Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50704 articles
Browse latest View live

จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร, และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา

0
0
เรียน โฆษกศาลยุติธรรม และ อธิบดีกรมศิลปากร 
 
ตามที่ได้รับฟังคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรตามสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และคำชี้แจงของโฆษกศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ต่อกรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบัน ผมมีประเด็นที่อยากสอบถามและแลกเปลี่ยนความเห็นใน 5 ข้อดังต่อไปนี้
 
1. ความชอบธรรมทางกฏหมาย: กรณีความสูงอาคาร 32 เมตร
กฏหมายเรื่องความสูงอาคารที่บังคับใช้ในพื้นที่นี้ ห้ามสร้างอาคารใหม่ที่มีความสูงเกิน 16 เมตรโดยเด็ดขาด กฏหมายนี้ประกาศใช้มาเกือบ 30 ปี และยังคงถูกบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน. อาคารหน่วยราชการทุกแห่งปฏิบัติตามข้อกฏหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเสมอมา. แต่กลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่กลับได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้สามารถสร้างได้ถึง 32 เมตร ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2531. ดังนั้น แม้จะไม่ผิดกฏหมาย (เพราะได้รับอนุมัติพิเศษ) แต่ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ขาดซึ่ง “ความชอบธรรม” เป็นอย่างยิ่ง และที่น่าเสียดายที่สุด คือ เป็นการขอละเว้นกฏหมาย โดยหน่วยงานที่ควรจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดที่สุด.
 
หากปล่อยให้มีการสร้างจริง กฏหมายข้อนี้จะยังคงเหลือความศักดิ์สิทธิ์หรือชอบธรรมในการบังคับใช้ต่อไปในอนาคตได้หรือไม่?
 
โฆษกศาลที่ได้กล่าวถึงความสูง 32 เมตร ที่มาจากการคำนวณความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารภายในพระบรมมหาราชวังนั้น อยากเรียนว่า มิใช่ประเด็นที่จะนำมาเป็นเหตุผลในการละเมิดกฏหมายเรื่องความสูงอาคารในพื้นที่ได้. เพราะหากยอมรับในเหตุผลนี้ หน่วยราชการใดจะอ้างอิงบรรทัดฐานจากคำชี้แจงของศาลดังกล่าว ไปใช้ในการก่อสร้างอาคารสูง 32 เมตรในพื้นที่นี้ก็ย่อมทำได้ ใช่หรือไม่? และหากเป็นเช่นนั้นจริง กฏหมายกำหนดความสูง 16 เมตรก็ควรถูกยกเลิกไปเสีย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการบังคับใช้กฏหมาย
 
2. ความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา 
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร. ซึ่งเป็นการชี้แจงที่ถูกต้อง เพราะยังไม่มีอาคารหลังใดในพื้นที่ศาลฎีกาได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน. แต่โฆษกศาลมิได้กล่าวถึง จดหมายด่วนที่สุด ที่ วธ. 0403/3323 เรื่อง การก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกาหลังใหม่ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ที่ลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากร และส่งไปถึงประธานศาลฎีกา ณ ขณะนั้น ทีมีใจความสำคัญว่า อาคารส่วนที่ 1 (หลังอนุสาวรีย์) และ อาคารส่วนที่ 2 ฝั่งด้านคลองคูเมืองเดิม (ซึ่งกำลังโดนรื้อถอนอยู่ในขณะนี้) มีลักษณะเป็น “โบราณสถาน” ตามที่กำหนดในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร
 
อีกทั้ง จากคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตามสื่อต่างๆ อธิบดีก็ยังยืนยันเหมือนข้อความที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งไปยังศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2552. แต่จากการชี้แจงของโฆษกศาลในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลับยืนยันว่า การรื้อถอนครั้งนี้ได้รับความยินยอมแล้วจากกรมศิลปากร
 
ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่อยากเรียนถามและร้องขอ จึงมีดังต่อไปนี้
 
2.1  อธิบดีกรมศิลปากร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกมาชี้แจงให้สาธารณะได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ว่า สรุปแล้วกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังรื้ออยู่ ณ ตอนนี้ เข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ อย่างไร?
2.2  หากโฆษกศาลยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรแล้ว อยากเรียกร้องให้ศาลได้เผยแพร่จดหมายอนุญาตจากกรมศิลปากรต่อสาธารณะ เนื่องจาก การอนุญาตจะต้องมีการส่งอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษร
2.3  หาก จดหมายด่วนที่สุด จากอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2552 มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายจริง แสดงว่า นับตั้งแต่นี้ หากในอนาคต อธิบดีกรมศิลปากรทำจดหมายในลักษณะดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่กำลังรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่กรมศิลปากรถือว่าเป็น “โบราณสถาน” (แต่ยังมิได้ทำการขึ้นทะเบียน) ก็ย่อมสามารถถือปฏิบัติได้ในแบบเดียวกับที่ศาลกำลังปฏิบัติอยู่ ใช่หรือไม่?
 
3. ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา 
ในการชี้แจ้งของโฆษกศาล ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายที่สนับสนุนการรื้อ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ การเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มลงมาได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง.
 
แต่จากงานวิจัย “โครงการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาอาคารศาลฎีกาและอาคารบริเวณรอบศาลฎีกา” ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำขึ้นเมื่อก่อนการอนุมัติรื้อเมื่อปี พ.ศ. 2550 ไม่นาน และเป็นงานวิจัยที่ทางศาลได้เป็นผู้ว่าจ้างด้วยตนเองด้วยนั้น หากอ่านในส่วนที่ว่าด้วยการสำรวจและวิเคราะห์สภาพอาคาร แม้งานวิจัยจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเสื่อมสภาพของอาคารอันเนื่องมาจากอายุการใช้งาน แต่งานวิจัยก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด.
อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้ อยากเรียกร้องให้มีการเข้าไปสำรวจสภาพอาคารโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว
 
4. ประเด็นว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม 
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง
 
ผมอยากเรียนชี้แจงว่า ประเด็นสำคัญในกรณีนี้มิได้อยู่ที่ว่า หน้าตาอาคารเป็นไทยดีแล้ว ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญดีแล้ว และส่งเสริมความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่อย่างใด. เพราะประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฏมายกำหนด (แต่ถูกกฏมายเพราะได้รับสิทธิพิเศษ) ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ  
 
5. อาคารใดบ้างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเรื่องการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า ตามแบบที่จะสร้างใหม่ ได้ตกลงเก็บอาคารด้านหลังอนุสาวรีย์เอาไว้เพียงหลังเดียว เพราะอาคารดังกล่าวคืออาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล เมื่อ พ.ศ. 2481. แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งได้มาจากเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนเมื่อแรกสร้างว่า อาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเอกราชทางการศาลนั้น มิใช่มีเพียงหลังเดียวที่อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงอาคารด้านที่ติดคลองคูเมือง (ซึ่งกำลังถูกรื้อถอนอยู่ในปัจจุบัน) ด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์เพียงอาคารเดียว จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเชิงประวัติศาสตร์
 
อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาไว้ ย่อมมิได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ก็หาไม่. ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นมากมายในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้วในโลกปัจจุบัน.
 
จากเหตุผลที่กล่าวมา อยากเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ และอยากเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากรออกมาให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากร
 
สุดท้ายนี้ หวังว่า กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา จะนำมาสู่การศึกษาเรื่องคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในโลกสากล และคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในสังคมไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร เพื่อสะท้อนถึงอุดมคติอย่างใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ในระดับที่สูงมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การก้าวพ้นเพดานความคิดในเชิงประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ที่คับแคบของสังคมไทยในปัจจุบัน
 
 
ด้วยความนับถือ
 
ชาตรี ประกิตนนทการ
21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร, และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา

0
0
เรียน โฆษกศาลยุติธรรม และ อธิบดีกรมศิลปากร 
 
ตามที่ได้รับฟังคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรตามสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และคำชี้แจงของโฆษกศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ต่อกรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบัน ผมมีประเด็นที่อยากสอบถามและแลกเปลี่ยนความเห็นใน 5 ข้อดังต่อไปนี้
 
1. ความชอบธรรมทางกฏหมาย: กรณีความสูงอาคาร 32 เมตร
กฏหมายเรื่องความสูงอาคารที่บังคับใช้ในพื้นที่นี้ ห้ามสร้างอาคารใหม่ที่มีความสูงเกิน 16 เมตรโดยเด็ดขาด กฏหมายนี้ประกาศใช้มาเกือบ 30 ปี และยังคงถูกบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน. อาคารหน่วยราชการทุกแห่งปฏิบัติตามข้อกฏหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเสมอมา. แต่กลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่กลับได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้สามารถสร้างได้ถึง 32 เมตร ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2531. ดังนั้น แม้จะไม่ผิดกฏหมาย (เพราะได้รับอนุมัติพิเศษ) แต่ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ขาดซึ่ง “ความชอบธรรม” เป็นอย่างยิ่ง และที่น่าเสียดายที่สุด คือ เป็นการขอละเว้นกฏหมาย โดยหน่วยงานที่ควรจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดที่สุด.
 
หากปล่อยให้มีการสร้างจริง กฏหมายข้อนี้จะยังคงเหลือความศักดิ์สิทธิ์หรือชอบธรรมในการบังคับใช้ต่อไปในอนาคตได้หรือไม่?
 
โฆษกศาลที่ได้กล่าวถึงความสูง 32 เมตร ที่มาจากการคำนวณความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารภายในพระบรมมหาราชวังนั้น อยากเรียนว่า มิใช่ประเด็นที่จะนำมาเป็นเหตุผลในการละเมิดกฏหมายเรื่องความสูงอาคารในพื้นที่ได้. เพราะหากยอมรับในเหตุผลนี้ หน่วยราชการใดจะอ้างอิงบรรทัดฐานจากคำชี้แจงของศาลดังกล่าว ไปใช้ในการก่อสร้างอาคารสูง 32 เมตรในพื้นที่นี้ก็ย่อมทำได้ ใช่หรือไม่? และหากเป็นเช่นนั้นจริง กฏหมายกำหนดความสูง 16 เมตรก็ควรถูกยกเลิกไปเสีย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการบังคับใช้กฏหมาย
 
2. ความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา 
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร. ซึ่งเป็นการชี้แจงที่ถูกต้อง เพราะยังไม่มีอาคารหลังใดในพื้นที่ศาลฎีกาได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน. แต่โฆษกศาลมิได้กล่าวถึง จดหมายด่วนที่สุด ที่ วธ. 0403/3323 เรื่อง การก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกาหลังใหม่ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ที่ลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากร และส่งไปถึงประธานศาลฎีกา ณ ขณะนั้น ทีมีใจความสำคัญว่า อาคารส่วนที่ 1 (หลังอนุสาวรีย์) และ อาคารส่วนที่ 2 ฝั่งด้านคลองคูเมืองเดิม (ซึ่งกำลังโดนรื้อถอนอยู่ในขณะนี้) มีลักษณะเป็น “โบราณสถาน” ตามที่กำหนดในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร
 
อีกทั้ง จากคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตามสื่อต่างๆ อธิบดีก็ยังยืนยันเหมือนข้อความที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งไปยังศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2552. แต่จากการชี้แจงของโฆษกศาลในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลับยืนยันว่า การรื้อถอนครั้งนี้ได้รับความยินยอมแล้วจากกรมศิลปากร
 
ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่อยากเรียนถามและร้องขอ จึงมีดังต่อไปนี้
 
2.1  อธิบดีกรมศิลปากร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกมาชี้แจงให้สาธารณะได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ว่า สรุปแล้วกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังรื้ออยู่ ณ ตอนนี้ เข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ อย่างไร?
2.2  หากโฆษกศาลยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรแล้ว อยากเรียกร้องให้ศาลได้เผยแพร่จดหมายอนุญาตจากกรมศิลปากรต่อสาธารณะ เนื่องจาก การอนุญาตจะต้องมีการส่งอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษร
2.3  หาก จดหมายด่วนที่สุด จากอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2552 มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายจริง แสดงว่า นับตั้งแต่นี้ หากในอนาคต อธิบดีกรมศิลปากรทำจดหมายในลักษณะดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่กำลังรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่กรมศิลปากรถือว่าเป็น “โบราณสถาน” (แต่ยังมิได้ทำการขึ้นทะเบียน) ก็ย่อมสามารถถือปฏิบัติได้ในแบบเดียวกับที่ศาลกำลังปฏิบัติอยู่ ใช่หรือไม่?
 
3. ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา 
ในการชี้แจ้งของโฆษกศาล ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายที่สนับสนุนการรื้อ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ การเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มลงมาได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง.
 
แต่จากงานวิจัย “โครงการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาอาคารศาลฎีกาและอาคารบริเวณรอบศาลฎีกา” ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำขึ้นเมื่อก่อนการอนุมัติรื้อเมื่อปี พ.ศ. 2550 ไม่นาน และเป็นงานวิจัยที่ทางศาลได้เป็นผู้ว่าจ้างด้วยตนเองด้วยนั้น หากอ่านในส่วนที่ว่าด้วยการสำรวจและวิเคราะห์สภาพอาคาร แม้งานวิจัยจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเสื่อมสภาพของอาคารอันเนื่องมาจากอายุการใช้งาน แต่งานวิจัยก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด.
อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้ อยากเรียกร้องให้มีการเข้าไปสำรวจสภาพอาคารโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว
 
4. ประเด็นว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม 
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง
 
ผมอยากเรียนชี้แจงว่า ประเด็นสำคัญในกรณีนี้มิได้อยู่ที่ว่า หน้าตาอาคารเป็นไทยดีแล้ว ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญดีแล้ว และส่งเสริมความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่อย่างใด. เพราะประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฏมายกำหนด (แต่ถูกกฏมายเพราะได้รับสิทธิพิเศษ) ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ  
 
5. อาคารใดบ้างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเรื่องการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า ตามแบบที่จะสร้างใหม่ ได้ตกลงเก็บอาคารด้านหลังอนุสาวรีย์เอาไว้เพียงหลังเดียว เพราะอาคารดังกล่าวคืออาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล เมื่อ พ.ศ. 2481. แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งได้มาจากเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนเมื่อแรกสร้างว่า อาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเอกราชทางการศาลนั้น มิใช่มีเพียงหลังเดียวที่อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงอาคารด้านที่ติดคลองคูเมือง (ซึ่งกำลังถูกรื้อถอนอยู่ในปัจจุบัน) ด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์เพียงอาคารเดียว จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเชิงประวัติศาสตร์
 
อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาไว้ ย่อมมิได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ก็หาไม่. ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นมากมายในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้วในโลกปัจจุบัน.
 
จากเหตุผลที่กล่าวมา อยากเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ และอยากเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากรออกมาให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากร
 
สุดท้ายนี้ หวังว่า กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา จะนำมาสู่การศึกษาเรื่องคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในโลกสากล และคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในสังคมไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร เพื่อสะท้อนถึงอุดมคติอย่างใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ในระดับที่สูงมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การก้าวพ้นเพดานความคิดในเชิงประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ที่คับแคบของสังคมไทยในปัจจุบัน
 
 
ด้วยความนับถือ
 
ชาตรี ประกิตนนทการ
21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง: ประชามติ หลักการกับ ‘การเมือง’

0
0
 
พรรคร่วมรัฐบาลมีมติให้ลงประชามติ ก่อนรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระสาม ตามบัญชา “นายใหญ่”
 
นี่เป็น “เกม” ที่ชาญฉลาดของทักษิณและทีมกุนซือพรรคเพื่อไทย กล่าวได้ว่าอ่านสถานการณ์ขาด ถึงแม้จะไม่เป็นไปตามหลักการเสียทีเดียว เพราะการทำประชามติก่อนไม่จำเป็น
 
มวลชนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตยที่เลือดลมร้อนแรงอาจเห็นว่า รัฐสภาควรเดินหน้าลงมติรับร่างวาระ 3 ไปเลย ไม่ควรทำตาม “คำแนะนำ” ของศาลรัฐธรรมนูญ บางส่วนก็ไม่พอใจ โวยว่านี่เป็นการ “ซื้อเวลา” อยู่ในเก้าอี้ไปเรื่อยๆ ของรัฐบาล โดยไม่จริงใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ บางส่วนก็กลัวว่าจะไม่ชนะ เพราะฝ่ายค้าน ปชป.พธม.จะสั่งคนฝ่ายตนเบี้ยวไม่มาลงประชามติ ฯลฯ
 
ประเด็นอยู่ที่เรามองในมิติไหน มองวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายประชาธิปไตยอย่างไร
 
อย่างที่ผมเขียนมาหลายครั้ง สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว จากเมื่อเดือนมิถุนายน ที่รัฐสภายอมให้ศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงเข้ามาใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
 
ตอนนั้นพรรคเพื่อไทยกลายเป็นเพื่อถอย ถอยร่นไม่กล้าลงมติรับร่างวาระ 3 ทั้งที่กระแสประชาธิปไตย ประชาชน นักวิชาการ หนุนหลังพร้อมพรั่ง ได้เปรียบทุกอย่างในทางหลักการและเหตุผล แต่ไปยอมจำนนในเกมวัดใจ จึงกลายเป็นต้องนับหนึ่งใหม่
 
ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องโทษความโง่บัดซบของใครบางคน ที่กำลังแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ดีๆ ดันยัดร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาซะนี่ เสียกระบวนหมด
 
แต่หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แบบที่กระแสสังคมถอนหายใจ “โล่งอก” สถานการณ์ก็เปลี่ยนไป ภายหลังความตึงเครียดกดดัน “กระแสรักสงบ” ที่เบื่อหน่ายความขัดแย้งยืดเยื้อมา 6 ปี ได้กลายเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็ก สกัดกั้นสงครามระหว่างสี โดยมีผลทั้งสองด้าน คือปกป้องรัฐบาล แต่ก็ไม่ต้องการให้รุกล้างอำมาตย์
 
“กระแสรักสงบ” ไม่อยากเห็นรัฐประหาร แช่แข็งประเทศ ยุบพรรค ถอดถอน ตัดสิทธิ ล้มรัฐบาลด้วยกองทัพหรือศาลอีกแล้ว แม้บางส่วนไม่ได้ชอบรัฐบาล แต่ก็ยังมองหาทางออกไม่เจอ นอกจากยอมให้อำนาจจากการเลือกตั้งอยู่ไปเรื่อยๆ กระนั้น อีกด้านหนึ่ง “กระแสรักสงบ” ก็ไม่ต้องการเห็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายรุกแก้รัฐธรรมนูญแบบหักหาญ เอาทักษิณกลับบ้าน ฯลฯ เพราะกลัวจะเกิดม็อบยึดทำเนียบยึดสนามบินอีก
 
นี่คือสถานการณ์ที่ค้างคาอยู่ และเป็นขั้นทางยุทธศาสตร์ที่ต้องช่วงชิงกัน ระหว่างรัฐบาล Vs. ฝ่ายค้านและพวกแช่แข็ง ใครจะช่วงชิงคนตรงกลางได้มากกว่ากัน
 
แน่นอนยื้อกันไปอย่างนี้รัฐบาลได้เปรียบ กระแสรักสงบที่สะท้อนออกทางโพลล์ เช่น เอแบคโพลล์ เป็นตัวแทนพลังเงียบที่เบรกม็อบแช่แข็งหัวทิ่ม แต่รัฐบาลก็เผด็จศึกไม่ได้เช่นกัน เพราะพอบอกว่าจะเดินหน้าวาระ 3 โพลล์ก็สะท้อนทันทีว่ายังมีคนจำนวนมากไม่เห็นด้วย แม้ในนั้นมีความไม่เข้าใจ ไม่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากรัฐธรรมนูญรัฐประหาร (ว่าแท้จริงคือต้นตอของความไม่สงบ) แต่ประการสำคัญก็คือความกลัวว่าสถานการณ์การเมืองจะรุนแรงอีก
 
ในสถานการณ์เช่นนี้ การทำประชามติจึงเป็นทางออกให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าต่อไป โดยไม่เร่งร้อนหักหาญ ซึ่งการไม่เร่งร้อนหักหาญไม่ว่าอย่างไรรัฐบาลก็ได้เปรียบอยู่ดี (เวลาอยู่กับเรา)
 
ประเด็นจึงอยู่ที่เรามองการไปสู่เป้าหมาย หรือ “ชัยชนะ” อย่างไร “ชัยชนะ” บางครั้งก็ไม่ใช่การ “เอาชนะ” หรือ “รบชนะ” เป้าหมายของประชาธิปไตย อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเสียแต่เดี๋ยวนี้ (ซึ่งความจริงรัฐธรรมนูญ 2556 ที่จะร่างตาม ม.291 ก็โหลยโท่ยเพราะพรรคเพื่อไทยไปยอมรับข้อจำกัดตั้งแต่แรกว่าห้ามแตะหมวดนั้นหมวดนี้)
 
“ชัยชนะ” ในการรณรงค์เคลื่อนไหวทางการเมือง บางครั้งก็บรรลุได้ด้วยการโน้มน้าว จูงใจ ดึงคนส่วนใหญ่มาเป็นพวก “ชัยชนะ” บางครั้งอาจดูเหมือนผู้แพ้ แต่ชนะใจคน เรียกคะแนนสงสาร เห็นใจ หรือเห็นว่าเป็นฝ่ายที่ชอบธรรม
 
นี่ต่างหากคือเป้าหมายที่เราควรตั้งในการทำประชามติ ทำให้ประชามติเป็นการเคลื่อนไหวรณรงค์ ที่ทั้งให้เนื้อหาประชาธิปไตยผ่านการดีเบท ถกเถียงด้วยเหตุผล ขณะเดียวกันก็ทำให้สังคมเห็นว่าใครกันแน่เป็นฝ่ายต้องการความสงบ ยอมยืดหยุ่น เพื่อเห็นแก่ส่วนรวม ใครกันแน่ ที่หักหาญ ดื้อรั้น ตีรวน
 
สามัคคีฝ่ายก้าวหน้า ช่วงชิงคนเป็นกลาง โดดเดี่ยวพวกล้าหลัง ทำให้พวกสุดขั้วสุดโต่งถูกปฏิเสธจากสังคม ท่องคำสอนประธานเหมาไว้ ยังเอามาใช้ได้เสมอ
 
ยกตัวอย่างข้อที่มวลชนเสื้อแดงวิตกกันมาก ว่าการลงประชามติต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง คือ 23-24 ล้านเสียง หากฝ่ายตรงข้ามไม่ยอมออกมาจะทำอย่างไร พรรคร่วมรัฐบาลคงไม่สามารถระดมคะแนนเสียงได้ถึง 23 ล้านเสียง
 
ถามว่าถ้าพรรคร่วมรัฐบาลสามารถรณรงค์ให้คนออกมาใช้สิทธิ 17 ล้านเสียงต่อศูนย์ แต่ประชามติล้มไป จริงๆ แล้วใครชนะ ผู้ที่มองเพียงเป้าหมายโดดๆ ก็จะคิดว่าแพ้ แต่ถ้ามองในเชิงการรณรงค์ทางการเมือง มองในเชิงการช่วงชิงความชอบธรรม ใครเป็นนางเอก ใครเป็นผู้ร้าย พวกกลัวแพ้แล้วตีรวน มุดชายผ้าถุงซุกมดลูกแม่ไม่กล้าออกมาสู้ ยังจะลอยหน้าลอยตาได้อยู่หรือ
 
ถ้าพูดแบบนักการเมืองอาจพูดได้ว่านี่คือเกม แต่ถ้าพูดแบบนักเคลื่อนไหว นี่ก็คือการรณรงค์ทางการเมือง ลากฝ่ายตรงข้ามให้มาต่อสู้บนเวที มาดีเบทด้วยเหตุผล ไม่เปิดช่องให้ก่อม็อบ ไม่เปิดโอกาสให้อำนาจนอกระบบแทรกแซง พวกเขาซึ่งอ่อนเหตุผลอยู่แล้ว ก็จะต้องตีรวน เล่นบท “ผู้ร้าย” หรือ “ตัวอิจฉา” ให้เสียหายเอง โดยรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจะต้องเล่นบทแฟร์ที่สุด สวมบท “นางเอ๊กนางเอก” ผู้แสนดี ยอมประนีประนอมแล้วยังถูกรังแก
 
ปัญหาคือนักการเมืองพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในแนวทางนี้อย่างเป็นเอกภาพหรือไม่ เพราะเดี๋ยวก็จะอดไม่ได้ อยากเล่นบท “ตัวโกง” ตามสันดานอีก
 

นางเอกอย่าปาหี่

เมื่อเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตยเป็นหลังพิง รัฐบาลก็จะต้องจัดการลงประชามติอย่างแฟร์ที่สุด เปิดโอกาสให้มีการดีเบทถกเถียงให้มากที่สุด กว้างขวางที่สุด
 
อย่าไปไขว้เขว ว่าจะไม่ทำประชามติ จะทำประชาเสวนา อย่าไปไขว้เขว ว่าจะทำประชามติแบบขอคำปรึกษา ตามการชี้ช่องเห่ยๆ ของเจ๊สด เพราะเมื่อจะทำประชามติต้องให้แฟร์ อย่ากลัวแพ้ กลัวผู้ออกมาใช้สิทธิไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ดังกล่าวแล้ว เพราะขืนเป๋ไม่ทำประชามติตรงๆ จะโดนโห่เอา กลายเป็น “ปาหี่” ที่เผลอๆ ก็ไม้เอกหาย
 
สิ่งที่ควรทบทวน คือการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม ไปจัดประชาเสวนา เพราะกระทรวงมหาดไทยก็จะทำป้ายแบบ “น้ำเป็นของปลา ฟ้าเป็นของนก นายกฯ เป็นของเปรม” ยัดเยียดประชามติให้ชาวบ้านแบบสุกเอาเผากิน กลายเป็นใช้อำนาจรัฐโฆษณาชวนเชื่อ
 
ถ้าเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย ก็ให้องค์กรอื่น (ที่ไม่ใช่องค์กรกลาง-ฮา) เช่น กกต.จัดดีเบทว่าควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ รัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อเสียตรงไหน ท้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาดีเบทกับจาตุรนต์ ฉายแสง ยกทีม ปชป. มาดีเบทกับณัฐวุฒิ จตุพร หรือองอาจ คล้ามไพบูลย์ Vs ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (ฮา) จัดดีเบทให้ถี่ยิบ ใช้สื่อของรัฐถ่ายทอดสดแฟร์ๆ ประชาชนจะได้เห็นว่าใครแถ ถ้าเป็นไปได้ ก็เชิญ อ.วรเจตน์มาดีเบทกับจรัญ ภักดีธนากุล หรือสมคิด เลิศไพฑูรย์ แต่กลัวจะอ้างตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบันหนีการดีเบททั้งคู่เสียมากกว่า
 
รัฐบาลไม่จำเป็นต้องใช้วิธีปิดปากฝ่ายค้านหรือฝ่ายต่อต้าน อยากพูดได้พูดไป แล้วค่อยไล่วิพากษ์ ปชป. พธม.ยิ่งต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญยิ่งเข้าตาจน มีแต่เสียกับเสีย เหมือนอภิสิทธิ์ อยู่ๆ ก็เขียนจดหมายเปิดผนึก เอาคดีที่ตัวเองตกเป็นจำเลยมาพันการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ไงไม่ทราบ ถูกข้อหาสั่งสลายม็อบฆ่าคนตาย กลับโวยวายว่ารัฐบาลจะยกเลิกมาตรา 309 ช่วยทักษิณพ้นผิด เข้าใจว่าจะทำตัวเป็นพระเอก ยอมถูกประหารชีวิต ไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญ
 
ผมเลยงัดบทสัมภาษณ์ที่เคยลงไทยโพสต์มาแฉ (เงื้อไว้นานแล้ว 555) เดี๋ยว พธม.ออกมาก็ต้องงัดคำประกาศสมัชชาประชาชนเพื่อปฏิรูปการเมือง (สปป.) ยัดปาก ยังจำได้แม่นยำ วันลงประชามติ พันธมิตรในนาม สปป.นั่งเรียงหน้าสลอน พี่พิภพ ธงไชย, สมศักดิ์ โกศัยสุข, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, สุริยะใส กตะศิลา แถลงว่ารับร่างก่อน แล้วจะผลักดันให้มีการแก้ไขเร่งด่วน เรื่องที่มาวุฒิสมาชิก (ลากตั้ง) กระบวนการสรรหาองค์กรอิสระ และไม่เอา 309 เพราะเป็นการนิรโทษกรรม คมช.
 
อ้าว ตอนนี้มาบอกว่าไม่ยอมให้ยกเลิก 309 เพราะช่วยให้ทักษิณพ้นผิด
 
พรรคเพื่อไทยมีกำลังคนมีทุนทรัพย์ น่าจะไล่ขุดค้นข้อมูลย้อนหลังให้หมดนะครับ ค้นหนังสือพิมพ์รายวันในหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่ปี 2535 ชวน อภิสิทธิ์ พูดหลักการประชาธิปไตยไว้อย่างไร พวกแกนนำพันธมิตร สื่อ นักวิชาการ คอลัมนิสต์ สมัยปี 35 สมัยปี 40 หรือสมัยทักษิณ เคยพูดหลักการประชาธิปไตยไว้อย่างไร ถ้าบิดพลิ้วไปมาจะได้ประจานลิ้นสองแฉก (โดยเฉพาะสื่อนี่แหละตัวสำคัญ คิดว่าเขียนหนังสือพิมพ์รายวันพรุ่งนี้คนก็ลืม)
 
เรื่องนี้ไม่ต้องห่วงว่าฝ่ายตรงข้ามจะขุดมาย้อนเหมือนกัน เพราะทักษิณไม่เคยพูดหลักการประชาธิปไตย (ฮา)
 

ประชามติไม่ผ่านแล้วไง

อันที่จริงความกลัวของพวก ปชป.พธม.และสลิ่ม ที่ว่าจะแพ้ประชามติ และเตรียมจะรณรงค์ให้มวลชนฝ่ายตัวไม่ออกมาลงคะแนนนั้น เป็นปมทางจิต เพราะกลับไปดูตัวเลขผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 2554 แล้วไม่ได้แปลว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะชนะเด็ดขาด
 
การเลือกตั้งเมื่อปี 2554 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน มาใช้สิทธิ (บัญชีรายชื่อ) 35,203,107 คน พรรคเพื่อไทยได้ 15,744,190 พรรคชาติไทยพัฒนาได้ 906,656 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894 พรรคพลังชล 178,110 ขี้เกียจนับ 2 พรรคเล็ก แต่รวมแล้วคือพรรคร่วมรัฐบาลได้คะแนนราว 17.5 ล้านจาก 35.2 ล้าน
 
ยังเหลืออีกตั้ง 17.7 ล้าน จริงไหม เพียงแต่ฝ่ายค้านได้ไปราว 14-15 ล้าน เพราะมีบัตรเสีย 1,726,051 ใบ โหวตโน  958,052 คน ซึ่งฐานเสียงที่ว่านี้อาจแปรไปมา เพราะนี่เป็นการลงประชามติ ไม่ใช่เลือกรัฐบาล บางคนก็ขี้เกียจมา ฉะนั้น รัฐบาลน่าจะหืดขึ้นคอเหมือนกัน ไม่ใช่จะเอา 17 ล้านเสียงได้ง่าย
 
แต่อย่างว่า คนเราพอไม่อยู่ฝ่ายที่มีความชอบธรรมก็ใจหวาด กลายเป็นปมทางจิต คิดว่าแพ้แน่ ตั้งท่ารณรงค์ไม่ให้ไปลงคะแนนตั้งแต่ต้น (รู้ตัวเลขแล้วเหยียบไว้นะ อย่าให้พวก ปชป.พธม.สลิ่มรู้ เดี๋ยวจะกลับใจมาสู้ 555)
 
ผมคิดว่าถ้าพวกเขาสู้ยิบตา ยังน่ากลัวกว่าไม่มาลงคะแนน เผลอๆ จะคู่คี่สูสีหรือชนะได้ด้วยซ้ำ เพราะคนแพ้เลือกตั้งมักมีแรงขับดัน พวกที่เลือกเพื่อไทย ถ้าไม่ใช่แดงเข้าไคล ชนะไปแล้วก็หย่อนยาน การมาลงประชามติจะไม่คึกคักเหมือนตอนเลือกตั้ง
 
แต่ถ้าเป็น 16 ล้านต่อศูนย์ 17 ล้านต่อศูนย์ ไม่มีอะไรน่ากลัว ประชามติล้มไป แต่รัฐบาลและพลังประชาธิปไตยได้ความชอบธรรม
 
ถามว่าถ้าประชามติล้ม รัฐบาลจะทำอย่างไร ผมเป็นงงที่มีคนเสนอให้รัฐบาลยุบสภาหรือลาออก มันเกี่ยวกันตรงไหน เออ ถ้าแพ้ 15 ต่อ 17 ล้าน แบบนั้นอาจต้องยุบสภา แต่ถ้า 17 ล้านต่อศูนย์ ก็ไม่เห็นมีอะไร รัฐสภาก็ลงมติไม่รับร่างแก้ไขมาตรา 291 วาระสาม แล้วหันไปแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา
 
ฝ่ายค้านอย่ามาอ้างว่าประชามติผูกมัด ห้ามแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ชั่วกัลปาวสาน ห้ามแตะแม้แต่ตัวอักษร เพราะประชามตินี้ถามว่าต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยการเลือกตั้ง สสร.ตามร่าง ม.291 หรือไม่ ไม่ได้ถามว่าต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
 
การแก้ไขรายมาตราไม่ต้องถามประชามติ เพราะรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็ทำมาแล้ว
 
ประเด็นสำคัญคือ มติ 16 ล้านต่อศูนย์ หรือ 17 ล้านต่อศูนย์ มีความชอบธรรมที่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพราะนอกจากฝ่ายตรงข้ามจะมุดผ้าถุงแม่แล้ว ยังเป็นคะแนนสูงกว่าประชามติรับร่างเมื่อปี 2550 ที่ 14,727,306 เสียง แม้อันที่จริง ประชามติ 2550 ถือเป็นประชามติเทียม
 
แก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่จริงก็ไม่ต้องตรงตามหลัก เพราะถ้ายึดหลักแบบนิติราษฎร์ ต้องยกร่างใหม่ทั้งฉบับ พร้อมบทบัญญัติลบล้างผลพวงรัฐประหาร ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ รัฐธรรมนูญในอุดมคติไม่มีทางเกิดขึ้นในระยะใกล้ แม้แต่ที่พรรคร่วมรัฐบาลจะแก้ไขตามมาตรา 291 ก็ออกมาเป็นหัวมงกุฎท้ายมังกืออยู่แล้ว
 
การแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา เป็นวิธีการหรือยุทธวิธีที่ให้สังคมกินข้าวทีละคำ เข้าใจและเห็นคล้อยตามทีละประเด็น ซึ่งง่ายกว่ามีประโยชน์กว่า ในแง่ของการรณรงค์ทางการเมือง การให้ความรู้ประชาชน ขณะที่การรณรงค์ทั้งก้อน กินข้าวทั้งจาน เป็นเนื้อหาที่มากมายซับซ้อน ชวนให้สับสน ต้องกินข้าวทีละคำจนจะหมดจาน จึงกระโดดไปสู่การยกร่างใหม่ทั้งฉบับ
 
ตลอดกระบวนการนี้ในทางการเมืองก็คือการโดดเดี่ยวพวกแช่แข็งให้แห้งตายไปทีละน้อย
 
ที่พูดมาทั้งหมด เหมือนประชาชนผู้รักประชาธิปไตยต้องเดินตามเกมของพรรคเพื่อไทย ซึ่งจะสามารถยื้อเวลาอยู่ในอำนาจต่อไปเรื่อยๆ แล้วพลังประชาธิปไตยได้อะไร ผมคิดว่านั่นคือจุดร่วม ทั้งการรณรงค์วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งการโดดเดี่ยวพวกแช่แข็ง ปิดโอกาสการแทรกแซงของอำนาจนอกระบบ ขั้วอนุรักษ์นิยมซึ่งกำลังกระวนกระวายเพราะเวลาไม่อยู่ข้างพวกเขา
 
แต่ก็มีจุดต่างที่ต้องสอดแทรก นั่นคืออุดมการณ์ประชาธิปไตยต้องนำเสนอรัฐธรรมนูญที่ไปไกลกว่าพรรคเพื่อไทย และสอดแทรกอุดมคติเข้าไปในการรณรงค์ สมมติเช่น นิติราษฎร์อาจยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับอุดมคติ นักวิชาการรัฐศาสตร์อาจเสนอแนวคิดเรื่องการลดอำนาจรัฐ กระจายอำนาจ ปฏิรูปประชาธิปไตยในระบบราชการ ฯลฯ พร้อมไปกับการล้างอำนาจอำมาตย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยไม่อยากเห็นนักหรอก แต่หลายเรื่องก็เป็นความต้องการที่ตรงกับพวกเสื้อเหลือง (หมอประเวศพูดเรื่องกระจายอำนาจอีกแล้ว) ซึ่งก็ต้องถามพวกเขาว่าถ้าไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วจะไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างไร

 

2พันล้านเพราะศาล

ขอแถมประเด็นย่อยว่า รัฐบาลต้องมุ่งรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจตั้งแต่แรกว่า การทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่จำเป็น แต่ต้องทำ เพราะศาลรัฐธรรมนูญให้คำแนะนำ หากไม่ทำ ก็จะมีตัวป่วนไปฟ้องศาล หรือออกมาก่อม็อบ สร้างความไม่สงบ เกิดวิกฤตรอบใหม่ขึ้นอีก รัฐบาลจึงต้องทำประชามติ เพื่อให้ผู้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาแสดงความคิดเห็นกันเต็มที่ จัดเวทีให้ประชันกันอย่างสันติ
 
รัฐบาลไม่ค่อยพูดเรื่องนี้เลย ฟังไปฟังมาชาวบ้านจะเข้าใจว่าต้องเสีย 2 พันล้านเพราะความกระสันของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่ แต่เพราะศาลติดเบรกไว้ ทั้งที่ความจริงศาลไม่มีอำนาจ เป็นอำนาจของรัฐสภา ณ ตอนนี้ รัฐสภาจะลงมติรับร่างวาระ 3 เลยก็ได้ แต่เห็นแก่ความสงบของสังคมจึงให้ลงประชามติ
 
รัฐบาลต้องชี้แจงว่าการลงประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่จำเป็น แม้อ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาจากการลงประชามติ เพราะการแก้ไขมาตรา 291 เพียงบัญญัติให้มี สสร.จากการเลือกตั้ง มายกร่างรัฐธรรมนูญอีกฉบับ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ ระหว่าง สสร.ยกร่าง รัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยังใช้อยู่ ยังไม่ได้ยกเลิก จนเมื่อยกร่างฉบับใหม่แล้วจึงนำมาให้ประชาชนลงประชามติ ว่าจะเอาฉบับไหน
 
การลงประชามติก่อนยังมีปัญหาด้วยซ้ำ เพราะถ้าถามประชาชนเห็นด้วยกับการรับร่างวาระ 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ สมมติประชามติชนะ แปลว่าอะไร แปลว่ารัฐธรรมนูญ 2550 กลายเป็นรัฐธรรมนวยไปโดยสมบูรณ์ เพราะถูกประชาชนปฏิเสธ แต่ประเทศไทยก็ยังต้องใช้รัฐธรรมนวยต่อไปจนกว่าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จ
 
การลงประชามติยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร เพราะมาตรา 291 เปิดกว้างให้ สสร.ยกร่าง รัฐบาลและรัฐสภาไม่สามารถกำหนดประเด็นได้เพราะจะกลายเป็นบล็อกโหวต สิ่งที่ทำได้จึงมีแต่วิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหาอย่างไร
 
แต่รัฐบาลก็ต้องชี้ว่านี่เป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญยัด “คำแนะนำ” เข้ามาไว้ในคำวินิจฉัย ทั้งที่ไม่อยู่ในประเด็นของคดี และไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ของตุลาการด้วยซ้ำ กระนั้นถ้ารัฐบาลและรัฐสภาไม่ทำตามคำแนะนำ ก็ไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญก็แทงกั๊ก ไม่บอกว่ารับร่างวาระ 3 แล้วถูกหรือผิด ถูกถอดถอนตัดสิทธิกันระนาวหรือไม่ หนำซ้ำยังมีพวกแช่แข็งคอยก่อความวุ่นวาย รัฐบาลจึงจำใจต้องทำประชามติทั้งที่เสียเปรียบ เพราะถูกบีบให้ทำประชามติระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับรัฐธรรมนูญในอนาคต
 
ในโอกาสนี้ รัฐบาลต้องชี้ด้วยว่า ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ไม่ชอบธรรม ฝ่ายไม่รับเสียเปรียบ เพราะประชาชนไม่รู้ว่าถ้าไม่รับ คมช.จะเอารัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ ไม่มีตัวเปรียบเทียบ เป็นประชามติระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับรัฐธรรมนูญผี ขณะที่ สสร.ก็ใช้งบประมาณของรัฐโหมโฆษณาว่าให้รับไปก่อน จะได้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
 
เหล่านี้คือประเด็นที่จะต้องโพนทนา ก่อนเข้าสู่การรณรงค์ประชามติ
 
                                                                                                ใบตองแห้ง
                                                                                                20 ธ.ค.2555
.............
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การลงมติยุติโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ไทยงดออกเสียงเป็นครั้งที่สอง

0
0

องค์กรนิรโทษกรรมสากลแถลงแรงสนับสนุนจากทั่วโลกเพื่อยุติโทษประหารชีวิตกำลังเพิ่มมากขึ้น  หลังจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงคะแนนอย่างท่วมท้นเพื่อสนับสนุนมติการพักใช้โทษประหารชีวิต

โดยการลงมติครั้งนี้นับป็นการลงมติครั้งที่ 4 ที่ผ่านการรับรองในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ นับตั้งแต่ปี 2550

111 รัฐลงคะแนนเสียงสนับสนุนมติดังกล่าว มีคะแนนเห็นชอบเพิ่มขึ้น 2 เสียงจากการลงมติครั้งล่าสุดเมื่อปี 2553 รัฐที่ลงคะแนนสนับสนุนเป็นครั้งแรก ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด เซเชลล์ เซียร่าลีโอน ซูดานใต้ และตูนีเซีย ยังมีสัญญาณในเชิงบวกจากปาปัวนิวกินีและอินโดนีเซียที่เปลี่ยนจากการลงคะแนนคัดค้านมาเป็นงดออกเสียง เป็นที่น่าเสียดายว่า บาห์เรน โดมินิกัน และโอมาน เปลี่ยนจากการงดออกเสียงมาลงคะแนนคัดค้านมติ ในขณะที่ มัลดีฟส์ นามิเบีย และศรีลังกาเปลี่ยนจากการลงคะแนนสนับสนุนมาเป็นการงดออกเสียง

“การลงมติในวันนี้ช่วยตอกย้ำให้เห็นถึงกระแสที่ชัดเจนในระดับโลกที่จะผละจากการใช้โทษประหารชีวิต ปัจจุบัน 140 ประเทศทั่วโลกยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ” โจเซ่ หลุยส์ ดิแอซ ตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำองค์การสหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์กกล่าว

“ถึงแม้มติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นมติที่แสดงให้เห็นถึงเจตนารมย์ของประชาคมระหว่างประเทศและเป็นการส่งสัญญานที่ชัดเจนจากองค์กรระดับโลก”

“โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่ทารุณโหดร้ายและไร้มนุษยธรรมอย่างที่สุด องค์กรนิรโทษกรรมสากลคัดค้านการใช้โทษประหารทุกกรณี”

ผลการลงคะแนนรวม มีเสียงสนับสนุน 111 เสียง คัดค้าน 41 เสียง และงดออกเสียง 34 เสียง

 

หมายเหตุ: สำหรับรัฐบาลไทยลงคะแนนงดออกเสียงต่อมติการพักใช้โทษประหารชีวิตดังกล่าว นับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เปลี่ยนจากการลงคะแนนคัดค้านมาเป็นงดออกเสียงครั้งแรกเมื่อปี 2553***

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การลงมติยุติโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ไทยงดออกเสียงเป็นครั้งที่สอง

0
0

องค์กรนิรโทษกรรมสากลแถลงแรงสนับสนุนจากทั่วโลกเพื่อยุติโทษประหารชีวิตกำลังเพิ่มมากขึ้น  หลังจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงคะแนนอย่างท่วมท้นเพื่อสนับสนุนมติการพักใช้โทษประหารชีวิต

โดยการลงมติครั้งนี้นับป็นการลงมติครั้งที่ 4 ที่ผ่านการรับรองในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ นับตั้งแต่ปี 2550

111 รัฐลงคะแนนเสียงสนับสนุนมติดังกล่าว มีคะแนนเห็นชอบเพิ่มขึ้น 2 เสียงจากการลงมติครั้งล่าสุดเมื่อปี 2553 รัฐที่ลงคะแนนสนับสนุนเป็นครั้งแรก ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด เซเชลล์ เซียร่าลีโอน ซูดานใต้ และตูนีเซีย ยังมีสัญญาณในเชิงบวกจากปาปัวนิวกินีและอินโดนีเซียที่เปลี่ยนจากการลงคะแนนคัดค้านมาเป็นงดออกเสียง เป็นที่น่าเสียดายว่า บาห์เรน โดมินิกัน และโอมาน เปลี่ยนจากการงดออกเสียงมาลงคะแนนคัดค้านมติ ในขณะที่ มัลดีฟส์ นามิเบีย และศรีลังกาเปลี่ยนจากการลงคะแนนสนับสนุนมาเป็นการงดออกเสียง

“การลงมติในวันนี้ช่วยตอกย้ำให้เห็นถึงกระแสที่ชัดเจนในระดับโลกที่จะผละจากการใช้โทษประหารชีวิต ปัจจุบัน 140 ประเทศทั่วโลกยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ” โจเซ่ หลุยส์ ดิแอซ ตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำองค์การสหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์กกล่าว

“ถึงแม้มติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นมติที่แสดงให้เห็นถึงเจตนารมย์ของประชาคมระหว่างประเทศและเป็นการส่งสัญญานที่ชัดเจนจากองค์กรระดับโลก”

“โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่ทารุณโหดร้ายและไร้มนุษยธรรมอย่างที่สุด องค์กรนิรโทษกรรมสากลคัดค้านการใช้โทษประหารทุกกรณี”

ผลการลงคะแนนรวม มีเสียงสนับสนุน 111 เสียง คัดค้าน 41 เสียง และงดออกเสียง 34 เสียง

 

หมายเหตุ: สำหรับรัฐบาลไทยลงคะแนนงดออกเสียงต่อมติการพักใช้โทษประหารชีวิตดังกล่าว นับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เปลี่ยนจากการลงคะแนนคัดค้านมาเป็นงดออกเสียงครั้งแรกเมื่อปี 2553***

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครูชนบทลาวไม่ได้รับเงินเดือนกว่าสามเดือน

0
0

ครูอาจารย์ในชนบทยังไม่ได้รับเงินเดือนตามปกติมาเป็นเวลาเกือบ 3 เดือนมาแล้ว ถึงแม้ว่ารัฐบาลลาวจะอนุมัติการปรับขึ้นเงินเดือนนับตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมาก็ตาม

เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในกระทรวงการเงินยอมรับว่า แผนงบประมาณประจำปี 2012-2013 ที่เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น ยังไม่สามารถจัดตั้งเบิกจ่ายได้ตามปกติจนถึงเวลานี้ ทั้งนี้เนื่องจากว่า รัฐบาลลาวได้อนุมัติแผนการปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่รัฐกรทั่วประเทศ และให้มีผลบังคับใช้นับแต่เดือนตุลาเป็นต้นมานั้น สมทบกับความยุ่งยากในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 9 ซึ่งต้องใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลขาดสภาพคล่องทางงบประมาณรายจ่ายในเวลานี้

ยิ่งไปกว่านั้น การปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่รัฐกรทั่วประเทศดังกล่าว ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลลาวจะต้องจัดหารายรับเข้างบประมาณปี 2012-2013 ให้ได้เพิ่มขึ้นจากระยะแผนการ 2011-2012 คิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 30.35% อีกด้วย ทำให้รัฐบาลลาวต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้นไปอีก ปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการจ่ายเงินเดือนให้แก่รัฐกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะรัฐกรที่เป็นครูอาจารย์ในเขตชนบทนั้นได้รับผลกระทบมากที่สุด

ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่ารัฐบาลลาว ได้ขึ้นเงินเดือนให้แก่บรรดาครู-อาจารย์ทั่วประเทศในอัตราเฉลี่ยสูงกว่ารัฐกรในภาคส่วนอื่นๆ ด้วยหวังว่าจะทำให้ครูอาจารย์มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของลาวให้ดีขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ คณะรัฐบาลลาวยังคาดหวังด้วยว่าการปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่ครูอาจารย์เป็นกรณีพิเศษในครั้งนี้ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดเอาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของลาวให้ได้มาตรฐานของกลุ่มอาเซียนด้วยกัน และได้มาตรฐานสากล

ทั้งนี้ ในปัจจุบันทั่วประเทศลาวมีจำนวนครูทั้งหมดมากกว่า 63,000 คน ในจำนวนนี้เป็นครูประจำโรงเรียนรัฐบาล 37,000 คน และที่เหลือเป็นครูในสถานศึกษาเอกชนที่ไม่ยอมไปประจำอยู่โรงเรียนของรัฐบาลในเขตชนบท เพราะไม่ต้องการจะเผชิญปัญหาไม่ได้รับเงินเดือนตามปกติดังกล่าว

เพราะฉะนั้น การที่รัฐบาลลาวจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น ก็ต้องจัดเก็บรายรับและจัดการหาความช่วยเหลือจากต่างประเทศในแผนงานประจำปี 2010-2013 นี้ให้ได้ไม่น้อยกว่า 1,992,700 ล้านกีบ หรือคิดเป็น 24.96% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(GDP)ที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลลาวจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างชาติไม่น้อยกว่า 587 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

แปลและเรียบเรียงจากhttp://lao.voanews.com/content/laos-teachers-in-rural-schools-have-no-salaries-since-october-until-now/1564748.html

 

เกร็ดภาษาลาวລັດຖະກອນ​ - (ลัดถะกอน) : รัฐกร, พนักงานของรัฐ, government officer

ภาษาลาวใช้คำเรียกชื่อพนักงานของรัฐว่า ລັດຖະກອນ​ หรือรัฐกร ซึ่งรัฐกรนี้ได้รับเงินเดือนจากภาครัฐค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 400-2000 บาท/เดือน ในขณะที่ค่าครองชีพในประเทศลาวพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้อัตราการฉ้อราษฎร์บังหลวง กินสินบนในวงรัฐการพุ่งสูงขึ้น และทำให้บุคคลที่มีความสามารถไม่ต้องการเป็น ລັດຖະກອນ​ รัฐบาลลาวพยายามปิดแก้ไขปัญหานี้ด้วยการเพิ่มเงินเดือนให้แก่ ລັດຖະກອນ​ แต่ก็ประสบปัญหางบประมาณไม่เพียงพอดังข่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปล่อยตัวชั่วคราว "ก่อแก้ว" เพื่อทำหน้าที่ ส.ส. จนถึงปิดสมัยประชุมสภา

0
0

ศาลอนุมัติคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว "ก่อแก้ว พิกุลทอง" จากเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ เพื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. เปิด-ปิดสมัยประชุมสภา โดยหลังจากนั้นต้องมาอยู่ในการคุมขังของหมายศาลอาญาอีกครั้ง

เว็บไซต์เดลินิวส์รายงาน เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (21 ธ.ค.) ที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวีรังสิต หลังจากศาลอาญารัชดาภิเษกได้อนุมัติคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว  นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.จำเลยในคดีก่อการร้าย เพื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ในการเปิดสมัยประชุมสภาเป็นวันแรกนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศบริเวณด้านหน้าเรือนจำชั่วคราวหลักสี่มีกลุ่มแนวร่วม นปช.ทยอยเดินทางมารอคอยการปล่อยตัว นอกจากนี้ยังพบสื่อมวลชนจากหลายสำนักที่ให้ความสนใจมาปักหลักเพื่อติดตามสถานการณ์ด้วย
 
ทั้งนี้ หมายปล่อยตัวได้หมายเหตุไว้ว่า การปล่อยชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญ ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันเริ่มเปิดสมัยประชุมสภา จนถึงวันที่มีการปิดสมัยประชุมสภา ดังนั้นเมื่อถึงวันปิดสมัยประชุมสภา นายก่อแก้วจะต้องมาอยู่ในการคุมขังของหมายศาลอาญาอีกครั้ง นอกเสียจากนายก่อแก้วจะได้รับการปล่อยชั่วคราวตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาในการยื่นประกันใหม่ หรือการยื่นอุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยชั่วคราว
 
อย่างไรก็ตาม นายก่อแก้วถูกศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อวันที่ 30 พ.ย. เนื่องจากเห็นว่านายก่อแก้วได้กระทำการเข้าข่ายผิดเงื่อนไขการประตัว จากการแถลงข่าวที่อาคารรัฐสภาเป็นถ้อยคำที่มุ่งเน้นส่งผลร้ายต่อศาลรัฐธรรมนูญ มีลักษณะข่มขู่ คุกคาม และกดดันศาล และแสดงให้เห็นถึงการยุยง ปลุกปั่น ปลุกระดมประชาชน ซึ่งไม่ใช่การคาดการณ์หรือแสดงความคิดเห็น
 
ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานนปช.ซึ่งเดินทางมารับตัวนายก่อเเก้ว กล่าวว่า จะรับตัวนายก่อเเก้วเพื่อไปร่วมงานคอนเสิร์ตเสื้อเเดงรณรงค์เเก้ไขรัฐธรรมนูญที่โบนันซาเขาใหญ่ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะระมัดระวังการพูดนบเวทีให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ผิดเงื่อนไขศาล
 
ต่อมาเมื่อเวลา 10.30 น. นายก่อแก้วก็ได้รับการปล่อยตัว เดินออกมาจากเรือนจำหลักสี่ พร้อมให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ขอขอบคุณพี่น้องเสื้อแดงที่มาให้กำลังใจและเยี่ยมเยียนและพี่น้องเสื้อแดงคนอื่นที่อยู่ในเรือนจำหลักสี่จำนวน 23 คน ถือเป็นน้ำหล่อเลี้ยงให้ตนที่อยู่ในความทุกข์ได้มีความสุข เป็นกำลังใจให้ยืนหยัดต่อสู้ ทั้งนี้ ขอยืนหยัดต่อสู้ต่อไปโดยไม่แข็งกร้าว เพราะติดคุกมาแล้ว 2 รอบน่าจะพอแล้ว เพราะก็ติดมาเท่าเทียมคนอื่นเขา ทั้งๆ ที่อายุน้อยกว่า เลยไม่อยากติดคุกล้ำหน้าคนอื่นเขา ชีวิตนี้ไม่คิดร้ายต่อใคร ไม่ทำผิดกฎหมาย แต่หากพูดแล้วไม่ถูกต้องต่อไปก็จะระมัดระวังมากขึ้น เมื่อได้พูดออกไปแล้วก็พร้อมรับผิดชอบ และพูดไปอย่างบริสุทธิ์ใจ แต่หากศาลมองอีกมิติหนึ่งก็ยินดีน้อมรับ พร้อมแก้ไขและระมัดระวังมากขึ้น
 
"ขอให้ทุกฝ่ายไม่ต้องห่วงเพราะผมเป็นแกนนำที่ประนีประนอม ยืนหยัดในหลักการ ทั้งนี้ผมขอให้เสื้อแดงทุกคนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ความถูกต้องของบ้านเมืองนี้ ขอให้ร่วมกันแก้ไขไม่ใช่แก้แค้น ให้ประเทศได้เดินหน้าหลังจากติดหล่มมากว่า 6 ปี และขอฝ่ายค้านช่วยประเทศไทยไม่ให้เสียเวลา ขอให้ก้าวข้ามทักษิณเช่นกัน ทางเสื้อแดงก็ขอให้ก้าวข้ามอภิสิทธิ์ เพื่อประเทศไทยและลูกหลาน" นายก่อแก้ว กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โอปป้า พันล้าน "กังนัม สไตล์" ยอดชมในยูทูบทะลุ 1,000 ล้านครั้งแล้ว

0
0

1 พันล้านวิวภายใน 5 เดือนเศษของกังนัม สไตล์ เบียดคลิปของจัสติน บีเบอร์ แชมป์เก่าขึ้นครองอันดับ 1 ในยูทูบตั้งแต่เดือนที่แล้ว พบคลิปล้อเลียนและแฟลชม็อบจำนวนมากหนุนกระแส ไทยมีตั้งแต่งานศพยันในคุก

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.55 (ตามเวลาไทย) วีดีโอคลิป “PSY - GANGNAM STYLE (강남스타일) M/V “ ซึ่งเป็น MV เพลงกังนัมสไตล์ของไซ หรือ ปาร์ค แจซัง  (Psy, Park Jae-Sang)นักร้องชาวเกาหลีใต้ใช้เวลาเพียง 5 เดือนเศษ มียอดผู้เข้าชม 1,000 ล้านครั้งแล้ว โดยวีดีโอคลิปดังกล่าวถูกโพสต์เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 55 และยังมียอดการแสดงความคิดเห็นประกอบวีดีโอนี้ถึง 4,249,783 ความคิดเห็น การกดถูกใจประมาณ 6 ล้าน และไม่ถูกใจประมาณ 4 แสนกว่า

ยอดผู้เข้าชมวีดีโอคลิปนี้ มากกว่าคลิป “Justin Bieber - Baby ft. Ludacris” ของ จัสติน บีเบอร์ ครองอันดับ 1 ยอดการเข้าชมบนยูทูบมานานจนกระทั้งถูกแซงเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งวีดีโอคลิปของบีเบอร์  ถูกอัพโหลดมาตั้งแต่ 19 ก.พ. 53 และ ล่าสุดมียอดเข้าชมถึง 813,378,917 ครั้ง

กังนัม สไตล์ เป็นวีดีโอคลิปที่มีการล้อเลียน(parody)จำนวนมากและหลากหลาย เช่น จากกองทัพอังกฤษกองทัพเรือไทยเป็น TRANSFORMERSเป็น LEGOเป็น GUNMAN STYLE  DeadpoolSLENDER MANฮิตเลอร์สไตล์Farmer Styleตัวละครในเกมส์อย่าง SkyrimAnnoying Orange (ส้มพูดได้) คอสเพลย์ Mortal Kombat  ผู้ร่วมเข้าประกวดนางงามของเกาหลีเปียงยางเกาหลีเหนือ รวมไปถึงภาษาต่างๆ เช่น ภาษาฮีบรู   แม้กระทั้ง “ชอมสกี้ สไตล์” ที่นักศึกษา MIT หรือสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์  ชวน "นอม ชอมสกี้" เข้าฉาก MV ล้อ “กังนัมสไตล์”  

รวมไปถึงบริทนีย์ สเปียร์ส โพสต์ลงทวิตเตอร์ว่าอยากเรียนเต้น “กังนัมสไตล์” และต่อมารายการ The Ellen DeGeneres Show ต้องเชิญปาร์ก แจซังมาสอนบริทนีย์ในรายการแล้ว ยังมีคนดังนำท่ากังนัมสไตล์ไปเต้น ทั้งอีริก ชมิตต์ ผู้บริหาร Google ที่เต้นระหว่างเยือนเกาหลีใต้ เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่ถูกอ้างถึงโดยบอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีลอนดอนว่าได้เต้น "กังนัมสไตล์" ด้วยกัน อ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินจีนที่ต่อต้านรัฐบาลปักกิ่งก็ออกมาทำเอ็มวีล้อ รวมไปถึง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บัน คีมุน ที่ปาร์ก แจซังไปสอนเลขาธิการยูเอ็นเต้นกังนัมสไตล์ กันถึงที่ทำการยูเอ็นกันเลยทีเดียว หรือแม้กระทั้งมีวีดีโอล้อเลียนโอบาม่า ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ใน “Obama Gangnam Style” และมิตต์ รอมนีย์

นอกจากนี้ทั้งเพลงและท่าม้าย่องเป็นท่าเต้นประจำเพลงนี้ ยังถูกนำไปทำเป็นแฟลชม็อบ(Flash Mob) ในที่ต่างๆด้วย เช่น มหาวิทยาลัยคอร์เนลมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตตที่อินโดนีเซียที่สวีเดนที่ มิลานที่ โรมอิตาลี ที่ ปารีสฝรั่งเศส ที่บังกาเลียซิดนีย์เมลเบิร์นออสเตรเลีย ที่สิงคโปร์ไต้หวันหรือแม้กระทั้ง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่เป็นหนึ่งในกิจกรรมงานครบรอบ 10 ปี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

สำหรับในไทยถือได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างมากจนกระทั้งมีการนำมาล้อเลียนโดยวีดีโอที่มียอดผู้เข้าชมมากที่สุดคือ กำนันสไตล์ ของ เสือร้องไห้ ที่ขณะนี้มีผู้เข้าชมกว่า 24 ล้านครั้ง นอกจากนี้ยังมี กำนันสิตายของ เมย์เดย์, โอป่ะ ? Thailand Styleโดย วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา  พิธีกรชื่อดังและ แจ๊ค แฟนฉัน, เกรียนนัมสไตล์โดย Bie The Ska, ทับทิมจากรายการ VRZO, คลิปล้อเลียนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะรวมไปถึงการ เต้นกังนัมสไตล์กลางงานศพและเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครจัดโครงการประกวดเต้นกังนัมสไตส์“คุก”

ทั้งนี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเว็บยูทูบก็ได้ทำคลิปลิปซิงก์เพลงกังนัมสไตล์และ Call Me Maybe สรุปเทรนด์คลิปวิดีโอปี 2012 ที่กำลังจะผ่านไป โดยมีนักร้องเกาหลีใต้ ไซ ซึ่งเพลงของเขา มีคนดูมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในยูทูบ พร้อมบรรดาคนดังในยูทูบร่วมแสดงด้วย(ดู ยูทูบ สรุป 10 คลิปแห่งปีที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เวทีรับฟังความเห็นเหมืองทองทุ่งคำ เกณฑ์ตำรวจ-ทหาร 2,000 กีดกันชาวบ้านไม่ให้เข้าร่วม

0
0

ชาวบ้านกลุ่ม "ฅนรักษ์บ้านเกิด” ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามกว่า 700 คน ถูกกันไม่ให้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกว่า 2,000 นาย











ดูภาพอื่นๆ เพิ่มเติม: https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10151206727001699.447467.108882546698



23 ธ.ค. 55 - เวลา 6.00 น. ชาวบ้านในนาม “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามกว่า 700 คน เคลื่อนขบวนไปยังศาลาประชาคม ในบริเวณศาลากลางจังหวัดเลย ซึ่งมีการจัด “เวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ" หรือ Public Scoping ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการ EHIA ของโครงการขยายเหมืองทองของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ตามคำขอประทานบัตรที่ 104/2538 อย่างไรก็ตาม การเดินทางมาเพื่อคัดค้านการขยายเหมืองทองของชาวบ้านกลับถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกว่า 2,000 นายซึ่งได้เตรียมการตั้งแต่เมื่อช่วงสายวานนี้ ภายใต้แผนปฏิบัติการควบคุมฝูงชน “กรกฎ 52” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการกั้นถนนรอบศาลากลาง/ศาลาประชาคม ซึ่งเป็นที่จัดเวทีดังกล่าวด้วยรถบรรทุกของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ซึ่งลอกสติกเกอร์ชื่อบริษัทแต่ยังสามารถเห็นเป็นรอยชัดเจนอยู่ พร้อมทั้งแผงเหล็ก และแถวเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอีกสามชั้น พร้อมด้วยรั้วลวดหนามรอบบริเวณศาลาประชาคม ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเวที Public Scoping จะต้องผ่านทางเข้าซึ่งกำหนดไว้เพียงจุดเดียวบริเวณที่ว่าการอำเภอเมือง โดยเข้าได้ทีละคนและต้องผ่านการตรวจค้นอย่างละเอียด

“กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ซึ่งทะยอยมาถึงตั้งแต่เวลาเช้ามืดจำนวนมากเพื่อแสดงเจตจำนงค์ไม่เห็นด้วยกับการจัดเวทีดังกล่าวและการขยายเหมืองทอง ได้สื่อสารกับเจ้าหน้าที่ถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมประชุมอย่างสงบ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้ายังคงไม่อนุญาตให้ชาาวบ้านทั้งหมดเข้าไปร่วมในเวทีดังกล่าว ชาวบ้านจึงหันมาใช้เครื่องขยายเสียงปราศัยข้อมูลรณรงค์เกี่ยวกับผลกระทบทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนได้รับจากเหมืองทองที่ดำเนินการอยู่ของบริษัททุ่งคำ

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในห้อมประชุมเวที Public Scoping มีผู้เข้าร่วมประมาณ 500 คน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เหมืองทั้งที่ใส่เสื้อบริษัททุ่งคำและไม่ได้ใส่ประมาณครึ่งห้อง มีชาวบ้านจากตำลหนองงิ้วซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่การทำเหมืองแร่ทองคำอีกประมาณ 200 คน นอกจากนั้นเป็นข้าราชการและประชาชนทั่วไป โดยมีสารวัตรทหารและตำรวจพร้อมอาวุธและโล่ห์ควบคุมอยู่ทั้งด้านนอกและด้านในห้องประชุม ในระหว่างการประชุม มีประชาชนทั่วไปผู้หนึ่งตั้งคำถามว่าเหตุใดมีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากมาคัดค้านอยู่ด้านนอกแต่ถูกกันไม่ให้เข้ามาในห้องประชุม แต่การพูดคุยในห้องประชุมครั้งนี้กลับมีบรรยากาศเหมือนว่าโครงการจะผ่านแล้วแน่นอน อย่างไรก็ตาม คำถามดังกล่าวไม่ได้รับคำตอบจากผู้จัดประชุมแต่อย่างใด

นายสุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด กล่าวว่า ชาวบ้านมาในครั้งนี้เพื่อต้องการบอกเหมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าไม่เห็นด้วยกับการขยายเหมืองและการทำเวที Public Scoping เนื่องจากชาวบ้านโดยเฉพาะ 6 หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เหมือง ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทองดังกล่าวมายาวนานตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 2549 ทั้งการปนเปื้อนของโลหะหนักและไซยาไนด์ในดินและแหล่งน้ำ ทั้งลำห้วยและน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค และการตรวจพบโลหะหนักและไซยาไนด์ในเลือดของชาวบ้านใน 6 หมู่บ้านเกินมาตรฐานหลายรายมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านบางส่วนเริ่มมีอาการเจ็บป่วยจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงและแขนขาลีบ นอกจากนี้ ยังมีเหตุคันบ่อเก็บกากไซยาไนด์พังทลายตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมและเสี่ยงต่อการปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่ได้มาตรฐานของเหมืองดังกล่าว

ทั้งที่ปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไข แต่บริษัททุ่งคำยื่นเรื่องขอขยายพื้นที่การทำเหมืองไปยังป่าโคกภูเหล็ก (คำขอประทานบัตรเลขที่ 104/2538) ซึ่งอยู่ทิศใต้ของบริเวณเหมืองปัจจุบัน นอกจากนี้ ชาวบ้านยังพบว่า ขั้นตอนการขอประทานบัตรเพื่อขยายการทำเหมืองในครั้งนี้มีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตร ได้ระบุว่า พื้นที่ป่าโคกภูเหล็กเป็นป่าเบญจพรรณที่มีความสมบูรณ์น้อย รวมทั้งไม่มีทางหลวงและทางน้ำสาธารณะตัดผ่าน ทั้งที่ความเป็นจริง ป่าโคกภูเหล็กแห่งนี้ได้จัดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามาก มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีร่องน้ำและโครงข่ายน้ำซับน้ำซึมแทรกประสานอยู่ใต้ดิน และเป็นแหล่งต้นน้ำของชาวบ้าน รายงานการไต่สวนที่เป็นเท็จเช่นนี้ ประกอบกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านไม่ยอมรับและต้องลุกขึ้นมาคัดค้านการขอประทานบัตรขยายเหมืองของบริษัททุ่งคำ

ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดยังกล่าวอีกว่า “การจัดเวที Public Scoping ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในครั้งนี้ถือว่าไม่ชอบธรรมและไม่ใช่การมีส่วนร่วมของระชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่ามีการพยายามกีดกันผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงไม่ให้เข้าร่วมเวทีดังกล่าว และเกณฑ์คนของเหมืองและชาวบ้านนอกพื้นที่เข้ามานั่งในห้องประชุมให้เต็มเพื่อที่จะจัดประชุมให้ได้ครบเวลาตามกำหนดโดยไม่สนใจฟังเสียงประชาชน และเราต้องตั้งคำถามถึงธรรมาภิบาลของหน่วยงานพื้นที่ ทั้งตำรวจ ทหาร และผู้ว่าราชการจังหวัด ในการเกณฑ์กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากถึง 2,000 คน ซึ่งกินเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการดำเนินการของบริษัทเอกชนแห่งเดียว โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจึงถือว่าการจัดเวที Public Scoping ในครั้งนี้เป็นโมฆะ และจะดำเนินการร้องเรียนถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะถึงที่สุด”

อนึ่ง สืบเน่ืองจากการร้องเรียนกรณีชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ตำบลวังสะพุงได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ว่า “ให้กระทรวงอุตสาหกรรมชะลอการขยายพื้นที่ใหม่หรือการขอประทานบัตร ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด แปลงที่ 104/2538 และแปลงอื่น ๆ ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ข้อสรุปของสาเหตุการเกิดสารปนเปื้อน ผลการประเมินความคุ้มค่าของฐานทรัพยากรธรรมชาติและค่าภาคหลวงแร่กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และผลการประเมินผลด้านสุขภาพ หรือ HIA”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูเอ็นเรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ยกไทยต้นแบบความสำเร็จ

0
0

สมัชชาสหประชาชาติมีมติเอกฉันท์รับรองวาระหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เรียกร้องทุกประเทศจัดหลักประกันสุขภาพ ป้องกันไม่ให้ประชาชนต้องล้มละลายและยากจนจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ยกตัวอย่างไทยประเทศกำลังพัฒนาที่ทำสำเร็จ เป็นต้นแบบ ให้จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สร้างหลักประกันสุขภาพ



23 ธ.ค. 55 - นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า  เมื่อเร็วๆนี้ นสพ.The Guardian ของประเทศอังกฤษ รายงานข่าวว่า ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองวาระหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ Affordable Universal Healthcare ซึ่งเป็นมติที่เรียกร้องให้ประเทศต่างๆจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับประชาชนในประเทศ โดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการโดยตรง แต่จ่ายทางอ้อมผ่านระบบภาษี และมีกลไกที่รวมความเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนล้มละลายหรือยากจนจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล มตินี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แอฟริกาใต้ และไทย

กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวต่อว่า จากการวิจัยที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ให้ทุนสนับสนุนพบว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือเศรษฐกิจแบบใด ผลการศึกษาพบว่าแต่ละปี ประชากรโลก 150 ล้านคน ต้องจ่ายค่าบริการสุขภาพแพงมาก เป็นผลให้ 25 ล้านครัวเรือน มีฐานะยากจนลง และมีประชาชนมากกว่า 3,000 ล้านคนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยเงินของตนเอง ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กจำนวนมากต้องออกจากการเรียนเพื่อนำเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล การรับรองมติดังกล่าวนั้น หมายความว่าต่อไปนี้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นวาระสำคัญของสหประชาชาติ และเป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาหลังปี 2015 (the post-2015 development goals)

นพ.จรัล กล่าวว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้ยกตัวอย่างความสำเร็จของไทยในฐานะเป็นผู้บุกเบิกการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งครอบคลุมประชาชนทุกคนตั้งแต่ปี 2545 ประชาชนไทยประมาณ 99% ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านบริการสุขภาพที่ครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกันโรค /ส่งเสริมสุขภาพ  บริการปฐมภูมิ การรักษาพยาบาลทุกระดับ รวมถึงการบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น รังสีรักษา ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และมีความก้าวหน้าในการสร้างความเสมอภาคด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งความสำเร็จดังกล่าว เป็นต้นแบบให้ประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน มีแผนที่ชัดเจนที่จะสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ครอบคลุมประชากรของตน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ประชามติหรือคือทางออก

0
0

แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่เป็นที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้นั้น ขึ้นชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีปัญหา และมีผู้ที่ต่อต้านไม่ยอมรับจำนวนมาก โดยเฉพาะในข้อโจมตีว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า เมื่อใดก็ตาม ที่ฝ่ายพลังประชาธิปไตยจะพยายามผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็กลายเป็นเรื่องยากทุกครั้ง

ความไม่เป็นประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ถูกโจมตีมีหลายประเด็น ตั้งแต่เรื่อง การขยายอำนาจตุลาการมากเกินไป จนครอบงำองค์กรอิสระทั้งหมด การให้สิทธิตุลาการในการยุบพรรคการเมืองและลงโทษกรรมการพรรคการเมืองที่ไม่ได้ทำความผิด การกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกลากตั้งครึ่งสภา ที่มีอำนาจเท่าเทียมวุฒิสมาชิกเลือกตั้ง การมีบทเฉพาะกาลต่ออายุตุลาการ และการมีมาตรา ๓๐๙ รับรองความชอบธรรมของคณะรัฐประหารตลอดกาล แต่กลุ่มพลังที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญ กลับเห็นว่า มาตราเหล่านี้เป็นความถูกต้อง จึงคัดค้านการแก้ไขเสมอ

แม้กระทั่งครั้งล่าสุด ที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๙๑ เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.)เพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และรัฐสภาได้พิจารณาผ่านวาระที่สองมาแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ที่ผ่านมา เหลือเพียงการผ่านวาระที่สาม แต่ในที่สุด การลงมติต้องค้างเติ่ง เพราะในวันที่ ๑ มิถุนายน ศาลรัฐธรรมนูญก็ใช้อำนาจสั่งระงับการลงมติวาระที่ ๓ โดยอ้างว่า ศาลได้รับคำร้องที่ว่า การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา อาจเป็น”การกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” ตามมาตรา ๖๘ แม้ว่า ต่อมา ศาลจะมีวินิจฉัยว่า การพิจารณาของรัฐสภา ไม่เป็นไปตามข้อหานั้น แต่ศาลก็แนะนำให้มีการลงประชามติเสียก่อน พรรคร่วมรัฐบาลจึงถอยและยังไม่ได้มีการผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญในวาระที่ ๓

ในกรณีนี้ แม้ว่านักวิชาการด้านกฏหมายหลายคน ก็ได้ชี้แจงกันว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเกินเลย และแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ พรรคร่วมรัฐบาลควรที่จะเดินหน้าผ่านวาระที่ ๓ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็ชะลอเวลา โดยการตั้งคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๑ ที่มี โภคิน พลกุล เป็นประธาน และในที่สุด พอถึงเดือนธันวาคมนี้ ก็เป็นที่ชัดเจนว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะแก้ปัญหาด้วยการชะลอเวลาต่อไป โดยการเสนอให้มีการทำประชามติ ตามมาตรา ๑๖๕ ที่ระบุว่า “กรณีใดที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า กิจการในเรื่องใด อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ หรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีการออกเสียงประชามติได้” เหตุผลที่พรรคเพื่อไทยอ้างในการเสนอทำประชามติก็คือ เพื่อให้เป็นการดำเนินตามแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญนำเสนอ และเพื่อไม่ให้ปัญหานี้นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทยอีกต่อไป

จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการจัดประเด็นว่า คณะรัฐมนตรีของยิ่งลักษณ์ จะผลักดันให้มีการลงประชามติในประเด็นลักษณะใด ซึ่งคงจะต้องมีการจัดทำรายละเอียดต่อมา

แต่ไม่ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคร่วมรัฐบาล จะเสนอให้ลงประชามติในลักษณะใด กลุ่มฝ่ายต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญก็ยังคัดค้านด้วยข้อหาเดิมเสมอ คือ การกล่าวหาว่าการแก้รัฐธรรมนูญทั้งหมดเป็นไปเพื่อฟอกผิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ทำจดหมายเปิดผนึกระบุว่าการเร่งแก้ไขธรรมนูญของรัฐบาลเป็นการทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงเสนอให้ประชาชนล้มประชามติ ส่วนนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญคงขึ้นอยู่กับรัฐบาล แต่ต้องไม่แก้ในส่วนของสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือต้องไม่แก้ในส่วนที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีพ้นผิด มิฉะนั้น ฝ่ายพันธมิตรก็จะทำการเคลื่อนไหว

ได้มีการกล่าวหาล่วงหน้าว่า คณะร่างรัฐธรรมนูญที่ยังไม่ได้มีการตั้งขึ้นมาต้องมีธงว่า จะต้องแก้มาตรา ๓๐๙ เพื่อยกเลิกผลพวงที่เกิดจากการดำเนินการของ คตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ซึ่งจะส่งผลให้คดีความที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ หมดสิ้นไป มีการหยิบเอาเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียวมาทำการรณรงค์ โดยไม่พูดถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญในข้ออื่นเลย ซึ่งก็เป็นที่น่าแปลกใจว่า กลุ่มที่ต่อต้านทักษิณ กลับไม่สนับสนุนของเสนอของนิติราษฎร์ ที่จะให้มีการล้มล้างผลพวงรัฐประหาร โดยนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาพิจารณาในกฎหมายปกติ

ข้อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญของกลุ่มพันธมิตรฝ่ายขวา และพรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกยิ่งนัก ยิ่งกว่านั้น ถ้าพิจารณาในด้านของอำนาจตุลาการ ต้องถือว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้ผลประโยชน์และอำนาจล้นฟ้ากับฝ่ายตุลาการ การต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนโดยตรง เพราะค่อนข้างเป็นที่ชัดเจนว่า ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจตุลาการจะไม่ได้อำนาจพิเศษเช่นนี้อีก

ดังนั้น ฝ่ายประชาชนก็คงจะต้องยืนยันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ และผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นจริง และจะต้องเป็นการแก้ไขทั้งฉบับ ที่มุ่งไปสู่การยกเลิกอำนาจทางการเมืองของตุลาการ เลิกวุฒิสมาชิกลากตั้ง และควรที่จะไปถึงขั้นการแก้หมวดพระมหากษัตริย์ เพื่อยกเลิกองคมนตรี นี่เป็นเพียงขั้นต่ำ ที่จะนำสังคมไทยไปสู่การสถาปนาประชาธิปไตยอันแท้จริง

ส่วนเรื่องการปรองดองสมานฉันท์ จะต้องเป็นการปรองดองภายใต้หลักการประชาธิปไตยอันถูกต้อง ไม่ใช่เป็นการปรองดองแบบกราบกรานอำมาตย์ และจำนนต่ออภิสิทธิ์ชนเสียงข้างน้อย ต้องให้ประชาชนส่วนใหญ่มีหลักประกัน และสิทธิของประชาชนต้องได้รับความเคารพ

มิฉะนั้นแล้ว การปรองดองก็ปราศจากความหมาย


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ชี้ต่ออายุ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของไทยชะงักงัน

0
0

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 55 ที่ผ่านมา แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกแถลงการณ์ "การต่ออายุกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของไทยชะงักงัน" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

0 0 0



แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล

แถลงการณ์

21 ธันวาคม 2555

การต่ออายุกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของไทยชะงักงัน

ประเทศไทยต้องยุติการงดเว้นปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน ในระหว่างการแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว ภายหลังการต่ออายุพรก.ฉุกเฉินฯ ที่มีข้อบกพร่องอย่างมาก

คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาต่ออายุพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่บังคับใช้ในสามจังหวัดชายแดนใต้ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน เป็นมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 และมีผลบังคับใช้วันที่ 20 ธันวาคม 2555

บรรดาผู้ต้องสงสัยว่าก่อความไม่สงบยังคงเดินหน้าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศต่อไปอย่างไม่ไยดี มีการเลือกเป้าโจมตีพลเรือนและเป็นการโจมตีอย่างไม่เลือกหน้าในภาคใต้

พรก.ฉุกเฉินฯ ให้อำนาจอย่างกว้างขวางในการ “ควบคุมตัวเชิงป้องกัน” ในสถานที่ที่ไม่ได้กำหนดอย่างชัดเจนเป็นเวลาไม่เกิน 30 วัน ทั้งยังยกเว้นไม่ให้มีการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชน

ยังคงมีรายงานที่น่าเชื่อถือว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงยังคงทรมานและปฏิบัติอย่างทารุณต่อผู้ถูกควบคุมตัวในภาคใต้

“ผลจากอำนาจพรก.ฉุกเฉิน ในช่วงการขัดแย้งกันด้วยอาวุธแปดปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของรัฐมักได้รับการยกเว้นความผิดกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เราไม่อาจปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ได้ต่อไป รัฐบาลต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทุกคนมาลงโทษ และป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดเช่นนี้อีกโดยให้การคุ้มครองดีขึ้นต่อผู้ถูกควบคุมตัว” พอลลี ทรัสคอตต์ (Polly Truscott) รองผู้อำนวยการแผนกเอเชีย-แปซิฟิกแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

“ในทางปฏิบัติแล้ว พรก.ฉุกเฉิน งดเว้นโอกาสที่จะเอาผิดกับรัฐ ฐานละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้

“กฎหมายที่มีข้อบกพร่องเช่นนี้ได้เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 2548 และไม่ประสบความสำเร็จในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเพียงพอ ทั้งยังเป็นการเบี่ยงเบนจากพันธกรณีต่อกฎหมายระหว่างประเทศของไทย

“การต่อายุพรก.ฉุกเฉิน อีกครั้งเท่ากับรัฐบาลส่งสัญญาณว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในท่ามกลางความขัดแย้ง ไม่ได้เป็นเรื่องเร่งด่วนสำคัญนัก”


ข้อมูลพื้นฐาน

พรก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจหน่วยงานใดๆ ของรัฐ ในการควบคุมตัวบุคคลโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา ในสถานที่ที่ไม่มีการกำหนด ได้เป็นระยะเวลายาวนานถึง 30 วัน เป็นการควบคุมตัวตามคำสั่งของฝ่ายบริหารโดยไม่คำนึงว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ต้องสงสัยหรือไม่ การขอใช้อำนาจศาลเพื่อทบทวนการออกหมายจับและการขยายเวลาควบคุมตัวเพิ่มเติม เป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้ หรือไม่อาจบังคับใช้ได้ ส่วนการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวโดยหน่วยงานอิสระก็ไม่มีความสม่ำเสมอ

พรก.ฉุกเฉิน ยังจำกัดโอกาสที่จะฟ้องคดีทางอาญา ทางวินัยหรือทางแพ่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งละเมิดอำนาจตามพรก.ฉุกเฉิน และละเมิดสิทธิมนุษยชน มีผู้มองว่ากฎหมายฉบับนี้ช่วยยกเว้นความผิดให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และป้องกันไม่ให้ผู้เสียหายเรียกร้องค่าชดเชยจากการละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ในฐานะเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องงดเว้นการควบคุมตัวโดยพลการ รวมทั้งการควบคุมตัวบุคคลในสถานที่ที่ไม่ได้ประกาศไว้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันและยุติการซ้อมทรมานและการปฏิบัติที่ทารุณอื่น ๆ ในทุกบริบท ทั้งนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำการละเมิดมารับโทษ และเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เออิจิ มูราชิมา: กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม

0
0

เสวนาหนังสือ ที่ "Book Re:public" โดย "เออิจิ มูราชิมา" พาย้อนอดีตเล่าถึงกำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์ในสยามผ่านเอกสารประวัติศาสตร์

22 ธ.ค.55 เวลา 16.30 น. ร้าน Book Re:public จังหวัดเชียงใหม่ จัดเสวนาหนังสือ (Book Talk) ในหัวข้อ “กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม” โดยมีวิทยากรคือ เออิจิ มูราชิมา (Eiji Murashima) ศาสตราจารย์ด้านเอเชียแปซิฟิกศึกษา จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และดำเนินรายการโดยเวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เออิจิ มูราชิมา (ซ้าย) และเวียงรัฐ เนติโพธิ์ (ขวา)

เวียงรัฐ เนติโพธิ์เกริ่นนำว่ามูราชิมาศึกษาเรื่องไทยศึกษามา 3-4 ทศวรรษแล้ว โดยสนใจด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ เรื่องของคนจีน ซึ่งเชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคก๊กมินตั๋ง ชาวจีนสยาม สนใจการปฏิวัติสยาม 2475 และเรื่องชาตินิยม

หนังสือ “กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม (พ.ศ.2473-2479)” ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน (แปลโดยโฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์) สำคัญในฐานะที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่หลีกเลี่ยงการทำความรู้จักพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ได้ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยน่าจะท้าทายรัฐไทยอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอุดมการณ์รัฐ ความมั่นคงแห่งชาติ และเรื่องความจงรักภักดี พรรคคอมมิวนิสต์มีสถานะทางประวัติศาสตร์ในเรื่องเหล่านี้มากทีเดียว และงานชิ้นนี้ของมูราชิมายังเป็นแรงบันดาลใจ ว่าการถกเถียงทำความเข้าใจการเมืองไทย นอกจากใช้เหตุผลแล้ว ยังต้องใช้ข้อมูล ที่ผ่านการศึกษาอย่างจริงจัง

นอกจากนั้น การศึกษาเรื่องไทยศึกษาในญี่ปุ่นพัฒนาไปอย่างก้าวหน้า มีการถกเถียงในด้านต่างๆ มากมาย แต่เรามักจะไม่ได้เชื่อมกัน หรือมักจะเชื่อมกับโลกของไทยศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษมากกว่า จะเชื่อมกับญี่ปุ่น ด้วยอุปสรรคทางภาษา การตีพิมพ์งานแปลหลายชิ้นของมูราชิมาน่าจะเป็นเหมือนสะพานเชื่อมโยงโลกสองโลกของการศึกษาไทยศึกษาเข้าด้วยกัน

โดยสรุปในหนังสือจะแบ่งเป็น 6 บท แต่ละบทจะศึกษาประเด็นในช่วงต่างๆ โดยใช้เอกสารจำนวนมาก เช่น บทแรกจะศึกษาเพื่อระบุให้ได้ว่าวันที่ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม บทต่อมาก็ชี้ว่าสมาชิกไม่มีชาวสยามเลย มีชาวจีนเป็นหลัก ต่อมาก็มีชาวเวียดนามมากขึ้น และชาวสยามเข้ามาในการประชุมครั้งที่ 3 และเล่าถึงการประชุมสมัชชาพรรคแต่ละครั้ง

เออิจิ มูราชิมา กล่าวถึงเหตุผลที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ไทย มีสองสาเหตุ คือ หนึ่ง ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ไทยน่าสนใจมากกว่าอ่านนิยาย เนื่องจากตนได้อ่านเอกสารที่หอจดหมายเหตุก็ดี เอกสารที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน หรืออังกฤษ รายงานของทูต ซึ่งเขียนเรื่องสยามหลายอย่าง ทำให้รู้สึกสนใจ

สองคือ เมื่อเขียนหนังสือเรื่องการเมืองจีนสยาม: ค.ศ. 1924-1941 ในปี 2539 หลังจากนั้นก็ได้พบอาจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ และอาจารย์เกษม ศิริสัมพันธ์ อาจารย์เกษมได้ชมหนังสือเล่มนั้น และตนก็ดีใจมาก จึงอยากจะทำงานต่อ ถ้าเขียนประวัติศาสตร์ไทยในประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยอ่าน ไม่ค่อยสนใจ จึงดีใจมากที่คนไทยสนใจผลงาน

มูราชิมาเล่าถึงเบื้องหลังการศึกษาว่า ตนใช้เวลาอยู่เมืองไทยทั้งหมด 12 ปีครึ่ง โดยใช้เวลา 6 ปีครึ่งอยู่ต่อเนื่องระยะยาว อีก 6 ปีครึ่งตนไปๆ มาๆ อาจจะอาทิตย์เดียวหรืออยู่หนึ่งเดือน โดยในระยะเวลาทั้งหมดนี้ ประมาณ 10% ตนไปสัมภาษณ์ และไปเที่ยวต่างจังหวัด โดยได้ไปทุกจังหวัดในประเทศไทย เวลาอีก 20% ใช้เวลาเก็บหนังสือที่ร้านหนังสือเก่า ทุกเสาร์อาทิตย์อยู่ที่ร้านหนังสือเก่า ตั้งแต่สนามหลวงมาจตุจักร

ช่วง 2520 หนังสือยังขายที่ริมถนนค่อนข้างเยอะ ราคาก็ถูกมาก ก็ได้หนังสือเก่ามามากพอสมควร เช่น “แสดงกิจจานุกิจ” ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งซื้อได้ราคา 50-60 บาทเท่านั้นเอง หรือหนังสือวชิรญาณวิเศษ หรือหนังสือของเทียนวรรณ รุ่นนั้นตนก็มีครบหมด แต่ช่วงหลังร้านหนังสือเก่าก็มีน้อยลง ราคาก็แพงขึ้นไปเยอะ มีการขโมยหนังสือจากห้องสมุดมาขาย ร้านหนังสือก็ย้ายเข้าไปอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า และเก็บค่าเช่าแพง ผู้ขายหลายคนก็ยุติการขาย จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจว่าทำไมช่วงสมัย 2520 ร้านหนังสือเก่าถึงเยอะ และน้อยลงไปในปัจจุบัน

ส่วนเวลาอีก 60-70% ตนใช้อ่านหนังสือพิมพ์และหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติ และอ่านเอกสารที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ มูราชิมาตั้งข้อสังเกตว่าถ้าเปรียบเทียบกับ 30 ปีก่อน หนังสือพิมพ์รุ่นเก่าจะหายไปเยอะมาก ในช่วง 2523-24 มีคนทำไมโครฟิล์มไว้เยอะมากที่หอสมุดแห่งชาติ แล้วไมโครฟิล์มนั้นก็เสียเพราะควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ ต้นฉบับก็เสียหายเยอะ ให้บริการไม่ได้แล้ว ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย

ในเมืองไทย หนังสือพิมพ์ภาษาจีนฉบับแรกมีมาตั้งแต่ปี 1904 (พ.ศ.2447) แต่เมืองไทยเก็บหนังสือจีนนี้ตั้งแต่ 1917 (พ.ศ.2460) ตอนนี้ตนก็ไม่มั่นใจว่ายังเก็บไว้อยู่หรือไม่ เพราะมีโครงการที่จะทำดิจิตอล ซึ่งมีการไปทำลายหนังสือพิมพ์เสียหายด้วย แล้วดิจิตอลจริงๆ ทนได้ยาวนานที่สุดก็อาจจะ 30 ปี แล้วยิ่งเป็นตัวหนังสือจีน คนที่ถ่ายก็ไม่รู้เรื่องว่าที่ไหน หรือวันไหน เลยปะปนกันไปหมด เมืองไทยจึงกำลังจะทำลายเอกสารที่สำคัญไปมาก โดยหนังสือพิมพ์จีนที่อ้างอิงไว้ในหนังสือ ตนก็ถ่ายรูปไว้พอสมควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับสังคมชาวจีนในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะรักษาไว้ได้กี่ปี

มูราชิมากล่าวถึงการศึกษาเรื่องวันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม ว่าก่อนหน้านั้นก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นวันใด  แต่จากการศึกษาเอกสารของฝ่ายเวียดนามและฝ่ายจีน และจากการสัมภาษณ์ธง แจ่มศรี ก็ตรงกันว่าเป็นวันที่ 20 เมษายน 2473 ก่อนหน้านั้นมีสายเวียดนาม และสายจีนซึ่งสังกัดพรรคคอมมิวนิสต์ทะเลใต้ ซึ่งอยู่ที่สิงคโปร์ สองฝ่ายตกลงกันโดยคำแนะนำของโฮจิมินต์ ซึ่งมาจากสากลที่สาม (องค์กรคอมมิวนิสต์สากลที่ 3 หรือคอมมิวนิสต์สากล ทำหน้าที่ประสานงานคอมมิวนิสต์ทั่วโลก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 สายเวียดนาม ได้ยุติกิจกรรม เพราะเกือบทั้งหมดถูกจับ หลังจากนั้นมีแค่สายจีนที่มีบทบาท และเน้นการต่อต้านญี่ปุ่น ในหนังสือเล่มนี้ตนได้เขียนเรื่องความเป็นมาของพรรคคอมมิวนิสต์สยามตั้งแต่ต้นถึงอีก 6 ปีต่อมา

มูราชิมากล่าวถึงที่มาของข้อมูลว่าได้มาจากเอกสาร RGASPI ซึ่งเป็นหอจดหมายเหตุของสากลที่สาม ที่มอสโก ซึ่งมีรายงานที่พรรคคอมมิวนิสต์สยาม ส่งไปที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ซึ่งก็คือเวียดนาม สมัยนั้นถูกปราบปราม จึงต้องไปตั้งศูนย์กลางที่มาเก๊า เอกสารก็เดินผ่านมาทางนี้เข้ามอสโก ซึ่งมีเอกสารการประชุมสมัชชาครั้งที่สามและสี่ ส่วนการประชุมครั้งที่สองได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเอง ซึ่งทางอังกฤษดักไว้ได้ และแปลให้รัฐบาลไทย เข้าใจว่าสมัยนั้นแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอาณานิคมยังดีอยู่พอสมควร ช่วงนั้นฝรั่งเศส อังกฤษ และดัชท์ให้ข้อมูลกับรัฐบาลไทย เอกสารข้อตกลงพรรคคอมมิวนิสต์สยามกับอินโดจีน จึงมีเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุ

แหล่งข้อมูลสำคัญเรื่องคอมมิวนิสต์อีกแหล่งหนึ่งคือหนังสือพิมพ์จีน ซึ่งจะรายงานละเอียดกว่าหนังสือพิมพ์ไทยมาก เช่น เหตุการณ์ 18 เมษายน 2479 ที่ผู้นำคอมมิวนิสต์สยาม เกือบทั้งหมดถูกจับ รวมทั้งสวัสดิ์ ผิวขาว ที่เป็นผู้บริหารพรรคคอมมิวนิสต์สยามที่เป็นคนไทยคนแรก ก็มีข่าวในหนังสือพิมพ์ไทย แต่ไม่มากนัก จนช่วงขึ้นศาล ก็ไม่มีข่าวอีก แต่หนังสือพิมพ์จีนเขาสนใจติดตามและรายงาน คุณภาพจะดีกว่าหนังสือพิมพ์ไทยในแง่ข่าวเกี่ยวกับการเมือง

