Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live

ปาฐกถา ‘อันวาร์ อิบรอฮิม’ บนชายแดนใต้: หลักสำคัญ...ต้องเข้าใจศาสนาอื่น

$
0
0

 

 

 

 

ดาโตะ ศรี อันวาร์ อิบรอฮิม ที่ปรึกษาพรรค เกออาดิลัน อดีตรองนายกรัฐมนตรี ของประเทศมาเลเซีย กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจอิสลามอาเซียน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2555 ในงานฉลองครบรอบ 20 ปีการก่อตั้ง สหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟาน จำกัด ณ สนามกีฬากลางจังหวัดปัตตานี มีเนื้อหาบางส่วนในการพัฒนาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

 0 0 0

...ในบริบทของประเทศมาเลเซียซึ่งมีทั้งคนมุสลิม  คนฮินดู และคนจีน เรามีความสามัคคีและเข้ากันได้ในระดับค่อนข้างดี ไม่มีความขัดแย้งที่รุนแรง และทุกชาติพันธุ์มีพื้นที่พอในการดำรงซึ่งอัตลักษณ์ของตน และมีความเข้าใจที่ดีพอในการสมาคมกับเพื่อนร่วมชาติที่ต่างชาติพันธุ์ ผมไม่แน่ใจว่า กลุ่มคนในลักษณะเช่นนี้ สามารถร่วมมือกันเหมือนในประเทศไทยหรือไม่

ผมเชื่อว่ามีอะไรบางประการซึ่งเป็นสิ่งที่ดีๆที่ไทยมีอยู่ ผมก็อยากจะเรียนรู้จากประเทศไทยในประเด็นนี้เช่นกัน

จากพื้นฐานประสบการณ์ที่ผมเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีความเชื่อที่ว่า ในการพัฒนาประเทศงบประมาณของชาติจะต้องทุ่มมากที่สุดคือ ด้านการศึกษา เมื่อประชาชนมีการศึกษาที่ดีแล้ว ประชาชนจะมีโอกาสและสามารถเลือกกำหนดรูปแบบการทำงานได้ถูกต้อง และเขาจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของเขาเองได้

ประเด็นต่อไปนี้ จะเป็นวัตถุประสงค์และเป็นหลักการสำคัญของคนมุสลิม กล่าวคือ เราสามารถเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจหลักการของศาสนาอื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจศาสนาแต่ละศาสนา และเมื่อมุสลิมจะต้องไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจะได้เข้าใจในหลักการ ข้อห้ามของศาสนานั้นๆ จะได้ไม่ไปสร้างความรู้สึกขัดแย้งกับเขา และเป็นการที่มีความใจกว้างกับคนต่างศาสนิก ให้การนับถือซึ่งกันและกัน หรือการให้เกียรติระหว่างกันและกัน

ในประวัติศาสตร์อิสลาม มีการถามว่า คนอิสลามคบสมาคมกับคนอิสลาม และคนอิสลามคบกับคนต่างศาสนิก ทำได้อย่างไรและในรูปแบบใด

สำหรับระหว่างมุสลิมด้วยกัน เราก็เป็นญาติพี่น้องกันในอิสลาม เราต้องให้เกียรติให้ความเคารพและสัมพันธ์กันในสถานะเสมือนญาติ คือญาติร่วมศาสนากัน เราต้องทำความรู้จักคบสมาคมกัน ตักเตือนในสิ่งที่ผิดและแนะนำสิ่งที่ดีให้กันและกัน

ในประเด็นนี้จะสามารถทำดีได้ สังคมจะต้องใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินการ และการที่สมาชิกในสังคมมีการศึกษาเป็นฐานในการสมาคมกันแล้ว การทะเลาะกัน การขัดแย้งกันก็ไม่เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดก็ไม่ลุกลามบานปลายจนเกินเหตุ

การสมาคมในกลุ่มมุสลิมด้วยกันไม่น่าจะเกิดความขัดแย้งกันได้ เพราะในกลุ่มมุสลิมเราเป็นพี่น้องกันในศาสนา เราต่างยึดมั่นในอัลกุรอานในแบบอย่างที่ท่านรอซูล(ศาสนทูต) ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่าง และด้วยสายสัมพันธ์ทางศาสนา

ในความหลากลายทางศาสนา หลากหลายชาติพันธุ์ในประเทศมาเลเซีย อิสลามได้กำหนดหลักการและแนวทางให้มุสลิมคบค้าสมาคมกับคนต่างศาสนา บนฐานความเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

มุสลิมซึ่งเป็นสังคมส่วนใหญ่และมีบทบาทนำในการปกครองประเทศจะต้องดูแลด้วยความเคารพให้เกียรติกันและกันและด้วยความยุติธรรม  ดังตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบี(ศาสดา) เป็นตัวอย่างที่มุสลิมปกครองโดยใช้หลักอิสลามปกครองทั้งกับมุสลิมด้วยกันและประชาชนต่างศาสนิก

มีกรณีที่ผู้หญิงถูกเอาเปรียบ ถูกลงโทษคุมขังโดยผู้ปกครอง ในกรณีเช่นนี้ เมื่อผู้นำเป็นมุสลิม อิสลามกำหนดให้มุสลิมจะต้องให้ความสำคัญ ให้ความยุติธรรมและให้เกียรติไม่กดขี่ทางเพศ เช่นที่เคยเป็นกันในสังคมอาหรับยุคก่อนอิสลาม

จากประสบการณ์ของข้าพเจ้า การอยู่ในคุก ก็เป็นโอกาสที่ดี ที่ผมได้มีเวลาศึกษาอัลกุรอาน อ่านหนังสือต่างๆ รวมทั้งตำราที่เขียนโดยปราชญ์ปัตตานี เช่น เชคดาวูด อัลฟาตอนี เป็นต้น ทำให้ผมมีความเข้าใจในอิสลามมากขึ้น มีการนำเอาหลักการอิสลามมาเป็นแนวในการดำรงตนมากขึ้น แต่สิ่งที่ผมรับไม่ได้คือ ความไม่เป็นธรรมที่ผมถูกคุมขังด้วยข้อหาที่ผมไม่ได้กระทำผิด

สิ่งที่เราควรคิดใคร่ครวญอีกประการหนึ่งก็คือ ในโลกนี้ มีมุสลิมเยอะมากที่ร่ำรวย และประสบความสำเร็จในตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือในเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนที่ยากจนที่สุดก็เป็นมุสลิม

องค์กรต่างๆ ต้องเป็นเครื่องมือที่ช่วยกันดูแลคนทุกกลุ่ม รณรงค์เพื่อสร้างความยุติธรรม สร้างโอกาส ในมาเลเซียก็ให้โอกาสกับคนเหล่านั้น โดยให้พื้นที่หรือโอกาสทางการศึกษา  และทางเศรษฐกิจในกับพวกเขาให้มากขึ้น หรือพอๆกับกลุ่มอื่นที่มีโอกาส

สำหรับในภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดต่อกับมาเลเซีย เราสามารถร่วมมือกันยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่นี้ ในอนาคตเราสามารถร่วมมือกันได้ เรามีสายสัมพันธ์กัน ในฐานะของการเป็นมุสลิมด้วยกัน และการเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก

ทั้งสองกรณีนี้ ถ้าเราเข้าใจกัน และให้ความสำคัญร่วมกัน เรา(ทั้งสองประเทศ)ก็จะสามารถร่วมมือกันในการพัฒนาพื้นที่นี้ให้มีสันติสุข มีการศึกษาและเศรษฐกิจดี นั่นหมายถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่นี้นั่นเอง...

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

5 ปีทีวีสาธารณะ ใครได้อะไร

$
0
0

 

“คุ้มภาษีหรือไม่?” เป็นวาทกรรมที่มักถูกใช้เมื่อมีผู้ต้องการประเมินการทำงานของสื่อสาธารณะ หรือต้องการจะใช้เป็นเครื่องมือตั้งคำถามกับการทำงานของสื่อแห่งนี้มาตั้งแต่ก่อนการก่อกำเนิด 15 มกราคม 2551 และก็ยังคงใช้กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

หากจะตอบคำถามดังกล่าว คงต้องอธิบายขยายคำถามเพื่อหาคำตอบก่อนว่า “ความคุ้มภาษี” นั้นเทียบกับอะไร ? จะเทียบกับงบประมาณที่จะใช้ในการลงประชามติแต่ละครั้ง หรือเทียบกับงบประมาณที่ใช้ในการป้องกันน้ำท่วม หรือเทียบกับการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) หรือเทียบกับ สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ว่ากันให้ชัด เทียบกันเป็นหมวด ๆ ของเงินงบประมาณกับปริมาณที่ได้รับ

ในความเป็นจริงแล้ว การเปรียบเทียบในลักษณะดังกล่าวอาจจะตอบและวัดความ “คุ้ม” ได้ยาก เพราะการทำงานมีเป้าหมายและคุณค่าเฉพาะตัว การวิเคราะห์เชิงปริมาณอาจไม่เพียงพอในการอธิบายและให้คำตอบได้

แต่หากจะให้ตอบคำถามโดยการวัด “ความคุ้ม” เชิง “คุณค่า” โดยเฉพาะคุณค่าที่มีต่อสังคม ที่เราผู้ดู ผู้มีส่วนร่วม และผู้เป็นเจ้าของเงินภาษีทั้งทางตรงทางอ้อม จะได้รับ นั้นคุ้มค่าหรือไม่ งานเขียนชิ้นนี้อาจพอให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและตอบคำถามกับตัวเองได้บ้าง

ทุกครั้งที่กล่าวถึงการทำงานสื่อสาธารณะแล้ว คนมักจะยกกรณีการดำเนินงานของ BBC มาเป็นต้นแบบหรือเปรียบเทียบ จริงอยู่ทั้ง BBC และ Thai pbs มีหลักการเป็นสื่อสาธารณะเหมือนกัน แต่ไม่จำเป็นต้องทำแบบเดียวกัน เพราะหากพิจารณาสื่อสาธารณะประเทศอื่น วิธีการทำงาน แนวทางหรือเป้าหมายของแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันไปตามบริบท สภาพแวดล้อมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เช่น ABC สื่อสาธารณะของประเทศออสเตรเลีย มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความแตกต่างหลากหลาย เพราะสภาพสังคมวัฒนธรรมที่ผู้คนมีความแตกต่างกันในด้านชาติพันธุ์ ส่วน PSB ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีวิธีการบริหารจัดการองค์กรที่ไม่เหมือนกับ BBC เพราะไม่เน้นที่จะผลิตรายการเอง หรือแม้แต่สถานีโทรทัศน์ภูมิภาคของ BBC ที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ การปฏิบัติงานและเป้าหมายในการทำงานแตกต่างจาก BBC สถานีหลัก

สำหรับสื่อสาธารณะของไทย หากเรายังคงจำกันได้ถึงประวัติศาสตร์การปรากฏขึ้นของ Thai pbs คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากปัจจัยทางการเมือง มีการเปลี่ยนผ่านแค่ชั่วข้ามคืน ทำให้ทั้งคนทำสื่อ และสังคมไทยยังตั้งตัวไม่ติด และยังแทบไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อสาธารณะอย่างพอเพียง ซึ่งแน่นอนการเปลี่ยนผ่านในลักษณะดังกล่าว จึงไม่สามารถเปลี่ยนใจ เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนความคุ้นเคยกับสื่อแบบเดิมๆ ให้กับคนทำงานและคนดูตามไปด้วย ดังนั้นช่วงเวลาเริ่มต้น การทำงานจึงไม่เพียงต้องทำหน้าที่สื่อสาธารณะที่เน้นการเป็นสื่อเพื่อสร้างพลเมือง ทำงานบนการมีส่วนร่วมของคนดู ไปพร้อมกับการจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากการเสียผลประโยชน์ ความไม่รู้ ความกลัว และความเคยชินกับแนวปฏิบัติการเป็นสื่อมวลชนแบบเดิมของคนในองค์กรไปพร้อมกัน

การดำเนินงาน 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้เราพอมองเห็นคุณลักษณะของการเป็นสื่อสาธารณะแบบของไทย ที่เป็นสื่อที่เน้นการสร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคมในระดับต่างๆ ที่มีความแตกต่างจาก BBC หรือในประเทศอื่น ๆ ซึ่งคุณลักษณะของการเป็นสื่อสาธารณะของ Thai pbs ที่ปรากฏออกมาแบบนั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นไปตามตามสภาพปัจจัยด้านต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของไทย ที่กำหนดการทำงานให้กับ Thai pbs แต่สิ่งที่ทั้ง BBC ABC CBS และ Thai pbs ต้องมีเหมือนกันก็คือ ปรัชญาของการเป็นสื่อสาธารณะที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอำนาจทุน การเมือง และอำนาจของสาธารณะชนและเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงสื่อและข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสื่อสาธารณะเป็นสื่อที่สามารถนำเสนอเนื้อหารายการที่เป็นประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อสังคม เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้และยกระดับคนดู ส่งเสริมความเป็นพลเมืองให้กับสาธารณะได้

จุดเด่นที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการเป็นสื่อสาธารณะของThai pbs ก็คือ การทำงานร่วมกับภาคประชาชน คนธรรมดา หลายระดับ ซึ่งถือเป็นกระบวนการ “หลังจอ” ที่คนส่วนใหญ่อาจมองเห็นภาพไม่ชัด และไม่ชิน เพราะพูดถึงสื่อทีวีแล้ว ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่ปรากฏผ่านทางจอโทรทัศน์ และผูกพันอยู่กับเนื้อหาที่ปรากฏผ่านหน้าจอมากกว่า แต่ กระบวนการสร้าง “หลังจอ” ถือเป็นอีกวิธีการทำงานอีกรูปแบบหนึ่งที่ Thai pbs เปิดช่องทางการเข้ามามีส่วนร่วมของคนดู ที่เคยเป็นคนดู กลายมาเป็นคนดูที่วิพากษ์วิจารณ์ เป็นแหล่งข้อมูล เป็นแหล่งข่าว หรือกลายเป็นผู้ร่วมผลิตรายการผ่านรูปแบบรายการต่างๆ โดยสถานีฯ จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลรับผิดชอบโดยตรง มีการทำงานเชื่อมโยงกับฝ่ายข่าวและฝ่ายรายการ บนหลักการการทำงานที่ต้องการใช้กลไกของกระบวนการ “หน้าจอ และ หลังจอ” ผลักดันและขับเคลื่อนซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การนำเสนอเนื้อหา และย้อนกลับมายังพื้นที่หรือประเด็นที่นำเสนอ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นทั้งในเชิงประเด็นและตัวบุคคลหรือกลุ่มที่ทำงานร่วมกัน

ยกตัวอย่างกรณี “หลังจอ” ที่ผู้เขียนมีโอกาสศึกษาถึงกระบวนการการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารายการของท้องถิ่น ระหว่างคนท้องถิ่นกับคนทำสื่อมืออาชีพ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นชินทั้งตัวคนทำสื่อมืออาชีพ และประชาชน ผลก็คือในระยะแรกของการเริ่มต้นทำงานร่วมกัน นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายมาก และมีโอกาสการครอบงำและขัดแย้งกันสูงมาก เวลาส่วนใหญ่ในการการทำงานจึงเน้นการปรับความเข้าใจและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยอาศัยปัจจัยการทำงานทั้งด้านตัวบุคคลที่เข้ามาประสานงาน ท่าที วิธีการ และกำหนดความสัมพันธ์ที่มีความเฉพาะและอ่อนไหว และใช้ระยะเวลาในการสร้างความเข้าใจและร่วมรู้เพื่อทำงานรวมกันกว่า 8 เดือน จึงเริ่มเห็นผลที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นและคนทำสื่อมืออาชีพในระดับต่างๆ และปรากฏเป็นรายการโทรทัศน์ “จอเหนือ” รายการที่ในยุคก่อตั้งผลิตขึ้นจากการทำงานร่วมของคนสื่อและคนธรรมดามาใช้ และได้รับการพัฒนาไปสู่พื้นที่ และรายการอื่นโดยพยายามยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเหมือนกัน

ที่น่าสนใจก็คือ เนื้อหารายการ “จอเหนือ” ในยุคเริ่มต้นที่ได้รับการกำหนดมาจากภาคประชาชน ส่วนใหญ่ประเด็นที่ได้รับการเสนอเพื่อนำไปสู่การผลิตมักเป็นประเด็นร้อน หรือประเด็นที่เป็นปัญหาที่ท้องถิ่นหรือชุมชนกำลังเผชิญหน้า การได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเช่นระบบทุนนิยม หรือนโยบายของรัฐเป็นต้น ปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่นดิน น้ำ ป่า การเรียกร้องการจัดการตนเองด้วยการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น รวมไปถึงคุณค่าท้องถิ่น อัตลักษณ์ ความงดงามในท้องถิ่นที่กำลังลดเลือน หรือเสื่อมถอยไปจากท้องถิ่น เช่นผลกระทบของชาวบ้านในพื้นที่ทำเหมืองทองคำ จ.พิจิตร ปัญหาเรื่องข้อพิพาทเรื่องการบุกรุกที่ดินทำกิน จ.ลำพูน เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการเข้าถึงและการใช้สิทธิ์การสื่อสารผ่านสื่อของประชาชนเป็นความต้องการจัดความสมดุลของโครงสร้างอำนาจระหว่างพลเมืองกับรัฐ โดยให้เสียงของภาคประชาชนปรากฏผ่านสังคมผ่านสิทธิการสื่อสาร เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและเปลี่ยนแปลงให้ตนเองและชุมชนให้ดีขึ้นมากกว่าการได้ปรากฏตัวผ่านจอทีวีเท่านั้น หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งก็คือ ลักษณะของโทรทัศน์สาธารณะในการรับรู้และความต้องการของภาคประชาชนก็คือ สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเป็นสื่อเพื่อความบันเทิง ดังนั้นจึงมักถูกค่อนแคะจากวงการสื่อหรือคนนอกว่าเป็นสื่อเพื่อคนชายขอบ ตกขอบ หรือ NGOs แต่หากสื่อสาธารณะไม่ทำในลักษณะดังกล่าว สื่อหลักช่องไหนจะเข้าไปทำให้พวกเขา หรือมันไม่มีคุณค่าที่จะปรากฏผ่านคลื่นความถี่ใดๆ

ปรากฏการณ์และผลของการทำงานที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถือเป็นเรื่องยากและไม่เคยทำได้มา 50 กว่าปีนับตั้งแต่การปรากฏตัวขึ้นของสื่อโทรทัศน์ในประเทศไทย เพราะแม้แต่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 ในภูมิภาคยังไม่สามารถทำได้ เพราะติดปัจจัยที่สำคัญคือด้านความเป็นเจ้าของ (สนใจดูงานดุษฎีนิพนธ์ ภัทรา บุรารักษ์. โทรทัศน์ท้องถิ่น: การกำเนิด การดำรงอยู่และการพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551 และการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโทรทัศน์สาธารณะกับภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาสถานีภูมิภาค. วารสารนิเทศศาสตร์ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 2554 หน้า 1-17 )

ดังนั้นระยะเวลา 5 ปีของการปรากฏตัวขึ้นบนสถานการณ์แวดล้อมแบบไทย ๆ จึงเป็นช่วงเวลาของการสร้างความเป็นสาธารณะ และหารูปแบบที่เหมาะกับสภาพสังคมไทย

แต่หากจะมองภาพว่า สื่อสาธารณะทำอะไรให้กับใครบ้างใน 5 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการพิจารณาว่าเรายังคงต้องการระบบสื่อแบบนี้อยู่อีกหรือไม่ และคุ้มค่ากับภาษีเหล้าบุหรี่ที่จ่ายไปหรือไม่ ?

