Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

เสวนา: รัฐธรรมนูญ 2550 แก้หรือเก็บ

$
0
0

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เสนอทางออกแก้รธน. ทั้งฉบับ ลงประชามติดีที่สุด ขณะวรเจตน์บอกถ้าจะใช้วิธีลงประชามติต้องมีสัญญาสุภาพบุรุษ ชี้สังคมควรต่อสู้ทางความคิด อย่าไปติดกับทักษิณ ขณะ ส.ส.ปชป. โอดไม่มีพื้นที่สื่อ เห็นด้วยกับการต่อสู้ทางความคิด ไม่ใช่เผาบ้านเผาเมือง

29 ม.ค. 2556 Media Inside Out จัดเสวนาวิชาการหัวข้อรัฐธรรมนูญ 2550 แก้หรือเก็บ ที่โรงแรมเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท  โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , พีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส. พรรคเพื่อไทย, ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ดำเนินรายการโดย จอม เพ็ชรประดับ

พีรพันธุ์ พาลุสุข ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สถานการณ์แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 อาจจะไม่มีความคืบหน้า ขณะที่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นประเด็นที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงในการเลือกตั้ง และถือเป็นนโยบายหลักว่าต้องแก้ไขภายใน 1 ปี ซึ่งเป็นที่มาของการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจาก ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล แต่ก็ต้องเผชิญกับการถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญและยืนยันเดินหน้าวาระสาม แต่มีผู้ที่กังวลว่าถ้าโหวตวาระสามจะโดนมาตรา 68 ซึ่งเขามั่นใจว่าไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 68 เมื่อศาลตัดสิน

“เมื่อเราจะแก้รัฐธรรมนูญจะมีกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญออกมาเลย และผมเชื่อว่าผลักดันต่อไปจะโดนย้อนด้วยมาตรา 68 แม้จะเป็นไปได้ว่าเข้าข่ายฟ้องซ้ำ แต่ก็ไม่มีความมั่นใจต่อการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” พีรพันธุ์กล่าว

ด้านวรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ศาลรัฐธรรมนูญเวลานี้ประเมินไม่ได้ว่าจะตัดสินในแบบไหน ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่ถูกต้อง

“ผมคิดว่ารัฐสภานั้นได้เสียอำนาจจริงๆ ที่เป็นของสภาไปแล้วเมื่อครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ระงับการพิจารณาไว้ชั่วคราว ซึ่งอำนาจนี้ไม่มีอยู่แต่ไปอนุโลมเอาประมวลกฎหมายแพ่งมาใช้ และเป็นการสั่งไปที่เลขาธิการรัฐสภาด้วยซ้ำ ศาลกลายเป็นคนให้ความหมายของมาตรา 68 ใหม่ว่าการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องผ่านอัยการก็ได้ และถือเป็นอันตรายมากๆ ต่อฝ่ายการเมือง เพราะคนจะไปยื่นต่อศาลฯ เมื่อไหร่ก็ได้ ตัวบทนั้นไม่มีความหมายแล้วด้วยคำวินิจฉัยของศาลฯ” วรเจตน์กล่าว

สำหรับการลงมติวาระสามนั้น วรเจตน์กล่าวว่าจะเป็นไปได้ไหมว่าหากนักการเมืองยืนยันลงมติผ่านวาระสามจะถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีก เพราะหลังจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำร้องตามมาตรา 68 แล้ว จากนี้อะไรก็เป็นไปได้หมด

วรเจตน์ย้ำว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำประชามติเพราะประชาชนได้แสดงออกไปแล้วตอนลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะพรรคเพื่อไทยได้ใช้ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญในการหาเสียง

ส่วนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น วรเจตน์เห็นว่าจะต้องใช้เวลานานจนแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสำเร็จ โดยเขาเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญก่อนเพื่อปลดล็อกการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป “ผมก็เสนอ ซึ่งมีผู้วิจารณ์ว่าข้อเสนอผมรุนแรงเกินไป คือการเสนอให้ยุบเลิกหรือเปลี่ยนโครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญก่อน และฝ่ายการเมืองก็มีความชอบธรรมในการเปลี่ยนโครงสร้างนี้ แต่ไม่รู้ว่าฝ่ายการเมืองและรัฐบาลนั้นประเมินอย่างไร”
 

ปริญญาชี้ รัฐธรรมนูญ 2550 ขาดการลงมติร่วมของสังคม เสนอลงประชามติเป็นทางออก
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล แสดงความเห็นว่าสิ่งที่เป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลทางกฎหมาย เป็นเรื่องที่แม้แต่นักศึกษานิติศาสตร์ปี 2 ก็รู้ สิ่งที่ศาลระบุในคำวินิจฉัยเรื่องควรทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องการเมือง เป็นคำแนะนำ แต่เป็นเรื่องการเมืองในการเผชิญต่อฝ่ายตรงข้าม

ปริญญายืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเป็นเรื่องทำได้ และไทยเคยทำมาแล้ว รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราขนานใหญ่เช่นกัน

“การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องมีการวางกติการ่วมกัน และรัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อบกพร่องตรงนี้ ส่วนเนื้อหาข้างในที่ต้องการแก้ไขนั้นเห็นด้วยกับอาจารย์วรเจตน์หลายประการ ในส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีทางเลือกสามทางคือ หนึ่ง ทำประชามติ สอง แก้รายมาตรา สาม เดินหน้าวาระสาม แต่อาจจะเผชิญหน้ากับการคัดค้าน ซึ่งถ้ารัฐบาลแคร์ ก็มีทางเลือกเหลือสองทาง คือทำประชามติ หรือแก้รายมาตรา

“ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรามีการแก้กันขนานใหญ่เหมือนกัน คือรัฐธรรมนูญ 2534”

“แนวทางที่เสี่ยงน้อยที่สุดสำหรับประเทศไทยว่าจะไปต่ออย่างไร ก็คือต้องเดินหน้าไปโดยคิดถึงว่าเราจะอยู่กันอย่างนี้ไปอีกนานแค่ไหน ประเด็นที่ยังค้างอยู่ ถ้าจะเดินหน้าไปแบบไม่ให้เกิดปัญหา คิดว่าประชามติเป็นทางออกที่ดีที่สุด”

วรเจตน์ กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการใช้กติกาโดยเสียงข้างมากว่า “เรากำลังพูดถึงเรื่องการปกครองหลักประชาธิปไตย เป็นไปไม่ได้ที่คนจะเห็นเหมือนกัน ต้องมีคนเห็นต่าง ปัญหาคือเราจะจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร ที่เขาทำกันทั่วโลกคือใครชนะก็ใช้กติกาไป ซึ่งถ้าจะบอกว่าเป็นกติกาเสียงข้างมากก็ใช่ แต่เมื่อเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วยก็ต้องโน้มน้าวให้ข้างมากมาเห็นด้วย ผมจึงไม่รู้สึกอะไรเลย เมื่อฝ่ายเพื่อไทยเป็นเสียงข้างมาก เห็นว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะกลายเป็นกติกาของเสียงข้างมาก

“ประเด็นของผมมีอย่างเดียวคือ ประชาธิปไตย คือก่อนจะมีการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทุกฝ่ายมีโอกาสพูดได้เท่าเทียมกันหรือไม่ ชีวิตผมก็เป็นเสียงข้างน้อยมาเยอะนะครับ ผมก็อดทนรอคอยว่าวันใดวันหนึ่งเสียงข้างมากจะเห็นด้วยกับผม มันก็ไม่มีวิธีอื่นใดแล้วนะครับ” 

โดยวรเจตน์ย้ำว่า การลงประชามติเพื่อให้แก้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีผลผูกพันกับสมาชิกรัฐสภา เพราะเขาได้รับความคุ้มครองตามหลัก Free Mandate (เป็นอิสระจากการแทรกแซง) แต่ถ้าจะให้มีผลผูกพันก็ต้องทำสัญญาแบบสุภาพบุรุษ
 

ส.ส.ปชป. โอดไม่มีพื้นที่สื่อให้แสดงความเห็น
วิรัตน์ กัลยาศิริ จากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า เห็นด้วยกับการลงประชามติ แต่ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้ออกสื่อเท่าเทียมกัน “ตอนนี้ออกแนวรณรงค์ฝ่ายเดียว ถ้าพี่น้องประชาชนเข้าใจ ทั้งโปรและคอน บวกและลบ บ้านเมืองก็เดินหน้าได้ ไม่ใช่รณรงค์ไปเต็มที่ ใช้งบประมาณเต็มร้อย พอชาวบ้านเห็นด้วยก็จัดลงประชามติ อย่างผมตอนนี้ช่อง 11 ผมก็ออกไม่ได้ เป็นข้อเท็จจริงที่อยากร้องเรียน”

ส่วนประเด็นที่ว่า ประชาธิปัตย์มักอ้างเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นผลประโยชน์ของทักษิณนั้น วิรัตน์กล่าวว่าถ้ามีความบริสุทธิ์ใจจริงใจก็มาเปิดอกคุยกันเหมือนกรณีภาคใต้ ที่รองนายกฯ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เชิญฝ่ายค้านมาพูดคุย ส.ส.ภาคใต้ก็ยินดีคุย ดังนั้นทางรัฐบาลต้องเปิดยื่นมือมาให้ได้พูดคุยกันอย่างเปิดอก คุยกันเพื่อหาทางออกเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย เราก็รักประเทศไทย อยากให้ประเทศไทยเดินหน้า

ปริญญากล่าวเสริมว่า สิ่งที่ทางฝ่ายประชาธิปัตย์ไม่ไว้วางใจคือการเอื้อประโยชน์ต่อทักษิณ ซึ่งนี่เป็นข้อที่ยากจะเชื่อใจ อย่างไรก็ตามประชาธิปัตย์อย่าลืมว่าได้ทำเรื่องเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาถึงวาระสองด้วยกันกับทางรัฐบาล จนกระทั่งเข้าสู่วาระสาม แต่อดีตนายกฯ ทักษิณก็พลาดที่ยังคงพยายามแสดงบทบาท และแสดงความมั่นใจ อย่างไรก็ตาม ปริญญาวิพากษ์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ในภาวะขาลง เพราะวิธีการของประชาธิปัตย์ในการคัดค้าน เกิดเหตุวุ่นวายป่วนสภา และไม่มีการตักเตือนกันในพรรค นี่จะส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เช่นกัน เพราะกระแสนิยมตก

วรเจตน์ กล่าวว่าถึงความหวาดระแวงว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะเอื้อประโยชน์ต่ออดีตนายกฯ ทักษิณว่า เวลาที่พูดเรื่องแก้รัฐธรรมนูญต้องแยกทักษิณออกไปก่อน เพราะบ้านเราไม่ว่าจะพูดเรื่องอะไรก็ดึงทักษิณเข้ามารวมหมดทำให้ไม่เห็นโครงสร้าง

“การถูลู่ถูกกัง มันไปได้ระยะหนึ่ง แล้วพอถึงจุดหนึ่งมันเกิดการพลิกขึ้นมา ผมคิดว่าทุกคนที่นี่ไม่อยากไปถึงจุดนั้น ผมก็ไม่อยากไปถึงจุดนั้นครับ”

ด้าน ส.ส. ปชป. ยังคงยืนยันว่าไม่ได้พื้นที่ในสื่อ และวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลที่เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล ทำให้เห็นความไม่เป็นเนื้อเดียวกัน และกล่าวถึงการต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ โดยหากปราศจากสถาบันกษัตริย์ ไทยอาจจะอยู่ในสถานการณ์วุ่นวาย เช่น ซีเรีย

วรเจตน์ กล่าวตอบในประเด็นนี้ว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน “ผมคิดว่าการแสดงความคิดความอ่านของกลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองมันไม่เป็นเอกภาพ ไม่ใช่เนื้อเดียวกัน”

“ส่วนจะออกทีวีไม่ได้ ผมก็เคยอยู่ในลิสต์ที่ออกทีวีไม่ได้ โดยมีการให้เหตุผลว่าเพราะผมไม่เป็นมิตรกับ ปชป. ซึ่งนี่คือการพูดแฟร์ๆ ผมก็ไม่อยากให้เกิดสภาพแบบนี้ ผมเรียนว่าตอนนี้สังคมมันเปิด แม้บางฝ่ายอาจจะชอบคุณทักษิณ แต่ความคิดก้าวหน้าที่เป็นอิสระก็มี”

วรเจตน์ กล่าวในตอนท้าย ว่าเขาอยากเห็นความก้าวหน้าของประเทศไทย “ผมอยากให้เราทำการเมืองแบบนี้ เอาความคิดมาสู้กัน ลดเรื่องตัวคนไปให้เยอะ เราก็จะออกจากความขัดแย้งได้”

ด้าน วิรัตน์ กัลยาศิริ จากประชาธิปัตย์ จาก ปชป. ตอบว่า เห็นด้วยว่าควรจะสู้กันที่ความคิด ไม่อยากเห็นการเผาบ้านเผาเมือง เผาศาลากลาง

ขณะที่ปริญญา เทวานฤมิตรกุล กล่าวว่า การพูดให้ก้าวข้ามทักษิณเป็นเพียงคำพูดที่ดูดี แต่ในทางปฏิบัติก็มีปัญหา เพราะประชาธิปัตย์ยังคงหวาดระแวง เสนอให้ย้อนกลับมาดำเนินกระบวนการยุติธรรมกับทักษิณใหม่เป็นการเฉพาะ เพื่อปลดเงื่อนตายทางการเมือง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทัพภาคประชาชนปาตานีเยือนอาเจะห์ เรียนรู้ประสบการณ์แก้ปัญหาความขัดแย้ง

$
0
0

เรียนรู้ประสบการณ์ในพื้นที่ความขัดแย้ง “อาเจ๊ะห์ –มินดาเนา-ปาตานี” ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชาชนกับประชาชน พร้อมกลับมาสร้างพลังขับเคลื่อนสันติภาพชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 กลุ่มนักประชาสังคมและประชาชนปาตานีกว่า 23 คน ได้เดินทางถึงเมืองบันดา อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเรียนรู้การขับเคลื่อนสันติภาพของภาคประชาสังคมและภาคประชาชนอาเจ๊ะ หลังจากผ่านประสบการณ์ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างอาเจะห์กับรัฐบาลอินโดนีเซีย การเดินทางครั้งนี้นำโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน หรือ People Empowerment Foundation

คณะทั้งหมดเป็นนักประชาสังคมและประชาชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคมพุทธ ภาคประชาสังคมมลายู ตัวแทนนักศึกษา และคณะทำงานของมูลนิธิศักยภาพชุมชน

นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้จัดโครงการ เปิดเผยว่า กิจกรรมภายใต้โครงการนี้มีหลายกิจกรรม ส่วนสำคัญคือการนำตัวแทนประชาชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งภาคประชาชนและภาครัฐที่ทำงานในพื้นที่เดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในพื้นที่ขัดแย้งจากนักเคลื่อนไหวและผู้มีส่วนขับเคลื่อนสันติภาพตัวจริง ทั้งที่ทำงานในชุมชนในพื้นที่และผู้มีส่วนในการเจรจาเพื่อสันติภาพ

“ประสบการณ์ตรงเหล่านี้ จะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ผู้เข้าร่วม มีความคิดริเริ่มหรือต่อยอดงานตัวเองเพื่อเชื่อมต่อกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่อย่างไร ซึ่งความคาดหวังต่อผู้เข้าร่วมเดินทางในครั้งนี้คือ เพื่อกลับมาขับเคลื่อนเพื่อสร้างสันติภาพหรือที่เรียกว่า Peace maker ภาคประชาชน”

"ประชาชนควรมีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพ เนื่องจากเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้ง แต่ต้องมีการสร้างองค์ความรู้ให้ภาคประชาชนได้เข้าใจว่ากระบวนการสันติภาพเป็นอย่างไร ซึ่งการพาไปพบประสบการณ์ของพื้นที่ความขัดแย้งอื่นอย่างอาเจ๊ะห์และมินดาเนา จะทำให้พวกเขาสามารถมองเห็นว่า สันติภาพในพื้นที่ของเขาน่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร" นางชลิดา กล่าว

นายธนวัฒน์ โชติมณี กำนันตำบลธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา หนึ่งในผู้เข้าร่วมครั้งนี้ กล่าวว่า เป็นการเดินทางที่สนใจ ซึ่งตนเป็นนำชุมชนมาเกือบสิบปี ต้องมีหน้าที่หลักในการจัดการความขัดแย้งระหว่างลูกบ้านตลอด ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจระหว่างกันเป็นสำคัญ และคิดว่าในการเดินทางสู่อาเจ๊ะห์ในครั้งนี้ จะมีประสบการณ์การจัดการความขัดแย้งใหม่ๆเพื่อใช้ในพื้นที่ได้

"ปกติผมต้องเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งให้พื้นที่อยู่แล้ว ผมสนใจว่าอาเจ๊ะห์ ที่ขัดแย้งมานานจะมีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร...ผมเชื่อว่าความขัดแย้งในบ้านเรามีเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก ถ้าปัญหาอื่นๆไม่ถูกจัดการให้เรียบร้อยก่อน อาจจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมา ซึ่งอาจจะถูกลากไปเป็นปัญหาความมั่นคงไปเสียหมด" กำนันธารโต กล่าว

สำหรับกิจกรรมวันแรกตามกำหนดการของการเดินทางครั้งนี้คือ การพบนักศึกษาที่เคลื่อนไหวเรื่องสันติภาพอาเจ๊ะห์ ที่ขับเคลื่อนทั้งทางด้านการเมืองและการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม จากนั้นจะลงพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติคลื่นสึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งคลื่นยักษ์ดังกล่าวมีส่วนเร่งให้กระบวนการสันติภาพเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วขึ้นในเวลาต่อมา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บริหารอีเลคโทรลักซ์แจง ไม่ได้ละเมิดสิทธิคนงานที่ระยอง

$
0
0


สืบเนื่องจากกรณี เยอกี้ ไรนา เลขาธิการ IndustriALL Global Union ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานระหว่างประเทศ ส่งหนังสือถึงผู้บริหารอีเลคโทรลักซ์ที่สวีเดน โดยระบุว่าได้ทราบถึงการกระทำของผู้บริหารที่ละเมิดความตกลงสากลซึ่งการันตีสิทธิของคนงานที่ระยองและขอให้มีการสั่งการให้บริษัทที่ประเทศไทยรับคนงานและสมาชิกสหภาพแรงงานทุกคนกลับเข้าทำงานโดยทันที และกลับสู่โต๊ะเจรจาเพื่อหาทางออกที่เป็นธรรมต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

ล่าสุด (22 ม.ค.) ไมเคิล มาร์เคอสัน รองประธานอาวุโส บริษัทอีเลคโทรลักซ์ ได้ส่งอีเมลชี้แจงเลขาธิการ IndustriALL Global Union โดยระบุว่า เป็นการไม่ถูกต้องที่จะกล่าวหาว่ามีการกักบริเวณคนงานเพื่อขจัดข้อเรียกร้องการเจรจาต่อรองร่วม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือคนงานกลุ่มหนึ่งไม่ยอมที่จะหยิบยกประเด็น/ปัญหาของพวกเขาผ่านช่องทางที่เหมาะสมรวมถึงขั้นตอนที่มีอยู่สำหรับเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้ กรณีที่มีการให้ข้อมูลว่ามีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมต่อพนักงานที่ตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นความจริง โดยได้มีการดูแลเป็นพิเศษทั้งจัดอาหารและน้ำให้ และแจ้งต่อพวกเธอเรื่องสิทธิที่เธอมีทั้งนี้ อีเลคโทรลักซ์ยังเคารพในข้อตกลงสากลและจะปฏิบัติตามข้อตกลงสากลในทุกที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

 

จดหมายจากเลขาธิการ IndustriALL ถึงอีเลคโทรลักซ์สวีเดน

เจนีวา 17 มกราคม 2556
 
Mr Keith McLoughlin 
President and CEO
AB อีเลคโทรลักซ์
 
 
การกักบริเวณและเลิกจ้างสมาชิกและผู้แทนสหภาพแรงงานที่อีเลคโทรลักซ์ประเทศไทย
 
 
ถึงคุณ McLoughlin
 
ผมเขียนถึงคุณในนามของสมาชิก 50 ล้านคน ใน 140 ประเทศ ของสหภาพแรงงานระหว่างประเทศ IndustriALL Global Union และในฐานะคู่สัญญาความตกลงสากลที่อีเลคโทรลักซ์ได้ลงนามร่วมกับ IF Metall, UNIONEN และ IMF (ปัจจุบัน IndustriALL Global Union) รวมถึง KFD ของคณะกรรมการบริหาร Electrolux 
 
ด้วยความรู้สึกที่เลวร้าย เราได้ทราบจาก IF Metall ถึงความไม่เป็นธรรมและการต่อต้านสหภาพแรงงานของบริษัทอีเลคโทรลักซ์ระยอง ประเทศไทย การกักบริเวณและการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานรวมถึงผู้แทนสหภาพแรงงานจำนวน 127 คน แสดงถึงพฤติกรรมการทำลายสหภาพแรงงานอย่างชัดเจนที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้คนงานยอมรับกระบวนการและข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม
 
ผู้บริหารอีเลคโทรลักซ์ประเทศไทยได้กักบริเวณคนงานมากกว่า 100 คน รวมถึงคนงานหญิงท้อง 6 เดือน ที่โรงงานอีเลคโทรลักซ์ ระยอง เป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556  เพื่อกำจัดข้อเรียกร้องของคนงาน ซึ่งมีประเด็นเรื่องการจ่ายโบนัส การขึ้นค่าจ้าง และการบรรจุคนงานเหมาค่าแรงให้เป็นพนักงานประจำหลังจากทำงานที่อีเลคโทรลักซ์มาแล้ว 6 เดือน หลังจากกักบริเวณ ผู้บริหารประกาศเลิกจ้างคนงาน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่สมาชิกสหภาพแรงงาน คนงานที่ถูกเลิกจ้างกำลังต่อสู้กับความพยายามในการทำลายสหภาพแรงงานของผู้บริหารและล่าสุดได้ไปร้องเรียนที่กรรมการธิการแรงงานสภาผู้แทนฯ 
 
การกระทำของผู้บริหารกำลังละเมิดความตกลงสากล (International Framework Agreement) ซึ่งการันตีสิทธิของคนงาน ดังนั้นผมขอให้คุณสั่งการให้บริษัทที่ประเทศไทยรับคนงานและสมาชิกสหภาพแรงงานทุกคนกลับเข้าทำงานโดยทันที และกลับคืนสู่โต๊ะเจรจาเพื่อหาทางออกที่เป็นธรรมต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างผู้บริหารกับสหภาพแรงงาน  
 
ผมกำลังคอยคำตอบจากคุณ
 
ด้วยความจริงใจ
 
เยอกี้ ไรน่า (Jyrki Raina)
เลขาธิการ 

 

อีเลคโทรลักซ์
วันที่ 22 มกราคม 2556   
 
เรียน เยอกี้ ไรนา (Jyrki Raina) เลขาธิการ IndustriALL
จาก ไมเคิล มาร์เคอสัน (Michele Marchesan)                                                            
แผนกแรงงานสัมพันธ์   
เรื่อง อีเลคโทรลักซ์ระยอง ประเทศไทย                                                 
ส่งทางอีเมลถึงเยอกี้ ไรนา

คุณไรน่า

ขอบคุณสำหรับจดหมายเรื่องสถานการณ์ที่โรงงานการผลิตของเราที่ระยอง ประเทศไทย

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น และผมยินดีที่จะตอบจดหมายในนามของบริษัท อีเลคโทรลักซ์ เพื่อที่จะแก้ไขประเด็นที่มีความเข้าใจผิดกรณีเหตุการณ์วันที่ 11 มกราคม  และผมขอยืนยันเจตนารมณ์ของบริษัทที่มีต่อข้อตกลงสากลในด้านแรงงานและยืนยันว่า อีเลคโทรลักซ์ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทยและกฎระเบียบทางด้านแรงงานตลอดเวลา

เป็นการไม่ถูกต้องที่จะกล่าวหาว่ามีการกักบริเวณคนงานเพื่อขจัดข้อเรียกร้องการเจรจาต่อรองร่วม  สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือคนงานกลุ่มหนึ่งไม่ยอมที่จะหยิบยกประเด็น/ปัญหาของเขาผ่านช่องทางที่เหมาะสมรวมถึงขั้นตอนที่มีอยู่สำหรับเรื่องดังกล่าว

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลังจากการประชุมที่ศาลากลางจังหวัด เรื่องค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับปี 2556 พวกเขาตัดสินใจเข้าร่วมการผละงาน   แผนการจ่ายค่าตอบแทนเป็นผลพวงของการขึ้นค่าจ้างประจำปีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสภาพการจ้างและการขึ้นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงานไทย ไม่ใช่ช่วงเวลาของการเจรจาข้อตกลงสภาพการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา  ในแผนการจ่ายเราได้รวมโบนัส ซึ่งเป็นสิ่งที่ตกลงกับคณะกรรมการสหภาพแรงงานก่อนหน้านี้  การเจรจาข้อตกลงสภาพการจ้างครั้งถัดไปจะเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้

หลังจากการประชุมพนักงาน  พนักงาน 822 คนจาก 920 คน กลับไปทำงาน ขณะที่ส่วนที่เหลืออยู่เข้าร่วมการสไตรค์ในบริเวณสนามหญ้านอกอาคาร บุคคลเหล่านี้และทั้งกลุ่มได้รับการบอกหลายครั้งให้กลับไปทำงานตลอดทั้งวัน  โดยได้มีการดูแลเป็นพิเศษต่อพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ มีการจัดอาหารและน้ำให้ และแจ้งต่อพวกเธอเรื่องสิทธิที่เธอมี

เจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นรวมถึงสำนักงานแรงงานจังหวัด ได้รับแจ้งจากบริษัทถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และเดินทางมาในที่เกิดเหตุ โดยมีการให้คำแนะนำต่อคนงานและแจ้งให้พวกเขาทราบถึงผลที่จะตามมาหลังจากที่พวกเขาเข้าร่วมการหยุดงาน  เจ้าหน้าที่รัฐยังได้บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น  หลังจากเวลาผ่านไปหลายชั่วโมงโดยไม่มีทางออก  พนักงาน 90 คน ซึ่งยังร่วมการหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้รับแจ้งว่าพวกเขาจะถูกเลิกจ้าง  กรรมการสหภาพแรงงานที่ร่วมการหยุดงานถูกสั่งพักงานซึ่งเป็นไปตามกฏหมายแรงงานในประเทศไทย   พื้นที่ถูกล้อมไว้เพื่อไม่ให้พวกเขาเข้าไปในบริเวณโรงงาน แต่ได้เปิดช่องทางประตูเข้า-ออกโรงงาน ไว้ตลอดเวลา

เป็นเรื่องโชคร้ายที่จำเป็นต้องเลิกจ้างที่ระยอง การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่เป็นเพราะสถานการณ์ได้ก่อตัวและทวีขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา  มีการพูดคุยกันหลายครั้งเป็นเวลามากกว่าหนึ่งเดือน  ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการก่อกวนทำให้การผลิตชะงัก  และมีการผละงานถึง 2 ครั้งภายใน 2 วัน

นับจากวันเปิดโรงงานระยองในปี พ.ศ. 2547  อีเลคโทรลักซ์ได้เพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโรงงานให้เป็นโรงงานการผลิตระดับโลกแห่งหนึ่งของบริษัท และเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศ เรามีความตั้งใจที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานและสหภาพแรงงาน  ในความเป็นจริง อีเลคโทรลักซ์ได้ให้การอำนวยความสะดวกในการเริ่มต้นขององค์กรสหภาพแรงงานและให้การสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว  สำหรับผม นี่เป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์ระยะยาวของเราในประเทศไทย

อีเลคโทรลักซ์ยังเคารพในข้อตกลงสากลและจะปฏิบัติตามข้อตกลงสากลในทุกที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  ก่อนหน้านี้ เราได้ต้อนรับ Erik Andersson เลขาธิการฝ่ายต่างประเทศของสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมคนงานการผลิตประเทศสวีเดน และ Ulf Carlsson ผู้แทนสหภาพแรงงานที่เป็นบอร์ดบริหารงานของบริษัท AB อีเลคโทรลักซ์ซึ่งเดินทางมาที่โรงงานระยอง   จากเหตุการณ์ล่าสุด พวกเขาจะมาที่โรงงานระยองอีกครั้งเพื่อช่วยในการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้แทนสหภาพแรงงานให้คืนสู่ปกติ

อีเลคโทรลักซ์ให้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารในประเทศไทยในการรับมือกับสถานการณ์นี้และในวันข้างหน้า หากคุณยังมีคำถามในเรื่องนี้ อย่าได้ลังเลในการติดต่อกับผม

ขอแสดงความนับถือ
Michele Marchesan
รองประธานอาวุโส    

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทัพภาคประชาชนปาตานีเยือนอาเจะห์ เรียนรู้แก้ปัญหาความขัดแย้ง

