Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live

“ชายแดนใต้ ในสายตารุสนี” มองปัญหาความไม่สงบผ่านมุมวรรณกรรม

$
0
0

เวทีมนุษย์ฯ - สังคมเสวนา ครั้งที่ 3 แลกเปลี่ยนเสวนา ผ่านวรรณกรรม นวนิยายรุสนี 1 ใน 15 เรื่อง ที่ผ่านรอบแรก นวนิยายซีไรต์ ปี 2555 ของมนตรี ศรียงค์

ใต้ตึกคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เวลาบ่ายโมงครึ่งของวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 นักศึกษากว่า 150 คน นั่งบนเสื่อราบกับพื้นต่างจดจ้องไปที่ภาพเบื้องหน้าบนแคร่ไม้ไผ่ที่ปูผ้าปาเต๊ะอย่างง่าย ของเวทีมนุษย์ฯ - สังคมเสวนา ครั้งที่ 3 “ชายแดนใต้ ในสายตารุสนี” ที่โครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อการบูรณาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณจัดขึ้น

ผศ. ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ กรรมการอำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อการบูรณาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เกริ่นนำว่า อาจารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กล่าวไว้ว่า วรรณกรรมเป็นวิญญาณของประเทศและสังคม ดังนั้นวรรณกรรมกับชีวิตจึงไม่อาจแยกออกจากกัน ทั้งสามารถที่จะช่วยผลักดันให้ชีวิตมีความเปลี่ยนแปลงได้ เช่นเดียวกับงานเขียนเรื่องรุสนี จึงย่อมมีสายตาของผู้ประพันธ์ “มนตรี ศรียงค์” ที่หยิบยกเรื่องราวชายแดนใต้อย่างสะเทือนใจ ตรงไปตรงมา ทว่ารวดร้าว เพราะเรื่องราวเหล่านี้เอาเข้าจริงไม่จำกัดเฉพาะคนในเท่านั้น หากแฝงฝังเข้าไปในโครงสร้างความรู้สึกของสังคม ดังเช่นหนุ่มไทยพุทธรับอุปการะรุสนี

“ในแง่นี้หากกล่าวในสำนวนของ กนกพงศ์ สงสมพันธ์ กวีซีไรต์ผู้ล่วงลับ กล่าวได้ว่า มนตรี ศรียงค์ ได้ทำหน้าที่เลขานุการทางประวัติศาสตร์ แล้วอย่างไม่ต้องสงสัย วรรณกรรมเหล่านี้ สถาพร ศรีสัจจัง ถึงกลับกล่าวว่า เป็นหนังสือที่ผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาชายแดนใต้ต้องอ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีของท่าน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ กล่าวก่อนเปิดวงเสวนา


มนตรี ศรียงค์

แล้วนายมนตรี ศรียงค์ กวีซีไรต์ปี 2550 นายจรูญ หยูทอง นักวิชาการ นักคิดนักเขียนผู้มีประสบการณ์ นายปรเมศวร์ กาแก้ว นักวิชาการ นักคิดนักเขียนรุ่นใหม่ และผศ.ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ค่อยทยอยนั่งเป็นแคร่ร่วมแลกเปลี่ยนเสวนาผ่านวรรณกรรม นวนิยายรุสนี 1 ใน 15 เรื่อง ที่ผ่านรอบแรก นวนิยายซีไรต์ ปี 2555 ของมนตรี ศรียงค์

“พี่มนตรี” นายมนตรี ศรียงค์ เล่าถึงความเป็นมาของนวนิยายายรุสนีว่า เมื่อก่อนทางศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้โทรศัพท์ติดต่อให้เขียนเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งคือ “รุสนี” เกี่ยวกับชายแดนใต้ ทั้งๆ ที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับชายแดนใต้เลย ก็เหมือนคนทั่วไปที่เสพสื่อผ่านหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เพื่อตีพิมพ์ตีพิมพ์ในดีฟเซ้าท์แม็กกาซีน

ต่อมามีแนวคิดที่จะขยายให้เป็นนวนิยาย จึงหาข้อมูลด้วยการไถ่ถามจากเพื่อนพ้องใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งพุทธและมุสลิม โดยให้ซาการียา อมตยา กวีซีไรต์ 2553 เล่าฉากหมู่บ้านของเขา คือหมู่บ้านแคและ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ที่อยู่ริมเทือกเขาบูโด จากนั้นไว้นำพาตัวละคร เนื่องจากฉากในชายแดนใต้เป็นฉากที่ไม่คุ้นเคยจึงจำเป็นต้องนำตัวละคนรุสนี ยะยา ซูไฮมิง มาโลดแล่นในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

“เมื่อก่อนได้ยินว่ามีกลุ่มขบวนการอันมีอุดมการณ์แรงกล้ามีอยู่ ทว่าบนเทือกเขาบูโดหาได้มีขบวนการใหม่ ดังนั้นปัญหาชายแดนใต้จึงเป็นดินแดนลึกลับ เป็นเขตหวงห้ามสำหรับคนอื่น แต่หากเราต้องการทำความเข้าใจสำหรับคนอื่น เราก็ต้องทำตัวให้เป็นคนอื่น” เป็นสายตาที่มองโดยพี่มนตรี


พรพันธุ์ เขมคุณาศัย

ผศ.ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย ตั้งข้อสังเกตถึงนวนิยายรุสนีว่า เหมือนฉากและตัวละครทุกตัว เป็นสัญญะบางอย่างที่ไม่ทราบว่าคืออะไร ในช่วงปี 2522-2524 ซือเกะแซกอง นำเสนอความไม่ไว้วางใจระหว่างคนพุทธกับมุสลิม แต่ผ่านมา 3 ทศวรรต ความขัดแงปริย้าวยิ่งขยายวงกว้างขึ้นระหว่างมุสลิมกันเอง พุทธกันเองด้วย


จรูญ หยูทอง

ขณะที่“รูญ ระโนด” นายจรูญ หยูทอง ผู้อ่านต้นฉบับแรกๆ ของรุสนี มองว่า ชายแดนใต้ในสายตารุสนีมีคำตอบอยู่แล้ว แต่ไม่อยากให้จบลงแบบนี้ โดยรูญ ระโนด ถึงกับร้องไห้จาก 2 ฉากในเรื่อง คือตอนที่รุสนีถูกอดุลย์ข่มขืน และยะยาถูกมองว่าเป็นต้นเหตุของความเดือดร้อนของหมู่บ้านแคและ ตอนรุสนีถูกข่มขืน เธอกล่าวว่า มนุษย์ไม่มีที่พึ่งใดนอกจากอัลเลาะห์ เมื่ออดุลย์ซึ่งเป็นมุสลิมข่มขืนรุสนีซึ่งเป็นมุสลิมด้วยกัน เธอกลับภาวนาว่า เขาคือคนหลงผิด ขอให้อัลเลาะห์ให้อภัยกับเขาเถิด

จรูญ หยูทอง ตั้งคำถามว่า แล้วเมื่อบนเทือกเขาบูโดไม่มีอะไร ไม่มีขบวนการแบ่งแยกดินแดนใหม่ แล้วคนตายที่ตากใบคือใคร คนตายที่กรือเซะคือใคร

“คนๆหนึ่งที่หากินด้วยการขายบะหมี่แต่เข้าใจปัญหากว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผมมองในแง่ดีหากเขาได้ซีไรต์กรรมการอาจตาถึง แต่ถ้าไม่ได้ซีไรต์ฝีมือเขาอาจไม่ถึง แต่หากการไม่ได้ซีไรต์อาจโชคดีตรงที่ไม่ถูกวิพากษ์วิจารย์จากนักวิจารย์ที่มองตรงกันข้าม” จรูญ หยูทอง แสดงความเห็น


ปรเมศวร์ กาแก้ว

ปรเมศวร์ กาแก้ว มองว่า เมื่อมองมิติทุกตอนเห็นชัดว่านวนิยายเรื่องนี้เหมือนการพิพากษาอะไรบางอย่าง ใครเป็นผู้พิพากษา ใครถูกพิพากษา ยะยาถูกพิพากษา หรือยะยาพิพากษาสังคม ปรเมศวร์นึกถึงนวนิยายคำพิพากษาของชาติ กอบจิต ไอ้ฟักถูกพิพากษา หรือสังคมถูกพิพากษาว่าพิพากษาทั้งที่ไม่มีข้อมูล ก็เหมือนที่ยะยาถูกพิพากษาว่าเป็นแนวร่วมขบวนการก่อความไม่สงบ

ปรเมศวร์ วิเคราะห์ว่า สังคมพยายามสร้างชุดความคิดว่ามุสลิมเป็นแบบนั้นแบนี้ คำถามที่อยู่ในใจรุสนี คำถามที่อยู่ในใจเขา สุดท้ายแล้วใครกลัวใคร สังคมบอกว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้พยายามแบ่งแยกดินแดน จากข่าวบางทีอาจไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดน รู้สึกว่าคน 70 กว่าจังหวัดกำลังพยายามถีบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ออกไปมากกว่า เขาบอกไม่ได้แบ่งแยก เขาเป็นคนส่วนน้อยจะสู้อำนาจ 70 กว่าจังหวัดอย่างไร อาจจะเป็นโครงสร้างของรัฐเป็นต้นเหตุของความรุนแรงหรือเปล่า

“พี่มนตรี” เล่าถึงกระบวนการเขียนเรื่องสั้นรุสนีแล้วขยายให้เป็นนวนิยายรุสนีนั้น เมื่อหาข้อมูลจึงเกิดการตั้งคำถามกับตัวเองว่าในท่ามกลางความแตกต่างเราอยู่ด้วยกันไม่ได้จริงเหรอ พี่มนตรีมองว่ามันต้องอยู่ด้วยกันได้ จึงสร้างตัวละคร “เขา” ซึ่งเป็นไทยพุทธอายุกว่า 40 ปี ขึ้นมาให้สัมพันธ์กับรุสนี เด็กสาวมุสลิมแรกรุ่น โดยชะตากรรมนำพาให้พบกัน

“พี่มนตรี” บอกถึงการวางพล็อตเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ที่หญิงสาวมุสลิมจะมาอยู่ท่ามกลางชุมชนไทยพุทธ ไม่มีมัสยิดสักหลัง เพื่อต้องการบอกว่าท่ามกลางความสุดโต่งเราอยู่ร่วมกันได้ เหตุการณ์ที่ตันหยงลิมอ กรือเซะ ตากใบ มันมีความขัดแย้งรุนแรงมาก มันมีคำตอบอยู่แล้วว่าความสันติไม่ได้เกิดจากสงครามอย่างแน่นอน ตรีมของเรื่องคือการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความขัดแย้งทั้งหลาย มีการเมืองมาเกี่ยวข้องให้เกลียดกันทางชาติพันธุ์ การละลายความเกลียดชัง ทำไมเราจึงเกลียดกันถ้าตอบคำถามได้ เราก็ละลายความเกลียดชังได้

ปรเมศวร์ กาแก้ว บอกว่าเขาชอบตัวละครซูไฮมิงเด็กชายมุสลิมขาลีบพิการ ที่ถูกบีบจากการทาบทามให้เข้าขบวนการก่อความไม่สงบ แล้วเขาเลือกหนีเข้ามาเรียนที่หาดใหญ่ทว่าเขาถูกกระทำกลั่นแกล้งจากเพื่อนในโรงเรียนใหม่สารพัด

ขณะที่จรูญ หยูทอง บอกถึงตัวละครที่ประทับใจ โดยตอนแรกจรูญชอบยะยา เด็กหนุ่มมุสลิมแห่งหมู่บ้านแคและที่ถูกกระทำ เพราะนึกว่าเป็นพระเอกของเรื่อง ต่อมาต่อมานึกว่าซูไฮมิง เด็กหนุ่มมุสลิมขาลีบพิการที่ไถูกกระทำไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นพระเอกของเรื่อง จะเห็นได้ว่าผู้อ่อนแอคือเหยื่อถูกกลั่นแกล้งรังแกสารพัด ซูไฮมิงไม่ควรถูกรังแกจากอดุลย์

วันที่รุสนีไม่มีใคร ซูไฮมิงพยายามเข้าปลอบประโลมและหยิบยื่นความรักให้รุสนี แต่รุสนีกลับปฏิเสธเขา ซูไฮมิงก็ยอมรับ ทุกครั้งที่เขาพูดกับรุสนีเขาจะลูบขาข้างลีบพิการของเขาเสมอ ซูไฮมิงจึงเป็นนักสู้แต่สังขารไม่อำนวย อดุลย์ชิงข่มขืนรุสนี เพราะรู้ว่าซูไฮมิงชอบรุสนี ส่วนฉากในวัดที่หมู่บ้านทุ่งงายที่รุสนีอธิบายกับพระ ท่ามกลางการเฝ้าดูของชาวบ้าน ถึงกับทำให้หญิงชราที่เกลียดรุสนีถึงกับกอดรุสนี

“ถึงจะรู้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องแต่ง ผมเชื่อว่าเขาได้หยิบฉวยความจริงจากข่าวในหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ มาประกอบด้วย วรรณกรรมวัดค่ากันว่าวรรณกรรมที่ดีต้องนำผู้อ่านให้รู้สึกคล้อยตามไปโดยธรรมชาติ ไม่ใช่เทศนาให้คนอ่านรู้สึกไปเอง” จรูญ หยูทอง แสดงความเห็น

มนตรี ศรียงค์ บอกว่า ตัวละครยะยา รุสนี และซูไฮมิง เป็นสัญลักษณ์ของชายแดนใต้ ความสำคัญของยะยากับซูไฮมิง เมื่อถึงจุดพีคสุด ยะยาถามหาปืนสักกระบอก แต่สุไฮมิงภาวนาขอให้เขาเขาหายขาลีบสักวันหนึ่ง จุดพีคสุดของรุสนี เธอลูบท้องที่ถูกอดุลย์ข่มขืนยอมรับชะตากรรม โดยต่อมามีเขาเข้ามา

ผศ. ดร.ณฐพงศ์ แสดงความเห็นว่า เมื่ออ่านเรื่องนี้จบพบว่าความรักงดงามเสมอไม่ว่าในสถานการณ์ใด แม้แต่ความเป็นแม่ของรุสนีที่ถูกอดุลย์ข่มขืน แต่เมื่อเสียงปืนดังขึ้นความรักมันถูกฉุดคร่า ฉีกขาด ปัญหาความฉีกขาดเหล่านี้ พอจะมีอะไรสมานท์รอยแผลได้ ความไม่รู้ไม่เข้าใจที่ภูกฝังในความรู้สึกทำให้การคลี่คลายปัญหามันยากขึ้น

มนตรี ศรียงค์ อธิบายถึงนวนิยายของตัวเองว่า หลวงพ่อเพชรวัดทุ่งงาย ได้เรียกรุสนีไปพูดคุย ขณะที่ชาวบ้านมานั่งล้อมฟัง ฉากนั้นมนตรีในสายตาของหลวงพ่อเพชร ไม่มีคำว่าหมา แมว อะไรทั้งสิ้น มีแต่เพื่อนผู้ร่วมทุกข์ ถ้าเรามองคนอื่นเป็นมนุษย์ ต่อให้มีความขัดแย้งแตกต่างอย่างไรก็ตามถ้าพูดคุยกันได้ต้องวางอาวุธก่อน

ในกรณีชายแดนใต้สาเหตุคืออะไร ชายแดนใต้วันนี้ปัญหามันเหมือนขี้ก้อนใหญ่ จิ้มไปตรงไหนก็คือขี้ ฉะนั้นรัฐต้องแก้ปัญหาและรื้อโครงสร้างทั้งระบบใหม่หมดทุกด้าน โดยการมองเขาในฐานะมนุษย์เท่านั้น อำนาจหนังสือเล่มนี้มีมีอยู่ แต่ก็แค่ประหนึ่งไม้ขีดไฟเล่มเล็กถ้าไม่สันดาปชนวนทางความคิด ไฟก็ไม่ติด ขึ้นอยู่กับคนอ่านจะหยิบนำไปขับเคลื่อนอย่างไร

“ถ้านวนิยายรุสนีสามารถละลายความเกลียดชังทางศาสนา และชาติพันธุ์ได้ รางวัลซีไรต์ไม่เรื่องสำคัญสำหรับผมครับ” มนตรี ศรียงค์ ลั่นวาจาด้วยความมุ่งมั่น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โอลิมปิก 2012: กรีซแบนนักกีฬาทวีตเหยียดผิว

