Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50704 articles
Browse latest View live

ฮิวแมนไรท์ วอทซ์เผยภาพชุมชนโรฮิงยาถูกเผาวอด หลังเหตุขัดแย้งรอบล่าสุดในพม่า

0
0

องค์กรเฝ้าจับตาสถานการณ์สิทธิมนุษยชน "ฮิวแมนไรท์ วอทซ์" เผยภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นสิ่งก่อสร้างจำนวน 811 หลังในชุมชนชาวโรฮิงยาที่เมืองจ็อก ผิ่ว ในรัฐอาระกัน ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ ขณะที่สถานการณ์ขัดแย้งระหว่างชาวยะไข่และชาวโรฮิงยารอบล่าสุด ทำให้มีผู้อพยพอยู่ตามค่ายพักพิงในรัฐอาระกันอย่างน้อย 7 หมื่นคน

ภาพถ่ายผ่านดาวเทียม เมืองจ็อก ผิ่ว ในรัฐอาระกันเมื่อ 9 มีนาคม ปี 2555 ก่อนเหตุขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยา และชาวยะไข่ (ที่มา: Human Rights Watch)

ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมเมื่อ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความเสียหายของชุมชนชาวโรฮิงยา หลังเกิดการลอบวางเพลิงเมื่อ 24 ต.ค. (ที่มา: Human Rights Watch)

 

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา ฮิวแมนไรท์ วอทซ์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นสิ่งก่อสร้างจำนวน 811 หลังบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของเมืองจ็อก ผิ่ว (Kyauk Pyu) ถูกทำลาย หลังมีการลอบวางเพลิงเมื่อวันที่ 24 ต.ค. โดยภาพถูกถ่ายจากดาวเทียมในวันที่ 25 ต.ค. โดยพื้นที่ซึ่งได้รับความเสียหายกินพื้นที่กว้าง 35 เอเคอร์ มีสิ่งก่อสร้าง 633 หลัง และมีเรือนแพ 178 หลัง และเรือที่พ่วงติดกันจำนวนหนึ่งได้รับความเสียหายทั้งหมด ทั้งนี้สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุด้วยว่า ชาวโรฮิงยาในเมืองจำนวนมากต่างพากันหนีไปทางทะเลโดยไปขึ้นฝั่งที่เมืองซิต ตเหว่ เมืองหลวงของรัฐอาระกัน ซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุไปทางทิศเหนือ 200 กิโลเมตร

ทั้งนี้หลังความขัดแย้งรอบแรกระหว่างชาวโรฮิงยา และชาวยะไข่ ในรัฐยะไข่หรือรัฐอาระกัน ปะทุขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ต.ค. ก็เกิดเหตุขัดแย้งรอบใหม่ขึ้นอีกระหว่างทั้งสองกลุ่ม โดยความรุนแรงดำเนินไปในเมืองมินบะยา, เมียวอู, มเย-บง, ระเตเดาก์ และจ็อก ผิ่ว โดยกรณีเป็นครั้งแรกที่เกิดความขัดแย้งขึ้นที่จ็อก ผิ่ว

นายฟิว โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) รองผู้อำนวยการด้านเอเชียของ ฮิวแมนไรท์ วอทซ์ กล่าวว่า "รัฐบาลพม่ามีความจำเป็นอย่างรีบด่วนที่จะรักษาความปลอดภัยให้กับชาวโรฮิงยา ในรัฐอาระกัน ซึ่งถูกโจมตีอย่างมุ่งร้าย" เขากล่าวด้วยว่า "ถ้าไม่อยากนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องเริ่มหาสาเหตุรากฐานที่ทำให้เกิดความรุนแรง ซึ่งดูเหมือนสถานการณ์จะยิ่งเลวร้ายลงกว่านี้"

จากข้อมูลของฮิวแมน ไรท์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา ประกอบกับการที่รัฐบาลพม่ามีควบคุมการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับชุมชนชาวโรฮิงยาที่ต้องอพยพหลังเกิดความรุนแรง ทำให้มีชาวโรฮิงยาราว 104,000 คนจากตัวเลขขอฮิวแมนไรท์ วอทซ์ ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในเรื่องอาหาร ที่พัก และการดูแลสุขภาพ ขณะที่จากความรุนแงระลอกล่าสุดทำให้มีผู้อพยพภายในประเทศ (Internally displaced persons - IDP) แล้ว 75,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงยา และอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 40 แห่งในเมืองซิต ตเหว่ และเจาก์ตาว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารพม่า-อส.โจมตีทหาร SSA “เหนือ” ดับ 2 ถูกจับอีกนับสิบ

0
0

ทหารพม่าสนธิกลุ่มอาสาสมัครเข้าโจมตีทหารไทใหญ่ SSA “เหนือ” ดับ 2 นาย จับเป็นอีกกว่า 40 นาย อ้างเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบ ด้าน SSA โต้เป็นทหารของรัฐฉานมีสิทธิ์อยู่ได้ทุกที่ เผยทหารถูกควบคุมตัวไม่มีอาวุธ ไม่คิดทหารพม่าจะโจมตีเพราะหยุดยิงกันแล้ว

เมื่อวันที่ 29 ต.ค. เว็ปไซต์ข่าว Myawaddy สื่อกระบอกเสียงกองทัพพม่ารายงานอ้างว่า ทหารกองทัพพม่าและกองกำลังอาสาสมัครได้รับแจ้งจากประชาชนว่า มีทหารกลุ่มก่อความไม่สงบจากกองกำลังไทใหญ่ SSA “เหนือ” เข้ามาเคลื่อนไหวในพื้นที่ ในวันที่ 26 ต.ค. จึงร่วมกันเข้าทำการโจมตีบริเวณระหว่างต้าปางกง – ช้อกปางโกง เขตเมืองน้ำคำ รัฐฉานภาคเหนือ ทำให้ฝ่าย SSA เสียชีวิต 2 นาย ถูกควบคุมตัว 48 นาย เป็นทหารเก่า 4 นาย และทหารเกณฑ์ใหม่ 44 นาย ในจำนวนนี้รวมทหารบาดเจ็บจากการโจมตี 2 นาย ส่วนผู้บังคับบัญชาคือ เจ้าเข่หม่า พร้อมด้วยทหารอีก 1 นาย หนีรอดไป

ทั้งนี้ ข่าวระบุอีกว่า ทหารของ SSA “เหนือ” ชุดดังกล่าวกลับจากเข้ารับการฝึกทางทหารในเขตรัฐคะฉิ่น ที่บ้านกุงคำ เมืองม่านเจ้ ซึ่งการฝึกเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 7 ต.ค. โดยทั้งหมดกำลังเตรียมเดินทางกลับเข้ามาเคลื่อนไหวในพื้นที่รัฐฉาน ซึ่งผู้ที่ถูกควบคุมตัวจำนวน 44 คน เป็นทหารเกณฑ์ใหม่จากเมืองล่าเสี้ยว , หมู่แจ้ ,น้ำคำ , น้ำตู้ และก๊ดขาย

อย่างไรก็ตาม ทางด้าน SSA “เหนือ” ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยพ.ต.จายละ โฆษกของ SSA “เหนือ” เปิดเผยว่า ทหาร SSA ที่ถูกโจมตีและถูกควบคุมตัวไม่ใช่ทหารกลับจากเข้ารับการฝึกในรัฐคะฉิ่น และไม่ใช่ผู้ก่อความไม่สงบตามที่ฝ่ายทหารพม่ากล่าวอ้าง ซึ่งทั้งหมดเป็นทหารเคลื่อนไหวในพื้นที่เอง พวกเขาไม่ได้พกพาอาวุธเพราะเห็นว่า SSA และทหารรัฐบาลพม่าตกลงหยุดยิงกันแล้วจึงไม่คิดว่าทหารพม่าจะโจมตี ในวันเกิดเหตุทหารทั้งหมดมีอาวุธปืนเพียง 1 กระบอกเท่านั้น

พ.ต.จายละ กล่าวอีกว่า ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA มาจากประชาชนชาวรัฐฉาน ซึ่งมีสิทธิ์อยู่ได้ทุกที่ในรัฐฉาน แต่หลังจากทำข้อตกลงหยุดยิงทางฝ่ายกองทัพพม่าพยายามจำกัดพื้นที่เคลื่อนไหวให้กับ SSA ขณะที่ทหารกองทัพพม่ากลับสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกที่ และระหว่างที่สองฝ่ายเจรจาหยุดยิงกัน รัฐบาลพม่ารับปากว่าจะถอนกำลังทหารในพื้นที่เคลื่อนไหวของ SSA แต่จนถึงขณะนี้นอกจากทหารพม่าไม่ถอนกำลังแล้ว ยังโจมตี SSA ต่อเนื่อง นับตั้งแต่ลงนามหยุดยิงกันครั้งใหม่เมื่อ 28 ม.ค. 55 มาจนถึงขณะนี้สองฝ่ายสู้รบกันแล้วไม่ต่ำกว่า 40 ครั้ง

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์: มายาคติของโทษประหารชีวิต

0
0

ในสัปดาห์เพื่อการยุติโทษประหารชีวิต ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ประชาไทสัมภาษณ์ "ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์" คอลัมนิสต์และนักวิชาการอิสระต่อประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ข้อมูลจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่าขณะนี้มี 140 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต ส่วนประเทศไทย ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิต แม้ว่าในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 (2552-2556​) ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐสภาเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2552 ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต ขณะเดียวกันการีโทษประหารชีวิตก็ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งไทยเป็นภาคีอนุสัญญามาตั้งแต่ปี 2550

 

โทษประหารและความเข้าใจผิด

ศิโรตม์เริ่มต้นว่า "โทษประหารชีวิตเป็นโทษที่มีปัญหา เพราะเป็นโทษที่เต็มไปด้วยมายาคติและความเข้าใจผิดของคนในสังคม ซึ่งในที่สุดแล้วพิสูจน์ไม่ได้ อย่างเช่น เชื่อว่าโทษประหารชีวิตจะลดอาชญากรรมหรือลดความรุนแรงในสังคม แต่จริงๆ แล้วทำไม่ได้"

"โทษประหารชีวิตจริงๆ เป็นภาพสะท้อนความรู้สึกที่ว่าต้องการล้างแค้นคนที่กระทำความผิด แล้วเวลาล้างแค้นกระทำไปในนามของคนที่สูญเสียจากเหตุการณ์ต่างๆ คำถามที่ท้าทายคือ คนที่ทำการประหารชีวิตคนอื่นรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เขาสูญเสียจากเหตุการณ์ต่างๆ ต้องการจะลงโทษหรือล้างแค้นผู้ที่กระทำการนั้นๆ อย่างที่ตัวเองเข้าใจ ที่สำคัญก็คือการประหารชีวิตเป็นเรื่องของการล้างแค้น ขณะที่สังคมสมัยใหม่เรามีความเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า การแก้ปัญหาของสังคม การแก้ปัญหาความรุนแรง ไม่ใช่ด้วยวิธีการล้างแค้น แต่ทำให้คนผิดเกิดความคิด หรือเกิดการปรับปรุงพฤติกรรม"

"แต่โทษประหารชีวิตไม่ได้ตอบโจทย์นี้ คนที่เป็นเหยื่อเขาไม่มีโอกาสพูดว่าต้องการทำอย่างไรกับคนที่กระทำผิด คนที่ตัดสินใจประหารชีวิตคือคนที่ไม่ได้เป็นเหยื่อ แต่ตัดสินประหารชีวิตในนามของการล้างแค้นให้เหยื่อ และผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นความเข้าใจที่มีปัญหาโดยตัวมันเอง"

"ประการที่สอง มันเป็นโทษซึ่งเมื่อตัดสินไปแล้ว ในกรณีที่ตัดสินผิด จะคืนชีวิตให้คนที่ถูกตัดสินประหารชีวิตไปแล้วไม่ได้ เป็นโทษที่เมื่อเอาชีวิตไปแล้วไม่สามารถรื้อฟื้นชีวิตขึ้นมาได้ ขณะที่โทษอื่นๆ เช่น โทษจำคุกเมื่อตัดสินผิดเราสามารถรื้อฟื้นความยุติธรรมกลับมาได้"

"ประการที่สาม ที่สำคัญก็คือ โทษประหารชีวิตทำงานบนความเชื่อว่า คำตัดสินของศาลในคดีความต่างๆ ถูกทุกกรณี ทำให้ศาลอยู่ในอุดมคติซึ่งเกินจากความเป็นจริงไป ในความเป็นจริงคือ การตัดสินของศาลทุกคดีไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นเรื่องประหารชีวิต หรือไม่ประหารชีวิตก็ตาม มีโอกาสมากที่จะถูกบดบัง หรือถูกตีความ หรือถููกพิจารณาด้วยอคติต่างๆ ของศาลเอง หรือองค์กรอื่นในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่อัยการ ตำรวจ ทนายความ นี่เป็นประเด็นสำคัญ ในกรณีโทษประหารชีวิต เราไม่ค่อยตระหนักถึงอคติแบบนี้ซึ่งอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ที่อยู่กับองค์กร บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ทำให้เราเชื่อว่ากระบวนการเหล่านี้จะตัดสินได้ถูกทุกกรณี ซึ่งไม่เป็นความจริง"

 

ฝากความหวังให้รัฐยกเลิกโทษประหารอย่างเดียวไม่พอ

ต่อคำถามที่ว่า แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 (2552-2556​) ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐสภาไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2552 ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต ขณะที่ผลในทางปฏิบัตินั้นประเทศไทยยังคงใช้โทษประหารชีวิต ศิโรตม์ตอบว่า "ความพยายามยกเลิกโทษประหารชีวิต เป็นความเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นเพราะว่า องค์กรต่างๆ ภายในประเทศไทยโดยเฉพาะองค์กรซึ่งต้องยึดโยงกับเรื่องประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชน อย่างเช่น รัฐสภา หรือกรรมการสิทธิมนุษยชน รู้ว่าทิศทางของโลกต่อโทษประหารชีวิตเป็นอย่างไร และรู้ว่าทิศทางของโลกก็คือการยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่ความล้าช้าที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนว่าในที่สุดแล้วอำนาจรัฐในทางปฏิบัติจริงคือฝั่งกลไกราชการ ไม่ได้เห็นเรื่องนี้ไปในทางเดียวกับรัฐสภาหรือกรรมการสิทธิมนุษยชน"

"ในที่สุดแล้วเรื่องนี้จะไม่เกิดในระยะอันใกล้ ต้องยอมรับว่าโทษประหารชีวิตมีมานานในสังคมไทย หรือสังคมอื่นๆ มีมาเป็น 100 ปี มันเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมทางสังคม เป็นส่วนหนึ่งของความคิดความเชื่อ อคติทางสังคม ที่ทำให้การยกเลิกโทษประหารนี้ไม่ง่าย และจะยกเลิกได้ในเงื่อนไขที่ว่ามีแรงกดดันจากภายนอกมหาศาล หรือมีแรงกดดันหรือความคิดใหม่ๆ ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเติบโตอย่างมหาศาล ซึ่งในปัจจุบันไม่มีสองเงื่อนไขนี้อยู่ ฉะนั้นโอกาสในการเลิกนั้นไม่ง่าย อาจมีมาตรการหรือแผนแม่บทบางอย่างเพื่อให้ดูดีในสายตาองค์กรระหว่างประเทศ ในทางปฏิบัติจะไม่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในอนาคตอันใกล้"

ศิโรตม์ยกตัวอย่างแผนแม่บทอื่นๆ เป็นอย่างที่คล้ายกันว่า "เหมือนแผนแม่บทในการคุ้มครองแรงงาน แผนแม่บทในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมของหญิงชาย ซึ่งรัฐบาลไทยลงนามในอนุสัญญาต่างๆ และทำแผนแม่บทมาเป็น 10 ปีแล้ว แต่ไม่เคยมีความคืบหน้า"

"เวลาจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรในเรื่องเหล่านี้จะมาจากจากสองปัจจัยเหล่านี้ คือองค์กรระหว่างประเทศกดดัน หรือมีขบวนการทางการเมืองหรือกลุ่มทางสังคมภายในประเทศใหม่ๆ กดดันให้รัฐบาลไทยหรือรัฐไทยเปลี่ยนท่าทีต่อเรื่องพวกนี้ ไม่อย่างนั้นเรื่องพวกนี้รัฐไม่เคยเปลี่ยนเอง และอย่าลืมว่าโทษประหารชีวิตมีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งคือ โทษประหารชีวิตเป็นโทษที่สอดคล้องกับอคติหรือความเชื่อของคนในสังคมไทยจำนวนมากที่นิยมการประชาทัณฑ์ นิยมการตัดสินใครว่าถูกหรือผิดไว้ก่อน และเป็นสังคมแบบพุทธที่เชื่อว่าเมื่อมีใครกระทำผิดต้องถูกล้างแค้นอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นมันเป็นโทษที่ไม่ใช่แค่มาตรการของรัฐ แต่เป็นโทษที่ตรงกับอคติของคนในสังคมด้วย เพราะฉะนั้นการให้ยกเลิกนี้โดยฝากควาหวังไว้ที่รัฐอย่างเดียวไม่มีทางเพียงพอ"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาเขี่ยตก เข้าชื่อแก้ 112 ไม่เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพ

0
0

ที่มา: http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20121026141843.pdf

 

 

เว็บไซต์รัฐสภาเผยแพร่ เอกสารสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เมื่อวันที่ 25 ต.ค.55 ซึ่งตารางสรุปผลดังกล่าวปรากฏการจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  ของนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ พร้อมด้วยประชาชน 30,383 คน

“ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่องเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 (เนื่องจากประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.....) มีหลักการไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”  เอกสารกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ระบุ

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 163 กำหนดในเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้โดยให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ น้อยกว่า 10,000 คนร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ และกฎหมายที่จะเสนอต้องเป็นกฎหมายที่มีหลักการตามที่กำหนดไว้ใน หมวด 3 หรือหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ

การยื่นรายชื่อในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พ.ค.55 โดยนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ พร้อมด้วยคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 พร้อมประชาชนนับร้อยคนได้นำรายชื่อ 39,185 ที่รวบรวมจากทั่วประเทศเพื่อแก้ไขมาตรา 112 ไปยื่นให้กับประธานรัฐสภา โดยสาระสำคัญสอดคล้องกับร่างแก้ไขมาตรา 112 ของนิติราษฎร์ คือ 

1. ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร

2. เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

3. แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

4. เปลี่ยนบทกำหนดโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปีสำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และไม่เกินสองปีสำหรับ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

5. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

6. เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ

7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น แทนพระองค์”

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวพลเมือง: ‘พงศ์พิชาญ’ เดินหน้าต่อ ร้องแก้มติคณะรัฐมนตรี เยียวยาเหยื่อสลายชุมนุม

