Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live

เข้าปีใหม่เปิดตัว ‘ทีวีมลายู’ ชายแดนใต้

$
0
0

ศอ.บต.เปิดตัว ทีวีและวิทยุมลายู 3 มกราฯ 56 เชิญ สุรินทร์ พิศสุวรรณ ปาฐกถา “ภาษามลายูสู่อาเซียน” ตั้ง“จำรูญ เด่นอุดม” เป็นประธานกรรมการสถานี ให้เวลา 1 ปี สร้างเป็นสื่อของประชาชนชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2555 ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา ที่ประชุมคณะกรรมการสถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจ่ายเสียงภาษามลายูได้กำหนดเปิดตัวสถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจ่ายเสียงภาษามลายู ในวันที่ 3 มกราคม 2556 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

การเปิดตัวดังกล่าว จะมีขึ้นในงานที่ใช้ชื่อว่า “Hari Suara kita” โดยเชิญ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมอาเซียน มากล่าวปาฐกถา “เรื่องภาษามลายูสู่ประชาสังคมอาเซียน”

จากนั้นจะเปิดรับความคิดเห็นจากผู้ร่วมงาน เพื่อนำข้อเสนอแนะไปใช้ในการปรับผังรายการสถานีวิทยุและโทรทัศน์ต่อไป
สำหรับคณะกรรมการชุดนี้ ศอ.บต.แต่งตั้งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 โดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ได้รับเลือกให้เป็นประธาน ส่วนกรรมการประกอบด้วย นักจัดรายการวิทยุภาษามลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้นำศาสนาและสื่อมวลชนในพื้นที่

นอกจากนี้ ศอ.บต. ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาและอำนวยการ จำนวน 16 คน เช่น นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายเด่น โต๊ะมีนา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต. ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลาและสตูล ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา นายอิสมาแอ ดาอะละ หรือบาบออิสมาแอ สปาแย นายกสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา ประธานศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา เป็นต้น

คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด มีอำนาจหน้าที่ เช่น พัฒนา “สถานีวิทยุโทรทัศน์ภาษามลายู” ในระยะเริ่มต้น เพื่อให้เป็นสื่อที่ประชาชนมีส่วนร่วม รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อภาษามลายู รวมทั้งเปิดเวทีพูดคุยกับภาคประชาสังคมและผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐ ทั้งในพื้นที่และภูมิภาคส่วนอื่นของประเทศ

ขณะเดียวกัน ยังให้คณะกรรมการชุดนี้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการสรรหาคณะกรรมการสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาษามลายูภายใน 1 ปี
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : safety net จำเป็นต่อกระบวนการสันติภาพปาตานี

$
0
0

 

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้สัมภาษณ์ ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส  อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อส้นติภาพเบอร์คอพแห่งเยอรมันนี และปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโส สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้าง “พื้นที่กลาง” ในการพูดคุยระหว่าง “คนใน” และการสร้าง “Insider Mediator” (ตัวกลางที่เป็นคนใน) เพื่อแสวงหาข้อเสนอร่วมของคนทุกศาสนาและชาติพันธุ์ในพื้นที่เพื่อสร้างแผนที่ในการเดินทางไปสู่สันติภาพ

ทั้งนี้ในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส ได้ร่วมมือกับนักวิชาการจาก 5 สถาบันทั่วประเทศรวมทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งจากวิทยาเขตปัตตานีและหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมจัดเวทีสันติภาพของคนใน (IPP - Insider peacebuilding platform) ในการวิเคราะห์ร่วมกันว่าความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้คืออะไร โดยได้ทำบทวิเคราะห์ร่วมซึ่งจะเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไปเพื่อที่จะสร้างแผนที่ไปสู่สันติภาพ

DSJ ได้พูดคุยกับนักวิชาการอาวุโสชาวเยอรมันผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในหลายประเทศซึ่งจะอธิบายแนวคิดของเขาเกี่ยวกับบทบาทของ “คนใน” ในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับบริบทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเด็นเรื่องตาข่ายนิรภัย (safety net) ที่เขานำเสนอต่อภาคประชาสังคมในเวที IPP

DSJ : อะไรคือความหมายของตาข่ายนิรภัย (safety net) ที่คุณนำเสนอต่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ และมีความสำคัญอย่างไรในกระบวนการสันติภาพ

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : กระบวนการสันติภาพเป็นเรื่องที่เปราะบาง แตกหักง่ายและยากที่จะแก้ไขหรือประกอบขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีตาข่ายนิรภัยรองรับที่มาจากประชาชน จากนักวิชาการที่มีศักยภาพ กระบวนการสันติภาพจึงเน้นว่าจะเป็นการดีที่จะมีตาข่ายนิรภัย (safety net) ที่เป็นการรวมตัวกันของประชาชนจากหลายๆ ฝ่ายที่สามารถพูดคุยเรื่องการสร้างสันติภาพทั้งในระดับที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ตาข่ายนิรภัย (safety net) จะมีสองระดับคือ ชั้นที่เป็นทางการก็คือตัวแทนของทั้งสองฝ่ายพูดคุยกัน ทั้งในระดับการพูดคุย (Dialogue) หรือการเจรจา (negotiate) และมีตาข่ายนิรภัยระดับล่างลงมาคือ ประชาชนที่ไม่ใช่ตัวแทนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นทางการ แต่เป็นผู้แสดงตนว่าต้องการกระบวนการสันติภาพ และพูดคุยเรื่องในเดียวกันกับกลุ่มที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ ซึ่งกลุ่มนี้ต้องคิดและเตรียมการว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากกลุ่มที่พูดคุยเป็นทางการล้มเหลว ซึ่งคนเหล่านี้จะช่วยก่อร่างความคิด วิธีการ หรือวางเป้าหมายเพื่อที่กระบวนการสันติภาพที่เป็นทางการล้มเหลวสามารถกลับคืนมา นี่คือเนื้อหาของตาข่ายนิรภัย (safety net)

มีหลายหนทางที่ตาข่ายนิรภัย (safety net) จะเกิดขึ้นหรือก่อร่างขึ้นได้ อย่างง่ายๆ  ก็คือ เกิดจากกลุ่มประชาชนที่รู้จักคุ้นเคยกันและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองฝ่าย (รัฐและขบวนการ) ที่มีการพูดคุยกันและร่วมกันคิดว่าจะสื่อความคิดหรือข้อเสนออะไรบ้างไปสู่กลุ่มตัวแทนที่เป็นทางการ หรืออาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เช่น เมื่อตัวแทนที่เป็นทางการของแต่ละฝ่ายประสงค์ให้ประชาชนจัดตั้งกลุ่มถาวรเป็นคณะในการให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาวิกฤติที่จะเกิดขึ้น เพราะไม่เคยมีกระบวนการสันติภาพที่ไม่มีวิกฤติ

คือมีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่ตัวแทนการเจรจาต้องการให้ประชาชนพัฒนาศักยภาพที่จะช่วยเหลือในสถานการณ์ที่แตกหักหรือเกิดความขัดแย้งรุนแรง

DSJ : ในสถานการณ์ของความขัดแย้งในชายแดนใต้คุณพอจะมองเห็นปรากฏการณ์ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการก่อรูปของตาข่ายนิรภัย (safety net) อย่างไรบ้าง

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ผมเชื่อว่ามีประชาชนส่วนหนึ่งที่มีการพูดคุยกับทั้งสองฝ่าย ทั้งที่เป็นฝ่ายพลเรือนและที่มาจากกองทัพ แต่เราไม่รู้ว่าเป็นใคร คนเหล่านี้ส่วนหนึ่งต่อไปอาจจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวแทนการเจรจาที่เป็นทางการ ซึ่งพวกเขารู้จักฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างดี พวกเขาสามารถแสดงบทบาทตาข่ายนิรภัย (safety net) ได้ในภายหลัง ซึ่งนี่เป็นตัวเลือกแรก

ตัวเลือกที่สองคือประชาชนอย่างเช่นคุณ (ชี้มายังผู้สัมภาษณ์) และคนอื่นๆ ที่อยู่ในภาคประชาสังคม สื่อมวลชนและอื่นๆ หรือกลุ่มคนที่มีส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและพวกเขากำลังคิดว่าจะสนับสนุนกระบวนการสันติภาพในอนาคตได้อย่างไร โดยทำความเข้าใจกับผู้คนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย BRN PULO หรือ ญูแว และอีกด้านหนึ่งคือผู้คนที่มีสัมพันธ์กับฝ่ายราชการพลเรือนหรือฝ่ายทหารไทย ซึ่งพวกเขาสามารถผลิตความคิดดีๆ ที่จะให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไปได้ ผมคิดว่ามีตัวอย่างเช่น ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ที่สามารถเล่นบทบาทนี้ สื่อที่ติดต่ออยู่กับศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ก็สามารถเล่นบทบาทนี้

ผมโดยส่วนตัวกำลังคิดทำโครงการสร้างศูนย์ข้อมูลสันติภาพ (peace resources center) ที่มีแห่งหนึ่งที่ชายแดนใต้กับอีกที่หนึ่งคือที่กรุงเทพ ซึ่งจะเป็นที่ที่จะให้คนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้พบปะและสามารถผลิตไอเดียความคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการสันติภาพสามารถเดินหน้าได้ด้วยก้าวเล็กๆ และคนที่เฝ้าดูเหตุการณ์ความขัดแย้งที่อื่นๆ ที่คล้ายกันและกำลังศึกษาเรื่องเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่เห็นอกเห็นใจทั้งฝ่ายขบวนการของคนมลายูและเห็นใจฝ่ายรัฐไทยที่พวกเขาจะสามารถช่วยกันสร้างแนวคิดใหม่ๆ

ในส่วนของผมคิดว่าในการสร้างศูนย์ข้อมูลสันติภาพอาจจะประสานกับมหาวิทยาลัยหนึ่งหรือสองแห่งหรือกับองค์กรประชาสังคมที่สามารถดำเนินการอย่างอิสระ ซึ่งต้องเตรียมการตั้งแต่ตอนนี้ เป็นจังหวะก้าวที่ดีและเดินถูกทางเพราะบรรยากาศทางการเมืองเป็นช่วงที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีทีท่าว่าจะมีการเจรจาอย่างเป็นทางการ ผมยังไม่เห็นว่าจะมีกระบวนการการเจรจาทั้งจากฝ่ายรัฐไทยและฝ่ายขบวนการ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นไม่ตรงกันที่จะมีการเจรจา แต่ละฝ่ายไม่มีความพร้อมในการเจรจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเห็นที่แตกต่างกันว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต

DSJ : ศูนย์ข้อมูลสันติภาพจะมีภารกิจอย่างไรบ้าง

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ศูนย์ข้อมูลสันติภาพ (peace resources center) คือความคิดริเริ่มที่จะนำผู้คนมาร่วมทำงานอย่างต่อเนื่องใน 3 เรื่อง คือ เรื่องแรกต้องคิดว่าอะไรคือก้าวย่างที่ดีในการสร้างความเชื่อมั่น สร้างความเชื่อใจ และแนวคิดที่ดีให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่สาธารณะ (common space) ที่ผู้คนสามารถพบปะกับคนอื่นๆ ที่มีภูมิหลังต่างกัน

เรื่องที่สองคือ ผมคิดว่าจะเป็นการดีที่จะมีสถานที่ที่เป็นฐานความรู้ อาจจะเป็นห้องสมุด เว็บไซต์ หรือข้อมูลดิจิตอลที่เป็นการสรุปบทเรียนจากอาเจะห์ จากมินดาเนา แอฟริกาใต้ ไอร์แลนด์เหนือ เพื่อให้ทุกคนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาอย่างง่ายๆ

เรื่องที่สาม สำหรับผมในการริเริ่มของศูนย์ข้อมูลสันติภาพ (peace resources center) จะสามารถผลิตข้อเสนอเชิงนโยบายย่อยๆ ที่เป็นแนวคิดหรือข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการสันติภาพสามารถเดินหน้าได้ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับทั้งความเห็นสาธารณะและระบอบการเมืองของประเทศไทยโดยเห็นร่วมกันว่ามีความเป็นไปได้ ทำได้จริง เป็นกระบวนการสันติภาพที่เป็นก้าวเล็กๆ ที่เป็นจริงได้

เมื่อดำเนินการแล้วจะต้องได้รับความสนใจจากสาธารณะ มีการนำเสนอโดยสื่อมวลชน เพราะว่ากระทำโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่มีการรวมตัวกันอย่างดี เป็นที่รู้จักและมาจากแอคติวิสต์หลายๆ ฝ่ายทั้งจากคนมาเลย์มุสลิม คนไทยพุทธ คนไทยเชื้อสายจีนที่ร่วมกันคิดและร่วมกันร่างข้อเสนอนี้ จะเป็นเหมือนสายน้ำของการเคลื่อนไหวด้านบวก (the stream of positive activities)

ตัวอย่างในเรื่องเรื่องนี้ เราจะเห็นพัฒนาการของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ที่ก่อนหน้านี้จะมีชื่อเสียงเพราะการทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ความรุนแรง แต่วันนี้เราต้องการรายงานเกี่ยวกับสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดหรือไอเดียเรื่องสันติภาพ ซึ่งสำหรับผมนี้คือองค์ประกอบที่เป็นธรรมชาติที่ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้จะต้องทำต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต จากการวัดค่าความรุนแรงมาสู่การวัดค่าสันติภาพและสร้างแนวคิดเรื่องสันติภาพ

DSJ : มีตัวอย่างของการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรในลักษณะศูนย์ข้อมูลสันติภาพในประเทศอื่นๆ

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ตั้งศูนย์สันติภาพ (peace center) โดยรัฐบาลและโดยกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าร่วมกันคิดในการตั้งสถาบันของพวกเขาเอง ในมินดาเนามี OPAC หรือสำนักงานคณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีเพื่อกระบวนการสันติภาพที่เป็นคณะทำงานในส่วนของรัฐบาลและมีคณะทำงานสันติภาพในส่วนของ MILF และในอีกหลายๆ ประเทศที่มีความขัดแย้งทั่วโลก ในขณะนี้มีการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสันติภาพ (establishing infrastructure for peace) เช่น ในกาน่า ในเคนย่า ได้มีการก่อตั้งกลุ่มที่จะทำหน้าที่สร้างระบบเตือนภัยตั้งแต่เนิ่นๆ ที่อาจจะเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ขึ้นจากผลการเลือกตั้งซึ่งประชาชนจะช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งการริเริ่มเล็กๆ เหล่าผมคิดว่าสำคัญและช่วยได้มาก

DSJ : พูดถึงตาข่ายนิรภัย (safety net) ดูเหมือนว่าจะเป็นกลุ่มคนที่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพ แล้วชุมชนหรือประชาชนทั่วไปหรือชาวบ้านคนธรรมดาจะสามารถเป็นตาข่ายนิรภัยในความหมายนี้หรือไม่

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ในที่นี้เราสามารถพูดได้ว่ากระบวนการสันติภาพทั้งหมดเป็นตาข่ายนิรภัย (safety net) แต่เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นที่ใดที่หนึ่งและเมื่อประชาชนขับเคลื่อนตัวเองออกมาเพื่อป้องกันความรุนแรง ไม่ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะมาจากฝ่ายไหนก็ตาม อย่างเช่นในไนโรบี และในเคนย่าที่เกิดความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง มีประชาชนลุกขึ้นเคลื่อนไหว มีนักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพเป็นพันคนลุกขึ้นมาประท้วงการก่อเหตุร้าย นั่นคือตาข่ายนิรภัยเช่นกัน

DSJ : เมื่อดูความเป็นจริงในกรณีปัตตานีซึ่งมีองค์กรภาคประชาสังคมอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ องค์กรประชาชนต่างๆ แต่ดูเหมือนว่ากิจกรรมต่างๆ ที่กลุ่มคนเหล่ากระทำอยู่ไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ (peace movement)

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ผมเข้าใจสถานการณ์การริเริ่มกระบวนการสันติภาพในปาตานี ซึ่งขณะนี้กระบวนการ IPP กำลังเดินหน้าไปสู่แนวคิดนี้ แต่ผมเห็นด้วยกับคุณที่ว่ากระบวนการนี้ยังไม่แข็งแรงพอ เราต้องการมากกว่านี้ ต้องการบางอย่างที่มีลักษณะเป็นสถาบัน ผมหวังว่าการมีศูนย์ข้อมูลสันติภาพจะสามารถช่วยให้กระบวนการสันติภาพเข้มแข็งขึ้นได้ แต่ตอนนี้ยังอ่อนแอมาก ยังเป็นก้าวเล็กมากๆ ยังเร็วไปที่จะบอกว่านี่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพเพราะสังคมยังมีการแบ่งแยกอยู่มากและไม่มีการเสริมพลังให้กันและกัน

ผมคิดว่าเมื่อประชาชนได้รับผลกระทบจากความรุนแรงมากขึ้น และหากเขาได้เข้าไปเป็นตัวแสดงในกระบวนการสันติภาพ เขาจะเป็นตาข่ายนิรภัยที่ดีมากๆ ที่คุณจะได้เห็น อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในไคโร เมื่อประชาชนกลับไปยังจัตุรัสทาห์รีร์เพื่อก่อการประท้วง นั่นคือตาข่ายนิรภัย (safety net) ชนิดหนึ่งที่ผู้คนไปแสดงเจตจำนงว่าไม่ต้องการระบบเผด็จการอีกต่อไป พวกเขาต้องการประชาธิปไตย

สำหรับกระบวนการสันติภาพที่แท้จริงสำหรับที่นี่ในอีก 2-5 ปีข้างหน้า ในความเข้าใจของผมจะมีตาข่ายนิรภัย (safety net) เกิดขึ้นจริงได้ก็ต่อเมื่อ อย่างเช่นเมื่อเกิดความรุนแรงไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คุณแสดงการต่อต้านความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย คุณมีการประท้วงใหญ่ (big rally) ที่มัสยิดกลางที่ปัตตานี มันจะเป็นการส่งสัญญาณที่แข็งแกร่ง ลองจินตนาการว่าทุกๆ เย็นวันจันทร์ประชาชนมารวมตัวกันที่มัสยิดกลางปัตตานีและบอกว่าเราต้องการหยุดความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย ประชาชนมารวมตัวทุกๆ เย็นวันจันทร์เป็นเวลา 3 เดือน เป็นกลุ่มใหญ่ที่เริ่มต้นจาก 20 คน กลายเป็น 200 คน กลายเป็น 2,000 คน หรือกลายเป็น 20,000 คน ผมเชื่อมั่นว่าเมื่อมีคน 20,000 คนมารวมตัวกันหลายๆ ครั้งในเย็นวันจันทร์มันจะขึ้นหน้าหนึ่งของนิวยอร์กไทม์ และเมื่อนั้นส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอะไรสักอย่างแน่นอน นี่คือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตก เพราะประชาชนในเยอรมันตะวันออกมารวมตัวทุกวันจันทร์เวลาหกโมงเย็น รวมตัวกันประท้วงและบอกว่า เราคือประชาชนหนึ่งเดียว (we are one people) เริ่มจาก 20  คน เป็น 30 40 50 คนต่อมาเป็น 20,000 คน และกลายเป็น 200,000 คน หลังจากระบบเดิมทั้งระบบล้มลง นี่คือเรื่องจริงๆ แต่คุณต้องมีความหนักแน่นและให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นใจอำนาจที่จะมีการเปลี่ยนแปลง

DSJ : ในกรณีของปัตตานี คุณคิดว่าใครควรจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมลักษณะนี้

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : คุณน่าจะรู้ดีกว่าผม (หัวเราะ) ผมคิดว่าควรจะเป็นขบวนการของเยาวชนที่จะสามารถทำได้ เป็นผู้ที่จะบอกว่าพวกเราพอแล้วกับความรุนแรง และเราไม่เชื่อในรัฐไทยและก็ไม่เชื่อในขบวนการด้วย และเป็นขบวนการเยาวชนที่ยึดถือสาสน์ชัดเจนว่าเราต้องการจัดการตนเอง (self determination) และจัดการตัวเองอย่างมีสันติภาพ ซึ่งอันนี้จะเป็นพลังที่แข็งแกร่งมาก เพราะขณะนี้กระบวนการการจัดการตนเองถูกดิสเครดิตด้วยความรุนแรงที่เป็นอยู่ หากคุณมีการเคลื่อนไหวการจัดการตัวเองที่ไร้ความรุนแรงก็จะเป็นสิ่งที่ต่างออกไป

นักวิชาการชี้รัฐเปิดช่อง ชุมชนร่วมสร้างสันติภาพชายแดนใต้

$
0
0

เสวนาชุมชนศรัทธาปัตตานีคึกคัก นักวิชาการสันติศึกษาชี้แม้ความรุนแรงจะยืดเยื้อเรื้อรัง แต่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงเมื่อรัฐเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายมุ่งสร้าง บรรยากาศการพูดคุยเจรจาเพื่อสันติภาพ


เมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมา เครือข่ายชุมชนศรัทธา "กัมปงตักวา" จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับ มูลนิธิชุมชนไท กทม. องค์การแอคชั่นเอด (ประเทศไทย) จัดการเสวนาผู้นำชุมชนศรัทธากับกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ณ หอประชุมสำนักอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาจากทั้งสามจังหวัดมาร่วมงานกว่า 300 คน

การเสวนาครั้งนี้มุ่งที่องค์ประกอบสำคัญของชุมชนคือผู้นำ 4 เสาหลักของชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำศาสนา อบต. และแกนนำธรรมชาติ) เพื่อเสริมสร้างมุมมองและโลกทัศน์ที่กว้างไกลและในอีกด้านหนึ่งด้วยความปรารถนาที่จะให้ทุกภาคส่วนมาช่วยกันสนับสนุนพื้นที่ชุมชนได้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาแก้ปัญหาของชุมชนโดยชุมชนให้สามารถยืนได้ด้วยลำแข็งของตนเองสู่การแก้ปัญหาและร่วมสร้างกระบวนการสันติภาพจากพื้นที่ฐานของชุมชนสู่สันติภาพชายแดนใต้

ในการเสวนาครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ ในหัวข้อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ โดย อ.ซากีย์ พิทักษ์คุมพล อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มอ.หาดใหญ่ และเวทีเสวนาเรื่อง ผู้นำชุมชนศรัทธากับกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ ในช่วงเช้า และการเสวนาเรื่องปัญหาที่ดินกับการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ในช่วงบ่าย โดยมีวิทยากรทั้งนักวิชาการ ผู้นำชุมชนและนักกิจกรรมทางสังคมร่วมนำเสนอปัญหาต่อที่ประชุม

อ.ซากีย์ พิทักษ์คุมพล กล่าวในการบรรยายพิเศษว่า จากการติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จนถึงวันนี้กล่าวได้ว่าสถานการณ์ที่เข้าสู่วงจรที่เรียกว่าเป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากสถิติที่เกิดความรุนแรงเป็นจำนวนกว่า 12,377 ครั้ง มุผู้เสียชีวิตกว่า 5,377 คน และบาดเจ็บกว่า 9,513 คน ในสถานการณ์ที่จะครบรอบ 10 ปีในปีหน้า

“สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าการแก้ปัญหาที่ผ่านมาไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างที่ควรจะเป็น ในตอนแรกคนที่เกี่ยวข้องบอกว่าสามารถควบคุมความรุนแรงและความขัดแย้งได้ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่าความขัดแย้งเป็นตัวควบคุมเรา” อ.ซากีย์ กล่าว

ทั้งนี้ อ.ซากีย์ยังกล่าวอีกว่าในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ขณะนี้พบว่าทางรัฐบาลได้มีกองกำลังทั้งทหาร ตำรวจ และกองกำลังที่หนุนเสริมเช่น อส.ในพื้นที่ 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของสงขลาจำนวนกว่า 60,000 คน และยังมีกองกำลังกึ่งอาชีพเช่น ชรบ. อรบ. อีกจำนวนกว่า 80,000 คน

นักวิชาการจากสถาบันสันติศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ในโมเดลการวิเคราะห์ความขัดแย้งชนิดที่ยืดยื้อเรื้อรังพบว่าเงื่อนไขหนึ่งทำนำไปสู่สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากลักษณะของชุมชนที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีชาติพันธุ์หนึ่งมีอิทธิพลเหนือชาติพันธุ์หนึ่ง ทำให้ความขัดแย้งไม่สามารถแก้ได้ด้วยการใช้กฎหมายหรือด้วยแนวทางความมั่นคง

อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งคือ ความต้องการพื้นฐานของชุมชนไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ความต้องการด้านอัตลักษณ์อันเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่ถูกพรากโดยคนอื่นหรือโดยรัฐจะเป็นชนวนไปสู่ความขัดแย้งชนิดเรื้อรังได้ ซึ่งต้องเอาเงื่อนไขนี้ไปทาบกับชุมชนชายแดนใต้ว่าวันนี้ความต้องการพื้นฐานของชุมชนได้รับการตอบสนองแล้วหรือยัง

อย่างไรก็ตาม อาจารย์จาก มอ.หาดใหญ่กล่าวในการบรรยายว่าในขณะนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่มาจากรัฐที่เรียกได้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นการเปลี่ยนแปลงจากรากฐานที่จะสามารถแก้ปัญหาได้นั่นคือ นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2555-2557 โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและครอบคลุมทั้งหน่วยงานรัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

“โดยเฉพาะนโยบายในข้อ 8 ที่บอกว่ารัฐต้องการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐกำลังสร้างบรรยากาศการพูดคุย การเจรจาเพื่อสันติภาพ ที่นี้จะทำอย่างไรให้เขาได้ยิน อันนี้แหละที่ต้องใช้ฐานของชุมชนศรัทธา ทำอย่างไรให้ชุมชนสามารถถักทอเครือข่ายกันมากขึ้นกับเครือข่ายอื่นๆ สร้างพื้นที่ใหม่โดยไม่สูญเสียพื้นที่ของตนเอง และเป็นการเกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์และยืดหยุ่น” อ.ซากีย์ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล

$
0
0

"ถ้าจะเป็นทีวีสาธารณะ จะพูดถึงเรื่องการเข้าถึงข้อมูลถ้วนหน้า ก็น่าจะคิดถึงเวลาที่หลากหลายของคนทำงานด้วยนะครับ มีคนจำนวนมากในสังคมสมัยนี้ ที่กว่าจะเลิกงานก็หลังเที่ยงคืน จะให้ดูทีวีตอนไหน หรือ ThaiPBS จะเป็นเฉพาะทีวีของ "คนปกติ" เข้างานแปดโมงเลิกงานสี่โมง สองทุ่มถึงบ้าน ครอบครัวอุดมคติตามแบบเรียนมากๆ"

28 ธ.ค.55, ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ตกล่าวถึงกรณี ThaiPBS ปรับผังปิดสถานีเวลา 02:00-05:00 โดยอ้างเพื่อเป็นแบบอย่างให้คนในสังคม

เกร็ดข่าว: ใครๆ ก็มีกล้อง ในกล้องมีใคร?!