$
0
0

คณะกรรมการโอลิมปิกของกรีซตัดสินใจตัดนักกรีฑาหญิงคนหนึ่งออกจากทีม เนื่องจากใช้โปรแกรมโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ แสดงข้อความ “เหยียดผิว” ซึ่งเป็นการขัดต่อคุณค่าและอุดมคติของกีฬาโอลิมปิก ด้านพรรคการเมืองฝ่ายขวาออกมาตำหนิการตัดสินใจแบนครั้งนี้

 

 

 

 

Paraskevi "Voula" Papahristou นักกีฬาเขย่งก้าวกระโดดแชมป์เยาวชนยุโรปคนล่าสุดเมื่อปี 2011

26 ก.ค. 55 – กระแสการขจัดทัศคติเหยียดผิวให้ออกห่างจากเกมส์กีฬายังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้น ล่าสุด Paraskevi "Voula" Papahristou นักกีฬาเขย่งก้าวกระโดด (triple jumper) ทีมชาติกรีซ ถูกตัดออกจากทีมโอลิมปิก หลังโพสต์ข้อความลงในทวิตเตอร์ส่วนตัวเมื่อวันที่ 22 ก.ค.55 ที่ผ่านมา โดยมีการตีความในวงกว้างว่าเป็นการเหยียดผิวชาวแอฟริกันที่อาศัยอยู่ในกรีซ

เธอได้โพสต์ทำว่า "มองในแง่ดียิ่งมีชาวแอฟริกันเพิ่มขึ้นในกรีซมากเท่าไร อย่างน้อยยุงเวสต์ไนล์ก็จะได้กินอาหารพื้นบ้านของตัวเอง" หลังจากนั้นก็ได้มีการลบข้อความนี้ออกจากทวิตเตอร์ส่วนตัวของเธอ หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

ต่อมาคณะกรรมการโอลิมปิกกรีซตัดสินใจที่จะตัดชื่อเธอออกจากทีมนักกีฬาชุดสู้ศึกลอนดอนเกมส์ เนื่องจากเห็นว่า Papahristou ได้แสดงพฤติกรรมที่สวนทางกับคุณค่าและอุดมคติของกีฬาโอลิมปิก และการโพสต์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการขัดต่อกฎบัตรโอลิมปิก (Olympic Charter) อย่างชัดเจน ส่วน Papahristou เองก็ได้ออกมาแสดงสปริริตขอโทษต่อสาธารณะชนและขอให้เพื่อนนักกีฬาให้อภัยเธอหากสิ่งที่เธอทำไปได้สร้างความไม่สบายใจให้กับคณะนักกีฬาทีมชาติกรีซ

และในวันนี้ (26 ก.ค.) เว็บไซต์ Guardian ได้รายงานว่าพรรครุ่งอรุณ (Golden Dawn party) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวาของกรีซได้ออกมาโจมตีการขับ Papahristou ออกจากทีมโอลิมปิก โดยพรรครุ่งอรุณซึ่งมีนโยบายต่อต้านแรงงานอพยพได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในครั้งล่าสุด 18 ที่นั่ง (จากที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภากรีซ 300 ที่นั่ง) ได้แสดงข้อความสนับสนุน (หรือซ้ำเติมกันแน่) ต่อ Papahristou ว่า “สำหรับกรีซ การเหยียดเชื้อชาติมีอย่างเดียวเท่านั้น นั่นก็คือการเหยียดชาวกรีก”

อนึ่ง Papahristou เป็นนักกีฬาเขย่งก้าวกระโดด ทีมชาติกรีซ ที่ได้อันดับ 11 ในการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปในปีล่าสุด (2012) ที่ฟินแลนด์ ได้อันดับที่ 16 ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่ประเทศเกาหลีใต้ในปี 2011 และได้อันดับหนึ่งในการแข่งขันชิงแชมป์เยาวชนยุโรป (European U23 Championships) ที่สาธารณะรัฐเช็ก ในปี 2011

  

ประกอบการเขียน:

http://en.wikipedia.org/wiki/Golden_Dawn_%28Greece%29 (เข้าดูเมื่อ 26-7-2012)

http://en.wikipedia.org/wiki/Voula_Papachristou (เข้าดูเมื่อ 26-7-2012)

London 2012: Greek athlete's racism ban condemned by far-right party (Guardian, 26-7-2012)

Voula Papachristou expelled from Greece's 2012 Summer Olympics team for racist tweet (http://blog.zap2it.com, 25-7-2012)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ: คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)

$
0
0

ออกแล้ว คำวินิจฉัยกลาง (อย่างเป็นทางการ) ที่ 18-22/2555 เรื่องคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68

26 ก.ค. 55 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยกลางที่ 18-22/2555 เรื่องคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามที่มีผู้ร้องให้ศาลวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เป็นการล้มล้างการปกครองหรือเป็นการให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง โดยวิถีทางที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับมาตรา 68 หรือไม่ รวมทั้งสิ้น 29 หน้า โดยมีประเด็นวินิจฉัยทั้งสิ้น 4 ประเด็น

โดยประเด็นที่หนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการรับคำร้องวินิจฉัยคดีนี้หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ศาลฯมีอำนาจหน้าที่ในการรับวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว ตามมาตรา 68 วรรคสอง โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่แค่พิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น ไม่มีอำนาจตัดสิทธิการร้องของบุคคลโดยตรง ในประเด็นที่สอง การแก้ไขรัฐธรมนูญ มาตรา 291 ทำได้ทั้งฉบับหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะเป็นอำนาจรัฐสภา แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขทั้งฉบับได้ เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติโดยประชาชน ดังนั้น ควรถามประชาชนก่อนแก้ไข ประเด็นที่ สาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภานี้ เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขหรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้ชัดได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดการล้มล้างการปกครอง เพราะเป็นเพียงการกล่าวอ้าง และแสดงความเป็นห่วงเท่านั้น จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง และเมื่อยกคำร้องแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาในประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมือง

โดยคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ มีรายละเอียด ดังนี้

คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ: คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อะเจห์ใต้เงามืดของภัยพิบัติ : สงครามกลางเมือง ความขัดแย้ง และสึนามิ

$
0
0

ถ้าเป็นคนไทยจะพูดว่า “ทำไมมันซวยซ้ำซวยซ้อนอย่างนี้”

แต่นี่เป็น อะเจห์ แถมไม่รู้ภาษาท้องถิ่น ก็เลยไม่รู้ว่าจะยกวลีใดมาเพื่อทำให้เห็นภาพความซ้ำซ้อนของหายนะที่เคยเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 [1] ที่ผ่านมา

โดยทั่วไปนักวิชาการด้านสังคมวิทยาแบ่งลักษณะของภัยพิบัติไว้ 3 ประเภท คือ ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยพิบัติจากน้ำมือของมนุษย์ และภัยพิบัติที่เป็นลูกผสมระหว่างธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์

ในอะเจะห์ถือเป็นภัยพิบัติประเภทที่ 3 คือ ภัยพิบัติที่เป็นลูกผสมระหว่างธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์

จะว่าไป...สันติภาพในวันนี้ของอะเจห์ มี ‘จุดเปลี่ยน’ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า turning point ที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ เกิดขึ้นพร้อมกันเมื่อกว่า 7 ปีที่ผ่านมา เพื่อนอะเจห์บางคนอธิบายว่า ในความเป็นจริงแล้ว กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในอะเจห์นั้น ได้ดำเนินการมาตลอดอย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่ไปกับสถานการณ์ความรุนแรง นี่ก็เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้อะเจห์เกิดสันติภาพได้เร็วขึ้นเพราะมีข้อมูลทุกอย่างอยู่ในมือพร้อมแล้ว รอเพียงแต่ว่าเมื่อไหร่จะทำให้คู่ความขัดแย้งตกลงปลงใจพร้อมกันและทำให้สันติภาพสัมฤทธิ์ผลขึ้นมาเท่านั้นเอง

ภาพ : การเซ็นสัญญาข้อตกลงสันติภาพ (Memorandum of Understanding-MOU) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ณ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศสวีเดน การเซ็นสัญญามีใจความสำคัญ 2 ประการ คือ รัฐบาลจาร์การ์ต้าจะยอมผ่านกฎหมายว่าด้วย การให้จังหวัดอะเจห์เป็นเขตปกครองตนเอง และสามารถจัดการทรัพยากรของตัวเองได้
ที่มา : Okezone.com news &entertainment สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555 สืบค้นจาก http://news.okezone.com/read/2010/08/15/337/363154/aceh-gelar-cerdas-cermat-5-tahun-mou-helsinki

การทำข้อตกลงร่วมกัน (Memorandum of Understanding-MOU) สามารถดึงเอาผู้นำรัฐบาลจาร์การ์ต้าและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพอะเจห์ (Free Aceh Movement)มาทำความตกลงกันที่เมืองเฮลซิงกิ (Helsinki) ประเทศสวีเดนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ตอนแรกถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากผู้นำการเจรจาก็ยังเคลือบแคลงและสงสัยอยู่ว่า สันติภาพ จะเกิดขึ้นได้ไหม? รัฐบาลจาร์การ์ต้าจะยอมหรือเปล่า? ฝ่ายกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพจะยอมทิ้งอาวุธหรือไม่?

แต่เป็นที่แน่ชัดว่า การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และสึนามิที่ทำให้เกิดการสูญเสียคนกว่าแสนคนที่มีทั้งฝ่ายรัฐ [2] และฝ่ายเคลื่อนไหวเลิกคิดที่จะรบกันแต่อยากจะกลับมาสร้างบ้านและฟื้นฟูชุมชนของตัวเองเหนือสิ่งอื่นใด

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้พัดพาอัตลักษณ์ของความเป็นรัฐและกลุ่มเคลื่อนไหวออกไป จนเหลือเพียงแต่อัตลักษณ์ของความเป็นปุถุชนธรรมดาที่เกิดความรู้สึกทุกข์และสูญเสียร่วมกันภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้เกิดความอ่อนล้าและหมดเรี่ยวแรงจะรบราฆ่าฟันและเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะหันหน้าเข้าหากันยุติความรุนแรงที่มาอย่างยาวนานหลายสิบปีด้วยเหตุดังกล่าวสันติภาพจึงเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สึนามิเพียง 7 เดือน

รากเหง้าความรุนแรงในอะเจห์ [3]

ประวัติศาสตร์ช่วงยุคอาณานิคมและผลประโยชน์ด้านทรัพยากร คือ เหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาในอะเจห์บานปลายและขยายเป็นวงกว้าง

อะเจห์มักจะกล่าวว่า ตนเองไม่เคยเป็นอาณานิคมของใครหรือแม้แต่ของดัชท์ เพราะในช่วงดังกล่าว อะเจห์ได้มีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างยุโรปและกลุ่มตะวันออกกลาง เพียงแต่ว่าได้เข้าร่วมต่อสู้เพื่อปลดแอกความเป็นเอกราช

ภาพ : กองกำลังเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ที่มา: สืบค้นจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/File:Free_Aceh_Movement_women_soldiers.jpg
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555

ในช่วงยุคล่าอาณานิคม ก่อนประเทศอินโดนีเซียจะเรียกตัวเองว่า ‘ประเทศ’ และเป็น ‘อินโดนีเซีย’ดังเช่นทุกวันนี้ อินโดนีเซียเป็นเพียงชนเผ่า และหมู่เกาะ เกือบทั้งหมดตกเป็นเมืองขึ้นของดัชท์ (Dutch)

อะเจห์เข้าร่วมต่อสู้กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2549 และจาร์การ์ต้าเองก็ยกให้อะเจห์อยู่ในสถานะเป็น ‘เขตพิเศษ’ เพื่อนชาวอะเจห์บอกว่า อะเจห์ร่ำรวยอยู่แล้ว มีทองมากมายขุดแทบไม่หวาดไม่ไหว สามารถซื้อเครื่องบินให้จาร์การ์ต้าช่วยรบกับดัชท์ได้ด้วยซ้ำ ทั้งยังเป็นเสนาธิการ ช่วยวางแผนกลยุทธ์ทางทหารจนได้ชัยชนะ สามารถปลดแอกจากการเป็นเมืองขึ้นได้ในท้ายที่สุด และเนื่องจากอะเจห์มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญ คือ ป่าไม้ แก๊ส และน้ำมันนี้เองทำให้จาร์การ์ต้ากลับลำ ไม่ยอมปล่อยอะเจห์ให้เป็นอิสระหลังจากได้เป็นเอกราชจากดัชท์แล้ว และนี้คือที่มา ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพของอะเจห์ หรือกลุ่ม ‘กัม’ (GAM-Geakan Aceh Merdeka)ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 และความขัดแย้งได้ขยายตัวเพราะรัฐบาลอินโดนีเซียเริ่มใช้กำลังทางทหารและจัดการด้วยความรุนแรง กวาดล้างไม่เลือกแม้แต่ชาวบ้านธรรมดาก็ติดร่างแหเข้าไปด้วยสถานการณ์ดังกล่าวได้ผลักดันให้ชาวบ้านธรรมดาเริ่มเข้าร่วมกับกลุ่มกัมและเห็นชอบให้อะเจห์แยกตัวออกมาจากประเทศอินโดนีเซียมากขึ้น

ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีความพยายามสร้างกระบวนการสันติภาพ แต่ก็ยังไม่มีใครยอมใคร ฝ่ายกลุ่มกัมเองก็อ้างเรื่องการเป็นเอกราชและไม่เคยอยู่ในอาณัติใคร ฝ่ายรัฐบาลเองก็ได้รับความกดดันจากฝ่ายรักษาความมั่นคงให้เร่งรัดการกำจัดฝ่ายกบฎมากกว่าการเจรจา

ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสันติภาพ

แผ่นดินไหวและสึนามิ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ

ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง โยโดโน ตัดสินใจช่วยเหลืออะเจห์อย่างไม่ลังเลใจ ท่านได้สั่งการและเปิดช่องทางให้ทหารจากต่างประเทศรวมทั้งความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ เข้าไปในอะเจห์ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลจาร์การ์ต้าไม่เคยอนุญาติให้ชาวต่างชาติเข้าไปทำวิจัย [4] หรือเหยียบย่างเข้าไปให้ความช่วยเหลืออะเจห์ ในฐานะดินแดนต้องห้ามอันเป็นคู่กรณีของรัฐมาก่อน

ดังนั้นความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆจึงไหลบ่าเข้าไป สนามบินในเมืองอะเจห์เต็มไปด้วยสายการบินจากนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น จีน สเปน รัสเซีย เครื่องบินทหารจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างไม่ขาดสาย และนี้ทำให้ความขัดแย้งที่มีเหตุมาจากศาสนาและชาติพันธุ์ของทั้งฝ่ายรัฐบาลจาร์การ์ต้าและอะเจห์ ได้ขาดสะบั้นลง และสามารถดึงทุกฝ่ายเข้าร่วมเจรจาสันติภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ความรู้และการกระทำซ้ำๆเพื่อป้องกันภัย

การเรียนรู้เพื่อป้องกันภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นจากธรรมชาติหรือภัยพิบัติที่มาจากน้ำมือของมนุษย์นั้น จะได้มาด้วย 2 ปัจจัยสำคัญ คือ ความรู้และการฝึกปฏิบัติซ้ำๆ

ความรู้แบบสหสาขาวิชา คือ สิ่งที่จะเข้ามาช่วยให้เข้าใจรากเหง้าของปัญหาและนำมาซึ่งการป้องกันและแก้ไขปัญหา เพราะสังคมไม่ได้อยู่ที่องค์ความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การจัดการภัยพิบัติที่มาจากธรรมชาติไม่ได้อยู่ในมือของนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกร เช่นเดียวกันกับการจัดการภัยพิบัติที่มาจากน้ำมือของมนุษย์ก็ไม่ได้อยู่ในมือของนักรัฐศาสตร์เท่านั้น เพราะเมื่อเวลาเกิดผลกระทบกับสังคมทุกความรู้ที่เป็นสหสาขาวิชา ได้แก่ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและจำเป็นทั้งสิ้น ทั้งนี้เมื่อความรู้ที่เป็นจริงรวมกันเข้า ความรู้ทั้งหมดนี้จะกลายเป็น ‘สัจธรรม’ (true knowledge is truth)ที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งหลายอย่างไรก็ตาม ความรู้และสัจธรรมที่มีอยู่ ยังต้องการการปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อทำให้เกิดความเคยชินจะว่าไปการสอนมนุษย์ก็เหมือนกับการสอนเด็ก กว่าเราจะเขียนเป็นประโยคได้หรืออ่านหนังสือเป็นหน้าๆ ได้ ต้องอาศัยการฝึกเขียน ก. ไก่ ข.ไข่ มาโดยตลอดในช่วงเวลาวัยเยาว์ ดังนั้นการได้มาซึ่งสันติภาพและความสามารถในการป้องกันตัวเองจากภัยพิบัติ นอกจากความรู้แล้วยังต้องอาศัยการกระทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องและยาวนานเพียงพอ ถ้าจะให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสันติภาพคงต้องปลูกเมล็ดพันธุ์สันติภาพ [5] ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือจะให้สังคมไทยเรียนรู้รับมือกับภัยพิบัติ อย่างน้อยก็คงต้องมีบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล และกระทำเรื่อยมาจนถึงมหาวิทยาลัย