0
0

‘พงศ์พิชาญ ธนาถรพงษ์’ แท็กซี่จอมประท้วง เดินหน้าต่อร้องแก้ไขข้อความในมติคณะรัฐมนตรี จาก "ได้รับบาดเจ็บสาหัส" หมายถึง “เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะเป็นผู้ป่วยในเป็นเวลาเกิน 20 วัน” เผยยังมีผู้ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยาอีก 46 ราย

เมื่อวันที่ 31 พ.ย. 55 ที่ผ่านมานายพงศ์พิชาญ ธนาถรพงษ์ ได้มายืนถือป้ายร้องเรียนที่บริเวณหน้ารัฐสภา หลังจากก่อนหน้านี้ได้ขับรถแท็กซี่ปาดหน้าขบวนรถของนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่เรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายเงินรักษาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบกรณีบาดเจ็บสาหัสจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ที่ได้ลงมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555

ทั้งนี้นายพงศ์พิชาญ มีข้อเรียกร้องให้แก้ไขข้อความในมติคณะรัฐมนตรี  มาตรา 297 ระบุกรณีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสว่า "ได้รับบาดเจ็บสาหัส" หมายถึง “เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะเป็นผู้ป่วยในเป็นเวลาเกิน 20 วัน”  ซึ่งก่อนหน้านี้นายพงศ์พิชาญ ได้ไปฟ้องร้องต่อศาลอุธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาแล้วว่าเขาเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเพราะได้รับการรักษาพยาบาลเกิน 25 วัน แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงไม่ได้รับเงินเยียวยาตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว

นอกจากนั้นนายพงศ์พิชาญ ยังระบุว่าจะขอเรียกร้องความเป็นธรรมกรณีเงินเยียวยาต่อไปเพราะยังมีผู้ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยาอีก 46 ราย และขอความช่วยเหลือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดหาทนายความเพื่อสู้คดี นายพงศ์พิชาญยังกล่าวอีกว่าขณะนี้ตนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากจากกรณีขับรถแท็กซี่ตามขบวนของนายกรัฐมนตรีเพราะศาลได้สั่งยึดใบขับขี่สาธารณะของเขาเป็นเวลา 6 เดือน

อนึ่งก่อนหน้านี้  นายพงศ์พิชาญ ได้ขับรถแท็กซี่สีชมพู หมายเลขทะเบียน ทย 9522 กทม. จากสหกรณ์แท็กซี่ปทุมวัน จำกัด พยายามเร่งเครื่องยนต์เพื่อหวังแซงรถของนายกรัฐมนตรี จนทำให้รถของผู้สื่อข่าวที่ขับตามมาเกิดอุบัติเหตุชนกัน และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวไปที่ สน.นางเลิ้ง ก่อนที่จะถูกศาลตัดสินจำคุกรอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปี คุมประพฤติ เป็นเวลา 1 ปี รายงานตัว 3 เดือนต่อครั้ง ให้บำเพ็ญประโยชน์ 20 ชั่วโมง และพักใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ 6 เดือน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพงศ์พิชาญ ได้พยายามเรียกร้องเงินเยียวยาดังกล่าวหลายครั้ง โดยเคยมีประวัติ ขับรถบุกทั้งทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภามาหลายครั้ง (อ่านเพิ่มเติม: อีกหนึ่งอารยะขัดขืน “พงศ์พิชาญ ธนาถิรพงศ์” แท็กซี่จอมเรียกร้อง “สิทธิ”)

 

ที่มาข่าวบางส่วน: ข่าวสด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิตยสาร 'อาซาน' 40 ปีแห่งการจากไปจากสังคมมลายูปาตานี

0
0

 

นิตยสารอาซาน ถือเป็นนิตยสารเล่มหนึ่งที่ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ทางด้านศาสนาความเคลื่อนไหวในด้านการเมือง เหตุการณ์ปัจจุบัน และความเคลื่อนไหวของโลกมลายู เป็นต้น และยังเป็นสนามให้แก่บรรดานักเขียนในพื้นที่ในการนำเสนอผลงานการประพันธ์ของพวกเขาออกสู่สังคมอีกด้วย

นิตยสารอาซาน ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนเชาวัลล์ ฮ.ศ.1392 ซึ่งตรงกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 เป็นผลผลิตของกลุ่มปัญญาชนชาวมลายูในพื้นที่ ด้วยจิตที่มุ่งมั่นเพื่อให้สังคมปาตานีได้มีนิตยสารสักเล่มหนึ่งที่เป็นของคนปาตานีและเพื่อคนปาตานีเอง ถึงแม้ว่าคุณภาพอาจจะไม่เท่าเทียมกับนิตยสารมลายูฉบับอื่น ซึ่งในช่วงสมัยดังกล่าว สังคมปาตานีกำลังตกอยู่ในสภาวะของความกดดันหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเคลื่อนไหวของภาคการเมืองที่ยิ่งนับวันดูจะเข้มข้น และอยู่ในภาวะถูกบีบคั้นผ่านนโยบายของผู้มีอำนาจจากส่วนกลาง

การกำเนิดขึ้นของนิตยสารดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางด้านสังคมในการรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ (เพื่อความอยู่รอดทางวัฒนธรรม) ของชนชาติที่กำลังอยู่ในภาวะระส่ำระส่ายในขณะนั้น

ประชาชนในยุคดังกล่าวถูกบังคับให้ใช้ชีวิตตามความต้องการของผู้นำตามที่ได้ระบุไว้ในร่างนโยบายของชาติ ที่มีลักษณะบีบบังคับเพื่อผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ทุกเรื่องราวแห่งวิถีชีวิตถูกกำหนดไว้ในนโยบายของรัฐโดยสิ้นเชิง วัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างรัฐชาติที่เป็นหนึ่งเดียวและหนึ่งวัฒนธรรม ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าต้องปฏิบัติตามที่ผู้นำประเทศได้กำหนดไว้ ส่งผลต่อวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองมลายูปาตานี แม้กระทั่งในเรื่องศาสนาก็ถูกลิดรอนสิทธิอยู่บ่อยครั้ง หรือเกือบจะทุกกรณี

ขณะที่พื้นที่สื่อที่จะคอยเป็นกระบอกเสียงให้กับสังคมมลายูปาตานีในขณะนั้นกลับไม่มีเลย แม้กระทั่งฉบับเดียว ไม่ว่าจะเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือแม้แต่รายปี

หน้าตาของนิตยสารอาซานฉบับแรก (ฉบับปฐมฤกษ์) มีภาพปกหน้าเป็นภาพวาดรูปมัสยิด ที่ยอดโดมของหออาซาน กลางรูปมีรัศมีพวยพุ่งออกมาเป็นตัวหนังสือภาษามาลายูว่า “อาซาน” ในรูปลักษณะของอักษรกราฟฟิก พร้อมข้อความโปรยหน้าปกว่า “ต้อนรับอีดฟิตรี ปี 1392-2515” โดยมีหมายเลข 1 อันหมายถึงเป็นฉบับที่หนึ่งอยู่มุมล่างซ้าย

ปกด้านหน้าใน มีคำโปรยใต้ชื่อนิตยสารอาซาน มีความว่า “เผยแพร่ความรู้อิสลาม” นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับตัวนิตยสารว่า เป็นนิตยสารที่จัดทำขึ้นโดยสมาคมโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม โดยมีอุบัยดีลละห์ มะห์มูด เป็นบรรณาธิการ อิสมาแอ ลุตฟี เป็นรองบรรณาธิการ ฮัจยีอาดัม ยูโซฟ เป็นเลขานุการ และบัสมาน ดีวานี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ พร้อมกับมีรายชื่อนักเขียนและเจ้าหน้าที่จำนวน 18 คน โดยมีเด่น โต๊ะมีนา เป็นที่ปรึกษา อีกทั้งในปกหน้าด้านในของฉบับแรกยังได้ตีพิมพ์กิตติกรรมประกาศโดย ฮัจยีอับดุลเราะห์มาน จะปะกียา ประธานสามาคมโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม กล่าวขอบคุณคณะผู้จัดทำนิตยสารที่จะออกในวาระวันสำคัญทางศาสนา เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียนนักศึกษาและผู้อ่านทั่วไป

ในหน้าแรกของนิตยสารฉบับแรก คือบทบรรณาธิการ ซึ่งกล่าวว่า ปี ฮ.ศ. 1932 (พ.ศ.2515) นับเป็นจุดหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ทำให้ปาตานีมีสื่อสำหรับผู้อ่านอันเป็นเสียงเพรียกที่ทุกคนเฝ้ารอ คือ การได้ผลิตนิตยสารอาซานที่มีเนื้อหาด้านศาสนา วัฒนธรรม วรรณกรรม และด้านอื่นๆ ทั้งยังได้ประกาศวัตถุประสงค์ 4 ประการของนิตยสารอาซาน คือ

1. เพื่อยกระดับงานด้านการประพันธ์
2. เพื่อเพิ่มสื่อการอ่าน
3. เพื่อส่งเสริมและเพิ่มอรรถรสกับเนื้อหาสำหรับนักอ่าน
4. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ศาสนาอิสลาม

พร้อมกันนี้ได้เชิญชวนบรรดาครู นักเรียน และผู้อ่านทั่วไปให้ส่งงานเขียน บทกวี เรื่องสั้น ตลอดจนข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่างๆ ผ่านนิตยสารฉบับนี้ นอกจากนี้บทบรรณาธิการของฉบับแรกนี้ยังได้กล่าวว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วสำหรับนักวิชาการของเราที่จะได้เปิดผ้าคลุมที่ปิดผลงานการประพันธ์มาเป็นเวลาช้านาน นับตั้งแต่วันที่ได้ทำวิจัย (วิทยานิพนธ์) ที่มหาวิทยาลัย พร้อมกับกล่าวปิดท้ายว่า นิตยสารอาซานไม่ใช่นิตยสารรายเดือน แต่เป็นนิตยสารที่ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ในโอกาสวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม

การกำหนดเนื้อหาของนิตยสารอาซานนั้น ดูเหมือนจะได้รับอิทธิพลของนิตยสารภาษามลายูที่ วางตลาดขายอยู่ในขณะนั้น คือ นิตยสารภาษามลายูจากประเทศมาเลเซีย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือรูปแบบการกำหนดเนื้อหาในนิตยสารเป็นไปตามลำดับความสำคัญของเนื้อหาและคำสอนในศาสนาอิสลาม กล่าวคือให้ความสำคัญกับบทบัญญัติในคัมภีร์อัลกุร-อ่านเป็นอันดับแรก ดังนั้นในการกำหนดเนื้อหาของนิตยสารอาซาน จึงเริ่มด้วยการอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุร-อ่าน โดยบทความอรรถาธิบายอัลกุร-อ่านในฉบับแรกมีความยาวต่อเนื่องจนถึงฉบับที่สอง

การกำหนดเนื้อหาของนิตยสารอาซาน ในส่วนนี้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมดตั้งแต่ฉบับแรกและฉบับถัดไป สำหรับเนื้อหาของหนังสือทั้งเล่มนั้น นิตยสารอาซานในเล่มปฐมฤกษ์ มีเนื้อหาดังนี้

1. บทบรรณาธิการ โดย อุบัยดีละห์ มะหมูด กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการออกนิตยสารอาซานว่า เพื่อเพิ่มสื่อการอ่านภาษามลายู และเป็นสื่อสำหรับปัญญาชนในการเผยแพร่งานเขียน

2. ดูอาแสงสว่างแห่งดวงใจ โดย อาเยาะห์แอ ลูตฟี บราโอ

3. อรรถาธิบายอัลกุร-อ่าน โดย อิบนุลกอรี บูเกะกูเล็ม

5-6,8. หน้าที่ของนักศึกษาอิสลามต่อศาสนา โดย เอช. เอ็ม. อัมรี โรงเรียนรอมานียะห์ บราโอ

7. คอลัมน์ ภาพภาษา

9. คุตบะห์ ฮารีรายอ โดย ฮาซัน ฮูเซน สะกำ

11. เรื่องสั้น “คุณนั่นแหละ คือคนที่ผิด” โดย H. Adip Dusun

14. บทกวี รำลึกถึงน้องชาย ฮาซัน ซะห์ดาน โดย เซก อัลอันซอรี ปาแดญอ

15. บทกวี อีดฟิตรี โดย เอ แอล ดาเมาะ นัดตะบิงตีงี มายอ

16. การอบรมเลี้ยงดู โดย นิอับดุลเราะห์มาน นิอับดุลรอซูล บูดี

18. คอลัมน์เพื่อนอาซาน/รายนามสมาชิกอาซาน

19. ความเข้าใจเศรษฐกิจ โดย A. Wahhab Muhammad

21ใ ประโยชน์ของการอ่าน โดย อาบัง อัดลัม ดุซงญอ

24. ศาสนกิจที่ศอและห์กับการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า โดย อาเยาะห์ เราะห์มันตอเฮ ดูวา มายอ ปัตตานี

26. คอลัมน์ความรู้ทางการแพทย์ฉบับย่อ เรื่อง “การสร้างและหน้าที่ของโลหิต” โดย บะห์เรน ฮาซัน อับดุลเราะมาน

28. ฟอรัมนักศึกษา

ทั้งหมดนี้ก็คือรูปร่างหน้าตาของนิตยสารฉบับหนึ่งที่เคยนำเสนออัตลักษณ์เชิงรากเหง้าแห่งจิตวิญญาณของชนชาวมลายูปาตานีในช่วงเวลาหนึ่ง ในท่ามกลางของความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่กำลังดำเนินโดยรัฐไทยอยู่ในขณะนั้น อย่างเช่น ในด้านการศึกษาที่รัฐพยายามที่จะขจัดภาษาท้องถิ่น (ภาษามลายู) และแทนที่ด้วยภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เพื่อต้องการที่จะให้ประชาชนทั่วไปสามารถพูดไทยได้

การที่นิตยสารอาซาน ได้ปรากฏออกสู่สายตาต่อสาธารณชนจึงเป็นการสวนกระแสและท้าทายต่อวัตถุประสงค์ของรัฐที่ได้พยายามปลุกกระแสแห่งความเป็นรัฐไทย สื่อสารด้วยภาษาไทย โดยที่ไม่ได้มีความเกรงกลัวต่ออำนาจรัฐแต่อย่างใด เพียงเพื่อต้องการปกปักษ์เอกลักษณ์ของความเป็นชนชาติที่ควรค่าแก่การทำหน้าที่นี้โดยกลุ่มปัญญาชนรุ่นใหม่ที่เปี่ยมด้วยพลังอันสมบูรณ์พร้อม

บัดนี้ได้ครบรอบ 40 ปีแล้วที่สังคมของชาวมลายูปาตานีได้สูญหายเพชรเม็ดงามที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ซึ่งใครอีกเล่าที่จะทำหน้าที่นี้เพื่อฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง หากว่าไม่ใช่ปัญญาชนรุ่นใหม่อย่างพวกเรา !

 

อ้างอิง
สะรอนี ดือเระ. เสียงเพรียกใหม่:  นิตยสานอาซานและกลุ่มปัญญาชนใหม่ในปาตานีกลางทศวรรษ 2510. ใน รุไบบยาต: วารสารวิชาการด้านเอเชียศึกษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 3, กรกฎาคม – ธันวาคม 2554  สภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย: การค้นหาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมปาตานี.

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงการณ์คัดค้านการก่อสร้างเตาเผาขยะหนองแขมของ กทม.

0
0

          ตามที่กรุงเทพมหานครได้งุบงิบลงนามในสัญญาก่อสร้างระบบเตาเผาขยะมูลฝอยขนาด 300 ตันต่อวัน วงเงิน 2,124.3 ล้านบาท โดยการว่าจ้างเอกชนให้เผาขยะตันละ 970 บาทต่อตัน สัญญาจ้าง 20 ปี ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม ถนนเพชรเกษม 104 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขมกับบริษัทซีแอนด์จี เอ็นไวรอนแมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโฟร์ ซีซั่นส์ กรุงเทพ ถนนราชดำริ ความดังทราบแล้วนั้น

          สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ขอคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่โปร่งใส ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สมบูรณ์ ซึ่งถือได้ว่ากระบวนการกำจัดขยะโดยวิธีการเผา เป็นกระบวนการการบริหารจัดการขยะที่ล้าสมัย และสิ้นเปลืองงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนไปโดยใช่เหตุ อีกทั้งเป็นการสร้างมลพิษที่เป็นสารพิษที่ต้องห้ามในระดับสากลด้วย ในขณะที่ขยะของ กทม. ควรจะเป็นทรัพยากรที่สร้างรายได้ให้กับ กทม. ด้วยการใช้เทคโนโลยีและวิธีการกำจัดที่ก้าวหน้า เหมาะสมกับยุคสมัย มิใช่วนอยู่แต่เทคโนโลยีการกำจัดที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษ

          ทั้งนี้เทคโนโลยีการกำจัดขยะด้วยการเผาตามการกล่าวอ้างของกรุงเทพมหานครนั้น จะก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดออกซินและสานฟิวแรนต่อประชาชนในรัศมี 10 กิโลเมตรเป็นอย่างต่ำหรือตามกระแสลม ซึ่ง ณ วันนี้เทคโนโลยีดังกล่าวทั่วโลกยังไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของสารพิษดังกล่าวได้ อีกทั้งสารพิษดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งในวงการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์กรรมพันธุ์ของประชาชนหรือผู้ที่ได้รับสารดังกล่าวเป็นประจำ ซึ่งทารกแรกเกิดอาจคลอดออกมาพิการ ร่างกายไม่สมประกอบหรือครบถ้วนบริบูรณ์ได้

          ทั้งนี้ขยะในกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของขยะที่มีความชื้นสูงและมีน้ำเสียปะปนมากซึ่งจะมีค่าคลอไรด์สูงทำให้ยากแก่การควบคุมอุณหภูมิในการเผา โดยเฉพาะช่วงเวลา ที่ป้อนขยะชื้นเข้าเตาอุณหภูมิของห้อง เผาจะลดต่ำกว่า 800 องศาเซลเซียส แม้ระบบจะออกแบบไว้ให้มีการเผาที่อุณหภูมิ 850 องศาก็ตาม ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการเผาลดลง แต่จะก่อให้เกิดสารพิษไดออกซินและฟิวแรนเพิ่มมากขึ้น โดยที่ ณ วันนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดในโลกนี้สามารถควบคุมหรือกำจัดสารพิษดังกล่าวได้

          ขณะเดียวกันในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการกำจัดขยะที่สามารถสร้างรายได้หรือมูลค่าเพิ่มให้กับขยะได้มีมากมาย เช่น การนำขยะพลาสติกมาผลิตน้ำมัน การนำขยะเก่าไปทำปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ ซึ่ง กทม.ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินจ้างให้เอกชนมารับจ้างเผาเลย ตรงกันข้ามควรเปิดโอกาสให้เอกชนมาประมูลนำขยะของ กทม.ไปสร้างมูลค่าได้ ตามที่กล่าวแล้ว ซึ่งจะทำให้ กทม.มีรายได้เพิ่มขึ้นมามาก แทนที่ กทม.จะต้องจ่ายเงินให้เอกชนเป็นค่ากำจัดขยะ ไปเปล่า ๆ