นอกจากประเด็นของคุณลักษณะของสื่อสาธารณะแบบไทย อย่าง Thai pbs ที่กล่าวไปข้างต้น ผู้เขียนอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในฐานะเป็นนักวิชาการที่สนใจด้านสื่อกระจายเสียงระบบสาธารณะทั้งระดับชาติและระดับภูมิภาค และสอนด้านสื่อสารมวลชนที่มีหน้าที่ผลิตกำลังคนที่มีทักษะความรู้ทางด้านการสื่อสารและสื่อมวลชนที่มีคุณภาพ เพื่อให้ภาพที่ชัดขึ้นว่า 5 ปีที่ผ่านมาใครได้อะไรจาก Thai pbs โดยจะเล่าแยกเป็น 2 มิติ คือ มิติทางด้านวิชาการด้านสื่อสารมวลชน และมิติทางด้านการผลิตบัณฑิตด้านการสื่อสาร

มิติความสำคัญที่มีต่อวงการวิชาการด้านสื่อสารมวลชน
ถือเป็นความตื่นเต้นทางวิชาการโดยเฉพาะด้านสื่อโทรทัศน์ หลังจากการปรากฏตัวของสื่อสาธารณะ แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 แม้ว่าจะเป็นช่วงที่ควันของการขัดแย้ง ทางการเมือง และการคัดค้านของพนักงานเดิมของสถานีโทรทัศน์ iTV แต่ในวงวิชาการต่างรู้ว่าการคืนคลื่นสำหรับการทำผิดเงื่อนไขการรับสัมปทานเป็นเรื่องปกติ (แต่ขณะนั้นบ้านเรายังไม่เคยมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะยังไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่อะไรให้ใครได้) และหากแยกเอาความขัดแย้งคัดค้านดังกล่าวออกมาพิจารณาเฉพาะการเกิดขึ้นของสื่อสาธารณะ ถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับวิชาการด้านสื่อสารมวลชน เพราะเป็นระบบสื่อที่สังคมคาดหวัง และที่ผ่านมาการเรียนการสอนทำได้เพียงการยกตัวอย่างจากสถานีโทรทัศน์ต่างประเทศ ไม่ BBC ประเทศอังกฤษ NHK ประเทศญี่ปุ่น ABC ประเทศออสเตรเลีย PSB ประเทศสหรัฐอเมริกา และ CBS ประเทศแคนาดา แต่ความรู้พวกนี้มีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นงานเขียนต่างๆ ที่ปรากฏผ่านสื่อมายังประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการเขียนในกรอบนโยบาย การทำงานอย่างกว้าง มากกว่าลงรายละเอียดในการบริหารจัดการในแต่ละส่วนอย่างเพียงพอที่จะเป็นความรู้ได้ เช่นในกรณีการใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องทำอย่างไรแบบไหน หรือ การใช้กลไกการกำกับดูแลผ่านสภาผู้ชมผู้ฟัง ที่หากนำเข้ามาปฏิบัติใช้จริง กลับพบว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ

นอกจากนั้นจากการปฏิบัติการ “หลังจอ “หน้าจอ” ของ ThaiPBS มาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยังทำให้คำว่า “สิทธิในการสื่อสาร” “สิทธิการเข้าถึงสื่อ” ปรากฏเป็นรูปธรรม จับต้องได้อย่างชัดเจน ผลจากการวิจัยการมีส่วนร่วมระหว่างสื่อสาธารณะและภาคประชาชน ดังที่ได้อ้างข้างต้น พบว่า การปฏิบัติการร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคมและ ThaiPBS ในช่วงศึกษาแสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของคน หรือกลุ่มประชาชนในกระบวนการสื่อสารเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นและทำได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นการฝ่ามายาคติที่แบ่งแยกบทบาทคนดูและคนทำสื่อมาโดยตลอด และที่สำคัญของการทำงานร่วมกันอีกประการหนึ่งก็คือการทำให้คนสื่อมืออาชีพได้รับประสบการณ์สำคัญในการเรียนรู้การทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมอย่างใกล้ชิด ที่ช่วยลดอคติ ความไม่ไว้วางใจ ไม่เชื่อมั่น และการผูกขาดความรู้ของคนสื่อมืออาชีพอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในการทำงานของสถานีฯ โทรทัศน์ของไทยมาก่อน

มากไปกว่านั้น กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนและคนทำสื่อมืออาชีพดังกล่าว ยังเป็นการทลายความกลัว ความไม่มั่นใจและความไม่สนใจที่มีต่อสิทธิการสื่อสาร เข้าถึง และมีส่วนร่วมในสื่อของคนท้องถิ่น อันจะนำไปสู่กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นหรือชุมชนของพวกเขาให้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองและชุมชนในฐานะพลเมืองที่มีสิทธิมีเสียงต่อการกำหนดความเป็นไปของชุมชนท้องถิ่นเขาลง

นอกเหนือจากความรู้ทางด้านระบบการบริหารจัดการแล้ว การทำงาน “หน้าจอ” ของ ThaiPBS ยังกล่าวเป็นแหล่งศึกษาเพื่อผลิตทางด้านรายการ มาตรฐานทางด้านการผลิตรายการ การผลิตข่าว กระบวนการสร้างนักข่าวพลเมือง ฯลฯ ที่ในแวดวงวิชาการที่มีหน้าที่หา “ชุดคำอธิบาย คำพยากรณ์ และแนวทางจัดการ” ให้สอดรับและเท่าทันโลกการสื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นของการเกิดขึ้นของสื่อสาธารณะ จึงเปรียบเสมือนห้องปฏิบัติการทางสังคมที่มีคุณค่าสำหรับ วิชาการด้านการสื่อสารมวลชนทั้งในด้านการผลิต ความรู้ ความเข้าใจ และหาแนวทางวิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาให้สื่อสาธารณะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณะชนให้มากที่สุด

 มิติด้านการเรียนการสอน ที่นิสิตได้รับประโยชน์
ผู้เขียนมักถามกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมกับ ThaiPBS เสมอเมื่อมีโอกาสพานิสิตไปร่วมกิจกรรมว่า “ทำไมสถานีฯ โทรทัศน์ช่องนี้ถึงต้องทำแบบนี้” (หมายถึงการให้นิสิต นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสาร และการฝึกทักษะการเป็นผู้สื่อข่าว ทั้งในเวทีภูมิภาคและส่วนกลาง) คำตอบที่ได้รับคล้าย ๆ กันก็คือ ก็เพราะสถานีฯ แห่งนี้เป็นสื่อสาธารณะ ที่ต้องเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เข้ามาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้สร้างเนื้อหาผ่านหน้าจอโดยตรง หรือฝึกทักษะเพื่อเป็นนักสื่อสารที่ดี ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นกระบวนการที่ทำให้พวกเขาเติบโตขึ้น และกลายเป็นสื่อมวลชนที่มีคุณภาพ

จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเป็นผู้สอนทางด้านนิเทศศาสตร์ อยู่ในต่างจังหวัด ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงองค์กรสื่อทางกายภาพเป็นเรื่องที่ลำบาก และทำได้ไม่บ่อย แต่ที่ผ่านมา องค์กรสื่อสาธารณะได้ขยับเส้นห่างดังกล่าวให้ใกล้มากขึ้นโดยกำหนดหน้าที่ให้กับหน่วยงานที่ดูแลด้านการพัฒนาเครือข่ายสื่อที่เน้นการทำงานหลังจอเพื่อยกระดับหรือหนุนเสริมศักยภาพของคนทำงาน ซึ่งหมายรวมถึงนิสิตนักศึกษาทั้งที่เรียนและไม่เรียนทางด้านนิเทศศาสตร์ได้มีเวทีในการแสดงออก และฝึกทักษะการทำงานแบบสื่อมวลชนมืออาชีพในหลายรูปแบบ ในลักษณะทั้งเชิงรุกเข้าไปในพื้นที่ต่างจังหวัดและดึงให้นิสิตเข้ามาเรียนรู้ในเวทีการทำงานแบบนักสื่อสารในสถานการณ์จริงในเมืองหลวง ล่าสุดการระดมนิสิตนักศึกษาที่สนใจทางด้านการสื่อสาร การเป็นผู้สื่อข่าว เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้นในด้วยกระบวนการสื่อสารแบบ Multi Platform ในมิติของอาเซียน จนกลุ่มนิสิตรวมตัวกันเป็นกลุ่ม AYM -Asian Youth Media และให้เยาวชนได้ร่วมปฏิบัติการสื่อในเวทีการประชุมสุดยอดสื่อมวลชนโลก AMS ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ในลักษณะคู่ขนานไปกับสื่อมวลชนมืออาชีพทั้งในและต่างประเทศ

กิจกรรมเหล่านั้นไม่เพียงแต่สร้างความภาคภูมิใจและฝึกฝนทักษะด้านการเป็นผู้สื่อข่าวให้กับนิสิตเท่านั้น แต่ยังทำให้นิสิตเหล่านั้นเติบโต และเข้มแข็ง ซึ่งผู้เขียนสัมผัสได้จากมุมมอง ทัศนคติ และการทำงานของนิสิตที่ผ่านกระบวนการอย่างเข้มข้นร่วมกับสื่อสาธารณะ แต่ประเด็นสำคัญคงไม่ใช่เพียงให้พวกเขาเป็นนักข่าวที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือได้ติดตั้งวิธีคิดแบบสื่อสาธารณะให้กับพวกเขา ที่พวกเขากลับมาต่อยอดและถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการทำงานเหล่านั้นให้กับรุ่นน้องและเพื่อน ๆ ในมหาวิทยาลัย เช่นการจัดตั้งชมรมนักข่าว หรือการสร้างกลไกการทำงานด้านการสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อใหม่ที่พวกเขากำหนดขึ้นเอง เพื่อทำงานตอบโจทย์ในแต่ละพื้นที่ของเขา เช่นกลุ่ม นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ยังคงมีการผลิตข่าวภายในจังหวัดส่งให้กับช่วงข่าวพลเมือง และจัดตั้งเป็นกลุ่มสื่อ AYM UP MEDIA ที่เปิดกว้างให้กับเพื่อน ๆ ที่เรียนทางด้านนิเทศศาสตร์และสาขาอื่นๆ ได้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน หรือกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการสร้างช่องทางการสื่อสารและจัดตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อทำงานสื่อสารเรื่องราวของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในมุมมองที่พวกเขาสื่อสารเอง ดังที่ได้พวกเขาได้แนะนำกลุ่มผ่านทางเฟซบุ๊คว่า

"ชมรมสื่อสันติภาพ" หรือเรียกสั้นๆว่า (PEACE MEDIA) ซึ่งเป็นชมรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ได้ร่วมเรียนรู้พร้อมกับปฏิบัติการสื่อสารแห่งอนาคต โดยได้เล็งเห็นความสำคัญของการสื่อสาร เเละได้นำรูปแบบการสื่อสารแห่งอนาคต นั้นก็คือ รูปแบบ Muiti-Platform นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมร้อยสื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกันด้วยทาง https://www.facebook.com/groups/315379035210573/ เสมือนโชว์รูมร่วมกัน มีทั้งข่าว รายงานพิเศษ ทั้งในรูปแบบวิดีโอ งานวิทยุกระจายเสียง งานเขียน ภาพถ่าย สื่อเครือข่ายสังคม ที่เชื่อมต่อกับพื้นที่สาธารณะทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ นับเป็นการบูรณาการเครื่องมือที่มีอยู่ ด้วยทุกทักษะที่มี เต็มศักยภาพแห่งพลังของเยาวชน เพื่อสื่อสารกับสังคม จะทำให้โลกเกิดความสงบสุขและเกิดสันติภาพได้

ในฐานะครูคนหนึ่งจึงภูมิใจที่สามารถสร้างพื้นที่และมีเครือข่ายสื่อขนาดใหญ่มาช่วยกันสร้างนิสิตให้มีโอกาส วิธีคิด และวิธีการทำงานเพื่อสาธารณะอย่างมืออาชีพที่ไม่โดยไม่หลงลืมหรือทอดทิ้งคนส่วนใหญ่ของสังคม และมองเห็นว่าการสื่อสารคือสิทธิและหน้าที่ของคนทุกคนที่จะสื่อสาร

จากปรัชญาของสื่อสาธารณะที่มีเพื่อคานอำนาจระหว่างทุน การเมืองและสาธารณะชน จึงทำให้เป็นเรื่องปกติที่ต้องมีการคัดค้านและรู้สึกขวางหูขวางตา ซึ่งจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่วันนี้ การมีสื่อสาธารณะในสังคมไทย ได้เดินทางมาไกลพอที่จะทำให้สังคมรู้ว่าสื่อสาธารณะมี “คุณค่า” ที่ “ขาดไม่ได้” และจำเป็นต้อง “ดำรงอยู่” แม้จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ซึ่งก็เปรียบเสมือนที่เราต้องกินข้าว แต่บางวันอาจเลือกกินอย่างอื่นบ้าง แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมากินข้าวอยู่นั่นเอง

แต่การดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าได้นั้น ประเด็นสำคัญก็คือ ภาคประชาชนหรือสาธารณชน จะต้องช่วยกัน ดูแล ตรวจสอบ และเข้ามามีส่วนร่วมในการก้าวเดินขององค์กรอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันองค์กรและผู้บริหารสื่อสาธารณะก็ต้องไม่ติดกับของวาทกรรมหรือมายาคติเหล่านั้นจนไม่กล้าขยับตัว แต่ตรงกันข้ามต้องมีความกล้าพอที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และมีจุดยืนในความเป็นสื่อสาธารณะที่เหมาะกับสภาพบริบทของสังคมไทยยึดถือสาธารณะเป็นหัวใจของการทำงานให้ชัดเจน ซึ่งระหว่างทาง อาจเจออุปสรรค ความเจ็บปวดมากถึงมากที่สุด อาจต้องแวะข้างทางบ้างเพื่อเรียนรู้ หรือพักบ้างเพื่อทบทวน หรืออาจเจอกับคนทำงานที่ดีหรือไม่ดี แต่ผู้คนเหล่านั้นจะหมุนเวียนหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรย่อมเป็นไปตามเงื่อนไข แต่ตัวตนและบทบาทของ “สื่อสาธารณะ” ต่างหากเล่า ที่ยังคงต้องอยู่ต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดคำสั่งศาลคดีไต่สวนการตาย 'อัสฮารี สะมาแอ' ถูกซ้อมทรมานระหว่างถูกจับกุมจนถึงแก่ความตาย

$
0
0

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.55 ศาลจังหวัดยะลาได้อ่านคำสั่งคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายอัสฮารี  สะมะแอ  ในคดีหมายเลขดำที่ ช.13/2552 คดีหมายเลขแดงที่ ช. 8/2555 ซึ่งคำพิพากษามีรายละเอียด ใน 4 ประเด็น ซึ่งศาลพิพากษาว่า ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัว  และมีการทำร้ายร่างกายผู้ตาย โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1  เสียชีวิตในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่
ศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า “ตั้งแต่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและควบคุมตัวที่บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลสะเอะ อ.กรงปินัง จ.ยะลา จนถึงเวลาผู้ตายถูกนำตัวส่งไปที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ผู้ตายยังไม่ได้รับการปล่อยตัวจากเจ้าพนักงานผู้ควบคุม  ผู้ตายจึงถึงแก่ความตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ตามกฎหมาย”

ประเด็นที่ 2  สาเหตุการตาย
ศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า “ในส่วนสาเหตุการตาย  การที่นายแพทย์ประชาระบุในรายงานการชันสูตรพลิกศพว่าสมองช้ำสงสัยว่าจะเป็นอุบัติเหตุจราจร  เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่ทราบข้อมูลประวัติผู้ป่วยว่าเป็นใครมาจากไหน จึงได้ระบุข้อสันนิษฐานไปเช่นนั้น เพราะลักษณะอาการบาดเจ็บของผู้ตายเชื่อว่าต้องโดนแรงกระแทกจากภายนอก  แต่เมื่อผู้ตายถูกเจ้าพนักงานจับกุมในฐานะผู้ต้องสงสัย  ซึ่งตามคำเบิกความของพันโทณรงค์ฤทธิ์  ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจพัน ร. 173 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่อำเภอกรงปินัง  จังหวัดยะลา  ได้รับมอบตัวผู้ตายกับพวกรวม 10  คน  จากเจ้าพนักงานผู้จับกุมได้ความว่า  นายสิบเสนารักษ์รายงานให้พันโทณรงค์ฤทธิ์ทราบว่า  ผู้ตายไม่รู้สึกตัว  ไม่มีอาการตอบสนอง  ตั้งแต่อยู่สถานีตำรวจภูธรกรงปินัง  พันโทณรงค์ฤทธิ์จึงส่งผู้ตายไปตรวจรักษาในระหว่างเดินทางก็ไม่ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุใดๆ  แสดงว่าผู้ตายต้องได้รับบาดเจ็บมาก่อนหน้านั้น  อันเป็นขั้นตอนการจับกุมของเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าพนักงานตำรวจภายใต้การควบคุมรับผิดชอบของร้อยเอกสมคิด คงแข็ง และร้อยตำรวจเอกครรชิต ปานจันทร์  ในชั้นการจับกุม  พยานซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจับกุมและควบคุมตัวผู้ตายต่างยืนยันว่าได้กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่

ประเด็นที่ 3  พฤติการณ์ที่ทำให้นายอัสฮารีได้รับบาดเจ็บ
ศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า “... ตามเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงต่ออนุกรรมการเฉพาะกิจในการรณรงค์เพื่อต่อต้านการทรมานฯ เอกสารหมาย ค.17 และ ค.18 สรุปว่า  เหตุที่ผู้ต้องสงสัยบางคนได้รับอันตรายแก่ร่างกายเล็กน้อย  อาจจะเป็นเพราะลื่นหกล้มทำให้ไปกระทบกับของแข็ง  เช่น  โขดหินหรือต้นไม้ใหญ่ แต่บันทึกข้อความดังกล่าวเป็นเพียงการรวบรวมข้อเท็จจริงจากฝ่ายเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจับกุมแต่ฝ่ายเดียวแล้วสรุปผลโดยคาดหมายสาเหตุอาการบาดเจ็บของผู้ที่เกี่ยวข้องว่าลื่นล้ม 

แต่ขัดแย้งกับลักษณะบาดแผลที่ศพผู้ตาย  ซึ่งมีร่องรอยถูกแรงกระแทกตามร่างกายหลายแห่ง  และที่ร่างกายและที่ร่างกายของผู้ถูกจับกุมคนอื่นซึ่งแพทย์ตรวจสอบและบันทึกไว้ ประกอบกับพยานซึ่งเป็นผู้ถูกจับกุมด้วยกันกับผู้ตายเป็นประจักษ์พยานเบิกความถึงข้อเท็จจริงในการถูกทำร้ายได้สอดคล้องต้องกันและสอดคล้องกับผลการตรวจชันสูตรพลิกศพผู้ตายและภาพถ่ายศพ  โดยมีนายแพทย์ทักษิณ แพทย์โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร เป็นผู้ตรวจรักษาเบื้องต้นเป็นคนแรก  และบันทึกลักษณะอาการบาดเจ็บไว้ในเอกสารบัตรผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร เป็นพยานหลักฐานประกอบ

นอกจากนี้  เมื่อนางแบเดาะมารดาผู้ตายไปขอรับความช่วยเหลือเยียวยาที่ศาลากลางจังหวัดยะลาก็ได้รับแจ้งว่า  ผู้ตายถูกกระทำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้าหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ  พยานหลักฐานที่บิดามารดาผู้ตายนำสืบทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสอดคล้องต้องกันและสอดคล้องกับความเห็นแพทย์ที่ตรวจรักษาผู้ตายทั้งที่โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร  โรงพยาบาลปัตตานี  และโรงพยาบาลศูนย์ยะลา  ซึ่งทำรายงานการตรวจชันสูตรพลิกศพผู้ตาย  ทำให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ  จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้นจึงรับฟังได้ว่าผู้ตายถูกทำร้ายร่างกายหลายแห่งจนได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย

ประเด็นที่ 4  สรุป
จึงมีคำสั่งว่า  ผู้ตาย  คือนายอัสฮารี  สะมาแอ  ตายขณะอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 เหตุที่ตายเนื่องจากสมองช้ำ และพฤติการณ์ที่ตายคือ  ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัว  และมีการทำร้ายร่างกายผู้ตาย  เป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร โรงพยาบาลปัตตานี  และโรงพยาบาลศูนย์ยะลา  แล้วถึงแก่ความตาย

 

 

ติงใบตองแห้ง ติง ThaiPBS

$
0
0


คำแถลงเครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน 

กรณีใบตองแห้งกับ ThaiPBS และชาวบ้านคนชายขอบ

22 กรกฎาคม 2555

 

ตามที่เว็บไซต์ mediainsideout ได้เผยแพร่บทความเรื่อง “ศึกสายเลือดเขย่า TPBS”ของผู้ใช้นามว่า “ใบตองแห้ง” ลงวันที่ 13 ก.ค.55 นั้น  แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของ ThaiPBS แบบคนที่คลุกอยู่วงในเท่านั้นจึงจะรู้  แต่เครือข่ายนักสื่อสารแรงงานเห็นว่า มีบางข้อความที่กระทบต่อความรู้สึกในเชิงดูแคลนปากเสียงของชาวบ้านคนชายขอบ ดังเช่น

เผลอแป๊บเดียว TPBS หรือองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ก็ก่อตั้งมาได้ 5 ปีแล้วนะครับ ซึ่งแปลว่าเราได้ใช้เงิน “ภาษีบาป” สร้างทีวีของคนชายขอบ ริมขอบ ตกขอบ ไปมากกว่า 10,000 ล้านบาท (ย่อหน้าที่ 1)

แต่แหม แค่ได้ดู ณาตยา แวววีรคุปต์ เอา NGO กับชาวบ้านมาออกเวทีสาธารณะวันละโหล ก็คุ้มแล้วครับ รายการอย่างนี้จะไปหาสปอนเซอร์ได้ที่ไหน เพราะจัดช่องไหนก็ไม่มีคนดู (อ้าว) (ย่อหน้าที่ 2)

พอคิดกันได้แค่นี้ ก็เลยมีแต่รายการของณาตยา แวววีรคุปต์ (แซวกันว่า ณาตยาเป็น “บิ๊ก” ใน TPBS ใครๆ ก็เกรงใจ เพราะเธอทำรายการให้ผู้มีบารมีเหนือ TPBS ดู ไม่ได้ทำให้ชาวบ้านดูนะเออ) (ย่อหน้าที่45)

ต่อข้อความใน 3 ย่อหน้าข้างต้นนั้น  เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน  ยืนยันว่า  ผู้ใช้แรงงานกลุ่มต่างๆทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ ซึ่งรวมกันแล้ว ถือเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยที่มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศนี้ให้เจริญเติบโต และเป็นกลุ่มที่รัฐเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยโดยไม่ตกหล่น  แต่กลุ่มแรงงานก็ถือว่ายังเป็น “คนชายขอบ” ในนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลทุกยุคสมัยไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ลงทุน” มากกว่า “ผู้ลงแรง”  เสียงของแรงงานเหล่านั้นจึงไม่มีโอกาส ไม่มีช่องทางสื่อสารออกไปให้คนได้รับรู้รับฟังปัญหาของพวกเขา  ต่างจากกลุ่มนายทุน ราชการและนักการเมือง ที่ต่างก็เข้าไปยึดครองพื้นที่สื่อของประเทศนี้จนแทบไม่เหลือให้กับ “คนชายขอบ” กลุ่มต่างๆที่เดือดร้อนจากนโยบายการพัฒนาประเทศ ดังข่าวที่ปรากฎตามสื่อต่างๆไม่เคยขาด