$
0
0

นิตยสารไทม์ไฮไลท์ปรากฏการณ์แสนธรรมดาที่กำลังเพิ่มมากขึ้น โดยรวมภาพที่มีช่างภาพสมัครเล่นและอาชีพปรากฏในเหตุการณ์ต่างๆ รอบปี 2012

โดยไทม์ระบุว่า ไม่นานนี้ ภาพจากงานศพของคิม จอง อิล อดีตผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (KCNA) ก่อให้เกิดข้อถกเถียงจากการตัดต่อภาพ โดยมีการโฟโต้ช้อปเอาบรรดาช่างภาพที่ไปรอถ่ายภาพออก นัยว่าเพื่อความสวยงามของภาพ

แต่มายุคนี้ที่ดูเหมือนว่า ทุกสถานการณ์จะถูกบันทึกลงบนภาพถ่ายจากทุกมุมกล้องที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะในปีนี้มีรูปที่ถูกถ่ายทั้งสิ้นราว 380,000 ล้านใบ นั่นทำให้ไม่เฉพาะเกาหลีเหนือ ที่พยายามจะกันช่างภาพออกจากภาพของตัวเอง

ช่างภาพคนอื่นๆ มักปรากฏตัวในภาพข่าวซึ่งถ่ายโดยช่างภาพอีกคนอยู่บ่อยครั้ง กล้องเป็นแผงตั้งรอถ่ายเหล่าเซเล็ปและบุคคลสาธารณะ มือถือถ่ายรูปได้ถูกชูขึ้นถ่าย ภาพของคนถ่ายเหล่านี้ติดเข้าไปทั้งในฉากหน้าและฉากหลังของทั้งภาพ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งภาพแบบมืออาชีพและภาพแบบแคนดิต

บางครั้ง ช่างภาพก็จงใจให้ช่างภาพคนอื่นๆ เป็นตัวแบบของรูปเสียเลย แต่ภาพที่ยากที่สุดคงเป็นภาพที่จะไม่มีช่างภาพคนไหนอยู่เลยในเฟรมภาพ ไม่ว่าในความหมายทางตรงหรือทางอ้อม

ด้านหนึ่ง ไทม์บอกว่า ทุกคนล้วนต้องการบันทึกความจริงในรูปแบบของตัวเอง แต่ก็กลับกลายเป็นว่าพวกเขาวุ่นอยู่แต่กับกล้อง ทำให้อาจจะพลาดประสบการณ์จริงในชั่วขณะหนึ่งไปได้ง่ายๆ

ในคอนเสิร์ตเมื่อเร็วๆ นี้ของแจ็ค ไวท์ มือกีต้าร์ได้ขอให้ผู้ชมหยุดความพยายามที่จะถ่ายภาพ โดยอธิบายว่าเพื่อให้ผู้ชมได้รับชมคอนเสิร์ตด้วยตาของพวกเขาเอง ไม่ใช่ดูการแสดงทั้งหมดผ่านจอเล็กๆ ในมือ ทั้งนี้ พวกเขาจะมีภาพการแสดงที่ถูกถ่ายโดยมืออาชีพ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทางเว็บไซต์หลังการแสดงจบด้วย

ในยุคที่เต็มไปด้วยโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้และกล้องดิจิตอลราคาไม่แพงได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ของการถ่ายภาพไปอย่างมหาศาล ไทม์ได้รวบรวมปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เอาไว้


ชมภาพได้ที่ http://lightbox.time.com/2012/12/27/a-year-of-photographers-in-the-picture

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รู้เท่าทันภัยพิบัติ: เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นบนพื้นที่ความขัดแย้ง

$
0
0

สังคมในยามสงบ และมีความเข้มแข็ง เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติสักครั้ง การจัดการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือก็กระทำได้อย่างทุกลักทุเลและยากลำบาก

การจัดการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือจะยิ่งยากขึ้นหลายเท่าเมื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นในสังคมที่มีความขัดแย้งอยู่เดิม

ความขัดแย้งอย่างกรณีในอะเจห์[1]ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้นักสิทธิมนุษยชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรให้ความช่วยเหลืออย่างกาชาดสากล ต้องปวดเศียรเวียนเกล้าและไม่รู้จะจัดการอย่างไร เมื่อทั้งภัยพิบัติจากธรรมชาติและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์อย่าง ‘ความขัดแย้ง’ เกิดขึ้นบนพื้นที่เดียวกัน

Zeccola (2011) พบว่า ในอะเจห์องค์กรให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุยชน มีความยากลำบากในการจำแนกระหว่างผู้ที่ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง ‘สึนามิ’ กับ เหตุการณ์ ‘ความขัดแย้ง’ที่เกิดขึ้นมานานกว่า 30 ปี

ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างสึนามิ ถือเป็น ‘ความบริสุทธิ์’ ที่ผู้ประสบเคราะห์ต้องได้รับความช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน แต่ผู้ประสบภัยพิบัติจำนวนหนึ่ง (มาก) ถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งด้านการเมือง ซึ่งอย่างหลังกลายเป็นกุญแจสำคัญ ทำให้ความช่วยเหลือนั้นดำเนินไปด้วยความทุลักทุเล โดยเฉพาะความช่วยเหลือจากรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชนจากต่างประเทศ ที่มีองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติการ จะตกอยู่ท่ามกลางการถูกจับจ้องว่า ความช่วยเหลือนั้นจะถูกแปลความหมายอย่างไร  ถ้าหากการปฏิบัติการถูกมองว่าไม่เหมาะสมและถูกเกี่ยวโยงเข้ากับความขัดแย้งด้านการเมือง อาจทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับรัฐบาลอินโดนีเซีย

แต่ประเด็นสำคัญคือในสภาวะการณ์เช่นนี้ คือ การจะแยกให้ความช่วยเหลือทำได้ยาก เพราะเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างความขัดแย้งด้านการเมืองและพื้นที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สิ่งที่เกิดขึ้นในอะเจห์คือ องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ให้ความสำคัญน้อยมากกับประเด็นด้านการเมือง และไม่ได้แยกระหว่างผู้ที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติกับผู้ที่ประสบภัยทางการเมืองออกจากกัน จึงทำให้มีปัญหากับแหล่งทุนซึ่งส่วนมากเป็นรัฐบาลจากต่างประเทศ

ในขณะที่รัฐบาลจากต่างประเทศซึ่งเป็นผู้บริจาคด้านการเงินและสิ่งของต่างๆ (โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติ) เกรงว่าจะเกิดปัญหากับรัฐบาลอินโดนีเซีย จึงปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอย่างเด็ดขาด

ผลที่ตามมาคือ การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติจึงเป็นไปด้วยความยากลำบากและขาดประสิทธิภาพ

Zeccola ยังพบว่า เว้นแต่องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่บางองค์กร ที่ยอมลดจุดยืนบางอย่าง ทำงานร่วมกับองค์กรของรัฐบาลในพื้นที่ จึงทำให้การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติสามารถดำเนินการได้บ้าง พร้อมกับเสนอว่า ผู้บริจาคควรยึดจุดยืนในการให้เน้นให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน โดยที่ทั้งผู้บริจาคและองค์กรพัฒนาเอกชนน่าจะยืดหยุ่นและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมด้านการเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี

โดยสรุปผู้เขียนพบว่า หากเปรียบเทียบการฟื้นฟูภัยพิบัติสึนามิระหว่างอะเจห์ในประเทศอินโดนีเซียและภาคใต้ของประเทศไทย ด้วยประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ความขัดแย้งด้านการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อะเจห์ฟื้นฟูได้ช้าและยากกว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ภัยพิบัติทางธรรมชาติเริ่มเกิดบ่อยครั้งขึ้นในหลายพื้นที่ในแต่ละประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ในขณะที่ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยก็ยังคงมีอยู่ เช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลือง-เสื้อแดง และความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ในอนาคตข้างหน้า หากเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ขึ้น สังคมไทยจะรับมืออย่างไรกับสถานการณ์เช่นนี้




[1]อะเจห์เกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และมีความขัดแย้งก่อนหน้านั้นเกือบ 30 ปี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ตอบข้อวิจารณ์ในบทความ “เผด็จการธรรมวินัย”

$
0
0

'สุรพศ ทวีศักดิ์' เขียนโต้บทความ “เผด็จการธรรมวินัย” ของ 'วิจักษณ์ พานิช' ยืนยัน "วิธีแก้ปัญหาที่ผมเห็นว่าที่ดีที่สุดเวลานี้ คือ “ระบบต้องทำงาน” มีมูลไม่มีมูลต้องตอบผ่านระบบที่ทำงานอย่างโปร่งใส มิเช่นนั้นก็จะไม่เกิดผลดีแก่ใครเลย กลายเป็นปัญหาทำนอง “คู่กรณี” หรือไม่ก็เป็นเรื่องเล่าแบบ “มารไม่มาบารมีไม่เกิด” หรือไม่ก็เป็นเรื่องของถ้าเป็น “พระดี” ก็ไม่ต้องตรวจสอบ"

 
ในบทความเชื่อ “เผด็จการธรรมวินัย”วิจักษณ์ พานิช ยกข้อความที่ถกเถียงกันในเฟซบุ๊กมาว่า
 
"อยากชวนคณะสงฆ์เป็นอิสระจากรัฐ เพื่อให้ชาวพุทธกลุ่มต่างๆ มีอิสระตรวจสอบกันเอง และต้องการยืนยันว่าถ้าคณะสงฆ์ยังขึ้นต่อรัฐก็ต้องอ้างอิงกรอบพระธรรมวินัยในการจำกัดอำนาจ ตรวจสอบบทบาทของมหาเถรและสังฆะภายใต้ระบบนี้อยู่ครับ"    -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
 
"ธรรมวินัยมันมีบางอย่างที่ชัดเจน ไม่ต้องตีความ มีบางอย่างที่ต้องตีความ มีหลักฐานบันทึกเทียบเคียงความสอดคล้องได้ อย่างส่วนที่เป็นวินัยสงฆ์นี่ชัดเจนเหมือนกฎหมายเลยว่าทำอย่างนี้ผิด อย่างนั้นถูก มันถึงเป็นหลักความประพฤติที่ตรวจสอบเห็นตรงกันได้  ...ธรรมวินัยไม่ได้อิงมหาเถร ไม่ได้อิงสมบูรณาฯ เพราะธรรมวินัยเถรวาทที่อ้างอิงกันอยู่คือธรรมวินัยที่สืบเนื่องมาจากการสังคายนาครั้งที่ 1 มีมาก่อนสมบูรณาไทยเป็นพันๆ ปี ธรรมวินัยจึงเป็นกรอบอ้างอิงหลักเสมอ เพราะธรรมวินัยไม่เกี่ยวกับอำนาจรัฐ แต่เป็น “ระบบสังฆะเถรวาท” ที่เป็นอิสระจากรัฐมาแต่ก่อน"     -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
"หลักธรรมวินัยของพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลักสากลที่ชาวพุทธเถรวาททั่วโลกต่างยึดถือร่วมกัน ไม่ต่างจากที่สังคมประชาธิปไตยยึดหลักประชาธิปไตยหรอก"   -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
แล้ววิจักษณ์ก็วิจารณ์ โดยสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
 
1) จากข้อความทั้งหมดข้างต้น ตรรกะที่ผิดพลาดของอ.สุรพศ เกิดขึ้นจากการที่ อ.สุรพศไม่กล้าวิพากษ์หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร แต่กลับดีเฟนด์การใช้หลักธรรมวินัยแบบมหาเถรในฐานะกฏเกณฑ์สูงสุดของพุทธเถรวาท (สากล? เทียบเท่าหลักประชาธิปไตย?) โดยอ้างว่าคณะสงฆ์สามารถตรวจสอบได้โดยโปร่งใส ไม่มี 112 
 
จะเห็นได้ว่าวิจักษณ์จงใจนิยามสิ่งที่ผมเรียกว่า “ธรรมวินัยเถรวาท”  ว่า “หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร” ซึ่งหลักธรรมวินัยแบบมหาเถรที่วิจักขณ์ใช้คงหมายถึง “หลักธรรมวินัยที่อิงอยู่กับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อิงอยู่กับมหาเถร” แต่ข้อความข้างต้นเป็นข้อความที่ผมโพสต์โต้แย้งหลักธรรมวินัยในความหมายที่วิจักษณ์เรียกว่า ““หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร” นั่นเอง
 
ฉะนั้น ข้อวิจารณ์ต่างๆ ของวิจักขณ์จึงเป็นการเอาความหมายของธรรมวินัยที่ตนเองเรียกว่า ““หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร” ไปแทนที่สิ่งที่ผมเรียกว่า “ธรรมวินัยเถรวาท”  เสมือนว่าความหมายที่ตนนำมาวิจารณ์นั้นเป็นความหมายตรงตามที่ผมสื่อออกมาจริงๆ ซึ่งไม่ใช่
 
ยิ่งกว่านั้น วิจักขณ์ยังบอกว่าผมไม่กล้าวิพากษ์ “หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร” ถามว่าใครกันที่วิพากษ์หลักธรรมวินัยแบบมหาเถรที่อิงระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากกว่า เพราะสำหรับผมหลักธรรมวินัยที่ว่านี้หมายถึง “การตีความหลักธรรมวินัยสนับสนุนอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ผมอยากให้ลองกลับไปอ่านบทความหลายชิ้นของผมว่า ผม “ไม่กล้าวิพากษ์” หลักธรรมวินัยในความหมายดังกล่าวนี้จริงหรือไม่
 
ฉะนั้น ถ้ายึดหลักการที่วิจักขณ์มักอ้างเสมอว่า “ธรรมวินัยเป็นเรื่องของการตีความที่มีบริบท” ผมก็ยืนยันว่าผมตีความ “ธรรมวินัยแบบมหาเถร” ต่างจาก “ธรรมวินัยแบบเถรวาท” ที่มีอยู่ก่อนซึ่งมีความหมายสำคัญต่างจากธรรมวินัยที่ถูกตีความสนับสนุนอุดมการณ์สมบูรณาฯแบบมหาเถร
 
ข้อความที่ยกมานั้น ผมบอกชัดเจนว่า ธรรมวินัยไม่ได้อิงมหาเถร ไม่ได้อิงสมบูรณาฯ เพราะธรรมวินัยเถรวาทที่อ้างอิงกันอยู่คือธรรมวินัยที่สืบเนื่องมาจากการสังคายนาครั้งที่ 1 มีมาก่อนสมบูรณาไทยเป็นพันๆ ปี ธรรมวินัยจึงเป็นกรอบอ้างอิงหลักเสมอ เพราะธรรมวินัยไม่เกี่ยวกับอำนาจรัฐ แต่เป็น “ระบบสังฆะเถรวาท” ที่เป็นอิสระจากรัฐมาแต่ก่อน  ซึ่งหมายความว่า แม้ไม่มีมหาเถร ระบบสมบูรณาฯไทย ธรรมวินัยเถรวาทก็มีอยู่ก่อนแล้ว ระบบสมบูรณาฯ และมหาเถรต่างหากที่เอาธรรมวินัยเถรวาทที่มีอยู่ก่อนมาใช้ตีความในแบบที่เราเห็นว่าเป็นปัญหาอยู่
 
ทีนี้ถ้าเราจะวิจารณ์ว่าระบบสมบูรณาฯ มหาเถรใช้ธรรมวินัยถูกหรือผิดอย่างไรก็ต้องไปดู “ธรรมวินัยเถรวาท” ที่มีอยู่ก่อนเพื่อนำมาเป็น “หลักอ้างอิง”
 
เช่น เราจะ “รู้” ได้ว่าระบบสมบูรณาฯอ้างหลักธรรมพุทธสร้าง “ทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติ” ที่ยกให้สถาบันกษัตริย์ศักดิ์สิทธิ์เหนือการตรวจสอบนั้นผิดหรือถูก ก็ต้องไปดูหลักการนี้ในอัคคัญญสูตรว่า พุทธศาสนาว่าไว้แบบนั้นจริงหรือไม่ เมื่อไม่จริงทฤษฎีนี้ก็ผิด เป็นต้น
 
ฉะนั้น ถามว่าถ้าเราไม่อ้างอิง “ธรรมวินัยเถรวาท” ที่มีอยู่ก่อนมาเป็นหลักในการวิพากษ์ตรวจสอบ “ธรรมวินัยแบบมหาเถร” (หรือที่วิจักขณ์เรียกชื่ออีกว่า “ธรรมวินัยแบบรัฐ”) เราจะอ้างอิงหลักอะไร?
 
2) คำถามของผมคือ ตั้งแต่มีมหาเถรสมาคมเป็นต้นมา เราสามารถตรวจสอบอะไรพระได้บ้าง? หรือพระในคณะสงฆ์ (ใน scale ใหญ่) สามารถตรวจสอบอะไรกันเองได้บ้าง? พระใช้หลักธรรมวินัยในการตรวจสอบกัน แล้วช่วยให้สังฆะมีวัตรปฏิบัติที่งดงามและสร้างสรรค์ขึ้นได้จริงหรือไม่? การตรวจสอบที่อาจารย์สุรพศบอกว่าทำได้ทุกเรื่อง เอาเข้าใจจริงทำอะไรได้บ้าง นอกจากการจับผิดพระมีเซ็กซ์
 
ก็เพราะเราไม่ยอมอ้างอิงธรรมวินัยเถรวาทในความหมายที่ผมว่ามาตรวจสอบธรรมวินัยที่ตีความแบบมหาเถร แบบสมบูรณาฯ ไงครับ มันจึงเป็นปัญหาอย่างวิจักขณ์ว่ามา
 
3) สมมติฐานของผม คือ ในโครงสร้างแบบที่เป็นอยู่ จริงๆ แล้วพระตรวจสอบไม่ได้ครับ และพระก็ไม่ได้ใช้ธรรมวินัยตรวจสอบกันและกันด้วย สิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็คือการไล่ปรับอาบัติปาราชิก หรือพูดง่ายๆ คือ จับพระมีเซ็กซ์เท่านั้นที่ตรวจสอบได้ นอกนั้นดิ้นได้หมด สิ่งที่อ.สุรพศ เขียนมาทั้งหมด ก็เพื่อ Validate ข้อเรียกร้องกรณีให้มหาเถรใช้หลักธรรมวินัยตรวจสอบอธิการ มหาจุฬาฯ มีเซ็กซ์เท่านั้น  
 
ธรรมวินัยแบบรัฐทุกวันนี้ยึดโยงอยู่กับอุดมการณ์ของรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และอุดมการณ์นี้คือชุดอุดมการณ์ที่ใช้ตีความธรรมวินัยแบบเถรสมาคม พระสงฆ์มีอำนาจล้นฟ้า แล้วยังมีหลักธรรมวินัยที่ตีความเข้าข้างตัวเองเป็นหลักสูงสุด ตัดสินโดยองค์กรสงฆ์ที่ปกครองตัวเอง มีการตีความแบบเฉพาะของตัวเอง และไม่มีภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบอะไรต่อสังคมประชาธิปไตยเลย  ตราบใดที่ยังประพฤติพรหมจรรย์ (ที่ถูกตีความเหลือแค่ไม่มีเซ็กซ์) พระสงฆ์ทำอะไรก็ได้ ไม่ผิด
 
คำตอบย่อหน้าแรก คือคำว่า “ตรวจสอบไม่ได้” ต้องหมายถึง “ระบบไม่เปิดให้ตรวจสอบได้” เช่นเราตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ เพราะระบบหรือกฎหมายห้ามตรวจสอบ แต่โดย “ข้อเท็จจริง” แล้วระบบมหาเถรไม่มีกฎหมายห้ามตรวจสอบ แม้แต่การหมิ่นประมาทสมเด็จพระสังฆราชก็มีความผิดเท่ากับหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา
 
สมมติ (ย้ำ “สมมติ”) ว่า พระ ก.เห็นประธานกรรมการมหาเถรยักยอกเงินวัด มีหลักฐานชัดเจน พระ ก.ก็สามารถยื่นเรื่องให้หน่วยงานรับผิดชอบของบ้านเมืองตรวจสอบเอาผิดทางกฎหมายได้เลย และยื่นเรื่องให้คณะสงฆ์เอาผิดทางวินัยสงฆ์ได้เลย หรือให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนช่วยตรวจสอบก็ได้ ยิ่งกว่านั้นเรายังเสนอให้ยกเลิกระบบมหาเถร ยกเลิกสมณศักดิ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด และที่จริงแล้วเราก็เห็นการวิจารณ์ตรวจสอบสถาบันสงฆ์ผ่านหน้าสื่ออยู่บ่อยๆ
 
ฉะนั้น ที่วิจักขณ์ว่า “พระสงฆ์มีอำนาจล้นฟ้า”นั้น ทำไมเราด่าพระได้ทุกวัน พระมี “อำนาจตามกฎหมาย” มาจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเราหรือ (การใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวให้ผู้มีอำนาจบีบบางคน นั่นไม่ถูกต้อง และไม่ได้ใช้ “กฎหมาย” เพราะไม่มีกฎหมายให้ให้อำนาจมหาเถรปิดปากเราได้) ส่วนที่ตรวจสอบไปแล้วจับได้แค่พระมีเซ็กส์ นั่นเป็นปัญหาเรื่อง “ประสิทธิภาพ” ในการตรวจสอบ การไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอไม่ได้แปลว่าหมด “ความชอบธรรม” อย่างสิ้นเชิง เหมือนระบบกฎหมายให้สิทธิตรวจสอบนักการเมือง ข้าราชการ ฯลฯได้ แต่ยังไม่สามรถเอาผิดนักการเมือง ข้าราชการ ฯลฯ ที่โกงเก่งๆได้ ไม่ได้หมายความว่าระบบไม่ชอบธรรม
 
คำตอบย่อหน้าที่สอง ต้องใช้หลักธรรมวินัยเถรวาทในความหมายที่ยังไม่ถูกตีความรับใช้อุดมการณ์สมบูรณาฯและมหาเถรมาตรวจสอบธรรมวินัยที่ถูกตีความไปแบบนั้นครับ เช่น เวลา อ.สุลักษณ์วิจารณ์ว่าการตีความพุทธสนับสนุนอุดมการณ์สมบูรณาฯผิดอย่างไร ท่านก็ต้องอ้างอิงหลักการที่ถูกต้องมาวิจารณ์ตรวจสอบ เป็นต้น
 
4) เมื่อธรรมวินัยถูกอ้างอย่างไร้บริบท ราวกับกฏหมายอันศักดิ์สิทธิ์สูงสุดโดยตัวมันเอง เป็น “สากล” เป็น “กติกากลาง” ที่ชาวพุทธต้องยอมรับอย่างไม่อาจตั้งคำถามหรือตีความได้  ธรรมวินัยก็กลายเป็นอำนาจนิยมธรรมวินัย เผด็จการธรรมวินัย เป็นสีลัพพตปรามาส (ความเชื่อว่าการถือศีลจะทำให้คนบริสุทธิ์) ซึ่งถือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ไม่ต่างจากอันตรายที่เกิดขึ้นเวลาธรรมะถูกเทศนา ถูกสั่งสอน ถูกอ้างถึงอย่างไร้การคำนึงถึงบริบทเลย
 
ที่จริงผมพูดแค่ว่า เป็น “สากล” เป็น “กติกากลาง” ที่เติมเข้ามาเองว่า “...ราวกฏหมายอันศักดิ์สิทธิ์สูงสุดโดยตัวมันเองที่ชาวพุทธต้องยอมรับอย่างไม่อาจตั้งคำถามหรือตีความได้” ไม่ใช่ความหมายที่ผมต้องการสื่อแต่อย่างใด
 
จริงๆแล้ว เวลาเราพูดเกี่ยวกับ “สากล” หรือ “กติกากลาง” ไม่จำเป็นต้องหมายถึงอะไรที่ “ศักดิ์สิทธิ์” และ “แตะต้องไม่ได้” แต่อย่างใด ตรงกันข้ามเวลาที่เราพูดถึงอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้เรามักจะหมายถึงสิ่งที่ “ไม่สากล” และ “ไม่ใช่กติกากลาง” เวลาที่นักปรัชญาเช่นค้านท์เสนอ “หลักจริยธรรมสากล” เขาก็ไม่เคยบอกว่าหลักสากลแตะต้องไม่ได้ แย้งไม่ได้ หรือกติกากลางอย่างสิทธิมนุษยชน หลักการประชาธิปไตยก็ไม่ได้มีความหมายในเชิงศักดิ์สิทธิ์ แตะไม่ได้ใดๆ
 
ยิ่งกว่านั้น “สากล” หรือ “กติกากลาง” ในบางเรื่องมันก็มีบริบทเฉพาะหรือ Local ของมันอยู่ เช่น เมื่อผมพูดถึงวินัยสงฆ์เถรวาทที่เป็นสากล-กติกากลาง ผมหมายถึง ความเป็นสากลในรูปของข้อตกลงร่วมกันใน Local ประเภทหนึ่ง คือประเภท “ระบบสังฆะเถรวาท” ไม่ใช่สังฆะทุกระบบในพุทธศาสนา หรือไม่เกี่ยวกับระบบสังคมการเมืองทางโลก ฉะนั้น สากล กติกากลาง จึงไม่จำเป็นต้องมีความหมายว่าศักดิ์สิทธิ์ แตะไม่ได้ เป็นเผด็จการแต่อย่างใด แต่หมายความแค่ว่าใช้กับสมาชิกแห่งสังฆะอย่างเสมอภาค หรือสังฆะเสมอภาคภายใต้ธรรมวินัย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่สองมาตรฐาน
 
ประเด็นความเป็นสากล-กติกากลางใน Local ประเภท “ระบบสังฆะเถรวาท” ผมคิดว่าสำคัญมาก เพราะเป็นรากฐานของ “วัฒนธรรมเคารพหลักการ”
 
ทำไมเราเห็นตำรวจไปจับพระสึกบ่อยๆ ทั้งที่พระดื่มเหล้าต้องอาบัติปาจิตตีย์ยังไม่ขาดความเป็นพระ เพราะสังคมเรามองว่าพระดื่มเหล้าเป็น “พระเลว” ไงครับ ฉะนั้น สำหรับพระเลว คนเลว เราขจัดเขาด้วยวิธีไหนก็ได้ ทำเกินขอบเขตของหลักการธรรมวินัยได้ นักการเมืองเลวก็ทำรัฐประหารได้ ส่วนอำมาตย์ดีแล้วเราไม่ต้องตรวจสอบ พระอวดอุตตริหมิ่นเหม่ต่ออาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระ เราก็ไม่ตรวจสอบ เพระเชื่อว่าท่านเป็นพระดี เป็นอรหันต์ เป็นผู้วิเศษ
 
ฉะนั้น การที่สังฆะและชาวพุทธไทยไม่ยึดถือธรรมวินัยในฐานะเป็น “หลักการสากล-กติกากลาง” ที่ใช้กับสมาชิกแห่งสังฆะอย่างเสมอภาคต่างหากครับ ที่มันกลายเป็นรากฐานของการสร้าง “วัฒนธรรมบูชาคนดี-ผู้วิเศษเหนือหลักการ-เหนือการตรวจสอบ” จนหยั่งรากลึกในบ้านเรา
 
ผมไม่ปฏิเสธว่า “หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร” สร้างปัญหาแบบที่วิจักขณ์ว่ามาทั้งหมด แต่สำหรับผมมันต้องแก้ด้วยการยืนยัน “หลักธรรมวินัยเถรวาทในความหมายที่ผมอธิปรายมา” และผมเชื่อว่ามันยังจำเป็นต้องนำมาใช้ตรวจสอบได้ แม้ศาสนายังไม่เป็นอิสระจากรัฐ
 
5) ข้อสรุปของผมคือ การตีความหลักธรรมวินัยแบบรัฐเช่นนี้แหละครับที่เป็นปัญหา และการอ้างความเป็น absolute truth ของหลักธรรมวินัยเพื่อให้คณะสงฆ์ของรัฐใช้อ้างกันเอง ตรวจสอบกันเองนี้แหละที่เป็นปัญหา  มันทำให้สงฆ์เป็นอภิสิทธิ์ชนตรวจสอบอะไรไม่ได้ พูดอะไรไม่เคยผิด ทำอะไรไม่เคยผิด ยกเว้นถูกจับได้ว่ามีเซ็กซ์  เมื่ออาจารย์สุรพศไม่กล้าวิพากษ์หลักธรรมวินัยแบบรัฐ แต่กลับอ้างว่าแม้ศาสนาจะไม่แยกจากรัฐ คณะสงฆ์ภายใต้มหาเถรก็มีสิทธิ์จะใช้ธรรมวินัยตรวจสอบกันเองตามหลักเสรีภาพทางศาสนา ข้อคิดเห็นของอ.สุรพศ ก็ยิ่งไปเสริมอำนาจผูกขาดการตีความธรรมวินัยแบบมหาเถร ผลักผู้ที่เห็นต่างจากการอ้างธรรมวินัยแบบนี้ให้เป็นอื่น และที่น่าเศร้าที่สุด คือ มันขัดแย้งโดยตรงกับหลักการพื้นฐานของกระบวนการแยกศาสนาออกจากรัฐ (secularization) อันเป็นข้อเสนอสูงสุดที่จะช่วยแก้ไขปัญหาคาราคาซังของสถานะอันไม่เป็นประชาธิปไตยของพุทธศาสนาในปัจจุบัน 
 
ความจริงวิจักขณ์ก็น่าจะรู้ว่า ข้อเสนอของผมกว้างกว่า “...เพื่อให้คณะสงฆ์ของรัฐใช้อ้างกันเอง ตรวจสอบกันเองนี้แหละที่เป็นปัญหา...” เพราะวิจักขณ์ก็รู้ว่าผมสนับสนุนทั้งการออกมาตรวจสอบ ตั้งคำถามกันเองแบบหลวงพี่ไพศาลทำ แบบให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบอย่างกรณี อ.สุลักษณ์และสื่อมวลชน สาธารณชน (ดังที่อธิบายแล้วว่า “ระบบเปิดให้วิจารณ์ได้ตรวจสอบได้” ข้างต้น)
 
ข้อเท็จจริงของระบบมหาเถรที่วิจักขณ์ไม่พูดถึงเลยคือ สถานะขององค์กรมหาเถรนั้นเป็นสถานะที่ได้มาโดย “กฎหมายของรัฐ” แต่สถานะโดยกฎหมายนั้นถูกระบุว่า “ต้องอยู่ใต้ธรรมวินัย” หมายความว่า กฎหมายปกครองสงฆ์กำหนดว่า มหาเถรจะออกคำสั่ง กฎ ระเบียบใดๆ ขัดแย้งกับธรรมวินัยไม่ได้ (ในความเป็นจริงเป็นไปตามนี้หรือไม่ ก็ต้องอ้างหลักธรรมวินัยมาตรวจสอบ) โดยความหมายนี้ธรรมวินัยจึงเป็นกรอบ “จำกัดอำนาจ”ตามกฎหมายที่รัฐให้ ไม่ใช่เป็นฐานอำนาจเผด็จการที่ทำให้ “มหาเถรตรวจสอบไม่ได้” แต่อย่างใด
 
แล้วความเป็นเผด็จการของมหาเถรอยู่ตรงไหน?คำตอบคือ อยู่ที่โครงสร้างองค์กรมหาเถรตามกฎหมายปกครองสงฆ์ปัจจุบันที่ไม่ยึดโยงอยู่กับสังฆะโดยรวมและชาวพุทธทั้งหมด เพราะองค์กรมหาเถรไม่ได้มาจาก “การเลือกตั้ง” แต่มาจากการแต่งตั้งตามอาวุโสทางสมณศักดิ์ เปรียบเทียบก็เหมือนองค์กรกองทัพที่คนจะขึ้นมาเป็น 5 เสือ ทบ.ก็ไต่เต้ามาตามอาวุโสทางชั้นยศ และตำแหน่งบริหารอะไรประมาณนี้
 
ลักษณะเผด็จการของมหาเถรดังกล่าวนี้ มีปัญหาในแง่ที่พระสงฆ์ผู้ใต้ปกครองอาจไม่กล้าอ้างอิงหลักธรรมวินัยตรวจสอบองค์กรมหาเถร คล้ายๆกับผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงานทหารหรือหน่วยงานอื่นๆไม่กล้าตรวจสอบผู้บังคับบัญชา เพราะกลัวอำนาจ ไม่ปลอดภัย หรืออะไรก็แล้วแต่ ทว่า “ไม่มีกฎหมายห้ามตรวจสอบ” และมหาเถรก็ไม่สามารถอ้างหลักธรรมวินัยเพื่อใช้อำนาจเผด็จการกับพระ หรือห้ามประชาชนทั่วไปตรวจสอบได้
 
6) ส่วนข้อความของผมที่วิจักษณ์เน้นตัวหนาว่า"ธรรมวินัยมันมีบางอย่างที่ชัดเจน ไม่ต้องตีความ มีบางอย่างที่ต้องตีความ มีหลักฐานบันทึกเทียบเคียงความสอดคล้องได้ อย่างส่วนที่เป็นวินัยสงฆ์นี่ชัดเจนเหมือนกฎหมายเลยว่าทำอย่างนี้ผิด อย่างนั้นถูก มันถึงเป็นหลักความประพฤติที่ตรวจสอบเห็นตรงกันได้  ...
 
