Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50697 articles
Browse latest View live

การประท้วงนายกฯ ที่ตุรกียังดำเนินต่อเนื่อง

0
0

การประท้วงรัฐบาลตุรขยายออกไปยังหลายเมือง โดยความรุนแรงยังดำเนินอย่างต่อเนื่อง เหตุเริ่มจากจากการใช้แก๊ซน้ำตาของตำรวจสลายการชุมนุมคัดค้านการทำลายสวนสาธารณะในอิสตันบูล ล่าสุดมีผู้บาดเจ็บกว่าพันคนแล้ว 

1 มิ.ย. 56 - ความรุนแรงในตุรกีดำเนินยังคงดำเนินต่อเนื่องในหลายเมือง อาทิ อิสตันบูล อังการา อิซเมียร์ และโบดรัม หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตำรวจจลาจลใช้แก๊สน้ำตาและสายฉีดน้ำเพื่อสลายการชุมนุมผู้ประท้วงหลายพันคนที่พยายามปักหลักอยู่บริเวณสวนเกซีในจตุรัสตักซิม ในใจกลางเมืองอิสตันบูล ในขณะที่นายกรัฐมนตรีรีเชป ตอย์ยิป เออร์โดแกน ประณามผู้ประท้วงว่าเป็น "พวกหัวรุนแรงบ้าคลั่ง" 
 
การชุมนุมดังกล่าว เริ่มต้นจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งประท้วงคัดค้านนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเปลี่ยนสวนสาธารณะเป็นห้างสรรพสินค้าในบริเวณศูนย์กลางกรุงอิสตันบูล แต่ต่อมา ตำรวจได้ใช้กำลังพร้อมแก๊ซน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมดังกล่าว อย่างไรก็ตามหลังจากนั้น การประท้วงก็ได้เริ่มขยายใหญ่ขึ้น โดยมีทั้งศิลปิน ปัญญาชน และส.ส. จากพรรคฝ่ายค้านเข้าร่วมด้วย เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อความเป็นอำนาจนิยมที่มากขึ้นของรัฐบาล 
 
การปะทะดังกล่าวได้รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดมีรายงานจากสมาคมแพทย์ตุรกีว่ามียอดผู้บาดเจ็บราว 1,000 กว่าคน มีราว 6 คนที่สูญเสียตาเนื่องจากถูกระเบิดแก๊ซน้ำตา  และมีผู้เสียชีวิตแล้วเป็นผู้หญิงหนึ่งคน และมีรายงานว่าตำรวจยังได้เข้าโจมตีผู้ประท้วงที่นั่งอ่านหนังสือและร้องเพลงอยู่อย่างสงบ ในขณะที่สำนักข่าวโดแกนระบุว่ามีผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัว 81 คน 
 
ประกอบกับการขาดการรายงานข่าวการประท้วงจากสื่อกระแสหลัก ทำให้ผู้ชุมนุมคาดการณ์ได้ว่ารัฐบาลกดดันมิให้ช่องโทรทัศน์หลักๆ รายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว และเกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้น
 
เว็บไซต์เดอะ การ์เดียนรายงานด้วยว่า มีคลิปวีดีโอมือสมัครที่ถ่ายเหตุการณ์ทหารตุรกี ปฏิเสธที่จะช่วยตำรวจจลาจลเข้าควบคุมฝูงชน และช่วยส่งหน้ากากกันแก๊สน้ำตาให้กับผู้ประท้วง และมีรายงานอีกว่าตำรวจบางส่วนตัดสินใจเปลี่ยนฝ่ายและเข้าร่วมการชุมนุมแทน 
 
ล่าสุด นายกรัฐมนตรีเออร์โดแกน ได้เรียกร้องให้ผู้ชุมนุมยุติการประท้วงโดยทันที และกล่าวจะเดินหน้าโครงการพัฒนาการก่อสร้างในจตุรัสตักซิมต่อไป นอกจากนี้ ยังย้ำให้เรียกคืนระเบียบให้เหมือนเดิมและให้ตำรวจดำเนินการควบคุมผู้ประท้วงต่อ 
 
ทั้งนี้ ประเด็นการประท้วงคัดค้านการทำลายสวนสาธารณะที่เป็นชนวนของความรุนแรงนี้ เป็นแค่ปัญหาเทียบได้กับยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ดำเนินการสร้างสะพานข้ามช่องแคบบอสฟอรัส โดยไม่รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยฝ่ายที่คัดค้านชี้ว่าการก่อสร้างดังกล่าวจะทำลายพื้นที่สาธารณะสีเขียวของประชาชน และไปรับใช้ผลประโยชน์ของธุรกิจเอกชน 
 
"วันนี้เปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนสำหรับพรรคเอเคพี (พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา)" โคเรย์ คาลิสกาน นักรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยบอสฟอรัส กล่าว "เออร์โดนแกนนั้นมีความมั่นใจมากและเป็นนักการเมืองอำนาจนิยมมาก และเขาก็ไม่ฟังใครแล้วทั้งนั้น แต่เขาต้องเข้าใจว่าตุรกีไม่ใช่ราชอาณาจักร และเขาไม่สามารถบริหารประเทศจากเมืองอังการาด้วยตัวของเขาเองคนเดียวได้"  
 
อูกูร์ ทันเยลี นักประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมกล่าวว่า "ปัญหาที่แท้จริงแล้วไม่ใช่ที่จตุรัสตักซิมและไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่มันคือการขาดการมีส่วนร่วมการตัดสินใจที่เป็นประชาธิปไตย รวมถึงการขาดฉันทามติอย่างมาก ตอนนี้เรามีนายกรัฐมนตรีที่เขาจะทำอะไรก็ได้ที่เขาอยากทำ" 
 
การชุมนุมดังกล่าว นับเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดภายใต้สมัยการปกครองของนายกรัฐมนตรีรีเชป ตอย์ยิป เออร์โดแกน ซึ่งปกครองตุรกีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีการตั้งข้อสังเกตว่า การประท้วงครั้งนี้มีลักษณะพิเศษในแง่มีคนร่วมชุมนุมจากหลายแนวอุดมการณ์และอายุ ทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย รวมถึงกลุ่มชาตินิยมเติร์กและเคิร์ดด้วย โดยพวกเขาคัดค้านในประเด็นที่นอกเหนือไปจากการสร้างสวนสาธารณะ ทั้งนโยบายของรัฐบาลต่อประเทศซีเรีย การจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอลล์ และการห้ามการแสดงความรักใคร่กันในที่สาธารณะ ซึ่งรัฐบาลเพิ่งออกกฎหมายดังกล่าวมาเมื่อเร็วๆ นี้ 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รศ.บรรจง โกศัลวัฒน์

0
0

"พวกเรา ผู้สร้างภาพยนตร์ควรต้องรวมพลังกันหน่อยไหม อาจจะรวมพลังต้องการที่จะพูดหรือแสดงออก ซึ่งมันจะไม่ใช่เรื่องเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว หลายท่านบอกว่า ผมพูดมาซ้ำๆ ซากๆ ก็ไม่เห็นเกิดผล แต่สิ่งเหล่านี้มันจำเป็นที่จะต้องพูดกันไป"

1 มิ.ย. 56, ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ม.เกษมบัณฑิต กล่าวในเสวนา "สิทธิหนังไทย: ฐานะสื่อและการกำกับดูแล"

'หน้ากากกายฟอว์กส์' พรึบหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ ฮือไล่ ระบอบทักษิณ'

0
0

นัดแฟลชม็อบสวมหน้ากาก "กายฟอว์กส์" หน้าเซ็นทรัลเวิลด์วันนี้ แอดมิน "V For Thailand" ผู้จัดกิจกรรมระบุ ขอประกาศให้โลกรู้ประเทศไทยถูก "อำนาจเลือกตั้ง" ครอบงำ - จวกใช้ประชาธิปไตยบังหน้า แต่ทรยศประชาชนทั้งประเทศ กอบโกยแสวงหาผลประโยชน์เข้ากระเป๋านักเลือกตั้งและพวกพ้องเพียงกลุ่มเดียว

ที่มาของภาพ: เพจ V For Thailand

หน้ากากกายฟอว์กส์นัดชุมนุมหน้าเซ็นทรัลเวิลด์

ตามที่เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย ได้เปลี่ยนรูปโพรไฟล์เป็นรูปหน้ากากกายฟอว์กส์ จากภาพยนตร์เรื่องวี ฟอร์ เวนเดตตา (V For Vendetta) และโพสต์ข้อความว่า “ขณะนี้กองทัพประชาชนได้ลุกขึ้นมาแล้ว ข้าขอประกาศว่า ข้าจะล้มล้างระบอบทักษิณให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย”

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 30 พ.ค. แนวร่วมคนไทยรักชาติ รักษาแผ่นดิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์เป็นแกนนำ ซึ่งชุมนุมอยู่ที่สนามหลวง ก็ได้เริ่มสวมหน้ากากกายฟอว์กส์เช่นกัน (ชมภาพ)และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (31 พ.ค.) และผู้สนับสนุนจากกลุ่มอื่นๆ ได้สวมหน้ากากกายฟอว์กส์ เดินรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลไปตาม ถ.สีลมนั้น

ต่อมาเพจ V for Thailand ได้นัดหมายจัดกิจกรรม "ยุทธการ ประกาศศักดา รวมพลใหญ่ คนหน้ากาก"นัดหมายจัดกิจกรรมแฟลชม็อบ พร้อมสวมหน้ากากกายฟอว์กส์ เวลา 13.00 น. ที่ลานหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยระบุว่ามีเป้าหมาย 3 ข้อได้แก่ "1 รวมพลังล้มล้างระบอบทักษิณ 2 สลายสี สร้างความสามัคคี ให้เกิดในสังคม 3 เปิดโปงหน้ากากขบวนการเผด็จการที่ใช้ประชาธิปไตยบังหน้า"

 

ขอกู่ก้องให้โลกรู้ว่าประเทศไทยถูก "อำนาจจากการเลือกตั้ง" ครอบงำ

โดยเช้าวันนี้ (2 มิ.ย.) แอดมินเพจได้กล่าวก่อนเริ่มกิจกรรมว่า "วันนี้ผมและคุณจะออกไปเป็นประกายไฟแรกที่ลามลุกให้เกิดแสงสว่างแห่งความถูกต้อง ความดีงาม และความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ขอให้ออกมา ออกมา และก็ออกมา ออกมากู่ก้องให้โลกได้รับรู้ว่าประเทศไทยของเราได้ถูกครอบงำโดย" อำนาจจากการเลือกตั้ง"และอำนาจนี้กำลังเอาอาศัยคำว่าประชาธิปไตยบังหน้า ทำการทรยศประชาชนคนไทยทั้งประเทศ กอบโกยแสวงหาผลประโยชน์เข้ากระเป๋าของนักเลือกตั้งและพวกพ้องเพียงกลุ่มเดียว ถึงเวลาแล้ว ที่ภารกิจของ วี (we)จะต้องกวาดล้าง "ปลิง"เหล่านี้ออกจากประเทศไทย พบกันวันนี้ 13.00 น. ลานเซ็นทรัลเวิลด์ ฝั่งหน้า เซ็น (ตรงบริเวณน้ำพุ)"

สำหรับกิจกรรมดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในเวลา 13.00 น. โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณสองร้อยคนได้รวมตัวกันที่ลานน้ำพุของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ก่อนเดินไปทางด้านสยามสแควร์ โดยการชุมนุมครั้งนี้ถูกรายงานโดยสื่อมวลชนหลายสำนัก โดยไทยรัฐออนไลน์ ซึ่งรายงานข่าวดังกล่าว ให้ข้อสังเกตด้วยว่า "การชุมนุมดังกล่าวไม่มีแกนนำออกมาแสดงตัวแต่อย่างใด ขณะที่การชุมนุมยังเป็นไปด้วยความสงบ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดเกิดขึ้น"

ทั้งนี้หลังสิ้นสุดกิจกรรม แอดมินเพจได้โพสต์สเตตัสขอบคุณผู้มาร่วมกิจกรรมว่า "V For Thailand แม้จะเริ่มต้นกิจกรรมมาหลายครั้ง แต่เราจะไม่ขอรับเครดิตใด ๆ เพราะว่า V = We คือ พวกเรา นั่นแหล่ะครับ "ประชาชน" เครดิตครั้งนี้ คือ ประชาชน ... ไม่ต้องมีแกนนำ เพราะว่า ความคิดภายใต้หน้ากาก V หน้ากากประชาชนเนี่ยแหล่ะครับ คือ แกนนำ ... ประชาชน คือ แกนนำที่จะนำพาประเทศชาติให้เดินหน้า ขอบคุณทุกดวงใจแห่งมหาชนชาวสยามจำไว้นะครับ "เครดิตนี้ของประชาชน"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่เคารพสิทธิ สันติภาพก็ไม่เกิด’ AI เรียกร้องไทย-BRNเห็นใจประชาชน

0
0

แอมเนสตี้ยื่นรายงานสถานการณ์สิทธิในชายแดนใต้ปี 56 ต่อรัฐบาล จี้ยกเลิกกฎหมายพิเศษ แจ้งเหตุบุคคลสูญหาย กลุ่มด้วยใจชี้ 9 ปีความรุนแรง มีเด็กตาย62 บาดเจ็บ 363 เรียกร้องทุกกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงคำนึงเด็กและสตรีให้มาก เมียอันวาร์ร่ายกลอนจากเรือนจำ ฝากพิจารณาสามีเป็นนักโทษการเมืองหรือไม่

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ทีห้องประชุมศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.เมือง จ.สงขลา องค์กรแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ประเทศไทย (AI Thailand) จัดแถลงข่าวรายงานของอิมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำปี 2556 (สัญจรภาคใต้)

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับโลก มีสมาชิกทั่วโลก 3,000,000 คน จาก 159 ประเทศ และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

หลังการแถลงข่าวมีการเสวนาเรื่อง “ผลกกระทบต่อเด็กและผู้หญิงจากเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” มีนักศึกษา นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน และองค์กรภาคประสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประมาณ 60 คน

นางสาวปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แถลงว่า พลเมืองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงตกเป็นเป้าโจมตีอยู่เรื่อย ทำให้มีพลเมืองได้รับบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมาก ร่วมถึงครูและโรงเรียนของรัฐยังคงตกเป็นเป้าหมายการโจมตี

นางสาวปริญญา แถลงอีกว่า ในรายงานฉบับนี้มีข้อเรียกร้องให้รัฐยกเลิกกฎหมายพิเศษที่บังคับใช้ในพื้นจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เนื่องจากเป็นกฎหมายพิเศษที่ป้องกันเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องรับโทษจากการละเมิดสิทธิประชาชนในพื้นที่

“นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐยุติการซ้อมทรมานต่อประชาชนในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ต้องชี้แจ้งถึงประชาชนที่สูญหายจากเหตุไม่สงบที่ผ่านมาด้วย” นางสาวปริญญา

นางสาวปริญญา เปิดเผยว่า แอมเนสตี้จะยื่นรายงานฉบับนี้ต่อนางสาวยิ่งลักลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันที่ 11 มิถุนายน 2556 โดยนายซาลิล เซ็ตติ เลขาธิการแอมเนสตี้จะเป็นผู้ยื่น

นางสาวปริญญา เปิดเผยอีกว่า ก่อนหน้านี้แอมเนสตี้ได้ยื่นรายงานฉบับนี้ต่อตัวแทนพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ในงานแถลงข่าวที่กรุงมหานคร เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของทั้ง 2 พรรค นำข้อเสนอและข้อเรียกร้องต่างๆ มาปฏิบัติเชิงนโยบาย

“แอมเนสตี้ฯ ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยและตัวแทนของขบวนการบีอาร์เอ็นที่กำลังอยู่ดำเนินการพูดคุยสันติภาพในขณะนี้ว่าขอให้ทั้ง 2 ฝ่าย เคารพสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรมต่อประชาชนในพื้นที่ เพราะแอมเนสตี้ฯมองว่า สันติภาพในพื้นที่จะไม่เกิดขึ้นเลย หากทั้ง 2 ฝ่าย ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรมต่อประชาชนในพื้นที่” นางสาวปริญญา กล่าว

นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ จากกลุ่มด้วยใจ ซึ่งเป็นกลุ่มสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ กล่าวในการเสวนา“ผลกกระทบต่อเด็กและผู้หญิงจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ว่า จากการที่กลุ่มด้วยใจเก็บข้อมูลผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในเรือนจำปัตตานีและเรือนจำกลางสงขลา พบว่า ร้อยละ 80 เคยถูกซ้อมทรมานหรือถูกละเมิดสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะการถูกทุบตีตามร่างกาย ซึ่งผู้ต้องขังมองเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรามองว่าผิดกฎหมาย นอกจากนี้กลุ่มด้วยพบว่ามีเยาวชนถูกละเมิดสิทธิด้วย 3 คน

นางสาวอัญชนา กล่าวอีกว่า กลุ่มด้วยใจร่วมกับสำนักพิมพ์โพรงกระต่าย และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้เก็บสถิติเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไม่สงบในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ถึง 26 พฤษภาคม 2556 พบว่า เสียชีวิต 62 ราย บาดเจ็บ 363 รวมทั้งหมด 425 ราย

“ในจำนวนนี้ มีเด็กบางคนที่ได้รับบาดเจ็บจนต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา หากวันใดขาดเครื่องช่วยหายใจ เด็กคนนี้ต้องเสียชีวิตทันที ดังนั้นกลุ่มด้วยใจ ขอเรียกร้องต่อผู้ที่ใช้ความรุนแรงทั้งหลาย ให้คำถึงเด็กและสตรีให้มากที่สุดด้วย” นางสาวอัญชนา กล่าว

ผศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ แสดงความเห็นว่า จากการทำงานในพื้นที่ 2-3 ปี ที่ผ่านมา พบว่า มีการละเมิดสิทธิจำนวนมาก แต่การเปล่งเสียงบอกสังคมใหญ่ให้รับรู้เรื่องนี้ยังไม่ดังพอ จึงทำให้เกิดการละเมิดสิทธิประชาชนอยู่เรื่อยๆ จากการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่

“จึงเป็นภารกิจร่วมกันระหว่างนักวิชาการและภาคประสังคมในพื้นที่ ต้องเปล่งเสียงดังๆออกมาให้สังคมใหญ่รับรู้ว่า กฎหมายพิเศษที่บังคับใช้ในพื้นที่ละเมิดสิทธิต่อประชาชนอย่างไร”ผศ.ดร.ณฐพงศ์ กล่าว

นางรอมือละ แซเยะ ภรรยาของนายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ ผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในพื้นที่ กล่าวว่า ฝากแอมเนสตี้ฯ ไปพิจารณาว่า กรณีของนายมูฮาหมัดอัณวัรเป็นนักโทษคดีการเมืองหรือไม่อย่างไร

ก่อนเสวนานา นางรอมือละได้การอ่านบทกวีของนายมูฮาหมัดอัณวัร ที่เขียนขึ้นในเรือนจำกลางปัตตานี ดังนี้



ต่างเผ่า ต่างคน ต่างวัฒนะ ล้วนต่างความคิด

ฉันไม่ยอมรับว่า ความคิดของฉันถูกหมด

ฉันยอมรับความคิดฉัน มีข้อผิดพลาด

ในเมืองที่ชนส่วนน้อย เป็นชนส่วนมาก

ฉันยังไม่มีพื้นที่ อนูเซลล์เล็กๆ ให้คิดเห็นต่าง

ฉันยังต้องเดินทาง ตามหาอิสรภาพ เสรีภาพ

ฉันยังต้องตามหา อิสรภาพที่ถูกพรากจากปาตานี

ฉันยังต้องตามหา ปาตานีที่อยู่พร้อมหน้ากับเสรีภาพ

ฉันยังคงเดินทาง เก็บเมอลายูปาตานีในกระเป๋าเสื้ออกซ้าย

เมอลายูปาตานี จะทนรอฉันอยู่นอกรั้วหนามกำแพงสูงได้ไหม

เจ้ากับข้า ใครจะได้พบปะกับอิสรภาพ เสรีภาพก่อนกัน

หากเจ้าปาตานี เจอเสรีภาพก่อนฉัน

ดึงฉันออกจากผนังกรงกำแพงอิฐสูงนี้ด้วย

หากข้าได้เจออิสรภาพก่อนเจ้า

ข้าจะทลวงหาวิธีที่สันติ พาเจ้าไปพบเสรีภาพ พร้อมข้า

                              สารจากห้องขังปาตานี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: สารจากห้องขังปาตานี

0
0

ต่างเผ่า ต่างคน ต่างวัฒนะ ล้วนต่างความคิด

ฉันไม่ยอมรับว่า ความคิดของฉันถูกหมด

ฉันยอมรับความคิดฉัน มีข้อผิดพลาด

ในเมืองที่ชนส่วนน้อย เป็นชนส่วนมาก

ฉันยังไม่มีพื้นที่ อนูเซลล์เล็กๆ ให้คิดเห็นต่าง

ฉันยังต้องเดินทาง ตามหาอิสรภาพ เสรีภาพ

ฉันยังต้องตามหา อิสรภาพที่ถูกพรากจากปาตานี

ฉันยังต้องตามหา ปาตานีที่อยู่พร้อมหน้ากับเสรีภาพ

ฉันยังคงเดินทาง เก็บเมอลายูปาตานีในกระเป๋าเสื้ออกซ้าย

เมอลายูปาตานี จะทนรอฉันอยู่นอกรั้วหนามกำแพงสูงได้ไหม

เจ้ากับข้า ใครจะได้พบปะกับอิสรภาพ เสรีภาพก่อนกัน

หากเจ้าปาตานี เจอเสรีภาพก่อนฉัน

ดึงฉันออกจากผนังกรงกำแพงอิฐสูงนี้ด้วย

หากข้าได้เจออิสรภาพก่อนเจ้า

ข้าจะทะลวงหาวิธีที่สันติ พาเจ้าไปพบเสรีภาพ พร้อมข้า

 

 

อธิบายภาพ: รอมือละ แซเยะ ภรรยาของนายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ ผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในพื้นที่ อ่านบทกวีของนายมูฮาหมัดอัณวัร ที่เขียนขึ้นในเรือนจำกลางปัตตานี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เนตรดาว เถาถวิล: เกษตรอินทรีย์ ดี แต่ทำไมไม่ทำ?

