Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live

หมอชูชัยแจงเหตุย้าย เชื่อมาจากรายงานสลายแดง

$
0
0

เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 54 นพ.ชูชัย  ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เขียนจดหมายชี้แจงถึงเหตุผลการถูกโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาระดับ 11 ว่า ตามที่สื่อบางฉบับลงข่าวว่าตนถูกโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา ระดับ 11 นั้น  ขณะนี้ตนยังไม่ได้เห็นคำสั่งอย่างเป็นทางการและยังไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจน  การย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาฯ ไม่ได้เสียความรู้สึกใด ๆ เพราะการมาอยู่ในตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติครั้งที่สองนี้ ตนไม่ได้เป็นผู้สมัครหรือเสนอตัว แต่เป็นเพราะ กสม. พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครแล้ว แต่ไม่สามารถหาคนที่เหมาะสมได้ จึงขอให้ตนไปแสดงวิสัยทัศน์เพื่อจะได้ลงมติแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิฯ ซึ่งตนก็ปฏิเสธเพราะไม่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ต้น

ต่อมาท่านอาจารย์หมอบรรลุ  ศิริพานิช  มาขอร้องแกมบังคับให้ตนรับตำแหน่ง  เพราะความดีของท่าน  ตนจึงยินยอม  และต่อมา กสม. มีมติให้ตนมาดำรงตำแหน่ง  ตนก็ได้บอกกับประธาน กสม. ศาสตราจารย์อมรา  พงศาพิชญ์  ตลอดว่าขอความเป็นอิสระ   อย่าให้กรรมการมาแทรกแซงและพร้อมจะลาออกจากตำแหน่งตลอดเวลา

นพ. ชูชัย กล่าวต่อว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาเกือบ 2 ปี ได้พยายามเสนอให้องค์กรมีแผนยุทธศาสตร์  แผนปฏิบัติการ  มีระบบการดำเนินงานที่ชัดเจน  แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก ตนคิดว่าเรื่องร่างรายงานการชุมนุม นปช. ตามข่าวที่ปรากฏในสื่อมวลชนเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ  อีกทั้งมีการแทรกแซงการสรรหาข้าราชการประจำ  ตนไม่ตอบสนองจึงเกิดความไม่พอใจ  แต่เข้าใจว่าประเด็นหลัก  คือ  การเมืองจากภายนอกเข้ามาแทรกแซงองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พยายามดิสเครดิตตนมาโดยตลอด  เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือร่างรายงานการชุมนุม นปช. ทั้ง ๆ ที่ตนได้ประกาศต่อสาธารณะแล้วว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับร่างรายงานฉบับนี้อีก  แต่จนบัดนี้ร่างรายงานยังไม่แล้วเสร็จ  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรายงานว่ายังไม่สามารถหาหลักฐานใหม่หักล้างหลักฐานเดิมได้ นอกจากนี้  ตนยังได้ไปยื่นแจ้งความดำเนินคดีหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวบิดเบือนความจริง  หมิ่นประมาทในกรณีการชุมนุม นปช.ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา  

"มีข้าราชการและผู้คนให้กำลังใจมากมาย  บอกให้ต่อสู้เพื่อเป็นบรรทัดฐานทางสังคมต่อไป  ตนจะขอพิจารณาดูว่าเหตุผลที่อ้างในการย้ายหรือกระบวนการย้ายเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่"

นพ. ชูชัย  กล่าวทิ้งท้ายว่า  รู้สึกเสียดายเวลาที่ตัดสินใจรับตำแหน่งนี้  โดยตนเข้าใจว่าประธาน กสม. สนับสนุนการทำงานเพื่อร่วมพัฒนาฟื้นฟูองค์กรให้กลับมาเข้มแข็ง  เคารพสิทธิของผู้คนทั้งในและนอกองค์กร  มีความกล้าทางจริยธรรม  ซึ่งประธาน กสม. ได้แต่กล่าวขอโทษตน  ซึ่งตนบอกไปว่าไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องขอโทษ  เพราะเข้าใจความรู้สึกของประธาน กสม. แต่ก็ได้ติงว่าขอเวลาให้ตนได้พิจารณาเรื่องการลาออก แต่ก็ไม่ให้ ทั้งนี้ ตนพร้อมจะลาออกตามที่สัญญาไว้  ไม่น่ามาทำกันอย่างนี้  

ทั้งนี้ในจดหมายเผยแพร่ฉบับนี้ ยังได้อ้างแหล่งข่าวว่า ก่อนที่ นพ. ชูชัย  ศุภวงศ์  มาเป็นเลขาธิการฯ องค์กรเละเทะ  ทำงานไม่ได้  บัดนี้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก  ข้าราชการจำนวนหนึ่งจึงพร้อมที่จะดำเนินการทุกวิถีทาง  ตั้งแต่การเข้าชื่อถวายฎีกา  เพื่อชี้ให้เห็นว่าการเมืองภายนอกเข้ามาแทรกแซงเรื่องภายในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  อีกทั้งกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเรื่องการแทรกแซงการทำงานของกรรมการฯ  การละเมิดสิทธิข้าราชการของกรรมการฯ  รวมถึงกรรมการฯ เอาลูกมาเป็นหน้าห้องกินเงินเดือนแต่ไปเรียนหนังสือ  การคุกคามทางเพศของกรรมการฯ ที่เกิดขึ้นในองค์กร  เพื่อยื่นถอดถอนต่อวุฒิสภาต่อไป

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'ประชาธิปัตย์' แนะปิดประเทศบนโลกไซเบอร์แบบ 'จีน' ทั้ง 'ยูทูบ-เฟซบุ๊ก' สกัดเว็บหมิ่นฯ

$
0
0
'มัลลิกา' เตรียมยื่นหนังสือจี้นายกและ รมว.ไอซีที  28 พ.ย.นี้ เพื่อขอให้ปราบปรามเว็บหมิ่นฯ ชี้อาจใช้ยาแรงสุดคือปิดยูทูปหรือเฟซบุ๊กเหมือนอย่างที่รัฐบาลจีนทำ ทวีตแจง 10 ข้อ ระบุต้องอ่านให้ครบ อ่านให้แตก!
 
 

(26 พ.ย. 54) หลังแถลงข่าวเมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา กรณีเตรียมทำหนังสือถึงนายกฯ และ รมว.ไอซีที เพื่อขอให้ปราบปรามเว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเสนอมาตรการจากเบาที่สุด คือให้ประสานงานไปยังรัฐบาลที่เว็บไซต์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าว และแรงที่สุด คือให้ปิดเว็บไซต์ยูทูปหรือเฟซบุ๊กไปเลย

มัลลิกา บุญมีตระกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทวีต ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ชี้แจงแนวคิดดังกล่าว โดยระบุขอให้อ่านให้ครบและอ่านให้แตก

"1.การใช้มาตรการแต่ละระดับ คือกลยุทธ์ผู้นำในการจริงจังต่อการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาเว็บหมิ่นต้องรู้ต้นตอแห่งปัญหาต้นตอมีแค่ 2 อย่าง

2.ต้นตอ 2 อย่างคือ คนตั้งใจทำลายกับช่องทางการใช้ทำลาย เมื่อเจอตอเจอเชื้อโรคแล้วก็ต้องหายามารักษาหรือหามาตรการมาแต่ละระดับ

3.การเป็นผู้นำคนผู้นำประเทศต้องใช้ทักษะเป็นกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ขอแค่คุณตั้งเป้าหมายไว้หรือยัง? มีเป้าหมายหรือไม่ว่าจะขจัดปัญหา

4.ถ้าเป้ามายคือการขจัดออกให้สำเร็จ คุณต้องกำหนดกรอบและระยะเวลาเพื่อคนทำงานซึ่งคือราชการจะได้เดินหน้าตามเป้าหมายในคำสั่งนั้น!

5.ไล่ตั้งแต่สืบค้น ตรวจจับ ส่งสำนวนสู่ศาล นี่สำหรับบุคคลกระทำผิด!ส่วนผู้ให้บริการ(บริษัท)เว็บนั้นๆต้องเชิญมาประชุมขอความร่วมมือและเซนเซอร์

6.หากผู้ให้บริการขาดจริยธรรมปล่อยให้เพจหรือURLของคุณละเมิดและผิดกติกากับกฎหมายก็ส่งหลักฐานเสนอชั้นศาลปิดไป อยู่ในสังคมก็ต้องเคารพกติกา

7.ทีนี้สำหรับกรณีที่ผู้นำหมดปัญญา นั่นคืออ้างว่ามันยากเพราะเจ้าของเว็บอยู่ต่างประเทศซึ่งหมายถึงยูทรูปกับเฟสบุคที่ระบาดหนักช่วง3เดือนนี้

8.เช่นนั้นแล้วมาตรการคือ ผู้นำต้องประสานผู้นำประเทศเขาแล้วเอาผู้ให้บริการประเทศนั้นเข้ามาร่วมองค์เจรจา ขอความร่วมมือระหว่างกันให้เหตุผลไป

9.มันยากและไม่สำเร็จใช่ไหม? ก็มาตรการสุดท้ายให้ยาแรงคือมาตรการต่อรองแลกเปลี่ยนก่อนการยื่นจาก force แล้วไม่จบจึง ban ผู้นำต้องคิด

10.อย่าดัดจริต ถ้าคิดจะเด็ดขาด!! ขบวนการทำลายไปไกลขนาดใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีจนฝรั่งงง! อย่าเอ่ยคำว่า"รักท่าน"แล้วใช้คำว่า"ยาก" !!"

'ประชาธิปัตย์' แนะปิดประเทศบนโลกไซเบอร์แบบ 'จีน' ทั้ง 'ยูทูบ-เฟซบุ๊ก' สกัดเว็บหมิ่นฯ

มติชนออนไลน์รายงานว่าเมื่อเวลา 11.15 น. ที่พรรรคประชาธปัตย์ (ปชป.) น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกุล รองโฆษก ปชป.แถลงว่า ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ตนจะทำหนังสือถึงนายกฯ และ รมว.ไอซีที เพื่อขอให้ปราบปรามเว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยวิธีการที่ตนจะเสนอ เบาที่สุด คือให้ประสานงานไปยังรัฐบาลที่เว็บไซต์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าว แต่แรงที่สุด คือให้ปิดเว็บไซต์ยูทูปหรือเฟซบุ๊กไปเลย เหมือนอย่างที่รัฐบาลจีนเคยทำ ทั้งนี้ ปชป.ได้เปิดเฟซบุ๊ก Fight Bad  Web พร้อมอีเมล์ Fightbadweb@gmail.com เพื่อรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 ใน 4 ฐานความผิด ได้แก่ 1.หมิ่นสถาบัน 2.ความมั่นคง 3.ลามกอนาจาร และ 4.การพนัน 
 
"อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมทำร้าย ทำลาย จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์เวลานี้ได้ลามจากโซเชียลมีเดีย ไปตามร้านเสริมสวย ร้านข้าวต้ม สภากาแฟฯ ในต่างจังหวัด หากผบ.ตร.ต้องการทราบว่ามีร้านไหนบ้าง ดิฉันจะพาไปดูทั้งใน จ.พะเยา ลำปาง และแพร่" น.ส.มัลลิกากล่าว
 

 

หมายเหตุ: เพิ่มเติมเนื้อหาข่าวเมื่อ 9.25น. 26 พ.ย.54

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อัยการเตรียมสั่งฟ้องดีเจวิทยุชุมชนเสื้อแดงเชียงรายอีกครั้ง หลังเคยสั่งยุติดำเนินคดีไปแล้ว

$
0
0

เผยเตรียมสั่งฟ้องดีเจวิทยุชุมชนเสื้อแดงเชียงรายและพวกอีกครั้ง เป็นคดีเก่าในช่วงการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 53 ทั้งที่อัยการเคยมีคำสั่งแจ้งยุติการดำเนินคดีไปแล้ว

26 พ.ย. 54 – เครือข่ายคนเสื้อแดง จ.เชียงราย ได้เปิดเผยว่า อัยการจังหวัดเชียงรายเตรียมที่จะสั่งฟ้องดีเจวิทยุชุมชนเสื้อแดงเชียงรายและพวกอีกครั้ง เป็นคดีเก่าในช่วงการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 53 ทั้งที่อัยการเคยมีคำสั่งแจ้งยุติการดำเนินคดีไปแล้ว

โดยรายละเอียดของคดีนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 53 ทางสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงรายได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่นายอรรถกร กันทไชย และพวกรวม 5 คนว่าเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 53 เวลาประมาณ 10.00 น. - 12.30 น. โดยนายอรรถกรและพวกได้ร่วมกันจัดรายการทางสถานีวิทยุชุมชน 107.5 MZH โดยเนื้อหาที่นายอรรถกรได้กระจายเสียงเสนอข่าวนั้นมีใจความว่า

"เสธ.แดงก็โดนฝ่ายเดียวกัน คือฝ่ายทหาร ได้สังหารชีวิต ก็เป็นคนชาติเดียวกัน ถ้าเป็นคนต่างชาติ ผมเป็นคนแรกที่จะจับอาวุธขึ้นต่อสู้" และยังพูดอีกว่า "เดี๋ยวเรากินข้าวกลางวันแล้ว เวลาประมาณบ่ายโมงเราก็จะออกเดินทาง จุดหมายปลายทางของเรามีอยู่สองที่ เพื่อไปยื่นหนังสือยับยั้งความรุนแรงแล้วก็ยับยั้งการเข่นฆ่าประชาชน"

ทั้งนี้ในบันทึกการแจ้งขอกล่าวหานี้ได้ระบุว่าข้อความคำพูดดังกล่าวทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร ซึ่งการกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวนี้เป็นการกระทำความผิดฐาน "ร่วมกันเสนอข่า หรือทำให้แพร่หลายซึ่งสื่อสิ่งอื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร" อันเป็นการกระทำผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

แต่หลังจากนั้นในวันที่ 26 ก.ค. 54 สำนักงานอัยการ จ.เชียงราย ได้ออกคำสั่งไปยังผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงราย แจ้งให้ยุติการดำเนินคดีกับนายอรรถกร กันทไชยกับพวก 5 คน เนื่องจากจากคดีขาดอายุความ ทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (6) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ทั้งนี้เครือข่ายคนเสื้อแดง จ.เชียงราย ได้ระบุว่าอัยการเชียงรายจะสั่งฟ้องเสื้อแดงเชียงรายทั้ง 5 คน ในวันพฤหัสบดีที่ 1 ธ.ค. 54 ที่จะถึงนี้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: การบังคับคนให้สูญหาย ต้องเป็นอาชญากรรม

$
0
0

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลงนามใน อนุสัญญาการป้องกันบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) การลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว จะมีผลผูกพันต่อรัฐบาลไทยที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา ซึ่งจะมีผลทำให้การบังคับคนให้สูญหาย (Enforced disappearance) เป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง ความคืบหน้าของรัฐบาลไทยที่มีต่อกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าจับตามาก โดยเฉพาะจากครอบครัวและญาติของเหยื่อรวมถึงองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งต่างก็หวังว่ากฎหมายดังกล่าวจะสามารถนำมาซึ่งความยุติธรรมได้ไม่มากก็น้อย

การลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวของรัฐบาลไทย นับว่าเป็นฉบับที่ 8 ที่รัฐได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศของสหประชาชาติจากทั้งหมด 9 ฉบับ [1] โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ ทำให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นอาชญากรรม ในขณะที่ก่อนหน้านี้ อาชญากรรมดังกล่าวไม่สามารถเอาผิดได้เลย เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายฉบับใดที่ทำให้การบังคับคนให้สูญหายเป็นอาชญากรรม ทำให้หลายกรณีผู้กระทำผิดจึงต้องเดินจากไปอย่างง่ายๆ ไร้มลทิน

ทั้งนี้ สหประชาชาติได้นิยาม “การบังคับบุคคลให้สูญหาย” ว่า คือการทำให้บุคคลสูญเสียเสรีภาพไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดหรือด้วยเหตุผลใดซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มคนที่กระทำโดยการได้รับคำสั่ง ได้รับการสนับสนุน หรือการยินยอมจากรัฐ และรวมทั้งการไม่เปิดเผยข้อมูลหรือการปฏิเสธในการรับรู้ถึงการสูญเสียเสรีภาพ หรือการสูญหายของบุคคล หรือการปิดบังข้อมูลความจริงหรือสถานที่ของบุคคลผู้สูญหาย

เมื่อรัฐไทยได้ลงนามเพื่อแสดงความประสงค์เป็นภาคีในอนุสัญญา และให้สัตยาบันแล้ว นั่นหมายถึงรัฐไทยจำเป็นจะต้องผลักดันให้เกิดร่างกฏหมายภายในประเทศ หรือแก้ไขกฎหมายเดิมที่มีอยู่เพื่อป้องกัน ต่อต้าน และกำหนดบทลงโทษต่อการกระทำดังกล่าว

กรณีหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ คดีของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่ทำงานช่วยเหลือจำเลยจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเดือนมี.ค 2547 เขาถูกอุ้มหายไปในเวลากลางวันแสกๆ โดยชายนอกเครื่องแบบ และจนปัจจุบัน ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดบางส่วนที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ กลับถูกปล่อยตัวไป ส่วนครอบครัวเขาก็ยังไม่ทราบชะตากรรมของทนายสมชายจนบัดนี้

ไม่ใช่มีเพียงคดีของทนายสมชาย นีละไพจิตรเท่านั้นที่เกิดขึ้น แต่ในประเทศไทยยังมีคดี ‘คนหาย’ หรือ ‘โดนอุ้ม’ เนื่องมาจากการใช้กฎหมายพิเศษในช่วงความรุนแรงทางการเมือง สถานการณ์ “ก่อการร้าย” และสงครามยาเสพติดอีกหลายคดีที่ยังคงไม่ได้รับความยุติธรรม