กล่าวสำหรับพื้นที่ข่าวของแรงงานแล้ว  ฟรีทีวีต่างๆมีการนำเสนอข่าวแรงงานบ้างแต่ก็น้อยมากจนแทบไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในทางที่ดีขึ้นต่อแรงงานมากนัก  เพราะส่วนใหญ่นำเสนอแค่เพียงปรากฎการณ์การชุมนุมเรียกร้อง  ไม่ได้เจาะลึกถึงปัญหา ทำให้การต่อสู้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของแรงงานกลายเป็นภาพลบที่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม  

ดังนั้น เมื่อเกิดมีทีวีสาธารณะ ThaiPBS ขึ้นมา  พบว่า เฉพาะช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พื้นที่สื่อสาธารณะได้เปิดกว้างให้แรงงานเรามีโอกาสมากขึ้นในการส่งเสียง  ThaiPBS นำเสนอข่าวประเด็นแรงงานเท่าที่รวบรวมบันทึกเก็บไว้ได้มีถึง 155 ชิ้น  และมีการนำเสนอในแบบเจาะลึกที่ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจปัญหาของแรงงานกลุ่มต่างๆอย่างแท้จริง  ทั้งเรื่องปัญหาการเข้าถึงประกันสังคม เรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรม  การคุ้มครองแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ  ผ่านรายการกลุ่มข่าวต่างๆ  โดยเฉพาะ “เวทีสาธารณะ” ที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานได้มีโอกาสสื่อสาร สามารถเปิดปากพูดเรื่องราวของตัวเองกับผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาได้โดยตรง  

แต่การใช้ช่องทาง “เวทีสาธารณะ” ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทำได้บ่อยๆ  เพราะนอกจากจะต้องนำเสนอและเพียรสร้างความเข้าใจต่อประเด็นให้กับผู้จัดทำรายการแล้ว  ยังต้องเปิดโอกาสให้ “คนชายขอบ” ผู้เดือดร้อนประเด็นปัญหากลุ่มอื่นๆซึ่งมีจำนวนมากมายในประเทศนี้ได้ใช้บริการรายการนี้ด้วย  

แน่นอนว่า  รายการแบบนี้เร็ตติ้งคงไม่พุ่งกระฉูดเทียบเท่ารายการยอดนิยมที่วัดๆกันแบบที่ทำอยู่ทุกวันนี้  แต่ในแง่ของคนดู  เครือข่ายแรงงานซึ่งร่วมเป็นเครือข่ายกับภาคประชาสังคมอื่นๆ ทราบว่ามีชาวบ้านและผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาติดตามดูมากแน่นอน  และเร็ตติ้งของรายการแบบนี้เราก็วัดกันที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง  มากกว่าจะวัดกันที่คนดูมากแต่ไม่เกิดผลเปลี่ยนแปลงอะไร 

ซึ่งในส่วนของแรงงานนั้น  “เวทีสาธารณะ ตอน ถอดบทเรียนน้ำท่วม” กระตุ้นให้หน่วยงานรัฐทุกระดับเข้ามาใส่ใจดูแลแรงงานในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในการทำให้ได้รับสิทธิต่างๆ   “เวทีสาธารณะ ตอน ปฏิรูปกฎหมายประกันสังคม กฎหมายประชาชน ความจริงใจของผู้แทน” ทำให้นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างรับรู้และรับปากจะช่วยกันเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมของแรงงานเข้าสภาฯ  แม้ว่าจะอยู่ในช่วงชุลมุนของการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายปรองดองที่ลัดคิวขึ้นมาตัดหน้ากฎหมายอื่นที่เสนอโดยภาคประชาชนหลายฉบับที่ค้างเติ่งอยู่ในวาระ  และ“เวทีสาธารณะ ตอน กลับถิ่น กระจกสะท้อนแรงงานไทย” ได้ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นตระหนักและเตรียมเสนอเรื่องในการพัฒนาทรัยากรต่างๆเช่น แหล่งน้ำ และภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมายหล่อเลี้ยงสังคมไทยมายาวนานตั้งแต่อดีต ให้สามารถรองรับการทำงานในถิ่นฐานของผู้คนได้อย่างยั่งยืน

ในบทความของ “ใบตองแห้ง” ยังกล่าวถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของสื่อสาธารณะอย่างTPBS ด้วย ดังเช่น

แล้วถ้าจะให้ดีนะครับ TPBS ก็ควรจะถือโอกาสนี้ สรุปปัญหา ทิศทาง แนวทาง นโยบาย การบริหาร ฯลฯ โดยให้พนักงานระดับล่างมีส่วนร่วม ให้โอกาสพวกเขาเสนอปัญหาระบายความอึดอัดใจอย่างเต็มที่ พูดถูกบ้าง พูดผิดบ้าง ก็ต้องฟัง เพราะที่ผ่านมามีแต่ปิดกั้น พนักงาน TPBS ไม่สามารถก่อตั้งสหภาพแรงงานได้ เพราะมีระเบียบบังคับไว้ ก่อตั้งได้แต่สมาพันธ์พนักงาน TPBS ซึ่งพูดอะไรมากก็ไม่ได้อีก เพราะมีระเบียบกำหนดว่า ห้ามพนักงานเคลื่อนไหวให้ร้ายองค์กร (ย่อหน้าก่อนสุดท้าย)

ซึ่งข้อเสนอเรื่องการมีส่วนร่วมในองค์กร ตรงกับที่ขบวนการแรงงานกำลังรณรงค์อยู่ในขณะนี้ ในเรื่องของการปฏิรูปกฎหมายแรงงานสัมพันธ์จากกรอบคิดเดิมแบบ “นายกับบ่าว” ที่คนทำงานไม่ต้องมีปากมีเสียง  ไปเป็น “หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจหรือสังคม” ที่ยอมรับการมีส่วนร่วมของลูกจ้างพนักงาน  ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ  ILO ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการเจรจาต่อรอง  รวมทั้งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของไทย (ทั้ง 2540 และ 2550) ที่ว่า  "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น"  แต่รัฐบาลทุกยุคสมัย รวมทั้งหลายหน่วยงานต่างๆ ก็ยังไม่รับรอง ไม่ยึดถือปฏิบัติให้เป็นจริงตามสิทธิเสรีภาพดังว่านี้

เครือข่ายนักสื่อสารแรงงานจึงเห็นว่า   สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ที่สร้างมาจากภาษีของประชาชน  และประกาศว่าเป็นสื่ออิสระที่ไว้ใจได้นั้น  จะต้องเปิดกว้างต่อการตรวจสอบซึ่งรวมถึงการตรวจสอบตัวเองด้วย  จะต้องเปิดให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรอย่างแท้จริงของพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม  จะต้องมีระบบที่ดูแลในเรื่องสิทธิต่างๆของพนักงานทั้งในเรื่องรายได้ที่เป็นธรรม สวัสดิการที่ครอบคลุม  และมีความมั่นคงในการทำงาน  

และที่สำคัญ จะต้องดูแลให้เกิดรายการดีๆ ในความหมายที่ไม่ใช่เพียงแค่มีคนดูมากแต่กลับส่งผลร้ายต่อสังคมด้านต่างๆ   ThaiPBS ต้องกล้าที่จะรักษาและสนับสนุนให้รายการดีๆที่ประจักษ์ชัดว่าเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยเฉพาะในภาคส่วนที่สื่อหลักมักไม่สนใจ  ให้สามารถยืนหยัดอยู่ในผังรายการได้ต่อไป

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปธน.เกาหลีใต้กล่าวคำ 'ขอโทษ' ออกทีวีแห่งชาติ เหตุพี่ชายพัวพันการทุจริต

$
0
0

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 55 ว่า ประธานาธิบดี ลี เมียง บัค ของเกาหลีใต้ ได้กล่าวคำขอโทษต่อสาธารณะผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ จากการดำเนินคดีข้อหาคอร์รัปชั่นต่อพี่ชายซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง โดยกล่าวว่าความผิดครั้งนี้ไม่ใช่ความผิดใครนอกจากของเขาเอง และโค้งคำนับต่อสาธารณชนเพื่อแสดงความขอโทษ

"ข้าพเจ้าโค้งคำนับและขออภัยที่ทำให้สาธารณะเกิดความกังวลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น" เขากล่าว "ข้าพเจ้าจะสามารถโทษใครได้น่ะหรือ ทั้งหมดมันเป็นความผิดของข้าพเจ้าคนเดียว และข้าพเจ้าขอยอมรับคำตำหนิติเตียนใดๆ ทั้งสิ้น"

การกล่าวขอโทษของปธน. ลี เมียง บัค แสดงให้เห็นถึงการลดลงของความน่าเชื่อถือทางการเมืองของเขา ในฐานะที่เป็นผู้นำทางการเมืองที่สัญญาว่าจะกำจัดปัญหาคอร์รัปชั่นในรัฐบาลเกาหลีใต้ 

ลี ซาง ดึค พี่ชายของลีเมียง บัค ซึ่งเป็นอดีตส.ส. 6 สมัย และที่ปรึกษาทางการเมืองของปธน. ถูกจับกุมในข้อหาคอร์รัปชั่นเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยศาลแขวงกลางของกรุงโซลอนุมัติหมายจับกุมนายลี ซัง-ดึ๊กตามคำร้องขอของอัยการ ซึ่งระบุว่า นายลีได้รับเงิน 600 ล้านวอน หรือราว 16.8 ล้านบาทจากประธานธนาคารออมทรัพย์ 2 แห่งที่กำลังประสบปัญหาอย่างโซโลมอน เซฟวิงส์ แบงก์ กับมิแร เซฟวิงส์ แบงก์  ช่วงระหว่างปี 2007-2011 แลกกับความช่วยเหลือหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและการลงโทษ

โดยนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทางการสั่งปิดธนาคารต่างๆที่มีสถานะอ่อนแอแล้วกว่า 20 แห่ง ขณะที่ประชาชนแสดงความโกรธเกรี้ยวต่อปัญหาการทุจริตในภาคธนาคาร ที่ทำให้เงินฝากของพวกเขาประสบปัญหา

หลังจากศาลออกหมายจับ นายลีได้ถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมทันที ขณะที่ประชาชนบางส่วนที่โกรธแค้น เพราะต้องสูญเสียเงินฝากในธนาคารออมทรัพย์ 2 แห่งที่ถูกพักกิจการ ได้ขว้างปาไข่เข้าใส่นายลี ในระหว่างที่เดินทางมาถึงศาล นอกจากนี้ นายชุง ดู-อัน ส.ส.พรรครัฐบาลและคนใกล้ชิดประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ก็ถูกอัยการสอบสวนกรณีพัวพันเรื่องอื้อฉาวกับธนาคารออมทรัพย์เช่นกัน

ทั้งนี้ การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของของลี เมียง บัค ซึ่งมีวาระ 5 ปี จะสิ้นสุดลงในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2556 โดยบางส่วนมองว่า การจับกุมพี่ชายของเขา จะส่งผลกระทบต่อพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมปีนี้ 

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก South Korea's Lee Myung-bak in national apology
http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-18965750

South Korean President Lee apologises for graft scandal
http://www.kyivpost.com/content/world/south-korean-president-lee-apologises-for-graft-sc.html#.UA7HFCLeMSA

และเนื้อหาบางส่วนจาก มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย 'พัน คำกอง' พนง.พิสูจน์หลักฐาน คาดยิงรถตู้เจตนาถึงแก่ชีวิต

$
0
0

พิสูจน์หลักฐานย้ำหัวกระสุนในตัวผู้ตายไม่ตรงกับที่ทหารส่งตรวจ แต่สามารถเปลี่ยนลำกล้องปืนซึ่งเป็นที่มาของลักษณะเฉพาะหัวกระสุนง่าย รถตู้ที่เกิดเหตุโดนกระสุนชนิดเดียวกัน พยานคาดเจตนาการยิงถึงแก่ชีวิต รมต.ICT เบิกความต่อ 25 ก.ค.

 

24 ก.ค.55 เวลาประมาณ 9.30 น. ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา รัชดา มีการไต่สวนการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ ชาว จ.ยโสธร ซึ่งถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภ ใกล้แอร์พอร์ทลิงค์ ที่เป็นจุดประจำการของทหาร เมื่อหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พ.ค.ต่อกับวันที่ 15 พ.ค.53 จากกรณีที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว โดยในวันนี้มีพยาน 6 ปากเป็นเจ้าหน้าทีตำรวจที่ทำหน้าที่พิสูจน์หลักฐานรอยกระสุนในที่เกิดเหตุ อาวุธปืนของทหารและหัวกระสุนในศพผู้ตาย เป็นต้น เจ้าหน้าที่เบิกความสอดคล้องกับเจ้าหน้าที่พิสูจน์เปรียบเทียบหัวกระสุนที่มาเบิกความไว้เมื่อวันที่ 18 ก.ค.55 ว่า หัวกระสุนที่อยู่ในร่างผู้เสียชีวิตเป็นกระสุนปืนเล็กกล ทองแดงหุ้มเหล็กและตะกั่ว ขนาด .223 ( 5.56 มม.)แบบ M855 ซึ่งสามารถใช้กับปืนเล็กกล เช่น  M16 และทราโว่ เป็นกระสุนชนิดเดียวกันกับที่อยู่ในร่างนายสมร ไหมทอง คนขับรถตู่ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์เดียวกัน รวมทั้งยังเป็นกระสุนชนิดเดียวกันที่ใช้กับปืนของเจ้าหน้าที่ทหารจาก ร.1 พัน 3 รอ และ ป.พัน 31 รอ. ที่พนักงานสอบสวน สน.พญาไท ส่งมาให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานตรวจ แต่ลักษณะรอยตำหนิพิเศษของหัวกระสุนที่ถูกยิงจากลำกล้องของปืนที่ส่งตรวจนั้น  ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นปืนกระบอกเดียวกันกับที่ใช้ยิงผู้ตาย จากลักษณะของตำหนิพิเศษจะเกิดจากลำกล้องของปืนแต่ละกระบอกที่ไม่เหมือนกัน แต่หากมีการเปลี่ยนลำกล้องเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานยืนยันว่าก็จะไม่สามารถพิสูจน์ได้

พ.ต.อ.สุพจน์ เผ่าถนอม ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอาวุธปืน ได้เบิกความต่อศาลถึงลำกล้องปืนของเจ้าหน้าที่ว่าตัวลำกล้องไม่มีหมายเลขประทับ ไม่มีการตอกหมายเลข โดยอัยการสอบถามถึงความยากง่ายในการเปลี่ยนลำกล้อง พ.ต.อ.สุพจน์ ตอบว่า เจ้าหน้าที่ๆ ปฏิบัติงานในภาคสนามหากมีการเรียนรู้มาก็สามารถเปลี่ยนได้โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที

 

ภาพรถตู้นายสมร ไหมทอง ที่ถ่ายวันที่ 15 พ.ค.53 และเผยแพร่ใน youtube โดย user “ajaketube” http://www.youtube.com/watch?v=PEL5tjV28io

 

ยันการยิงรถตู้ในเหตุการณ์มุ่งแก่ชีวิต
โดยในระหว่างการไต่สวนนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความผู้เสียหาย ได้ซักถามพยาน คือ พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ บุญมาก เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานจากกองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึงการยิงเพื่อสกัดกั้นรถตู้ที่ไม่ได้หมายชีวิตกับการยิงเพื่อหมายชีวิตแตกต่างกันหรือไม่ พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ ยืนยันว่า แตกต่างกัน  โดยอธิบายเสริมว่าการยิงที่ไม่ได้หมายชีวิตนั้นจะยิงในส่วนที่ไม่สำคัญ หรือยิงที่บริเวณล้อรถ จากนั้นทนายได้นำรูปรถตู้ของนายสมร ไหมทอง ที่ถูกยิงในเหตุการณ์จนมีร่องรอยกระสุนปรากฏให้ พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ พิจารณา พร้อมสอบถามถึงภาพดังกล่าวเป็นการยิงในลักษณะใด พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ ตอบว่าจากรอยกระสุนที่ปรากฏบนรถตู้ในรูปนั้นเชื่อว่าน่าจะมีผลต่อชีวิตได้ ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของ พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ยาคุ้มภัย ทำหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน จากกลุ่มงานตรวจอาวุธและเครื่องกระสุนปืน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่าตามรูปถ่ายรถตู้ว่าจุดที่กระสุนเข้ามากที่สุดเป็นด้านขวาตรงประตูคนขับ โดยทนายได้ถามย้ำถึงลักษณะการยิงสกัดเพื่อให้รถหยุดควรทอย่างไร พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ตอบว่าควรยิงที่ยางหรือที่ห้องเครื่อง ส่วนศาลได้สอบถามเพิ่มเติมด้วยว่ากรณีที่มีการยิงมาตรงคนขับตามภาพแสดงว่าอะไร พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ตอบว่า “คิดว่ามีลักษณะที่คาดว่ายิงให้คนขับถึงแก่ชีวิต”

นอกจากนี้ อัยการได้เปิดวีดีโอที่ถ่ายโดยนายคมสันต์ เอกทองมาก อดีตช่างภาพเนชั่นแชนเนล ที่ถ่ายเมื่อกลางดึกคืนวันที่ 14พฤษภาคม 2553 ( Voice TV ได้มีการนำวีดีโอดังกล่าวมาเผยแพร่ในบางตอนด้วยสามารถดูได้ที่ http://news.voicetv.co.th/thailand/42919.html) ให้พยานพิจารณาถึงเหตุการณ์ โดย พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ยาคุ้มภัย ได้เบิกความว่ามีความเป็นไปได้สูงว่ารถตู้คัดดังกล่าวถูกยิงด้วยอาวุธสงคราม โดยก่อนหน้านั้นศาลได้ถามถึงว่าอะไรคืออาวุธสงคราม พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ อธิบายว่าคือปืนเล็กกล หากเป็นภาษาชาวบ้านเรียก M16 และ พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ยังได้กล่าวอีกว่าเห็นทหารในวีดีโอดังกล่าวถือ M16 และลูกซองด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันพรุ่งนี้ 25 ก.ค.55 ช่วงเช้า นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะมาเบิกความและช่วงบ่ายพนักงานสอบสวนในกรณีดังกล่าวจะมาเบิกความต่อในกรณีนี้


ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แก้รัฐธรรมนูญ: ทางสองแพร่งที่รัฐบาลต้องเลือก

$
0
0

 

ไม่ว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการยกคำร้องตามมาตรา 68 ที่ออกมาในวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 จะออกมาเป็นเช่นไร แต่ผมคิดว่าคงเปลี่ยนแปลงจากคำแถลงข่าวในวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาไม่มากนัก เพราะตามรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้แล้วว่าคำวินิจฉัยกลางต้องและคำวินิจฉัยส่วนตนต้องทำให้เสร็จก่อนการอ่านคำวินิฉัยในวันที่ลงมติ การแก้ไขจะทำได้ก็เพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ ตัวสะกด การันต์ ฯลฯ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะกรณีคำวินิจฉัยกลางของคดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยเกิดเหตุการณ์คำวินิจฉัยกลางที่เป็นทางการไม่ตรงกับการแถลงข่าวมาแล้ว ที่สำคัญก็คือข้อคลางแคลงในคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ที่ว่า “ตัดสินความผิดย้อนหลังก็ได้ ตัดสินคดีล่วงหน้าก็ได้ ไม่มีอำนาจก็ตัดสินได้”

ซึ่งไหนๆก็ไหนๆแล้ว ป่วยการที่จะไปแหกปากร้องแรกแหกกระเฌอว่าศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายอำนาจตัวเอง เพราะดันไปรับอำนาจเขาเองตั้งแต่ต้น แทนที่จะเดินหน้าลงมติวาระ 3 ไปให้เสร็จสิ้นกระบวนความ แต่ไปเชื่่อที่ปรึกษาห่วยๆว่าจะถูกองคมนตรีระงับยับยั้งหรือส่งกลับซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญรองรับ หรือเกรงว่าตัวเองจะถูกต้อนเข้าไปสู่ Killing Zone เพราะหากเสนอทูลเกล้าฯไปแล้วมีอันเป็นไป เพราะผมเชื่อว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะขนาดศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวประธานเองและตุลาการบางนายออกมาขู่ฟอดๆอยู่รายวันต่อสื่อมวลชนก่อนวันตัดสินยังต้องเบรกจนตัวโก่งเมื่อเจอฤทธิ์เดชของมวลชนที่ออกมาขู่กลับเช่นกัน ทำให้คำวินิจฉัยออกมาไม่เป็นที่สะใจของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 แต่ก็ยังไม่วายวางยาหรือระเบิดเวลาไว้ให้ปวดหัวเล่น