0
0

บทความชิ้นที่สอง จากชุดบทความ เกษตรอินทรีย์: จากไร่นาสู่โต๊ะอาหาร เป็นการมองความเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งในสังคมไทย ผ่านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การกระจาย และการบริโภคอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ สังคม สถาบันและชีวิตประจำวันของเรา


อนึ่ง ภายในสองไตรมาสแรกของปี  2556 ประชาไท จะทยอยนำเสนอบทความที่จะพยายามทำความเข้าใจวิถีชีวิตและความสัมพันธ์การผลิตของชนบทไทยในปัจจุบัน 4ประเด็นคือ การทำนาปรังในภาคกลาง, เกษตรพันธสัญญากรณีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือ,พืชเศรษฐกิจภาคอีสาน และเกษตรอินทรีย์ที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้

ในบทความนี้ ผู้เขียนตั้งคำถามว่า---ทำไมเกษตรกรจำนวนมากจึงไม่ทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็พูดว่า เกษตรอินทรีย์ดี ทั้งต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ดีต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม?

เรามักได้ยินคำสรรเสริญความดีงามของเกษตรกรที่ทำอินทรีย์ ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง เรามักได้ยินเสียงประณามเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมี

บ่อยครั้งที่เสียงเรียกร้องให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ มักจะไม่ใส่ใจเหตุผลของเกษตรกรที่ไม่ทำเกษตรอินทรีย์ หรือทำเกษตรอินทรีย์ แต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นสังคมจึงไม่เข้าใจว่า ระบบเกษตรอินทรีย์ที่ใครๆ ก็ว่าดี ทำไมจึงไม่สามารถขยายผล เกษตรกรไม่ทำเพิ่ม พื้นที่ผลิตไม่เพิ่ม หรือเกษตรกรทำแล้ว เลิกไปในที่สุด?

มีคำถามที่ท้าทาย แต่เราแทบไม่เคยถาม เช่น จริงหรือไม่ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทำเกษตรอินทรีย์ เพราะขาดความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของสารเคมี จริงหรือที่เกษตรกรไม่ใส่ใจปัญหาสุขภาพ จริงหรือที่เกษตรกรขาดจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม จริงหรือที่พวกเขาคิดถึงแต่เงินเพียงอย่างเดียว?

ภาพสร้างเกี่ยวกับ “เกษตรอินทรีย์”

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิชาการชื่อดัง James C. Scott  ได้อธิบายการสร้างความทันสมัยในภาคเกษตรกรรมในฐานะที่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับองคาพยพ เพราะมันเป็นการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้านพร้อมกัน เช่น การความหมายของเวลา เปลี่ยนเป้าหมายของการใช้พื้นที่ทางกายภาพ รวมถึงสร้างคุณค่าทางจริยธรรมให้แก่การทำงานขึ้นมาใหม่ โดยนัยดังกล่าว การสร้างความทันสมัยจึงเป็นโครงการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เพื่อสร้างอรรถประโยชน์ และผลิตผลสูงสุด การสร้างความทันสมัยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อจัดจำแนกประเภทให้แก่สิ่งต่างๆ และเน้นการสร้างความเหมือนกันของธรรมชาติ เพื่อให้ง่ายต่อการแจงนับและควบคุม เช่น การแยกประเภท “พืชที่มีมูลค่า” กับ “พืชที่ไม่มีมูลค่า” และการแจงนับมูลค่าของพืชที่มีมูลค่าเท่านั้น เพื่อให้สามารถคำนวณผลกำไรที่เกิดจากการดัดแปลงธรรมชาติ[i]

จากข้อเสนอของ  Scott หากพิจารณาการจำแนกเกษตรเคมี/เกษตรอินทรีย์ จะพบว่าความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ถูกสร้างขึ้นผ่านการจำแนกประเภทเกษตรอินทรีย์/เกษตรเคมี และการสร้างความหมายในเชิงขั้วตรงข้าม ในขณะที่เกษตรอินทรีย์ถูกสร้างความเข้าใจว่าเป็นระบบเกษตรกรรมในอุดมคติ เป็นระบบเกษตรปลอดภัย ช่วยให้เกษตรกรพึ่งตนเอง ฯลฯ เกษตรเคมีถูกสร้างความหมายเท่ากับระบบเกษตรที่เลวร้าย เป็นอันตราย เป็นสาเหตุของความล่มสลายของเศรษฐกิจครัวเรือนชาวนา ฯลฯ การจำแนกความแตกต่างระหว่างระบบเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว นำไปสู่การให้คุณค่าและมูลค่าให้แก่ระบบเกษตรอินทรีย์ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ คือเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีถูกตีตราว่าเป็น “คนที่ขาดความรู้” “ขาดจิตสำนึก” “ไม่รักธรรมชาติ” “ไม่รับผิดชอบต่อสังคม” เป็น “ฆาตกร” ที่ฆ่าผู้บริโภคให้ตายผ่อน เพียงเพราะพวกเขาไม่ทำเกษตรกรรมตามอุดมคติที่สังคมคาดหวัง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว

การรณรงค์ผ่านสื่อจำนวนมากสร้างความเชื่อว่า เกษตรกรไทยเสพติดปุ๋ยเคมี มีพฤติกรรมเสพติดยา (ฆ่าแมลง) ใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างขาดความรู้ความเข้าใจ มีความโลภ อยากรวยเร็ว ชอบทำนาแบบมักง่าย เน้นทำเกษตรแบบรวดเร็ว ปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตระยะสั้น เพราะอยากได้ผลผลิตมาก จึงเร่งปุ๋ยเร่งยา โดยไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดกับคนหรือธรรมชาติ ฯลฯ  ทำให้ข้อเรียกร้องต่อการเปลี่ยนแปลง พุ่งเป้าไปที่ตัวเกษตรกร ให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำเกษตร โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่บีบบังคับให้เกษตรกรยังคงใช้สารเคมีทางการเกษตรต่อไป

ทั้งๆ ที่การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นผลของการส่งเสริมระบบเกษตรสมัยใหม่ที่ทำกันมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษในสังคมไทย  และเป็นกระบวนการที่มีปัจจัยเกี่ยวข้องอย่างสลับซับซ้อน แต่การวิเคราะห์ผลกระทบของเกษตรแผนใหม่ กลับลดทอนความซับซ้อนของปรากฏการณ์ โดยเลือกที่จะหยิบยกปัจจัยบางด้านมาอธิบาย เช่น การกล่าวว่าการปลูกข้าวพันธุ์ผสม ซึ่งตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นสาเหตุที่ทำให้ดินเสื่อม และทำให้ผลผลิตลดลงในระยะยาว ทำให้เกษตรกรเป็นหนี้สิน และการล่มสลายของครัวเรือนชาวนา ซึ่งแม้จะมีส่วนจริง แต่ก็เป็นเพียงเงื่อนไขบางประการของการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรกรรม

ในขณะที่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ ที่มีอิทธิพลไม่น้อยไปกว่ากัน เช่น พลังผลักดันของระบบตลาด ที่ทำให้เกิดการปลูกพืชพันธุ์สมัยใหม่อย่างแพร่หลาย เพื่อส่งออกขายในตลาดต่างประเทศ การปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่สามารถจัดการได้ง่ายด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่กลับใช้แร่ธาตุต่างๆ ในดินจนเสียสมดุล ศักยภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีในหมู่เกษตรกรที่มีฐานะแตกต่างกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบชลประทานที่ไม่มีความเท่าเทียมกันในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตแตกต่างกัน ฯลฯ เงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ยังไม่ถูกนำมาพิจารณาอย่างรอบด้าน ว่าเป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิวัติเขียวในประเทศไทย

ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่า การตัดสินใจของเกษตรกรในการทำเกษตรกรรม เป็นผลมาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ สังคมและนิเวศอย่างสลับซับซ้อน ครั้งหนึ่งผู้เขียนถามชาวนาอีสานว่า ทำไมไม่ปลูกข้าวพันธุ์ดั้งเดิม ทำไมจึงเปลี่ยนมาปลูกข้าวพันธ์ใหม่ ชาวนาตอบว่า เพราะข้าวพันธุ์ดั้งเดิมแข็งหลายชนิดผลผลิตไม่ดี รสชาติไม่อร่อย และขายไม่ได้ราคา ในขณะที่ข้าวพันธุ์ใหม่หลายชนิดให้ผลผลิตสูง เมล็ดข้าวนิ่มเมื่อหุงสุกแล้ว รสชาติดีกว่า จึงเป็นที่ต้องการของตลาด และขายได้ราคาดี

แม้ชาวนาในจังหวัดอุบลราชธานีจะพูดถึงข้อดีของข้าวพันธุ์ใหม่ กระนั้นก็ตาม ผู้เขียนกลับพบว่าชาวนาจำนวนมากยังคงปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ แม้ในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อส่งออกที่สำคัญ ชาวนาก็ไม่ได้เปลี่ยนไปปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ทั้งหมด แต่ยังคงใช้ที่ดินส่วนหนึ่งปลูกข้าวพันธุ์ดั้งเดิมอยู่  ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เพื่อใช้ทำแป้งสำหรับทำขนม เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อเชิงจารีตประเพณี ฯลฯ การตัดสินใจเลือกพันธุ์ข้าวของชาวนา ทำให้ผู้เขียนตระหนักว่า การตัดสินใจของชาวนาในการทำเกษตรมีเหตุผลสลับซับซ้อน แต่คนภายนอกอาจละเลยการนำมุมมองของเกษตรกรมาใช้ในการวิเคราะห์

น่าประหลาดใจว่า เสียงเรียกร้องให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร พากันเหล่านั้นหลงลืมไปอย่างไม่น่าเชื่อว่า เมื่อ 50 ปีเศษนี้เอง ชาวนาไทยไม่รู้จักสารเคมีทางการเกษตร แต่เป็นเพราะหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชนได้พากันส่งเสริมเกษตรแผนใหม่ แนะนำให้ชาวนารู้จักปุ๋ยเคมีและใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายตลอดช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรในปัจจุบัน เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมระบบเกษตรแผนใหม่ ซึ่งมีกลุ่มคนหลายฝ่ายร่วมกันสร้างและควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบ  

ก่อนการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 หรือก่อนปี 2500 นักวิชาการทางการเกษตรบันทึกว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่ทำให้ชาวนาไทยยอมรับระบบเกษตรสมัยใหม่ เพราะชาวนาไทยเคยชินกับการทำนาแบบธรรมชาติ ไม่ยอมใช้ปัจจัยนำเข้า เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ฯลฯ เพื่อเพิ่มผลผลิต ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศระบุว่า ปัญหาการส่งเสริมเกษตรแผนใหม่ เกิดจากการไม่สามารถโน้มน้าวใจชาวนาไทยให้ลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีและปัจจัยการผลิตอื่นๆ มาใส่นา ทีมนักวิจัยจากต่างประเทศถึงกับบินมาทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบว่า ทำไมชาวนาไทยจึงไม่ยอมใช้ปุ๋ยเคมี แม้จะมีการแจกให้ใช้ฟรีๆ หรือขายในราคาถูก ก็ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรในเวลานั้น

ผลการวิจัยพบว่า ชาวนาภาคกลางมีแนวโน้มยอมรับปุ๋ยเคมี มากกว่าชาวนาภูมิภาคอื่นๆ เพราะชาวนาภาคกลางเห็นว่าการใช้ปุ๋ยเคมีในภาคกลางสามารถสร้างผลผลิตสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เหตุผลส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวนาภาคกลางเข้าถึงระบบชลประทานได้ดีกว่า ส่วนชาวนาภาคอีสานกลับมองว่า การใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ม แต่ผลผลิตกลับไม่เพิ่มมากมาย ชาวนาอีสานขึ้นชื่อว่าไม่ยอมรับปุ๋ยเคมี เพราะเห็นว่าการซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่นา ได้ข้าวไม่คุ้มค่าราคาปุ๋ย ทั้งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของทีมผู้เชี่ยวชาญที่พบว่า ปริมาณเฉลี่ยของปุ๋ยเคมีที่ใช้ไปในภาคอีสาน สร้างผลผลิตเพิ่มขึ้นแค่ 12 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนนี้ ไม่เพียงพอที่จะชักจูงใจให้ชาวนามองเห็นผลกำไรจากการซื้อปุ๋ยเคมี จึงไม่สามารถกระตุ้นชาวนาที่ทำนาเพียงแค่พอมีข้าวพอกินให้หันมาปลูกข้าวเพื่อขาย  ส่วนกลุ่มชาวนาที่ปลูกข้าวเพื่อขายอยู่แล้ว เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มยอมรับการใช้ปุ๋ยเคมีมากกว่า นักวิจัยจึงมีข้อสรุปว่า หากการใช้ปุ๋ยเคมีไม่สร้างผลผลิตเพิ่มชัดเจน ทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่า ชาวนาก็ไม่ยอมรับปุ๋ยเคมีมากขึ้น

นอกจากนั้น นักวิชาการที่ทำวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีของชาวนาไทยให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่า ชาวนาไทยใช้เหตุผลในการตัดสินใจใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่ปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ทัศนคติ คุณสมบัติส่วนบุคคล และมาตรการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจใช้สารเคมีทางการเกษตรของชาวนาไทย ถ้าผลตอบแทนจากการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรยังไม่ปรากฏชัดเจน ชาวนาจะไม่ยอมลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่นา จากผลการศึกษาดังกล่าว ทีมวิจัยจึงได้ให้ข้อเสนอแนะว่า หากต้องการให้มีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นในภาคอีสาน ผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการใช้ปุ๋ยเคมีต้องเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน นักส่งเสริมการเกษตรแผนใหม่ต้องทำให้ชาวนาประจักษ์ด้วยตนเองว่า การใช้ปุ๋ยเคมีสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้นจริง และให้ผลตอบแทนคุ้มค่า ซึ่งหมายความว่าราคาปุ๋ยเคมีต้องไม่สูงเกินไป และพันธุ์ข้าวต้องตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี รวมถึงมีการกำหนดนโยบายจัดการน้ำที่เหมาะสมด้วย [ii]

น่าสนใจว่า เหตุใดข้อเท็จจริงที่สำคัญเช่นนี้ กลับถูกละเลยไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อมีการพูดถึงปัญหาการใช้สารเคมีทางการเกษตรของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรณรงค์ผ่านสื่อโดยนักเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี กลับไม่เคยพูดถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ในทางตรงกันข้าม เรากลับได้ยินการตอกย้ำมายาคติว่า เกษตรกรไทยชื่นชอบและเสพติดสารเคมีทางการเกษตรแบบถอนตัวไม่ขึ้น น่าประหลาดใจยิ่งขึ้นไปอีก ในขณะที่มีการประณามเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีทางการเกษตร เรากลับได้ยินการยกย่องบิดาแห่งเกษตรสมัยใหม่ ผ่านการผลิตซ้ำวาทกรรม “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาสิของจริง” ของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร อย่างสม่ำเสมอ หม่อมเจ้าสิทธิพรเป็นชนชั้นสูงที่สนใจการเกษตรสมัยใหม่ และเป็นผู้ผลักดันเกษตรสมัยใหม่ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย ผ่านการทำหนังสือพิมพ์กสิกร และการทำฟาร์ม “บางเบิด” ของพระองค์ท่านที่จังหวัดประขวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นแปลงศึกษาดูงาน และเป็นตัวอย่างของการจัดการฟาร์มแบบเกษตรสมัยใหม่[iii]ความย้อนแย้งเห็นได้จากการที่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อรณรงค์การผลิตอาหารปลอดภัยยกย่องบิดาแห่งการเกษตรสมัยใหม่ แต่กลับมีทัศนคติเชิงลบต่อชาวนาที่เดินตามรอยบิดาแห่งการเกษตรสมัยใหม่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

สิ่งที่เราควรให้ความสนใจมากขึ้น คือการพยายามทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาภาคเกษตรจากมุมมองของเกษตรกรซึ่งเป็นเจ้าของปัญหา ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมที่มีความสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลง เช่น เหตุผลเรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตร การรับรู้ความความเสี่ยงของสารเคมีทางการเกษตรจากมุมมองของเกษตรกร และเงื่อนไขของการเลือกใช้สารเคมีทางการเกษตรในพืชแต่ละประเภทที่เกษตรกรปลูก หรือในแต่ละช่วงเวลาของการผลิต ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในชนบท ซึ่งมุมมองของเกษตรกรอาจแตกต่างจากความเข้าใจของคนนอก แต่ก็ถือว่าสำคัญต่อการทำความเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ ที่บีบบังคับเกษตรกรอยู่ในปัจจุบัน

ทว่าความเป็นจริงกลับหาได้เป็นเช่นนั้น ในขณะที่สังคมตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีทางการเกษตร และผู้บริโภคชนชั้นกลางตื่นตัวเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัยมากขึ้น ความตื่นตัวดังกล่าวในหลายกรณี กลับกลายเป็นแรงกดดันสำหรับเกษตรกรที่ยังคงใช้สารเคมีทางการเกษตร  ส่วนเกษตรกรที่ตัดสินใจเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตรและหันมาทำเกษตรอินทรีย์  พวกเขากลับไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ และไม่ได้รับเงินชดเชย สำหรับต้นทุนที่ต้องจ่ายไป หรือผลผลิตที่ลดลงในช่วงของการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์ เท่ากับว่าเกษตรกรต้องแบกรับภาระความคาดหวังของสังคมโดยลำพัง

ความทุกข์ที่ไม่มีใครฟัง

ข้อมูลจากการจัดประชุมกลุ่มเกษตรกรในหลายโอกาสที่ผู้เขียนเข้าร่วมพบว่า เกษตรกรที่มีฐานะยากจนระบุว่าพวกเขาไม่สามารถทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งๆ ที่มีความสนใจ เพราะมีอุปสรรคมากมาย เช่น การมีที่ดินน้อย ทำนาได้ผลผลิตน้อย ขายข้าวได้เงินไม่พอกิน ทำให้ครัวเรือนชาวนาเห็นว่าการทำงานรับจ้างมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของครัวเรือน ด้วยเหตุผลดังกล่าว การรีบทำนาให้เสร็จ เพื่อเอาเวลาไปทำงานรับจ้าง จึงเป็นกลยุทธ์การดำรงชีพที่สำคัญสำหรับครัวเรือนชาวนาในยุคของที่สังคมชนบทถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมทุนนิยม และชนบทพึ่งพิงรายได้จากภาคเมืองมากขึ้น ดังนั้นในมุมมองของชาวนายากจนจำนวนไม่น้อยจึงเห็นว่า การทำนาหว่าน และใส่ปุ๋ยเคมี สอดคล้องกับเงื่อนไขการดำรงชีพที่มีข้อจำกัดมากกว่าการทำนาอินทรีย์

นอกจากนั้น เงื่อนไขด้านแรงงานก็เป็นข้อจำกัดของชาวนาในการทำนาอินทรีย์ด้วย ชาวนาระบุว่า พวกเขาไม่มีแรงงานในครัวเรือนเพียงพอในการทำนา และไม่มีเวลาในการดูแลไร่นามากนัก ชาวนาบางคนให้ข้อมูลว่า ปัญหาค่าแรงสูง ทำให้ชาวนาไม่มีเงินที่จะจ้างแรงงานในการผลิต แต่การทำนาอินทรีย์ต้องใช้แรงงานสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำปุ๋ยหมัก การปักดำ การกำจัดวัชพืช และการเก็บเกี่ยว ซึ่งต้องใช้แรงงานคนเท่านั้น บางโครงการเรียกร้องให้เกษตรกรนั่งคัดสิ่งเจือปนและพันธุ์ข้าวปนที่ติดมาด้วยมือก็มี ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และค่าจ้างแรงงานจึงเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของครัวเรือนชาวนาที่ต้องการทำนาอินทรีย์ ยิ่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดปัญหาโรคร้อน ความแห้งแล้งยาวนา ฝนทิ้งช่วง น้ำไม่เพียงพอทำนา ผลผลิตไม่ดี หญ้าและวัชพืชระบาด แย่งอาหารจากต้นข้าว การทำนาอินทรีย์ยิ่งต้องการแรงงานในการดูแลไร่นามาก และเป็นการใช้แรงงานในการจัดการไร่นาต่อเนื่องตลอดทั้งปี  เงื่อนไขนี้กลายเป็นข้อจำกัดสำหรับครัวเรือนชาวนาที่ยากจนและมีแรงงานในการทำนาไม่เพียงพอ

ชาวนาบางคนระบุว่า การระบาดของแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตเสียหาย แต่ชาวนาอินทรีย์ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงต้องยอมรับความสูญเสีย ส่วนการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน แม้จะช่วยป้องกันปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงทั้งหมด เพราะชาวนาทำการเกษตรในระบบเปิด จึงมีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และมีความเสี่ยงจากการระบาดของศัตรูพืชจากแปลงเกษตรข้างเคียง เมื่อพิจารณาร่วมกับข้อเท็จจริงที่ว่า ราคาข้าวอินทรีย์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างจากราคาข้าวเคมีมากนัก การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีความเสี่ยงสูง จึงทำให้ชาวนาไม่มีแรงจูงใจที่จะทำนาอินทรีย์