คำว่า “ชัดเจนเหมือนกฎหมาย” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ให้เอาธรรมวินัยไปใช้เทียบเท่ากฎหมาย เช่นไปจับคนเข้าคุกเป็นต้น แต่ข้อเท็จจริงคือธรรมวินัยส่วนที่เป็นวินัยสงฆ์จะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทำอะไรแล้วจะต้องรับผิดอย่างไร เช่น “ภิกษุฆ่ามนุษย์ให้ตาย = การกระทำ” “ต้องอาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระ =การับผิดหรือรับผิดชอบต่อการกระทำ” เป็นต้น จะเห็นว่าโทษทางวินัยตามตัวอย่างนี้ไม่อาจ “เทียบเท่า” โทษทางกฎหมายเลย ฆ่าคนตายต้องติดคุก แต่ทางวินัยสงฆ์แค่ให้สละสมณเพศ
 
และเมื่อว่าโดยทั่วไปแล้ว การรับผิดชอบทางวินัยสงฆ์เป็นเรื่องที่แทบจะไม่มีความรุนแรงอะไรเลยเมื่อเทียบกับโทษทางกฎหมาย แต่เป็นเป็นเรื่องที่พระสงฆ์ที่เป็นปัจเจกต้องมี Accountability ต่อระบบสังฆะ และระบบสังฆะต้องมี Accountability ต่อสังคมโดยรวมเท่านั้นเอง หรือพูดอีกอย่างว่าเป็นเรื่องของการเคารพและซื่อสัตย์ต่อ “หลักการ” ซึ่งแม้แต่สังคมอย่างโลกย์ๆ ก็ยังต้องมี
 
7) ส่วนประเด็นว่า ธรรมวินัยเป็น absolute truth หรือไม่ หรือว่าเป็นเรื่องของ “การตีความล้วนๆ” อันนี้เป็นประเด็นที่เถียงกันได้ ผมคิดว่าหลักธรรมวินัยส่วนที่เป็นธรรมะนั้น พุทธศาสนามีธรรมะส่วนที่เรียกวา “ปรมัตถธรรม” ความหมายง่ายๆคือ “ความจริงตามที่มันเป็น” คือไม่ขึ้นต่อการตีความของเรา เช่นความเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) ตามกฎไตรลักษณ์ สุญญตาเป็นต้น
 
เราจะเรียกสิ่งพวกนี้เป็น absolute truth หรือไม่ก็แล้วแต่จะเรียกหรือไม่เรียก แต่ถ้าเป็น absolute truth ในความหมายว่า “แตะไม่ได้” วิจารณ์ไม่ได้นั้นในพุทธศาสนาไม่มี ทุกเรื่องวิจารณ์ได้ คุณจะบอกว่าพุทธะสอนผิดก็ได้ ไม่มีการเอาผิดทางกฎหมายได้ แต่ถ้ามีชาวพุทธบางคนออกมาเถียงคุณ หรือด่าคุณ มันก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะประชาธิปไตยมันต้องเถียงกันได้ ด่ากันได้มิใช่หรือ
 
ในเรื่อง “การตีความ” นั้น ว่าโดยทั่วไปแล้วก็ต้องมีหลักการหรือข้อมูลอะไรบางอย่างที่ยอมรับร่วมกันว่า “ถูกต้อง” ว่า “จริง” เป็นหลักเทียบเคียงอยู่ก่อน เราถึงจะบอกตัวเองได้ว่า เราตีความใกล้เคียงหรือไม่ ถูกหรือผิด หรือมีการตีความต่างกันหลายๆ มุมก็จะเทียบได้ว่าใครตีความถูกหรือผิด เป็นต้น ทีนี้ “อะไร” ที่ยอมรับร่วมกันว่าถูกต้อง หรือจริงที่นำมาเป็นหลักสำหรับเทียบเคียงนั้น absolute truth หรือไม่ ผมไม่ทราบ แต่ถ้าไม่มีหลักเทียบเคียงเลยแล้วถือว่า “แล้วแต่ใครจะตีความ” (จริงๆถ้าแบบนี้ไม่น่าจะเรียกว่า “ตีความ” น่าจะเป็นเรื่องที่ “คิดเอาเอง” มากกว่า) ก็จะมีปัญหาว่าถ้าเรายึดถือหลักการ “แล้วแต่ใครจะตีความอย่าง extreme” ไปเลย เราก็ไม่มีเหตุผลที่จะไปวิจารณ์ว่า “หลักธรรมแบบมหาเถร” ผิด หรือมีปัญหา เพราะแล้วแต่ท่านจะตีความ!
 
สรุปคือ ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของวิจักขณ์เรื่อง “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” และความคิดหลักที่เราทำงานงานร่วมกัน ก็คือต้องการให้พุทธศาสนามีประโยชน์แก่ราษฎรในแง่มุมต่างๆตามที่วิจักษณ์เสนอไว้ในท้ายบทความ
 
แต่ผมคิดว่า “เหตุผลหลัก” ของการทำให้ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ หรือการเปลี่ยนเป็น secular state นั้น คือเหตุผลเพื่อต้องการให้รัฐเป็นอิสระจากการกำกับของอุดมการณ์ทางศาสนา ให้รัฐเป็นกลางทางศาสนา ไม่ใช่เหตุผลเรื่อง “ความชอบธรรม” ในการ “อ้างหลักธรรมวินัยตรวจสอบสังฆะ” โดยตรง เพราะความชอบธรรมในการอ้างหลักธรรมวินัยตรวจสอบสังฆะอยู่ที่การอธิบายได้ว่า สามารถดำเนินการตรวจสอบตามกระบวนการที่ถูกต้อง (เทียบเคียงกับ due process ทางระบบยุติธรรม) ตามที่ระบุไว้ในพุทธบัญญัติหรือไม่ พุทธศาสนาเถรวาทตั้งแต่ยุคพุทธกาลเป็นต้นมาก็ไม่เคยอยู่ใน secular state
 
พูดอย่างถึงที่สุดเหตุผลในการต่อสู้ให้เกิด secular state ไม่ใช่ต้องเป็น secular state เพื่อ “ความชอบธรรม” ในการที่องค์กรทางศาสนาต่างๆจะอ้างอิงหลักการ กติกาของตนเองตรวจสอบกัน ประวัติศาสตร์การเกิด secular state ไม่ได้อ้างเหตุผลนี้ เขาไม่สนใจหรอกว่าศาสนาต่างๆ จะตรวจสอบอย่างไร เขาต้องการ “ความชอบธรรม” ของรัฐที่ต้องเป็นอิสระจากอำนาจศาสนจักร ไม่ให้มีการใช้อุดมการณ์ศาสนามาชี้นำนโยบายสาธารณะของรัฐ และรัฐก็ไม่ต้องแทรกแซง หรืออุปถัมภ์ศาสนาใดๆ ส่วนศาสนาเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล คุณจะอยู่กันอย่างไรก็อยู่ไป ไม่เกี่ยวกับรัฐ
 
และผมก็ไม่แน่ใจว่า เคยมีกลุ่มศาสนิกของศาสนาใดๆ เรียกร้อง secular state เพื่อ “ความชอบธรรม” ในการอ้างหลักการ กติกาของศาสนาตนตรวจสอบกันเอง หรือเรียกร้อง secular state เพื่อ “ความชอบธรรมทางศาสนา” (ซึ่งมันเป็นเรื่องแปลกมากที่จะเรียกร้องให้จัด “รูปรัฐ” เพื่อ “ความชอบธรรมทางศาสนา” ใดๆ) 
อย่างไรก็ตาม อยากตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ตอนที่ผมเสนอให้ใช้ธรรมวินัยตรวจสอบการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการอวดอุตตริมนุสธรรมของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้น ผมถูกกล่าวหาว่า ไม่ควรมาพูดเรื่อง “ประชาธิปไตยสากล” เลย เพราะข้อเสนอของผมไม่ต่างอะไรกับเสนอให้ใช้ ม.112 กับคนอื่น ทั้งที่ก็รู้ๆ อยู่ว่า ระบบมหาเถรสมาคม “ยึดโยง” อยู่กับอำนาจจารีตที่ถูกอ้างอิงให้ใช้ ม.112 กับผมนั่นเอง
 
แต่ครั้นเมื่อเราถกเถียงกันทาง fb เรื่องการทำให้ “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” ผมเสนอว่า จะทำให้ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐได้จริง ต้อง “ปลดล็อก” ประเด็นสถาบันให้ได้ก่อน คือต้องแก้กติกาเกี่ยวกับสถานะ อำนาจ ของสถาบันให้เป็นประชาธิปไตยก่อน secular state จึงจะเป็นไปได้ แต่อาจารย์ท่านนั้น (อ.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ) กลับแย้งว่า “ไม่เกี่ยวกันเลย” (คิดว่า อ.เก่งกิจอาจจะมีเหตุผลของตนเองอยู่ เพียงแต่ผมยังไม่ทราบ ยังไม่เห็นรายละเอียดพอที่จะเข้าใจ)
 
ส่วนเรื่องที่ผมสนับสนุนให้นำกรณี อ.สุลักษณ์ร้องเรียนเข้าสู่ “กระบวนการตรวจสอบ” ก็ไม่ใช่ด้วยเจตนาอยากให้เอาเป็นเอาตายกับท่านที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด เพราะผมก็ยังไม่ปักใจเชื่อว่าจริงหรือไม่
 
แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อ.สุลักษณ์นำเรื่องดังกล่าวเผยแพร่ผ่านสื่อ และนำไปพูดในที่ต่างๆ แทบทุกเวทีที่เอ่ยถึงปัญหาในวงการพุทธศาสนาบ้านเรามาเป็นปีๆ ผมว่ามันเสียหายแก่ท่านที่ถูกกล่าวหามากในฐานะท่านเป็นพระที่มีตำแหน่งบริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นกรรมการมหาเถร มีบทบาทด้านพุทธศาสนาระดับนานาชาติ
 
ฉะนั้น วิธีแก้ปัญหาที่ผมเห็นว่าที่ดีที่สุดเวลานี้ คือ “ระบบต้องทำงาน” มีมูลไม่มีมูลต้องตอบผ่านระบบที่ทำงานอย่างโปร่งใส มิเช่นนั้นก็จะไม่เกิดผลดีแก่ใครเลย กลายเป็นปัญหาทำนอง “คู่กรณี”  หรือไม่ก็เป็นเรื่องเล่าแบบ “มารไม่มาบารมีไม่เกิด” หรือไม่ก็เป็นเรื่องของถ้าเป็น “พระดี” ก็ไม่ต้องตรวจสอบ ฯลฯ
 
ระบบสังฆะก็จะยังคงเป็นระบบส่งเสริม “วัฒนธรรมคนดี/พระดีเหนือการตรวจสอบ” ต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเผยเข้าใจ และไม่เอาเรื่องเสื้อแดงนำศพมาประท้วงหน้าศาล

$
0
0

ทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ระบุไม่เอาเรื่องเสื้อแดงนำศพมาประท้วงหน้าศาล เข้าใจความรู้สึกของกลุ่มเสื้อแดงว่ากำลังเสียใจ

29 ธ.ค. 55 - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่ามีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 50 คน ได้นำศพนายวันชัย รักสงวนศิลป์ อายุ 30 ปี จำเลยคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯและเผาสถานที่ราชการ ที่ศาลจังหวัดอุดรธานี พิพากษาลงโทษจำคุก 20 ปี 6 เดือน และถูกส่งมาคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ และเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง ขึ้นรถยนต์ตู้ มาจอดประท้วงหน้าศาลอาญา พร้อมมีการใช้รถกระบะติดตั้งเครื่องขยายเสียงมาจอดปราศรัยนั้o
 
นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวว่า ทราบเพียงว่าผู้ตายเป็นจำเลยที่ศาลจังหวัดอุดรธานี พิพากษาลงโทษ แล้วถูกส่งตัวมาคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ เข้าใจว่าเสียชีวิตประมาณวันที่ 27 ธันวาคม ที่ผ่านมา ไม่ทราบว่าเสียชีวิตด้วยเหตุใด โดยผู้ตายไม่ได้เป็นจำเลยของศาลอาญาโดยตรง ซึ่งเมื่อวานที่ผ่านมา (28 ธ.ค.) ตอนเช้า ก็มีการนำผ้าดำมาติดบริเวณรั้วศาลอาญา จึงสั่งให้รื้อออก เพราะเป็นการกระทำที่เลยเถิดกว่าที่ควร การนำศพมาตั้งหน้าศาลอาญาชักจะไปกันใหญ่
 
เนื่องจากจำเลยไม่ได้เป็นจำเลยที่ศาลอาญา ไม่เหมือนกรณีของ อากง (นายอำพล ตั้งนพคุณ จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งเสียชีวิตในเรือนจำ) ส่วนจะมีการดำเนินการกับกลุ่มคนที่มาปราศรัยและนำศพมาประท้วงหรือไม่นั้น จริง ๆ ศาลก็ไม่อยากจะใช้อำนาจศาล ก็พอเข้าใจความรู้สึกของกลุ่มพวกจำเลยว่ากำลังเสียใจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สดศรี' ยันทำประชามติต้องยึดมาตรา 9

$
0
0

นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง เผย กกต.พร้อมจัดทำประชามติ ยันไม่ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ  ต้องยึดมาตรา 9 ให้การออกเสียงได้ข้อยุติ

29 ธ.ค. 55 - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่านางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีหลายแนวทางก่อนที่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะตัดสินใจ หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ก็สามารถทำได้ เพราะเมื่อปี 53 รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นรายมาตรามาแล้ว โดยที่ไม่ต้องทำประชามติ แต่หากจะทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ขึ้นยกร่าง รัฐบาลต้องมีความชัดเจนในเรื่องประเด็นการทำประชามติ เพื่อไม่ให้สุ่มเสี่ยงต่อการถูกโต้แย้ง
         
ส่วนที่รัฐบาลมองว่ากฎหมายการทำประชามติ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 นั้น ตนมองว่า ไม่ขัด เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2552 โดยวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ทั้งนี้มองว่าการทำประชามติ เพื่อให้การออกเสียงที่จะมีข้อยุติได้ ควรให้ยึดตามมาตรา 9 ของพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ
         
นางสดศรี กล่าวต่อว่า กกต. มีความพร้อมที่จะจัดทำประชามติ หากรัฐบาลประกาศให้มีการออกเสียงประชามติเมื่อใด ขั้นตอนการทำงานของ กกต. ก็ต้องออกระเบียบของกกต. เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ ในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินงาน

ทั้งนี้ กกต. ไม่มีข้อกังวลและอุปสรรคต่อการทำประชามติ เพราะเป็นเพียงหน่วยธุรกิจที่ทำหน้าที่จัดทำประชามติ คงมีแต่รัฐบาลที่อาจจะกังวลได้ว่า จำนวนเสียงของผู้ออกมาใช้สิทธิจะครบตามที่ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ กำหนดไว้หรือไม่

อย่างไรก็ตามการทำประชามติจะได้ผลหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชนออกมาใช้สิทธิและเห็นชอบตามจำนวนเสียงที่กฎหมายกำหนด ก็จะช่วยให้รัฐบาลสามารถเดินหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญได้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตรียมนำศพผู้ต้องขังเสื้อแดงกลับบ้าน แม่วอนรัฐบาลช่วยนักโทษการเมือง

$
0
0

 

30 ธ.ค.55 ที่วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ย่านลาดพร้าว คนเสื้อแดงเป็นเจ้าภาพงานสวดอภิธรรมศพ นายวันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องชังคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่ และเสียชีวิตในเรือนจำเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยในวันพรุ่งนี้จะมีการเคลื่อนศพไปสวดอภิธรรมต่อที่ภูมิลำเนาจังหวัดอุดรธานี

ก่อนหน้าจะมีการตั้งศพที่วัน เวลาประมาณ 13.30 น.คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งได้เดินทางพร้อมด้วยนางทองมา เที่ยงอวน มารดาของผู้เสียชีวิตไปร่วมรองรับศพนายวันชัยซึ่งตรวจพิสูจน์อยู่ที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เบื้องต้น น.พ.สลักธรรม โตจิราการ ซึ่งเข้าร่วมผ่าชันสูตรศพนายวันชัยด้วย ได้แจ้งว่า เบื้องต้นมีแผลถลอกตามแขนขาเล็กน้อยและมีรอยฟกช้ำที่ศอกซ้าย เข้าได้กับประวัติการเล่นกีฬา ไม่มีรอยช้ำตามลำตัวหรือศีรษะ ไม่มีเลือดออกที่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ มีเพียงเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน การตรวจชิ้นเนื้อของหลอดเลือดหัวใจเพื่อหาสาเหตุของเส้นเลือดหัวใจอุดตันว่าอุดตันเฉียบพลันหรือตีบมาก่อนแล้วและมากำเริบใหม่ ส่วนเรื่องสารพิษในอาหาร เลือดและปัสสาวะต้องรอผลอีก1-2 วันเป็นอย่างน้อย

นางทองมา มารดาของวันชัย กล่าวทั้งน้ำตาว่า รู้สึกเสียใจที่สุดกับเหตุการณ์นี้ แม้ไม่ติดใจเอาความ แต่อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือนักโทษการเมืองให้ได้รับการประกันตัว หรือให้ได้ปล่อยออกมา ไม่ควรต้องถูกขังอย่างไม่รู้ชะตากรรม

“หวังอยากได้ลูกชายได้ออกมา แต่ตอนนี้ได้แต่ร่างไม่มีวิญญาณ ไม่อยากให้มีแบบนี้อีกแล้ว” นางทองมากล่าวและว่า จะนำศพกลับไปประกอบพิธีกรรมที่จังหวัดอุดรฯ และยังไม่เป็นแน่นอนว่าจะตั้งสวดกี่วัน และจะจัดพิธีฌาปนกิจศพเมื่อไร

 

นางทองมา มารดาของนายวันชัย
 

นางทองมากล่าวด้วยว่า วันชัยเป็นลูกชายคนเดียวในจำนวนลูก 3 คน และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการหารายได้เลี้ยงครอบครัว เขาจบการศึกษาชั้น ป.6 มีอาชีพรับจ้าดายหญ้า และรับจ้างทั่วไป วันเกิดเหตุเขาดายหญ้าอยู่ที่สถานีตำรวจ ส่วนเธอรับจ้างเกี่ยวข้าวอยู่ในนา ทราบเรื่องอีกทีก็ตอนลูกชายโดนจับและถูกคุมขัง จากนั้นผ่านไปกว่า 1 ปีจึงได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 16 ส.ค.54 ก่อนศาลจะพิพากษาในวันที่ 28 ต.ค.54 ให้จำคุก 20 ปี 6 เดือน พร้อมด้วยจำเลยคนอื่นๆ อีก 4 คน ซึ่งมีโทษลดหลั่นกันไป

นางทองมากล่าวอีกว่า สำหรับตนเองนั้นได้เปลี่ยนอาชีพมาเป็นกรรมกรก่อสร้าง เดินทางไปทำงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับลูกสาวได้ค่าจ้างคนละ 200 บาทต่อวัน และสามารถเดินทางมาเยี่ยมวันชัยได้เพียงเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งล่าสุดวันชัยยังพูดคุยปกติ แม้จะมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง เขายังบอกให้แม่สบายใจเพราะอยู่ที่นี่มีเพื่อน และเจ้าหน้าที่ก็น่ารัก

ขณะที่คนเสื้อแดงที่ร่วมในงานสวดอภิธรรมรายหนึ่งระบุว่า นำอาหารกลางวันไปเลี้ยงผู้ต้องขังทุกสัปดาห์ เจอวันชัยเป็นประจำ บุคลิกเป็นคนร่าเริง ขี้เล่น และมีน้ำใจ เขาจะลงมาหิ้วอาหารขึ้นไปให้เพื่อนๆ เสมอ และในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนเสียชีวิต เขาบ่นว่ามีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก ส่วนการเสียชีวิตนั้นเกิดขึ้นหลังจากทางเรือนจำจัดการแข่งขันกีฬาส่งท้ายปีซึ่งนายวันชัยก็ได้ร่วมเล่นกีฬาด้วย มีลักษณะปกติดี แต่หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันไม่นานจู่ๆ วันชัยก็ล้มลงหมดสติ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลราชทัณฑ์

ด้านเว็บไซต์มติชน รายงานว่า นายสรสิทธิ์ จงเจริญ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กล่าวถึงผลการชันสูตรศพนายวันชัยว่า สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากระบบการหายใจและไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย ล่าสุดทางญาติไม่ได้ติดใจและจะนำศพกลับไปทำพิธีตามปกติ สำหรับผู้ต้องขังที่เสียชีวิตก่อนหน้านี้แม้จะมีสภาพร่างกายภายนอกดูแข็งแรง แต่ทราบจากมารดาผู้เสียชีวิตว่าก่อนหน้านี้ลูกชายเคยบอกว่ามีอาการแน่นหน้าอก มารดาจึงแนะนำให้แจ้งผู้คุมแต่ผู้เสียชีวิตไม่ได้บอกถึงอาการที่เป็น 

ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กล่าวต่อว่า หลังการเสียชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำทำให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์สั่งกำชับให้ ดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิด โดยในส่วนของเรือนจำชั่วคราวหลักสี่จะมีพยาบาลเข้าไปตรวจร่างกายให้ผู้ต้องขังทุกคนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ผู้ต้องขังที่ต้องโทษคดีที่เกี่ยวข้องทางการเมืองถือเป็นกลุ่มผู้ต้องขังที่ต้องระมัดระวังเรื่องความเครียดเป็นพิเศษ เพราะเท่าที่พบผู้ต้องขังกลุ่มนี้มักมีอาการเครียดเรื่องคดีและเป็นกังวลเรื่องที่ไม่ได้รับการประกันตัว ทั้งที่ผู้ต้องขังคดีเดียวกันหลายรายได้รับการประกันตัวออกไปแล้ว โดยบางรายต้องให้จิตแพทย์เข้าไปพูดคุยเพื่อบำบัดอาการ 

สำหรับเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ขณะนี้มีผู้ต้องขังทั้งสิ้น 21 คน ในจำนวนนี้เป็นหญิง 1 คน

ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา53 ( ศปช.) ระบุด้วยว่า ในระหว่างเกิดเหตุการณ์เผาศาลากลาง วันชัยถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำการจับกุมและทำร้ายร่างกายโดยการเหยียบและใช้ท่อนไม้กระแทกที่แผ่นหลัง ก่อนที่จะถูกแจ้งความดำเนินคดี ในข้อหา ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกสถานที่ราชการโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์, ขัดขวาง เจ้าพนักงาน ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ยกฟ้องข้อหาทำให้เสียทรัพย์และขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่ลงโทษข้อหาวางเพลิงอาคารศาลากลางหลังเก่า โดยให้จำคุก รวม  20 ปี 6 ด. และให้จำเลยร่วมกันชดใช้  57.7 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย7.5% /ปี
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์ วรดุลย์ ตุลารักษ์ ก่อนค่าแรง 300 ทั้งแผ่นดิน(1 ม.ค.นี้)

$
0
0

นับตั้งแต่พรรคเพื่อไทยได้ชูนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ ในช่วงเลือกตั้งปีที่แล้ว ได้สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงหาเสียงและหลังจากพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ออกมากล่าวว่านโยบายนี่จะทำให้คนตกงาน[1] แต่หลังจากนั้นในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภานายอภิสิทธิ์[2] ก็ได้ลุกขึ้นอภิปรายทวงนโยบายนี้ โดยอ้างว่า “ท่านได้สร้างความคาดหวังไว้แล้ว ท่านต้องทำ และ ทำทันทีอย่างที่ได้ประกาศไว้" และล่าสุด(29 ธ.ค.)นายอภิสิทธิ์[3]  ก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกระบบการดูชดเชยอุตสหกรรมที่ตกอยู่ภายใต้ความเสียงจากนโยบายนี้  และยังมองว่ารัฐดำเนินการไปน้อยและไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่แตกต่างด้วย

อย่างไรก็ตามการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศก็เข้าใกล้ความจริงมากแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการขึ้นใน 7 จังหวัดนำร่อง และเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมาก็ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วว่าให้จังหวัดที่เหลือมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ในวันที่ 1 ม.ค.56 นี้ จึงยิ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในส่วนที่สนับสนุนและคัดค้าน โดยเฉพาะบรรดาภาคธุรกิจที่ออกมาขู่ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตปิดโรงงาน เป็นต้น แน่นอนว่านโยบายที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท นี้ไม่ได้เป็นเพียงการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำที่ก้าวกระโดดเท่านั้น ยังหมายรวมถึงการขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ ที่จากเดิมมีการแบ่งโซนค่าจ้าง สิ่งนี้จะคาดการณ์ได้ว่าย่อมส่งผลต่อโครงสร้างตลาดแรงงานและระบบเศรษฐกิจในอนาคตอย่างแน่นอน ดังนั้น ก่อนจะถึงวัน ดี-เดย์ 1 ม.ค.นี้ ทางประชาไท จึงได้สัมภาษณ์คุณวรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยด้านเศรษฐกิจและแรงงาน เพื่อพิจารณ์นโยบายนี้ และมองไปข้างหน้าประเทศไทยหลัง 300 บาททั้งแผ่นดินว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร

วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยด้านเศรษฐกิจและแรงงาน

ประชาไท : เราจะเห็นภาคธุรกิจและภาครัฐที่ออกมามีบทบาทในการถกเถียงประเด็นเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศที่จะมีการขึ้นในวันที่ 1 ม.ค.นี้ ในมุมมองของคุณวรดุลย์ ประเทศไทยหลังขึ้นค่าแรงจะมีผลกระทบอย่างไร

วรดุลย์ ตุลารักษ์ : ก่อนอื่น ประเทศไทยเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วและประสบผลสำเร็จมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปีที่แล้ว ธนาคารโลกขยับให้เป็นประเทศเศรษฐกิจระดับกลางช่วงบน ( upper-middle income) จากประเทศเศรษฐกิจระดับกลางต่ำ (lower-middle income)  ถ้าดู GDP per capita ผลผลิตมวลรวมประชาชาติต่อหัว คือเอาจีดีพีหารด้วยจำนวนประชากร จะอยู่ที่ประมาณ 5000 เหรียญสหรัฐต่อปี ส่วนรายได้ประชาชาติต่อหัวหรือ GNI ประมาณ 4500 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจไม่ได้กระจายไปยังคนงานอย่างที่ควรจะเป็น เช่น คนงานจำนวนมากทำงานเป็น 10 ปีไม่มีความก้าวหน้ายังกินแค่ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ รายได้ยังต่ำกว่ารายได้ประชาชาติต่อหัว ทำงานมา 10 ปีถูกเลิกจ้างไปก็มีเยอะ   

คราวนี้ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ก่อนพูดถึงผลกระทบ เราควรตั้งต้นการคิดจากฐานว่า ในโลกของการแข่งขัน ธุรกิจต้องปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปเร็ว การขึ้นค่าจ้างก็เป็นหนึ่งในสิ่งแวดล้อมใหม่ด้วย และเราควรจะมาพูดถึงหลักการกันก่อนว่าในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นประกอบด้วย

ประเด็นที่ 1 การขึ้นค่าจ้างเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพของกำลังแรงงานกว่า 30 ล้านคน ที่เป็นคนงานในโรงงาน แรงงานนอกระบบ หรือคนที่กำลังออกจากภาคเกษตรเข้ามาในอุตสาหกรรม ประเด็นที่ 2 คือ การบังคับใช้ไปทั่วประเทศในอัตราเดียวกัน อันนี้เป็นหลักการที่ดีหรือไม่

สำหรับประเด็นเรื่องการขึ้นค่าจ้าง หากมองในแง่คนงานจำนวนมากที่อยู่ในสังคมเดียวกับเราได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาททำงานวันละ 8 ชั่วโมง 40 ชั่วโมงต่ออาทิย์ก็จะได้ เดือนละ 6000 บาท ต่ำกว่ารายได้ประชาชาติต่อหัวเกือบ 2 เท่า ทีนี้คนเงินเดือน 6000 บาท ถ้าทำทุกวันไม่มีวันหยุดตลอดทั้งเดือนก็จะได้ 9000 บาท ชีวิตคนจำนวนมากที่อยู่ได้นั้นก็ไม่ใช่เพียงตัวเองยังรวมถึง ลูก เมีย ครอบครัวด้วย แล้วถามว่า 300 บาทมันมากเกินไปหรือไม่ ผมคิดว่าคนๆหนึ่งก็ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้โดยเงินเดือนเท่านี้ และสามารถที่จะหยุดเสาร์-อาทิตย์ พักผ่อน อยู่กับครอบครัว ศึกษาหาความรู้ เหมือนคนอื่นๆที่ควรจะเป็น มันจึงเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตของกำลังแรงงานของเรา ตอนนี้ ชีวิตคนงานไม่ได้อยู่ได้ด้วยค่าจ้างอย่างเดียว เมื่อค่าจ้างต่ำ คนงานต้องอยู่ได้ด้วยรายได้อื่นๆ ที่ต้องขูดรีดกำลังและเวลาของตัวเองไป เช่น การทำโอทีจนเกินกำลัง เท่าที่ทราบ หลายบริษัท คนงานทำงานอาทิตย์นึง 60-70 ชั่วโมงก็มี  โดยที่ต้องทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว ไม่มีเวลาศึกษาหาความรู้อ่านหนังสือหรือสันทนาการอื่นๆ ถามว่า สังคมจะพัฒนาไปได้อย่างมีคุณภาพหรือไม่

ดังนั้นเวลาจะพูดถึงผลกระทบนั้นจึงต้องมาพูดที่หลักการก่อนว่ามันถูกต้องหรือไม่ และในประเด็นที่ 2 การขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นหลักการที่ถูกต้อง หากเราประยุกต์เอาหลักการไม่เลือกปฏิบัติที่อยู่ในอนุสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงาน เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO  หรือไกด์ไลน์ของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว OECD ที่ใช้กับบรรษัทข้ามชาติที่มาลงทุนในประเทศอื่นๆ เราก็ต้องมีดีเบทกันว่าทำไมคนงานลำพูนทำงานบริษัทเดียวกับที่สมุทรปราการ ที่ลำพูนได้ 165 บาท ที่สมุทรปราการ 215 บาท คนงานที่ทำการผลิตเหมือนกัน ทำไมได้รับค่าแรงที่ต่างกัน ซึ่งอันนี้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติสำหรับคนที่อยู่ต่างพื้นที่กันหรือไม่ทั้งๆที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน

แล้วถ้าการแบ่งโซนก็มีการยกเรื่องเพราะค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่ต่างกัน

ยกตัวอย่างอาหารที่กำหนดความเป็นอยู่พื้นฐานขั้นต่ำสุดของคน หากมีการโต้แย้งเรื่องที่ว่าลำพูนค่าครองชีพต่ำกว่ากรุงเทพ เราจำเป็นที่จะลงไปดูในรายละเอียดว่า เป็นค่าครองชีพในเรื่องอะไร และอะไรเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของคนงานแต่ละคน หนังสือ เครื่องกีฬา จำเป็นหรือไม่  ผมคิดว่าข้าวสารในลำพูน กับกรุงเทพ ราคาไม่ได้ต่างกันมาก รวมทั้งสินค้าบางประเภทที่ลำพูนก็อาจจะสูงกว่าที่กรุงเทพด้วยซ้ำ ต้องแยกแยะว่าสินค้าที่คนงานต้องบริโภคคืออะไรและที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคืออะไร ดังนั้นการยกเรื่องความแตกต่างในค่าครองชีพอาจไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงเสมอไป เพราะมันเป็นการคำนวณรวมๆ

สำหรับการขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ ก็เป็นความเป็นธรรมอย่างหนึ่งทำให้คนงานไม่ได้สงสัยต่อนโยบายของรัฐว่า ทำไมการเป็นคนลำพูนจึงได้ค่าแรงที่ต่ำกว่า ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งสังคมหากให้คนเกิดคำถามถึงความแตกต่างขึ้นเรื่อยๆ ผลที่ไม่ใช่ในทางเศรษฐกิจ แต่ในทางความรู้สึกของคนที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกันก็จะเป็นผลร้าย ซึ่งไม่ใช่ที่ตัวเงินมากกว่าด้วยซ้ำ บางนโยบายไม่ใช่เพียงแค่ตัวเงิน แต่เป็นเรื่องการปฏิบัติอย่างเสมอภาค

ดังนั้นการขึ้นค่าแรงในทางการเมืองจึงมีความสำคัญ เพราะการเมืองในระบบประชาธิปไตยต้องให้ทุกคนรู้สึกถึงความเท่าเทียมกันได้มากที่สุด อย่างน้อยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ เพราะการถูกเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะในสังคมไทยก็มีปัญหาเรื่อยมา เช่น เรื่อง 2 มาตรฐาน  ดังนั้นประเด็นนี้จึงเป็นการพัฒนาประเทศเพื่อให้คนในสังคมมีความรู้สึกร่วมที่เสมอภาคกันก่อนที่จะไปถึงเรื่องอื่นๆ

บางท่านที่บอกว่า นโยบายค่าแรง 300 บาทนั้นไม่ควรเป็นเรื่องการเมือง ควรเป็นเรื่องเศรษฐกิจ แต่ผมกลับคิดว่ามันต้องเป็นเรื่องการเมือง เพราะเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ใช้สิทธิใช้เสียงในสังคมประชาธิปไตยมีความรู้สึกที่เสมอภาคกัน แล้วจึงค่อยๆ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในภาพรวมกันต่อไป ดังนั้นผลที่ไม่ใช่ตัวเงิน กลับมีความสำคัญกว่า หากเราจะพัฒนาประเทศที่ให้มีความเป็นประชาธิปไตยในทางการเมือง และในทางเศรษฐกิจก็เป็นประชาธิปไตยด้วย

อย่างคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ออกมาบอกว่านโยบายนี้เป็นไปไม่ได้ ควรจะปล่อยให้เป็นค่าแรงแบบลอยตัวมากกว่า หรือภาคธุรกิจก็บอกว่าจะมีการย้ายฐานการผลิต คิดว่าจริงหรือไม่

เรื่องนี้ ควรมีการไปถามคนที่ได้รับค่าแรงต่ำกว่า 300 บาทซึ่งเป็นคนจำนวนมากในสังคม และมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับนโยบายนี้ว่า เขาต้องการได้รับการค่าแรงขึ้นหรือไม่ โครงสร้างรายรับรายจ่ายในปัจจุบันของเขาเป็นอย่างไร ถ้าสังคมเราเป็นประชาธิปไตยก็ต้องไม่ชี้นำด้วยความเห็นของเทคโนแครต นักธุรกิจ และชนชั้นนำ เพียงอย่างเดียว ถ้าเป็นนักวิจัย หรือสำนักงานสถิติแห่งชาติ ก็ควรทำการสำรวจรวมรวมข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของคนที่ได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาทมาก่อน แล้วถึงนำมาเป็นส่วนในการวิเคราะห์ผลกระทบที่พูดกันถึงจะมีความน่าเชื่อถือ เราจะตอบคำถามเรื่องผลกระทบได้โดยไม่คาดเดามากนัก

สำหรับการย้ายฐานการผลิตก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งมาจากหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของอุตสาหกรรม ตลาดส่งออก ระบบโลจิสติก ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า สิ่งทอ มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศพัฒนาแล้วมายังประเทศกำลังพัฒนา นอกจากแรงจูงใจด้านค่าแรงแล้ว บริษัทข้ามชาติหลายแห่งเลือกลงทุนในประเทศที่มีแรงจูงใจสูงกว่าในเรื่องอื่นๆ อย่างกฎหมายแรงงานที่ไม่ดีต่อลูกจ้างมากนัก หรือ ยกเว้นการคุ้มครองไว้โซนเศรษฐกิจพิเศษ เช่น บังคลาเทศ ในโซนเศรษฐกิจพิเศษค่าแรงสูงกว่าโซนอื่น แต่ห้ามตั้งสหภาพแรงงาน เป็นต้น หรือ หลังน้ำท่วม หรือในช่วงกลางๆ 1980 บริษัทญี่ปุ่นก็แห่มาลงทุนในไทยเรื่องหลัก ไม่ใช่เรื่องค่าแรงถูก แต่เป็นอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเยนที่สูงเกินจริงก้ต้องหาฐานการผลิตใหม่เพื่อส่งออก ก้เป็นช่วงที่การลงทุนโดยตรงต่างประเทศสูงสุด ตั้งแต่ 1960 เป็นต้นมา

ที่กังวลกันว่าบริษัทต่างๆ จะย้ายฐานการผลิต โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ของญี่ปุ่น เช่น บริษัทผลิตรถยนต์ โตโยต้าเข้ามาลงทุนตั้งแต่ปี 1960 ตอนนี้ก็ยังอยู่ ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตไปไหน ขยายโรงงานเพิ่มด้วยซ้ำ แล้วค่าแรงของคนงานในอุตสาหกรรมนี้ก็สูงพอสมควรเทียบกับค่าจ้างขั้นต่ำ โบนัสปีนี้คนงานก็ได้หลายเดือน  

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการย้ายฐานการผลิตคือวิธีคิดในการบริหารงานของบริษัทนั้นๆ ถึงค่าแรงต่ำก็ย้ายได้อยู่ดี แต่ก่อนหลายบริษัทเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่กำแพงภาษีต่ำกว่าส่งออกจากประเทศตัวเอง ดังนั้นการย้ายฐานการผลิตมีเหตุผลหรือปัจจัยหลายอย่าง

แล้วจากนโยบายนี้จะก่อให้เกิดการเร่งการย้ายฐานการผลิตอย่างที่สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ออกมาบอกหรือไม่

ตัวอย่างล่าสุดที่อินโดนีเซีย มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดมากกว่าไทยคือประมาณ 45 เปอร์เซนต์ นักเศรษฐศาสตร์บอกว่า การลงทุนจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นอีก เพราะจีดีพีเราโต 6 เปอร์เซนต์ ประธานาธิบดี บัมบัง บอกว่า อินโดนีเซียหมดยุคของแรงงานราคาถูกแล้ว  นักเศรษฐศาสตร์จาก HSBC ก็ออกมาพูดว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศต่างๆ ในเอเซียตอนนี้ ไม่มีผลกระทบด้านลบกับจำนวนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เงินเฟ้อไม่เพิ่ม การจ้างงานก็ไม่ลดลง    

การย้ายฐานการผลิตที่พูดกันขึ้นอยู่ขึ้นกับแนวคิดในการบริหารบริษัทของตัวเอง ถ้าเขาคิดว่าอยู่ในไทยแล้วมีความได้เปรียบในทางธุรกิจเขาก็จะอยู่ต่อ โดยภาพรวม เรื่องย้ายฐานการผลิตมักจะเป็นคำขู่มาเสมอเวลาจะมีการขึ้นค่าจ้าง เกิดขึ้นมานานแล้ว บางทีการย้ายฐานการผลิตอาจไม่ใช่เรื่องการขึ้นค่าจ้างเป็นหลัก แต่เป็นปัจจัยเรื่องการมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง เช่น กรณีอย่างไทรอัมพ์ฯ ที่จะมีการย้ายไปที่นครสวรรค์ คือย้ายฐานการผลิตไปในเขตที่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งในประเทศตะวันตกก็เกิดเรื่องเหล่านี้เหมือนกัน การย้ายฐานการผลิตหนีการมีสหภาพแรงงาน ซึ่งนอกจากเรื่องค่าจ้างหรือเรื่องอื่นๆ ที่เป็นตัวเงินแล้ว สหภาพแรงงานไม่ได้ต่อรองเรื่องค่าแรงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการตัดสินใจร่วมกัน ในเรื่องที่ไม่ใช่ตัวเงินด้วย มันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างพนักงานกับฝ่ายบริหาร สหภาพสามารถคุยกับผู้บริหารในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ตัวเงิน เช่น การลงโทษทางวินัย เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น สหภาพแรงงานบริษัทฮุนได มอร์เตอร์ ยื่นข้อเรียกร้องกับฝ่ายบริหารจนทำเป็นข้อตกลงสองฝ่ายว่าหากจะย้ายฐานการผลิตต้องปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงาน และแจ้งล่วงหน้าระยะเวลาที่นานพอสมควรก่อน เป็นต้น

ประเทศไทยที่มีการกล่าวว่าเป็นประเทศที่เป็นอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น ดังนั้นการขึ้นค่าแรงจึงส่งผลกระทบมาก ใช่หรือไม่

งานวิจัยบางของนักวิชาการในมหาลัยดังของสหรัฐปีที่แล้ว เช่น เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำในร้านอาหารของรัฐต่างๆ ก็ชี้ว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่มีผลให้การจ้างงานลดลง บางชิ้นบอกว่าทำให้จ้างงานเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ   ส่วนของไทยก็มีงานวิจัยหลายชิ้น เช่น งานวิจัยเมื่อปีที่แล้วของแบงค์ชาติไทยเอง ที่บอกว่า ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน ผลิตภาพของแรงงานไทยเพิ่มที่สูงขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของค่าแรง ช่องว่างถ่างออกมากขึ้น หมายความว่าคนงานต้องผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้นในขณะที่ค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นน้อย

และในความเป็นจริงอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกก็เป็นอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์ อิเลคทรอนิกส์ ปิโตรคนงงานได้ค่าแรงเกิน 300 บาทไปแล้ว  ดังนั้น 300 บาทจึงเป็นขั้นต่ำจริงๆ ไม่ใช่พูดกันเหมือนว่าเป็นค่าจ้างขั้นสูงสุด

รวมถึงการแบ่งโซนค่าแรงที่ผ่านมาที่ค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ต่างกัน ทำไมถึงให้ค่าของคนงานต่างกัน  

เรื่องการกำหนดโซนค่าแรงนั้น อาจเพื่อให้เกิดการกระจายการความเจริญ ซึ่งในหลายประเทศก่อให้เกิดปัญหามากกว่า โดยเฉพาะกับคนงาน เช่นในประเทศเอเชียหลายประเทศที่เรียกชื่อ  Export Processing Zones : EPZs ก็เป็นการกำหนดโซนให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เช่น ลดภาษี รวมถึงการไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดีในแง่ของความเจริญ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการแบ่งโซนค่าแรงนั้นก่อให้เกิดผลเสียกับคนงานมากกว่า เพราะคนงานผลิตสินค้าเดียวกันจากบริษัทข้ามชาติบริษัทเดียวกัน แต่ได้ค่าแรงที่ต่างกัน

ข้อกังวลในเรื่องผลกระทบระยะสั้น จากการขึ้นค่าแรง 300 บาท ทั่วประเทศ เช่น การย้ายการผลิตมาในโซนที่มีสาธารณูปโภคหรือโลจิสติกส์ (logistics)ที่ดีกว่านำไปสู่การกระจุกตัว คิดว่าจะมีปัญหาหรือไม่และควรมีมาตรการป้องกันอย่างไร

ในยุคใหม่ตั้งแต่มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ขึ้นมา เรื่องค่าจ้างเป็นแรงดึงดูดในการลงทุนน้อยกว่าโลจิสติกส์ จึงไม่แปลกใจที่บริษัทจะมาลงทุนใกล้กับท่าเรือ ยอมค่าแรงสูงเพื่อให้ใกล้ท่าเรือมากกว่า ปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติ มาลงทุนทำโกดังเป็นแวร์เฮ้าส์อย่างเดียว เพื่อที่จะเอาของมาเก็บเพื่อที่จะกระจายอย่างเดียว การพัฒนาอุตสาหกรรมก็จะมีแนวโน้มในการกระจุกตัว ถ้ากลัวเรื่องกระจุกตัว ก็ต้องแก้ที่ทำระบบสาธารณุปโภคและโลจิสติกส์ให้กระจายออกไปในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้นดีขึ้น

และกรณีที่ก่อให้เกิดการกระจุกตัวของการพัฒนาที่เกิดเมืองโตเดี่ยวจะส่งผลทางการเมืองในความรู้สึกความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำหรือไม่

การพูดถึงระบบโลจิสติกส์มีหลายแบบ ซึ่งอาจไม่เฉพาะใกล้ท่าเรือก็ได้ เช่น ใกล้ประเทศลาว กัมพูชา ก็สร้างการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Cluster) ในพื้นที่ก็ได้ ปัญหาคือนโยบายอุตสาหกรรมต้องชัดเจนว่าสินค้าอะไร จะไปขายอะไรที่ไหน ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นอย่างไร บริเวณที่ติดชายแดนอินโดจีน คนก็ไปลงทุนไม่จำเป็นต้องติดท่าเรือ ตัวอย่างเช่น ล่าสุดในอุบล ก็มีบริษัทจากจีนเริ่มเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานขนาดใหญ่ผลิตไบโอดีเซลจากมันสัมปะหลัง

การที่คนงานมีค่าแรงหรือเงินในกระเป๋ามากขึ้นจะมีผลดีกับทุนในท้องถิ่นหรือไม่

อันนี้เป็นเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์ก็พูดกันโดยปกติ เมื่อคนงานมีกำลังซื้อมากขึ้น เงินก็หมุนได้หลายรอบมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะโตขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งคือ ประเทศที่ค่าแรงต่ำจะไม่สามารรถเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)ได้ เพราะหากได้ค่าแรงต่ำสิ่งที่ต้องทำคือการทำล่วงเวลาหรือโอที บางโรงงานในไทยทำวันละ 16 ชม. หยุดวันอาทิตย์วันเดียว เหมือนคนงานอังกฤษเมื่อร้อยปีก่อนทำให้ไม่มีเวลาที่จะทำอย่างอื่น คิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาหาความรู้ก็ สังคมก็ไม่สามารถเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้

ส่วนเรื่อง SMEs ที่จะได้รับผลกระทบนั้น ในสหรัฐอเมริกาเขาจะมีการให้แต้มต่อ เช่น การให้แต้มต่อในการจัดซื้อจัดจ้างในรัฐนั้นๆ หรือให้รัฐเลือกซื้อในบริษัทขนาดเล็กก่อน ซึ่งหลักการค่าแรงนั้นถูกแล้ว จึงขึ้นอยู่กับแต้มต่อที่รัฐต่อให้ แต่ก็ต้องแยกให้ออกว่าบริษัทไหนเป็น SMEs โดยที่ไม่ได้ให้ครอบคลุมไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ด้วย

เรื่องค่าจ้างหรือรายได้ไปสัมพันธ์กับเรื่องชั่วโมงการทำงาน ถ้าเราพูดถึงค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ก็หมายถึง 8 ชั่วโมงการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องการรณรงค์ของแรงงานสากลมาอย่างยาวนานแล้ว ที่พูดถึงระบบ 8-8-8 คือ 8 ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงพักผ่อนและ 8 ชั่วโมงศึกษาเรียนรู้ แต่หากขึ้นค่าแรง 300 บาท แต่ต้องทำงานเกิน 8 ชั่วโมงก็เป็นผลเสีย แม้กฎหมายจะระบุที่ 8 ชม. แต่จะมีโอที

กรณีที่เป็น SMEs ที่รับเหมาช่วงจากบริษัทใหญ่มาทำ จะมีปัญหาเรื่องการต่อรองราคาจากต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นหรือไม่

ผลกระทบต่อ SMEs นั้นรัฐบาลมีวิธีช่วยได้ ดังนั้นในประเด็นหลักการว่าควรดำเนินนโยบายนี้ รัฐบาลก็จะมีการดำเนินนโยบายสนับสนุนได้มากมาย ส่วนเรื่องการเกรงว่าธุรกิจจะมากระจุกตัวใกล้ท่าเรือหรือที่ๆระบบโลจิสติกส์ดีนั้น รัฐบาลก็สามารถมีมาตรการอื่นในการรองรับได้อีก เช่น การสนับสนุนและหาตลาดให้อุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น

หากหลักการการขึ้นค่าแรง 300 บาทมันถูกต้องแล้ว ที่เหลือเครื่องมือต่างๆของรัฐบาลก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องออกมารองรับ

เรื่องค่าจ้างที่เทียบกับผลิตภาพในการผลิตมีสัดส่วนที่ต่ำในขณะนี้เพราะเหตุใด

ค่าจ้างไทยถูกแช่แข็งในหลายๆเรื่อง เพราะค่าจ้างไม่ได้ขึ้นโดยอัตโนมัติตามอัตราเงินเฟ้อ แต่ค่าจ้างที่เกินขั้นต่ำแล้ว หากไม่มีสหภาพแรงงานก็แล้วแต่นายจ้างปราณีขึ้นมาเอง ดังนั้นการที่ช่องว่าระหว่างค่าจ้างกับผลิตภาพการผลิตที่ห่างเป็นผลมาจากอำนาจการต่อรองของคนงานต่ำ

การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำคือการประกันไว้ว่าอันนี้ต่ำสุดแล้วที่สังคมจะรับได้ ทุกวันนี้เราเถียงกันเรื่องค่าแรงขั้นต่ำราวกับว่าเป็นค่าแรงขั้นสูง จริงๆมันเป็นการประกันว่ามนุษย์คนหนึ่งจะอาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ แต่ถึงจะมีค่าจ้าง 300 บาท ก็ไม่ได้หมายความว่าคนงานจะอยู่ในสังคมเราได้อย่างมีคุณภาพได้ เพราะ 300 บาท ทำงาน 20 วัน ได้เงินเดือนๆละ 6,000 บาทเอง หากมีลูกก็ไม่สามารถอยู่ได้

สิ่งที่สำคัญที่สุดระบบการจ้างงาน ก้าวแรกคือให้คนได้ขั้นต่ำไปก่อน ก้าวที่สองก็ต้องมีรูปแบบการจ้างงานที่ดีขึ้นมั่นคงขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การจ้างแบบไม่มั่นคง จ้างผ่านบริษัทเหมาช่วง subcontract ซึ่งจะเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้ การจ้างแบบรายวัน การจ้างแบบปีต่อปี ทำให้ไม่มีความมั่นคงแน่นอน และที่แย่ที่สุดก็คือต้นทุนภาระการผลิตถูกผลักไปที่คนงาน เมื่อการจ้างงานไม่มีความมั่นคง ระบบประกันสุขภาพที่บริษัทเคยซื้อประกันอุบัติเหตุให้ก็ตกอยู่กับภาระของคนงาน และยังตกอยู่กับภาระของรัฐ และผู้เสียภาษีอย่างเราด้วย หากถูกเลิกจ้าง

โดยสรุปแล้วค่าแรงขั้นต่ำเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่เพียงพอ เพราะหากได้ค่าจ้าง 300 บาท แต่ไม่มีหลักประกันว่าจะถูกเลิกจ้างในวันไหน ในระบบการจ้างงานที่ยืดหยุ่นนี่ ดังนั้นรัฐควรจะมีก้าวที่ 2 ต่อไปคือส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่มั่นคงขึ้น โดยเครื่องมือของรัฐบาล มีหลายอย่าง เช่น การออกกฎระเบียบมาอย่างบริษัทนายหน้าที่พาคนงานมาทำงานอย่างเดียวอาจจะให้มีการลงทะเบียน หรือการใช้มาตรการการลดภาษีเพื่อจูงใจ ให้มีการจ้างงานประจำ แทนที่จะจ้างงานชั่วคราว

บางประเทศไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ เนื่องจากขึ้นอยู่กับการต่อรองของสหภาพแรงงานกับบริษัท เช่นในสวีเดน 70-80 % ของกำลังแรงงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ดังนั้นค่าแรงก็อยู่ภายใต้ข้อตกลงสภาพการจ้าง แต่ในที่นี้ค่าแรง 300 บาท อย่างน้อยในมุมมองของคนงานก็เป็นการประกันขั้นต่ำ แต่ชีวิตเขาก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีขึ้นถ้าไม่มีการประกันเรื่องอื่น เช่น การประกันการรวมกลุ่ม รัฐบาลจะไม่แทรกแซง กระทรวงแรงงานจะเอื้ออำนวยให้เกิดการรวมกลุ่ม

สำหรับการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานมีความสำคัญในแง่ของการตัดสินใจร่วมกันระหว่างฝ่ายลบริหารกับสหภาพแรงงาน เช่น เรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ วันลาวันหยุด และหลายๆเรื่อง นโยบายหรือกฎระเบียบที่มีผลกระทบต่อคนงาน เป็นต้น ซึ่งในหลายประเทศข้อตกลงสภาพการจ้างมีหลายประเภทหลายหมวดหมู่เต็มไปหมด ซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่ไม่เป็นตัวเงินก็มี เช่นการพูดถึงการปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานหากจะมีการย้ายฐานการผลิต

นโยบายต่างๆ จะมีคนค้านอยู่แล้ว แต่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคมมากน้อยนี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ และการพัฒนาอุตสาหกรรมในแง่เทคโนโลยีมากขึ้น ทำงานเสี่ยงอันตรายน้อยลง ดังนั้นการขึ้นค่าแรงขึ้น 300 บาท มันจะผลักอุตสาหกรรมให้พัฒนาขึ้น

ส่วนเรื่องการย้ายฐานการผลิตนั้น แรงจูงใจในการย้ายไม่ใช่เรื่องค่าจ้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องกำแพงภาษี วัตถุดิบที่มีในประเทศนั้นๆ ด้วย ดังนั้นข้ออ้างจะมีเสมอ แม้จะมีบริษัทปิดหรือย้ายจริงเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่อาจจะมีแผนเตรียมย้ายอยู่แล้ว แล้วใช้ข้ออ้างนี้ ซึ่งเป็นคำขู่หรือคำพูดทางการเมืองเพื่อต่อรอง เพื่อให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือ จึงเป็นเรื่องการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ

ในส่วนของแรงงานหรือขบวนการแรงงานเองจะต้องเตรียมตัวอย่างไร เช่น 7 จังหวัดนำร่องที่ผ่านมาที่มีการไม่จ่ายเป็นตัวเงินบ้าง จะรับมืออย่างไร

เท่าที่ทราบอย่างกรณีแม่บ้านทำความสะอากในหลายบริษัท การขึ้นค่าแรง 300 บาท นายจ้างก็ลดสวัสดิการเรื่องค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,000 บาท เลี่ยงไปลดสวัสดิการเรื่องอื่น และเกิดขึ้นจริง ซึ่งถ้าเกิดขึ้นก็เท่ากับว่าการขึ้นค่าจ้าง 300 บาทจะไม่กระทบต่อต้นทุนของนายจ้างเลย เพราะว่าต้นทุนของนายจ้างไม่ได้มีแค่ค่าจ้าง ยังมีเรื่องของค่าสวัสดิการอื่นๆ แต่อันนี้ไม่สามารถทำได้กับบริษัทที่มีข้อตกลงสภาพการจ้างได้ เพราะการจะปรับลดก็จะต้องผ่านข้อตกลงสภาพการจ้าง ดังนั้นสหภาพแรงงานจึงควรมามองตรงนี้ว่า จะทำอย่างไรให้ 300 บาท เป็นก้าวแรกที่ทำให้คนงานสามารถรวมตัวเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้มากขึ้น เพื่อที่จะมาคุยกันเรื่องค่าจ้างสวัสดิการที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และนำมาเป็นประเด็นที่จะให้การศึกากับคนงานทั่วไปท่ไม่รู้จักสหภาพแรงงาน หรือไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันเข้มแข็งขึ้น อย่างที่พูดไปแล้ว เมื่อเดือนตุลาคมคนงานอินโดนีเซียนัดหยุดงานและร่วมชุมนุมกันกว่า 2 ล้านคน ประเด็นที่เรียกร้องคือให้มีการจ้างงานที่มั่นคงขึ้น และสหภาพแรงงานยังนำประเด็นค่าจ้างขั้นต่ำ  ประเด็นการประกันสุขภาพที่ดีขึ้นกับประชาชนทุกคนไม่เฉพาะคนงาน มาเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายออกมา

----------

เชิงอรรถ

[1]ดู มาร์คฟันธงขึ้นเดือนคนตกงานเพิ่ม 14 กรกฎาคม 2554 http://www.posttoday.com/การเมือง/99677/มาร์คฟันธงขึ้นเดือนคนตกงานเพิ่ม

[2] ดู "อภิสิทธิ์" ทวงสัญญารัฐบาล "ทำทันที" ค่าจ้าง 300 บาท-ป.ตรี 1.5 หมื่นบ. http://news.thaipbs.or.th/lite/content/อภิสิทธิ์-ทวงสัญญารัฐบาล-ทำทันที-ค่าจ้าง-300-บาท-ปตรี-15-หมื่นบ

[3] ดู ไทยรัฐออนไลน์, 'มาร์ค'รับ ห่วงการเมือง-เศรษฐกิจปีหน้าวิกฤติ แนะ ปชช.ยึดหลักพอเพียง http://www.thairath.co.th/content/pol/315883

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วรดุลย์ ตุลารักษ์

$
0
0

"การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำคือการประกันไว้ว่าอันนี้ต่ำสุดแล้วที่สังคมจะรับได้ ทุกวันนี้เราเถียงกันเรื่องค่าแรงขั้นต่ำราวกับว่าเป็นค่าแรงขั้นสูง จริงๆมันเป็นการประกันว่ามนุษย์คนหนึ่งจะอาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ แต่ถึงจะมีค่าจ้าง 300 บาท ก็ไม่ได้หมายความว่าคนงานจะอยู่ในสังคมเราได้อย่างมีคุณภาพได้ เพราะ 300 บาท ทำงาน 20 วัน ได้เงินเดือนๆละ 6,000 บาทเอง หากมีลูกก็ไม่สามารถอยู่ได้"

30 ธ.ค.55, นักวิจัยด้านเศรษฐกิจและแรงงาน กล่าวในสัมภาษณ์ ก่อนค่าแรง 300 ทั้งแผ่นดิน(1 ม.ค.นี้)

สคส. สตึคือสะดต (รี่) 2556

เสวนา: 1 ปี กสทช.: ความสมหวังและไม่สมหวังของสังคมไทย

$
0
0

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ชี้ กสทช.ลดทอน ‘ความน่าเชื่อถือ’ จากฝีมือตัวเอง ด้านกฎหมายแนะเปลี่ยน กสทช.จากเสือกระดาษ ต้องปรับเพิ่ม ‘โทษทางปกครอง’ ขณะ ‘ผู้บริโภค’ มอง ‘กสทช.’ เน้นตั้งรับ-แก้ปัญหาช้า ห่วงยังไม่เตรียมรับมือประมูลคลื่นรอบใหม่

 

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัด NBTC Public Forum ครั้งที่ 11 หัวข้อ “1 ปี กสทช.กับความสมหวัง หรือ ไม่สมหวังของสังคมไทย” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค โดยมี นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคใน กิจการโทรคมนาคม (กทค.) และสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) ร่วมรับฟังการแสดงความคิดเห็น เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.55

สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า งานที่ผ่านมานั้นพยายามผลักดันหลายส่วน และยังมีจำนวนมากไม่คืบหน้า ซึ่งต้องพยายามต่อไป แต่อย่างน้อยก็เห็นได้ชัดว่าเริ่มเกิดวัฒนธรรมการรับฟังใน กสทช.แม้จะเป็นเสียงข้างน้อยก็ตาม อย่างไรก็ดี ในปีหน้านี้จะมีความคืบหน้าในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การออกประกาศการลดหย่อนค่าธรรมเนียมสำหรับวิทยุเพื่อสังคม ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างรับฟังความคิดเห็น ส่วนคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้จัดทำหลักสูตรคู่มือรู้ทันสื่อ ซึ่งปีหน้ากำหนดจะเดินสายคุยกับทีวีหลัก 6 ช่องเพื่อหาแนวทางร่วมกันแล้วจะนำเสนอรัฐบาลว่าสนใจจะใส่ในหลักสูตรของนักเรียนนักศึกษาหรือไม่

สุภิญญา กล่าวด้วยว่า ในต้นปีหน้าจะมีการทบทวนอนุกรรมการที่มีอยู่กว่า 20 ชุดให้กระชับขึ้น ซึ่งบางส่วนมีความซ้ำซ้อนกันอยู่ ต้องจับตาดูว่าจะยุบคณะอนุฯ ใดบ้าง และจะมีการออกใบอนุญาตเคเบิลทีวีและวิทยุชุมชนอีก 8,000-9,000 สถานี ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นในการกำกับดูแล ซึ่งจะได้เห็นศักยภาพว่า กสทช.ติดตามกำกับได้แค่ไหน

ในส่วนรายการโทรทัศน์ ช่อง 7 จะมีภาษามือในรายการข่าว ขณะที่ ช่อง 5 true vision จะมีคำบรรยายประกอบข่าวสำหรับผู้มีปัญหาทางการได้ยิน และทีวีดิจิตอลรุ่นใหม่จะต้องมีปุ่มสำหรับผู้พิการทางสายตา นอกจากนี้ โทรทัศน์ทุกช่องยังต้องส่งแผนยามภัยพิบัติมาให้ กสทช.ตามประกาศ

“เรื่อง broadcast ยังไม่ได้สรุปโมเดลว่าจะคุมเข้มข้นโดยรัฐ หรือดูแลกันเอง หรือกึ่งๆทั้งสองอย่าง จุดตรงกลางระหว่างเสรีภาพกับความรับผิดชอบ กสทช.จะอยู่ตรงไหน ปีหน้าคงจะได้เห็นกัน” สุภิญญากล่าว


“การห้าม” อย่างเดียวไม่พอ ควรมีแนวทาง “ส่งเสริม” ด้วย
ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในฐานะเป็นกรรมการในอนุกรรมการของ กสทช.หลายชุด ขอสะท้อนการทำงานของ กสทช.ว่า ในภาพรวมนั้นเห็นว่าขาดกรอบกลางในการกำกับดูแลทางนโยบาย ระยะเวลา 10 กว่าปีของสุญญากาศทำให้ปัญหาหมักหมมโดยเฉพาะเรื่องโทรทัศน์และวิทยุที่ต้องมีการระบุปัญหาที่ชัดเจน ก่อนจะวางกรอบการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เช่น ทีวีดาวเทียมการเมืองทั้งหลายที่ยังด่ากันได้นั้น กสทช.จะจัดการอย่างไร ส่วนที่ผิดกฎหมายชัดเจนนั้นจัดการได้เลย

ในกรณีที่มีเนื้อหาบางประเภทที่อันตราย สร้างความเกลียดชังน่าจะมีแนวทางจัดการชัดๆ แต่ก็ไม่ควรจะเป็นแนวทาง “การห้าม” อย่างเดียว ควรมีแนวทาง “ส่งเสริม” เนื้อหาที่เหมาะสมด้วย จากนั้นจึงค่อยดูเรื่องระบบการดูแล ว่าจะใช้แต่กฎระเบียบรัฐ หรือระบบกำกับดูแลกันเอง แต่ที่สำคัญคือ การสร้างความเท่าทันสื่อให้กับประชาชน

