Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

DSI ลงมติแจ้งข้อหาเพิ่ม "อภิสิทธิ์-สุเทพ" พยายามฆ่าคนขับรถตู้ ปี 53

$
0
0

อธิบดี ดีเอสไอ เผย เตรียมประชุมลงมติแจ้งข้อหาเพิ่ม "อภิสิทธิ์-สุเทพ" พยายามฆ่ารถตู้ ปี 53 ในวันที่ 27 ธ.ค. นี้ ยังไม่รวม "ด.ช.อีซา" รอสำนวนคดี ด้านทนาย นปช.เตรียมนำผู้บาดเจ็บร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนวันเดียวกัน

26 ธ.ค.55 สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.รายงาน  นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กล่าวถึงความคืบหน้า การเรียกประชุมพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาลงมติแจ้งข้อกล่าวหากับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กรณีการสลายการชุมนุม จนมีได้รับผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ว่า หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเลื่อนลงมติแจ้งข้อหาพยายามฆ่าและทำร้ายร่างกายเพิ่ม กรณีเจ้าหน้าที่ยิงรถ เป็นเหตุให้ นายสมร ไหมทอง คนขับรถ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งเป็นเหตุต่อเนื่องกับคดี นายพัน คำกอง เนื่องจากอัยการติดธุระ ก็ได้มีการนัดประชุมเพื่อพิจารณาในเรื่องนี้อีกครั้ง ในวันที่ 27 ธ.ค. นี้ ที่ดีเอสไอ เวลา 14.00 น. ส่วนจะมีการลงมติหรือไม่อย่างไร ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะต้องรอให้ครบทั้ง 3 ฝ่าย และมีการลงมติก่อน ซึ่งจะมีการพิจารณาเพียงคดีเดียว ยังไม่รวมกับคดี  "อีซา" หรือ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ อายุ 12 ปี ที่เสียชีวิตในการชุมนุม และศาลเพิ่งมีคำตัดสินว่า เสียชีวิตเนื่องจากกระสุนของเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกัน เนื่องจากสำนวนคดีดังกล่าว ยังไม่ส่งมายังดีเอสไอ 

ที่มาภาพ : ศูนย์สารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินการแจ้งข้อหากับนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ในข้อหา “ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล”ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 83, 84 และ 288 โดยอาศัยพยานหลักฐานจากกรณีที่ศาลยุติธรรมได้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ในคดีการไต่สวนเหตุการตายของนายพัน คำกอง ว่า “การตายของ นายพัน เกิดจากถูกกระสุนปืนของทหารที่เข้าปฏิบัติการตามคำสั่งของ ศอฉ.”

ทนาย นปช. เตรียมนำผู้บาดเจ็บเหตุสลายการชุมนุม ปี 53 ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

ข่าวสดรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผบ.สำนักคดีการเงินการธนาคาร ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการกลางดีเอสไอ กล่าวว่า ในวันที่ 27 ธ.ค. ทราบว่านายคารม พลพรกลาง ทนายความของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะนำผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 ชุดแรกเข้ามาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อกล่าวโทษเพิ่มเติมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีตผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในข้อหาพยายามฆ่าและทำร้ายร่างกาย

พ.ต.ท.วรรณพงษ์กล่าวต่อว่า ทางดีเอสไอได้เตรียมสถานที่สอบปากคำผู้บาดเจ็บกลุ่มดังกล่าวแล้ว และเตรียมพนักงานสอบสวนเพื่อสอบปากคำผู้เสียหายไว้พร้อมเช่นกัน จากนั้นช่วงบ่ายวันเดียวกัน จะประชุมคณะพนักงานสอบสวน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย อัยการ ตำรวจ และดีเอสไอ โดยมีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน เป็นประธานการประชุม และพล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผบช.น. ในฐานะรองหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน เข้าร่วมด้วย เพื่อหารือเกี่ยวกับการพิจารณาสำนวนคดีพยายามฆ่านายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุ การณ์เจ้าหน้าที่ถล่มรถตู้บริเวณถนนราชปรารภ เมื่อกลางดึกวันที่ 14 พ.ค.2553

นายคารม พลพรกลาง(ที่มาแฟ้มภาพประชาไท)

ด้านนายคารมกล่าวว่า ในวันที่ 27 ธ.ค. เวลา 10.30 น. จะนำประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บชุดแรก จำนวน 15 ราย จากจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งสิ้นกว่า 2,000 ราย ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดงเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 เข้าร้องทุกข์ต่อนายธาริต พร้อมทั้งนำหลักฐานเป็นใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันชัดเจนว่าถูกกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มกับนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ฐานพยายามฆ่าและความผิดฐานทำร้ายร่างกายต่อไป ซึ่งความผิดฐานพยายามฆ่าต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ส่วนของโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15-20 ปี ส่วนความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

"ยังมีประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายม็อบเมื่อปี 2553 ติดต่อขอความช่วยเหลือเรื่องกฎหมาย รวมทั้งกรณีดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพอย่างต่อเนื่อง และมีหลายรายแจ้งความประสงค์ว่าต้องการจะเดินทางแจ้งความต่อดีเอสไอ ก็แนะนำให้ผู้ที่แจ้งความประสงค์รวบรวมหลักฐานใบรับรองแพทย์ไว้ และจะพาเข้าพบดีเอสไอเป็นชุดที่ 2 หลังผ่านปีใหม่แล้ว คาดว่าชุดที่ 2 นี้จะมีผู้บาดเจ็บนับร้อยรายเข้าร้องทุกข์กับ ดีเอสไอ" ทนายความนปช.กล่าว

สำหรับผู้บาดเจ็บทั้ง 15 คน ประกอบด้วย นายบดินทร์ วัชโรบล, นายอิทธิกร ตันหยง, นายสันติพงษ์ อินจันทร์, นายปรีชา สุกใส, นายสมร ไหมทอง, นายณรงค์ศักดิ์ สิงห์แม, นายเสกสิทธิ์ ช้างทอง, นางสมภาร พุทธจักร, นายภัศพล ไชยพงษ์, นายกฤติพจน์ บัวดี, นายณัฐพล ทองคุณ, นายธงชัย เหวียน, นายไพโรจน์ ไชยพรหม, นายวิโรจน์ โกสถา, และนายศุภ วัชช์ ปันจันตา

นายบดินทร์ หนึ่งในผู้บาดเจ็บ กล่าวว่า ถูกยิงเข้าที่ท้อง 1 นัด เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 10 เม.ย.2553 ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ ทุกวันนี้กระสุนยังค้างอยู่ในร่างกาย ส่วนนายไพโรจน์ ผู้บาดเจ็บอีกรายกล่าวว่า ถูกยิงเข้าที่ท้องกับขา 2 นัด บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ถนนวิภาวดีรังสิต

ขณะที่นายเสกสิทธิ์กล่าวว่า ถูกยิง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 ถูกยิงเข้าที่ขา 2 นัด บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วนครั้งที่ 2 ถูกยิงที่กลางหน้าผาก ทำให้ตาบอดทั้ง 2 ข้าง ที่หน้าพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 โดยในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ จะนำใบรับรองผลการตรวจของแพทย์ และผลเอกซเรย์ไปมอบให้ดีเอสไอด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัญหาตรรกะการเปรียบเปรย: กรณีนิ้วทั้ง 5/ สังคมเหมือนร่างกาย/ สื่อคือหมาเฝ้าบ้าน

$
0
0

 


คนเรา ‘นิ้วทั้งห้ายังไม่เท่ากัน’ เลย แล้วจะไปเรียกร้องหาความเสมอภาคเท่าเทียมไปทำไม?

‘สังคมเปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์’ หากแต่ละคนรู้หน้าที่ ปฏิบัติดั่งอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ทำงานสอดคล้องกัน สังคมก็ไม่มีปัญหา

สื่อมวลชนคือ ‘หมาเฝ้าบ้าน’ ผู้รับใช้สังคมที่เป็นเจ้าของหมา

     เหล่านี้คือคำเปรียบเปรยที่ดูมี ‘เหตุผล’ น่าเชื่อถือ แต่เอาเข้าจริง มีปัญหาทางตรรกะ เพราะการเปรียบเปรยนั้นมักไม่สามารถเทียบลักษณะของของสองสิ่งที่เปรียบเทียบคู่กันได้อย่างสมบูรณ์ แถมหลายครั้งการเปรียบเปรยก็มีขึ้นเพื่อบิดเบือนปิดบังความจริง

      ขอเริ่มโดยการยกตัวอย่างเรื่องนิ้วทั้งห้าที่ไม่เท่ากัน และการเปรียบสังคมเหมือนร่างกายมนุษย์ ที่มักถูกใช้ในการตอกย้ำในความไม่เสมอภาคของมนุษย์ และการแบ่งชนชั้น บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาและเป็นธรรมชาติ –ปัญหาคือสังคมมีความหลากหลายและเคลื่อนไหวทางชนชั้นตลอดเวลา บางคนเกิดมาจน แต่มีสมองและขยัน หาเงิน ไขว่ขว้าเรียนรู้จนพอมีฐานะ และลูกหลานกลายเป็นชนชั้นกลางหรือสูงได้ (social mobility) เพราะฉะนั้นสถานะมิได้หยุดนิ่ง ชนชั้นล่างไม่จำเป็นต้องยอมรับในสภาพที่ตนเกิดมา ต่างจากนิ้วคนทั้งห้าที่ไม่เท่ากันและจะไม่มีวันเท่ากัน

       การเปรียบว่าสังคมเสมือนนิ้วทั้งห้า หรือสังคมเสมือนร่างกายมนุษย์จึงมิได้ตอบคำถามที่ว่า ทำไมบางคนถึงต้องตกเป็นนิ้วก้อยหรือเป็นเท้าไปตลอดชีวิต ในขณะที่บางคนเป็นมันสมอง แทนที่จะเป็นมือเป็นตีน หรือเป็นนิ้วชี้คอยสั่งการผู้อื่นให้ทำตามและรับใช้

      คำเปรียบเปรยทั้งสองจึงมิเพียงแต่คลาดเคลื่อน มีปัญหาทางตรรกะ มิได้สะท้อนความเป็นจริง หากยังตอกย้ำให้ผู้คนยอมรับความไม่เสมอภาค และความเหนือกว่าและได้เปรียบทางชนชั้น ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้คนควรยอมรับโดยไม่ขัดขืน

      กรณีการเปรียบเทียบสื่อกระแสหลักเป็นหมาเฝ้าบ้าน ก็เป็นอีกหนึ่งของการเปรียบเปรยที่มีปัญหาทางตรรกะ เพราะมันตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า เจ้าของสื่อหรือหมาเฝ้าบ้าน คือประชาชนทั้งสังคมที่เลี้ยงดูหมา (สื่อ)

      เอาเข้าจริง ผู้ที่เข้าใจเรื่องโครงสร้างและรายได้ของสื่อกระแสหลักทุกวันนี้รู้ดีว่า สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ที่แท้คือบรรษัทสื่อ ซึ่งจำนวนมากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณา –หาได้มาจากการขายหนังสือพิมพ์ตามแผง หรือผู้ชมและผู้ฟังวิทยุทีวีไม่ และเอาเข้าจริง สื่อนั่นแหละที่เอาผู้ชมผู้อ่านผู้ฟัง ไป ‘ขาย’ ให้กับบริษัทโฆษณา และบริษัทผู้ลงโฆษณา แถมยังต้องเกรงใจบริษัทที่เป็นสปอนเซอร์ที่ลงโฆษณารายใหญ่ๆ

      ไม่มีหมาเฝ้าบ้านจริงๆ ที่ไหน เอา ‘เจ้าของ’ ของมันไปเร่ขายหรอกครับ สื่อกระแสหลักจึงมิใช่หมาเฝ้าบ้านอย่างแท้จริง

      ในหนังสือ ‘สื่อเสรีมีจริงหรือ: บทเรียนประชาธิปไตยและวัฒนธรรมสื่อไทย’ (พิมพ์โดยสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง 2545)  ซึ่งเขียนโดยผู้เขียน หน้า 47-48 เขียนไว้ว่า การเปรียบเทียบเช่นนี้ ‘เป็นการสร้างมายาให้สังคมหลงคิดว่าสื่อเป็นเพียงหมาเฝ้าบ้านที่ไร้พิษภัย’

      ‘ก่อนอื่นต้องตระหนักว่า “หมาเฝ้าบ้าน” มันห่วงเรื่องกิน (กำไร) มากพอๆ หรือมากกว่าการเห่าเตือนเจ้านายของมัน (สังคม) หมาเฝ้าบ้านหลายตัวรวยมีสมบัติเป็นธุรกิจร้อยล้านพันล้าน…หมาเฝ้าบ้านชอบประจบขออาหาร เลียเจ้านายบางกลุ่มอย่างออกหน้าออกตา ซึ่งมักเป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ ที่ลงโฆษณาและสปอนเซอร์ ปุจฉาจึงมีว่า แท้จริงแล้ว คนกลุ่มไหนกันแน่ที่เป็นเจ้านาย คนจน คนธรรมดา หรือคนรวยและบรรษัทที่ลงโฆษณา ประเด็นถัดมาคือ หมาตัวนี้ชอบเห่าพร่ำเพรื่อเป็นวรรคเป็นเวร เพราะมันเห่าออกมาเป็นสินค้าหากำไรได้ บ่อยครั้งมันมิได้เห่าเตือนอะไร หากเห่าเพื่อขายโฆษณาและตัวมันเอง

      ‘หมาบางตัวเห่าโฆษณาว่าสามารถเสนอผลเลือกตั้งได้เร็วกว่าหมาตัวอื่น ทำอย่างกับว่าการเมืองไทยจะพลิกโฉม หากรู้ผลการเลือกตั้งเร็วขึ้น 3 นาที

      ‘หลายตัวเห่าจนกลายเป็นการพากย์มวย เป็นละครน้ำเน่า นักการเมือง นักเลือกตั้ง กลายเป็นดารา จึงไม่แปลกที่นักข่าวนิวซีแลนด์ผู้หนึ่งจะกล่าวว่า ข่าวมันก็เป็นเพียงการ “บันเทิง” ดีๆนี่เอง’

      เช่นนี้แล้ว สื่อกระแสหลักจึงมิใช่ หมาเฝ้าบ้านของสังคมอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด ซึ่งสื่อเองจำนวนมิน้อยก็ต้องการให้เข้าใจผิดเช่นนั้น เพราะมันทำให้สื่อดูดี น่าเชื่อถือ และนี่คืออีกหนึ่งของการเปรียบเปรยที่มีปัญหาทางตรรกะ และบิดเบือนความเป็นจริง ซึ่งดูเสมือนจะกลายเป็นบทบาทหลักของคำเปรียบเปรียหลายๆ อย่าง และเราไม่มีวันรู้เท่าทัน หากเราไม่พยายามตั้งข้อสงสัยและวิเคราะห์คำเปรียบเปรยเหล่านั้นอย่างจริงจังและเป็นเหตุเป็นผลอย่างแท้จริง

     
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อียิปต์รับรัฐธรรมนูญใหม่ หลังประกาศผลอย่างเป็นทางการ

$
0
0

หลังการลงประชามติ 2 รอบ คณะกรรมการการเลือกตั้งของอียิปต์ก็ประกาศผลลงประชามติอย่างเป็นทางการด้วยคะแนนโหวตเห็นชอบร้อยละ 63.8 แม้ว่าฝ่ายต่อต้านจะอ้างว่ามีความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ก็ยังไม่มีแผนประท้วงใดๆ

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2012 คณะกรรมการการเลือกตั้งของอียิปต์ได้ประกาศผลการลงคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยผลโหวตปรากฏว่าประชาชนชาวอียิปต์ให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนโหวตรับรองร้อยละ 63.8 จากการรวมคะแนนโหวตทั้งสองรอบ

ก่อนหน้านี้อียิปต์ได้เปิดให้มีการลงคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญในรอบแรกวันที่ 15 ธ.ค. และรอบที่สองในวันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยมีผู้มาใช้สิทธิทั้งหมดร้อยละ 32.9 จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนน 52 ล้านคน

แต่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ได้กล่าวหาว่ามีการโกงการลงคะแนนและขอให้มีการสอบสวน โดยก่อนหน้านี้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้กล่าวหาว่ารัฐธรรมนูญใหม่สนับสนุนให้มีการใช้กฏหมายศาสนาอิสลามในอียิปต์

ทางด้านคณะกรรมการการเลือกตั้งของอียิปต์ ซามีร์ อาบู อัล-มาตติ กล่าวในที่ประชุมแถลงข่าวว่า พวกเขากำลังสอบสวนอย่างจริงจังเกี่ยวกับเรื่องที่ถูกร้องเรียนเข้ามา

หลังการลงประชามติเสร็จสิ้นลงก็มีความคาดหวังว่า ปธน.โมฮาเม็ด มอร์ซี ของอียิปต์จะจัดให้มีการเลือกตั้งส.ส. ภายในอีกสองเดือนข้างหน้า ซึ่งในขณะนี้อำนาจบริหารได้ถูกย้ายจากประธานาธิบดีไปสู่สภาสูง

รวมถึงการประกาศกฤษฎีกาทั้งหมดนับตั้งแต่การปฏิวัติโค่นล้มอดีตผู้นำ ฮอสนี มูบารัค ในเดือน ก.พ. 2011 ก็ถูกทำให้เป็นโมฆะและไม่ส่งผลใดๆ นับตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นกฤษฎีกาจากปธน.มอร์ซี หรือจากสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ซึ่งปกครองอียิปต์ 16 เดือนหลังจากปฏิวัติ

