Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

คณะกรรมการเพื่อปกป้องนักข่าว กับคดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข

$
0
0

คณะกรรมการสากลเพื่อปกป้องนักข่าว หรือ CPJ (Committee for Protection Journalists: CPJ) ระบุชัดว่านายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารว็อยซ์ ออฟ ทักษิณ (Voice of Taksin) เป็นหนึ่งในบรรณาธิการ นักข่าว และคนทำงานวิชาชีพสื่อ จำนวน 232 คนจากทั่วโลกที่ถูกจับกุมคุมขังอันเนื่องมาจากการทำงานในวิชาชีพสื่อ ข้อความข้างล่างนี้คือข้อมูลที่ CPJ ใช้รณรงค์ให้มีการปล่อยตัวอดีตบรรณาธิการนิตยสารว็อยซ์ ออฟ ทักษิณ

https://www.cpj.org/imprisoned/2012.php

สมยศ พฤกษาเกษมสุข, นิตยสารว็อยซ์ออฟทักษิณ (Voice of Taksin)
ถูกคุมขังตั้งแต่ 30 เมษายน 2011

สมยศถูกจับกุมที่ชายแดนไทยบริเวณด่านตรวจอรัญประเทศขณะที่กำลังจะข้ามแดนไปประเทศกัมพูชา เขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำกรุงเทพโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวเป็นเวลา 84 วันซึ่งเป็นจำนวนวันสูงสุดตามกฎหมายอาญาของไทย ก่อนที่เขาจะถูกกล่าวหาฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมราชานุภาพในวันที่ 26 กรกฎาคมของปีนั้น

สมยศอาจถูกลงโทษจำคุก 30 ปีสำหรับข้อหาต่างกรรมต่างวาระภายใต้กฎหมายหมิ่นฯทีห้ามข้อความใดๆกระทำผิดต่อพระบรมวงศานุวงศ์ (royal family)

การพิพากษาลงโทษภายใต้กฎหมายนี้มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี ข้อหาหมิ่นพระบรมราชานุภาพฯถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายในประเทศไทยที่มีความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ

ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีสาเหตุจากบทความ 2 ชิ้นที่ [ผู้กล่าวหา] คิดว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งมีการตีพิมพ์ในนิตยสารว็อยซ์ออฟทักษิณที่ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว นิตยสารข่าวฉบับนี้มีความเกี่ยวพันอย่างสูงกับกลุ่มกดดันทางการเมือง "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช)"  นิตยสารนี้เคยถูกกล่าวหาว่าตีพิมพ์บทความที่ยุยงปลุกปั่นฝ่ายผู้สนับสนุน นปช.ให้ก่อความรุนแรง

สมยศเป็นนักกิจกรรมด้านแรงงานและผู้นำการชุมนุมประท้วงทางการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการนิตยสารที่ก่อให้เกิดการถกเถียงนี้ เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความที่เป็นที่ถกเถียงที่มีการตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2010 ตามรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่น บทความทั้งสองชิ้นตีพิมพ์โดยใช้นามแฝงของผู้เขียนว่า "จิตร พลจันทร์"

การสืบพยานคดีของสมยศสิ้นสุดลงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2012 แต่จนกระทั่งปลายปียังไม่มีการพิพากษา ศาลอาญากรุงเทพกำหนดฟังคำพิพากษาเดือนธันวาคม 2012 ศาลปฏิเสธการให้ประกันตัวสมยศ 10 ครั้งนับตั้งแต่เขาถูกจับกุมเมื่อเดือนเมษายน 2011

สมยศถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามรายงานของสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (Internation Federation for Human Frights: FIDH) สมยศมีปัญหาเรื่องสุขภาพมาก รวมทั้งความดันในกระแสโลหิตสูง และโรคเก๊าธ์

 

เกี่ยวกับคณะกรรมการเพื่อปกป้องนักข่าว (Committee for Protection Journalists: CPJ)

คณะกรรมการเพื่อปกป้องนักข่าว ก่อตั้งปี 1981 โดยกลุ่มนักข่าวในสหรัฐอเมริกาที่ตระหนักว่าพวกเขาไม่อาจเมินเฉยต่อชะตากรรมของเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ตกอยู่ในภยันอันตรายจากการทำหน้าที่ พวกเขาเห็นว่านักข่าวทั่วโลกควรต้องร่วมกันปกป้องสิทธิของเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่ต้องอดกลั้นและอันตราย

พันธกิจของ CPJ คือการส่งเสริมเสรีภาพสื่อทั่วโลกและปกป้องสิทธิของนักข่าวในการรายงานข่าว โดยปราศจากความกลัว CPJ จะรณรงค์ในทุกแห่งที่นักข่าวถูกเซ็นเซอร์ ถูกทำร้าย ถูกจับกุมคุมขัง หรือสังหารอันเนื่องมาจากการทำงาน

CPJ เริ่มรณรงค์ครั้งแรกในปี 1982 ต่อกรณีที่ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษ 3 คนถูกจับกุมในอาร์เจนติน่าในระหว่างรายงานข่าวสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falklands War) จดหมายรณรงค์จาก CPJ ช่วยให้นักข่าวทั้ง 3 คนได้รับการปล่อยตัว

ต่อมา CPJ ได้ขยายพันธกิจจากการปกป้องนักข่าวให้ครอบคลุมไปถึงการปกป้องบุคคลที่ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ข้อมูลข่าวสารในสังคมเสรี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองทัพคะฉิ่นเสียป้อมสำคัญ "ออง ซาน ซูจี" ออกวิทยุบีซีซีระบุชอบกองทัพพม่าเพราะพ่อตั้ง

$
0
0

กองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่นยอมถอนกำลังออกจากที่มั่นบนยอดเขาแห่งหนึ่งใกล้เมืองไลซา ฐานบัญชาการใหญ่ หลังถูกกองทัพพม่าโจมตีทางอากาศและปืนใหญ่อย่างหนักมาหลายสัปดาห์ ขณะที่รายการเพลงทางวิทยุบีบีซี 4 เผยคำให้สัมภาษณ์ "ออง ซาน ซูจี" ระบุรักกองทัพมากๆ เพราะคิดเสมอว่าเป็นกองทัพของพ่อ เและหวังว่ากองทัพซึ่งเคยทำสิ่งเลวร้ายควรจะได้กู้ชื่อเสียง

ชาวคะฉิ่นที่อยู่ในประเทศไทยมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายุติสงครามในรัฐคะฉิ่น ที่หน้าสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ถ.สาธร เมื่อ 11 มกราคม 2556 ล่าสุด กองทัพคะฉิ่น KIA ยอมถอนกำลังออกมาจากป้อมบนยอดเขาใกล้เมืองไลซา ที่มั่นใหญ่ หลังพม่าโจมตีหนักมาหลายสัปดาห์ (ที่มา: แฟ้มภาพ/ประชาไท)

ทหารกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น KIA ที่แนวหน้า (ที่มา: Lachid-Kachin/แฟ้มภาพ)

การสูญเสียเสียป้อมสำคัญบนยอดเขา ซึ่งใช้ป้องกันฐานบัญชาการใหญ่ของที่เมืองไลซา กองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (Kachin Independence Army - KIA) ได้สร้างความหวาดกลัวขึ้นในเมือง ซึ่งฝ่ายกองทัพคะฉิ่นปกครองมากว่า 50 ปี โดยอาจจะต้องเสียฐานบัญชาการให้กองทัพพม่าเร็วๆ นี้ และทำให้มีผู้อพยพเข้าไปในจีน

ทั้งนี้ เดอะการ์เดี้ยนของอังกฤษ รายงานว่า กองทัพคะฉิ่น KIA ได้เสียป้อมคะยาบุม (Hka Ya Bum) จุดยุทธศาสตร์สำคัญบนยอดเขา ห่างจากไลซาเป็นระยะทาง 8 กม. ไปเมื่อวันเสาร์นี้ (26 ม.ค.) หลังพม่าโจมตีด้วยปืนใหญ่ ทำให้ฝ่ายกองทัพคะฉิ่นล่าถอยไปจากป้อมคะยาบุมไปทางทิศใต้ 

"กองทัพพม่าได้ควบคุมยอดเขาสูงสุด และตอนนี้ควบคุมแนวเทือกเขาส่วนมากแล้ว" พันเอกเซา ตอง จากกองบัญชาการกลาง KIA ที่ไลซากล่าว "ยังมีแนวเทือกเขาอีก 2 แห่งระหว่างคะยาบุม กับ ไลซา แต่ว่าคะยาบุมถือเป็นยอดเขายุทธศาสตร์ เป็นยอดที่สูงสุดของเทือกเขา นั่นหมายความว่ากองทัพพม่าไม่จำเป็นต้องเคลื่อนกำลังพลเข้ามา เพียงแค่พวกเขายิงปืนใหญ่ต่อไป พวกเราก็อาจจะต้องล่าถอย (จากไลซา) ในอนาคต"

ในขณะที่กองทัพคะฉิ่น KIA เคยควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ตลอดเแนวเทือกเขา ทว่า ตั้งแต่คริสมาสต์ที่ผ่านมา พวกเขาต้องตกเป็นฝ่ายทำสงครามตั้งรับ เมื่อกองทัพพม่าได้เปิดการบุกใหญ่โดยใช้เครื่องบินขับไล่ เฮลิคอปเตอร์ อาวุธหนัก และทหารจำนวนมาก

ข้อมูลของเดอะการ์เดี้ยน ระบุว่ากองทัพคะฉิ่น KIA ซึ่งมีกำลังจำนวนมากต้องกระจายกำลังในพื้นที่ใหญ่โต ทั้งนี้ในแต่ละวันมีการสู้รบไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง ในพื้นที่ 4 แนวรบของรัฐคะฉิ่นที่กินพื้นที่ในพื้นที่ทางเหนือของพม่าจรดชายแดนอินเดียและจีน ทั้งนี้ KIA ไม่ยอมให้ข้อมูลเรื่องความสูญเสียดังกล่าว และปฏิเสธที่จะให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปเยี่ยมทั้งโรงพยาบาลพลเรือนและโรงพยาบาลทหารที่อยู่รอบไลซา

ด้าน สำนักข่าวคะฉิ่น (KNG)ระบุว่า ในการโจมตีป้อมคะยาบุมดังกล่าว ทหารพม่าได้ใช้ยิงกระสุนปืนใหญ่แบบดาวกระจายด้วย ซึ่งทำให้มีสะเก็ดระเบิดย่อยแตกอยู่รอบๆ พื้นที่ ทั้งนี้มีจำนวน 100 กว่าประเทศในโลกที่ลงนามในอนุสัญญาห้ามใช้ระเบิดดาวกระจาย ขณะที่เมื่อปี 2554 องค์การต่อต้านการใช้ระเบิดดาวกระจายได้ประณามในกรณีที่กองทัพไทยใช้ระเบิดดาวกระจายในช่วงที่ขัดแย้งกับกัมพูชา (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

รายงานของเดอะการ์เดี้ยน ระบุด้วยว่าแม้ว่ารัฐบาลพม่าจะเห็นชอบให้มีการประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวเมื่อสัปดาห์ก่อน แต่การต่อสู้ก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (24 ม.ค.) มีการยิงกระสุนปืนครกกว่า 1,200 นัด กินเวลานานกว่า 2 ชั่วโมงเข้าใส่ป้อมคะยาบุม นับเป็นสถิติที่มากที่สุดนับตั้งแต่มีการสู้รบกันในรัฐคะฉิ่นในรอบ 50 ปี ขณะที่ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ มีกระสุนครกสองนัดได้ตกใส่ไลซา และทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 รายและบาดเจ็บสี่ราย

หน่วยงานบรรเทาทุกข์ที่ทำงานในรัฐคะฉิ่นเชื่อว่ามีผู้อพยพภายในรัฐคะฉิ่นราว 1 แสนคนเนื่องจากเหตุปะทะ

ทั้งนี้ความขัดแย้งจนเกิดปะทุเป็นสงครามระหว่างกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIA) และรัฐบาลพม่า เริ่มมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 หลังจากเมื่อเกือบ 20 ปีก่อนทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกัน นับเป็นเงาอีกด้านหนึ่งของพม่าที่ด้านหนึ่งก็พยายามจะปฏิรูปประเทศ โดยประชากรชาวคะฉิ่นส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ของพม่าเป็นชาวพุทธ และกองทัพคะฉิ่น KIA ก็เป็นกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เดียวที่ยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับประธานาธิบดีเต็ง เส่งของพม่า ผู้เริ่มดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมืองนับตั้งแต่เข้าสู่อำนาจในปี 2554 ในขณะที่ชาวคะฉิ่นเองถือว่าตนถูกกดขี่มาอย่างยาวนานโดยรัฐบาลพม่า และต้องการสิทธิในการปกครองตนเอง

แม้ว่าเมื่อสัปดาห์ก่อน ประธานาธิบดีเต็ง เส่งจะกล่าวว่า กองทัพพม่าจะไม่เข้ายึดเมืองไลซา แต่ชาวคะฉิ่นจำนวนมากกลับเชื่อว่าไม่น่าจะจริงว่ากองทัพพม่าจะรักษาสัญญา เพราะกองทัพพม่านั้นมีท่าทีชัดเจนในการปฏิเสธข้อเรียกร้องหยุดยิงจากประธานาธิบดีเต็ง เส่งที่มีก่อนหน้านี้

ทั้งนี้เดอะการ์เดี้ยนของอังกฤษ รายงานโดยอ้างคำกล่าวของนายกเทศมนตรีเมืองไลซา หน่อ ออน ซึ่งระบุว่า เกือบครึ่งหนึ่งของเมืองไลซา เมืองซึ่งมีประชากร 15,000 คน และมีเพียงลำธารคั่นจากชายแดนจีน พร้อมแล้วที่จะละทิ้งเมือง ทั้งนี้ร้านค้าส่วนใหญ่ของเมืองได้ปิดทำการ บ้านจำนวนมากถูกปล่อยร้าง มีแต่สุนัขจรจัดที่เดินไปในความมืด ถนนก็อยู่ภายใต้คำสั่งเคอร์ฟิวส์ ทั้งนี้เจ้าของส่วนใหญ่ได้ทิ้งบ้านเรือนไว้

"พวกเขาที่อยู่ห่างจากพื้นที่ชายแดนจีน ควรจะย้ายมาอยู่ในที่ๆ ปลอดภัยกว่าเดิม เพราะกองทัพพม่ายิงปืนใหญ่อย่างย่ามใจ ใช่ ผมสนับสนุนให้ประชาชนย้าย" นายกเทศมนตรีกล่าวพร้อมมองไปทางด้านชายแดนจีน

 

ออง ซาน ซูจี กล่าวว่ายังคงรักในกองทัพพม่า แม้จะขังเธอ 15 ปี

แฟ้มภาพออง ซาน ซูจี ระหว่างการปราศรัยย่านเหล่งทะยา ในย่างกุ้ง เมื่อ 17 พ.ย. 2554 (ที่มา: Htoo Tay Zar / Wikimedia (CC)/) 

ขณะเดียวกัน บีบีซีรายงานด้วยว่า ผู้นำฝ่ายค้านพม่านางออง ซาน ซูจี กล่าวว่าเธอยังคงรักในกองทัพพม่า แม้ว่าจะกักบริเวณเธอยาวนานกว่า 15 ปีก็ตาม ทั้งนี้ในการสัมภาษณ์ออกรายการเพลง ทางวิทยุ BBC Radio 4 "Desert Island Discs" ออง ซาน ซูจีกล่าวกับผู้ดำเนินรายการคริสตี ยังว่า ด้วยความศรัทธาของเธอต่อพุทธศาสนาได้ช่วยเธอในการแข็งขืนต่อเผด็จการพม่า และต่อมาเธอก็ต้องเผชิญหน้ากับพวกเขาเมื่อเข้าไปเป็น ส.ส. ในสภา

ทั้งนี้พ่อของนางออง ซาน ซูจี คือนายพลออง ซาน ซึ่งถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นบิดาของกองทัพพม่าสมัยใหม่

โดยรายการวิทยุดังกล่าว บันทึกเสียงที่บ้านของนางออง ซาน ซูจี ในพม่า ช่วงเดือนธันวาคม ก่อนนำมาออกอากาศเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ซูจีกล่าวด้วยว่า "เป็นเรื่องแท้จริง ที่ฉันรักในกองทัพ"

"คนอาจจะไม่ชอบที่ฉันกล่าวเช่นนั้น มีคนจำนวนมากที่วิจารณ์ฉันว่าเป็นนางแบบโปสเตอร์ให้กองทัพ - ช่างน่าดีใจมากที่เห็นฉันเป็นนางแบบโปสเตอร์สำหรับสิ่งใดก็ตามในเวลานี้ - แต่ฉันคิดว่าในความเป็นจริงก็คือ ฉันรักกองทัพมากๆ เพราะฉันคิดเสมอว่านี่เป็นกองทัพของพ่อ"

ออง ซาน ซูจี อธิบายด้วยว่า ในขณะที่กองทัพพม่าได้ทำสิ่งเลวร้ายในพม่า เธอหวังว่ากองทัพควรที่จะกู้คืนชื่อเสียงของตน

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชในปี 2491 กองทัพได้ปกครองพม่ามาเกือบ 5 ทศวรรษนับตั้งแต่การรัฐประหารโดยนายพลเนวิน ในปี 2505 มีการปราบปรามฝ่ายต่อต้าน และคุมขังฝ่ายค้านรวมทั้งตัวนางออง ซาน ซูจี จนกระทั่งรัฐบาลพลเรือนที่นำโดยอดีตนายพล เต็ง เส่ง ได้ขึ้นสู่อำนาจในปี 2554 และอนุญาตให้ออง ซาน ซูจี และพรรคการเมืองของเธอลงชิงชัยในการเลือกตั้งซ่อมจนมีที่นั่ง  ส.ส. อยู่ในรัฐสภา

อย่างไรก็ตาม ออง ซาน ซูจี ก็ถูกชนกลุ่มน้อยวิจารณ์ต่อกรณีที่ไม่แสดงท่าทีอย่างแข็งขันต่อกองทัพพม่าที่ปฏิบัติการทางทหารอยู่ในรัฐคะฉิ่นมาตั้งแต่กลางปี 2554

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อวัตถุศึกษา กับ อธิป: แนวโน้มสิ่งพิมพ์ออนไลน์- เมื่อ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ร่วมทีมคดี Megaupload

$
0
0

สัปดาห์นี้ติดตามความเคลื่อนไหวธุรกิจสิ่งพิมพ์ออนไลน์, Google รายงานหลายประเทศเพิ่มการสอดส่องประชาชน, บาร์บาดอสเตรียมเปิดเว็บ “ละเมิดลิขสิทธิ์” หลัง WTO ไฟเขียว ฯลฯ

 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

22-01-2013

ผู้บริหารด้านสื่อของ Guardian ยืนยันว่าเว็บ Guardian จะไม่คิดค่าสมาชิก

เขาเสริมอีกว่าการคิดค่าสมาชิกออนไลน์เป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มรายได้ให้สำนักพิมพ์ แต่มันไม่ได้ตอบโจทย์ของทุกคน และโจทย์ของ Guardian คือการเพิ่มฐานผู้อ่านให้กว้างที่สุดทาง Guardian จึงเลือกที่จะไม่มีการเก็บค่าสมาชิกเพื่ออ่านข่าวบนเว็บ

News Source: http://paidcontent.org/2013/01/21/guardian-media-ceo-explains-why-the-paper-doesnt-like-paywalls/

 

Amazon ขยายฐานผู้อ่านกลุ่มเด็กและวัยรุ่น

โดยการรับสัญญาอนุญาตหนังสือเด็กและวัยรุ่นจากหนังสือพิมพ์ที่หลากหลาย และตั้งสำนักพิมพ์หนังสือเด็กและวัยรุ่นเอง

ทั้งนี้ Kindle ของ Amazon ก็มีบริการสมัครสมาชิกใหม่สำหรับเด็กที่จะทำให้เด็กเข้าถึงสื่อต่างๆ ตั้งแต่หนังสือ หนัง เกมส์ ไปจนถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ราคา 2.99 ดอลลาร์หรือประมาณ 90 บาทต่อเดือน

News Source: http://paidcontent.org/2013/01/21/amazon-childrens-publishing-expands-with-more-books-for-younger-kids-and-teens/

 

Google ล้มเหลวในการเจรจากับกลุ่มสิ่งพิมพ์ฝรั่งเศสเนื่องจากกลุ่มสิ่งพิมพ์เรียกร้องเงินจาก Google 100 ล้านยูโร แทนที่จะเป็น 50 ล้านยูโรตามที่ Google เสนอ

ทั้งนี้ผลก็คือ Google จะไม่สามารถจะใส่ผลค้นหาของบรรดาสิ่งพิมพ์ฝรั่งเศสในเสิร์ชเอ็นจินของตนได้

สิ่งที่น่าสนใจคือรัฐบาลยุโรปหลายๆ ประเทศที่ต้องรัดเข็มขัดทางการเงินจำนวนมากก็หนุนหลังบริษัทสิ่งพิมพ์ในประเทศของตนในการต่่่่่อรองค่าลิขสิทธิ์กับบริษัทอเมริกันอย่าง Google

News Source: http://paidcontent.org/2013/01/21/report-google-made-e50-million-copyright-offer-french-publishers-want-e100-million/

 

Jamie Oliver พ่อครัวชาวอังกฤษชื่อดังมีช่องรายการทำอาหารของตัวเองบน YouTube แล้ว

และช่องนี้เป็นหนึ่งในช่องจากยุโรปกว่า 60 ช่องที่ได้เงินจากทาง YouTube ไปก่อนเพื่อใช้ในกระบวนการทางการผลิต

ทั้งนี้ YouTube จ่ายเงินกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างช่องต่างๆ เองไปในปี 2011 แต่ก็ต่อสัญญารายการไม่ถึง 40% ในปีต่อมา

News Source: http://paidcontent.org/2013/01/21/jamie-oliver-foodtube/

 

Pirate Party ออสเตรเลีย ลงทะเบียนพรรคผ่านแล้ว Pirate Party นอร์เวย์ล่ารายชื่อครบพอจะตั้งพรรคแล้ว แต่ Pirate Party รัสเซียยังลงทะเบียนไม่ผ่าน (อีกครั้ง)

ทั้งนี้ Pirate Party ออสเตรเลียผ่านการลงทะเป็นและเป็นพรรคอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ทาง Pirate Party นอร์เวย์ก็ล่ารายชื่อเพื่อตั้งพรรคครบแล้วในวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในกระบวนการตั้งพรรคอยู่ อย่างไรก็ดีทางด้านกระทรวงยุติธรรมรัสเซียก็ปฏิเสธการขึ้นทะเบียนพรรคการเมืองของ Pirate Party รัสเซียอีกครั้ง หลังจากปฏิเสธไปครั้งหนึ่งแล้วในปี 2011

News Source: http://torrentfreak.com/australian-pirate-party-gets-approved-and-russians-are-denied-again-130122/ , http://torrentfreak.com/norwegian-pirate-party-gets-official-recognition-130126/



รายงานระบุว่าข่าวขนาดยาวของหนังสือพิมพ์เจ้าใหญ่ในอเมริกาจำนวนมากลดลงกว่าครึ่ง

ทั้งนี้ข่าวขนาดยาวตามนิยามของรายงานคือข่าวที่มีความยาวเกิน 2000 คำ ซึ่งหนังสือพิมพ์อย่าง Los Angeles Times มีบทความขนาดยาวที่ว่านี้ลดลงไปจากเดิมถึง 85% ส่วนที่ลดหลั่นลงมาคือ Washington Post ที่ลดไปจากเดิม 50% และ New York Times ที่ลดลงไป 25%

อย่างไรก็ดีการลดลงของปริมาณคอลัมน์ข่าวขนาดยาวในหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้หมายความง่ายๆ ว่าคนอ่านหนังสือกันน้อยลง แต่มันสะท้อนให้เห็นการปรับตัวของหนังสือพิมพ์ในภาวะที่ต้นทุนหน้ากระดาษสูงขึ้น ไปจนถึงการย้ายของงานเขียนข่าวขนาดยาวไปที่สื่อรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์เล่มแบบดั้งเดิม

News Source: http://paidcontent.org/2013/01/22/is-the-decline-in-longform-newspaper-journalism-a-good-thing-or-a-bad-thing/



นักกฏหมายสิทธิมนุษยชนระดับโลกที่คอการเมืองไทยน่าจะรู้จักดีอย่าง Robert Amsterdam ไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมกฏหมายของคดี Megaupload แล้ว

ทั้งนี้ Kim Dotcom จำเลยในคดี Megaupload ดูจะจ้าง Amsterdam มาจัดการกับคดีนี้ในแง่สิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ โดยเฉพาะกรณีที่เขาคิดว่าน่าจะมีการสมคบคิดกันระหว่างๆ รัฐกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกาในการบุกจับเขาอย่างใหญ่โตในบ้านพักของเขาที่นิวซีแลนด์ในวันที่ 20 มกราคม 2012

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130121/16171021747/kim-dotcom-hires-human-rights-lawyer-to-claim-mpaas-chris-dodd-targeted-him-contract-prosecution.shtml , http://arstechnica.com/tech-policy/2013/01/in-attendance-the-mega-crew-parties-prepares-for-a-fight-ahead/

 

ลูกหลานของเชอร์ชิลล์คิดเงินค่าลิขสิทธิ์ "โควต" เชอร์ชิลล์ในหนังสือชีวประวัติของเชอร์ชิลล์เป็นรายคำ

โดยคิดคำละ 50 เซนต์ และตอนหลังลดราคาให้เหลือประมาณ 40 เซนต์ ทางผู้เขียนชีวประวัติก็เลือกที่จะจ่ายค่าลิขสิทธิ์โดยไม่โต้แย้งอะไรเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับครอบครัวเชอร์ชิลล์

ทั้งนี้ "สิทธิในการอ้างอิง" เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามปกติของกฏหมายลิขสิทธิ์ทั่วโลก และเท่าที่ทราบก็ยังไม่มีศาลที่ใดที่จะตัดสินว่าการ "โควต" คำพูดหรือกระทั่งข้อเขียนในรูปแบบใดๆ นั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งต่างจากการ "โควต" สื่อชนิดอื่นๆ ที่การโควตเพียงนิดเดียวอาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ทั้งสิ้น

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130118/16193821734/churchills-heirs-seek-to-lose-future-charging-biographer-to-quote-his-words.shtml

 

23-01-2013

ภาพยนตร์สารคดี TPB AFK: The Pirate Bay Away From Keyboard Official เตรียมเปิดตัวฉายออนไลน์และฉายที่เทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลินพร้อมๆ กันในวันที่ 8 ก.พ. 2013

ซึ่งนี่ทำให้นี่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เปิดตัวออนไลน์และเทศกาลภาพยนตร์เกรดเอไปพร้อมๆ กัน

อนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับการสู้คดี The Pirate Bay ของบรรดาผู้ก่อตั้งเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ชื่อก้องโลก The Pirate Bay ซึ่งตลอดปี 2012 ที่ผ่านมาถูกกลุ่มอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ขอหมายศาล "บล็อค" ไปหลายต่อหลายประเทศ ซึ่งก็มีการเปิดเว็บพร็อกซี่เพื่อหลบเลี่ยงการบล็อคโดย Pirate Party ในประเทศนั้นๆ ซึ่งก็นำมาสู่การฟ้องร้องให้บล็อคพร็อกซี่อีกชั้น ซึ่งก็ได้ผลสรุปคละเคล้ากันไป

News Source: http://torrentfreak.com/pirate-bay-documentary-first-ever-to-premiere-online-and-at-major-festival-130122/ , https://www.facebook.com/tpbafk


24-01-2013

ศาลเนเธอร์แลนด์ปฏิเสธที่จะดำเนินคดีอาญากับนักสำเนาเถื่อนผู้อัปโหลดหนังสือกว่า 5000 เล่มขึ้นเว็บ The Pirate Bay

ทางศาลระบุว่าตามนโยบายของรัฐแล้ว การดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์จะสมควรได้รับดำเนินคดีอาญาก็ต่อเมื่อผู้ละเมิดเป็นองค์กรอาชญากรรมและการละเมิดเป็นการละเมิดในเชิงพาณิชย์เท่านั้น นี่เป็นการละเมิดโดยปัจเจกบุคคลและไม่ได้เป็นไปในเชิงพานิชย์ ดังนั้นนี่จึงเป็นเรื่องของเจ้าของสิทธิสิทธิ์ต้องดำเนินคดีเองในทางแพ่ง ไม่ใช่ใช้ทรัพยากรรัฐดำเนินคดีในทางอาญา

ทั้งนี้คดีนี้เป็นคดีฟ้องร้องผู้อัปโหลดไฟล์บนเว็บบิตทอร์เรนต์ในเนเธอร์แลนด์ และผู้ฟ้องร้องก็ไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็น "นักล่านักสำเนาเถื่อน" (Pirate Hunter) หรือกลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ชื่อดังของเนเธอร์แลนด์และยุโรปนาม BREIN ผู้ขอหมายศาลให้บล็อคเว็บ The Pirate Bay ในเนเธอร์แลนด์นั่นเอง

News Source: http://torrentfreak.com/court-refuses-to-try-self-confessed-pirate-bay-uploader-130123/

 

วงอินดี้บลูส์ร็อค The Black Key ฟ้องบริษัทที่ทำเพลงโฆษณาให้แม็คโดนัลด์ฐานเพลง "ฟังดูคล้ายๆ" เพลงของวง

ทั้งนี้งานโฆษณาจำนวนมากที่ไม่ต้องการซื้อสัญญาอนุญาตใช้เพลงดังๆ ที่มีราคาสูง ก็ต้องจ้างคนทำเพลงให้ "ฟังคูคล้ายๆ"

ปัญหาคือการ "ฟังดูคล้ายๆ" ที่มันละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่? ในกรณีนี้ไม่ควรพูดเรื่องเจตนาเนื่องจากมีความชัดเจนอยู่แล้วว่ามีความตั้งใจทำให้ฟังดูคล้ายๆ ปัญหาคือเจ้าของลิขสิทธิ์มีความเป็นเจ้าของงานของเขาในระดับนามธรรมขนาดที่งานที่แค่ฟังดูคล้ายๆ จะเป็นการละเมิดเลยหรือ? ถ้านับว่าการ "ฟังดูคล้ายๆ" เป็นการละเมิดแล้ว มันจะส่งผลต่อการผลิตงานล้อเลียน (ที่จะต้อง "ฟังดูคล้ายๆ" อย่างเลี่ยงไม่ได้) แค่ไหน? อย่างไร?