พิรงรองกล่าวด้วยว่า การออกกฎเกณฑ์กำกับดูแลที่ผ่านมามีลักษณะเป็นไปตามบุคลิกของกรรมการค่อนข้างมาก การทำวิจัยข้อมูลเพื่อออกแบบนโยบายส่วนใหญ่จ้างสถาบันการศึกษาซึ่งไม่ได้อยู่ในปัญหาและไม่ได้อยู่ใน กสทช. ทั้งที่ศักยภาพในการทำวิจัยโดย กสทช.เองมีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการออกแบบการกรอกใบสมัครที่ดี เพียงแค่ข้อมูลของผู้ประกอบการใบสมัครก็ทำวิจัยได้หลายเรื่องแล้ว และสามารถนำไปประมวลเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ได้


หวั่นการประมูลครั้งใหม่ซ้ำรอย ‘3G’ ชี้ ‘ออกแบบการประมูล’ ปมหลักต้องเร่งแก้
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงการประเมินการทำงานของ กสทช.ที่ผ่านมาว่า ให้เกรด I (เกรดยังไม่ออก) ยังไม่ให้ติด F หรือให้ผ่าน เพราะยังทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ จากการที่ กสทช.ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคได้ในกรณีที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (พรีเพด) มีการกำหนดอายุของเงินที่เติมผ่านระบบ และเรื่องเงื่อนไขการลดราคาค่าบริการ 3G ลง 15% ที่ทำให้เกิดคำถามถึงรายละเอียดและเงื่อนไขซึ่งควรเขียนให้ชัดเจน

ส่วนประเด็นการประมูลไลเซ่นส์ 3G หากติดตามจะพบว่าเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ซึ่งเขาเองมองว่าสังคมไทยหลงประเด็นไปจับจ้องว่าบริษัทเอกชนมีการฮั้วประมูล แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นเท่ากับการออกแบบการประมูล ทั้งที่สามารถได้เงื่อนไขที่ดีที่สุดทั้งในส่วนราคาและดาต้าแต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น โดย กสทช.มีข้ออ้างเช่น เกรงว่าบริษัทเดียวจะได้ไป เกรงว่าจะไม่มีคนมาประมูลในคลื่นความถี่อื่น อีกทั้งยังมีความคลางแคลงใจว่าทำไม กสทช.ไม่ให้คนนอกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมแสดงความเห็น ดังนั้น ผลที่ออกมาจึงกลายเป็นว่าประโยชน์ที่ได้นั้นน้อยที่สุดด้วยเงื่อนไขที่เกิดขึ้น ซึ่งหากไม่มีการทักท้วงอาจเกิดการออกแบบการประมูลเช่นนี้เรื่อยๆ กับกิจการอื่นๆ ได้ 

รศ.ดร.วรากรณ์ ยังกล่าวชื่นชมการทำงานของ น.ส.สุภิญญา และ นพ.ประวิทย์ เพราะเป็นเสียงส่วนน้อยที่มีความกล้าหาญ ส่วนประเด็นเร่งด่วน ที่ กสทช.ต้องทำ คือ 1.การใช้สมาร์ทโฟนที่จะมีมากขึ้น ต้องมีการเตรียมความรู้ให้เท่าทันในเรื่องข้อมูลและเทคนิค 2.แนวโน้มดิจิตอลทีวี และ 4G ที่จะตามมาในปี 2556 ต้องมีการเตรียมการออกแบบการประมูลที่แตกต่างจากเดิมและมีความโปร่งใส 3.ความไว้วางใจของประชาชนต่อ กสทช.จะเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมที่เห็นปรากฏจริง กสทช.ต้องบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย สร้างความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่เป็นแค่เสือกระดาษ 4.เปลี่ยนแปลงให้เกิดความรู้สึกที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นระหว่าง กสทช.กับประชาชน

นอกจากนั้น ความคิดเห็นที่แตกต่างกันใน กสทช.เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ควรมีคำชี้แจงที่อธิบายได้ มีหลักฐานน่าเชื่อถือจริง


ชี้ กสทช.ลดทอนความน่าเชื่อถือจากฝีมือตัวเอง
ด้าน ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า เมื่อครั้งเริ่มตั้ง กสทช.ก็ไม่ได้คาดหวังอะไรกับองค์กรนี้ เพราะถือว่ามีหน้าที่ต้องกำกับดูแลตามกฎหมายอยูแล้ว แต่ต้องดูว่าทำหน้าที่ได้บรรลุเป็นที่พอใจหรือไม่ โดยที่ผ่านมา การกำหนดเงื่อนไขให้ลดราคาค่าบริการ 3G ลง 15 เปอร์เซ็นต์ ของ กสทช.นั้นลดทอนความน่าเชื่อถือของตัวเอง เพราะไม่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่แรก และทำให้เกิดคำถามว่าลดบนพื้นฐานของอะไร ดาต้า วอยซ์ หรือ เอสเอ็มเอส แล้วคุณภาพจะดีขึ้นจริงหรือเปล่า

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวตั้งคำถามต่อมาว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา กสทช.ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทำให้เกิดการประมูลที่ดีแล้วหรือยัง และการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมาทำแล้วมีกลไกลการนำไปใช้อย่างไร อีกทั้งเมื่อมองโดยภาพรวม กสทช.มีอิสระอย่างมากทั้งทางการเมืองและการเงิน ทำให้มีคำถามต่อเนื่องว่าหากมีการทำความผิด กระบวนการรับผิดต่อสังคมควรเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมามีการผูกขาดอำนาจในการกำกับดูแลมาแทนที่ ทั้งยังมีกลไกเพื่อไม่ให้รับผิด และการออกสื่อชี้แจง โดยเงินที่ใช้ในการบริหารจัดการคือเงินของประชาชนนั่นเอง

“คำว่าความเป็นอิสระของ กสทช.คำนี้ใหญ่มาก แต่คำถามมีอยู่ว่าอิสระแค่ไหน อย่างน้อยต้องมีกลไกของศาลที่ต้องดำเนินการเมื่อทำความผิด” ภูรีกล่าว

อีกทั้งการมีอิสระทางการเมือง โดย กสทช.กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) พูดกันไปคนละทาง เช่นในเรื่องคืนคลื่นความถี่ที่จะต้องนำมาจัดสรรใหม่ ตรงนี้มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภค และนักลงทุน ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่ดีหากต้องลงทุนต่อ

ส่วนเรื่องเร่งด่วนที่ กสทช.ต้องทำนั้น อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.ให้ความเห็นว่า กสทช.ควรสร้างความน่าเชื่อถือให้กลับคืนมาด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่โน้มเอียง และเสนอให้ถอยออกจากงานบริหารจัดการในคณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อมาควบคุมดูแลทิศทางในภาพใหญ่ นอกจากนั้นยังแสดงความเห็นว่า แม้จะชื่นชมการแสดงออกทางความคิดของ สุภิญญา และ นพ.ประวิทย์ ในฐานะ กสทช.เสียงข้างน้อย แต่ในภาพรวมของ กสทช.ควรต้องสะท้อนความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร ซึ่งภาพลักษณ์นี้จะส่งไปถึงต่างประเทศ พร้อมเสนอเรื่องการจัดการโรมมิ่งโดยใช้เรตเดียวกันทั้งภูมิภาคอาเซียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน เตรียมรับการเข้าสู่ AEC


แนะเปลี่ยน กสทช.จากเสือกระดาษ ต้องปรับ ‘โทษทางปกครอง’
ดร.เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้ความเห็นในด้านกฎหมายว่า ประกาศและกฎหมายของ กสทช.นั้นส่วนตัวเห็นว่ามีบางมุมที่อาจเพิ่มความเข้มในการกำหนดโทษไปด้วย เช่นโทษปรับในทางปกครอง ซึ่งองค์กรอิสระมุ่งหลักความได้สัดส่วน แต่ในการทำหน้าที่ของ กสทช.เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หลายล้านบาทกลับมีค่าปรับที่ต่ำมาก เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดอัตราตายตัว คือ ค่าปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท ยกตัวอย่างกรณีทรูจอดำ ปรับวันละ 20,000 บาท มองคล้ายค่าเช่าในการกระทำผิด

ตัวอย่าง กสทช.ของฝรั่งเศส ระบุให้คิดค่าปรับเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดต่อปีในกิจการของผู้ประกอบการนั้นๆ หากทำผิดซ้ำจะมีการบวกอีก 5 เปอร์เซ็นต์ ในกรณี 3G ของฝรั่งเศสมีข้อตกลงต้องทำให้ได้ 99 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด ทำได้จริง 83 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อ กสทช.ของฝรั่งเศสออกประกาศจะปรับ 800 ล้านยูโร ก็ส่งผลให้ค่ายมือถือเร่งปฏิบัติตามข้อตกลงได้ ดังนั้นตรงนี้จึงอยากเสนอให้ปรับอัตราค่าปรับให้เป็นไปตามผลประโยชน์ที่จะได้ เพื่อสร้างบทบาทของ กสทช.ไม่ให้เป็นเสือกระดาษดังเช่นปัจจุบัน

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ยังกล่าวถึงประเด็นที่ตั้งข้อสงสัยส่วนตัวด้วยว่า กรณีกรรมการ กสทช.มีองค์ประกอบเกือบครึ่งหนึ่งที่มาจากทหาร-ตำรวจ โดยมองว่าเราไม่ได้อยู่ในยุคความมั่นคงที่จะต้องมีกลาโหมมากำกับดูแล และความมั่นคงในปัจจุบันก็ไม่ใช่เรื่องกลาโหมแต่คือเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกำกับดูแล ซึ่งในอนาคตการสรรหา กสทช.ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่านี้

ในส่วนคุณสมบัติของ กสทช.ที่มีการระบุให้ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา ผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ในระยะเวลา 1 ปีก่อนหน้านั้น แต่ภายหลัง 6 ปี เมื่อพ้นวาระแล้วได้กำหนดหรือไม่ว่าจะทำอะไรได้หรือไม่ได้ เพราะการเข้ามาเป็น กสทช.เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์จำนวนมหาศาล ต้องมีความโปร่งใส ซึ่งจากตัวอย่างในฝรั่งเศส กำหนดให้ 3 ปีหลังจากพ้นตำแหน่ง กสทช.ไม่สามารถเกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม แม้แต่เป็นที่ปรึกษา หากฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาทั้งจำและปรับ

ดร.เอื้ออารีย์ กล่าวถึงบทบาทต่อไปของ กสทช.ด้วยว่า 1.ควรมีการปรับเปลี่ยนโทษในทางปกครอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับผู้ประกอบการ 2.ควรมีมาตรการทางสังคม ที่นอกเหนือจากการขอความช่วยเหลือจากผู้ประกอบการอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น หากศาลมีคำสั่งปรับ หรือลงโทษผู้ประกอบการที่กระทำผิด กสทช.ควรนำประเด็นเหล่านี้มาเผยแพร่ สร้างกระแสให้ผู้บริโภคเห็นการเอาเปรียบของผู้ประกอบการ ซึ่งตรงนี้จะกระทบถึงภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการอันเป็นต้นทุนหนึ่งของการทำธุรกิจ และทำให้ผู้บริโภครับรูปและเท่าทันต่อการเอาเปรียบของผู้ประกอบการทั้งหลาย

ด้าน รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า การมีความเห็นค้านกันใน กสทช.เป็นสิ่งที่ดีกับการกำกับดูแลอย่างรอบครอบ และความคิดเห็นขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ เพราะการเห็นแย้งจะต้องทำข้อมูลที่ชัดเจนในการอธิบายเหตุผล ซึ่งตรงนี้หากมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยจะถือเป็นเอกสารหลักฐานที่มีประโยชน์ในการทำงานต่อไปได้ และในอนาคตน่าจะให้มีการจัดทำความเห็นส่วนบุคคลของ กสทช.ทุกคนด้วย


ย้ำอำนาจ กสทช.ที่มี ไม่ใช่เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน
จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า การเกิดขึ้นของ กสทช.ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งในเรื่องสิทธิเสรีภาพ เมื่อมองจากอุดมการณ์การก่อตั้งที่ต้องการเปลี่ยนอำนาจในการสื่อสารจากที่ผูกขาดอยู่กับอำนาจรัฐและทุนที่แผงอยู่ มาสู่แนวคิดอำนาจของสาธารณะและทุน ซึ่งตรงนี้คือโจทย์ใหญ่ของ กสทช.และเวลา 1 ปีที่ผ่านมาถือเป็นระยะตั้งไข่ ส่วนการทำงานของ กสทช.ชุดแรกในมิติสิทธิเสรีภาพนั้น จีรนุชมองแยกเป็นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.)

โดยในส่วน กทค.ตามอุดมการณ์ที่ว่าส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ แต่กลับมีเรื่องนี้ในบทบาทหน้าที่และยุทธศาสตร์กลับระบุไว้น้อยมาก และตรงนี้ไม่ใช่เพียงแค่ USO (Universal Service Obligation) หรือการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม แต่ต้องมองการสื่อสารเป็นเรื่องที่เข้าถึงทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกเพศและทุกวัย เช่น การสื่อสารออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันการบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ เข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ควรมีการส่งเสริมเพื่อให้ทุกคนได้รับสิทธิ์ในการสื่อสารและเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นๆ ที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต (Net Neutrality) การได้รับสิทธิโดยไม่ถูกกีดกัน ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และมีระบบที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในทางสากล แต่เรื่องเหล่านี้ยังไม่สะท้อนในงานของ กทค.และในสังคมไทยก็ยังพูดถึงน้อย ขณะที่ปัจจุบันสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มีการแก้ไขข้อบังคับโดยขยายขอบเขตครอบคลุมมาถึงเรื่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะส่งผลให้อินเทอร์เน็ตไม่ได้อยู่ในค่าความเป็นกลางอีกต่อไปเนื่องจากมีเรื่องความสามารถในการจ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม จีรนุช ได้แสดงความชื่นชมการทำงานของ กทค.ซึ่งทำหน้าที่กำกับช่องทางให้เกิดขึ้น อย่างมีเสรีภาพ อิสระและเป็นธรรม โดยไม่เข้ามากำกับดูแลเรื่องเนื้อหา จึงไม่เกิดการเซ็นเซอร์ซ้ำกับ ICT ทำให้การสื่อสารไม่สะดุดจากการเซ็นเซอร์ อย่างไรก็ตามควรมีการพูดคุยหาขอบเขตของเรื่องนี้ให้ชัดเจน

จีรนุช กล่าวต่อมาในส่วน กสท.ว่า เกิดมาเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้กระจายสื่อ ทำให้มีผู้เล่นที่หลากหลาย และมักถูกแรงเรียกร้องจากสาธารณะให้ทำการปิดกั้น และดูแลความถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากวิทยุ-โทรทัศน์ มีการจัดผังรายการ และเราเป็นผู้ถูกยัดเยียดให้ต้องรับ ซึ่งจะต่างจากในกิจการโทรคมนาคมที่ผู้ใช้สื่อเป็นผู้เลือกเอง อย่างไรก็ตาม กสท.ไม่ควรต้องเป็นอีกหนึ่งกองเซ็นเซอร์ แต่ควรกำกับในสิ่งที่เป็นอันตราย เป็นโทษมากๆ โดยมีกรอบดูแลที่ชัดเจน การทำงานของ กสท.ตรงนี้ถือเป็นการวางหลัก ซึ่งจะยากกว่า กทค.ที่มีแนวทางมาแล้ว และหวังว่าจะมีการใช้ขอบเขตอำนาจการจัดสรรในการให้คุณให้โทษ ไม่ไปตามกระแสสังคม

“คนที่กำกับดูแลสื่อที่สำคัญที่สุดคือประชาชน สิ่งที่ กสทช.ควรทำคือการส่งเสริมและเปิดช่องทางให้ประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อต้านคัดค้าน เปล่งเสียง เมื่อเกิดการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยอยู่ในสังคมที่เชื่อว่าประชาชนฉลาด และจะฉลาดขึ้นได้” จีรนุช กล่าว

ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทกล่าวฝากถึง กสทช.ด้วยว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ควรพยายามสื่อสารให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ และเข้าถึงได้ง่าย แต่ตัวอย่างของเว็บไซต์ กสทช.ค่อนข้างมีปัญหาตรงนี้ ซึ่งอาจส่งผลเป็นการปิดกั้นโอกาสที่ประชาชนจะเข้าใจและใช้สิทธิเสรีภาพของพวกเขาได้ นอกจากนั้นประกาศของ กสทช.ที่เกิดขึ้นนั้นมีความหมาย บังคับใช้ได้ ไม่ใช่เสือกระดาษ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เสือตัวใหญ่ที่มีอำนาจเหนือประชาชน

ขณะที่ จอห์น วิญญู จาก SpokeDark.TVแสดงความเห็นเกี่ยวกับ ITU ว่า ที่ผ่านมาไม่มีตัวแทนผู้รับผิดชอบอย่างเป็นทางการของประเทศเข้าร่วมในการลงนามตอบรับในเรื่องการควบคุมอินเทอร์เน็ต และในการประชุมครั้งล่าสุดที่ประเทศดูไบ (การประชุม World Conference on International Telecommunications 2012 (WCIT-12) เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.55) ไทยระบุให้เสรีภาพอย่างเต็มที่ผ่านโลกออนไลน์ แต่กลับมีการลงนามให้ความรับรู้ในการควบคุมดูแลอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีการส่งให้สภาเห็นชอบทางกฎหมายต่อไป ตรงนี้น่าเป็นห่วงในเรื่องสิทธิการเข้าถึงข้อมูล เพราะจะเป็นการมอบอำนาจให้รัฐอย่างเต็มที่ซึ่งจะทำให้เสรีภาพหมดไป

จอห์น กล่าวว่าเรื่องนี้ต้องเชิญ ICT มาพูดคุยทำความเข้าใจถึงการเลือกปิดกั้นโดยการบล็อคและแบนสื่อออนไลน์ว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร แต่สิ่งที่เขาห่วงมากในอนาคตคือเราอาจไม่มีโอกาสรู้เลยว่ามีเว็บบางเว็บอยู่ เพราะจะถูกรัฐปิดกันตั้งแต่ต้นขั้ว


จาก ‘กสทช.’ หลุดลอยจาก ปชช.-มุ่งจัดการกับสื่อใหม่ แต่สื่อใหญ่กลับไร้น้ำยา
ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวแสดงความเห็นว่า กสทช.มีภาพลักษณ์ที่พยายามจะเป็น CEO (Chief Executive Officer) แต่รูปการกลับเป็นข้าราชการมากๆ ทั้งรายงานการประชุมที่ทุกหน้ามีตราครุฑ รายงานประจำปีเริ่มต้นด้วยพระบรมราโชวาท ตรงนี้ถือเป็นการเริ่มต้นโดยการทำให้ตัวเองลอยออกมาจากประชาชน ขณะที่ทุกคนมีความหวังว่า กสทช.จะเป็นองค์กรอิสระที่เป็นกลาง ออกจากรัฐและทุน มีทิศทางที่รัดกุม แต่กลับมีข้อสงสัยว่าการเป็นองค์กรอิสระนี้อาจเป็นพื้นที่แทรกเข้ามาของอำนาจนอกระบบบางอย่าง

ดร.ยุกติ กล่าวถึงประเด็นสำคัญในการทำหน้าที่จัดสรรช่องทางการของ กสทช. คือความสมดุลของความมั่นคงของรัฐกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งทำให้เกิดความเป็นห่วงทั้งเรื่องที่มาของประธาน กสทช.และสัดส่วนของกรรมการ กสทช.ที่มีทหาร-ตำรวจจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้การจัดองค์กรเป็นที่น่าสงสัย อาทิ ตำแหน่งที่ผูกติดกับสี และการสะท้อนภาพสังคมชายเป็นใหญ่ โดยหากจะแก้ต้องทำให้เกิดความหลากหลาย

ในส่วนบทบาทของ กสทช.ต่อชุมชน ดร.ยุกติให้ความเห็นว่า กสทช.ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคและผู้ให้บริการในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมากเกินไป อย่างเช่นกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองหรือคนชั้นกลางระดับบน ขณะที่คนที่อยู่ไกลถูกละเลย เช่น กรณีที่คนต่างจังหวัดจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อจานดาวเทียม หรือต้องโทรทางไกลในราคาแพง และไม่ใช่การพูดถึงแต่แค่สื่อใหม่ๆ อย่าง 3G เพราะในขณะเดียวกันการใช้โทรศัพท์ใช้สายก็ยังคงเป็นช่องทางการสื่อสารสำหรับคนบางกลุ่มอยู่นั้น แต่คำถามคือปัจจุบันกระจายไปถึงไหน อย่างไร โอกาสที่คนเข้าถึงมันจริงๆ เป็นอย่างไร

นอกจากนั้น การประกาศหลักเกณฑ์ของ กสทช.เรื่องการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 มีข้อกำหนดที่ให้ผู้เข้ารับการอบรมประกอบกิจการวิทยุชุมชนจะต้องจบปริญญาตรี ทำไมถึงต้องกำหนดเช่นนั้น ในเมื่อผู้ประกอบกิจการอยู่ในขณะนี้จำนวนหนึ่งก็ไม่ได้จบปริญญาตรี เรื่องเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า กสทช.มุ่งจัดการกับสื่อใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ทำให้สื่อชุมชน สื่อของคนเล็กคนน้อยถูกจับจ้องเยอะ ขณะที่สื่อใหญ่ สื่อที่ผูกขาดกลับดำเนินการอะไรได้ไม่มากนัก เช่นกรณีทรูจอดำ

ดร.ยุกติ กล่าวถึงกรณีการปรากฏตัวของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในทีวีช่อง 11 ซึ่งถูกหยิบยกมาเป็นข้อร้องเรียนต่อ กสทช.ว่า แม้ว่า กสทช.จะระบุว่าการกระทำดังกล่าวไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย แต่มีการกล่าวให้สื่อสารมวลชนโดยเฉพาะช่อง 11 ในภาพกว้าง เวลาทำรายการใดๆ ต้องระมัดระวังว่ารายการนั้นจะไม่ก่อให้เกิดข้อคิด หรือข้อขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคม โดยส่วนตัวถือเป็นการเซ็นเซอร์ตนเอง ซึ่ง กสทช.ในฐานะผู้มีอำนาจควรระวังการแสดงออกในลักษณะเช่นนี้

“หวังว่า กสทช.จะยืนอยู่ข้างสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารของประชาชนอย่างแท้จริง ในฐานะองค์กรอิสระ สร้างบารมีทานการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยรัฐและทุน เช่นในกรณีการปิดวิทยุชุมชนด้วยข้ออ้างเป็นภัยความมั่นคง นี่เป็นบทบาทที่น่าจะทำ” ดร.ยุกติกล่าว และตั้งคำถามว่า กสทช.จะมีปฏิญญาอะไรได้บ้างหรือไม่ในฐานะที่มาจากรัฐธรรมนูญ 50 หากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้น


‘ผู้บริโภค’ เผย ‘กสทช.’ เน้นตั้งรับ-แก้ปัญหาช้า ห่วงยังไม่เตรียมรับมือประมูลคลื่นรอบใหม่
ด้านสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงประเมินการทำงานของ กสทช.ในด้านคุ้มครองผู้บริโภค โดยอยู่ในฐานะที่เป็นประธานและคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมด้วยว่า ทำงานมองในเชิงการตั้งรับ ขณะที่เรื่องร้องเรียนกว่า 2,105 เรื่องในเวลากว่า 11 เดือนที่ผ่านมา กลับแก้ปัญหาได้น้อยและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ใน 30 วันตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้น ในการทำงานแม้ว่าอนุกรรมการฯ จะเห็นไปในทางเดียวกัน แต่สำนักงานไม่ทำตามเพราะเห็นว่าอนุกรรมการฯ ไม่สามารถให้คุณให้โทษได้ ตรงนี้คืออีกปัญหาหนึ่งซึ่งต่อไปคงต้องคิดว่าจะทำงานตรงนี้อย่างไร ทั้งการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นแล้ว แต่กลับไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วย

สารี ให้ข้อมูลด้วยว่า เรื่องที่มีการร้องเรียนเป็นอันดับ 1 คือ มือถือแบบเติมเงิน (พรีเพด) ที่มีการกำหนดอายุของเงินที่เติม ซึ่งตัวเลขมือถือระบบนี้ประมาณ 70 ล้านเลขหมาย หากเติมเงิน 300 บาท ประมาณ 140 บาทจะสูญเสียระหว่างทางเนื่องจากวันหมดแล้วถูกตัดเงินไป หรือคิดเป็นประมาณ 9,800 ล้านบาทต่อเดือน แต่ตัวเลขที่ปรับไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แม้จะเป็นการปรับเต็มตามกฎหมายที่ให้ไว้สูงสุด 5 ล้านบาท และในปัจจุบันเองก็ยังไม่มีการปรับในจำนวนดังกล่าว สารีมองว่าตรงนี้ทำให้เอกชนยอมเสียค่าปรับมากกว่าที่จะแก้ปัญหา และเมื่อมีการสั่งปรับ 1 แสนบาทต่อเดือนบริษัทเอกชนก็มีการอุทธรณ์

นอกจากนั้น สารียังแสดงความเป็นห่วงในกรณีสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ที่กำลังจะหมดอายุ (เดือน ก.ย.56) ซึ่งมีการพูดมาตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเพื่อให้เตรียมการ แต่กลับไม่มีการดำเนินการอะไร ขณะที่การย้ายค่ายมือถือกำหนดเพียง 3,000-4,000 เลขหมายต่อวัน ซึ่งจะใช้เวลาโอนย้ายนานนับปี ทั้งที่ศักยภาพจริงในปัจจุบันมีถึง 40,000 เลขหมาย

“กสทช.โปรธุรกิจมากเกิน ธุรกิจจึงเห็นความสำคัญของผู้บริโภคน้อยลง” สารีให้ความเห็น 

สำหรับความคาดหวัง สารีกล่าวว่า ปัญหาเดิมๆ ต้องจัดการให้ได้ ทั้งกรณีเอสเอ็มเอส บัตรเติมเงิน และซิมการ์ดแจกฟรี ฯลฯ กสทช.ต้องแสดงให้เห็นว่าจะจัดการเรื่องเหล่านี้อย่างไร ส่วนสัญญาสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุลงเป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคกว่า 20 ล้านเลขหมายต้องเร่งดำเนินการ และต้องจัดการเรื่องเลขหมายให้ดีขึ้น ทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน และกระจายข้อมูลความรู้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

10 ข่าวเด่นประชาไทในรอบปี 2555

$
0
0

สรุปข่าวเด่นรอบปีสารพัดเรื่องตั้งแต่ชีวิตในเรือนจำ, สำนักงานทรัพย์สินฯ, โทรหา “อาจารย์วีระ” ประกาศฟันคอนิติราษฎร์, สัมภาษณ์จักรภพ เพ็ญแข, อัยการไม่ฟ้องกรณีไม่ยืนในโรงหนัง, เปิดคำสั่ง ศอฉ. ใช้ “พลแม่นปืน”, Innocence of Muslim, คุยกับ "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์", กัมพูชาโวยนักข่าวไทยเหยียบรูปสมเด็จสีหนุ และอภิสิทธิ์สัมภาษณ์บีบีซียอมรับใช้กระสุนจริง

ทีมงานประชาไทสรุป 10 ข่าวเด่นรอบปี 2555 โดยนับจากจำนวนผู้เข้าชมและการแชร์ โดยมีข่าวที่ติด 10 อันดับแรก เรียกจากจำนวนผู้อ่านมากที่สุดและจำนวนผู้อ่านรองลงมาตามลำดับ มีดังนี้

 

10 ข่าวเด่นประชาไทในรอบปี 2555

1. ความจริงเท่าที่ทราบ' ต่อกรณีภาพยนตร์ฉาว Innocence of Muslim, 2012-09-13 , http://prachatai.com/journal/2012/09/42619

2. จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์", 2012-09-14, http://prachatai.com/journal/2012/09/42635

3. คำต่อคำสัมภาษณ์ 'อภิสิทธิ์' ใน 'บีบีซี': พ้อ-ไม่แฟร์ที่หาว่า "สั่งใช้กระสุนจริง" เท่ากับ "ฆ่าคน", 2012-12-11, http://prachatai.com/journal/2012/12/44161

4. คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ "พลแม่นปืน" หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม - หากยิงไม่ได้ให้ใช้ "สไนเปอร์", 2012-08-18, http://prachatai.com/journal/2012/08/42125

5. "อ.วีระ" แนะคนโทรเข้ารายการ-ให้ค้นคว้าข้อมูลก่อนด่า "นิติราษฎร์", 2012-02-02, http://prachatai.com/journal/2012/02/39063

6. ฟอร์บส์วิเคราะห์ สนง.ทรัพย์สินฯ แย้งตัวเลขในหนังสือ ‘A Life’s Work’, 2012-01-26, http://prachatai.com/journal/2012/01/38952

7. เปิดจดหมาย เรื่องเล่าชีวิตในเรือนจำ (ฉบับละเอียดที่สุดในประเทศไทย), 2012-01-25, http://prachatai.com/journal/2012/01/38931

8. สัมภาษณ์พิเศษ 'จักรภพ เพ็ญแข': คงต้องปล่อยให้ลิ้มรสของการปรองดองกันเสียก่อน, 2012-04-03, http://prachatai.com/journal/2012/04/39944

9. อัยการสั่งเด็ดขาด ไม่ฟ้องโชติศักดิ์ คดีไม่ยืนในโรงหนัง, 2012-07-18, http://prachatai.com/journal/2012/07/41608

10. ชาวกัมพูชาโวยนักข่าวไทยเหยียบกระดาษที่มีรูปสมเด็จพระนโรดม สีหนุ, 2012-10-17, http://prachatai.com/journal/2012/10/43202

โดยประชาไทรีวิวทั้ง 10 ข่าวเรียงตามลำดับเวลาดังต่อไปนี้

 

มกราคม 2555

[1] เปิดจดหมาย เรื่องเล่าชีวิตในเรือนจำ (ฉบับละเอียดที่สุดในประเทศไทย), 

25 มกราคม 2555 [ http://prachatai.com/journal/2012/01/38931]
จำนวนแชร์ 69 ครั้ง จำนวนรีทวีต 62 ครั้ง

