต้านกับอำนาจขนาดไหนก็ตามขอให้ท่านดูหลังแลหน้าที่จะส่งผลต่อประเทศชาติให้ดีเถิด"

ล่าสุด สมาพันธ์นักเรียนไทยฯยังออกแถลงการณ์เพิ่มเติมอีกว่า "สมาพันธ์นักเรียนไทยฯ ขอต่อต้านและประณามการที่โรงเรียนใช้ประชามติโหวตเรื่องทรงผม เพราะว่า สิทธิทรงผมเป็นสิทธิของปัจเจกบุคคลซึ่งไม่ได้ส่งกระทบต่อส่วนรวมแต่อย่างใด และการที่ทำให้ทุกคนต้องเหมือนกันเพราะเสียงส่วนใหญ่เห็นอย่างนั้น ขัดกับหลักประชาธิปไตยที่เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคล"

อนึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา สมาพันธ์นักเรียนไทยฯ ได้เปิดเผยด้วยว่าได้รับการร้องเรียนว่ามีโรงเรียนอย่างน้อย 60 แห่งทั่วประเทศที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใหม่เรื่องทรงผม (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ Sueksa.go.thของกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.ประแสง มงคลศิริ เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการที่ระบุว่าได้รับการร้องเรียนจากนักเรียนว่ามีสถานศึกษาหลายแห่งไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติดังกล่าว จึงได้ตรวจสอบและพบว่ามีการร้องเรียนจากผู้ปกครองและนักเรียน ผ่านสายด่วนการศึกษา 1579 เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวถึง 38 เรื่อง โดยได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งให้ สพฐ. ดำเนินการแจ้งสถานศึกษา เพื่อย้ำให้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ACLU ฟ้องรัฐบาลสหรัฐฯ กรณีโครงการสอดแนมข้อมูล

$
0
0

สหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (ACLU) ฟ้องเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ กรณีโครงการสอดแนมข้อมูลของประชาชน หลังกรณีอื้อฉาวเรื่องโครงการ PRISM ขณะที่บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ขออนุญาตทางการสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลคำร้องด้านความมั่นคง

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา สหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (American Civil Liberties Union) หรือ ACLU ได้ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลโอบาม่า หลังจากกรณีที่องค์กรความมั่นคงของสหรัฐฯ ถูกเปิดโปงเรื่องที่พวกเขาดักเก็บข้อมูลโทรศัพท์บ้านจากบริษัทให้บริการโทรศัพท์ Verizon โดยบอกว่าเป็นการละเมิดบทบัญญัติเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ มาตรา 1 และมาตรา 4

ทาง ACLU กล่าวในคำร้องว่า การกระทำของทางการสหรัฐฯ เปรียบเสมือนการขโมยสมุดบัญชีโทรศัพท์ของชาวอเมริกันทุกคนมาดูว่าพวกเขาพูดคุยกับใครบ้าง เริ่มคุยเมื่อไหร่ ใช้เวลามากแค่ไหน และคุยจากไหน รัฐบาลสหรัฐฯจะสามารถเข้าถึงข้อมูลของพวกเราได้ว่าเราเข้าร่วมกับกลุ่มรณรงค์สาธารณะอะไรบ้าง รวมถึงข้อมูลของครอบครัว, หน้าที่การงาน, ศาสนา และกลุ่มสังคม ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง

หลังจากถูกเปิดโปงเรื่องโครงการสอดแนมข้อมูล รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ออกมายอมรับในเรื่องดังกล่าวโดยอ้างถึงมาตรา 215 ในรัฐบัญญัติว่าด้วยความรักชาติ (Patriot Act) ซึ่งอนุญาตให้ทางการเก็บ "ขัอมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล" (metadata) จากการพูดคุยโทรศัพท์ทั้งหมดของประชากรผู้อาศัยในสหรัฐฯ

องค์กร ACLU ยังได้เรียกร้องต่อศาลสั่งให้รัฐบาลสหรัฐฯ หยุดดักเก็บข้อมูลชาวอเมริกัน และทำลายข้อมูลที่พวกเขาดักเก็บไว้ก่อนหน้านี้

การฟ้องร้องของ ACLU มีผู้สนับสนุนหลายคนรวมถึง ส.ส. พรรครีพับริกัน จิม เซนเซนเบรนเนอร์ ผู้หล่าวว่าแม้เขาจะเป็นผุ้ร่วมร่างรัฐบัญญัติว่าด้วยความรักชาติ แต่เขาไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลปัจจุบันอ้างกฏหมายฉบับนี้ในการดักข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ซึ่งเขาถือว่าเป็นการใช้กฏหมายในทางที่ผิด

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้เรียกร้องสิทธิฯ ร่วมกับบริษัทอินเตอร์เน็ตมากกว่า 80 กลุ่ม เปิดเว็บไซต์ชื่อ StopWatching.Us ที่เรียกร้องให้รัฐสภาสหรัฐฯ มีการสอบสวนในเรื่องโครงการสอดแนม เว็บไซต์นี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเวิร์ลไวลด์เว็บ ของ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ เวิร์ลไวลด์เว็บ (WWW)

เว็บไซต์ Policymic.com กล่าวว่า การที่หลายคนกลัวโครงการสอดแนมของมูลโดยสภาความมั่งคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) เป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะแม้ว่าการสอดแนมข้อมูลของโครงการนี้จะใช้ในการต่อต้านการก่อการร้าย แต่ในอดีตที่ผ่านมาหากรัฐบาลมีอำนาจในการดำเนินการตามเป้าหมายอย่างหนึ่งก็มักจะมีการใช้อำนาจในทางที่ผิดเพื่อเป้าหมายอีกอย่างหนึ่ง

"คดีนี้มีความสำคัญ และอาจจะช่วยให้ความกระจ่างเรื่องที่ว่าโครงการสอดแนมมีความชอบธรรมตามกฏหมายหรือไม่ ในขณะที่ยังมีการอภิปรายกันเรื่องความขัดแย้งระหว่างสิทธิความเป็นส่วนตัวกับเรื่องความมั่นคง" เว็บไซต์ Policymic กล่าว

 

บริษัทไอทียักษ์ใหญ๋ขออนุญาตทางการสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลคำร้องด้านความมั่นคง

ในวันที่ 12 มิ.ย. บริษัทไอทียักษ์ใหญ่สามค่าย คือ Google, Facebook และ Microsoft เรียกร้องรัฐบาลสหรัฐฯ ให้มีการอนุญาตให้พวกเขาเปิดเผยข้อมูลคำร้องด้านความมั่นคงเกี่ยวกับวิธีการจัดการข้อมูลของผู้ใช้

เดวิด ดรัมมอนด์ หัวหน้าแผนกกฏหมายของ Google ได้เขียนถึงรมต.กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ เพื่อขออนุญาตเผยแพร่ข้อมูลตัวเลขโดยรวมเกี่ยวกับคำร้องด้านความมั่นคง เพื่อแสดงให้เห็นว่าปริมาณคำร้องมีจำนวนน้อยกว่าที่คาดไว้ และ google ไม่มีอะไรต้องปิดบัง

ทางด้านบริษัท Microsoft กล่าวว่าความโปร่งใสเรื่องคำร้องด้านความมั่นคงจะทำให้ประชาคมอินเตอร์เน็ตเข้าใจและมีการอภิปรายในเรื่องนี้ ขณะที่เท็ด อูลเลียท ที่ปรึกษาด้านกฏหมายของ Facebook กล่าวในทำนองเดียวกันว่า พวกเขาต้องการเปิดเผยข้อมูลคำร้องจากรัฐบาลและวิธีการตอบสนองของทาง facebook เอง

ความตื่นตัวเรื่องสิทธิความส่วนตัวเกิดขึ้นหลังจากที่ เอ็ดเวิร์ด สโนวเดน อดีตคนทำงานร่วมกับ CIA ได้เปิดโปงข้อมูลเอกสารโครงการ PRISM ของรัฐบาลสหรัฐ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งโครงการดังกล่าวพูดถึงเรื่องการดักฟังโทรศัพท์และการสอดแนมข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตโดยมีการลิสท์รายชื่อบริษัทชั้นนำด้านไอทีที่ทางการสหรัฐฯ ต้องการให้ความร่วมมือด้วย

โดยล่าสุด จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บ Wikileaks ที่นำเสนอข้อมูลอื้อฉาวของรัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวชื่นชมเอ็ดเวิร์ด สโนวเดน บอกว่าเขาเป็นฮีโร่ที่ตีแผ่เรื่องราวสำคัญให้กับสาธารณะได้ทราบเกี่ยวกับความน่าหวาดหวั่นของการสอดแนมจากรัฐ

 

เรียบเรียงจาก

NSA PRISM Scandal: ACLU Sues Obama Administration Over "Dragnet" Collection of Phone Logs, PolicyMic, 12-06-2013 http://www.policymic.com/articles/48035/nsa-prism-scandal-aclu-sues-obama-administration-over-dragnet-collection-of-phone-logs

ACLU Sues Government Over 'Dragnet' Surveillance Of Americans, Business Insider, 11-06-201 http://www.businessinsider.com/aclu-sues-over-prism-2013-6#ixzz2W0rFBpqQ

Google, Facebook and Microsoft seek data request transparency, BBC, 12-06-2013 http://www.bbc.co.uk/news/business-22867185

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘กาแฟปฏิรูป’ ถ้วย 2 กับ ‘ภูมิธรรม’ ชี้ รธน.50 อุปสรรคพัฒนา ปชต.-พรรคการเมือง

$
0
0

เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ยันพรรคไม่ได้บริหารโดยคนเดียว ไม่ปฏิเสธว่า 'ทักษิณ' และ บ้านเลขที่ 111 ช่วยคิด พยายามเชื่อม ปชช.ทำให้นโยบายไม่ใช่การนั่งฝัน ชี้ รธน.50 เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยประเทศไทย

ภาพจากเว็บไซต์พรรคเพื่อไทย

“กาแฟปฏิรูป” ถ้วยที่ 2 แล้ว กับ บก.ลายจุด หรือ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ โดยในวันนี้(12 มิ.ย.56) ได้มีการพูดคุยกันที่ห้องสมุดทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย อาคารโอเอไอ กับนายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในประเด็นแนวทางการปฏิรูปพรรคการเมือง ให้มีความเป็นประชาธิปไตย

นายภูมิธรรม เริ่มต้นด้วยการกล่าวให้กำลังใจนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สามารถปฏิรูปพรรคได้ประสบความสำเร็จ แม้จะทำให้พรรคเพื่อไทยแข่งขันได้ยาก แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่โดยรวมประชาธิปไตย ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ พร้อมทั้งจะเป็นสิ่งที่ทำให้พรรคเพื่อไทยต้องเร่งพัฒนาตัวเองมากขึ้นด้วย

“พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของพี่น้องประชาชน ดังนั้นต้องอยู่ในสายตาที่จะได้รับการตรวจสอบอยู่แล้ว จึงยินดีที่จะพูดและเผยแพร่แนวความคิดของเราในเรื่องของการมองพรรคการเมืองในฐานะตัวเราเอง” เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าว

เขากล่าวว่า หากจะพูดเรื่องพรรคเพื่อไทย ต้องพูดถึงปมปัญหาของระบบพรรคการเมืองที่เป็นปมปัญหาในปัจจุบันด้วย เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดถึงการปฏิรูปพรรคนั้น ก่อนอื่นต้องพูดถึงบรรยากาศและสภาพทางการเมืองในประเทศไทยด้วยว่าประเทศไทยเรามีปัญหาอุปสรรคที่ทั้งโครงสร้างและกลไกต่างๆ ขัดขวางความเป็นประชาธิปไตยและพรรคการเมืองอยู่

“รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยประเทศไทย กฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองเกิดและเติบโตได้ยาก ดังนั้นถ้าไม่จัดการหรือทำความเข้าใจในปัญหา 2 เรื่องนี้ และประชาชนไม่ออกมาทำให้บรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้จริง การจะบีบคั้นหรือกดดันให้พรรคการเมืองพัฒนาเป็นพรรคการเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย” นายภูมิธรรม กล่าว

เขากล่าวว่า พรรคเพื่อไทยเติมโตมา 3-4 ปี แต่ถ้าพูดจากความเป็นจริงว่าเป็นกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันทำงานต่อเนื่องมาก็ไม่ต่ำกว่า 15 ปี ใน 15 ปีมานี้เราถูกยุบพรรคไป 2 ครั้ง และบุคลากรที่เป็นแกนนำในพรรคถูกตัดสินไป 2 รอบแล้ว นี่คือปัญหาสำคัญซึ่งทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถไม่กล้าเข้ามาเป็นกรรมการบริหารพรรค

“วันนี้เราจึงต้องอยู่รอดให้ได้ภายใต้ประชาธิปไตยที่พิกลพิการ ที่กลไกในการขัดขวางระบอบประชาธิปไตยยังทำหน้าที่อยู่ และคอยขัดขวางไม่ให้บุคลากรของเราได้ทำงานอย่างเต็มที่ ดังนั้นเราต้องพูดถึงบรรยากาศที่เป็นจริงของประเทศไทยมันถึงจะพูดได้ว่าเราจะแก้ปัญหาประเทศ” นายภูมิธรรม กล่าว

ภาพจากเว็บไซต์พรรคเพื่อไทย

“ผมถูกตัดสิทธิไป 5-6 ปี เป็นเรื่องที่ในโลกประชาธิปไตยที่ทันสมัยเขาไม่ทำกัน การตัดสิทธิทางการเมืองเป็นการตัดสิทธิพลเมือง มันติดตัวผมมา คุณเก็บภาษีเอาภาษีผมไปจ่ายทุกอย่าง ถึงเวลาเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้านยังเลือกไม่ได้ ต้องทำตัวสงบแนบนิ่งอยู่ในพื้นที่อันจำกัด นี่เป็นเรื่องจากความเป็นจริงที่จะต้องพูดกัน เพราะฉะนั้นเรื่องแรกเลยถ้าอยากพัฒนาพรรคการเมืองคุณต้องปลดกติกาให้มีความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้น ให้มีกฎหมายพรรคการเมืองที่เอื้อ” นายภูมิธรรม กล่าว

เขากล่าวด้วยว่า วันนี้มันมีอุดมการณ์ 2 อุดมการณ์ที่สู้กัน อุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชน กับอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมที่ต้องการเห็นโครงสร้างอำนาจแบบดั้งเดิมและยังคงอยู่ หรือบางทีพูดสวยหรูว่าเป็นประชาธิปไตยภายใต้คนดี ประชาธิปไตยที่ต้องการการชี้นำ ซึ่งก็ต้องให้สังคมได้ถกเถียงกันให้ชัดเจนว่าเราต้องการประชาธิปไตยแบบไหนกันแน่

กรณีหน้ากากขาวออกมาเคลื่อนไหวนั้นคิดว่าเป็นสิทธิที่จะออกมาเคลื่อนได้อย่างเต็มที่ แต่ยังไม่ทันเปิดหน้ากากก็บอกว่าเชิญทหารมารัฐประหารนั้น คิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

เรื่องไพรมารี่โหวตนั้น เลขาธิการพรรคเพื่อไทยกล่าวว่าตนคิดมาก่อนที่อลงกรณ์จะเสนอในการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ แต่ด้วยบริบทการเมืองที่ผ่านมาทำให้ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นด้วยกลไกของพรรคการเมืองไทยที่เป็นอยู่มันจึงไม่สามารถพัฒนาให้เป็นพรรคมหาชนได้ง่ายๆ

สำหรับเรื่องโครงสร้างของพรรคเพื่อไทยเองนั้น นายภูมิธรรม กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้บริหารโดยคนเดียว หรือกลุ่มเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม แสดงความเห็นและประสบการณ์ โดยไม่ปฏิเสธว่า มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตคนบ้านเลขที่ 111 มาช่วยคิดและจัดการ มีคณะกรรมการบริหารพรรค รวมถึงมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ที่รวบรวมผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองมาช่วยมองทิศทาง มีคณะกรรมการประสานภารกิจกับหัวหน้าโซน 19 โซนทั่วประเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการ การกระจายทรัพยากรมีประสิทธิภาพ และเพื่อไปทำความเข้าใจกับ ส.ส.ในการประสานกับประชาชน พร้อมกับสะท้อนสิ่งที่ประชาชนต้องการกลับมา และมีการประชุมกันเป็นประจำในหลายระดับเหล่านี้ โดยทั้งหมดจะถูกถ่ายทอดในที่ประชุม ส.ส. ซึ่งก็วิพากษ์วิจารณ์กันได้ปกติ ไม่เคยตื่นเต้นที่มีข่าวว่าที่ประชุมส.ส.แตก ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