News Source: http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130123blackkeys

 

รายงานเพื่อความโปร่งใสองค์กรของ Google ชี้ว่ารัฐบาลหลายๆ แห่ง ขอการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้จากทาง Google มากขึ้นเรื่อยๆ โดยยอดการขอล่าสุดตอนสิ้นปีที่แล้วเพิ่มกว่าเมื่อปี 2009 ถึง 70%

ทั้งนี้อเมริกามีสิ่งที่รียก Administrative Subpoena ที่เรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้หมายศาล (หรือไม่ต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าทีมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ กับศาล) และการเรียกร้องจำพวกนี้เป็นรูปแบบการเรียกร้องข้อมูลส่วนใหญ่ของสหรัฐต่อ Google

อย่างไรก็ดีในภาพรวมยอดการเรียกร้องให้ Google เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ที่เพิ่มมาสูงสุดตั้งแต่กูเกิลเปิดเผยสถิตินี้มาจากรัฐบาลแถบเอเชียแปซิฟิคที่เพิ่มขึ้นกว่า 200% ตั้งแต่ปี 2009 ทางด้านอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้นมากว่า 100% ทางยุโรปเพิ่มขึ้นมาเกือบ 100% ส่วนภูมิภาคที่การเรียกร้องให้ Google เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ลดลงได้แก่ละตินอเมริกาที่ลดลง 60%

News Source: http://gigaom.com/2013/01/23/google-releases-new-government-surveillance-data-facebook-stays-mum/,  https://www.eff.org/deeplinks/2013/01/google-releases-transparency-report-showing-us-surveillance-requests-33-last-year, http://www.techdirt.com/articles/20130123/12032021768/government-demanding-more-more-info-google-users-without-any-oversight.shtml

 

25-01-2013

แคนาดาปฏิเสธการส่งเซิร์ฟเวอร์ Megaupload ทั้งหมดให้อเมริกา

อเมริกาเรียกร้องให้แคนาดาส่งเซิร์ฟเวอร์ของ Megaupload มาเพื่อเป็นหลักฐานทั้งเซิร์ฟเวอร์ แต่แคนาดาปฏิเสธโดยกล่าวว่าเป็นการเรียกร้องที่กว้างเกินไป ถ้าต้องการหลักฐานตั้งระบุมาเฉพาะเจาะจงกว่านี้

ทั้งนี้คดี Megaupload ดำเนินมากว่า 1 ปีแล้วและรัฐบาลสหรัฐก็ทำการยึดเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากในขอบเขตอำนาจไว้เป็นหลักฐานทำให้ข้อมูลของผู้ใช้ Megaupload นั้นถูกสหรัฐริบไปเป็นของกลางและก็เกิดการรณรงค์ให้ปลดปล่อยข้อมูลเหล่านี้โดยนักกิจกรรมอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก แต่ล่าสุดการรณรงค์ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลแต่อย่างใด

News Source: http://www.jdsupra.com/legalnews/cloud-computing-law-balancing-privacy-a-35021/



องค์กรบริหารลิขสิทธิ์งานดนตรีของเยอรมันเอาวีดีโอเปิดตัว MEGA ลงจาก Youtube

GEMA หรือ องค์กรบริหารลิขสิทธิ์งานดนตรีของเยอรมันได้แจ้งให้ YouTube ลบวีดีโองานเปิดตัวเว็บ MEGA ของ Kim Dotcom ลงฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ฝ่าย Dotcom ออกมาโต้ว่าดนตรีในงานเป็นเพลงที่เขาทำขึ้นเองทั้งนั้น และถ้าใช้เพลงของคนอื่นๆ มันก็ได้รับอนุญาตในการใช้หมดแล้ว ขณะนี้ Dotcom จึงกำลังเตรียมฟ้อง GEMA กลับเพื่อให้วีดีโองานเปิดตัวเว็บใหม่ของเขากลับมาใน YouTube

News Source: http://torrentfreak.com/mega-launch-video-removed-from-youtube-by-music-rights-outfit-130124/ , http://www.techdirt.com/articles/20130124/01351421774/gema-takes-kim-dotcoms-mega-launch-party-video-down-despite-all-songs-being-cleared.shtml

 

รายงาน New Sky Is Rising ของ Techdirt ออกแล้ว

Techdirt ได้ออกรายงานสภาวะของอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมตั้งแต่หนังสือ ภาพยนตร์ ดนตรี ซอฟต์แวร์ เกม ฯลฯ ในหลายๆ ประเทศในโลกมาแล้ว ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.techdirt.com/skyisrising2/  

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130123/17195321772/announcing-our-new-sky-is-rising-report.shtml



Amazon ซื้อ Ivona อันเป็นบริษัทซอฟต์แวร์เปลี่ยนตัวหนังสือเป็นคำพูดแล้ว

ทั้งนี้ก็มีการวิเคราะห์ว่าการซื้อบริษัท Ivona นั้น Amazon พยายามจะใส่เทคโนโลยีนี้ลงไปใน Kindle เพราะทาง Amazon กำลังมีปัญหาว่าการเซ็นสัญญากับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้นำ Kindle ไปใช้ถูกประท้วงโดยสมาพันธ์คนตาบอดอเมริกา เนื่องจากคนตาบอดใช้อุปกรณ์นี้ไม่ได้ คาดว่าเทคโนโลยีที่ Amazon ซื้อมาพร้อมบริษัท Ivona นี้จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์กันว่า Amazon กำลังพัฒนาสมาร์ทโฟนอยู่และเทคโนโลยีที่ซื้อมาใหม่นี้ก็เพื่อมาสู้กับเทคโลยี Siri ของทาง Apple

News Source: http://gigaom.com/2013/01/24/amazons-acquisition-of-text-to-speech-company-ivona-could-help-it-battle-siri-and-lawsuits/

 

รัฐบาลแอนดิกัวเตรียมเปิดเว็บไซต์ "ละเมิดลิขสิทธิ์" สินค้าสหรัฐอย่างชอบธรรมตามคำตัดสินของ WTO

ตอนแรกแอนติกัวป็นประเทศที่ดำเนินธุรกิจการพนันออนไลน์ที่ซึ่งทางประเทศเคยมีมูลค่าร่วมหลายพันล้านดอลลาร์ แต่พอสหรัฐตั้งกำแพงการค้าขึ้น โดยการแบนไม่ให้พลเมืองสหรัฐใช้บริการเว็บไซต์การพนันของแอนติกัว  เว็บไซต์เหล่านี้ก็ขาดรายได้ไปมหาศาล แล้วในที่สุดอุตสาหกรรมใหญ่ของแอนติกัวนี้ก็พังหมด ซึ่งทางแอนติกัวก็อ้างว่ากำแพงการค้าของสหรัฐทำให้แอนติกัวเสียรายได้จากธุรกิจการพนันนี้ไปหลักพันล้านดอลลาร์

ผลคือแอนติกัวไปฟ้อง WTO ฐานสหรัฐกีดกันทางการค้า WTO ตัดสินว่าแอนติกัวชนะไปสองครั้ง แต่สหรัฐทำเป็นไม่สนใจตลอด สุดท้ายแอนติกัวเสนอว่าตนมีสิทธิ์ในการ "ละเมิดลิขสิทธิ์" สินค้าสหรัฐเพื่อทดแทนความเสียหายที่สหรัฐตั้งกำแพงทางการค้า ทาง WTO ยอมรับข้อเสนอแต่ระบุว่าแอนติกัวละเมิดลิขสิทธิ์สหรัฐได้เพียงมูลค่า 21 ล้านดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น

ล่าสุดทางรัฐบาลแอนติกัวก็เลยจะเปิดเว็บไซต์ขายทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐในราคาถูกเพื่อใช้สิทธิที่ WTO อนุมัติมาตรงนี้

แน่นอนว่าสหรัฐโวยวายใหญ่บอกว่าถ้าแอนติกัวทำแบบนี้พวกการลงทุนทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศก็จะไม่มีไปที่แอนติกัว

อย่างไรก็ดีถ้าแอนติกัวเปิดเว็บไซต์จริงๆ ก็เป็นเรื่องใหญ่แน่ๆ เพราะมันจะถือว่าเป็นการขายของมีลิขสิทธิ์อย่างถูกกฏหมายใหัแก่ชาวโลกในราคาที่ถูกที่สุด

News Source: http://torrentfreak.com/antigua-government-set-to-launch-pirate-website-to-punish-united-states-130124/ , http://www.techdirt.com/articles/20130124/16404121782/10-years-later-antigua-may-finally-really-set-up-official-pirate-site-to-get-back-what-us-owes-sanctions.shtml  , http://www.bbc.co.uk/news/technology-21193634

 

บริษัทขาย MP3 มือสองเตรียมขยายธุรกิจไปยุโรปหลังคำตัดสินศาลยุโรปดูจะสอดคล้องกับโมเดลธุรกิจ

ทั้งนี้คำตัดสินที่ว่าคือคำตัดสินที่ให้บริษัทซอฟต์แวร์ Oracle แพ้คดีที่ไปฟ้องบริษัทขายซอฟต์แวร์มือสองฐานละเมิดลิขสิทธิ์ กล่าวคือศาลยุโรปนั้นรับรองสถานะของตลาดซอฟต์แวร์มือสองแล้ว ซึ่งคำตัดสินนี้ก็ดูจะรับรองสถานะของตลาดวัตถุดิจิตัลอันมีลิขสิทธิ์อื่นๆ ด้วย

ทางด้านอเมริกา ศาลดูจะส่งสัญญาณว่าธุรกิจ MP3 มือสองดูจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ดีก็ยังมีหลายๆ คดีที่ต้องติดตามกันต่อไป เช่นคดี "แบบเรียนมือสอง" ของ อ. สุภาพ เกิดแสง กับสำนักพิมพ์ Wiley ซึ่งรอให้ศาลสูงชี้ว่าการซื้อขายของถูกลิขสิทธิ์จากต่างประเทศในอเมริกาจะได้รับการคุ้มครองภายใต้ "หลักการขายครั้งแรก" (First Sale Doctrine) ที่ให้ผู้ซื้อสามารถนำของมีลิขสิทธิ์ที่ตนซื้อไปให้ผู้อื้น ให้เช่า ขาย ฯลฯ ได้โดยไม่ต้องขอเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะถือว่าสิทธิในการผูกขาดการซื้อขายของมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นจบสิ้นตั้งแต่ผู้ซื้อได้ซื้อของมาอย่างถูกกฎหมายแล้ว

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130120/19474321739/secondhand-mp3-dealer-redigi-expanding-into-europe-tangling-with-whole-new-set-ip-laws.shtml 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ไม่มีแถลงการณ์จาก “กวีราษฎร์”

$
0
0

ไม่มีแถลงการณ์จาก “กวีราษฎร์”
เรากำลังอยู่ในอาการ หวาดพระ....หวา !
กำลังหาที่ซ่อน กระดาษ-ปากกา
ด้วยเกรงกลัวอาญาของแผ่นดิน

ก็เสรีภาพในการแสดงออก
พึ่งถูกต้อนเข้าคอก กฎหมายหมิ่นฯ
ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ฯลฯ
บอดใบ้ศิลปินปรากฏกาย ?

จะในนามของอะไรก็แล้วแต่
มีโอกาสไปแก่ในคุกกัน ง่าย ง่าย
เขา จารีต จาเค้น ทั้งเป็น-ตาย
จงอยู่ในเมืองงมงายอย่างเงียบงัน

ไม่มีแถลงการณ์จาก “กวีราษฎร์”
เรากำลังโอนสัญชาติ --- ไปสารขัณฑ์
เมืองที่ คน-พระเจ้า ตัวเท่ากัน
และไม่เคยฆ่าคน ร้อย-พัน เพราะความรัก



วฒน
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุ้ม คอก ขึด ข่วง พุทธอุทยาน: รอยปริบนทางเลือกพื้นที่สาธารณะเชียงใหม่ (1)

$
0
0

บทสัมภาษณ์ธเนศวร์ เจริญเมือง นักวิชาการอาวุโสด้านรัฐศาสตร์ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และภิญญพันธุ์ พจนะลาวัลย์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง จากกลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร ผู้ศึกษาทั้งสถาปัตย์ ประวัติศาสตร์ และพุทธศาสน์ ต่อกรณีกระแสข่าวการสร้าง “ข่วงหลวงเวียงแก้วพุทธมณฑล” ที่ จ.เชียงใหม่

ปูมความเป็นมาของการย้ายคุกออกจากกลางเมืองเชียงใหม่นั้นสามารถย้อนดูกลับไปถึงอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.2510 ที่มีนายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ เป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่อใช้พื้นที่เป็น “ข่วง” หรือสวนสาธารณะ ต่อมาใน พ.ศ.2539 ในโอกาสเมืองเชียงใหม่ครบ 700 ปี ศูนย์ศึกษาปัญหาเมืองเชียงใหม่ (ปัจจุบัน - มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง) ได้รับช่วงรณรงค์ต่อโดยเรียกร้องเรื่อยมา ให้ย้ายเรือนจำออกจากพื้นที่ที่เคยเป็น “คุ้มเวียงแก้ว” หรือวังดั้งเดิมของเจ้าล้านนาและฟื้นฟูวัดสะดือเมือง ในปี 2541 กรมราชทัณฑ์ได้ย้ายเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ (ชาย) ออกไปอยู่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ที่ อ.แม่ริม แต่ก็สับเปลี่ยนเอาทัณฑสถานหญิงเข้ามาไว้แทนที่ในคุกกลางเวียงนี้

จนกระทั่งในปี 2544 ช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการรวมกลุ่มกันก่อตั้งสถาบันล้านนาร่วมกันกับมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง และองค์กรภาคประชาชนอีกจำนวนหนึ่งร่วมกันเรียกร้องอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้นให้ย้ายคุกหญิงนี้ออกไปนอกเมือง ถัดมาในปี 2545 กรมราชทัณฑ์จึงมีโครงการสร้างเรือนจำแห่งใหม่ที่ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับที่สำนักนโยบายและแผน กระทรวงมหาดไทยอนุมัติหลักการของเทศบาลเมืองเชียงใหม่ที่จะใช้พื้นที่ทัณฑสถานหญิงหลังจากย้ายออกไปแล้ว สร้างเป็นสวนสาธารณะ แต่หลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา แผนงานในการย้ายคุกและสร้างพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองก็ถูกวางพักไว้ แม้ว่าการก่อสร้างอาคารเรือนจำแห่งใหม่จะดำเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น

สำนึกรับรู้ที่เพิ่มขึ้นของคนเชียงใหม่ต่อการรณรงค์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มองค์กรทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการท้องถิ่น รวมทั้งสื่อมวลชนทั้งหลายนั้น ได้ส่งผลให้การย้ายคุกกลับมาเป็นที่ถกเถียงเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง เมื่อกรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตามมติ ครม. ย้ายนักโทษชายจากเรือนจำกลางที่ อ.แม่ริมไปยังเรือนจำแห่งใหม่เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 ตามด้วยการย้ายนักโทษหญิงเข้าไปคุมขังแทน สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติมีแผนจะรื้อทุบอาคารเก่าทั้งหมดทิ้งและใช้พื้นที่ราว 22 ไร่ของทัณฑสถานหญิงเดิมนี้สร้างเป็น “ข่วงหลวงเวียงแก้วพุทธมณฑล” ด้วยงบประมาณการก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบผูกพันถึงปี 2557 ใช้ในการประดิษฐาน “พระพุทธชยันตี 2600 ปี” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับโอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษาครบ 100 ปี และปรับปรุงให้เป็นพื้นที่พุทธอุทยานและสวนสาธารณะ โดยในวันที่ 26 มกราคมนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นชาวเชียงใหม่ จะมาเป็นประธานในการทุบอาคารและกำแพงเรือนจำด้วยตนเอง

ความคิดสำคัญที่อยู่เบื้องหลังข้อเรียกร้องให้ย้ายคุกออกจากนอกเวียงนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า คุกนั้นเป็นสิ่งอัปมงคล เป็นเสนียดจัญไรอันอุจาดไม่เหมาะควรจะมีหน้าตาอยู่กลางเมืองอันเป็นแหล่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม อีกทั้งคุกนี้ยังเป็นเครื่องมือของสยามในอดีตในการแผ่อำนาจมาปกครองครอบงำล้านนา โดยตลอดมามีการเผยแพร่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผ่านทางบทความในหน้าหนังสือพิมพ์และเล่าสู่กันมาในเชิงว่า การสร้าง “คอก” ทับลงบนคุ้มในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นเป็นการกระทำทางไสยศาสตร์ที่มุ่งกดทับความศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งเป็นเสมือนภาพแทนของอำนาจท้องถิ่นของชาวล้านนาทั้งหลาย จึงสมควรที่จะกำจัดทิ้งเสียให้ราบคาบ ย่อมไม่แปลกที่ขณะนี้ประชาชนผู้สัญจรผ่านและนักท่องเที่ยวจะได้เห็นพระสงฆ์ 29 รูป นำโดยพระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ทำพิธี “สูตร (สวด) ถอน” ความอัปมงคลหรือ “ขึด” อยู่ภายในบริเวณอาคารเก่าตลอดระยะเวลา 9 วัน 9 คืนก่อนที่จะถึงวันรื้อทำลาย โดยมีนายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ที่ปรึกษา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 เป็นโต้โผ

แต่เรื่องราวดูท่าจะไม่จบลงง่ายดายเพียงแค่การทุบทำลายคุกเก่าเพียงเท่านั้น ยังคงมีเสียงเรียกร้องถึงความเหมาะสมชัดเจนในแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ ไม่ว่าตัวละครต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่จะมีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งที่กำลังก่อตัวขึ้นนี้จะมีจุดยืนสถานะทางการเมืองอยู่ฝั่งแดงหรือเหลืองอย่างไร ประเด็นปัญหาร้อนที่กำลังจะผุดขึ้นก็ดูจะไม่ใช่เรื่องสีเสื้อเสียแล้ว เมื่อมีเรื่องงบประมาณผูกพันหลักพันล้านมาเกี่ยวข้องกับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ่งย่อมส่งผลต่อทั้งชาวเชียงใหม่และประชาชนทั่วไปเป็นแน่

ก่อนหน้านี้เราได้หาโอกาสพูดคุยกับนักวิชาการและผู้มีอำนาจจัดการที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น เพื่อลองมองหาหนทางคลี่คลายให้พอกระจ่างขึ้นบ้างเสียก่อน ก่อนที่รอยแยกของความขัดแย้งในทางเลือกระหว่าง คุ้ม คอก ขึด ข่วง หรือพุทธอุทยาน ในการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ลงบนพื้นที่สาธารณะกลางเมืองเชียงใหม่จะปริห่างเกินสมาน (หรือจะไม่ทันการณ์เสียแล้ว ?)

 

(ที่มาภาพ: http://th.wikipedia.org)

ธเนศวร์ เจริญเมืองนักวิชาการอาวุโสด้านรัฐศาสตร์ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จากสำนักวิชาการเมืองและการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ และหนึ่งในผู้ร่วมรณรงค์ผลักดันมาอย่างยาวนานให้มีการย้ายคุกออกนอกเมือง

ย้อนหลังกลับไปช่วงที่มีการรณรงค์ให้ย้ายคุกจากกลางเมืองช่วงรัฐบาลทักษิณก่อนหน้านั้นมีความคิดเช่นนี้หรือไม่

ธเนศวร์ : ก่อนหน้านั้นมีคนเขียนบทความเล่าความเป็นมาว่าคุกนี่เดิมเป็นคุ้มหรือพระราชวัง แล้วต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยเหตุผลที่คุ้มมันทรุดโทรมเก่าแก่จึงให้รื้อแล้วสร้างคุกแทน ซึ่งมีหลายฝ่ายมองว่า คุกเป็นที่ไม่ดี เป็นที่อโคจร ไม่เหมาะอยู่แล้ว ไปสร้างทำไมตรงคุ้ม ทำไมไม่ไปสร้างที่อื่น ในที่สุดก็สร้างกัน คนเริ่มเข้าใจกันว่า อ๋อ นี่มันเป็นพิธีไสยศาสตร์อย่างหนึ่งของพวกพราหมณ์ที่สยามถนัด คือเป็นการตัดไม้ข่มนาม เชียงราย ลำพูน ลำปางก็ทำแบบนี้ แปรคุ้มเป็นคุกหมดเลย เมื่อได้เห็นบทความแบบนี้ก็เริ่มมีสำนึกว่า น่าจะเอาออก ปรากฏว่าเชียงรายเอาก่อน รื้อได้ เชียงใหม่ก็เลยเอาบ้าง ก็รณรงค์ พอท่านนายกทักษิณมาเราก็เรียกร้องให้รื้อ ทักษิณก็เห็นด้วย แต่ก็ยังยื้อกันไปยื้อกันมาอยู่ จนปี 49 ที่มีรัฐประหารเรื่องนี้ก็เงียบหายไป แต่สมัยนั้นทักษิณจัดงบแล้วให้ไปสร้างคุกที่แม่แตง

คิดว่าการที่เปลี่ยนขั้วรัฐบาลทำให้การรณรงค์ย้ายคุกที่ผ่านมาเป็นสิบปีนี่สำเร็จใช่ไหม

ธเนศวร์ : น่าจะมีสามส่วน การเปลี่ยนรัฐบาลมีส่วนด้วย แต่อีกส่วนคือความรู้สึกของคนเริ่มมากขึ้นว่าสิ่งที่ไม่ถูกต้องน่าจะมีการแก้ไข สาม คือความรู้สึกว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเริ่มจะตัน คนจำนวนหนึ่งที่เป็นนักธุรกิจมีความเห็นว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ก็เริ่มมีคนเอาด้วย แต่ตอนที่ผมรณรงค์กันเราไม่ได้พูดอย่างนี้ เราบอกว่า “เปลี่ยนคุกเป็นข่วงหลวง” เป็นสนามหลวง เป็นสวนสาธารณะใหญ่ เป็นปอดของเมือง เราไม่มีสวนสาธารณะ เราไม่มีปอดของเมือง พื้นที่กลางเมืองต้นไม้ใหญ่ๆ ก็ไม่มี เราไม่เคยพูดว่า “เปลี่ยนคุกเป็นคุ้ม”

เห็นด้วยกับการเปลี่ยนพื้นที่ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่

ธเนศวร์ : คิดว่าเจรจากันได้ ตอนนี้มีพื้นที่โล่ง 3 ที่แล้ว คือข่วงท่าแพ หน้าสามกษัตริย์ และที่บริเวณนี้ที่จะมีขนาดใหญ่ที่สุด ให้ภาคประชาสังคมรุกคืบมากขึ้น มีที่ทางให้สังคมส่วนใหญ่ได้ใช้ประโยชน์มากขึ้น

เราเรียกร้องให้เป็นข่วงหลวง คนจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะพวกปัญญาชนที่มีการศึกษาดีๆ เขาไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ เขาบอกว่าคุกนี่ก็ดีนี่ ทุบทำไม เก็บไว้เป็นจุดท่องเที่ยวสิ น่าจะให้นักท่องเที่ยวไปนอนในคุกใต้ดินแล้วเก็บเงินแพงๆ คิดในเชิงมูลค่าของเก่าอายุ 110 ปี บางคนก็มองว่าน่าจะเก็บไว้ให้คนผ่านไปผ่านมาได้ย้ำเตือนว่าถ้าทำไม่ดีก็ต้องไปอยู่ในคุกนะ ซึ่งพวกผมคิดว่าธรรมดาคนไม่ไปคุกอยู่แล้ว ไม่ต้องไปย้ำเตือนอะไร ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาด้วยเจตนาไม่ดีจะเก็บไว้ทำไม การรื้อทำเป็นข่วงหลวง ยิ่งใหญ่กว่ามาก เป็นประโยชน์ต่อคนมาก ทีนี้ความเห็นเช่นนี้พูดตรงๆ ก็คือไม่เคยทำประชามติทั้งเมืองเพราะไม่มีใครให้งบมา แต่ความเห็นส่วนใหญ่ที่เรารับฟังมาก็เห็นด้วยกับการทำเป็นข่วงหลวง แต่ล่าสุดครม.อนุมัติให้สร้างพุทธมณฑลในพื้นที่นี้เพื่อถวายเป็นพระราชเกียรติยศแก่พระเจ้าอยู่หัวและแก่พระสังฆราชในโอกาสร้อยปี ทางเราคิดว่า น่าจะคุยกันหน่อยนะ มีคำถามว่า หนึ่ง ทำไมไม่ปรึกษาหารือ สอง จะสร้างใหญ่ขนาดไหน สาม พุทธมณฑลมีนัยยะของมัน จะให้ไปร้องเพลง ดีดกีต้าร์เดินเล่นก็คงไม่ได้ แล้วจะทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากเป็นพื้นที่ศาสนาได้ไหม จะกลายเป็นวัดหรือ

 

แล้วข้อเสนอที่ให้มีการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อศึกษาคุ้มเวียงแก้วเห็นว่าอย่างไร

ธเนศวร์ : ข้อเสนอของเราคือ หนึ่ง รื้อคุกออกก่อน สอง หลังจากนั้นแล้วน่าจะมีร่องรอยอดีตบางอย่าง ถ้าเห็นก็ล้อมรั้วศึกษาเลย ก็ให้คนมาเดินเล่นแล้วดูเขาขุดค้นไปด้วย เป็นทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและศึกษาทางโบราณคดี อาจจะใหญ่มากกว่าที่เรารู้ก็ได้ แต่ก็ไม่แน่อาจจะไม่เหลืออะไรเลยก็ได้ เพราะในทางประวัติศาสตร์ที่นี่เป็นดินแดนแห่งไม้สัก คนสมัยก่อนแถบนี้นิยมปลูกสร้างอาคารด้วยไม้ เพราะฉะนั้น เรียนรู้ไป คุยไป คิดไป ให้ประชาสังคมตัดสิน ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นจัดการตนเอง