          นอกจากนั้น การดำเนินโครงการดังกล่าวของ กทม. เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ 2550 หลายมาตรา ทั้งมาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 67 มาตรา 78 มาตรา 85 มาตรา 87 รวมทั้งขัดต่อ พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งต้องเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกระทรวงการคลังพิจารณาและต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเสียก่อนด้วย

          สมาคมฯ จึงใคร่ขอเรียกร้องให้ กทม.ได้ทบทวนการดำเนินโครงการดังกล่าวเสีย และแสวงหาเทคโนโลยีการกำจัดขยะแนวใหม่ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ กทม. แทนที่ กทม. ต้องมาเสียเงินกำจัดขยะอีกต่อไป ทั้งนี้ หาก กทม. ไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องหรือแถลงการณ์ฉบับนี้ สมาคมฯ จะได้ร่วมกับชาวบ้านและผู้มีส่วนได้เสียในการนำเรื่องดังกล่าวฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อเพิกถอนโครงการดังกล่าวต่อไป

ประกาศ ณ วันที่  1  พฤศจิกายน พ.ศ.2555

นายศรีสุวรรณ  จรรยา
นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เล่าเรื่อง ‘พีมูฟ’: ความทุกข์เฮามีหลายเหลือ แต่เฮาบ่เบื่อ ต่อสู้กันต่อไป

0
0

แน่นอนว่าคำสัญญาจะแน่แค่ไหน คงไม่มั่นคงเท่ากับหัวใจของรัฐบาล ที่จะร่วมแก้ไขปัญหาด้วยความจริงใจต่อประชาชน ที่รัฐบาลหลายสมัยสั่งสมมานาน คงไม่ต้องย้อนไปไกลมาก เอาปัจจุบัน ในวันที่พรรคเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาลจนถึงวันนี้ ในเวทีสัญญาประชาคมประชาชนพบพรรคการเมือง เพื่อยื่นข้อเสนอและแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้พรรคการเมืองนำไปบรรจุไว้เป็นนโยบายของรัฐบาล เมื่อ 24 มิ.ย.54 ในมหาวิทยาลัยรังสิตนั้น พรรคอื่นๆ ต่างดาหน้าออกมาสัญญาเป็นล่ำเป็นสัน ที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ รวมทั้งพรรคเพื่อไทย ที่มอบหมายให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค เป็นตัวแทนลงมาให้คำมั่นสัญญา หากพรรคฯ ชนะการเลือกตั้ง และได้จัดตั้งรัฐบาลจะนำข้อเสนอของภาคประชาชนไปบรรจุไว้เป็นนโยบายรัฐบาล ภายหลังผลการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์ชนิดฝุ่นจางหายไปหลายเดือนก็ยังตามไม่ทัน ทว่ามันก็หายไปพร้อมกับสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน

 

พีมูฟ รวมตัวหน้ารัฐสภา ยื่นนโยบายภาคประชาชนให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี หวังให้การแก้ไขปัญหาของแต่ละเครือข่ายเดินหน้าต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
8 สิงหาคม 2554  ภาคประชาชน ในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือพีมูฟ จากทั่วประเทศ กว่า 120 องค์กร เคลื่อนตัวสู่ใจกลางเมืองหลวง เพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่หน้ารัฐสภา เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่ นำนโยบายประชาชนบรรจุไว้ในวันที่รัฐบาลแฉลงนโยบายต่อรัฐสภา ขณะเดียวกันนายปลอดประสพ สุรัสวดี พร้อมกับนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว และขวัญใจพระเอกรูปหล่อของผู้เขียนในสมัยผู้เขียนยังเด็กๆ คือนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ออกหน้ามาตั้งรับข้อเรียกร้องของประชาชน พร้อมกล่าวว่าจะนำข้อเรียกร้องทั้งหมด ทั้งเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรม บรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งการแต่งตั้งกลไกร่วมระหว่างรัฐบาลกับภาคประชาชน เพื่อสานต่อการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ต่อมา 3 ตุลาคม 2554 ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ถือเอาวันที่อยู่อาศัยสากล มาทวงสัญญาและติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาที่ทำเนียบรัฐบาล และในวันดังกล่าว นายกรัฐมนตรีมอบหมาย นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)เข้าร่วมประชุมหารือ รับฟังและหาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการเจรจานั้นสามารถบรรลุเป้าหมาย มีข้อตกลงหลายเรื่อง โดยเฉพาะการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการร่วมระหว่างรัฐบาลกับ ปขส.เพื่อเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา จากนั้นเป็นต้นมาถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ขณะที่หลายพื้นที่ประชาชนยังคงดำเนินความทุกข์ยาก รวมทั้งมีการถูกจับกุมดำเนินคดีกับชาวบ้านมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตามทวงสัญญานโยบายประชาชน ถึงถิ่นสาวงาม แดนล้านนาไทย
ท่ามกลางลมหนาวที่โชยมาเตะต้องกายอย่างเย็นเฉียบ ในคืนก่อนที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.สัญจร) ภาคประชาชนในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ต่างตั้งแคมป์นอนค้างคืนบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ รออรุณรุ่งสาง ในเช้าวันที่ 15 มกราคม 2555 ต่างพร้อมใจกันขึ้นไปจ่อนายกรัฐมนตรีถึงหน้าตึกที่ประชุม ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ เกิดการปะทะกันหลายครั้ง ด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจวางกำลังแน่นหนา ไม่ยอมให้ประชาชนเข้าพบผู้มีอำนาจออกมาร่วมแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดการปะทะกันเรื่อยๆ ที่สุดนายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล) เป็นประธาน และรองประธาน ในคณะกรรมการการร่วมกันแก้ไขปัญหา

ถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ที่ชัดเจน นอกจากคำมั่น และหนังสือคำสั่งสำนักนักนายกรัฐมนตรีที่ 15/2555 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6)แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของประชาชน พร้อมกับลายเซ็นของนายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายให้มีการแต่งตั้งให้รองนายกรัฐมนตรี มานั่งหัวโต๊ะเป็นประธานฯร่วมเจรจาแก้ไขปัญหาแทนนายกรัฐมนตรี

ปรากฏการณ์ ยึดศาลากลางลำพูน จวกพ่อเมือง หริญภุญชัย ไม่รักษาคำมั่น
เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.55 ภาคประชาชน ในขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ ร่วมกันปิดล้อมบริเวณทางเข้าอาคารศาลากลางจังหวังลำพูน สืบเนื่องจาก วันที่ 5 มิ.ย.55 ด้วยทาง ขปส.ได้ยื่นหนังสือ ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เพื่อให้รัฐบาลเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับ ขปส. เพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ซึ่งนายสุรชัย ขันอาสา พ่อเมืองลำพูน ออกมารับหนังสือ พร้อมให้คำมั่นว่าจะทำหน้าที่เป็นบุรุษไปรษณีย์ที่ดี สื่อสารข้อเรียกร้องการเจรจาปัญหาชาวบ้าน ส่งไปถึงนายกรัฐมนตรี

ภายหลังจากที่มีการยื่นหนังสือ ขปส.ได้ปักหลักพักค้างคืนภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดพูน เพื่อรอรับทราบคำตอบจากรัฐบาลผ่านทางผู้ว่าฯ ภายในวันที่ 6 มิ.ย. 55 ก่อนเวลา 12.30 น. แต่กลับไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ ดังนั้นในช่วงบ่ายจึงได้เข้ามาทวงคำตอบ พร้อมปิดล้อมหน้าศาลากลางอีกครั้ง จนเกิดการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ 2-3 ครั้ง บริเวณหน้าประตูทางเข้าอาคาร

ถึงที่สุด ประมาณ 15.30 น. นายสุรชัย ได้ออกมาพบกับผู้ชุมนุมพร้อมนำหนังสือที่ทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีส่งแฟกซ์มายังผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เกี่ยวกับเรื่องการชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องของ ขปส.ตามหนังสือที่ นร.0105/5122 ลงวันที่ 6 มิ.ย.55 ชี้แจงมาชี้แจงด้วย สำหรับหนังสือดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้ ตามที่ ขปส. ชุมนุมที่จังหวัดลำพูน เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของ ขปส. และขอแต่งตั้งผู้แทนเข้าพบนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อเจรจาแก้ไขปัญหาในเรื่องเร่งด่วนของ ขปส. อีกครั้งหนึ่งนั้น โดยมีกำหนดให้ผู้แทนของ ขปส.เข้าพบเพื่อเจรจาแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ในวันที่ 20 มิ.ย.55 เวลา13.00 น. ณ ห้องรับรองศาลาว่าการทระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร

จากวันประชุม ครม.สัญจร รวมทั้งการปิดล้อมศาลากลางลำพูน ต่อเนื่องเรื่อยมา ภาคประชาชน ในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ได้ติดตามและร่วมเจรจาการแก้ไขปัญหากับรัฐบาลเรื่อยมา กระทั่งรัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นอีกจำนวน 10  คณะ เพื่อใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ถึงบัดนี้ ตามที่ได้ร่วมข้อตกลง ได้ข้อสรุปการเจรจา ได้รับนโยบาย ที่คิดว่าจะเป็นรูปธรรม ด้วยความถูกต้อง ชัดเจน และเท่าเทียม เหล่านั้น กระทั่งปัจจุบันแต่ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ‘ อีกทั้งปัญหาในหลายเรื่องก็ยังย่ำอยู่กับที่ บางเรื่องก็มีทีท่าว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไข มีทีท่าจะเตะทิ้งลงคลองน้ำเน่า ที่แสนแสบ

ร่วมแฉลงข่าว ความล้มเหลว 1 ปี รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ในการแก้ไขปัญหาภาคประชาชน
26 ก.ย.55 ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ได้ร่วมกันจัดแถลงข่าวที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา บริเวณสี่แยกคอกวัว เผยถึงความล้มเหลว 1 ปีในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ที่ภาคประชาชนได้รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดมาแต่ในอดีต โดยได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้สานต่อการแก้ไขปัญหามาแล้วหลายครั้ง โดยที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ได้ตอบสนองข้อเรียกร้อง เพียงแค่บรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2554 เท่านั้น

อาทินโยบาย ข้อที่ 5.ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการสนับสนุนการจัดการอย่างมีส่วนร่วมและให้คนกับป่าอยู่ร่วมกัน ในลักษณะที่ทำให้คนมีภารกิจดูแลป่าให้มีความยั่งยืน โดยการปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ 5 ฉบับ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากร ให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เป็นต้น

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ร่วมแฉลงข่าว ด้วยสมาชิกในพื้นที่ อ.คอนสาร ถูกเจ้าหน้าที่รัฐ ใช้ปืนข่มขู่ ไล่ยิงชาวบ้าน จนหายตัวเข้าไปนอนในป่า
ในวันเดียวกัน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) เป็นองค์กรที่เคลื่อนไหว ให้มีการแก้ไขปัญหากรณีพิพาทที่ดินกับหน่วยงานของรัฐ ตามแนวทางโฉนดชุมชนตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา รวมทั้งได้มีการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาลในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) นั้น ได้เข้าร่วมแฉลงข่าว กรณีความเดือดร้อนเร่งด่วนในพื้นที่ และได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรีที่หน้าทำเนียบรัฐสภา เพื่อให้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยุติการข่มขู่คุกคามราษฎรในพื้นที่พิพาทที่ดินกับหน่วยงานของรัฐ

เนื่องมาจาก ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ถูกเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ใช้กำลังข่มขู่ คุกคาม อาทิ กรณีปัญหาที่พิพาทสวนป่าคอนสาร ต.ทุ่งพระ ในวันที่ 24 ก.ย.55 เจ้าหน้าที่สวนป่าคอนสาร พร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าไปตรวจพื้นที่และถ่ายรูป เพื่อพยามยามหาหลักฐานมาโยนความผิดให้กับชาวบ้าน เหมือนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ได้นำระเบิด อาวุธสงคราม ไปซุกซ่อนใต้ถุนบ้านพ่อเฒ่าวรรค โยธาธรรม แล้วดำเนินคดีแจ้งข้อหามีอาวุธสงครามครอบครอง อีกทั้งยังมีการเข้าไปข่มขู่ชาวบ้านที่อาศัยทำกินในพื้นที่พิพาทอีกด้วย

และวันที่  25 ก.ย.55  กรณีปัญหาพิพาทสวนป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย เจ้าหน้าที่ป่าไม้หน่วยป้องกันและปราบปรามชัยภูมิที่ 4 (ชย.4) นำกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 10 นาย พร้อมอาวุธปืนครบมือ ดาหน้าเข้ามาพร้อมกระชากปืนขึ้นหมายจะลั่นไก พร้อมกับวิ่งเข้าไปจับกุมชาวบ้านที่กำลังทำกินอยู่ในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านและลูกหลานตกใจ พากันวิ่งหนีเจ้าหน้าที่ หายเข้าไปในป่า หลบเจ้าหน้าที่ค้างคืนอยู่ในป่าเป็นเวลาหลายชั่วโมง จากการกระทำดังกล่าวทำให้ชาวบ้านหวาดผวา รู้สึกไม่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

พีมูฟ” เคลื่อนขบวนถึงกรุงเทพฯ ค้างคืนหน้าทำเนียบ รอนัดพบนายกฯเพื่อร่วมแก้ไขปัญหา
พีมูฟ เช่น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) เครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ตามที่ได้ร่วมแถลงข่าว เมื่อวันที่ 26 ก.ย.55 จากที่กว่า 1 ปีที่ผ่าน ได้พยายามติดตาม และผลักดันให้กลไกการแก้ไขปัญหาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ พร้อมนัดหมายรวมตัวกันทวงสิทธิ์ ในวันที่อยู่อาศัยสากล 1 ต.ค.55

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ จากทั่วประเทศ เคลื่อนขบวนถึงกรุงเทพฯ ตามนัดหมายจัดชุมนุมใหญ่เพื่อทวงคืนนโยบายของคนจน ขบวน พีมูฟ หลังจัดขบวนช่วงเช้าบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเคลื่อนตัวมายังหน้าอาคารสำนักงานสหประชาชาติ ก่อนขบวนมาถึงเป้าหมายหลักหน้าทำเนียบรัฐบาลในช่วงบ่าย เรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายฯ พร้อมเสนอให้การแก้ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นวาระแห่งชาติ กระทั้งประมาณ 14.00 น. ตัวแทนทางเครือข่ายฯได้เข้าไปร่วมพูดคุยกับตัวแทนรัฐบาลในทำเนียบรัฐบาล

ภายหลังสิ้นการเจรจา นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเข้าร่วม แต่ผลการเจรจาไม่คืบหน้า เนื่องจากตัวแทนรัฐบาลอ้างว่า ปัญหาต่างๆนั้น นายกรัฐมนตรีสามารถเป็นผู้ตัดสินใจได้เพียงคนเดียว ดังนั้นจะประสานไปยังนายกฯ และขอร้องให้ผู้ชุมนุมกลับบ้านไปก่อน อีก 3-4 วัน เมื่อติดต่อนายกฯ ได้แล้ว จะเชิญตัวแทนเข้ามาร่วมเจรจาในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป หลังจากได้รับคำตอบ ผู้ชุมนุมต่างแสดงความไม่พอใจ และได้ให้เวลา 10 นาทีเพื่อประสานนายกฯ แต่จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.30 น. ไม่มีสัญญาณตอบกลับจากฝ่ายรัฐบาล ผู้ชุมนุมจึงลุกขึ้นมารวมตัวที่หน้าประตูเพื่อกดดันให้นายกฯ อออกมาเจรจาหรือให้คำตอบที่ชัดเจน ทำให้เกิดการผลักดันกันไปมาระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 2-3 ครั้ง ที่บริเวณหน้าประตู  ภายหลังจากที่มีการปะทะกัน ทางรัฐบาลได้ส่งสัญญาณถึงแกนนำกลุ่มผู้ชุมชุม โดยมีข้อเสนอคือ ขอตัวแทนเข้าร่วมเจรจาอีกครั้ง

ผลการเจรจารอบที่สอง ตัวแทนรัฐบาลรับปากจะศึกษารายละเอียด พร้อมทั้งจะประสานให้ผู้ชุมนุมส่งตัวแทนจำนวน 15 คน ได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีในวันที่ 2 ต.ค. เวลา 09.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมตกลงค้างคืนกันหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อติดตามผลการเจรจาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งหากผลเป็นที่พอใจก็จะสลายการชุมนุม แต่หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขก็จะมีการร่วมกันพิจารณาถึงแนวทางการเคลื่อน ไหวต่อไป

“ยิ่งลักษณ์” พบ “พีมูฟ” รับนั่งประธานฯสางปัญหา พร้อมนัดเจรจาอีกครั้ง พ.ย.นี้
2 ต.ค.55  ประมาณ 9.00 น.ที่ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำเนียบรัฐบาล ตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ เข้าหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท.ธวัช บุญเฟื้อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายฯ 

ในการที่ พีมูฟ นับพันคนรวมตัวกันและปักหลักชุมนุมปิดถนนพิษณุโลกข้างทำเนียบรัฐบาล ภายหลังปฎิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลตามที่ได้สัญญาไว้ ไม่คืบหน้า ดังนั้นจึงมีการแฉลงข่าวเมื่อ 26 ก.ย.55 พร้อมนัดรวมพลเพื่อทวงถามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้อง 9 กรณี ประกอบด้วย 1.การปรับปรุงกลไกแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 2.การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดิน ในรูปแบบโฉนดชุมชน 3.การจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) 4.กรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดินภาคเหนือ 5 หมู่บ้าน 5.กรณีสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัย (โครงการบ้านมั่นคง) 6.กรณีคนไร้บ้าน 7.กรณีการจัดทำเขตวัฒนธรรมพิเศษ (ชาวเลราไวย์) 8.กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล และ 9.กรณีเครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล นับแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้นายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง กระทั่งปักหลักค้างคืน รอนายกฯยิ่งลักษณ์ ออกมาให้สัญญา พร้อมรักษาคำมั่น ให้มีความเชื่อใจได้

ช่วงเช้าวันที่ 2 ต.ค. ราวแปดโมงเช้า ภายหลังการร่วมเจรจาผ่านไปประมาณ 20 นาที โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกฯ ได้เดินทางมาเป็นประธานในที่ประชุมด้วยตนเอง และรับปากเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของ พีมูฟ แต่ขอเวลาให้คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ปัญหาชุดต่างๆ เร่งจัดทำข้อมูลเพื่อนำเรื่องเสนอ และจะเริ่มประชุมภายในเดือน พฤศจิกายน นี้ รวมทั้งจะเร่งรัดให้จัดการปัญหาเร่งด่วนคือ เรื่องสิทธิสถานะบุคคล ปัญหาการข่มขู่คุกความกรณีที่ดินทำกินที่ทับซ้อนกับพื้นที่ป่า และกรณีปัญหาของคนไร้บ้าน  พร้อมยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องความเดือดร้อน เพราะถือเป็นนโยบายของรัฐบาล จึงขอให้เชื่อใจกันว่ารัฐบาลจะติดตามเร่งแก้ปัญหาให้อย่างเต็มที่