การวางยาหรือระเบิดเวลาที่ว่านี้ก็คือ แม้ว่าจะยกคำร้องแต่ยังไปวินิจฉัยว่ามาตรา นั้นให้แก้เป็นรายมาตราเท่านั้นไม่ให้แก้ทั้งฉบับให้แก้ได้เป็นรายมาตราเท่านั้น หากจะแก้ทั้งฉบับควรจะไปทำประชามติเสียก่อนซึ่งเป็นการแต่งตำราขึ้นมาใหม่โดยศาลรัฐธรรมนูญเอง เพราะไม่มีในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใดที่ให้อำนาจเช่นว่านี้ไว้ ซึ่งผมคงจะงดให้ความเห็นในประเด็นต่างๆเหล่านี้เพราะได้มีผู้ให้ความเห็นไว้มากแล้ว แต่ผมจะมาวิเคราะห์ทางเลือกที่เหลืออยู่ของรัฐบาลว่าจะทำอะไรได้บ้างหรือจะทำอะไรไม่ได้บ้าง

ประเด็นแรกที่มีผู้เรียกร้องมากและปัจจุบันก็ยังมีผู้เรียกร้องอยู่ทั้งจากในกลุ่มฮาร์ดคอร์ของพรรคเพื่อไทยเองหรือในฝ่ายนักวิชาการส่วนใหญ่(ผมใช้คำว่าส่วนใหญ่เพราะนักวิชาการที่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล้วนแล้วแต่มีที่มาที่ไปที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่ตนเองกำลังเสวยสุขอยู่แทบเสียจะทั้งสิ้น ไม่เชื่อลองยกชื่อมาวางเป็นรายๆไปเลยก็ได้ว่าใครเกี่ยวข้องอย่างไร)ที่ยังคงอยากให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ต่อไป ซึ่งก็คงจะไปเข้าล็อกของการตีความใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญอีกทีหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่าไม่น่าจะเป็นไร ถ้าเราไม่ยอมรับการขยายอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเสียอย่าง แต่ในทางเลือกนี้คงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลและรัฐสภาได้แสดงให้เห็นถึงอาการปอดแหกมาตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่มีทางที่จะมากลับลำเอาเสียง่ายๆหรอก ก็เป็นอันว่าทางเลือกนี้เป็นอันพับไป

ฉะนั้น จึงเหลือแนวทางที่เป็นไปได้เพียง 2 แนวทาง คือ การแก้ไขรายมาตรากับการทำประชามติ ซึ่งเราลองมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ดูว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

 

แนวทางแรกการแก้ไขรายมาตรา

จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในวาระที่ 2 ของการเสนอแก้ไขมาตรา 291 เพียงมาตราเดียว (แต่มีหลายอนุมาตรา) มีการยื้ออภิปรายโดยการสงวนความเห็นของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยว่ากันเสียหลายสิบวัน หากจะแก้อีกหลายมาตราตามที่ต้องการก็กะกันว่าคงใช้เวลากันอีกหลายสิบปี มิหนำซ้ำฤทธิ์เดชของพรรคฝ่ายค้านที่ลากเก้าอี้ประธานรัฐสภาหรือเอาแฟ้มหนังสือขว้างใส่ประธานรัฐสภาจนฉาวโฉ่ไปทั่วโลก ก็เล่นเอาขนหัวลุกว่าเป็นไปได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือ

แต่บางคนก็เสนอความเห็นเพื่อความสะใจว่าอย่ากระนั้นเลยหากจะแก้เป็นรายมาตรา มาตราแรกที่จะแก้ก็คือการยุบศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นก้างขวางคอหรือการแก้ไขเฉพาะมาตรา ก่อนแล้วค่อยแก้มาตราอื่นๆตามมา ซึ่งผมเห็นว่าทางเลือกนี้ค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลา แต่ก็ยังคงพอมีความเป็นไปได้แต่อาจจะน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกในแนวทางที่สอง

แนวทางที่สองการลงประชามติเพื่อนำไปสู่การแก้ไขทั้งฉบับ

แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะใช้คำว่าควรจะทำประชามติก่อนหากจะมีการแก้ไขทั้งฉบับก็ตาม แต่ดูเหมือนคำว่าควรจะนั้นจะแปลความหมายเป็นคำว่า “ต้อง” ไปเสียเพราะเมื่อคำนึงถึงคำวินิจฉัยสำเร็จโทษที่จะตามมาภายหลังหากไม่เชื่อฟัง ประเด็นจึงเหลือแต่เพียงว่าแล้วจะทำอย่างไรกับร่างที่ยังค้างคาอยู่ในสภา หากทำประชามติก่อนยกร่างก็ต้องให้ร่างที่ค้างอยู่ในสภานั้นตกไป ซึ่งก็คงจะเป็นการถอยตกหน้าผาไปซึ่งก็คาดเดาได้ไม่ยากว่าคนที่ตกหน้าผาสูงถึงเพียงนั้นจะมีชีวิตรอดทางการเมืองได้อย่างไร ก็จึงเหลือทางเลือกอีกที่พอให้ก้าวเดินคือการยังคงคาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ในสภาอยู่อย่างนี้แล้วไปทำประชามติว่าเห็นด้วยกับการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่ค้างคาอยู่ในสภานี้หรือไม่ ซึ่งก็คงใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน หากเห็นด้วยก็ดำเนินการลงมติในวาระ 3 ต่อไป หากไม่เห็นด้วยก็ถอนร่างนี้ออกจากสภาไป พร้อมกับก้มหน้ารับกรรมไปโทษฐานที่ไม่สามารถรักษาคะแนนนิยมไว้ได้ และก็ควรจะลาออกหรือยุบสภาไปเพื่อเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจใหม่ว่ายังจะให้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหรือไม่

แต่บางคนก็บอกว่าก็ในร่างที่คาอยู่ในสภาก็บอกอยู่แล้วนี่ว่าก่อนที่ สสร.จะประกาศใช้ต้องมีลงประชามติอยู่แล้วนี่ ไปทำประชามติก่อนทำไม่ให้เสียเวลา คำตอบก็คือ คนละส่วนกัน ที่สำคัญก็คือ เขาไม่ฟังหรอก เขาในที่นี้ก็คือศาลรัฐธรรมนูญนั่นเอง

ฉะนั้น ในทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้ก็คือทางเลือกที่ 2 นั่นเอง

อย่างไรก็ตามในส่วนตัวของผมเห็นว่าไหนๆก็จะแก้รัฐธรรมนูญและให้มีการลงประชามติก่อนกันแล้ว น่าจะทำประชามติเสียให้เสร็จเด็ดขาดไปในคราวเดียวกันไปเลยโดยเรามาถามประชามติว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือรูปแบบของรัฐได้ เพราะรัฐธรรมนูญปัจจุบันห้ามไว้ แล้วเรื่องอื่นๆ เราจะเอากันอย่างไร เช่น องค์กรอิสระควรมีต่อไปหรือไม่/ จะเอาศาลเดี่ยว (ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง) หรือศาลคู่ ปฏิรูประบบศาลให้ยึดโยงกับประชาชนหรือนำระบบลูกขุนมาใช้/ ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคแบบร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกันทั่วประเทศหรือไม่ ฯลฯ ให้มันสะเด็ดน้ำ เอาเป็นภาคต่อของ 24 มิถุนายน 2475 ไปเล้ยยยยย

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สื่อทางเลือกใต้ถูกทหารเชิญตัวไปสอบสวน

$
0
0

สัมภาษณ์นายซาฮารี เจ๊ะหลง หลังได้รับการปล่อยตัวจากการถูกเจ้าหน้าที่ทหารนำไปสอบสวน
(ที่มาของวิดีโอ "สื่อสันติภาพชายแดนใต้")

" Southern Peace Media" รายงานว่า เมื่อวานนี้ (24 ก.ค.) เวลาประมาณ 11.00 น. นายซาฮารี เจ๊ะหลง เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Southern Peace Media Volunteer Network) ถูกเจ้าหน้าที่ทหารสังกัด ร้อย.ร.2531 ฉก.ปน.24 เชิญตัวไปสอบสวน และถูกปล่อยตัวออกมาเมื่อเวลาประมาณ 18.35 น. อย่างไรก็ตามในเช้าวันนี้ (25 ก.ค.) เวลาประมาณ 9.00 น. เจ้าหน้าที่จะเชิญตัวนายซาฮารีมาสอบสวนอีก โดยมีการตั้งข้อสงสัยว่านายซาฮารีอาจส่วนเกี่ยวข้องกับคดีครูฝึกดับเพลิงเจ็บสาหัส เหตุเกิดเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 55 (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดยนายซาฮารีได้ให้สัมภาษณ์กับ " Southern Peace Media " โดยยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุไม่สงบดังกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาสวัต บุญศรี: ปรากฎการณ์ ‘36’ และ ‘แต่เพียงผู้เดียว’ กลยุทธ์เรียกผู้ชมทะลักโรง

$
0
0

สิ่งที่คนทำหนังไทยอิสระประสบปัญหาเจอกันถ้วนหน้าตั้งแต่อดีตยันปัจจุบันคือ ทำหนังมาเสร็จหนึ่งเรื่องแล้วไม่รู้จะเอาไปฉายที่ไหนต่อดี ปกติที่ทำ ๆ กันก็คือส่งเทศกาลภาพยนตร์ในต่างประเทศบ้าง ส่งฉายในงานของมูลนิธิหนังไทยบ้าง ทางเทศกาลอย่าง World Film Festival บ้าง บางทีก็เป็นเรื่องตลกร้ายไม่น้อยที่คนนอกประเทศได้ดูหนังไทยบางเรื่องมากกว่าคนในประเทศเสียอีก ส่วนการฉายเพื่อเก็บเงินค้ากำไรเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นดูจะเป็นความฝันที่เลื่อนลอย

นาน ๆ ที่เราถึงจะเห็นการฉายหนังไทยอิสระไม่อิงค่ายแบบเก็บเงิน เริ่มจากหนังสารคดีเรื่องเด็กโต๋ ของ ป๊อป อารียาและนิศา คงศรี ที่มีคนดูถล่มทลายล้นโรงหนังลิโด แต่พอหมดเด็กโต๋ก็แทบไม่มีเรื่องใดมาฉายต่อ เพิ่งมีราวสองสามปีนี้ที่พอจะได้ดูหนังไทยอิสระบ่อยครั้งในโรง เริ่มจากฟากบริษัท Pop Picture ที่จัดฉายภาพยนตร์อย่าง Hi-so ของอาทิตย์ อัสสรัตน์ และ ที่รัก ของศิวโรจน์ คงสกุล และงานของบุญส่ง นาคภู่ ที่จัดฉายด้วยทุนตัวเองที่ลิโดทั้งเรื่อง คนจนผู้ยิ่งใหญ่และสถานีสี่ภาค ซึ่งผู้ชมก็มากน้อยต่างกันไป

เสียงตอบรับของการฉายหนังน่าจะอยู่ในระดับน่าพอใจ ผมมีโอกาสได้ดูคนจนผู้ยิ่งใหญ่ของบุญส่ง เขาบอกว่ารอบฉายรอบนั้นอยู่ในภาวะเท่าทุนพอดี (ลิโดคิดค่ารอบฉายกับบุญส่ง 5,000 บาท/รอบ เท่ากับว่าถ้ามีคนดู 50 คน เขาก็จะได้เท่าทุน)
ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา มีหนังไทยอิสระสองเรื่องที่เข้าโรงฉายในวงแคบ แต่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก ชนิดที่คนทำเองก็อาจจะคาดไม่ถึง หนังเรื่องแรกได้แก่ 36 ของนวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ เรื่องหลังคือแต่เพียงผู้เดียว ของคงเดช จาตุรันต์รัศมี

นวพลจัดฉาย 36 ครั้งแรกที่หอศิลปะวัฒนธรรมกรุงเทพฯ โดยฉายสองวัน วันละ 5 รอบ นวพลใช้กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ในเพจทางเฟซบุ๊คและเปิดให้จองบัตรราคา 150 บาทล่วงหน้าผ่านการโอนเงินทางธนาคารแล้วส่งสลิปยืนยันมาทางอีเมล เนื่องจากห้องที่จัดฉายจุคนได้ไม่มากนักเพียงรอบละ 40 คน ทว่าทั้งสิบรอบที่นวพลเปิดให้จองก็เต็มอย่างรวดเร็ว จนต้องเพิ่มรอบฉายและย้ายสถานที่ไปยังที่ ๆ กว้างกว่าเดิมคือหอประชุมของสมาคมฝรั่งเศส ซึ่งผลของการตอบรับยังคงดีเช่นเดิม บัตรถูกจองล่วงหน้าหมดอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดนวพลตัดสินใจนำไปฉายที่ House RCA ซึ่งก็มีคนไปตามดูอยู่อุ่นหนาฝาคั่ง

ขณะที่แต่เพียงผู้เดียว ของคงเดช เข้าฉายที่ลิโดและเอสพลานาด แบบจำกัดรอบและจำนวนวันฉาย (ลิโดวันละสองรอบ ที่เอสพลานาดสี่รอบ) จากปากคำของผู้ที่ได้ไปชมและการพบเจอด้วยตนเองพบว่าคนดูกันล้นโรง ที่ลิโดถึงกับต้องเสริมเก้าอี้ และมีการจองบัตรกันล่วงหน้าถึงสองสามวัน

นวพลและคงเดชอาจจะมีข้อได้เปรียบนักทำหนังคนอื่นตรงที่เขาทั้งคู่ต่างมีผู้ติดตามผลงานอยู่ไม่น้อย นวพลนั้นเป็นคอลัมนิสต์ของนิตยสารหลายหัว อาทิ A Day มีหนังสือรวมบทความของเขาออกวางขายหลายเล่ม เป็นทั้งคนทำหนังอิสระที่เคยคว้ารางวัลรัตน์ เปสตันยี จากมูลนิธิหนังไทย ในขณะเดียวกันก็เป็นคนเขียนบทให้กับหนังค่ายแมสอย่าง GTH คาดว่ามีแฟนคลับจากตัวหนังสือมาตามกรี๊ดไม่น้อย ส่วนคงเดชนั้น ฝีไม้ลายมือการทำหนังของเขาเป็นที่ชื่นชอบของหลายคนอยู่แล้ว แถมมีสาวกที่ติดตามมาตั้งแต่ครั้งทำเพลงในนาม ‘สี่เต่าเธอ’ ที่เหนียวแน่นไม่น้อยคอยสนับสนุนอยู่ไม่ขาด และส่วนหนึ่งที่ทำให้แต่เพียงผู้เดียวของคงเดชได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษก็คือ การรับบทของอภิชัย ตระกูลเผด็จไกร หรือ Greasy Cafe ที่ก็มีแฟนคลับเหนียวแน่นพร้อมสนับสนุนเต็มที่เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดีลำพังชื่อเสียงที่มีแต่เก่าก่อนก็คงพอช่วยได้ในระดับหนึ่ง สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดกระแสตอบรับของคนดูเป็นจำนวนมากเช่นนี้ คงต้องยกให้ผลจากการโปรโมตผ่านแฟนเพจทางเฟซบุ๊คของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องที่กลายเป็นเครื่องมือฟรี ๆ ที่เผยแพร่ข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก (แฟนเพจเรื่อง 36 คือ http://www.facebook.com/36exp ส่วนแต่เพียงผู้เดียวคือ http://www.facebook.com/MyOnlyOwn)

น่าสนใจว่าทั้งสองเพจนั้นดูแลโดยนวพล เมื่อมองเข้าไปดูสิ่งที่นวพลในฐานะผู้ดูแลโพสต์ข้อมูลลงไปจะพบว่าช่วงก่อนการฉายนั้นนอกจากบรรดาโปสเตอร์หนัง เขาก็จะโพสต์ข้อมูลเบื้องหลัง เล่าเรื่องการไปฉายยังต่างประเทศ โพสต์ภาพบางส่วน คลิปบางส่วนเพื่อเรียกน้ำย่อย บางทีก็โพสต์เพลงที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องเท่าใดและให้อารมณ์โทนเดียวกัน สิ่งสำคัญคือนวพลโพสต์ในเพจทั้งสองบ่อยเพื่อให้เพจมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา พอหนังจะเข้าฉายก็มีการเล่นเกมชิงรางวัลอาทิ บัตรรอบสื่อ พอถึงวันฉายจริง สิ่งที่ไม่พลาดคือการนำเอาบรรยากาศจริงในวันที่ฉายทั้งจากกล้องตนเองและกล้องของผู้ชมมาโพสต์ลง (ซึ่งย่อมทำให้ผู้ที่ยังไม่ได้ดูเกิดภาวะปากต่อปาก) รวมถึงการลิงค์บทวิจารณ์จากบรรดาเพื่อนพี่น้องที่เขียนถึงไปให้แฟน ๆ ในเพจได้อ่านอีกต่อ แม้บางทีนวพลไม่รู้จะโพสต์อะไรเกี่ยวกับหนังของเขา เขาก็ยังหยิบเอาหนังหรือคลิปอื่น ๆ ที่เขาชื่นชอบมาแปะแนะนำให้แฟน ๆ ได้อ่านกัน

จะเห็นได้ว่าความต่อเนื่องของการผลิตเนื้อหา และตัวคอนเทนท์ว่าเราจะเล่าอะไรบ้างนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก การประชาสัมพันธ์โดยผ่านเฟซบุ๊คนั้นจำเป็นที่จะต้องมีความต่อเนื่องเพื่อให้คนเกิดการจดจำและอยากไปร่วมงาน โดยเนื้อหานั้นหากสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนได้ชัดเจนมากเท่าไหร่ย่อมก่อให้เกิดความประทับใจต่อแฟนในเพจมากเท่านั้น โอกาสที่จะสื่อสารได้สำเร็จย่อมมีสูง

กลยุทธ์แบบนี้น่าสนใจที่จะดูกันต่อว่าเมื่อนำไปใช้กับหนังไทยอิสระเรื่องอื่น ๆ จะประสบความสำเร็จต่อเนื่องหรือเปล่า
หมายเหตุ การใช้เฟซบุ๊คโปรโมตหนังไม่ได้พึ่งเริ่มจากหนังสองเรื่องนี้ เพียงแต่หนังสองเรื่องนี้ประสบความสำเร็จมาก ก่อนหน้านี้ค่ายหนัง GTH เองก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับการใช้แฟนเพจสื่อสารกับคนดูเช่นกัน เพียงแต่ GTH ได้เปรียบกว่ามากในการมีฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่น ต่างจากคนทำหนังอิสระที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประธาน IOC เผยนักกีฬาที่ไม่ลงแข่งกับอิสราเอลอาจโดนลงโทษ

$
0
0

ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลเผยว่า IOC จะลงโทษนักกีฬาที่สละสิทธิ์ลงแข่งขันกับนักกีฬาทีมชาติอิสราเอลในกีฬาประเภท ต่างๆ หากสอบสวนแล้วว่าไม่มีอาการบาดเจ็บ แต่หากเป็นการปฎิเสธลงทำการแข่งขันเพราะเรื่องการเมือง "อาหรับ-ยิว"

acques Rogge ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee - IOC)

25 ก.ค. 55 - ปัญหาการความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธุ์ยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้ปวดหัวในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในแต่ละครั้ง โดยเฉพาะไม้เบื่อไม้เมากันระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล

ล่าสุดในปีนี้เว็บไซต์ Guardian รายงานว่า Jacques Rogge ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee - IOC) ได้ออกมาเปิดเผยว่า IOC จะลงโทษนักกีฬาที่สละสิทธิ์ลงแข่งขันกับนักกีฬาทีมชาติอิสราเอลในกีฬาประเภทต่างๆ หากสอบสวนแล้วว่าไม่มีอาการบาดเจ็บ ในมหกรรมโอลิมปิคที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27 ก.ค.-12 ส.ค.นี้

Rogge ออกมาระบุหลังจากที่มีกระแสการพยายามดึงเรื่องกีฬากับการเมืองมาข้องเกี่ยวกัน เมื่อนักกีฬาโลกอาหรับหลายชาติมีท่าทีที่จะ "ไม่ยอมลงแข่งขัน" กับอิสราเอล โดยมีข่าวว่าชาติอาหรับบางชาติได้ขอให้ฝ่ายจัดการแข่งขันช่วยจัดตารางเลี่ยงการเจอกับทีมชาติอิสราเอล ในการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ

อนึ่งกรณีที่เคยมีกรณีที่นักกีฬายูโดจากอิหร่านถอนตัวเมื่อต้องได้แข่งขันกับนักกีฬาจากอิสราเอลในการแข่งขันโอลิมปิกที่เอเธนส์เมื่อปี 2004 รวมถึงโอลิมปิกที่ปักกิ่งในปี 2008 ได้มีการสืบสวนถึงกรณีที่นักว่ายน้ำของอิหร่านถอนตัวจากการลงแข่งขันรอบคัดเลือกที่มีนักกีฬาอิสราเอลลงทำการแข่งขันด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: พระเวสสันดรละเมิดสิทธิมนุษยชน (?)

$
0
0

บางคนอ่านชาดกเรื่องพระเวสสันดรแล้วรับไม่ได้ เพราะเห็นว่า การบริจาคลูกเมียให้เป็นทาสรับใช้คนอื่นจะเป็นความดีได้อย่าง เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนชัดๆ ยิ่งกว่านั้นหากคิดอย่างมีเหตุผลแล้ว การบริจาคลูกเมียให้เป็นทาสจะถือว่าเป็นความดี หรือบุญบารมีขั้นสูงจนส่งผลให้บรรลุโพธิญาณเป็นพุทธะได้อย่างไร ถ้าพระเวสสันดรเป็นคนอเมริกันคงถูกลูกเมียฟ้องเอาผิดทางกฎหมายแน่ๆ 

แต่บางทีคนที่คิดเช่นนี้ก็ลืมไปว่า เมื่อกว่าสองพันปีที่แล้วมีสังคมอเมริกันหรือยัง หรือมีความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในโลกนี้หรือยัง!