ภาพจากเว็บไซต์พรรคเพื่อไทย

เขากล่าวต่อว่า หากจะดูกลไกของประชาชนสมาชิกพรรค สมัยเป็นไทยรักไทย เราเป็นพรรคการเมืองที่พบประชาชนมากที่สุด แทบทุกสัปดาห์ แต่เมื่อยุบพรรค ตัดสิทธิเราไป ถึงวันนี้จากสมาชิก 15 ล้าน เหลือ 30,000 แต่ก็ตัดได้เฉพาะในทางนิตินัยแต่จิตวิญญาณไม่ได้หายไป ตอนนี้กำลังฟื้นให้ทุกคนทำสมาชิกซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะมีกฎเกณฑ์ที่ยุ่งยากไม่เอื้ออำนวย จึงจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาอีกหน่วยคือ อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของพรรคการเมือง คุยกับประชาชนโดยไม่ต้องมีบัตรสมาชิกพรรค แล้วทำงานคู่ขนานกัน

“วันนี้พอปิดสมัยประชุมสภา ถ้าเป็นพรรคการเมืองแบบไม่ปฏิรูป ทุกคนก็หยุด แต่เราเสนอไปที่ว่า ผู้แทนราษฎรมีหน้าที่ลงไปหาประชาชนเพื่อทำความเข้าใจ ผมจัดรายการพรรคเพื่อไทยพบประชาชนเพื่ออนาคตประเทศไทย เป็นการรายงานประชาชนว่าสมัยอยู่ในสภาทำอะไรไปแล้วบ้าง กำลังจะทำอะไรอีกบ้างและฟังความเห็นของประชาชน อีสานจัดไปแล้ว 4 ครั้ง ภาคเหนือจัดที่เชียงรายเชียงใหม่...นี่คือการทำงานที่พยายามเชื่อมต่อประชาชน ถ้าเราทำให้กลไกของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม แม้กลไกทางโรงสร้างไม่เปิดโอกาสให้ร่วมได้ด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายพรรคการเมือง ”

ภูมิธรรมกล่าวด้วยว่า เร็วๆ นี้ จะพูดคุยกับกลุ่มสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ เพื่อรับฟังความคิด นำข้อมูลมาจัดทำเป็นนโยบาย สะท้อนให้เห็นว่า พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่นั่งฝันออกมาเป็นนโยบาย แต่เป็นนโยบายที่มาจากฐานรากโดยตรง รวมถึงยังมีแนวคิดเชิญกลุ่มที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลเช่น กลุ่มแพทย์ชนบท กลุ่มพีมูฟมาหารือแก้ปัญหา เพื่อลดการเผชิญหน้า เป็นการช่วยงานรัฐบาลอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตามยอมรับว่า พรรคมีจุดอ่อนเรื่องการประชาสัมพันธ์ในสื่อสมัยใหม่ที่ต้องพัฒนาต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยผลสรุปไฟดับภาคใต้เหตุฟ้าผ่า กฟผ.ไม่ต้องรับภาระชดเชย

$
0
0

นายกมอบ ก.พลังงานเจ้าภาพทำแผนรับมือหากเกิดซ้ำ ส่งต่อ กฟภ.-กฟน.ทำแผนสั่งตัดจ่ายไฟในบางพื้นที่รักษากำลังการผลิตฟื้นฟูระบบได้เร็วขึ้น เตรียมพัฒนากำลังการผลิตสำรองให้ภาคใต้พึ่งตนเองได้ หลังผลสอบไฟใต้ดับเหตุสุดวิสัย กฟผ.ไม่ต้องรับภาระชดเชย

11 มิ.ย.56 เดลินิวส์รายงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมกรรมการสอบสวนกรณีไฟฟ้าดับ 14 จังหวัดภาคใต้เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 56  มีมติว่า เหตุการณ์เกิดไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้เป็นอุบัติเหตุ และเป็นเรื่องสุดวิสัย เนื่องจากเกิดจากฟ้าผ่าสายส่ง ขนาด 500 กิโลวัตต์  จึงไม่สามารถลงโทษการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ทั้งหมด  ขณะเดียวกันช่วงเวลาที่เกิดเหตุเกิดขึ้นในช่วงเวลา 8 วินาทีเท่านั้น จึงเป็นเรื่องน่าเห็นใจ ที่ทุกฝ่ายได้พยายามดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว

ทั้งนี้ ในระยะยาวได้รับคำสั่งจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้กระทรวงพลังงานเป็นเจ้าภาพในการทำแผนรับมือกรณีเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นอีกในอนาคต จึงได้สั่งให้ กฟผ.ร่วมกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ เลกูเรเตอร์ ไปหารือร่วมกับ 2 การไฟฟ้า ได้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง ในการทำแผนสั่งตัดจ่ายไฟในบางพื้นที่เพื่อรักษากำลังการผลิตให้สามารถฟื้นฟูระบบได้เร็วยิ่งขึ้น รวมถึงลงทุนด้านสายส่งให้มีขนาด 500 กิโลวัตต์ ในพื้นที่ภาคใต้ถึงจังหวัดสงขลาและภูเก็ต

“คณะทำงานจะมีการประชุมหารือกันในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ ซึ่งตามแผนสั่งตัดจ่ายไฟฟ้าจะต้องเลือกพื้นที่สำคัญที่ไฟฟ้าห้ามดับ  เช่น  โรงพยาบาล โครงข่ายการสื่อสาร และสถานีตำรวจ  โดยจะเลือกดับไฟฟ้าในบริเวณแคบ แต่คงต้องไปดูว่าจะดับในพื้นที่ใดได้”

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า มาตรการป้องกันปัญหาไฟฟ้าดับในวงกว้างระยะยาวนั้นกระทรวงพลังงานได้วางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ให้มีกำลังผลิตสำรองที่เพียงพอ เพื่อให้ภาคใต้สามารถพึ่งพาตนเองได้, เร่งพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าควบคู่ไปด้วย  และทบทวนภาพรวมของการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าโดยให้ความสำคัญกับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าทั้งประเทศหากจุดใดมีความเสี่ยงหรือมีความสำคัญต่อประเทศก็จะเพิ่มระดับความมั่นคงด้านไฟฟ้าเพิ่ม

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธาน กกพ. กล่าวว่า จากผลสอบที่ตัดสินว่าเป็นเหตุสุดวิสัย จึงทำให้ กฟผ. ไม่ต้องรับภาระชดเชยจากการไปซื้อไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซีย วงเงิน 13 ล้านบาท  แต่ในส่วนนี้ กกพ.กำลังพิจารณาว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อไฟฟ้าดังกล่าว จะต้องเรียกเก็บจากประชาชนเพิ่มในงวดต่อไป หรือจะใช้เงินจากส่วนใดในการเข้ามาชดเชย

“อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าเอฟทีในงวดต่อไป (ก.ย.-ธ.ค.) เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มค่าเชื้อเพลิงแล้วเชื่อว่ามีโอกาสจะปรับลดลงได้อีก แม้ว่าค่าเงินบาทจะเริ่มแข็งค่าขึ้นแล้ว แต่ในส่วนของวงเงิน 13 ล้านบาทในการซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียนั้นอาจจะไปรวมกับค่าเอฟทีลงอยู่ที่ไม่ถึง 0.1 สต.ต่อหน่วย”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชุมชนดอนฮังเกลือร้องคนแห่ทำนาปรังป้อนจำนำข้าวแย่งน้ำ ซ้ำเติมปัญหาภัยแล้ง

$
0
0

ชาวชุมชนดอนฮังเกลือ เผย ‘นโยบายรับจำนำข้าว’ ทำชาวบ้านแห่สูบน้ำจากบึงเกลือเข้านาปรัง ทั้งสภาวะภัยแล้งกระหน่ำอีสาน กระทบการเพาะปลูก-วิถีชีวิต-การประมง-โรงเรียนอนุบาลพันธุ์ปลา แนะ อบต.จัดประชามมติหาทางออก

 
นายเกียง โคตุเคน ชาวบ้านชุมชนดอนฮังเกลือ ต.บึงเกลือ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เปิดเผยสถานการณ์ในพื้นที่ขณะนี้ว่า การทำนาปรังที่ต้องสูบน้ำจากบึงเกลือหรือทะเลอีสานซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่ 7,500 ไร่ ไปใช้เป็นจำนวนมาก ซ้ำเติมปัญหาน้ำในบึงเกลือแห้งจากภาวะภัยแล้งติดต่อกันมา ทำให้น้ำยิ่งลดระดับลงไปมากกว่าเดิม โดยสถิติระดับน้ำจะอยู่ช่วง 3 เมตร ส่วนช่วงหน้าแล้ง (มี.ค.–พ.ค.) น้ำจะอยู่ในระดับ 2 เมตร แต่นับจากปลายปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน น้ำลดลงมากจนแห้งเห็นเป็นลานดิน
 
นายเกียง กล่าวด้วยว่า ความจริงในพื้นที่มีการทำนาปรังมาแต่ปี 2530 แล้ว แต่ยังไม่มีปัญหาการแย่งชิงน้ำเพราะคนทำกันนาปรังกันน้อยและช่วงนั้นระดับน้ำไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไร แต่มาช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ราคาข้าวแต่เดิมจาก 2.50 บาทต่อกิโลกรัม โครงการต่างๆ ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมีการรับจำนำราคาข้าวอยู่ที่ 14 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ชาวบ้านหันมาทำนาปรังกันมาก จนมีปัญหาการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
 
กรณีดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่ พืชผักที่ของชาวบ้านชุมชนดอนฮังเกลือที่ปลูกไว้ในแปลงรวม พื้นที่ราว 30 ไร่ เนื่องจากไม่มีน้ำใช้ในเพาะปลูกทำให้ผักแห้งตายเกือบหมด และทำให้ชาวชุมชนดอนฮังเกลือ 31 ครอบครัว ซึ่งพึงพาน้ำจากบึงเกลือเป็นหลักต้องขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภคด้วย
 
นอกจากนี้ การที่น้ำลดระดับลงยังส่งผลกระทบต่อโรงเรียนอนุบาลพันธุ์ปลาที่ชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพราะปัจจุบันเขตโรงเรียนอนุบาลพันธุ์ปลาน้ำแห้งไปแล้ว แม้ชาวบ้านจะช่วยกันขุดคลองรอบโรงเรียนปลา แต่น้ำลดลงมากจนคลองที่ขุดแห้งขอด ทำให้ตอนนี้ไม่มีพันธุ์ปลาเหลืออยู่แล้ว
 
 
นายเกียง เล่าว่า ชาวดอนฮังเกลือได้ตั้งโรงเรียนอนุบาลพันธุ์ปลาขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งพักอาศัยและขยายพันธุ์ปลาไม่ให้สูญหาย โดยใช้เนื้อที่กลางน้ำบึงเกลือประมาณ 1 ไร่ ทั้งนี้ ชาวบ้านมีมติร่วมกันมานับแต่เดือน เม.ย.55 และกำหนดกติกาขึ้นมาห้ามจับปลาในบริเวณนี้ เพื่อให้ปลาเจริญเติบโตก่อนที่จะให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในการจับปลาร่วมกัน ถือเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้พันธุ์ปลาสูญหายไปหมดแล้ว
 
“โดยส่วนตัวไม่ได้ขัด หรือห้ามการทำนาปรังแต่อย่างใด เพราะตัวเองก็เป็นเกษตรกร เป็นลูกชาวนา แต่ทั้งนี้อยากให้ทาง อบต.บึงเกลือ มีมาตรการหาทางออก ด้วยการลงประชามมติหาทางออกร่วมกัน” นายเกียงกล่าว และว่าหากไม่มีการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้ดีกว่านี้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอาจถึงขึ้นวิกฤติ เพราะน้ำที่แห้งต่อเนื่องมาถึง 3 ปี และปีนี้ยิ่งแห้งลงอย่างมาก
 
นายเกียง กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านจะเสนอให้มีการป้องกันภัยแล้ง โดยให้มีการยกระดับฝายกั้นน้ำ จากแต่เดิมมีระดับต่ำมากให้สูงขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไม้ให้ไหลออก ซึ่งทาง อบต.เคยรับปากว่าจะยกระดับฝายให้สูงขึ้นอีก 50ซ.ม.แต่จนกระทั้งเปลี่ยน อบต.ชุดใหม่ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
 
“คาดว่าปัญหาความขาดแคลน และการแย่งชิงน้ำจะมีแนวโน้มหนักมากขึ้นกว่าเดิม หาก อบต.ไม่มีนโยบายส่งเสริมการจัดการน้ำ” นายเกียงระบุ
 
 
ทั้งนี้ ชุมชนดอนฮังเกลือ มีกรณีพิพาทเรื่องที่สาธารณะประโยชน์กับ อบต.บึงเกลือ ข้อมูลข้องชาวบ้านระบุว่า ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในพื้นที่มาก่อนปี 2472 ต่อมาปี 2542 อบต.บึงเกลือ ได้นำแผ่นป้ายมาติดประกาศ ให้ผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์ในบริเวณดอนฮังเกลือออกจากพื้นที่ เพื่อก่อสร้างสนามกีฬา สถานที่ราชการ และปัจจุบันมีโครงการจัดทำแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากพื้นที่เป็นแหล่งน้ำกว้าง ชาวบ้านในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจึงรวมกลุ่มกันยื่นข้อเรียกร้องการแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาล
 
ต่อมามีการตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีนายมนตรี บุพผาวัลย์ นายอำเภอเสลภูมิเป็นประธาน คณะทำงานมีมติร่วมกันว่า การประกาศเขตที่สาธารณะประโยชน์ดอนฮังเกลือไม่ถูกต้อง ควรเพิกถอน ยุติการดำเนินการ และให้เอกสารสิทธิ์แก่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบต่อไป ขณะที่ อบต.ไม่เห็นด้วย และมีแผนการที่จะอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ โดยไม่ใส่ใจร่วมกันแก้ไขปัญหา
 
เมื่อปี 2552 ชาวบ้านดอนฮังเกลือ ในฐานะสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) ได้ร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ยื่นข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน เพื่อขอจัดทำโฉนดชุมชนเนื้อที่ 31 ไร่ ต่อรัฐบาล กระทั่งคณะอนุกรรมการตรวจสอบพื้นที่มีการลงมาตรวจสอบพื้นที่ แล้วมีมติจากคณะกรรมการว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และยังคงมีการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตรียมถกไทย-BRN เสียงจากฝั่งมาเลย์‘ให้คนมลายูมีสิทธิปกครองพื้นที่’

$
0
0

คณะฝ่ายไทยเตรียมวงพูดคุยบีอาร์เอ็น คาดถกเงื่อนไข5ข้อ ขอให้หยุดใช้ความรุนแรง สมาคมต้มยำกุ้งเห็นด้วยพูดคุยสันติภาพ หวังให้คนมลายูได้ปกครองพื้นที่มากที่สุด “ดีฟเซ้าท์โพล”รอบ 2 เผยประชาชนสนับสนุนเพิ่มขึ้น อยากให้ลดความรุนแรงมากที่สุด


ก่อนถกBRN - พล.ท.ภารดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช.พบปะกับกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารในมาเลเซียที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย  ก่อนนำคณะเข้าร่วมพูดคุยเพื่อสันติภาพกับตัวแทนกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิถุนายน 2556


คณะฝ่ายไทยเตรียมวงพูดคุยบีอาร์เอ็น

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในช่วงค่ำวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ว่า ผู้แทนคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพฝ่ายไทย นำโดยพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้เดินทางมาถึงโรงแรมอินเตอร์คอนติเน็นต้อลในกรุงกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นที่พัก ในเวลาประมาณ 21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อเตรียมการพูดคุยสันติภาพกับคณะผู้แทนฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ในวันที่ 13 มิถุนายน 2556