นอกจากนั้น ชาวนาบางคนเห็นว่าการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านๆ มา เป็นการทำตามนโยบาย เมื่อหมดโครงการ หรืองบประมาณ ก็หยุดการส่งเสริม การขาดความจริงจังต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ขาดความเชื่อมั่น และเมื่อมีปัญหาในการผลิต ก็ขาดผู้ให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหา

 ผู้เขียนตระหนักว่า เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ในระบบที่แตกต่าง ย่อมมีเงื่อนไขการผลิตแตกต่างกัน มีรูปแบบความสัมพันธ์ในระบบการผลิตแตกต่างกัน เกษตรกรย่อมมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน และเผชิญกับปัญหาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเกษตรกรได้รับการสนับสนุนด้านความรู้  และเทคโนโลยีในการผลิตหรือไม่ มีทุนเพียงพอหรือไม่ มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตหรือไม่ เกษตรกรถูกควบคุมกระบวนการผลิตอย่างไร มีตลาดรับซื้อผลผลิตหรือไม่ ตลาดรับซื้อผลผลิตราคาเท่าไร รวมถึงมีเงื่อนไขการหักเงินรายได้ ในกรณีที่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่

ประเด็นที่ควรจะได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังมากขึ้น คือเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ภายใต้ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบใด เนื่องจากผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะโดยการส่งเสริมของบริษัทธุรกิจการเกษตร หรือองค์กรพัฒนาเอกชน มักเป็นการผลิตในระบบเกษตรพันธะสัญญา (Contract farming) การทำเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรพันธะสัญญามีผลดีและผลเสียอย่างไรยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรในระบบเกษตรพันธะสัญญามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ผลิต พื้นที่แหล่งผลิต เงื่อนไขการผลิต เงื่อนไขการรับซื้อ แต่การศึกษาวิจัยเรื่องเกษตรพันธะสัญญาในระบบเกษตรอินทรีย์ยังมีไม่มากพอ

ในขณะที่การทำเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรพันธะสัญญากับธุรกิจเอกชน มักจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตอย่างเต็มที่ ควบคู่กับการสนับสนุนในด้านความรู้หรือเทคโนโลยีการผลิต งบประมาณ และปัจจัยการผลิตค่อนข้างดี มีตลาดรับซื้อค่อนข้างแน่นอน ราคารับซื้อผลผลิตค่อนข้างแน่นอน แต่ระบบนี้มีการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเข้มงวด และมีการบังคับใช้แรงงานอย่างเข้มข้น รวมถึงมีเงื่อนไขการหักเปอร์เซ็นต์เงินรายได้ หรืออาจปฏิเสธการรับซื้อผลผลิตที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลง ทำให้เกษตรกรที่ผลิตภายใต้มีความกดดันและมีความเสี่ยงสูง

สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรพัฒนาเอกชน เป็นระบบการผลิตที่มีการสนับสนุนด้านความรู้หรือเทคโนโลยีการผลิตค่อนข้างดี แต่การสนับสนุนเงินทุนและปัจจัยการผลิตยังจำกัด และมักจะไม่มีการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร และขาดการส่งเสริมด้านการตลาด ทำให้การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ทำแบบไม่ครบวงจร เกษตรกรขาดความเชื่อมั่นว่าจะขายผลผลิตได้กำไร อย่างไรก็ดี ในระยะหลังการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์โดยองค์กรพัฒนาเอกชนบางองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบตลาดมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์เพื่อการค้า รวมถึงมีการพัฒนานวตกรรมใหม่ ที่เชื่อมผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าด้วยกัน เช่น ระบบ Community Support Agriculture (CSA) ซึ่งมีการทำข้อตกลงว่า ผู้บริโภคและผู้ผลิตคือหุ้นส่วนผู้สนับสนุนความอยู่รอดของกันและกัน โดยผู้บริโภคต้องจ่ายเงินก่อนล่วงหน้า เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในการผลิต และยอมซื้อผลผลิตในราคาสูงกว่าปกติ เพื่อช่วยให้เกษตรกรอยู่รอดได้ แลกเปลี่ยนกับการที่เกษตรกรจะผลิตอาหารปลอดภัยและมีคุณค่าสำหรับการบริโภค

ชีวิตไม่เป็นดังเช่นในนิทาน

จะเห็นได้ว่า เกษตรกรในระบบเกษตรอินทรีย์ต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายเรื่อง ซึ่งบางเรื่องเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมี อาจไม่ประสบปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนขอยกกรณีตัวอย่างของชาวนาอินทรีย์ในภาคอีสานบางคน เพื่อสะท้อนภาพชีวิตชาวนาที่กำลังประสบปัญหาอยู่จริง และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถาม และการพยายามทำความเข้าใจถึงเงื่อนไข ข้อจำกัด ปัญหาและแรงกดดันของชาวนาอินทรีย์ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับภาพความเข้าใจเชิงอุดมคติที่หลายคนคุ้นชิน

กรณีแรก: นางสมสุข วังงาม (นามสมมติ)

นางสมสุข วังงาม เป็นชาวนายากจน จากจังหวัดอุบลราชธานี เธอมีฐานะยากจน จัดอยู่ในกลุ่มคนชายขอบ เพราะเธอมีที่นาเพียงแค่ 10 ไร่ และมีรายได้ต่ำมาก สามีของเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่เธอคลอดลูกคนที่สาม นางสมสุขไม่มีเงินซื้อรถไถและเครื่องจักรช่วยทำนา ดังนั้นเธอจึงใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัว ร่วมกับแรงควาย เพื่อไถนา ยิ่งไปกว่านั้น นางสมสุขยังมีฐานะเป็นแม่ม่าย เธอมีภาระเลี้ยงดูลูกถึง 3 คน เมื่อลูกๆ เติบโตขึ้นสู่วัยแรงงาน ลูกสาวสองคนที่อยู่ในวัยรุ่นได้อพยพไปทำงานต่างถิ่น เหลือลูกชายเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เป็นแรงงานช่วยนางสมสุขทำนา ครอบครัวนางสมสุขใช้แรงงานของครอบครัวทำนา เพราะไม่มีเงินจ้างแรงงานมาช่วยทำนาเหมือนครัวเรือนอื่นๆ นางสมสุขไม่มีเวลาไปทำงานรับจ้าง เธอจึงไม่มีรายได้จากทางอื่น

เนื่องจากนางสมสุขมีที่ดินน้อย เธอได้ข้าวแค่พอกิน เหลือขายเพียงเล็กน้อย  นางสมสุขได้เงินจากการขายข้าวเพียงปีละ 4,000-5,000 บาท เท่านั้น แต่รายได้ก้อนนี้ก็ต้องใช้ในการใช้หนี้สิน และลงทุนทำนาในปีต่อไป ซึ่งหมายความว่าเธอแทบไม่มีกำไรจากการทำนาเลย

นางสมสุขก็เหมือนเพื่อนบ้านของเธอที่ยังคงทำนาเคมี เธอเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) หลายหมื่นบาท นอกจากนี้เธอยังเป็นหนี้กองทุนหมู่บ้านและอื่นๆ จำนวนไม่มากนัก หนี้สินเหล่านี้เกิดจากการกู้เงินมาลงทุนทำนาในอดีต ใช้สร้างบ้าน และใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน พูดตามความจริงแล้ว ความอยู่รอดของครอบครัวนางสมสุขไม่ได้มาจากการขายข้าวอินทรีย์ แต่มาจากเงินที่ได้จากการทำงานรับจ้างของลูกๆ ทั้งสามคน จำนวนเงินส่งกลับของลูกสาวสองคนที่ออกไปทำงานรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมกรุงเทพ นับเป็นรายได้หลักของครอบครัว ส่วนลูกชายที่ช่วยนางสมสุขทำนาก็อพยพไปทำงานในโรงงานหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว

นางสมสุข เป็นชาวนารุ่นแรกที่สมัครเข้าร่วมเป็นเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์โดยองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่ง เธอเชื่อมั่นว่าเกษตรอินทรีย์จะทำให้ทั้งชาวนาและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี และทำให้ดินฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ ผู้เขียนตระหนักว่า นางสมสุขมีความศรัทธาในการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมาก เห็นได้จากการที่เธอทำนาอินทรีย์มานานกว่า 7 ปี เธอเลี้ยงวัวควายเพื่อเอามูลสัตว์มาทำปุ๋ยคอก เธอทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง และเธอทำหมักปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวนาเกษตรอินทรีย์บางคนไม่ทำ

อย่างไรก็ดี เพียง 2-3 ปีหลังจากปรับเปลี่ยนแปลงนามาเป็นเกษตรอินทรีย์ นางสมสุขก็ถูกให้ออกจากโครงการ ด้วยข้อกล่าวหาร้ายแรงว่า เธอแอบใส่ปุ๋ยเคมีในนา เมื่อผู้เขียนพบเธอครั้งแรกในงานประเพณีของหมู่บ้าน นางสมสุขยอมรับว่า เธอถูกให้ออกจากโครงการจริง เธอไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ในครั้งแรกที่เราพบกัน แต่เมื่อผู้เขียนฉุกคิดว่า แม้จะออกจากโครงการมาหลายปีแล้ว เหตุใดนางสมสุขจึงยังคงทำนาอินทรีย์มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้เขียนสนใจใคร่รู้เหตุผลที่ทำให้เธอถูกให้ออกจากโครงการ เมื่อเราสานสัมพันธ์จนสนิทสนมคุ้นเคยกัน วันหนึ่งนางสมสุขก็เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เธอถูกให้ออกจากโครงการฯ เพราะลูกสาวของเธอที่ทำงานในโรงงานที่กรุงเทพใส่ปุ๋ยเคมีลงในแปลงนาอินทรีย์ของเธอ

เมื่อผู้เขียนถามว่า ทำไมลูกสาวของเธอจึงทำเช่นนั้น นางสมสุขเล่าว่า:

 “วันนั้นฉันกลับมาจากถอนกล้า หลังจากทำงานกลางแดดร้อนมาทั้งวัน ฉันเหนื่อยและหิวมาก ฉันเดินเข้าไปในครัว แล้วก็รู้สึกหน้ามืด และล้มลงสลบไปบนพื้นครัว น้องสาวของฉันที่อยู่บ้านใกล้กันมาเห็นเข้า จึงโทรศัพท์ตามลูกสาวของฉันที่ทำงานอยู่กรุงเทพ เมื่อลูกสาวของฉันกลับมา เธอโกรธมากที่ฉันทนทรมานทำนาอินทรีย์ เธอไม่พอใจที่การทำนาอินทรีย์ทำให้ฉันต้องเหนื่อยมาก เธอจึงออกไปซื้อปุ๋ยเคมีจากร้านค้าในหมู่บ้าน แล้วกลับเอามาหว่านใส่แปลงนา เพื่อแกล้งให้ฉันถูกไล่ออก เมื่อผู้ตรวจแปลงนามาเห็นเข้า ฉันก็ถูกไล่ออก สมใจลูกสาวของฉัน”

คำถามผุดขึ้นในใจของผู้เขียน---ทำไมลูกสาวนางสมสุขจึงอยากให้แม่ของเธอเลิกทำนาอินทรีย์?

นางสมสุขเล่าว่า ลูกสาวของเธอมองว่า การทำนาอินทรีย์ทำให้เธอต้องทำงานหนัก แต่กลับให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า แต่เมื่อนางสมสุขยืนยันว่าจะทำนาอินทรีย์ต่อไป ทั้งที่ข้าวอินทรีย์ที่ขายแต่ละปีได้เงินไม่พอเลี้ยงชีพ ลูกสาวของเธอก็ไม่อาจขัดขวางความต้องการของแม่ ปัจจุบันนางสมสุขจึงยังคงทำนาอินทรีย์อยู่เรื่อยมา การที่นางสมสุขแน่วแน่ในการทำนาอินทรีย์ ทำให้เพื่อนบ้านเรียกเธออย่างชื่นชมแกมล้อเลียนว่า “ชาวนาอินทรีย์ตัวจริง แต่ไม่มีใบปริญญา” นางสมสุขนับเป็นภาพสะท้อนของชาวนาที่มีความมุ่งมั่นศรัทธาต่อเกษตรอินทรีย์ แต่เงื่อนไขทางสังคม และแรงกดดันทางเศรษฐกิจ ทำให้เธอไม่สามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้ ดังนั้นผลผลิตข้าวที่เธอปลูก จึงไม่สามารถขายในราคาข้าวอินทรีย์ แม้ว่าต่อมาเธอจะสมัครเข้าร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ภายใต้การส่งเสริมขององค์กรพัฒนาเอกชนอีกแห่งหนึ่ง แต่รายได้จากการขายข้าวก็ไม่ได้ทำให้เธออยู่รอดได้ เพราะเธอต้องกู้เงินโครงการมาปรับที่นา และปลูกข้าวเหลือผลผลิตขายไม่มาก และยังถูกกดราคาข้าวต่ำมากด้วย 

ชาวนารายย่อย มีที่ดินน้อย และมีฐานะยากจน อย่างเช่นนางสมสุข เป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางสูง เพราะชาวนารายย่อยมักจะปลูกพืชคู่ขนาน เช่น การทำนาหลายระบบ หรือทำนาเคมีคู่ขนานกับทำนาอินทรีย์ และชาวนารายย่อยจำนวนไม่น้อยมักจะเช่านาคนอื่นทำกินด้วย ที่ชาวนารายย่อยทำการผลิตพืชคู่ขนาน ก็ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ เพราะการทำนาหลายแปลง ช่วยกระจายความเสี่ยง และช่วยเพิ่มแหล่งรายได้

อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชคู่ขนานกลับทำให้พวกเขาเสี่ยงที่จะถูกตัดสินว่าทำผิดกฎการทำนาอินทรีย์และถูกให้ออกจากโครงการฯ เพราะการทำเกษตรอินทรีย์มีกฎว่าชาวนาต้องทำเกษตรอินทรีย์ในทุกแปลงเกษตรที่ตนเป็นผู้จัดการดูแล นั่นเท่ากับว่าชาวนาถูกบีบให้เลิกทำการผลิตหลายระบบ เพื่อเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์เพียงอย่างเดียว แต่ชาวนารายย่อยกลับไม่มีความมั่นใจว่า การทำนาอินทรีย์ในที่ดินขนาดเล็ก เพียงอย่างเดียว จะทำให้พวกเขาสามารถอยู่รอดได้ ดังนั้นการคาดหวังให้ชาวนายากจนพึ่งตนเองได้จากการทำนาอินทรีย์ แม้ว่าจะเป็นไปด้วยเจตนาดี แต่กลับทำให้ชาวนายากจนมีความเปราะบางมากขึ้น และมีทางเลือกในการดำรงชีวิตที่แคบลง[iv]

กรณีที่สอง: นายคำ พานทอง (นามสมมติ)

นายคำ พานทอง ชาวนาฐานะปานกลาง จากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกคนหนึ่งที่เคยทำนาอินทรีย์นานถึง 10 ปี ที่นาของเขาได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเป็นเกษตรอินทรีย์มานานกว่า 7 ปี แต่ในปีที่ฉันพบเขา ไม่นานเขาก็ลาออกจากโครงการ นายคำเล่าว่า ชาวนาที่ปลูกข้าวอินทรีย์มีปัญหาเรื่องปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น ค่าแรงงานรับจ้างเพิ่ม แต่กลับไม่มีตลาดอินทรีย์รับซื้อผลผลิตที่แน่นอน ถูกกดราคาข้าวจากผู้รับซื้อที่ผูกขาด

เท่าที่ฉันได้พบและรู้จากปากคำของเพื่อนบ้าน นายคำเป็นชาวนาที่ขยันมาก เห็นได้จากการทำนาหลายแปลง ทั้งยังไปทำงานรับจ้างก่อสร้างนอกฤดูทำนาอีกด้วย ยามว่างเขายังทำโรงสีข้าวขนาดเล็กในหมู่บ้านด้วย แต่นายคำบอกว่า การที่ขายข้าวอินทรีย์ได้ราคาไม่แตกต่างจากข้าวเคมีมากนัก แต่กลับมีการหักเงินสะสมจากราคาขายข้าว ถึงกิโลกรัมละ 1 บาท เพื่อสมทบเข้ากลุ่มผู้ผลิตฯ แม้โครงการจะบอกว่า เงินหักสะสมดังกล่าวเป็นเงินออมเพื่อช่วยเหลือชาวนา แต่ในมุมมองของชาวนาเช่นนายคำ การหักเงินดังกล่าว ทำให้ชาวนาได้เงินสุทธิจากการขายข้าวน้อยลง ในมุมมองของชาวนาจึงมองว่า การหักเงินสะสม เปรียบเสมือนการยึดเงินของชาวนาไปเป็นตัวประกัน เพื่อบีบบังคับให้ชาวนาปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในการทำนาอินทรีย์ หากโครงการตรวจสอบพบว่าชาวนาทำผิดกฎการทำนาอินทรีย์โดยจงใจ ชาวนาคนที่ทำผิดก็จะถูกริบเงินสะสมทั้งหมดที่ออมไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว กฎระเบียบของการทำนาอินทรีย์ และเงื่อนไขการปรับด้วยการหักเงินสะสม จึงกลายเป็นแรงกดดันที่ทำให้ชาวนาจำนวนหนึ่งไม่อยากทำนาอินทรีย์[v]

จากข้อเท็จจริงและกรณีศึกษาที่นำเสนอมาข้างต้น ทำให้เข้าใจว่าการที่เกษตรกรจำนวนมากไม่สามารถทำเกษตรอินทรีย์เป็นผลสำเร็จ ไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาขาดความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของสารเคมี หรือไม่ใส่ใจปัญหาสุขภาพ อีกทั้งไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาขาดจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาคิดถึงแต่เงินเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นเพราะมีเงื่อนไขเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและนิเวศเข้ามากำกับทิศทางการทำเกษตรของไทย ตลอดจนมีแรงกดดันมากมาย ที่ทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้สำเร็จ ทั้งๆ ที่หลายคนอาจต้องการทำเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นหากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อรณรงค์เรื่องการผลิตอาหารปลอดภัยต้องการบรรลุผลสำเร็จ สิ่งที่ควรตระหนัก คือการช่วยลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆ ที่จะทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าสู่ระบบการผลิตอาหารปลอดภัย และสร้างเงื่อนไขเชิงสนับสนุนที่จะช่วยให้เกษตรกรทำการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น  




[i] Scott, James C. 1998. Seeing Like a State: How Certain Schemes to Improve the Human Condition Have Failed. New Haven and London: Yale University Press.

[ii]โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Kolshis, Halvar J. (1972). Modernization of Paddy Rice Farming in Northeast Thailand with Special Reference to Use of Fertilizer. Unpublished Ph.D. Dissertation of Agricultural Economics, The University of Kentucky.

[iii]ผู้สนใจโปรดอ่านเพิ่มเติมใน อนุสรณ์ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร: บทความและเกี่ยวกับ ม.จ.สิทธิพร. 2514. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

[iv]สัมภาษณ์นางสมสุข นาสวรรค์ ชาวนาอินทรีย์บ้านนาสวรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 13 เมษายน 2551.