การย้ายคุกออกจากเมืองหลวงมีผลกระทบอะไรบ้างหรือเปล่า

ธเนศวร์ : ทำให้เกิดความขัดแย้งใหม่คือเรื่องการใช้พื้นที่ใหม่ขนาด 22 ไร่ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติในสังคม ใครอยากเต้นระบำ อยากเล่นสเก๊ตบอร์ด อยากเตะตะกร้อ อยากเดินจงกรม ก็ขอให้คุยกันแลกเปลี่ยนกัน ให้ท้องถิ่นตัดสินได้ไหม เท่าที่ผมทราบมาเทศบาลก็งงว่าเขาจะได้พื้นที่นี้จากกรมราชทัณฑ์ เมื่อครม.มีมติเช่นนี้ก็ไม่รู้ว่าใครจะดูแล เพราะผู้เสนอครม.คือสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ

มองว่าแนวทางยุติข้อขัดแย้งเช่นนี้ควรจะเป็นอย่างไร

ธเนศวร์ : เรา (ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่) เชิญผู้ที่รู้ดีมากคือ ผอ.เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 และนิมนต์เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพมาชี้แจงเพราะทราบว่าท่านมีบทบาทสำคัญ มาเล่ามาชี้แจง และเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเทศมนตรี ตัวแทนนักวิชาการท้องถิ่น นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีและการจัดการวัฒนธรรม ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรเขต 8 และกลุ่มสถาปนิกล้านนา และพี่น้องประชาชนมาออกความเห็นกัน

มองอย่างไรกับการทำประชามติ

ธเนศวร์ : ในความเห็นผม ทำได้อยู่แล้ว แต่ประชาชนที่มาลงประชามติต้องมีความรู้ให้เต็มที่ก่อน ที่ผ่านมาไม่ค่อยมี ผู้สื่อข่าวก็เห็นด้วยแต่นานๆ ออกที วิทยุนี่น้อยมาก อย่างน้อยแค่เปิดเวทีอภิปรายฟังความเห็นก็น่าจะพอแล้ว

เราต้องเน้นเรื่องการฟังเสียงประชาชนให้มากๆ อาจจะช้าไปสักสองสามเดือน ก็เหมือนกับเรื่องรัฐธรรมนูญ ต้องเรียนรู้ศึกษากันก่อน ให้ประชาชนมีความรู้แล้วเข้ามามีส่วนร่วม เพราะนี่คือพื้นที่สาธารณะ ประชาชนต้องช่วยกันคิดให้มากๆ มาทำให้เมืองเชียงใหม่น่าอยู่ เป็นของทุกๆ คน

 

0 0 0

(แฟ้มภาพประชาไท)

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง จากกลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร ผู้ศึกษาทั้งสถาปัตย์ ประวัติศาสตร์ และพุทธศาสน์

มีความเห็นอย่างไร เรื่องการใช้พื้นที่สาธารณะที่เดิมมีความหมายทางประวัติศาสตร์แล้วจะถูกลบไป เช่นกรณีย้ายคุกกลางเวียง

ภิญญพันธุ์ : ต้องเข้าใจก่อนว่าประวัติศาสตร์มันซ้อนกันอยู่หลายชั้น ถ้าคิดแบบโรแมนติคก็ว่าตำแหน่งนั้นคือศูนย์กลางอำนาจรัฐล้านนามาก่อน ผมคิดว่าคนส่วนหนึ่งเชื่อตรงนี้อยู่แล้ว แต่หลังจากสยามสามารถผนวกล้านนาได้แล้ว สยามก็ซ้อนเข้ามา ปกติเขาจะมองแค่สองชั้น ชั้นนี้ต้องการจะรื้อถอนความที่ไม่ใช่ล้านนาออกไป แต่จริงๆ แล้วยังมีอะไรที่ซ้อนเข้าไปอีกหลายชั้นมากๆ เช่น พอสยามเข้ามาสร้างคุกซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ในยุคนั้น เคยอ่านเจอว่าสมัยก่อนที่สยามเอาศาลมาตั้งแล้วปรากฏว่าคนท้องถิ่นดีใจมาก คือศาลไม่เป็นกลางอยู่แล้ว อยู่กับคนมีอำนาจ แต่พอศาลสยามเข้ามาก็กลายเป็นตัวกลางระหว่างเจ้ากับไพร่ เพราะฉะนั้นในมุมมองของคนสมัยก่อน ด้วยความเป็นอาณานิคมอะไรก็แล้วแต่ ด้านหนึ่งก็กลายเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจเจ้าเดิมของเขา พูดง่ายๆ ว่าได้ลืมตาอ้าปากขึ้นมา หากเรื่องระบบคอกหรือเรือนจำแบบใหม่พ้นจากจารีตนครบาลที่โหดเหี้ยมแล้ว ก็แปลว่ามีการลงทัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นสากลขึ้น เป็นภาพแทนของรัฐสมัยใหม่ (modern state) ที่ดีกว่าแบบจารีตนครบาลแน่ๆ

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นถ้ามองในเชิงประวัติศาสตร์ก็คือคุณูปการของระบบใหม่ที่เข้ามา อาณานิคมไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด มีส่วนทำให้ท้องถิ่นได้ประโยชน์บางอย่างในมุมสิทธิมนุษยชน

ปกติเราไม่รู้สึกว่าคุกเป็นส่วนหนึ่งของเราอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนชั้นกลางที่ไม่มีญาติอยู่ในคุก หรือพูดให้โหดร้ายกว่านี้อีกก็คือคนรวยมันไม่ติดคุก เพราะฉะนั้นพื้นที่ของคุกจึงเป็นพื้นที่ของคนจน คนชายขอบ ฯลฯ สามัญสำนึกของคนในเมืองจึงปฏิเสธคุกโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่เดือดร้อนว่าคุกจะย้ายไปไหน ไม่ต้องไปเยี่ยมญาติ คนที่อยู่ในคุกอาจจะไม่อยู่ในนิยามของคนเชียงใหม่หรือคนเมือง เป็นคนนอกของสังคม

คิดอย่างไรกับการที่นักวิชาการออกมาเคลื่อนไหวให้ข้อมูลในลักษณะที่สยามผนวกล้านนาด้วยการสร้างคุกตัดไม้ข่มนามสวมทับคุ้มหลวงของเจ้าล้านนา

ภิญญพันธุ์ : ผมไม่มีหลักฐาน ถ้าสมมติว่าจริง สยามเอาเครื่องมือมาสองอย่าง อันหนึ่งคือการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernizing) อีกอันหนึ่งคือไสยศาสตร์ มาทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่เดิมเสื่อม ไม่ว่าใครมาแล้วจะคุมให้ได้ก็ต้องทำลาย ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจได้ในทางประวัติศาสตร์ แต่ถ้าถามว่าเอาไสยศาสตร์มาต้านไสยศาสตร์ในทุกวันนี้นี่ดีไหม ในมุมมองของประชาธิปไตยนี่มีปัญหาแน่ๆ การใช้ไสยศาสตร์สำหรับผมมันไม่ใช่อำนาจที่สม่ำเสมอ เป็นอำนาจที่มีลำดับชั้น (hierarchy) อยู่ หมายความว่าต้องมีใครคนใดคนหนึ่งที่สามารถเข้าถึงอำนาจทางไสยศาสตร์นั้นได้แล้วมาใช้ในการจัดการ ซึ่งไม่ใช่การคืนอำนาจหรือพื้นที่ให้แก่ประชาชนแน่ๆ

แนวทางในการใช้พื้นที่ ในทางหลักวิชาสถาปัตย์ เรื่องของทางเลือกว่าจะขุดค้นทางโบราณคดี สร้างเป็นสวนสาธารณะ ใช้เป็นพื้นที่ทางศาสนา ฯลฯ คิดว่าควรจะเป็นอย่างไร

ภิญญพันธุ์ : ที่เชียงรายทำคุกเดิมเป็นสวนสาธารณะ ส่วนกรณีเชียงใหม่ที่ในกำแพงเมืองเต็มไปด้วยพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่ซ้อนกันอยู่หลายชั้น ดังนั้น เครื่องมือแรกที่ควรจะทำก่อนคือการขุดค้นทางโบราณคดีเป็นพื้นฐาน พูดง่ายๆ คือเราต้องรู้จักไซต์ (ผู้สัมภาษณ์ : site = หน้างาน) ก่อนว่าคืออะไร แน่นอนการสืบค้นทางเอกสารก็ช่วยได้ แต่สิ่งที่จับต้องได้มากที่สุดและเป็นการพิสูจน์เชิงประจักษ์คือการขุดค้นทางโบราณคดี ส่วนรายละเอียดว่าจะขุดค้นอย่างไรเป็นอีกเรื่อง เป็นสิ่งที่ควรทำก่อน แล้วระหว่างการขุดค้นก็จะได้ข้อมูลมาเรื่อยๆ มาใช้ในการชั่งน้ำหนัก สมมติว่าขุดแล้วเจออะไรที่เก่ากว่าล้านนาขึ้นมา ผมว่าเรื่องมันจะเปลี่ยนเลย เทรนด์ก็จะเปลี่ยน ความรู้ต่างๆ ก็จะเปลี่ยน หากไม่เจออะไรเลยก็จะไปยันกับหลักฐานที่เป็นข้อสงสัย การจะเป็นสวนสาธารณะหรือพุทธชยันตีอะไรก็เป็นไปได้หมด แต่อยู่ที่ว่าจะให้น้ำหนักกับทางเลือกต่างๆ อย่างไร ที่สำคัญคือการวางกระบวนการว่าหนึ่งสองสามจะไปอย่างไร แต่ที่แน่ๆ คือจะต้องทำความรู้จักก่อน เพื่อจะดูความเป็นไปได้ ว่ากระทบกับใครหรือไม่

เห็นด้วยกับข้อเสนอให้รักษาอาคารเรือนจำไว้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือไม่

ภิญญพันธุ์ : ถ้าพูดแบบแทงกั๊กคือทุกอย่างเป็นไปได้หมด อยู่บนฐานของข้อมูลที่มี ถ้าพูดแบบสุดโต่งก็คือพื้นที่ตรงนั้นใหญ่มาก เป็นทุกอย่างในนั้นยังได้เลย

ในทางการเมือง ข้อมูลเท่าที่มีวันนี้ ประชาชนควรจะกำหนดทิศทางได้หรือไม่ ว่าควรจะใช้พื้นที่นี้อย่างไร

ภิญญพันธุ์ : ผมคิดว่าประชาชนควรฟัง ขอเริ่มจากงานวิชาการก่อน มันไม่เสียหาย ถ้ามีเวลาขุดค้นสักหกเดือน ผมไม่แน่ใจเรื่องระยะเวลา ก็ควรจะมีช่วงเคาะเว้นวรรคนี้ก่อน เพื่อจะหาข้อมูลก่อนแล้วตัดสินใจ ไม่ใช่ว่ามีเงินอยู่ในมือก้อนหนึ่งแล้วต้องการจะผลักดันตรงนี้ให้เกิดขึ้น เหมือนกับหลายโครงการพัฒนาที่เคยเกิดขึ้น สุดท้ายแล้วก็ต้องกลับมาแก้ไขปัญหาไม่จบสิ้น หรือถ้าจบก็จบแบบคาราคาซัง

อย่างพิพิธภัณฑ์หอศิลปวัฒนธรรมหลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ หรืออาคารที่เคยเป็นศาลเก่าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามด้านหน้า ก็เงียบมากจนไม่แน่ใจว่าเป็นประโยชน์กับคนเชียงใหม่หรือเปล่า มันเลี้ยงตัวเองไม่ได้ทางพาณิชย์ คือรสชาติไม่น่าชิม ถ้าจะเป็นหอศิลป์จะประสบความสำเร็จได้ก็ควรจะเป็นแหล่งชุมนุมของคนทำงาน แต่สิ่งที่ดีที่สุดกลับกลายเป็นลานโล่งๆ ข้างหน้าเท่านั้นเอง แทนที่ตัวอาคารจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุน หากมองทางเลือกว่าตัวเรือนจำจะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาอีกแห่ง ผมว่าก็จะไม่ต่างจากตรงนั้น มีแต่พิมพ์เขียวว่าจะสร้างแต่ไม่ได้เตรียมแผน มีคนจัดการพื้นที่นั้นหรือยัง จะเป็นสวนพุทธธรรมก็ได้ แต่จะทำอะไรล่ะ อย่างเช่นจากประสบการณ์ที่วัดสะดือเมืองที่วัดพระธาตุดอยสุเทพไปซื้อไว้ เราก็ประเมินได้อย่างนี้แหละ

คือถ้าทำลายแหล่งไปแล้ว เครื่องจักรหนักลงก็หมดโอกาสไปเลย ในทางโบราณคดีก็จบเลย ไม่มีสิทธิที่จะย้อนกลับมาขุด ในที่สุดแล้วอำนาจในการกำหนดว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร ผู้ว่าฯ หรือว่านักการเมืองที่กุมงบอยู่ หรือว่ากลุ่มนักอนุรักษ์ หรือว่าเทศบาล หรือว่ากรมศิลป์ มีความชอบธรรมทางการเมืองหรือไม่ แล้วที่จะตลกมากกว่านั้นก็คือ ถ้าพระเข้ามาจะสนุกกันใหญ่ การที่พระเข้ามาทำให้เป็นพื้นที่ทางโลกให้กลายเป็นพื้นที่ทางสงฆ์ การฟื้นวัดต่างๆ ที่เคยเป็นวัดมาก่อนเช่นกรณีวัดโลกโมฬีก็ยังพอรับได้ แต่หลังๆ เริ่มเข้ามาในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น เช่น เดิมห้องประชุมอบจ.ตรงวัดสะดือเมืองก็ต้องคืนให้วัด ส่วนวัดก็ซื้อตึกแถวข้างๆ แล้วค่อยๆ โอบล้อมเข้าไป ผมคิดว่าในโลกสมัยใหม่แบบนี้ไม่ใช่พื้นที่ที่พระจะเข้ามายุ่ง นี่ยังไม่นับว่าการบูรณะของพระถูกหลักวิชาการแค่ไหนด้วยนะ

ชัดเจนที่สุดเรื่องคุกหญิง พระไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย กรมศาสนาไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย เรื่องเจ้าล้านนาก็ไม่เกี่ยวอะไรกับพระ มุมมองกลับกันถ้าพระจะเข้ามายุ่งกับทางโลกก็ต้องให้ทางโลกเข้าไปยุ่งกับพระด้วย ให้เข้าไปจัดการตรวจสอบบัญชีได้ไหม ยอมให้ไหม เก็บภาษีได้ไหม หรือวัดไม่ยุ่งให้รัฐทำแทนก็ยิ่งแล้วใหญ่ เราไม่ใช่รัฐศาสนา ทุ่มงบในศาสนานี้แล้วคนไทยในศาสนาอื่นจะคิดอย่างไร

หากมีการลงประชามติจะช่วยยุติข้อขัดแย้งนี้หรือไม่

ภิญญพันธุ์ : การจะทำประชามติอย่างน้อยก็ต้องมีข้อมูลพื้นฐานที่ป้อนให้ประชาชนเข้าใจก่อน บางคนอาจจะบอกว่าไม่จำเป็นต้องขุดค้น แต่ในเมื่อมีโอกาสขุดทำไมจึงไม่ขุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อโอกาสเปิดก็ถึงคราวของ ‘ภาษามลายู’ เพื่อสื่อสารที่ปาตานี

$
0
0

 

มุมมองจากวงเสวนา“ที่ทางภาษามลายูในโลกการสื่อสาร” ความเห็นจากนักสื่อสาร ผู้ผลิต ผู้ใช้และผู้เสพ ใครทำอะไรอยู่กับภาษามลายูในชายแดนใต้ และหลากหลายข้อเสนอเพื่อยกระดับ ‘อักษรยาวี’ ที่ปาตานี

เสวนาพิเศษ – ผู้เข้าร่วมวงเสวนาพิเศษ “ภาษามลายูในโลกการสื่อสาร” (จากซ้ายไปขวา) นายอัศโตรา โตะราแม – นายดอรอแม หะยีหะซา – นายวีฟาอี มอลอ ผู้ดำเนินรายการ – ศอลาฮุดดิน กริยา – ดร.ฮามีดิน สะนอ

 

เมื่อโอกาสเปิด

“จะทำอย่างไรที่จะให้ภาษามลายู ไม่ใช่ภาษาแห่งการก่อการร้ายในสายตาของคนทั่วไป และจะทำอย่างไรที่จะให้ภาษามลายู นำไปสู่การสร้างความเข้าใจและนำไปสู่สันติภาพได้”

นั่นเป็นโจทย์ใหญ่โจทย์หนึ่งที่มีการพูดถึงกันมากในขณะนี้ อันเนื่องมาจากที่ผ่านมา ภาษาที่คนในพื้นที่ชายแดนใต้ของไทยใช้พูดคุยสื่อสารอย่างเป็นวิถีชีวิตปกติ ทว่าแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ใช้ภาษาไทย อาจถูกมองอย่างหวาดระแวงสงสัย

แต่วันนี้ โอกาสเปิดแล้ว โดยเฉพาะการเปิดโอกาสในทางนโยบายความมั่นคงของรัฐที่ส่งเสริมในคนในพื้นที่สามารถเรียนรู้ภาษาไทย ภาษามลายู ภาษามลายูถิ่น และภาษาต่างประเทศทั้งในด้านการศึกษาและการสื่อสาร ซึ่งระบุไว้วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 ของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557

รวมทั้งการเกิดขึ้นของสถานีวิทยุและโทรทัศน์ภาษามลายูที่ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่สำคัญคือการเกิดขึ้นของประชาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประชาคมอาเซียน (ASEAN) ซึ่งมีประชากรกว่า 300 ล้านคนที่พูดภาษาเดียวกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย หรือดินแดน “ปาตานี” ในอีกความหมายหนึ่ง

เมื่อโอกาสเปิด ความตื่นตัวของคนในพื้นที่ก็ย่อมต้องมีมากขึ้น หลังจากที่อัดอั้นมานาน ด้วยเกรงว่าภาษามลายูจะค่อยๆวิบัติอย่างที่กำลังเกิดขึ้น อย่างเช่นเด็กรุ่นใหม่ที่มักพูดภาษามลายูปนกับคำในภาษาไทย รวมทั้งการใช้ประโยคที่ผิดเพี้ยนไปจากโครงสร้างทางภาษา เป็นต้น

ในการเสวนา “ที่ทางภาษามลายูในโลกการสื่อสาร” ที่ห้องประชุม 310 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2556 ที่จัดโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) โดยมีศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สำนักข่าวประชาไท (www.prachatai.com) กลุ่ม AWAN BOOK สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน (Media Selatan) และวิทยาลัยประชาชน

โดยถ่ายถอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ยะลาเคเบิลเน็ตเวิร์ก (YCN) สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน (Media Selatan) และเว็บไซต์ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (www.deepsouthwath.org)

นี่อาจเป็นเวทีแรกๆ สำหรับประเด็นนี้ จึงมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษามลายูเพื่อการสื่อสารในชายแดนใต้ เข้าร่วมกว่า 100 คน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งเพียง 40 คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่อออนไลน์และกลุ่มผู้ใช้และผู้เสพสื่อภามลายูในพื้นที่

 

 “Sinaran” ฉบับแรกในรอบ 20 ปี?

เวทีเริ่มต้นด้วยการฉายวีดีทัศน์เรื่อง ต้นธารภาษามลายู ที่บอกเล่าถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของภาษามลายูอักษรยาวี และพัฒนาการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

จากนั้น นายมูฮำหมัด ดือราแม ผู้สื่อข่าวประชาไทและบรรณาธิการ DSJ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้เปิดตัว “Sinaran” หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติเพื่อผลิตนักข่าวและสื่อภาษามลายู ที่อาจเรียกได้ว่า เป็นหนังสือพิมพ์ภาษามลายูฉบับแรกในรอบ 20 กว่าปีหลังการล่มสลายของนิตยสาร AZAN ในปี 2517 และหนังสือพิมพ์ Fajar ที่ออกมาหลังจากนั้น

ในการเสวนาพิเศษ “ภาษามลายูในโลกการสื่อสาร” ดอรอแม หะยีหะซา หรือ อุสตาซแม แดวอ อดีตบรรณาธิการนิตยาสาร Fajar กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษามลายูกว่า 300 ล้านคน ทุกปีจะมีการแข่งขันปาฐกถาภาษามลายูของเยาวชนจากทั่วโลก แต่ไม่เคยมีตัวแทนจากไทยหรือปาตานีไปร่วมแข่งขันด้วย สะท้อนว่าเยาวชนบ้านเรามีปัญหาเรื่องการสื่อสารด้วยภาษามลายู

ส่วนนายอัศโตรา โตะราแม อดีตคอลัมนิสต์อภิปรายว่า ภาษามลายูเป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากเป็นอันดับ 7 ของโลก ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มีการวางแผนขยายฐานผู้ใช้ เช่นมาเลเซียที่ให้ทุนแก่คนต่างชาติทั่วโลกมาเรียนภาษามลายูต่อเนื่องหลายปี รวมกว่า 70,000 คน เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่มีคนต่างชาติมาเรียนภาษามลายูจำนวนมากด้วย

ดร.ฮามีดิน สะนอ หรือบาบอดิง ปาแดรู กวีมลายู อภิปรายว่า ปาตานีเป็นทีเดียวที่ยังรักษาอักษรยาวีให้มีชีวิตได้จนถึงปัจจุบัน แต่ประเทศมลายูหันไปใช้อักษรรูมี เพราะได้รับอิทธิพลจากตะวันตก

บาบอดิง เล่าถึงความสำคัญของภาษามลายูอักษรยาวีว่า เป็นภาษาที่เชื่อมโยงกับภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาหลักของศาสนาอิสลาม

“ถามว่าปัญหาของภาษามลายูปาตานีอยู่ตรงไหน อยู่ที่ตัวเขียนหรือสำเนียงพูด ความจริงภาษามลายูทั้งหมดมีรากศัพท์เดียวกัน แต่มีสำเนียงต่างกัน แต่การเขียนต้องเป็นภาษากลาง ต่างกันตรงที่ปาตานีใช้อักษรยาวีเป็นหลัก”

 

ทุกคนพร้อม

ในวงเสวนา “ภาษามลายูในโลกสื่อสารร่วมสมัย ใครทำอะไรอยู่” มีการอภิปรายกันอย่างเข้มข้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหวังและความต้องการที่จะรื้อฟื้นภาษามลายูของคนปาตานีอย่างเห็นได้ชัด

พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานคณะกรรมการสถานีวิทยุโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียงภาษามลายู ที่เพิ่งก่อตั้งมาไม่นาน กล่าวว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งนี้จะเป็นเครื่องมือเรียนรู้และพัฒนาภาษามลายูและเข้าใจถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ ที่ยืดเยื้อได้

อ.ฟารีดะห์ หะยีเต๊ะ หัวหน้าหลักสูตรวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา บอกว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเปิดสอนภาษามลายูมาเป็นปีที่ 4 แล้ว และกำลังจะมีบัณฑิตด้านภาษามลายูในปีหน้า เชื่อว่าคนเหล่านี้จะสามารถเติมเต็มด้านการพัฒนาภาษามลายูในพื้นที่ได้อย่างดี

นายอับดุลมุฮัยมิน ซอและห์ หรือ จูและห์ จากมูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาชายแดนใต้(Perkasa) กล่าวว่า ได้ผลิตสื่อการเรียนการสอนภาษามลายูอักษรยาวีสำหรับโรงเรียนตาดีกามากกว่า 200 เล่ม และยังผลิตวารสารชื่อ Pelita กว่า 20 ฉบับ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการศึกษาและศาสนา แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง ทำให้เห็นว่าสื่อภาษามลายูไม่เป็นที่นิยมในท้องตลาด ทั้งที่มีสื่อภาษามลายูจำนวนมาก

 

เสียงจากกลุ่มสื่อใหม่

นายศอลาฮุดดิน กริยา จากกลุ่ม AWAN BOOK ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการให้ภาษามลายูมีชีวิต โดยเริ่มจากการผลิตหนังสือการ์ตูน 3 ภาษาคือ ภาษาไทย มลายูอักษรยาวีและรูมี เพื่อให้สามารถเข้าถึงชีวิตประจำวันของทุกครอบครัว

ศอลาฮุดดิน บอกว่า สื่อภาษามลายูเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นตำราเรียนและส่วนใหญ่เป็นหนังสือด้านศาสนาอิสลาม

“หนังสือการ์ตูนของ Awan Book เป็นเป็นนิทาน เรื่องเล่า มีประกอบภาพที่คนเข้าถึงได้ง่ายและเชื่อว่าจะสามารถทำให้ภาษามลายูเป็นที่คุ้นเคยแก่คนทั่วไปได้มากขึ้น”

อุซตาซคนหนึ่งจากนราธิวาส บอกว่า ตนมีโปรแกรมสอนภาษามลายู iMedia ซึ่งเป็น software คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กและคนทั่วไป สามารถทำให้อ่านภาษามลายูได้ภายใน 7 ชั่วโมง

 

สื่อวิทยุท้องถิ่น

ในวงเสวนามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของบรรดานักจัดรายการวิทยุภาษามลายูด้วย ซึ่งเกือบทั้งหมดสื่อสารด้วยภาษามลายูถิ่น เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของรายการ เป็นคนที่สื่อสารด้วยภาษามลายูถิ่น ซึ่งอาจสวนทางกับบรรดานักวิชาการที่สื่อสารด้วยภาษามลายูมาตรฐาน

จึงเรียกได้ว่า เวทีนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาภาษามลายูอย่างแท้จริง เมื่อทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา รวมทั้งนักจัดรายการวิทยุล้วนต้องการให้ภาษามลายูมีชีวิตในโลกการสื่อสาร

แม้มีการถกเถียงกันอย่างเข้มข้นในเรื่องมาตรฐานของภาษามลายู แต่ทุกคนก็ต้องการเห็นภาษามลายูเป็นภาษาใช้งานหรือ Working language โดยเฉพาะเพื่อรองรับการเข้าสู่ประคมอาเซียน

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ หลายฝ่ายต้องการเห็นสถาบันภาษาที่ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานของภาษามลายู ขณะที่นักจัดรายการวิทยุท้องถิ่นต้องการให้มีพี่เลี้ยงด้านภาษาเพื่อช่วยพัฒนาภาษาของตน

 

มีทีวีแต่ยังไม่มีดารามลายู

นายอับดุลรอแม เจะกายอ เจ้าของสถานีโทรทัศน์ยะลาเคเบิลเน็ตเวิร์ก (YCN) บอกว่า พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกคนที่ต้องการผลิตและนำเสนอรายการภาษามลายู “ผมมีเวทีและมีผู้ชมอยู่แล้ว ขอเพียงเนื้อหาภาษามลายูจากท่าน และผมสามารถออกอากาศได้ทันที”

“ผมเป็นเหมือนมาลีนนท์ของชายแดนใต้ และเป็นเหมือนกันตนาของพื้นที่ คือเป็นทั้งสถานีโทรทัศน์และผู้ผลิตรายการ แต่ยังไม่มีดารามลายู ผมกำลังรอจากพวกท่านอยู่”

นายแวหะมะ แวกือจิก ผู้อำนวยการสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน (Media Selatan) บอกว่า รายการวิทยุของตนเป็นรายการภาษามลายู 80% แม้ผู้ดำเนินรายการไม่ใช่มืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู แต่ทุกคนทำงานด้วยอุดมการณ์เพื่อให้ภาษามลายูกลับคืนมา

“ถึงเวลาที่ทุกคน ทุกภาคส่วน ต้องทำงานร่วมกันที่จะนำไปสู่ความมีมาตรฐานของภาษามลายู”

 

คืนชีพภาษามลายู

อาจารย์ชินทาโร่ ฮาร่า ชาวญี่ปุ่นที่สอนภาษามลายูใน ม.อ. บอกว่า ภาษามลายูปัตตานีเสมือนภาษาที่กำลังป่วยไข้ โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยใช้ภาษามลายูในชีวิตประจำวัน ทั้งๆ ที่พ่อแม่ใช้ภาษามลายู

ชินทาโร่ บอกว่า คนปาตานีสามารถใช้ภาษามลายูสำเนียงไหนก็ได้ ทั้งภาษามลายูถิ่นหรือมลายูกลาง ไม่ต้องกังวลเรื่องมาตรฐาน เพราะเมื่อภาษามีชีวิตก็จะเกิดการปรับเปลี่ยน หยิบยืมและการผสมกลมกลืนของภาษา จนท้ายที่สุดจะนำไปสู่มาตรฐานเอง