จากนั้นได้นำคณะทั้งหมดไปรับประทานอาหารที่ร้านต้มยำกุ้ง LALA Seafood ซึ่งเป็นของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพบปะกับกลุ่มตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย

ทั้งนี้มีรายงานว่า ในช่วงเช้าของวันที่ 13 มิถุนายน 2556 คณะฝ่ายไทยจะมีการประชุมกันเองก่อน เพื่อเตรียมข้อมูลและเนื้อหาที่จะเข้าร่วมพูดคุยกับฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเน็นต้อล จากนั้นในช่วงเที่ยง เจ้าหน้าที่สันติบาลของมาเลเซียจะมารับคณะผู้แทนฝ่ายทั้งหมด เดินทางไปยังเซฟเฮ้าส์ลับแห่งหนึ่งที่จะใช้เป็นสถานที่พูดคุยกับฝ่ายบีอาร์เอ็น

 

คาดถกเงื่อนไข5ข้อ-ฝ่ายไทยขอให้หยุดใช้ความรุนแรง

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เปิดเผยว่า ในการพูดคุยกับฝ่ายบีอาร์เอ็นในครั้งนี้ น่าจะมีการพูดคุยถึงประเด็นที่เป็นความเห็นจากคนในพื้นที่ที่มีต่อข้อเสนอ 5 ข้อของขบวนการบีอาร์เอ็นตามที่มีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ยูทูป และความต้องการของฝ่ายไทยที่ต้องการให้ลดการใช้ความรุนแรง ซึ่งคาดว่าน่าจะมีข้อตกลงไปอย่างน้อย 1-2 ข้อ

สำหรับคณะฝ่ายไทยที่จะเข้าร่วมพูดคุยกับฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นครั้งนี้ ประกอบด้วย พล.ท.ภราดร ในฐานะหัวหน้าคณะ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล (ผบช.ส.) พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (รอง ผอ.ศปป.5) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

ว่าที่ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. ดร.มะรอนิง สาลามิง รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และนายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ต.ชรินทร์ อมรแก้ว เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4

 

สมาคมต้มยำกุ้งเห็นด้วยพูดคุยสันติภาพ

ขณะที่นายเจฟรี มาละแซ นายกสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย กล่าวระหว่างการพบปะกับคณะของพล.ท.ภารดรว่า หลังจากการก่อตั้งสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย ต่อไปจะมีการตั้งสหกรณ์ผู้ประกอบการเพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่มีต้นทุนในการประกอบกิจกรรมร้านอาหารในประเทศมาเลเซีย รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือคนที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะพนักงานเสิร์ฟซึ่งมีรายได้ไม่พอที่จะนำเงินไปทำหนังสือขออนุญาตทำงานในประเทศมาเลเซียได้

นายเจฟรี กล่าวด้วยว่า จะมีการเปิดสำนักของสมาคมเพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการรวมทั้งแรงงาน และจะตั้งศูนย์ช่วยเหลือของกระทวงแรงงาน รวมทั้งเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนให้กับแรงงานไทยอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ได้เปิดสอนไปแล้วทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์

นายซัมซูดิง แวสุกาเลาะห์ รองนายกสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า สมาคมยินดีจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างหน่วยงานของรัฐกับผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในมาเลเซีย แต่ไม่ใช่เป็นเครื่องมือให้รัฐ เพื่อสร้างความเข้าใจ โดยเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยให้สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น

นายซัมซูดิง กล่าวด้วยว่า ส่วนในเรื่องการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ทางสมาคมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เช่นเดียวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แต่ก็เห็นด้วยกับการพูดคุยหากจะก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่

 

หวังให้คนมลายูได้ปกครองพื้นที่มากที่สุด

นายซัมซูดิง ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ถ้าการพูดคุยหรือการเจรจาเพื่อสันติภาพครั้งนี้ เกิดประโยชน์กับคนมลายูในพื้นที่ทางสมาคมก็เห็นด้วย เพราะที่ผ่านมาเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตนก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับคนในพื้นที่ เพราะคนที่ได้รับผลกระทบและคนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ก็คือญาติพี่น้องของตัวเองด้วย แต่ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องและไม่อยากที่จะเข้าร่วมในเรื่องการพูดคุยด้วย

“เราเห็นคนที่ตายจากความรุนแรงในพื้นที่ เราก็รู้สึกเศร้าใจ แต่เราก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนก่อเหตุรุนแรงเพราะเราไม่ได้ไปเห็นเอง ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเดียวกับคนที่ออกมาประกาศผ่านเว็บไซต์ หรืออาจจะเป็นมือที่สาม เพราะในพื้นที่ก็มีหลายกลุ่มที่สามารถก่อเหตุรุนแรงได้” นายซัมซูดิง กล่าว

“ในการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น เราหวังว่าจะสามารถสร้างความสงบสุขได้ ถ้าเป็นไปได้เราก็ต้องการให้คนมลายูในพื้นที่ได้มีสิทธิที่จะบริหารพื้นที่ได้ เพราะแผ่นดินนั้นเป็นของคนมลายูที่นั่น อย่างให้คนมลายูสามารถขึ้นมาปกครองพื้นที่ให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าเรารังเกียจคนอื่นที่มาปกครองพื้นที่ แต่อยากให้คนมลายูมีโอกาสนี้มากที่สุด เพราะคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นคนมลายู” นายซัมซูดิง กล่าว

 

“ดีฟเซ้าท์โพล”คนหนุนพูดคุยสันติภาพเพิ่มขึ้น

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี ในฐานะผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา CSCD ได้สำรวจความเห็นหรือทำโพลของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา หรือ“ดีฟเซ้าท์โพล” จากกลุ่มตัวอย่าง 2 พันคน พบว่า 73 เปอร์เซ็นต์ ให้การสนับสนุนหรือมีความเชื่อมั่นในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนมีนาคม 2556 ที่ได้ประมาณ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ผศ.ดร.ศรีสมภพ เปิดเผยต่อไปว่า เหตุผลที่ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้นเชื่อว่า เป็นผลมาจากคณะพูดคุยสันติภาพทั้ง 2 ฝ่ายถูกนำเสนอข่าวออกมาเยอะ ทำให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เนื่องจากมีการกระจายความรู้เรื่องการพูดคุยสันติภาพ ทั้งที่ในบางครั้งอาจจะมีประเด็นที่เป็นข้อติดขัดบ้าง แต่ประชาชนก็ยังมีความคาดหวังสูง

 

อยากให้ลดความรุนแรงมากที่สุด

“ข้อเสนอที่ประชาชนให้ความสนใจมากก็คือข้อเสนอที่ให้ลดความรุนแรง ซึ่งในแบบสอบถามได้นำข้อเสนอ 5 ข้อของบีอาร์เอ็น ข้อเสนอของรัฐที่ขอให้ลดความรุนแรงและข้อเสนอในการลดกำลังทหาร รวมทั้งการยกเลิกกฎหมายพิเศษในพื้นที่มาถามด้วย” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว

ผศ.ดร.ศรีสมภพ เปิดเผยอีกว่า จากประมวลผล พบว่า ข้อเสนอ 5 ข้อของบีอาร์เอ็นนั้น ได้รับการยอมรับจากประชาชนอยู่ ควบคู่กับการยอมรับข้อเสนอที่ให้แก้ปัญหาอื่นๆ ซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุด เช่น ปัญหาเรื่องยาเสพติด ปัญหาความรุนแรง ปัญหาด้านการพัฒนาต่างๆ

ผศ.ดร.ศรีสมภพ เปิดเผยต่อไปว่า เฉพาะข้อเสนอ 5 ข้อของบีอาร์เอ็นนั้น ข้อที่ประชาชนให้การยอมรับสูงมากที่สุดถึง 60 เปอร์เซ็นต์ คือการให้มาเลเซียเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ย ส่วนข้อเสนออื่นๆ ประชาชนในการยอมรับเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ โดยข้อที่มีเปอร์เซ็นต์ต่ำสุดคือการปล่อยนักโทษการเมืองและนักโทษคดีความมั่นคง ซึ่งผลโพลดังกล่าวได้มอบให้เลขาธิการ สมช. แล้ว

ผศ.ดร.ศรีสมภพ เปิดเผยด้วยว่า มีแง่คิดหนึ่งที่นำเสนอในข้อเสนอที่ให้กับทางรัฐบาลหรือบีอาร์เอ็น ก็คือถ้าจะพิจารณาข้อเสนอบีอาร์เอ็น ก็ควรพิจารณาความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ด้วยว่าต้องการอะไร เพื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งผลโพลดังกล่าวเป็นการสะท้อนความรู้สึกของประชาชนได้

ผศ.ดร.ศรีสมภพ เปิดเผยด้วยว่า ในแบบสอบถามได้มีคำถามด้วยว่า ต้องการให้แก้ปัญหาอื่นๆ ด้วยหรือไม่ รวมทั้งในเรื่องการปกครองด้วยนั้น ปรากฏว่าไม่มีใครตอบคำถามข้อนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ขนซากปืนใหญ่พญาตานี(จำลอง)กลับซ่อมนครปฐม

$
0
0

ขนซากปืนใหญ่พญาตานีจำลองกลับไปซ่อมที่นครปฐม หลังถูกลอบวางระเบิดหักกลาง จังหวัดเล็งทำเวทีสอบถามประชาชน ก่อนนำกลับมาติดตั้งใหม่ ชี้พวกไม่พอใจไม่ได้ของจริงเลยวางบึ้ม คนรัฐยันไม่ได้เหยียดหยาม แต่ต้องการให้เยาวชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์


ภาพถ่ายโดย Muhammadsoray Deng

ขนซากปืนกลับไปซ่อมที่นครปฐม

เมื่อวันที่  12 มิถุนายน 2556 นายเสรี ศรีหะไตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นางศรวี วาเล๊าะ การท่องเที่ยวและนันทนาการกีฬาจังหวัดปัตตานี นายอภิรัฐ สะมาแอ นายอำเภอเมืองปัตตานี ได้ร่วมกันตรวจสอบความเสียหายของปืนใหญ่พญาตานีจำลอง ที่ตั้งอยู่บริเวณหน้ามัสยิดโบราณกรือเซะ หมู่ที่ 3 บ้านกรือเซะ ต.ตันหยงลุโล๊ะ อ.เมือง จ.ปัตตานี หลังจากถูกลอบวางระเบิดเสียหายเมื่อคืนที่ผ่านมา

จากนั้นได้มีการขนปืนใหญ่ที่เสียหายนำขึ้นรถบรรทุก 18 ล้อ เพื่อนำกลับไปซ่อมแซมที่ช่างหมู่สิบ กรมศิลปากร จ.นครปฐม โดยระหว่างการขนย้ายมีประชาชนมามุงดูจำนวนมาก

 

เล็งเปิดเวทีฟังความเห็นก่อนเอากลับมาใหม่

นายเสรี กล่าวว่า คาดว่าต้องใช้เวลาในการซ่อมประมาณ 3 เดือน เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว จะนำกลับมาอีกครั้งหรือไม่นั้น ทางจังหวัดมีแนวคิดที่จะให้มีการทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของคนหลายฝ่ายก่อนว่าจะต้องการเอาปืนใหญ่พญาตานีจำลองกลับมาวางไว้ที่เดิมหรือไม่

นายเสรี กล่าวว่า ปืนใหญ่กระบอกนี้ จำลองมาจากปืนใหญ่ที่วางไว้หน้ากระทรวงกลาโหม ใช้เวลาในการหล่อนานเกือบ 1 ปี ส่วนประกอบเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ที่มาจากทองแดงผสมดีบุกในอัตรา 30-70

 

เชื้อมาจากกลุ่มที่ไม่พอใจเพราะไม่ได้ของจริง

นายทหารระดับผู้บังคับกองร้อยในพื้นที่นายหนึ่ง เปิดเผยว่า เหตุลอบวางระเบิดปืนใหญ่ครั้งนี้ มี 2 สาเหตุ คือ 1.เกิดจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจที่ได้ปืนใหญ่พญาตานีจำลอง และ 2.การสร้างสถานการณ์ความรุนแรงหรือการสร้างสถานการณ์ก่อนจะมีการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐกับฝ่าย BRN ในวันที่ 13 มิถุนายน 2556

นายทหารคนนี้ กล่าวต่ออีกว่า ตนคิดว่า อาจเกิดจากสาเหตุแรกมากกว่า เพราะชาวปัตตานีอยากได้ปืนใหญ่พญาตานีที่ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมมากกว่าปืนจำลอง แต่ไม่สามารถนำปืนใหญ่ของจริงกลับมาได้ เพราะเป็นสินสงคราม ส่วนการหล่อปืนใหญ่พญาตานีที่ปัตตานีนั้น ทางการบอกว่าไม่สามารถทำได้ เพราะจะต้องลงทุนสูงมาก ทางการไม่มีงบประมาณในส่วนนี้ รวมทั้งอุปกรณ์และวัสดุไม่พร้อมที่จะหล่อที่ปัตตานี อีกทั้งไม่มีผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ด้วย

“การจำลองปืนใหญ่พญาตานีนั้น ไม่ได้ทำเพื่อที่จะซ้ำเติมหรือเหยียดหยามชาวปัตตานี แต่เพราะต้องการที่จะทำเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่ท่องเที่ยวให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้รู้ถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์ปัตตานี” นายทหารคนเดิม ระบุ

นายทหารคนเดิม กล่าวว่า หลังจากซ่อมแซมเสร็จ คิดว่าจะต้องนำกลับมาติดตั้งที่เดิมอีกครั้ง เพราะเป็นความตั้งใจของชาวปัตตานี ที่ต้องการให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของปัตตานี โดยคาดว่าจะต้องใช้เวลาซ่อมแซมระยะหนึ่ง ส่วนมูลค่าความเสียหายยังประเมินไม่ได้

 

ชี้ซากยืนยันจำลองไม่ได้มาตรฐาน

ผู้ผลิตสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้คนหนึ่ง ให้ความเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า สาเหตุน่าจะมาจากคนที่ไม่เห็นด้วยกับการได้มาของปืนปลอม ซึ่งตนเองก็ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะตามความเป็นจริงแล้ว ชาวบ้านต้องการปืนใหญ่พญาตานีที่ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมกลับมามากกว่าของจำลอง

ผู้ผลิตสารคดีคนเดิม กล่าวว่า เมื่อไม่สามารถนำปืนใหญ่ของจริงกลับมาได้ ชาวบ้านก็อยากจะให้มีการหล่อปืนที่ปัตตานีเสียเลย แต่ทางรัฐบอกว่าไม่สามารถจำลองที่ปัตตานีได้ เพราะอุปกรณ์และอื่นๆ อีกหลายไม่พร้อม แต่ก็สัญญาว่าจะหล่อปืนใหญ่พญาตานีจำลองให้เหมือนของดั้งเดิมมากที่สุด

“แต่เท่าทีเห็นซากในวันนี้ เป็นการหล่อหรือการจำลองที่ไม่ได้มาตรฐาน มันเหมือนแค่เศษเหล็กมากกว่าการหล่อด้วยทองเหลืองที่มีคุณภาพดี” ผู้ผลิตสารคดีคนเดิม กล่าว

ผู้ผลิตสารคดีคนนี้ กล่าวอีกว่า ตนไม่อยากให้รัฐรับผิดชอบ แต่ต้องการให้รัฐอธิบายความเป็นมาของการหล่อปืนใหญ่พญาตานีว่า เป็นการหล่อแบบไหน ทำไมไม่เหมือนของดั้งเดิมเลย รัฐต้องการจะสื่อถึงอะไร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจไม่เกี่ยวกับสถานการณ์รายวันหรือการเจรจาที่จะมีขึ้นวันที่ 13 มิถุนายน 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกายกฟ้อง ‘พล.ต.อ.วาสนา’ อดีต กกต.พร้อมคณะกรณีจัดเลือกตั้งปี 49

$
0
0

ศาลฎีกา พิพากษากลับ ยกฟ้อง อดีต กกต."วาสนา-ปริญญา" กรณีจัดเลือกตั้งมิชอบเมื่อปี 49 ชี้ ถาวร เสนเนียม ผู้เป็นโจทก์ ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง

13 มิ.ย.56 ที่ศาลอาญารัชดา ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. พร้อมพวกที่เป็นคณะกรรมการ กกต. ประกอบด้วย นายปริญญา นาคฉัตรีย์ นายวีระชัย แนวบุญเนียร พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ พล.ต.ต.เอกชัย วารุณประภา อดีตเลขาธิการ กกต. ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 24 และมาตรา 42 กรณีกำหนดจัดการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตรอบที่ 2 โดยไม่มีอำนาจ และออกหนังสือเวียนให้เปิดรับผู้สมัครรายเดิมเวียนเทียนสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต โดยมิชอบ เมื่อวันที่ 23 และวันที่ 29 เม.ย.49 เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคไทยรักไทย

โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก พล.ต.อ.วาสนา นายปริญญา และนายเอกชัย ไว้คนละ 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยทั้ง 3 คน เป็นเวลา 10 ปี ขณะที่ พล.อ.จารุภัทร จำเลยที่ 5 ได้ลาออกจาก กกต.ไปก่อน นายถาวร เสนเนียม (โจทก์) จึงถอนฟ้อง นายวีระชัย ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 21 ส.ค.55 ด้วยโรคไตวาย

ทั้งนี้ศาลฎีกา พิเคราะห์แล้วเห็นว่าคดีดังกล่าวโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยมีความผิดกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความผิดต่อรัฐไม่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงที่จะฟ้องจำเลย เมื่อวินิจฉัยได้ดังนี้จึงไม่ต้องวินิจฉัยข้อปัญหาอื่นอีกต่อไป ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลย

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังเสร็จสิ้นคำพิพากษา พล.ต.อ.วาสนา ได้เดินทางกลับในทันที่โดยขอไม่ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน

เรียบเรียงจาก : สำนักข่าวไทยและ ไทยรัฐออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กมธ.แก้รธน.สรุป “ส่งศาล รธน.ต้องผ่านอัยการ-ตัดยุบพรรคทิ้ง”

$
0
0

 

วานนี้ (12 มิ.ย.) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษก กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 ที่มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธาน เปิดเผยว่า การประชุมวันนี้ซึ่งเป็นนัดสุดท้าย โดย กมธ.เสียงส่วนใหญ่ ได้สรุปผลการพิจารณาเห็นชอบให้การแก้ไขมาตรา 68 ให้ผู้ที่ทราบเรื่องการกระทำล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จะต้องยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณา และหากเห็นว่ามีมูลความผิดจริงก็ให้ส่งเรื่องต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การกระทำต่อไป แต่หากอัยการสูงสุดเห็นว่าไม่มีมูลก็ถือให้เป็นที่สุดแต่หากผู้ทราบการกระทำ ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเป็นเวลา 30 วัน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ผู้ทราบการกระทำส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการได้
       
นายพร้อมพงศ์กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรา 237 ได้ตัดวรรค 2 เรื่องการยุบพรรคออกไปและโดยผู้ที่กระทำผิด และรู้เห็นตามมาตราดังกล่าว มีความผิดเฉพาะตัวไม่เหมายกเข่งโดยจะถูกตัดสิทธิเป็นเวลา 5 ปี อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ กมธ.จะแก้ไขคำผิดและส่งเรื่องให้ประธานรัฐสภาบรรจุในระเบียบวาระต่อไป คาดว่าจะนำมาพิจารณาในวาระ 2 ภายหลังวันที่ 1 ส.ค. ที่เปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปแล้ว โดยมีสมาชิกรัฐสภาเสนอคำแปรญัตติจำนวน 203 คน และมีผู้สงวนความเห็นบางส่วนเอาไว้

ขณะที่ความเคลื่อนไหววันนี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้นัดประชุมประจำสัปดาห์เพื่อพิจารณาคดีต่างๆ มีวาระที่น่าสนใจ คือ การพิจารณาคำร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และคำร้องของนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งระงับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237 รวมทั้งขอให้ยุบ 6 พรรคการเมือง ที่ร่วมกันเข้าชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชุมตุลาการจะพิจารณาว่าจะรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือ ไม่

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังมีการพิจารณากรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของ ส.ส. จำนวน 134 คนขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (5) ประกอบมาตรา 102 (6) หรือไม่ จากกรณีที่กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ ออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ได้ส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากลับมายังศาลรัฐธรรมนูญเรียบร้อย แล้ว ซึ่งจะต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะกำหนดกระบวนวิธีพิจารณา หรือมีคำสั่งอย่างไรต่อไป

และเวลา 13.30 น. ศาลรัฐธรรมนูญจะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณีที่นายทะเบียนพรรคการ เมืองยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งยุบพรรคพลังแผ่นดินไท (พรรคอาสามาตุภูมิ) ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 ประกอบ มาตรา 42 วรรค 2 และมาตรา 82

 

 

ที่มา: เว็บไซต์สำนักข่าวไทย เว็บไวซ์ ASTV-ผู้จัดการ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิติเวชยัน ‘เอกยุทธ’ ตายเพราะขาดอากาศหายใจ หมอพรทิพย์ติงเก็บหลักฐานรวบรัด

$
0
0

แพทย์นิติเวชเผยผลพิสูจน์จากการเทียบเคียงลายนิ้วมือ ยันว่าผู้ตาย คือ 'เอกยุทธ' สาเหตุเพราะขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตแล้วไม่ต่ำกว่า 5 วัน ด้านหมอพรทิพย์ติงเก็บหลักฐานรวบรัดหวั่นถูกครหา “รัฐตำรวจ” ยกเอกยุทธตัวอย่างคนที่สู้อำนาจรัฐ เทียบกรณี ‘ทนายสมชาย’

13 มิ.ย.56 สำนักข่าวไทยรายงาน พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยืนยันผลตรวจเบื้องต้นการตรวจสอบลายนิ้วมือจากร่างที่ขุดพบที่ จ.พัทลุง ยืนยันเป็นนายเอกยุทธ อัญชันบุตร แต่ต้องรอผลตรวจดีเอ็นเอเทียบกับลูกชาย และหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์อื่นๆ เช่น กระดุมเสื้อ 3 เม็ด และเชือกรองเท้า ที่พบบริเวณจุดที่ฝังศพ อยู่ระหว่างตรวจพิสูจน์ รวมทั้งเร่งหาเสื้อผ้าที่ถูกถอดทิ้งหายไป จากการตรวจสอบสภาพศพพบมีร่องรอยจากการบีบรัดที่ข้อมือ ลำคอ และพบรอยช้ำที่ส้นเท้าซ้ายที่คาดว่าเกิดจากการกระแทก ส่วนที่บริเวณปากพบรอยคล้ายถูกรัดด้วยเชือก จากนี้จะต้องตรวจหาสารพิษจากอาหารที่พบในช่องท้อง อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นแพทย์ระบุเป็นการเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตมานานไม่ต่ำกว่า 5 วัน

ขณะที่ พล.ต.ต.นพ.พรชัย สุธีรคุณ ผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ กล่าวว่า จากการเทียบเคียงลายนิ้วมือศพกับฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันได้ว่าผู้เสียชีวิตเป็นนายเอกยุทธจริง แต่เพื่อความชัดเจน แพทย์จะตรวจทุกขั้นตอน รวมทั้งประวัติการทำฟันของนายเอกยุทธอีกครั้ง

ส่วนรายละเอียดการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ เช่น ผลดีเอ็นเอ ต้องรอผล 1-2 วัน และภายในวันนี้ หลังแพทย์ผ่าพิสูจน์แล้ว ญาติสามารถนำศพนายเอกยุทธไปประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลได้

หมอพรทิพย์ติงเก็บหลักฐานรวบรัด หวั่นถูกครหา“รัฐตำรวจ”

ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการ Onlineรายงานด้วยว่า 13 มิ.ย.56 แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันทน์ ผู้ตรวจราชการสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และอดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมบลูสกายโดยระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า คดีของนายเอกยุทธ ถือว่าไม่ได้แตกต่างจากคดีของนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งหายตัวไปอย่างมีเงื่อนงำในปี 2547 ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

“คดีนี้มันก็ไม่ต่างจากกรณีของคุณสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเรายังไม่รู้ประเด็นว่าคืออะไร แต่ผู้ตายไม่ใช่ประชาชนธรรมดาที่ไม่เคยมีเรื่องกับอำนาจรัฐ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดกันตรงๆ คุณเอกยุทธถือเป็นตัวอย่างของคนที่สู้กับอำนาจรัฐ จะเป็นฝั่งอะไรก็ช่าง แต่เมื่อมีการตาย เจ้าหน้าที่รัฐและการเมืองต้องระวัง ระวังต่อการเข้าไปก้าวก่าย ระวังต่อการที่ทำให้เห็นได้ว่ามันมีการดำเนินการไม่สุด” พญ.พรทิพย์กล่าว

อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่เพิ่งถูก ครม.สั่งย้ายให้มาเป็นผู้ตรวจราชการฯ กล่าวต่อว่า โดยหลักการในต่างประเทศซึ่งเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่จะไม่มีการผูกขาดอำนาจอย่างในประเทศไทยเช่นปัจจุบัน โดยผู้ตรวจเก็บพยานหลักฐาน ผู้ตรวจพิสูจน์ และผู้ทำสำนวนต้องไม่เป็นหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันผู้ดำเนินการเกี่ยวกับคดีดังกล่าวเกี่ยวพันกับตำรวจ และผู้ถืออำนาจรัฐทั้งหมด ซึ่งทำให้ประชาชนครหาได้ว่าปัจจุบันรัฐไทยเป็น “รัฐตำรวจ”

“ทำอย่างไรถึงจะตอบได้ว่า ที่เขาตรวจพิสูจน์มันมีความโปร่งใสจริง เก็บมาเต็มที่ แต่ถ้าถามว่าหมอเห็นจากภาพที่เอาศพขึ้น ก็ตอบได้เลยค่ะว่ามันทำอะไรได้มากกว่านั้นเยอะค่ะ” พญ.พรทิพย์ระบุ และเสริมว่า เท่าที่ตนเห็นจากสื่อทำให้เกิดความเป็นห่วง เพราะคดีนี้ถือเป็นฆาตกรรมอำพราง ซึ่งตำรวจไม่ควรสืบทางโทรทัศน์ ซึ่งตำรวจจับผู้ต้องหามาแถลงทีนึง เมื่อมีผู้ต้องสงสัยก็กลับไปหาหลักฐานมาเพิ่มอีกที ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ

ประเด็นต่อมาคือ ข้อมูลและหลักฐานอื่นๆ เช่น ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของผู้ต้องหาทางเจ้าหน้าที่กลับไม่ทำให้ปรากฎออกมา ทั้งนี้แม้ทางญาติของผู้เสียชีวิตอยากให้ตนเข้าไปตรวจสอบคดีนี้เพิ่มเติมเหมือนในอดีต ตนก็คงทำไม่ได้เนื่องจากบทบาทของตนเองในปัจจุบันคือผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม แม้จะมีสถานะของความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนิติวิทยาศาสตร์อยู่ก็ตาม

“หมอไม่สามารถทำงานได้ ถ้าไม่มีเครื่องมือหรือมีทีม แต่ถ้า (ผู้บังคับบัญชา) สั่งการมาให้ครบมันก็ทำอะไรได้อยู่แล้วค่ะ ... พอลำบากทีก็จะคิดถึงเราทุกที” พญ.พรทิพย์กล่าว โดยเมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่าเมื่อถูกย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมมีภารกิจอะไรบ้าง พญ.พรทิพย์ตอบว่า “ตรวจกระดาษมั้งคะ”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวป. เรียกร้อง ปธ.รัฐสภาเปิดประชุมด่วน เพื่อยกเลิก รธน.ม.309 จี้ ผบ.ทบ.อย่าปฏิวัติ

$
0
0

กวป.ร้องประธานรัฐสภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญด่วน เพื่อยกเลิก รธน. ม.309  ชี้คุ้มครองกลุ่มผู้ทำรัฐประหารเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย ต่อด้วยยื่นหนังสือถึงผบ.ทบ. จี้ อย่าปฏิวัติ ด้าน ผบ.ทอ.แจงกองทัพทำงานใต้อำนาจบริหาร

13 มิ.ย.56 สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภารายงานว่า นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือจากนายศรรัก มาลัยทอง โฆษกกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) และคณะ ที่ขอให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญเพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 309 โดยกลุ่ม กวป.ให้เหตุผลว่า มาตรา 309 เป็นการคุ้มครองคณะบุคคลที่ทำการรัฐประหาร ตลอดจนองค์กรอิสระต่างๆ ให้ได้รับประโยชน์มาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรานี้แต่อย่างใด แต่กลับก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมถึงลิดรอนอำนาจของประชาชน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นกลุ่ม กวป.จึงมีมติเสนอความเห็นต่อรัฐสภาให้ยกเลิกมาตรา 309 ก่อนมาตราใดๆ เพื่อให้รัฐบาลเร่งเดินหน้าทำตามนโยบายที่ให้ไว้กับประชาชนเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 โดยขอให้พิจารณาในการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญด่วน เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนต่อไป

ด้านนายวัฒนา กล่าวว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาโดยเร็ว  พร้อมชื่นชมการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองของกลุ่ม กวป.ที่แสดงออกตามกระบวนการระบอบประชาธิปไตย

ภาพกลุ่ม กวป. คลุมผ้าดำที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ / ภาพโดย RedHard Dang

ทั้งนี้ก่อนที่ กวป. จะมีการเคลื่อนมาที่หน้ารัฐสภา ได้คลุมผ้าดำที่บริเวณป้ายศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (อาคาร A) ถนนแจ้งวัฒนะ ด้วย

ยื่นหนังสือถึงผบ.ทบ. จี้ อย่าปฏิวัติ

โดยในวันเดียวกัน ไอ.เอ็น.เอ็น. รายงานด้วยว่า กวป. เคลื่อนขบวนจากหน้ารัฐสภามายังบริเวณหน้ากองทัพบก เพื่อยื่นหนังสือเรื่องขอคำยืนยันในการรักษาประชาธิปไตย จาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก โดยมี ร.อ.เสกสรรค์ กาศยปนันท์ นายทหารเวร รับหนังสือแทน ซึ่งหนังสือดังกล่าวระบุว่า กวป.และคนไทย หวาดระแวงข่าวสารจากสื่อมวลชนหลายแขนง เช่น ข่าวการปฏิวัติยึดอำนาจ และการใช้องค์กรอิสระในการแทรกแซงการบริหารงานของรัฐบาล และในการตัดสินคดีความต่างๆ ดังนั้น จึงต้องการขอคำยืนยันจากกองทัพบกว่า จะอยู่เคียงข้างประชาชน อีกทั้งขณะนี้ กวป. กำลังเรียกร้องความเป็นธรรมอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจากเสียงข้างมากของประชาชน

ทั้งนี้ จึงขอให้กองทัพบก แถลงข่าวอย่างเป็นทางการ เพื่อความมั่นใจของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ที่จะได้รับคำยืนยันจากกองทัพบก ว่าจะพิทักษ์รักษาชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาชน เพื่อธำรงไว้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ภาพกลุ่ม กวป. ยื่นหนังสือถึง ผบ.ทบ. ภาพโดย RedHard Dang


ผบ.ทอ.แจงกองทัพทำงานใต้อำนาจบริหาร

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวถึงกรณีที่ เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ยื่นหนังสือถึง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ออกมายับยั้งคนในรัฐบาลและรัฐสภา เหมือนว่าต้องการให้กองทัพออกมาทำรัฐประหาร ว่า ต้องเข้าใจว่ากองทัพอากาศเป็นหน่วยงานของภาครัฐ อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายบริหาร เพราะฉะนั้น งานใดที่ฝ่ายบริหารได้ทำไปแล้ว ก็ให้เป็นไปตามแผนงานที่รัฐบาลได้แถลงไว้ หรือเป็นไปตามยุทธศาสตร์ ทางกองทัพอากาศก็พร้อมสนับสนุน หากส่วนใดที่เป็นข้อห่วงใย ทางกองทัพอากาศก็จะเสนอแนะตามลำดับชั้น แต่เห็นว่าควรให้รัฐบาลได้ทำงานอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ พล.อ.อ.ประจิน ยังกล่าวถึง กระแสข่าวการปรับ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ออกจากตำแหน่ง ว่า ทางกระทรวงกลาโหม เป็นกระทรวงที่มีความมั่นคง ซึ่งที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับรัฐมนตรี ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีมาโดยตลอด

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา กวป. ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยนำเรื่องเสนอประธานสภา เพื่อเปิดประชุมสมัยวิสามัญด่วน เพื่อหาทางออกให้ประเทศ โดยพิจารณายกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 หรือยกเลิกมาตรา 309 โดยมีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนของพรรคเพื่อไทยมารับหนังสือ พร้อมกล่าวด้วยว่า พรรครับทราบถึงข้อเรียกร้องต่างๆ ของกลุ่ม กวป.ว่ามีข้อเรียกร้องอะไรบ้าง โดยจะนำเรื่องไปให้พรรคพิจารณาถึงความต้องการของพี่น้องประชาชน และขอให้กลุ่มพี่น้องเสื้อแดงทุกคนใจเย็นๆ ก่อนเพราะทุกอย่างจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทั่วโลกประชุมยกเลิกโทษประหารชีวิตครั้งที่ 5 ที่มาดริด

$
0
0

เริ่มการประชุมระดับโลกเพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตครั้งที่ 5 รมช.ต่างประเทศของนอร์เวย์หวังประสบการณ์ยกเลิกโทษประหารชีวิตในยุโรปจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับการยกเลิกโทษประหารทั่วโลก ระบุรู้สึกภูมิใจ ที่ไม่มีชาวนอร์เวย์เรียกร้องให้ใช้โทษประหารชีวิต หลังเกิดเหตุสังหารเยาวชน 77 รายที่เกาะโอตูย่า

12 มิ.ย. 56, มาดริด - การประชุมโลกเพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตครั้งที่ 5 (5th World Congress against the Death Penalty) ได้เริ่มขึ้นแล้วที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมทั้งหมดราว 1,500 ทั้งตัวแทนจากรัฐบาล นักกฎหมาย ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงครอบครัวของผู้ที่ถูกตัดสินประหารชีวิต การจัดงานครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของภาคีเพื่อการต่อต้านโทษประหารชีวิต (Together  against the Death Penalty) ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์ไม่หวังผลกำไรของประเทศฝรั่งเศส พร้อมการสนับสนุนจากรัฐบาลสเปน ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ มีจุดมุ่งหมายร่วมกันเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศที่ยังคงมีการใช้อยู่

ในพิธีเปิดการประชุมดังกล่าว นอกจากจะมีการกล่าวเปิดจาก ราฟาเอล เชนิล ฮาซาน ผู้อำนวยการองค์กรภาคีเพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ และอาร์คบิชอบเดสมอนด์ ตูตู ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพเมื่อปี 1984 ผ่านทางวีดีโอ และมีการเสวนาโดยมีรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสเปนและฝรั่งเศส รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของสเปน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของนอร์เวย์ ร่วมพูดคุยถึงความมั่นหมายของประเทศดังกล่าว ต่อภารกิจที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิตทั่วโลก

นางกรีย์ ลาร์สัน (Gry Larsen) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของนอร์เวย์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องโทษประหารชีวิต ยุโรปถือว่ามีความพิเศษและสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ประเทศในภูมิภาคอื่นได้ เพราะทุกประเทศในยุโรปได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตหมดแล้วยกเว้นเบลารุสในยุโรปตะวันออก โดยเธอกล่าวถึงบทเรียนสามประการที่ประเทศอื่นๆ สามารถนำไปเรียนรู้จากยุโรปได้

ประการแรก เธอชี้ว่า ยุโรปประกอบไปด้วยประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา แต่การยกเลิกโทษประหารชีวิตก็สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกของผู้นำทางการเมือง ซึ่งมิได้ผูกติดอยู่กับคุณค่าทางวัฒนธรรมหรือศาสนาแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น 

ประการที่สอง ผู้นำทางการเมืองมักมีความเชื่อโดยทั่วไปว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเห็นชอบโทษประหารชีิวิตอยู่ จึงไม่อยากเปลี่ยนแปลง แต่ประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้นำตัดสินใจผลักดันโทษประหารชีวิตแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นด้วยตาม เพียงแต่ผู้นำทางการเมืองต้องกล้าที่จะตัดสินใจและแสดงเหตุผลที่ชอบธรรมแก่ประชาชน

ประการที่สาม คือสถาบันทางการเมืองที่ปูทางให้กับการยกเลิกโทษประหารชีวิตและให้คุณค่ากับสิทธิมนุษยชน อย่างสภาแห่งยุโรป (Council of Europe) ได้กำหนดเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกว่า ต้องยกเลิกโทษประหารชีิวิตก่อนจึงจะเข้าร่วมได้ 

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของนอร์เวย์ กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อการร้ายที่กรุงออสโล และในเกาะอูโตย่า ในเดือนกรกฎาคม ปี 2554 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีิวิต 77 ราย ในจำนวนนี้รวมเยาวชนที่ขณะนั้นเข้าค่ายกับสันนิบาตเยาวชนแรงงานในเกาะอูโตย่า 69 คน 

"เราได้ประสบกับเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด แต่เราก็ต้องยึดถือคุณค่าของเรา" เธอกล่าว"สิ่งที่ทำให้ฉันรู้สึกภูมิใจมากที่สุด คือ ไม่มีใครสักคนที่เรียกร้องให้ใช้โทษประหารชีวิต เราเชื่อใจในประชาธิปไตยของเรา เราเชื่อใจในสถาบันของเรา และเราก็ไม่ได้เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายใดๆ เรายังคงใช้กฎหมายอันเดิมอย่างที่เราเคยมีมา" ตามด้วยเสียงปรบมือกึกก้องในห้องประชุม

ด้านนายลอรองท์ ฟาบิอุส (Laurent Fabius) รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าไม่นานมาก ก่อนหน้านี้ประชาชนชาวฝรั่งเศสเห็นชอบกับโทษประหารชีวิตมานานหลายทศวรรษ แต่เมื่อผู้นำทางการเมืองได้ตัดสินใจยกเลิกโทษประหาร เพียง 2-3 ปีหลังจากนั้น ความคิดเห็นของสาธารณะก็ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย เขาจึงย้ำว่า ผู้นำประเทศต้องตัดสินใจอย่างมั่นคงในเรื่องนี้ และอย่ามัวแต่เชื่อว่าประชาชนจะไม่เห็นชอบ ต้องไปให้ไกลกว่าความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ในเรื่องนี้้

"ทุกวันนี้มันแทบจะเป็นไปไม่ได้ในการเอาโทษประหารชีวิตกลับมาใช้อีก ไม่ใช่เพียงในทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังในทางคุณค่าทางสังคมด้วย"รมต. ต่างประเทศฝรั่งเศสกล่าว

เขากล่าวด้วยว่า ฝรั่งเศสยังมีความมุ่งหมายที่จะรณรงค์เรื่องนี้ผ่านทางภารกิจทางการทูต โดยได้มอบหมายให้สถานทูตฝรั่งเศสในหลายๆ ประเทศ ทำการรณรงค์เรื่องนี้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเฉพาะในประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิตอยู่

สำหรับประเทศสเปน ที่เป็นเจ้าภาพการจัดงานในครั้งนี้ นายอัลแบร์โต รุยซ์ กัลยาร์ดอน (Alberto-Ruiz Gallardon) รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของสเปนกล่าวว่า สเปนในสมัยการปกครองของนายพลฟรังโก ได้มีการประหารชีวิตของฝ่ายต่อต้านฟาสซิสต์ 5 คน ในปี พ.ศ. 2518 การประหารชีวิตครั้งนั้นได้นำมาซึ่งการประณามอย่างรุนแรงจากสวีเดนและในยุโรป ต่อมา ในปี พ.ศ. 2521 รัฐธรรมนูญของสเปนก็ได้ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต และให้นิรโทษกรรมความผิดของผู้ที่ได้รับโทษประหารชีวิต เขากล่าวว่า ไม่มีแม้สักหนึ่งเสียงในรัฐสภาที่ค้านการยกเลิกโทษประหารชีวิตในตอนนั้น 

นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงการก่อการร้ายในกรุงมาดริด สเปนเมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 191 ราย แต่ไม่มีใครเลยที่เรียกร้องให้ใช้โทษประหารชีวิตแก่ผู้ที่กระทำความผิด ถึงแม้ว่ามีผู้ได้รับผลกระทบมากมาย 

"โทษประหารชีวิตมิได้แก้ปัญหาอะไรเลย แต่กลับทำให้ปัญหาที่เราต้องการจะแก้นั้นแย่ลง" อัลแบร์โตกล่าว "มันจะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้งในสังคม ที่ฝังอยู่ในสติปัญญาและระเบียบทางคุณธรรม และส่งผลต่อศักดิ์ศรีของหญิงและชายทุกคน"

ทั้งนี้ ประเทศทั้งหมดในโลกส่วนใหญ่ได้ยกเลิกประหารชีวิตแล้ว คิดเป็น 97 ประเทศ มี 8 ประเทศที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมที่ถือว่าไม่ร้ายแรง แต่ยังคงมีข้อยกเว้นสำหรับอาชญากรรมกรณีพิเศษ มี 36 ประเทศที่ถือว่ายกเลิกในทางปฏิบัติ คือไม่ทำการประหารชีวิตเลยในรอบ 10 ปี ส่วนประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิตอยู่มี 57 ประเทศ คิดเป็นประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย และบางส่วนในแอฟริกา 

ในภูมิภาคเอเชีย จากทั้งหมด 24 ประเทศ มี 5 ประเทศ ที่ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตแล้ว รวมถึงกัมพูชา ฟิลิปปินส์ มี 6 ประเทศที่ถือว่ายกเลิกในทางปฏิบัติ เช่น บรูไน ลาว พม่า และมีอีก 13 ประเทศ ที่ยังคงใช้โทษประหารชีิวิตอยู่ รวมถึงไทยด้วย สำหรับประเทศไทย ถึงแม้รัฐบาลจะบรรจุแผนการยกเลิกโทษประหารชีวิตไว้ในแผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2552-2556) แต่ในปี 2552 ไทยได้ประหารชีวิตนักโทษในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 2 ราย หลังจากที่เว้นมิได้ประหารชีวิตมาตั้งแต่ 2546

ในปี 2555 ประเทศที่มีการประหารชีวิตสูงสุดในโลกได้แก่ ได้แก่ จีน อิหร่าน อิรัก ซาอุดิอารเบีย และสหรัฐอเมริกา

สำหรับการประชุมโลกเพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตครั้งที่ 5 จะดำเนินถึงวันที่ 15 มิ.ย.ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน โดยในงานมีการเสวนาทางวิชาการ การแสดงทางศิลปะ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องโทษประหารชีวิต อนึ่ง การประชุมโลก จัดขึ้นทุกๆ 3-4 ปี โดยในปี 2544 จัดขึ้นที่เมืองสตราส์เบิร์ก ฝรั่งเศส ปี 2547 จัดที่เมืองมอนทรีออล แคนาดา ปี 2550 ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส และปี 2553 จัดที่เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ท้องได้ไม่ผิด ทำแท้งไม่เถื่อน: เรียนรู้การขับเคลื่อน ‘ความเป็นธรรมทางเพศ’ ในอาเซียน

$
0
0

เตรียมพบเวที ‘การสร้างความเข้มแข็งงานขับเคลื่อนด้านความเป็นธรรมทางเพศ: ประสบการณ์จากเพื่อนบ้านอาเซียน’ รศ.ดร.กฤตยา ชี้เป็นโอกาสของไทยได้เรียนรู้ประเด็น ‘ความเป็นธรรมทางเพศ’ ที่เจ้าของปัญหาเป็นผู้นำขบวนเอง

 
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ‘การสร้างความเข้มแข็งงานขับเคลื่อนด้านความเป็นธรรมทางเพศ: ประสบการณ์จากเพื่อนบ้านอาเซียน’ กำหนดจัดขึ้นวันที่ 17-18 มิ.ย.นี้ ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ ในการเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดประเด็น ‘ความเป็นธรรมทางเพศ’ ที่ยังไม่ปรากฏการถกเถียงทางสาธารณะ และเป็นการรวมตัวกันของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง นักกิจกรรมหรือแอ๊กติวิสท์ รวมถึงนักวิชาการ เอ็นจีโอ รวมถึงผู้มีประสบปัญหาโดยตรงในภูมิภาคอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จ ความล้มเหลว ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนความท้าทายและโอกาสที่จะเกิดขึ้นในการขับเคลื่อนด้านความเป็นธรรมทางเพศ
 
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิกุล อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการจัดเวทีครั้งนี้ กล่าวว่าการเลือกประเด็นคุยกันในครั้งนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนไหวเพศวิถี และยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงร้อนแรงในทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็น สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะการท้องและการทำแท้ง การประกอบอาชีพบริการทางเพศ สิทธิและอัตลักษณ์ทางเพศ แรงงานข้ามชาติ สิทธิและโอกาสของผู้หญิงพิการ และความรุนแรงต่อผู้หญิง
 
แต่ละประเด็นที่มีลักษณะร่วมกันตรงที่ใช้มาตรฐานด้านศีลธรรมมาใช้ตัดสินคุณค่า เช่น ตีตราผู้หญิงที่ท้องแล้วทำแท้งเป็นคนชั่ว ตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ ประณาม หรือดูหมิ่นผู้ประกอบอาชีพบริการทางเพศ รวมถึงการกดขี่ข่มเหงคนที่มีอัตลักษ์ทางเพศนอกกรอบ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แล้วยังซ้ำเติมให้ผู้ประสบปัญหาต้องเผชิญกับสภาพเลวร้ายมากขึ้น ในการทำงานและการขับเคลื่อนในแต่ละประเด็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์ แนวทางและวิธีการที่หลากหลายในการปฏิบัติการ โดยเฉพาะการมุ่งแก้ไขเชิงโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมที่ไม่เป็นธรรม
 
“ประสบการณ์การเคลื่อนไหวเรื่องทำแท้งในอินโดนีเซีย ทั้งที่เป็นประเทศอิสลาม ทำไมถึงทำได้  หรือในมาเลเซียมีแพทย์ให้บริการทำแท้ง และมีการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมทางเพศที่เจ้าของปัญหาเป็นผู้นำขบวนเอง ซึ่งต่างจากไทยที่เป็นลักษณะตัวแทน เช่นหลายเรื่องที่มีเอ็นจีโอเป็นแกนนำ การมีเวทีแลกเปลี่ยนนี้จะเป็นโอกาสสำคัญสำหรับประเทศไทย” รศ.ดร.กฤตยากล่าว
 
รศ.ดร.กฤตยา กล่าวด้วยว่า เวทีดังกล่าวมีวิทยากรรับเชิญที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ อาทิ โรสานา อิซา (Rozana Isa) จากประเทศมาเลเซีย สมาชิกองค์กรผู้หญิงมุสลิม Sisters in Islam (SIS) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มุ่งส่งเสริมสิทธิของผู้หญิงมุสลิมบนฐานศาสนาอิสลาม นินุก วิดยานโตโร (Ninuk Widyantoro) นักจิตวิทยาที่ได้พบเห็นผู้หญิงและเด็กหญิงวัยรุ่นถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงการทำแท้ง ทำให้ตัดสินใจทุ่มเททำงานตลอดเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ในการผลักดันให้ผู้หญิงได้เข้าถึงการทำแท้งที่ปลอดภัย และฟาติมะห์ อับดุลละห์ (Fatimah Abdullah) ที่ทำงานขับเคลื่อนเพื่อสิทธิของผู้ประกอบอาชีพบริการในมาเลเซีย เป็นต้น
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานเสวนา: งบฯ แผ่นดิน เอาไปไหน? วราเทพ VS ปรีดิยาธร

$
0
0

 

 

13 มิ.ย.56  Thaipublicaจัดเสวนาพิเศษเรื่อง “งบฯแผ่นดิน เงินของเราเขาเอาไปทำอะไร?” โดยมีวิทยากร ได้แก่