$
0
0

เรียนรู้ประสบการณ์ในพื้นที่ความขัดแย้ง “อาเจ๊ะห์ –มินดาเนา-ปาตานี” ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชาชนกับประชาชน พร้อมกลับมาสร้างพลังขับเคลื่อนสันติภาพชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 กลุ่มนักประชาสังคมและประชาชนปาตานีกว่า 23 คน ได้เดินทางถึงเมืองบันดา อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเรียนรู้การขับเคลื่อนสันติภาพของภาคประชาสังคมและภาคประชาชนอาเจ๊ะ หลังจากผ่านประสบการณ์ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างอาเจะห์กับรัฐบาลอินโดนีเซีย การเดินทางครั้งนี้นำโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน หรือ People Empowerment Foundation

คณะทั้งหมดเป็นนักประชาสังคมและประชาชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคมพุทธ ภาคประชาสังคมมลายู ตัวแทนนักศึกษา และคณะทำงานของมูลนิธิศักยภาพชุมชน

นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้จัดโครงการ เปิดเผยว่า กิจกรรมภายใต้โครงการนี้มีหลายกิจกรรม ส่วนสำคัญคือการนำตัวแทนประชาชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งภาคประชาชนและภาครัฐที่ทำงานในพื้นที่เดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในพื้นที่ขัดแย้งจากนักเคลื่อนไหวและผู้มีส่วนขับเคลื่อนสันติภาพตัวจริง ทั้งที่ทำงานในชุมชนในพื้นที่และผู้มีส่วนในการเจรจาเพื่อสันติภาพ

“ประสบการณ์ตรงเหล่านี้ จะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ผู้เข้าร่วม มีความคิดริเริ่มหรือต่อยอดงานตัวเองเพื่อเชื่อมต่อกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่อย่างไร ซึ่งความคาดหวังต่อผู้เข้าร่วมเดินทางในครั้งนี้คือ เพื่อกลับมาขับเคลื่อนเพื่อสร้างสันติภาพหรือที่เรียกว่า Peace maker ภาคประชาชน”

"ประชาชนควรมีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพ เนื่องจากเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้ง แต่ต้องมีการสร้างองค์ความรู้ให้ภาคประชาชนได้เข้าใจว่ากระบวนการสันติภาพเป็นอย่างไร ซึ่งการพาไปพบประสบการณ์ของพื้นที่ความขัดแย้งอื่นอย่างอาเจ๊ะห์และมินดาเนา จะทำให้พวกเขาสามารถมองเห็นว่า สันติภาพในพื้นที่ของเขาน่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร" นางชลิดา กล่าว

นายธนวัฒน์ โชติมณี กำนันตำบลธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา หนึ่งในผู้เข้าร่วมครั้งนี้ กล่าวว่า เป็นการเดินทางที่สนใจ ซึ่งตนเป็นนำชุมชนมาเกือบสิบปี ต้องมีหน้าที่หลักในการจัดการความขัดแย้งระหว่างลูกบ้านตลอด ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจระหว่างกันเป็นสำคัญ และคิดว่าในการเดินทางสู่อาเจ๊ะห์ในครั้งนี้ จะมีประสบการณ์การจัดการความขัดแย้งใหม่ๆเพื่อใช้ในพื้นที่ได้

"ปกติผมต้องเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งให้พื้นที่อยู่แล้ว ผมสนใจว่าอาเจ๊ะห์ ที่ขัดแย้งมานานจะมีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร...ผมเชื่อว่าความขัดแย้งในบ้านเรามีเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก ถ้าปัญหาอื่นๆไม่ถูกจัดการให้เรียบร้อยก่อน อาจจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมา ซึ่งอาจจะถูกลากไปเป็นปัญหาความมั่นคงไปเสียหมด" กำนันธารโต กล่าว

สำหรับกิจกรรมวันแรกตามกำหนดการของการเดินทางครั้งนี้คือ การพบนักศึกษาที่เคลื่อนไหวเรื่องสันติภาพอาเจ๊ะห์ ที่ขับเคลื่อนทั้งทางด้านการเมืองและการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม จากนั้นจะลงพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติคลื่นสึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งคลื่นยักษ์ดังกล่าวมีส่วนเร่งให้กระบวนการสันติภาพเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วขึ้นในเวลาต่อมา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตั้งสองรองเลขาฯ สปสช.วุ่น จนท.ใส่ชุดดำ ผู้บริหารชักแถวลาออก

$
0
0

ลากยาวเลื่อนประกาศผลคัดเลือกสองรองเลขาฯ สปสช. กรรมการคัดเลือกที่เหลือเตรียมไขก๊อกลาออกเพิ่ม ล่าสุดผู้บริหารกว่าสิบคนเขียนใบลาออกจากราชการถ้าระบบธรรมาภิบาลถูกทำลาย เครือข่ายผู้ป่วยเคลื่อนไหวขอความชัดเจน

แหล่งข่าวภายในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่บอร์ด สปสช. อนุมัติให้เพิ่มตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช. อีก 2 อัตราเพื่อดูแลระบบเบิกจ่ายเงินในกองทุนหลักประกันสุขภาพและได้รับการคัดค้านจากบอร์ดภาคประชาชนว่าเป็นการล้วงลูก มีใบสั่งจากผู้มีอำนาจทางการเมือง ล่าสุด นพ.วินัย  สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. ต้องเลื่อนการประกาศผลคัดเลือกจากวันที่ 14 มค. ที่ผ่านมาออกไป  ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผู้สมัครและภายใน จนท. โดยชมรมรัก สปสช. มีมติส่งผู้แทนเข้าพบผู้บริหารก่อนประกาศใส่ชุดดำเพื่อแสดงจุดยืนให้เลขาธิการและผู้บริหารระดับสูงร่วมกับจนท. ปกป้องอุดมการณ์ของ นพ.สงวน  นิตยารัมภ์พงศ์  ปกป้องหลักธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งผู้บริหารและปกป้องกองทุนหลักประกันสุขภาพแสนสามหมื่นล้านบาทให้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซงของผู้มีอำนาจทางการเมือง  ขณะที่มีกระแสข่าวว่ากรรมการคัดเลือก 2 ใน 3 คนที่เหลือเตรียมตัดสินใจไขก๊อกลาออกอีกเพราะรับไม่ได้กับใบสั่งให้เลือกคนของนักการเมือง  และล่าสุดผู้อำนวยการ สปสช.เขตและผู้บริหารกว่า 10 คน จาก เขตภาคอีสานและภาคกลางได้เขียนใบลาพร้อมออกจากราชการเพื่อยืนยันปกป้องระบบธรรมาภิบาลขององค์กรและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไว้            

นส.สุรีรัตน์  ตรีมรรคา  อดีตบอร์ด สปสช. และหนึ่งในผู้สมัครรองเลขาธิการเปิดเผยว่า รู้สึกผิดปกติที่มีการเลื่อนการคัดเลือกและประกาศผลหลายครั้งโดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่รับฟังได้ ขณะที่การสัมภาษณ์คัดเลือกก็ทำแบบคล้ายมีธงมีใบสั่งมาก่อน กรรมการที่เหลืออยู่สามคน ดูไม่ได้ตั้งคำถามต้องการคัดเลือกจริงจังอะไรมากนัก สอดคล้องกับข่าวลือว่างานนี้มีใบสั่ง

ขณะที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ เครือข่ายมะเร็ง เครือข่ายคนพิการ และชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ได้ประชุมติดตามสถานการณ์การแทรกแซงกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อวันนี้ (วันที่ 28 มค.) มีความเป็นห่วงว่าระบบหลักประกันสุขภาพกำลังอยู่ในสถานการณ์อันตราย การส่งอดีตนักการเมืองเข้าเป็นผู้บริหารระดับสูงของ สปสช.เพื่อดูแลการเบิกจ่ายเงินกองทุนแสนกว่าล้านบาทของประชาชนจะกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยทั่วประเทศ “ทางเครือข่ายผู้ป่วยทุกเครือข่าย กำลังประสานเข้าพบเลขาธิการ สปสช. เพื่อขอความชัดเจนในเรื่องใบสั่งตั้งรองเลขาธิการ และยืนยันจะปกป้องให้ระบบหลักประกันสุขภาพเอื้อประโยชน์กับประชาชนทั่วประเทศ จะคัดการการแทรกแซงแสวงหาประโยชน์จากผู้มีอำนาจทางการเมือง” แกนนำผู้ติดเชื้อเอดส์กล่าว

ขณะที่ชมรมแพทย์ชนบทนำโดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมฯ เปิดเผยว่าการแทรกแซงกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องการทำมาโดยตลอด การมีใบสั่งให้ตั้งอดีตนักการเมืองเป็นรองเลขาธิการ สปสช.เป็นแผนขั้นที่สองของแผนทำลายระบบบัตรทองที่มีการเตรียมการไว้ทั้งหมดสี่ขั้นตอน หลังจากยึดสำนักงานแต่งตั้งผู้บริหารได้แล้ว ปีต่อไปจะเริ่มแผนขั้นที่สามปรับระบบการเงินของ สปสช. ให้เอื้อกับธุรกิจเอกชน เพื่อนำไปสู่แผนขั้นที่สี่คือยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหลักประกัรสุขภาพแห่งชาติ ปรับไปใช้ระบบสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยแทน ทำให้ระบบ สปสช.เป็นระบบอนาถา และปรับราคาค่าบริการสุขภาพให้สูงขึ้นเพื่อรองรับคนมีเงินร่วมจ่ายและกำลังซื้อจากต่างประเทศ “นโยบายลดความเหลื่อมล้ำสามกองทุน ที่ประกาศไว้เป็นเพียงการหาเสียงทางการเมือง แต่ทำจริงๆกับเพิ่มการเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย และคนถือบัตรทองกับบัตรข้าราชการมากขึ้น” ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตั้งสองรองเลขาฯ สปสช.วุ่น จนท.ใส่ชุดดำ ผู้บริหารชักแถวลาออก

$
0
0

แหล่งข่าวภายในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่บอร์ด สปสช. อนุมัติให้เพิ่มตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช. อีก 2 อัตราเพื่อดูแลระบบเบิกจ่ายเงินในกองทุนหลักประกันสุขภาพและได้รับการคัดค้านจากบอร์ดภาคประชาชนว่าเป็นการล้วงลูก มีใบสั่งจากผู้มีอำนาจทางการเมือง ล่าสุด นพ.วินัย  สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. ต้องเลื่อนการประกาศผลคัดเลือกจากวันที่ 14 มค. ที่ผ่านมาออกไป  ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผู้สมัครและภายใน จนท. โดยชมรมรัก สปสช. มีมติส่งผู้แทนเข้าพบผู้บริหารก่อนประกาศใส่ชุดดำเพื่อแสดงจุดยืนให้เลขาธิการและผู้บริหารระดับสูงร่วมกับจนท. ปกป้องอุดมการณ์ของ นพ.สงวน  นิตยารัมภ์พงศ์  ปกป้องหลักธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งผู้บริหารและปกป้องกองทุนหลักประกันสุขภาพแสนสามหมื่นล้านบาทให้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซงของผู้มีอำนาจทางการเมือง  ขณะที่มีกระแสข่าวว่ากรรมการคัดเลือก 2 ใน 3 คนที่เหลือเตรียมตัดสินใจไขก๊อกลาออกอีกเพราะรับไม่ได้กับใบสั่งให้เลือกคนของนักการเมือง  และล่าสุดผู้อำนวยการ สปสช.เขตและผู้บริหารกว่า 10 คน จาก เขตภาคอีสานและภาคกลางได้เขียนใบลาพร้อมออกจากราชการเพื่อยืนยันปกป้องระบบธรรมาภิบาลขององค์กรและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไว้            

นส.สุรีรัตน์  ตรีมรรคา  อดีตบอร์ด สปสช. และหนึ่งในผู้สมัครรองเลขาธิการเปิดเผยว่า รู้สึกผิดปกติที่มีการเลื่อนการคัดเลือกและประกาศผลหลายครั้งโดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่รับฟังได้ ขณะที่การสัมภาษณ์คัดเลือกก็ทำแบบคล้ายมีธงมีใบสั่งมาก่อน กรรมการที่เหลืออยู่สามคน ดูไม่ได้ตั้งคำถามต้องการคัดเลือกจริงจังอะไรมากนัก สอดคล้องกับข่าวลือว่างานนี้มีใบสั่ง

ขณะที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ เครือข่ายมะเร็ง เครือข่ายคนพิการ และชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ได้ประชุมติดตามสถานการณ์การแทรกแซงกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อวันนี้ (วันที่ 28 มค.) มีความเป็นห่วงว่าระบบหลักประกันสุขภาพกำลังอยู่ในสถานการณ์อันตราย การส่งอดีตนักการเมืองเข้าเป็นผู้บริหารระดับสูงของ สปสช.เพื่อดูแลการเบิกจ่ายเงินกองทุนแสนกว่าล้านบาทของประชาชนจะกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยทั่วประเทศ “ทางเครือข่ายผู้ป่วยทุกเครือข่าย กำลังประสานเข้าพบเลขาธิการ สปสช. เพื่อขอความชัดเจนในเรื่องใบสั่งตั้งรองเลขาธิการ และยืนยันจะปกป้องให้ระบบหลักประกันสุขภาพเอื้อประโยชน์กับประชาชนทั่วประเทศ จะคัดการการแทรกแซงแสวงหาประโยชน์จากผู้มีอำนาจทางการเมือง” แกนนำผู้ติดเชื้อเอดส์กล่าว

ขณะที่ชมรมแพทย์ชนบทนำโดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมฯ เปิดเผยว่าการแทรกแซงกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องการทำมาโดยตลอด การมีใบสั่งให้ตั้งอดีตนักการเมืองเป็นรองเลขาธิการ สปสช.เป็นแผนขั้นที่สองของแผนทำลายระบบบัตรทองที่มีการเตรียมการไว้ทั้งหมดสี่ขั้นตอน หลังจากยึดสำนักงานแต่งตั้งผู้บริหารได้แล้ว ปีต่อไปจะเริ่มแผนขั้นที่สามปรับระบบการเงินของ สปสช. ให้เอื้อกับธุรกิจเอกชน เพื่อนำไปสู่แผนขั้นที่สี่คือยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหลักประกัรสุขภาพแห่งชาติ ปรับไปใช้ระบบสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยแทน ทำให้ระบบ สปสช.เป็นระบบอนาถา และปรับราคาค่าบริการสุขภาพให้สูงขึ้นเพื่อรองรับคนมีเงินร่วมจ่ายและกำลังซื้อจากต่างประเทศ “นโยบายลดความเหลื่อมล้ำสามกองทุน ที่ประกาศไว้เป็นเพียงการหาเสียงทางการเมือง แต่ทำจริงๆกับเพิ่มการเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย และคนถือบัตรทองกับบัตรข้าราชการมากขึ้น” ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับ 2 ผู้ต้องสงสัย สารภาพยิงครูมุสลิมบาเจาะ