จากข้อมูลวิจัยของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพเปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ในประเทศไทยมีคดีการบังคับคนให้สูญหายแล้วอย่างน้อย 70 คดี และมีจำนวน 54 คดี ที่ถูกส่งไปยังพิจารณาในคณะทำงานด้านการบังคับให้บุคคลสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ (UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances: UN WGEID) ซึ่งมีหน้าที่ติดตามและสืบสวนคดีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

กลไกที่อำนวยความยุติธรรม

กาเบรียลา ซีโตนี ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนชาวอิตาลีและที่ปรึกษากลุ่มญาติคนหายในละตินอเมริกา กล่าวในงาน “รัฐบาลไทยกับพันธกิจในการคุ้มครองสิทธิประชาชนให้ปลอดจากการหายสาบสูญ” [2] ว่า เดิมที อนุสัญญาดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากการเรียกร้องของกลุ่มญาติผู้สูญหายในประเทศอาร์เจนตินาและโบลิเวียในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นช่วงระบอบการปกครองเผด็จการขวาจัด โดยอาร์เจนตินามีสถิติการบังคับคนให้สูญหายสูงถึงราว 30,000 คนในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 10 ปี

อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐได้ เนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติโทษของอาชญากรรมที่เกิดจากการบังคับคนให้สูญหายในเวลานั้น ต่อมา กลุ่มญาติผู้สูญหายและองค์กรภาคประชาสังคม จึงเริ่มผลักดันให้เกิดคำนิยามของอาชญากรรมดังกล่าว และเจรจาต่อรองรัฐร่วมกับสหประชาชาติให้เกิดเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศได้สำเร็จ

กาเบรียลากล่าวว่า ถึงแม้ว่าอาร์เจนตินาและประเทศอื่นๆ ในละตินอเมริกาจะมีสถิติการบังคับคนให้สูญหายสูงมาก และยังมีกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดถึงสองฉบับ แต่ด้วยการให้สัตยาบันในอนุสัญญาการป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหาย ทำให้ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เกิดการสร้างกลไกภายในประเทศที่สามารถนำตัวเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำผิดมาพิจารณาคดีได้กว่าแสนคน มีการตัดสินจำคุกเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิดถึง 30 ปี อีกทั้งยังมีการยกเลิกกฎหมายนิรโทษกรรมด้วย

เธอชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศอาร์เจนตินาก่อนหน้านี้จะย่ำแย่มาก แต่เวลาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ประชาชนในประเทศก็สามารถต่อสู้ให้ได้มาความยุติธรรม ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานานเพียงใดก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยมิลานกล่าวว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยคนหายแล้ว แต่หากยังไม่มีการผลักดันกฎหมายในประเทศมาบังคับใช้ อนุสัญญาดังกล่าว ก็อาจเปรียบเสมือนกล่องเปล่าๆ ที่ไม่มีเนื้อหาอะไรข้างใน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นมากที่รัฐบาลจะต้องมีเจตจำนงค์ที่จริงใจต่อการผลักดันและบังคับใช้กฎหมายในประเทศอย่างจริงจัง

ก้าวต่อไปประเทศไทย

ด้านปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ที่มีส่วนร่วมร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหายฉบับไทย ได้อธิบายว่า การแก้ไขหรือร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพภายใต้กระทรวงการยุติธรรม ซึ่งต้องทำการแก้กฎหมาย หรือร่างเป็นพ.ร.บ. ใหม่ออกมา เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในอนุสัญญาป้องกันคนหายสากล

ปกป้องได้อธิบายว่า กฎหมายที่ร่างขึ้นใหม่ดังกล่าว จะประกอบไปด้วยบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิของเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อในการเข้าถึงข้อมูล การได้รับเงินชดเชยและการเยียวยาที่เหมาะสม รวมถึงมีบทลงโทษต่อผู้ที่กระทำผิด ซึ่งจะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้กระทำอาชญากรรมที่ร้ายแรง และเมื่อพ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านการพิจารณาจากกระทรวงยุติธรรมแล้ว ก็จะส่งผ่านไปยังฝ่ายนิติบัญญัติให้พิจารณาเพื่อตราร่างเป็นกฎหมายต่อไป

อาจารย์จากม. ธรรมศาสตร์ยังระบุว่า หากผลักดันร่างกฎหมายนี้สำเร็จ จะนับเป็นนิมิตหมายที่ดีของกระบวนยุติธรรมไทย เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้กระทำผิดในการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐไม่เคยถูกตรวจสอบและรับผิด เนื่องจากยังคงมีวัฒนธรรมการปล่อยให้คนผิดลอยนวลในสังคมไทย ทั้งในแง่ทัศนคติและตัวบทกฎหมาย

ต้องเปลี่ยนทั้งกฎหมายและทัศนคติ

อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ที่ผ่านมา ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่เมื่อรัฐบาลไทยลงนามในอนุสัญญานั้นแล้ว จะเป็นเครื่องมือรับประกันได้ว่าสถานการณ์สิทธิในประเด็นดังกล่าวจะดีขึ้นจริง ดังที่นักสิทธิมนุษยชนหล่ายคนได้แสดงความเห็นว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะลงนามในอนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมานไปแล้วในปี 2550 แต่การซ้อมทรมานยังคงเกิดอยู่อย่างแพร่หลายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จนถึงปัจจุบัน

จอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นสิ่งสำคัญที่สังคมไทยจะสามารถยุติวัฒนกรรมการงดเว้นโทษ (Impunity) คือการสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในหมู่ประชาชนว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน และความอันตรายของวัฒนธรรมการงดเว้นโทษ โดยเฉพาะสถานศึกษาและสื่อมวลชน ควรจะมีบทบาทที่ส่งเสริมความเข้าใจให้มากขึ้น

จอนยังชี้ว่า ผู้ปฏิบัติงานของรัฐ เช่นเจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจ ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนทัศนคติให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนด้วย ไม่ควรจะยึดติดกับชุดความคิด ‘รักชาติ’ เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเป็นทัศนคติที่แคบและเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิของประชาชน

หมายเหตุ:

  1. ทั้ง 9 อนุสัญญาประกอบด้วย อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก, อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ, อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน, อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ, อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันการบังคับบุคคลให้สูญหาย และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว
  2. งานเสวนาดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยสมาพันธ์ต่อต้านการหายแห่งเอเชีย (Asian Federation against Disappearances) คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน โดยมีครอบครัวและญาติของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าร่วมด้วย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายย้ายถิ่นน้ำโขงจี้รัฐลงทะเบียนสถานภาพแรงงานข้ามชาติ

$
0
0
26 พ.ย. 54 - แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อการประชุมระดับโลกเรื่องการย้ายถิ่นและการพัฒนาครั้งที่ห้า โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อการประชุมระดับโลก

เรื่องการย้ายถิ่นและการพัฒนาครั้งที่ห้า
 
แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงมีความชำนาญอย่างยิ่งและสามารถฟื้นคืนสภาพเดิมและเรียกร้องให้มีการตระหนักและเคารพตามสิทธิจากรัฐบาลของพวกเขา
 
แรงงานจากอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงไม่สามารถที่จะไว้วางใจกับรัฐใดๆหรือองค์กรระหว่างประเทศองค์กรไหนที่จะให้อำนายความสะดวกหรือจัดการการย้ายถิ่นหรือปกป้องสิทธิของพวกเขา แทนที่จะรอการช่วยเหลือพวกเขาได้จัดการการเคลื่อนย้ายและจัดตั้งตนเองเพื่อทวงถามถึงสิทธิของตน แรงงานได้ค้ำจุนครอบครัวและชุมชนของพวกเขาโดยที่ไม่ได้รับการตระหนักหรือการอำนายความสะดวกใดๆ พวกเขาเองได้สร้างระบบซึ่งมีประสิทธิภาพ สะดวกและเหมาะสม
 
ในช่วงเวลาวิกฤตแรงงานได้จัดสร้างชุมชนของพวกเขาเพื่อที่จะให้การช่วยเหลือด้านที่พักพิงและสนับสนุนสำหรับแรงงานข้ามชาติคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ ล่าสุดชุมชนแรงงานข้ามชาติทุกหนทุกแห่งในประเทศไทยได้จัดกิจกรรมเพื่อหาเงิน ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและประชาชนไทยที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม ในขณะเดียวกันชุมชนแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนได้ต้อนรับผู้คนร่วมชาติ ที่หนีจากน้ำท่วมในกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆในพื้นที่ภาคกลางของไทย โดยไม่คำนึงถึงคำขู่จากเจ้าหน้าที่ที่ว่าจะมีการกวาดล้างแรงงานผิดกฎหมาย
 
ในขณะที่แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งและสามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้ แต่พวกเขาเหล่านั้นยังคงมีความประสงค์ที่จะเรียกร้องตามสิทธิที่ยังไม่ได้รับจากรัฐบาลและรอคอยด้วยใจจดจ่อเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติการต่อข้อเสนอ ดังต่อไปนี้คือ
 
ผู้ย้ายถิ่นประสงค์เป็นอย่างยิ่งที่จะให้รัฐบาลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอุทิศทรัพยากรที่ดีกว่านี้เพื่อการบริการทางสังคมที่จำเป็นสำหรับประชากรทุกคนในภูมิภาค หากดำเนินการเช่นนั้นจะทำให้ผู้ย้ายถิ่นสามารถที่จะเข้าถึงการบริการที่จำเป็นได้ในประเทศต้นทางและปลายทาง  การย้ายถิ่นและผู้ย้ายถิ่นต้องได้รับการบรรจุในวาระแห่งชาติเรื่องแผนด้านเศรษฐกิจและสังคม
 
เพื่อที่แรงงานจะสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศของพวกเขา แรงงานยังต้องการให้รัฐบาลปฏิบัติการโดยทันทีในการต่อต้านการคุกคาม การเลือกปฏิบัติและความรุนแรงในทุกรูปแบบที่แรงงานประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจากตำรวจ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง นายจ้างและคนอื่นๆที่แสวงหาผลประโยชน์เอารัดเอาเปรียบจากกระบวนการย้ายถิ่น ความรุนแรงเหล่านั้นมีผลกระทบเชิงลบในการพัฒนาและความมั่นคงของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
 
ผู้ย้ายถิ่นจากอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอยากให้รัฐบาลเข้าใจว่า การจับ การกักขังและส่งกลับแรงงานในข้อหาที่เกี่ยวกับการเข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นการจัดการที่ไร้ประโยชน์ เสียเวลา และสิ้นเปลืองงบประมาณ แรงงานข้ามชาติต้องการที่จะทำงาน  อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศต้องการแรงงาน ดังนั้นแรงงานที่ถูกส่งกลับก็จะกลับเข้ามาใหม่
 
การแก้ปัญหาดังกล่าว  แรงงานย้ายถิ่นขอร้องให้รัฐบาลจัดให้มีการลงทะเบียนสถานภาพซึ่งส่งผลให้พวกเขาสามารถที่จะอยู่และทำงานถูกต้องได้
 
อนุภูมิภาคนี้ได้เป็นประจักษ์ถึงการบังคับการย้ายถิ่นในหลากหลายรูปแบบ ผู้ที่ย้ายถิ่นในสภาพที่ถูกบังคับต้องการการคุ้มครองที่เฉพาะจากรัฐบาลและหน่วยงานของสหประชาชาติ
 
ผู้ย้ายถิ่นที่หลบหนีจากความขัดแย้ง การกดขี่ทางการเมืองและการสู้รบในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงที่ใช้ต่อต้านชนกลุ่มน้อยคะฉิ่นและกระเหรี่ยงในพม่า พวกเขาไม่ได้อยู่ในภาวะที่สามารถจัดการตนเองได้ในทันทีและต้องการการช่วยเหลือ และคุ้มครองในช่วงแรกและมีความมั่นคงและสามารถปรับตัวสอดคล้องได้ในระยะยาว รัฐบาลควรที่จะยึดหลักหลักการไม่ผลักดันกลับ (non-refoulement) เพื่อปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยและผู้ที่แสวงหาที่ลี้ภัยในภูมิภาค
 
แรงงานที่ถูกค้ามนุษย์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยทันที พวกเขาต้องการให้รัฐบาลยึดการปฏิบัติเพื่อให้พวกเขาและเธอเข้าถึงความยุติธรรมและจัดให้มีการเข้าถึงค่าชดเชยและเยียวยาความเสียหายที่น่าพึงพอใจ   พวกเขาไม่ควรถูกบังคับให้อยู่ในบ้านพักโดยที่ไม่เต็มใจ   ในสถานการณ์ที่ผู้ถูกค้ามนุษย์ขอให้มีการจัดให้อยู่ในบ้านพัก บ้านพักนั้นควรมีการจัดให้เป็นบ้านพักที่ให้การต้อนรับ มีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
 
อีกทั้งยังมีผู้คนในภูมิภาคที่สูญเสียสัญชาติหรือเกิดมาโดยที่ไม่ได้รับการรับรองสภาพบุคคลทางกฎหมายจากรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐบาลในภูมิภาคนี้และหน่วยงานสหประชาชาติต้องพัฒนาการตอบรับที่สมบูรณ์แบบต่อสถานการณ์ของผู้ไร้สัญชาติทุกคนในภูมิภาคและทำให้มั่นใจว่าพวกเขาจะมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ
 
เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตระหนักดีว่าในขณะที่ข้อห่วงใยบางประการที่กล่าวมาข้างต้น ควรได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลในประเทศในภูมิภาค ทั้งในระดับประเทศและระดับอนุภูมิภาค แต่ยังมีข้อห่วงใยบางประการที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหา
 
เราเชื่อว่าสหประชาชาติเป็นหน่วยงานที่มีความเหมาะสมอย่างที่สุดที่จะจัดการสนทนาระดับโลกเรื่องการย้ายถิ่น และเชื่อว่าสมาชิกของสหประชาชาติจะเห็นสอดคล้องที่จะนำการประชุมระดับโลกเรื่องการย้ายถิ่นกลับไปจัดภายใต้หน่วยงานของสหประชาชาติ  อย่างไรก็ตาม เรายังมีความกังวลว่าหน่วยงานสหประชาชาติในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ 21  ปีหลังจากที่มีการอนุมัติให้มีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานและครอบครัว ปี 1990 เรามีความเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่า ถึงเวลาแล้วที่สหประชาชาติจะสร้างหน่วยงานของตนเพื่ออุทิศการทำงานเพื่อแรงงานย้ายถิ่น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฉลองปีใหม่อิสลาม ฮ.ศ.1433 ปัตตานีจัดใหญ่พ่วงมหกรรมตาดีกา

$
0
0
 
 
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 26 พฤศจิกายน 2554 ที่หน้าอาคารสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี มูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERKASA) ร่วมกับองค์กรต่างๆ จัดงานต้อนรับปีใหม่อิสลาม มหกรรมตาดีกาจังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2554 โดยมีนักเรียนตาดีกา (โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามขึ้นพื้นฐาน) จากชมรมตาดีกาในอำเภอต่างๆ ในจังหวัดปัตตานีเข้าร่วมประมาณ 500 คน
 
ทั้งนี้เนื่องจากวันนี้ตรงกับวันที่ 1 เดือนมุฮัรรอม ปีฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.) 1433 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ตามปฏิทินอิสลาม
 
งานเริ่มด้วยการจัดเดินขบวนไปตามเส้นทางต่างในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี โดยผู้ร่วมขบวนแต่งกายตามประเพณีและวัฒนธรรมอิสลามอย่างมีสีสันหลากหลาย
 
ในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย การแข่งขันกีฬาของนักเรียนตาดีกา เช่น ฟุตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้า จัดที่สนามกีฬากลาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
 
ส่วนกลางคืนมีกิจกรรมบนเวที เช่น การประกวดร้องเพลงอนาซีด การแข่งขันท่องจำอัลกุรอาน การแข่งขันอภิปรายภาษามลายู (sarah)  การประกวดอ่านบทกวีภาษามลายู (ซาเญาะห์) เป็นต้น
 
นายอับดุลมูไฮมีน สาและ ประธานมูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะประธานจัดงาน เปิดเผยว่า การจัดงานมหกรรมตาดีกาจังหวัดปัตตานีครั้งนี้เป็นครั้งที่ 31 แล้ว แต่ปีนี้มีความพิเศษกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากตรงกับวันปีใหม่ของอิสลาม โดยองค์กรต่างๆในจังหวัดปัตตานีร่วมสนับสนุน
 
นายอับดุลมูไฮมีน เปิดเผยต่อไปว่า จุดประสงค์ของโครงการ นอกจากเพื่อต้อนรับปีใหม่อิสลามแล้ว ยังเป็นการแสดงความรู้สึกสำนึกต่อศาสนาอิสลาม และแสดงความยิ่งใหญ่ของประชาชาติอิสลาม รวมทั้งเพื่อทดสอบความสามารถของเด็กๆ มุสลิม โดยมีเวทีให้เด็กๆได้แสดออก และเพื่อส่งเสริมความสามัคคีและความเป็นเอกภาภาพของชาวมุสลิม
 
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า การจัดโครงการต้อนรับปีใหม่อิสลามและมหกรรมตาดีกา เพื่อการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีของมลายูมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
สำหรับองค์กรร่วมจัดงานนี้ ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี สหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามปัตตานี มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี Bugaraya Group มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย และชมรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลปกครองนัดไต่สวน ชาวบางบัวทองฟ้อง 'ศปภ.- กทม.' 29 พ.ย. นี้