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน

วราเทพ รัตนากรกล่าวถึงแนวคิดในการจัดทำงบประมาณปี 2557 ว่าต่างจากปีอื่นๆ เนื่องจากมีการประชุมร่วมส่วนราชการเพื่อทำยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อที่จะหลุดพ้นรายได้ปานกลาง ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยวางทิศทางของโครงสร้างงบประมาณว่าจะลดการขาดดุลลงเรื่อยๆ สู่งบสมดุลในปี 2560 ดังจะเห็นว่าปี 55 ขาดดุล 4 แสนล้าน, ปี 56 ขาดดุล 3 แสนล้าน, ปี 57 ขาดดุล 2.5 แสนล้าน แต่ก็มีงบลงทุนนอกงบประมาณคือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน (2 ล้านล้าน) และบริหารจัดการน้ำ (3.5 แสนล้าน) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาตัวงบประมาณปี 2557 (2.52 ล้านล้าน) จะเห็นว่ามีสัดส่วนเรื่องการศึกษา จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียม ถึง 33% หรือ 8.4 แสนล้าน ไม่ใช่จะเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเดียว
 


ที่มา: พาวเวอร์พ้อยท์วิทยากร (วรเทพ รัตนากร)
 

จากนั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธรได้สอบถามนายวราเทพถึงหลักการวินัยการคลังว่าจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร เนื่องจากเป็นรัฐบาลแรกในประวัติศาสตร์ที่กู้นอกงบประมาณจำนวนมหาศาล

“นี่เป็นการแหกวินัยการคลังครั้งใหญ่ที่สุด แม้มันจะมีอะไรดีที่ช่วยประเทศชาติ แต่ก็มีอะไรที่อันตรายเหมือนกัน” ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวและแสดงความเห็นเสริมว่าควรตั้งบประมาณปกติจะเหมาะสมกว่า โดยตั้งงบขาดดุลสูงก็ได้ เพราะเมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งรัฐบาลจะรู้ว่าต้องหยุดก่อนเพื่อไม่ให้ประเทศเซ แต่เมื่อรัฐบาลเพื่อไทยเริ่มกู้นอกงบประมาณ รัฐบาลอื่นๆ ก็จะดำเนินรอยตาม ดังนั้น จะมีอะไรเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีกระบวนการสร้างหนี้ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ จนประเทศเสียหาย

นายวราเทพ ตอบว่า ต้องแยกแยะงบที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน งบบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านเป็นเหตุจำเป็นเนื่องจากเป็นอุทกภัยใหญ่ที่กระทบภาพรวมความเชื่อมั่นของนักลงทุน หากไม่มีแผนชัดเจนจะดึงความมั่นใจกลับมาไม่ได้ จึงต้องดำเนินการเร่งด่วนทำให้ต้องดำเนินการนอกงบประมาณ ส่วนงบโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านนั้น ก็เป็นงบลงทุนระยะ 7 ปี ซึ่งไม่สามารถนำใส่งบปกติได้ เนื่องจาก 1.การลงทุนนี้เป็นแผนเปลี่ยนระบบขนส่งทั้งประเทศ แผนที่ชัดเจนจะส่งผลต่อความมั่นใจของเอกชน รวมถึงเอกชนที่จะมาร่วมงานด้วย การนำใส่งบปกติอาจไม่สามารถเสนอได้ตรงตามเวลา การทำเป็นงบผูกพันอาจมีปัญหาในเรื่องสัญญา และที่ผ่านมาไม่สามารถใส่แผนงานขนาดใหญ่เป็นแสนล้านได้ในงบปรกติ จะมีปัญหาการกระจุกตัวของงบที่ลงทุนแต่โครงสร้างพื้นฐาน ไม่กระจายสู่ด้านสังคมอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นการกู้นอกงบประมาณแต่ก็มีระบบตรวจสอบไม่ต่างกัน ไม่สามารถลบเลี่ยงมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างได้

ส่วนว่ารัฐบาลอื่นจะดำเนินรอยตามและจะเกิดความเสียหายหรือไม่นั้นต้องดูเหตุผลในการดำเนินการว่ามีเพียงพอไหม และดูว่าระบบการคลังไปได้หรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะมีใครดันทุรังจนเกิดความเสียหายได้ สำหรับหลักประกันในเรื่องนี้ หากจะออกเป็นกฎหมายก็ไม่ยั่งยืนเท่าการสร้างการตระหนักรู้ของสังคม รวมถึงบทบาทราชการที่จะไม่โอนเอียงตามฝ่ายการเมืองทั้งหมด เพราะถึงที่สุดออกกฎหมายก็ยังแก้ไขได้
 


ที่มา: พาวเวอร์พ้อทย์วิทยากร (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
 

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร นำเสนอในเวที โดยจำแนกรายละเอียดโครงการต่างๆ ในพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านว่า เห็นด้วยในส่วนอื่นๆ ทั้งหมดว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและควรจะดำเนินการตั้งนานแล้ว แต่หากดูในรายละเอียดด้านต่างๆ ยังพบว่ารัฐบาลไม่ได้ใส่ในส่วนของ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า หรือ container yard ซึ่งควรจะมีอีกหลายจุด

อย่างไรก็ตาม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร แสดงความเห็นในส่วนโครงการที่ไม่เห็นด้วยว่า มี 4 โครงการย่อยในกลุ่มรถไฟความเร็วสูงที่ไม่คุ้มทุน คือ กรุงเทพ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-หนองคาย กรุงเทพ-ปดังเบซาร์ และกรุงเทพ-พัทยา-ระยอง เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงนั้นขนส่งคนเป็นหลักไม่ใช่ขนส่งสินค้า และงบลงทุนกลุ่มนี้ใช้เงินถึง 7.8 แสนล้านบาท คำนวณแล้วว่าหากจะคุ้มทุนต้องเก็บค่าโดยสารแพงกว่าสายการบินต้นทุนต่ำในขณะที่ใช้เวลาเดินทางนานกว่า หากทำแล้วร้างใครจะรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลอยากจะทดลองก็ควรทดลองสาย กรุงเทพ-พัทยา-ระยอง ก่อนเพราะด้านตะวันออกไม่มีสายการบินต้นทุนต่ำ คนที่มีกำลังจ่ายยังไม่มีทางเลือก

“มันไม่มีทางคุ้มค่า ท้าได้เลย ถ้ามีเงินถุงเงินถังไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ ก็ต้องนึกถึงความคุ้มค่าด้วย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว



ที่มา: พาวเวอร์พ้อยท์วิทยากร (สมชัย จิตสุชน)

สมชัย จิตสุชนกล่าวว่า การทำให้งบสมดุล ดูเหมือนเป็นการทำให้เกิดภาพพจน์ที่ดีเพื่อสนับสนุนการกู้ 2 ล้านล้าน ซึ่งสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) ก็คำนวณมาแล้วว่าหนี้สามธารณะจะยังคงไม่เกิน 50% แต่สิ่งที่ยังขาดและไม่มีการเปิดเผยข้อมูล แม้แต่ในชั้นกรรมาธิการก็คือ เราต้องเสียอะไรบ้างกับการได้รถไฟความเร็วสูง งบประมาณด้านอื่นๆ มีปัญหาหรือไม่ เช่น กรณีของงบสาธารณสุขอย่าง 30 บาท ก็ถูกแช่เข็งอย่างน้อย 2 ปี นอกจากนี้เรื่องของความคุ้มค่าก็ถูกตั้งคำถามมาก การศึกษาความเป็นไปได้โครงการ (FS-feasibility study) ก็ไม่ชัดเจน อีกทั้งยังทำผิดหลักการโดยให้ประเทศจีนกับญี่ปุ่นเป็นผู้ศึกษา ทั้งที่สองประเทศนี้อาจเป็นผู้ลงทุนด้วย การทำการศึกษาเรื่องนี้ต้องทำโดยผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย

พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์กล่าวถึงภาพรวมหนี้สาธารณะว่า หากดูตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบันจะพบว่า ก่อนวิกฤตปี 2540 นั้นหนี้สาธารณะของประเทศไม่เกิน 15% แต่เมื่อปี 2543 หนี้กระโดดขึ้นเป็นกว่า 60% เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูแล้วจึงค่อยๆ ลดระดับลง จากนั้นในปี 2551 เกิดวิกฤต Hamburger การปิดสนามบิน ฯ ทำให้มีการออก พ.ร.บ.กู้ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นที่มาของโครงการไทยเข้มแข็ง จากนั้นหนี้สาธารณะก็เพิ่ม ในปี 51 จาก 37% เป็น 45% ในปี 2552

“ในฐานะที่ดูแลด้านรายจ่ายและหนี้สินของประเทศ ขอยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดจะไม่ทำให้เราหลุดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง” หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สินกล่าว พร้อมอธิบายถึงเหตุผลว่า เพราะ 1.หนี้ต่อจีดีพีไม่เกิน 50% 2.รายจ่ายชำระเงินต้นรวมดอกเบี้ย ไม่เกิน 15% ขณะนี้ลดลงเหลือ 7-8% เพราะโอนหนี้ให้กองทุนฟื้นฟูฯ จัดการ 3.งบลงทุนต่องบรวม ตั้งเป้าไม่เกิน 25% ไม่ว่าจะเป็นงบในงบประมาณหรือนอกงบประมาณ 4.โครงการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่นั้นเหมาะสม เพราะเรายังมี fiscal space หรือช่องว่างให้นโยบายทางการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจได้อยู่ เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะของเรานั้นไม่สูง เพียงแค่ 46.5% ขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่กว่า 100%  สภาพคล่องในตลาดการเงินก็ยังมีมาก อัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ที่ 4% กว่าเท่านั้น ดังนั้น รัฐบาลจึงยังมีช่องว่างในการใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกระยะ

ที่มา: พาวเวอร์พ้อยท์วิทยากร (พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ )

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ILO เผยเด็กรับใช้ในบ้านทั่วโลกกว่าสิบล้านคน อายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนด

$
0
0

ILO เผยมีเด็กกว่า 10.5 ล้านคนทั่วโลกอายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนดทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านและอาจอยู่ในสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย-ถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส



เด็กสาวชาวเนปาลในการทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้าน (ที่มาภาพ: ILO/J. Maillard)


13 มิ.ย. 56 - เนื่องในวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก (World Day Against Child Labour) เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 56 ที่ผ่านมา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization - ILO) เปิดเผยว่ามีเด็กกว่า 10.5 ล้านคนทั่วโลกที่มีเกณฑ์อายุที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด ทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านอาจอยู่ในสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส

โดยจากรายงาน Ending Child Labour In Domestic Work ระบุว่าเด็กที่ทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านเกือบ 3 ใน 4 เป็นเด็กผู้หญิง และเด็กที่ทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้าน 6.5 ล้านคน มีอายุระหว่าง 5 และ 14 ปี

การใช้แรงงานเด็กทำงานบ้านพบมากที่สุดในประเทศแถบแอฟริกา โดยเฉพาะประเทศเบอร์กินาฟาโซ กานา ไอเวอรีโคสต์ และมาลี ขณะที่เด็กสาวชาวเอธิโอเปียมักจะถูกส่งไปเป็นคนรับใช้ในประเทศอาหรับ

ส่วนในเอเซีย อย่างในประเทศปากีสถานและเนปาล เจ้าหนี้จะบังคับให้ผู้ปกครองที่ติดหนี้ส่งลูกของตัวเองไปเป็นเด็กรับใช้ภายในบ้านเพื่อเป็นการชดใช้หนี้

ILO ระบุว่าลักษณะงานของเด็กในอุตสาหกรรมคนรับใช้นี้ประกอบไปด้วยทำความสะอาดบ้าน ทำความสะอาดเสื้อผ้า-รีดผ้า ทำอาหาร ทำสวน หาบน้ำ เลี้ยงเด็กและดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวของนายจ้าง

นอกจากนี้เด็กเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ถูกคุกคามทางเพศ ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย และยังเสี่ยงที่จะถูกบังคับให้ค้าประเวณีอีกด้วย

นอกเหนือจากความพยายามของ ILO ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กแล้ว ในส่วนของประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างกัมพูชาก็มีความพยายามลดจำนวนแรงงานเด็กลงจาก 16.5% ในปี 2542 ให้เหลือเพียง 8% ภายในปี 2558 ให้ได้ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาระบบการศึกษา รวมทั้งเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักข่าวไทยรายงานเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. นี้ว่านายปรัก จันทา รัฐมนตรีแรงงานและการฝึกอบรมของกัมพูชา ได้ระบุว่าการแก้ปัญหาแรงงานเด็กเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน

สำหรับประเทศไทยเมื่อช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่าไทยเป็นประเทศที่ถูกจับตามองในเรื่องการค้ามนุษย์ ซึ่งเกี่ยวพันกับการใช้แรงงานเด็ก โดยสินค้า 5 ประเภทจากไทยที่เข้าข่ายถูกจับตามองประกอบไปด้วย สิ่งทอ ปลา กุ้ง อ้อย และสื่อลามก



อ่านรานงาน "Ending Child Labour In Domestic Work" ฉบับเต็มได้ที่ :
http://www.ilo.org/ipecinfo/product/download.do?type=document&id=21515

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โต๊ะสันติภาพไทย-BRN เห็นร่วมลดเหตุรุนแรงเดือนรอมฏอน

$
0
0

เลขา สมช.เผยผลการพูดคุยสันติภาพไทย-BRN ราบรื่น ทั้ง 2ฝ่ายเห็นร่วมลดเหตุรุนแรงช่วงเดือนรอมฏอน ให้แต่ละฝ่ายเสนอมาตรการที่ชัดเจน ยัน ‘ปกครองพิเศษ’ เป็นเรื่องปลายทาง ยังไม่ถึงเวลาคุย

 
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.56 เวลา 21.30 น. (ตามเวลาในประเทศมาเลเซีย) ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล (INTERCONTINENTAL) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มแกนนำบีอาร์เอ็นว่า บรรยากาศในการพูดคุยเป็นไปอย่างดีมาก ราบรื่น ได้รับความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหา
 
พล.ท.ภราดร เปิดเผยว่า ประเด็นหลักๆ ที่มีการพูดคุยคือ เรื่องที่ทางบีอาร์เอ็นมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อ จึงได้ชี้แจงไปถึงการดำเนินการสืบสภาพข้อเท็จจริง แสวงหาคำตอบของ 5 ข้อนั้น และปัญหาที่ยังไม่สามารถตอบคำถามได้ เพราะความชัดเจนของข้อเรียกร้องที่เป็นภาษาต่างๆ ยังไม่ชัดเจน ซึ่งทางขบวนการรับข้อนี้ไป เพื่อที่จะส่งรายละเอียดชี้แจงแถลงไขของเนื้อหา 5 ข้อ ให้มีความชัดเจนก่อนเดือนรอมฎอน มาให้คณะฝ่ายไทยเพื่อที่จะทำความเข้าใจ และแสวงหาคำตอบร่วมกันต่อไป
 
พล.ท.ภราดร เปิดเผยว่า ประเด็นที่สอง คือเรื่องลดเหตุความรุนแรง ได้เห็นพ้องต้องกันว่า ในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดนของชาวมุสลิมจะลดเหตุความรุนแรง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะกลับไปเตรียมมาตรการเพื่อมาเสนอร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไรในช่วงเดือนรอมฎอน
 
“ขั้นตอนคือ จะให้ศอ.บต.(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ดำเนินการไปให้ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน เพื่อให้ได้คำตอบมาในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาระยะหนึ่ง แต่จะรีบดำเนินการ เพราะอย่างน้อยควรจะมีคำตอบในชั้นต้นซึ่งกันและกัน” พล.ท.ภราดร กล่าว
 
พล.ท.ภราดร เปิดเผยว่า สำหรับเดือนรอมฎอนเป็นเดือนสำคัญ เป็นเดือนแห่งความประเสริฐ จึงเป็นคำตอบร่วมกันว่าในเดือนนี้ จะเป็นรูปธรรมในการลดเหตุความรุนแรง และได้มีการนัดพูดคุยอีกครั้งหลังเดือนรอมฎอน แต่ยังไม่กำหนดวันที่ชัดเจน โดยฝ่ายมาเลเซียเป็นผู้ประสานงาน
 