เหล่านี้เป็นการสะท้อนถึงหัวใจของรัฐบาลได้หรือไม่ว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างๆของรัฐบาลเลย ผู้ได้รับผลกระทบต่างชื่นชม ที่ท่านกล่าวว่ารัฐบาลของท่านทำเพื่อประชาชน ประชาชนเป็นคนเลือกเข้ามาเหล่านั้น หากเป็นเช่นนั้นจริง รัฐบาลจะสามารถพิสูจน์ความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนให้ถูกต้อง เป็นธรรมและยั่งยืนได้อย่างไร หากท่านรักประชาชนจริงๆ แน่นอนว่าการกระทำย่อมดีกว่าคำพูด นายกรัฐมนตรี ออกมาให้คำมั่นด้วยตนเองแล้วนะครับว่า ราวกลางเดือนพฤศจิกายน นี้ จะออกมาร่วมนั่งหัวโต๊ะ เป็นประธานฯในการร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว คำสัญญาปากเปล่า เพียงแค่ลมปากเป่า หวังโดยยิ่งว่า สิ่งที่ท่านลั่นวาจาออกมานั้น จะเป็นสิ่งที่ประชาชนผู้ทุกข์ยาก จะมีความสุขได้บ้างไม่มากก็น้อย ในการที่ท่านรับปากแล้วว่าจะออกมาร่วมกันแก้ไขปัญหา

แน่นอนว่าแม้ความทุกข์พวกเขาจะมีมากมายหลายเล่มเกวียน อย่างไรก็ตามพวกเขายังต้องสู้ต่อไป เพราะปัญหาที่รัฐบาลให้พวกเขาได้รับผลกระทบนั้น พวกเขาจำต้องร่วมต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง เป็นธรรม ด้วยความที่พวกเขาเป็นคนที่มีศักดิ์ศรีอันเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมานั้น ส่งผลให้พวกเขาต้องต่อสู้ทั้งชีวิต ต่อสู้กับผู้ที่เข้ามากดขี่ ด้วยอุดมการณ์ที่สานฝัน ชี้นำเป็นเปลวทางนำไฟส่องวิถีไปข้างหน้า ให้ลูกหลานได้จดจำ อย่างไม่มีที่สุดสิ้น เก่าจากไปใหม่เกิดมาตราบสิ้น เพื่อผืนดินและเพื่อลูกหลานของพวกเขาได้มีที่ยืนต่อไป อย่าปล่อยให้คำพูดของพวกท่านปล่อยให้ประชาชนเคว้งคว้าง ดังสายลมที่โชยมาเตะต้องกาย แล้วพัดหายไปเหมือนดังที่ประชาชนรอคอยมานานหลายทศวรรษแล้วอีกเลย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ใบตองแห้ง' ร่วมปฏิญญาหน้าศาล ชี้พ้นฮันนีมูน แดงต้องเรียกร้องจริงจัง ยัน รบ.ล้มยาก

0
0

ชี้เสื้อแดงอย่ากังวลประคองรัฐบาล หันมาเรียกร้องจริงจัง นิรโทษกรรมเฉพาะมวลชน เชื่อสังคมยอมรับ ปรับ ครม. เหมือนอยู่ในภาวะปกติ ไม่มีสัญญาณผลักดัน ปชต.

เมื่อวันที่ 28 ต.ค.55 เวลา 13.00 น. บริเวณบาทวิถีหน้าศาลอาญา รัชดา กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ได้จัดกิจกรรมเสวนาบาทวิถี ภายใต้ชื่อ “นักโทษการเมืองภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเสียสละอิสรภาพของประชาชน” มีผู้ร่วมกิจกรรมประมาณ 100 คน โดยมี อธึกกิต แสวงสุข คอลัมนิสต์ นามปากกา "ใบตองแห้ง" เป็นวิทยากร วิจารณ์บทบาทรัฐบาลกับการช่วยเหลือนักโทษการเมือง การสร้างประชาธิปไตย การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)ที่ผ่านมา การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามและบทบาทของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแผ่งชาติ หรือ นปช.ในปัจจุบัน

อธึกกิต แสวงสุข คอลัมนิสต์ นามปากกา "ใบตองแห้ง"

ชี้ รบ.ล้มยาก ไม่ว่าคนมามากขนาดไหนที่นางเลิ้ง
อธึกกิต มองว่า การที่รัฐบาลทำอะไรไม่ได้เต็มที่ ปัจจัยหลักอยู่ที่กระแสสังคมทั่วไป สังคมทั่วไปยังไม่ต้องการแตกหักแบบที่จะให้รัฐบาลไปล้างโครงสร้างของกลไกรัฐธรรมนูญ 50 ชาวบ้านทั่วไปที่ไม่ใช่แดง-เหลือง ยังไม่พร้อม เขายังรู้สึกว่า อยู่ไปอย่างนี้ก่อน ในขณะเดียวกันก็บอกว่า อย่าล้มรัฐบาลด้วย เป็นกระแสที่เป็น 2 มุม เพราะฉะนั้น พวกเคลื่อนไหวที่สนามม้านางเลิ้ง (การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม) ยังไงก็ล้มรัฐบาลไม่ได้ เพียงแต่ว่า ถ้ารัฐบาลทำอะไรเต็มที่ คนทั่วไปก็ไม่เห็นด้วย เหมือนสภาพที่เหนื่อยมา 6 ปี คนจึงรู้สึกว่า อยู่ไปแบบนี้ก่อน แล้วค่อยว่ากัน แก้กันทีละเรื่อง เป็นนิสัยของสังคมไทยอยู่แล้วไม่ต้องการการแตกหักเด็ดขาด สังคมไทยเป็นสังคมประนีประนอมสูง ดังนั้นการจะไปรื้อโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญมันจึงลำบาก

แต่อีกฝ่ายก็จะล้มรัฐบาลได้ยาก เพราะต่อให้คนมามากขนาดไหนที่สนามม้านางเลิ้ง โพลล์ก็บอกอยู่แล้วว่าคน 97% ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร พรรคประชาธิปัตย์ก็เลือกตั้งชนะไม่ได้อยู่แล้ว พรรคการเมืองที่จะเกิดใหม่ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอย่างไร พรรคเพื่อไทยอยู่ได้ 3 ปี แล้วก็ชนะอยู่แล้ว โดยแนวโน้ม ถ้าไม่เลวร้ายเกินไปก็จะอยู่อย่างนี้ แต่ก็ทำอะไรไม่สะดวกนัก  

สำหรับการเคลื่อนไหวขององค์การพิทักษ์สยามที่สนามม้านางเลิ้งจะปูทางไปสู่การรัฐประหารนั้น ใบตองแห้ง กล่าวว่า “เป็นไปไม่ได้ คนมันเข็ดแล้ว เข็ดรัฐประหาร 19 ก.ย. ไม่ใช่ว่าเสื้อแดงต่อต้าน คนวงกว้างก็ไม่เอา มันไม่มีใครเอาแล้ว แต่ถามว่าคนวงกว้างที่พูดนี้ชอบรัฐบาลไหม อาจจะไม่ชอบก็ได้ แต่ว่าเขาไม่ชอบเขาก็มีบทเรียนแล้วว่า ถึงไม่ชอบ แต่ยิ่งรัฐประหารมันจะยิ่งแย่กว่าเดิม เพราะฉะนั้นการขยายบานปลายไปผมว่ามันยาก มันจะต้องมีมุขใหม่ แต่มันก็หามุขไม่ออก”

ออก พรก.นิรโทษกรรมของนักโทษการเมือง เฉพาะมวลชน สังคมยอมรับ
อธึกกิต กล่าวว่า ถ้าพูดเฉพาะนักโทษการเมืองในเงื่อนไขของรัฐบาลนี้สามารถที่จะออกพระราชกำหนดในการนิรโทษกรรมของนักโทษการเมืองโดยเฉพาะส่วนที่เป็นประชาชนได้ แต่พอออก พรบ.ปรองดอง ไปผูกคุณทักษิณ ชินวัตร ไปด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่แก้ได้ยาก เป็นเงื่อนไขที่คนยังไม่ยอมรับ แต่ไม่ได้หมายความว่า คนมองว่าคุณทักษิณผิด เพียงแต่ว่า คนกลัวว่าถ้าคุณทักษิณกลับมันจะเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายอีก พอเป็นในมุมนี่ เรื่องคุณทักษิณจึงยังไม่ผ่านง่ายๆ ในระยะปีสองปีนี้ แต่ถ้าทำเฉพาะมวลชน คิดว่าสังคมยอมรับได้ แต่รัฐบาลไม่ทำ มวลชนเสื้อแดงในกลุ่มก้อนใหญ่ก็ยังไม่ได้กดดันเรื่องนี้เท่าที่ควร เหมือนมีเพียงกลุ่มที่กระจัดกระจายทำ มวลชนเสื้อแดงก็เป็นตัวของตัวเองไม่สามารถเป็นปึกแผ่นได้

รัฐมนตรียุติธรรมเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับตรงนี้ แต่ไม่ได้กระตือรือร้นเรื่องนี้เลย บทบาทน้อยมาก ทำงานเป็นข้าราชการประจำคนหนึ่งเท่านั้น รัฐมนตรียุติธรรมสำคัญมากในการช่วยเหลือคนติคุก สำคัญมากในการคืนความยุติธรรมให้มวลชน ถึงแม้จะบอกว่าเกี่ยวข้องกับศาลไม่ได้ แต่อยู่รอบศาลทั้งหมด แต่ไม่กระตือรือร้นที่จะทำ

พ้นช่วงฮันนีมูนแล้ว เสื้อแดงอย่ากังวลประคอง รบ. หันมาเรียกร้องจริงจัง
ใบตองแห้ง กล่าวอีกว่าอย่าไปกลัวเรื่องการประคองรัฐบาล เพราะคิดว่าเรื่องรัฐประหารหรือการยุบพรรคเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากมาก กลายเป็นอะไรที่ล้าหลังเต็มที แม้แต่ตอนที่อาจารย์นิด้าไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญเรื่องจำนำข้าว ซึ่งไม่ใช่แค่เสื้อแดงที่ไม่เห็นด้วยกับการฟ้องดังกล่าว คนก็วิจารณ์กันมาก กระแสก็ไม่ขึ้น กระแสของการใช้อำนาจศาลเข้ามาสกัดกั้นรัฐบาลมันจะใช้ได้เป็นเรื่องๆ ในกรณีที่รัฐบาลหรือเพื่อไทยไม่สามารถที่จะสร้างความชอบธรรมให้สังคมเห็นได้ ศาลไม่กล้าเล่นอะไรที่ฝืนกระแสมาก อะไรที่ฝืนกระแสมากๆ ต่อไปนี้พวกกลไกตุลาการภิวัฒน์ก็จะไม่กล้าเล่น ถ้ารัฐบาลกระแสตกต่ำมาก การยุบพรรคมันจะกลับมาได้ แต่ในภาวะที่เป็นอยู่ โอกาสที่จะยุบพรรคไม่ต้องพูดถึง การรัฐประหารก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เป็นไปได้ยาก

เพราะฉะนั้นความคิดเรื่องการประคองรัฐบาลไม่น่ากังวล แต่มวลชนส่วนใหญ่ยังติดอยู่กับความคิดเรื่องประคองรัฐบาล กลัวรัฐประหาร การจี้รัฐบาลจึงยังทำไม่เต็มที่ อีกส่วนก็เป็นความรู้สึกของผู้ชนะอยู่ รู้สึกพอใจ ยังมีอยู่ การที่จะมาเร่งเร้ารัฐบาลจึงยังมีน้อย จึงต้องปรับความคิดช่วงหนึ่งว่า ไม่ต้องห่วงเรื่องการประคองรัฐบาลมากเกินไป และหันมาเรียกร้องอะไรที่จริงจังกับรัฐบาลบ้าง ถือว่าพ้นช่วงฮันนีมูนระหว่างมวลชนกับรัฐบาลแล้ว

ในกระแสการเมืองแบบนี้ ที่ชวนให้เฉื่อยที่ชวนให้อยู่ได้แน่ๆ รัฐบาลจึงไม่ขันแข็งพอ ซึ่งปีกการเมืองหนึ่งก็ไม่ได้สนใจประชาธิปไตยอยู่แล้ว ปีกกลางก็จะไม่ค่อยสนใจ จะมีเพียงส่วนหนึ่งที่ยังขันแข็ง ซึ่งก็ไม่เยอะ คิดว่าอีกส่วนหนึ่งของรัฐมนตรีไม่ได้คิดเรื่องเอาทักษิณกลับบ้านด้วยซ้ำ ซึ่งเราก็ต้องมองให้เห็นว่า รัฐบาลถ้าอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพลินไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับไม่ทำอะไรสักอย่าง สุดท้ายก็จะนำไปสู่ทางตันใหม่ ที่ว่ารัฐบาลนี้ก็เบื่อแล้ว แต่ไม่เอาประชาธิปัตย์ ตุลาการภิวัฒน์ รัฐประหาร ไม่เอารัฐบาลพระราชทาน ไม่เอาอะไรทั้งสิ้น แล้วจะทำอย่างไร จะนำไปสู่จุดที่ตอบไม่ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องการ นำไปสู่ทางตัน อยู่ในจุดที่คนไม่รู้จะไปทางไหนต่อ

ปรับ ครม. เหมือนอยู่ในภาวะปกติ ไม่มีสัญญาณผลักดัน ปชต.
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด อธึกกิต มองว่าไม่มีสัญญาณที่มีรัฐมนตรีที่จะผลักดันภารกิจเรื่องประชาธิปไตยให้มวลชน เหมือนไม่มีเลย อาจจะมีคุณพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่ดูจะดีหน่อย แต่ก็คือรัฐมนตรีศึกษาธิการ สัญญาณที่จะผลักดันประชาธิปไตยมีค่อนข้างน้อย ซึ่งน้อยมาทุกชุด แต่ชุดนี้ยิ่งน้อยลงไปอีก จะมุ่งไปสู่เชิงเศรษฐกิจ กลุ่มธุรกิจ และโควต้าต่างตอบแทน คณะรัฐมนตรีชุดนี้เหมือนอยู่ในภาวะปกติ ถ้าบอกว่าเป็นภาวะปกติ แสดงว่ามันดีแล้ว แต่นี่มันไม่ใช่ภาวะปกติ

เป็นไปไม่ได้ที่ นปช.กลาง จะเป็นศูนย์รวมของคนเสื้อแดงแล้ว
นอกจากนี้ "ใบตองแห้ง" ยังได้วิจารณ์การนำของ นปช.ส่วนกลางด้วยว่า ต่อไป นปช.ส่วนกลางเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นศูนย์รวมกับคนเสื้อแดงแล้ว เพราะได้กระจายไปแล้ว ทิศทางจะเป็นว่า มีจุดร่วมอะไรก็จะทำด้วยกันเป็นครั้งๆ แต่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก บางส่วนเข้าไปสู่การเมืองท้องถิ่นมากขึ้น ถึงมีมวลชนพื้นฐานอยู่ แต่ก็แปรผันมากขึ้นในแต่ละส่วน จึงมีลักษณะกระจาย

ยุคต่อไปองค์กรจัดตั้งใน facebook มากกว่า และเป็นการเชื่อมระหว่างแกนนำกลุ่มต่างๆ เป็นกลุ่มแนวรวมที่มีจุดร่วมกันมากกว่าที่จะเป็นเรื่องการสั่งการหรือใครขึ้นต่อใคร สำหรับการรวมตัว เป็นไปเองตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรนำอะไรที่เด็ดขาดเป็นการเชื่อมกันทางความคิด เพราะปัจจุบันการรวมตัวเป็นเรื่องของความคิดมากกว่าการเป็นรูปแบบองค์กรที่มันพ้นยุคแล้ว

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

0
0

"ตั๊กไม่รู้ว่าเฮียบุญชัยเป็นใคร แม่ตั๊กไม่รู้ว่าลูกเขยรวย คนไทยไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในกะลา ทหารไม่รู้ว่ามีรัฐประหารไปแล้วกี่ครั้ง ประเทศไทยไม่รู้ว่าระบบการปกครองของประเทศคือประชาธิปไตย อภิสิทธิ์ไม่รู้ว่าการเกณฑ์ทหารยังไม่ยกเลิก ทักษิณไม่รู้ว่าตัวเองทำพลาดทางการเมืองอย่างไรบ้าง ยิ่งลักษณ์ไม่รู้ว่าทักษิณยังบริหารประเทศอยู่ กองทัพไม่รู้ว่ามีประชาชนตายที่ราชประสงค์ พรรคประชาธิปัตย์ไม่รู้ว่าอนาคตทางการเมืองดับมอดไปนานแล้ว สุขุมพันธ์ไม่รู้ว่าพิธีไล่น้ำแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ กลุ่มคลั่งเจ้าไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่ยิ่งทำให้สถาบันตกต่ำ สถาบันกษัตริย์ไม่รู้ว่าถึงเวลาแล้วที่ตัวเองตัองปรับตัว..."