[v]สัมภาษณ์นายคำ พานทอง ชาวนาอินทรีย์บ้านนาสวรรค์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน 2551.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การปฏิรูปมาตรการป้องกันการเหยียดผิวในกีฬาฟุตบอลของฟีฟ่า 2013

0
0

การแข่งขันกีฬาฟุตบอลเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งที่ประกอบด้วยการแข่งขันมากมายหลายระดับและมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในระดับต่างๆ อาทิเช่น นักกีฬาฟุตบอล ผู้ชมกีฬาฟุตบอล ผู้จัดการทีมฟุตบอลและเจ้าหน้าที่กำกับการแข่งขันกีฬาฟตุบอล ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีที่มาแตกต่างกันเหล่านี้นอกจากจะมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหรือหน้าที่ของตนในเกมกีฬาฟุตบอลที่แตกต่างกันแล้ว บุคคลเหล่านี้ยังมีที่มาจากความหลากหลาย (diversity)ทางด้านเชื้อชาติ สีผิว ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลอาชีพในยุคปัจจุบันยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สนับสนุนหรือก่อให้เกิดความหลากหลากทางด้านเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมภายในสโมสรกีฬาฟุตบอลหรือการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระดับต่างๆ ที่มากขึ้น จากการเปิดโอกาสให้สโมสรกีฬาฟุตบอลสามารถรับโอนผู้เล่นหรือนักกีฬาฟุตบอล (transfer of players) ที่มีความสามารถกับศักยภาพเข้ามาสังกัดในทีมของตนภายใต้หลักเกณฑ์และวีธีการว่าด้วยการโอนผู้เล่นและกำหนดสถานะของผู้เล่น (Regulations on the Status and Transfer of Players) ที่สมาคมกีฬาฟุตบอลหรือสมาพันธ์กีฬาฟุตบอลในระดับต่างๆ ได้กำหนดเอาไว้ เพื่อให้การแข่งขันกีฬาฟุตบอลในระดับประเทศ ภูมิภาคและระดับนานาชาติมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับโอนหรือการให้โอนตัวผู้เล่นกีฬาฟุตบอลอันมีมาตรฐานเดียวกัน อนึ่ง สโมสรกีฬาฟุตบอลหลายแห่งได้พยายามเฟ้นหาตัวผู้ที่มีความสามารถด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอล เพื่อจ้างให้มาปฏิบัติงานในสโมสรของตนภายใต้สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของในตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน นักกายภาพบำบัดและนักเศรษฐศาสตร์กีฬา เป็นต้น ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ที่หลากหลายภายใต้สัญญาจ้างระดับต่างๆ ของสโมสรกีฬาฟุตบอลอาจมีเชื้อชาติ สีผิว ภาษาและวัฒนธรรมอันมีที่มาต่างกันด้วย

การรวบรวมผู้เล่นกับผู้เกี่ยวข้องกีฬาฟุตบอลที่มีความสามารถของสโมสรกีฬาฟุตบอลระดับต่างๆ จะสามารถส่งเสริมศักยภาพหรือประสิทธิภาพสำหรับการแข่งขันกีฬาฟุตบอลและธุรกิจกีฬาฟุตบอลตามทิศทางที่สโมสรได้กำหนดก็ตาม แต่ความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมของผู้เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอลที่แตกต่างกัน ย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดการกระทบกระทั้งหรือข้อขัดแย้งระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกมกีฬาฟุตบอลที่มาจากสโมสรกีฬาฟุตบอลเดียวกันหรือต่างสโมสรกัน จนก่อให้เกิดปัญหาการเหยียดผิว (racism)ในเกมกีฬาฟุตบอลทั้งในระดับสมัครเล่นและในระดับอาชีพ

ในปัจจุบันสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศหรือฟีฟ่า (Fédération Internationale de Football Association - FIFA)ได้กำหนดประมวลวินัย (FIFA Disciplinary Code - FDC) ในส่วนสารบัญญัติ มาตรา 58ว่าด้วยเรื่องการเหยียดผิวในกีฬาฟุตบอล ที่กำหนดมาตรการที่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬาฟุตบอลและผู้ชมกีฬาฟุตบอลที่แสดงออกด้วยการกีดกันหรือแสดงพฤติกรรมอันเป็นการเหยียดผิวต่อสาธารณชนหรือต่อบุคคล โดยอาศัยเหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว หรือชาติพันธุ์ ต้องได้รับโทษปรับ (fine) เป็นจำนวนเงินตามที่ประมวลวินัยมาตรานี้ได้กำหนดเอาไว้ และห้ามเข้าอัฒจรรย์ (stadium ban) ภายในระยะเวลาขั้นต่ำตามที่ประมวลดังกล่าวได้กำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ หากผู้ชมกีฬาฟุตบอลคนใดได้แสดงป้ายอันมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดผิวหรือแสดงออกซึ่งความดูแคลนในการแข่งขัน สมาคมกีฬาฟุตบอลหรือสหพันธ์กีฬาฟุตบอลที่จัดการแข่งขันหรือกำกับการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในขณะนั้น สามารถกำหนดโทษปรับแก่ผู้ชมกีฬาฟุตบอลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ชมกีฬาฟุตบอลสังกัดสโมสรกีฬาฟุตบอลที่กระทำการดังกล่าวได้และมีอำนาจห้ามไม่ให้ผู้ชมกีฬาฟุตบอลที่มีสังกัดดังกล่าวเข้าไปเชียร์การแข่งขันในรอบต่อไป แต่หากพิสูจน์ได้ว่าผู้ชมกีฬาฟุตบอลไม่ได้สังกัดสโมสรกีฬาฟุตบอลนั้นๆ สโมสรกีฬาฟุตบอลเจ้าบ้านมีอำนาจดำเนินการปรับหรือห้ามไม่ให้ผู้ชมกีฬาฟุตบอลผู้กระทำการดังกล่าวเข้ามาชมการแข่งขันในรอบต่อไปได้

แม้ว่าสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศหรือฟีฟ่าในฐานะที่เป็นองค์กรกำกับกิจการกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศ (international football governing body) จะมีอำนาจกำหนดกฎเกณฑ์ทางกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศเกี่ยวกับกรณีเหยียดผิวเพื่อวางบรรทัดฐานให้สมาคมกีฬาฟุตบอลหรือสหพันธ์กีฬาฟุตบอลปฏิบัติตาม ภายใต้หลักความเป็นอิสระในการกำกับดูแลกีฬา (legal autonomy for governance of sport) หรือหลัก lex sportivaในทางตรงกันข้าม ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลอาชีพระดับประเทศและระดับภูมิภาคหลายการแข่งขันได้ประสบกับปัญหาการเหยียดผิวในเกมกีฬาฟุตบอล ตัวอย่างเช่น กรณีที่หลุยส์ ซัวเรซเหยียดผิวปาทริซ เอฟรา และกรณีจอห์น เทอร์รี่เหยียดผิวอันตน เฟอร์ดินาน ในปี 2011 เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เอง ในการประชุมเป็นทางการของฟีฟ่าครั้งที่ 63 ที่สาธารณรัฐเมาริตุส (Mauritius) ระหว่างวันที่ 30 ถึง 31 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ฟีฟ่าได้กำหนดวาระการประชุมที่สำคัญหลายประการเพื่อให้การแข่งกีฬาฟุตบอลในระดับสากลมีความเป็นธรรมภายใต้หลักธรรมาภิบาลกีฬา รวมไปถึงการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอลระดับต่างๆ ด้วยเหตุนี้ การเลือกปฏิบัติหรือเหยียดผิวจึงถือเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกนำมาอภิปรายในการประชุมเป็นทางการในครั้งนี้ด้วย

ฟีฟ่าได้จัดทำเอกสารที่สำคัญเกี่ยวกับความตั้งใจของฟีฟ่าในการต่อสู้กับปัญหาการเลือกปฏิบัติและการเหยียดผิวในวงการกีฬาฟุตบอล 2013 โดยเอกสารฉบับนี้มีเนื้อความสนับสนุนให้ฟีฟ่ากระทำการปฏิรูปกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขจัดการเลือกปฏิบัติและการเหยียดผิวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่มีส่วนร่วมกับเกมกีฬาฟุตบอล เพราะปัญหาการเลือกปฏิบัติในวงการกีฬาฟุตบอลและการเหยียดผิวในเกมกีฬาฟุตบอลก็ถือเป็นสิ่งสะท้อนปัญหาสังคมประการหนึ่งด้วย อนึ่ง แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาฟีฟ่าได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติและการเหยียดผิวในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลมาหลายครั้งแล้ว เช่น การยอมรับหลักเกณฑ์อันเป็นแนวทางต่อต้านการเหยียดผิวในกีฬาฟุตบอลของฟีฟ่า (principles of the FIFA Resolution Against Racism) ในการประชุมเป็นทางการของฟีฟ่า ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ค.ศ. 2001 แต่ปัญหาของการเลือกปฏิบัติและการเหยียดผิวของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเกมกีฬาฟุตบอลไม่ได้หมดไปจากการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในทุกระดับชั้นแต่ประการใด

ฟีฟ่ามีความพยายามในการเรียกร้องให้สมาคมกีฬาฟุตบอลและสมาพันธ์กีฬาฟุตบอลที่จัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในระดับต่างๆ  มีความผูกพัน (obligation) ในการปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของฟีฟ่าว่าด้วยการต่อต้านการเหยียดผิว รวมไปถึงความรับผิดของ (responsibility) ในการรณรงค์และกำจัดปัญหาการเหยียดผิวในเกมกีฬาฟุตบอลให้หมดไปในเกมกีฬาฟุตบอลที่ตนกำกับดูแลอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง ฟีฟ่าได้กำหนดแนวทางที่สำคัญสามประการในการต่อสู้กับปัญหาการเหยียดผิวในเกมกีฬาฟุตบอลสามประการด้วยกัน ได้แก่ ประการแรก การให้การศึกษา (education)ผ่านการจัดทำแผนปฏิบัติให้องค์กรจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลได้จัดทำแผนต่อต้านการเหยียดผิวทุกรูปแบบในเกมหรือการแข่งขันกีฬาฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรม ประการที่สอง การป้องกัน (prevention)โดยข้อบังคับในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลทุกระดับชั้น ต้องกำหนดให้มีมาตรการเฉพาะในการต่อต้านการกีดกันหรือการเหยียดผิว โดยผู้จัดการแข่งขันต้องจัดเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ต่อต้านการกีดกันหรือการเหยียดผิวในสนามกีฬาฟุตบอลเอาไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อตรวจสอบหรือระบุการกระทำอันถือเป็นการกีดกันหรือการเหยียดผิวในสนามกีฬาฟุตบอลหรืออัฒจรรย์ฟุตบอล โดยการป้องกันดังกล่าวย่อมถือเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรรมการผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่วินัยในสนามฟุตบอลให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกกับอำนวยความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ในการแข่งขันและเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ตำรวจทางการยุติธรรม) ให้สามารถแสวงหาพยานหลักฐานประกอบการไต่สวนข้อเท็จจริงในสมาคมกีฬาฟุตบอลและการพิจารณาคดีในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ง่ายขึ้น ประการที่สาม การลงโทษ (sanction)ที่ถูกกำหนดเอาไว้ในประมวลวินัยกีฬาฟุตบอลต้องผูกพันสมาคมหรือสมาพันธ์กีฬาฟุตบอลในทุกระดับชั้น โดยองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการที่มีอำนาจวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเหยียดผิว (judicial bodies) อาจนำเอาหลักเกณฑ์ในข้อบังคับดังกล่าวหรือดุลพินิจของคณะกรรมการวินัยของสมาคมกีฬาฟุตบอลระดับต่างๆ มาพิจารณาควบคู่กับกฎหมายในเขตอำนาจศาลของตนได้ อย่างไรก็ดี ในอนาคตอาจมีการปฏิรูปมาตรการป้องกันการเหยียดผิวในกีฬาฟุตบอลเพิ่มเติมอีกสองกรณีด้วยกัน ได้แก่ กรณีการกระทำอันเป็นลหุโทษ (minor offence) ที่เกี่ยวกับการความผิดฐานเหยียดผิวในกีฬาฟุตบอล ที่อาจจะกำหนดเพียงโทษปรับหรือตักเตือนเล็กน้อยกับกรณีการกระทำความผิดซ้ำ (reoffenders) และการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง (serious incidents) อาจกำหนดบทลงโทษด้วยการตัดแต้มการแข่งขัน การไล่ออกจากการแข่งขันหรือการลดลำดับในตารางการแข่งขัน

ความตั้งใจของฟีฟ่าและแนวทางในการปฏิรูปข้อบังคับของฟีฟ่าในอนาคต จะส่งผลให้เกิดการป้องกันการเหยียดผิวกับการกีดกันจากเหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว หรือชาติพันธุ์ มากน้อยเพียงใดในอนาคต ประเด็นนี้จึงถือเป็นความท้าทายทางด้านกฎหมายกีฬาและธรรมาภิบาลกีฬาฟุตบอลที่รอการพิสูจน์ว่าการปฏิรูปข้อบังคับของฟีฟ่าและบังคับใช้ข้อบังคับที่ได้รับการปฏิรูปจะมีประสิทธิภาพมากสักเพียงใด

โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติม:

[1] ประมวลวินัย (FIFA Disciplinary Code - FDC) ใน http://www.fifa.com/mm/document/affederation/administration/fifa_dc_en_34118.pdf

[2] เอกสารความตั้งใจของฟีฟ่าในการต่อสู้กับปัญหาการเลือกปฏิบัติและการเหยียดผิวในวงการกีฬาฟุตบอล 2013 (Resolution on the fight against racism and discrimination 2013) ใน http://www.fifa.com/mm/document/afsocial/anti-racism/02/08/56/92/fifa-paper-against-racism-en-def_neutral.pdf

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปืนใหญ่พญาตานีคืนถิ่น พระบรมราชานุญาตให้หล่อจำลองวางหน้ามัสยิดกรือเซะ

0
0

ชาวปัตตานีร่วมต้อนรับ ปืนใหญ่พญาตานีคืนถิ่น พระบรมราชานุญาตให้กรมศิลป์หล่อจำลองวางหน้ามัสยิดกรือเซะ หลังจากคนในพื้นที่ร้องขอกลับคืนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หวังเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ควบคู่มัสยิดโบราณในประวัติศาสตร์ปัตตานี

เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. วันที่ 2 มิถุนายน 2556 นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมประชาชนชาวปัตตานีจำวนมากได้ร่วมต้อนรับขบวนปืนใหญ่พญาตานี ที่เดินทางมาถึงบริเวณหน้ามัสยิดกรือเซะ ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นมัสยิดโบราณ

โดยเป็นปืนใหญ่พญาตานีจำลองขนาดเท่าของจริงที่ตั้งอยู่ที่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลังจากสำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากรได้ทำการหล่อเสร็จได้ส่งมอบปืนพญาตานีกลับมาติดตั้งยังแท่นฐานรองรับปืนที่ลานอเนกประสงค์ด้านหน้ามัสยิดกรือเซะ

ส่วนบรรยากาศของการต้อนรับการเดินทางของปืนใหญ่พญาตานีในครั้งนี้ ได้มีการจัดริ้วขบวนรถโบราณ รถจี๊ป รถจักรยานยนต์บิ๊กไบด์ รถจักรยานยนต์โบราณ ร่วมขบวนแห่ด้วยท่ามกล่างประชาชนร่วมชมจำนวนมาก

ในเอกสารประชาสัมพันธ์ของศูนย์การเรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี ต.ตันหยงลุโล๊ะ ระบุว่า ในปี 2546 ประชาชนชาวจังหวัดปัตตานีได้ขออนุเคราะห์ไปยังคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรผลักดันให้มีการนำปืนใหญ่พญาตานีกลับมาไว้ที่จังหวัดปัตตานีอีกครั้ง คณะกรรมาธิการจึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหล่อจำลองปืนพญาตานีขนาดเท่าจริง โดยทรงมีพระบรมราชานุญาตให้หล่อจำลองได้

ทั้งนี้เนื่องจากปืนใหญ่พญาตานี มีฐานะเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประเภททรัพย์สินส่วนสาธารณะของแผ่นดินที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากระทรวงกลาโหม

ต่อมาในปี 2553 จังหวัดปัตตานี โดนสำนักงานการท่องเที่ยวและการกีฬาจังหวัดปัตตานี ร่วมกับเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี ได้จัดทำโครงการสร้างศูนย์การเรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี (เพื่อบรรจุในแผนคำของบประมาณตามแผนพัฒนาปฏิบัติราชการจังหวัดปัตตานี ประจำปี 2555)

ทั้งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเปรียบเสมือน Landmark หรือ “สัญลักษณ์” ประจำจังหวัดปัตตานีแห่งใหม่ และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดปัตตานี

โดยใช้อาคารอเนกประสงค์โบราณสถานมัสยิดกรือเซะ และลานอเนกประสงค์ด้านหน้ามัสยิดกรือเซะ เป็นสถานที่ดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วย อาคารศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี ปืนใหญ่พญาตานี อาคารจำหน่ายสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ OTOP โดยมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายนอกอาคารศูนย์การเรียนรู้และพื้นที่โดยรอบ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Science Space : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กับความมั่นคง

0
0

 

รายการ Science Space เทปนี้นำเสนอตอนแรกของซีรีย์ ‘วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กับความมั่นคง’ ในมิติความมั่นคงทางด้านการทหาร พบกับ พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง รองผู้อำนวยการกองศึกษาวิจัยยุทธศาสตร์ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย หรือที่รู้จักกันทั่วไปในโลกออนไลน์ว่า ‘ทอทหาร’

ในปัจจุบัน ความหมายของคำว่า ‘ความมั่นคง’ ได้ขยายความออกไปกว้างขวางกว่าที่เคยเข้าใจกันมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ซึ่งไม่ได้หมายความเฉพาะแค่ความมั่นคงในมิติทางการทหาร แต่กินความไปถึงภัยต่างๆ ที่คุกคามต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อย่างสึนามิ แผ่นดินไหว อุทกภัย วาตภัย หรือกระทั่งการขาดแคลนพลังงาน อาหาร และอื่นๆ เป็นต้น

สนทนากับ ‘ทอทหาร’ ถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ต่อการทหารตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันว่ามีความก้าวหน้าถึงไหนอย่างไร อากาศยานไร้คนขับ (Drone) Super Soldier ในปฏิบัติการล่าโอซามา บิน ลาเดน ในอัฟกานิสถาน เป็นอย่างไร และการพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารในประเทศไทย มีอะไรที่น่าสนใจ มีปัญหาอุปสรรคและความท้าทายอย่างไรบ้าง ดำเนินรายการโดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ และ รศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Timeline: การใช้งาน 'หน้ากากกายฟอว์กส์' แบบไทยๆ

0
0

ชุมนุม "หน้ากากกายฟอว์กส์" ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ก่อนหน้านี้ถูกนำมาใช้ด้วยวัตถุประสงค์หลากหลายภายใต้บริบทไทยๆ นับตั้งแต่เรียกร้องให้ปิด "เว็บหมิ่นฯ" - ประท้วงสหประชาชาติและสถานทูตสหรัฐฯ ที่ไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสินคดี ม.112  - ไปจนถึงการทวงคืน “เหนือเมฆ”!

ตามที่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย ได้เปลี่ยนรูปโพรไฟล์เป็นรูป “หน้ากากกายฟอว์กส์” (Guy Fawkes) จากภาพยนตร์เรื่องวี ฟอร์ เวนเดตตา (V For Vendetta) และโพสต์ข้อความว่า

“ขณะนี้กองทัพประชาชนได้ลุกขึ้นมาแล้ว ข้าขอประกาศว่า ข้าจะล้มล้างระบอบทักษิณให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย”

และตามมาด้วยการเพจ V for Thailandและเพจอื่นๆ ได้นัดหมายชุมนุม “แฟลชม็อบ” ที่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมาเรียกร้องให้มีการ “รวมพลังล้มล้างระบอบทักษิณ” นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ทั้งนี้ หลังการฉายภาพยนตร์ “วี ฟอร์ เวนเดตตา” (V for Vendetta) มีการนำ "หน้ากากกายฟอว์กส์" ไปใช้ในการเคลื่อนไหวหลายครั้งในโลก เช่น กลุ่มแฮกเกอร์ Annonymousขบวนการ Occupy Wall Streetในสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่การประท้วงต่อต้านศาสนจักรแห่งวิทยาศาสตร์ Church of Scientology”ก็มีปรากฏผู้สวมหน้ากากกายฟอว์กส์มาต่อต้าน

ในกรณีของประเทศไทย การรวมตัวของคนสวมหน้ากากกายฟอว์กส์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ภายใต้รหัส “ยุทธการ ประกาศศักดา รวมพลใหญ่ คนหน้ากาก”นั้น ไม่ได้เป็นครั้งแรกที่มีการนำหน้ากากกายฟอว์กส์มาใช้ในการประท้วง แต่มีการนำหน้ากากกายฟอว์กส์มาใช้แล้วก่อนหน้านี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลายภายใต้บริบทไทยๆ นับตั้งแต่เรียกร้องให้ปิดเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ประท้วงผู้ที่แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไปจนถึงการทวงคืนละคร “เหนือเมฆ”!