“การพูดคุยในครั้งนี้เมื่อเทียบกับ 2 ครั้งที่ผ่านมา ถือว่ามีความคืบหน้าสูง มีตัวชี้วัดว่าจะลดความรุนแรงก็คือเดือนรอมฎอน โดยให้ทั้งสองฝ่ายเสนอมาตรการมาว่า ฝ่ายเราจะลดการปฏิบัติการอย่างไร ฝ่ายขบวนการจะลดการปฏิบัติการอย่างไร แต่แน่นอนว่ามาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้พี่น้องประชาชนก็คงต้องมีอยู่ ซึ่งมาตรการฝ่ายเราท่านแม่ทัพภาค 4 มีแผนเตรียมเอาไว้แล้ว” พล.ท.ภราดร กล่าว
 
พล.ท.ภราดร กล่าวด้วยว่า เป้าหมายของเดือนรอมฎอนก็คือจะต้องไม่มีเหตุ แต่ถ้ามีเหตุเกิดขึ้น ก็จะต้องไปลงลึกว่า มูลเหตุจากเรื่องใด เพราะมีการสื่อสารร่วมกันแล้วว่าจะลดเหตุรุนแรง ส่วนมาตรการฝ่ายเจ้าหน้าที่นั้น ในช่วงเดือนรอมฎอนก็คงจะต้องเพลาลงหรือหยุดลงไป แต่มาตรการในการรักษาความปลอดภัยพี่น้องประชาชน สถานที่ต่างๆก็ยังคงมีอยู่ ไม่ได้หยุดไปทุกอย่าง
 
หลังจากการแถลงข่าว พล.ท.ภราดร ได้นำแถลงการณ์ร่วมหลังการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น มาเปิดให้บรรดาสื่อมวลชนดู โดยมีเนื้อหาดังนี้
 
การประชุมหารือเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย คณะผู้เข้าร่วมฝ่ายไทย นำโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศไทย และฝ่ายบีอาร์เอ็น นำโดยอุสตาซฮาซัน ตอยิบ หัวหน้าสำนักงานประสานงานต่างประเทศของกลุ่มบีอาร์เอ็นในมาเลเซีย โดยมีดาโต๊ะ ซรี อาหมัด ซัมซามิน ฮาซิม ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการหารือ ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลมาเลเซีย
 
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในหลักการเพื่อลดเหตุการณ์ความรุนแรงตลอดเดือนรอมฏอนอันประเสริฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย ทั้งนี้ สอดคล้องกับคุณค่าอันประเสริฐของเดือนรอมฏอน และเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจริงใจ ความตั้งใจ และความเชื่อถือของทั้งสองฝ่าย ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ให้ปลอดจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยตลอดเดือนรอมฏอน ทั้งสองฝ่ายจะได้นำเสนอรูปแบบและวิธีการในเวลาอันใกล้นี้
 
ฝ่ายบีอาร์เอ็นจะส่งคำอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอ 5 ข้อ ตามที่ได้มอบให้ฝ่ายไทยแล้ว หลังจากที่ได้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจากฝ่ายบีอาร์เอ็นแล้ว ฝ่ายไทยรับที่จะตัดเตรียมข้อมูลป้อนกลับเสนอไปยังฝ่ายบีอาร์เอ็น ผ่านผู้อำนวยความสะดวกในโอกาสแรกต่อไป
 
การประชุมหารือเพื่อสันติภาพครั้งที่ 4 นี้ ได้ดำเนินการท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นมิตร และได้ดำเนินไปอย่างสร้างสรรค์ทั้งสองฝ่ายได้แสดงถึงความรับผิดชอบร่วมกัน ที่มีต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ เพื่อความก้าวหน้าในอนาคต
 
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้มีการพูดคุยครั้งต่อไปหลังจากเดือนรอมฎอน
 
 

ยันยังไม่ถึงเวลาคุย ‘ปกครองพิเศษ’

ก่อนหน้านี้ในช่วงเช้าวันเดียวกัน (13 มิ.ย.56) ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียว่า คณะพูดคุยเพื่อสันติภาพฝ่ายไทยนำโดย พล.ท.ภราดร ได้ร่วมประชุมคณะฝ่ายไทยที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเน็นต้อล เพื่อเตรียมความพร้อมในการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับคณะผู้แทนฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ที่จะมีขึ้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 15 คน
 
โดยประชุมเสร็จในเวลาประมาณ 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 09.30 น.ตามเวลาไทย จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ของมาเลเซียนำคณะผู้แทนฝ่ายไทยออกเดินทางไปร่วมพูดคุยกับฝ่ายบีอาร์เอ็นทันที ซึ่งเป็นสถานที่ลับห้ามผู้สื่อข่าวติดตามไปด้วย
 
พล.ท.ภราดร ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการประมวลข้อมูลต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการพูดคุยกับฝ่ายบีอาร์เอ็น โดยมีสัญญาณบวกหลายอย่างระหว่างการเตรียมตัว คาดว่าจะได้ผลคืบหน้าบางอย่างที่เป็นรูปธรรมจากทั้งสองฝ่ายหลังการพูดคุยเพื่อสันติภาพในวันนี้
 
พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ในการพูดคุยกับฝ่ายบีอาร์เอ็น ฝ่ายไทยต้องการที่จะให้มีความคืบหน้าอย่างชัดเจนในเรื่องของการลดเหตุรุนแรงในพื้นที่ โดยจะนำผลการสำรวจความเห็นและการจัดเวทีต่างๆในพื้นที่มายืนยัน เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สะท้อนความต้องการของคนในพื้นที่
 
ส่วนข้อเสนอที่ให้ลดการก่อเหตุรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิมนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า เป็นข้อเสนอแนะจากพื้นที่ ซึ่งจะนำเสนอในการพูดคุยครั้งนี้ด้วย
 
ส่วนข้อเสนอ 5 ข้อของฝ่ายบีอาร์เอ็นนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า คาดว่าฝ่ายบีอาร์เอ็นจะหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาคุยด้วย ซึ่งฝ่ายไทยจะต้องถามให้ชัดเจนว่า แต่ละข้อมีความหมายว่าอย่างไร
 
ส่วนเรื่องเขตปกครองพิเศษนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า การปกครองพิเศษเป็นเรื่องปลายทาง ยังไม่น่าจะถึงเวลาที่จะคุยเรื่องนี้ ประเด็นหลักๆ วันนี้ จะเป็นเรื่องของการลดเหตุรุนแรง
 
พล.ท.ภราดร ยังได้ตอบคำถามในประเด็นที่จะพูดคุยเรื่องการตั้งกลไกการตรวจสอบเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ด้วยหรือไม่ ว่า ประเด็นหลักๆ ของการพูดคุยในวันนี้ คือต้องให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมในเรื่องของการลดเหตุรุนแรงในพื้นที่
 
ส่วนผลสำรวจของสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ออกมาว่า ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้แก้ปัญหายาเสพติดสูงมากด้วยนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ก็จะต้องนำไปพูดคุยด้วย เนื่องจากเป็นความต้องการของคนในพื้นที่
 
ส่วนผู้ที่จะร่วมคณะพูดคุยในครั้งนี้ พล.ท.ภารดร กล่าวว่า ยังอยู่ในกระอบเดิมคือ ไม่เกินฝ่ายละ 15 คน
 
ทั้งนี้มีรายงานว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมโต๊ะพูดคุยสันติภาพครั้งนี้ มีทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วย พล.ท.ภราดร ในฐานะหัวหน้าคณะ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
 
พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล (ผบช.ส.) พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (รอง ผอ.ศปป.5) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
 
ดร.มะรอนิง สาลามิง รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และนายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ต.ชรินทร์ อมรแก้ว เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดาวส์โหลดได้แล้ว หนังสือ 'สันติภาพและยุติธรรมที่ยั่งยืน'

$
0
0

หนังสือ “สันติภาพและยุติธรรมที่ยั่งยืน” ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานนักสิทธิ-นักกฎหมาย ในโครงการการพัฒนาการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ เปิดให้ดาวส์โหลด E Book

 
14 มิ.ย.56 - ตามที่มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ซึ่งดำเนินการโครงการประสบการณ์การทำงานภายใต้ “โครงการการพัฒนาการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้” ระหว่างเดือน ม.ค.2554- มี.ค.2556 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสหภาพยุโรป
 
ล่าสุดได้จัดทำหนังสือ “สันติภาพและยุติธรรมที่ยั่งยืน” เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ ถึงเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ในการทำงานขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ที่ร่วมมือกันทำงานเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งต้องการสะท้อนถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ข้อสังเกต และบทเรียน ที่ได้จากการดำเนินโครงการดังกล่าว
 
สามารถดาวน์โหลดหนังสือ “สันติภาพและยุติธรรมที่ยั่งยืน” ฉบับเต็มได้ที่ลิงค์:
 
ทั้งนี้ แม้จะสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินงานแล้ว แต่องค์กรภาคีทุกองค์กรก็ยังคงร่วมมือกันทำงานเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ประชาชน ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมอย่างต่อเนื่องอีกต่อไป
 
 
บทนำ

สำหรับผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับแต่เหตุการณ์ปล้นปืนปี พ.ศ.2547 ปะทุขึ้น ชีวิตของพวกเขาแทบไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป ยามย่ำรุ่งที่เคยสดใสคล้ายเป็นอดีตรางเลือนที่ไม่หวนกลับมา ไม่สามารถเดินออกจากบ้านไปกรีดยางพาราด้วยความรื่นรมย์ใจเหมือนเก่าก่อน มีเพียงความหวาดกลัวว่าเช้าวันนี้ตนเองผู้เป็นเสาหลักของครอบครัวจะถูกฆ่าตายในระหว่างทางหรือไม่ แม้แต่บรรยากาศระหว่างชาวไทยพุทธกับชาวมลายูมุสลิมที่เคยผูกพันอันดีต่อกันมาช้านานก็กลับต้องถูกแทนที่ด้วยแรงกดทับหนาหนักของความหวาดระแวง เพราะในแต่ละวัน ไม่เพียงประชาชนผู้บริสุทธิ์เท่านั้นที่ตกเป็นเหยื่อสังเวยชีวิต หากทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ครู รวมถึงพระสงฆ์และโต๊ะอิหม่ามต่างก็ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลง แม้กระทั่งไม่นานมานี้ กรณีวิสามัญผู้ลอบโจมตีฐานกองร้อยปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ 32 บ้านยือลอ ต.บาเระเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส จนเสียชีวิตทั้ง 16 คน เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ก็คืออีกหนึ่งประจักษ์พยานสำคัญของสถานการณ์ความรุนแรงที่ผลักให้เกิดการตอบโต้ เผชิญหน้าและจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของสังคมไทย เนื่องด้วยทุกชีวิตที่ดับสูญไปตลอดระยะเวลา 9 ปี ก็ล้วนเป็นลูกหลานไทยทั้งสิ้น

โดยเฉพาะ เมื่อข้อเท็จจริงอีกด้านระบุว่า หนึ่งในผู้ที่ลอบโจมตีฐานปฏิบัติการและถูกวิสามัญนั้น คือเหยื่อในเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธร อ.ตากใบ จ.นราธวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 อันเป็นหนึ่งในคดีประวัติศาสตร์บาดแผล ที่ตราบจนวันนี้ รัฐไทยและกระบวนการทางกฎหมายของไทยก็มิสามารถดำเนินคดีเอาผิดกับผู้สั่งสลายการชุมนุมได้เลย ทั้งที่รายงานข้อเท็จจริงหลายฉับทั้งจากคณะกรรมาธิการ วุฒิสภาและรายงานการสังเกตุการณ์คดีโดยองค์กรสิทธิมนุษยชน ต่างก็มีหลักฐานพยานแน่ชัดว่าเป็นการกระทำโดยจงใจของเจ้าหน้าที่รัฐจนทำให้เกิดการเสียชีวิตและมีบุคคลสูญหายในเหตุการณ์นี้เป็นจำนวนมาก

เมื่อพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเต็มไปด้วยการกระทำนอกกรอบกฎหมาย อีกทั้งรากเหง้าแท้จริงของปัญหายังคงถูกบดบังด้วยบริบทซับซ้อนจนยากจะคลี่คลาย “กระบวนการยุติธรรมอันเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ” จึงสมควรต้องเป็น ‘หลังพิง’ และ ‘เครื่องมือ’ สำคัญในการสะสางปมที่ถูกผูกไขว้จนกลายเป็น ‘เงื่อน’ ร้อยรัดผู้คนให้ติดอยู่ในวังวนแห่งการทำลายล้างอย่างไม่รู้จบสิ้น ทั้งเพื่อปิดหนทางมิให้ผู้ที่มีผลประโยชน์หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสถานการณ์ความไม่สงบ ฉวยโอกาสนำเอาวาทกรรม ‘ความไม่เป็นธรรม’ มาเป็นข้ออ้างแสวงหาแนวร่วมหรือปลุกระดมให้เกิดการก่อเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน ทว่า ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา กฎหมายพิเศษหลายฉบับซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ไม่สามารถยุติความรุนแรงได้เลย มิหนำซ้ำ บ่อยครั้งการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบก็กลับกลายเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญอันนำไปสู่สถานการณ์ที่เลวร้ายเสียเอง

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จึงว่าด้วยเรื่องราวของความพยายามผลักดันสันติภาพให้บังเกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ผ่านการต่อสู้กับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยกระบวนการทางกฎหมาย โดยไม่ละทิ้งต่อการทำความเข้าใจในบริบทอื่นๆ ทางสังคมและวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็มุ่งหวังให้คดีความต่างๆ ถูกหยิบยกมาเป็นกรณีศึกษา เป็นบรรทัดฐานและเป็นบทเรียนที่ทุกองคาพยพซึ่งเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้คนในทุกภาคส่วนของสังคมควรได้เรียนรู้ร่วมกัน ว่าตราบใดที่กระบวนการยุติธรรมเองยังมีบางขั้นตอนอันอ่อนด้อย ห่างไกลและซับซ้อนเกินกว่าที่ประชาชนจะเอื้อมถึง ทั้งกฎหมายต่างๆ ยังเต็มไปด้วยช่องโหว่ซึ่งเอื้อให้เกิดการใช้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตราบนั้น การกระทำ ‘นอกกฎหมาย’ ทุกรูปแบบย่อมไม่มีวันจบสิ้นลงได้เลย

เหล่านี้เองคือปฐมเหตุอันใหญ่หลวงที่ผลักดันให้เกิด ‘โครงการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้’ โดยความร่วมมือของเครือข่ายพันธมิตรอันแข็งแกร่ง ได้แก่ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation-CrCF) มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (Muslim Attorney Center Foundation-MAC) ร่วมด้วยเหล่านักกฎหมาย ทนายความ ผู้ช่วยทนายความและอาสาสมัครในพื้นที่ซึ่งพร้อมนำความรู้ความสามารถที่มีมาร่วมตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยความมุ่งหวังว่าการใช้อำนาจ “นอกระบบ” ทุกรูปแบบจะหมดสิ้นไปในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า

เมื่อเสาหลักแห่งกระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งให้คนทุกหมู่เหล่าได้อย่างแท้จริง …
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สโนว์เดน แฉเพิ่ม สหรัฐฯ แฮกระบบอินเตอร์เน็ตประเทศจีนบ่อยครั้ง

$
0
0

สโนว์เดน ให้สัมภาษณ์สื่อจีน เผยสหรัฐฯ แฮกระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจีนเพื่อดูข้อมูลมาหลายร้อยครั้ง ด้านประชาชนโลกจริง-โลกอินเตอร์เน็ตหนุนการเปิดเผยข้อมูลของเขา ทั้งชุมนุม แถลงการณ์ ช่วยเหลือด้านการเงิน และล่ารายชื่อให้สหรัฐฯ ละเว้นโทษ

 
13 มิ.ย.2013 เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ชายอายุ 29 ปี ผู้เปิดโปงโครงการสอดแนมข้อมูลของสภาความมั่งคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อสื่อท้องถิ่น เซาธ์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ พูดถึงสาเหตุที่เขาเลือกมาอยู่ฮ่องกงและเผยว่าเขามีหลักฐานเรื่องที่สหรัฐฯ ทำการจารกรรมทางอินเตอร์เน็ตต่อทั้งจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง
 
“คนที่บอกว่าผมทำพลาดที่เลือกมาที่ฮ่องกง เขากำลังเข้าใจเจตนาผมผิดไป ผมไม่ได้มาที่นี่เพื่อหลบซ่อนตัวจากระบบยุติธรรม ผมมาเพื่อเปิดโปงอาชญากรรม” สโนวเดนกล่าว เขาบอกอีกว่าทางการสหรัฐฯ พยายาม ‘ข่มเหง’ ฮ่องกงเพื่อให้ส่งมอบตัวสโนวเดนกลับสหรัฐฯ ในฐานะนักโทษ
 