โพสต์สถานะในเฟสบุ๊คตนเอง

WTO รับลาวเข้าเป็นสมาชิก

0
0

หลังเจรจาต่อรองกว่า 15 ปี องค์การการค้าโลกหรือ WTO ก็ได้เชิญประเทศลาวเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการเมื่อศุกร์ที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมา


 

องค์การการค้าโลก หรือ WTO ได้เสนอให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศคอมมิวนิสต์ที่ยังยากจน และปกครองด้วยพรรคเดียวเข้าเป็นสมาชิกได้ หลังจากดำเนินการเจรจามาอย่างช้า เป็นเวลาหลายปี ซึ่งในระยะดังกล่าวนี้ สปป. ลาว ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางเศรษฐกิจของตน ออกจากเศรษฐกิจรวมศูนย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ไปสู่เศรษฐกิจแบบอิงตลาด

หลังจากเจรจาต่อรองกันมาได้ 15 ปี องค์การการค้าโลกหรือ WTO ก็ได้เชิญประเทศลาวเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของตน เมื่อวันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมานี้

การเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกดังกล่าวย่อมเป็นการรับทราบถึงความพยายามอย่างยิ่งของ สปป. ลาว ในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและนโยบายต่างๆ ให้สอดคล้องกับกำหนดขององค์การการค้าโลก และการเรียกร้องต้องการเพื่อเข้าหาตลาดกว่า 150 สมาชิกขององค์การ

นอกจากนี้ เนื่องจากว่า สปป. ลาว มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอในอัตราเฉลี่ยสูงกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ตลอดหลายปีมานี้ ซึ่งปีนี้อาจจะเติบโตถึง 8 เปอร์เซ็นต์ได้ อันเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไมเคิล ยูอิง ชาว ประธานศูนย์กลางกฎหมายสากลของ WTO ประจำสิงคโปร์ กล่าวว่า การเข้าเป็นสมาชิกของ สปป. ลาว หมายถึงการได้รับผลประโยชน์ต่างๆ จาก WTO แต่ในชณะเดียวกัน ก็เป็นสัญญาณบอกถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานมากกว่า สำหรับ สปป. ลาว

ท่านยูอิง ชาว ยังกล่าวว่า “คุณค่าแท้จริงของลาวก็คือ การกำลังหันเหเศรษฐกิจของตนออกจากการเป็นเศรษบกิจรวมศูนย์และวางแผนโดยศูนย์กลางในอดีต ไปสู่ระบบที่ได้ศึกษาหาวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อสร้างวิสาหกิจในตลาดเสรีของประเทศตน”

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นประเทศเล็กและยากจน ไม่มีทางออกสู่ทะเลนั้น ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์พรรคเดียวซึ่งได้ยึดอำนาจในปี 1975 เป็นต้นมา

เช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ เศรษฐกิจของลาวได้ถูกควบคุมโดยศูนย์กลาง ก็คือรัฐบาลที่ได้เข้าร่วมกลุ่มกับบรรดาประเทศในอดีตสหภาพโซเวียต

แต่จากกลางทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา รับบาล สปป. ลาว ได้ค่อยๆ ก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยตลาดมากขึ้น จนถึงบัดนี้ สปป. ลาว ที่ครั้งหนึ่งเคยพึ่งพาความช่วยเกลือจากต่างประเทศนั้น ก็กำลังกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญแห่งหนึ่งของการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งในเฉพาะปีนี้ มูลค่าการลงทุนใน สปป. ลาว สูงเกินสองพันล้านดอลลาร์

สปป. ลาว เป็นประเทศสุดท้ายในกลุ่ม 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก

ท่านปีเตอร์ อึ๊งภากรณ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลของ WTO กล่าวว่า หลังจาก สปป. ลาวได้รับรองข้อตกลงแล้ว สมาคมอาเซียนก็จะสามารถรวมมติได้เป็นเสียงเดียวใน WTO และยังกล่าวอีกว่า การเป็นสมาชิกอาจช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจลาวมากขึ้น ดังที่ได้เกิดขึ้นกับ จีนและเวียตนาม ที่เคยมีระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์เช่นกัน

ปีเตอร์ ยังกล่าวอีกว่า “นอกจากนี้ (การเข้าเป็นสมาชิก WTO) ก็ทำให้ลาวสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศได้มากขึ้น เพราะว่าลาวจะแสดงให้โลกรู้ว่าตนสามารถนำหลักการที่คาดการณ์ล่วงหน้ามาใช้ได้ มีความโปร่งใส และมีกฎเกณฑ์ต่อเศรษฐกิจของตน”

ปัจจุบัน ประเทศที่ลงทุนรายใหญ่ในลาว และเป็นคู่ค้าและประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไทย และ เวียตนาม แต่การลงทุนส่วนใหญ่ เป็นการลงทุนในด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่นการเกษตร ไฟฟ้าพลังน้ำ และเหมืองแร่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้ส่งออกให้ประเทศเพื่อนบ้านเช่นกัน

บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า การได้เข้าเป็นสมาชิกของ WTO นั้น ก็น่าจะช่วยให้การลงทุนต่างประเทศมีความหลากหลายไปยังภาคส่วนอื่นๆ ด้วย โดยนิโคไล อิมโบเดน ผู้อำนวยการศูนย์กลางทางความคิดที่ Idea Center ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นกลุ่มจัดตั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการรวมตัวกันในโลกเศรษฐกิจ ท่านอิมโบเดนได้กล่าวว่า ลาวยังไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ในฐานะการเป็นฐานการผลิต ซึ่งบริษัทในยุโรปและอเมริกาคงจะเข้าไปลงทุนช้ากว่าประเทศอื่น

“ไทยเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในลาว และในตอนนี้ เวียตนามและสิงคโปร์ก็เริ่มลงทุนมากขึ้น ข้าพเจ้าคิดว่า เกาหลีใต้ก็จะเข้ามาด้วย ดังที่ท่านๆ รู้กันอยู่แล้วว่า การผลิตต้นทุนต่ำกำลังย้ายฐานออกจากจีนลงมาทางภาคใต้ และข้าพเจ้าคิดว่า ลาวจะได้รับผลประโยชน์จากการเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้”

โดยที่สมาคมอาเซียน กำลังจะรวมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจในปี 2015 เพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจทั้งหมดเข้าด้วยกัน ส่วนจีนก้กำลังวางแผนการใช้จ่ายเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในโครงการรถไฟความเร็วสูง และถนนเชื่อมต่อต่างๆ ผ่านลาว

 ท่านยูอิง ชาว กล่าวอีกว่า นั่นย่อมทำให้ลาวเป็นสูนยืกลางการค้าแห่งหนึ่งที่สำคัญอันสามารถเชื่อมต่ออาเซียนกับจีนได้

“จีนเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใหญ่สุดของลาวทางทิศเหนือ และเพื่อนบ้านที่สำคัญทางใต้คือไทย ทั้งสองประเทศนี้กำลังมีบทบาทสำคัญในประเทศลาวมากขึ้น และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกหลายปีข้างหน้า แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อลาวกลายเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าของเขตลุ่มน้ำโขงแล้ว ก็จะทำให้ลาวสามารถก้าวเข้าสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ต้องการจะเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการคมนาคมขนส่งที่เชื่อโยงจีนกับสมาคมอาเซียนอีกด้วย”

แต่ถึงแม้ได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างรวดเร็ว ยังปรากฏว่าประชาชนลาวมากกว่าหนึ่งส่วนสี่ของประชากรทั้งหมดหกล้านห้าแสนคน ยังใช้ชีววิตด้วยความยากจนอยู่

สหประชาชาติจัดให้ลาวอยู่ในลำดับที่ 138 จาก 187 ประเทศในด้านการพัฒนา ส่วน สปป. ลาวเองนั้น หวังว่าการได้เข้าเป็นสมาชิกของ WTO จะช่วยให้ตนพ้นจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนาได้

คาดว่าสภาแห่งชาติลาว จะได้ลงสัตยาบันให้ลาวเข้าเป็นสมาชิก WTO อย่างเป็นทางการ ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้

 

แปลจาก http://lao.voanews.com/content/laos-wro-/1534953.html

ที่มาภาพ: รมต.กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ นาม วิยะเกด ในพิธีรับรองการเป็นสมาชิก WTO

 

ภาษาลาววันละคำ วันนี้ เสนอคำว่า ຊຸມປີ - ซุมปี : ทศวรรษ, decade

ตัวอย่างจากข่าว 

ຈາກກາງຊຸມປີ 1980 ເປັນຕົ້ນມາ ລັດຖະບານ ສປປ ລາວ ໄດ້ ຄ່ອຍໆກ້າວໄປສູ່ ລະບົບເສດຖະກິດ ທີ່ອາໄສຕະຫຼາດຫຼາຍຂຶ້ນ

จากกลางทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา รัฐบาล สปป. ลาว ได้ค่อยๆ ก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจ ที่อาศัยตลาดมากขึ้น

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 เสื้อแดงพกอาวุธ-ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ลดจาก 11 เหลือ 9 ปี

0
0

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ จำคุก 2 คนเสื้อแดง จาก 11 ปี 8 เดือน เหลือ 9 ปี 4 เดือน เหตุเกิด 17 พ.ค.53 ถูกจับหลังพยายามออกจากพื้นที่ชุมนุม ทหารระบุพบหลังรถมีปืนและวัตถุระเบิด เจ้าตัวยันไม่ใช่ของตัวแต่ไม่เป็นผล

 

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 55   ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาคดีที่นายประสงค์ มณีอินทร์ และนายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ จำเลยในคดีมีแลพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน สั่งพิพากษาแก้เป็นว่า “คงจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 9 ปี 4 เดือน และปรับคนละ 6,100 บาท คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของนอกจากที่แก้ฯ” ทั้งนี้ ทนายความจำเลยไม่ได้เข้ารับฟังการอ่านพิพากษาด้วยแต่อย่างใด

ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้น ได้พิพากษาสั่งจำคุกจำเลยคนละ 11 ปี 8 เดือน โดยระบุรายละเอียดว่า สั่งจำคุกจำเลยคนละ 5 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร ปรับคนละ 100 บาท  ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ จำคุกคนละ 6 ปี ฐานร่วมกันมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับคนละ 6,000 บาท  และฐานฝ่าฝืนประกาศศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินฯ รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละคนละ 4 เดือน รวมจำคุกคนละ 11  ปี ค เดือน และปรับคนละ 6,100 บาท  ริบของกลางที่เหลือโดยริบเครื่องวิทยุคมนาคมของกลางไว้ใช้ในกิจกรรมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ทั้งนี้ จำเลยทั้งสองอายุ 56 ปี มีอาชีพรับจ้างและไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ถูกจับกุมในวันที่ 17 พ.ค.และคุมขังอยู่ในเรือนจำจนถึงปัจจุบัน ที่เรือนจำหลักสี่

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.53 หรือ ศปช. อ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของจำเลยระหว่างถูกคุมขัง ระบุว่า จำเลยทั้งสองถูกจับในวันที่  17 พ.ค.53 ที่ ถนนพญาไท ซอยพญานาค ก่อนถูกจับ จำเลยทั้งสองอยู่ที่บริเวณแยกราชประสงค์ บริเวณดังกล่าวมืดไม่มีแสงสว่าง  คงมีเพียงแสงไฟจากเวทีปราศรัยของที่ชุมนุม และในคืนดังกล่าวคาดว่ามีการซุ่มยิงแล้ว  เนื่องจากมองเห็นแสงเลเซอร์ของลำกล้องปืนได้ชัดเจน ในเช้าวันที่ 17 พ.ค. 2553 เวลาประมาณ 7.00-8.00 น. จำเลยเดินทางออกจากบริเวณที่ชุมนุม เพื่อเดินทางกลับบ้าน เพราะเกรงว่าอาจถูกทำร้ายหรือถูกลอบยิงได้ โดยไปเอารถกระบะของนายประสงค์  ซึ่งจอดอยู่ที่บริเวณหน้าวัดปทุมวนาราม

ผู้ที่ทำการจับกุม คือ ทหารซึ่งได้ตั้งด่านตรวจบริเวณซอยพญานาค  และจำเลยก็ให้ตรวจค้นโดยดี  ไม่มีพฤติการณ์ที่จะขัดขืนใด   เพราะไม่ทราบว่ามีของผิดกฎหมายอยู่ในรถกระบะของตนเอง การจับกุมไม่มีการทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด หลังจากจับกุมได้แล้ว  ถูกส่งตัวมาที่  สน. พญาไท  เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหา ร่วมกันฝ่าฝืนพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ซึ่งห้ามบุคคลใดซึ่งมีพฤติการณ์ หรือน่าจะเชื่อว่าเข้ามามีส่วนร่วมในการชุมนุม เพื่อกระทำการที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประชาชน เข้ามาในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ,พกพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร และไม่ได้รับอนุญาต,ร่วมกันลักทรัพย์ ก่อนควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป

ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน  ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยให้เหตุผลว่าไม่ทราบว่าของกลางเป็นของใคร และมาอยู่ในรถยนต์ของตนได้อย่างไร  ซึ่งตนจอดรถยนต์ไว้ในพื้นที่ชุมนุม อาจจะมีคนนำเอามาใส่ไว้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประภาส ปิ่นตบแต่ง "การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง : ฐานคิดและวิธีวิทยา"

0
0

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ได้จัดพิมพ์หนังสือ ออกมาวางตลาดสดๆ ร้อนๆ ชื่อ 'การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง : วาทกรรม อำนาจและ พลวัตชนบทไทย' (อาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ, บรรณาธิการ) ในหนังสือเล่มนี้รวมบทความแปลของนักวิชาการต่างประเทศที่มีชื่อเสียงด้านไทยศึกษา จำนวน 4 ชิ้น 4 ท่าน คือ วิเลียม เอ. คัลลาฮาน, แอนดรู วอล์คเกอร์, แคเธอรีน อ.เบาร์วี และโยชิโนริ นิชิอิ  หนังสือเล่มนี้ ได้ท้าทายเพดานเดิมของฐานคิดในการศึกษา ที่มีสมมติฐานหรือคำตอบล่วงหน้า ว่าปัญหาประชาธิปไตยไทยคือ การขายเสียงของคนในชนบท  ดังที่อาจารย์ประจักษ์ สรุปว่า การศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนชนบท ล้วนตั้งอยู่ในกรอบโครงของนิทานการเมืองเรื่อง 'โง่ จน เจ็บ' งานวิจัยที่ ผ่านมา จึงล้วนมีคำตอบสำเร็จรูปว่า คนชนบทไม่รู้จักเลือกพรรค พิจารณานโยบาย และผู้สมัครที่มีความรู้ ความสามารถ ฯลฯ

โดยมีประโยคและวรรคทองของงานเหล่านี้คือ  "ผู้เลือกตั้งชาวชนบทขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของการเลือกตั้ง และไม่เข้าใจประชาธิปไตย ทำให้ ไม่รู้จักการใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างมีความหมาย" นอกจากนี้ ยังนิยมศึกษาเปรียบเทียบกับคนในเมืองว่าเป็นคนที่มีการศึกษาดี รับรู้ข่าวสารการเมืองมากกว่า จึงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ดีกว่าชาวชนบทผู้โง่เขลา

ด้านวิธีวิทยาในการศึกษาการเมืองเรื่องการเลือกตั้งกระแสหลักดังกล่าว มักใช้แนวพฤติกรรมนิยมที่มุ่งศึกษาการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของปัจเจกบุคคล ซึ่งครอบงำวงการรัฐศาสตร์และนักวิชาการผู้ศึกษามายาวนาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและมีเป้าหมายในการศึกษา คือ การมุ่งหาแบบแผนและปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของปัจเจกบุคคล

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ได้วิพากษ์ฐานคิดและวิธีวิทยาแนวพฤติกรรมนิยมว่า การแยกพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงออกจากบริบทของสังคม หรือชุมชนทางการเมืองที่ห้อมล้อมผู้คน ทำให้ลดทอนความเข้าใจการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของผู้คน บทความทั้งหมดโดยนักวิชาการต่างประเทศ ทำให้เห็นว่า  การศึกษาแนวมานุษยวิทยาการเมืองจะช่วยทำให้เข้าใจการเลือกตั้งได้ดีกว่าซึ่งก็คือ การศึกษาที่มุ่งเน้นหาความหมายในการแสดงออกทางการเมืองในทัศนะของ 'คนใน' หรือของผู้คนซึ่งอยู่ในบริบททางเศรษฐกิจการเมือง และมีความสัมพันธ์ในชุมชนการเมืองที่สลับซับซ้อนเกินกว่าจะทำความเข้าใจได้โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการให้นิสิต นักศึกษา ผู้ช่วยวิจัย ฯลฯ ไปแจกแบบสอบถามแบบโฉบๆ เฉี่ยวๆ เมื่อได้แบบสอบถามแล้วก็เอามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและการหาอิทธิพลของตัวแปร และที่สำคัญก็คือ การหมกมุ่นอยู่กับการยืนยันหาคำตอบว่า  เงินหรือการซื้อเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนชนบท

ในบทความ 2-3 ชิ้นที่ผ่านมาของผู้เขียน ก็ชี้ให้เห็นว่า การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนในสังคมชนบท อยู่บนฐานของความสัมพันธ์ในชุมชนที่เกาะเกี่ยวกับพื้นที่ทางสังคมการเมือง ที่ขยายขึ้นมาผ่านการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย การกระจายอำนาจในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา

การทำความเข้าใจการแสดงออกทางการเมืองในลักษณะต่างๆ (การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองภายใต้สีเสื้อ) ต้องศึกษาผ่าน เครือข่ายความสัมพันธ์ดังกล่าว

การศึกษาเช่นนี้จะทำให้ได้ภาพคำตอบจากชาวบ้านที่อธิบายว่า เขาสัมพันธ์กับพื้นที่การเมือง นักการเมืองและพรรคการเมืองอย่างไร มีปฏิสัมพันธ์กับการเลือกตั้งอย่างไรในบริบทวิถีชีวิตของพวกเขา ฯลฯ

ไม่ใช่ทัศนะของนักวิจัย หรือนักวิชาการ ซึ่งมีคำตอบล่วงหน้าในโครงของนิทานการเมืองว่าด้วยเรื่องโง่ จน เจ็บ และไม่ใช่การศึกษาที่เป็นทาสอยู่กับกรอบแนวคิดทฤษฎี

งานเขียนของนักวิชาการต่างชาติทั้ง 4 ชิ้น จึงล้วนหันมาศึกษาการเมืองเรื่องการเลือกตั้งในสังคมด้วยแนวทางมานุษยวิทยาการเมือง ซึ่งทำให้ได้แง่มุมในการตอบคำถามที่แตกต่างไปจากสมมติฐานเดิมๆ ที่น่าสนใจหลายประการ

ดังงานเขียนของ นิชิซากิ เรื่อง 'การสร้างความมีอำนาจทางศีลธรรมในชนบทไทย' ศึกษากรณีจังหวัดสุพรรณบุรี หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า 'บรรหารบุรี' ซึ่งเขาพบว่า มีปัจจัยที่มากไปกว่าเงินหรือการซื้อเสียงที่ทำให้เกิดภาพของบรรหารบุรีขึ้น นั่นก็คือ การสร้าง อัตลักษณ์ท้องถิ่นนิยม หรือจังหวัดนิยม จนทำให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเกิดความภาคภูมิใจในจังหวัดตน

นิชิซากิ ตอบคำถามว่า ทำไมชาวสุพรรณฯ จึงเห็นว่า บุคคลที่ชาวกรุงเทพฯ มองว่าเป็นคนที่โกง น่ารังเกียจ กลับเป็นผู้นำที่ดีของชาวบ้าน โดยศึกษาผ่านการสร้างอำนาจทางศีลธรรมของคุณบรรหาร (ศิลปอาชา) ในการดำเนินการโครงการต่อต้านยาเสพติดแบบไม่ใช้ความรุนแรง 'เยาวชนคนดีศรีสุพรรณ' เมื่อปี 2540 ซึ่งปัญหายาเสพติด หรือยาบ้า มีความรุนแรงอย่างมาก

ด้านวิธีวิทยาในการศึกษา นิชิซากิ อาศัยแนวคิดเรื่อง 'รัฐนาฏกรรม' ของ คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ เพื่ออธิบายโครงการ 'เยาวชนคนดีศรีสุพรรณ' ในฐานะของพิธีกรรมทางการเมืองที่มีความทรงพลัง และสำคัญยิ่งในการสื่อสารทางการเมืองและกล่อมเกลาทางสังคม ทำให้ คุณบรรหารสามารถใช้แสดง และเน้นย้ำความเป็นผู้นำ ศีลธรรมต่อหน้าผู้ร่วมพิธีกรรม