$
0
0
 ศาลปกครองนัดไต่สวนชาวบางบัวทองฟ้อง ศปภ.-กทม.ระงับการกู้ถนนสาย 340 -กาญจนาภิเษก และการปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์  29 พ.ย.นี้ ด้าน 'ยะใส' ร้อง ป.ป.ช. สอบรัฐบาลผิดพลาดน้ำท่วม
 
เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 54 ที่ผ่านมาว่าศาลปกครองกลางแผนกคดีสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งว่า ในวันอังคารที่ 29 พ.ย.นี้ เวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 8 จะนัดไต่สวนคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย ในคดีที่นางทศสิริ พูลนวล อาชีพรับจ้าง ชาวบ้านบางบัวทอง จ.นนทบุรี ยื่นฟ้องศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) และกรุงเทพมหานคร(กทม.) เรื่องออกคำสั่งโดยมิชอบ กรณีที่ ศปภ.มีมติให้กู้ถนนหลวงสาย 340 บางบัวทอง-สุพรรณบุรี และสายกาญจนาภิเษก ขณะที่ กทม.ปิดประตูระบายน้ำ และยังได้มีการเสริมแนวกระสอบทรายช่วงเชื่อมต่อคลองมหาสวัสดิ์และพื้นที่ จ.นนทบุรี ส่งผลกระทบให้พื้นที่ จ.นนทบุรี ต้องถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน จึงขอให้ศาลสั่งระงับการกู้ถนนสาย 340 และสายกาญจนาภิเษก รวมทั้งระงับการปิดประตูระบายน้ำและเสริมแนวกระสอบทรายตามแนวคลองมหาสวัสดิ์
 
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตนไม่มีความกังวลในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจาก กทม. ไม่ได้บริหารงาน หรือ กระทำการใด ๆ ผิดพลาด เพราะการบริหารจัดการน้ำของ กทม. ทุกขั้นตอนมีเหตุมีผล ที่จะสามารถอธิบาย เพื่อความชัดเจนได้
 
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. ได้ทำตามขั้นตอนอำนาจที่ทางรัฐบาล โดย นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายให้ โดยไม่ได้ทำผิดแต่อย่างใด
 
สุริยะใสร้อง ป.ป.ช.สอบรัฐบาลบริหารจัดการน้ำผิดพลาด,เสื้อแดงคัดค้าน
 
เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าวันเดียวกันนั้น (25 พ.ย. 54) กลุ่มการเมืองสีเขียว(กรีน) นำโดยนายสุริยะใส กตะศิลา เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ให้ไต่สวนกรณีรัฐบาลที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารจัดการน้ำผิดพลาด จนส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและทรัพย์สินเสียหาย รวมทั้งต้องเสียชีวิตจากเหตุอุทกภัย โดยมีนายวิทยา อาคมพิทักษณ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ช.ลงมารับหนังสือดังกล่าวไว้ พร้อมทั้งเปิดเผยว่า ข้อกล่าวหากรณีการบริหารจัดการน้ำผิดพลาดนี้ ป.ป.ช.ได้ประชุมและมีมติตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นไต่สวนแล้ว โดยมีกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คนร่วมเป็นอนุกรรมการไต่สวนเอง แต่เมื่อมีการยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษเข้ามา ป.ปช.จะนำไปรวมเป็นเรื่องเดียว
 
รายงานข่าว แจ้งว่า ขณะเดียวกันบริเวณด้านหน้าสำนักงาน ป.ป.ช.ได้มีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 10 คน ถือป้ายคัดค้านการยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษของกลุ่มกรีน โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่จาก สภ.นนทบุรี และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ ป.ป.ช.คอยดูความสงบเรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุกระทบกระทั่ง ทำให้นายสุริยะใสต้องนั่งรออยู่ในรถและส่งตัวแทนไปยื่นหนังสือดังกล่าวแทน และรีบเดินทางออกจากบริเวณสำนักงาน ป.ป.ช.โดยใช้เส้นทางด้านหลัง
 
ตัวแทนกลุ่มกรีน กล่าวว่า เมื่อมีกลุ่มที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามมารวมตัวอยู่ที่ ป.ป.ช. นายสุริยะใสเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัย และไม่ต้องการที่จะให้เกิดเหตุเผชิญหน้าโดยไม่จำเป็นจึงตัดสินใจที่จะเดินทางกลับออกไปก่อน
 
ขณะที่กลุ่ม นปช.หลังทราบข่าวว่านายสุริยะใสเดินทางกลับไปแล้วจึงได้ปราศรัยตำหนิการเคลื่อนไหวของนายสุริยะใสและกลุ่มกรีนประมาณ 10 นาทีก่อนสลายตัวแยกย้ายกันไป
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฝ่ายค้านมาเลเซียแนะ รบ.ไปดูงานพม่า หลังเตรียมออกกม.คุมการชุมนุม

$
0
0

นายลิมกิตเสียง ประชดรัฐบาลมาเลเซียส่งรัฐมนตรีมหาดไทยไปดูงานที่พม่า หลังรัฐบาลเตรียมออกกฎหมายควบคุมการชุมนุมที่เข้มงวดกว่าฉบับที่พม่าประกาศใช้ ชี้จะเป็นเรื่องอัปยศที่มาเลเซียจะต้องเรียนรู้จากประเทศที่มีรายงานสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่ 

ตารางเปรียบเทียบกฎหมายควบคุมการชุมนุมของพม่า (ขวา) และร่างกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ของมาเลเซีย (ซ้าย) ที่มา: Malaysian Insider

นายลิมกิตเสียง ผู้นำพรรคกิจประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านแนวสังคมนิยมของมาเลเซีย แนะนำรัฐบาลมาเลเซียเมื่อ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ให้ส่งนายฮิสฮัมมุดดิน ฮุสเซ็น (Hishammuddin Hussein) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มาเลเซีย ไปดูงานด้านเสรีภาพขั้นพื้นฐานในพม่า หลังจากที่นักกิจกรรมในมาเลเซียมีข้อวิจารณ์มาก่อนหน้านี้ว่า กฎหมายควบคุมการชุมนุมของพม่าให้เสรีภาพแก่พลเมืองมากกว่ากฎหมายฉบับที่บังคับใช้ในมาเลเซีย

การเสียดสีโดยนักการเมืองอาวุโสผู้นี้ เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลของนายนาจิป ราซัก เตรียมนำกฎหมายว่าด้วยการรวมตัวอย่างสงบเข้าสภาในอาทิตย์ที่ผ่านมา “เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่น่าอับอายและอัปยศ ที่มาเลเซียต้องเรียนรู้บทเรียนจากประเทศที่มีรายงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่”

นาจิปคงต้องการส่งรัฐมนตรีมหาดไทย นายฮิสฮัมมุดดิน ฮุสเซ็น ไปพม่า? เพื่อเรียนรู้การมีความเคารพต่อเสรีภาพขั้นพื้นฐานมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยไปเรียนรู้การเคารพเสรีภาพในการสมาคมของประชาชน” ตอนหนึ่งในแถลงการณ์ของนาลิมกิตเสียงระบุ

ผมคิดว่าคงไม่มีวันที่ผมจะต้องกล่าวเช่นนี้ว่า - นายกรัฐมนตรีมาเลเซียและคณะรัฐมนตรีควรเรียนรู้จากพม่าอย่างน้อยในเรื่องเสรีภาพในการชุมนุมและสมาคมอย่างสันติวิธี”

ถ้อยคำประชดประชันของนายลิมกิตเสียง เกิดขึ้นภายหลังจากที่นางอัมพิกา ศรีนาวาซาน ประธานกลุ่มรณรงค์เลือกตั้งเสรีและยุติธรรมในมาเลเซีย หรือ “เบอร์เซะ 2.0” วิจารณ์กฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ของมาเลเซียว่า ให้เสรีภาพน้อยกว่ากฎหมายควบคุมการชุมนุมของพม่า หนึ่งในประเทศที่มีรายงานด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงประเทศหนึ่งของโลก

เธอชี้ว่ารัฐบาลพม่าเพิ่งผ่านกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ที่อนุญาตให้ประท้วงบนถนนและมีเงื่อนไขที่เข้มงวดน้อยกว่ากฎหมายที่รัฐบาลมาเลเซียเตรียมจะออก

ทั้งนี้รัฐบาลพม่า ประเทศซึ่งกองทัพยังคงมีบทบาท ได้ผ่านกฎหมายฉบับใหม่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งเต็มด้วยข้อจำกัดการชุมนุม โดยในการชุมนุมแต่ละครั้ง ผู้ประท้วงต้อง “แจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเป็นเวลา 5 วัน”

ขณะที่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการสมาคมโดยสันติ (Peaceful Assembly Act) ของมาเลเซีย จะเข้มงวดยิ่งกว่านั้น โดยจะต้องแจ้งตำรวจมาเลเซียอย่างน้อย 30 วันล่วงหน้า ขณะที่กฎหมายยังมีข้อจำกัดที่ป้องกันไม่ให้มีการประท้วงตามท้องถนน

กฎหมายของพม่าห้ามไม่ให้ผู้ประท้วงเข้าใกล้อาคารที่ของรัฐบาล โรงเรียน โรงพยาบาล และสถานทูต ขณะที่กฎหมายของมาเลเซียมีข้อห้ามใกล้เคียงกัน แต่ยังห้ามไม่ให้ชุมนุมใกล้ศาสนสถานและปั๊มน้ำมันด้วย

นายลิมกิตเสียง ยังกล่าวด้วยว่า “นายกรัฐมนตรีนาจิป ราซักจะต้องเสียคำพูด” “พม่ามักถูกมองเสมอว่าเป็นประเทศที่ล่าช้าที่สุดในอาเซียน ในแง่ที่ว่าไม่เอาใจใส่และละเมิดสิทธิมนุษยชน”

ทั้งนี้นายนาจิปพยายามปกป้องกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็นการ “ปฏิวัติ” และเป็นก้าวสำคัญในการปรับปรุงเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล และยืนยันด้วยว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวพยายามควบคุมเสียยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน และเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวจากสภา

ทั้งนี้นายลิมกิตเสียงยังกล่าวด้วยว่า กฎหมายดังกล่าวขัดแย้งกับความตั้งใจของนายนาจีปที่ต้องการเปลี่ยนประเทศไปสู่ “ประเทศประชาธิปไตยที่สุดในโลก” และดูเหมือนกฎหมายฉบับใหม่นี้จะเข้มงวดยิ่งกว่ามาตรา 27 ในกฎหมายว่าด้วยตำรวจ

ทั้งนี้กฎหมายว่าด้วยการรวมตัวอย่างสงบนี้ จะถูกนำมาแทนที่มาตรา 27 ในกฎหมายว่าด้วยตำรวจ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปที่นายนาจีปสัญญาไว้กับประชาชนในสุนทรพจน์ที่เขากล่าวในวันมาเลเซีย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา (อ่านข่าวก่อนหน้านี้ [1], [2])

นายลิมกิตเสียงกล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้รัฐสภามาเลเซียจะเคยเตรียมใช้แบบแผนของกฎหมายว่าด้วยการรวมตัวอย่างสงบของรัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลียในปี 2535 แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายฉบับนั้นยังมีการเพิ่มอำนาจแก่ตำรวจอย่างไม่จำกัดในการควบคุมการรวมตัวสมาคม

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Kit Siang suggests Malaysia copy Myanmar’s assembly law, By Clara Chooi, themalaysianinside, November 25, 2011

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทกวี: อา...กรง

$
0
0

อา...กรงไม๊จ๊ะ

ขายถูกนะ..เพียงครั้งละบาทห้าสิบสตางค์ต่อห้าปี

ใครถูกใจรีบกด SMS มาให้เร็วรี่

ในกรงยังมี..ที่ว่างเหลือเผื่อแผ่สำหรับประชาชน

 

อา...กรงไม๊จ๊ะเธอจ๋า 

รีบเดินมาซื้อหา..อย่าได้ลังเลสับสน

ซื้อตอนนี้..แจกฟรีความจงรักภักดีเหลือล้น

รับประกันว่าได้ครบทุกคน..ไม่ต้องพึ่งโชคดวง

 

อา..กรงซักห้าปีไม๊

อย่ามัวชักช้าลังเลใจ..ไม่มีอะไรต้องห่วง

เสรีภาพเราเก็บรักษาให้ในความอยุติธรรมเปล่ากลวง

แถมด้วยเทพนิยายหลอกลวง..ไว้อ่านก่อนนอน

 

อา..กรงไม๊จ๊ะขายถูก

รีบจูงหลานจูงลูก มาเลือกจองกันไว้ก่อน

ขายพร้อมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ถูกริดรอน

และส่วนลดเงินทอน 112 บาทสำหรับผู้โชคดี

 

อา...กรงไม๊จ๊ะสดๆใหม่ๆ

สนับสนุนสินค้าไทย มีขายเฉพาะประเทศนี้

สองมือล้วงกระเป๋าสองเท้าก้าวเข้ามาอย่ารอรี

มีจำกัดแค่คนละยี่สิบปี เอ้า..เร่เข้ามา

 

...

(ขอไว้อาลัยแด่..ศาล กระบวนการยุติธรรม และวงการนิติศาสตร์ไทย)

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรสิทธิ ‘อาร์ติเคิล 19’-‘แอมเนสตี้ฯ’ ประณามคำตัดสินคดี ’อากง’

$
0
0

องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ‘อาร์ติเคิล 19’ แถลงการณ์ประณามผลการตัดสินคดี ‘อากง’ เหยื่อคดีหมิ่นฯ รายล่าสุดที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ร้องรัฐไทยต้องโมฆะตัดสินดังกล่าว พร้อมแก้ไขมาตรา 112-พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ด้าน ‘แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล’ ชี้ ‘อากง’ เป็น ‘นักโทษการเมือง’

สืบเนื่องจากคดีนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ- พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (17 พ.ย. 54) เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือหมิ่นเบื้องสูงไปหาเลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจำนวน 4 ข้อความนั้น

องค์กรรณรงค์ระหว่างประเทศด้านสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออก ‘อาร์ติเคิล 19’ (Article 19) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล ได้ออกแถลงการณ์ประณามคำตัดสินดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า คำตัดสินดังกล่าวเป็นที่น่าตกใจอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงการจงใจละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัดเจนของทางการไทย

“การตัดสินลงโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัดแจ้ง” นายเบนจามิน ซาแวกกี นักวิจัยสากลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำประเทศไทยกล่าว “อำพลเป็นนักโทษการเมือง” เขาระบุ

นายเบนจามินยังชี้ว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 มีผลเหนือคำสั่งตามรัฐธรรมนูญของไทย และบทบัญญัติและการใช้ของกฎหมายดังกล่าว ยังขัดแย้งกับพันธกรณีของไทยที่ต้องมีต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองแห่งสหประชาชาติแล้วตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องคุ้มครองเสรีภาพทางความคิด และสิทธิของพลเมืองในการแสดงความเห็นและการแสดงออกโดยเท่าเทียมกัน

องค์กร ‘อาร์ติเคิล 19’ ยังได้เรียกร้องให้ไทยยกคำตัดสินในคดีนายอำพลเป็นโมฆะโดยทันที เนื่องจากมองว่า การใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงออกอย่างร้ายแรง และยังปรากฎถึงการใช้หลักฐานที่ยังขาดความน่าเชื่อถือในการเอาผิดนายอำพลอีกด้วย อาร์ติเคิล 19 ระบุในแถลงการณ์ว่า จะยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และแก้ไขพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับรัฐธรมนูญไทยและมาตรฐานกฎหมายสากลต่อไป

ด้านนายสมชาย หอมลออ กรรมการอิสระค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ให้ความเห็นว่า การตัดสินคดีนายอำพลแสดงให้เห็นถึงความไม่เอาจริงเอาจังของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิ เช่นเดียวกับการดำเนินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และชี้ว่า การใช้กฎหมายดังกล่าวในทางที่ผิด ยิ่งแต่จะทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายที่เห็นต่างในสังคมรุนแรงขึ้น และนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่สถาบันฯ มากกว่าเดิม
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โสภณ พรโชคชัย: ใครคือผู้ปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ตัวจริง

$
0
0

คำตอบคือสามัญชน หาใช่ใครอื่น ผมเคยทำงานเป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลัง เวียดนาม ไปบรรยายในโครงการของกระทรวงการคลัง กัมพูชา ไปร่วมกับหอการค้าลาว และพม่าจัดสัมมนา และไปทำสำรวจวิจัยอสังหาริมทรัพย์ในประเทศภูมิภาคนี้หลายครั้ง จึงพอรู้เรื่องอินโดจีนบ้าง ผมจึงมั่นใจว่าคนที่ออกมาเย้ว ๆ ว่ารักชาตินั้น มีเพียงส่วนน้อยที่รักจริง แต่ส่วนใหญ่ก็แค่มาแสดงเพื่อเอาดีใส่ตัว ผู้ที่เป็นตัวจริงในการปกป้องบ้านเมือง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คือสามัญชนคนธรรมดาต่างหาก

จากประสบการณ์สงครามอินโดจีนในกรณีลาว เขมร เวียดนามที่เมื่อใกล้ ‘กรุงแตก” คนที่หนีไปก่อนเป็นใครบ้าง