$
0
0

รับสารภาพเกี่ยวข้องจริง เผยเป็นลูกน้องมะรอโซ ไม่เชื่อว่าคนร้ายเข้าใจผิด เนื่องจากวางแผนมาอย่างดี อีกทั้งครูชลธีเป็นที่รู้จักของชาวบ้านและไม่มีคนพุทธเป็นครูในโรงเรียนผู้ตาย ตำรวจรอหลักฐานเตรียมออกหมายจับจาก DNA 

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 น.ท.ธรรมนูญ วรรณณา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ที่ 32 (ผบ.ฉก.นราธิวาส 32) เปิดเผยกับ DSJ ถึงความคืบหน้าในการติดตามคนร้ายที่ก่อเหตุยิงนายชลธี เจริญชล ครูโรงเรียนบ้านตันหยง ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะจ.นราธิวาส เสียชีวิตภายในโรงอาหารของโรงเรียน เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 ว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้แล้ว 2 คน ชื่อนายอารอพะ อาบูหลง และนายอับดุลบาซิต ปิดอเลาะทั้งสองเป็นคนในพื้นที่ ต.บาเระใต้

น.ท.ธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน ถูกควบคุมที่ค่ายจุฬาภรณ์ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457

“จากการซักถามพบว่า ผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน รับสารภาพว่ามีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวจริง โดยนายอารอพะมีหน้าที่ประสานงานกับทีมก่อเหตุ ส่วนนายอับุดลบาซิตทำหน้าที่ดูต้นทาง ซึ่งทั้ง 2 เป็นลูกน้องของนายมะรอโซ จันทรวดี แกนนำผู้ก่อเหตุคนสำคัญในพื้นที่ อ.บาเจาะ” น.ท. ธรรมนูญ กล่าว

น.ท.ธรรมนูญ เปิดเผยอีกว่า ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัยครูนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามปกติทั้งระหว่างเดินทางไปและกลับจากโรงเรียน ส่วนโรงเรียนที่มีครูไทยพุทธซึ่งมักจะตกเป็นเป้าหมายนั้น จะมีทหารเฝ้าดูแลโรงเรียนตลอดทั้งวัน ส่วนโรงเรียนที่ไม่มีครูไทยพุทธ เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจเยี่ยมครูเป็นระยะๆ

“จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีข่าวออกมาว่าคนร้ายเข้าใจผิด คิดว่าครูชลธีฯเป็นครูไทยพุทธนั้น เป็นไปไม่ได้ที่คนร้ายจะเข้าใจผิด เนื่องจากคนร้ายมีการวางวางแผนมาเป็นอย่างดี ซึ่งจากสอบถามผู้ต้องสงสัยให้การว่ามีการวางแผนในการก่อเหตุครั้งนี้ประมาณ 4 วัน และที่สำคัญโรงเรียนแห่งนี้ก็ไม่มีครูที่นับถือศาสนาพุทธแม้แต่คนเดียว อีกทั้งเป็นครูชลธีฯเป็นคนในพื้นที่ และเป็นที่รู้จักของชาวบ้านเป็นอย่างดี”

พ.ต.อ.ภักดี ปรีชาชน ผู้บังคับการสถานีตำรวจภูธรบาเจาะ จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า สำหรับคืบหน้าทางคดี ขณะนี้ตำรวจกำลังรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ เพื่อจะออกหมายจับและรอพยานหลักฐานที่เป็นลายนิ้วมือแฝงหรือ DNA (สารพันธุกรรม) ที่เก็บได้จากรถเก๋งยี่ห้อนิสสัน รุ่นซันนี่ สีบรอนซ์-เทาหมายเลขทะเบียน กข1109 ยะลา ของครูชลธีซึ่งคนร้ายขโมยไปหลังก่อเหตุ ก่อนจะนำไปจอดทิ้งไว้ในทุ่งนาโล่ง บ้านกูบู หมู่ที่ 6 ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556

ส่วนที่สโมสรร่มเกล้า ค่ายจุฬาภรณ์ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวระหว่างเดินทางมาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยครูและนักเรียนในพื้นระยะนี้ถือเป็นระยะที่ 2 ของการสร้างความเข้มแข็งของกองกำลังในพื้นที่ และต้องมีการบูรณาการกับกองกำลังทั้ง 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายพลเรือน กองกำลังทหาร และกองกำลังตำรวจในพื้นที่ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพื่อแก้ข้อบกพร่องของการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งกำชับให้ทุกฝ่ายได้เข้ามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาไม่ว่าปัญหาความยากจน การศึกษาและยาเสพติดที่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จาตุรนต์เสนอ ใช้ 'พรก.' นิรโทษฯ ไม่สำเร็จดัน 'พรบ.' ไม่ได้อีก 'แก้ รธน.'

$
0
0

29 มกราคม 2556 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความแสดงความเห็นกรณีนิรโทษกรรมในเฟสบุ๊คของตนเอง http://www.facebook.com/chaturon.chaisang/posts/3647200438779 โดยระบุว่า ขณะนี้หากไม่รวมร่าง พ.ร.บ.ปรองดองที่ค้างอยู่ในสภา การเสนอให้นิรโทษกรรมประชาชนมีถึง 3 ทางแล้ว คือ ร่าง พ.ร.ก.ของ นปช. ร่าง พ.ร.บ.ของคอ.นท.และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของนิติราษฎร์ ถึงแม้ว่าทั้ง 3 แบบนี้จะเสนอให้ใช้วิธีการต่างกันและมีเนื้อหาต่างกันอยู่บ้างแต่จุดร่วมที่สำคัญคือการเสนอให้นิรโทษประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมหรือเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลานับแต่หลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 เป็นต้นมา โดยนายจาตุรนต์ ตั้งข้อสังเกตว่า ข้อเสนอให้นิรโทษกรรมประชาชนดังกล่าวนี้มีเสียงคัดค้านน้อยและจะเป็นที่ยอมรับกว้างขวางพอสมควร ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่จะให้มีการออกกฎหมายเพื่อนิรโทษประชาชนเสียโดยเร็ว ส่วนจะเป็นวิธีใดย่อมเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถหารือกันเพื่อหาข้อสรุปต่อไปได้

"เหตุผลที่น่าจะเป็นที่ยอมรับในการที่จะนิรโทษฯประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมโดยไม่รวมแกนนำหรือผู้สั่งการก็คือ ประชาชนเข้าร่วมชุมนุุมทางการเมือง เนื่องจากมีความเห็นแตกต่างจากรัฐ ส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการกระทำผิดกฎหมายแต่อยู่ในฐานะผู้ถูกกระทำ ถูกบีบคั้นหรือกระทั่งถูกทำร้ายปราบปราม นอกจากนี้ในหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยยังอยู่ในสภาพที่การรักษาหรือบังคับใช้กฎหมายลักลั่น ไม่เป็นธรรมอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน ประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองจึงอยู่ในสภาพที่เป็นเหยื่อของความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมที่อ่อนแอ

"การนิรโทษประชาชนที่ต้องตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งทางการเมืองนี้ จึงเท่ากับเป็นการเยียวยาบาดแผลของสังคมไม่ให้ต้องเลวร้ายหนักหนายิ่งขึ้นหรือเรื้อรังต่อไป ประชาชนจำนวนมากก็จะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปรกติและยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสมานฉันท์ สามัคคีกันของคนในสังคมได้อีกด้วย

ทั้งนี้นายจาตุรนต์ได้แสดงความเห็นถึงข้อหว่งใยเรื่องที่ว่า การนิรโทษกรรมจะไม่มีหลักประกันว่า ผู้ที่ได้รับการนิรโทษจะไม่กระทำความผิดซ้ำอีกในเร็วๆ นี้นั้น ถือว่าเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิดว่า จากนี้ไปจะทำอย่างไรให้สังคมอยู่ในสภาพที่คนส่วนใหญ่ยึดถือกฎ กติกาที่เป็นธรรมเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความแตกต่างทางความคิดและทำอย่างไรจะทำให้สังคมมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกฝ่าย

โดยวิธีการนิรโทษกรรมที่มีข้อเสนอแตกต่างกันนั้น อดีตรองนายกฯ เสนอให้ใช้ทั้ง 3 วิธีที่มีอยู่ ที่ต่างกันทั้ง 3 แบบนั้น

"ผมเสนอว่าให้เริ่มจากการออก พ.ร.ก.ก่อนตามที่ นปช.เสนอ หากติดขัดก็ให้ออกเป็น พ.ร.บ.ตามที่ คอ.นท. เสนอ และถ้ายังติดขัดอีก จึงให้วิธีการเสนอเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่นิติราษฎร์เสนอเป็นลำดับไป"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

4 สถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือลงนามปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

$
0
0

4 สถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตนบนร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการประสานความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่มีสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่ต้องเร่งดำเนินการช่วยเหลือและคุ้มครองโดยเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา 4สถาบันในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 

ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เพื่อร่วมมือในการดำเนินงานด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การศึกษาวิจัย และการพัฒนาบุคลากรกับสถาบันการศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ซึ่งพื้นที่ภาคเหนือมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับที่ต้องเร่งคุ้มครอง เช่น ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์ ปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินทำกินของประชาชนและฐานทรัพยากรของชุมชน ปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านการศึกษาของกลุ่มเด็กและเยาวชน และปัญหาสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น เมื่อ 4 สถาบันการศึกษาให้ความสำคัญผนึกกำลังร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น การส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนย่อมจะบังเกิดผลอย่างรวดเร็วและทั่วถึง เพราะสถาบันอุดมศึกษามีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีองค์ความรู้และฐานข้อมูลในชุมชนท้องถิ่นอย่างลึกและครบถ้วนสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้ ข้อความในข้อตกลงความร่วมมือ มีดังนี้

1. การจัดให้มีการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมในด้านสิทธิมนุษยชน

2. การจัดกิจกรรมต่างๆด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปกป้องสิทธิของตนเองและส่วนรวมได้อย่างถูกต้อง

3. การส่งเสริมให้สถาบันในเครือข่ายดำเนินการวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ร่วมกัน เพื่อสะท้อนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพื้นที่และนำผลมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

4. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมให้อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ได้รับความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านประสบการณ์จริงในพื้นที่ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติ

5. การส่งเสริมการฝึกงานของนักศึกษาจากทั้ง 4 สถาบัน ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือองค์กรเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและประสบการณ์ในการทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองและสังคมต่อไป

การดำเนินงานทำข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวได้ประชุมหารือ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 ก่อนลงนามความร่วมมือ โดยมีการระดมความคิดเห็นและนำเสนอโครงการจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 สถาบัน ซึ่งโครงการต่างๆ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสถาบันอุดมศึกษาจะระดมทรัพยากรร่วมดำเนินการ เช่น โครงการอบรมวิทยากรเผยแพร่ความรู้สิทธิมนุษยชน โครงการค่ายส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาหารือเรื่องร้องเรียน และโครงการติดตามเรื่องร้องเรียนในพื้นที่ที่คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีมติยุติเรื่องและมีข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาให้ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บริโภคชวนปั่นจักรยาน ให้รัฐผ่านกฎหมายองค์การอิสระฯ

$
0
0

29 ม.ค. 56 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเสวนา "มาตรา61 (องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค) ช่วยแก้ปัญหาแคลิฟอร์เนียร์ว้าวได้อย่างไร"

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้ผลักดันกฎหมายองค์การอิสระฯ รายงานความคืบหน้ากฎหมาย ม.61 ว่า 15 ปี ยังไม่มีกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และเนื่องจากคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อ การคุ้มครองผู้บริโภคของทั้งสองสภาได้พิจารณาร่าง พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคแล้วเสร็จและรอนำสู่การพิจารณาของทั้งสองสภาเพื่อให้การ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกฎหมายฉบับนี้ 

“การพิจารณากฎหมายชั้นวุฒิสภาได้แก้ไข 4 ประเด็น ได้แก่ 1) เพิ่มงบประมาณจาก 3 บาทเป็น 5 บาทต่อหัวประชากร 2) เพิ่มองค์ประกอบคณะกรรมการสรรหา จาก 8 เป็น 9 คน โดยมีผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ 1 คน เป็นกรรมการสรรหา 3) เพิ่มอายุกรมการจาก 25 ปีเป็น 35 ปี 4) มีบทลงโทษคณะกรรมการองค์การอิสระฯ หากไม่ปฏิบัติหน้าที่
จนสุดท้าย ส.ส.ไม่รับกฎหมายที่แก้ไขของวุฒิสภา จึงตั้งกรรมาธิการร่วมสองสภา 22 คน พิจารณากฎหมายอีกครั้งและได้พิจารณาแล้วเสร็จ 9 ม.ค. 56 ซึ่งสิ่งที่น่า จับตาว่าจะมีการตัดตอนกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค ก็คือความพยายามในการลดหรือตัดตอนบทบาทของคณะกรรมการองค์การอิสระฯทั้ง ไม่ให้ตรวจสอบภาคเอกชน (ธุรกิจ) ยกตัวอย่าง แคลิฟอร์เนียฟิตเนส กรณีผิดประกศห้ามรับสมัครสมาชิกเกิน ๑ ปี แต่ทางแคลิฟอร์เนียเปิดรับสมัครสมาชิกตลอดชีพ

ประเด็นไม่ให้มีบทบาทในการเปิดเผยชื่อสินค้าหรือบริการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ซึ่งองค์การอิสระฯ ต้องเป็นหน่วยงานที่เข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกรรมาธิการไม่อยากให้ตรวจสอบภาคเอกชน ขณะที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐด้วยกันได้ แต่ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย หากสินค้าไม่ได้มาตรฐานนั้นเขาได้นำชื่อสินค้ามาเปิดเผยขึ้นเว็บไซต์ และไม่ให้มีบทบาทส่งเรื่องให้อัยการสูงสูดพิจารณาแต่งตั้งพนักงานฟ้องแทน ผู้บริโภค จากข้อสังเกตคาดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากผ่านมาก็คิดว่าอาจไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเท่าที่ควร”