 

000

เรียกร้องปิดเว็บหมิ่น

การประท้วงเมื่อ 1 ธันวาคม 2554 เรียกร้อง “ปิดเว็บหมิ่นฯ” ด้านหลัง นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ มีผู้ร่วมประท้วงสวมหน้ากากกายฟอว์กส์ด้วย (ที่มาของภาพ: เดลินิวส์)

โดยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 เดลินิวส์และ สำนักข่าวไทยรายงานว่า นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ พร้อมด้วยตัวแทนกลุ่ม “ประชาชนคนไทยผู้จงภักดี” เดินทางไปยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการปิดเว็บหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและดำเนินการกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ตามมาตรา 112 อย่างจริงจัง

ทั้งนี้กลุ่มที่มี นพ.ตุลย์ เป็นแกนนำดังกล่าวให้เหตุผลของการยื่นหนังสือว่า “เนื่องจากขณะนี้มีกลุ่มบุคคลจำนวนมากได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพผ่านระบบออนไลน์กันมาก ทั้งในรูปแบบเว็บไซด์ เฟสบุ๊คแฟนเพจ หรือการสร้างเพจเพื่อกระทำการหมิ่นสถานบันโดยตรง รวมทั้งมีการเผยแพร่คลิปวีดีโอตัดต่อเป็นเรื่องราวและใช้ถ้อยคำหยาบคาย และขณะนี้มีมากกว่า 1 หมื่นเว็บไซต์ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วน”

โดยในภาพข่าวการยื่นหนังสือดังกล่าวได้ปรากฏผู้สวม “หน้ากากกายฟอว์กส์” ร่วมกิจกรรม โดยยืนอยู่หลัง นพ.ตุลย์ ด้วย

000

 

ประท้วงสหรัฐ-ยูเอ็น เรียกร้องให้ขอโทษ

การประท้วงหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน เมื่อ 16 ธันวาคม 2554 (ที่มาของภาพ: เพจ V for Thailand)

การประท้วงหน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกา ถ.วิทยุ เมื่อ 16 ธันวาคม 2554 (ที่มาของภาพ: เพจ V for Thailand)

 

การประท้วงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ครั้งนี้ เริ่มมีผู้สวมหน้ากากกายฟอว์กส์รวมการประท้วงมากขึ้น โดยในวันดังกล่าว นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ และ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ได้นำกลุ่ม “สยามสามัคคี” ไปประท้วงหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน และสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร โดยเรียกร้องให้ทั้งสหประชาชาติ และสถานทูตสหรัฐอเมริกาออกมาขอโทษ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

สำหรับการประท้วงดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 จากกรณีที่ แฟรงค์ ลา รู (Frank La Rue) ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพการแสดงออกแห่งสหประชาชาติ ส่งแถลงการณ์จากเจนีวา เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ พร้อมเสนอตัวในการ ‘ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์’ กับ ‘คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย’ เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

และต่อมาเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554 โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฝ่ายเอเชียตะวันออก เดอรราจ์ พาราดิโซ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีว่า สหรัฐอเมริการู้สึก “หนักใจ” กับการตัดสินของศาลในคดีของนายอำพล หรือ ‘อากง’ ที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและละเมิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และเห็นว่าการตัดสินคดีนายอำพล “ไม่สอดคล้อง” กับหลักสิทธิมนุษยชนสากลด้านเสรีภาพในการแสดงออก

เช่นเดียวกับ นางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม2554 ว่าสหรัฐอเมริกากังวลใจต่อการตัดสินคดีของ 'โจ กอร์ดอน' ชายไทย-อเมริกันที่ถูกตัดสินจำคุก 2 ปี 6 เดือน ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยทางการสหรัฐให้ความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ของไทยอย่างสูงสุด แต่รู้สึกเป็นกังวลต่อการตัดสินที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในด้านเสรีภาพ ในการแสดงออก (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ทั้งนี้ แถลงการณ์ของกลุ่มสยามสามัคคีระบุด้วยว่า“การเรียกร้องของบุคคลดังกล่าว เป็นกระบวนการเพื่อล้มล้างความเป็นมาตรฐานสากลของกระบวนการยุติธรรมไทย และทำลายความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พยายามแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมในไทย ไม่เคารพสิทธิ ความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และอาจทำให้เกิดความเกลียดชังในชาติ ยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ”โดยทางกลุ่มยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำการชี้แจง “ให้บุคคลดังกล่าวและนานาประเทศเข้าใจและยอมรับการปกครองของไทย” และให้รัฐบาล “ทำหนังสือประณามการแทรกแซงกิจการภายใน ลบหลู่กระบวนการยุติธรรมของไทย และการแสดงออกที่มีผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทย"

000

 

ทวงคืน “เหนือเมฆ”

กระแสหน้ากากกายฟอว์กส์ กลับมาอีกครั้ง หลังจากเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้งดฉายละคร “เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์” กลางคัน โดยให้เหตุผลว่า “เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเนื้อหาบางช่วงบางตอนที่ไม่เหมาะสมกับการออกอากาศ” โดยนำละครเรื่อง “แรงปรารถนา” นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ และ คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ มาฉายแทน

โดยทำให้เกิดกระแสทวงคืนละคร “เหนือเมฆ” ขนานใหญ่ แม้แต่ ณาตยา แวววีรคุปต์ ผู้ดำเนินรายการ "เวทีสาธารณะ" และบรรณาธิการข่าวสังคมและนโยบายสาธารณะ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ยังโพสต์สเตตัส เสนอให้เอาละครเหนือเมฆมาฉายที่ไทยพีบีเอส (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

(ที่มาของภาพ: เพจรณรงค์แบนช่อง 3 กรณีถอดละคร "เหนือเฆม 2" สนองคำสั่งนักโกงเมือง [1], [2])

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2556 กลุ่มสังคมออนไลน์ทางเฟซบุ๊ก ในนาม "รณรงค์แบนช่อง 3 กรณีถอดะครเหนือเมฆ 2 สนองคำสั่งนักโกงเมือง"ได้มาชุมนุมที่หน้าสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ถนนพระรามที่ 4 เพื่อคัดค้านการถอดละคร “เหนือเมฆ 2” และชูป้ายให้กำลังใจทีมงานละคร “เหนือเมฆ 2” โดยผู้ชุมนุมได้พร้อมใจกันสวมหน้ากากกายฟอว์กส์ด้วย

000

 

ฯลฯ

และหลังจากที่มีการรณรงค์ใช้รูปหน้ากากกายฟอว์กส์ออนไลน์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อต่อต้านรัฐบาลและระบอบทักษิณ และก่อนที่จะมีการนัดหมายชุมนุมที่ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อ 2 มิถุนายน ก็ได้มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลนำหน้ากากกายฟอว์กส์ไปใช้ในการรณรงค์

หน้ากากกายฟอว์กส์ โดย "แนวร่วมคนไทยรักชาติรักษาแผ่นดิน" ที่สนามหลวงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2556 (ที่มาของภาพ: เพจ V for Thailand)

โดยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมคนไทยรักชาติรักษาแผ่นดิน นำโดยนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ซึ่งเดินทางมาจาก จ.ศรีสะเกษ จ.นครราชสีมา และเข้ามาชุมนุมที่สนามหลวงตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดเมื่อคืนวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ได้จัดอาสาสมัครสวมหน้ากากกายฟอว์กส์

ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์ ที่ ถ.สีลม เมื่อ 31 พฤษภาคม 2556 (ที่มาของภาพ: เพจ V for Thailand)

และในวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 มีการสวมหน้ากากกายฟอว์กส์ไปรวมตัวกันที่ ถ.สีลม เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านรัฐบาล

 

ที่มาของภาพ: ASTV ผู้จัดการออนไลน์

 

นอกจากนี้ในวันเดียวกัน ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้พาดหัวข่าวว่า “ร่วมปฏิบัติการ 'หน้ากาก V' !!”โดย ชวนให้ประชาชนมาซื้อ 'สติ๊กเกอร์กายฟอว์กส์" ที่ 'ASTV Shop' บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ โดยเริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. หรือซื้อ “ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์” ฉบับล่าสุดที่มีสติ๊กเกอร์แถมในเล่ม โดยลงข้อความในข่าวว่า “'ASTVผู้จัดการ' ขอเชิญท่านร่วมขยายเครือข่ายปฏิบัติการ 'หน้ากาก V' จากโลกไซเบอร์ สู่ท้องถนนและทุกซอกมุมในสังคม ด้วยการติด 'สติกเกอร์หน้ากากV' เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการภายใต้ระบอบทักษิณ ซึ่งเดินหน้าทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องโดยไม่ฟังเสียงประชาชน"(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

และหลังจากนี้คงจะได้เห็นการชุมนุมของผู้สวมหน้ากากกายฟอว์กส์ ภายใต้ภารกิจ “ล้มล้างระบอบทักษิณให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย” อีกหลายครั้ง เพราะหลังจากการชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ล่าสุดในวันนี้ (3 มิ.ย.) เพจ V for Thailandได้ประกาศว่าจะจัดกิจกรรมชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์อีกโดยจะจัดในกรุงเทพฯ 31 กรกฎาคม และอีกหลายจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 30 กันยายนนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ชิคาโก ซัน-ไทมส์' ปลดช่างภาพทั้งหมด-เทรนนักข่าวใช้ไอโฟน

0
0

หนังสือพิมพ์ชิคาโก ซัน-ไทมส์ ของสหรัฐอเมริกาไล่ช่างภาพทั้งทีมจำนวน 28 คน ออก พร้อมวางแผนอบรมถ่ายภาพด้วยไอโฟนเบื้องต้นให้นักข่าว

แหล่งข่าวระบุว่า ช่างภาพซึ่งเป็นพนักงานประจำทั้ง 28 คน ได้ทราบข่าวการเลิกจ้างนี้เมื่อเช้าวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยให้มีผลทันที

โรเบิร์ต เฟเดอร์ บล็อกเกอร์และคอลัมนิสต์ด้านสื่อ โพสต์ในเฟซบุ๊กของเขาว่า ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา (31 พ.ค.) นักข่าวของชิคาโก ซัน-ไทมส์ ต้องเข้าร่วมการอบรมภาคบังคับเรื่องการถ่ายภาพด้วยไอโฟนเบื้องต้น หลังจากปลดช่างภาพออกทั้งหมด

ด้านหนังสือพิมพ์ชิคาโก ซัน-ไทมส์ เผยแพร่แถลงการณ์ระบุว่า ธุรกิจของซัน-ไทมส์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และผู้อ่านก็มองหาเนื้อหาข่าวในรูปแบบวิดีโอมากขึ้น โดยองค์กรได้ก้าวไปข้างหน้าเพื่อตอบสนองความต้องการนี้และได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความสามารถในการรายงานข่าวด้วยวิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ

หนึ่งในผู้ที่ถูกปลดออก รวมถึง จอห์น เอช ไวท์ ช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ สาขาภาพสารคดี ในปี 1982 ด้วย

หลังการประกาศดังกล่าว สหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์ชิคาโกระบุว่ากำลังพิจารณาดำเนินการทางกฎหมายกับหนังสือพิมพ์ดังกล่าว พร้อมกับเรียกร้องให้รับพนักงานกลับเข้าทำงาน โดยช่างภาพ 28 คนที่ถูกไล่ออกนั้นเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 20 คน

 

 

ที่มา:
http://www.cultofmac.com/229512/chicago-sun-times-lays-off-entire-photo-staff-will-give-reporters-iphoneography-training/
http://www.theverge.com/2013/6/1/4386074/chicago-sun-times-cuts-entire-photography-staff-trains-reporters-iphone
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=574828549206261&id=175146445841142

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลายองค์กรเรียกร้องเปิดทางให้ประชาชนหลบหนีจากการสู้รบในเมืองคูซาเยร์ของซีเรีย

0
0

ขณะที่เมืองคูซาเยร์ที่ฝ่าบกบฏยึดครองอยู่กำลังถูกล้อมโดยกองทัพฝ่ายรัฐบาล ทางยูเอ็นและองค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์เรียกร้องให้มีการเปิดทางให้ประชาชนในพื้นที่หลบหนีและให้กลุ่มช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเข้าไปดูแลผู้บาดเจ็บ ขณะที่กก.กาชาดระหว่างประเทศรับทราบการแจ้งเตือนและกำลังวางแผนส่งความช่วยเหลือ

2 มิ.ย. 2013 องค์กรกาชาดสากลได้รับการเตือนเรื่องสถานการณ์การสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏในเมืองคูซาเยร์ ประเทศซีเรีย โดยพร้อมเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำและยาแก่ประชาชนในพื้นที่ซึ่งคาดว่ามีประชาชนหลายพันคนถูกปิดล้อมอยู่ในเมืองโดยกลุ่มกองกำลังผสมของรัฐบาล

โดยพื้นที่เมืองคูซาเยร์ (Qusair/Qusayr) ตั้งอยู่ใกล้กับเขตพรมแดนระหว่างซีเรียกับประเทศเลบานอน ถือเป็นเขตยุทธศาสตร์การสู้รบเนื่องจากฝ่ายรัฐบาลต้องการใช้เมืองนี้เป็นทางผ่านในการลำเลียงอาวุธและกองกำลังฮิซบอลเลาะห์เข้ามาช่วยสู้รบกับฝ่ายกบฏซึ่งมีกองกำลังยึดพื้นที่เมืองนี้อยู่

มีหลายองค์กรออกมาเรียกร้องให้มีการเปิดทางให้ประชาชนในพื้นที่สามารถหลบหนีออกมาจากสภาพที่มีการสู้รบระหว่างสองฝาย โดยที่เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมานักกิจกรรมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเปิดเผยต่อสำนักข่าว BBC ว่ายังคงมีประชาชนราว 30,000 คน อยู่ในเมืองคูซาเยร์

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าวในแถลงการณ์ว่าพวกเขาได้รับการเตือนจากรายงานเรื่องมีพลเรือนติดอยู่ในเมืองคูซาเยร์และกำลังเตรียมการให้ความช่วยเหลือโดยทันที

ทางด้านองค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการเปิดเส้นทางความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและเส้นทางหลบหนีให้กับประชาชนในเมือง และเตือนว่ากองกำลังที่อยู่ฝ่ายเดียวกับประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด และฝ่ายกบฏจะต้องรับผิดชอบถ้ามีพลเรือนที่ติดอยู่ในเมืองได้รับความเดือดร้อน

"ทั้งโลกกำลังจับตามองพวกเขาอยู่ และพวกเขาจะต้องรับผิดชอบต่อความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับพลเรือนในคูซาเยร์" สหประชาชาติกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.

วาเลอรี่ อามอส ผู้ประสานงานการบรรเทาทุกข์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และนาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเปิดเผยอีกว่า มีประชาชนราว 1,500 คนได้รับบาดเจ็บ และต้องการรักษาอย่างทันท่วงที อีกทั้งสถานการณ์ทั่วไปในเมืองคูซาเยร์ดูน่าสิ้นหวัง ขณะที่โฆษกของพิลเลย์กล่าวว่าการสร้างเส้นทางความช่วยทางมนุษย์ธรรมจะเกิดขึ้นได้หากฝ่ายที่สู้รบทั้งสองฝ่ายยอมตกลง

"อย่างน้อยควรจะมีการหยุดยิงและอนุญาตให้พลเรือนกับคนที่ได้รับบาดเจ็บออกมาจากพื้นที่ และยอมให้การช่วยเหลือเข้าไป พลเรือนที่ติดอยู่ในเมืองต้องการน้ำและอาหาร" รูเพิร์ต โคลวิลล์ โฆษกของพิลเลย์กล่าว

องค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์ก็ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องเรื่องดังกล่าวในวันเดียวกัน โดยฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่าพวกเขาได้รับรายงานจากนักกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลในพื้นที่กล่าวหาว่ากองกำลังฝ่ายรัฐบาลโมตีใส่ประชาชนที่กำลังหลบหนี

แถลงการณ์ของฮิวแมนไรท์วอทช์ยังได้แสดงความกังวลต่อคววามปลอดภัยของประชาชนที่ยังอยู่ในพื้นที่และนักรบที่ถูกจับตัวไว้ไม่ว่าจะจากฝ่ายใดก็ตาม พวกเขาอยากให้รัฐบาลซีเรียกดดันเจ้าหน้าที่ฝ่ายตนให้ปฏิบัติตามกฏนานาชาติโดยการไม่โจมตีใส่พลเรือน อนุญาตให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าไปในพื้นที่โดยทันที และปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างเป็นมนุษย์

"กองกำลังใดๆ ก็ตามที่ปิดกั้นไม่ให้พลเรือนออกจากพื้นที่เมืองอัล-คูซาเยร์ ถือว่ากำลังกระทำการละเมิดกฏของสงคราม" ซาราห์ เลียห์ วิทสัน ผู้อำนวยการฝ่ายตะวันออกกลางของฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าว


เรียบเรียงจาก

UN wants safe corridor for Syrian citizens, Aljazeera, 02-06-2013

Syria conflict: Red Cross 'alarmed' over Qusair, 02-06-2013

Syria: Allow Civilians to Flee from al-Qusayr, 01-06-2013

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“ไม่อยากเห็น... คนมาฆ่ากัน” สมชาย ปัตตานี ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์

0
0

อีกหนึ่งการแสดงของหนุ่มชายแดนใต้ “สมชาย ปัตตานี” บนเวทีไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ กลั่นความรู้สึกจากใจผู้สูญเสีย ผ่านบทเพลงนกพิราบสีขาว ตรงนี้ลุกเป็นไฟ พร้อมอยากจะเห็น...เหมือนดั่งเคย จับมือกอดคอกันเอ๋ยที่เคยผ่านมา

“ไม่อยากเห็น... คนมาฆ่ากัน จับปืนถือมีดไล่ฟัน กันอีกเลย 
อยากจะเห็น...เหมือนดั่งเคย จับมือกอดคอกันเอ๋ย ที่เคยผ่านมา” 
 
นั่นเป็นเนื้อหาในบทเพลงส่วนหนึ่งที่ “สมชาย ปัตตานี” ร้องแสดงในคลิปวิดีโอที่บันทึกการแสดงของเขา ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่คลิปวิดีโอที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทูปเพียงวันเดียว แล้วมีคนคลิกดูมากถึง 100,000 กว่าครั้ง ยิ่งเป็นคลิปที่เกี่ยวกับชายแดนใต้ ยิ่งหายาก
 
 
เป็นคลิปที่ว่า ชื่อว่า “ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ - TGT 3 (2 JUNE 2013) - สมชาย ปัตตานี”เป็นคลิปบันทึกรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทวีช่อง 3 ที่ออกอากาศเมื่อช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2556 ซึ่งถูกอับโหลดขึ้นเว็บไซต์ในวันเดียวกัน 
 
เป็นคลิปบันทึกการแสดงการร้องเพลงของนายสมชาย นิลศรี อายุ 29 ปี อาชีพค้าขาย ระบุว่าชาวเป็นชาวจังหวัดปัตตานี เดินทางมาเพื่อร้องเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เอาความรู้สึกของคนที่ตรงนั้นมาผ่านเสียงเพลง เนื้อร้องและทำนองของตัวเอง โดยไม่หวังผลประโยชน์ใดๆ
 
 “ผมไม่อยากให้หูต้องได้ยินเสียงปืน แล้วตาก็ต้องไปเห็นคนที่นอนห่อเสื่อมา ไม่ว่าจะซ้อนท้ารถกระบะหรือว่าซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งภาพยังอยู่ในตาของผม เมื่อตอนตรุษจีนปีที่แล้ว”
 
“แม้กระทั่งหลานของผม หรือว่าเพื่อนหรือพ่อของเพื่อนของผม จากไปโดยที่ไม่หวนกลับคืนมา ผมเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้คนหนึ่ง ที่รู้ถึงความรู้สึกของครอบครัวผู้ที่สูญเสีย ถึงแม้มันไม่อาจจะเรียกกลับคืนมา”
 
“อยากจะพูดถึงเพื่อนที่คิดไปในทางที่ไม่ดี ขอให้เพื่อนกลับมาเป็นเหมือนเดิม คนใต้บ้านเรายังไงก็ทำได้ ขอให้เพื่อนๆคนใต้ทุกคนมั่นใจ ผมเด็ก 3 จังหวัดภาคใต้คนหนึ่งขอทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด”
 
จบการแนะนำตัว เสียงปรบมือก็ดังกระหึ่ม จากสมชายก็เริ่มบทเพลงของตัวเองทันที
 
“นกพิราบสีขาวจงกลับคืนมา 
ปกป้องดูแลรักษาประชาได้ไหม
นกพิราบสีขาว ตรงนี้ลุกเป็นไฟ
กลับมาปกป้องโพยภัยให้พวกฉันที
ผู้คนไม่เข้าใจกัน ต่างเข้าใจกันคนละทาง
ไม่สามัคคีเหมือนอย่าง ที่เคยเป็น
#ไม่อยากเห็น... คนมาฆ่ากัน จับปืนถือมีดไล่ฟัน กันอีกเลย 
อยากจะเห็น...เหมือนดั่งเคย 
จับมือกอดคอกันเอ๋ย ที่เคยผ่านมา
จะต้องล้มตายอีกสักเท่าใด 
ก็เราคนไทยด้วยกันทั้งนั้น 
อยากจะเห็นเหมือนดั่งเคย
จับมือกอดคอกันเอ๋ย เหมือนอย่างที่เคยผ่านมา
 
ด้วยเนื้อหาและความรู้สึก ไม่น่าเชื่อว่า ผ่านไปไม่ทันถึง 24 ชั่วโมงหลังการอับโหลดคลิปนี้ ก็มีคนคลิกเปิดชมไปแล้วกว่า 170,000 คน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สื่อฝ่ายเห็นต่าง ยกประวัติเล่าเรื่อง‘ปืนใหญ่พญาตานี’

0
0

เว็บไซด์ Ambranews ระบุวางปืนใหญ่จำลองที่มัสยิดกรือเซะไม่เคารพศาสนสถาน ไม่ได้ถามคนในพื้นที่ว่าต้องการของจำลองหรือไม่ พร้อมยกประวัติเล่าเรื่องปืนใหญ่เป็น 1 ใน 3 กระบอกที่ร่วมรบจนสุดท้ายถูกยึดไป

เว็บไซด์ Ambranews ซึ่งเชื่อว่าเป็นเว็บไซด์ข่าวที่ใกล้ชิดกับขบวนการบีอาร์เอ็น ได้เขียนรายงานที่พูดถึงพิธีวางปืนใหญ่พญาตานีจำลอง ที่หน้ามัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2556 โดยระบุว่า เป็นการไม่เคารพศาสนสถานและไม่ได้ถามคนในพื้นที่ว่าต้องการปืนใหญ่จำลองจริงหรือไม่ทั้งที่เรียกร้องของจริงมานานแล้ว 
 
อีกทั้งยังได้ยกประวัติศาสตร์ปืนใหญ่กระบอกนี้ว่า เป็น 1 ใน 3 กระบอกที่ร่วมรบกับกองทัพสยามมา 4 ครั้ง สุดท้ายแพ้ให้กองทัพไทย ภายใต้การนำของแม่ทัพพระยากลาโหม และถูกยึดเป็นสินสงคราม ทว่าปืนใหญ่ศรีนาคราได้ตกลงไปในทะเลขณะลำเลียง ส่วนปืนใหญ่มหาเลลาได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย
 
 
สำหรับเนื้อหารายงานชิ้นนี้ ซึ่งพาดหัวว่า Meriam Sri Patani tiruan di Patani (ปืนใหญ่จำลองที่ปาตานี) แปลเป็นภาษาไทยคำต่อคำ ดังนี้
.......
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2556 ได้กลายเป็นปรากฏการณ์กับพิธีการวางปืนใหญ่จำลองที่เสมือนจริงของปืนใหญ่ศรีปาตานี หรือที่คนไทยเรียกว่า พญาตานี ที่ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร
ซึ่งนานมากแล้วที่คนในพื้นที่เรียกร้องให้คืนศรีปาตานีหรือพญาตานีกลับสู่ถิ่นเดิม แต่การเรียกร้องดังกล่าวถูกเพิกเฉย 
 