1. พวกคหบดีมีอันจะกิน หรือชนชั้นสูง หากเกิดอะไรขึ้น พวกนี้ก็เตรียมตัวเปิดหนีไปต่างประเทศได้ทันที จำนวนมากก็มีสัญชาติหรือ ‘กรีนการ์ด’ สหรัฐอเมริกาหรือชาติอื่นอยู่แล้ว ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศชาติจริง ก็พร้อมจะ ‘สละเรือ’ ได้ทุกเมื่อ

2. อาจารย์ ปัญญาชน – ชนชั้นกลางค่อนข้างสูงที่มีโอกาสไต่เต้า หากเกิดกรณี ‘สิ้นชาติ’ พวกเขาคงไม่อยู่ให้เสียความปลอดภัยของครอบครัว หรือเสียเวลาแห่งความสุขของตัวเองแน่นอน

3. นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งมักบูชายศศักดิ์ และยิ่งมียศศักดิ์สูง ยิ่งเห็นคนอื่นต่ำต้อยด้อยค่า คนระดับนี้มีทรัพย์ศฤงคารมากมายอย่างไม่ปรากฏที่มา ในประวัติศาสตร์อินโดจีนที่ผ่านมา พวกนายพล นายพันทั้งหลายหนีไปซุกใต้ปีกสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกที่พวกเขาล้วนเรียนจบมา และประเทศเหล่านี้ก็รู้ว่าพวกเขามีทรัพยากรมาก จะได้ไปช่วยสร้างชาติให้พวกฝรั่งตาน้ำข้าวอีกต่อหนึ่ง

4. ข้าราชการระดับสูง ซึ่งมีสถานะไม่ต่างจากพวกนายทหารชั้นผู้ใหญ่ พวกเขาสุขสบายด้วยอภิสิทธิ์มากมายในสมัยรับราชการ พวกนี้ทำตัวให้ชาติเลี้ยง สูบเลือดจากชาติมากกว่าที่จะทำดีเพื่อชาติ

แต่ในยามสงบ คนเหล่านี้ส่งเสียงดังในการโฆษณาชวนเชื่อในการปกป้องชาติกันใหญ่ ซึ่งก็คงเป็นการทำตามกระแส ทำเพื่อเอาดีใส่ตัว เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เพื่อการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง เพื่อหลอกให้สามัญชนไปตายแทนพวกตน หรือทำไปตามหน้าที่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางคนในกลุ่มข้างต้นที่ไม่หนีและอยู่ร่วมกู้ชาติจนตลอดรอดฝั่ง แต่ก็คงเป็นเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น

ส่วนสามัญชนคนทั่วไปนี่แหละที่อยู่ปกป้องชาติ และฟื้นฟูชาติตัวจริง พวกเขาคือผู้ที่ไปตายเพื่อชาติในสงครามต่าง ๆ ที่พวกเขาไม่เคยได้ก่อ แต่มักก่อโดยชนชั้นปกครอง แม้ในยามชาติล่มจม เช่น ลาว เขมร เวียดนาม สามัญชนนี่แหละคือผู้ที่ยังอยู่สร้างชาติขึ้นมาใหม่ พวกเขาต้องอยู่เผชิญชะตากรรมอันโหดร้ายร่วมกับประเทศชาติในภาวะตกต่ำสุดขีด ประเทศในอินโดจีนที่ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่นั้นเป็นเพราะพวกสามัญชน “ฝุ่นเมือง” ที่ไร้ที่ไปนั่นเอง พอพวกเขาได้มีโอกาสทำมาหากินตามปกติสุข เศรษฐกิจก็เดินหน้าต่อไปได้

สามัญชนคนธรรมดาทั่วไปนี่แหละที่บำรุงชาติ เพราะพวกเขาเสียภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้ประเทศชาติอยู่ได้ เจริญขึ้น สามัญชนเหล่านี้กลายเป็นแรงงานราคาถูกให้กับนายทุนข้ามชาติที่มาลงทุน จึงทำให้ประเทศเจริญขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด และเมื่อฝุ่นจางลงแล้ว ประเทศเข้าสู่ความสงบอีกครั้ง พวกสามัญชนได้สร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่จนมั่นคงแล้ว เหล่าคหบดี ปัญญาชน-กฎุมพีชาวลาว เขมร เวียดนาม ที่หนีไปก่อนหน้านี้และตอนนี้กลายเป็นอเมริกันชนไปแล้ว ก็ได้ทีกลับมาทำมาหากินในประเทศเกิดอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อเรารู้แล้วว่าสามัญชนนี่แหละคือคนปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตรย์ ตัวจริง เราจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของประชาชนคนเล็กคนน้อยในประเทศเป็นสำคัญ นโยบายของรัฐจึงต้องทำเพื่อประชาชนคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่พวกคหบดีใหญ่หรือพวกอภิสิทธิ์ชนที่มีทางเลือกซึ่งมักไม่คิดจะอยู่ช่วยกู้ชาติ แต่จะค่อยกลับมาในยามสงบแล้วเท่านั้น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นัดด่วน! พิพากษา "โจ กอร์ดอน" พรุ่งนี้ (28)

$
0
0

นายอานนท์ นำภา ทนายความของ โจ กอร์ดอน ระบุว่า เพิ่งทราบข่าววันนี้ (27 พ.ย.54) ว่า ศาลอาญา รัชดาได้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาคดีของโจ กอร์ดอน เป็นวันพรุ่งนี้ (28 พ.ย.54) เวลา 9.00น. จากเดิมที่เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 8 ธ.ค. เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม

 

อนึ่ง โจ (เลอพงษ์) กอร์ดอน ชาวไทยสัญชาติอเมริกัน-ไทย ถูกเจ้าพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) จับกุมตัวที่บ้านพักจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดโดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อความที่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา โดยใช้นามแฝงว่า "สิน แซ่จิ้ว" พร้อมประกาศตนว่า กูไม่ใช่ฝุ่นใต้ฝ่าตีนบุคคลใด นอกจากนี้ยังบังอาจแปลหนังสือ The King Never Smiles ซึ่งเป็นหนังสือต้องห้ามภายในราชอาณาจักร

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.54 นายโจ (เลอพงษ์) กอร์ดอน รับสารภาพต่อหน้าบัลลังก์ว่า “ผมไม่ต่อสู้คดี ยอมรับสารภาพ” จากเดิมที่เขาให้การปฏิเสธทั้งในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวน โดยศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 9 พ.ย. แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 8 ธ.ค.54 เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "แผ่นดินนี้มีแต่ชาละวัน"

$
0
0

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "แผ่นดินนี้มีแต่ชาละวัน"

จับ Occupy Wall Street แปลงร่างเป็น Tea Party?

$
0
0

ปัญหาสำคัญคือ เรื่องความหลากหลายของประเด็นประท้วง และการขาดผู้นำกลุ่ม แม้จะเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม OWS แต่ในทางกลับกันก็กลายเป็นจุดด้อยในการปฎิรูปขบวนการให้กลายเป็นองค์กรทางการเมืองอย่างเป็นทางการ

ขบวนการยึดวอลสตรีท หรือ Occupy Wall Street (OWS) ในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตัวตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ไม่พอใจในสภาพความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมอเมริกัน การเดินขบวนประท้วงเริ่มที่บริเวณหน้าตึกวอลสตรีทในมหานครนิวยอร์ก จากนั้น “ปรากฎการณ์ OWS” ก็ได้แพร่ระบาดไปทั่วประเทศอเมริกาและในหลายๆ หัวเมืองใหญ่ทั่วโลก ผู้ประท้วงได้ทำการยึดสวนซัคคอททิ (Zuccotti) ในนิวยอร์กเป็นที่มั่นร่วมสองเดือน จนทำให้เกิดการปะทะกับประชาชนในพื้นที่ที่ไม่เห็นด้วย กระทั่งตีหนึ่งของคืนที่ 15 พฤศจิกายน ตำรวจหลายร้อยนายได้ทำตามคำสั่งศาลเข้าไปทำการรื้อเต้นท์และจับกุมผู้ประท้วง 

นายกเทศมนตรีของเมืองนิวยอร์กไมเคิล บลูมเบิร์กกล่าวว่าคำสั่งรื้อที่มั่นของกลุ่ม OWS ก็เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่สาธารณะชนแม้ว่าจะต้องทำให้คนกลุ่มหนึ่งสูญเสียอิสระภาพในการแสดงออกก็ตาม นอกจากการกระทำของตำรวจในนิวยอร์กจะเป็นการทำลายศูนย์กลางของขบวนการ OWS แล้ว สำหรับผู้ประท้วงมันคือการทำลายสิทธิเสรีภาพเชิงสัญลักษณ์ของประชาชนอเมริกัน หลายอาทิตย์ที่ผ่านมา มีผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บจากการยิงระเบิดควันของตำรวจที่เมืองโอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอเนีย [i]

การจิกผม ลากเสื้อ และกระเป๋าเป้โดยตำรวจที่นิวยอร์ก[ii]

การใช้สเปรย์พริกไทยฉีดเข้าใส่นักศึกษามหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย-เดวิสขณะที่กำลังนั่งประท้วงกันอย่างสงบ[iii]

การใช้กระบองกระทุ้งและตีนักศึกษามหาลัยแคลิฟอเนีย-เบิร์กคลี่[iv]

และมีผู้ประท้วงอื่นๆ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะของตำรวจระหว่างการเข้าสลายการชุมนุมในหลายๆ เมืองทั่วประเทศ แม้ว่าจะไม่มีใครเสียชีวิต แต่การสลายการชุมชนของตำรวจที่ผ่านมาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการกระทำที่“เกินกว่าเหตุ”ต่อการประท้วงที่สงบและไร้อาวุธ ผลคือยิ่งทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจและเดินขบวนประท้วงกันมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ นอกจากนั้น ผู้สื่อข่าวยังรายงานว่าตำรวจบล็อกไม่ให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปในพื้นที่ระหว่างการรื้นเต้นท์ในคืนวันที่ 15 อีกด้วย

สองเดือนที่ผ่านมา หลายคนตั้งคำถามว่าขบวนการOWS ทำเพื่ออะไร สำคัญไฉน และสร้างผลลัพธ์หรือผลกระทบอะไรให้สังคมอเมริกันบ้าง นอกจากก่อความวุ่นวายในย่านธุรกิจที่มั่งคั่ง เดินขบวนปิดถนน ยึดพื้นที่สาธารณะ ตีกลองร้องเพลงส่งเสียงเอะอะทั้งวันทั้งคืน

ขบวนการ OWS ให้เหตุผลในการประท้วงอยู่หลายประเด็น ตั้งแต่การไม่พอใจที่รัฐยกเว้นภาษีให้คนรวย การเข้าอุ้มแบงค์และสถาบันการเงินแต่ไม่อุ้มประชาชนที่ถูกยึดบ้าน การติดหนี้ของเด็กป.ตรี โดยเฉลี่ยแล้วเด็กอเมริกันป.ตรีเป็นหนี้การศึกษาประมาณ 24,600 ดอล์ล่าร์ หรือคราวๆ ประมาณ 767,200 บาท ขบวนการ OWS ยังจับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การค้า และการต่อต้านการย้ายฐานการผลิตไปประเทศกำลังพัฒนาเพราะทำให้คนอเมริกันตกงานเป็นต้น ความหลากหลายของประเด็นที่อาจมีมากเกินไป เลยทำให้หลายคนไม่ค่อยแน่ใจกับจุดประสงค์ของการเดินขบวนในครั้งนี้สักเท่าไร และอาจเห็นว่าขบวนการ OWS ไร้จุดยืนและขาดข้อเรียกร้องที่ชัดเจน

ปัญหาที่สำคัญของขบวนการ OWS คือไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของการกระทำได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือเดินขบวนไปแล้วได้อะไร ซึ่งไม่เหมือนกับการประท้วงเพื่อต่อต้านสงครามหรือต่อต้านรัฐบาล ที่มีความชัดเจนในลักษณะของผลลัพธ์เช่นเรียกร้องให้ถอนทหารออกจากอิรักหรืออัฟกานิสถาน กดดันให้ผู้นำลาออกหรือต้องการให้รัฐยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่

ดังนั้น ที่ผ่านมาสื่อกระแสหลักหลายสื่อในอเมริกาจึงไม่ให้ความสำคัญกับการประท้วงเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันในบ้านตัวเองนัก แต่กลับทุ่มเวลาส่วนใหญ่รายงานและวิเคราะห์สถานการณ์การประท้วงของชาวอียิปต์ที่จัตุรัสทาห์รีเสียมากกว่า ซีเอ็นเอ็น-อเมริกาเพิ่งถ่ายทอดสดการประท้วง OWS เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้นข่าวเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม OWS มีแค่สั้นๆ เพียงนาทีเดียวเหมือนกับการเสนอข่าวน้ำท่วมจากประเทศไทยหรือข่าวอริสมันต์ที่กำลังโหนเชือกลงจากตึก ส่วนข่าวประจำวันจากทีวีสาธารณะก็สรุปสั้นๆ แค่สองสามนาทีเท่านั้น ทีวีสาธารณะช่องPBS ของอเมริกาดูจะมีการสนทนากันมากที่สุดเกี่ยวกับปรากฎการณ์นี้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งกระแสหลักและออนไลน์เป็นสื่อหลักในการรายงานและวิเคราะห์สถานการณ์

ภาพลักษณ์เป็นปัญหาอีกประการที่ทำให้หลายคนมองขบวนการ OWS ว่าเสมือนเป็นเด็กไร้เดียงสา เฟ้อฝัน เป็นคนไร้บ้าน ไม่มีงานทำ แถมสกปรกไม่อาบน้ำ หรือพูดสั้นๆ คือพวกเด็กมีปัญหา พวกซ้ายจัด หรือพวกอยู่กับโลกแห่งความฝัน นายนิวท์ กิงริช (Newt Gingrich) หนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับพริกันกล่าวว่าขบวนการ OWS เป็นการเอาเปรียบสาธารณะ เพราะการประท้วงครั้งนี้ทำให้รัฐต้องใช้เงินจากภาษีประชาชนในการรักษาความปลอดภัยและทำความสะอาดเพิ่มมากขึ้น ผู้ประท้วงควรกลับไปอาบน้ำและหางานทำกันได้แล้ว

ยิ่งกว่านั้น พวกขวาจัดในสังคมอเมริกันก็จัดการป้ายสีขบวนการ OWS ให้เป็นพวกต่อต้านทุนนิยมไปซะทั้งหมด แม้ว่าขบวนการนี้จะมีกลิ่นอายของความไม่พอใจทุนนิยมหรือมีอุดมการณ์ซ้ายจัดอยู่จริง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นแค่ส่วนน้อย ความเหลื่อมล้ำทางสังคมอเมริกันมีอยู่นานแล้ว แต่ปะทุขึ้นมาในช่วงนี้ก็เพราะอเมริกาอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย เด็กจบใหม่ว่างงานกันมาก คนมีงานก็ตกงาน บ้านถูกยึด ของแพง ธุรกิจขาดทุน ยอดขายตก กู้เงินยากเป็นต้น แต่พวกเขาก็ยังต้องการที่จะมีงานทำ มีเงินใช้ มีธุรกิจ อยากร่ำรวยเป็นเศรษฐี มีโอกาสกู้เงินเพื่อซื้อบ้านซื้อรถ นักศึกษายังต้องการซื้อเทคโนโลยีทันสมัยเช่น Apple Iphone หรือ Mac แม้ว่าจะติดหนี้การศึกษาหัวโตอยู่ก็ตาม ฉะนั้น นี่คงไม่ใช่พฤติกรรมของผู้ต่อต้านระบบทุนนิยมกระมั่ง นอกจากวัยรุ่นนักศึกษาที่ถือได้ว่าเป็นหัวหอกในการเดินขบวนแล้ว ที่ขาดไม่ได้คือการสนับสนุนของมหาเศรษฐีผู้มีอันจะกินอย่างเช่นดารานักร้องต่างๆ ที่เดินทางมาให้กำลังใจและร่วมเดินขบวนด้วย หรือผู้ใหญ่ที่มีการงานทำแต่มาประท้วงไม่ได้ก็ส่งปัจจัยอาหารการกินและเครื่องนุ่งห่มมาสนับสนุนกองทัพ OWS ด้วย

แม้เราไม่อาจคาดเดาผลลัพธ์จากการประท้วงของ OWS ที่เป็นรูปธรรมเหมือนการประท้วงทั่วไปได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าขบวนการ OWS นั้นไร้สาระหรือขาดความสำคัญแต่อย่างใด เพราะยังไม่มีข้อโต้แย้งใดที่สามารถนำมาหักล้างประเด็นหลักในการเดินขบวนประท้วงของกลุ่ม OWS ได้ พวกเขาไม่พอใจอะไร...ไม่พอใจในเรื่องการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน ระบบการเก็บภาษีที่เอื้อประโยชน์ให้คนรวยและธุรกิจใหญ่ๆ ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนกว้างมากขึ้น การเลือกปฎิบัติของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือแบงค์และสถาบันการเงินมากกว่าประชาชนธรรมดาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อเดือนที่ผ่านมา รายงานของสำนักงานงบประมาณของสภาคองเกรส (Congressional Budget Office) แถลงข้อมูลสนับสนุนว่าในปัจจุบันคนที่มีรายได้สูงสุด 1% ของประเทศ มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 275% หลังหักภาษีแล้ว ตรงข้ามกับคนที่มีรายได้ต่ำสุด 5% ของประเทศ มีรายได้เพิ่มขึ้นเพียง 18%  ข้อมูลนี้จึงตอกย้ำ Slogan ของ OWS ที่ว่า “We are 99%” แม้ว่าบางคนอาจจะเรียกร้องให้ปรับตัวเลขเป็น We are 80% หรือตัวเลขใดๆ ก็ตาม แต่เราก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าการแสดงออกถึงความไม่พอใจของคนกลุ่มนี้ไม่ได้ขาดที่มาที่ไปหรือไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แม้กระนั้นก็ตาม การแพร่ระบาดของการเดินขบวนเพื่อสนับสนุนกลุ่ม OWS ที่กระจายไปทั่วประเทศและทั่วโลกก็เป็นปรากฎการทางสังคมที่ประจักษ์ชัดถึงความสำคัญในตัวของมันเองอยู่แล้ว