ในกรณีนี้ เรจินา ยิบ คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติของฮ่องกงและอดีตเจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูงกล่าวว่า ตัวเขาเองไม่สามารถพูดแทนทางการฮ่องกงในตอนนี้ได้ แต่ถ้าหากสหรัฐฯ มีข้อเรียกร้องมาถึงทางการก็จะจัดการตามกระบวนการกฎหมาย
 
นอกจากนี้สโนว์เดนยังได้กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา NSA ได้ปฏิบัติการจารกรรมโดยมีเป้าหมายเป็นจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกงหลายร้อยครั้ง “พวกเราได้แฮกเข้าไปในแกนของระบบเครือข่ายที่เปรียบเสมือนเป็นอินเตอร์เน็ตเราเตอร์ขนาดใหญ่ เพื่อที่จะให้เราได้เข้าถึงข้อมูลการสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแสนเครื่องโดยที่ไม่ต้องไปแฮกทีละเครื่อง”
 
สโนว์เดน กล่าวถึงเป้าหมายที่หนึ่งคือมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง ซึ่งมีสถานีวิจัยด้านอินเตอร์เน็ตชั้นนำและเป็นแหล่งโครงสร้างใหญ่ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของทั้งเมืองฮ่องกง แต่ทางมหาวิทยาลัยก็ได้แถลงว่าพวกเขาไม่สามารถตรวจพบการรุกล้ำใดๆ และยังคงใช้งานได้ตามปกติ
 
การเปิดโปงเรื่องดังกล่าวทำให้หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ข่าวของทางการจีนมีพาดหัวข่าวว่า การเปิดเผยเรื่องราวของสโนว์เดนทำให้ภาพลักษณ์สหรัฐฯ ในสายตาต่างชาติเสียหาย และเป็นการทดสอบการสานสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
 
ลี ไห่ตง นักวิจัยด้านอเมริกันศึกษาจากมหาวิทยาลัยการทูตของจีนกล่าวผ่านสื่อจีนว่า ตั้งแต่เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาสหรัฐฯ กล่าวหาว่าจีนเป็นผู้ก่อการจารกรรมทางอินเตอร์เน็ตมาตลอด แต่ดูเหมือนภัยร้ายแรงที่สุดต่อเสรีภาพและสิทธิความเป็นส่วนตัวคืออำนาจที่ไม่อาจควบคุมได้ของรัฐบาลสหรัฐฯ เอง
 
สื่อจีนกล่าวอีกว่า วิธีการที่สหรัฐฯ จัดการในเรื่องนี้จะเป็นเรื่องท้าทาย ที่เสี่ยงต่อการทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐฯ และจีน จากการที่สโนว์เดนในตอนนี้อยู่ในอาณาเขตของจีน และความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็เริ่มเสื่อมถอยลงไปแล้วจากเรื่องความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต
 
 
ประชาชนชุมนุม - ล่ารายชื่อ กรณีโครงการ PRISM และการคุ้มครองสโนว์เดน
 
เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา สำนักข่าวนอกกระแส CommonDream รายงานเรื่องประชาชนในโลกออนไลน์และนอกแสดงการสนับสนุน เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน โดยมีทั้งการชุมนุมและการล่ารายชื่อเรียกร้อง 
 
ในนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.56 มีกลุ่มนักกิจกรรมรวมตัวกันที่จัตุรัสยูเนียนสแควร์ ท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก แอนดี้ สเตฟาเนี่ยน ผู้จัดการประท้วงกล่าวว่า วาระของสโนวเดนที่นำเสนอในสื่อถูกทำให้กลายเป็น ‘เรื่องชายขอบ’
 
“ในตอนนี้สื่ออาจจะนำเสนอเรื่องนี้มาก แต่ที่ผ่านมาเราจะพบว่าเมื่อคนเปิดโปงรัฐบาลเหล่านี้เปิดเผยตัวออกมาไม่ว่าจะเป็นแดเนียล เอลส์เบิร์ก หรือแบรดลี่ย์ แมนนิ่ง ไม่นานนักก็จะมีความพยายามกล่าวให้ร้ายบุคคลเหล่านี้ อาจจะมีการสร้างเรื่องเล่าคู่ขนาน หรือพยายามทำให้พวกเขาดูเป็นตัวร้าย จากสิ่งที่พวกเขาทำ” แอนดี้กล่าว
 
แอนดี้กล่าวอีกว่า พวกเราควรจะตั้งคำถามว่า เหตุใดสโนวเดนถึงยอมสละความสะดวกสบายส่วนตัวเพื่อเปิดโปงความจริงในเรื่องที่รัฐบาลสหรัฐฯ แอบสอดแนมพวกเราโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ โดยอ้างเรื่องสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยที่การแอบสอดแนมเช่นนี้ถือเป็นการผิดหลักมาตรา 4 ของบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ
 
เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.56 ในฮ่องกง ก็มีกลุ่มประชาชนผู้สนับสนุนสโนวเดนราว 1,000 คน วางแผนชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลคุ้มครองเขา และไม่ส่งตัวเขาออกนอกประเทศ
 
ในสังคมออนไลน์ก็มีการรวบรวมรายชื่อในเว็บไซต์ทำเนียบขาวเพื่อเรียกร้องให้ทางการสหรัฐฯ อภัยโทษให้สโนว์เดน ซึ่งในตอนนี้มีมากกว่า 68,000 รายชื่อแล้ว ขณะเดียวกันก็มีการรณรงค์เพื่อช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายของสโนว์เดน
 
มีพนักงานของ Facebook รายหนึ่งชื่อ ดไวท์ โครว บริจาคเงินส่วนตัว 1,000 ดอลลาร์ (ราว 30,000 บาท) เพื่อช่วยเหลือสโนว์เดนด้านค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย, ค่าที่พักโรงแรม และค่าเดินทาง โดยที่โครวกล่าวว่า เขาคิดว่าสโนว์เดนจะต้องรับมือกับสิ่งที่มากกว่าค่าธรรมเนียมทางกฎหมายแน่ๆ แต่สโนว์เดนต้องอยู่ในฮ่องกงโดยที่บัญชีของเขาถูกอายัด ดังนั้นการช่วยเหลือด้านงานเงินจึงสำคัญ
 
ทางด้านกลุ่มปฏิบัติการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโลก (Global Network Initiative หรือ GNI) ก็ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยบอกว่า กรณีการสอดแนมไม่ว่าจะมาจากรัฐบาลใดก็ตามเป็นเรื่องชวนให้ตั้งคำถามเกี่ยวกับ ความโปร่งใส มาตรการตรวจสอบ และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่รวมถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการแสดงความเห็น
 
โดยทาง GNI ได้กล่าวเรียกร้องผ่านแถลงการณ์ให้รัฐบาลสหรัฐฯ และทั่วโลกพยายามสร้างความโปร่งใสมากขึ้นทั้งด้านกฎหมายและการบังคับใช้ เนื่องจากความโปร่งใสที่มากขึ้นจะทำให้มีข้อมูลการอภิปรายในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเรียกร้องให้เพิ่มตัวแทนภาคส่วนต่างเข้าร่วมตัดสินใจโครงการในแนวนี้ด้วย
 
“เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯ มีเทคโนโลยีหรือความสามารถใหม่ๆ ในการด้านการสอดแนม ทาง GNI ขอเรียกร้องให้มีการตัวแทนจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมผู้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายด้วย” แถลงการณ์ GNI กล่าว “เสรีภาพในการแสดงความเห็นและสิทธิความเป็นส่วนตัวจะได้รับการคุ้มครองหากมีการฟังความเห็นจากทุกส่วน”
 
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Protesters Worldwide Rally to Support Whistleblower Edward Snowden, CommonDreams, 12-06-2013 
 
Hong Kongers to protest in support of U.S. whistleblower Edward Snowden, The Raw Story, 12-06-2013
 
NSA revelations will test China-US ties, say Chinese media, The Guardian, 13-06-2013
 
GNI Statement on Communications Surveillance, GNI, 12-06-2013

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ม็อบเขื่อนหัวนา เร่งรัฐฯ จ่ายค่าทดแทน หลังรอมา 15 ปี เกาะติดผลเจรจาออนไลน์จากทำเนียบ

$
0
0

สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนารวมตัวสันเขื่อนราษีไศล ปักหลักครั้งชุมนุมใหญ่หลังเดือดร้อน 15 ปีแก้ปัญหาไม่คืบ ขู่พร้อมอยู่ยาวหากผลเจรจาร่วมตัวแทนรัฐฯ 14 มิ.ย.นี้ยังไร้ความชัดเจน แกนนำเผยเตรียมถ่ายทอดสดออนไลน์การประชุมจากทำเนียบถึงที่ชุมนุม 

 
วันนี้ (14 มิ.ย.56) สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนา จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเดือดร้อนจากเขื่อนหัวนามานากว่า 15 ปี ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1/2556 จากการออกมาชุมนุมใหญ่อีกครั้ง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.56 บริเวณศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนเครือข่ายทามมูล สันเขื่อนราษีไศล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ หลังยุติการเคลื่อนไหวไม่ชุมนุมมานานกว่า 3 ปี ตั้งแต่เมื่อปี 2552 เป็นต้นมา
 
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสมัชชาคนจนเขื่อนหัวนา ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาและมีกระบวนการทำงานตามขั้นตอนในระดับจังหวัด สามารถนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแก้ไขปัญหา (ชุดใหญ่) ที่ น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมในวันนี้ (14 มิ.ย.56) ณ ทำเนียบรัฐบาล 
 
แถลงการณ์ระบุว่า ชาวบ้านจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนหัวนาอีกครั้ง เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 27 เม.ย.53 ให้กรมชลประทานดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านการจ่ายค่าทดแทนที่ดินทำกินที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการสร้างคันเขื่อนถมลำน้ำมูนเดิมให้แล้วเสร็จ ขณะนี้กรมชลประทานได้มีการปิดประตูเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำมาตั้งแต่ปลายปี 2555 แต่ยังไม่สามารถดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับราษฎรได้จนถึงปัจจุบัน
 
สำหรับข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ตามแถลงการณ์ มี 3 ข้อ คือ 1.ให้รับรองขอบเขตอ่างที่ได้มีการกันเขตระดับน้ำท่วมจริงที่ระดับ +114 ม.รทก. ร่วมกัน ตามผลการศึกษาผล ในวันที่ 23 พ.ย.54 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบ 2.ให้รับรองบัญชีรายชื่อราษฎรผู้ได้รับผลกระทบชุดแรกที่ได้รับการรังวัด รว 43 ก.แล้ว เพื่อเป็นการนำร่องในการแก้ไขปัญหาการจ่ายค่าทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม
 
และ 3.ให้จ่ายค่าทดแทนที่ดินทำกินอย่างยุติธรรม ผู้ได้รับผลกระทบจะต้องสามารถจัดหาที่ดินแปลงใหม่ได้ในท้องถิ่นใกล้เคียง เพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน และมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในระหว่างการชุมนุมสมัชชาคนจนเขื่อนราศีไศลจำนวนกว่า 2,000 คน ได้เดินทางมาสมทบร่วมชุมนุมที่สันเขื่อนราศีไศล โดยขณะนี้ผู้ชุมนุมได้เตรียมที่พักอาศัย และเตรียมความพร้อมในการชุมนุมยืดเยื้อหากการแก้ไขปัญหาไม่มีความคืบหน้า
 
นางสำราญ สุรโครต แกนนำกลุ่มชาวบ้านกล่าวว่า ระหว่างการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาจะมีการถ่ายทอดสดผ่านสื่อในระบบออนไลน์มายังที่ชุมนุม เพื่อให้สมาชิกผู้ได้รับผลกระทบทุกคนได้มีส่วนร่วมติดตามการประชุมอย่างใกล้ชิด และจะได้พบปะพูดคุยกับ น.สพ.ยุคล ก่อนจะมีการประชุมคณะกรรมการด้วย
 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนไปที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ บริเวณสันเขื่อนราษีไศล เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนหัวนา ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ อุทุมพรพิสัย และราศีไศล รวมพื้นที่กว่า 12,000 ไร่ โดยได้ยื่นหนังสือให้ตัวแทนโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษามูลล่าง
 
 
 
แถลงการณ์สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนา
ฉบับที่ ๑/๒๕๕๖ วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๖
 
วันนี้พวกเรามีความจำเป็นที่จะต้องออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดการแก้ไขปัญหา
ผลกระทบจากเขื่อนหัวนาอีกครั้ง จากมติ คณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ ให้กรมชลประทานดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านการจ่ายค่าทดแทนที่ดินทำกินที่ได้รับผลกระทบควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างคันเขื่อนถมลำน้ำมูนเดิมให้แล้วเสร็จ บัดนี้กรมชลประทานได้มีการปิดประตูเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำมาตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๕ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับราษฎรได้จนถึงปัจจุบัน
 
สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนา ได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสิทธิในที่ดินทำกิน และสิทธิชุมชน มานานกว่า ๑๕ ปี เพื่อผลักดันให้เกิดกระบวนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเขื่อนหัวนาที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทั่วถึง และยุติธรรม
 
ขณะนี้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดทั้ง ๒ ชุด ได้แก่ (๑) อนุกรรมการแก้ไขปัญหาระดับจังหวัด ได้ดำเนินการปักขอบเขตอ่างครอบคลุมขอบเขตน้ำท่วมถึงจริงในระดับน้ำหน้าเขื่อน +๑๑๒ ม.รทก. แต่กันเขตในระดับน้ำ +๑๑๔ ม.รทก. ตามผลการศึกษาฯ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่าง กรมชลประทาน ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และฝ่ายราษฎร ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ตามมติคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาระดับจังหวัดศรีสะเกษ ยังได้ดำเนินการตรวจสอบและจัดทำบัญชีรายชื่อราษฎรผู้ได้รับผลกระทบชุดแรก เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาต่อไป ในส่วนราษฎรที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบทรัพย์สิน สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนาได้ผลักดันให้กรมชลประทานเปิดรับการยื่นคำร้องใหม่ โดยมีนายอำเภอท้องที่ทุกอำเภอเป็นประธานกรรมการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ทุกคน ทุกครอบครัว ทุกพื้นที่ ได้มีสิทธิอย่างเท่าเทียม (๒) อนุกรรมการสืบเสาะราคาที่ดินฯ ได้ดำเนินการสืบเสาะราคาที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ (รว๔๓ก.) เสร็จแล้ว โดยมีหลักการร่วมกัน คือ    ผู้ได้รับผลกระทบจะต้องได้รับค่าทดแทนที่ดินอย่างยุติธรรม
 
บัดนี้ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าราษฎรผู้ได้รับผลกระทบชุดแรกที่ผ่านการตรวจสอบในสิทธิ์ในที่ดินทำกินอย่างครบถ้วนทุกกระบวนการเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕-๒๕๕๒ สมควรได้รับการแก้ไขปัญหาในระยะเวลาอันสมควร จากกรมชลประทานและรัฐบาล เราจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้
 
 
๑.      ให้รับรองขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมถึงจริงในระดับ +๑๑๔ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ตามผลการศึกษา EIA และ ครม. มีมติเห็นชอบไปแล้วเมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ และมีการลงตรวจสอบพื้นที่จริง ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบ
๒.     ให้รับรองบัญชีรายชื่อราษฎรผู้ได้รับผลกระทบชุดแรกที่ผ่านการตรวจสอบในสิทธิ์ในที่ดินทำกินอย่างครบกระบวนการเรียบร้อยแล้ว และดำเนินการจ่ายค่าชดเชยโดยเร็ว
๓.      ให้จ่ายค่าทดแทนที่ดินทำกินอย่างยุติธรรม ผู้ได้รับผลกระทบจะต้องสามารถจัดหาที่ดินแปลงใหม่ได้ในท้องถิ่นใกล้เคียง เพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน และมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น
 
สมัชชาคนจนเขื่อนหัวนา
๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๖
ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธา
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50857 articles
Browse latest View live




Latest Images