สังคมไทย ณ ตอนนี้เรามีความขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อเหลือง-เสื้อแดง หรือเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะว่าไปความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งมีการผลิตซ้ำจนเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง คือสิ่งที่ชอบธรรมและถูกต้องความรู้และการปฏิบัติซ้ำๆ ที่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงและความประมาณไม่เตรียมพร้อมกับภัยพิบัติเกิดขึ้นได้ฉันใด ความรู้และการปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อนำมาสร้างกลไกแห่งสันติภาพและการป้องกันภัยพิบัติที่มาจากธรรมชาติก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยฉันนั้น ผู้เขียนหวังเล็กๆ ว่า สังคมไทยคงไม่น่าจะต้องรอให้ถึงคนรุ่นถัดไปมาเรียนรู้ความขัดแย้งและความประมาทของพวกเราผู้ใหญ่ในยุคปัจจุบัน สันติภาพและความไม่ประมาทจึงถึงจะเกิดขึ้น

 

ภาพ: ความเสียหายหลังสึนามิ ณ ลัมโน (Lamno) จังหวัดอะเจห์ ประเทศอินโดนีเซีย ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 โดย Christian Aslund
ที่มา : Christian Aslund สืบค้นจาก http://www.google.com.au/imgres?um=1&hl=en&sa=N&biw=1090&bih=619&tbm=isch&tbnid=mTznHDuGy16P-M:&imgrefurl=http://www.lightstalkers.org/images/show/112084&docid=K6w92KyBOz2AyM&imgurl=http://s3.amazonaws.com/lightstalkers/images/112084/2005Aceh01_large.jpg&w=800&h=521&ei=4bkQUIPRK-2NiAfOj4BA&zoom=1&iact=hc&vpx=478&vpy=278&dur=164&hovh=181&hovw=278&tx=203&ty=116&sig=103733211876075597306&page=5&tbnh=132&tbnw=174&start=75&ndsp=20&ved=1t:429,r:7,s:75,i:340
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555

 

ภาพ: ความเสียหายจากสึนามิบริเวณมัสยิดกลางของอะเจห์
ที่มา : ngecampสืบค้นจาก http://ngecamp.blogspot.com.au/2012/04/sumatera-earthquarke-89-sr-stunami-2012.html สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555

บรรณานุกรม

  • Vatiliotis, M. (2007) ‘Civil War, Conflicts and Natural Disasters’, in Ananta, A. and Onn, L. P. (eds) Aceh a New Dawn, Singapore, Institute of Southeast Asian Studies, pp. 6 – 13.

ข้อมูลเพิ่มเติม:

  1. ผู้เสียชีวิตประมาณ 180,000 คน มีคนไร้บ้านกว่าครึ่งล้าน และหมู่บ้านกว่า 600 หมู่หายวับไปในวันเดียว
  2. ทหารมักจะตั้งค่ายริมทะเล และมีจำนวนมากที่ประจำการในพื้นที่
  3. อ่านเพิ่มเติมได้ใน อลิสา หะสาเมาะ. (2007)‘อัตลักษณ์ของชาวอะเจห์ในประเทศอินโดนีเซีย’ http://www.deepsouthwatch.org/node/164
  4. ผู้เขียนเข้าไปทำวิจัยในอะเจห์ช่วงปีพ.ศ. 2548 ถึงกระนั้นก็ตามยังมีป้ายประกาศห้ามไม่ให้วีซาสกับนักวิจัยชาวต่างชาติเข้าไปศึกษาในอะเจห์
  5. อย่างที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลได้พยายามทำมาตลอดในทุกๆ ที่ ดูเพิ่มเติมhttp://www.peace.mahidol.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=841&Itemid=172

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ASEAN Weekly: โลจิสติกส์ในอุษาคเนย์

$
0
0

ASEAN Weekly ตอน โลจิสติกส์ในอุษาคเนย์ (รับชมแบบ HD)

ASEAN Weekly โดยสุลักษณ์ หลำอุบล และดุลยภาค ปรีชารัชช สัปดาห์นี้ ติดตามข่าวการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 45 ที่กรุงพนมเปญ ซึ่งเกิดล้มเหลวเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี นับตั้งแต่มีสมาคมอาเซียน โดยที่ประชุมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ เนื่องจากไม่สามารถมีข้อสรุปร่วมกันในเรื่องการจัดการข้อพิพาทด้านพรมแดนในทะเลจีนใต้กับจีน โดยเจ้าภาพอย่างกัมพูชาก็คัดค้านการออกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนอิทธิพลของชาติมหาอำนาจในอาเซียนโดยเฉพาะจีน ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ติดต่อกัน และเข้าร่วมการประชุม

ข่าวต่อมา ติดตามสถานการณ์ไทย-กัมพูชาถอนกำลังทหารจากชายแดนพิพาทด้านเขาพระวิหาร ตามคำสั่งศาลโลก และเปลี่ยนเป็นกำลังตำรวจเข้ามาประจำการแทน และปิดท้ายช่วงแรกด้วยข่าวอดีตรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ร่วมเสวนาหัวข้อ "การปรองดอง" กับผู้นำอาเซียนอย่างประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซียในเวทีเปิดตัววารสาร "Strategic Review" ที่อินโดนีเซีย โดยเป็นการวงประชุมนานาชาติเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่พ้นจากอำนาจหลังรัฐประหารในปี 2549

ช่วงที่สอง พิจารณาภาพรวมโลจิสติกส์และขุมข่ายคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล โดยเฉพาะเส้นทางถนนสายเอเชีย (Asian Highway Network หรือ AH project) ที่พาดผ่าน 32 ประเทศทั่วทวีปเอเชีย โดยเส้นทางที่สำคัญหลายสาย มีจุดตัดอยู่ที่ประเทศไทย อย่างไรก็ตามยังมีอุปสรรคในการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอยู่มาก เนื่องจากสภาพถนนที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุง และเส้นทางบางช่วงยังไม่ปลอดภัยพอ อย่างเช่นถนนสายเอเชียช่วงที่ผ่านชายแดนไทย-พม่า เพราะถนนตัดเข้าไปในเขตสู้รบ

ขณะเดียวกันการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างถนน มักกระทำโดยมหาอำนาจอย่างเช่นจีน หรือญี่ปุ่นที่ให้การสนับสนุนผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือ ADB  จึงมีข้อคำนึงเรื่องอิทธิพลของมหาอำนาจที่เข้ามาในภูมิภาคผ่านโครงการพัฒนา

สุดท้าย สำรวจเส้นทางรถโดยสารระหว่างประเทศ เชื่อหรือไม่ว่าแค่พกหนังสือเดินทาง แพ็กกระเป๋า แล้วตรงไปยังถนนข้าวสาร หรือสถานีขนส่งหลายแห่งในต่างจังหวัดก็สามารถเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศได้

 

(หมายเหตุ: ที่มาของภาพประกอบหน้าแรก: ดัดแปลงจาก Pigalle/Flickr.com/CC และ Wikipedia)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาธิปัตย์อวยพรวันเกิดทักษิณ

$
0
0

รองโฆษก ปชป. วอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ "ทักษิณ" เคารพกฎหมายบ้านเมือง "อภิสิทธิ์" แนะทักษิณยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วจะมีทางออกชีวิต โอดเป็นไปได้อย่างไรที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจไปหาคนที่มีหมายจับอยู่

รองโฆษก ปชป. อวยพรวันเกิดให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ "ทักษิณ" เคารพกฎหมายบ้านเมือง 

กรณีที่เมื่อวานนี้ (26 ก.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์กล่าวขอบคุณครอบครัว และสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในการสร้างห้องสมุดพรรคเพื่อไทย และขอบคุณทุกคนที่อวยพรวันเกิดนั้น เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ก็ต้องขออวยพรให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กลับประเทศ ในเร็ววัน ขอให้มีจิตใจที่สงบ ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิช่วยดลบัลดาลใจให้ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม เคารพกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบทั้งตัวคุณทักษิณเอง และประเทศไทย

นายราเมศ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวเชิญชวนให้พรรคประชาธิปัตย์ใช้ห้องสมุดที่พรรคเพื่อไทยนั้น อยากเรียนว่าต้องขอบคุณแต่เราคงไม่ไปใช้ห้องสมุดดังกล่าว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็มีตำรามากมาย อาจจะมีห้องสมุดที่ไม่ใหญ่โตมากนักเหมือนของคุณทักษิณ แต่ห้องสมุดพรรคประชาธิปัตย์มีหนังสือที่ดี ไม่มีหนังสือที่จะสอนให้คนมีความรู้ในการโกงอย่างไร ไม่มีหนังสือที่สอนให้เผาบ้านเผาเมืองอย่างไร เพราะปัจจุบันความวุ่นวายในบ้านเมืองก็เกิดจากคนที่ประพฤติตนแบบนี้ การที่คนไม่มีความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่ส่งเสริมเพิ่มความรู้ แต่การเป็นคนดีย่อมสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะบางครั้งคนที่มีความรู้ระดับ ดร. ใช้ความรู้ในการโกงบ้านโกงเมือง ชอบทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ก็มีให้เห็นอยู่ในสังคมไทย ฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ไปใช้ห้องสมุดแห่งนี้แน่นอน

 

อภิสิทธิ์แนะทักษิณยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วจะมีทางออกชีวิต

ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส. และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวานนี้ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ 101 องศาข่าว ทางสถานีวิทยุ 101 โดยช่วงหนึ่งนายอภิสิทธิ์ได้อวยพรให้ทักษิณว่า “ก็วันเกิดก็ขอให้ปีนี้ได้คิดได้นะครับว่า ชีวิตจะมีความสุข ก็น่าที่จะต้องละวางประโยชน์ส่วนตน แล้วก็ยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วก็มันอาจจะมีทางออกสำหรับชีวิตของคุณทักษิณได้ครับ”

เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า รู้สึกข้องใจในเรื่องที่ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ บินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “มันคงไม่ใช่ความข้องใจหรอกครับ แต่มันต้องบอกว่า มันเป็นไปได้อย่างไรที่หัวหน้าของตำรวจ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจไปหาคนที่มีหมายจับอยู่”

ผู้ดำเนินรายการถามว่า "ไม่ได้มองว่าเขาเป็นญาติกัน" นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมไม่ปฏิเสธครับ ความเป็นญาติกัน จำเป็นจะต้อง หรือความผูกพันอะไร ผมไม่ว่า แต่ว่าเมื่อคุณดำรงตำแหน่ง คุณสวมหมวก 2 ใบ ตรงนี้ครับ คุณต้องเอาหน้าที่การงานแล้วก็สถานะของส่วนรวมมาก่อน ไม่ใช่เรื่องของส่วนตัวมาก่อน มันก็ไม่เหมาะสมแน่นอนครับ”

นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีที่มีคนไปพบทักษิณในช่วงวันเกิดด้วยว่า “ไม่เป็นไรหรอกครับ คือคนผูกพันกัน จะไปหากันวันเกิดก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่อย่างที่บอกก็ต้องดูสถานะว่าเป็นอย่างไร เพราะว่ามันก็มีประมวลจริยธรรม มีกฎต่าง ๆ กำกับอยู่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งหลบหนีความผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ส่วนเป็นประเด็นที่ว่าจะแทรกแซงการเมือง ก็รู้ๆ กันอยู่นะครับ ไม่รู้จะวิจารณ์กันไปอีกทำไม ผมถึงบอกว่า สำคัญมากกว่า คือมาช่วยกันยึดประโยชน์ส่วนรวมดีกว่า”

ขณะที่เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่าในสัปดาห์หน้า วางแผนฉลองวันเกิดให้ตัวเองหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “ไม่มีอะไรเป็นพิเศษหรอกครับ ก็อายุเพิ่มมากขึ้นนะครับ”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ร้ายสไตล์บายรุ้งรวี: ไม่อ้วน...ได้บุญเท่าไหร่

$
0
0

สธ.จัดโครงการ “เข้าพรรษาลดอ้วน สร้างบุญ” ตั้งเป้าผู้สมัครทั่ว ปท.10 ล้านคน

กระทรวงสาธารณสุขเผย คนไทยเป็นโรคอ้วน 17 ล้านคน ติดอันดับ 5 ของเอเชียแปซิฟิค จัดโครงการ “เข้าพรรษาลดอ้วน สร้างบุญ” ตั้งกองทุน 1 ล้านบาทเชิญชวนคนอ้วน สละไขมัน และโหวตแบ่งปันเงินกองทุนไปทำบุญกับมูลนิธิ วัดหรือศาสนาอื่นๆ เริ่มโครงการ 1 สิงหาคมนี้ เป็นต้นไป คาดมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทั่วประเทศ ประมาณ 10 ล้านคน และลดน้ำหนักส่วนเกินตลอด 3 เดือนได้ไม่น้อยกว่า 10,000 ตัน


ที่มาและอ่านเพิ่มเติม (ซึ่งดิฉันขอแนะนำให้อ่านเผื่อจะช่วยกันทำความเข้าใจ) ที่: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/29513

เฮ้ย...เอาจริงเหรอ (วะ)
ดิฉันขยี้ตาแล้ว ขยี้ตาอีก แถมตบหน้าตัวเอง (เบาๆ ด้วย SK II หวังจะเป็นอย่างคุณสู่ขวัญในหนังเรื่องรัก 7 ปี ดี 7 หน) ว่าตัวเองไม่ได้ฝันไป หลังจากได้อ่านข่าวชิ้นนี้ ที่จริงข่าวชิ้นนี้น่าจะไปอยู่เซ็กชั่นเก็บตกข่าวฮาๆ รอบโลกมากกว่าจะเป็นข่าวเพื่อสุขภาพนะ

ไม่จำเป็นต้องสติปัญญาดี หรือฉลาดล้ำ ก็พอจะมองออกว่าแคมเปญ “เข้าพรรษาลดอ้วน สร้างบุญ” นั้นมันแปลกๆ ทะแม่งๆ อยู่ คนสติปัญญาปานกลางอย่างดิฉันอ่านแล้วยังงงว่า “ลดความอ้วน แล้วมันได้บุญยังไงวะ ?”