นอกจากนี้แล้วยังต้องมีการโยกย้ายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศาลฎีกา จากการที่เจ้าหน้าที่ลาออกไป 9 คน


กกต.กังวลเรื่องข้อกล่าวหาเรื่อง ไม่มีการตรวจสอบอย่างถูกต้องจากฝ่ายตุลาการ

ราวยา ราเกห์ ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบข้อร้องเรียนทุกประเภทที่มาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและผู้สังเกตการณ์อิสระ ซึ่งเป็นการลบล้างข้อกล่าวหาทั้งมวล โดยข้อกล่าวหาหรือข้อกังวลเรื่องที่ว่าสถานีเลือกตั้งไม่มีการตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งที่คณะกรรมการต้องการชี้แจงมากที่สุด

"พวกเราได้ยินคณะกรรมการการเลือกตั้งกล่าวว่า พวกเขารู้สึกไม่พอใจอย่างลึกซึ้งต่อข้อกล่าวหานี้ จนถึงขนาดว่าพวกเขาเต็มใจเปิดเผยชื่อ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อและข้อมูลของตุลาการทุกคนที่ประจำอยู่ตามสถานีเลือกตั้งที่ถูกกล่าวหา" ราเกห์กล่าว

ทางด้านฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซึ่งไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กล่าวว่าพวกเขายังไม่มีแผนการประท้วงต่อต้านผลการประชามติในครั้งนี้ แต่ทางโฆษกก็กล่าวแสดงความเห็นว่าจำนวนการลงคะแนนโหวตในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการข้อร้องเรียนของพวกเขาไม่ได้ถูกนำไปพิจารณา

แม้จะมีความไม่พอใจจากบางฝ่ายในประเด็นเรื่องการจำกัดสิทธิ์ แต่ทางประธานาธิบดีมอร์ซี ก็บอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ความคุ้มครองอย่างพอเหมาะกับคนกลุ่มน้อย และการรับรัฐธรรมนูญจำเป็นต่อการยุติความโกลาหลทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาตลอด 2 ปี ซึ่งได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศอียิปต์ทรุดถอยลง

ผู้นำศาสนาของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม โมฮาเม็ด บาดี กล่าวแสดงความยินดีผ่านทวิตเตอร์ หลังผลการลงประขามติออกมาแล้ว "ยินดีด้วยกับประชาชนชาวอียิปต์ในการรับร้องรัฐธรรมนูญฉบับของการปฏิวัติอียิปต์ พวกเรามาร่วมสร้างประเทศของพวกเราด้วยกันใหม่....ทั้งชายและหญิง ทั้งชาวมุสลิมและคริสเตียน"

 

เรียบเรียงจาก

Egypt approves disputed draft constitution, Aljazeera, 25-12-2012

Egypt opposition alleges referendum 'fraud', Aljazeera, 24-12-2012
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

MIO: ความรู้เรื่องเพศสภาวะ กับก้าวย่างของสื่อในเอเชียแปซิฟิก

$
0
0

รายงานจากการอบรม “Media Sensitization for Gender Equality and Women’s Empowerment” ซึ่งจัดโดยยูเอ็น วูแมน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งแม้ในศตวรรษที่ 21 ความเท่าเทียมทางเพศอาจปรากฏขึ้นในหลายพื้นที่ของโลก ทว่า การสร้างภาพ stereotype ให้กับชายและหญิง ก็ยังมีอยู่

ที่มา: MEGAN KAMERICK’S TED TALK ON WOMEN IN MEDIA


ภาพบรรลือโลก ครั้งที่ผู้นำสูงสุดของสหรัฐ สั่งการให้มีการยิงถล่มฐานของ บิน ลาเดน เมื่อปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของยิวสายเคร่งครัด (Orthodox Judaism) ซึ่งตีพิมพ์ในบรูคลิน นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กลับหายไปจากภาพนั้น

คำอธิบายที่ง่ายที่สุดจากผู้บริหารหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็คือ “เราไม่เคยนำเสนอภาพผู้หญิงในสื่อของเรามาก่อน” !!.....นี่คือภาพตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก เมื่อผู้หญิงถูกทำให้หายไปจากหน้าสื่อ ไม่ว่าจะโดยภาพ หรือเสียง

“เอเชียแปซิฟิก ก็เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ ที่ความไม่เท่าเทียมทางเพศนั้นมีอยู่ทั้งในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม” โรแบร์ต้า คลาร์ก ผู้อำนวยการ ยูเอ็น วูแมน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวตอนหนึ่งของการเปิดอบรม “Media Sensitization for Gender Equality and Women’s Empowerment” ซึ่งจัดโดยยูเอ็น วูแมน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 12-14 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่กรุงเทพฯ

แม้จะก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว ความเท่าเทียมทางเพศอาจปรากฏขึ้นในหลายพื้นที่ของโลก ทว่า การสร้างภาพ stereotype ให้กับชายและหญิง ก็ยังมีอยู่ ความไม่เท่าเทียมในด้านค่าจ้างระหว่างชาย-หญิงก็ยังปรากฏให้เห็น ความรุนแรงกับผู้หญิงก็ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่นั่งของ ส.ส. หญิงในสภา ก็ยังมีน้อยกว่าส.ส. ชาย โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิกบางประเทศ ตัวเลขของผู้หญิงที่อยู่ในสภานั้นเป็นศูนย์

ผู้อำนวยการ ยูเอ็น วูแมน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า การจัดอบรมดังกล่าวก็เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นเพศสภาวะให้กับสื่อมวลชน เพื่อให้เกิดความตระหนักและนำไปใช้ในการทำหน้าที่สื่อ

“เพราะสื่อคือสถาบันที่ทรงอิทธิพลในการสร้างทัศนะโดยผ่านเนื้อหา และการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่แทนเพศสภาพทั้งชายและหญิง”

อ่านเนื้อหาทั้งหมดได้จาก เว็บไซต์มีเดียอินไซด์เอาท์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยาวชนไทยใหญ่ในรัฐฉานตั้งเครือข่ายสานความร่วมมือ – ปราบยาเสพติด

$
0
0

เยาวชนไทยใหญ่ในรัฐฉานรวมตัวตั้งกลุ่มเครือข่ายประสานงาน เพื่อพัฒนากลุ่มเยาวชนและช่วยเหลืองานสังคม ขณะเดียวกันมีการรวมตัวตั้งกลุ่มปราบปรามยาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาดหนักในพื้นที่

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ที่ผ่านมา เยาวชนไทยใหญ่ในรัฐฉานภาคเหนือทั้งชายและหญิงจากหลายเมือง อาทิ เมืองสู้ เมืองหนอง  เมืองเกซี  เมืองน้ำเลา  เมืองก๋าว และบ้านไฮ รวมกว่า 170 คน นัดจัดประชุมกันที่บ้านไฮ ที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ของกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” SSPP/SSA โดยร่วมกันก่อตั้งกลุ่มคณะกรรมการเครือข่ายประสานงานเยาวชนรัฐฉาน (Shan State Youth Network Committee – SSYNC)

การก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายเยาวชนไทยใหญ่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถเยาวชนและช่วยเหลืองานสังคม รวมถึงเพื่อเป็นกลุ่มเครือข่ายประสานงานในกลุ่มเยาวชนในรัฐฉาน โดยขณะนี้ทางกลุ่มเครือข่ายมีสมาชิกเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแล้ว 65 คน และในเดือนหน้าทางกลุ่มมีกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อวางกรอบระเบียบและวางแผนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ขณะเดียวกัน มีรายงานอีกว่า เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มเยาวชนในตำบลเมืองวี เขตเมืองน้ำคำ รัฐฉานภาคเหนือ รวมกว่า 300 คน นัดหารือกันเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดที่กำลังระบาดหนักในพื้นที่ ซึ่งทำให้มีเยาวชนเสพติดกันจำนวนมาก โดยมีการเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพม่าเข้าร่วมรับฟังด้วย

เยาวชนคนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในการหารือเปิดเผยว่า กลุ่มเยาวชนได้มีมติร่วมกันว่า จะทำการต่อต้านและปราบยาเสพติด โดยที่กำหนดแผนไว้ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ให้ความรู้ถึงพิษภัยยาเสพติด ขั้นตอนที่ 2 ว่ากล่าวตักเตือนผู้เกี่ยวข้อง และขั้นตอนที่ 3 จับกุมส่งให้เจ้าหน้าที่รัฐลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งหลังจากได้มีมติร่วมกันทางกลุ่มได้เริ่มลงมือปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. เป็นต้นมา โดยมีการออกประกาศถึงแผนการทำงานของเยาวชนตามพื้นท่ต่างๆ

สำหรับกลุ่มเยาวชนตำบลเมืองวี  ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการเสพ การค้ายาเสพติดในพื้นที่ เนื่องจากเห็นว่าในพื้นที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดและส่งให้มีเยาวชนหันไปพึ่งพายาเสพติดกันเป็นจำนวนมาก เริ่มแรกทางกลุ่มมีสมาชิกเพียง 60 คน ต่อมาได้มีเยาวชนที่สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกแล้วรวมกว่า 300 คน

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสรีนิยมใหม่ กับมหาวิทยาลัยจำกัด (มหาชน)

$
0
0

ถ้าหากจะมีสถาบันใดในสังคมที่เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสถาบันสุดท้ายที่ผู้คนนึกถึงเมื่อพูดถึงประชาธิปไตยแล้วนั่นคือมหาวิทยาลัย

ในอดีต ขบวนการนักศึกษา กลไกสำคัญในการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วโลกฟูมฟักอุดมการณ์ประชาธิปไตยจากในห้องเรียน เช่นในทศวรรษ 1950s ขบวนการนักศึกษาในสหรัฐอเมริกากลายเป็นกำลังสำคัญในการเรียกร้องสิทธิพลเมืองให้กับคนผิวสี รวมทั้งสิทธิสตรีและสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ ขณะที่การรณรงค์ต่อต้านสงครามก่อตัวขึ้นจากภายในรั้วมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ส่วนในมหาวิทยาลัยไทย ปีกเสรีนิยมของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยก็เกิดขึ้น (และถูกทำลาย) ภายในมหาวิทยาลัย เช่น ธรรมศาสตร์

แต่การสุดสิ้นของสงครามเย็นและระบอบสังคมนิยมในรัสเซีย รวมถึงการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจในระดับโลกนับจากปลายทศวรรษ 1970s ทำให้บทบาทของมหาวิทยาลัยในสังคมตะวันตกเปลี่ยนแปลงไปมาก การปฏิรูปนโยบายสาธารณะที่นำโดยสหรัฐฯและอังกฤษ ที่มุ่งลดบทบาทของรัฐในฐานะผู้จัดหาบริการสาธารณะเช่น การศึกษาขั้นสูงทำให้มหาวิทยาลัยลดความเป็นสถาบันสาธารณะลงไปตามลำดับ ความสำคัญของมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันหลักที่บ่มเพาะอุดมการณ์ด้านสิทธิ เสรีภาพและประชาธิปไตยจึงเกือบสูญหายไป มหาวิทยาลัยแทบกลายเป็นเพียงโรงงานป้อนวัตถุดิบให้กับระบบตลาด

นักวิชาการในตะวันตกเรียกแนวคิดเบื้องหลังการปฏิรูปนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวว่า “เสรีนิยมใหม่”

ในบทความวิชาการ “การทำให้การศึกษาเป็นเสรีนิยมใหม่และมีลักษณะของระบบการจัดการ ในอังกฤษและเวลส์ กรณีการปรับโครงสร้างการศึกษาใหม่ (Neoliberalization and managerialization of ‘education’ in England and Wales - a case for reconstructing education)” ที่เผยแพร่ในวารสารนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาเชิงวิพากษ์ (Journal of Critical Education Policy Studies) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอังกฤษ 3 แห่งร่วมกันวิจัยพบว่าการปฏิรูปการศึกษาในอังกฤษโดยการแปรรูปให้เป็นเอกชนและแข่งขันกันแบบระบบตลาดตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980sเปลี่ยนโฉมหน้าของสังคมอังกฤษ ในแง่ที่เปลี่ยนอัตลักษณ์ของคนจากพลเมือง (citizenship) ในระบบการเมืองประชาธิปไตยไปเป็นผู้บริโภคแทน

การเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากนี้เกิดจากการปฏิรูปการศึกษาบนฐานความเชื่อว่าตลาดมีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรเหนือกว่ากลไกอื่น (เช่นรัฐและชุมชน) และการบริหารจัดการแบบมืออาชีพในระบบตลาดให้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด

ในบริบทของสหรัฐฯ โซเฟีย แมคเคลนเนน (Sophia McClennen) ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศของPenn State Universityสรุปในบทความที่ชื่อ “เสรีนิยมใหม่และวิกฤตของการอุทิศทางปัญญา (Neoliberalism and the Crisis of Intellectual Engagement)” ว่าการลดบทบาทปัญญาชนของอาจารย์มหาวิทยาลัยในอเมริกาส่วนสำคัญเกิดจากการรุกคืบของอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ ที่ทำให้เกิดความเชื่อว่าการศึกษาระดับสูงนั้นต้องตัดขาดจากการเมือง (de-politicization) หรือง่ายๆ คือ “เป็นกลางและไม่เลือกข้างทางการเมือง”

อาจารย์แมคเคลนเนนตั้งข้อสังเกตว่าภายหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน วงการวิชาการในสหรัฐฯ มัวแต่ตั้งคำถามเรื่องเสรีภาพทางวิชาการและการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนจนหลงลืมประเด็นที่สำคัญอย่างเช่น การลดการอุดหนุนการศึกษาโดยรัฐ หนี้ด้านการศึกษาของนักศึกษาและการทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยกลายเป็นเพียง “แรงงานภาคการศึกษา” ที่สำคัญ ต้องโทษความสำเร็จของฝ่ายขวาที่ทำให้สังคมเชื่อว่าระบบการศึกษาขั้นสูงควรจะเป็นเสมือนสินค้าเอกชน แทนที่จะเป็นสินค้าสาธารณะเช่นในอดีต

ในบทความดังกล่าว แมคเคลนเนนกล่าวว่า หากเราต้องการทำความเข้าใจการครอบงำเชิงอุดมการณ์หรือวัฒนธรรมของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ก็ให้ศึกษางานเขียนของนักวิชาการด้านการศึกษาและวัฒนธรรมคนสำคัญของสหรัฐฯ อย่างเฮนรี จิรูส์ (Henry Giroux) ที่ศึกษาผลกระทบของเสรีนิยมใหม่ต่อการศึกษาและมหาวิทยาลัยในอเมริกาอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ ในหนังสือ “ความน่าสะพรึงกลัวของเสรีนิยมใหม่ (The Terror of Neoliberalism)” ที่อธิบายว่าเสรีนิยมใหม่ทำลายประชาธิปไตยอย่างไรศาสตราจารย์จิรูส์กล่าวว่าอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ทำให้ยากที่เราจะ (1) จินตนาการว่าปัจเจกและสังคมมีความสามารถในการรื้อฟื้นประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาได้อย่างไร หรือ (2) ยากที่จะเข้าใจเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองที่จำเป็นสำหรับการรักษาปริมณฑลสาธารณะในสเกลของโลก (global public sphere) ให้ดำรงอยู่ ในประเด็นหลังนี้ เขาได้เน้นถึงความสำคัญขององค์ประกอบสำคัญ 3 ประการได้แก่ สถาบัน พื้นที่และสินค้าสาธารณะในฐานะพื้นฐานสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย

คำว่า “สาธารณะ” ในที่นี้ ไม่ได้มีความหมายเพียวผิวเผินว่ารัฐเป็นเจ้าของอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป แต่หมายถึงสมบัติของทุกคน ไม่มีใคร (แม้กระทั่งรัฐ) สามารถอ้างสิทธิเหนือผู้อื่นและกีดกันผู้อื่นออกจากการใช้ประโยชน์ได้ ผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จึงสามารถเข้าถึงได้หากต้องการที่สำคัญ ยังมีนัยว่าไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะเป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดหาให้

อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยในปัจจุบันกลับพัฒนาไปในทิศทางขององค์กรธุรกิจมากขึ้น เริ่มขยายสาขาและพัฒนาภาพลักษณ์หรือความถนัดเฉพาะด้านเพื่อหาตลาดและกลุ่มเป้าหมายของตนเอง ส่วนโครงสร้างภายในก็เน้นการบริหารจัดการที่มุ่งผลผลิตคือเป้าหมายตัวชี้วัด มากกว่าจะมุ่งให้บริการสาธารณะหรือตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนโดยรอบ ประการสำคัญมหาวิทยาลัยแทบไม่ต่างจากบริษัท เมื่อผู้บริหารเริ่มนำรูปแบบการจ้างงานแบบยืดหยุ่น เช่น สัญญาจ้างชั่วคราวมาใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนและกดดันให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ในแง่หนึ่ง เราจึงกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยกลายเป็นภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานกับทุนในเศรษฐกิจจริงเพราะความสัมพันธ์ภายในองค์กร รวมถึงทำเลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยล้วนถูกกำหนดโดยความต้องการของทุนที่จะเคลื่อนย้ายไปหาแหล่งที่ให้กำไรสูงสุด 

หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในอเมริกาในปี 2007 และวิกฤตในยูโรโซนที่เรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน ผู้คนเริ่มมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยว ระบบการเมืองที่เป็นอิสระจากการตรวจสอบและปัญหาในสถาบันการศึกษาแจ่มชัดขึ้น และนี่คือเหตุผลเบื้องหลังที่มหาวิทยาลัยในตะวันตกกลับมาเป็น “พื้นที่แห่งความขัดแย้งและต่อสู้ดื้นรน (space of contest and struggle)” อีกครั้ง