แต่เมื่อวันนี้ (2 มิถุนายน 2556) ได้คืนกลับมาเพียงปืนใหญ่ศรีปาตานีที่ถูกจำลองขึ้น ถูกนำไปวางบนแท่นรองรับปืนใหญ่บริเวณมัสยิดกรือเซะ และมีการเดินขบวนพาเรดยิ่งใหญ่ในช่วงเที่ยงวันดังกล่าว
ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ระบุว่า ปืนใหญ่ดังกล่าว(ของจริง) ถูกหล่อเมื่อปี ค.ศ.1616 -1624 ในสมัยของรายาบีรู โดยชายชาวจีนที่มารับอิสลาม ณ แผ่นดินปาตานีในสมัยนั้น นามว่า โต๊ะ กายัน หรือลิ่ม โตะ เคี้ยน ซึ่งถูกแต่งตั้งเป็นผู้นำการหล่อปืนในครั้งนั้น เพื่อเป็นการเตรียมรับมือกับข่าวลือว่า สยามจะเข้าโจมตี ปาตานี ในสมัยนั้น
 
ลิ้ม โต เคี้ยม ได้หล่อสำเร็จแล้วสามกระบอก คือ SRI PATANI (พญาตานี) SRI NAGARA (ศรีนครา) และ MAHA LELA (มหาเลลา) ซึ่งมหาเลลา เป็นปืนกระบอกเล็กที่สุดในบรรดาปืนทั้ง 3 กระบอก คือวัดได้เพียง 5 ศอก 1 คืบ ศรีนาคราและศรีปาตานี เป็นปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์
ปืนใหญ่ทั้ง 3 กระบอก ได้ทำหน้าที่ในการป้องกันการรุกรานจากกองทัพสยามมา 4 ครั้ง เมื่อ ค.ศ.1603, 1632, 1634 และ 1638
 
หลังจากล้มสลายของอาณาจักรอยุธยา เมื่อปีค.ศ.1767 เป็นช่วงสมัยที่รัฐปาตานี ปกครองโดย ซุลต่านมูฮัมหมัด (ค.ศ.1776 - 1786) หลังจากที่ได้พยายามปลดปล่อยตัวเองจากการคุกคามของไทย
อย่างไรก็ตาม ในปี 1785 กองทัพไทย ภายใต้การนำของแม่ทัพพระยากลาโหม ประสบความสำเร็จในการทำการรบชนะปาตานี ปืนใหญ่ทั้งสองกระบอก นั้นคือ ศรีนาครา กับ ศรีปาตานีหรือพญาตานี ถูกยึดเป็น “สินสงคราม”
 
ศรีนาคราได้ตกลงไปในทะเล ขณะลำเลียงโดยเรือเพื่อนำไปสู่เมืองหลวง โดยระบุว่า ได้ตกลงในอ่าวปัตตานี และต่อมามหาเลลา ได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย
 
เมื่อปี ค.ศ.1787, พระราชา รามาที่ 1 ได้มีกระแสรับสั่งให้หล่อปืนใหญ่ในลักษณะเดียวกันกับ ศรีปาตานี หรือพญาตานี โดยมีขนาดเท่ากัน และตั้งชื่อว่า นารายณ์สังหาร ที่ถูกวางคู่กันหน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานครฯ
(อ้างอิง :อิบรอเฮม ซุกรี ในหนังสือ ประวัติศาสตร์อาณาจักรมลายูปาตานี)
 
ปรากฏการณ์นี้ สร้างความเจ็บปวดแก่ชาวมลายูปาตานี ที่เคยเรียกร้องให้มีการคืนสิทธิดั่งเดิมของชาวมลายูปาตานี ซึ่งชัดเจนว่า เป็นของคนที่นี้ 
 
แต่ด้วยเหตุผลที่ว่า ขณะนี้ ปืนใหญ่ศรีปาตานี หรือพญาตานี ถูกจัดเป็น “สินสงคราม” ที่ไม่ถูกอนุญาตให้ส่งคืนสู่ถิ่นเดิม แต่ได้สร้างปืนจำลองเสมือนจริง แทน
 
Ambranews ได้ติดตามพิธีดังกล่าวนั้น มองว่า พิธีดังกล่าวมีหลายเรื่องที่เป็นเรื่องที่อดสู อับอาย เนื่องจากการนำปืนใหญ่ดังกล่าวได้กระทำหน้ามัสยิด ที่เป็นเสมือนบ้านของพระเจ้า 
 
พิธีการดังกล่าวไม่ได้แสดงถึงความเคารพในสถานที่ที่เป็นศาสนสถานของมุสลิม หลังเสร็จสิ้นการวางปืนใหญ่แล้วนั้น ปืนใหญ่ดังกล่าวได้กลายเป็นเพียงของเล่นของเด็กๆ 
 
ฝ่ายรัฐไทยไม่ได้คำนึงถึงความรู้สึกของชาวมลายูปาตานี ว่าต้องการอะไร ผิดตรงไหนที่ปืนใหญ่ที่เป็นของคนปาตานี จะกลับคืนสู่ถิ่นเดิม 
 
รัฐไทยเคยถามความเห็นคนในพื้นที่หรือไม่ว่า ต้องการ ปืนใหญ่จำลองนี้ มาอยู่บนผืนแผ่นดินปาตานี หรือเปล่า??”
 
ลิงค์บทความต้นฉบับ http://www.ambranews.com/berita-hangat/meriam-sri-patani-tiruan-di-patani/
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รพ. ชุมชนภาคใต้-แพทย์ชนบท ร่วมแถลงย้ำไม่เอา P4P

0
0
รพ.ชุมชนภาคใต้ 7 จ.ตอนล่างแถลงร่วมข้อเสนอของแพทย์ชนบท ย้ำรัฐบาลต้องยกเลิกระบบ P4P เอาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับที่ 4,6 มาใช้เช่นเดิม ระบุจะเคลื่อนไหวจนกว่าจะปลดนพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ จากการเป็นรมว.สาธารณสุข 

 
3 มิ.ย. 56 - มีรายงานว่า ที่ห้องสัมมนาของโรงไฟฟ้าจะนะ มีการสัมมนาเพื่อทำความเข้าใจในกลุ่มวิชาชีพทุกวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชน 7 จังหวัดภาคใต้ เพื่อทำความเข้าใจต่อการประกาศไม่ทำ P4P และขอให้นำเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายคืนมา รวมทั้งกำหนดท่าทีการเคลื่อนไหวของโรงพยาบาลชุมชน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง
 
นายแพทย์สมชาย ศรีสมบัณฑิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตากใบ จังหวัดนราธิวาส และนายแพทย์รอซาลี ปัตยบุตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา ได้แถลงย้ำรัฐบาลต้องยกเลิกระบบ P4P เอาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับที่ 4,6 มาใช้เช่นเดิม และเรียกร้องให้ปลดนพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ จากการเป็นรมว.สาธารณสุข ในขณะที่ชมรมแพทย์ชนบท ได้ออกแถลงการณ์และจุดยืนต่อการเจรจาในวันที่ 4 และ 6 มิ.ย. นี้ กับผู้แทนนายกรัฐมนตรี โดยย้ำว่าจะ "เคลื่อนไหวอารยะขัดขืนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องจนกว่า พีฟอร์พี จะถูกยกเลิก และ นพ.ประดิษฐ  สินธวณรงค์  ถูกย้ายออกจากกระทรวงสาธารณสุข"
 
โดยเนื้อหาของแถลงการณ์ของโรงพยาบาลชุมชน 7 จังหวัดภาคใต้ และชมรมแพทย์ชนบท มีดังนี้
 
สืบเนื่องจากการที่ทางรัฐบาลโดยตัวแทนจากนายกรัฐมนตรี นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ ได้ขอเจรจากับแพทย์ชนบทและเครือข่ายสุขภาพที่ออกมาไล่ รมต.ประดิษฐและไม่เอา p4p จนบรรลุข้อตกลงในการจัดการเจรจาในวันที่ 4 และ  6 มิถุนายน โดยเป็นการเจรจาตามข้อเรียกร้องของแพทย์ชนบท ทันตภูธร เครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกัน สหภาพองค์การเภสัชกรรม เครือข่ายผู้ป่วยและองค์กรพัฒนาเอกชน กับผู้แทนรัฐบาลนั้น  
 
โรงพยาบาลชุมชน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง  ขอยืนยันว่า P4P คือยาพิษ จะไม่มีการเจรจาลงรายละเอียดเรื่อง P4P  แต่อย่างใด ไม่รับทั้งหมด ไม่มีการโอนอ่อน และขอยืนยันข้อเรียกร้องที่ลดหย่อนไม่ได้เลยของแพทย์ชนบทและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนนั่นคือ
 
1. การยกเลิกนโยบาย p4p สำหรับโรงพยาบาลชุมชนโดยสิ้นเชิง แล้วเอาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับที่ 4,6 กลับมาใช้เช่นเดิม รวมทั้งการปรับเพิ่มอัตราสำหรับวิชาชีพอื่นที่นอกเหนือจากแพทย์ ทันตแพทย์ด้วย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานและลดปัญหาการสมองไหลจากโรงพยาบาลชุมชน จะไม่มีการเจรจารายละเอียดใดๆในเรื่อง P4P  
 
2. รัฐบาลต้องเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลด นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ออกจากการเป็นรัฐมนตรี และมอบหมายให้ รัฐมนตรีช่วยว่าการ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รักษาการแทน  และให้เป็นผู้แทนการเจรจาในฝั่งกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การเจรจาดำเนินไปได้ เพราะ รมต.ประดิษฐเป็นโมฆะบุรุษและเป็นเชื้อโรคร้ายที่บ่อนทำลายระบบสุขภาพ จึงไม่อาจให้มาทำหน้าที่ตัวแทนฝ่ายกระทรวงสาธารณสุขได้
 
การที่ผู้แทนท่านนายกรัฐมนตรีคือ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาขอร้องให้ชมรมแพทย์ชนบทยอมรับการเจรจานั้น ไม่ได้แปลว่าชมรมแพทย์ชนบทและโรงพยาบาลชุมชนทั้งหมดจะยุติความเคลื่อนไหวในการชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี แต่ทางชมรมแพทย์ชนบท โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีความพร้อมที่จะมาออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรีทุกวัน และพร้อมจะชุมนุมยืดเยื้อหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี หากการเจรจาไม่นำไปสู่การตอบสนองข้อเรียกร้องทุกข้อ การต่อสู้ครั้งนี้เป็นการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบบสุขภาพให้ไม่ถูกทุนสามานย์ยึดครองไป เป็นการต่อสู้เพื่อระบบสุขภาพที่เอื้อให้กับการดูแลสุขภาพคนทุกคนในสังคมไทยไม่เฉพาะคนจนคนชนบท   เป็นบทบาทการแพทย์เพื่อสังคมที่ต้องยืนหยัด และขอเชิญคนไทยทั้งประเทศติดตามและเข้าร่วมการปกป้องระบบสุขภาพไทยในครั้งนี้ด้วย
 
นายแพทย์รอซาลี ปัตยบุตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามัน จ.ยะลา กล่าวย้ำว่า “การที่ผู้แทนท่านนายกรัฐมนตรีคือ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาขอร้องให้ชมรมแพทย์ชนบทยอมรับการเจรจานั้น ไม่ได้แปลว่าชมรมแพทย์ชนบทและโรงพยาบาลชุมชนทั้งหมดจะยุติความเคลื่อนไหวในการชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี แต่ทางชมรมแพทย์ชนบท โดยเฉพาะแพทย์ชนบทและโรงพยาบาลชุมชนใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ยังพร้อมที่จะมาออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรีทุกวัน และพร้อมจะชุมนุมยืดเยื้อหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี หากการเจรจาไม่นำไปสู่การตอบสนองข้อเรียกร้องทุกข้อ การต่อสู้ครั้งนี้เป็นการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบบสุขภาพให้ไม่ถูกทุนสามานย์ยึดครองไป เป็นการต่อสู้เพื่อระบบสุขภาพที่เอื้อให้กับการดูแลสุขภาพคนทุกคนในสังคมไทยไม่เฉพาะคนจนคนชนบท   เป็นบทบาทการแพทย์เพื่อสังคมที่ต้องยืนหยัด และขอเชิญคนไทยทั้งประเทศติดตามและเข้าร่วมการปกป้องระบบสุขภาพไทยในครั้งนี้ด้วย ”
 
สืบเนื่องจากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้กดดันให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทุกจังหวัด ให้ไปกดดันและลงมือสั่งการให้ รพช.ต่างๆต้องทำ P4P เพราะทั้งรัฐมนตรีประดิษฐ และปลัดกระทรวง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ สั่งลุยเต็มที่ก่อนการเจรจา สำหรับการประชุมประจำเดือนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีในวันที่ 31 พ.ค. 56 นี้นั้น นพ.เดชา แซ่หลี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกะพ้อ แพทย์ดีเด่นในชนบท แพทย์ที่ชาวบ้านรักใคร่ ได้ตอบคำถามที่ว่า 'ทำ P4P หรือยัง ผู้ใหญ่เขาสั่งมา'
 
นพ.เดชาตอบว่า "ถ้าท่านผู้บริหารกระทรวงฯ ถามผมว่า ดูแลประชาชนในพื้นที่ตามนโยบาย District Health System อย่างไร คืบหน้าแค่ไหน ผมจะรีบรายงานว่า ในจังหวัดของเรา ทีมทำงานในอำเภอร่วมกันอย่างแข็งขัน 4-5 อำเภอ แล้ว มีการตั้งกองทุนร่วมกับชุมชนเพื่อดูแลผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงตามบ้าน บางอำเภอมีทีมขี่จักรยานออกไปเยี่ยมบ้าน แม้เป็นพื้นที่ในความรุนแรง ซึ่งพวกเราภูมิใจมากกับงานที่ทำนี้ และจะขยายออกไป แต่หากถามไร้สาระว่า ทำ P4P หรือยัง คำตอบของผม คือ ไม่ทำ”
 
0000
 
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท
 
เรื่องจุดยืนการเคลื่อนไหวและเป้าหมายการเจรจากับผู้แทนนายกรัฐมนตรี (วันที่  4 และ 6 มิ.ย. 56)
 
ตามที่ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมทันตภูธร สหวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน และเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม  เครือข่ายผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เอดส์ หัวใจ มะเร็ง โรคเลือด เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวขับไล่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์  รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข เพื่อปกป้องระบบสาธารณสุขของรัฐ ไม่ให้ถูกครอบงำโดยกลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจเอกชน และบริษัทยาข้ามชาติ ด้วยการเคลื่อนไหวอารยะขัดขืนทั่วประเทศ ไม่เอาพีฟอร์พี และไม่เอา นพ.ประดิษฐ  สินธวณรงค์  และประกาศ เลื่อนการชุมนุมจัดตั้ง รพ.คนจนภาคสนาม ที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรีจากวันที่ 6 มิ.ย. เป็นการชุมนุมในวันที่ 20 มิ.ย. 56 เพื่อเปิดทางให้มีการเจรจากับผู้แทนนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 4 และ 6 มิ.ย. นี้ และเพื่อให้เกิดความชัดเจน ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอประกาศจุดยืนการเคลื่อนไหว และเป้าหมายการเจรจากับผู้แทนนายกรัฐมนตรี ไว้ดังนี้
 
 
จุดยืนการเคลื่อนไหว
 
1.       จะเคลื่อนไหวอารยะขัดขืนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องจนกว่า พีฟอร์พี จะถูกยกเลิก และ นพ.ประดิษฐ  สินธวณรงค์  ถูกย้ายออกจากกระทรวงสาธารณสุข
 
2.       พร้อมเจรจากับผู้แทนนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ข้อมูลถึงภาวะอันตรายของระบบสาธารณสุขของรัฐที่กำลังจะล่มสลาย เพราะนโยบายที่ผิดทิศผิดทาง ทำร้ายคนจน เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจเอกชนและบริษัทยาข้ามชาติ  พร้อมยื่นข้อเสนอถึงแนวทางการแก้ไข และความจำเป็นที่ต้องย้าย นพ.ประดิษฐ  สินธวณรงค์  ออกไปจากกระทรวงสาธารณสุข
 
3.       ถ้าการเจรจาในวันที่ 4 และ 6 มิ.ย. 56 ไม่มีความคืบหน้า จะร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพ รพ.ชุมชนทั่วประเทศ  เครือข่ายผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เอดส์  หัวใจ มะเร็ง โรคเลือด  เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม การไฟฟ้าฯ การประปาฯ และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ  ชุมนุมใหญ่และจัดตั้ง รพ.คนจนภาคสนามขึ้น หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 20 มิย. 56 นี้เป็นต้นไป  จนกว่าจะได้เข้าพบท่านนายกรัฐมนตรี เพื่อให้แก้ปัญหา และย้าย นพ.ประดิษฐ  สินธวณรงค์ ออกไป
 
 
เป้าหมายการเจรจา
 
1.       ขอให้นายกรัฐมนตรีย้าย นพ.ประดิษฐ  สินธวณรงค์ ออกจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยของระบบสาธารณสุขของรัฐ
 
2.       ยกเลิกนโยบายให้ร่วมจ่ายทุกกรณีในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ ให้มีการแยกผู้ซื้อบริการ (สปสช.) และผู้จัดบริการ (กระทรวงสาธารณสุข) ให้อิสระจากกัน และถ่วงดุลกันตามที่กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พศ. 2545 กำหนดไว้
 
3.       ยกเลิกเป้าหมายจะแปรรูปองค์การเภสัชกรรม ฟ้องเอาผิดกับผู้ที่ทำลายภาพลักษณ์องค์การเภสัชกรรม  และเปลี่ยนคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมชุดปัจจุบัน
 
4.       ยกเลิกการจ่ายค่าตอบแทนแบบพีฟอร์พี ในรพ.ชุมชน และใช้ระบบเหมาจ่ายเหมือนเดิมโดยตั้งงบประมาณให้เพียงพอ ไม่ให้กระทบต่อฐานะเงินบำรุงของ รพ. ที่มีเงินบำรุงไว้ใช้บริการผู้ป่วยโดยตรง
 
 
 
 ทั้งนี้ชมรมแพทย์ชนบทขอยืนยันว่าจะร่วมกับเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ดำเนินการเคลื่อนไหวทุกวิถีทางด้วยความสงบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อปกป้องระบบสาธารณสุขของรัฐ ให้เอื้อกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ และหวังว่า ท่านนายกรัฐมนตรีจะเห็นปัญหาและแก้ไข ขจัดต้นตอของปัญหาออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบสาธารณสุขของรัฐ ถูกทำลาย และประชาชนเดือดร้อนในอนาคตอันใกล้นี้
 
 
 
                                                     นพ.เกรียงศักดิ์   วัชรนุกูลเกียรติ
 
                                                    และคณะกรรมการชมรมแพทย์ชนบท
 
                                                                                  วันที่ 3 มิ.ย. 2556
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยสปริงและหน้ากากกาย ฟอว์กส์

0
0
เท่าที่ได้ทราบข้อมูลมา คนแรก ๆ ที่ใช้คำว่าไทยสปริงก็คือพลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชรในโฮมเพจที่ไว้ล่าลายชื่อสำหรับประท้วงการกล่าวปาฐกถาของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่มองโกเลียนั้นเอง เพื่อเป็นการจุดประกายการต่อต้านและการล้มรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ในยุคที่เสื้อเหลืองอันมีสำนักพิมพ์ผู้จัดการเป็นศูนย์กลางดูโรยราเต็มที และในเวลาอันใกล้ๆ นั้นไทยสปริงดูจะสามารถจุดประกายแฟชั่นการติดรูปหน้ากากขาวหรือหน้ากากกาย ฟอว์กส์ไว้แทนตัวตนของนักท่องโลกไซเบอร์ทั้งหลายที่ชื่นชอบในการเกลียดชังพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้ที่พวกเขาเห็นว่าเป็นผู้จัดการรัฐบาลตัวจริง ผู้กุมอำนาจชักใยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่เผด็จการ รัฐบาลฉ้อฉล โกงกิน รัฐบาลทุนสามานย์ รัฐบาลล้มเจ้า ฯลฯ ถึงแม้กลุ่มของคุณวสิษฐจะยืนยันว่าเป็นคนละกลุ่มกับพวกหน้ากากขาว แต่ด้วยการคาดคะเนของผู้เขียนเองว่าคงมีผู้ประสานงานหรือสนับสนุนเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรืออย่างน้อยก็อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน อุปมาดังเบียร์สิงห์และเบียร์ลีโอที่เป็นคนละแบรนด์แต่ก็ถูกผลิตโดยบริษัทเดียวกัน บทความนี้จึงเรียกนักประท้วงทั้งหลายโดยภาพรวมว่าชาวไทยสปริง
 
