Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live

สุรพศ ทวีศักดิ์

$
0
0

"หากคณะสงฆ์ไม่อยากถูกตรวจสอบแบบที่ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ยื่นเรื่องตรวจสอบอธิการบดีมหาจุฬาฯ ก็ประกาศตนเป็นอิสระจากรัฐไปเลยครับ จากนั้นท่านจะอยู่กันยังไงก็แล้วแต่กลุ่มลูกศิษย์ลูกหาที่นับถือท่านจะตรวจสอบกันเอง แต่ตราบที่ท่านยังมีสมณศักดิ์ มีกฎหมายปกครองเฉพาะ รับงบประมาณจากภาษีประชาชนปีละกว่า 4,000 ล้าน ท่านก็ต้องถูกตรวจสอบแบบนักการเมืองและข้าราชการทั่วๆไป"

โพสต์สถานะบนเฟซบุ๊กส่วนตัว

ธีรวัต ณ ป้อมเพชร: สยาม ชวา รัฐบนคาบสมุทรมาเลย์ และฮอลันดา ทศวรรษที่ 1630-1690

$
0
0

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้อง 401/18 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน ปาฐกถาพิเศษชุด "กรุยทางสู่ประวัติศาสตร์อาเซียน" Prelude to ASEAN History ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "การค้าและการทูตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สยาม ชวา รัฐบนคาบสมุทรมาเลย์ และฮอลันดา ทศวรรษที่ 1630-1690" โดย รศ.ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร

 
 
ทั้งนี้ในการบรรยาย เป็นการเน้นเรื่องการค้าและการทูตระหว่างราชอาณาจักรอยุธยากับรัฐต่างๆ และเมืองต่างๆ ที่เรียกว่า โลกมลายู-อินโดนีเซีย ในช่วงคริสศตวรรษที่ 17 ผ่านข้อมูลที่เป็นบันทึกของฝ่ายฮอลันดาเป็นส่วนใหญ่
 
อาจารย์ธีรวัตบรรยายว่าสิ่งที่พยายามศึกษาคือโลกการค้าของอ่าวไทย ภายในอ่าวไทยมีเมืองท่ามากมายทั้งเล็กทั้งใหญ่ เช่น ปัตตานี พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และรวมอยุธยาด้วย จะเห็นว่าสภาพทางภูมิศาสตร์อำนวยต่อวิถีการค้านานาชาติ เพราะมีสินค้าจากจากป่าจากเขา มีเครื่องหอม ดีบุก ข้าว สินค้าที่คนสนใจมาซื้อก็มีมากและเส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทยไม่ได้พึ่งลมมรสุมเท่านั้น แต่ยังมีการค้าอีกแบบที่เรียกว่า "การค้าชายฝั่ง" ที่ไม่ได้อาศัยการรอลมมรสุม แต่ถ้าเป็นเรือสำเภาจีนก็ต้องรอลมมรสุมพัดมา ไม่อย่างนั้นก็จะมาไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางการค้าแบบข้ามคาบสมุทรด้วย นอกจากเส้นทางผ่านมะริด กุยบุรีแล้ว ก็แต่ยังมีเส้นทางอื่นที่ใช้แต่โบราณเช่น ไทรบุรีมานครศรีธรรมราช พังงามาถึงนครศรีธรรมราช เป็นต้น
 
ขณะที่ความสัมพันธ์ระบบบรรณาการ ระหว่างรัฐในอ่าวไทยกับโลกมลายู ก็ขึ้นอยู่กับ "บรรณาการ" กับ "การค้า" คือถ้าไม่มีความหวังที่จะได้สินค้า ถ้าไม่มีความหวังกับการค้าขายกับเมืองที่ไปมอบบรรณาการให้ หรือกษัตริย์ที่เราจะไปถวายบรรณาการ ก็คงไม่มีระบบบรรณาการ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างน้อยในคริสตศตวรรษที่ 17-18 จะเห็นชัดมาก ทั้งนี้อ่าวไทยในช่วง ค.ศ. 1630 - 1642 จะเห็นว่า "บุหงามาศ" หรือต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ทางรัฐมลายูบางรัฐจะต้องส่งมาเป็นบรรณาการให้พระมหากษัตริย์ในราชธานีจะเป็นสิ่งที่จุดชนวนให้มีการรบกัน หรือมีการขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ตัวอย่างที่เด่นที่สุดคือ อยุธยากับรัฐสุลต่านปัตตานี
 
ทั้งนี้อยุธยาก็คาดหวัง เรียกร้องบุหงามาศ ส่วนปัตตานีก็ให้บ้างไม่ให้บ้าง ตามความแข็งแกร่งของรัฐของเขา และก็มีความสงสัยคือมักจะมีการส่งบุหงามาศมาเมื่อมีความต้องการข้าวมากกว่าปกติ ถ้าดูจากหลักฐานของ VOC หรือบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์นั้น รัฐยะโฮร์ ไทรบุรี ปัตตานี มักจะส่งบรรณาการมาอยุธยา สิ่งที่ได้รับบรรณาการกลับไปคือข้าวเต็มเรือ ทั้งนี้รัฐมลายูเหล่านี้ได้ข้าวมากจากชวา พม่า และไทย ไม่ค่อยปลูกเอง และปลูกเองน้อยมากไม่พอเลี้ยงประชากร ดังนั้นการส่งเครื่องบรรณาการมาและได้ข้าวจากไทยก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่า พอสรุปได้ว่าทางปัตตานีก็ไม่ได้คิดว่าเป็นเสียเกียรติยศที่จะส่งบุหงามาศมาเป็นครั้งคราว ยกเว้นสมัยพระเจ้าปราสาททองปราบดาภิเษก และมีปัญหาว่าทางนางพญาตานีหรือสุลตาน่าไม่ยอมส่งบุหงามาศมา โดยบันทึกของฮอลันดาระบุว่าไม่ยอมส่งบรรณาการเพราะเชื่อว่าพระเจ้าปราสาททองเป็นฆาตรกร ไม่ซื่อสัตย์ต่อราชวงศ์ และฆ่ายุวกษัตริย์อย่างน้อย 2 พระองค์
 
เหตุการณ์ที่สืบเนื่องต่อการไม่ยอมส่งบุหงามาศก็คือสงคราม ที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พงศาวดารไม่พูดถึง พูดถึงน้อย ซึ่งจะขอพูดถึงในแง่หนึ่งว่า สงครามนี้อยุธยาไม่ชนะ แต่ภาคใต้ปัจจุบันเสียหายยับเยิน ทั้งนี้เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต ก็มีความวุ่นวายเกิดขึ้นที่นครศรีธรรมราช อยุธยาก็ส่งออกญาเสนาภิมุกหรือ ยะมะดะ นะงะมะซะลงไปปราบ มีการรบกันในที่สุดอยุธยาก็ควบคุมนครศรีธรรมราชได้ แต่เรื่องไม่จบแค่นั้นเพราะปัตตานีไม่ยอมส่งบุหงามาศจึงถือว่าแข็งเมือง แต่ทั้งนี้ในสมัยพระเจ้าปราสาททองหลายเมืองก็แข็งเมือง เช่น เขมรไม่ส่งบรรณาการ ก็มีบันทึกของชาวฮอลันดา ที่สงสัยว่าพระเจ้ากรุงสยามจะไปตีเขมร หรือปัตตานี มีการสืบเรื่องราวโดยอาศัย Gossip จากเมืองท่านานาชาติที่สืบว่าพระเจ้าแผ่นดินจะส่งกองทัพไปที่ไหน
 
แต่ที่น่าสนใจคือพระเจ้าปราสาททองเลือกจะไปตีปัตตานี โดยไม่เลือกไปตีเขมรที่มีอดีตต่อกันมายาวนาน ทั้งนี้ช่วงพระเจ้าปราสาททองเศรษฐกิจการค้าเพิ่งฟื้นตัวหลังสงครามที่ยืดเยื้อกับพม่ามาก่อนหน้านี้ และความสำคัญของเครือข่ายการค้าและเมืองท่ายังสำคัญมาก และพระมหากษัตริย์ในอยุธยาก็เล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้จากการจัดการอ่าวไทย โดยอยุธยาซึ่งเกณฑ์ทหารจากอยุธยาและนครศรีธรรมราชส่งกองทัพลงไปตีปัตตานีใน ค.ศ. 1634 ก็ไม่สำเร็จ ทั้งนี้มีการขอเรือจาก VOC มาช่วยแต่เรือมาช้า พอตีปัตตานีไม่สำเร็จก็ไปเผาเมืองสงขลา ซึ่งเป็นอะไรที่ทารุณมาก ทั้งนี้สงครามในอดีตไม่ได้เน้นการทำลายกองทัพอีกฝ่ายแต่การกวาดต้อนสำคัญกว่า สงครามที่เกิดเป็นระลอกในคาบสมุทรทำให้เกิดการทำลายเมือง การโยกย้ายประชากรไปในชนบทซึ่งเกิดในสงขลาและพัทลุง มีการทำลายทรัพยากรเศรษฐกิจเช่นสวนพริกไทย หรือบางทีกวาดต้อนคนไปที่อื่นก็ไม่มีคนปลูกพริกไทย ปลูกข้าว
 
ทั้งนี้อาจารย์ธีรวัต กล่าวถึงเอกสารบันทึกสภาพของเมืองไทยและรัฐในคาบสมุทรมลายูของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet หรือวัน วลิต) ทั้งนี้ฟาน ฟลีต อยู่ในเมืองไทยหลายสิบปี และรู้ภาษาไทย สนใจเรื่องรอบตัวมากกว่าพ่อค้าฮอลันดาหลายคน และมีภรรยาเป็นมอญ โดยหลังออกจากเมืองไทยใน ค.ศ. 1640 ฟาน ฟลีต กลับมาเมืองไทยอีกใน ค.ศ.1641 เพื่อเป็นทูตของฮอลันดามายังอยุธยา และยังมีภารกิจสำรวจความเป็นไปได้ที่บริษัท VOC จะฟื้นฟูสถานีการค้าในอ่าวไทย ซึ่งรายงานที่ฟาน ฟลีตเขียนลงวันที่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1642 ถือเป็นเอกสารที่มีคุณค่าสูงในการศึกษา ไม่เพียงแต่ประวัติศาสตร์ไทย แต่ยังรวมถึงประวัติศาสตร์เมืองท่าในอ่าวไทยรวมทั้งปัตตานีด้วย
 
นอกจากนี้ในช่วงท้ายอาจารย์ธีรวัตบรรยายเรื่องการทูตและการบรรณาการของเมืองในชวากับอยุธยาด้วย ทั้งนี้งสุลต่านอามังกุรัตที่ 2 ได้ส่งทูตมายังอยุธยาใน ค.ศ. 1687 ปลายสมัยพระนารายณ์ ซึ่งแปลกที่อยู่ดีๆ มีคณะทูตจากมะตะรัมมายังอยุธยา มีนักวิชาการท่านหนึ่งคือ Merle Calvin Ricklefs สันนิษฐานว่าในช่วงนั้นสุลต่านอามังกุรัตที่ 2 (Amangkoerat II) มีความสัมพันธ์กับ VOC ค่อนข้างแย่ ทั้งที่ VOC เคยช่วยปราบระเด่นทรูนาจายา (Raden Trunajaya) ปี ค.ศ. 1686 หรือ 1 ปีก่อนที่จะมีทูตมาเมืองไทย VOC ส่งกองทัพมา กะตะสุระแล้วถูกลอบฆ่าไป 70 คน ทำให้ฮอลันดาเชื่อว่าคนที่ซุ่มฆ่าคนของเขาคือชาวชวาของสุลต่านอามังกุรัตที่ 2 ปลอมตัวเป็นชาวบาหลี การที่มีความบาดหมางระหว่าง VOC กับอามังกุรัตที่ 2 ทำให้นักวิชาการท่านนี้ตีความว่า อามังกุรัตที่ 2 หาพันธมิตรทุกด้าน มีการติดต่อกับซิเรบอน สยาม ติดต่อกับรายาซักกี ที่เป็นมินังกาเบา พูดง่ายๆ จะสร้างแนวร่วมต่อต้าน VOC แต่ก็อีกนั่นแหละ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ชวาก็ต้องต่อสู้กับ VOC อีกนาน มีการระแวงขัดแย้งกันเรื่อยๆ
 
ในสมัยพระเพทราชา ทรงส่งทูตไปชวา คนในคณะทูตมีตั้ง 40 คน เอาของขวัญเอาช้างอะไรต่ออะไรไป เพื่อหวังจะซื้อม้า เพราะซิเรบอนกับเซมารังทางตะวันออกของชวาเป็นดินแดนที่ต้องขึ้นต่อกะตะสุระ/มะตะรัม ถ้าได้การสนับสนุนจากสุลต่านจะทำให้การค้าง่ายขึ้นเยอะก็เป็นเรื่องที่ว่าการทูตน่าเกี่ยวกับการค้าโดยตรง เป็นเรื่องที่ไม่มีการฆ่าฟันกัน แต่ไม่มีการทำสนธิสัญญา และไม่มีความต่อเนื่อง เรื่องราวเหล่านี้ก็หลุดหายไปจากประวัติศาสตร์นิพนธ์
 
ภาพการค้าการติดต่อระหว่างรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ได้ผูกติดเรื่องการสงคราม หรือการเข้ามาของตะวันตก หรือการทำสนธิสัญญาเท่านั้น เราควรดูว่านครศรีธรรมราชมีเรือเล็กๆ มาจากเพชรบุรีหรือเปล่าด้วย เพื่อให้ประวัติศาสตร์ได้รับการเติมเต็มภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
ทั้งนี้ภาคประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาปาฐกถาพิเศษชุด "กรุยทางสู่ประวัติศาสตร์อาเซียน" ทุกวันพุธเริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 55 จนถึงวันที่ 13 ก.พ. 56 (รายละเอียดคลิกที่นี่)
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘พีมูฟ’ ร้อง ‘ศาลฎีกา’ เลิกทุเลาบังคับคดีที่ดินสวนปาล์มสุราษฎร์ฯ ชี้ความล่าช้าเป็นเหตุความรุนแรง

$
0
0

ชาวบ้านสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ร่วมเครือข่ายพีมูฟเดินขบวนจากทำเนียบถึง ‘ศาลฎีกา’ ร้องยกเลิกการคุ้มครองผลประโยชน์ของบริษัทเอกชน ชี้เป็นบ่อเกิดความรุนแรง จนสมาชิกร่วมสู้ถูกยิงเสียชีวิต 2 คน จี้นำพื้นที่ให้ ส.ป.ก.จัดสรร

<--break->

 

 
ภาพโดย: เอก ตรัง
 
วันนี้ (25 ธ.ค.55) เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.ชาวบ้านสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ร่วมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ (P Move) และเครือข่ายจากทั่วประเทศ อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดเครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน และสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ จำนวนกว่า 500 คน เคลื่อนขบวนจากทำเนียบรัฐบาลผ่านถนนราชดำเนินไปยังศาลฎีกา บริเวณท้องสนามหลวง เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกการขอทุเลาบังคับคดีชั่วคราวคุ้มครองผลประโยชน์ของบริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด ในพื้นที่ชุมชนคลองไทร หลังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จนทำให้สมาชิกชุมชนเสียชีวิต 2 คน
 
นายสุรพล สงฆ์รักษ์ ผู้ประสานงานสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) กล่าวว่า สมาชิกชุมชนมีความเห็นร่วมกันว่ากระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้าเป็นสาเหตุสำคัญของความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านต่อสู้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ ส.ป.ก.และต้องการให้นำมาจัดสรรให้ชาวบ้านซึ่งเป็นเกษตรกรไร้ที่ดินได้อาศัยทำอยู่ทำกิน จนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการของศาล ซึ่งทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินแล้วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ ส.ป.ก. แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่อาจนำมาจัดสรรได้ เนื่องจากบริษัทใช้ช่องทางขอทุเลาบังคับคดีชั่วคราว
 
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่นางปราณี บุญรักษ์ อายุ 52 ปี และนางมณฑา ชูแก้ว อายุ 50 ปี ชาวบ้านชุมชนคลองไทรพัฒนา สมาชิก สกต.ถูกลอบยิงด้วยอาวุธสงครามจนเสียชีวิต ในพื้นที่ชุมชนซึ่งมีกรณีพิพาทกับสวนปาล์มของ บริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด หมู่ 2 ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ 19 พ.ย.55 คดียังไม่มีความคืบหน้า โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจชี้แจงว่าเนื่องจากคนร้ายอยู่นอกพื้นที่ ประกอบกับไม่มีพยานบุคคล จึงยากแก่การสืบสวนคดีอีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีกรณียิงนายสมพร พัฒนภูมิ สมาชิกชุมชนบ้านคลองไทรพัฒนาเสียชีวิตในปี พ.ศ.2553 ซึ่งคดีก็ไม่มีความคืบหน้า
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขบวนพีมูฟจากทั่วประเทศเดินทางมาชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอเปิดเจรจาแก้ไขปัญหาดังกล่าว และกรณีปัญหาอื่นๆ ของเครือข่าย รวมทั้งเร่งรัดให้มีการส่งมอบพื้นที่จัดทำเป็นโฉนดชุมชนโดยเร็ว โดยได้เข้าร่วมประชุมกับนายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับปากจะทำหนังสือเสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เร่งรัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากส่วนกลางเข้าไปรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ตามข้อเรียกร้องของชาวบ้าน พร้อมติดตามค่าชดเชยเยียวยาผู้เสียชีวิตที่ผ่านมาจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ ให้เร็วที่สุด
 


 

จากนั้นในช่วงบ่ายวันดังกล่าว (24 ธ.ค.55) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) เพื่อพิจารณากรอบวาระต่างๆ รวมถึงการหาทางแก้ไขเร่งด่วนกรณีชาวบ้านชุมชนคลองไทรพัฒนาถูกลอบยิงเสียชีวิต 2 ราย โดยขอให้มีการคุ้มครองชุมชนและชาวบ้านให้เกิดความปลอดภัย และขอให้มีบันทึกข้อตกลง MOU ในการส่งมอบพื้นที่ในชุมชนคลองไทร จำนวน 1,051 ไร่ ให้ ส.ป.ก.ดำเนินการจัดสรร
 
ร.ต.อ.เฉลิม มอบหมายให้ พล.ต.ต.จรัญ ชิตะปัญญา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี รับเรื่องหาทางออกกับชาวบ้าน พร้อมรับปากจะประสานงานกับกองบังคับการปราบปรามเพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่คุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินชาวบ้านภายใน 1 อาทิตย์ แต่กรณีให้เร่งรัดศาลฎีกายุติการคุ้มครองบังคับคดีชั่วคราวนั้น รัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารไม่อยู่ในสถานะที่จะกระทำได้ ส่วนการเดินหน้านโยบายโฉนดชุมชนต่อเนื่องจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์นั้นจะมีการดำเนินการแน่นอน แต่ขณะนี้ร่างระเบียบปรับเปลี่ยนชื่อนโยบายยังไม่ชัดเจน
 
อีกทั้ง ปจช.ยังมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุด ประกอบด้วยภาคเหนือ อีสาน กลางและใต้ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหา
 
นอกจากนั้น ในการประชุมยังมีการพูดคุยถึงกรณีเร่งด่วนเรื่องการขับไล่ชาวบ้านในชุมชนหลังศาลเจ้าพ่อทัพ ต.สำโรงกลาง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยชุมชนดังกล่าวมีสมาชิกประมาณ 170 ครัวเรือน ซึ่งไม่ทราบว่าเจ้าของที่ดินเป็นใคร แต่ต่อมาได้มีการขายที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งและได้มีการไล่ที่ให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ในเวลา 1 เดือน อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยินยอมที่จะออกจากพื้นที่ แต่ขอเวลาในการหาที่อาศัยใหม่ และต้องการให้รัฐบาลเป็นตัวกลางในการเจราจากับบริษัทเจ้าของที่ดินเพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีการเจรจากัน และขณะนี้ได้มีการจับกุมชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวในข้อหาบุกรุกพื้นที่แล้ว      
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า พีมูฟยังได้มีการประสานขอพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา หลังจากที่ตัวแทนพีมูฟได้เข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีฯ ที่ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 2 ต.ค.55 ตามข้อเรียกร้อง 9 กรณี ประกอบด้วย 1.การปรับปรุงกลไกแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 2.การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดิน ในรูปแบบโฉนดชุมชน
 