บทความของนักวิชาการญี่ปุ่นท่านนี้ จึงชี้ให้เห็นว่า นักเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จ ต้องสามารถสร้างอัตลักษณ์ใหม่ ความภาคภูมิใจกับผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งการซื้อเสียงหรืออิทธิพลมืดและเรียกกระบวนการสร้างอัตลักษณ์นี้ว่า 'การสร้างความมีอำนาจทางศีลธรรม'

ภาพของบรรหารบุรีในสายตาของนักวิชาการรัฐศาสตร์ไทย จึงแตกต่างไปจากสายตาคนใน คือ ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีผู้ลงคะแนน เพราะนี่คือภาพนักการเมืองในอุดมคติของชาวบ้านที่แตกต่างไปจากภาพคุณบรรหาร ศิลปอาชา ที่ถูกแปะป้ายเอาไว้ว่าเป็นนักการเมืองเก่า คร่ำครึ ผู้มีอิทธิพลและใช้ระบบอุปถัมภ์ ซื้อเสียง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง

งานชิ้นนี้ จึงเป็นการหาคำตอบแบบ 'คนใน'  ในการอธิบายความสัมพันธ์ของชาวบ้านสุพรรณฯ  กับคุณบรรหาร ภายใต้สิ่งที่เขารับรู้และสัมผัสผ่านประสบการณ์ปัญหาชีวิตของชุมชน ซึ่ง นิชิซากิ เห็นว่า คนที่ไม่ใช่ชาวสุพรรณฯ ย่อมไม่ตระหนักถึง หรือมองเห็น

งานของ วอล์คเกอร์ เรื่อง 'ธรรมนูญแห่งชนบท  (rural constitution)' ซึ่งเป็นการศึกษาแนวมานุษยวิทยาการเมืองที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง (เช่นเดียวกับอีก 2 ชิ้นที่เหลือ ซึ่งไม่มีพื้นที่พอจะพิจารณาในที่นี้) เสนอในแง่วิธีวิทยาในการศึกษาที่มีลักษณะเดียวกันคือ การทำความเข้าใจการแสดงออกทางการเมืองของคนชนบท จำเป็นต้องเข้าใจ ว่า เขามีรัฐธรรมนูญที่ตั้งอยู่บนค่านิยม ความเชื่อ ประสบการณ์ หรือสิ่งที่สั่งสมถ่ายทอดมาท่ามกลางพัฒนาการของชุมชน และอาจจะแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญในระดับประเทศ

ธรรมนูญดังกล่าวนี้ ทำหน้าที่เป็นกรอบหรือกฎเกณฑ์ในการดำเนินการทางการเมืองในวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนชนบท โดยวางอยู่บนระบบคุณค่าและค่านิยมของชุมชนท้องถิ่น กรณีศึกษาบ้านเทียน (นามสมมติ) หมู่บ้านในภาคเหนือแห่งหนึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับนักเลือกตั้งบนค่านิยม เช่น การนิยมผู้สมัครที่มาจากท้องถิ่นเดียวกัน คาดหวังว่าผู้สมัครจะต้องช่วยเหลือเมื่อได้รับเลือกตั้ง และผู้ที่มีความสามารถในการบริหารที่เข้มแข็งและโปร่งใส

ในงานเขียนชิ้นนี้ ไม่ได้ปฏิเสธภาพของการซื้อสิทธิขายเสียง แต่ต้องการอธิบายให้เห็นถึงการแสดงออกทางการเมืองของชาวบ้าน ภายใต้บริบทของระบบคุณค่าบางอย่างของคนชนบท ชัยชนะของนักเลือกตั้งและพรรคการเมือง ต้องสอดคล้องกับคุณค่าดังกล่าวนี้ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงสะท้อนให้เห็นคนชนบทในฐานะผู้กระทำการ มากกว่าเป็นผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์และขับเคลื่อนด้วยกลไกการซื้อสิทธิ-ขายเสียง

เหล่านี้คงพอเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า หนังสือเล่มนี้ ได้เปิดประเด็นและพื้นที่ในการศึกษาการเมืองว่าด้วยการ เลือกตั้งด้วยการเปลี่ยนฐานคิดจากแนวการศึกษาแบบเดิมๆ ที่มองคนชนบทเป็นเหยื่อของการซื้อสิทธิ-ขายเสียง เป็นต้นตอของปัญหาประชาธิปไตยไทยภายใต้นิทาน การเมือง 'โง่ จน เจ็บ' และเสน่ห์ของวิธีวิทยาแบบ มานุษยวิทยาการเมืองที่ควรจะเข้ามาแทนที่แนวพฤติกรรมนิยมให้มากกว่าที่ดำรงอยู่

 

 

ที่มา:  เนชั่นสุดสัปดาห์ 2  พ.ย. 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

BBC : 5 วิธีคัดรูปจริง-รูปหลอก ในอินเตอร์เน็ต

0
0

จากกระแสรูปปลอมที่อ้างว่าเป็นรูปของเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคน 'แซนดี้' ระบาดหนักในอินเตอร์เน็ต สำนักข่าว BBC ก็ได้นำเสนอวิธีการ 5 วิธีในการคัดกรองว่ารูปใดควรเชื่อ รูปใดไม่ควรเชื่อ

31 ต.ค. 2012 - ในช่วงที่เฮอร์ริเคน 'แซนดี้' กระหน่ำชายฝ่ายตะวันออกของอเมริกา ภาพหายนะหลายภาพก็เผยแพร่ออกไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันโซเขียลเน็ตเวิร์กก็ถูกถาโถมด้วยเรื่องและภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์ในนิวยอร์กและที่อื่นๆ 'ท่วม' ไปหมด

ตั้งแต่รูปกราวด์ซีโร่ที่ท่วมด้วยน้ำทะเล, ม้าหมุนลานเด็กเล่นที่ยังมีแสงไฟอยู่ปรากฏขึ้นกลางน้ำ, ภาพอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพถูกกระหน่ำจากคลื่นยักษ์ และกระทั่งรูปปลาฉลามว่ายอยู่ในน้ำท่วมที่รัฐนิวเจอร์ซีย์

ทั้งหมดถูกเมล์ แชร์และรีทวีตต่ออย่างรวดเร็ว แต่เมื่อพายุเฮอร์ริเคนผ่านไปแล้ว คนก็เริ่มรู้ว่าพวกเขาถูกหลอก ขณะที่ภาพของกราวน์ซีโร่และภาพของลานเด็กเล่นเป็นของจริง แต่ภาพของเทพีเสรีภาพและปลาฉลามรวมถึงภาพอื่นๆ เช่น ภาพพายุฟ้าคะนองของเมืองแมนฮัตตัน ไปจนถึงภาพทหารหาญเข้าไปคุ้มกันสุสานทหารนิรนามอาลิงตันท่ามกลางสายฝนต่างก็เป็นภาพปลอม หรืออย่างน้อยก็ถูกใช้ผิดความหมาย

แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าภาพที่คุณกำลังจะส่งให้เพื่อน, ผู้ร่วมงาน หรือ ผู้ติดตามของคุณ เป็นรูปจริงหรือเท็จ ตัวคุณเองอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบภาพถ่ายหรืออาจบอกไม่ได้ว่าเฮอร์ริเคนกับพายุไต้ฝุ่นฝนฟ้าคะนอง ผู้คนกำลังเคร่งเครียดมาก สภาพการณ์ก็อันตราย และภาพปลอมหลายภาพก็ไม่ได้น่ากลัวเท่าความจริง

ทาง BBC Future จึงได้ขอนำเสนอข้อแนะนำเล็กๆ 5 ข้อเพื่อให้คุณต้องอับอายเวลาเผลอแชร์รูปเฮอร์ริเคนปลอม หรือรูปปลอมอื่นๆ


1.) เชื่อในสัญชาตญาณคุณ

 

ถ้ามันดูหลอกๆ มันก็เป็นไปได้ที่จะปลอม เทเรซ่า คอลลิงตัน ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิตอลของ WTSP.COM กล่าว เธอเป็นคนที่ช่วยฝึกให้นักข่าวจับผิดสิ่งที่เธอเรียกว่า "Fauxtography" หรือ "ภาพเก๊" ลองดูที่รูปแล้วคิดด้วยตัวคุณเองสิ นี่มันดูดีเกินกว่าจะเป็นจริงหรือไม่ มันถ่ายได้สมบูรณ์แบบเกินไปไหม รู้สึกว่ามีอะไรแปลกๆ หรือเปล่า

คอลลิงตันกล่าวว่า ถ้าหากภาพถ่ายมันวิเศษมากจริงๆ เช่นเดียวกับภาพเหล่านี้ แล้วไม่ได้อยู่ในหน้าแรกของแหล่งข่าวชั้นนำ คุณต้องฉุกคิดบ้างแล้ว เว็บไซต์ส่วนมากจะนำภาพที่ถ่ายได้สมบูรณ์แบบมาใช้ทันที หากมันไม่มีอยู่ในหน้าแรก  เป็นไปได้ว่ามันอาจไม่เป็นจริง

คอลลิงตันบอกว่า ภาพภัยธรรมชาติมักจะถูกแพร่กระจายไปเร็วมาก เพราะผู้คนตื่นกลัว และความกลัวก็มักจะทำให้ความช่างสงสัยในตัวเราหายไป และมีรูปจำนวนมากที่ยอดเยี่ยม รูปของรถที่จมอยู่บนถนนอเวนิวซีของแมนฮัตตันเป็นของจริง อุโมงค์และสถานีรถไฟใต้ดินที่ถูกน้ำท่วมก็เป็นภาพจริง "มีสิ่งที่ดูไม่น่าเชื่ออยู่มากมาย ดังนั้นในเวลานี้ความรู้สึกน่าเชื่อและไม่น่าเชื่อของคนเรากว้างขึ้นมาก" คอลลิงตันกล่าว เธอบอกอีกว่า ดังนั้นการใช้ความรู้สึกวัดว่าจริงหรือไม่อาจจะผิดพลาดได้ ควรลองใช้เวลาอีกสักนิดในการตรวจเช็คหาความจริง


2.) ลองดูที่แสง

ฮานี ฟาริด ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาพตัดต่อจากวิทยาลัยดาร์ทเมาธ์ กล่าวว่า สิ่งที่ทำเท็จยากที่สุดในรูปถ่ายคือแสง, เงา และการสะท้อน ฟาริดเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท โฟร์แอนด์ซิกส์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการตรวจสอบสิ่งที่ทำหลอก

อย่างไรก็ตามฟาริดบอกว่า พายุเป็นสิ่งที่ซับซ้อน "รูปของสภาพอากาศอาจหลอกเราได้ เพราะสิ่งที่พวกเราใช้อย่างเช่น แสง, การสะท้อน และ จุดลับสายตา (vanishing points) กับสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในรูป" แต่บางครั้ง แสงก็เป็นเงื่อนงำ

กล่าวถึงภาพอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพที่มีเหมือนมีพายุวันโลกาวินาศทำให้เมืองนิวยอร์กซิตี้จมอยู่ใต้น้ำ หากคุณลองมองดูใกล้ๆ แสงที่อยู่บนเมฆ และดูรูปเรือที่อยู่บนฉากหน้าของภาพ คุณจะเห็นอย่างชัดเจนว่าทั้งสองไม่ได้มาจากภาพเดียวกัน

คอลลิงตันแนะนำว่า      ถ้าหากคุณนำสิ่งที่อยู่ที่ฉากหน้าไปเปรียบเทียบกับแสงของฉากหลัง คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามฟาริดบอกว่าขั้นตอนข้อ 1 กับ ข้อ 2 อาจผิดพลาดได้ เพราะสัญชาตญาณเราก็ดีแค่บางเรื่องและทำได้แย่ในบางเรื่อง อีกอย่างหนึ่งที่สัญชาตญาณเราแย่คือการแยกแยะว่าแสงของรูปนี้ถูกตัดต่อหรือไม่ "การใช้สัญชาตญาณวัดภาพทั้งหมดโดยรวมก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อใช้สัญชาตญาณเราวัดส่วนประกอบของภาพ คนเราทำให้แย่ในเรื่องนี้" ฟาริดกล่าว


3.) ดูสิ่งที่คนกำลังหรือกำลังสวมใส่ ดูเส้นขอบฟ้าและคุณภาพของรูป

ในช่วงซึนามิปี 2004 ในไทยรูปภาพจำนวนมากปรากฏออกมาซึ่งจริงๆ แล้วเป็นภาพที่มาจากปี 2002 ที่ถ่ายจากแม่น้ำเฉียนถังของจีน คอลลิงตันสามารถบอกได้เพราะเส้นขอบฟ้าไม่ใช่ของถูเก็ตที่เกิดเหตุ รวมถึงคุณภาพของรูปด้วย

คอลลิงตันบอกว่า ถ้าหากคุณภาพของรูปดูเหมือนมาจากฟิล์ม หรือสแกนจากหนังสือพิมพ์ มันก็ดูน่าสงสัย ให้เตือนตัวเองว่าคนส่วนใหญ่มักจะถ่ายภาพจากกล้องสมาร์ทโฟน เว้นแต่พวกเขาเป็นช่างภาพมืออาชีพ ซึ่งก็เป็นในกรณีที่ภาพดูไม่เหมือนมาจากมืออาชีพด้วยแล้ว มันอาจจะเป็นภาพปลอม

ฟาริดเสริมว่าหากภาพดูเล็กและมีความละเอียดต่อจุดต่ำให้ระวังไว้ "แม้แต่มือถือที่ราคาถูกที่สุดในตอนนี้ก็สามารถถ่ายภาพเมก้าพิกเซลได้ สาเหตุที่คนเราจะทำให้ภาพเล็กลงคือการซ่อนการปรับแต่ง"

ขอให้ดูด้วยว่าสิ่งที่คนกระทำหรือสวมใส่ในภาพคืออะไร ถ้าลองดูรูปที่ถูกบอกว่ามาจากซึนามิปี 2004 จะเห็นว่าคนจำนวนมากในภาพกำลังยิ้มหรือหัวเราะ เพราะว่าน้ำที่โถมเข้าใส่พวกเขาเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่าคลื่นทะเลหนุน (tidal bore) ซึ่งเป็นคลื่นน้ำปกติที่เป้นแหล่งท่องเที่ยวของจีน ถ้าหากภาพนั้นมาจากซึนามิปี 2001 จริง ผู้คนคงไม่ดูร่าเริงนัก


4.) เคยเห็นรูปแบบนี้มาก่อนไหม

ลองนึกถึงภาพอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพที่ถูกคลื่นถล่ม มันดูคุ้นๆ ไหม นั่นเพราะมันมาจากภาพยนตร์เรื่อง Day After Tomorrow ภาพพายุพวกนี้มักจะถูกนำกลับมาใช้ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ทางสภาพภูมิอากาศสำคัญๆ ฟาริดกล่าวว่า ภาพดังกล่าวนี้ถูกนำมาใช้หลายครั้งในรอยหลายปีนี้ ทุกครั้งที่มีเหตุภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ ถ้าหากมันดูคุ้นๆ มันก็ไม่ใช่รูปของ 'แซนดี้' แน่ๆ

คอลลิงตันเรียกรูปจำพวกนี้ว่า รูปภาพลาซารัส (Lazarus images) "รูปภาพที่ถูกปลุกให้คืนชีพ" ถ้าหากพิจารณารูปสีเขียวของพายุเหนือเมืองแมนฮัตตัน ภาพนี้ถูกตีพิมพ์ในวอลล์สตรีทเจอร์นัลเดือนเม.ย. ปีที่แล้ว (2011) ในช่วงที่มีปรากฏการณ์พายุทอร์นาโด ถามว่ามันเป็นภาพของสภาพอากาศแปรปรวนไหม คำตอบคือใช่ แต่มันก็ไม่ใช่เฮอร์ริเคนแซนดี้


5.) ถ้ามันมีปลาฉลาม มันมีโอกาสจะเป็นรูปหลอก

มีรูปปลาฉลามหลายรูปปรากฏออกมาในช่วงเริ่มมีเฮอร์ริเคนแซนดี้ และแทบทั้งสิ้นก็เป็นรูปหลอก ไม่มีปลาฉลามมาว่ายอยู่บนทางหลวงรัฐนิวเจอร์ซีหรือเฉลียงหน้าบ้านใครที่ถูกน้ำท่วม เช่นเดียวกับที่ไม่มีปลาฉลามในสถานีรถไฟของโตรอนโตย้อนกลับไปในช่วงเดือน มิ.ย.