ประเด็นคือ ชาดกเรื่องพระเวสสันดรปรากฏในพระไตรปิฎก ซึ่งหมายความว่า เป็นเรื่องเล่าในกรอบความคิดทางวัฒนธรรมของสังคมศาสนาของชาวอารยันในชมพูทวีปเมื่อกว่าสองพันปีมาแล้ว พระเวสสันดรนั้นมีชีวิตอยู่ในสังคมที่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีอำนาจออกแบบความสัมพันธ์ทางสังคมและกำหนดคุณค่าทางจิตวิญญาณว่า สังคมต้องมีวรรณะ 4 คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เฉพาะความสัมพันธ์ในครอบครัว สามีเป็นเจ้าของภรรยาและลูก พูดอีกอย่างว่าเมียและลูกเป็นสมบัติของสามีหรือพ่อ การกำหนดสถานะเช่นนี้ทำให้มีข้อผูกพันตามมาว่า เมียและลูกมีหน้าที่ต้องทำตามความประสงค์ของสามีหรือพ่อ

ทีนี้ตัวพระเวสสันดรนั้นก็รับเอาคุณค่าทางศาสนา คือ “ความหลุดพ้น” มาเป็นอุดมการณ์สูงสุดของตนเอง และเนื่องจากผู้เล่าเรื่องนี้คือพุทธะซึ่งเป็นผู้ปฏิรูปวัฒนธรรมฮินดู (ปราชญ์อินเดียอย่าง รพินทรนาถ ฐากูร คนหนึ่งล่ะที่ยืนยันเรื่องนี้) ก็เลยกำหนดให้ความปรารถนาพุทธภูมิหรือการบรรลุโพธิญาณเป็นพุทธะเพื่อสอนสัจธรรมแก่ชาวโลกเป็นอุดมการณ์สูงสุดของพระเวสสันดร ผู้ซึ่งตั้งปณิธานว่า การให้ทานหรือการเสียสละคือความดีอันเป็นหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุอุดมการณ์ดังกล่าว

ฉะนั้น เมื่อมองตามกรอบคิดของวัฒนธรรมทางสังคมและคุณค่าทางจิตวิญญาณคือ “ความหลุดพ้น” และผู้หลุดพ้นคือ “บุคคลในอุดมคติ” ซึ่งเป็นที่พึ่งของสังคม อันเป็นอุดมการณ์สูงสุดทางศาสนาในยุคนั้น การเสียสละลูกเมียของพระเวสสันดร จึงเป็นการกระทำที่ดีงามน่าสรรเสริญ

ทำไมคนยุคนั้นถึงเชื่อว่าการกระทำเช่นนี้ดีงามน่าสรรเสริญ? เราอาจเข้าใจโดยเปรียบเทียบความเสียสละเพื่อส่วนรวมในยุคสมัยของเรา เช่น บางคนอุทิศชีวิตเพื่ออุดมการณ์ที่เขาเชื่อว่าเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม จนต้องละทิ้งครอบครัวเข้าป่าจับอาวุธ ยอมติดคุก กระทั่งยอมสละชีวิต คนเหล่านี้รู้อยู่แล้วว่าการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์นั้นต้องเสี่ยง อาจทำให้เขาต้องพลัดพรากครอบครัว อาจถูกสังคมประณาม ติดคุก ถูกอุ้ม กระทั่งถูกฆ่าตาย แน่นอนว่า สำหรับบางครอบครัวเมื่อขาดผู้นำ ทุกอย่างอาจพังทลายลง เราจะบอกว่าคนเช่นนี้เป็นคนไม่ดี เพราะไม่รับผิดชอบต่อครอบครัวได้หรือ ผมคิดว่าเราคงไม่มองเช่นนั้น แต่เราคิดว่าคนแบบนี้น่านับถือ เพราะเขายอมสละทุกอย่างเพื่ออุดมการณ์ที่เขาศรัทธาซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

เรื่องพระเวสสันดร เราก็อาจเข้าใจได้ทำนองเดียวกันนี้ คนยุคนั้นเชื่อว่าศาสดาผู้ค้นพบและสอนสัจธรรม/ศีลธรรมเป็นคนอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขแก่สังคม เพราะศาสดามีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่นเท่านั้น หมดภาระที่จะทำอะไรเพื่อตัวเอง ฉะนั้น คนที่ยอมสละทุกอย่างเพื่อจะเป็นศาสดา (พุทธะ) ในอนาคตอย่างพระเวสสันดร จึงเป็นบุคคลที่น่าสรรเสริญ เหมือนกับคนที่เสียสละครอบครัว แม้กระทั่งอิสรภาพของตนเองบนเส้นทางอุดมการณ์เพื่อส่วนรวมในยุคสมัยของเรา ก็คือคนที่กระทำสิ่งที่ทำได้ยากและน่าสรรเสริญเช่นเดียวกัน

สมภาร พรมทา เสนอไว้ใน An Essay Concerning Buddhist Ethics (สรุปใจความได้) ว่า เราสามารถเข้าใจการบริจาคลูกเมียของพระเวสสันดรได้ด้วยการเข้าใจความเป็นมนุษย์ของเขา (“เขา” นี่แปลมาจาก “his” ไม่มีราชาศัพท์) เช่น เมื่อเห็นชูชกโบยตีลูกชายลูกสาว พระเวสสันดรโกรธมากเกือบจะไม่ยอมให้ลูกแก่ชูชกอยู่แล้ว ยิ่งกว่านั้นความเจ็บปวดจากความรักลูกก็ทำให้เขาทุกข์ทรมานใจเป็นทวีคูณ ความโกรธนั้นอาจหายไปได้ในเวลาไม่นาน แต่ความเจ็บปวดโศกเศร้าเพราะต้องสละลูกเมีย ทั้งที่รู้ถึงความทุกข์ทรมานของลูกเมียที่ต้องตกเป็นทาสของคนอื่นนั้นเป็นทุกข์ที่ลึกซึ้งยากที่จะหายไปได้ แต่พระเวสสันดรก็ต้องทำตามอุดมการณ์ที่ตนเชื่อ

ลองเปรียบเทียบกับคนที่เลือกเดินบนเส้นทางอุดมการณ์เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในยุคสมัยของเรา เขาต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในป่า ในคุก ทุกข์ทรมานจากการพลัดพรากพ่อแม่ คนรัก ลูกเมีย ออกจากป่ามาก็เจ็บปวดสับสนกับความพ่ายแพ้ อีกทั้งอาจรู้สึกผิดที่ตนเองละทิ้งความรับผิดชอบต่อครอบครัว เป็นต้น นี่คือความเป็นมนุษย์ที่เราเข้าใจได้ พระเวสสันดรก็มีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน แต่ก็ยอมเสียสละเพื่ออุดมการณ์ที่ตนคิดว่าเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมในยุคสมัยนั้น เช่นเดียวกับคนในยุคเราที่เสียสละเพื่ออุดมการณ์ที่พวกเขาคิดว่าเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมในบริบทปัจจุบัน

แต่ที่สำคัญกว่าคือ ชาดกเรื่องพระเวสสันดรนั้น สอนว่า “ความถูกต้องเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ” แม้ว่าจะต้องเสียสละและเจ็บปวดมากเพียงใดก็ตาม ดังคำกล่าวที่ว่า “พึงสละแม้ชีวิตเพื่อรักษาธรรม” มีชาดกจำนวนมากที่เล่าเรื่องพระโพธิสัตว์ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาธรรมหรือความถูกต้อง พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับ “วิถีที่ถูกต้อง” มาก เพราะคุณค่าชีวิตและอิสรภาพงอกงามออกมาจากการฝึกฝนตนเองตามวิถีที่ถูกต้อง (มรรค/ไตรสิกขา) พระเวสสันดรคือตัวอย่างของผู้ที่เดินทางยากในวิถี (means) สู่เป้าหมายที่ตนเชื่อว่าถูกต้อง

สมมติว่า มียาวิเศษที่กินแล้วทำให้คนพ้นทุกข์กลายเป็นพุทธะได้ทันที พุทธศาสนาย่อมไม่สนับสนุนให้กินยาเช่นนั้นแน่นอน เพราะยาวิเศษไม่สามารถทำให้ชีวิตมีคุณค่าได้ คุณค่าของชีวิตเกิดจากการการใช้เสรีภาพเลือกทำในสิ่งที่เราเชื่อว่าถูกต้อง ใช้ศักยภาพและความพยายามของเราเองอย่างเต็มที่ แม้จะต้องเผชิญอุปสรรคและความเจ็บปวดใดๆ ก็ตาม แต่โดยการดำเนินชีวิตตามวิถีที่ถูกต้องนั้นเอง ความหมายของชีวิต การเติบโตทางความคิด และจิตวิญญาณจึงอาจงอกงามปรากฏออกมาได้ ฉะนั้น วิถีกับหยุดหมายไม่อาจแยกจากกัน

แต่ก็น่าเสียดาย หากจะมีการเข้าใจผิดๆ ว่า เรื่อง “ทาน” ของพระเวสสันดร และการทำบุญเชิงประเพณีต่างๆ เป็น “ยาวิเศษ” ดลบันดาลทุกสิ่งได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความปรารถนาสุขส่วนตัว จนทำให้ค่านิยมทำดีของชาวพุทธจำกัดอยู่แค่ “การทำดีตามแบบแผนพิธีกรรม” เพื่อหวังผลดลบันดาลจากยาวิเศษให้ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อันเป็นค่านิยม “ทำดีเสพติดยาวิเศษ” จนไม่ลืมตามาดูทุกขสัจจะของสังคม

และทำให้ชาวพุทธปัจจุบันไม่สนใจการ “ทำดีอย่างมีอุดมการณ์” หรือการเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม แม้ว่าตนเองต้องทนทุกข์ดังพระเวสสันดรทำเป็นแบบอย่าง ซึ่งเราอาจนำหลักคิดนี้มาปรับใช้อย่างสอดคล้องกับบริบทปัจจุบันได้ ไม่ใช่รับมาทั้งดุ้น หรือด่วนปฏิเสธอย่างขาดการทำความเข้าใจสาระสำคัญ!

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลั่นความคิด ‘มลายูปาตานี’ ผ่านนักเขียนการ์ตูน 3 ภาษา

$
0
0

 

 

 

ซอลาฮุดดีน กริยา - อับดุลเลาะห์ บิน วันอะหมัด

ตัวอย่างหนังสือการ์ตูน 3 ภาษา

 

هيلڠ بهاس هيلڠ بڠسا هيلڠ بڠسا هيلڠ اݢام

ประโยคภาษามลายูอักษรยาวีข้างต้น เป็นข้อความรณรงค์ให้มีการรักษาและใช้ภาษามลายูอย่างถูกต้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีมานานแล้ว ด้วยเพราะความตระหนักถึงอิทธิพลและปัจจัยที่ทำให้ภาษานี้ค่อยๆหมดไป

วันนี้นับว่าโชคดีที่ หลายฝ่ายเริ่มให้ความสำคัญ เห็นได้จากป้ายประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีการเพิ่มข้อความภาษามลายูอักษรยาวีมากขึ้น ยังไม่นับรายการวิทยุภาคภาษามลายูที่เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างมากมาย และการเกิดขึ้นของสื่อพิมพ์ภาษามลายูอักษรยาวี ก็เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมรณรงค์ในเรื่องนี้ ทว่า มากพอหรือยัง

“มลายูเป็นอัตลักษณ์ของเราตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งเข้านอนก็จริง แต่ทุกวันนี้สื่อภาษามลายูในพื้นที่ยิ่งน้อยลง ก็ยิ่งทำให้เรามีความคุ้นเคยกับภาษามลายูยิ่งลดลงไปด้วย แม้เราอยากให้กลับมาเหมือนเดิม แต่ก็ยากและยังไม่พอ”

นั่นคือ สิ่งที่ “ซอลาฮุดดีน บิน ฮัสบุลเลาะห์” หรือนายซอลาฮุดดีน กริยา กราฟฟิกส์ดีไซด์หรือนักออกแบบการ์ตูน 3 ภาษา (ไทย – มลายู – อังกฤษ) แห่งสำนักพิมพ์บูหงารายาบุ๊ค ตระหนัก จึงพยายามค้นหาหนทางที่จะฟื้นฟูการใช้ภาษามลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างถูกต้อง ซึ่งแนวทางหนึ่งที่เขาทำ คือการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

กริยา มองว่า ปัจจุบันการใช้ภาษามลายูอย่างเป็นทางการ มีเพียงในตำราเรียน ในคุตบะห์คือบทเทศนาธรรมในการละหมาดวันศุกร์ ซึ่งทั้งสองกรณีใช้ภาษาชั้นสูง ที่คนทั่วไปยังเข้าใจยาก อีกส่วนคือหนังสือประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมักใช้ทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษามลายู

กริยา ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 2 คน คือ อับดุลเลาะห์ บิน วันอะหมัด และ มูฮำหมัดอันวัร หะยีเต๊ะ มาร่วมมือกันสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ภาษามลายูขึ้นมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์การใช้ภาษามลายูที่ถูกต้อง ด้วยจิตวิญญาณที่ต้องการรักษาภาษามลายูให้อยู่คู่กับแผ่นดิน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์หนึ่งของดินแดนปาตานี ก่อนที่จะเลือนหายไปมากกว่านี้ ควบคู่กับการผลิตสื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ด้วย

“เราพยายามเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน นั่นคือเริ่มจัดพิมพ์หนังสือการ์ตูน ซึ่งเป็นชุดภาพระบายสี 3 ภาษา สำหรับเด็กชั้นอนุบาล เดิมตั้งใจจะทำวารสารภาษามลายู แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราเห็นว่า ถ้าไม่พร้อมจริงๆ ทำไม่ได้ เพราะงานหนักและตลาดไม่พร้อม จึงคิดใหม่โดยเริ่มจากสิ่งง่ายๆ แล้วค่อยพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น”

หนังสือการ์ตูนชุดระบาย 3 ภาษา เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนสำหรับเด็กเล็ก จากนั้นค่อยพัฒนาไปสู่การผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับทุกระดับการศึกษา จนกระทั่งสามารถผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ต่อไป เพราะมองว่า ทุกระดับการศึกษา น่าจะมีสื่อที่เหมาะสมร่วมกันอยู่ และคนทุกระดับการศึกษาเข้าถึงได้ จึงออกมาในรูปของหนังสือประกอบการเรียนและใช้งบประมาณน้อยที่สุด

สำหรับผลงานชุดแรก เป็นหนังสือชุดระบายสี 3 ภาษาชุดแรก มี 4 เล่ม แต่เพิ่งตีพิมพ์ไปเพียง 2 เล่ม ที่เหลือกำลังทยอยเขียนและออกแบบตัวการ์ตูน เนื่องจากความไม่พร้อมของบุคลากรและงบประมาณ จึงผลิตไป 2 เล่มก่อน โดย 2 เล่มแรก ชื่อ “แพะดำ” และ “กบกับหนู” มีเนื้อหาเป็นนิทานสนุกสนาน เขียนข้อความทั้ง 3 ภาษา คือ มลายูอักษรยาวี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อให้น้องๆ ได้ฝึกอ่านไปพร้อมๆ กับการระบายสี โดยเริ่มวางแผงขายไปแล้ว

กริยา เล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ได้มาร่วมงานกับ อันวาร์ หรือนายมูฮำหมัดอันวัร หะยีเต๊ะ จากบูหงารายานิวส์ ซึ่งทำหน้าบรรณาธิการของหนังสือชุดระบายสีว่า “เพราะแอบชมมานานแล้ว ในเรื่องการทำเว็บภาษามลายู และได้คุยกันทางเฟซบุ๊ก ขณะที่ผมเองก็เป็นนักพัฒนาฟอนด์(แบบอักษร) ภาษายาวีในระบบคอมพิวเตอร์ จากนั้นได้คุยกัน ก็พบว่ามีความฝันเหมือนกันว่า จะตั้งสำนักพิมพ์ภาษามลายู”

จากนั้นเริ่มคุยกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา จนกระทั่งตัดสินใจจะตั้งสำนักพิมพ์ภาษามลายูอักษรยาวี จากนั้นก็เจอกับอับดุลเลาะห์ บิน วันอะหมัด ซึ่งเป็นนักเขียนภาษามลายูเป็นนักกวีมลายู มีความสามารถด้านภาษามลายูอักษรยาวี จึงทำให้ความคิดที่จะตั้งสำนักพิมพ์มลายูอักษรยาวีลงตัวมากขึ้น

“ทั้ง 3 คน เสมือนกับร่างเดียวกันแล้วในตอนนี้ โดยตัวผมเองเป็นผู้กำหนดเอกลักษณ์หรือคาร์แร็กเตอร์ของตัวการ์ตูน อันวาร์เป็นผู้ขับเคลื่อนให้งานนี้เกิดขึ้นและงานการตลาด ส่วนอับดุลเลาะห์ เป็นจิตวิญญาณของภาษามลายู เป็นผู้เขียนเนื้อหาเป็นหลัก”

กริยา บอกว่า การผลิตสื่อสิงพิมพ์ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ต้องการรักษาภาษามลายูให้คงอยู่ แต่ต้องการให้สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆ และการผลิตในเชิงธุรกิจ ก็เพื่อต้องการพิสูจน์ว่า ถ้าสิ่งนั้นดีจริง มันก็จะอยู่ได้และจะทำให้เราประเมินได้ว่า งานของเราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่

“เราใช้คำว่า “ممباچ فتاني” แปลว่า อ่านปาตานี เป็นการรณรงค์ให้คนมาอ่านภาษามลายูมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ หากเปรียบภาษามลายูของคนปาตานี ก็เหมือนต้นไม้ดอก ที่ใครๆ ก็บอกว่า เรามี แต่ไม่ดูแล ไม่รดน้ำ ไม่ใส่ปุ๋ย ต้นไม้ดอกจะสวยงามเติบโตได้อย่างไร”

จะทำอย่างไรที่จะให้คน ช่วยกันรักษาสิ่งที่เป็นตัวตนของตนเองไว้ ทั้งการใช้ การเขียนและการอ่าน เพราะปัจจุบันมีแต่การพูดและการฟังเท่านั้น การเขียนไม่มีเลย และนับวันภาษามลายูก็จะยิ่งค่อยๆ หายไป โดยมีภาษาอื่นเข้ามาแทน ดังนั้น จึงต้องเริ่มที่การอ่านก่อน แล้วค่อยปรับ ค่อยพยายามจนกระทั่งนำไปสู่การเขียนต่อไปได้

ขณะที่อันวาร์ เล่าว่า เดิมจะทำแค่ภาษามลายูอย่างเดียว แต่ก็พบว่าตลาดแคบเกินไป จึงต้องทำเป็น 3 ภาษา ซึ่งหนังสือชุดระบายสียังมีอีกหลายชุดที่จะผลิตออกมา เพราะจำเป็นต้องให้มีเยอะและหลากหลาย จึงจะสร้างแรงจูงใจให้คนมาสนใจได้ ส่วนเนื้อหาและความถูกต้องของการใช้ภาษานั้น ทางศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ PERKASA ได้มาเป็นที่ปรึกษาการผลิตหนังสือชุดระบายสีนี้ด้วย

ส่วนอับดุลเลาะห์ มองว่า “การใช้ภาษามลายูจะยากง่ายหรือไม่ อยู่ที่เราเอง ในปาตานีมีคนอ่านภาษามลายู แต่กลับไม่มีสื่อให้อ่าน ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของเราด้วย ที่จะให้มีสื่อภาษามลายูอักษรยาวีขึ้นมา”

อับดุลเลาะห์ มองอีกว่า ในอดีตอารยะธรรมอิสลามที่เกิดขึ้นที่นี่ได้ก็ด้วยภาษามลายู ศาสนาอิสลามของที่นี่เจริญรุ่งเรืองได้ก็ด้วยภาษามลายู ดังนั้นเราต้องรักษาไว้ อย่างเหมือนกับคำกล่าวภาษามลายูข้างต้น เพราะหากภาษาหายไป เชื้อชาติ ศาสนาก็หายไปด้วย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สธ.จัดโครงการ “เข้าพรรษาลดอ้วน สร้างบุญ”

$
0
0

สธ. เผยคนไทยเป็นโรคอ้วนกว่า 17 ล้านคน ติดอันดับ 5 ของเอเชียแปซิฟิก รณรงค์ชวนลดความอ้วนระหว่างเข้าพรรษา ตั้งเป้าลดไม่น้อยกว่า 10,000 ตัน คาดมีคนเข้าร่วมกว่า 10 ล้าน

เว็บไซต์ สสส. รายงานระบุกระทรวงสาธารณสุขเผย คนไทยเป็นโรคอ้วน 17 ล้านคน ติดอันดับ 5 ของเอเชียแปซิฟิค จัดโครงการ “เข้าพรรษาลดอ้วน สร้างบุญ” ตั้งกองทุน 1 ล้านบาทเชิญชวนคนอ้วน สละไขมัน และโหวตแบ่งปันเงินกองทุนไปทำบุญกับมูลนิธิ วัดหรือศาสนาอื่นๆ เริ่มโครงการ 1 สิงหาคมนี้ เป็นต้นไป คาดมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทั่วประเทศ ประมาณ 10 ล้านคน และลดน้ำหนักส่วนเกินตลอด 3 เดือนได้ไม่น้อยกว่า 10,000 ตัน