3.การจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) 4.กรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดินภาคเหนือ 5 หมู่บ้าน 5.กรณีสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัย (โครงการบ้านมั่นคง) 6.กรณีคนไร้บ้าน 7.กรณีการจัดทำเขตวัฒนธรรมพิเศษ (ชาวเลราไวย์) 8.กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล และ 9.กรณีเครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.55 โดยเรียกร้องให้นายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รวันดา: บทสรุปของความขัดแย้ง: บทเรียนของโลกหรือบทเรียนของใคร (จบ)

$
0
0

ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว ประชาชนหลายเผ่าพันธุ์ต่างก็สู้รบกันมานับพันๆปี ซึ่งประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามที่ต่อเนื่องยาวนานส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย   อังกฤษกับสเปน  สหภาพโซเวียตกับประเทศในอาณานิคม และอื่นๆอีกมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่ความแตกต่างของการสังกัดภายใต้ประเทศที่ต่างกัน หรือต่างเผ่าพันธุ์กันเท่านั้นที่ได้สู้รบต่อกัน  แม้แต่กลุ่มคนที่แตกต่างกันทางด้านศาสนาไม่ว่าชาวคาธอลิกกับโปแตสแตนท์ในไอร์แลนด์เหนือ ชาวคริสต์กับมุสลิมในบอสเนีย และชาวพุทธกับชาวฮินดูในศรีลังกา ล้วนแล้วก็ขัดแย้งกันทั้งสิ้น  บ่อยครั้งที่เผ่าพันธุ์ ภาษา และศาสนาซึ่งเป็นความแตกต่างกันในสาระสำคัญของแต่ละวัฒนธรรม ได้เป็นตัวกำหนดปรากฏการณ์ทางสังคมที่ทำให้มีการสร้างอัตลักษณ์ แบ่งแยกลักษณะของแต่ละฝ่ายแต่ละพวกออกจากกันเป็นกลุ่มๆ เป็นพวกเขาพวกเราตามมา

เป็นต้นว่า คนส่วนใหญ่ของกรีกนับถือศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ และพูดภาษากรีก ในขณะที่คนอิตาลีส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกและพูดภาษาอิตาเลียน หรือในบางพื้นที่วัฒนธรรมอย่างหนึ่งทรงสถานะเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่นๆ      เช่น ชาวเซิร์บและชาวโครแอธ ต่างก็พูดภาษาเดียวกันแต่ก็ยังแยกออกเป็นสองกลุ่มเพราะว่าชาวโครแอธส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิก  ส่วนชาวเซิร์บส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าตามที่กล่าวมานั้นความเชื่อด้านศาสนาสำคัญกว่าการใช้ภาษาในการแบ่งแยกฝ่ายแยกเขาแยกเรา

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ความขัดแย้งที่ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆนั้น  มีเหตุผลหลัก สามประการที่สำคัญคือ

ประการแรก การมีอาณาจักรขนาดใหญ่
เราจะเห็นได้ว่าภายในอาณาเขตประเทศที่กว้างใหญ่หรืออาณานิคม มักประกอบด้วยประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์   และเมื่ออยู่รวมกันมักจะมีการแต่งงานข้ามเผ่าเกิดการผสมข้ามชาติพันธุ์กันสูงมาก   การตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยมีทั้งกระจัดกระจายและอยู่รวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่น  ต่อมาเมื่ออาณานิคมได้ล่มสลายลง มีการจัดตั้งอาณาจักรขึ้นมาใหม่ แต่อาณาจักรใหม่นี้มีอาณาเขตไม่สอดคล้องกับชุมชนหรือที่อยู่ของชนเผ่า ประเทศใหม่จึงถูกก่อตั้งขึ้นบนแผ่นดินซึ่งตั้งอยู่บนข้อขัดแย้งทางอาณาเขตและปัญหาของชาติพันธุ์ ซึ่งล้วนแล้วได้จัดตั้งภายใต้การบงการของประเทศมหาอำนาจเสมอ  ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ตามมา  แต่ปัญหาดังกล่าวนี้ได้ถูกบดบังไว้ชั่วคราวเพราะประเทศมหาอำนาจยังมีอิทธิพลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ครอบคลุมอยู่  แต่ปัญหาที่ตามมาในภายหลังคือประชาชนหลายๆกลุ่มมักจะออกมาเรียกร้องอย่างต่อเนื่องว่าอาณาเขตของตนนั้นมีชนกลุ่มอื่นมาอาศัยอยู่

หากดูแผนที่โลกจากปี 1900  1950 และ 1998  เราจะเห็นได้ว่าประเทศขนาดกลางและขนาดเล็กได้มีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในยุคสมัยที่ประเทศมหาอำนาจยังเรืองอำนาจ และประเทศเกิดใหม่ยังดำรงอยู่ได้โดยไม่มีความขัดแย้งนั้น เพราะผู้ปกครองที่มีอำนาจได้ระงับความขัดแย้งต่างๆไว้ได้ชั่วคราว  ทั้งความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์  ด้านศาสนา รวมทั้งด้านอื่นๆ ด้วย 

มหาอำนาจบางประเทศใช้อำนาจทั้งการบังคับและออกคำสั่งให้ประเทศอาณานิคมของตนปฏิบัติตามโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ส่งผลให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นเกิดความไม่พอใจสั่งสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  ประกอบกับประชาชนก็เกิดความไม่พอใจรัฐบาลของตนโดยเฉพาะเจ้าหน้าทีทั้งหลายได้ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม    ไม่ว่าอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี  อาณาจักรออตโตมันตุรกี  และประเทศภายใต้อาณานิคมขนาดใหญ่ในเอเชีย แอฟริกา   รวมทั้งสหภาพโซเวียต  ที่มักจะพบกับการล่มสลายลงในที่สุด

ประการที่สอง อุดมการณ์ที่ต้องการมีเสรีภาพ และความเสมอภาค
ในสหรัฐอเมริกา เมื่อพูดถึงคำว่าเสรีภาพแล้วเรามักจะนึกถึงเสรีภาพของแต่ละปัจเจกเท่านั้น  มักไม่มีใครนึกถึงเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้เพราะหากเราทุกคนต่างก็มีสิทธิเท่าเทียมกันแล้วเราทุกคนต่างก็มีเสรีภาพ  นั่นหมายถึงเสรีภาพโดยรวมของประชาชนซึ่งเป็นเสรีภาพที่แท้จริง     หรือกรณีการที่เราเป็นสมาชิกของชนกลุ่มน้อยและรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สิทธิและเสรีภาพของชนกลุ่มก็จะสำคัญสำหรับเรา ซึ่งที่จริงก็คือหากเราไม่มีเสรีภาพในชนกลุ่มแล้ว นั่นหมายถึงเราก็ไม่อาจมีเสรีภาพส่วนบุคคลได้อย่างเต็มที่เช่นกัน

หากมองย้อนกลับไปในอดีต  หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) ฝ่ายพันธมิตรโดยการนำของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)  ประธานาธิบดีคนที่ 28 ของประเทศสหรัฐอเมริกา พยายามที่จะทำให้กลุ่มชนที่ประกอบด้วยความหลากหลายชาติพันธุ์พึงพอใจ จึงมีนโยบายให้การสนับสนุนสิทธิของชนกลุ่มน้อย รวมใจเป็นหนึ่งเดียวกันคือความเป็นอเมริกัน มีการแพร่กระจายของลัทธิชาตินิยมออกไปอย่างกว้างขวาง ความแตกต่างก็ค่อยๆเงียบหายไปตามลำดับ แต่หายนะจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 1939-1945 )  ส่งผลให้มีการนำปรัชญาวิลสันมาใช้อีกครั้ง (Wilsonian Philosophy)  เพราะหลังจากปี 1945 สิทธิของกลุ่มชนได้ลดระดับลงโดยมีการคาดคะเนกันว่าการรับรองสิทธิของบุคคลน่าจะเพียงพอแล้ว

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีประเทศที่เกิดขึ้นใหม่โดยการนำบุคคลหลายๆชาติพันธุ์มารวมกันกำหนดอาณาเขตประเทศ เช่น เชคโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย และสหภาพโซเวียต  การรวมกันของหลายๆชาติพันธุ์ของประเทศเหล่านี้ ส่งผลให้มีการแบ่งแยกกลุ่มกันภายในประเทศกลายเป็นส่วนหนึ่งของการขยายตัวของลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรป  เพราะชนเผ่ามีความต้องการประชาธิปไตยและสิทธิส่วนบุคคล  และขณะเดียวกันก็ต้องการสิทธิของชนกลุ่มด้วย ซึ่งนั่นหมายความถึงความขัดแย้งได้เริ่มก่อตัวมากขึ้นและเป็นการเริ่มขึ้นของวัฏจักรแห่งความขัดแย้ง และความต้องการแบ่งแยกดินแดน ทั้งนี้เพราะชนกลุ่มน้อยก็ต้องการอำนาจอธิปไตยของตนเองและปกครองตนเองเพื่อความเป็นอิสระเหมือนๆกัน สิ่งเหล่นี้ทำให้ผู้นำของโลกในหลายประเทศต้องตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

การลุกฮือของความขัดแย้งที่รุนแรงมักจะเกิดจากการโหมกระพือให้เพิ่มขึ้นจากสื่อสารมวลชน ซึ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นอิสระต่อการปกครองตนเอง การเชิดชูการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง   ชาวปาเลสไตน์ที่เข่นฆ่าชาวอิสราเอล  รวมทั้งชาวคาชมิริส  ชาวทามิล และชาวบอสเนียที่ต้องการจะทำลายและเข่นฆ่าศัตรูของตน ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ และสื่ออื่นๆเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเชิดชูการกระทำเหล่านั้น สื่อเหล่านี้ได้ทำให้วิกฤตที่รุนแรงอยู่แล้วขยายรุนแรงมากกว่าที่เป็นจริง การนำเสนอและการยกย่องทั้งฝ่ายกบฏหรือฝ่ายที่ปราบปราม ช่วยทำให้ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น

ประการที่สามคือปัจจัยทางด้านสังคมและภูมิศาสตร์
เราสามารถไปไหนก็ได้ที่ต้องการจะไปหรือทำอะไรก็ได้ที่เชื่อว่าสามารถทำได้ ในสิ่งที่เราต้องการ    ทุกๆวันโทรทัศน์ได้นำเสนอข่าวยั่วยุและยั่วเย้า ให้เห็นรางวัลที่ควรได้รับในการดำรงชีวิต ส่งผลให้มนุษย์ทั้งหลายต่างก็อยากแสวงหาส่วนแบ่งของตนเองให้มากขึ้น ความทะเยอทะยานความอยากมีอยากได้นำไปสู่การต่อสู้ดิ้นรนเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการอยากมีอยากได้เหล่านั้นหมายถึงการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การเป็นปรปักษ์ต่อกันในที่สุด ความเป็นปรปักษ์ต่อกันทำให้ต่างฝ่ายต่างแสวงหาแนวร่วม ซึ่งสิ่งแรกก็คือสร้างความรู้สึกให้ยึดติดกับกับชาติพันธุ์ ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือศาสนา เป็นการแยกเขาแยกเราที่ง่ายที่สุด

ตัวอย่างเช่นหากเราเป็นแอฟริกันอเมริกันซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองและคนขายของชำแถวบ้านเผอิญเป็นคนอเมริกันเชื้อสายเกาหลี เราอาจเห็นว่าคนเหล่านั้นแต่ละคนแตกต่างจากตัวเรา กลุ่มของเรา  บุคคลอื่นเหล่านั้นจะเป็นผู้รุกรานมากกว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้สึกเดียวกัน   ดังนั้นคำว่า “พวกเรา” “พวกเขา” ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์ไปทั่วโลก

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ความขัดแย้งของมนุษยชาติในหลายๆพื้นที่ของโลกใบนี้มักจะประกอบไปด้วยสาเหตุหลักๆสามประการตามที่กล่าวได้มา แม้บางครั้งจะได้รับการแก้ไขด้วยสติปัญญา การมีผู้นำที่รับผิดชอบ และแก้ด้วยวิธีที่การที่หลากหลาย  แต่โชคร้ายของสังคมมนุษย์ที่ยังมีนักการเมืองซึ่งส่วนใหญ่ใช้ความไม่พอใจของประชาชนเป็นเครื่องมือแสวงหาอำนาจ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง  ซึ่งนักการเมืองเหล่านี้จะคอยกระตุ้นความรู้สึกเกลียดชังในหมู่ประชาชน   เป่าหูประชาชน  ปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังกัน  รวมทั้งยุยงเพื่อนบ้านใกล้เคียงให้เกลียดชังกันเอง ซึ่งเหตุการณ์ที่แย่ที่สุดหากเกิดขึ้นก็คือเมื่อเพื่อนบ้านด้วยกันเป็นศัตรูต่อกัน นั่นคือหายนะของชีวิตที่มีแต่ความรุนแรงทุกรูปแบบจะตามมาจนไม่อาจแก้ไขเยียวยาได้อีกต่อไป  ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าเพื่อนบ้านส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นญาติและมีความไว้วางใจต่อกันทั้งสิ้น  เมื่อใดที่ขาดความไว้วางใจต่อกันสังคมนั้นย่อมมีแต่ความขัดแย้งที่ไม่มีวันจะยุติลงได้  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วทั้งในบอสเนีย  เลบานอน และรวันดา  รวมทั้งในหลายๆพื้นที่นับไม่ถ้วน   

ความโหดร้ายของการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง มักจะทำให้แต่ละฝ่ายทำทุกวิถีทางที่จะได้มาซึ่งอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงวิธีการ  แม้แต่สื่อสารมวลชนอย่างสถานีวิทยุที่ควรใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ กลายเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองที่มีไว้เพื่อควบคุมความคิดของประชาชน เพราะสิ่งที่เสนอออกมาล้วนมีผลต่อการครอบงำทางด้านอุดมการณ์(Hegemony)   นั่นคือสื่อเป็นเครื่องเมือในการกระจายวัฒนธรรมและอุดมการณ์ที่ถูกกำหนดโดยชนชั้นปกครอง มาเป็นเครื่องมือทำลายล้างต่อกัน ทั้งการสร้างข่าวโคมลอยกระตุ้นยั่วยุให้เกิดความเคียดแค้นชิงชัง สร้างสถานการณ์แห่งความสับสนอลหม่านและความกลัว สิ่งเหล่านี้ได้กระตุ้นให้ประชาชนลุกขึ้นมาพกอาวุธต่อสู้เข่นฆ่ากัน  ประชาชนที่เคยอาศัยและทำงานด้วยกันและแม้กระทั่งแต่งงานระหว่างลูกหลานที่มีเชื้อชาติศาสนาต่างกันก็อาละวาด เข่นฆ่า ข่มขืน และปล้นซึ่งกันและกันด้วยความเพลิดเพลินใจ

หากการเข่นฆ่าทำลายล้างในรวันดาของสองชาติพันธุ์ได้สอนอะไรเราได้บ้างนั้น จุดเริ่มต้นที่เป็นบทเรียนก็คือเราควรจะต้องไม่แยกพวกเขาพวกเราและที่สำคัญต้องไม่เห็นอีกฝ่ายเป็นคู่แข่งขัน เป็นศัตรู และต้องยอมรับให้ได้ว่าอีกฝ่ายว่าเป็นคนเหมือนกัน ซึ่งบทเรียนที่สำคัญที่สุดที่ได้รับจากความขัดแย้งในรวันดา เป็นสิ่งที่ทุกคนได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจว่าทำไมความขัดแย้งถึงได้เกิดขึ้น และเราจะช่วยป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร.........

                 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ: สถิติอาวุธที่ใช้ฆาตกรรมในอเมริกา

$
0
0

สหรัฐอเมริกามีจำนวนผู้ถือครอง “ปืน” มากที่สุดในโลก ใน 100 คนจะมีปืน 89 กระบอก และเหตุสังหารหมู่นักเรียนอนุบาลครั้งล่าสุด ก็ส่งผลให้บารัค โอบามา แถลงถึงความตั้งใจที่จะให้การควบคุมปืนเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการดำรงตำแหน่งวาระที่สองของเขา

ชมภาพขนาดใหญ่ขึ้น

การสังหารหมู่ที่โรงเรียนประถมแซนดี้ ฮุก เมืองนิวทาวน์ รัฐคอนเนคติคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 28 คน ในจำนวนนี้ เป็นเด็กประถม 20 คน นำมาซึ่งการถกเถียงประเด็นเรื่องการควบคุมการใช้ปืนในสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง ล่าสุด ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แถลงถึงความตั้งใจที่จะให้การควบคุมปืนเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการดำรงตำแหน่งวาระที่สองของเขา และย้ำว่า จะผลักดันให้มีกฎหมายการควบคุมอาวุธปืนผ่านสภาภายในเดือนมกราคม

การกราดยิงที่เกิดขึ้น และการถกเถียงเรื่องการควบคุมปืนในสหรัฐที่ตามมาหลังจากนั้น ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสหรัฐอเมริกา เฉพาะในปีนี้ (2555) มีเหตุกราดยิงในสหรัฐแล้วอย่างน้อย 16 ครั้ง ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากการกราดยิงในปีนี้มีอย่างน้อย 88 คน ซึ่งปฏิกิริยาที่ตามมาจากฝ่ายสนับสนุนการควบคุมปืน ก็ชี้ว่า สหรัฐอเมริกาจำป็นต้องมีกฎหมายที่เข้มงวด จำกัดการเข้าถึงปืน และแบนอาวุธและกระสุนที่มีความอันตรายสูง ส่วนสมาคมไรเฟิลแห่งชาติ (National Rifles Association) หนึ่งในกลุ่มล็อบบี้ที่สนับสนุนการถืออาวุธปืน ก็ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขกฎหมายปัจจุบัน และย้ำว่า "วิธีเดียวที่จะหยุดคนเลวที่มีปืน ก็คือคนดีที่มีปืน" และระบุว่า ต้องแก้ปัญหาเรื่องระบบความปลอดภัยในโรงเรียนหรือสถานที่ทำงานแทน

เหตุที่สหรัฐอเมริกา มีเหตุการณ์การยิงกราดและฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนบ่อยครั้งซ้ำแล้วซ้ำอีกขนาดนี้ อาจกล่าวได้ว่า มีที่มาจากวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริกาในการติดอาวุธปืน โดยในรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมมาตราที่ 2 ของสหรัฐอเมริกา (Second Amendment) ได้ระบุถึงสิทธิของพลเมืองในการถืออาวุธ ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ไม่มีความผิดปกติทางจิตใจ ไม่มีประวัติอาชญากรรม อายุเกิน 18 หรือ 21 ก็สามารถจะซื้อปืนมาเป็นของตนเองได้ แล้วแต่ประเภทของปืนที่รัฐกำหนด โดยต้องผ่านการเช็คประวัติ และลงทะเบียนปืนให้ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่ตามกฎหมาย เช่นการซื้อจากร้านขายปืนมือสอง หรือการซื้อปืนและกระสุนจากอินเทอร์เน็ตและจัดส่งทางไปรษณีย์ ก็ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการเช็คประวัติ หรือทำให้ครอบครองอาวุธปืนจำนวนมากได้ในเวลาอันสั้น

สถิติจากการรวบรวมของเว็บไซต์ Motherjones.com ชี้ว่า การกราดยิงที่เกิดขึ้นครั้งใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2525-2555 มีถึง 49 ครั้ง ที่ฆาตกรซื้ออาวุธมาอย่างถูกกฎหมาย มีเพียง 11 ครั้ง ที่อาวุธดังกล่าวผิดกฎหมาย และ 1 ครั้ง ที่ไม่ทราบที่มาของอาวุธ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีอาวุธปืนต่อหัวประชากรมากที่สุดในโลก คือประชากรจำนวน 270 ล้านคนมีอาวุธในครอบครอง หรือโดยเฉลี่ย คิดเป็นชาวอเมริกันทุกๆ 10 คน มีปืน 9 กระบอก ส่วนประเทศที่มีอาวุธปืนรองลงมา คือเยเมน ฟินแลนด์ ไซปรัส และอิรัก ตามลำดับ

ส่วนในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือในกลุ่มประเทศ OECD สหรัฐอเมริกายังนับว่าเป็นประเทศที่มีการถือครองอาวุธปืนอยู่สูงมาก โดยต่อ 100 คน มีประชากรสหรัฐถึง 89 คน มีอาวุธปืน รองลงมา คือสวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน และนอร์เวย์ตามลำดับ ส่วนประเทศที่มีประชากรครอบครองอาวุธปืนน้อยที่สุด คือ ญี่ปุ่น ซึ่งต่อ 100 คน มีเพียง 1 คนเท่านั้นถือมีอาวุธปืน