คาดว่ากระทรวงสาธารณสุขคงได้ไอเดียมาจากแคมเปญ “งดเหล้า เข้าพรรษา” อันโด่งดังและใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์มหาศาล ซึ่งมาพร้อมกับคำถามมากมาย โดยเฉพาะอคติที่แฝงอยู่ในโฆษณาประชาสัมพันธ์ดังกล่าว แต่ถึงอย่างไรหากเรามองภายใต้โลกทรรศน์ของชาวพุทธ ก็คงพอจะเห็นถึง ‘ตรรกะ’ บางอย่างภายใต้แคมเปญงดเหล้าเข้าพรรษาได้ว่า การดื่มแอลกอฮอล์เป็นข้อห้ามหนึ่งในศีลห้าของศาสนาพุทธ และหากเราสามารถปฏิบัติได้ (ในช่วงเข้าพรรษา) ก็คงถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง แต่เมื่อหันกลับมามองแคมเปญใหม่ล่าสุด “เข้าพรรษาลดอ้วน สร้างบุญ” เรากลับต้องเกาหัวแกรกๆ ว่า มันเชื่อมโยงกันตรงไหนอย่างไร เอ๊ะ! หรือว่าเราโง่คิดไม่ได้อย่างกระทรวงสาธารณสุขกันแน่วะ

แคมเปญดังกล่าวมีองค์ประกอบที่ดูเหมือนจะเชื่อมโยงกันอยู่ 4 อย่างคือ

1. โรคอ้วน
2. บุญ (ภายใต้โลกทรรศน์แบบชาวพุทธ ?)
3. การบริจาค
4. เข้าพรรษา

หลังจากอ่านข่าวดังกล่าวซ้ำไปมาอยู่หลายรอบ ก็พอจะสรุปได้ว่า โรคอ้วนไม่ดี มาลดความอ้วนกันเถิด ด้วยการ
สมัครเข้าแคมเปญนี้ ซึ่งมีการบริจาค ซึ่งจะทำให้ได้บุญด้วย (บุญมาจากการบริจาค ไม่ใช่มาจากการลดความอ้วน แต่เป็นผลเกี่ยวเนื่องกัน)

อืมมม...พอถอดรหัสได้ดังนี้ ก็จะเห็นได้ว่า กระทรวงสาธารณสุขยังพอมีสติอยู่บ้าง เพราะจากข่าวสารที่เผยแพร่ หรือจากข้อความโปรโมทแคมเปญ “เข้าพรรษาลดอ้วน สร้างบุญ” นั้น อาจทำให้เราเข้าใจผิดได้ว่า หากลดความอ้วน (ในช่วงเข้าพรรษา) แล้วจะได้บุญ เพราะไม่เช่นนั้น คงเกิดปัญหาใหญ่ตามมา อาทิเช่น ลดความอ้วนได้ 5 กิโลจะได้บุญเท่าไหร่ ? เป็นต้น

ดิฉันเป็นคนมองโลกในแง่ดี จึงเห็นว่า เป็นการดีที่กระทรวงสาธารณสุขใส่ใจในปัญหาสุขภาพของชาวไทย โดยเฉพาะเรื่องโรคอ้วน (แม้จะแฝงไปด้วยอคติหลายอย่างก็ตาม เช่น เกิดจาก วิถีชีวิตของคนยุคใหม่ แหมมมม...ทำอย่างกับคนยุคก่อนไม่อ้วนอย่างนั้นแหละ) จึงได้จัดแคมเปญนี้ขึ้นมา ผิดเสียว่า กระทรวงสาธารณสุขอาจจะไม่ได้จบมาร์เก็ตติ้งมาโดยตรง หรือว่ามีผู้มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนอยู่น้อยเกินไป หรือไม่อยู่ในตำแหน่งใหญ่โตพอที่จะท้วงติงอะไรได้ แคมเปญที่ปรากฏออกมาจึงดูพิกลพิการ ประหลาดล้ำนัก

ดังจะเห็นว่ามีการนำองค์ประกอบหลายๆ อย่างมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นแคมเปญ “เก๋ๆ” น่าสนใจนั้น มันต้องพิจารณาด้วยว่าตามตรรกะแล้ว มันเป็นเหตุเป็นผล (ภายใต้โลกทรรศน์หนึ่ง) ต่อกันและกันหรือไม่ เช่น จะรณรงค์ให้คนลดความอ้วนก็รณรงค์ไป ส่วนอยากจะให้คนได้บุญจากการบริจาคก็ทำแต่เรื่องขอรับบริจาคไป มันควรจะเป็นคนละส่วนหรือเปล่า แต่ถ้ามันต้องมาเชื่อมโยงกันมันต้องเป็นเหตุเป็นผลกัน (ภายใต้โลกทรรศน์หนึ่ง) โดยไม่อาจโต้แย้งได้หรือเปล่า เพราะหากพิจารณาดีๆ จะเห็นว่า คนอ้วนที่เข้าร่วมในแคมเปญนี้จะได้บุญจริงหรือเปล่า ก็อาจจต้องถกเถียงกันในขั้นพุทธปรัชญาขึ้นไปอีก

เพราะจากแคมเปญจะเห็นได้ว่า คนอ้วนที่ลดได้ตามเกณฑ์เท่านั้น ถึงจะมีสิทธิในการโหวต (อันนี้อาจเป็นผลพวงมาจากการที่ท่านๆ ในกระทรวงดูเรียลิตี้โชว์มากเกินไป) ในการบอกว่าจะนำเงินไปบริจาคให้แก่ภาคส่วนใด ซึ่งเงินที่นำไปบริจาคก็เป็นเงินกองทุนและเงินบริจาคจากคนไม่อ้วนไม่ใช่หรือ ? อ้าว...แล้วไม่ใช่เงินตัวเองในการบริจาค (เพราะเงิน 1 ล้านนั่นก็ตั้งเป้าเพื่อจะบริจาคอยู่แล้วไม่ใช่หรือ เพียงแต่ยังไมได้ลงรายละเอียดว่าจะบริจาคให้แก่ภาคส่วนใด) แล้วจะได้ “บุญ” ได้อย่างไร หรือว่าการลดความอ้วน เพื่อจะได้มีสิทธิในการโหวตว่าจะนำไปบริจาคที่ไหน ก็ถือเป็น ‘ตัวการ’ ที่จะนำไปสู่การได้บุญ ก็ถือว่าได้บุญแล้ว (อันนี้คิดตามตรรกะพุทธบ้านๆ อย่างดิฉัน เช่น ดิฉันทำบุญ 20 บาท เพื่อนไม่ว่างฝากมาทำบุญอีก 20 บาท สรุปแล้ว ดิฉันได้บุญ 40 บาท หรือได้บุญแค่ 20 บาท แม้จะเป็นตัวการของจำนวนเงินทั้ง 40 บาทก็ตาม ?)
ส่วนเรื่องคำว่า “เข้าพรรษา” เข้าใจได้ว่าคงเป็นแค่ Timing ที่บังเอิญมีนัยยะเกี่ยวกันกับคำว่า “บุญ” ในทางพุทธศาสนาเท่านั้น

ดิฉันว่าปัญหานี้ ทั้งกรมพุทธศาสนา หรือมหาเถรสมาคม หรือสมาคมชาวพุทธ อะไรก็ตาม ควรจะต้องลงมาดูเป็นการด่วน ควรจะต้องมีการเปิดพิจารณาเรื่องการได้ “บุญ” ภายใต้แคมเปญนี้ว่า ตามกฎแห่งการได้บุญภายใต้โลกทรรศน์ของชาวพุทธนั้น คนอ้วนทั้งหลายที่มาร่วมแคมเปญนี้ถือว่าได้บุญจริงหรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าแคมเปญนี้หลอกลวงให้ลดคามอ้วนฟรีๆ โดยไมได้บุญเป็นการตอบแทนนะคะ (เพราะเงินมาจากกองทุน ไม่ใช่เงินของคนที่ลดความอ้วน เพียงแค่เข้ามาร่วมในการตัดสินใจโยกย้ายตัวเงิน จะถือว่าได้บุญหรือเปล่าล่ะ ?)

และหากจะคิดเหมารวมเสร็จสรรพตามตรรกะนั้นว่า ลดความอ้วนเพื่อได้สิทธิโหวตในการบริจาคถือเป็นการ “สร้างบุญ” ก็คงต้องมาพูดถึงเรื่องอคติในเรื่องความอ้วน ว่ามันเป็นบาปเชียวหรือ ? (ไล่ตามตรรกะนะคะ) หรือว่า คนอ้วน ในประเทศนี้ กระทรวงสาธารณสุขหมดปัญญา (หรือไม่มีปัญญา) เยียวยารักษาแล้ว กระทรวงที่ขึ้นชื่อว่าอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถเอามาปลอบ เอามาขู่คนอ้วนว่าจะเกิดโรคร้ายต่างๆ นานา และการลดความอ้วนนั้นจะช่วยให้มีสุขภาพชีวิตที่ดีได้ กลับหมดหนทาง หมดปัญญา หรือหมดมุกที่จะใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เหล่านั้น หรือการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มาเป็นเครื่องมือ ใช้ในการแก้ปัญหา(โรคอ้วน) แต่กลับหันมาพึ่งพุทธศาสตร์ ในเรื่อง “บุญ” แทน เพื่อเป็นการจูงใจให้คนอ้วนหันมาลดน้ำหนัก คิดไปคิดมา แคมเปญนี้น่าจะมาจากกรมพุทธศาสนามากกว่าจะมาจากกระทรวงสาธารณสุข เพราะแล้วดูอับอายขายขี้หน้าการเป็นกระทรวงสมัยใหม่ดูเป็นวิทยาศาสตร์หมด (เอ๊ะ! หรือว่ากระทรวงสาธารณสุขจะมีแนวความคิดปลงตกในทางพุทธว่า ชาตินี้ไม่กลัวตายด้วยโรคอ้วนก็ไม่เป็นไร ทำบุญเยอะๆ แล้วกัน เผื่อชาติหน้าเกิดมาจะได้ไม่อ้วน!) นี่เท่ากับเป็นการดิสเครดิตความสามารถ ศักยภาพของกระทรวงตัวเองเลยนะคะเนี่ย!
เห็นไหมล่ะ ว่านี่ปัญหาระดับชาตินะจะบอกให้!

ที่จริงปัญหานี้ จะไม่เดือดร้อนถึงกรมพุทธศาสนา มหาเถรสมาคม หรือสมาคมชาวพุทธ อะไรเลย หากกระทรวงสาธารณสุขไม่ดัดจริต ทำเรื่องง่ายๆ ให้มันยุ่งยากซับซ้อน เพียงเพื่อจะทำให้แคมเปญ “ดูมีอะไร” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เก๋ๆ” เพียงแต่ตั้งใจทำอย่างตรงไปตรงมา เช่น หากอยากจะรณรงค์โรคอ้วน ก็จงทำไป ทำไปแบบง่ายๆ ทื่อๆ ก็ได้ไม่มีใครว่า หรือหากจะทำอย่างจริงจัง ก็ไปดูสิว่า โรคอ้วนเกิดจากพฤติกรรมของสังคมสมัยใหม่จริงไหม จะไปสร้างฟิตเนสชุมชน (แคมเปญเต้นแอโรบิคถือว่าประสบความสำเร็จมากนะ) สหกรณ์ผักราคาถูกเพื่อรณรงค์ให้คนกินผัก หรืออะไรก็ว่าไป ส่วนอยากจะให้มีการได้ทำบุญ (ไม่เฉพาะคนอ้วน) ก็ทำอีกแคมเปญไปสิ อาจจะนำเรื่องค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องแบกภาระมาเป็นตัวชูโรง ให้คนทั้งประเทศได้ร่วมทำบุญกับเรื่อง “โรคอ้วน” ก็ได้ (แต่ในเมื่อทางกระทรวงเองยังเห็นว่าโรคอ้วนเป็น “พฤติกรรม” ที่มีผลพวงมาจากภาวะสังคมสมัยใหม่ ใครล่ะ อยากจะไปช่วยเหลือผู้ที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง—จริงไหม กรุณาตรวจสอบอคติในเรื่องโรคอ้วนเสียก่อน) และหากอยากจะ เชื่อมสองประเด็นนี้เข้าด้วยกัน ก็ควรจะต้องตรวจสอบ “สติ” ตัวเองให้ดีก่อนว่า มีพอไหม จะเล่นประเด็นพุทธศาสนาก็จงเป็นชาวพุทธที่ดี อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า “จงมีสติ” ก่อนที่จะออกแคมเปญประหลาดๆ ออกมาดิสเครดิตตัวเอง (ทั้งในแง่สติปัญญาในการคิดแคมเปญ ความสับสนซับซ้อนของตรรกะของแคมเปญ และการดูถูกสติปัญทางด้านข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ตัวกระทรวงใช้เป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนประเด็นทางสุขภาพอยู่แล้วหันมาเล่นเรื่องบุญเรื่องกรรมแทน) และให้ชาวบ้านได้อ่านแล้วงง เกาหัวแกรกๆ และคิดว่า กูไม่น่าเสียภาษีให้มันไปเลย
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จาก 'ห้องกรง' ถึง ฮ่องกง นักโทษการเมืองอวยพรวันเกิด ทักษิณ ชินวัตร

$
0
0

นักโทษการเมืองที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ร่วมเป่าเค้กอวยพรวันเกิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขอให้สุขภาพแข็งแรง กลับไทยอย่างเท่ๆ เร็วๆ

 

ภาพโดย facebook “กัลยา วิ”

 

10.00 น. 26 ก.ค. 55 ที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ กลุ่มเสื้อแดงมีนบุรีจัดกิจกรรมเป่าเค้กอวยพรวันคลายวันเกิด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกิจกรรมสันทนาการให้กำลังใจนักโทษการเมือง 20 คน ที่อยู่ในเรือนจำดังกล่าวและกิจกรรมยุติในเวลา 15.30 น. นอกจากนี้นักโทษการเมืองยังได้มีการเขียนข้อความอวยพรวันเกิดถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย

ทั้งนี้ กลุ่มเสื้อแดงมีนบุรี และกลุ่มอื่นๆ ได้เวียนกันจัดกิจกรรมที่เรือนจำชั่วคราวเพื่อเป็นกำลังใจให้นักโทษการเมืองที่ยังไม่ได้รับกาประกันตัวเป็นประจำ เช่น เลี้ยงอาหารกลางวัน จัดคอนเสิร์ต ฯ

 

ตัวอย่างบางส่วนของคำอวยพรที่ผู้ต้องขังเขียนใส่กระดาษ

 

“เนื่องในวันคล้ายวันเกิด 63 ปี ในวันที่ 26 ก.ค.นี้ ขอให้ท่านจงมีแต่ความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดก็ให้สมหวังทุกประการและมีสุขภาพ พลานามัยแข็งแรง ได้กลับมาเมืองไทยโดยเร็ววัน”

อเนก สิงขุนทด (ตาบอด)

 

“..ขอให้ท่านได้กลับบ้านเร็วๆ เพราะยังมีคนไทยส่วนใหญ่ยังคอยให้ท่านกลับมาพัฒนาประเทศและคนเสื้อแดงรอคอยการกลับมาของท่านเสมอ”

บัวเรือน แพงสา จากจังหวัดอุดรธานี

 

“..ขอให้พระบารมี 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระสยามเทวาธิราชและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายช่วยไปคุ้มครอง คนดี ที่ประชาชนรักใคร่ดังชีวิต ให้ท่านได้กลับมาดูแล พัฒนาประเทศชาติ สร้างอนาคต ประชาชนได้อยู่ดีกินดี ให้พ่อแม่พี่น้องได้อยู่กันแบบสันติภาพ รักกันอย่างอบอุ่น สามัคคี ปรองดองอย่างเข้าใจกันแบบดังเดิมก็พอ และขอให้ท่านมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงดังก้อนหินครับ”

สายชล แพบัว

 

“..ขอให้ท่านกลับบ้านเร็วๆ นะครับ พวกผมรอท่านกลับแบบเท่อยู่ ขอบคุณครับ”

ธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ

 

“..พวกผมถึงแม้จะอยู่ข้างในก็ยังเฝ้ารอคอยวันที่ท่านจะกลับคืนสู่ประเทศไทย ขอกราบขอบพระคุณท่านที่ยังห่วงใยประชาชนอย่างพวกผม อย่างน้อยพวกผมก็ยังมีกำลังใจจากความห่วงใยของท่านและจะคอยเป็นกำลังใจให้ท่านตลอดไป”

คำหล้า ชมชื่น

 

“..ผมไม่เคยเสียใจเลยที่ผมเคยสู้ประชาธิปไตย สู้เพื่อความเป็นธรรม และที่ที่ผมเสียใจคือท่านทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ได้กลับประเทศไทย ถ้าผมมีโอกาสอีกครั้ง ผมก็จะสู้อีกครั้งครับ”

นายกิติพงษ์ ชัยกัง จากจังหวัดอุดรธานี

 

“..ชีวิตของพวกผมเปรียบดังนกที่ถูกขังอยู่ในกรง จึงไม่รู้ชะตากรรมว่าวันใดถึงจะได้รับอิสรภาพ รอแล้วรอเล่าก็ไร้วี่แวว จะมีใครเข้าใจในส่วนลึกของหัวใจที่เจ็บปวดทรมานกับการสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างจากขบวนการยุติธรรมที่ไม่ยุติธรรม ฉะนั้นเราคนไทยต้องช่วยกันแก้ไขกับการผิดพลาดของขบวนการเหล่านั้นเสียเพื่อไม่ให้ผิดพลาดอีกต่อไป..”