สำหรับคำว่าสปริงหรือ Spring นี้มีความหมายโดยทั่วไปคือฤดูใบไม้ผลิ แต่อีกความหมายหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อันไปสู่สิ่งใหม่ ถ้าเป็นคำศัพท์ทางการเมืองก็คือการปฏิวัติ (Revolution) การปฏิวัติไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  เพราะมักมีคนนำไปปะปนกับรัฐประหาร (Coup d'etat) ซึ่งหมายความว่าแค่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยใช้วิธีการทางทหารเกือบทั้งหมด (ความจริงพลเรือนก็มี) แต่การปฏิวัติที่แท้จริงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐ ไม่ว่าการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ โดยแรงผลักดันคือมวลชนทั้งหลาย (1)มีการใช้คำนี้กับเหตุการณ์มากมายในอดีตเช่นการประท้วงของชาวฮังการีต่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ภักดีกับสหภาพโซเวียต (Hungarian Spring) ในปี 1956 เช่นเดียวกับการประท้วงของชาวเช็คโกสโลวาเกียต่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียตในปี 1968 (Prague Spring) ถ้า 2 เหตุการณ์นี้ไม่ประสบความล้มเหลวเสียก่อนก็จะนำประเทศไปสู่การเป็นประชาธิปไตยทุนนิยม (แต่กระนั้นก็เป็นปัจจัยทางอ้อมที่นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991)   คำว่าสปริงได้มาโผล่อีกครั้งและเป็นที่นิยมจนติดหูในปี 2011  ที่ประชาชนในกลุ่มประเทศอาหรับออกมาประท้วงรัฐบาลเผด็จการที่ปกครองประเทศมาหลายทศวรรษจนประสบความสำเร็จไม่ว่าตูนีเซีย ลิเบีย อียิปต์ เยเมน ประเทศได้กลายเป็นประชาธิปไตย แต่ถ้าจะใช้คำตรงกว่านั้นก็ต้องบอกว่าประเทศได้มีภาวะการกลายเป็นประชาธิปไตย (Democratization) เพราะมีหลายประเทศที่ยังมีภาวะที่ไม่เรียบร้อยจนเกินกว่าจะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจกันครั้งใหญ่
 
ยกตัวอย่างเช่นอียิปต์ หลังจากอาหรับสปริงครั้งแรกได้ผลักดันให้ฮอสนี มูบารักพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี ชาวอียิปต์เองก็ยังไม่พอใจที่ว่าสถาบันของทหารยังคงมีอำนาจอยู่มาก ยังมีการประท้วงกันที่จุตรัสทาห์รีร์กันอยู่เรื่อยๆ จนเมื่อมีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศและได้ประธานาธิบดีคนใหม่ตามระบอบประชาธิปไตยคือ นายโมฮะหมัด มอร์ซีซึ่งได้กำจัดอิทธิพลของทหารออกไปโดยวิธีแยบยล ประเทศก็น่าจะก้าวสู่สภาพเรียบร้อยแต่ทว่าประชาชนยังเห็นว่านายมอร์ซีมาจากพรรคภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ซึ่งน่าจะนำประเทศไปภายใต้อำนาจหรืออุดมการณ์ของมุสลิมหัวรุนแรง เมื่อประธานาธิบดีออกกฏหมายมอบอำนาจให้ตัวเองเหนือฝ่ายตุลาการและเปิดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งถูกโจมตีว่าให้อำนาจกับศาสนามากไป ชาวอียิปต์ก็แห่กันมาใช้บริการจุตรัสทาห์รีร์กันอีกครั้งถึงแม้ในปัจจุบันจะสงบนิ่งไปแต่พร้อมจะมีคลื่นลูกใหม่ออกมาเรื่อย ๆ อนึ่ง ในการประท้วงนี้ยังรวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิของสตรีซึ่งถูกกดขี่อย่างมากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามแบบอนุรักษ์นิยมอย่างอียิปต์
 
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการจะบอกว่าให้เมืองไทยจะต้องมีภาวะทางการเมืองเหมือนกับอียิปต์หรือโจมตีตำหนิการประท้วงของชาวไทยสปริงแต่ประการใด เพียงแค่ต้องการถามชาวไทยสปริง (เช่นเดียวกับพวกเสื้อแดง เสื้อเหลืองหรือเสื้อไร้สี)  ทั้งหลายว่าสามารถทำให้คำว่า “สปริง” ศักดิ์สิทธิ์หรือปฏิวัติสังคมไทยได้ถึงรากถึงแก่นได้เหมือนตัวอย่างข้างบนหรือไม่ หรือว่าเพียงต้องการให้ทักษิณและเครือข่ายหมดอิทธิพลไปก็พอใจโดยไม่สนใจว่ากลุ่มอิทธิพลอื่นไม่ว่าทหาร  ข้าราชการประจำ กลุ่มทุนสามานย์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก(ที่สื่อมักไม่เอ่ยนามในด้านลบเหมือนทักษิณ) เลื้อยเข้ามาคลุมพื้นที่แทนอิทธิพลของเครือข่ายทักษิณ ชาวไทยสปริงสนใจหรือไม่ที่จะต่อสู้กับกลุ่มประโยชน์เหล่านั้นโดยการเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาธิปไตยไม่ว่าความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ สังคมหรือแม้แต่เรื่องทางเพศ รวมไปถึงเสรีการแสดงออกที่รัฐบาลไม่ว่าชุดไหนก็ใช้ความเป็น "รัฐตำรวจ" ในการควบคุมทั้งนั้นไม่ว่ากฏหมายมาตรา 112 หรือกฏหมายการเซ็นเซอร์สื่อมวลชน  ชาวไทยสปริงสนใจหรือไม่ที่ในอนาคตจะร่วมช่วยเหลือชนรากหญ้าจำนวนมากในการเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐ หรือเพิ่มระดับขั้นไปสู่การปลดแอกจากการกดขี่ของนายทุนจำนวนมาก(ที่ไม่จำเป็นต้องสังกัดในกลุ่มทักษิณ)  ถ้าสามารถทำได้ก็ถือได้ว่าเป็นปรากฏไทยสปริงที่ปรากฏลงบนสื่อสากล เช่น ซีเอ็นเอ็น หรือบีบีซีอย่างน่าภาคภูมิใจ
 
สำหรับหน้ากากขาวหรือหน้ากากกาย ฟอว์กส์ (ซึ่งน่าจะได้รับความนิยมกว่าสัญลักษณ์ดอกบัวของพลตำรวจเอก วสิษฐอย่างมากเพราะของฝ่ายหลังดูคล้ายคลึงกับสัญลักษณ์ของยาสีฟันยี่ห้อหนึ่งอย่างกับแกะ) ได้รับอิทธิพลจากกาย ฟอว์กส์ (1570 – 1606) บุรุษชาวอังกฤษซึ่งไม่ได้ต่อสู้เพื่อสิทธิหรือเสรีภาพแบบประชาธิปไตย แถมยังมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของชาวไทยสปริงอย่างรุนแรง นั้นคือฟอว์กส์เป็น "พวกล้มเจ้า" เพราะต้องการลอบปลงประชนม์พระเจ้าเจมส์ที่ 1 เพื่อเปลี่ยนอังกฤษให้กลับมายึดถือนิกายคาทอลิกแต่ก็ถูกจับได้และประหารชีวิตเสียก่อน ดังนั้นจึงเป็นผลิตซ้ำความหมายของสัญลักษณ์ที่น่าสนใจสำหรับชาวไทยสปริงในการนำหน้ากากนี้เป็นตัวแทนขบวนการของตน (2)  นอกจากนี้การที่หน้าของฟอว์กส์ได้รับความนิยมก็เพราะนักเขียนชาวอังกฤษ 2 คนคือ อลัน มัวร์และเดวิด ลอยด์ นำมาใช้เป็นหน้ากากสำหรับตัวเอกที่ต่อสู้กับรัฐบาลฟาสซิสต์ของอังกฤษในโลกอนาคตภายใต้งานที่ชื่อ V for Vendetta  โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการที่มวลชนอังกฤษทำการประท้วงรัฐบาลของมาร์กาเรต แทตเชอร์อย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ 80 เมื่อนวนิยายกึ่งการ์ตูนเรื่องนี้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี  2005 ก็ได้นำหน้ากากกาย ฟอว์กส์ไปสู่ความนิยมของชาวโลกในการประท้วงรัฐบาลที่กดขี่ บั่นทอนเสรีภาพของประชาชนรวมไปถึงกลุ่มประชาชนที่ต่อต้านระบบทุนนิยมโดยการยึดครองวอลล์สตรีท (Occupy Wall Street) และสถานที่สำคัญหลายแห่งในโลกเมื่อ 2 ปีก่อน (โดยที่คนประท้วงก็คงมีอยู่มากที่ไม่รู้ว่าหน้ากากมีที่มาอย่างไร)         
 
ที่สำคัญทั้งนวนิยายและภาพยนตร์ต้องการให้ตัวเอกที่ใส่หน้ากากกาย ฟอว์กส์เป็นตัวแทนของแนวคิดอนาธิปไตย (Anarchism) หรือแนวคิดที่ต่อต้านปฏิเสธการมีอยู่ของรัฐเพราะเห็นว่ารัฐคือตัวแทนของการกดขี่ข่มเหง โดยต้องการให้สังคมของชนกลุ่มต่างๆ ร่วมกันปกครองตัวเอง สำหรับชาวไทยสปริงจำนวนมากก็ดูใช้ชีวิตอย่างมีความสุขดีกับระบบทุนนิยมอันแตกต่างจากกลุ่มยึดครองวอลล์ สตริท และเกือบทั้งหมดก็คงเป็นพวกภักดีเจ้าอย่างเหลือล้น (Hyper-royalist) หรือในอนาคตขอเดาเล่นๆ หากทหารทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไป ก็คงมีคนใส่หน้ากากกาย ฟอว์กส์ไปยืนชี้นิ้วเป็นรูปตัววีอยู่หน้ารถถังกันอยู่เป็นทิวแถว ก็เลยขอกดปุ่ม Like ให้กับชาวไทยสปริงอีกครั้งว่าได้สร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้กับหน้ากากกาย ฟอว์กส์ว่าเป็นสัญลักษณ์เพื่อโจมตีรัฐบาลแต่ก็เชิดชูสถาบันที่ทรงอำนาจของ"รัฐ" ยิ่งกว่าตัวของรัฐบาลเสียด้วยซ้ำ !      
 
 
 
==========
      
 
(1)ถ้าคำนึงถึงประวัติศาสตร์ ไทยสปริงครั้งแรกน่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 การที่มักมีคนบอกว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนอำนาจจากบุคคลคนหนึ่งไปยังบุคคลกลุ่มหนึ่ง ก็เพราะพวกเขาถูกหล่อมหลอมโดยประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยมที่มุ่งนำเสนอคณะราษฎรในด้านบิดเบือนและไม่ได้กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของ "มวลชนสยาม” ไม่ว่าชนชั้นกลางหรือรากหญ้าในช่วงการปฏิวัติว่าได้สนับสนุนคณะราษฎรอย่างไร เหตุใดการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นไปโดยไม่นองเลือดและปราศจากการต่อต้านของมวลชน และคณะราษฎรนั้นได้กระทำการอย่างไรเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทย
 
       
(2)ผู้เขียนเข้าใจตามแนวคิดโพสต์โมเดิร์นดีกว่าสัญลักษณ์เช่นนี้ก็อาจถูกนำไปมาใช้หรือผลิตซ้ำในอีกบริบทหนึ่งก็ได้ โดยที่ไม่มีใครสามารถกุมอำนาจในการให้ความหมายได้อย่างแท้จริง (แม้แต่แต่ผู้ให้กำเนิดสัญลักษณ์เอง) เช่นหน้ากากกาย ฟอว์กส์กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการกดขี่ ซึ่งผู้เขียนคิดว่าก็ไม่ใช่การผิดอะไรเพราะกลายเป็นสัญลักษณ์ยอดนิยมทีเข้าถึงจิตใจคนรุ่นใหม่ได้ดีกกว่าดอกบัวของพลตำรวจเอกวสิษฐ แต่ผู้เขียนคิดว่าอย่างไรแล้วมันก็ยังมีจุดเชื่อมโยงระหว่างสัญลักษณ์ที่ถูกผลิตซ้ำมาใหม่กับบริบทแบบเก่าอยู่อย่างน้อยก็อยู่ในความคิดของคนที่รู้ที่มาของสัญลักษณ์เช่นนั้น เช่น ลองจินตนาการความรู้สึกของเราที่เห็นคนรุ่นใหม่เอาภาพพระพุทธรูปไปติดในห้องส้วม ในฐานะตัวแทนของความรู้สึกสว่าง สงบ สบายขณะถ่ายของเสีย หรือคนรุ่นใหม่เดินถือธงที่มีสัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซีไปทั่วถนนแล้วบอกว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพดู
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการสั่งฟ้อง ชวนนท์-มัลลิกา หมิ่นนายกฯ กรณีโฟร์ซีซันส์

0
0

กรณีแถลงข่าวว่านายกฯ ใช้เวลาส่วนตัวไปประชุมลับที่โฟร์ซีซั่นส์ ศาลนัดรายงานตัวเพื่อยื่นฟ้องต่อศาล 28 มิ.ย.นี้ ชวนนท์ยืนยันเป็นการป้องประโยชน์ของประชาชน

เว็บไซต์ผู้จัดการรายงานว่า วันนี้ (3 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 นัดฟังการสั่งคดีที่ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ตกเป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่นประมาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากกรณี นายชวนนท์ และ น.ส.มัลลิกา ร่วมกันแถลงข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใช้เวลาราชการไปประชุมลับกับนักธุรกิจที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ย่านถนนวิทยุ หรือกรณี ว.5 โฟร์ซีซั่นส์ ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
       
นายเรืองวิชญ์ โภคัย อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 เจ้าของสำนวน เปิดเผยว่า ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าหลักฐานพอควรฟ้อง จึงมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสอง อย่างไรก็ตาม ทนายความได้ขอเลื่อนนำตัวผู้ต้องหาไปส่งฟ้องต่อศาล เนื่องจากต้องเตรียมหลักทรัพย์ที่จะใช้ประกันตัวในชั้นศาล จึงนัดให้ผู้ต้องหามารายงานตัวเพื่อยื่นฟ้องต่อศาล ในวันที่ 28 มิ.ย.นี้ เวลา 10.30 น.
       
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า คดีนี้อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องต่อศาล ซึ่งตนก็ไม่ได้ประหลาดใจแต่อย่างใด โดยพร้อมจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อจะได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงในชั้นศาล ยืนยันว่าที่ผ่านมาได้นำเสนอข่าวในเชิงตั้งคำถามเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทให้ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ขอให้นายกรัฐมนตรีให้ความร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรม ทั้งในชั้นสอบสวน และสืบพยานในชั้นศาล เนื่องจากที่ผ่านมาพนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ จากฝ่ายตนเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ทราบว่าได้ดำเนินการ หรือรวบรวมพยานหลักฐานจากอีกฝ่ายอย่างไรบ้าง และที่ผ่านมาฝ่ายบริหารก็ได้ใช้อำนาจปิดปากพวกตน ซึ่งพูดเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมต้านสภาวะโลกร้อนจี้ปลด 'ปลอดประสพ' ฐานละเมิดจริยธรรม

0
0

จากการปราศรัยของรองนายกฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่เชียงใหม่ สมาคมฯ มองว่าดูหมิ่นเหยียดหยามประชาชน เตรียมยื่นหลักฐานเพิ่มแก่ศาลปกครองกลางที่เคยได้ยื่นฟ้องไว้ฐานละเมิดจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

3 มิ.ย. 56 - สืบเนื่องจากการปราศรัยของรองนายกรัฐมนตรี ปลอดประสบ สุรัสวดี เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่สนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่เกี่ยวกับการประชุมน้ำโลก ซึ่งถูกมองว่ามีลักษณะดูถูกเหยียดหยามองค์กรภาคประชาสังคม สมาคมต้านสภาวะโลกร้อน นำโดยนายศรีสุวรรณ  จรรยา ชี้ว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการละเมิดจริยธรรมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2551 
 
แถลงการณ์ของสมาคมฯ ระบุว่า เตรียมจะนำพยานหลักฐาน วีดีโอและเอกสารข่าวทั้งหมดยื่นเพิ่มเติมต่อศาลปกครองกลาง ตามคดีหมายเลขดำที่ 1039/2556 ที่สมาคมฯและเครือข่ายภาคประชาสังคม ได้ยื่นฟ้องปลอดประสพไว้แล้วต่อศาลปกครองกลางแล้ว เมื่อคราวด่าภาคประชาชนว่า “ขยะ” ในการประชุมเรื่องน้ำโลกที่เชียงใหม่ที่ผ่านมา โดยจะนำไปยื่นต่อศาลในวันพุธที่ 5 มิถุนายน 2556 เวลา 10.30 น. ณ ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ
 
ในวันเดียวกัน เครือข่ายประชาชนในลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคอีสาน ได้ออกแถลงการณ์ต่อการกระทำดังกล่าวของรองนายกรัฐมนตรี โดยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบพฤติกรรมดังกล่าวของนายปลอดประสบ เนื่องจาก "รับไม่ได้กับท่าทีพฤติกรรมและคำพูดรองนายกรัฐมนตรี จึงขอเรียกร้องให้ยุติท่าที พฤติกรรมและการใช้วาจาที่ไม่เหมาะสม" นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รองนายกรัฐมนตรี "กลับเข้าสู่การดำเนินงานที่มีบรรยากาศของการมีส่วนร่วม จริงใจในการดำเนินงานร่วมกันทุกฝ่าย ฟังเสียงของชุมชนท้องถิ่น โดยถือประโยชน์และการแก้ไขปัญหาเป็นที่ตั้งมากกว่าประโยชน์อื่นใดที่แอบแฝง"
 
ทั้งนี้ เว็บไซต์ผู้จัดการได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่สนามกีฬาเชียงใหม่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้ขึ้นปราศรัยโดยกล่าวทักทายกลุ่มคนเสื้อแดงที่อยู่ในสนามกีฬา พร้อมสอบถามว่าได้ดูตนแสดงเป็นพญาเม็งรายในการประชุมน้ำโลกหรือเปล่า พร้อมขอบคุณกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ที่จัดม็อบสกัดกั้นกลุ่มเอ็นจีโอที่มาประท้วง
       
“ก่อนอื่นผมต้องขอบคุณทุกคนว่า ช่วงที่ประชุมน้ำ มีไอ้พวกบ้าบอคอแตกอะไรจะมาประท้วง แล้วท่านทั้งหลายก็จัดคณะไปเก็บขยะ (หมายถึงกลุ่มเอ็นจีโอ) มันก็โกธรผมนะ ว่าผมไปด่ามันว่าขยะ ที่จริงยังน้อยไปนะ ในใจเนี่ยผมอยากจะด่าไอ้เหี้ยด้วยซ้ำไป (เสียงเฮ) แต่ผมไม่ได้ด่าเพราะกลัวเค้าฟ้อง” นายปลอดประสพกล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิจัยเผยประเด็นก่อดรามาแก้บทความในวิกิพีเดีย 13 ภาษา

0
0

นักวิจัยศึกษาสงครามการแก้ไขงานในเว็บวิกิพีเดีย 13 ภาษา พบเรื่องปรัชญา ศาสนา และการเมือง เป็นเรื่องถกเถียงมากสุดในทั้ง 13 ภาษา โดยหัวข้อ อิสราเอล อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ การสังหารหมู่ชาวยิว และเรื่องพระเจ้า เป็นข้อถกเถียงมากที่สุดใน 3 กลุ่มภาษา

นักวิจัยจากฮังการี อังกฤษ และอเมริกา ศึกษาเรื่องสงครามของการแก้งานในวิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ที่เปิดให้ใครก็ได้เข้าไปเขียนและแก้ไขบทความ โดยดูจากการแก้งานกลับไปสู่เวอร์ชั่นก่อนหน้า โดยหัวข้อที่ก่อให้เกิดข้อถกเถียงมากที่สุดก็คือ เรื่องของศาสนา ปรัชญาและการเมือง

Taha Yasseri หนึ่งในทีมวิจัยเขียนในบล็อกของเขาว่า แม้อาจมีคำวิจารณ์ว่าวิกิพีเดียนั้น เชื่อถือไม่ได้ ไม่สมบูรณ์ หรือมีอคติ แต่ในทางหนึ่ง วิกิพีเดียก็ถือว่ามีประโยชน์ รวดเร็วและเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งโดยนับเป็นตัวอย่างของความร่วมมือของคนจำนวนมาก มีผู้เป็นบรรณาธิการกว่า 40 ล้านคน มีบทความกว่า 37 ล้านบทความในกว่า 280 ภาษาทั่วโลก โดยเมื่อคนที่ไม่ใช่มืออาชีพจากต่างภูมิหลัง วัฒนธรรม และความเห็น มาช่วยกันเขียนงาน จึงไม่ง่ายและไม่ราบรื่นเสมอไป แม้หัวข้อจำนวนมากจะเป็นเรื่องกลางๆ อย่างแตงโมหรือแฮมสเตอร์ แต่ก็มีสงครามการบรรณาธิการและการปะทะกันทางความคิดเบื้องหลังวิกิพีเดียจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าอะไรคือลักษณะสำคัญของสงครามเหล่านี้ อะไรคือบทความที่มีการโต้แย้งกันมากที่สุด และมันทำให้เห็นวิธีที่ผู้คนจากส่วนต่างๆ ของโลกคิดกับเรื่องต่างๆ หรือไม่

ทั้งนี้ งานวิจัยนี้ศึกษาวิกิพีเดียในภาคภาษาต่างๆ 13 ภาษาด้วยกัน ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส เปอร์เซีย อาหรับ ฮิบรู เช็ก ฮังการี โรมาเนีย จีนและญี่ปุ่น

งานวิจัย แบ่งกลุ่มภาษาหลักๆ ออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศสและสเปน  2.ภาษาเช็ก ฮังการี และโรมาเนีย  3.อาหรับ เปอร์เซีย และฮิบรู โดยบทความเกี่ยวกับอิสราเอล อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เหตุการณ์การสังหารหมู่ชาวยิว และเรื่องพระเจ้า เป็นหัวข้อที่มีข้อถกเถียงในการเขียนมากที่สุดในทั้งสามกลุ่มภาษา ขณะที่เรื่องของพระเยซู อิสลาม และศาสดามูฮัมหมัด เป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากถึง 2 ใน 3 ของกลุ่มภาษาทั้งหมด