รูปภาพปลาฉลามยังเข้ากับข้อแนะนำข้อ 4 ได้ด้วย มันถูกนำกลับมาใช้บ่อยครั้งมาก ภาพของปลาฉลามบนทางหลวงในนิวเจอร์ซีเคยปรากฏในช่วงเฮอร์ริเคนไอรีน ถ้าคุณไม่เคยเห็นรูปทั้งหมด คุณก็อาจเคยเห็นภาพฉลามตัวนี้มาแล้วก็ได้ มีเงาฉลามไม่กี่ตัวที่ถูกเอามาตัดต่อใส่ในรูปครั้งแล้วครั้งเล่า

แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องเป็นไปได้ที่ปลาฉลามจะเข้ามาในเขตน้ำท่วม แต่ก็มีโอกาสน้อยมากๆ และมีโอกาสน้อยยิ่งกว่าที่จะมีคนถ่ายภาพมันได้ ดังนั้นก่อนที่คุณจะแชร์ภาพ "ฉลามมากับน้ำท่วม" ขอให้ตรวจสอบก่อน แม้แต่กับภาพแมวก็เช่นกัน


ทำไมคนเราถึงถูกหลอก

คอลลิงตันบอกว่า ภาพภูมิอากาศทำปลอมได้ง่ายมาก ด้วยสองสาเหตุคือ หนึ่ง พวกเราอยากจะเชื่อมัน ท่ามกลางพายุโหมหนัก มีความตึงเครียดและความกลัวอย่างมาก ทุกคนก็ตกเป็นเหยื่อของสิง่ที่ดูทรงพลังได้ "ภูมิอากาศทำปลอมได้ง่ายมากเพราะการตอบรับแบบนี้ เมื่อคุณเห็นภาพฟ้าผ่าหรือพายุใหญ่ คุณอยากเชื่อมัน"

สิ่งหนึ่งที่ต่างจากภาพถ่ายหลอกๆ ซึ่งถูกตัดต่อ ภาพของเฮอร์ริเคนแซนดี้ที่ถูกส่งต่อๆ กัน ไม่ได้เป็นรูปปลอมในทางเทคนิค พวกมันเป็นภาพถ่ายจริงหรือเป็นพายุจริง แต่เพียงแค่มันไม่ได้เป็นเฮอร์ริเคนแซนดี้ สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วมันยากที่วพวกเขาจะรู้ได้ และคอลลิงตันยังบอกอีกว่า การที่พายุร้ายแรงกำลังทำให้เรากลัวมันก็ทำให้สัญชาตญาณเราทำงานแย่ลงได้ สิ่งที่เราเคยคิดว่าน่าสงสัยในเวลาปกติก็ดูเป็นไปได้

แต่ถ้าหากว่าภาพใดที่ไม่ผ่านตามข้อแนะนำทั้ง 5 นี้ มันก็ควรต้องตรวจสอบ ซึ่งเป็นเรื่องง่ายที่จะทำ มีเว็บไซต์หาที่มาของภาพจำนวนมาก (เช่น tineye.com) ที่ทำให้คุณสามารถค้นหาที่มาเบื้องต้นหรือความเห็นของภาพได้ เนื่องจากรูปภาพพายุเฮอร์ริเคนดูจะถูกกลับมาใช้อีกเรื่อยๆ มีอยู่หลายชิ้นที่ปรากฏบนเว็บไซต์ตรวจสอบเรื่องเหลือเชื่ออย่าง Snopes.com

ฟาริดบอกว่าถ้าเกิดคุณถูกหลอก อย่าได้รู้สึกแย่ แม้กระทั่งสำนักข่าวใหญ่ๆ อย่าง AP และ Reuters ก็เคยถูกหลอกด้วยรูปภาพมาแล้ว "พวกเรามีความสามารถพิเศษเรื่องความคุ้นเคยกับภาพถ่าย ผมคิดว่าสัญชาตญาณของพวกเราดีพอในเรื่องนี้"   ฟาริดกล่าว แต่จริงๆ แล้วพวกเราถูกหลอกได้ง่ายมาก

ดังนั้นก่อนที่จะแชร์ภาพถ่ายให้ทุกคนที่คุณรู้จัก และทำให้เพื่อนๆ และญาติๆ ของพวกคุณตื่นกลัว หยุด ลองใช้เวลาฉุกคิด แล้วตรวจสอบดูก่อน

 

 

ที่มา:

Hurricane Sandy: Five ways to spot a fake photograph, Rose Eveleth, BBC Future, 31-10-2012

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวกัมพูชาร้องOECD กรณี บ.มะกัน รับซื้อน้ำตาลจาก บ.ไทย บนการละเมิดสิทธิที่ดิน

0
0

บริษัทน้ำตาลไทยร่วมหุ้นทุนไต้หวันละเมิดสิทธิที่ทำกินชาวบ้านกัมพูชากว่า450ครอบครัวไร้ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินเพื่อผลิตน้ำตาลทรายส่งขายสหรัฐ

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา กรณีข้อเรียกร้องโดยชาวบ้าน 207 ครอบครัวแห่งอำเภอสเรอัมเบิล จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ถูกละเมิดและไล่ออกจากที่ดินทำกิน เพื่อเปลี่ยนเป็นไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล ถูกยื่นต่อตัวแทนองค์การของรัฐบาลอเมริกันเพื่อการร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ*OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เนื่องจากบริษัทน้ำตาลฟอกขาวอเมริกัน (American Sugar Refining Company) แห่ง รัฐนิวยอร์ค ผูกขาดการรับซื้อน้ำตาลซึ่งผลิตบนที่ดินพิพาทโดยบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ร่วมกับนักการเมืองมากอิทธิพลของกัมพูชา ก่อให้เกิดปัญหายืดเยื้อ นับตั้งแต่ ปี 2549

เมื่อบริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) บริษัทวีวอง สัญชาติไต้หวัน และสมาชิกวุฒิสภากัมพูชา ลี ยง พัด ได้ตั้งสองบริษัทสัญชาติกัมพูชาขึ้นมารับสัมปทานที่ดินเพื่อทำไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล จนทำให้ชาวบ้านในตำบลชุก (Chhouk) ชิกอร์ (Chikhor) และตราเพ็ง กันดาล (Trapeng Kendal) อำเภอสเรอัมเบิล จังหวัดเกาะกง กว่า 450 ครอบครัวกลายเป็นผู้ไร้ที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินโดยทันที โดยปราศจากคำบอกกล่าวและค่าชดเชยที่เหมาะสม และปัจจุบันต้องประสบกับปัญหาความยากจนและขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ทั้งนี้ กรณีการยึดครองที่ดินดังกล่าว ขัดต่อกฎหมายกัมพูชา ทั้งในประเด็นการปรึกษาหารือกับชุมชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงขนาดของที่ดินสัมปทานที่อนุญาตอีกด้วยโดยยังไร้ทางแก้ไข

บริษัทน้ำตาลฟอกขาวอเมริกัน หรือที่รู้จักกันดีในนาม “โดมิโน่” เป็นคู่สัญญาแต่เพียงผู้เดียวในการรับซื้อน้ำตาลที่ผลิตจากจังหวัดเกาะกง บริษัทฟอกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลกนี้เป็นเจ้าของโดยตระกูลแฟนจูลส์ ครอบครัวคิวบาอพยพที่เคยถูกยึดที่ดินในช่วงการปฏิวัติคิวบา ที่แม้จะแสดงความเห็นอกเห็นใจเล็กน้อยต่อเกษตรกรชาวกัมพูชาผู้สูญเสียทั้งที่ดินและวิถีชีวิตเพื่อการผลิตน้ำตาลให้ตน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้เคยตอบรับต่อความพยายามหลายต่อหลายครั้งของชาวบ้านในการหาทางออกต่อกรณีดังกล่าว ในฐานะบริษัทผู้มีบทบาทในห่วงโซ่อุปทานน้ำตาลแต่อย่างใด

ข้อร้องเรียนต่อOECDดังกล่าว ถูกยื่นผ่านหน่วยงานที่เป็นตัวแทนประสานงานของโออีซีดี ในรัฐบาลอเมริกันที่ทำหน้าที่รับเรื่องพิพาทเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าว เป็นหนึ่งในข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดชอบของบรรษัทข้ามชาติในการประกอบธุรกิจซึ่งสหรัฐอเมริกาให้การรับรองไว้ ฉะนั้น การกระทำผิดของบริษัทอเมริกันในประเทศกัมพูชาย่อมอยู่ภายใต้แนวปฏิบัติดังกล่าวด้วย โดยนับเป็นกรณีแรกที่ถูกยื่น ทั้งนี้ การยื่นร้องดังกล่าว ทำโดยศูนย์ศึกษากฎหมายชุมชน (Community Legal Education Center) และองค์กร EarthRigths International (ERI) เป็นผู้ร่วมยื่นแทนประชาชนในชุมชน สอดคล้องกับจุดประสงค์ของประชาชนผู้ร้องเรียนที่กล่าวไว้ว่า “บรรดาบริษัทที่รับซื้อน้ำตาลที่ผลิตบนที่ดินที่เคยเป็นของพวกเรา จะต้องมีส่วนในความรับผิดชอบต่อความเดือดร้อนของพวกเรา” และ “พวกเราหวังว่ารัฐบาลอเมริกันจะช่วยทำให้บริษัทสัญชาติอเมริกันแสดงความรับผิดชอบได้”

แมน วุดที ทนายความศูนย์ศึกษากฎหมายชุมชน (CLEC)  กัมพูชา อธิบายว่า “ที่ดินคือทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับชาวบ้าน การสูญเสียที่ดินเท่ากับการสูญเสียแหล่งอาหาร ความอุดมสมบูรณ์ และความปลอดภัย วิกฤตดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อคนรุ่นต่อไปอีกด้วย เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่พิพาทต้องให้ลูกหลานออกจากโรงเรียนเพื่อมาทำงาน หรือคอยดูแลวัวควายไม่ให้เข้าไปในเขตสัมปทาน เพราะอาจถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทยิงทิ้งหรือกักไว้เพื่อเรียกเอาเงินค่าไถ่ได้”

บริษัทน้ำตาลขอนแก่นและหุ้นส่วน เริ่มต้นจากการทำข้อตกลงกับบริษัทเทท แอนด์ ไลย์ล (Tate & Lyle) สัญชาติอังกฤษ เพื่อส่งออกน้ำตาลทั้งหมดจากกัมพูชาผ่านสิทธิพิเศษทางการค้าที่เรียกว่า “ทุกอย่างยกเว้นอาวุธ” (Everything But Arms) ไปยังตลาดยุโรป ต่อมาในปี 2553 บริษัทน้ำตาลฟอกขาวอเมริกันได้ซื้อกิจการของบริษัทเทท แอนด์ ไลย์ล ชาวบ้านเชื่อว่าบริษัทน้ำตาลฟอกขาวอเมริกันมิได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของโออีซีดี ในฐานะผู้ซื้อน้ำตาล ที่ต้องพยายามปฏิบัติต่อคู่ค้าทางธุรกิจ ในการป้องกัน บรรเทา และแก้ไขผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชน

ก่อนหน้าการยื่นเรื่องต่อโออีซีดีผ่านทางรัฐบาลอเมริกัน ประชาชนกัมพูชาและเครือข่ายผู้สนับสนุนเรียกร้องกับทุกหน่วยงานที่เป็นไปได้ ทั้งต่อบริษัท ศาลจังหวัดเกาะกง องค์กรตรวจสอบของสหภาพยุโรป สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประเทศไทย ซึ่งได้มีรายงานฉบับย่อออกมาแล้ว (ดูรายละเอียดรายงานได้ที่ http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/news_detail.php?nid=662&parent_id=1&type=hilight) อีกทั้งเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการเปิดตัวการรณรงค์ในระดับนานาชาติซึ่งมุ่งเป้าไปที่เรื่องของอุตสาหกรรมน้ำตาลโลกกับการยึดครองที่ดินโดยผิดกฎหมายในประเทศกัมพูชา (รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.boycottbloodsugar.net/)    

 

 ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ: 

บ๊อบบี้ มาเรีย (Bobbie Sta. Maria) องค์กรเอิร์ทไรท์อินเตอร์เนชั่นแนล (EarthRights International [ERI]) ประเทศไทย โทร. +66 080 031 9310 อีเมล์ bobbie@earthrights.org

โจนาธาน คอฟแมน (Jonathan Kaufman) องค์กรเอิร์ทไรท์อินเตอร์เนชั่นแนล (EarthRights International [ERI])
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โทร. (202) 466-5188 ต่อ 113 อีเมล์ jonathan@earthrights.org

แมน วุดที (Man Vuthy) ศูนย์ศึกษากฎหมายชุมชน (Community Legal Education Center [CLEC] ประเทศกัมพูชา โทร. +885 6677 7032 อีเมล์ vuthy@clec.org.kh

ศูนย์ศึกษากฎหมายชุมชน (Community Legal Education Centre [CLEC]) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านกฎหมายของกัมพูชา มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ สนับสนุนด้านประโยชน์สาธารณะ แรงงาน และธรรมาภิบาล รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.clec.org.kh/

องค์กรเอิร์ทไรท์อินเตอร์เนชั่นแนล (EarthRights International [ERI]) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีสำนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกาและประเทศเปรู มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจและภาครัฐ รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.earthrights.org

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: แรงเงาของประชาชนไทย

0
0

ผมเป็นคนชอบงานเขียนของนันทนา วีระชน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนันทนาได้รับอิทธิพลจากสตรีนิยมหลัง ๑๔ ตุลามาไม่น้อย ในนวนิยายของนันทนาหลายเรื่องจะเน้นบทบาทความเด่นของตัวละครสตรี ที่มีความกล้าต่อสู้และท้าทายสังคม โดยเฉพาะการตอบโต้กับผู้ชายชั่วที่เอาเปรียบผู้หญิง และในบรรดางานเขียนหลายเรื่องของเธอ แรงเงาถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง

เรื่องย่อของแรงเงา เล่าถึงมุตตา ซึ่งเป็นข้าราชการหญิงที่เรียบร้อยและอ่อนต่อโลก จึงตกเป็นภรรยาลับของเจนภพ ซึ่งเป็นชายเจ้าชู้และผู้บังคับบัญชาในที่ทำงาน ต่อมา มุตตาได้ถูกภรรยาของเจนภพชื่อ นพนภา ตามมาตบตีต่อหน้าคนจำนวนมาก และถูกซ้ำเติมโดยเพื่อนข้าราชการ ทำให้เธอต้องอับอายจนต้องหนีกลับบ้านต่างจังหวัด และพบว่าตนเองท้อง ในที่สุด ก็ฆ่าตัวตายหนีปัญหา แต่มุนินทร์พี่สาวฝาแฝด ที่เป็นคนเข้มแข็งไม่ยอมใคร ไม่สามารถจะยอมรับเรื่องความตายของน้องสาวได้ จึงปลอมตัวเป็นมุตตากลับมาแก้แค้น และในที่สุด ก็สามารถที่จะเอาชนะ ทำให้นพนภาและเจนภพได้รับกรรมตามที่ตนเองก่อไว้ และครอบครัวของนพนภาก็ประประสบความแตกแยก ส่วนมุนินทร์ก็ได้แต่งงานกับวีกิจ หลานของเจนภพ ที่เข้าช่วยเหลือมุตตาตลอดมา

หลังจากเรื่องแรงเงาเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ.2529 ได้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง และขณะนี้ ละครเรื่องนี้ก็ยังออกอากาศอยู่ทางช่อง 3 กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงมาก แม้ว่า ผู้สร้างละครครั้งนี้ จะเน้นฉากตบกันระหว่างผู้หญิงมากไปหน่อย แต่ถ้าดูจากเนื้อหาต้องถือว่า เป็นเรื่องที่ให้บทเรียนแก่สังคมพอสมควร

แต่ที่น่าสนใจคือโครงเรื่องของเรื่องแรงเงา เข้ากันได้กับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย เพราะก่อนหน้านี้ ประชาชนไทยก็ไม่ต่างอะไรกับมุตตา คือไม่เคยมีปากเสียง ยอมจำนนต่อชนชั้นปกครอง และปล่อยชะตากรรมของประเทศไว้ในมือชนชั้นนำจำนวนน้อย ไม่ว่าจะใช้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาธิปไตยเต็มใบ เผด็จการทหาร ประชาธิปไตยครึ่งใบ ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อก็ไม่เคยบ่น จะรัฐประหารหรือเอาใครมาเป็นรัฐบาลก็ยอมรับโดยดุษณีภาพ แต่ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมานี้ ขบวนการประชาชนไทยกลายร่างเป็นมุนินทร์ ลุกขึ้นตอบโต้กับชนชั้นนำอำมาตย์อย่างไม่หวาดหวั่น ไม่ยอมให้ชนชั้นปกครองกำหนดชะตากรรมของประเทศเช่นเดิมอีก จึงสร้างความยากลำบากอย่างมากแก่ชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตย

ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะ 7 ปีที่ผ่านมานี้จึงอยู่ที่ว่า ประชาชนคนส่วนใหญ่ต้องการการเมืองแบบประชาธิปไตย ให้รัฐบาลที่บริหารประเทศมาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากของประชาชน แต่กลุ่มชนชั้นจารีตประเพณี ต้องการสร้างการเมืองที่พวกเขาควบคุมได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย ขอเพียงให้มีคนดีมาบริหารบ้านเมือง และจะมาด้วยวิธีไหนก็ได้ จากการรัฐประหาร การแต่งตั้ง การกำหนดโดยศาล หรือ โดยผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และได้มีการสร้างวาทกรรมตลอดเวลาว่า นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นคนชั่ว จึงกลายเป็นว่าการเลือกตั้งเป็นกลไกอำนาจของคนชั่ว คนดีต้องขึ้นสู่อำนาจด้วยวิธีพิเศษ แต่ปัญหาเริ่มต้นตั้งแต่การนิยามคำว่า”คนดี”แล้ว เพราะคนดีในสังคมไทยล้วนแต่เป็นพวกที่ตรวจสอบไม่ได้ ต้องใช้ความเชื่อถือไปรับรองความเป็นคนดีทั้งสิ้น

ทัศนะในลักษณะที่ยกย่องคนดี ไม่เอาประชาธิปไตยนี้ เห็นได้ชัดในการชุมนุมทางการเมืองที่สนามม้านางเลิ้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ โดยการชุมนุมจัดโดยองค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่าย ที่มี พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ นายทหารนอกราชการเป็นผู้ประสานงาน โดยให้ชื่อการชุมนุมว่า “หยุดวิกฤตและหายนะของชาติ” พล.อ.บุญเลิศแถลงว่า รัฐบาลชุดนี้สร้างความเสียหายมากกว่ารัฐบาลชุดใด โดยเฉพาะการปล่อยให้มีการจาบจ้วงหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ การทุจริตมหาศาล และเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ที่น่าสังเกตคือ พล.อ.บุญเลิศไม่ได้แสดงหลักฐานความล้มเหลวในการบริหารบ้านเมืองที่มีน้ำหนักแต่อย่างใด ส่วนข้อโจมตีรัฐบาลว่า ปล่อยให้หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เป็นเพียงการอิงเจ้าเอาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มาใส่ร้ายศัตรูทางการเมือง ที่ปราศจากเหตุผล เพราะในระยะที่บริหารประเทศ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็ถวายพระเกียรติเสมอมา เพียงแต่ยังไม่ไต้ใช้นโยบายล่าแม่มด จับผู้บริสุทธิ์เข้าคุกแบบรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเท่านั้น

ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้ ได้มีหลายคนมาเข้าร่วมปราศรัย เช่น น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, ดร.ต่อตระกูล ยมนาค นายพิเชษฐ์ พัฒนโชติ ดร.เสรี วงศ์มณฑา และนายประสิทธิ์ ไชยทองพันธ์ เป็นต้น แต่ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังสงวนท่าที ไม่ได้เข้าร่วมอย่างเป็นทางการ

น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ได้อิงแอบกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือการสนับสนุนคนดีให้เข้ามาทำงานแทนคนไม่ดี จึงอยากเสนอให้ประชาชนรวมตัวกันตั้งกรรมการขึ้นมาช่วยกันคิดและปรึกษาหารือเฟ้นหาคนดีเสนอให้กับกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยาม และสร้างเครือข่าย เพื่อหาคนดีมาทำงานแทนคนไม่ดี และให้ประชาชนไปทำป้ายไปติดที่หน้าทำเนียบกับรัฐสภาว่าที่นี่เป็นเขตอำนาจของประชาชนนักการเมืองทุรชนห้ามเข้าด้วย ซึ่งการอธิบายของ น.ต.ประสงค์ยังคงซ้ำซากในเรื่องการปกครองโดยคนดี ที่ไม่ต้องมาจากประชาธิปไตยอยู่นั่นเอง