เมื่อดูเรื่องความรุนแรงจากการฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ในยุโรป แคนาดา อินเดีย และออสเตรเลีย ข้อมูลก็ชี้ว่า สหรัฐมีอัตราความรุนแรงที่เกิดจากปืนล้ำหน้ามากกว่าประเทศอื่น โดยสถิติของชนิดอาวุธที่ใช้ฆาตกรรม คิดเป็นปืนร้อยละ 68 จากประเภทอาวุธทั้งหมด แต่ถ้าหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก ประเทศที่ถือว่ามีความรุนแรงจากปืนมากที่สุด คือฮอนดูรัส และบางประเทศในอเมริกาใต้และแอฟริกาใต้

ถึงแม้ว่าความเกี่ยวข้องระหว่างจำนวนการถืออาวุธปืน และความรุนแรงที่เกิดจากปืน ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าสัมพันธ์กันมากน้อยแค่ไหน ในฝ่ายที่มาจากจุดยืนที่แตกต่าง รวมถึงการงานวิจัยที่ยังอาจไม่มีข้อสรุปตายตัว แต่เราก็คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า อาวุธปืนมีส่วนในการเกิดความรุนแรงและการสังหารหมู่

ในวันที่ 14 ธ.ค. 55 วันเดียวกันกับการสังหารหมู่ที่โรงเรียนแซนดี้ ครุก อีกฟากฝั่งหนึ่งของโลก มีคนร้ายถืออาวุธมีดเข้าดักทำร้ายเด็กนักเรียนและครูที่โรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในจีนตอนกลาง ส่งผลให้มีเด็กๆ บาดเจ็บ 22 คน และผู้ใหญ่บาดเจ็บหนึ่งคน ไม่มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต ลองจินตนาการดูว่า หากคนร้ายใช้อาวุธปืนกึ่งออโตเมติกหรือปืนไรเฟิลกับโรงเรียนประถมแห่งนี้ในจีน ดั่งที่อดัม ลันซา คนร้ายที่ก่อเหตุกราดยิงที่โรงเรียนแซนดี้ ฮุก เราก็คงจะได้ยินข่าวการสังหารหมู่อีกแห่งหนึ่งในจีนเป็นแน่แท้

ข้อมูลเรียบเรียงจาก:

http://www.washingtonpost.com/blogs/worldviews/wp/2012/12/14/schoo-shooting-how-do-u-s-gun-homicides-compare-with-the-rest-of-the-world/

http://www.theatlantic.com/national/archive/2012/12/american-exceptionalism-the-shootings-will-go-on/266293/

http://www.washingtonpost.com/blogs/worldviews/wp/2012/12/15/what-makes-americas-gun-culture-totally-unique-in-the-world-as-demonstrated-in-four-charts/

http://www.motherjones.com/politics/2012/07/mass-shootings-map

http://www.thenation.com/blog/171774/fifteen-us-mass-shootings-happened-2012-84-dead#

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เยาวชนลุ่มน้ำโขง' ร่วม 'NGO ไทย' ทวงความคืบหน้า ‘เจ้าของรางวัลแมกไซไซ’ หายตัวกว่า 10 วัน

$
0
0

ภาคประชาสังคมไทยยื่นหนังสือถึงเอกอัครราชทูต สปป.ลาว จี้ต้องมีคำอธิบายกรณี ‘สมบัด สมพอน’ หายตัวไป ด้านเยาวชนลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศร่วมเรียกร้องสร้างสันติภาพ เร่งติดตามตัวนักพัฒนาอาวุโสของลาวกลับมาอย่างปลอดภัย

 
วันนี้ (25 ธ.ค.55) เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคประชาสังคมไทย และเยาวชนลุ่มน้ำโขงกว่า 20 คน รวมตัวกันบริเวณหน้าสถานทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำประเทศไทย ชูป้ายเรียกร้องให้นำตัวนายสมบัด สมพอน (Sombath Somphone) กลับมาอย่างปลอดภัย ก่อนยื่นหนังสือถึงเอกอัครราชทูต สปป.ลาวประจำประเทศไทย ทวงถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการติดตามกรณีของนายสมบัด หลังการหายตัวไปเป็นเวลาถึง 10 วัน
 
สืบเนื่องจากกรณีที่นายสมบัด นักพัฒนาอาวุโสของลาว เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน ประจำปี พ.ศ.2548 และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์อบรมร่วมพัฒนา (PADETC) ได้หายตัวไปตั้งแต่เวลาประมาณ 17.00 น.ของวันเสาร์ที่ 15 ธ.ค.55 และมีข้อมูลว่าในวันดังกล่าวนายสมบัดถูกตำรวจเรียกให้หยุดรถระหว่างทางกลับบ้านพักกลางกรุงเวียงจันทน์ ก่อนที่จะหายตัวไป
 
ในส่วนภาคประชาสังคมไทยเมื่อทราบข่าวก็มีการจัดทำจดหมายเปิดผนึกและมีการร่วมลงนามจาก 61 องค์กร ส่งถึงหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลลาว เพื่อขอให้เร่งสืบสวนเรื่องการหายตัวไปของนายสมบัด ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา
 
กิจกรรรมในวันนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมได้อ่านจดหมายเปิดผนึกของภาคประชาสังคมไทย และ ‘เสียงจากเยาวชนลุ่มน้ำโขงแด่ อ้ายสมบัด สมพอน’ ซึ่งเป็นสารจากเยาวชนลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ก่อนยื่นจดหมายเปิดผนึกที่ลงนามโดยองค์กรภาคประชาสังคมไทย และจดหมายทวงถามความคืบหน้า ให้แก่ท้าวพูคำ หลวงจินดาวง เลขานุการตรีประจำสถานทูต สปป.ลาว เป็นผู้ออกมารับจดหมาย โดยไม่ได้กล่าวถ้อยคำใดๆ กับผู้มายื่นจดหมาย
 
“พลเมืองในสังคมลาวกำลังเรียกร้องสันติภาพอันแท้จริง การปกครองด้วยประบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง และความยุติธรรมที่แท้จริง ขออ้ายสมบัด สมพอน เป็นอิสระ” สารจากเยาวชนลาวระบุ
 
 
จารุวรรณ สุพนไร่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายภูมิภาค มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม รับผิดชอบโครงการประสานความร่วมมือเพื่อคนรุ่นใหม่ในลุ่มน้ำโขง ซึ่งร่วมอ่านสารจากเยาวชนลุ่มน้ำโขงกล่าวว่า เราต้องการจะส่งเสียงเพื่อสื่อสารถึงทุกคนในภูมิภาคนี้ให้ได้รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เปิดพื้นที่ และตรงนี้เองจะเป็นแรงผลักดันให้กลุ่มเยาวชนขับเคลื่อนงานกันต่อไป
 
อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับอ้ายสมบัดมีผลทั้งในด้านบวกและด้านลบโดยเฉพาะต่อเยาวชนที่ทำงานเพื่อสังคมในประเทศลาว ซึ่งหลายคนก็เกิดความกลัวไม่กล้าทำอะไรเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาส่วนตัวตั้งข้อสังเกตได้ว่าเยาวชนลาวเติบโตและกล้าที่จะตั้งคำถามต่อการทำงานของภาครัฐมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลของการบ่มเพาะจากทำงานสร้างคนรุ่นใหม่ของอ้ายสมบัติมากว่า 20 ปี       
 
“สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนทำงานเพื่อสังคมในหลายๆ พื้นที่ทำให้เราลุกขึ้นมาตั้งคำถาม และเยาวชนลุ่มน้ำโขงได้เติบโตขึ้น” จารุวรรณกล่าว และแสดงความเห็นด้วยว่าการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนทำให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนประเด็นข้ามประเทศกันมาขึ้น
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงเช้าเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มดังกล่าวยังได้จัดกิจกรรม “ภาวนาเพื่อสมบัด สมพอน” ในช่วงเช้า ณ อุโบสถ วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ
 
“เพื่อให้อานุภาพของคุณพระศรีรัตนตรัย ได้แผ่ปกคลุมข้ามแม่น้ำโขงไปยังประเทศลาว เพื่อให้คุ้มครองสมบัด แม้จากคนที่คิดร้ายก็จะกลับใจมาดีได้” สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักคิดคนสำคัญของไทย กล่าวนำถึงความสำคัญของการภาวนาว่าก่อนพิธีการ
 
จากนั้น พระไพศาล วิสาโล จากวัดป่าสุคะโต ได้นำการภาวนาเพื่อ สมบัด สมพอน โดยผู้เข้าร่วมประมาณ 50 คน ได้ร่วมกันภาวนาและสงบนิ่งเพื่อส่งกำลังใจไปยังท่านสมบัดและครอบครัวเป็นเวลาประมาณ 30 นาที
 
 
 
 
 
 
เสียงจากเยาวชนลุ่มน้ำโขงแด่ อ้ายสมบัด สมพอน
Voices from Mekong Youth for Sombath Somphone

 
“อ้ายสมบัด สมพอน เราต่างปรารถนาสิ่งเดียวกัน นั่นคือสันติสุขเพื่อโลกที่น่าอยู่ โปรดอย่าได้ปิดกั้นโอกาสในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลกของเรา
โปรดให้ความยุติธรรมแก่อ้ายสมบัด ให้เป็นอิสระ ให้ความเป็นยุติธรรมกับโลกใบนี้ ขอให้เสียงของนักกิจกรรมสังคมท่านนี้ถูกได้ยิน
อ้ายสมบัดสมควรที่จะได้รับอิสระและเสรีภาพ”
- เยาวชนเวียดนาม

“Sombath Somphone, you desire the same thing – peace for the better world. Do not limit the chance to create peace for the world. Do justice for him, let him be free. Do justice for the world! Let the voice of a social activist be heard!
He deserves to be free! Feel free!”
- Youth from Vietnam

“พลเมืองในสังคมลาวกำลังเรียกร้องสันติภาพอันแท้จริง การปกครองด้วยประบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง และความยุติธรรมที่แท้จริง
ขออ้ายสมบัด สมพอน เป็นอิสระ”
- เยาวชนลาว

“Lao citizens are looking for REAL PEACE, REAL DEMOCRATIC GOVERNANCE AND
REAL JUSTICE in the society of Laos. FREE SPMBATH SOMPHONE...”
- Youth from Laos

“อาจารย์สมบัด สมพอน คือบุคคลต้นแบบผู้ยิ่งใหญ่และเป็นผู้ปฎิบัติจริง ท่านได้นำพาการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการศึกษา และความมั่งคงทางอาหารมาสู่ประเทศลาวและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สำหรับพวกเราแล้ว คุณูปการของอาจารย์สมบัด ความมุ่งมั่นอันแรงกล้าในงานพัฒนาคือ ‘ต้นทุน’ เป็นดั่งของขวัญชิ้นวิเศษสำหรับคนรุ่นใหม่ โปรดนำอาจารย์สมบัด สมพอน กลับบ้านอย่างปลอดภัยสู่ลุ่มน้ำโขงของเรา”
- เยาวชนกัมพูชา
 
“Ajarn Sombath Somphone is a great role model and a realistic practitioner to bring sustainable development in term of education and food security in Mekong region. With his great contribution, strong commitment and high motivation is a great asset for the young generation. Please BRING Ajarn Sombath Somphone BACK home SAFELY to our Mekong region.”
-Youth from Cambodia

“ให้ความยุติธรรมนำมาซึ่งสวัสดิการ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มนุษย์เราเกิดมาพร้อมเสรีภาพ โปรดนำอ้ายสมบัติกลับมา ร่วมกันปกป้องอิสรภาพของพวกเรา”
- เยาวชนพม่า

“Let justice bring the human beings welfare and dignity. We are born free. Bring Sombath Somphone back. Let’s protect freedom.”
- Youth from Myanmar

“การหายไปของอ้ายสมบัด สมพอน ไม่ควรเป็นแค่อีกข่าวหนึ่งบนหน้าหนังสือพิมพ์ แต่มันควรทำให้เรา ผู้รับรู้เหตุการณ์และสังคมเกิดคำถามว่า
มันเป็นเรื่องยุติธรรมแล้วหรือ ที่คนที่อุทิศชีวิตทำงานด้านปกป้องรักษาสิทธิ์ให้ผู้อื่น ไม่ได้รับการป้องกันการใช้สิทธิของตนเอง?”
- เยาวชนไทย

The disappearance of Sombath Somphone should not be just another news on the paper, but it should urge us and the people in the society to question that “Is that fair for a person like him who devote his
 
 
Mekong Peace Journey
Contact person: Jaruwan Supolrai, the Collaboration for Young Generation in Mekong Region, Thai Volunteer Service
Email: netting2005@gmail.com
 
 
 
 
 
 
25 ธันวาคม 2555
 
ถึง:       ท่านเอกอัครราชทููตลาว ประจำประเทศไทย 
สถานทูตลาว 
วังทองหลาง  
กรุงเทพฯ 10310
 
เรื่อง:  ร้องขอรายละเอียดความคืบหน้าเกี่ยวกับการติดตามสอบสวนกรณีการหายตัวไปของท่านสมบัด
         สมพอน และรับประกันความกลับมาของท่านอย่างปลอดภัย 
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย:  จดหมายจากองค์กรภาคประชาชนไทย 61 องค์กร ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2555 เรื่อง: ขอให้สืบสวนเรื่องการหายตัวไปของท่านสมบัด สมพอนโดยด่วนที่สุด
 
เรียน ฯพณฯ
 
วันนี้ถือเป็นวันที่ 10 นับจากการหายตัวไปของท่านสมบัด สมพอน ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2555 พวกเรา องค์กรภาคประชาชนไทย 61 องค์กร มีความห่วงใยอย่างที่สุดต่อสถานภาพของท่านสมบัดในขณะนี้ จาก แถลงการณ์ของโฆษกประเทศลาวในกรณีการหายตัวไปของท่านสมบัด สมพอน (จาก KPL Lao News Agency วันที่ 19 ธันวาคม 2555) ระบุว่า “เจ้าหน้าที่ทางการลาว ที่เกี่ยวข้องกำลังสืบสวนกรณีนี้อย่าง จริงจังเพื่อค้นหาความจริงและที่อยู่ของท่านสมบัด” และพวกเราเข้าใจว่า จนถึงบัดนี้ ผลการสืบหาหรือข้อ ค้นพบที่สำคัญจากการติดตามสืบสวนดังกล่าวควรจะปรากฏขึ้นแล้ว
 
ดังนั้น ในฐานะตัวแทนขององค์กรภาคประชาชนไทยทั้ง 61 องค์กร เราขอยื่นจดหมายต่อ ฯพณฯ เพื่อร้อง
ขอให้ทางรัฐบาลลาวแจ้งความคืบหน้าในการสืบหาสถานที่อยู่ของท่านสมบัด และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ
หายตัวไปดังกล่าว
 
พวกเราอยากจะขอถือโอกาสนี้ยืนยันอีกครั้งถึงความตระหนักของเราในคุณูปการจากงานของท่านสมบัด ทั้งด้านการศึกษาทางเลือก และการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตลอดสามทศวรรษ ที่เป็นที่รับรู้ไม่เพียงเฉพาะในประ
เทศ สปป.ลาวเท่านั้น หากรวมถึงในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติด้วย ดังนั้น สิ่งที่เราได้รับรู้ในกรณีที่เป็นการการบังคับให้หายสาบสูญนี้ จึงยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกบั่นทอนกำลังใจและห่วงใยต่อความปลอดภัยของ
ท่านเป็นอย่างยิ่ง
 
ด้วยข้อกังวลดังที่ได้กล่าวมา พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาวใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การ
สืบสวนกรณีดังกล่าวนี้เป็นไปอย่างโปร่งใสและรวดเร็วที่สุด
 
ด้วยความนับถือ
 
สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง
เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน  (กป.อพช.)
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'แอร์บากาน' ลงจอดฉุกเฉินในรัฐฉาน-เพลิงไหม้เครื่อง เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย

$
0
0

เกิดเหตุเครื่องบินโดยสารเอกชนพม่า สายการบินแอร์บากาน บรรทุกผู้โดยสาร 71 ราย ประสบเหตุเครื่องยนต์ขัดข้องร่อนลงจอดฉุกเฉินในรัฐฉาน ก่อนเกิดเพลิงไหม้เสียหายทั้งลำ เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 11 ราย

สมาชิกพรรคเสือเผือก SNDP รายหนึ่งที่กำลังอยู่ระหว่างเดินทางเยือนเมืองไฮโว แจ้งว่า เมื่อเวลาประมาณ 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นพม่าเช้าวันนี้ (25 ธ.ค.) ได้เกิดเหตุเครื่องบินโดยสารของเอกชนในพม่า สายการบินแอร์บากาน (Air Bagan) ที่บินจากเมืองมัณฑะเลย์สู่เมืองไฮโว (เฮโฮ) ทางตอนใต้เมืองตองจี ของรัฐฉาน ได้ร่อนลงจอดฉุกเฉินระหว่างทางก่อนถึงสนามบินปลายทางราว 3 กิโลเมตร เหตุเนื่องจากเกิดเครื่องยนต์ขัดข้องและเกิดเพลิงลุกไหม้ ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง โดยเครื่องบินลำดังกล่าวถูกเพลิงลุกไหม้เสียหายทั้งลำหลังลงจอดฉุกเฉินได้ไม่นาน ขณะนี้ยังไม่ทราบจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่แน่ชัด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุดสำนักประชาสัมพันธ์ทางการพม่ารายงานว่า เครื่องบินลำประสบเหตุเป็นเครื่องบินเอกชนของสายการบินแอร์บากาน เป็นเครื่องบินชนิด XY-AGC รุ่น F-100 ได้ร่อนลงจอดฉุกเฉินเหตุเนื่องจากประสบภาวะหมอกลงจัด ซึ่งขณะลงจอดเครื่องบินกระแทกพื้นอย่างรุนแรงทำให้ตัวเครื่องหักออกเป็น 2 ท่อน และเกิดเพลิงลุกไหม้ เป็นเหตุให้ผู้โดยสารอย่างน้อย 2 รายเสียชีวิต โดยศพแรกเป็นเด็กชายวัย 11 ปี ส่วนอีกศพหนึ่งเสียชีวิตอยู่ภายในห้องโดยสาร และมีผู้บาดเจ็บรวม 11 คน ในจำนวนนี้เป็นกัปตัน 2 คน ชื่อ หม่อง หม่อง ทวย และ เนลิน ทุน ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติ 5 คน และชาวพม่า 4 คน

สำหรับเครื่องบินลำดังกล่าวได้บินออกจากกรุงย่างกุ้ง ไปแวะสนามบินเมืองมัณฑะเลย์ ก่อนบินมุ่งหน้าสู่สนามบินไฮโว (เฮโฮ) ในรัฐฉาน เที่ยวบินที่ W9-011 โดยบรรทุกผู้โดยสารทั้งหมดรวม 71 คน เป็นกัปตันและลูกเรือรวม 6 คน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 2 คน ชาวต่างชาติ 51 คน ที่เหลือ 12 คนเป็นชาวพม่า โดยเครื่องบินได้ร่อนลงจอดฉุกเฉินบนถนนหลวงก่อนไถลเข้าไปในทุ่งนา  และระหว่างที่เครื่องกำลังลงเพื่อจอดฉุกเฉินนั้น ได้ชนเข้ากับรถจักรยานยนต์คันหนึ่งที่กำลังวิ่งอยู่บนถนนเป็นเหตุผู้ขับขี่เสียชีวิต 1 คน ได้รับบาดเจ็บอีก 1 คน รวมมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน จากเหตุเครื่องบินประสบเหตุลงจอดฉุกเฉินครั้งนี้

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท"เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.thหรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.orgภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.orgและภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงการท่อก๊าซในรัฐฉานชะงัก หลังแรงงานจีนหนีกลับเหตุกลัวการสู้รบทหารพม่า-กลุ่มต่อต้าน

$
0
0

แรงงานจีนที่มารับจ้างงานวางท่อก๊าซในหมู่บ้านหลอยแสก ที่อยู่ในเขตเมืองน้ำคำและเมืองวี รัฐฉานภาคเหนือ ต่างพากันหนีกลับ หลังทราบข่าวว่าเกิดการปะทะกันอย่างหนักระหว่างทหารพม่าและทหารคะฉิ่น KIA