คำถามคือขบวนการนี้จะเคลื่อนตัวอย่างไรต่อไปและจะพัฒนาไปเป็นอะไรได้มากกว่านี้หรือไม่ ถ้าเรานึกให้ดีการเดินขบวนของคนไม่รักโอบามาและคนที่ไม่พอใจกับบทบาทของรัฐในสังคมอเมริกันหลังโอบามาได้เข้าปกครองประเทศ ก็ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจเดินประท้วงและจัดคอนเสริต์กันในหลายๆ เมืองตั้งแต่ปี 2009 การเคลื่อนไหวในครั้งนั้นถูกปฎิรูปให้กลายมาเป็นองค์กรการรวมตัวทางการเมืองใหม่ที่เรียกว่า Tea Party ในปัจจุบัน โดยมีกลุ่มทุนของพรรคริพับพริกันให้เงินสนับสนุนกิจกรรมอยู่เบื้องหลัง นักเขียนคอลัมน์ชื่อดังเดวิส คาร์ (David Carr) แห่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้เสนอว่ากลุ่ม OWS อาจจัดตั้งองค์กรเหมือน Tea Party ก็ได้ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ประเด็นที่ถกเถียงกันบนถนนจะถูกนำขึ้นมาพูดคุยสนทนากันในระดับชาติอย่างเป็นทางการ[v]

ประเด็นเรื่องเงินทุนในการจัดตั้งองค์กรคงไม่น่ามีปัญหา ดารานักแสดงนักร้องที่ปรากฎตัวในกลุ่ม OWS ก็มีอยู่มาก และองค์กรหัวก้าวหน้าที่เห็นด้วยกับกลุ่ม OWS ก็มีอยู่ไม่น้อย คนเหล่านี้น่าจะสามารถให้การสนับสนุนทางด้านการเงินได้หรือช่วยจัดงานแสดงเพื่อหาเงินทุนก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ปัญหาสำคัญคือ เรื่องความหลากหลายของประเด็นประท้วง เรื่องขาดความชัดเจนในข้อเรียกร้องและผลลัพธ์ เรื่องภาพลักษณ์ และปัญหาที่มีความสำคัญมากอีกประการคือการขาดผู้นำกลุ่ม

แน่นอน สิ่งเหล่านี้คือเอกลักษณ์ของกลุ่ม OWS ที่แตกต่างจากกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นๆ แต่ในทางกลับกันก็กลายเป็นจุดด้อยและสร้างความยากลำบากในการปฎิรูปขบวนการ OWS ให้กลายเป็นองค์กรทางการเมืองอย่างเป็นทางการ

ขบวนการ OWS จะแปลงร่างเป็น Tea Party ได้หรือไม่นั้น ต้องรอดูกันต่อไป

 

 

..................................
*นักวิจัยอิสระ อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'ประชาธิปไตยของขอทาน' (?)

$
0
0

 

 

                                สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

                                (ที่มา: http://www.facebook.com/prfile.php?id=100002500442297&ref=tn_tnmn)

 

กรณีศาลตัดสินจำคุก “อากง” 20 ปี ในความผิด ม.112 เนื่องจากส่งข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และพระราชินีผ่าน SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขาฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เกิดการตั้งคำถามอย่างกว้างขวาง เช่น

1) ทำไมการทำผิดด้วย “คำพูด” หรือ “ข้อความ” จึงต้องติดคุกถึง 20 ปี หากกฎหมายมีไว้เพื่อรักษา “ความยุติธรรม” เราจะอธิบายอย่างไรว่าการทำผิดกับการลงโทษในกรณีดังกล่าวมีความยุติธรรมอย่างไร ไม่ใช่เพียงอธิบายไม่ได้ว่ามันยุติธรรมอย่างไรแก่ผู้ถูกลงโทษเช่นอากงเป็นต้นเท่านั้น มันยังอธิบายไม่ได้ในทางหลักการว่า การที่รัฐออกกฎหมายให้ลงโทษประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างหนักเกินไปเช่นนี้มันยุติธรรมแก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างไร และยังอธิบายไม่ได้ด้วยว่าทำไมสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจึงสมควรได้รับการปกป้องให้ดำรง “สถานะอันศักดิ์สิทธิ์” บน “ความอยุติธรรม” ที่ประชาชนต้องแบกรับอย่างหนักหนาสาหัสเช่นนี้

2) ข้อความที่ศาลตัดสินว่าหมิ่นประมาททำให้พระมหากษัตริย์และพระราชินีอาจถูกเกลียดชัง และกระทบต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรนั้น เป็นข้อความที่สาธารณชนไม่มีโอกาสได้รับรู้เลย เป็นแค่ข้อความที่ส่งไปทางโทรศัพท์มือถือส่วนตัวของบุคคลผู้หนึ่งเท่านั้น และไม่มีประจักษ์พยานว่าอากงเป็นผู้ส่งข้อความนั้นจริง ผู้พิพากษาอาศัยเพียงพยานแวดล้อมก็สรุป “เจตนาภายใน” เพื่อตัดสินจำคุกชายชราสุขภาพแย่ถึง 20 ปี จึงเกิดคำถามต่อการใช้ดุลพินิจของศาลไทยเป็นอย่างยิ่งว่า สังคมจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าดุลพินิจของศาลยึด “ความยุติธรรม” แก่ประชาชนอย่างสูงสุดเป็นหลัก

นั่นคือปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ กับระบบตุลาการที่คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอายต่อชาวโลก สื่อและนักวิชาการต่างชาติเขามองอย่างตระหนกและงวยงงว่า ในยุคที่โลกเน้นความสำคัญของ “สิทธิมนุษยชน” มากขนาดนี้ ประเทศที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างไทยยังมีกฎหมายแบบนี้ มีดุลพินิจของศาลออกมาแบบนี้ได้อย่างไร

นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำถาม แต่ยังมีคำถามที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ คำถามต่อบทบาทของ “ผู้นำ นปช.” ดังที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตั้งคำถามข้างต้น

หากยังจำกันได้หลังเกิดการสลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน 2553 สมศักดิ์ออกมาเตือนสติแกนนำ นปช.ในเวลานั้นตรงๆ ว่า “อย่าว่าแต่ 25 ศพ เลย แม้แต่ประชาชนเสียชีวิตเพียง 1 คน ก็ไม่คุ้มหากเป้าหมายการต่อสู้เพียงเพื่อให้ได้การเลือกตั้ง” แต่ ณ เวลานั้นแกนำตั้งธงแน่วแน่ว่าจะต้องสู้เอาชนะให้ได้ วาทกรรม “โค่นอำมาตย์” ถูกตอกย้ำอย่างหนักแน่นจริงจังจนฝังอยู่ในจิตสำนึกของผู้คน

แต่ผลที่สุดคือคนตายร่วมร้อยและไม่ได้การเลือกตั้งในทันที ที่พูดเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่ผมต้องการ “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ” เพียงแต่ต้องการย้ำให้เห็นภาพความเอาจริงเอาจัง ความต้องการเอาชนะให้ได้ของ “แกนนำ” ในเวลานั้น ทั้งที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบขนาดนั้น ยังทุ่มเทยอมเสี่ยงขนาดนั้น แต่เวลานี้ชนะเลือกตั้งแล้ว มีอำนาจรัฐอยู่ในมือแล้ว ความเอาจริงเอาจัง ทุ่มเท กล้าเสี่ยงเพื่อให้ได้มาซึ่ง “ประชาธิปไตย” ตามที่เคยประกาศเป็นสัญญาประชาคมหายไปไหน?!

ผมเข้าใจความซับซ้อนของปัญหาและความจำเป็นต้องรอบคอบของรัฐบาลเพื่อไทย ทักษิณ และแกนนำ นปช. ครับ แต่ว่าในเมื่อพวกคุณเป็นผู้นำมวลชน ประกาศแก่ประชาชนว่าต่อสู้เพื่อ “ประชาธิปไตย” พวกคุณจะยอมให้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตกอยู่ในสภาพ “ประชาธิปไตยของขอทาน” ตลอดไปได้อย่างไร (1) ขอทานการเลือกตั้งที่ต้องแลกด้วยชีวิตประชาชนร่วมร้อยศพ (2) ขอทานให้อีกฝ่ายลืมอดีต ขอทานความปรองดอง ขอทานความยุติธรรม ในขณะที่เพื่อนร่วมชะตากรรมยังติดคุก ไม่ได้ประกันตัว และถูกตัดสินจำคุก 20 ปี บ้าง 30 ปี บ้าง ด้วยข้อหาผิด ม.112 และข้อหาก่อการร้าย และ (3) ถึงชนะเลือกตั้งแล้วก็ยังเป็นรัฐบาลที่ถูกอีกฝ่ายข่ม และขากถุยอยู่ทุกวัน ทั้งที่พยายามอดทนพินอบพิเทาอย่างยิ่ง

แต่เราจะอยู่ในสภาพของขอทาน พินอบพิเทา อดทน ไปเรื่อยๆ (ไม่รู้จะไปได้ยืดแค่ไหน?) ทั้งๆ ที่เพื่อนร่วมชะตากรรมไม่ได้รับความยุติธรรม และถูกกระทำอย่างอยุติธรรมคนแล้วคนเล่าเช่นนั้นหรือ?

ขณะที่ยังไม่ได้อำนาจรัฐยังกล้าเสี่ยงแม้ต้องแลกด้วยชีวิตประชาชน แต่เมื่อมีอำนาจรัฐแล้วทำไมไม่กล้าเสี่ยงแม้แต่จะรับข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ไปดำเนินการต่อ แม้แต่จะรับข้อเรียกร้องการแก้ ม.112 ไปดำเนินการต่อ มีอะไรบ้างครับที่ไม่ต้องเสี่ยง ขอทานความยุติธรรม ขอทานความปรองดองอย่างพินอบพิเทาอย่างที่ทำๆ อยู่มันไม่เสี่ยงจริงหรือ?

ถ้าไม่ทำอะไรเรื่อง ม.112 แต่อีกฝ่ายทำอยู่เรื่อยๆ จนมาถึงกรณีอากง แล้วไงครับผู้นำประชาชนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เห็นประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยถูกตัดสินติดคุก 20 ปี เพราะความผิดจากการใช้ “ข้อความหมิ่นฯ” ซึ่งไม่ทำให้ใครต้องมีแม้แต่ “บาดแผลบนผิวหนัง” กฎหมายอย่างนี้ยุติธรรมไหม เป็นประชาธิปไตยไหมครับ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหากไม่แก้กฎหมาย แก้ระบบให้เป็นประชาธิปไตย มันก็เป็นการต่อสู้ที่ไม่มีผลเป็นรูปธรรม การชุมนุมกลางถนนเพื่อขอทานประชาธิปไตยกับพวกที่มีปืน มีรถถัง มีกำลังทหารในอยู่มือก็ไม่มีวันสิ้นสุด

มันคงเป็นเรื่อง “ตลกร้าย” อย่างยิ่ง ถ้าการต่อสู้ของประชาชนในประเทศนี้ที่มีสัญญาประชาคมตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 แล้วว่าพวกเขาคือเจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นเจ้าของแผ่นดิน หรือประชาชนทุกคนมีสิทธิเป็นเจ้าของแผ่นดินนี้อย่างเท่าเทียม แต่ในความเป็นจริงพวกเขาถูกทำให้เชื่อว่าพวกตนเป็นเสมือน “ผู้อาศัย” ในแผ่นดินที่มีเจ้าของ และการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตยของพวกเขาก็อยู่ในสภาพเสมือนดัง “ขอทาน” (ขอทานยังไม่ต้องแลกด้วยชีวิต แต่นี่แลกมาหลายครั้งแล้ว)

อยากถามทักษิณ รัฐบาลเพื่อไทย ผู้นำ นปช.ว่า ในฐานะที่พวกคุณได้อำนาจรัฐมาด้วยการเสียสละชีวิตของประชาชน พวกคุณยังจะขอทานความปรองดอง ความยุติธรรม อย่างพินอบพิเทา เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ หรือ ขณะที่เพื่อนร่วมชะตากรรมของพวกคุณถูกกระทำอย่างอยุติธรรม พวกคุณมีคำตอบหรือไม่ว่าจะช่วยพวกเขาให้ได้รับความยุติธรรมอย่างไร อำนาจรัฐที่ได้มาจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อให้สังคมเป็นประชาธิปไตยตามที่สัญญาไว้แก่มวลชนอย่างไร

ผมเข้าใจว่าพวกคุณยังมีความ “กล้าหาญที่จะเสี่ยง” เพราะพวกคุณไม่มีวันหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้อยู่แล้ว พวกคุณต้องเสี่ยงตลอดเวลา แต่ทำไมเมื่อความอยุติธรรมไล่ล่าประชาชนขนาดนี้ พวกคุณจึงไม่กล้าเสี่ยงเพื่อประชาชน ทำไมไม่ทำให้การเสี่ยงเพื่อประชาชน เพื่อประชาธิปไตย กับเสี่ยงเพื่อทักษิณไปด้วยกันได้อย่างมีเหตุมีผลที่อธิบายต่อมโนธรรมทางสังคมได้!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปคปอ. เตรียมย้าย “นักโทษการเมือง” ไปเรือนจำชั่วคราวหลักสี่

$
0
0

คณะกรรมการประสานงานคอป. มีมติแยก-ย้ายนักโทษที่เกี่ยวข้องกับคดีการเมืองไปอยู่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ หวังสร้างบรรยากาศปรองดอง อธิบดีกรมราชทัณฑ์เผยปัจจุบันมีนักโทษการเมืองราว 100 คน รวมแกนนำเสื้อแดงและนักโทษคดีหมิ่น เช่น “อากง”, 'สุรชัย' และ 'สมยศ'

ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมวันนี้มีหน่วยงานสำคัญหลายหน่วย เช่น กระทรวงยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมราชทัณฑ์ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งกระทรวงยุติธรรมมี 3 หน่วยงานหลักในการดำเนินการเรื่องนี้คิดว่างานด้านนี้ของรัฐบาล ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญอย่างหนึ่งจะผ่านด้วยดีจากความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ โฆษก ปคอป.กล่าวว่า หน้าที่หลักของคณะกรรมการชุดนี้ คือ การนำมาตรการหรือข้อเสนอของ คอป.มาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยมีหน่วยงานรัฐบาลหลายส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ที่จะนำไปดำเนินการได้และครม.มีมติรับทราบการดำเนินงานของคณะกรรมการ ปคอป.แล้ว ซึ่งแผนงานจะมุ่งไปใน 3 มิติ คือ มาตรการเยียวยาทางอาญาซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคดีการเมือง ซึ่งจะรวมถึงคดีหมิ่นสถาบันด้วย จากนั้นจะมีกระบวนการเยียวยาด้านแพ่งและจะหามาตรการที่เหมาะสมที่จะเยียวยาในลักษณะอื่นๆ จากนั้นจะเป็นมาตรการในการสื่อสารกับสังคม เพื่อให้เข้าใจกระบวนการปรองดองที่จะเกิดขึ้น

นายวีระวงค์กล่าวว่า เรื่องสำคัญในการประชุม คือ ปคอป.ได้ประสานกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการ เพื่อที่จะสรุปสถานะคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองว่าขณะนี้อยู่ที่ไหนอย่างไรแล้ว ส่วนต่อไปที่จะต้องทำ คือ อนุกรรมการที่จะมีการแต่งตั้งขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอาญาและเรื่องแพ่งจะไปพิจารณาต่อไปว่าจะทำอย่างไรเบื้องต้นได้มีมาตรการสำคัญที่เยียวยาทางอาญาที่จะออกมาแล้ว คือ มีผู้ต้องขังในขณะนี้ ที่เกี่ยวข้องกับคดีทางการเมืองจำนวน 101 คนเข้าใจว่าจากการพระราชทานอภัยโทษจะลดลงประมาณ 20 คนส่วนที่เหลือจะมีการย้ายโดยกรมราชฑัณฑ์ไปไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน ซึ่งน่าจะทำได้ภายในวันที่ 21 ธ.ค.นี้

ส่วนมาตรการอื่นๆ ตามที่ คอป.เสนอมา จะมีคณะอนุกรรมการไปพิจารณาเพิ่มเติม เช่น จะมีการปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้มากกว่านี้หรือไม่ ด้วยวิธีอย่างไรจะมีการพิจารณาเรื่องการตั้งข้อหาและการดำเนินคดีกับคดีที่ยังไม่สิ้นสุดในระยะต่อไป จะทำอย่างไรจะชะลอจนกว่ามีมาตรการเหมาะสมทางด้านอาญาหรือมีข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่านี้หรือไม่ในวิธีการดังกล่าวจะเป็นระดับต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนในการตั้งคณะอนุฯ และใช้เวลาอีกระยะในการหามาตรการที่เหมาะสมและเสนอต่อ ปคอป. และปคอป.จะเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการตามที่เห็นควรต่อไป

ตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุดเล็งเยียวยา-ประชาสัมพันธ์