มูราชิมากล่าวว่าข้อมูลอีกส่วนมาจากการสัมภาษณ์ เหตุที่ตนสนใจคอมมิวนิสต์ตั้งแต่เริ่มทำไทยศึกษา เพราะช่วงปี 2518 สมัยนั้นมีข่าวเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์เยอะมาก เมื่อมาอยู่ไทยยาวๆ ครั้งแรกในปี 2523 ตนได้ไปสัมภาษณ์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร และอุดม ศรีสุวรรณ รวมถึงอีกหลายคน เช่น ดำริห์ เรืองสุธรรม ซึ่งตอนหลังอยู่ที่บ้านพักคนชราที่กรุงเทพฯ ตนได้ไปหาหลายครั้งและได้บันทึกเทปทั้งหมดไว้ แต่ยังไม่ได้ใช้จนปัจจุบัน รวมถึงคำบอกเล่าของธง แจ่งศรี ส่วนใหญ่ตรงกับเอกสาร จึงน่าจะเชื่อถือได้  นอกจากนี้ยังใช้เอกสารภาษาจีน และภาษาเวียดนาม ซึ่งออกมาในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา

มูราชิมากล่าวต่อว่าในหนังสือเล่มนี้ยังไม่ชัดเจน ในปกหลังซึ่งบรรณาธิการอ้างอิงมาว่าจะเขียนประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์ในสยามจะชัดเจนหรือละเอียดกว่านี้ไม่ได้ จนกว่าเอกสารในหอจดหมายเหตุของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศจีนจะถูกเปิดเผยออกมา ซึ่งไม่ทราบว่าเมื่อไร โดยกลุ่มชาวจีนที่ทำการปฏิวัติภายในประเทศ ในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ทุกแห่งจะมีกรรมการเขียนประวัติของสมาชิก ทำกิจกรรมอะไร มีประโยชน์ต่อการปฏิวัติอย่างไร หนังสือเหล่านี้ออกมาเยอะมาก แต่เอกสารหรือหนังสือหลายอย่างไม่เปิดเผย เพราะฝ่ายจีนก็กลัวว่าอาจจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ถ้าเอกสารพวกนี้ดูได้ เราก็รู้ได้ว่าความสัมพันธ์ฝ่ายเวียดนามกับฝ่ายจีนเป็นอย่างไร ใครเป็นเลขาธิการ เขารายงานเข้าพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างไร

มูราชิมากล่าวถึงงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ว่ากำลังอ่านเอกสารที่หอจดหมายเหตุทูตของญี่ปุ่น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทยกับญี่ปุ่น ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 คนญี่ปุ่นที่เข้ามาเมืองไทยช่วง 1890 กว่าๆ หลายคนก็เขียนรายงาน บทความในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ เช่น ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์หรือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ก็ได้เขียนเรื่องสภาพทาสที่เมืองไทยพอสมควร อีกเรื่องหนึ่ง คือรัชกาลที่ 5 สนใจญี่ปุ่นมาก ก่อนที่ท่านจะยุโรป 1890 ท่านคิดว่าจะไปญี่ปุ่นก่อน โดยมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าท่านต้องการไปญี่ปุ่น แต่ที่ปรึกษาทั่วไปก็ไม่เห็นด้วยให้ไป จึงต้องยุโรปก่อน และเมื่อกลับมา ก็ยังมีปัญหาไม่ได้ไป เพราะญี่ปุ่นอาจจะไม่ต้องการเท่ารัชกาลที่ 5 จนรัชกาลที่ 6 ได้ไปญี่ปุ่นในปี 1912

ในช่วงท้าย นิธิ เอียวศรีวงศ์ซึ่งร่วมฟังการเสวนา ตั้งคำถามว่าตั้งแต่ช่วง 1930 ที่เต็มไปด้วยคนจีน และเวียดนาม ที่ทำงานกับกลุ่มกรรมกร คำถามคือผู้นำที่เป็นไทยที่รู้สึกว่าอยากเปลี่ยนประเทศไทย ตามตำราที่พูดกันในภาษาไทยจะบอกว่าพวกนี้ถูกครอบงำโดยจีน เวียดนาม คิดถึงประโยชน์ของจีนและเวียดนามมากกว่าจะเปลี่ยนประเทศไทย แต่ความคิดเรื่องเปลี่ยนประเทศไทยด้วยคอมมิวนิสต์ แทรกเข้ามาได้อย่างไรในช่วงนั้น 

มูราชิมาเห็นว่าเท่าที่อ่านดูเอกสาร นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์สยาม ต้องการปฏิวัติที่สยาม ทั้งที่เป็นคนเวียดนามหรือจีน เขาต้องการให้คนจีนและเวียดนามเรียนหนังสือไทย เข้าโรงเรียนไทย บางทีก็เข้าเป็นทหารด้วย ทำให้คนไทยสนใจลัทธิมาร์กซ์และพรรค แต่ทำเท่าไรคนไทยก็ไม่สนใจ ไม่เข้าใจลัทธิคอมมิวนิสต์ ก็พยายามระดมคนเชื้อสายไทย แต่ก็ไม่สำเร็จ โดยฝ่ายเวียดนามจะสำเร็จมากกว่าฝ่ายจีน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศจีนเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว และรัฐบาลไทยปราบปรามรุนแรง ลูกจีนยังถือว่าตัวเองเป็นจีนอยู่ ไม่ใช่ไทย สมัยหลังสงครามเริ่มมีคนไทยที่เรียนที่ธรรมศาสตร์ ที่มาจากชนบทอีสาน เริ่มเข้าไปเป็นสมาชิกพรรค แต่ตอนนั้นสมาชิกส่วนใหญ่เป็นพวกจีน แต่ปัญญาชนที่เป็นไทยเริ่มมาเป็นผู้นำ จึงมีความไม่พอใจกันหลายอย่าง

นิธิถามต่อว่าช่วงเกิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม ในงานเรื่องการเมืองของจีนสยาม ได้พูดถึงการทำงานของพรรคก๊กมินตั๋งในไทย ซึ่งมีอิทธิพลสูง ฉะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองไทยช่วงนั้น ในหมู่คนจีนด้วยกันเอง มันต้องเผชิญกับพลังทางการเมืองของก๊กมินตั๋งสูงมากใช่หรือไม่ 

มูราชิมาตอบว่าใช่ และเท่าที่อ่านหนังสือพิมพ์จีน ชาวจีนเองก็ไม่ได้นิยมก๊กมินตั๋ง ในช่วงก่อนการปฏิวัติ 1911 ชาวจีนส่วนใหญ่ยังนิยมรัฐบาลแมนจู คนที่ต่อต้านก๊กมินตั๋งยังมีอยู่พอสมควร แต่หลังจากก๊กมินตั๋งได้อำนาจแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่ก็เป็นฝ่ายก๊กมินตั๋ง ช่วงนั้นคอมมิวนิสต์กับก๊กมินตั๋งเป็นพันธมิตรกันระยะสั้น ความคิดของคอมมิวนิสต์จึงเข้ามาถึงถึงปัญญาชนชาวจีนในประเทศไทย ปัญญาชนนิยมลัทธิมาร์กซ์อยู่พอสมควร แม้ก๊กมินตั๋งจะเป็นกระแสหลักในหมู่คนจีนอพยพก็ตาม

พวงทอง ภวัครพันธุ์ ถามว่าในการเคลื่อนไหวของคนเวียดนามในคอมมิวนิสต์สยาม มีปัจจัยสำคัญคือความภักดีกับคอมมิวนิสต์สากล จึงสงสัยว่าองค์กรคอมมิวนิสต์สากลนี้คือสายโซเวียหรือเปล่า และทำให้เกิดปัญหาทำให้ไม่สามารถทำงานกับสายจีนได้หรือไม่

มูราชิมาตอบว่าไม่ เพราะสมัยนั้นแม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จงรักภักดีต่อองค์กรสากลที่สาม สมัยนั้นถือว่าคอมมิวนิสต์ไม่มีประเทศ ทุกคนเป็นสมาชิกสากลที่สามเหมือนกัน แต่จริงๆ อาจจะมีเรื่องเชื้อชาติอยู่ แต่ตอนนั้นยังไม่เด่นชัด และศักดิ์ศรีของสากลที่สามจะสูงมาก

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ถามถึงคนไทยในพรรคคอมมิวนิสต์สยามว่าเป็นกลุ่มคนที่เป็นปัญญาชนมาแล้วแต่แรก หรือเป็นกรรมกรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา มูราชิมาเห็นว่าคอมมิวนิสต์รุ่นแรก คนที่ทำงานในพรรค ส่วนใหญ่มีการศึกษาดีพอสมควร สมัยนั้นคนที่เรียนระดับมัธยมก็สูงแล้ว คนที่เขียนประวัติจริงๆ ก็เป็นคนที่มีการศึกษา เขาเข้าไปพรรคไม่ใช่เรื่องภาวะเศรษฐกิจไม่ดี หรือถูกบังคับ แต่นิยมอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์มากกว่า

ในตอนท้าย นิธิตั้งข้อสังเกตว่ามีการพูดกันว่าคนไทยยากที่จะเข้าใจคอมมิวนิสต์ แต่ตนกลับรู้สึกกลับกันว่าคอมมิวนิสต์ ยากจะเข้าใจคนไทย คือเมื่อไรพรรคคอมมิวนิสต์ ถึงจะพูดอะไรที่กระทบใจคนไทยได้ คอมมิวนิสต์ในประเทศไทยเวลาพูดอะไรที มันไม่ใช่ตัวปัญหา คืออุดมการณ์คอมมิวนิสต์มันคงจะสามารถพูดกับใครก็ได้ ถ้าคุณรู้ว่าจะพูดตรงไหนให้กระทบใจเขา จนกระทั่งถึงสมัยหลัง ที่พูดถึงเรื่องกึ่งเมืองขึ้น คนไทยก็ไม่ได้รู้สึกแบบเวียดนาม ไม่ได้รู้สึกว่าอเมริกันเป็นอาณานิคม มันมายิ่งเยอะยิ่งดี ไม่ค่อยกระทบใจคนไทยเท่าไร จนกระทั่งหลังระยะหลังค่อนข้างมาก ที่สังคมไทยมีความไม่เสมอภาคชัดเจนมากขึ้นๆ ตรงนั้นที่การอธิบายเรื่องชนชั้นเริ่มกระทบใจมากขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 16 - 22 ธ.ค. 2555

0
0

ลูกจ้างรายได้ต่ำกว่าหมื่นติดหนี้นอกระบบบาน

นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการเสวนา เรื่อง "วิกฤติหนี้นอกระบบ - ทางออกของสังคมไทย?" จัดโดยกระทรวงยุติธรรมว่า ปัจจุบันปัญหาหนี้นอกระบบเปลี่ยนจากปัญหาที่เคยแพร่หลายในชนบทและในภาค เกษตรกรรมมาเป็นปัญหาของผู้ที่มีรายได้ประจำในสังคมเมืองโดยเฉพาะแรงงานใน ภาคอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ จากตัวเลขของผู้ที่รับค่าจ้างในรูปแบบเงินเดือนประมาณ 17 ล้านคนในปัจจุบัน มีจำนวน 14 ล้านคนที่ทำงานกับภาคเอกชน และมีกว่า 8-9 ล้านคน ที่มีรายได้ประจำเพียง 8,000-9,000 บาทต่อเดือน รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และเลี้ยงครอบครัวดังนั้นหากในเดือนใดที่ไม่มีรายได้จากการทำงานล่วงเวลา (เงินโอที) คนกลุ่มนี้ก็จะต้องกู้เงินนอกระบบ โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้จากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 8-10 ต่อเดือน

นายณรงค์ กล่าวว่า หนี้นอกระบบที่กำลังคุกคามภาคแรงงาน ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยพึ่งพาการผลิตในภาคอุตสาหกรรมคิดเป็น 88-90 % ของจีดีพี ขณะที่การผลิตในภาคเกษตรคิดเป็น 10 -12 % ของจีดีพีเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีหลายรัฐบาลที่มุ่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในภาคชนบท โดยใช้วิธีให้เงินสินเชื่อผ่านกองทุนต่างๆเพื่อให้เป็นสินเชื่อภายในชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) กองทุนเอสเอ็มแอล เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 15 กองทุน ที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งปัจจุบันมีแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรเพียง 8 ล้านคน ทำให้ภาคเกษตรมีปัญหาหนี้นอกระบบลดลง แต่ในทางตรงกันข้ามหนี้นอกระบบในกลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรมกลับเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว

"ขณะนี้ต้องเข้าใจว่าหนี้นอกระบบเป็นปัญหาที่เข้ามาคุกคามสังคมเมืองมาก ขึ้น หากไปแถวโรงงานอุตสาหกรรม เช่น สมุทรปราการ ปราจีนบุรี จะเห็นโฆษณา ใบปลิวเรื่องเงินด่วนเป็นจำนวนมาก ขณะที่แรงงานเหล่านี้ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงเงินทุน ที่ผ่านมารัฐบาลช่วยเหลือสินเชื่อให้กับนายจ้างและผู้ประกอบการเท่านั้นแต่ ลืมเรื่องการให้เงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือแรงงาน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน"นายณรงค์ กล่าว

เขากล่าวว่า สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้กับผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ตนเสนอว่ารัฐบาลควรจะมีการออกพันธบัตรวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสินปล่อยกู้รายย่อยตามความจำเป็นให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยมีเงื่อนไขว่าคนที่จะกู้จะต้องฝากประจำ 10% ของมูลค่าเงินที่กู้ โดยอาจให้เจ้าของกิจการเป็นผู้หักเงิน ณ ที่จ่ายคืนธนาคารพร้อมเงินฝากประจำ จากนั้นภายใน 3 ปี จะมีเงินทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จากเงินฝากประจำของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเงินทุนจำนวนนั้นจะสามารถนำมาจัดตั้งธนาคารเพื่อแรงงานซึ่งเป็นธนาคาร ที่จะเข้ามาดูแลเรื่องการปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยไม่เป็นภาระกับเงินงบประมาณ

(กรุงเทพธุรกิจ, 17-12-2555)

 

ชมรมพนักงานราชการครูผู้สอนแห่งประเทศไทย ร้อง รมว.ศึกษา พิจารณา บรรจุเป็นข้าราชการครู

ที่ทำเนียบรัฐบาล ชมรมพนักงานราชการครูผู้สอนแห่งประเทศไทย จำนวนประมาณ 40 คน นำโดย นายปัญญา คิดชัย ประธานชมรม และ นายรัษฎา วิชัยดิษฐ ที่ปรึกษาสมาพันธ์พนักงานราชการปละครูอัตราจ้างแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอให้พิจารณา ให้พนักงานราชการที่มีประสบการณ์การสอนไม่ต่ำกว่า 10 ปี มีใบประกอบวิชาชีพครู ได้รับการตัดโอนตำแหน่ง จากพนักงานราชการเป็นตำแหน่งครูผู้ช่วย เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน ทั้งนี้ พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานสอนมานานกว่า 10 ปี ขึ้นไปจำนวนมาก ยังไม่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกบรรจุเป็นข้าราชการครู เนื่องจากเงือนไขในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำเขตพื้นที่การศึกษาไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทำให้พนักงานราชการที่ทำงานมานานไม่มีความก้าวหน้าทั้งที่ทำงานด้วยความ ตั้งใจมาโดยตลอด และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและความมั่นคงในอาชีพจึงขอให้ พิจารณาในเรื่องนี้ โดยนายพงศ์เทพ ได้เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าวด้วยตนเองพร้อมกับระบุว่าจะนำเรื่องดังกล่าวไป พิจารณาร่วมกับข้าราชการที่รับผิดชอบในเรื่องนี้เพื่อพิจารณาเหตุผลต่างๆ และคาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 1 เดือนจะได้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว.

(เดลินิวส์, 17-10-2555)

 

บอรด์ สปส.ยืนยันลดส่งเงินสมทบรองรับปรับขึ้นค่าแรง 300 ร้อยละ 1

18 ธ.ค. 55 - นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด สปส.ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการให้ลดส่งเงินสมทบในอัตรา ร้อยละ 2 ในปี 2556 และร้อยละ 1 ในปี 2557 เพื่อลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท จึงยืนยันตามมติเดิม ในการลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทั้งฝ่ายของนายจ้างและลูกจ้างใน อัตราที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 1 ในปี 2556 เนื่องจากจะกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนในระยะยาว ทั้งนี้ หากลดเงินสมทบตามข้อเสนอรวม 2 ปี คือร้อยละ 3 กองทุนจะสูญเงินกว่า 90,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันในที่ประที่ชุมยังเสนอให้ สปส.ไปปรับปรุงหลักเกณฑ์การกู้เงินในโครงการสินเชื้อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ กับภาคธุรกิจ ที่มีวงเงินเหลืออยู่กว่า 9,000 ล้านบาท โดย สปส.จะหารือร่วมธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ เพื่อหารือว่า บสย .จะสามารถทำตามข้อเสนอของภาคธุรกิจในการมาค้ำประกันเงินกู้ให้ภาคธุรกิจเอส เอ็มอีได้หรือไม่

(สำนักข่าวไทย, 18-12-2555)

 

พนักงานบริษัทไมเออร์ แหลมฉบัง ยุติการชุมนุม หลังการเจรจาประสบผลสำเร็จ

(18 ธ.ค.) ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี พนักงานบริษัท ไมเออร์ อินดัสตรีส์ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ประมาณ 1,000 คนชุมนุมที่หน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เพื่อรอผลการเจรจาระหว่างตัวแทนพนักงานกับนายจ้าง หลังเจรจากันมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ โดยวันนี้จะเป็นการรอฟังคำตอบเป็นครั้งสุดท้าย เพราะพนักงานต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการหยุดงานและเดินทางมาชุมนุม

นายฐิติพงษ์ ประยูรพาณิชย์ ตัวแทนพนักงานที่ร่วมเจรจา กล่าวว่า การเจรจาที่ผ่านมา ใกล้ประสบผลสำเร็จแล้ว เหลือเพียงเงื่อนไขเล็กน้อยเท่านั้น โดยอยู่ระหว่างหาข้อสรุป เพื่อให้เกิดความพึงพอใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างต่างยืนยันในหลักการของตนเอง แต่เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายถอยกันคนละก้าว ทำให้การเจรจาเป็นไปด้วยดี ล่าสุดบริษัทยินดีจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน 2 เดือน พร้อมเงินอีก 6,500 บาท ซึ่ง เงิน 6,500 บาทจะจ่ายให้กับพนักงานรายวันในวันที่ 24 มีนาคม 2556 ส่วนพนักงานรายเดือน จะจ่ายในวันที่ 31 มีนาคม 2556 เพื่อนำเงินกลับไปให้ทางบ้านหรือญาติพี่น้องใช้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้ยุติลงด้วยดี

ทั้งนี้ บริษัท ไมเออร์ อินดัสตรีส์ จำกัด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เป็นโรงงานผลิตอลูมิเนียมแผ่น-ม้วนเครื่องครัวอลูมิเนียม เครื่องครัวสแตนเลส มีพนักงานกว่า 3,000 คน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 18-12-2555)

 

ระงับส่งแรงงานไทยไปไต้หวันชั่วคราวตั้งแต่ 24 ธ.ค.-ปรับปรุงสัญญาจ้าง

18 ธ.ค.-นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมการจัดหางาน (กกจ.) ระงับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ไต้หวันชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคมนี้ เนื่องจากได้รับร้องเรียนว่าบริษัทจัดหางานเรียกค่าใช้จ่ายการเดินทางไปทำ งานที่สูงเกินจริงตั้งแต่ 30,000-100,000 บาท ทั้งที่มีการกำหนดให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เพียง 14,000 บาท ขณะเดียวกันยังพบว่าสัญญาจ้างมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ทำให้แรงงานไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานไต้หวันและไม่ได้รับ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่สัญญาจ้างกำหนดไว้ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินแรงงานไทยต้องจ่ายเองทั้งที่ในสัญญาจ้างกำหนดให้นายจ้าง เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าที่พัก ค่าอาหาร และวันหยุดต่างๆ จึงต้องตรวจสอบรายละเอียดสัญญาจ้างให้ชัดเจนและให้เป็นมาตรฐานและให้นายจ้าง ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปทั้งหมดไม่เกินเดือนมกราคมปี 2556 หลังจากนั้นจะยกเลิกการสั่งระงับการจัดส่งแรงงานทันที

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศกว่า 310,000 คน นำรายได้เข้าประเทศโดยโอนเงินผ่านธนาคารประมาณ 84,300 ล้านบาทโดยในส่วนของไต้หวันปัจจุบันมีแรงงานไทยไปทำงาน 71,340 คน และล่าสุดเดินทางไป 700 คน

(สำนักข่าวไทย, 18-12-2555)

 

คกก.สมานฉันท์แรงงานไทยค้านขึ้นราคาแอลพีจี

19 ธ.ค. 55 – คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แถลงคัดค้านการขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ 1.จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานระบุว่าปี 2554 ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซแอลพีจีทั้งประเทศรวม 6.9 ล้านตันใน 4 กลุ่ม คือ ภาคครัวเรือน เป็นภาคที่ใช้มากที่สุด คือ 2.6 ล้านตัน รองมาเป็นภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) 2.4 ล้านตัน ภาคยานยนต์ 0.9 ล้านตัน และภาคอุตสาหกรรม 0.7 ล้านตัน ทั้งนี้ พบว่าราคาก๊าซแอลพีจีที่หน้าโรงกลั่นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 มีราคาเท่ากัน คือ 10.26 บาทต่อกิโลกรัม แต่กระทรวงพลังงานขายก๊าซให้กับกลุ่มผู้ใช้ในราคาที่แตกต่างกัน คือ ภาคครัวเรือน 18.13 บาท ภาคยานยนต์ 21.38 บาท และภาคอุตสาหกรรม (ที่ไม่รวมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) 30.13 บาท แต่ภาคปิโตรเคมีที่มีสัดส่วนการใช้ค่อนข้างสูงเป็นลำดับ 2 กลับได้ใช้ก๊าซในราคาที่ถูกมาก คือ 16.20 บาทเท่านั้น ซึ่งถูกกว่ากลุ่มผู้ใช้กลุ่มอื่น

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานใช้หลักการและเหตุผลใดในการกำหนดราคาที่แตกต่างกัน รวมทั้งยังมีข้อมูลที่ชัดเจนว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีการใช้ก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34 ต่อปี ขณะที่ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นปีละร้อยละ 9 เท่านั้น จากข้อมูลนี้จึงแสดงให้เห็นว่าภาคครัวเรือน ภาคยานยนต์ และภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่ต้นเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจี เพราะต้นเหตุที่แท้จริงมาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

2.ประเทศไทยผลิตก๊าซแอลพีจีได้โดยตรง 5.5 ล้านตัน และมีการนำเข้าอีก 1.4 ล้านตัน แต่หลายปีที่ผ่านมามีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทที่ทำอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งหมดเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) โดยใช้ก๊าซแอลพีจีถึง 2.1 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 ซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่กลับไม่มีการขายก๊าซที่แหล่งผลิตแห่งนี้ให้กับภาคครัวเรือน ยานยนต์ และอุตสาหกรรม แต่ขายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.เพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ภาคการผลิตอื่นต้องซื้อก๊าซที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศแทน มีข้อมูลแสดงชัดเจนว่าในช่วงปี 2551 - 2554 ผู้ใช้น้ำมันต้องแบกรับภาระของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีประมาณ 23,300 ล้านบาท ขณะที่ประชาชนใช้ก๊าซแอลพีจี เพื่อความจำเป็นในการดำเนินชีวิต แต่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกลับใช้ก๊าซแอลพีจีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในกิจการของ ตัวเอง

3.นโยบายนี้เป็นการผลักภาระให้กับประชาชน แต่กลับไปช่วยเหลือกลุ่มทุนหรือกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแทน สำหรับกลุ่มแรงงาน แม้ว่าวันที่ 1 มกราคม 2556 จะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ แต่ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจะไร้ความหมายทันที เพราะการขึ้นราคาก๊าซอีกกิโลกรัมละ 50 สตางค์ เท่ากับขึ้นถังละ 7.50 บาทต่อเดือน โดยปี 2556 ราคาจะเพิ่มขึ้นอีกถังละ 100 บาท และในปี 2557 เพิ่มขึ้นอีกถังละ 200 บาท แสดงว่าก๊าซหุงต้มถังละ 15 กิโลกรัม จะมีราคาสูงถึงถังละ 400-500 บาท ในอนาคตอย่างแน่นอน  ยังไม่รวมค่าโดยสาร ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา หรือค่าครองชีพอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นตามมา จนทำให้ค่าแรง 300 บาทไร้มูลค่าตามจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาล และกระทรวงพลังงาน โดยรัฐบาลต้องยุติการปรับขึ้นราคาแก๊สแอลพีจีในภาคครัวเรือนกับภาคยานยนต์ใน ปี 2556 รวมทั้งจำเป็นต้องทบทวนการแบ่งสรรสัดส่วนการใช้ก๊าซแอลพีจี โดยเฉพาะในกลุ่มภาคครัวเรือน ภาคยานยนต์ และภาคอุตสาหกรรม ที่ควรต้องได้รับการจัดสรรจากแหล่งผลิตภายในประเทศไทยเป็นลำดับแรก ส่วนภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรอยู่แล้ว จึงควรเป็นภาคส่วนที่ต้องใช้ก๊าซนำเข้าแทน เนื่องจากก๊าซแอลพีจีที่ใช้ทั้งหมดในประเทศไทยมาจากแหล่งภายในประเทศถึงร้อย ละ 55 หรือประมาณ 3.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อการใช้สำหรับภาคครัวเรือนและภาคขนส่งที่ใช้ก๊าซปีละ 2.6 ล้านตัน และ 900,000 ตันตามลำดับ.