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า แรงงานจีนที่มารับจ้างงานวางท่อก๊าซในหมู่บ้านหลอยแสก ที่อยู่ในเขตเมืองน้ำคำและเมืองวี ในรัฐฉานภาคเหนือ ต่างพากันหนีกลับ หลังทราบข่าวว่า ได้เกิดการปะทะกันอย่างหนักระหว่างทหารพม่าและทหารจากกองทัพเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Army)

มีรายงานว่า แรงงานจีนทั้งหมดได้พากันหนีข้ามไปยังแม่น้ำมาวเพื่อไปอยู่ที่หนองคำขณะที่บางส่วนหนีไปอยู่ที่เมืองน้ำคำ ทางภาคเหนือของรัฐฉาน โดยมีการขนย้ายเครื่องมือและรถไถกลับทั้งหมดตั้งแต่เมื่อคืนของวันที่ 22 ที่ผ่านมา โดยจนถึงขณะนี้พบว่า งานวางท่อก๊าซระหว่างเมืองน้ำคำถึงเมืองวีต้องหยุดชะงักไว้ชั่วคราว

ทั้งนี้ แรงงานจีนได้เข้ามาในพื้นที่ครั้งนี้ก็เพื่อมารับจ้างงานวางท่อก๊าซและเก็บความเรียบร้อยท่อก๊าซที่วางไปแล้วในพื้นที่เมืองน้ำคำ สี่ป้อและเมืองตาด  ซึ่งทางการพม่าและจีนมีแผนที่จะวางท่อก๊าซให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ปี 2556 ขณะที่แผนสร้างท่อส่งน้ำมันให้แล้วเสร็จภายในปี 2557

สำหรับในพื้นที่เมืองน้ำคำ มีทหารกองกำลังกลุ่มต่อต้านรัฐบาลพม่าหลายกลุ่มเคลื่อนไหวอยู่ เช่น กองทัพรัฐฉานเหนือ SSPP/SSA ทหารกองทัพเอกราชคะฉิ่น KIA และทหารกองทัพปลดปล่อยรัฐปะหล่อง PSLA ซึ่งที่ผ่านมาเกิดเหตุสู้รบกันบ่อยครั้งกับทหารรัฐบาลพม่า

ทั้งนี้ ท่อก๊าซดังกล่าวอยู่ในโครงการฉ่วยก๊าซ เชื่อมจากรัฐอาระกันและพาดผ่านมายังรัฐฉานเพื่อไปยังประเทศจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนโดยบริษัท China National Petroleum Corp และรัฐบาลพม่าโดยบริษัท อูป่าย ซึ่งเป็นบริษัทรัฐวิสหากิจของพม่า โดยโครงการท่อส่งก๊าซนี้ ทำให้ชาวบ้านในรัฐฉานภาคเหนือและชาวบ้านในพื้นที่อื่นๆของประเทศต้องสูญเสียที่ดินและที่ดินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ในพื้นที่ที่โครงการท่อส่งก๊าซพาดผ่าน ยังพบมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากทหารพม่าที่ประจำรักษาความปลอดภัยท่อก๊าซอีกด้วย

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท"เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.thหรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.orgภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.orgและภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอลุ้นศาลปกครองตัดสิน คดีชาวสระบุรีร้องผังเมืองออกช้า ทำโรงงานรุกเขตเกษตรตรึม

$
0
0

25 ธ.ค.55 ที่ศาลปกครองกลาง  มีการพิจารณาคดีเป็นครั้งแรก ในคดีที่ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม อ.หนองแซง จ.สระบุรี ฟ้องหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกผังเมือง ในฐานะละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินควรในการประกาศผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี ทำให้เกิดกรณีการสร้างโรงงานในพื้นที่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าหนองแซงที่เริ่มปักเสาเข็มแล้วและชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ก็ได้ฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนใบอนุญาตด้วยเช่นกัน และอยู่ระหว่างรอนัดวันพิพากษาเช่นเดียวกับคดีนี้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ตุลาการผู้แถลงคดีให้ ‘ยกฟ้อง’ คดีเพิกถอน ‘ใบอนุญาตโรงไฟฟ้า’ ชี้ EIA แก้ปัญหาแล้ว! รอลุ้นคำพิพากษาต่อ )

ในวันนี้ศาลได้อ่านสรุปข้อเท็จจริงต่างๆให้ผู้ฟ้องฟังและเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายแถลง นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายจากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (ENLAW) กล่าวว่า การแถลงคดีในวันนี้ถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งฝ่ายชาวบ้าน ฝ่ายโรงไฟฟ้ารวมถึงตุลาการผู้แถลงคดี ต่อไปจะเป็นการฟังคำพิพากษา ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับอีกคดีหนึ่งที่ฟ้องให้เพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งศาลยังไม่ได้นัดหมายวันฟังคำพิพากษาล่วงหน้า แต่โดยปกติมักจะใช้เวลา 1-2 เดือน

นายตี๋  ตรัยรัตนแสงมณี ชาวบ้านหนองแซง แถลงถึงเหตุผลที่หนองแซงถูกกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมว่า เพราะเขตนี้เป็นเขตชลประทานมากกว่า 40 ปี มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้มีการปลูกข้าวกันเต็มพื้นที่มาอย่างยาวนาน ในร่างผังเมืองซึ่งเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2546 จนมาชัดเจนเมื่อ 2549 จึงกำหนดให้เขตนี้เป็นเขตเกษตรกรรม   แต่เพราะความล่าช้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ระหว่างที่ยังไม่มีการประกาศผังเมืองอย่างเป็นทางการ ได้มีโรงงานจำนวนมากเกิดขึ้นในพื้นที่

นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายแถลงว่า  ในขณะที่มีการยื่นฟ้องนี้ การจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีผ่านมากว่า 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2546 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งที่กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจะมีอายุบังคับเพียง 5 ปีเท่านั้น ท้ายที่สุดแม้จะมีการประกาศผังเมืองรวมแล้วเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555  แต่ก็ใช้เวลายาวนานกว่า 9 ปี โดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 15(3) แห่งพ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน อันจะทำให้ผังเมืองที่จัดทำนี้มีผลบังคับได้จริงเมื่อมีการประกาศใช้  ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เป็นเหตุให้มีการขออนุญาตก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ขัดต่อข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ตามผังเมืองเรื่อยมา โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอหนองแซง ซึ่งผังเมืองกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมมีข้อกำหนดห้ามสร้างโรงงานทุกประเภท เว้นแต่โรงงานขนาดเล็กตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงฯ

สงกรานต์กล่าวด้วยว่า แม้ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีจะมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ด้วยความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ ได้ทำให้ผังเมืองที่ประกาศใช้บังคับนี้ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้จริง และสร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน ฉะนั้น ผลแห่งคดีนี้ยังคงมีความสำคัญในการสร้างบรรทัดฐานการใช้การตีความกฎหมายผังเมือง อันมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อทั้งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมืองและประชาชนที่จะอยู่ภายใต้บังคับของผังเมืองรวมทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำกว่า 70 จังหวัด

ตัวแทนโรงไฟฟ้าหนองแซง แถลงว่า ขอให้ศาลจำหน่ายคดีนี้เนื่องจากกาประกาศผังเมืองรวมนั้นได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ส่วนตุลาการผู้แถลงคดี ได้แถลงแนวทางในเรื่องนี้ไว้ว่า อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองมีความผิดฐานละเลยต่อหน้าที่ เนื่องจากไม่กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินระหว่างที่ผังเมืองยังไม่ประกาศใช้ ส่วนประเด็นที่ว่าการทำผังเมืองล่าช้าหรือไม่นั้น เห็นว่าไม่ล่าช้าเกินไป เพราะการทำผังเมืองรวมมีกรระบวนการหลายขั้นตอน ต้องกระทำด้วยความรอบคอบ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงไม่ถือว่าหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า

ทั้งนี้ คดีนี้นายบุญชู  วงษ์อนุ และชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์วิถีชีวิตเกษตรกรรม  อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ยื่นฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, กรมโยธาธิการและการผังเมือง, เจ้าพนักงานการผัง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี และคณะกรรมการผังเมือง ในฐานละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ในการประกาศใช้ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี และไม่ประกาศกำหนดห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ขัดต่อร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี ในระหว่างที่ยังไม่มีการประกาศใช้ผังเมืองรวม เพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องประกาศใช้ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอลุ้นศาลปกครองตัดสิน คดีชาวสระบุรีร้องผังเมืองช้า โรงงานรุกเขตเกษตรตรึม

$
0
0

25 ธ.ค.55 ที่ศาลปกครองกลาง  มีการพิจารณาคดีเป็นครั้งแรก ในคดีที่ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม อ.หนองแซง จ.สระบุรี ฟ้องหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกผังเมือง ในฐานะละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินควรในการประกาศผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี ทำให้เกิดกรณีการสร้างโรงงานในพื้นที่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าหนองแซงที่เริ่มปักเสาเข็มแล้วและชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ก็ได้ฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนใบอนุญาตด้วยเช่นกัน และอยู่ระหว่างรอนัดวันพิพากษาเช่นเดียวกับคดีนี้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ตุลาการผู้แถลงคดีให้ ‘ยกฟ้อง’ คดีเพิกถอน ‘ใบอนุญาตโรงไฟฟ้า’ ชี้ EIA แก้ปัญหาแล้ว! รอลุ้นคำพิพากษาต่อ )

ในวันนี้ศาลได้อ่านสรุปข้อเท็จจริงต่างๆให้ผู้ฟ้องฟังและเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายแถลง นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายจากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (ENLAW) กล่าวว่า การแถลงคดีในวันนี้ถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งฝ่ายชาวบ้าน ฝ่ายโรงไฟฟ้ารวมถึงตุลาการผู้แถลงคดี ต่อไปจะเป็นการฟังคำพิพากษา ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับอีกคดีหนึ่งที่ฟ้องให้เพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งศาลยังไม่ได้นัดหมายวันฟังคำพิพากษาล่วงหน้า แต่โดยปกติมักจะใช้เวลา 1-2 เดือน

นายตี๋  ตรัยรัตนแสงมณี ชาวบ้านหนองแซง แถลงถึงเหตุผลที่หนองแซงถูกกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมว่า เพราะเขตนี้เป็นเขตชลประทานมากกว่า 40 ปี มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้มีการปลูกข้าวกันเต็มพื้นที่มาอย่างยาวนาน ในร่างผังเมืองซึ่งเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2546 จนมาชัดเจนเมื่อ 2549 จึงกำหนดให้เขตนี้เป็นเขตเกษตรกรรม   แต่เพราะความล่าช้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ระหว่างที่ยังไม่มีการประกาศผังเมืองอย่างเป็นทางการ ได้มีโรงงานจำนวนมากเกิดขึ้นในพื้นที่

นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายแถลงว่า  ในขณะที่มีการยื่นฟ้องนี้ การจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีผ่านมากว่า 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2546 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งที่กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจะมีอายุบังคับเพียง 5 ปีเท่านั้น ท้ายที่สุดแม้จะมีการประกาศผังเมืองรวมแล้วเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555  แต่ก็ใช้เวลายาวนานกว่า 9 ปี โดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 15(3) แห่งพ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน อันจะทำให้ผังเมืองที่จัดทำนี้มีผลบังคับได้จริงเมื่อมีการประกาศใช้  ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เป็นเหตุให้มีการขออนุญาตก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ขัดต่อข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ตามผังเมืองเรื่อยมา โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอหนองแซง ซึ่งผังเมืองกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมมีข้อกำหนดห้ามสร้างโรงงานทุกประเภท เว้นแต่โรงงานขนาดเล็กตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงฯ

สงกรานต์กล่าวด้วยว่า แม้ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีจะมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ด้วยความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ ได้ทำให้ผังเมืองที่ประกาศใช้บังคับนี้ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้จริง และสร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน ฉะนั้น ผลแห่งคดีนี้ยังคงมีความสำคัญในการสร้างบรรทัดฐานการใช้การตีความกฎหมายผังเมือง อันมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อทั้งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมืองและประชาชนที่จะอยู่ภายใต้บังคับของผังเมืองรวมทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำกว่า 70 จังหวัด

ตัวแทนโรงไฟฟ้าหนองแซง แถลงว่า ขอให้ศาลจำหน่ายคดีนี้เนื่องจากกาประกาศผังเมืองรวมนั้นได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ส่วนตุลาการผู้แถลงคดี ได้แถลงแนวทางในเรื่องนี้ไว้ว่า อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองมีความผิดฐานละเลยต่อหน้าที่ เนื่องจากไม่กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินระหว่างที่ผังเมืองยังไม่ประกาศใช้ ส่วนประเด็นที่ว่าการทำผังเมืองล่าช้าหรือไม่นั้น เห็นว่าไม่ล่าช้าเกินไป เพราะการทำผังเมืองรวมมีกรระบวนการหลายขั้นตอน ต้องกระทำด้วยความรอบคอบ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงไม่ถือว่าหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า

ทั้งนี้ คดีนี้นายบุญชู  วงษ์อนุ และชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์วิถีชีวิตเกษตรกรรม  อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ยื่นฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, กรมโยธาธิการและการผังเมือง, เจ้าพนักงานการผัง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี และคณะกรรมการผังเมือง ในฐานละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ในการประกาศใช้ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี และไม่ประกาศกำหนดห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ขัดต่อร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี ในระหว่างที่ยังไม่มีการประกาศใช้ผังเมืองรวม เพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องประกาศใช้ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'นิวส์วีค' จับ 'แฮชแท็ก' ขึ้นปกเล่มสุดท้าย ก่อนย้ายไปออนไลน์

$
0
0

นิวส์วีค นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ซึ่งมีอายุกว่า 80 ปี เผยภาพปกของฉบับที่จะตีพิมพ์เป็นเล่มสุดท้ายแล้ว โดยเป็นภาพถ่ายขาวดำของสำนักงานใหญ่นิวส์วีคในแมนแฮตตัน พร้อมโปรยตัวหนังสือ #lastprintissue (ฉบับพิมพ์เล่มสุดท้าย)


นิวส์วีค นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีอายุกว่า 80 ปี เผยภาพปกของฉบับที่จะตีพิมพ์เป็นเล่มสุดท้ายแล้ว โดยเป็นภาพถ่ายขาวดำของสำนักงานใหญ่นิวส์วีคในแมนแฮตตัน พร้อมโปรยตัวหนังสือ #lastprintissue (ฉบับพิมพ์เล่มสุดท้าย)

ทั้งนี้ # หรือแฮชแท็กนั้น มาจากคำที่ใช้เรียกสัญลักษณ์ในเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ ใช้เพื่อกำหนดหัวข้อหรือใส่คำสำคัญในข้อความที่ทวีตออกไป

การสิ้นสุดของนิวส์วีคในรูปแบบหนังสือนั้นมีสาเหตุมาจากรายได้ค่าโฆษณาที่ลดลง เนื่องจากผู้อ่านหันไปอ่านทางออนไลน์แทน

นับจากปีใหม่ไป นิวส์วีคจะเผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลเท่านั้น ทินา บราวน์ บรรณาธิการนิวส์วีคบอกว่า นี่เป็น "บทใหม่" ของนิตยสาร โดยตั้งแต่สัปดาห์แรกของเดือนมกราคม จะอ่านนิวส์วีคได้ทางไอแพด คินเดิล และสมาร์ทโฟน และปลายเดือนกุมภาพันธ์ จะได้พบกับการเปลี่ยนแปลงเต็มรูปแบบในชื่อ "นิวส์วีค โกลบอล" 

นิวส์วีคฉบับแรก ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2476 โดยดึงดูดความสนใจด้วยปก 7 ภาพข่าวในแต่ละวันของสัปดาห์นั้น และแม้ว่านิวส์วีคมักจะครองตำแหน่งที่สองรองจากคู่แข่งอย่างนิตยสารไทม์ แต่นิวส์วีคก็สร้างชื่อได้ในศตวรรษที่ 1960 จากการติดตามข่าวของการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของพลเมือง

นิวส์วีคเคยมียอดจำหน่ายสูงสุด 3 ล้านฉบับ แต่จำนวนผู้อ่านกลับลดลง รวมถึงรายได้จากโฆษณาก็เริ่มน้อยลง

นิวส์วีคถูกบริษัทวอชิงตันโพสต์ขายให้กับซิดนีย์ ฮาร์แมน นักธุรกิจสื่อ ก่อนจะถูกควบรวมกิจการกับเว็บเดอะเดลีบีสต์ (the Daily Beast) ในสามเดือนต่อมา

บราวน์ซึ่งเคยเป็นบรรณาธิการวานิตี้ แฟร์ (Vanity Fair) และเดอะนิวยอร์กเกอร์ เผยโฉมปกใหม่นี้ในทวิตเตอร์และทวีตว่า "หวานอมขมกลืน! ขอให้พวกเราโชคดี!" 

@sacca ผู้อ่านคนหนึ่งทวีตว่า "ปกของนิวส์วีคฉบับพิมพ์เล่มสุดท้ายมีแฮชแท็กอยู่บนปก คล้ายเป็นการใช้ลมหายใจเฮือกสุดท้ายชี้ตัวฆาตกร"

การย้ายสู่ฉบับดิจิทัลจะช่วยให้นิวส์วีคตัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าพิมพ์ ค่าไปรษณีย์ และการจัดส่ง แต่ก็จะสูญเสียเม็ดเงินจากโฆษณาในสิ่งพิมพ์ซึ่งโดยทั่วไปมักจะจ่ายมากกว่าโฆษณาในออนไลน์ ขณะเดียวกัน เมื่อนิวส์วีคไม่พิมพ์เป็นหนังสือแล้ว เดอะเดลีบีสต์ก็ยืนยันว่าจะทำให้มีพนักงานในกองบรรณาธิการจำนวนมากเกินจำเป็น

 


แปลและเรียบเรียงจาก
Newsweek unveils final print edition
http://www.bbc.co.uk/news/entertainment-arts-20837502

A New Chapter
http://www.thedailybeast.com/newsweek/2012/12/23/a-new-chapter.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มองการประท้วงเรียกร้องของ ‘กำนันผู้-ใหญ่บ้าน’ ในมุมมอง ‘สวัสดิการ’ คนทำงานภาครัฐ

สกต.วอนรัฐฯ เร่งช่วยเหลือความปลอดภัยชาวบ้าน หวั่นอิทธิพลมืดก่อเหตุเพิ่ม

$
0
0

ร้องช่วยดูเงินเยียวยาญาติ 2 เหยื่อความขัดแย้ง ก่อนเดินหน้าขอความเป็นธรรมศาลฎีกา หลังทุเลาบังคับคดีบริษัทสวนปาล์มสุราษฎร์รุกที่ ส.ป.ก.จนความขัดแย้งหนักทำชาวบ้านถูกยิงดับในพื้นที่ พร้อมเผยมีการตัดแบ่งที่ขายแล้วนับสิบแปลง

 
 
สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์รุนแรงกรณี นางปรานี บุญรักษ์ และนางมลฑา ชูแก้ว ชาวบ้านในชุมชนคลองไทร ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตด้วยอาวุธสงคราม ในบริเวณชุมชนห่างจากบ้านพักอาศัย 800 เมตร และจนบัดนี้เวลาล่วงเลยมา 1 เดือน กับ 6 วันแต่ก็ยังจับผู้กระทำความผิดมาลงโทษไม่ได้
 
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.55 เวลา 10.00 น.ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้กับทายาทผู้เสียชีวิตจึงร่วมกับตัวแทนเครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จากภาคเหนือ อีสาน และเครือข่ายสลัม 4 ภาค เดินได้เดินทางเข้าพบ นายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาการฝ่ายการเมืองนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พ.ต.ตเสงี่ยม สำราญรัตน์
 
วัตถุประสงค์เพื่อเจรจาประเด็นเร่งด่วน 3 เรื่อง คือ 1.ต้องการพบหรือกำหนดการที่ชัดเจนในการเข้าพบนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2.เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านในชุมชนคลองไทร เพราะเป็นเรื่องของกลุ่มอิทธิพลที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกระบี่และสุราษฎร์ธานี จึงต้องการขอกำลังเจ้าหน้าที่จากกองปราบเข้าไปดูแลด้านคดีและความปลอดภัยในชุมชน
 