แนวคิดลักษณะนี้ตอกย้ำโดยคำอธิบายของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ว่า ที่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งมา 15 ล้านเสียงนั้น “ไม่รู้เปลี่ยนหีบมาหรือเปล่า” และถ้าสามารถไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้สำเร็จ ก็จะให้มีการตั้งคณะบุคคลขึ้นมาดูแลการบริหารบ้านเมือง ซึ่งอาจจะให้มีการหยุดเล่นสักพัก แช่แข็งประเทศไทย ตัดบทบาทนักการเมืองอาจถึง 5 ปี แล้วค่อยให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ เพราะถ้าปีเดียวแบบ พ.ศ.2549 เดี๋ยวพวกนักการเมืองก็กลับมาใหม่ แล้วจะไม่ได้ผล พล.อ.บุญเลิศอ้างว่า การดำเนินการเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิวัติของประชาชน คณะบุคคลที่บริหารประเทศในภาวะพิเศษนี้ ต้องทำภารกิจ 4 ประการให้สำเร็จ คือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มการศึกษา เพิ่มความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มาลงโทษตามกฎหมาย

ข้อเสนอของ พล.อ.บุญเลิศเป็นการสะท้อนความฝันกลางวันอันไม่เป็นประชาธิปไตย โดยคิดว่าประชาชนส่วนข้างมากนั้น จะยอมให้มีคนกลางจากฝากฟ้า มาบริหารประเทศชั่วคราวเสีย 5 ปี เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญตามใจชอบของชนชั้นนำ และลงโทษคนไม่มีความผิดเช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

เพียงแต่ประชาชนในวันนี้ ได้เปลี่ยนจาก”มุตตา”เป็น”มุนินทร์”เสียแล้ว สิ่งที่ชนชั้นนำจะต้องเผชิญ คือ การไม่ยอมรับและตอบโต้อย่างเต็มที่จากประชาชน และในที่สุดชนชั้นปกครองจารีตก็จะต้องพ่ายแพ้ด้วยกาลเวลา และพ่ายแพ้ด้วยแรงเงาของประชาชนนั่นเอง

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่384 วันที่3 พฤศจิกายน 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท : ไม่มีอะไรต้องเปลี่ยนแปลง

0
0

นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท นับเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ที่สำคัญ เนื่องเพราะในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำที่มีความเป็นธรรม เหมาะสมกับค่าครองชีพที่นับวันสูงขึ้นได้อย่างแท้จริง 

คณะกรรมการค่าจ้างกลางหรือบอร์ดค่าจ้าง ได้เคยสำรวจ แรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑลรายรอบพบว่า   ผู้ใช้แรงงานมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 6.8-11 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 24-25 บาท ขณะที่โดยภาพรวมรายภาคนั้นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายสูงที่สุด คือมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 32.67 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 48.81 บาท

การสำรวจผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศกว่า 23,194 คน ช่วง 1 เม.ย. - 31 พ.ค. 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายรายเดือนของแต่ละคนนั้น ค่าอาหารอยู่ที่ 2,015 บาท, ค่าที่พัก 1,400 บาท, ค่าพาหนะ 649 บาท, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 819 บาท ซึ่งว่ากันเฉพาะค่าใช้จ่ายหลักเหล่านี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด-สันทนาการ รวมแล้วก็เดือนละ 4,883 บาท

รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ ผอ.ศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า..  การสำรวจอัตราค่าครองชีพกับค่าใช้จ่ายของแรงงานในแต่ละครั้ง ผลออกมาก็ ’ไม่เคยพอกิน" ยิ่งถ้ามีหนี้สิน กู้เงินนอกระบบมาใช้ ยิ่งมีปัญหา แรงงานต้องทำโอที-ทำงานล่วงเวลา

"ต้องทำโอทีอย่างน้อยวันละ 2-4 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เงินเพิ่ม การไม่พอกินทำให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวตามมา คือไม่มีเวลากลับบ้านไปหาพ่อ-แม่ ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว ลูกเมีย หรือไม่มีเวลาไปเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะ ศักยภาพ เพื่อให้ได้ขึ้นค่าแรง ก็เลยต้องทำงานแบบย่ำอยู่กับที่ ไม่ได้ไปไหนไกล"

ดังนั้น กรณี ’ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท" ที่กำลังเป็นประเด็น ถึงขึ้นได้จริง ๆ "ก็ยังคง ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอยู่ดี ซึ่งแต่ละวันลูกจ้างต้องจ่ายค่ารถไปทำงาน บางคนไป-กลับวันละหลายต่อ ไหนจะค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าสังคมต่าง ๆ บางคนมีลูกมีเมียต้องดูแล ยังไงก็ไม่มีทางพอแน่นอน"

ชีวิตที่เป็นจริงของผู้ใช้แรงงานมักต้องทำงานมากกว่าวันละแปดชั่วโมง ต้องทำโอที ต้องทำฮอลลิเดย์ ไม่มีวันหยุด ไม่มีเวลาพักผ่อน จึงไม่ได้นั่งสมาธิ จึงไม่ได้สนทนาธรรมกันที่โรงแรมหรู แต่ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีเงินพอที่ตนเองและครอบครัวมีชีวิตอยู่รอด

อย่างไรก็ตาม  นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท นี้เมื่อปีที่แล้ว  รัฐบาลได้มีการนำร่องค่าจ้างขั่นต่ำ 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร  สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม  นนทบุรี สมุทรปราการ และ ภูเก็ต   ก็ได้ถูกคัดค้าน จาก กลุ่มนายทุนสามานต์สายอำมาตย์  ผู้สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์ และการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา  ไม่ว่าในนามของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย   หรือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

แต่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์  ก็ยังยืนยันจุดยืนไม่เปลี่ยนแปลง โดย  นายเผดิมชัย   สะสมทรัพย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน     แถลงยืนยันแน่ชัดว่า  ปี 2556    ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททุกจังหวัดทั่วประเทศตามที่ให้สัญญากับผู้ใช้แรงงานอย่างแน่นอน ไม่มีอะไรต้องการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้แล้ว  เมื่อวันที่ 31 ต.ค.55ที่ผ่านมา  ได้มีการจัดงาน “วันนิคม จันทรวิทุร” ครั้งที่ 10 มีการปาฐกถานำในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจและแรงงานไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน” โดย ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต

ดร.อนุสรณ์  ได้กล่าวถึง นโยบายด้านแรงงาน จะเป็นนโยบายที่สำคัญที่จะช่วยดูแลให้ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจมีปัญหาน้อยลง อย่างนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะให้เกิดขึ้นต้นปีหน้าทั่วประเทศ เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเดินหน้า แม้จะมีเสียงคัดค้านจากธุรกิจอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยว่า จะทำให้เกิดปัญหาปิดกิจการหรือปัญหาเลิกจ้าง ขอให้ท่านนึกถึงตอนที่เราเคลื่อนไหวผลักดันกฎหมายประกันสังคม หรือประกันการว่างงาน ก็มีคนไม่เห็นด้วย แต่ถ้าเราคิดให้ดีแล้ว มันเป็นสิ่งที่จะต้องทำ

แน่นอนว่านโยบายหรือมาตรการใดๆ ก็ตาม มันย่อมมีผลกระทบทั้งด้านบวกด้านลบ และมีผลกระทบต่อผู้คนในแต่ละส่วนแตกต่างกัน

“ กรณีของค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เราอาจจะเห็นว่ามีผลกระทบต่อเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ที่อยู่ในจังหวัดที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างก้าวกระโดด แต่นี่ไม่ใช่เหตุผลที่เราจะไม่เดินหน้านโยบายนี้ ถ้าเราต้องการให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้และความมั่งคั่งมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ รัฐจะต้องมีมาตรการในการเข้ามาดูแลเพิ่มเติม”

หากเราไม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในบางกิจการหรือบางอุตสาหกรรมก็อาจเกิดภาวะการขาดแคลนแรงงานได้ เพราะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้เกิดการขยายตัวอย่างมาก ทั้งด้านการผลิต การบริโภค และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนี้ ก็เกิดประโยชน์ต่อการบริโภคและการผลิต การผลิตก็สามารถสร้างเครือข่ายที่ไร้พรมแดนมากขึ้น การบริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้น สินค้าถูกลง คุณภาพดีขึ้น เพิ่มอำนาจต่อรองให้กับเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

ประเด็นทางด้านการผลิต ที่เราสามารถสร้างเครือข่ายแบบไร้พรมแดนมากขึ้น ก็เป็นประเด็นเชื่อมโยงกับด้านแรงงานหรือการจ้างงาน เพราะผู้ประกอบการ นักธุรกิจอุตสาหกรรมก็อาจจะย้ายฐานการผลิตไปผลิตในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อบริหารต้นทุน

กระนั้นก็ตาม   นโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300  บาทในปีหน้า (ปี2556 ) ก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวคัดค้านจาก   องค์กรของกลุ่มทุนสามานต์สายอำมาตย์ เช่นเดิมเหมือนเดิม    เนื่องเพราะพวกเขายังคิดหากำไรจากการลงทุน โดยการกำหนดต้นทุนให้ค่าจ้างแรงงานราคาถูกมากที่สุด   มากกว่าการพัฒนาพลังการผลิต ประสิทธิภาพด้านอื่นๆให้ก้าวหน้าแบบทุนนิยมสมัยใหม่  

และพวกเขาหาได้ให้ความสำคัญถึงผู้ใช้แรงงาน ผู้มีส่วนทำให้พวกเขาได้ประโยชน์จากกระบวนการผลิตในกิจการของพวกเขาแต่อย่างใด  เนื่องเพราะพวกเขาเคยชินกับการเป็นทุนอำมาตย์สามานต์ที่ขูดรีดแรงานอย่างที่เห็นและเป็นอยู่  มองแรงงานเสมือนทาสของพวกเขาเท่านั้นเอง

องค์กรแรงงานไม่ว่าในรูปแบบสหภาพแรงงาน สมาคม  สภาแรงงานต่างๆ  ก็ยังเงียบเฉยไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่แสดงบทบาทพลังเพื่อสนับสนุนนโยบายนี้ทั้งๆเอื้ออประโยชน์ให้กับผู้ใช้แรงงาน อย่างที่ควรจะเป็น ?

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อสื่อเก่าปะทะกับสื่อใหม่ในยุคดิจิตอล

0
0

สหัสวรรษใหม่มาถึงพร้อมกับยุคของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศทั่วโลก อันเป็นผลพวงของการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิตอลนำมาซึ่งการปะทะกันระหว่างสื่อเก่ากับสื่อใหม่ นวัตกรรมที่ไม่หยุดนิ่งของอุปกรณ์ดิจิตอลและการครอบงำของสื่อใหม่ที่ขยายตัวขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็นสื่อเก่าหรือที่เรียกว่าสื่ออนาล็อกโดยปริยาย นักวิชาการจำนวนมากถึงกับตั้งข้อสังเกตว่าความสามารถในการตอบสนองต่อวิถีชีวิตยุคใหม่ได้อย่างฉับไวและครบวงจรของสื่อดิจิตอลจะมาแทนที่ความสำคัญและยุติบทบาทของสื่อเก่าที่จะค่อยๆตายจากไปในอนาคตอันใกล้

หากจะวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีเทคโนโลยีสื่อสารเป็นตัวกำหนด (Technological Determinism) อิทธิพลที่ก่อตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงของระบบดิจิตอลอาจเป็นเสมือนภัยคุกคามต่อสื่อเก่าที่มาพร้อมกับสื่อใหม่ แต่ถ้ามองให้ลึกถึงบทบาทของสื่อในเชิงประวัติศาสตร์และสังคมแล้ว รูปแบบและการพัฒนาของสื่อใหม่นั้นล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของสื่อเก่าทั้งสิ้น ยิ่งเทคโนโลยีมีวิวัฒนาการไปไกลเท่าไหร่ ความเชื่อมโยงกับที่มาหรือต้นตอของแนวคิดที่มีมาก่อนก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

สื่อดิจิตอลที่ได้รับความนิยมยุคใหม่ล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบสร้างสรรค์และปรับปรุงจากบทบาทการทำงานของสื่อเก่า ยกตัวอย่างเช่น Kindle หนังสือดิจิตอลที่ถูกพัฒนามาจากหนังสือแบบเล่ม ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้อ่านสามารถเก็บหนังสือหลายร้อยเล่มไว้ในเครื่องมือเดียวโดยไม่มีความจำเป็นต้องวุ่นวายกับการแบกหนังสือทีละหลายๆเล่มอีกต่อไป

วิทยุดิจิตอลที่พัฒนามาจากวิทยุสื่อสารแบบเก่าก็ยังคงทำหน้าที่เดิม ถ้าไม่นับความแตกต่างของขนาดเมื่อเทียบ iPod กับวิทยุบูมบ็อกซ์แบบเด็กแร็พยุค 80 รวมไปถึงอีเมลที่พัฒนามาจากการสื่อสารทางจดหมายที่กลายเป็นเรื่องตกยุคไปแล้วหลังความสะดวกรวดเร็วทันใจของการส่งอีเมลเข้ามาแทนที่

ข้อจำกัดของสื่อเก่าอย่างหนังสือ วิทยุและจดหมายได้ถูกปรับปรุงผ่านการยกระดับประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีของสื่อใหม่ โดยอาศัยกลไกการทำงานทางสังคมแบบเดียวกับสื่อเก่า นอกจากการขยายศักยภาพสื่อใหม่บนฐานของสื่อเก่าแล้ว การควบรวมสื่อก็เป็นอีกแนวทางการพัฒนาทางเทคโนโลยีทีี่อาศัยการรวมสื่อมากกว่าสองประเภทไว้ในแพลตฟอร์มเดียว smartphone อย่าง iPhone เป็นการรวมโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต MP3 และกล้องเข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับ BlackBerry ที่เป็นการรวมโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ตกล้อง และโปรแกรมส่งข้อความแบบเรียลไทม์ไว้ในเครื่องมือเดียวกัน การรวมสื่อหลายประเภทเข้าไว้ด้วยกันในแพลตฟอร์มเดียวเอื้อให้คนรุ่นใหม่สามารถใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือมากกว่าที่เคยใช้ในอดีต เพราะเพียงแค่มี BlackBerry หรือ iPhone ก็สามารถพูดคุยกับผู้อื่นด้วยบริการส่งข้อความด่วนออนไลน์โดยไม่ต้องเปลืองค่าโทรศัพท์

จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีของสื่อใหม่ที่รุดหน้าไปมากเหล่านี้เป็นการปรับปรุงและพัฒนาที่สืบเนื่องมาจากคุณลักษณะร่วมกับต้นแบบเก่า มากกว่าที่จะเป็นการปฏิวัติเชิงนวัตกรรมอย่างถอนรากถอนโคน การรังสรรค์สื่อใหม่โดยตั้งอยู่บนฐานการใช้งานของสื่อรูปแบบเก่าเป็นการตอกย้ำคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสื่อเก่า เพราะอิทธิพลของสื่อเก่าที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านของสังคมและวัฒนธรรมก็เป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาไปสู่สื่อใหม่ที่ตอบรับความเป็นไปของสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

เมื่อเป็นเช่นนี้ สื่อใหม่และสื่อเก่าจึงไม่ได้แตกตัวออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้สื่อรูปแบบเก่าจะถูกมองว่าล้าสมัยหรือลดความสำคัญลงไปเมื่อสื่อใหม่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น แต่โครงสร้างพื้นฐานของมันก็ยังคงความสำคัญในแง่มุมทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากสื่อดิจิตอลในปัจจุบันต่างก็ทำหน้าที่สืบเนื่องจากสื่ออนาล็อกที่ถูกคิดค้นมาก่อน เช่นเดียวกับสถานะของสื่ออนาล็อกแต่ละชนิดเหล่านั้นเมื่อถูกนำเสนอสู่สาธารณชนครั้งแรก

ประสิทธิภาพที่ครอบคลุมกว้างไกลกว่าของสื่อใหม่ อันเป็นผลพวงของการปรับปรุงและเติมเต็มขีดความสามารถในการใช้งานของสื่อเก่า ย่อมลดบทบาทความสำคัญเชิงเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมของสื่อเก่าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สื่อใหม่ก็ไม่ได้นำมาซึ่งการสิ้นสุดของคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยาของสื่อเก่า สื่ออนาล็อกจะยังคงมีนัยสำคัญต่อวิวัฒนาการและกลไกการทำงานทางสังคมของสื่อดิจิตอล เทียบเท่ากับที่สื่อดิจิตอลในปัจจุบันจะมีต่อความรุดหน้าเชิงเทคโนโลยีของสื่อในอนาคต



 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

0
0

"..เพียงแต่ประชาชนในวันนี้ ได้เปลี่ยนจาก ”มุตตา” เป็น ”มุนินทร์” เสียแล้ว สิ่งที่ชนชั้นนำจะต้องเผชิญ คือ การไม่ยอมรับและตอบโต้อย่างเต็มที่จากประชาชน และในที่สุดชนชั้นปกครองจารีตก็จะต้องพ่ายแพ้ด้วยกาลเวลา และพ่ายแพ้ด้วยแรงเงาของประชาชนนั่นเอง"

จาก โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่๓๘๔ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

สหรัฐสั่งห้ามซื้อสินค้าไทย/ส่งออกหายกว่าแสนล้านเหตุใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ

0
0

สหรัฐสั่งห้ามหน่วยงานราชการซื้อ กุ้ง เสื้อผ้า น้ำตาล สื่อลามก และปลาจากไทย คาดอาจเกิดจากการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ

โพสต์ ทูเดย์ รายงานว่า นาย ปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศห้ามหน่วยงานราชการทั้งหมด สั่งซื้อสินค้าจากไทย 5 ประเภท คือ กุ้ง เสื้อผ้า น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย สื่อลามก และปลา เป็นสินค้าประเภทล่าสุดที่มีการประกาศเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันไทยส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐอเมริกากว่า 70,000 ล้านบาท และปลา 30,000 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากเห็นว่าเป็นสินค้าที่อาจเกิดจากการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ

กรม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็ก โดยจะสำรวจความต้องการของแรงงานต่างด้าวที่ต้องการส่งลูกกลับประเทศต้นทาง ทั้งในกลุ่มที่เข้ามาทำงานในไทยทั้งถูกกฎหมายและแรงงานผิดกฎหมาย หากได้จำนวนที่ชัดเจนและแรงงานต่างด้าวยินยอมจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องและประเทศต้นทางเพื่อส่งลูกของแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ ส่วนลูกแรงงานต่างด้าวที่ยังอยู่ในประเทศไทยจะส่งไปอยู่ในศูนย์เลี้ยงเด็ก โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอม เพื่อป้องกันลูกของแรงงานต่างด้าวเข้าไปอยู่ในสถานประกอบการทำให้ถูกมองว่า เป็นการใช้แรงงานเด็ก
         
"ได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานจังหวัด ดูแลเรื่องการใช้แรงงานเด็กและการหักเงินค่าจ้างลูกจ้างที่เป็นแรงงาน ต่างด้าวเพื่อเป็นค่าบริการจัดหางานหรือค่าหัวคิวที่เข้ามาทำงานในไทย โดยนายจ้างที่กระทำผิดจะมีโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป" นายปกรณ์ กล่าว

 

ที่มา: โพสต์ ทูเดย์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50704 articles
Browse latest View live