นอกจากนี้ยังเชิญชวนประชาชน ปั่นจักยานรณรงค์ให้รัฐบาลผ่านร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค "ปั่นจักรยาน ถีบกฎหมาย ม.61 องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เข้าสภาฯ" พรุ่งนี้ (30 มกราคม)เวลา 10 โมงเช้า  เส้นทางปั่นจากสวนสันติภาพ พญาไท แยกศรีอยุธยา จตุรทิศ โรงแรมเซ็นต์จูรี่ และกลับสวนสันติภาพ

นางรัศมี วิศทเวทย์  ในฐานะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนกล่าว ว่า องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ทำให้มองเห็นปัญหาผู้บริโภคที่อยู่นอกกรอบ แต่สามารถเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อแก้ไขปัญหาได้

“กรณีอำนาจหน้าที่ขององค์การอิสระฯ เรื่องการฟ้องแทนประชาชนนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และไม่ควรถูกตัดตอน เพราะอำนาจหน้าที่ของรัฐนั้น อย่าง สคบ. ถึงแม้จะมีอำนาจในการฟ้องแทนประชาชนได้ แต่กรณีนี้ประชาชาชนมีปัญหากับหน่วยงานรัฐ ก็จะฟ้องไม่ได้ และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคที่ให้ประชาชนฟ้อง เองได้แล้ว ก็ถือเป็นรายเคสไป ประชาชนเองก็ยังต้องไม่มีความรู้กระบวนการทางกฎหมาย การจะตัดตอนอำนาจหน้าที่จึงไม่ควร”

พร้อมทั้งกล่าวเสริมว่าการกำหนดงบประมาณต่อหัวประชาชน มีความสำคัญเพราะต้องเป็นอิสระจากรัฐบาล และการพิจารณามีการปรับใหม่จาก 5 บาทในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภา กลับไปเหลือ 3 บาท ควรมีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วย

“กรณีปัญหาแคลิฟอร์เนียว้าว ที่ยังไม่มีใครดูเรื่องสัญญามาตรฐานที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น ซึ่งหากมีองค์การอิสระฯคน่าจะเป็นประโยชน์และเป็นศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ทุกเรื่องให้กับผู้บริโภคได้” นางรัศมี กล่าว

ด้านนายเฉลิมพงษ์ กลับดี ทนายอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีการฟ้องรวมหมู่ แทนผู้บริโภค กรณีปัญหาเดียวกันและสร้างความเดือดร้อนในวงกว้างว่า การฟ้องรวมหมู่นั้นสำคัญมาก อย่างกรณีบ้านเอื้ออาทรซึ่งเป็นของการเคหะแห่งชาติ ก็จะฟ้องการเคหะฯไม่ได้ เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ การคงไว้ซึ่งหน้าที่ตามมาตรา 19 นั้นที่ให้ฟ้องแทนประชาชนนั้นสำคัญมาก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงการณ์จากกลุ่มกวีราษฎร์ ฉบับที่ 3

$
0
0

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556 ศาลอาญามีคำตัดสินให้จำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์วอยซ์ออฟทักษิณ เป็นระยะเวลา 10 ปี ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อันเป็นความผิดในฐานะบรรณาธิการซึ่งต้องรับผิดชอบการเผยแพร่บทความ 2 ชิ้น แม้ว่าตนจะไม่ได้เป็นผู้เขียนเอง 

และนี่ไม่ได้เป็นความอัปยศอดสูครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งได้ประกาศกับนานาอารยประเทศ ว่ามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่น่าเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยได้ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน โดยการจับกุมคุมขังผู้ที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมือง และการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อเป็นเครื่องมือในการเอาผิดตัดสินลงโทษนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและผู้บริสุทธิ์อย่างไม่เป็นธรรมหลายครั้ง
 
หน้าประวัติศาสตร์ของรัฐจารีตอาจไม่ได้กล่าวถึงผู้หญิงคนหนึ่งถูกตัดสินในความผิดอาญามาตรา 112 เป็นระยะเวลา 15 ปีจนกระทั่งบัดนี้ยังไม่เคยมีการอนุญาตให้ได้รับการประกันตัว หรือบทลงโทษชายชราเป็นระยะเวลา 20 ปี จนเขาต้องตายในคุก มากไปกว่านั้นกฎหมายดังกล่าวยังส่งผลให้มีประชาชนจำนวนมากต้องหลบหนีออกจากประเทศของตน เนื่องจากถูกฟ้องร้องในกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งบุคคลใดก็อาจเป็นผู้ฟ้องร้องได้
 
ในฐานะที่กลุ่มกวีราษฎร์เป็นผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนผ่านงานศิลปะ เราจึงตระหนักดีว่างานศิลปะไม่อาจะสะท้อนภาพของสังคมได้ หากปราศจากอิสระในการคิด พูด เขียน และแสดงออก อีกทั้งเราจะไม่อาจยอมให้ความอยุติธรรมกักขังอิสรภาพของพวกเราให้อยู่ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวจากการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมมาเป็นเครื่องมือทำลายล้างกันของมนุษย์ด้วยกันเอง
เราจึงขอเรียกร้องให้
 
1. ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง รวมถึงนักโทษและผู้ต้องหาในคดี 112 ทุกคนโดยทันที เพราะพวกเขาคือผู้บริสุทธิ์ทางการเมือง และรัฐบาลต้องเยียวยาความสาหัสจากกระบวนการตีตรวน ล่ามโซ่ คุมขัง
โดยยึดหลักของกระบวนการยุติธรรมสากลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันทุกคน
 
2. รัฐบาลซึ่งได้รับชัยชนะมาจากเสียงการสนับสนุนของประชาชน จะต้องเข้ามาดำเนินการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับนักโทษทางการเมืองและนักโทษในคดี 112 ทุกคน
 
3. ทางกลุ่มกวีราษฎร์ขอสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของคณะนิติราษฎร์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเสนอตามหลักกระบวนวิชาที่เป็นธรรม
 
4. ในระยะยาว ขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทุกฉบับ เช่น กฎหมายอาญามาตรา 112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2550 เป็นต้น
 
กลุ่มกวีราษฎร์ขอยืนหยัดในการร่วมเรียกร้องต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยของราษฎร
 
 
29 มกราคม 2556
ย่างเข้าสู่ปีที่ 81 ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: พยาน

$
0
0


ค้อนของผู้พิพากษา
วางขายอยู่ข้างซี่กรงเหล็ก
ที่ใช้ทำกรงขังคน
โศกนาฏกรรมแห่งค้อนของผู้พิพากษา
ผมเห็นอีกซ้ำเดิม
ให้ด้ามจับเป็นพยานเถอะ
ผมมองหารูปสลักตราชั่งไม่เจอ
ให้ด้ามจับเป็นพยานเถอะ
ผมมองหารอยนิ้วแห่งหัวจิตหัวใจไม่เจอ
ใช่แน่แน่, มันเป็นค้อนของผู้พิพากษาแน่แน่


มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เศรษฐกิจลาวขยายตัวสูงที่สุดของเอเชีย ขณะที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมยังน่ากังวล

$
0
0

เศรษฐกิจลาวขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยสูงที่สุดในทวีปเอเชีย หากแต่ว่าต้องแลกมาด้วยการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมาย โดยเฉพาะแร่ธาตุและป่าไม้

จากรายงานการพัฒนาเศรษฐกิจของธนาคารโลกเกี่ยวกับทวีปเอเชียและแปซิฟิกประจำปี 2012 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เสนอว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของลาวนั้นมีมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศ หรือ GDP เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 8.2% เมื่อเทียบกับปี 2011 ไม่เพียงแต่จะสอดคล้องกับรายงานของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB เท่านั้น แต่ยังเป็นการขยายตัวทางเศรษบกิจในอัตราที่สูงที่สุดในเอเชียอีกด้วย

ทั้งนี้ รายงานของ ADB ยังได้ระบุว่า เศรษฐกิจของลาวยังได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยที่ไม่ต่ำกว่า 7.5% เป็นระยะเวลากว่า 10 ปีมาแล้ว และสำหรับในปี 2012 ที่ผ่านมา การขยายตัวทางเศราบกิจของลาวได้แซงหน้าประเทศจีนเป็นปีที่สองติดต่อกัน ส่วนประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนด้วยกันนั้น กัมพูชาตามมาเป็นอันดับ 2 รองจากลาว ตามด้วยอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ไทย บรูไน และสิงคโปร์ ตามลำดับ

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจลาวขยายตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวนั้น ก็คือการขยายการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า ที่ได้มีการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าหลายโครงการในลาวอยู่ขณะนี้

อย่างไรก็ตาม ทั้งธนาคารโลกและ ADB ก้ได้เตือนว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของลาวที่ได้มีการขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมายนั้น จะไม่ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติต้องลดน้อยลงไปเรื่อยๆ หากแต่ยังจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติอีกด้วย โดยเฉพาะการตัดไม้ทำลายป่า และการทำเหมืองแร่

ทางด้านท่านสุลิวง ดาลาวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ได้แถลงยอมรับว่าการบริหารงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในลาวยังมีปัญหาหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในการตรวจสอบการปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานในโครงการต่างๆ นั้น ก็ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคในด้านเอกสารและการปฏิบัติจริง ดังที่ได้ชี้แจงมาว่า

“อุปสรรครูปการที่หนึ่งคือ ได้มีการให้สัมปทานขุดค้นสำรวจหลายเขต หลายแห่ง และหลายชนิดแร่ธาตุ อย่างที่สองคือมีการขอต่ออายุสัมปทานขุดค้นและสำรวจ หรือต่ออายุสัญญาต่างๆ หลายครั้ง อย่างที่สามคือการขอขยายเนื้อที่สัมปทาน อย่างที่สี่ก็คือการขอทดแทนความเสียหายทางเศรษฐกิจ คือขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ขุดค้นสำรวจใหม่”

ในปัจจุบัน รัฐบาลลาวได้อนุมัติสัญญาสัมปทานสำรวจและขุดค้นเหมืองแร่ในลาวให้แก่บรรดาบริษัทเอกชนลาวและต่างชาติไปแล้วถึง 184 บริษัท ซึ่งเป็นของต่างชาติ 140  บริษัท ที่ได้รับสัมปทานกว่า 200 โครงการ ที่เหลือเป็นของเอกชนลาวซึ่งกำลังรอเงินร่วมทุนจากต่างชาติเช่นกัน


แปลจาก

http://lao.voanews.com/content/laos-gdp-growth-rate-highest-in-asia-but-more-exploited-natural-resources/1578673.html

 

เกร็ดความรู้ภาษาลาว -ຫຼວງຫຼາຍ (หลวงหลาย) : มากมาย, many, much

ภาษาลาวมักจะกล่าวถึงปริมาณหรือจำนวนมาก โดยลงท้ายใช้คำว่า ຫຼວງຫຼາຍ เป็นคำคุณศัพท์ขยายตามหลัง เช่นเดียวกับคำว่า มากมาย ในภาษาไทย

ตัวอย่างจากข่าว

ເສດ​ຖະກິດ​ຂອງ​ລາວ​ຂະຫຍາຍຕົວ​ເພີ່ມ​ຂື້ນ​ໃນ​ອັດຕາ​ສະ​ເລ່ຍ
ສູງ​ສຸດ​ໃນ​ທະວີບ​ເອ​ເຊຍ ຫາກ​ແຕ່​ວ່າ​ກໍ​ຕ້ອງ​ແລກ​ມາ​ດ້ວຍ​ການ​
ທໍາລາຍ​ຊັບພະຍາກອນ​ທໍາ​ມະ​ຊາດ​ຢ່າງຫຼວງຫຼາຍ

เศรษฐกิจลาวขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยสูงที่สุดในทวีปเอเชีย หากแต่ว่าต้องแลกมาด้วยการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสนอรื้อ กม.ยาเสพติดทั้งระบบ ห่วงปะผุปัญหาให้อำนาจตำรวจมากเกิน

$
0
0

30 มกราคม 2556 ที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านกระบวนการยุติธรรมในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ประชุมหารือเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... โดยมีนายสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมายเป็นประธานการประชุม

นายกอบกูล  จันทวโร  ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เปิดเผยว่า หากไม่ทบทวนทั้งระบบแทนที่จะดีก็จะมีปัญหาอย่างอื่นตามมาอีกหลายเรื่อง ซึ่งหากพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดพบว่า เปิดช่องให้การสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหากตรวจพบสารเสพติดในร่างกาย โดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา ประเด็นนี้อาจจะมีปัญหาตามมาว่าการพิสูจน์เบื้องต้นยังมีกฎหมายอย่างน้อย 3 ฉบับเกี่ยวกับการตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย เบื้องต้นน่าจะเกิดความสับสนพอสมควร เนื่องจากอำนาจของเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ในแต่ฉบับต่างมีระเบียบที่แตกต่างกัน เช่น ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข, ระเบียบปปส. ดังนั้นการตรวจพิสูจน์ของเจ้าหน้าที่จะมีความแตกต่างกันอยู่

นายกอบกูล กล่าวว่า มีข้อสังเกตว่าการตรวจพิสูจน์เบื้องต้นไม่อาจจะทราบได้ว่าเป็นการเสพยาเสพติดหรือไม่ก่อนเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ขณะที่การสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในทางปฏิบัตินั้นการเกิดลักษณะกึ่งบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ซึ่งไม่น่าจะใช้กับผู้เสพยาเสพติดซึ่งเป็นผู้ป่วยและควรจะใช้วิธีการบำบัดอย่างถูกวิธีด้วยนอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า ในพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้มีการคัดกรองผู้เสพยาเสพติดได้อย่างแท้จริง อีกทั้งไม่มีหลักเกณฑ์ในการคัดกรองผู้เสพยาเสพติด ขณะเดียวกันผู้เสพที่จะต้องเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟูนั้นในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้ระบุไว้แต่อย่างใด เช่นเดียวกับมาตรการติดตามช่วยเหลือก็ไม่ได้ระบุไว้

นายชาติชาย  สุวิกรม  อดีตที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) กล่าวว่า ปัญหายาเสพติดอยู่ที่ข้อเท็จจริงและปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งอาจจะต้องจัดระบบการบำบัดรักษาที่ดีและใช้ได้ผลจริง เพราะข้อเท็จจริงที่พบคือ ยิ่งมีการปราบปรามมากขึ้นจะยิ่งส่งผลให้ยาเสพติดให้โทษมีราคาเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการบำบัดรักษาและการปราบปรามควรมีความสอดคล้องกัน เป็นข้อสังเกตที่น่าจะนำมาพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