สนอง เกตุสุวรรณ์ จากจังหวัดอุบลราชธานี

 

ภาพบรรยากาศกิจกรรม

 

 

 

 

 

 


ลำดับ


ชื่อ-นามสกุล


วันที่ถูกจับกุม


ข้อหา


สถานะทางคดี


อัตราโทษ


1


นายสายชล แพรบัว    


10 มิ.ย. 53


ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์(CTW)อันเป็นที่เก็บสินค้า/จนเป็นเหตุให้คนตาย, พรก.


ชั้นต้น


 


2


นายพินิจ จันทร์ณรงค์


19 พ.ค. 53


ชั้นต้น


 


3


นายเพชร แสงมณีหรือเฮ่น มณีเพชร


21 พ.ค. 53


มั่วสุมตั้งแต่10 คนขึ้นไป,วางเพลิงเผาทรัพย์(ธ.กรุงเทพฯสาขาพระโขนง),พรบ.คนเข้าเมือง, พรก.


อัยการอุทธรณ์


6 ปี 6 ด.


4


นายคำหล้า ชมชื่น


29 พ.ค. 53


ร่วมกันปล้นทรัพย์ของกรมทหารราบที่ 1 รอ.


อุทธรณ์


10 ปี


5


นายประสงค์ มณีอินทร์


17-พ.ค-.53


พรบ.อาวุธปืนฯ, พรบ.วิทยุคมนาคม, พรก., ลักทรัพย์, พาอาวุธไปในเมือง


อุทธรณ์


11 ปี 8 ด.


6


นายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ


17.พ.ค.53


อุทธรณ์


11 ปี 8 ด.


7


สต.บัณฑิต สิทธิทุม


30 เม.ย.53


ก่อการร้าย,มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน,พาอาวุธไปในเมือง


อุทธรณ์


38 ปี


8


จ.ส.ต.ปริญญา มณีโคตม์


29 เม.ย.53


พรบ.อาวุธปืน,เครื่องกระสุนปืนฯ


ชั้นต้น


 


9


นางสาวปัทมา มูลมิล


24 พ.ค.53


พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์


อุทธรณ์


33 ปี 12 ด.


10


นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ


27 พ.ค.53


พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์


อุทธรณ์


33 ปี 12 ด.


11


นายสนอง เกตุสุวรรณ์


9 มิ.ย. 53


พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์


อุทธรณ์


33 ปี 12 ด.


12


นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์


9 ก.ค. 53


พรก.,ก่อความวุ่นวาย,ร่วมกันบุกรุก,วางเพลิงเผาศาลากลาง,ทำให้เสียทรัพย์


อุทธรณ์


33 ปี 12 ด.


13


นายอาทิตย์ ทองสาย


19 พ.ค.53


ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์


อุทธรณ์


22 ปี 6 ด.


14


นายวันชัย รักสงวนศิลป์


19 พ.ค.53


ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ


อุทธรณ์


20 ปี 6 ด.


15


นายกิตติพงษ์ ชัยกัง


16 มิ.ย.53


ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์,พรก.


อุทธรณ์


11 ปี 3 ด.


16


นายเดชา คมขำ


16 มิ.ย.53


ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ,พรก.


อุทธรณ์


20 ปี 6 ด.


17


นายบัวเรียน แพงสา


16 มิ.ย.53


ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกโดยมีอาวุธ,พรก.


อุทธรณ์


20 ปี 6 ด.


18


นายเอนก สิงขุนทด      


 


พรบ.อาวุธปืน, พาอาวุธไปในเมือง


รออุทธรณ์


35 ปี


19


นายเอกชัย มูลเกษ


 8 มี.ค.53


พรบ.อาวุธปืนฯ


อุทธรณ์


8 ปี


20


นายชาตรี ศรีจินดา


 


 


 


 

           

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลอาญานัดฟังคำตัดสินคดีฆ่าตัดตอน สงครามยาเสพติด 30 ก.ค. นี้

$
0
0

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ใบแจ้งข่าวว่า ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 เวลา 09.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 913 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.3252/2552 ระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ กับ ด.ต.อังคาร คำมูลนา ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย โดยคดีดังกล่าวโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษ สืบเนื่องจากกรณีนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อายุ 17 ปี เด็กนักเรียน จ.กาฬสินธุ์ เสียชีวิตด้วยการฆ่าแขวนคอที่กระท่อมกลางทุ่งนาใน จ.ร้อยเอ็ด หลังจากได้รับการปล่อยตัวจาก สภ.เมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547

อนึ่ง ในช่วงปี 2544-2549 รัฐบาลมีนโยบายประกาศทำสงครามยาเสพติด เกิดคดีฆ่าตัดตอนกว่า 2,500 ศพ และในช่วงเวลาดังกล่าวมีประชาชนในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก โดย 1 ในจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าว คือ นายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้มีรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อปี 2549 โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อเสนอให้รัฐบาลเยียวยาความเสียหายจากการเสียชีวิตของนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อันเนื่องมาจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ให้แก่ครอบครัวของนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง

ในปี 2548 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีมติให้กรณีการเสียชีวิตของนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง เป็นคดีพิเศษ และเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ได้ยื่นฟ้อง ด.ต.อังคาร คำมูลนา ที่ 1 ด.ต.สุดธินัน โนนทิง ที่ 2 ด.ต.พรรณศิลป์ อุปนันท์ ที่ 3 พ.ต.ท.สำเภา อินดี ที่ 4 พ.ต.อ.มนตรี ศรีบุญลือ ที่ 5 พ.ต.ท.สุมิตร นันท์สถิต ที่ 6 เป็นจำเลยในคดีดังกล่าว นับเป็นระยะเวลากว่า 8 ปี ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการพิสูจน์ความจริงในชั้นศาลจนกระทั่งวันนัดฟังคำพิพากษานี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ประ... ชะ... ชา... ธะ... ธิป... ปะ... ไตย

$
0
0

เขาว่า คำพูดของผมตะกุกตะกัก

ประโยคขาดห้วงถมคั่นด้วยคำมาดร้าย

แม้ในยามที่ผมร่ำไห้  

 

ผมบอกเขา เรื่องเล่าของเขาเองก็วกวน

คำพูดที่เคยเป็นของผมครึ่งหนึ่งถูกเขาครอบครอง

ผมจำต้องพูดด้วยภาษาของเขา

ใต้ตะกอนประวัติศาสตร์ที่บูดเน่า  

 

เมื่อเขาพูด ถ้อยคำของผมพลันไร้น้ำหนัก

เสรีภาพกลายเป็นภาระที่หนักอึ้ง

สันติวิธีมีไว้เพื่อตั้งข้อกล่าวหา  

 

ช่างเถอะ ผมจะยกให้เขาทั้งหมด

ทั้งถ้อยคำและแท่งคอนกรีตเย็นชืด

เพราะรู้ว่าที่สุดแล้วไม่มีใครครอบครองมันได้  

 

ผมรักแท่งคอนกรีตกลางถนนแห่งนั้น

ค่าที่มันไม่ใช่ชื่อของใครคนใดคนหนึ่ง

ไม่มีคำแสดงเหตุการณ์เฉพาะเจาะจง

ชื่อของมันโรยหน้าด้วยความหมายที่เปลือยเปล่า

คงพอมีที่ว่างเหลืออยู่ให้ผมยืนเปล่งถ้อยคำ

ด้วยสุ้มเสียงของผมเอง  

 

ไม่ใช่ด้วยความปราดเปรื่องของริมฝีปาก

แต่ด้วยจังหวะเต้นของเลือดเนื้อข้างใน

ผมจะควานลึกเข้าไปในหัวใจมนุษย์

ในลมหายใจของการต่อสู้ดิ้นรน

ในถ้วยแจ่วบอง สลิปเงินเดือน ตลาดสด ห้องคลอด ฯลฯ  

 

แม้ว่าผมจะพูดตะกุกตะกัก

หรือเปล่งคำที่เขาขโมยไปไม่ได้อีกเลยตลอดชีวิต  

 

 

 รางชางฯ    

 

 

                             

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คัดเลือกแล้ววันนี้ 5 กรรมการนโยบายไทยพีบีเอส

$
0
0

สมศรี หาญอนันทสุข, สมพันธ์ เตชะอธิก, วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์, ธีรภัทร สงวนกชกร, ปราณี ทินกร ได้รับเลือกเป็นกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส ภายหลังจากแสดงวิสัยทัศน์วันนี้

27 ก.ค. 2555 เว็บไซต์กรุงเทพฯธุรกิจรายงาน ผลการคัดเลือกกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส ซึ่งมีนายสัก กอแสงเรืองเป็นประธานคณะกรรมการสรรหา ซึ่งวันนี้เป็นการเปิดให้ผู้ได้รับการคัดเลือกรอบสุดท้ายจำนวน 14 คนได้แสดงวิสัยทัศน์ จากนั้นกรรมการสรรหาได้คัดเหลือ 5 คน ดังนี้

กรรมการด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย ได้แก่ สมศรี หาญอนันทสุข, สมพันธ์ เตชะอธิก และวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กรรมการด้านการบริหารองค์กรได้แก่ ธีรภัทร สงวนกชกร และปราณี ทินกร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงานทำความสะอาดใต้ดินในลอนดอนนัดหยุดงานเรียกร้องขึ้นค่าจ้างรับโอลิมปิก

$
0
0

เมื่อเวลา 5.30 น. ของวันที่ 27 ก.ค. ตามเวลาท้องถิ่น คนงานสมาชิกสหภาพ RMT (สหภาพคนงานรถไฟ เรือเดินทะเล และการขนส่งอังกฤษ) เริ่มการนัดหยุดงานเรียกร้องเพิ่มค่าจ้างโดยคาดว่าจะหยุดต่อเนื่องไปอีก 2 วัน ส่งผลกระทบต่อพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก

คนงานทำความสะอาดเคยประสบความสำเร็จจากการประท้วงขอขึ้นค่าแรงเพื่อชีวิตในปี 2550 แต่นายจ้างซึ่งเป็นผู้รับเหมาเอกชนไม่ได้ให้การขึ้นค่าแรงประจำปีตามที่ตกลงกันไว้

เวเนตซิยา เรเชตาโรวา คนงานทำความสะอาดซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพกล่าวว่า “พวกเราทำงานหนัก และมันก็เป็นธรรมหากเราได้รับค่าจ้างในระดับที่เหมาะสมกับงานที่เราทำ” และย้ำว่า “การนัดหยุดงานในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนั้นเป็นเรื่องที่ถูกแล้ว ถ้าไม่ใช่เวลานี้แล้วควรจะเป็นช่วงไหนล่ะ ถ้าหากไม่บรรลุข้อเรียกร้อง เราก็ต้องนัดหยุดงานอีก”

ด้านเพทริต มิฮาจ ตัวแทนด้านสุขภาพและความปลอดภัยของสหภาพ RMT ระบุว่านี่เป็นเรื่องของบริษัทที่มีมูลค่าระดับหลายล้านปอนด์ที่เอาเปรียบแรงงานที่ค่าแรงต่ำที่สุดซึ่งอยู่ใต้ดิน

“ขณะที่ลอนดอนกำลังมีงานที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก แต่คนทำความสะอาดกำลังถูกเอาเปรียบ ดังนั้นเราจึงเผยข้อเท็จจริงให้ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก”

ดีน อานลอง พนักงานประจำร้านของ RMT กล่าวชื่นชมการต่อสู้ของคนงานทำความสะอาด
“คนงานทำความสะอาดนั้นถูกทิ้งเอาไว้ก้นบึ้ง แต่เป็นเวลา 5 ปีมาแล้ว ที่พวกเขาสามารถรวมตัวและจัดตั้งกันได้” เขากล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลสูงอังกฤษตัดสินชนะอุทธรณ์ "ทวีตขู่บึ้มสนามบิน" ไม่ใช่อาชญากรรม

$
0
0

ศาลสูงอังกฤษตัดสินให้ "พอล แชมเบอร์ส" หนุ่มวัย 28 ปี ชนะอุทธรณ์ หลังถูกตัดสินให้มีความผิดจากการทวีตบ่นว่าจะระเบิดสนามบิน เพราะไม่พอใจที่ไม่สามารถเดินทางไปพบแฟนสาวได้เนื่องจากสนามบินปิดให้บริการ

วันนี้ (27 ก.ค.55) ศาลสูงอังกฤษตัดสินให้ พอล แชมเบอร์ส ชาวอังกฤษวัย 28 ปี ชนะอุทธรณ์คดีที่เขาถูกตัดสินเมื่อ พ.ค.53 ให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสื่อสาร 2546 จากการทวีตว่าจะระเบิดสนามบินโรบิน ฮูด เมืองดอนคาสเตอร์ ภาคเหนือของอังกฤษ

หลังคำตัดสิน พอล แชมเบอร์สบอกว่า ผมรู้สึกโล่งใจที่ได้พิสูจน์ตัวเอง และว่ามันไร้สาระมากที่เรื่องมันมาไกลได้ขนาดนี้ รวมถึงขอบคุณทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือรวมถึงเพื่อนในทวิตเตอร์ด้วย

ที่ผ่านมา แชมเบอร์สกล่าวเสมอว่า เขาไม่เชื่อว่าจะมีใครจริงจังกับ "เรื่องตลกไร้สาระ"

จอห์น คูเปอร์ ทนายความของแชมเบอร์สกล่าวว่า นี่เป็นการตัดสินที่มีนัยสำคัญต่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก มันหมายความในอนาคต ไม่ใช่แค่ข้อความที่จะต้องเข้าข่ายคุกคามเท่านั้น แต่ตัวบุคคลที่ส่งต้องมีเจตนาที่จะคุกคามด้วย

"ต่อไปนี้ คนก็จะพูดเรื่องตลกได้แล้ว แม้ว่ามันจะเป็นตลกร้ายก็ตาม คดีนี้ไม่ควรจะถูกดำเนินคดีด้วยซ้ำ และสำนักงานอัยการสูงสุดของอังกฤษอาจมีคำถามที่จะต้องตอบต่อกรณีดังกล่าว" ทนายความของแชมเบอร์สกล่าว

ย้อนไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค.53 ในช่วงหิมะตกหนัก ส่งผลให้สนามบินหลายแห่งรวมถึงสนามบินโรบิน ฮูด ต้องปิดให้บริการเที่ยวบิน เมื่อแผนเดินทางไปไอร์แลนด์เพื่อพบแฟนสาวล่ม พอล แชมเบอร์ส ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ซึ่งขณะนั้นมีผู้ติดตามประมาณ 600 คนว่า "ตายห่า! สนามบินโรบิน ฮูดปิดแล้ว แกมีเวลาเตรียมใจหนึ่งอาทิตย์และอีกนิดหน่อย แล้วฉันจะไประเบิดสนามบินให้เละ!!" ("Crap! Robin Hood airport is closed. You've got a week and a bit to get your shit together, otherwise I'm blowing the airport sky high!!")