3.เรื่องเงินชดเชยเยียวยาแก่ทายาทผู้เสียชีวิตทั้งสองคนจากกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเรื่องที่ 2 และ 3 ได้รับการตอบรับที่จะช่วยติดตามดูแลและสั่งการให้ ส่วนเรื่องเข้าพบนายกรัฐมนตรีฯ ไม่มีการรับปากแต่ขอให้มาฟังคำตอบในวันที่ 25 ธ.ค.55
 
 
วันนี้ (25 ธ.ค.55) เวลา 10.10 น.ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมและสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ก็ได้เคลื่อนขบวนไปที่หน้าประตูทำเนียบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอคำตอบและเวลาที่ชัดเจนในการเข้าพบนายกรัฐมนตรีฯแต่ไม่มีคำตอบจากนายสุพร โดยเจ้าหน้าที่บอกว่าให้กลับบ้านไปก่อน
 
หลังจากนั้นเวลา 11.00 น.ชาวบ้านก็ได้ตั้งขบวนเดินทางไปที่ศาลฎีกา เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อท่านประธานศาลฎีกา กรณีบริษัทจิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด ที่ขอทุเลาการบังคับคดีในชั้นศาลฎีกาและศาลอนุญาต การพิจารณาคดีที่ใช้เวลานานเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรง ทั้งๆ ที่บริษัทฯ บุกรุกที่ดิน สปก.ปลูกปาล์มน้ำมันมานานกว่า 20 ปีและยังสร้างความเสียหายโดยการตัดแบ่งที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นแปลงย่อยนับสิบแปลงเพื่อขายอย่างผิดกฎหมาย ทั้งที่ตามระเบียบสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้กำหนดให้เกษตรกรที่รับสิทธิเข้าทำประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น ห้ามซื้อขายหรือถ่ายโอนเด็ดขาด
 
ด้านนายกลภัทย์ แสงบรรจง เลขาธิการประธานศาลฏีกา ผู้ออกมารับหนังสือรับปากกับชาวบ้านว่าจะยื่นหนังสือถึงท่านประธานศาลฏีกาอย่างเร่งด่วน
 
 
สำหรับพื้นที่ที่เกิดเหตุ มีเนื้อที่จำนวน 1,374 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 2 ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี และพื้นที่หมู่ 6 ต.เขาดิน อ.เขาพนม จ.กระบี่ ซึ่งสำนักงานปฏิรูปที่ดินได้ประกาศเป็นเขตปฏิรูปเมื่อปี 2531 และได้ยื่นฟ้องขับไล่ บริษัทจิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด ซึ่งเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่ถูกต้อง หลังไม่สามารถพิสูจน์สิทธิ์การถือครองได้เมื่อปี 2547 ต่อศาลจังหวัดกระบี่ แต่บริษัทจิวกังจุ้ยพัฒนาได้ฟ้องแย้ง
 
ล่าสุดเมื่อ 29 เม.ย.54 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนว่าที่ดินที่พิพาทเป็นของรัฐ ไม่จำต้องเวนคืนก่อนฟ้องขับไล่ สปก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีอำนาจฟ้องขับไล่ ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โดยภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืน ทาง ส.ป.ก.ได้ดำเนินการเข้าติดประกาศ แจ้งให้ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินของรัฐ ห้ามมีการจำหน่าย ถ่ายโอน แต่ก็พบว่ามีการซื้อขายกันอย่างต่อเนื่อง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลือกตั้งผู้ว่าฯ: กรุงเทพมหานคร กับ เชียงใหม่มหานคร

$
0
0

ท่ามกลางกระแสข่าวที่แพร่สะพัดไปทั่วประเทศถึงข่าวคราวการเตรียมการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของพรรคการเมืองใหญ่ที่จะมาถึงในต้นปี 2556 นี้ ได้สร้างความสนใจขึ้นอย่างมากมายให้แก่ประชาชนคนไทยที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและคนที่อยู่นอกกรุงเทพมหานคร(ผมไม่ใช้คำว่า “คนต่างจังหวัด”เพราะคนกรุงเทพก็คือ “คนต่างจังหวัด”ของคนจังหวัดอื่นเช่นกัน)

ประเด็นที่นอกเหนือจากที่ว่าพรรคใดจะส่งใครเข้าสมัคร ใครมีคะแนนจากการสำรวจความคิดเห็นว่ามีคะแนนเหนือใคร ฯลฯ แต่มีประเด็นหนึ่งที่สื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักหรือสื่ออื่นใดไม่กล่าวถึงเลย ทั้งๆที่ผู้คนในจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานครมีคำถามค้างคาใจอยู่ตลอดมาว่า “ทำไมคนกรุงเทพเลือกผู้ว่าฯของตนเองได้ แล้วคนจังหวัดอื่นทำไมเลือกผู้ว่าฯของตนเองไม่ได้”ประหนึ่งว่าเขาเหล่านั้นเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศนี้

คำอธิบายที่ออกมาจากไม่ว่าจากภาครัฐหรือนักวิชาการตกยุคต่างพร่ำบอกว่าหากให้คนจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครเลือกผู้ว่าฯแล้วจะเกิดความวุ่นวาย กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รัฐไทยเป็นรัฐเดี่ยว นักเลงครองเมือง รู้อยู่แล้วว่าตระกูลไหนจะได้เป็นหากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ซื้อสิทธิขายเสียง เตะหมูเข้าปากหมา ทุจริตคอรัปชันจะเพิ่มขึ้น รายได้ไม่เพียงพอ ฯลฯ ประเด็นที่ตอกย้ำอยู่เสมอเป็นสูตรสำเร็จก็คือ “ประชาชนยังไม่พร้อม”

ผมเคยถูกเชิญให้ไปชี้แจงเรื่องแนวความคิด ร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครต่อคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างคณะกรรมาธิการปกครองและคณะกรรมาธิการทหารของวุฒิสภา ซึ่งประกอบไปด้วยอดีตข้าราชการเกษียณอายุหลายคน หลายคนเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผมก็ให้เหตุผลแก้ข้อสงสัยข้างต้น(สามารถหาอ่านได้จาก “มายาคติและข้อสงสัยในการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค” http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1663)

ที่ประชุมกรรมาธิการส่วนใหญ่รับฟังและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ พร้อมทั้งเชื่อว่าร่าง พรบ.ดังกล่าวเป็นวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทยที่กำลังจะก้าวไปข้างหน้า แต่ก็มีบางคนที่ยังฝังใจและหลงภาพในอดีตเก่าๆว่าประชาชนยังไม่พร้อม เมื่อผมยกตัวอย่างเปรียบเทียบการปกครองของญี่ปุ่นที่เป็นรัฐเดี่ยวเหมือนไทย มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษเหมือนกัน เป็นชาวเอเชียเหมือนกัน ที่สำคัญก็คือสมัยรัชกาลที่ 5 ความเจริญของไทยกับญี่ปุ่นไกล้เคียงกัน รถไฟเข้ามาพร้อมๆกัน(แต่เดี่ยวนี้ญี่ปุ่นมีชินกันเซนแล้ว) แต่ญี่ปุ่นก็ไม่มีราชการส่วนภูมิภาค มีเพียงราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ กรรมาธิการนายหนึ่งบอกว่า “ไม่ได้หรอก คนไทยไม่เหมือนคนญี่ปุ่น” เพียงเท่านั้นผมก็ไม่รู้จะอธิบายเพิ่มเติมอะไรอีกเพราะคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ดูถูกประชาชนของเขาได้

หากเรากลับมาพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างกรุงเทพกับจังหวัดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชียงใหม่แล้ว ผมไม่เห็นว่าคนกรุงเทพกับคนเชียงใหม่จะมีความแตกต่างกันแต่อย่างใด มิหนำซ้ำเชียงใหม่มีอายุตั้ง 716 ปีแล้ว แต่กรุงเทพอายุเพียง 230 ปีเท่านั้นเอง จิตสำนึกทางการเมืองเมื่อเปรียบเทียบเชิงตัวเลขกันแล้วก็สูงกว่าตั้งมากมาย เดี๋ยวนี้ในตลาดร้านค้าไม่ว่าจะเป็นกาดหลวง กาดพะยอมหรือแม้แต่กาดอมก๋อย รถสามล้อ แท็กซี่ สองแถว ตุ๊กๆ เขาไม่คุยกันแล้วเรื่องละครน้ำเน่า แต่เขาคุยกันในเรื่องการเมือง และเป็นการเมืองลึกๆที่สื่อกระแสหลักไม่กล้าลงเสียด้วยซ้ำไป

พูดถึงคุณวุฒิทางการศึกษาเฉลี่ยก็ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่ ซึ่งในเรื่องคุณวุฒิการศึกษานี้จริงๆแล้วผมไม่เคยเชื่อว่าจะเป็นส่วนสัมพันธ์กับจิตสำนึกหรือความตื่นตัวทางการเมืองแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากอินเดียที่ประชาชนมีอัตราการไม่รู้หนังสือสูงกว่าไทยเราตั้งมากมาย แต่อินเดียไม่เคยมีการปฏิวัติรัฐประหารแต่อย่างใด มิหนำซ้ำระบบการเมืองฝังรากตั้งแต่ระดับชาติลงมาถึงสถานศึกษาลงไปจนถึงชุมชนรากหญ้า

แต่ที่แน่ๆในสถาบันการศึกษาของไทยที่มีผู้คนมีคุณวุฒิการศึกษาสูงเหล่านั้นพบว่าสถิติการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งต่ำกว่าภายนอกรั้วมหาวิทยาลัยเสียด้วยซ้ำไป และระบบการบริหารงานในมหาวิทยาลัยเหล่านั้นไม่ได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยเลย จากสถิติคดีที่การฟ้องร้องกันที่ศาลปกครองพบว่าอัตราการฟ้องร้องกันระหว่างบุคคลากรของมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นการสรรหาผู้บริหาร การประเมินผลงาน ฯลฯ อยู่ในอันดับต้นๆ และถ้อยคำที่พิพาทฟ้องร้องกันนั้นแทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นการทะเลาะกันของปัญญาชนชั้นสูงเสียด้วยซ้ำไป

ที่น่าเศร้าไปกว่าในบางมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชารัฐศาสตร์ถึงกับมีการถกกันภายในว่าหากประเทศไทยเรายกเลิกราชการส่วนภูมิภาคไปแล้ว บัณฑิตที่จบไปก็หมดโอกาสที่จะไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ เป็นได้ก็เพียงปลัดเทศบาลหรือปลัด อบต. เท่านั้น ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าใช้สมองส่วนไหนคิด เพราะการปกครองท้องถิ่นนั้นคือหัวใจหลักของวิชาการเมืองการปกครองหรือวิชารัฐศาสตร์เสียด้วยซ้ำไป แต่ก็ไม่น่าแปลกอะไรนักเพราะคณะรัฐศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยของไทยก็ใช้ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทยคือ “ตราสิงห์”เป็นตราประจำคณะกันทั้งนั้นแล้วไปใส่สีเพิ่มเป็น สิงห์ดำ(จุฬา) สิงห์แดง(ธรรมศาสตร์) สิงห์ขาว(มช.) สิงห์ทอง(ราม) สิงห์เขียว(เกษตรศาสตร์) สิงห์ไพร (แม่โจ้) ฯลฯ ซึ่งว่ากันตามจริงแล้วผู้ที่จะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอก็ไม่ได้รับเฉพาะผู้ที่จบรัฐศาสตร์เท่านั้น นิติศาสตร์หรือศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารก็เป็นได้

ว่ากันตามจริงแล้วหลายคนกลัวที่จะได้คนขี้เหร่มาเป็นผู้ว่าที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งกรุงเทพมหานครก็มีผู้สมัครขี้เหร่ๆมาแล้วหลายต่อหลายคนแต่ก็ไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง คนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาผมก็ไม่เห็นว่าจะมีใครขี้เหร่สักคนเดียว เช่น คุณสมัคร คุณอภิรักษ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ฯลฯ ส่วนจะชอบใจไม่ชอบใจก็เป็นเรื่องรสนิยมทางการเมืองของแต่ละบุคคล และผมก็เชื่อว่าในจังหวัดอื่นก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกันเพราะเขาเลือกตั้งคนที่จะไปเป็นผู้นำเขากับมือเขาเอง มิใช่อยู่ที่การชี้นิ้วของคนไม่กี่คนดังเช่นที่ผ่านๆมา

ถึงเวลาแล้วล่ะครับที่ไทยเราจะต้องก้าวไปข้างหน้า ฟิลิปปินส์ อินโด เขาเลือกตั้งผู้ว่ามาตั้งนานแล้ว ไทยเรายังมัวแต่ล้าหลังอยู่ อย่าว่าแต่การเป็นผู้นำอาเซียนเลยครับ ขอให้หนีบ๊วยของอาเซียนให้ได้เสียก่อนเถอะ

 

 

หมายเหตุเผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 26 ธันวาคม 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม” ความต่างที่เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน ( จบ )

$
0
0

 

 

จากข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดที่ได้นำเสนอให้กับสังคมได้เห็นความเป็นไป พอที่จะทำให้เราเข้าใจและสร้าง “เบ้าสำนึก” ได้ไม่ต่างกัน

นั่นก็คือ “เราต้องทำอะไรสักอย่าง” ด้วยการเริ่มต้น  เราต้องลุกขึ้นมาเรียนรู้และศึกษาอย่างจริงจังผ่าน “ความต่างที่เราต้องอยู่ร่วมกัน” ด้วย “ความต่าง”ที่เราให้มันกลายเป็นชนวนทั้งหมดของปัญหาที่กำลังหมุนแรงเหวี่ยงด้วยการสะบั้นและกร่อนความผูกพันสังคมของเราให้พังลงอย่างไม่มีชิ้นดี “ความไม่เหมือน”ที่เราต้องคลุกคลีและพึ่งพาอาศัยกัน “ความไม่ใช่”ที่เราต้องยอมรับและหยิบยื่น “ความไม่ลงตัว”ที่เราต้องหาทางออกและหาทางไปเพื่อสู่ทางรอด “ความไม่เข้าใจ”กลายเป็นกำแพงที่เราต้องทำลายและเปิดพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนกัน

เพราะเอาเข้าจริงเราต้องอยู่ด้วยกันอย่างฉันท์มิตรตาม “พันธะสัญญาว่าด้วยสันติแห่งศาสนา”

องค์ดาไล ลามะ นักคิดผู้ทรงอิทธิพลชาวธิเบตได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า  “เมื่อคนรุ่นใหม่เติบโตมาท่ามกลางศตวรรษแห่งความรุนแรงของยุคสมัย ก้าวต่อไปของพวกเขาในสังคมจะเป็นอย่างไร เมื่อพวกเขาโตมาผ่านภาพมายาคติแห่งความเกลียดชัง การทำร้าย การเข่นฆ่าและการนองเลือด”

 ในนามมุสลิมต้องทำความเข้าใจ หลักการศาสนาผ่านประวัติที่อิสลามเคยนำเสนอ สุดยอดแห่งบาทวิถีอิสลามนั่นก็คือ แบบฉบับแห่ง “ศาสดามูฮัมหมัด” และสหายแห่งศาสนาอย่าง “อาบูบักร” (คอลีฟะห์คนแรกที่ปกครองอิสลามหลังจากท่านศาสดาได้เสียชีวิต) ในการอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมโลกว่าแบบไหน? และอย่างไร ? แบบฉบับที่ดีที่สุดในนามแห่งความเป็นพุทธ ไม่มีใครปฏิเสธหนทางแห่ง “พระพุทธเจ้า” และแนวทางของผู้ติดตามอย่าง “พระอานนท์พระพุทธอนุชา” ซึ่งได้นำวิถีแห่งต้นแบบให้พุทธศาสนิกชนได้อย่างทรงพลัง

ทั้งหมดคือ “พินัยกรรมนัยยะและสัญญาณเตือน” ล้วนทิ้งไว้เป็นแบบฉบับให้กับผู้คนร่วมโลกได้ยึดถืออย่างจริงจังทั้งสิ้น

ที่สำคัญกว่านั้น เมื่อศึกษาอย่างละเอียดถึงแกนก็นำสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้และทำความเข้าใจสังคมที่เป็นไปในโลกแห่งความต่างที่เราต่างอาศัยร่วมกัน เพราะประวัติศาสตร์ไม่ได้ทำหน้าอธิบายเพียงว่า “เกิดอะไรขึ้น? ใครเป็นอะไร? ที่ไหน? อย่างไร?” แต่หน้าที่หลักของประวัติศาสตร์ที่เราศึกษา นั่นก็คือ การนำมาเป็นแกนและกรอบแห่งวิถีชีวิตเพื่อปรนนิบัติและหยิบยื่นให้เพื่อนร่วมโลก

            หาไม่แล้วเราต่างกลายเป็น“ท่านผู้ชม” ที่มีส่วนใน“การกำหนดเร็ตติ้ง”ชีวิตคนให้ตายวันละ ๒ คนต่อหน้าต่อตาอย่าง “ชาชิน”

ในการรายงานของ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ได้สรุปได้อย่างน่าสะพรึ่งกลัว ตัวเลขความรุนแรงจากสถิติความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างวันที่ ๑ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ระบุว่า “ผู้เสียชีวิตมีประมาณ ๖๕ ราย ไทยมุสิลม ๓๕ ราย ไทยพุทธ ๓๐ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๗๗ ราย ไทยมุสลิม ๔๐ ราย ไทยพุทธ ๓๖ ราย ไม่ระบุ ๑ ราย ”[2] จากตัวเลขชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนในเดือนตุลาคม ว่า “เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นที่มาของการสูญเสียและบาดเจ็บจำนวน ๑๔๒ ราย และส่งผลกระทบต่อต่อราษฎรถึง ๗๕ ราย (เสียชีวิต ๓๙ รายและบาดเจ็บ ๓๖ ราย)

เหตุการณ์ในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า “ราษฎรคือผู้ได้รับความเสียหายมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด”

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ได้สรุป ตัวเลขความรุนแรงจากสถิติความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างวันที่ ๑ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ระบุว่า “ผู้เสียชีวิต ๓๑ ราย ไทยมุสลิม ๒๒ ราย ไทยพุทธ ๙ รายและผู้บาดเจ็บ ๑๐๔ ราย ไทยมุสลิม ๒๕ ราย ไทยพุทธ ๗๘ ราย ไม่ระบุ ๑ ราย”[3]

ตัวเลขได้ชี้ให้เราเข้าใจอีกว่า ในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) “จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บทั้งหมดนั้น จากจำนวน  ๒๗๗ ราย ไทยมุสลิมประมาณ ๑๒๒ ราย และไทยพุทธประมาณ ๑๕๔ ราย  เราสามารถมองให้ละเอียดได้อีกว่า “จำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมดในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จำนวน ๑๘๑ ราย ไทยมุสลิม ๖๕ ราย ,ไทยพุทธ ๑๑๔ รายและไม่ระบุศาสนา ๒ ราย ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จำนวน  ๙๖ ราย ไทยมุสลิม ๕๗ ราย และไทยพุทธจำนวน ๓๙ ราย”

ไม่ว่าด้วยเหตุและผลใด เรา(ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) ต้องมองกับอย่างตรงไปตรงมาและไม่หลบตา ว่า  “เราคือเหยื่อแห่งความรุนแรง เราคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง พลังแห่งการขับเคลื่อนสันติภาพก็ต้องเกิดขึ้นจากเรา”

 หมดเวลาแล้ว ที่เราจะมอบความหวังและอนาคตไว้กับชนชั้นนำหรือผู้ปกครอง แม้คนเหล่านั้น “จะอ้างความเป็นตัวแทนในนามพุทธศาสนา” เพื่อช่วงชิงพื้นที่เข้ามามีอำนาจในคราบของ ครู นายทหาร องค์การของรัฐ หรืออะไรก็แล้วแต่ (เพราะอำนาจรัฐและตัวแทนที่เขามี ในความเป็นจริง ก็ไม่สามารถปกป้องให้เราปลอดภัยจากความเสี่ยงที่เรากำลังหลีกหนีอยู่ได้)

ในมุมกลับกัน ในนามแห่งความเป็นมุสลิม เราไม่ควรหวัง แม้กระทั่ง “หวังแบบสมถะ”และฝันอะไรในนาม นักการเมืองที่เป็นมุสลิม ผ่านคะแนนเสียงข้างมากในแต่ละยุคสมัย ทั้งระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด กระทั่งประเทศ เพราะคนเหล่านี้โดยมากไม่ต่างจาก “ผู้หากิน ผู้เห็นแก่ตัวและผู้กอบโกย” ผ่านชีวิตคน ทว่าเราต้องสังเวยชีวิตให้กับการลองถูกลองผิดของนโยบายให้กับคนเหล่านี้

ที่สำคัญกว่านั้นกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับความเสียหาย จาการรายงานของ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) นั่นก็คือ “จากจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวน ๑๓๕ ราย ตัวเลขได้ชี้ให้เห็นว่า ราษฎรมีจำนวนสูงถึง ๗๑ ราย เสียชีวิตประมาณ ๑๙ รายและบาดเจ็บประมาณ  ๕๒ ราย  ตัวเลขเหล่านี้ พยายามบอกว่า ผลกระทบของความรุนแรง นั่นก็คือ “ประชาชนธรรมดาในพื้นที่ (ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

ในขณะเดียวกัน ตัวเลขของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตซึ่งเป็นราษฎรในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) ประมาณ ๑๔๖ ราย ราษฎรเสียชีวิต ๕๘ ราย และบาดเจ็บ ๘๘ ราย  จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นราษฎรในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จากจำนวนผู้เสียชีวิต ๙๖ ราย ราษฎรได้เสียชีวิตมากถึง ๕๘ ราย  จำนวนผู้บาดเจ็บที่เป็นราษฎรในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จำนวนผู้บาดเจ็บ ๑๘๑ ราย ราษฎรกลายเป็นยอดผู้บาดเจ็บสูงถึง  ๘๘ ราย 

เพราะเอาเข้าจริง “เราต่างก็เข้าใจและมีบทเรียนมาไม่ต่างกัน” คือ คนเหล่านี้ ไม่ได้หวังการเรียกร้องเพื่อสันติภาพและปลดแอกเราจากการเป็นเหยื่อแห่งการฆ่าฟันรายวันแต่อย่างใด  “สำนึกเหล่านี้” มองอย่างตรงไปตรงมา นั่นก็คือ เราต่างให้โอกาสคนเหล่านั้น (ตามที่เขาขอ) มากพอ หวังมามากมายและบอบช้ำมาเกินทน เจ็บมาพอ ๆ กัน ไม่ใช่พวกเขาไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเขาก็ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ในลักษณะแบบนี้(ความรุนแรงเชิงคุณภาพ ; ความรุนแรงที่ยืดเยื้อเรื้อรังและเข้มขันยิ่งขึ้น)[4] มากพอ ๆ กัน !!! แล้วเรายังแลกคนที่เรารักวันละ ๒ คน กับการลองผิดถูกไปอีกนานเท่าไหร่ ?