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันแถลงข่าวว่า ในเทศกาลเข้าพรรษาวันที่ 3 สิงหาคม - 30 ตุลาคม 2555 ซึ่งปีนี้เป็นวาระพิเศษ ตรงกับพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการ “เข้าพรรษา ลดอ้วน สร้างบุญ” ภายใต้แนวคิด “ได้บุญล้นใจ คนไทยลดอ้วน”เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนไทยทำความดีเข้าพรรษา ด้วยการลดน้ำหนัก เพื่อการสร้างสุขภาพที่ดี โดยจะเริ่มดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นไป

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า ตามโครงการดังกล่าวนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งกองทุน “ลดอ้วนสร้างบุญ” โดยมีเงินกองทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท และจะนำเงินนี้ไปทำบุญกับมูลนิธิ หรือ วัดได้ตามความประสงค์ของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยผู้ที่มีสิทธิ์จะเข้าโหวตการบริจาคดังกล่าว จะต้องสมัครเข้าร่วมโครงการฯ และปวารณาตนลดความอ้วนในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งการลดน้ำหนักตัวต้องอยู่เกณฑ์มาตรฐานคือเดือนละไม่เกิน 4 กิโลกรัม โดยจะมีการชั่งน้ำหนักวัดรอบเอวก่อนร่วมโครงการ และวันสิ้นสุดโครงการฯ จะต้องไปรายงานตัวที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภายใน 15 วัน เพื่อประเมินจำนวนน้ำหนักตัวที่ลดลง พร้อมกับแสดงเจตนารมย์ว่าจะนำเงินจากการบริจาคน้ำหนักไปทำบุญกับมูลนิธิ หรือ วัดตามแต่ศรัทธา โดยตั้งเป้าจะลดน้ำหนักส่วนเกินทั้งประเทศได้ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นตัน คาดว่าจะมีประชาชนร่วมโครงการประมาณ 10 ล้านคน

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ผลสำรวจสุขภาพล่าสุด มีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคอ้วน ติดอันดับ 5 ของเอเชียแปซิฟิก โดยมีคนอ้วนมากถึง 17 ล้านคนทั่วประเทศ และยังมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 ล้านคนต่อปี ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท อีกทั้งคนที่เป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคข้อกระดูกเสื่อมสูงว่าคนปกติ และยังส่งผลกระทบด้านอารมณ์อีกด้วย

ทั้งนี้โรคอ้วน เกิดจากพฤติกรรมสืบเนื่องจากวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ ที่บริโภคอาหารเกินขนาด ขาดการออกกำลังกาย ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป กระทรวงสาธารณสุขเน้นหนักในการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วประเทศตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความอ้วนอย่างถูกวิธี โดยสร้างพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม ให้เป็นนิสัย กินผักผลไม้ทุกมื้อ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้มีข้อแนะนำให้ประชาชนเลือกปฏิบัติได้ 9 ข้อ เช่น ลดน้ำหนักตัวให้ได้ กินผักผลไม้ทุกมื้อ ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม กินอาหารเจ หรือ มังสวิรัติทุกวันพระ หรือวันเกิดตลอดช่วงเข้าพรรษา เลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมหรือน้ำที่มีรสหวาน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืองดสูบบุหรี่ เป็นต้น เพื่อใช้โอกาสเทศกาลเข้าพรรษา เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและสร้างนิสัยต่อเนื่อง

ด้านนายแพทย์โสภณ กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประชนชนทุกเพศ ทุกวัย สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้ ด้วยการไปประเมินภาวะความอ้วนที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ หรือสมัครทางเว็บไซต์ www.ลดอ้วนสร้างบุญ.com หรือส่งไปรษณียบัตรสมัครมาที่กระทรวงสาธารณสุข โดยขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประสานงานด้านประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 08-3701-2838 ตั้งแต่ 1 สิงหาคมนี้ เป็นต้นไป

สำหรับผู้ที่สามารถลดน้ำหนักตัวได้ และติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ จะได้รับใบประกาศนียบัตร และกระทรวงสาธารณสุข จะบันทึกปริมาณน้ำหนักรวมที่ลดได้ทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการทำงานต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ หากประสงค์จะร่วมทำบุญในโครงการนี้ ก็สามารถสมทบเงินกองทุนได้ โดยการบริจาคผ่านธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี “กองทุนลดอ้วนสร้างบุญ” หมายเลขบัญชี 142-0-14371-9 ซึ่งจะเป็นการต่อยอดสมทบกับเงินกองทุนที่มีอยู่แล้ว 1 ล้านบาท เพื่อไปทำบุญต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สืบพยานคดี 112 ‘สนธิ’ กล่าวซ้ำถ้อยคำ ‘ดา ตอร์ปิโด’ จำเลยเบิกความ 21 ส.ค.55

$
0
0

21 ส.ค.นี้ 'สนธิ ลิ้มทองกุล' เตรียมเบิกความคดีหมิ่นฯ กรณีนำคำปราศรัย'ดา ตอร์ปิโด'ไปกล่าวซ้ำบนเวทีพันธมิตรฯ  ขณะที่ดา ตอร์ปิโดถูกคุมขังครบ 4 ปี เมื่อ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา

25 ก.ค.55 ห้องพิจารณาคดี 908  มีการสืบพยานโจทก์คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สำนักงานอัยการสูงสุด ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล  แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อ.2066/2553 โดยในวันนี้เป็นนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ได้แก่ พ.ต.ท.ภูวสิษฎ์ เมฆี พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต และ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการศึกษา กองบัญชาการศึกษา  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ส่วนนัดหน้าจะเป็นการสืบพยานจำเลย โดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะขึ้นเบิกความในวันที่ 21 ส.ค.55 เวลา 9.00-12.00 น.

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องการปราศรัยของนายสนธิบนเวทีพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 20 ก.ค.51 โดยนำเอาคำปราศรัยบางส่วนของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล มากล่าวซ้ำพร้อมเรียกร้องให้มีการดำเนินคดี จากนั้นจึงมีการออกหมายจับนายสนธิในวันที่ 23 ก.ค.ต่อมาวันที่ 24 ก.ค. นายสนธิพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้ามอบตัวที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และได้รับการประกันตัว ส่วนกรณีของดารณีนั้นหลังการปราศรัยของนายสนธิ วันที่ 21 ก.ค. ผบ.ทบ.ในขณะนั้นได้มอบอำนาจให้นายทหารพระธรรมนูญไปแจ้งความดำเนินคดีตามมาตรา 112 กับดารณี และมีการจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ที่อพาร์ตเมนท์ในวันที่ 22 ก.ค.51 จากนั้นจึงถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง กระทั่งมีคำพิพากษาล่าสุดของศาลชั้นต้นเมื่อ 15 ธ.ค.54 ลงโทษจำคุก 15 ปี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา ดารณีถูกคุมขังครบ 4 ปี

พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ซึ่งขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เบิกความว่า  ขณะเกิดเหตุมีเวทีปราศรัยทั้งของกลุ่ม นปก. และ พันธมิตรฯ  ซึ่งตำรวจต้องบันทึกเทปและถอดเทปทุกวัน เมื่อถอดเทปแล้วพบว่ามีความผิดก็จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาว่ามีมูลหรือไม่ จากนั้นจะมีการตั้งคณะทำงานสืบสวนสอบสวน ซึ่งในคดีนี้ตนเป็นรองหัวหน้าและได้เลื่อนเป็นหัวหน้าในเวลาต่อมา เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานแล้วก็จะส่งให้คณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้งว่าสมควรส่งฟ้องหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการฯ ก็เห็นควรส่งฟ้อง

พล.ต.ต.อำนวย กล่าวอีกว่า คำสั่งแต่งตั้งและแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นฯ มีมาตั้งแต่ 4 มิ.ย.50 จากนั้นมีคำสั่งปรับปรุงคณะกรรมการดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 9 ต.ค.51  

ทนายจำเลยถามว่า มาตรา 70 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ปวงชนชาวไทยต้องปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถ้อยคำของนายสนธิตามฟ้องเป็นการกล่าวปราศรัยเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินคดี เพราะคดีของดารณีตำรวจดำเนินการช้า ไม่เหมือนคดีหมิ่นฯ ของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ที่ตำรวจดำเนินการรวดเร็วใช่หรือไม่ พล.ต.ต.อำนวย ตอบว่า นายสนธิพูดเสมือนเร่งรัดให้ดำเนินคดีกับดารณี ดังที่ประชาชนต้องมีหน้าที่ปกป้องสถาบัน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีหน้าที่ในการนำข้อความหมิ่นฯ มาเปิดเผยต่อสาธารณชน อย่างไรก็ตาม ตนไม่ทราบว่าคดีของนายสมเกียรติอัยการสั่งฟ้องหรือไม่ และไม่ทราบว่ากลุ่มพันธมิตรฯ ไปร้องเรียนกับ ปปช.เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนเมื่อเดือนสิงหาคม 53

ทนายจำเลยถามาว่าเจตนาของนายสนธิเป็นคนละเจตนากับดารณีใช่หรือไม่ พล.ต.ต.อำนวยกล่าวว่า ไม่สามารถรู้ความในใจของจำเลย แต่หากให้วินิจฉัยก็วินิจฉัยได้ทั้ง 2 ทาง อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการกระทำของนายสนธิเข้าองค์ประกอบความผิดฐานเดียวกันกับดารณี นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจำเลยน่าจะเข้าใจความหมายของมาตรา 8 และ 112 เนื่องจากเมื่อปี 2549 จำเลยเคยได้รับคำสั่งศาล (คดีดำหมายเลข อ.3845/2549) ซึ่งศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ถอนฟ้อง โดยระบุให้จำเลยระมัดระวังการกล่าวหรือกระทำการใดๆ ที่กระทบกับสถาบัน และยังมีคำสั่งห้ามจำเลยนำสถาบันมาแอบอ้างด้วย

อนึ่ง เว็บไซต์ศาลอาญาระบุคำฟ้องในคดีนี้ว่า  เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม  2551 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยนี้ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีปราศรัยกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ด้วยการกระจายเสียงทางเครื่องขยายเสียง ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังจำนวนหลายคน มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และทางอินเทอร์เน็ต โดยผ่านทางเว็บไซต์ของเอเอสทีวี ให้ประชาชนทั้งคนไทยและต่างชาติได้รับชมและรับฟังทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  มีข้อความซึ่งจำเลยนำเอาคำปราศรัยของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล  ที่พูดบนเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง อันเป็นการพูดที่มีถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูหมิ่น  หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมาพูดซ้ำ มีความอาจทำให้ประชาชนเข้าใจว่าบ้านเมืองที่วุ่นวายอยู่ทุกวันนี้เป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้วุ่นวายเพื่อให้สามารถดำรงความเป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป และกล่าวคำพูดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เหตุเกิดที่แขวง-เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  มาตรา 8  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้อสนทนากับ "นักสื่อสารแรงงาน" กรณีไทยพีบีเอส

$
0
0

 

 

หลัง วิชัย นราไพบูลย์ ผู้ประสานงานฯ เขียนคำแถลงเครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน เรื่อง "ติงใบตองแห้ง อย่าหมิ่นเสียงชาวบ้านคนชายขอบ" เพื่อท้วงติงบทความของ "ใบตองแห้ง" เรื่อง “ศึกสายเลือดเขย่า TPBS” ในเว็บ Media Inside Out โดยระบุว่า ที่ผ่านมา ไทยพีบีเอสได้เปิดพื้นที่ให้แรงงานมีโอกาสส่งเสียงมากขึ้น และนำเสนอข่าวประเด็นแรงงานแบบเจาะลึก ทำให้สังคมเข้าใจปัญหาของแรงงานกลุ่มต่างๆ อย่างแท้จริง

"ใบตองแห้ง" ได้เขียนคำอธิบายลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว รับคำท้วงติง พร้อมชี้แจงว่าไม่ได้คัดค้านการเป็นปากเสียงของคนชายขอบ แต่ประชด "วิธีการนำเสนอ" ซึ่งไม่เข้าเป้า ไม่มีคนดู ไม่สามารถจุดประเด็นในสังคม

ขณะที่ จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ เจ้าหน้าที่โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เขียนบทความลงเว็บไซต์ thailabour.org เรื่อง "นักสื่อสารแรงงาน อย่าหลงประเด็น" แลกเปลี่ยนว่า ประเด็นที่คิดว่าควรสนใจคือการมีส่วนร่วมของแรงงานกลุ่มต่างๆ ในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบไทยพีบีเอส รวมถึงการตั้งคำถามต่อประเด็นการไม่สามารถตั้งสหภาพแรงงานและการไม่มีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรของพนักงานไทยพีบีเอสมากกว่า

 

 

เนื้อหามีดังนี้

 

ใบตองแห้ง
ที่มา: เฟซบุ๊กส่วนตัว

ผมยินดีรับคำท้วงติง แต่ประเด็นเดียวที่ผมยอมรับว่าอาจมีปัญหาคือ ย่อหน้าแรกที่ว่า "ทีวีของคนชายขอบ ริมขอบ ตกขอบ" ซึ่งที่จริงผมหมายความว่า TPBS อาศัยความเป็นทีวีของคนชายขอบพ่วงนำเสนอทัศนะของพวกริมขอบ ตกขอบ (เหลืองอ๋อย) ทั้งหลายด้วย แต่ผู้ทำงานกับคนชายขอบอ่านแล้วอาจไม่พอใจ

แต่ย่อหน้าที่ 2 และ 3 ผู้เขียนควรตระหนักว่าผมไม่ได้คัดค้านการเป็นปากเสียงของคนชายขอบ แต่ผมประชดประเทียด "วิธีการนำเสนอ" ซึ่งมันไม่เข้าเป้า ไม่มีคนดู ไม่สามารถจุดประเด็นในสังคม (155 ชิ้นจุดประเด็นอะไรได้บ้าง)

เอาง่ายๆ อย่างนี้ดีกว่าว่า แม้แต่พวก NGO หรือคนชายขอบด้วยกันเอง ถามว่าสนใจดูเวทีสาธารณะกันอย่างจริงจังหรือเปล่า เวลาคุณณาตยาคุยกับสายแรงงาน พวกต้านท่อก๊าซดูหรือเปล่า ผมว่าไม่ได้สนใจดูนะ ทุกคนสนใจแต่ประเด็นตัวเอง

ปัญหาคือ อย่าปกป้อง "วิธีการนำเสนอแบบณาตยา" โดยอ้างว่านั่นเป็นการทำความดี ทำเพื่อคนชายขอบ หลายๆ คนกำลังดิ้นพล่าน อ้างว่าถ้าวิจารณ์ "วิธีการนำเสนอแบบณาตยา" หรือความมีสิทธิพิเศษของคุณณาตยา (นี่ผมไม่ได้ว่าเธอวิ่งเต้นเส้นสายนะ แต่หมายความว่าทำรายการแบบณาตยา หมอประเวศ หมอพลเดช สสส.ชอบมาก เธอมีสิทธิพิเศษโดยอัตโนมัติ) ก็เท่ากับทำลายคนชายขอบไปโน่น (หวังว่าคงไม่กล่าวหาว่าพนักงานที่ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมกำลังจะทำลายทีวีของคนชายขอบ)

ประเด็นที่ NGO กับคนทำข่าวคิดต่างกันคือ NGO อยากให้สื่อเสนอข่าวคนชายขอบเยอะๆ ให้พื้นที่เท่าไหร่ก็ไม่พอ แต่คนทำข่าวต้องคิดถึงความน่าสนใจ ทำให้คนดูคนอ่านสนใจ นี่ไม่ใช่ "ขายข่าว" หรือ "กระตุกเรตติ้ง" แต่ถ้านำเสนอแล้วจุดประเด็นในสังคมไม่ได้ น่าเบื่อหน่าย คุณจะนำเสนอไปทำไม NGO ก็มักไม่ค่อยพอใจ แบบว่าอยากให้หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวเรื่องสิทธิบัตรยา พาดหัวรองเรื่องนาเกลือ ข่าว 3 เป็นเรื่องจินตนา แก้วขาว ข่าว 4 เรื่องปากบารา ฯลฯ ผมถามว่าแม่-ได้ผลอะไร ถ้าไม่มีคนอ่าน

 

"นักสื่อสารแรงงาน อย่าหลงประเด็น"
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

 

อ่านคำแถลงของเครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน เรื่อง “ติงใบตองแห้ง อย่าหมิ่นเสียงชาวบ้านคนชายขอบ” โดยพี่วิชัย แห่งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ทำให้อยากแลกเปลี่ยนขึ้นมาทันใด ถ้าดูจากชื่อคำแถลง และข้อความบางส่วนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาประกอบคำแถลงนี้ น่าจะมุ่งเน้นไปที่การตำหนิ ไปตองแห้งเสียเป็นหลัก แต่เมื่ออ่านคำแถลงจนจบ กลับพบว่าเป็นแถลงการณ์ที่เน้นปกป้อง TPBS เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยหยิบยกประโยชน์ที่แรงงานได้รับ เป็นเหตุผลประกอบ แน่นอนผมเห็นต่างและคิดว่า “นักสื่อสารแรงงาน” กำลังหลงประเด็น

เรื่อง “ใบตองแห้ง” หมิ่นเสียงชาวบ้านหรือไม่ อันนี้ผมขอไม่เกี่ยว คงต้อรอ ใบตองแห้ง ตอบคำถามนี้เอง

ถ้านักสื่อสารแรงงานมองว่า TPBS เป็นทีวี “สาธารณะ” ควรต้องตั้งคำถามสำคัญ ว่าแรงงานที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึง ทั้งแรงงานในระบบ(ประกันสังคม) ทั้งคอปกขาว คอปกน้ำเงิน แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ นั่น มีส่วนในการกำหนดนโยบาย และตรวจสอบ ทีวีสาธารณะแห่งนี้มากน้อยเพียงใด ในกรรมการนโนบาย มีตัวแทนแรงงานในสาขาอาชีพต่างๆ อยู่เป็นจำนวนเท่าไร ถ้าจะคิดเอาจากสัดส่วนประชากร ก็น่าจะมีตัวแทนแรงงานซัก 40% จากสถานประกอบการต่างๆ นี่ต่างหากที่ควรตั้งคำถาม ไม่ใช่ไปหลงดีใจ ว่ามีผลงาน แค่ 155 ชิ้น ถ้าจะพูดให้แรงหน่อย มันก็แค่เศษเนื้อ ที่เขาโยนให้ก็เท่านั้น

นอกจากนั้น นักสื่อสารแรงงาน ควรตั้งคำถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของ TPBS ว่าทำไมไม่อนุญาตให้พนักงาน TPBS จัดตั้งสหภาพแรงงาน อะไรเป็นอุปสรรคและจะแก้ไขอย่างไร เพื่อให้พนักงานตั้งสหภาพแรงงานได้ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า องค์กรที่สามารถปกป้อง คุ้มครอง ผลประโยชน์ของลูกจ้างได้ดีที่สุดในระบบทุนนิยม คือสหภาพแรงงาน นอกจากนี้ นักสื่อสารแรงงาน ควรตั้งคำถามด้วยว่า ทำไมพนักงานของ TPBS ระดับลูกจ้างไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กร ไม่ต้องรอการลงสัตยาบรรณ ILO 87 98 หรอก ในฐานะนักสื่อสารแรงงาน ควรสื่อเรื่องแบบนี้ออกมาได้เลย และควรสื่อสารด้วยว่าพนักงาน TPBS มีปัญหา ถูกกดขี่ รังแก เกี่ยวกับสภาพการจ้างงานอย่างไรบ้าง

และสุดท้ายที่ผมค่อยข้างจะมึนงง พอสมควร กับคำแถลงนี้ ที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ของ TPBS ที่มีต่อผลประโยชน์ของแรงงาน อาทิเช่น ช่วยให้ทำให้สังคมเข้าใจประเด็นแรงงานอย่างแท้จริง ไอ้คำว่า “แท้จริง” นี่มันวัดผลอย่างไร อย่าหาว่าจุกจิกเลยนะ แต่มันเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคำว่า “แท้จริง” มันวัดผลไม่ได้ จะถือว่าคนงานได้ประโยชน์ได้อย่างไร อย่าลืมนะครับ เงินตั้ง 2000 ล้าน นี่เป็นภาษีของผู้ใช้แรงงานงานทั้งนั้นนะครับ เพราะเก็บภาษีผู้บริโภคโดยตรง

หรือการปกป้องรายการ “เวทีสาธารณะ” ที่ช่วยให้หน่อยงานรัฐ นักการเมืองฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ได้รับรู้ ผลักดัน ช่วยเหลือแรงงาน แต่ผมถามตรงๆ เถอะ บุคคลเหล่านี้ “รับรู้” แล้วอย่างไร โดนหักหลัก โดยหลอกกันมากี่ครั้ง กี่หนกันแล้วยังไม่เข็ดกันอีกเหรอ อย่างแค่ลงสัตยาบรรณ ILO 87 98 นี้ รับปากมากี่ฝ่ายค้าน กี่รัฐบาล แล้ว ถ้า TPBS มีประโยชน์ต่อแรงงานจริง มันต้องทำมากกว่านี้ อย่าลืมนะครับ ในประเทศนี้มีแรงงานไม่น้อยกว่า 40% นะ ย้ำอีกครั้งกันลืม