ด้าน นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในฐานะรองโฆษกกล่าวว่า การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ที่ประชุมได้มอบหมายประธานเป็นผู้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นอนุกรรมการ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 คณะ 1.เป็นอนุกรรมการด้านการเยียวยาโดยใช้มาตรฐานสากลมาดูว่าคดีความผิดทางการเมืองไม่น่าจะเป็นโทษทางอาญาหรือไม่ การพิจารณาต้องดูเรื่องเหล่านี้ด้วย 2.คณอนุกรรมการเยียวยาทางแพ่งก็จะนำมาตรฐานสากลมาใช้เช่นกันเพื่อดูความสมเหตุสมผลของคดี เนื้อของคดี การกล่าวหาต่างๆ ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ 3.อนุกรรมการด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อต้องการให้ประชาชนในประเทศรับทราบถึงการดำเนินการต่างๆปรัชญาการดำเนินคดีทางการเมืองเป็นอย่างไรบ้าง และระดับสากลทำอย่างไรจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ การดำเนินการต่างๆ ของเราเป็นที่เฝ้ามองของต่างประเทศ ซึ่งนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นผู้นำผลการประชุมต่างๆ ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศเนื่องจากมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศและชาวต่างชาติเสียชีวิตด้วยในคดีที่เกี่ยวข้อง จึงต้องประชาสัมพันธ์ด้านต่างประเทศด้วย

ด้าน นายธานีกล่าวว่า จากการประชุมครั้งที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้นำผลประชุมและมติครม.ทำเอกสารเผยแพร่ภาษาอังกฤษส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูตและกงสุลไทยทั่วโลกแล้ว และขึ้นเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยเพื่อให้ชาวต่างชาติได้รับรู้ต่างประเทศได้ติดตามเรื่องการปรองดองและการดำเนินการของคณะกรรมการอย่างใกล้ชิดซึ่งในการพบปะกับผู้นำต่างประเทศต่างๆ มักจะสอบถามเรื่องนี้และสนับสนุนกระบวนการปรองดองและพร้อมให้การสนับสนุนทางวิชาการกับฝ่ายไทยด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเรื่องของรูปคดีมีบทสรุปแล้วหรือไม่ และเรื่องข้อกล่าวหาบางเรื่องมีการตั้งข้อกล่าวหาเกินกว่าเหตุมีการดูแลเรื่องนี้อย่างไรบ้าง นายวีระวงศ์กล่าวว่า ในขณะนี้จากข้อมูลกองงานที่เกี่ยวข้องได้เชิญสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ยังไม่ได้มีการลงในรายละเอียดของข้อกล่าวหาว่าการกล่าวหานี้เป็นอย่างไร เพราะว่าความจำเป็นเร่งด่วนในขณะนี้เป็นเรื่องของผู้ที่ถูกคุมขังเพราะตอนนี้มีผู้ที่ถูกคุมอยู่ 101 คนที่เราต้องหามาตรการเข้าไปดูแล เพื่อให้มีการย้ายออกมาที่โรงเรียนพลตำรวจ ซึ่งความหมายของ คอป.เป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองเป็นคดีที่ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังรัฐประหารตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2549 ในมาตรการต่างๆ ที่ คอป.จะดูแลจะต้องให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะอยู่สีไหนก็แล้วแต่ รวมถึงทหาร ข้าราชการที่เกี่ยวข้องจะได้รับการดูแลในแบบเดียวกัน

นายอเนกกล่าวต่อว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สรุปสำนวนคดีที่เกี่ยวข้องว่ามีอะไรบ้างซึ่งคดีที่เกิดก่อนปี 2549 ทางตำรวจก็กำลังดำเนินการอยู่ส่วนคดีทีเกิดหลังปี 2549 ทางตำรวจได้เก็บข้อมูลเกือบจะแล้วเสร็จทั้งนี้คดีที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2552-2553 กำลังดำเนินและจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ ทางอัยการสูงสุดได้รายงานประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องถึงประเด็นโทษว่ารุนแรงไปหรือไม่ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวกำลังเข้าไปดูว่ามีคดีไหนบ้างมีสำนวนข้อกล่าวหาที่รุนแรงเกินกว่าเหตุซึ่งอาจจะมีการพูดถึงเรื่องการชะลอการดำเนินคดีอาญาในเรื่องทางการเมืองตามข้อเสนอของนายคณิต ณ นคร

เมื่อถามว่า เหตุผลในการย้ายผู้ต้องขังคดีทางการเมืองจากรมราชฑัณไปโรงเรียนพลตำรวจบางเขนหรือการพิจารณาคดีอาญาไม่ให้เป็นคดีอาญา นายวีระวงศ์กล่าวว่า ในแนวคิดที่เป็นสากล ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับประเทศเกิดแนวคิดทางอาญาและทางแพ่งขึ้น 2 ประการคือมาตรการทางอาญาตามปกติที่มาตามประมวลกฎหมายหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อาจจะไม่เหมาะสมสาเหตุเป็นเพราะมูลเหตุจูงใจทางด้านที่มีการลงโทษทางอาญาปกตินั้นเป็นมูลเหตุลักษณะการเป็นผู้ร้ายแต่เมื่อไหร่ที่มีคดีมีการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นเริ่มมีมูลเหตุจูงใจที่ไม่ใช่มูลเหตุดังเดิมอันเป็นที่มาของกฎหมาย ผลต่างๆ จะนำมาใช้ได้อย่างไร และเพียงไร ซึ่งตอนนี้คำตอบยังไม่ทราบจนกว่าคณะกรรมการจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร

นายวีระวงศ์กล่าวว่า ส่วนมาตรการทางแพ่ง หมายความว่าในเรื่องที่เกิดขึ้น คือ ผู้ที่กระทำและผู้ที่ถูกกระทำจึงจำเป็นที่จะต้องมาพิจารณาว่าผู้ถูกกระทำจะได้รับการเยียวยาอย่างไรซึ่งในมาตรการสากลที่เคยใช้และประสบความสำเร็จมาแล้วเกิดความคิดขึ้นว่าวิธีการเยียวยาทางแพ่งที่อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับเรื่องเยียวยาความเสียหายก็อาจจะไม่เหมาะสมโดยเฉพาะเมื่อคำนึงสิทธิมนุษยชนจึงจำเป็นต้องมีคณะอนุกรรมการเพื่อมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบเพื่อเอาแนวคิดที่ประสบความสำเร็จในที่อื่นๆ มาใช้ในประเทศไทยเมื่อถามว่า ตัวเลขผู้ที่ถูกคุมขังทั้งก่อนปฎิวัติและหลังน่าจะมีจำนวนมากกว่า 101 คน นายวีระวงศ์ กล่าวว่าบางส่วนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ได้รับการประกันตัว เพราะฉะนั้นในขณะนี้คือผู้ที่ลงคดีถึงที่สุดแล้วหรือว่าด้วยเหตุใดที่ไม่ได้รับการประกันตัวก็ถูกคุมขังอยู่อย่างนั้น

อธิบดีกรมคุกเผยเตรียมย้าย “กี้” หากไม่ได้ประกัน

ในวันเดียวกัน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีการเคลื่อนย้ายนักโทษคดีการเมือง ไปคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ว่า เนื่องจากมีข้อเสนอจากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และมติคณะรัฐมนตรี เห็นควรให้แยกนักโทษคดีการเมืองออกจากนักโทษคดีอาชญากรรมทั่วไป ทางกรมราชทัณฑ์จึงจะดำเนินการย้ายนักโทษที่เข้าข่ายคดีการเมืองกว่า 100 คน ซึ่งรวม นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำ นปช. หากยังไม่ได้รับการประกันตัว ไปอยู่ยังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ที่กำลังปรับปรุงอยู่ในขณะนี้ ในวันที่ 21 ธันวาคม ส่วนหลักเกณฑ์ในการพิจารณานักโทษการเมืองที่จะย้ายมาอยู่เรืองจำชั่วคราวหลักสี่นั้น ทาง คอป. จะเป็นผู้กำหนดทั้งหมด 

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงในส่วนของกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หากกลับมารับโทษนั้น จะถูกนำไปคุมขังอยู่ในเรือนจำใด ด้านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า รอให้กลับมาก่อน ถึงจะพิจารณาอีกครั้ง ว่าจะดำเนินการอย่างใด

“ธิดา” เผยนักโทษคดีหมิ่นฯ ทั้ง “อากง”-สมยศ-สุรชัย ย้ายด้วย

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (7 ธ.ค.) เดลินิวส์ยังรายงานว่า นางธิดา  ถาวรเศรษฐ์  รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)  กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการขอให้ย้ายผู้ต้องขังคดีการเมืองไปคุมขังยังเรือนจำเฉพาะที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขนว่า  หลังยื่นเรื่องดังกล่าวต่อพล.ต.อ.ประชา  พรหมนอก  รมว.ยุติธรรม  เพื่อให้ย้ายผู้ต้องขังคดีการเมืองมาคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่  โดยผู้ต้องโทษกลุ่มแรกที่จะถูกย้ายตัวไปควบคุมมีจำนวน 32 คน ประกอบด้วยผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯจำนวน 28 ราย , ทัณฑสถานหญิงกลาง 1 คน ,เรือนจำพิเศษธนบุรี 1 คน และเรือนจำจังหวัดนนทบุรี 2

“ตนทราบจากพ.ต.อ.สุชาติ  วงศ์อนันต์ชัย  อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ว่าจะให้มีการย้ายนักโทษให้เข้ามาอยู่ที่เรือนจำดังกล่าววันที่ 21 ธ.ค.นี้  เนื่องจากเรือนจำได้ทำการปรับปรุง  โดยในจำนวนนี้มี นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ , นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง  นักโทษต้องโทษคดีหมิ่นเบื้องสูงด้วย”นางธิดา กล่าว

สำหรับเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ซึ่งอยู่ในโรงเรียนพลตำรวจบางเขน สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้มีการปรับปรุงเพื่อเตรียมรองรับการควบคุมตัวนักโทษคดีการเมืองและนักโทษต่างประเทศ ในยุคที่พล.ต.อ.เพรียวพันธ์  ดามาพงศ์ เป็นผบ.ตร. ได้มีคำสั่งให้มีการปรับปรุงอาคารเดิมความสูง 4 ชั้น โดยได้ทาสีรั้วใหม่เป็นสีเหลืองอ่อน  ส่วนตัวตึกมีทั้งสีขาว และสีส้ม  ด้านนอกอาคารติดเหล็กดัด ป้องกันการหลบหนี  ทั้งนี้เรือนจำดังกล่าวได้ถูกใช้เป็นที่คุมขัง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในปี 2535 ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬด้วย

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“MRC” ไร้มติชี้ขาด “เขื่อนไซยะบุรี” เล็งทุน “ญี่ปุ่น” ศึกษาเพิ่มทั้งลำน้ำโขงตอนล่าง

$
0
0

สรุปประชุมคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เล็งทุนญี่ปุ่นศึกษาเพิ่มเติมการพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน เผยวาระ “เขื่อนไซยะบุรี” หารือแค่ภาพกว้าง ด้านชาวบ้านเตรียมล่าชื่อฟ้องศาลปกครอง ชี้ กฟผ.งุบงิบเซ็นต์สัญญาซื้อขายไฟฟ้าลาว  

 
วันนี้ (8 ธ.ค.54) คณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) จัดประชุมที่เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา เพื่อหาข้อสรุปเรื่องการปรึกษาหารือล่วงหน้าระหว่างประเทศสมาชิก เกี่ยวกับโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธานในแขวงไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการประชุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมประจำปีของคณะมนตรี ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากรน้ำ จากประเทศสมาชิก  4 ประเทศ คือ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว) ไทย และเวียดนาม ระหว่างวันที่7-9 ธ.ค.54
 
 
เผยเล็งแหล่งทุนญี่ปุ่นศึกษาเพิ่มเติม แนวทางการพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
 
หลังการประชุม สำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงออกแถลงการณ์ (คลิกอ่าน) ข้อสรุปการประชุมซึ่งระบุถึงโครงการพัฒนาบนแม่น้ำโขงตอนล่างว่า การประชุมคณะมนตรีคณะกรรมการแม่น้ำโขง มีผลสรุปในวันนี้ว่า ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของการพัฒนาและการจัดการแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนต่อไปอีก รวมถึงผลกระทบของโครงการเขื่อนพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายหลัก
 
คณะกรรมาธิการที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เกี่ยวข้องต่างเห็นพ้องต้องกันในหลักการว่าจะทาบทามรัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อการสนับสนุนในการดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
 
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า ผลการประชุมดังกล่าวนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการพูดคุยร่วมกันของประเทศสมาชิกทั้ง 4 ในการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 ที่จัดคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 19 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยรัฐมนตรีฯ ทั้ง 4 รวบรวมข้อสรุปประจำปีเพื่อนำเข้าหารือในที่ประชุมกระบวนการให้คำปรึกษาก่อนการเสนอโครงการเขื่อนไซยะบุรี พร้อมทั้งเรื่องการบริหารและการจัดการอื่นๆ
 
นายลิม เคียน ฮอร์ (Mr.Lim Kean Hor) ประธานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรน้ำและอุตุนิยมวิทยาของกัมพูชากล่าวว่า ผลการประชุมที่ออกมาในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกที่จะทำงานร่วมกันภายใต้ข้อตกลงแม่น้ำโขงเพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยที่ไม่ทำลายความยั่งยืนในการดำรงชีวิตของประชาชนและระบบนิเวศวิทยา และการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจะช่วยให้ภาพที่สมบูรณ์แก่ทั้ง 4 ประเทศ เพื่อจะสามารถนำไปใช้ในการถกเถียงประเด็นการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันได้
 
นอกจาก นายเคียน ฮอร์แล้ว คณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงท่านอื่นๆ ที่ร่วมในการประชุมประกอบด้วย นายหนูลิน สินบันดิด (Mr.Noulinh Sinbandhit) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของลาว นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย และนายเหงียน มินห์ กว่าง (Mr.Nguyen Minh Quang) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเวียดนาม
 
แจงมีวาระ “เขื่อนไซยะบุรี” แต่เป็นการหารือในภาพกว้าง
 
ดร.วิเทศ ศรีเนตร ผู้ประสานงานแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กล่าวให้สัมภาษณ์ว่าการประชุมคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงครั้งนี้มีวาระเกี่ยวกับเขื่อนไซยะบุรีแต่ไม่ได้มีการเจรจาเจาะจงในเรื่องนี้โดยตรง และไม่ได้มีการแสดงท่าทีที่ชัดเจนของแต่ละประเทศ แต่หารือในภาพที่กว้างกว่าในเรื่องการพัฒนาบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง จึงไม่มีมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว
 
อย่างไรก็ตามผลการประชุมครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่ประเทศสมาชิกมุ่งเดินหน้าในการพัฒนาร่วมกัน
 
ส่วนสถานภาพของกระบวนการตามระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง (PNPCA) ซึ่งเขื่อนไซยะบุรี เป็นโครงการแรกที่เข้าสู่กระบวนการ PNPCA ดร.วิเทศ กล่าวว่า ในขณะนี้สถานภาพของ PNPCA ยังไม่จบสิ้น คือยังคงเดิมจากเมื่อครั้งการประชุมพิเศษของคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 19 เม.ย.54 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ประเทศลาว คือยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ทั้งนี้ การจะเดินหน้าโครงการเขื่อนไซยะบุรีต่อหรือไม่ ต้องให้เป็นคำตอบของรัฐบาลลาวโดยตรง
 
ดร.วิเทศ กล่าว ถึงกระบวนการ PNPCA ของเขื่อนไซยะบุรีว่า ไม่ได้ถือเป็นบรรทัดฐาน เพราะการพิจารณาพิจารณาเป็นรายกรณี แต่ถือเป็นบทเรียนในการหารือร่วมกัน การเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อโครงการเขื่อนไซยะบุรีไม่มีผลต่อโครงการอื่นๆ เพราะแต่ละโครงการย่อมมีรูปแบบและผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป เราต้องเดิมร่วมกัน ศึกษาเพิ่มเติมร่วมกัน
 
ย้ำ “คณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง” ไม่ใช่คนตัดสิน แค่ให้ข้อมูล
 
ดร.วิเทศ กล่าวด้วยว่า คณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงไม่ได้มีบทบาทในการตัดสินใจ แต่ทำหน้าที่ทางวิชาการ ให้ข้อมูล ประสานงาน เพื่อให้รัฐบาลแต่ละประเทศมีความพร้อมในการตัดสินใจ และมีการแลกเปลี่ยนร่วมกัน
 
ต่อคำถามถึงการให้ความมั่นใจในกระบวนการของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแก่ผู้ที่เฝ้าติดตามว่าการดำเนินโครงการพัฒนาใดๆ บนลำน้ำโขงจะมีความคำนึงถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต รวมทั้งการมีธรรมาภิบาล ดร.วิเทศ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงพยายามในการทำให้การตัดสินใจดำเนินโครงการต่างๆ อยู่บนพื้นฐานการมีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจ ฟังความคิดเห็นของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงไม่สามารถยืนยันแทนประเทศเจ้าของโครงการได้
 
 
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการโครงการเขื่อนไซยะบุรีในพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ดร.วิเทศ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงอาจทราบน้อยกว่าข้อมูลที่ผู้ติดตามรับทราบผ่านทางสื่อมวลชน (คลิกดูตัวอย่างข่าว) เนื่องจากข้อมูลที่คณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงมีนั้นได้มาจากการสื่อสารอย่างเป็นทางการจากทางรัฐบาลลาว ทั้งนี้หลังจากมีการรายงานข่าวการเข้าไปดำเนินการปรับเตรียมพื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการ ทางคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงก็ได้ออกหนังสือสอบถามไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับอย่างเป็นทางการ
 