 

 

ที่มา:คอลัมน์ ทัศนะวิจารณ์ กรุงเทพธุรกิจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ: ไปดี-มาดี 2556

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับจำคุก 34 ปี พธม.ขับกระบะชนตำรวจ 7 ต.ค. 51

$
0
0

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับศาลชั้นต้นจำคุกตลอดชีวิต "ปรีชา ตรีจรูญ" กรณีขับรถกระบะชนตำรวจ 5 รายเมื่อเหตุสลายชุมนุมพันธมิตรฯ 7 ต.ค. 51 แต่ทางนำสืบเป็นประโยชน์ให้ลดโทษเหลือ 1 ใน 3 คงรับโทษจำคุก 34 ปี

จากคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายปรีชา ตรีจรูญ อายุ 52 ปี ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลย ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยไต่ตรองไว้ก่อน, มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย, ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ กรณีระหว่างการสลายการชุมนุมผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อ 7 ต.ค. 51 นายปรีชา ขับรถกระบะไล่ชนเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายอย่างแรง จนล้มลงแล้วขับรถถอยหลังชนจนบาดเจ็บ โดยก่อนหน้านี้เมื่อสิงหาคมปี 53 ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี แต่เนื่องจากจำเลยต้องพิการตาบอด จึงสมควรให้กลับตัวเป็นคนดีให้รอลงอาญา 2 ปี และคุมประพฤตินั้น

ล่าสุด สถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดตรายงานว่า ประยุทธ ป.สัตยารักษ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 เปิดเผยว่า หลังคำพิพากษาศาลชั้นต้น อัยการได้ยื่นอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาและขอให้ศาลเพิ่มโทษ ซึ่งต่อมาวันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นว่า พฤติการณ์จำเลยเป็นการพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งได้กระทำการตามหน้าที่จึงพิพากษาให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ฐานมั่วสุมลงโทษจำคุก 1 ปี ทางนำสืบเป็นประโยชน์คงลดโทษ 1 ใน 3 คงรับโทษจำคุก 34 ปี

ทั้งนี้นายปรีชา เป็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุสลายการชุมนุม 7 ต.ค. 51 เช่นกัน โดยเคยให้สัมภาษณ์ว่าที่ทำไปเพราะรู้สึกโกรธที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาทำร้ายประชาชนและจากเหตุการณ์ดังกล่าวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสเช่นกัน เพราะถูกกระสุนยิงเข้าที่ตาข้างขวา ดั้งจมูกหัก นอนรักษาพยาบาลที่ รพ.รามาธิบดี นานประมาณ 2 เดือน ปัจจุบันพิการต้องใส่ดวงตาเทียม (ข่าวก่อนหน้านี้)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลรับฟ้องคดี "สนธิ ลิ้มทองกุล" และแกนนำฯ บุกทำเนียบ-สภา

$
0
0

ศาลรับฟ้องคดีสนธิ ลิ้มทองกุลและแกนนำพันธมิตรฯ ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล 26 ส.ค. - 3 ธ.ค. 51 และคดีชุมนุมหน้ารัฐสภา 7 ต.ค. 51 เริ่มตรวจหลักฐานนัดแรก 2 เม.ย. 56

ตามที่ก่อนหน้านี้เมื่อ 20 ธ.ค. นายประยุทธ ป.สัตยารักษ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 เตรียมนัดหมายแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมายื่นฟ้องต่อศาลอาญา 3 สำนวน ประกอบด้วย 1. คดีที่นายสนธิและพวกรวม 20 คนชุมนุมที่รัฐสภาเมื่อวันที่ 5-7 ต.ค. 2551 2. คดีที่นายสนธิและกับพวกรวม 6 คนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26-31 ส.ค. 2551 และ 3. คดีที่นายสนธิหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ หลังเลื่อนนัดมาแล้วหลายรอบนั้น (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) 

ต่อมาเมื่อถึงวันที่ 20 ธ.ค. น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง และนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้าพบนายประยุทธ ป.สัตยารักษ์ เพื่อขอเลื่อนนัดการส่งตัวฟ้องศาลอาญา แต่อัยการไม่อนุญาตให้เลื่อนการส่งตัว พร้อมกับมีหนังสือแจ้งให้พนักงานสอบสวนไปดำเนินการนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดมาส่งฟ้องโดยด่วน ตามประมวลกฎหมาย ป.วิอาญา และออกหมายเรียกได้ หากขัดข้องขอศาลออกหมายจับต่อไปนั้น

ล่าสุดวันนี้ (27 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายงานว่าศาลได้รับฟ้องแล้ว 2 คดี โดยคดีแรก พ.ต.ต.สุรพงษ์ สายวงศ์ อัยการฝ่ายคดีอาญา 10 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ( พธม.) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐาน ร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , 91 , 358 , 362 และ 365 รายละเอียดคำฟ้องระบุด้วยว่าหลังเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26 ส.ค. 51 ได้แล้วจำเลยกับพวกได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยและระหว่างวันที่ 26 ส.ค. 51 - 3 ธ.ค. 51 ทั้งนี้ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้ง 4 ปฏิเสธ โดยคดีนี้ศาลได้ประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.4925/2555 โดยศาลสอบคำให้การจำเลยทั้ง 4 แล้วทั้งหมดให้การปฏิเสธ ขณะที่ศาลนัดตรวจหลักฐาน ในวันที่ 29 เม.ย. 56 เวลา 09.00 น.

คดีต่อมาเป็นคดีที่อัยการยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นางมาลีรัตน์ แก้วก่า อดีต ส.ว.สกลนคร และอดีตแกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2 นายประพันธ์ คูณมี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) และอดีตแกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2 เป็นจำเลยที่ 1- 5 ในความผิดฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนอันมิใช่การกระทำตามรัฐธรรมนูญเพื่อติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน หรือข่มขืนใจใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล และเป็นหัวหน้ามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยมีอาวุธร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปร่วมกันหน่วงเหนี่ยว กักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , 91 , 116 , 215 , 216 , 309 และ 310 จากกรณีชุมนุมภายในทำเนียบรัฐบาลและหน้ารัฐสภาระหว่างวันที่ 5-7 ต.ค. 51 มีการตั้งเวทีปราศรัย และได้ยุยงปลุกปั่นให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้งประเทศไปรวมตัวปิดล้อมรัฐสภาไม่ให้ ส.ส.และ ส.ว.และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่วมประชุมสภา

โดยในชั้นสอบสวนจำเลยทั้ง 5 ให้การปฏิเสธ ส่วนโจทก์ได้ขอให้ศาลพิพากษานับโทษ นายสนธิ จำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีหมิ่นประมาท 4 สำนวนและ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อีก 1 สำนวนด้วย สำหรับคดีนี้โดยศาลประทับรับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำ อ.4924/2555 ซึ่งศาลสอบคำให้การจำเลยแล้ว ทั้งหมดให้การปฏิเสธ  ศาลก็ได้นัดตรวจหลักฐานในวันที่ 29 เม.ย. 56 เวลา 13.30 น. สำหรับรายละเอียดคำฟ้องติดตามได้ที่หนังสือพิมพ์ข่าวสด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสื้อแดงอุดรตายคาเรือนจำ

$
0
0

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยืนยัน วันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องขังเสื้อแดง คดีฝ่าฝีน พรก.ฉุกเฉินฯและเผาสถานที่ราชการ ที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่ได้เสียชีวิตลงจริง พรุ่งนี้ส่งนิติเวช รอผลชันสูตร

วันนี้ (27 ธันวาคม 2555) จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวการเสียชีวิตของนักโทษการเมืองในกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊ก ทางผู้สื่อข่าวประชาไทได้ติดต่อสอบถามไปยังกรมราชทัณฑ์   พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ซึ่งยืนยันข้อมูลว่า นายวันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องขังคดีฝ่าฝีน พรก.ฉุกเฉินฯและเผาสถานที่ราชการ ที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่เสียชีวิตจริง  

อธิบดีกรมราชทัณฑ์กล่าวถึงเหตุแห่งการเสียชีวิตของ นายวันชัย ว่าในช่วงบ่ายของวันนี้หลังจากที่นายวันชัยเสร็จสิ้นจากการแข่งขันกีฬาก็เข้ามาพักนั่งดูเพื่อนผู้ต้องขังเล่นหมากรุก และต่อมานายวันชัยเดินเข้าไปล้างหน้าที่ห้องน้ำ เมื่อเดินออกจากห้องน้ำ นายวันชัยก็ล้มลงกับพื้น เพื่อนผู้ต้องขังจึงแจ้งกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ทางเจ้าหน้าที่จึงนำตัวนายวันชัยส่งยังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แขวงลาดยาว จตุจักร

เมื่อถามถึงสาเหตุการเสียชีวิตนั้น  อธิบดีกรมราชทัณฑ์แจ้งกับประชาไทว่าทางกรมราชทัณฑ์ได้นำศพของนายวันชัยส่งให้ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ รพ.ตํารวจ กระทำการชันสูตร ในวันพรุ่งนี้ สำหรับเรื่องการแจ้งให้ญาติผู้ต้องขังได้รับทราบ พ.ต.อ.สุชาติกล่าวว่า คาดว่าทางเรือนจำติดต่อทางญาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา53 ( ศปช.) ได้ระบุว่า วันชัย รักสงวนศิลป์ ปัจจุบันอายุ 31ปี สถานะโสด มีอาชีพรับจ้างดายหญ้า เป็นชาว ต.หนองไผ่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ในวันเกิดเหตุ (19  พฤษภาคม 2553) วันชัย เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยเดินทางจากบ้านที่ อ.หนองหารมาชุมนุมบริเวณศาลากลาง จ.อุดรธานี ซึ่งอยู่ห่างจากที่พักอาศัยเป็นระยะทาง 35 กม. เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมที่บริเวณราชประสงค์

หลังเกิดเหตุการณ์เผาศาลากลาง วันชัยถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำการจับกุมและทำร้ายร่างกาย (เหยียบและใช้ท่อนไม้กระแทกที่แผ่นหลัง) ก่อนที่จะถูกแจ้งความดำเนินคดี ในข้อหา ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกสถานที่ราชการโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์, ขัดขวาง เจ้าพนักงาน ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯ

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ยกฟ้องข้อหาทำให้เสียทรัพย์และขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่ลงโทษข้อหาวางเพลิงอาคารศาลากลางหลังเก่า โดยให้จำคุก รวม  20 ปี 6 ด. และให้จำเลยร่วมกันชดใช้  57.7 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย7.5% /ปี

นับจากวันที่ถูกจับกุม จนถึงวันที่เขาเสียชีวิตในเรือนจำ เป็นเวลา 2 ปี 7 เดือนเศษ วันชัยมีโอกาสได้รับสิทธิในการประกันตัวในช่วงก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา เป็นเวลาเพียง 2 เดือนเศษ

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุก 1 ปี "สมชาย ไพบูลย์"แกนนำ นปช. ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และก่อความไม่สงบในราชอาณาจักร

$
0
0

ศาลอาญาสั่งจำคุก 1 ปี "สมชาย ไพบูลย์"แกนนำ" นปช."รุ่น2 คดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และร่วมกันก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ไม่รอลงอาญา แต่ได้ประกันตัวด้วยเงินสด 1 แสน ระหว่างต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ คำพิพากษาระบุการชุมนุมปี 53 ไม่ได้เป็นไปโดยสงบสันติ

27 ธ.ค.55 ทีมข่าวอาชญากรรม ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงาน ที่ห้องพิจารณา 803 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีดำ อ.2543/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมชาย ไพบูลย์ อายุ 43 ปี อดีต ส.ข.เขตบางบอน พรรคไทยรักไทย และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลยฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ ซึ่งเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 215, 216 และร่วมกันชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 5, 9, 11, 18 ตามฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 53

ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 8-10 เม.ย. 53 ภายหลังที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จำเลยกับพวกซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ร่วมกันชุมนุมและมั่วสุมที่เวทีผ่านฟ้าลีลาศ และเวทีราชประสงค์ โดยจำเลยกับพวกทราบคำสั่งเจ้าพนักงานแล้วยังขัดขืนคำสั่งของเจ้าหน้าที่ไม่เลิกการชุมนุม และยังใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ โดยมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดไม่ทราบชนิดและขนาด มีด ดาบ ท่อนไม้ ท่อนเหล็ก หนังสติ๊กหลายชิ้นไม่ทราบจำนวนแน่ชัดเป็นอาวุธ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหาร ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมทั้งทรัพย์สินของทางราชการและประชาชนเสียหายเหตุเกิดที่แขวงตลาดยอด, แขวงวัดโสมนัส, แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร, แขวง-เขตดุสิต แขวงลุมพินี แขวง-เขตปทุมวัน กทม. จำเลยปฏิเสธ

โดยศาลพิเคราะห์คำเบิกความของพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 2 นาย พยานโจทก์ และคำถอดเทปการปราศรัยของจำเลยแล้วเห็นว่า จำเลยกับพวกได้ชุมนุมบริเวณ ตั้งแต่เดือน มี.ค. 53 ต่อต้านรัฐบาล ต่อมาได้มีการเคลื่อนขบวนไปชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ และระหว่างนั้นมีการนำเลือดไปเทที่หน้าทำเนียบรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ และหน้าบ้านนายอภิสิทธิ์ จนการจราจรติดขัดอย่างหนัก กระทั่งรัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินพื้นที่ร้ายแรงในเขต กทม.และปริมณฑล ห้ามชุมนุมตามสถานที่ต่างๆ แต่จำเลยกับพวกก็ยังคงร่วมชุมนุมฝ่าฝืนประกาศ และเมื่อทหารเพื่อขอคืนพื้นที่แยกคอกวัวเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 จำเลยได้ขึ้นปราศรัยขอให้ผู้ชุมนุมที่อยู่ตามจุดคอกวัว แยก จปร. สะพานมัฆวานรังสรรค์ ประจำแต่ละจุดไว้ และให้แบ่งกำลังส่วนหนึ่งไปยังบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และแยกคอกวัว ให้นำรถยนต์ไปจอดขวางไม่ให้ทหารเข้าพื้นที่ชุมนุม และยังพบลูกระเบิดในพื้นที่ ดังนั้นการการชุมนุมของจำเลยจึงไม่ได้เป็นไปโดยสงบสันติ ปราศจากอาวุธแบบอหิงสาตามที่จำเลยอ้าง ทั้งยึดทำลายรถถังใช้ด้ามธงขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานและใช้ด้ามธงแทงล้อรถของเจ้าพนักงาน

การกระทำของจำเลยจึงแสดงถึงเจตนาการขัดคำสั่ง ขัดขวางเจ้าหน้าที่ที่สั่งให้เลิกชุมนุม ซึ่งเจตนาปลุกระดมสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมให้เกิดความฮึกเหิมใช้กำลังต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เพื่อให้การชุมนุมยังคงอยู่ โดยไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามที่จำเลยอ้าง พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทำผิดจริง พิพากษาฐานร่วมกันก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรและให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมาย ตามมาตรา 116 ซึ่งเป็นบทหนักสุด จำคุก 1 ปี พิเคราะห์แล้วเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีมีความร้ายแรง ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมปะทะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต กรณีจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

ภายหลังศาลมีคำพิพากษาแล้วนายสมชายได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 100,000 บาท ขอปล่อยชั่วคราว ระหว่างต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์

ก่อนหน้านั้นนายสมชาย ได้เคยถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวนานกว่า 8 เดือน ซึ่งเขาได้ถูกจับตัวที่หน้าบ้านเลขที่ 33 หมู่ 1 ต.ควนเกย อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 9 มิ.ย.53 ถูกควบคุมตัวร่วมกับแกนนำ นปช. คืออื่นๆ จนกระทั้งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 24 ก.พ.54 ด้วยหลักทรัพย์เป็นเงินสด 200,000 บาท

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทนาย นปช. นำ 20 ผู้บาดเจ็บสลายการชุมนุมปี 53 กล่าวโทษ 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' ข้อหาพยายามฆ่า

$
0
0

ทนายคารม พลพรกลาง นำผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553 จำนวน 20 คน พบ พนง.สอบสวน ร้องทุกข์กล่าวโทษ'อภิสิทธิ์-สุเทพ'ข้อหาพยายามฆ่า

27 ธ.ค.55 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงาน นายคารม พลพรกลาง ทนายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553 จำนวน 20 คน เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และพวก ในข้อหาพยายามฆ่า มีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ มารอรับก่อนจะพาผู้เสียหายทั้งหมดขึ้นไปสอบปากคำทันที โดยได้มีการเตรียมห้องสอบสวนพร้อมพนักงานสอบสวนแยกสอบปากคำเป็นรายบุคคล

สำหรับผู้เสียหายที่เข้าสอบปากคำจำนวน 20 ราย ประกอบด้วย

1.นายบดินทร์ วัชรโรบล

2.นายอิทธิกร ตันหยง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณถนนดินสอ

3.นายสันติพงษ์ อินทร์จันทร์ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณแยกคอกวัว

4.นายปรีชา สุกใส ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณศาลาแดง

5.นายสมร ไหมทอง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส บริเวณราชปรารภ

6.นายณรงค์ศักดิ์ สิงห์แม ถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่วัดปทุมวนาราม

7.นายเสกสิทธิ์ ช้างทอง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณถนนพระราม 4

8.นายภัสพล ไชยพงษ์ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บบริเวณถนนพระราม 4

9.นายกฤตพจน์ บัวดี ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสวนลุมพินี

10.นายณัฐพล ทองคุณ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสวนลุมพินี

11.นายธงชัย เหงวียน ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสวนลุมพินี

12.นายไพโรจน์ ไชยพรม ถูกยิงได้รับบาดเจ็บบริเวณอนุสรณ์สถาน

13.นายชาคริชานะ พาณิชย์ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณถนนราชปรารภ

14.นายวิโรจน์ โกสถา ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณอนุสรณ์สถาน

15.นายศุภวัชช์ ปันจันตา ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสวนลุมพินี

16.นายคมกฤต นันทน์โชติ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณอนุสรณ์สถาน

17.นายไสว ทองอ้ม

18.นายสนอง พานทอง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง

19.นายสมัย กล้ารอด ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณอนุสรณ์สถาน และ

20.นายสมเจตน์ จุ๋ยจิตร ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณถนนดินสอ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้ ‘อสมท.’ หยุด! โฆษณาชวนเชื่อ ‘แร่ใยหิน’ ไม่อันตราย

$
0
0

เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทยร้อง อสมท.หยุดโฆษณาชวนเชื่อโดยทันที ระบุมติของสมัชชาสุขภาพฯ ชี้ชัด แร่ใยหินเป็นอันตราย ให้เลิกนำเข้า-ผลิต-จำหน่าย ขู่ไม่ทำตามเตรียมรณรงค์ให้คนเลิกฟังรายการ อสมท.เหตุไม่ได้นำคลื่นของรัฐมาทำประโยชน์สาธารณะ

 
 
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.55 เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-BAN) ออกแถลงการณ์ขอให้ อสมท.หยุดการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินไม่อันตรายในทันที โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาพบสถานีวิทยุในเครือ อสมท.เช่น FM 95 MHz และ FM 100.5 MHz ได้มีการโฆษณาชวนเชื่อว่าแร่ใยหินไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ไม่นำข้อเท็จจริงทางวิชาการมาพิจารณาประกอบ และทำให้ประชาชนเข้าใจผิด เนื่องจากกรณีดังกล่าวได้มีมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติชี้ชัดว่าแร่ใยหินเป็นอันตราย ให้มีการยกเลิกการนำเข้า การผลิต และจำหน่ายแล้ว
 
เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทยมีข้อเรียกรอง 1.ให้ อสมท.หยุดการหยุดการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินโดยทันที 2.ชี้แจงต่อสาธารณะว่า ข้อความการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินไม่อันตรายเป็นการโฆษณาของบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยให้ อสมท.เปิดเผยชื่อบริษัทผู้ว่าจ้างโฆษณาดังกล่าว เพื่อมิให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นประกาศของ อสมท.หรือหน่วยงานราชการ
 
3.ให้ อสมท.สื่อสารให้สังคมทราบว่า สินค้าแร่ใยหินทุกชนิดต้องมีคำเตือนที่ประกาศโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคบนฉลากในสินค้าที่มีแร่ใยหิน ซึ่งระบุว่าอาจเป็นอันตรายต่อมะเร็งและโรคปอด
 
ทั้งนี้ หากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว เครือข่ายฯ จะได้เริ่มดำเนินการรณรงค์ต่อสาธารณชนให้เลิกรับฟังรายการต่างๆ ของ อสมท.เนื่องจากมิได้นำคลื่นของรัฐมาทำประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่กลับนำมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการว่าจ้างเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสังคม
 
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 เม.ย.54 เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้ง ที่ 3 พ.ศ.2553 มติ 1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินในหลักการ ที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ภายในปี 2555 แต่ ขณะนี้ใกล้สิ้นปี พ.ศ.2555 แล้ว หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่มีมาตรการใดๆ เพื่อจะยกเลิก การนำเข้า การ ผลิต และการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย ตามช่วงเวลาที่กำหนด
 
แถลงการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
 
 
แถลงการณ์ของเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-BAN)
ขอให้ อสมท. หยุดการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินไม่อันตราย โดยทันที
 
เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย เป็นการรวมตัวของเครือข่ายแรงงาน นักวิชาการ องค์กรเอกชน ภาคประชาชน มีความตระหนักว่าแร่ใยหินเป็นสารก่อมะเร็ง และมีผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานและสาธารณชน และปัจจุบันมีสารที่ใช้ทดแทนได้แล้ว และได้มีคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้ง ที่ 3 พ.ศ.2553 มติ 1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินในหลักการ ที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ภายในปี 2555 นับตั้งแต่มีมติดังกล่าว และขณะนี้ใกล้สิ้นปี พ.ศ.2555 แล้ว หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่มีมาตรการใดๆ เพื่อจะยกเลิก การนำเข้า การ ผลิต และการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย ตามช่วงเวลาที่กำหนด
 
โดยที่ในขณะนี้พบว่า สถานีวิทยุในเครือ อสมท.เช่น FM 95 MHz FM 100.5 MHz เป็นต้น ได้มีการโฆษณา ชวนเชื่อว่าแร่ใยหินไม่เป็นอันตราย (ข้อความตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) ซึ่งขัดกับมติ ครม.ดังกล่าว และละเมิดสิทธิผู้บริโภคโดยการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในสาระสำคัญจากรายการวิทยุในเครือ อสมท.ทั้งที่ อสมท. ได้สัมปทานคลื่นจากรัฐ แต่กลับไม่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งยังดำเนินการให้ข้อมูลที่สร้างความสับสนต่อประชาชน ประกอบกับ ข้อมูลดังกล่าวไม่สอดคล้องกันกับ คำเตือน ที่ประกาศโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคบนฉลากในสินค้าที่มีแร่ใยหิน ที่ระบุว่า อาจเป็นอันตรายต่อมะเร็งและโรคปอด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้จะสร้างผลกระทบต่อผู้ใช้สินค้า
 
จึงขอเรียกรองให้ อสมท. ดำเนินการดังต่อไปนี้
 
1.      หยุดการหยุดการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินโดยทันที
 
2.      ชี้แจงต่อสาธารณะว่า ข้อความ การโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินไม่อันตรายเป็นการโฆษณา ของบริษัท ผู้ว่าจ้าง โดยให้ อสมท. เปิดเผยชื่อ บริษัท ผู้ว่าจ้างโฆษณา ดังกล่าว เพื่อมิให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า เป็นประกาศของ อสมท. หรือ หน่วยงานราชการ
 
3.      สื่อสารให้สังคมทราบว่า สินค้าแร่ใยหินทุกชนิดต้องมี  คำเตือน ที่ประกาศโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค บนฉลากในสินค้าที่มีแร่ใยหิน ที่ระบุว่า  อาจเป็นอันตรายต่อมะเร็งและโรคปอดทั้งนี้ หากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว เครือข่ายฯ จะได้เริ่มดำเนินการรณณงค์ต่อสาธารณชนให้ เลิกรับฟังรายการต่างๆ ของอสมท. เนื่องจากมิได้นำคลื่นของรัฐมาทำประโยชน์ต่อสาธารณะ  แต่กลับนำมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการว่าจ้างเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสังคม
 
 
เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย
27 ธันวาคม 2555
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยือนเพื่อนบ้าน : ตลาดพญาตองซู สหภาพพม่า

$
0
0

รายการพิเศษส่งท้ายปี 2555 จากประชาไท ขอนำเสนอภาพบรรยากาศส่วนเสี้ยวหนึ่งของประเทศเพื่อนบ้านที่บรรดากระจอกข่าวได้ไปพบเจอเมืองพญาตองซู หรือด่านเจดีย์สามองค์ เป็นเมืองเล็กๆ ติดชายแดนพม่า เพียงเดินข้ามชายจุดผ่านแดนด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรีก็จะพบเมืองแห่งนี้ ซึ่งคนทั้ง 2 ฝั่งข้ามไปมาเพื่อทำการค้าและการท่องเที่ยว ชมภาพบรรยากาศของเมือง ผู้คนและการค้าขายในตลาดพญาตองซูในปัจจุบัน

ตอนต่อไปติดตามชม เยือนเพื่อนบ้าน : จาการ์ต้า อินโดนีเซีย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ช่างภาพไทยพีบีเอส เบิกความ ไต่สวนการตาย 'ฟาบิโอ'

$
0
0

มาลิต คำนัน ผู้บันทึกภาพในเหตุการณ์ ระบุก่อนช่างภาพชาวอิตาลีถูกยิง มีผู้ชุมนุมบางส่วนตะโกนว่ามีสไนเปอร์และระเบิด น้องสาวฟาบิโอ พอใจที่คดีคืบหน้า คิดว่าพี่ชายอาจเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่

27 ธ.ค.53 ข่าวสดรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพ คดีที่พนักงานอัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรการเสียชีวิตของนายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลี เพื่อทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 โดยนายฟาบิโอถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) บริเวณแยกศาลาแดงถึงราชประสงค์

พนักงานอัยการนำตัวนายมาลิต คำนัน ช่างภาพสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เบิกความสรุปว่าได้รับมอบหมายให้เข้าไปทำข่าวการชุมนุม โดยเข้าไปอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. ต่อมาเวลา 06.00 น. วันที่ 19 พ.ค. ทีมข่าวจะเดินทางมาเปลี่ยน แต่ไม่สามารถเข้ามาได้ เนื่องจากประกาศปิดถนน พยานจึงออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปอยู่แถวแยกสารสิน โดยมีนักข่าวต่างประเทศประมาณ 10 คนร่วมอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย พยานและนักข่าวต่างประเทศคนอื่นๆ นั่งอยู่หลังบังเกอร์ที่ขวางถนนอยู่ ในขณะนั้นมีเสียงดังคล้ายประทัดตลอดเวลา มีผู้ชุมนุมบางส่วนตะโกนว่ามีสไนเปอร์และระเบิด แต่พยานไม่เห็น

พยานเบิกความว่า ต่อมาไม่ทราบเวลาแน่ชัด มีเสียงคล้ายระเบิดดังขึ้นใกล้บังเกอร์ที่พยานนั่งอยู่ และมีรถกู้ภัยที่เพิ่งเข้ามาในบริเวณดังกล่าวถูกระเบิดได้รับความเสียหาย พยานจึงวิ่งไปบนถนนราชดำริมุ่งหน้าราชประสงค์ โดยมีกลุ่มนักข่าวต่างประเทศวิ่งตามไปด้วย เมื่อวิ่งไปได้สักระยะหันมาใช้กล้องบันทึกภาพเหตุการณ์ จึงเห็นนายฟาบิโอถูกยิงล้มลง และมีกลุ่มนักข่าวเข้าไปช่วย จากนั้นเห็นนายฟาบิโอถูกนำขึ้นรถจักรยานยนต์ออกไป ขณะนั้นพยานยังไม่ทราบว่าบุคคลดังกล่าวคือนายฟาบิโอ ก่อนจะมาทราบในภายหลังว่าคือนายฟาบิโอ โปเลงกี

นายมาลิตเบิกความต่อว่า หลังจากนายฟาบิโอถูกยิงพยานยังอยู่ในที่เกิดเหตุอีกประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ โดยสถานการณ์หลังเกิดเหตุพยานยังได้ยินเสียงดังเป็นระยะ และมีผู้ชุมนุมตะโกนว่าเป็นเสียงปืน แต่พยานไม่เห็นเจ้าหน้าที่ในบริเวณดังกล่าวแต่อย่างใด และพยานมอบหลักฐานเป็นซีดีภาพเหตุการณ์ขณะหันไปถ่ายภาพนายฟาบิโอให้พนักงานสอบสวนไปแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 25 ม.ค.

นางอลิซาเบตต้า โปเลงกี น้องสาวนายฟาบิโอกล่าวหลังฟังการไต่สวนว่า พอใจที่คดีคืบหน้า หวังว่าการเสียชีวิตของพี่ชายจะได้รับความกระจ่าง เพื่อให้ความจริงคลี่คลายโดยเร็ว ส่วนตัวคิดว่าพี่ชายอาจเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เพราะจากการดูภาพถ่ายและวิดีโอ รวมถึงพูดคุยกับพยานหลายคน ส่วนใหญ่มีทิศทางไปเช่นนั้น แต่ก็ต้องรอให้หลักฐานทุกอย่างกระจ่าง และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะตัดสิน ครอบครัวเราเพียงอยากให้ความจริงปรากฏ ไม่ได้ต้องการจะล้างแค้นหรือให้มีใครได้รับโทษถึงขั้นประหารชีวิต

 

วิดีโอคลิปรายงานเหตุการณ์โดยไทยพีบีเอส ที่นายมาลิตบันทึกไว้

โดยรายงานของไทยพีบีเอส(หรือทีวีไทย)ในวันเกิดเหตุ(19 พ.ค. 53) ระบุว่า มาลิต คำนัน ช่างภาพของทีวีไทยได้บันทึกภาพเหตุการณ์ไว้ บริเวณถนนราชดำริ ย่านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยรายงานด้วยว่าขณะที่ผู้สื่อข่าวปฏิบัติหน้าที่อยู่มีเสียงปืนดังขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่นายมาลิตถ่ายได้ เป็นภาพนายฟาบิโอถูกยิงที่บริเวณหน้าอก รายงานระบุด้วยว่าจากการตรวจสอบเสียชีวิตแล้วโดยศพนำไปที่โรงพยาบาลตำรวจ รวมทั้งรายงานด้วยว่าจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าวิถีกระสุนนั้นมาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

แผนที่บริเวณที่นายฟาบิโอถูกยิง(แยกราชดำริ)


View Larger Map

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมานฉันท์แรงงานไทย: ประเมินผลงานรัฐบาลด้านแรงงานปี 2555

$
0
0

 

“ดูเหมือนคืบหน้าแต่ยังเป็นแบบแก้ผ้าเอาหน้ารอด-ซุกปัญหาใต้พรม”

 

ภาพโดยรวมของการแก้ปัญหาด้านแรงงานของรัฐบาลในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าการแก้ปัญหาเชิงนโยบายของกระทรวงแรงงานในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานให้กับแรงงานกลุ่มต่างๆ  ในการเข้าถึงการคุ้มครองสิทธิและบริการมีหลายด้านที่มีความก้าวหน้าไปอย่างเห็นได้ชัด

  • ที่โดดเด่นและเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมากเห็นจะได้แก่การยืนยันที่จะดำเนินการให้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศปรากฏเป็นจริง แม้จะมีกระแสต้านอย่างรุนแรงของฝ่ายทุน
  • ความพยายามกับการจัดการกับปัญหาการเก็บหัวคิวกับผู้ใช้แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในต่างแดน
  • การประกาศกฎกระทรวงแรงงานฉบับที่ 14 (พ.ศ.2555) ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งมีผลให้คนรับใช้ตามบ้านซึ่งมีจำนวนถึง 4.4 แสนคนทั่วประเทศ มีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดตามประเพณี ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดต้องได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุด เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาลงไปในรายละเอียดของการแก้ปัญหาให้กับแรงงานกลุ่มต่างๆ  แล้ว ยังต้องบอกว่าส่วนใหญ่ไม่มีความคืบหน้านัก ปัญหาของแรงงานกลุ่มต่างๆ  จำนวนมากยังไม่ได้รับการสะสาง มาตรการแก้ไขที่ดำเนินไปเป็นไปในลักษณะ “แก้ผ้าเอาหน้ารอด” และยังคง “ซุกปัญหาไว้ใต้พรม” เสียเป็นส่วนใหญ่ ข้อเรียกร้องของฝ่ายแรงงานจำนวนมากยังคงถูกเพิกเฉยไม่ได้รับการพิจารณา ต่อไปนี้เป็นการประเมินการดำเนินงานของรัฐบาลต่อแรงงานกลุ่มต่างๆ 


กลุ่มแรงงานในระบบ ผลงานเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศที่ดำเนินการอย่างจริงจังโดยรัฐบาลในรอบปีที่ผ่านมานับว่าเป็นเรื่องโดนใจคนงานในระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานไร้ฝีมือหลายล้านคนซึ่งค่าจ้างอ้างอิงอยู่กับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

สิ่งที่น่ากังวลคือ รัฐบาลยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการติดตามและช่วยเหลือแรงงานจำนวนหนึ่งที่อาจถูกเลิกจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานประกอบการเอสเอ็มอีหรือสถานประกอบการที่ใช้แรงงานเข้มข้น อีกทั้งรัฐยังไม่มีมาตรการในการตรึงราคาสินค้า และค่าครองชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะทำให้ค่าจ้างที่ได้รับการปรับเพิ่มขึ้นมาส่งผลให้คนงานมีคุณภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สิ่งที่น่ากังวลอีกประการก็คือมาตรการเยียวยากับฝ่ายผู้ประกอบการที่รัฐประกาศออกมาอาจส่งผลระยะยาวต่อผู้ใช้แรงงาน ที่สำคัญคือการให้นายจ้างลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงของกองทุนนี้ซึ่งถือเป็นหลักประกันสำคัญสุดของแรงงานในระบบ

กลุ่มแรงงานนอกระบบ  ผลงานเด่นเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงแรงงานนอกระบบ ขณะที่ราคาสินค้าและค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลต่อคนงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ

แรงงานนอกระบบยังมีข้อจำกัดอย่างมากในการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมที่มีอยู่อย่างจำกัดมาก โดยเฉพาะการใช้สิทธิในฐานะผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช่องทางการจ่ายเงินสมทบที่ต้องไปจ่ายที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ทำให้แรงงานนอกระบบที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลต้องประสบปัญหาในการเดินทาง สิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ แม้ว่าจะมีทางออกโดยการจ่ายผ่านร้านสะดวกซื้อหรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-11 แต่ช่องทางนี้ก็เหมาะกับกลุ่มแรงงานนอกระบบที่อยู่ตัวอำเภอหรือเมืองใหญ่เท่านั้น หรือการจ่ายโดยการหักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร ธกส. หรือธนาคารออมสิน ผู้ประกันตนก็ต้องนำใบเสร็จรับเงินที่หน่วยบริการดังกล่าว ไปติดต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่หรือสาขาจังหวัดพร้อมสมุดนำส่งเงินสมทบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ประกันสังคมประทับตราในสมุดนำส่งเงินสมทบ เนื่องจากต้องใช้เป็นหลักฐานการยื่นเรื่องเมื่อมาขอใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ  ผ่านไปอีกหนึ่งปีที่รัฐบาลไม่ได้มีการออกกฎหมายลูกเพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ผู้รับงานไปทำที่บ้าน

แรงงานข้ามชาติ รัฐบาลนี้ก็เหมือนกับรัฐบาลไทยอื่นๆ  ที่ไม่เคยข้ามพ้น “อคติทางเชื้อชาติ” และการมองปัญหาแรงงานข้ามชาติโดยใช้กรอบ “ความมั่นคงแห่งชาติ” ทัศนคติดังกล่าวทำให้รัฐมองไม่เห็นคุณูปการของแรงงานข้ามชาติต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ดังนั้นมาตรการที่ออกมาใช้กับแรงงานข้ามชาติจึงเป็นมาตรการเพื่อการควบคุมมิใช่มาตรการเพื่อการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติ 

การดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา ที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามมติรัฐมนตรีให้เป็นแรงงานที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย พบว่ากระทรวงแรงงานมีความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้เสร็จสิ้นมาตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2555 แต่ก็พบว่ายังมีแรงงานข้ามชาติอีกนับล้านคนที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้มีสาเหตุหลัก คือ แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารประจำตัวอะไรเลย รวมทั้งเอกสารที่แรงงานใช้ในการทำงานและนายจ้างที่จ้างงานอยู่จริงไม่ตรงกัน ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้แรงงานจำนวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ และต้องกลายเป็นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายในอนาคต ซึ่งกระทรวงแรงงานยังไม่มีมาตรการในการแก้ไขข้อจำกัดที่แรงงานกลุ่มนี้เผชิญ

นอกจากนั้นแล้วยังพบต่ออีกว่าแรงงานข้ามชาติที่พิสูจน์สัญชาติผ่านแล้วจะต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่ด้วยข้อจำกัดจากกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการเข้าถึงของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และรวมทั้งระบบประกันสังคมประเทศไทยเป็นระบบสวัสดิการระยะยาวที่คุ้มครองในระหว่างการทำงานจนถึงวัยชราภาพ หรือหลังเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มที่เป็น “พลเมืองไทย” ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรมากกว่า แต่สำหรับกลุ่มแรงงานข้ามชาติแล้ว ที่มีลักษณะจำเพาะของการจ้างงาน คือ อยู่อาศัยและทำงานได้เพียง 4 ปีเท่านั้น และจะต้องกลับไปประเทศต้นทาง จึงต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและการใช้สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม ทั้งกรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีว่างงาน กรณีชราภาพ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเงื่อนไขการเกิดสิทธิ หรือเงื่อนระยะเวลาในการรับสิทธิประโยชน์ หรือหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับและจ่ายสิทธิประโยชน์ หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานประกันสังคมกับผู้ประกันตนและ/หรือผู้มีสิทธิของผู้ประกันตน

กลุ่มแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ พบว่า แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศมักถูกบริษัทจัดหางาน นายหน้าเถื่อนหลอกลวงหรือเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินความเป็นจริง หรือเรียกว่า "ค่าหัวคิว"  กระทรวงแรงงานได้มีการสั่งระงับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลในช่วงต้นปี 2555 และสั่งพักใบอนุญาตบริษัทจัดหางาน 37 แห่งชั่วคราว พร้อมกับสั่งให้กรมการจัดหางานแก้ไขระเบียบการเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้รัดกุม รวมทั้งเตรียมออกมาตรการจำแนกบริษัทจัดหางาน

แต่ก็ยังพบว่ากฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ คือ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ยังมีช่องว่างที่ทำให้นายหน้า/สายสามารถหลอกลวงคนงานได้ง่ายขึ้นโดยที่กระทรวงแรงงานไม่สามารถเอาผิดได้  โดยเฉพาะในมาตรา 38 ที่ได้มีการเปิดช่องให้มีการเรียกเก็บเงินค่าบริการมากกว่าความเป็นจริง ผู้รับอนุญาตจัดหางานสามารถเรียกหรือรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากคนหางานได้ ยิ่งเมื่อคนหางานมีความต้องการไปทำงานมากเท่าใดก็จะเป็นช่องทางให้มีการเรียกเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายสูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด

กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างรัฐในปีที่ผ่านมาอาจมีข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจเฮ ได้รับการปรับค่าจ้าง แม้คนงานเหล่านั้นจะได้รับประโยชน์ แต่ก็เป็นไปในลักษณะ “ประชานิยม” หรือการ “หาเสียง” เสียมากกว่า ที่จะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน รัฐไทยยังคงไม่ยอมรับในสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองของคนงานกลุ่มนี้ แม้รัฐวิสาหกิจจะมีกฎหมายรองรับสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง แต่ก็เป็นไปอย่างจำกัดและขัดกับหลักการในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศซึ่งเป็นกติกาสากลอันเป็นที่ยอมรับปฏิบัติกันทั่วโลก กรณีตัวอย่างคือการเลิกจ้างผู้นำแรงงาน 13 คนของสหภาพแรงงานรถไฟ หนึ่งในนั้นเป็นผู้นำแรงงานระดับชาติที่มีบทบาทสำคัญเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเมื่อปี 2554 การเลิกจ้างดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยองค์กรระหว่างประเทศ แต่ผ่านมาหนึ่งปี รัฐบาลหาได้มีความพยายามที่ชัดเจนที่จะคืนความเป็นธรรมให้กับนักสหภาพแรงงานทั้ง 13 คน


นอกจากนโยบายทั้ง 5 กลุ่มแรงงานที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการคุ้มครองแล้ว ยังพบอีกว่ากระทรวงแรงงานยังละเลย/เพิกเฉย/มองไม่เห็น/ไม่ให้ความสำคัญที่จะดำเนินนโยบายดังต่อไปนี้ แม้ว่าทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและองค์กรเครือข่ายจะดำเนินการผลักดันมาอย่างต่อเนื่องตลอดปี ได้แก่

(1) การผลักดันและสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ.... ฉบับที่นางสาว
วิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คน เป็นผู้เสนอ
เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการและพิจารณากฎหมายฉบับนี้ นับตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและองค์เครือข่ายพันธมิตรด้านแรงงาน ได้ยื่นร่างพรบ.ประกันสังคม พ.ศ .… (ฉบับบูรณาการแรงงาน) ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการและพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2554 จนถึง 26 ธันวาคม 2555 ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ถูกบรรจุวาระเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารับหลักการเห็นชอบในวาระ 1 แต่อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่วันดังกล่าวจวบจนปัจจุบัน กลับพบว่าทางสภาผู้แทนราษฎรยังไม่มีความชัดเจนว่าจะพิจารณาร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ในการประชุมครั้งใด แม้ว่าจะมีการบรรจุวาระการประชุมทุกครั้งก็ตาม
 


คนงานชุมนุมเรียกร้องเร่งนำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับคนงาน พิจารณาให้ทันสมัยสามัญนิติบัญญัติ เมื่อ 22 มี.ค.55 (แฟ้มภาพ: ประชาไท)
 

(2) การผลักดันให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98ที่พบว่ารัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ แม้ว่าทางกระทรวงได้มีการจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว รวมทั้งการเคลื่อนไหวรณรงค์อย่างต่อเนื่องขององค์กรแรงงาน เพื่อผลักดันรัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวจัดตั้งองค์กร และเจรจาต่อรอง เพื่อสิทธิและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน

(3) การผลักดันให้มีการร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ..... ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่ผู้ใช้แรงงานได้เข้าชื่อกันเสนอเพื่อประกาศใช้แทนพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งได้ใช้มานานและมีบทบัญญัติที่ขัดกับหลัการของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่  87 และ 98 ที่ได้จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง มีการแทรกแซงการรวมตัวและเจรจาต่อรองโดยรัฐ ปราศจากความเป็นอิสระ คนงานไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ อันจะส่งผลให้การรวมตัวของคนงานยากขึ้น และทำให้พลังในการเจรจาต่อรองมีน้อยลง จึงถือเป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ลง ขัดกับหลักการของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

 


น้ำท่วมขังในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อยุธยา 12 พ.ย.55 (แฟ้มภาพ: ประชาไท)
 

(4) การแก้ไขปัญหาของแรงงานที่ประสบวิกฤติอุทกภัยมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ให้ลุล่วงพบว่า แรงงานที่เป็นกำลังการผลิตส่วนสำคัญของภาคอุตสาหกรรมต่างได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า สถานประกอบการต้องปิดตัวลง การหยุดงานเป็นเวลานาน ความไม่ชัดเจนของการจ่ายค่าจ้าง หรือแม้กระทั่งการเลิกจ้าง เหล่านี้เป็นปัญหาที่รุมเร้าแรงงานตลอดช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามหรือใช่ช่องว่างทางกฎหมาย เช่น การใช้มาตรา 75 ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กับลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม หรือในกรณีการไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการเปิดสถานประกอบการ ทำให้แรงงานไม่สามารถใช้สิทธิทดแทนการว่างงาน จาก พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ได้  หรือการเลิกจ้างแรงงาน การล้มสหภาพแรงงาน โดยอ้างเหตุจากวิกฤติอุทกภัย นี้ไม่นับว่ามีการเลิกจ้างแรงงานกลุ่มเหมาช่วง เหมาค่าแรงเป็นกลุ่มแรกๆ เพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่กระทรวงแรงงานก็กลับไม่มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าว

(5) การควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น ในทุกครั้งที่มีการประกาศปรับค่าจ้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นของภาคข้าราชการหรือเอกชน สิ่งที่ตามมาเสมอคือการขอปรับขึ้นราคาสินค้าที่ผู้ประกอบการอ้างว่ารับภาระการขาดทุนไม่ไหว ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไป ที่ต้องมีค่าครองชีพที่สูงขึ้น ขณะที่ค่าจ้างเพิ่มเพียงน้อยนิดนั้นกลับไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ปรับราคาขึ้นไป นั่นก็ทำให้การปรับขึ้นค่าจ้างไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแต่กลับเพิ่มภาระในค่าครองชีพที่สูงขึ้น และรัฐบาลก็ไม่มีมาตรการรองรับที่ชัดเจนในการควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น

ดังนั้น การก้าวย่างการทำงานของกระทรวงแรงงานในปี 2556 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจึงมีข้อเสนอว่า กระทรวงแรงงานต้องตระหนักว่า เวลากล่าวคำว่า “คุณภาพชีวิตแรงงาน” ผู้ใช้แรงงานไม่ได้หมายถึงเพียงเรื่องของ “การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” หรือการเข้าถึง “สวัสดิการแรงงาน” เท่านั้น แต่หมายรวมถึง การลดทอนความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การสร้างสิทธิ โอกาส อำนาจ และศักดิ์ศรี เป็นสำคัญ ที่ผ่านมาความยากจนของพี่น้องแรงงานถูกสร้างและกำหนดจากนโยบายรัฐที่เลือกปฏิบัติและโครงสร้างสังคมที่อยุติธรรม เอารัดเอาเปรียบ และให้อำนาจรัฐและทุนเสมอมา วันนี้แรงงานจำนวนมากต้องเผชิญกับรายได้ต่ำ ไร้สิทธิ ไร้โอกาส ไร้อำนาจ และไร้ศักดิศรีความเป็นมนุษย์มากขึ้นทุกวัน

ดังนั้น กระบวนการลดทอนความเหลื่อมล้ำและหยุดยั้งความอยุติธรรมที่ถั่งโถมสู่ผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่ม จึงมิใช่เพียงการขึ้นอัตราค่าจ้างหรือเข้าถึงสวัสดิการเท่านั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องปรับเปลี่ยนหรือยุตินโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่นายจ้าง ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างและระบบแรงงานด้วยการสร้างความคุ้มครองทางสังคมและความมั่นคงของแรงงาน ทั้งในด้านของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม การเจรจาต่อรอง การยึดหลักการทำงานที่มีคุณค่า (decent work) มาเป็นหลักการสำคัญในการกำหนดนโยบาย กฎหมาย แผนงาน และมาตรการต่างๆ ของรัฐ เหล่านี้จึงจะสามารถสร้างความเป็นธรรมขึ้นในสังคมไทยได้จริง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐฉานยินดีต้อนรับชาวไทใหญ่พลัดถิ่นกลับบ้าน

$
0
0

เจ้าอ่องเมียต นายกรัฐมนตรีประจำรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐฉานเปิดเผยว่า รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐฉานพร้อมที่จะต้อนรับชาวไทใหญ่พลัดถิ่นที่ต้องการจะเดินทางกลับคืนบ้านเกิด โดยชาวไทใหญ่ที่เดินทางกลับรัฐฉานเป็นกลุ่มใหญ่มีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจเลือกที่จะตั้งรกรากใหม่ที่ไหนก็ได้ในรัฐฉาน

มีรายงานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา เจ้าอ่องเมียต นายกรัฐมนตรีประจำรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐฉานเปิดเผยว่า รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐฉานพร้อมที่จะต้อนรับชาวไทใหญ่พลัดถิ่นที่ต้องการจะเดินทางกลับคืนบ้านเกิด โดยชาวไทใหญ่ที่เดินทางกลับรัฐฉานเป็นกลุ่มใหญ่มีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจเลือกที่จะตั้งรกรากใหม่ที่ไหนก็ได้ในรัฐฉาน

“หากพวกเขาเดินทางกลับมาเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่งเป็น 70 – 80 ครอบครัว พวกเขาสามารถที่จะตัดสินใจว่าต้องการที่จะตั้งรกรากอยู่ที่ไหน ” เจ้าอ่องเมียตกล่าวกับนางคำเอ ส.ส.พรรคเสือกเผือกหรือ พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติไทใหญ่ (Shan Nationalities Democratic Party - SNDP) ระหว่างที่ร่วมหารือกันระหว่างการประชุมสภาพม่าระดับรัฐระหว่างวันที่ 20 – 21 ธันวาคมที่ผ่านมา

เจ้าอ่องเมียต กล่าวว่า ชาวไทใหญ่พลัดถิ่นที่ต้องการเดินทางกลับตามลำพังสามารถที่จะไปอาศัยอยู่กับญาติและสามารถกระทำได้อย่างอิสระ ขณะที่ผู้ที่ต้องการเดินทางกลับเป็นกลุ่มใหญ่ให้ไปแจ้งยังสถานทูตพม่าที่กรุงเทพฯ เพื่อที่ทางการพม่าจะประสานและอำนวยความสะดวก รวมถึงความปลอดภัยให้ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน

ด้านนางคำเอ ระบุ สามารถแบ่งผู้พลัดถิ่นชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อยู่ 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกคือ กลุ่มที่ต้องการเดินทางกลับบ้าน แต่ยังห่วงเรื่องความปลอดภัยและกลัวกับระเบิดที่ถูกฝังอยู่ในพื้นที่บ้านเกิด กลุ่มที่สองคือแรงงานที่อยากกลับบ้านแต่ไม่มีหลักฐานแสดงตนว่ามาจากพม่า และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่ตัดสินใจที่จะไม่เดินทางกลับ

ทั้งนี้ มีประชากรชาวไทใหญ่ระหว่าง 5 แสน - 1 ล้านคนที่ตัดสินใจหันหลังให้รัฐฉานนับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชปี 2491 เนื่องจากการสู้รบ สงครามการเมือง เศรษฐกิจที่ล้มเหลว และการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางจากกองทัพพม่า โดยพบการอพยพถิ่นฐานครั้งใหญ่ที่สุดในรัฐฉานเกิดขึ้นระหว่างปี 2493 – 2504 ซึ่งตรงกับในยุคการรุกรานของ ทหารจีนก๊กมินตั๋ง

และมีการอพยพอีกระลอกระหว่างปี 2539 - 2541 ตรงกับในยุคที่รัฐบาลทหารพม่าใช้ยุทธการตัดสี่ต่อกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army) รวมถึงในปี 2542 – 2544 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กองทัพว้า (United Wa State Army) บังคับชาวว้าย้ายฐิ่นฐานจากบริเวณชายแดนจีนมายังชายแดนไทย

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI: คนไทยเอาข้าวที่ไหนมากิน

$
0
0

 

ข้าวเปลือกแพง ข้าวสารถูก
นับตั้งแต่รัฐบาลเพื่อไทยเริ่มดำเนินการจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ดตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2554 จนถึง 30 กันยายน 2555 รัฐบาลได้รับซื้อข้าวเปลือกตามโครงการจำนำนาปี 2554/55 และนาปรังปี 2555 รวมทั้งสิ้น 21.475 ล้านตันข้าวเปลือก (คิดเป็นข้าวสารทั้งสิ้น 13.3 ล้านตัน) พูดง่ายๆ ก็มีข้าวเปลือกเข้าโครงการจำนำรวม 61.6% ของผลผลิตข้าวในปี 2554-55 ถ้าคิดเฉพาะการจำนำข้าวนาปรังปี 2555 ก็พูดได้ว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จในการนำข้าวเปลือกทุกเม็ดเข้าสู่โครงการจำนำตามนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้