ทั้งนี้ ก็ไม่ควรหวังอะไรทั้งนั้นกับกระบวนการแก้ปัญหาที่มาจาก “ผู้นำมุสลิม” ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นและรากแห่งหลักการศาสนาอิสลาม  ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในคราบ “นักการศาสนา”ผ่าน “การอ้างหลักการอิสลาม” เพื่อผลประโยชน์บางอย่างที่เรารู้กันและที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ ผู้นำเหล่านี้มักได้รับการเลือกตั้งจากคะแนนเสียงข้างมาก (ระบบคะแนนเสียงข้างมากเลือกผู้นำกำลังตีตลาดระบบศาสนาอิสลามโดยไม่มีใครตระหนักถึงผลและสิ่งที่เลวร้ายแห่งความเป็นพรรคพวกและความแตกแยกที่กำลังตามมา)

จำไว้อย่างหนึ่ง เมาลานาซัลมาน แห่งนัดวาตุลอุลามะ (Allama Syed Salman Al-Husaini  Al-Nadwi) สถาบันการศึกษาศาสนานัดวา เมืองลักเนาว์ (Lucknow) ประเทศอินเดียได้ตอกเสาเข็มนักศึกษาอย่างมั่นคงและกล่าวเตือนไว้ในการเรียกร้องผู้คนสู่หนทางแห่งอิสลามว่า

“ศาสนาและเรื่องราวทั้งหมดที่เกี่ยวโยงกับรากเหง้าแห่งอิสลามจะไม่ทำให้คนในสังคมเอาเปรียบกันหรือเป็นชนวนให้สังคมขัดแย้งและแตกแยกกันอย่างที่เห็น แม้เราได้ทำบางอย่างในนามศาสนาก็เหอะ ! ยกตัวบทอัลกุรอ่านหรือชี้แนะจากอัลฮาดิษก็แล้วแต่ ทว่าสิ่งนั้นยังทำให้สังคมยังล้มเลิกบุพการี แบ่งฝักแบ่งฝ่าย  ด่าทอต่อกัน และออกมาห้ำหั่นกันอย่างเลือดเย็น”

“จงระวัง ! โปรดจำไว้ ! พวกท่านทั้งหลายโปรดจำไว้ว่า ! พวกท่านกำลังเดินผิดทาง (อันตรายแห่งผู้ใช้อิสลามแล้วเดินผิดทาง น่าเป็นห่วงกว่าผู้เดินผิดทางโดยไร้หลักการศาสนา) สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ศาสนาและอุดมคติแห่งอิสลามแต่อย่างใด เพราะพื้นและรากแห่งศาสนาจะมีพลังในการรองรับคนไม่เหมือนอยู่กันได้ เป็นหลักการให้คนที่ต่างกันให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นสัญญาณให้ศาสนิกแต่ละศาสนารักใคร่กันและไปมาหาสู่กันอย่างปกติสุข เป็นโมเดลในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและไม่รังแกกันระหว่างเพื่อนร่วมโลก นอกจากนี้ แม้อ้างอิสลาม ก็ไม่ใช่อิสลาม”

ไม่ว่าด้วยความโหดร้ายของโลกหมุนไปแบบไหน เปลี่ยนไปอย่างไร ใครตายไปเท่าไหร่และบาดเจ็บไปขนาดไหน สิ่งนี้คือ บทเรียนและสัญญาณเตือน ว่าเราต้องหาทางออกร่วมกันเพราะสันติภาพที่แท้จริงเกิดจาก “คนข้างใน” อย่างเรา (ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม)

ไม่ต่างจากมุมมองของนักวิชาการอินเดีย  อัสกัร อาลี แอนจิเนีย (Asghar Ali Engineer) ได้นำเสนอใน “The Need For Inter-Religious Dialogue” อย่างตรงประเด็น กระชับ และชัดเจนที่สุดผ่านประสบการณ์แบบนี้ ใต้ฐานแห่งความขัดแย้งฮินดู-มุสลิม ว่า

“ในโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย การดำเนินการในการไดอาล็อคก็เพื่อปลดพันธะบางอย่าง รวมทั้งการเข้าใจผิดระหว่างกัน เมื่อโลกมาในคราบของ “3 Ds” นั่นก็หมายความว่า “Democracy” ทำให้โลกเกิดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และระบอบประชาธิปไตยนำไปสู่ความเป็น “Diversity” และความหลากหลายต้องนำโลกไปสู่การ “Dialogue” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

กระบวนการไดอะล็อก จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ  ประการแรก         ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงสร้างของศาสนา ,นักวิชาการที่มีความเข้าใจในประเด็นอย่างลึกซึ้ง,นักเขียนที่นำเสนอมุมมองให้กับสังคม

ประการที่สอง      ใช้ความเป็นเพื่อนมนุษย์เรียนรู้ระหว่างกัน นำความรู้มาแลกเปลี่ยนกันค่อนข้างจะดีกว่าการโต้แย้งในประเด็นที่เราขาดพื้นฐาน เพราะการไดอะล็อกจะสร้างความกระจ่างให้กับเรา

ประการที่สาม      ต้องนำเสนอจากรากฐานแห่งความเชื่อตามหลักการที่ตัวเองมีแล้วอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ  ถึงการกระทำที่ถูกต้องหรือที่ศาสนาได้สอนไว้อย่างชัดเจน เพราะประเด็นสงสัย อาจส่งผลต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมาเสมอ

ประการที่สี่ จะต้องให้เกียรติและอดทนระหว่างกัน และต้องตั้งใจฟังอย่างถี่ถ้วนแบบใส่ใจและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างจริงใจ เมื่อมีการพยายามอธิบายให้เข้าใจเพื่อให้กระจ่างในข้อสงสัย ผู้มีส่วนร่วมอย่าพยายามเงียบ ทว่า จะต้องแลกเปลี่ยน ซักถามและนำเสนอแนะอย่างมีทักษะ เพราะโดยมากของการเงียบมักทำลายแนวคิดแห่งการ “ไดอะล็อก” เพราะขจัดความต่างด้วยการแลกเปลี่ยนกัน

โดยผลการไดอะล็อก จะนำไปสู่สิ่งเหล่านี้   ประการแรก          เพื่อนำเสนอสิ่งที่เราเข้าใจและการไม่ปฏิเสธความแตกต่างหรือความเชื่อที่ไม่เหมือนของผู้อื่น และพยายามหาทางออกร่วมกัน

ประการที่สอง      ตระหนักไว้เสมอว่า การไดอะล็อก ไม่ใช่การเกิดขึ้นของการปรับเปลี่ยนแนวความคิดได้โดยกะทันหัน  ทว่า มันคือ ก้าวแรกในการเข้าใจคนที่ไม่เหมือนที่ต้องอยู่ร่วมโลกกับเรา

ประการที่สาม      การจัดการที่มีพลังและวิเศษนั้น จะทำให้เข้าใจและเรียนรู้ความต่างแห่งความเชื่อและหลักการศรัทธา ในแต่ละคนที่อยู่ร่วมโลกกับเรา[5]

ในประเทศอินเดีย เกิดการไดอาล็อคกันค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะในโลกแห่งความต่างที่มักเหยียดแน่นและคับเมือง ไม่ต่างจากที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว ก่อนหน้านี้ ใน “ความต่างบนความสูง ๓,๕๒๐ เมตร”[6]  ผลแห่งความต่างอาจ “สร้างกระบวนการจัดการ”อย่างลงตัวแสดงออกมาในรูปแบบของการศึกษา สถาบันการศึกษา ในศูนย์อิสลามศึกษาDarul Musannifin ที่ Azamgarh  หรือที่เรารู้จักกันในนาม “Allamah Shibly Academy” ในหนังสือ “Majma-Ul- Bahrayn” (Co-Mingling of two Oceans)นับเป็นหนังสือเล่มสำคัญในการไดอะล็อกระหว่างฮินดู-อิสลามหรือแม้แต่ป้ายจราจรบนท้องถนนในย่านนิวเดลี (New Delhi) หรือเมืองอื่น ๆ ที่ได้ให้ “พื้นที่” กับทุกชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ได้อย่างเท่าเทียมและเห็นชัด

ภาพเล็ก ๆ เหล่านั้น อาจเป็นส่วนหนึ่งจาก “การตกผลึกของสังคม” (ที่ตายกันมามากกว่าล้านคน )ผ่านป้ายจราจรผ่นเดียวที่เขียนภาษาประมาณ ๓ – ๔ ภาษา เช่นอังกฤษ ฮินดี อุรดู ปัญจาบี หรืออื่น ๆ ตามพื้นที่ท้องถิ่น  เพราะ “อังกฤษ” คือ ภาษาตัวแทนแห่งยุคสมัยที่ใช้กันมากกว่าครึ่งประเทศและการเป็นอาณานิคมของชาวอินเดีย“ฮินดี” คือ ภาษาของศาสนาฮินดูที่มีผู้นับถือมากอันดับหนึ่งของอินเดียและโดยมากใช้ในนิวเดลี รัฐอุตราปราเดสและรัฐมาดราปราเดส “อุรดู”คือภาษาของมุสลิมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายของพลเมืองในชุมชนมุสลิมเกือบทั่วประเทศอินเดีย “ปัญจาบี” คือ ภาษาของบรรดาชาติพันธุ์แห่งชาวซิกห์และนักธุรกิจของอินเดียที่ใช้ในเมืองปัญจาบ[7]

 หรือภาษาในพื้นที่อื่น ๆ ที่ปรากฏไปในแต่ละรัฐและหัวเมือง อย่างคานาดา (รัฐกานาตากา)  ตาลุกุ (รัฐอันดาราปราเดส) แคชมีรี (แคชเมียร์) ลัดดากี (เมืองลัดดาก) เบงกาลี (แถบเบงกอล)  ภาษาทมิฬ (รัฐทมิฬนาดู)  มาลายาลัม (เกเรล่า) ภาษา กองกานี (เมืองทะเลแบบกัววา)  มาราตี  (มาฮารัชตา) ภาษาโอรีสา (เมืองโอริสา) อารียานี  (อารียานา) คุชราตี (คุชราช) ซินดี  (ราจาสถาน)

สิ่งนี้อาจ “เปลือยเปล่าและไม่มีอะไรเลยด้วยซ้ำ” หากมองอย่างผิวเผินหรือผ่านแว่นของประเทศที่ไม่เคยยอมรับความไม่เหมือนอย่างจริงจังแบบประเทศไทย  แต่เมื่อใช้สายตาแห่งการจัดการความขัดแย้ง สิ่งนี้คือ “ผลพวงแห่งการตกผลึกความต่าง” และมันแสดงออกมาอย่างที่เห็น ประเทศไทยอาจไม่ชาชินและไม่ชินชากับตัวเลขชีวิต“พลเมืองที่ต้องสูญเสีย” ดังกล่าวเพราะความต่างเหล่านี้

จึงไม่แปลก ปัตตานีไม่เคยมี “หลักสูตรสอนภาษาถิ่นแบบยาวี”(บังคับให้เป็นวิชาพื้นฐานในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยของรัฐที่ทุกคนต้องเรียน)ให้กับคนจากต่างพื้นที่หรือในพื้นที่เองไม่ว่าพุทธหรือมุสลิม อย่างน้อยคือ “การเริ่มต้นผ่านมิติวัฒนธรรมที่ต่างกันอย่างทรงพลัง”

 “สังคมภาพใหญ่แห่งความเป็นไทยอาจกลัวว่า วิธีการเหล่านี้เป็นการเปิดพื้นความเป็นภูธรที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างความต่างที่เป็นซีแย-นายู ได้พูดคุยกันมากกว่าเดิมระหว่างความไม่เหมือนไทยมุสลิม-ไทยพุทธ หรืออีกนัยยะหนึ่งเป็นการยอมรับประวัติศาสตร์แห่งความต่างที่ดำเนินอยู่และเป็นไป อาจรวมไปถึงความเป็นเอกภาพของสังคมไทยที่ “ทุกคนต้องเหมือนกัน” ชะตากรรมของประเทศแห่งความเป็นรัฐอธิปไตยสำคัญกว่าชีวิตพลเมืองที่ต้องสังเวยให้ความต่าง หากพื้นที่เหล่านี้เปิดขึ้นมา คนในสังคมแห่งความต่างได้เรียนรู้กันมากกว่าเดิม เมื่อถึงตอนนั้น อาจยากแก่การปกครองและควบคุม”

ในทางกลับกัน ชาวจีนในปัตตานีโดยเฉพาะโรงเรียนเทศบาลเมืองปัตตานี ได้กำหนดวิชาภาษาจีนให้กับนักเรียนทุกคนได้เรียน ฟัง พูด อ่านและเขียนอยู่ในหลักสูตรการศึกษา เพราะอะไร ? ทำไม ? ตลกไหม ! (คนตายวันละ ๒ คน สังคมต้องหาทางออกเพื่อสิ่งนี้ ไม่ใช่ปรับหลักสูตรเพื่อรองรับกระแส “แฟชั่นอาเซี่ยน” อย่างที่เรากำลังคิดและทำกัน เพราะมันไกลเกินวิถีแห่งเรา)

เพราะจุดจบแห่งความต่าง สำหรับอิสลาม นั่นก็คือ พระเจ้าจะทดสอบว่า “เราสามารถขจัดความไม่เหมือนเหล่านั้นด้วยวิธีไหน ระหว่างอิสลามที่เชื่อมร้อยสันติภาพและการปกป้องให้เกียรติผู้อื่นหรือ การใช่ราคะมาตัดสิน จนเกิดการนองเลือด”

พระเจ้าแค่สร้างความต่างมาเพื่อให้เราได้เรียนรู้ระหว่างกัน “พระเจ้าสร้างมาแค่นั้นจริง ๆ”

                ผมได้มีโอกาสเดินทางไปในหมู่บ้านฮินดูย่านเมืองอักราอีกรอบ หลังเวลาผ่านไปกว่า ๕ เดือนเต็ม ผมยังเจอกับ Sanjivnee , Divi , Dipika ผู้เป็นพี่สาวของ Sanjivnee และ Kori หลานสาวอีกคนที่เดินทางมาจากเมืองมาตูรา (Mathura) คนทั้งหมดเหล่านี้ยังแบ่งปันรอยยิ้มให้กับผมและเพื่อนพร้อมขนมเล็กน้อยเพื่อต้อนรับขณะที่ผมแวะไปเยี่ยมและพูดคุย กระทั่งขอห้องละหมาดเหมือนวันก่อน

นี่คือ ส่วนที่วิเศษสุดในการเดินทางของช่วงวัยของผมบนท้องถนนแห่งความแตกต่างและช่างไม่เหมือนเอาเสียเลย 

                “ผมมาจากพื้นหมู่บ้านแห่งความต่าง ผืนแผ่นดินแห่งความไม่เหมือน ผมมียี่ห้อที่เพิ่งติดให้ผมหลังจากผมเกิดมาจากท้องมุสลิม ฮินดู คริสต์ พุทธ หรือยิว ก่อนหน้านี้ที่มาของผมและของคุณต่างก็เหมือนกันคือ น้ำอสุจิ ก้อนเลือดและก้อนเนื้อ โลกของเราช่างไม่เหลื่อมล้ำกันนั่นก็คือ ครรภ์ของแม่ อาหารที่เราต่างพอประทัง ก็คือ หยดเลือดผ่านสายสะดือ แต่เมื่อเรามียี่ห้อ เราต่างลืมแผ่นดินที่เราเคยย่ำกันมาแต่แรกเกิดจนหมดสิ้น เราจึงใช้หยดเลือดมารดรินหยิบยื่นให้กัน”

ผมนั่งนึกตลอดทางกลับเมืองอาลีกัร ขณะรถบัสวิ่งผ่านสายหมอกที่ย้อมผืนฟ้าฝ่าลมหนาวแห่งฤดูกาล

-ด้วยความเคารพและขอบคุณที่กรุณาติดตามอ่าน จนจบบทสุดท้าย-

 


[1] ปริญญาตรีการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , ปริญญาโทวิชาเอกปรัชญาการเมืองอิสลาม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอาลีกัรมุสลิม,อินเดีย  ปัจจุบัน เป็นนักเดินทางและใช้ชีวิตด้วยการอ่านหนังสือ บทกวี การเขียนเรื่องสั้นลงนิตยสาร บทความเว็บไซต์ งานวิจัยและงานวิชาการตามโอกาสและวาระที่พบเห็นและเผชิญ เขียนเมื่อ 3-12-2012 ณ ห้องเช่าริมกุโบร์,อินเดีย

[2] อ่านเพิ่มเติมได้ใน http://www.deepsouthwatch.org/node/3671

[3]  อ่านเพิ่มเติมได้ใน http://www.deepsouthwatch.org/node/3742

[4] ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี, (บทวิเคราะห์) “ 9 เดือน ของปีที่ 9 ; ในสถานการณ์ความรุนแรงอันยอกย้อน กระบวนการสันติภาพปาตานียังคงด้าวเดินไปข้างหน้า”,ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ; ปัตตานี, 2 พฤศจิกายน 2522, หน้า 1 หรือ http://www.deepsouthwatch.org/node/3670

[5] หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก The Nation and The World(The Fortnightly Newsmagazine), Asghar Ali Engineer ,“The Need For Inter-Religious Dialogue” ,April ; 16,Vol.19,489  P.18-19

[6] อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม, “ความต่างบนความสูง ๓,๕๒๐ เมตร”, ปัตตานีฟอรัม,๒๕๕๕ (๑๑ สิงหาคม) หรือใน  http://www.pataniforum.com/news_detail.php?news_id=68&fb_source=message  หรือ อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม “ไดอาล็อกบนลาดักห์: ความต่างบนความสูง3,250เมตร”, นิตยสารนิสาวาไรตี้ (ประจำเดือน 11 ปี ปีที่ 13 ฉบับที่ 132), 2555 ,หน้า  ๔๒-๔๗ หรือใน  http://prachatai.com/journal/2012/08/42019    