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ได้มีรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ออกมาในเดือนตุลาคม 2553 ชี้ให้เห็นว่าโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลักที่กำลังมีการเสนออยู่ในขณะนี้ จะก่อผลกระทบด้านนิเวศวิทยา เศรษฐกิจ และสังคม ที่ร้ายแรง ทั้งที่เป็นผลกระทบภายในประเทศ และผลกระทบข้ามพรมแดน โดยมีข้อเสนอหลักมีข้อเสนอแนะหลักว่าให้ “ชะลอการตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลักออกไปเป็นเวลา 10 ปี”
 
เครือข่ายภาคประชาชน เตรียมเดินหน้าให้ข้อมูลต่อเนื่อง
 
ด้านนายอิทธิพล คำสุข เลขานุการเครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย จ.เชียงราย จ.เลย จ.หนองคาย จ.บึงกาฬ จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี กล่าวภายหลังการทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงว่า การที่ยังไม่มีมติให้ดำเนินโครงการเขื่อนไซยะบุรีทำให้เห็นช่องทางในการรณรงค์ให้ข้อมูลกับประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงให้มากขึ้น โดยวางแผนว่าในเดือนนี้จะมีการรณรงค์ที่จังหวัดเลย และจะมีการเชิญชวนกลุ่มผู้คัดค้านโครงการดังกล่าวไปยื่นหนังสือต่อ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นคนจังหวัดเลยเช่นกัน
 
เลขานุการเครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง กล่าวว่าการรณรงค์กับคนไทยเองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโครงการดังกล่าวผู้ดำเนินงาน เจ้าของโครงการอยู่ในเมืองไทย ผู้ซื้อไฟฟ้าก็คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และแหล่งเงินทุนก็คือธนาคาร 4 แห่งของไทย สิ่งเหล่านี้ทำมองได้ว่าการดำเนินการความปฏิบัติตามหลักกฎหมายไทย ทั้งในเรื่องธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้หากโครงการดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน แต่กลับมีการก่อสร้างรุดหน้าไปเรื่อยๆ ความขัดแย้งระหว่างประเทศอาจเพิ่มขึ้นต่อไปได้
 
 
ย้ำค้านถึงที่สุด ขั้นเด็ดขาดอาจมีปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
 
นายอิทธิพล กล่าวว่า ทางเครือข่ายได้มีกระบวนการรณรงค์ได้เริ่มไปในระดับหนึ่งแล้ว และจะต่อสู้ต่อไปจนถึงที่สุด โดยสิ่งที่จะทำต่อไปคือ การล่ารายชื่อประชาชนลุ่มน้ำโขงและเครือข่ายภาคประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการเขื่อนไซยะบุรี ฟ้องศาลปกครอง กรณีที่ ครม.มีมติเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ให้ กฟผ.ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี โดยที่ไม่มีการชี้แจงหรือแถลงข่าวใดๆ ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นการกระทำที่ผิดปกติ และละเมิดสิทธิในการดำรงชีวิตของประชาชน หากการดำเนินการคัดค้านโครงการดังกล่าวไม่เป็นผลก็อาจมีการรวมตัวกันเพื่อปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทั้ง 3 แห่ง
 
“หากรัฐบาลไม่ฟังเสียงของเราจริงๆ เราก็จำเป็นต้องทำ” นายอิทธิพล กล่าว
 
นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่าเมื่อวานนี้ (7 ธ.ค.54) ตัวแทนชาวบ้านเครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือถึง ถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านสำนักนายกฯ ให้พิจารณาทบทวน และยกเลิกการให้ประเทศไทยสนับสนุนโครงการเขื่อนไซยะบุรี เนื่องจากเป็นโครงการที่จะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คน รวมไปถึงความมั่นคงทางอาหาร
 
วันเดียวกันยังมีการยื่นหนังสือต่อ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เพื่อให้ยกเลิกโครงการดังกล่าวด้วย
 
 
ทั้งนี้ โครงการเขื่อนไซยะบุรี มีความยาวเขื่อน 810 เมตร กำลังผลิตไฟฟ้า 1260 เมกะวัตต์ โดย 95 เปอร์เซ็นต์ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขายให้กับประเทศไทย ขณะที่บริษัทผู้ก่อสร้างคือ บริษัท ช.การช่าง ของไทยซึ่งได้มีการเจรจาตกลงค่าธรรมเนียมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ในเดือนกรกฎาคม 2553
 
ตัวเขื่อนตั้งอยู่บริเวณแก่งหลวง ห่างจากตัวเมืองไซยะบุรีในตอนเหนือของลาวประมาณ 30 กิโลเมตร จากหลวงพระบางประมาณ 150 กิโลเมตร และห่างจาก อ.เชียงคาน จ.เลย ประเทศไทย 200 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 12 โครงการเขื่อนที่จะมีการก่อสร้างบนลำน้ำโขงสายหลักตอนล่าง
 
สำหรับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2538 โดยมี 4 ประเทศ คือ กัมพูชา เวียดนาม ไทย และลาว ซึ่งใช้ประโยชน์ลุ่มน้ำแม่โขงตอนล่างร่วมกันลงนามในความตกลงว่าด้วยการร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงแบบยั่งยืน
 
ความตกลงดังกล่าวกำหนดให้มีระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง (Procedures for Notification, Prior Consultation and Agreement: PNPCA) โดยประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ในกรณีที่ประเทศสมาชิกมีโครงการพัฒนาสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ใดๆ บนแม่น้ำโขงสายหลักหรือแม่น้ำสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโครงการดังกล่าวอาจจะสร้างผลกระทบข้ามเขตแดนต่อประชาชน หรือสิ่งแวดล้อม และนำเสนอข้อมูลให้ประเทศสมาชิกทั้ง 4 ประเทศร่วมกันพิจารณาในระดับภูมิภาค
 
โครงการเขื่อนไซยะบุรีถือเป็นการปฏิบัติครั้งแรกที่นำระเบียบ PNPCA ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงมาใช้ เพื่อให้เกิดข้อสรุปร่วมกันว่าโครงการดังควรจะดำเนินการต่อไปหรือไม่ และหากจะดำเนินการต่อควรอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง
 
ภายใต้กระบวนการ PNPCA เมื่อเดือนกันยายน 2553 ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ที่ได้รับการแจ้งเรื่องโครงการเขื่อนไซยะบุรีการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำจากรัฐบาลลาว จากนั้นจึงมีกระบวนการปรึกษาหารือในระดับประเทศกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ และจะต้องได้ข้อสรุปภายในหกเดือนนับตั้งแต่การแจ้ง
 
อย่างไรก็ตาม หลังจากครบกำหนด 6 เดือน สำหรับการให้คำปรึกษาของ PNPCA ประเทศสมาชิกทั้ง 4 ได้พบหารือเกี่ยวกับโครงการไซยะบุรี ในการประชุมพิเศษของคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 19 เม.ย.54 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ประเทศลาว แต่การประชุมไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน สมาชิกคณะกรรมการร่วมจึงเห็นพ้องกันว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมในระดับรัฐมนตรี
 
 
 
หมายเหต: โครงการเขื่อนไซยะบุรีบนแม่น้ำโขง เข้าสู่กระบวนการแจ้งประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ที่เรียกว่ากระบวนการ PNPCA ซึ่งประเทศสมาชิก ต้องจัดทำความคิดเห็นต่อโครงการ
 
ในส่วนของไทย สำนักงานเลขาคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประเทศไทย โดยกรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ริมน้ำโขง ทั้งสิ้น 4 ครั้ง ดังนี้
1. รับฟังที่เชียงของ จ.เชียงราย วันที่ 22 มกราคม 2554
2. รับฟังที่เชียงคาน จ.เลย วันที่ 29 มกราคม 2554
3. รับฟังที่ จ.นครพนม วันที่ 31 มกราคม 2554
4. รับฟังเวทีนักวิชาการเพิ่มเติมวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554
 
ในเวียดนาม คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงร่วมกับคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติเวียดนามจัดให้มีการประชุม ปรึกษาหารือ 2 ครั้ง โดยมี ดร.Nguyen Thai Lai ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรองประธานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติเวียดนามเป็นประธาน ดังนี้
1. วันที่ 14 มกราคม 2554 ที่จังหวัดเกิ่นเทอ
2. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ที่จังหวัด Quang Nin
 
ในกัมพูชา มีการปรึกษาหารือ 2 ครั้ง ได้แก่
1. วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 จังหวัดกระแจ๊ะ
2. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 สีหนุวิลล์
 
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: เครือข่ายคัดค้านท่อก๊าซฯ จี้ “สอบวินัยตำรวจ” ใช้ความรุนแรง “สลายชุมนุม”

$
0
0

ทวงถามผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ผลสอบสวนทางวินัยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมกลุ่มคัดค้านโครงการท่อก๊าซฯ ยุคทักษิณ พร้อมให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงยอมรับผิด

 
 
วันที่ 7 ธ.ค.54 เวลา 09:30 น.เครือข่ายคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย ประมาณ 100 คน เดินทางไปกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 อ.เมือง จ.สงขลา ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ผ่านผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 9 เพื่อติดตามการร้องเรียนให้สอบสวนทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมกลุ่มคัดค้านโครงการท่อก๊าซฯ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.45 หลังได้เคยยื่นเรื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2552 แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ 
 
นางจันทิมา ชัยบุตรดี อ่านแถลงการณ์ชี้แจงวัตถุประสงค์การเดินทางมาในครั้งนี้ว่า เหตุการณ์ความรุนแรงผ่านมานานถึง 9 ปี โดยเกิดขึ้นทั้งที่ประชาชนชุมนุมโดยสงบ เพียงเพื่อขอยื่นหนังสือให้คณะรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ทบทวนการดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะเดินทางมาประชุมสัญจรวันที่ 21-22 ธันวาคม 2545 ณ โรงแรมเจบี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แต่ขณะหยุดพักรอการเจรจาประสานงานว่าทางเจ้าหน้าที่จะกำหนดให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายไปรอยังจุดใดที่จะยื่นหนังสือได้ และภายหลังการประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงอย่างเป็นทางการ ผู้ชุมนุมซึ่งเป็นมุสลิมจึงเตรียมตัวเพื่อทำการละหมาด ขณะที่บางส่วนกำลังอาบน้ำละหมาด บางส่วนกำลังละหมาด ส่วนนักศึกษาบางส่วนซึ่งนับถือศาสนาพุทธกำลังรับประทานอาหารอยู่ อันเป็นการชุมนุมอยู่ในความสงบ เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับใช้กำลังผลักดันให้กลุ่มผู้ชุมนุมถอยออกไปจากที่เกิดเหตุ โดยใช้ไม้กระบองทุบตีทำร้ายประชาชนจนได้รับบาดเจ็บ นอกจากนั้นยังทุบตีรถยนต์ของผู้ชุมนุมจนได้รับความเสียหาย หลังจากนั้นได้จับกุมผู้ชุมนุมในวันและสถานที่เกิดเหตุ 12 คน และจับกุมจากสถานที่อื่นๆ อีกเป็นจำนวน 20 คน ในวันต่อมา
 
การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ที่สำคัญเป็นการละเมิดสิทธิในการชุมนุมของประชาชนผู้ซึ่งชุมนุมโดยสงบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น มีการตรวจสอบหลักฐาน และข้อเท็จจริงจากคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พบว่าการกระทำนี้ เป็นความผิดจริง
 
นอกจากนั้นปรากฏด้วยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้กระทำผิดจำนวนหนึ่งถูกผู้ชุมนุมฟ้องคดีอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลวินิจฉัยว่ามีมูลความผิดตามฟ้อง จึงให้ประทับฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่า ความรับผิดไม่เพียงแต่จำเลยที่ 3 พล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ เท่านั้น เพราะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำเลยที่ 1 พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ และตำรวจระดับสูง ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ชุมนุมมาชุมนุมด้วยความสงบ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ไม่ใช่ทำเสียเองด้วยการใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม
 
นางจันทิมา กล่าวด้วยว่า ขอติดตามทวงถามและยืนยันว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.ให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นการผิดกฎหมาย ผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่ง ของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังรายนามที่ได้ระบุไว้ในหนังสือร้องเรียนทุกรายโดยทันที 2.เมื่อพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงได้ความเป็นที่แน่ชัดแล้วให้ดำเนินการลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้กระทำความผิดดังกล่าวข้างต้นทั้งในทางวินัยราชการและในทางคดีความทางอาญาต่อไป 
 
3.ให้มีคำสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามรายชื่อที่กล่าวไว้ไนหนังสือร้องเรียนฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ผู้ตกเป็นจำเลยในฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของศาลจังหวัดสงขลา ดังคดีหมายเลขดำที่ 1818/2546 คือ 1) พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ 2) พล.ต.ต.สุรชัย สืบสุข 3) พ.ต.ท.เล็ก มียัง  4) พ.ต.ต.อธิชัย สมบูรณ์ 5) พ.ต.ต.บัณฑูรย์ บุญเครือ ให้ถือเป็นเจ้าหน้าที่กลุ่มแรกที่จะต้องเร่งพิจารณาและมีคำสั่งให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการชั่วคราวดังกล่าว
 
4. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงยอมรับความผิดที่เกิดจากการกระทำการสลายการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าวข้างต้น และเร่งดำเนินการตามที่ศาลปกครองจังหวัดสงขลาได้พิพากษาไว้แล้ว 5.ให้ทบทวนคำสั่งและการกระทำที่บ่งชี้ไปในทางเอื้อประโยชน์แก่ บริษัท ทรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ในการไปตั้งหน่วยงานพิเศษ ในพื้นที่บริเวณโครงการโรงแยกก๊าซฯ ของบริษัทฯ ซึ่งก่อปัญหาสร้างความเดือดร้อนอย่างมากต่อชุมชนในบริเวณดังกล่าว
 
นางสุไรดะห์ โต๊ะหลี ตัวแทนเครือข่ายประชาชนรักษ์สิ่งแวดล้อมสงขลาให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่มีการสอบสวนดำเนินการลงโทษใดๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการปูนบำเหน็จรางวัลเลื่อนชั้นยศ เลื่อนตำแหน่งให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเหล่านี้ได้มีความเจริญก้าวหน้าทางราชการยิ่งขึ้นทุกราย การที่บุคคลเหล่านี้มีโอกาสรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นนับเป็นอันตรายที่ร้ายแรงอย่างยิ่งต่อประชาชน และสังคมไทยในอนาคตที่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลรักษาความสงบของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีพฤติกรรมดังกล่าว 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ออกมารับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวและรับรองว่าจะส่งต่อไปตามที่ผู้ชุมนุมต้องการภายในวันนี้ หลังจากนั้นผู้ชุมนุมทั้งหมดเดินทางไปร่วมฟังกระบวนการพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดสงขลา ซึ่งผู้ชุมนุมเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา กับเจ้าหน้าตำรวจผู้ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เกษียร เตชะพีระ:“ความฝันในเฟซบุ๊ก”

$
0
0

กระดานข้อความบางกระดานในเฟซบุ๊กสะท้อนความฝันของผู้คนพอ ๆ กับความจริงที่พวกเขาดำรงอยู่ การพยายามทำนายไขความฝันจึงอาจช่วยให้เราเข้าใจความจริงที่ป้อนเลี้ยงแวดล้อมความฝันนั้นๆ อยู่ว่า มันขาดหายอะไรไป? พรมแดนแห่งความเป็นไปได้/เป็นไปไม่ได้ของมัน อยู่ที่ไหน? ทำไม? อย่างไร?