แน่นอนว่าการได้ออกสื่อที่มีผู้ชมกว้างขวาง(ไม่รู้จริงรึเปล่าเพราะไม่สนเรตติ้ง) เป็นเรื่องดี แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจว่า ที่ผ่านมามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงในด้านดีขึ้นบ้าง ที่ผมพอทราบ ในส่วนของแรงงานข้ามชาติ ปัญหาต่างๆ ยังมีเหมือนเดิม ยังเข้าไม่ถึงประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน และมิหนำซ้ำ ยังมีแนวคิดจะส่งคนท้องกลับประเทศอีก และล่าสุดมีการห้ามแรงงานข้ามชาติที่มีหนังสือเดินทางถูกต้องเดินทางออกจากแม่สอดอีก แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศยิ่งแล้ว โดยเฉพาะคนงานลิเบีย ที่ TPBS เกาะติดสถานการณ์ในช่วงแรกอย่างใกล้ชิด แต่พึ่งชนะคดีเพียงคนเดียว แน่นอน TPBS คงช่วยอะไรไม่ได้มาก แต่ยังเหลือคนงานอีกหลายพันคน ก็ฝากบอก TPBS ให้ช่วยไปตามด้วยก็แล้วกัน ว่าโดนยึดที่ดินทำกินไปกันกี่รายแล้ว

ในส่วนของแรงงานไทย ไม่ต้องพูดถึง ถ้านับจากหลังการเกิดขึ้นของระบบประกันสังคม เป็นต้นมา แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ยังถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ผู้นำแรงงานถูกรังแกคนแล้วคนเล่า ระบบสวัสดิการอันน้อยนิด ฯลฯ เดี๋ยวพูดมากไป จะเป็นการบ่นถึงปัญหาแรงงานเสียเปล่าๆ เพราะเอาเข้าจริง TPBS ก็คงจะช่วยอะไรได้ไม่มากนัก แต่ผมคิดว่า นักสื่อสารแรงงาน ควรพุ่งเป้าไปที่การตรวจสอบ TPBS เสียมากกว่า ถึงแม้จะให้เวลาประเด็นแรงงานมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่องอื่น แต่ก็ยังน้อยเกินไป อย่ามัวหลงประเด็น ปกป้องกันเสียเกินงาม เงินตั้ง 2,000 ล้านนะครับ (ย้ำอีกครั้งของคนทำงานทั้งนั้น)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน" เปิดแคมเปญ #deadtweet รำลึกนักข่าวพลเมืองถูกสังหารในซีเรีย

$
0
0

รำลึกการตายของนักข่าวพลเมืองในซีเรีย "องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน" ทำเก๋ จำลองทวีตรายงานสดสถานการณ์ขัดแย้งในเมืองฮอมส์ ศูนย์กลางการประท้วงของซีเรีย โชว์นาทีสุดท้ายของนักข่าวพลเมืองก่อนถูกสังหาร

(25 ก.ค.55) องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Borders) ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่รณรงค์เรื่องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก เปิดตัวแคมเปญรณรงค์ #deadtweet เพื่อเป็นเกียรติแก่นักข่าวพลเมืองจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ที่เสียชีวิตจากการพยายามเผยแพร่ภาพเหตุการณ์ประท้วง

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า นับตั้งแต่การลุกฮือในซีเรีย เมื่อมีนาคมปีที่แล้ว มีนักข่าวและคนทำสื่ออย่างน้อย 38 ราย ถูกฆ่าด้วยฝีมือของรัฐบาลประธานาธิบดีอัสซาด

"อาชญากรรมที่พวกเขาก่อมีเพียงการเผยแพร่ข้อมูลและส่งต่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปราบปรามอันนองเลือดที่เกิดกับพลเมืองซีเรีย ซึ่งยังคงดำเนินต่อไป โดยอาวุธสำคัญของพวกเขาคือโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต" องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเปรียบเทียบและว่า แคมเปญดังกล่าวได้จำลองข้อความทวีตรายงานสด ซึ่งจะทำให้ได้สัมผัสประสบการณ์ของผู้ที่หาทางกระจายข่าวท่ามกลางอันตราย

ภาพของแคมเปญเป็นภาพมือที่ไร้ชีวิต ปกคลุมด้วยพื้นดินและเลือด ติดกันมีสมาร์ทโฟน ซึ่งมี QR Code (บาร์โค้ดสองมิติ) อยู่บนหน้าจอ เมื่อสแกนบาร์โค้ดดังกล่าว ผู้ใช้จะพบข้อความทวีตรายงานสด (สมมติ) ของนักข่าวพลเมือง ซึ่งอยู่ท่ามกลางการต่อสู้ในเมืองฮอมส์ (ศูนย์กลางการประท้วงรัฐบาล) โดยแสดงให้เห็นนาทีสุดท้ายของชีวิตของเขาผ่านข้อความฟีด

"คนเยอะมากเลยที่นี่ หลายพันคน"

"ฉันอยู่ในที่ชุมนุมใน #Homs ถนนเต็มไปด้วยคนจำนวนมาก #LT #Syria"


 

สื่อและโปสเตอร์ของแคมเปญดังกล่าวใช้ QR Code เพื่อสร้างความตระหนักถึงความพยายามของพลเมืองในการรายงานความขัดแย้ง ในประเทศที่รัฐบาลเผด็จการออกคำสั่งเซ็นเซอร์สื่อ โดยพยายามกันสื่อต่างชาติออกไป เมื่อนักข่าวไม่สามารถทำหน้าที่ได้ พลเมืองจึงเป็นตัวเชื่อมข้อมูลที่จำเป็นและเข้ามามีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลต่อโลก โดยหลายครั้ง พวกเขาต้องสละชีวิตของตัวเองด้วย


ที่มา: Sharing information kills, RSF

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาที่ปรึกษาฯ ยันเดินหน้าดันรักษามะเร็งมาตรฐานเดียว

$
0
0

26 ก.ค.55 คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดแถลงข่าวเรื่องการเสนอ (ร่าง) ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “รักษามะเร็งมาตรฐานเดียว ข้อเสนอเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพของไทย” พร้อมด้วย (ร่าง) ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “การสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพ : กรณีศึกษาการพิจารณาความเหมาะสมในการเรียกเก็บค่าบริการร่วม 30 บาท ณ จุดบริการด้านสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ณ ห้องแถลงข่าว ขั้น 3 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ

ศาสตรเมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม ประธานคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ สภาที่ปรึกษาฯ เผยจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบประกันสุขภาพของไทย โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอกเป็นอันดับหนึ่ง แม้ประเทศไทยจะเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว แต่ยังคงมีความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านการบริหารงาน เช่น สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ อัตราการจ่ายเงินให้หน่วยบริการ ยาที่ได้รับ เป็นต้น สภาที่ปรึกษาฯ โดยคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ เล็งเห็นว่า รัฐบาลควรดำเนินการรักษาโรคมะเร็งมาตรฐานเดียว เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็ง จึงเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่องดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญคือ

1. ปรับสิทธิประโยชน์ และวิธีการรักษามะเร็งทุกโรคให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะยาราคาแพง ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้ง 3 ระบบ (1).ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2).ระบบประกันสังคม 3).สวัสดิการของข้าราชการ รัฐวิสาหกิจและบุคลากรของรัฐ) โดยเป็นแบบเดียวกับระบบที่ดีที่สุด

2. ปรับวิธีจ่ายเงินให้หน่วยบริการ โดยเฉพาะวิธีจ่ายเงินสำหรับการรับยามะเร็งแบบผู้ป่วยนอกให้เป็นลักษณะเฉพาะ อัตราเดียวกัน แยกจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีราคาแพง สำหรับการจ่ายเงินแบบผู้ป่วยใน ให้จ่ายอัตราต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ที่เท่ากัน

3. ขอให้ทั้ง 3 กองทุน จัดงบประมาณให้ความสำคัญกับการรณรงค์ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ และคัดกรองกลุ่มเสี่ยง เช่น การใช้สารเคมีในอาหาร การตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิใบไม้ตับ เป็นต้น

ด้านนายอนันต์ เมืองมูลไชย สมาชิกคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ เตรียมยื่นความเห็นและข้อเสนอเพื่อคัดค้านนโยบาย “โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคด้วยการพัฒนาทั้งระบบ” ซึ่งมีการเรียกเก็บค่าบริการร่วม 30 บาท ณ จุดบริการด้านสุขภาพ เนื่องจากการขอรับบริการด้านสุขภาพของประชาชนในแต่ละครั้งนั้นมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วย เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น การเรียกเก็บค่าบริการร่วม 30 บาท เป็นการเพิ่มภาระของประชาชนที่มีรายจ่ายน้อย อีกทั้งข้อมูลและผลการสำรวจรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนพบว่า ประชาชนในกลุ่มที่ยากจนถึงยากจนที่สุดต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงกว่าประชาชนที่มีฐานะดี ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความไม่เสมอภาคด้านสุขภาพในกลุ่มที่มีฐานะแตกต่างกัน ดังนั้น สภาที่ปรึกษาฯ โดยคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ จึงเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อคัดค้านนโยบายดังกล่าว คือ ให้ยกเลิกการนำนโยบายเรียกเก็บเงิน 30 บาท ณ จุดบริการสุขภาพกลับมาใช้ และเร่งรัดการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศให้เกิดคุณภาพมาตรฐานเดียว และลดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ทั้งในเรื่องสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างของแต่ละกองทุน รวมทั้งกรณีที่ประชาชนบางกลุ่มยังต้องจ่ายเงินสมทบค่าดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ในขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ต้องจ่ายค่าดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากประชากรไทยทุกคนต้องแบกรับภาระในการจ่ายภาษีโดยเท่าเทียมกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พนง.สืบสวน สรุป ‘พัน คำกอง’ โดนลูกหลงทหาร อนุดิษฐ์ ชี้อภิสิทธิ์-สุเทพต้องรับผิดชอบ

$
0
0

25 ก.ค.55 เวลาประมาณ 9.30 น. ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา รัชดา มีการไต่สวนการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ ชาว จ.ยโสธร ซึ่งถูกยิงบริเวณถนนราชปรารภ ใกล้แอร์พอร์ทลิงค์ ที่เป็นจุดประจำการของทหาร เมื่อหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 พ.ค.ต่อกับวันที่ 15 พ.ค.53 จากกรณีที่มีการยิงสกัดรถตู้ที่เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว โดย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอซีที) ในฐานะเคยเป็นเลขาธิการศูนย์ติดตามช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยประชาชน (ศชปป.) ที่ตั้งโดยพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท. สมิต นันท์นฤมิตร พนักงานสืบสวนสอบสวนคดีนี้ จาก สน.พญาไท มาเบิกความ

พ.ต.ท. สมิต ได้เบิกความว่า วันเกิดเหตุหลังจากที่ผู้ตายนำรถแท็กซี่ไปส่งที่อู่ แล้วเดินกลับที่พัก แต่ไม่สามารถกลับได้จึงไปพักกับพนักงานรักษาความปลอดภัยที่คอนโด Ideo ขณะเกิดเหตุมีเสียงทหารประกาศเตือนรถตู้ของนายสมร ไหมทอง ที่ขับเข้ามาบริเวณนั้นเพื่อไม่ให้เข้ามา หลังจากนั้นมีการยิงสกัดรถตู้ ทำให้นายพันที่อยู่บริเวณนั้นด้วยถูกยิงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลการตรวจหัวกระสุนในร่างผู้ตายและนายสมรผู้บาดเจ็บ เป็นกระสุนปืนความเร็วสูง และทหารมีกระสุนชนิดนี้ใช้ พร้อมทั้งในพื้นที่เกิดเหตุอยู่ในการควบคุมของทหาร และจากการตรวจที่เกิดเหตุพบว่าแนวบังเกอร์ทหาร รถตู้นายสมรที่ถูกยิง และบริเวณสำนักงานขายคอนโด Ideao ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ตายอยู่เป็นจุดที่แนววิถีตรงกัน พนักงานสืบสวนสอบสวนคดีนี้จึงได้เบิกความต่อศาลถึงการสรุปสำนวนคดีนี้ว่า นายพัน คำกองเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ยิงรถตู้นายสมร ไหมทอง แล้วพลาดไปโดน

อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอซีที)

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เบิกความ การสลายการชุมนุมที่มีการใช้กระสุนจริงยิงขึ้นฟ้าจำนวนมากนั้น กระสุนที่ยิงขึ้นฟ้าจะมีความแรงตกลงมาไม่ต่างจากตอนยิงขึ้นจะสามารถทำให้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้ เป็นที่ยอมรับไม่ได้ในทางสากล และการสลายการชุมนุมจะต้องมีการประกาศให้ผู้ร่วมชุมนุมทราบล่วงหน้าก่อนในแต่ละขั้นตอน แต่ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นไม่มีการประกาศล่วงหน้า และในวันที่ 10 เมษายน 53 มีการโยนแก๊สน้ำตามาจากอากาศยานในที่ชุมนุมที่มีคนจำนวนมากและไม่มีการประกาศเตือน ทั้งๆ ที่น้ำหนักของกระป๋องแก๊สน้ำตาที่ตกลงมาก็มีความอันตราย

อัยการได้ถามถึงลำดับการบังคับบัญชาในการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหาร น.อ.อนุดิษฐ์ เบิกความว่า จะต้องถูกสั่งมาตามลำดับขั้น แม้สุดท้ายผู้บังคับกองพันจะเป็นคนสั่งให้พลทหารภายใต้สังกัดตัวเองบรรจุกระสุน แต่ผู้พันเองก็ไม่มีอำนาจไปสั่งให้ใครยิงได้จนกว่าผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าจะสั่งการลงมา เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติการทางการทหารผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวคือผู้บังคับบัญชาที่สูงที่สุดที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล และอัยการได้ถามต่อว่าผู้บังคับบัญชาสูงสุดขณะนั้นคือใคร นอ.อนุดิษฐ์ ตอบว่าถ้าดูคำสั่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้น คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถือเป็นผู้กำกับการปฏิบัติการ ซึ่งได้ถูกแต่งตั้งโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อัยการ ถามต่ออีกว่ากรณีแบบนี้นายกรัฐมนตรีจะสามารถพ้นความรับผิดชอบที่มีการจัดตั้ง ศอฉ. แต่งตั้งผู้อำนาจการ ศอฉ. ได้หรือไม่ นอ.อนุดิษฐ์ เบิกความว่า ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ให้ภาระความรับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล แล้วการดำเนินการดังกล่าวแล้วไม่สามารถทำให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย ตั้งแต่ 10 เม.ย. ถึง 19 พ.ค.53 ดังนั้นนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความฝ่ายผู้ตาย สอบถามต่อถึงรัฐบาลขณะนั้นได้มีการพยายามหยุดยั้งการตายและเจ็บหรือไม่ นอ.อนุดิษฐ์ ตอบว่าการตายยังคงมีอย่างต่อเนื่องภายหลังจาก 10 เมษายน 2553 เพราะรัฐบาลขณะนั้นไม่เปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลังทหารและอาวุธ

น.อ.อนุดิษฐ์ ยังได้เบิกความอีกว่า หลังจากมีการสลายการชุมนุมในปี 2552 ที่นำมาสู่การบาดเจ็บทางสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของแต่ละคณะกรรมาธิการ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าการใช้กำลังในช่วงตี 2 ตี 3 ของวันที่ 12 เมษายน 2552 ที่เข้าสลายการชุมนุมผู้ชุมนุมที่บริเวณสามเหลียมดินแดง และมาผลักดันที่ทำเนียบรัฐบาลภายหลังนั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมาธิการทุกชุดที่ดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้สรุปการสลายการชุมนุมในเวลากลางคืน โดยกำลังทหารและอาวุธสงคราม กระสุนจริง ไม่สามารถทำได้ จะสลายได้เฉพาะเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจนตก ส่วนการใช้กระสุนจริงจะกระทำไม่ได้

ในช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุม พ.ค.53 นั้น ทาง น.อ.อนุดิษฐ์ ได้เบิกความต่อด้วยว่าในขณะนั้นตนและ ส.ส.หลายท่านได้มีการของช่องทางการสื่อสารของทางรัฐบาลทั้งทีวีและวิทยุ เช่น ช่อง 11 รวมถึง ช่อง 3 ให้ฝ่ายค้านได้ทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย แต่กลับได้รับการปฏิเสธ

ทนายความฝ่ายผู้ตายสอบถามความเห็นกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มักอ้างถึงชายชุดดำยิงผู้ชุมนุมหรือผู้ชุมนุมยิงกันเองนั้น นอ.อนุดิษฐ์ เบิกความเห็นว่า “จะเกิดจากชายชุดดำอย่างไรเป็นเรื่องที่รัฐบาลขณะนั้นต้องพิสูจน์ แต่หน้าที่ของรัฐบาลต้องปกป้องประชาชน ไม่ใช่นำเอาอาวุธมาดำเนินการกับประชาชน”

ศาลได้ถามเกี่ยวกับวีดีโอที่ถ่ายโดยนายคมสันต์ เอกทองมาก อดีตช่างภาพเนชั่นแชนเนล ที่ถ่ายเมื่อกลางดึกคืนวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ( Voice TV ได้มีการนำวีดีโอดังกล่าวมาเผยแพร่ในบางตอนด้วยสามารถดูได้ที่ http://news.voicetv.co.th/thailand/42919.html ) มีภาพเหตุการณ์การยิงสกัดรถตู้นายสมรว่าในคลิปวีดีโอดังกล่าวคิดว่าจะมีมีชายชุดดำหรือไม่ นอ.อนุดิษฐ์ ตอบว่าเป็นไปไม่ได้เลย ในทางทหารจะมีคำว่า “การสถาปนาพื้นที่” ย่อมแวดล้อมไปด้วยกำลังทหาร การวางกำลังทหารนั้นไม่มีการวางกำลังเพียงแนวเดียว แต่ปกติการวางกำลังทหารจะมีส่วนที่เรียกว่าแนวหน้า รวมไปถึงแนวหลัง แนวสนับสนุน เป็นต้น เพราะฉะนั้นแนวปะทะแบบนี้(ตามวีดีโอ)ตรงนั้นคือแนวหน้า เพราะฉะนั้นในแนวอื่นจะไม่อนุญาตให้ชายชุดดำมาอยู่ร่วมกับแนวหน้าได้เลย ในทางทหารเป็นไปไม่ได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานพิเศษ: ถล่มฐานทหารรือเสาะ: ปฏิบัติการชิงมวลชน-แสดงแสนยานุภาพ

$
0
0

ร้านค้าของคนพุทธที่อยู่ติดกับฐานทหารบ้านท่าเรือใน อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
ซึ่งถูกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยิงกราดในวันที่ 17 กรกฎาคม 2555
(ภาพ: ฮัสซัน โตะดง)

 


แผนที่จำลองที่เกิดเหตุ  
จุดสกัดเป็นเพียงการคาดการณ์และแผนที่ไม่ได้ทำตามมาตราส่วน

 

 

ตู้โทรศัพท์ที่ถูกยิงเสียหายซึ่งตั้งอยู่ผั่งตรงข้ามของร้านค้าของคนพุทธที่อยู่ติดกับฐานทหาร
(ภาพ : นูรยา  เก็บบุญเกิด)

 

ทหารเคารพศพคนพุทธที่เสียชีวิตในเหตุการณ์การถล่มฐานทหารที่บ้านท่าเรือ
(ภาพ : นูรยา  เก็บบุญเกิด)

 

โก้มองเห็นรถกระบะบรรทุกชายฉกรรจ์เต็มหลังรถกำลังแล่นผ่านหน้าไป  พวกเขาสวมเสื้อยืดคลุมทับด้วยเสื้อเกราะกันกระสุนและมีอาวุธสงครามอยู่ในมือ  โก้ถามตัวเองในใจเล่นๆ ว่า “แต่งตัวแบบนี้ เป็นเจ้าหน้าที่หรือโจรกันแน่”

ไม่ทันสิ้นเสียง “โก้” หรือนายพินิจ ทะวะชาลีย์ ชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในบ้านที่ห่างจากฐานทหารย่อยเพียงไม่กี่สิบเมตรก็ได้ยินเสียงปืนรัวปังๆๆๆ  อาคารปูนสองชั้นที่กำลังถูกกระหน่ำยิงคือฐานปฏิบัติการหมวดปืนเล็กที่ 3 กองร้อยทหารราบที่ 15123 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30  ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าเรือ หมู่ที่ 1 อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส กลุ่มก่อความไม่สงบได้เข้าโจมตีฐานในเวลาประมาณ 18.15 น. ของวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 เพียงหนึ่งวันก่อนการเริ่มต้นเดือนรอมฏอนซึ่งเป็นช่วงเวลาการถือศีลอดของชาวมุสลิม

ไม่เพียงแต่โจมตีฐานที่มั่นทางการทหารของรัฐไทยเท่านั้น   คนร้ายยังได้กราดยิงร้านค้าของคนพุทธกว่าสิบคูหาที่อยู่ติดกับฐานทหารอีกด้วย  โก้แอบมองเหตุการณ์ระทึกขวัญอยู่หลังฟุตบาทสูงหน้าบ้านซึ่งทำหน้าที่เป็นบังเกอร์อย่างดีให้กับเขา  เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาโพล้เพล้ซึ่งปกติจะมีคนสัญจรไปมาพลุกพล่านและมีรถยนต์ขับผ่านไปมาตลอด  แต่วันนั้นเส้นทางถนนถูกสกัดกั้นไม่ให้ยานพาหนะอื่นเข้ามาได้