Taha Yasseri ระบุว่า พบรูปแบบที่น่าสนใจคือ เรื่องศาสนาและการเมือง เป็นเรื่องที่เป็นข้อถกเถียงในภาษาเปอร์เซีย อาหรับและฮิบรูมากกว่าภาษาอื่นๆ ขณะที่วิกิพีเดียภาคภาษาสเปนและโปรตุเกสเต็มไปด้วยสงครามระหว่างสโมสรฟุตบอลต่างๆ ส่วนวิกิพีเดียภาคภาษาฝรั่งเศสและเช็ก ค่อนข้างจะถกเถียงกันในเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านวิกิพีเดียภาคภาษาจีนและญี่ปุ่นนั้น เป็นสมรภูมิรบของการ์ตูน อะนิเมะ ทีวีซีรีส์ และแฟนคอบันเทิง ผลิตภัณฑ์ของช่อง TVB ปรากฏบ่อยครั้งในลิสต์ของจีน และอันดับที่ 19 ของประเด็นที่ถกเถียงกันมากในภาคภาษาญี่ปุ่นก็คือ องคชาต

Yasseri ระบุว่า ข้อค้นพบเหล่านี้ จะช่วยให้วิกิพีเดียและโครงการต่างๆ ที่คล้ายๆ กัน ออกแบบได้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากบทเรียนและข้อสังเกตเหล่านี้  และ สอง เชื่อว่ากรณีศึกษาเหล่านี้จะช่วยให้นักสังคมศาสตร์เข้าใจเกี่ยวกับสังคมมนุษย์มากขึ้น ผ่านการวิเคราะห์การกระทำและปฏิสัมพันธ์ของสังคมขนาดใหญ่ของปัจเจกบุคคล (ในที่นี้คือบรรณาธิการวิกิพีเดีย)

วิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษ ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงมากที่สุด คือเรื่องของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ตามด้วย อนาธิปไตย, ศาสดามูฮัมหมัด, รายชื่อของคนในแวดวงมวยปล้ำอาชีพ (WWE), ภาวะโลกร้อน, การขลิบ, สหรัฐอเมริกา, พระเยซู, ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและความฉลาด และศาสนาคริสต์ 

ในวิกิพีเดียภาคภาษาญี่ปุ่นนั้น หัวข้อหลักที่ถกเถียงกันนั้น เป็นเรื่องของชาวเกาหลีในญี่ปุ่น ตามด้วย ทฤษฎีต้นกำเนิดประเทศเกาหลี, สิทธิของผู้ชาย, ฝ่ายขวาในอินเทอร์เน็ต, วงเกิร์ลกรุ๊ป AKB48, ซีรีย์คาเมนไรเดอร์, การ์ตูนวันพีซ, คิม ยู นา นักกีฬาสเก็ตน้ำแข็ง คู่แข่งคนสำคัญของมาโอะ อะซาดะ นักกีฬาชาวญี่ปุ่น, มิซูโฮ ฟุกุชิมา นักการเมืองหญิงชาวญี่ปุ่น หนึ่งในผู้นำการต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์, โกโก เซนไท โบเคนเจอร์ ภาพยนตร์แนวขบวนการยอดมนุษย์ลำดับล่าสุด

ส่วนวิกิพีเดียภาคภาษาจีนนั้น เถียงกันหนักที่สุดในเรื่องไต้หวัน, ซีรีย์ใหม่ในช่องTVB, จีน, เจียงไคเช็ค, หม่าอิงจิ๋ว, เฉินสุ่ยเปียน, เหมาเจ๋อตุง, สงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สอง และการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อปี 1989

 

 

 

ที่มา:
http://tahayasseri.wordpress.com/2013/05/27/wikipedia-modern-platform-ancient-debates-on-land-and-gods/
http://www.huffingtonpost.com/2013/05/31/controversial-wikipedia-articles_n_3367573.html?ir=Technology
ftp://193.206.140.34/pub/mirrors/epics-at-lnl/WikiDumps/localhost/group282-priedhorsky.pdf

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทบทวนความเป็นผู้ถูกกดบังคับ : ความไม่รู้ว่าถูกทุนกดบังคับ

0
0

เกริ่นนำ

ทำไมคำว่า เบี้ยวบิดจึงมีภาพพจน์ทางลบ?  ใครเป็นผู้กำหนดนิยามทั่วไปของมัน?  แล้วทำไมคำว่า ตรงจึงมีภาพพจน์ทางบวก? ใครเป็นผู้กำหนดนิยามทั่วไปของมัน ที่สำคัญ ใครเป็นผู้สถาปนา คำว่า “ตรง” ให้มีอำนาจเหนือคำว่า “เบี้ยวบิด”? ที่สำคัญ ใครผูกขาดความดีเสมอไปของคำว่า “ตรง” และผูกขาดความไม่ดีเสมอไปของคำว่า “เบี้ยวบิด” ประเด็นเหล่านี้เพิ่งถูกตั้งคำถามในโลกของนักคิดไม่นานนัก เนื่องจาก พวกเขาเริ่มสงสัยเกี่ยวกับตำนานวีรบุรุษที่แสนดีกับปีศาจที่แสนชั่วร้าย? เช่นเดียวกับคำว่า “ทุนนิยม” (Capitalism) ซึ่งมีภาพพจน์ชั่วร้ายบ้าง ดีงามบ้างแปรผันไปตามการโฆษณาชวนเชื่ออันอิงแอบอยู่กับความปักใจของแต่ละสำนักคิด กระนั้นก็ดี สิ่งที่เป็นมายาคติ (Myth) แบบนี้ กลับมีผลกระทบโดยตรงต่อวิธีคิดและวิถีชีวิตของผู้คน กลายเป็นว่าเรื่องที่จับต้องไม่ได้ประมาณนี้ (Abstract) มีอิทธิพลมากยิ่งกว่าเรื่องที่จับต้องได้ จนบางครั้งก็คล้ายๆจะเป็นไสยศาสตร์ไป (Superstition) แต่ทำอย่างไรได้ เมื่อโลกทั้งโลกตกลงใจกันมานานนับร้อยปีที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการปกครองทั้งในระดับมหภาคและจุลภาคด้วยวิธีการอุปโลกน์ทางการเงินการธนาคารแบบนี้ ดังนั้น โลกจึงมี “ผู้ถูกกดบังคับ” (Subaltern Class) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งชีวิตจริงของพวกเขามักไม่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์กระแสหลักเท่าไรนัก ที่จริง ไม่มีใครได้ยินหรือสนใจเสียงของพวกเขาเลย และที่จริงกว่านั้นเสียงของคนชายขอบที่เราเริ่มได้ยินกันขึ้นมาบ้างแล้ว ก็ไม่ใช่ “ผู้ถูกกดบังคับ” เสมอไป?

 

เนื้อหา
เพื่อทบทวนความเป็นผู้ถูกกดบังคับ (Subaltern) ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติของกรัมชี่ (Gramsci) ที่ใช้เป็นภาพตัวแทนของชนชั้นล่าง (Proletariats) กระนั้นก็ดี นักคิดรุ่นหลังกรัมชี่ก็ช่วยขยายขอบเขตและคุณลักษณะของคำนี้ให้กว้างขวาง เป็นต้น สปีวัค (Spivak) เสนอว่า ชนชั้นล่าง (หรือชนชั้นแรงงาน) ไม่จำเป็นต้อง ผู้ถูกกดบังคับ ก็ได้ และกลุ่มนักคิดแนวเดียวกับสปีวัค ก็เห็นว่า “ผู้ถูกกดบังคับอย่างแท้จริงจะต้องไม่รู้ตัวเลยว่าตนเองกำลังถูกกดบังคับอยู่”นั่นหมายถึง ผู้ถูกกดบังคับจะเป็นผู้ที่ถูกกระทำอยู่ตลอดเวลา และการเป็น “สิ่งที่ถูกกระทำ” (Object) แบบนี้ ทำให้พวกเขาไม่เคยรู้จัก “ความเป็นองค์ประธาน” (Subject)  นั่นหมายถึง เขาไม่สามารถตระหนักรู้ถึงความมีตัวตนของตัวเอง (Self-awareness) และสปีวัคเห็นว่า หน้าที่ของนักคิดหรือผู้ปรารถนาจะช่วยเหลือผู้ถูกกดบังคับเหล่านั้น คือ การกระตุ้นให้พวกเขาตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพในการเป็นองค์ประธานของตน นั่นคือ เสรีภาพในการเล่าเรื่องราว วิธีคิด วิถีชีวิต และความคิดเห็นในระดับปัจเจกบุคคลโดยปราศจากความหวาดกลัวและหลุดพ้นจากกระบวนการทำให้มนุษย์กลายเป็นแค่วัตถุ (Objectivization) และเมื่อบรรดาผู้ถูกกดบังคับเหล่านั้นเริ่มที่จะตระหนักสิทธิเสรีภาพแห่งความเป็นองค์ประธานของตนแล้ว สัดส่วนของความเป็นผู้ถูกกดบังคับจะถูกลดทอนลงไป จึงกลายเป็นว่าศัพท์ “ผู้ถูกกดบังคับ” จะเป็นเพียงภาพตัวแทน (Representative Image) ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ผู้ถูกกดบังคับเริ่มมีสิทธิมีเสียง ความเป็นผู้ถูกกดบังคับของเขาจะค่อยๆหายไป
               

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งที่กดบังคับมนุษย์ หรือพูดให้ชัดคือ “กระบวนการแปรสภาพมนุษย์เป็นวัตถุเพื่อการกดบังคับ” ไม่ได้มีแต่เรื่องอำนาจที่เกี่ยวกับชนชั้นปกครอง-ชนชั้นถูกปกครองเท่านั้น เพราะในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยทุนอันมีความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ที่ดิน หรือ การถือหุ้น นั่นหมายถึง ชนชั้นที่ถือครองกรรมสิทธิ์นั้นย่อมกดบังคับผู้อื่นเพราะต้องการมี “ผลกำไร” (Profit) ต่อไป ซึ่งหน่วยแรกที่กดบังคับง่ายที่สุด คือ กดบังคับผู้ไม่มีทุน (Propertyless) ถ้าอิงความเห็นของสปีวัค อาจทำให้เราได้แนวคิดว่า“มีผู้ไม่มีทุนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าตนเองกำลังถูกกดบังคับ?” นั่นทำให้ คนกลุ่มที่ว่าเป็น “ผู้ถูกกดบังคับ” (Subaltern) ตลอดกาลไปโดยปริยาย แน่นอน ความเป็นผู้ถูกกดบังคับ จะทำให้ พวกเขา ยินดีและยินยอมให้อำนาจกดบังคับทำการครอบงำปกครอง ที่สุดแล้ว ความเป็นองค์ประธานซึ่งคือสิทธิเสรีภาพของตน จะถูกกลืนหายไปเพราะเรื่องราวชวนเชื่อต่างๆ นั่นทำให้ กระบวนการทำให้ตื่นรู้ (Self-awareness) เป็นไปได้ยาก และจากความยากนี้ทำให้นักคิดซึ่งมีเจตนาที่ดีอาจทำเกินหน้าที่ไป ซึ่งการถูกกดบังคับลักษณะนี้ซับซ้อนกว่าการเป็นผู้ถูกกดบังคับในลักษณะของการกดบังคับทางเพศ หรือปัญหาความยากจน และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมประชากรส่วนใหญ่ในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งมีหน้าที่การงานหรืออำนาจเคลื่อนไหว นิ่งเงียบและไม่ใช้สิทธิเสรีภาพมาโดยตลอด
               

พูดจากมุมมองฟูโกต์ (Foucault) มนุษย์ถูกกดบังคับด้วยอำนาจของวาทกรรม ทำให้ไม่กล้าที่จะทดลอง เล่น หรือเสี่ยงชีวิต (ความสุขสบายของตน) นั่นหมายถึง ความไม่กล้าที่จะทำอะไรเพื่อคนอื่นด้วย ถ้าตนเองไม่ได้ “ผลกำไร” (Profit) แน่นอนพลังแห่งวาทกรรมที่ว่า ทำให้มนุษย์ตกอยู่ภายใต้การบงการของอำนาจที่แปรสภาพสิ่งมีชีวิตรู้คิด (Being) ให้เป็นเพียงวัตถุไร้ความคิด ก็เพราะว่ามนุษย์เหล่านั้นไม่รู้ว่าตนเองไม่เคยเป็น “องค์ประธาน” แม้แต่เล็กน้อย กลายเป็นว่าตนเองเป็นผู้ถูกกระทำในโครงข่ายสังคมที่ซับซ้อนมาโดยตลอด นั่นจึงเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ใช้อธิบายว่า มนุษย์พอใจที่จะตกเป็นผู้ถูกกดบังคับตลอดไป เพราะอยากจะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบที่จะตามมาในฐานะองค์ประธาน บ่อยครั้ง ชนชั้นปกครองจะผลิตวาทกรรมหรือประวัติศาสตร์ใหม่เพื่อชี้ให้เห็นว่า การยอมให้ถูกกดบังคับแต่โดยดีมีผลประโยชน์เช่นไร เรื่องนี้ชัดเจนมากเมื่อพูดกันด้วยทุน ใครเล่าจะไม่ยอมให้ทุนกดบังคับ?
               

แต่โลกใบนี้ มีความซับซ้อนทางพฤติกรรมมากเสียจนโลกเกิดอาชญากรรม คำว่า “ทุนกดบังคับ” หรือ “นายทุนบังคับ” เป็นภาพพจน์ที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับใครก็ตามที่รู้จัก “ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม” เพราะนายทุนเกิดขึ้นมาอย่างเป็นล่ำเป็นสันกว่าในยุคกลางตอนปลายหรือยุคแสงสว่าง พร้อมกับโรงงานและการผลิตเชิงเดี่ยวทั้งหลาย (ที่รัฐสนับสนุน) แต่เป็นเรื่องเก่าคร่ำครึไปแล้วสำหรับศตวรรษที่ 21 เพราะยุคหลังสมัยใหม่ (หลังโลกาภิวัตน์สำหรับชาวไทย) “การกดบังคับของนายทุน” ถูกประกอบสร้างขึ้นเป็นวาทกรรมที่แนบเนียนดีงามไปเสียหมดด้วยวิธีการทางการตลาดสงครามผลิตซ้ำและโฆษณาชวนเชื่อจึงมีพลังและบทบาทอย่างสูงในโลกยุคปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยสังคมเสมือนจริงอย่างอินเตอร์เน็ต ดังนั้น ความเสมือนจริง (Hyper-reality) ได้กลายเป็นสิ่งที่นักคิดต้องพูดถึงกันในยุคนี้ เพราะไม่จำเป็นที่เรื่องเล่าเสมือนจริงนั้นจะคือความจริง เพราะเรื่องนั้นอาจเป็นเรื่องแต่งที่ถูกผลิตซ้ำขึ้นเพื่อกดบังคับ หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้องคือ เป็นเรื่องเล่าที่กล่อมให้ชนชั้นผู้ไม่มีทุน ยินดีและยินยอมให้ถูกกดบังคับต่อชั่วกัลปาวสาน ในขณะที่นายทุนยังมี “ผลกำไร” (Profit) ต่อไป ในรูปแบบความเชื่อมั่น ความศรัทธาภักดี (ศัพท์การตลาดใช้ Customer Royalty)
               

ในชีวิตประจำวันของเรา เป็นไปได้ว่า เราจะเป็น  “ผู้ถูกกดบังคับ” ในบางเรื่อง และอาจจะพ้นสภาพการเป็น “ผู้ถูกกดบังคับ” ในบางเรื่อง นั่นหมายถึง เมื่อชีวิตของมนุษย์เริ่มตื่นรู้ขึ้นทีละน้อยและตระหนักรู้ในเสรีภาพของตน ก็เหมือนอย่างที่ซาร์ตร์ (Sartre) เคยพูดไว้ว่า “เราจะรู้สึกเหมือนถูกสาป” (ให้มีเสรีภาพ) เพราะเมื่อมนุษย์ตื่นรู้ขึ้นจากการถูกกดบังคับแล้ว เขาต้องรับผิดชอบสิทธิเสรีภาพของตนเอง เขาย่อมไม่มีอะไรให้แอบอ้างอีกต่อไป แง่หนึ่งพฤติกรรมแบบนี้ เป็นความกล้าหาญอย่างยิ่ง และอีกแง่หนึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงความขี้ขลาดของผู้ที่ยอมให้ถูกกดบังคับในเรื่องที่ไม่จำเป็น เช่น การเพิกเฉยต่อประเด็นทางมนุษยธรรมของเพื่อนมนุษย์(เนื่องจากการถูกกดบังคับด้วยวาทกรรม) ทำนองเดียวกับเรื่องของทุนเราย่อมถูกกดบังคับด้วยทุนในบางเรื่อง และอาจจะพ้นสภาพการเป็นผู้ถูกกดบังคับในบางเรื่อง เพราะในความเป็นจริงเราไม่สามารถหลุดพ้นจากการกดบังคับของพลังแห่งทุนนิยมได้ ตราบใดที่เราจำเป็นต้องใช้ “เงิน” อันเป็นหน่วยอุปโลกน์ทางเศรษฐศาสตร์ (และรัฐ) ซึ่งเราทำได้มากที่สุด ก็แค่เพียงภูมิใจว่า เราหลุดพ้นจากการถูกบังคับของทุนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
           

สำหรับประเทศไทย การปกครองเอื้อให้ทุนนิยมสามารถเติบโตอย่างเสรี ที่แน่นอนไปกว่านั้น ความสัมพันธ์อันดีกับประเทศทุนนิยมเสรีช่วยส่งเสริมให้ “ทุน” มีพลังและอิทธิพลมากในประเทศนี้ หน่วยอุปโลกน์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นต้น “หุ้น “และ “การถือหุ้น” เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างที่เคยเห็นกันมาแล้ว จากกรณีความผันผวนทางการเมือง ซึ่งประเด็นก็คือเมื่อพูดถึงการกดบังคับของนายทุน ถ้าเรามองง่ายๆ เราอาจเห็นนายทุนที่กำลังสร้างเรื่องเล่าให้ตนเองอยู่สองแบบ แบบแรกคือแบบที่เปิดเผยอย่างชัดเจนว่า “ข้าฯคือนายทุน และข้าคือผู้กดบังคับ” และอีกแบบคือแบบซุกซ่อน หรือสร้างระบบตัวแทนอำนาจ (Nomini) กล่าวคือ ปกปิดความเป็นนายทุนของตนไว้ด้วยเรื่องเล่าต่างๆ กระนั้นก็ดี ทั้งสองแบบจัดเป็น “ผู้กดบังคับ” ทั้งนั้น และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการกดบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมไปเสียไม่ได้ เพราะในโลกหลังสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยแผนการตลาดอันซับซ้อน เป็นไปได้หรือไม่ที่ จะมีการสร้างเรื่องราวเพื่ออำพรางความเป็นผู้กดบังคับของตนไว้และอีกแง่หนึ่งก็เพื่อกล่อมให้ใครต่อใครเป็น “ผู้ถูกกดบังคับ” ต่อไป
 

สรุป
เป็นเรื่องที่ย้อนแย้งพอสมควร หากเรามองเห็นผลกระทบทางนิเวศวิทยาที่มีผลต่อมนุษย์อย่างชัดเจน แต่กลับมองไม่เห็นผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ที่มีผลต่อเรามากกว่านั้น เพราะเมื่อเทียบกับเรื่องทางเศรษฐศาสตร์ที่เราจำเป็นต้องเข้ารับบริการอยู่ทุกวัน เป็นต้น รถตู้ รถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง ถ้ามองจากมุมที่มีผู้กดบังคับและผู้ถูกกดบังคับ เราจะมองไม่เห็นลำดับชั้นของการถูกกดบังคับหรือ? หรือในระบบธนาคารที่ซึ่งเราจำเป็นต้องกู้ยืมเงินในอนาคตมาใช้ก่อน เรามองไม่เห็นลำดับชั้นของการถูกกดบังคับหรือ? น่าแปลกที่ เมื่อสืบค้นเรื่องทำนองนี้ไปลึกๆ เราอาจพบเรื่องราวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำพรางและทำให้เรา (ผู้ถูกกดบังคับ) เกิดความรู้สึกสับสนลังเลว่าตนเองกำลังถูกกดบังคับอยู่หรือไม่? และนั่นไม่ใช่การกล่อมให้เราจำต้องอยู่ภายใต้การกดบังคับโดยไม่รู้ตัวต่อไปอีกหรือ? ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่การตัดสินใจแบบสุดโต่งซึ่งเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่ประเด็นอยู่ที่ การทบทวนว่าเรากำลังถูกกดบังคับอยู่ เปิดเผยให้เราพอเข้าใจว่า มีใครที่กำลังแสวงหาผลกำไรกับความเป็นคนในฐานะแค่วัตถุชิ้นหนึ่ง ผ่านระบบอุปโลกน์ที่ซับซ้อนหรือไม่? และเขาเหล่านั้นโกหกหรือชวนเชื่อให้เราเข้าใจว่า เขาคือคนที่ไม่มีวันจะเอาเปรียบเราหรือไม่? (ซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกเชื่อมั่น) ทั้งที่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะที่เล่ากันอย่างผูกขาดความดีเสมอไปของคำว่า “ตรง” และผูกขาดความไม่ดีเสมอไปของคำว่า “เบี้ยวบิด” อาจเผยออกมาว่าเป็นความบิดเบี้ยวของคนตรงเสียเอง?
               

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50697 articles
Browse latest View live