ท่ามกลางความหลากหลายดังกล่าว ทำให้เวทีนี้มีคำศัพท์ใหม่ๆ โดยผสมคำจากภาษามลายูและไทยไว้อย่างน้อย 3 คำ นั่นคือ memperserupkan (สรุป) mempatnakan (การพัฒนา) meng anurakkan (การอนุรักษ์)

นั้นอาจเป็นเพียงมุขตลกในเชิงประชดประชันของผู้พูดก็เป็นได้

 

ความหวังของผู้บุกเบิก

อีกคนที่สำคัญคือ อัฮหมัด ลาติฟ อดีตนักเขียนและกองบรรณาธิการนิตยสาร AZAN อาจเรียกได้ว่า เป็นผู้บุกเบิกสื่อภาษามลายูในชายแดนใต้ ก่อนจะออกไปโลดแล่นในวงการสื่อมวลชนเป็นเวลากว่า 40 ปี แต่ไม่ใช่บนแผ่นดินเกิดของตัวเอง

อัฮหมัด ลาติฟ เล่าว่า ในครั้งนั้นต้องเร่ขายนิตยสารAZAN ที่ตีพิมพ์เพียง 2,000 เล่มไปตามโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามทั่วทั้ง 3 จังหวัด ต้องขึ้นลงรถเมล์เพื่อวางขายตามร้านหนังสือ แต่สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงหลังจากผลิตได้เพียง 7 ฉบับ

เขาเล่าอีกว่า ในช่วงนั้นมีหนังสือและสื่อภาษามลายูจากมาเลเซียวางขายอยู่ไม่มาก และมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ กระทั่งช่วงหนึ่งไม่มีสื่อภาษามลายูวางขายอยู่เลย

“เราทิ้งภาษามลายูไปนานมากแล้ว ดังนั้นการเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์ ‘Sinaran’แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ประกอบวิชาชีพบรรณาธิการ(บางส่วน)ออกแถลงการณ์ กรณีการตัดสินคดี"สมยศ"

$
0
0

กลุ่มผู้ประกอบอาชีพบรรณาธิการออกแถลงการณ์ร้องความเป็นธรรมให้สมยศ ชี้ปัญหาการขยายความและขอบเขตการของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ระบุควรยึดพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ 2550 ยืนยันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น นักโทษทางความคิดต้องได้สิทธิในการประกันตัว สุชาติ สวัสดิศรี ออกตัวควรปรับปรุง112 ไม่ต้องการล้มเลิก

<--break- />

แถลงการณ์จากบางส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพบรรณาธิการ กรณีการตัดสินคดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข

สืบเนื่องจากศาลอาญามีคำตัดสินจำ คุกสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ‘วอยซ์ออฟทักษิณ’ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อันเป็นความผิดในฐานะบรรณาธิการที่ต้องรับผิดชอบการเผยแพร่บทความ 2 ชิ้น โดยได้รับโทษทัณฑ์จำคุกเป็นเวลา 10 ปีนั้น

คณะบรรณาธิการ นักเขียน และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ตามรายชื่อท้ายแถลงการณ์ ใคร่ขออนุญาตแสดงความเห็น ดังต่อไปนี้

1.คณะบรรณาธิการ นักเขียน และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เคารพในการวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนี้ แต่เราเห็นว่าการพิจารณาตัดสินโดยการตีความหมายบทความ 2 ชิ้น และลงโทษจำคุกจำเลยในฐานะบรรณาธิการเป็นเวลา 10 ปี นอกจากจะก่อให้เกิดคำวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทลงโทษที่รุนแรงในระดับประชาคมโลกแล้ว คดีดังกล่าวยังเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการขยายความและขอบเขตการของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ออกไปเกินกว่าความหมายที่แท้จริง ทั้งที่จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ 2550 ได้มีบทบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 จำเลยในฐานะบรรณาธิการจึงควรได้รับประโยชน์จากกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณกว่ากฎหมายเดิม ด้วยการไม่ถือเป็นผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรค 2

2.ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแสดงความคิดเห็น เราขอยืนยันในหลักการว่า สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางการเมือง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในอารยะประเทศ การสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวด้วยกรรมวิธีใดก็ตาม ย่อมขัดแย้งกับหลักพื้นฐานดังกล่าว

3.ความผิดอันสืบเนื่องมาจากความคิด ไม่ควรได้รับการลงทัณฑ์เยี่ยงอาชญากรคดีอุกฉกรรจ์

4.ผู้ต้องหาคดีการเมืองทุกคนควรได้รับการประกันตัวระหว่างสู้คดีโดยเสมอหน้ากันใน ทุกชั้นศาล เนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองไทยที่ได้รับการรับรองตาม รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตลอดจนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

5.เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอดทนอดกลั้นกับความคิดเห็นที่แตกต่าง การใช้ความรุนแรงไม่ว่าทางวาจา ข่มขู่คุกคามด้วยกำลัง หรือใช้มาตรการรุนแรงทางกฎหมาย รังแต่จะก่อให้เกิดการขยายวงลุกลามบานปลาย ไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย


ด้วยความนับถือ


สุชาติ สวัสดิ์ศรี | อดีตบรรณาธิการบริหาร ‘สังคมศาสตร์ปริทัศน์’, ‘โลกหนังสือ’, ‘บานไม่รู้โรย’, ‘ช่อการะเกด’

เวียง-วชิระ บัวสนธ์ | บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน

‘สนานจิตต์ บางสพาน’ | นักวิจารณ์ภาพยนตร์และคอลัมนิสต์ อดีตบรรณาธิการนิตยสารไทยทีวีสีช่อง 3 (2519-2529) และบรรณาธิการนิตยสาร ลูกทุ่งเอฟเอ็ม

อธิคม คุณาวุฒิ | บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Way

นิวัต พุทธประสาท | บรรณาธิการสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม

ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล | บรรณาธิการสำนักพิมพ์สมมติ

เรืองกิตติ์ รักกาญจนันท์ | บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผจญภัย

.................................

 

หมายเหตุเพิ่มเติม (จาก สุชาติ สวัสดิ์ศรี) : ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพบรรณาธิการที่ต้องเกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นมาตลอดระยะเวลา 50 ปี ผมเห็นด้วยกับแถลงการณ์ที่มีเหตุผลปรากฏทั้ง 5 ประการ โดยเฉพาะในข้อ 2 ที่ว่า “..สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในอารยะประเทศ การสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวด้วยกรรมวิธีใดก็ตาม ย่อมขัดแย้งกับหลักพื้นฐานดังกล่าว” และเห็นด้วยกับเหตุผลที่ว่ากรณีการตัดสินคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขครั้งนี้เป็น “..ตัวอย่างสาธิตการขยายขอบเขตการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112” ดังเคยมีตัวอย่างในกรณี ‘อากง’ มาก่อนหน้า เพราะขอบเขตการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นไปอย่างรุนแรง

ผมจึงเห็นด้วยในหลักการว่าควรมีการปรับปรุงกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้เหมาะควร ผมมิได้ต้องการให้ล้มเลิก แต่ต้องการให้ปรับเปลี่ยนกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อปลอดพ้นจากการสร้าง “บรรยากาศแห่งความกลัว” ผมไม่รู้จักนายสมยศเป็นการส่วนตัว และนิตยสาร ‘วอยซ์ ออฟทักษิณ’ เท่าที่เคยเห็นอยู่ 1-2 ฉบับก็ประเมินได้ทันทีว่าไม่ใช่นิตยสารในอุดมคติของผม เนื่องจากเอียงข้างไปทางตัวบุคคลและกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งมากกว่าเป็นสื่อมวลชนในความหมายของ “ฐานันดรที่ 4”

แต่การแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเห็นต่างหรือเห็นพ้องที่ปรากฏใน “สื่อ” ทั้งหลาย ถือเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในอารยะประเทศ” ที่ประเทศนี้เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ดังนั้นเมื่อต้องการจะเป็น “อารยะประเทศ” ในสังคมเปิดที่เรียกว่าประชาธิปไตย เราจึงไม่ควรสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวด้วยกรรมวิธีที่ขัดแย้งกับ หลักการพื้นฐานดังกล่าว (ความรุนแรงทางวาจา การข่มขู่คุกคามด้วยกำลัง การใช้ความรุนแรงทางกฎหมาย) กล่าวคือ เราต้องเทศนาในสิ่งที่เราเชื่อ (ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ผมคิดว่าการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเห็นพ้องหรือเห็นต่าง ไม่ใช่การประกอบอาชญากรรมแบบอาชญากร ผมมีการเมืองไม่พอที่จะตัดสินความขัดแย้งของ “สีเสื้อ” ต่างๆ ที่ปรากฏในปัจจุบัน แต่มีหลักการพอว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และการแสดงความเห็นครั้งนี้ก็พ้นไปจากตัวบุคคลและกลุ่ม “สีเสื้อ”

 

ดังนั้น จะเรียกผมว่า ‘สลิ่ม’ ในความหมายของคำว่า Sceptic [นักกังขาคติ = คนที่ข้องใจความคิดซึ่งเป็นที่ยอมรับ] ผมก็ยินดี ผมขอแสดงความวิตกกังวลในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพบรรณาธิการและในฐานะ “สลิ่ม” ที่เห็นว่า สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางการเมืองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

หรือว่าประเทศนี้เป็นอย่างอื่นที่ผมไม่ทราบ ดังนั้นจึงมีการบริหารอำนาจในรูปแบบของ “การใช้ความรุนแรงทางกฎหมาย” ปรากฏอยู่เสมอ.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทวิจารณ์คำพิพากษาสมยศ พฤกษาเกษมสุข (ฉบับย่อ)*

$
0
0

ประเด็นที่หนึ่ง การ “เล่นคำ” ที่เปลี่ยนบรรทัดฐานทางกฎหมาย:

ต่อไปนี้เวลาฟ้องหนังสือพิมพ์ให้รับผิดไม่ต้องใช้คำว่า “บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา” แต่ให้ใช้คำว่า “ด้วยการพิมพ์” แทน

อันเนื่องจากคำพิพากษานายสมยศให้มีความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และเผยแพร่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งได้ทำลายบรรทัดฐานของศาลอุทธรณ์ ซึ่งพิพากษาโดยศาลอาญากรุงเทพฯใต้ ในคดีความระหว่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และ บริษัทแมเนเจอร์มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กับ นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน โดยมีรายละเอียดตามเนื้อข่าวของสำนักข่าว innnews และที่ปรากฏตามข่าวทั่วไปว่า:

ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท แมเนเจอร์มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กับ นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากกรณีเมื่อวันที่ 29 - 30 พ.ค. 2544 นสพ.ผู้จัดการรายวัน ลงตีพิมพ์เผยแพร่เนื้อหาการดำเนินรายการทางสถานีวิทยุคลื่น FM 99.5 ของ นายพายัพ วนาสุวรรณ ในทำนองว่า ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เคยใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นำที่ดินของครอบครัวไปจำนองกับธนาคารมหานคร เพื่อออกตั๋วแลกเงิน ก่อนนำไปขายต่อให้ ธนาคารกรุงไทยเพื่อกินส่วนต่างมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2550 ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดจริงตามฟ้องให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4 หมื่นบาท และได้ให้จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 4 เดือน และปรับ 4 หมื่นบาท โทษจำคุก ให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี โดยศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีบังคับใช้ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งตามมาตรา 3 ได้ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ อีกทั้ง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการต้องเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ที่ตนเป็นบรรณาธิการ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป พิพากษายกฟ้อง

(Link : http://www.innnews.co.th/ศาลยกฟ้อง-บก-ผู้จัดการ-หมิ่น-ปรีดิยาธร--315603_05.html )

“พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ” ในเนื้อข่าวดังกล่าว หมายถึง พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484ซึ่งมีบัญญัติไว้ในส่วนที่ 4 ความผิดและบทกำหนดโทษ มาตรา 47 และมาตรา 48 ว่า

มาตรา 47 เพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติใน มาตรา 54 และ มาตรา 60 ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ใดครอบครองเครื่องพิมพ์อยู่ ผู้นั้นเป็นผู้พิมพ์และผู้โฆษณา

มาตรา 48 เมื่อมีความผิดนอกจากที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์นอกจากหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบทประพันธ์นั้นต้องรับผิดเป็นตัวการ ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการ

ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการและถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย

มาตรา 49 ในกรณีที่นิติบุคคลได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือ กระทำความผิดใด ๆ ด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์ ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับผิดด้วยเท่าที่ตนได้กระทำ

ในคดีความระหว่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการดังกล่าว ศาลได้พิพากษายกฟ้อง เนื่องจาก ได้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 3 ได้ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484  อีกทั้ง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการต้องรับผิดชอบข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ “การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด”

คำว่า “การกระทำของจำเลย”นี้หมายความว่าอะไร?

การกระทำของจำเลยในที่นี้ซึ่งก็คือ บริษัทแมเนเจอร์มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กับ นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ก็คือ “การจัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และเผยแพร่”หนังสือพิมพ์ฉบับที่มีข้อความหมิ่นประมาทนั่นเอง

เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า จุดมุ่งหมายของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นี้ มีใจความสำคัญก็คือ ให้ถือว่า “การจัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และเผยแพร่” หนังสือพิมพ์ที่มีข้อความหมิ่นประมาทนั้น ไม่ใช่การกระทำผิดอีกต่อไป เพราะได้มีการยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 ไปแล้ว

และเนื้อความแห่ง พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 นั้น ก็ระบุชัดไปที่ “พฤติการณ์”ไม่ใช่ตำแหน่ง กล่าวคือมุ่งเน้นย้ำไปที่พฤติการณ์ของการกระทำว่า “เป็นเจ้าของ เป็นผู้พิมพ์ ผู้จัดจำหน่ายเผยแพร่” หรือไม่  ดังที่ระบุในมาตรา 47 ว่า “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ใดครอบครองเครื่องพิมพ์ผู้นั้นเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา” และยังอ้างต่อไปยังมาตรา 54 และ 60 ซึ่งระบุว่า

  มาตรา 54 ผู้ใดกระทำการในหน้าที่เป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ...

  มาตรา 60 ผู้ใดทำการในหน้าที่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือ เจ้าของหนังสือพิมพ์ได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติ...

ข้อความที่ระบุอยู่ในมาตรา 47  และมาตรา 54 และ 60 ต่างล้วนระบุชัดว่ามุ่งเน้นไปที่ “พฤติการณ์” หรือ “การกระทำ” คือ ผู้ใดครอบครองเครื่องพิมพ์, ผู้ใดกระทำการในหน้าที่เป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา, ผู้ใดทำการในหน้าที่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือ เจ้าของหนังสือพิมพ์ ผู้นั้นมีความผิด

ดังนั้น ความมุ่งหมายที่อยู่ในคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ในเมื่อ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ดังนั้น การเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หรือตามเจตนารมณ์อันชัดเจนที่บรรจุอยู่ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 คือ การมีพฤติการณ์เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หรือเผยแพร่หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท พฤติการณ์นั้นย่อมไม่ถือเป็นความผิด

หมายความว่า หากมีการฟ้องร้องและตัดสินให้มีความผิดในเรื่องหมิ่นประมาทในสิ่งพิมพ์และหนังสือพิมพ์เกิดขึ้น ใครเป็นผู้เขียนข้อความหมิ่นประมาทและสมัครใจให้เผยแพร่ ผู้นั้นเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะต้องรับผิด ความผิดนั้นไม่สามารถโยงไปสู่ผู้ที่ดำเนินการบรรณาธิการ จัดพิมพ์ หรือเผยแพร่ข้อเขียนนั้น ๆ ได้ และหากสังเกตว่า แม้แต่ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 เอง ตรงมาตรา 48 วรรค 2  ก็ระบุว่า “ให้ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการรับผิดเป็นตัวการ ถ้ามิได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย..” หมายความว่า แม้แต่ตอนมี พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ ก็ยังไม่ถือว่าผู้พิมพ์มีความผิดด้วยซ้ำ ให้ผิดเฉพาะ ผู้ประพันธ์ กับ บรรณาธิการ ถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์จึงค่อยเอาโทษผู้พิมพ์

แต่ศาลอาญาได้ “กลับ” คำพิพากษาดังกล่าว ด้วยการ “เล่นคำ” โดยพิพากษาว่า “ที่จำเลยต่อสู้ว่า พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ได้มีบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 เท่านั้น ส่วนการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามฟ้อง ไม่ได้ถูกยกเลิก โดยผลแห่งกฎหมายดังกล่าวด้วยที่จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้เขียนบทความที่โจทย์นำมาฟ้องเป็นคดีนั้น เห็นว่าโจทย์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่..”

ศาลกล่าวว่า จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484  ก็แล้วการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. 2484 จะคืออะไรเล่า หากไม่ใช่การมีพฤติการณ์ บรรณาธิการ, พิมพ์, โฆษณา จัดจำหน่ายและเผยแพร่สิ่งพิมพ์ที่มีข้อเขียนหมิ่นประมาท ?

และแม้แต่ในส่วนของคำพิพากษาศาลก็ยังล้อคำพิพากษาของตัวเองว่า “การที่จำเลยนำบทความไปจัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และเผยแพร่ จึงมีเจตนาหมิ่นประมาท...”

ก็การที่จำเลยนำบทความไปจัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และเผยแพร่ นั่นแหละคือสาระของมาตรา 47, 48, 49 ของ พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 และมันได้ถูกยกเลิกไปแล้ว !!!

และสิ่งที่เกิดจากการ “เล่นคำ” เช่นนี้ของศาล ไม่เพียงทำให้สมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยแห่งคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว ยังสร้างบรรทัดฐานในการตัดสินคดีเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทใหม่ ทั้งที่ บทบาทของบริษัทแมเนเจอร์มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กับ นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นั้น ก็คือ “การเป็นเจ้าของ เป็นบรรณาธิการ เป็นผู้พิมพ์ และผู้จัดจำหน่าย เผยแพร่” ไม่ต่างหรืออาจจะครบถ้วนชัดเจนกว่ากรณีนายสมยศ แต่ก็ไม่ผิดเพียงเพราะโจทย์ได้ยื่นฟ้อง “ในฐานะ” แต่ไม่ได้ยื่นฟ้องว่ามีเจตนา “ด้วยการ” เท่านั้น

ต่อไปนี้บรรทัดฐานของแนวทางสืบพยานโจทย์และกล่าวหาฟ้องร้องหนังสือพิมพ์ไทย ก็มุ่งเน้นไปที่ “พฤติการณ์” เป็นหลัก หากสืบพยานได้ชัดแจ้งว่า ใครเป็นเจ้าของ เป็นบรรณาธิการ เป็นผู้พิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย และเผยแพร่ ได้  ก็สามารถเอาผิดได้เหมือนเมื่อยังมี พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 เช่นเดิม  บัญญัติยกเลิก พ.ร.บ.ดังกล่าวใน พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ย่อมไม่มีความหมาย เพราะเปลี่ยนแค่คำว่า “ในฐานะ” เป็น “ด้วยการ” ก็สามารถที่จะกล่าวโทษเพื่อหลบเลี่ยง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ได้แล้ว

 

 

หมายเหตุ– บทความชิ้นนี้เป็นเพียงฉบับย่อ ผู้เขียนกำลังอยู่ในระหว่างค้นคว้ารวบรวมเอกสาร เพื่อเขียนคำวิจารณ์ฉบับเต็ม

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: นักรบศักดิ์สิทธิ์ ณ ดินแดนแห่งนั้น

$
0
0

 

ณ ดินแดนแห่งนั้น

นักรบแห่งดินแดนประกาศจะบังคับใช้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์

เพื่อดินแดนแห่งสันติภาพ

แต่ไม่ใช้บังคับกับตัวนักรบเอง !

ไม่ใช่สำหรับนักรบศักดิ์สิทธิ์ !!!

 

 

นักรบศักดิ์สิทธิ์ไม่เคยผิด...

นักรบศักดิ์สิทธิ์ต่อสู้กับผู้รุกราน...

นักรบศักดิ์สิทธิ์เป็นคนดี...

นักรบศักดิ์สิทธิ์คือวีรบุรุษ...

 

 

คนที่นักรบศักดิ์สิทธิ์ฆ่า

เป็นคนเลว สมควรตาย

หากถามว่า ทำไมต้องฆ่า?

"คนที่ตายนั้นเลว คนที่เลวสมควรตาย"

"คนที่ตายนั้นเลว คนที่เลวสมควรตาย"

"คนที่ตายนั้นเลว คนที่เลวสมควรตาย"

คือเหตุผลที่ถูกต้องจากนักรบศักดิ์สิทธิ์

ใครตายใครเลวอยู่ที่นักรบศักดิ์สิทธิ์

ผู้ถือสิทธิชี้เลวชี้ตายแต่เพียงผู้เดียว...

 

 

25 มกราคม 2556

บทกวีหลังจากสนทนาถึง "ครูชลธี" ที่จากไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

29 มกราฯ ชุมนุมใหญ่ ยื่นร่างนิรโทษกรรมที่ทำเนียบฯ – นักโทษการเมืองแถลง ‘ขอบคุณ’

$
0
0

 

28 ม.ค.55  นักโทษการเมืองจากคดีเกี่ยวกับการชุมนุมปี 2553 รวมถึงนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112) ออกแถลงการณ์ขอบคุณกลุ่มแนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง ที่จะจัดชุมนุมใหญ่เพื่อยื่นร่าง แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง

ทั้งนี้ นักโทษการเมืองที่ถูกกักขังปัจจุบัน แบ่งเป็น คดีหมิ่นฯ 6 คนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ, คดีเกี่ยวเนื่องจากการสลายการชุมนุม 2553 อีก 4 คนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ, คดีหมิ่นฯ ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง 1 คน, คดีเกี่ยวเนื่องจากการสลายการชุมนุม 2553 ที่เรือนจำหลักสี่ (เป็นเรือนจำการเมืองโดยเฉพาะ) อีก  22 คน

ร่างดังร่างดังกล่าวเป็นร่างที่เสนอโดยกลุ่มนิติราษฎร์เมื่อวันที่ 13 ม.ค.56โดยมีเนื้อหานิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเท่านั้น ไม่นับรวมแกนนำและทหารผู้ปฏิบัติงาน โดยกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลนำโดยสุดา รังกุพันธุ์ ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ของคนเสื้อแดงได้ร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายที่จะสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญนี้โดยระบุว่าเป็นก้าวแรกในการคืนความยุติธรรมให้ประชาชน และประกาศชุมนุมใหญ่เพื่อนำเสนอร่างต่อรัฐบาลที่ทำเนียบฯ วันที่ 29 ม.ค.นี้ โดยนัดหมายกันที่หมุดคณะราษฎร

“สิ่งที่มุ่งหวังคือรัฐบาลจะได้รับข้อเสนอนี้จากนิติราษฎร์ไปพิจารณาในคณะรัฐมนตรี นำร่างฯ เข้าสู่รัฐสภา โดยจะไม่มีการเข้าชื่อ โดยเชื่อว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ได้วางกลลวงไม่ทำให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิตามที่เขียนเป็นลายลักษณ์ ดังที่ได้เห็นจากที่รัฐสภาจำหน่ายทิ้งข้อเสนอร่างฯ ครก.112 ออกจากการพิจารณาในสภา เป็นเหตุผลที่ทำให้เห็นว่าการที่ประชาชนถูกล่อลวงไปเสนอชื่อมากมาย ใช้ทรัพยากรและอุทิศเวลาส่วนตัวโดยหวังว่ารัฐสภาจะนำความเห็นความต้องการของประชาชนเข้าไปพิจารณา เป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ประชาชนจะไม่ใช้การเข้าชื่อต่อไป แต่จะไปด้วยตัวเองจะร่วมกันไปยื่นร่างฯ ต่อรัฐสภาที่ทำเนียบรัฐบาล” สุดากล่าวในงานแถลงข่าวก่อนหน้านี้

สำหรับเนื้อหาของจดหมายจากนักโทษการเมืองนั้นระบุว่า ที่ผ่านมาออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้วถูกดำเนินคดีทำให้ได้รับผลกระทบอย่างสาหัส การเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือว่าเป็นการช่วยเหลือผู้ต้องขังที่จริงจังและชัดเจนที่สุด และเชื่อมั่นว่าประชาชนจะนำพาผู้ต้องขังสู่อิสรภาพได้

 

รายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้  

 

 

แถลงการณ์ขอบคุณ “กลุ่มแนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง”

จากเพื่อนผู้ต้องขังคดีการเมือง เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

 

พวกเราในนามกลุ่มผู้ต้องขังคดีการเมือง เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขอขอบคุณแนวร่วมทุกกลุ่ม ทุกท่าน ที่ได้ริเริ่ม และร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อช่วยเหลือพวกเราที่ถูกคุมขังในคดีทางการเมืองทั้งหมด ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ และทุกเรือนจำในประเทศไทย พวกเรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ในครั้งนี้ ที่มีเป้าหมายในการช่วยเหลือพวกเราที่ถูกคุมขังอย่างจริงจัง และชัดเจนที่สุดภายหลังจากการสลายการชุมนุม ในปี 2553 เป็นต้นมา

ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ตั้งแต่ก้าวแรก ที่มีพี่น้องของเราถูกจับกุมคุมขังเข้ามาอยู่ในเรือนจำ หากถามผู้ที่แวะมาเยี่ยมเยียนพวกเราอยู่เสมอ ก็จะทราบว่าพวกเราต่างประสบชะตากรรมเดียวกัน คือต้องพบกับความยากลำบากอย่างแสนสาหัส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นอยู่ ปัญหาทางด้านการเงิน การต่อสู้คดี และผลกระทบอีกมากมายที่ถาโถมเข้ามาอย่างไร้ความปรานี เราทุกคนตกอยู่ในสภาพเดียวกันคือต้องประสบกับช่วงที่ตกต่ำที่สุดในชีวิต

จะมีสักกี่คน ที่จะตระหนักว่าพวกเราแทบจะทั้งหมด ไม่เคยคิดที่จะต้องเจอกับปัญหานี้ ไม่เคยวางแผนล่วงหน้าที่จะติดคุก ไม่เคยวางแผนที่จะรับมือกับความหายนะของครอบครัว ธุรกิจ หรือแม้แต่กระทั่งชีวิตตัวเอง เพราะพวกเราคือประชาชนคนธรรมดา

เราทุกคนเพียงแต่ทำและคล้อยตาม ความเชื่อมั่นและศรัทธาของเรา ที่มาจากสิ่งที่เราได้รับรู้ และเข้าใจในเวลานั้น ซึ่งทำให้เรายอมทำอะไรลงไป โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่จะตามมา แต่เราไม่เคยเสียใจ เพราะเราเชื่อเสมอจนกระทั่งวินาทีนี้ว่า ท้ายที่สุด พี่น้องประชาชนที่มองเห็นความยากลำบากของพวกเรา “จะนำพาเราออกไป” จากที่นี่ได้

วันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเราที่ผ่านมา พวกเราได้เรียนรู้และเข้าใจในหลายสิ่งหลายอย่าง ใครทำดีกับเรา ใครห่วงใยเรา ใครช่วยเหลือเรา หรือใครจริงใจกับเรา ล้วนอยู่ในความทรงจำของเราทั้งหมด แม้เราจะเป็นคนคุก แต่เราไม่ได้โง่ที่จะไม่คิดอะไรได้เลย

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องขอขอบคุณกลุ่มแนวร่วม 29 มกราฯ ที่เคลื่อนไหวช่วยพวกเราในครั้งนี้ และนี่เป็นการขอบคุณครั้งแรกอย่างเป็นทางการของพวกเรา เพราะเรารับรู้ได้ว่าพวกท่านจริงจัง และจริงใจที่จะช่วยเหลือเราอย่างแท้จริง ไม่เสแสร้งแกล้งทำ

สุดท้ายนี้ เราขอขอบคุณพี่น้องทุกคนที่สนับสนุนกิจกรรมนี้อีกครั้ง แม้เราจะไม่คาดหวังว่ามันจะสำเร็จหรือไม่ จะมีคนมาร่วมสนับสนุนในวันที่ 29 นี้มากแค่ไหน แต่เราขอให้ท่านทราบว่า ท่านทำให้เรารู้สึกมีค่า มีกำลังใจ ที่จะอดทนสู้ต่อไป...แม้จะนานสักแค่ไหนก็ตาม!!