'เล่าซัน' เป็นนามแฝงของนักโทษคดีการเมืองผู้มีประสบการณ์ตรงในเรือนจำแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในเดือนมกราคมเขาได้ส่งจดหมายมายังประชาไท หลังจากที่เขารวบรวมและส่งต่อข้อมูลสภาพความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในเรือนจำ ด้วยความหวังของทั้งเขาและเราว่า การรับรู้ของสังคมจะทำให้เกิดการปรับปรุง “ระบบ” ยุติธรรมไทย โดยเฉพาะพื้นที่คุมขังประชาชนชายขอบที่สุดกลุ่มหนึ่งของสังคม

โดยในรายงานจาก 'เล่าซัน' ได้บันทึกเกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในเรือนจำอย่างละเอียดแทบทุกมิติ ตั้งแต่ภาระกิจส่วนตัวนับตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงกลับเข้าเรือนนอน ทั้งเรื่องสภาพความเป็นอยู่ การรับประทานอาหาร การอนามัย การซื้อสินค้าในเรือนจำ ไปจนถึงเรื่องการขับถ่าย สิ่งแทน 'เงิน' ที่ใช้ในเรือนจำ รวมไปถึงเรื่องการทำงานหนักในเรือนจำ ที่งานบางประเภทหากทำไม่ได้ตามเป้าจะถูกผู้คุมเรือนจำลงโทษ พร้อมตั้งคำถามว่าผลประโยชน์จริงๆ ของเรื่องนี้ไปตกอยู่ในกระเป๋าของใคร

จดหมายของ 'เล่าซัน' มีการทยอยนำเสนอเป็น 2 ตอน สำหรับตอนที่สอง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ [http://prachatai.com/journal/2012/01/38960]

 

[2] ฟอร์บส์วิเคราะห์ สนง.ทรัพย์สินฯ แย้งตัวเลขในหนังสือ ‘A Life’s Work’, 

26 มกราคม 2555 [http://prachatai.com/journal/2012/01/38952]
จำนวนแชร์ 1,086 ครั้ง จำนวนรีทวีต 6 ครั้ง

บทรายงานที่ถูกแชร์เกิน 1 พันครั้งนี้แปลมาจากบทรายงานของนิตยสารฟอร์บ นิตยสารด้านการเงินและธุรกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งตีพิมพ์บทความว่าด้วยรายได้และการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยวิเคราะห์จากข้อมูลในหนังสือพระราชประวัติกึ่งทางการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่มล่าสุด ‘King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work’ โดยชี้ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประเมินทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน คิดเป็นมูลค่าเพียงหนึ่งในสามของที่ฟอร์บส์เคยวิเคราะห์ไว้

ในบทรายงานยังระบุว่าในหนังสือ ‘King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work’ ซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นที่ปรึกษาบรรณาธิการ ละเลยการพูดถึงการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในกลุ่มโรงแรมเยอรมัน ‘เคมพินสกี้ เอจี กรุ๊ป’ และบริษัทประกันเทเวศประกันภัย ซึ่งรวมกันมีมูลค่าราว 600 ล้านดอลลาร์ จากมูลค่าประเมินในปี 2551 ด้วยการลงทุนทั้งหมดนี้ ทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กลายเป็นกลุ่มบรรษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ในตอนท้ายของรายงาน ฟอร์บส์สรุปโดยเปรียบเทียบกับสถาบันกษัตริย์ของประเทศในยุโรป เช่นในกรณีของสเปนซึ่งปกครองในระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ราว 12 ล้านดอลลาร์ ส่วนสถาบันกษัตริย์ของประเทศอังกฤษ ใช้ราว 50 ล้านดอลลาร์ แต่ยกรายได้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้กับกรมคลังของประเทศ และประชาชนเองก็สามารถตรวจสอบข้อมูลด้านการเงินดังกล่าวได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม ในกรณีของประเทศไทยฟอร์บระบุว่า ความโปร่งใสในสถาบันดังกล่าว เห็นจะเป็นหนทางที่ยังต้องใช้เวลาอีกนาน

 

กุมภาพันธ์ 2555

[3] ".วีระ" แนะคนโทรเข้ารายการ-ให้ค้นคว้าข้อมูลก่อนด่า "นิติราษฎร์"

2 กุมภาพันธ์ 2555 [http://prachatai.com/journal/2012/02/39063]
จำนวนแชร์ 214 ครั้ง จำนวนรีทวีต 18 ครั้ง

ในช่วงที่คณะนิติราษฎร์มีข้อเสนอทางวิชาการให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งนอกจากเสียงสนับสนุนแล้ว ยังมีมีเสียงคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม แบ่งออกเป็นฝ่ายที่คัดค้านโดยการแสดงเหตุผล และฝ่ายที่คัดค้านโดยประกาศจะทำร้ายคณะนิติราษฎร์

โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางรายการ "คุยได้คุยดี Talk News & Music" ทางคลื่น 96.5 MHz อสมท. ดำเนินรายการโดยนายวีระ ธีระภัทรานนท์ หรือ "อาจารย์วีระ" ช่วงหนึ่งได้มีผู้โทรศัพท์เข้ามาแสดงความเห็นในเชิงตำหนิและระบุว่าต้องการจะตัดคอกลุ่มนิติราษฎร์ (ฟังคลิปเสียง)ซึ่งทำให้นายวีระรีบตัดบท และถามผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาว่ารู้จักกลุ่มนิติราษฎร์หรือไม่ว่าสมาชิกประกอบด้วยใคร และถามด้วยว่ารู้ข้อความในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ และยังแนะนำให้กลับไปค้นคว้าข้อมูลจะได้มีพื้นฐานในการแสดงความรู้สึก ก่อนวางสาย โดยท้ายรายการนายวีระระบุด้วยว่าการเคลื่อนไหวแก้ไขมาตรา 112 อยู่ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ใช่รัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าวเคยมีการแก้ไขมาแล้วในปี 2519

อย่างไรก็ตามในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ก็เกิดเหตุชาย 2 คนเข้ามาดักทำร้ายรศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกคณะนิติราษฎร์ โดยภายหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ ด้านนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ก็แถลงยืนยันว่าแม้จะเกิดเหตุทำร้ายขึ้น แต่จะไม่ยุติบทบาททางวิชาการ

 

เมษายน 2555

[4] สัมภาษณ์พิเศษ 'จักรภพ เพ็ญแข': คงต้องปล่อยให้ลิ้มรสของการปรองดองกันเสียก่อน

3 เมษายน 2555 http://prachatai.com/journal/2012/04/39944
จำนวนแชร์ 1,123 ครั้ง จำนวนรีทวีต 31 ครั้ง

หลังลี้ภัยทางการเมืองมานานกว่า3 ปี หลังการสลายการชุมนุม เดือนเมษายนปี 2552ในปลายเดือนมีนาคมปี 2555 ที่กรุงพนมเปญ ผู้สื่อข่าวประชาไทมีโอกาสสัมภาษณ์จักรภพ เพ็ญแข ในฐานะ “คนไกลบ้านที่ลี้ภัยการเมืองมานานกว่า 3 ปี” และ “นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญการต่างประเทศที่อยู่ในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งไม่เป็นเนื้อเดียวกับแกนนำในขบวนการต่อสู้ด้วยกันนัก และถูกกล่าวหาด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112” ว่า 3 ปีที่ไม่ได้อยู่เมืองไทย เขามองเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และกำลังคิด-ทำอะไรอยู่”

จักรภพตั้งประเด็นที่น่าสนใจ 3 ประการ ประการแรกคือ เขามองเห็นว่าเมืองไทยภายใต้กระแสปรองดองนั้นเป็นวาระพักรบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ทางเลือกที่สามของการเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้น แม้จะยังไม่เห็นรูปร่างหน้าตาที่ชัดเจนของทางสายนี้ แต่เขาเห็นว่า นี่เป็นโอกาสที่จะตั้งคำถามให้คนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้เลือกว่า จะสู้เพื่อเปลี่ยนสังคมหรือสู้เพียงเพื่อรวบสังคมมาเป็นของตัวเอง สอง เมื่อถามเรื่องบทบาทของทักษิณ ชินวัตรในขบวนต่อสู้ จักรภพยังคงแสดงความหวังว่าทักษิณมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมแต่นั่นเป็นสิ่งที่ทักษิณต้องเลือกเองว่าจะเลือกทางสบายหรือลำบาก และสุดท้าย เงื่อนไขในการกลับประเทศ แม้ว่าจะข้อกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้นอัยการจะสั่งไม่ฟ้องไปแล้วในวันเดียวกับที่เขาให้สัมภาษณ์ประชาไท แต่นั่นไม่ใช่แรงจูงใจที่จะทำให้เขาเดินทางกลับเข้าประเทศ

 

กรกฎาคม 2555

[5] อัยการสั่งเด็ดขาด ไม่ฟ้องโชติศักดิ์ คดีไม่ยืนในโรงหนัง

18 กรกฎาคม 2555 http://prachatai.com/journal/2012/07/41608
จำนวนแชร์ 5,215 ครั้ง จำนวนรีทวีต 149 ครั้ง

กรณีโชติศักดิ์ อ่อนสูง และการถูกฟ้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุาภาพเพราะไม่ยืนในโรงหนัง เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 กันายน 2550 โดยนายนวมินทร์ วิทยกุล ได้ขว้างปาข้าวโพดคั่วและกระดาษใส่นายโชติศักดิ์ และเพื่อน เนื่องจากทั้งสองไม่ยืนขึ้นเมื่อมีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่ง

นายโชติศักดิ์และเพื่อน จึงฟ้องนายนวมินทร์ ในข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ ทำร้ายร่างกายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หมิ่นประมาทและดูหมิ่นซึ่งหน้า ทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดฯ, และทะเลาะกันอื้ออึงในที่สาธารณสถาน

จากนั้นนายนวมินทร์ได้ฟ้องกลับนายโชติศักดิ์และเพื่อนกลับด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยความคืบหน้าคดีในวันที่ 19 กันายน 2551 พนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องนายนวมินทร์ และวันที่ 20 ตุลาคม 2551 ตำรวจได้ส่งสำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา กรุงเทพใต้

เวลาผ่านมากว่า 4 ปี กระทั่งต่อมาในเดือนเมษายน 2555 อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพฯ ใต้ 4 มีหนังสือแจ้งไปยังสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันเมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยคำวินิจฉัยของอัยการระบุว่า พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ต้องหาไม่ลุกขึ้นเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการพูดว่า "ทำไมต้องยืนด้วยไม่มีกฎหมายบังคับ" นั้น เห็นว่าการกระทำดังกล่าวมิได้แสดงออกซึ่งวาจาหรือกิริยาอันจะเข้าลักษณะเป็นการดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย เสียหาย สบประมาท ด่าว่า และการกล่าวหรือโต้เถียงเกิดขึ้นหลังจากเพลงจบแล้ว แม้จะเป็นกิริยาที่ไม่เหมาะสมและไม่อยู่ในบรรทัดฐานที่ประชาชนทั่วไปต้องปฏิบัติก็ตาม แต่การกระทำของผู้ต้องหาทั้งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่ามีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ อีกทั้งผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดมา พยานหลักฐานจึงไม่พอฟ้อง

 

สิงหาคม 2555

[6] คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ "พลแม่นปืน" หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม - หากยิงไม่ได้ให้ใช้ "สไนเปอร์"

18 สิงหาคม 2555 http://prachatai.com/journal/2012/08/42125
จำนวนแชร์ 708 ครั้ง จำนวนรีทวีต 135 ครั้ง

ในเดือนสิงหาคม 2555 ผู้สื่อข่าวประชาไทได้รับเอกสารสั่งการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)“ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130” ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. ในเวลานั้น

โดยเอกสารมีทั้งหมด 5 หน้า ใจความสำคัญคือการระบุแนวทางปฏิบัติ หากมี “ผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์”

ในข้อ 2.5 ระบุว่า “ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้”

โดยการเผยแพร่เอกสารคำสั่งของ ศอฉ. ครั้งนี้ นับเป็นการหักล้างการแถลงข่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 16 ส.ค. 55 ที่ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ เป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก ขณะที่เมื่อ 16 พ.ค. 53 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่โฆษก ศอฉ. ด้วยก็ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ มีเพียง “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาภายหลังการเผยแพร่เอกสาร พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก (ทบ.) ออกมายอมรับว่าเป็นเอกสารฉบับจริง แต่อ้างว่าผู้ที่นำเอกสารฉบับนี้มาปล่อยเข้าใจว่ามีนัยยะเรื่องอื่น เพราะเอกสารมีอยู่ 5 แผ่น แต่เลือกนำแผ่นสุดท้ายมาปล่อย และยืนยันว่าการปฏิบัติงานของ ศอฉ. ยึดหลักสากลจากเบาไปหาหนัก “หากการปฏิบัติจากเบาไปหาหนักนั้นไม่สามารถจะระงับยับยั้งการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดอันตรายต่อพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่ได้ เราก็จำเป็นที่ต้องใช้พลแม่นปืนระวังป้องกัน” อย่างไรก็ตามประชาไทเผยแพร่เอกสารทุกหน้า ไม่ใช่หน้าเดียวอย่างที่ พ.อ.สรรเสริญกล่าวหา (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 มี.ค 54 พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่ 11 มี.ค. 53 จนถึงเสร็จสิ้นการโดยมีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด คืนเพียง 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

กันยายน 2555

[7] ความจริงเท่าที่ทราบ' ต่อกรณีภาพยนตร์ฉาว Innocence of Muslim

13 กันยายน 2555 http://prachatai.com/journal/2012/09/42619
จำนวนแชร์ 716 ครั้ง จำนวนรีทวีต 7 ครั้ง

จากกรณีกลุ่มติดอาวุธชาวลิเบียบุกเข้าโจมตีสถานทูตสหรัฐอเมริกาในลิเบียเมื่อวันที่ 11 กันยายน จนเป็นเหตุให้เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เสียชีวิต เนื่องจากไม่พอใจภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง "Innocence of Muslim" ที่ดูหมิ่นศาสดาของศาสนาอิสลาม ต่อมาประชาไทได้แปลบทรายงานของสำนักข่าวอัลจาซีร่านำเสนอเกร็ดที่มาของภาพยนตร์ล้อเลียน ที่กลายเป็นเหตุให้เกิดการต่อต้านจากในลิเบีย และการประท้วงในอียิปต์

โดยนักแสดงที่ร่วมแสดงในภาพยนตร์ดังกล่าว ที่ผู้กำกับเป็นชาวอิสราเอล-อเมริกันใช้ชื่อว่า “แซม บาไซล์” บอกว่า เขาไม่รู้มาก่อนเลยว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับศาสดามูฮัมหมัดหรืออิสลาม ในตอนแรกพวกเขาถูกเรียกมาคัดเลือกนักแสดงในภาพยนตร์ที่ชื่อ "นักรบแห่งทะเลทราย" โดย ผู้กำกับที่ชื่อ “อลัน โรเบิร์ท” และการกล่าวอ้างอิงถึงศาสนาในภาพยนตร์เพิ่งมีการนำมาอัดเสียงพากษ์ใส่ทีหลัง สำหรับข่าวนี้ถือเป็นข่าวที่มีจำนวนผู้อ่านที่สูงที่สุดในปี 2555

 

[8] จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"

14 กันยายน 2555 http://prachatai.com/journal/2012/09/42635
จำนวนแชร์ 9,992 ครั้ง จำนวนรีทวีต 179 ครั้ง

“ถิ่นนี้มีอันตรายร้ายแรงยิ่งนัก หากมิใช่คนตัวกลั่นแท้แล้วไซร้ เห็นทีจักเอาชีวิตรอดมิได้เป็นแม่นมั่น” (แปล - แถวนี้แม่งเถื่อน บอกตรงๆนะถ้าไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้) “พลันมีเสียงกัมปนาทแปลบเปรี้ยง บัดเดี๋ยวกลายเป็นข้าวพองกรอบ” (แปล - บู้ม!!! กลายเป็นโกโก้ครั้นช์) หรือ “อยู่บุรีมีจริต ชีพจักต้องวิลิศมาหรา” (แปล - อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป)

และอีกหลายประโยคที่หลายคนในเฟซบุ๊กที่มาจากเพจ "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"ให้ชาวเน็ตได้ทายว่าความหมายคืออะไร โดยในเดือนกันยายน ประชาไทได้มีโอกาสสัมภาษณ์ 3 แอดมิน ถึงที่มาและแนวคิดในการตั้งเพจดังกล่าว ที่ปัจจุบัน (ธันวาคม 2555) มีผู้คนกดไลค์เพจกว่า 6.5 หมื่นคน

“จริงๆ เพจนี้ก็ไม่ใช่เพจล้อเลียนอย่างเดียว เส้นกั้นระหว่าง parody กับ homage มันบางมาก เพจนี้แม้จะดูเป็นเพจล้อเลียน แต่ก็ทำขึ้นมาด้วยความชื่นชอบ เราชอบภาษาแบบโบราณ เห็นว่ามันเก๋ดี แต่ในขณะเดียวกันเราก็โตมากับวัฒนธรรมป๊อป ดูหนังฮอลลีวู้ด ใส่กางเกงยีนส์ เราเลยอยากนำสองค่ายมาผสมผสานกัน เป็นเหมือนโรบินฮูดที่ขโมยภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นสูงมาให้ความสนุกสนาน แก่ชนชั้นกลางธรรมดาสามัญทั่วไปค่ะ

ส่วนเป้าหมายรองของเพจเรา ก็คือต้องการล้อเลียนแนวคิดชาตินิยมที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน โดยการแสดงให้เห็นว่าไม่มีวัฒนธรรมที่เป็น "ไทยแท้" แม้แต่ภาษาที่ดูโบราณและดูเป็นไทยจ๋าๆ ก็ยังยืมมาจากภาษาอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ชื่อว่า ตะละแม่ ซึ่งไม่ใช่คำเรียกเจ้าหญิงของไทย แต่ก็เป็นคำที่ปรากฏในวรรณกรรมขึ้นหิ้งของไทย ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นความไม่เป็นเหตุเป็นผลของวาทกรรมชาตินิยมค่ะ”

หลังการสัมภาษณ์แอดมินเพจได้ตั้งชื่อให้กับประชาไทด้วยว่าคือ“อิสรมานพ”หรือประชาไทในภาษาของตะละแม่ฯ ด้วย

 

ตุลาคม 2555

[9] ชาวกัมพูชาโวยนักข่าวไทยเหยียบกระดาษที่มีรูปสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

17 ตุลาคม 2555 http://prachatai.com/journal/2012/10/43202
จำนวนแชร์ 665 ครั้ง จำนวนรีทวีต 48 ครั้ง

ในช่วงที่มีการไว้อาลัยการสวรรคตของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เกิด กระแสความไม่พอใจชาวกัมพูชาซึ่งมีการแชร์ภาพ น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวช่องสาม โดยกล่าวหาว่าเป็นการยืนทับกระดาษที่มีรูปสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์ที่เพิ่งสวรรคตขณะรายงานข่าวจากกรุงพนมเปญ

โดยต่อมา มีการชี้แจงของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ระบุว่าได้สอบถามจาก น.ส.ฐปณีย์ แล้วโดยยืนยันว่า น.ส.ฐปณีย์ “ไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่ หรือแสดงความไม่เคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวกัมพูชา” เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ระหว่างการรายงานข่าวประชาชนกัมพูชาไว้อาลัยสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ที่บริเวณหน้าพระราชวังจตุรมุขมงคล “ด้วยลักษณะที่ต้องยืนรายงาน ทำให้ต้องวางสิ่งของส่วนตัว ประกอบด้วย โทรศัพท์มือถือ สมุดจดบันทึก หนังสือพิมพ์ ซึ่งลงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ แห่งกัมพูชา ตีพิมพ์หลักจากที่เสด็จสวรรคต และได้วางไว้ที่พื้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งได้วางห่างจากตัวพอสมควร แต่เนื่องจากภาพที่ปรากฏในเฟซบุ๊ค ถ่ายจากด้านข้างค่อนไปทางด้านหลัง จึงทำให้เห็นว่าสิ่งของทั้งหมดวางอยู่ใกล้ตัว" (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ลุกลามบานปลาย โดยหลังการชี้แจงของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 คณะของ น.ส.ฐปณีย์ได้เดินทางไปที่สถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเพื่อทำพิธีขอขมา

ต้องบันทึกไว้ด้วยว่า ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ร้องขอไม่ให้สื่อมวลชนเผยแพร่รูปในกรณีของ น.ส.ฐปณีย์ โดยอ้างว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยในเวลาต่อมากองบรรณาธิการประชาไทได้ตัดสินใจไม่นำเสนอภาพดังกล่าวในข่าว แต่ยังคงลิ้งที่ไปยังภาพดังกล่าวโดยเคารพในการใช้วิจารณญาณเองของผู้อ่าน

 

ธันวาคม 2555

[10] คำต่อคำสัมภาษณ์ 'อภิสิทธิ์' ใน 'บีบีซี': พ้อ-ไม่แฟร์ที่หาว่า "สั่งใช้กระสุนจริง" เท่ากับ "ฆ่าคน"

11 ธันวาคม 2555 http://prachatai.com/journal/2012/12/44161
จำนวนแชร์ 1,543 ครั้ง จำนวนทวีต 111 ครั้ง

ในเดือนธันวาคม ประชาไทแปลบทคำสัมภาษณ์ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ BBC World News ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ ต่อเรื่องการสั่งฟ้องและการมีส่วนรับผิดชอบในคดีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมที่มีสาเหตุจากเจ้าหน้าที่รัฐในระหว่างการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2555 โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวยอมรับเป็นครั้งแรกว่ามีการใช้กำลังทหารและการใช้กระสุนจริงในระหว่างการสลายการชุมนุม และว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องจากมีกลุ่มติดอาวุธอยู่ในพื้นที่ชุมนุม หรือชายชุดดำ ซึ่งยิงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และผู้ชุมนุม และยังกล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตราว 20 คน ที่สรุปได้แล้วว่า เสียชีวิตจากกลุ่มติดอาวุธภายในผู้ชุมนุม ขณะที่ในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไทยไม่กี่วันก่อนหน้านี้ว่า เหตุใดนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ผอ.ศอฉ. รวมถึงตัวเขาซึ่งไม่มีตำแหน่งใน ศอฉ. และไม่ได้ลงนามคำสั่ง กลับถูกตั้งข้อกล่าวหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล โดยผู้ฟ้องคือนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน

ในรายงานข่าวผู้ดำเนินรายการ น.ส.มิชาล ฮุสเซน ถามแย้งนายอภิสิทธิ์ว่า ในรายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ที่ทำการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้ว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เสียชีวิตมาจากทหาร และถามว่า ยอมรับหรือไม่ว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหาร นายอภิสิทธิ์ตอบว่า จาก 20 คดีที่ได้ทำการสอบสวนไป มีเพียงสองคดีเท่านั้นที่เสียชีวิตจากกระสุนปืนของทหาร นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่า ผู้ชุมนุมได้ปล้นปืนของทหารไปด้วย

ต่อคำถามของผู้ดำเนินรายการว่า นายอภิสิทธิ์ยอมรับหรือไม่ว่าตนมีส่วนรับผิดชอบในการเสียชีวิตบางส่วน เขาตอบว่า ไม่ เพราะการตั้งข้อกล่าวหาต่อตนเองในตอนนี้ มาจากคดีการเสียชีวิตของคนที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุมด้วยซ้ำ (หมายถึง - คดีนายพัน คำกอง คนขับรถแท็กซี่เสียชีวิต) แต่เป็นเพียงผู้เห็นเหตุการณ์ที่บังเอิญออกมาดูและโชคร้ายที่เขาโดนลูกหลงเข้า

เขากล่าวยอมรับว่า ตนเป็นผู้สั่งใช้กระสุนปืนจริง แต่มิได้รู้สึกเสียใจต่อการออกคำสั่งดังกล่าว เพราะเป็นวิธีที่จะสามารถจัดการกับกลุ่มผู้ที่ติดอาวุธได้ และกล่าวว่า เหตุการณ์เมื่อปี 53 เป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงจริง แต่หากไม่มีกลุ่มชายชุดดำที่มีอาวุธและยิงตำรวจ ทหารและประชาชน ความรุนแรงและความเสียหายดังกล่าวก็คงจะไม่เกิดขึ้น

อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารัฐบาลชุดของเขาเป็นรัฐบาลแรกที่อนุญาตให้ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ อัยการ และศาลเข้าสืบสวนสอบสวน ตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว เขากล่าวว่า ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ตนก็จะยอมรับโทษนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นโทษประหารชีวิต และขอเรียกร้องแบบเดียวกันต่ออดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และสมาชิกในรัฐบาลนี้ ให้ทำแบบเดียวกันด้วย

 

(แถม)

ผลโหวต 10 แฟนเพจเฟซบุ๊ก ปี 2012

26 ธันวาคม 2555 http://prachatai.com/journal/2012/12/44407
จำนวนแชร์ 11,600 ครั้ง จำนวนรีทวีต 310 ครั้ง

นอกจาก 10 ข่าวที่มีการจัดอันดับไปแล้วนั้น อีกข่าวที่ไม่ได้จัดอันดับด้วย แต่มีผู้อ่านจำนวนมากและยอดแชร์สูงเป็นประวัติการถึง 11,600 ครั้งก็คือข่าว “ผลโหวต 10 แฟนเพจเฟซบุ๊ก” ปี 2012 กิจกรรมส่งท้ายปีสำหรับผู้อ่านประชาไท โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ Prachatai ได้ตั้งกระทู้ “ร่วมเสนอและ Vote 10 เพจแห่งปี 2012” เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.55 เปิดให้ผู้ร่วมโหวตเสนอและโหวตเพจที่ตัวเองคิดว่าสมควรได้รับเลือกและได้เป็นเพจแห่งปี และปิดโหวตในเมื่อเวลา 23.59 น. วันที่ 25 ธ.ค.55 ท่ามกลางการมีส่วนร่วมสนุกจากเพจที่ถูกเสนอชื่อ และการเสพ “ดราม่า” เป็นระยะ โดยที่สุดมีการโหวตทั้งสิ้น 371,272 โหวต มีการแสดงความเห็นท้ายกระทู้โหวต 6,792 ความเห็น โดย10 เพจแห่งปี 2012 ประกอบด้วย เพจ VRZO, 9Gag in Thai/9GAG in Thai, Drama-addict, สมรัก พรรคเพื่อเก้ง, โหดสัส V2, เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด, Dora GAG, ออกพญาหงส์ทอง, วิรศากดิ์ นิลกาด และช้างเป็นสัตว์กินเลือด

ทั้งนี้ในปัจจุบัน เฟซบุ๊กโดยเฉพาะในรูปแบบแฟนเพจในไทยมีการเติบโตอย่างมากทั้งในเชิงการค้า การเมืองและสังคม มีการหยิบเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มาใช้ ล่าสุดข้อมูลจาก Zocialrank.com ระบุว่าประเทศไทยมีแฟนเพจเฟซบุ๊กประมาณ 3 แสนเพจ เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่อันดับสองคือฟิลิปปินส์มีเพียง 2 หมื่นกว่าเพจเท่านั้น และในระดับโลกกรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่มีบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กมากที่สุดในโลกอีกด้วยคือ 12,797,500 บัญชี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยือนเพื่อนบ้าน : จาการ์ตา อินโดนีเซีย

$
0
0

รายการพิเศษส่งท้ายปี 2555 จากประชาไทขอนำเสนอภาพบรรยากาศส่วนเสี้ยวหนึ่งของประเทศเพื่อนบ้านที่บรรดากระจอกข่าวได้ไปพบเจอจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีอาณาบริเวณกว่า 661 ตร.กม. เมืองหลวงที่กว้างใหญ่นี้มีประชากรอาศัยอยู่ราว 28 ล้านคน

ประชาไทเยือนเพื่อนบ้าน ขอนำเสนอภาพบรรยากาศของ Jakarta Pusat ซึ่งเป็นพื้นที่โซนที่อยู่ตรงกลางของจาการ์ตา ชมสถานที่สำคัญอย่าง Monas หรือ National Monument ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางจัตุรัสเมอร์เดก้า เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อเอกราชของอินโดนีเซียและชมภาพวิถีชีวิตของชาวเมืองหลวงบนเกาะชวา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“อร่อยจนลืมกลับวัด” ผิด 2 เด้ง

$
0
0

กรณีที่พระมหาวุฒิชัยเมธี วชิรเมธี เขียนคำว่า “อร่อยจนลืมกลับวัด” พร้อมลายมือชื่อของตนเองแปะไว้ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นของลูกศิษย์คนหนึ่งนั้น  ถือเป็นความผิด (พลาด) ประการหนึ่งที่ไม่ร้ายแรง  แต่การออกมาบอกว่าไม่ผิดธรรมวินัย โดยไม่ยอมรับว่าเป็นการเขียนที่ไม่สมควร อาจถือเป็นความผิดพลาดที่น่าคิด  สังคมพึงพิจารณาเป็นอุทธาหรณ์

เรื่องนี้ในเบื้องต้นพระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ให้ความเห็นว่า “เป็นความผิดพลาด  ถ้าเขียนว่า ‘รสชาติใช้ได้’ ก็ไม่ผิด เพราะไม่ได้แสดงถึงการติดรสในความอร่อย . . .” {1}  ส่วน รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นว่า “เป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น . . . ผมคิดว่ามันเป็นการเรียนรู้ของท่านเองด้วย ท่านก็ยังหนุ่มอยู่ ถ้าเป็นดาราพูดกับแฟนคลับมันคงไม่มีอะไร” {2}

สำหรับความอร่อยลิ้น  ในทางพุทธศาสนา พระที่มุ่งกำจัดกิเลส ใช้วิธี “ธุดงค์” ซึ่งไม่ใช่การเดินจาริกของพระเช่นที่เข้าใจผิดกันในปัจจุบัน แต่คือ “วัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส  . . . (และหนึ่งในนั้นคือ) ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ 2 ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทาน ฉันเฉพาะในบาตร” {3}

ยิ่งกว่านั้น พระไม่พึงรู้สึกอร่อย หรือมีความพึงพอใจในรูป รส กลิ่น แต่ควรปล่อยวางโดยพิจารณาเรื่อง “อาหาเรปฏิกูลสัญญา” โดยนายไพศาล พืชมงคล ได้อธิบายไว้ว่า “เป็นแบบวิธีฝึกฝนอบรมจิตวิธีหนึ่งในจำนวน 36 แบบวิธีที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนชาวพุทธ เพื่อให้เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตและสรรพสิ่งว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตนหรือพึงยึดถือเป็นตัวกู ของกู โดยใช้ความเป็นจริงของอาหารเป็นเครื่องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่าแม้รูปภายนอกจะมีรูป รส กลิ่น สี ที่น่าชื่นชม น่าสัมผัส น่ากินสักปานใด แต่แท้จริงล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล เมื่อเห็นความจริงเช่นนั้นแล้วก็จะปล่อยปละละวางละถอนความยึดมั่นถือมั่น . . .” {4}