เสียงปืนดังรัวราวห่าฝนยาวนานกว่าครึ่งชั่วโมง  และเมื่อสิ้นเสียงก็พบรถจักรยานยนต์ล้มระเนระนาดอยู่ริมถนน ในจำนวนนี้มีรถจักรยานยนต์ 3 คันซึ่งเป็นพาหนะที่กลุ่มชายฉกรรจ์กลุ่มนี้รวมอยู่ด้วย ห้องแถวพรุนไปด้วยฤทธิ์ของลูกปืน หลังคาทะลุ  ข้าวของในบ้านตกแตกกระจัดกระจาย ส่วนฐานทหารที่เดิมเคยเป็นอาคารอเนกประสงค์ของเทศบาล อ.รือเสาะเต็มไปด้วยรอยปูนกะเทาะเป็นจุดๆ จำนวนมากซึ่งเป็นร่องรอยของการถูกกระแทกด้วยกระสุนปืนและระเบิด บานหน้าต่างกระจกแตกหลายบาน ตาข่ายสีเขียวที่พาดด้านหน้าฐานขาดวิ่น  

ทหารย้อนรอยเหตุการณ์ระทึกขวัญ

นายทหารในหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30  อธิบายถึงเหตุการณ์ในวันนั้นจากการประมวลข้อมูลจากทหารและชาวบ้านที่อยู่ในสมรภูมิสู้รบชั่วคราวบริเวณสามแยกบ้านท่าเรือในวันนั้น  เขาเล่าว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบขับรถกระบะสองคันมาทางตลาดรือเสาะผ่านร้านค้าของคนพุทธ  พอมาถึงหน้าฐานทหารก็กราดยิงเข้าใส่ จากนั้นก็จอดรถ  ชายฉกรรจ์ในรถต่างกระโดดกรูกันลงมาและเข้าประชิดกำแพงและกระหน่ำยิงเข้าไปในฐานอย่างไม่ยั้งมือ

ชายฉกรรจ์กลุ่มนี้ยังได้ไล่เดินและยิงเข้าไปยังบ้านของคนพุทธทีละหลังๆ ชาวบ้านได้ยินเสียงตะโกนเป็นภาษามลายูว่า “ฆ่ามัน ฆ่ามัน”  มีชาวบ้านที่ยิงปืนสวนออกมา ซึ่งกระสุนยิงถูกชายฉกรรจ์ที่กำลังเดินอยู่บนถนนประมาณหนึ่งหรือสองคน

ส่วนบริเวณด้านหน้าฐานทหาร คนร้ายก็ยิงอัดเข้าไปในฐานตลอดเวลาด้วยอาวุธปืนสงคราม ทำให้ทหารไม่สามารถยิงตอบโต้ได้มากนัก นอกจากนี้ คนร้ายยังยิงและขว้างระเบิดเข้าไปในฐานทหารด้วย  สะเก็ดระเบิดถูกพลทหารหนึ่งนายเสียชีวิต

นายทหารชั้นสัญญาบัตรนายนี้อธิบายว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบพยายามจะเข้าไปในฐานให้ได้ แต่ไม่สามารถปีนข้ามกำแพงจากด้านซ้ายหรือขวาได้ เพราะถูกยิงสกัด เมื่อเข้าไม่ได้ พวกเขาจึงเปิดประตูใหญ่ด้านหน้าซึ่งเป็นบานเลื่อนหวังจะบุกเข้าไปในฐาน ชายฉกรรจ์ 3 คนเดินผ่านช่องประตูเข้าไป ทหารที่หลบอยู่ก็ยิงสกัด ชายคนที่อยู่ตรงกลางทรุดตัวลงทันที  เพื่อนอีก 2 คนจึงรีบเข้ามาประคองแล้วลากตัวออกไป

การปะทะยาวนานกว่า 30 นาที แต่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก็ยังเจาะยังเข้าไปในฐานไม่ได้  โอกาสที่จะยึดฐานได้น้อยลงเรื่อยๆ   ฝ่ายพวกเขามีการสูญเสียจากการยิงตอบโต้  และกำลังสนับสนุนของฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็กำลังผ่านด่านกีดขวางที่พวกเขาวางไว้เข้ามาใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ 

ด่านสกัด 4 ชั้นหวังสกัดการช่วยเหลือ

นายทหารคนเดิมเล่าว่าคนร้ายได้วางสิ่งกีดขวางสกัดเส้นทาง 3 ทิศทางที่มุ่งมาสู่ฐานทหารที่บ้านท่าเรือความยาว 3-5 ก.ม. คือด้านทิศใต้ซึ่งเชื่อมต่อไปยัง อ.ศรีสาคร เส้นทางทิศเหนือมุ่งหน้าไปยังตลาดรือเสาะและอีกทางที่เชื่อมต่อกับต.บาตงซึ่งเป็นเส้นทางที่คนร้ายใช้หลบหนี โดยคนร้ายได้โปรยตะปูเรือใบและตัดต้นไม้ขวางถนนหลังจากกลุ่มก่อเหตุขับรถหนีผ่านไปได้แล้ว

สิ่งกีดขวางที่วางไว้บนถนนมีหลายชั้น ชั้นแรก เป็นการวางตะปูเรือใบและยางรถยนต์ที่ไหม้ไฟ ชั้นที่สองคือการโค่นต้นไม้ขนาดใหญ่ขวางถนน ชั้นที่สามและสี่เป็นการวางชุดซุ่มยิง  รถกระบะคันแรกของเจ้าหน้าที่วิ่งบดทับตะปูเรือใบในชั้นแรก ต้องจอดนิ่ง ใช้การไม่ได้  รถกระบะคันใหญ่อีกคันวิ่งผ่าไปได้แต่ไปเจอต้นไม้ขวางถนน เจ้าหน้าที่ต้องยืมเครื่องเลื่อยจากชาวบ้านมาเลื่อยไม้ที่ขวางถนนออกไป  แต่เมื่อผ่านด่านต้นไม้มาได้ ก็ยังถูกซุ่มยิงอีก 2 จุด ทำให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 4 คน  แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็เข้าไปถึงที่เกิดเหตุได้ แต่กลุ่มชายฉกรรจ์ก็ได้หายตัวไปแล้ว  มีการปะทะกันต่อเนื่องในช่วงที่คนร้ายหลบหนีและเจ้าหน้าที่ไล่ติดตาม

จากการตรวจที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนในที่เกิดเหตุกว่า 800 ปลอก อาวุธที่คนร้ายใช้ คือ ปืน M-16, AK 47 (อาก้า), ปืนกล MAX58,  ระเบิดขนาด 40 มม.จำนวน 3 ลูกซึ่งสามารถยิงได้จากเครื่องยิงระเบิด M-79 หรือ M203 (ซึ่งชนิดหลังนี้เป็นชิ้นส่วนที่ติดกับปืน M-16) นอกจากนี้ ยังพบระเบิดแสวงเครื่องอีก 2 ลูกที่บรรจุไว้ในกระป๋องปลากระป๋อง  พบอาวุธปืนซึ่งเชื่อว่าเป็นของคนร้ายตกอยู่ในพงหญ้าใกล้จุดเกิดเหตุซึ่งภายหลังพิสูจน์ทราบว่าเป็นปืน M16 ของทหารที่ถูกฆ่าตัดคอในอ.รือเสาะเมื่อหลายปีก่อน

เหตุการณ์นี้มีนายทหารเสียชีวิต 1 นายและชาวบ้านคนพุทธอีก 2 คน ทหารบาดเจ็บ 5 นายและชาวบ้านคนพุทธอีก 2 คน  เจ้าหน้าที่เชื่อว่าฝ่ายคนร้ายน่าจะเสียชีวิตประมาณ 2-3 คน

ทหารได้เฝ้าติดตามการฝังศพในพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพื่อระบุบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีในครั้งนี้ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้าได้รายงานว่า มีการประกอบพิธีฝังศพชายสองคนซึ่งคาดว่าจะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ดังกล่าว ศพแรกมีการฝังที่กุโบร์แห่งหนึ่งใน ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และศพที่สองซึ่งฝังในกุโบร์ในพื้นที่ ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา ตามฐานข้อมูลของทหาร นายอาหะมะเป็นน้องชายของนายอาซิ สะตะ มือผลิตระเบิดของกองกำลังติดอาวุธ RKK

ปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์  เอามวลชนคืน

“งานนี้เป็นสงครามมวลชน  เขาต้องการดึงมวลชนของเขากลับ” พ.ท.วชิรพงษ์ บุญรัตน์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30 กล่าว 

ส่วนทหารอีกนายหนึ่งในหน่วยเดียวกันวิเคราะห์ว่า “พวกเขาทุ่มเททรัพยากรมาก เพราะงานนี้เป็นเหมือนการสร้างภาพลักษณ์ว่า ขบวนการยังคงมีความเข้มแข็งอยู่ ... นี่คือที่สุดของเขาแล้ว เขารวบรวมหัวกะทิของเขาทั้งหมดในปฏิบัติการครั้งนี้”

เขาอธิบายว่า การโจมตีครั้งนี้เชื่อว่า มีการใช้กำลังในการปฏิบัติการหน้าฐานประมาณ 20-30 คน  แต่หากรวมคนที่วางด่านสกัดการติดตามด้วย ก็ประมาณเฉียดร้อยคน  นายทหารผู้นี้ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์นี้ใช้เวลานานกว่าการโจมตีครั้งก่อนๆ และใช้กระสุนมากกว่าครั้งก่อนๆ ด้วย  เหมือนกับว่าพวกเขามุ่งมั่นที่จะต้องเอาชัยชนะกลับบ้านให้ได้ หลังจากที่การโจมตีฐานทหารก่อนหน้านี้ประสบความล้มเหลว  

หลังเหตุการณ์ปล้นปืนในวันที่ 4 มกราคม 2547 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้รอบใหม่ของขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี ไม่มีการบุกโจมตีฐานทหารอีกเลย จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ในวันที่ 9 มกราคม 2554  ซึ่งกลุ่มชายฉกรรจ์ได้เข้าโจมตีฐานกองร้อยทหารราบที่ 15121 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส  38   หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ฐานพระองค์ดำ” ซึ่งตั้งอยู่เขต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส  ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีทหารเสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บ  13 คน ปืนกว่า 50 กระบอกและกระสุนกว่า 5,000 นัดถูกปล้นไป  นับเป็นชัยชนะทางการทหารที่สำคัญของฝ่ายขบวนการและความพ่ายแพ้อย่างอดสูของฝ่ายรัฐ

แต่ความพยายามหลังจากนั้นไม่เคยประสบความสำเร็จอีกเลย  เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 กองกำลังของขบวนการบุกโจมตีฐานปฏิบัติการหมวดปืนเล็กที่ 2 กองร้อยปืนเล็กที่ 1 ชุดเฉพาะกิจนราธิวาส 32 ที่บ้านส้มป่อย ต.กาเยาะมาตี อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสายหลักที่เชื่อมปัตตานีและนราธิวาส  มีการปะทะเดือดประมาณ 20 นาทีกับทหาร แต่ไม่สามารถบุกเข้าฐานได้ มีทหารบาดเจ็บ 12 นายในเหตุการณ์นั้น

ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 พวกเขาได้เตรียมเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการร้อย ร.15124 ฉก.นราธิวาส 30 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายเปาะลามะ –รือเสาะ บริเวณบ้านกาโดะ ซึ่งนับเป็นปฏิบัติการที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง  ทหารทราบข่าวก่อนที่พวกเขาจะเข้าโจมตีและฝ่ายขบวนการเสียชีวิต 2 คนในการปะทะใกล้ๆ ฐาน

นายทหารนายนี้กล่าวว่า การโจมตีฐานที่บ้านท่าเรือในครั้งนี้จึงเหมือนเป็นการมากู้หน้าคืน  รายงานข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงระบุว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้น่าจะนำโดยกลุ่มของนายรอแปอิง อูเซ็งกับกลุ่มของนายโชฟ โต๊ะลือเนาะ ที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องอยู่ในเขต อ.รือเสาะ และ อ.รามัน

เสียงคนพุทธ เหยื่อบริสุทธิ์ของการสู้รบ

สถิติของอำเภอรือเสาะระบุว่า มีชาวพุทธอาศัยอยู่ในอำเภอนี้ประมาณ 2,200 คนหรือ 600 ครัวเรือนซึ่งเป็นสัดส่วนประมาณเพียงร้อยละ 3 ในพื้นที่ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับคนพุทธอยู่บ่อยครั้งๆ  ก่อให้เกิดความกังวลว่าอาจจะมีการย้ายออกเพิ่มขึ้น        

“คนไทยพุทธในหมู่บ้านคุยกันว่าต้องระวังตัวให้มากขึ้น”  ชาวบ้านรายหนึ่งที่สูญเสียแม่ของเขาในเหตุการณ์นี้กล่าว “ผมเองก็คาดอนาคตไม่ถูก แต่ญาติๆ ก็บอกว่าอย่าอยู่เลย เพราะมันเสี่ยง”

พ่อของเขาก็ได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่ขาในเหตุการณ์นี้และยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล   เหตุโจมตีในครั้งนี้ไม่ได้เป็นความสูญเสียครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับกับเขา   เมื่อห้าปีที่แล้วเขาได้สูญเสียลูกชายวัย 19 ปีไปจากการถูกลอบยิง

“ถ้าลูกชายผมไปทะเลาะกับใคร แล้วถูกตามมายิง ผมจะไม่ว่าอะไรเลย....ลูกชายผมผิดอะไร” เขาเล่าด้วยนัยน์ตาแดงก่ำพร้อมหยิบกระเป๋าเงินออกมาโชว์รูปเด็กหนุ่มหน้าใสผิวขาวในเครื่องแบบนักเรียนที่เขายังคงพกติดตัวตลอดเวลา

“ในชีวิตผมไม่เคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้ ในอดีตเคยเจอเหตุการณ์โจรจับคนไทยพุทธไปเรียกค่าไถ่ แต่พวกเขาก็ไม่ยิงประชาชนเหมือนในปัจจุบัน” เขารำพึงพร้อมกับเล่าว่า นับตั้งแต่ปี 2547 คนพุทธที่บ้านท่าเรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่สงบไปแล้ว 6 คน    

ความรุนแรงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนพุทธกับมุสลิมให้พื้นที่เริ่มห่างเหินกับมากขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านคนนี้เล่าว่า “ความไว้วางใจอาจจะไม่เต็มร้อย ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร  เดิมมุสลิมก็มานั่งกินร้านกาแฟ ที่บ้านผมขายกาแฟ  แต่พวกเขาก็โดนเตือนว่า ถ้าโดนยิงจะไม่รับผิดชอบ”

แม่ค้าคนพุทธอีกคนที่เปิดร้านขายของชำอยู่ข้างๆ ฐานทหารแสดงความไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงตกเป็นเป้าแห่งความรุนแรง แม้ว่าเธอจะไม่ได้เป็นคนที่นี่แต่ก็อยู่ที่นี่มากว่า 16 ปีแล้ว  ลูกสาวของเธอพูดภาษามลายูถิ่นได้และครอบครัวเธอก็เป็นมิตรกับเพื่อนบ้านมุสลิมด้วยดีมาโดยตลอด 

“คนพุทธหรือมุสลิม เราก็เป็นมนุษย์ด้วยกัน” เธอกล่าวขณะกำลังตักอินทผลัมใส่ถุงเพื่อเตรียมขายในช่วงเทศกาลเดือนบวชของชาวมุสลิม

 



 

เหตุการณ์สำคัญใน อ.รือเสาะปี 2555

6 ม.ค. คนร้ายยิงอส. ในอ.รือเสาะ 6 นาย ขณะรักษาความปลอดภัยโรงงานเย็บผ้าแฮนด์อินแฮนด์ บ้านยาแลเบาะ หมู่ที่ 5 ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ อส. เสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 4 นาย

1 มี.ค. คนร้าย 3 คนขับขี่รถจักรยานยนต์ 2 คัน โดนคันแรกคนร้ายแต่งกายคล้ายชุดนักเรียนปอเนาะ ใช้ระเบิดชนิดขว้างมาตรฐานแบบ M-26 ขว้างใส่ร้านขายอาหารตามสั่ง เลขที่ 99 ต.รือเสาะ ใกล้กับวัดราษฎร์สโมสร มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 11 ราย ซึ่งมีทั้งเด็กและคนชรา

7 มี.ค. รถกระบะของทหารฉก. นราธิวาส 30 ถูกลอบวางระเบิด เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บ 1 นาย

9 พ.ค. คนร้ายยิงถล่มใส่ฐานปฏิบัติการร้อย ร.15124 ฉก.นราธิวาส 30 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายเปาะลามะ – รือเสาะ บริเวณบ้านกาโดะ หมู่ 4 ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ  คนร้ายเสียชีวิต 2 คนและทหารบาดเจ็บ 1 คน

19 มิ.ย. ทหารจากฉก.นราธิวาส 30 ปะทะกับคนร้ายบนเทือกเขาเขตรอยต่อ อ.รือเสาะ และ อ.บาเจาะ แต่กลุ่มคนร้ายหลบหนีไปได้ พบค่ายพักที่ใหญ่ที่สุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยึดของกลางรวมกว่า 60 รายการ เช่น ปืนอาก้า ระเบิดแสวงเครื่องที่ประกอบไว้ในกระป๋องปลากระป๋อง

4 ก.ค. คนร้ายขว้างระเบิดใส่ศาลาริมน้ำภายในสวนกาญจนาภิเษก เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ คนร้ายจุดชนวนระเบิดแสวงเครื่องน้ำหนัก 5 กก.  ที่ลอบวางไว้ด้วยโทรศัพท์มือถือ ส่งผลให้ตำรวจและชาวบ้านบาดเจ็บ 12 ราย ซึ่งรวมถึงผู้กำกับการ สภอ.รือเสาะด้วย

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"สมชัย สุวรรณบรรณ" ได้เสียงเอกฉันท์นั่ง ผอ.ไทยพีบีเอส

$
0
0

(26 ก.ค.55) เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. เทพชัย หย่อง โพสต์ในแฟนเพจเฟซบุ๊ก Thepchai Yong แสดงความยินดีกับ สมชัย สุวรรณบรรณ อดีตกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส และอดีตบรรณาธิการข่าววิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทยประจำกรุงลอนดอน ที่ได้รับการสรรหาให้เป็นผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) คนใหม่

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. เทพชัย หย่อง ถอนตัวจากการเป็นผู้สมัครตำแหน่งผู้อำนวยการดังกล่าว ส่งผลให้เหลือผู้เข้ารอบรับการสรรหาผู้อำนวยการ ส.ส.ท. 2 คน คือนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนายสมชัย สุวรรณบรรณ

ข้อบังคับ ส.ส.ท.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการรับสมัครและการสรรหา ผอ.ไทยพีบีเอส พ.ศ.2555 ระบุให้คณะกรรมการนโยบายตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง จำนวน 5 คน ประกอบด้วยตัวแทนคณะกรรมการนโยบาย 3 คน กับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 2 คน

โดยคณะกรรมการสรรหา ทั้ง 5 คน ประกอบด้วย 1.นางจินตนา พันธุฟัก กรรมการนโยบาย 2.รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ กรรมการนโยบาย 3.ประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ส.ส.ท. (นายมนตรี กงไกรจักร์) 4.ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์) 5.นายกสภาทนายความ (นายสัก กอแสงเรือง)

ส่วนกรรมการนโยบายไทยพีบีเอสที่มีสิทธิในการโหวตเลือกผู้อำนวยการไทยพีบีเอสคนใหม่ มีทั้งสิ้น 7 คน ประกอบด้วย 1.นางจินตนา พันธุฟัก 2.นายศิริชัย สาครรัตนกุล 3.นายกมล กมลตระกูล 4.ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน 5.นางมัทนา หอมลออ 6.รศ.ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ และ 7.รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ ทั้งนี้ ไม่รวม นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ที่ลาออกเพื่อสมัครเป็นกรรมการนโยบายไทยพีบีเอสอีกครั้ง และนายสมชัย สุวรรณบรรณ ที่ลาออกเพื่อสมัครผู้อำนวยการไทยพีบีเอส
 

 

"ขอแสดงความยินดีกับคุณสมชัย สุวรรณบรรณ ที่ได้รับการสรรหาให้เป็นผู้อำนวยการคนใหม่ของไทยพีบีเอส คณะกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอสได้ประกาศเมื่อสักครู่ว่าได้เลือกคุณสมชัยด้วยคะแนนเอกฉันท์

"คุณสมชัยเป็นอดีตหัวหน้าแผนกภาษาไทยของสถานีวิทยุบีบีซีในกรุงลอนดอน และเป็นกรรมการนโยบายตั้งแต่ชุดแรกก่อนได้รับเลือกกลับเข้ามาอีกครั้งเมื่อสองปีที่แล้ว ก่อนลาออกเพื่อมาสมัครตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การ ในระหว่างเป็นกรรมการนโยบายมีบทบาทอย่างมากในการร่างข้อบังคับด้านจริยธรรมและกำหนดแนวนโยบายด้านข่าวและรายการของไทยพีบีเอส ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านสื่อมวลชนมากคนหนึ่ง ก่อนบีบีซี ก็เคยอยู่ในวงการหนังสือพิมพ์ ทั้ง The Nation และ Bangkok Post และหนังสือพิมพ์ภาษาไทยอีกหลายฉบับ
ผู้อำนวยการคนปัจจุบันจะหมดวาระในวันที่ 9 ตุลาคมนี้

"ขอให้คุณสมชัยประสบความสำเร็จในการนำพาไทยพีบีเอสไปสู่ความเป็นสื่อสาธารณะตามที่สังคมคาดหวัง"

เทพชัย หย่อง
ที่มา: เพจเฟซบุ๊ก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 50861 articles
Browse latest View live




Latest Images