(สำนักข่าวไทย, 19-12-2555)

 

กลุ่มผู้นำแรงงาน ทีโอที จี้ผู้ตรวจการแผ่นดินอุทธรณ์ เพิกถอนประมูลคลื่น 3 จี

กรุงเทพฯ 20 ธ.ค. - กลุ่มผู้นำแรงงาน บมจ.ทีโอที เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวการแผ่นดิน ให้เร่งยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ขอให้เพิกถอนการ ประมูลคลื่น 3 จี ด้านผู้ตรวจฯ ยืนยันยื่นอุทธรณ์แน่

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า เวลา 13.30 น. กลุ่มผู้นำแรงงาน บมจ.ทีโอที นำโดยนายนราพล ปลายเนตร พร้อมนายพิราม เกษมวงศ์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย โฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ยื่นอุทธรณ์กรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่น ดินที่ขอให้เพิกถอนการประมูลคลื่น 3 จี ต่อศาลปกครองสูงสุด และให้เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในความหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 244 (1)(ก) ที่อยู่ในอำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถตรวจสอบได้หรือไม่

นายนราพล กล่าวว่า กลุ่มผู้นำแรงงานทีโอที ไม่เห็นฟ้องกับคำสั่งไม่รับคำฟ้องของศาลปกครองกลางที่เห็นว่าผู้ตรวจฯ ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้เป็นอย่างมาก โดยเห็นด้วยกับตุลาการเสียงข้างน้อยในคดีนี้ที่มองว่า กสทช.อยู่ในอำนาจที่ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถตรวจสอบได้ตามรัฐธรรมนูญ จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเร่งยื่นอุทธรณ์โดยเร็ว พร้อมทั้งเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตีความข้อกฎหมายกรณีที่ศาลปกครองกลางเห็นว่า กสทช.ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในอำนาจฟ้องของผู้ตรวจการฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 244(1)(ก)

นายรักษเกชา กล่าวว่า ผู้ตรวจการฯ เห็นพ้องในการยื่นอุทธรณ์อยู่แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างคำอุทธรณ์ ซึ่งมีประเด็นที่ที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดอย่างแน่นอน ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างคำฟ้องโดยประเด็นขมวดเข้ามากแล้ว แต่ยังไม่ต้องการเปิดเผย แต่คิดว่าจะสามารถเสนอต่อที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาได้ในการประชุม วันที่ 25 ธ.ค.นี้ ก่อนจะยื่นอุทธรณ์ให้ทันกรอบเวลา 30 วันที่จะครบกำหนดในวันที่ 2 ม.ค.56

(สำนักข่าวไทย, 20-12-2555)

 

ไต้หวันขอแรงงานเพิ่ม

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวภายหลังนายเฮนรี่ เอ็ม. เจ. เซน ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป และคณะเข้าพบว่า จากการหารือข้อได้สรุปว่าไต้หวันต้องการแรงงานไทยไปทำงานเพิ่มขึ้น จึงจะให้โควตาแรงงานเพิ่มขึ้นอีกปีละ 30,000 คน จากปัจจุบันมีแรงงานไทยไปทำงานที่ไต้หวันในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ก่อสร้าง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งหมดกว่า 70,000 คน

สำหรับข้อเรียกร้องที่ให้ช่วยตรวจสอบเรื่องลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ทำงานนั้นไต้หวันจะช่วยดูแลให้ เนื่องจากแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานไต้หวันโดยผ่านบริษัทจัดหางานนั้นถูก เรียกเก็บค่าบริการต่างๆ 30,000-100,000 บาท ซึ่งสูงกว่าที่กรมการจัดหางาน(กกจ.)กำหนดไว้ไม่เกินคนละ 14,000 บาท รวมทั้งช่วยตรวจสอบเก็บค่าใช้อื่นๆ เช่น ค่าล่าม ค่าอาหาร ค่าที่พักว่ามีความจำเป็นต้องเรียกเก็บจากแรงงานไทยหรือไม่

"กระทรวงแรงงานจะยังไม่มีการระงับการจัดส่งแรงงานไปไต้หวัน โดยนายเฮนรี่ก็ยืนยันที่จะช่วยตรวจสอบบริษัทจัดหางานของไต้หวันให้เข้มงวด มากขึ้น และคัดเลือกบริษัทจัดหางานของไต้หวันที่ได้มาตรฐานมาดำเนินการดูแลแรงงานไทย ที่จะเดินทางไปทำงานที่ไต้หวัน" นายเผดิมชัยกล่าว

(ข่าวสด, 21-12-2555)

 

สหภาพ ธ.กรุงเทพ ประท้วงขอเพิ่มโบนัส

มีรายงานข่าวว่า กลุ่มสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพจำนวน 20-30 คน ได้เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารธนาคาร ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ สีลม เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ เรื่องการได้รับผลตอบแทน และการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมของพนักงานใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1.การจ่ายเงินโบนัสที่ไม่สอดคล้องกับผลกำไรของธนาคาร โดยเรียกร้องให้มีการจ่ายโบนัสประจำปีเพิ่มเติมอีก 1 เท่า หรือเพิ่มจาก 2 เดือนเป็น 4 เดือน

2.เรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือหลังการเกษียณอายุของพนักงานที่ในปีนี้มี การปรับลดลงจากเดิม 4.5 แสนบาทต่อคน เหลือเพียง 3 แสนบาทต่อคน ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกขาดความมั่นคง จึงอยากเรียกร้องให้กลับไปใช้อัตราเดิม

3.สหภาพต้องการให้ธนาคารเพิ่มเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) ให้แก่พนักงาน พร้อมปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบที่ปัจจุบันคำนวณตามอายุงานโดยแบ่ง เป็นชั้น (Tier) ให้กลับมาคิดคำนวณในอัตราเดียวกันทั้งหมดตามเดิม

4.สหภาพต้องการให้ธนาคารพิจารณาปรับเงินเดือนพนักงานในทุกแผนกอย่างเท่า เทียมกัน เนื่องจากปัจจุบัน ธนาคารให้ความสำคัญกับพนักงานด้านการตลาดมากกว่าพนักงานสินเชื่อ หรือเงินฝาก

“แบงก์มีผลกำไรมหาศาลเราต้องการให้ผู้บริหารเหลียวแลพนักงานบ้าง เมื่อกำไรดีโบนัสต้องเท่าเทียมกับองค์กรอื่นๆ ขณะที่เรื่องเงินช่วยเหลือหลังเกษียณจะต้องเป็นธรรม พนักงานวัยเกษียณส่วนใหญ่อยู่กับแบงก์มากว่า 30 ปี” ผู้แทนสหภาพแรงงาน ธนาคารกรุงเทพ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้แทนสหภาพแรงงาน ธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า หากข้อเสนอของสหภาพไม่ได้รับการพิจารณาจากผู้บริหาร กลุ่มสหภาพจะเดินทางต่อไปยังกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นเรื่องเป็นข้อพิพาท และร้องขอให้กระทรวงแรงงานเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยต่อไป

ด้านผู้บริหารธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การเรียกร้องต่างๆ ถือเป็นสิทธิที่พนักงานสามารถทำได้ โดยเรื่องนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของตัวแทนในการเจรจาที่ได้รับการแต่งตั้ง จากธนาคาร ซึ่งคงต้องพิจารณาตามความเป็นจริง อย่างไรก็ดี ยืนยันว่า ปัจจุบันธนาคารได้ดูแลพนักงานด้วยความเท่าเทียม และเป็นมาตรฐานเดียวกับธนาคารอื่นๆ

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 21-12-2555)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI : จับจังหวะแรงงานไทยขาขึ้น เรียนรู้ รอด ในปี 2556

0
0

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  สรุปไฮไลท์แรงงานไทยในปี 2555 และโอกาสและความท้าทายในปี2556  ระบุเป็นช่วงแรงงานไทยขาขึ้นเกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ของโครงสร้างตลาดแรงงานไทยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  ก่อผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทั้งผู้ประกอบการและตัวแรงงาน พร้อมโอกาสที่ยังมีมาต่อเนื่องจากแรงกดดันตลาดแรงงานเสรีในประชาคมอาเซียน ทั้งนายจ้างลูกจ้างจึงต้องปรับตัว เรียนรู้ จึงอยู่รอด ที่สำคัญทำให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักเศรษฐกิจแรงงานราคาถูก สู่การใช้แรงงานที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้น

ไฮไลท์แรงงานไทยในปี 2555 :  โอกาสที่มาแบบไม่ตั้งตัว

ในภาพรวมด้านจำนวนแรงงานแนวโน้มการจ้างงานยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง  ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงการฟื้นตัวจากผลกระทบน้ำท่วมปลายปี 2554 แต่ความตึงตัวของแรงงานไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลง เนื่องจากบางสาขาการผลิตที่ฟื้นตัวมาแล้วแต่ก็ยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สาขาการก่อสร้าง  หรืออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้น  เช่น สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์  ตัดเย็บกระเป๋า รองเท้า ฯลฯ  ซึ่งมีภาวะการเข้าออกสูง จึงมีความต้องการแรงงานต่อเนื่อง  และยังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ขณะที่ผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างตามนโยบายค่าจ้าง 300 บาทของรัฐบาลรอบแรกเมื่อเดือนเมษายน  ดึงดูดให้มีคนเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น  โดยส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ว่างงานอยู่แล้วปรับตัวเองมาสู่ตลาดแรงงาน  ทำให้สถานการณ์ตึงตัวของตลาดแรงงานผ่อนคลายลงเล็กน้อย

แต่หากดูในเชิงคุณภาพ ความขาดแคลนในเชิงคุณภาพยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสมรรถนะและทัศนคติของแรงงานบางอย่างที่สืบเนื่องมาจากระบบการศึกษา แรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานยังมีปัญหาเรื่องพื้นฐานความรู้ทางการศึกษา เป็นภาระของผู้ประกอบการในการจัดฝึกอบรมเพิ่มเติมให้   ขณะที่แรงงานในสายอาชีวศึกษาเกิดความต้องการสูงขึ้นมาก ซึ่งมีลักษณะพิเศษต่างจากปีก่อน ๆ คือมีภาพของการปรับเปลี่ยนในการใช้ขบวนการปรับปรุงการผลิตที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้น 2 ช่วง  ช่างแรกเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทรอบแรก ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ปรับตัว ปรับขบวนการใช้แรงงานระหว่างปี มีการเพิ่มผลิตภาพมากขึ้น  และเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต 

ตัวเลขที่ยืนยันประเด็นนี้จากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงานคือผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเพิ่มสูงถึง 8% ต่างจากในอดีตที่ผลิตภาพแรงงานจะอยู่ในระดับ 3-4% มาโดยตลอด ดังนั้นผลจากภาวะช็อคขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ทำให้ผลิตภาพแรงงานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเป็นเท่าตัว และมีการปรับประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากเพื่อปรับตัวให้อยู่รอด โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม

การเปลี่ยนแปลงช่วงที่สองคือ หลังจากน้ำท่วมใหญ่และค่อย ๆ ฟื้นตัวมาในปลายปีนี้ (ปลายปี 54 ต่อเนื่องถึงปี 55 ) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งเกิดจากมีการทบยอดคำสั่งซื้อในช่วงเกิดภาวะน้ำท่วมมาเร่งผลิตในต้นปี 55 ทำให้เกิดความต้องการแรงงานมากผิดปกติโดยเฉพาะสายวิชาชีพ อีกส่วนหนึ่งคือมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานสายช่างเพื่อไปดูแลอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนมาใช้   ทำให้มีความต้องการแรงงานสายวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นเปลี่ยนแปลงจากแนวโน้มเดิมที่เคยมีมาในอดีต  ปรากฏเด่นชัดในสายยานยนต์ ที่รับเพิ่มนับหมื่นคน 

โดยสรุปภาพรวมของสถานการณ์แรงานในปี 2555 ก็คือ ปริมาณแรงงาน ผลกระทบจากน้ำท่วมส่วนหนึ่งทำให้การคลายตัวของความตึงตัวของตลาดแรงงานมีอยู่บ้างเป็นการชั่วคราว แต่พอหลังเริ่มต้นปี 2555 ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวกลับมาผลิตเพิ่มได้เต็ม 70-80%  ส่วนแรงงานที่หลุดออกไปจากระบบก็มีไม่มากนัก ปี 55 จึงเป็นโอกาสที่มาแบบไม่ตั้งตัวและเกินคาดของแรงงานไทย เกิดการยกระดับครั้งใหญ่ ปรับตัวและพัฒนาในทิศทางดีขึ้น

แรงงานไทยปี 2556 : โอกาสและความท้าทาย

ก้าวสู่ปี 2556 สิ่งที่ยังน่าวิตก คืออัตราการว่างงานของผู้มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากนโยบายปรับอัตราเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท แม้จะบังคับใช้ในภาคราชการแต่มีผลกระทบกับตลาดแรงงานภาคเอกชนที่ผู้ประกอบการขนาดกลางลงมาไม่สามารถจ้างแรงงานระดับป.ตรีขึ้นไปได้มากนัก แต่เน้นการใช้คนเดิมมากกว่าการจ้างคนใหม่ ขณะที่ในภาคราชการจะมีผู้จบการศึกษาปริญญาบัตรทั้งคนเก่าและผู้จบใหม่จะแข่งขันกันเข้าเป็นข้าราชการ ซึ่งก็รับได้จำนวนไม่มาก ดังนั้นโอกาสการมีงานทำของแรงงานปริญญาบัตรจึงไม่สดใสนัก ขณะที่ในกลุ่มผู้จบใหม่ก็มีต้นทุนในการศึกษาต่อระดับสูงกว่าป.ตรีแพงมากตั้งแต่หลักหลายแสนบาทจนถึงหลักล้านบาท

สำหรับอุตสาหกรรมบางสาขาที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าว นับจากวันที่ 14 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไปมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการใช้แรงงานต่างด้าวครั้งใหญ่ โดยไม่เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวเพิ่มอีกต่อไป โดยให้แรงงานเก่าที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วและยังมีการจ้างงานอยู่ เมื่อหมดสัญญาก็จะต้องกลับออกไปก่อน หากประสงค์จะทำงานค่อยยื่นขอกลับเข้ามาอย่างถูกต้อง การดำเนินการเช่นนี้แม้จะทำให้ต้นทุนนายจ้างสูงขึ้น แต่ก็แลกมากับระบบน้ำดีที่มีจำนวนมากขึ้นคือระบบการจ้างงานที่มีความโปร่งใสและสามารถบังคับใช้กฎหมายและการคุ้มครองแรงงานได้ดีกว่าเดิม ทั้งเรื่องค่าจ้างสวัสดิการต่าง ๆ และสิ่งที่นโยบายเร่งรัดกว่าเดิมคือการนำเข้าแรงงานแบบจีทูทีจากบางประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งค่าจ้างแรงงานยังต่ำกว่าไทย  เพื่อมาทดแทนแรงงานที่ขาด คนเก่าที่ผิดกฎหมายและถูกผลักดันกลับออกไป

เป็นความท้าทายของผู้ประกอบการที่ต้องใช้ความสามารถในการบริหารจัดการคนมากกว่าเดิม   หากคิดว่าต้นทุนการนำคนเข้ามาทำงานแพงขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะต้องคิดปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตโดยการใช้แรงงานต่างด้าวน้อยลงใช้แรงงานไทยมากขึ้น  ฉะนั้นอุตสาหกรรมทั้งหลายจึงจำเป็นต้องหาทางที่จะเพิ่มผลิตภาพแรงงานอย่างไม่มีทางเลี่ยง  อีกทั้งกระแสการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีก็กดดันให้มีการปรับตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นจากเดิม  ซึ่งผลิตภาพแรงงานจะเป็นปัจจัยสำคัญ

นอกจากนี้สิ่งที่ทุกสถานประกอบการต้องเจอแน่เมื่อเข้าสู่เดือนมกราคม 2556 คือการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ  ข้อเสนอคือในช่วงที่จะไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างต่อไปอีก 2 ปี (2557-2558) รัฐบาลควรมีมาตรการเข้าไปช่วยในการปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะเอสเอ็มอี เพื่อให้ปรับตัวอยู่รอดได้  สำหรับคนที่ไม่ไหวก็ควรให้ความรู้เพื่อตั้งตัวเปลี่ยนธุรกิจใหม่ได้  สร้างโอกาสเป็นเถ้าแก่ให้มากขึ้น   นอกจากนี้นโยบายสร้างงานขนาดใหญ่ควรเน้นการให้คนไทยเข้ามาทำงานให้มากที่สุด  หากจะมีมาตรการช่วยเหลือด้วยการลดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่ภาคธุรกิจเรียกร้องก็ไม่ควรลดเกิน 2% และมีกำหนดระยะเวลาชัดเจนเฉพาะในช่วง2ปีที่ไม่มีการปรับค่าจ้าง  เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับกรณีชราภาพซึ่งเงินออมของผู้กันตนในระยะยาว

ในส่วนของกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรต้องมีการดูแลติดตาม สิ่งที่ต้องทำมากขึ้นคือ การให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงทางรายได้และสิทธิความคุ้มครองต่าง ๆ ที่แรงงานนอกระบบยังด้อยสิทธิอยู่มาก  รวมถึงการดูแลติดตามการใช้แรงงานเด็กที่ต้องทำให้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในสภาพเลวร้ายเกิดขึ้น

ทอล์คออฟเดอะทาวน์ ค่าจ้าง 300 และ 15,000 จุดเปลี่ยนแรงงานไทย

การที่รัฐบาลมีนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทและเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ทำให้ประเด็นเรื่องแรงงานมีการพูดถึงมาตลอดในช่วงปี 2555 เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรื่องหนึ่ง และจะยังคงต่อเนื่องไปถึงปี 2556 เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบสูง  นับว่าเป็นครั้งหนึ่งในรอบเกิน 10 ปีที่มีผลกระทบกับแรงงานเยอะมาก  มีการรื้อโครงสร้างตลาดแรงงานก่อผลกระทบกว้างขวางในสังคมและทำให้เรื่องแรงงานเป็นที่สนใจในสังคม  ทำให้ภาคแรงงานมีความเข้มแข็งขึ้น  ซึ่งภาพรวมในแง่สมรรถนะแรงงานไทยดีขึ้น และในช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มมีการปรับตัวไปสู่การใช้แรงงานที่มีสมรรถนะดีขึ้นโดยเฉพาะ ในธุรกิจขนาดใหญ่มีการใช้แรงงานความรู้สูงเพิ่มมากขึ้น

หากมองด้วยแว่นเศรษฐศาสตร์ความท้าทายของแรงงานไทยอยู่ที่ทิศทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งพัฒนามาถึงจุดเปลี่ยนที่จะต้องขยับหนีจากการใช้ฐานเทคโนโลยีต่ำ ประสิทธิภาพต่ำ สมรรถนะต่ำ ค่าจ้างแรงงานต่ำ  ออกจากกับดักมาสู่ความท้าทายใหม่ ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ทุกรูปแบบ เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันในตลาดเสรีที่ไม่ใช่แค่ในประเทศอีกต่อไป จึงเป็นอีกจังหวะก้าวของแรงงานไทย โดยเฉพาะแรงงานรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีจะสามารถก้าวมาเป็นผู้ประกอบการได้มากขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รื้อ ทุบ ทำลายแบบ “ข้าพเจ้าเป็นรอยะลิสต์”

0
0


ครั้งหนึ่ง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชผู้ประกาศตนว่า "ข้าพเจ้าเป็นรอยะลิสต์" ได้เขียนสนับสนุนการรื้อโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยที่สะพานผ่านฟ้า ถนนราชดำเนินกลางเพื่อสร้างลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์และเปิดมุมมองต่อโลหะปราสาทและวัดราชนัดดาที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่า

“ในยุค 50 ปีที่แล้วมานี้ [หมายถึงยุคคณะราษฎร พ.ศ. 2475-2490 - ผู้เขียน] ได้มีการสร้างตึกรามที่น่าเกลียดน่ากลัวเอาไว้ใน กทม. อีกมากพอสมควร เพราะฉะนั้น เมื่อเริ่มทุบทิ้งอะไรกันขึ้นแล้ว เราก็ควรจะรู้สึกมันมือ เที่ยวทุบตึกอื่นๆ ที่อยู่ผิดที่ผิดทาง และมีสถาปัตยกรรมอันไม่กลมกลืนกับสถาปัตยกรรมของกรุงเทพฯ” (คึกฤทธิ์ ปราโมช, ซอยสวนพลู, สยามรัฐรายวัน, 17 สิงหาคม 2532)

ความปรารถนาของคึกฤทธิ์ดูจะค่อยๆ กลายเป็นความจริงขึ้นมาทุกวัน เพราะนอกจากโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยจะถูกทุบทิ้งไปในปี 2532 แล้ว การ “ทุบทิ้งอย่างมันมือ” สำหรับตึกอื่นๆ ที่ “อยู่ผิดที่ผิดทาง” ก็เกิดขึ้นอีกในรูปของแผนการรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่ตั้งอยู่ใกล้ท้องสนามหลวง เป็นการรื้อทิ้งเพื่อสร้างกลุ่มอาคารใหม่แบบที่มี “ความเป็นไทย” ขึ้น โดยแบบอาคารใหม่ที่แสดงความเป็นไทยตามแบบฉบับสถาปัตยกรรมประเภทแสดงความเป็นไทยนั้นก็ทำอย่างง่ายๆ ด้วยการใส่ “หลังคาจั่ว” นั่นเอง

หลังคาจั่ว ลวดลายและองค์ประกอบในสถาปัตยกรรมแบบประเพณีที่อยู่ในแบบอาคารใหม่เป็นเครื่องแสดง “ฐานานุศักดิ์ในสถาปัตยกรรม” (ดูหนังสือเกี่ยวกับศิลปะ สถาปัตยกรรมสมัยคณะราษฎรของชาตรี ประกิตนนทการ) ชี้ให้เห็นว่าเป็นอาคารของชนชั้นสูง ยิ่งมีลวดลายวิจิตรบรรจงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นของชนชั้นสูงขึ้นเท่านั้น

สถาปัตยกรรมสมัยคณะราษฎรได้ตัดทอนฐานานุศักดิ์ในสถาปัตยกรรมออกไปเพื่อนำเสนอความคิดเรื่องความเท่าเทียมโดยหันไปหารูปแบบสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายและมีหลังคาตัด กระบวนการรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกาเพื่อแทนที่ด้วยอาคารใหม่ (ที่มีลักษณะแบบเก่า) ที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจึงเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่คึกฤทธิ์อธิบายว่าเป็น