ผลที่ตามมาคือ ราคาข้าวเปลือกในประเทศถีบตัวขึ้นสูงกว่าสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ไม่มีการจำนำ (ดูรูปที่ 1-ก) แต่สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ราคาข้าวสารขายปลีกในประเทศกลับมีราคาถูก ทั้งๆ ที่ข้าวสารส่วนใหญ่นอนสงบนิ่งอยู่ในโกดังกลางของรัฐบาล ขณะที่คนไทยต้องกินข้าวทุกวันปีละไม่ต่ำกว่า 10.4 – 10.7 ล้านตัน (ข้อมูลการบริโภคและการใช้ทำพันธุ์ข้าวจากการสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา) รูปที่ 1-ขแสดงว่าราคาขายปลีกข้าวสารในช่วงเดือนตุลาคม 2555 เฉลี่ยเพียง กก.ละ 22.19 บาท ซึ่งถูกกว่าราคาข้าวสารในช่วงเดือน ตุลาคม 2553-กรกฎาคม 2554 (เฉลี่ย 22.17 บาท/กก.)  ซึ่งเป็นยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ไม่มีการแทรกแซงราคาตลาด

อะไรคือเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลประสบความสำเร็จในการทำให้ราคาข้าวสารถูก การตรึงราคาข้าวสารนี้จะต้องเกิดจากนโยบายระดับสูงของพรรคเพื่อไทยที่ไม่มีการประกาศต่อสาธารณะ เพราะรัฐบาลรู้ดีว่าการจำนำจะทำให้ราคาข้าวสารในประเทศแพงขึ้นอย่างแน่นอน หากปล่อยให้ข้าวมีราคาแพง รัฐบาลจะถูกโจมตีอย่างรุนแรง
 

กลไกของรัฐในการจำนำข้าวและระบายข้าว
หลังจากรับซื้อข้าวเปลือกมาจากชาวนาแล้ว รัฐก็จะสั่งให้โรงสีในโครงการจำนวนประมาณ 1000 แห่ง สีแปรสภาพเป็นข้าวสารภายใน 7 วัน รัฐบาลจ่ายค่าจ้างสีแปรสภาพแก่โรงสีตันละ 500 บาท ค่ากระสอบและค่าขนส่งในรูปข้าวสารแทนการจ่ายเป็นเงินสด ยิ่งกว่านั้นรัฐยังกำหนดอัตราส่งมอบตันข้าวที่ต่ำกว่าอัตราปรกติของโรงสีที่มีประสิทธิภาพ เช่น ในการสีแปรสภาพข้าว 5% รัฐบาลกำหนดให้โรงสีส่งมอบต้นข้าวเพียง 450 กิโลกรัมแทนที่ต้องส่งมอบต้นข้าวสารเข้าโกดัง 500 กิโลกรัม ผลคือ ทำให้โรงสีในโครงการจำนำมีข้าวสารส่วนเกินอยู่ในมือประมาณ 40 กิโลกรัมต่อการรับจำนำข้าวเปลือกทุกๆ  1 ตัน ถ้ารวมจำนวนข้าวสารของโรงสีทั้งหมดจะตก 0.67 ล้านตัน ใน 10 เดือนแรกของปี 2556 โรงสีสามารถนำข้าวสารนี้ไปขายในตลาดได้

ผลกระทบที่ชัดเจนจากการจำนำ คือ ปริมาณการส่งออกข้าวของภาคเอกชนลดลงเหลือเพียง 5.77 ล้านตันในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 เทียบกับ 9.63 ล้านตันของช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 เพราะราคาข้าวส่งออกของไทยแพงกว่าคู่แข่งมาก

หลังจากถูกสื่อมวลชนกดดันเรื่องการระบายข้าวแบบ G-to-G อย่างต่อเนื่องในเดือนตุลาคม 2555 กระทรวงพาณิชย์จึงออกแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับปริมาณการระบายข้าวในสต๊อคของรัฐบาล 5 วิธี ดังนี้
(1) การทำข้อตกลง ซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ (หรือ จีทูจี) ระหว่าง 1 มกราคม-18 ตุลาคม 2555 เป็นจำนวน 7.328 ล้านตัน ประเทศผู้ซื้อได้ จีน อินโดนีเซีย และโกตติวัวร์ ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และนายกรัฐมนตรียืนยันว่าระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2555 รัฐได้จำหน่ายข้าวแบบจี-ทู-จี ไปแล้ว 1.46 ล้านตัน  และคาดว่าจะส่งมอบอีก 0.3 ล้านตันภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555
(2) เปิดประมูลเป็นการทั่วไปให้กับผู้ประกอบการในประเทศเพื่อส่งออกหรือจำหน่ายในประเทศ 0.32 ล้านตัน
(3) ขายให้องค์กรหรือหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อประโยชน์สาธารณะ 0.083 ล้านตัน
(4) ซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีการจำหน่ายด้วยวิธีนี้เลย และ
(5) บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย หากตัวเลขที่รัฐแถลงเป็นจริง ก็แสดงว่ารัฐได้จำหน่ายข้าวทั้งในประเทศและนอกประเทศรวมทั้งสิ้น 1.863 ล้านตัน ในระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2555 ยอดขายข้าวนี้ใกล้เคียงกับเม็ดเงิน 30,000 ล้านบาท [1] ที่กระทรวงส่งมอบให้กระทรวงการคลัง เมื่อตุลาคม 2555

การตรวจสอบข้อมูลการระบายข้าวของรัฐบาลประสบปัญหาความยากลำบาก ทั้งๆ ที่ข้าวทั้งหมดที่อยู่ในมือรัฐบาลเป็นข้าวของประชาชน เพราะใช้เงินภาษีของประชาชน แต่รัฐกลับปิดบังข้อมูลสต๊อคข้าว ข้อมูลสัญญาการซื้อขายกับต่างประเทศ รวมทั้งไม่มีการเปิดเผยถึงวิธีการขายให้องค์กรหรือหน่วยงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศโดยอ้าง “ความลับทางการค้า” จากการสอบถามอนุกรรมการระบายข้าวบางท่าน ก็ไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการได้มีการประชุมเรื่องการขออนุมัติซื้อขายข้าวของรัฐบาล ทราบเพียงแต่ว่าบริษัทเอกชนสามารถทำเรื่องขออนุมัติซื้อข้าวจากรัฐได้ แต่ดูเหมือนคณะอนุกรรมการจะไม่ได้มีบทบาทใดๆ ในการพิจารณาคำขอซื้อข้าวจากภาคเอกชนเลย กระบวนการทำงานในการจำนำข้าวทุกขั้นตอนถูกผูกขาดตัดตอนโดยกระทรวงพาณิชย์เพียงฝ่ายเดียว ประธานอนุกรรมการทุกชุด (ยกเว้นอนุกรรมการระดับจังหวัด) มีรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน

ข้อมูลการระบายข้าวที่โปร่งใสที่สุด คือ การประมูลข้าวรวม 5 ครั้ง (แต่เอกชนสามารถประมูลได้เพียง 3 ครั้ง) รวมเป็นข้าวจำนวน 0.3209 ล้านตัน (ดูรายละเอียดในตารางที่ 1)

การระบายข้าววิธีที่สองคือ การขายข้าวให้องค์กรหรือหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อประโยชน์สาธารณะจำนวน 0.83 ล้านตัน ข้อมูลที่ปรากฏเป็นข่าวและตรวจสอบได้ ปรากฏว่าในปี 2554 รัฐขายข้าวทั้งสิ้น 3 ครั้ง เป็นจำนวน 0.13 ล้านตัน เท่านั้น และปี 2555 มีการขายข้าวให้กรมราชทัณฑ์ 2 หมื่นตัน (ดูตารางที่ 1)
การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐเป็นข้อมูลที่ลึกลับที่สุด เพราะนอกจากกระทรวงพาณิชย์จะยืนยันว่าเป็นการทำสัญญาแบบจีทูจีแล้ว กระทรวงไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลอื่นใดยกเว้นจำนวนการขายให้ 3 ประเทศ ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย โกตติวัวร์ (แต่หนังสือพิมพ์รายงานว่าจะมีการขายจีทูจีแก่ กินี และบังกลาเทศ) คำอภิปรายไม่ไว้วางใจของส.ส.วรงค์ เดชกิจวิกรม แสดงให้เห็นชัดเจนว่าหากมีการค้าแบบจีทูจีจริง ก็เป็นการที่กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวให้แก่บริษัทเอกชนไทยและต่างชาติเพื่อขายต่อให้แก่รัฐบาลต่างชาติอีกทอดหนึ่ง (ซึ่งก็เป็นเรื่องที่กรมการค้าต่างประเทศเคยถือปฏิบัติมานานในกรณีที่ต้องมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้แก่หน่วยงานผู้ซื้อของต่างประเทศ) แต่ก็อาจจะเป็นไปได้ว่ามีข้าวบางส่วนที่จะขายให้รัฐบาลต่างประเทศ แต่ผู้ซื้อไม่ยอมรับซื้อทั้งหมดตามสัญญา เพราะมีปัญหาคุณภาพข้าว  ทำให้บริษัทเอกชนที่ซื้อข้าวจากกระทรวงฯ นำข้าวดังกล่าวมาระบายในประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญในวงการส่งออกข้าวไทยต่างยืนยันว่าไม่พบหลักฐานใดๆ  ว่ารัฐมีการส่งออกข้าวแบบจีทูจีเลยในระหว่างปี 2555 สถิติการส่งออกข้าวไทยของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยที่พบการส่งออกข้าวจีทูจีครั้งสุดท้ายเป็นช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 รัฐบาลส่งออกข้าวรวม 2.68 แสนตัน เป็นการส่งออกไปยังบังกลาเทศ 2.18 แสนตัน และอินโดนีเซีย 0.5 แสนตัน ระหว่างเดือนกันยายน 2554 ถึง ตุลาคม 2555 ไม่ปรากฏว่ามีรายการส่งออกข้าวแบบจีทูจีเลย นอกจากนั้นผู้ส่งออกยังรายงานว่าหากรัฐมีการขายข้าวแบบจีทูจีเป็นจำนวนมากจริง จะต้องมีเรือเข้ามารับข้าวจากท่าเรือ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เคยเห็นเรือรับข้าวเลย

คำถามที่น่าสนใจ คือ ทำไมเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องให้ข่าวที่เป็นเท็จว่ารัฐบาลไทยสามารถขายข้าวแบบจีทูจีได้ 7.328 ล้านตัน (แต่ในภายหลัง เอกสาร “รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว” กลับยอมรับว่าระหว่างมกราคม – กันยายน 2555 รัฐบาลขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ 1.46 ล้านตัน)

อย่างไรก็ตาม หากเรายอมรับว่ารัฐบาลไทยขายข้าวให้รัฐบาลต่างชาติทางอ้อมผ่านบริษัทเอกชน เราก็สามารถตรวจสอบข้อมูลการส่งออกข้าวของรัฐจากส่วนต่างระหว่างปริมาณการส่งออกข้าวของภาคเอกชนที่รายงานโดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กับปริมาณการส่งออกข้าวของกรมศุลกากรที่เป็นตัวเลขทางราชการที่ต้อง “ถูกต้อง” เพราะใช้เป็นฐานสถิติการส่งออกนำเข้าของประเทศ ผลการตรวจสอบการส่งออกข้าวของรัฐบาลไทยพบว่าในช่วงเดือนกันยายน 2554-ตุลาคม 2555 ไทยมีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศ 3 ประเทศ เพียง 1.03-1.19 ล้านตัน ตัวเลขนี้รวมการส่งออกของภาคเอกชน (เพราะปริมาณส่งออกไปยังอินโดนีเซียและโกตติวัวร์มีมากกว่าที่รัฐบาลประกาศ) ขณะที่รัฐบาลประกาศว่าขายข้าวจีทูจีไปแล้ว 1.46 ล้านตัน ข้อเท็จจริงคือ มีข่าวชัดเจนว่ารัฐบาลอินโดนีเซียปฏิเสธไม่ซื้อข้าวครบ 3 แสนตันตามสัญญา เพราะปัญหาคุณภาพข้าว และหากสมมติว่าโกตติวัวร์ซื้อข้าวครบตามสัญญาจำนวน 2.9 แสนตัน และจีนซื้อข้าวผ่านบริษัทนายหน้าของไทย 1.9 แสนตัน รัฐบาลไทยก็ขายข้าวส่งออกได้เพียง 7.2 แสนตันไม่ใช่ 1.46 ล้านตันตามที่ปรากฏในเอกสาร “รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว” ข้อสรุป คือ ข้าวส่วนต่าง จำนวน 0.74 ล้านตัน (1.46 – 0.72) น่าจะเป็นข้าวที่บริษัทเอกชนที่ไม่สามารถขายให้รัฐบาลต่างประเทศนำมาขายต่อภายในประเทศ

โดยสรุปตลอดช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่เกิน 1.1-1.844 ล้านตันจากข้าวสารที่อยู่ในโกดังทั้งหมด 13.3 ล้านตัน

กลไกตลาดของบริษัทเอกชนที่ค้าขายกับรัฐ
ตัวเลขปริมาณการระบายข้าวของรัฐข้างต้นสะท้อนความไร้ประสิทธิภาพของกลไกรัฐในการขายข้าว หากรัฐระบายข้าวสู่ตลาดในประเทศได้เพียง 0.384 ล้านตัน (ตามตารางที่ 1) ป่านนี้ราคาขายปลีกข้าวสารในประเทศจะพุ่งขึ้นสูงลิบ สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้คนยากจนไปแล้ว แต่ดังที่กล่าวตอนต้นแล้วว่าราคาข้าวสารขายปลีกในประเทศกลับอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลเก่งกาจมาจากไหน คำตอบ คือ รัฐอาศัยกลไกตลาดของบริษัทเอกชนบางแห่งเป็นเครื่องมือแทนกลไกของรัฐ

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจก่อนว่าถ้าจะให้มีข้าวสารราคาถูกได้ รัฐก็จะต้องปล่อยข้าวสารออกจากโกดังกลางของรัฐเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าปริมาณการบริโภคของคนไทยในแต่ละเดือน แต่ขณะเดียวกันภาคเอกชนไทยก็ยังมีการส่งออกข้าวเป็นจำนวนพอสมควร ดังนั้น ในท้องตลาดจะต้องมีใครก็ตามที่มี “อำนาจเหนือรัฐบาล” สามารถออกคำสั่งให้มีการระบายข้าวสารออกจากโกดังกลางรัฐบาลทุกๆ วัน ทุกๆ เดือนในจำนวนที่ทำให้ร้านค้าข้าวสารทั่วประเทศและผู้ขายข้าวถุงมีข้าวขายบนหิ้งในราคาเดิมอยู่ตลอดเวลา คำถามคือ ตลอด 10 เดือนแรกของปี 2555 เราจะต้องระบายข้าวสารสู่ตลาดค้าปลีกในประเทศเป็นจำนวนเท่าไร

คำตอบอยู่ในตารางที่ 1 หลักการคำนวณง่ายๆ  คือ
(1) เราคำนวณหาปริมาณการบริโภคข้าวสาร รวมทั้งปริมาณข้าวเปลือกที่ชาวนาต้องเก็บไว้ทำพันธุ์ตลอดปี เฉพาะ 10 เดือนแรกของปี 2555 คนไทยต้องมีข้าวบริโภคและใช้ทำพันธุ์เป็นจำนวน 8.7-9.1 ล้านตัน
(2) ในช่วง 10 เดือนแรก ไทยส่งออกทั้งหมด (ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ) รวม 5.77 ล้านตัน สองรายการนี้รวมกันเท่ากับ 14.4 - 14.8 ล้านตัน

แต่ผลผลิตข้าวที่เหลืออยู่ในท้องตลาดมีน้อยมาก เพราะผลผลิตข้าวส่วนใหญ่ถูกขายให้โครงการจำนำ ในเดือนมกราคม ถึง ตุลาคม 2555 มีผลผลิตข้าวนาปีฤดู 2554/55 และผลผลิตนาปรังปี 2555 รวม 22.33 ล้านตันข้าวสาร ชาวนาขายข้าวให้โครงการจำนำ 10.55 ล้านตัน รัฐบาลจำหน่ายข้าวสู่ตลาดในประเทศเป็นจำนวน 0.384 ล้านตัน นอกจากนี้โรงสีในโครงการจำนำจะมีข้าวสารที่ได้รับเป็นค่าจ้างและผลกำไรจากการรับจ้างรัฐบาลประมาณ 0.676 ล้านตัน โดยรวมแล้วตลาดในประเทศจะมีข้าวสารเพียง 12.84 ล้านตัน ขณะที่คนไทยต้องบริโภคข้าวและต้องมีข้าวส่งออกรวม 14.4 -14.8 ล้านตัน

ดังนั้นใน 10 เดือนแรกของปี 2555 รัฐบาลจะต้องระบายข้าวสารออกจากคลังรัฐบาลอีกอย่างน้อย 1.6-1.99 ล้านตัน จึงจะทำให้ราคาข้าวสารมีราคาเท่าเดิมได้ กระทรวงพาณิชย์ไม่เคยประกาศเป็นนโยบายต่อสาธารณะเลยว่ามีนโยบายการระบายข้าวจำนวนดังกล่าวอย่างไร