หลังจากนั้น หนึ่งสัปดาห์ เจ้าหน้าที่ของสนามบินซึ่งอยู่นอกเวลางาน พบข้อความนี้เข้า และแม้จะไม่เชื่อว่ามันเป็นการข่มขู่ แต่ก็มีหน้าที่ต้องรายงานต่อตำรวจ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบการก่อการร้ายบุกจับแชมเบอร์สถึงสำนักงาน ขณะที่บ้านของเขาถูกค้น โทรศัพท์มือถือ แลบทอปและเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะถูกยึด ต่อมาเขาถูกศาลตัดสินให้มีความผิดฐานส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะคุกคามสู่สาธารณะ อันขัดต่อกฎหมายการสื่อสาร 2546 และถูกปรับเป็นเงินรวม 1,000 ปอนด์ ทั้งยังถูกให้ออกจากงานที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทจัดส่งรถยนต์ในดอนคาสเตอร์ด้วย

คดีนี้ถือเป็นคดีแรกในอังกฤษที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์ถูกพิพากษาให้มีความผิดจากการโพสต์ข้อความลงในเว็บไซต์ และกลายเป็นประเด็นร้อนที่ถกกันอย่างกว้างขวาง ผู้ใช้ทวิตเตอร์ดังๆ หลายคนอยู่ข้างแชมเบอร์ส มีการใช้แท็ก  #twitterjoketrial ในการพูดคุยเรื่องนี้ และต่อมามันก็กลายเป็นแท็กติดอันดับ นอกจากนี้ แชมเบอร์สยังได้รับการสนับสนุนจากนักแสดงตลกหลายคนที่เล่นทวิตเตอร์ อาทิ อัล เมอร์เรย์, เกรแฮม ไลน์ฮาน และสตีเฟน ฟราย ซึ่งช่วยระดมทุนเป็นค่าใช้จ่ายในคดีให้เขาเป็นเงิน 30,000 ปอนด์ด้วย

การอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นของเขาถูกปฏิเสธในปลายปี 53 ต่อมา ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการอุทธรณ์ต่อศาลสูง โดยจอห์น คูเปอร์ ทนายของเขาบอกกับศาลว่า ส่วนใหญ่แล้ว แชมเบอร์สทวีตในลักษณะขำขัน ใครที่ติดตามทวิตเตอร์ของเขาก็จะรู้เรื่องนี้และเข้าใจถึงสิ่งที่เขากำลังสื่อออกมา นอกจากนี้ แชมเบอร์สก็ไม่ได้ปกปิดอัตลักษณ์ของตัวเอง (แชมเบอร์สใช้รูปและชื่อนามสกุลจริงในทวิตเตอร์) พร้อมระบุด้วยว่า เห็นได้ชัดว่ามันไม่ได้ถูกส่งโดยผู้ก่อการร้ายและยังเป็นเรื่องผิดพลาดที่ศาลโยงเรื่องเหล่านี้เข้าด้วยกับการก่อการร้าย

หลังคำตัดสิน แท็ก #twitterjoketrial กลับมาฮิตอีกครั้ง โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายรายต่างร่วมโพสต์แสดงความยินดีกับแชมเบอร์สที่ชนะคดีดังกล่าว รวมถึงตั้งคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมด้วย

ปัจจุบัน แชมเบอร์สมีผู้ติดตามในทวิตเตอร์ 78,013 ราย (ข้อมูล ณ 27 ก.ค.55 20.30น.)

 

 


ทวีตบางส่วนที่กล่าวถึงคดีนี้
จาก #twitterjoketrial
 


แปลและเรียบเรียงจาก

Twitter joke trial: Paul Chambers begins second appeal over 'bomb threat'
http://uk.news.yahoo.com/twitter-joke-trial---paul-chambers-begins-second-appeal-over-bomb-threat.html
Robin Hood Airport tweet bomb joke man wins case
http://www.bbc.co.uk/news/uk-england-19009344

Twitter joke case returns to high court for fresh appeal by Paul Chambers
http://www.guardian.co.uk/law/2012/jun/27/twitter-joke-case-high-court-paul-chambers

Twitter joke humorous not menacing, high court judges told
http://www.guardian.co.uk/law/2012/jun/27/twitter-joke-appeal

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ซีเรีย: กลุ่มกบฏเตรียมประจัญหน้ากับรัฐบาลในอเล็ปโป

$
0
0

 

กลุ่มกบฏในซีเรียเตรียมสะสมอาวุธและเครื่องมือการแพทย์เตรียมเผชิญหน้ากับกองทัพรัฐบาล หลังเข้ายึดบางเขตของอเล็ปโป เมืองการค้าสำคัญทางเหนือ ขณะที่การระดมยิงอาวุธหนักทำให้มีประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงเด็ก มีประชาชนหลายพันครัวเรือนหนีออกจากเมือง ด้านอิรักเตรียมรับมือกับผู้ลี้ภัย

ภาพจาก BBC : เขตที่มีการสู้รบในอเล็ปโป

26 ก.ค. 2012 - นักกิจกรรมในซีเรียเปิดเผยว่า มีการใช้อาวุธหนักยิงถล่มหลายย่านในเมือง อเล็ปโป หลังจากที่การต่อสู้เพื่อช่วงชิงการควบคุมเมืองใหญ่ของซีเรียดำเนินมาเป็นวันที่ 6 แล้ว

โฆษกฝ่ายกบฏรายงานว่ามีกองกำลังรัฐบาลจำนวนมาก กำลังเคลื่อนพลจากเขตอิดลิบทางตะวันตกเฉียงเหนือมายังอเล็ปโป ซึ่งเป็นเมอืงที่มีความสำคัญด้านการค้า และเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการควบคุมประเทศทางตอนเหนือ

ขณะที่นักข่าว BBC รายงานว่า กลุ่มกบฏได้เริ่มสะสมกำลังอาวุธ และอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ในอเล็ปโป อีกทั้งยังได้ตั้งด่านตรวจและวางกำลังสไนเปอร์ไว้อีกด้วย

เอียน พานเนล นักข่าว BBC ในพื้นที่รายงานว่ากองกำลังกบฏมีการสั่งสมกำลังอาวุธทั้งกระสุนปืนกลคาลาสนิคอฟและรถถัง รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ ขณะที่กองกำลังรัฐบาลได้ใช้ทั้งปืนใหญ่ ปืนครก เฮลิคอปเตอร์ ในการโจมตีย่านต่างๆ ของเมือง

เอียน รายงานอีกว่า มีประชาชนหลายพันครัวเรือนหนีออกจากเมืองเนื่องจากเกรงว่าการต่อสู้ครั้งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นอีกในเมือง

นักกิจกรรมรายหนึ่งให้ความเห็นว่ากลุ่มกบฏคงไม่อาจยึดครองพื้นที่เมืองอเล็ปโปไว้ได้อีก เช่นเดียวกับที่เคยถูกขับไล่จากเมืองดามาสกัสมาแล้ว

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกองกำลังรัฐบาลของซีเรียก็ได้ใช้ยุทธศาสตร์ผสมระหว่างการโจมตีทางอากาศและกองกำลังภาคพื้นดินจำนวนมากในการขับไล่กลุ่มกบฏจากเมืองหลวงดามาสกัส

โมฮาเม็ด ซาอีด นักกิจกรรมในพื้นที่บอกว่าการยิงถล่มด้วยอาวุธหนักเป็นไปแบบสุ่ม และมีการปะทะกระจายออกไปตามย่านสำคัญใจกลางเมือง

เอเดรียน นักข่าวจากหนังสือพิมพ์ เลอ ฟิกาโร่ ของฝรั่งเศสที่เดินทางไปกับกลุ่มกบฏรายงานว่ากลุ่มกบฏได้ยึดกุมพื้นที่ไว้ได้อย่างมากเพียงครึ่งหนึ่งของอเล็ปโปเท่านั้น

 

แอมเนสตี้เตือนเรื่องการฆ่าตัดตอน

กลุ่มสิทธิมนุษยชนในซีเรียเปิดเผยว่า การยิงถล่มเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 ราย รวมถึงเหยื่อที่เป็นเด็กจำนวนมาก พวกเขารายงานอีกว่ามีการปะทะกันที่เขต ฮาจาร์ อัล-อัสวาด ในกรุงดามาสกัส ซึ่งเป็นปราการสุดท้ายของกลุ่มกบฏในการต่อสู้ 10 วันในเมืองหลวง

มีภาพวีดิโอจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนแสดงให้เห็นภาพเด็ก 2 คนถูกสังหารขณะพยายามหลบหนีจากการระดมยิง ในเขตฮามา

กลุ่มผู้สังเกตการณ์กล่าวว่ายอดผู้เสียชีวิตทั่วประเทศซีเรียในวันที่ 25 ก.ค. อยู่ที่ 108 ราย โดยมีประชาชน 57 ราย, ทหาร 36 ราย และกลุ่มกบฏ 15 ราย โดยบอกอีกว่ามีประชาชน 158 รายทั่วประเทศซีเรีย ถูกสังหารในวันที่ 24 ก.ค.

องค์กรนิรโทษกรรมสากลออกรายงานเตือนเรื่องการ "ฆ่าตัดตอน" (Summary Executions) ทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ โดยบอกว่าเป็นการกระทำที่ "ละเมิดหลักกฏหมายสากล"

 

ทูตซีเรียสองรายลาออก

ในขณะที่ความรุนแรงทวีเพิ่มมากขึ้น การลาออกจากตำแหน่งของผู้นำระดับสูงของรัฐบาลอัสซาดก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

สหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ว่ามีทูตซีเรียสองคนคือ อับเดล ลาตีฟ ดับแบก เอคอัครราชทูตซีเรียประจำสหรัฐอาหรับอิมิเรต และภรรยาของเขา ลาเมีย อัล-ฮารีรี อุปทูตประจำไซปรัส ได้ลาออกจากตำแหน่ง

เจ้าหน้าที่ระดับสูงในสหรัฐฯ ต่างพากันบอกว่ากลุ่มวงในของอัสซาดเริ่มหนีออกมาเนื่องจากการกระทำที่เหี้ยมโหดของรัฐบาล และรัฐบาลซีเรียกำลังจะล่มจากการสูญเสียอำนาจจากล่างขึ้นบน

ฝ่ายรัฐมนตรีต่างประเทศของซีเรียกล่าวถึงเรื่องการลาออกล่าสุดเหมือนเป็นเรื่องไม่สลักสำคัญนัก

 

สถานการณ์ผู้ลี้ภัย

มีกลุ่มผู้ลี้ภัยจากซีเรีย 150 กว่าครอบครัวข้ามฝั่งไปยังประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลอิรักได้ตั้งค่ายผู้ลี้ภัยสองค่าย และเปิดด่านให้ชาวซีเรียหนีความรุนแรงจากประเทศตนเข้ามาตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.

แต่ทางด้านตุรกีได้ปิดด่านข้ามแดน 3 ด่านจากซีเรียอย่างไม่มีกำหนดโดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง

หน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติระบุว่ามีผู้ลี้ภัยจากซีเรียไปยังตุรกีในคืนวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา มีชาวซีเรียรวมหลายพันคนอพยพไปอาศัยอยู่ประเทศเลบานอนและตุรกี

 

ที่มา: เรียบเรียงจาก

Syria: Troops and rebels reinforce for big Aleppo battle, BBC, 26-07-2012 http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-18994124

Syrian military bombards rebel strongholds, Aljazeera, 26-07-2012 http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/07/201272652643376109.html

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำวินิจฉัยพร่าๆ ในพายุที่พรำๆ

$
0
0

ครบ 13 วัน นับจาก ‘ศุกร์ที่ 13’ ที่ศาลได้อ่านคำวินิจฉัย ก็ประจวบกับคลื่นลม ‘จากแดนไกล’ ที่พัดเข้าใกล้การเมืองไทยมากขึ้นทุกที

เอกสารคำวินิจฉัยที่ศาลเผยแพร่หลังพ้น 13 วันนี้ มีสาระการวินิจฉัยตรงตามที่ศาลอ่าน สิ่งที่อ่านไม่ชัดเจน ก็ยังคงเขียนไม่ชัดเจน และศาลก็ไม่ระบุจำนวนมติตุลาการซึ่งขัดแนวปฏิบัติสากลที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยในอดีตเคยยึดถือ อีกทั้งยังไม่เปิดเผยคำวินิจฉัยส่วนตนให้อ่านประกอบได้ ในเบื้องต้นผู้เขียนจึงไม่มีประเด็นเพิ่มเติมจากที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ (ดู http://bit.ly/VPCONS)

แต่สังเกตว่า ศาลได้ปรับถ้อยคำอย่างมีนัยสำคัญบางจุด เริ่มตั้งแต่หน้าแรก ที่ระบุเพิ่มว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ใช่ ‘ประธานรัฐสภา’ แต่เป็น ‘ประธานรัฐสภา ในฐานะรัฐสภา’

ถ้อยคำนี้ถูกปรับให้ต่างไปจาก ‘หนังสือเรียกเอกสารฯ’ ที่ประธานศาลเคยลงนามพร้อมระบุว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 คือ ‘ประธานรัฐสภา’ (เฉยๆ ดู http://bit.ly/VPC1June ) ซึ่งตรงกับที่ประธานศาลชี้แจงว่าตนออกหนังสือแจ้งไปยังประธานรัฐสภา แต่มิได้สั่งสภา อีกทั้งตรงกับคำในเอกสารข่าวของสำนักงานศาล และสอดรับกับการไต่สวนพยานที่ให้ ‘คุณวัฒนา เซ่งไพเราะ’ มาศาล ‘แทนประธานรัฐสภา’ (แต่ไม่ได้มาแทนรัฐสภา)

การปรับถ้อยคำเช่นนี้ จึงเป็นเครื่องยืนยัน ‘ความผิดรูปผิดรอย’ ของคดีที่หลุดเลยจาก ‘ปริมณฑลทางกฎหมาย’ มาแต่ต้น และทำให้เห็นว่า ศาลเองก็สับสนในข้อกฎหมายมาตั้งแต่วันรับคำร้องแล้วเช่นกัน

แต่คำถามที่สำคัญในเวลานี้ ก็คือ สภาจะเดินหน้าต่ออย่างไร ?

 

คำวินิจฉัยศาล มีผลทางกฎหมายหรือไม่ ?

แม้ผู้เขียนจะค้านว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้มาแต่ต้น แต่ก็ค้นจิตสำนึกทางกฎหมายไว้พร้อมแล้วว่า ไม่ว่าสุดท้ายศาลจะวินิจฉัยข้อกฎหมายอย่างไร ผู้เขียนก็พร้อมจะสนับสนุนให้คำวินิจฉัยนั้นต้องเด็ดขาดและเป็นที่สิ้นสุด

กล่าวคือ หากศาลวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ ‘กำหนดให้’ รัฐสภาต้องทำ ‘ประชามติ’ ก่อนการ ‘ยกร่างแก้ไขใหม่ทั้งฉบับ’ แม้ว่าผู้เขียนเองจะไม่เห็นด้วยกับศาลเลยก็ตาม แต่ก็พร้อมจะหนุนศาลว่า สภาก็ต้องไปหาวิธีทำประชามติเพื่อปฏิบัติตามที่ศาลได้ชี้ขาด

เหตุผลที่ผู้เขียนมองเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะลุ่มหลงกับ มาตรา 216 วรรค 5 แห่งรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยนั้นต้องเด็ดขาดและผูกพันรัฐสภา แต่เป็นเพราะผู้เขียนเชื่อในหลักการที่ใหญ่กว่านั้น

หลักการที่ว่า ก็คือ ‘หลักกระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย’ กล่าวคือ ประชาธิปไตยต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้กติกาที่แน่นอน แม้จะกติกาที่ว่าจะไม่สมบูรณ์และไม่เป็นที่ถูกใจทุกฝ่ายก็ตาม ดังนั้น เมื่อสภาปฎิบัติตามศาลแล้ว สภาจะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือจะไปปฏิรูปศาลอย่างไร ก็เป็นเรื่องกระบวนการประชาธิปไตยที่ทั้งสภาและศาลจะต้องเรียนรู้ร่วมกัน โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปตัดตอนผลคำวินิจฉัย ซึ่งเป็นสาระของการเรียนรู้เสียเอง

ฉันใดก็ฉันนั้น หากจะมี ‘พายุแดนไกล’ ลูกใด ที่ถูกถูกมองว่ารุนแรงและเลวร้ายต่อการเมืองไทย แต่หากเรามีศาลเป็นที่พึ่ง มีกติกาที่แน่นอน ผู้เขียนก็เชื่อว่า คนไทยก็มิได้โง่เขลาขนาดจะปล่อยให้บ้านเมืองถูกพัดทำลายจนชาติสลาย ดังนั้น จึงไม่มีพื่นที่ใดที่จำเป็นสำหรับ ‘ลัทธิรัฐประหาร’ ที่มาตัดตอนการสู้คลื่นลมโดยประชาชน ที่มีกฎหมาย ศาล สภา และองค์กรอื่นๆ เป็นที่พึ่ง (ดูเพิ่มที่ http://bit.ly/VPProcess)

ส่วนข้อโต้แย้งที่ว่า ‘คำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย’ จะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากต่างฝ่ายต่างอ้างกันได้เช่นนี้ สังคมก็คงขัดแย้งบานปลาย เพราะทุกคนชี้เองได้ แต่ชี้ไปกี่สิบกี่พันนิ้ว ก็ไม่ขาดเสียที

และแม้จะคิดให้ไกลกว่านั้น ผู้เขียนก็ได้หาเหตุผลมารอหนุนศาลไว้ โดยหากศาลวินิจฉัยว่า ‘ต้องทำประชามติ’ ผู้เขียนก็จะอธิบายว่า ศาลได้วินิจฉัยให้การได้ลงประชามติที่ว่าเป็น “สิทธิโดยปริยาย” ตาม มาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 27 ที่ว่านี้ หากศาลใช้เป็น ก็จะเป็นฐานอำนาจที่ทรงอานุภาพยิ่งกว่า มาตรา 68 อีกหลายเท่า

 

ตกลงสภาต้องทำ ‘ประชามติ’ หรือไม่ ?