“[การ]ทำให้กรุงเทพมหานคร ราชธานีของเรานี้เป็นนครเห็นคนที่มีปัญญา รู้จักรักสวยรักงาม และมีสุนทรีย์ในการสร้างสรรค์ เพื่อแสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่า เมืองไทยเรานั้นมีความเจริญและมีวัฒนธรรมอันสูงส่งมาเป็นเวลาช้านานแล้ว” (เล่มเดิม)

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้อาคารเหล่านี้ผิดที่ผิดทางและควรถูกทุบทิ้ง? จุดร่วมระหว่างโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยและกลุ่มอาคารศาลฎีกาคือการเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎรและใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ (Modern architecture) ในสายตาของคึกฤทธิ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ล้วนน่าเกลียดและไร้รสนิยม ดังที่ได้เคยกล่าวถึงศิลปกรรมในยุคนี้เอาไว้ว่า

“...ทีนี้สำหรับศิลปกรรมของไทยหลัง 2475 นั้น ถ้าจะพูดกันตามตรง พูดกันด้วยความรักชาติตามสมควร ก็จะต้องบอกว่าเป็นยุคของศิลปกรรมที่เสื่อมโทรมที่สุด คือ ไม่มีศิลปกรรมไทยเกิดขึ้นในยุคนี้... ผู้นำปฏิวัติก็เท่ากับนักเรียนนอก กลับมาจากฝรั่งเศส รสนิยมในทางศิลปะอะไรของท่านเหล่านั้นอยู่แค่คาเฟ่ริมถนนที่กรุงปารีส ภาพที่เห็นสวยงามก็ภาพโป๊...” (คึกฤทธิ์ ปราโมช, “ปาฐกถานำ ศิลปกรรมสมัยใหม่” ใน บันทึกการสัมมนาศิลปกรรมหลัง 2475, กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2528)

ศิลปกรรมของคณะราษฎรนั้น “ไม่ไทย” เอาเสียเลย ซ้ำยัง “ไม่มีรสนิยม" อีกด้วย ไม่เหมาะกับกรุงเทพมหานครของเราเลยแม้แต่นิดเดียว

ในเมื่อมัน “ไม่ไทย” ก็ไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม จริงอยู่ว่าข้อเขียนของคึกฤทธิ์เพียงลำพังคงไม่เพียงพอที่จะให้ใครตัดสินใจทุบตึก และก็คงไม่มีใครเอาข้อเขียนของคึกฤทธิ์มากางดูก่อนเป็นแน่ ทว่า มุมมองเกี่ยวกับความเป็นไทยและศิลปะคณะราษฎรในฐานะสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในข้อเขียนของคึกฤทธิ์ และในวาทกรรมว่าด้วยความเป็นไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นคืนกลับของพลังอนุรักษ์นิยม/กษัตริย์นิยมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระลอกตั้งแต่หลัง 2490 เป็นต้นมาต่างหากที่เป็นกรอบในการเลือกว่าอะไรไทย ไม่ไทย และอะไรต้องขจัดทิ้งเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นไทย การเมืองของความเป็นไทยจึงสัมพันธ์กับการช่วงชิงกันทางอุดมการณ์ทางการเมืองโดยรวม และแน่นอนว่างานศิลปะ ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นของรัฐหรือได้รับความสนับสนุนจากรัฐก็อยู่ในวงจรนี้ด้วย

สิ่งที่จะกำหนดว่าศิลปกรรมชิ้นไหนมีความเป็นไทยหรือไม่ก็อยู่ที่ตรงนี้เอง

 

 

หมายเหตุ

- กลุ่มอาคารศาลฎีกาเป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี 2482 ที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการที่ประเทศไทยได้รับเอกราชทางการศาลในปี 2481 นับเป็นเวลา 83 ปีหลังจากที่เสียไปในการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี 2398

- กลุ่มอาคารศาลฎีกาสร้างขึ้นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern architecture) ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะอย่างหนึ่งที่พบในนวัตกรรมด้านงานสถาปัตยกรรมในสมัยคณะราษฎร การหันไปหาความเรียบง่ายของรูปแบบสมัยใหม่ของสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในยุคนี้เป็นภาพตัวแทนของอุดมการณ์เรื่องความเท่าเทียมกันภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ

- กลุ่มอาคารศาลฎีกาได้รับรางวัลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์และรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามเมื่อปี 2550 และ 2552 ตามลำดับ ในปี 2552 กรมศิลปากรได้ออกจดหมายระบุว่า ตึกกลุ่มนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเข้าข่ายเป็นโบราณสถานตามนิยามของ พ.ร.บ.โบราณสถาน (แต่ก็ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานมาจนปัจจุบัน) 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: ภาวนาเพื่อ 'สมบัด สมพอน' NGO ลาวผู้ 'ถูกบังคับให้หายตัว'

0
0

แรงกดดันต่อรัฐบาลลาวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น หลังการหายตัวไปครบหนึ่งสัปดาห์เต็มของท่านสมบัด สมพอน ผู้นำภาคประชาชน เจ้าของรางวัลแมกไซไซปี 2548 นักพัฒนาอาวุโสชาวลาวผู้เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มภาคประชาสังคมไทย และได้รับความเคารพอย่างกว้างขวางทั้งในลาว และจากนานาประเทศ

การเรียกร้องเพื่อการปล่อยตัวสมบัดกลับมาอย่างปลอดภัยหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ ทั้งในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก โดยเฉพาะหลังจากที่ครอบครัวได้พบภาพในกล้องวงจรปิดที่ทำให้เห็นว่ามีกระบวนการนำตัวสมบัดไปโดยกลุ่มบุคคล หลังถูกเรียกให้หยุดโดยตำรวจจราจรในเวลาประมาณ 18.00 น.ของวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา กลางกรุงเวียงจันทน์อย่างอุกอาจ อันนำมาสู่การออกคำร้องโดยนางงัก ชู เมง ภรรยาชาวสิงค์โปร์ของสมบัดต่อรัฐบาลลาว เพื่อให้สืบสวนและยืนยันความปลอดภัยของสมบัดโดยเร็ว อยางไรก็ตาม แถลงการณ์โดยกระทรวงต่างประเทศหลังจากนั้นกลับระบุเพียงว่า ยังไม่สามารถประเมินข้อเท็จจริงได้จากภาพที่เห็นในกล้องวงจรปิด แต่ในขณะเดียวกันกลับระบุว่า “สมบัด สมพอนอาจถูกลักพาตัวไปด้วยสาเหตุด้านธุรกิจหรือประเด็นส่วนตัว” แม้เหตุการณ์จากกล้องจะส่อว่าตำรวจจราจรอยู่ในเหตุการณ์ด้วยโดยตลอดก็ตาม

ต่อเนื่องจากจดหมายแสดงความห่วงใยที่ถูกส่งไปยังรัฐบาล สปป. ลาว โดยภาคประชาสังคมทั่วโลกตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งจากองค์กรภาคประชาชนไทย 61 องค์กรในวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม ตามด้วยอีก 132 รายนามของโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย (API) และอีก 55 องค์กรและนักกิจกรรมทางสังคมนานาประเทศ ตามด้วยกลุ่มประชาคมของรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก โดยกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาแสดงความห่วงใยในประเด็นดังกล่าวตั้งแต่ในวันพุธที่ผ่านมา และถัดมาในวันศุกร์ที่ 21 นางแคเธอรีน แอชตัน ผู้แทนสหภาพยุโรป ออกมากล่าวแสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ เช่นเดียวกับตัวแทน ำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (OHCHR) ที่ระบุว่าเป็นการ “ถูกบังคับนำตัวไป” ที่น่ากังวลอย่างยิ่ง ล่าสุด สมาชิกสภาของทั้งในประเทศอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกต่างดำเนินการส่งจดหมายโดยตรงถึงนายกรัฐมนตรีของลาวในเรื่องนี้ เพื่อดำเนินการสืบสวนที่เร่งด่วนเช่นกัน

ท่ามกลางกระแสความกดดันของประชาคมนานาชาติมีแนวโน้มจะเกิดอย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จากบทบาทที่สำคัญของท่านสมบัด โดยเฉพาะในฐานะประธานฝ่ายภาคประชาสังคมในการจัดงานเวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรปที่ประเทศลาวในช่วงวันที่ 16-18 ตุลาคมที่ผ่านมา อันเป็นกิจกรรมการรวมตัวอย่างสำคัญของกลุ่มภาคประชาสังคมทั่วโลกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศลาว กลุ่มภาคประชาสังคมไทยมีการรวมตัวกันในนาม “คณะทำงานไทยกรณีสมบัด สมพอน” ตั้งแต่ในวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากการจัดการเสวนา ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ในวันดังกล่าว ทั้งนี้โดยมีผู้อาวุโสทั้งในวงการกฏหมาย การเมือง สันติภาพ และสื่อ ร่วมทำการวิเคราะห์ในประเด็นการหายตัวไปของท่านสมบัด สมพอน ร่วมกัน

ในงานดังกล่าว นายสมชาย หอมละออ นักกฏหมายอาวุโส และประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรมกล่าวว่า ในกรอบกฏหมายสากลนั้น “การถูกบังคับให้หายตัวไปเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงยิ่งกว่าการสังหาร”  พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการลาวกระทำการตามที่มีอยู่ในข้อผูกพันภายใต้กรอบสิทธิมนุษยชน และทำทุกอย่างภายใต้อำนาจที่มีในการปกป้องสิทธิที่จะมีชิวีตอยู่ และเสรีภาพส่วนบุคคลของสมบัด

สำหรับ นายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผู้สื่อข่าวอาวุโสของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น วิเคราะห์ถึงแนวคิดทางการเมืองของกลุ่มคนชั้นสูงบางกลุ่มในประเทศลาว โดยระบุว่าการจับกุมโดยพลการและการสังหารด้วยสาเหตุในทางการเมือง เป็นเรื่องที่เป็นที่รู้กันดี แต่เมื่อลาวรวมเข้ากับสังคมโลกแล้ว กฏหมายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น สุภลักษณ์ระบุว่า “หากอ้ายสมบัติทำความผิด ก็ควรได้รับการดำเนินคดีตามกฏหมายในศาล”

นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา เน้นไปยังความเกี่ยวข้องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลาวและการหลั่งไหลเข้าไปของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ โดยระบุว่าลาวนั้น “เปิดตัวเองให้ถูกชำเราโดยทุนจากไทย จีน และทุนข้ามชาติอื่น ๆ และคนลาวก็ไม่ได้รับการคุ้มครองจากการรุกรานที่ว่านี้ (ดังนั้น) หากประเทศลาวไม่ยอมพัฒนาและให้เสรีภาพกับผู้คนในประเทศที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วนี้ ก็นับเป็นเรื่องที่ให้อภัยกันไม่ได้”

ผู้อภิปรายท่านสุดท้าย อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักคิดและนักเขียนอาวุโสของไทย กล่าวถึงสมบัดในฐานะ “บุคคลที่วิเศษ และต้องการจะทำเพื่อประเทศของตัว และได้ทำมาแล้วตั้งแต่เมื่อเป็นนักศึกษา เป็นคนที่กล้าหาญ รื่นเริง และสุภาพอ่อนน้อม” อ.สุลักษณ์ยังพูดถึงคุณภาพความเป็น “ผู้เจริญ” ของลาว และกล่าวเตือนการประณามลาวอย่างรวม ๆ “ยังมีบางพวกที่ชอบความรุนแรง และก็เป็นกลุ่มที่ยังควบคุมกันไม่ได้” แต่ก็เสนอว่ามีความสำคัญที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลลาว และต้องเสนอให้เห็นว่าลาวจะได้รับความเชื่อถืออย่างไรหากสมบัด สมพอนจะสามารถกลับมาได้อย่างปลอดภัย

0 0 0

 

คณะทำงานไทยกรณีสมบัด สมพอน

ขอเชิญเข้าร่วม

"ภาวนาเพื่อสมบัด สมพอน"
และการเดินทางเข้ายื่นหนังสือกับสถานทูต สปป. ลาว
วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555
 
8.00-9.00 น. ณ อุโบสถ วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน
- ร่วมฟังการกล่าวในหัวข้อ “คุณูปการของสมบัด สมพอน ต่อการศึกษาทางเลือก และงานพัฒนา” โดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
- การอ่านสาสน์จาก เยาวชนลุ่มแม่น้ำโขง
- การภาวนาเพื่อ สมบัด สมพอน นำโดย พระไพศาล วิสาโล 

10.30 น. คณะจะเดินทางเข้ายื่นหนังสือแสดงความห่วงใย ณ สถานทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำประเทศไทย(ซอยสหการประมูล ประชาอุทิศ)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย 4 ศพหนองจิก พยานชี้การยิงเกิดหลังผู้ตายตะโกนแจ้งเจ้าหน้าที่

0
0

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2555 ศาลจังหวัดปัตตานี นัดไต่สวนคดีชันสูตรพลิกศพคดีหมายเลขดำที่ ช. 5/2555 กรณีทหารพรานใช้อาวุธปืนยิงทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ศพ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555 บ้านหมู่ที่ 1 ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

พนักงานอัยการได้นำพยานซึ่งเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์และถูกกระสุนปืนยิงจนได้รับบาดเจ็บ เข้าไต่สวน 2 คน และขอยกเลิกวันนัดไต่สวนในวันที่ 19-20 มกราคม 2556 โดยขอเลื่อนคดีไปไต่สวนพยานพนักงานอัยการผู้ร้องอีกในวันที่ 8 และ 13 มีนาคม 2556 

พยานทั้งสองคนดังกล่าว ได้เบิกความในทำนองเดียวกันว่า พยานและชาวบ้านรวมทั้งหมด 9 คน ได้ขึ้นรถกระบะเพื่อไปละหมาดศพคนตายที่อีกหมู่บ้านหนึ่ง เมื่อเดินทางมาถึงจุดเกิดเหตุ มีเจ้าหน้าที่ทหารบอกให้หยุด คนขับก็หยุดรถ นายสาหะ สาแม หนึ่งในผู้เสียชีวิตได้ตะโกนบอกเจ้าหน้าที่ว่า ชาวบ้านจะไปละหมาดศพ เมื่อตะโกนเสร็จพยานก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นจึงได้หลบกระสุนปืน และเสียงปืนก็ดังขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกนานหลายชั่วโมง พยานทั้งสองถูกกระสุนปืนยิงได้รับบาดเจ็บ และรอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ พยานทั้งสองยืนยันว่าบุคคลที่อยู่ในรถทั้งหมดไม่มีใครมีอาวุธปืนแต่อย่างใด

สำหรับเหตุของคดีนี้ เจ้าหน้าที่ทหารพราน กองร้อยทหารพรานที่ 4302 บ้านน้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ้างว่าได้นำกำลังติดตามคนร้าย และตั้งจุดสกัดกั้นบริเวณทางเบี่ยงจากถนนสี่เลนส์ เข้าบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลปุโละปุโย พบรถยนต์กระบะของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ทหารพรานได้สกัดกั้นรถคันดังกล่าว และได้ยิงปืนเข้าใส่ จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านเสียชีวิต 4 ราย และ ชาวบ้านรับบาดเจ็บอีก 5 ราย

เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2555 พนักงานอัยการจังหวัดปัตตานีผู้ร้อง ได้ยื่นคำร้องขอไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ผู้ตายทั้งสี่ เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำสั่งว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ม.150 ป.วิฯอาญา เนื่องจากเป็นความตายที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่และญาติของผู้ตายทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นผู้ร้องคัดค้าน โดยมีนายนิลี ดือราแม บุตรชายนายอิสมัน ดือราแม เป็นผู้ร้องคัดค้านที่ 1 นางมีเนาะ ลาเตะ ภรรยานายสาหะ สาแม เป็นผู้ร้องคัดค้านที่ 2 นางลีเยาะ สามาแอ ภรรยานายหามะ สะหนิ เป็นผู้ร้องคัดค้านที่ 3 และนายหามะ บือราเฮง บิดานายรอปา บือราเฮง เป็นผู้ร้องคัดค้านที่ 4 โดยแต่งตั้งทนายความเข้าซักถามพยานของพนักงานอัยการผู้ร้องและนำเสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติมในทางไต่สวนต่อศาลด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รวันดา: ความโหดร้ายบนคราบน้ำตาของมนุษยชาติ (10)

0
0

รวันดา กลับสู่สภาวะปกติ
ทั้งๆที่ความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่การดำเนินชีวิตในรวันดาก็เริ่มกลับมาสู่สภาวะปกติ ร้านอาหารและบาร์ก็กลับมาเปิดอีกครั้ง ตลาดก็ทั้งกักตุนทั้งจำหน่ายเครื่องอุปโภคและบริโภคตามปกติ การค้าดำเนินต่อไป ผู้คนในเมืองและหมู่บ้านตลอดทั่วประเทศก็กลับมาทำกิจกรรมของตนอีกครั้ง รัฐบาลได้กำจัดซากระเบิดและรถที่พังยับ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเรียงรายอยู่ทั่วถนนหลายสายของกรุงคิกาลี

แต่สิ่งที่ย้ำเตือนให้ทุกคนระลึกถึงสงครามกลางเมืองยังคงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง เพราะถนนและอาคารหลายแห่งในคิกาลีมีร่องรอยของหลุม บ้านเรือนทั้งในคิกาลีและทั่วประเทศอยู่ในสภาพซากปรักหักพัง บ้างก็ถูกระเบิดจนไม่เหลือซาก ขณะที่บางหลังก็ไร้หลังคา บางหลังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว

เด็กๆซึ่งอยู่ในชั้นประถมและมัธยมก็กลับไปเรียนหนังสือตามปกติ หนึ่งในบทเรียนแรกๆที่ครูได้สอนก็คือจะทำอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายจากกับดักระเบิดที่มีอยู่ทั่วประเทศ ครูยังต้องมีหน้าที่ดูแลปลอบขวัญนักเรียนที่ได้พบเห็นเหตุการณ์ร้ายแรงจากสงคราม เช่น เห็นเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวถูกทรมานหรือถูกสังหาร ซึ่งภาพเหล่านี้เป็นสิ่งชั่วร้ายที่มาหลอกหลอนทำให้เด็กๆชาวรวันดาทุกข์ทรมานยิ่งนัก

มหาวิทยาลัยของรัฐเพียงแห่งเดียวของรวันดา คือ Université Nationale du Rwanda ตั้งอยู่ที่บูแทร์ และ รูเฮนเจรี ก็ได้เปิดการเรียนการสอนขึ้นใหม่ หนังสือพิมพ์ของประเทศซึ่งหยุดพิมพ์ระยะหนึ่งในช่วงสงครามก็กลับมาพิมพ์เผยแพร่อีกครั้ง สถานีวิทยุซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลที่เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ ข่าวโคมลอย ในช่วงสงครามกลางเมืองเพื่อทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่ง กลับมาแพร่กระจายเสียงเสนอข่าวสารแบบปกติเพื่อส่วนรวม ช่วยกระจายข่าวทุกชั่วโมงกระตุ้นให้ผู้ลี้ภัยอพยพกลับมายังรวันดา อีกครั้ง

ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณของความหวังก็ตามรวันดาก็ยังคงมีเส้นทางอันยาวไกลที่จะก้าวต่อไป แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามตั้งใจที่จะปรับปรุงโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจและระบบพื้นฐานของประเทศ แต่รัฐบาลยังคงครอบครองหัวข้อข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง การต่อสู้ทางชนเผ่าและการเมืองก็ยังคงดำเนินต่อไป

นอกเหนือจากนั้นพลเมืองชาวรวันดา ทั้งชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่ก็ทุกข์ทนกับความขมขื่นซึ่งเกิดขึ้นในปี 1994 เพราะต่างสูญเสียสมาชิกในครอบครัว สูญเสียเพื่อนบ้านรวมทั้งทรัพย์สิน บางคนดำรงมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัวเนื่องจากความรุนแรงได้กระทำขึ้นโดยเพื่อนและเพื่อนบ้าน และคนในครอบครัวของตน เมื่อผู้ลี้ภัยอพยพกลับมายังประเทศเหยื่อของเหตุการณ์ความรุนแรงก็ถูกขอร้องให้ทุกคนให้อภัยบุคคลที่เคยทำร้ายและพยายามจะทำร้ายตน ต่างฝ่ายต่างเพ่งมองกันอย่างสงสัยและไม่ไว้ใจต่อกัน

ตั้งแต่สงครามกลางเมืองยุติลงปัญหาสำคัญสองประการที่รัฐบาลรวันดาต้องดำเนินการ นั่นคือการลงโทษผู้เกี่ยวข้องในการบงการฆ่าและผู้ทำการฆ่าประชาชนที่เกิดขึ้นในปี 1994 และการอพยพผู้ลี้ภัยจำนวนประมาณ 2 ล้านคนซึ่งอพยพหนีจากประเทศไปเมื่อกลุ่มแนวหน้าผู้รักชาติรวันดา (Rwandan Patriotic Front-RPF) ได้รับชัยชนะให้กลับมาอย่างปลอดภัย ซึ่งภารกิจหลักทั้งสองประการนี้รัฐบาลรวันดาจะต้องหาทางที่จะรักษาดุลยภาพระหว่างความโกรธแค้นของชาวตุ๊ดซี่ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย กับความหวาดกลัวและความต้องการให้เกิดความยุติธรรมของชาวฮูตูซึ่งเป็นชนหมู่มาก สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ท้าทายและเป็นปัญหาอันยาวนานซึ่งต้องมีการวางแผนและแนวทางในการเจรจาอย่างจริงจัง

สิทธิเหนือทรัพย์สิน
ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งของรัฐบาลเมื่อสงครามกลางเมืองยุติลง คือปัญหาผู้ลี้ภัยชาวตุ๊ดซี่ที่ได้ลี้ภัยออกจากประเทศจำนวนประมาณ 7 แสน 5 หมื่นคนไปต่างประเทศ ทั้งประเทศอูกันดา เบอรันดี แทนเซเนีย และแซร์ ต้องอพยพกลับเข้าประเทศของตน ครึ่งหนึ่งของการอพยพกลับมาของชาวตุ๊ดซี่นั้นได้ย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่พื้นที่แห่งใหม่ที่ชานเมืองในรวันดา ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งได้ตั้งรกรากอาศัยในเมือง

ในระหว่างการตั้งถิ่นฐานใหม่นั้นหลายคนได้ยึดบ้านและร้านค้าของชาวฮูตู ที่หลบหนีทหารกลุ่มแนวหน้าผู้รักชาติรวันดา RPF ในกรุงคิกาลี ส่งผลให้ร้านค้า ธุรกิจและบ้านเรือน ส่วนใหญ่ มีเจ้าของใหม่ เป็นชาวตุ๊ดซี่ การกระทำเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกเมื่อผู้ลี้ภัยชาวฮูตู ผู้เป็นส่วนหนึ่งของการหนีจากสงครามกลางเมืองเมื่อปี 1994 เริ่มกลับเข้ามาในประเทศ เมื่อปลายปี 1996 พวกเขาพบว่าทรัพย์สินของของตนถูกชาวตุ๊ซี่ ชาวบานยารวันดาหรือไม่ก็ทหาร RPA หรือประชาชนที่ไม่ยอมลี้ภัยในระหว่างสงคราม ได้ครอบครองและยึดเอาไปแล้ว และไม่ยินยอมคืนทรัพย์สินเหล่านั้นให้กับเจ้าของเดิม