[7] หาข้อมูลเพิ่มเติมใน อับดุเราะฮหมาน มูเก็ม, “ชาวซิกห์กับแผ่นดินประติมากรรมสู่ “Homeland”,ปัตตานีฟอรัม,๒๕๕๕(๓ กรกฎาคม) หรือในhttp://www.pataniforum.com/news_detail.php?news_id=59

 

 

ที่มา:PATANI  FORUM

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทามาดะ โยชิฟูมิ: อนาคตญี่ปุ่นหลังเลือกตั้งและรัฐบาลชินโซะ อาเบะ

$
0
0

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ทามาดะ โยชิฟูมิ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต มาบรรยายหัวข้อ "อนาคตญี่ปุ่นกับผลการเลือกตั้งครั้งใหม่" โดยวงเสวนานี้จัดที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย นิสิตวิชาการเมืองการปกครองญี่ปุ่น

นายชินโซะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรี 1 สมัย และว่าที่นายกรัฐมนตรีจากพรรค LDP (ที่มา: วิกิพีเดีย)

นายโยชิฮิโกะ โนดะ อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรค DJP (ที่มา: วิกิพีเดีย)

ทั้งนี้ญี่ปุ่นเพิ่งจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือ LDP ชนะการเลือกตั้งได้ ส.ส. 294 ที่นั่ง จากทั้งหมด 480 ที่นั่ง ทำให้ได้เป็นรัฐบาล ขณะที่พรรครัฐบาลเดิมคือพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น หรือ DJP ได้ ส.ส.เพียง 57 ที่นั่ง จากที่เคยได้ 230 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2009

โดยว่าที่นายกรัฐมนตรีจากพรรค LDP ก็คือนายชินโซะ อาเบะ (Shinzo Abe) ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 57 ของญี่ปุ่นต่อจากนายจุนอิชิโร่ โคอิซูมิ แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ระหว่างปี 2549-2550 ก็ขอลาออกเพราะมีปัญหาเรื่องคะแนนนิยมและสุขภาพ

อาจารย์ทามาดะ กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้พรรครัฐบาลคือพรรค DPJ ไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ก็คือ เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ดีขึ้น นโยบายที่เคยหาเสียงว่าไว้ก็ไม่สามารถดำเนินได้ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแย่ลง โดยรัฐบาลพรรค DPJ มีปัญหากับสหรัฐอเมริกา จีน และเกาหลีใต้ นอกจากนี้มีเหตุแผ่นดินไหวและอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำให้ถูกวิจารณ์ และสังคมญี่ปุ่นมีคนสูงอายุมากขึ้น คนในวัยทำงานน้อยลง โดยปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ ยังไม่มีทางออก ขณะที่เมื่อรัฐบาลยังไม่มีสตางค์ ก็ตัดสินใจว่าจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมเป็นร้อยละ 5 จะขึ้นเป็นร้อยละ 7 และร้อยละ 10 ดังนั้นเมื่อไม่มีผลงานอะไร พอขึ้นภาษีก็ทำให้ประชาชนไม่ชอบ

นอกจากนี้เมื่อประชาชนไม่นิยมพรรค DPJ แล้ว ส.ส.ที่มีฐานะไม่มั่นคงในพรรค ก็ขอลาออกจากพรรค ไปอยู่พรรคใหม่ ทำให้มีหลายพรรคมากขึ้น เมื่อถึงเวลาที่มีการเลือกตั้ง ที่สุดท้ายประชาชนตัดสินใจเลือก LDP ไม่ใช่เพราะชอบ LDP แต่ว่ายังดีกว่าพรรค DPJ และไม่มีทางเลือก ดังนั้นเมื่อต้องเลือกพรรคหนึ่งก็เลยต้องเลือก LDP ทำให้พรรค LDP ชนะอย่างมาก

ทั้งนี้การคลังรัฐบาล การเลือกตั้งรอบนี้มีคนออกมาเลือกตั้งน้อยมากคือประมาณร้อยละ 59 โดยมีสี่เรื่องที่สำคัญที่เป็นตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้งได้แก่ นโยบายการคลังรัฐบาล นโยบายประกันสังคมที่ต้องการงบประมาณมาก เศรษฐกิจไม่พัฒนา ราคาสินค้าโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำมาหลายปี ประเด็นเรื่องจะหยุดการใช้นิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่ รวมทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้กองกำลังป้องกันตนเอง

ตอนหนึ่งอาจารย์ทามาดะกล่าวด้วยว่า ความท้าทายต่อไปของญี่ปุ่นก็คือสังคมคนชรา ที่ประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มว่าจะน้อยกว่าประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งต่อไปในอนาคตรัฐบาลจะต้องเพิ่มภาระด้านการรักษาพยาบาลให้กับผู้สูงอายุ และรัฐบาลมีทางเลือกไม่กี่อย่าง คือจะขึ้นภาษีหรือจะลดภาระการดูแลคนชรา

นอกจากนี้แนวโน้มหลังการเลือกตั้ง อาจจะต้องจับตานโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลชินโซะ อาเบะ ซึ่งแน่ชัดว่าจะไม่มีการย้ายฐานทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งมีกำลังพล 50,000 นาย ออกจากโอกินาว่า ก่อนหน้านี้มีความเห็นของคนที่เกาะโอกินาว่าต้องการให้ย้ายฐานทัพของสหรัฐอเมริกาออกจากเกาะ แต่สหรัฐอเมริกาก็ไม่ยอม โดยฐานทัพของทหารสหรัฐบริเวณดังกล่าวเป็นจุดที่ดูแลความมั่นคงบริเวณคาบสมุทรเกาหลี และจีน

ต่อประเด็นที่ว่ารัฐบาลของชินโซะ อาเบะจะไปในทิศทางไหนนั้น ตอนท้ายของการเสวนา อาจารย์ทามาดะให้ข้อสังเกตว่าถ้าเขาถูกกดดันมากๆ สงสัยจะลาออก หรือลาออกโดยให้เหตุผลว่าป่วย จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้หรือไม่ ถ้าแก้ได้ก็ดีมาก แต่ไม่แน่ใจว่าจะแก้ได้แค่ไหน โดยปัจจุบันธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นก็บอกให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงเรื่องนโยบายดอกเบี้ย เมื่อกู้เงินมาก หนี้สินมาก สุดท้ายจะจบอย่างไรไม่แน่ใจ 

นอกจากนี้ชินโซะ อาเบะ ก็ให้ความสนใจเรื่องทหาร เคยบอกว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยน "กองกำลังป้องกันตนเอง" ของญี่ปุ่นเป็น "กองทัพแห่งชาติ" นอกจากนี้มีแนวโน้มว่ารัฐบาลใหม่จะมีปัญหากับจีน เกาหลี และจะเน้นความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกามากขึ้น เป็นลูกน้องที่ดี คือตอนนี้ก็ดีแล้ว ต่อไปก็ดีขึ้นอีก ทำอะไรก็ตามคำสั่งสหรัฐอเมริกามากขึ้น

ที่น่าจับตาอีกก็คือปีหน้า จะมีการเลือกตั้งวุฒิสภาญี่ปุ่น ต้องดูว่าพรรค LDP จะได้ที่นั่งแค่ไหน แต่ที่ผ่านมาในญี่ปุ่น พรรคที่แพ้การเลือกตั้ง ส.ส. จะชนะการเลือกตั้ง ส.ว. เพราะคนญี่ปุ่นไม่นิยมเลือกพรรคการเมืองเดียวทั้งสองสภา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลโหวต 10 แฟนเพจเฟซบุ๊ก ปี 2012

$
0
0

แฟนเพจแห่งปีจากการโหวตกับประชาไท ประกอบด้วย เพจ VRZO, 9Gag in Thai(9GAG in Thai), Drama-addict, สมรัก พรรคเพื่อเก้ง, โหดสัส V2, เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด, Dora GAG, ออกพญาหงส์ทอง, วิรศากดิ์ นิลกาด และช้างเป็นสัตว์กินเลือด

ภาพโดยเพจ เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด

หลังจากที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Prachatai ได้ตั้งกระทู้ “ร่วมเสนอและ Vote 10 เพจแห่งปี 2012” เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.55  เวลา 16:50 น. โดยเปิดให้ผู้ร่วโหวตเสนอและโหวตเพจที่ตัวเองคิดว่าสมควรได้รับเลือกและได้เป็นเพจแห่งปี อย่างไรก็ตามระบบการโหวตจำกัดตัวเลือกได้เพียง 100 ตัวเลือก แต่มีผู้เสนอตัวเลือกมามากกว่า 100 เพจ ดังนั้นทางผู้จัดการโหวตจึงได้มีการถอดตัวเลือกที่มีการโหวตน้อยสุดจำนวนหนึ่งออกเป็นระยะโดยมีการแจ้งล่วงหน้าก่อนถอดทุกครั้ง

จนกระทั้งปิดการโหวต เมื่อเวลา 23.59 น. วันที่ 25 ธ.ค.55 ผลคือมีจำนวนการโหวต 371,272 โหวต จำวน user ที่กดติดตามการโหวต 4,358 user จำนวนการแสดงความเห็น 6,792 ความเห็น จำนวน user ที่กดถูกใจ 7,705 user

ผลที่ได้จากการโหวตถือว่าทั้ง 10 เพจเป็นเพจแห่งปี 2012 ประกอบด้วย

เพจ  VRZOจำนวน 54278 โหวต เป็นเพจประเภทรายการทีวี ที่มีขนาด User กดถูกใจ 1,083,499 user โดยมีการโพสต์วีดีโอรายการ “VRZO” ซึ่งเป็นรายการบันเทิงที่เผยแพร่ทาง Youtube และโทรทัศน์ โดยมีพิธีกรหลักคือ ปลื้ม สุรบถ หลีกภัย และทับทิม มัลลิกา จงวัฒนา พร้อมกับเพื่อนในทีมอีกประมาณ 5 คน  เปิดตัวครั้งแรก ธ.ค.53 โดยจะคอยสัมภาษณ์คน 100 คน ในแต่ละหัวข้อที่วัยรุ่นสนใจ พร้อมกับมุขขอสามคำ ในการนิยามความเห็นด้วย สำหรับแฟนเพจยังมีการโพสต์ภาพกิจกรรมของทีมพิธีกรและสื่อสารกับแฟนเพจด้วย อีกทั้งจากการจัดอันดับของ socialbakers.com ขณะนี้ยังเป็นแบรนที่โตเป็นอันดับ 5 ของบรรดาแบรนที่ใช้ช่องทางนี้ในการประชาสัมพันธ์ในไทยอีกด้วย

เพจ 9Gag in Thaiจำนวน 43963 โหวต เป็นเพจที่มีขนาด User กดถูกใจ  26,417 user รวมด้วยเพจ 9GAG in Thaiที่มีจำนวน 6037 โหวต และเป็นเพจที่มีขนาด User กดถูกใจ 977,232 user เนื่องด้วยทั้ง 2 เพจมีลักษณะเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ขนาด และในตอนต้นเพจ 9GAG in Thai มีการเชิญชวนให้แฟนเพจเข้ามากดถูกใจแต่เพจตัวเองยังไม่ถูกใส่แท็กเข้ามาในตัวเลือก ด้วยความคลุมเครือนี้จึงไม่สามารถแยกการเลือก 2 เพจนี้ออกจากกัน จึงได้ให้ทั้ง 2 เพจได้เหมือนกันโดยถือเอาคะแนนสูงสุดของทั้ง 2 ตัวเลือกเป็นเกณฑ์และไม่มีการนำคะแนนมารวมกันสำหรับเพจนี้เป็นเพจประเภทชุมนุม เสียดสีเหน็บแนมล้อเลียนสังคม เป็นการแปลแก๊กจากเมืองนอกโดยมาจากเว็บ 9GAG.com เป็นส่วนใหญ่รวมถึงเพจ/เว็บไซต์อื่นๆ และรวมมุกจากแฟนเพจ

เพจ Drama-addictกับภาพที่พูดถึงการโหวต

เพจ Drama-addictจำนวน 27890 โหวต เพจประเภท สื่อ/ข่าว/การเผยแพร่ ที่มีขนาด User กดถูกใจ  148,722 user นอกจากจะเป็นเพจที่ประชาสัมพันธ์เรื่องราวการถกเถียงของคนในสังคม ทั้งจากเว็บบอร์ด เฟซบุ๊ก ที่ถูกเรียบเรียงเป็นเรื่องราวโดยเว็บไซน์ drama-addict.comยังมีการสื่อสารทั้งโพสต์ข่าว วีดีโอคลิปหรือภาพ หรือสถานที่ๆ อาจจะเกิดดราม่าในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทัศนะต่อสถานการณ์ทางสังคมและการเมือง ในบุคลิคของแอดมินที่ใช้นามแฝงว่า “จ่าพิชิต ขจัดพาลชน

เพจ สมรัก พรรคเพื่อเก้งจำนวน 20639 โหวต เป็นเพจที่มีขนาด User กดถูกใจ  57,739 user โดยเพจสมรัก ได้มีการย้ายเพจไปบ้านใหม่(สมรัก พรรคเพื่อเก้ง.)ไปเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมาและมียอดกดถูกใจ 25,738 user เพจสมรัก เป็นเพจแนวตั้งคำถามหรือโพสต์เสียดสีสังคม จิกกัดคนดังต่างๆ ประชดประชัน สร้างรอยยิ้มและความสะใจในหมู่ผู้อ่าน และผลงานของเขาได้เคยนำไปโพสต์ในเว็บพันทิปจนเป็นกระทู้แนะนำในหลายห้องดัง หรือดูตัวอย่างผลงานของเขาที่เว็บไซต์แนวหน้าเอาไปเขียนถึง(คลิก)กรณีที่ "แมคโดนัลด์" ติดป้ายประกาศ ขอความร่วมมือไม่ให้มีการติวหนังสือ หรือ ทำกิจกรรมการประชุมใดๆ ภายในร้านแมคโดนัล

โดยเขาเคยให้สัมภาษณ์กับมติชนรายวันเมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า "ผมจะเล่นความเชื่อเยอะ"ด้วยแนวการเขียนเสียดสีและอำๆไปด้วย โดยเขาอธิบายว่าที่เลือกทำอย่างนั้น เป็นเพราะมั่นใจว่าถ้าบอกแบบตรงๆ คนมักไม่เชื่อ อีกทั้งลึกๆ แล้วสิ่งที่เขาอยากบอกยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จำพวกของ "ความเชื่อ"

เพจ โหดสัส V2จำนวน 20624 โหวต เป็นเพจประเภทชุมชน ที่มีขนาด User กดถูกใจ  106,925 user ตั้งขึ้น พ.ย.54 เป็นเพจล้อเลียนและโพสต์สิ่งที่คนทั่วไปในโซเชียลมีเดียไม่โพสต์หรือไม่นำเสนอ ซึ่งเป็นด้านลบที่ไม่ใช่สิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะดู แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ส่วนใหญ่เป็นการโพสต์ภาพ เช่น ภาพ ขี้ โดยเฉพาะการระดมแฟนเพจไปโพสต์หรือปาขี้ใส่เพจที่ขัดแย้งกับตน รวมทั้งการโพสต์ภาพเสียดสีความเชื่อที่ศักดิ์สิทธิในสังคม ศาสนา ซึ่งทีมแอ็ดมินเพจโหดสัสได้เคยให้สัมภาษณ์กับมติชนออนไลน์ เมื่อ มี.ค.ที่ผ่านมาถึงเพจเขาว่า “เวลาไปเห็นอะไรที่ รุนแรงเสียดสี หยาบช้า แล้วอุทานออกมว่า โหดสัส นั่นแหละที่มาของเพจผม คือการไปพบเห็นอะไรที่แม่งโหด จนมึงต้องอุทานออกมาว่า โหดสัส”ทั้งนี้เพจโหดสัส ได้ตั้งเพจใหม่ชื่อ “โหดสัส V2” เมื่อ ก.ค.55 โดยที่เพจเดิมมีคนกด like กว่า 1.4 แสน like และยังเปิดไว้เช่นเดิม แต่ไม่มีการโพสต์ต่อหลังมีการเปิดเพจให้คือเพจโพดสัส V2 ดังกล่าว นอกจากนี้ได้มีแอ็ดมิน โหดสัส 001 ได้ประกาศในทางสาธารณะว่าได้แยกทางกับทีมโหดสัสอื่นๆ โดยไปตั้งเพจตัวเองใหม่ชื่อ “ไม่โหดสัส 001

เพจ เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัดจำนวน 18769 โหวต เป็นเพจประเภทศิลปิน ที่มีขนาด User กดถูกใจ  223,404 user เป็นเพจที่ล้อเลียนเสียดสีสังคม โดยใช้เทคนิคการตัดต่อภาพกราฟฟิกที่สวนงาม บวกอารมณ์ขัน โดยเขาอธิบายตัวเองว่า “ทำกราฟฟิคภาพตัดต่อ เสียดสีสังคม แขวะการเมือง ล้อหนัง ล้อละคร เพื่อสร้างความฮาในสังคมที่วุ่นวาย คลายเคลียดแต่ดราม่าพอประมาณ”

เพจ Dora GAGจำนวน 16261 โหวต เป็นเพจประเภทหนังสือ ที่มีขนาด User กดถูกใจ 121,233 user เป็นการนำเสนอแก๊กเน็บแนมเสียดสีล้อเลียนต่างๆ โดยมีลักษณะเอกลักษณ์คือใช้ภาพการ์ตูนน่ารักและเซ็กซี่นำเสนอ เขาอธิบายว่าเป็นเพจ “มุกตลก การ์ตูนแปล ภาพขำ ๆ หื่น ๆ”

เพจ ออกพญาหงส์ทองจำนวน 15263 โหวต เป็นเพจที่มีขนาด User กดถูกใจ 167,541 user เป็นเพจที่มีลักษณะเด่น เป็นการใช้ภาษาแบบในหนังนเรศวร และมีภาพโปรไฟล์เป็น “พระเจ้าบุเรงนอง” ในเรื่องดังกล่าว โดยนำเสนอมุมมองเรื่องราวทางสังคม การเมือง ผ่านภาษาที่เป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง ที่มีอารมณ์ขันและการเสียดสี โดยเพจที่มีการล้อเลียนภาษาในรอบปีนั้นยังมีเพจที่น่าสนใจอย่าง เพจ ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์เพจ ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อยหรือ หนังสือเพี้ยน ป.1ด้วย

เพจวิรศากดิ์ นิลกาดกับป้ายรณรงค์หาเสียงในเฟซบุ๊ก

เพจ วิรศากดิ์ นิลกาดจำนวน 13395 โหวต เป็นเพจที่มีขนาด User กดถูกใจ 63,647 user เพจที่ล้อเลียนบุคลิคการพูดและพากย์บอลของนักพากย์ชื่อดังอย่า วีรศักดิ์ นิลกลัด ที่มีสไตล์และศัพท์ที่ใช้เป็นของตัวเอง โดยเฉพาะการพูดที่ยังไงก็ไม่มีวันผิด นอกจากนี้เพจยังมีการล้อเลียนสถานการณ์ทางสังคม และที่สำคัญคือการล้อเลียนแฟนฟุตบอลทีมต่างๆ อีกด้วย สร้างอารมณ์เคืองแบบขำๆ แหม่

โดยแอดมินเพจนี้ ซึ่งใช้นามแฝงว่า “บอสหยอย" ได้ให้สัมภาษณ์กับธีรภัทร รัญตะเสวี และเผยแพร่ทาง goal.comอธิบายถึงเพจที่ตัวเองดูแลอยู่ว่า “เรียนตามตรงว่าเพจของเราเป็นเพจเพื่อความบันเทิง ผมเข้าใจว่าหลายๆ ครั้งมีการกล่าวนำไปพาดพิงใครต่อใคร แต่สำหรับเราแล้ว เรื่องฟุตบอล เป็นความสุขเรียบๆ ง่ายๆ ที่เราพูดกันได้ในทุกๆ วันครับ ความตลกของทีมโน้นที่ชอบแขวะทีมนี้, ทีมนั้นที่ชอบด่าทีมนี้ มันเหมือนเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่ง ในความคิดของผมนะ คือเรามองเรื่องฟุตบอลให้เป็นเรื่องตลก ไม่อยากให้แฟนบอลเครียดจนเกินไปครับ โดยอาศัยความน่ารักอันเป็นเอกลักษณ์ของไอดอลเราเอามาผสมผสาน พิมพ์อะไรไปแฟนคลับก็จะได้อารมณ์หมั่นไส้เล็กๆ มันสนุกตรงนี้ครับ”

เพจ ช้างเป็นสัตว์กินเลือดจำนวน 9894 โหวต เป็นเพจประเภทให้ความบันเทิง ที่มีขนาด User กดถูกใจ 49,781 user เป็นเพจบันเทิงที่นำเสนอข้อมูลล้อเลียนความเป็นวิชาการ เอาช้างมาเป็นล้อเลียน โดยเฉพาะวาทะกรรมอย่าง “ถุงมือช้าง” ที่ทำให้ช้างเป็นสัตว์ที่ลึกลับซับซ้อนมีอิทธิพลต่อการเป็นไปในสังคมและมนุษยชาติ มีทั้งการโพสต์ภาพกราฟิก ข้อความต่างๆ รวมทั้งยังมีเกมส์ออนไลน์ด้วย จนกระทั้งมีคนมาโต้แย้งเกิดเป็นดราม่า จนจ่าพิชิต แห่งดราม่า ได้นำมาเขียน ใน “ช้างกินเลือด!!