ดังนั้นการที่พระมหาวุฒิชัย ฉันอาหารโดยใช้ภาชนะมากกว่าหนึ่งตามการประเคนเช่นนี้  จึงถือว่าไม่เคร่งครัด  วัตรปฏิบัติไม่ได้มุ่งที่การบำเพ็ญเพียรเท่าที่ควร  เป็นเหมือนพระบ้านทั่ว ๆ ไป  ต่างจากพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย  โดยเฉพาะพระป่าในสายหลวงปู่ชื่อดังในอดีตหลายแห่ง ที่ยังมีวิธีการเพิ่มเติม เช่น ต้องคนอาหารรวมกันทั้งคาวหวานด้วย เป็นต้น

อย่างไรก็ตามพระมหาวุฒิชัย ได้ชี้แจงว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ถือเป็นการผิดวินัยสงฆ์ โดยการเขียนข้อความดังกล่าว เพื่อให้ขวัญกำลังใจกับลูกศิษย์ เป็นข้อความที่เขียนกันทีเล่นทีจริง ตามประสาครูอาจารย์ ลูกศิษย์ อย่าตีความกันเลยเถิดไป” {5}  นอกจากนั้นเจ้าของร้านยังได้ออกมาชี้แจงว่า “ขอให้ท่านได้เมตตาเขียนให้กำลังใจตามภาพ ผมนำภาพท่านมาประดับในร้านร่วมกับภาพของครูบาอาจารย์อื่นอีกหลายท่านที่เคยมาเยี่ยมเยือน เพื่อเป็นกำลังใจให้ตนเอง . . . มิได้ประสงค์ประโยชน์ทางการค้า” {6}

ในกรณีนี้มีข้อน่าสังเกตดังนี้:

1. พระมหาวุฒิชัยมีความรู้เรื่องพุทธศาสนาเป็นอย่างดีทั้งเรื่อง “ปัตตปิณฑิกังคะ” และ “อาหาเรปฏิกูลสัญญา” ข้างต้น  จึงน่าจะรู้ว่าการเขียนเช่นนี้ไม่เหมาะสม  เมื่อมีผู้ทักท้วง ก็ควรยอมรับถึงความไม่เหมาะสมนี้อย่างสง่างามซึ่งจะทำให้ได้รับความศรัทธายิ่งขึ้น  แทนที่จะเพียงบอกว่า ไม่ได้ผิดวินัยสงฆ์

2. เจ้าของร้านชี้แจงว่าเอาภาพมาแปะเพื่อเป็นกำลังใจเช่นเดียวกับพระรูปอื่นที่เคยนิมนต์มา แต่เชื่อว่าพระรูปอื่นคงไม่เขียนข้อความแบบนี้  และถ้าไม่ใช่เพื่อการค้า ก็ควรเก็บภาพเหล่านี้ไว้ในห้องพระแทนที่จะนำมาแสดงให้ลูกค้าได้พบเห็นจนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย

โดยสรุปแล้ว แม้สังคมจะเห็นชัดว่าการที่พระมหาวุฒิชัย เขียนข้อความเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่ก็ไม่ได้ผิดพระธรรมวินัยร้ายแรงอย่างไรขนาดว่าต้องสึกเช่นบางคนกล่าวถึง  พระก็เป็นเช่นปุถุชนทั่วไป  และการที่พระมหาวุฒิชัย มีสถานะเป็นพระ ย่อมสามารถแสดงธรรมให้ประชาชนได้น่าเชื่อถือกว่าการถอดเครื่องแบบพระอย่างแน่นอน

ข้อนี้จึงถือเป็นอุทธาหรณ์สำหรับพระหนุ่มดังที่ รศ.วิทยากร ได้ตั้งข้อสังเกตไว้

 

อ้างอิง

{1}     พระพยอม ชี้ ข้อความ ว.วชิรเมธี อร่อยจนลืมกลับวัด ผิดพลาด http://news.mthai.com/general-news/209943.html

{2}     ความจริงหรือเรื่องโกหก ? กรณีท่าน ว. “อร่อยจนลืมกลับวัด” http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000157549

{3}     โปรดอ่าน พระวิสุทธิมรรค http://www.buddhistelibrary.org/th/displayimage.php?pid=1995 หน้า 201 เรื่อง ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ รวมทั้งเรื่อง “ธุดงค์” จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C และพึงดูเพิ่มเติมที่ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=342

{4}     อาหาเรปฏิกูลสัญญา กรรมฐานที่ง่ายเเต่ได้ผลมาก http://www.paisalvision.com/index.php/2008-11-06-06-22-48

5} ว.วชิรเมธี แจง เขียนข้อความ อร่อยจนลืมกลับวัด ไม่ผิดวินัยสงฆ์ http://hilight.kapook.com/view/80046 หรือฟังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=dcwPjzG2UCo

{6}     เจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่นรับผิด ขออภัยทำ “ว.วชิรเมธี” เดือดร้อน http://www.manager.co.th/Local/viewnews.aspx?NewsID=9550000157661

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 23 - 31 ธ.ค. 2555

$
0
0

สมาคมรับสร้างบ้าน ยอมรับ"วิกฤตแรงงานขาดแคลน"กระทบหนัก เร่งปรับตัว

นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน กล่าวว่า ในปี 2556 แนวโน้มมูลค่าตลาดรับสร้างบ้านจะขยายตัวและเติบโตออกไปยังภูมิภาคชัดเจนมากขึ้น เพราะจากการสำรวจผู้ประกอบทั้งรายเดิมและรายใหม่ที่เข้าสู่ธุรกิจนี้ในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการเปิดดำเนินธุรกิจในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ หรือมีจำนวนมากกว่า 40 ราย ตรงข้ามกับพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กลับมีผู้ประกอบการรายใหม่เปิดดำเนินธุรกิจน้อยมาก และจากการสำรวจของสมาคมฯ พบว่าบริษัทรับสร้างบ้านทั่วประเทศในปี 2555 มีจำนวนประมาณ 144 ราย (ที่มีรูปแบบชัดเจนและทำตลาดอย่างต่อเนื่อง) โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวนประมาณ 69 ราย และผู้ประกอบการที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในต่างจังหวัดจำนวนประมาณ 75 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก 2 สมาคมเพียงแค่ 71 รายเท่านั้น ส่วนที่เหลือไม่ได้สังกัดสมาคมใดๆ

ปัญหาแรงงานขาดแคลน คาดว่ายังคงมีการแข่งขันแย่งชิงกันรุนแรงเช่นเดิม ทั้งนี้ สมาคมฯ แนะว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจนี้ ควรจะต้องมีแผนรับมือกับปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะการนำเอาเทคโนโลยีก่อสร้าง หรือระบบก่อสร้างสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงเครื่องมือก่อสร้างที่จะทดแทนการใช้แรงงานคนและทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น

นอกจากนี้ ข้อมูลปี 2555 ที่น่าสนใจพบว่า กลุ่มลูกค้าทีใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้านที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ ทั่วประเทศนั้น มีการขอใช้สินเชื่อปลูกสร้างบ้านกับสถาบันการเงินในสัดส่วนเงินสด : เงินกู้ หรือ 67 : 33 โดยมีธนาคารที่ผู้บริโภคนิยมขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้าน ได้แก่ ธ.ไทยพาณิชย์ ธอส. ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กสิกรไทย ฯลฯ ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในต่างจังหวัด หันมานิยมใช้สินเชื่อปลูกสร้างบ้านเพิ่มขึ้น ดังนั้น สถาบันการเงินและบริษัทรับสร้างบ้านจึงควรร่วมมือกัน เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นกำลังซื้อกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้ตลาดรับสร้างบ้านต่างจังหวัดขยายตัว

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านที่มี “จุดขาย” แตกต่างกับคู่แข่งขันในตลาด เช่น บ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบก่อสร้างที่สามารถสร้างได้รวดเร็วและมีคุณภาพ ฯลฯ จะสามารถช่วยให้มีโอกาสเติบโตได้ดีกว่าปีก่อน สำหรับตลาด “บ้านสร้างเอง” ทั่วประเทศปี 2555 มีมูลค่าประมาณ 120,000 ล้านบาท ในขณะที่ตลาด “รับสร้างบ้าน” ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดปี 2555 มีมูลค่ารวมประมาณ 9,000 ล้านบาท

สำหรับปี 2556 สมาคมฯ ประเมินว่า ตลาดรับสร้างบ้านน่าจะเติบโตและมีมูลค่ารวมประมาณ 9,500-10,000 ล้านบาท หรือเติบโตได้ประมาณร้อยละ 5-10 โดยปัจจัยหลักๆ เป็นเพราะการขยายตลาดออกไปทั่วประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของสมาคมฯ เองตั้งเป้าไว้จะผลักดันให้มูลค่าตลาดรับสร้างบ้านในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2558 มีมูลค่าเพิ่มเป็น 15,000 ล้านบาท

(มติชนออนไลน์, 23-12-2555)

 

ทีดีอาร์ไอชี้อนาคตแรงงานสายอาชีพปี 56 สดใส

24 ธ.ค. 55 - ทีดีอาร์ไอชี้อนาคตแรงงานสายอาชีพปี 56 สดใส หลังภาคธุรกิจฟื้นตัวจากน้ำท่วมร้อยละ 70 – 80 ห่วงผู้จบ ป.ตรีจะหางานยากจากนโยบายเงินเดือน 15,000 บาท

นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงสถานการณ์แรงงานไทยปี 2556 ว่า มีการปรับตัวครั้งใหญ่ของโครงสร้างตลาดแรงงานไทยเห็นได้จากแนวโน้มการจ้างงานที่สูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา หลังจากผลกระทบจากน้ำท่วมปี 2554 ที่ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวและเดินสายการผลิตได้ร้อยละ 70 - 80 เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อมาเร่งผลิตในต้นปี 55 และทำให้เกิดความต้องการแรงงานมากผิดปกติโดยเฉพาะสายวิชาชีพ อีกส่วนหนึ่งคือมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานสายช่างเพื่อไปดูแลอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนมาใช้ ทำให้มีความต้องการแรงงานสายวิชาชีพเพิ่มขึ้นสายยานยนต์ประมาณหมื่นคน จึงเป็นโอกาสที่แรงงานจะปรับตัว

ขณะที่นโยบายปรับเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ที่บังคับใช้ในภาคราชการ แต่มีผลกระทบภาคเอกชนที่ผู้ประกอบการขนาดกลางลงมา ไม่สามารถจ้างแรงงานระดับ ป.ตรีขึ้นไปได้มากนัก แต่เน้นการใช้คนเดิมมากกว่าการจ้างคนใหม่ ขณะที่ในภาคราชการจะมีผู้จบการศึกษาปริญญาบัตรทั้งคนเก่าและผู้จบใหม่จะแข่งขันกันเข้าเป็นข้าราชการ ซึ่งรับได้จำนวนไม่มาก ดังนั้น โอกาสการมีงานทำของแรงงานปริญญาบัตรจึงไม่สดใส เห็นได้จากอัตราการว่างงานของผู้มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ เสนอให้รัฐบาลปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพกับเอสเอ็มอีในปี 2557- 2558 เพื่อให้ปรับตัวอยู่รอดหลังปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท สำหรับคนที่ไม่ไหวก็ควรให้ความรู้เพื่อตั้งตัวเปลี่ยนธุรกิจใหม่ ส่วนกลุ่มแรงงานนอกระบบ จะต้องให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงทางรายได้และสิทธิความคุ้มครองต่าง ๆ รวมถึงดูแลติดตามการใช้แรงงานเด็กที่ต้องทำให้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในสภาพเลวร้าย

(สำนักข่าวไทย, 24-12-2555)

 

สปส.ศึกษาเพิ่มสิทธิประโยชน์-ขยายอายุ

นายอนุสรณ์ ไกรวัฒนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิด "โครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะแกนนำเครือข่ายประกันสังคมและเจ้าหน้าที่ประกันสังคม เพื่อขยายประกันสังคมมาตรา 40 ในเขตกรุงเทพฯ"ว่า ในปี 2556 กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม(สปส.)มีเป้าหมายจะเพิ่มผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น แม่ค้า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ให้ได้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน จากปัจจุบันที่มีอยู่จำนวนกว่า 1.2 ล้านคน รวมเป็นกว่า 1.4 ล้านคน โดยได้ให้แกนนำเครือข่ายประกันสังคมและเจ้าหน้าที่ของ สปส. ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้แรงงานนอกระบบเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้ได้มากที่สุด

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้สปส.ได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อนำมาจ่ายเป็นเงินสมทบในส่วนของรัฐบาลให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 40 กว่า 400 ล้านบาทโดยรัฐบาลทยอยจ่ายให้แก่สปส. ซึ่งปัจจุบันได้รับงบมาแล้วประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปี 2556 สปส.ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีผู้ประกันตนมาตรา 40 ทั้งหมดประมาณกว่า 1.4 ล้านคน ขณะนี้สปส.อยู่ระหว่างการศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีการเสียชีวิต ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 20,000 บาทโดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน

นอกจากนี้ กำลังศึกษาการขยายอายุแรงงานนอกระบบที่จะเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ไม่เกิน 60 ปี หากขยายอายุเกินกว่า 60 ปี จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนประกันสังคมระยะยาว เนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง จะทำให้กองทุนประกันสังคมต้องจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตออกไปจำนวนมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาให้รอบคอบ โดยจะใช้เวลาศึกษา 6 เดือน และคาดว่าจะได้ข้อสรุปช่วงกลางปีหน้า

(เนชั่นทันข่าว, 24-12-2555)

 

ครม.​ไฟ​เขียว​โยก 3 รองอธิบดี​แรงงาน นั่ง​เก้าอี้​ผู้ตรวจฯ

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม นาย​เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.​แรงงาน ​เปิด​เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ มีมติ​เห็นชอบตามที่กระทรวง​แรงงาน​เสนอ​ใน​การ​แต่งตั้งข้าราช​การระดับ 10 ​ในตำ​แหน่ง​ผู้ตรวจราช​การกระทรวง​แรงงาน ​ได้​แก่ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือ​แรงงาน(กพร.) นายสุ​เมธ ม​โหสถ รองอธิบดีกรม​การจัดหางาน (กกจ.) ​และนางพรรณี ศรียุทธศักดิ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิ​การ​และคุ้มครอง​แรงงาน(กสร.) ​โดย​ให้มีผลนับตั้ง​แต่วันที่​ได้รับ​โปรด​เกล้าฯ​แต่งตั้ง

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยัง​ได้​เสนอ​แนะ​ให้กระทรวง​แรงงาน​เร่งพัฒนาฝีมือ​แรงงานควบคู่กับ​การพัฒนาทักษะภาษาต่างประ​เทศ​ให้รอบด้านมากขึ้น ​โดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิ​การ(ศธ.) ​ใน​การฝึกภาษาอังกฤษ รวม​ไป​ถึงภาษาอา​เซียนด้วย​เช่น ภาษามลายู ภาษาพม่า ภาษา​เวียดนาม ภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่น ​และภาษา​เกาหลี ​ทั้งนี้ ตนจะสั่ง​การ​ให้กพร.​เร่งพัฒนาหลักสูตร​ใน​เรื่อง​การพัฒนาทักษะฝีมือ​และทักษะภาษาต่างประ​เทศ​และภาษาอา​เซียน​เพื่อรองรับ​การ​เปิดประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน(​เออีซี)

(แนวหน้า, 25-12-2555)

 

'เผดิมชัย' ชี้ขึ้นค่าจ้าง 300 เอสเอ็มอีไม่กระทบ

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลสำรวจของศูนย์วิจัยธุรกิจบัณฑิตย์(มธบ.)เกี่ยวกับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัด โดยคาดการณ์ว่ามีธุรกิจเอสเอ็มอีมีผลกระทบประมาณ 1 ล้านรายและแรงงานตกงานประมาณ 6.4 แสนคน รวมทั้งเสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้างแบบขั้นบันไดให้แก่ผู้ประกอบการในวงเงิน 1.4 แสนล้านบาทในช่วง 3 ปีว่า ตนเชื่อว่าภาคธุรกิจจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเนื่องจากการปรับขึ้นค่าจ้าง เพราะผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัวกว่า 1 ปี ตั้งแต่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายดังกล่าว

นอกจากนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลและกระทรวงแรงงานได้มีการหารือกับภาคธุรกิจ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง กระทั่งได้ข้อสรุปออกมา 11 มาตรการ เช่น การลดภาษีนิติบุคคล จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ภายใน 2 ปี การปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอี การเร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และรัฐบาลได้ขยายการใช้ 11 มาตรการดังกล่าวออกไปอีก 1 ปีในปี 2556

นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ล่าสุดภาคธุรกิจได้เสนอมาตรการเพิ่มเติมอีกเกือบ 10 มาตรการ ยังเหลือเพียงมาตรการตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานคณะกรรมการฯว่าจะเห็นชอบออกมาตรการนี้หรือไม่

“จากการประเมินสถานการณ์ยังไม่มีสัญญาณว่า จะมีการเลิกจ้างอย่างรุนแรง เพราะตัวเลขอัตราการว่างงานอยู่ที่เพียงร้อยละ 0.4 ซึ่งถือว่ามีผู้ว่างงานน้อยมาก แต่ผมก็ไม่ประมาทได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานช่วยกันเฝ้าระวังเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด คาดว่าจะเห็นตัวเลขการเลิกจ้าง เนื่องจากผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างที่ชัดเจนในช่วงกลางเดือนมกราคม 2556 อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานน่าเป็นห่วงมากกว่าปัญหาเลิกจ้าง เพราะปัจจุบันภาคธุรกิจต่างๆมีปัญหาขาดแคลนอย่างมาก ดังนั้น จะต้องส่งเสริมให้เด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบตั้งแต่ระดับม.ต้นจนถึงปริญญาตรีเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมทั้งมีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศผ่านระบบความร่วมมือ(เอ็มโอยู)ระหว่างประเทศ เช่น บังกลาเทศ เวียดนาม เพื่อมาทำงานด้านประมง” รมว.แรงงาน กล่าว

(กรุงเทพธุรกิจ, 25-12-2555)

 

สปส.เพิ่มยอดผู้ประกันตน ปี′56 ดึง 2 แสนคนเข้า ม.40

สปส.เร่งเพิ่มยอดผู้ประกันตน ปี 2556 ตั้งเป้าดึง "แรงงานนอกระบบ" เข้า ม.40 ให้ได้ 2 แสนคน "เผดิมชัย" เผยตั้งที่ปรึกษาคุมการทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในปี 2556 สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2535 เพื่อขยายประกันสังคม มาตรา 40 ไปสู่แรงงานนอกระบบมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนทั้งในส่วนของมาตรา 33, 39 และ 40 ซึ่งเป็นนโยบายเดิมที่ต้องการสานต่อ เช่น การให้ทุนผลิตแพทย์ พยาบาล การตั้งศูนย์ฟอกไตในโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม การสร้างบ้านพักผู้สูงอายุให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ฯลฯ

ขณะนี้ได้ตั้งทีมที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงาน รวมทั้งตรวจสอบลักษณะการดำเนินการโครงการต่างๆ ของ สปส.ว่ามีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ประกันตนมากน้อยเพียงใด

วันเดียวกัน ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวหลังการเป็นประธานเปิดโครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะแกนนำเครือข่ายประกันสังคมและเจ้าหน้าที่ประกันสังคม เพื่อขยายประกันสังคมมาตรา 40 ในเขตกรุงเทพมหานคร ว่า ในปี 2556 สปส.มีเป้าหมายจะเพิ่มผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้ค้า ฯลฯ ให้ได้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน จากปัจจุบันที่มีอยู่จำนวนกว่า 1.2 ล้านคน รวมเป็นกว่า 1.4 ล้านคน โดยได้ให้แกนนำเครือข่ายประกันสังคมและเจ้าหน้าที่ของ สปส.ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้แรงงานนอกระบบเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้ได้มากที่สุด

ด้านนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการ สปส. กล่าวว่า ขณะนี้ สปส.ได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อนำมาจ่ายเป็นเงินสมทบในส่วนของรัฐบาลให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 40 กว่า 400 ล้านบาท โดยรัฐบาลทยอยจ่ายให้แก่ สปส. ซึ่งปัจจุบันได้รับงบมาแล้วประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปี 2556 สปส.ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีผู้ประกันตนมาตรา 40 ทั้งหมดประมาณกว่า 1.4 ล้านคน โดยขณะนี้ สปส.อยู่ระหว่างการศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีการเสียชีวิตของผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 20,000 บาท โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน

"นอกจากนี้ สปส.กำลังศึกษาการขยายอายุแรงงานนอกระบบที่จะเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ไม่เกิน 60 ปี แต่หากขยายอายุเกินกว่า 60 ปี จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนประกันสังคมระยะยาว เนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง จะทำให้กองทุนประกันสังคมต้องจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตออกไปจำนวนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาให้รอบคอบ โดยจะใช้เวลาศึกษา 6 เดือน และคาดว่าจะได้ข้อสรุปช่วงกลางปีหน้า" นายจีรศักดิ์กล่าว

(ประชาชาติธุรกิจ, 25-12-2555)

 

จี้รัฐตั้งกองทุนชดเชยค่าจ้าง

นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,314 ราย จาก 21 จังหวัด ระหว่างวันที่ 28 พ.ย.-20 ธ.ค. 2555 พบว่ามีผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ประมาณ 800,000-1 ล้านราย แรงงานถูกเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 640,000 คน

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการกว่า 62.3% มองว่ามาตรการที่เหมาะสมคือ จัดตั้งกองทุนจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง ค่าจ้างวงเงิน 140,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี โดยรัฐบาลต้องชดเชยส่วนต่างให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ 75 บาทต่อวันต่อคน ซึ่งจะทำให้แรงงานได้รับประโยชน์จากการจ้างงานเพิ่มขึ้น 5.3 ล้านคน

น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศในเดือน ม.ค. 2556 ไม่มีผลให้ผู้ประกอบการขอปรับขึ้นราคาสินค้า เพราะจากการศึกษาโครงสร้างต้นทุนแรงงานพบว่าต้นทุนการผลิตสินค้าของ SMEs เพิ่มขึ้น 2.24-6.74% ส่วนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น น้ำมันปาล์ม สบู่ ผงซักฟอก ไม่ได้รับผลกระทบ โดย SMEs ที่ได้รับผลกระทบอยู่ในกลุ่มสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องหนัง ส่วนกลุ่มสินค้าที่ให้โปรตีน เช่น เนื้อหมู ไข่ไก่ ต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง 0.94-1.38% โดยผู้ประกอบการที่ขอขึ้นราคาสินค้าส่วนใหญ่เป็นปัญหาจากยอดขายที่ต้องบริหารจัดการเอง ไม่สามารถอ้างต้นทุนค่าแรงมาขอปรับราคาสินค้าได้

(โลกวันนี้, 25-12-2555)

 

พนักงานไปรษณีย์บุกกองปราบฯร้องสหภาพฯปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-ฉ้อโกง

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 ธันวาคม ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายสรานนท์ กองโภค พนักงานไปรษณีย์ไทย 7 ไปรษณีย์หลักสี่ พร้อมทนายความ เดินทางเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อให้ดำเนินคดีกับคณะกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (สรร.ปณท.) 24 คน ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน กรณีสหภาพฯได้ให้สมาชิกทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตโดยการฝากเงินเบี้ยประกันผ่านสหภาพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 30 กันยายน 2555 แต่มาทราบภายหลังว่า ไม่ได้มีการทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันแต่อย่างใด ทำให้สมาชิกสหภาพฯจำนวนประมาณ 1,500 คน ได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณกว่า 8 แสนบาท

(มติชนออนไลน์, 25-12-2555)

 

ผู้ใช้แรงงานยื่นหมื่นชื่อชงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง เน้นแก้ 14 ประเด็น

วันนี้ (26 ธ.ค.) ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 11.30 น. นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้นำรายชื่อประชาชน และผู้ใช้แรงงานจำนวน 10,300 รายชื่อ ที่เข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่…) พ.ศ… (ฉบับผู้ใช้แรงงาน) ยื่นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาฯ เป็นผู้รับแทน โดยนายมนัสกล่าวว่า ตนเป็นตัวแทนของผู้ใช้แรงงานกว่า 200 คนที่เดินทางมายังด้านหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อเรียกร้องขอให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งถือเป็นร่างกฎหมายฉบับผู้ใช้แรงงาน โดยร่างดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ การแก้ไขใน 14 ประเด็น ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ครอบคลุมจากกฎหมายที่มีอยู่เดิม อาทิ ให้กฎหมายคุ้มครองไปยังลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งขณะนี้มีลูกจ้างส่วนราชการ กว่า 4 แสนคนที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง

นายมนัสกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าเพียงปีเดียว จากนั้นต้องมีการปรับขึ้นตามทักษะฝีมือ เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้างหญิงในการลาเพื่อตรวจรักษาสุขภาพก่อนและหลังคลอด ทั้งต้องมีการเพิ่มค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างจาก 10 เดือน เป็น 20 เดือน รวมทั้งให้ลูกจ้างมีสิทธิเปลี่ยนโอนนายจ้าง และให้เพิ่มบทลงโทษนายจ้างที่ฝ่าฝืน เป็นทั้งจำคุกและปรับ

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 26-12-2555)

 

สปส.ชงรัฐบาลของบกลาง 600 ล้านบาท ดึงแรงงานนอกระบบ 2 แสนคนเข้ามาตรา 40 ปีหน้า

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.เตรียมเสนอของบกลางจากรัฐบาลกว่า 600 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายเป็นเงินสมทบในส่วนของรัฐบาลให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งในปี 2556 ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีผู้ประกันตนมาตรา 40 ทั้งหมดประมาณกว่า 1.4 ล้านคน ขณะนี้ สปส.อยู่ระหว่างการศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีการเสียชีวิต ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 20,000 บาท

โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน รวมทั้งกำลังศึกษาการขยายอายุแรงงานนอกระบบที่จะเข้าสู่ประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ไม่เกิน 60 ปี หากขยายอายุเกินกว่า 60 ปี จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนประกันสังคมระยะยาว เนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง จะทำให้กองทุนประกันสังคมต้องจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตออกไปจำนวนมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาให้รอบคอบ โดยจะใช้เวลาศึกษา 6 เดือน และคาดว่าจะได้ข้อสรุปกลางปีหน้า

ทั้งนี้ ในปี 2556 กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม(สปส.)มีเป้าหมายจะเพิ่มผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น แม่ค้า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ให้ได้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน จากปัจจุบันที่มีอยู่จำนวนกว่า 1.2 ล้านคน รวมเป็นกว่า 1.4 ล้านคน โดยได้ให้แกนนำเครือข่ายประกันสังคมและเจ้าหน้าที่ของ สปส. ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้แรงงานนอกระบบเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้ได้มากที่สุด

(กรุงเทพธุรกิจ, 26-12-2555)

 

กกจ.ชี้เหตุตรวจเข้มสุขภาพแรงงาน

กระทรวงแรงงาน - นายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวถึงกรณีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศถูกส่งตัวกลับ เนื่องจากผลการตรวจสุขภาพไม่ผ่านว่า จากข้อมูลของกกจ.พบว่าในปี 2553 มีจำนวน 54 คน ปี 2554 จำนวน 53 คน และปีนี้ตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ย.ที่ผ่านมา จำนวน 33 ราย ส่วนใหญ่พบว่าป่วยเป็นโรคปอด วัณโรค และไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งถูกประเทศไต้หวันและประเทศแถบตะวันออกกลางส่งกลับ

"ปัญหาคือ แรงงานมักจะขอความเห็นใจจากแพทย์ผู้ตรวจว่าเสียเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศแล้วจำนวนมาก จึงไม่อยากเสียโอกาสในการเดินทาง ซึ่งแพทย์ก็ใจอ่อน จึงรายงานผลการตรวจว่าไม่พบโรคใดๆ" นายวินัยกล่าว

เบื้องต้นกกจ.ได้แก้ปัญหาโดยทำหนังสือไปถึงโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 89 แห่งที่ได้รับความเห็นชอบให้ตรวจสุขภาพแรงงานให้รายงานผลตามความเป็นจริง ไม่เช่นนั้นจะมีผลเสียต่อทั้งตัวแรงงานไทยและประเทศไทย โดยแรงงานจะถูกส่งตัวกลับ และไม่ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศคืน และประเทศไทยยังถูกตั้งคำถามในเรื่องของมาตรฐานทางการแพทย์ด้วย

(ข่าวสด, 26-12-2555)

 

บ.ฟาร์อิสยอมเลิกย้าย 99 แรงงานประท้วง

หลังจากที่พนักงานของบริษัท ฟาร์อีสท์ปั่นทออุตสาหกรรม จำกัด การ์เมนท์ 6 ตั้งอยู่เลขที่ 391 หมู่ที่ 1 ต.พุทไธสง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ กรณีที่ทางบริษัทได้ออกหนังสือประกาศให้พนักงานจำนวน 99 คน ย้ายไปช่วยงานชั่วคราวที่บริษัท ฟาร์อิสฯ การ์เมนท์ 5 หรือสาขาอำเภอเมือง ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม เป็นต้นไป โดยพนักงานให้เหตุว่า หากมีการย้ายจากอ.พุทไธสง ไปทำงานที่สาขาอ.เมือง ซึ่งมีระยะทางกว่า 70 กิโลเมตร จะสร้างความเดือดร้อนให้กับแรงงาน เพราะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น

โดยล่าสุดหลังมีการเจรจาทางบริษัทหรือนายจ้าง ได้ยอมยกเลิกประกาศดังกล่าวแล้ว และให้พนักงานทั้ง 99 คน ได้ทำงานที่สาขาอ.พุทไธสง ตามปกติเหมือนเดิม อย่างไรก็ตามหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ออกประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทพร้อมกันทั่วประเทศ ที่จะเริ่มดีเดย์ในวันที่ 1 ม.ค.56 ที่จะถึงนี้ ทำให้โรงงานบางแห่งในเขตพื้นที่จังหวัด ได้ยุบสาขาให้พนักงานไปทำงานที่สาขาเดียวกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิตในการเช่าสถานที่ประกอบกิจการ ทางด้านนายพันธ์ศักดิ์ ศรีนุชศาสตร์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ออกมายอมรับว่า การประกาศปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท จะส่งผลกระทบกับสถานประกอบการอย่างแน่นอน

โดยเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ที่มีอยู่กว่า 60 แห่ง จำนวนลูกจ้างกว่า 10,000 คน เพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากปัจจุบันจ.บุรีรัมย์ มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 232 บาท แต่หากปรับขึ้นเป็น 300 บาท ผู้ประกอบการต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 68 บาท ซึ่งกรณีดังกล่าวทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ก็ได้เข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการและแรงงาน เพื่อให้ปรับตัวกับสถานการณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถอยู่ร่วมกันได้

(เนชั่นทันข่าว, 26-12-2555)

 

ครสท.วอนรัฐคุมราคาสินค้า

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เปิดเผยว่า ในปีหน้าคสรท.และเครือข่ายแรงงานทั่วประเทศ อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงานมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะช่วงหลังจากที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ จะทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับสูงขึ้น จึงอยากให้ควบคุมราคาสินค้าเพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่แรงงานไม่เช่นนั้นจะทำให้แรงงานไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้ อีกทั้งขอให้กระทรวงแรงงานเฝ้าระวังติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง เช่น การถูกเลิกจ้าง นายจ้างไม่ยอมปรับขึ้นค่าจ้าง และมีมาตรการคุ้มคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน และขอให้รัฐบาลผลักดันนโยบายเงินเดือนปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาทไปสู่ภาคเอกชนด้วย


ประธานคสรท. กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันอยากให้รัฐบาลดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้มากยิ่งขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน เนื่องจากช่วงนี้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในสถานประกอบการบ่อยครั้ง รวมทั้งดำเนินการพัฒนาระบบประกันสังคมและปรับปรุงสิทธิประโยชน์ต่างๆของประกันสังคมโดยเฉพาะการเข้าถึงสิทธิในกรณีต่างๆเช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเร่งแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 ให้มีความทันสมัยสอดรับกับสภาพสังคมในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ขอให้รัฐบาลเร่งให้การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ))ฉบับที่ 87และ98 เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อให้นายจ้างลูกและลูกจ้างอยู่ร่วมกันได้อย่างเสมอภาค และดำเนินการแก้ไขพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาไอแอลโอทั้งสองฉบับด้วย

(เนชั่นทันข่าว, 28-12-2555)

 

พนักงานโรงงานจี เจ สตีล ประท้วงค่าแรง และสวัสดิการ

พนักงานโรงงานจี เจ สตีล ในนิคมเหมราช รวมตัวประท้วงค่าแรงและสวัสดิการ แต่บริษัทไม่ต่อรอง พร้อมไม่ให้พนักงานที่ประท้วงเข้าทำงาน นัดชุมนุมใหญ่อีกครั้ง 7 ม.ค. วันนี้ (28 ธ.ค.) ที่โรงงานของบริษัท จีเจ สตีล จำกัด (มหาชน) หมู่ 7 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ.ชลบุรี พนักงานเกือบ 100 คนจาก 678 คน นำโดยนายสน ศักดิ์ศรี ชุมนุมเรียกร้องค่าแรงและสวัสดิการเพื่อให้ความเป็นอยู่ของพนักงานที่ดีขึ้น เพราะไม่เคยเรียกร้องอะไรจากบริษัทมาหลายปีแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา มีการเจรจากันมาแล้ว 7 ครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยทางโรงงานไม่รับข้อเสนอ และข้อเรียกร้องของพนักงานทั้งสิ้น นายสนกล่าวว่า ข้อเรียกรองของพนักงาน เช่น ขอโบนัส 1.5 เท่าของเงินเดือน เงินพิเศษ 15,000 บาท ค่าเช่าบ้าน 2,500 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากเดิม 800 บาท เป็น 1,000 บาท เป็นต้น แต่ทางโรงงานกลับไม่รับข้อเสนอ และตั้งเงื่อนไขบีบบังคับพนักงานให้ลงนามรับข้อเสนอของบริษัท เช่น 1.ลดจำนวนพนักงานลง โดยบริษัทยินดีจ่ายค่าชดเชยให้ 30 วัน 90 วัน หรือ 180 วันตามอายุงาน 2.ขอให้มีอายุข้อตกลงฉบับนี้เป็นเวลา 3 ปี 3.การจ่ายเงินโบนัสบริษัทขอสงวนสิทธิ โดยขึ้นอยู่กับผลประกอบการ และดุลพินิจของบริษัท และ 4.การปรับค่าจ้างประจำปี บริษัทสงวนสิทธิให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของบริษัท ซึ่งทั้ง 4 ข้อเป็นประโยชน์ต่อทางบริษัท แต่สำหรับพนักงานนั้นอยู่ลำบากมาก เพราะไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือทำอะไรได้เลย "ขณะนี้ทางโรงงานกดดันพนักงานที่ออกมาชุมนุมเรียกร้อง

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 28-12-2555)

 

พนักงาน รง.อุตฯ ประท้วงนายจ้างไม่จ่ายโบนัสปล่อยน้ำเสียลงป่าสักปลาเลี้ยงตายเป็นแพ

สระบุรี - พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมประท้วงนายจ้างไม่จ่ายโบนัส ลักลอบปล่อยน้ำเสียลงป่าสักปลาธรรมชาติ และปลาเลี้ยงในกระชังตายเป็นแพ เมื่อเวลา 11.30 น. วันนี้ (28 ธ.ค.) เกิดเหตุปลาในแม่น้ำป่าสักบริเวณใกล้สะพานอำนวยสงคราม เขตเทศบาลเมืองสระบุรี กระเสือกกระสนลอยคอเพราะขาดออกซิเจนหายใจ ปลาเล็กตายลอยเป็นแพ มีชาวบ้านทราบข่าวต่างพากันใช้สวิง และใช้แหหว่านตักและจับปลาตะเพียน ตะโกก ปลากดสีทองตัวขนาดใหญ่หนัก 3-4 กิโลกรัมได้เป็นจำนวนมาก ต่อมา นายภาณุพงศ์ ทิพยเศวต นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรีทราบข่าวได้นำเจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองฯ มาดูที่เกิดเหตุโดยให้เก็บตัวอย่างน้ำ นำส่งสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีเพื่อตรวจสอบ ก่อนแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ในขณะเดียวกัน มีผู้เลี้ยงปลาในกระชังในลำน้ำป่าสักในเขต ม.4 ต.ตะกุด (บ้านม่วง) เขตเทศบาลตำบลตะกุด อ.เมือง จ.สระบุรี แจ้งขอความช่วยเหลือไปยังเทศบาลตำบลตะกุด นายสมศักดิ์ พวงกุหลาบ นายกเทศมนตรีตำบลตะกุด พร้อมเจ้าหน้าที่รีบรุดไปตรวจสอบพบนายชำนาญ ปานทอง อายุ 49 ปี อยู่บ้านเลขที่ 20/1 ม.4 ต.ตะกุด อ.เมือง จ.สระบุรี เจ้าของกระชังเลี้ยงปลาผู้เสียหายกำลังคุมลูกน้องตักปลาที่ตายใต้น้ำส่งให้พ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อไปทำปลาร้า และส่วนหนึ่งที่ตายลอยอยู่เหนือน้ำ รอรถมาบรรทุกไปส่งให้โรงปูนทีพีไอ อ.แก่งคอย เพื่อทำปุ๋ย นายชำนาญ ปานทอง ผู้เสียหายเปิดเผยว่า ตนเลี้ยงปลาทับทิมทั้งหมด 90 กระชังๆ ละ 1,800 ตัว มีหลายรุ่นปะปนกัน เหตุที่ปลาตายในครั้งนี้ทราบเมื่อกลางดึกคืนวานนี้ (27 ธ.ค.) สาเหตุที่ทำให้ปลาตายเนื่องมาจากปลาถูกสารเคมี

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 28-12-2555)

 

มาเลย์ปล่อยตัว 33 แรงงานไทยลอบเข้าเมือง

ทางการมาเลเซีย ปล่อยตัวแรงงานไทยจำนวน 33 คน ที่ถูกจับกุมเนื่องจากลักลอบเข้าไปทำงานโดยผิดกฎหมายกลับประเทศทางด่านพรมแดน สะเดา จ.สงขลา โดยแรงงานที่ถูกปล่อยตัวส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เดินทางเข้าไปทำงานที่ร้านอาหารไทยตามรัฐต่างๆ ในมาเลเซีย แต่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน และไม่มีหนังสือเดินทาง มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 6 เดือน แต่ทางการมาเลเซียได้ละเว้นโทษและปล่อยตัวกลับประเทศในโอกาสพิเศษเทศกาลปีใหม่ เพื่อให้เดินทางกลับมาร่วมเฉลิมฉลองกับครอบครัวที่บ้านเกิด ซึ่งแรงงานทั้งหมดต่างดีใจที่ได้รับการปล่อยตัวโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พร้อมกับเรียกร้องให้ทางการไทยช่วยเหลือในเรื่องขอใบอนุญาตทำงานในมาเลเซีย เนื่องจากยังมีแรงงานอีกจำนวนมากที่เข้าไปทำงานในมาเลเซีย โดยผิดกฎหมาย และถูกทางการมาเลเซียจับกุมอย่างต่อเนื่อง

(ไทยโพสต์, 30-12-2555)

 

องค์กรแรงงานพม่านำข้าวสาร-เงินบริจาค ให้ 500 แรงงานพม่า

นายโมโจว ประธานแรงงานพม่าจังหวัดตาก พร้อมด้วยผู้ประกอบการไทย และองค์กรพัฒนาเอกชนพม่า ร่วมกันนำสิ่งของ เป็นข้าวสาร และเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งเงินสดจำนวนหนึ่งบริจาคให้กับแรงงานพม่า ณ โรงงานเย็บผ้า หรือ การ์เม้นท์ ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.พี.ที.การ์เม้นท์ บ้านค้างภิบาล ตำบลพระธาตุผาแดง อ.แม่สอด

ทั้งนี้เนื่องจากชาวพม่าทั้งได้รับความเดือดร้อนจากไฟไหม้บ้านพักแรงงานพม่า ด้านหน้าโรงงานดงักล่าว เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 55 ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้แรงงานพม่าทั้งชาย และหญิงกว่า 500 คน ไร้ที่อยู่อาศัย และยังขาดเครื่องนุ่ม ซึ่งล่าสุดทางผู้ประกอบการได้ให้แรงงานพม่าทั้งหมดไปอาศัยอยู่ภายในโรงงาน โดยให้ทำสถานที่พักนอบๆตัวอาคารเป็นการชั่วคราวไปก่อน การมอบสิ่งของดังกล่าว ได้มีตัวแทนแรงงานชาวพม่าออกมารับสิ่งของด้วยตนเอง

(เนชั่นทันข่าว, 31-12-2555)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวิตร โรจนพฤกษ์: เคาน์ดาวน์ ปีใหม่ เวลาอันจำกัดและความหมาย

$
0
0

ช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านระหว่างการจบสิ้นปีเก่าเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่ เป็นโอกาสดีที่จะช่วยให้เราคิดพิจารณาถึงเวลาแห่งชีวิตที่พวกเราทุกคนต่างก็มีกันอยู่อย่างจำกัด

เวลาอันจำกัดของเราทุกคน ช่วยให้เราต้องพยายามจัดลำดับความสำคัญต่างๆ ในชีวิต ว่าสิ่งใดหรืออะไรมีความหมายมีค่าสำหรับชีวิตเรา และสิ่งที่ไร้ค่าไร้ความหมายในทรรศนะของเราแต่ละคน

ทุกคนต้องตาย และกาลเวลาเดินทางของมันต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง บางคนอาจบ่นเสียดายว่าชีวิตมนุษย์นั้นสั้นนัก แต่เวลาอันจำกัดของเราทุกคนในโลกนี้ต่างหาก ที่ช่วยมนุษย์ให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมาย มากไปกว่าการคิดเรื่องประโยชน์ของตัวกูของกู และสามารถมองข้ามตนเองไปได้ไกลมากกว่าเรื่องประโยชน์ของตนและครอบครัวพวกพ้อง

เวลามีค่าเพราะมันมีจำกัด ชีวิตมีค่าเพราะชีวิตคนนั้นสั้น และความจำกัดช่วยให้เราเข้าใจชะตากรรมชีวิตผู้อื่นได้ดีขึ้น เพราะไม่ว่าเขาจะรวยจนต่างจากเรา มีความเห็นทางการเมืองหรือเรื่องอื่นๆ เหมือนหรือไม่ พูดเขียนภาษาเดียวกับเราหรือไม่ก็ตาม พวกเขาต่างก็เป็นมนุษย์ที่มีเวลาในชีวิตอันจำกัดเช่นเดียวกับเรา

พอเราตระหนักว่าเวลาในโลกนี้ เป็นเพียงสิ่งที่เหมือนไปยืมเขามา วันหนึ่งก็ต้องคืนร่างกายและชีวิตแก่ธรรมชาติไป มันก็ช่วยให้เราลดความโลภ โกรธ หลง และความรักในตัวตนเป็นหลักเหนือสิ่งอื่นใดอย่างแคบๆ ได้

เพราะเรารู้ว่าเราอยู่บนโลกนี้ได้ไม่นาน เราจึงรักตนเองและเห็นแก่ตนเองให้น้อยลงได้

Count Down ปีใหม่จึงไม่น่าจะเป็นเวลาที่จะดื่มจนเมามายจนไร้สติ หากเป็นเวลาที่จะคิดพิจารณาถึงชีวิตที่กำลังหมดลงไปที่ละเล็กทีละน้อย ทุกวินาทีของเราทุกคน ไม่ว่าจะแก่หรือไม่ก็ตาม เราหมดเวลาของชีวิตไปอีกหนึ่งปี

ผู้เขียนตระหนักว่า การที่เวลาในชีวิตนั้นจำกัด ก็อาจเป็นเหตุผลให้คนจำนวนหนึ่งใช้ชีวิตอย่างเสพสุขเอาแต่ประโยชน์และความเห็นแก่ตัวของตนเป็นที่ตั้ง เพราะเขาอาจมองว่า สุดท้ายก็ไม่มีอะไรจีรังเที่ยงแท้ - หรือไม่ก็ใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมายปลายทาง

แต่ผู้เขียนก็อดเกรงมิได้ว่า พวกเขาอาจเสียใจตอนใกล้สาย ว่าพวกเขาไม่ได้ทำอะไรทิ้งไว้ให้ผู้อื่นมีความสุขยิ้มได้ หรือให้กับสังคมและโลกเลยในขณะที่ยังมีชีวิตมีโอกาส

แต่ไม่ว่าจะคิดเช่นไร ชีวิตก็เหมือนฝัน ฝันที่ต้องตื่น เพียงแต่การตื่นจากความฝันที่เป็นชีวิตคือความตาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลักนิติธรรมในการดำเนินคดี 112: กรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข

$
0
0

“พิจารณาแล้วเห็นว่า จากคำให้การของพยานบุคคลจำนวนหลายคนซึ่งมีหลากหลายอาชีพแสดงความเห็นว่า เมื่ออ่านบทความดังกล่าวปรากฏในวารสารที่ผู้ต้องหาเสนอขาย พยานทั้งหลายก็ไม่ได้ยืนยันไปในทางเดียวกันทั้งหมดว่า บทความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพยานหลายรายเห็นว่า บทความดังกล่าวเป็นเนื้อเชิงวิชาการ คดีจึงยังฟังไม่ได้ว่าบทความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประกอบกับไม่มีพยานยืนยันว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าว โดยเป็นเพียงผู้เสนอขายวารสารที่ปรากฏบทความดังกล่าวเท่านั้น จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ต้องหามีเจตนาทำผิดตามข้อกล่าวหา ... ทั้งยังมีพยานยืนยันว่า ผู้ต้องหามีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จากพยานหลักฐานดังกล่าว ยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง”

นี่คือคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการในคดีที่นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ถูกดำเนินคดีในความผิดตามมารา 112 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2547 นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ รับเชิญไปอภิปราย เรื่อง สังคมไทยกับทางรอดที่ควรเลือก เหลียวหลังแลหน้าจากราชดำเนินถึงตากใบ ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการอภิปราย นายสุลักษณ์ได้ประชาสัมพันธ์หนังสือวารสาร  SEED OF PEACE ซึ่งวางจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปที่มาร่วมฟังการเสวนาอยู่หน้าห้องอภิปราย วารสารดังกล่าวมีบทความเรื่อง SIAM of the Forgotten Monarch The True Life Sequel of the King and the Land of Smile ที่เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า B.P.(บี.พี.) ซึ่งแสดงความเห็นในลักษณะที่เป็นการกล่าวพาดพิงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในกรณีนี้ นับเป็นการใช้หลักนิติธรรมในการดำเนินคดีที่น่าจะมีการนำไปใช้สำหรับคดีความผิดตามมาตรา 112 ทุกคดี กล่าวคือ หลักนิติธรรมประการหนึ่งในการดำเนินคดีอาญา สำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม คือ การรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหลายซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความผิดหรือความบริสุทธิ์ [1] หมายความว่า ในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหานั้น ต้องหาพยานหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เป็นพยานที่เป็นคุณแก่ผู้ต้องหาและพยานที่เป็นโทษต่อผู้ต้องหาด้วย จึงจะถูกต้องตามหลักนิติธรรม ซึ่งหลักนิติธรรมในกระบวนการยุติธรรมมิได้มีเพียงเท่านี้ แต่มีมากมายหลายประการ ดังต่อไปนี้

1. ห้ามการทรมาน การลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 32 วรรค 2 ICCPR ข้อ 7)
2. ห้ามจับกุมหรือควบคุมตัวโดยไม่มีเหตุผลตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 32 วรรค 2ICCPR ข้อ 9)
3. สิทธิได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม และจะต้องได้รับแจ้งถึงข้อหาที่ถูกจับกุมในขณะจับกุม  (ICCPR ข้อ 9)
4. ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการสันนิษฐานว่าไม่มีความผิด (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 39 วรรค 2 ICCPR ข้อ 14 อนุ 2)
5. สิทธิพื้นฐานในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(2) ICCPR ข้อ 14 อนุ 1)
6. สิทธิผู้ถูกจับในการนำตัวไปศาลโดยพลัน (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(3) ICCPR ข้อ 9)
7. สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยรวดเร็วตามสมควร (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40(3) ICCPR ข้อ 9)
8. สิทธิได้รับการประกันตัว (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 9)
9. สิทธิขอให้ศาลสั่งปล่อยหากถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 28และมาตรา 32 วรรค 5 ICCPR ข้อ 9)
10. สิทธิได้รับค่าทดแทนหากคุมขังหรือหากถูกคุมขังหรือถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (5) ICCPR ข้อ 9)
11. ผู้ต้องหาต้องไม่ถูกคุมขังร่วมกับผู้ต้องขังตามคำพิพากษา(รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (6) ICCPR ข้อ 10)
12. ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กต้องแยกควบคุมมิให้ปะปนกับผู้ต้องขังที่เป็นผู้ใหญ่ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (6) ICCPR ข้อ 10)
13. ระบบราชทัณฑ์ต้องมีความมุ่งหมายให้ผู้ต้องขังกลับตัวเป็นคนดี (ICCPR ข้อ 10 อนุ 3)
14. สิทธิได้รับการแจ้งข้อหาในภาษาที่เข้าใจได้ (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (4) ICCPR ข้อ 14)
15. สิทธิมีเวลาในการเตรียมต่อสู้คดี และติดต่อทนายความที่ตนเลือก (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 14)
16. สิทธิในการพิจารณาคดีต่อหน้าจำเลยหรือต่อสู้คดีด้วยตนเองหรือผ่านทนายความที่ตนเลือก (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (2) ICCPR ข้อ 14)
17.สิทธิได้รับแจ้งว่ามีสิทธิพบทนายความ (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
18. สิทธิขอให้รัฐจัดหาทนายความให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
19. สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อตน (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
20. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่าม โดยไม่คิดมูลค่า (ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
21. สิทธิไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเองหรือให้รับสารภาพผิด (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (4) ICCPR ข้อ 14 อนุ 3)
22. สิทธิในการอุทธรณ์ ฎีกา (ICCPR ข้อ 14 อนุ 5)
23. สิทธิได้รับค่าชดเชยจากการถูกลงโทษตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแต่ภายหลังมีการกลับคำพิพากษาหรือมีข้อเท็จจริงใหม่ที่แสดงว่าได้มีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่มิชอบ(รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (5) ICCPR ข้อ 14 อนุ 6)
24. สิทธิไม่ถูกดำเนินคดีซ้ำในความผิดที่ได้รับโทษแล้วหรือได้รับการปล่อยตัวแล้วตามกฎหมาย (ICCPR ข้อ 14 อนุ 7)

หลักนิติธรรมของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่กล่าวข้างต้น มีหลักการสำคัญลำดับต้นๆ ก็คือ

สิทธิได้รับการสอบสวนโดยไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเองหรือให้รับสารภาพผิด หรือการพิจารณาคดี ที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ และ สิทธิได้รับการประกันตัว (รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 40 (7) ICCPR ข้อ 9)

จะเห็นได้ว่าสิทธิในการมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเพียงพอและการได้รับการประกันตัว เป็นสิ่งสำคัญมากของผู้ต้องหาในคดีอาญา ในคดีของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์นั้น นายสุลักษณ์ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นจับกุมและสอบสวน จึงมีโอกาสในการเตรียมพยานหลักฐานต่างๆ ในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ทั้งการเลือกทนายความเอง ทั้งการหาหลักฐานทั้งพยานวัตถุ พยานบุคคล พยานเอกสารมายืนยัน ความบริสุทธิ์ของตน โดยมีพยานมายืนยันว่า ตนเองเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ก็กระทำเพื่อให้เกิดการพัฒนาสถาบัน และกระทำด้วยเจตนาดี จึงได้ทำหนังสือถึงพนักงานอัยการว่า การดำเนินคดีตนจะไม่เป็นดีต่อสถาบัน และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยรวม ที่สำคัญการที่กฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติให้ผู้ใดก็ตามสามารถนำเรื่องไปแจ้งความดำเนินคดีต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ได้ ย่อมไม่เกิดความเป็นธรรมและมีโอกาสที่จะมีการกลั่นแกล้งกันในทางการเมืองได้

ความต่างกันของกรณีนายสุลักษณ์และนายสมยศ ก็คือ นายสมยศไม่มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม เช่นนายสุลักษณ์ นายสมยศไม่ได้รับการประกันตัว ไม่มีโอกาสในการดำเนินการทำหนังสือถึงอัยการ ไม่สามารถออกไปหาพยานหลักฐาน พยานวัตถุ พยานบุคคลมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนอง เช่นที่นายสุลักษณ์ได้รับ อันเป็นผลเนื่องมาจากได้รับการปฏิเสธสิทธิในการประกันตัว นั่นเอง

แต่สิ่งที่มีความคล้ายคลึงกันของกรณีนายสุลักษณ์และนายสมยศ ก็คือ

ประการแรก ต่างได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา อันเนื่องมาจากสาเหตุทางการเมือง หรือเป็นเพราะกฎหมายกำหนดให้ใครก็ได้ไปดำเนินการแจ้งความดำเนินดคี โดยอ้างเหตุแห่งความจงรักภักดี ซึ่งมิใช่เหตุผลหรือมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้

ประการที่สอง นายสมยศและนายสุลักษณ์ได้รับการแจ้งข้อหาในการกระทำที่ไม่เข้าข้อกฎหมายตามมาตรา 112 กล่าวคือ นายสุลักษณ์ได้รับการแจ้งข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์”  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ มีการกระทำที่ครบทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน องค์ประกอบภายนอกก็คือ ต้องหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ส่วนองค์ประกอบภายในคือ ต้องมีเจตนา  แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงในเนื้อความทั้งหมด  จะเห็นได้ว่าบทความอันเป็นเหตุแห่งการตั้งข้อกล่าวหาของนายสุลักษณ์นั้นเป็นภาษาอังกฤษ  การแปลความหมายอาจมีการคลาดเคลื่อน ทั้งเมื่อพิจารณาบทความดังกล่าว จะเห็นได้โดยชัดเจนว่ามิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง  แต่เป็นบทความทางวิชาการในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์แพร่ปรากฏทั่วไป นอกจากนี้นายสุลักษณ์ก็มิได้เป็นผู้เขียนบทความตามที่ถูกกล่าวหาขึ้นเอง นายสุลักษณ์เป็นผู้พิมพ์โฆษณาหนังสือวารสาร  SEED OF PEACE ซึ่งวางจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปที่มาร่วมฟังการเสวนาอยู่หน้าห้องอภิปราย

ส่วนนายสมยศ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดพิมพ์ จำหน่ายและเผยแพร่นิตยสาร VOICE OF TAKSIN : เสียงทักษิณ ที่มีบทความ คมความคิด ของผู้ใช้นามปากกาว่า จิตร พลจันทร์ เรื่องแผนนองเลือดกับยิงข้ามรุ่น เนื้อหาบทความกล่าวถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองสองครั้งของไทย คือ เหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองหลังวันพิพากษาคดียึดทรัพย์ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร   และในฉบับที่ 16 บทความของผู้เขียนคนเดิม เรื่อง 6 ตุลา แห่ง พ.ศ.2553 บทความกล่าวถึงตัวละครหนึ่งที่ชื่อว่า หลวงนฤบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษอ่านแล้วตีความได้ว่า เป็นการพาดพิงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ และทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ประเด็นคือ การเป็นผู้เผยแพร่ จำหน่าย หนังสือที่มีข้อความอันเป็นความผิดตามมาตรา 112 นั้น จะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 ด้วยหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อกฎหมายแล้วจะเห็นว่า มีการฟ้องคดีต่อนายสมยศ โดยมิได้มีการพิจารณาองค์ประกอบความผิดว่านายสมยศมีการกระทำครบองค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน ของความผิดตามหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาหรือไม่

สิทธิในการมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมนั้นสอดคล้องกับสิทธิได้รับการประกันตัวเพื่อให้ผู้ต้อง
หาหรือจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดี ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สอดคล้องกับหลักการสากลในกติการะหว่างประเทศ ICCPR ข้อ 14 [2]การไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว เป็นเหตุกระทบถึงสิทธิในการมีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมด้วย เนื่องจากไม่สามารถออกไปหาพยานหลักฐานมาใช้ในการต่อสู้คดีได้

จนถึงวันนี้นายสมยศก็ยังไม่ได้รับการประกันตัวและกำลังจะมีการฟังคำพิพากษาในวันที่ 23 มกราคม 2556 ที่จะถึงนี้ คำพิพากษาในคดีของนายสมยศจะเป็นบทพิสูจน์กระบวนการยุติธรรมของไทยอีกคำรบหนึ่ง ว่าจะมีการตัดสินลงโทษหรือปล่อยจำเลยให้เป็นอิสระ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของศาลและธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรมในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อไป

 

เชิงอรรถ
[1]
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา  131 ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และมาตรา 226 พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน

[2]กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อ 14
1. บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอภาคในการพิจารณาของศาลและคณะตุลาการ ในการพิจารณาคดีอาญาซึ่งตนต้องหาว่ากระทำผิด หรือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรมโดยคณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีอำนาจ มีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง สื่อมวลชนและสาธารณชนอาจถูกห้ามเข้าฟังการพิจารณาคีทั้งหมดหรือบางส่วนก็ด้วยเหตุผลทางศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตย หรือเพื่อความจำเป็นเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องชีวิตส่วนตัวของคู่กรณี หรือในสภาพการณ์พิเศษซึ่งศาลเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อการพิจารณาโดยเปิดเผยนั้นอาจเป็นการเสื่อมเสียต่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่คำพิพากษาในคดีอาญา หรือคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีอื่นที่เปิดเผย เว้นแต่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของเด็กและเยาวชน หรือเป็นกระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วยข้อพิพาทของคู่สมรสในเรื่องการเป็นผู้ปกครองเด็ก
2. บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด
3. ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดย่อมมีสิทธิที่จะได้รับหลักประกันขั้นต่ำดังต่อไปนี้โดยเสมอภาค
(ก) สิทธิที่จะได้รับแจ้งโดยพลันซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพและเหตุแห่งความผิดที่กล่าวหา ในภาษาซึ่งบุคคลนั้นเข้าใจได้
(ข) สิทธิที่จะมีเวลา และได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อสู้คดีและติดต่อกับทนายความที่ตนเลือกได้
(ค) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้าเกินความจำเป็น
(ง) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าบุคคลนั้น และสิทธิที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือโดยผ่านผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายที่ตนเลือก สิทธิที่บุคคลจะได้รับการแจ้งให้ทราบถึงสิทธิในการมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย หากบุคคลนั้นไม่มีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีใดๆ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย ซึ่งมีการแต่งตั้งขึ้นโดยปราศจากค่าตอบแทน ในกรณีบุคคลนั้นไม่สามารถรับภาระในการจ่ายค่าตอบแทน
(จ) สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน และขอให้เรียกพยานฝ่ายตนมาซักถามภายใต้เงื่อนไขเดียวกับพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน
(ฉ) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่ามโดยคิดมูลค่า หากไม่สามารถเข้าใจหรือพูดภาษาที่ใช้ในศาลได้
(ช) สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง หรือให้รับสารภาพผิด
4. ในกรณีของบุคคลที่เป็นเด็กหรือเยาวชน วิธีพิจารณาความให้เป็นไปโดยคำนึงถึงอายุและความปรารถนาที่จะส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูความประพฤติของบุคคลนั้น
5. บุคคลทุกคนที่ต้องคำพิพากษาลงโทษในความผิดอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับเหนือขึ้นไปพิจารณาทบทวนการลงโทษและคำพิพากษาโดยเป็นไปตามกฎหมาย
6. เมื่อบุคคลใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดอาญา และภายหลังจากนั้น มีการกลับคำพิพากษาที่ให้ลงโทษบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นได้รับอภัยโทษ โดยเหตุที่มีข้อเท็จจริงใหม่หรือมีข้อเท็จจริงที่ได้ค้นพบใหม่อันแสดงให้เห็นว่าได้มีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่มิชอบ บุคคลที่ได้รับความทุกข์อันเนื่องมาจากการลงโทษตามผลของการพิพากษาลงโทษเช่นว่า ต้องได้รับการชดเชยตามกฎหมาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า การไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่ยังไม่รู้ให้ทันเวลาเป็นผลจากบุคคลนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน
7. บุคคลย่อมไม่ถูกพิจารณา หรือลงโทษซ้ำในความผิดซึ่งบุคคลนั้นต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือให้ปล่อยตัวแล้วตามกฎหมายและวิธีพิจารณาความอาญาของแต่ละประเทศ

 

ชื่อบทความเดิม: หลักนิติธรรมในการดำเนินคดีความผิดตามมาตรา 112 : ศึกษากรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live


Latest Images