 

กลุ่มผู้ต้องขังคดีการเมือง เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตือนบริโภค 'กาแฟลดน้ำหนัก' ใส่สารลดอ้วนต้องห้าม

$
0
0

จากการเผยแพร่ข่าวประเทศเยอรมันตรวจพบสารไซบูทามีนในกาแฟลดน้ำหนักจากประเทศไทยนั้น ศูนย์ทดสอบนิตยสารฉลาดซื้อ จึงขอเตือนผู้บริโภคในไทยให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อกาแฟลดน้ำหนักอันเนื่องจากความเสี่ยงต่อสารต้องห้าม ซึ่งจากผลการทดสอบกาแฟลดน้ำหนักที่เผยแพร่ลงในนิตยสารฉลาดซื้อประจำเดือนมีนาคม 2555 ฉบับที่ 133 กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ!! รายงานถึงผลการศึกษาเรื่องนี้ว่า กาแฟที่ลดน้ำหนักได้นั้น คือกาแฟที่มีส่วนผสมของยาลดน้ำหนักซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในอาหารทุกประเภท

ก่อนหน้านี้ สารไซบูทรามีน เป็นยาควบคุมพิเศษที่ใช้กับผู้ป่วยโรคอ้วน ซึ่งหมายถึงคนที่ป่วยจริงๆ ไม่ใช่ที่คิดว่าตัวเองอ้วน หุ่นไม่ดีแล้วอยากจะลดน้ำหนัก แต่เพราะความรุนแรงของสารตัวนี้มีผลถึงขั้นทำให้หัวใจหยุดทำงาน และการที่มีผู้ไม่หวังดีนำสารไซบูทรามีนไปใส่ในอาหารเสริมแล้วอ้างสรรพคุณว่า ดื่มแล้วช่วยให้น้ำหนักลดจึงเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้ อย. ต้องตัดสินใจประกาศยกเลิกตำรับยาชนิดนี้ แต่ก็ยังไม่วายมีคนนำสารไซบูทรามีนมาใส่ในผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าช่วยลดความอ้วน ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงกาแฟด้วย โดย อย. เคยตรวจพบในกาแฟสำเร็จรูปนำเข้าจากจีนยี่ห้อ Slimming Coffee Splrultn เมื่อช่วงปลายปี  พศ.2554 ฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงทั้งการดื่มกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าดื่มแล้วช่วยทำให้น้ำหนักลดทุกชนิด โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่มีเลขมาตรฐานอาหารของ อย. เพราะเราอาจกำลังเสี่ยงอันตรายจากสารไซบูทรามีนโดยไม่รู้ตัว

ทั้งนี้ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ยังได้เตือนผู้บริโภคที่จะซื้อกาแฟลดน้ำหนัก  ตามคำกล่าวอ้างสรรพคุณลดน้ำหนักได้รวดเร็วเห็นผลทันใจ  อาจทำให้หัวใจหยุดทำงานได้อย่างเฉียบพลัน ดังนั้นหากผู้บริโภคพบเห็นหรือมีไม่แน่ใจว่ากาแฟลดน้ำหนักที่ผู้บริโภคจะซื้อหามาทานนั้นจะมีสารไซบูทามีนหรือไม่ ให้ผู้บริโภคแจ้งไปยัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  (อย.) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทดสอบนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชอบด้วยกฏหมาย แต่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ของฝากและของแถมถึงท่านอธิบดีศาลอาญา

$
0
0

คำพิพากษา คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ดี ต้องถูกต้องเป็นธรรม เป็นคำพิพากษา คำวินิจฉัย ที่เมื่อผู้อ่าน หรือผู้ฟัง ได้อ่านได้ฟังแล้วเข้าใจเหตุผล ปราศจากความสงสัยต่อการชี้ขาดความยุติธรรม ดังนั้น หากคำพิพากษา คำวินิจฉัยชี้ขาดใด เมื่อได้อ่านหรือได้ฟังแล้วขาดเหตุผลอันหนักแน่นมั่นคงมาเป็นคำอธิบาย สนับสนุนการชี้ขาด ผู้อ่านหรือผู้ฟังย่อมมีสิทธิตั้งคำถามได้ ถึงแม้คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยนั้นจะชอบด้วยกฏหมาย แต่อาจเป็นคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล[1]

สิทธิการตั้งคำถามและวิพากษ์คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลจึงควรเป็นสิทธิโดยชอบ ที่คู่ความหรือสาธารณชนมีสิทธิโต้แย้ง ถึงแม้กฏหมายละเมิดอำนาจศาลจะมีข้อกำหนด ห้ามการวิพากษ์ หรือกล่าวหาว่าศาลเป็นผู้มีอคติ[2]แต่ถ้าหากปรากฏว่า จากฐานะของศาล ความสัมพันธ์ของศาลระหว่างคู่ความ หรือถ้อยคำ หรือข้อความในคำพิพากษา หรือคำวินิจฉัยใด มีกรณีสงสัย ตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายใด คู่ความย่อมมีสิทธิคัดค้าน[3]รวมถึงสิทธิในการอุทธรณ์ ฏีกา สาธารณชนย่อมมีสิทธิวิพากษ์คัดค้านความเป็นกลางของศาลได้เช่นกัน

ดังนั้น การที่ท่านอธิบดีศาลอาญา ท่านทวี ประจวบลาภ กล่าวถึง ความประสงค์จะใช้กฏหมายละเมิดอำนาจศาล ออกหมายเรียกผู้วิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษา กรณีศาลลงโทษคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ตามความผิดประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๑๑๒ มาสอบถาม[4]หากกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา จะสันนิษฐานว่าการกล่าวถึงเพื่อเป็นการปกป้องศาลยุติธรรม หรือเพื่อเป็นการคุกคาม ข่มขู่ หรือคับแคบได้หรือไม่ และถ้าเป็นอย่างหลัง คำจัดกัดความ “ผู้ชื่นชอบอำนาจนิยม” ถือได้ว่า เป็นคำไม่หนักเกินจริงง

ในทางตรงข้าม หากท่านอธิบดีพิจารณาทบทวนถึงความเป็นมาของตัวบทกฏหมาย ฐานะของศาลในพระปรมาภิไธย กับฐานความผิด กระบวนการพิจารณาความอาญาที่ประพฤติปฏิบัติต่อคุณสมยศ รวมถึงเหตุผลที่ใช้ทำคำพิพากษา มีที่ใดบ้างที่บ่งบอกถึงหลักนิติธรรม คุณธรรม และจริยธรรมของกฏหมายมาตรานี้  คงไม่ต้องให้มีใครหน้าไหน นักวิชาการ นักกฏหมาย หรือชาวบ้านผู้หนึ่งผู้ใดแย้งว่า ระดับอธิบดีศาลอาญา ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ทำไมนักวิชาการบางส่วน บางคน หรือในสายตาสาธารณะทั้งไทยและต่างประเทศ จึงกล้าวิพากษ์วิจารณ์ความผิดเพี้ยนของบทบาทของศาลไทยกับความผิดมาตรา๑๑๒ อย่างตรงไปตรงมา

ความน่าตำหนิการมีอยู่และการบังคับใช้ของกฏหมายมาตรานี้ คือความไม่สมประกอบ ความพิกลพิการของหตุผล บ่งบอกถึงการดื้อแพ่งต่อกฏของการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับถ้อยคำที่ต้องการ เพื่อเป็นการกลบเกลื่อนสร้างภาพการบังตาสมาชิกในสังคมให้สำคัญผิดต่อสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของประเทศ เจ้าของอำนาจอธิปไตย และระบอบการเมืองการปกครอง

การนำข้ออ้างว่า ประเทศไทยมีการปกครองเฉพาะไม่เหมือนประเทศอื่นใด มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชกรณียกิจ ตลอดจนคุณูปการสำคัญของพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งต้องเทิดทูนสักการะ ละเมิดไม่ได้ บทบัญญัติและโทษตามมาตรา๑๑๒ จึงไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่แย้งกับรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นขัดต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงออกพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญป ๒๕๕๐  ของศาลรัฐธรรมนูญ[5]มาเป็นเหตุผลในการทำคำพิพากษา คำวินิจฉัย ทั้งในระดับศาลรัฐธรรมนูญ และในระดับศาลอาญา ยังมีความคลุมเครือ เป็นกรณีมีเหตุสมควรแก่การสงสัย เพราะข้ออ้างที่นำมากล่าวถึง เป็นการเลือกกล่าว ไม่ได้เป็นการกล่าวให้ครบถ้อยกระจ่างแจ้งโดยตลอดเนื้อความ

ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ บุคคลิคภาพของบุคคล สถาบัน หรือแม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ ย่อมต้องมีข้อดีและข้อเสีย ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้กล่าวให้สุดถ้อยกระบวนความว่า บทบัญญัติมาตรา๑๑๒ เป็นบทบัญญติตราขึ้นจากคณะบุคคลที่ได้อำนาจมาโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย[6]รวมถึงการได้อำนาจมาของตุลาการรัฐธรรมนูญคณะนี้ด้วย[7] ผู้ที่ได้อำนาจมาโดยไม่ชอบ จึงขาดคุณสมบัติใดๆ ที่จะชี้ว่า กฏหมายใดขัดต่อหลักนิติธรรมหรือไม่ นอกจากนั้นโทษตามบทบัญญัติมาตรานี้ มีลักษณะถอยหลังเข้าคลอง ศาลรัฐธรรมนูญเลือกกล่าวโดยไม่อธิบายให้ประชาชนเกิดความชัดเจนในบทบัญญัติดั้งเดิมใน ร.ศ.๑๑๘ ซึ่งเป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราโทษปัจจุบัน จำคุกสามถึงสิบห้าปี[8]

ทำนองเดียวกัน การอ้างความไม่เหมือนประเทศอื่นใด ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ หรือพระราชกรณียกิจ จึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะประวัติศาสตร์ไม่ใช่กฏหมาย ข้อดีของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะผู้นำทางการปกครองยุคหนึ่งย่อมเป็นข้อดีที่รับฟังได้ แต่ข้อเสียที่บุคคลในสถาบันพระมหากษัตริย์หาประโยชน์จากข้าไพร่ เอาเงินเข้าพกเข้าห่อ ทะนุบำรุงลูกหลาน ข้าทาสบริวารเฉาะตัวให้เสวยความสุขสบาย ขณะที่ประชาชนในประเทศยากจนข้นแค้น ย่อมมีมูล เป็นหลักฐานรับฟังได้เช่นกัน หากมีการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ควรให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น[9]ผ่านกระบวนการพยานหลักฐาน ผ่านกระบวนการสิทธิเสรีภาพของการวิพากษ์วิจารณ์สาธารณะ การข่มขู่ บังคับ ให้คนเชื่อแต่ข้อดี โดยปราศจากการชั่งน้ำหนักไตร่ตรองถึงข้อเสีย ถือว่ามิใช่วิสัยของศาลยุติธรรม เพราะเป็นการสอนให้คนโกหก อยู่ในโลกของการสรรเสริญเยินยอ และถ้าศาลในฐานะผู้ผดุงความยุติธรรมเป็นผู้เริ่มต้น ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน

เว้นแต่เป็นไปโดยประการอื่น หากท่านอธิบดีศาลใจกว้าง จึงไม่มีเหตุใดที่ท่านควรตั้งข้อรังเกียจ การวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษา โดยเฉพาะคำพิพากษา คำวินิจฉัยที่ยืนอยู่บนบรรทัดฐานของความหมิ่นเหม่ของอคติสี่[10]ที่ท่านและบรรดาผู้ผู้พิพากษาตุลาการใช้เป็นบทปฐมในบรรลังกืที่ท่านกำลังชี้เป็นชี้ตายในชีวิตของผู้อื่น

มีบริบทใดบ้างที่ท่านอธิบดีศาลอาญาอธิบายได้บ้างว่า ศาลเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยเฉพาะ เมื่อเหตุพิพาทนั้นเกี่ยวข้องกันระหว่างบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับบุคคลในสถาบันพระมหากษัตริย์ เปิดดูคำพิพากษาฏีกาเรื่องไหน คำพิพากษาศาลชั้นต้นเรื่องใด มีอะไรบ้างที่ทำสาธารณะเข้าใจเป็นอื่นได้ต่อความถูกต้องเป็นกลางมีอยู่จริง จริงอยู่ โดยกฏหมาย แม้กฏหมายอาญา ความผิดตามมาตรา๑๑๒  เป็นความผิดระหว่างเอกชนต่อรัฐ ไม่ใช่ความผิดระหว่างเอกชนกับบุคคลในสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่จะให้สาธารณะหรือบุคคลที่ต้องหาเชื่อโดยสุจริตว่า ผู้กระทำในพระปรมาภิไธย ผู้ที่ได้รับตำแหน่งและการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ เป็นผู้มาทำหน้าที่โดยปราศจากอคติลำเอียง เป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม โดยสามัญสำนึกและเหตุผลธรรมดา ย่อมเป็นข้อขัดกันโดยธรรมชาติของเนื้อหาของเรื่องเอง เป็นเรื่องเชื่อถือและทำความเข้าใจได้ยาก

ถ้าแนวโน้มคำพิพากษาของศาลวางไปในแนวทางเดียวกัน กรณีมีข้อสงสัย ยกประโยชน์ให้โจทก์ (คดีอากง) การแสดงเจตนาเชิงสัญญลักษณ์เป็นความผิดฐาน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาต มาดร้าย จึงเป็นการขยายหลักการและอำนาจการตีความกฏหมายอาญาและวิธีความพิจารณาความอาญาที่เป็นผลร้ายแก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย (กรณีคุณวริศ ชูกล่อม และคุณสมยศ) การตีความเช่นนี้ เป็นการตีความที่ขัดต่อข้อสันนิษฐานว่า จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงโดยปราศจากข้อสงสัย[11] คำถามจึงมีอยู่ว่า ถ้าศาลวางตัวเอง และเข้าไปนั่งอยู่ในใจ บอกถึงเจตนาคลุมเครือภายในใจของจำเลยได้ สาธารณชนควรได้รับสิทธิโดยชอบหรือไม่ที่จะกล่าวถึงเจตนาของศาลกำลังทำเพื่อใคร

ในกรณีคุณสมยศ การดำเนินการกระบวนการชั้นพิจารณา นับแต่การไม่ให้ประกันตัว การสืบพยาน ที่นำตัวคุณสมยศใส่ท้ายรถตระเวนไปสืบศาลต่างจังหวัด เจตนาศาลคืออะไร จะให้แปลว่าอย่างไร จะให้แปลเป็นจารีตนครบาลยุคใหม่หรืออย่างไร

ผู้พิพากษาตุลาการ เป็นผู้ผ่านกระบวนการคัดเลือกสรรมาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะความรู้ ความเข้าใจตัวบทกฏหมาย การให้สันนิษฐานว่า ผู้พิพากษาตุลาการ ไม่รู้เห็นถึงความยากลำบากของจำเลย ผู้ถูกใส่ท้ายรถไปนำสืบตามต่างจังหวัดในกรณีคุณสมยศ เป็นเรื่องรับฟังได้นั้น เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น

ตรงกันข้าม การกระทำที่ศาลปฏิบัติต่อคุณสมยศตลอดการพิจารณาความถึงขั้นมีคำพิพากษา จึงไม่อาจสันนิษฐานเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากว่า ศาลยุติธรรมไทยเชื่อถึงความมีอยู่ของมาตรานี้ว่า มีความชอบธรรม ถือเป็นความผิดร้ายแรง เป็นนโยบายทางอาญาที่ต้องกำหนดโทษรุนแรง เพื่อให้หราบจำ โดยเหตุนี้ ศาลจึงอาจเชื่อมาแต่แรกว่า คุณสมยศเป็นผู้กระทำความผิด

หากข้อสันนิษฐานข้างบนมีอยู่จริง ศาลยุติธรรมไทยกำลังบอกให้สาธารณะทั้งภายในและภายนอก ประจักษ์ในความเป็นแบบไทยๆว่า หมายความรวมถึง “การบีบบังคับ คุกคาม สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ในการพูด การเขียน การรวมกันเป็นหมู่เหล่า เพื่อธำรงไว้ต่อการต้องเคารพสักการะ กราบกรานผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ว่าการกระทำของผู้นั้นจะเป็นเรื่องดี หรือเรื่องร้าย เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ถูกหลักนิติธรรม ถูกต้อง ชอบธรรม”

โดยเหตุที่ขัดในความเป็นเหตุเป็นผล สาธารณะจึงเข้าใจได้ถึงเจตนาของศาลยุติธรรมไทย เข้าใจได้ถึงฐานะของศาลกับฐานความผิดทางอาญา การทำคำวินิจฉัยพิพากษาผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้ จึงเป็นฝันร้ายของศาล เพราะเป็นความชอบด้วยกฏหมาย แต่ไม่ชอบด้วยเหตุผล จากความผิดปกติของตัวบทกฏหมายเอง 

ถึงวันนี้ ท่านอธิบดีศาลอาญาเข้าใจได้หรือไม่ว่า ทำไมคำพิพากษาของศาลอาญาในสังกัดของท่านจึงขาดความศักดืสิทธิ์ ทำไมสาธารณะจึงกล้าวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาในมาตรานี้ตรงไปตรงมา และทำไมสาธารณะจึงตั้งข้อสงสัยในเหตุผลที่ผู้พิพากษาในสังกัดของท่าน หรือแม้แต่ตัวท่านนำมาวินิจฉัยความผิด มีความสงสัยว่า ผู้พิพากษาในสังกัดของท่าน หรือแม้แต่ตัวท่านกำลังคิดและทำอะไรอยู่ต่อความผิดมาตรานี้

เลิกโทษคนอื่นได้แล้ว อย่าไปโกรธ อาฆาต มาดร้าย คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล องค์กรต่างชาติ หรือใครๆ การนำกฏหมายละเมิดอำนาจมาใช้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อท่านหรือศาลยุติธรรมไทย เพราะนอกจากจะทำให้ศาลยุติธรรมไทยถูกมองด้วยสายตาว่า เป็นผู้ลุแก่อำนาจแล้ว ยังอาจะถูกมองว่าเป็นองค์กรที่เกะกะระราน ไม่เหมาะสมในฐานะองค์กรผู้บังคับใช้กฏหมายอีกด้วย

มีความเข้าใจผิด และสำคัญผิดว่า มีขบวนการล้มเจ้า แต่เท่าที่พบ เกิดข้อสังเกตว่า ไม่ปรากฏว่ามีใครต้องการล้มเจ้า แต่การให้เกียรติในเกียรติยศในฐานะประมุขของประเทศมีข้อต่างกัน

ในฝ่ายเรียกคืนสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังคงต้องการให้คนเชื่อถึงอำนาจเหนือโลก เชื่อพระบุญญาธิการบารมี เป็นที่เคารพสักการะ ละเมิดไม่ได้ ไม่ว่าจะผิดหรือถูก ฝ่ายนี้ต้องการเรียกร้องคืนพระราชอำนาจ แม้พระราชดำริก็เป็นกฏหมาย

ในฝ่ายประชาธิปไตย เชื่อในระบบ “หนึ่งสิทธิ หนึ่งเสียง” เชื่อในประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ เจ้าของอำนาจ สถาบันพระมหากษัตริย์มีอำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ คำวินิจฉัย พระราชดำริ จึงไม่ใช่กฏหมายอีกต่อไป แต่รัฐสภาเป็นตัวแทนปวงชนที่มีหน้าที่กำหนดว่าอะไรเป็นกฏหมาย อะไรไม่เป็นกฏหมาย

บทความนี้แขียนขึ้นด้วยความรู้สีกเห็นใจ โดยเฉพาะผู้พิพากษาตุลาการ ที่ต้องนำตัวเองมาอยู่บนแอกของความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ตกเป็นเป้าทั้งนั้น จะเลือกเจ้าก็ต้องเขียนอย่าง จะเลือกประชาชนก็ต้องเขียนอีกอย่าง แต่ที่น่าเห็นใจมากที่สุดในบทความนี้ คือคุณสมยศ ที่ตกเป็นเหยื่อของความลุแก่อำนาจ

พระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาตุลาการ คุณวีรพัฒน์ คุณสมศักดิ์ คุณสมยศ ต่างก็เป็นคน ไม่ควรมีความต่างกันระหว่างความชอบด้วยกฏหมาย อาจแตกต่างกันได้ในความชอบด้วยเหตุผล แต่เหตุผลที่อยู่ร่วมกันต้องเป็นเหตุผลที่ดีที่สุดต่อประโยชน์ของการอยู่ร่วมกัน ไม่เฉพาะที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว  

ถ้าท่านอธิบดีพิจารณาด้วยสายตาเป็นธรรม ท่านจะเห็นบทบาทของศาลยุติธรรมในปัจจุบัน กับอนาคตของสังคมไทยที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะศาลต้องมีความเกี่ยวข้องกับความมีอยู่และการบังคับกฏหมายมาตรานี้ ศาลต้องตระหนัก แต่ละการปฏิบัติ แต่ละคำพิพากษาต่อผู้ถูกกล่าวตามความผิด ต้องไม่เป็นชนวน  หรือเป็นมูลเหตุนำไปสู่การเกิดวิกฤติ มิคสัญญี การนองเลือด จากความสำคัญผิดในสาระสำคัญของความเป็นชาติ

องค์กรตุลาการเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ควรเป็นความหวังให้ประชาชนพึ่งพาได้ จะให้เชื่อว่าองค์กรตุลาการในฐานะอำนาจหนึ่งในรัฐธรรมนูญ จะประมาณการไม่ได้ว่า ควรแก้ไข ปรับปรุงความมีอยู่และการบังคับใช้มาตรานี้อย่างไรหรือ เว้นแต่ว่า อุดมการณ์ขององค์กรตุลาการในวันนี้ เป็นอุดมการณืที่ขาดความเกี่ยวเนื่องและความผูกพันกับประชาชน

 




[1]ภาษิตกฏหมายโรมัน “ความสุจริตและความบริสุทธิ์ของผู้พิพากษาจะยกมาถกเถียงไม่ได้ แต่คำตัดสินของเขานั้นคู่ความอาจคัดค้านว่าผิดกฏหมายหรือข้อเท็จจริงได้” (de fide et officio judicie nou recipitur quaestio sed de scienta sive sit error juris sive facti), อ้างใน วิชา มหาคุณ, สำนวนโวหารในการเรียงคำพิพากษา และเหตุผลในการวินิจฉัยคดี, ศาลอุทธรณ์ และสำนักงานศาลยุติธรรม. หน้า ๓๕

[2]วธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๓๒

[3]คู่ความอาจคัดค้านผู้พิพากษาได้ตามประมวลกกหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๑

[4]มติชนออนไลท์ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖

[5]คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๘-๒๙/๒๕๕๕ “หลักการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ จึงมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒ ที่บัญญัติรับรองว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมาตรา ๘ ที่บัญญัติรับรองและคุ้มครองสถานะของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐและเป็นสถาบันหลักของประเทศ การกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดจึงเป็นไปเพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามหลักนิติธรรม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ จึงเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม มิได้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ วรรคสอง”

“ซึ่งรูปแบบการมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทยมีมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย แม้ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ก็ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบการมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ อันแสดงถึงความเคารพยกย่องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูงสุดของปวงชนชาวไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ดังที่ปรากฏตามโบราณราชประเพณี และนิติประเพณี พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจอันเป็นที่เคารพรักของประชาชน ด้วยทรงปกครองโดยหลักทศพิธราชธรรม และทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระประมุของค์ปัจจุบัน ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติและมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ทรงเยี่ยมเยียนประชาชน และพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ทรงสอนให้ประชาชนดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินชีวิตในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบถึงพระราชจริยวัตรและน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ จึงมีความเคารพศรัทธาและจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแน่นแฟ้น และด้วยคุณูปการของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาทำให้ประชาชนชาวไทยเคารพรักและเทิดทูนพระมหากษัตริย์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน อันเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของประเทศไทยที่ไม่มีประเทศใดเหมือน”

[6]คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๑ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙

[7]ผู้เขียน: ข้อเปรียบเทียบ การได้พยานหลักฐานมาโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย, วิธีพิจารณาควาอาญามาตรา ๒๒๖/๑ วรรคหนึ่ง: “ลูกไม้เกิดจากต้นไม้พิษ”, ตุลาการรัฐธรรมนูญปัจจุบัน มีความเป็นมาจากผลพวงของคณะบุคคลที่ได้อำนาจมาโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย (คมช) ถึงแม้รัฐธรรมนูญปี๒๕๕๐ มาตรา ๓๐๐ บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้มาโดยไม่ชอบ.

[8]จรัญ โฆษณานันท์, http://www.phachathai.com/journal/2009/03/204, “แต่ปัญหาของไทย คือความรุนแรงของโทษเป็นความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อน ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระราชกำหนดลักณะหมิ่นประมาท รศ.118 จำคุกไม่เกิน 3 ปี ต่อมามีกฎหมายลักษณะอาญา รศ.127 เพิ่มโทษเป็น 7 ปี กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2499 ไม่เกิน 7 ปี หลัง 6 ต.ค.2519 ปรับเพิ่มเป็น 3-15 ปี ตรงนี้สะท้อนความผิดปกติในตัวกฎหมาย โดยโทษที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือจำคุก 3-15 ปี เป็นโทษที่หนักกว่ายุคสมบูรณาญาสิทธิราช ทั้งที่อยู่ในยุคที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงเหมือนเป็นการถอยหลังเข้าคลองไปสู่สมัยอยุธยาที่ใช้กฎหมายตราสามดวง ในยุคความคิดแบบเทวราชา สมมุติเทวดาเริ่มทรงอิทธิพลมาก นอกจากนี้การที่โทษเพิ่มขึ้นยังสวนกระแสกับวิวัฒนาการของสังคม”

[9]ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๘๔

[10]หลักอินทภาษสี่ ตามหลักพระธรรมศาสตร์, ผู้พิพากษาตุลาการต้องดำรงค์ไว้ด้วยความเที่ยงธรรม ยุติธรรม ปราศจากความลำเอียงในอคติสี่, ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะโกรธ ลำเอียงเพราะหลง และลำเอียงเพราะกลัว http.//www.museum.coj.go.th.malao.inp.pdf.