แต่ในวงการพ่อค้าข้าว เป็นที่รู้กันว่าพ่อค้าที่ต้องการหาซื้อข้าวเพื่อส่งออก หรือขายในประเทศสามารถติดต่อ “นายหน้าผู้ทรงอิทธิพล” บางราย ก็จะหาซื้อข้าวจากคลังรัฐบาลได้ โดยจ่ายค่านายหน้าให้บริษัทดังกล่าว (ปัจจุบันมีบริษัทนายหน้าดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 3-4 รายตามคำอภิปรายของ ส.ส.วรงค์ เดชกิจวิกรม) นายหน้าจะติดต่อให้โรงสีในโครงการจำนำส่งมอบข้าวสารให้แก่ พ่อค้าส่งออก หรือ พ่อค้าข้าวในประเทศ ส่วนเรื่องการทำบัญชีข้าวในโกดังกลางของรัฐคงเป็นหน้าที่ของนายหน้า นอกจากคำยืนยันจากพ่อค้าบางรายแล้ว เพื่อนนักวิชาการท่านหนึ่งเคยส่งหลักฐานการที่โรงสีแห่งหนึ่งสามารถขอซื้อข้าวจากคลังรัฐบาล เพื่อนำข้าวสารไปขายในจังหวัดโดยจ่ายค่านายหน้าตันละ 500-3,000 บาทขึ้นกับชนิดข้าว

เรื่องที่น่าประหลาดใจที่สุด คือ ระหว่างมกราคม-ตุลาคม 2555 ไทยสามารถส่งออกข้าวนึ่งได้ถึง 1.789 ล้านตัน โดยข้อเท็จจริงแล้วไทยจะต้องไม่มีการส่งออกข้าวนึ่งหรือ ถ้ามีการส่งออกก็จะอยู่ในระดับน้อยมาก  เพราะชาวนาขายข้าวเปลือกส่วนใหญ่ให้โครงการจำนำ โดยเฉพาะในฤดูนาปรัง ข้าวเปลือกทุกเม็ดถูกขายให้รัฐบาลโครงการจำนำไม่มีหลักเกณฑ์การจ้างโรงสีให้ทำข้าวนึ่งเลย  ดังนั้นหลังจากมีการจำนำข้าว โรงสีข้าวนึ่งจะไม่สามารถหาซื้อข้าวเปลือกมา “นึ่ง” ก่อนที่จะสีแปรสภาพเพื่อส่งออกได้ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าไทยมีการการส่งออกข้าวนึ่งจำนวน 1.789 ล้านตัน ในเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 ตัวเลขส่งออกข้าวนึ่งจึงเป็นหลักฐานชัดเจนว่าผู้ส่งออกข้าวนึ่ง สามารถพึ่งพา “กลไกตลาด” ของบริษัทนายหน้าผู้ทรงอิทธิพลหาซื้อข้าวเปลือกจากโครงการจำนำได้

เหตุผลที่กลไกตลาดทำงานได้ดีในกรณีของข้าวนึ่ง (แต่ใช้การไม่ได้ในกรณีของการส่งออกข้าวขาว) เพราะการส่งออกข้าวนึ่งได้ราคาสูงกว่าการส่งออกข้าวขาวตันละ 30-50 เหรียญสหรัฐอเมริกา ส่วนต่างราคานี้ทำให้เกิด “ตลาดการค้าข้าวเปลือกในโครงการจำนำ” เพราะผู้ส่งออกข้าวนึ่งยินดีแบ่งผลกำไรบางส่วนให้แก่นายหน้าที่สามารถวิ่งเต้นให้โรงสีในโครงการจำนำ ส่งข้าวเปลือกให้แก่โรงสีข้าวนึ่ง  แต่ระเบียบการจำนำของรัฐไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์การว่าจ้างทำข้าวนึ่ง ถ้าเช่นนั้น “ผู้มีอำนาจ” คนใดเล่าที่สามารถสั่งให้โรงสีขนข้าวเปลือกจากโครงการจำนำไปยังโรงสีข้าวนึ่งของผู้ส่งออก ข้าวเปลือกที่ถูกโยกออกจากโครงการจำนำมาสู่โรงสีข้าวนึ่งมีจำนวน 3.6 ล้านตัน นี่ไม่ใช่การทุจริตแบบเล็กๆ น้อยๆ นะครับ

เมื่อมีการขนข้าวสารจากโกดังกลางของรัฐไปยังพ่อค้าข้าวสารขายส่ง (หรือขนข้าวเปลือกจากโรงสีในโครงการจำนำไปยังโรงสีข้าวนึ่งของผู้ส่งออก) บริษัทนายหน้าดังกล่าวจะจัดการโยกย้ายข้าวเก่าจากโกดังกลางของรัฐเข้ามาใส่โกดังกลางแทน หรือจะใช้เพียงวิธีเปลี่ยน “บัญชีข้าว” ในโกดังกลาง นี่เป็นเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบตรวจสอบ และแถลงข้อเท็จจริงต่อประชาชนว่าในโกดังกลางมีข้าวอยู่จริงๆ เป็นจำนวนเท่าไร สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ  คือ มีการเคลื่อนย้ายข้าวสารและข้าวเปลือกออกจากโครงการจำนำ ไม่ต่ำกว่า 3.4-3.8 ล้านตัน ไปให้พ่อค้าในประเทศและพ่อค้าส่งออก โดยอาศัยกลไกตลาดที่แอบอิงกับผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาล นี่คือการโจรกรรมข้าวและเงินภาษีประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การจำนำข้าว

แต่ที่สำคัญพอๆ กัน คือ เงินค่าขายข้าวอยู่ที่ไหน หากใช้ตัวเลขปริมาณการบริโภคและการส่งออกข้าวในตารางที่ 1 ข้างต้น ก็แปลว่ารัฐได้อาศัยกลไกตลาดของบริษัทเอกชนโยกย้ายข้าวออกมาขายในตลาดเพิ่มเติมจากจำนวนที่แจ้งแก่ประชาชนเป็นจำนวน 3.4 – 3.8 ล้านตัน คิดเป็นเงินอีก 56,100-62,700 ล้านบาท (3.4 x 16,500 บาท ถึง 3.8 x 16,500 บาทต่อตัน)

ในเดือนตุลาคม 2555 รัฐบาลส่งเงินค่าขายข้าวคืนกระทรวงการคลังเพียง 3 หมื่นล้านบาท เงินจำนวนนี้สอดคล้องกับยอดขายข้าวของรัฐ (1.863 ล้านตัน) ตามที่ระบุในเอกสาร “รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว” เงินที่เหลืออีก 56,000 – 62,000 ล้านบาทอยู่ที่ไหนครับ

คำถามต่อมา คือ การให้บริษัทนายหน้าเป็นตัวแทนในการจำหน่ายข้าว บริษัทเอกชนได้ค่านายหน้าไปไม่ต่ำกว่า 7,600 – 11,000 ล้านบาท (ตันละ 2,000 – 3,000 บาท x 3.8 ล้านตัน) บริษัทเหล่านี้เสียภาษีเงินได้หรือไม่ และเงินนายหน้านี้ตกในมือผู้มีอำนาจคนใด

คำถามสุดท้าย คือ รัฐบาลขาดทุนเท่าไรครับ  อย่าบอกว่าการขายข้าวแบบนี้ รัฐบาลไม่สามารถประกาศราคาขายได้นะครับ เพราะนี่เป็นการขายข้าวในประเทศครับ หรือถ้าเป็นการส่งออก ก็เป็นการขายข้าวให้บริษัทเอกชนไปส่งออกอีกทอดหนึ่ง ประชาชนเป็นเจ้าของข้าวนะครับ

เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปิดบังข้อมูลเหล่านี้ โปรดระวังข้อหาร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบนะครับ

 
 
คลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่ขึ้น
ที่มา : (1) กระทรวงเกษตรฯ (2) กระทรวงพาณิชย์โครงการรับจำนำข้าวปี 2554/55 ถึง 2555 (3) ธกส. สถิติการจ่ายเงินรับจำนำ (4) สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยการส่งออกข้าว (5) กรมศุลกากรสถิติการส่งออก (6) USDA, Rice Balance Sheet 11 December 2012 (7) สำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือนปี 2554  (8) ข่าวจากหนังสือพิมพ์เรื่องการขายข้าวของรัฐบาลไทย (9) คำอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของ ส.ส.วรงค์ เดชกิจวิกรม 26 พฤศจิกายน 2555

 

หมายเหตุ :
1) การขายข้าวในประเทศของรัฐบาล ปี 2554 จำนวน 0.13 ล้านตัน ประกอบด้วย

(1) การขายข้าวช่วยน้ำท่วมรอบ 1 แก่นครสวรรค์ค้าข้าว 3 หมื่นตัน
(2) การขายข้าวช่วยน้ำท่วม รอบ 2 แก่บริษัทเจียเม้งทำข้าวธงฟ้า 1 แสนตัน
2) รัฐบาลประมูลข้าวปี 2555 จำนวน 0.3009 ล้านตัน ประกอบด้วย
(1) ปลายข้าว 3.43 หมื่นตัน
(2) 3 ก.ย. จำนวน 2.29 แสนตัน
(3) 5 ต.ค. จำนวน 5.76 หมื่นตัน (รวม 0.32 ล้านตัน แต่เอกชนรับมอบเพียง 0.3009 หมื่นตัน)
3) รัฐบาลขายข้าวให้องค์กรและหน่วยงานใน-นอกประเทศ 0.83 ล้านตันไม่มีรายละเอียดการจำหน่าย ยกเว้นการขายข้าวให้กรมราชทัณฑ์ 2 หมื่นตัน
4) รัฐบาลแจ้งว่าขายข้าว G-to-G แล้ว 1.46 ล้านตัน (จากรายการนายกรัฐมนตรี พบประชาชน ต้นเดือนตุลาคม 2555) และภายในสิ้น ธ.ค. 2555 จะขายได้อีก 0.3 ล้านตัน รวม 1.76 ล้านตัน (รู้สึก รู้จริง จำนำข้าว)
5) ข้าวในมือโรงสีที่เข้าโครงการจำนำ คำนวณจากข้อสมมติว่ารัฐบาลกำหนดอัตราการสีแปรสภาพที่ต่ำกว่าอัตราสีแปรสภาพจริง รวมทั้งกำไรของโรงสีจาการตัดน้ำหนักและความชื้น ทำให้โรงสีมีข้าวสารส่วนเกินเหลือ 40 กิโลกรัมต่อข้าวเปลือกที่รับจำนำ 1 ตัน เนื่องจากปี 2555 (ม.ค.-ก.ย.) มีข้าวเปลือกในโครงการจำนำ 21.475 ล้านตัน โรงสีจึงมีข้าวสารที่สามารถจำหน่ายในห้องตลาดได้ 6.76 แสนตันในปี 2555

 


คลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่ขึ้น
รูปที่ 1ข้าวเปลือกแพง ข้าวสารถูก

ที่มา: ราคาข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมาคมโรงสีข้าวไทย และ สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.

 

[1] กระทรวงพาณิชย์คืนเงินค่าขายข้าวแก่กระทรวงการคลัง 4.1 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินค่าจำหน่ายข้าวจากโครงการจำนำข้าวก่อนปี 2554 ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเกือบ 3 หมื่นล้านบาทเป็นรายได้จากการจำหน่ายข้าวในโครงการจำนำปี 2554-2555 (หรือ 1.863 ล้านตัน x 16,500 บาทต่อตัน)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: คัดค้านทุบอาคารเก่าศาลยุติธรรม

$
0
0

อาคารเก่าศาลยุติธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณริมคลองข้างสนามหลวงนั้น เป็นอาคารที่มีความหมายอย่างยิ่งทั้งในด้านความเป็นมาทางสถาปัตยกรรม และทางประวัติศาสตร์ แต่ในขณะนี้ ศาลฎีกาได้มีการดำเนินการให้รื้อถอนเพื่อจะสร้างอาคารหลังใหม่ทีสูงกว่าเดิม ท่ามกลางเสียงคัดค้านทั้งจากกรมศิลปากร และจากนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมและด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะผู้มีบทบาทสำคัญก็คือ ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทั้งนี้ อาคารเก่าศาลยุติธรรมที่มีความสำคัญก็คือ อาคารหลัก ๓ หลังที่เรียงเป็นรูปตัววี ตามประวัติความเป็นมา อาคารศาลยุติธรรมกลุ่มนี้ ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์(สาโรช สุขยางค์) สถาปนิกไทยที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น อาคารหลังแรกเริ่มสร้าง พ.ศ.๒๔๘๒ และทำพิธีเปิดเมื่อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ หลังที่สองด้านคลองคูเมืองสร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๖ แต่อาคารหลังที่สามด้านสนามหลวง ยังไม่ได้สร้างเพราะเงื่อนไขสงครามโลก เพิ่งจะมาสร้างใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ ตามแบบแผนเดิมที่วางไว้แล้ว และสร้างเสร็จ พ.ศ.๒๕๐๖

แนวคิดการก่อสร้างกลุ่มอาคารศาลนั้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับกระแสของสถาปัตยกรรมช่วงก่อนสงครามโลก มีข้อมูลที่เปิดเผยว่า ต้นแบบของอาคารมาจากอาคารศาลสูงแห่งสหพันธรัฐสวิส ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโลซานน์ ความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ก็คือ อาคารศาลยุติธรรมนี้เป็นกลุ่มอาคารที่สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ เนื่องจากการที่ประเทศไทยได้รับเอกราชทางการศาลคืนมาโดยสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ โดยการดำเนินการของคณะราษฎร หลังจากที่เคยเสียเอกราชทางการศาลให้กับประเทศมหาอำนาจตามเงื่อนไขสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตั้งแต่สนธิสัญญาบาวริงในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา  และอาคารหลังแรกนั้น ได้สร้างเสาหน้าอาคาร ๖ ต้น ซึ่งสื่อแสดงสัญลักษณ์ถึงหลัก ๖ ประการของคณะราษฎรด้วย

แต่ต่อมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ เกิดข้อเสนอให้รื้อถอนอาคารกลุ่มนี้ แล้วให้สร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่เดิมด้วยรูปแบบใหม่คือ เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจในช่วงนั้น อีกทั้งยังมีเสียงคัดค้านว่าอาคารศาลฎีกามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูงเชิงการอนุรักษ์และการพัฒนาเมืองเก่า โครงการนี้จึงมิได้มีการดำเนินการ จนกระทั่งถึงสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ศาลฎีกาจึงได้รื้อฟื้นโครงการรื้อถอนอาคารเก่าของศาลขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อจะสร้างอาคารใหม่แบบไทยประยุกต์  และในที่สุด โตรงการนี้ได้รับการอนุมัติในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยงบประมาณ ๓,๗๐๐ ล้านบาทมาดำเนินการ

ชาตรี ประกิตนนทการ ได้ทำจดหมายเผยแพร่ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม นี้ โดยเสนอคัดค้านการรื้ออาคารเก่าของศาล ด้วยเหตุผลดังนี้

ประเด็นแรก การที่ศาลจะสร้างอาคารใหม่ขึ้นแทนโดยเป็นอาคารสูง ๓๒ เมตร เป็นเรื่องที่ขาดความชอบธรรมในทางกฎหมายอย่างมาก เพราะกฎหมายเรื่องความสูงของอาคารที่บังคับในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ห้ามสร้างอาคารสูงเกิน ๑๖ เมตร และยังบังคับใช้อยู่ หน่วยงานอื่นต่างก็ปฏิบัติตาม เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องสร้างหอสมุดใหม่ลงไปใต้ดิน มหาวิทยาลัยศิลปากรก็คับแคบขยายไม่ได้ และสร้างตึกสูงไม่ได้ หน่วยราชการอื่นที่ต้องการการขยาย ก็ต้องย้ายออกไปอยู่นอกบริเวณเป็นส่วนใหญ่ แต่ศาลยุติธรรมเองกลับใช้วิธีการเลี่ยงกฎหมาย โดยการขออนุมัติเป็นกรณีพิเศษ ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ ในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องการขอละเว้นกฎหมายโดยหน่วยงานที่ควรเป็นต้นแบบของการรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ประเด็นที่สอง คือเรื่องความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา จากการที่โฆษกศาลอ้างว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร  แต่ความจริงอาคารกลุ่มนี้ มีลักษณะเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และได้รับการรับรองจากกรมศิลปากรแล้วตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร

ประเด็นที่สาม ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่า อาคารนั้นเสื่อมสภาพในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มในวันข้างหน้า เพราะงานวิจัย ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด

ประเด็นที่สี่ ว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่ประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารเดิมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ 

ชาตรีได้เสนอว่า การเก็บรักษาอาคารเก่าไว้ ไม่ได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้ว จึงขอเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน จนกว่าจะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ

สำหรับ นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร ได้แถลงว่า กรมศิลปากรได้ส่งหนังสือไปถึงเลขานุการศาลยุติธรรมสำเนาถึงประธานศาลฎีกา ให้ยุติการรื้อถอนอาคารเก่าศาลยุติธรรมและศาลอาญากรุงเทพแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม และอธิบายว่า แม้อาคารทั้งสองหลังจะยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน แต่ก็ถือเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และควรค่าแก่การอนุรักษ์ หากศาลฎีกายังคงยืนยันเดินหน้ารื้อถอน กรมศิลปากรคงต้องหารือกับฝ่ายกฎหมายหาแนวทางดำเนินการต่อไป

ปรากฏว่าในวันที่ ๒๓ ธันวาคม นายวิรัช ชินวินิจกุล  เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ยืนยันว่า โครงการทั้งหมดก็เดินหน้าไปแล้ว ถ้าจะมาขอให้ชะลอการรื้อถอนตอนนี้คงไม่ได้ และยืนยันว่า    ผู้พิพากษาที่ทำงานอยู่ที่ศาลฎีกาไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัยจากสภาพอาคารที่ทรุดโทรม ขณะที่กลุ่มอาคารในโครงการสร้างใหม่นี้ ศาลไม่ใช่ผู้ริเริ่มด้วยซ้ำ และการก่อสร้างอาคารศาลฎีกาใหม่ตามแบบความเห็นชอบที่กระทำในรูปคณะกรรมการฯ ก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพราะการก่อสร้างอาคารยังคงความมุ่งหมาย ของความเป็นศาลฎีกาในการทำหน้าที่ประสิทธิประศาสตร์ความยุติธรรมให้กับประชาชน ศาลยุติธรรมไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และขอยืนยันอีกครั้งว่า ศาลไม่ได้ทำอะไรเองโดยพลการ