ทั้งนี้ยังมีแฟนเพจที่มีการถูกโหวตจำนวนมากแต่หลุดอันดับไป เช่น เพจ เรารักในหลวงเพจ สมาคมนิยมเดก 11รด ><เพจ วิวาทะเพจ ศาสดาเพจ คิดว่าดีก็ทำต่อไปเพจ SpokeDark TVเพจ Jod 8riewเพจ มุมต่างและเพจ เหี้ยดิสคัฟเวอรี่เป็นต้น

จากการที่มีการร่วมแสดงความคิดเห็นถึง 6,792 ความเห็น ที่มีทั้งการเสนอชื่อเพจเพื่อเข้ารับการโหวต การวิพากษ์วิจารณ์ความแท้-เทียม กรณีเพจ 9GAG in Thai กับ 9Gag in Thai และที่สำคัญคือกรณีเพจ VRZO ที่มีแฟนเพจของ VRZO เข้ามาแสดงความสนับสนุนเพจตัวเอง ในขณะที่มีอีกฝ่ายแย้งถึงคุณสมบัติของเพจ VRZO ว่าเป็นเพียงเพจประชาสัมพันธ์รายการ ส่งผลให้เกิดวิวาทะดราม่า จะกระทั้งแอดมินเพจ VRZO ได้มีการประกาศแถลงไม่ร่วมกิจกรรม และจ่าพิชิต ขจัดพาลชน แอดมินเพจ Drama-addict ได้นำเรื่องราวดังกล่าวไปเขียนเป็นเรื่องราวตามแนวถนัดของของเขา ในชื่อ “ติ่งแย่รังแกฉัน!!” อย่างไรก็ตามการประกาศถอนไม่เข้าร่วมกิจกรรมของแอดมินเพจ VRZO นั้นมีผลเพียงดุลยพินิจหรือการตัดสินใจของผู้โหวตเพจ VRZO เท่านั้น ตราบใดที่ยังมีคนเลือกเพจดังกล่าวอยู่ย่อมไม่อาจถอนออกได้ เพราะการโหวตครั้งนี้ทั้งการเสนอชื่อและการเลือกเป็นไปโดยแฟนเพจหรือผู้เลือก

และในระหว่าง 15 วันของการเปิดโหวตนั้น จะสังเกตได้ว่าเพจที่ได้คะแนนนำ ไม่เพียงที่เดิมเป็นเพจที่มีความนิยมอยู่แล้วเท่านั้น ยังเป็นเพจที่มีความเคลื่อนไหวเชิญชวนให้แฟนเพจมาร่วมโหวตด้วย เช่น เพจ โหดสัส V2เริ่มต้นด้วยการประกาศแจกของให้ผู้โหวตว่า "เหมือนเดิมสัส ใครโหวตเพจกู กูจะเลือกมา 1 ผู้โชคดีเอาเสื้อเพจกูไปสัส"เช่นเดียวกับเพจ ศาสดาที่ประกาศเชิญชวนด้วยการแจกของเช่นกันว่า “..ใครโหวตให้ผม ผมจะสุ่มรางวัล แจกกิ๊ฟต์เซ็ตศาสดา ประกอบไปด้วย หนังสือ ลายเซ็นต์ ถุงผ้า และถุงยางครับ 3 รางวัลเท่านั้น โหวตๆๆๆๆๆๆ"

เพจ สมรัก พรรคเพื่อเก้งกับข้อความเชิญชวนให้แฟนเพจเข้ามาร่วมโหวตในสไตล์ของตนเองว่า "โหวตโลด ตามสบาย เลือกเพจที่คุณชอบ ไม่ต้องห่วงผม อ้อผมรักคุณทุกคนมากนะ มากจริงๆ(มองหน้าแล้วกระพริบตาถี่ๆ)" เพจ ออกพญาหงส์ทอง"มาตรแม้นผลคะแนนกูจักตามอยู่หลายอันดับ หากแต่กูมิเกรงกลัวดอก ในคืนวันหมาหอน กูจักไปเคาะประตูเรือนแจกเบี้ยอัฐเสียเอง"เพจ วิรศากดิ์ นิลกาด"รักลุง ชอบลุง เกลียดลุง โหวตลุงด้วยนะครับ อันนี้โพลอีกเจ้านึง แหม่ ขยันสร้างกันจริงๆ"

เพจ VRZO ก็มีการโพสต์เชิญชวน ทั้งในเพจเครือข่าย เช่นเพจ TubTim และเพจหลักคือเพจ VRZO  โดยโพสต์ว่า "ทางประชาไทจัดโหวต"10เพจแห่งปีของไทย" และมีคนเสนอแฟนเพจVRZOไปด้วย!” ถ้ายังไงฝากเข้าไปโหวตให้VRZOกันด้วยนะคร้าบ!!!.."เพจ 9GAG in Thaiกล่าวว่า “ร่วมกันโหวตให้ 9GAG in Thai เป็นเพจแห่งปีได้ที่นี่เลยครับผม ^^”เพจ เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัดที่โพสต์ว่า “เข้าๆไปโหวตกันหน่อยนะเว้ยเฮ้ย!" นอกจากนี้เพจนี้ยังมีการตัดต่อภาพล่อเลียนเพจนำในเริ่มแรกด้วย (ดูภาพที่อ้างอิงด้านบน)

โดยในการโพสต์รณรงค์เชิญชวนให้แฟนเพจมาร่วมโหวตมักจะสะท้อนลักษณะเด่นหรือบุคลิคเฉพาะของแต่ละเพจ อย่างกรณี เพจ วิวาทะ ที่มีการพยายามโควทคำพูดของเพจต่างๆ เกี่ยวกับการโหวตมาเพื่อเสนอให้มีการเข้าไปโหวตเพจตัวเอง เพจ Drama-addict (15 ธ.ค.55)ที่มีการกล่าวหลังจากมีดราม่าเกี่ยวกับการโหวตด้วยว่า

“ผลโหวตได้สองหมื่นกว่า จ่าพอใจแระ ที่เหลือคือตักตวงดราม่า กั่กๆๆๆๆๆๆ"

หรือเพจ โหดสัส V2 ที่มีกิจกรรมการเชิญชวนให้แฟนเพจถ่ายภาพตัวเองในมุมแปลกๆ หรือเซ็กซี่ พร้อมข้อความ "โหวตโหดสัส V2" และเพจได้นำมาโพสต์เพื่อเรียกให้คนเข้าไปโหวต รวมทั้งการระดมแฟนเพจไปโพสต์ภาพอุจาระหรือศัพท์เฉพาะว่า “ปาขี้” ในเพจที่มีคะแนนนำตัวเองอยู่ เช่นเพจ VRZO เพจ 9Gag in Thai เพจ Drama-addict และเพจ สมรัก พรรคเพื่อเก้ง เป็นต้น

ภาพแมวโหดสัสสะสมสัญญาลักษณ์ของเพจที่ได้เข้าไปปาขี้

ทั้งนี้ในปัจจุบัน เฟซบุ๊กโดยเฉพาะในรูปแบบแฟนเพจในไทยมีการเติบโตอย่างมากทั้งในเชิงการค้า การเมืองและสังคม มีการหยิบเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มาใช้ ล่าสุดข้อมูลจาก zocialrank.com ประเทศไทยมีแฟนเพจประมาณ 3 แสนเพจ เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิ้งห้างที่ 3 อย่างฟิลิปปินส์ ที่มีเพียง 2 หมื่นกว่าเพจเท่านั้น นอกจากนี้ในระดับโลกกรุงเทพฯยังเป็นเมืองที่มี user มากที่สุดในโลกอีกด้วยคือ 12,797,500 user

ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์เหล่าแอดมินเพจแห่งปีและบทวิเคราะห์การ Vote เพจแห่งปีและสถานการณ์เฟซบุ๊กปีหน้าได้ทางประชาไทเร็วๆนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ: คนกรุงเทพฯ 10 คน มีเฟซบุ๊ก 15 แอคเคาน์?!

$
0
0

ภาพเปรียบเทียบปริมาณผู้ใช้เฟซบุ๊กต่อจำนวนประชากร ในปี 2012 (2555) ในทวีปต่างๆ รวมถึงประเทศไทยและกรุงเทพฯ
 


คลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

อ้างอิง
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/
http://www.wikipedia.org

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาสังคมกัมพูชาสะกิดผู้นำอาเซียน "เขาอาจลืมหลักการที่ว่า อาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

$
0
0

"การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน/ภาคประชาชนอาเซียน" (ASEAN Civil Society Conference/ASEAN Peoples' Forum 2012) หรือ ACSC/APF เวทีคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่จัดโดยองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคมในกัมพูชาและหลายประเทศในอาเซียนซึ่งจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้สิ้นสุดลงแล้ว ท่ามกลางการรบกวนโดยเจ้าหน้าที่กัมพูชา โดยผู้จัดงานต้องย้ายที่จัดงานสองครั้ง (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ทั้งนี้นอกจากการประชุม ACSC/APF ก็มีการประชุมของ "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน" หรือ "(ASEAN Grassroots People's Assembly - AGPA)" ซึ่งก็ถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่เช่นกัน แต่สุดท้ายก็สามารถจัดการชุมนุมและยื่นข้อเรียกร้องที่หน้ารัฐสภากัมพูชาได้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกัมพูชาให้สลายตัวทันทีที่ยื่นข้อเรียกร้องเสร็จ (ข่าวที่เกี่ยวข้อง [1] และ [2]

โดยภายหลังการจัดเวทีดังกล่าว ประชาไทมีโอกาสสัมภาษณ์ คุณ Sok Sam Oeun ทนายด้านความสิทธิมนุษยชน และผู้อำนวยการบริหาร Cambodian Defenders Project และประธานคณะกรรมการจัดเวทีประชาสังคมอาเซียน ACSC/APF ซึ่งจัดที่พนมเปญ โดยเป็นการสัมภาษณ์สั้นๆ ถึงสถานการณ์ของเวทีภาคประชาสังคมในกัมพูชา รวมถึงข้อห่วงกังวลในเรื่องสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ผู้มีอำนาจอาจลืมหลักการที่ว่า "อาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

โดย Sok Sam Oeun กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลจากการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียนที่ผ่านมา มีสามเรื่อง เรื่องแรกคือ เสรีภาพในการรวมตัวสมาคม ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะกลุ่มของเขาต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงานมาแล้ว 2 ครั้ง เพราะถูกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรบกวน

"สิ่งนี้แปลว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าใจอย่างแจ้งชัดในเรื่องเสรีภาพการรวมตัวสมาคม และความสำคัญของการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน และเขาอาจจะลืมหลักการของอาเซียนที่เขามักจะพูดว่าอาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

"ดังนั้น ถ้าพวกเขาคิด หรือต้องการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เขาต้องอนุญาตให้ประชาชนมีโอกาสได้พูด ให้มีโอกาสได้สนทนากับรัฐบาล"

ส่วนเรื่องที่สอง ก็คือ การที่ผู้นำอาเซียนลงนามรับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน "เรากังวล เพราะว่าปฏิญญานี้มีมาตรฐานที่ต่ำสำหรับหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราเอามาเทียบกับรัฐธรรมนูญของกัมพูชา สิ่งนี้แย่กว่ารัฐธรรมนูญกัมพูชามาก ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้เรากังวลว่า ภายหลังการลงนามรับรอง ทุกประเทศอาจใช้ปฏิญญานี้ แทนสิ่งที่พวกเขาไปลงนามอนุสัญญาไว้กับสหประชาชาติ เพราะหลายประเทศ เช่น กัมพูชา ก็ลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกลไกด้านสิทธิมนุษยชนหลายอนุสัญญา"

เรื่องสุดท้ายที่คุณ Sok Sam Oeun กังวล แม้ไม่ได้เกิดขึ้นกับกลุ่มของเขาก็คือ มีการที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลไปจับคนที่ชูป้าย "SOS" ขอความช่วยเหลือ  จากบารัก โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

"สำหรับผมเรื่องนี้เป็นเรื่องในทางปฏิบัติของเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งผมกังวลว่า ประชาชนอาเซียนยังคงมีไม่พอ สำหรับเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก

"ผมคิดว่าจะดีกว่านี้ ถ้าทุกประเทศในอาเซียน ต้องการให้อาเซียนเป็นประชาคมที่ประชาชนเป็นศูนย์กลางแท้จริง ต้องอนุญาตให้ประชาชนของตนมีเสรีภาพในการรวมตัว เสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพในการแสดงออก"

 

ช่องทางบรรเทา เมื่ออาเซียนมีปฏิญญาสิทธิมนุษยชนประเภทต่ำกว่ามาตรฐาน

ทั้งนี้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ที่พนมเปญ ผู้นำชาติในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้ลงนามในปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน โดยนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ยกย่องการลงนามดังกล่าวว่าเป็นหลักไมล์สำคัญของภูมิภาค และเชื่อว่าการลงนามดังกล่าวเป็นพัฒนาการขั้นใหญ่ และปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนดังกล่าวจะถูกใช้เฝ้าสังเกต มาตรการปฏิบัติ มาตรการป้องกัน มาตรการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประเทศอาเซียน

อย่างไรก็ตามปฏิญญาดังกล่าวถูกวิจารณ์ว่ายังไม่มีมาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เพียงพอ และจะทำให้แต่ละประเทศมีข้ออ้างในการละเลยมากกว่าที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยฟิล โรเบิร์ตสัน จากองค์กรฮิวแมนไรท์ ว็อทซ์ ซึ่งมีสำนักงานที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกากล่าวว่า “คุณไม่สามารถที่จะมีข้อยกเว้นระดับชาติและระดับภูมิภาค” และว่า “คุณไม่สามารถเริ่มต้นยกตัวอย่างที่กินความกว้างขวางอย่างคำว่าศีลธรรมสาธารณะ จนสิทธิเหล่านี้ไม่สามารถบังคับใช้ได้ สิ่งที่พวกเขาทำก็คือ พวกเขาได้สร้างช่องโหว่เอาไว้แต่แรก จากนั้นพวกเขาก็พยายามประดับตกแต่งรอบๆ ช่องโหว่นั้น”

ทั้งนี้ในมาตรา 8 ของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ระบุตอนหนึ่งว่า การใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะถูกจำกัดก็ด้วยกฎหมายเท่านั้น ในวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้อื่น และด้วยความจำเป็นต่อความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ สาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ ศีลธรรมสาธารณะ อย่างเช่นสวัสดิการทั่วไปของประชาชนในสังคมประชาธิปไตย

นอกจากนี้ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนยังถูกวิจารณ์ด้วยว่าไม่มีเนื้อหาคุ้มครองผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBT โดยไม่มีการรับรองถ้อยคำดังกล่าวในตัวปฏิญญา (ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต่อเรื่องปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนดังกล่าว Sok Sam Ouen มีข้อเสนอว่า "เราเรียกร้องไปยังรัฐบาล แม้ว่าจะมีการลงนามในปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนไปแล้ว สำหรับแต่ละประเทศจะต้องเคารพในกลไกระหว่างประเทศใดๆ ที่พวกเขาได้ลงนามไว้กับสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน หรืออย่าง  ICCPR (กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง) และอื่นๆ"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรพิทักษ์สยาม แจ้งความ "พล.อ.ชัยสิทธิ์" จัดมวยหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

$
0
0

รักษาการประธานองค์การพิทักษ์สยาม เข้าแจ้งความกองปราบฯ ต่อ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดศึกมวยไทยที่มาเก๊า ในข้อหาหมิ่นเบื้องสูง ม.112 , 59 และ 83 ชี้ถ้วยรางวัลพระราชทานฯ ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักพระราชวัง

26 ธ.ค. 55 – ข่าวสดออนไลน์รายงานว่า เวลา 13.00 น. ที่กองปราบปราม พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ รักษาการประธานองค์การพิทักษ์สยาม และนายไทกร พลสุวรรณ แนวร่วมองค์การพิทักษ์สยาม พร้อมทนายความ เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.เกรียงไกร ขวัญไตรรัตน์ พงส. กก.1 บก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดี พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร พ.ต.ท.กุลธน ประจวบเหมาะ กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดศึกมวยไทย ในข้อหาหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 , 59 และ83 หลังทั้งหมดร่วมกันจัดศึกมวยไทย วอริเออร์(Muay Thai Warriors)ที่คาสิโนแห่งหนึ่งในเขตปกครองพิเศษมาเก๊า เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่ถ้วยรางวัลที่ระบุว่าเป็นถ้วยพระราชทานฯนั้นไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักพระราชวัง          

นายไทกร กล่าวว่า กลุ่มบุคคลที่จัดงานครั้งนี้ทราบก่อนการจัดงานแล้วว่าไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักพระราชวังแต่ก็ยังจัดให้มีการมอบถ้วยรางวัลอีก ทั้งๆที่สามารถจัดการแข่งขันโดยไม่ต้องมอบถ้วยรางวัลก็ได้ และในการจัดงานดังกล่าวก็มีการถ่ายทอดสดซึ่งจะมีผลประโยชน์จากการโฆษณาเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นอกจากกลุ่มผู้จัดแล้วก็เห็นว่ายังมีผู้ที่เข้าข่ายร่วมกระทำความผิดอีกหลายคน เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นางศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์รายงานถึงการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ โดย พ.ต.ท.เกรียงไกรกล่าวว่า เบื้องต้นได้สอบปากคำผู้ร้องทุกข์และนำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบ ก่อนเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการต่อไป

ทั้งนี้ภายหลังจากที่มีการจัดศึกมวยไทย วอริเออร์ที่คาสิโนแห่งหนึ่งในเขตปกครองพิเศษมาเก๊า เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา ASTVผู้จัดการออนไลน์  ได้รายงานด้วยว่า สำนักราชเลขาธิการได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะประธานจัดงานศึกมวยไทยวอร์ริเออร์สปีที่ 2 เทิดไท้องค์ราชัน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา ที่เขตปกครองพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ช่อง 11 หรือเอ็นบีที เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยแจ้งให้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ขอพระราชทานอภัยโทษ เนื่องจาก พล.อ.ชัยสิทธิ์ใช้ถ้วยพระราชทานศึกมวยไทยวอร์ริเออร์สฯ โดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต

ในวันเดียวกันนั้น(14 ธ.ค.) พล.อ.ชัยสิทธิ์ได้ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าผิดพลาดกรณีถ้วยพระราชทาน โดยได้ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษไปยังสำนักพระราชวังแล้ว อีกทั้งยอมรับว่าเป็นเรื่องมิบังควร โดยอ้างว่าเป็นความผิดพลาดในขั้นตอนทำเรื่องขอพระราชทานถ้วยรางวัล พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องว่าอย่านำเรื่องนี้ไปขยายหรือขุดคุ้ย และเรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวบนเวทีออกอากาศทางช่อง 11 และมอบถ้วยรางวัล

นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังกล่าวอีกว่า การจัดการแข่งขันมวยดังกล่าวไม่ได้เป็นการจัดเพื่อชิงถ้วยพระราชทาน แต่ทาง พ.ต.ท.กุลธน ประจวบเหมาะ เลขาธิการการจัดการแข่งขัน พูดให้เกิดความคลาดเคลื่อนจนเกิดความเข้าใจผิด

วิดีโอคลิปขณะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวเปิด Muay Thai Warriors

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live




Latest Images