[11]รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐มาตรา๓๙ วรรคสอง วรรคสาม,  วิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๒๗

 

ถามหาความจริงใจของ ส.ส. ต่อกรณีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน

$
0
0

การเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง ในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์หรือฟินแลนด์ ประชาชนสามารถเข้าชื่อเพื่อกฎหมายได้ สำหรับประเทศไทยได้รับรองหลักสิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมายในหมวดว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหมวดว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้ ต่อมา รัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยังคงหลักการดังกล่าว แต่ได้ลดจำนวนผู้เข้าชื่อลงเหลือไม่น้อยกว่า 10,000 คน เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องนี้กระทำได้ง่ายและคล่องตัวยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังกำหนดให้การพิจารณาร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอมานั้นจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดด้วย

ในกรณีของพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  พ.ศ. .. (ฉบับประชาชนเข้าชื่อ) นั้น แต่เดิมกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้านและนักวิชาการยกร่างขึ้นมาทั้งหมด 135 มาตรา แต่ภายหลังถูกคณะกรรมการกฤษฎีกาตัดเหลือเพียง 25 มาตรา จนไม่เหลือสาระสำคัญและบทบัญญัติของกฎหมายตามเจตนารมณ์ที่เคยยกร่างกันมาตั้งแต่แรก ดังนั้นเครือข่ายประมงพื้นบ้านและภาคประชาชนจึงได้พัฒนาร่างกฎหมายและร่วมกันเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.... (ฉบับประชาชนเข้าชื่อ) เสนอประกบกับร่างของคณะรัฐมนตรี เพื่อจะได้นำสาระสำคัญและหลักการของร่างกฎหมายภาคประชาชนไปพิจารณาประกอบกันในชั้นกรรมาธิการ

ปัจจุบันร่างกฎหมายฉบับประชาชนเข้าชื่อดังกล่าวผ่านการตรวจสอบของสำนักงานสภาผู้แทนราษฎร เหลือเพียงขั้นตอนให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อเพื่อเปิดให้คัดค้านรายชื่อ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน กฎหมายประชาชนฉบับนี้ก็จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาควบคู่ไปกับร่างของรัฐบาลตามความตั้งใจของประชาชน

แต่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556 วิปรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากในสภากลับลงมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) โดยไม่รอร่างภาคประชาชน ทั้งที่การเข้าชื่อเสนอกฎหมายเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ก็ได้เคยมีหนังสือสำทับถึงนายกรัฐมนตรีและประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปก่อนเพื่อรอร่างของประชาชน เพื่อจะได้พิจารณาร่างกฎหมายไปพร้อมๆ กัน

นอกจากนั้นจากการสอบถามตัวแทนประชาชนผู้เข้าชื่อพบว่า วิปรัฐบาลกลับไม่เคยได้ปรึกษาหารือหรือแจ้งให้ตัวผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายรับทราบหรือชี้แจงก่อนวิปรัฐบาลตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แต่อย่างใด จนกระทั่งก่อนการพิจารณาร่างกฎหมายของสภาไม่กี่ชั่วโมง จึงได้เรียกตัวแทนประชาชนผู้เข้าชื่อไปเจรจา ทั้งขู่ ทั้งปลอบเพื่อให้จำยอม

การตัดสินใจลงมติเห็นด้วยกับวิปรัฐบาลที่จะให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ... โดยไม่รอร่างของประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่สะท้อนการมองไม่เห็นความหมายของกระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายว่าเป็นสิทธิของประชาชนและเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชน  อีกทั้งยังเป็นการวางหลักในเรื่องนี้ไว้เป็นตัวอย่างว่า ต่อให้ประชาชนลงทุนลงแรงพัฒนากฎหมายและร่วมลงชื่อเพื่อเสนอกฎหมายมากมายเพียงใด แต่หากรัฐบาลหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ให้ความสำคัญ กฎหมายของประชาชนเหล่านั้นก็ไร้ความหมาย อีกทั้งยังสามารถกีดกันไม่ให้กฎหมายของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภาด้วยวิธีการเดียวกันนี้

ที่สำคัญเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้อดที่จะกังขาและเกิดคำถามต่อความจริงใจของรัฐบาล วิปรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากในการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนไม่ได้ ยิ่งในยุคที่อยู่ในช่วงของประชาธิปไตยผลิบานเพราะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลังจากวิกฤตรัฐประหาร ๒๕๔๙ และประชาชนคนในสังคมมีความตื่นตัวในทางการเมืองสูงที่สุดในประวัติการเมืองไทย แต่เหตุใดการตัดสินใจที่ “ไม่เห็นหัวประชาชน”  “ไม่เคารพต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ” จึงเกิดขึ้นได้ในสภาผู้ทรงเกียรติในช่วงเวลาเช่นนี้

 

ข้อมูลเพิ่มเติม
๑.) สภาผู้แทนราษฎร เตรียมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน 4 ฉบับ ตามที่ประชุมเห็นชอบให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ (http://thainews.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL5601230020006)

๒.) ภาค ปชช.ค้านรัฐบาลเร่งนำร่าง พ.ร.บ.ทะเลเเละชายฝั่ง เข้าสภาฯ ไม่รอฉบับประชาชนยื่นหมื่นรายชื่อ เผยบิดเจตนารมณ์คุ้มครองทรัพยากรชายฝั่ง-วิธีประมงพื้นบ้าน (http://www.isranews.org/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1/item/19000-deehrr.html)

๓.) หนังสือคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายขอให้ชะลอการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับ (http://www.lrct.go.th/wp-content/uploads/2012/10/%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%93-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A.pdf)

๔.) ภาคประชาชนร่วมเสนอร่างกฎหมาย ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ... เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร (http://www.radioparliament.net/news1/news.php?id_view=4930)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.เปิดเวทีถก ร่างกฎหมายสวัสดิการผู้สูงอายุ

$
0
0

ปฏิรูประบบสวัสดิการผู้สูงอายุ ถกปัญหาสิทธิ-เงินสวัสดิการ นักวิชาการเผยอายุเฉลี่ยสูงขึ้น แนะกำหนดฐานอายุให้ยืดหยุ่น

สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย –วันที่ 28 มกราคม 2556 คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง ร่างกฎหมายสวัสดิการผู้สูงอายุโดยนางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เปิดเผยว่า การรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เป็นการอภิปรายในเชิงแนวคิด 4-5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ สิทธิผู้สูงอายุ, เงินสวัสดิการดำรงชีพ,การกำหนดฐานอายุผู้สูงอายุตามร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว,กลไกการขับเคลื่อนแผนยุทศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับการขยายศักยภาพของผู้สูงอายุ การรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ จะเป็นประเด็นหลักในการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้  

นางสุนี กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในทางปฏิบัติพบปัญหาค่อนข้างมาก หลายเรื่องจำเป็นต้องแก้กฎหมาย ซึ่งเป็นภาพรวมที่ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นสอดคล้องกัน ทั้งนี้จะทำอย่างไรให้เขียนระบุไว้ชัด ตั้งแต่วัตถุประสงค์กองทุน ที่มากองทุน กระบวนการที่จะนำไปใช้และรายละเอียดในขั้นตอนต่างๆ

นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า แนวคิดกฎหมายโดยรวมยังให้ความสำคัญกับภาครัฐในการดำเนินเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุตรงนี้ตนคิดว่าไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง เพราะเรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องของทุกคน ดังนั้นการออกแบบกฎหมายต้องกำหนดพื้นที่ต่างๆกับทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม  ภาครัฐจะมีหน้าที่บางระดับเท่านั้นเพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนไปได้

“ปัญหาของแผนหรือยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาคือ ไม่มีแผนปฏิบัติการ และแนวโน้มแผนประเทศอยู่ที่ฝ่ายการเมือง ตรงนี้เป็นบริบทใหม่ ดังนั้นเมื่อมีแผนจะพบว่าเหตุใดจึงไม่ฟังก์ชั่น ฉะนั้นต้องให้พื้นที่กับคนในชุมชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง” นายไพโรจน์ กล่าว

ศ.ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล นักประชากรศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวว่า ประชากรในปัจจุบันมีโอกาสที่จะมีอายุยืนยาวถึง 100 ปีมากกว่าในอดีต เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้คนรอดชีวิตมากขึ้น และประเมินว่าอีกไม่เกิน 20 ปีประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ราว 14 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งประเทศ ปัจจุบันผู้อายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวน 7 ล้านคน หรือคิดเป็น 12% จากประชากร 64 ล้านคน อายุเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 73 ปี ส่วนตัวมีความเห็นว่า กฎหมายปัจจุบันตามสังคมไม่ทัน จะเป็นได้หรือไม่ว่าควรมีการแก้ไขคำจำกัดความ ถ้ากำหนดอายุควรจะระบุให้สูงกว่านี้หรืออาจจะไม่ต้องกำหนดอายุที่ตายตัวเพื่อให้มีความยืดหยุ่นก็จะทำให้กฎหมายทันกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่คิดว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

รศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวควรกำหนดฐานอายุของผู้สูงอายุให้มีความยืดหยุ่นไว้ ขณะที่ประเด็นเรื่องแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองและส่งเสริมผู้สูงอายุตามมาตรา16 ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะพบว่าประเทศไทยไปไกลกว่านี้แล้ว และตัวแผนผู้สูงอายุได้เป็นแผนฉบับปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุ การบริหารจัดการงานผู้สูงอายุด้วย ซึ่งพบว่ามียุทศาสตร์ค่อนข้างกว้างและครอบคลุมและเป็นแผนที่มองถึงผู้อายุในอนาคตด้วย ล่าสุดที่ประเมินไปคือ ยังไม่นำไปสู่การปฏิบัติ กับอีกส่วนหนึ่งคือเงินในกองทุนดังกล่าวคงต้องชัดเจนว่าหน่วยงานตรงนี้ต้องนำไปสู่การปฏิบัติ อีกจุดใหญ่ที่พบคือ เรื่องปัญหาสุขภาพ พบว่าช่องทางพิเศษไม่สามารถให้บริการอย่างเร่งด่วนได้จริง จึงควรจะวางแผนการบริการครบวงจรในจุดเดียว นอกจากนี้เรื่องบทบาทในท้องถิ่น ซึ่งท้องถิ่นหลายพื้นที่อ้างว่าข้อบัญญัติที่เป็นอยู่ไม่เอื้อต่อการนำเงินของท้องถิ่นเองมาใช้ ส่วนตัวมองว่าเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาและมีการกำกับดูแลด้วยเช่นกัน

แพทย์หญิงลัดดา ดำริการเลิศ ผู้จัดแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ  กล่าวว่า แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 ซึ่งวางแผนในระยะ 20 ปี กำหนดโดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาตินั้น มีผลในทางกฎหมายแต่ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น การให้ความร่วมมือขององค์กรปกครองท้องถิ่น โดยองค์กรเหล่านี้อ้างว่าอำนาจหน้าที่ไม่เอื้อให้ปฏิบัติตามแผนได้ ดังนั้น ในการแก้ไขจึงควรแก้ไขเป็นรายมาตราเพื่อให้องค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผนด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับผู้สูงอายุนั้นคือ ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง จึงเห็นว่าควรกำหนดให้กฎหมายนี้เป็นกฎหมายกลางเพื่อกำหนดแนวทาง ส่วนรายละเอียดในทางปฏิบัติให้ระบุในกฎหมายลำดับรองอีกครั้ง

นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ รองประธานสมาคมคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากจะผลักดันกฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุ ควรจะระบุให้ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิต่างที่ผู้สูงอายุจะได้รับ เพราะหากระบุไว้กว้างๆจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติได้  นอกจากนี้ควรคำนึงถึงกลุ่มผู้สูงอายุคนพิการ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 300,000 คน ตรงจุดนี้หากระบุสิทธิรองรับให้ชัด รวมถึงการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต้องเขียนให้ชัด เพราะไม่เช่นนั้นในทางปฏิบัติจะไม่มีผล นอกจากนี้ยังเห็นด้วยกับองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายผู้สูงอายุแห่งชาติ ประกอบไปด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะเป็นคณะกรรมการฯด้วยถือเป็นเรื่องที่ดี เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนในเชิงบูรณการ อีกจุดหนึ่งคือกองทุนผู้สูงอายุ ปัจจุบันพบว่ามีเงินกองทุนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับกองทุนอื่นๆ กองทุนนี้จึงต้องโจทย์ให้ชัดว่ามีมาเพื่ออะไร และในเชิงกลไกต้องมองมิติงบประมาณให้ชัดจะทำอย่างไรให้มีการบูรณาการและผูกโยงร่วมกัน

นางอุบล หลิมสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กล่าวว่า หากพิจารณาในแผนหลักคงต้องกำหนดให้มียุทธศาสตร์และมาตรการหลัก มาตรการย่อย และกลไกระดับชาติและระดับภูมิภาครองรับสวัสดิการผู้สูงอายุรวมถึงควรมีหน่วยวิชาการมาสนับสนุนเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุด้วย หากจะแก้ไขกฎหมายควรจะแก้กฎหมายฉบับปัจจุบันโดยเน้นทางเลือกที่หลากหลาย

“หากพิจารณากระบวนการกฎหมายในภาพรวม ในสาระสำคัญที่จะได้ถึงสิทธิผู้สูงอายุจะพบวาไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ และยังมองไม่ลึกถึงการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวด้วย โดยหลักตนคิดว่าต้องมีแผนหลัก ฉะนั้นปัญหากฎหมายจริงๆอยู่ที่ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข”

นายอภิชัย จันทรเสน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กล่าวว่า กฎหมายเดิมอาจมีปัญหาติดขัดอยู่บ้างแต่อาจะไม่ถึงขั้นต้องรื้อทั้งฉบับ อาจจะต้องให้สมดุลกันระหว่างหน่วยงานให้บริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปัญหาที่หนักที่สุดในขณะนี้คือ กองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งมีเงินกองทุนน้อยมากเมื่อเทียบกับกองทุนคนพิการและกองทุนอื่นๆ คิดว่าถ้าจะปรับปรุงแก้ไขก็ควรจะแก้ไขเฉพาะบางมาตรา ประเด็นถัดมา ควรเพิ่มเงินสวัสดิการดำรงชีพ และให้ผู้สูงอายุได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ถูกหักค่าใช้จ่าย ไม่ถูกนำมาใช้ในการหาเสียงการเมือง

“มาตรา 9 (11) ในพ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ไม่ได้ติดขัดในทางปฏิบัติ แต่อาจจะไม่กว้างขวางหรือในทางปฏิบัติที่เข้ารับบริการอาจจะเกิดความล่าช้าซึ่งอาจจะมีปัญหาอยู่จริงแต่ก็อาจจะไม่มาก มาตรานี้ถูกนำมาใช้บ่อย เราจะมีวิธีการส่งเสริมอย่างไร ส่วนประเด็นที่ที่อายากจะให้ขยายสิทธิเพิ่มเติมสามารถพิจารณาจากมาตรา 11(13) ซึ่งระบุเพิ่มเติมให้การอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด”

นางสาวณัฐกานต์ จิตประสงค์ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวความคิดของคุณชูศักด์ จัทยานนท์ ว่าร่างพ.ร.บ.นี้ ยังมิได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนผู้สูงอายุอย่างชัดเจน จึงเห็นว่าควรเพิ่มส่วนนี้เข้าไปด้วยเพื่อความครบถ้วนเพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับการกำหนดให้สวัสดิการของผู้สูงอายุเป็น “สิทธิถ้วนหน้า” มากกว่าจะเป็นการกำหนดสิทธิตามฐานะทางการเงิน เพื่อปิดช่องทางการนำเรื่องการเข้าถึงสวัสดิการนี้มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง อีกทั้ง จากงานวิจัยหลายฉบับระบุว่า เมื่อดูจากงบประมาณและตัวเลขจีดีพีของรัฐบาลไทยแล้วมีศักยภาพมากพอที่จะจัดให้เป็นสิทธิถ้วยหน้าได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.แนะแนว กม.เท่าเทียมทางเพศ ตั้งคณะวินิจฉัย เลือกปฏิบัติโทษหนัก

$
0
0

คปก. เสนอแนวทางตรากฎหมายส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาค และคณะวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ โทษหนักจำคุก 3 ปี ปรับ 360,000 บาท

28 มกราคม 2556 นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง แนวทางการตรากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ บันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง แนวทางการตรากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ และร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ พ.ศ. ... (ฉบับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย) เสนอไปยังนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา ปัจจุบันร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับเสนอโดยคณะรัฐมนตรี) อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และในขณะเดียวกันเครือข่ายเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรสิทธิในเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ ได้รวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 15,636 คน เพื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ พ.ศ. ...(ฉบับภาคประชาชน) ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 ซึ่งร่างฯฉบับประชาชนอยู่ระหว่างการตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม คปก.ได้พิจารณาและมีข้อเสนอแนะบางประการพร้อมทั้งยกร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ พ.ศ. ... ฉบับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายนี้ประกอบการเสนอแนะดังกล่าวด้วย

จากการพิจารณา คปก. มีความเห็นที่สำคัญหลายประเด็น ได้แก่ ให้นิยามความหมายที่สำคัญ ของคำว่า“เพศ” “เพศภาวะ” “เพศวิถี” “การส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ” “การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ” “ความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศ”   “การคุกคามทางเพศ”และ “บุคคลที่ควรได้รับการส่งเสริมโอกาสเป็นพิเศษ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตีความตามกฎหมาย และสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention for the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW) ซึ่งประเทศไทยได้เป็นรัฐภาคีโดยการภาคยานุวัติในอนุสัญญาดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ.2528 นอกจากนี้ ยังระบุถึงการห้ามเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศโดยห้ามมิให้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมในด้านต่างๆ อย่างชัดเจน และควบคุมการดำเนินงานของรัฐและเอกชนในการวางนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ  หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน มิให้เกิดการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ

คปก.ยังให้เสนอให้มีการคุ้มครองและส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนต้องคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ และความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศ ต้องส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศในด้านต่าง ๆทุกมิติอย่างทั่วถึงและเสมอภาคทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีคณะกรรมการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า "คณะกรรมการ สคพช." ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการสรรหา และคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ วลพ.”มีอำนาจหน้าที่ประการหนึ่ง เช่น วินิจฉัยคำร้องว่ามีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศและความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศโดยมิชักช้า โดยให้มีอำนาจตรวจสอบและไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการวินิจฉัย และฟ้องคดีต่อศาลแทนผู้ร้อง  โดยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ รับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ สคพช. และคณะกรรมการ วลพ.ด้วย

นอกจากนี้ ยังเห็นควรกำหนดให้จัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ” เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน สำนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ และให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ สพคช.

อย่างไรก็ตาม คปก.ยังเห็นควรให้มีบทกำหนดโทษ ซึ่งระบุความผิดสำหรับผู้กระกระทำการอันเป็นการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หากเป็นการกระทำโดยทุจริตหรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  และหากเป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ลูกจ้าง ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจหน้าที่ให้บริการตามวิชาชีพผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ หรืออยู่ในความปกครองในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้นหนึ่งในสาม ทั้งนี้ยังระบุว่า หากคณะกรรมการ วลพ. เห็นว่าผู้กระทำผิดไม่ควรได้รับโทษจำคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องเมื่อบุคคลนั้นและผู้เสียหายยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้คณะกรรมการ วลพ. เปรียบเทียบโดยกำหนดให้บุคคลนั้นชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันเปรียบเทียบ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ไม่ลบล้างความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นด้วย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 22 - 28 ม.ค. 2556

$
0
0

 

“ปธ.สภาอุตสาหกรรม” รอรัฐช่วยชดเชยค่าจ้าง 300

ที่พรรคภูมิใจไทย   มีการจัดเสวนาเเรื่อง “ค่าแรง 300 บาท กับเศรษฐกิจและสังคมไทย”โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยเป็นประธาน โดยรับฟังปัญหาจากทุกภาคส่วนก่อนนำเสนอปัญหาและแวทางการแก้ไขส่งต่อไปให้ รัฐบาลเพื่อทำการแก้ไขต่อไป

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ  นักวิชาการด้านแรงงาน  กล่าวว่า นโยบายพรรคเพื่อไทยที่มีผลต่อการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น300 บาททั่วประเทศเป็นการปรับมากกว่า10% อย่างไม่มีมาก่อน รัฐบาลควรส่งเสริมทั้งทางตรงและอ้อมเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งในเชิงปริมาณและ คุณภาพ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ที่จะทำให้สถานประกอบการอยู่ได้ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมในการสัมมนาต่างเห็นสอดคล้องในเรื่องการปรับผลิตภาพการ ผลิตให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

นายธารินทร์ ผะเอม รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าเรื่องนี้ผลกระทบในแต่ละพื้นที่ แต่ละประเภทอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบในระดับที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องปรับตัว แม้จะเป็นภาวะที่ยากลำบากซึ่งภาพรวมทางเศรษฐกิจ ยังอยู่ในภาวะปกติไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ การลงทุนต่างประเทศในไทย แม้ว่าบางสถานประกอบการ ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท อาจเป็นเส้นฟางสุดท้าย ที่ทำให้บางอุตสาหกรรมอยู่ไม่ได้ ทุกฝ่ายจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและให้ความสำคัญกับทักษะ ฝีมือ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่เป็นความยั่งยืน

ด้านนายอธิภูมิ กำธรวรรินทร์ ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง กล่าวว่ามาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล สถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ เนื่องจากสถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีกำไร ทั้งนี้สถานประกอบการที่มีกำไรถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีมีส่วนน้อยเพียง 5-7% เท่านั้น ดังนั้นสถานประกอบการส่วนใหญ่จึงอยู่ในสภาพหน้าชื่น อกตรมที่เผชิญกับปัญหาทั้งการขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างมีปรับสูงขึ้นมาก จึงกดดันอย่างมาก ซึ่งเราไม่ปฏิเสธเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300บาทแต่ขอชะลอการบังคับใช้ไปอีก 2 ปีเพื่อที่จะปรับโครงสร้าง แต่เมื่อเป็นนโยบายแกมบังคับ ก็เกรงว่านายจ้างจ่ายได้ไม่เท่าไรก็ต้องปิดกิจการ เลิกจ้างพนักงาน

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาท ส่งผลกระทบอย่างมากกับสถานประกอบการในภูมิภาคโดยบางจังหวัดมีการปรับทั้งสอง รอบคือวันที่1 เมย. 2555 และ1 มค. 2556 มีการปรับเพิ่มมากถึง 80% ซึ่งถือเป็นภาระหนัก ขณะที่มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลดูแล้วไม่สอดคล้องกับความต้องการ ที่เหมือนกำลังจะจมน้ำอยู่แล้ว ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือก่อนที่จะจม ไม่ใช่จม จึงมาช่วยที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ยากยิ่งขึ้น

“เรายังคงเฝ้ารอมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลในเรื่องการตั้งกองทุนชดเชย ส่วนต่าง ที่เป็นมาตรการช่วยเหลือที่แก้ปัญหาตรงจุด สภาอุตสาหกรรมมีมาตรการช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่ม SME ในเรื่องของคำแนะนำในการปรับโครงสร้าง การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน รวมถึงสนับสนุนโดยการสั่งซื้อ ช่วยหาตลาด กระตุ้นการผลิต ทั้งนี้สถานประกอบใดที่ต้องการความช่วยเหลือขอให้มีการแจ้ง เพื่อที่หาทางช่วยเหลือต่อไป”นายพยุงศักดิ์ กล่าว

ด้านนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า หลังจากนี้ 3-4 เดือนจะเห็นผลกระทบในเรื่องการปรับค่าจ้างขึ้น 300 บาท ซึ่งการปรับในครั้งนี้จะมีผลต่อจังหวัดในภูมิภาคที่ห่างไกล ที่ไม่มีเครือข่ายสหภาพแรงงาน ทำให้ขาดการเชื่อมโยงในการรับรู้ถึงปัญหา โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ตั้งศูนย์รับแจ้งผลกระทบต่อลูกจ้าง เพื่อให้การช่วยเหลือ รวมถึงผลักดันให้ฝ่ายต่างๆให้แก้ไขผลกระทบต่อลูกจ้าง

(เดลินิวส์, 22-1-2556)

 

พนักงาน ธนาคารกรุงเทพชุมนุมขอสวัสดิการ-โบนัสเพิ่ม

วันที่ 22 ม.ค.เวลาประมาณ 12.00 น. มีรายงานข่าวแจ้งว่า กลุ่มสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพประมาณ 100 คน นำโดย นายชัยวัฒน์ มาคำจันทร์ ประธานสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ นัดชุมนุมบริเวณหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ ถนนสีลม เพื่อเรียกร้องต่อผู้บริหารเรื่องเงินโบนัส และ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในข้อต่างๆ ดังนี้
 
- ขอคืนโบนัสที่อัตรา 4 เดือนเหมือนในอดีต เพราะปัจจุบันธนาคารจ่าย 2 เดือน
- ขอคืนเงินประทังชีวิตหลังเกษียณจากอัตราปัจจุบัน 3 แสนบาทต่อราย เป็น 4.5 แสนบาทต่อราย
- ขอคืนอัตราขึ้นเงินเดือนที่ 6% เท่ากันทั้งธนาคาร หลังจากที่ปรับให้พนักงานประจำ 3% การตลาดฝ่ายขาย 6%
- แก้ไขการจ่ายคืนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากปัจจุบันคิดเป็นอันดับขั้น ให้คิดเป็น 7% เท่ากันทั้งธนาคาร

โดยในวันที่ 24 ม.ค. กลุ่มสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ จะเดินทางไปที่กระทรวงแรงงาน เพื่อไกล่เกลี่ยกับผู้บริหาร ซึ่งหากยังไม่สามารถตกลงกันได้ ก็จะยกระดับความรุนแรงในการเคลื่อนไหวมากขึ้น โดยจะดึงกลุ่มสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย ที่รวบรวมสหภาพแรงงานของธนาคารอื่นๆ เข้ามาร่วมชุมนุม แต่ถ้ายังไม่มีการตอบรับจากฝ่ายบริหาร พนักงานก็จะยกระดับยื่นเรื่องขอหยุดงาน

(ประชาชาติธุรกิจ, 22-1-2556)

 

ครสท. ชี้รัฐต้องตั้งกองทุนชดเชยเลิกจ้างให้แรงงาน-แนะตรวจสอบต้นตอนายจ้างปิดกิจการ

23 ม.ค. 56 - ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กทม. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)จัดแถลงข่าวเรื่อง “ข้ออ้าง 300บาทกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม” โดยนายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท.แถลงยื่นข้อเรียกร้องต่อกระทรวงแรงงาน จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ 1.ให้กระทรวงแรงงานเสนอรัฐบาลตั้งกองทุนค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมาย เพื่อจ่ายให้ลูกจ้างทันทีที่ถูกเลิกจ้างเมื่อไม่ได้รับค่าชดเชยจากสถาน ประกอบการ และให้กระทรวงแรงงานไปดำเนินการเรียกเก็บกับนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบ การเพื่อนำกลับเข้าคืนกองทุนต่อไป 2.ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่บริษัทหลบเลี่ยงกฎหมาย ไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย โดยมีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ จะต้องมีมาตรการในการดำเนินคดีอาญากับนายจ้างด้วย ไม่ใช่เพียงไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างรับเงินตามที่นายจ้างเสนอเท่านั้น

นายชาลี กล่าวว่า 3.รัฐบาลไม่ควรปัดความรับผิดชอบในการให้ลูกจ้างต้องมาต่อรองสิทธิกับนายจ้าง เพียงลำพัง โดยต้องมีมาตรการที่ชัดเจนและยั่งยืนในการช่วยเหลือในกรณีอย่างนี้ และเปลี่ยนทัศนคติต่อแนวคิดที่ว่า แรงงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ โดยต้องคำนึงและให้ความสำคัญต่อความผูกพันกับชุมชนและประเพณีในพื้นที่4.ให้ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดหางานหรืออาชีพให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างทุกคนโดยทันที ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงสภาพการดำรงชีพที่ต้องไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 5.ให้กระทรวงแรงงานตั้ง "คณะกรรมการตรวจสอบสถานประกอบการที่มีการเลิกจ้างคนงานและปิดกิจการ หลังจากมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท"เพื่อตรวจสอบสถานการณ์และค้นหาข้อเท็จจริงของบริษัทแต่ละแห่งที่เลิก จ้างว่ามีสาเหตุมาจากอะไรมีเหตุจำเป็นถึงขนาดจะต้องเลิกจ้างหรือไม่โดยคณะ กรรมการฯที่ตั้งขึ้นจะต้องประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง นักวิชาการด้านแรงงาน นักเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ

ประธาน คสรท. กล่าวอีกว่า ตั้งแต่วันที่1 มกราคมที่ผ่านมา มีแรงงานสอบถามและร้องเรียนเข้ามาที่ คสรท.จำนวน 16 สาย คาดว่ามีแรงงานที่เกี่ยวข้องประมาณ2,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างบริษัทซับคอนแทรกต์ที่ทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ โทร.เข้ามาสอบถาม เนื่องจากกังวลว่าจะไม่ได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท ส่วนกรณีร้องเรียน ได้แก่ กรณีที่แรงงานหญิงตั้งครรภ์ทำงานอยู่ในโรงงานฉีดสารพลาสติก จ.ฉะเชิงเทรา ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา แต่นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้เป็นอัตราค่าจ้างของปี 2555 และกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าล่วงเวลา รวมทั้งนำสวัสดิการต่างๆมารวมเป็นค่าจ้างด้วย

ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท. กล่าวว่า เหตุที่รัฐบาลต้องตั้งกองทุนค่าชดเชยการเลิกจ้างให้แรงงานที่ถูกเลิกจ้างโดย ไม่รับการจ่ายเงินค่าชดเชยจากนายจ้าง เพราะเมื่อลูกจ้างใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของศาลแรง งาน โดยการยื่นแบบคำร้อง คร.7 จะได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง จำนวน 2เดือนของค่าจ้าง ซึ่งน้อยกว่าเงินค่าชดเชยการเลิกจ้าง 10 เดือนที่นายจ้างต้องจ่ายตามกฎหมาย ทั้งนี้ การฟ้องร้องในชั้นศาลเพื่อทวงคืนเงินค่าชดเชยจากนายจ้างต้องใช้ระยะเวลานาน หลายปี ทำให้ลูกจ้างเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า คสรท.ไม่เห็นด้วยกับมาตรการการช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการ ปรับค่าจ้าง300 บาทของรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลใช้มาตรการช่วยนายจ้างมากเกินไป ซึ่งเงินที่นำไปช่วยมาจากภาษีประชาชนทั้งสิ้น นอกจากนี้ อีกปัญหาที่รัฐบาลต้องตรวจสอบ คือการที่บริษัทใช้วิธีปิดกิจการ เพราะต้องการเลิกจ้างลูกจ้างเก่าทั้งหมด แล้วไปตั้งบริษัทใหม่เพื่อจ้างลูกจ้างรายใหม่แทน ทำให้ไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างเก่า