นางสาวสุภัทรา  นาคะผิว ประธานมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า ต้องสังคยานากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งระบบ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ ส่วนตัวไม่ขัดข้องหากจะใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเต็มที่  แต่จะต้องช่วยกันคิดว่าระบบควรจะเป็นอย่างไรและควรเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นอกจากนี้เห็นว่าควรมีการพิจารณางบประมาณที่ใช้ในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยคำนึงถึงผลที่ได้รับจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของภาครัฐใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใด เพราะเงินภาษีของประชาชนจะใช้โดยไม่สมเหตุสมผลไม่ได้

นายวีระพันธ์ งามมี ผู้จัดการภาคสนาม มูลนิธิพีเอสไอ กล่าวว่า ประเด็นที่เป็นข้อกังวลเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฟื้นฟูนี้ มี 3 ประเด็นคือ 1.การให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจมากเกินไป 2.การนำคำว่า ความพึงพอใจ มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผู้ที่ได้รับการบำบัดตามร่างพ.ร.บ.นี้แล้ว ก็จะมีปัญหาว่า เป็นความพึงพอใจของใคร มีหลักเกณฑ์และขอบเขตในการพิจารณาอย่างไร 3. การจัดทำบันทึกข้อตกลงกลายเป็นเจ้าหน้าที่อาจเข้าใจว่า หากไม่ทำจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ทั้งที่บันทึกข้อตกลงนี้ควรที่จะให้แพทย์เป็นผู้ประเมินและรับรอง ไม่ใช่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ

นายวีระพันธ์ กล่าวว่า วาทกรรมของคำว่า ผู้ติดยาคือผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ดีแต่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อน  ซึ่งทัศนคติของคนในสังคมมักมองว่า ผู้ใดก็ตามที่มีสารเสพติดในร่างกายจะเป็นผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงยาเสพติด จึงต้องได้รับการบำบัด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วยังมีผู้ที่มีสารเสพติในร่างกายแต่ไม่ได้เป็นผู้ที่ต้องพึ่งยาเสพติดเสมอไป ในทางการแพทย์สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจนระหว่างผู้ใช้ยา(drug use) และผู้ติดยาหรืออยู่ในภาวะพึ่งพิงยาเสพติด(drug dependence) และบุคคลสองกลุ่มนี้ก็มีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน

“การอยู่ในภาวะพึ่งพิงยาเสพติดหรือที่เข้าใจกันทั่วไปว่า การติดยา นั้นเกิดจากยาเสพติดเหล่านี้จะกระตุ้นวงจรความพึงพอใจ โดยการเข้าไปเพิ่มการทำงานของสารโดปามีน เมื่อสมองเกิดความพึงพอใจจึงเสพซ้ำอีก  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การเสพติด เป็นโรคของสมองติดยาและการติดใจจึงจะถูกต้อง นอกจากนี้ ต้องมีความเข้าว่า ภาวะพึ่งพิงยาเสพติด เป็นภาวะเรื้อรัง ในทางการแพทย์จึงทำได้เพียง การทุเลาการเจ็บป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิต และการป้องกันไม่ให้มีอาการเพิ่มมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสริม เช่น ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อม ทำให้ผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงยาซึ่งเข้ารับการบำบัดแล้วกลับไปพึ่งพิงยาอีกครั้งถึงร้อยละ11” นายวีระพันธ์ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.เสนอสภารอร่างฯ ทรัพยากรทะเลภาคประชาชน

$
0
0

ชี้กฎหมายกำหนดให้ คปก.มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินในการร่างกฎหมายของประชาชน การไม่รอจึงส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าวได้

30 มกราคม 2550 กรณีที่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ได้มีมติเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ... ขึ้นมาพิจารณาก่อนโดยไม่รอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ... ที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555  ซึ่งอยู่ระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีหนังสือแจ้งกระทรวงมหาดไทยให้ประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายเพื่อให้ร้องคัดค้านนั้น และโดยที่ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้เคยมีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการให้ชะลอการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ...ที่คณะรัฐมนตรีเสนอ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555

เรื่องดังกล่าว คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ออกหนังสือแถลงความเห็นว่า การเลื่อนพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว  ย่อมทำให้สิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนสิ้นผลไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากรัฐสภาไม่ปฏิบัติหน้าที่และไม่รับผิดชอบในการพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา  163 ที่กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนในการเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามหมวด  3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และยังกำหนดว่าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้น ชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติ รวมทั้งกำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยจะต้องประกอบด้วยผู้แทนประชาชนที่เสนอร่างกฎหมายนั้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว ประกอบกับพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้กำหนดให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายมีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินในการร่างกฎหมายของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จึงส่งผลให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จึงเห็นควรให้รัฐสภาทบทวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ...โดยต้องพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนควบคู่กันไปด้วย  ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเมืองเรื่อง “ยกเมฆ” ของคน “แอ๊บฉลาด”

$
0
0

ละครฉากใหญ่กำลังเปิดฉากขึ้นอย่างเข้มข้น แต่เป็นฉากเดิมๆ ซ้ำๆ เหมือนละครช่องเจ็ดและช่องสาม ที่พระเอกไม่รู้ว่านางเอกบริสุทธิ์เลยข่มขืน แต่สุดท้ายก็รักกัน หรือที่จริงนางเอกนั้นเป็นลูกผู้ดีมีเงินตกยากที่ตามหาพินัยกรรมของพ่อที่ไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน  เช่นเดียวกันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ที่คิดมุกใหม่ๆ ไม่ออก นอกจากลอกท่อ ขึ้นรถเมล์ เทขยะ ฯลฯ ที่เราจะเห็นได้เฉพาะเมื่อเวียนมาถึงเทศกาลการเลือกตั้ง และตอนนี้...เราก็กำลังดูฉากเดิมๆ อยู่ ก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้งจริงขิงผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ

อีกหนึ่งละครฉากใหญ่ที่กำลังเล่นไปควบคู่กันก็คือเกมการเมืองที่ดุเดือดเข้มข้น และดูจริงจัง ดุเด็ด เผ็ดมันส์ มากกว่าการลอกท่อ ขึ้นรถเมล์ เทขยะ ฯลฯ โดยในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 18 คน สังกัดพรรคการเมือง 3 คน คือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย และนายจำรัส อินทุมาร พรรคไทยพอเพียง และผู้สมัครอิสระอีก 15 คน โดยที่พอจะคุ้นชื่อและเป็นข่าวมากหน่อยเห็นจะเป็นพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นามกลุ่ม "พลังกรุงเทพ" และนายสุหฤท สยามวาลา ดีเจชื่อดัง ที่ออกสตาร์ทหาเสียงก่อนใครเพื่อน

ความดุเด็ดเผ็ดมันส์เริ่มตั้งแต่การที่พรรคประชาธิปัตย์ส่งอดีตผู้ว่า กทม. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ลงสมัครเพื่อยึดเก้าอี้เดิมของตัวเอง ซึ่งตามมาด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์หลากหลายด้วย “Performance” ในการทำงานที่ผ่านมาในฐานะผู้ว่ากทม.นั้น ไม่สู้ดี ถึงขั้นมีการเขียนข่าวว่าแม้แต่ผู้ที่นิยมชมชอบในตัวพรรคประชาธิปัตย์เอง (ซึ่งเป็นประชาชนคนธรรมดา) ยังไม่อยากจะเลือกกลับให้เข้าไปทำงานอีกครั้งเลย ตามมาด้วยข่าวพรรคเพื่อไทยที่เปิดตัวผู้สมัครตามข่าวว่า แม้แต่ส่ง “เสาไฟฟ้า” ลงสมัคร ก็ยังชนะเลย ซึ่งกลายเป็นฉายาต่อมาของ พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ ที่ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทยและอีกหนึ่งคนคือ คุณสุหฤท สยามวาลา ผู้สมัครอิสระที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากที่สุดอีกคนหนึ่ง ทั้งด้วยวิธีการการหาเสียง ประวัติส่วนตัว และนโยบาย

จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ มีการเผยแพร่โปสเตอร์แคมเปญอันหนึ่งทางเฟซบุ๊ก สืบความได้ว่าน่าจะมาจากเพจ “พวกเราชาวไทยไม่ยุบสภาและมาเอาคนโกงชาติทักษิณกลับคืนมา” โดยมีการอ้างอิงข้อความบนโปสเตอร์นั้นมาจากความในใจเบื้องหลังคนบันเทิงคนหนึ่ง ซึ่งดูจากเครดิตท้ายโปสเตอร์เขียนไว้ว่า Thipdhida Satdhathip นักเขียนบทภาพยนตร์ที่ข้อความการแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของเธอเกี่ยวกับเรื่องการแบนละครเรื่องเหนือเมฆนั้นได้รับการเผยแพร่แชร์ต่ออย่างแพร่หลาย และนี่อาจเป็นอีกครั้งที่ข้อความการแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของเธอถูกนำมาเผยแพร่ในรูปแบบการจัดทำโปสเตอร์แคมเปญสู่สาธารณะในโลกโซเชียลมีเดีย โดยข้อความดังกล่าวปรากฏว่า

ภากจากเฟซบุ๊ก พวกเราชาวไทยไม่ยุบสภาและไม่เอาคนโกงชาติทักษิณกลับมา

“หนึ่งคะแนนเสียงมีค่าอย่าใช้เพื่อความมันแปลกแตกต่าง หรือกับพรรคอิสระที่มาก็ไม่ชนะอุตสาห์มาทำไม ????  อย่าเป็นคนแอ๊บใสที่อยากแสดงว่า “เป็นตัวของตัวเอง” จนไม่แหกตาดูว่ารอบๆ ตัว เหี้ย !!! มันกำลังแพร่เชื้อ อย่ามุ่งปัจเจกจนลืมภาพรวมผืนใหญ่ อย่าเป็นมือหนึ่งที่ส่งมอบประเทศไทย ป้อนใส่ปากทักษิณ BY Thipdhida Satdhathip”

พลันที่อ่านข้อความจบ ดิฉันก็คิดว่า คงต้องตีความแบบ “เหนือเมฆ” สักหน่อย อ่านรวมๆ เหมือนว่าจะดี เพราะยกเอา “ภาพรวม” เป็นหลัก แต่ไปริดรอนสิทธิ (รวมถึงดูถูกเหยียดหยาม) ทั้งผู้สมัคร และผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่นั่นก็ไม่เท่ากับคอนเซ็ปต์ความคิดอันจะพูดถึงต่อไป

อ่านแบบขำๆ นี่อาจจะเป็นเกมการเมืองแบบ “เหนือเมฆ” ก็เป็นไปได้ ในเมื่อหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ สตาร์ทด้วยภาพลักษณ์ที่ติดตัวมาจาก Performance ในขณะที่เป็นผู้ว่า กทม. ไม่สู้ดีนัก ซึ่งอาจทำให้คะแนนเสียงลดลงทั้งจากฝ่ายตรงข้ามที่ผูกปิ่นโตกับพรรคเพื่อไทย หรือฝ่ายที่นิยมชมชอบพรรคประชาธิปัตย์อยู่แต่เดิม แต่ไม่อยากลงคะแนนเสียงให้หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เพราะพิจารณาจากผลงานครั้งที่แล้ว รวมถึงผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งคนอื่นๆ ที่อาจจะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครอิสระอื่นๆ ด้วยเพราะความนิยมชมชอบในนโยบาย หรือความสนิทสนมส่วนตัว เป้นญาติ เป็นเพื่อน เป็นเจ้านาย อะไรก็ว่าไป ดังนั้นสาวกของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหลาย ในเมื่อมิอาจกู้ชื่อ “เสีย” จากการเป็นผู้ว่า กทม. ในครั้งก่อนเพื่อเรียกคะแนนเสียงในการลงสมัครครั้งนี้แล้ว จึงได้คิดแคมเปญใหม่คือ ไม่ต้องพูดถึงนโยบายกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครของใคร ไม่ต้องดูว่าผลงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แต่จงดู “ภาพรวม”กันดีกว่าว่า ถ้าคุณไปเอาคะแนนเสียงไปทิ้งกับบรรดาผู้สมัครอิสระทั้งหลาย จนเป็นการเกลี่ยคะแนนเสียง อาจทำให้ผู้สมัคร “เสาไฟฟ้า” จากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งได้ ซึ่งจะการสูญเสียพื้นที่การปกครองทั้งระดับกรุงเทพฯ และระดับประเทศ (เนื่องด้วยพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลอยู่ ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์ โดยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่า กทม. ก็เท่ากับว่ายังเหลือกรุงเทพฯ ที่ยังไม่สูญเสียเขตพื้นที่และอำนาจการปกครองให้พรรคเพื่อไทย)

            อุ๊ย! มันช่าง “เหนือเมฆ” เสียจริง

ที่เหนือเมฆ หรือยกเมฆ มากไปกว่านั้นคือ อุปมาว่าด้วยการสูญเสียประเทศ ดั่งพม่าจะมาตีเมืองเหมือนสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 อย่างนั้นแหละ สงสัยคงจะดูหนังเรื่องนเรศวรมากไป ! หากจะกล่าวถึงเรื่องการสูญเสียประเทศเชิงกายภาพ ตราบใดที่เราเสียภาษี บ้านที่ดิน เป็นเชื่อของเรา รัฐบาลไม่บ้าจี้ (ซึ่งแน่นอนว่ามันคงโง่มาก) ลุกขึ้นมาออกกฎหมายริบทรัพย์สินของประชาชนให้ตกเป็นของรัฐทั้งหมด แล้วเราจะไปเสียประเทศให้คร้ายยย...(ยกเว้นฝรั่งหรือทุนต่างชาติที่ร่วมหุ้นกับทุนไทยที่กว้านซื้อที่ดินริมทะเลสร้างเป็นคอนโด รีสอร์ท โรงแรมหรูไปเสียหมด อันนี้สิ ของจริง!) หรือหากจะมองในแง่การครอบงำของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ปัจจุบันนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มี ลิสต์รายชื่อมาสิว่ากลุ่มทุนที่ผูกขาดที่ดิน แบรนด์อุปโภคบริโภคของคนไทย (เซเว่นเป็นต้น) จะมีสักกี่เจ้ากี่นามสกุลกันเชียว หรือหากจะพูดถึงในแง่เขตพื้นที่การบริหาร ไม่ว่าพรรคไหน หรือกลุ่มอิสระไหนเข้ามาบริหารกรุงเทพฯ ก็ต้องมีระบบในการตรวจสอบด้วยกันทั้งนั้น และก็เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องตรวบสอบ (การทุจริต การเอื้อประโยชน์) ไม่ว่าพรรคไหนๆ ก็ตาม

ดิฉันไม่ได้นาอีฟ หรือแอ๊บใส โลกสวย ที่จะบอกว่าการที่พรรคการเมืองหนึ่งมีอำนาจปกครองในฐานะรัฐบาลแล้วพรรคการเมืองของตัวเองก็ได้เข้ามาทำหน้าที่บริหารกรุงเทพฯ นั้นจะไม่เกิดการเอื้อประโยชน์ทางการเมือง แต่สิ่งที่กำลังจะบอกก็คือ การอุปมาไปไกลขนาดนั้น มันไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ มันยกเมฆ มันเกินจริง กับการที่พยายามจะโน้มน้าวให้แคมเปญนั้นดูมีเหตุมีผล น่าเชื่อถือ ทั้งๆ ที่มันไม่น่าเชื่อถือเลยสักนิด !