 %%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

 
1) “เราเห็นด้วยกับข้อเสนอของหมอประเวศในการให้ประเทศไทยกลับไปปกครองแบบสมัยโบราณ”  (เฟซบุ๊ก, 29 พ.ย.2554)

ซิกมุนต์ บอแมน

มีแต่ชีวิตเสพสุขหรูหราสมัยใหม่เท่านั้นที่มั่งมีล้นเหลือพอจะเหลียวกลับไปมองยุคก่อน สมัยใหม่ด้วยความหวนหาอาลัย แววตาและท่าทีหวนหาอาลัยอดีตของชีวิตดังกล่าวเผยให้เห็นความรู้สึกอึดอัดแปลกแยกจากความเสี่ยงและผันผวนของชีวิตสมัยใหม่แบบไม่รู้ตัวหรือกึ่งรู้ตัวที่ซ่อนแฝงอยู่ ผู้คนพากันหวนหาชุมชนซึ่งสูญสลายไปนานแล้ว แม้ว่าเอาเข้าจริงพวกเขาไม่สามารถตัดชีวิตตัวเองให้หลุดพ้นจากคำสาปและพรอันประเสริฐของเสรีภาพสมัยใหม่ได้  ชีวิตดังกล่าวน่าเห็นอกเห็นใจตรงที่ไม่ตระหนักว่าสภาพเงื่อนไขแห่งการดำรงอยู่แบบสมัยใหม่ของตัวเองนั่นแหละที่เป็นตัวปัดปฏิเสธความเป็นไปได้ของอดีตก่อนสมัยใหม่ของพวกเขาโดยตรง


ดังที่ซิกมุนต์ บอแมน นักสังคมวิทยาชาวโปแลนด์เชื้อสายยิว ผู้ถูกขับไสออกมาอยู่อังกฤษ เคยกล่าวไว้ว่า “เสรีภาพที่ปราศจากชุมชน ย่อมหมายถึงความวิกลจริต ขณะชุมชนที่ปราศจากเสรีภาพ ย่อมหมายถึงความเป็นไพร่ข้า” (Zygmunt Bauman, Life in Fragments: Essays in Postmodern Morality) สำหรับผู้เรียกร้องให้เสียสละเสรีภาพเพื่อเห็นแก่ชุมชนที่ไม่มีวันหวนกลับไปถึงได้นั้น เอาเข้าจริงพวกเขาอาจกำลังพลัดตกลงไปในบ่วงแห่งความเป็นไพร่ข้าอันวิกลจริตก็เป็นได้

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%  

2) “เราไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอการปิดเฟซบุ๊กและยูทูบเพื่อกำจัดเว็บหมิ่น”  (29 พ.ย.2554)

เรย์มอนด์ วิลเลียมส์

เรย์มอนด์ วิลเลียมส์ ปัญญาชนนักศึกษาวัฒนธรรมผู้ล่วงลับ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากครอบครัว พนักงานให้สัญญาณประจำสถานีรถไฟในชนบทแคว้นเวลส์ของอังกฤษ ก่อนจะได้ทุนไปเรียนต่อ จนจบและเป็นอาจารย์ด้านวรรณกรรมและวัฒนธรรมศึกษาชื่อดังที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เคยพูดถึงอาการปลาบปลื้มความวิจิตรดีงามตามประเพณีแต่เก่าก่อนและต่อต้านวัตถุนิยม-พาณิชย์นิยมของปัญญาชนชั้นสูงในมหาวิทยาลัยว่า มีแง่มุมที่สะท้อนความแปลกแยกจากสังคมอุตสาหกรรมอยู่ แต่พวกเขาไม่เข้าใจคนชั้นล่างจริง ๆ แต่อย่างใด เพราะผู้คนในชุมชนของวิลเลียมส์เองนั้นพึงพอใจความก้าวหน้าสะดวกสบายที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่นำมาให้ เช่น ระบบน้ำ ประปา, รถยนต์, ยาสมัยใหม่, อุปกรณ์คุมกำเนิด, อาหารกระป๋อง เป็นต้น ที่ได้ให้พลังอำนาจ และปลดเปลื้องคนงานชายหญิงออกจากภาระงานอาชีพและงานในครัวเรือนอันหนักหน่วง ให้มีเวลาว่างและเสรีภาพที่จะทำอย่างอื่นในชีวิต ไม่มีทางที่คนชั้นล่างในชุมชนของเขาจะหันหลังให้ความก้าวหน้าเหล่านี้และกลับไปสู่ชีวิตที่ลำบากตรากตรำหนักหนาสาหัสดังก่อน สิ่งที่ต้องปฏิเสธ จึงไม่ใช่การปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยตัวมันเอง แต่คือระเบียบความสัมพันธ์ทางอำนาจและทรัพย์สินที่กำกับยึดกุมมันไว้อย่างไม่เท่าเทียมต่างหาก (Raymond Williams, Resources of Hope: Culture, Democracy, Socialism)

หากเรย์มอนด์ วิลเลียมส์ อยู่ถึงยุคการปฏิวัติไอทีทุกวันนี้ ทรรศนะของเขาต่อเฟซบุ๊กและยูทูบ คงไม่ต่างจากที่มีต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม.....

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

3)“สังคมที่ธำรงรักษาความรู้สึกมั่นคงของตัวไว้ได้ก็แต่ในบรรยากาศแห่งความกลัว จะมั่นคงไปได้อย่างไร? คนไทยควรมีสิทธิ์ได้อยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความไว้วางใจ ไม่ใช่ความกลัว” (7 ธ.ค.​2554)

อานันท์ ปันยารชุน

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2554 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย มีการเปิดตัวหนังสือชีวประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉบับภาษาอังกฤษ โดยสำนักพิมพ์ Editions Didier Millet ชื่อ “King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work” โดยมีอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ เป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ซึ่งในงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติและผู้สื่อข่าวต่างประเทศเป็นอย่างมาก

อานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากองบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้กล่าวว่า งานเขียนซึ่งมีความยาวกว่า 500 หน้านี้ เป็นการรวบรวมบทความและข้อเท็จจริงที่ผ่านการถกเถียงระหว่างผู้เขียนที่หลากหลาย โดยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญไทยและต่างประเทศ โดยเขาหวังว่า จะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นอิสระ เป็นกลางและรอบด้านแก่ผู้อ่านมากที่สุด


หนังสือดังกล่าวยังได้รวบรวมประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน เช่น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และการสืบรัชทายาทด้วย.....

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายของงาน ผู้สื่อข่าวถามว่า อานันท์เห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล เนื่องจากหนังสือดังกล่าวได้ระบุถึงปัญหาของกฎหมายอาญา ม.112 ด้วย ซึ่งอดีตนายกฯ ได้ตอบว่า แท้จริงแล้วกฎหมายนี้ต้องพิจารณาในบริบทของประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ไทยกับประชาชนเป็นเอกลักษณ์จากที่อื่นๆ ในโลก

อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่าการบังคับใช้ของกฎหมายนี้รุนแรงเกินไป โดยเฉพาะในแง่ของการฟ้องร้องที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถกล่าวโทษ ทั้งนี้เขาเสนอแนะว่า อาจมีการตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่สั่งฟ้องโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง รวมถึงพิจารณาลดบทลงโทษให้ผ่อนคลายลงกว่าเดิมด้วย.....

 

(อ้างจาก http://prachatai.com/journal/2011/11/38077)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เรื่องของอากง: Freedom of Speech และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม

$
0
0

บทความนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาในคดีอากง sms แต่อยากเชิญชวนผู้อ่านวิเคราะห์สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของอากงผ่านข้อสมมติฐานที่เป็นไปได้สองประการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าในสองการกระทำที่แตกต่างกันสุดขั้ว อย่างน้อยที่สุด ในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง อากงได้ครอบครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอันสมควรจะได้รับการคุ้มครองประการใดบ้าง

บทความนี้จงใจตัดความน่าสงสารทุกๆ ประการของอากงออก ไม่ว่าจะเป็นอายุ สังขาร ภาระครอบครัว ฐานะ โรคภัย รวมถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อหลีกเลี่ยงอคติทุกประการอันอาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อวิจารณญาณ โดยบทความนี้จะมองอากงในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการ กล่าวคือ ไม่เป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถที่ควรต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษในสายตาของกฎหมาย

อนึ่ง บทความนี้ไม่อาจละเว้นว่าผลกระทบที่เกิดต่ออากงทั้งหมด เกิดจากการบังคับใช้มาตรา 112 ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย
 

สมมติฐานประการที่หนึ่ง: อากงไม่ได้เป็นคนส่ง sms
สมมติว่าในวันที่ 9, 11, 12, 22 พฤษภาคม 2553 ชายชราอายุ 61 ปี กำลังทำกิจกรรมอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์และส่ง sms อาจกำลังปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว เลี้ยงหลาน รำมวยจีน เข้าห้องน้ำ หรือนอนดูโทรทัศน์แล้วเผลอหลับ ฯลฯ

วันหนึ่งในเดือนสิงหาคมตำรวจได้นำหมายจับมาถึงบ้าน โดยบอกว่าชายผู้นี้ต้องถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 14 (2), (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 41 โดยกระทำการส่งข้อความ ABCDEFG อันมีลักษณะหยาบคาย เข้าข่ายจาบจ้วง ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ[1] เข้าโทรศัพท์มือถือของเลขาฯ อดีตนายกอภิสิทธิ์ (เหตุที่ต้องสมมติเป็น ABCDEFG เนื่องจากว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดทราบว่าข้อความดังกล่าวมีเนื้อหาว่าอย่างไร นอกจากบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี)

ชายผู้นี้ถูกคุมขังในเรือนจำเป็นระยะเวลา 63 วัน ได้รับการประกันตัวครั้งแรกในชั้นสอบสวน แต่ไม่ได้รับการประกันตัวในระหว่างการพิจารณา[2]

กรณีตามสมมติฐานนี้ การอ้างหลักการคุ้มครองเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (Freedom of Speech) ไม่อาจใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของอากงได้ เพราะตัวอากงเองไม่ได้แม้แต่จะเป็นผู้คิด พิมพ์ และกดส่ง sms ที่ว่านี้เสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดี ในข้อ 10 และ 11(1) แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights - UDHR)[3] ได้บัญญัติหลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับอากง ในฐานะผู้ต้องหาในคดีนี้ไว้ว่า “บุคคลชอบที่จะเท่าเทียมกันอย่างบริบูรณ์ ในการที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม โดยศาลที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ในการวินิจฉัยชี้ขาดทั้งสิทธิและภาระผูกพัน ตลอดจนข้อกล่าวหาใดๆ ที่มีต่อบุคคลนั้นในทางอาญา” และ “บุคคลที่ถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญามีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะได้มีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ในการพิจารณาที่กระทำโดยเปิดเผย และซึ่งได้รับหลักประกันทุกอย่างที่จำเป็นในการต่อสู้คดี”

ยิ่งไปกว่านั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550[4] มาตรา 39 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิในเรื่องนี้ไว้ว่า ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และในมาตรา 40 (2) และ (7) ก็ได้รับรองสิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา และสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม และโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ ให้กับผู้ต้องหาในคดีอาญาด้วย

สิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวนี้ ได้รับการยืนยันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 ที่บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น และเมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย

หากพิจารณาข้อเท็จจริงจากบันทึกสังเกตการณ์การสืบพยานในคดีนี้ http://ilaw.or.th/node/1229 และ ‘สิบคำถามต่อหลักความชอบธรรม คำพิพากษา ‘คดีอากง sms’’ http://thaipublica.org/2011/11/ten-questions-ah-kong/ คำถามเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นสำหรับสมมติฐานประการแรกนี้ คือ

“หากอากงไม่ได้เป็นผู้ส่ง sms และด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามหลักเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (Freedom of Speech) แต่จากกระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้น ชายผู้บริสุทธิ์คนนี้ได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมอย่างเพียงพอแล้วหรือยัง?”

 

สมมติฐานประการที่สอง: อากงเป็นคนส่ง sms จริง
สมมติว่าในวันและเวลาเดียวกัน ชายชราอายุ 61 ปี ซึ่งมีความเชียวชาญในการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างคล่องมือ สามารถใช้ความสามารถเฉพาะตัวค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของเลขาฯ อดีตนายกอภิสิทธิ์มาไว้ในครอบครองได้ หรืออาจได้หมายเลขดังกล่าวมาอยู่ในความครอบครองด้วยความบังเอิญ หรือมีผู้หวังดีหรือไม่หวังดีจัดหามาให้ หรือได้มาไว้ในความครอบครองด้วยประการใดๆ ก็ตาม

ในวินาทีใดวินาทีหนึ่ง ชายผู้นี้เกิดความคิดบางอย่าง จึงได้ลงมือพิมพ์ sms ทีละตัวอักษร เกิดเป็นข้อความซึ่งมีเนื้อหาว่า ABCDEFG ส่งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของเลขาฯ อดีตนายกอภิสิทธิ์ดังกล่าว

เบื้องต้น การกระทำดังกล่าว ‘อาจ’ เข้าข่ายได้รับความคุ้มครอง ตามที่ปรากฏในตอนต้นของคำปรารภและข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งรับรองไว้ว่า การดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (Freedom of Speech) คือปณิธานสูงสุดของสามัญชน และ “บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก สิทธิดังกล่าวนี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง ไปจนถึงการแสวงหา รับเอา ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลและความคิดเห็นผ่านสื่อใดๆ โดยปราศจากพรมแดน”

นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิในลักษณะเดียวกันนี้ไว้ในมาตรา 45 วรรคหนึ่งด้วยว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการส่งข้อความที่มีเนื้อหาว่า ABCDEFG ของอากง ‘อาจ’ เข้าข่ายได้รับการคุ้มครองภายใต้หลักเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (Freedom of Speech) ดังกล่าวข้างต้น แต่เสรีภาพในข้อนี้ก็หาใช่ว่าจะได้รับการคุ้มครองครอบจักรวาลโดยไร้ข้อจำกัดไม่

ข้อยกเว้นการคุ้มครอง Freedom of Speech เช่น ข้อ 29 (2) แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า “ในการใช้สิทธิและเสรีภาพ บุคคลพึงใช้เพียงเท่าที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามที่กฎหมายกำหนด การใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ต้องเป็นไปโดยเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่เป็นธรรม และการเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น เพื่อบรรลุถึงพันธะอันเที่ยงธรรมแห่งศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการส่วนรวมในสังคมประชาธิปไตย”

นอกจากนี้ ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (The European Convention on Human Rights – ECHR)[5] ยังได้รับรองข้อยกเว้นการคุ้มครอง Freedom of Speech ไว้ในข้อ 10 (2) ด้วยว่า “เนื่องจากการใช้เสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออกย่อมนำมาซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนั้นการใช้เสรีภาพในเรื่องนี้ย่อมอาจถูกกำหนดโดยหลักการ เงื่อนไข ข้อจำกัด หรือบทลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ และตามความจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน หรือความปลอดภัยของประชาชน เพื่อป้องกันสภาวะไร้ระเบียบหรืออาชญากรรม เพื่อคุ้มครองสุขภาวะหรือศีลธรรม เพื่อคุ้มครองชื่อเสียงหรือสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อป้องกันการเปิดเผยข้อมูลซึ่งถูกปกปิดเป็นความลับ หรือเพื่อรักษาอำนาจและความเป็นกลางของฝ่ายตุลาการ”

ทั้งนี้ รวมถึงมาตรา 45 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่บัญญัติว่า “การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น...”

เนื้อหาที่เข้าข่ายอาจถูกยกเว้นไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ Freedom of Speech[6] เช่น เนื้อหาที่ก่อให้เกิดภยันตรายที่ชัดเจนในทันที (Clear and Present Danger) เนื้อหาที่ยุยงให้มีการใช้ความรุนแรง (Fighting Words) เนื้อหาที่มีลักษณะหมิ่นประมาท (Libel and Slander) เนื้อหาลามกอนาจาร (Obscenity) เนื้อหาที่ขัดต่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Conflict with other Legitimate Social or Governmental Interests)

ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า เนื้อหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีลักษณะเป็นการจำกัด Freedom of Speech ในตัวเอง อย่างไรก็ตาม เคยปรากฏกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามมาตรานี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเนื้อหานั้นๆ ยังไม่ถึงกับเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์[7]

สำหรับกรณีนี้ เมื่อพนักงานอัยการสั่งฟ้อง นั่นหมายถึงว่า พนักงานอัยการได้มีการตีความข้อความ ABCDEFG แล้วว่าอาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ แต่อย่างไรก็ตาม ความเห็นของพนักงานอัยการย่อมไม่ผูกพันศาล

ดังนั้น เมื่ออากงถูกนำตัวมาขึ้นศาล ศาลจึงจำเป็นต้องมีการตีความข้อความ ABCDEFG อีกครั้ง และที่สำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณา ศาลยังต้องทำการพิสูจน์พยานหลักฐานจนสิ้นสงสัย ตามหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาดังได้ที่กล่าวมาในสมมติฐานข้อแรกอย่างเคร่งครัด จึงจะสามารถลงโทษอากงในฐานะผู้พิมพ์และส่ง sms ได้ แม้ชายผู้นี้จะได้ลงมือกระทำผิดจริงก็ตาม

ทั้งนี้ เพราะหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา เป็นหลักการที่ใช้คุ้มครองสิทธิของทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าผู้ต้องหาคนนั้นได้กระทำความผิดจริงหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้น ความเป็นธรรมของอัตราส่วนโทษตามมาตรา 112 ที่จะลงแก่อากงก็นับเป็นประเด็นสำคัญอย่างมากที่ต้องนำมาพิจารณาตามหลักความได้สัดส่วนระหว่างโทษและการกระทำความผิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และเป็นพื้นฐานสำคัญของนิติรัฐ ซึ่งจะยังไม่ขอนำมากล่าว ณ ที่นี้[8]

จากสมมติฐานทั้งสองประการดังกล่าวข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าโดยข้อเท็จจริงอากงจะเป็นผู้ส่ง sms หรือไม่ก็ตาม และแม้ว่าอากงจะไม่สามารถอ้าง Freedom of Speech เพื่อคุ้มครองตัวเองได้เลยในกรณีนี้ แต่อย่างน้อยที่สุด ในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่ง อากงสมควรได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนพิจารณา

หากจะกล่าวจนถึงที่สุด เราคงไม่อยากเห็นการบังคับใช้มาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อปกป้องคนที่เรารัก ในลักษณะที่เป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของบุคคลอื่น

การรณรงค์ ‘ฝ่ามืออากง’ จึงเป็นไปเพื่อสนับสนุนหลักการดังกล่าวข้างต้นนี้ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของอากงแต่เพียงผู้เดียว แต่เพื่อประโยชน์ของเราทุกคนที่อาจตกเป็นผู้ต้องหาได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้สุดแท้แต่ผู้อ่านจะนำไปพิจารณา

 

--------------------
[1] http://prachatai.com/journal/2011/11/37991
[2] เรื่องเดียวกัน
[3] http://www.un.org/en/documents/udhr/index.shtml
[4] http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution2550.pdf
[5] http://conventions.coe.int/treaty/en/Treaties/Html/005.htm
[6] Freedom of Speech and Press: Exceptions to the First Amendment http://www.fas.org/sgp/crs/misc/95-815.pdf
[7] http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9500000041356
[8] ผู้สนใจโปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม,” เว็ปไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย - www.pub-law.net, เผยแพร่ครั้งแรก 31 มกราคม 2553; และชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, (กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, 2540) น. 28 - 29.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 50858 articles
Browse latest View live




Latest Images