(ข่าวสด, 23-1-2556)

 

พนักงานแบงก์กรุงเทพ ประท้วงเรียกร้องเงินเดือนและสวัสดิการ

วันที่ 25 ม.ค. 56 ที่สำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ สหภาพแรงงานนำโดยนายชัยวัฒน์ มาคำจันทร์ ประธานสหภาพ พร้อมด้วยสมาชิกกว่า 500 คน รวมตัวกันเรียกร้องค่าสวัสดิการ (โบนัส) จำนวน 4 เดือน พร้อมกับขอปรับเงินเดือนอีก 6 เปอร์เซ็นต์ พร้อมเรียกร้องค่าครองชีพหลังเกษียณตามระเบียบเดิมที่จะได้คือ 4.5 แสนบาท แต่ถูกปรับลดเหลือ 3 แสนล้านบาท โดยผู้บริหารไม่สามารถอธิบายได้ว่า เงินที่หายไป 1.5 แสนบาทหายไปไหน ทั้งที่ ธนาคารมีผลกำไรมากถึง 3.3 หมื่นล้านบาท  ขณะที่ในปีก่อนหน้านี้  มีกำไรเพียง 2 หมื่นกว่าล้าน กลับจ่ายโบนัสมากถึง 5-6 เดือน หรือจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นหุ้นละ 3 บาทในปี 2554 ซึ่งทั้งหมดไม่ได้เป็นการดูแลสวัสดิการพนักงานในปัจจุบันเท่าที่ควร โดยพนักงานที่มารวมตัวกัน ได้ชูป้ายเรียกร้องพร้อมกับแถลงการณ์เรียกร้อง อีกทั้ง เดินขบวนรอบอาคารสำนักงาน
 
ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า จากการเจรจากันหลายครั้ง ยังไม่มีคำตอบจากผู้บริหารในแนวทางที่เรียกร้องไป ขณะเดียวกัน ยังไม่มีคำชี้แจงจากผู้บริหารอย่างชัดเจน    จึงเป็นที่มาของการรวมตัวในวันนี้
 
อนึ่งในปี 2554 ธนาคารได้ประกาศเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน จากอัตราเดียวเป็นหลายอัตราแบ่งตามช่วงอายุงาน และยกเลิกเงินบำเหน็จโดยพลการ และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิมโดยไม่ยุติธรรม 
 

(มติชนออนไลน์, 25-1-2556)

 

ก.แรงงาน ทำคู่มือพร้อมจ่ายอัตราค่าจ้าง 300 บาท-เกาะติดสถานการณ์วันต่อวัน

25 ม.ค. 56 - นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน ได้จัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการให้พร้อมจ่าย อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทรวงแรงงานและจังหวัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติภารกิจในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ และนายจ้าง ที่ได้รับผลกระทบของรัฐบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล รวดเร็ว และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

สำหรับเนื้อหาของคู่มือประกอบด้วย มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2556 และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) แนวทางการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้น ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงานของศูนย์สนับสนุนฯ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค อาทิ การเตรียมความพร้อมของศูนย์ฯ การประชาสัมพันธ์แก่ผู้ประกอบการ ลูกจ้าง และสื่อมวลชน การให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี การเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการสรุปสถานการณ์ประจำวัน

โดยมีการกำหนดแบบฟอร์มรายงานแบบรายวัน ราย 15 วัน และรายเดือน กรณีประจำวัน อาทิ รายงานการเลิกจ้างเนื่องจากผลกระทบ 300 บาท การขึ้นทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน การลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือของผู้ประกอบการ และรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานและสถานประกอบการ กรณีราย 15 วัน อาทิ รายงานการฝึกอาชีพ จำนวนผู้ประกันตนที่มาขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน การติดตามผลและการประสานให้ความช่วยเหลือ ส่วนกรณีรายเดือน อาทิ การรายงานตำแหน่งงานและการบรรจุงาน สถานประกอบการและผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33

(สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 25-1-2556)

 

คมนาคม สั่ง 9 รัฐวิสาหกิจในกำกับ จัดทำแผนรับมือพนักงานผละงานประท้วง หวั่นซ้ำรอยการบินไทย

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ 9 รัฐวิสาหกิจในกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ที่มีสหภาพแรงงาน จัดทำแผนรับมือพนักงานชุมนุมประท้วงหยุดงาน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการให้บริการประชาชนโดยจะต้องประเมินสถานการณ์หรือความ เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาไว้ล่วงหน้า พร้อมกับแต่งตั้งผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้เจรจาเป็นขั้นเป็นตอนหาก เกิดเหตุ และให้ส่งแผนอย่างละเอียดกลับมาให้พิจารณาภายใน 2 สัปดาห์
         
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 9 แห่ง ในกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมประกอบด้วย บริษัท การบินไทยบริษัท ท่าอากาศยานไทย (ทอท.)การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.)องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และบริษัท ขนส่ง (บ.ข.ส.) โดยที่ผ่านมามีเพียง 2 หน่วยงาน คือ กทท. และกทพ. เท่านั้น ที่มีแผนรับมือเหตุการณ์ประท้วงหยุดงาน
         
"ทางกระทรวงได้กำชับให้แต่ละหน่วยงานประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เช่น หาก ร.ฟ.ท. เกิดเหตุพนักงานประท้วงหยุดงาน ก็ให้ประสาน บ.ข.ส. หรือสมาคมรถบรรทุกเข้ามาช่วยเหลือขนถ่ายคนและขนสินค้าแทน หรือหากบริษัทการบินไทย มีปัญหาก็ให้ประสานกองทัพอากาศเข้ามาให้การบริการช่วยเหลือ ส่วน ทอท. มีการว่าจ้างจากภายนอกหรือเอาต์ซอร์ส เข้ามาดำเนินงานต่างๆ และจะต้องไปพิจารณาว่า ควรจะมีผู้ประกอบการมากกว่า 1 ราย เพื่อป้องกันการผูกขาดหรือเกิดปัญหาขึ้น จะได้มีตัวเลือก" นายชัชชาติ กล่าว
         
นายชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่าภายในสัปดาห์หน้าจะเชิญตัวแทนของสหภาพแรงงานของทั้ง 9 หน่วยงานมาเข้าพบเพื่อหารือโดยมีพล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม ร่วมหารือด้วย ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่าสหภาพแรงงาน กทท.จะมีการชุมนุมเรียกร้องเรื่องเงินค่าล่วงเวลา (โอที) ซึ่งหากจริง ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง
         
พล.อ.พฤณท์ กล่าวว่า นายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย ได้ยืนยันว่า การประชุมคณะกรรมการบริษัท ในวันที่ 8 ก.พ.นี้ จะไม่มีปัญหาเรื่องของการชุมนุมประท้วงเหมือนที่ผ่านมาอย่างแน่นอน เนื่องจากในขณะนี้พนักงานมีความเข้าใจสถานการณ์ทางด้านการเงินของบริษัทแล้ว แต่หากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ได้จัดทำแผนเตรียมพร้อมรับมือเอาไว้แล้ว

(โพสต์ทูเดย์, 26-1-2556)

 

ลูกจ้างเฮ! ก.แรงงานชงลดจ่ายประกันสังคม เหลือ 336 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม ครม. วันที่ 29 ม.ค.นี้ กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอขอความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงแรงงานรายงานข้อเท็จจริงว่า 1. เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (20 พ.ย. 2555) เห็นชอบมาตรการการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2556 กำหนดมาตรการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่นายจ้างในการออกเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคม โดยกระทรวงแรงงานได้พิจารณาลดอัตราเงินสมทบ ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นไปในทำนองเดียวกับที่กระทรวงแรงงานได้เคยช่วยเหลือ บรรเทาภาระของนายจ้างและผู้ประกันตนในการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในช่วงเวลาที่ประเทศประสบอุทกภัย ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 ก.ค. ถึง 31 ธ.ค. 2555 โดยกำหนดให้การลดอัตราเงินสมทบมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2556 ถึง 31 ธ.ค. 2556 2. การลดเงินสมทบตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะมีผลทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดอัตราเงินสมทบด้วย จากเดิมออกเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท เป็นออกเงินสมทบในอัตราเดือนละ 336 บาท.

(ไทยรัฐ, 28-1-2556)

 

แรงงานขอนแก่นบ่นอุบ! นายจ้างรัดเข็มขัดลดสวัสดิการ

นายวุฒิไกร สุวรรณวานิช เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานหลายแห่งมีการใช้นโยบายรัดเข้มขัด ลดสวัสดิการพนักงาน และเพิ่มศักยภาพแรงงานมากขึ้น หากรายใดทำงานไม่เข้าเป้าก็จะถูกปลดออก ซึ่งแรงงานบางส่วนมองว่าเป็นสถานการณ์ที่ตึงเครียด ต่างกับเมื่อก่อนที่มีการเลี้ยงข้าว นายจ้างให้ยืมเงินกรณีที่ลูกจ้างขาดสภาพคล่อง แต่ตอนนี้ไม่มีเงินให้ยืม เป็นต้น

ดังนั้น จึงมีแรงงานในโรงงานหลายแห่งได้เข้ามาเจรจากับเจ้าของโรงงานเพื่อเป็นสัญญา ใจในการขอค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึงวันละ 300 บาท ตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากเข้าใจสถานการณ์ของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของ รัฐบาล แต่หากเจ้าของกิจการรายใดที่สามารถปรับตัวจนธุรกิจดำเนินการได้ตามปกติแล้ว ก็ต้องปรับค่าจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม แนวทางเดียวที่รัฐบาลช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีคือ การจัดสรรงบประมาณ หรือตั้งกองทุนในการช่วยจ่ายส่วนต่างเป็นเวลา 3 ปี เพราะเป็นแนวทางเดียวที่จะช่วยได้ถูกจุด เนื่องจากมาตรการภาษีส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือกิจการที่มีขนาดใหญ่ หรือกิจการที่มีกำไร เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบจากค่าแรงแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทด้วย ขณะที่ สอท.เตรียมเสนอมาตรการบรรเทาต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเสนอต่อ รัฐบาลพิจารณาเพื่อช่วยเหลือในสัปดาห์นี้

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 28-1-2556)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อินทภาษ : คำเตือนโบราณถึงศาล (ยุติ) ธรรม กับความย้อนแย้ง

$
0
0

เกริ่นนำ

ลักษณะอินทภาษเป็นคำเตือนโบราณให้รักษาความยุติธรรม มิฉะนั้นจะถูกกรรมตามสนอง ซึ่งคำเตือนนี้เป็นมรดกตกทอดจากประมวลกฎหมายที่ตราโดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เป็นที่น่าสังเกตว่า ลักษณะอินทภาษที่ว่ามิได้ถูกยกเลิกเหมือนลักษณะอื่นๆ ในประมวลกฎหมายตราสามดวง [1] มากไปกว่านั้น ลักษณะอินทภาษดังกล่าว ยังเคยถูกอ้างถึงในคดีสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยประชาธิปไตยอีกด้วย [2] จึงกล่าวได้ว่า ลักษณะอินทภาษเป็นชุดคำอธิบายหนึ่งที่สะท้อนญาณวิทยาแบบไทยที่น่าวิเคราะห์อภิปราย แน่นอนที่สุด น่าเชื่อว่า ลักษณะอินทภาษยังคงมีความเข้มขลังมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งผลกรรมที่ลักษณะอินทภาษได้สาปแช่งไว้ ว่าจะเกิดอะไรกับตุลาการที่ไร้ความเป็นธรรมบ้าง อาจบรรเทาทุกข์ปวงประชาที่สูญเสียความเชื่อมั่นต่อตุลาการได้ไม่มากก็น้อย อย่างน้อยที่สุด ก็อาจจะกระทบกระเทือนต่อมโนธรรมแบบไทยที่ยำเกรงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นได้

เนื้อหา

ลักษณะอินทภาษ สถาปนาความชอบธรรมของตนด้วยการอ้างถึงพระอินทร์ เทพเจ้าผู้ได้ชื่อว่าเป็นประมุขแห่งเหล่าเทวดา (ตราสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร) และมีความหมายระบุไว้ชัดเจนว่า

                สมเด็จอำมรินทราธิราช เมื่อจะตรัสสำแดงซึ่งธรรมนั้น เป็นฝ่ายข้างทุจริตแห่งบุคคล อันเป็นไปตามอะคติให้พิสดารยิ่งขึ้นไป จึงตรัสว่า ดูกร มาณพ
            ---------อันว่าบุคคลอันไปตามฉันทาคตินั้น คือ พิจารณาความถึงซึ่งอำนาจแห่งโลก เห็นแก่ลาภโลกามิศ  ยินดีในสินจ้างสินบนเข้าด้วยฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลย เป็นเหตุจะได้ซึ่งวิญญาณกะทรัพย์ แล อะวิญญาณกะทรัพย์ ถ้าผู้ต้องคดีฝ่ายใดบลบานให้ทรัพย์แก่ตนแล้ว ถึงคดีผู้นั้นจะแพ้ก็ไม่ละอายแก่บาป เบือนหน้าเสียจากสุจริตธรรม กดขี่ผู้ที่ไม่บลนั้นกลับ เอาคดีอันชนะเป็นแพ้ เอาแพ้เป็นชนะ มิได้เป็นไปตามธรรมสาตรราชสาตร ดังนี้ ชื่อว่าไปตามฉันทาคติ ตั้งอยู่ในอะคติเป็นปถม---------
                ---------แลประพฤติโดยโทสาคตินั้น คือ บุคคลมากได้ด้วยความโกรธ พิจารณาความฟุ้งซ่านไปโดยอำนาจโทโสอันมีลักษณะอันร้าย ถ้าผู้ต้องคดีผู้ใดเป็นคนผิดกับตนในก่อนแล้ว ถึงมาทว่า ผู้นั้นจะชนะ ก็กดขี่ให้พ่ายแพ้ด้วยกำลังพยาบาทจองเวร มิได้คิดละอายเกลียดกลัวแต่บาป ละเสียซึ่งโบราณราชนิติสาตร อันเป็นบรรทัดถานทำได้ด้วยสามารถแห่งโทสะจิตร ดังนี้ได้ชื่อว่า ตั้งอยู่ในโทสาคติ ประพฤติตามอะคติเป็นคำรบสอง---------
            ---------แลบุคคลอันถึงซึ่งภะยาคตินั้น คือ พิจารณาความมีจิตรอันหวาดไหวแก่ไภยความกลัวฝ่ายโจทก์จำเลย ถ้าผู้ต้องคดีผู้ใดเป็นคนอธิบดีมียศถาศักดิ์ แลคนมีวิทยาคมกำลังกาย แลมีฝีมือกล้า แล้วก็เข็ดขามคร้ามกลัว ถึงมาทว่าคดี ผู้นั้นจะแพ้กดขี่ผู้น้อยนายศักดิ์ แลผู้หาวิทยาคมกำลังกายมิได้ ซึ่งมีคดีควรชนะนั้นกลับให้ อัปประภาคพ่ายแพ้แก่ผู้มียศศักดิ์ มิได้ดำเนินโดยธรรมสาตรราชสาตร  อันเป็นหลักทำด้วยสามารถความสดุ้งกลัว ดังนี้ชื่อว่าประพฤติตามภยะคติ ตั้งอยู่ในอะคติเป็นคำรบสาม---------
            ---------แลบุคคลอันถึงซึ่งโมหาคตินั้น คือพิจารณาความมีโมหะหลงเสมอเป็นเบื้องหน้า มีแต่มืดโมหันธการครอบงำโดยรอบคอบ มิได้รู้จักว่าสิ่งนี้เป็นบาปบุญคุณโทษ สิ่งนี้เป็นประโยชน์แลใช่ประโยชน์ทั้งธรรมสาตร ราชสารทแลราชนิติคดีก็มิได้รอบรู้ เมื่อพิพากษานั้นผู้ใดจะแพ้ผู้ใดจะชนะก็มีได้รู้ บัญชาไปตามอำนาจโมหะคืออวิชา แล้วแพ้เป็นชนะกลับเอาชนะเป็นแพ้ จะเห็นแก่ทรัพย์สินจ้าง แลกลัวเกรงโกรธผู้ใดก็หามิได้ ก็กระทำด้วยกำลังหลง ดังนี้ชื่อว่า ประพฤติตามโมหาคติ ตั้งอยู่ในอะคติธรรมเป็นคำรบสี่---------

ธรรมที่กล่าวมานี้ชื่อ กัณหะธรรม มิควรอันบุคคลสะอาดจะพึงถึง ถ้าผู้ใดเสพย์สันนิจยาการประพฤติเนืองๆแล้ว เมื่อตัสสะโลหิยะติ อันว่า อิศริยศ แลบริวารยศ แห่งบุคคลผู้นั้นก็จะเสื่อมสูญไป ประดุจดังพระจันทร์เมื่อวันกาฬปักษ์ แลผู้นั้นครั้นดับชีวิตนทรีแล้ว ก็จะไปเสวยเวทนาสาหัส อยู่ในอบายภูมิอันหาโอกาสแห่งความสุขมิได้[3]


และในงานวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายตราสามดวงของไทยและที่ปรากฏอ้างในวารสารศาลยุติธรรมปริทัศน์ ยังกล่าวสำทับไว้อีกชั้นว่า “โทษของการละเมินคำสอนนั้นเป็นโทษหนักไถ่ถอนไม่ได้ แม้ได้เป็นกษัตริย์ ทำบุญบำเพ็ญทานต่างๆเท่าไร ก็ไม่สามารถกลบลบกองกรรมนี้ได้ บาปหนักยิ่งกว่าการฆ่าสตรีที่หาความผิดไม่ได้พันคน หรือฆ่าพราหมณ์อันทรงพรตพรหมจรรย์นับร้อย”[4][5]จะเห็นได้ว่า โทษที่เกิดจากการประพฤติผิดตามลักษณะอินทภาษเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย มีความร้ายแรงมาก เนื่องจากเป็นการผิดต่อกฎเกณฑ์ในระดับเหนือธรรมชาติ (คำสอนของพระอินทร์) ถึงแม้การเปรียบเทียบเกี่ยวกับผู้หญิงหรือนักบวชจะใช้ตรรกะวิบัติก็ตาม อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผู้เชื่อในลักษณะอินทภาษเน้น คือ หายนะจะบังเกิดขึ้นราวกับเหนือธรรมชาติแก่ตุลาการผู้ประพฤติผิดตามลักษณะอินทภาษ แก่ตุลาการผู้มัวเมาในกัณหะธรรม เป็นเหมือนคำสาปแช่งภาษาชาวบ้านว่า “ฟ้าดินจะลงโทษ”

แต่ความย้อนแย้งในศตวรรษที่ 21 กลับปรากฏขึ้น เพราะเป็นที่น่าตั้งคำถามว่า ทั้งที่ผู้มีอำนาจในสังคมไทยยังมีความหวาดกลัว หรือ ยำเกรงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากถึงเพียงนี้ แต่กลับปล่อยให้มีเสียงครหาถึง “ความยุติธรรม” ซึ่งเกี่ยวโยงกับคำเตือนของบรรดาตุลากรแต่โบราณกาลที่ตั้งไว้ แบบนี้จะกล่าวได้หรือไม่ว่า “ลักษณะอินทภาษ” อาจถูกมองข้ามและละเลยไปเสียแล้ว นั่นหมายความว่า ผู้มีอำนาจในสังคมไทยอาจไม่เชื่ออะไรเหนือธรรมชาติตามญาณวิทยาแบบไทยก็เป็นได้? และนั่นหมายความหรือเปล่าว่า พฤติกรรมทางความเชื่อ เป็นต้น การบวงสรวง การบูชาต่างๆ เป็นเพียงการเล่นละครให้ดูชอบธรรม ตามลักษณะที่อาจถูกเรียกว่า “มือถือสาก ปากถือศีล”?

สรุป
“ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” เป็นประโยคติดปากที่มักพูดกันทั่วไปในสังคม ซึ่งบางความเชื่อเป็นต้นว่า ความเชื่อเรื่องคำสอนของพระอินทร์ (อินทภาษ) หากถูกลบหลู่ด้วยการมีพฤติกรรมขัดแย้งกับลักษณะที่ระบุไว้แล้ว? จะเกิดภัยพิบัติเหนือธรรมชาติตามที่คำเตือนโบราณนี้สาปแช่งไว้หรือไม่? ซึ่งโทษของการละเมิดนี้ เป็นโทษหนักไถ่ถอนไม่ได้ ทำบุญบำเพ็ญทานต่างๆเท่าไร ก็ไม่สามารถกลบลบกองกรรมนี้ได้  ฉะนั้น “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่”  พี่น้องชาวไทย

อ้างอิง
[1] ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 เล่ม 1 น. 46-47
[2] คำตัดสินใหม่ กรณี สวรรคต ร.8 (กรุงเทพฯ:อมรินทร์การพิมพ์,2533) น. 162
[3] ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 เล่ม 1 น. 46-47
[4] วินัย พงศ์ศรีเพียรและคณะ กฎหมายตราสามดวง : แว่นส่องสังคมไทย ; ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ลำดับที่ 1กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ผู้จัดจำหน่าย], 2547-
[5] นิติธร วงศ์ยืน. วารสารศาลยุติธรรมปริทัศน์ 2, 2 (ธ.ค.2550-ม.ค.2551) 95-121.ข้าราชการตุลาการกับการสนองตอบทศพิธราชธรรมตามรอยพระยุคลบาท.

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'วอลเดน เบลโล' คาดศก. เอเชียอาคเนย์ยังโต รอดผลวิกฤติยุโรป-สหรัฐ

$
0
0

จากนโยบายลดส่งออก-ผลิตเพื่อบริโภคภายใน เช่นกรณีของอินโดนีเซียที่เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเพื่อกระตุ้นศก.ภายในประเทศ​ ในขณะที่มองความขัดแย้งทะเลจีนใต้อาจยกระดับเป็นการเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจจีนและสหรัฐ 

 

29 ม.ค. 56 - วอลเดน เบลโล ส.ส. จากพรรคอัคบายัน ประเทศฟิลิปปินส์ และนักวิเคราะห์อาวุโสจากองค์กร Focus on the Global South วิเคราะห์แนวโน้มการเมืองโลกโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจในวงเสวนา "โฉมหน้าใหม่เอเชีย ภายใต้วิกฤติการเงินและสิ่งแวดล้อม" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะคงยังคงเติบโตโดยที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปและเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐมากนัก และมองเรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ว่า อาจเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างมหาอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา หากประเทศในอาเซียนพยายามดึงสหรัฐเข้าแทรกแซงในความขัดแย้งดังกล่าว 
 
เบลโลมองว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเน้นการส่งออกไปสู่ยุโรปและสหรัฐ แต่ในปัจจุบันได้หันมาเน้นผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ การที่ประเทศในแถบอุษาคเนย์ได้สร้างมาตรการการรับมือจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 จึงทำให้ยังสามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจพอสมควรหลังจากนั้นเป็นค้นมา 
 
นอกจากนี้ นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เช่น ในฟิลิปินส์ที่มีการส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศ กำหนดนโยบายดอกเบี้ย และเน้นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ก็ทำให้สามารถสร้างรายได้ที่ยังคงเติบโตอยู่อย่างสม่ำเสมอ 
 
นักวิเคราะห์อาวุโสยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ในอินโดนีเซีย ที่เมื่อเร็วๆ นี้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ นอกจากจะเป็นเหตุผลด้านความยุติธรรมทางสังคมแล้ว ยังเล็งเห็นว่าประเทศไม่สามารถขายจุดเด่นจากการที่เป็นค่าแรงขั้นต่ำอีกต่อไป แต่ต้องเพื่อให้ประชาชนสามารถมีรายได้ที่จับจ่ายใช้สอยและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ทำให้ประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน 
 
ในเรื่องของความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ เขามองว่า เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับนโยบายการหันหน้าเข้าหาเอเชียของสหรัฐอเมริกา เพื่อต้องการคานอำนาจของอิทธิพลที่แผ่ขยายมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านมา ความขัดแย้งภายในอาเซียนเรื่องทะเลจีนใต้ ก็ยังเป็นที่ไม่สามารถหาข้อยุติ จะเห็นจากการไม่สามารถออกข้อสรุปในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงพนมเปญเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากเวียดนามและฟิลิปปินส์ต้องการให้เกิดการเจรจาทวิภาคีระหว่างอาเซียนและจีน แต่กัมพูชาไม่ยินยอม 
 
เบลโลกล่าวว่า ในขณะนี้ ฟิลิปปินส์พยายามจะผลักดันให้เกิดการเจรจา แต่ก็ดึงสหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมด้วยเพื่อการถ่วงดุลอำนาจ แต่เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามาแล้ว อาจทำให้ข้อพิพาทในระดับภูมิภาคกลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างจีนและสหรัฐได้ 
 
"หากมีคนถามผมเรื่องนี้ ผมก็จะบอกตลอดว่าผมไม่เห็นด้วยกับการดึงสหรัฐอเมริกาเข้ามาแก้ปัญหาทะเลจีนใต้ เนื่องจากมันจะนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจสองประเทศในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้" เขากล่าว  
 
อนึ่ง การเสวนาดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 56 เวลา 9.00-12.00 น. ที่อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยองค์กรพัฒนาเอกชน Focus on the Global South 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุ้ม คอก ขึด ข่วง พุทธอุทยาน: รอยปริบนทางเลือกพื้นที่สาธารณะเชียงใหม่ (2)

$
0
0

บทสัมภาษณ์ “เมธาดล วิจักขณะ” ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ รวมทั้งคลิปวีดีโอการเสวนาสาธารณะ “จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่...?” ต่อกรณีกระแสข่าวการสร้าง “ข่วงหลวงเวียงแก้วพุทธมณฑล” ที่ จ.เชียงใหม่

 

ปูมความเป็นมาของการย้ายคุกออกจากกลางเมืองเชียงใหม่นั้นสามารถย้อนดูกลับไปถึงอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.2510 ที่มีนายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ เป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่อใช้พื้นที่เป็น “ข่วง” หรือสวนสาธารณะ ต่อมาใน พ.ศ.2539 ในโอกาสเมืองเชียงใหม่ครบ 700 ปี ศูนย์ศึกษาปัญหาเมืองเชียงใหม่ (ปัจจุบัน - มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง) ได้รับช่วงรณรงค์ต่อโดยเรียกร้องเรื่อยมา ให้ย้ายเรือนจำออกจากพื้นที่ที่เคยเป็น “คุ้มเวียงแก้ว” หรือวังดั้งเดิมของเจ้าล้านนาและฟื้นฟูวัดสะดือเมือง ในปี 2541 กรมราชทัณฑ์ได้ย้ายเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ (ชาย) ออกไปอยู่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ที่ อ.แม่ริม แต่ก็สับเปลี่ยนเอาทัณฑสถานหญิงเข้ามาไว้แทนที่ในคุกกลางเวียงนี้

จนกระทั่งในปี 2544 ช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการรวมกลุ่มกันก่อตั้งสถาบันล้านนาร่วมกันกับมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง และองค์กรภาคประชาชนอีกจำนวนหนึ่งร่วมกันเรียกร้องอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้นให้ย้ายคุกหญิงนี้ออกไปนอกเมือง ถัดมาในปี 2545 กรมราชทัณฑ์จึงมีโครงการสร้างเรือนจำแห่งใหม่ที่ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับที่สำนักนโยบายและแผน กระทรวงมหาดไทยอนุมัติหลักการของเทศบาลเมืองเชียงใหม่ที่จะใช้พื้นที่ทัณฑสถานหญิงหลังจากย้ายออกไปแล้ว สร้างเป็นสวนสาธารณะ แต่หลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา แผนงานในการย้ายคุกและสร้างพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองก็ถูกวางพักไว้ แม้ว่าการก่อสร้างอาคารเรือนจำแห่งใหม่จะดำเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น