เริ่มตั้งแต่ประการแรก กับการดูถูกเหยียดหยามผู้สมัครอิสระคนอื่นๆ ที่ลงชิงชัยในสนามการเลือกตั้งครั้งนี้กับคำกล่าวที่ว่า “พรรคอิสระที่มาก็ไม่ชนะอุตสาห์มาทำไม ????” (สะกดตามตัวบทเดิมในโปสเตอร์) เราคงต้องกลับไปทบทวนพื้นฐานการเมืองของประเทศไทยก่อนเสียว่า เราไม่ได้มีระบบสองพรรคอย่างอเมริกา ที่มีผู้ชิงชัยเพียง 2 ฝ่าย ใครเป็นรีพลับบลิกันก็ลงคะแนนให้รีพลับบลิกัน ใครเป็นเดโมแครตก็ลงคะแนนให้เดโมแครต ส่วนใครไม่เป็นอะไรเลย ก็รอดูว่านโยบายของใครน่าสนใจ และเราอยากจะสนับสนุนนโยบายของพรรคไหน และไอ้คำว่า นโยบายของใครน่าสนใจใครอยากจะสนับสนุนนโยบายของพรรคไหน หรือผู้สมัครคนใดก็เป็นพื้นฐานแห่งการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และในเมื่อประเทศไทยไม่ใช่ระบบสองพรรค จึงเปิดโอกาสให้มีผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ หรือในนามอิสระ ที่อาจมีนโยบายที่แตกต่างออกไปจากสองพรรคใหญ่ให้เป็นทางเลือกของคนกรุงลงสมัครรับเลือกตั้งได้

ซึ่งสงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหารนะคะ...

แต่แม้ว่าในที่สุด หากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง เราก็ไม่สามารถไปโทษผู้สมัครอิสระอื่นๆ ได้ว่า มึงเสือกมาลงเลือกตั้งทำไม เห็นไหมว่าคะแนนเสียงมันถูกเกลี่ยไป เพราะการเสือกมาลงสมัครรับเลือกตั้งนี้เป็นการเสือกที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายการเลือกตั้งและระบการเลือกตั้งของประเทศนี้ ที่เราไม่อาจเสือกไปว่าเขาได้ว่า “พรรคอิสระที่มาก็ไม่ชนะอุตสาห์มาทำไม ????” เพราะเขามีสิทธิโดยชอบธรรมทุกประการ และหากพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์แพ้การลือกตั้ง (ระวังไว้เหอะ ถ้าคุณสุหฤท สยามวาลา ได้ แล้วคุณจะหงายเงิบ)  มันก็ไม่ใช่ความคิดของผู้สมัครอิสระที่ไปแชร์ หรือไปเกลี่ยคะแนนเสียง แต่เป็นเพราะคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ (ที่โดยนัยของโปสเตอร์นั้นบ่งบอกว่ากรุณาเลือกพรรคประชาธิปัตย์นะคะ) ได้ไม่มากพอที่จะได้รับการเลือกตั้งต่างหากล่ะ

การไปตราหน้าด่ากราดว่า “พรรคอิสระที่มาก็ไม่ชนะอุตสาห์มาทำไม ????” เป็นการแสดงถึงความคับแคบทางความคิดในทางการเมืองของตนเองที่ไปตัดสินคนอื่นจากจุดยืนทางการเมืองของตนเองฝ่ายเดียวอีกด้วย

และยิ่งตอกย้ำความคับแคบทางความคิดของตนเองแบบคูณสองกับคอนเซ็ปต์ต่อมาที่ว่า “อย่าเป็นคนแอ๊บใสที่อยากแสดงว่า “เป็นตัวของตัวเอง” ประการแรกการเลือกตั้งนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยเจตจำนงเสรีที่บุคคลหนึ่งพึงมีโดยไม่ถูกกระทำด้วยการบังคับ ข่มขืน ทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่ใช่หรือ และหากเขาเหล่านั้นจะใช้เจตจำนงเสรีของตนเองเลือกผู้ว่า กทม. ที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ การแสดงความ “เป็นตัวของตัวเองในทางความคิด” ด้วยการเลือกผู้ว่า กทม. ตามที่เขาพึงพอใจในนโยบายนั้น เขาผิดอย่างไร ทำไมจึงต้องถูกตราหน้าว่า “แอ๊บใส” พูดง่ายๆ พวกเขาไม่จำเป็นต้องเลือกพรรคเพื่อไทยก็ได้ แต่สมมติว่าคนกลุ่มหนึ่งเบื่อมากกก...กับการเมืองสองพรรคใหญ่ ที่ตีกันไปกันมาแล้วกำลังจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครอิสระ แล้วเผอิญว่ากำลังการแสดงความเป็นตัวของตัวเองก้อนนี้ดันใหญ่ซะด้วย แล้วสมมติต่ออีกว่าทำให้ผู้สมัครอิสระคนหนึ่งได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้ว่า กทม. นั้น เขา “แอ๊บใส” อย่างไร เขาผิดอย่างไร ??? การจะเลือกใครนั้น ปัจเจกคนหนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่ง เขาอาจจะชื่นชอบ ศรัทธา ในนโยบาย (ที่สองพรรคนั้นอาจไม่มี หรือมีคนละเรื่อง) หรืออาจมี agenda ที่เหนือเมฆไปกว่านั้น คือเปลี่ยนมือการปกครองจากสองพรรคยักษ์ใหญ่ไปเลยก็ได้ นี่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนเราทุกคน ที่ไม่ว่าใครก็ไม่อาจจะมาละเมิดหรือดูหมิ่น เหยียดหยาม

ทางที่ดีที่ถูกที่ควร สุภาพและวิญญูชนที่มีสติสัมปชัญญะพึงกระทำนั้นก็คือ หากคุณต้องการให้พรรคไหนที่คุณชื่นชอบนั้นชนะการเลือกตั้งก็จงช่วยเขาหาเสียง ช่วยเขาเผยแพร่นโยบายของเขา ไม่ใช่มากล่าวหาทั้งผู้สมัครอิสระ หรือคนที่จะเลือกผู้สมัครอิสระว่า เป็นมือหนึ่งที่กำลังทำให้ประเทศต้องล่มจมเพราะกำลัง “ส่งมอบประเทศไทย ป้อนใส่ปากทักษิณ”

ซึ่งทั้งหมดนั้น มาจบที่บทสรุปของคอนเซ็ปต์ความคิดใหญ่ที่โปสเตอร์หรือข้อความนั้นกำลังส่งสารถึงเรา นั่นก็คือ “มโนทัศน์ทางการเมืองของประชากรในเมืองผู้มีการศึกษา” ที่กำลัง “แอ๊บ” (หรือหลอก) ตัวเองว่า “ฉลาด” ฉันคือผู้ที่มีวิสัยทัศน์ทางการเมืองที่กว้างไกล มองขาดกว่าคนอื่นๆ ฉันคือคนดี รักประเทศไทย เห็นว่าอะไรเป็นอะไร ใครชั่ว ใครดี แล้วเราทั้งหมดต้องทำอย่างไร เชื่อฉัน อย่าหลงไปเชื่อใคร และโปรดดด...ปฏิบัติตามที่ฉันบอก (สั่ง กล่าว ขู่ หรือด่า) ไม่เช่นนั้นประเทศชาติจะฉิบหาย และหากประเทศชาติฉิบหายขึ้นมา (โดยที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นผู้ว่า กทม.) พวกมึงนั่นแหละ ที่ไม่ยอมเชื่อ พวกมึงคือ “สาเหตุ” ที่ต้องแบกรับความผิด เพราะดันไปเลือกผู้ว่าอิสระ (พวกผู้สมัครอิสระ มึงก็ผิดและโง่เหมือนกัน มองเกมไม่ออกเหรอว่าถ้ามึงสมัคร คะแนนเสียงจะถูกเกลี่ย ทำให้ประชาธิปัตย์ไม่ชนะ) ทำให้คะแนนเสียงถูกแชร์ ถูกเกลี่ย พวกมึง ไม่ใช่คนชั่ว แต่ก็โง่ที่ไมยอมเชื่อฟัง ปฏิบัติตาม เห็นไหมล่ะ ประเทศต้องฉิบหายแน่ๆ เพราะพวกมึง ต้องโทษพวกมึง เพราะฉันบอกแล้ว และฉันก็เลือกพรรครประชาธิปัตย์แล้ว พวกมึงนั่นแหละ อยากแนว อยากเป็นตัวของตัวเอง แต่เสือกไม่ดูภาพรวม โง่ดีนัก เห็นไหมล่ะ เป็นไง เพื่อไทยครองเมืองแล้ว !!! ประเทศฉิบหายแน่ !!!

นี่คือมโนทัศน์ของผู้มีการศึกษา ที่ชอบยกตนอวดอ้างความฉลาดกว่าคนอื่นๆ รักประเทศไทยกว่าคนอื่นๆ และคนอื่นๆ ที่ไม่คิดเห็นไปตามที่พวกเขาคิดและบอก คือคนโง่ ฉลาดน้อย ไม่รักประเทศไทย (เพราะฉะนั้นประเทศนี้จึงควรมีแต่พวกเขาอยู่เท่านั้น ประเทศถึงจะเจริญ) และคนพวกนี้แหละที่จะพาประเทศชาติไปสู่ความฉิบหาย (เพราะฉลาดน้อยและอยากเป็นตัวของตัวเอง) ไม่ใช่พวกเขา ดิฉันจึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงมีความคิดเห็นบ้าๆ เกิดขึ้นในบ้านเมืองเรามากมายก่อนหน้านี้ เช่น อย่างอยากให้คนที่ลงคะแนเสียงเลือกตั้งจบปริญญาตรีเท่านั้น หรือเสียภาษีมาก ลงคะแนนเสียงได้มากกว่า

และจะไม่แปลกใจเลยหากการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ชนะการเลือกตั้ง เพราะผู้สนับสนุนนั้นเป็นคน “แอ๊บ” ฉลาด ที่ได้กระทำการ “โง่ๆ” จนคนหมั่นไส้และรังเกียจจนไม่อยากจะเลือกนั่นเอง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไฟเขียวลดเงินสมทบประกันสังคม ด้าน ก.แรงงาน ระบุหลังเพิ่ม 300 พบเลิกจ้างแค่ 1,264 คน

$
0
0

ครม.เห็นชอบลดเงินประกันสังคมช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากการปรับขั้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ด้าน รมว.แรงงาน เผย ยังไม่มีลูกจ้างใน 25 จังหวัดที่ปรับค่าจ้าง 300 บาทแบบก้าวกระโดดมาขึ้นทะเบียนว่างงาน ขณะที่พบการเลิกจ้างเนื่องจากการปรับค่าจ้าง 7 แห่งเท่ากับกลางเดือนที่ผ่านมา 1,264 คน

 
 
30 ม.ค. 56 เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่านพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ประชุมครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากการปรับขั้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ โดยปรับลดเงินจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมตามกฎกระทรวงเดิมที่กำหนดให้ทั้งรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ/ตาย/คลอดบุตร ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 เป็นต้นไปที่อัตรา 1.5% ของค่าจ้าง โดยปรับอัตราจ่ายสมทบลงเหลือฝ่ายละ 0.5% ของค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.2556 และให้กลับมาเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตรา 1.5% ของค่าจ้างตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค.2557 เป็นต้นไป ซึ่งการลดเงินสมทบตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะมีผลทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดอัตราเงินสมทบด้วย จากเดิมออกเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท เป็นออกเงินสมทบในอัตราเดือนละ 336 บาทด้วย
 
สำหรับเงินสมทบเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ ให้ปรับอัตราเงินสมทบตามกฎกระทรวงเดิมที่รัฐบาลจ่ายสมทบในอัตรา 1% ของค่าจ้าง โดยปรับอัตราสมทบที่รัฐบาลจะต้องจ่ายในส่วนนี้เป็น 2% ของค่าจ้างไปจนสิ้นสุดปี 2556 ส่วนนายจ้างและผู้ประกันตนให้จ่ายสมทบในอัตรา 3% ของค่าจ้างต่อไปเช่นเดิม
 
นพ.ทศพรกล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบให้กรมทางหลวงก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายจ้างเหมาะก่อสร้างทางบริการ (โลคัลโรด) ทางหลวงหมายเลข 7 กรุงเทพฯ-บ้านฉาง จ.ชลบุรี ตอนที่ 1-2 ระยะทาง 32 กิโลเมตร วงเงิน 1,190 ล้านบาท รวมทั้งขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีจากปีงบ 2555-56 เป็นปีงบ 2555-58 ก่อนที่กรมทางหลวงจะไปลงนามในสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาต่อไป
 
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ พ.ศ. ... ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ 
 
 
กระทรวงแรงงานเผยยังไม่มีลูกจ้างใน 25 จังหวัดขึ้นทะเบียนว่างงานหลังปรับค่าแรง 300 บาท
 
ด้านสำนักข่าวไทยรายงานเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 56 ว่านายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการพร้อมจ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1-25 มกราคม 2556 มีสถานประกอบกิจการเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 16 แห่ง มีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1,264 คน เพิ่มขึ้นจากกลางเดือนที่ผ่านมา 2 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้น 231 คน โดยสถานประกอบการที่เลิกจ้างเนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท มีจำนวน 7 แห่งเท่ากับกลางเดือนที่ผ่านมา เป็นการเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วน จำนวน 435 คน และสถานประกอบการที่เลิกจ้างเนื่องจากผลกระทบอื่นๆ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ธุรกิจขาดทุนสะสมมีทั้งหมด 9 แห่ง เพิ่มขึ้น 2 แห่ง มีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 598 คน ลูกจ้างเพิ่มขึ้น 231 คน แบ่งเป็นสถานประกอบการที่ปิดกิจการ 3 แห่ง เพิ่มขึ้น 1 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 186 คน เพิ่มขึ้น 4 คน และสถานประกอบการเลิกจ้างบางส่วน 6 แห่ง เพิ่มขึ้น 1 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้างรวม 643 คน เพิ่มขึ้นจากกลางเดือน 217 คน ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการ ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป แปรรูปอาหาร และผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า
 
ขณะเดียวกันจากการรายงานของศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการพร้อมจ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน 25 จังหวัด ที่มีการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดดพบว่ายังไม่มีลูกจ้างรายใดแจ้งขึ้นทะเบียนว่างงาน เนื่องจากผลกระทบค่าจ้าง 300 บาท แต่เป็นการแจ้งเลิกจ้างกรณีอื่นๆ จำนวน 99 คน ทั้งลาออกเองและเลิกจ้างในสถานประกอบการ 94 แห่ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ สื่อไทย-ใครเชียร์ ใครต้านแก้รัฐธรรมนูญ2550

$
0
0

 

คลิกดูภาพขนาดใหญ่

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2556 Media Inside Out เรื่องการกำหนดกรอบวาทกรรมสื่อมวลชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในปี 2555 ซึ่งศึกษาโดย รศ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, อริน เจียจันพงษ์,  วันเพ็ญ แถมอุทุม และธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์

โดยทีมวิจัยได้ศึกษาเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ 6 ฉบับได้แก่ ไทยรัฐ มติชน ไทยโพสต์ บางกอกโพสต์ ผู้จัดการ และคมชัดลึก ระหว่างเดือนเม.ย. –ก.ค. 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีกระบวนการนำเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาจนถึงการนำเรื่องสู่ศาลรธน. และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย

โดยสรุปนั้น เกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่าเป็นไปในทางต่อต้านคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างเหตุผล ล้มล้างสถาบัน/การปกครองระบอบประชาธิปไตย และมุ่งช่วยเหลือทักษิณ

ผลการสำรวจบทบก. 143 ชิ้น พบว่ามีวาทกรรม 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นวาทกรรมคัดค้าน/ชี้ถึงความไม่ชอบธรรมในการแก้รัฐธรรมนูญ จำนวน 133 ชิ้น หรือ 93.01 % ของตัวอย่างในการสำรวจ ขณะที่บทบ.ก.ซึ่งมีมีวาทกรรมเชิงสนับสนุน/ให้ความเห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเพียง 10 ชิ้น หรือ6.99% เท่านั้น โดยเป็นบทบก.จากไทยรัฐและมติชน ส่วนผู้จัดการไม่มีบทบก.

วาทกรรมที่ถูหยิบยกขึ้นมาเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญผ่านบทบก. มากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ 1. ทำให้สงครามการเมืองปะทุ (27 วาทกรรม = 18.88%), 2. แก้รัฐธรรมนูญเพื่อช่วยทักษิณ (21 วาทกรรม = 14.68%) 3.ลดความน่าเชื่อถือของสมาชิกรัฐสภา (19 วาทกรรม = 13.28%) 4. ล้มล้าง/ทำลายสถาบัน (18 วาทกรรม = 12.58%) 5. เสียงข้างมากครอบงำสภา (11 วาทกรรม = 7.69%)

ด้านวาทกรรมของกลุ่มที่สนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมี 4 ลำดับได้แก่ 1.ทำตามพันธสัญญาจากการหาเสียงเลือกตั้ง (4 วาทกรรม=2.79%) 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย (4วาทกรรม=2.79%) 3.ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง (1 วาทกรรม = 0.69%) และ 4. การแบ่งแยกอำนาจ (1 วาทกรรม = 0.69%)

ในส่วนของคอลัมน์ความเห็นหนังสือพิมพ์ที่เปิดพื้นที่ให้ความคิดเห็นมาก และให้การสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากคือมติชน ขณะบทความในไทยรัฐค่อนข้างให้น้ำหนักไปที่การไม่ให้ความชอบธรรมกับการแก้ไข รธน. และบทความส่วนใหญ่ 5 ใน 6 ฉบับไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ผลสำรวจข่าวหน้าหนึ่งที่สื่อทั้ง 6 ฉบับนำเสนอพบว่า ไทยรัฐ มติชน และบางกอกโพสต์ นำเสนอมุมมองแบบผู้สังเกตการณ์ ขณะที่คมชัดลึก ไทยโพสต์ และเอเอสทีวีนำเสนอมุมมองแบบเลือกข้างเป็นฝ่ายคัดค้าน และลดความชอบธรรมของคนเสื้อแดง เช่น นักการเมืองไม่ว่าฝ่ายใด คิดแต่ประโยชน์ตนเอง-ไม่เอานักการเมือง, เพื่อไทย-เสื้อแดงทำลายชาติ ตัวอย่างพาดหัวลักษณะนี้ เช่น  เปิดทางโหวตรัฐไทยใหม่ อัยการเป่าคดี ม็อบแดงถ่อยแจกเบอร์ศาล โดย เอเอสทีวีผู้จัดการ ฉบับวันที่ 8 มิ.ย. 2555, รธน. ปิตุฆาต โดยไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 11 เม.ย. 2555, อย่ากดดันในหลวงโดย ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 ก.ค. 2555

ทั้งนี้ พบด้วยว่าสื่อที่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญใช้วาทกรรมความแตกแยกทางการเมือง โดยเฉพาะช่วงที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดี และหลังคำตัดสิน กลุ่มของคำที่พบมากได้แก่ นองเลือด, วิกฤตครั้งใหญ่, เสี่ยงรัฐประหาร, ศุกร์ 13, บ้านเมืองสุ่มเสี่ยง เป็นต้น

วาทกรรมที่พบในข่าวหน้าหนึ่ง จำนวน 962 วาทกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สนับสนุน/ให้ความชอบธรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 241 วาทกรรม หรือ 25.05%  โดยฝ่ายสนับสนุนให้น้ำหนักกับประเด็นดังนี้ 1. ทำตามพันธสัญญาจากการหาเสียงเลือกตั้ง (14.34%) 2.แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย (4.57%) 3.ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้ง (2.07%) 4. การแบ่งแยกอำนาจ (3.95%) 5.สภาใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ (0.10%)

วาทกรรมฝ่ายคัดค้าน/ชี้ความไม่ชอบธรรมของการแก้รัฐธรรมนูญประกอบด้วย 1.การแก้รัฐธรรมนูญเป็นไปเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์/ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย (12.88%) 2.เป็นกลยุทธการเมืองของฝ่ายรัฐบาล (11.85%) 3. เพื่อช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (11.33%) 4.ทำให้สงครามกลางเมืองปะทุ (9.87%) 5. การแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกครองงำโดยนักการเมือง (4.78%)

สำหรับแหล่งข่าวนั้น เป็นแหล่งข่าวจากภาครัฐ ขณะที่แหล่งข่าวจากภาคสังคมมีไม่ถึง 1 %

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช. มอบใบอนุญาตช่องรายการเคเบิล-ดาวเทียม ครั้งแรก ทดลอง 1 ปี

$
0
0

ได้แล้ว 632 ใบอนุญาต สำหรับช่องรายการ 300 ใบ อายุ 1 ปีก่อนต่ออีก 14 ปี สื่อยักษ์ขอใบอนุญาตเปิดสถานีเพียบ ส่วนใบอนุญาตบริการโครงข่ายให้ 331 ใบ อายุ 15 ปี

 
วันนี้ (30 ม.ค.56) ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) หรือ บอร์ดกระจายเสียงฯ จัดพิธีมอบใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ในกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ 3 ฉบับ โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และพันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท.ร่วมเป็นประธาน
 
ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตฯ มีจำนวน 632 ใบอนุญาต ประกอบด้วย ใบอนุญาตเพื่อให้บริการกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หรือช่องรายการ จำนวน 301 ใบอนุญาต ซึ่งมีอายุ 1 ปี แต่ถ้าผู้ประกอบการดำเนินรายการแบบไม่มีปัญหาจะให้อีก 14 ปี รวมเป็น 15 ปี และใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น จำนวน 331 ใบอนุญาต โดยใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี
 
ทั้งนี้ การมอบใบอนุญาตฯ เป็นไปตามประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ การให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ และการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ลาคม 2555 เป็นต้นมา
 
ประกาศดังกล่าว ได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างการอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.การให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หรือ ช่องรายการ 2.การให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เช่น เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม เป็นต้น 3.การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือ ส่วนที่รองรับการเชื่อมโยงโครงข่าย เช่น เสาอากาศ สายอากาศ ระบบท่อ ระบบสาย เป็นต้น
 
ด้าน พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช. และประธาน กสท.เปิดเผยว่า ถือว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการมอบใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมในรอบกว่า 50 ปี โดยคณะกรรมการฯ ใช้เวลาพิจารณาเอกสารคำขอประมาณ 1 เดือนเศษ ซึ่งยังมีผู้ประกอบการช่องรายการที่เอกสารสถานะทางการเงิน ลิขสิทธิ์รายการ ยังไม่พร้อม และโครงข่ายยังมีปัญหาเรื่องความชัดเจนของสถาปัตยกรรมต้นทางยันปลายทาง และขอบเขตการครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ ประมาณ 400 ราย คาดว่าจะสามารถพิจารณาแล้วเสร็จช่วงประมาณปลายเดือน ก.พ.56
 

ส่วนบรรยากาศการรับมอบใบอนุญาตดังกล่าว มีช่องรายการอาทิ เดลินิวส์ทีวี, จีเอ็มเอ็มแซด, เอเอสทีวี, เอเชียอัพเดต, ทรูวิชั่น, ซีทีเอช, กรมประชาสัมพันธ์, สำนักงานตำรวจ เป็นต้น ส่วนใบอนุญาตโครงข่าย อาทิ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มารับมอบในครั้งนี้
 
สำหรับกรณีใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เมื่อวันที่ 28 ม.ค.56 การประชุม บอร์ด กสท.ได้มีมติอนุมัติออกใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 143 ใบ แบ่งเป็นประเภทบริการธุรกิจ 93 ใบ บริการสาธารณะ 30 ใบ และบริการชุมชน 20 ใบ รวมทั้งหมดที่พิจารณาไปแล้ว จำนวน 748 ใบ โดยมีการพิจารณาไปก่อนหน้านี้บ้างแล้ว และจะมอบให้ผู้ประกอบการในวันที่ 8 ก.พ.2556 โดยใบอนุญาตมีอายุปีต่อปี เพราะอยู่ในช่วงการคัดกรองผู้ให้บริการและจัดสรรคลื่นความถี่ที่ปัจจุบันมีปัญหาคลื่นรบกวน
 
 
เรียบเรียงบางส่วนจาก: เดลินิวส์ออนไลน์และไทยรัฐออนไลน์ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทูต 'อียู' แจงไม่ได้ 'แทรกแซง' ไทยกรณี 'สมยศ' แต่ 'ปฏิสัมพันธ์' ด้วยหลักสิทธิฯ

$
0
0

ผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในไทย กล่าวถึงกรณีเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบัน ที่จะเดินทางไปประท้วงสำนักงานอียูในไทยวันพฤหัสนี้ กรณีอียูออกแถลงการณ์ "เป็นห่วง" การตัดสินคดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข 

30 ม.ค. 56 - เดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูต และหัวหน้าผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับประชาไทถึงเรื่องการชุมนุมของเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบัน ที่มีกำหนดชุมนุมคัดค้านสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ ( 31 ม.ค.) ว่า สหภาพยุโรปมิได้มีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปยุ่งหรือแทรกแซงอธิปไตยตามที่ทางเครือข่ายอ้าง เนื่องจากสหภาพยุโรปเพียง"ปฏิสัมพันธ์" กับประเทศไทยบนหลักของสิทธิมนุษยชน และ "เป็นห่วง" ถึงบทลงโทษของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขที่รุนแรงเกินเหตุ

ก่อนหน้านี้ เครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันได้เผยแพร่กำหนดการการชุมนุมหน้าสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยระบุว่าเป็นการประท้วงการออกแถลงการณ์ของสหภาพยุโรปเรื่องการตัดสินจำคุก 10 ปีกรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานและบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin เนื่องจากมองว่าสหภาพยุโรปได้ "ล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของชาติไทย" และต้องได้รับการ "สั่งสอน" 
 
เดวิด ลิปแมน ผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า สหภาพยุโรปไม่ได้เข้ามา "แทรกแซง" กิจการของประเทศไทย แต่หน้าที่ของสหภาพยุโรปคือการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศไทยที่ตั้งอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชน โดยมองว่า บทลงโทษจำคุกนายสมยศถึง 11 ปี สำหรับบทความที่ตนเองไม่ได้เขียน เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
 
"แน่นอนว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงออกเป็นเรื่องที่สามารถตีความได้ แต่เรามองเรื่องนี้จากหลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน สำหรับเราแล้วในยุโรป เราเองก็มีสถาบันกษัตริย์ ผมมาจากประเทศอังกฤษซึ่งก็มีพระราชินีที่เราเคารัพและนับถือมาก และประชาชนก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ในทางที่เคารพ และก็ไม่ถูกส่งไปจำคุก" ลิปแมนกล่าว
 
เขากล่าวถึงกรณีการประท้วงของกลุ่มดังกล่าวว่า นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนสามารถใช้เสรีภาพในการแสดงออกของตนเองได้ ไม่ว่าเขาจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสหภาพยุโรป แต่ลิปแมนก็ย้ำว่า การออกแถลงการณ์ไม่ใช่การแทรกแซง แต่เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่อยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
 
อนึ่ง ในวันนี้และวันพรุ่งนี้ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ "การปรองดองและเสรีภาพในการแสดงออก" ที่โรงแรมดุสิตธานี โดยมีนักวิชาการ อดีตเอกอักรราชทูต สื่อมวลชน และองค์กรภาคประชาสังคมจากในไทยและระหว่างประเทศ เข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย 
 
ลิปแมนกล่าวว่า จุดประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ เป็นไปเพื่อพูดคุยเรื่องคอนเซปต์ของเสรีภาพการแสดงออก ไม่ได้มุ่งแต่ดูเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสถานการณ์ในไทยและยุโรป
 
 "เราต้องมีพื้นที่ที่สามารถคุยเรื่องนี้ได้อย่างเสรีและเปิดเผย และนั่นเป็นสิ่งที่ผมเห็นคุณค่ามาก เพราะผมรู้ว่า หากผมเป็นทูตที่นี่สองสามปีก่อน ผมคงไม่สามารถจัดงานสัมมนาเรื่องนี้ซึ่งมีวิทยากรทั้งในไทยและต่างประเทศมาได้ ฉะนั้น นี่แสดงถึงความก้าวหน้าในตัวมันเอง"
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images