แม้ผู้เขียนมีหลักการและเหตุผลที่พร้อมจะหนุนศาล แต่ชะตากลับเล่นตลก เมื่อศาลท่านกลับไม่ยอมวินิจฉัยให้เด็ดขาดว่าสภา ‘ต้องทำประชามติ’ หรือไม่

แต่ศาลกลับอ้างเจตนารมณ์โดยไม่มีบทบัญญัติอ้างอิงชัดแจน เพื่อกล่าวเอาเองอย่างสะดวกว่า “ก็ควรจะได้ให้ประชาชน...ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่”

คำว่า ‘ควร’ ที่ศาลกล่าวมานี้ ต้องมองให้ทะลุถึงความหมายสองชั้น

ชั้นแรก คือ ‘ควร’ ให้ประชาชนลงประชามติ (กล่าวคือ ศาลไม่บังคับว่าจะต้องลงประชามติ)

ชั้นที่สอง คือ ประชามติก็เพียงถามว่า ‘สมควร’ มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (กล่าวคือ ศาลไม่บังคับว่าผลการลงประชามติจะต้องเป็นข้อยุติที่ผูกพันสภา แต่อาจเป็นเพียงความเห็นของประชาชน ซึ่งแสดงว่าตรรกะและการใช้คำของศาลนั้น ก็ขัดแย้งกันเอง)

เมื่อศาล ‘เลือก’ ให้คำแนะนำทางการเมืองอย่างกำกวม แทนการชี้ข้อกฎหมายให้เด็ดขาด ผู้เขียนจึงไม่อาจนำหลักการที่เตรียมหนุนศาลมาใช้ได้ แต่กลับกัน ผู้เขียนกลับต้องไปหนุนสภาให้เดินหน้าสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย โดยการ ‘ยึดรัฐธรรมนูญให้อยู่เหนือศาลรัฐธรรมนูญ’ เพื่อยืนยันว่าศาลย่อมต้องเป็นศาลที่ชี้กติกาให้ชัด แต่จะมาเล่นการเมืองแบบกำกวมไม่ได้

ดังนั้น สภาจึง ‘ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม’ คำแนะนำของศาล ตรงกันข้าม สภาต้องปฏิบัติตามการชี้ขาดของศาลที่วินิจฉัย ‘ยกคำร้อง’ หมายความว่า การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่กระทำมาค้างที่ วาระ 2 ก็ต้องเดินต่อไปสุดที่ วาระ 3 โดยสภาไม่มีหน้าที่ต้องทำประชามติแต่อย่างใด

 

การเมืองไทย จะเดินต่ออย่างไร ?

แม้สภาจะเปิดประชุม 1 สิงหาคมนี้ แต่สภาก็คงจะอาศัยภารกิจในวโรกาสมหามงคล ประกอบกับการลุ้นชิงตำแหน่ง ‘ประธานวุฒิสภา’ คนใหม่ มาเป็นเครื่องต่อเวลา เพื่อไม่ต้องตัดสินใจทันทีว่าจะเดินต่อตามคำวินิจฉัยหรือไม่อย่างไร

แต่ในระยะยาว แม้ผู้เขียนจะเสนอให้สภาต้องเดินหน้าต่อสู่ วาระ 3 แต่ความพร่ามัวของคำวินิจฉัยก็ทำให้หลายฝ่ายกลับต้องกังวลว่า หากเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าจะทางใด จะทำผิดกฎหมายหรือไม่ หรือพลาดพลั้งในทางการเมืองอย่างไร ?

หากเดินหน้าต่อวาระ 3 ก็จะมีผู้กล่าวหาว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ เพราะศาลตีความรัฐธรรมนูญเอาไว้แล้วว่าควรต้องทำประชามติก่อน จะอ้างว่าศาลเพียงเสนอแนะ ก็ไม่มีใครรับประกันผลที่ตามมาได้

แต่หากเดินหน้าทำประชามติ หรือปล่อย วาระ 3 ทิ้งไว้ ก็จะมีผู้กล่าวหาว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่บังคับชัดเจนว่าต้องดำเนินการให้ครบ 3 วาระ ครั้นจะอ้างศาลมากำบัง ก็จะมีการอ้างว่าข้อเสนอแนะย่อมไม่มีผลผูกพัน

หรือหากสภาจะเลือกเดินหน้าไปสู่วาระ 3 และยอมลงมติไม่เห็นชอบ เพื่อให้กระบวนการตั้ง ส.ส.ร. เป็นอันต้องล้มเลิกไป (จากนั้นจึงไปแก้ไขรายมาตรา) แม้สภาย่อมทำได้ในทางกฎหมาย แต่สภาก็คงต้องคิดถึงผลทางการเมืองที่หนักหนายิ่งกว่า

หรือหากมองโลกให้ร้ายที่สุด ความพร่ามัวของคำวินิจฉัย อาจกลายมาเป็น ‘ใบเบิกทาง’ การรอมชอมระหว่างกลุ่มอำนาจ ทำนองว่า หากสภาไม่แก้รัฐธรรมนูญไม่ลดอำนาจศาล ศาลก็จะไม่แตะอำนาจนิรโทษกรรมของสภา ซึ่งการรอมชอมที่ว่า จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากกฎหมายมีความชัดเจน ยุติเป็นที่สิ้นสุด แม้พายุทางการเมืองจะพัดพรำๆ ก็ตาม

 

VOTE NO: ทางออกที่เป็นไปได้ และควรเป็น ?

 
 

หากสภาต้องการยึดกฎหมายให้อยู่เหนือศาล แต่น้อมฟังความห่วงใยของศาลไปพร้อมกัน โดยไม่ต้องไปสุ่มเสี่ยงกับความวุ่นวายทางกฎหมายและการเมืองที่อธิบายมา ผู้เขียนก็ขอเสนอทางออกดังนี้

ประการแรก ยึดหลักกฎหมายให้มั่นว่า สภามีหน้าที่ต้องเดินต่อไปสู่วาระที่ 3 และกฎหมายย่อมอยู่เหนือการเมืองหรือข้อเสนอแนะใดๆ

ประการที่สอง หากสภาอ่านคำวินิจฉัยให้ดี จะพบว่าถ้อยคำของศาลที่ว่า “ก็ควรจะได้ให้ประชาชน...ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่” นั้น ศาลไม่ได้ระบุว่าควรมีการลงประชามติ “ก่อนการลงมติ วาระ 3” ดังที่บางฝ่ายเข้าใจ ศาลกล่าวเพียงว่า การลงประชามตินั้นควรมี “ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ” (โปรดดูคำวินิจฉัยหน้า 25 ย่อหน้าสุดท้ายที่ http://bit.ly/VP26July )

ดังนั้น แม้สภาจะลงมติ ‘วาระ 3’ ไปแล้ว แต่หากการแก้ไขโดยยกร่างใหม่ทั้งฉบับ (โดย ส.ส.ร.) ยังไม่เริ่มต้นขึ้น สภาก็ย่อมชอบที่จะหามติจากประชาชนได้ และก็มิได้เป็นการขัดแย้งกับคำแนะนำของศาลเสียทีเดียว

ประการที่สาม สภาจะมีวิธีการถามมติจากประชาชน ‘หลังการลงมติในวาระ 3’ อย่างไร จึงถูกกฎหมาย และไม่เป็นการไปยอมรับคำแนะนำที่ขัดต่อหลักการเสียเอง ?

ทางออกที่เป็นไปได้ คือ การให้สภาประกาศ ‘คำมั่นทางการเมือง’ แก่ประชาชน ดังนี้

(1) ในวันเลือกตั้ง ส.ส.ร. (หลังการลงมติวาระ 3) หากประชาชนได้กาช่อง ‘ไม่ประสงค์ลงคะแนน’ (Vote No) รวมกันสูงเป็นลำดับที่ 1 จากคะแนนทั้งหมด รัฐสภาจะยอมรับว่า ประชาชนมีมติไม่ต้องการให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และสภาก็จะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกการตั้ง ส.ส.ร. (โดยยอมรับข้อจำกัดว่า อาจมีประชาชนบางส่วนต้องการให้มี ส.ส.ร. แต่ไม่ประสงค์เลือก)

(2) ตรงกันข้าม หากประชาชนเสียงข้างมากตัดสินใจลงคะแนนเลือก ส.ส.ร. สภาก็ย่อมเคารพมติของประชาชนในการเดินหน้าให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ 

วิธีที่นำเสนอมามานี้ เป็นการอำนวยให้ประชาชนสามารถ ‘ลงมติยับยั้ง’ การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ตั้งแต่ก่อนการแก้ไขทั้งฉบับจะเริ่มขึ้น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งประหยัดงบประมาณ เพราะทำไปในคราวเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร.อีกทั้งไม่มีเหตุผลให้ศาลหรือใครจะมาคัดค้าน หากใครไม่ต้องการให้มี ส.ส.ร. มายกร่างทั้งฉบับ ก็ออกไปรณรงค์ Vote No ได้เต็มที่ หรือจะส่งพวกมาสมัครเป็น ส.ส.ร. ที่พร้อมลาออก ก็ทำได้

หากสภาทำได้เช่นนี้ ‘กระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย’ ของไทยก็จะพัฒนาไปสู่การใช้กฎหมายอย่างลึกซึ้งแยบยล เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่น่าปราถนา แทนที่จะมาติดกับดักเรื่อง หลักนิติศาสตร์ / รัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ไร้แก่นสารและโบราณเกินไปเสียแล้ว.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สสส. – องค์กรที่เข้มแข็งขึ้นทุกปีจากภาษีเหล้า-บุหรี่

$
0
0

เมื่อถามถึงชาวบ้านทั่วไปแล้ว คงเข้าใจว่า สสส. คือองค์กรที่รณรงค์งดสูบบุหรี่และงดเหล้า เพราะด้วยผลงานที่โดดเด่นชัดเจนจากการรณรงค์ผ่านทั้งสปอตโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ หรือการเปิดให้ทุนเปิดให้รางวัลการแข่งขันต่างๆเพื่อรณรงค์งดบุหรี่และเหล้า ผู้เขียนอยากทราบองค์การ สสส. มากขึ้นเลยเข้าไปหารายละเอียดเปิดในเวปไซต์ทางการของ สสส http://www.thaihealth.or.th/about/get-to-know ซึ่งเขียนไว้ว่า “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 อยู่ภายใต้การ กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี มีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ทำหน้าที่ จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับกลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วไป (ภาคี สร้างเสริมสุขภาพ) โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาพดีครบสี่ด้าน กาย จิต ปัญญา สังคม เพื่อร่วมสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยไม่จำกัดกรอบวิธีการ และยินดีเปิดรับแนวทาง ปฏิบัติการใหม่ๆ ที่เป็นความคิด สร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การขยายค่านิยมและการสร้างพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง ซึ่งนับเป็นองค์กรด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับมติของ สมัชชาสุขภาพโลก ด้านการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ”

ผู้เขียนมาชะงักตรงที่ว่าแหล่งเงินทุนของ สสส. มาจาก ภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีนี่แหละ เอ ตกลง สสส. นี่มีเพื่อสนับสนุนหรือรณรงค์การงดเหล้างดบุหรี่กันแน่?

หน้าที่ขององค์กรขัดกับแหล่งเงินทุน

แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้ง จะพบว่านโยบายงดเหล้างดบุหรี่นั้นขัดกับแหล่งเงินทุน สสส. เอง ถ้านโยบายการลดเหล้าลดบุหรี่ได้ผลแล้ว การเก็บภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ย่อมลดลงๆในแต่ละปี และย่อมส่งผลให้แหล่งเงินทุนของ สสส. ลดลงเป็นเงาตามตัว เมื่อไม่มีเงินทุนแล้วก็ไม่มีเงินมาจ่ายเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่พนักงานในองค์กร และจำเป็นต้องไล่ออก และขนาดองค์กรเล็กลงๆตามลำดับ และถ้าการรณรงค์งดเหล้าบุหรีสำเร็จจนเหลือศูนย์เมื่อไร แสดงว่า สสส. จะไม่มีเงินทุนและองค์กรต้องถูกยุบไปในที่สุด แลละถ้าผู้อ่านเป็นพนักงาน สสส ก็เตรียมตัวหางานใหม่ได้เลย ตรงกันข้ามถ้านโยบายงดเหล้างดบุหรี่ไม่สำเร็จ เงินสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ก็เพิ่มขึ้นทุกปี เงินทุนองค์กรก็เพิ่มขึ้นทุกปี กิจการขององค์กรรุ่งเรืองทุกปี พนักงานก็อาจได้โบนัสทะลุเป้า หน้าที่การงานพนักงานก็มั่นคง ถ้าผู้อ่านเป็นพนักงานขององค์กร ผู้อ่านจะเลือกให้นโยบายงดเหล้างดบุหรี่สำเร็จหรือล้มเหลว

แต่กิจการขององค์กรกลับรุ่งเรืองขึ้น สสส. เกิดขึ้นมาใน ปี 2544 จนถึงปัจจุบันก็ศิริรวมเวลาเกือบสิบปีแล้ว เมื่อพิเคราะห์ในฐานะองค์กรหนึ่งนับว่ามีอนาคตสดใส สามารถดำรงอยู่ผ่านความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยในประเทศโดยไม่มีการลดขนาดองค์กร หรือ เลย์เอาท์พนักงาน ตลอดจนไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน เมื่อพิเคราะห์ด้านผลงานนโยบายขององค์กรแล้ว ใน thaipublica (http://thaipublica.org/2012/05/hsri-researched-thaihealth/ ) ระบุว่า “พบว่าคนไทยเกือบครึ่งประเทศรู้จัก สสส. ในฐานะองค์กรที่ทำประโยชน์ให้สังคมด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน” “ในสายตาของประชาชน สังคมได้กำไรจากการมีองค์กรเช่น สสส.” และจากข้อมูลจากเว็บไซท์เดียวกันปรากฎว่า ภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่เพิ่มขึ้นทุกปี และเรายได้จาก สสส. ก็เพิ่มขึ้นทุกปีเป็นเงาตามตัว

 

ถ้าเปรียบ สสส. เป็น บริษัทแล้ว คนกินเหล้าสูบบุหรีก็คือลูกค้าขององค์กรที่มีพระคุณในการสนับสนุนสินค้าและด้านการเงินให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคนในองค์กร ถ้าบังเอิญบรรดาผู้มีส่วนได้กับ สสส. เดินผ่านบนถนนพบปะคนกินเหล้าสูบบุหรี่ละก็อย่าลืม ไหว้พี่เขาสิครับ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Patani Design 1: สื่อทางเลือก เลือกสื่อทางยุติธรรม

$
0
0

กระแสของความเป็นสื่อทางเลือกในพื้นที่ความขัดแย้ง ในแนวทแยง แนวราบ และแนวดิ่ง ของพื้นที่ปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) ถูกจุดให้ลุกขึ้นมาเป็นประเด็นให้กดไลค์อีกครั้ง ในหน้าสมุด(facebook)เมื่อคนทำงานด้านสื่อทางเลือกถูกเชิญตัวไปสอบสวนยังค่ายทหารสังกัด ร้อย.ร.2531 ฉก.ปน.24 จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา และถูกปล่อยตัวออกมาเมื่อเวลาประมาณ 18.35 น. ด้วยเหตุที่ผู้ที่ถูกเชิญตัวเป็นอดีตแกนนำนักศึกษาในการชุมนุมที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เมื่อปี 50 และเป็นประธานชมรมมุสลิมมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงบางเหตุการณ์

นายซาฮารี เจ๊ะหลง เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Southern Peace Media Volunteer Network) อดีตนักกิจกรรมนักศึกษา ประธานชมรมมุสลิมมหาวิทยาลัยรามคำแหง และแกนนำนักศึกษาในการชุมนุมที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เมื่อปี 50 ดีกรีเหล่านี้เหมาะสมกับการที่จะถูกเชิญเพื่อทำการสอบสวนในฐานะต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่แล้วหรือยัง

เมื่อประเด็นในการสอบสวน หรือ ที่ถูกเรียกว่าการพูดคุย ถูกเปลี่ยนไป เมื่อนายซาฮารีไปพบกับเจ้าหน้าที่เป็นวันที่สอง เมื่อเช้าวันรุ่นขึ้น (25 ก.ค.) เป็นการสอบถามเกี่ยวกับการบทบาท การทำงานในฐานะสื่อทางเลือกที่นำเสนอข้อมูลผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ออกแนวว่าทำไมสื่อทางเลือก ถึงเลือกข้างเวลานำเสนอเสมอ?

นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เพียงแค่การเป็นแกนนำชุมนุมใหญ่ที่มัสยิดกลางปัตตานีเพียงประเด็นเดียวแล้ว และไม่ใช่เรื่องที่นายซาฮารี จะต้องตอบคำถามนี้เพียงลำพังคนเดียวอีกแล้ว

เจตนารมณ์ในการก่อตั้ง และการสร้างสรรค์ผลงานของแต่ละกลุ่ม องค์กรภาคประชาสังคมโดยเฉพาะงานด้านสื่อในพื้นที่ปาตานี ล้วนพร้อมที่จะผลักดันให้เกิดสันติสุขโดยไว และสื่อทางเลือกพร้อมที่จะเลือกข้างฝ่ายยุติธรรม เพื่อยุติ ความอธรรม จากฝ่ายอธรรม ในคำกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่ที่ว่าสื่อทางเลือกนำเสนอข้อมูลเฉพาะเมื่อประชาชนเมอลายูมุสลิมถูกกระทำแต่เพียงอย่างเดียว หรือการนำเสนอจะออกไปทางการด่าว่ารัฐซะส่วนใหญ่ เมื่อเราเปิดดูในแต่ละคลิปวีดีโอ ที่ทางกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ ได้นำเสนออกมา เป็นการนำเสนอเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ เพราะกระแสในแต่ละครั้งที่ออกมา เมื่อเกิดข้อสงสัยต่างๆ ต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงต่อผู้ต้องสงสัยที่ถูกควบคุมตัว ทำให้ผู้ที่เสียหายนอกเสียจากจะเป็นผู้ต้องสงสัยเองแล้ว สถาบันความมั่นคงของรัฐก็ถูกมองว่าเป็นผู้กระทำผิด และเสียหายอีกด้วย กลายเป็นว่าการนำเสนอของสื่อทางเลือกไม่ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด กลับเป็นผลเสียทางด้านจิตใจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ที่จะต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอ เพื่อตรวจสอบทุกๆคลิป ตรวจสอบทุกความเคลื่อนของคนทำงานด้านสื่อทางเลือก ที่เลือกข้างฝ่ายยุติธรรม

เมื่อเรามองลงไปถึงการออกแบบ ดีไซน์โลโก้องค์กรของ เครือข่ายอาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Southern Peace Media Volunteer Network) ซึ่งสามารถมองลงลึกไปยังแนวคิด ความตั้งใจในการค้นหาบางอย่างแล้ว โลโก้ที่มีรูปนกเงือก ในตาเป็นสัญลักษณ์สันติภาพ (Peace) ซึ่งนกนี้มิใช่นกที่สามารมองเห็นได้ง่ายนอกเสียจากป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ แม้ในป่าที่สมบูรณ์ก็ยังคงมองเห็นได้ยาก ต้องอาศัยความตั้งใจจริง เสมือนกับการมองหาความสันติ ความยุติธรรม ในสังคมที่มีความขัดแย้ง จนเกิดความรุนแรง แม้กระทั้งในสภาพสังคมปกติก็ยังคงมองไม่เห็นซึ่งความยุติธรรม

รูปร่างของนกเงือก ยังเป็นตัว P ที่เชื่อมไปยังตัว eace เมื่อรวมกันกลายเป็นคำว่า Peace หมายถึง สันติภาพ

เป็นความพยายามในผสมผสานกันระหว่างความเป็นท้องถิ่น คือ นกเงือกที่มีเหลืออยู่ไม่มากในป่าของพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กับตัวฟอนต์ภาษาอังกฤษที่ทันสมัย ยังกับการเชื่อมกันระหว่างความเสมอภาคในพื้นที่ ต่อสนธิสัญญาด้านสิทธิต่างๆที่ทางรัฐบาลไทยได้ให้สัญญาไว้ว่าจะปฏิบัติตาม

การกลั่นกรองแนวคิด ความตั้งใจ อุดมการณ์ ผ่านงานดีไซน์ออกมาเป็นโลโก้ขององค์กร ที่มิใช่แค่เพียงความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียว ยังซ่อนด้วยความหมาย หลักการในการทำงาน สะท้อนถึงหมุดหมายในการทำงานที่จะต้องค้นหานกเงือกให้เจอภายใต้สภาพสังคมปัจจุบัน

เมื่อความตั้งใจในการทำงานเหล่านี้ กลายเป็นว่าไปบั่นทอนต่อความมั่นคงของหน่วยงานความมั่นคง นักสื่อทางเลือกก็ควรถูกเรียกเชิญตัวไปสอบสวน หรือ พูดคุยกันในสถานที่สอบสวนกระนั้นหรือ? กระทั้งส่งผลให้ความมั่นคงของสื่อทางเลือกขาดความมั่นคง

ดังนั้น ทั้งความมั่นคงของฝ่ายความมั่นคงของรัฐ

กับ ความมั่นคงของนักสื่อทางเลือก ภาคประชาสังคมปาตานี

จะเดินทางบนถนนเส้นขนานต่อไป หรือ จะสามารถเข้าเลนส์เดียวกันแล้วบรรจบทักทายกันสักพัก แต่ไม่ก่อเกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย แล้วขนานต่อ เพื่อให้เกิดการตรวจการกระทำซึ่งกันและกัน

หากฝ่ายความมั่นคงจะดีไซน์รูปร่างของโต๊ะเจรจาพูดคุยคงจะไม่ใช่เฉพาะกับฝ่ายขบวนการฯ แต่เพียงอย่างเดียวเสียแล้ว เมื่อฝ่ายความมั่นคงมองว่าสื่อทางเลือกชายแดนใต้เป็นภัยต่อความมั่นคงของตน รูปร่างการดีไซน์ของโต๊ะเจรจาต่อไปคือ สื่อทางเลือกปาตานี ชายแดนใต้ จะเป็นรูปแบบไหน สัญลักษณ์ใดจะเกิดขึ้นมาอีก

ก็ขอให้ดินสอเพียงด้ามเดียว ยางลบเพียงก้อนเดียวเพียงพอสำหรับการดีไซน์สันติภาพในปาตานี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์รับไม่ได้ไปเกณฑ์ทหารจริง แต่เรื่องผ่านมาแล้ว 20 ปีจึงไม่มีความหมาย

$
0
0

เนื่องจากใช้สิทธิผ่อนผันศึกษาต่อต่างประเทศและสมัครเข้ารับราชการที่ รร.นายร้อย ดังกล่าวการกล่าวหาว่าไม่ได้ไปคัดเลือกทหารและเรื่องผ่านมา 20 ปีแล้วจึงไม่มีความหมาย และได้ฟ้องหมิ่นประมาทจตุพร พรหมพันธุ์แล้วแล้ว

มติชนออนไลน์ รายงานวานนี้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอบโต้ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่นำหลักฐานมาแถลงข่าวกรณีข้อก​ล่าวหาว่านายอภิสิทธิ์สมัครเข้า​เป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย จปร. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งไม่ได้รับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารกองเกิน

โดยนายอภิสิทธิ์ยอมรับว่าไม่ได้ไปคัดเลือกเก​ณฑ์ทหารจริงเนื่องจากได้ใช้สิทธิ์ผ่อนผันไปศึกษาต่อต่างประเทศ และสมัครเข้ารับราชการที่โรงเรี​ยนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ดังนั้นการกล่าวหาไม่ได้ไปคัดเลื​อกทหารและเรื่องผ่านมากว่า 20 กว่าปีแล้ว จึงไม่มีความหมาย ซึ่งได้ฟ้องจตุพรพรหมพันธุ์ ในข้อหาหมิ่นประมาทไปแล้วและเรื่องอยู่ในศาลแล้ว โดยวันนี้จะติดตามการแถลงข่าว หากพบมีการใช้หลักฐานเท็จหรือพบ​หมิ่นประมาทเพิ่มเติมก็จะให้ทีม​กฎหมายส่งเรื่องดำเนินคดีต่อไป โดยเชื่อว่าเรื่องทั้งหมดมีคำสั่งทางการเมืองให้ทำ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เราเรียนรู้อะไรจากการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ?

$
0
0

บทความนี้เขียนขึ้น หลังจากการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการยกร่างใหม่ทั้งฉบับด้วยการตั้ง สสร.ผ่านวาระสองแล้วมีการเสนอ ให้ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วมีการถกเถียงว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจไม่มีอำนาจ การตัดสินควรไม่ควร เหมาะสมไม่เหมาะสม ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า เป็นการกระทำเหมือนกับการถามพระพุทธเจ้าเรื่องผี ซึ่งในพุทธศาสนาได้ให้แนวคิดว่า เป็นเรื่องที่สงสัยได้ แต่ไม่ควรเสียเวลาได้สืบค้น

 

รัฐธรรมนูญเป็นแก่นของประชาธิปไตย

ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ ขออนุญาตแสดงความรู้สึกและความเข้าใจที่เป็นพื้นฐานของการแสดงความคิดเห็น ดังนี้ ระบบประชาธิปไตยเป็นระบบที่มีสัญญาประชาคมเป็นหลักของทุกเรื่องในความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ต่อมนุษย์ มนุษย์ต่อชุมชน ชุมชนต่อชุมชน ภายใต้สิทธิและหน้าที่ โดยมีการมอบอำนาจรัฐให้กับ รัฐบาล สภานิติบัญญัติและศาลสถิตยุติธรรม ภายใต้ระบบแบ่งและคานอำนาจกัน

สัญญาประชาคมในระบบประชาธิปไตยมีได้ ดังนี้ คือ 1) รัฐธรรมนูญ 2) จารีตและวัฒนธรรมประชาธิปไตย 3) เจตนารมณ์ที่ผู้ได้รับมอบอำนาจที่ต้องทำและควรทำทั้งที่ประกาศเป็นการเฉพาะกิจและกำหนดไว้ในกฎหมายต่าง

รัฐธรรมนูญโดยนัยยะแล้วเป็นสัญญาประชาคมที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ครอบคลุมทุกมิติและทุกคน ดังนั้น รัฐธรรมนูญในเชิงอุดมคติแล้ว ก็คือ อุดมการณ์ของชาติหรือความเป็นชาติไทย ซึ่งต้องหลอมรวมทุกความคิดทุกมิติให้คนในชาติจนทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของ มิใช่”ในโลกประชาธิปไตยที่ไหนจะทำตามเสียงข้างน้อย การกระทำอะไรก็ต้องเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่” ถ้าจะใช้หลักการนี้จริงๆรัฐธรรมนูญจะต้องอายุสั้นแน่นอน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเสียงข้างมาก อุทาหรณ์ในเรื่องนี้ คือ ปัญหาเยาวชนเกือบครึ่งหนึ่งเกิดจากเสียงของขาใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ที่ใช้เสียงส่วนใหญ่ดูแลลูกโดยไม่ให้ลูกมีส่วนร่วมที่มากพอ

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคำตอยอยู่ที่คำถามที่ทุกคนตอบได้ในใจว่า การแก้ไขครั้งนี้เป็นสัญญาประชาคมที่มีลักษณ์อุดมการณ์ของชาติหรือไม่? ข้อสรุปที่ผ่านวาระสองมีที่ยืนให้ทุกฝ่ายหรือไม่? สัญญาประชาคมที่เป็นอุดมการณ์ของชาติมีพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนแค่ไหนเพียงไร?

 

จารีตและวัฒนธรรมประชาธิปไตย

จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตลอดขบวนการที่เกิดขึ้นในรัฐสภาและศาลรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะมีความขรุขระไม่ราบรื่น เกิดข้อขัดแย้ง การวิวาทะในทุกระดับก็ตาม แต่ก็มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีความชัดเจนและถูกนำมาใช้ ซึ่งเป็นหลักและเป็นรากฐานในอนาคตได้ ดังนี้

1. การรับฟังกันมากขึ้น ที่เกิดขึ้นในรัฐสภา แม้ว่าการยอมรับข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจะน้อมมากก็ตาม แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งถ้าขบวนการอย่างนี้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องรับฟังแล้ว ขบวนการที่จะหลอมความเห็นที่แตกต่างจนทำให้ทุกฝ่ายมีที่ยืนในแต่ละเรื่อง “วันเสียงปืนแตกที่นครพนม” ก็จะเป็นอดีตที่ตายแล้งไม่มีวันฟื้นกลับมาในสังคมไทยอีก

2. ขบวนการคานอำนาจได้ทำงานในระบบแล้ว แม้ว่าการทำงานครั้งนี้จะสร้างความความคลางแคลงใจ ข้อสงสัย ความงุนงงก็ตาม แต่สิ่งที่ควรดีใจก็ คือ ระบบการคานอำนาจในระบบประชาธิปไตยได้เริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรให้กำลังใจเหมือนกับเด็กที่ตั้งไข่ ความเชื่อโดยบริสุทธิใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยกับสาระของการตัดสินใจ) ถ้าวัฒนธรรมการคานอำนาจนี้แข็งแรงขึ้นเหมือนกับความเชื่อของทหารปืนใหญ่ ที่เชื่อว่าการยิงปืนใหญ่นัดต่อไปผลจะดีขึ้นเรื่อยๆหรือเข้าเป้า จากการประสานงานกับทหารที่ตรวจการณ์หน้า

ประเด็นพื้นฐานที่ต้องยอมรับกันในเบื้องต้น คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ใช่สัญญาประชาคมที่มีลักษณ์อุดมการณ์ชาติ จากปรากฏการณ์ที่มีอีกฝ่ายที่ยอมไม่ได้ โดยใช้ทุกวิธีที่จะยับยั้งหรือชลอขบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการมีศาลรัฐธรรมนูญมาทำหน้าที่คนกลาง จึงเป็นระบบที่น่าจะเหมาะสมและดีที่สุด แต่การจะทำหน้าที่ดีที่สุดหรือไม่เป็นเรื่องที่สังคม ทั้งสังคมจะเพาะบ่มทั้งคนที่จะมาทำหน้าที่และสร้างระบบในเชิงวัฒนธรรมขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามทุกอย่างในโลกก็ยังอยู่ภายใต้กฎของความอนิจจัง ที่อาจจะมีบางช่วงเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญรุ่งเรืองแล้วตกต่ำ

อย่างไรก็ตามการทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ตุลาการได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในระดับปุถุชนพึงกระทำ ทำให้เกิด “อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แม้องค์ปฏิมายั้งราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะพ้นคนนินทา”

ประชาธิปไตยของไทยผ่านการเวลามา 80 ปี มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ ยังคงมีความต้องการรัฐธรรมนูญใหม่อีกเนืองๆ ในบางมุมอาจจะต้องถามตัวเองว่า มีบางคนที่ต้องการใช้รัฐธรรมนูญเป็นอนุสาวรีย์หรือเปล่า? หรือเราต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นสัญญาประชาคมอย่างแท้จริง? ผลที่เกิดทุกวันนี้เป็นไปดั่ง “ปลูกถั่วได้ถั่ว ปลูกงาได้งา” ท้ายที่สุดต้นประชาธิปไตยตรงไหนมีปัญหาก็แก้ปัญหาตรงนั้น การเปลี่ยนต้นประชาธิปไตยบ่อยครั้ง วงปีของต้นประชาธิปไตยจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คลิปเสวนาที่ Book Re:public "จาก ตลก.ภิวัฒน์ สู่ ตลก.พิทักษ์รัฐธรรมนูญฯ"

$
0
0

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่ร้าน Book Re:public มีการจัดเสวนาหัวข้อ "จาก ตลก.ภิวัฒน์ สู่ ตลก.พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (รัฐประหาร)" วิทยากรโดย พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด นักเขียน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยร้าน Book Re:public ได้เผยแพร่รายละเอียดของการเสวนาในรูปแบบของวิดีโอคลิปมีรายละเอียดดังนี้ สำหรับข่าวที่เกี่ยวข้องโปรดอ่านที่นี่

ช่วงที่ 1 อภิปรายโดยพนัส ทัศนียานนท์

ช่วงที่ 2 อภิปรายโดย พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย 

ช่วงที่ 3 อภิปรายโดยนิธิ เอียวศรีวงศ์

ช่วงที่ 4 อภิปรายและการตอบคำถาม 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live




Latest Images