สำนึกรับรู้ที่เพิ่มขึ้นของคนเชียงใหม่ต่อการรณรงค์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มองค์กรทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการท้องถิ่น รวมทั้งสื่อมวลชนทั้งหลายนั้น ได้ส่งผลให้การย้ายคุกกลับมาเป็นที่ถกเถียงเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง เมื่อกรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตามมติ ครม. ย้ายนักโทษชายจากเรือนจำกลางที่ อ.แม่ริมไปยังเรือนจำแห่งใหม่เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 ตามด้วยการย้ายนักโทษหญิงเข้าไปคุมขังแทน สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติมีแผนจะรื้อทุบอาคารเก่าทั้งหมดทิ้งและใช้พื้นที่ราว 22 ไร่ของทัณฑสถานหญิงเดิมนี้สร้างเป็น “ข่วงหลวงเวียงแก้วพุทธมณฑล” ด้วยงบประมาณการก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบผูกพันถึงปี 2557 ใช้ในการประดิษฐาน “พระพุทธชยันตี 2600 ปี” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับโอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษาครบ 100 ปี และปรับปรุงให้เป็นพื้นที่พุทธอุทยานและสวนสาธารณะ โดยในวันที่ 26 มกราคมนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นชาวเชียงใหม่ จะมาเป็นประธานในการทุบอาคารและกำแพงเรือนจำด้วยตนเอง

ความคิดสำคัญที่อยู่เบื้องหลังข้อเรียกร้องให้ย้ายคุกออกจากนอกเวียงนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า คุกนั้นเป็นสิ่งอัปมงคล เป็นเสนียดจัญไรอันอุจาดไม่เหมาะควรจะมีหน้าตาอยู่กลางเมืองอันเป็นแหล่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม อีกทั้งคุกนี้ยังเป็นเครื่องมือของสยามในอดีตในการแผ่อำนาจมาปกครองครอบงำล้านนา โดยตลอดมามีการเผยแพร่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผ่านทางบทความในหน้าหนังสือพิมพ์และเล่าสู่กันมาในเชิงว่า การสร้าง “คอก” ทับลงบนคุ้มในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นเป็นการกระทำทางไสยศาสตร์ที่มุ่งกดทับความศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งเป็นเสมือนภาพแทนของอำนาจท้องถิ่นของชาวล้านนาทั้งหลาย จึงสมควรที่จะกำจัดทิ้งเสียให้ราบคาบ ย่อมไม่แปลกที่ขณะนี้ประชาชนผู้สัญจรผ่านและนักท่องเที่ยวจะได้เห็นพระสงฆ์ 29 รูป นำโดยพระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ทำพิธี “สูตร (สวด) ถอน” ความอัปมงคลหรือ “ขึด” อยู่ภายในบริเวณอาคารเก่าตลอดระยะเวลา 9 วัน 9 คืนก่อนที่จะถึงวันรื้อทำลาย โดยมีนายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ที่ปรึกษา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 เป็นโต้โผ

แต่เรื่องราวดูท่าจะไม่จบลงง่ายดายเพียงแค่การทุบทำลายคุกเก่าเพียงเท่านั้น ยังคงมีเสียงเรียกร้องถึงความเหมาะสมชัดเจนในแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ ไม่ว่าตัวละครต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่จะมีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งที่กำลังก่อตัวขึ้นนี้จะมีจุดยืนสถานะทางการเมืองอยู่ฝั่งแดงหรือเหลืองอย่างไร ประเด็นปัญหาร้อนที่กำลังจะผุดขึ้นก็ดูจะไม่ใช่เรื่องสีเสื้อเสียแล้ว เมื่อมีเรื่องงบประมาณผูกพันหลักพันล้านมาเกี่ยวข้องกับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ่งย่อมส่งผลต่อทั้งชาวเชียงใหม่และประชาชนทั่วไปเป็นแน่

ก่อนหน้านี้เราได้หาโอกาสพูดคุยกับนักวิชาการและผู้มีอำนาจจัดการที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น เพื่อลองมองหาหนทางคลี่คลายให้พอกระจ่างขึ้นบ้างเสียก่อน ก่อนที่รอยแยกของความขัดแย้งในทางเลือกระหว่าง คุ้ม คอก ขึด ข่วง หรือพุทธอุทยาน ในการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ลงบนพื้นที่สาธารณะกลางเมืองเชียงใหม่จะปริห่างเกินสมาน (หรือจะไม่ทันการณ์เสียแล้ว ?)

อ่านตอนแรก: คุ้ม คอก ขึด ข่วง พุทธอุทยาน: รอยปริบนทางเลือกพื้นที่สาธารณะเชียงใหม่ (1)

0 0 0

 

(ที่มาภาพ: www.finearts.go.th)

เมธาดล วิจักขณะผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ (เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2555)

 

ในทางประวัติศาสตร์ที่ทางกรมศิลป์รับรู้ พื้นที่คุกหญิงเดิมนี้เป็นอย่างไร

เมธาดล : พูดง่ายๆ ว่าเป็นวังหลวงตั้งแต่สมัยพญามังรายไล่ลงมา มาปรากฏอีกทีสมัยรัชกาลที่ 5 มาสร้างทัณฑสถาน เดิมเป็นคุกชายมาก่อน คล้ายๆ กับที่พระนครศรีอยุธยาที่สร้างคุกทับวังหน้าของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น นักประวัติศาสตร์เชียงใหม่หลายกลุ่มก็มีการรณรงค์ให้ย้ายทัณฑสถานออกไปนอกเมือง แล้วก็เพื่อความปลอดภัยด้วย มีมติครม.รองรับ พื้นที่เดิมเป็นที่ราชพัสดุก็ต้องคืนกรมธนารักษ์ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะขอใช้ต่อว่าจะเอาไปทำอะไร แต่เดิมทางเทศบาลก็อยากจะได้ ตอนนี้มีแนวโน้มว่าทางจังหวัดน่าจะเป็นผู้ขอ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด (นายธานินทร์ สุภาแสน) ก็ให้นโยบายเบื้องต้นว่าน่าจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตให้รื้อฟื้นความเป็นวังเวียงขึ้นมา ใช้องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่เกี่ยวข้องไปรื้อฟื้นว่าของเดิมมีแค่ไหน ว่ามีโครงสร้างฐานอาคารอะไรตรงไหน หมายความว่าคงจะต้องรื้ออาคารสมัยใหม่ที่เป็นทัณฑสถานออกไปก่อน หลังจากนั้นจึงเข้าไปขุดดู

ในส่วนการฟื้นฟูตามแผนของผู้ว่าฯ ซึ่งเราสนับสนุน รวมทั้งสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาลด้วย ก็คือ เมื่อได้หลักฐานว่าเป็นวังแท้ๆ แล้วมีพื้นที่เพียงใดก็มาศึกษาสถาปัตยกรรมล้านนาว่าคุ้มหลวงหรือเวียงเดิมรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร เราสามารถที่จะสร้างใหม่ (reconstruct) ให้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (living museum) ได้ ให้เป็นศูนย์กลางของขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม การแสดง อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมภาคกลางคืนก็ได้ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ทำเป็นวังเวียงแบบล้านนาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคม เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านได้ โปรโมตเชียงใหม่ได้ เหมือนวังสุลต่านที่ยอกยากาต้าร์ อินโดนีเซีย มีห้องโถงสำหรับจัดการแสดงด้วย

 

ในช่วงเวลาราวสิบปีที่มีการรณรงค์ให้ย้ายคุกออกนอกเมืองนี้ ทางกรมศิลป์หรือสำนักศิลปากรมีการเตรียมจัดการรับมืออย่างไรบ้าง

เมธาดล : หน้าที่ย้ายไม่ใช่หน้าที่เรา แต่เรื่องการฟื้นฟูเป็นหน้าที่ที่จะให้คำแนะนำกับจังหวัดได้ โดยอยู่บนพื้นฐานของนโยบายรัฐบาลและความเห็นของนักวิชาการท้องถิ่นที่รณรงค์กัน เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เอาความเป็นคุกออกไปเสีย รื้อฟื้นความเป็นเวียงเป็นวังขึ้นมา

 

เอาความเป็นคุกออกไปนี่หมายความว่าต้องรื้อทำลายสถาปัตยกรรมคุกออกไปเลยใช่ไหม

เมธาดล : ต้องไปนั่งคุยกันในรายละเอียดว่าตรงไหนที่เป็นอาคารที่ไม่เกี่ยวข้องก็รื้อไป เราอยากให้มีประวัติศาสตร์ของคุกอยู่สักนิดหนึ่งหรือไม่ จะเอามุมไหน อย่างอยุธยาจะมีบางมุมที่ไม่ได้รื้อทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการออกแบบและแนวความคิดของกรรมการที่จะรื้อออกหมดหรือไม่ เพราะว่าเชียงใหม่ถือว่า “ขึด” ที่เอาคุกมาทับ เป็นความเชื่ออย่างที่ไม่ต้องมีความเห็นเลย สืบทอดกันมาก็ต้องเดินตาม ในเมื่อมีประเพณี มีการสูตรถอนขึด รื้อก็รื้อ แต่ว่าวังยังเอาขึ้นมาได้ ประเด็นสำคัญคือให้ความเป็นคุกหมดไป แต่ว่าเราสามารถถ่ายภาพ จัดแสดงเป็นประวัติศาสตร์ไว้ในลักษณะพิพิธภัณฑ์ได้

 

การรื้อหรือไม่รื้อในทางการขุดค้นต่างกันอย่างไร

เมธาดล : ถ้าเป็นที่ว่างๆ ก็ขุดค้นง่าย การรื้ออาคารไม่ใช่หน้าที่เรา แต่เราจะเข้าไปประสานงานไม่ให้กระทบกับหลักฐานที่อยู่ใต้ดิน ถ้าหลักฐานอยู่ภายใต้อาคารเราก็เข้าไปขุดไม่ได้ ถ้าอยากจะดูทั้งหมดก็ต้องเอาอาคารที่มีอยู่ปัจจุบันออกไป มีสมมติฐานว่าข้างใต้น่าจะเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างที่เป็นวังเป็นเวียง เป็นแนวกำแพงสัดส่วนของวัง เอาแค่ในสมัยประวัติศาสตร์ ยังไม่มีความคิดที่จะไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ยังไม่มีการเข้ามาระดมความคิดว่าจะทำอะไรในระดับจังหวัด ยังไม่มีอะไรชัดเจน เพราะยังไม่ได้ประชุมกัน เพียงแต่ว่าเดินตามแนวที่เขาอยากให้รื้อคุกออกไปก็ทำได้ กรมศิลป์ไม่มีความเห็นขัดแย้งอยู่แล้ว แต่เราจะไปรื้อฟื้นทางวิชาการโบราณคดีให้

 

จากประสบการณ์ในการจัดการพื้นที่อื่นเป็นอย่างไร

เมธาดล : อยู่ที่จังหวัดจะคุยอย่างไรกับท้องถิ่น อย่างพระนครศรีอยุธยาก็ทุบกำแพงบางส่วนทิ้ง บางส่วนก็เหลือไว้ บางส่วนราชทัณฑ์ขอไว้ขายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ แล้วก็รื้อฟื้นโบราณสถาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและมีประวัติศาสตร์ของคุกส่วนหนึ่ง

ถ้าของใหม่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว จริงๆ สิ่งที่ควรจะทำคือรื้อฟื้นของเดิมขึ้นมา แต่ต้องใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดในเรื่องของวัฒนธรรม เราจะเป็นอาเซียนแล้ว แต่เชียงใหม่ตอนนี้เป็นเมืองเก่าที่มีการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernization) มากเสียจนมีสิ่งของใหม่ๆ มาสร้างทับซ้อนไว้จนแทบจะมองไม่เห็นของเก่า ดังนั้นคนมาเที่ยวเชียงใหม่ก็ได้เห็นแต่แจ่ง เห็นแต่ข่วง แล้วก็คูเมืองซึ่งไม่ชัดเจน มีตึกสมัยใหม่ขึ้นมาหมด คุ้มเจ้าเมืองวัดวาอารามโดนสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่บังทับไปหมด ความเป็นของเก่าไม่มีแล้ว เราต้องรื้อฟื้นศูนย์กลางของเมืองขึ้นมาให้ชัดเจนตามประวัติศาสตร์ดั้งเดิมให้ได้ ทำให้มีชีวิตและใช้สอยทางวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์ในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งที่ตามมาคือการต่อยอดทางเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ

 

เห็นด้วยหรือไม่ว่าจะต้องมีพื้นฐานข้อมูลทางวิชาการเสียก่อน ก่อนที่จะมีการกำหนดนโยบาย

เมธาดล : ต้องเดินไปด้วยกัน เพราะเรามีข้อมูลทางวิชาการอยู่แล้ว เพียงแต่ขุดให้มันชัดเท่านั้นเอง เพราะเวลาเป็นตัวจำกัด ไปรอไม่ได้ คุณต้องมีฐานข้อมูลในการคิด ถ้าคิดแบบไม่มีฐานข้อมูลก็สะเปะสะปะ

 

อาคารเรือนจำอายุ 110 ปี เข้าเกณฑ์โบราณสถานหรือไม่

เมธาดล : ขึ้นอยู่กับว่าประวัติตรงนี้มีแค่ไหน จริงๆ แล้วคือเขาก็ไม่ได้ซีเรียสกับมัน โบราณสถานอยู่ในอำนาจของกรมศิลป์ ขึ้นทะเบียนหรือไม่ขึ้นทะเบียนอย่าไปแตกประเด็น เพราะตอนนี้มีประเด็นเรื่องศาลฎีกาอยู่ ตรงนั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนในเรื่องเอกราชและประชาธิปไตย แต่ตรงนี้เป็นเรื่องคุกและเรื่องขึด ในเมื่อท้องถิ่นต้องการเอาขึดออกก็ไม่มีปัญหา แต่ว่าเราอนุรักษ์ไว้ส่วนหนึ่งได้ ไม่ใช่อนุรักษ์ไว้แล้วทำประโยชน์ไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช่อาคารสถาปัตยกรรมดีเด่น ไม่ใช่ว่าร้อยปีต้องเป็น ห้าสิบปีก็เป็นได้ถ้ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมมากพอ

0 0 0

ทั้งนี้ในการเสวนาสาธารณะ “จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่...?” เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 ซึ่งศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่จัดขึ้นเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนหาแนวทางบริหารจัดการทัณฑสถานหญิงกลางเมืองเชียงใหม่นี้ หนึ่งในผู้ร่วมสนทนา เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์อดีตข้าราชการสังกัดกรมศิลปากรระดับหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน นักประวัติศาสตร์ศิลปะผู้มีผลงานวิชาการและบทความด้านศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก ได้แสดงความห่วงใยไว้ว่า “ไม่ทราบว่าการขุดค้นจะอยู่ในขั้นตอนใดของแผนงาน ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปี หรืออาจจะถึงสามปี ทำไมจึงตัดสินใจเร่งด่วนเช่นนี้ แล้วเมื่อเข้าสู่การรื้อแล้ว มีคนกลุ่มหนึ่งอยากเก็บอาคารบางหลังไว้เป็นตัวแทนคุก ก็ควรต้องประสานหอจดหมายเหตุแห่งชาติให้มาทำ full documentation คือการบันทึกอย่างละเอียดในทางวิชาการ แม้วันนี้เรามีมติเอกฉันท์ว่าสมควรทุบทิ้งทั้งหมด แต่อย่างไรก็สมควรต้องบันทึกไว้”

บันทึกเสวนา “จากคุ้มสู่คอก จากคอกสู่...?”

(ที่มาช่องยูทูป: Ram Dhama)

 

0 0 0

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายบัณรส บัวคลี่ คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้เขียนบทความต่อเนื่องลงในบล้อกส่วนตัว (http://storify.com/bunnaroth/2?utm_campaign&awesm=sfy.co_bDDX&utm_content=storify-pingback&utm_source=t.co&utm_medium=sfy.co-twitter) แสดงความเห็นด้วยและเห็นแย้งกับธเนศวร์ เจริญเมือง และโพสต์ในหน้าเฟซบุคของตนย้ำข้อสงสัย 6 ประเด็นว่า

“1. คนเชียงใหม่ยังไม่เห็นเอกสารรายละเอียดโครงการ ที่รู้ชัดคือ ครม.มีมติ 18 ม.ค.อนุมัติงบกลางเป็นกรณีพิเศษตามสำนักพระพุทธศาสนา(นิวัฒน์ธำรง)เสนอ รายละเอียดคือ ข่วงหลวงเวียงแก้วพุทธมณฑลเชียงใหม่ // การขออนุมัติงบได้ต้องมีรายละเอียดและแผนก่อสร้าง ขอถามว่า ไอ้รายละเอียดนั้นน่ะอยู่ไหน มีใครที่เป็นชาวบ้านธรรมดาหรือสื่อท้องถิ่น/สื่อส่วนกลางเห็นและรายงานมาบ้างว่า แบ่งเป็นรายการอะไรใน 150 ล.นั้น

2. ตามหลักการเมื่อเข้าครม. อนุมัติมาแล้ว ที่ดังกล่าวก็ต้องเป็นพุทธมณฑลและเดินตามกรอบที่เสนอไป ดังนั้นหากมีคนบอกว่าจะมีการหารือปรับเป็นลานกิจกรรม เป็นฯลฯ ต้องดูว่าคนที่พูดเป็นใคร มีตำแหน่งแห่งที่เกี่ยวข้องยังไง หรือเป็นแค่ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงที่ไม่เกี่ยวกันเลย หากจะคุ้มครองผลประโยชน์เชียงใหม่กันจริงๆ แล้ว คนเชียงใหม่ต้องเรียกดูรายละเอียดที่แท้จริงเสียก่อนว่าใช่ function แบบที่ต้องการจริงหรือไม่

3. ดร.เพ็ญบอกว่าจะเสนอผู้ว่าเรื่องการขุดค้นฯ ช้าไปแล้วครับ ... เพราะโครงการเดินหน้าไปแล้ว การสัมมนาครั้งนั้นก็แค่เครื่องเคียงประกอบเท่านั้น

4.ผมไม่ค้านทุบคุก แต่ค้านการยกคุกของหน่วยงานส่วนกลางหนึ่งไปให้หน่วยงานส่วนกลางอีกแห่งหนึ่งกำกับ งบประมาณและการจัดการขึ้นกับเขา ไม่ใช่ที่สาธารณะเพื่อประโยชน์สูงสุดคนเชียงใหม่แท้จริง

5. การออกแบบที่ดินกว้างๆ เป็น LandMark ของเมือง ต้องดูความเชื่อมโยงกับกิจกรรมทั้งหมด คนที่ได้ประโยชน์ต้องเป็นพื้นที่ก็ได้ทุกกลุ่มทุกศาสนาอาชีพ (ไม่ใช่แค่พุทธ) นักท่องเที่ยวก็ได้ ก็เหมือนกับลาน/สนามใหญ่ๆ ของเมืองอื่นๆ ที่มีกิจกรรมของคน เป็นลานที่มีชีวิต และเป็นกิจกรรมด้านบวก

6. เอาแค่เบื้องต้นก่อน ขอถามคนเกี่ยวข้องว่า เมื่อครม.อนุมัติให้สำนักงานพุทธศาสนาเป็นเจ้าภาพแล้ว กระบวนการขั้นตอนต่อไปจะทำยังไง...ขอถามลอยๆ ใครตอบได้ช่วยที”

หากวางการเมืองเรื่องสีเสื้อลงเสียก่อนเราอาจมองเห็นความพยายามในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการตัดสินใจใช้พื้นที่สาธารณะที่จะส่งผลต่อประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กลุ่มอนุรักษ์บางส่วนเริ่มก่อหวอดคัดค้านการสร้างพุทธมณฑลนี้ จนเมื่อถึงวัน “ทุบทำลาย” จากเดิมที่กำหนดตัวนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธี ก็กลับมีการเปลี่ยนตัวเป็นนายธานินทร์ สุภาแสน ผวจ.เชียงใหม่เป็นประธานแทนอย่างฉุกละหุก แต่จนบัดนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีการประท้วงคัดค้านเป็นทางการแต่อย่างใด

ไม่ว่าจะจบลงอย่างไร ไม่ว่าจะอย่างไรเสีย การจัดการพื้นที่สาธารณะเช่นนี้ยังคงต้องการเสียงจากทุกฝ่ายในการพูดคุยหาข้อยุติที่จะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะลบล้างผลพวงของอะไรก็แล้วแต่ออกไปได้ แต่ข้อมูลทางวิชาการซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในอนาคตก็เป็นสิ่งที่ทิ้งไม่ได้ไม่ใช่หรือ.

 

 

(หมายเหตุผู้สัมภาษณ์เรียบเรียง : ข้อมูลเบื้องต้นสรุปเรียบเรียงจากรายงานลำดับเหตุการณ์ของมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ และบทความที่น่าสนใจ เช่น "คุก" ของใคร ครอบทับไว้เหนือ "หอคำ"โดย เพ็ญสุภาสุขคตะ ใจอินทร์คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1615 หน้า 75 http://botkwamdee.blogspot.com/2011/08/blog-post_04.html, ได้เวลาขับเคลื่อน คุ้ม คอก ข่วง! โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1658 หน้า 76 http://botkwamdee.blogspot.com/2012/05/ptn-khuang.htmlรื้อเรือนจำเก่า เพื่อ (จอง) จำประวัติศาสตร์ใหม่ โดย มนวัธน์ พรหมรัตน์http://www.prachatai.com/journal/2013/01/44898)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ASEAN Weekly: ศึกที่รัฐคะฉิ่น ชี้อนาคตกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า

$
0
0

 

ASEAN Weekly ดำเนินรายการโดย สุลักษณ์ หลำอุบล และดุลยภาค ปรีชารัชช สัปดาห์นี้ พูดคุยถึงอีกด้านหนึ่งของสถานการณ์พม่า ที่รัฐบาลพม่ายังคงปราบกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะการทำสงครามปราบปราม กองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น KIA ในพื้นที่รัฐคะฉิ่น ที่ดำเนินมาตั้งแต่กลางปี 2554 และในช่วงปลายปีที่ผ่านมากองทัพพม่าได้โหมโจมตีทางอากาศ และปืนใหญ่ใส่พื้นที่รอบๆ เมืองไลซา ฐานบัญชาการใหญ่ของกองทัพคะฉิ่น KIA โดยขณะนี้เกิดผู้อพยพภายในรัฐคะฉิ่น และชายแดนจีนนับแสนคน

ดุลยภาคกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในรัฐคะฉิ่น ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่กลางปี 2554 ก็คือ ประการแรก รัฐธรรมนูญปี 2008 ระบุว่ารัฐพม่าต้องมีกองทัพเดียว กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่เหลือจะต้องมามาเป็นส่วนหนึ่งกองทัพพม่า โดยหน่วยเหนือของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์จะต้องถูกบังคับบัญชาโดยทหารพม่า และให้ทหารพม่าเข้ามาในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 2008 จึงเป็นสลักระเบิดทำให้กองกำลังคะฉิ่นหันมาเคลื่อนไหว เนื่องจากว่าคะฉิ่นไม่อยากยอม เพราะถ้าคะฉิ่นยอมเท่ากับจะสูญเสียอาวุธยุทโธปกรณ์และแรงบันดาลใจในการต่อสู้ ที่ต่อรองกับพม่านับตั้งแต่พม่าได้เอกราชนั้น ถ้าฝ่ายคะฉิ่นขาดกองทัพไปก็จะเสียแต้มต่อในทางการเมือง

ประการที่สอง อาจเป็นไปได้ที่ขุนทหารชายแดนของพม่า อยากจะยั้งประโยชน์ในชายแดนรัฐคะฉิ่น เพื่อคงอิทธิพลในการเมืองพม่า ทั้งนี้การเมืองพม่าหลังมีการเลือกตั้ง ด้านหนึ่งในรัฐสภามี ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เป็นแกนนำ อีกด้านหนึ่งคือกองทัพพม่า ทั้งนี้การที่กองทัพพม่าที่อยู่ชายแดนทำให้สถานการณ์บริเวณชายแดนเกิดวาบไฟ ก็ทำให้กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองโดยเฉพาะการเมืองชายแดน นอกจากนี้ทหารที่อยู่ชายแดนอาจจะยังคิดแก้แค้น เพราะสูญเสียกำลังพลเนื่องจากถูกฝ่ายกองทัพคะฉิ่นตอบโต้ ดังนั้นเมื่อรบติดพันอยู่ พอประธานาธิบดีเต็ง เส่ง สั่งให้หยุดรบก็ยังไม่หยุด เพราะอยากจะแก้แค้น

ประการที่สาม พื้นที่รัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำอิระวดีนั้น จีนมีแผนสร้างเขื่อนมิตซนที่ต้นแม่น้ำอิระวดี และอีกหลายเขื่อนในรัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นการดีสำหรับจีนหากรัฐบาลพม่าสามารถเคลียร์สถานการณ์ให้นักลงทุนสามารถเข้าไปลงทุนได้สะดวก

ทั้งนี้ฐานบัญชาการใหญ่ของกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIA) คือเมืองไลซา ที่ตั้งยังอยู่บนจุดยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐคะฉิ่น คือเมืองไลซา ซึ่งคร่อมอยู่บนถนนสายเลโด (Ledo road) ซึ่งเส้นทางดังกล่าวมุ่งไปทางเหนือของไลซาคือเมืองมิตจีนา เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่น และไปยังรัฐอัสสัม ของอินเดียได้ และมุ่งไปทางใต้คือเมืองบะหม่อ ซึ่งเชื่อมเส้นทางการค้ากับมัณฑะเลย์ และไปยังมณฑลยูนนานของจีน

ส่วนกรณีที่ สภาสหพันธรัฐชนชาติแห่งสหภาพพม่า หรือ UNFC เสนอตัวจะเจรจากับรัฐบาลพม่าในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ต่อสถานการณ์ในรัฐคะฉิ่นนั้น ดุลยภาคกล่าวว่า UNFC เป็นการรวมตัวของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อต่อรองกับกองทัพพม่า และต่อรองให้ชนกลุ่มน้อยมีอำนาจในการปกครองมากขึ้น แต่ฝ่ายพม่าก็ไม่ยอมเพราะกลัวการล่มสลายของสหภาพพม่า ทั้งนี้ UNFC เพื่อรวมตัวกันไม่กี่ปี เพื่อตอบโต้นโยบายกองทัพเดียวของพม่า อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์ สไตล์การต่อสู้ของสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มารวมกันเป็น UNFC ยังมีความหลากหลาย และไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรทางการเมือง 

ตอนท้าย ดุลยภาคเสนอว่าเราถวิลหาประชาคมในฝัน ด้วยการมีประชาคมอาเซียนขึ้นมา แต่การกระบวนการสร้างรัฐสร้างชาติเพื่อก่อรูปเป็นประเทศสำหรับหลายๆ รัฐในอุษาคเนย์ยังไม่จบ โดยเฉพาะพม่า การสร้างรัฐของพม่าคือการใช้รัฐเป็นแกนกลาง และคนในประเทศที่เป็นหลากชนเผ่าและบางครั้งเป็นคนพม่าเองถูกทำให้เป็นศัตรูของรัฐ และขณะเดียวกันก็เขย่ามโนทัศน์โดยที่บอกว่า รัฐที่ให้ที่พักพิงกับชนกลุ่มที่ต่อต้าน ก็ถือว่าเป็นศัตรูด้วย ดังนั้นอคติที่แอบแฝง ทั้งที่คนพม่าที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์บางส่วน และความหวาดระแวงรัฐพม่ามีต่อรัฐพม่ายังมีอยู่ ขณะที่ยังถวิลถึงประชาคมในฝันของอาเซียน สัจจะนิยมในการสร้างรัฐสร้างชาติของพม่ายังไม่จบ และผลที่ตามมาคือความรุนแรงของรัฐ ซึ่งมีหลายระดับของความรุนแรง ซึ่งหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงสงครามเย็นก็เกิดกรณีนี้ เช่น กรณีสงครามกลางเมืองสมัยเขมรแดง หรือที่ระบอบซูฮาร์โตที่ทำกับชาวติมอร์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images