ขณะที่คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์เห็นว่า ศาลฎีกาไม่ควรอ้างเรื่องโครงสร้างอาคารเก่าจนบูรณะไม่ได้มาเป็นเหตุผลในการรื้อถอน เพราะมั่นใจว่าโครงสร้างอาคารทั้งสองหลัง ซึ่งใหม่กว่าอาคารกระทรวงกลาโหมถึง ๘๐ ปี  ยังมั่นคงแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งแนะกรมศิลปากรแจ้งความจับผู้รับเหมาเพื่อชะลอการรื้อถอน ก่อนที่จะเสียสมบัติของชาติไป

สรุปแล้ว กรณีนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประชาชนจะต้องจับตาพฤติกรรมของศาล ที่มุ่งจะทำลายอาคารเก่าอันทรงคุณค่า และไม่รับฟังข้อเสนอทักท้วง นี่ก็จะเป็นตัวอย่างแห่งความเสื่อมแห่งวิจารณญานของศาลอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งเราเห็นได้หลายกรณีแล้วในระยะ ๖ ปีที่ผ่านมานี้

 

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ ๓๙๒  วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: การจ้างงานในเอเชีย-ดูตัวอย่างคนงานเนเธอร์แลนด์

$
0
0

ศูนย์การศึกษาแรงงานร่วมกับสำนักข่าวประชาไทจัดงานเสวนาเรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการจ้างงานที่ดี (Decent Work of all)" เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุม 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ตระหนักถึงภาวะทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการจ้างแรงงาน และระดมความคิดแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การจ้างแรงงานที่ดี

ในช่วงเช้าเป็นการนำเสนอภาวะเศรษฐกิจที่มีผลต่อการจ้างแรงงาน และแนวทางในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดย ณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยอิสระด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ส่วนในช่วงบ่ายเป็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากองค์กรแรงงานจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และสหภาพแรงงานไทย นำเสนอปัญหาการจ้างแรงงานที่ไม่เหมาะสม และแนวทางในการจัดตั้งสหภาพแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กลุ่มแรงงาน

ณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ อธิบายว่า ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย เป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตสูง และสำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศมากว่า 30 ปี โดยเน้นการส่งออกไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว แต่เมื่อประเทศเหล่านั้นเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ประเทศไทยก็ส่งออกได้น้อยลง และเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งจะพบกับดักของการเป็นประเทศรายได้ระดับกลางซึ่งไม่สามารถพัฒนาให้ข้ามไปจากระดับนี้ได้  ซึ่งต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นสอดคล้องกับแต่ละอุตสาหกรรม และรวมถึงข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เช่น ความพยายามลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น

ณัฐวุฒิ เสนอว่า นอกจากเราต้องขยายตลาดมาเน้นที่แถบอาเซียน เพราะมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวมาก เราต้องมุ่งพัฒนาและสะสมเทคโนโลยีที่โปรกรีน คือ มีความสะอาดมากขึ้น สามารถใช้พลังงานอย่างได้คุ้มค่ามากขึ้น การเกิดเทคโนโลยีเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อนายจ้างโดยตรง ส่วนที่ได้รับประโยชน์มากขึ้นก็จะเป็นอุตสาหกรรมแบตเตอรี่  ชุดอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ ส่วนที่ได้รับผลกระทบในลบก็มี เช่น ถ้าความต้องการรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น นายจ้างที่ได้รับผลกระทบก็เป็นกลุ่มที่ผลิตกระปุกเกียร์ เพราะว่า รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช้กระปุกเกียร์ และเมื่อมันไม่ใช้น้ำมันแล้ว ก็จะกระทบกับกลุ่มที่ผลิตถังน้ำมันและหม้อน้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ ในต่างประเทศมีการใช้ระบบสมองกลฝังตัวมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราลืมปิดเตาแก๊สที่บ้าน ก็ใช้โทรศัพท์มือถือสั่งการให้ปิดเตาแก๊สจากระยะทางไกลได้ หรือการปศุสัตว์ก็ก้าวหน้ามาก มีการฝังชิปไว้ที่หูของวัว เพื่อตรวจสอบดูว่า วัวแต่ละตัวเดินไปไหนบ้าง กินอะไรบ้าง มันพัฒนาไปไกลมาก ในอนาคตเราก็ทำได้ ถ้าเราให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาให้มากกว่านี้ เราลงทุนไปน้อยมากในด้านการวิจัย จึงไม่มีความรู้มากพอที่จะไปพัฒนาเทคโนโลยีได้ และก็ไม่ค่อยมีการติดตามผลลัพธ์ไปด้วยว่าเงินที่ลงทุนไปกับการวิจัยมันก่อให้เกิดอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาบ้าง ตัวชี้วัดตรงนี้คือสิทธิบัตร ถ้าเราคิดอะไรใหม่ๆ มาได้ก็ไปจดมาใหม่ อย่างตอนนี้ มาเลเซียเขาตั้งเป้าหมายให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเขาเน้นการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา หรือตัวอย่างที่มีให้เห็นแล้วคือเกาหลีใต้ ที่เน้นลงทุนในด้านการวิจัยมาหลายปี จนมีบริษัทระดับโลกอย่าง Samsung เกิดขึ้น

ณัฐวุฒิ กล่าวต่ออีกว่า ในด้านของแรงงาน สิ่งที่จะกระทบกับแรงงานก็คือจำนวนแรงงานของจีนและอินเดียที่พร้อมจะกระโจนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมด้วยค่าจ้างราคาถูก เป็นจำนวนมาก มีผลโดยตรงต่อการแข่งขันของแรงงาน ส่วนในประเทศไทยเอง มีแนวโน้มที่ค่าแรงจะสูงขึ้นเรื่อยๆ การเพิ่มค่าแรงมากในครั้งเดียวอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และกดดันให้ต้องเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้ผลิตได้มากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น ตรงนี้มันมีผลกระทบก็คือ อาจจะนำไปสู่การจ้างแรงงานที่ไม่เหมาะสมและแรงงานถูกกดดันจากนายจ้างมากขึ้น

วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยด้านแรงงาน กล่าวว่า ประเทศไทยและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียทุกประเทศมีความเติบโตทางเศรษฐกิจสูง แต่ในขณะเดียวกัน จากงานวิจัย “Precarious Work in Asia” ปี 2012  พบว่า ความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเอเชียทุกประเทศมาพร้อมกับการจ้างงานที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็น precarious work มากยิ่งขึ้น กล่าวคือเป็นงานที่ไม่มีความมั่นคง ไม่แน่นอน ไม่มีเสถียรภาพ และความเสี่ยงต่างๆ ถูกโอนไปอยู่กับคนงานเกือบทั้งหมด เช่น ถูกเลิกจ้างได้ง่าย ไม่ได้รับความคุ้มครองด้านสวัสดิการทางสังคม ฯลฯ เช่น ในประเทศไทย เมื่อเกิดน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว บริษัทข้ามชาติใหญ่ๆ เลือกเลิกจ้างคนงานที่ไม่ได้เป็นคนงานประจำครั้งละเป็นพันคนก่อน

ฉัตรชัย ไพยเสน สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียล กล่าวว่า การจ้างงานที่ดี นอกจากจะมีค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีแล้ว ยังรวมไปถึงการที่ลูกจ้างรู้สึกรักในงานที่ทำและมีความผูกพันต่อนายจ้าง แต่ปัจจุบันรูปแบบการจ้างเปลี่ยนไป เพราะระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน เช่น ในอุตสาหกรรมการขนส่งแก๊ส คนงานส่วนใหญ่ทำงานโดยเฉลี่ยประมาณ 12 ชั่วโมงต่อวัน พอเลิกงานก็เหนื่อยและเพลียมาก ความผูกพันต่อนายจ้างก็ลดลง หลายแห่งนายจ้างอยู่ต่างประเทศ เกิดเจ็บตายขึ้นมาก็ไม่มีใครรับผิดชอบ และคนงานต้องรับผิดชอบกันเอง
ส่วนนักลงทุนจะเลือกไปลงทุนที่ประเทศใด ก็ดูว่ากฎหมายแรงงานของประเทศนั้นเป็นอย่างไร ถ้ากฎหมายแรงงานคุ้มครองแรงงานได้อ่อนแอก็จัดว่า เป็นประเทศที่น่าไปลงทุน เพราะจะได้ไม่ต้องไปรับผิดชอบต่อลูกจ้างมากเกินไป ยกตัวอย่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดข้อยกเว้นในการคุ้มครองไว้ ตาม ม.22 เช่น งานเกษตรกรรม งานประมงทะเล งานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล งานที่รับไปทำที่บ้าน งานขนส่ง กำหนดว่าให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างไปจากพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ ถามว่าแล้วจะเป็นหลักประกันให้ลูกจ้างได้อย่างไร

ฉัตรชัยกล่าวต่อไปในประเด็นการย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่มีแรงงานราคาถูกว่า ข้อกังวลที่ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตอะไรทำนองนี้มันไม่เกิดขึ้นหรอก มีแต่คนอยากจะมาลงทุนที่ประเทศไทย เพราะกฎหมายคุ้มครองแรงงานบ้านเราอ่อนแอเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือ เราต้องมีระบบสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งเพื่อเป็นปากเป็นเสียงของแรงงาน

เยาวภา ดอนเส เครือข่ายเพื่อสิทธิคนงานไก่ ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีมูลค่าการส่งออกที่สูงมาก แต่มีจำนวนสหภาพแรงงานต่ำที่สุด การเรียกร้องสิทธิก็ทำได้ยาก อย่างโรงงานแช่แข็งไก่ก็มีปัญหา คนงานมีเวลาพักผ่อนน้อย ต้องเดินทางมาโรงงานก่อนเวลาเพื่อแต่งชุดฟอร์มป้องกันความเย็น ทำงานในอุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส ประกอบกับระยะเวลาการทำงานที่นานถึง 12 ชั่วโมง ทำให้สุขภาพคนงานย่ำแย่มาก จะเข้าห้องน้ำก็ลำบาก กว่าจะถอดชุดฟอร์มอีก แล้วก็มีเวลาให้แค่ 30 นาทีต่อวัน หลายคนก็เลือกที่จะไม่เข้าห้องน้ำ กลั้นปัสสาวะจนกลายเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นอกจากนี้ ยังเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แล้วพวกอุบัติเหตุเลือดตกยางออกก็เกิดขึ้นบ่อยมาก เพราะโดนบังคับในอยู่ในสภาพการทำงานที่เร่งรีบ ก็มีการหกล้ม มีดบาด เจ็บกันไปเป็นเรื่องธรรมดา

คำผอง คำพิทูรย์ ตัวแทนคนงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บ จากสหภาพแรงงานประชาธิปไตย กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมตัดเย็บ แม้ว่าเรามีสหภาพแรงงาน คนงานก็ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างหรือเรื่องวันหยุดก็ตาม ถ้าเราไม่มีสหภาพแรงงานก็จะยิ่งแย่ไปใหญ่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานของจังหวัดก็ช่วยได้ไม่มากนัก เราจำเป็นต้องขยายสหภาพแรงงานไปเพื่อเป็นปากเป็นเสียงในการต่อรอง เรียกร้องสิทธิ ไม่ใช่แค่เพื่อแรงงานไทยเท่านั้น แต่เพื่อแรงงานคนอื่นที่เป็นแรงงานข้ามชาติอีกด้วย โดยเฉพาะให้คนงานข้ามชาติเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เพื่อให้เขาได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่เสมอภาคมากกว่าที่เป็นอยู่

Andriette Nommensen เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสภาแรงงานเนเธอร์แลนด์ FNV (Federatie Nederlandse Vakbeweging) เล่าถึงประสบการณ์การรณรงค์จัดตั้งของสภาแรงงาน FNV ว่า ล่าสุดในการรณรงค์ประเด็นพนักงานทำความสะอาดทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการวางแผนงานและการศึกษาวิจัยเป็นอย่างดี มีเป้าหมายในการส่งเสริมการรวมกลุ่มและการทำข้อตกลงสภาพการจ้างเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานทำความสะอาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิงอพยพมาจากประเทศอื่น

งานทำความสะอาดเป็นงานที่มีค่าจ้างต่ำ คนงานทำงานยาวนานชั่วโมง โดยปราศจากการยอมรับจากสังคมว่าเป็นงานที่มีคุณค่า  สภาแรงงาน FNV วางแผนเริ่มต้นการรณรงค์ด้วยเรื่องชีวิตการทำงานของคนงานทำความสะอาดเพื่อให้สังคมเข้าใจและสนับสนุนการรวมกลุ่มยื่นข้อเรียกร้องของคนงานทำความสะอาดต่อบริษัทที่จ้างงาน  นอกจากนี้ เพื่อให้ตัวคนงานทำความสะอาดเองมีส่วนร่วมในการรณรงค์อย่างแข็งขันเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานของตัวเอง

จุดเด่นของการรณรงค์ครั้งนี้ คือสังคมเนเธอร์แลนด์ให้การสนับสนุนการต่อสู้ของคนงานทำความสะอาด ในช่วงที่มีการนัดหยุดงานของคนงานทำความสะอาดทั่วประเทศ แม้ถนนหนทาง และสถานีรถไฟในประเทศเนเธอร์แลนด์จะเต็มไปด้วยขยะ แต่ประชาชนเข้าใจและบางส่วนเข้าร่วมการชุมนุมนัดหยุดงานของคนงานเหล่านี้ด้วย

นอกจากนี้ องค์กรแรงงานให้การสนับสนุนแล้ว ศิลปินสาขาต่างๆ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ยังมาช่วยในการออกแบบการรณรงค์เพื่อสร้างความสนใจในวงกว้าง มีการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่การรณรงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

“การดึงศิลปินมาช่วยด้วยก็เป็นจุดดึงดูดให้สังคมหันมาสนใจประเด็นปัญหาของเราได้เหมือนกัน หรือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ของเสียเพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละวัน พนักงานทำความสะอาดต้องประสบกับอะไรบ้าง นอกจากนี้ก็ต้องประยุกต์โซเชียลมีเดียมาใช้ เพราะเป็นสื่อที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ง่าย”

ทั้งนี้ Andriette อธิบายภาพรวมของด้านแรงงานในเนเธอร์แลนด์ว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยในประเด็นแรงงานเป็นอย่างมาก เรื่องภาวะเศรษฐกิจ การเมืองที่ผลต่อการจ้างงานจะมีหน่วยงานต่างหาก ซึ่งถือเป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่วิจัยศึกษาเพื่อทำเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาล และสหภาพแรงงานในเนเธอร์แลนด์ก็ทำงานกันอย่างจริงจัง มีการประชุมระดับภาค ระดับท้องถิ่น สิ่งสำคัญเมื่อมีการเจรจาคือเรายอมรับในบทบาทซึ่งกันและกัน ยอมรับว่า กลุ่มแรงงานได้ประสบปัญหาจริงๆ ยอมรับว่า รัฐบาลและนายจ้างก็มีหน้าที่รักษาสิทธิประโยชน์ของแรงงานด้วย

ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการเจรจาคือข้อตกลงว่าด้วยสภาพการจ้างของคนงานทั้งอุตสาหกรรม (ไม่ใช่คนงานในแต่ละบริษัท) ซึ่งมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ครอบคลุมทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกสหภาพแรงงาน ตรงนี้ก็แสดงให้เห็นว่าสหภาพแรงงานมีผลมากต่อการเจรจาเรียกร้องสิทธิของแรงงาน

ในการจัดตั้งสหภาพแรงก็ต้องมีการศึกษาและวางยุทธศาสตร์ด้วย ที่เนเธอร์แลนด์จะมีนักจัดตั้งโดยเฉพาะ ทำหน้าที่เผยแพร่ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแรงงาน ให้ความรู้และแนวทางต่างๆ เพื่อทำให้แรงงานคนอื่นเข้าใจปัญหาและเกิดความรู้สึกว่า ต้องเข้าร่วมสหภาพแรงงาน ต่อสู้พร้อมกับสหภาพแรงงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของตัวเขาเอง

“สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องทำให้สาธารณะเข้าใจด้วยว่า เรากำลังประสบปัญหาอะไร ไม่ใช่เพียงไม่พอใจแล้วนัดหยุดงาน สังคมก็อาจจะได้รับผลกระทบและหันมาประณามเรา แทนที่จะเห็นใจและให้การสนับสนุน แต่มันก็มีปัญหาที่เมื่อก่อนเวลาเราจะชี้ให้สังคมเห็นว่า เราเดือดร้อนอย่างไร เรามักยกประเด็นค่าจ้างขึ้นมาก่อน คนก็คิดว่าพวกแรงงานเอาแต่เรียกร้องค่าจ้าง แล้วก็รู้สึกเบื่อกับการเรียกร้องของแรงงาน เราต้องทำให้เขาเห็นด้วยว่าปัญหาของเราไม่ได้มีเฉพาะเรื่องค่าจ้าง แต่ยังมีเรื่องความมั่นคงในอาชีพ ปัญหาสุขภาพ รวมไปถึงการไม่ได้รับการยอมรับนับถือ โดนดูถูกดูแคลน เช่น กรณีพนักงานทำความสะอาด”  Andriette กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images