แม้ภายใต้กฎหมายรวันดา เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิทวงทรัพย์สินของตนคืนภายในเวลา 10 ปี แต่เมื่อผู้ลี้ภัยจำนวนมากอพยพกลับบ้านได้พยายามอ้างสิทธิในทรัพย์สินของตน เจ้าของคนใหม่ก็มักจะเรียกเจ้าหน้าที่ของรัฐมาจับกุมโดยอ้างว่าผู้อพยพที่กลับมามีส่วนร่วมในการเหตุการณ์สังหารหมู่เมื่อปี 1994 คนเหล่านั้นจึงถูกจับบ้าง ถูกจำคุกบ้าง และบางครั้งก็ถูกฆ่า ด้วยความกลัวผู้อพยพชาวฮูตูส่วนใหญ่ไม่อยากเสี่ยงต่อการเจรจาเหนือทรัพย์สินของตน ต้องจากบ้านเรือนของตนที่ถูกครอบครองโดยเจ้าของคนใหม่

รัฐบาลรวันดาได้พยายามที่จะบรรเทาสถานการณ์นี้โดยให้ผู้ครอบครองคืนเจ้าของเดิม และหาพื้นที่ใหม่ให้แก่ชาวบานยารวันดาเพื่อตั้งถิ่นฐาน เรียกว่า “สถานที่ตั้งถิ่นฐานใหม่” ซึ่งรวมพื้นที่ที่เคยเป็นอุทยานแห่งชาติอคาเกร่าอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรวันดา เมืองบยุมบา ทางตอนเหนือ เขตคิบังโกในทางตะวันออกเฉียงใต้ของรวันดา และภูมิภาคระหว่างจิเซนยีและรูเฮนเจรี ในตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนสหประชาชาติเองก็ได้พยายามช่วยเหลือรัฐบาลรวันดารวันดา ผ่านนักสิทธิมนุษยชนในรวันดา (Human Rights Field Operation in Rwanda - HRFOR) ในการพยายามที่จะให้ประชาชนได้กลับบ้านของตนให้มากที่สุด โดยต้องแน่ใจว่าสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของผู้ลี้ภัยจะไม่ถูกละเมิดในระหว่างการเดินทางกลับไม่ว่าในขั้นตอนใด

บทบาทขององค์กรเอกชน
องค์กรเอกชน(NGO )มีบทบาทสำคัญในการจัดการกับวิกฤติผู้ลี้ภัย สถานการณ์หลังสงครามของรวันดา องค์กรเอกชนเกือบ 180 องค์กรได้ร่วมงานกับชาวรวันดาและประเทศเพื่อนบ้านในการช่วยเหลือบรรเทาโรค ทั้งจัดตั้งโรงพยาบาล คลินิกให้เปิดดำเนินการได้ จัดหาอาหารและยารักษาโรค สร้างและรักษาสภาพความเป็นอยู่ที่ถูกสุขลักษณะ และจัดหาเครื่องมือให้สร้างบ้านเป็นการชั่วคราว และยังช่วยให้สมาชิกครอบครัวกลับมารวมตัวกัน โดยเฉพาะเด็กๆให้กลับไปอยู่กับพ่อแม่และญาติพี่น้อง NGO ยังช่วยแม้กระทั่งขั้นตอนการแผ้วถางพื้นที่เพราะพื้นที่หลายแห่งไม่มีประชาชนดูแลทั้งไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตมาเป็นเวลานาน

การทำหน้าที่ของ NGO ได้ส่งผลอย่างสำคัญต่อชุมชนที่พวกเขาช่วยเหลือ ปัญหาด้านสุขภาพในรวันดาหนึ่งปีหลังจากสงครามยุติคือการขาดแคลนบุคลากรทางแพทย์ หมอชาวรวันดาและพยาบาลหลายคนยังคงอาศัยอยู่ในแคมป์ผู้ลี้ภัยนอกประเทศ ดังนั้นจึงยังไม่มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพที่จะเปิดและบริหารสถานพยาบาลได้

นักเรียนแพทย์ได้รับการฝึกฝนเพื่อเข้ามาเติมเต็มในตำแหน่งดังกล่าว แต่ก็ยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอ ความต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์จึงมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว NGOได้ใช้เวลาหนึ่งปีในการดูแลเหยื่อจากบาดแผลสงคราม จากโรคร้ายอื่นๆ หลังจากนั้นผู้อพยพและประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในรวันดาเริ่มมีสุขภาพดีขึ้น

นอกจากนั้นอาสาสมัครจากทั่วโลกได้นำมาเครื่องมือที่มีค่าและทักษะความเชี่ยวชาญสู่ชุมชนชาวรวันดา ตลอดทั่วประเทศ และได้ทำงานร่วมกับบุคลากรท้องถิ่นเพื่อจะช่วยเหลือให้จัดตั้งคลินิกขึ้นอีกครั้ง ในครั้งนี้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเพื่อที่พวกเขาจะได้รู้คุณค่าของตัวเอง ที่คลินิก มูเดนดี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรวันดาบุคลากรของ องค์กร Adventist Development and Relieve Agency( ADRA ) เริ่มที่จะขอร้องให้คนไข้จ่าย 100 ฟรังรวันดาเพื่อเข้ารับการรักษา สิ่งนี้จะช่วยทำให้ประชาชนกลับมาคุ้นเคยกับการจับจ่ายใช้สอยอีกครั้ง

สถานเลี้ยงเด็กกำพร้ามีส่วนสำคัญเช่นกัน เด็กๆชาวรวันดาได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลและการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ทั้งยังได้รับเสื้อผ้าบริจาค อาหารและที่พัก ได้ เรียนศิลปะ เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเคินยารวันดาอีกด้วย เด็กๆยังมีงานให้ทำหลายอย่าง เช่น ทำงานในโรงครัวและทำความสะอาด การทำงานอื่นๆ สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าจะสอนให้เด็กรู้จักรับผิดชอบตนเองและตระหนักถึงความพอเพียง เด็กๆที่ สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ADRA ในโกมาได้ทำงานและทำโครงการต่างๆ เมื่อมีกิจกรรมให้ทำ เริ่มมีความคิดเห็นในสิ่งที่ทำ นดายิซาบา ชอง วิทคลิฟ ( Ndayisaba Jean Witcliff )ผู้ช่วยผู้จัดการแคมป์ได้กล่าวไว้เมื่อปี 1994 ว่า“ทุกคนไม่ว่าตัวใหญ่หรือเล็กจะต้องทำงานที่นี่ หากคุณไม่มีเงิน คุณก็จะต้องทำงาน ฉันไม่ให้อะไรฟรีๆหรอก” ระบบนี้ทำให้สิ่งที่เด็กๆได้รับมีคุณค่ารู้สึกถึงความพึงพอใจ ทำให้มีศักดิ์ศรีของการเป็นคน

NGO และองค์กรช่วยเหลืออื่นที่ทำงานในรวันดาและประเทศเพื่อนบ้านของรวันดายังได้จัดทำโครงการรวมเด็กที่ถูกทอดทิ้งให้ได้พบกับสมาชิกครอบครัวที่รอดชีวิต บางครั้งเด็กๆที่โตกว่าและผู้ใหญ่ยังต้องหาสมาชิกครอบครัวของตนด้วยตัวเอง หาก NGO ไม่สามารถหาสมาชิกที่รอดชีวิตได้ก็จะพยายามที่หาบ้านใหม่ให้แก่เด็กๆซึ่งมีอายุตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 18 ปี

ถึงแม้ว่าองค์กรเอกชนจะประสบความสำเร็จในการหาครอบครัวของเด็กให้มาเจอกัน ก็ยังมีเด็กกำพร้าจำนวนมาก สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าคาโกนิ (Gakoni )ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของคิกาลี 70 ไมล์ ได้รับเด็กกำพร้าจำนวน 166 คน ไว้ในบ้าน 14 หลังซึ่งทำด้วยอิฐกับโคลน บ้านแต่ละหลังมีลักษณะเป็นครอบครัวคือเด็กๆและแม่คอยดูแล ดอกเตอร์รันจัน คูลาเซเคเร่ (Ranjan Kulasekere )ซึ่งทำงานใน Adventist Development and Relief Agency กล่าวว่า “พวกเราให้ทั้งเด็กชายและหญิงทั้งโตและเล็กอาศัยอยู่ด้วยกันเพื่อที่จะทำให้รู้สึกเหมือนเป็นครอบครัวจริงๆ” “ พวกเขาทานข้าวด้วยกัน สวดมนต์ด้วยกันและเก็บกวาดบ้านด้วยกัน”

เวลา 9.30 น. เด็กๆก็จะทานอาหารเช้า ซักเสื้อผ้าและทำความสะอาดบ้าน จากนั้นก็จะออกไปเรียนหนังสือซึ่งเด็กๆก็จะมีกะเวลาของตน เด็กที่เล็กสุดจะเข้าเตรียมตัวในสถานก่อนวัยเรียน เด็กที่โตกว่าก็จะเข้าเรียนในโรงเรียนประถมจะได้เรียนรู้ในการอ่าน การเขียน เลขและฝรั่งเศส เด็กๆทุกคนที่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ต้องไปเรียนที่โรงเรียนประถม ซึ่งมีเพียงบางคนเท่านั้นที่ผ่านการสอบวัดผลจึงจะได้ไปเรียนต่อมัธยม ส่วนที่ไม่ผ่านก็จะหันไปเรียนวิชาชีพ เช่น การเรียงอิฐ ก่อสร้าง บางคนก็เรียนเกษตรกรรม สำหรับคนที่สุขภาพแข็งแรงเพียงพอก็จะทำงานในโครงการเกษตรกรรม เด็กๆได้ปลูกผักและผลไม้เพื่อเอามาเป็นอาหารด้วยตัวเอง หลังทานอาหารค่ำเด็กก็จะช่วยแม่(ผู้ดูแล) และผู้ช่วยเหลือคนอื่นทำความสะอาด จากนั้นก็จะร่วมกันสวดมนต์และร้องเพลง ทุกคนจะเข้านอนก่อนเวลาสองทุ่มครึ่ง

ความพยายามของคนในท้องถิ่น
ขณะที่รวันดาต้องการความช่วยเหลือจากประชาคมโลกเพื่อที่จะเยียวยาและประนีประนอมต่อกันนั้น สิ่งเหล่านี้จะสำเร็จลงได้ต้องขึ้นอยู่กับความพยายามของพลเมืองชาวรวันดาเองด้วย ดังนั้นเพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดความพยายามในหมู่ประชาชน NGO บางแห่งพยายามที่จะกระตุ้นผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ให้ช่วยเหลือตัวเองให้มากขึ้น องค์กรซึ่งดำเนินการโดยคนในท้องถิ่นจำนวนมากพยายามที่จะช่วยเหลือชาวรวันดาให้รับมือกับผลกระทบจากความขัดแย้ง เช่น อวีโก – อกาโฮโซ เป็นองค์กรช่วยเหลือตัวเองของสตรีม่ายชาวรวันดาจัดการฝึกฝนที่จะทำให้สตรีม่ายชาวรวันดาคนอื่นๆมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การฝึกฝนนี้เป็นที่คาดหวังว่าสตรีม่ายชาวรวันดาจะสามารถอ้างสิทธิในที่ดินและสร้างชีวิตของตนอีกครั้งและสามารถหาเลี้ยงครอบครัวตนเองได้

Woman Net เป็นองค์กรของผู้หญิงชาวรวันดาซึ่งช่วยเหลือโดยการให้คำปรึกษาเหยื่อของการข่มขืน ดูเทริมเบเร่ หนึ่งในองค์กรสตรีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่ช่วยเหลือสตรีโดยการให้กู้ยืมเพื่อทำธุรกิจ ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ฝึกฝนทักษะ ซ่อมแซมบ้านและให้คำปรึกษาอื่นๆ นอกจากนั้น เซราฟีน บิซิมังกู สตรีหมายเลขหนึ่งของรวันดา ได้ช่วยเหลือสตรีที่สามีเสียชีวิตและเด็กๆที่สูญเสียครอบครัว รวมทั้งได้ร่วมกับ NGO นานาชาติสร้างบ้านจำนวน 250 หลังให้แก่ประชาชน และเดินหน้าโครงการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างต่างๆ เพื่อหวังว่าท้ายที่สุดแล้วภารกิจเหล่านี้จะกลับไปสู่คนชาวรวันดาผู้ซึ่งจะต้องจัดการและสร้างประเทศของตนขึ้นมาอีกครั้ง เผื่อว่าหลังจากนั้นประเทศจะพบกับหนทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่ต่อไป ซึ่งหลายๆฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่าแม้กระบวนการสร้างประเทศจะเริ่มขึ้นแล้ว แต่โชคร้ายที่ไม่มีหนทางแก้ปัญหาใดๆที่ง่ายเลยสำหรับชาวรวันดา เพราะหนทางในการเยียวยาประเทศนั้นเต็มไปด้วยร่องรอยของการฉีกขาดและแตกสลาย…….


 

หมายเหตุ:  *บทความแบ่งเป็น 10 ตอน โดยแปลสรุปจาก World in conflict. Rawanda : country torn apart. และนำมาเรียบเรียงใหม่เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น

อ้างอิง : Bodnarchuk, Kari. World in conflict. Rawanda : country torn apart . Manufactured in the United States of America. By Lerner Publications Company

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: 
รวันดา: สภาพปัญหาและความขัดแย้ง (1)
รวันดา: อำนาจทางการเมืองกับวิกฤตด้านมนุษยธรรม (2)
รวันดา รากเหง้าของความขัดแย้ง: บทเรียนของโลก บทเรียนของไทย (3)
รวันดา: ภายใต้อาณานิคม : บทเรียนของโลก บทเรียนของไทย (4)
รวันดา: ความเสมอภาคทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของสองชาติพันธุ์ (5)
รวันดา: ความเปลี่ยนแปลงภายใต้การแสวงหาอำนาจทางการเมือง (6)
รวันดา : บนความเพิกเฉยของสหประชาชาติ (7)
รวันดา : ปัญหาผู้ลี้ภัยนำไปสู่การยึดอำนาจในแซร์ (8)
รวันดา: ภายใต้กระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากความยุติธรรม(9)

 

 

                       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

21 ก.พ.56 ฟังคำสั่งไต่สวนการตาย จนท.เขาดิน เหยื่อ 10 เมษา

0
0

ศาลอาญานัดฟังคำสั่งไต่สวนการตาย 'มานะ อาจราญ' ลูกจ้างสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตคืนวันที่ 10 เม.ย.53 แล้ว 21 ก.พ.56 นี้


เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. ที่ห้องพิจารณาคดี 808 ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำที่ อช.8/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรการเสียชีวิตของนายมานะ อาจราญ ลูกจ้างของสวนสัตว์ดุสิตแผนก บำรุงรักษา ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตเมื่อกลางดึกของวันที่ 10 เม.ย. 53 บริเวณสวนสัตว์ดุสิต แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กทม. ภายหลังการสลายการชุมนุมในช่วงค่ำบริเวณแยกคอกวัวและถนนดินสอสงบลง ทั้งนี้ ลานจอดรถของสวนสัตว์ดุสิตเป็นจุดพักของเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหลายกองร้อย

โดยวันนี้เป็นการไต่สวนนัดสุดท้าย มีพยานทั้งสิ้น 5 ปาก หลังเสร็จการไต่สวน ศาลนัดฟังคำสั่งวันที่  21 ก.พ.56 เวลา 09.00 น. สำหรับคดีนี้ไม่มีการแต่งตั้งทนายความ และไม่มีญาติผู้ตายร่วมสังเกตการณ์คดี

พยานปากแรก ส.อ.ศักดิ์อนันต์ ผุยโสภา ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกที่ 2 ประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา เบิกความว่า เมื่อปี 2553 ได้รับคำสั่งให้มาควบคุมการชุมนุมของกลุ่ม นปช. โดยมีกองกำลัง 120 นาย มีอาวุธคือ โล่ กระบอง และเสื้อเกราะ ไม่มีอาวุธปืน ในวันเกิดเหตุ เวลาประมาณ 22 นาฬิกาเศษ ขณะที่กำลังพลพักอยู่ที่ใต้อาคารจอดรถสวนสัตว์ดุสิต หลังจากรักษาการที่หน้าประตูสวนสัตว์ดุสิต เพื่อป้องกันไม่ให้รถของผู้ชุมนุมผ่านเข้าไปบริเวณถนนอู่ทองใน มีเสียงปืนดังขึ้นประมาณ 2 นัด บริเวณด้านนอกรั้วรัฐสภา จากนั้น ทหารที่พักอยู่ด้านนอกก็วิ่งกรูผ่านประตูสวนสัตว์เข้ามา ราว 400-500 นาย โดยตนเองได้ใช้ไม้งัดสังกะสีที่ปิดซ่อมอยู่ เพื่อเปิดทางให้ทหารวิ่งไปด้านหลัง ทั้งนี้ นอกจากทหารแล้วจะมีผู้อื่นด้วยหรือไม่ ไม่ได้สังเกต

ส.อ.ศักดิ์อนันต์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเองนั้น วิ่งผ่านช่องเก็บตั๋ว และพลัดตกลงในบ่อน้ำ โดยระหว่างวิ่งทางจากอาคารจอดรถผ่านที่ขายตั๋วจนถึงบ่อน้ำ ไม่ได้ยินเสียงอะไรนอกจากเสียงปืนจากทางหน้าสวนสัตว์แต่ไม่รู้ว่ามาจากทิศใด โดยขณะที่อยู่ในบ่อน้ำ ราว 20 นาทีนั้นไม่ได้ยินเสียงปืนแต่อย่างใด จากนั้น ได้หาวิธีขึ้นจากบ่อ โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ตชด. ช่วยขึ้นจากบ่ออีกด้านหนึ่ง และพักอยู่กับเจ้าหน้าที่ ตชด.ในสวนสัตว์ จนมีเจ้าหน้าที่จาก สน.ดุสิต มารับตัวไปส่งที่จุดรวมพลใต้อาคารจอดรถ นอกจากนี้เขายังระบุว่า ก่อนหน้านั้นระหว่างเข้าเวร เคยมีกลุ่ม นปช. 4-5 คน ขับรถมาแวะต่อว่าด้วย

พยานปากที่สอง จ.ส.ต.รังสรรค์ โฮชิน กองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา เบิกความว่า คืนเกิดเหตุ หลังจากเข้าเวรยามเพื่อไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปในรัฐสภา ได้เข้าไปพักผ่อนบริเวณลานจอดรถในสวนสัตว์ เวลา 22.00น. จากนั้น 5-10 นาทีต่อมา มีคนร้องโวยวาย วิ่งแตกตื่นจากลานจอดรถไปด้านหลังสวนสัตว์ ขณะนั้นไม่ทราบสาเหตุ แต่ตกใจจึงวิ่งตามไป จนถึงบริเวณที่มีการก่อสร้าง ได้วิ่งหลบบริเวณกำแพงที่มีเสาไฟฟ้าและพุ่มไม้ ขณะที่วิ่งก่อนถึงกำแพง ได้ยินเสียงคนพูดว่า ถ้ามึงไม่ออกมา จะยิง แต่ไม่เห็นตัวและไม่รู้ทิศทางผู้พูด เพราะบริเวณดังกล่าวมืด และจากนั้นก็ไม่ได้ยินเสียงปืน เพราะมัวแต่วิ่งหลบ โดยบริเวณที่หลบอยู่นั้นมีทหารคนอื่นอยู่ด้วย แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร เพราะมืด โดยตนเองได้แอบอยู่สักพักจนเหตุการณ์ปกติ เมื่อมีคนมาตามเรียกไปรวมพล จึงออกมา

พ.ต.อ.ณัฎฐ์ บูรณศิริ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สตช. เบิกความว่า เมื่อเวลา 0.40 น. ได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ให้ร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีฆาตกรรมในสวนสัตว์ จึงเดินทางตรวจที่เกิดเหตุด้วยตัวเอง โดยไปถึงสวนสัตว์เวลาประมาณ 1.30น. โดยศพนายมานะ มีบาดแผลถูกยิงที่ศีรษะด้วยกระสุนปืนจากด้านหลังทะลุไปด้านหน้า บนทางเดินมุ่งหน้าไปทางสวนสัตว์ห่างจากศพ ประมาณ 20 เมตร พบปลอกกระสุน .223 จำนวน 2 ปลอกตกอยู่ ใกล้ปลอกกระสุนพบโล่ปราบจลาจล กระบอง และเสื้อสีเขียวระบุชื่อ "บารมี ชีพไธสง" โดยของกลางทั้งหมดได้ส่งให้พนักงานสอบสวนเพื่อตรวจสอบต่อไป

พ.ต.อ.สุพจน์ เผ่าถนอม ผู้อำนวยการกองสรรพาวุธ 2 สตช. เบิกความว่า พนักงานสอบสวนได้ขอให้ตนเองให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธและกระสุนปืน โดยให้ข้อมูลว่ากระสุนขนาด 5.56 มม. หรือ .223 ใช้ได้กับปืน M16 HK33 ซึ่งทั้งทหารและตำรวจมี และใช้ได้กับทราโว่ ซึ่งมีแต่ทหารเท่านั้นที่มีใช้ ส่วนอาก้านั้นใช้ไม่ได้  เมื่อยิงปืนแล้ว หัวกระสุนจะปรากฏรอยสันเกลียว ส่วนที่ปลอกกระสุน จะปรากฏรอยขอคัดปลอก บริเวณด้านข้างปลอกและรอยเข็มแทงชนวน ที่ท้ายปลอกและริมปลอก ปืนแต่ละกระบอกเมื่อยิงจะปรากฏร่องรอยไม่เหมือนกัน ทำให้ตรวจได้ว่ามาจากปืนกระบอกใด โดยปืนแต่ละชนิดสามารถแยกชิ้นส่วนหลักและสับเปลี่ยนกันได้ ซึ่งจะทำให้การพิสูจน์เทียบหัวและปลอกกระสุนเปลี่ยนไปด้วย เพราะร่องรอยเปลี่ยน

พ.ต.ท.มานิต เกษมศิริ รอง ผกก.สน.ดุสิต ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในคดีนี้ เบิกความว่า ปลอกกระสุน M16 ที่พบนั้นห่างจากจุดพบศพประมาณ 25 เมตร บนทางเท้า โดยหลังตรวจที่เกิดเหตุ ชันสูตรศพ และสอบปากคำพยานบุคคลแล้ว เห็นว่าเป็นการตายโดยผิดธรรมชาติ อันเป็นความผิดอาญา โดยยังไม่ทราบว่าฝ่ายไหนเป็นผู้กระทำ ต่อมาหลังกรมสอบสวนคดีพิเศษส่งสำนวนชันสูตรกลับมาที่ สน.ดุสิต โดยมีความเห็นว่านายมานะตายจากการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยอ้างว่าปฏิบัติตามหน้าที่ ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้น ซึ่งตนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย มีการขออาวุธปืนจากกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 ซึ่งมีการเบิกจ่ายปืน M16 จำนวน 29 กระบอกมาใช้ในช่วงดังกล่าว เพื่อตรวจเทียบกับปลอกกระสุนของกลาง แต่พบว่าปลอกกระสุนไม่ได้มาจากปืนทั้ง 29 กระบอก ทั้งนี้ ในช่วงดังกล่าว ทหารแจ้งว่าอาวุธปืนที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ถูกแย่งปืนไป โดยได้แจ้งความไว้ด้วย แต่ภายหลังก็ตรวจยึดคืนได้จากสถานที่ชุมนุมของ นปช. อย่างไรก็ตาม หลังตรวจสอบเพิ่มเติม คณะทำงานได้ทำสำนวนใหม่ว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เห็นควรส่งให้อัยการยื่นต่อศาลเพื่อไต่สวนต่อไป

สำหรับคดีมานะ อาจราญ เป็นรายที่ 6 ที่มีการไต่สวนเสร็จสิ้น โดยก่อนหน้านี้ มี 4 รายที่ศาลมีคำสั่งว่าเป็นการเสียชีวิตจากการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ได้แก่ พัน คำกอง, ชาญณรงค์ พลศรีลา, ชาติชาย ชาเหลาและ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณและในวันที่ 16 ม.ค.2556 ศาลนัดฟังคำสั่งไต่สวนการตายของบุญมี เริ่มสุข

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50704 articles
Browse latest View live